โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

Posted: 16 Jul 2013 11:42 AM PDT

"ถ้าคุณสามารถโอเคกับทหารได้ คุณเอาใจทหารได้ ให้รางวัลกับทหารได้ คำถามคือทุกวันนี้ด่าอภิสิทธิ์กับสุเทพทำไม นี่ซีเรียสนะฮะ ไปโกรธแค้นเขาทำไม บอกว่าโกรธแค้นกรณีปี 53 แล้วปี 53 ทหารไม่เกี่ยวหรอฮะ แล้วที่มันเกิดปี 53 ไม่ใช่เพราะว่าทหารทำรัฐประหารปี 49 หรอ ถ้าตราบใดที่มวลชนก็ดี ขึ้นไปถึงระดับรัฐบาลก็ดี ยังใช่ยุทธศาสตร์แบบนี้ โดยหวังผลประเดียวคือต้องรักษาการอยู่ในอำนาจของคุณทักษิณ ไม่ว่าจะจ่ายเท่าไหร่ก็ตามคำถามคือว่าการโจมตีอภิสิทธิ์ ดำเนินคดีอภิสิทธิ์ มันเป็นการเล่นเกมส์ของเด็กๆครับ จริงๆ"

14 ก.ค.56, ข้อเสนอปฏิวัติการเมืองไทย ในงาน 224 ปี ทลายคุกบาสตีล

บทเรียนจากเกาหลีสู่ไทย ความขุ่นมัวในโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน

Posted: 16 Jul 2013 09:08 AM PDT

ผมทำงานเรื่องน้ำมานาน ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าโมดุลทั้งหลายในชุดโครงการ 3.5 แสนล้าน มาจากไหน ทั้งเขื่อน แก้มลิงล้านไร่ ฟลัดเวย์ ฯลฯ จนวันนี้ยังไม่เห็นว่ามีการศึกษาชิ้นไหนระบุว่าชุดโครงการนี้จะแก้ปัญหาน้ำ ท่วมได้ เพราะส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาน้ำท่วมคือ การใช้ที่ดินอย่างไม่มีการวางแผน เมือง บ้านจัดสรร โรงงานไปอยู่ในที่น้ำหลากตามธรรมชาติ ทำลายพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติ

ผมเองก็คงเหมือนคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยไม่รู้จักบริษัทเควอเตอร์ดีพอ และไม่รู้เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมบริษัทนี้ถึงได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโครงการฟลัดเวย์และแก้มลิง

เมื่อทราบว่าเค วอเตอร์ ทีสัญชาติเป็นเกาหลี ก็คิดถึงเพื่อนที่เกาหลี ซึ่งเป็นคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศเกาหลีใต้ เคยประชุมร่วมกันหลายหน และคราวประชุมอนุสัญญาแรมซาร์ ครั้งที่ 9 ที่เกาหลีก็ได้ไปดูงานก่อน จึงติดต่อให้ช่วยมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของเค วอเตอร์ในเกาหลีหน่อย ก็ได้การตอบรับว่ายินดีมาและขอดูพื้นที่พบปะชาวบ้าน ทางเราจึงขอว่าอาจจะมีการจัดแถลงข่าวด้วยหลังลงพื้นที่ ซึ่งเขาเขาก็ยินดี

ลงพื้นที่ครั้งนี้มีคุณยัม ฮคองเชิล ผอ.องค์กรสิ่งแวดล้อมเกาหลี KFEM ที่เคยทำงานกันมานานเป็นสิบปี เราร่วมงานกันในเครือข่าย Rivers Watch East and Southeast Asia-RWESA เมื่อปี 2546 เราเคยจัดการประชุมนานาชาติของผู้เดือดร้อนเรื่องเขื่อน ระดับโลกครั้งที่ 2 ที่เขื่อนราษีไศล ยัมและเพื่อนๆ จากเกาหลีก็มาร่วมประชุม ตอนนั้นเขาร่วมกับนักสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านตรวจสอบโครงการเขื่อนหลายแห่งใน เกาหลี โดยเฉพาะเขื่อนกั้นแม่น้ำฮัน ที่ถูกคัดค้านหนักเพราะผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ในแวดวงสิ่งแวดล้อมเกาหลี KFEM เป็นองค์กรใหญ่มากและเป็นหัวหอกในหลายด้านโดยเฉพาะการตั้งคำถามต่อโครงการพัฒนาใหญ่ๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชน โครงการใหญ่ล่าสุดที่ตรวจสอบกันอย่างหนัก คือโครงการ 4 แม่น้ำสายหลัก 4 Major Rivers Project ที่สร้างเขื่อนเกือบ 20 แห่ง และขุดลอก/เทคอนกรีตแม่น้ำสายหลักของเกาหลี จนเหลือสภาพเป็นแค่คลองระบายน้ำ ระบบนิเวศพังยับเยิน และนี่คือโครงการที่เควอเตอร์ทำในเกาหลี

ยัม ร่วมเดินทางลงพื้นที่ตำบลชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และ หลายพื้นที่ในจ.นครสวรรค์ พร้อมกับสื่อหลายสำนัก ข้อมูลที่ได้จากเขา ชัดเจนว่าในเกาหลีเองโครงการที่ผ่านมาสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมาก ทั้งที่การแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ก็ยังไม่มีข้อมูลรองรับว่าจะแก้ได้จริง ยิ่งมาเห็นพื้นที่เหนือปากน้ำโพ ที่จะกลายเป็นแก้มลิงขนาดเป็นล้านไร่ และฟลัดเวย์ตั้งเกือบ 300 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 7 จังหวัด ถือเป็นโครงการใหญ่ เขารู้สึกเป็นห่วงเพราะไม่แน่ใจว่าเควอเตอร์จะสามารถทำโครงการได้จริง

ล่าสุดในรายงานตรวจสอบโครงการโดยคณะกรรมการตรวจเงินและประเมิน ของเกาหลี(คล้ายๆกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสตง. บ้านเรา) ชี้ว่าโครงการ 4 แม่น้ำสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางน้ำจากเขื่อน 16แห่งและอื่นๆ ทำให้เกิดมลภาวะ สาหร่ายเขียวแพร่กระจาย รายงานแนะนำว่าควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะตั้งแต่ต้น รายงานนี้ออกมาเมื่อเดือนเมษา (หาอ่านได้  http://english.bai.go.kr/ )

กลับมามองบ้านเรา เห็นได้ชัดว่าเริ่มมีสัญญาณแปลกๆ จากรัฐบาลเกาหลีมาตั้งแต่ต้นเมื่อครั้งที่ชาวบ้านเดินทางไปยื่นจดหมายที่สถานเอกอัคราชทูตเกาหลีใต้ตอนปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานฑูตเขาก็อีเมลตอบสั้นๆ ถามย้อนกลับมาอีกว่าเราไปยื่นจดหมายที่สถานฑูตจีนด้วยหรือเปล่า ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเขาถามเพื่ออะไร ครั้งนี้ก็เช่นกันทูตเกาหลีออกมาแจงแทนบริษัทเควอเตอร์ ทั้งๆที่ยังไม่เคยได้ยินข่าวว่าลงไปดูพื้นที่เลยและไม่รู้ว่าประชาชนไทยจะต้องประสบะตากรรมเยี่ยงไร หากปล่อยให้เควอเตอร์ดำเนินโครงการ จริงๆแล้วสถานทูตควรเป็นตัวแทนของประชาชนชาวเกาหลี มิใช่เป็นตัวแทนบริษัท ที่สำคัญควรคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของบริษัท

คุณยัมได้ถ่ายทอดประสบการที่เกิดขึ้นในเกาหลีให้พวกเราฟังอย่างตรงไปตรงมา แถมยังก็อปปี้ข้อมูลให้ผู้ที่สนใจโดยไม่หวงเลย ตั้งแต่เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนถึงเรื่องที่มาที่ไปและสถานการณ์ ของเค วอเตอร์ ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมไทยไม่เคยรับรู้มาก่อน และเมื่อคุณยัมกลับไปถึงประเทศ เขาก็ต้องพบกับสถานการณ์ยุ่งยากหลายอย่างแต่องค์กรที่เขาทำงานอยู่เป็นองค์กรใหญ่ มีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 8 หมื่นคน มีความหนักแน่น แม้จะถูกคนของรัฐบาลเกาหลีวิพากษ์วิจารณ์ตลอดจนถูกเค วอเตอร์ฟ้องร้อง

ผมคิดว่าการที่เค วอเตอร์ แสดงท่าทีอันไม่เป็นมิตรกับการตรวจสอบหรือการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยเช่นนี้ตั้งแต่ต้น น่าจะทำให้การทำงานของเค วอเตอร์ในประเทศไทยลำบาก เพราะเพียงแค่การเปิดโอกาสให้นักสิ่งแวดล้อมเกาหลีมาให้ข้อมูลต่อสังคมไทยคุณยังเกิดปฎิกริยาขนาดนี้ แล้วอนาคตที่มีการตรวจสอบกันอย่างเข้มข้น มิทำให้ความขัดแย้งยิ่งขยายวงกว้างหรือ

น้องๆ นักข่าวหลายคนเล่าให้ผมฟังว่า หลังจากที่คุณยัมมาเปิดประเด็นและเป็นข่าวใหญ่ปรากฎว่าได้มีกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเควอเตอร์ เที่ยวโทรศัพท์ไปตามสำนักข่าวต่างๆ เพื่อหาตัวคนทำข่าว พร้อมทั้งพยายามให้ข้อมูลในลักษณะที่ลดความน่าเชื่อถือต่อคุณยัมและคนที่ชักชวนคุณยัมมาเมืองไทย บุคคลกลุ่มนี้ยังพยายามหารายละเอียดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของคุณยัม ถึงขนาดถามหาสถานที่ตั้งของที่ทำงาน

ผมคิดว่าวิธีการในลักษณะนี้ส่อไปในทาง "คุกคาม"เสียมากกว่า แทนที่จะให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งมาหักล้างสิ่งที่คุณยัมนำเสนอ ผมยังเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในการแสวงหาข้อเท็จจริงในมุมต่างๆให้ปรากฎ ข้อมูลที่คุณยัมนำมาอธิบายให้สังคมไทยได้รับรู้นั้น วันนี้บางส่วนปรากฎชัดจากรายงานการตรวจสอบของ สตง.เกาหลีถึงความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศของเขาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่เราเป็นห่วงว่ากำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา

เมื่อค้นเข้าไปในแหล่งข้อมูลพบว่า เคยมีผู้ทรงอิทธิพลนอกประเทศเดินทางไปพบเค วอเตอร์ก่อนที่ กบอ.จะตัดสินใจเลือกบริษัทเหล่านี้ให้ชนะการประมูล ยิ่งทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น จนมีนักศึกษาไทยในเกาหลีได้เขียนบทความมาอีกหลายชิ้น ชี้ให้เห็นพฤติกรรมของเค วอเตอร์ในโครงการแม่น้ำ 4 สายในเกาหลี ด้วยข้อมูลตรงไปตรงมา

ผมเชื่อว่าอีกไม่นาน สังคมไทยคงได้รับรู้ข้อมูลและความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในแม่น้ำสายต่างๆ ของเกาหลีมากขึ้น และเราไม่ควรเพิกเฉยกับบทเรียนเหล่านั้น
 
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีเขายืนยันที่จะติดตามโครงการต่อ เพราะส่วนหนึ่งเป็นเงินภาษีของคนในประเทศเขาที่จะต้องมาการันตีโครงการ สำหรับคนไทยเอง โครงการนี้ก็เป็นเงินกู้ก้อนใหญ่ ซึ่งสุดท้ายทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบทั้งต้นและดอกเบี้ย ใช้หนี้กันยาวนานไปยันชั่วลูกชั่วหลาน
 
เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีสิทธิ์ตั้งคำถามและแสดงความกังวลในโครงการ 3.5 แสนล้านบาทนี้ อย่าปล่อยให้คนเพียงไม่กี่คน ทำลายทรัพยากรของประเทศ แถมยังต้องใช้หนี้กันหัวโต
 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดใจญาติเหยื่อความรุนแรง จะหวังอะไรกับการเจรจาสันติภาพ ?

Posted: 16 Jul 2013 08:53 AM PDT

เปิดใจญาติของเหยื่อเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ต่อความหวังในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ หลังลูกสาวถูกดักยิงสาหัส อีกรายเป็นอดีตผู้ต้องสงสัยถูกยิงดับหลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง 

สมนึก ปราทุมเทศ พ่อของ อรพรรณ ปราทุมเทศ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งถูกยิงบาดเจ็บสาหัสขณะกลับจากโรงเรียน

 

อยากให้ลูกมีอนาคตที่ดี จึงส่งไปเรียนในตัวเมือง

ช่วงเย็นของวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2556 เกิดเหตุ น.ส.อรพรรณ ปราทุมเทศ อายุ 17 ปีนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อ.เมือง จ.ปัตตานี พร้อมเพื่อนนักเรียน นายตันติกร ปุยชุมพล วัย 16 ปี ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส ขณะนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์กลับบ้านหลังเสร็จจากการเตรียมแข่งกีฬาสีที่โรงเรียน ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันหยุด ทำให้ทั้งคู่ต้องขับขี่รถจักรยานยนต์แทนที่จะขึ้นรถรับส่งอย่างทุกวัน

"ผมอยากให้ลูกมีอนาคตที่ดี มีงานดี ไม่อยากให้ลำบากเหมือนผม จึงส่งลูกสาวไปเรียนในตัวเมืองปัตตานี ทั้งที่รู้ว่าเสี่ยงมากที่จะถูกทำร้ายระหว่างทาง" นายสมนึก ปราทุมเทศ พ่อของอรพรรณ กล่าวหลังทราบว่าลูกสาวของเขาถูกลอบยิงจนได้รับบาดเจ็บสาหัส

บ้านของอรพรรณอยู่ใน ต.ทุ่งคล้า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ส่วนตันติกรอยู่ใน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ระยะทางจากโรงเรียนไปยังบ้านพักห่างกันกว่า 40 กิโลเมตร ตามถนนสี่เลนหมายเลข 42 สายปัตตานี-นราธิวาส ต้องผ่านพื้นที่ที่ล้วนเคยเกิดเหตุรุนแรงทั้งสิ้น โดยจุดเกิดเหตุอยู่ในพื้นที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

"ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมคนร้ายจึงทำร้ายลูกสาวผม ทั้งๆ ที่ลูกสาวไม่เคยมีปัญหากับใครเพราะยังเป็นนักเรียน เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากแลกให้คนร้ายมาทำร้ายผมแทนลูกสาว

"ผมอยากบอกแก่คนที่ทำร้ายลูกสาวของผมว่า หากมีคนทำร้ายลูกของคุณ แล้วคุณจะมีความรู้สึกอย่างไร" สมนึกกล่าว

สมนึกเล่าด้วยว่า เขาเองก็เกือบถูกคนร้ายประกบยิงขณะขับรถจักรยานยนต์มาแล้วหลายครั้ง แต่รู้ตัวเสียก่อน ทำให้คนร้ายไม่กล้ายิง

"ตอนนี้ ผมไม่สามารถคาดหวังกับการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็น เพราะผมถือว่าเป็นการพูดคุยที่ไม่มีความจริงใจ เพราะรัฐไม่ได้เปิดเผยว่ากำลังพูดคุยกับใคร พูดคุยที่ไหน คุยเรื่องอะไรบ้าง"

"ผมคิดว่าแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบ คือ ทางเจ้าหน้าที่รัฐต้องปราบปรามโจรโดยการปิดล้อมหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านในพื้นที่ แต่อย่าไปละเมิดสิทธิของประชาชนผู้บริสุทธิ์" สมนึกกล่าวทิ้งท้าย

 

บาบอปูลาฆาซิง

"เมื่ออัยการไม่สั่งฟ้องบาบอ ก็แสดงว่าบาบอเป็นคนที่บริสุทธิ์ตามกฎหมาย แล้วทำไมบาบอจึงถูกยิงอย่างนี้ด้วย"

นี่คือคำถามจากญาติคนหนึ่งของนายอิสมาแอ ปาโอ๊ะมานิ หรือ บาบอปอเนาะปูลากาชิง อายุ 53 ปีที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต เมื่อช่วง 9 โมงครึ่งของวันที่ 25 มิถุนายน 2556 หน้าบาลัยละหมาด ที่บ้านปูลากาชิง หมู่ที่ 4 ต.กอลำอ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยคนร้าย 2 คน ขับมอเตอร์ไซค์มาจอดหน้าบาลัย แล้วใช้อาวุธปืน AK-47 ยิงจนเสียชีวิต

ญาติคนนี้ เล่าว่า หลังจากพนักงานอัยการจังหวัดปัตตานีสั่งไม่ฟ้องในคดีที่เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบเมื่อปี 2555 บาบอก็กลับมาอยู่ในหมู่บ้าน ตั้งใจจะเปิดปอเนาะสอนศาสนาอิสลามให้เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาเด็กติดยาเสพติดประเภทน้ำต้มใบกระท่อมอย่างหนัก

หลังจากเปิดปอเนาะไประยะหนึ่ง ปรากฏว่าสามารถทำให้เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านเกือบทั้งหมดเลิกติดยาเสพติดได้

"แม้คดีของบาบอสิ้นสุดไปแล้ว แต่ก็มีทหารมาเยี่ยมเกือบทุกวัน ไม่สามรถไปไหนได้ เพราะกลัวเจ้าหน้าที่รัฐคิดว่าหลบหนี ทำให้บาบอต้องอยู่อย่างระมัดระวังตลอดเวลา"

"หากเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วต้องถูกกระทำอย่างนี้อีก ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่สามารถหาที่พึ่งได้ ดังนั้นผมคิดว่าการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็น เหมือนกับการตีหน้าแล้วลูบหลัง โดยเอาประชาชนเป็นเครื่องมือ"

"ผมคิดว่าทางออกของปัญหา คือ รัฐต้องจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ เรียนจบแล้วก็ให้คนมีงานทำ สิ่งนี้จะแก้ปัญหาความไม่สงบได้"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์: ความรุนแรงทางเพศในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอียิปต์

Posted: 16 Jul 2013 08:49 AM PDT

ผู้หญิงอียิปต์เผชิญกับความรุนแรงทางเพศในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่สัมผัสแตะต้องตัวไปถึงการข่มขืนในช่วงการต่อสู้ทางการเมือง ปรากฏการณ์เช่นนี้ถูกอธิบายว่าเป็นเพราะผู้ชายบางคนถือโอกาสจากช่วงเวลาที่ระบบการรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของรัฐอ่อนแอหรือล้มเหลว หรือเป็นการกระทำอย่างเป็นระบบเพื่อกันไม่ให้ผู้หญิงเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านผู้ครองอำนาจรัฐ

ตัวเลข Human Rights Watch - จำนวนการคุกคามและความรุนแรงทางเพศ 91 (ของกลุ่มอื่นบอกว่า 150 กรณี) กรณีในเวลาเพียง 4 วันก่อนการยึดอำนาจโดยทหาร และเกิดกรณีการข่มขืน 3 กรณี รวมถึงผู้หญิงอายุ 22 ชาวดัทช์ที่โดนรุมโทรมโดยผู้ชุมนุม

ผู้หญิงอียิปต์รู้สึกว่าตัวเองถูกคุกคามในช่วงสมัยรัฐบาลประธานธิบดี Morsi พวกเธอพูดถึงการถูกข่มขู่ไปจนถึงแตะเนื้อต้องตัวบนท้องถนนทุกวันที่ออกจากบ้านไปทำงานหรือทำธุระ และมองว่ารัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี Morsi พยายามเปลี่ยนวิถีชีวิตทางสังคมให้เข้มงวดตามการตีความทางศาสนามากขึ้น เช่นการลดอายุการแต่งงานตามกฎหมายของผู้หญิงเหลือ 9 ขวบ เป็นต้น หรือการบีบให้ผู้หญิงกลับเข้าไปทำหน้าที่เฉพาะในบ้าน ไม่ให้ทำงานนอกบ้านอีกต่อไป บรรดาผู้หญิงชนชั้นกลางที่ทำงานและมีบทบาทนอกบ้านไม่พอใจมาก จึงเข้าใจได้ว่าผู้หญิงหลายกลุ่มจะยินดีกับการยึดอำนาจทางการเมืองของทหาร

แต่ก็น่าสนใจว่าการรัฐประหารจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งทางการเมืองและสังคมสำหรับคนกลุ่มต่าง ๆ หรือไม่ หรือในที่สุดอียิปต์จะหลีกเลี่ยงการปะทะอย่างรุนแรงไม่ได้ระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลเดิมกับผู้ต่อต้าน

ผู้สนับสนุน Muslim Brotherhood ก็ชุมนุมประท้วง และดูเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐก็มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมด้วย
วิธีการจัดการที่น่าสนใจจากประสบการณ์อียิปต์ สำหรับสังคมที่มีการชุมนุมทางการเมืองเพื่อสนับสนุนและต่อต้านผู้ครองอำนาจ และมีการใช้ความรุนแรงทางการเมืองกับผู้หญิง

ผู้หญิงบอกว่าไม่อยากเป็นเป้าถูกทำร้าย แต่ก็อยู่นิ่งไม่ออกมาเปล่งเสียงให้เป็นที่รับรู้ไม่ได้

ผู้ชุมนุมประท้วงชายร่วมกันทำโล่ห์มนุษย์เพื่อปกป้องหญิงที่มาร่วมชุมนุม  กั้นเชือกเป็นช่องทางเดินเพื่อให้ผู้หญิงที่มาร่วมชุมนุมขึ้นมาจากสถานีรถใต้ดินได้โดยไม่ต้องถูกล่วงละเมิดโดยผู้ชายที่อยู่บริเวณนั้น การเดินตรวจตรา เพื่อคอยป้องกันผู้หญิงจากการถูกลวนลาม ได้ผลสำหรับการคุกคามในระดับไม่มากนัก

มีหลายกลุ่มที่ทำเช่นนี้อยู่ เช่น Tahrir Bodyguards, Operation Anti-Sexual Harrassment and Assault เป็นต้น
มีการตั้งข้อสังเกตว่า สังคมอียิปต์มีฐานทางวัฒนธรรมของการลวนลามทางเพศอยู่แล้ว หลังการแข่งขัน football หรือช่วงเทศกาลที่มีคนออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกันเยอะๆ

ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร -- การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ และการวางมาตรการร่วมกันคุ้มครองผู้ชุมนุมหญิงที่น่าสนใจคือ เมื่อเกิดรัฐประหาร ผู้หญิงที่สนับสนุน Muslim Brotherhood ได้ถามว่าถึงเวลา "Sexual Jihad" หรือยัง พวกเธอหมายถึงการเสนอบริการทางเพศให้ผู้ชายร่วมขบวนการ เพื่อให้ผู้ชายมีแรงใจต่อสู้ต่อไป

ประเด็นความเป็นหญิง/ความเป็นชายซับซ้อนมากในการต่อสู้ทางการเมือง ผู้หญิงบางคนเลือกจะชุมนุมใกล้บ้าน กับครอบครัวและชุมชน การชุมนุมย่อยๆกระจัดกระจายเหล่านี้อาจไม่เป็นข่าวให้โลกรู้ แต่ก็เป็นช่องทางของคนมากมายที่จะแสดงออกทางการเมือง โดยบอกว่าไม่ต้องไปที่คนมากๆให้เป็นเป้าก็เปล่งเสียงได้

การต่อสู้ทางการเมืองมีปัญหาซ้อนกันอยู่หลายเรื่อง เรื่องเพศสภาพและความรุนแรงทางเพศก็เป็นเรื่องหนึ่ง น่าสนใจว่าคนแต่ละกลุ่มตระหนักรู้และจัดการ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้าวตราฉัตรเตรียมต้อนรับ "เช็ค สุทธิพงษ์" เยี่ยมโรงงาน

Posted: 16 Jul 2013 08:45 AM PDT

ข้าวตราฉัตรเตรียมเปิดโรงงานต้อนรับ "เช็ค สุทธิพงษ์" และคณะสื่อมวลชนชมกระบวนการผลิตข้าว ส่วนผู้ผลิตข้าว "โค-โค่" เตรียมเข้าพบมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอรายละเอียดการตรวจสอบ

วอยซ์ทีวี รายงานเมื่อวานนี้ (16 ก.ค.) ว่า นายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ได้เข้าพบนายยรรยง พวงราช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงกรณีโพสต์ข้อความบนโซเชียลเน็ตเวิร์กเรื่องข้าว (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

โดยนายยรรยง กล่าวว่า จากการหารือกัน เชื่อว่าทั้งคุณสุทธิพงษ์ และบริษัท ทีวีบูรพา ไม่ได้มีเจตนาสร้างความเสียหาย

ส่วนนายสุทธิพงษ์ ระบุว่าไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น และที่ผ่านมา ได้พยายามติดต่อภาคเอกชนและแสดงเจตนารมย์ ที่จะไปชี้แจง ล่าสุด ได้ชี้แจงไปยังเจ้าของโรงสี ในจังหวัดยโสธร เพื่อทำความเข้าใจแล้ว และการหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ก็เพื่อชี้แจงเจตนาที่ทำไปเท่านั้น ไม่ใช่การขอความช่วยเหลือเรื่องคดีความ พร้อมทั้งเสนอแนวทางรับผิดชอบ โดยเสนอแผนประชาสัมพันธ์ในการกอบกู้ภาพลักษณ์ข้าวไทย ผ่านรายการคนค้นฅน และกบนอกกะลา แต่จะต้องขออนุญาตทางช่องที่ออกอากาศ และผู้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ก่อน

ด้านสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ระบุว่าไม่ติดใจอะไร พร้อมยกให้เป็นบทเรียนของสังคมในการส่งต่อข้อมูลโดยไม่มีการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่

 
 

ขณะเดียวกันโรงงานข้าวตราฉัตร ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้โพสต์สเตตัสในเพจว่านายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เตรียมเยี่ยมชมกระบวนการผลิตข้าวในวันพรุ่งนี้ (17 ก.ค.) โดยลงข้อความว่า "ข้าวตราฉัตร ยินดีต้อนรับคุณสุทธิพงษ์ พิธีกรรายการคนค้นฅน และคณะสื่อมวลชน เข้าชมกระบวนการผลิตข้าวในวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2556 เวลา 10.00 น. ในโอกาสนี้เรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าเยี่ยมชมด้วยนะคะ"

ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี และศููนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ได้รายงานผลการตรวจข้าวสารถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง พบข้าวสารถุง 12 ยี่ห้อไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม และมีข้าว 33 ยี่ห้อพบสารรมควันข้าวตกค้างในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ และมีข้าวถุง 1 ยี่ห้อโค-โค่ ที่มีสารรมควันข้าวเกินมาตรฐานนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ล่าสุด วอยซ์ทีวี รายงานเมื่อวันนี้ (16 ก.ค.) ว่า ผู้บริหารบริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงยี่ห้อโค-โค่ เปิดเผยผ่านเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัทว่า เตรียมขอเข้าพบเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอรายละเอียดการตรวจสอบ หากพบว่ามีความน่าเชื่อถือ จะดำเนินการเรียกเก็บคืนข้าวที่มีปัญหาทั้งล็อตทันที โดยยังไม่ตัดสินใจว่าจะฟ้องกลับมูลนิธิฯ หรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาพลักษณ์ที่บิดเบี้ยวต่อล็อบบี้อเมริกัน

Posted: 16 Jul 2013 08:44 AM PDT

ผู้เขียนมองว่าการมุ่งโจมตีใคร องค์กรใด เช่น พรรคการเมืองไทยบางพรรค เกี่ยวกับการล็อบบี้ใครหรือองค์กรใดในอเมริกา เป็นเรื่องของความไม่รู้ในเรื่องกลไกการทำงานในด้านการเมืองและด้านธุรกิจ รวมถึงด้านกฎหมาย เพราะการล็อบบี้เป็นงานหรือธุรกิจอย่างหนึ่งที่ดำเนินการอย่างเปิดเผยและถูก ต้องตามกฎหมายอเมริกัน ที่มีมาเป็นเวลาเนิ่นนาน หลายทศวรรษ อย่างน้อยก็ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา

ไม่แปลกที่ในช่วงประมาณ 10 กว่าปีมานี้ งานล็อบบี้ของรัฐบาลไทยในอเมริกาหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ด้านความมั่นคง ประสบความล้มเหลวอย่างแทบสิ้นเชิง เพราะไม่มีหน่วยใดเห็นคุณค่าและความสำคัญของเรื่องนี้มากนัก มีเพียงเอกชนไทยไม่กี่รายที่เห็นว่างานล็อบบี้มีประโยชน์ต่อธุรกิจการเมืองของพวกเขา

ทั้งๆที่ล็อบบี้ เป็นงานอย่างหนึ่งที่ถูกกฎหมายอเมริกัน เป็นงานบนดิน ไม่ใช่งานใต้ดินตามความเข้าใจของคนไทยจำนวนไม่น้อย ที่รู้สึกว่าการล็อบบี้ เป็นงานน่ารังเกียจและมีเงื่อนงำ

หากแท้ที่จริงแล้ว งานล็อบบี้ ที่อาศัยผู้ล็อบบี้ หรือที่เรียกกันว่า "ล็อบบี้ยิสต์" นั้นอาศัยศิลปะการเจรจาต่อรองผลประโยชน์อย่างยิ่งยวด, ล็อบบี้ยิสต์แต่เดิมนั้น หมายถึง ผู้ทำการแนะนำชักชวนสมาชิกรัฐสภาให้เห็นด้วยกับร่างกฎหมายต่างๆที่นำเสนอใน สภา แต่ต่อมาภายหลังการล็อบบี้ไม่ได้ถูกจำกัด เพียงแต่ประเด็นทางด้านกฎหมายหรือด้านการเมืองเท่านั้น การล็อบบี้ ได้ขยายออกสู่เรื่องทางด้านเศรษฐกิจและเรื่องอื่นอีกด้วย

การไม่สามารถแยกการเมืองกับ เศรษฐกิจ ออกจากกันได้ เพราะเป็นเรื่องว่าด้วยผลประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ ในอเมริกานั้น แต่เดิมการออกกฎหมายแต่ละฉบับจะต้องผ่านการเจรจาต่อรอง ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวโยงไปถึงกลุ่มทุน ที่ได้หรือเสียผลประโยชน์ กลุ่มเหล่านี้จึงต้องกระโดดออกมาปกป้องตัวเองผ่านการเจรจาต่อรองในลักษณะ ต่างๆ เพราะแน่นอนว่า ในทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจก็ตาม ไม่มีใครได้หรือเสียทั้งหมด แต่จะต้องมีฝ่ายได้บ้างเสียบ้าง ดังนั้น ความสำคัญของงานล็อบบี้ จึงอยู่การเจรจาเพื่อให้ฝ่ายของตนเองได้ประโยชน์จากช่องทางกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนั้น

ชีวิตนักนักการเมืองอเมริกันจำเป็นต้องแสวงหาความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ กับคะแนนเสียงจากประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ยังไม่ได้ชื่อว่า เป็นนักการเมืองอาชีพ ความหมายก็คือ ในแง่ผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆนักการเมืองก็ทิ้งไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันในแง่ของคะแนนเสียงของประชาชนก็มีความสำคัญที่จะต้องคำนึง ถึง 

เมื่อไม่ทิ้งกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวก็จะสนับสนุนนักการเมือง เพื่อให้มีกำลังเข้าถึงประชาชน ซึ่งนั่นก็หมายถึงทุนสนับสนุนในการหาเสียงเลือกตั้งนั่นเอง หากไม่มีกลุ่มประโยชน์คอยจุนเจือนักการเมืองก็ "ต้องจอด" เหมือนกัน ไปไหนไม่รอด ธรรมนูญทางการเมืองของอเมริกัน จึงระบุให้ล็อบบี้ยิสต์ เป็นอาชีพสุจริตตามกฎหมายอาชีพหนึ่ง

อาชีพล็อบบี้ในอเมริกา สามารถทำได้ทุกรัฐ แต่อย่างที่รู้กัน บริเวณที่มีผู้ทำอาชีพนี้หนาแน่นมากที่สุดได้แก่ ดีซีแอเรีย หรือพื้นที่ 3 รัฐ ได้แก่ เวอร์จิเนีย แมรี่แลนด์และวอชิงตัน ดี.ซี. แต่นักล็อบบี้ที่ทรงอิทธิพลกลับมีมากที่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย เพราะเป็นรัฐใหญ่และมีกลุ่มผลประโยชน์จำนวนมากในหลายด้าน หลายอาชีพ โดยผู้ที่ทำอาชีพนี้สามารถดำเนินธุรกิจทั้งในรูปบุคคลและองค์กร อดีตนักการเมืองจำนวนไม่น้อย ที่พลิกผันตัวเองมาทำธุรกิจล็อบบี้ จนประสบผลสำเร็จ เช่น Dick Gepthardt อดีต สส.พรรคเดโมแครต ที่ทำเงินนับล้านดอลลาร์จากลูกค้าอย่าง Goldman Sachs ซึ่งเป็นบริษัทการเงินใหญ่ในอเมริกา แม้แต่ John Breaux ก็ผันตัวเองจากสมาชิกวุฒิสภา (ซีเนเตอร์) มาเป็นล็อบบี้ยิสต์เช่นกัน

ในปี 2011 ปรากฎว่า มีการใช้เงินล็อบบี้ในอเมริกามากกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในปีก่อนหน้านั้นการใช้เงินล็อบบี้สูงถึง 3,500 ล้านดอลลาร์ เฉพาะในเขตดี.ซี.แอเรียแห่งเดียว

จนถึงปัจจุบันธุรกิจล็อบบี้ ได้ขยายออกไปในธุรกิจหลายประเภท เช่น ธุรกิจการเงินการธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกิจด้านการคมนาคม ธุรกิจด้านพลังงาน ธุรกิจด้านการเกษตร ธุรกิจด้านการทหาร ฯลฯ โดยธุรกิจล็อบบี้ที่มีเงินไหลเวียนมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจด้านเงิน การประกันและอสังหาริมทรัพย์ คู่กับธุรกิจด้านสุขภาพ (ตัวเลขระหว่างปี 1998-2010) 

ตัวเลขเงินไหลเวียนดังกล่าวขึ้น กับสถานการณ์ทางการเมืองของอเมริกาด้วยว่า มีประเด็นใดที่มีการขับเคี่ยวผลประโยชน์กัน โดยเฉพาะในประเด็นสาธารณะบางประเด็น ที่ต้องผ่านการอนุมัติจากทั้ง 2 สภา คือ สภาบนและสภาล่าง ก็อาจต้องอาศัยการล็อบบี้กันหนักหน่วงหน่อย นอกเหนือไปจากการล็อบบี้ ยังรวมถึงการทำแคมเปญ ทำโฆษณา เพื่อให้ประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ได้เข้าใจร่วมกัน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนนโยบายหรือกฎหมายต่างๆ ที่ต้องการผลักดัน

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังพบว่า มีหลายบริษัทและแม้กระทั่งรัฐบาลต่างประเทศ จ้างบริษัทล็อบบี้อเมริกันให้ทำงานให้ตน ส่วนใหญ่เป็นการทำงานล็อบบี้ในเชิงธุรกิจการค้าและการลงทุน รวมถึงการคงหรือขยายตลาดสินค้าเข้าไปยังตลาดอเมริกัน อย่างไรก็ตามมีหลายบริษัทล็อบบี้ที่ดำเนินการอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งสามารถต้องโทษตามที่กฎหมายระบุไว้ ถึงขั้นจำคุก

ประเทศในเอเชียที่มีชื่อ ในการว่าจ้างนักล็อบบี้ หรือล็อบบี้ยิสต์ในปัจจุบัน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ แม้ตอนหลังรัฐบาลพม่า โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เอง ก็มีการว่าจ้าง ล็อบบี้ยิสต์ที่วอชิงตันดี.ซี. เช่นกัน จนกระทั่งพม่าได้รับการยอมรับจากรัฐบาลอเมริกันยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในที่สุด ยุทธศาสตร์ที่ล็อบบี้ยิสต์วางไว้ในกรณีของพม่า ได้แก่ การวางแผนให้สมาชิกสภาฝ่ายอเมริกันพบปะกับคนของรัฐบาลพม่า มีการจัดงานเลี้ยงในโรงแรมแห่หนึ่งย่านดี.ซี.แอเรีย โดยฝ่ายตัวแทนของรัฐบาลพม่า รวมถึงการเจรจาเพื่อให้มีการเดินทางของสมาชิกคองเกรสและสมาชิกซีเนตทั้งสอง พรรคเดินทางไปพม่า จนประสบผลสำเร็จ ปรากฏว่ามีสส.และ สว.อเมริกันเดินทางไปพม่าอยู่หลายเที่ยว ก่อนที่รัฐบาลอเมริกันจะยกเลิกการคว่ำบาตรรัฐบาลเนปิดอว์ในที่สุด

ทั้งนี้ ในส่วนของการคืนความสัมพันธ์กับพม่านี้ ส่วนหนึ่งได้รับการผลักดันจากกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มร่วมด้วย เช่น กลุ่มธุรกิจพลังงานในอเมริกา  (ที่ปรากฎชื่อในสารบบธุรกิจพลังงานอเมริกัน ได้แก่ API – American Petroleum Institute , Chevron,Total S.A., Royal Dutch Shell )  แม้แต่บริษัทเครื่องดื่มอย่างโคคาโคล่า เพื่อให้นักลงทุนอเมริกันมีโอกาสเข้าไปลงทุนในพม่า หลังจากที่พวกเขาต้องเสียโอกาสให้กับชาติอื่นไปมาก ขณะที่ธุรกิจอุตสาหกรรมด้านทหารอยู่ระหว่างการเจรจา(ดีล) เหมือนกับบริษัทของสหภาพยุโรป ที่ปากว่าตาขยิบ ปากก็พร่ำบ่นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า แต่บริษัทของยุโรปบางรายกลับไปลงในพม่า โดยเฉพาะกิจการพลังงานและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ

เมื่อคราวไปเยี่ยมแคปปิตัลฮิล หรือสภาคองเกรส ที่วอชิงตันดี.ซี. ผู้ที่พาผู้เขียนเข้าไปยังสำนักงานของนักการเมืองระดับชาติของอเมริกัน มีอาชีพเป็นล็อบบี้ยิสต์อเมริกัน เขาทำงานด้านนี้มานานหลายปี รวมทั้งเคยทำงานกับอดีตนักการเมืองไทยบางคน ที่เข้าใจระบบการล็อบบี้ของอเมริกันว่า การล็อบบี้เป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง และเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก คุณลักษณะของเขา ก็คือเป็นผู้ที่รู้จักนักการเมืองจำนวนหลากหลาย ทั้งสองฝั่งไม่ว่าจะเป็นฝั่งรีพับลิกันหรือเดโมแครต เขาบอกว่า ไม่ว่าเรื่องใดล้วน ต้องอาศัยเทคนิคการล็อบบี้ทั้งนั้น แต่ต้องเป็นการทำงานที่อยู่ในบริบทของ กฎหมายอเมริกัน จนเมื่อผู้เขียนกลับมาถึงลาสเวกัส เขายังส่งเพื่อนของเขาที่เป็นล็อบบี้ยิสต์จากเท็กซัส มาหาเพื่อกิจกรรมรื่นรมย์ในเมืองนี้ การมาลาสเวกัสของเขามเป้าหมายเพื่องานล็อบบี้บางอย่าง เราพบกันที่ร้านอาหาร อิตาเลียนแห่งหนึ่ง บนถนนพาราไดซ์ เยื้องลาสเวกัสคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์

ล็อบบี้ยิสต์เล่าว่า นักธุรกิจและนักการเมืองไทยเข้าใจเรื่องการล็อบบี้ในอเมริกาน้อยมาก ที่ผ่านมามีการดำเนินการว่าจ้างล็อบบี้ยิสต์ค่อนข้างน้อย มีแค่บริษัทใหญ่ของไทยบางรายซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติที่สนใจเรื่องนี้ จนทำให้ก่อนหน้านี้มีคดีความเรื่องเงินบริจาคเข้าพรรคการเมืองอเมริกันบาง พรรค ผ่านการประสานงานโดยคนไทยบางคนในเขตแมรี่แลนด์ แต่อย่างไรก็ตามถึงตอนนี้บริษัทแห่งนี้ก็ไม่ได้ละความพยายามในการล็อบบี้ ผ่านบริษัทล็อบบี้ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในอเมริกา

ในส่วนของรัฐบาลไทย เขาบอกว่า หลายปีมาแล้วรัฐบาลไทยไม่ได้สนใจหรือมีความพยายามที่จะใช้ล็อบบี้ยิสต์ และไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร เจ้าหน้าที่ด้านการทูตของไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจงานล็อบบี้ ไม่เหมือนกับเจ้าหน้าที่ด้านการทูตของประเทศอาเซียนบางประเทศ เช่น กัมพูชา พม่า มาเลเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ ซึ่งมักมีการเชิญและพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับค่ายล็อบบี้ยิสต์ต่างๆอยู่เป็น ประจำ ทำให้มีโอกาสทราบความเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะการออกกฎหมายของรัฐสภา และนโยบายของรัฐบาลอเมริกันที่มีผลกระทบกับประเทศเหล่านั้น  ในประเด็นสิทธิด้านการค้าการลงทุนในอเมริกา หรือแม้แต่ประเด็นความมั่นคงในภูมิภาค

หากมองถึงสายสัมพันธ์และความใกล้ ชิดระหว่างนักการเมืองอเมริกันกับเจ้าหน้าที่ทูตของไทยและรัฐบาลไทย หรือกระทั่งนักการเมืองของไทย เรายังตกเป็นรองในแง่ของการเข้าถึงข้อมูลและสายสัมพันธ์อยู่มาก ด้วยเหตุที่ไทยไม่มีการลงทุนด้านงานล็อบบี้เอาเลย เป็นอาการหวัง "ค้าฟรี" อยากได้กำไร แต่ไม่ยอมลงทุน

ฉะนั้น หากใครใช้บริการล็อบบี้อเมริกันแสดงว่า เขาเข้าใจกติกาข้อนี้ของอเมริกัน รวมถึงเข้าถึงหัวใจของการล็อบบี้ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ใครเป็นใคร  ที่สำคัญมันเป็นระบบและกติกาของที่นี่ 

คนใดหรือพรรคการเมืองใดก็ตามที่ออกมาโวย เป็นเพราะตัวเองเข้าไม่ถึง หรือไม่รู้เรื่องงานล็อบบี้ในอเมริกามากกว่า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศอ.บต.ระดมมือดีตั้งศูนย์สันติภาพ ติดตามเหตุรุนแรงในเดือนรอมฎอน

Posted: 16 Jul 2013 08:06 AM PDT

ศอ.บต.ระดมมือดีจากทุกหน่วยพร้อมตัวแทนประชาสังคม ตั้งศูนย์ประสานงานส่งเสริมสันติภาพรอมฎอน รวมทั้งนายสมเกียรติ บุญชู อดีตเลขสมช. สมัยนายถวิล เปลี่ยนศรีร่วมทีม ติดตามเหตุรุนแรงในเดือนรอมฎอน รวม 60 วัน สภาประชาสังคมใต้ หนุนการยกระดับข้อตกลงร่วม เสนอข้อเรียกร้องทั้งต่อไทยและบีอาร์เอ็น

ระดมมือดีติดตามเหตุรุนแรงในเดือนรอมฎอน
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอมพ.ศ.2556 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วน จำนวน 42 คน พร้อมตั้งเป็น "ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอมฎอนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปร)" ที่ศอ.บต.

คณะทำงานดังกล่าว มีหน้าที่หลัก 2 ข้อ คือ สังเกตการณ์และติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอมฎอน อีกข้อ คือการติดตามและตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เฉพาะเดือนรอมฎอนและหลังเดือนรอมฎอน รวมเวลา 60 วัน รวมทั้งรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง

เป็นที่น่าสังเกตว่า การตั้งคณะทำงานชุดนี้ มีชื่อของนายสมเกียรติ บุญชู ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมาเป็นที่ปรึกษา โดยนายสมเกียรติ เป็นอดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และเป็นคนหนึ่งที่มีเคยบทบาทสำคัญในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับขบวนการต่อต้านรัฐไทยในสมัยที่นายถวิล เปลี่ยนศรี เป็นเลขาธิการ สมช.

แหล่งข่าววงในระบุว่า การที่นายสมเกียรติได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาครั้งนี้ด้วย เพราะมาจากความต้องการดึงคนที่มีบทบาทและเคยมีบทบาทในกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้าใจถึงกระบวนการพูดคุยสันติภาพจากส่วนต่างๆ เข้าร่วมทำงาน เนื่องจากประเทศไทยมีคนที่เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพไม่กี่คน จึงจำเป็นที่จะต้องดึงเข้ามาทำงาน โดยไม่คำนึงมาจากฝ่ายใด

ตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสันติภาพ
หนังสือแต่งตั้งดังกล่าว มีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีหนังสือขอคำแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับส่วนราชการในเดือนรอมฎอนประจำปี ฮ.ศ.1434 (พ.ศ.2556) จากสำนักจุฬาราชมนตรีเพื่อให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่และสภาพแวดล้อมเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี รวมทั้งการสื่อสาร สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน

ดังนั้น เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ศอ.บต. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอม พ.ศ.2556 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้แทนจาก ตำรวจ ทหาร พลเรือน ภาคประชาสังคมตลอดจนฝ่ายปกครอง และภาคประชาชน จำนวน 42 คน จัดตั้งเป็น "ศูนย์ประสานงานและส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอมฎอนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปร)" ที่สำนักประสานงานเครือข่ายภาคประชาสังคมและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ศอ.บต. หมายเลขโทรศัพท์ 0-7320-3887 หมายเลขโทรสาร 0-7327-4374

คำสั่งดังกล่าวลงนามโดยเลขาธิการ ศอ.บต. ให้มีอำนาจหน้าที่คือ

1. สังเกตการณ์และติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานราชการและหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอมฎอนประจำปี พ.ศ.2556 ตามคำแนะนำของสำนักจุฬาราชมนตรีและนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ติดตามและตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เฉพาะเดือนรอมฎอนและหลังเดือนรอมฎอน รวมเวลา 60 วัน (ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2556) รวมทั้งรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากประชาชน ผู้นำ และหน่วยงานพื้นที่ ที่เกี่ยวข้องกรณีเกิดหรือไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ในช่วงเดือนรอมฎอน
3. รายงานผลการปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 2 พร้อมข้อเสนอแนะเพื่ออำนวยการและประสานงานตามกระบวนการส่งเสริมสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. สนับสนุนช่วยเหลือการดำเนินการส่งเสริมสันติภาพตาที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือต้นสังกัด

สภาประชาสังคมใต้ หนุนการยกระดับข้อตกลงร่วม
ขณะเดียวกันสภาประชาสังคมชายแดนใต้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 11/2556 เรื่อง สนับสนุนการยกระดับข้อตกลงร่วม ความริเริ่มสันติรอมฎอน 2013 โดยระบุว่า จากข้อตกลงร่วมที่จะหยุดก่อเหตุร้ายรายวันในเดือนรอมฎอนเริ่มปรากฏผลเป็นรูปธรรม ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงและพัฒนาความไว้วางใจของทั้ง 2 ฝ่ายมากยิ่งขึ้น จึงเสนอให้ฝ่ายรัฐบาลไทยเริ่มพิจารณาข้อเรียกร้อง 5 ข้อ และคำประกาศ 7 ข้อของกลุ่มB.R.N. ส่วนฝ่าย B.R.N.ควรเร่งสื่อสารกับกองกำลังในพื้นที่ให้ยุติการปฏิบัติการทางทหารทันที เพื่อพิสูจน์ว่า มีอำนาจในการบังคับบัญชากองกำลังติดอาวุธในพื้นที่ได้จริง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติผู้สูญเสียสลายชุมนุม เม.ย. - พ.ค. 53

Posted: 16 Jul 2013 06:57 AM PDT

อ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับญาติผู้สูญเสีย ให้ลงโทษผู้ที่ทำให้ผู้อื่นสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ลงโทษผู้ออกคำสั่งยุยง สั่งการบังคับบัญชาอันนำไปสู่ความรุนแรง รวมทั้งลงโทษผู้ปฏิบัติตามคำสั่ง และนิรโทษกรรมผู้ร่วมชุมนุมนับตั้งแต่หลัง 19 ก.ย. 49 ส่วนผู้ที่มุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ หรือกระทำผิดต่อทรัพย์ วางเพลิง ยังให้มีความผิดตามกฎหมาย

หมายเหตุ: เนื้อหาฉบับเต็ม "ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙" เสนอโดยญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2553 และช่วงท้ายเป็นความเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวโดย นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช.

 

000

เนื่องจากที่ผ่านมามีการยื่นเสนอร่าง พรบ.นิรโทษกรรมมากกว่า 5 ฉบับ โดยทุกฉบับมักจะอ้างว่าเป็นความต้องการของกลุ่มญาติผู้สูญเสีย นักโทษการเมืองที่อยู่ในระหว่างจองจำ ฯลฯ จึงต้องมีร่างฉบับต่างๆ ดังกล่าว

เมื่อกลุ่มญาติฯ พิจารณาร่างต่างๆ โดยละเอียด พบว่าไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และบางฉบับได้มีการสอดไส้ไม่กล่าวถึงปฏิบัติการทางทหารในการสลายการชุมนุม รวมทั้งคำว่า "ญาติผู้สูญเสีย" นั้น มิได้หมายความเฉพาะประชาชนแต่เพียงฝ่ายเดียว ยังมีทหารและข้าราชการ สื่อมวลชนที่ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด มีการเผาทำลายทรัพย์สินเอกชนจำนวนมาก

ทางกลุ่มญาติฯจึงได้ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายหลากหลายสำนัก นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมต้านรัฐประหาร ฯลฯ รวมถึงให้ความเห็นและรับฟังการวิเคราะห์จากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) แล้ว ทางกลุ่มญาติจึงเห็นว่าน่าที่จะได้ร่างกฎหมายฉบับประชาชนขึ้นมาเอง และใช้กลไกทางรัฐสภาผลักดันร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชนนี้ผ่านรัฐสภาเพื่อบังคับใช้ตามกฎหมาย

เมื่อกลุ่มญาติฯได้เตรียมนำเสนอร่างฉบับประชาชน กลับมีความพยายามทำลายความน่าเชื่อถือว่าร่างฉบับนี้จะทำให้นักโทษการเมืองจำนวนมากไม่ได้ออกจากคุก

ทางกลุ่มญาติจึงขอท้าทายบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร แกนนำ แกนนอน ฯลฯ แสดงความคิดเห็นต่อร่างฉับประชาชนนี้ และศึกษาเปรียบเทียบกับร่างอื่นอื่นว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และร่างไหนกันแน่ที่จะนำพาประเทศไทยและประชาชนกลับสู่สังคมแห่งสันติภาพ

จึงขอเชิญชวนท่านที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งในแบบภาพรวม และ/หรือ รายละเอียดแบบเรียงตามรายมาตรา เพื่อสร้างสังคมแห่งการแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุและผลต่อไป

ด้วยความเคารพ

 

พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
ผู้ประสานงานกลุ่มญาติฯ

 

000

ร่าง พรบ. นิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙

หลักการ

ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดต่อความสงบเรียบร้อยหรือต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙

เหตุผล

โดยที่ได้ปรากฏความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นเหตุให้มีการเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองของประชาชนตลอดจนมีการกระทำอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็นอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อันนำไปสู่การกล่าวหาและดำเนินคดีกับประชาชนจำนวนมาก ตลอดจนมีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ทรัพย์สินของทางราชการ และเอกชนถูกเผาทำลาย ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติทั้งทางด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย

ทั้งนี้ เมื่อได้คำนึงว่าบรรดาการกระทำต่างๆ ของประชาชนที่ได้กระทำไปเพื่อแสดงออกซึ่งความคิดทางการเมืองของประชาชน มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้งในทางการเมือง จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนในกรณีดังกล่าวเพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชนซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศและเป็นการรักษาคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้งเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยโดยใช้หลักนิติธรรม

อย่างไรก็ตาม ยังมีการกระทำรุนแรงโดยรัฐในการปราบปรามประชาชน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งข้าราชการและพลเรือน ทำให้ต้องมีการแยกแยะการกระทำใดๆที่เป็นความผิดร้ายแรงจนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต บาดเจ็บ ทุพลภาพ การเผาทำลายทรัพย์สินของเอกชน การกระทำเกินกว่าเหตุของผู้ปฏิบัติการ การออกคำสั่งบังคับบัญชา ฯลฯ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ออกจากการนิรโทษกรรมนี้ เพื่อให้มีการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้การกระทำเหล่านี้เกิดซ้ำขึ้นในภายหลัง

การทำให้กระบวนการยุติธรรมเดินหน้าเพื่อพิสูจน์ทราบความจริง นิรโทษกรรมให้กับบรรดาการกระทำความผิดอันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง และการลงโทษผู้กระทำความผิดร้ายแรงจนทำให้ผู้อื่นสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการออกคำสั่งยุยง การสั่งการบังคับบัญชาอันนำไปสู่ความรุนแรง สมควรที่จะต้องรับความผิดตามโทษานุโทษ อันจะเป็นรากฐานที่ดีต่อการลดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองของคนในชาติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดความสงบเรียบร้อยหรือต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ,พ.ศ..........."

มาตรา ๒

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓

(๑) บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลอันเป็นความผิดตามกฎหมายจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

(๒) บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปีตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

(๓) บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตาม มาตรา ๓ (๒) อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ (๑) หรือมาตรา ๓ (๒) ตลอดจนการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(๔) การกระทำใด ๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

การกระทำใด ๆ ของประชาชนทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมอันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่นการวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

บทบัญญัติในวรรคที่หนึ่งและสอง รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย

มาตรา ๔

การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการที่มิได้ฝ่าฝืนคำสั่งการบังคับบัญชา และ/หรือ ไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใด ๆ รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

บทบัญญัติในวรรคที่สองให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น

มาตรา ๕

เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา ๓ (๑), (๒) และ (๓) ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น

มาตรา ๖

ผู้ได้รับการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ไม่สามารถก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น

มาตรา ๗

การดำเนินการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

มาตรา ๘

ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

นายกรัฐมนตรี

000

 

ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับญาติผู้สูญเสีย

โดย นพ.เหวง โตจิราการ

ที่มา: http://uddred.blogspot.com/2013/07/53.html?spref=fb

 

ข้อคิดเห็นต่อ "ร่าง พรบ.นิรโทษกรรมของญาติวีรชน 53"

1.ญาติวีรชน 53 มีสิทธิโดยชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญในการ เสนอ "ร่างพรบ.นิรโทษกรรมของกลุ่มตน"

2.สำหรับผมเอง "ท่าทีต่อวีรชน"ยังคงเช่นเดิม และยังคงเป็นเช่นนี้ตลอดไปจนสิ้นลมหายใจ คือ "ท่านเป็นวีรชนผู้พลีชีพต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรมของประเทศนี้)

3.ความเห็นต่อไปนี้เป็นความเห็นทางกฎหมาย ที่เสนอเพื่อ "ถามคำตอบ"จากนักกฎหมายที่ร่างให้กับ "กลุ่มญาติวีรชน 53"

ไม่ได้ตั้งคำถามกับ และไม่มีความคิดเห็นที่เป็นลบต่อ "กลุ่มญาติวีรชน53" เพราะ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผู้ร่าง "น่าจะเป็น" อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย และนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน บางท่าน

เนื้อหาที่สำคัญของร่างนี้อยู่ในมาตรา 4

เพราะมาตรา 3 ล้วน กล่าวถึงการนิรโทษต่อผู้ที่

กระทำผิด พรก.ฉุกเฉิน48 พรบ.ความมั่นคง51 (ดูในมาตรา 3(1),)

พรก.ฉุกเฉินร้ายแรงและในพื้นที่ประกาศดังกล่าว กำหนดนิรโทษเฉพาะ "ความผิดลหุโทษ ความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียว ความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน2ปี"(ดูในมาตรา3(2))

ความผิดทั้งหมดนั้น ถ้ารับโทษก็พ้นกำหนดโทษไปแล้วครับ แทบไม่ต้องมานิรโทษอะไรกับอีกต่อไป

ซึ่งแม้จะมีความสำคัญแต่เมื่อเทียบน้ำหนักกับมาตรา 4 แล้วถือว่า น้อยกว่าอย่างมากมาย

แม้ในมาตรา3(3)นิรโทษให้ผู้ที่ "ไม่ได้เข้าร่วม" แต่ "มีความเกี่ยวเนื่อง" ซึ่งเป็นการสร้างปมขัดแย้งอย่างใหญ่หลวงในการ ตีความว่า"มีความเกี่ยวเนื่อง"มีความหมายว่าอย่างไร นิยามความเกี่ยวเนื่องอย่างไร

แม้จะบอกว่า นิรโทษให้การกระทำที่เป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร แต่ก็มีปัญหาว่า อะไรคือ "ผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางการเมือง" เช่น เพียงแค่นั่งดูทีวีถ่ายทอดอยู่กับบ้านเป็นความเกี่ยวเนื่องหรือไม่

คราวนี้ มาตรา 4 ก่อให้เกิดปัญหาและอันตรายอย่างใหญ่หลวงโดยเฉพาะ "คนเสื้อแดง และแกนนำของคนเสื้อแดง"

เพราะเจตนารมณ์ของคนร่าง บ่งบอกอย่างชัดแจ้งว่า "การชุมนุม มุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ" เพราะหากเสื้อแดง ไม่ได้มีการชุมนุมโดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธ ในตัวกฎหมายก็ไม่จำเป็นต้องเขียนสิ่งนี้ไว้

และที่เขียนเช่นนี้ก็เพราะคนที่อยู่ในคุกซึ่งมีแต่เสื้อแดงเท่านั้น และหลายคนก็มีคำพิพากษาในความผิดเรื่องการประทุษร้ายคนอื่นโดยใช้อาวุธนั่นแหละ เท่ากับ พ.ร.บ.นี้ไม่ต้องการนิรโทษคนเสื้อแดงที่อยู่ในคุก

ไม่เพียงแต่เท่านั้น เจตนารมณ์ของคนร่าง พ.ร.บ.นี้ ยังระบุ ถึง "การกระทำอันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่นการวางเพลิง เผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน"

ผู้ร่างย่อมมีแบบจำลองอยู่ห้วงคิดคำนึงแล้วว่า คนเสื้อแดง เป็นคนก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ,วางเพลิง,เผาทรัพย์,ปล้นทรัพย์,อันเป็นของเอกชน แล้ว จึงตราความผิดนี้ไว้ แล้วระบุว่าความผิดนี้นิรโทษไม่ได้ เพราะหากไม่คิดเช่นนี้แล้ว กำหนดรายละเอียดเช่นนี้ลงมาได้อย่างไร

โดยมุ่งหมายให้ เขาเหล่านั้น ยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

คนที่ติดคุกอยู่ในขณะนี้ มีแต่เสื้อแดง และศาลก็พิพากษาตามความผิดที่ได้ระบุไว้นี้แหละ คือ วางเพลิง เผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ ก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ก็คือต้องติดคุกต่อไปจนครบกำหนด

และยังหว่านแหไปรวมถึง "แกนนำ"ด้วย โดยให้รวมถึงการกระทำใดๆของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย

ท่อนแรกเป็นท่อนที่พุ่งเป้ามาที่ "คนเสื้อแดงและแกนนำของพวกเขา"ในขณะนี้ผู้ที่อยู่ในเรือนจำ "ล้วนเป็นพวกที่ ศาลพิพากษาว่า วางเพลิง เผาทรัพย์ เผาศาลากลาง อันก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนหรือ กระทำผิดต่อทรัพย์ทั้งสิ้น" ดังกล่าว

ดังนั้น เป็นเรื่อง ตลกร้าย ที่ "พรบ.นิรโทษ ไม่ต้องการให้นิรโทษต่อคนที่ติดคุก แต่ให้รับโทษต่อไปตามกฎหมาย"

แต่ผู้ที่ได้รับนิรโทษกลับเป็น

"เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับปฏิบัติการ (นี่หมายถึงทหารในภาคสนามชัดเจน) ที่ไม่ได้ฝ่าฝืน คำสั่ง การบังคับบัญชา และ/หรือ ไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุ (ทหารทุกคนเขายืนยันว่า เขาปฏิบัติตามคำสั่ง คำบังคับบัญชาทั้งนั้นครับ ไม่มีใครบอกดอกว่า เขาไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งและคำบังคับบัญชา

ทหารทุกคนเขายืนยันครับว่าเขาไม่ได้ทำเกินกว่าเหตุ เพราะเสื้อแดง มีชายชุดดำที่ติดอาวุธ M16 M79 M67 และสารพัดอาวุธสงคราม ดังนั้นทหารจำเป็นต้องยิงหัวสังหารชายชุดดำที่ติดอาวุธ เช่นนี้แล้วทหารทุกคนรอดหมดครับ)

ให้เป็นผู้พ้นกระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ สุเทพ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ร่วมวางแผนในการสังหารประชาชนก็จะรอดด้วย เพราะ

"การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจากการสลายการชุมนุม ไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการ หรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ รวมถึงการกระทำใดๆของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองหากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ

(อภิสิทธิ์สุเทพ และทหารทุกนายระบุชัดว่าเสื้อแดงมีชายชุดดำที่ใช้อาวุธสงครามสังหารทหาร จึงสมควรแก่เหตุที่จะใช้ทหาร 60,000นายสังหารคนเสื้อแดงครับ)

และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย

(อภิสิทธิ์สุเทพและนายทหารทุกคน มีกฎหมายพรบฉุกเฉินมาตรา 17 คุ้มครองครับว่าไม่ต้องรับผิดทั้งทางกฎหมายแพ่งอาญาและวินัยทางการปกครองครับ)

(จึงจะ) ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

โดยสรุปก็คือ เสื้อแดงที่อยู่คุก ที่ถูกพิพากษาว่า เผาศาลากลาง มีอาวุธสงครามในครอบครองหรือใช้ในการที่ผิดกฎหมาย ก็ต้องอยู่ในคุกไปจนครบกำหนด 33 ปี หรือ 22 ปีตามคำพิพากษา

ที่กำลังถูกดำเนินคดีก่อการร้ายก็ต้องดำเนินคดีไปจนถึงที่สุด

แต่อภิสิทธิ์สุเทพและทหารทุกคนทั้งนายและพล ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.นิรโทษนี้ เพราะ "กระทำการโดยสมควรแก่เหตุ ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย"

นี่ พรบ.นิรโทษกรรมนี้ ต้องการช่วยอภิสิทธ์สุเทพและทหารทั้งหลายที่มีส่วนร่วมในการฆ่าประชาชนและลงโทษคนเสื้อแดงและแกนนำใช่ไหมครับ?

จึงเรียนมาเพื่อ "กลุ่มญาติวีรชน 53"ได้โปรดทบทวนพรบ.นิรโทษของท่านด้วย และต้องสำรวจด้วยว่า "ใครเป็นร่างให้ท่าน และด้วยจุดมุ่งหมายอะไรกันแน่ครับ"

นพ.เหวง โตจิราการ 15 ก.ค. 56

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลกับข้อเสนอปฏิวัติการเมืองไทย ในงาน 224 ปี ทลายคุกบาสตีล

Posted: 16 Jul 2013 05:48 AM PDT

"ทลายคุกบาสตีล 2013"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเสนอปฏิวัติแบบแผนของชีวิตทางการเมืองไทย ใช้บรรทัดฐานเดียวกันทั้งนักการเมืองและเจ้า วิพากษ์คลิปทักษิณ เป็นปัญหายุทธศาสตร์เอาใจทหารของเพื่อไทย และวิพากษ์จุดอ่อนขบวนเสื้อแดง

ภาพวาดการทลายคุกบาสตีล วาดโดยฌ็อง-ปีแยร์ หลุยส์ส์ โลร็องต์ อูเอล(Jean-Pierre Louis Laurent Houël)

14 ก.ค.56 ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล จัดกิจกรรม"ทะลายคุกบาสตีล 2013" ในโอกาสวันปฏิวัติฝรั่งเศส โดยผู้ร่วมปราศรัยประกอบด้วย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิปรายประเด็น การปฏิวัติฝรั่งเศส ความสำคัญกับการปฏิวัติ 2475 ในประเทศไทยรวมทั้งวิพากษ์คลิปเสียงทักษิณ วิพากษ์จุดอ่อนและข้อจำกัดของขบวนการเสื้อแดงรวมทั้งรัฐบาลเพื่อไทย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อภิปรายเรื่องความสำคัญของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งในวันเดียวกันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดในปีที่ 116 และ จรัล ดิษฐาอภิชัยที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อภิปรายถึงเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีล

ภาพสมศักดิ์ ขณะปีนกำแพงคุกออกมา ภาพโดย Suda Rangkupan

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: การปฏิวัติคือการเปลี่ยนแบบแผนของชีวิต

ผมถือตัวเองเป็นเพื่อนของคนเสื้อแดง อาจจะไม่ใช่คนเสื้อแดงก็ได้มั้ง แต่ความลำบากที่จะพูดให้เพื่อนฟัง ซึ่งเราจะพูดอะไรบางอย่างที่มันไม่ถูกหูนัก ซึ่งลำบากใจ แต่ผมคิดว่าถ้าไม่เป็นเพื่อนกันจริงก็คงไม่พูด จริงๆแล้วถ้าเราเห็นใครบางคนไม่ใช่เพื่อนเรา กระทั่งเป็นศัตรูทางการเมืองเรา ความจริงเราไม่บอกเขาหรอกว่าเขาเป็นอย่างไร.. เวลาเราเตือนใครก็เพราะเรามองเขายังเป็นเพื่อนอยู่และมีความหวังดีอยู่

2 อาทิตย์ที่แล้ว คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ไปพูดที่หอเล็ก ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (งานเสวนา "การเมืองไทยกับอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ") แกพูดประเด็นหนึ่ง ว่าปัจจุบันสิ่งที่ต้องการ"ไม่ใช่การปฏิวัติ"แกมองว่า "เป็นแค่การปฏิรูป" จึงอยากเอามาคุย จริงๆ ตัวคำมันไม่ได้มีความหมายมากในตัวของมันเอง มันขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามว่าอะไรคือการปฏิวัติอะไรคือการปฏิรูป

เริ่มต้นด้วยการเสนอไอเดียวว่าเวลาเราพูดถึงการปฏิวัติเราหมายถึงอะไร อยากนิยามว่า "การปฏิวัติคือการเปลี่ยนแบบแผนของชีวิตบางอย่าง อาจเป็นชีวิตทางการเมือง สังคม ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรมก็ได้" อย่างสมัยนี้เราผ่านการปฏิวัติทางดิจิตอล ทีวีก็จะมีทีวีดิจิตอล อันนี้ถ้าเราบอกว่าเป็นการเปลี่ยนแบบแผนวิถีชีวิตแบบหนึ่งก็ได้

อย่างอเมริกา ยุโรป มันมียุคหนึ่งที่มีการปฏิวัติทางเพศ ที่เลิกถือว่าผู้หญิงอยู่กับเย้าเฝ้าเรือน วันนี้ผมจะมาเน้นเฉพาะประเด็นเรื่องปฏิวัติทางการเมือง ถ้าเรานิยามมันว่าคือการเปลี่ยนวิถีทางการเมือง เอาง่ายๆ อย่างก่อน 2475 เราถือว่ากษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดินเป็นเจ้าของการตัดสินใจ หลัง 2475 เราไม่ได้ถือแบบนั้นแล้วอย่างน้อยในทางทฤษฎี เพราะฉะนั้นในแง่นี้ถือเป็นการปฏิวัติไหม ก็ถือว่าเป็น

แต่ที่ผมอยากเสนอคือบางทีนักวิชาการเรียกการเปลี่ยนแบบวิถีชีวิตเป็นการเปลี่ยนในทางโครงสร้าง จะใช้เปลี่ยนแบบวิถีชีวิต โหมดวิถีชีวิตก็ได้ การปฏิวัติคือการที่เราเปลี่ยนตรงนี้ อย่างน้อยโดยหลักๆ เราไม่ได้ใช้แบบเดิมอีกต่อไป

 

ความรุนแรงไม่ใช่ประเด็นสำคัญของการปฏิวัติเท่ากับการเปลี่ยนวิถีชีวิต

ประเด็นคือการเปลี่ยนวิถีชีวิตเปลี่ยนด้วยความรุนแรงหรือไม่รุนแรงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ การเปลี่ยนบางอย่างรุนแรงแต่อาจไม่มีการเปลี่ยนวิถีชีวิตก็ได้ มันก็ไม่เกิดการปฏิวัติก็ได้ ในทางกลับกันถ้าเราเปลี่ยนแบบวิถีชีวิตโดยที่มันไม่ต้องผ่านความรุนแรงเลยก็ได้ เช่น ชนชั้นนำไทยอาจบอกว่า รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มี ม.8 ให้สถาบันกษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะละเมิดไม่ได้ ให้เลิกมาตรานี้ไปเลย มันผิดหลักการ วิถีชีวิตของเราในทางการเมืองก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ผ่านความรุนแรงเลยก็ได้

 

แบบวิถีชีวิตทางการเมืองปัจจุบันต้องการการปฏิวัติ

เพราะฉะนั้นประเด็นว่ามันต้องรุนแรงหรือไม่รุนแรง ที่คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ พูดนั้น ผมคิดว่าอาจสับสนประเด็นเรื่องความรุนแรง ประเด็นผมคือว่าเราจะเปลี่ยนโดยความรุนแรงหรือไม่รุนแรง อันนี้เราบอกไม่ได้ แต่อันหนึ่งที่เสนอคือแบบวิถีชีวิตทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้มันต้องการการปฏิวัติ ในความหมายที่ต้องการเปลี่ยนในแบบคนละเรื่อง

ภาพสมศักดิ์ ขณะบรรยาย ภาพโดย Suda Rangkupan

เราอยู่ในโลกเมทริกซ์, ยิ่งฝืนการเปลี่ยนแปลงโอกาสสันติจะน้อยลง

อย่างกรณีของรัฐธรรมนูญมาตรา 8 (องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้) ที่ผมเสนอมาโดยตลอดก็คือ เมืองไทยมันเหมือนอยู่ในหนังเรื่อง เมทริกซ์ (Matrix) ที่พระเอกตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตประจำวันปกติ และมีคนบอกว่าที่คิดว่าโลกจริงๆ มันไม่ใช่โลกจริงนะ โลกจริงมันเป็นเพียงตัวคุณนอนแก้ผ้าในหลอดแก้ว แต่ที่คิดว่าโลกนี้เป็นจริงนั้นเพราะมันมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ป้อนภาพให้คุณรู้สึกว่าเป็นโลกจริง ทั้งที่ความจริงแล้วเครื่องจักรมันจับมนุษย์ไว้ในหลอดแก้ว เพื่อหลอกให้มนุษย์รู้สึกว่ายังมีโลกปกติอยู่ ก็ใช้วิธีการป้อนข้อมูลเข้าไป เมืองไทยมันเป็นแบบนี้ เป็นวิถีชีวิตแบบที่อยู่ในโลกปลอมๆ

เราพูดเรื่องอื่นๆได้ทุกเรื่องโดยไม่ต้องกังวล เช่น เรื่องเณรคำ เรื่องนักการเมือง เรื่องคลิป เรื่องนายกปูจับมือผิดหรืออ้าปากมากเกินไป เรื่องนายอภิสิทธิ์ เราพูดได้ทุกเรื่องอย่างเป็นปกติ เราเป็นอะไรเราก็มีปฏิกิริยาออกไปอย่างธรรมชาติ แต่เรื่องเจ้าเราต้องคิดซ้ำแล้วซ้ำอีก มองซ้ายมองขวา กระซิบบ้าง ฯลฯ บรรทัดฐานคนละอย่างเราเหมือนอยู่ในโลกพิกลๆ แทนที่จะใช้บรรทัดฐานแบบเดียวกันหมดเป็นธรรมชาติ มันเป็นอะไรที่ไม่เป็นธรรมชาติ

เราเห็นนักการเมืองไม่ว่าฝ่ายไหนเราก็แสดงออกไปโดยธรรมชาติ ว่าไปเลย เราพูดไปถ้ามันผิดอีกฝ่ายก็ด่ากลับเป็นเรื่องปกติมาก แต่พออีกเรื่องหนึ่งเราใช้บรรทัดฐานอีกแบบ ต้องเชื่ออย่างเดียว ใช้วิธีการที่สอนมาทุกระดับตั้งแต่อนุบาล เรื่องแบบนี้มันต้องการความเปลี่ยนแปลงถึงแบบแผนการดำเนินชีวิตในทางการเมือง พูดง่ายๆว่ามันต้องการการปฏิวัติ ว่าทำแบบนี้ต่อไม่ได้ ฝืนธรรมชาติ ถ้าเรานิยามว่าการปฏิวัติคือการเปลี่ยนแบบแผน สิ่งที่เราต้องการก็คือการปฏิวัติ

แต่ที่ผมพยายามพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกในรอบหลายปีที่ผ่านมาคือ มันเป็นความต้องการธรรมชาติของมนุษย์สมัยใหม่ แล้วถ้าไปฝืนมันโอกาสที่จะเปลี่ยนแบบวิถีชีวิตแบบนี้อย่างสันติมันจะน้อยลง

หลายคนบอกว่าที่ผมทำอย่างนี้มันจะยิ่งก่อให้เกิดความรุนแรง ซึ่งมันไม่ใช่ ที่ผมพูดเรื่อนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อที่จะบอกว่าทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนมันโดยที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือความพยายามไปห้าม ไปบังคับ เวลาใครพูดอะไรหน่อยก็ตั้งข้อหา จับเข้าคุกตลอดเวลา แล้วพยายามที่จะฝืนตลอดเวลา อันนี้ล่ะมันยิ่งจะทำให้โอกาสเปลี่ยนแปลงแบบวิถีชีวิตมีโอกาสนำไปสู่ความรุนแรงได้

 

2475 โดยวิธีการคือรัฐประหาร แต่เป็นการปฏิวัติด้วย

ส่วนเรื่อง "การรัฐประหารทางการเมือง" คือการที่คนกลุ่มน้อย กลุ่มเดียว เข้ายึดอำนาจรัฐโดยไม่ถามประชาชนส่วนใหญ่ส่วนใหญ่ก่อน ศาลก็อยู่ๆ มาล้มรัฐบาล ก็ถือเป็นรัฐประหารเหมือนกัน คนก็จะต้องคำถามว่าแล้ว 2475 ล่ะ ซึ่งก็เป็นรัฐประหาร เหมือนกัน แต่ทำไมมันเป็นการปฏิวัติด้วย โดยวิธีการมันคือการรัฐประหารที่ยึดอำนาจโดยไม่ได้ถามประชาชนก่อน แต่ในยุคสมัยนั้นไม่มีการอนุญาตให้ถามประชาชนก่อน ไม่มีการอนุญาตให้ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาแล้วเสนอและรณรงค์ให้มีการยกเลิกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คณะราษฏรต้องการเลิกระบอบนี้แต่มันไม่มีทางเลือกอันอื่นก็ใช้วิธีการยึดอำนาจโดยไม่ได้ถามประชาชน แต่ว่าใช้ข้ออ้างว่า 2475 คือการรัฐประหาร ถ้าอย่างนั้นต้องต่อต้าน 2475 นั้นมันไม่ใช่ประเด็น การถามประชาชนก่อนมันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สังคมอนุญาตให้ถามได้ด้วย

รวมทั้งข้อเสนอต้องยกเลิกมาตรา112 เหตุผลก็เพื่อหลีกเลียงไม่ให้เกิดความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลง คือให้ทุกฝ่ายมาพูดเรื่องนี้อย่างเปิดเผยและรณรงค์ คนไม่เห็นด้วยก็รณรงค์กัน แต่ทุกวันนี้มันรณรงค์ซาบซึ้งได้ฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายทำไม่ได้

 

3 คำถามยอดฮิตจากคนรักเจ้า

มันมีคำถามยอดฮิตที่คนรักเจ้าชอบถาม 3 คำถาม

1. สถาบันไปทำอะไรให้มึงหรอ?

2. มึงเคยทำความดีอะไรมาหรือเปล่า?

3 ทำไมมึงไม่ด่านักการเมือง?

คำถามแรกที่ว่า "สถาบันกษัตริย์ไปทำอะไรให้มึง?" บางทีผมก็พูดกึ่งโจ๊กว่า ก็ยกเลิก 112 ก่อนสิ แล้วผมจะบอกให้ฟัง ประเด็นผมไม่ได้บอกว่าสถาบันกษัตริย์ทำอะไรให้ผมนะ ประเด็นก็คือว่าในที่สุดแล้วถ้าคุณไม่อนุญาตให้อภิปรายอย่างตรงไปตรงมา คุณจะรู้ได้อย่างไร คุณไปถามแบบนี้มันไม่มีความหมาย ไม่มีประโยชน์ อย่างเอาง่ายๆ อย่างสิ่งที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ และคุณสมัคร สุนทรเวช บอกทูตอเมริกาเหมือนกัน ตรงกันว่า 19 ก.ย.เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์อย่างไร มาอภิปรายกันตรงไปตรงมาไหม เอาแค่นี้ว่าสุเทพฝ่ายหนึ่ง สมัครฝ่ายหนึ่งสองฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมือง พูดตรงกันอย่างนี้เอามาพูดกันสิ แต่จะพูดได้คุณก็ต้องยกเลิก ม.112  ถึงจะพูดได้ เพราะหากพูดมากกว่านี้ก็โดนตั้งข้อหา

อำนาจของผู้ปกครองต้องได้มาด้วยความยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง

2475 เป็นการใช้วิธีรัฐประหารเพื่อปฏิวัติ คือเขาไม่มีทางเลือกทางอื่น หลักการที่ว่าต้องถามความยินยอมพร้อมใจของประชาชนก่อน นี่เป็นหลักการที่ควรใช้ในโลกสมัยใหม่ แต่ตอน 2475 เขาทำรัฐประหาร เขาไม่ได้ถามประชาชนจริง แต่ที่เขาไม่ถามประชาชนเพราะเขาไม่มีเงื่อนไขให้เขาถาม ตอนนี้ที่ผมเรียกร้องก็คือเรียกร้องให้เปิดเงื่อนไขให้คนเขาถาม จริงๆหลักการอันนี้ในภาษาอังกฤษมีคำพูดอยู่คำหนึ่งว่า "The power of the rulers must derive from the consent of the ruled" แปลเป็นไทยว่า "อำนาจของผู้ปกครองต้องได้มาด้วยความยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง" หรือพูดสั้นๆว่าเป็น Rule by consent  คือคุณต้องปกครองโดยการยินยอมพร้อมใจประชาชน

 

มนุษย์สมัยใหม่ถือว่าทุกคนเท่ากัน

การเลือกตั้ง หรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถพูดนั่นนี่ได้ นี่คือการทำให้การเมืองวางอยู่บนพื้นฐานของการยินยอมพร้อมใจของประชาชน ทำไมต้องมีการเลือกตั้ง ทำไมต้องมีเสรีภาพการแสดงออก ทำไมต้องให้ทุกคนสามารถพูดแสดงความเห็นที่เขารู้สึกอย่างไรต่อผู้ปกครองได้  เพราะหลักการมันเป็นอย่างนี้ หลักการที่ว่า อำนาจและสถานะทั้งหลายของผู้ปกครองในโลกสมัยใหม่ ต้องได้รับการยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าโดยหลักสมัยใหม่เราถือว่า เราทุกคนเท่าเทียมกัน

หลักการของมนุษย์สมัยใหม่ถือว่าทุกคนเท่ากันหมด เมื่อทุกคนเท่ากันหมด สถานะหรืออำนาจทุกอย่างไม่ว่าใครก็ตามจะได้มาก็โดยได้รับความยินยอมพร้อมใจ การยินยอมพร้อมใจที่รวมศูนย์ที่สุดก็คือการเลือกตั้ง แม้เราไม่สามารถให้การยินยอมพร้อมใจเป็นเอกฉันท์ได้ คน 30 ล้านคนจะให้เห็นชอบตรงกันไม่ได้ บางคนชอบทักษิณ บางคนชอบอภิสิทธิ์ เราถึงมีการเลือกตั้ง

ปัญหาของประเทศไทยปัจจุบันคือมันมี 2 มาตรฐานในประเด็นนี้ที่รวมศูนย์อยู่ที่ประเด็นเรื่องสถานะของสถาบันกษัตริย์ รวมถึงองค์กรที่ล้อมรอบสถาบันกษัตริย์ด้วย เช่น กองทัพ ตุลาการ องค์กรอิสระทั้งหลาย ที่ได้อำนาจจากการอิงอำนาจของสถาบันกษัตริย์ อิงกับหลักการใหญ่ของการที่อำนาจของสถาบันกษัตริย์เป็นอำนาจพิเศษอีกแบบหนึ่ง ประเด็นนี้เป็นประเด็นหัวใจของปัญหาโครงสร้างหรือแบบแผนชีวิตของการเมืองไทย

 

ใช้บรรทัดฐานเดียวกันหมดแล้วให้ประชาชนตัดสิน

ผมเพียงแค่ขอให้ใช้บรรทัดฐานเดียวกันหมด แล้วให้ประชาชนตัดสิน อย่างกรณีสถาบันกษัตริย์แม้นักวิชาการที่เชื่อในประชาธิปไตยก็ไม่เข้าใจสิ่งนี้ประเด็นรูปธรรม อย่างเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ปีที่แล้ว มีงานที่สีหบัญชร มีคนมาเป็นแสน มีนักวิชาการฝรั่งเขียนในเว็บไซต์ ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ช่วยรณรงค์เรื่อง ม.112 เป็นนักวิชาการที่สนับสนุนการเลือกตั้ง แต่เมื่อแกดูภาพที่เห็นก็บอกว่าเป็นรูปที่เป็นของจริง มีคนมาแสดงความจงรักภัคดีจริง มาเป็นหมื่นเป็นแสนแต่เวลาผมเห็นรูปพวกนี้ผมก็ยักไหล่ครับ ผมเชื่อว่าคนที่ไปจงรักภักดีในหลวงจริง แต่กิจกรรมแบบนี้มันขัดกับหลักการความยินยอมพร้อมใจของคน สมมติหากมีใครถือป้ายเชียร์ในหลวง แต่ถ้ามีคนไปถือป้ายคัดค้านได้ไหม อันนี้ตั้งเป็นคำถามนะครับ ซึงคำตอบในปัจจุบันนี้ก็คือไม่ได้ ใช่ไหม

 

โพลล์หรือประชามติที่มีความหมายทุกความเห็นต้องสามารถแสดงออกได้อย่างเสรี

การปกครองโดยการยินยอมพร้อมใจอย่างแท้จริงนั้น ก็ต้องให้คนที่คิดต่างสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่รณรงค์ความเห็นของเขาได้อย่างเต็มที่ ถ้าหากว่ามีการอนุญาต ดังนั้นเวลาผมเรียกร้องเรื่องนี้ผมไม่ได้บอกเลยว่า เอาเข้าจริงแล้วถ้าให้ทำโพลล์ ฝ่ายสนับสนุนสถาบันก็จะชนะ ซึ่งผมก็ไม่สงสัยว่าถ้าทำโพลล์แล้วจะออกมาสนับสนุนสถาบันกษัตริย์เต็มที่ แต่โพลล์แบบนี้มันไม่มีความหมาย เพราะโพลล์หรือการแสดงประชามติที่มีความหมายนั้น  ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าทุกความเห็นแสดงออกได้อย่างเสรี

สถานะของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นสถานะที่ขัดกับหลักการพื้นฐานของโลกสมัยใหม่ ที่สถานะต้องได้มาโดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชน หมายความว่าจะต้องเปิดโอกาสให้มีเสรีภาพการแสดงออกถึงทัศนะที่มีต่อผู้ปกครอง หรือองค์กร นั้นๆ อย่างที่เห็นตัวอย่างจากนักการเมืองจะชัดเจนมากว่าคุณอยากจะด่าก็ด่า และถึงเวลาคุณต้องมีกลไกให้เขารณรงค์ให้คนพวกนี้ออกจากตำแหน่งได้ เช่น นักการเมืองก็มีการเลือกตั้ง การฟ้องร้อง หรือกลไกขององค์กรอิสระ โดยหลักการกลไกศาล กลไกองค์กรอิสระมันไม่ได้ผิดโดยตัวของมันเอง ถ้ากลไกเหล่านี้ตัวมันเองมันอิงอยู่กับการยอมรับของประชาชนด้วย

 

2 มาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตการเมืองของไทย

อำนาจทุกอย่างในโลกสมัยใหม่ไม่สามารรถมาโดยการบังคับหรือรณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้านเดียว แต่ที่เป็นอยู่คือเราไม่สามารถประชาสัมพันธ์อีกด้านได้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นคือโลกเมทริกซ์ คือโลกที่คนเลวในประเทศไทยมีอยู่ประเภทเดียวคือนักการเมือง เพราะมันแน่นอนอยู่แล้วเนื่องจากนักการเมืองเป็นประเภทเดียวที่เปิดให้คุณด่าได้ แล้วเวลาคุณด่ามันด่ากันไปมา มันก็เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมที่ปลูกฝังความเชื่อ คุณเปิดให้ทุกคนเขาพูดถึงทุกอย่างได้อย่างเสรีสิ แล้วให้ทุกคนชั่งน้ำหนักว่ายังอยากจะเชียร์นักการเมืองหรืออยากจักบอกว่านักการเมืองเลวที่สุดก็แล้วไป ผมไม่ว่าเลย

เราต้องเปลี่ยนแบบวิถีแบบนี้ คือต้องปฏิวัติในความหมายที่วางอยู่บนพื้นฐาน 2 มาตรฐาน องค์กรนักการเมืองเราวางอยู่บนหลักการยินยอมพร้อมใจของประชาชน แต่ขณะเดียวกันองค์กรอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ศาล กองทัพ ไม่ได้อยู่บนหลักการเดียวกันนี้ อันนี้เป็น 2 มาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตการเมืองของไทยซึ่งต้องเลิกซึ่งการเลิกแบบนี้ผมมองว่าเป็นการปฏิวัติ เป็นการปฏิวัติในความหมายว่าเป็นการเลิกแบบแผนแบบนี้

"เวลา" อยู่ข้างคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลง

ส่วนการเปลี่ยนแบบแผนแบบนี้ในที่สุดจะเกิดด้วยความรุนแรงหรือไม่ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมห่วง แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นมันต้องเกิดแน่ๆ  "เวลามันอยู่กับผมหรืออยู่กับคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้" เพราะว่าในที่สุดแล้วสถานะของกษัตริย์แบบนี้ไม่สามารถอยู่ได้อย่างกัลปาวสานคนที่รักเจ้าทำไมไม่เข้าใจประเด็นง่ายๆ นั้น ภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี่จะอยู่ไปได้สักเท่าไหร่ อีก 20 ปี ประเทศไทยยังต้องคอยมายัดข้อมูลด้านเดียวให้เด็กหรือ คิดว่ามันจะยังเป็นอยู่หรือ มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วเพราะฉะนั้นเวลามันอยู่กับการเปลี่ยนแปลง มันไม่ได้อยู่ข้างที่พยายามจะรั้งสภาวะแบบนี้ไว้ ปัญหามันอยู่ที่ว่าคุณต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติไหม มาคุยกันดีๆ เลิก ม.112แล้วให้ทุกคนอภิปรายเรื่องนี้กันอย่างตรงไปตรงมาพร้อมกันหมด แล้วถ้าคนยังโอเค ยังเชียร์เจ้า ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันมันขัดกับหลักการนี้ มันทำให้ชีวิตทางการเมืองของไทยบิดเบี้ยวหมด มันเป็น 2 มาตรฐานใหญ่มาก ไล่มาตั้งแต่สถาบันกษัตริย์ ถึงศาล ทหาร

 

ต้องเอาบรรทัดฐานที่ใช้กับนักการเมืองมาใช้กับเจ้าด้วย

ประเทศไทยก็ไม่มีใครเขาชอบนักการเมือง แต่ไม่มีประเทศไหนที่ด่านักการเมืองแบบเหลือเชื่อแบบประเทศเรา เพราะมันเกิดการสร้างภาพที่เป็นมายาว่าเหมือนว่ามีอะไรบาอย่างซึ่งสมบูรณ์แบบทุกอย่างขึ้นมา แล้วก็เอานักการเมืองมาเทียบ แต่ไม่ตั้งคำถามว่าการสร้างภาพสมบูรณ์แบบนี่มันถูกไหม ถ้าเรามองทุกคนเป็นมนุษย์เท่ากันหมด นักการเมืองก็เป็นมนุษย์ มีดีมีเลว แต่ในขณะเดียวกันถ้าพวกนี้เขาเลวก็ต้องเอาบรรทัดฐานที่ใช้วัดพวกเขาไปวัดพวกเจ้าด้วยไม่อย่างนั้นปัญหาการเมืองปัญหาชีวิตทางวัฒนธรรมทางการเมืองมันแก้ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก เพราะคุณก็จะฝันว่าล้างประเทศเสียทีเถอะ นักการเมืองมันเลว แล้วจะหาใครมาแทนได้ ทุกคนมันก็มนุษย์ขี้เหม็นทุกคน การเมืองของมนุษย์มันเป็นเท่านี้

 

จำกัดการโกงกินการคอรัปชั่นอย่างเป็นมนุษย์

คุณเคลียร์ประเด็นเรื่องสถาบันกษัตริย์ เคลียร์ประเด็นเรื่องการสร้างภาพออกไปให้หมดก่อน แล้วหลังจากนั้นมาว่ากันในลักษณะมนุษย์ต่อมนุษย์ คุณต้องอนุญาตให้คนเขารู้สึกว่าใครไม่ดีเขาต้องพูดได้ทุกคน แล้วในภาวะที่ทุกคนยอมรับว่ามนุษย์มันเป็นอย่างนี้ คนโน้นก็โกงกิน คนนี้ก็โกงกิน เราก็มาหาวิธีการที่จะทำอย่างไรที่จะจำกัดการโกงกินการคอรัปชั่นอย่างเป็นมนุษย์ เวลาเราพูดว่านักการเมืองโกงกินทุกวันนี้เราพูดราวกับว่าฝันว่ามันมีอะไรที่มันสมบูรณ์แบบได้ ที่มันเป็นแบบนี้ได้ก็เพราะเราไปสร้างภาพ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสถาบันกษัตริย์ จากสถาบันฯ ก็ส่งต่อมาที่ตุลาการ จนกระทั้งถึงพระ กว่าจะรู้ตัวทีหลัง เณรคำมีรถ 20 คัน ได้อย่างไร แต่ถ้าเป็นนักการเมืองเราสงสัยไว้ก่อน มันไม่เป็นธรรมชาติ และที่มันไม่เป็นธรรมชาติก็เพราะเราไปสร้างบรรทัดฐานอะไรบางอย่างซึ่งไม่มีโลกมนุษย์ที่ไหนเป็นได้แล้วอีก 10 ปีข้างหน้าจะรักษาภาพแบบนี้ไว้ได้ไหม ซึ่งรักษาไม่ได้หรอก แล้วก็แสวงหาเหมือนไม่มีที่สิ้นสุดแล้วก็ฝันว่าจะมีนักการเมืองที่เสียสละ มันมีมนุษย์โลกที่ไหนเป็นแบบนี้ มันไม่มีหรอก คนที่คิดว่าเป็นนั้นเข้าไม่ได้เป็นอย่างนี้หรอก แต่ที่เป็นเพราะไม่อนุญาตให้พูดแบบอื่น

 

มันยากตรงไหนที่จะใช้บรรทัดฐานเดียวกันหมด

ประเด็นคือแต่ละคนเป็นอย่างไรไม่รู้จนกว่าจะใช้บรรทัดฐานเดียวกัน แล้วให้เรามาร่วมกันตัดสินชั่งน้ำหนักว่าจะสนับสนุนใคร ไม่สนับสนุนใคร ยกย่องใครหรือไม่ยกย่องใคร ตามหลักการโลกสมัยใหม่ที่อำนาจต่างๆ สถานะต่างๆ ทางการเมืองจะต้องได้มาจากการยินยอมพร้อมใจของประชาชนทั่วๆ ไป

ทุกวันนี้คุณปฏิบัติต่อนักการเมืองอย่างไร ก็ปฏิบัติต่อเจ้าแบบเดียวกัน ง่ายๆเลย แล้วมันยากตรงไหน ผมไม่เห็นมันยากตรงไหนเลย นักการเมืองคุณถือว่าเป็นมนุษย์ใช่ไหม ทำไมคุณไม่ถือว่าเจ้าเป็นมนุษย์ล่ะ ผมก็ไม่เข้าใจ ถ้าคุณถือว่านักการเมืองเป็นมนุษย์และเจ้าเป็นมนุษย์นี่ ศาลที่รับใช้เจ้าก็เป็นมนุษย์ กองทัพที่รับใช้เจ้าก็เป็นมนุษย์ ก็ใช้บรรทัดฐานที่ใช้ปฏิบัติต่อนักการเมืองต่อคนเหล่านี้เหมือนกันไม่เห็นจะยากเลยใช่ไหม

มันยากตรงที่มันเป็นการเปลี่ยนแบบแผน ข้อเสนอของผมคือปัจจุบันสิ่งที่เราต้องการเพื่อจะแก้ปัญหาทางการเมืองอย่างถาวรก็คือเราต้อปฏิวัติ ปฏิวัติแบบแผนแบบนี้ที่เราใช้บรรทัดฐาน 2 อย่าง ทุกวันนี้เราใช้บรรทัดฐานคนละแบบ คือ มาตรฐานแบบมนุษย์-มนุษย์กับนักการเมือง แต่ใช้บรรทัดฐานเทวดา-เทวดากับเจ้ากับทหารกับกองทัพ แค่นี้ง่ายๆ การปฏิวัติที่เสนอคือให้ใช้บรรทัดฐานแบบเดียวกับคนทุกคน เหตุผลก็เพราะทุกคนเป็นคนเหมือนกันหมด

 

ทุกการปฏิวัติมันมีความซับซ้อน มันไม่จบภายในครั้งเดียว

การปฏิวัติฝรั่งเศส เกิด 2312 สมัย ร.1 คศ.1789 ก่อนที่จะเกิดมันเกิดการปฏิวัติสำคัญอยู่ 3 อันคือ ปี 1572 มีการปฏิวัติชาวดัซ์ ศตวรรษต่อมาเกิดการปฏิวัติของอังกฤษ ปี 1640 และ ศตวรรษที่ 18 มีการปฏิวัติอเมริกัน และการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติ 4 อันนี้ ในโลกวิชาการเรียกคราวๆว่าการปฏิวัติ "กระฏุมพี" (bourgeoisie) หรือ ชนชั้นกลาง เป็นการปฏิวัติชนชั้นกลางที่เป็นลูกโซ่ติดกันมา การการปฏิวัติฝรั่งเศสมันส่งผลสะเทือนทั่วยุโรป และอเมริกากลาง ในไฮติ มีการโค่นอำนาจของนายทาสโดยทาสแล้วประกาศตั้งสาธารณรัฐ และหลังจากนั้นตลอด ศตวรรษที่ 19 มีกระแสปฏิวัติทั่วยุโรป จนปลายศตวรรษที่ 19 มีการปฏิวัติใหญ่ๆ 4 อัน คือในอิตาลี เยอรมันนี ปฏิวัติเลิกทาสในอเมริกา และการปฏิวัติเมจิที่ญี่ปุ่น

ปัญหาคือ เมื่อกล่าวถึงการการปฏิวัติรวมๆ คร่าวๆ เราก็บอกว่าเป็นปฏิวัติที่นำมาซึ่งประชาธิปไตยสมัยใหม่ นำมาซึ่งการปกครองของชนชั้นกลาง และการสถาปนาระบอบทุนนิยม ในระยะ 40-50 ปีหลัง หากศึกษาการปฏิวัติพวกนี้อย่างละเอียด นักวิชาการมองว่ามันมีความซับซ้อนว่านั้นเยอะ พวกทำการปฏิวัติในฝรั่งเศส นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดมองว่า เราสรุปไม่ได้ว่าพวกทำการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นชนชั้นกลาง หลายคนเจ้าที่ดินเป็นศักดินาด้วยซ้ำ การปฏิวัติทุกอันมันไม่จบในม้วนเดียว

ทุกการปฏิวัติมันมีความซับซ้อน มันไม่จบภายในครั้งเดียวหรือไม่กี่ปี กว่าที่ฝรั่งเศสจะมีระบอบรัฐสภาที่มันคง เป็นสาธารณะรัฐที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงไปมา ฝรั่งเศสตั้งสาธารณะรัฐมาถึง 5 ครั้ง ครั้งที่ 5 พึ่งตั้งปี 2501 นี่เอง ที่ทุกวันนี้เราเห็นมันยุ่งยาก ก็ต้องทำใจ เพราะฝรั่งเขาก็ผ่านอย่างนี้เช่นกัน

2475 เถียงอย่างไรก็ไม่สำเร็จถ้าแก้สถานะของเจ้าในปัจจุบันไม่ได้

ประเทศไทย 2475 มันเร็วเกินไปไหม ทุกประเทศในโลกมันเป็นอย่างนี้หมด มันไม่มีประเทศไหนที่มันเปลี่ยนแปลงแล้วลงตัวทันทีหรอก แต่ข้อสังเกต เวลาคนรักเจ้า มองว่า 2475 เร็วเกินไปนั้น เขาวางอยู่บนพื้นฐานประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากคือประเด็นที่เขาสมติขึ้นมาว่าอะไรที่เป็นเจ้าต้องดีกว่าคนธรรมดาหมด ดีกว่านักการเมือง ดีกว่าคณะราษฏร และที่มีสมติฐานแบบนี้ก็เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับปัจจุบันประเด็น 2475 เถียงให้ตายอย่างไรก็เถียงไม่สำเร็จ ถ้าแก้ปัญหาสถานะของเจ้าในไม่ได้ต้องมาเถียงประเด็นรัชกาลปัจจุบัน ในประเด็นว่าสถานะอย่างปัจจุบันไม่ถูกตรงไหน แล้วก็ต้องแก้อย่างไร เพราะการบอกว่า ร.7 ดีกว่าคณะราษฏร เพราะเขามองย้อนหลังไปจากปัจจุบัน  พอปัจจุบันเขามองว่าสถาบันกษัตริย์เป็นอะไรบางอย่างที่พิเศษกว่าคนธรรมดาทั่วๆไป เขาก็มองย้อนไปสิว่า ร.7 ก็ดีกว่า อยุธยาก็ดีกว่า สุโขทัยก็ดีกว่า

อันนี้ผมพูดตรงๆอย่างซีเรียสเลย เวลาคนรักเจ้ามาพูดอย่างนี้ รณรงค์ให้กลับไปเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์เลย เพราะอย่างไร สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยหลักการคือเจ้าเล่นการเมือง เจ้าเป็นผู้ปกครองเป็นนักการเมือง เพราะฉะนั้นถ้าการเมืองมันแย่ก็ด่าเจ้าตรงไปเลย แต่พอเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทุกวันนี้การเมืองถ้ามันเลวก็ด่าได้เพียงนักการเมือง ผมยกตัวอย่างถ้าผมบอกว่าทักษิณ ชักใยเล่นการเมืองอยู่หลังยิ่งลักษณ์ เราก็พูดได้ แต่สมติใช้ประโยคแบบนี้กรณีอื่นไม่ได้ ประเด็นปัญหาการเมืองไทยมันเป็นแบบนี้มันบิดเบี้ยว

ภาพสมศักดิ์ ขณะบรรยาย ภาพโดย Hatori Moobin

2475 คือการพยายามสถาปนาระบอบที่ผู้ปกครองต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง

การเชียร์ 2475 เป็นเรื่องที่ถูกที่พยายามสถาปนาระบอบที่ว่า ผู้ปกครองต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง หรือเรียกคร่าวๆว่าประชาธิปไตย เวลาเราพูดเรื่องประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง บางที่เป็นการพูดแบบสั้นๆ หลักการจริงๆมันอยู่ที่ว่าผู้ปกครองไม่ว่าอยู่ในสถานะอะไร อย่างสถาบันกษัตริย์ผมก็ไม่ได้เสนอให้มาเลือกตั้ง ไม่เคยเสนอ ไม่ได้เสนอแม้แต่ว่าศาลต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นหลักการนี้มันไกลกว่าเรื่องเลือกตั้ง อำนาจในการปกครองทุกอย่างมันต้องวางอยู่บนฐานการยินยอมของประชาชน ซึ่งต้องอนุญาตให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเสรี เขารู้สึกอย่างไรต่อบุคคลหรือองค์กรการเมืองทุกอย่างเขาต้องมีเสรีที่จะพูดได้ หลักการนี้คณะราษฏรพยายามที่จะสถาปนาขึ้นมาเหมือนกัน

ปัญหาของคณะราษฏรกับข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษกับ ร.7

แต่เมื่อเราเชียร์คณะราษฏรก็มักเป็นการเชียร์ในด้านเดียวมากเกินไป เราเชียร์ว่าคณะราษฏรให้มีประชาธิปไตยให้มีการเลือกตั้งแล้วจบนั้นมันไม่ใช่ ถ้าเราดูรายละเอียดจริงๆ หลักการนี้คณะราษฏรก็ทำไม่เต็มที่เหมือนกัน คณะราษฏรยกเว้นสถาบันกษัตริย์ไว้เหมือนเดิม อย่างตอนร่างรัฐธรรมนูญ 2475 รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่คณะราษฏรโดยที่อ.ปรีดีร่างไว้ ฉบับ 27 มิ.ย. ไม่มีมาตราในลักษณะมาตรา 8 ในปัจจุบัน ที่ว่าองค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดละเมิดมิได้ แต่พอคณะราษฏรมีการไปคุยกับ ร.7 ก็เลยยอมเลิกรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีมาตราดังกล่าวอยู่เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธ.ค.และ อ.ปรีดีสนับสนุนให้ใส่มาตรานี่เองด้วยซึ่งลอกมาจากรัฐธรรมนูญเมจิของญี่ปุ่น คณะราษฏรไม่เคยแก้ กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลย ทั้งที่กฎหมายนี้มีตั้งแต่ปลาย ร.5 เพราะคณะราษฏรคิดแบบซื่อๆ ว่าต่อไปนี้ ร.7 ก็คงยอมรับ พูดง่ายๆ คณะราษฏรกับ ร.7 เป็นการตกลงอย่างสุภาพบุรุษเท่านั้นไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องกษัตริย์ต้องปฏิญาณตนว่าจะรักษารัฐธรรมนูญก็ไม่ได้มีการเขียนไว้ เพราะ ร.7 ให้คำมั่นสัญญา รวมทั้งแม้แต่ทายาทต่อไป ร.7 ก็ให้เหตุผลว่าในเมื่อพระองค์เป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อให้คำมั่นว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญเจ้าองค์ต่อไปก็จะยอมรับด้วยถ้าใครยึดอำนาจก็จะไม่รับรอง คณะราษฎรจึงไม่ใส่มาตรานี้ไว้ ปัญหาของคณะราษฏร คือคิดว่าข้อตกลงแบบนี้จะดำรงอยู่ได้ ตอนหลัง ก็มีปัญหา ร.7 ก็ไปช่วยกบฏบวรเดช คณะราษฏรประมาทเรื่องนี้ คิดว่าตัวเองยึดอำนาจได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญไว้ก็ได้ ถึงเวลาไม่มองให้กว้างขวางออกไปว่าประชาธิปไตยมันจะดำรงอยู่ได้จริงๆ ไอเดียที่ว่าอำนาจทุกอย่างมันจะอยู่บนความยินยอมพร้อมใจของราษฎรจริงๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการยึดอำนาจเฉยๆ แต่ที่สำคัญคุณต้องสร้างระบอบกฎหมายทุกอย่างที่อนุญาตให้ประชาชนแสดงออกอย่างเสรีเพื่อเป็นหลักประกันด้วย ถึงเวลาพอคณะราษฏรไม่อยู่ จอมพลสฤษดิ์ขึ้นมารื้อฟื้นสถานะอำนาจของสถาบันกษัตริย์อย่างขนานใหญ่ พวกเจ้าเองหลังจาก ร.7 ลงไปแล้วก็เริ่มกลับมามีอำนาจ

 

พรบ.ทรัพย์สินส่วนประมหากษัตริย์ผลงานชิ้นโบว์แดงของ ปชป.

หลัง 2490 นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรกสร้างผลงานโบว์แดงอันแรกคือเสนอ พ.ร.บ.ทรัพย์สินส่วนกษัตริย์ ที่ใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้เข้าสภา  กฏหมายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ปัจจุบันที่เอาทรัพยสินของรัฐมูลค่าหมื่นล้านเข้าไปอยู่ในอำนาจของสถาบันกษัตริย์โดยที่ตรวจสอบไม่ได้เลยนี่เป็นผลงานของพรรคประชาธิปัตย์

คณะราษฏรมี กฏหมายเรื่องทรัพย์สินฯ อันหนึ่ง ซึ่งป็นเรื่องที่เขาจัดการเพราะเป็นเรื่องสำคัญ  คือ ร.7 แอบไปโยกย้ายทรัพยสินบางส่วนไว้ในบัญชีตัวเองที่ลอนดอน พอคณะราษฏรออก กฏหมายทรัพย์สินฯ แล้วมีการทำบัญชีถึงได้ทราบว่า ร.7 โยกย้ายเงินโดยผิดระเบียบ  กฏหมายทรัพย์สินฯ ฉบับของคณะราษฏรที่ถูกล้มไปโดยพรรคประชาธิปัตย์ ตามหลักของ กฏหมายทรัพย์สินฯ ฉบับคณะราษฏรนั้นอำนาจในการดูแลอยู่ที่กระทรวงการคลังซึ่งเป็นลักการทั่วไปที่กระทรวงซึ่งรัฐบาลที่มาจากประชาชนเป็นคนดูแล ถึงเวลาถ้า รัฐบาลหรือ รมว.คลังทำไม่ดี ประชาชนอยากจะด่าอยากจะตรวจสอบก็ทำได้ เพราะฉะนั้นทรัพย์สินนี้ก็ควรจะอยู่ในการดูแลของรัฐบาลที่ประชาชนควบคุมอีกที

ประชาธิปัตย์ร่วมมือกับคณะรัฐประหารโค้นปรีดีลงในวันที่ 8 พ.ย.2490 ผลงานโบว์แดงออก กฏหมายออกมา 2 ฉบับคือ 1 พรบ.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ 2 ออก กฏหมายให้จับนาย ชิต-บุศ-เฉลียว ได้เป็นพิเศษ ในกรณีสวรรคต ให้มีการขังยาวได้ เมื่อประชาธิปัตย์ ออก พรบ.ทรัพย์สินฯ มาก็โอนอำนาจไปสู่สถาบันกษัตริย์ ทุกวันนี้เขาพยายามบอกว่ามีประธานคณะกรรมการบอร์ดเป็น รมว.คลัง ผมกล้าท้าให้ผู้อำนายการ สนง.ทรัพย์สินฯ ให้ รมว.คลังมาดีเบตในประเด็นนี้กับผมก็ได้ ว่าอำนาจควบคุมทรัพย์สินอยู่ในกระทรวงการคลังจริงหรือเปล่าหรืออยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์

มีโจ๊กอยู่เรื่องหนี่ง วันดีคืนดีพอฟอร์บไปจัดอันดับในหลวงโดยเอาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปประเมิน ก็โวยว่าไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่กระทรวงการคลังดูแล แต่พอมีคลิปเรื่องทักษิณออกมา พวกหน้ากากขาวก็มาบอกว่าโกงกินบ้านเมืองก็ไม่พอแล้วยังมายุ่งกับทรัพย์สินท่าน ผมก็ขำว่าตกลงตอนนี้ถือเป็นทรัพย์สินท่านแล้วหรือ จะเอาอะไรก็เอาสักอย่าง

สมัยคณะราษฏรอยู่ ร.7 จะไปพูดอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องมาขออนุญาตคณะราษฏรก่อนต้องมาขออนุญาตรัฐบาล ซึ่งอันนี้เป็นมาตรฐานทั่วไป อย่างควีนอังกฤษไม่สามารถพูดด้วยตัวเองได้ ปีหนึ่งๆ ควีนอังกฤษจะพูดได้ด้วยตัวเองโดยที่รัฐบาลไม่ได้เป็นคนร่างให้นั้น 2 ครั้ง คืออวยพรวันคริสมาสต์และวันที่อวยพรคนในสหราชอาณาจักร ที่เหลือควีนอังกฤษแสดงความเห็นต่อศาลต่อตุลาการไม่ได้ แสดงความคิดเห็นต่อนายกแล้วมีการมาเผยแพร่มีการถ่ายทอดแบบนื้ทำไม่ได้ ควีนเสนอความเห็นไม่ได้ เพราะอังกฤษเขาถือว่าคนอังกฤษทุกคนเป็นคน ถ้าควีนพูดในฐานะที่คนอังกฤษเป็นคนเขาก็ต้องมีสิทธิวิจารณ์ควีนกลับ ถ้าไม่ต้องการให้ควีนถูกวิจารณ์ควีนก็ต้องห้ามพูด เป็นการริดรอนสิทธิของควีนไหม ไม่ใช่ แต่ในทางกลับกันถ้าควีนพูดอะไรออกมาแล้วคนอังกฤษด่ากลับนั้นไปริดรอนสิทธิของคนอังกฤษไม่ได้ ประเพณีของเราในขณะที่เราอนุญาตให้สถาบันกษัตริย์พูดอะไรก็ได้นี่โดยไม่ผ่านรันรัฐบาล คุณกลับริดรอนสืทธิของคนหลายล้านคน คำพูดในหลวงวิจารณ์ไม่ได้

เหตุผลที่ประเทศที่มีกษัตริย์ปกครองเขาไม่อนุญาตให้กษัตริย์มีบทบาทแสดงความเห็นสาธารณะก็เพราะเหตุผลนี้ เพราะถ้าคุณอนุญาตขึ้นมาก็ต้องอนุญาตให้คนมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ด้วย แต่เมืองไทยใช้บรรทัดฐานคนธรรมดาไม่ใช่คน ถ้าฟังสถาบันกษัตริย์พูดอะไร คุณฟังอย่างเดียว

คณะราษฏรมีข้อจำกัดคือคิดว่าแค่ยึดอำนาจได้ ได้รับการสนับสนุนประชาชน ไม่ต้องทำอะไร โดยหวังว่าสถาบันกษัตริย์จะไม่มีบทบาทด้วย ผมพูดประเด็นนี้เพื่อที่จะโยงมาถึงคุณทักษิณ พรรคเพื่อไทย ข้อจำกัดของเสื้อแดง

 

ปชต.ที่แท้จริงไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่ทุกอำนาจอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของประชาชน

ประเด็นผมคือประชาธิปไตยจริงๆ มันไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้งหรือการมีอำนาจจริงๆเท่านั้นมันอยู่ที่ว่าเราจะสามารถสร้างกรอบหรือบรรทัดฐาน ที่ให้ทุกกลุ่มหรือองค์กรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของประชาชนอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีข้อยกเว้นได้ไหม ถ้าเราทำแบบนี้ไม่ได้แล้วคาดหวังว่าพรรคเราชนะการเลือกตั้ง ที่เหลือไม่เป็นไรอันนี้เป็นการคิดที่ผิด

 

ประเด็นคลิปทักษิณ

เรื่องคลิปผมมีปัญหาอยู่ ผมเข้าใจอยู่ว่าเวลาเราเห็นการเอาคลิปมาโจมตี เสื้อแดงพยายามจะบอกว่ามันไม่เกี่ยวกับเสื้อแดง ผมว่ามันมีประเด็นซีเรียสเกี่ยวกับเสื้อแดงอยู่2 ประเด็น

ประเด็นที่เขาด่าว่าทักษิณพยายามที่จะไปควบคุมทหาร แล้วก็ไปเจรจาหาทางตั้งคนนั้นนี้ ประเด็นนี้ผมยักไหล่ ความจริงตามหลักอำนาจในการควบคุมกองทัพมันควรอยู่ที่รัฐบาลโดยเด็ดขาดแต่ต้น ทหารนี่นักการเมืองหรือรัฐบาลอยากจะโยกย้ายใครเป็นอำนาจเต็มที่จะโยกย้าย ประธานาธิบดีทรูแมน กรณี นายพลแม็คอาเธอร์ที่เป็นแม่ทัพใหญ่แฟซิกฟิก ช่วงสงครามโลก ทำนโยบายบางอย่างไม่ถูก ทั้งที่เป็นฮีโร่ แต่ประธานาธิบดีก็สั่งปลดได้ เรื่องนี้คิดว่าไม่เป็นปัญหาเลย แต่ประเด็นปัญหาเรื่องคลิปคือ

ยุทธศาสตร์เอาใจทหารของเพื่อไทยและทักษิณ

ประเด็นที่ 1 เรื่อง พรก. ที่เจรจากับทหาร มันต้องเป็น พรก.แบบเหมาเข่งแน่นอน เมื่อเหมาเข่งทหารก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเหมาเข่งประชาธิปัตย์ด้วย

เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมามันมีเหตุการณ์ที่เพื่อนเสื้อแดงไปด่าอภิสิทธิ์ในที่ต่างๆ ก็มีหลายคนวิจารณ์ ผมเห็นด้วยว่าไม่ควรใช้ท่าทีแบบนั้นกับกลุ่มดังกล่าว อย่างกรณีที่ลำพูลก็ยกว่าเป็นความแค้นเนื่องจากที่ลำพูลมีคนตาย ผมก็เข้าใจ

"แต่ประเด็นที่ผมสะดุดใจคือเสื้อแดงเวลาผู้นำทหารไปไหนทำไมไม่ประท้วงอย่างที่ประท้วงอภิสิทธิ์บ้าง ผมอยากให้คิดอย่างซีเรียสนะ จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เพื่อนๆเสื้อแดงที่รู้สึกชอบธรรมที่จะประท้วงอภิสิทธิ์นี่จริงๆแล้วเป็นการประท้วงตามการเมืองของพรรคเพื่อไทยเหมือนัน แล้วการเมืองยุทธศาสตร์ของเพื่อไทยของคุณทักษิณปัจจุบัน คือเป็นการเมืองหรือยุทธศาสตร์ที่ต้องการเอาใจทหาร มันมีปัญหาใหญ่มากๆ เลย ต่อเรื่องประชาธิปไฃตย"

พรก. เหมาเข่ง ต้องถามว่าเสื้อแดง ที่ตลอดมาพูดว่าไม่เอา พรบ.เหมาเข่ง ไม่นิรโทษกรรมให้อภิสิทธิ์-สุเทพ แล้วทหารจะนิรโทษกรรมไหม การเมืองของเพื่อไทยปัจจุบันไม่แตะทหารเลย คดีที่คุณธาริต เพ็งดิษฐ์ฟ้องอภิสิทธิ์ ซึ่งดีเป็นเรื่องที่ฟ้องได้ แต่ไม่ฟ้องทหารเลย ทั้งๆที่ในคำสั่งของ ศอฉ. ระบุด้วยว่า       อนุญาตให้ ผู้บัญชาการทหาร ตัดสินใจกำหนดวิธีปฏิบัติการในการกวาดล้างผู้ชุมนุมได้ เพราะฉะนั้นผู้บัญชาการทหารใน ศอฉ. ต้องมีความรับผิดชอบในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมปี 53 เท่าๆ กับอภิสิทธิ์เหมือนกัน

 

ทำไมก่อนหน้านี้รัฐบาลเพื่อไทยไม่คิดออก พรก.นิรโทษกรรมเสื้อแดที่เป็นมวลชน

ประเด็นที่ 2 ทำไมก่อนหน้านี้ รัฐบาลเพื่อไทยจึงไม่คิดออก พรก.ที่เป็นนิรโทษกรรมที่เป็นมวลชน ผมพูดประเด็นนี้ตั้งแต่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลใหม่ๆ เป็นหน้าที่อันดับแรกที่รัฐบาลควรทำ ทำอย่างไรให้เอามวลชนออกมาได้ก่อน ต้องแยกมวลชนอกจากคุณทักษิณ ผมไม่ได้ปฏิเสธการช่วยคุณทักษิณ ผมเป็นคนแรกๆที่เขียนว่าคดีที่ดินรัชดามันต้องเป็นโมฆะเพราะคดีนั้นก็มาจากการทำรัฐปรารขึ้นมา เพราะคดีคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)  มันขี้ของ คมช. ถ้าจะเล่นงาน เรื่องคอรัปชั่น ก็ต้องตั้งดำเนินคดีปกติแต่ตั้งแต่ต้นเรารู้ว่ากรณีทักษิณ เป็นกรณีพิเศษ ที่อีกฝ่ายขัดขวางไม่ให้กลับมา ดังนั้นการพ่วงกันกับมวลชนมันจึงทำให้ยาก

คลิปนี้ที่มันน่าผิดหวังที่สุดคือ มันบอกให้เราเห็นว่าคนในวงรัฐบาล รวมทั้งคุณทักษิณเองด้วย วางแผนที่จะออก พรก. ช่วยคุณทักษิณ โดยที่ทำไมไม่คิดที่จะออก พรก.แบบนี้ช่วยคนเสื้อแดงด้วย เรื่องคนติดคุกกว่า 2 ปี โดยที่ไม่ควรจะติดนี่มันโคตรฉุกเฉิน และมันเคยมีการออก พรก. นิรโทษกรรม ให้ รสช. มาแล้ว ที่ทำรัฐประหารสมัยชาติชาย แล้วสมัยนั้นประชาธิปัตย์ก็ยอมรับ ทำไมจะนิรโทษกรรมให้มวลชนที่ติดคุกไม่ได้ นี่เป็นปัญหาความมั่นคง เป็นปัญหาความมั่นคงมากๆด้วย จากการทำลายครอบครัวเป็นพันๆ ชีวิต และเร่งด่วนด้วย แล้วคุณทักษิณหรือคนในวงรัฐบาลสามารถวางแผนคุณ พรก.นิรโทษกรรมคุณทักษิณได้ ทั้งๆที่รู้ว่าว่า พรก. มันมีปัญหา มันออกยาก ต้องผ่าน รัฐธรรมนูญมาตรา 184 ถึงขนาดตั้งไปให้ทหารดูก่อนนั้น ดังนั้นมันจึงไม่มีเหตุผลแก้ตัวเลยที่รัฐบาลจะไม่ออก พรก.นิรโทษกรรมให้มวลชนพรุ่งนี้มะรืนนี้เลย

พรบ.ของคุณวรชัยที่จะเข้าตอนนี้ ก็ไม่ได้มีหลักประกันที่จะสำเร็จ เพราะไม่มีการถอน พรบ.เหมาเข่งอีก4 ฉบับออกมา โอกาสที่เสนอไปมันมีแนวโน้มว่าจะไม่สำเร็จมาก คนที่อยู่ในคุกก็อยู่ต่อไป

 

วิจารณ์ขบวนเสื้อแดง

ขบวนการเสื้อแดง ผมใช้เวลาตามเวทีกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(กวป.)และภาคีพลังประชาชน(ภปช.) ผมเรียกร้องให้คนที่เรียกว่าเป็นอำมาตย์ลองฟัง ต่อให้คุณไม่เห็นด้วยเลยคุณจะเข้าใจว่าทำไมมีคนจำนวนมากที่เชียร์ทักษิณ และทำไมเขาสู้ไม่ยอมเลิก เหตุผลสำคัญก็เพราะว่าคุณทักษิณมีผลงานที่ทำให้เขาอยู่ดีกินดี เข้ารู้สึกว่าทำให้เขาอยู่ดีกินดี แล้วมีคนมาล้มเขาเฉยๆ เขาก็ไม่พอใจ ในความไม่พอใจมันมีหลักการในเรื่องประชาธิปไตยนั้นเสียงส่วนใหญ่ต้อเป็นคนกำหนด รวมทั้งหลักการที่ว่าอำนาจต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน

แต่เราต้องยอมรับว่าการเชียร์ทักษิณมากจากผลประโยชน์ หรือประชาธิปไตยกินได้ ผมพูดอย่างนี้ไม่ได้กำลังวิจารณ์เลย ตอน ปฏิวัติ 1917 รัสเซีย คนรัสเซียที่สนับสนุนให้พรรคบอลเชวิคขึ้นสู้อำนาจ นั้นเขาไม่ได้รู้เรื่องหลักการสังคมนิยมหรือมาร์กซ์หรอก เขาเรียกร้องสันติภาพและขนมปัง อันนี้ก็เป็นผลประโยชน์ชัดๆ ดังนั้นการที่คนเสื้อแดงเชียร์ทักษิณด้วยผลประโยชน์นั้นเป็นเรื่องการกินดีอยู่ดีเรื่องผลประโยชน์นั้นเป็นเรื่องธรรมดามากๆ เป็นเรื่องของมนุษย์ การเมืองของมนุษย์ก็แบบนี้ แม้แต่หลักการประชาธิปไตยที่ต้องฟังเสียงประชาชนก็มาจากตรงนี้

แต่ปัญหามันอยู่ตรงนี้ จากจุดเริ่มต้นของความเป็นมามันทำให้มีจุดอ่อนที่สำคัญอย่างหนึ่ง คนส่วนใหญ่เสื้อแดง จะมีความรู้สึกว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลนี้อยู่ในอำนาจ ถ้าใครมาขวางก็จะโกรธมาก นำไปสุ่การแสดงออกที่รุนแรง อยากให้รัฐบาลทำอะไรกับพวกนี้ รวมทั้งการวิจารณ์การขัดขวางโครงการนั้นนี้ของรัฐบาล ตามหลักประชาธิปไตยเองแม้กรณีอเมริกาต่อให้รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งก็ถูกขัดขวางโครงการได้โดยหลักการมันไม่ผิดที่อาจจะมีศาลหรือองค์กรต่างๆ มาขวางโครงการของรัฐบาลเลือกตั้ง แต่ที่มันผิดคือหลายปีที่ผ่านมานี้มันไม่ได้ขวางบนฐานของ กฏหมาย มันไม่ได้ขวางบนฐานที่องค์กรเหล่านี้ขึ้นอยู่กับประชาชน แต่มันขวางบนฐานที่ว่ากำลังทำให้พระราชา บนฐานการอ้างอำนาจสถาบันกษัตริย์ ซึ่งประเด็นนนี้มันผิดแน่ๆ

ปัญหาจุดอ่อน ของเสื้อแดง มันมีแนวโน้มอย่างหนึ่ง เอาเข้าจริงมันมาจากมวลชนส่วนใหญ่ด้วย การที่แกนนำ หรือทักษิณ ไม่แคร์คนอยู่ในคุกมากเท่าที่ควรจะเป็น เป็นเพราะฐานมวลชนส่วนใหญ่ไม่ได้แคร์อย่างที่ควรจะเป็นด้วย ในความเห็นผมมาจากมวลชนส่วนใหญ่สนับสนุนทักษิณ ด้วยฐานของผลประโยชน์ จากการกินดีอยู่ดี ทำให้เรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องรอง อย่างเรื่อง ม.112 หลายคนอยากเลิก แต่รัฐบาลไม่เลิกก็ไม่เป็นไร เป็นเรื่องรอง ขอให้รัฐบาลอยู่ในตำแหน่งนานๆไป ตุลาการไม่ต้องปฏิรูปก็ไม่เป็นไร หรือทหาร ตอนนี้คุณทักษิณใช้ยุทธศาสตร์เอาใจทหาร เสื้อแดงก็มองว่าไม่เป็นไรเดียวจะโดนรัฐประหาร

คำถามคือถามเอาใจทหาร ซึ่งเอาใจเยอะ หนึ่ง งบประมาณเพิ่มขึ้นมหาศาล สอง ไม่แตะต้องโผต่างๆ ปล่อยให้เขาทำโผของเขาเอง สาม ไม่คิดเล่นงานเขาในกรณีรัฐประหารและการสลายการชุมนุมปี 53 คำถามคือถ้าคนเสื้อแดงที่ยังสนับสนุนคุณทักษิณที่พยายามรักษารัฐบาลนี้ไว้ เรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องรองนั้น เหตุผลที่เรื่องนักโทษการเมืองไม่เป็นเรื่องใหญ่ ก็เพราะมวลชนที่สนับสนุนคุณทักษิณหรือรัฐบาลเองมาจากจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญับปัญหาเรื่องเสรีภาพการแสดงออก เรื่อง ม.112 แม้กระทั้งประเด็นทหาร หรือสถาบันกษัตริย์ คุณทักษิณหรือ นปช. ไม่คิดที่จะยกเรื่องสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาเพราะคิดว่าไม่เป็นไร รอๆไปตามธรรมชาติแล้วคนเสื้อแดงที่อยากให้รัฐบาลอยู่ต่อไปได้เรื่อยๆ ให้กินดีอยู่ดีก็รู้สึกโอเคเรายอมเรื่องอื่นๆไป

"คำถามผมง่ายๆอย่างนี้ ถ้าคุณสามารถโอเคกับทหารได้ คุณเอาใจทหารได้ ให้รางวัลกับทหารได้ คำถามคือทุกวันนี้ด่าอภิสิทธิ์กับสุเทพทำไม นี่ซีเรียสนะฮะ ไปโกรธแค้นเขาทำไม บอกว่าโกรธแค้นกรณีปี 53 แล้วปี 53 ทหารไม่เกี่ยหรอฮะ แล้วที่มันเกิดปี 53 ไม่ใช่เพราะว่าทหารทำรัฐประหารปี 49 หรอ ถ้าตราบใดที่มวลชนก็ดี ขึ้นไปถึงระดับรัฐบาลก็ดี ยังใช่ยุทธศาสตร์แบบนี้ โดยหวังผลปรารเดียวคือต้องรักษาการอยู่ในอำนาจของคุณทักษิณ ไม่ว่าจะจ่ายเท่าไหร่ก็ตามคำถามคือว่าการโจมตีอภิสิทธิ์ ดำเนินคดีอภิสิทธิ์ มันเป็นการเล่นเกมส์ของเด็กๆครับ จริงๆ" สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กล่าวทิ้งท้าย

 

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: 116 ปี จอมพล ป. 

การปฏิวัติฝรั่งเศสสำคัญและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลก นำไปสู่หลักการเสรีนิยมประชาธิปไตย ไม่เว้นแม้กระทั่งประทศไทย เพราะกลุ่มปฏิวัติประเทศไทยเป็นนักเรียนฝรั่งเศส ระบบใหม่ที่คณะราษฏรสร้างเป็นระบบฝรั่งเศส

จากการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มที่ประชาชนปารีสไปทำลายคุกบาสตีล ที่เป็นสัญญาลักษณ์ของการกดขี่ สัญญาลักษณ์ของความไม่เป็นธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของฝรั่งเศสการปฏิวัติฝรั่งเศสถือเป็นการสุกดิบของการเปลี่ยนแปลงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชทำใหประชาธิปไตยเป็นรูปแบบสำคัญของโลก

สำหรับไทย 2475 เป็นการปฏิวัติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ และวันที่ 14 ก.ค โดยบังเอิญเป็นวันเกิด ของ ด.ช.แปลก ขีตตะสังคะ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงครามและเป็นความภูมิใจของการที่จอมพล ป. ด้วยที่เกิดวันนี้ ท่านยังคิดของว่าท่านเป็นตัวแทนของอุดมการปฏิวัติฝรั่งเศสในประเทศไทย

จอมพล. ป. เป็นหนึ่งใน 3 คนแรกที่ก่อการคิดตั้งคณะราษฏรที่ฝรั่งเศสตั้งแต่ปี2468 จากนั้นจอมพล ป. ก็กลับมาเมืองไทยชักชวนนายทหารเข้าร่วมรวมที่สุดคณะราษฏรก็ได้พยาพหลฯ ซึ่งเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ พระยาทรงสุรเดช เป็นผู้วางแผน จนสำเร็จ

หลวงพิบูลสงคราม ได้ฉายแววขึ้นมาจาก กรณีการรัฐปราร ปี 2476 พวกนิยมเจ้า โดยพระยามโนปกรนิติธาดา ประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และปิดรัฐสภา และออกคำสั่งของรัฐบาลเป็น กฏหมายแทน ดังนั้นพระยาพหลฯ และหลวงพิบูลสงคราม จึงทำรัฐประหารปี 2476 เพื่อฟื้นประชาธิปไตยและจัดการกับฝ่ายนิยมเจ้า พวกนิยมเจ้าไม่ยอมเลยคิดก่อการกบฏเราเรียกกบฏบวรเดช

เป็นจุดเริ่มนำมาสู่ การที่ จอมพล ป. ขึ้นมาเป็นนายก ปี 2481 ตอนนั้น อายุ 41 ปี ที่หนุ่มมาก คณะรัฐมนตรีทั้งชุดก็หนุ่ม ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงที่มีการปฏิวัติมากมาย ตัวอย่าง เช่น การสร้างวัฒนธรรมแบบสมัยใหม่ (Modern) เช่น การเลิกกินหมาก เปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเอาตะวันตกเป็นแบบแผน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นสมัยใหม่

เราเข้าใจกันผิด ว่าเราเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ตั้งแต่สมัย ร.5 นั้นจริง แต่ไม่หมด เป็นเฉพาะชนชั้นนำ เพราะฉะนั้นจอมพล ป. และคณะราษฏรต่างหากที่จะสร้างความโมเดลลงไปถึงราษฏร ร. 5 เปิดโรงเรียนจริง พระองค์เปิดโรงเรียนเพียงมณฑลละ 1 โรงเรียนและเป็นการศึกษาเพื่อผลิตข้าราชการ แต่สมัยคณะราษฏร ที่บอกว่าประเทศที่ทันสมัยประชาชนต้องรู้หนังสือ เกิดการรณรงค์ให้เรียนทั้งชายและหญิง แต่สมัย ร.5 เป็นการศึกษาสำหรับผู้ชายเพื่อไปเป็นข้าราชการ ผู้หญิงไม่มีสิทธิเรียน แม้มีโรงเรียนเสาวภาที่เป็นโรงเรียนสตรี แต่ก็เรียนการเรือนแบบตะวันตก ดังนั้น เป้าหมายการศึกษาจึงต่างกันในบริบทประวัติศาสตร์ โมเดิร์น ร.5 เป็นของชนชั้นนำ แต่จอมพลป. นั้นเป็นโมเดิร์นไปสู่ประชาชนทั่งชาติ แต่นโยบายก็อาจจะผิดจะถูกบ้าง ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เราสร้างวัฒนธรรมใหม่ จอมพล ป. เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ไม่ได้เปลี่ยนโดยพละกาลแต่นำเรื่องเข้าสูงสภาผู้แทนฯ พิจารณา ด้วย รวมทั้งให้วันที่ 24 มิ.ย.เป็นวันชาติ และประกวดเนื้อเพลงชาติใหม่ เพลงปลุกใจให้รักชาติทั้งหลายมาจากจอมพล ป. ทั้งนั้น

การรักษาหลักการประชาธิปไตยแบบคณะราษฏร จะมีการโจมตีว่าจอมพล ป. เป็นเผด็จการ แต่ จอมพล ป. พ้นตำแหน่ง เพราะแพ้โหวตในสภาผู้แทนราษฏร แล้วลาออก เราจะเรียกเผด็จการหรอ ไม่มีเผด็จการที่ไหนที่แพ้โหวตแล้วลาออก คิดว่าจอมพล ป. รักษาหลักการ และให้มีสภาผู้แทนราษฏรตลอด ตั้งพรรคการเมือลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นการตั้งข้อหาว่าเป็นเผด็จการนั้นยังอีกไกล

 

ทลายคุกบาสตีล เมื่อ 224 ปี ที่แล้ว โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย

จรัล ดิษฐาอภิชัย รวมอภิปรายว่าวันที่ 14 ก.ค. เป็นวันชาติ ประเทศฝรั่งเศส เป็นวันที่ชาวปารีสล้มคุกบาสตีล และบุกเข้าไปพัง มีนัยยะคลายกับปฏิญญาหน้าศาล ที่มาหน้าคุกเพื่อปลดปล่อยนักโทษการเมือง

การพังทลายคุกบาสตีล เป็นเหตุการณ์สำคัญของประเทศฝรั่งเศสและโลก นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศสในปี 1789 ที่กินระยะเวลา 10 ปี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของประเทศส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศอื่นๆ

คุกบาสตีลอยู่ใจกลางเมืองปารีส สร้างมาตั้งแต่สมัยกลางประมาณ 500-600 ปี เป็นคุกขนาดใหญ่ มีป้อม 8 ป้อม ขังทั้งนักโทษทั่วไปและการเมือง วันที่ 14 ก.ค.1789 มีนักโทษ 7 คน แต่เป้าหมายใหญ่ไม่ได้อยู่ที่การปลดปล่อยนักโทษ แต่เป็นการบังคับให้คุกนี้เอาปืนใหญ่โผล่รอบคุก เป็นการคุกคามชาวปารีส ทำไมผู้บัญชาการคุกถึงเอาปืนใหญ่ทำดังกล่าว เพราะเดือน พ.ค. เปิดประชุมสภาฐานันดร มีสถานการที่เรียกว่า การก่อตัวของสถานการณ์ปฏิวัติ เข้าเดือน ก.ค. ก็มีกระแสความคิดทางการเมืองของมวลชนชาวฝรั่งเศสสูงขึ้น มีการรวมตัวปราศรัยกัน ในวัง นอกวังบ้าง ตามสนามหญ้า

วันที่ 11 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สั่งปลด เนคเกร์ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเหมือนนายกรัฐมนตรี แต่สมัยนั้นเรียกผู้ตรวจการ เป็นคนที่มีหัวปฏิรูปและเป็นความหวังของประชาชนฝรั่งเศส ทำให้ประชาชนไม่พอใจ วันที่ 7-9ก.ค.มีการเคลื่อนกำลังทหารมาล้อมปารีส จึงเชื่อว่ากษัตริย์จะปราบประชาชนปารีส ขณะนั้นข่าวแพร่สะพัดไป คนปารีสก็ตื่นตัวมาก วันที่ 12 ก.ค. ชาวปารีสกลุ่มหนึ่งตั้งกองกำลังประชาชนขึ้นมา แล้วก็มีบรรดานักธุรกิจ นายทุน หรือคนที่มีฐานะ ที่มีปืนก็เอาปืนจึงนำมาให้ รวมทั้งทหารบางกรมออกมาอยู่กับประชาชนซึ่งจะเรียกว่าเป็นกองกำลังของนายทุนก็ได้

เช้าวันที่ 14 ประชาชนจึงเกิดความคิดว่าไปล้อมที่คุก และให้ผู้บัญชาการคุกบาสตีล เอาปืนใหญ่ออก บางคนก็ไปกองทหาร เพื่อไปขอปืน และมีอยู่กองหนึ่งอยู่ที่แอ็งวาริส มีปืนใหญ่หลายกระบอก 2 กระบอกเป็นปืนที่ กษัตริย์ไทยส่งไปให้ สมัยพระนารายด้วย  เมื่อได้ปืนกันแล้ว หมื่น สองหมื่น ก็ไปที่คุก ส่งตัวแทนเข้าไป พบผู้บัญชาการคุกบาสตีลและขอให้ถอยปืนออกจากป้อมและกำแพงคุกโดยที่ชุดแรกส่งเข้าไปตอนเที่ยง แต่ออกมาช้าทำให้คนก็สงสัยว่าถูกฆ่าตายหมดแล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือคุยกันใกล้เที่ยง ผู้บัญชาการคุกบาสตีลก็ชวนกินข้าว เหมือน 14 ต.ค. คืนวันที่ 13 ต.ค. กรรมการ ศนท. หลายคนถูกเรียกให้ไปพบจอมพล ถนอม ก็มีข่าวว่าถูกจับถูกฆ่า

เมื่อตัวแทนเจรจายังไม่ออกมา จึงมีการส่งชุดที่ 2 ก็เข้าไป แต่เข้าไปเยอะ เมื่อข้ามสะพาน ทหารที่รักษาคุกมี 27 คน เกิดความกลัวจึงยิงคนที่บุกเข้าไปเหล่านั้น บาดเจ็บและตายกัน หลังจากนั้นคนที่ล้อมอยู่ก็บุกเข้าทุกทิศทุกทาง ปีนกำแพงบ้าง จนเข้าไปเต็ม พอเข้าไปเจอทหารก็จัดการ แล้วก็เปิดห้องขัง ซึ่งตอนนั้นมีนักโทษยู่ 7 คน แล้วก็จับผู้บัญชาการคุกบาสตีล ราวบ่ายโมงก็ยึดได้ เนื่องจากขณะนั้นทหารมีแค่ 27 คน เป็นทหารต่างชาติชาวสวิส ซึ่งช่วงนั้นกษัตริย์แต่งงานกับชาวต่างชาติ ก็มีการขอกำลังมาช่วย

ผู้บัญชาการคุกบาสตีลเมื่อถูกจับได้ถูกก็พาออกมา เนื่องจากตอนบุกเข้าไปมีคนตายหลายร้อย คนก็โกรธ พร้อมกับความโกรธแค้นที่สั่งสมมานานเพราะคุกแห่งนี้เป็นเครื่องมือของกษัตริย์ในการจัดการคนอื่นดังนั้นนั้นเมื่อคนปารีสล้มคุกก็พยายามประชาทัณฑ์ผู้บัญชาการคุกบาสตีลโดยช่วงแรกคนที่ควบคุมตัวผู้บัญชาการคุกบาสตีลเป็นผู้นำก็ไม่อยากให้มีการฆ่า แต่ช่วยไม่ได้ ทีแรกใช้วิธีการพรางเอาหมวกไปสวมผู้บัญชาการคุกบาสตีล เพื่อไม่ให้มีคนจำได้ แต่ขณะนั้นเกิดชุลมุนผลักกันไปมา หมวกหลุด คนครัวจึงเห็นและจำได้จึงฟันคอขาด

วันนั้นคนปารีส เมื่อรู้ข่าวทั้งคนที่ไปยึดคุกและไม่ยึดคุกก็ปฏิบัติการต่อเนื่องคนที่ไม่พอใจทั้งขุนนางหรือคนธรรมดาที่อยู่ฝ่ายกษัตริย์ ก็เข้าจัดการคนเหล่านั้น การยึดคุกที่ปารีสนั้นกว่าที่พระเจ้าหลุยส์ที่อยู่ที่แวร์ซายจะรู้ก็เที่ยงคืน เนื่องจากมีคนไปปลุก และไปบอกพระเจ้าหลุยส์ด้วยว่า "เกิดเหตุที่ปารีสแล้ว" เพราะเจ้าหลุยส์บอกว่า "เกิดกบฏใช่ไหม" คนที่ที่ไปบอกก็แจ้งว่า "มันคือการปฏิวัติ"

หลังจากวันที่ 14 ก.ค. พระเจ้าหลุยส์ก็ตื่นตระหนก แต่ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องใหญ่อะไร แต่เนื่องจากข่าวมันแพร่เร็วมากเกือบทั้งฝรั่งเศส ตั้งแต่รุ่งเช้าวันที่ 15 คนฝรั่งเศสที่อยู่ต่างจังหวัดทราบข่าว หลังจากนั้นบ่ายวันที่ 15 ชาวนาปารีสลุกขึ้นไปเป็นกลุ่มๆ ไปยึดปราสาทของเจ้า ขุนนาง ยุ้งข้าว เกิดสถานการณ์การปฏิวัติชาวนา วันที่ 14 เกิดการลุกขึ้นของชาวปารีส วันที่ 15-17 เกิดการปฏิวัติชาวนาเลย

เข้าสู่เดือน ส.ค. สมัชชาแห่งชาติที่เปลี่ยนจากสภาฐานันดร มีมติยกเลิกสิทธิศักดินา ในวันที่ 4 ส.ค.ที่ให้เจ้ามีสิทธิ มากมานานเป็นพันปี ถือเป็นความคิดปฏิวัติและอีกทางหนึ่งก็เป็นการหยุดยั้งไม่ให้ชาวนาไปเผาไปจับเจ้า ขุนนาง อีก

สรุปสั้นๆ การปฏิวัติใหญ่ ฝรั่งศส นั้นเป็นการปฏิวัติใหญ่ครั้งที่ 3 ครั้งแรกเป็น ประเทศอังกฤษ เรียกปฏวัติรุ่งโรจน์ในปี 1776 เกิดปฏิวัติที่อเมริกา วันที่ 4 ก.ค. ตั้งแต่เรียนหนังสือ นักรัฐศาสตร์ ไม่เรียกเหตุการณ์ที่อเมริกา ไม่เรียกการปฏิวติ แต่เรียกประกาศอิสรภาพ ที่เรียกว่าเป็นการปฏิวัติเพราะ 1 เข้าสร้างสาธารณะรัฐขึ้นมา 2 เข้าสร้างประชาธิปไตย มีประธานธิบดีที่มาจากการ ลต. มีหลักการต่างๆ ถือเป็นการปฏิวัติ แต่นักรัฐศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ไม่เรียกว่าเป็นการปฏิวัติ จึงควรเรียกเหตุการณ์นั้นว่าเป็นการปฏิวัติ อย่าไปกลัวคำว่าปฏิวัติ คำว่าปฏิวัติในประเทศไทยมันสับสน ทหารสมัยจอมพลสฤษดิ์เรียกการรัฐประหารว่าปฏิวัติ

10 ปีต่อมา 1789 ปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส การปฏิวัติอเมริกา 1776 คนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร การปฏิวัติรุ่งโรจน์ในอังกฤษ คนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส มีมันมีเสน่ห์ เป็นแบบอย่างแรงบันดาลใจในประเทศต่างๆ แต่มนเสน่ห์ ในฝรั่งเศสก็ค่อยๆลดลง เมื่อเกิดปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซีย 1917 คนมาติดใจการปฏิวัติรัสเซีย เป็นการปฏิวัติสังคมนิยมของพรรคคอมฯ เกิดการเคลื่อนทั่วโลก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดการปฏิวัติทั่วโลก การปฏิวัติรัสเซีย 20 ปีมานี้ก็หมดเสน่ห์ เพราะขบวนการคอมฯ หลายประเทศก็เสื่อม พวกเราที่มีความคิดปฏิวัติก็ต้องศึกษาบทเรียนในประเทศต่างๆ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักโทษเรือนจำรัฐแคลิฟอร์เนีย ราว 2,500 คนยังคงประท้วงอดอาหาร

Posted: 16 Jul 2013 05:45 AM PDT

จากเมื่อราวสัปดาห์ที่แล้วนักโทษในเรือนจำต่างๆ ของรัฐแคลิฟอร์เนียรวม 30,000 คน พากันอดอาหารประท้วงการขังเดียวนักโทษที่มีแนวโน้มจะมาจากกลุ่มแก็งค์อาชญากร ขณะนี้ผู้ประท้วงลดจำนวนลงเหลือ 2,572 คน และมีความเป็นไปได้ที่ทางการจะใช้วิธีการบังคับป้อนอาหารแบบในเรือนจำกวนตานาโม

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2013 หน่วยงานราชทัณฑ์และการบำบัดฟื้นฟูเปิดเผยว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำทั้ง 17 แห่งของรัฐแคลิฟอร์เนียที่เคยอดอาหารประท้วง 30,000 คน ในตอนนี้เหลือผู้อดอาหารประท้วงอยู่เพียง 2,572 คนเท่านั้น

กลุ่มนักโทษพากันประท้วงอดอาหารตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมาเพื่อประท้วงนโยบายการขังเดี่ยวผู้ต้องขังที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มแก็งค์ โดยเริ่มต้นมีผู้ร่วมอดอาหารประท้วงราว 30,000 คน ซึ่งการประท้วงในครั้งนี้มีขึ้นขณะที่ระบบเรือนจำของแคลิฟอร์เนียกำลังพิจารณาเรื่องการมีผู้ต้องขังล้นเรือนจำ

รัฐแคลิฟอร์เนียได้รับคำสั่งศาลให้มีการปล่อยตัวนักโทษ 10,000 คนก่อนกำหนดหรือหาวิธีอื่นในการจัดการภาวะนักโทษล้นเรือนจำ ทางด้านเทอร์รี่ ธอร์นตัน โฆษกกรมราชทัณฑ์ฯ กล่าวว่าการอดอาหารประท้วงเป็นการละเมิดกฏหมายของรัฐ และมีข่าวว่านักโทษในเรือนจำบางคนถูกบังคับให้ร่วมอดอาหารด้วย แต่ทนายความที่ทำงานร่วมกับนักโทษหลายคนในเรือนจำปฏิเสธข้อกล่าวหานี้

ทางด้านสำนักข่าว Russia Today รายงานข่าวเหตุการณ์นี้ว่า กรมราชทัณฑ์ฯ ของแคลิฟอร์เนีย จะยอมรับการอดอาหารของนักโทษว่าเป้นการอดอาหารประท้วงก็ต่อเมื่อนักโทษในเรือนจำอดอาหารติดต่อกัน 9 มื้อเท่านั้น ขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่เรือนจำจะนำวิธีการบังคับต่อท่อป้อนอาหาร (force-feeding) แบบที่เคยใช้กับเรือนจำอ่าวกวนตานาโม

อย่างไรก็ตามหัวหน้าหน่วยสุขอนามัยของกรมราชทัณฑ์ฯ ก็บอกว่า "การบังคับป้อนอาหารนักโทษไม่ได้อยู่ในเกณฑ์วิธีทางการแพทย์ของพวกเขา" แต่เงื่อนไขทางกฏหมายที่มีอยู่ ทำให้กรมราชทัณฑ์ฯ สามารถดำเนินการบังคับป้อนอาหารได้หากมีเรื่องความปลอดภัยในเรือนจำเข้ามาเกี่ยวข้อง

โดยผู้สื่อข่าวทอมป์สันจากเว็บไซต์ ProPublica เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่เรือนจำอาจเริ่มใช้วิธีบังคับป้อนอาหาร หากเริ่มรู้สึกว่าการอดอาหารประท้วงในครั้งนี้เป็นอันตราย

เรียบเรียงจาก

More than 2,500 inmates keep up California prison hunger strike, Reuters, 16-07-2013
Will California prison hunger strike lead to Gitmo-style force-feeding?, RT, 15-07-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ลาออกจากประธานศาล รธน.

Posted: 16 Jul 2013 04:30 AM PDT

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญมีผล 1 ส.ค. นี้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงภายในว่าจะดำรงตำแหน่ง 2 ปี เพื่อให้ตุลาการรายอื่นดำรงตำแหน่งผลัดเปลี่ยนกัน

มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (16 ก.ค.) ว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงเป็นการภายในก่อนหน้านี้ว่าจะดำรงตำแหน่งเพียง 2 ปี แล้วจะมีการลาออกเพื่อเปิดทางให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นขึ้นดำรงตำแหน่งผลัดเปลี่ยนกันไป

ทั้งนี้การลาออกจะมีผลในวันที่ 1 ส.ค. นี้

มติชนออนไลน์ ระบุว่า นายวสันต์ตั้งใจที่จะลาออกจากตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่เกิดเหตุมีผู้ชุมนุมมากดดันหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ชะลอการยื่นลาออกไปก่อน

มติชนออนไลน์ ระบุอีกว่า การลาออกของนายวสันต์ครั้งนี้ มีเสียงทัดทานว่าขอให้ลาออกเพียงแค่ตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ส่วนตำแหน่งตุลาการยังคงไว้ เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาในการพิจารณาคดีอื่นๆ ตามมาได้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: อย่าสรุปง่ายๆ ว่าที่อียิปต์ มีแค่รัฐประหาร และประชาธิปไตยถอยหลัง

Posted: 16 Jul 2013 04:23 AM PDT

คนตาบอดทางการเมืองมักปิดหูปิดตาถึงบทบาทมวลชน และบทบาทของขบวนการแรงงานในการนัดหยุดงาน หลายบทความเกี่ยวกับอียิปต์ในประชาไทยและสื่อกระแสหลักออกมาในรูปแบบนี้ แต่ในวันที่ 30 มิถุนายนมวลชนอียิปต์ 17 ล้านคนออกมาประท้วงไล่ประธานาธิบดีมูรซี่ ประชากรทั้งหมดของอียิปต์มี ประมาณ 83 ล้านคน ดังนั้นถ้าเทียบสัดส่วนกับไทย ลองนึกภาพคนไทย 14 ล้านคนออกมาประท้วงไล่รัฐบาล ภาพนี้เราไม่เคยเห็น ทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลืองออกมาอย่างมากครั้งละสองแสน เหตุการณ์ 14 ตุลาก็เช่นกันเพราะถ้าเทียบกับประชากรไทยปัจจุบันคงไม่เกินสองแสน แต่ผมกำลังพูดถึง 17 ล้านคนที่ออกมาในอียิปต์

แต่ลองอ่านบทวิเคราะห์สถานการณ์ในอียิปต์จากสื่อต่างๆ จะเห็นว่าเกือบทุกบทความไม่เอ่ยถึงมวลชนเลย ไม่พูดถึงการนัดหยุดงานด้วย มีแต่การพูดถึงกองทัพ นักการเมืองพรรคมุสลิม นักการเมืองเสรีนิยม และรัฐบาลต่างประเทศเท่านั้น และสิ่งที่ตามมาคือไม่พูดถึงสาเหตุหลักที่มวลชนไม่พอใจมาตั้งแต่ยุคมูบารัก นั้นคือนโยบายกลไกตลาดเสรีที่ทำให้คนจนจนลง เลยมีการสรุปว่าประเด็นสำคัญคือศาสนา แต่พวกนี้อธิบายไม่ได้ว่าทำไมคนส่วนใหญ่ที่ออกมาไล่มูรซีนับถือศาสนาอิสลาม

ทำไมพวกนี้ตาบอด หรือแกล้งตาบอดถึงบทบาทมวลชน?

ชนชั้นปกครองที่คุมสื่อกระแสหลักและพยายามผูกขาดความคิดประชาชน ต้องการสอนเราให้คิดแต่ว่า "ผู้ใหญ่" เท่านั้นที่เปลี่ยนสังคมหรือสร้างประวัติศาสตร์ พวกนี้ไม่ต้องการให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินจริงๆ เขาเลยเสนอว่าที่อียิปต์มันเป็นรัฐประหารเท่านั้น หรือเวลาพูดถึงเสื้อแดงก็บอกว่าเป็นแค่เครื่องมือทักษิณ หรือเวลาเกิดการลุกฮือในปี 35 ที่ไทย ก็จะลืมบทบาทมวลชนและฉายภาพนายทหารสองคนเข้าเฝ้าประมุข พวกที่คิดแบบนี้มักเน้นบทบาทรัฐบาลมหาอำนาจในการสร้างประชาธิปไตย และมักพูดด้วยอคติว่าพวกที่นำการชุมนุมของมวลชน "พาคนไปตาย"

แนวทางที่ตาบอดทางการเมืองมักปิดหูปิดตาถึงบทบาทมวลชนเสมอ สำหรับนักวิชาการกระแสหลักและสื่อชนของชั้นปกครอง มันเป็นการจงใจตาบอด แต่ในที่ลับๆ พวกนี้จะกลัวว่ามวลชนมีบทบาทแล้วจะล้มระบบ พวกนี้เรียกการล้มระบบ ที่เต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและการขูดรีด ว่าเป็น "ความไม่สงบ" เขาต้องการความสงบในการปกครองของเขาต่อไป และเขาหวังว่าคนที่อยู่ฝ่ายมวลชนในอดีตจะออกมาห้ามปรามและสลายการเคลื่อนไหว ตัวอย่างที่ดีคือพรรคมุสลิมในอียิปต์ หรือ พรรคเพื่อไทยและ นปช. ในไทย ในทั้งสองกรณีกองทัพและชนชั้นปกครองฝ่ายความหวังไว้กับพวกนี

ฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะนักมาร์คซิสต์ จะเน้นบทบาทมวลชนเสมอ และมองเห็นมวลชนเพราะใช้การวิเคราะห์ภาพรวมแบบ "วิภาษวิธี" ซึ่งเข้าใจชนชั้นด้วย คือมันมีผู้กดขี่ และผู้ถูกกดขี่ มันมีผู้ผลิต และผู้ที่ขูดรีดผลผลิต และความขัดแย้งในสังคมไม่ใช่แค่เรื่อง "ข้างบน"

อียิปต์ 3 กรกฏาคม ต่างโดยสิ้นเชิงจาก ไทย 19 กันยายน ในกรณี ไทย 19 กันยา มวลชนเสื้อเหลืองออกมาแต่ไม่ยิ่งใหญ่แบบอียิปต์ และเป็นการเรียกร้องให้ "เจ้านายที่อยู่เบื้องบน" ปลดนายกที่มาจากการเลือกตั้ง มีการตั้งความหวังกับกองทัพ และมีความต้องการที่จะหมุนนาฬิกากลับสู่สถานการณ์เดิมๆ ยิ่งกว่านั้นมีความไม่พอใจที่รัฐบาลทักษิณทำตามคำมั่นสัญญาต่อคนจน โดยดูถูกว่านั้นคือนโยบายแย่ๆ ที่เรียกว่า "ประชานิยม" แต่ในอียิปต์มวลชน 17 ล้านออกมาล้มมูรซี่เพราะไม่ทำตามสัญญาและไม่ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนเลย ยิ่งกว่านั้นมวลชนอียิปต์ทำการปฏิวัติล้มเผด็จการมูบารักไปรอบหนึ่งแล้วเมื่อสองปีก่อน

ถ้าศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลา เราจะเห็นว่ามวลชนไล่สามทรราช แต่ผู้ที่ประสานงานให้พวกนั้นออกจากตำแหน่ง และออกนอกประเทศ คือกองทัพและชนชั้นปกครองไทย นั้นคือบทบาทเดียวกันของกองทัพอียปต์ในการปลดมูรซี่

สหาย ซาเมย์ นากวิบ จากองค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์ อธิบายว่า.....

"มันเป็นสถานการณ์ที่ขัดแย้งในตัวเอง ถ้าดูผิวเผินมันเป็นรัฐประหารโดยทหาร แต่ทหารเข้ามาแทรกแซงเพื่อป้องกันตนเองจากการปฏิวัติมวลชน ในอีกด้านมันเป็นการกระทำของมวลชนเป็นล้านที่ทำให้ทหารเข้าแทรกแซง มันเป็นครั้งที่สองที่เกิดขึ้น ครั้งแรกคือกรณีมูบารัก ครั้งที่สองคือมูรซี่ มวลชนออกมาเป็นล้าน มันเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ชนชั้นปกครองอียิปต์ตอนนี้เหมือนหมาจนตรอก เกือบจะไม่มีทางเลือกเหลือ ถ้ามูรซี่อ่อนแอ ตัวแทนอื่นของชนชั้นนายทุน เช่น เอล์บาราเดย์ ก็ยิ่งอ่อนแอ มันไม่ใช่จุดจบของประชาธิปไตย และไม่ใช่แค่รัฐประหาร มันซับซ้อนกว่านั้น"

มวลชนบนท้องถนนมีความมั่นใจในตนเองสูงมากที่จะกำหนดประวัติศาสตร์ได้

กระบวนการปฏิวัติเป็นกระบวนการที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง แค่การเลือกตั้งทุกห้าปีเป็นเรื่องตลก กองทัพอียิปต์ต้องการจะยับยั้งกระบวนการปฏิวัตินี้

มีการวางแผนว่าจะนัดหยุดงานในวันพฤหัสโดยคนงานขับรถเมล์ คนงานรถไฟ คนงานโรงงานซีเมน และคนงานคลองซุเอส คนที่ออกมาประท้วงส่วนใหญ่เป็นกรรมาชีพ การประท้วงอาจลามไปสู่การนัดหยุดงานทั่วไปได้ และนี่คือสิ่งที่พวกทหารกลัว เพราะการนัดหยุดงานเป็นพลังหลักที่ล้มมูบารัก

ในช่วงแรกๆ มวลชนที่ต่อต้านมูรซี่แสดงความดีใจ มีการเชียร์กองทัพ แต่มวลชนไม่โง่ เขารู้ว่าตำรวจกับทหารทำอะไรในอดีต และอย่าลืมว่าเมื่อคนออกมา 17 ล้าน มันต้องมีคนที่ไม่เคยประท้วงมาก่อนในชีวิต เขาอาจหลงคิดว่าทหารอยู่ข้างประชาชน แต่มันเป็นเรื่องชั่วคราว ตอนนี้เวลาเขาเห็นทหารนำพวกนักการเมืองเก่าสมัยมูบารักกลับมา เขาเริ่มโกรธ

ความหวังที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพุ่งสูงสุดขอบฟ้า สูงกว่าตอนเราล้มมูบารักอีก และรัฐบาลใหม่ไหนที่เข้ามาคงจะไม่สามารถตอบสนองได้ และไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้องได้ เพราะพวกนั้นเป็นพวกเสรีนิยมกลไกตลาด

มวลชนรู้ว่าตนเองมีพลังและมีสิทธิ์ เขาล้มประธานาธิบดีมูรซี่ภายในระยะเวลาแค่หนึ่งปี เพราะมูรซี่ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน มวลชนสามารถทำได้อีกในอนาคต สามารถล้มทหาร และทหารก็เข้าใจตรงนี้"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับตาวาระ กสทช.พรุ่งนี้ : 17 ก.ค.56

Posted: 16 Jul 2013 04:07 AM PDT

บอร์ดใหญ่เตรียมผ่านร่างประมูลทีวีดิจิตอล – สุภิญญาค้าน ลดสาระเพิ่มบันเทิง ด้านกระจายเสียง เตรียมผ่านร่างฯทดลองมีผลบังคับใช้วิทยุทั้งประเทศ/วิชาชีพสื่อและสาธารณะเตรียมแสดงความความคิดเห็นร่างเนื้อหาตามมาตรา 37 หลังมีมติและร่วมจับตาโครงการแบบไหนที่เข้าตากองทุนวิจัย กสทช.

พรุ่งนี้ (พุธ 17 ก.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. ครั้งที่ 7/2556 มีวาระน่าสนใจจับตา ได้แก่  การพิจารณาสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดำเนินการต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... หรือ ร่างฯ การประมูลทีวีดิจิตอล ภายหลังที่ประชุม กสท.ได้สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางการดำเนินการต่อไป ซึ่ง สุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า ตนเองเป็นเสียงส่วนน้อยไม่เห็นด้วยกับการปรับลดสัดส่วนเนื้อหาข่าวสารสาระจาก 75% เหลือ 50% อยากเสนอให้เชิญทีมวิจัยประเมินมูลค่าคลื่นมายืนยันในบอร์ดใหญ่พรุ่งนี้ เพื่อความรอบคอบ ชัดเจน โปร่งใสในการลงมติขั้นสุดท้ายว่าการปรับเงื่อนไขช่องข่าว ลดสาระ เพิ่มบันเทิงนั้นมีผลต่อราคาคลื่นหรือไม่

ในวันพรุ่งนี้มีวาระพิจารณา (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดย ร่างฯ ฉบับดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากสาธารณะและองค์กรวิชาชีพสื่อ ต่อเนื้อหาสาระที่อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพราะมีเนื้อหาเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ และอาจเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของ กสทช.เกินกว่าที่ มาตรา 37 พรบ.การประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551

โดย สุภิญญา มีความเห็นต่างจากที่ประชุม กสท.ในการประชุมครั้งที่25/2556 วันจันทร์ที่ 8 ก.ค.56 เนื่องจากการออกอากาศรายการตามหมวดที่สองของประกาศนั้น จำเป็นต้องแยกสาระ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของกลไกกำกับกันเองขององค์กรวิชาชีพออกมาจากหลักเกณฑ์การกำกับด้านเนื้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งในฐานะองค์กรกำกับจึงจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนได้ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมและควบคุมการประกอบอาชีพ  หรือวิชาชีพกันเองได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งการจัดทำหลักเกณฑ์กติกาขององค์กรกำกับที่อาจเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือสิทธิเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนสิทธิของบุคคล จึงต้องอยู่ในจุดที่เป็นการสมดุลระหว่างอำนาจของ กสทช. กับแนวคิดการกำกับดูแลกันเองและความรับผิดชอบต่อการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพสื่อสารมวลชนอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ วาระอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พร้อมแบบรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขการทดลองประกอบกิจการฯ ที่มีบังคับใช้กับสถานีวิทยุทั้งหมดในประเทศ และวาระน่าจับตา เรื่อง การอนุมัติเห็นชอบโครงการที่ขอการส่งเสริมและสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประจำปี 2556 (ประเภท1) จำนวนเงิน 152,725,299 บาท ว่าผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไร ใครจะได้หรือไม่ได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พบสารรมควันข้าวตกค้างในข้าวถุงเกินมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ 1 ยี่ห้อ

Posted: 16 Jul 2013 03:53 AM PDT

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายสุ่มตรวจข้าวถุง 46 ยี่ห้อ พบข้าวถุง 12 ยี่ห้อไม่พบสารเคมีตกค้าง อีก 34 ยี่ห้อพบสารรมควันข้าวตกค้าง โดยมี 33 ยี่ห้อพบสารรมควันข้าวตกค้างในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน และมีข้าวถุง 1 ยี่ห้อที่มีสารรมควันข้าวเกินมาตรฐาน CODEX พร้อมเรียกร้องให้มีระบบที่ประชาสังคมมีส่วนร่วมติดตาม-รายงานความปลอดภัยด้านอาหารอย่างเป็นรูปธรรม

ที่มาของกราฟ: มูลนิธิชีววิถี

 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค - มูลนิธิชีววิถี ร่วมแถลง ข้าวถุงร้อยละ 26.1 ไม่พบสารเคมีตกค้าง ส่วนอีกร้อยละ  73.9 ตรวจพบสารรมควันข้าวเมธิลโบรไมด์หลายระดับทั้งระดับน้อยจนสูงเกินมาตรฐานระหว่างประเทศ (0.9 – 67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) เรียกร้องรัฐบาลตรวจสอบโรงสีและผู้ผลิตที่มีปัญหา - เร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดำเนินการและสนับสนุนเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริง โดยสามารถระบุชื่อสินค้าหรือบริการหรือชื่อของผู้ประกอบการได้  เช่น ชื่อข้าวถุงที่ตรวจสอบ รวมทั้งมีระบบที่ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการติดตามและรายงานความปลอดภัยด้านอาหารอย่างเป็นรูปธรรม

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ได้เผยแพร่ใบแถลงข่าวระบุว่า วันนี้ (16 ธ.ค.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิชีววิถี และศููนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ได้รายงานผลการตรวจข้าวสารถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง พบข้าวสารถุงร้อยละ 26.1 หรือจำนวน 12 ยี่ห้อไม่พบสารตกค้างทุกกลุ่ม แต่มีมากถึง 34 ยี่ห้อหรือร้อยละ 73.9 ที่พบสารรมควันข้าวเมทธิลโปรไมด์ ตั้งแต่ 0.9-67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

โดยนางสาวสารี  อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า การเปิดเผยข้อมูลผลการทดลองในวันนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะและเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอในการบริโภค สิทธิในการเลือกซื้อสินค้า และสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค เฉพาะการตรวจสารเคมีในข้าวสารบรรจุถุง จากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต, ยากันรา (fungicide)  และสารรมควันข้าวเมธิลโบรไมด์เท่านั้น เนื่องจากสารพิษจากเชื้อรา และคุณภาพข้าวถุงนั้น ยังไม่แล้วเสร็จ โดยผลทดสอบข้าวสารบรรจุถุงจำนวนทั้งสิ้น 46 ตัวอย่าง พบว่าทั้ง 46 ตัวอย่างไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต รวมทั้งไม่พบการตกค้างของยากันรา (fungicide)

"มีข้าวถุงจำนวน 12 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 26.1 ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรชนิดใดๆ  ได้แก่ 1.ลายกนก ข้าวหอมมะลิแท้ 100%, 2.ข้าวพันดี ข้าวขาว 100% ชั้นดีพิเศษ, 3.ธรรมคัลเจอร์ ข้าวหอมคุณภาพคัดพิเศษ, 4.รุ้งทิพย์ ข้าวขาวเสาไห้, 5.บัวทิพย์ ข้าวหอม, 6.ตราฉัตร ข้าวขาว 15%, 7.ข้าวมหานคร ข้าวขาวคัดพิเศษ, 8.สุพรรณหงส์ ข้าวหอมสุรินทร์, 9.เอโร่ ข้าวขาว 100%, 10.ข้าวแสนดี ข้าวหอมทิพย์, 11.โฮมเฟรชมาร์ท จัสมิน ข้าวหอมมะลิ 100% และ 12.ชามทอง ข้าวขาวหอมมะลิ 100%

ขณะที่ผลการทดสอบสารรมควันข้าว – เมธิลโบรไมด์ พบการปนเปื้อนถึง 34 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 73.9  ของจำนวนตัวอย่างที่นำมาทดสอบปริมาณของสารเมธิลโบรไมด์ที่พบการตกค้างในตัวอย่างที่นำมาทดสอบอยู่ที่ระดับ 0.9–67 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่พบการปนเปื้อนสูงที่สุด คือตัวอย่าง ยี่ห้อ โค – โค่ ข้าวขาวพิมพา พบการปนเปื้อนสูงถึง 67.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ(codex) ที่กำหนดไว้ให้มีการตกค้างได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

นอกจากนี้ยังมีพบอีก 5 ตัวอย่าง ที่ตกค้างไม่เกินมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ แต่พบการตกค้างสูงกว่า 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ประกอบด้วย ข้าวแสนดี ข้าวหอม พบการปนเปื้อน 41 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ข้าวตราดอกบัว ข้าวเสาไห้ พบการปนเปื้อน 29.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ข้าวตราดอกบัว ข้าวตาแห้ง พบการปนเปื้อน 28.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, สุรินทิพย์ ข้าวหอมมะลิ พบการปนเปื้อน 27.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และข้าวถูกใจ ข้าวขาว พบการปนเปื้อน 27.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม"

ทางด้านนายวิฑูรย์  เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า แม้ว่าการตกค้างส่วนใหญ่ที่พบจะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ codex หากก็พบว่าในหลายประเทศมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่สูงกว่า codex เช่น อินเดียกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ ประเทศจีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศคู่ค้าข้าวรายสำคัญของประเทศไทย กำหนดปริมาณการตกค้างของเมธิลโบรไมด์ในข้าวไว้ที่ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่เมื่อดูจากผลทดสอบครั้งนี้กลับพบตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่มีการตกค้างของเมธิลโบรไมด์เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัมมีจำนวนถึง 13 ตัวอย่างที่ไม่สามารถส่งออกไปประเทศจีนได้

"ประเทศไทยไม่เคยมีประกาศเรื่องเกณฑ์ เมธิลโบรไมด์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้รมข้าวก่อนบรรจุถุงเพื่อป้องกันมอดและแมลง ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวส่งออกลำดับต้นๆของโลก ทำให้การตรวจสอบต้องยึดมาตรฐานระหว่างประเทศ ส่งผลเสียต่อตลาดส่งออกข้าวและมาตรฐานข้าวในประเทศ และน่าสังเกตว่า หากพบว่ามีการตกค้างของสารรมข้าวเกินค่ามาตรฐาน codex จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ประกอบการได้หรือไม่ ทั้งนี้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งตรวจสอบโรงสีและผู้ประกอบการที่มีปัญหาการปนเปื้อน แม้ไม่สูงเกิน CODEX แต่ก็สูงเกินที่จะส่งออกไปจีนเพื่อรักษาชื่อเสียงของข้าวไทยและสุขภาพของประชาชนไทย"

"ดังนั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลควรให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพข้าวสารในประเทศให้มากขึ้น มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการปนเปื้อนสารเคมี เพื่อยกระดับการผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น"

เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดันองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเรียกร้องหน่วยงานรัฐทั้ง อย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้เปิดเผยรายละเอียดชื่อยี่ห้อของข้าวที่พบการปนเปื้อนหรือตัวอย่างยี่ห้อที่ตรวจแล้วปลอดภัยไม่พบการปนเปื้อน ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดทิศทางการผลิตสินค้าและการบริโภคของประเทศในอนาคต และการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐครั้งต่อๆไป ควรมีองค์กรผู้บริโภคร่วมด้วย

"หากมีแจ้งข้อมูลดังกล่าวผู้บริโภคก็จะสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวสารบรรจุถุงมารับประทานเพราะฉะนั้นหากมีการสุ่มตรวจทดสอบเรื่องของความปลอดภัยในอาหาร หน่วยงานของรัฐอย่าง อย. หรือ กรมวิทยฯ ควรมีการเปิดเผยชื่อตัวอย่างที่นำมาทดสอบเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค พร้อมเสนอให้มีการตรวจสอบดูแลเรื่องของอาหารปลอดภัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแค่ช่วงเวลาที่เกิดปัญหาเป็นกระแสสังคมเท่านั้น ทั้งนี้ภาคประชาสังคมพร้อมจะให้ความร่วมมือในการตรวจสอบและเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยในอาหาร และพร้อมดำเนินการสุ่มตรวจเรื่องความปลอดภัยทั้งในข้าวสารและอาหารอื่นๆ เป็นระยะ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค และพร้อมร่วมมือกับผู้ประกอบการในการพัฒนาคุณภาพข้าวถุง"

สำหรับการตรวจสอบข้าวสารบรรจุถุงครั้งนี้ นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่ามาจากกระแสข่าวเรื่องความไม่ปลอดภัยของข้าวสาร ทางสื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในคุณภาพของข้าวสารถุงว่าจะมีความปลอดภัยกับผู้บริโภคหรือไม่ นั้น รวมทั้งได้มีการเรียกร้องจากผู้บริโภคมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ทดสอบหาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว

ทำให้ทางศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อจึงได้ร่วมกับโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) มูลนิธิชีววิถี เก็บตัวอย่างข้าวสารถุงที่มีการจำหน่าย ระหว่างวันที่ 19 – 27 มิถุนายน 2556 ทุกยี่ห้อจากซูเปอร์มาเก็ต และห้างโมเดิร์นเทรด ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง 6 แห่ง ได้แก่ ห้างเทสโก้ โลตัส, ห้างบิ๊กซี, ห้างแมคโคร, ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, และโฮมเฟรชมาร์ท, กับร้านสะดวกซื้อ 1 แห่ง คือ เซเว่นอีเลฟเว่น รวม 7 แห่ง ได้ข้าวถุงจำนวน 46 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิ 100% จำนวน 15 ตัวอย่าง และข้าวขาวกับข้าวหอมอื่นๆ อีก 31 ตัวอย่าง

โดยส่งตรวจคุณภาพข้าวสารถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดใน 5 ด้านที่สำคัญ คือ 1) การตรวจคุณภาพข้าวสารถุง ตามมาตรฐานข้าวสาร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ 2) สารเคมีทางการเกษตร ยาฆ่าแมลง 2 กลุ่ม ได้แก่ ออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต 3) ยากันรา (fungicide) 4) สารรมควันข้าวเมธิลโบรไมด์ 5) สารพิษจากเชื้อรา – อะฟลาท็อกซิน ซึ่งการตรวจสอบทั้งหมดดำเนินการโดยศูนย์ทดสอบที่ได้รับมาตรฐานถูกต้อง ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถดูรายละเอียดและติดตามข่าวการทดสอบสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคได้ที่ www.ฉลาดซื้อ.com อีกทางหนึ่ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีดีอาร์ไอเสนอหลักประกันสุขภาพไทยต้องเน้นคุณภาพ เลิกสงเคราะห์

Posted: 16 Jul 2013 03:18 AM PDT

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดวงเสวนาสาธารณะ "คิดใหม่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย" เสนอระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยในอนาคต ต้องมีคุณภาพบริการ เน้นการป้องกันโรค และการให้บริการต้องไม่ใช่การสงเคราะห์

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดวงเสวนาสาธารณะ "คิดใหม่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทย" เสนอระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทยในอนาคต ต้องมีคุณภาพบริการ เน้นการป้องกันโรค และการให้บริการต้องไม่ใช่การสงเคราะห์ ต้องมีการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ มีการออกแบบระบบที่ดี คิดถึงการหาแหล่งการคลังใหม่ๆ การร่วมจ่ายเพื่อเข้ามาสนับสนุนการมีระบบที่ดี การบริหารชุดสิทธิประโยชน์ของการให้บริการแก่กลุ่มต่างๆ การอภิบาลระบบควรมีกลไกที่เป็นกลางซึ่งส่วนหนึ่ง สปสช. ยังเป็นแกนหลักในเรื่องหลักประกันสุขภาพของประเทศ

ปัจจุบันคนไทยทุกคนอยู่ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐไม่ระบบใดก็ระบบหนึ่ง การเข้าถึงสวัสดิการรักษาพยาบาล โดยระบบใหญ่ๆ มี 3 ระบบ คือ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบของข้าราชการ และระบบประกันสังคม แต่ 10 ปีที่ผ่านมา ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยก็มีสิ่งที่ทำให้เราต้องคิดต่อไปในอนาคต  

ศ.ดร.อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นโครงการที่ดีที่สุดที่เกือบทุกรัฐบาลที่ผ่านมาทำ เป็นนโยบายถ้วนหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริงโดยไม่เลือกคนรวย คนจน แต่ในวิถีทางของประชานิยมพอได้เสียงมาแล้วรัฐบาลก็ไม่ค่อยได้สนใจ มีการปล่อยปละละเลยเรื่องคุณภาพ ปัจจุบันเป็นโครงการสงเคราะห์ที่รัฐบาลใส่เงินมาแล้วแล้วรัฐบาลได้หน้าโดยที่หมอเสียเครดิต และกลายเป็นสิทธิ แต่ในการรับบริการเงินที่ใส่ลงไปกับคุณภาพบริการที่ได้รับยังต่างกันมาก ดังนั้นสิ่งที่ต้องคิดใหม่คือต้องไปเน้นที่คุณภาพการให้บริการ ให้หมอมีเวลาให้กับคนไข้มากขึ้น โดยไปพัฒนาระบบปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุขไม่ผูกขาดบริการสุขภาพด้วยการครอบไว้ด้วยคำว่า "โรงพยาบาล" ซึ่งเป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง เช่น จากสถานีอนามัยก็กลายเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  และอยากให้นักการเมืองหาเสียงโดยเน้นคุณภาพบริการ 

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มองว่าสิ่งที่ไม่ควรคิดใหม่คือ 1) แนวคิดพื้นฐานที่ว่าการเข้าถึงบริการสาธารณสุขควรเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน  2) รัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันการออกแบบระบบก็เป็นเช่นนั้น สิ่งที่ต้องคิดใหม่คือการออกแบบกลไกที่ไม่เพียงให้มีความรับผิดชอบต่อการเข้าถึงและคุณภาพบริหารที่ได้รับ แต่ควรรับผิดชอบไปถึงการคุ้มครองสิทธิการเข้าถึงสุขภาพของประชาชนด้วย ซึ่งทั้งหมดเป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรและวางระบบ โดยเฉพาะในเรื่องการเงินการคลังที่ปัจจุบันเงินมาจากงบประมาณ ที่จะต้องหาแหล่งบประมาณเพิ่มเติมเพื่อรองรับกับภาระค่าใช้จ่ายสุขภาพที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้สูงอายุที่จะมากขึ้นในอนาคต สำหรับความเป็นไปได้ในการรวมกองทุนในระบบประกันสุขภาพนั้น กฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าในที่สุดจะต้องไปอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ สปสช. แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก ทิศทางจึงไม่ใช่การรวม3 กองทุน แต่เน้นบูรณาการใบบางเรื่อง เช่น กรณีฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยเรื่องไตวาย เป็นต้น

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กล่าวว่าการทำให้เป็นระบบหลักประกันสุขภาพที่ให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการที่ดีและมีคุณภาพ ต้องมีการออกแบบระบบที่ดี ทั้งระบบการเงินและระบบบริการการออกแบบระบบที่ดีต้องดูความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อบริการและผู้ขายบริการและพยายามหาสมดุลให้ได้เพราะหากรวมมากไปหรือแยกมากไปก็มีข้อเสีย การออกแบบระบบที่ดีคือการฟันธงว่ารัฐมีหน้าที่ต้องสร้างกติกาและกลไกที่จะมากำกับดูแลระบบบริการที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ระบบที่ทำงานได้ต้องไม่ใช่การสงเคราะห์แล้วโยนภาระให้กับประชาชน นั่นคือ ต้องออกแบบระบบบริการให้ดีนั่นคือการออกแบบให้ระบบปฐมภูมิเข้มแข็ง

การพัฒนาระบบปฐมภูมิ เป็นสิ่งที่เรียกว่าทุกคนเห็นตรงกัน พูดกันมาตลอด แต่ทำน้อยกว่าที่พูด ต้องทำให้ทุกกองทุนเห็นตรงกันว่าปฐมภูมิเป็นเป้าหมายสำคัญและหาวิธีการที่จะต้องมาช่วยกันจ่ายเพื่อให้ปฐมภูมิเป็นฐานที่จะดูแลสำหรับคนทุกคน โดยการออกแบบวิธีการจ่ายปฐมภูมิต้องมีคุณสมบัติ คือ 1) เอื้อให้เกิดนวัตกรรมต้องหากติกาการเงินที่ทำให้คนปฐมภูมิคิดใหม่ คิดนอกกรอบได้ 2) ทำให้เกิดเครือข่ายบริการซึ่งยอมรับว่าจะให้มีการส่งต่อภายใต้กติกาการเงินชุดหนึ่งที่ออกแบบให้ไม่เกิดเป็นภาระมากนักกับปฐมภูมิ 3) การทำให้แพทย์เข้ามาอยู่ในระบบ เข้ามามีบทบาทในการดูแลทีมสุขภาพ แล้วทีมสุขภาพนี้ก็จะเป็นที่ปรึกษาให้กับประชาชน ถ้าเรามีระบบปฐมภูมิที่ดีประชาชนก็จะมีที่ปรึกษาไม่ต้องไปใช้บริการเสียเงินเสียทองโดยไม่จำเป็น

"ประเทศไทยต้องมีเป้าหมายการเพิ่มค่าใช้จ่ายสุขภาพของประเทศแต่ต้องไม่ควรไปทำด้วยการลดงบประมาณภาครัฐ ประเทศส่วนใหญ่ตอนนี้มีข้อสรุปชัดเจนว่ายิ่งรัฐลงทุนอย่างจริงๆ จังๆ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศได้"

นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่า การคิดใหม่ระบบประกันสุขภาพควรพิจารณาถึงแนวโน้มภาระโรคของประเทศไทยและสภาพการเจ็บป่วยของประชาชนไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังหรือโรคจากพฤติกรรมมากขึ้น เราจึงต้องคิดใหม่ในเรื่องของการปรับระบบการกระจายทรัพยากรและเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพไปสู่การดูแลสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นสำหรับแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายและกลุ่มไร้รัฐไร้สัญชาติจำนวนไม่น้อย และเรายังไม่มีระบบประกันสุขภาพที่ชัดเจนสำหรับการดูแลแรงงานเหล่านี้ ในบางพื้นที่การดูแลสุขภาพของคนเหล่านี้เป็นภาระของภาครัฐ สปสช. ควรดูแลเรื่องระบบประกันสุขภาพก็ควรดูไปถึงคนกลุ่มนี้ด้วย การบริหารจัดการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของชุดสิทธิประโยชน์ของ 3 กองทุนสุขภาพ ในอนาคตควรพัฒนาการใช้ Health technology assessment และความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร รวมทั้งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มาเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาวิธีการรักษาพยาบาล และเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ที่จะรวมเข้าไปในชุดสิทธิประโยชน์
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น