โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เริ่มปีหน้า คนทำงานบ้านในสิงคโปร์ได้หยุด 1 วันต่อสัปดาห์

Posted: 06 Mar 2012 08:51 AM PST

 
คนทำงานบ้านในสิงคโปร์ส่วนใหย่จะเป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น
อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา และอินเดีย (ที่มาภาพ: 
http://the-diplomat.com)

6 มี.ค. 55 – สื่อต่างประเทศรายงานว่าในปีหน้า (ค.ศ. 2013) คนทำงานบ้านในสิงคโปร์จะมีวันหยุดสัปดาห์ละครั้ง แต่ทั้งนี้องค์กรสิทธิมนุษยชนก็ได้ออกมากดดันให้สิงคโปร์ใช้กฎหมายนี้ในทันที

อาชีพคนทำงานบ้านในสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งรัฐบาลได้ประมาณการเอาไว้ว่ามีประมาณ 206,000 คน โดยประชากรทั้งหมดของสิงคโปร์ที่มีอยู่ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่คนทำงานบ้านในสิงคโปร์จะมาจากอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา และอินเดีย ก่อนหน้านี้พวกเธอทำงานโดยไม่มีวันหยุดในช่วงสัญญาว่าจ้าง 2 ปีแรก

ทั้งนี้องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ได้ออกมาวิจารณ์ว่าข้อบังคับใหม่ยังไม่ได้มาตรฐานสากล เพราะยังไม่มีความคุ้มครองด้านอื่นๆ แก่แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ และเรียกร้องให้มีการบังคับใช้เร็วขึ้นเป็นภายในปีนี้ทันที และบังคับครอบคลุมคนทำงานบ้านทั้งหมดที่มีสัญญาว่าจ้างในปัจจุบัน

ด้านสถานทูตฟิลิปปินส์ประจำสิงคโปร์ก็ได้ออกมาแสดงความยินดีกับนโยบายนี้ทันที เนื่องจากปัจจุบันมีแรงงานฟิลิปปินส์ที่ทำงานบ้านในสิงคโปร์ถึงเกือบ 65,000 คน

อนึ่งกระแสการเรียกร้องให้คนทำงานบ้านในสิงคโปร์มีวันหยุดสัปดาห์ละ 1 วันนั้น เริ่มเป็นประเด็นที่น่าจับตามาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว (2011) โดยฮิวแมนไรท์วอทซ์ ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับสภาพการทำงานของคนทำงานบ้านในสิงคโปร์ โดยเฉลี่ยต้องทำงานวันละ 16-20 ชั่วโมง รับประทานอาหารตามที่นายจ้างจัดให้ การใช้เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ต้องเป็นไปตามที่นายจ้างกำหนดให้ใช้ และยังต้องรับผิดชอบในการดูแลความสะอาดเรียบร้อยทั้งหมดในบ้าน รวมทั้งยังต้องรับผิดหากปล่อยให้ลูกนายจ้างนอนตกเตียง

โดยลักษณะงานของคนงานเหล่านี้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยอัตราค่าจ้าง เงื่อนไขการจ้าง และสวัสดิการการจ้างงาน ที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างตกลงยินยอมกันเอง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ค้นหาความจริง-อภัยโทษ ข้อเสนอสถาบันพระปกเกล้าเพื่อสร้างความปรองดอง

Posted: 06 Mar 2012 08:42 AM PST

"พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" ปธ.กมธ.แนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ นำโครงการศึกษาสร้างความปรองดองที่วิจัยโดยสถาบันพระปกเกล้ามาพิจารณา และเตรียมหาข้อสรุปเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (6 มี.ค. 55) ว่าพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ ว่าที่ประชุมได้พิจารณาผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า โครงการศึกษาสร้างความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งได้ศึกษาความรุนแรงทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549-2553 ซึ่งมีรายละเอียด และแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมือง มอบให้กรรมาธิการฯ นำไปศึกษา และในสัปดาห์หน้าจะเสวนาเพื่อหาแนวทางสรุปและเตรียมเสนอสภาต่อไป เบื้องต้นจะขออนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขยายระยะเวลาการทำงานของกรรมาธิการฯ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 16 มีนาคมนี้ออกไปอีก 30 วัน

สำหรับผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า ได้สรุปและเสนอแนวทางที่จะทำให้ประเทศกลับสู่ความปรองดอง มีสาระสำคัญ คือ ต้องการสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดอง โดยรัฐบาลต้องมีแนวทางที่เป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันทุกฝ่ายต้องงดเว้นการกระทำใดๆ ที่จะทำให้ผู้คนรู้สึกว่าอยู่ในสังคมที่ไม่เคารพกฎหมายและนิติรัฐ ขณะเดียวกัน ต้องมีกระบวนการพูดคุยใน 2 ระดับ คือ ระดับตัวแทนทางการเมืองและระดับประชาชนในรูปเวทีประเทศไทย

ทั้งนี้ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า มติชนออนไลน์ รายงานว่ามี 6 ข้อคือ

1.การจัดการกับความจริงของเหตุการณ์รุนแรงที่นำมาซึ่งความสูญเสีย ซึ่งควรส่งเสริมบทบาทของ คอป.ในการดำเนินการค้นหาความจริงให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน อีกทั้งเปิดเผยข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ไม่ระบุตัวบุคคลในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบททางสังคม โดยวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยนั้นเพื่อให้สังคมเรียนรู้บทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีตและป้องกันมิให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต

2.การให้อภัยผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองใน 2 ทางเลือกคือ 1.การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทุกประเภท ทั้งความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 และคดีอาญาที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง และ 2.การให้อภัยผ่านกระบวนการนิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองเฉพาะคดีการกระทำความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยความผิดอาญาอื่นซึ่งแม้จะมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองจะไม่ได้รับการยกเว้น

3.การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาจากกระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)

4.การกำหนดกติกาทางการเมืองซึ่งอาจรวมถึงการแก้กฎหมายหลักรัฐธรรมนูญ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาหาข้อสรุปต่อประเด็นที่อาจขัดต่อหลักนิติธรรมและความเป็นประชาธิปไตยและต้องหลีกเลี่ยงการสร้างความยุติธรรมของผู้ชนะ

5.การสร้างการยอมรับในมุมมองต่อประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องคุณลักษณะการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ

6.การวางรากฐานของประเทศเพื่อความเป็นธรรมในสังคม โดยการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความเป็นพลเมืองและการอยู่ร่วมกันในความแตกต่าง

ในท้ายที่สุดคณะกรรมาธิการฯ ย้ำว่า ข้อเสนอต่าง ๆ ของสถาบันพระปกเกล้าในขณะนี้ ยังคงเป็นเพียงข้อเสนอทางวิชาการ ซึ่งกรรมาธิการฯ จะนำไปศึกษาก่อนที่จะสรุปเป็นแนวทางปฏิบัตินำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อนุมัติ ธีรยุทธ-เกษียร เป็นศาสตราจารย์ใหม่

Posted: 06 Mar 2012 08:35 AM PST

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ (ศ.)เพื่อนำความเสนอกราบบังคมทูลฯโปรดเกล้าฯ จำนวน 15 ราย ดังนี้

รศ.ประยงค์ เนตยารักษ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.), นายสุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.), นายเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)ชัยภูมิ, นายวัชระ งามจิตรเจริญ สาขาวิชาปรัชญา มธ., นายธีรยุทธ บุญมี ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ สาขาวิชามานุษยวิทยา มธ.

นายฉลียว ศาลากิจ สาขาวิชาพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.), นางมาลินี เหล่าไพบูลย์ สาขาวิชาชีวสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), นายอุดม รัฐอมฤต สาขาวิชากฎหมายวิธีบัญญัติ มธ., นางอรุณี เจตศรีสุภาพ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ มข., นายวิชัย เอกพลากร สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.), นายกำชัย จงจักรพันธ์ สาขาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ มธ., นายพลภัทร โรจน์นครินทร์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ จุฬาฯ, นายเกษียร เตชะพีระ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มธ., นายธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ นิด้า และ นายอภิรัฐ ศิริธราธิวัตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มข.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อัยการนาทวีเลื่อนส่งฟ้อง 4 ผู้ต้องหา ถอนตัวมาตรา 21

Posted: 06 Mar 2012 08:01 AM PST

อัยการนาทวีเลื่อนส่งฟ้อง 4 ผู้ต้องหา ถอนตัวมาตรา 21 ทหารเรียกคุยให้เข้ากระบวนการอีกครั้ง

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 6 มีนาคม 2555 ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา พนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ได้นัดนายนายมะซับรี กะบู นายซุบิร์ สุหลง นายสะแปอิง แว และนายอับริก สหมานกูด ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถอนตัวจากการสมัครเข้าอบรมแทนการถูกขัง ตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) เพื่อแจ้งว่า ได้ขอให้ศาลเลื่อนการส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ต่อศาลจังหวัดนาทวีไปเป็นวันที่ 19 เมษายน 2555

เดิมพนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ได้กำหนดวันส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ต่อศาลจังหวัดนาทวี ในวันที่ 6 มีนาคม 2555

หลังการเข้าพบพนักงานอัยการจังหวัดนาทวี มีเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหนึ่งขอคุยกับผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ภายในห้องอัยการจังหวัดนาทวี โดยขอให้ทั้ง 4 คน เข้ากระบวนการตามมาตรา 21 อีกครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวบ้านอุบล ฟ้องศาลปกครองให้ถอนใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวล

Posted: 06 Mar 2012 06:25 AM PST

ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล (แกลบ) อุบลราชธานี ยื่นเดินทางมาขอพึ่งความเป็นธรรมต่อศาลปกครองเพิกถอนใบอนุญาตผลิตพลังงานไฟฟ้าของบัวสมหมายไบโอแมส จำกัด และให้ฟื้นสภาพเดิม

 

อุบลราชธานี .  วันนี้เวลา ๑๐.๓๐ น. ตัวแทนชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล (แกลบ) อำเภอสว่างวีระวงศ์ อุบลราชธานี ยื่นเดินทางมาขอพึ่งความเป็นธรรมต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ของบริษัท บัวสมหมายไบโอแมส จำกัด และให้ฟื้นฟูทรัพยากรที่เสียหายกลับคืนสู่ภาพเดิม

ที่ศาลปกครองอุบลราชธานี  ตัวแทนชาวบ้านบ้านคำสร้างไชยและบ้านใกล้เคียง จำนวน ๕ หมู่บ้าน ต.ท่าช้างและต.บุ่งมะแลง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี จำนวน ๑๐๐ กว่าคน  ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล(แกลบ)ของบริษัทบัวสมหมายไบโอแมส จำกัด  นำโดย  นายทองคับ มาดาสิทธิ์  ได้มาร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง  ให้มีคำสั่ง ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ถอดถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ของบริษัท บัวสมหมายไบโอแมส จำกัด ที่ตั้งอยู่บริเวณบ้านคำสร้างไชย  หมู่ที่ ๑๗ ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์  เพราะเป็นการออกใบอนุญาตโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

นายทองคับ มาดาสิทธิ์ กล่าวว่า ได้มาขอความเป็นธรรมจากศาลปกครองเพราะ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และ อีก ๕ หน่วยงาน คือ  กรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑๗ บ้านคำสร้างไชย ตำบลท่าช้าง ได้ร่วมกัน ออกใบอนุญาตฯให้บริษัทบัวสมหมายไบโอแมสโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระบวนการออกใบอุญาตฯนั้น มีความไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรมต่อชาวบ้าน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ และ มาตรา ๒๘๙  คือ เริ่มตั้งแต่การประชุมในหมู่บ้านที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม และ อบต.ท่าช้างไม่มีการเปิดเผยข้อมูลไม่มีการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไม่ปกป้องสิทธิผู้ใช้พลังงานและชุมชนท้องถิ่น ซึ่ง กกพ.อ้างว่า ได้ออกใบอนุญาตตามความเห็นของกรมโรงงานและ พรบ.กรมโรงงาน ๒๕๓๕  ซึ่งพรบ.ดังกล่าวที่ใช้วินิจฉัย นั้น ไม่ให้ความเป็นธรรมต่อชุมชนที่ตั้งรกรากมานานนับ ๑๐๐ ปี มีโครงสร้างและความสัมพันธ์ของชุมชนที่เหนียวแน่น มีจารีต วัฒนธรรม ประเพณี มีประวัติศาสตร์ มีทรัพยากรธรรมชาติดิน น้ำ ป่า ที่ชาวบ้านได้พึ่งพาในการดำรงชีพเลี้ยงครอบครัวและชุมชน ซึ่งต่างจากหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโด ที่อยู่กันอย่างหลวมๆ และไม่อาจเรียกได้ว่าชุมชนเสียด้วยซ้ำ แต่กฎหมายกลับให้ความคุ้มครอง ชาวบ้านได้ร้องคัดค้านต่อ กกพ.มาเป็นเวลา ๔ ปีแล้ว แต่ กกพ.กลับยืนยันไม่ยอมเพิกถอนใบอนุญาตของบัวสมหมาย

นายบุญชู สายธนู  ตัวแทนชาวบ้านบ้านคำสร้างไชย กล่าวว่า ชาวบ้านต้องการให้เพิกถอนใบอนุญาตที่ให้แก่บริษัทบัวสมหมายฯและให้ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมโดยปรับสภาพดินของบริเวณสระน้ำที่ทำขึ้นให้กลับคืนสู่สภาพเดิม เพราะ นับตั้งแต่โครงการโรงไฟฟ้าของบริษัท บัวสมหมายไบโอแมส จำกัด เริ่มดำเนินการ โดยการขุดบ่อน้ำประมาณ ๑๕ ไร่ มาถมที่บริเวณ ๑๕๕ ไร่ ได้สร้างผลกระทบในชุมชนมา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบันคือ เกิดความขัดแย้งในชุมชนด้านความคิดและการแย่งน้ำในการทำการเกษตรจากการขุดบ่อน้ำของบริษัทฯ ทำให้ปริมาณน้ำในสระน้ำที่ชาวบ้านที่ขุดเองและในหนองน้ำธรรมชาติ มีปริมาณน้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด  ซึ่งปีที่ผ่านมาแม้จะย่างเข้าสู่ฤดูฝน และมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำซับที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอต่อการทำนาปี ชาวบ้านขาดน้ำทำนาปรัง รวมเนื้อที่ ๙๗ ไร่ ๒๖ งาน  และมะม่วงหิมพานต์ที่กำลังติดดอกเกิดความเสียหาย ยังส่งผลกระทบต่อน้ำประปาบาดาลของหมู่บ้าน

ซึ่งสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าจริง ชาวบ้านต้องเกิดปัญหาแย่งน้ำกับบริษัทอย่างแน่นอน และมีแนวโน้มว่าเหตุการณ์จะดำเนินไปเช่นนั้น ทั้งนี้ ตัวแทนบริษัทฯ ได้แจ้งต่อชาวบ้านในที่ประชุมระดับจังหวัดเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ว่าการใช้น้ำเพื่อประกอบกิจการโรงงานจะไม่มีการสูบน้ำมูลมาใช้ แต่น้ำที่จะใช้มาจากการขุดบ่อบาดาลเท่านั้น  ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดไปจากเงื่อนไขการอนุญาตให้ประกอบกิจการ ตามแบบ ร.ง. ๔ อีกทั้งขนาดของบ่อของบริษัทฯ ก็ใหญ่กว่าที่แจ้งต่อกรมโรงงานอีกด้วย

ศาลปกครองได้รับเอกสารหลักฐานที่ชาวบ้านนำมายื่น เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นคดีสิ่งแวดล้อม ซึ่งศาลให้ความสนใจและจะแจ้งให้ชาวบ้านทราบว่าศาลจะมีความเห็นให้ดำเนินการต่อไปอย่างไรภายใน 30 วัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน : เรียนรู้ชุมชนท่าสะแล เรียนรู้เรื่องหมอกควันไฟป่า

Posted: 06 Mar 2012 06:17 AM PST


 

ชาวบ้านท่าสะแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่ารวม  10,447 ไร่
ย้ำรักษาผืนป่าตึงผืนสุดท้ายเอาไว้ เพราะคือป่าอุดมสมบูรณ์ ชุมชนหาอาหารจากป่าได้ตามฤดูกาล และใบตองตึง
ยังเป็นรายได้สร้างเศรษฐกิจชุมชนมหาศาล

ในขณะที่รัฐบาลรวมทั้งภาคประชาสังคมหลายภาคส่วนกำลังถกปัญหาเรื่องหมอกควันและไฟป่าที่กำลังก่อมลภาวะในหลายๆ พื้นที่ของภาคเหนือของไทยในขณะนี้ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าว

ผศ.ดร.สุทธินี ดนตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาหมอกควัน ในเวทีแลกเปลี่ยนเรื่องการหาแนวทางการจัดการไฟป่าลดปัญหาหมอกควัน ห้องประชุม อาคารเครื่องกล2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า งานศึกษาวิเคราะห์สภาพอากาศและเฝ้าระวังการเกิดมลพิษทางอากาศ เมื่อปี 2551 โดยเจียมใจ เครือสุวรรณ และคณะ พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กใน จ.เชียงใหม่มีแหล่งกำเนิดจากไฟป่าและการเผาพื้นที่การเกษตรประมาณร้อยละ 50-70 จากเครื่องยนต์ดีเซลประมาณร้อยละ10 ที่เหลือเป็นฝุ่นละอองที่ถูกพัดพาจากแหล่งกำเนิดภายนอกเชียงใหม่ เช่นอุตสาหกรรมครัวเรือน ฝุ่นละอองจากถนน ยังไม่รวมถึงหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้านในลาว พม่า เป็นต้น

ผศ.ดร.สุทธินี ดนตรี ยังกล่าวอีกว่า ผลการศึกษาพบว่า ปี2550 มีพื้นที่ร่องรอยการเผาสะสม 2,652,285 ไร่ และในพ.ศ.2553 มีพื้นที่ร่องรอยการเผาสะสม 2,962,329 ไร่ ส่วนพ.ศ.2554 มีภาวะลานิญ่า ทำให้ฝนตกมากกว่าปกติ การเผาไหม้จึงลดลงมาก ในปีที่พบสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันรุนแรงในปี2550และ2553เมื่อเปรียบเทียบลักษณะการกระจายตัวของพื้นที่เผาจากทั้งสามปี พบว่ามีรูปแบบการกระจายตัวที่คล้ายกัน โดยเฉพาะตามอำเภอที่มีภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง มีการใช้ที่ดินเป็นป่าผลัดใบและพืชไร่จำนวนมาก เมื่อนำร่องรอยการเผาทั้งสามปีมาซ้อนทับกันด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่า มีอำเภอที่มีสัดส่วนพื้นที่เผามากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ40 ของพื้นที่อำเภอขึ้นไป 9 แห่ง ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม ฮอด เชียงดาว อมก๋อย จอมทอง ดอยเต่า ฝาง แม่อาย และไชยปราการ

อำเภอฝาง ก็เป็นอีกหนึ่งอำเภอที่ถูกรายงานว่า กำลังก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

แน่นอนว่า ไม่ว่าพื้นที่ใดที่ถูกเปิดเผยจากทางการ หรือจากสื่อ ย่อมถูกมองไปในทางลบต่างๆ นานา

แต่เมื่อหันไปมองอีกมุมหนึ่ง กลับพบว่า ในความเป็นจริง ในหลายๆ พื้นที่ถูกกล่าวหานั้น หลายๆ ชุมชนเขากำลังเรียนรู้และป้องกันปัญหาหมอกควันและไฟป่ากันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับชาวบ้านชุมชนบ้านท่าสะแล ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่กำลังได้รับการยกย่องและกล่าวถึงในเชิงบวก...

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ชาวบ้านชุมชนบ้านท่าสะแล ได้ร่วมมือกันทำแนวกันไฟ ที่ชุมชนร่วมกันจัดการดูแลรักษาจัดตั้งเป็นป่าชุมชน รวม  10,447 ไร่ จากพื้นที่ครอบคลุมเขตปกครอง 14,447 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัย 2,000 ไร่ พื้นที่ทำกิน 3,800 ไร่ ทั้งนี้พื้นที่ป่าท่าสะแล มีแนวเขตติดต่อกับพื้นที่ ชุมชน หมู่บ้านใกล้เคียง  ทิศเหนือติดต่อบ้านป่าแดงวิวัฒน์ (ชนเผ่าอาข่า)  อ.แม่อาย  ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 12 บ้านโป่งถืบนอก (ลาหู่) ต.เวียงหวาย ทิศใต้ติดติดต่อกับบ้านหนองบัวคำ ตำบลแม่คะ อ.ฝาง ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสันทราย อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ดูแลผืนป่าตึงผืนสุดท้าย นอกจากป้องกันไฟป่า ยังสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน
นายไตรภพ  เปรื่องการ ชาวบ้านท่าสะแล และเป็นสมาชิกสภาอบต.เวียง อำเภอฝาง กล่าวว่า ด้วยสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ของบ้านท่าสะแล เป็นพื้นที่ป่า ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าพลวง (ป่าตึง) ที่สมบูรณ์ที่สุดผืนหนึ่ง และคิดว่า คงเหลือแห่งเดียวของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของชุมชนท่าสะแลและชุมชนใกล้เคียงในอีกหลายๆชุมชน ในการเข้ามาหาอาหารจากป่าตามฤดูกาล และใช้ประโยชน์ เช่น การเก็บเห็ด หน่อไม้ ผักป่า หาฟืน ไม้ใช้สอย ที่สำคัญการอาศัยผืนป่า เป็นแหล่งรายได้ในการเก็บใบตองตึงมา แปรรูป จักรสาน ที่เรียกว่า ไพตองตึง

“ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าพลวง ที่เหลือเพียงเดียวในเขตลุ่มน้ำฝาง เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งทุกปี ชุมชนบ้านท่าสะแล ทุกหลังคาเรือนรวม 95 ครัวเรือนช่วยกันในการทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า เพราะเราเห็นความสำคัญของป่าผืนนี้”

นางหลง สายคำอ้าย  ชาวบ้านบ้านท่าสะแล ที่มาร่วมทำแนวกันไฟครั้งนี้ กล่าวว่า มาทำแนวกันไฟทุกปี ปัญหาไฟป่าลดลงบ้าง ปัญหาหมอกควัน หมอกควันก็มาก หากถามว่า สาเหตุมาจากไฟป่าหรือไม่ คงมีบ้าง หากไม่จัดการดูแลรักษาป่า ผืนป่าก็คงจะเสียไป อย่างน้อยชาวบ้านที่นี่มีอาชีพในการเก็บใบตองตึง

“หากไฟป่าลุกลามเข้ามา ชาวบ้านก็ช่วยกันพากันไปดับไฟ นำโดย สสอ.และร่วมกับชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวัน กลางคืน การมาทำแนวกันไฟครั้งนี้ มีการจัดแบ่งกันเป็นหมวดหมู่ กระจายไปตามผืนป่าที่ชาวบ้านดูแล”

ในขณะที่นายรัตน์ บุญชาญ ประธานประธาน สสอ. และส.อบต.บ้านท่าสะแล ได้กล่าวถึงที่มาของการทำแนวกันไฟว่า ที่ผ่านมา เป็นฤดูกาลทำแนวกันไฟ ห้ามชาวบ้านไม่ให้เผาป่า ปีนี้อบต.สนับสนุนค่าอาหารและน้ำดื่ม ชาวบ้านระดมกันทำทุกปี

“การที่มีหมอกควันในขณะนี้ คงจะเกิดไม่แต่ชาวบ้านเท่านั้น เพราะช่วงนี้ชาวบ้านยังไม่ได้เผาอะไรเลย อาจจะเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ อย่างพื้นที่ป่าไม้ที่ดูแลทุกวันนี้ ไม่มีการเผา มีการตั้งเวรยามคอยดูแล จัดกลุ่มอาสาสมัครรักษาป่าลาดตะเวน เฝ้าระวัง เพราะช่วงนี้ ชาวบ้านเก็บเกี่ยวผลผลิตตองตึงไปไพตอง และเป็นรายได้ของชุมชน” นายรัตน์ บอกเล่าให้ฟังถึงเรื่องปัญหาหมอกควัน

นายรัตน์ยังเผยอีกว่า การเก็บใบตองตึงมาเป็นรายได้ จะช่วยลดปริมาณใบไม้ที่หล่นลงมา ซึ่งหากทับถมมากขึ้นก็อาจกลายเป็นเชื้อไฟไหม้ป่าเพิ่มมากขึ้น

“การเก็บใบตองตึงไปทำไพตองนั้นจะลดปริมาณใบไม้ที่หล่นลงมาในเขตป่าตองตึง ลดไฟได้ระดับหนึ่ง เพราะปีหนึ่งๆไพตองตึงขายออกไปจากหมู่บ้านปีหนึ่งๆเป็นล้านๆไพ สร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชน ไม่เพียงแต่เฉพาะหมู่บ้านท่าสะแลเท่านั้น รวมไปถึงหมู่บ้านใกล้เคียง ชาวบ้านได้ประโยชน์จากป่าอย่างมาก ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม มีความหวงแหน หากไฟเกิดขึ้นที่ไหน ชาวบ้านร่วมกันดับ ไม่ให้ลุกลามไปที่อื่น หากลุกลามไป จะทำให้สูญเสียเศรษฐกิจของชุมชนในการเก็บใบตองตึงมาไพขาย” นายรัตน์ บอกเล่าให้ฟังจนเห็นภาพและความสำเร็จของการดูแลป่าผืนนี้ได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม มักมีเสียงสะท้อน ประเด็นคำถามที่สังคมไทยมักตั้งคำถาม โดยเฉพาะคนในเมือง ที่มักตั้งคำถามและบางคนถึงกับฟันธงว่า คนดอยคือตัวปัญหา ทำให้เกิดปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

“ที่คนในเมืองอาจจะมองว่า มาจากพี่น้องบนดอย พี่น้องที่อาศัยอยู่กับป่าเผาป่า แต่ถ้ามาเห็นจะรู้ว่าชาวบ้านได้เฝ้าระวังเต็มที่ ไม่ให้เกิดขึ้น ณ วันนี้ พี่น้องชาวบ้าน คณะกรรมการร่วมกันจัดทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่า แบ่งออกเป็น 3 ชุดเพราะพื้นที่รับผิดชอบมีมากถึง 10,000 กว่าไร่ ระยะทางไม่ต่ำกว่า 5 กม. โดยใช้เส้นถนนเป็นแนวกันไฟ ถนนเป็นแนวที่เฝ้าระวัง ทุกวันต้องเปลี่ยนเวรยามป้องกันไฟป่า มาทำกิจกรรมร่วมกัน” 

นอกจากนั้น หลายคนชอบตั้งคำถาม การที่ชาวบ้านมาร่วมกันทำแนวกันไฟ จะช่วยลดปัญหาไฟป่าได้หรือไม่ 

นายรัตน์ บุญชาญ ประธานประธาน สสอ. และส.อบต.บ้านท่าสะแล บอกย้ำอย่างจริงจังว่า การทำแนวกันไฟ จะช่วยลดปัญหาไฟป่าได้มาก ดูได้จากพื้นที่ป่าหมื่นกว่าไร่ที่เราดูแลกันในขณะนี้ ยังไม่เป็นปรากฏการณ์ ไฟป่าเกิดขึ้น พี่น้องที่เข้าไปในป่า หาตองตึง เฝ้าระวังในตัวอยู่แล้ว  รวมทั้งพี่น้องที่เข้าไปเลี้ยงสัตว์ในป่า ก็ช่วยกันเป็นหูเป็นตาส่วนหนึ่ง และนอกจากนั้น ในช่วงเย็นๆ เราจะมีขบวนคาราวานรถจักรยาน เมื่อเห็นไฟ ก็จะแจ้งกับทางคณะกรรมการหมู่บ้านและร่วมกันไปดับไฟ”

ตัวแทนชาวบ้านท่าสะแล ยืนยันอีกว่า แม้ว่าในขณะนี้ผืนป่าที่ชาวบ้านช่วยกันดูแลยังไม่เกิดไฟป่า  แต่ถึงอย่างไร ทุกคนก็พร้อมจะช่วยกันเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในช่วงเดือนก.พ.ไปจนถึงเดือน เม.ย. และพี่น้องเข้าไปใช้ประโยชน์เก็บใบตองตึงในการนำตองไปแปรรูปตองตึงเพื่อนำไปคลุมต้นสตอเบอรี่

ย้ำหากทุกชุมชนทำแนวกันไฟจะช่วยลดปัญหาหมอกควันได้
ตัวแทนชาวบ้านท่าสะแล บอกอีกว่า หากมีการทำแนวกันไฟทุกหมู่บ้าน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่กับป่า จะช่วยลดปัญหาหมอกควันลงมาอย่างมาก และหากทำพร้อมกันทุกพื้นที่ จังหวัด ที่มีป่าชุมชนก็จะสามารถลดปัญหาหมอกควันลงได้เช่นกัน จึงขอฝากทางจังหวัด ซึ่งมักจะไม่เข้าใจว่า ชาวบ้านเผา แท้จริงชาวบ้านไม่ได้เผา แต่ร่วมกันจัดการดูแลรักษา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น อาจจะสภาพดิน ฟ้าอากาศ หรืออุณหภูมิที่ต่ำลง

“ส่วนการห้ามเผา ทางหมู่บ้านได้รณรงค์ร่วมกับอบต.  ในการทำป้ายรณรงค์ และทำป้ายตามระเบียบกติกาของชุมชน ห้ามเผา หากพบเห็น ก็จะมีปรับตามระเบียบของชุมชน ส่วนการรณรงค์ก็ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อโปสเตอร์ และมีป้ายไว้เป็นจุดๆ ตามสามแยก สี่แยกของชุมชน

เผยชาวบ้านเฝ้าระวังเต็มที่ ไม่ให้มีการเผาป่า
พื้นที่เกษตร ยังไม่ฤดูกาลที่จะเตรียมพื้นที่ จะเลยช่วงเมษายนไป ส่วนใหญ่พื้นที่จะไม่ค่อยมีการเผา เนื่องจากเป็นพื้นที่เดิม ที่ราบลุ่มน้ำ การเผาเบาบาง ไม่รุนแรง อาจจะไม่เหมือนพื้นที่อื่นๆ เพราะป่าอนุรักษ์กับพื้นที่ทำกิน ได้จัดทำกันเขตชัดเจนแล้ว ไม่มีการบุกรุก หากมีการบุกรุกจะมีการจับกุม ป้องปรามกันไว้ 

“ขอให้พี่น้องในเมือง เบาใจได้ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากไฟป่า หรือการเผาพื้นที่เกษตร เพราะช่วงนี้ยังไม่มีการเผา แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร ประเทศใกล้เคียงเราหรือไม่ ที่พัดพาเข้ามา หรือปรากฏการณ์ทางอากาศ นั่นเป็นเรื่องที่เราต้องถกกันต่อไป แต่ขอยืนยันว่า พื้นที่ป่าชุมชนเวียงด้ง  6 หมู่บ้าน ที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ ช่วงนี้ไม่มีการเผา ยังคงดูแลรักษา เฝ้าระวังกันอยู่” ตัวแทนชาวบ้านท่าสะแล ยืนยัน

ในขณะนายพรมพิริยะ รัตนมงคลชัย ตัวแทนชาวบ้านสันทรายคองน้อย และเป็นสมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 6 ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีผืนป่าติดกับบ้านท่าสะแล ก็ได้มีโอกาสไปร่วมทำแนวกันไฟกับพี่น้องบ้านท่าสะแล ได้กล่าวว่า บ้านสันทรายคองน้อย มีการแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็นโซนพื้นที่ และกระจายออกไปในการจัดการ โดยเฉพาะคนที่มีแนวเขตพื้นที่ทำกินติดกับพื้นที่ป่า จะทำแนวกันไฟของตนเอง แต่พื้นที่ป่าที่ป่าส่วนรวม ซึ่งมีพื้นที่ป่า  600 ไร่ ทางคณะกรรมการป่าจะร่วมกันออกไปทำแนวกันไฟ ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งการจัดการ ไม่ได้ทำเฉพาะคณะกรรมการ แต่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน จิตสำนึกให้รักพื้นที่ป่า ร่วมกับพื้นที่ทำกินของตนเองควบคู่ไปด้วย พื้นที่ทำแนวกันไฟ รวม 200 ไร่ แต่พื้นที่ป่ามีมากถึง 700 ไร่ ปีที่ผ่านมาไฟป่าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ เนื่องจากมีการกันไว้บางส่วน บางพื้นที่ เจ้าของพื้นที่ก็มีการชิงเผาไปก่อนนี้แล้ว

“การทำแนวกันไฟ จะช่วยลดปัญหาไฟป่าได้มาก เมื่อทำแนวกันไฟแล้ว คนที่ไปเสาะว่าหากินในป่าก็ช่วยเป็นหูเป็นตา รวมทั้งคนที่มีไร่ สวนติดกับพื้นที่ป่า ช่วยในการสอดส่องดูแลด้วยเช่นกัน ส่วนเรื่องกฎระเบียบ อาศัยกฎระเบียบกฎหมาย หรือคำสั่งที่ออกมา ส่วนกฎที่ควบคุมในหมู่บ้านไม่มีโดยตรง และได้ผลน้อยอยู่” นายพรมพิริยะ บอกเล่าให้ฟัง 

สาเหตุหนึ่ง ปัญหาหมอกควันมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
ตัวแทนชาวบ้านสันทรายคองน้อย บอกอีกว่า อีกสาเหตุหนึ่งของหมอกควันที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เกิดจากสาเหตุไฟป่า จากประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวเขตติดต่อจากประเทศพม่า บริเวณอำเภอแม่อาย เมื่อมีลมพัดพาเข้ามาในเขตไทยอากาศไม่สามารถไปไหนได้ มีส่วนอยู่บ้าง และเกินความสามารถของชุมชนที่จะแก้ไขได้

ต่อกรณีที่คนในเมืองมักกล่าวหาคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเป็นตัวก่อปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

นายพรมพิริยะ กล่าวว่า คนในเมืองจะโทษคนอยู่กับป่า ฝ่ายเดียวก็คงไม่ใช่ เพราะคนอยู่ในเมืองก็มีส่วนเหมือนกันและ เกิดขึ้นได้มาก และทำให้ก่อมลพิษเป็นประจำด้วยซ้ำไป ไม่ว่าจะเป็นถนน ควันพิษ หรือธูปเทียนจากพิธีการต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องรถยนต์

“ในพื้นที่อำเภอฝางเช่นกัน เริ่มมีการใช้รถมากขึ้น ฉะนั้น อยากเสนอว่า การใช้รถ อยากให้ปรับปรุงระบบการเผาไหม้เครื่องยนต์ให้ดีขึ้น สมรรถภาพรถดีขึ้น การเผาธูปเทียน ปรับเปลี่ยนลดลง เช่นในงานศพ จุดธูปเทียนมีทุกวัน ทำเป็นประจำ ไปเห็นบางพื้นที่กำลังจะปรับเปลี่ยนอยู่บ้าง ในเรื่องของการแจกธูปโดยไม่มีไฟ  แต่ก็ไม่มากนัก”

ทั้งนี้ ตัวแทนชาวบ้านอำเภอฝาง ได้มีข้อเสนอทางนโยบาย เรื่องการจัดการไฟป่า ว่า ทางบ้านเมืองต้องเอาจริงจัง ลงมาเข้าถึงชุมชน ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่อย่างจริงจัง มากำหนด วางแผนร่วมกับชุมชนว่าจะทำอย่างไร  โดยเฉพาะฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น เพราะทั้งสองส่วน มีทั้งอำนาจและงบประมาณ

“ในส่วนของท้องถิ่นมีบทบาทในการสนับสนุน การรณรงค์ไฟป่า ปีที่ผ่านมา ก็มีการให้งบประมาณในการจัดการไฟป่า 7 หมู่บ้าน และการอบรม ให้ความรู้ทุกปีแก่คณะกรรมการหมู่บ้าน ในส่วนของฝ่ายปกครอง ทางอำเภอรู้สึกว่า จะไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก แต่ก็มิได้หมายความว่า ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะทำโดยลำพัง ทุกส่วนต้องร่วมมือกัน ในเรื่องไฟป่า หรือแม้กระทั่งสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ส่วนแนวทางจากนี้ไปของเครือข่ายเวียงด้ง คือ เราจะต้องทำแนวเขตให้ชัดเจน ว่าแต่ละหมู่บ้าน แนวเขตถึงไหน เพราะจะได้แบ่งเขต แบ่งความรับผิดชอบในการจัดการได้ดียิ่งๆ ขึ้น”ตัวแทนชาวบ้านอำเภอฝาง กล่าวถึงการหาทางออกของปัญหาร่วมกัน.

 

 

ข้อมูลประกอบ
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน          

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลสั่งคดียิงหนุ่มโรคร้าย ไม่มีพยานยันทหารเจตนา

Posted: 06 Mar 2012 06:00 AM PST

ศาลยะลาอ่านคำสั่งคดี ไต่ส่วนทหารยิงอาหามะ มะลีละ หนุ่มเป็นโรคร้าย ญาติไม่มีพยานยืนยันเจตนา

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 5 มีนาคม 2555 ที่ห้องพิจารณาคดี 5 ศาลจังหวัดยะลา นัดฟังคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายอาหามะ มะสีละ ที่ถูกทหารร้อย ร.15222 หน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 12 ยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2553 ที่หมู่ที่ 5 ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา คดีหมายดำ ช.10/2553 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดยะลา ผู้ร้อง กับนางอุงุง กูโน ผู้ร้องคัดค้าน

ศาลอ่านคำสั่งสรุปว่า เวลาประมาณ 17.30 น.วันที่ 27  กรกฎาคม 2553 ทหารชุดลาดตระเวนของหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 12 รวม 11 นาย มี จ.ส.อ.เสกสรรค์ จันทร์ศรีทอง เป็นหัวหน้าชุด ลาดตระเวนถึงหมู่ที่ 5 ตำบลจะกว๊ะ ซึ่งเป็นป่าสวนยางพารา พบผู้ชายประมาณ 3 - 4  คนยืนจับกลุ่มใต้ต้นใหญ่ จ.ส.อ.เสกสรรค์ จึงสั่งให้ปิดล้อมพื้นที่ ชายกลุ่มดังกล่าวรู้ตัวและวิ่งหนีไปคนละทิศทาง จ.ส.อ.เสกสรรค์ สั่งให้ ส.อ.สมเกียรติ อ่อนกลิ่น ไล่ติดตามชายคนหนึ่ง ซึ่งวิ่งหนี และชายดังกล่าวใช้ปืนยิงมาที่ ส.อ.สมเกียรติ 1 นัด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ายิงไปทิศทางใด

คำสั่งสรุปว่า จากนั้น ส.อ.สมเกียรติ ใช้อาวุธปืนเล็กกลขนาด.223 หรือ 5.56 มม. เลขหมายประจำปืน 9103445 ยิงไป 1 นัดเพื่อป้องกันตัว ถูกชายคนดังกล่าวจนล้มลงและนิ่งไป สภาพนอนคว่ำหน้า มีอาวุธปืนพกขนาด.37 กรีนวอลเวอร์(Smith & Wesson) 1 กระบอก อยู่ในมือขวา กระสุนปืนรีวอลเลอร์ขนาด.38 Special จำนวน 5 นัด และพบปลอกกระสุนขนาดเดียวกัน 1 ปลอกตกอยู่ ทราบภายหลังว่า ผู้ที่เสียชีวิตชื่อนายอาหามะ มะสีละ จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบเขม่าดินปืนที่ ส.อ.สมเกียรติ ในปริมาณที่สูง

คำสั่งสรุปว่า ส่วนที่ผู้ร้องคัดค้าน ซึ่งเป็นญาติของนายอาหามะ กล่าวว่า ส.อ.สมเกียรติ มีเจตนายิงนายอาหามะ ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องระยะสุดท้าย ไม่มีแรงและผอมมาก แต่ผู้ร้องคัดค้านไม่สามารถนำสืบพยานที่แสดงให้เห็นว่า ส.อ.สมเกียรติ เจตนายิงนายอาหามะ ตามที่กล่าวอ้าง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลสั่งคดียิงหนุ่มโรคร้าย ไม่มีพยานยันทหารเจตนา

Posted: 06 Mar 2012 06:00 AM PST

ศาลยะลาอ่านคำสั่งคดี ไต่ส่วนทหารยิงอาหามะ มะลีละ หนุ่มเป็นโรคร้าย ญาติไม่มีพยานยืนยันเจตนา

(คำสำคัญ)

 

(ชื่อผู้เขียน)

 

(เนื้อหา)

 

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 5 มีนาคม 2555 ที่ห้องพิจารณาคดี 5 ศาลจังหวัดยะลา นัดฟังคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายอาหามะ มะสีละ ที่ถูกทหารร้อย ร.15222 หน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 12 ยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2553 ที่หมู่ที่ 5 ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา คดีหมายดำ ช.10/2553 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดยะลา ผู้ร้อง กับนางอุงุง กูโน ผู้ร้องคัดค้าน

ศาลอ่านคำสั่งสรุปว่า เวลาประมาณ 17.30 น.วันที่ 27  กรกฎาคม 2553 ทหารชุดลาดตระเวนของหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 12 รวม 11 นาย มี จ.ส.อ.เสกสรรค์ จันทร์ศรีทอง เป็นหัวหน้าชุด ลาดตระเวนถึงหมู่ที่ 5 ตำบลจะกว๊ะ ซึ่งเป็นป่าสวนยางพารา พบผู้ชายประมาณ 3 - 4  คนยืนจับกลุ่มใต้ต้นใหญ่ จ.ส.อ.เสกสรรค์ จึงสั่งให้ปิดล้อมพื้นที่ ชายกลุ่มดังกล่าวรู้ตัวและวิ่งหนีไปคนละทิศทาง จ.ส.อ.เสกสรรค์ สั่งให้ ส.อ.สมเกียรติ อ่อนกลิ่น ไล่ติดตามชายคนหนึ่ง ซึ่งวิ่งหนี และชายดังกล่าวใช้ปืนยิงมาที่ ส.อ.สมเกียรติ 1 นัด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ายิงไปทิศทางใด

คำสั่งสรุปว่า จากนั้น ส.อ.สมเกียรติ ใช้อาวุธปืนเล็กกลขนาด.223 หรือ 5.56 มม. เลขหมายประจำปืน 9103445 ยิงไป 1 นัดเพื่อป้องกันตัว ถูกชายคนดังกล่าวจนล้มลงและนิ่งไป สภาพนอนคว่ำหน้า มีอาวุธปืนพกขนาด.37 กรีนวอลเวอร์(Smith & Wesson) 1 กระบอก อยู่ในมือขวา กระสุนปืนรีวอลเลอร์ขนาด.38 Special จำนวน 5 นัด และพบปลอกกระสุนขนาดเดียวกัน 1 ปลอกตกอยู่ ทราบภายหลังว่า ผู้ที่เสียชีวิตชื่อนายอาหามะ มะสีละ จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบเขม่าดินปืนที่ ส.อ.สมเกียรติ ในปริมาณที่สูง

คำสั่งสรุปว่า ส่วนที่ผู้ร้องคัดค้าน ซึ่งเป็นญาติของนายอาหามะ กล่าวว่า ส.อ.สมเกียรติ มีเจตนายิงนายอาหามะ ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องระยะสุดท้าย ไม่มีแรงและผอมมาก แต่ผู้ร้องคัดค้านไม่สามารถนำสืบพยานที่แสดงให้เห็นว่า ส.อ.สมเกียรติ เจตนายิงนายอาหามะ ตามที่กล่าวอ้าง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โซเชียลเน็ตเวิร์กทำให้คนไม่กล้าซื้อสินค้าที่ 'ดูน่าอาย'

Posted: 06 Mar 2012 05:55 AM PST

เว็บไซต์ Business News Daily เปิดเผยผลวิจัยเรื่องการตลาดทางอินเตอร์เน็ต พบว่าไอคอนจากเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีในเว็บส่งผลต่อการซื้อสินค้าของผู้บริโภค

2 มี.ค. 2012 - เว็บไซต์ Business News Daily รายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กกับการตลาดทางอินเตอร์เน็ตว่า เมื่อมีการวางไอคอนของตัวโซเชียลไว้ใกล้กับสินค้าที่อาจทำให้พวกเขาดูน่าอาย จะเป็นการลดแรงจูงใจในการซื้อสินค้านั้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

โซเชียลมีเดียหรือ 'เครือข่ายทางสังคม' นั้นไม่ได้ทำให้คนอยากออกสังคมมากขึ้นเสมอไป เมื่อมาในเรื่องการซื้อขายแล้ว แม้กระทั่งปุ่มๆ เดียว เช่นปุ่มที่ไอคอนของเว็บเฟสบุ๊คหรือทวิตเตอร์ ก็ทำให้คนหนีหายได้
 
มีงานวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่า การที่มีปุ่ม 'ไลค์' ของเฟสบุ๊ค หรือปุ่มของทวิตเตอร์ในเว็บไซต์ซื้อขายสินค้า มีแนวโน้มทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าบางอย่าง ลดแนวโน้มในการซื้อสินค้าอื่นๆ
 
ในงานวิจัยระบุว่า ผู้บริโภคที่เห็นรูปไอคอนโซเชียลมีเดียวางไว้ใกล้ๆ กับตัวสินค้าที่ดูน่าอายสำหรับพวกเขา จะทำให้มีโอกาสที่พวกเขาจะซื้อสินค้านั้นน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับสินค้าเดียวกันที่ไม่มีไอคอนอยู่ใกล้เคียง ในอีกทางหนึ่ง ผู้บริโภคที่มองเห็นสินค้าที่ดูน่าโอ้อวดจะมีโอกาสที่พวกเขาจะซื้อสินค้านั้นมากขึ้นอย่างมีนะยยะสำคัญเมื่อเทียบกับสินค้าอย่างเดียวกันที่ไม่มีไอคอน ที่น่าแปลกใจกว่านั้นคือ ไอคอนพวกนี้มีผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่าง แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะจำไม่ได้ว่ามีไอคอนเหล่านี้อยู่ก็ตาม
 
ผลจากไอคอนโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อตัวสินค้าเป็นสินค้าประเภทที่ดูน่าซื้อหาในสายตาผู้อื่น เช่นสินค้าจำพวกเครื่องกีฬาหรือน้ำหอมที่ดูน่าซื้อ ตัวไอคอนของเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์จะทำให้คนมีโอกาสซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 แต่เมื่อสินค้าดูเป็นสิ่งที่ใช้ในพื้นที่ส่วนตัวเช่น Spanx (ยี่ห้อถุงน่องและชั้นในสตรี) หรือ Clearasil (ยากำจัดสิว) ไอคอนจะทำให้แรงจูงใจในการซื้อลดลงร้อยละ 25 เช่นกัน
 
คลอเดีย ทาวน์เซนด์ รองศาตราจารย์ด้านการตลาดจากมหาวิทยาลัยบริหารธุรกิจไมอามี ได้ร่วมทำการวิจัยชิ้นนี้กับเดวิด นีล นักวิจัยจากศูนย์วิจัยด้านการตลาดสถาบันวิจัยเอมพิริก้า
 
"งานวิจัยของพวกเราทำให้เห็นว่าแค่การมีอยู่ของปุ่มไอคอนบนเว็บเพจขายของ ก็มีผลต่อความรู้สึกของพวกเราในแค่ที่ว่าการซื้อสินค้าของพวกเราจะถูกจับตามองโดยโซเชียลเน็ตเวิร์กของเราเอง แล้วเราก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อด้วยความรู้สึกนั้น" คลอเดียกล่าว
 
"นักการตลาดควรระลึกว่า การนำรูปสัญลักษณ์เหล่านี้ไปใช้ในการออกแบบเว็บ อาจทำให้เกิดผลกระทบใหญ่ต่อพฤติกรรมการซื้อ" คลอเดียกล่าว
 
ผู้วิจัยกล่าวอีกว่า จากกรณีที่ค้นพบว่าพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปแม้กระทั่งว่าผู้บริโภคจำไม่ได้ว่ามีไอคอนของโซเชียลมีเดียอยู่ แสดงให้เห็นว่าสัญลักษณ์เหล่านี้แฝงเข้าไปในจิตไร้สำนึกและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและพฤติกรรมที่อาจอยู่เหนือการควบคุมรู้ตัวของพวกเราได้
 
งานวิจัยชิ้นนี้ บันทึกผลจากการที่ให้ผู้บริโภคราว 200 คน เข้าไปสำรวจดูสินค้าในร้านค้าออนไลน์
 
 
 
ที่มา
When Social Media Makes You Shy, Jeanette Mulvey, BusinessNews Daily, 02-03-2012
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครม.อนุมัติเงินเยียวยาเหยื่อสลายการชุมนุม ปชป.เตรียมฟ้องศาลปกครอง

Posted: 06 Mar 2012 05:21 AM PST

 

6 มี.ค.55  ในการประชุมครม.ในวันนี้ จะมีการพิจารณาเห็นชอบข้อเสนอเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาด้านการเงินสำหรับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง หรือความขัดแย้งทางการเมือง ของคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ อิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) และอนุมัติให้ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ปคอป.ได้เคยอนุมัติหลักการในการจ่ายเงินชดเชยเยียว ยาให้แก่ผู้เสียชีวิตรวม 7.75 ล้านและเบื้องต้นมีผู้ชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมต่าง ๆ 102 รายซึ่งรวมกรณีของช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตบริเวณสี่แยกคอกวัวเมื่อวัน ที่ 10 เม.ย.53 ด้วย

ภายหลังการประชุม ครม. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. ได้อนุมัติหลักการเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบการชุมนุมทางการเมือง แต่ขั้นตอนการจ่ายเงินขึ้นอยู่กับ ปคอป. ส่วนในการเดินทางไปญี่ปุ่นจะมีสารแสดงความเสียใจกับนายนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์ด้วย เนื่องจากไม่สามารถเดินทางไปพบญาติของนายมูราโมโตะด้วยตัวเองเพราะตารางคิว เจอนักลงทุนแน่นมาก โดยกระทรวงการต่างประเทศจะประสานในเรื่องการจ่ายเงิน เพราะว่าต้องหารายละเอียดของทายาทผู้ที่ได้รับเงินชดเชยของนายมูราโมโตะด้วย

นายกฯ ระบุว่า สำหรับการจ่ายเงินจะจ่ายเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเรียกว่าเป็นการเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ และอีกด้านหนึ่งก็เป็นการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งรายละเอียดนั้นคณะกรรมการ ปคอป.จะรายงานให้สื่อมวลชนได้รับทราบต่อไป พร้อมทั้งยืนยันว่าเป็นการเยียวยาทุกกลุ่มไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยครอบคลุมตั้งแต่การประท้วงปิดสนามบิน เป็นต้นมา รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้วย ส่วนการเยียวยาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเป็นคณะกรรมการอีกชุดหนึ่ง แต่โดยหลักการจะไม่ต่างกัน และขณะนี้คณะกรรมการชุด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังอยู่ระหว่างการประชุม 

ปชป.เตรียมยื่นฟ้องศาลปกครอง
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากกรณีมติครม. เมื่อ 6 มี.ค. ที่มีการอนุมัติหลักการให้เยียวยาคนเสื้อแดงนั้น ยังไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ระเบียบขั้นตอนกฎหมาย และไม่เสมอภาคเป็นธรรมในกรณีเดียวกันของทุกกลุ่ม จึงยืนยันจะนำมติครม.ดังกล่าวพร้อมหลักเกณฑ์ที่มติครม.อนุมติจ่ายเงิน ไปฟ้องศาลปกครองในวันที่ 8 มี.ค.เวลา 14.00 น. พร้อมกับยื่นคำร้องไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราว และขอเตือนไปยังนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการที่เกี่ยวข้องว่าอย่าเร่งรีบกระทำตามคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในการจ่ายเงินให้พรรคพวกตัวเอง โดยไม่มีระเบียบหลักเกณฑ์รองรับ เพราะอาจจะทำให้เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ได้ จึงขอให้พิจารณาหลักเกณฑ์การจ่ายเงินให้ครอบคลุมทั่วถึงและเป็นธรรม

 นายสาธิต กล่าวว่าา รัฐบาลนี้กำลังจะสร้างบรรทัดฐานใหม่กับการจ่ายเงินเยียวยาที่มีภาระผูกพันการใช้เงินงบประมาณ สูงถึง 7.75 ล้านบาท ต่อกรณีผู้เสียชีวิต ซึ่งมากกว่ากรณีที่เคยจ่ายในอดีตตามหลักเกณฑ์และกฎหมายถึง 15 เท่า ชั่วระยะเวลา 2 ปี  เพราะฉะนั้นถ้าการดำเนินการดังกล่าวสำเร็จรัฐบาลต้องรับผิดชอบในภาระงบประมาณที่ผูกพันต่อไปในอนาคตด้วย

"ยงยุทธ"ลั่นจ่ายเงินเยียวยาสัปดาห์หน้า
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะประธาน ปคอป. ให้สัมภาษณ์ ว่า  ภายในสัปดาห์หน้าจ่ายเงินเยียวยาได้แน่ คงไม่สามารถระบุวันที่ได้แต่คาดว่า จะสามารถจ่ายทยอยจ่ายค่าเยี่ยวยาให้กับญาติของผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตและบาดเจ็บได้ โดยรายละเอียดทางนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุ ปคอป.จะเป็นผู้ไปดูรายละเอียด แล้วไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป โดยน่าจะได้รับครบหมดทุกราย คงไม่ต้องรออะไรอีกแล้ว 

 

 

ที่มา: เว็บไซต์ข่าวสด และเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภาคประชาชนจับตา อียู-เอฟทีเอ เปิดตัวแอนิเมชั่น “หรือเราจะยอม FTA”

Posted: 06 Mar 2012 04:52 AM PST

 

6 มี.ค.55 เครือข่ายภาคประชาชนจับตาการเจรจาการค้าเสรีของสหภาพยุโรปหรืออียู เปิดแนวรุกจัดทำข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นจากการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ชื่อว่า “หรือเราจะยอม FTA” ในรูปแบบการ์ตูน Animation ขึ้นเพื่อให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งทำความเข้าใจกับประชาชนต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการเซ็นสัญญาเอฟทีเอกับอียูหลังจากที่อียูตระเวนเปิดเวทีเจรจาไปทั่วภูมิภาคเอเชีย 

เครือข่ายภาคประชาชนฯ ระบุว่า ล่าสุดในการเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและอินเดียเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา เกิดกระแสการรณรงค์ต่อต้านไปทั่วโลก ในขณะที่ประเทศอินเดียเองมีประชาชนหลายร้อยคนออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านจนที่สุดการเจรจาก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ยังไม่ได้มีการนำมาเจรจาในรอบที่ผ่านมา ซึ่งหากพิจารณาจากเอกสารเจรจาพบว่ามีข้อกำหนดเกินไปกว่าข้อตกลงทริปส์ที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกภายใต้องค์การการค้าโลก แม้ว่าเนื้อหาของการเจรจาจะไม่ได้มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า ความต้องการของอียูในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีเนื้อหามุ่งไปที่การเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทยาข้ามชาติ สามารถทำการผูกขาดการผลิตและจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ได้ยาวนานขึ้น ซึ่งมีผลบ่อนทำลายศักยภาพของบริษัทที่ผลิตยาชื่อสามัญในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอินเดียที่ถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตยาชื่อสามัญราคาถูกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรณรงค์เพื่อการเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ได้นำเสนอข้อมูลการเจรจาเอฟทีเออียู-อินเดีย พบว่ามีข้อเจรจาที่ส่งผลต่อการเพิ่มการผูกขาดและตัดตอนระบบผลิตยาชื่อสามัญในอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดสิทธิ์ หรือทำให้การนำยาชื่อสามัญมาขึ้นทะเบียนยาไม่ได้หรือทำได้ยากยิ่งขึ้น การขยายอายุสิทธิบัตรจาก 20 ปีให้ยาวนานขึ้น หรือแม้แต่การตีความกรณียาปลอม โดยมีการเหมารวมว่ายาชื่อสามัญที่ผลิตและขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายให้กลายเป็นยาปลอม ส่งผลให้อินเดียซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาชื่อสามัญที่ใหญ่ที่สุด ไม่สามารถส่งออกยาชื่อสามัญไปยังประเทศที่จำเป็นต้องใช้ยาได้ “ที่สำคัญหากอินเดียยอมรับข้อตกลงดังกล่าว จะส่งผลต่อประเทศที่กำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพและจำเป็นต้องมียารักษาที่ราคาเป็นธรรมมาใช้ในประเทศ ไม่สามารถใช้มาตรการยืดหยุ่นในทริปส์เช่น มาตรการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาหรือซีแอล (CL) ได้ เพราะไม่สามารถนำยาเหล่านั้นมาขึ้นทะเบียนได้ หรือหากแม้ใช้ซีแอลเพื่อนำเข้ายาได้แต่ในกระบวนการจัดส่งยาก็จะสุ่มเสี่ยงที่จะถูกยึดยาเหล่านั้น เนื่องจากถูกตีความจากศุลกากรว่าเป็นยาปลอม ส่งผลให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาขาดยา เหมือนดังเช่นกรณียึดยาที่ส่งจากอินเดียไปยังประเทศแถบแอฟริกาและถูกยึดยาเมื่อเรือที่บรรทุก ต้องผ่านไปพักเรือในประเทศแถบยุโรปก่อนไปถึงแอฟริกา” นายเฉลิมศักดิ์ กล่าว

นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อชท์) กล่าวว่า “ขณะนี้มีแนวโน้มว่า รัฐบาลกำลังเร่งเดินหน้าเจรจาเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคู่ค้าขนาดใหญ่อย่างสหภาพยุโรป แต่กระบวนการภายในประเทศกลับขาดความชัดเจนและขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แม้ว่าได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จนมีความสมบูรณ์มากขึ้นแล้ว แต่กฎหมายลูกซึ่งมีหน้าที่กำหนดรายละเอียดขั้นตอนในการเจรจากลับยังไม่มีการเสนอต่อสภาฯ เพื่อพิจารณาแต่อย่างใด อีกทั้งที่ผ่านมากระบวนการยกร่างกฎหมายลูกฉบับนี้ยังกีดกันการมีส่วนร่วมจากสาธารณะ” ทั้

ทั้งนี้มีการรายงานข้อมูลว่าร่างกฎหมายที่กระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการจัดทำอยู่นั้นมิได้สะท้อนเจตนารมณ์ว่าด้วยหลักการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 แต่อย่างไร “ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็จะนำไปสู่ปัญหาเดิมๆ แลความขัดแย้งต่อไป” นายจักรชัยกล่าว

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าวเสริมว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งปะทุขึ้นมาในสังคมอีก การทำความเข้าใจเรื่องผลดีและผลเสียของเอฟทีเอคงไม่สามารถทำได้ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ “แต่หากต้องช่วยกันทำความเข้าใจผลกระทบต่างๆอย่างรอบด้านมากกว่าจะไปพูดง่ายๆว่า “หากจำเป็น...ก็ต้องแลก” ที่ผ่านมา หน่วยราชการของไทยมีความเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้ามามีส่วนในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปค่อนข้างแข็งขัน ซึ่งอยากสนับสนุนให้เดินหน้าทำต่อไปเพื่อที่เราจะได้มีความพร้อมมากที่สุดสำหรับการเจรจา และหากผลการประเมินเสร็จสิ้น ภาคประชาสังคมก็ต้องการให้ภาครัฐมีความกล้าหาญทางการเมืองที่จะกำหนดจุดยืนไปในกรอบการเจรจาที่จะนำเข้าสู่รัฐสภา อาทิ ต้องไม่เจรจาเรื่องยา ไม่รับการผูกขาดข้อมูลทางยา ไม่เปิดโอกาสให้เอกชนฟ้องรัฐในนโยบายสาธารณะและการลงทุนสาธารณะ เช่นที่กล้าหาญพอที่จะยืนยันในทุกกรอบการเจรจาว่า ต้องมีมาตรการปกป้องกรณีที่เกิดปัญหาด้านดุลการชำระเงิน”

นอกจากนี้นายนิมิตร์ยังกล่าวว่า “การที่ภาครัฐสนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการทำเอฟทีเอ โดยเฉพาะผลกระทบเชิงสังคมและสุขภาพ เกิดจากการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชนไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรัง เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ และด้านผู้บริโภค กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน และเครือข่ายนักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ ที่ได้ติดตามตรวจสอบการเจรจาเอฟทีเอของไทยมาอย่างใกล้ชิด และทำงานวิชาการเพื่อชี้ให้เห็นผลกระทบและกระตุ้นให้มีการเตรียมพร้อมในการเจรจา เชื่อว่า Animation ที่ได้จัดทำขึ้นนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบรรยากาศการถกแถลงในประเด็นเหล่านี้อย่างกว้างขวางในสังคมไทยเพื่อให้การเจรจาการค้าต่างๆเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนจริงๆ”

เครือข่ายฯ ระบุว่า เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งทำความเข้าใจกับประชาชนต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการเซ็นสัญญาเอฟทีเอกับอียู จึงได้ร่วมมือกันจัดทำข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นจากการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ชื่อว่า “หรือเราจะยอม FTA” ในรูปแบบการ์ตูน Animation ขึ้น เพื่อเป็นสื่อในการรณรงค์สร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลความรู้กับประชาชนทั่วไปโดยสามารถดาวน์โหลดหรือดูได้ที่ http://vimeo.com/37938097 หรือหากต้องการเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ http://www.thaidrugwatch.org/news_detail.php?n_no=816

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้ง 'วอยซ์ทีวี': ยุบศาลปกครองซะดีมั้ย

Posted: 06 Mar 2012 02:06 AM PST

“ในคดีที่ กสท. ฟ้องร้อง หากไม่มีการฟ้องร้องโดย กสท. และให้การคุ้มครองชั่วคราวโดยศาลปกครอง สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในความเห็นของผู้เขียนก็คือ

1.ประเทศไทยจะมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอีก 3 ราย แข่งขันกันให้บริการ 3G นอกเหนือจาก ทีโอที ซึ่งให้บริการอยู่แล้ว โดยการแข่งขันจะมีความเสมอภาค ซึ่งจะทำให้ประชาชนในฐานะผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด

2.รัฐจะได้ค่าประมูลคลื่นความถี่ไม่ต่ำกว่า 3.9 หมื่นล้านบาท จากการออกใบอนุญาต 3 ใบ ใบละไม่ต่ำกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้สามารถลดภาระภาษีที่รัฐต้องจัดเก็บจากประชาชน หรือสามารถเพิ่มบริการสาธารณะต่างๆ เช่น การศึกษา หรือสวัสดิการแก่ประชาชนได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในฐานะผู้เสียภาษีได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ดังกล่าวจะไม่ทำให้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น เพราะเป็นเงินที่ถูกเก็บมาจากกำไรส่วนเกินของผู้ประกอบการ ไม่ใช่ส่วนที่ไปเพิ่มต้นทุน อย่างที่มักมีความเข้าใจผิดกัน

3.ระบบใบอนุญาตโดยหน่วยงานกำกับดูแลอิสระคือ กสทช. เป็นระบบมีความโปร่งใสมากกว่าและไม่เลือกปฏิบัติ จะมาทดแทนระบบสัมปทานของรัฐวิสาหกิจที่เต็มไปด้วยความไม่โปร่งใส และการแสวงหาผลประโยชน์ของฝ่ายการเมือง ซึ่งทำให้เกิด “อภิมหาเศรษฐี” ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งภายหลังก้าวเข้าสู่การเมือง และเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในสังคมในปัจจุบัน ระบบใหม่นี้จะมีผลในการลด “ธนกิจการเมือง” (money politics) และทำให้ประชาธิปไตยของไทยตอบสนองความต้องการของประชาชนในฐานะพลเมืองมากขึ้น”

 

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
คดีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G: ประโยชน์สาธารณะอยู่ที่ไหนและใครถ่วงความเจริญ?

 

เต้นเป็นเจ้าเข้ากันไปหมดเมื่อวัฒนา เมืองสุข ส.ส.เพื่อไทย โยนระเบิดลูกใหญ่ เสนอให้ยุบศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ

ก็ไม่ใช่ว่าผมจะเห็นด้วยไปเสียหมดหรอกนะครับ แต่เห็นว่านี่เป็นโอกาสดี ที่เราจะได้ทบทวนบทบาทหน้าที่ และความจำเป็นของการมีองค์กรอิสระ ไม่ใช่อย่างพวกต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เหมาเอาว่าเป็นเพราะนักการเมืองไม่ต้องการให้มีการตรวจสอบสถานเดียว

องค์กรอิสระเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วรัฐธรรมนูญ 2550 ขยายอำนาจและยึดอำนาจการสรรหา ไปไว้ในมือฝ่ายตุลาการ ฉะนั้นเราต้องแยกแยะทีละประเด็น ได้แก่

1.ความผิดเพี้ยนของรัฐธรรมนูญ 2550 ทำให้อำนาจสรรหาและแต่งตั้ง ไม่ยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน

กรรมการสรรหาส่วนใหญ่มาจากฝ่ายตุลาการ ส่งชื่อให้วุฒิสภารับรอง โดยวุฒิสภาเกือบครึ่งหนึ่งก็มาจากการสรรหา ซึ่งคณะกรรมการสรรหา “สว.ลากตั้ง” ก็มาจากตุลาการและประธานองค์กรอิสระนี่แหละ สรุปว่าเหมือนควาย-เอ๊ย วัวพันหลัก เป็น Conflict of Interest ประเภทหนึ่ง

ร้ายกว่านั้น ถ้ากรรมการสรรหาส่งชื่อไปแล้ว สมมติ เลือกนาย ก.เป็นกรรมการ ปปช. วุฒิสภาเกิดหือขึ้นมา ไม่ยอมให้ความเห็นชอบ รัฐธรรมนูญ 2550 ยังบัญญัติว่า ถ้ากรรมการสรรหามีมติยืนยันเป็นเอกฉันท์ ก็ต้องเอาตามกรรมการสรรหา ประธานวุฒิสภาต้องนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เคยบอกว่านี่ผิดหลัก เพราะผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือผู้รับผิดชอบ วุฒิสภาเขาไม่เห็นชอบ กรรมการสรรหายังบังคับให้ประธานวุฒิลงนามรับสนองฯ ประหลาดไหม

2.ต่อให้แก้ไขกลับไปเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ไม่ใช่จะไม่มีปัญหา เพราะอุดมการณ์ที่อยู่เบื้องหลังการตั้งองค์กรอิสระคืออุดมการณ์ที่เชื่อว่า จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลอยลงมาจากฟากฟ้า จะมีมนุษย์เทวดาที่ไม่แปดเปื้อนมลทิน ไม่มีพวกพ้อง ไม่มีสังคม ไม่มีอคติ ไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง ไม่ติดหนี้บุญคุณความแค้น มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

แล้วเป็นไงล่ะ ก็ทีใครทีมัน “ทุนผูกขาด” กับ “อำมาตย์” ผลัดกันยึดครององค์กรอิสระ ไม่เห็นมีเทวดามาจากไหน

ปรัชญาแห่งอำนาจคือ องค์กรใดที่มีอำนาจมาก อำนาจล้น ก็จะเป็นที่หมายปองของผู้ต้องการแย่งชิงอำนาจ แทนที่จะถ่วงดุล ก็กลับกลายเป็นเครื่องมือของอำนาจ

"หลักง่ายๆ  เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีคนจำนวนน้อยมีอำนาจมาก  จุดนั้นจะเป็นจุดที่จะถูกกดดันแทรกแซงมากที่สุด  ทำไมองค์กรอิสระปี  2540  ล้มเหลว  ก็เข้าข่ายนี้ไง  กกต.5  คนอำนาจล้นฟ้า  เขาต้องยึดให้ได้  ศาลรัฐธรรมนูญกี่คนเขาต้องพยายามยึดให้ได้  กรรมการสิทธิมนุษยชนเขาไม่ยึดเพราะอะไร  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมฯ  เขาไม่ยึดเพราะอะไร  ไม่มีอำนาจ  ป.ป.ช.มีอำนาจไหม  มีต้องยึดให้ได้  เพราะฉะนั้นพอมันมีกลไกนี้ตายตัวอยู่ในรัฐธรรมนูญปั๊บ  คนที่คิดไม่ดีเขารู้เลยว่า  เฮ้ย  เกิดอะไรขึ้นยังไงต้องล็อกตัวนี้ไว้ก่อน  เพราะฉะนั้นถ้าเป็นสมัยคุณทักษิณเขาก็ต้องล็อกชุดนี้ไว้ก่อน  อาจจะล็อกก่อนตัวอื่นด้วยซ้ำ”

อย่าเข้าใจผิด นี่ไม่ใช่วรเจตน์พูด แต่เป็นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ!!! ให้สัมภาษณ์ผมลงไทยโพสต์แทบลอยด์เมื่อปี 2550 วิจารณ์การยกร่างรัฐธรรมนูญที่ตอนแรกจะตั้ง “คณะกรรมการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (เดี๋ยวจะเอากลับมาเผยแพร่ใหม่ ให้ดูว่าอภิสิทธิ์ 2550 พูดไว้อย่างไร)

อุดมการณ์ประชาธิปไตยไม่เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือมนุษย์เทวดาที่ไหน อุดมการณ์ประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนกินปี้ขี้นอน มีกิเลส ตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ เราจึงไม่ฝากอำนาจไว้กับใครแต่ให้กระจายอำนาจ และมีการตรวจสอบถ่วงดุลให้มากที่สุด

3.นิสัยคนไทย ถ้าคุณเป็นผู้บริหารบริษัท ลูกน้องคนหนึ่งทำงานดีขอตั้งแผนกใหม่ ตอนแรกบอกขอแค่โต๊ะเก้าอี้ตัวเดียว ต่อมาก็เริ่มขอเลขาฯ ต่อมาก็ขอฝ่ายธุรการ ต่อมาก็ขอผู้ช่วย ต่อมาก็ขอคนขับรถ ฯลฯ เพื่อ “ขยายอาณาจักร”

หน่วยงานราชการทุกแห่งเป็นอย่างนี้หมดครับ ไปดูได้ สมัยก่อนเราไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ มีแต่ตุลาการรัฐธรรมนูญ มีเรื่องให้วินิจฉัยก็มาประชุมกันครั้งหนึ่ง เสียแค่เบี้ยประชุม แต่พอมีศาลรัฐธรรมนูญคุณต้องมีตึก มีป้าย มีเลขา คนขับรถ มีรถประจำตำแหน่ง มีเลขาธิการสำนักงาน (ซี 11) มีรองเลขา มีรถประจำตำแหน่งเลขา มีเจ้าหน้าที่ตั้งแต่นิติกรยันพนักงานชงกาแฟ เปิดอัตรากันเข้าไป โอนย้ายมั่ง สมัครสอบมั่ง เงินเดือนดีกว่าข้าราชการที่ทำงานงกๆ (หลายองค์กรก็เลยมีกลิ่นเรื่องการสอบแข่งขัน)

ทุกองค์กรนะครับ เป็นอย่างนี้ ต่างก็อยากมีอาณาจักรของตัวเอง แถมเป็นอาณาจักรที่ใครแตะต้องไม่ได้

ร้ายที่สุดคือ กกต.ซึ่ง อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล ตอนเป็น สสร.40 ท่านเป็นต้นคิดเรื่อง กกต.โดยเอามาจากอินเดีย หมายจะให้มีหน้าที่แค่จัดการเลือกตั้ง แต่ กกต.กลับขยายอาณาจักร จนมีอำนาจออกใบแดง แล้วก็กลายเป็น “มหาดไทย 2” มีสาขาทุกจังหวัด มีข้าราชการไม่รู้กี่พันคน จาก กกต.อินเดียที่เขาทำหน้าที่ 2-3 คน กกต.ไทยกลายเป็นกระทรวงที่ 21 เปลืองงบมหาศาล แต่ล้มละลายทางความเชื่อถือ

ฉะนั้นอันดับแรก ผมเห็นว่าต้องยุบอำนาจ กกต.ให้เหลือแค่จัดการเลือกตั้ง เจ๊เห็ดสดพูดถูกแล้ว แต่ลดอำนาจแล้วก็ต้องโละเจ้าหน้าที่ โละสำนักงานจังหวัดให้หมด ตรงนี้แหละยาก ราชการไทยพอขยายอาณาจักรแล้วไม่เคยลดได้ซักที

ศาลรัฐธรรมนูญ - ถ้าเป็นระบบ Common Law ของอเมริกา อังกฤษ เขาไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ ใช้ศาลสูงวินิจฉัย ของเราระบบ Civil Law แต่ถ้าจะไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ กลับไปใช้ระบบตุลาการรัฐธรรมนูญก็ได้ อ.วรเจตน์เคยให้ความเห็นว่า ใช้ระบบเลือกตุลาการเฉพาะคดีก็ดีไปอย่าง ไม่รู้ล่วงหน้าว่าใครจะเป็น วิ่งเต้นกันยาก

ปปช. - ไม่ปฏิเสธว่าหน่วยงานตรวจสอบทุจริตยังต้องมีอยู่ และต้องเป็นอิสระ แต่ด้วยปรัชญาแห่งอำนาจ ปปช.นี่แหละตัวให้คุณให้โทษล้นหลาม มีทั้งอำนาจไต่สวนแบบอัยการในคดีอาญา และมีอำนาจวินิจฉัยแบบศาล ในความผิดทางวินัย นี่คือสิ่งที่ต้องทบทวน

ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรจำพวก “เจว็ด” คือไม่มีอำนาจ แถมยังไม่ค่อยทำหน้าที่ (กรรมการสิทธิอะไรประกาศไม่แก้ 112 ทั้งที่มีหน้าที่โดยตรง) ยุบเสียหมดก็ได้ หรือตั้งเป็นองค์กรตามกฎหมาย ไม่ต้องเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้รุงรังหรอก

อีกเรื่องที่ผิดเพี้ยนอย่างหนักในรัฐธรรมนูญ 50 ก็คือ อัยการ ซึ่งแยกออกมาเป็นอิสระ (พร้อมกับให้ศาลเกษียณอายุ 70 มีประเทศเดียวนี่แหละที่กำหนดอายุเกษียณของผู้พิพากษาไว้ในรัฐธรรมนูญ) ชาวโลกไม่เคยพบเคยเห็นนะครับ อัยการต้องสังกัดฝ่ายบริหาร แม้ต้องมีหลักประกันความเป็นอิสระในการวินิจฉัยคดี แต่หลักการแยกอำนาจ 3 ฝ่ายถือว่า อัยการ คือทนายความของรัฐ ทำหน้าที่ฟ้องคดีให้ฝ่ายบริหาร ซึ่งรับผิดชอบดูแลความสงบสุขของประชาชน ขณะที่ผู้พิพากษาใช้อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร

คดีเด็ด

ระบบ “ศาลคู่” คือศาลยุติธรรมกับศาลปกครองมีใช้ในประเทศยุโรป ที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) ซึ่งพี่ไทยเราเอาระบบกฎหมายมาจากฝรั่งเศสนี่แหละ แต่ผลักดันให้ตั้งศาลปกครองกันมาตั้งนาน เพิ่งประสบความสำเร็จในรัฐธรรมนูญ 40 ตอนนั้นใครๆ ก็ช่วยกันเชียร์

แต่ตอนนี้ศาลปกครองกลายเป็นองค์กรที่เดือดร้อนที่สุด ต้องส่งโฆษกออกมาแถลง ก่อนหน้านี้ ประธานศาลก็ปรารภว่ามีคนคิดจะ “ล้มล้าง” ศาลปกครอง

แหม ท่านครับ ถ้า สสร.ร่างรัฐธรรมนูญยุบศาลปกครอง แล้วประชาชนลงประชามติ ก็ต้องถือว่าอำนาจอธิปไตยของปวงชนสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจตุลาการได้ ไม่ใช่การล้มล้าง หรือแทรกแซงศาลแต่อย่างใด

การยุบศาลปกครองไปเป็นแผนกในศาลยุติธรรมสามารถทำได้ (โดยแยกประมวลวิธีพิจารณาคดีปกครองออกมาต่างหาก) แต่มาถึงขั้นนี้แล้ว จะยุบกลับไปเป็นแผนก ก็เดือดร้อนตั้งแต่ประธาน รองประธาน อธิบดี ลงไปจนถึง ผอ. (เงินเดือนเท่าเดิมแต่ยุบอาณาจักร) ฉะนั้นใจจริงผมเห็นว่าไม่ควรยุบหรอก

แต่ถ้ายุบก่อน ล้างไพ่ แล้วตั้งใหม่ อันนี้อาจจะดีที่สุด

เพราะอะไร เพราะปัญหาของศาลปกครองอยู่ที่ “วิธีคิด” และการขยายอาณาจักร ในแง่ขยายขอบเขตอำนาจ

ถ้าจะให้เห็นชัดเจน ผมขอยก “คดีเด็ด” ของศาลปกครอง ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางมาเรียงลำดับให้ดูดังนี้

1.ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ แต่ศาลปกครองยังมีคำวินิจฉัยซ้ำ ให้เป็นโมฆะอีก

กรณีนี้อาจเป็นความสะใจของพันธมิตร สื่อ นักวิชาการ ที่ไล่ทักษิณในตอนนั้น แต่ในแง่นักกฎหมาย เป็นอะไรที่ตลกมาก ไหนบอกว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ไหงต้องออกคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดซ้ำอีก

“ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้วว่าการเลือกตั้งใช้ไม่ได้ ต่อมาศาลปกครองก็ตัดสินทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง พูดง่ายๆ คือศาลรัฐธรรมนูญได้ฆ่าการเลือกตั้งนั้นไปแล้ว การเลือกตั้งนั้นถูกฆ่าอีกทีโดยศาลปกครอง”

อ.วรเจตน์ให้สัมภาษณ์ผมเมื่อปี 51 (ซึ่งในความเห็นวรเจตน์ ไม่ว่าศาลไหนก็ไม่มีอำนาจสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะทั้งประเทศ เพราะอำนาจตุลาการอยู่ต่ำกว่าอำนาจอธิปไตยของปวงชน)

2.ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการกระจายหุ้น กฟผ.ในตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่ล้มแปรรูป ปตท.

บอกก่อนว่าผมเห็นด้วยทั้งสองคดี คดี กฟผ.ผมเห็นชอบว่า กฟผ.ไปเวนคืนทรัพย์สินชาวบ้านมาเพื่อประโยชน์สาธารณะ แล้วจู่ๆ คุณจะเอาเข้าตลาดหุ้น แปรรูปเป็นเอกชน โดยเอาอำนาจการเวนคืนนี้ติดไปด้วย ทำได้ไง

คดี ปตท.ศาลปกครองก็ตัดสินในบรรทัดฐานเดียวกัน แม้ไม่ล้มแปรรูป แต่ให้คืนที่ดินที่ได้จากการเวนคืนและสิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางท่อก๊าซ

คือกรณีของ ปตท.นี่เข้าตลาดหุ้นมานานแล้วครับ ถ้าไปเพิกถอนก็จะเสียหายใหญ่หลวง ศาลปกครองท่านต้องวินิจฉัยโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะด้วย

เพียงแต่มันมีเรื่องตลกๆ เท่านั้นเองว่าหลังจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นฟ้อง รัฐบาลขิงแก่กับ สนช.ซึ่งรู้แนวอยู่แล้วจากคดี กฟผ.ก็เร่งรีบออกกฎหมาย พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 กันหูอื้อตาลาย หวุดหวิดจะไม่ทัน พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 11 ธันวาคม 2550 พอดี๊พอดี 3 วันก่อนศาลอ่านคำพิพากษาวันที่ 14 ธันวาคม 2550 แล้ว-แอ่นแอ๊น-ศาลก็ทันหยิบกฎหมายฉบับนี้ไปอ้างในคำพิพากษาด้วย

“....ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 พยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการตรา พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550 ที่บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน รวมทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติด้วย โดยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในกิจการพลังงาน และในบทเฉพาะกาล บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของ บมจ.ปตท. ตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว เป็นผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐแทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นการชั่วคราวแล้ว

ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์เหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเพิกถอน พ.ร.ฎ. และบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำต้องเพิกถอน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว อีกทั้งเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอน พ.ร.ฎ.”

เรื่องนี้คนส่วนใหญ่ไม่ทันสังเกต แต่ไปเปิดดูคำพิพากษาได้เลยครับ หวุดหวิด 3 วันเท่านั้น ไม่งั้นนักเล่นหุ้น ปตท.เจ๊งกันเป็นแถบ และตลาดหุ้นก็อาจพังพินาศ

3.ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (กลางดึก) ให้ระงับแถลงการณ์ร่วมปราสาทพระวิหาร

คดีที่ส่งผลทางการเมืองครึกโครมที่สุด พันธมิตรยึดทำเนียบกำลังจะย่ำแย่พ่ายแพ้ทางการเมือง ไปคว้าแถลงการณ์ร่วมมาปลุกกระแสชาตินิยม ยื่นฟ้องศาลปกครอง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว กลางดึก!!!

อ.วรเจตน์ชี้ว่า การออกแถลงการณ์ร่วมเป็น Act of State การกระทำทางรัฐบาล (หรือทางบริหาร) ซึ่งหลักการสากลในประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ทั่วโลก แยกว่าการกระทำของคณะรัฐมนตรีมี 2 อย่างคือ การกระทำทางรัฐบาล กับการกระทำทางปกครอง ศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำอย่างหลังได้ แต่ไม่มีอำนาจตรวจสอบการกระทำอย่างแรก ซึ่งได้แก่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับเรื่องทางการเมือง

ทั้งนี้เคยมีคดี J-TEPPA ที่ NGO ยื่นคำร้องให้สั่งระงับข้อตกลงการค้ากับญี่ปุ่น แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยแล้วว่า ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง (ตุลาการศาลปกครองสูงสุดในคดีนั้นคือ อ.วรพจน์ วิศรุฒพิชญ์)

พอวินิจฉัยแถลงการณ์ร่วม ศาลปกครองก็ยอมรับว่า แถลงการณ์ร่วมเป็นการกระทำทางรัฐบาล แต่อ้างว่าขั้นตอนก่อนเกิดแถลงการณ์ร่วม ศาลปกครองตรวจสอบได้ คำอธิบายอย่างงงๆ คือ ศาลปกครองยอมรับว่ามติ ครม.เรื่องนี้เป็นการกระทำทางรัฐบาล แต่ขั้นตอนก่อนหน้านั้นในการเสนอเรื่องเข้า ครม.เป็นการกระทำทางปกครอง

4.ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับ 76 โครงการมาบตาพุด

คดีนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองเรื่องสีเพราะเกิดในรัฐบาล ปชป. เพียงแต่ผู้ฟ้องคือพวกพันธมิตรในคราบสมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อน และชาวมาบตาพุด ซึ่งต้องยอมรับว่าชาวมาบตาพุดได้รับความเดือดร้อนจากมลพิษมายาวนาน หนักหนาสาหัส โดยหน่วยงานรัฐไม่เหลียวแล คำสั่งคุ้มครองของศาลปกครองจึงเหมือนเทวดามาโปรด

แต่การที่ศาลสั่งระงับเหมารวด 76 โครงการ และต่อมาศาลปกครองสูงสุดปล่อยไป 11 เหลือ 65 โครงการ ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจการลงทุน เพราะหลายโครงการยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางมลภาวะ แต่ศาลอ้างมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่วางหลักเกณฑ์ให้มีองค์กรอิสระมาให้ความเห็นก่อน สังระงับทั้งหมด

ทั้งนี้ในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นยังระบุว่า “ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันแก้ไขและบรรเทาให้ลดน้อยลงได้ด้วยการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญตามแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ และการบริหารจัดการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและเอกชน”

อ.ชำนาญ จันทร์เรือง อดีตตุลาการศาลปกครอง ให้ความเห็นว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองระบุว่า การกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ ให้คำนึงถึงปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดแก่การบริหารงานของรัฐประกอบด้วย แต่ศาลไปอ้างว่าสามารถป้องกันแก้ไขและบรรเทาได้ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง เพราะก้าวล่วงข้ามแดนการใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหาร ศาลมีอำนาจตรวจสอบในแง่ความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิใช่ในแง่ความเหมาะสมหรือกำหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติ

อ.อัครวิทย์ สุมาวงศ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่เป็นเสียงข้างน้อย ชี้ว่าศาลชั้นต้นกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวไม่ตรงตามเงื่อนไขกฎหมายกำหนด เพราะการสั่งคุ้มครองชั่วคราวมี 2 แบบ คือการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง กับการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว คดีนี้ควรทุเลาการบังคับตามกฎ คือสั่งระงับการก่อสร้างหากเห็นว่าจะเกิดความเสียหายร้ายแรงยากแก่การเยียวยาภายหลัง แต่ไม่ใช่ระงับหมดทุกโครงการ

5.ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับการประมูล 3G

นี่ก็ไม่ใช่การเมืองเรื่องสี แต่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี และประชาชนผู้บริโภค

ผู้ฟ้องคดีนี้คือ CAT หรือ กสท.ซึ่งอ้างว่าถ้าปล่อยให้ กทช.เปิดประมูล ตัวเองจะเสียรายได้จากค่าสัมปทาน

ต้องอธิบายที่มาก่อนว่า กทช.ทำหน้าที่อยู่ตาม พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ปี 2543 เนื่องจากกฎหมาย กสทช.ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ยังไม่เสร็จ เมื่อมี กสทช.แล้วจะต้องจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และการกำหนดจัดสรรคลื่นความถี่ แยกคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม และใช้ในกิจการวิทยุโทรทัศน์ ให้ กทช.และ กสช.ออกใบอนุญาตตามลำดับ

ศาลปกครองวินิจฉัยว่า การเปิดประมูลใบอนุญาตของ กทช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าปล่อยไปจะเกิดความเสียหายร้ายแรง เพราะอาจเกิดการฟ้องร้องเพิกถอนในภายหลัง โดยศาลยังเห็นว่า การสั่งระงับไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐหรือการบริการสาธารณะ เพราะกว่าจะทำ 3G ครอบคลุมทั้งประเทศต้องใช้เวลา 4 ปี ถ้ารอ กสทช.ถึงตอนนั้นอาจจะข้ามไปทำ 4G 5G เลยก็ได้

อ.วรเจตน์แย้งว่า คลื่นที่จะเปิดประมูลคึอคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น ต่อให้มี กสทช.ทำแผนแม่บท คลื่น 2.1 ก็จะต้องแยกมาให้ กทช.เปิดประมูลอยู่ดี จึงเป็นแค่เรื่อง “แบบพิธี” ที่ไม่คำนึงถึงสารัตถะ นั่นคือประโยชน์สาธารณะที่จะเกิดกับประเทศและประชาชนผู้บริโภค หากประมูล 3G ได้เร็ว

เสียงค้านในขณะนั้นอาจไม่ทำให้ผู้คนตระหนัก แต่ต่อมาเมื่อ กสท.เอาสัมปทาน 3G ที่ตัวเองมีอยู่ไปให้ TRUE ผู้คนจึง “ตาสว่าง” แม้แต่ อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการ TDRI ผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับ “ระบอบทักษิณ” และปกป้องคุณพ่อรัฐวิสาหกิจมาตลอด ยังเพิ่งรู้ว่าตนเองเสียค่าโง่ และเขียนบทความออกมาเมื่อปี 53 ดังที่ผมเอามาโปรยไว้ตอนต้น

39,000 ล้านบาท! นะครับ ที่รัฐเสียหาย โดยยังเกิดความไม่โปร่งใสมีเงื่อนงำ ที่ กสท.เอาคลื่น 3G ไปให้ TRUE ใช้ ทั้งที่ถ้าเกิดการประมูลกันขึ้นมา TRUE นี่แหละคือรายที่สู้คนอื่นเขาไม่ได้ อ.สมเกียรติชี้ชัดเลยว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และทำให้การแสวงหาผลประโยชน์ของฝ่ายการเมืองในตลาดโทรคมนาคมจะคงอยู่ต่อไปอีก 14-15 ปี ขณะที่ประชาชนต้องเสียค่าบริการแพงและคุณภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

อ.สมเกียรติเขียนเรื่องนี้มาเป็นปีแล้ว แต่ศาลปกครองเงียบกริบ ไม่เคยชี้แจงซักนิดว่าท่านคิดอย่างไร ที่วินิจฉัย “เตะหมูเข้าปาก ปชป.กับซีพี” จนเขาเอาคลื่น 3G ไปสะด๊วบกันโดยไม่ต้องประมูลหมื่นล้าน ท่านหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองคนใหม่ ที่วินิจฉัยคดีก่อนขึ้นรับตำแหน่ง เอาแต่บอกว่าจะมีคน “ล้มล้าง” ศาลปกครอง

เรื่องฉาว

เรื่องอื้อฉาวของศาลปกครองไม่ได้มาจากฝีมือของ นปช.หรือเสื้อแดง แต่เป็นการขุดคุ้ยของ “เดอะเก๊ะ” ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นักข่าวสืบสวนสอบสวนอันดับหนึ่งผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับ “ระบอบทักษิณ” ซึ่งตามจิกเรื่องนี้ตั้งแต่อยู่มติชนจนไปทำเว็บไซต์ prasong.com

เรื่องมีอยู่ว่า มีผู้ร้อง ปปช.ให้ไต่สวนกรณีที่อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดและพวก ใช้อำนาจโดยมิชอบเปลี่ยนองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในคดีปราสาทพระวิหาร ซึ่ง ปปช.รับเรื่องไว้ไต่สวนเมื่อ 23 พ.ย.2553

แต่ฝ่ายศาลปกครองไม่พอใจ ประธานศาลปกครองสูงสุดอ้างว่า ปปช.ไม่มีอำนาจเข้ามาไต่สวนศาลปกครองซึ่งใช้อำนาจตุลาการ ถือเป็นการแทรกแซงอำนาจตุลาการ

ทั้งที่เป็นการร้องเรียนให้ไต่สวนอดีตผู้บริหารและตุลาการที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270

เรื่องนี้เกิดจากคดีปราสาทพระวิหารนั่นละครับ หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับแถลงการณ์ร่วมกลางดึก เมื่อรัฐบาลอุทธรณ์ เรื่องก็ขึ้นมาถึงศาลปกครองสูงสุด ผู้บริหารจ่ายสำนวนให้องค์คณะ 5 คน พิจารณา ได้แก่ นายจรัญ หัตถกรรม หัวหน้าคณะและเจ้าของสำนวน(ปัจจุบันเกษียณอายุแล้ว ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคดีปกครอง)  นายชาญชัย แสวงศักดิ์ (ปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด)  นายเกษม คมสัตย์ธรรม(ปัจจุบันเป็นรองประธานศาลปกครองสูงสุด) นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์(เกษียณอายุแล้ว เป็นที่ปรึกษาในศาลปกครองสูงสุด)

ผลปรากฏว่า องค์คณะมีมติ 3 ต่อ 2 ให้กลับคำสั่งศาลปกครองกลาง ไม่รับไว้พิจารณา (คงวินิจฉัยว่าเป็น Act of State เหมือนคดี J-TEPPA) โดยเสียงข้างมากได้แก่ นายชาญชัย, นายวราวุธ และนายธงชัย

ลองคิดดูนะครับ ถ้าศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและไม่รับไว้พิจารณา สถานการณ์การเมืองขณะนั้นจะพลิกไปอย่างไร

แต่ในระหว่างที่ตุลาการยังไม่ลงนามในคำสั่งครบองค์คณะ อดีตผู้บริหารก็มีคำสั่งเปลี่ยนมาใช้องค์คณะฯที่ 1 ซึ่งมีนายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะเอง เป็นผู้พิจารณาแทน กระทั่งมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง

ประธานหัสวุฒิอ้างว่า ตุลาการเจ้าของสำนวน (นายจรัญ) เป็นผู้สละสำนวนส่งคืนเอง แต่ก็มีคำถามว่าท่านส่งคืนได้ไง เพราะตาม พ.ร.บ.ศาลปกครองไม่ให้ส่งคืนเว้นแต่จะเกิดเหตุใดๆ ที่เห็นว่ากระทบความยุติธรรม หรือมีการร้องคัดค้านองค์คณะ หรือมีงานมากจนทำไม่ไหว

แต่ไม่ใช่มาส่งคืนเอาตอนที่ลงมติไปแล้ว 3 ต่อ 2 และท่านเป็นฝ่ายแพ้!

การไต่สวนเรื่องนี้ไม่ได้รับความมือจากศาลปกครอง ขณะที่ ปปช.ก็แหยงๆ ประสงค์บอกว่ามีข่าวล็อบบี้กันด้วย ปปช.มอบให้นายวิชัย วิวิตเสวี ไปหาข้อเท็จจริง แต่ก็ไม่คืบหน้า ทั้งที่ทำได้ง่ายๆ แค่ไปสอบปากคำ 3 ตุลาการเสียงข้างมาก 2 ตุลาการเสียงข้างน้อย

ปปช.เพิ่งเอาเรื่องเข้าที่ประชุมชุดใหญ่อีกครั้งเมื่อปลายเดือน ม.ค.ปีนี้ แต่ก็ยังไม่ยอมตั้งอนุกรรมการไต่สวน มีแต่ใช้เจ้าหน้าที่ไปสอบปากคำ

นี่เป็นเรื่องสำคัญมากนะครับ เพราะการทำงานของศาล ไม่ว่าศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง ผู้พิพากษาตุลาการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี โดยประธานหรืออธิบดีศาล ไม่สามารถชี้นำสั่งการได้ เมื่อมอบสำนวนคดีให้ใครพิจารณาแล้ว ห้ามยุ่งกับเขา ถ้าสั่งเปลี่ยนผู้พิพากษาได้ตามอำเภอใจ ก็จะทำให้เกิดการวิ่งเต้นหรือบงการให้เป็นไปตามที่ต้องการ

อันที่จริง ระบบศาลมีช่องโหว่ตรงนี้แหละ คือประธานหรืออธิบดีศาล มีอำนาจเลือกว่าจะส่งสำนวนให้ใคร ถ้าส่งให้ลูกน้องที่มองตารู้ใจ ก็เรียบร้อย ที่ผ่านมามีบ้างหรือเปล่า เราไม่รู้ แต่คดีนี้ถ้าเป็นจริงตามที่ร้องเรียน ก็แปลว่าเกิดความผิดพลาด องค์คณะ 3 คนทำเซอร์ไพรส์ผิดความคาดหมาย จนต้องเปลี่ยนองค์คณะ

ถ้าเป็นจริงอย่างนั้น ก็คือการแทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการ และขอเตือนไว้ว่า คุกนะครับ ถ้า ปปช.เอาจริงเราคงได้เห็นคนติดคุกตอนแก่!

นี่เป็นแค่เรื่องหนึ่งในศาลปกครองเท่านั้น เพราะยังมีเรื่องที่ อ.วรพจน์ วิศรุฒพิชญ์ ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้ง โดยเชื่อว่ามาจากความเห็นไม่ตรงกัน เรื่องที่ อ.อัครวิทย์ สุมาวงศ์ ถูกผู้มีอำนาจแอนตี้เพราะความเห็นต่างจนเกษียณไปแบบเลิกคบกับเพื่อนตั้งแต่สมัยขาสั้น ปัญหาการบริหารภายในที่จนป่านนี้ ยังไม่มีเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง

วุ่นๆ แบบนี้แหละ ถึงมีคนบอกว่า ยุบเสียดีไหม ล้างไพ่ล้างอะไรๆ แล้วค่อยตั้งใหม่

 

                                                                                   

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น