โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สิงคโปร์ติดอันดับสาม-เมืองที่แข่งขันสูงสุดในโลก

Posted: 13 Mar 2012 12:11 PM PDT

อิโคโนมิสท์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต (EIU) เผยรายงานการสำรวจพบว่า สิงคโปรเป็นเมืองที่มีการแข่งขันสูงสุดรองจากนิวยอร์กและลอนดอน ด้านสื่อชุมชนสิงคโปรมองว่าหากสิงคโปรต้องการเสถียรภาพในระยะยาวต้องแก้ปัญหาด้านสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย

หน่วยงานอิโคโนมิสท์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต (EIU) เปิดเผยรายงานการจัดอันดับเมืองที่มีการแข่งขั้นสูงสุดของโลก โดยสิงห์โปร์เป็นเมืองที่อยู่อันดับสามจากการจัดอันดับรองจากเมืองนิวยอร์กและลอนดอน และถือเป็นเมืองที่มีการแข่งขันมากที่สุดในเอเชีย จากการวัดอันดับจาก 120 เมืองใหญ่ทั่วโลก รายงานชิ้นนี้มาจากการวิจัยชื่อ Hot Spots: Benchmarking Global City Competitiveness

รายงานข่าวจากเว็บ The Online Citizen ซึ่งเป็นเว็บข่าวเอกชนของสิงคโปร์ระบุว่า 'การแข่งขัน' เป็นคำที่มีแนวคิดแบบองค์รวม ขณะที่ขนาดการเติบโตและขนาดความเจริญทางเศรษฐกิจเป้นเรื่องจำเป็นและมีส่วนสำคัญ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัด 'การแข่งขัน' ด้วยเช่นกัน

ในจุดมุ่งหมายของการวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ความหมายของ 'การแข่งขัน' โดยวัดจากความสามารถในการดึงดูดการลงทุน, ธุรกิจ, ผู้มีความสามารถพิเศษ และนักท่องเที่ยว ของเมืองนั้นๆ

"การจัดอันดับเมืองที่มีการแข่งขันสูงของโลก" หรือ Global City Competitiveness Index มีการวัดระดับโดยแบ่งเป็นหมวดต่างๆ คือ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ, ทุนมนุษย์ (human capital), ประสิทธิภาพของสถาบัน, การเติบโตทางการเงิน, ความน่าดึงดูดต่อชาวโลก, ทุนทางกายภาพ (Physical Capital), ลักษณะทางสังคม-วัฒนธรรม และความเสี่ยงด้านธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม

 

จับตาเมืองขนาดกลาง และเมืองที่ทรัพยากรมนุษย์เฟื่องฟู

รายงานฉบับนี้กล่าวโดยภาพรวมว่า เมืองในสหรัฐฯ และในยุโรปทุกวันนี้ต่างก็เป็นเมืองที่มีการแข่งขันสูงสุด แม้จะมีความกังวลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานกับปัญหางบประมาณขาดดุลเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีความกังวลอย่างมากในตะวันตกเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบจากวิกฤติทางการเงิน ซึ่งทำให้แผนการฟื้นฟูพื้นที่เขตเมืองช้าลง แต่นี่ก็ไม่ได้ลดความสามารถของเมืองในสหรัฐฯ และยุโรปในการดึงดูดเงินทุน, ธุรกิจ, ผู้มีความสามารถพิเศษ และนักท่องเที่ยว

รายงานระบุอีกว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียสะท้อนอัตราการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเมืองในทวีปเอเชีย เมืองในเอเชียมีลำดับสูงมากในหมวด 'ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ' ซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่ให้ความสำคัญมากที่สุด

ขณะเดียวกันเมืองในระดับกลางก็กำลังเติบโตขึ้นในฐานะกุญแจสำคัญของการเติบโต แม้ว่าเป้าหมายการลงทุนของบริษัทส่วนใหญ่จะเป็นเมืองการค้าขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจรุดหน้า แต่การเติบโตโดยรวมแล้วที่เติบโตเร็วที่สุดจะเป็นกลุ่มเมืองระดับกลางที่มีประชากรประมาณ 2 ล้าน ถึง 5 ล้าน คน ซึ่งรวมถึงเมือง อาบู ดาบี, บันดุง, ต้าเหลียน, หางโจว, ฮานอย, ปูเณ, ชิงเตา และ สุบารายา

รายงานระบุว่า ข้อได้เปรียบสำคัญของเมืองในประเทศที่เจริญแล้วคือความสามารถในการพัฒนาและดึงดูดผู้มีความสามารถพิเศษชั้นนำของโลก เมืองในยุโรปและอเมริกาได้รับคะแนนสูงมากในหมวด 'ทุนมนุษย์' โดยนายกเทศมนตรีของนิวยอร์ก ไมเคิล บลูมเบิร์ก กล่าวให้สัมภาษณ์ไว้ในรายงานว่า "ผมเคยเชื่อมาตลอดว่าคนมีความสามารถจะช่วยดึงดูดการลงทุนได้มีประสิทธิภาพกว่าและเสมอต้นเสมอปลายกว่าการใช้การลงทุนดึงดูดผู้มีความสามารถ"

 

สิงคโปร์ยังต้องแก้ปัญหาด้านสังคม เพื่อเสถียรภาพในระยะยาว

ขณะเดียวกัน The Online Citizen ก็ได้สรุปรายงานที่พูดถึงสิงคโปร์ว่า สิงคโปร์ได้คะแนนดีในมากใน 6 หมวด จาก 8 หมวด ของการแข่งขัน คือด้านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ, ประสิทธิภาพของสถาบัน, การเติบโตทางการเงิน, ความน่าดึงดูดต่อชาวโลก, ทุนทางกายภาพ และความเสี่ยงด้านธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม 

สิงคโปร์สามารถผสมผสานพลวัตทางเศรษฐกิจของโลกที่กำลังพัฒนาเอาไว้ได้ สิงคโปร์เป็นเพียงหนึ่งในหกประเทศที่เจริญแล้วที่ติด 20 อันดับ ด้าน 'ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ' โดยยังคงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และคงด้านที่ 'อ่อน' ของการแข่งขันไว้ได้ ซึ่งดูเป็นมาตรฐานของเมืองที่เจริญแล้วในประเทศตะวันตกบางประเทศมากกว่า

ประเทศสิงคโปร์เพิ่งได้รับเอกราชมาไม่ถึง 50 ปี เป็นที่น่าชื่นชมว่าสามารถเทียบเคียงกับเมืองที่เก่าแก่และมีรากฐานมานานกว่าอย่างนิวเยอร์กและลอนดอน ในแง่ของการดึงดูดการลงทุน, ธุรกิจ, ผู้มีความสามารถพิเศษ และนักท่องเที่ยว

ในรายงานระบุอีกว่า หมวดที่สิงคโปร์ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่คือด้านลักษณะทางสังคม-วัฒนธรรม และทุนมนุษย์ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดแยกส่วนออกมาแล้ว อันดับของสิงคโปร์ในด้าน 'เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิมนุษยชน' , 'ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนและยอมเสี่ยง' , 'การเติบโตของประชากร' , 'กระบวนการเลือกตั้งและพหุนิยม' ต่างก็อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในด้านอื่นๆ ของสิงคโปร์

เรื่องนี้เองเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับสิงคโปร์ ซึ่งบ่งบอกว่าพวกเขาไม่ควรแค่เน้นย้ำในเรื่องการลงทุน, การกระตุ้นเศรษฐกิจ, หรือนโยบาย แต่ควรเปลี่ยนแปลงสังคมในแนวกว้าง เปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติและความเชื่อซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาส่วนหนึ่ง หากเอาชนะข้อท้าทายตรงนี้ได้แล้ว สิงค์โปรจะสามารถกระโดดข้ามนิวยอร์กและลอนดอน กลายเป็นเมืองที่มีการแข่งขันสูงสุดได้

สิงคโปร์ต้องระบุถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมหากต้องการประสบความสำเร็จและมีเสถียรภาพในระยะยาว เรื่องนี้น่าสนใจเนื่องจากไม่มีมาตรวัดแน่ชัดเพื่อใช้วิเคราะห์หรือชี้วัดเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคมในแต่ละเมือง

เมืองที่อยู่ลำดับต้นๆ จำนวนมาก รวมถึงฮ่องกง, ลอนดอน, นิวยอร์ก และสิงคโปร์ มีระดับความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้สูงมากจนอาจเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพทางสังคมได้ และจะนำมาซึ่งการทำลายอัตราการแข่งขันด้วย สิ่งที่ล่อแหลมอีกอย่างหนึ่งสำหรับสิงคโปรคือการที่สิงคโปร์เป็นนครรัฐ ดังนั้นจึงไม่มีพื้นที่ห่างไกลความเจริญให้อพยพไปอยู่ได้

The Online Citizen กล่าวในเชิงให้ข้อคิดว่า แม้ว่าลำดับที่สูงของสิงคโปรจะเป็นสิ่งน่าชื่นชมยินดี แต่ลำดับที่สูงนี้ก็ชวนให้ขมขื่นอยู่เมื่อคิดว่า "สิงคโปรในฐานะเมืองของโลก" ดูแตกต่างจาก "สิงคโปรในฐานะเมืองที่เป็นหัวใจยุทธศาสตร์"  สำหรับการดำรงเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนแล้วนั้น มีความต้องการสิงคโปรจะต้องพัฒนาไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งของสังคม-เศรษฐกิจ แยกส่วนกัน แต่ต้องพัฒนาร่วมกันในทางเดียว โดยที่ชาวสิงคโปรทั้งหมดจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการแข่งขันในเมืองของโลกเมืองนี้ได้

 

ที่มา: Singapore is Asia’s most competitive city: New EIU report, The Online Citizen, 13-03-2012 http://theonlinecitizen.com/2012/03/singapore-is-asias-most-competitive-city-new-eiu-report/

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โยชิฟูมิ ทามาดะ

Posted: 13 Mar 2012 10:00 AM PDT

จักรพรรดิญี่ปุ่นระวังเป็นพิเศษ ไม่ยุ่งการเมือง ไม่ยุ่งธุรกิจ ถูกโจมตีมากๆ ก็ไม่โต้ตอบกับฝ่ายซ้าย แล้วก็ไม่ถูกฝ่ายขวาใช้ พยายามให้เป็นกลางๆ เขาพยายามอย่างมาก ... เพราะอะไร ผมคิดว่าจักรพรรดิอยู่ได้ เมื่อมีประชาชน ถ้าไม่มีประชาชนแล้วก็อยู่ไม่ได้ แล้วประชาชนไม่สนับสนุนก็อยู่ลำบาก เพราะฉะนั้นพยายามไม่ให้ประชาชนคิดว่าไม่ยอมรับจักรพรรดิ ไม่ต้องคิดว่าอยากจะให้จักรพรรดิมีอำนาจมากๆ แต่อยากจะให้คิดว่าจักรพรรดิเหมือนอากาศ ขาดไม่ได้ แต่ไม่รู้สึกว่ามี เบามาก

13 มี.ค. 55, บรรยายสาธารณะ "ประชาธิปไตยใต้ร่มพระบารมี: กรณีศึกษาจักรพรรดิญี่ปุ่น"

สื่อทางเลือกชายแดนใต้ต้องไม่ผลิตซ้ำความรุนแรง

Posted: 13 Mar 2012 09:47 AM PDT

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 มีนาคม 2555 310 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร จัดงาน “วันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2” เป็นวันที่ 2 โดยในภาคเช้า มีการจัดเสวนา “พลังสื่อและการแปรความขัดแย้ง”

ในวงเสวนา มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Isak Svensson จากภาควิชาการวิจัยสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัยอุปซาลา ประเทศสวีเดน นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS นายสมัชชา นิลปัทม์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายนิฟูอัด บาซาลาฮา นักจัดรายการวิทยุชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน สลาตันปัตตานี ภาคภาษามลายูและนักวิชาการอิสลามศึกษา นายมูฮำหมัด ดือราแม กองบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ นายมูฮำหมัดซอเร่ กล่าว่า เด็ง ช่างภาพจากกลุ่มบินตังโฟโต้ โดยมีนางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี เป็นผู้ดำเนินรายการ

ดร.ไอแซก กล่าวว่า ประสบการณ์จากการทำวิจัยในพื้นที่ความขัดแย้งในยุโรปพบว่า สื่อเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะคลี่คลายความขัดแย้งเข้าสู่กระบวนการสันติภาพได้ แต่ปัญหาที่พบ คือ สื่อในพื้นที่ความขัดแย้งบางพื้นที่ เลือกนำเสนอเพียงภาพสถานการณ์รายวันที่เป็นภาพความขัดแย้งในระยะสั้น มากกว่าการอธิบายภาพระยะไกลที่จะทำให้เห็นว่าสถานการณ์ที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง กำลังไปถึงไหนและมีแนวโน้มอย่างไร ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญกว่า

ดร.ไอแซค กล่าวว่า กราฟที่แสดงข้อมูลความขัดแย้งกับจำนวนคนตายในเหตุการณ์รุนแรงระหว่างปี ค.ศ. 1946-2010 พบว่า มีแนวโน้มการสูญชีวิตน้อยกว่าจำนวนเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มความขัดแย้งรุนแรงของโลกเริ่มลดลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

ดร.ไอแซค กล่าวว่า การอธิบายข้อมูลแบบนี้ สวนทางกับที่นักข่าวรายงานเหตุการณ์รายวัน ซึ่งทำให้เห็นว่าเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นทุกวัน แต่ไม่สามารถทำให้เห็นว่า แนวโน้มของเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรในระยะยาว

“นักข่าวในพื้นที่ความขัดแย้ง ต้องลงทุนเพื่อจะให้ตัวเองมองเห็นภาพระยะยาวของความขัดแย้งรุนแรงได้ ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้สามารถประเมินแนวโน้มในอนาคตได้ว่า พื้นที่ความขัดแย้งจะเป็นอย่างไร” ดร.ไอแซค กล่าว

ดร.ไอแซค กล่าวว่า ความขัดแย้งในยูโกสลาเวียที่รุนแรงมาก ส่วนหนึ่งมากจากนักข่าวที่นำเสนอข่าวเอนเอียงไปทางฝ่ายรัฐ ซึ่งเป็นการผลิตซ้ำความรุนแรงซึ่งทำให้กลายเป็นความชอบธรรมของรัฐในการทำลายฝ่ายตรงข้าม

นายสมเกียรติ กล่าวว่า ในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ.2547 ได้เกิดสื่อทางเลือกขึ้น คือสำนักข่าวประชาไท ศูนย์ข่าวอิศรา ตามด้วยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสที่มีนักข่าวพลเมืองจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้สามารถเปิดพื้นที่สื่อด้วยการนำเสนอประวัติศาสตร์รัฐปัตตานี และเรื่องต้องห้ามหลายๆ เรื่องสื่อสารต่อสาธารณะได้

นายสมเกียรติ กล่าว่า สื่อทางเลือกในจังหวัดชายแดนใต้ ดูเหมือนว่าจะเป็นสื่อมืออาชีพ แต่ก็ยังไม่ใช่ จะว่าเป็นสื่อพลเมืองอย่างเดียวก็ไม่เชิง ยังงงๆ อยู่ น่าจะยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

นายมูฮำหมัด กล่าวว่า โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้เกิดขึ้นในยุคที่สื่อใหม่ปรากฏขึ้นมาได้ซักระยะหนึ่งแล้ว โดยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีเว็บไซด์ข่าวหลายสำนัก มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย แต่บางเว็บไซด์บางส่วนก็ได้ปิดตัวลง เนื่องจากไม่มีมีเนื้อหาโดดเด่นและไม่มีความต่อเนื่อง ดังนั้นการสร้างสื่อขึ้นมายังจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาและมีความต่อเนื่อง โดยฝึกคนในพื้นที่ให้ทำข่าวอย่างมืออาชีพ

นายมูฮำหมัด กล่าวอีกว่า จากประสบการในการลงพื้นที่ทำข่าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าประชาชนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบที่เชื่อว่ารัฐเป็นผู้ก่อเหตุ หวาดระแวงต่อสื่อมวลชน โดยเชื่อว่าสื่อเป็นเครื่องมือของรัฐ จึงเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องวางบทบาทให้คนเข้าใจว่า สื่อคือพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งการลงไปทำข่าวในฝ่ายชาวบ้าน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านเห็นการทำงานของสื่อและเข้าใจสื่อมากขึ้น

นายสมัชชา กล่าวว่า ข้อค้นพบจากงานวิจัยของคณะวิทยาการสื่อสาร 6 ประเด็นที่เกี่ยวกับสื่อใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ เรื่องเคเบิลทีวี วิทยุกระจายเสียงและวิทยุชมชน สื่อพื้นบ้าน ขีดความสามารถของสื่อในการนำเสนอสื่อออนไลน์ และการเสริมสร้างศักยภาพของตัวผู้สื่อข่าว โดยใช้กรณีศึกษาของโรงเรียนนักข่าวชายแดนภาคใต้ พบว่า มีความต้องการพัฒนาด้านเนื้อหาของสื่อสำหรับคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากยิ่งขึ้น

นายสมัชชา กล่าว่า ส่วนประเด็นการรายงานข่าวเกี่ยวกับผู้หญิงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีน้อยเกินไป สำหรับสถานีวิทยุ ผู้ดำเนินรายการมองว่า การสร้างสันติภาพเป็นเรื่องของรัฐมากว่าเป็นเรื่องของประชาชนทั่วไป

นายสมัชชา กล่าวว่า งานวิจัยพบว่า มีกลุ่มใหม่ๆ ที่ทำเรื่องสื่อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ต้องการเพิ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและเข้าใจเนื้อหา เพื่อให้สามารถผสมผสานเทคนิคและเนื้อหาเข้าด้วยกัน เพื่อให้งานออกมาน่าสนใจ

นายนิฟูอาด กล่าวว่า จากประสบการณ์ในการจัดรายการวิทยุชุมชนร่วมด้วยช่วยกัน สลาตันปัตตานี และวิทยุ สวท. ปัตตานี พบว่า ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะฟังวิทยุกันมาก คือ ในช่วง 3 เดือนจนถึงเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดินถือศีลอดของชาวมุสลิม หากต้องการนำเสนออะไรผ่านวิทยุในช่วงนี้ รับรองว่ามีคนฟังจำนวนมากแน่นอน และขอเสนอให้รายการวิทยุของรัฐเปิดอ่านดูอา (บทขอพร) ก่อนเปิดรายการและก่อปิดรายการทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล

นายนิฟูอาด กล่าวว่า ชาวบ้านยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับสื่อมวลชนอยู่มาก เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า เวลาไปสัมภาษณ์ฝ่ายทหาร ชาวบ้านก็จะคิดว่า เป็นสายลับของทหาร ทำให้ตนต้องอธิบายว่า เมื่อเป็นสื่อมวลชนแล้ว จำเป็นต้องสัมภาษณ์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนั่นเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชน

นายมูฮำหมัดซอเร่ กล่าวว่า กลุ่มบินตังโฟโต้ เป็นกลุ่มในเว็บไซด์เฟสบุ๊ค นำเสนอภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสมาชิกประมาณ 500 คน เนื่องจากคนในพื้นที่เขียนข่าวไม่เป็น นำเสนอไม่เป็น แต่เชื่อว่าทุกคนมีกล้องถ่ายรูป ที่สามารถถ่ายรูปนำมาสื่อให้คนนอกพื้นที่เห็น มีการรวมตัวจัดกิจกรรม

นายมูฮำหมัดซอเร่ กล่าวว่า ภาพภาพเดียวสามารถสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ได้มาก เช่น ภาพบ่อน้ำกลางถนนที่มีแต่ขยะ สามารถส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแก้ปัญหาได้

นายมูฮำหมัดซอเร่ กล่าวว่า กลุ่มบินตังโฟโต้ กำลังจะทำธนาคารภาพถ่ายชายแดนใต้หรือพัฒนาไปเป็นพิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายชายแดนใต้ในอนาคต เพื่อสื่อให้คนนอกพื้นที่ได้รับรู้และเข้าใจผ่านภาพถ่ายมากขึ้น

นายตูแวนียา มือรืองิง ผู้อำนวยการสำนักข่าวอามาน กล่าวแสดงความเห็นว่า จากประสบการณ์ที่ตนลงพื้นที่ทำข่าวทหารพรานยิงชาวบ้านตาย 4 ศพ ที่ตำบลปูโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ในช่วงเช้าหลังวันเกิดเหตุ ถูกชาวบ้านซักถามว่า ตนเป็นคนเสนอข่าวว่า ชาวบ้านปะทะโจรใต้ใช่หรือไม่ ตนปฏิเสธ โดยบอกว่าเป็นการนำเสนอข่างของนักข่าวอื่นที่ลงไปทำข่าวในช่วงกลางคืนหลังเกิดเหตุ ที่ออกหรือเปล่า

นายตูแวนียา กล่าวว่า ขณะที่ตนลงพื้นที่ทำข่าวอยู่นั้น มีเพื่อนผู้สื่อข่าว 2 คน ถูกเด็กในหมู่บ้าน 20 คนล้อมไว้ และตำหนิว่า นำเสนอข่าวว่าโจรใต้ปะทะทหารพรานได้อย่างไร ทั้งที่ชาวบ้านจะไปละหมาดศพ ตนต้องอธิบายให้เด็กเหล่านั้นทราบว่า บางทีนักข่าวในพื้นที่ส่งข่าวไปที่สำนักข่าว แต่ถูกบรรณาธิการสำนักข่าวที่กรุงเทพมหานคร เปลี่ยนไปนำเสนออีกอย่างหนึ่ง

นางสาวนวลน้อย กล่าวว่า สื่อส่วนกลางไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีนักสำหรับคำว่าสื่อมืออาชีพ และขอย้ำว่า สื่อทางเลือกจะนำเสนอข้อมูลชุดใดก็ตาม ต้องเป็นข้อมูลที่มีที่มา และมีแหล่งอ้างอิง ไม่ใช่กุข่าวขึ้นมานำเสนอ ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยเสื้อแดงกรณี 19 พฤษภา 53 เชียงใหม่

Posted: 13 Mar 2012 09:40 AM PDT

อัยการอุทธรณ์ขอไม่ให้รอลงอาญา ศาลสั่งสืบพยานเพิ่ม นิกร ศรีคำมา จำเลยเสื้อแดงเชียงใหม่รับสารภาพซ้ำ  ศาลกำหนดโทษใหม่จาก 1 ปี เหลือ 3 เดือน ถูกขังมาแล้ว 4 เดือนครึ่งจึงปล่อยทันที

เช้าวันนี้ (13 มีนาคม 2555) ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 1484/2554 คดีหมายเลขแดงที่  26/2555 ของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องนายนิกร ศรีคำมา ในฐานความผิดร่วมกันทำให้เสียทรัพย์และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 และ 358 กรณีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเชียงใหม่ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายหลายคนใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในอาคารและวางเพลิง ทำให้ป้อมยามบริเวณทางเข้าสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่เสียหาย  โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553 ให้นายนิกรมีความผิดต้องรับโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 6,000 บาท  แต่จำเลยรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ  ศาลชั้นต้นจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี ปรับ 3,000 บาท โดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี และให้คุมประพฤติจำเลยมีกำหนด 1 ปี รวมทั้งให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ 20 ชั่วโมง

ต่อมาพนักงานอัยการได้อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ โดยอ้างเหตุว่า ในรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ  จำเลยอ้างว่ารับสารภาพเนื่องจากทนายความแนะนำ  ประกอบกับข้อเท็จจริงตามรายงานนี้ยังไม่แน่ชัดว่า จำเลยทำผิดตามฟ้องจริงหรือไม่  ศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานเพิ่มเติม  ในชั้นนี้จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมชุมนุมทางการเมืองตามวันเวลาสถานที่ที่เกิดเหตุจริง  แต่เบิกความว่ามิได้เป็นผู้วางเพลิง  ทั้งที่ปรากฏภาพถ่ายของจำเลยและพวกขว้างก้อนหินและจุดไฟเผาป้อมยามประกอบกับคำสารภาพของจำเลย  รับฟังได้ว่า จำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามโจทก์ฟ้องจริง  เป็นการกระทำเกินกว่าขอบเขตแห่งเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ  จำเลยมิได้สำนึกในความผิดของตน  ไม่สมควรรอการลงโทษ  อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น  แต่เนื่องจากความเสียหายในคดีมีเพียง 6,400 บาท และมิได้เกิดขึ้นจากจำเลยเพียงผู้เดียว  ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงกำหนดโทษเสียใหม่ โดยพิพากษาแก้เป็นให้จำคุก 6 เดือน แต่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 จึงลดโทษกึ่งหนึ่ง  คงจำคุก 3 เดือน  ไม่ปรับ  ไม่รอการลงโทษจำคุก  และไม่คุมความประพฤติ  แต่เนื่องจากนายนิกรถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2553 จนกระทั่งได้รับปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักประกันของกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 รวมระยะเวลาคุมขัง 4 เดือน 14 วัน เกินว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนด  นายนิกรจึงได้รับการปล่อยตัวทันที

อนึ่ง  ทนายความจำเลยคดีนี้ในศาลชั้นต้นเป็นทนายขอแรงที่ศาลแต่งตั้ง  แต่นายนิกรได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มยุติธรรมล้านนาซึ่งมอบหมายให้ นายชูชาติ สามสาย ช่วยว่าความในชั้นอุทธรณ์

นายนิกรเล่าบรรยากาศในการฟังคำพิพากษาในวันนี้ว่า  รู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา เนื่องจากผู้พิพากษาอ่านด้วยความรวดเร็ว  และหลายประโยคทำให้ตนกลัวว่าจะต้องรับโทษหนักกว่าเดิม  เช่น  “จำเลยมีลักษณะเป็นนักเลงอันธพาลไม่เคารพยำเกรงกฎหมาย พฤติการณ์คดีร้ายแรง” หรือ “จำเลยมิได้สำนึกผิด” เป็นต้น  แต่ท้ายสุดก็โล่งใจที่ศาลลดโทษให้  ก่อนหน้านี้ตนได้เตรียมจดหมายสั่งเสียครอบครัวไว้แล้วหากต้องกลับไปรับโทษอีก  ขอขอบคุณทุกๆ หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือทั้งทางคดีและชีวิตครอบครัว  จากนี้คงปรึกษากลุ่มยุติธรรมล้านนาว่าคดีของตนเข้าหลักเกณฑ์การรับเงินเยียวยาหรือไม่  ตลอดเวลาที่ต้องติดคุกและขึ้นโรงขึ้นศาลตนมีทั้งความกลัวและความเครียดมากจนไม่สามารถทำงานปกติอย่างคนอื่นได้ (อ่านเพิ่มเติม “นิกร ศรีคำมา: กี่ฤดูเปลี่ยน คดีเสื้อแดงเชียงใหม่(ยัง)ไม่เปลี่ยน”  http://prachatai3.info/journal/2011/05/34525)

ในการฟังคำพิพากษาวันนี้นอกจากสมาชิกครอบครัวนายนิกรแล้ว  ยังมีกลุ่มครอบครัวคดีเสื้อแดงเชียงใหม่พร้อมจำเลยคดีเสื้อแดงกรณีเหตุปะทะเมื่อปี 2551 ที่เพิ่งได้ประกันตัวเมื่อเดือนที่ผ่านมา  (อ่าน : ศาลฎีกาสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยคดีเสื้อแดงเชียงใหม่ 5 ราย http://prachatai3.info/journal/2012/02/39272)  และคนเสื้อแดงจากอำเภอดอยสะเก็ดจำนวนหนึ่งมาร่วมให้กำลังใจด้วยรวมทั้งหมดประมาณ 15 คน

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: อย่าบังคับความรักภักดีมาน

Posted: 13 Mar 2012 09:33 AM PDT

 

 

หากจะรักภักดีมีมอบให้
เพื่อเทิดไท้ทูนองค์พระทรงศรี
ชนชูเชิดเทิดพระบารมี
ปฐพีนี้ยอมพร้อมดวงใจ 

แล้วทำไมไยเล่าเข้าขู่เข็ญ
ต่างความเห็นเป็นจับคอยขับไส
๑๑๒ จองจำอยู่ร่ำไป
อย่าคิดไกลไม่มีที่ท้าทาย
 
คุณความดีมีอยู่จึงชูเชิด
ให้คนเทิดทูนไว้ไม่รู้หาย
ศรัทธามีมั่นคงมิเคลื่อนคลาย
มิกลับกลายหมายมุ่งแม้เนิ่นนาน
 
ขอเพียงแค่เคารพพบศรัทธา
แล้วจงอย่ายื้อยุดสุดหักหาญ
อย่าบังคับความรักภักดีมาน
ฤากราบกรานขานไขแต่ใจชัง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จักรพรรดิญี่ปุ่นในวัน“เบามาก” ทามาดะบรรยาย-ตอบสารพัดคำถาม

Posted: 13 Mar 2012 09:07 AM PDT


 

13 มี.ค.55 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการบรรยายสาธารณะ เรื่อง "ประชาธิปไตยใต้ร่มพระบารมี: กรณีศึกษาจักรพรรดิญี่ปุ่น" โดยศาสตราจารย์โยชิฟูมิ ทามาดะ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต

ทามาดะ กล่าวว่า หากจะสรุปจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา จักรพรรดิของญี่ปุ่นอยู่มาอย่างยาวนานได้ก็เพราะไม่ปกครอง กระทั่งในบางยุคสมัย เช่น ในสมัยเอโดะนั้นจักรพรรดิไม่รวย และไม่มีอำนาจด้วย ยุคนั้นมีเจ้าเมืองถึง 300 กว่าคน และกว่าครึ่งมีรายได้มากกว่าจักรพรรดิ ในสมัยนั้นมีเกียวโต (Kyoto) เป็นเมืองหลวง (ปี 792-1868) พวกโชกุน (shogun) ต้องเลี้ยงจักรพรรดิด้วยซ้ำ เพราะไม่มีรายได้ แต่สภาพการณ์เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อเข้าสู่สมัยเมจิ (Meiji) ซึ่งตรงกับสมัย ร.5 ซึ่งมีประกาศคณะปฏิวัติในปี 1868 มีมาตราที่สำคัญอยู่ 5 มาตรา ที่สำคัญคือ การประกาศว่าจะมีการเปิดรัฐสภา และปกครองประเทศด้วยมติมหาชน ซึ่งก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในทันที ในช่วงเปลี่ยนผ่านยังคงเป็นการปกครองแบบเผด็จการ จนสามารถตั้งรัฐสภาได้ในปี 1890

ทามาดะ กล่าวว่า การปฏิรูปการปกครองในสมัยเมจินั้น กลุ่มที่มีบทบาทคือ ซามูไรที่มาจากต่างจังหวัด ไม่ใช่ชนชั้นนำ พวกเขายึดอำนาจจากบรรดาโชกุน ที่เป็นผู้มีอำนาจตัวจริง แล้วใช้จักรพรรดิเป็นเครื่องมือเพื่อความชอบธรรมในการสร้างรัฐใหม่ ในสมัยนั้นจักรพรรดิร่ำรวยขึ้นมาก เพราะก่อนเปิดรัฐสภา ชนชั้นปกครองกลัวมากว่าจะคุมสภาไม่ได้ จึงรีบโอนทรัพย์สินยกให้จักรพรรดิ จนกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุด 

ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต กล่าวต่อถึงโครงสร้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญสมัยเมจิ (1889) ว่า ในรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่าอำนาจเป็นของใคร แต่คนญี่ปุ่นก็เข้าใจและตีความกันว่าเป็นของจักรพรรดิ ขณะที่นักวิชาการบางคนก็ตีความว่าเป็นของรัฐ อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นจักรพรรดิมีอำนาจอย่างมากอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจทั้งนิติบัญญัติ เพราะคนร่างกฎหมายดูจะเป็นพระจักพรรดิมากกว่าสมาชิกรัฐสภา มีอำนาจยุบสภา มีอำนาจบริหาร โดยรัฐมนตรีให้คำแนะนำและเป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งและปลดนายกรัฐมนตรี ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาส่วนตัว โดยนายกฯ และคณะรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบต่อจักรพรรดิ ไม่ใช่ประชาชนหรือรัฐสภา ส่วนศาลก็ใช้อำนาจในนามของจักรพรรดิ นอกจากนี้ยังมีอำนาจพิเศษเป็นจอมทัพ ซึ่งหมายความว่ารัฐสภาจะยุ่งกับทหารไม่ได้

สำหรับเรื่องที่ปรึกษาของจักรพรรดินั้น ทามาดะขยายความว่า จักรพรรดิ มีที่ปรึกษา 3 คน ได้แก่ องคมนตรี แต่องคมนตรีก็มีบทบาทไม่มากเท่ากับราชเลขาธิการและรัฐบุรุษอาวุโส ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสถาบันนอกรัฐธรรมนูญ แต่กลับมีอำนาจมากและมีบทบาทสูงมาก โดยเฉพาะรัฐบุรุษอาวุโสจะเป็นผู้ที่หารือร่วมกับจักรพรรดิเพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญ เช่น การแต่งตั้งนายกฯ การกำหนดวันเลือกตั้ง ฯลฯ

elder statesman รัฐบุรุษอาวุโส 1-6 คน  สำคัญที่สุด

ผู้นำฝ่ายบริหาร (กลุ่ม hanbatsu) =ผู้นำ Restoration ชั้นผู้ใหญ่

ส่วนมากเป็น อดีตนายกฯ

 

ชื่อ

บ้าน

ปีเกิด-ตาย

ปีรับ

Ito Hirobumi

Choshu

1841-1909

1889-

Kuroda Kiyotaka

Satsuma

1840-1900

1889

Yamagata Aritomo

Choshu

1838-1922

1891

Matsukata Masayoshi

Satsuma

1835-1924

1898

Inoue Kaoru

Choshu

1836-1915

1904

Saigo Tsugumichi

Satsuma

1843-1902

 

Ooyama Iwao

Satsuma

1842-1916

1912

Katsura Taro

Choshu

1848-1913

1912

Saionji Kinmochi

ขุนนาง

1849-1940

1912

ทามาดะกล่าวว่า นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นพยายามอธิบายบทบาทของจักรพรรดิว่า ไม่ใช่เผด็จการแต่เป็นผู้ประสานมากกว่า เพราะฝ่ายบริหารมักทะเลาะกับฝ่ายนิติบัญญัติ  บทบาทสำคัญที่สุดในสมัยนั้นจึงคือการเป็นผู้ประสาน อำนาจของผู้ประสานนั้นก็มาจากการที่ทุกฝ่ายมองเห็นร่วมกันว่าคนนี้เป็นกลาง มีความยุติธรรม เชื่อถือและยอมรับได้ ดังนั้น จักรพรรดิจึงต้องระมัดระวังมาก พยายามดำรงความเป็นกลาง เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

สมัยเมจิยังมีแนวโน้มว่า ในช่วงแรกยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ก็เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในภายหลัง เนื่องจากมีรัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา มีการเลือกตั้ง ถ้าถามว่าทำไมถึงมีการตั้งรัฐสภา ในขณะที่สมัยนั้นเมืองไทยยังไม่มีสภา ไม่มีรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ สาเหตุสำคัญที่สุดคือ เพื่อเก็บภาษีนำไปพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง เวลานั้นประชาชนยอมเสียภาษีเพื่อสู้กับจีนกับรัสเซีย แต่โครงสร้างภาษีนั้นแพงมาก รัฐบาลตั้งราคาที่ดิน แล้วเก็บภาษีร้อยละ 3 ทุกปี สมัยนั้น (ร.5) ชาวนาไม่ค่อยมีเงินสด จึงเกิดขบถและการต่อต้านอย่างหนัก จึงต้องหาทางประนีประนอม ยอมจัดตั้งรัฐสภา เพื่อให้พวกที่มีที่ดินมาก และยอมเสียภาษีสามารถพูดอะไรได้บ้างที่รัฐสภา

ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต กล่าวว่า สมัยเมจิ มีผู้นำที่มีบทบาทสำคัญสองคนคือ อิโตะ  (Ito) ซึ่งถูกฆ่าตายที่ประเทศจีน เขาเป็นรัฐบุรุษอาวุโส ตั้งพรรคการเมืองเป็นหัวหน้าพรรค ลงเลือกตั้งและได้เป็นนายกฯ ด้วย เพราะเขายึดถือหลักการที่ว่าวิถีประชาธิปไตยอันมีพระจักรพรรดิเป็นประมุขนั้นดีที่สุด ขณะที่ ยามากาตะ (Yamakata) ไม่ชอบระบบรัฐสภา แต่ชอบระบอบทหารกับราชการ จึงพยายามแทรกแซงโยกย้ายทหาร ข้าราชการ แต่สุดท้ายฝ่ายหลังก็ต้องยอมรับบทบาทหรืออำนาจของรัฐสภา

เมื่อจักรพรรดิเมจิถึงแก่กรรมในปี 1912 ลูกชายได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ต่อมา คือ  ไทโช (Taisho) ช่วงนั้นญี่ปุ่นเป็นประชาธิปไตยมาก โดยในปี 1918 หัวหน้าพรรคที่ได้ ส.ส.มากที่สุดได้เป็นนายกฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่น ที่สำคัญยุคของจักรพรรดิไทโชนั้นไม่มีการเรียกฝ่ายบริหารเข้าเฝ้าเพื่อสั่งการอะไร ไม่เหมือนในอดีต จึงเป็นยุคที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งคือจักรพรรดิมีบทบาทน้อยที่สุด เมื่อถึงสมัยโชวะ หรือหลังสงคราม จักรพรรดิก็ยังพูดกับฝ่ายบริหารอยู่บ้าง แม้หลังสงคราม มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ให้จักรพรรดิมีบทบาท แต่จักรพรรดิยังเปลี่ยนนิสัยไม่ได้ มีการเรียกนายกฯ ให้เข้าเฝ้าอยู่เรื่อย

ทามาดะย้ำว่า พื้นที่นอกรัฐธรรมนูญของจักรพรรดิจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตัวจักรพรรดิเองด้วย ไม่ใช่เฉพาะโครงสร้างในรัฐธรรมนูญเท่านั้น

เขากล่าวมาถึงสมัยโชวะกับสงคราม จักรพรรดิโชวะเป็นผู้สำเร็จราชการอยู่ 5 ปี หลังจากนั้นเมื่อพ่อเสียชีวิตก็ขึ้นเป็นจักรพรรดิ ถ้าเทียบกับจักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิโชวะนั้นไม่มีที่ปรึกษาที่ดี ที่ปรึกษารุ่นสองรุ่นสาม ความรู้หรือแนวความคิดก็เปลี่ยนแล้ว และมองจักรพรรดิในแง่อุดมคติ โดยมองว่าจักรพรรดิเมจิเหมือนเทวดา เพราะเสียชีวิตไปแล้ว ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริง มีแต่การสร้างภาพพจน์ที่ดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับโชวะ พวกที่ปรึกษาก็อยากให้จักรพรรดิเป็นไปตามอุดมคติ มันจึงเป็นเรื่องลำบาก นักประวัติศาสตร์อธิบายว่า เมื่อขึ้นเป็นจักรพรรดิใหม่ๆ เขาผิดพลาด 3 ครั้งติดต่อกัน และเป็นสาเหตุใหญ่ที่จะมีสงคราม

ทามาดะกล่าวว่า อย่างแรกที่สำคัญที่สุด เขาเป็นจักรพรรดิในปี 1926 แต่เพียงปี 1929 เขาบังคับนายกฯ ให้ออกจากตำแหน่ง นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเพราะปกติจะมีการคุย การหารือกันกับผู้ใหญ่ก่อน หลังจากนั้นทหารกับฝ่ายขวาก็โจมตีเขาหนักว่าผิดประเพณี ผิดระเบียบ ไม่รักษาหน้าฝ่ายบริหาร และนายกฯ ที่ให้ออกก็ดันเป็นอดีตทหารด้วย หลังจากนั้นก็ดูเหมือนจักรพรรดิจะไม่กล้าทำอย่างนั้นแล้ว  เหตุการณ์ที่สอง เกิดเมื่อปี 1930 เมื่อมหาอำนาจคุยเรื่องลดจำนวนเรือรบ ญี่ปุ่นก็ยอม แต่ทหารเรือญี่ปุ่นไม่ยอม จักรพรรดิก็ไม่ประนีประนอมให้กับรัฐบาล ทำให้ทหารโกรธ  เหตุการณ์ที่สาม เกิดขึ้นปี 1931 ทหารญี่ปุ่นบุกจีนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจักรพรรดิ นับเป็นครั้งแรกและถือว่าผิดกฎหมายรุนแรงมาก แต่จักรพรรดิไม่ว่าอะไร แปลว่าจักรพรรดิควบคุมทหารไม่ได้แล้ว จากนั้นก็เกิดการกบฏของนายทหารชั้นล่างอีก 2 ครั้ง

ในปี 1935 นายกฯ คนหนึ่งของญี่ปุ่นประกาศว่า อำนาจอธิปไตยอยู่ที่จักรพรรดิ เพราะพวกฝ่ายขวาและทหารกดดันให้ประกาศ ปีถัดมา ทหารก่อการรัฐประหาร แต่ไม่สำเร็จ เหตุที่ทำรัฐประหารเพราะทหารต้องการจักรพรรดิที่เป็นเผด็จการ ไม่เอารัฐบาล ไม่เอารัฐสภา แต่จักรพรรดิไม่เล่นด้วยเลยไม่สำเร็จ  เอาเข้าจริงแล้วจักรพรรดิโชวะตัดสินใจอย่างเป็นทางการแค่ 2 ครั้ง เพราะที่เหลือใช้การคุยหลังฉากทั้งนั้น ครั้งแรกคือ การกบฏ 1936 จักรพรรดิโกรธมากบอกว่าจะปราบปรามด้วยตัวเอง เพราะทหารที่ก่อการกบฏคือทหารรักษาพระองค์ แต่ว่าหลังเหตุการณ์นั้น นายทหารหลายคนที่เกี่ยวข้องกับกบฏประสบความยากลำบาก ต้องหนีไปจีน  นายทหารที่มีความสามารถจึงเหลือน้อยลง ทหารชั้นผู้น้อยก็ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่แล้ว เพราะตอนทำรัฐประหาร ทหารผู้ใหญ่บอกจะทำด้วย แต่พอทำจริงก็ไม่มีผู้ใหญ่เข้ามา (ผู้ฟังหัวเราะ)  หลังจากนั้นก็ควบคุมอะไรกันไม่ได้ คนที่ขึ้นมามีตำแหน่งสูงๆ ก็เปลี่ยนจากนักรบเป็นนายพลที่คุยภาษาข้าราชการฝ่ายพลเรือนได้ สื่อสารได้ จักรพรรดิโปรดมาก แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากทหารผู้น้อย

ทามาดะกล่าวว่า ก่อนสงคราม ปัญหาโครงสร้างอำนาจรัฐธรรมนูญสมัยเมจิ ต้องอาศัยจักรพรรดิ ถ้าไม่มีเขาก็ทะเลาะกัน ถ้าไม่มีจักรพรรดิก็ต้องมีรัฐบุรุษอาวุโส แต่พอรุ่นแรกเสียชีวิตก็ไม่มีต่อมาอีก

ทามาดะกล่าวว่า การตัดสินใจของจักรพรรดิโชวะอีกครั้งคือ การยอมแพ้สงคราม ตอนนั้นทุกคนรู้แล้วแต่ไม่มีใครตัดสินใจได้ แต่ก็น่าตั้งคำถามว่าอย่างนั้นทำไมไม่ห้ามทหารทำสงครามตั้งแต่แรก หลังสงคราม ญี่ปุ่นกับสหรัฐทำสัญญากันในปี 1981 หลายคนคิดว่าจักรพรรดิโชวะต้องลาออกเพราะสงครามจบแล้วจริงๆ แต่จักรพรรดิไม่ยอมออก ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใด แต่ที่แน่ๆ คือนายกฯ ไม่อยากให้ออก เพราะกลัวความวุ่นวายจะเกิดขึ้น เขาจึงอยู่ในตำแหน่งจนวาระสุดท้าย

ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต กล่าวอีกว่า เรื่องหนึ่งที่คนไทยสนใจมาก คือ คดีหมิ่นฯ  สถิติที่ญี่ปุ่นนั้นมีไม่มากเท่าไรในแต่ละปี ส่วนโทษของญี่ปุ่นแม้จะเบากว่า แต่ก็ยังมีโทษหนักมากสำหรับผู้พยายามฆ่าจักรพรรดิ โทษถึงประหารอย่างเดียว และเคยมี 4 คดีเกิดขึ้นในช่วง 3 จักรพรรดิที่กล่าวมา โดย 2 คดีมีคนพยายามจะฆ่าจริง แต่อีก 2ครั้งรัฐบาลบอกว่ามีแผนดังกล่าวซึ่งจริงเท็จเช่นไรไม่รู้

 

Lese majesty

ลงโทษ  ติดคุก สามเดือน ถึง ห้าปี

year

เกิด

จับ

1924

17

19

1925

14

15

1926

15

16

1927

15

15

1928

128

131

1929

29

27

1930

32

27

1931

26

19

1932

39

38

1933

43

43

1934

30

27

1935

20

22

1936

39

37

1937

28

27

1938

61

60

1939

66

79

1940

42

45

1941

60

62

 

หลังสงครามมีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ช่วงหลังสงครามใหม่ๆ เคยมีสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เขียนป้ายผ้าภาษาญี่ปุ่นว่า เรารักษาระบบได้แล้ว เรากินอิ่ม และราษฎรตาย แล้วเขาถูกจับในคดีหมิ่นฯ เป็นคดีดังมาก แต่สุดท้ายก็ยกฟ้อง สรุปแล้วหลังสงคราม เลิกกฎหมายแล้ว พูดยังไงก็ได้ แต่ส่วนมากไม่ค่อยมีใครพูด

เขากล่าวต่อว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  (1946)  8 มาตราแรกพูดถึงจักรพรรดิ โดยมาตราแรกกำหนดว่า จักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ มาตราสี่ระบุว่าจักรพรรดิไม่มีอำนาจทางการเมือง มาตราแปดระบุว่า ห้ามรับบริจาค

สำหรับเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องงบประมาณนั้น จักรพรรดิไม่มีทรัพย์สิน อยู่ด้วยงบประมาณของรัฐบาล ซึ่งมีงบ 3 อย่าง คือ เมื่อปีที่แล้วจะพบว่า งบเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว 324 ล้านเยน, กิจกรรมทางการ 5,683 ล้านเยน นอกนั้นเป็นเงินเพื่อรักษาศักดิ์ศรี 288 ล้านเยน

ส่วนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ห้ามบริจาคและรับทรัพย์สิน ระบุว่า จักรพรรดิจะให้ทรัพย์สินกับใครได้ปีหนึ่งไม่เกิน 18 ล้านเยนเท่านั้น รับได้ปีหนึ่งไม่เกิน 6 ล้านเยน พูดง่ายๆ ว่าถ้ามีคนบริจาครถคันเดียวก็เต็มโควตาแล้ว และที่กฎหมายกำหนดว่า ห้ามรับบริจาคนั้น ก็เพราะถ้าไม่ห้ามจักรพรรดิจะรวยขึ้นมากๆ  คงมีคนบริจาคมาก

ทามาดะกล่าวว่า โดยสรุปสถานการณ์หลังสงคราม ทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ต่างก็โจมตีจักรพรรดิ ฝ่ายซ้ายบอกว่าจักรพรรดิไม่จำเป็นต้องมีแล้ว แล้วก็ด่าเรื่องสงครามอย่างหนัก ส่วนฝ่ายขวาอยากจะใช้จักรพรรดิเป็นเครื่องมือ ก็จะบอกว่า จักรพรรดิต้องกล้ามากกว่านี้ และฝ่ายขวายังไม่ยอมให้ผู้หญิงเป็นจักรพรรดิ ทั้งที่คนญี่ปุ่นส่วนมากยอมแล้ว เพราะเห็นว่าองค์ปัจจุบันไม่มีลูกชาย

“จักรพรรดิญี่ปุ่นระวังเป็นพิเศษ ไม่ยุ่งการเมือง ไม่ยุ่งธุรกิจ ถูกโจมตีมากๆ ก็ไม่โต้ตอบ กับฝ่ายซ้าย แล้วก็ไม่ถูกฝ่ายขวาใช้ พยายามให้เป็นกลางๆ เขาพยายามอย่างมาก... เพราะอะไร ผมคิดว่าจักรพรรดิอยู่ได้ เมื่อมีประชาชน ถ้าไม่มีประชาชนแล้วก็อยู่ไม่ได้ แล้วประชาชนไม่สนับสนุนก็อยู่ลำบาก เพราะฉะนั้นพยายามไม่ให้ประชาชนคิดว่าไม่ยอมรับจักรพรรดิ ไม่ต้องคิดว่าอยากจะให้จักรพรรดิมีอำนาจมากๆ แต่อยากจะให้คิดว่าจักรพรรดิเหมือนอากาศ ขาดไม่ได้ แต่ไม่รู้สึกว่ามี เบามาก (ผู้ฟังหัวเราะ)”

 

 

สรุปคำถามจากนักศึกษา

 

Q: เมื่อมีภัยพิบัติธรรมชาติ รัฐบาลต้องนำเสนอแผน เหมือนของไทยหรือไม่

A: ทำไม่ได้ ผิดรัฐธรรมนูญ แต่จักรพรรดิไปเยี่ยมประชาชนได้ แต่ต้องไม่มีเป้าหมายทางการเมือง ถ้าเขาไปเยี่ยมประชาชนก็คงถ่ายรูป

เมื่อเหตุการณ์สึนามิ ปกติ จักรพรรดิจะใช้รถไฟและรถยนต์ แต่ช่วงนั้น จักรพรรดิใช้เฮลิคอปเตอร์ เพื่อไม่ให้รถติดมากขึ้นอีก

 

Q: คนญี่ปุ่นมองอย่างไร กับการที่จักรพรรดิเป็นกลาง ไม่ยุ่งอำนาจ และเสียภาษี

A: ผมไม่ทราบว่าจักรพรรดิมีสิทธิลงคะแนนเสียงไหม คิดว่าไม่มี แต่ต้องเสียภาษี มีเงินปีงบประมาณก็ดีแล้ว คนทั่วไปก็ไม่รู้สึกว่าสงสาร ถ้าสงสารก็เรื่องที่ไม่ค่อยมีเสรีภาพ ทำอะไรก็ถูกจำกัดหมด อยากจะกินอะไรไปร้านก็ไม่ได้

 

Q: กลุ่มอำนาจที่แวดล้อมจักรพรรดิที่มีบทบาทสูง อยากรู้ว่ากลุ่มเหล่านี้สลายไปได้อย่างไร หรือยังมีอยู่ไหม หลังสงครามโลกเมื่อฝ่ายขวามีบทบาทสูง พยายามดึงสถาบันมาเป็นเครื่องมือ ถึงปัจจุบันนี้กลุ่มพวกนี้ยังมีไหม และหายไปได้อย่างไร

A: ปัจจุบัน จักรพรรดิไม่มีอำนาจแล้ว รัฐบุรุษอาวุโสก็ไม่มี เพราะคนจะเป็นที่ปรึกษาจักรพรรดิได้ คุยกันได้อย่างเป็นเพื่อน ไม่มีแล้ว สมัยไทโช โชวะ ไม่มีแล้ว คนเหล่านี้มีประมาณ 10 คน เสียชีวิตไปก็ไม่มีคนมาแทน ที่เหลือคนสุดท้ายก็อายุมากแล้ว คุยกันไม่รู้เรื่องกับจักรพรรดิปัจจุบัน คนหนุ่มๆ ก็มองว่าจักรพรรดิเป็นเทวดา ก็คุยอะไรอย่างตรงๆ ไม่ได้ สุดท้ายจักรพรรดิต้องโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อนให้คำแนะนำ พอหลังสงคราม คนเหล่านี้ก็ไม่มีแล้ว พวกฝ่ายขวาก็ยังมีอยู่ แต่จักรพรรดิไม่เล่นด้วย เขารู้ว่ามันไม่ดียังไง สุดท้าย ฝ่ายขวาบางส่วนก็กลายเป็นยากูซ่า พวกหากินกับจักรพรรดิ แล้วก็ส่งเสียงดังๆ เพื่อหาตังค์

 

Q: อ้างอิงถึงงานสัมมนาธงชัยวินิจจะกูล สมัยโชวะ มีอุลตรารอยัลลิสต์หรือไม่

A: ก่อนสงคราม สมัยโชวะ มี มีมาก มีบางคนคิดจริงๆ ว่าจักรพรรดิเป็นเทวดา คนพวกนี้พูดไม่รู้เรื่อง ปัจจุบันนี้ก็ยังเหลืออยู่ แต่ไม่มาก ปัจจุบัน จักรพรรดิ คนก็รู้สึกว่า เบามาก ของโชวะนี่หนัก มีช่วงปกครองยาวนาน และทำสงครามด้วย บางคนไม่ชอบ บางคนชอบ คนปัจจุบันนี้เบามาก คนไม่ชอบมากๆ ก็มีน้อย คนชอบมากๆ ก็มีน้อย

สิ่งที่จักรพรรดิปัจจุบันทำอยู่ น่าจะดี เพราะน่าจะได้ความนิยมมากขึ้น เพราะเบามาก

 

Q: หากเปรียบเทียบกับสถาบันกษัตริย์ของไทย มีความคิดเห็นอย่างไร

ตอบ  สมัยญี่ปุ่นปัจจุบันไม่เหมือนเลย ถ้าเทียบก็เป็นจักรพรรดิก่อนสงคราม เช่น รวยที่สุด ที่ต่างกันคือ จักรพรรดิสามรุ่นของญี่ปุ่นที่กล่าวมา สายตาประชาชนที่มอง ต่างกันไม่มาก เปลี่ยนคนก็ยังนับถือเหมือนกัน เพราะถือว่าเป็นสถาบัน ใครขึ้นก็เป็นจักรพรรดิเท่าเดิม บางทีสูงกว่านิดหน่อย ต่ำกว่านิดหน่อย เมืองไทยก็อาจจะเป็นอย่างนั้น ต้องมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่านี้ 

 

Q: ดูจากยูทูป เหมือนจักรพรรดิโชวะพูดติดๆ ขัดๆ พูดไม่รู้เรื่อง ทำไมเขาถึงครองอำนาจได้ยาวนาน

A: เขานิสัยดี ซื่อสัตย์มากไป มีคนแนะนำเขาก็ทำจริงๆ ฉะนั้นจึงมีปัญหา คนก็มองว่าเป็นคนซื่อตรงมากไป  ถ้าเป็นที่สาธารณะเขาใช้ภาษาที่เป็นทางการ สิ่งที่เขาพูดก็เป็นสิ่งที่น่าเบื่อจริงๆ ไม่ค่อยมีสาระ

 

Q: หลังสงครามโลก ที่มีรัฐธรรมนูญกำหนดบทบาทกษัตริย์ให้น้อยลง ปฏิกิริยาของกลุ่มรอยัลลิสต์ตอนนั้นมีการปรับตัวอย่างไร หรือมีการตอบโต้อย่างไร

A: มีมาก แต่ว่ารัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ปัจจุบัน มาจากรัฐสภาก็ปฏิเสธไม่ได้ มีอะไรก็คุยกันได้ แก้ไขได้ แต่เรื่องบทบาทของจักรพรรดินั้นแก้ไม่ได้ ญี่ปุ่นปัจจุบันมีความพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีใครจะแก้ไขมาตราเกี่ยวกับจักรพรรดิให้มีอำนาจมากขึ้น ไม่มี เขาสนใจแต่เรื่องทหาร คนทั่วไปไม่ค่อยสนใจฐานะอำนาจของจักรพรรดิ ขณะเดียวกันก็ไม่มีใครคิดจะเลิก อยู่แบบนี้ก็ดีแล้ว ทั้งประชาชนและจักรพรรดิก็คิดว่าดีแล้ว

 

Q: ถ้ากรณีลูกสองคน ลูกคนเล็กสามารถเป็นจักรพรรดิได้ไหม กลไกทางรัฐสภาของญี่ปุ่นมีทางแก้ไขไหม

A:  ไม่มี ลูกชายคนโตมีสิทธิเด็ดขาด คนที่สองไม่มี

 

Q: การไม่มีบทบาท ก็ไม่ควรดำรงอยู่ ที่ผ่านมาจะเห็นว่าจักรพรรดิมีบทบาทเชิงการกุศล สังคมสงเคราะห์ อย่างนี้จะทำให้สถาบันนี้อยู่ต่อไปได้อีกนานไหม หรือจะมีโอกาสหายไปไหม

A: จักรพรรดิยุ่งมาก มีงานมาก ฉะนั้น ประชาชนทั่วไปไม่มองว่า จักรพรรดิไม่ทำอะไร ทำหลายอย่าง เพียงแต่ไม่เกี่ยวกับการเมืองเท่านั้น มันเกี่ยวกับประเทศ กับประชาชน

 

Q: จักรพรรดิญี่ปุ่นลดบทบาทหลังสงคราม ถ้าวันนั้นญี่ปุ่นไม่เข้าสู่สงคราม และไม่แพ้ จะเป็นอย่างนี้หรือไม่ สำหรับประเทศอื่นที่ไม่ใช้วิธีนี้จะใช้วิธีใดในการแก้ไขปัญหา

A:  ถ้าหากไม่แพ้สงคราม หรือถ้าชนะสงครามเป็นยังไง โอ่ น่ากัวจริงๆ ถ้าไม่แพ้จริงๆ ผมคิดว่า มีการปฏิวัติแน่  ถ้ารัสเซียเข้ามา ประชาชนจับมือด้วย  ไม่เอาระบบเผด็จการจักรพรรดิ

จักรพรรดิเขาตัดสินใจว่า ยอมแพ้ เขาคาดว่าอาจถูกประหารชีวิต แต่เขายอมแพ้เพราะอะไร เพราะในสงคราม ทหารญี่ปุ่นตายไปสองล้านกว่า คนทั่วไปล้านกว่า ถ้าไม่หยุดก็ต้องเสียอีก ต่อไปญี่ปุ่นจะอยู่ไม่ได้แล้ว เขาก็คิดถึงประเทศด้วย แต่พวกฝ่ายซ้ายเขาซุบซิบกันว่า ช่วงสงคราม จักรพรรดิญี่ปุ่นโอนเงินเข้าบัญชีสวิตเซอร์แลนด์ คาดว่าจะแพ้สงคราม จริงหรือเปล่าไม่รู้ เพราะก่อนสงครามจักรพรรดิมีทรัพย์สินมากกว่านี้มาก

 

Q: ญี่ปุ่นมีการยกย่องจักรพรรดิให้ประชาชนรับทราบบ้างไหม สังคมญี่ปุ่นถูกสอนให้มองสถาบันอย่างไร

A: ยกย่องนี่ไม่มี ยกย่องธงชาติมี แต่จักรพรรดิไม่ค่อยมี เพราะฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะครูโรงเรียนเขาคัดค้าน ไม่ยอม สมัยก่อน(ก่อนสงคราม) มีป้ายของจักรพรรดิ ที่บ้านมีรูป แต่หลังสงครามไม่มี ถ้าจะมีก็บ้านคนแก่ ลืมทิ้งไว้เท่านั้น ถ้าไปบ้านของพวกชาวนาญี่ปุ่น สหกรณ์เกษตรญี่ปุ่น เขาเคยทำปฏิทินรูปถ่ายจักรพรรดิทุกปี แต่สามสี่ปีที่ผ่านมาเขาเลิก ไม่รู้ทำไม

 

Q: ในญี่ปุ่นมี state ceremony อะไรบ้างที่จักรพรรดิต้องไป และเวลาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ต้องสาบานตนกับรัฐสภาหรือไม่ว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

A: พระราชพิธี แล้วแต่กรณี ส่วนการสาบาน เขาสาบาน แต่สาบานกับผีปู่ย่าตา ไม่ได้สาบานกับสภาหรือประชาชน เขามีพิธีพิเศษสำหรับตระกูลเขา เพราะเป็นประเพณีเป็นพันปี เข้าใจว่าเขาสาบานกับผีปู่ย่าตา ผมก็ไม่เข้าใจ และไม่ทราบว่าเขาพูดอะไร 

 

Q: เพลงชาติ คิมิงะโยะ ยังร้องไหม ยังสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิเหมือนก่อนสงครามโลกไหม

A: คำถามดีมากสำหรับผม เพราะผมไม่ชอบเพลงชาตินี้ แน่นอนว่า เนื้อหายกย่องจักรพรรดิ ที่โรงเรียน ครู หรือนักเรียนบางคนไม่ยอมร้องเพลงนี้ ปัจจุบันครูบางคนไม่ยอมร้องในพิธีรับประกาศนียบัตร ก็ถูกฟ้อง เมื่อก่อนไม่ว่าอะไร ปัจจุบันฝ่ายขวาเริ่มมีอำนาจมากขึ้น ไม่ยืนและไม่ร้องก็ถูกฟ้อง และถูกปรับ ลำบากมากขึ้น  ผมคิดว่าประชาชนทั่วไปเขาไม่รู้สึกอะไรกับเพลงนี้ว่ามีสาระอะไร เขาไม่รู้จัก ไม่ค่อยสนใจ

 

Q: ประเทศญี่ปุ่น ศาสนาหายไปไหน

A: ไม่หาย แต่มีหลายอย่างผสมกัน ตั้งแต่สมัยก่อน พุทธมาในสมัยเอโดะ แต่ละตระกูลต้องมีวัดประจำตระกูล ไม่ใช่นับถือ แต่ต้องสังกัดกับวัด และต้องบริจาคประจำปีด้วย นี่เป็นระบบญี่ปุ่น คนทั่วไปเขาทิ้งศาสนาไม่ได้ ถ้าทิ้งแล้วมันลำบาก เป็นพุทธ แต่คริสต์และอิสลามไม่ค่อยมี แต่ผสมกันมาก นับถือผีด้วย ไม่รู้สึกอะไร

 

Q: หนังสือชื่อ A Monkey Monarch ยังเป็นหนังสือต้องห้ามไหม พวกหนังสือต้องห้ามเห็นว่ามีเยอะ ยังห้ามไหม

A: ปัจจุบันไม่มีหนังสือต้องห้าม ที่ห้ามคือหนังสืออธิบายผลิตลูกระเบิด นอกนั้นไม่มี

 

Q: ข่าวพระราชกรณียกิจมีไหม

A: ที่เป็นประจำไม่มี แต่บางช่อง ก็ให้อาทิตย์ละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ให้เวลากับข่าวจักรพรรดิ เป็นทีวีช่องเอกชนที่เขาอยากผลิตเอง ผมไม่ทราบ แต่คิดว่าคนที่ดูรายการนี้ไม่มาก เพราะว่าน่าเบื่อ ไม่สนุก

 

Q: คุณค่าของการดำรงอยู่ของจักรพรรดิคืออะไร ทำไมเป็นอากาศที่ขาดไม่ได้

A: เป็นสัญลักษณ์ของชาติ มีจักรพรรดิคนทั่วโลกก็รู้ว่า นี่คือญี่ปุ่น มีบทบาทไม่ใช่ด้านการเมือง แต่เป็นตัวแทนประชาชน ประเทศ ก็ดีแล้ว ไม่อันตรายด้วย

 

 

AttachmentSize
เอกสารประกอบการบรรยาย Emperor and Politics in Japan.doc116 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

หนุนคุมราคายา แต่วอนนายกฯรอบคอบ เท่าทันบริษัทยา

Posted: 13 Mar 2012 04:31 AM PDT

ควบคุมราคายาเรื่องดี แต่ต้องไม่แอบแฝงการผูกขาด เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ขอนายกฯออกนโยบายเห็นแก่ประโยชน์ประชาชน อย่ามัวแต่เอาใจทุน 

ตามที่วานนี้ (12 มีนาคม 55) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับบริษัทยาข้ามชาติและนักธุรกิจอเมริกันที่เข้ามาลงทุนในประเทศ ทั้งเรื่องการคุ้มครองสิทธิบัตรและระบบการกำหนด-ควบคุมราคายา โดยนายกรัฐมนตรีรับปากให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับบริษัทยาข้ามชาติ มาติดตามการผลิตเวชภัณฑ์ไทยและให้กำหนดราคาอย่างเหมาะสม โดยอ้างว่า เพื่อ "ความโปร่งใส"

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ได้ให้ความเห็นว่า “ หากพิจารณาจากพฤติกรรมของบริษัทยาข้ามชาติที่ผ่านมา วัตถุประสงค์หลักของการเสนอแนวทางดังกล่าว เป็นการพยายามที่จะห้ามไม่ให้มีต่อรองราคายา ซึ่งที่ผ่านมาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีโอกาสที่จะต่อรองราคาทำให้สามารถลดงบประมาณในการจัดซื้อยาได้จำนวนมาก แต่หากรัฐบาลยิ่งลักษณ์รับปากบริษัทยาตามที่ขอ จะส่งผลให้กลไกต่อรองราคาเป็นอัมพาต กลายเป็นว่าบริษัทแจ้งมาเท่าไหร่นั่นคือเหมาะสม และอาจส่งผลต่อการประกาศใช้ซีแอล หรือลามไปถึงการออกระเบียบ กฎ หรือแก้ไขอะไร ต้องได้รับอนุญาตจากบริษัทยาก่อน ทำให้ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีกลไกใดๆ ในการควบคุมราคายาโดยเฉพาะในกลุ่มยาใหม่ที่มีผู้จำหน่ายรายเดียว ส่งผลให้มีการผูกขาดราคาโดยบริษัทยาอย่างอิสระ ซึ่งเห็นได้จากค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยที่มีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 7-8 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นเพียงร้อยละ 5-6 ต่อปี”

ทั้งนี้จากการแถลงต่อสาธารณชนไม่ได้มีการให้รายละเอียดต่อกรณีดังกล่าวว่า รัฐบาลจะมีการดำเนินการ หรือมีวิธีการอย่างไรต่อการรับปากกับกลุ่มทุนธุรกิจดังกล่าว ซึ่งในส่วนภาคประชาสังคมที่ได้มีการติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ได้มีข้อสังเกตต่อกรณีดังกล่าวว่า “การควบคุมราคายาเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการแก้ไขพรบ.สิทธิบัตรปี 2542 ได้มีการยกเลิกคณะกรรมการสิทธิบัตรยาซึ่งทำหน้าที่ควบคุมราคายา โดยเป็นผลมาจากการกดดันของสหรัฐฯ โดยใช้มาตรการพิเศษ 301 ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งจะมีส่วนให้มีการตัดสิทธิพิเศษสินค้าส่งออกของไทย ส่งผลให้ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีกลไกใดๆในการควบคุมราคายา จนเกิดการผูกขาดราคาโดยบริษัทยาอย่างอิสระ” นายนิมิตร์ เทียมอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าว

ทางด้านนายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ยังกล่าวว่า ผลพวงต่อเนื่องของการไม่มีระบบควบคุมราคายาก็ส่งผลให้ประชาชนไทยไม่สามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นซึ่งมีราคาแพงได้

“การที่บริษัทยาหรือตัวแทนนักธุรกิจด้านอุตสาหกรรมยาได้มีข้อเสนอให้ทางนายกรัฐมนตรี ให้มีแนวทางในการกำหนดราคายานั้น ต้องมีแนวทางระดมสมองต่อข้อเสนอดังกล่าวอย่างรอบด้าน และต้องมีกระบวนการรับฟังและสร้างการมีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งด้านผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน บริษัทยาไม่มีสิทธิเข้ามาร่วมการตัดสินใจในทุกเรื่อง เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน”

ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวานนี้  ที่ประเทศอินเดียเพิ่งประกาศบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) ให้บริษัทยาชื่อสามัญของเขาผลิตยารักษามะเร็งตับที่ติดสิทธิบัตรของบริษัทไบเออร์ เยอรมันนีได้ ซึ่งจะทำให้ราคาลดลงมากกว่าสามสิบเท่า และเพิ่มการเข้าถึงยาให้กับผู้ป่วยมะเร็งอย่างมาก อยากขอให้รัฐบาลไทยพิจารณานโยบายต่างๆโดยเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของกลุ่มทุน”

ทั้งนี้ภาคประชาชน โดยมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้บริโภค และนักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และต้องไม่รีบตัดสินใจ จนกว่าจะมีการศึกษาหรือรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยเครือข่ายภาคประชาชนจะเฝ้าจับตามองและติดตามกรณีนี้อย่างใกล้ชิด

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นายกฯ จัดเต็ม ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกสิทธิทุก รพ. ไม่ต้องถามสิทธิ ไม่ต้องจ่ายล่วงหน้า

Posted: 13 Mar 2012 04:06 AM PDT

นายกรัฐมนตรีประชุมเชิงนโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ผลสรุปคืบหน้า  พร้อมประกาศดีเดย์เริ่มบริการร่วมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวกันในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วไทยทั้งรัฐและเอกชน ไม่มีการทวงถามสิทธิ ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า โดยจะให้บริการจนผู้ป่วยอาการทุเลากลับบ้านได้ และวางมาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยา การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค

13 มีนาคม 2555 ที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง  3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ  ประกอบด้วยกองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 2 ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย  นายวิทยา  บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเผดิมชัย  สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายแพทย์ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ ดร.คณิศ แสงสุพรรณและคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงแรงงาน เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสปสช. เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมหรือสปส. อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ  ผู้แทนสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือสสส.

 นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การประชุมในวันนี้  นายกรัฐมนตรีได้ติดตาม 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. ติดตามความพร้อมการบูรณาการดูแลร่วมผู้ป่วยฉุกเฉินภายใต้มาตรฐานเดียวกันของ 3 กองทุนฯ โดยไม่มีการถามสิทธิและไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า   2.มาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยาระยะยาว และ3.มาตรการสร้างเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค

สำหรับความคืบหน้าของการเตรียมความพร้อมให้บริการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินของ 3 กองทุนสุขภาพ นายกรัฐมนตรีให้ทั้ง 3 หน่วยงานจัดเตรียมแผนปฏิบัติการ แก้ไขระเบียบของแต่ละกองทุนเพื่อให้เกิดเอกภาพและคล่องตัว ไม่ส่งผลกระทบกับโรงพยาบาลที่ให้บริการ  ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจผู้บริหารโรงพยาบาลภาครัฐทั้งในและนอกสังกัด และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศแล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2555 โดยในการให้บริการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามระบบปกติของทั้ง 3 กองทุน จะดูแลจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการทุเลาและกลับบ้านได้ หรือส่งต่อผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่โรงพยาบาลที่อยู่ในระบบ ไม่ต้องมีระยะเวลาสิ้นสุด 72 ชั่วโมงเหมือนที่ผ่านมา    โดย สปสช.จะเป็นศูนย์กลางติดตามการเบิกจ่ายค่าบริการ และได้จัดเตรียมสายด่วน 1330 พร้อมให้บริการให้ข้อมูลแก่ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง  ซึ่งในการดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินทุกประเภท  กระทรวงสาธารณสุขจะใช้กลไกสายด่วนกู้ชีพ 1669 มาร่วมบริการด้วย 

ส่วนมาตรการควบคุมราคายาและการบริโภคยาระยะยาวนั้น  ที่ประชุมมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ 3 กองทุน จัดทำมาตรการเพื่อควบคุมราคายา และการบริโภคยา เช่น การรวมซื้อยาที่ส่วนกลาง หรือการต่อรองราคายา  และส่งเสริมการสั่งยาโดยการใช้ชื่อสามัญทางยา เป็นต้น

สำหรับนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค   ได้ให้  3 กองทุนสุขภาพ และสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. บูรณาการ ร่วมกันเสนอประเด็นลดพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ และลดการเจ็บป่วย  ซึ่งจะมีผลในการลดความจำเป็นในการเข้าสู่บริการบำบัดรักษาใน 5 เรื่องสำคัญในเบื้องต้น ให้เกิดประสิทธิภาพ  ได้แก่

1. การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2. พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในระดับตำบล เพิ่มพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเยาวชน ลดพฤติกรรมเสี่ยงการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด 3. พัฒนาระบบการให้บริการเพื่อช่วยเลิกสูบบุหรี่  ผลสำรวจล่าสุดคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ 11.5 ล้านคน 4. พัฒนาระบบการให้บริการเพื่อช่วยเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ซึ่งมีข้อมูลในปี 2551 พบว่าประชาชนวัย 15-59 ปี เข้าข่ายมีความผิดปกติจากการดื่มสุรามากถึง 5 ล้านคน  ในจำนวนนี้มีปัญหาติดสุราอย่างน้อย 3 ล้านคน และ 5. การดูแลผู้ป่วยในช่วงสุดท้ายของชีวิต เผชิญความตายอย่างสงบ ปราศจากความเจ็บปวด แต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต 4.5- 5 แสนคน สาเหตุการตายอันดับ 1 คือมะเร็ง รองลงมาคืออุบัติเหตุ โรคหัวใจ โดยการตายที่โรงพยาบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.2 ในปี 2532 เป็นร้อยละ 39.3 ในปี 2548  และพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,763 บาทสำหรับผู้ป่วยนอก 3 เดือนก่อนตาย และ 15,767 บาทสำหรับผู้ป่วยใน 6 เดือนก่อนตาย ในขณะที่โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรคทั่วๆไปเฉลี่ย  64,106 บาทต่อคนต่อปี แต่ในผู้ป่วยโรคมะเร็งค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80,780 บาทต่อคนต่อปี

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสียงร้องจากผู้เป็นแม่ เมียและลูก หยุดรุนแรงชายแดนใต้

Posted: 13 Mar 2012 03:58 AM PDT

 ข้อเรียกร้องของเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคม
เพื่อสันติภาพชายแดนใต้

เนื่องในช่วงวันสตรีสากลและวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้
วันที่ 13 มีนาคม 2555
ณ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี

0 0 0 

8 ปี ของการเกิดสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนมากกว่า 13,000 คน ชี้ให้พวกเราได้ตระหนักแล้วว่า  ความรุนแรงได้สร้างความสูญเสียและผลกระทบ  ที่กว้างขวางสาหัสสากรรจ์จนยากต่อการเยียวยา เมื่อสามีหรือสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต พิการ บาดเจ็บ จากเหตุรุนแรงรายวัน หรือถูกควบคุมตัว ถูกจับกุม คุมขังในคดีความมั่นคง ผู้หญิงซึ่งเป็นแม่ เป็นเมีย ที่อยู่กับบ้าน  ต้องกลายเป็นผู้แบกรับภาระทั้งหมด ทั้งการดูแลลูกหลาน การหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว การต่อสู้คดีให้คนในครอบครัว  ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เป็นภาระที่หนักหน่วงเกินกว่าที่ผู้หญิงจะแบกรับได้โดยลำพัง

พวกเรา  เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ในฐานะที่เป็นแม่ เป็นเมีย เป็นลูกของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง ทั้งชาวมลายูมุสลิม และชาวพุทธ  จึงขอวิงวอนต่อคู่ขัดแย้ง ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายที่ต่อต้านรัฐ ให้หันมาใช้แนวทางอื่นที่ไม่ใช้อาวุธในการแก้ปัญหา  เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับครอบครัวของประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยทั่วไป  รวมทั้งครอบครัวของเจ้าหน้าที่รัฐ และครอบครัวของฝ่ายที่ต่อต้านรัฐเองด้วย

หากในระยะแรก ยังไม่สามารถยุติการใช้ความรุนแรงต่อกันได้ ขอให้จำกัดขอบเขตและเป้าหมายการใช้อาวุธ โดยไม่กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือพลเรือน และยุติการก่อเหตุที่ใช้วัตถุระเบิด ซึ่งนำไปสู่การสังหาร และทำลายล้างชีวิตประชาชน โดยไม่เลือกเพศ เลือกวัย เช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้

พวกเรา เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมฯ ขอเรียกร้องให้สื่อร่วมกันทำหน้าที่ในการอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้คนในประเทศได้เข้าใจถึงสาเหตุ ที่มา และความสลับซับซ้อนของสถานการณ์  มากกว่าการนำเสนอเพียงปรากฏการณ์รายวัน ขอให้เพิ่มพื้นที่การนำเสนอความเคลื่อนไหว ความคิดเห็นของผู้หญิง และภาคประชาสังคม  รวมทั้งคนชายขอบ คนตัวเล็กตัวน้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไร้สิทธิ์ ไร้เสียง ไร้พื้นที่ของการสื่อสารสู่สังคมใหญ่ตลอดมา

ขอให้สื่อร่วมกันเป็นสื่อกลางของการสร้างสันติภาพ ที่อยู่บนพื้นฐานของการทำให้ความจริงและความเป็นธรรมปรากฏ  ตลอดจนการทำให้คนในสังคม ได้เล็งเห็นถึงความงดงามของความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ทางชาติพันธุ์  ภาษา  อัตลักษณ์ และวัฒนธรรม ว่าทุกความแตกต่างนั้น  สามารถมีพื้นที่ยืนอยู่ได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสังคมไทย

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรมคุ้มครองสิทธิหอบเงินสดเป็นหลักทรัพย์ ‘สมยศ’ ไม่ได้ประกันรอบ 8

Posted: 13 Mar 2012 12:33 AM PDT

 

วานนี้ (12 มี.ค.55) ที่ศาลอาญารัชดา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้นำเงินมาประกันตัวผู้ต้องขัง 3 ราย ได้แก่  นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานาภพ, นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ,  และนายอเนก สิงขุนทด ผู้ต้องขังคดีวางระเบิดพรรคภูมิใจไทยซึ่งตาบอดทั้งสองข้าง

นางสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานายสมยศ กล่าวว่า กรมคุ้มครองสิทธิฯ ได้ใช้เงินสด 1.44 ล้านบาทในการประกันตัว ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 8 แต่ท้ายที่สุดศาลก็ได้ยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยระบุว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งยกคำร้องมาแล้ว และยังไม่เหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น

นายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายนางสาวดารณี ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่า กรมคุ้มครองสิทธิใช้เงินสด 1.44 ล้านบาทเป็นหลักทรัพย์ประกันตัว แต่ศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา เพราะขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างขอขยายเวลาอุทธรณ์ ตนจะเดินทางจากภูเก็ตมารับทราบผลอีกทีในวันพฤหัสที่ 15 มี.ค.นี้  ส่วนกรณีของนายอเนกนั้นศาลชั้นต้นก็ได้ส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเช่นเดียวกัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ระบบนิเวศทางสังคมเดนมาร์ก เหตุไฉนจึงพัฒนาไปไกลกว่าประเทศไทย?

Posted: 13 Mar 2012 12:30 AM PDT

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสังคมการเมืองในเดนมาร์กที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขคล้ายๆ ไทย แต่ก็มีระบบคุณค่า วัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างไปจากไทย

ถ้ากล่าวถึงประเทศเดนมาร์ก หลายคนคงนึกถึงประเทศที่มีแต่ฟาร์มโคนม หรือชาวไวกิ้ง เหล่านักรบในตำนานที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเรือ ก่อนจะอพยพมาสร้างถิ่นฐานบนภาคพื้นทวีป แถบแสกนดิเนเวียในปัจจุบัน แท้จริงแล้วประเทศนี้ยังเป็นต้นกำเนิดนิทานที่เราคุ้นเคยกันหลายเรื่อง อาทิ เงือกน้อยผจญภัย (The Little Mermaid), ลูกเป็ดขี้เหร่ (The Ugly Duckling), พระราชากับชุดล่องหน (The Emperor’s New Clothes) เป็นต้น นอกจากนี้ประเทศเดนมาร์กยังมีอีกหลายแง่มุมที่น่าสนใจ ผู้เขียนจึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง

1.สภาพสังคมของประเทศ: เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มแสกนดิเนเวีย อากาศหนาวตลอดปี (มีหนาวมากกับหนาวน้อยจากที่ผู้เขียนได้สัมผัส อุณหภูมิต่ำสุดเมื่อปี 2553 ประมาณ -20 องศาเซลเซียส) ช่วงฤดูหนาวยาวนานประมาณ 6 เดือน ไม่สามารถปลูกพืชได้เลย เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีพื้นฐานมาจากเกษตรกรรมซึ่งปัจจุบันก็ยังมีอยู่ ทั้งการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหมู มีประชากรหมู ประมาณ 17 ล้านตัว (ข้อมูลปี 2010)1 ขณะที่มีจำนวนประชากรทั้งประเทศประมาณ 5.4 ล้านคน สินค้าหลักที่ส่งออกของเดนมาร์ก ได้แก่ อาหารสัตว์, เคมีภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์จากนม, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า, ปลา, เฟอร์นิเจอร์, หนังสัตว์, เครื่องจักร, เนื้อสัตว์, น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

2. การจัดการพลังงานของประเทศ: เนื่องจากมีสภาพอากาศหนาวจึงต้องมีระบบทำความร้อนเพื่อให้ความอบอุ่นในที่พักอาศัย และระบบน้ำอุ่นเพื่อใช้ในบ้านเรือน เขาใช้ความร้อนจากการเผาขยะเป็นแหล่งพลังงานทำความร้อนและน้ำอุ่น (ช่วงเริ่มต้นการพัฒนาก็มีการเสนอให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ก็มีการต่อต้านจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และเสนอให้ใช้พลังงานทางเลือกจากการเผาขยะ แทน) และใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้มาจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมเป็นหลัก และที่สำคัญคนเดนมาร์กจะเน้นการประหยัดพลังงาน ใช้หลอดไฟแบบประหยัด สว่างน้อย ไม่มีห้างใหญ่ๆ แบบเมืองไทย (แม้แต่ตัวเมืองหลวงยังไม่มีห้างใหญ่ขนาดเท่าเมืองไทยเลย อย่างมากตึกสามสี่ชั้นก็หรูสุดแล้ว) ไม่มีการประดับประดาไฟในเมืองหลวงให้สว่างไสวทั้งคืน ที่เดนมาร์กไม่มีเขื่อนนะครับเพราะภูมิประเทศเป็นเกาะ มีแต่เนินเตี้ยๆ ดังนั้นจึงไม่มีเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

3. อาชีพและรายได้: ระดับรายได้เฉลี่ยพื้นฐานต่อคน สูงกว่าคนไทยมาก ยกตัวอย่าง คนประกอบอาชีพพนักงานทำความสะอาดมีเงินเดือนประมาณ 8-9 หมื่นบาท (หลังหักภาษีในอัตรา 40-60 % แล้ว) ซึ่งรายได้นี้ก็ไม่ต่างกับเงินเดือนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมากนัก อาชีพอื่นๆ ก็มีรายได้ใกล้เคียงกัน บางอาชีพอาจจะสูงกว่านี้ แต่ทุกอาชีพถูกจัดให้มีความสำคัญเท่ากันหมด ไม่แบ่งแยกอาชีพหรือชนชั้น ต่างคนต่างทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ใช้ระบบเส้นสายหรือระบบเจ้านายแบบบางประเทศในแถบเอเชียมาปกครอง ระบบการทำงานว่ากันด้วยหลักเหตุผล ความถูกต้อง และความสามารถเป็นหลัก ไม่มีระบบประจบสอพลอหรือแบบข้าทาสบริวาร (ถ้าหัวหน้างานอยากดื่มกาแฟก็ต้องไปชงเอง ไม่มีใครไปชงให้ดื่ม มีมือมีตีนก็ทำเองประมาณนั้น) ไม่มีศักดินามาเบ่งว่าตัวกูเป็นศาล อัยการ ศุลกากร ตำรวจ ทหาร ครู อาจารย์ แล้วต้องใหญ่ มีศักดิศรีและมีอำนาจมากกว่าเกษตรกร หรืออาชีพอื่น ทุกคนทุกอาชีพเท่าเทียมกันหมด

4.ภาษีและการพัฒนา: ระบบภาษีในเดนมาร์กถูกใช้ควบคุมทุกอย่างเหมือนเป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง ใช้แก้ปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น ประชากรอ้วนมากก็เก็บภาษีไขมันเพิ่มจากอาหารที่มีไขมันมาก เพื่อให้คนบริโภคน้อยลง3 มีสื่อไร้สาระมากก็เก็บภาษีสื่อ ทุกอย่างที่เป็นสื่ออิเล็กโทรนิกส์ผู้บริโภคต้องเสียภาษี ภาษีต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปใช้พัฒนาระบบสาธารณูปโภค รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆให้กับพลเมือง อาทิ จ่ายเงินเดือนให้กับคนตกงาน เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คนชรา หรือเป็นเงินเดือนหลังเกษียณสำหรับคนทำงาน

5.การศึกษา: เด็กทุกคนได้เรียนฟรีและมีเงินเดือนให้ด้วยระหว่างเรียน ถ้าเป็นระดับปริญญาตรีมีเงินเดือนให้ขณะเรียนประมาณ 27,000 บาท (5,000 เดนมาร์กโครน รวมค่าอาหารและค่าหอพักเบ็ดเสร็จ ให้ไปบริหารชีวิตตัวเอง) ถ้าไม่พอใช้จะกู้ยืมเพิ่มก็มีให้อีกประมาณ 17,000 บาท (3,000 เดนมาร์กโครน) ต่อเดือน แต่ถ้าจบไปทำงานรัฐบาลก็จะทยอยหักคืน (เฉพาะที่กู้เพิ่ม) ระบบการศึกษาสอนเน้นระบบคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผลเป็นหลัก (ไม่มีระบบความเชื่อแบบห้ามตั้งคำถาม) ทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยเริ่มตั้งแต่อนุบาล เมื่อเด็กถามผู้ปกครองหรือครูก็ต้องมีคำอธิบายที่มีเหตุผล และเปิดโอกาสให้คิดโต้แย้งได้ ไม่เชื่อเรื่องผีสาง เทวดา โชควาสนา หรือเทวดากลับชาติมาเกิดเป็นคน (ทุกคนต้อง กิน ดื่ม ขับถ่าย สืบพันธุ์ นอนหลับ เป็นปกติวิสัยของมนุษย์ทั่วไป) เชื่อเรื่องการกระทำที่มีเหตุผล และคำอธิบายที่ถูกต้อง รัฐให้ความสำคัญกับระบบการศึกษามาก4 การใช้ห้องสมุดสามารถนำอาหารไปทานด้านในได้ ในห้องสมุดมีมุมเกมส์ ภาพยนตร์ให้ดู และของเล่นครบครัน ส่วนบรรยากาศในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย การถกเถียงระหว่างนักเรียนกับครู อาจารย์เป็นเรื่องปกติ ไม่นับถือกันตามระบบอายุ นับถือตามความสามารถ ความคิด หรือดีกรีเป็นหลัก นักศึกษาก็เถียงกับอาจารย์ได้ด้วยเหตุผล ทฤษฎี เด็กโต้เถียงกับผู้ใหญ่ได้เมื่อมีความเห็นแย้งหรือคิดต่างออกไป ระบบความคิดหรือระบบความรู้ก็เลยมีการพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เนื่องจากทุกคนถูกฝึกฝนให้รู้จักคิดตั้งแต่เด็ก (ชาวยุโรปส่วนใหญ่ก็ใช้ระบบนี้) เรียนได้ทุกวัยตั้งแต่เด็กยันวัยชราตามที่อยากจะเรียน

6.อาชีพและความสำคัญ: ผู้คนสามารถที่จะเลือกเรียนสาขาใดก็ได้อย่างอิสระ ตามความชอบ ประกอบอาชีพอะไรก็ได้เพราะสำคัญเท่ากัน เงินเดือนก็ไม่ต่างกันมากนัก ไม่ตกงาน ถ้าตกงานก็มีเงินเดือนให้ (เงินจากการเก็บภาษี)

7.การพนันและสื่อลามก: เดนมาร์กเป็นประเทศที่เปิดให้มีบ่อนคาสิโนตามเมืองใหญ่ๆ มีตู้สล๊อตเรียงรายอยู่ดาษดื่น และเปิดให้มีการขายหวยออนไลน์ (Lotto) อย่างเสรี แต่ผู้คนก็ไม่ได้เสียเวลากับสิ่งเหล่านี้ เขามองว่ามันเป็นสิ่งไร้สาระ ถ้าเขาจะซื้อทีก็ถือแต่เพียงว่าซื้อไว้เล่นๆ และยังพบว่าในบ่อนคาสิโนนั้น ลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการส่วนใหญ่เป็นคนเอเชีย ในเรื่องสื่อลามกรัฐบาลก็เปิดให้มีสื่อลามกเสรี มีร้านให้เช่าได้พร้อมกับขายอุปกรณ์ประกอบกิจกรรมทางเพศด้วย (sex shop) ในทางกลับกันหลังสี่ทุ่มรายการโทรทัศน์ก็จะมีรายการภาพยนตร์ให้ดูส่งตรงถึงบ้าน ผู้เขียนก็ไม่เห็นว่าจะมีใครมาหมกมุ่น หรือมีข่าวข่มขืนมากมายให้เห็นอย่างในประเทศไทย

8.สถาบันกษัตริย์: เดนมาร์กปกครองแบบระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระราชอำนาจถูกจำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญ (ซึ่งไม่เหมือนกับราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจทางการเมืองเบ็ดเสร็จและไม่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ) มีสถาบันกษัตริย์แต่ตัวสถาบันไม่ยุ่งกับการเมือง สถานะของคนในสถาบันกษัตริย์นั้นเฉกเช่นคนปกติ ออกมาเดินถนน ทานอาหารในร้านได้เหมือนกับคนปกติ ไม่มีพิธีรีตองอะไรที่ต่างกับสามัญชนทั่วไป แต่ละปีรัฐจะจัดสรรงบประมาณให้สถาบันกษัตริย์ เช่น ในปี 2552 จัดสรรให้ประมาณ 1,710 ล้านบาท (342 ล้านเดนมาร์กโครน) (แต่ในปีต่อๆ มาสถาบันกษัตริย์ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในเรื่องงบประมาณทั้งจากทางรัฐบาลเดนมาร์ก สื่อ และประชาชน เพราะงบประมาณบางอย่าง เช่น ค่าเรือ ค่าเครื่องบินโดยสาร ค่ารันเวย์ขึ้นลงสนามบินต่างประเทศ ที่สถาบันใช้เดินทางไปร่วมงานต่างๆ ใช้งบค่อนข้างสูงและตัวสถาบันไม่ได้ออกงบประมาณเอง ดังนั้นจึงได้ถูกตัดงบประมาณลง อีกทั้งเรื่องเกี่ยวกับสถาบันก็จะถูกจับตา และรายงานโดยสื่อเฝ้าระวังราชวงศ์เดนมาร์ก – Danish Royal Media Watch)5 สถาบันกษัตริย์ของเดนมาร์กไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองทั้งต่อหน้าและลับหลัง หรือเข้าไปมีผลประโยชน์ในเชิงลึกกับรัฐวิสาหกิจ หรือการลงทุนต่างๆ ทุกคนทุกระบบตรวจสอบกัน เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบได้ซึ่งสอดคล้องกับอันดับที่ได้จากดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (อันดับดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี พ.ศ. 2554 เดนมาร์กได้อันดับ 2 ด้วยคะแนน 9.4 ไทยได้อันดับที่ 80 ด้วยคะแนน 3.4 จากทั้งหมด 182 ประเทศ)6

บทสรุป
ประเทศเดนมาร์กมีสภาพภูมิหลังที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยทั้งพื้นฐานการพัฒนาที่มาจากการทำเกษตรกรรม และรูปแบบการปกครองระบอบราชาธิปไตย (กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยผ่านระบบรัฐสภา) แต่คุณภาพของการพัฒนากลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ผู้เขียนคิดว่าระบบการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ (criticize)ได้ในทุกภาคส่วนซึ่งสั่งสอนกันมาตั้งแต่แรกเกิด เริ่มจากครอบครัวไปสู่สถาบันการศึกษา และสังคมนั้น ไม่ได้สอนให้คนยอมเชื่อโดยไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ (criticize) ทำให้องค์ความรู้มีการต่อยอดไม่หยุดนิ่ง สิ่งที่ดีกว่าไปทดแทนสิ่งเก่าที่ล้าหลัง และการคิดแบบมีส่วนร่วม (participatory) ของสังคม เน้นประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม สิ่งแวดล้อม มากกว่าส่วนตัว โดยที่กรอบศาสนาไม่ได้เป็นส่วนหลักของสังคม (คนเดนมาร์กในปัจจุบันมีส่วนน้อยที่จะยึดมั่น ถือมั่นตามหลักศาสนา) แต่ทุกคนรู้ว่าอะไรดีไม่ดี อะไรคือหน้าที่ที่ต้องทำ การคอร์รัปชั่น ความพุ่มเฟือยเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ คนเดนมาร์กส่วนใหญ่จะประหยัด ทำอาหารทานเอง เพราะที่ร้านราคาค่อนข้างแพง เท่าที่ได้สอบถามมา ในส่วนของสถาบันกษัตริย์คนเดนมาร์กยังคงรู้สึกชอบ (like) ไม่ใช่รัก (love) เพราะสถาบันก็ยังมีส่วนที่ดีอยู่ คนสามารถวิจารณ์ในขอบเขตที่ไม่ล้ำเส้นเกินไปได้ เช่น สามารถวิจารณ์เรื่องงบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะเป็นเงินที่มาจากภาษีของประชาชน แต่ก็มีแนวโน้มลดลง หรือปรับตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

เอกสารอ้างอิง:

(1) http://www.lf.dk
(2) http://th.wikipedia.org
(3) http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-15137948
(4) http://www.uvm.dk
(5) http://danishroyalmediawatch.blogspot.com/2011/08/pro-monarchy-press-danish-royals-too.html
(6) www.transparency.org

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ขอรัฐทบทวนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในชายแดนใต้อีกครั้ง

Posted: 13 Mar 2012 12:25 AM PDT

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมยื่นจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 2 ขอให้รัฐบาลทบทวนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกในครั้งต่อไป โดยขอให้พิจารณาถึงข้อมูลและข้อคิดเห็นดังต่อไปนี้

1. การบังคับใช้พรก.ฉุกเฉินฯ เป็นการลดบทบาทของกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่คุ้มกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะบทบาทของศาล ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

2. ปี 2554 ศาลพิพากษายกฟ้องคดีความมั่นคง ถึงร้อยละ 78.50 เนื่องจากพยานหลักฐานที่ใช้ในการดำเนินคดีในชั้นพิจารณาที่ได้มาระหว่างการซักถามบุคคลตามพรก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งเป็นเพียงคำซัดทอดหรือคำรับสารภาพที่เป็นพยานบอกเล่าจึงทำให้ไม่มีน้ำหนักเพียงพอในการตัดสินลงโทษบุคคล ทำให้สาธารณะชนสูญเสียความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของรั

3. ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะตัวแทนของประชาชน ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเหตุและความจำเป็นในการประกาศ ควรมีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผยภายใต้ระบบรัฐสภา รวมทั้งเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน และภาควิชาการต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย

4. รัฐบาลไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะตามกลไก UPR ของ UN อย่างจริงจัง โดยเฉพาะข้อเสนอแนะที่ ให้ดำเนินการเพื่อนำไปสู่การยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงโดยทันที และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ สิทธิเด็ก ที่ให้รัฐบาลไทยทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคง และห้ามบังคับใช้กฎหมายพิเศษต่อเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและและมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการกำหนดกรอบนโยบายการพิจารณาการประกาศการขยายระยะเวลาการบังคับใช้พรก.ฉุกเฉินฯ และขอให้รัฐบาลใช้ความพยายามในการสนับสนุนให้ทุกฝ่ายไม่ว่าภาครัฐหรือภาคประชาสังคมประสานงานร่วมกันเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมกันแสดงข้อมูล ความคิดเห็นเพื่อหาทางออกแบบบูรณาการร่วมกันอย่างจริงจังในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นจริง โดยยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉินโดยทันทีย่อมจะส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนและมีเสถียรภาพพร้อมที่จะมีการพัฒนากรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งของรัฐและความมั่นคงของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันต่อไป

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย (1): สมชาย ปรีชาศิลปกุล

Posted: 13 Mar 2012 12:19 AM PDT

คำอภิปรายของสมชาย ปรีชาศิลปกุลที่เชียงใหม่ เกี่ยวกับ “รัฐธรรมนูญ” และ “ประชาธิปไตย” ในมิติที่กว้างกว่าความขัดแย้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยสมชายยังอธิบายเรื่องเพดานความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญในสังคมไทย “รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ” ของสังคม-การเมืองไทย และส่งท้ายด้วยเรื่องรัฐธรรมนูญที่ไม่ศักดิ์สิทธิ์ แต่จะยิ่งทวีความสำคัญ

บรรยากาศการอภิปรายสาธารณะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย" 10 มี.ค. 55 ห้องประชุมชั้น 2 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ที่มา: Book Re:public/facebook.com)

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2555 ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Book Re: public จัดเวทีอภิปรายสาธารณะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย" ที่ห้องประชุมชั้น 2 คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิทยากรประกอบไปด้วย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และ รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิชาการในคณะรณรงค์แก้ไข ม.112 หรือ ครก.112 ดำเนินรายการโดย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ.สมชาย เป็นผู้อภิปรายคนแรก มีรายละเอียดดังนี้

000

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

"ทำไมข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำรู้สึกถูกกระทบ เพราะข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่พยายามจะยกเลิก หรือทำให้ผลของการรัฐประหารมันสิ้นไป มันกำลังกระเทือนสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณีว่าด้วยการรัฐประหาร มันกำลังทำให้จารีตประเพณีว่าด้วยการรัฐประหารที่เคยเป็นมา มันเดินต่อไม่ได้ สิ่งนี่ผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะฉะนั้นข้อเสนอนี้จึงถูกโต้ตอบ"

 

หัวข้อที่จะคุยวันนี้ คือ "กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย" มีเรื่องที่ตั้งใจจะพูดในวันนี้ 4 เรื่องด้วยกัน ในแง่หนึ่งจะลองพยายามพยายามอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญ" กับ "ประชาธิปไตย" ในมิติที่มันกว้างขึ้นกว่าความขัดแย้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผมคิดว่าในเบื้องต้นถ้าเราเข้าใจปัญหาของเรื่องที่เรากำลังเป็นข้อขัดแย้งของเรา รวมถึงเข้าใจถึงข้อจำกัดต่างๆ ผมคิดน่าจะทำให้เราสามารถมองเห็นทางที่เราจะไปได้กว้างขึ้น

เรื่องที่ผมจะพูดมี 4 เรื่องด้วยกัน

เรื่องแรก ความเป็นการเมืองของสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย

สอง เพดานความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญในสังคมไทย เพดานความคิดหมายความว่า เมื่อเราคุยเรื่องนี้แล้ว มีอะไรบ้างที่เป็นกรอบความคิดภายใต้เรื่องนี้

สาม รัฐธรรมนูญสามฉบับของไทย เมืองไทยมีรัฐธรรมนูญหลายฉบับก็จริง แต่ผมคิดว่าทั้งหมดเราแบ่งได้ประมาณ 3 เรื่อง

สี่ สถานการณ์เฉพาะหน้าจะทำความเข้าใจอย่างไร

 

เรื่องแรก ความเป็นการเมืองของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย คำว่ารัฐธรรมนูญ หรือประชาธิปไตย ในแง่หนึ่งเป็นคำที่เป็นภาษาทางการเมือง แม้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย แต่หมายความว่ามันมีความหมายที่ลื่นไหล มันเปลี่ยนแปลงได้ ผมคิดว่าลองนึกถึงตัวอย่างง่ายๆ ในความขัดแย้งในทางการเมืองไทยที่ผ่านมา พันธมิตรฯ หรือ นปช. เราเห็นคำว่า "ประชาธิปไตย" ก็อยู่ด้วยกับทั้งคู่ ใครเป็นผู้ที่อยู่ในความหมายนี้ถูกต้อง ผมก็ไม่รู้นะครับ มันเป็นคำซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนไปได้

อย่างเช่น เวลาเราพูดว่า "ประชาธิปไตย" คืออะไร ในอดีตก่อน พ.ศ. 2475 เวลาพูดถึงประชาธิปไตยมันหมายถึง "Republic" ที่ไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน คือคำพวกนี้ต่างๆ เหล่านี้มีความหมายที่มันเปลี่ยนได้ ลื่นไหลได้ แต่ในแง่นี้มันไม่ได้หมายความว่าขึ้นอยู่กับใครว่าจะนิยามว่าอะไร เวลาเราบอกว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร ประชาธิปไตยคืออะไร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครอยากนิยามอะไรก็นิยาม ไม่ใช่นะครับ ในแง่หนึ่งมันขึ้นกับการช่วงชิงต่อสู้ทางการเมือง ว่าใครจะสามารถทำให้คำนั้นมีความหมายขึ้น ทำให้ความหมายนั้นยอมรับกันได้

นี่เป็นคุณลักษณะเบื้องต้น เวลาเราพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญ" หรือ "ประชาธิปไตย" ก็ตาม มันลื่น มันเปลี่ยนได้ แต่ไม่ได้เปลี่ยนตามใจชอบ แต่เปลี่ยนโดยเป็นผลมาจากการต่อสู้ช่วงชิงทางเมือง ในช่วงเวลาหนึ่งอาจมีความหมายแบบหนึ่ง อีกช่วงเวลาหนึ่งอาจมีความเป็นอีกแบบหนึ่ง ความหมายนี้ในแง่หนึ่งเป็นการต่อสู้ทางแนวคิด เราจะอธิบายว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร ประชาธิปไตยคืออะไรเป็นเรื่องของแนวคิด การรับรู้ของคนในสังคม และสิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญมากคือปฏิบัติการทางสังคม

ปฏิบัติการทางสังคมมีความสำคัญมาก นี่เป็นสิ่งเริ่มต้น ที่เวลาเราคิดถึงรัฐธรรมนูญ หรือประชาธิปไตย นี่เป็นคุณลักษณะพื้นฐานบางอย่าง แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า เราจะอธิบายมันว่าอย่างไรก็ได้ มันมีคุณลักษณะบางอย่างที่เป็นหลักการพื้นฐานอยู่ของสิ่งที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญ" หรือ "ประชาธิปไตย" ก็ตาม เช่น ถ้าเป็นประชาธิปไตยอย่างน้อยคงต้องมีสิ่งที่เรียกว่า การเมืองที่สัมพันธ์กับประชาชน การเลือกตั้ง

เรื่องที่สอง เรื่องรัฐธรรมนูญ เวลาเราเถียงเรื่องรัฐธรรมนูญในสังคมไทยปัจจุบัน ผมคิดว่ามันมีบางอย่างที่เป็นเพดานความคิดที่สำคัญ หมายความว่า เราเขียนอยู่ภายใต้กรอบประมาณนี้ มันมีกรอบบางอย่างกำหนดให้เราเถียง ถกเถียงเรื่องรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้กรอบนี้ ผมคิดว่ามีสามเรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน 

เวลาเราคิดถึงรัฐธรรมนูญในสังคมไทย ในเบื้องต้นนี่เป็นภาพที่เราน่าจะคุ้นเคยกัน เป็นภาพที่เราจะเรียกว่าภาพพระราชทานรัฐธรรมนูญ ใช่ไหมครับ [หมายเหตุ: แสดงภาพพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476] เพราะฉะนั้นเวลาเราคิดถึง "รัฐธรรมนูญ" มันจึงมีความหมายอะไรบางอย่างกำกับอยู่ นอกจากภาพ ถ้อยคำที่ตามมา ซึ่งถ้อยคำจริงๆ ต่างกรรม ต่างวาระนะครับ แต่ตอนหลังถูกนำมาผนวกเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งถ้อยคำนี้ผมคิดว่าคนในสังคมไทยก็ค่อนข้างจะคุ้นเคยนะครับ

[หมายเหตุ: หมายถึงพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 (นับแบบปฏิทินสากล หรือ พ.ศ. 2477 ตามปฏิทินเก่า) "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"]

รัฐธรรมนูญไทยมีอะไรที่เป็นเพดานความคิดอยู่บ้าง ผมคิดว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 เรื่อง หนึ่ง เรามักอธิบายว่ารูปแบบการปกครองของเราเป็นระบบรัฐสภา โดยมีรูปแบบการปกครองของอังกฤษเป็นต้นแบบ ผมคิดว่านี่คือเป็นกรอบความคิดอันแรกที่สำคัญมากในสังคมไทยและในแวดวงวิชาการ

เวลาเราอธิบายระบบรัฐสภาในบ้านเรา เรามักจะตั้งต้นอธิบายว่า อังกฤษเป็นต้นแบบ และพยายามจะเอารูปแบบอังกฤษมาใช้กับเมืองไทย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นแบบนี้ครับ ผมคิดว่าเรามีความอ่อนแอในเรื่องความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษมาก รวมถึงแวดวงวิชาการไทยมีความรู้ไม่มากเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ หรือการถกเถียงเรื่องระบบรัฐสภาอังกฤษ

พูดแบบนี้ได้อย่างไร อันนี้เอามาจากที่อาจารย์เกษียร เตชะพีระได้พูด ที่กล่าวว่า เวลานักวิชาการไทยถกเถียงมักจะยกแต่ วอลเตอร์ เบกช็อต (Walter Bagehot) ซึ่งพูดถึงประเด็น พระมหากษัตริย์สามารถมีบทบาททางการเมืองได้ เช่น สนับสนุน ให้กำลังใจกับฝ่ายบริหาร นี่เป็นคำที่ถูกพูดมาตั้งแต่สมัยผมเรียน หรืออย่างน้อย 3-4 ทศวรรษของการเมืองไทย เวลาพูดถึงรัฐสภาอังกฤษมักจะเอางานของวอลเตอร์ เบกช็อตมาอ้างอิง แต่เวลาอ้างอิงนำมาอ้างอิงเป็นส่วนๆ

เช่น ข้อถกเถียงของสังคมไทย เรื่องวุฒิสมาชิกควรจะมาจากการเลือกตั้ง บางคนก็บอกว่า "ไม่จำเป็น ประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของเรา วุฒิสภาก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง" ถูกไหม ก็ถูกครับ ถามว่าถูกไหมวุฒิสภาอังกฤษมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดไหม ไม่ใช่ครับ มาจากการสืบทอดตำแหน่ง มาจากพระ มาจากนักกฎหมาย มาจากประธานศาลฎีกา เต็มไปหมดเลย

แต่ว่าสิ่งที่เวลาเถียงเรื่องระบบรัฐสภา แต่ทั้งหมดนี้ไม่ยอมตอบกรอบใหญ่ที่สำคัญมากที่ว่า รัฐสภาเป็นการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์กับสภา แล้วจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา พระมหากษัตริย์ค่อยๆ ถอยห่างไปจากระบบการเมือง หรือหลักการที่นักกฎหมายไทยชอบเรียกนะครับ "Supremacy of Parliament" หรือ หลักความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา อ้นนี้ ผมคิดว่าเวลาเราอธิบายว่าอังกฤษเป็นต้นแบบ มันเลยกลายเป็นต้นแบบเป็นส่วนๆ แต่ละกลุ่มดึงเอาส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตนเองมาอธิบาย แต่ตรงไหนไม่เป็นประโยชน์ ไม่อธิบาย ในแง่หนึ่งเป็นความอ่อนแอของนักวิชาการไทยหรือเปล่าไม่รู้ แต่ในแง่หนึ่งเราอธิบายเรื่องนี้อย่างเป็นการเมืองมากๆ

[แสดงภาพปกหนังสือ "The English Constitution" ของวอลเตอร์ เบกช็อต พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ.1867]


ภาพปกหนังสือ The English Constitution โดยวอลเตอร์ เบกช็อต

 

ผมเดาว่าคนอ่านวอลเตอร์ เบกช็อตให้จบในเมืองไทยมีไม่มาก แต่ถูกอ้างเป็นตุเป็นตะ ที่สำคัญคือแบบนี้ ถ้าในทางวิชาการ เวลาเราพูดถึงรัฐสภาอังกฤษ รัฐธรรมนูญอังกฤษ นี่คืองานที่ถูกอ้างถึงมากที่สุดในงานภาษาไทย แต่ถ้าไปอ่านรัฐธรรมนูญอังกฤษ คนที่เขียนงานวิชาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญอังกฤษ ตาคนนี้กลายเป็นคนเล็กๆ ในปัจจุบัน คนนี้ไม่ได้เป็นคนที่ใหญ่มากในการอธิบายรัฐธรรมนูญอังกฤษ แต่ในสังคมไทยนี่กลายเป็นคนที่กุมการอธิบายรัฐธรรมนูญอังกฤษ

ในแง่นี้จึงเป็นความไร้พลังของงานวิชาการในเมืองไทย ที่ไม่สามารถพูดถึงเรื่องพวกนี้กันได้เท่าไหร่

อันที่สอง เวลาเมืองไทยพูดถึงรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่า เรามักจะเพ่งความสำคัญ หรือให้ความสนใจกับสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรมากกว่าการสนใจในสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณี เวลาที่เราให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ เราให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญที่เขียนเป็นเรื่องๆ มีข้อความอะไร แล้วเถียงกันเรื่องนั้น ถามว่าสำคัญไหมก็สำคัญ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เราละเลยก็คือเราไม่สนใจสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณีมากเท่าไหร่ ถ้าเราสนใจรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ผมคิดว่าอาจจะทำให้เรามองเห็นภาพอะไรที่ชัดขึ้น

เช่น ในเมืองไทย มันมีสิ่งที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี" ในที่นี้ หมายถึงการปฏิบัติ การกระทำใดก็ตามที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐธรรมนูญ ระบอบการปกครอง และเป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่าย ตัวอย่างของรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่ผมคิดว่าเห็นชัดที่สุดเช่น "รัฐธรรมนูญจารีตว่าด้วยการฉีกและเขียนรัฐธรรมนูญใหม่"

จารีตประเพณีว่าด้วยการฉีกและเขียนรัฐธรรมนูญใหม่เป็นอย่างไร เวลาฉีก คณะรัฐประหารฉีกได้ แต่เวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ คณะรัฐประหารร่างไหม จะประกาศใช้ด้วยตัวเองได้ไหม ไม่ได้ ต้องกระทำภายใต้พระปรมาภิไธย นี่คือรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีซึ่งสืบเนื่องมานับตั้งแต่ทศวรรษ 2500 จนกระทั่งถึง 2550 ... 50 ปี ครึ่งทศวรรษนะครับ นี่คือรัฐธรรมนูญที่เขียนไหม ไม่เขียน แต่เป็นที่รู้กันว่าถ้ารัฐประหารปุ๊บ ฉีกได้ไหม ... ได้ เขียนใหม่ได้ไหม เขียนได้ แต่ต้องกระทำภายใต้พระปรมาภิไธย นี่แหละสำคัญมาก

คือถ้าถามผม ทำไมข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำรู้สึกถูกกระทบ เพราะข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่พยายามจะยกเลิก หรือทำให้ผลของการรัฐประหารมันสิ้นไป มันกำลังกระเทือนสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณีว่าด้วยการรัฐประหาร มันกำลังทำให้จารีตประเพณีว่าด้วยการรัฐประหารที่เคยเป็นมา มันเดินต่อไม่ได้ สิ่งนี่ผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะฉะนั้นข้อเสนอนี้จึงถูกโต้ตอบ ถ้าเราสังเกตนะครับ ถูกโต้ตอบจากใคร ... จากคนที่ช่วยกันธำรงจารีตประเพณีอันนี้เอาไว้ ใครบ้าง ... ทหาร เนติบริกร ก็ว่าได้นะครับ กลุ่มชนชั้นนำต่างๆ

ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจแบบนี้ เราจะเห็นว่า ทำไมข้อเสนอนี้มันจึงถูกมองว่าแรง แต่ว่าในขณะเดียวกันแบบนี้นะครับ รัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในด้านหนึ่งมันไม่ได้หมายความเฉพาะแค่การเพิ่มอำนาจของกลุ่มที่เรียกว่าอนุรักษ์นิยม ในอีกด้านหนึ่งมันเปิดช่องให้สังคมสร้างรัฐธรรมนูญฉบับจารีตประเพณีบางอย่างได้ เช่น จนถึงวันนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่น่าจะยอมรับกันก็คือว่า การเขียนรัฐธรรมนูญฉบับถาวร งุบงิบเขียนกันสามสี่คนทำไม่ได้แล้ว จนถึงวันนี้การเขียนรัฐธรรมนูญมันต้องมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน

ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่จะทำต่อไป หรือฉบับหลังจากนี้ก็ตาม ประเภทไปนั่งเขียนกันแล้วเชิญสี่ห้ามาเขียนๆ แล้วประกาศใช้ ผมคิดว่าเป็นไปได้ยากมากขึ้น ในแง่นี้ ถ้าเราคิดถึงรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในแง่นี้ ผมคิดว่า มันทำให้เราเห็นว่า อำนาจของสังคมสามารถเข้าไปกำกับรัฐธรรมนูญได้อย่างไร เพราะฉะนั้นในแง่นี้ผมคิดว่า เรื่องหนึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ คือถ้าเราสนใจสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณี

สาม ที่เป็นเพดานความคิด เวลาเราอธิบายรัฐธรรมนูญ คำอธิบายรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่มักจะเป็นคำอธิบายในเชิงนิติสถาบัน หมายความว่า เป็นการมุ่งที่จะอธิบายหลักการหรือโครงสร้างในแบบที่อารยะประเทศทำกัน อย่างเช่น เวลาประมุขของรัฐดำรงตำแหน่งก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องสาบานว่าจะพิทักษ์ปกปักรัฐธรรมนูญ หรืออธิบายว่าหน้าที่ของรัฐสภาทำอะไร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารคืออะไร ผมคิดว่าอันนี้ในแง่หนึ่ง เรามักจะอธิบายรัฐธรรมนูญในเชิง "นิติสถาบัน" ซึ่งถามว่าจุดแข็งมีไหม ผมคิดว่าจุดแข็งมีครับ ในแง่หนึ่งนี่เป็นการอ้างอิงหลักการสากล แต่ในแง่ที่ถูกโต้ตอบอย่างมาก และผมคิดว่าเป็นปัญหาสำคัญคือ หลักการที่เป็นสากลต่างๆ เหล่านี้มักจะถูกโต้ตอบด้วย "คุณลักษณะของความเป็นไทย" หรือ "ลักษณะเฉพาะบางอย่างที่เป็นไทยๆ"

คือ "อ้างหลักการสากลได้ไหม?" ... ได้" แต่ว่าเมื่อเผชิญหน้ากับความเป็นไทย มันต้องหยุดน่ะ มันต้องหยุด

ผมคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจคือ หลายๆ เรื่องที่เราพูดถึงโดยใช้หลักการที่เป็นสากล เวลาถูกโต้ตอบมันจะถูกโต้ตอบด้วยคุณลักษณะไทยๆ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรืออะไรแบบไทยๆ ก็ตาม เพราะฉะนั้น ในแง่นี้ ความเป็นสากล หลักการที่เป็นการทั่วไป ที่ถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง พอมาในสังคมไทย มันมีบางอย่างที่ "ลื้อมาได้ แต่ห้ามข้ามเข้ามาเยอะ โว้ย" เพราะฉะนั้นในแง่นี้เป็นเพดานความคิดที่สำคัญไม่น้อย เป็น 3 เรื่องที่เวลาเราอธิบายรัฐธรรมนูญเราคงต้องระวัง หรือหมายความว่า เราจะต้องแหวกกรอบเพดานความคิดนี้ไปให้ได้ ด้วยวิธีอย่างไร เดี๋ยวค่อยว่ากันนะครับ

เรื่องที่สาม จากข้อมูลที่รู้กันทั่วไปจาก พ.ศ. 2475 จนถึง 2555 80 ปี เรามีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับโดยเฉลี่ยรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งมีอายุ 4 ปี 4 เดือน ในแง่หนึ่งน่ามหัศจรรย์นะครับ พูดแบบง่ายๆ คือวาระของรัฐธรรมนูญเท่าๆ กับวาระของ ส.ส. หรือวาระของรัฐบาลน่ะ 4 ปีเลิก

18 ฉบับในแง่นี้ ถ้าใครเป็นนักเรียนกฎหมาย แล้วอ่านรัฐธรรมนูญไทยแล้วปวดหัวมาก 18 ฉบับ แต่ถ้าถามผมถ้าจะจัดแบ่งรัฐธรรมนูญ เราพบว่ามี 3 ฉบับเท่านั้นแหละ มันมีฉบับแบบที่เรียกว่า รัฐสภานิยม อำนาจนิยม และฉบับที่เรียกว่า กึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย

ฉบับรัฐสภานิยม เป็นฉบับที่ใกล้เคียงกับอังกฤษ ทำให้สภามีอำนาจสูงสุด ระบบราชการถูกกันออกไป หมายความว่า นักการเมืองที่มาจากระบบราชการ ตัวแทนระบบราชการถูกกันออกไป พระมหากษัตริย์อยู่นอกเหนือการเมือง Out of Politics รัฐธรรมนูญฉบับรัฐสภานิยมให้ความสำคัญกับตัวรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก

ถ้าพิจารณาโดยกรอบนี้ นี่คือรัฐธรรมนูญฉบับรัฐสภานิยม ในเมืองไทยเคยมีไหม ในเมืองไทยผมคิดว่าเคยมี อย่างน้อยผมคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2475 คือตัวอย่างของรัฐธรรมนูญฉบับรัฐสภานิยม

ฉบับอำนาจนิยม เป็นระบบที่ตัวโครงสร้างทางการปกครองไม่สัมพันธ์กับประชาชน เช่น รัฐธรรมนูญที่มาภายหลังการรัฐประหาร "มีสภานิติบัญญัติไหม?" "มี" "มีมาจากไหน?" "อั๊วเลือกเอา" ... สมัยก่อนเขาเลือกเอานะครับ ช่วงหลังๆ เขารู้สึกว่าเลือกเองมันน่าเกลียด แทนที่จะเลือกเองน่าเกลียด ก็เลยให้พวกลื้อไปเลือกกันเองก่อน ส่วนพวกลื้อจะมาจากไหนก็ให้พวกอั๊วเลือกก่อน ในแง่หนึ่งก็เป็นพัฒนาการที่ดีขึ้น สิ่งที่เรามองเห็นก็คือมันไม่สัมพันธ์กับประชาชน แล้วระบบราชการสามารถเข้ามาสัมพันธ์กับโครงสร้างทางการเมืองได้ นี่เป็นแบบที่สอง

แบบที่สาม ผมคิดว่าเป็นแบบที่มันจะอยู่กับเราน่ะ เป็นแบบกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย หมายความอย่างไร สังคมไทยในโลกปัจจุบันปฏิเสธการเลือกตั้งไม่ได้ ปฏิเสธรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถึงจะรัฐประหารก็ตาม แต่ก็ต้องรีบกลับมามีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ภายในระยะเวลาไม่นาน แต่ว่ารัฐธรรมนูญแบบนี้จะทำให้ระบบราชการสามารถเข้ามากำกับได้ สามารถเข้ามากำกับการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้

ถ้าในอดีต รัฐธรรมนูญสมัย 2521 ฝ่ายบริหารสามารถตั้งวุฒิสมาชิกมาเป็นฐานค้ำตัวเอง แต่ปัจจุบัน สิ่งที่เราเห็นคือองค์กรอิสระนั่นแหละ "มีนักการเมืองจากการเลือกตั้งได้ไหม?" "มีครับ" "มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งไหม?" "มี แต่เรามีศาลรัฐธรรมนูญ มี กกต. มีศาลปกครอง" มีอะไรต่ออะไรมากมายเต็มไปหมด เพื่อมากำกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอีกที

คืออาจมีการรัฐประหาร แต่ทั้งหมดต้องเดินกลับเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่าระบบเลือกตั้ง พร้อมกับมีอำนาจราชการคุมการเลือกตั้งอยู่

รัฐธรรมนูญฉบับกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย ในห้วงเวลาปัจจุบันเราจะอยู่กับอันนี้ไประยะเวลาหนึ่ง ถ้านับรัฐประหารมาตั้งแต่ 2549 ปีนี้ก็ 2555 ก็ 6 ปีนะครับ อีกไม่นานก็ครบ 10 ปีแล้วนะครับ ผมคิดว่าถึงทุกวันนี้รัฐประหารไม่ใช่คำตอบของความขัดแย้งของการเมืองไทย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการรัฐประหารนะครับ คือการรัฐประหารอาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าเกิดมีนายทหารโง่ๆ คือ "เรากำลังอยู่ในคืนวันอันยาวนานของความขัดแย้งทางเมืองไทย" ผมคิดว่าที่สำคัญคือว่า เรากำลังต่อสู้หรือเรากำลังจะสร้างสิ่งที่เรียกว่าระเบียบทางการเมือง ซึ่งพอจะเป็นที่ยอมรับกันนะครับ

ผมคิดว่าตอนนี้สิ่งที่สำคัญก็คือ ใจกลางหลักของความขัดแย้งโดยเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเผชิญหน้ากันอยู่แบบนี้ คือรัฐธรรมนูญฉบับกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตยนี่แหละ เป็นข้อต่อสู้ที่เป็นกันอยู่ในปัจจุบัน แต่ว่ามันจะเป็นแบบไหน ผมคิดว่ามันจะออกเป็นกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตยแบบเข้มหรือแบบอ่อน

แบบเข้ม เป็นอย่างไร คือ มีระบบเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีรัฐบาลจากคะแนนเสียงประชาชน แต่ถูกกำกับไว้ด้วยพลังของอำมาตยาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นทหาร องค์กรอิสระ องคมนตรี วุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่ในแต่ละด้านแตกต่างกันไป

คือปล่อยให้มีการเลือกตั้งได้ มีรัฐบาลอยู่ แต่ปล่อยให้มีการควบคุมแบบเข้มข้น ผมคิดว่านี่คือสภาพที่เป็นอยู่ ทีนี้สิ่งที่มีการผลักดันก็ตาม

พบคิดว่าถึงตอนนี้ ข้อเสนอหลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตอนนี้ผมคิดว่านี่คือความพยายามที่จะผลักให้ระบบรัฐสภามันไปเป็นแบบกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตยแบบอ่อน

แบบอ่อน คือทำให้สถาบันทางการเมืองจากระบบการเลือกตั้งมีอำนาจมากกว่าโดยสัมพัทธ์เมื่อเปรียบเทียบกับพลังของอำมาตยาธิปไตย ข้อเสนอหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในตอนนี้จึงอยู่ในร่มของกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย เพียงแต่ไปทางไหนล่ะ คนที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญ 2550 อาจจะอยากได้แบบเข้ม แต่ในขณะที่คนอีกหลายกลุ่มในสังคมไทยพยายามผลักให้เป็นแบบอ่อน คือทำให้สถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเพิ่มอำนาจมากขึ้น ผมคิดว่านี่คือการเผชิญหน้ากันอยู่

ผมพยายามลองแบ่งดู สิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแบบกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย ผมคิดว่าถ้าแบบอ่อนเราเคยเห็นมาแล้วปี 2517 ปี 2540 ถ้าปี 2550 ก็เป็นแบบเข้มหน่อย

เรื่องสุดท้าย ผมมีข้อพิจารณา 3-4 เรื่องด้วยกัน

อันแรก รัฐธรรมนูญไทยอาจไม่ศักดิ์สิทธิ์ คือหมายความว่า ฉีกกัน พร้อมที่จะฉีก พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้ โดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ วิถีทางที่ไม่ถูกต้อง

รัฐธรรมนูญไม่ศักดิ์สิทธิ์ใช่ไหม ใช่ แต่รัฐธรรมนูญไทยสำคัญมากขึ้น หมายความว่า รัฐธรรมนูญเป็นตัวให้ความชอบธรรมแก่ระบอบการปกครอง เป็นตัวที่ให้ความชอบธรรมกับสิทธิต่างๆ มันมีความสำคัญมากขึ้น เพราะในแต่ละช่วงเวลารัฐธรรมนูญจะเป็นตัวบอกว่าใครทำอะไรได้บ้าง มันอาจจะถูกฉีกเมื่อคนบางกลุ่มไม่เห็นด้วย แต่ว่ามันมีความสำคัญ เพราะฉะนั้นการทวีความสำคัญของมันมากขึ้น มันจึงทำให้รัฐธรรมนูญมีคนโดดเข้ามาต่อสู้ช่วงชิงมากขึ้น นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิไป คือตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า "นั่น ... มันทำให้คนบางคนถูกตัดสิทธิ์ได้" เพราะฉะนั้นผมคิดว่าข้อโต้แย้งและข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญจะมีมากขึ้น เพราะมันมีความสำคัญ

สิ่งที่เราต้องคบคิดเป็นแบบนี้ครับ คือ การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญหรือประชาธิปไตยก็ตาม มันไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยลำพัง มันต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงแนวคิด การรับรู้ และรวมถึงการปฏิบัติการทางสังคม

ผมคิดว่า ถ้ามองตัวอย่างใกล้บ้านเราไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซียหรือเกาหลีใต้ก็ตาม ผมคิดว่าเวลาเราพูดถึงการเปลี่ยนโครงสร้างทางการปกครอง มันไม่ใช่การเปลี่ยนที่เป็นเพียงแต่การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ แต่ทำให้คนในสังคมตระหนักถึงอำนาจมากขึ้น เช่น ในเกาหลีใต้ หรือินโดนีเซียก็ตาม

ในเกาหลีใต้ มีการเคลื่อนไหวหลังจากที่เผด็จการล้มลง มีการเคลื่อนไหวเพื่อทำให้เกิดพลังของประชาชนในการตรวจสอบอำนาจรัฐมากขึ้น องค์กรที่จับตาคอรัปชั่นในเกาหลีใต้เป็นองค์กรภาคประชาสังคม แล้วมีผลอย่างจริงจังที่ทำให้การคอรัปชั่นในเกาหลีใต้ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ในเมืองไทย อะไรเกิดขึ้น ในเมืองไทยพอเราปฏิรูป หรือเราต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องคอรัปชั่น เราไปฝากความหวังไว้กับองค์กรอิสระ แล้วอะไรเกิดขึ้น อัตราการคอรัปชั่นในเมืองไทยไม่ได้ดีขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าการปฏิรูปที่ฝากความหวังไว้กับเทวดาคือมันไม่เวิร์ค มันไม่ทำงาน ผมคิดว่าสิ่งที่ในเกาหลีใต้ทำคือ ทำให้สังคมมันใหญ่ขึ้น ผมคิดว่าสิ่งนี้สำคัญ

ในอินโดนีเซีย หลังจากเผด็จการทหารลงจากอำนาจ สิ่งที่เขาทำ คือ เคลื่อนไหวและวางแผนกันเลยว่า จะเอาทหารออกไปจากการเมืองอย่างไร ค่อยๆ ไล่ไปทีละขั้นตอน 1-2-3-4-5 ทหารต้องออกจากบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ทหารต้องไม่พูดเรื่องทางการเมือง เป็นขั้นๆ ค่อยๆ ทำให้มันเกิดขึ้น แล้วในที่สุดกองทัพเล็กลง

แต่ในเมืองไทย ผมคิดว่าน่าเสียดาย ในเมืองไทยเคยมีโอกาสหลังพฤษภา 35 ในแง่หนึ่งเป็นการปะทะระหว่างฝ่ายรัฐสภา กับฝ่ายทหาร ทหารแพ้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเราเขียนเพียงว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่มีการคิดถึงมิติอื่นๆ ที่จะส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น จะทำอย่างไรให้ทหารอยู่ภายใต้อำนาจของสังคมมากขึ้น ทำอย่างไรไม่ให้กองทัพมีอิสระมาก พอมันไม่มีการขยับต่อปุ๊บ สิ่งเราคือเราเห็นคือ คือ คิดแล้วน่าตกใจ จากพฤษภา 35 มาปีนี้จะ 20 ปีพฤษภา เราได้เห็นกองทัพกลับมามีบทบาททางการเมือง ผมคิดว่าอยู่ในระดับที่ไม่สู้จะแตกต่างจากเมื่อ 20 ปีที่แล้วเท่าไหร่

อันนี้ผมคิดว่าสำคัญ เวลาเราพูดถึงเรื่องการปฏิรูป หรือผลักดันให้เกิดประชาธิปไตย หรือรัฐธรรมนูญก็ตาม ต้องคิดถึงอะไรต่อมิอะไรให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะวิธีการที่จะทำให้สังคมมีอำนาจมากขึ้น ในทางการเมืองทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อย่าฝากความหวังการตรวจสอบหรือการสร้างประชาธิปไตยไว้กับองค์กรที่เป็นทางการแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะพรรคการเมือง องค์กรอิสระ หรืออะไรก็ตาม การจัดตั้งองค์กรของคนในสังคมมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

สถานการณ์เฉพาะหน้าที่เราเผชิญอยู่ เราไม่ได้เผชิญสถานการณ์เรื่องการช่วงชิงด้วยกำลังทางอาวุธหรือจำนวนมือแต่เพียงอย่างเดียว ผมคิดว่าเรายังอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการเปลี่ยนความคิด ความเข้าใจ ซึ่งการเปลี่ยนการรับรู้ต่างๆ ในแง่หนึ่ง มันต้องมีปฏิบัติการทางสังคม ผมคิดว่านี่สำคัญ

และอันหนึ่งที่อยากฝากคือ การผลักดันไปสู่สิ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตย หรือการสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มันเป็นเรื่องซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนทางสังคม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าไม่มีสงครามครั้งสุดท้ายนะครับ

หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่เกิดขึ้นได้แบบชั่วข้ามวัน ผมคิดว่าใครที่ประกาศว่า "นี่แหละนี่คือสงคราม ที่จะพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน พาพวกเราไปสู่สังคมที่ดีงาม ชั่วข้ามวันข้ามคืน" ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น การเปลี่ยนไปสู่สังคมที่เป็นธรรมมากขึ้น เสมอภาคมากขึ้น และประชาธิปไตยมากขึ้น ผมคิดว่าเราต้องทำอะไรหลายๆ อย่าง เพราะฉะถ้าใครชักชวนให้ไปเข้าร่วมสงครามครั้งสุดท้ายนะครับ ก็ระวังตัวไว้ด้วยนะครับ คือผมไม่แก่มากนะครับ แต่ผมเห็นสงครามครั้งสุดท้ายมาหลายครั้งแล้วครับ และพบว่ามันไม่สุดท้ายสักทีว่ะ

เพราะฉะนั้นนี่เป็นภาพรวมที่ผมลองเสนอให้เห็นนะครับว่าสถานการณ์เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของเรานั้นเป็นอย่างไร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'งบฯแผ่นดินเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์' จุดเริ่มต้นแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์

Posted: 13 Mar 2012 12:14 AM PDT

หลังจากอ่านงบประมาณแผ่นดินเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่คุณพุฒิพงศ์ พงศ์อเนกกุล กรุณาคัดลอกจากราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อย 2 ปีติดกัน เกิดความคิดในใจสองประการ

ประการแรก คิดว่างบประมาณแผ่นดินเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ดูจะมากเกินไปหรือเปล่า

หากไม่นับงบเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ 3,503.5 ล้าน และงบของกรมโยธาฯ 1,010.1 ล้าน งบประมาณรายปีเกี่ยวกับสถาบันฯ เช่น สำนักพระราชวัง 2,795 ล้าน, สำนักเลขาฯนายกฯ 1,558.1, กรมราชองครักษ์ 615.4 ล้าน เป็นต้น อยู่ที่ประมาณ 6,600 ล้าน ซึ่งในความเห็นผม ค่อนข้างมากทีเดียว

เหตุที่ผมแยกงบเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ และงบกรมโยธาฯ ออก เพราะคิดว่างบก้อนนี้ ในที่สุดน่าจะมีผลในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปโดยตรง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อถกเถียงได้ว่า สถาบันฯควรหรือไม่ควรที่จะมีส่วนในการริเริ่มใช้งบจำนวนมาก เพราะ”เงิน” ไม่ว่าอยู่ที่ไหนย่อมมีค่าเสียโอกาส นั่นหมายความว่า ย่อมมีผู้ที่ได้ประโยชน์ต่างกันไป หากใครที่คิดว่าไม่ได้ประโยชน์ จะตำหนิโครงการก็ไม่ได้ เพราะเป็นโครงการพระราชดำริของในหลวง

ประการที่สอง รู้สึกชื่นชมคุณพุฒิพงศ์ที่คัดลอกข้อมูลจากราชกิจจาฯมาเผยแพร่ ราชกิจจาฯผมเข้าใจว่า คือการประกาศใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เปิดเผย แต่คนทั่วไปไม่ทราบหรือทราบก็ไม่ใส่ใจ (อย่างผมถือเป็นทั้ง 2 กรณีทีเดียว) แต่ที่แปลกใจคือ จำนวนคนที่แสดงความเห็นเชิงสร้างสรรค์ต่อข้อมูลมีไม่มากนัก นับแต่ปีที่แล้วที่คุณพุฒิพงศ์ทำอย่างเดียวกัน

ผมไม่เห็นด้วยที่จะกล่าวร้าย ตำหนิ ใครอย่างเสียๆหายๆ โดยส่วนตัวอย่างขาดหลักฐาน ไม่ว่าต่อเพื่อน ญาติ หรือใครๆ รวมทั้งต่อสถาบันฯ

ผมชักชวนให้มีการถกเถียงกันบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เช่นที่คุณพุฒิพงศ์นำเสนอ

เพื่อจะตอบคำถามของตัวเองว่า งบประมาณเกี่ยวกับสถาบันสูงเกินไปหรือไม่อย่างไร ผมจึงพยายามหาข้อเปรียบเทียบ

ข้างล่างนี้จึงเป็นข้อมูลจาก republic.org.uk ซึ่งเป็นที่รวมของผู้มีอุดมการณ์ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ในอังกฤษ ทั้งในอังกฤษและออสเตรเลีย กลุ่มต่อต้านเพื่อไม่ให้ประเทศมีกษัตริย์ทำได้อย่างถูกกฎหมาย เพียงแต่ยังไม่ชนะ และไม่มีวี่แววจะชนะ โดยเฉพาะในอังกฤษ

 

ค่าใช้จ่ายรวม (เฉพาะจากเงินภาษี ไม่ได้รวมรายได้จากทรัพย์สินส่วนตัว- ผู้เขียน) ของสถาบันฯ ประจำปี 2552-2553

TOTAL COST OF THE MONARCHY 2009-2010

Queen’s Civil List (ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันเช่น เช่นเงินเดือนราชบริภาร, รับแขกเมือง) 14.2 ล้านปอนด์

Duke of Edinburg h     400,000 ปอนด์

Property Grant (น่าจะค่าดูแลพระราชวัง) 15.4 ล้านปอนด์

Communications, media and public relations (โฆษณาประชาสัมพันธ์)  400,000 ปอนด์

Travel (เดินทาง)  3.9 ล้านปอนด์

Government Department and Crown Estate  3.9 ล้านปอนด์

Prince Charles and Camilla (additional costs) 500,000 ปอนด์

Lost revenue from Duchy of Lancaster (ไม่มีความรู้ ไม่กล้าแปล...แต่เดาว่าน่าจะเป็นรายได้ที่รัฐควรได้แต่ไม่ได้ เพราะกฎหมายยังคงให้สิทธิราชวงศ์รับประโยชน์อยู่...คงมีคนมาให้ความรู้เพิ่มเติม) 13.2 ล้านปอนด์

Lost revenue from Duchy of Cornwall  24.5 ล้านปอนด์

Security (รักษาความปลอดภัย) 100 ล้านปอนด์

Cost to local councils for visits by Queen (ค่าใช้จ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นในการต้อนรับการเยือนของราชินี) 26 ล้านปอนด์

รวม 202.4 ล้านปอนด์ หรือราว 9,700 ล้านบาท

ตัวเลขจากกลุ่มต่อต้านกษัตริย์นี้ แน่นอนว่าจะประมาณการให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และย่อมสูงกว่าตัวเลขเป็นทางการของรัฐบาลมาก และยังรวมตัวเลขค่าเสียโอกาส Lost of Revenue ไว้ด้วย


 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติสถาบันกษัตริย์ประจำปี 2555 พร้อมข้อสังเกตท้ายเชิงอรรถ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คัดค้านทักษิณกลับบ้านไม่มี 'เหตุผลที่ชอบธรรม' รองรับ

Posted: 12 Mar 2012 11:59 PM PDT

ข้อกล่าวหาที่ว่า “ทำเพื่อทักษิณคนเดียว” ไม่ว่าที่กล่าวหาต่อการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ผ่านๆ มา กล่าวหาต่อข้อเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหารของ “นิติราษฎร์” กล่าวหาต่อการจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมทักษิณ กระทั่งการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อปูทางให้ “ทักษิณกลับบ้าน” 

ล้วนแต่เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มี “เหตุผลที่ชอบธรรม” ใดๆ รองรับทั้งสิ้น!

การใช้ข้อกล่าวหา “ทำเพื่อคนคนเดียว” ว่าจะเป็นเงื่อนไขของความแตกแยกอีกรอบ โดยสาระจริงๆ แล้วมีความหมายเป็นเพียง “ข้ออ้าง” เพื่อการเคลื่อนไหวกดดันทางการเมืองให้เป็นไปตามเป้าหมายของฝ่ายตนเท่านั้น เหตุผลที่ชอบธรรมไม่มีเลย

“เหตุผลที่ชอบธรรม” หมายถึง เหตุผลที่อ้างอิง “หลักการประชาธิปไตย” คือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และเหตุผลที่อ้างอิง “ความยุติธรรม” บนพื้นฐานของการได้รับการปฏิบัติตามหลักการประชาธิปไตยนั้น

เมื่อยึดเหตุผลที่ชอบธรรมดังกล่าวนี้ จะเห็นว่าคุณทักษิณไม่ได้รับความยุติธรรมตั้งแต่แรก

เนื่องจากเขาถูกกล่าวหาว่า คอร์รัปชัน วางแผนล้มล้างสถาบัน เป็นต้น แต่แทนที่เขาจะได้รับสิทธิในการพิสูจน์ตนเองตามกระบวนการยุติธรรม ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักนิติรัฐ นิติธรรมตามระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับคนไทยทุกคนภายใต้ความเสมอภาคทางกฎหมาย

ทว่าเขากลับถูกทำรัฐประหาร และมีการใช้ “วิธีพิเศษ” เอาผิดทางกฎหมายกับเขาโดยคณะบุคคลที่ฝ่ายรัฐประหารตั้งขึ้น

ฉะนั้น กระบวนการดังกล่าวนี้ จึงไม่อาจอธิบายได้ว่า “เป็นกลาง” และ “เที่ยงธรรม”

และที่สำคัญเป็นกระบวนการเอาผิดที่เกิดจากการล้มประชาธิปไตย ล้มนิติรัฐลงไปแล้ว เมื่อใช้หลักความยุติธรรมบนหลักการประชาธิปไตย คือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคที่ต้องปรับใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมเป็น “เกณฑ์วัด” จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า คุณทักษิณไม่ได้รับความยุติธรรมตั้งแต่แรก

นี่เป็นประเด็นสำคัญมาก ถึงเวลาต้องพูดกันอย่างตรงไปตรงมา ไม่อย่างนั้นสังคมนี้จะ “ติดหล่มทักษิณ” อยู่ตลอดไป คือจะเป็นสังคมที่ถูกอ้าง “ความชั่วร้าย” ของ “ปีศาจทักษิณ” มาสร้างความขัดแย้งแตกแยกไม่สิ้นสุด โดยไม่สนใจว่า “หลักการที่ถูกต้อง” คืออะไร

พูดก็พูดเถอะบรรดานักวิชาการที่ “ซื่อสัตย์ต่อหลักการสากล” ของประชาธิปไตยที่ต้องปรับใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม เป็นไปไม่ได้ที่จะยอมรับรัฐประหาร 19 กันยา และกระบวนการเอาผิดคุณทักษิณที่ตั้งโดยคณะรัฐประหารว่ามี “ความชอบธรรม”

ถ้ายอมรับว่ามีความชอบธรรม ก็หมายความว่า เขายอมรับได้ว่า “หลักการสากลต้องไม่ใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม” เช่น ในกรณีคุณทักษิณ ก็ให้ละเว้นที่จะใช้หลักการสากลนี้ได้

คือให้ทำรัฐประหารได้ เอาผิดด้วยกระบวนการสืบเนื่องจากรัฐประหารได้ และในกรณีที่เป็นบวกแก่สถาบันกษัตริย์ก็ให้ละเว้นที่จะใช้หลักการสากลนี้ในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้

การยอมรับได้ว่า “หลักการสากลต้องไม่ใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม” ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่เป็นมากว่า 5 ปีนี้ มันก่อให้เกิด “อภิมหาสองมาตรฐาน” อย่างน่าตระหนก!

กล่าวคือ ในกรณีการละเว้นไม่ใช้หลักการสากลกับคุณทักษิณ เป็นเรื่องของการ “ละเมิด” หลักการสากลเพื่อให้เกิด “ผลลบอย่างล้นเหลือ” แก่คนคนหนึ่ง

ในขณะที่การไม่ปรับใช้หลักการสากลในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบกับสถาบันกษัตริย์ แล้วยังมีการอ้างอิงสถาบันกษัตริย์ทำรัฐประหาร และทำลายเกียรติภูมิทั้งหมดของคุณทักษิณ ย่อมเป็นการกระทำเพื่อปกป้อง “ผลบวกอย่างล้นพ้น” ในอีกด้านหนึ่ง

นี่ไม่เรียกว่า “อภิมหาสองมาตรฐาน” ในการใช้หลักการสากลแล้วจะเรียกว่าอะไร!  

โดย “สามัญสำนึก” ของนักวิขาการ ถ้ามองเห็นว่า รัฐประหารไม่ชอบธรรม ก็ย่อมเห็นต่อไปว่า กระบวนการเอาผิดที่สืบเนื่องจากรัฐประหารก็ย่อมไม่ชอบธรรม เพราะมันเป็นการกระทำที่อยู่บนพื้นฐานของการปรับใช้หลักการสากลของประชาธิปไตยแบบ “อภิมหาสองมาตรฐาน”

เมื่อเห็นความไม่ชอบธรรม เห็นอภิมหาสองมาตรฐานที่ปรากฏอยู่ตำตา ต่อให้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำต่างๆ ที่ผ่านมาของคุณทักษิณ เกลียดคุณทักษิณขนาดไหน หรือแม้กระทั่งเชื่อว่า คุณทักษิณทำผิดจริงตามที่พันธมิตร ฝ่ายทำรัฐประหาร และประชาธิปัตย์กล่าวหา ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นด้วยกับรัฐประหาร 19 กันยา และการเอาผิดคุณทักษิณโดยไม่มีหลักนิติรัฐ นิติธรรมตามหลักการประชาธิปไตยรองรับ

ฉะนั้น ถ้ายืนยันหลักการสากลของประชาธิปไตยที่ต้องใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ก็ต้องยืนยันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า รัฐประหาร และการเอาผิดคุณทักษิณ “ไม่ชอบธรรม” จึงเท่ากับคุณทักษิณไม่ได้รับ “ความยุติธรรม”

และสำหรับคนที่เคารพ “ความยุติธรรม” ตามหลักการประชาธิปไตย ต่อให้ใครก็ตามที่ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะเขาถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคทางกฎหมาย

ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นคนที่เราเกลียด หรือกระทั่งเป็นศัตรูของเรา เราก็ต้องปกป้องเขา เรียกร้องให้เขาได้รับสิทธิที่จะพิสูจน์ตนเองตามกระบวนการยุติธรรมเหมือนบุคคลอื่นๆ

แต่คำถามก็คือ เหตุใดกว่า 5 ปีที่ผ่านมา แทบไม่มีนักวิชาการกระแสหลักออกมา defend คุณทักษิณเลย แต่กลับ defend รัฐประหารทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อย่างไม่ละอายแก่ใจว่าตนเองกำลังปกป้อง “การไม่ปรับใช้หลักการสากลกับทุกคนอย่างเท่าเทียม” ซึ่งเท่ากับเป็นการ “ทำลายหลักการประชาธิปไตย” โดยตรง

หากนักวิชาการยังไม่ตื่น สื่อยังไม่ตื่น ยังไม่ตระหนักรู้ว่า หน้าที่ที่แท้จริงของตนเองคือหน้าที่ปกป้อง “หลักการที่ถูกต้อง” ได้แก่ปกป้องหลักการสากลที่ต้องปรับใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ยังกลัวว่า ถ้าปกป้องหลักการที่ถูกต้องเช่นนี้แล้วจะเข้าทาง หรือเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ หรือจะไม่มีความปลอดภัยจากอำนาจมืด ก็แน่นอนว่า สังคมเราจะยัง “ติดหล่มทักษิณ” และก้าวไม่พ้น “หล่มสถาบัน” ซึ่งจะทำให้ต้องตกอยู่ในความขัดแย้งแตกแยกไปอีกนาน

ถึงวันนี้ นักวิชาการและสื่อที่ซื่อสัตย์ต่อหลักการ เคารพความยุติธรรมบนหลักการสากลของประชาธิปไตยที่ต้องใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม กล้าหรือยังที่จะบอกว่า การคัดค้านไม่ให้คุณทักษิณกลับบ้าน หรือการคัดค้านการกระทำใดๆ ที่ถูกต้องตามหลักการ และส่งผลให้คุณทักษิณได้รับความยุติธรรม ด้วยข้ออ้างที่ว่า “ทำเพื่อคนคนเดียว” นั้น เป็นข้ออ้างที่ไร้ “เหตุผลที่ชอบธรรม” รองรับอย่างสิ้นเชิง

มีแต่ฝ่ายสนับสนุนรัฐประหาร และระบบการปกครองที่ไม่ต้องใช้หลักการสากลของประชาธิปไตยกับทุกคนอย่างเท่าเทียมเท่านั้น ที่เห็นว่าข้ออ้าง “ทำเพื่อคนคนเดียว” มีเหตุผลที่ชอบธรรม!

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น