โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ธงชัย วินิจจะกูล: “ประวัติศาสตร์อันตราย” ในอุษาคเนย์ [พร้อมคลิป]

Posted: 28 Mar 2012 11:19 AM PDT

ปาฐกถา “ประวัติศาสตร์อันตราย” ในอุษาคเนย์ โดยธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 55 ณ การประชุมวิชาการ “อาเซียน: ประชาคมในมิติวัฒนธรรม ความขัดแย้ง และความหวัง” จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

000

เคยคิดไหมว่า มีปรากฏการณ์น่าสนใจอันหนึ่งที่เราจะอธิบายมันอย่างไรดี ประวัติศาสตร์เป็นวิชาน่าเบื่อวิชาหนึ่ง เวลาสอบก็สุมหัว เร่งท่อง เร่งจำ เพื่อสอบให้มันผ่านๆ ไป เป็นวิชาที่ไม่ได้สำคัญเท่าไหร่ แต่ครั้นพอโตขึ้นมา เวลามีความขัดแย้งเรื่องประวัติศาสตร์ จะเป็นจะตายกันให้ได้ เวลาขัดแย้งเขาพระวิหาร ทุกคนเป็นผู้รู้ดีกันหมดเลย ใครที่ชอบประวัติศาสตร์เป็นคนที่แปลกมาก

คนที่ตีความประวัติศาสตร์ต่างไปจากที่เคย เราจะเป็นเดือดเป็นแค้นได้ คือเป็นความรู้ที่เราไม่ต้องรู้ดีแต่ก็สามารถอวดรู้ได้ ใครๆ ก็สามารถบอกตัวเองว่ารู้ประวัติศาสตร์ เป็นความรู้ที่สามารถเข้าถึง เป็นเดือดเป็นแค้น โดยไม่ต้องมีความรู้อะไรเลย เพราะเอาเข้าจริงประวัติศาสตร์ที่เราพูดถึงกันไม่ใช่เรื่องความรู้ แต่เป็นเรื่องความเชื่อ ความสามารถที่จะเข้าใจลักษณะทางจิตวิญญาณได้อย่างกว้างๆ ปกติไม่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เมื่อไหร่ที่มีคนแย้ง หรือท้าทายขึ้นมา เราจะรู้สึกถูกลบหลู่ เป็นเดือดเป็นแค้น

ความรู้นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบเป็นอัตลักษณ์ เป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา บ่อยครั้งเราเรียกอันนี้ว่าเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ แต่เอาเข้าจริง สองอย่างนี้ เป็นประวัติศาสตร์คนละชนิด ไม่รู้ว่าสองอย่างนี้แตกต่างกันขนาดไหน แต่เราเรียกสองอย่างนี้ว่าประวัติศาสตร์เหมือนกัน โดยด้านหนึ่ง ประวัติศาสตร์คืออัตลักษณ์ของเรา อีกอย่างหนึ่งคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ บ่อยครั้ง สองอย่างนี้ปะปนกัน

อย่างหนึ่งเป็นความเชื่อที่เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ ชีวิต วัฒนธรรม ขาดไม่ได้ ซึ่งเราก็เน้นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ เป็นตัวของตัวเอง เห็นด้านที่เป็นคุณมาก แต่เราลืมพูดถึงด้านที่เป็นอันตรายของประวัติศาสตร์ชนิดนี้ ก็คือว่า เมื่อไหร่ที่ถูกกระทบ ถูกท้าทาย เราจะรู้สึกเดือดร้อน คาดแค้น เพราะเราขาดมันไม่ได้

กับอีกอย่างหนึ่งเป็นเครื่องมือทางปัญญาในการคิดและวิเคราะห์ ยิ่งยึดเอาประวัติศาสตร์ในการคิดวิเคราะห์มากขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้กลายเป็นคนเชื่ออะไรยากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นว่าสองอย่างนี้มันต่างกัน อย่างหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่เป็นอุดมการณ์ทางสังคมการเมือง อีกอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเป็น skeptics

ประวัติศาสตร์ที่เป็นความเชื่อส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของเรา โดยไม่ใช่ด้วยรายละเอียด แต่ด้วยโครงเรื่อง เช่น ถึงแม้ว่าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ไทยมากนัก แต่เรารู้ว่าสังคมไทยเวลาเกิดปัญหา มักจะมีวีรบุรุษ วีรสตรีมากอบกู้ และสามารถทำให้เราเดินหน้าได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น แต่จริงหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างนั้น

ประวัติศาสตร์นี้ไม่ได้อยู่ด้วยรายละเอียดของเหตุการณ์หนึ่งๆ แต่อยู่ด้วยสาระเรื่องเล่าที่เล่าซ้ำๆ กัน เช่น เรารู้ว่ามีชาวบ้านบางระจัน เมื่อไหร่ ที่ไหน เราไม่รู้ แต่เรารู้ว่ามีเพราะมันสอดคล้องกับโครงเรื่องหลักๆ

เหตุการณ์ 6 ตุลา 14 ตุลา เป็นอะไรไม่รู้ แต่เราเรียก 16 ตุลาก็ได้ เพราะสุดท้ายโครงเรื่องมัน match กัน รายละเอียดคือการตอกย้ำโครงเรื่องซึ่งเหมือนๆ กัน ให้เป็นอย่างที่เรารู้ เชื่ออย่างที่มันเป็น ตอกย้ำที่เป็นมาตรฐานความเชื่อจำนวนหนึ่ง ในแง่นี้ สำหรับประวัติศาสตร์อย่างนี้เราจึงไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียด ไม่จำเป็นต้องรู้อย่างวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ต้องรู้ใจความสำคัญก็ได้ ขอให้จับสาระที่เป็นจิตวิญญาณของสังคมหรือของชาตินั้นๆ ได้  ขอให้เรามั่นใจได้ว่า รายละเอียดนั้นตอกย้ำโครงของซ้ำๆ ซากๆ ที่เป็นสปิริตของสังคมนั้นก็พอ

ส่วนประวัติศาสตร์ที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ จะทำให้เราไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ หรือไม่เชื่ออะไรเลย เคยตั้งข้อสังเกตว่าคนสอนประวัติศาสตร์ไทยในที่หนึ่งๆ จะมีนักประวัติศาสตร์ที่สังกัดชนิดแรกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเพื่อนร่วมงานที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินนั้น ไม่ว่าจะแนวอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยม ล้วนแต่เป็น skeptic กันทั้งนั้น ทำให้คิดว่า ทั้งสองอย่างสมาทานประวัติศาสตร์ในแง่ที่เป็นความรู้คนละชนิดกัน

ขออ้างถึงงานของนักเขียนคนหนึ่งชาวฝรั่งเศส ที่เขียนบทความคลาสสิค What is the Nation? เมื่อปี 1882 กล่าวว่า มีของ 2 สิ่ง ซึ่งประกอบเข้าเป็นหลักการหรือเป็นจิตวิญญาณของชาติหนึ่งๆ อันหนึ่งคือ การที่เป็นเจ้าของมรดกอันร่ำรวยกับสังคมนั้น อันที่ 2 คือความเห็นร่วมกันในปัจจุบันโดยมีการขยายความว่า

การลืมนั้น เป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับการก่อร่างสร้างชาติขึ้นมา การหลงลืมเป็นความจำเป็นก็เพราะว่า ยิ่งการศึกษาประวัติศาสตร์ยิ่งคืบหน้าไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อหลัก soul และ spirit ของชนชาตินั้น

ประวัติศาสตร์ความเชื่อ-อัตลักษณ์ โดยปกติเป็นชีวประวัติของสังคมหรือชาติหนึ่ง มักจะมีสาระสำคัญอยู่ 2-3 อย่างเท่านั้น คือ อย่างที่หนึ่ง บอกเล่าความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ถือเอาตัวเองเป็นใหญ่ และถูกเสมอ อย่างที่สอง บอกเล่าเรื่องราวการถูกรังแก ความเจ็บปวด และการเอาตัวรอดมาได้ และอย่างที่สาม ปกปิดเรื่องราวเลวๆ อัปยศคือตัวเองเคยทำกับคนอื่นเอาไว้ แทบทุกประเทศในอาเซียนมีเรื่องราวทำนองนี้ และแตกต่างกันในรายละเอียด

อย่างแรก เป็นประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราว ขยายอำนาจเมื่อไหร่ เป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่เมื่อไหร่ จริงๆ การขยายอำนาจหมายถึงการทำให้คนอื่นเจ็บปวด เช่นการตีเอาปัตตานีมาเป็นของตัวเอง เป็นความยิ่งใหญ่ที่เราเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก เราลืมไปว่ามันเป็นความเจ็บปวดของคนอื่น

ส่วนเรื่องราวที่ถูกรังแก ถูกกระทำย่ำยี อับอายจากผู้อื่น เช่น ประวัติศาสตร์การเสียดินแดน ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ หรือเป็นมายาคติหรือไม่ แต่มันเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของเรา คือต้องให้รู้ว่าเราถูกรังแกในสมัยก่อน ส่วนประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องอัปยศ ก็เช่นเรื่อง 6 ตุลา ไม่สามารถจะมาพูดได้ เพราะถ้าพูดขึ้นมาก็เป็นเรื่องขายขี้หน้ากันทุกฝ่ายอย่างมโหฬาร

ประเทศในกลุ่มอาเซียนเรามีประวัติศาสตร์ทั้ง 3 ชนิด อย่างลาว เขมร ก็บอกว่าเขาก็เสียดินแดน ทุกคนบอกตัวเองเสียดินแดน ตามหลักฟิสิกส์ คืออะไรที่หายไปมันต้องไปอยู่อีกที่ แต่กลายเป็นว่าดินแดนเป็นสิ่งหนึ่งที่เสียไปแล้วหายไปเลย ทุกคนบอกตัวเองเสียหมด และก็เน้นการถูกรังแกเช่นการตกเป็นอาณานิคม

นอกจากนี้ ก็เน้นความยิ่งใหญ่ของตัวเองเหมือนกัน ทั้งๆ ที่ความยิ่งใหญ่ของตัวเองได้มาด้วยความเจ็บปวดของคนอื่น ยกตัวอย่าง การสร้างอนุสาวรีย์ที่แสดงถึงช่วงยิ่งใหญ่ที่สุด เช่น พม่า มีอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ คือ พระเจ้าอโนรธา พระเจ้าบุเรงนอง และพระเจ้าอลองพญา ทำในยุคที่รุ่งเรือง ที่ลาวก็มีฟ้างุม ไซเชษฐาธิราช แต่ก็มีพระเจ้าอนุวงษ์ เป็นยุคที่ไม่ยิ่งใหญ่แต่เพื่อบันทึกความเจ็บปวดของตัวเองด้วย

ประเทศในอาเซียนมีประวัติศาสตร์ที่เน้นเรื่องยิ่งใหญ่ และเจ็บปวดไม่ต่างกัน หากเราเอาประวัติศาสตร์ของทุกประเทศมาเรียงกัน เราจะเจอว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านั้นปะทะกัน ขัดแย้งกัน ฉะนั้น ทางที่คือต่างคนต่างอยู่ เพราะฉะนั้นในขณะที่อาเซียนเราเน้นอะไรร่วมกัน แม้จะบอกว่าเราสามารถเรียนรู้จากกันได้ เรามีด้านที่น่ารัก แต่คิดว่ามีบางส่วนที่สำคัญ อาจจะพอๆ กับอธิปไตยเหนือดินแดน คือ เรื่องอธิปไตยของประวัติศาสตร์ ก็คือต่างคนต่างอยู่

เพราะหากเอาประวัติศาสตร์มาแชร์กัน มาทำให้ลงรอยกัน มีหวังได้ทะเลาะกัน เราไม่สามารถสูญเสียอธิปไตยทางประวัติศาสตร์ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว ที่เมื่อย้อนไปสามสี่ปีไทยกับพม่าก็ทะเลาะเรื่องนี้ เช่นเดียวกัน เรื่องประวัติศาสตร์ไม่มีใครถอยให้แก่ใครแม้แต่ก้าวเดียว

ในประเทศต่างๆ ก็มีประวัติศาสตร์ที่ตัวเองต้องปกปิดความอพยพของตัวเองเอาไว้ เพราะถ้ารื้อขึ้นมาจะเป็นบาดแผลที่เจ็บปวดและยังเน่าเฟะอยู่ เช่น ในอินโดนีเซียปี 1965  มาเลเซียปี 1969 ในเวียดนาม มีการปราบปรามชนกลุ่มน้อยทางด้านศาสนาชาติพันธุ์ ส่วนไทยก็มีเดือนตุลาทั้งหลาย และกำลังจะเพิ่มพฤษภาอีกสองรายการ

ประวัติศาสตร์แบบนี้ อันตราย เพราะอยู่บทความเชื่อ อยู่บนความแข็งแกร่งยาวนานที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ แต่จะถูกท้าทายจากประวัติศาสตร์ที่วิพากษ์วิจารณ์ตลอดเวลา เรามักคิดว่าประวัติศาสตร์ที่วิพากษ์วิจารณ์แบบนั้นที่เป็นอันตราย อย่างที่เรนัลด์บอก ยิ่งการศึกษาประวัติศาสตร์ยิ่งก้าวหน้ามากเท่าไร การศึกษาแบบวิพากษ์วิจารณ์ยิ่งเป็นอันตรายต่อความเชื่อที่เป็นจิตวิญญาณของชาติ

เมื่อเราคิดกลับกัน เราจะเห็นว่าเพราะประวัติศาสตร์แบบแรกต่างหากที่เป็นอันตรายยิ่งกว่า เพราะจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อต้องให้คนในชาตินั้นๆ มีความเชื่อทำนองหนึ่งไปเรื่อยๆ เมื่อถูกสั่นคลอนด้วยเหตุด้วยผล หลักฐาน ประวัติศาสตร์แบบแรกจะเกิดความสั่นคลอนในอัตลักษณ์ของตัวเองทันที

ประวัติศาสตร์ก็เหมือนความเชื่อศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสังคม ที่ความเชื่อที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่อันตราย เพราะไม่มีความรู้ความเชื่ออันไหนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างถาวร

ประเทศในอาเซียน เรามีประวัติศาสตร์แบบที่เป็นความเชื่อ ประกอบเป็นอัตลักษณ์ค่อนข้างมาก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย อันนี้ต่างหากถือว่าเป็นอันตราย วันนี้ ดร.สุรินทร์ฯ บอกว่าเราสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ แต่ผมอยากให้เห็นถึงข้อจำกัดเชิงประวัติศาสตร์ พอพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์ เราหยุด ปิดประตู และตั้งด่านทันที

ทำให้เราจะต้องเก็บประวัติศาสตร์ไว้เป็นอย่างหลังๆ ในบรรดาอาชีพที่อนุญาตให้ข้ามไปข้ามมาได้ คือไม่ใช่แค่ภาษาดอกไม้ ภาษาหรูๆ เท่านั้นที่เราพูดว่าเรียนรู้ร่วมกันได้ แต่อยากให้กรุณาตระหนักถึงข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ และเราต้องข้ามพ้นให้ได้ ไม่เช่นนั้นประชาคมอาเซียนก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้

แต่ก็ไม่ใช่ว่าให้ทุกประเทศมีประวัติศาสตร์เหมือนกัน หรือต้องลืมประวัติศาสตร์ตัวเอง ผมคิดว่าเราต้องจัดการปัญหาประวัติศาสตร์แห่งชาติ เราอาจจะกล่าวว่ายุโรปเองก็มีปัญหาเหล่านี้ เขาก็ยังอยู่กันได้ แต่จริงๆยุโรปได้ก้าวข้ามวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่ถือเอาประวัติศาสตร์เป็นอัตลักษณ์ของตัวเองอย่างยึดมั่น ไปสู่ประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องมือสร้างความรู้ ความเข้าใจปัจจุบันอย่างวิพากษ์วิจารณ์

ผมคิดว่าทุกวันนี้ประวัติศาสตร์มี 2 ชนิด มีการเรียนรู้คนละอย่าง มันคือ culture of history คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ หมายความว่าเราจะมีชีวิตร่วมกับ หรืออยู่กับอดีตอย่างไร ใช้อดีตอย่างไร มีระยะห่างอย่างไร มี critical distance หรือ detachment

เราจะถืออดีตเป็น “ประเทศอื่น” ประเทศหนึ่งได้แค่ไหน การมีชีวิตอยู่ประจำวัน ประวัติศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งอย่างไรในชีวิตของเราในปัจจุบัน

การที่ชาติต่างๆ ถือเอาประวัติศาสตร์เป็นปริมณฑลที่ละเมิดไม่ได้ ที่อาจารย์สุรินทร์ได้กล่าวกรณีไทย กับ กัมพูชาขัดแย้งกัน ถ้าหากเราไม่ย้อนกลับไปยุคก่อนอาณานิคม เราก็ต้องถือว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว เราจะมีท่าทีอย่างไรกับสิ่งที่ผ่านไปแล้วที่เป็นมรดกส่วนหนึ่งของปัจจุบันด้วย เรามีมรดกของพ่อแม่อยู่ในตัวเรา แต่เราก็ยังสามารถมีท่าทีต่อมรดกเหล่านั้นได้ ไม่ได้บอกว่าต้องเดินตามรอยของพ่อแม่เราทั้งหมด

สิ่งที่เสนอต่อไปนี้อาจดูเป็นอุดมคติและ living aspiration คือเป็นความปรารถนาที่มีชีวิต

1. เรายอมรับได้ไหมว่าความรู้ประวัติศาสตร์ไม่มีวันจบสิ้น คำถามใหม่ๆ ทางประวัติศาสตร์มีตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ท้าทายได้ เปลี่ยนได้ ไม่มีปริมณฑลที่ห้ามละเมิด ในโลกที่มีวุฒิภาวะทางวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่ไม่มีคำตอบตายตัว ไม่ว่าจะในระดับรายละเอียดหรือโครงเรื่อง หรือในระดับจิตวิญญาณของชาตินั้นๆ สามารถถูกท้าทายได้ตลอดเวลา เราจะยอมรับประวัติศาสตร์แบบนั้นได้หรือไม่ ถ้าหากรับไม่ได้ประวัติศาสตร์จะยังอันตรายอยู่ แต่ถ้ายอมรับได้ก็เป็นการถอดชนวน เอาประวัติศาสตร์ไว้ศึกษา แต่ไม่ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่จำเป็นต้องถือว่าตัวเองถูกเสมอ มี detachment คือ ระยะห่างที่เป็นตัวของเราเองในปัจจุบัน

2. ต้องใช้ชื่อหนังสือเล่มหนึ่งของ Prasenjit Duara คือ Rescuing History from the Nation เราจะกอบกู้ประวัติศาสตร์จากชาติได้หรือยังให้ประวัติศาสตร์คือเรื่องอดีต ไม่ได้ผูกพันกับชาติ ชาติไม่ได้เป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอดีตเป็นอะไรก็สามารถเถียงกันได้ วิจารณ์ได้ วัฒนธรรมข้อ ๒ ที่ผมคิดว่าส่งเสริมคือ ทำให้ประวัติศาสตร์เป็นประวัติศาสตร์ มีระยะห่างและเป็นอิสระจากชาติเสีย แน่นอนว่ามันมีผลต่อความเป็นชาติ ตามที่เราเคยได้เรียนรู้มาในฐานะความรู้ชุดหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเดินตามมันอย่างที่เคยเป็นมา เราสามารถใช้วิจารณญาณเข้าไปตัดสินได้

3. ประวัติศาสตร์เป็นความรู้ที่ทำให้เราคิดเป็น ปรับตัวได้ เรารู้ว่าปัจจุบันเป็นผลของอดีต อย่างไรก็ตามเราเป็นอิสระ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีมรดก แต่ในความหมายที่ว่าเรามีระยะห่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นตายร้ายดีไปกับประวัติศาสตร์ของชาติ ประวัติศาสตร์มีไว้คิด ไม่ได้มีไว้ให้ใช้ ไม่ได้มีไว้ให้เกิดความภูมิใจ ฉะนั้นต้องส่งเสริมให้ประวัติศาสตร์ที่คนรู้จักคิด และใช้ในการคิดอย่างเป็นตัวของตัวเอง

4. ต้องอนุญาตให้ประวัติศาสตร์ทุกอย่างแบกันบนโต๊ะให้หมด รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ท้าทาย ประวัติศาสตร์ที่แย้ง เพราะการที่ถูกท้าทายในโลกที่มีคนหลากหลาย เหตุการณ์หนึ่งมีคนสูญเสียมีคนได้ มีคนเสียใจก็มีคนดีใจ เช่น เราจะไปกักเก็บประวัติศาสตร์เรื่องเดือนตุลาคม พฤษภาคม หรือเรื่องปัตตานีไว้ทำไมกัน ต้องอนุญาตให้เขาแบออกมา ถ้าเราเก็บกดเอาไว้จะยิ่งทำให้ลึกลับซับซ้อน และทำให้ประวัติศาสตร์เหล่านั้นมีพลังจนเกินเหตุ ต้องให้แบออกมา และถกเถียงกันโดยต้องมีระยะห่าง และทำให้อยู่ในที่เปิดเผย

เราจะไม่มีวันเห็นอะไรร่วมกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์เพราะมนุษย์เป็นอย่างนั้น ซึ่งถ้าเราทำให้ประวัติศาสตร์แบออกมาได้ซึ่งมาจากหลายทิศทางและผลประโยชน์

ผมเชื่อว่าในอนาคต สังคมเราจะเดินไปสู่สังคมที่รู้จักคิด มีวุฒิภาวะและเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในภาวะเช่นนี้ อัตลักษณ์จะหลากหลายปนเปจนนับไม่ถ้วน จะไม่ต้องการ single narrative อีกต่อไป อัตลักษณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีหลายเรื่องราวประกอบขึ้นด้วยกัน

สังคมที่มีวุฒิภาวะ จะต้องให้ประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวหลากหลายเหล่านั้นอยู่ด้วยกัน ใครจะภูมิใจ ดีใจ หรือเสียใจประวัติศาสตร์นั้น ก็ให้เขายึดถืออย่างนั้นได้ ไม่ใช่ว่าพูดกันแต่ภาษาดอกไม้ ลดการทำสงครามให้หมดและประเทศอาเซียนจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ใช่ เป็นประวัติศาสตร์ที่แบกันให้หมด จะรบกี่ครั้ง จะอัปยศเมื่อปีไหน ก็แบออกม ใครยังมีอายุความอยู่ก็จัดการตามกฎหมาย ใครที่หมดแล้วก็ให้เป็นประวัติศาสตร์กันไป เราก็มีระยะห่างกับมัน แม้กระทั่งลูกของผมก็ไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องตุลาแบบเดียวกับผม ยิ่งคนที่ไม่ได้ผูกพันทางสายเลือด ก็ยิ่งไม่ต้องใหญ่

สังคมที่กำลังต้องการสภาวะเปิด เราต้องการวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์แบบนั้น เราจะอยู่รวมกันได้เป็นประชาคม เราต้องการประชากรที่สามารถยินดีอยู่ร่วมกับคนที่มีประวัติศาสตร์ต่างๆ นานา ต้องเคารพเขาในด้านอัปลักษณ์ของทั้งเราและเขาด้วย นั่นคือประวัติศาสตร์ที่ยอมรับความจริง ในเงื่อนไขอย่างนี้เราจึงต้องการสังคมที่สามารถเปิดให้มีเสรีภาพ แบกันออกมาได้ ยิ่งมีความหลากหลาย ก็จะยิ่งลดความน่าอันตรายลงไป โดยที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ spirit of nation

ผมคิดว่าอาจจะยาก แต่เชื่อว่าสังคมเรา และหลายสังคมในอาเซียน มีวุฒิภาวะพอที่จะฟังกันได้ ไม่ได้หมายความว่าต้องให้เป็นได้ช่วงข้ามคืน เพราะวัฒนธรรมประวัติศาสตร์แบบเดิมมันฝังมานาน ผมเชื่อว่าเราต้องเริ่มต้น ไม่ใช่ปล่อยให้อาเซียนเป็นประชาคมทางธุรกิจ หรือการลงทุนกันอย่างเดียว

การที่จะให้คนมีความอดกลั้นต่อกัน จะต้องมีต่อกันในทางประวัติศาสตร์ด้วย ย้ำว่าไม่ใช่แค่พูดภาษาดอกไม้ แต่ต้องปล่อยให้ประวัติศาสตร์เลวร้าย อัปยศแค่ไหน โผล่ออกมา โดยไม่เอาตัวเองเข้าไปโกรธแค้นกับสิ่งนั้น ต้องฟังได้อย่างมีวิจารณญาณ นี่ต่างหากที่จะสามารถสร้างประชากรที่มีคุณภาพ ที่ประชาคมอาเซียนจะมีอุดมคติอย่างไรก็แล้วแต่ ผมขอให้มีวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ชนิดใหม่

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อย่าปล่อยให้ผังเมือง กทม กีดกันประชาชนส่วนใหญ่

Posted: 28 Mar 2012 10:29 AM PDT

ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับที่สำนักผังเมืองกำลังพยายามจะยัดเยียดประกาศใช้นี้ เป็นร่างผังเมืองที่ทำลายผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ สร้างปัญหาและภาระให้แก่ประชาชน ทำลายสิ่งแวดล้อมและพื้นที่สีเขียวนอกเมือง ปกป้องคนชั้นสูงส่วนน้อยให้รักษาที่ดินเพื่อลูกหลานในอนาคต

ามที่มีข่าวว่าสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร โดย ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนัก ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร  ผมในฐานะที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาเมือง ขอวิพากษ์ความเข้าใจผิดของสำนักผังเมือง ซึ่งปรากฏในหนังสือพิมพ์ {1}

ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานครกล่าวว่า “ทราบมาว่า มท.1จะไม่ลงนามประกาศใช้ผังเมืองรวมใหม่ หากไม่แก้ไขให้ตรงตามที่เอกชนต้องการ เรื่องนี้มองว่าควรมองในภาพรวมมากกว่า เพราะมีผู้ประกอบการ นักวิชาการ ประชาชน จำนวนมาก สนับสนุนให้มีความเข้มงวด  ประกอบกับเกิดปัญหาไฟไหม้บ่อยทั้งคอนโดฯ ออฟฟิศ โรงแรม ซึ่งล้วนแต่อยู่ในซอยใจกลางกรุงแทบทั้งสิ้น จึงอยากให้ผู้ประกอบการเห็นแก่ส่วนรวม เพราะท่านขายคอนโดฯจบท่านก็หมดหน้าที่ ทิ้งภาระให้กับนิติบุคคลและคนอยู่อาศัยเผชิญชะตากรรมเอง”

ความข้างต้นเป็นทั้งความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ

1. ที่ว่ามีผู้ประกอบการ นักวิชาการและประชาชนจำนวนมากสนับสนุนร่างผังเมืองของกรุงเทพมหานครนั้น  ผมเชื่อว่าสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ไม่เคยเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิการใช้ที่ดินต่าง ๆ อย่างเข้มงวดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ประชาชนได้รับทราบในระหว่างการทำประชาพิจารณ์แต่ละครั้ง  หากปกปิดหรือไม่ได้เสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน สำนักผังเมืองก็ไม่อาจอ้างว่าประชาชนสนับสนุน

2. ที่ว่าเกิดปัญหาไฟไหม้บ่อยในซอยใจกลางกรุงแทบทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นความจริง คงหมายถึงอาคารบ้านเรือนทั่วไป แต่ในกรณีอาคารสูงและอาคารชุดและอะพาร์ตเมนท์ ในช่วง 5 ปีล่าสุด (พ.ศ.2550-2554) นั้น เกิดเพลิงไหม้ลดลงจาก 8% ของกรณีเพลิงไหม้ทั้งหมด เป็น 7% 4% 3% และ 2% ตามลำดับ {2} กรณีอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป) ในปัจจุบันก็มีระบบป้องกันไฟไหม้ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ระบบอาคารเก่าในอดีต  อาคารสมัยใหม่จึงแทบไม่เกิดเพลิงไหม้  ในอีกแง่หนึ่งการดับเพลิงของกรุงเทพมหานครต้องได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ไม่ใช่อ้างความไร้ประสิทธิภาพมาเพื่อกีดขวางการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ยังกล่าวว่า “อย่างไรก็ดี การผ่อนผันให้เอกชนพัฒนาคอนโดฯ ในเขตทางที่เล็ก ย่อมทำได้แต่ต้องเป็น ถนน ซอยที่มีแผนขยาย หรือ ตัดใหม่ในอนาคตเท่านั้นซึ่งมีกว่า 100 สาย  ยกตัวอย่างย่านถนนสุขุมวิท ช่วงตั้งแต่หลังซอยอโศกไปประมาณ 6 เส้น  และบริเวณก่อนข้ามคลองพระโขนง เขตวัฒนา เขตคลองเตย เขตสวนหลวง จะมีแผนขยายถนน 4 เลนอีกหลายเส้นทาง แต่พื้นที่ไหนไม่มีแผนขยายถนน ก็ไม่สามารถทำได้”

ในความเป็นจริง กรุงเทพมหานครได้ขีดเส้นตัดถนนใหม่ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน แต่ส่วนมากไม่ได้ก่อสร้างตามแผน  ไม่มีความชัดเจนและไม่มีกรอบระยะเวลาที่จะก่อสร้างจริง  ในร่างผังเมืองใหม่ยังขีดเส้นใหม่ให้แตกต่างไปจากเดิม  นอกจากนี้ยังมีถนนจำนวนมากสร้างอยู่ในเขตรอบนอกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งขาดความเป็นไปได้ทางการตลาดและการเงินในการสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ  ดังนั้นที่ว่าจะมีการก่อสร้างถนนอีกนับร้อยสายจึงไม่เป็นความจริง และเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อหวังประกาศใช้ร่างผังเมืองรวมที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงนี้เท่านั้น

ผมไม่ใช่นักพัฒนาที่ดินหรือนายหน้า และไม่ได้นำเสนอความเห็นเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ แต่การห้ามสร้างก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษในซอยที่มีความกว้างต่ำกว่า 16 เมตร ทั้งที่เคยให้ก่อสร้างนั้น สร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเจ้าของที่ดิน กีดขวางการพัฒนาในเขตเมือง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาแนวสูงให้มาก เพื่อไม่ให้เมืองขยายออกไปในแนวราบซึ่งจะกินหรือรุกทำลายสิ่งแวดล้อม และพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่สีเขียวชานเมือง  อีกทั้งยังทำให้สาธารณูปโภคต้องขยายตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศชาติ  นอกจากนั้นการเดินทางที่ต้องออกสู่นอกเมืองเป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนส่วนใหญ่อย่างใหญ่หลวง

การพยายามสงวนพื้นที่ใจกลางเมืองไว้โดยไม่ให้เกิดการพัฒนา เท่ากับไม่เห็นแก่ประเทศชาติส่วนรวม เป็นการพยายามรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นสูงกลุ่มน้อยที่อยู่อาศัยในใจกลางเมือง  คนกลุ่มนี้ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ต้องเสียภาษีมรดก และยังได้รับการคุ้มครองให้มีที่ดินอยู่ในใจกลางเมืองเพื่อเก็บไว้ให้ลูกหลานของตนในอนาคตทั้งที่สาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า ทางด่วน ทางหลวง ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ มีอยู่เพียบพร้อมเพื่อการพัฒนาโดยไม่ขาดแคลน  การกระทำเช่นนี้อาจถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือการกระทำผิดกฎหมาย เพราะหากเทียบตัวอย่างกับห้องชุดในอาคารชุด เจ้าของห้องยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าส่วนกลางซึ่งเป็นสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ หาไม่จะไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามกฎหมาย

ผมจึงขอให้กรุงเทพมหานครทบทวนร่างผังเมืองใหม่ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวมและประเทศชาติอย่างแท้จริงโดยไม่มีวาระซ่อนเร้นเพื่อกลุ่มผลประโยชน์ใด

 

อ้างอิง

{1} มท.ส่อไฟเขียวตึกสูงซอยแคบ วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2012 เวลา 21:45 น. ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=112780:2012-03-16-14-51-28&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417

{2} สถิติ 2554 กรุงเทพมหานคร (ข้อมูลราย 6 เดือน) ด้านความปลอดภัยhttp://office.bangkok.go.th/pipd/07Stat(Th)/Stat(th)54%20(6%20Months)/stat54%20(6%20Months%20).htm

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐลุยรื้อตาดีกาชายแดนใต้ แจกตำราใหม่ใช้ของกระทรวง

Posted: 28 Mar 2012 10:08 AM PDT

สำนักการศึกษาเอกชน ลุยรื้อระบบโรงเรียนตาดีกาชายแดนใต้ เพื่อเรื่องธุรการ สารบัญหนังสือ เปลี่ยนใหม่ตำราเรียนอิสลามศึกษา ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษา ยกระดับคุณภาพ แก้ปัญหาไม่รับรองวุฒิ

นายนิฟูอัด บาสาลาฮา นักวิชาการอิสลามศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ กำลังวางระบบการเรียนการสอนให้โรงเรียนตาดีกา(ศูนย์การเรียนรู้อิสลามศึกษา)ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีระบบธุรการที่จำเป็นเพิ่มขึ้น โดยริเริ่มโครงการพัฒนาระบบการปฏิบัติการด้านธุรการและสารบัญในศูนย์ตาดีกา ซึ่งสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอหนองจิก ได้ดำเนินการนำร่องได้ระยะหนึ่งแล้ว

นายนิฟูอัด เปิดเผยว่า โรงเรียนตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นสถาบันการสอนวิชาศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐานในพื้นที่ ยังมีปัญหาเรื่องการวางระบบการเรียนการสอนอยู่มาก ส่วนระบบการจัดเก็บข้อมูลก็ยังมีส่วนที่จำเป็นต้องลงไปช่วยเสริม เช่นเดียวกับการพัฒนาทักษะให้แก่ผู้สอน

จากการสำรวจโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ พบว่า ผู้สอนส่วนมากไม่มีทักษะการวางแผนการสอน และยังขาดทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนของเยาวชน” นายนิฟูอัด กล่าว

นายซานูซี เบญจมันต์ ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอหนองจิก เปิดเผยว่า สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี ได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัตตานี จัดพิมพ์และแจกจ่ายหนังสือเรียนให้แก่ โรงเรียนตาดีกาในจังหวัดปัตตานี ทั้งหมด 653 ศูนย์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงชั้น

นายซานูซี เปิดเผยว่า สำหรับหนังสือแบบเรียนดังกล่าว เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการศึกษาอิสลามประจํามัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. 2548 โดยแบบเรียนสำหรับช่วงชั้นที่ 2 หรือชั้นอิบติดาอี (ชั้น 4 – 6) เทียบเท่าระดับประถมปลายในการศึกษาสายสามัญได้แจกจ่ายให้ศูนย์ต่างๆ แล้ว เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555 ที่โรงแรมซีเอส.ปัตตานี ส่วนแบบเรียนช่วงชั้นที่ 1 ได้แจกจ่ายไปแล้วก่อนหน้านี้

นายซานูซี เปิดเผยอีกว่า ต้นคิดการเปลี่ยนแบบเรียนจากเดิมที่ใช้ในโรงเรียนตาดีกาปัจจุบัน มาจากการรวบรวมปัญหาที่พบในโรงเรียนตาดีกา ซึ่งการเปลี่ยนแบบเรียนดังกล่าวเป็นเพียงก้าวแรกของการรื้อการเรียนการสอนตาดีกา แล้วจะการให้เป็นระบบมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยจะมีการกำหนดมาตรฐานกลาง เพื่อการันตีว่า นักเรียนตาดีกามีความรู้ความสามารถในการแข่งขันความรู้ทางศาสนาในระดับประเทศได้

นายซานูซี เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมาการเรียนการสอนตาดีกา ไม่มีมาตรฐานกลางในการกำหนดคุณภาพการศึกษาของเด็ก ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบการเรียนการสอนของเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงจำเป็นต้องมีการวางระบบที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถต่อรองกับกระทรวงศึกษาธิการได้ว่า ต้องลงมาสนับสนุนในส่วนใดบ้าง

นายซานูซี เปิดเผยว่า ปัจจุบันนักเรียนตาดีกาเสียเปรียบการศึกษาในระบบอื่น เนื่องจากวุฒิการศึกษาตาดีกายังไม่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งยังเสียเปรียบในเชิงการเปรียบเทียบความรู้ เมื่อมีการทดสอบความรู้วิชาศาสนาหรือ I-Net เนื่องจากมาตรฐานกลางความรู้ด้านศาสนาอิสลามปัจจุบันอ้างอิงตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการศึกษาอิสลามประจำมัสยิดมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. 2548 แต่โรงเรียนตาดีกาในจังหวัดชายแดนใต้ไม่ได้ใช้แบบเรียนตามระเบียบดังกล่าว

นายซานูซี เปิดเผยว่า การที่กระทรวงศึกษาธิการยังไม่รับรองวุฒิอิสลามของตาดีกา ทำให้เยาวชนเสียโอกาสในการเรียนต่อชั้นศาสนาที่สูงขึ้นสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานีจึงพยายามแก้ไขปัญหานี้ โดยเข้าไปวางระบบการเรียนการสอนตาดีกาให้เป็นระบบมากกว่าที่เป็นอยู่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คปก.ยื่นนายกฯ-ปธ.สภาดันร่างพรบ.ประกันสังคม - ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ

Posted: 28 Mar 2012 09:55 AM PDT

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายนำโดยคณิต ณ นคร เสนอประธานรัฐสภา-นายกฯ ให้ผลักดันร่างกฎหมาย 24 ฉบับที่เสนอโดยการลงลายมือชื่อโดยประชาชน แต่ยังไม่ได้เข้าสภาเพราะเกิดยุบสภาขึ้นเสียก่อน แนะควรนำเข้าสภาเพื่อพิจารณาต่อเพื่อรับผิดชอบต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)เรื่อง ร่างกฎหมายโดยการเข้าชื่อของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เสนอต่อประธานรัฐสภาและนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเห็นว่า ประชาชนใช้สิทธิตามมาตรา 163 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542 เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อประธานรัฐสภาหลายฉบับ แต่เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาจำนวน 9 ฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต้องร้องขอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ และยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ โดยคณะรัฐมนตรีชุดนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้องขอไป 24 ฉบับ รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยภาคประชาชน ประกอบด้วย(1.) ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... (2.) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ....(3.) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. .... (4.) ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่..)พ.ศ... (5.) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ....(6.) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (7.) ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข  พ.ศ. ....(8.) ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....(9.) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดฝาง พ.ศ. .... นอกจากนี้ มีร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยนางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 11,219 คนได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ. .... ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อของสภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจึงมีความเห็นและข้อเสนอแนะว่าประธานรัฐสภาต้องรับผิดชอบต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติรับรองและให้ความสำคัญต่อการเสนอร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อประธานรัฐสภาโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และรัฐสภาได้มีมติเห็นชอบตามที่รัฐบาลร้องขอแล้ว ดังนั้นจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภา ในการกำหนดวาระการประชุมระเบียบวาระการประชุม เพื่อให้ร่างกฎหมายที่ประชาชนได้รับการพิจารณา โดยจะพบว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยการเข้าชื่อของประชาชนทุกฉบับ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งมีร่างพระราชบัญญัติบางฉบับที่กำหนดระยะเวลาต้องอนุมัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เช่น องค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค และองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้มีมติร้องขอให้รัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยการเข้าชื่อของประชาชนดังกล่าวแล้ว คปก.เห็นว่ารัฐบาลควรประสานงานกับประธานรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนโดยเร็ว และไม่จำเป็นต้องรอร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี เว้นแต่รัฐบาลมีร่างพระราชบัญญัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว ก็ควรเร่งรัดเสนอร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาโดยไม่ชักช้าเพื่อให้ทันสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากการประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติจะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 2555 นี้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เรียนรู้ ‘ฮอด’ ชุมชนเก่าแก่ บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 3)

Posted: 28 Mar 2012 09:35 AM PDT

 

ที่มาภาพ : นิตยสารเสรีภาพ สำนักข่าวอเมริกัน กรุงเทพฯ

ฮอดเปลี่ยนเมื่อเกิดเขื่อนภูมิพล

ในช่วงปี พ.ศ.2495 เป็นต้นมา ถือว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในพื้นที่อำเภอฮอดครั้งใหญ่และรุนแรง เมื่อรัฐบาลในสมัยนั้น ได้มีการสร้างเขื่อนยันฮี โดยกั้นแม่น้ำปิง ตรงบริเวณช่องเขายันฮี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

ต่อมา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล’  ลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์  และเป็นอันดับ 8 ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154  เมตร ยาว  486 เมตรความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 3,462 ล้านลูกบาศก์เมตร

วันที่ 24 มิถุนายน 2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์

ในปี พ.ศ.2506 เริ่มมีการเริ่มปิดเขื่อนกั้นน้ำ และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมและ15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับ ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนภูมิพล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507

จากข้อมูลของเขื่อนภูมิพล ระบุว่า อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน สามารถจุน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กิโลเมตร นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้า และ ชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด

ในขณะที่ชะตากรรมของชาวบ้านในหลายพื้นที่ทางตอนเหนือของเขื่อนภูมิพล รวมไปถึงชาวบ้านในชุมชนฮอดต่างเริ่มสั่นคลอนนับตั้งแต่นั้นมา

“มีครูบาทำนายเอาไว้ว่า จะมีเครือเถาวัลย์ตายตั้งแต่ฝั่งนี้จนถึงอีกฝั่ง”
“แม่น้ำปิงมูนขึ้นมาประมาณ 20 กว่าศอก”
“สมัยก่อน สองฝั่งลำน้ำปิง มีต้นดอกงิ้ว ต้นไม้ฉำฉา จากนั้นชาวบ้านก็จะมีการทำแพ ตีฆ้องตีกลอง ล่องขึ้นมาเป็นวัดๆ แต่พอหลังจากที่มีการสร้างเขื่อนก็เกิดน้ำท่วม ทำให้เกิดการสูญเสียของต้นไม้ เป็นจำนวนมหาศาล และยังมาว่าประชาชน เป็นคนตัดไม้ทำลายป่าอีก”

นั่นเป็นเสียงครวญของคนฮอด ที่บอกเล่าถึงเหตุการณ์หลังมีการสร้างเขื่อนภูมิพล

จากข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของ อบต.ฮอด ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2502 ทางเขื่อนภูมิพล ได้ทำการเวนคืนที่ดินในเขตน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลฮอดเดิม ซึ่งประกอบด้วย บ้านแควมะกอก หมู่ที่ 1, บ้านหลวงฮอด หมู่ที่ 2, บ้านวังลุง หมู่ที่ 3, บ้านห้วยทราย หมู่ที่ 4 เนื่องจากจะต้องได้รับผลกระทบ จนต้องมีการอพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่ที่ทางราชการได้เตรียมพื้นที่รองรับไว้ในพื้นที่บ้านวังลุง ตำบลหางดง อำเภอฮอดและอำเภอดอยหล่อเป็นที่รองรับ แต่ชาวบ้านได้ปฏิเสธที่จะโยกย้ายไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะทุกคนเห็นว่าพื้นที่ที่ทางการเตรียมไว้ให้นั้น ยังขาดสาธารณูปโภคด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน และอาชีพหลักของชาวบ้านซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพในพื้นที่นั้นได้ ทำให้ชาวบ้านได้ย้ายกลับมาที่เดิม

ในปี 2505 ให้มีการย้ายสถานที่ราชการที่สำคัญ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ โรงเรียน ฯลฯ ให้ย้ายไปอยู่ในเขตพื้นที่บ้านท่าข้าม ตำบลหางดง อำเภอฮอด ซึ่งอยู่บริเวณสันดอนของแม่น้ำแจ่มไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำปิง

จากนั้นไม่นาน น้ำเหนือเขื่อนภูมิพล ก็เริ่มเอ่อหนุนท่วมขึ้นไปทางเหนืออย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งน้ำเริ่มแผ่ขยายเข้าท่วมพื้นที่ตำบลมืดกา ตำบลท่าเดื่อ และตำบลบ้านแอ่น และในปี พ.ศ.2507 น้ำก็เริ่มเข้าท่วมพื้นที่ของตำบลฮอด ตำบลหางดง อำเภอฮอด และบ้านแปะ เขตอำเภอจอมทอง อย่างต่อเนื่อง

ในเขตพื้นที่ตำบลฮอด หมู่บ้านที่เจอน้ำท่วมบ้านแรก คือ หมู่บ้านห้วยทราย หมู่ที่ 4 ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ถัดมาน้ำได้เข้าท่วมหมู่บ้านวังลุง หมู่ 3 หมู่บ้านแพะดินแดง หมู่ที่ 2 และหมู่บ้านหลวงฮอด หมู่ 1 ตามลำดับ

แน่นอนว่า ถึงแม้ว่าจะมีการอพยพย้ายหมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายไปจากชุมชนเดิมได้ นั่นก็คือ โบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และการสร้างเขื่อน ซึ่งได้แก่ ร่องรอยวัดโบราณ เช่น วัดเจดีย์สูง วัดหลวงฮอด วัดศรีโขง วัดสันหนอง วัดดอกเงิน วัดดอกคำ เป็นต้น

หลังจากน้ำเริ่มหนุนท่วมเข้ามา ชาวบ้านในตำบลฮอด จึงพากันย้ายอพยพขึ้นไปอยู่บนที่สูง โดยได้มีการแผ้วถางป่าเพื่อสร้างชุมชนใหม่ พร้อมกับมีการบุกเบิกพื้นที่ทำมาหากิน

หมู่บ้านแรก ที่ย้ายขึ้นมา คือ บ้านแควมะกอก ย้ายมาตั้งที่บ้านแพะดินแดงในปัจจุบัน และบ้านวังลุงได้ย้ายมารวมอยู่ที่เดียวกับบ้านหลวงฮอดที่แพะดินแดง ก่อนจะย้ายไปที่ตั้งปัจจุบัน ส่วนบ้านห้วยทราย ก็ย้ายตามขึ้นไป ณ ที่ตั้งปัจจุบัน และบ้านดงดำ ซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำปิง มีพื้นที่สูง ซึ่งมีสภาพเป็นป่า และทางราชการได้จัดเป็นพื้นที่นิคม จึงได้พากันย้ายไปอยู่ในพื้นที่แห่งนั้น

เหตุการณ์ดังกล่าว ได้สร้างความปั่นป่วนสั่นไหวให้กับผู้คนในตำบลฮอดเป็นอย่างมาก เมื่อจู่ๆ ต้องพากันระหกระเหิน อพยพโยกย้ายออกจากชุมชนอันเป็นผืนดินถิ่นเกิด โดยไม่รู้ว่าในอนาคตข้างหน้านั้นจะเป็นอยู่อย่างไรต่อไป ว่ากันว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในห้วงขณะนั้น ต้องประสบกับความยากลำบาก หน้าฝนต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วม หน้าแล้งต้องเจอกับภาวะขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร

นายพรรณ์ ฮิกิ ชาวบ้านบ้านห้วยทราย หมู่ 4 บอกเล่าให้ฟังว่า ตอนนั้นตนเองกำลังอายุประมาณ 3 ขวบ พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยก็พาหนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่ข้างบนประมาณ 1 กิโลเมตร

นายหล้า จันตา อายุ 69 ปี ชาวบ้านห้วยทราย หมู่ 4 ก็ได้บอกว่า พื้นที่โดนน้ำท่วมประมาณ 1,000 ไร่ หลังจากเขาให้ย้ายบ้าน ก็พากันขนย้าย โดยใช้วัวต่างในการขนไม้ ไปสร้างบ้านในพื้นที่ใหม่ ซึ่งแต่ก่อนนั้น กรมป่าไม้ หรืออุทยานฯ นั้นยังไม่มี

เป็นที่รับรู้กันว่า การอพยพโยกย้ายหมู่บ้านทั้งตำบลนั้น ได้มีการปรับและเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองท้องที่กันยกใหญ่ ทำให้ตำบลฮอด จากเดิม 4 หมู่บ้าน มีการแบ่งการปกครอง ออกเป็น 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านแควมะกอก หมู่ที่ 2 บ้านแพะดินแดง (บ้านหลวงฮอด) หมู่ที่ 3 บ้างวังลุง (บ้านทรายแก้ว) หมู่ที่ 4 บ้านห้วยทราย และหมู่ที่ 5 บ้านดงดำ ซึ่งบริเวณพื้นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านทั้ง 5 หมู่บ้านนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ในตำบลฮอด เป็นชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น อีกทั้ง ชาวบ้านส่วนมากนั้นมีฐานะยากจน ไม่สามารถย้ายไปตามที่ราชการจัดสรรให้ จำเป็นย้ายหนีให้พ้นจากน้ำท่วม เช่น บ้านดงดำ บ้านทรายแก้ว บ้านแพะดินแดง บ้านแควมะกอก ซึ่งชุมชนเหล่านี้ ก่อนหน้านั้นมีอาชีพด้วยการหาปลา พอน้ำลดก็กลับไปทำนาในพื้นที่นาของตนเอง

ยกตัวอย่าง หมู่บ้านดงดำ เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนภูมิพล ได้บอกเล่าไว้ว่า แต่เดิมอาศัยอยู่ตามริมฝั่งลำน้ำปิง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหมู่บ้าน คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 เริ่มมีการสร้างเขื่อนภูมิพล แต่มีการเก็บน้ำได้เมื่อปี พ.ศ. 2506 แต่น้ำเริ่มมาเอ่อท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2507 ในหมู่บ้านของฮอด แต่ก็ต้องมีการอพยพโยกย้ายบ้านเรือนจากพื้นที่ราบขึ้นมาอยู่บนพื้นที่สูง

โดยในปี พ.ศ. 2507ชาวบ้านต้องอพยพจากที่ต่ำขึ้นไปอยู่บนที่สูง และในพื้นที่ใหม่นั้นตามลำห้วยเต็มไปด้วยไม้เขาเหมือก หรือชาวบ้านเรียกว่า ไม้ดำ โดยมีพ่อเฒ่าแกละ จันหม้อ เป็นผู้ตั้งชื่อหมู่บ้านและมีการตั้งชื่อว่าบ้านดงดำ ตั้งแต่นั้นมา

ปัจจุบัน หมู่บ้านดงดำ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือเขื่อนภูมิพล และยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด นั่นคือ อาศัยพื้นที่ทำกินในช่วงน้ำไม่ท่วม ในช่วงที่ทางเขื่อนภูมิพลเก็บกักน้ำน้อย พอแม่น้ำปิงลดลง พื้นที่ทำกินจะโผล่ขึ้นมา ชาวบ้านดงดำ จะพากัน ทำนา ปลูกข้าว ปลูกถั่ว ปลูกงา ปลูกกระเทียม และเมื่อพอถึงช่วงเวลาที่เขื่อนมีการเก็บกักน้ำมาก ก็จะทำให้เกิดขึ้นขึ้นมาท่วมพื้นที่ทำกินดังกล่าว ชาวบ้านต้องจำละทิ้ง แล้วหันมาเปลี่ยนมาทำประมง หาปลา ในช่วงที่น้ำท่วมนั้นแทน

รวมไปถึง หมู่บ้านแควมะกอก ก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่จำเป็นต้องอพยพย้ายหมู่บ้านหนีน้ำท่วมอย่างจำยอมและหลีกเลี่ยงไม่ได้

ชาวบ้านแควมะกอก บอกเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ติดริมแม่น้ำปิง ต่อมา ต้องอพยพโยกย้ายขึ้นมาอยู่ในพื้นที่ที่เป็นสวนครั่ง แต่ก็ต้องมีการอพยพกันอีกครั้ง ขึ้นมาอยู่ที่สูงกว่าอยู่ติดถนน ณ ปัจจุบัน นับได้ว่า การย้ายถิ่นฐานของบ้านแควมะกอก นั้นมีการอพยพถึง 2- 3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังคงมีความรักความหวงแหนพื้นที่เดิม โดยดูได้จากการตั้งถิ่นฐานของแต่ละครอบครัว และการโยกย้ายในแต่ละครั้ง แต่ละครอบครัวก็จะเคลื่อนย้ายและตั้งบ้านเรือนอยู่ไม่ห่างและไม่ออกนอกพื้นที่ไปเท่าไหร่นัก

ชาวบ้านแควมะกอก บอกย้ำว่า สาเหตุของการโยกย้ายหมู่บ้านก็เพราะน้ำเขื่อนภูมิพลหนุนขึ้นมานั่นแหละ ก็เลยต้องหนีและย้ายให้สูงกว่าน้ำท่วม

นอกจากนั้น หลังจากน้ำจากเขื่อนภูมิพลได้หนุนสูงเข้าท่วมในหลายๆ พื้นที่ของฮอด นั่นทำให้ชาวบ้านหลายครอบครัวพยายามหาทางออกให้กับตัวเอง ด้วยการอพยพ ย้ายครอบครัวไปอยู่กระจัดกระจายในหลายพื้นที่ไกลออกไป เช่น บ้านตาล เชียงดาว แม่แตง ฝาง และไปไกลถึงจังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน

ในขณะที่หลายชีวิต หลายครอบครัวในชุมชนฮอด ยังจำต้องอาศัยอยู่อย่างอดทนและจำยอมต่อไป

 

ข้อมูลประกอบ
ข้อมูลพื้นที่ทั่วไปของตำบลฮอด องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
นิตยสารเสรีภาพ สำนักข่าวอเมริกัน กรุงเทพฯ
วงเสวนาแลกเปลี่ยนของผู้นำท้องถิ่นและชาวบ้านตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: 9 ปีผ่าน เหตุการณ์ที่ดินสุราษฏร์ฯ ไม่เปลี่ยน

Posted: 28 Mar 2012 09:25 AM PDT

บันทึกลำดับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนจนไร้ที่ดินลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิการทำอยู่ทำกินบนผืนแผ่นดินแห่งชีวิต จะอีกกี่ปีที่ผ่านไปความอยุติธรรมยังมีอยู่

 
 
ราวกลางปี 2545 ได้เกิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการปฏิรูปที่ดินไทย เมื่อกลุ่มประชาชนคนจนไร้ที่ดินลุกขึ้นมาคัดค้านการต่อสัญญาเช่าพื้นที่สวนป่านับหมื่นไร่เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันของกลุ่มนายทุนใน จ.สุราษฎร์ธานีและ จ.กระบี่ พร้อมเรียกร้องให้รัฐนำพื้นที่เลิกสัญญาเช่ามาปฏิรูปให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ดินทำกินและมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ
 
จากข้อเรียกร้องดังกล่าวมีผู้รวมลงชื่อต่อสู้เรียกร้องที่ดินทำกิน ประมาณ 25,000 ครอบครัว ในนาม “เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนภาคใต้”
 
การต่อสู้ใช้เวลาประมาณปีเศษ “กลุ่มเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนภาคใต้” ได้ถูกคุกคามต่างๆ นาๆ และในที่สุด เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2546 เจ้าหน้าที่รัฐ ประมาณ 2,000 นาย ได้เข้าสลายการชุมชนของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจนภาคใต้
 
การสลายการชุมนุมในครั้งนั้นส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องเปลี่ยนยุทธวิธีการต่อสู้เรียกร้องสิทธิจากกลุ่มใหญ่กระจายเป็นกลุ่ม ก๊ก ตามจังหวัดต่างๆ
 
ผ่านไป 9 ปี แม้บางท่านอาจจะลืมเลือนกันไปบ้างแล้ว แต่ ณ ปัจจุบัน ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานียังคงมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่ยืนหยัดต่อสู้เรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย โดยยึดตามหลักการสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
กระทั่งเมื่อประมาณปี 2551 คนจนเหล่านั้นที่ยังมีอุดมการณ์ร่วมกันได้กลับมารวมกลุ่มต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์อีกครั้งในนาม “สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)” โดยมีสมาชิก 3 ชุมชน คือ 1.ชุมชนสันติพัฒนา 2.ชุมชนไทรงาม (1, 2, 3, 4) 3.ชุมชนคลองไทรพัฒนา มาจนถึงปัจจุบัน
 
ในระหว่างการเรียกร้องสิทธิ์ครั้งนี้ กลุ่มนายทุนและนักการเมืองท้องถิ่น ผู้เสียผลประโยชน์ ได้กระทำทุกวิถีทางในการที่จะสลายกลุ่มคนจน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ปัจจุบันมีผู้ถูกฟ้องร้องดำเนินแล้ว จำนวน 26 คน หรือด้วยการใช้อำนาจอิทธิพลมืดข่มขู่ คุกคาม
 
เหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นต่อเกษตรกรคนจนถูกบันทึกไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า
 
ความรุนแรงในชุมชนคลองไทรพัฒนา กับชีวิตที่ถูกเซ่นสังเวย
 
9 สิงหาคม 2552 เวลา 06.30 น.มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 40 คัน รถปิ๊กอัพ นำโดยผู้บังคับการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และกำลังตรวจจากสถานีตำรวจชัยบุรี เข้าไปตรวจค้นอาวุธและยาเสพติดในชุมชน ตรวจค้นอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังทยอยกลับ ได้มีกลุ่มชายฉกรรจ์ถืออาวุธปืนยาวหลายคนและรถไถหลายคันเข้าพังรั้วบ้าน ทำลายทรัพย์สินและบ้านเรือนของสมาชิกชุมชนจนได้รับความเสียหายจำนวนทั้งสิ้น 60 หลังคาเรือน ซึ่งสมาชิกได้ดำเนินการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับแจ้งว่าให้ไปดำเนินการแจ้งความที่สถานีตำรวจ เมื่อเดินทางไปที่สถานีตำรวจภูธรชัยบุรี กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนใดรับเรื่องดังกล่าว
 
29 ธันวาคม 2552 เวลา 12.05 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยศ พ.ต.ท. จาก สภ.อ.เขาพนม จ.กระบี่ มาพร้อมกับ ผู้จัดการบริษัทจิวกังจุ้ย พัฒนาจำกัด และพวกอีก 5 คน ใช้รถปิ๊กอัพ 2 คัน เข้ามาในชุมชนคลองไทรพัฒนา และสอบถามข้อมูลต่างๆ จากสมาชิกชุมชน เนื่องจากสมาชิกบางคนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือ หนึ่งในนั้นคือนายอภินนท์ สังข์ทอง ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกนายตำรวจยศ พ.ต.ท. ผู้นี้ตบหน้า เมื่อนายอภินนท์จะเอากล้องถ่ายรูปบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน นายตำรวจและพวกได้ใช้อาวุธปืนจี้ที่หน้าอกนายอภินนท์ และ ภรรยา จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ภาพไว้เป็นหลักฐาน กระทั่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้เดินทางออกไปจากชุมชน
 
11 มกราคม 2553 เวลา 19.00 น. ได้มีกลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนลูกซองและปืนเอ็ม.16 กราดยิงเข้าใส่วงสนทนาของกลุ่มชาวบ้าน ขณะรับประทานอาหารค่ำที่หน้ากระท่อมที่พักของนายฟอง ขุนฤทธิ์ ซึ่งมีนายสมพร พัฒนภูมิ เพื่อนบ้านมานั่งอยู่ด้วย กระสุนปืนถูกนายสมพร พัฒนภูมิ เสียชีวิต หลังจากวิ่งหนีมาได้ประมาณ 10 เมตรเศษ ในที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำตรวจ สภ.อ.ชัยบุรี ได้ตรวจพบปลอกกระสุนปืนลูกซอง 1 ปลอกและปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวน 7 ปลอก
 
มีข้อสังเกตว่า ก่อนเกิดเหตุการณ์กราดกระสุนปืนใส่กลุ่มสมาชิกชุมชนคลองไทรฯ ที่หน้ากระท่อม ของนายฟอง ขุนฤทธิ์ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าให้ฟังว่าพบเห็นผู้จัดการบริษัทเจ้าของสวนปาล์มซึ่งเป็นคู่กรณีกับชาวบ้านเข้ามาเดินอยู่ในชุมชนโดยเฉพาะบริเวณด้านหลังที่เกิดเหตุ
 
 
19 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนใช้รถแบ็คโฮ ทำลายบ้านนายยงยุทธ
 
22 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนยิงปืนข่มขู่ ซึ่งเสียงปืนดังเป็นชุดบริเวณด้านข้างชุมชน และได้มีการยิงปืนเข้าใส่บ้านนางสาวรัตน์ อินทองคำ
 
23 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนใช้ไฟเผาบ้านนายสมหมาย ลิกชัย
 
25 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนใช้ไฟเผาบ้านนายโชคชัยและบ้านรับรองแขกของชุมชน
 
26 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนใช้ไฟเผาบ้านนายสมบัติ วงค์ปนทอง
 
28 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนใช้ไฟเผาบ้านนางพิน โมกสุวรรณ และบ้านนายพิพัฒ พูนปาน
 
29 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนใช้ไฟเผาบ้านนายสุชา บุญขำ
 
31 กรกฎาคม 2554 มีกลุ่มคนใช้ไฟเผาบ้านนางกระจาย บุญขำ และบ้านนายสมชาย สมทรัพย์
 
23 กันยายน 2554 มีกลุ่มคนใช้ไฟเผาบ้านนางเจียน ช่วยรักษา
 
 
ไทรงามพัฒนา ชุมชนกลางเขม่าปืน ถิ่นอิทธิพลเถื่อน
 
7 ตุลาคม 2554 เวลา 11.30 น. นายสุนทร หรือ สุน ช่วยบำรุง พร้อมพวกรวม 4 คน พกพาอาวุธปืนเอามาข่มขู่กลุ่มสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ถึงภายในชุมชนไทรงามพัฒนา โดยใช้รถยนต์อีซูซุสีขาวไม่ปิดป้ายทะเบียน จำนวน 1 คัน รถยนต์อีซูซุสีดำ ทะเบียน บท.3512 กระบี่ จำนวน 1 คัน เป็นยานพาหนะ
 
นายสมศักดิ์ เพชรจุ้ย หัวหน้าชุมชนไทรงามพัฒนา และอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ได้แจ้งให้ พ.ต.ท.สำเริง ชูไชย และคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้เดินทางมาที่ชุมชนทราบถึงรายละเอียด ขณะนั้นนายสุนทร ช่วยบำรุง ได้ขับรถยนต์สีขาวผ่านมา พ.ต.ท.สำเริง ชูไชย จึงเรียกให้หยุดรถเพื่อทำการตรวจค้นแต่นายสุนทร ช่วยบำรุง ขัดขืนไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ไล่ติดตามไป และมีการใช้ปืนยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเกิดการปะทะกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงล้อรถยนต์ และจับกุมตัวนายสุนทรช่วยบำรุง กับพวก 2 คน พร้อมอาวุธปืนขนาด 11 มม. 1 กระบอก ขนาด .22 แมกนั่ม 1 กระบอก อาวุธปืนลูกซองยาวบรรจุ 3 นัด 1 กระบอก อาวุธปืนไรเฟิล จำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนจำนวนมาก ส่งร้อยเวรดำเนินคดี
 
9 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 14.00 น. มีคนร้ายขับรถกระบะวีโก้ สีฟ้า ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน มีชายฉกรรณ์นั่งกระบะท้ายประมาณ 13 คน ใช้อาวุธปืนยิงเข้าใส่สมาชิก แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
 
แม้ความรุนแรงไม่ยุติ แต่การเรียกร้องสิทธิ์ของคนจนไร้ที่ดินก็ยังต้องดำเนินต่อ
 
จากเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งหมด กลุ่มทุนและผู้มีอิทธิพลใช้ทุกวิธีการที่จะดำเนินการทำลายการต่อสู้ของประชาชนมาโดยตลอด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ด้วยเป้าหมายของการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ซึ่งส่งผลให้หัวใจอันกล้าหาญอันมิยอมสยบต่ออำนาจใดๆ
 
 
ขบวนการเรียกร้องสิทธิ์ของประชาชนคนจนไร้ที่ดินยังคงดำเนินต่อไป ไม่ว่าภัยอันตรายใดๆ ทั้งการทำร้ายร่างกายหรือกระทั่งเอาชีวิตก็มิอาจหยุดการต่อสู้เรียกร้องในที่ดิน เพราะที่ดินสำหรับพวกเขาคือชีวิต เป็นแหล่งผลิตอาหาร ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ที่ดินสำหรับเกษตรกรจึงมีความสำคัญ ต่างจากกลุ่มนายทุนที่มองที่ดินเป็นทรัพย์สินเพิ่มความร่ำรวยหรือสะสมความร่ำรวยให้กับตนเอง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการต่อสู้แย่งชิง
 
อีกประเด็นที่เราในฐานะคนไทยอยู่ในบ้านเมืองเดียวกัน กฎระเบียบเดียวกัน จะต้องจับตามองคือทุกเหตุการณ์ความรุนแรงส่วนใหญ่ตัวละครในแต่ละเหตุการณ์จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องอยู่ จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถจับกุมและหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้แต่อย่างใด
 
ตราบใดที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในรูปแบบเอารัดอาเปรียบประชาชน และการเลือกปฏิบัติ แม้จะ 9 ปีผ่านไป หรือจะอีกกี่ปีก็ตาม ขบวนการต่อสู้ของคนจนก็จะยังคงมีให้เห็นและเป้าหมายในการเรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกินก็จะยังคงไม่เปลี่ยนไปเช่นกัน 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เตรียมอุทธรณ์ คดีถอนประทานบัตร “เหมืองทองอัคราฯ” ชี้รอรายงาน EHIA 1 ปี แต่เหมืองยังเดินหน้า

Posted: 28 Mar 2012 05:26 AM PDT

ชาวบ้านเตรียมอุทธรณ์ หลังศาลปกครองจังหวัดพิษณุโลก สั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองทองคำ โดยให้เวลา 1 ปี รอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA ) แต่ระหว่างนี้ยังให้เอกชนดำเนินการในพื้นที่ได้

 
ภาพ: เหมืองแร่ทอง จ.พิจิตร 
ที่มา: http://www.121easy.com
 
สืบเนื่องจากเมื่อ วันที่ 27 มี.ค.55 ผู้พิพากษาศาลปกครองจังหวัดพิษณุโลกออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีดำเลขที่ 228/2553 คดีแดงเลขที่ 163/2555 ระหว่าง น.ส.สื่อกัญญา ธีระชาติดำรง ผู้ฟ้อง และจำเลยรวม 5 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ คณะกรรมการเหมืองแร่ อธิบดีกรมป่าไม้ และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก เมื่อปลายปี 2553 โดยมีบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นผู้ร้องสอด
 
การฟ้องคดีดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนประทานบัตรของบริษัทฯ เป็นจำนวน 5 แปลง คือ ประทานบัตรที่ 26917/15804, 26923/15808, 26920/15807, 26922/15805, 26921/15806 เนื่องจากประทานบัตรดังกล่าวนี้อนุญาตออกมาโดยมิชอบ เพิกถอนใบอนุญาตของกรมป่าไม้ที่อนุญาตให้บริษัทฯ เข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำและเหมืองแร่เงิน และเพิกถอนมติสภา อบต.เขาเจ็ดลูก ลงวันที่ 3 มิ.ย.48 อีกทั้งได้มีการยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลสั่งระงับการดำเนินการใดๆ ในเขตพื้นที่ประทานบัตรทั้ง 5 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายเป็นการชั่วคราวก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
 
จากกรณีปัญหาจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทฯ ที่ดำเนินการอยู่ในบริเวณใกล้เคียงชุมชน ทำให้ชาวบ้าน ต.เขาเจ็ดลูก ได้รับผลกระทบต่อเนื่องมานานกว่า 2 ปี ทั้งเสียงดัง มีฝุ่นฟุ้งกระจายจากการระเบิดหินอย่างต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน น้ำดื่มน้ำใช้ไม่สามารถใช้น้ำสาธารณะได้ดังเดิม และชาวบ้านมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ชาวบ้านจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 10 พ.ย.53 เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
ตุลาการเจ้าของสำนวนได้อ่านคำพิพากษา ให้ถอนประทานบัตรทั้ง 5 แปลง โดยให้การเพิกถอนมีผลในวันที่ผู้ร้องสอดไม่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเหมืองแร่ทองคำให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ลงวันที่ 29 ธ.ค.52 ให้เสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนด 1 ปี หรือเมื่อรายงานนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบ ทั้งนี้นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คำขออื่นให้ยก
 
นายเลิศศักดิ์  คำคงศักดิ์  ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา กล่าวถึง คำพิพากษา คดีฟ้องเพิกถอนประทานบัตรบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด โดยให้บริษัทฯ จัดรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ภายในกำหนด 1 ปี ว่า จากคำตัดสินแม้ศาลจะให้เพิกถอนประทานบัตรแต่ก็มีมีเงื่อนไข และในระยะเวลา 1 ปีนี้ ยังเปิดให้มีการดำเนินการในพื้นที่ได้ ซึ่งในความคิดเห็นของชาวบ้าน ควรให้เพิกถอนประธานบัตรและให้ยุติการทำเหมืองในแปลงประทานบัตรน่าจะถูกต้องกว่า เพื่อหยุดยังผลกระทบที่เกิดกับชุมชน ทั้งนี้หลังศาลมีคำตัดสิน ชาวบ้านมีเวลา 30 วันในการเตรียมข้อมูลเพื่อยื่นอุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวต่อไป
 
นายเลิศศักดิ์  ให้ข้อมูลว่า ในพื้นที่ขณะนี้ทางบริษัทฯ ยังยืนยันสิทธิโดยชอบในการดำเนินงานตามปกติ จนกว่า EHIA จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ใน 1 ปีนี้ ซึ่งตามการพิจารณาคดีแม้ศาลเห็นว่า การออกประทานบัตรนั้นไม่ชอบเพราะยังไม่ทำ EHIA ตามรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 67 วรรค 2 ดังนั้นจึงต้องทำให้กระบวนการถูกต้องชอบธรรม แต่ก็มีการให้เหตุผลว่าหากมีการเพิกถอนประทานบัตรจะก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายทั้งต่อบริษัทฯ เงินรายได้ของรัฐ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ที่เคยได้รับประโยชน์จากการทำเหมือง
 
อีกทั้ง ตามคำร้องเรื่องสารปนเปื้อนในน้ำสาธารณะ ศาลระบุว่าได้มีการตรวจวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญแล้วพบว่าคุณภาพน้ำมีปริมาณปนเปื้อนต่ำกว่าที่มาตรฐานสิ่งแวดล้อมกำหนด จึงไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนประทานบัตร
 
“ในทางคดีความแม้ไม่มีความมั่นใจ แต่ในส่วนของชาวบ้านคงต้องใช้สิทธิให้ถึงที่สุด” นายเลิศศักดิ์  กล่าว
 
นายเลิศศักดิ์  กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทฯ ได้มีการยื่นฟ้องศาลปกครองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการที่มีการขยายโรงแต่งแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจากผลกระทบต่างๆ ที่สะสมมาจนเห็นชัดเจนขึ้น ทำให้ความคิดให้การต่อต้านเหมืองแร่ดังกล่าวแผ่ขยายวงกว่างมากขึ้น
 
ด้านนายปกรณ์ สุขุม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด กล่าวให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ปัจจุบันบริษัทยังคงทำเหมืองตามปกติโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้มาตรฐานระดับโลก อีกทั้งได้ดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา แม้จะเป็นโครงการที่ได้ดำเนินการมาก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศดังกล่าวแล้วก็ตาม เพื่อแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วพอสมควรคาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในเวลาที่ศาลกำหนด
 
ทั้งนี้ เหมืองทองของบริษัท อัคราไมนิ่ง ได้รับประทานบัตรทำเหมืองในเขตพื้นที่รอยต่อจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมา มีชาวบ้านในพื้นที่รอบเหมืองออกมาคัดค้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องเสียง ฝุ่นละออง และน้ำใต้ดิน โดยมีความกังวลสงสัยว่าจากการดำเนินการของเหมืองดังกล่าวมีการปล่อยสารพิษ เช่น สารหนู สารปรอท และไซยาไนด์ ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ และน้ำใต้ดิน ทำให้ชาวบ้านที่เคยทำนาปีละ 1-2 ครั้ง ไม่สามารถทำนาได้แล้วในปัจจุบัน
 
ที่ผ่านมากลุ่มชาวบ้านรอบเหมืองดังกล่าว ได้ทำเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นจังหวัด คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ว่าจะมีการเข้ามาตรวจสอบบ้าง แต่เรื่องก็ไม่ได้มีการดำเนินการแก้ไขจนต้องนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลก
 
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.55 ที่ผ่านมา ศาลปกครองพิษณุโลกได้นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก โดยตุลาการผู้แถลงคดีได้มีความเห็นว่าแปลงประทานบัตร จำนวน 4 แปลง ควรให้บริษัทฯ ผู้ร้องสอด ไปดำเนินการทำ HIA ภายใน 1 ปี ให้เรียบร้อยก่อน เพราะถือว่าเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงตามมาตรา 67 กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ถ้าภายใน 1 ปี บริษัท ผู้ร้องสอดไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จก็ให้เพิกถอนประทานบัตรทั้ง 4 แปลง แต่แปลงบนเขาหม้ออีก 1 แปลงนั้น ไม่ควรเพิกถอนเพราะจะมีผลกระทบกับบริษัทที่ได้ลงทุนทำไปแล้วและไปกระทบกับค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทได้จ่ายให้กับรัฐไปแล้ว
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ทหารพม่า" ปะทะ "กองทัพรัฐฉานเหนือ" ใกล้เมืองแสนหวี

Posted: 28 Mar 2012 04:40 AM PDT

ทหารกองทัพพม่าและกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" ยังคงเปิดฉากสู้รบกันต่อเนื่องในพื้นที่รัฐฉานภาคเหนือ แม้สองฝ่ายจะมีการลงนามหยุดยิงระหว่างกันแล้วโดยฝ่ายกองทัพรัฐฉานเหนือสามารถยึดเครื่องกระสุนได้หลายรายการรวมทั้งลูกระเบิด M 79

แหล่งข่าวในพื้นที่รัฐฉานแจ้งว่า เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุสู้รบกันอย่างดุเดือดระหว่างทหารพม่าและทหารกองทัพรัฐฉาน SSPP/SSA หรือ กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" บริเวณบ้านหนองซาง ตำบลเมืองยาง อยู่ห่างจากตัวเมืองแสนหวี รัฐฉานภาคเหนือ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6.4 กม. การสู้รบสองฝ่ายใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 6.00 น. ทำให้ฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 5 นาย และบาดเจ็บอีก 12 นาย อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์สู้รบครั้งนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันจากกองทัพรัฐฉาน SSPP/SSA แต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน มีรายงานจากเจ้าหน้าที่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSPP/SSA ว่า เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 25 มี.ค. ได้เหตุปะทะกันระหว่างทหารพม่า (ไม่ทราบสังกัด) และทหารกองทัพรัฐฉาน SSPP/SSA สังกัดกองพันที่ 851 กองพลน้อยที่ 153 บริเวณระหว่างบ้านนาหมบและเมืองยาง อยู่ทางทิศใต้เมืองแสนหวี การปะทะเกิดจากทหารพม่านำกำลังเข้าโจมตีทหาร SSPP/SSA ขณะลาดตระเวนไปพักค้างคืนอยู่ในป่า

ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุดการปะทะฝ่ายทหารไทใหญ่ SSPP/SSA สามารถตรวจยึดเครื่องกระสุนและอุปกรณเครื่องใช้ของทหารพม่าหลายรายการ ประกอบด้วย ลูกระเบิด M 79 จำนวน 7 ลูก กระสุนปืนกล 73 นัด เป้สนาม 1 ใบ และยึดหมวกทหารพม่าอีก 5 ใบ อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานผลการสูญเสียจากการปะทะของทั้งสองฝ่ายในครั้งนี้

 
 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

 


 

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'มาร์กาเร็ต'ภรรยาป๋วย อึ๊งภากรณ์ เสียชีวิตแล้ว–บทบันทึกจากลูกชายคนเล็ก ‘ใจ อึ๊งภากรณ์’

Posted: 28 Mar 2012 12:20 AM PDT

มติชนออนไลน์รายงานว่า เฟซบุ๊กสถาบันปรีดี พนมยงค์ รายงานว่า นางมาร์กาเร็ต สมิธ (อึ๊งภากรณ์) ภรรยาของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสียชีวิตลงแล้ว โดยเขียนข้อความว่า

"ขอร่วมไว้อาลัย และร่วมแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
กับการจากไปของคู่ชีวิต ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
สตรีผู้ทำหน้าที่เคียงข้างด้วยความเข้าใจ และเต็มไปด้วยความรักต่อครอบครัวถึงที่สุด"

ประชาไทได้สอบถามไปยังจอน อึ๊งภากรณ์ บุตรชายคนโต ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ลอนดอนและจะเดินทางกลับถึงเมืองไทยในวันที่ 5 เมษายน ศกนี้ โดยนายจอนแจ้งว่า "คุณแม่จากไปโดยสงบเมื่อบ่ายวานนี้ ไม่อยากให้มีจัดพิธีอะไร" (เวลา 14.44 น. วันอังคารที่ 27 มี.ค. ตามเวลาท้องถิ่น)

เมื่อสอบถามว่ามีอะไรที่อยากจะพูดถึงคุณแม่ ก็ได้คำตอบสั้นๆว่า "มีคนว่าผมโคตรดื้อแต่คุณแม่ผมโคตรดื้อกำลังสอง"

ขณะที่ นายใจ อึ๊งภากรณ์ หนึ่งในบุตรชายของนายป๋วยและนางมาร์กาเร็ต ได้เขียนเล่าประวัติชีวิตของมารดาผู้เพิ่งจากไปผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

นางมาร์กาเร็ต สมิธ (อึ๊งภากรณ์) ภรรยาของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์

มาร์กาเร็ด อึ๊งภากรณ์ 1919-2012

มาร์กาเร็ดเกิดในตระกูลที่เน้นอุดมการณ์ แต่เป็นความเชื่อและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน

คุณตาเป็นครูสอนศาสนานิกายกระแสรองที่ปฏิเสธ ความหรูหรา ในช่วงท้ายๆ ของชีวิต คุณแม่ของมาร์กาเร็ดเป็น "คเวเคอร์" พ่อของมาร์กาเร็ดเป็นคนอนุรักษ์นิยมรักชาติที่อาสาไปรบในสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ซึ่งทำให้แม่ของมาร์กาเร็ดต่อต้านสงคราม

มาร์กาเร็ดเติบโตที่ลอนดอนทางใต้ใกล้ๆ แม่น้ำเทมส์ เขาจะเล่าว่าตอนเด็กๆ จะไปเล่นตามสวนและทุ่งในพื้นที่จนรู้จักดอกไม้ธรรมชาติหลายชนิด

มาร์กาเร็ดเข้าโรงเรียนสตรีเซนต์พอลส์ ซึ่งตอนนั้นมีอาจารย์เป็นเฟมินิสต์ และครูเหล่านั้นมีอิทธิพลกับมาร์กาเร็ดเป็นอย่างมาก

มาร์กาเร็ดเป็นผู้หญิงที่เข้มแข็งและแน่วแน่ ในความคิด และเขาเป็นคนกล้าหาญ เขากล้าหาญในสองเรื่องใหญ่คือ เรื่องที่หนึ่งคือ กล้าแสดงจุดยืนต้านสงคราม โดยที่ไม่ยอมทำงานช่วยรัฐบาลอังกฤษในการทำสงครามโลกครั้งที่สอง และเลือกไปทำงานสังคมสงเคราะห์แทน

เพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขาที่เป็นผู้ชายและต้านสงครามจะติดคุกเพราะไม่ยอมไปรบ มาร์กาเร็ดต่อต้านสงครามตลอดชีวิต เขาไปร่วมประท้วงใหญ่กับเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งจากยุคมหาวิทยาลัย เพื่อต่อต้านสงครามอิรักในปี 2003 ตอนนั้นเขาอายุ 84

ในเรื่องที่สอง มาร์กาเร็ดกล้ารักเพื่อนนักเรียนคนที่ชื่อป๋วย ซึ่งเป็นคนไทย สองคนพบกันที่มหาวิทยาลัยลอนดอน หลังสงครามโลกมาร์กาเร็ดกล้าตัดสินใจเดินทางไปอีกซีกหนึ่งของโลก เพื่อไปใช้ชีวิตในประเทศไทยที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน เขาตั้งใจเรียนภาษาไทยจนอ่านและพูดได้

มาร์กาเร็ด เป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย ตอนที่เขาเรียนที่มหาวิทยาลัย เขาได้รับอิทธิพลจากเพื่อนร่วมห้องคนหนึ่งที่ใกล้ชิดกับ ส.ส.ฝ่ายซ้ายของพรรคแรงงาน

มาร์กาเร็ดไม่ใช่มาร์คซิสต์ แต่ในช่วงแรกๆ เขาไม่ยอมเป็นสมาชิกพรรคแรงงาน เพราะมองว่าไม่ซ้ายพอ เขาพึ่งมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคแรงงานในช่วงท้ายของชีวิต ในยุคนายกแทชเชอร์ มันเป็นการแสดงจุดยืนต้านแทชเชอร์และพรรคพวก

อย่างไรก็ตามเขาจะพูดเสมอว่าพรรคแรงงานถูก ทำลายไปหมดโดยโทนนี่ บแลร์ เขาเกลียดแนวเสรีนิยมและทัศนะมือใครยาวสาวได้สาวเอาของพวกกลไกตลาดและฝ่ายขวา เขาคัดค้านการแปรรูปรัฐสวัสดิการ และบ่นว่า "พวกใส่ซูด" คุมอำนาจเพื่อความโลภ

เขารักประเทศไทยและอาศัยอยู่ในไทยหลายๆ ปี แต่เขาเกลียดทหารเผด็จการที่ชอบแทรกแซงการเมืองไทย เกลียดการโกงกินคอร์รัปชั่น และการที่ผู้น้อยต้องหมอบคลานต่อผู้ใหญ่ เขามองว่าทุกประเทศควรเป็นสาธารณรัฐ

มาร์กาเร็ด ไม่เชื่อในศาสนาและเกลียดความงมงายทุกชนิด ที่บ้านซอยอารีเขาจะรื้อศาลพระภูมิทิ้ง แต่เขามองว่าลูกๆ ควรเรียนรู้เรื่องศาสนาต่างๆ แล้วตัดสินใจเอง

มาร์กาเร็ด รักธรรมชาติ รักการอ่านหนังสือ สนใจประวัติศาสตร์และประเด็นทางสังคม เขารักดนตรีของ Beethoven

ถ้าเขารู้ว่าผมเขียนบทความนี้เกี่ยวกับเขา เขาคงจะต่อว่าผมด้วยความรำคาญ

 

* รูปภาพจากเฟซบุ้คของนายใจ อึ๊งภากรณ์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มิติมุมมองสตรีนิยมกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (2)

Posted: 28 Mar 2012 12:01 AM PDT

“การพัฒนา” ในทัศนะนักสตรีนิยมบางสานักคิดโดยเฉพาะวิธีคิดใหม่ๆ เช่น “ประกอบสร้างนิยม” (constructionism) ก็ดี หรือ “หลังโครงสร้างนิยม” (post-structuralism) “หลังทันสมัยนิยม” (post-modernism) ก็ดี มองว่าเป็น “การประกอบสร้างทางสังคม” และเป็น “วาทกรรม” ที่ถูกผลิตขึ้นมาโดย “ระบบอำนาจ – ความรู้” ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ณ กาลเวลาหนึ่งๆ ถ้ามองในแนวทางนี้ “การพัฒนา” จึงเป็นสิ่งประกอบสร้างของ “ระบบอำนาจ – ความรู้” ที่อ้างว่าเป็น “ประชาธิปไตย” เป็น “ทุนนิยมแข่งขันเสรี” และเป็น “วิทยาศาสตร์ + เทคโนโลยี” ที่เป็นชุดความรู้ที่แท้จริง ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ “การพัฒนา” ในความหมายนี้ที่เรียกกันว่า “การพัฒนากระแสหลัก” (mainstream) ส่วนนักสตรีนิยมส่วนใหญ่เรียกว่า “กระแสชาย” (malestream) จึงต้องต่อสู้ขัดขืนด้วยการ “ถอดรื้อ” (deconstruction) การประกอบสร้างและหรือวาทกรรมนั้นๆ วิธีการ “ถอดรื้อ” ทาอย่างไรจะต้องไปว่ากันอีกทีหนึ่งในตอนหลัง

อย่างไรก็ตาม นักสตรีนิยมส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในวันนี้ในระดับสากลและในเมืองไทยด้วยมีวิธีคิดในแบบ “โครงสร้างนิยม” ไม่ว่าจะเป็นสตรีนิยมเสรีนิยม สตรีนิยมสังคมนิยม สตรีนิยมมาร์กซิสม์ สตรีนิยมถึงรากเหง้า (radical feminism) สตรีนิยมวัฒนธรรม สตรีนิยมนิเวศวิทยา (eco-feminism) และอื่นๆ จึงโต้เถียงต่อต้านขัดขืนโดยใช้ภาษา (ศัพท์แสง วิธีคิด การเขียน การพูด ฯลฯ) ภาษาเดียวกันกับการพัฒนากระแสหลัก ตัวอย่างเช่น การถกเถียงเรื่องโครงสร้างการเมืองแบบประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างไร โครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแข่งขันก็ดี วิทยาศาสตร์ – เทคโนโลยีที่ทางานให้กับทุนนิยมโดยเฉพาะทุนนิยมอุตสาหกรรม เกษตรกรรมแบบอุตสาหกรรมไม่ดีหรือมีผลเสียหรือมีด้านลบอย่างไรต่อผู้หญิงในฐานะที่เป็นเพศ/เพศภาวะ (เพศสภาพ) เป็นต้น ดังนั้นเราจึงเห็นการใช้มโนทัศน์หรือแนวคิดเรื่อง “ปิตาธิปไตย” ใส่เข้ามาในการวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาที่มีมิติ/วิธีคิดแบบสตรีนิยมแนวทางต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เรียกว่า “ปิตาธิปไตย” หรือ “patriarchy” นั้นเป็นมโนทัศน์หลักเฉพาะของนักสตรีนิยมเท่านั้น นักวิชาการสาขาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและแม้กระทั่งมานุษยวิทยาซึ่งเป็นสาขาวิชาหรือชุดความรู้ที่ใช้แนวคิดนี้มาก่อน นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่ก็ไม่ใช้หรือลังเลที่จะใช้ยกเว้นนักมานุษยวิทยาหญิงที่เป็นนักสตรีนิยมบางคน เพราะฉะนั้นเมื่อนักสตรีนิยมนำมาใช้จึงถูกโต้อยู่เสมอทั้งจากนักวิชาการเหล่านั้น เช่น นักรัฐศาสตร์ก็จะโต้เถียงว่า “ประชาธิปไตยคือประชาชนทุกคนเป็นใหญ่” ในความหมายว่า “ปัจเจก” ทุกคน ในภาษากฎหมายใช้คำว่า “บุคคล” ซึ่งสะท้อนให้เห็นใน “ภาษา” (ไทย) ที่ใช้ในกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง เป็นต้น แต่นักสตรีนิยมไทยจานวนหนึ่งได้ร่วมกันผลักดัน (หลังจากถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน) ให้ใส่ข้อความไว้ใน หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (เน้นโดยผู้เขียน) ... ทั้งนี้ก็เพื่อตอกย้าว่า “บุคคล” เป็นคำทั่วไป แต่ในความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม “บุคคล” แตกต่างกันถูกกีดกัน ถูกเลือกปฏิบัติบนฐานของเพศ/เพศภาวะและอื่นๆ เช่น ชาติพันธุ์ ศาสนา “ชาติกำเนิด” (เจ้า ผู้ดี ไพร่) ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาวะทางร่างกายและจิตใจ (พิการ/ไม่พิการ) และอื่นๆ อีกด้วย อ้อ! อย่าลืมว่าผู้ชายไทยไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักการเมือง นักธุรกิจ อาจโต้เถียงโดยใช้ประสบการณ์ว่า “ใครว่าผู้ชายเป็นใหญ่...ดูผมซิเมียดุจะตาย!” อย่างนี้ก็มี

ความเป็น “สากล” กับความเป็น “ไทย” ของ “การพัฒนา” และสตรีนิยม

ประเด็นนี้วงวิชาการสายสังคมศาสตร์ – มนุษยศาสตร์ถกเถียงกันมานานนับแล้วเกือบห้าสิบปี เสร็จแล้วก็เลิกรากันไปแล้ว แต่สังเกตไหมว่า ในวงการวิทยาศาสตร์กลับไม่มีการถกเถียงว่า ชีวะ เคมี ฟิสิกส์ เป็น “ไทย” หรือไม่ มีแต่พูดกันและเชื่อกันว่าเป็น “ชุดความรู้สากล” คนที่ระมัดระวังหน่อยก็ใช้ว่า “วิทยาศาสตร์ตะวันตก” หรือ “western sciences” ในหมู่แพทย์ที่ไม่ค่อยวางใจวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นฐานรากของวิชาแพทย์ศาสตร์ที่สอนกันเป็นสถาบันที่ทรงอำนาจของเมืองไทยก็มีเหมือนกันที่ใช้คำว่า “การแพทย์ตะวันตก” ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในความเป็นจริงมี “การแพทย์” หรือ “การรักษาพยาบาล” แบบอื่น ๆ เช่น อายุรเวชของอินเดีย การแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แบบชนเผ่าดารงอยู่ด้วย

คำถามคือ “การพัฒนา” แบบไทยกับ “ทัศนสตรีนิยมแบบไทย” มีหรือไม่ ถ้าไม่มีหรือมีลักษณะเป็นอย่างไร และจะเกิดผลอะไรต่อการสร้างความรู้ การถกเถียงของนักสตรีไทย?

การหาคำตอบให้กับคำถามข้างบนต้องย้อนกลับไปดูรากเหง้าของ “ประชาธิปไตย เสรีนิยม” “ทุนนิยมแข่งขันอย่างเสรี” และ “วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี” ที่เป็นทั้งวิธีคิดและกลไกในการผลักดัน “การพัฒนา” ให้เป็นปฏิบัติการแบบ “โลกาภิวัต” นั้นมีที่มาจากไหน? คำตอบคือ “ตะวันตก” หรือบางทีเราก็เรียกว่ามาจาก “ฝรั่ง” สตรีนิยมก็เช่นกัน อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย “ความเป็นแดง” ในเชิงวิธีคิดเช่น สังคมนิยมก็มาจากตะวันตก!

ผมขอถามจริง ๆ เถอะว่า “ประชาธิปไตย” ทั้งในระบบวิธีคิด ทฤษฎีและระบบการเมือง มีมาก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 หรือ? หรือว่ามีแต่ “ระบบศักดินา” แม้กระทั่งมโนทัศน์หลักเรื่อง “สิทธิ” “เสรีภาพ” และ “ความเสมอภาค” “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และอื่น ๆ อีกมากที่เราใช้กันอยู่คล่องปาก จึงล้วนเป็น “สิ่งนาเข้า” ทั้งสิ้นใช่หรือไม่? แน่นอนข้อเท็จจริงว่า ทาสหนีนาย ไพร่หนีเกณฑ์ “ผู้หญิงแกร่ง” นั้นมีอยู่แต่ไม่ถือว่า “อยู่ในจารีต”

ด้วยเหตุนี้ “ความเป็นไทย” จึงเป็นสิ่งประกอบสร้างขึ้นมาตามระบบอำนาจความรู้ในแต่ละยุคสมัย และแต่ละที่ (คำตอบแนวนี้คือ แนวฟูโก ก็ “นาเข้า” เช่นกัน)

สิ่งที่ต้องตั้งเป็นข้อสังเกตไว้คือ ถ้าจะตอบคำถามข้างบนให้ได้ ต้องตั้งโจทย์กับ “ความเป็นไทย” ด้วยว่าคืออะไร เป็นอย่างไร? ...ตัวอย่างเช่นคำว่าหรือสิ่งที่เรียกว่า “เพลงไทยเดิม” …โปรดเน้นที่คำว่า “เดิม” ก็จะได้คำตอบที่น่าฉงนคือ เราจะรู้จักเพลง เขมรไทรโยค ลาวดวงเดือน แขกต่อยหม้อ มอญดูดาว จีนราพัด ว่า “นี้แหละคือเพลงไทยเดิม” เป็นต้น… แล้วจะมาถกเถียงเรื่อง “ความเป็นไทยไม่เป็นไทย” ของนักสตรีนิยมกันไปทาไม? ในเมื่อ “ความเป็นไทย” เป็น “อัตลักษณ์” ที่ประกอบสร้างขึ้นและแปรเปลี่ยนหรือเลื่อนไหล แถมยังกระจัดกระจายเป็นชิ้นเป็นส่วน

เอาล่ะ! ถ้าพูดว่า “นักสตรีนิยมไทย” ก็อาจต้องนิยามกันว่าเป็นนักคิด นักปฏิบัติการที่เป็น “คนไทย” แต่อาศัยวิธีคิดตะวันตกมาประยุกต์ใช้ดัดแปลง หรือปรับให้เข้ากับบริบทของ “สังคมไทย” ในเวลานั้นๆ และเนื่องจากสตรีนิยมเป็นวิธีคิด เช่นเดียวกับประชาธิปไตย ดังนั้น วิธีคิดนี้จึงไม่ผูกติดอยู่กับเพศหรือเพศภาวะ (เพศสภาพ) ของคนหรือกลุ่มคน (เครือข่าย ฯลฯ) ที่ใช้วิธีคิดนั้น ๆ

ด้วยเหตุนี้นักวิชาการก็ดี นักเคลื่อนไหวก็ดี นักการเมือง นักบริหาร นายกรัฐมนตรี จะเป็นนักสตรีนิยมด้วยหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับวิธีคิดไม่เกี่ยวกับเพศหรือเพศภาวะ

เมื่อมาถึงขั้นนี้คงต้องตะล่อมสรุปชั่วคราวว่า การจะวิเคราะห์วิพากษ์นโยบายพัฒนาสตรีและกองทุนพัฒนาสตรีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือการจะออกมาปกป้อง ผลักดัน และนาไปสู่ปฏิบัติการก็ดี ต้องอย่ามุ่งไปที่ “นโยบายการพัฒนาสตรี” และ กองทุนพัฒนาสตรีอย่างทันทีทันใด ผู้วิเคราะห์วิพากษ์หรือผู้ป้องกัน ผลักดัน สนับสนุน ถ้ามีความจริงใจและมีอิสระพอ ควรต้องมองการพัฒนาสตรี กองทุนพัฒนาสตรี ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” ซึ่งเป็นผลผลิตของการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีตะวันตก เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์วิพากษ์ในที่นี้คือ “สตรีนิยม” ซึ่งก็มาจากตะวันตก แต่มาปรับให้เข้ากับสภาวะเงื่อนไขหรือบริบทของสังคมไทย ที่ “การพัฒนา” ถูกประกอบสร้างขึ้นมาโดยระบบอำนาจความรู้ (power regime) ของแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดนิ่ง

เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจตามที่เขียนมาข้างบนก็จะพบว่า ถ้าจะวิเคราะห์วิพากษ์รวมไปถึง “ถอดรื้อ” นโยบายการพัฒนาสตรีและกองทุนฯ ก็จะต้อง วิเคราะห์ การเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี โดยใช้มิติมุมมองที่หลากหลาย แตกต่างและขัดแย้งของสตรีนิยม จะเถียงกันไปแบบ “ด้น”(impromptu) เรื่อยเปื่อยโดยใช้ “โวหาร” คงไม่ได้ ถ้าจะ “ด้น” ก็ต้องทาแบบ “ด้นกลอน” คือมีหลักเกณฑ์ที่เรียกว่ามี “ฉันทลักษณ์” ไม่อย่างนั้นแล้วมันก็จะเกิดภาวะ “มีความสามารถที่จะพูดกันไม่รู้เรื่อง” หรือ “incommensurability” หรือภาษาไทยที่พอรับได้หน่อยคือ “พูดกันคนละเรื่องเดียวกัน” จากนั้นก็จะเกิดภาวะ “อนาธิปไตย” หรือ “anarchy” ซึ่งอธิบายได้ว่าเป็นสภาพสับสนอลหม่านไม่มีขื่อไม่มีแป (อนึ่งภาวะนี้นักสตรีนิยมบางคน บางแนวคิดไม่ได้เห็นว่าเป็นด้านลบเสมอไป)

เอาเป็นว่า “เรา” ไม่สามารถวิเคราะห์,วิพากษ์ นโยบายการพัฒนาทุกนโยบายของรัฐ รวมทั้งนโยบายพัฒนาสตรีและกองทุนพัฒนาสตรีได้โดยไม่มองการเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

หนึ่ง การเมือง (Politics)

เคท มิลเล็ตต์ (Kate Millett) นักสตรีนิยมคนหนึ่งนิยามการเมืองไว้สั้นๆว่า ความสัมพันธ์ใดๆ ก็ตามที่มีการจัดโครงสร้างอำนาจในลักษณะที่คนกลุ่มหนึ่งถูกควบคุมโดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง (Humm, 1995:210) นิยามนี้ไม่ได้ทำให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอ้างอย่างง่ายๆ ว่าเป็น “การเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” อย่างที่เราถูกสอนให้เชื่ออย่างนั้นหลุดรอดจากการถูกวิพากษ์ไปได้ นักสตรีนิยมส่วนใหญ่หรือทั้งหมดก็ว่าได้ มีความเห็นตรงกันในเรื่องนี้ กล่าวคือ การเมืองที่เป็นมาทั้งในสากลและในสังคมไทย เป็นการเมืองที่ “ผู้มีเพศภาวะชาย” ควบคุม “ผู้ที่มีเพศภาวะหญิง” พร้อมกันนั้นก็บอกว่า แม้จะอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วเป็นปิตาธิปไตย ซึ่งนักสตรีนิยมหากจะถกเถียงกันในเรื่องการเมืองก็ดี การพัฒนาและกองทุนพัฒนาสตรีหรือไม่อย่างไรต้องทาความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “อำนาจ” เสียก่อน

อำนาจ (power) เป็นมโนทัศน์สำคัญทางสังคมวิทยาที่มองว่าเป็นหัวใจของการทาความเข้าใจสังคมที่มีการแบ่งเป็นช่วงชั้น (stratification) เช่น “ชนชั้น” “สถานภาพ” กลุ่ม พรรคพวก พรรคการเมือง การวิเคราะห์อำนาจในแนวนี้มีมานานแล้วในสังคมวิทยา กรณีนี้คือ การนิยามและอธิบาย “อำนาจ” ของแม็กซ์ เวเบอร์ ในบทความชิ้นแรกๆของเขาเรื่อง “The Distribution of Power within the Political Community: Class, Status, Party” (พิมพ์ใน Economy of Society, 1922) นับเวลาถึงตอนนี้ก็ย่างเข้าเก้าสิบปีมาแล้ว Weber นิยามว่าในความหมายทั่วไป อำนาจหมายถึงความเป็นไปได้ที่คนจานวนหนึ่งหรือ กลุ่มต่างๆสามารถที่จะทำให้ความต้องการหรือเจตนารมณ์ของพวกเขา พวกเธอให้เกิดผลขึ้นมาได้ แม้จะถูกคัดค้านโดยคนกลุ่มอื่นๆ ตรงนี้ควรตั้งข้อสังเกตว่า “อำนาจ” จึงเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม ในทัศนะของเวเบอร์ การกระจายอำนาจอย่างแตกต่างย่อมนำมาสู่สถานการณ์นี้ คือ “โอกาสต่างๆ ในชีวิต” (life-chances) ถูกกระจายอย่างแตกต่างตามไปด้วย กล่าวคือ ความสามารถที่จะได้รับหรือเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกันด้วย (Marshall,G, 1998: 514) อย่างไรก็ตามนักสังคมวิทยาก็ยังมองว่าโอกาสที่จะพัฒนามโนทัศน์เพิ่มเติมจากที่เวเบอร์เสนอไว้ (ซึ่งที่จริงแล้วละเอียดกว่าที่ผู้เขียนนำมาอ้างในที่นี้) ต่อไปได้อีกมาก เช่น

อำนาจในทัศนะนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง ประมาณทศวรรษที่ 1970 นักสตรีนิยมเริ่มนิยามอำนาจในฐานะที่เป็นการเมืองเรื่องเพศ (sexual politics) โดยโต้แย้งว่าดุลอำนาจในสังคมเอียงกระเท่เร่ไปทางผู้ชาย (เช่น ทัศนะของเคท มิลเล็ตต์, 1970) อำนาจของผู้หญิง (female power) มักจะอยู่ภายในกรอบของอำนาจในแบบ “authority” คือเป็นอำนาจที่ได้รับการมอบหมาย (delegated power) ตรงนี้ผู้เขียนขอขยายความว่าเช่น อำนาจที่ได้รับการมอบหมายมาให้ทาหน้าที่โดย “เจ้านาย” “หัวหน้าพรรคการเมือง” “หัวหน้ารัฐบาล” ส่วนนายกรัฐมนตรีที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร ยึดอำนาจก็สามารถปกครองบริหารประเทศผ่านระบบราชการได้โดยอ้างว่ามี “อำนาจ” แบบ “power” ที่ได้จากการ “ยึด”เอามา สาหรับนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งก็สามารถอ้างได้ว่า ได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชนก็ได้อีกเหมือนกัน โดยให้เหตุผลว่าประชาชนให้อำนาจมาทาหน้าที่ปกครองบริหารประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากใช้ทัศนะสตรีนิยมคลื่นลูกที่สองมาจับก็จะเห็นได้ว่าไม่ว่า “ประชาชนเลือกมา” หรือ “ยึดอำนาจมา” ก็ล้วนเป็นอำนาจแบบผู้ชายหรือของผู้ชายทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงก็ดี มีรัฐมนตรี มีส.ส. มีผู้พิพากษา อัยการ มีนายพลหญิง นักธุรกิจเป็นผู้หญิง ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงเหล่านั้นหลุดพ้นจากอำนาจแบบปิตาธิปไตย การพัฒนาสตรีที่เป็นนโยบายและกองทุนพัฒนาสตรีในวิธีคิดของนักสตรีนิยมคลื่นลูกที่สองจึงเป็นนโยบายและปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบอำนาจแบบผู้ชาย ประเด็นนี้สำคัญมากเพราะวิธีคิดแบบสตรีนิยมจะนาไปสู่การวิพากษ์ “ประชาธิปไตย” กันเลยทีเดียว! ซึ่งจะพูดถึงในโอกาสต่อๆ ไป

คราวนี้ลองดูการจาแนกประเภทอำนาจของนักสิทธิสตรีนิยมรุ่นปัจจุบันดูบ้าง คริส คอร์ริน (Chris Corrin) เห็นว่า โดยปกติแล้วอำนาจถูกแยกแยะให้เห็นความแตกต่างเป็นห้ารูปแบบคือ อำนาจที่ได้รับการมอบหมาย (authority) การบีบบังคับ (Coercion) กาลัง (Force) การจัดการโดยใช้เล่ห์เหลี่ยม (manipulation) และการชักจูงทำให้เชื่อ (persuasion) ซึ่งเธอมีความเห็นว่าการบีบบังคับและการจัดการโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือ “การจัดการ” เฉยๆ มักถูกมองอย่างไม่ค่อยโต้เถียงขัดแย้งกันว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของอำนาจ (แต่ผู้เขียนเองเห็นว่า การชักจูงทำให้เชื่อหรือการอ้อนวอนหรือ “ตื้อ” ให้ไปลงคะแนนเสียงให้ หรือให้เชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นอำนาจที่มักถูกมองข้ามไม่นำมาถกเถียงกันมากนัก) ในทัศนะของcoercion เธอเห็นว่า นักสตรีนิยมหรือผู้หญิงที่เธอเรียกว่า “นักปลดปล่อยผู้หญิง” หรือ “Women’s liberationist” หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า “Women’s lib.” มองว่าอำนาจอยู่ในการควบคุมของผู้ชาย เธออ้างว่านักมานุษยวิทยาที่เป็นนักสตรีนิยมด้วยได้พิจารณา อำนาจ (power) อำนาจที่ได้รับมอบหมาย (authority) และอิทธิพล ดูแล้วได้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงใช่ว่าจะไม่มีอำนาจในรูปแบบใดๆ เลย ก็หาไม่ (พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้หญิงมีอำนาจอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น การมีอิทธิพลบางอย่าง -ผู้เขียน) เธอ(coercion) อ้างแอนนา ยีทแมน (Anna Yeatman) ผู้พิจารณาความสัมพันธ์ที่ไม่กระจ่างชัด (ไม่ฟันธง ไม่ระบุแบบ ใช่-ไม่ใช่ ขาว-ดา -ผู้เขียน) ของสตรีนิยมกับมโนทัศน์แนวคิดเรื่องอำนาจและกลั่นกรองออกมาว่า อำนาจมีอยู่สามเส้น หรือสามสาย(พันธุ์) คือ “อำนาจในฐานะการบีบบังคับ”(power as coercion) อำนาจในฐานะการคุ้มครอง(power as protection) และอำนาจในฐานะพลังความสามารถ(power as capacity) (Shanley and Narayan 1997:145, อ้างใน Corrin, 1999:244) coercion ยังบอกด้วยว่า ด้านต่างๆ (aspects) ของวิธีคิดเรื่องอำนาจเหล่านี้ปรากฏอยู่ในวิธีคิดของนักสตรีนิยมหลายสาย

เมื่อมาถึงจุดนี้ต้องขอตั้งขอสังเกตว่า เมื่อการพัฒนาสตรีและกองทุนพัฒนาสตรีที่ไต้เถียงกันอยู่ในหมู่นักสตรีนิยมไทยหรือผู้ที่อ้างว่าทางานเพื่อผู้หญิง ควรมีความเห็นร่วมกันว่า การพัฒนาสตรีก็ดี กองทุนพัฒนาสตรีก็ดีเป็นเรื่อง “การเมือง” อย่างแน่นอน และเมื่อการเมืองเป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถกเถียงพูดคุยกันเรื่อง “อำนาจ” ในทัศนะสตรีนิยมซึ่งยืนยันว่า อำนาจมีมากมายหลายรูปแบบ แต่อำนาจเหล่านั้นอยู่ในกรอบวิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตยหรือไม่? การหยุดหรือมุ่งประเด็นไปสู่เพียงการโต้เถียงว่า “รัฐบาลเป็นประชาธิปไตย เพราะได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชน” เท่านั้นไม่พอ นอกจากนั้นยังต้องถกกันถึงรูปแบบต่างๆ (forms) ของอำนาจด้วยว่าเป็นอำนาจแบบไหน การได้มาซึ่งอำนาจรัฐใช้วิธีการของอำนาจรูปแบบใดจึงได้อำนาจมา อย่างนี้เป็นต้น

ขั้นตอนต่อไปเห็นทีจะหนีไม่พ้นการถกเถียงเรื่องปิตาธิปไตย

ปิตาธิปไตย (Patriarchy) หรือระบอบชายเป็นใหญ่ เดิมทีใช้ในความหมายว่า “ปกครองโดยพ่อ” (rule by the father) ปัจจุบันนักสตรีนิยมใช้เพื่อหมายความถึง การใช้อำนาจและการใช้อำนาจในทางที่ผิด (a buse of power)โดยผู้ชาย รวมทั้งการใช้ความคิดความเห็นต่างๆ ที่เป็นความคิดความเห็นและสถาบันต่างๆ ที่มีลักษณะชายเป็นใหญ่เหนือผู้หญิงและเหนือกว่าดีกว่าความคิดที่มีลักษณะเป็นหญิง(feminine ideas) และวิถีทางของการทางานในแบบหญิง (feminine ways of working) นักสตรีนิยมบางคนเสนอว่าน่าจะใช้คำว่า “ความสัมพันธ์แบบปิตาธิปไตย” หรือ “patriarchal relations” เพื่อประโยชน์ของนักสตรีนิยมผู้ต้องการที่จะทาแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นถึงการตัดผ่านกันของรูปแบบการกดขี่ที่หลากหลาย (Brah 1996, อ้างใน Corrin 1999: 244)

เพื่อความเข้าใจนิยามของปิตาธิปไตยที่ยกมาข้างบนนักสตรีนิยมที่เพิ่งเริ่มต้น หรือเรียกตนเองว่าเป็น “นักสตรีนิยม” ควรตั้งข้อสังเกตว่าในนิยามข้างบนมีการใช้คาต่อไปนี้ที่มีความหมายต่างกัน เช่น

พ่อในที่นี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “the father” ตรงนี้ประเด็นสำคัญมีว่า “ปิตาธิปไตย” เมื่อนักมานุษยวิทยาใช้มาก่อนนักสตรีนิยมนั้น พวกเขาและเธอใช้บรรยายสังคมชนเผ่าหรือ “tribal societies” ว่าเป็นสังคมที่ปกครองโดย “พ่อ” ซึ่งเป็น “ผู้ชาย” เช่นเดียวกันก็เสนอว่าจากการศึกษาของนักมานุษยวิทยามีสังคมชนเผ่าที่ปกครองโดย “แม่” หรือ “ผู้หญิง” อยู่บ้างเหมือนกันแต่มีน้อยกว่า สังคมในแบบหลังนี้เรียกว่าเป็นสังคมแบบ “มาตาธิปไตย” หรือ “matriarchy”... เอาย่อๆ แค่นี้ก่อน แต่เมื่อนักสตรีนิยมตะวันตกนำมาใช้นั้น พวกเธออาจหมายถึงอำนาจของ “the father” ที่เป็นนามธรรมก็ได้ด้วย เนื่องจากในภาษาอังกฤษ การใช้คำว่า “father” ใช้ได้หลายความหมาย เช่น เป็นผู้ให้กำเนิดของปรัชญาความรู้หรือสานักทางศิลปะก็ได้ ถ้าใช้ “the Father” หมายถึงพระผู้เป็นเจ้า(God) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้ชายก็ได้ ดังนั้นปิตาธิปไตยจึงหมายถึงอำนาจของคนที่เป็น “ผู้ชาย” หรือมี “เพศเป็นชาย” ก็ได้ หรือว่าหมายถึงอำนาจเชิงนามธรรมแต่มีการใส่ความหมายเพื่อสื่อนัยว่าอำนาจนั้นเป็น “ผู้ชาย” ก็ได้

“ลักษณะที่เป็นผู้ชาย” หรือ “masculine” กับ “ลักษณะที่เป็นผู้หญิง” หรือ “feminine” ตรงนี้นับว่าเป็นปัญหาใหญ่สาหรับคนที่ไม่ได้เป็นนักสตรีนิยมสายวิชาการ กระนั้นก็ตาม บ่อยครั้งที่นักสตรีนิยมในสายนี้ก็ใช้คำว่า “ผู้ชาย” ซึ่งบ่งบอกความหมายในทางกายภาพ นักสตรีนิยมไทยบางคนใช้คำว่า “เพศสรีระ” และคำว่า “ผู้หญิง” ที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “woman, women, female” ปนเปหรือข้ามไปข้ามมากับ “ลักษณะชาย” กับ “ลักษณะหญิง” ซึ่งนอกจากจะมีนัยบอกถึงเพศทางชีววิทยาหรือเพศสรีระแล้วยังมีความหมายว่าเป็นลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่ถูกสังคม-วัฒนธรรมนั้นๆ ในเวลานั้นถือว่าเป็น “ลักษณะชาย” กับ “ลักษณะหญิง” ในความหมายหลังนี้ “ลักษณะหญิง” หรือในภาษาไทย เราพูดว่า “เป็นผู้ยิ้งผู้หญิง” เช่น ศิลปินเพศชายบางคนเขียนภาพออกมา “หวาน” ก็อาจถูกวิจารณ์ว่าเป็น “ผู้ยิ้งผู้หญิง” ในขณะที่ศิลปินเพศหญิงบางคนผลิตงานออกมาแล้ว คนวิจารณ์บอกว่า “หนักแน่น ดุเดือดยังกับผู้ชาย”

ดังนั้น แนวความคิดต่างๆ(ideas) สถาบันต่างๆ(institutions) ซึ่งสถาบันในความหมายทางสังคมวิทยา หมายถึงความสัมพันธ์หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่ถือว่าสำคัญในชุมชนหรือในสังคมหนึ่งๆ ณ กาลเวลาหนึ่ง สถาบันในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถาบันการศึกษา เช่น ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็น “สถาบัน” ในความหมาย “institute” ดังนั้น เมื่อนักสตรีนิยม พูด/เขียนว่า ความคิดต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นผู้หญิง เช่น สันติภาพ สันติวิธี “พูดกันดีๆ ก็ได้” เป็นตัวอย่างหนึ่งของ “แนวความคิดที่มีลักษณะ feminine” หรือ “ลักษณะหญิง” แต่ถ้าพูด/เขียนว่า “การแก้ปัญหานี้มีวิธีเดียวคือ ต้องตบหน้ามัน” หรือ “อย่างนี้ต้องเตะสั่งสอน” แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังคาพูดคาจาหรือภาษานั้นๆ เป็น “แนวคิดที่มีลักษณะ masculine” หรือ “คิดแบบผู้ชาย” ไ เพราะบอกให้ใช้ “ความรุนแรง” ไม่ว่าถ้อยคา/ภาษาเหล่านั้นจะออกมาจากปากหรือปากกาของผู้มีเพศเป็นหญิงหรือมีเพศเป็นชาย ก็ถือว่าวิธีคิดแนวคิดและแบบแผนความสัมพันธ์แบบแผนพฤติกรรม(สถาบัน) เข้าลักษณะ “เป็นผู้ชาย” ตัวอย่างที่ปรากฏในสังคมไทย เช่น ความคิด/ความเชื่อว่า “นักการเมืองต้องเป็นนักเลง” การแก้ปัญหายาเสพติดด้วยการทาวิสามัญฆาตกรรม การแก้ปัญหาภาคใต้ โดยใช้วิธีการและแนวคิดแบบทหาร (ปราบลูกเดียว) เช่นในกรณี กรือเซะ ตากใบ และการใช้กาลังตอบโต้ของอีกฝ่าย การปราศรัยในเวทีต่างๆ รวมทั้งในรัฐสภาด้วย แต่มีลักษณะก้าวร้าวชวนคนให้ใช้ความรุนแรง แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่า “เราพูดกันด้วยเหตุผล” หรือ “เราชุมนุมอย่างสันติ” เหล่านี้ก็บ่งชี้ว่าการเมืองไทยเป็น “ปิตาธิปไตย” ในความหมายของนักสตรีนิยม

สุดท้ายแล้วบทความตอนนี้จะกลับมาสู่หัวข้อการพัฒนาสตรีและกองทุนฯ ที่ว่าอย่างไร...? คำตอบที่สั้นที่สุดคือ ต้องดูว่าการเมืองและเศรษฐกิจแบบใช้อำนาจในรูปแบบที่ทำให้เกิดการแข่งขัน กดดัน เบียดขับ เลือกปฏิบัติ “ลับ ลวง ล่อ” ทำลาย(สิทธิมนุษยชน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ) ย่อมไม่ใช่การพัฒนาในทัศนะสตรีนิยม แม้ว่าการพัฒนาและกองทุนฯ นั้น จะมาจากรัฐบาลที่มีนายกฯ เป็นเพศหญิง หรือแม้กระทั่งมี ค.ร.ม. ทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีผู้รับผิดชอบเป็นเพศหญิงก็ตามที

16 มีนาคม 2555

 

 

หมายเหตุ:

  • บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับสภาบันใดๆ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ธีรยุทธ’ นำทีม 5 Think Tank เปิดพื้นที่เสรีภาพ จัดถก 8 ปัญหาหลัก

Posted: 27 Mar 2012 11:48 PM PDT

สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์-พระปกเกล้า-ทีดีอาร์ไอ-วิจัยสังคม จุฬา-สมาคมนักข่าว จับมือแถลงภารกิจขยายพื้นที่เสรีภาพ เตรียมจัดเวทีถก 8 ประเด็นหลัก สถาบันพระมหากษัตริย์, hate speech, ความเหลื่อมล้ำ, กระบวนการยุติธรรม, ประชานิยม, ชาตินิยม,เสรีภาพในการประท้วง ประเดิมครั้งแรกชวนนักวิชาการถกเรื่องเสรีภาพทางวิชาการ

28 มี.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 สถาบันร่วมแถลงข่าว “ภารกิจขยายพื้นที่เสรีภาพให้กับสังคมไทย 80 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 และ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516” โดย ธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย แถลงว่า ภารกิจนี้เริ่มต้นที่ 5 สถาบันแต่หวังจะขยายแนวร่วมออกไปเรื่อยๆ โดยกิจกรรมจะออกมาในรูปแบบเวทีสาธารณะทางวิชาการ ในช่วงปั 2555-2556 ในประเด็นที่จำเป็นต่อสังคมไทยและอาจจะมีการทำงานวิจัยด้วย

ทั้งนี้ ในวันนี้เป็นการแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือ จากนั้นมีการจัดเสวนาวิชาการเกี่ยวกับประเด็น “เสรีภาพในสังคมไทย” โดยเน้นเสรีภาพทางวิชาการ โดยการแถลงข่าวในวันนี้มีผู้สื่อข่าวเข้าร่วมจากหลากหลายสำนัก สำหรับรายชื่อ 5 สถาบัน ได้แก่ สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ), สถาบันพระปกเกล้า, สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ธีรยุทธ กล่าวถึงประเด็นที่จะมีจัดเวทีวิชาการ โดยมีกำหนดคร่าวๆ ประมาณ 2 เดือนต่อ 1 หัวข้อ คือ

1.เสรีภาพในสังคมไทย
2.ปัญหาทุรวาทกรรม โทสะวาท หรือ hate speech จะแก้ไขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
3.การแก้ไขความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
4.กระบวนการยุติธรรมกับประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
5.นโยบายประชานิยม ผลดี ผลเสีย ต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทย
6.ความคิด “ชาตินิยม” ข้อดี ข้อเสีย
7. ความหมาย ความสำคัญ ของเสรีภาพในการประท้วง การแสดงหาจุดร่วม ความเหมาะสม ความพอดีในการประท้วง
8.สถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและในยุคสังคมข้อมูลข่าวสารและโลกาภิวัตน์  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเอกสารแถลงข่าวที่แจกผู้สื่อข่าวไม่มีข้อ 8 แต่นายธีรยุทธได้เพิ่มเติมภายหลังโดยระบุว่ามีการพิมพ์ตกหล่น และย้ำว่าข้อสุดท้ายเรื่องสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่พิจารณากันตั้งแต่ต้น และเป็นประเด็นที่สำคัญมาก ทั้งนี้ ทั้ง 5 สถาบันเห็นพ้องกันว่า

“ปัจจุบันมาถึงยุคสมัยที่ควรจะขยายพื้นที่ทางสิทธิเสรีภาพให้กว้างขวางเพิ่มเติมขึ้นอีกโดยหลักการว่า เสรีภาพก็คือ การใช้สิทธิอำนาจของตัวเองเพื่อรับผิดชอบต่อตัวเอง ผู้อื่น และส่วนร่วม การขยายพื้นที่เสรีภาพจึงบ่งชี้ว่า ประชาชนทุกคนทุกฝ่ายเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน จึงมีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องมีเสรีภาพในการแสดงออกในการเสนอประเด็นปัญหา องค์ความรู้ ทัศนะต่างๆ ที่จะทำความเข้าใจปัญหา ผลดี ผลเสีย หนทางแก้ไขในทุกๆ ประเด็น”

“ถ้ามันมีบางปัญหาที่พูดถึงมันไม่ได้ เสนอแนะไม่ได้ ความรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศก็จะลดน้อยลงไป ก็เป็นปัญหาว่าประเทศนี้จะก้าวต่ออย่างไร” ธีรยุทธกล่าว

ตอนนี้นักวิชาการไม่กล้าแสดงออก เพราะเวลานี้ง่ายต่อการถูกตีตรา

มีต้นทุนในการแสดงออกที่ค่อนข้างสูงมาก

เราเห็นตัวอย่างของนักวิชาการที่พยายามแสดงออกความคิดแล้วมีปัญหา

อาจต้องคดี ถูกแบล็กลิสต์เรื่องงานวิจัย

นิพนธ์ พัวพงศธร

นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวว่า เหตุผลที่ต้องจัดเวทีเสวนาวิชาการเช่นนี้ เพราะสภาวะที่สังคมมีความขัดแย้งสูง ทางออกค่อนข้างตีบตัน เสรีภาพทางวิชาการจะช่วยแสวงหาทางออกจากภาวะตีบตันได้ นอกจากนี้รัฐบาลยังสนใจแต่นโยบายระยะสั้น นโยบายสาธารณะไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างได้  เสรีภาพทางวิชาการจะช่วยนำเสนอทางออกขณะเดียวกันก็เติมเต็มพื้นที่เสรีภาพในสังคม โดยเฉพาะเสรีภาพที่มากับความรับผิดชอบ  

“ตอนนี้นักวิชาการไม่กล้าแสดงออก เพราะเวลานี้ง่ายต่อการถูกตีตรา มีต้นทุนในการแสดงออกที่ค่อนข้างสูงมาก เราเห็นตัวอย่างของนักวิชาการที่พยายามแสดงออกความคิดแล้วมีปัญหา อาจต้องคดี ถูกแบล็กลิสต์เรื่องงานวิจัย”นิพนธ์กล่าวและว่าเวทีเช่นนี้น่าจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

 

ในอีกด้านหนึ่งเสรีภาพทางวิชาการคือการเลือกเสพผลงานทางวิชาการของสังคมและสื่อด้วย

เราต้องดูการเลือกเสพวิชาการของสื่อไทยและของสังคมไทยด้วยว่าเสพยังไง

วันนี้สิ่งที่เราพบข้อหนึ่งจากรายงานปรองดองของพระปกเกล้า จริงๆ มีมิติเยอะ

เฉพาะมิติเรื่องการเสพอย่างเดียว ผมว่าคนที่จะอ่านรายงาน เฉพาะฉบับย่อก็ได้ ไม่เกินสิบหน้า

ในนี้ไม่รู้มีกี่คน แต่มี position ไปแล้วทุกคน…..

การเลือกเสพ เลือกเฉพาะข้อเสนอ ทั้งที่หัวใจสำคัญคือกระบวนการพูดคุยกันในสังคม

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

บวรศักดิ์  อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า เวทีนี้เป็นเวทีที่ไม่มีโทสะวาท เวทีที่จะใช้ความรู้ทางวิชาการมาพูดคุยกัน เห็นต่างก็ไม่เป็น แต่รับกันได้แล้วสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ในภาวะที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันชัดเจน

บวรศักดิ์ยังกล่าวถึงประเด็นเสรีภาพทางวิชาการ โดยตั้งคำถามต่อวงประชุมว่า เสรีภาพทางวิชาการคือเสรีภาพของนักวิชาการหรือไม่ และคือสิ่งที่นักวิขาการพูดหรือไม่ ในอีกด้านหนึ่งเสรีภาพทางวิชาการคือการเลือกเสพผลงานทางวิชาการของสังคมและสื่อด้วย  เราต้องดูการเลือกเสพวิชาการของสื่อไทยและของสังคมไทยด้วยว่าเสพยังไง

“วันนี้ สิ่งที่เราพบข้อหนึ่งจากรายงานปรองดองของพระปกเกล้า จริงๆ มีมิติเยอะ เฉพาะมิติเรื่องการเสพอย่างเดียว ผมว่าคนที่จะอ่านรายงาน เฉพาะฉบับย่อก็ได้ไม่เกินสิบหน้า ในนี้ไม่รู้มีกี่คน แต่มี position ไปแล้วทุกคน” บวรศักดิ์กล่าว และว่าถ้าอ่านรายงานอย่างลึกซึ้งจะพบว่าข้อเสนอนิรโทษกรรม,คตส., การสร้างความเป็นธรรม การหาความจริง ฯลฯ เป็นประเด็นที่คนวิจัยเสนอให้ไปพูดคุยในสังคม ไม่ใช่ข้อเสนอสุดท้าย แต่หัวใจอันแรกสุดที่เขาพูดว่ามีสงครามปรองดอง เพราะพฤติกรรมทุกคนเหมือนเดิม จุดยืนเหมือนเดิมมันจึงไม่เกิดการแก้ปัญหา จึงเสนอว่าต้องสร้างบรรยากาศการปรองดองก่อนในหมู่นักการเมืองและในประเทศ และให้นำประเด็นต่างๆ ไปหารือกันว่าจะนิรโทษแบบไหนถ้าจะให้อภัยกัน ความจริงจะเปิดเผยได้แค่ไหน

“มีคนเดียวเท่านั้นจาก 47 คนที่บอกว่าให้เปิดเผยชื่อทุกคนทุกเหตุการณ์ นอกนั้นบอกว่าต้องลืม แต่นักวิจัยก็ยืนของเขาว่า ลืมไม่ได้ เพราะเดี๋ยวก็จะทำอีก แต่ก็ต้องเปิดแบบมีขั้นมีตอน แล้วก็ยกตัวอย่างของอังกฤษขึ้นมาว่า 30 ปีให้หลังถึงมาเปิด และเปิดชื่อบุคคลกับเหตุการณ์ เขามี position ของเขามาจากการศึกษา แต่ทั้งหมดการเลือกเสพ เลือกเอาข้อเสนอ ทั้งที่หัวใจคือกระบวนการพูดคุยกันในสังคมเพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกันให้ได้ว่าจะเอาแบบไหน” บวรศักดิ์กล่าว

เขากล่าวอีกว่า การใช้งานวิชาการ เราคงต้องพูดถึงเหมือนกันว่าเสรีภาพทางวิชาการเราต้องคุ้มครอง แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย อะไรที่ free โดยไม่มี value เลยนั้นไม่มี แม้แต่ fact ก็ย่อมมีข้อโต้แย้งเสมอ ประเด็นอยู่ที่มัน valid หรือไม่

สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่ได้รับการพูดถึงมากคือ อำนาจนอกระบบประชาธิปไตยซึ่งหลายคนพูดเรื่องรัฐประหาร แต่อำนาจภายในระบบเองก็มีปัญหา เหมือนทีใครทีมัน เสียงข้างมากตัดสินถูกให้เป็นผิดได้ ดังนั้น ไม่ใช่ปัญหาการยึดอำนาจที่เป็นประเด็นอย่างเดียว ถ้าไม่มีเวทีแบบนี้ก็จะไม่ค่อยมีพื้นที่การพูดคุย รวมถึงเรื่องราวอื่นๆ ในทางสังคมด้วย ในสถานการณ์แบบนี้ พื้นที่เสรีภาพถูกคุกคามในความหมายของการแบ่งขั้วทางการเมืองด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราต้องขยายใจให้มองกว้างกว่าเดิม ไม่ใช่ข้างใดข้างหนึ่ง และต้องร่วมกับคนหลายๆ ลักษณะไม่เฉพาะคนในวงวิชาการ 

ในสังคมยุโรปเขาแยกรัฐกับศาสนจักรชัดเจน แต่ในสังคมเรามันรวมกันไปหมด

จะเห็นได้ว่าเราพูดถึงศีลธรรมกันเยอะมากในเรื่องการเมือง

ถ้าเริ่มต้นด้วยศีลธรรมเสียแล้ว มันไม่มีแล้วเสรีภาพในความคิดเห็น

เพราะศีลธรรมต้องเชื่อ ต้องศรัทธา

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

 

ในช่วงของการสัมมนา ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ  เริ่มต้นด้วยการนำเสนอกรอบในการทำความเข้าใจเรื่องเสรีภาพในทางวิชาการ โดยกล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่หลักในการค้นคว้าและนำเสนอความเป็นจริง บทบาทของมหาวิทยาลัยควรทำหน้าที่เป็นตัวแทนสำนึกของสาธารณชน ในเรื่องหรือทัศนะที่มีต่อการเมืองทั้งที่ดีและเลวก็ควรนำเสนอได้  แต่แปลว่ามีส่วนร่วม มีบทบาทในทางการเมืองด้วยหรือไม่ มีบทบาทได้แค่ไหน ถ้าไปมีส่วนร่วมก็คงเป็นสมรภูมิย่อยๆ ในมหาวิทยาลัย ประสบการณ์จากต่างประเทศสรุปว่า นักวิชาการควรเสนอ fact หรือข้อเท็จจริง ไม่ใช่สัจธรรม สิ่งที่นักวิชาการเสนอ แม้บอกว่าเป็นความดี ความเลว ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเท่านั้น ต้องไม่มีคุณค่าเชิงตัดสิน แต่มันเป็นสิ่งทำได้ยาก ฉะนั้น ทางออกก็คือ พยายามที่จะทำให้การพูดนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง  

ธเนศกล่าวว่า ในสังคมยุโรปเขาแยกรัฐกับศาสนจักรชัดเจน แต่ในสังคมเรามันรวมกันไปหมด จะเห็นได้ว่าเราพูดถึงศีลธรรมกันเยอะมากในเรื่องการเมือง ถ้าเริ่มต้นด้วยศีลธรรมเสียแล้ว มันไม่มีแล้วเสรีภาพในความคิดเห็น เพราะศีลธรรมต้องเชื่อ ต้องศรัทธา

 

ถ้าเราจำกัดเสรีภาพทางวิชาการในทางการเมืองแล้ว

มันจะกลายเป็นการกดขี่ข่มเหงในเรื่องความคิดและความเชื่อ

ถ้าคิดว่าไม่สำคัญเท่าเรื่องกายภาพ แสดงว่าเราไม่เข้าใจมนุษย์

โคทม อารียา

โคทม อารียา กล่าวว่า  เสรีภาพไม่ว่าจะอย่างไรก็โดนจำกัด สังคมมีกรอบบางอย่างบังคับอยู่เสมอในบางเรื่อง แม้แต่รัฐธรรมนูญก็มีการจำกัดเสรีภาพไว้ ยกเว้นข้อเดียวคือเสรีภาพสมบูรณ์ในทางความเชื่อ ตนมองว่าหากจะพยายามเอาอะไรไปกำกับเสรีภาพ ก็ควรเป็น ความมีเหตุผล  เพราะ “ความจริง” ที่เราบอกว่ารู้นั้นเป็นมายาคติของนักวิชาการ แม้แต่ข้อเท็จจริงก็ยังเห็นต่างกัน ดังนั้น เสรีภาพทางวิชาการก็น่าจะประกอบด้วยความสามารถ 2 อย่าง คือ การค้นคว้าศึกษาโดยใช้หลักเหตุผล และนำสิ่งที่ค้นคว้าศึกษามาเปิดเผย นี่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้องค์ความรู้ของมนุษย์ก้าวหน้าต่อไป

อย่างไรก็ตาม เสรีภาพทางวิชาการก็ควรต้องจำกัดเหมือนเสรีภาพทั่วๆ ไป ขณะเดียวกันถ้าเป็นเรื่องการเมือง ถ้าเราจำกัดเสรีภาพทางวิชาการในทางการเมืองแล้ว มันจะกลายเป็นการกดขี่ข่มเหงในเรื่องความคิดและความเชื่อ ถ้าคิดว่าไม่สำคัญเท่าเรื่องกายภาพ แสดงว่าเราไม่เข้าใจมนุษย์ มีการกดขี่ที่ไหนมันจะมีการต่อสู้ที่นั่น บางทีรุนแรงกว่า จำกัดวงได้ยากกว่าความรุนแรงทางกายภาพด้วยซ้ไป ดังนั้น ควรเปิดพื้นที่ทางวิชาการให้กว้างที่สุด และนักวิชาการก็ต้องไม่ “ขายตัว” รับใช้ผลประโยชน์ 

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า  ทีดีอาร์ไอมีบทบาทแตกต่างจากสถาบันทางวิชาการโดยเน้นการนำเสนอนโยบาย ซึ่งนโยบายจะเป็นเรื่องที่ไปไกลว่าข้อเท็จจริง การศึกษาข้อเท็จจริงเป็นเพียงขั้นต้นของการเสนอแนะนโยบาย ต้องใช้การตัดสินเชิงคุณค่าอย่างแน่นอน แต่พยายามใช้ดุลยพินิจโดยปราศจากอคติ เพราะหน่วยงานอย่างเราถ้าไม่มีความเชื่อถืออยู่ไม่ได้เลย โดยหลักแล้วนักวิจัยมีหลักความรับผิดชอบสำคัญที่ยึดถือ คือ พูดในสิ่งที่ตัวเองรู้เรื่อง นักวิชาการพูดในเรื่องที่ตัวเองไม่รู้เยอะซึ่งสร้างปัญหา, สิ่งที่กล้าพูดต้องกล้าเขียน เป็นหลักประกันว่าไตร่ตรองมาดีแล้ว, กล้าพูด กล้าเสนอต่อรัฐบาลก็ต้องกล้าเสนอต่อสาธารณะ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ, การวิจัยนโยบายความรับผิดชอบต้องมุ่งที่การวิเคราะห์ วิจารณ์ ความคิด การกระทำ ไม่ใช่ตัวบุคคล, วิจารณ์โดยมีข้อเสนอแนะทางนโยบายที่เป็นไปได้จริง หากไม่มีข้อเสนอแนะเป็นการวิจารณ์โดยไม่รับผิดชอบ, การวิพากษ์วิจารณ์ ต้องลดภาษาการประชดประชัน นักวิชาการไทยมีปัญหาเรื่องนี้ ทำให้คุยกันไม่ได้ ไปไกลกว่าตัวประเด็นแต่เป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึก, การเกี่ยวข้องกับการเมือง อันที่จริง Think Tank ในต่างประเทศอาจฝักใฝ่ฝ่ายการเมืองได้ แต่เมืองไทยยังไม่มีทางเลือกขนาดนั้น หากสังกัดกับขั้วการเมืองอาจมีปัญหา เพราะสังคมเราไม่ได้รุ่มรวยทางเลือกขนาดนั้น

กฤตยา อาชวนิจกุล จากมหิดล ความพยายามในวันนี้ควรเกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ว่าจะมีวิกฤตทางการเมืองหรือไม่ ถึงเวลาต้องหยุดมาตรการปิดปาก ความสำคัญเรื่องนี้ในสังคมไทยไม่ได้อยู่ที่ว่า ใครสั่งให้เราไม่พูด แต่อยู่ที่ว่าเราสั่งตัวเองไม่ให้พูด เรื่องที่ควรจะคุยควรเป็นประเด็นผลกระทบต่อสาธารณะ ทั้งนี้ แนวทางความเชื่อเรื่องเสรีนิยม บนหลักประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วม มีหลักอันหนึ่งว่า เราควรมีความสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง ปรากฏการณ์ ความเชื่อต่างๆ  และอยากให้สื่อกระแสหลักให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในทุกมุมมอง

ปิดพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการ ผมว่าปิดมหาลัยไปเลยดีกว่า

และถ้าเราไม่สามารถทำลาย self censorship ได้ ผมว่าปิดมหาลัยก็มีค่าเท่ากัน

อภิชาต สถิตนิรมัย

อภิชาต สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวว่า   20 กว่าปีก่อนหน้านี้ไม่เคยจัดเรื่องนี้ในที่นี้เลย ดังนั้น การจัดงานในวันนี้จึงเป็นตัวชี้วัดความตกต่ำทางวิชาการโดยตัวมันเอง ปัญหาใหญ่สุดคือ ทำอย่างไรจะทำลายการเซ็นเซอร์ตัวเองได้

ปัญหาเรื่อง objectivity นั้น เห็นว่า นักวิชาการควรแบจุดยืนตนเองเลยดีกว่าว่าเชื่อแบบไหน  ใช้วิธีคิดไหน ในโลกปัจจุบันบอกไม่ได้ว่าไม่มีการตัดสินหรือให้คุณค่าต่อสิ่งใดๆ แต่หากเปิดตัวเองออกมา สาธารณชนจะเห็นข้อเสนอต่างๆ ว่าอยู่ภายใต้มุมมองแบบใด

อภิชาตกล่าวว่า เสรีภาพทางวิชาการโดยตัวเองก็คือกลไกในการตรวจสอบ ยิ่งไม่มีพื้นที่นำเสนอ ยิ่งไม่มีกลไกตรวจสอบนักวิชาการ ยิ่งขยายพื้นที่สาธารณะ ความรับผิดชอบของนักวิชาการต่อตนเองยิ่งมากขึ้น

“ปิดพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการ ผมว่าปิดมหาลัยไปดีกว่า และถ้าเราไม่สามารถทำลาย self censorship ได้ ผมว่าปิดมหาลัยก็มีค่าเท่ากัน”  อภิชาตกล่าว

อุทัย ดุลยเกษม กล่าวว่า Right to information เป็นเรื่องสำคัญ และถึงที่สุดแล้วในแวดวงวิชาการถ้าไม่แตะเรื่องสถาบันก็ไม่เคยเห็นการถูกเซ็นเซอร์ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่กึ๋นมากกว่า เพราะดูๆ แล้วนักวิชาการคิดเหมือนกันเยอะ ส่วนที่คิดต่างก็มี นอกจากนี้ยังพบว่าแวดวงวิชาการมีความน่าเบื่อ ยกตัวอย่างแวดวงเศรษฐศาสตร์ เราไม่มีตลาดทางวิชาการที่ลึก ที่มีคนเล่น คนอ่าน ที่เถียงกันไปมา บทความวิชาการก็น่าเบื่อ ช่วงหลังยิ่งสอนให้คนเป็นวิศวกร คิดโจทย์แคบๆ โจทย์ใหญ่ที่ท้าทายไม่ค่อยเห็น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น