โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุกทีมจ้างงานฆ่าองคมนตรี "ชาญชัย ลิขิตจิตถะ" 16 ปี 8 เดือน

Posted: 24 Mar 2012 09:15 AM PDT

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 55 ที่ผ่านมามติชนออนไลน์รายงานว่าที่ห้องพิจารณาคดี 310 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 มีนาคม ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ่านคำพิพากษาผ่านการถ่ายทอดโดยระบบสื่อสารทางไกลผ่านจอภาพ (วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์) ไปยังศาลจังหวัดสมุทรปราการ ในคดีหมายเลขดำ อ.2819/2552 ที่พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นโจทก์ ฟ้องนายภานุพงศ์ หรือกอล์ฟ รัตนาไพบูลย์ คนขี่รถจักรยานยนต์, นายศักดิ์ชาย หรือแบงก์ แซ่ลิ้ม มือปืน, นายคมิก หรือเหน่ง สุขภาญจนากาศ คนชี้เป้าและติดต่อมือปืน, พ.ต.เทียนชัย หรืออ๊อด เมืองจันทึก นายทหารบรรณารักษ์ ประจำศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้ากองทัพบก ผู้จ้างวาน, นายสุชาติ หรือแจ๊ก ทรัพย์มณี ผู้จ้างวาน และ พ.จ.อ.สุกกรีย์ ขาวผ่อง สังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานร่วมกันใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 1-2 ไปลอบสังหาร นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี อดีตประธานศาลฎีกา และอดีต รมว.ยุติธรรม โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ

โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-5 เม.ย.52 เมื่อระหว่างเดือน ม.ค.52-5 เม.ย.52 เวลากลางวัน จำเลยที่ 3-6 ร่วมกับ พ.อ.สกล พันธุ์หงษ์ อดีตนายทหารกองปราบปรามการก่อการร้าย ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ผู้ต้องหาที่ยังหลบหนี ร่วมกันใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 1-2 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดย พ.อ.สกล เป็นผู้บงการใช้จ้างวานจำเลยที่ 6 ให้จัดหาบุคคลไปฆ่านายชาญชัย ให้ค่าจ้าง 1,500,000 บาท จากนั้นจำเลยที่ 6 ได้ใช้จ้างวานจำเลยที่ 5 และมีการว่าจ้างต่อกันเป็นทอดๆ กระทั่งจำเลยที่ 3 จ้างวานจำเลยที่ 1-2 ให้จัดหาอาวุธปืนรีวอลเวอร์ เครื่องกระสุนปืนขนาด .38 และรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน วางแผนลอบสังหารนายชาญชัย โดยขี่รถจักรยานยนต์ไปดูลาดเลา ที่บ้านพักของนายชาญชัย เลขที่ 109/16 ซอยสุขสวัสดิ์ 66 แยก 8 ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเบาะแสก่อน จึงจัดกำลังเฝ้ารักษาความปลอดภัยให้แก่นายชาญชัย ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้จำเลยที่ 1-2 ไม่สามารถลงมือสังหารได้ตามที่รับใช้จ้างวาน เหตุเกิดที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ เกี่ยวพันกัน จำเลยทั้ง 6 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาล

คดีนี้ศาลจังหวัดสมุทรปราการ มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 20 ต.ค.53 ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ลงโทษจำคุก 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 3-6 มีความผิดฐานร่วมกันใช้จ้างวานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลงโทษจำคุก 25 ปี คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนมีประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 8 เดือน จำคุกจำเลยที่ 3-6 เป็นเวลา 16 ปี 8 เดือน ริบของกลาง กระเป๋าสะพาย อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์ในส่วนของจำเลยที่ 1-2 ทำให้ผลคดีเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ขณะที่จำเลยที่ 3-6 ยื่นอุทธรณ์ วันนี้จึงมีเพียงจำเลยที่ 3-6 ไปฟังคำพิพากษาที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการเท่านั้น

ศาลอุทธรณ์ประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า โจทก์มีพนักงานสอบสวนเบิกความเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่ทราบเบาะแส จากสายลับ ที่เป็นพี่ชายของจำเลยที่ 1 ว่า น้องชายรับงานให้ไปฆ่านักธุรกิจที่มาจากทางภาคเหนือ พร้อมระบุว่า เหยื่อสังหารใช้รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ สีดำ หมายเลขทะเบียน ดส 4777 กรุงเทพมหานคร เป็นพาหนะ เมื่อเจ้าหน้าที่นำทะเบียนรถไปตรวจสอบพบว่า เป็นรถยนต์ที่สำนักราชเลขาธิการ มอบให้นายชาญชัยไว้ใช้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจัดทีมรักษาความปลอดภัยให้แก่นายชาญชัย พร้อมจับกุมจำเลยที่ 1-2 ในชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1-2 รับสารภาพว่า ตกลงรับค่าจ้างจำนวน 30,000 บาท ในการสังหารนายชาญชัย โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อ โดยมอบรูปถ่าย รูปพรรณรถยนต์ และที่อยู่นายชาญชัยไว้เป็นข้อมูล จำเลยที่ 1-2 ได้รับโอนเงินจากจำเลยที่ 4 จำนวน 15,000 บาท เพื่อนำไปซื้ออาวุธปืนของกลาง มีการซ้อมยิงไป 4 นัด พร้อมขี่รถจักรยานยนต์ไปดูลาดเลาที่บ้านพักนายชาญชัย 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถลงมือได้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดตามจับกุมจำเลยทั้งหมดที่ต่างซัดทอดกันว่า ได้รับการใช้จ้างวานมาเป็นทอดๆ ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 6 บังคับให้จำเลยที่ 5 มีศักดิ์เป็นหลาน ให้ดื่มน้ำยาล้างห้องน้ำฆ่าตัวตาย พร้อมเขียนจดหมายลาตาย เพื่อตัดตอนไม่ได้ซัดทอดมาถึงจำเลยที่ 6 แต่จำเลยที่ 5 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมก่อน โดยจำเลยที่ 6 รับสารภาพว่า แผนการสังหารนายชาญชัย มี พ.อ.สกล เป็นผู้บงการ แต่ พ.อ.สกลไหวตัวทันหลบหนีไปก่อน

ในชั้นสอบสวนจำเลยทั้ง 6 ให้การรับสารภาพ ลงลายมือชื่อไว้ในสำนวนการสอบสวนหลายฉบับ เชื่อว่าจำเลยที่ 3-6 ให้การไปด้วยความสมัครใจ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวจำเลยไปชี้จุดเพื่อบันทึกภาพประกอบคำรับสารภาพ ทั้งที่บริเวณร้านอาหารที่ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสะพานใหม่ ร้านอาหารข้างสนามมวยราชดำเนิน ที่จำเลยนัดหมายติดต่อวางแผนกันเรื่อยมา นอกจากนี้ ยังได้เบิกความของจำเลยที่ 4 ว่า สาเหตุของการลอบสังหารนายชาญชัย มาจากเรื่องการเมือง เมื่อ พ.อ.สกลเคยระบุว่า นายชาญชัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 อีกทั้ง พ.อ.สกล เป็นกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง จากการตรวจค้นบ้านพัก และรถยนต์ของ พ.อ.สกล พบประวัติการทำงาน และรูปภาพของนายชาญชัย นอกจากนี้ ยังพบตีนตบ ที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มคนเสื้อแดงด้วย นายชาญชัยไม่เคยรู้จัก หรือมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยทั้ง 6 มาก่อน ขณะเกิดเหตุเป็นช่วงที่นายชาญชัย ไปดำรงตำแหน่งเป็น รมว.ยุติธรรม จากพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่า เหตุลอบสังหารนายชาญชัย มีสาเหตุมาจากเรื่องการเมืองจริง

เห็นว่าจากคำรับสารภาพของจำเลยทั้ง 6 ในชั้นสอบสวน ประกอบกับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจ มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันเป็นลำดับ จำเลยที่ 3-6 ให้การรับสารภาพภายหลังถูกจับกุม โดยไม่มีการคิดไตร่ตรองเป็นอย่างอื่นเพื่อจะต้องสู้คดี เชื่อว่าจำเลยที่ 3-6 เบิกความในชั้นสอบสวนไปตามจริง มิเช่นนั้นคงไม่ซัดทอดกันเช่นนี้

ทั้งนี้ จำเลยที่ 4 และ 6 เป็นนายทหารไม่น่าเชื่อว่าพนักงานสอบสวนจะกล้าขู่เข็ญบังคับให้รับสารภาพตามที่จำเลยกล่าวอ้าง แม้ภายหลังจำเลยที่ 3-6 จะร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นเพียงชั้นเชิงในการต่อสู้คดีเท่านั้น ส่วนที่จำเลยที่ 3-6 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1-2 ยังไม่ได้ลงมือฆ่านั้น จำเลยที่ 3-6 จึงยังไม่มีความผิดใดๆ เห็นว่า จำเลยที่ 1 นำเงินไปจัดซื้อปืน พร้อมชักชวนจำเลยที่ 2 ไปร่วมลงมือด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงถึงการยอมรับที่จะทำงานแล้ว ผู้ใช้จ้างวานจึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ แต่การกระทำความผิดไม่สำเร็จ จำเลยที่ 3-6 จึงต้องรับโทษ 1 ใน 3 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 3-6 ใช้จ้างวานกันเป็นทอดๆ ให้จำเลยที่ 1-2 ลอบยิงนายชาญชัย โดยความผิดยังไม่ได้กระทำ พยานจำเลยที่ 3-6 ไม่มีน้ำหนัก หักล้างพยานโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ม.112 ประจำสัปดาห์ 15 - 21 มี.ค. 2555

Posted: 24 Mar 2012 09:01 AM PDT

 ‘คณะนักเขียนแสงสำนึก’ ย้ายงานรอบสาม ไปจัดอนุสรณ์ ‘14 ตุลา’ แทน

15 ก.พ. 55 - สืบเนื่องจากการจัดงาน “แขวนเสรีภาพ” ของคณะนักเขียนแสงสำนึก ในอาทิตย์ที่ 18 ก.พ. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเดิมกำหนดสถานที่ไว้เป็น ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ และภายหลังเมื่อไม่ได้รับอนุญาต จึงได้ประกาศว่าย้ายมาจัดที่ตึกเทวาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น

ทาง “วาด รวี” หนึ่งในคณะผู้จัดงานเปิดเผยวันนี้ว่า หลังจากที่ทางตัวแทนของกลุ่มได้ติดต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อขออนุญาตจัดงานอภิปรายทางวิชาการในช่วงเช้าของวันนี้ ทั้งต่อคณะอักษรศาสตร์และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า กลับประสบความติดขัดและได้รับแจ้งว่าไม่ได้รับอนุญาตให้จัดงานอภิปรายทางวิชาการดังกล่าวเช่นเดียวกัน

ทางคณะผู้จัดงาน จึงตัดสินใจย้ายการจัดงาน “แขวนเสรีภาพ” ไปจัดที่บริเวณอาคารด้านหน้าของอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินแทน 

(ประชาไท, 15-3-2555)

 

ศาลกีฎาไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายอำพล หรือ อากงเอสเอ็มเอส ชี้เป็นคดีร้ายแรง หวั่นผู้ต้องหาหลบหนี

15 ก.พ. 55 - นายอานนท์ นำภา ทีมทนายความที่รับผิดชอบคดี นายอำพล หรือคดีอากง เอสเอ็มเอส ได้โพสข้อเกี่ยวกับความคืบหน้าคดีอากง เอสเอ็มเอส ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊ก โดยมีใจความว่า

ผลการยื่นกีฎาขออนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือคดีอากง เอสเอ็มเอส โดยศาลกีฎาไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายอำพล หรือ อากงเอสเอ็มเอส  

เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีและเหตุผลคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วเห็นว่าเป็นคดีร้ายแรง ประกอบกับศาลชั้นต้น พิพากษาจำคุกจำเลยถึง 20ปี หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี

ส่วนที่จำเลยอ้างว่า เจ็บป่วยนั้น ศาลเห็นว่าจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยระหว่างการอุทธรณ์คดี

ทั้งนี้คดีของนายอำพล หรืออากง เป็นคดีตามความผิดในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากข้อหาว่า อากง ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวพิมพ์ อันเป็นการจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง และส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการส่วนตัวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9,11และ 22พ.ค.53

(VoiceTV, 15-3-2555)

 

ศาลไม่อนุญาตประกันตัวดาตอร์ปิโดคดีหมิ่น

16 ก.พ. 55 - ศาลอาญารัชดา อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์เรื่องขอปล่อยตัวชั่วคราว ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.เป็นจำเลย ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกเป็นเวลา 15 ปี โดยญาติของ น.ส.ดารณี ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นจำนวน 1,440,000 บาท เพื่อขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 15 ปี จำเลยเคยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ต่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ มาแล้วหลายครั้งแต่ศาลไม่อนุญาต จำเลยมายื่นคำร้องในครั้งนี้อีก ทั้งพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับ พยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้น ได้มีการพิจารณามาแล้ว รับว่าร้ายแรง หากให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยอาจหลบหนีได้ ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง แจ้งเหตุผลการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้จำเลยทราบโดยเร็ว

(ไอเอ็นเอ็น, 16-3-2555)

 

'สุรพงษ์' ยืนยันรัฐไม่ละเลยคนจาบจ้วงสถาบัน

19 มี.ค. 55 - เมื่อเวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ด่วนเรื่องการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ในต่างประเทศ โดยนายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนียกว่า 1,500 คน ว่า ขณะนี้น่ากังวลอย่างยิ่ง มีคนไทยในต่างประเทศดำเนินการหลายรูปแบบ และกระทำต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นการทำร้าย ทำลายสถาบันและองค์พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นคนไทยแท้ๆ แต่ไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศบางกลุ่มให้ร้ายรุนแรง ทั้งการเขียน การเจรจาสื่อสาร และการใช้ภาพที่เป็นการจาบจ้วง รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรต่อบุคคลและกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่ทำผิดกฎหมาย ฐานบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการให้นโยบายแก่เจ้าหน้าที่ไทยในต่างประเทศอย่างไร รวมถึงมีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ต่างชาติและคนไทยในต่างประเทศด้วยหรือไม่ ที่ผ่านมามีการใช้ช่องว่างกฎหมายเป็นคนสัญชาติไทยแต่เปลี่ยนเป็นสัญชาติอเมริกัน ใช้พาสปอร์ตอเมริกันเดินทางเข้ามาในไทย กระทำการต่างๆ ตนอยากให้หน่วยงานรัฐของไทยใช้เครื่องตรวจสอบลายนิ้วมือแบบที่ทางสหรัฐอเมริกาใช้ จะรู้ทันทีว่าบุคคลเหล่านี้เป็นใคร แม้จะเปลี่ยนสัญชาติไปแล้ว และตนยินดีที่จะช่วยรัฐบาลหากกระทรวงการต่างประเทศยินยอมทำหนังสือมอบหมายให้ตนไปไล่สอบในเมืองต่างๆ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ยืนยันว่าตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลยึดมั่นทำตามนโยบายที่แถลงไว้จริงจัง โดยเฉพาะการดำเนินการเพื่อเทิดทูนและพิทักษ์รักษาพระเกียรติของพระมหากษัตริย์และสถาบัน กระทรวงการต่างประเทศได้ติดตาม ชี้แจง ตอบโต้การกระทำหรือรายงานข่าวในต่างประเทศที่คลาดเคลื่อน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือการสร้างความเสียหายต่อสถาบัน หากปรากฏมีบุคคลชาวไทยในต่างประเทศมีพฤติกรรมเข้าข่ายหมิ่นหรือจาบจ้วง ทางสถานเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวร หรือสถานกงสุลใหญ่ ที่มีเขตอาณาครอบคลุมพื้นที่ที่เข้าข่ายสิ่งเหล่านี้ จะตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ ส่วนกรณีที่ทำผิดนอกอาณาจักร สำนักงานอัยการสูงสุดจะเป็นเจ้าพนักงานสอบสวน และเป็นผู้รับผิดชอบคดีตามกฎหมาย เมื่อเรื่องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ถ้ามีความผิดก็ต้องรับโทษไปตามกระบวนการ ส่วนการให้นโยบายแก่เจ้าหน้าที่รัฐในต่างประเทศ เราใช้แนวทางน้ำดีไล่น้ำเสีย โดยการประสานความร่วมมือทุกหน่วยงาน เผยแพร่ข้อมูลเชิงบวกเกี่ยวกับสถาบันให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแนวทางนี้เราเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ยั่งยืนได้ส่วนการดำเนินการต่อชุมชนไทย ใช้การจัดกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ เพื่อเปิดช่องทางให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างข้าราชการและชุมชนไทย โดยเชื่อว่าจะเป็นวิธีชี้แจงให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่คนไทยในต่างประเทศได้ดี

(ไทยรัฐ, 19-3-2555)

 

"สุรชัย แซ่ด่าน-ดา ตอร์ปิโด" พร้อม 6 ผู้ต้องขังคดี ม.112 ส่งจม.ถึงนายกฯ ช่วยดำเนินการขออภัยโทษ

20 มี.ค. 55 - เว็บไซต์ข่าวประชาไท รายงานว่า รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ที่คดีเด็ดขาดแล้วรวม 8 คน ร่วมกันเขียนจดหมายจากเรือนจำถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษแก่พวกเขา โดยระบุว่า "บัดนี้พวกข้าพเจ้าทั้งหมดรู้สึกสำนึกผิดด้วยความเสียใจยิ่ง ต่อการกระทำที่ผิดพลาด จึงไม่ขอต่อสู้คดี ยอมรับสารภาพให้ศาลตัดสินใจลงโทษจนคดีถึงที่สุด และใช้สิทธิ์ยื่นเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษ จึงร้องทุกข์ต่อท่านนายกรัฐมนตรี ได้โปรดพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือพวกข้าพเจ้าให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานด้วยเถิด”

(ประชาไท, 20-3-2555)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 18 - 24 มี.ค. 2555

Posted: 24 Mar 2012 08:10 AM PDT

ประกันสังคมเผยป่วยฉุกเฉิน 1 เม.ย. รักษาได้ทุก รพ. / เผดิมชัย เจรจาทูตอิสราเอล ตัดวงจรเรียกค่าบริการแรงงานไทยแพง เผยต้นทุนแค่ 7 หมื่น / ส.ส.ภูมิใจไทยยื่นแก้ พ.ร.บ.แรงงานเพิ่มอำนาจต่อรอง / รมว.แรงงาน ยืนยันชัดเจน ไม่สามารถนำค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมเป็นค่าจ้างได้ 

 ประกันสังคมเผยป่วยฉุกเฉิน เม.ย. รักษาได้ทุก รพ. 

ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนประกันสังคม เผยข้อสรุปเรื่องการรักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินแล้ว โดยจะให้บริการเป็นระบบเดียวกัน คือหากมีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ ไม่จำกัดว่าจะอยู่ในระบบการรักษาใด และสามารถรับการรักษาได้จนสิ้นสุดการรักษานั้น ๆ 

โดยปกติแล้ว ผู้ประกันตนสามารถรักษากรณีฉุกเฉินในโรงพยาบาลนอกบัตรรับรองสิทธ์ได้เพียง แค่ 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรมารับการรักษาต่อ แต่ถ้าหากเริ่มระบบร่วมกันทั้ง ระบบ 

ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลนั้น    โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทางประกันสังคม จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย ตามระบบความรุนแรงของโรค (DRG) 

สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายพยาบาลนั้น จะปรับเป็นอัตราเดียวกันที่ไม่เกิน 10,500 บาทต่อคนต่อวัน โดยเริ่มต้น 1เมษายนนี้ จากเดิมผู้ป่วยจะต้องจ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามระบบ คือ กองทุนประกันสังคม 15,000 บาทต่อคนต่อวัน กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจ่ายให้ 8,000 บาทต่อคนต่อวัน 

ในเรื่องของโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่ โรคเอดส์ ไตวาย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงโรคที่ต้องยาราคาแพง และกรณีรักษาที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การผ่าตัดหัวใจ สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากที่แพทย์วินิจฉัย โดยไม่ต้องสำรองจ่าย หรือทำเรื่องของอนุมัติหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าวางหลักเกณฑ์ไว้ ข้อ ที่จะไม่สามารถอนุมัติการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ได้แก่ การรักษาเพื่อความสวยงาม การรักษาที่เกินความจำเป็น หรือเป็นการทดลองทางการแพทย์ การรักษาการมีบุตรยาก และเป็นการรักษาที่ไม่เป็นไปตามแพทย์ระบุ 

(ข่าว MSN, 18-3-2555)

ยืนยัน เซอร์วิสชาร์จคิดรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้หากเก็บผ่านใบเสร็จ 

นายแพทย์สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้ประกอบการโรงแรมและการท่องเที่ยวเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าค่าเซอร์วิสชาร์จจะนำมารวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ เมษายนนี้หรือไม่ ว่า การหารือได้ข้อสรุปหากลูกค้าของโรงแรมจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จแก่ลูกจ้างโดยตรง จะไม่สามารถนำมาคิดรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จผ่านใบเสร็จค่าบริการ และนำมาเป็นรายได้ของโรงแรมแล้วจึงนำมาจ่ายเป็นรายได้ของพนักงานในภายหลังก็ สามารถนำมาคิดรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้ ซึ่งจะทำให้ฐานเงินเดือนสูงขึ้น มีผลต่อเนื่องในการคำนวนการจ่ายโบนัส ค่าล่วงเวลา และการปรับขึ้นเงินเดือนตามไปด้วย ทั้งนี้ ในช่วงโลว์ซีซั่นลูกค้าน้อยและไม่มีรายได้จากค่าเซอร์วิสชาร์จ ผู้ประกอบการยังคงต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องบริหารจัดการการเงินเอง 

อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการจะจ่ายแต่เฉพาะค่าจ้างขั้นต่ำ และงดจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จก็เป็นสิทธิที่ทำได้ กฎหมายไม่ได้เขียนบังคับไว้ในเรื่องนี้ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของพนักงาน เพราะแต่เดิมเคยได้ค่าเซอร์วิสชาร์จเป็นรายได้ แต่พอปรับค่าจ้างขั้นต่ำแล้วกลับไม่ได้รับ ลูกจ้างจะเสียขวัญและกำลังใจในการทำงาน ดังนั้นนายจ้างต้องพิจารณาให้ดีว่าคุ้มหรือไม่กับผลกระทบที่ตามมา 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 19-3-2555)

เผดิมชัย เจรจาทูตอิสราเอล ตัดวงจรเรียกค่าบริการแรงงานไทยแพง เผยต้นทุนแค่ หมื่น 

นายเผดิมชัย  สะสมทรัพย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ต้อนรับนายอิตซ์ฮัก โชฮัม (Itzhak Shoham)เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย  โดยมีการปรึกษาเรื่องการลดค่าใช้จ่ายแรงงานไทยไปทำงานยังประเทศอิสราเอลให้ มีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ยังไม่ได้ยกเลิกการจัดส่งในระบบคู่ค้าระหว่างบริษัทจัดหางานแต่อย่าง ใด เพียงตั้งข้อสังเกตว่ามีค่าใช้จ่ายของแรงงานไทยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด   
           
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เอกอัครราชทูตอิสราเอลเข้าพบครั้งนี้ หลังจากที่ตนมีหนังสือสอบถามเพื่อขอความชัดเจนว่าแรงงานไทยต้องมีค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปทำงานเท่าไร ซึ่งก็ได้รับคำตอบยืนยันแล้วว่ารายละไม่เกิน 70,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแรงงานเอง โดยทางไอโอเอ็มที่ร่วมคณะมาด้วยก็ยืนยันอัตรานี้ เพื่อให้แรงงานไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงเกินจริง เมื่อไปทำงานแล้วจะได้ค่าตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วยคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป และเห็นว่ากระบวนการเอารัดเอาเปรียบเก็บค่าหัวแพงต้องยุติให้ได้ ต้องเร่งดำเนินการตัดวงจรนี้ ให้แรงงานไทยมีที่พึ่งพา ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม 

ประเด็นหลักอยู่ที่ว่ากระทรวงแรงงานควรที่จะได้กำหนดกรอบการดำเนินการ ที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้แรงงานไทยถูกหลอกลวงต่อไปอีก โดยจะต้องสร้างกลไกควบคุมอย่างเข้มแข็ง โดยอาสาสมัครแรงงานหรือ อสร.จะเข้ามาคอยดูแลสอดส่องและเป็นกลไกในการป้องกันการหลอกลวงแรงงานในระดับ พื้นที่ 

ส่วนในอนาคตทางบริษัทจัดหางานจะยังเป็นผู้จัดส่งแรงงานไทยไปยังบริษัท จัดหางานคู่ค้าในประเทศอิสราเอลได้ต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าทางสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทยจะออกวีซาผ่านบริษัทจัดหางาน ไทยหรือไม่ ถ้ายังออกให้ก็สามารถจัดส่งได้ แต่ถ้าไม่ออกให้ก็ต้องเป็นระบบจัดส่งแบบรัฐต่อรัฐโดยมีไอโอเอ็มเป็นผู้ดูแล เท่านั้น 

ด้านเอกอัครราชทูตอิสราเอลให้สัมภาษณ์ว่า การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานยังประเทศอิสราเอล เป็นไปตามกรอบข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานกับไอโอเอ็ม หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งอิสราเอลใช้เป็นช่องทางการลดค่าใช้จ่ายในการรับคนงานไปทำงาน  ที่แรงงานไทยจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงรายละไม่เกิน 70,000 บาทเท่านั้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่นค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซาในการเดินทาง ค่าตรวจสุขภาพ  เป็นต้น โดยขณะนี้มีแรงงานไทยกว่า 6,000 คน สมัครเข้าสู่กรอบข้อตกลงนี้เป็นลอตแรก และทางไอโอเอ็มจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกแรงงานไทยให้ได้จำนวนประมาณ 200 คน ตามที่นายจ้างในอิสราเอลต้องการ แต่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการแรนดอมหรือสุ่มเลือกเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม และระบบนี้จะเริ่มใช้ในราวเดือนเมษายน 2555 ซึ่งตนก็คาดหวังว่าแรงงานไทยจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงในที่สุด 

(มติชนออนไลน์, 19-3-2555)

ส.ส.ภูมิใจไทยยื่นแก้ พ.ร.บ.แรงงานเพิ่มอำนาจต่อรอง 

รัฐสภา 21 มี.ค. 55 - นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย พร้อม ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ยื่นเสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ....) พ.ศ......พร้อมบันทึกเหตุผล และบทสรุปวิเคราะห์ ที่มี ส.ส.ร่วมลงชื่อเสนอร่างดังกล่าวจำนวน 18 คน ต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากเห็นว่า พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 บังคับใช้มาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรให้มีการแก้ไขบทบัญญัติเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเจรจาต่อ รอง การไกล่เกลี่ย การจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองผู้จัดตั้งสหภาพแรงงาน การใช้สิทธิลาของคณะกรรมสหภาพแรงงาน ความไม่เป็นธรรม รวมถึงบทกำหนดโทษ จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดำเนินการพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป 

(สำนักข่าวไทย, 21-3-2555)

รมว.แรงงาน ยืนยันชัดเจน ไม่สามารถนำค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมเป็นค่าจ้างได้ 

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความชัดเจนกรณีที่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ เรียกร้องให้นำค่าบริการที่เรียกเก็บในใบเสร็จ หรือ ค่าเซอร์วิสชาร์จ ไปรวมกับค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากในวันที่ เมษายนนี้ ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างอัตราใหม่ที่ปรับเพิ่มอีกร้อยละ40 ว่า ในเรื่องนี้ต้องดูเป็นรายกรณีว่า ที่ผ่านมาสถานประกอบการนั้นๆ นำค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมกับค่าจ้างหรือไม่ หากที่ผ่านมาค่าเซอร์วิสชาร์จถือเป็นสวัสดิการ แต่นายจ้างต้องการเปลี่ยนนำมารวมกันเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ต้องมีการเจรจาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ตามมาตรา 13 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ให้เข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติ อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายไม่สามารถนำค่าจ้างและค่าเซอร์วิสชาร์จมารวมกันได้ เพราะค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงานปกติ ไม่ได้มีไว้จ่ายเพื่อสวัสดิการ หรือสร้างแรงจูงใจในการทำงาน 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนสถานประกอบการใดไม่ได้ระบุไว้ว่าเซอร์วิสชาร์จเป็นสวัสดิการ ก็สามารถนำมารวมกันเพื่อจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ และนำมาเป็นฐานการคำนวณสวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าชดเชย ค่าการทำงานในวันหยุด และโบนัส เป็นต้น 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 21-3-2555)

นิคมน้ำท่วมฟื้นผลิตเกือบครึ่ง เชื่อ Q2 ทุกโรงงานเดินเครื่อง เร่งส่งต่อแรงงานถูกลอยแพ 

นายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมยังคงติดตามการฟื้นตัวของโรงงานอุตสาหกรรมใน พื้นที่อุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด และจัดความช่วยเหลือตามที่โรงงานต้องการ เช่น มาตรการทางภาษีของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการคลีนิคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบจำนวนโรงงานทั้งหมด 838 โรง ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์พบว่าเปิดดำเนินการแล้วประมาณ 44%หรือ 366 โรง แบ่งเป็นเปิดดำเนินการ 100% จำนวน 143 โรง และเปิดดำเนินการบางส่วน 223 โรง โดยคาดว่าในไตรมาส ปีนี้ โรงงานทุกแห่งจะสามารถเริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้ง 
  
นายสุภาพกล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน มีโรงงานรวม 90 แห่ง ซึ่งเปิดดำเนินการรวม 45 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 3,965 คน จากแรงงานทั้งหมด 56,887 คน นิคมสหรัตนนคร มีโรงงานรวม 43 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 13 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 212 คน จากแรงงานทั้งหมด 8,410 คน นิคมบ้านหว้า (ไฮเทค) มีโรงงานรวม 143 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 48 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม 10 โรง ไม่ระบุแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง 
  
สำหรับเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ มีโรงงานรวม 198 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 61 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม 21 โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 16,164 คน จากแรงงานทั้งหมด 54,104 คน เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ มีโรงงานรวม 93 แห่ง เปิดดำเนินการ 100% จึงไม่มีการปลดคนงาน สวนอุตสาหกรรมนวนคร มีโรงงานรวม 227 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 90 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม 3โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 1,377 คน จากแรงงานทั้งหมด 128,000 คน และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี มีโรงงานรวม 44 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 16 โรง ไม่ระบุโรงงานที่ปิดกิจการและถูกเลิกจ้าง 
  
"ปัจจุบันกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างประสานกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ยังขาดคนงานอยู่ เช่น โรงงานในเขตภาคตะวันออก เพื่อกระจายแรงงานไปสู่โรงงานดังกล่าว" นายสุภาพกล่าว 
  
นายนราพจน์ ทิวถนอม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวภายหลังร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสายการผลิต บริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด ว่าบริษัท ทีเอส เทค เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทเบาะ และแผงประตูรถยนต์รายใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ได้เริ่มกลับมาผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด อีกครั้ง หลังจากประสบกับภาวะน้ำท่วมช่วงปลายปีที่ผ่านมา เมื่อรวมกับผู้ประกอบการรายอื่นในนิคมสหรัตนนคร ที่กลับมาผลิตอีกครั้งจะรวมเป็น 24 ราย คิดเป็น52% จากจำนวนโรงงานทั้งหมด 46 ราย สถานภาพการจ้างงานที่มีแรงงานกลับมาทำงานแล้วประมาณ 9,373คน จากจำนวนแรงงานทั้งหมด 12,176 คน และคาดว่าจะกลับมาผลิตได้ครบ 100% ภายในเดือนมิถุนายนนี้แน่นอน 
  
จากการตรวจสอบนักลงทุนในนิคมสหรัตนนครพบว่า นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่อยู่ในพื้นที่ไม่ย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่ อื่นๆ แม้แผนบริหารจัดการน้ำท่วมอาจมีความล่าช้าไปบ้าง แต่ผู้ประกอบการยังคงเชื่อมั่นแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมสร้างเสร็จตามแผนงานก็เชื่อว่าจะรับมือกับปริมาณ น้ำหลากในช่วงเดือนสิงหาคมได้อย่างแน่นอน” นายนราพจน์กล่าว 

(มติชนออนไลน์, 21-3-2555)

ก.พาณิชย์ยันขึ้นค่าแรง 300 บาท กระทบราคาสินค้าน้อยมาก 

22 มี.ค. -นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันตามนโยบายของรัฐบาลมีผลดีต่อประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวม ยืนยันส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเพียงเล็กน้อย 

นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละไม่น้อยกว่า300 บาทตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเริ่มในวันที่ เมษายน 2555 กรมการค้าภายในได้ศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับราคาสินค้า พบว่าโครงสร้างของต้นทุนและราคาสินค้า ประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิตและการจำหน่าย ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบเป็นสัดส่วนหลักประมาณร้อยละ 70-90 และมีต้นทุนค่าแรงงานเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 - 5 เท่านั้น ดังนั้น ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงจะมีผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าบางรายการที่กระบวนการ ผลิตใช้แรงงานเป็นหลัก อาทิ สินค้าเครื่องแบบนักเรียน เยื่อกระดาษ ไม้อัดสลับชั้น เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพรวมต้นทุนการผลิตอาจจะไม่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มค่าแรงงานจะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น มีการจับจ่ายซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยก็จะลดลง นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วย 

ส่วนการศึกษาผลกระทบจากการปรับราคาสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงต่อต้นทุน ภาคการผลิตนั้น พบว่าสินค้า บางประเภทแทบไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้า หรือหากมีผลกระทบจะมีเพียงร้อยละ 0.62 เท่านั้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงเพียงร้อยละ 0-5 แต่บางสินค้าที่อาจส่งผลกระทบในพวกกลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้างใช้ค่าเชื้อ เพลิงร้อยละ อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงาน ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อต้นทุนสินค้าในด้านการขนส่งสินค้า จากการศึกษาพบว่าค่าขนส่งมีผลต่อโครงสร้างราคาจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ประมาณร้อยละ 15 ปัจจุบันก๊าซเอ็นจีวี ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ แต่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าภาคการขนส่งเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.44 ดังนั้น ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น จึงไม่ใช่สาเหตุหลักที่ผู้ผลิตสินค้าจะนำมาเป็นข้ออ้างในการขอปรับขึ้นราคา สินค้า ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดว่าในปี 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภคจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.30-3.80. 

(สำนักข่าวไทย, 22-3-2555)

ปลัดแรงงานยันขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เม.ย.นี้แน่นอนใน จังหวัด 

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) และประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลางกล่าวถึงกรณีศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเบื้อง ต้นไม่คุ้มครองฉุกเฉินการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หลังจากที่ผู้ประกอบการ42 แห่งยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินในการบังคับใช้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำใน จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และ นนทบุรี ปรับเพิ่มเป็นวันละ 300 บาทในวันที่ เม.ย.นี้ 

นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับคำพิพากษาของศาลที่ออกมานั้นเป็นเพียงมีคำพิพากษาเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ใช้คำพิพากษาที่ถึงที่สุด ดังนั้น เรื่องนี้ศาลจะมีการพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อคำพิพากษาเบื้องต้นออกมาเช่นนี้ ก็จะมีผลทำให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ เม.ย.นี้เช่นเดิมตามประกาศของคณะกรรมการค่าจ้างกลางไปจนกว่าศาลจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุด หลังจากนี้ ศาลคงจะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในส่วนของคณะกรรมการค่าจ้างและผู้ ประกอบการเข้าไปชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัย ซึ่งในส่วนของตนในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลางก็จะเตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้เพื่อชี้แจงต่อศาล
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการพิจารณาข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนของศาลปกครองกลาง พบว่า การพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการ โดยพิจารณาตามกรอบของมาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งได้มีการศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเป็นการพิจารณาทั้งข้อมูลที่ได้จากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำของทุกจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง 
       
ทั้งนี้ การพิจารณาข้างต้นเป็นไปตามขั้นตอน และการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางที่มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็เป็นไป อย่างครบองค์ประชุม จากนั้นจึงได้มีประกาศคณะกรรมการค่าจ้างกลางออกมา ส่วนการที่ศาลปกครองจะพิจารณาว่าประกาศดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นประเด็นที่ศาลปกครอง จะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-3-2555)

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานจัดเสวนาหน้าสภาฯ 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 มี.ค. ที่บริเวณด้านหน้าสวนสัตว์ดุสิต ฝั่งตรงข้ามอาคารรัฐสภา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วม 100 คน ได้จัดวงเสวนาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อขอให้รัฐสภาเร่งพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่....) พ.ศ. ..... ฉบับที่ โดยมี น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนและผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่รวมรายชื่อจำนวน14,264 คน ขอให้ออกกฎหมายดังกล่าวให้ทันการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติสมัยสภาที่จะหมด ในวันที่ 18เม.ย.นี้ เพราะเป็นเรื่องที่ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.54 จนบัดนี้สภาผู้แทนราษฎรยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับ ดังกล่าวในการประชุมครั้งใด โดยมี นายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย นายมนัส แป้นวิเศษ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ และนายสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมวงเสวนา 

ต่อมาเวลา 10.45 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ พร้อมคณะ ได้ออกมารับหนังสือร้องเรียนให้ช่วยผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าว จากนายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มแรงงาน พร้อมกล่าวว่า เรื่องของการปรับปรุงระบบสวัสดิการและระบบประกันสังคม เป็นเรื่องที่พวกเราตั้งใจสนับสนุน ตนจำได้ว่ากฎหมายนี้ทำกันตั้งแต่สมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ตนเองก็ได้พยายามผลักดันแต่ยังไม่สำเร็จ และหลักการต่างๆ ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ถึงความเป็นอิสระของประกันสังคม ระบบธรรมาภิบาลที่ต้องเกิดขึ้น และการขายให้ครอบคลุมถึงพี่น้องประชาชนกว่า 20 ล้านคน ทั้งอาชีพอิสระนอกระบบ เพราะฉะนั้นถ้าทำอย่างนี้ได้น่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานและประกัน สังคม ตนจะพยายามกระตุ้นและเร่งรัดในเรื่องดังกล่าว เพราะเรื่องนี้เป็นโครงสร้างในการดูแลประชาชนเป็นระบบอย่างแท้จริง 

ส่วนนายนคร กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลชุดนี้ยื่นต่อสภาฯ เพื่อให้สภาฯ รับรอง ตอนนี้อยู่ในลำดับที่ 15 ของวาระด่วน และจะดำเนินการในหลายทาง เช่น ทาง กมธ.แรงงาน ให้เร่งรัดด้วยและ ส.ส.ก็จะมีการหารือกันในเรื่องดังกล่าว 

ด้าน นางวิไลวรรณ ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายแรงงานฯ กล่าวว่า ที่มาของคณะกรรมการองค์กรประกันสังคม ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นหัวใจของคนงาน จะเปลี่ยนแปลงเรื่องการมีส่วนร่วมไม่ว่าคุณสมบัติของที่มา โดยเฉพาะกระบวนการในการตรวจสอบ แต่ที่สำคัญจะขยายการคุ้มครองพี่น้องแรงงานนอกระบบ และพี่น้องที่เป็นหน่วยงานข้าราชการ ที่ไม่มีสวัสดิการเพื่อสร้างสวัสดิการที่ดี ตนจึงอยากฝากให้ช่วยเร่งดำเนินการ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ก็หวังว่าจะได้รับการเร่งดำเนินการให้กับพี่น้องคนยากคนจน เพื่อสร้างหลักความมั่นคงและหลักประกันให้กับพี่น้องผู้ประกันตนร่วมกัน 

จากนั้นในเวลา 11.00 น. กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้เดินเท้าจากลานพระบรมรูปทรงม้ากว่า500 คน โดยมีรถหกล้อติดเครื่องขยายเสียง พร้อมชูป้ายเรียกร้องความเป็นธรรมนานกว่าชั่วโมงจึงแยกย้ายจากหน้าสภาฯ. 

(ไทยรัฐ, 22-3-2555)

แรงงานไทยในระดับ ปวช.ปวส.และปริญญาตรี อ่อนภาษาและทักษะการทำงาน 

น.ส.สุวรรณา ตุลยวศินพงษ์ หัวหน้าโครงการศึกษาความพร้อมของกำลังคนเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้า สินค้า สาขา ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2555-2558 สถาบันการศึกษาสามารถผลิตผู้ที่จบการศึกษาทุกระดับอยู่ที่ 1.5 ล้านคนต่อปี และมีความต้องการแรงงานทดแทนในแต่ละปีอยู่ที่ 1.2 ล้านคน แต่มีผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานเพียง 3.6 แสนคน และมีอัตราว่างงานไม่ถึงร้อยละ ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่น้อยมาก โดยในจำนวนนี้พบว่าจบปริญญาตรีร้อยละ 10 รองลงมาระดับ ปวส. ส่วนระดับ ปวช. นั้นตลาดแรงงานมีความต้องการมาก แต่กลับมีผู้เรียนน้อย อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ ต่างให้ข้อมูลว่า ผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี มีจุดอ่อนในเรื่องการขาดทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะฝีมือ และประสบการณ์ทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่จบระดับ ปวช.และ ปวส. ทางผู้ประกอบการจะต้องนำมาฝึกอบรมและเรียนรู้งานนาน เดือน จึงจะปฏิบัติงานได้ดี 

นอกจากนี้ ตลาดแรงงานไทยยังมีปัญหาการขาดแคลนกำลังคน การใช้แรงงานต่างด้าวทั้งที่เข้ามาโดยถูกกฎหมายและผิดกฎหมายรวมแล้วกว่า 1.3 ล้านคน รวมถึงแรงงานในระบบมีอายุมากขึ้น โดยจากการคาดการณ์ พบว่าใน สาขาเร่งรัด ที่มีการเปิดเสรีการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นปี ละ32,732 คน ในขณะที่กำลังแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่ในระดับคงที่ 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 22-3-2555)

ปคม.จับ ผู้ต้องหา รวมหัวตุ๋นแรงงาน ส่งไปประเทศพม่า มีเหยื่อหลงเชื่ออื้อ 

23 มีนาคม พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ ผบก.ปคม. พ.ต.อ.ณพวัฒน์ อารยางกูร ผกก.บก.ปคม.แถลงข่าวจับกุม นายฐานุพงศ์ โฆษิตธิติพันธ์ อายุ 63 ปี และนางสายพิน สุขประเสริฐ อายุ 56 ปี หลังจากทั้งสองเปิดรับสมัครงานในโครงการท่อก๊าซไทยพม่าโดยผิดกฎหมาย พล.ต.ต.ชวลิต กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน เข้าร้องเรียนว่ามีผู้อ้างว่าได้รับอนุญาตจากระทรวงแรงงาน ให้จัดหาคนไปทำงานที่ประเทศพม่า โดยใช้บริษัท เคเอสพี จำกัด ซอยจตุโชติ 20 ถนนสุขาภิบาล แขวงออเงิน เขตสายไหม กทม.เป็นที่ฝึกอบรมคนงาน 

พล.ต.ต.ชวลิต กล่าวว่า ผู้ต้องหาหลอกคนงานว่าจะมีรายได้เดือนละ 72,000-120,000 บาท แต่มีค่าดำเนินการรายละ 30,000-70,000 บาท ตามตำแหน่งงาน แต่ภายหลังคนงานกว่า 300 คนหลงเชื่อและจ่ายเงินให้ กลับไม่ได้ไปทำงาน สอบสวนผู้ต้องหาให้การภาคเสธ โดยอ้างว่าเรียกเก็บเงินค่าสมัครโดยหักค่าหัวรายละ 2,000-2,500 บาท แต่ไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหาย จึงแจ้งข้อหา ร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ทะเบียนจัดหางานกลาง และร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือส่งไปฝึกงานในต่างประเทศ 

(แนวหน้า, 23-3-2555)

ก.แรงงานรื้อกฎกระทรวงจัดระเบียบส่งแรงงานไทยไปนอก 

23 มี.ค. 55 - นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมคณะกรรมการแก้ไขกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่ง แรงงานไทยไปต่างประเทศตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2537 เนื่องจากกฎกระทรวงและระเบียบเหล่านี้ใช้มานานหลายปีแล้ว ทำให้เนื้อหาบางส่วนไม่ทันสมัย และมีช่องโหว่ให้บริษัทจัดหางานเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทยโดยมีการเรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย ค่าบริการในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสูงเกินกว่าความเป็นจริง 
       
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมได้สรุปประเด็นที่จะต้องแก้ไขกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ การจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ ได้แก่ การกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งแยกได้เป็น 2กรณี ได้แก่ ประเทศที่มีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน ก็จะกำหนดค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราที่เป็นมาตรฐานใกล้เคียงกัน 
       
ส่วนกรณีบางประเทศการกำหนดไว้อัตราโดยเฉพาะ ก็จะกำหนดค่าใช้จ่ายไว้เฉพาะประเทศนั้นๆ อีกทั้งสัญญาการจ้างงาน จะให้ระบุรายละเอียดมากขึ้น เช่น การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติม เมื่อแรงงานไปทำงานอยู่ในประเทศนั้นๆ แล้ว ยกตัวอย่างไต้หวันมีการเก็บค่าล่าม รวมทั้งการคุ้มครองแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ และจะต้องมีการจัดระเบียบในการจัดหางานให้คนไทยไปทำงานต่างประเทศด้วย 
       
กฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ นั้น คาดว่า คณะกรรมการจะใช้เวลาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาประมาณ 4-5 เดือนหรืออย่างช้าไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้ ก็จะประกาศบังคับใช้ได้” นายประวิทย์ กล่าว 
       
อธิบดี กกจ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานอิสราเอล ทาง กกจ.จะดำเนินการตามแนวทางผลการหารือระหว่างทูตอิสราเอลกับ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ขณะนี้ กกจ.ได้สั่งระงับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานอิสราเอล โดยบริษัทจัดหางาน และ กกจ.จะจัดส่งแรงงานไทย 200 คน ไปทำงานในช่วงเดือนเมษายนนี้ ตามที่ทูตอิสราเอลได้แจ้งไว้ว่ามีตำแหน่งงานรองรับ200 อัตรา โดยผ่านระบบรัฐต่อรัฐตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล เสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดประมาณ หมื่นบาทต่อคน โดยจะสุ่มเลือกจากแรงงานไทยประมาณ พัน ที่เคยมายื่นเรื่องไว้ก่อนหน้านี้ ในลักษณะจับคู่โดยจะต้องมีคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งงานที่จะไปทำ 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-3-2555)

จัดหางานนครปฐมเตือน! ระวังนายหน้าหัวหมอเก็บค่าหัวไปทำงานอิสราเอล 

นายสุวรรณ์ ดวงตา จัดหางานจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า การจัดหาคนงานไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้เปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ โดยกรมการจัดหางานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือไอโอเอ็ม กำลังคัดเลือกบุคคลที่จะเดินทางไปทำงาน ล็อตแรกจำนวน 5,000 คน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
       
แต่กระบวนการในการจัดส่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติ และคาดว่ากลุ่มแรกกว่า 1,000 คน จะสามารถจัดส่งไปได้ในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้การจัดส่งแรงงานไทยเป็นไปอย่างโปร่งใส รวดเร็วเป็นธรรม และลดค่าใช้จ่ายของแรงงานไทย คนหางานที่สมัครเดินทางไปทำงานภาคเกษตรในประเทศ อิสราเอลภายใต้โครงการ TIC และผ่านการคัดเลือกแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 80,000-- 90,000 บาท การจ่ายเงินค่าบริการ ต้องเดินทางมาจ่ายที่กรมการจัดหางาน เมื่อได้รับการยืนยันวันเดินทางกับนายจ้างที่ชัดเจนเท่านั้น 
       
จัดหางานนครปฐมกล่าวเพิ่มเติมว่าอย่าหลงเชื่อนายหน้าผู้หลอกลวง ชักชวนให้เสียเงินค่าหัว 300,000 บาท เพื่อเดินทางไปทำงานนอกโครงการเด็ดขาด 
       
อย่างไรก็ตาม หากพบกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถช่วยจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศได้ โดยเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ขอให้แจ้งมายังสายด่วน 1694 หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด นครปฐม โทร 0-3425-0861 ต่อ 23 ในวันและเวลาราชการ 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 24-3-2555)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: สกัดจุดธีรยุทธ บุญมี

Posted: 24 Mar 2012 02:52 AM PDT

 
ธีรยุทธ บุญมี เป็นนักเรียนสวนกุหลาบ เริ่มสร้างชื่อเสียงด้วยการสอบได้ที่หนึ่งของประเทศสายวิทยาศาสตร์ ในระดับ ม.ศ.๕ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ หลังจากนั้น ได้สร้างเกียรติประวัติโดยเข้าร่วมในขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และมีบทบาทสำคัญมากในกรณี ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ ต่อมา ก็ได้เข้าร่วมกับขบวนการสังคมนิยม และร่วมต่อสู้ในเขตป่าเขากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนถึง พ.ศ.๒๕๒๔ จึงได้กลับเมือง และไปเรียนหนังสือต่างประเทศ เมื่อกลับมา ก็ทำงานเป็นอาจารย์ที่คณะสังคมวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ผ่านมา
 
ในทางวิชาการ ธีรยุทธมีงานเขียนและแปลหนังสือหลายเล่มและได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งเป็นการเผยแพร่ความรู้ใหม่ในด้านทฤษฎีสังคมในทางสากล ให้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยมากขึ้น หลายคนอาจจะกังขาในการที่เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ในระยะอันใกล้นี้ แต่เมื่อเทียบผลงานทางวิชาการของเขากับนักวิชาการด้านสังคมวิทยาไทยคนอื่น ต้องถือว่า การได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ของอาจารย์ธีรยุทธ เป็นเรื่องที่เหมาะสม
 
ที่มากกว่างานวิชาการ คือการที่ธีรยุทธแสดงบทบาทเป็นนักคิดของยุคสมัย ที่สวมเสื้อกั๊กเป็นสัญลักษณ์ แล้วเสนอข้อวิเคราะห์สังคมและการเมืองเป็นระยะ และข้อเสนอของเขามักจะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทุกครั้ง ธีรยุทธเป็นนักประดิษฐ์คำทางการเมือง ที่มักจะถูกนำไปใช้ แต่ปัญหาในการแสดงข้อวิเคราะห์ทางการเมืองของเขาในระยะหลัง เป็นการสะท้อนแต่เพียงว่า ธีรยุทธได้ถอยไปจากการเป็นนักวิชาการของประชาชน เลิกฐานะนักคิดประชาธิปไตย และกลายเป็นนักคิดแบบชนชั้นนำที่รับใช้สถาบันหลักไปเสียนานแล้ว และการเสนอข้อวิเคราะห์สังคมหลายครั้งของเขา ก็เป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเช่นนี้
 
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ธีรยุทธได้เสนอเรื่อง ตุลาการภิวัฒน์ ให้ศาลเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง โดยให้เหตุผลว่า ผู้พิพากษาทั้งหลายเป็นคนดี ตัดสินอรรถคดีด้วยบรรทัดฐานและดุลพินิจที่ดี และเน้นหลักความเป็นธรรม จึงควรให้ตุลาการเข้ามาจัดการกับนักการเมืองทุจริต และเพื่อป้องกันมิให้รัฐใช้อำนาจมากเกินไป ปรากฏว่า หลังจากรัฐประหาร กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อเสนอของเขาก็เป็นจริง เพราะพวกตุลาการทั้งหลายได้รับโอกาสให้เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองได้เต็มที่ ต่อมาธีรยุทธก็ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การให้อำนาจตุลาการแทรกแซงทางการเมืองเช่นนี้ เป็นการ “เพิ่มพื้นที่แห่งความยุติธรรมในสังคมไทยให้กว้างขวางขึ้น”
 
ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อครบรอบปีรัฐประหาร ธีรยุทธ บุญมี ได้เสนอทัศนะเหลวไหลอย่างชัดเจนเมื่อออกมาประเมินว่า คณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจนั้น “สอบผ่าน” โดยไม่ได้วิเคราะห์เลยว่า การรัฐประหารเป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองที่ถูกต้องหรือไม่ และไม่ได้พูดถึงลักษณะที่เป็นอนุรักษ์นิยมปฏิกิริยาของการรัฐประหารครั้งนี้ ไม่ได้พูดถึงการล้มระบอบรัฐสภา ทำลายประชาธิปไตย และฉีกรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าเป็นการรองรับการกระทำเหล่านั้นให้มีความชอบธรรมไปด้วย
 
พ.ศ.๒๕๕๒ เมื่อรัฐบาลพรรคพลังประชาชนของนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช บริหารประเทศ ธีรยุทธ บุญมี ได้อธิบายว่า สังคมไทยอยู่ในยุค ๕ เสื่อม คือ ความสามัคคีเสื่อม การเมืองเสื่อม สถาบันวิชาการ-สื่อเสื่อม กองทัพ-ชนชั้นนำเสื่อม และ คุณธรรมเสื่อม เหลือสถาบันเดียวที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ คือ ศาลยุติธรรม ที่ยึดหลักปกครองโดยกฎหมายและความเป็นธรรม และยังได้อธิบายว่า การปกครองโดยกฎหมายนั้นเก่าแก่กว่าประชาธิปไตย เพราะการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วยเสียงข้างมากอาจโน้มนำไปสู่เผด็จการรัฐสภา หรือการปกครองโดยแกนนำพรรคเสียงข้างมาก จึงต้องให้ตุลาการเข้ามาตรวจสอบ
 
สรุปได้ว่า ธีรยุทธ บุญมี มีความเห็นอย่างมั่นคงว่า อำนาจตุลาการและเป็นพลังในการแก้ปัญหาของสังคมไทย แต่คงจะต้องกล่าวแย้งว่า ข้อเท็จจริงในระยะ ๕ ปีมานี้ ไม่ได้พิสูจน์เลยว่า ข้อเสนอเรื่องตุลาการภิวัฒน์ถูกต้อง กลับกลายเป็นว่า พวกผู้พิพากษาเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยการยอมรับความชอบธรรมของการรัฐประหาร นำเอากฎหมายรัฐประหารมาใช้เป็นหลักในการตัดสินอรรถคดี แล้วสร้างตนเองเป็นเทวดารุ่นใหม่ เงินเดือนสูง ต่ออายุราชการจนถึง ๗๐ ปี และยังยึดมั่นว่าตัวเองถูก แต่ไม่ได้ถูกตรวจสอบทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งเลย นอกจากนี้ การตัดสินคดีทางการเมืองก็ผิดพลาด ใช้เป็นบรรทัดฐานไม่ได้ จิตใจเหี้ยมโหดอำมหิต และ อนุรักษ์นิยม ริดรอนสิทธิการประกันตัวของผู้ต้องหา และชอบตัดสินให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เข้าคุกอยู่เสมอ ในที่สุด ตุลาการภิวัฒน์แทนที่จะเป็นแนวทางแก้ปัญหา กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือของฝ่ายอำมาตย์ในการรักษาอำนาจ และปราบปรามประชาชน
 
หลังจากนั้นแล้ว ธีรยุทธ บุญมี ได้เงียบหายไประยะหนึ่ง หรือยุติบทบาทไปตลอดสมัยที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ได้กลับมาสวมเสื้อกั๊กเสนอข้อวิเคราะห์สังคมอีกครั้งในวันที่ ๑๘ มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นข้อเสนอที่เห็นจุดยืนอันไม่เปลี่ยนแปลงของธีรยุทธ และจะทำให้การวิเคราะห์สถานการณ์บิดเบี้ยวไปด้วย
 
ธีรยุทธเริ่มโดยอธิบายว่า การเมืองของสมัยปัจจุบัน เป็นยุคของ”ทักษิณ-การเมืองรากหญ้า ประชานิยม” วิกฤตการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมองว่า เสื้อแดงไม่มีตัวตนเพราะถูกจ้างมา โง่จึงถูกหลอกมา ไร้การศึกษาจึงถูกชักจูงโดยทักษิณ แต่ชาวรากหญ้าเสื้อแดงกลับมองว่า ทักษิณมีบุญคุณล้นเหลือเพราะประชานิยม แต่เขายังเห็นว่า ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในอนาคต พลังรากหญ้าเสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นครั้งคราว แต่ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด จากนั้น ก็ได้พยายามอธิบายว่า รากเหง้าของปัญหามาจากการรวมศูนย์อำนาจ และความเหลื่อมล้ำที่มากเกินไป จึงเกิดสภาพการเมืองแบบ ๒ ขั้วอำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า แต่ละส่วนมีฐานที่มั่น ที่มาความชอบธรรม  ควบคุมอำนาจที่ต่างกันชัดเจน จึงไม่มีทางออกจากการรอมชอมในระยะสั้น เพราะปัญหาฝังลึกมานาน
 
ธีรยุทธ อธิบายต่อไปว่า ทางออกของเรื่องจะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ เช่น ต้องคิดเรื่องประชาธิปไตยรากหญ้าที่มีการตรวจสอบ เรื่องผลร้ายของประชานิยม เรื่องการปรับตัวเข้าหากันของกลุ่มที่ขัดแย้ง ใจความสำคัญอยู่ที่ ธีรยุทธ เสนอว่า “โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอ มากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย” และว่า “ประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น”
 
ในกรณีนี้เอง จึงจับได้ว่า ธีรยุทธก็ยังคงเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นปัญหาหลักของบ้านเมือง ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ไม่มีความแตกต่างไปจาก พรรคประชาธิปัตย์ หรือ ฝ่ายพันธมิตร เพียงแต่ว่า ธีรยุทธพยายามใช้คำอธิบายอันวกอ้อมให้ดูเป็นกลาง และไม่ให้เห็นว่า เป็นการมุ่งโจมตีฝ่ายประชาชนรากหญ้ามากเกินไป แม้ว่าจะไม่ได้เสนอหลักตุลาการภิวัฒน์ แต่ก็ยังแฝงนัยว่าฝ่ายทักษิณเป็น”คนชั่ว” และ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็น”คนดี” จึงต้องให้ฝ่ายคนดีหาแนวทางใหม่ในการอธิบายแก่สังคมให้เป็นที่ยอมรับ
 
ประเด็นสำคัญที่ธีรยุทธไม่ได้พูดถึงมีหลายเรื่อง เช่น การเข่นฆ่าสังหารประชาชนที่เกิดขึ้นอีกครั้ง ใน พ.ศ.๒๕๕๓ การใช้มาตรา ๑๑๒ เป็นเครื่องมือในการปราบปรามประชาชน และบทบาทของฝ่ายอำมาตย์ในการทำลายล้างประชาธิปไตย แต่กลับเสนอว่า “เป็นที่ประจักษ์ชัดจากความขัดแย้งปัจจุบันว่า ได้ลุกลามไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์” เขาจึงไม่มีความเข้าใจในปรากฎการณ์ตาสว่างที่เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ข้อวิเคราะห์ของเขาจึงไม่มีอะไรใหม่ และไม่เป้นประโยชน์ต่อประชาชนแต่อย่างใด
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จี้ตรวจสอบรัฐบาลไทย เหตุรุนแรงขับไล่กะเหรี่ยงแก่งกระจาน

Posted: 24 Mar 2012 02:32 AM PDT

ประธานคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ แห่งสหประชาชาติ ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลไทย เรื่องการใช้ความรุนแรงขับไล่ ข่มขู่กะเหรี่ยงออกจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
 
24 มี.ค. 55 - จากกรณีอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ดำเนินการไล่รื้อ เผาบ้านและยุ้งฉางข้าว ยึดเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ในการทำไร่ข้าวของชาวกะเหรี่ยง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี รวมจำนวน 6 ครั้ง นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 ถึงกรกฎาคม 2554 ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม 17ครอบครัว สมาชิก 80 คน ไร้ถิ่นที่อยู่อาศัยและไร้ที่ดินทำกิน เนื่องจากบ้านเรือนและยุ้งข้าวถูกเจ้าหน้าที่รัฐรื้อและเผาทำลายเสียหายกว่า 100 หลัง และถูกบังคับให้อพยพออกจากพื้นที่  
 
ล่าสุดนายอเล็กซี่  แอฟโตโนม๊อฟ ประธานคณะกรรมการขจัดการเลือกปฎิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ แห่งสหประชาชาติ ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลไทยผ่านนายสีหศักดิ์  พวงเกตุแก้ว ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ  โดยระบุว่ากังวลกับข้อมูลที่คณะกรรมการฯได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติและพันธุ์พืชได้เพิ่มความรุนแรงในการขับไล่และข่มขู่ชาวกะเหรี่ยงในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
 
ทางคณะกรรมการขจัดการเลือกปฎิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบยังสอบถามถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่รุนแรงขัดกับกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิชาวกะเหรี่ยงและชนพื้นเมือง ตลอดจนขัดมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง  ซึ่งได้ให้สิทธิแก่ชาวกะเหรี่ยงในการพักอาศัยในพื้นที่บรรพบุรุษและสามารถทำไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมได้
 
นอกจากนั้นคณะกรรมการฯยังกังวลว่าการใช้ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเชื่อมโยงถึงการสังหารผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนแก่ชาวกะเหรี่ยงที่ถูกยิงเสียชีวิตอย่างอนาถ คือ นายทัศน์กมล  โอบอ้อม ซึ่งเป็นตัวแทนชาวกะเหรี่ยงในการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย
 
คณะกรรมการฯขอข้อมูลจากรัฐบาลไทยอย่างเร่งด่วน ก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 เพื่อนำเข้าพิจารณษหารือกับประเทศสมาชิก ในวาระการประชุมครั้งที่ 81 ต่อไป
 
อนึ่งคณะกรรมการขจัดการเลือกปฎิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ประกอบด้วยกรรมการ 18 คน เป็นคณะกรรมการตาม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (CERD) แห่งสหประชาชาติ  ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546  โดยอนุสัญญาฯ เน้นที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ  ซึ่งหมายถึง  การจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเลือก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ  สีผิว เชื้อสาย หรือชาติกำเนิดหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด  ซึ่งมีเจตนาหรือมีผลให้เกิดการระงับหรือกีดกั้นการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในด้านอื่นๆของการดำรงชีวิตในสังคม  รวมทั้งการระงับ หรือกีดกั้นการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างเสมอภาคของบุคคล
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวประจวบจับตาแผนพีดีพี ให้ กฟผ.ปิดซ่อมโรงไฟฟ้าฤดูร้อน

Posted: 24 Mar 2012 01:34 AM PDT

 
24 มี.ค. 55 - จากกรณีที่กระทรวงพลังงานเตรียมปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) 2010 ใหม่ เนื่องจากการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าผิดพลาด นางสาวกรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอกเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวในประเด็นดังกล่าวว่า  ชาวบ้านประจวบฯ ศึกษาและเกาะติดแผนพีดีพีมาไม่ต่ำกว่า 10ปี พบว่า วิกฤติพลังงานของชาติคือไฟฟ้าสำรองล้นระบบเกินจำเป็น สำรองไม่ควรเกิน 15% แต่กลับสูงถึงกว่า 30% จากการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าสูงเกินจริง ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นภาระแก่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าและทำลายขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
            
กรณ์อุมา กล่าวว่าตัวอย่างที่ชัดเจนคือ มีการวางแผนอนุญาตให้ กฟผ.ปิดซ่อมโรงไฟฟ้าในฤดูร้อน ช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้บริหารกระทรวงพลังงานก็เห็นด้วย แถมยังชงเรื่องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพลังงานชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อเต้าตัวเลขกำลังผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพาได้ให้ลดต่ำลงกว่าความเป็นจริง อ้างเหตุไปสู่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็ไม่เคยคิดตรวจสอบ 
          
“แผนพีดีพีประเทศไทยไม่เคยสร้างระบบสนับสนุนการบริหารไฟฟ้าช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค) ไม่นำแผนอนุรักษ์พลังงาน 20ปี (2553-2573) ของกระทรวงพลังงานที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้วมาเป็นทางเลือกหลักในการทำแผนพีดีพีฉบับใหม่เลย” 
     
กรณ์อุมา ให้รายละเอียดต่อไปว่า ทั้งๆ ที่แผนอนุรักษ์พลังงาน มีเป้าหมายที่ดีมาก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าของประเทศ โดยเน้นการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวม  ซึ่งประเทศไทยสามารถทำได้สบายๆประมาณ 12,000 เมกกะวัตต์ เทียบเท่ากับกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อีก 5 โรง ใช้เงินเพียงปีละ ไม่เกิน 5,900 ล้านบาท น่าแปลกที่กลับไม่ได้รับการสนับสนุน เราเห็นว่า อาจจะเป็นเพราะการบริหารพีคและการทำแผนอนุรักษ์พลังงานใช้เงินในการลงทุนน้อย กว่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ จึงทำให้ช่องทางในการหาผลประโยชน์ทับซ้อนมีน้อย เกินไป เลยไม่ถูกสนับสนุนจากทั้งนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงาน
      
“ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นที่เราจะติดตามการวางแผนพีดีพีฉบับใหม่นี้ และเราได้ข่าวว่ากำลังพยายามตกแต่งตัวเลข และรวบรัดขั้นตอนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อนำไปสู่การถอนทุนและกระจายผลประโยชน์สัมปทานไฟฟ้าใหม่ให้แก่กลุ่มทุนค้าพลังงานอีกระลอกหนึ่ง” กรณ์อุมากล่าว
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อนุมัติหลักเกณฑ์เยียวยา ขอ 2 พันล้านชดเชยเหยื่อไฟใต้

Posted: 24 Mar 2012 01:01 AM PDT

กรรมการเยียวยาอนุมัติหลักเกณฑ์ชดเชยเหยื่อไฟใต้ แบ่ง 4 กลุ่ม รวมกรือเซะ ตากใบ ไอร์ปาแย คนหาย ซ้อมทรมาน ชง 2 พันล้านให้ครม.เห็นชอบ

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 23 มีนาคม 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการประชุมคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน

นายแพทย์อนันตชัย ไทยประทาน กรรมการ เปิดเผยหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติหลักเกณฑ์การจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 4 กลุ่ม วงเงิน 2,000 ล้านบาท ได้แก่ 1) ประชาชนทั่วไป 2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ 3) ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เฉพาะกรณี เช่น กรณีชุมนุมประท้วงที่ตากใบ เหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 (เหตุการณ์กรือเซะ) การยิงกราดที่มัสยิดอัลฟุรกอน รวมถึงผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายหรือผู้ที่เสียชีวิตหรือพิการจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และ 4) ผู้ที่สูญเสียสิทธิเสรีภาพจากการถูกควบคุมตัว ถูกคุมขังหรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย 

โดยวงเงินช่วยเหลือเยียวยา 2,000 ล้านบาทดังกล่าว แบ่งให้กลุ่มแรก 500 ล้านบาท กลุ่มที่2 จำนวน 200 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มครอบคลุมถึงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในชายแดนใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ซึ่งยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยา หรือยังทุกข์ยากเดือดร้อนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้

กลุ่มที่ 3 จำนวน 1,000 ล้านบาท ในกรณีผู้เสียชีวิต รัฐจะจ่ายชดเชยรายละ 4.5 ล้านบาท ค่าชดเชยด้านจิตใจรายละ 3 ล้านบาท ให้เดินทางประกอบพิธีฮัจญ์รายละ 1.5 แสนบาท หรือบำเพ็ญศาสนกิจของศาสนิกอื่น ซึ่งทั้งหมดมีวงเงินไม่เกิน 7.5 ล้านบาท ส่วนกรณีพิการ รัฐจ่ายรายละ 4.5 ล้านบาท และชดเชยจิตใจอีกรายละ 3 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มที่ 4 วงเงิน 300 ล้านบาท ในกรณีถูกดำเนินคดีและมีการถอนฟ้องแล้ว จะจ่ายชดเชยด้านจิตใจรายละ 5 พันบาทและชดเชยจากการถูกคุมขังวันละ 400 บาท กรณีถูกควบคุมตัวโดยไม่ถูกดำเนินคดี จะจ่ายชดเชยด้านจิตใจรายละ 5 พันบาท ทั้งนี้ หากผู้ใดเคยได้เงินช่วยเหลือเยียวยาแล้ว ให้หักเงินตามจำนวนที่ได้รับแล้วออก

พล.ต.อ.ประชา เปิดเผยว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในสัปดาห์หน้า เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป 

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กานดา นาคน้อย: เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก 55 ปีทุนกองทัพไทย (ตอนที่ 1)

Posted: 23 Mar 2012 11:16 PM PDT

ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สื่อมวลชนบางสังกัดและนักวิชาการบางกลุ่มร่วมกันสร้างวาทกรรม “ทุนสามานย์” เพื่อโจมตีกลุ่มทุนในธุรกิจโทรคมนาคมของอดีตนายกทักษิณฯ ว่าเป็นกลุ่มทุนผูกขาดที่ชั่วช้าสามานย์ราวปิศาจ วาทกรรมนี้ พยายามสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหาร ทั้งๆที่จริงแล้วกองทัพไทยคือกลุ่มทุนที่ผูกขาดหลายกิจการมา 55 ปี ถ้าเรานิยาม “ทุนสามานย์” ว่าเป็นทุนผูกขาดก็แปลว่ากองทัพไทยเป็นทุนสามานย์มานานกว่าครึ่งศตวรรษ ดังนั้นถ้าเปรียบทุนสามานย์ว่าเป็นปิศาจ ก็แปลว่าสื่อมวลชนและนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหารชื่นชอบปิศาจหน้าเก่าที่สิงประเทศมา 55 ปีมากกว่าปิศาจหน้าใหม่ที่สิงประเทศมาไม่ถึง 6 ปี

ทุนกองทัพไทยคือเอกลักษณ์ของทุนนิยมแบบไทยๆ

กองทัพบกภายใต้การนาของจอมพลสฤษดิ์ในตาแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเริ่มประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศตั้งแต่ปีพศ. 2500 กล่าวคือ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจถ่ายทอดรายการทางโทรทัศน์ ธุรกิจกระจายเสียงทางวิทยุ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการพนัน ส่วนกองทัพอากาศเริ่มธุรกิจการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศตั้งแต่ปีพศ. 2502

การขยายกิจการของกองทัพเข้าสู่ธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมทุน (Capital accumulation) ภายในกองทัพมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ปีพศ. 2500 กองทัพมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหมือนกลุ่มทุนอื่นๆในไทย ทำให้การป้องกันประเทศกลายเป็นกิจกรรมรองของกองทัพ กิจกรรมหลักของกองทัพคือการทำธุรกิจและทารัฐประหารเพื่อผลประโยชน์จากธุรกิจ ความเป็นกลุ่มทุนของกองทัพไทยคือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ทำให้ไทยมีรัฐประหารบ่อยจนติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก และทำให้ศักยภาพของอุตสาหกรรมอาวุธไทยต่ำมาก ไทยไม่มีวันกลายเป็นทุนนิยมสากลตราบใดที่ธุรกิจของกองทัพไม่โดนแปรรูปให้เป็นเอกชน การแปรรูปธุรกิจของกองทัพสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้วยซ้ำ

กองทัพสหรัฐฯไม่ใช่ต้นแบบโมเดลของทุนกองทัพไทย

แม้ว่ากองทัพไทยได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากกองทัพสหรัฐฯตั้งแต่สงครามเกาหลีในปี 2493 กองทัพสหรัฐฯไม่ใช่ต้นแบบความเป็นกลุ่มทุนเพราะกองทัพสหรัฐฯไม่ใช่กลุ่มทุน กองทัพสหรัฐฯเกี่ยวข้องกับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆผ่านสัมปทานและการจัดซื้อเหมือนกองทัพในประเทศทุนนิยมสากลอื่นๆเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาวุธ โทรคมนาคม หรือขนส่ง กองทัพในประเทศทุนนิยมสากลไม่ถือหุ้นธนาคารและไม่บริหารธนาคาร ไม่ถือหุ้นและไม่บริหารสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ ไม่บริหารสายการบินพาณิชย์หรือสนามบินพาณิชย์ ไม่บริหารบ่อนพนัน และไม่บริหารอสังหาริมทรัพย์ในเชิงพาณิชย์

แม้ว่าค่ายทหารในสหรัฐฯบางแห่งมีบริการสันทนาการและสนามกอล์ฟ บริการสันทนาการในค่ายทหารสหรัฐฯ มีลักษณะเดียวกับบริการสันทนาการในป่าสงวนแห่งชาติ คือมีที่ดินให้ตั้งแคมป์กลางแจ้งพร้อมบริการห้องน้ำสาธารณะ หรือบริการบ้านพักเคบินที่เรียบง่าย ค่ายทหารสหรัฐฯไม่มีบริการบ้านพักตากอากาศที่สะดวกสบายพร้อมห้องจัดเลี้ยงเหมือนโรงแรม นอกจากนี้ สหรัฐฯมีสนามกอล์ฟสาธารณะมากมาย มหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาลและเอกชนที่สหรัฐฯจำนวนมากมีสนามกอล์ฟสาธารณะเช่นเดียวกัน ผู้เสียภาษีที่ไม่อยากจ่ายค่าใช้สนามกอล์ฟเอกชนที่ราคาแพงก็ใช้สนามกอล์ฟสาธารณะที่ราคาถูกกว่าได้ แต่ผู้เสียภาษีในไทยมีทางเลือกแค่สนามกอล์ฟเอกชนที่ราคาแพงและสนามกอล์ฟในค่ายทหารเท่านั้น

ดิฉันไม่มีเจตนาสนับสนุนให้ไทยหันมาสร้างสนามกอล์ฟสาธารณะมากมายแบบสหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯมีพื้นที่ใหญ่กว่าไทยถึง 20 เท่า ประเด็นคือการแสวงหากำไรจากทรัพยากรที่ดิน กล่าวคือ กองทัพไทยแสวงหากำไรจากที่ดินมากกว่ากองทัพในประเทศทุนนิยมสากล ถ้าจะปฎิรูปกองทัพไทยให้หมดสภาพความเป็นกลุ่มทุนแบบกองทัพในประเทศทุนนิยมสากล ก็ต้องออกกฎหมายกำหนดให้กองทัพโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินบางส่วนคืนให้กรมที่ดินหรือกรมป่าไม้ รวมทั้งโอนกรรมสิทธิ๋ให้สนามกอล์ฟและสนามกีฬาทหารกลายเป็นสนามสาธารณะ

ธนาคารทหารไทยคือฐานเงินทุนของทุนกองทัพไทย

ธนาคารทหารไทยเริ่มดำเนินกิจการในปี 2500 แต่จดทะเบียนเป็นธนาคารในปี 2499 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่นักธุรกิจอเมริกันร่วมกันก่อตั้งหอการค้าอเมริกันในไทยเพื่อสนับสนุนให้บรรษัทข้ามชาติอเมริกันเข้ามาลงทุนในไทย ด้วยการผลักดันของจอมพลสฤษดิ์ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกธนาคารทหารไทยขอใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากแบงค์ชาติและกระทรวงการคลังด้วยเหตุผลว่ากองทัพต้องการมีธนาคารเพือทำธุรกรรมต่างๆของกองทัพรวมทั้งการชำระเงินในการซื้อขายอาวุธ

ไม่มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ใดๆ สามารถสร้างความชอบธรรมให้แก่การก่อตั้งธนาคารทหาร กองทัพในประเทศทุนนิยมสากลรวมทั้งสหรัฐฯ ไม่ถือหุ้นธนาคาร ไม่บริหารธนาคาร และใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในการทำธุรกรรมรวมทั้งการซื้อขายอาวุธ สถาบันการเงินสำหรับทหารในประเทศทุนนิยมสากลจำกัดอยู่ในรูปแบบสหกรณ์ออมทรัพย์เหมือนสถาบันการเงินของผู้เสียภาษีในวิชาชีพอื่นๆ แม้แต่องค์การระหว่างประเทศที่ผลักดันระบบทุนนิยมอย่างธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศก็จำกัดสถาบันการเงินเพื่อพนักงานให้อยู่ในรูปแบบสหกรณ์ออมทรัพย์

สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างจากธนาคารพาณิชย์อย่างไร? สหกรณ์ออมทรัพย์ระดมทุนด้วยเงินฝากจากสมาชิก(หรือผู้ถือหุ้น)และให้สินเชื่อบุคคลแก่ สมาชิก ส่วนธนาคารพาณิชย์ระดมทุนด้วยเงินฝากจากใครก็ได้เพื่อปล่อยสินเชื่อทั้งสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อธุรกิจ ความแตกต่างอีกด้านที่สำคัญคือขนาด ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขาได้ทั่วประเทศ แต่สหกรณ์ออมทรัพย์ผูกติดกับองค์กรวิชาชีพในระดับท้องถิ่นจึงเปิดสาขาทั่วประเทศไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ความสามารถในการระดมทุนของธนาคารพาณิชย์สูงกว่าสหกรณ์ออมทรัพย์มาก การก่อตั้งธนาคารทหารไทยเป็นการสร้างฐานเงินทุนให้แก่กองทัพและธุรกิจส่วนตัวของทหาร

รัฐประหารและการผูกขาดธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไทย

ธนาคารทหารไทยเริ่มดำเนินกิจการในปีที่จอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม ปีถัดไปจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารอีกครั้งและกลายเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลสฤษดิ์ได้ออกพรบ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 เพื่อให้รัฐบาลมีอำนาจไม่ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ในอนาคต ทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์โดนผูกขาดโดยกองทัพและครอบครัวไม่กี่ครอบครัว พรบ.ดังกล่าวเพิ่งได้รับการยกเลิกเมื่อปีพศ. 2551 นี้เอง [1] แม้พรบ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 โดนยกเลิกแล้ว จานวนธนาคารพาณิชย์ไทยไม่เคยมากกว่า 20 ตัวเลขนี้ต่ำกว่าในต่างประเทศมาก

ยกตัวอย่างสหรัฐฯและญี่ปุ่น ประชากรสหรัฐฯคิดเป็น 5 เท่าของประชากรไทย แต่จำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯมากกว่า 6,000 [2] คือมากกว่า 300 เท่าของไทย ในบางทศวรรษจำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯมากกว่า 10,000 ด้วยซ้า ต่อให้หักลบความแตกต่างของขนาดพื้นที่สหรัฐฯซึ่งมีพื้นที่ 20 ของไทย จำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯก็ยังมากกว่าไทยถึง 280 เท่า ในกรณีญี่ปุ่น ประชากรญี่ปุ่นคิดเป็น 2 เท่าของประชากรไทย แต่จานวนธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นมากกว่า 120 [3] คือมากกว่า 6 เท่าของไทย นอกจากนี้พื้นที่ประเทศญี่ปุ่นก็เล็กกว่าไทยด้วย ที่สาคัญ ทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯมีธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นที่แข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มีสาขาทั่วประเทศ

การแปรรูปธนาคารทหารไทยหลังวิกฤตการเงินพศ. 2540

ปัจจุบันกองทัพลดสัดส่วนการถือหุ้นธนาคารทหารไทยเหลือเพียง 2.15% [4] แต่ก็ยังนับว่าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 6 การลดสัดส่วนถือหุ้นของกองทัพไม่ได้เกิดความตั้งใจของกองทัพ กองทัพไม่เคยต้องการเลิกเป็นเจ้าของหรือเลิกบริหารธนาคารทหารไทย [5]

สัดส่วนการถือหุ้นทีลดลงมาเป็นผลลัพธ์จากปัญหาหนี้เสียของธนาคารทหารไทย กระทรวงการคลังกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพราะการอัดฉีดเงินเพื่ออุ้มธนาคารทหารไทยหลังวิกฤตการเงินพศ. 2540 นอกจากนี้ธนาคารทหารไทยจำเป็นต้องเพิ่มทุนด้วยการขายหุ้นให้นักลงทุนต่างชาติ ธนาคารทหารไทยได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก Thai Military Bank เป็น TMB Bank เพื่อประชาสัมพันธ์ต่อนักลงทุนต่างชาติว่าไม่ใช่ “ธนาคารของทหาร” แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดก็ยังไม่ใช่เอกชนอยู่ดี ดังนั้นการแปรรูปธนาคารทหารไทยยังไม่แล้วเสร็จตราบใดที่กระทรวงการคลังยังไม่สามารถขายหุ้นให้เอกชน ที่สำคัญ ตราบใดที่ไม่มีกฎหมายห้ามกองทัพถือหุ้นธนาคารพาณิชย์และบังคับให้กองทัพขายหุ้นธนาคารทหารไทยให้เอกชนให้หมด กองทัพไทยก็จะคงสภาพความเป็นกลุ่มทุนและการป้องกันประเทศก็จะไม่มีวันเป็นกิจกรรมหลักของกองทัพไทย

ธุรกิจอื่นๆของกองทัพไทย

นอกจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ จอมพลสฤษดิ์ได้วางรากฐานการสะสมทุนของกองทัพไว้หลายกิจการ อาทิ สถานีวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ที่ดินสาธารณะถูกโอนกรรมสิทธิจากกรมป่าไม้ให้กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของกองทัพบกในยุครัฐบาลสฤษดิ์ เช่น ที่ดินริมทะเลกว่าพันไร่ในอ.สวนสน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กองทัพพัฒนาที่ดินบางส่วนให้เป็นสนามกอล์ฟและสนามกีฬากองทัพบก สนามกีฬากองทัพบกในบางจังหวัดได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการบ่อนพนันแข่งม้า ส่วนกองทัพอากาศก็ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศตั้งแต่ยุครัฐบาลสฤษดิ์ กล่าวได้ว่าจอมพลสฤษดิ์คือ “บิดาของทุนกองทัพไทย”

ในตอนต่อไปดิฉันจะเขียนถึงธุรกิจเหล่านี้และบทบาทของ “บุตรหลานของทุนกองทัพไทย” ที่รับมรดกมาจากจอมพลสฤษดิ์

 

หมายเหตุ

  1. พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงิน : http://www.bot.or.th/Thai/LawsAndRegulations/Pages/Law_3.aspx
  2. จำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ : http://research.stlouisfed.org/fred2/series/USNUM
  3. สมาชิกสมาคมธนาคารญี่ปุ่น: http://www.zenginkyo.or.jp/en/outline/list_of_members/
  4. โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ธนาคารทหารไทย จากัด (มหาชน) : http://www.tmbbank.com/ir/share-info/major-shareholders.php
  5. "ทำไม! กองทัพในแบงก์ทหารไทยไม่มีวันแยกจากไปเด็ดขาด" นิตยสารผู้จัดการ (กรกฎาคม 2535) : http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=6700
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"อภิสิทธิ์" ค้านข้อเสนองานวิจัยปรองดอง "สถาบันพระปกเกล้า"

Posted: 23 Mar 2012 05:12 PM PDT

หมายเหตุ: เรียบเรียงจาก คำกล่าวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ในการเสวนา รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ของสถาบันพระปกเกล้า ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ วันที่ 21 มีนาคม 2555 เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 
คำกล่าวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 
ในการเสวนา รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ 
ของสถาบันพระปกเกล้า ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ วันที่ 21 มีนาคม 2555

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความเห็นในการเสวนา "รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ" ของสถาบันพระปกเกล้าเมื่อ 21 มีนาคม 2555

 

"ผมขออนุญาตว่า ผมอาจจะเป็นคนแรกนะครับ ที่ใช้คำว่า “ปรองดอง” และเสนอแผนการปรองดอง และสนับสนุนการปรองดอง และผมไม่ได้ทำ ไม่ได้เสนอในวันที่ผมไม่มีอำนาจ ผมทำในวันที่ผมมีอำนาจ แต่พิสูจน์ความจริงใจต่อการปรองดองว่า ไม่เคยคิดที่จะใช้อำนาจในขณะนั้น ไม่ว่าจะโดยเสียงข้างมากในสภาดำเนินการตามใจชอบ เพราะผมถือว่าถ้าทำเช่นนั้น สังคมจะแตกแยกมากยิ่งขึ้น..."

000

ท่านประธานกรรมาธิการ ท่านหัวหน้าพรรคการเมือง คณะผู้วิจัย และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ ความจริงใจผมอยากให้ท่านประธานกรรมาธิการได้ตอบคำถามของท่านพล.ต.สนั่น เพราะผมคิดว่าจะช่วยให้ทำให้เกิดความกระจ่างชัดเจน ในบรรยากาศของบ้านเมืองที่มีการปรองดอง ถ้าท่านประสงค์จะตอบกระผมยินดีสละเวลาในช่วงถ่ายทอดให้ท่านเลยครับ

ขอเรียนท่านประธานกรรมาธิการ แล้วก็คณะผู้วิจัยอย่างนี้นะครับ ผมอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะว่า ผมคิดว่าคณะผู้วิจัยยังควรจะดีใจว่าอย่างน้อยมีผมคนหนึ่งที่อ่านรายงานละเอียด และผมก็อยากจะเรียนเบื้องต้นอย่างนี้นะครับว่า ถ้าสิ่งที่ท่านพูดบนเวทีในวันนี้ อยู่ในรายงานวิจัย ผมว่าท่านจะไม่เป็นจำเลยของสังคมเลยครับ เพราะว่าสิ่งที่ท่านพูดวันนี้หลายเรื่อง ผมว่าเป็นหลักการที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน แต่ผมเสียดายว่ามันไม่ปรากฎอยู่ในรายงาน และถ้ารายงานเขียนอย่างที่เขียนอยู่นี้ จะมีความเป็นไปได้ที่รายงานนี้ถูกหยิบไปใช้ในทางที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของท่าน และถึงวันนั้น สายเกินไปครับ และความเป็นจำเลยก็จะเกิดขึ้นกับตัวท่าน กับคณะกรรมาธิการ ซึ่งนั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า ถ้ามีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของท่าน แทนที่จะเป็นการปรองดองก็กลับกลายจะเป็นความขัดแย้ง ความรุนแรงรอบใหม่ที่เกิดขึ้น รวมทั้งปูทางไปสู่สังคมที่จะนิยมความขัดแย้งและความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผมก็จะขออนุญาตใช้เวลาสักนิดพูดถึงองค์ประกอบของการวิจัยในส่วนต่าง ๆ มาสู่ข้อเสนอ แล้วก็จำเป็นต้องถามท่าน และอยากให้ท่านได้ตอบทุกคำถาม แล้วก็ตอบประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะของผมในเรื่องของกระบวนการที่จะทำต่อไปเพื่อประโยชน์ในการปรองดอง

ผมขออนุญาตว่า ผมอาจจะเป็นคนแรกนะครับ ที่ใช้คำว่า “ปรองดอง” และเสนอแผนการปรองดอง และสนับสนุนการปรองดอง และผมไม่ได้ทำ ไม่ได้เสนอในวันที่ผมไม่มีอำนาจ ผมทำในวันที่ผมมีอำนาจ แต่พิสูจน์ความจริงใจต่อการปรองดองว่า ไม่เคยคิดที่จะใช้อำนาจในขณะนั้น ไม่ว่าจะโดยเสียงข้างมากในสภาดำเนินการตามใจชอบ เพราะผมถือว่าถ้าทำเช่นนั้น สังคมจะแตกแยกมากยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกระบวนการปรองดองที่เริ่มมาตั้งแต่การจัดตั้งคณะกรรมการ คอป. และคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง หลายครั้งมีการนำเสนอข้อเสนอซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความคิดของผม แต่ผมเคารพ ผมปฏิบัติ เพราะนั่นคือการปรองดองที่แท้จริง

ตรงนี้แหละครับที่ผมคิดว่า เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ผมขออภัยนิดนึงนะครับ เมื่อสักครู่ท่านหัวหน้าคณะผู้วิจัยท่านบอกว่า รายงานนี้ท่านเสนอไปแล้วมีคนวิพากษ์ วิจารณ์ ท่านไม่ได้ตอบโต้ แต่ก็ต้องขออนุญาตสอบถามเป็นประเด็นแรกก่อนนะครับ หลังจากที่ผมได้ทักท้วงประเด็นข้อเท็จจริงหลายประการบุคคลซึ่งไม่ได้เป็นคณะผู้วิจัย แต่ในกิตติกรรมประกาศของท่านนั้น ท่านบอกว่าเป็นที่ปรึกษาของท่าน แล้วออกมาโดยอ้างสถานะในสถาบันพระปกเกล้า บอกกับสังคมว่า ได้อ่านข้อเสนอ หรือว่าข้อท้วงติงของผมแล้ว เห็นว่า ไม่ควรจะมีการทบทวนแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ผมถามก่อนว่านั่นเป็นความเห็นของคณะผู้วิจัยหรือไม่ เพราะผมก็สังเกตว่ารายงานที่ท่านแจกในวันนี้  ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนได้มีโอกาสอ่าน ไม่ตรงกับรายงานที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการย่อมเพิ่งได้รับรายงานฉบับนี้เมื่อวานนี้ แต่สิ่งที่ผมเขียนทั้งหมดทั้งในฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ที่เป็นจดหมายเปิดผนึกนั้น ผมเขียนตามรายงานฉบับที่ท่านส่งให้คณะกรรมาธิการเมื่อวันที่ 6 มีนาคม

ผมสนใจนิดนึงครับ คือที่เขียนในฉบับแรกนั้น ผมพูดเรื่องข้อเท็จจริง ทำไมผมพูดเรื่องข้อเท็จจริงเพราะผมบอกว่า ความเห็นนั้นแตกต่างกันแน่ แต่ข้อเท็จจริงต้องไม่ให้คลาดเคลื่อน ต้องให้ครบถ้วน เท่าที่จะทำได้ ผมว่าเป็นเรื่องที่ผมประหลาดใจมากนะครับว่า ความรู้ความสามารถของหลาย ๆ ท่าน ที่เข้ามาทำงานนี้ในการประมวลข้อเท็จจริงในรายงานฉบับร่างนั้น ข้ามเหตุการณ์สำคัญอย่างมาก หลายเหตุการณ์อย่างไม่น่าเชื่อ หลายสิบเหตุการณ์ ผมไม่พูดนะครับ ผมเอาหลัก ๆ เรื่องคดีซุกหุ้นไม่เขียน 2. กรือเซะ ตากใบ ฆ่าตัดตอน ยาเสพติด ไม่เขียน 3. บุก พัง การประชุมสุดยอดอาเซียน ไม่เขียน 4. เหตุการณ์วางเพลิง วันที่ 19 พฤษภาคม ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดต่าง ๆ ไม่เขียน รวมไปถึงเหตุการณ์ผู้เสียชีวิตที่วัดปทุมฯ ซึ่งค้างคาใจพี่น้องคนเสื้อแดงอย่างมาก ไม่เขียน ผมมองว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลก และผมคิดว่า การข้ามข้อเท็จจริงเหล่านี้ และเพิ่งมาใส่บางเรื่องไว้ในช่วง 2 วันที่ผ่านมานั้น ผมก็มองว่ามันก็ย่อมจะต้องส่งผลกระทบต่อการทบทวนข้อเสนอเหมือนกัน ในเมื่อท่านเองก็ยอมรับแล้วว่าข้อเท็จจริงบางอย่างนั้นต้องมาปรับ และบางครั้งไม่ใช่แค่การข้าม แต่เป็นความคลาดเคลื่อน ในรายงานฉบับร่างฯ นั้นเขียนถึงขั้นว่า วันที่ 19 พฤษภาคมนั้น เหตุการณ์วันเดียวทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 คน ซึ่งไม่ใช่ วันนี้แก้แล้วครับ บอก 91 คนนี้ เป็นยอดความสูญเสียต่อเนื่อง 2 เดือน

ผมถามว่า ในเมื่อท่านเองมีข้อเสนอข้อแรกเลยว่า การค้นหาความจริงคือหัวใจของการนำไปสู่การปรองดองแล้ว และขณะนี้ท่านก็ยอมรับและต้องมีการปรับความจริงหลายเรื่องในรายงานนี้ ท่านจะกลับไปทบทวนข้อเสนอด้วยหรือไม่ ผมขออนุญาตเรียนเพิ่มเติมนะครับว่า แม้ข้อความที่ปรับแล้ว ผมก็ยังมีข้อสังเกตครับ ผมทราบดีเมื่อสักครู่ คณะผู้วิจัยท่านบอกว่า หลายเรื่องนั้นท่านต้องไปใช้จากเอกสารเพราะบางเรื่องอาจจะยังไม่มีข้อยุติ

แต่ผมถามอย่างนี้นะครับ เดิมนั้นท่านไม่เขียนเรื่องคดีซุกหุ้น ทำไมผมให้ความสำคัญกับคดีซุกหุ้นครับ เพราะคณะกรรมการที่เรียกว่า คอป. ที่ท่านบอกว่า จะต้องเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแสวงหาข้อเท็จจริงนั้น เขาได้นำเสนอต่อสาธารณะไปแล้วว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งนั้นเริ่มต้นที่คดีซุกหุ้น

วันนี้พอท่านมาเขียนเรื่องคดีซุกหุ้น ผมก็แปลกใจอีกครับ เพราะผมเข้าใจว่าต่อไปนี้ท่านก็คงจะต้องให้มีการยึดเอาข้อเท็จจริงที่ คอป. หรือข้อคิดของ คอป. มานำเสนอนี้ มาเป็นตัวตั้งในการทำงานต่อ ถูกต้องใช่ไม๊ครับ

คอป. เขียนถึงหรือได้เผยแพร่ต่อคดีซุกหุ้นว่า เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งเพราะเป็นปัญหาความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น นำมาสู่กระบวนการทำลายนิติธรรม นิติรัฐ วันนี้ท่านเอาเรื่องคดีซุกหุ้นไปเขียนแล้วครับ แต่ท่านเขียนว่าอย่างไรครับ ท่านเขียนว่า หลังจากที่นายกฯ ทักษิณนั้น ชนะการเลือกตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประสบปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จที่เกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สิน และในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำตัดสินที่ช่วยปลดล็อคความกังวลต่อสังคมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถบริหารประเทศต่อไปได้อย่างเต็มที่

ท่านครับ ท่านเสนอให้ยึด ให้เคารพ คอป. ข้อความนี้ สะท้อนสิ่งที่ คอป. เสนอต่อสังคมหรือเปล่าครับ หรือตรงกันข้ามด้วยซ้ำกับที่สิ่งที่ คอป.เสนอ ดังนั้น ถ้าท่านอยากให้สังคมทุกฝ่ายได้เอาเจตนาของท่านที่เป็นข้อเสนอว่า เคารพ คอป. ผมว่าต้องเริ่มต้นจากท่าน ต้องเริ่มต้นจากท่าน ข้อเท็จจริงเหล่านี้ก็ต้องไปปรับให้สะท้อนสิ่งที่ คอป. ได้นำเสนอ ผมไม่ทราบใครเป็นคนประมวลข้อเท็จจริงว่า คดีซุกหุ้น เป็นเรื่องการปลดล็อคความกังวลของสังคม

ผมกราบเรียนต่อไปนะครับว่า อีกตัวอย่างเดียวครับ เพราะว่าท่านกรุณาปรับข้อเท็จจริงบ้าง วันที่ 19 พฤษภาครับ ท่านยอมรับแล้วนะครับว่า ขณะนี้มีการวางเพลิง แต่ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ท่านเขียนเข้าไปท่านบอกว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนยังสอบไม่เสร็จ คอป. ยังสอบไม่เสร็จ แต่ท่านครับศาลมีคำพิพากษาคดีวางเพลิง หลายกรณีแล้ว รู้ตัวแล้วใครทำ แม้กระทั่งคนที่ไปลักทรัพย์ในเซ็นทรัลเวิร์ลด์ที่ถูกวางเพลิง ศาลก็มีการตัดสินลงโทษแล้ว มีเอกสารอ้างอิงได้ชัดเจน ท่านจะกรุณาเอาข้อเท็จจริงเหล่านี้มาบรรจุได้ไม๊ครับ เพราะข้อเสนออื่น ๆ นั้น สุดท้ายท่านบอกให้กลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ

วันนี้บางเรื่องกระบวนการยุติธรรมปกติ ทำมาถึงขั้นนี้แล้ว ท่านกลับบอกว่า ยังไม่สามารถที่จะสรุปอะไรได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นผมก็ยังขอยืนยันนะครับว่า 1. ข้อเท็จจริงที่ท่านกรุณาปรับ ผมว่ายังไม่สะท้อน และไม่ใช่ความเห็นผมนะครับ ผมไม่เอาความเห็นผม ผมขอให้อ้าง คอป. ผมขอให้อ้าง ศาลยุติธรรมครับ เพราะผมเห็นหลายเหตุการณ์ ท่านดูบรรณานุกรมนะครับ ท่านอ้างหนังสือพิมพ์ ท่านยังกล้าเขียนข้อเท็จจริงที่อ้างจากหนังสือพิมพ์ แต่ทำไมท่านไม่กล้าเขียนข้อเท็จจริงที่อ้างคำพิพากษาของศาล

ผมว่าตรงนี้ผมต้องขออนุญาตว่า เป็นเหตุสำคัญที่ต้องทบทวน และตรงนี้ครับ ไม่ใช่เป็นเรื่องมาเถียงกันว่า อะไรเกิดขึ้น มันจะส่งผลต่อมุมมองในเรื่องของการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เป็นข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรม หรือเรื่องของ คตส.

ผมเข้าสู่ประเด็นที่ 2 ครับ งานวิจัยกรุณาไปสำรวจสภาพความขัดแย้งใน 10 ประเทศ แล้วก็พยายามถอดบทเรียนซึ่งผมก็ขอเรียนว่าหลายเรื่องก็สามารถสังเคราะห์มาได้ค่อนข้างดี ว่ากระบวนการปรองดองต้องตั้งต้นอย่างไร ต้องมีการค้นหาความจริงอย่างไร แต่มันมีการอ้างเรื่องของต่างประเทศ มาสนับสนุนข้อเสนอเรื่องนิรโทษกรรม ประเทศที่มีการนิรโทษกรรมตามทางเลือกที่ 2 ที่ท่านเสนอนั้นผมคิดว่าแทบไม่มีเลยนะครับใน 10 ตัวอย่าง ไม่ใช่กระบวนการอย่างนี้ครับ และที่สำคัญท่านต้องแยกแยะครับ เหตุการณ์ความขัดแย้งในหลายประเทศนั้นต่างกันอย่างไร 1. บางกรณีมันเป็นเหตุการณ์ลักษณะกึ่งสงครามนะครับ แบ่งแยกดินแดน ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน หรือมีการเรียกร้องให้มีการปลดปล่อยอาจจะเป็นพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งออกจากประเทศ ก็จับอาวุธต่อสู้กัน บางกรณีเป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยแล้วก็เกิดความรุนแรงขึ้น บางกรณีอาจจะเป็นเหตุการณ์เหมือนกับกึ่ง ๆ กบฏ เป็นการก่อการร้าย ในแต่ละกรณีนั้น ย่อมต้องได้รับคำตอบและทางออกที่ไม่เหมือนกัน

วันนี้กรณีของประเทศไทย ต้องได้ข้อยุติก่อนสิครับ ตกลงแล้วเป็นการชุมนุมโดยสรุปปราศจากอาวุธ จริงหรือไม่ ถ้าจริง คำตอบก็เป็นแบบหนึ่ง ถ้าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ของคนกลุ่มหนึ่งแต่มีคนอีกกลุ่มหนึ่งจับอาวุธเข้ามาแฝงตัวต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และมีผล หวังผลต่อการช่วงชิงอำนาจรัฐนะครับ ไม่ใช่ปลดปล่อย ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่เรียกร้องความเป็นธรรม คำตอบต้องเป็นอีกแบบหนึ่งครับ ตรงนี้คณะผู้วิจัยได้แยกแยะ ได้พิจารณาหรือไม่อย่างไร

ผมสังเกตว่าในข้อเท็จจริงที่ท่านยังไม่ยอมปรับในเรื่องกรณีผู้ชุมนุม ไม่ใช่ผู้ชุมนุมครับ ผู้ที่ติดอาวุธแล้วไปแฝงตัวอยู่ในผู้ชุมนุม หลักฐานมีนะครับ มีการดำเนินคดีกับคนเหล่านี้แล้วนะครับ บางกรณีมีการลงโทษแล้วด้วยนะครับ ท่านต้องไปค้น ไปอ้างอิงมาครับ เพื่อให้สมบูรณ์ว่าเหตุการณ์ปี 2553 นั้นมีปัญหาของการชุมนุมซึ่งมีผู้ติดอาวุธเข้าไปแฝงตัวต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถึงจะสมบูรณ์ครับ ในการที่จะถอดบทเรียนออกมา

ประเด็นที่ผมจะเข้าไปในประเด็นต่อไปก็คือ เรื่องการนิรโทษกรรม หลักการให้อภัยนั้น ผมคิดว่าสังคมไทยยอมรับ แต่ท่านก็ต้องแยกแยะนะครับ ระหว่างการหลักการให้อภัย กับหลักที่บอกว่า ไม่มีการกระทำความผิด การกระโดดจากบอกว่าหลักการให้อภัยไปสู่การนิรโทษกรรมนั้น มันไม่ใช่

การให้อภัยคือหมายความว่ามีการกระทำความผิด ยอมรับว่ามีการกระทำความผิด อาจจะเริ่มมีการลงโทษหรือไม่ สุดแล้วแต่ แล้วสังคมบอก ไม่เป็นไร เราให้อภัย เพื่อความปรองดอง แต่การนิรโทษ เป็นการบอกว่า ไม่มีความผิดเกิดขึ้น ไม่ต้องรับผิด ให้ลืม เหมือนกับไม่ได้มีความผิดเกิดขึ้น มันต่างกัน

ผมคิดว่า ฝ่ายที่กำลังจะเสนอว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมนั้น ท่านต้องพิจารณาให้ดีนะครับ หลายคนมองว่าผมมาเสนอเรื่องนี้นั้น หรือไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมทุกเรื่องนั้น เหมือนกับผมจะได้ประโยชน์ ที่จริงตรงกันข้ามนะครับ เพราะขณะนี้มีกระบวนการที่พยายามจะเอาผิดกับผม แต่ผมไม่เสนอให้นิรโทษกรรม เพราะผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ของผมครับ และผมต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผมในกระบวนการยุติธรรม และผมเห็นว่าไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งกับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ ซึ่งวันนี้มีกระบวนการไปปลุกปั่นให้เขาเชื่อว่า มีการกระทำผิดจากฝ่ายรัฐในขณะนั้น และอยู่ดี ๆ วันหนึ่งมาบอกว่า วันนี้นิรโทษกรรม เพียงเพราะอาจจะมีแกนนำ อาจจะมีผู้นำทางการเมืองได้ประโยชน์ไปด้วยนั้น ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งกับผู้ที่สูญเสีย ท่านสัมภาษณ์ครอบครัวของผู้ที่สูญเสียบ้างหรือยังครับ จะเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ จะเป็นฝ่ายเสื้อแดง จะเป็นฝ่ายอาสาสมัคร ท่านสัมภาษณ์หรือยังครับว่าข้อเสนอนี้จะนำไปสู่การลดความขัดแย้งในสังคม ตรงนี้ท่านก็ต้องชี้แจงนะครับ

ผมเรียนว่า การนิรโทษกรรมนั้น พวกผมพูดชัดเจนไปอย่างหนึ่งแล้วว่า กรณีฝ่าฝืน พรก.นิรโทษกรรมเลยครับ ไม่มีปัญหาเลยครับ แม้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เรายินดีที่จะบอกว่า ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ไม่เป็นไร เพราะในสถานการณ์ปกติ การไปชุมนุมการใช้สิทธิทางการเมือง ทำได้ เราถือว่า อันนี้นิรโทษกรรมได้ ถ้าถามว่า เกี่ยวเนื่องไปจากนั้นได้ไม๊ บางกรณีได้ครับ ท่านนึกออกไหมครับ เหมือนเหตุการณ์ชุลมุนกันอยู่ในช่วงการชุมนุม อาจจะมีการไปทำร้ายร่างกาย อาจจะทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ได้ครับ แต่ท่านต้องแยกกรณีแบบนั้นออกจากกรณีที่มีการวางแผน มากระทำความผิดทางอาญา

และการวางแผนมากระทำความผิดทางอาญานี้ ถ้าบอกว่า เอาเกณฑ์เรื่องของจุดประสงค์ทางการเมืองมาเป็นตัวตั้งหรือบางกรณีอาจจะเป็นการบังหน้าแล้ว ผมถามว่า การก่อการร้ายทุกกรณีทั่วโลกเข้าข่ายไม๊ครับ เพราะการก่อการร้ายคือการกระทำความผิดทางอาญาที่มีจุดประสงค์พิเศษทางการเมืองทั้งสิ้น

ทั้งสิ้นเลยครับ วันนี้ผมถามว่า คนที่จงใจเอาอาร์พีจีมายิงกระทรวงกลาโหม หรือแม้กระทั่งวัดพระแก้วฯ และถูกศาลตัดสินลงโทษ 38 ปีขณะนี้อ้างเพียงแค่ว่า ยิงเพราะเป็นเรื่องการเมือง สมควรหรือไม่ที่จะไม่ต้องรับผิด แล้วถ้าท่านนิรโทษกรรมอย่างนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่งตัดสินกรณีไปเผาธนาคารกรุงเทพ ที่ขอนแก่น แล้วบอกว่านอกจากติดคุกแล้วให้ชดใช้ความเสียหายแก่ธนาคารกรุงเทพ เมื่อท่านนิรโทษแล้ว ถามว่าธนาคารกรุงเทพได้รับความเป็นธรรมไม๊ครับ

และถ้าเราบอกว่าต่อไปนี้ การกระทำความผิดทางอาญาเพียงเพราะมีวัตถุประสงค์ทางการเมือง อยู่ในข่ายที่ต่อไปวันข้างหน้า จะได้รับการนิรโทษกรรม ถ้าอำนาจเพียงพอถ้ามีเสียงข้างมาก ถ้ามีมวลชนสนับสนุน วันนี้เราจะเขียนรัฐธรรมนูญต่อไปไม๊ครับว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองต้องสงบปราศจากอาวุธเท่านั้น เพราะถ้าไม่สงบ ใช้อาวุธ แล้ววันข้างหน้าคุณได้อำนาจรัฐ คุณก็ไม่ผิด

คณะผู้วิจัยพูดเมื่อสักครู่ว่า เราต้องคิดถึงอนาคต นี่ไงครับ ท่านต้องคิดถึงอนาคต ท่านตอบสนองความรู้สึกไม่เป็นธรรมจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จากคนกลุ่มหนึ่งวันนี้ แต่ท่านกำลังวางบรรทัดฐานสำหรับความรุนแรง และความขัดแย้งในอนาคตนะครับ

ท่านควรจะถอนข้อเสนอนี้กลับไปเขียนใหม่ครับ พรก. ไม่มีปัญหา ส่วนเกี่ยวเนื่องมีผลกับเหตุการณ์ทางการเมือง เป็นวัตถุประสงค์อะไรต่าง ๆ ต้องมีกระบวนการวางหลักเกณฑ์ กลั่นกรองเสียก่อน นี่คือเรื่องการนิรโทษกรรม

ถัดมาครับ เรื่องคตส. ตรงนี้ ผมขอเรียนว่าเป็นเรื่องแปลกนะครับ ความขัดแย้งที่เคลื่อนไหวทั้งหมดนี้ ช่วงหลายปีที่ผ่านมา บุคคลบางคน แกนนำบางกลุ่มบอกว่า ไม่ได้ต่อสู้เพื่อคน ๆ เดียว ต่อสู้เรื่องความเป็นธรรม คตส. เป็นเรื่องคดีทุจริต ไม่ใช่คดีที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมือง แล้วในรายงานนี้ที่ท่านไม่ได้เขียนข้อเท็จจริง คตส. ที่ท่านเสนอในทางเลือกที่ 2 บอกว่า ให้เลิกคดีไปทั้งหมดนั้น แล้วก็จะมาดำเนินคดีกันใหม่ แล้วมีการอ้างกรณีศาลฎีกาเคยพิพากษาในสมัยรสช. นั้นท่านทราบหรือไม่ครับว่าเป็นกรณีที่เทียบเคียงกันไม่ได้ เพราะ คตส. สมัยรสช.นั้นเขาใช้อำนาจศาล ท่านเอามาอ้างอิงนะครับ เพื่อเป็นข้อเสนอท่าน แต่ คตส. สมัยท่านพล.อ.สนธิ นั้นเขาไม่ได้ใช้อำนาจศาล เขาทำหน้าที่แทน ปปช. หรืออัยการ ตามกฎหมาย ปปช. และกฎหมาย ปปง. ซึ่งมีอยู่ก่อนการรัฐประหาร

ที่สำคัญ คดีที่ยุติไปแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางกลับมาประเทศนี้ ต่อสู้คดีนี้ในศาลอย่างเต็มที่ เพียงแต่พออาจจะได้ข่าวว่า จะมีคำพิพากษานะครับว่าตัวเองผิด ก็หนีออกไปนอกประเทศ แล้วก็บอกว่า ศาลไม่เป็นธรรม แต่วันที่ต่อสู้ตลอด ยอมรับทุกอย่าง ต่อสู้ด้วยเรื่องกระบวนการ คตส. ศาลท่านวินิจฉัยแล้วไงครับ ศาลไม่ได้ต้องเชื่อ คตส. นี่ครับ ศาลก็เอาพยานหลักฐานทั้งหมดมา แล้วก็มาชั่งน้ำหนัก แล้วที่สำคัญก็คือว่า ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมรับศาล ไม่ยอมรับ คตส. แต่อะไรที่เป็นประโยชน์กับท่าน ท่านรับนะครับ

นี่ท่านตอนนี้ที่ไม่เสียภาษีอ้างคำวินิจฉัยของศาล หลังจากคดี คตส. ไหมครับ ที่ไม่ต้องเสียภาษี 1.2 หมื่นล้าน อดีตภรรยาท่าน มารับเงินคืนจากกองทุนฟื้นฟูฯ ไปฟ้องต่อเนื่องจากคดีนี้นะครับว่า สัญญาการซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะเอาเงินคืน ถ้าท่านบอกล้มแล้ว บุคคลเหล่านี้ต้องจ่ายภาษีไม๊ครับ อดีตภรรยาท่านนายกฯ ทักษิณ ต้องไปจ่ายเงินคืนให้กองทุนฟื้นฟูฯ ด้วยไม๊ครับ แล้วคดีที่ก้ำกึ่งล่ะครับ บางคนโดนลงโทษไปแล้วเพราะไม่ได้หนีไปเมืองนอก แต่เฉพาะตัวคุณทักษิณหนีไปเมืองนอก แปลว่าคดีนั้นเป็นอย่างไรครับ ต้องเอากลับมาหมด หรือใช่เฉพาะโอกาสเฉพาะคุณทักษิณ ท่านได้ดูรายละเอียดหรือยัง ท่านถึงได้มีการเสนออย่างนี้

แต่ที่แปลกประหลาดที่สุดคือข้อเสนอที่เป็นทางเลือกที่ 3 ครับ ปรากฎได้อย่างไรครับ ผมเทียบเคียงเรื่อง คตส. อย่างนี้ครับ ในสังคมนี้มีคน ๆ หนึ่ง ถูกสงสัยว่าไปปล้นคน จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามไม่มีใครจับได้ วันดีคืนดีมีคนปลอมตัวมาเป็นตำรวจ จับคน ๆ นี้รวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ ส่งขึ้นไปที่ศาล ศาลตัดสินว่า คน ๆ นี้ผิด ข้อเสนอที่ 3 นี้บอกว่า ห้ามดำเนินคดีกับคน ๆ นี้ และคน ๆ นี้ไม่เคยปล้น เอาฐานความคิดจากไหนครับ เพียงเพราะมีคนปลอมตัวเป็นตำรวจจับส่งศาล ศาลดูพยานหลักฐานทั้งหมด วันนี้บอกว่า ไม่ต้องพิสูจน์อีกแล้ว คนนี้ไม่ผิดเลย หลักคิดคืออะไรครับ มาได้อย่างไรครับ

ถ้าบอกว่ามาเพราะผู้ทรงคุณวุฒิเสนอ ขอประทานโทษนะครับ ผู้ทรงคุณวุฒิ 47 ท่าน หลายท่านคือคนที่ คตส. กำลังดำเนินคดีอยู่ ผมไม่แปลกใจหรอกครับ ว่าคนที่เสนอว่าให้ล้มคดี คตส. นั้น จะเป็นคน ๆ เดียวกัน กับคนที่ถูก คตส. ส่งให้ดำเนินคดี แล้วข้อเสนอทางเลือกที่ 3 ที่ท่านอุตส่าห์บรรจุเป็นทางเลือกนั้น ถามว่ากี่คนครับในผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอ ท่านทราบไม๊ครับ ผมทราบเพราะว่าผมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องกรอกแบบสอบถามรอบที่ 2 มีคนเสนอ 1 คน แต่ท่านกรุณาใส่เป็นทางเลือก แต่ถามว่ามีผู้ทรงคุณวุฒิกี่คนที่บอกว่า กระบวนการ คตส. นั้นให้มันเดินต่อไปตามปกติ มีกี่คนครับ มี 10 คน แต่ทางเลือกนี้คณะผู้วิจัย กลั่นกรองบอก ไม่นับ ไม่ให้เป็นข้อเสนอทางเลือก เพราะอะไรครับ

เพราะอะไรที่ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ที่บอกว่าต้องการรักษาหลักนิติรัฐ นิติธรรม กระบวนการยุติธรรม ให้เดินต่อไปพิสูจน์กันในศาลนั้น ท่านบอกว่าข้อเสนอนี้ไม่ขอเสนอเป็นทางเลือก แต่ 1 คน ซึ่งผมสันนิษฐานว่ามีส่วนได้เสียกับการถูกดำเนินคดีบอกว่าขอให้มีทางเลือกนี้ด้วย ท่านใส่เข้ามาเป็นทางเลือก เพราะอะไรครับ

ผมไม่เข้าใจ และหลักการวิจัยอยู่ตรงไหนครับ ทำไม 10 คนไม่มีส่วนได้เสียเสนอ ไม่เป็นทางเลือก 1 คนสันนิษฐานว่ามีส่วนได้เสีย ท่านน่าจะเปิดเผยด้วยนะครับว่าเป็นใคร เสนอ กลายเป็นทางเลือก ผมไม่มีอคติอะไรกับใครทั้งสิ้น และผมก็นับถือหลายท่านที่ทำหน้าที่ในการวิจัยครั้งนี้ แต่ที่ผมได้อ่านรายงานอย่างละเอียดแล้ว และนำเสนอประเด็นเหล่านี้ ไม่จุกจิกไปเสนออีกตั้งหลายเรื่องนะครับ ที่ผมอาจจะไม่เห็นด้วยนั้น ผมเห็นว่าเป็นสาระสำคัญ

คำถาม ถ้าอยากให้มี ขอประทานโทษนะครับ เมื่อสักครู่นี้ คุณณัชชาภัทร (นักวิจัยสถาบันพระปกเกล้า) ใช่ไม๊ครับ บอกว่า National Dialogue แล้วก็ความจริงในกรณี คตส. นั้น อย่าลืมนะครับที่ผมเปรียบเทียบให้เห็นตัวอย่างการปล้น ท่านก็บอกด้วยว่าต้นเหตุความขัดแย้งอย่างหนึ่ง เพราะมีคนสงสัยว่ามีการปล้นจริง ท่านมีข้อเสนอไม่ให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างนี้ ท่านได้คำนึงถึงฝ่ายที่เขาเป็นคู่ขัดแย้งที่เขามีปัญหากับการทุจริต คอรัปชั่นแล้วหรือยัง ถ้าท่านจะมี National Dialogue ถามว่า Dialogue กันไปทำไม ผมถามวันนี้ ถ้าสิ่งที่ผมพูดมีเหตุมีผล ผมอยากได้คำตอบ ท่านจะแสดงให้เห็นตัวอย่างของความมี Dialogue ที่ดีโดยเริ่มต้นจากการขอกลับไปทบทวนข้อเท็จจริง และข้อเสนอตรงนี้อีกสักครั้งได้หรือไม่

ถ้าได้ ผมว่าท่านไม่เป็นจำเลยของสังคมครับ แล้วมาพูดคุย ตั้งวงพูดคุยกันครับ ในรายละเอียดเหล่านี้ นอกจากท่านตอบผมได้วันนี้เลยว่า สิ่งที่ผมพูดทั้งหมดอะไรที่เป็นข้อเท็จจริง ไม่เป็นข้อเท็จจริง อะไรที่เป็นเหตุผล ไม่เป็นเหตุผล อะไรที่เป็นหลักวิชา อะไรที่เป็นหลักในการวิจัยไม่จริง แล้วท่านยืนยันว่ามันไม่จริง อย่างนั้นผมก็ต้องยอมรับ แต่ถ้ามีเหตุผล ผมถามว่าเหตุผลใด ท่านจึงจะไม่นำกลับไปทบทวน ทำไมต้องรวบรัด รีบเร่ง

เพราะการก้าวเดินไปสู่การปรองดองนั้น ผมเคยเรียนกับหลายท่านที่เป็นกรรมาธิการ ทำในจุดร่วมครับ แล้วเราจะเดินหน้าได้ นิรโทษ พรก. ทำไปเลย จุดร่วมนี่ครับ แต่อะไรยังขัดแย้งอยู่ อย่าเพิ่งเดิน ผมถึงถามเหมือนกันว่า ข้อเสนอระยะสั้นในบางเรื่องผมเคยเสนอต่อท่านประธานกรรมาธิการบอก อย่างเมื่อกี้ท่านก็พูดนะครับ หยุดหมู่บ้านเสื้อแดง เพราะกำลังแบ่งแยกประเทศมากขึ้น เขียนลงไปสิครับ ว่านี่เป็นเรื่องระยะสั้นที่ควรจะทำ การที่ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาสู่วังวนความขัดแย้ง แล้วก็กระทบกระเทือนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนหยุดทำ เขียนลงไปสิครับว่านี่คือข้อเสนอระยะสั้น

ผมจบลงตรงนี้นะครับ  ถ้าท่านไม่ทบทวนในส่วนของท่าน ผมถามท่านเพื่อบันทึกเอาไว้ หากงานวิจัยของท่านชิ้นนี้ คณะกรรมาธิการไปสรุปว่าเสียงข้างมากบอกขอเลือกทางเลือกที่ 3 กรณี คตส. ขอเลือกทางเลือกที่ 2 กรณีของนิรโทษกรรม โดยอ้างว่าเป็นเสียงข้างมาก หรือส่งให้สภาฯ และสภาฯ ลงมติ หรือส่งให้รัฐบาล แล้วรองนายกฯ เฉลิม บอกพระปกเกล้าฯ เสนอเป็นทางเลือกมาแล้วเอาไปใช้ ผมถามท่านตรงนี้ว่า อย่างนี้ปรองดองหรือไม่ บันทึกไว้ตรงนี้เลยครับ อย่างนี้ปรองดองหรือไม่

ถ้าท่านตอบว่า ไม่ปรองดอง ผมก็จะบอก ใครที่คิดไปทำอย่างนี้คือคนที่ขัดขวางกระบวนการปรองดองอย่างแท้จริงครับ ขอบคุณครับ

 
 
ที่มา: เรียบเรียงจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น