ประชาไท | Prachatai3.info |
- ธัญสก พันสิทธิวรกุล
- ซาอุฯ อาจส่งนักกีฬาหญิงเข้าร่วมโอลิมปิก 2012 หลังโดนกดดัน
- ประชาธิปไตยเป็น 'สิ่งแปลกปลอม' ที่นำเข้าจากต่างประเทศ(?)
- ASEAN Weekly: จับเทรนด์อาเซียนกับ"พันธุ์อาจ ชัยรัตน์" และรู้จักติมอร์
- ทหารพรานมือยิงรถตู้ถูกทำร้ายดับในเรือนจำ
- นักข่าวพลเมือง: ตัวแทนเกษตรกรเหนือจี้ปรับโครงสร้างหนี้ตาม มติ ครม. 7 เม.ย. 53
- เปลือย ‘ธัญสก’ ผู้กำกับหนังนวมทอง: หลักไมล์ประวัติศาสตร์-ส่วนผสมประหลาดที่ลงตัว
- ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ค่าแรง 300 ตัวเร่งไทยปรับตัวโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่
- มิติมุมมองสตรีนิยมกับกองทุนพัฒนาสตรี (1)
- ฝ่ายค้านประกาศลาออกจากกรรมาธิการปรองดอง
- เรียนรู้ ‘ฮอด’ บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 2)
- ทหารพม่าบุกโจมตีกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" หลังทำสัญญาหยุดยิงรอบใหม่
- กลุ่มอนุรักษ์ฯ โวย กนอ.เปิดทางนิคมฯ บางสะพาน ปลดล็อคเอกชนใช้พื้นที่ป่า
- 'กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล'เสนอปรองดอง นับหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรม
Posted: 26 Mar 2012 01:43 PM PDT | ||||
ซาอุฯ อาจส่งนักกีฬาหญิงเข้าร่วมโอลิมปิก 2012 หลังโดนกดดัน Posted: 26 Mar 2012 11:17 AM PDT นักขี่ม้าสาววัย 18 อาจจะเป็นนักกีฬาหญิงเพียงคนเดียว (และคนแรก) ของ ‘ทีมชาติซาอุดีอาระเบีย’ ในการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนกลางปีนี้ หลังโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคยส่งนักกีฬาหญิงลงแข่งขัน ขณะที่ประเทศ (เพิ่ง) เริ่มให้สิท
Dalma Malhas อาจจะเป็นนักกีฬาหญิงหนึ่งเดียวของซาอุดีอาระเบียในลอนดอนเกม 2012 เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา middle east online รายงานว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้ตีข่าวว่า Dalma Malhas นักกีฬาหญิงขี่ม้าวัย 18 ปี อาจจะเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว ที่จะได้เป็นตัวแทนของทีมชาติซาอุดีอาระเบีย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมนี้ ก่อนหน้านี้ Malhas สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองด้วยการคว้าเหรียญทองแดงในการแข่งขันยูธ โอลิมปิก ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2010 ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นทางซาอุดีอาระเบียไม่ได้ส่งเธอเข้าแข่งขันเนื่องจากมีนโยบายไม่สนับสนุนนักกีฬาหญิง แต่เธอกลับได้รับเชิญจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (OIC) ให้เข้าร่วมการแข่งขัน สื่อท้องถิ่นระบุว่า มกุฎราชกุมาร Nayef bin Abdul Aziz ได้ทรงตกลงที่จะส่ง Malhas เข้าร่วมโอลิมปิกครั้งนี้ แต่ก็ยังต้องรอให้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อนหน้านี้ซาอุดีอาระเบียยืนยันที่จะส่งเฉพาะนักกีฬาชายเข้าร่วมแข่งขัน แต่เนื่องจากการวิพากษ์วิจารณ์และการกดดันจากคณะกรรมาธิการกีฬาและสตรีของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC's Women and Sport Committee) ที่ต้องการให้สามประเทศที่ไม่เคยส่งผู้หญิงเข้าทำการแข่งขันอย่าง ซาอุดีอาระเบีย, การ์ต้า และบรูไน ส่งนักกีฬาหญิงเข้าร่วมการแข่งขัน นอกจากนี้องค์กรฮิวแมน ไรท์ วอตซ์ (Human Rights Watch) ได้เสนอรายงานเรื่องการละเมิดสิทธิผู้หญิงในซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะประเด็นผู้หญิงกับกีฬา มีรายงานว่ารัฐบาลปิดโรงพลศึกษาของเอกชนที่ให้ผู้หญิงได้เล่นกีฬา รวมถึงประเด็นเรื่องการขับรถในซาอุดีอาระเบียที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถ โดยในเดือนกันยายนปี 2011 ศาลซาอุดิอาระเบีย ได้ตัดสินลงโทษเฆี่ยนผู้หญิงคนหนึ่งจำนวน 10 ที โทษฐานขับรถยนต์ ซึ่งเป็นการท้าทายต่อคำสั่งห้ามของรัฐ (ก่อนที่กษัตริย์ของซาอุฯ จะทรงอภัยโทษให้แก่เธอในเวลาต่อมา) ภาพลักษณ์ของประเทศในสายตานานาอารยประเทศที่ดูไม่ดีนักในเรื่องสิทธิสตรีทำให้ซาอุดิอาระเบียเริ่มขยับนโยบายการปฏิรูปในเรื่องของผู้หญิงกับสิทธิต่างๆ โดยเมื่อปีที่แล้วกษัตริย์ของซาอุฯ ประกาศว่าจะให้สิทธิสตรีในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี 2015 อนึ่งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา The Independent สื่อชื่อดังของอังกฤษได้จัดอันดับเกี่ยวกับ ‘ที่สุด’ ของ ‘สิทธิผู้หญิง’ ในประเทศต่างๆ พบว่าซาอุดีอาระเบียก็ติดอันดับแย่ๆ ในการจัดอันดับครั้งนี้ในหลายประเด็น เช่น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ประชาธิปไตยเป็น 'สิ่งแปลกปลอม' ที่นำเข้าจากต่างประเทศ(?) Posted: 26 Mar 2012 10:24 AM PDT “ผมคิดว่าปัญหาในบ้านเรา ตั้งแต่ความคิดเรื่องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ความรับผิดชอบ รัฐธรรมนูญ และอะไรหลายอย่างที่เราเสนอกันนั้น เป็นสิ่งแปลกปลอมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ...ผมเปรียบเทียบง่ายๆ ว่า ถ้าเป็นเมล็ดพันธุ์ที่แปลกปลอมจากที่อื่นเอาใช้บ้านเราไม่ได้ผล โดยเฉพาะช่วงหลังเป็นจีเอ็มโอเยอะ ผมเป็นพวกมาร์กซิสต์เก่า เพราะเคยเข้าป่า ไม่วางใจพวกต่างชาติมากๆ เพราะฉะนั้น พวกจีเอ็มโออันตรายมาก และขอร้องชาวต่างชาติว่าอย่าสรุปความคิดเป็นของท่านเอง” ธีรยุทธ บุญมี ยอมรับว่าพยายามอ่านแล้วผมก็ไม่เข้าใจว่า ธีรยุทธกำลังบอกอะไร หรือจะเสนออะไร ถ้าบอกว่าประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพเป็น “สิ่งแปลกปลอม” ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ก็ต้องหมายความว่าศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือแม้แต่คณิตศาสตร์ก็เป็น “สิ่งแปลกปลอม” สำหรับสังคมไทยด้วย เพราะเป็นสิ่งที่เรานำเข้าจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน แต่ความจริงคือ อะไรที่เป็นของสากล เช่น ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน คณิตศาสตร์ ถ้ามันเป็นของสากลมันก็เป็นของมนุษยชาติทั้งหมด ไม่มีใครจะอ้างสิทธิว่าเป็นความคิดของประเทศตนที่เหมาะกับพระเทศของตนเท่านั้น หรือว่าเป็น “สิ่งแปลกปลอม” สำหรับประเทศไทย หรือประเทศใดๆ ในโลก ธีรยุทธยังพูดอีกว่า “ผมคิดว่าโครงสร้างการเมืองทุกที่เป็นผลผลิตของท้องถิ่น เป็นการเสนอให้เราได้คิดแบบสองส่วน ส่วนหนึ่งมองแบบโครงสร้างทางสังคมที่เป็นความจริง สร้างวัฒนธรรมต่างๆ อีกอันหนึ่งอาจจะมองเป็นแบบโพสต์โมเดิร์นก็ได้ มีวาทกรรมเกิดขึ้นในแต่ละช่วงแต่ละสมัย เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น เป็นทั้งโอกาสและไม่ใช่โอกาสที่จะเอาแนวคิดสังคมใหม่ๆ มาเสริมในบ้านเรา” คำถามคือ อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ หรือโครงสร้างการเมืองที่เป็นความจริงเฉพาะของสังคมไทย หรือวัฒนธรรมไทยซึ่ง “ดีกว่า” แนวคิดประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพแบบสากล ที่เราจะต้องสร้างขึ้นมาจาก “ท้องถิ่น” ของเรา หากเราเห็นว่าของสากลมันแปลกปลอมสำหรับเรา บางทีสิ่งเราเรียกกันว่า “ความเป็นไทย” “เอกลักษณ์ไทย” หรือ “ลักษณะพิเศษของสังคมไทย” นั่นต่างหากที่เป็น “สิ่งแปลกปลอม” ต่อวิถีชีวิตตามเป็นจริงในสังคมไทยปัจจุบัน เช่น การรักนวลสงวนตัว แต่งก่อนยู่ ระบบอาวุโส การรู้จักที่สูงที่ต่ำ การยกย่อง “คนดี” ที่ซื่อสัตย์ไม่โกงแต่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญและหลักการประชาธิปไตย การเรียกร้อง “การเมืองที่มีจริยธรรม” แต่ให้คงไว้ซึ่ง “ระบบอำนาจที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้” ซึ่งขัดต่อหลักจริยธรรมสากลคือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค สิ่งเหล่านี้เป็นต้น ล้วนแต่เป็น “สิงแปลกปลอม” ไม่กลมกลืนกับวิถีชีวิตจริงของผู้คนในสังคมไทย และ “แปลกประหลาด” ในสายตาสังคมโลกทั้งสิ้น! หรือพูดให้เห็นภาพตามข้อเท็จจริงเลยก็คือ “ลักษณะเฉพาะ” ของความเป็นไทยในทางการเมืองอย่างที่พูดกันว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า “เสียงส่วนใหญ่อาจผิดได้” อย่างที่ฝ่ายไม่เชื่อถือ “การเลือกตั้ง” พยายามตอกย้ำ แต่ปัญหาจริงๆ อยู่ที่การดึงดันว่า “เสียงส่วนน้อยต้องถูกเสมอ” เช่น - เสียงส่วนน้อยยืนยันว่า การอ้างสถาบันกษัตริย์ต่อสู้ทางการเมืองเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ก็ต้องชอบธรรม - เสียงส่วนน้อยยืนยันว่า รัฐประหารถูกต้อง ก็ต้องถูกต้อง - เสียงส่วนน้อยยืนยันว่า การเอาผิดนักการเมืองด้วยกระบวนการที่สืบเนื่องจากรัฐประหารถูกต้อง ก็ต้องถูกต้อง - เสียงส่วนน้อยยืนยันว่า การนิรโทษกรรมฝ่ายทำรัฐประหารเป็นสิ่งที่ทำได้ ก็ต้องทำได้ - เสียงส่วนน้อยยืนยันว่า การนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกทำรัฐประหารเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ก็ต้องทำไม่ได้ - เสียงส่วนน้อยยืนยันว่า การพูดความจริงเบื้องหลังรัฐประหารไม่ได้ ก็ต้องไม่ได้ ถามว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ดังกล่าวนี้เป็น “สิ่งแปลกปลอม” หรือไม่? พูดถึงวาทกรรม “ประชาธิปไตยเป็นสิ่งแปลกปลอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ” ของธีรยุทธแล้ว ทำให้เห็นภาพความคิดที่เน้นชุมชนเข้มแข็ง สังคมเข้มแข็ง พลเมืองเข้มแข็งที่ตอนนี้นำมาตอกย้ำใหม่อย่างคล้องจองกัน คือความคิดเรื่อง “สังคมสมานุภาพ” ของคุณ อำนาจในสังคม มี 3 อำนาจใหญ่ ได้แก่ พลังอำนาจรัฐ พลังอำนาจทุน ซึ่งใหญ่โตมาก และพลังงานอำนาจทางสังคม ซึ่งเล็กมาก จุดสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำคือการสร้างพลังอำนาจทางสังคมให้เสมอกับ 2 อำนาจแรก แล้วทำงานเชื่อมโยงกัน และหากเป็นเช่นนั้นได้ก็จะเกิดสังคมที่เรียกว่า "สังคมสมานุภาพ" คือสังคมที่อานุภาพต่างๆ เสมอกัน เพราะฉะนั้น แม้เราจะพยายามภาครัฐหรือทุนให้เก่งหรือมีสมรรถนะ แต่ถ้าภาคสังคมไม่เสมอกัน สังคมก็จะไม่ได้ดุล เกิดความไม่เป็นธรรมมาก แนวทางสำคัญในการสร้างสังคมสมานุภาพต้องเอาวัฒนธรรมเข้ามาช่วย โดยวิธีที่เรียกว่า "ชุมชนจัดการตนเอง" เพราะการปกครองประเทศที่รวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง นับเป็นหลุมดำในประเทศไทย ก่อปัญหาร้อยแปด ทำให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ มีคอรัปชั่น เกิดรัฐประหารได้ง่าย(http:www.matichon.co.th./play_clip.php?newsid=1332585834) ซึ่งผมแปลกใจมากที่คุณหมอไม่ได้พูดถึง “อำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้” ซึ่งใหญ่โตกว่าอำนาจทุนมาก แปลกใจเพราะว่า คุณหมอเป็นคนเสนอทฤษฎี “ความจริงองค์รวม” ที่เน้นการมองให้เห็นความจริงทั้งหมด ไม่ควรมองแบบ “แยกส่วน” และให้เห็นความสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กันของความจริงทั้งหมดตามกฏอิทัปปัจจยตา แต่ทำไมคุณหมอถึงจงใจ “แยกส่วน” มองเฉพาะ 3 อำนาจเท่านั้น แล้วที่ว่า “การปกครองประเทศที่รวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง นับเป็นหลุมดำในประเทศไทย...” นั้น ถามว่า รูปแบบการรวมศูนย์อำนาจเช่นนี้ คือมรดกตกทอดจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ใช่หรือ “ระบบอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้” ต่างหากที่รวมศูนย์ทั้งการปลูกฝังอุดมการณ์ ปรัชญาความเชื่อ ระบบคิด การคิดแทนผ่านหน่วยงานราชการ ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ฯลฯ ภายใต้ระบบเช่นนี้ ประชาชนไม่สามารถปกป้องรัฐบาลที่ตนเลือก และกำกับให้รัฐบาลที่ตนเลือกทำตามเจตนารมณ์ที่ต้องการให้สังคมเป็นประชาธิปไตยด้วยซ้ำ เช่น การเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้แทนปวงชนออกกฎหมายปฏิรูประบบที่ตรวจสอบไม่ได้ให้ตรวจสอบได้ตามหลักการประชาธิปไตยสากล ฉะนั้น “ภาคสังคม” จะเข้มแข็งได้อย่างไร? หรือถ้าภาคสังคมเข้มแข็ง พลเมืองเข้มแข็งในความหมายว่ามีวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ตระหนักในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคมากขึ้น ก็จะมีปัญหาว่า ความเข้มแข็งเช่นนี้จะไปกันได้อย่างไรกับ “ระบบอำนาจที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้” (จะเป็นไปได้หรือที่ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมประชาธิปไตยของสังคมและพลเมืองจะไม่ขัดแย้งกับ“ระบบอำนาจที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้”) ฉะนั้น แนวคิดสังคมเข้มแข็ง พลเมืองเข้มแข็งของธีรยุทธ และแนวคิด “สังคสมานุภาพ” ของคุณหมอประเวศ ที่ปฏิเสธการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เรียกร้องการกระจายอำนาจถึงระดับชุมชน หรือการสร้าง “ประชาธิปไตยจากระดับชุมชน” แต่ไม่ได้เรียกร้อง “อย่างจริงจัง” ให้แก้ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยระดับชาติ คือการปฏิรูป “ระบบอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้” ให้ตรวจสอบได้ จึงเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งในตัวเอง และไม่มีทางที่แนวคิดเช่นนี้จะสร้างสังคมให้มี “สมานุภาพ” หรือ “มีอานุภาพเสมอกัน” ได้จริง จะว่าไปแล้วทั้งสองแนวคิดนี้ก็เป็น “แนวคิดประชาธิปไตยแบบไทยๆ” อันเป็น “สิ่งแปลกปลอม” อย่างหนึ่งใน “ยุคเปลี่ยนผ่าน” (transition) ที่สังคมไทยต้องการแก้ปัญหา “ความไม่เป็นประชาธิปไตย” ในทางหลักการและอุดมการณ์ระดับชาติอย่างยิ่ง! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ASEAN Weekly: จับเทรนด์อาเซียนกับ"พันธุ์อาจ ชัยรัตน์" และรู้จักติมอร์ Posted: 26 Mar 2012 09:58 AM PDT อาเซียน วีคลี่ย์ สัปดาห์นี้ คุยเรื่องอนาคตอาเซียนกับนักอนาคตศาสตร์ พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ สนทนากันถึงความสำคัญของอนาคตศาสตร์ และตัวอย่างของประเทศที่นำอนาคตศาสตร์มาใช้วางยุทธศาสตร์ประเทศอย่างเช่นสิงคโปร์ พร้อมทั้งเสนอว่าแนวโน้มของไทยและอาเซียนในอนาคตจะเกิดประเด็นอุบัติใหม่ (emerging issues) 4 อย่างต่อไปนี้คือ หนึ่ง การเกิดขึ้นของวิสาหกิจแบบใหม่ เช่น การเกิดกลุ่มของคนงานสตรี สอง การเป็นจุดกำเนิดของการเมืองดิจิตอล เช่น e-democracy การเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารในสังคม สาม การมาถึงของสังคมสูงวัย สี่ การเกิดขึ้นของแรงงานชรา ช่วงที่ 2 ทำความรู้จักกับ“ติมอร์ตะวันออก” ประเทศเอกราชใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวแบบของกลุ่มเรียกร้องเอกราช/แบ่งแยกดินแดนในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาทำความรู้จักภูมิศาสตร์ สภาพสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งและความรุนแรง และการต่อสู้เรียกร้องเอกราชอย่างยาวนานของพรรค Fretilin นับตั้งแต่อินโดนีเซียเข้ามาผนวกติมอร์ตะวันออกในปี 2518 กระทั่งได้รับเอกราชบนซากปรักหักพัง อนาคตของติมอร์ตะวันออกหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดจะเป็นอย่างไร และเส้นทางการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนนับจากนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน ASEAN WEEKLY ดำเนินรายการโดยสุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ทหารพรานมือยิงรถตู้ถูกทำร้ายดับในเรือนจำ Posted: 26 Mar 2012 09:42 AM PDT เหตุทะเลาะวิวาทในเรือนจำกลางปัตตานีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 จนทำให้ทหารพรานเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 1 คน ผู้ว่าปัตตานีตั้งทีมสอบ–คุมเข้มคนเจ็บ นายอาวุธ สุวรรณโณ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางปัตตานี เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุทะเลาะวิวาทในเรือนจำกลางปัตตานีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 จนทำให้ทหารพรานเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 1 คนแล้ว คาดว่าจะเสร็จภายใน 1-2 วัน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในระยะเวลา 30 วัน โดยตนได้ปรึกษานายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ในการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว ส่วนพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานีได้เข้าสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว พ.ต.ต.สมพร มีสุข ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี เปิดเผยว่า เบื้องต้นคณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงในที่เกิดเหตุแล้ว ต่อไปจะเรียกเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบช่วงที่เกิดเหตุมาสอบสวน “ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนขอให้ผู้บัญชาการเรือนจำกลางปัตตานีส่งรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันได้ส่งตำรวจ 2 นาย สลับกันดูแลรักษาความปลอดภัยให้ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ตลอด 24 ชั่วโมง” พ.ต.ต.สมพร กล่าว สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดตอนเย็นของวันที่ 22 มีนาคม 2555 ภายในแดน 3 เรือนจำกลางปัตตานี ขณะผู้ต้องขังกำลังอาบน้ำได้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างผู้ต้องขังด้วยกัน จนเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางปัตตานีเข้าระงับเหตุและนำตัวคนเจ็บส่งโรงพยาบาลปัตตานี ปรากฏว่า กลางดึกวันเดียวกัน อาสาสมัครทหารพรานสาอุดี เจ๊ะโด เสียชีวิตลง ญาติจึงนำศพกลับไปทำพิธีตามศาสนาอิสลามที่จังหวัดนราธิวาส ส่วนอาสาสมัครทหารพรานสุทธิชากร รามแก้ว ผู้ได้รับบาดเจ็บอีกคนอาการยังสาหัส โดยเมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 26 มีนาคม 2555 อาสาสมัครทหารพรานสุทธิชากร ยังคงนอนพักรักษาตัวอยู่ที่เตียง 6 อาคารตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปัตตานี ในสภาพสะบักสะบอม นางสาวอรอุมา มุกดาหาร พี่สาวของอาสาสมัครทหารพรานสุทธิชากร เปิดเผยว่า ตอนนี้อาการน้องชายของตนพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ยังต้องเอกซเรย์สมอง เนื่องจากได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดยในช่วงค่ำของวันที่ 26 มีนาคม 2555 ตอนน้องชายตนฟื้นขึ้น ถามตนและญาติว่ามาอยู่ที่โรงพยาบาลได้อย่างไร หลังจากจำได้ว่าก่อนหน้านี้อยู่ที่เรือนจำกลางปัตตานี นางสาวอรอุมา กล่าวว่า หลังจากที่น้องชายของตนเข้าไปในเรือนจำเพียงวันเดียว ก็เกิดเหตุน่าสลดนี้ขึ้น โดยน้องชายตนน่าจะถูกทุบด้วยดัมเบลเหล็กที่ท้ายทอยและกลางศีรษะแตกเย็บ 5 เข็ม ถูกแทงอีก 6 รู ทะลุกระบังลม 3 รู แขนซ้าย 2 รู และสะโพกซ้าย 1 รู “น้องทำผิดก็ว่ากันไปตามกฎหมาย ไม่ใช่ตัดสินแบบศาลเตี้ย ฉันอยากให้จับคนทำร้ายน้องชายในเรือนจำให้ได้ แล้วหากศาลพิพากษาให้น้องชายติดคุกแล้วใครจะรับประกันได้ว่าน้องชายจะไม่โดนแบบนี้อีก” นางสาวอรอุมา กล่าว สำหรับอาสาสมัครทหารพราน 2 คน คือ อาสาสมัครทหารพรานสาอุดี เจ๊ะโด และอาสาสมัครทหารพรานสุทธิชากร รามแก้ว ก่อเหตุรับจ้าง 1 แสนบาทยิงนายอรรถนพ ปูเต๊ะ ซึ่งเป็นคนขับรถตู้ปรับอากาศรับจ้างสายปัตตานี-สุไหงโก-ลก ริมถนนพิพิธใจกลางเมืองปัตตานี โดยอาสาสมัครทหารพรานสาอุดี เป็นคนขับ และมีอาสาสมัครทหารพรานสุทธิชากร นั่งซ้อนท้อยยิง ทั้ง 2 ให้การรับสารภาพว่าเป็นทหารพราน กรมทหารพรานที่ 44 สังกัดกองร้อยที่ 4416 ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี กระทั่งเมื่อเวลา 15.10 น. ของวันที่ 19 มีนาคม 2555 ผู้ต้องหาทั้ง 2 ยอมรับสารภาพ และทำแผนประกอบคำรับสารภาพ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
นักข่าวพลเมือง: ตัวแทนเกษตรกรเหนือจี้ปรับโครงสร้างหนี้ตาม มติ ครม. 7 เม.ย. 53 Posted: 26 Mar 2012 08:51 AM PDT 26 มี.ค. 55 - ในช่วงบ่ายของวันนี้ (26 มี.ค.) กลุ่มเกษตรกรภาคเหนือประมาณ 100 คน ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เพื่อยื่นหนังสือเรื่อง "การดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตาม มติ ครม. 7 เมษายน 2553" ถึงรองนายกรัฐมนตรี ชุมพล ศิลปะอาชา โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล โดยในรายละเอียดของจดหมายมีดังต่อไปนี้ ............... ที่ คสกฟก.0005 / 2555 119 ม.9 ต.สารภี อ.สารภี จ. เชียงใหม่ 50140 ๒๖ มีนาคม 2555 เรื่อง การดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตาม มติ ครม. 7 เมษายน 2553 เรียน พณฯ ท่าน รองนายกรัฐมนตรี ชุมพล ศิลปะอาชา ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการปรับปรุงโครงสร้างนี้ เมื่อวันที่ 7 เมายน 2553 ให้แก่เกษตรกรจำนวน 510,000 รายโดยมอบหมายให้กองทุนฟื้นฟูเกษตรกรและสถาบันเจ้าหนี้ของรัฐ 4 แห่งได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดำเนินการร่วมกัน โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการในโครงการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการกับเกษตรกรให้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูอาชีพ ที่ผ่านมาแล้วนั้น ข้อเท็จจริงในการดำเนินการตามโครงการปรากฏว่าไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 แต่อย่างใดกล่าวคือมีเกษตรกรจำวนเพียง 3,000 รายเท่านั้นที่สถาบันเจ้าหนี้ยืนยันต่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร ประการสำคัญสถาบันการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เมื่อได้จัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกรก็ไม่ตรงกับบัญชีของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรทำให้เกษตรกรจำนวนมากสับสน ไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงอันจะเป็นเหตุให้เกษตรกรเสียสิทธิในการได้รับการปรับโครงสร้างหนี้และประโยชน์ที่จะพึงได้จากพระราชบัญญัติกองทุนฯและมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 ซึ่งขณะนี้สมาชิกกองทุนในพื้นที่ได้ดำเนินการยื่นหนังสือเพื่อของทราบมูลเหตุในการจัดทำบัญชีรายชื่อที่คลาดเคลื่อนและไม่ตรงต่อความเป็นจริงต่อ ธนาคารสาขาในพื้นที่จังหวัดชี้แจงเป็นเบื้องต้นแล้ว สำหรับความผิดพลาดและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมาชิกกองทุนฯครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานดำเนินการไม่เอาใจใส่ และกำกำกับดูแลนโยบายให้บังเกิดผลอย่างจริงจังแก่ประชาชนและ เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ เครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนจำเป็นจะต้องปกป้องสิทธิ์ของตนเองและครอบครัว จึงใคร่ขอให้ท่านในฐานะผู้มอบและกำกับกำกับนโยบาย ดำเนินการดังต่อไปนี้ 1.ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงในการมอบหมายนโยบายและกำกับนโยบายแก่หน่วยงานและสถาบันเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องอย่างไร?และมีผลความก้าวหน้าจนถึงปัจจุบันอย่างไร? 2.การที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะปิดรับการปรับโครงสร้างหนี้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2555 นั้นจะกรรมการบริหารกองทุนจะดำเนินการประสานงานหรือสั่งการให้มีการยืดระยะเวลาหรือสำรวจตรวจแก้คุณสมบัติที่ถูกต้องเพื่อรักษาสิทธิ์ของสมาชิกกองทุนอย่างไร ๒.ในการที่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุน มีรายชื่อไม่ตรง และจะเสียสิทธิ์ในการรับผลประโยชน์จากมติ คณะรัฐมนตรี 7 เมายน 2553 ขอให้มีการเร่งรัดให้มีการตรวจสอบและชี้แจงการจัดทำบัญชีรายชื่อที่ไม่ตรงกันและสั่งการให้ชัดเจนเพื่อทำให้สิทธิของสมาชิกจะคงยังมีและได้รับประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านได้โปรดไปชี้แจงข้อเท็จจริงให้แก่สมาชิกของทุนและเครือข่ายสมาชิกสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนในวันที่ 28 มีนาคม 2555 พร้อมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยพร้อมกัน ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงให้จงได้ หากเครือข่ายสมาชิกสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนไม่ได้รับคำชี้แจง และปฏิบัติต่อกันด้วยความจริงใจ และไม่ตรงต่อเจตนารมณ์ของมติ คณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 จำเป็นอย่างยิ่งที่เครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนจะต้องดำเนินการเคลื่อนไหวตามมาตรการที่กำหนดทั้งแนวทางของกฎหมายและแนวทางของมวลชนต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ ขอแสดงความนับถือ วัชรินทร์ อุปโจง ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ สมศักดิ์ โยอินชัย ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดเชียงราย รังสรรค์ แสนสองแคว ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดลำพูน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
เปลือย ‘ธัญสก’ ผู้กำกับหนังนวมทอง: หลักไมล์ประวัติศาสตร์-ส่วนผสมประหลาดที่ลงตัว Posted: 26 Mar 2012 07:58 AM PDT
หลายคนอาจได้ยินข่าวการสร้างภาพยนตร์ "นวมทอง" หนังประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่กำลังเร่งระดมทุนจากประชาชนผู้สนใจมาบ้างแล้ว แต่สำหรับผู้กำกับผู้ที่จะอยู่เบื้องหลังหนังเรื่องนี้ตลอดการผลิต เขาเปิดตัว เปิดใจ ที่นี่เป็นครั้งแรก แม้ ธัญสก (อ่านว่า ทัน-สะ-กะ) พันสิทธิวรกุล จะไม่ใช่ผู้กำกับที่เป็นที่รู้จักสำหรับคนไทยทั่วไป แต่ในวงการหนังสั้น หนังแนว ย่อมรู้จักเขาเป็นอย่างดี เพราะความแรงในหนังของเขาที่ไม่ปิดบังเรื่องเซ็กส์ เกย์ กระทั่งอวัยวะเพศ แน่นอน หนังประเภทนี้ย่อมไม่ได้รับอนุญาตให้ฉายในเมืองไทย แต่กลับได้รับรางวัลมากมายในต่างประเทศ และได้ฉายในเทศกาลสำคัญๆ ของโลกนับร้อยแห่ง ล่าสุดคือเรื่อง The Terrorists ที่ถูกฉายในหลายเทศกาลหนังของหลายประเทศ รวมถึงในเทศกาลหนังที่เบอร์ลินเมื่อปีกลาย (ดูคลิปตัวอย่างด้านล่าง) นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ เมื่อปี 2550 การเมืองไทยช่วงไม่กี่ปีนี้ได้เปลี่ยนอะไรไปหลายอย่าง เช่นเดียวกับชีวิตของเขา ธัญสกนิยามตัวเองว่าเป็นสลิ่มตัวแม่ที่เริ่มมาสนใจการเมืองอย่างจริงจังในช่วง 3-5 ปีนี้ โดยเริ่มต้นจาก “ความสงสัย” ในความจริงที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เคี่ยวข้น จาก “นักไต่ลวด” ซึ่งแต่เดิมจะเล่นกับประเด็นทางศีลธรรมและเรื่องต้องห้าม เช่น เรื่องเพศ โดยนับเป็น “การต่อสู้” ชนิดหนึ่ง เวลานี้เขาเริ่มไต่ลวดเส้นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ประชาธิปไตย และเสรีภาพ โดยเฉพาะเมื่อเป็นนักไต่ลวดอิสระที่ทำงานศิลปะของตัวเองเป็นหลัก และยังชีพด้วยการ “รับจ้าง” (เฉพาะงานที่อยากรับ) ไม่ใช่คนในระบบ จึงยิ่งขับเน้นความพร้อม (ระดับหนึ่ง) ในการลงสู่สนามแห่งความขัดแย้งและแรงเสียดทาน อย่างไรก็ตาม มันคงไม่มากเกินไป หากจะกล่าวว่านี่เป็นส่วนผสมที่น่าสนใจ เมื่อผู้กำกับแนวนี้รับกำกับหนังซึ่งเขียนโครงเรื่องและบทโดยนักเขียนใหญ่อย่างวัฒน์ วรรลยางกูร อดีตนักศึกษาที่เคยหนีเข้าป่า และโด่งดังจากการเขียนนิยาย เรื่องสั้น เพื่อชีวิตที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายลูกทุ่ง ร่วมกับ ทองขาว ทวีปรังสีนุกูล ที่เคยเขียนบทละครดังหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องสามหนุ่ม สามมุม ธัญสกยืนยันว่า แม้จะคนละสไตล์ แต่ทั้งสามรวมกันได้อย่างดีภายใต้ความรู้สึกร่วมบางอย่าง และ “ความฝัน” ที่คล้ายคลึงกัน และหนังเรื่องนี้จะเป็น “หลักไมล์ทางประวัติศาสตร์” ทั้งในแง่การเล่าประวัติศาสตร์การเมืองไทยในแบบที่ไม่มีในบทเรียน และทั้งในแง่ความพยายามจะขยับเพดานของการพูดเรื่องสังคมการเมืองไทยครั้งสำคัญ ที่สำคัญ มันยังเป็นหนังที่มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะในแง่(หา)ทุน 3 ล้านแบบหืดขึ้นคอ ดูรายละเอียดในไฟล์แนบด้านล่าง หรือ https://www.facebook.com/pages/Redmovie-Team/274811049262920 000000
เข้าไปมีส่วนร่วมในโปรเจ็กต์นี้ได้ยังไง โปรเจ็กต์นี้เริ่มก่อนเรา มีการติดต่ออีกหลายคนที่เป็นคนทำหนังในฝั่งนี้ เคยคุยกันแล้วก็หายกันไปนานมาก จนประมาณปลายปีที่แล้วก็มีการติดต่อมาใหม่ บอกว่าเขาสนใจเรา ขอนัดเจอกันหน่อย มันเป็นหนังฝั่งประชาธิปไตย ก็ลองไปคุยดู พอคุยกันแล้วหลายๆ อย่างมันค่อนข้างลงตัว ถูกใจกันพอสมควรในหลายเรื่อง จึงประชุมกันเรื่อยมา จนเริ่มทำงบ ตอนแรกทุกคนต่าง blank มากว่างบมันควรจะเท่าไหร่ ซึ่งว่ากันจริงๆ สเกลที่ใหญ่พอสมควรแบบนี้มันน่าจะอยู่ที่ 5-10 ล้าน นี่เรียกว่าถูกแล้วนะสำหรับสเกลขนาดนี้ มีคนเยอะ เรื่องเยอะแยะมากมาย กองถ่ายมันใหญ่มาก เมื่อก่อนถูกสุดน่าจะอยู่ที่ 15-30 ล้าน แต่นั่นมันหนัง commercial แต่ยุคนี้ ยุคดิจิตอลอะไรหลายๆ อย่างมันก็ถูกลง แต่สุดท้ายแล้วมันจะฉายโรงหรือไม่ แค่ไหนนี่ก็ยังไม่มีใครแน่ใจ เราพยายามคิดงบโปรดักชั่นเท่านั้น และใช้วิธีถัวๆ กัน ก็ต้องยอมรับว่าเรากำลังทำหนังส่วนตัวเราด้วย ได้งบจากเยอรมัน โปรดิวเซอร์คนเดิมกับเรื่องที่แล้ว แล้วเราใช้วิธีดีลสองโปรเจ็กต์พร้อมกัน คือ เราใช้ทีมงานเกือบจะร่วมกัน เพื่อให้ cost มันถูกลง ไม่อย่างนั้นทำไม่ได้หรอกใน 3 ล้าน
มันหลายๆ อย่าง ตอนที่เราอ่านบท เราชอบนะ มันมีความแฟนตาซีบางอย่างที่ฉลาด แล้วก็ตลก แล้วก็ชาวบ้าน เราไม่รู้จะพูดว่าอะไร มันมีความซื่อ ตรงไปตรงมา และฉลาดในการที่จะเล่า ตอนเราอ่านเราก็ชอบแหละ แต่มันก็มีส่วนที่ไม่แน่ใจว่าที่สุดแล้วมันจะฉายได้จริงๆ ไหม เพราะเรื่องมันเปรียบเปรยอย่างตรงไปตรงมามาก แต่นั่นเป็นขั้นตอนต่อไปที่ต้องคุยกัน แน่นอนว่า คนทำหนังมันก็มีอีโก้ของตัวเองอยู่แล้ว เราก็เลยใช้วิธีดีลว่า หนังนี่ถือว่าเป็นหนังของเขา พี่วัฒน์ พี่ทองขาว เป็นคนเขียนบท แล้วก็มีสิ่งที่เขาอยากได้เต็มไปหมด ขณะเดียวกันถ้าเป็นเราต้องยอมรับว่าเรามีอีโก้บางอย่าง เราอาจไม่ใช้วิธีเล่าเรื่องแบบนี้ ฉะนั้น ถ้าให้สบายใจทั้งสองฝ่าย ก็ถือว่าเราเป็นแขนขาแล้วกัน เขาต้องการอะไร เราก็จะคิดให้เพื่อให้มันได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เราจะไม่ไปยุ่งกับเรื่องบท ไม่อย่างนั้นมันจะยาวนานมาก แต่ก็ไม่ใช่เราจะเสนอความคิดเห็นไม่ได้ อีกด้านหนึ่งคือ เรากึ่งๆ จะเป็น line producer ประมาณว่าจัดการนั่น นู่น นี่ ควบคุมการผลิต ขณะเดียวกันหน้าที่ของเราคือ เราอาจต้องคอย fight ว่า เฮ้ย ตรงนี้มันแรงไปปะ ตอนแรกเรามีการเถียงกันขนาดว่าตัวละครจะใส่หน้ากากเล่นเลยมั้ย ให้เซอร์แดกกันไปเลย เราแค่กำลังนึกถึงว่า ละครคาบูกิ ละครงิ้ว ที่เราไม่ได้เห็นหน้าตัวละครจริงจัง หรือใช้หน้ากาก คนก็ยังอินได้ ถ้าเราจะทำแบบนั้นบ้าง แล้วเรื่องมันก็รองรับความเป็นแฟนตาซีอยู่แล้ว แต่ตอนนี้คงเลือกแล้วว่าต้องการให้คนเห็นหน้า ก็เอาตามนั้น แล้วค่อยไปแก้ปัญหากันทีหลัง
เราก็เพื่อชีวิตนะ (หัวเราะ)
ได้ เราถึงได้บอกไงว่า หนังเรื่องนี้แทบจะเป็นของพี่วัฒน์กับพี่ทองขาวเลย ถ้าเป็นเราทำเราคงไม่ทำแนวนี้ ไม่ใช่เราไม่ชอบ เราชอบ แต่นึกออกหรือเปล่าว่ามันไม่ใช่สไตล์เรา เรามีงานแบบของเรา แต่แม้เป็นหนังเขา เราก็ทำเต็มที่ เพราะว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราอยากทำ มันคือ เรารู้สึกว่าเวลาที่คุยกับพวกเขาแล้ว เขามีความฝันบางอย่างที่เรารู้สึกได้ว่า เวลาช่วงวัยหนึ่ง (หัวเราะ) พูดยังกับว่าเราแก่นักหนา เรากำลังนึกถึงว่าเรามีความรู้สึกร่วมกันมากกว่าว่ามันมีฝันที่อยากทำ แต่จะทำได้แค่ไหนในสถานการณ์จริง วิธีการเล่าเรื่องดูเหมือนจะแตกต่างกันมาก จริงๆ ถ้าเป็นหนังยุคทองปาน มันก็จะเล่าเรื่องต่างไป ยุคนั้นเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนสนใจเรื่องการเมือง หนังในช่วงเวลานั้นจะพูดภาพกว้างเพื่อจะมองไปยังคนเล็กๆ แต่เมื่อเราอยู่ยุคดิจิตอล เราใช้มือถือก็ได้ คุณภาพชัดพอจะฉายบนจอใหญ่ เทคโนโลยีมันเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน วัฒนธรรมเปลี่ยน คนไปคุยกันบนเฟซบุ๊ก หนังในยุคนี้มันจึงพูดเรื่องตัวเอง เราเล่าเรื่องตัวเรา เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและกำลังเล่าภาพกว้างผ่านตัวเรา เล่าเรื่องตัวเองเพื่อสะท้อนว่าโดนสังคมกระทำอย่างไร หรือสังคมรอบข้างเรามันเป็นอย่างไร
ใช่ ตอนนี้ก็ยังเล่าเรื่องตัวเองอยู่ แต่มันกว้างมากขึ้นว่าเรารู้สึกยังไงกับสังคม ส่วนกับหนังเรื่องนี้เราเชื่อว่าคนที่ทำงานด้านนี้มีสิ่งที่อยากทำตลอดเวลา แต่อยู่ที่ว่าจะทำมันออกมาได้ยังไง เพราะ ณ เวลานี้ ถ้าเป็นดาราหรือผู้กำกับทำหนังแบบนี้ก็จะต้องโดนเล่น เรามีความรู้สึกร่วมกันตรงนี้ด้วยเพราะเราก็โดนเหมือนกัน แม้ไม่ได้รับแรงกดดันขนาดเขาเพราะไม่ได้ทำงาน commercial แต่เราเชื่อว่าโปรเจ็กต์แบบนี้ถ้าหาคนอื่นมากำกับมันก็ยาก (หัวเราะ) มันต้องพร้อมมากที่จะต้องโดนเยอะ ขนาดที่ผ่านมาก็โดนสาหัสทีเดียว เราพยายามทำตัว low profile พอสมควร ไม่ได้เล่นตัวอะไรเลย แต่เหมือนกับเราต้องอยู่ให้ได้ด้วยในการจะทำงานของเรา เลยต้องทำตัว low profile
เราโดนให้ออกจากมหาวิทยาลัยที่สอนอยู่ เราโดนเอาชื่อไปลงใน ASTV ช่วงล่าแม่มด แต่เราพยายามไม่ให้เป็นประเด็น ไม่เถียง โชคดีที่มันก็เงียบๆ ไป ส่วนเรื่องย้ายมหาวิทยาลัยนี่เป็นเรื่องงี่เง่าที่สุดในชีวิตแล้วที่เคยเจอมา เราไม่สามารถจะพูดข้อเท็จจริงบางประการได้ ขณะเดียวกันในฐานะที่เราเป็นครู เราค่อนข้าง อะไรดีวะ รู้สึกแย่กับสังคมแบบนี้ เราหลอนให้คนรุ่นต่อจากเราอยู่ในความเชื่อแบบที่มันไม่ถูกแล้วเราไม่มีสิทธิพูดความจริง ตอนนี้เราเลยย้ายไปอยู่หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (หัวเราะ) ซึ่งน่าแปลกใจมากเขาไม่ได้มาวุ่นวายอะไรกับเราเลย เทอมหน้าก็จะสอนที่หอการค้าอีกที่หนึ่ง ถ้าเปิดตัวมากับหนังเรื่องนี้ คาดการณ์ไหมว่าจะเจอแรงเสียดทานอะไรบ้าง ไม่รู้ เราก็ไม่รู้ คือมันมีอีกเรื่องหนึ่งไม่รู้เกี่ยวกันไหม บางอย่างเองเราก็อยู่ในภาวะที่ไม่ฉลาดพอในช่วงเวลาหนึ่งเหมือนกัน จะพูดยังไงดี เราเป็นคนที่อะไรก็ตามที่เรารู้สึกไม่ยุติธรรม เราก็จะพูดมันตรงไปตรงมาเลย สองปีที่แล้ว ที่เขาเอาเงินมาให้คนทำหนังทั่ววงการในยุทธจักร พอดีช่วงนั้นเราได้รางวัลศิลปาธร กระทรวงวัฒนธรรมก็เอ็นดูเราอยู่พักหนึ่ง เขาก็เลยยื่นโปรเจ็กต์มาให้ว่าเขาต้องการให้ทำหนังโดยการใช้แนวคิดของในหลวง เขาส่งให้คนทั่ววงการ และเน้นที่ศิลปาธรเสียส่วนใหญ่ก่อน เขาก็โทรมาว่าจะทำไหม ให้เอาเศรษฐกิจพอเพียงมา adapt ให้เวลา 10 นาที ให้ 1 ล้านบาทจากเงินไทยเข้มแข็ง แต่เราจะทำได้ไง ในเมื่อเราไม่เชื่อในแนวคิดนี้ เราก็เลยบอกว่าเราไม่ว่าง แล้วเขาก็ต้องการจดหมายยืนยันว่าเราไม่ว่างเพราะอะไร เราเลยอีเมลบอกไปตรงๆ หลังจากนั้นกระทรวงก็ไม่ติดต่ออะไรเราอีกเลย เลยเป็นคำตอบสำหรับเมื่อกี๊ว่ามันจะเข้ากันได้ยังไง เรามีหนังสไตล์เรากับหนังสไตล์เขา มันมีความรู้สึกร่วมกันตรงนี้ เราเลยรู้สึกว่า โอเคพี่ เราทำได้ กลับมาที่บท แสดงว่าหนังเรื่องนี้จะต้องพูดถึงอะไรที่พูดลำบากมากพอสมควร ตอนมันเป็นบทมันก็เต็มที่แหละ ถึงเวลาเราต้องมาคุยกันอีกเยอะ เพราะเป้าอยากจะฉายตามโรงทั่วไปด้วย เป้าแรกสุด ใช่ แต่ตอนนี้มันก็อยู่ที่ดีลว่าเราต้องการแค่ไหน อย่างเช่น ตอนนี้เราเสนอว่า ถ้าจะฉายโรงเราอาจต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง อาจต้องตัดบางอย่างออก แต่จะตัดโดยที่เรียลไทม์ คือ เป็นฉากดำ เหมือนเวลาที่เราอ่านหนังสือแล้วขีดคำออก ให้รู้ว่าตัดอะไรออกไปบ้าง แต่วิธีแบบนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทำ หนังพี่เจ้ยเรื่องแสงศตวรรษก็ใช้วิธีแบบนี้อยู่ ต้องผ่านกรรมการเซ็นเซอร์ด้วย ใช่ ก็ไม่รู้จะได้แค่ไหน แต่เราเชื่อว่าทุกประเทศมีปัญหาอยู่แล้ว อย่างอิหร่านก็มีปัญหาการเมืองของเขาเต็มไปหมด ประเทศใดก็ตามเมื่อมีปัญหาความไม่เป็นธรรม คนมันมีทางออก เราอาจจะพบว่าหลังจากเรื่องนี้ อาจมีหนังอีกหลายๆ ที่กล้าที่จะพูดอะไรแบบนี้มากขึ้นก็ได้ เราก็ไม่รู้ว่า รัฐไทยจะพยายามห้ามไปทำไม ในเมื่อรู้อยู่ว่ายิ่งห้าม ยิ่งเป็นประเด็น ยิ่งห้าม ยิ่งมีคนอยากทำ
ไม่ เขาเล่าแบบตลก มัน radical แต่ไม่ได้ radical แบบเหยียดหยามนะ อาจจะเหยียดหยามตัวเองมากกว่า เหมือนเย้ยชะตากรรมว่าทำไมชีวิตพวกกูถึงได้ซวยกันแบบนี้วะ แล้วก็รวมเอาคนที่มีชะตากรรมแบบนี้ในอดีตมารวมกัน ลุงนวมทองในเรื่องนี้แทบจะเป็นสมาชิกใหม่ของโลกในเรื่อง เพื่อที่เขาจะต้องเลือกอะไรบางอย่าง ต้องไปดูกันว่าเขาต้องเลือกอะไร แล้วเขาก็ย้อนกลับไปว่าสมาชิกเก่าๆ ที่มาต้อนรับเขาเจออะไรมาบ้าง มันน่าสนใจว่า มันทำให้คนฉุกคิดว่า ความอยุติธรรมไม่ได้เกิดขึ้นมาช่วงไม่กี่ปีนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาในช่วงที่มีทักษิณ แต่มันอาจเกิดขึ้นมาตั้งแต่ 80 ปีมาแล้วก็ได้ ดีไม่ย้อนถึงพระเจ้าตาก ไม่แน่นะ บทยังไม่เสร็จ (หัวเราะ) หนังเรื่องนี้คนก็จะตีตราว่ามันเป็นหนังเสื้อแดง คิดต่อเรื่องนี้ยังไง จะพูดว่าไงดี สมมติว่า ตัวเราเอง คนที่เสื้อแดงมากๆ ก็อาจจะมองว่าเราโคตรสลิ่มเลย คนที่เหลืองๆ ก็จะมองว่าเราโคตรแดงเลย แต่เราไม่แคร์อยู่แล้วว่าใครจะมองเรายังไง เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร คนไทยมันชอบสร้างวาทกรรมบางอย่างว่า เสื้อแดงเป็นควาย โง่ เราเชื่อว่าถ้าใช้สมองคิดจะรู้ว่าเขาไม่ได้โง่ คนอายุเยอะขนาดนี้ แล้วมารวมกันมากมายขนาดนี้ แล้วก็มีคนหลายระดับขนาดนี้ จะมาครอบงำกันได้ง่ายๆ หรือ แล้วตัวเราเองก็ไม่ใช่เด็กๆ แล้ว ไม่ใช่เพิ่งจบใหม่แล้วอยากทำหนังถึงจะไปโดนหลอกให้ทำ พูดตรงๆ ถ้ามีคนมาจ้างเราร้อยล้านทำหนังที่เราไม่อยากทำ เราก็ไม่ทำ แต่อันนี้ งบมันต่ำกว่าเกณฑ์มาก แต่ในเมื่อเราอยากทำ เราก็ต้องดิ้นรนทำ แล้วคิดว่ามันจะเจาะใจ เข้าถึงคนในสังคมที่ไม่ใช่เสื้อแดงได้ไหม หรือว่านั่นไม่ใช่ประเด็นที่แคร์ เราพูดจริงๆ เราไม่รู้หรอก พูดอย่างตรงไปตรงมา เท่าที่เราอ่าน เราคิดว่าคนเสื้อแดงจะชอบ ขณะเดียวกันคนที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ก็น่าจะชอบ แต่เราไม่แน่ใจเลยว่า คนอีกฝั่งที่เขาไม่ได้สนใจ หรือไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์จริงจังหรือถูกครอบงำบางอย่าง เขาอาจจะไม่สนใจก็ได้ เขาดูแล้วอาจจะด่าทอก็ได้ แต่ ณ เวลานี้น่ะ เรามีหนังอีกด้านหนึ่งเต็มไปหมด มันเยอะเกินไปแล้ว สองปีที่แล้ว ในรัฐบาลที่แล้วให้เงินงบไทยเข้มแข็งกับคนทำหนังทำหนังออกมาเยอะมากซึ่งไม่ได้เป็นประโยชน์อันใดกับประชาชน เนื้อหายังคงครอบงำแบบเดิมๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ เราไม่ได้ว่าวัฒนธรรมแต่เดิมเราเป็นสิ่งเลวทราม แต่ในโลกนี้มันมีวัฒนธรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา มันมีคนหลายกลุ่มที่เราต้องยอมรับมากขึ้นว่า เขาคิดไม่เหมือนเรา เอ๊ะ ฉันตอบคำถามไหมนะ ตอบว่ามันอาจจะไม่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มอื่น จะสรุปอย่างนั้นไม่ได้เหมือนกันนะ เราแค่จะบอกว่า เราไม่รู้ เอางี้ เราเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เราอยู่อีกข้างนึง เราไม่สนใจเรื่องการเมือง แล้วเราก็เป็นส่วนหนึ่งของคนที่ไม่ชอบทักษิณ ไม่ได้บอกว่าเราชอบมากขึ้น แต่เรามองอีกมุมนึง เวลานั้นเราไม่ชอบทักษิณเพราะมีการปลุกความคิดให้เกลียดทักษิณ โดยที่เราไม่สนใจด้วยว่าเพราะอะไร ไม่เคยไปอ่านเหี้ยห่าอะไรเลย (หัวเราะ) ก็แค่เขาบอกกันว่าทักษิณมันเลว แต่เอาเข้าจริงเราไม่สนใจการเมืองเลย แล้วเราก็ค่อนข้างซาบซึ้ง จนกระทั่งทุกๆ อย่างมันชัดมากขึ้น สิ่งแรกที่ทำให้เรารู้สึก “สงสัย” บางอย่างอย่างแรงกล้า หลังจากเริ่มสนใจการเมืองบ้างแล้ว คือ วันหนึ่งเราตื่นเช้ามาก ประมาณตีสี่ ช่วงนั้นคือสงกรานต์เลือด (2552) เปิดทีวีมาดู ทุกช่องเป็นแบบเดียวกัน ถ่ายภาพไกลๆ เห็นอนุสาวรีย์ชัยมีไฟไหม้ แล้วบอกว่าพวกเสื้อแดงมาบุกเมือง เตรียมรถแก๊สจะมาเผาโน่น นั่น นี่ เราก็ เฮ้ย มันเกิดอะไรขึ้นวะ แล้วในเฟซบุ๊กก็มีคลิปผู้หญิงเสื้อแดงที่ถูกกระชากผม (บริเวณถนนราชปรารภ) ก็มีการด่าทอกันไปมาสองฝั่งบนหน้าวอลล์ เราก็ไม่ได้อะไร อาจเข้าไปโต้เถียงบ้างว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปกัน แล้วเราก็ได้เห็นคลิปทั้ง 2 อัน อันที่ตัดต่อแล้วแล้วอยู่ในทีวี ประมาณว่าเสื้อแดงมันก้าวร้าว มันด่า มันถุยน้ำลาย จนเขาทนไม่ไหวต้องกระชากผมมัน แต่คลิปที่ได้ดูเต็มๆ ที่ปรากฏในยูทูปและคนรู้จักเราเองที่เป็นคนถ่าย โดยที่วันหนึ่งมันก็ต้องลบเพราะกลัวโดนล่าแม่มด แต่เราได้ทันดูพอดี คือ ก่อนหน้านั้นมันเป็นภาพของผู้หญิงคนนี้ เขาร้องแบบตกใจมากว่าเมื่อเช้ามันเกิดเรื่องรุนแรงมาก เราเป็นคนทำหนัง โดยเฉพาะหนังสารคดี พูดตรงๆ ไม่ได้อยากจะอวด คนทำหนังสารคดีจะมี sense อย่างหนึ่งว่า เวลามีกล้องอยู่ คนจะมีพฤติกรรมยังไง คนมักจะเข้าใจว่าการสัมภาษณ์หรือการถ่ายทอดเรื่องราวสารคดีหรือข่าวคือการพูดตรงไปตรงมา มันไม่ใช่ ทุกครั้งที่มีอะไรมาจ่อเราแล้วบันทึก เราต้องสร้างภาพเสมอ มันคือความจริงที่เราอยากให้คนอื่นรู้ แต่ว่าภาพที่เราเห็นอันนั้น มันเป็นภาพที่..มันเป็นความรู้สึกที่รุนแรง ไม่สนใจอีกแล้วว่ากล้องจะจับอยู่ แล้วก็รู้สึกมากๆ ว่ามันเกิดอะไรขึ้นจริงๆ ความรู้สึกแบบนี้มันแสดงกันไม่ได้ คนทำหนังถ้าได้ดูคลิปพวกนี้น่าจะดูออกว่าอะไรที่มันตอแหล อะไรที่มันจริง ตอนนั้นเรารู้สึกเกิดความสงสัยว่า เขาเจออะไรมา เขาถึงพูด แสดงออกมา แล้วทำไมเขาถึงต้องโดนแบบนี้ ประกอบกับคลิปที่เห็นในข่าวมันเป็นอีกเรื่องนึง จุดนี้เป็นตัวที่เราแทบจะกระโดดสู่อีกโลกนึงเลย ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ก็เริ่มสนใจแล้ว เพราะมีอะไรหลายอย่างไม่ชอบมาพากล แต่ไม่ได้อะไรมาก จนกระทั่งเจอคลิปนี้ และเหตุการณ์สงกรานต์เลือดแล้วมันก็กระโดดไปเลย มันเหมือนจิ๊กซอว์ที่มันหายไป แล้วมันเจอ มันก็เลยหยุดไม่ได้ อีกเรื่องที่ทำให้เราเฮิร์ตหนักมากคือเรื่องพี่เหน่ง (พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ-พ่อน้องเฌอ ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553) หลัง 10 เมษาเรายังเจอกันอยู่เลย ลูกพี่เหน่ง ทำกิจกรรมหลายอย่างด้วยกัน ผ่านไปอีกสองอาทิตย์ เรายังถ่าย Terrorists อีกแบบหนึ่งอยู่เลย ตอนแรกเราไม่ได้ทำแนวการเมือง เพราะเราเบื่อการเมืองแหละ (หัวเราะ) สลิ่มมั้ย แต่พอหลัง 10 เมษาอะไรหลายอย่างมันบอกเราว่าไม่ทำไม่ได้แล้ว เราเลยเขียนเมลไปบอกแหล่งทุนว่าเราขอเปลี่ยนโปรเจ็กต์แหละ เราไม่อธิบายอะไรด้วย แต่เราขอเปลี่ยนมาพูดเรื่องการเมือง จากนั้นอีกไม่ถึงอาทิตย์ก็มารู้ข่าวว่า น้องเฌอเสียชีวิต ...คือ..เราไม่รู้จะพูดว่าอะไรดี จะบอกว่าการเมืองไม่มีผลกระทบกับเราไม่ได้ ไม่ว่าจะอย่างไรมันล้อมรอบตัวเราไปหมด อะไรก็ตาม เราไม่โกรธเท่าใครก็ตามที่โดนฆ่า มันแย่ มันน่าขายหน้า น่าตลกมาก ที่ประเทศไทยสอนว่าเราเมืองพุทธ ไม่ควรฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เราสงสารเหลือเกินหมาแมวโดนทำร้าย แต่พอเวลาคุณเห็นว่ามีคนเห็นต่างกับคุณ คุณกลับลุกฮือมาบอกว่า “ฆ่ามันๆ” ล่าแม่มดมัน ในหมู่เสื้อแดงเองก็มีคนหลายเฉด หลายแบบ รสนิยมก็แตกต่างกันพอสมควร เอาง่ายๆ แค่มวลชนส่วนใหญ่ที่เป็นเสื้อแดงรากหญ้ากับพวกคนชั้นกลางในเมืองที่เถียงกันในเฟซบุ๊กก็น่าจะมีความชอบ มีสไตล์ที่ต่างกัน ฉะนั้นหนังเรื่องนี้จะอยู่ตรงไหน เราเชื่อว่า คนที่เขามีจิตใจประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นกลางหรืออะไร เขาค่อนข้างมีใจเปิดกว้าง ตอนเราอ่านบทเรื่องนี้เรารู้สึกว่ามันชาวบ้านมากๆ แต่ไม่ใช่แบบที่ต้อง อี๋ เราจะพูดยังไงดี หลังจากที่เราเริ่มตาสว่าง เรารู้สึกว่า “ชาวบ้าน” ฉลาดกว่าพวกเราอีก เขารับรู้ และเจออะไรแบบนี้มาก่อนเรา แล้วเราเชื่อว่าคนที่ใจประชาธิปไตยเข้าใจได้ไม่ยากหรอกกับเรื่องที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ เท่าที่เราอ่าน มันมีความร่วมสมัยหลายอย่างในวิธีการเล่า ค่อนข้างทันสมัยเลยทีเดียว นี่พอจะรู้ใช่ไหมว่ามันแฟนตาซี รู้มาบ้าง แต่ไม่รู้ว่าแฟนตาซียังไง มันเหมือนการคุยกันในร้านเหล้า แล้วก็ก้มมองใต้หว่างขาแล้วเห็นโลกอีกโลกหนึ่ง มันเป็นภาพเปรียบเทียบด้วยเพราะเมื่อคุณมองลอดใต้หว่างขา มันเป็นความเชื่อว่าคุณจะเห็นผี ขณะเดียวกันในเชิง visual ก็เห็นว่าอนุสาวรีย์มันกลับหัว แล้วเราจะพบว่าความจริงเมื่อย้อนกลับไปมันกลับตาลปัตรอย่างยิ่ง เราเลยรู้สึกว่ามันฉลาดมากที่จะเปรียบเทียบ ขณะเดียวกันเรื่องที่เล่ามันก็ชาวบ้านมากๆ เราเลยคิดว่ามันน่าจะโดนใจหลายกลุ่ม แต่ไม่ว่าอย่างไร มันก็คือหนังเรื่องนึง ก็ย่อมมีคนชอบ และไม่ชอบ แต่อย่างน้อยนี่ก็เป็นหลักไมล์อย่างนึงว่าเรากำลังเริ่มที่จะทำ ไม่ใช่ก่อนหน้านี้มันไม่มี มีแต่มันก็หลบๆ ซ่อนๆ แล้วก็หวังว่าจะมีหนังที่จะสามารถพูดได้มากขึ้น ประเทศอื่นเขามีหนังเยอะแยะมากมาย บ้านเรายังล้าหลังอยู่มาก ยังคงอยู่กับโลกของตัวละครที่ flat แบนมากๆ ขณะที่โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ช่วงนี้มันเป็นช่วงการเรียนรู้ของคนไทยเลยแหละว่า อะไรคือประชาธิปไตย อะไรไม่ใช่ แม้แต่เราเองก็ตามที่กำลังเรียนรู้อะไรมากขึ้น แม้ว่าอายุขนาดนี้ จะตายห่าอยู่แล้วเนี่ย (หัวเราะ) มันน่าเศร้าเหมือนกันที่เราอยู่ในประเทศที่หลอนคนกันมาชั่วชีวิต โดยเฉพาะพวกทำงานศิลปะด้วยใช่ไหมที่จะ sensitive กับเรื่องนี้ คนทำงานศิลปะประเทศนี้น่ารังเกียจที่สุดในโลกแล้ว คนทำงานศิลปะประเทศอื่น รับเงินรัฐ เพื่อจะมาด่ารัฐ แต่คนทำงานศิลปะประเทศนี้รับเงินรัฐเพื่อเลียแข้งเลียขารัฐ ไม่เคยเห็นประเทศไหนน่ารังเกียจเท่าศิลปินประเทศนี้ อันนี้ขอลง คิดว่าเรื่องนี้เป็น propaganda ของเสื้อแดงไหม เป็นคำถามที่ตอบยากมาก คำว่า propaganda ในที่นี้มันขึ้นอยู่กับว่าคนเชื่อว่าอะไร โฆษณาชวนเชื่อเนี่ยมันเกิดขึ้นเพื่อทำให้เชื่อเรื่องๆ หนึ่งอย่างมากๆ ทำทุกอย่างให้คนเชื่อ ในด้านหนึ่งทุกวันนี้ทั้งสองฝั่งมันถูกทำให้เป็นความเชื่ออยู่แล้ว ฝั่งเราแทบจะดูเหมือนไม่มีหลักฐาน หรือพิสูจน์ไม่ได้ ทั้งที่มีหลักฐาน อยากพูด แต่พูดไม่ได้ เพราะกฎหมายหรืออะไรก็ตามมากดไว้ ดังนั้น มันก็อาจจะยังเป็นโฆษณาชวนเชื่อสำหรับใครอยู่ดี แต่ไม่ว่ามันจะเป็นโฆษณาชวนเชื่อหรือเปล่า มันเป็นการเริ่มที่จะทำ แค่เริ่มทำ เพราะอีกฝั่งมี propaganda เป็นร้อยเป็นพันเรื่อง อย่างน้อยมันก็พยามยามสร้างทางเลือก แล้วยิ่งน่ารังเกียจใหญ่ ตอนเงินไทยเข้มแข็งเมื่อสองปีที่แล้ว รัฐบาลให้เงินส่วนหนึ่งมาทำหนัง propaganda ด้วยซ้ำ กฎแรกๆ ที่กระทรวงวัฒนธรรมเขียน มันเข้าข่าย propaganda ทั้งนั้น ห้ามทำโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวกับศาสนา การเมือง และเป็นภัยต่อความมั่นคง ห้ามพูดอะไรก็ตามที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงของชาติ คือคุณมี agenda อยู่แล้วว่าอะไรคือความมั่นคงของชาติ แล้วคุณให้เงินจำนวนนี้ เยอะมาก ถ้าจำไม่ผิด 250 ล้านให้กับพระนเรศวร ส่วนงบที่เหลืออีก 250 ล้านให้ถัวเฉลี่ยไปกับหนังเล็กหนังน้อย ทีวี และเกมส์ ซึ่งทั้งหมดล้วนต้องอยู่ในหลักคุณงามความดีอันดีงามที่ทึกทักเอาเองว่าสิ่งนี้ดี ลองมองประเทศอื่นที่เขาให้ทุนทำหนัง มันท้าทายมาก เพราะสิ่งที่เขาทำคือเขาสามารถวิจารณ์ประเทศตัวเองได้ ยกตัวอย่างเกาหลีใต้ เราแทบไม่รู้จักมาก่อนเลยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เราเพิ่งมารู้จักหลังปี 1993 เพราะก่อนหน้านั้นเกาหลีใต้ตกอยู่ภายใต้เผด็จการทหารอยู่ 40 ปี พัฒนาการของเกาหลีไม่มีอะไรคืบหน้าเลย แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนรู้จักดี แล้วเราเพิ่งไปเทศกาลหนังของเกาหลี ฉายที่หมู่บ้านรอยต่อระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ โดยที่เรื่องทั้งหมดต้องเกี่ยวกับประชาธิปไตย เราก็ไปฉายเรื่อง Terrorists เขาเปิดกว้างมากในการให้ทำหนังที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐ ในปี 93 สาเหตุที่มันเริ่มเป็นประชาธิปไตย เพราะมีประธานาธิบดีที่มาจากพลเรือนเป็นครั้งแรก แม้ว่าจะเป็นพลเรือนฝ่ายขวาอยู่ดี แต่ว่าก็ค่อนข้างจะรับฟัง เช่น ในวงการหนัง มันระดมคนในวงการทั้งหมดมาร่วมคุยกันว่าจะเอายังไงกับวงการภาพยนตร์ ตอนนั้นเกาหลีมีเรื่องขายหน้าอยู่เรื่องนึงคือเทศกาลหนังปูซาน ซึ่งเพิ่งจัดมาสิบกว่าปี แต่ตีตลาดมาก ใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชีย แต่เกาหลีก็มีเรื่องขายหน้า เพราะแบนหนัง 3 เรื่อง เป็นหนังเกย์ล้วนๆ จบเทศกาล นักข่าวก็เขียนโจมตีกันใหญ่ว่าล้าหลัง สุดท้ายต้องระดมคนในวงการหนังมาเขียนกฎหมายใหม่ ไม่ให้อายชาวโลก หลังจากนั้นก็เปลี่ยนไปทันที เปิดกว้างมาก ขนาดมีฉายหนังเกย์โดยเฉพาะเลย ถามว่ามีคนต่อต้านไหม มีอยู่ตลอดเวลา มันก็มีคนประท้วงไม่เห็นด้วย แต่เขามีการประชุมแล้วรับฟังกัน แต่บ้านเรามันพูดไม่ได้เลย แม้แต่หนังที่เคยทำซึ่งด่าทักษิณด้วยซ้ำเรื่องตากใบแต่ก็ถูกห้ามฉาย เพราะไปแตะทหาร (This Area is under Quarantine) เราเป็นศิลปาธร เคยเข้าประชุมหลายหน ประเด็นที่ได้ยินบ่อยมากคือ ทำยังไงถึงจะสู้เกาหลีได้ มองแค่ว่าจะขายของสู้เขายังไง แต่ไม่เคยมองเลยว่าเพราะเขาเป็นประชาธิปไตยไงเขาถึงทำได้ ถ้าแก้ให้เป็นประชาธิปไตย สามารถรับฟังคนได้ทั้งหมดทั้งมวล พูดคุยกันได้ คุณทำได้ไปตั้งนานแล้ว แต่ดันเสือกมาหมกมุ่นเรื่องโง่ๆ และมองว่าจะขายของยังไงซึ่งเป็นปลายเหตุ มองว่าคนมาเมืองไทยเพราะเป็น land of smile มีผ้าไหม อะไรแบบนี้ หรืออย่างพม่า ตอนนี้เขาก็ก้าวไปเร็วมาก น่าสนใจมาก โอเค ในด้านหนึ่งเราก็พอจะรู้ว่าพม่าเพิ่งเปิดประเทศก็ต้องเอาใจทุกฝ่าย ต้องแสดงภาพว่าเป็นประชาธิปไตย แต่มันกำลังไปสู่เกาหลีใต้แรกๆ ที่ผ่านมาเพิ่งจะมีเทศกาลหนังที่ค่อนข้างเปิดกว้างจริงๆ พูดเรื่องประชาธิปไตย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จัดโดยนักแสดงตลกคนหนึ่งที่โดนขังคุกตั้งแต่ช่วง 8888 เพิ่งถูกปล่อยตัวเมื่อปีที่แล้ว คนให้รางวัลคือ ออง ซาน ซู จี แถมหนังในเทศกาลก็ไม่ต้องส่งให้เซ็นเซอร์ด้วย มันน่าสนใจไหมล่ะ ประเทศเราด่าว่าพม่าล้าหลังไม่ได้แล้ว ขนาดที่มึงกำลังเซ็นเซอร์หนังตลอดเวลา แล้วเสแสร้างเป็นประชาธิปไตย อีกหน่อยจะสู้พม่าไม่ได้ หนังเขาก็น่าสนใจมาก อันหนึ่งคือพูดถึงกระบวนการเซ็นเซอร์ในพม่าว่ามันโง่เง่ายังไง เป็นหนังล้อเลียนตลกๆ หรือเรื่องเกี่ยวกับการประท้วงของพระพม่า สามารถดูได้ในยูทูปทุกเรื่องเลย เพราะรัฐบาลพม่าเพิ่งเลิกบล็อคยูทูป สิ่งเหล่านี้ก็อยู่บนนั้นหมด คนเข้าดูได้หมด มีซับอังกฤษให้คนดูรู้เรื่องด้วย คำถามเบาๆ จะเปิด casting-คัดเลือกดาราไหม เปิดๆ กล้ามั้ยล่ะ (หัวเราะ) ตอนแรกถึงกับเถียงว่าจะใส่หน้ากากไหม เพราะไม่รู้จะมีผลกระทบอะไรไหม แต่สำหรับคนดูเขาย่อมคาดหวังจะเห็นดารา แบบ ดารา เลยอยู่ในหนัง คำถามคือ จะมีใครกล้าเล่นป่าววะ อันนี้ก็ต้องรอดู พิสูจน์ใจ แต่ยังบอกไม่ได้ ยังไงก็ตามเราก็ต้องการคนธรรมดานะ มันเปิดพื้นที่อยู่แล้ว
0000000 หมายเหตุ ต้องการร่วมระดมทุน สามารถโอนเงินเข้าบัญชีชื่อ: นายอภิรักษ์ วรรณสาธพ และนายอานนท์ นำภา และนายปณัท นิตย์แสวงเลขที่บัญชี: 691 – 0 – 10054 – 9 ธนาคารกรุงไทย สาขาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ตัวอย่างบางส่วนของหนังเรื่อง "ก่อการร้าย" (The Terrorists)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
ศูนย์วิจัยกสิกรชี้ค่าแรง 300 ตัวเร่งไทยปรับตัวโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ Posted: 26 Mar 2012 05:30 AM PDT 26 มี.ค. 55 - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่รายงานวิจัย "การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ... ตัวเร่งไทยปรับตัวสู่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่" โดยระบุว่าในวันที่ 1 เมษายน 2555 นี้ มาตรการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน จะเริ่มมีผลบังคับใช้ใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภูเก็ต ในขณะที่อีก 70 จังหวัดที่เหลือให้ปรับขึ้นในอัตราร้อยละ 39.5 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดในปี 2554 จากนั้นให้ปรับขึ้นเป็น 300 บาทเท่ากันทุกจังหวัดในวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัดจะคงไว้ที่ 300 บาทไปอีก 2 ปี ยกเว้นกรณีภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความผันผวนอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2557 และปี 2558 ได้ตามความเหมาะสม ผลของแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวย่อมมีทั้งผู้ที่ได้รับประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้ - แนวทางปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทจะมีผลให้ค่าจ้างแรงงานของไทยระหว่างปี 2555-2558 เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยการปรับขึ้นค่าจ้างอัตราปกติที่มักใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี (หรือประมาณร้อยละ 4) โดยใน 7 จังหวัดคือกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูเก็ตอัตราการปรับขึ้นจะกระโดดขึ้นมาสูงที่สุดในปีแรก และมีเสถียรภาพใน 3 ปีถัดไป ส่วน 70 จังหวัดที่เหลือนั้น อัตราการปรับขึ้นในปีแรกจะใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ และปริมณฑลคือร้อยละ 29.7 จากค่าเฉลี่ยในปีก่อนหน้า (หรือร้อยละ 39.5 เมื่อเทียบกับอัตราค่าจ้างเดิมก่อนวันที่ 1 เมษายน 2555) ขณะที่ในปีที่สองจะเพิ่มขึ้นมากน้อยต่างกันตามฐานค่าจ้างเดิมของแต่ละจังหวัด โดยจังหวัดพะเยาซึ่งเดิมมีฐานอัตราค่าจ้างต่ำที่สุดของประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 ในปี 2556 - การปรับขึ้นค่าจ้างอาจมีผลต่อเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 0.6-0.7 โดยแม้ว่าการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตลอดจนมาตรการเพิ่มรายได้อื่นๆ (เช่น การจำนำข้าว การปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเงินเดือนเริ่มต้นสำหรับข้าราชการระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท) อาจมีส่วนเพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ผู้บริโภคบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่ขณะเดียวกัน ต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการจะถูกส่งผ่านมาที่การปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการต่างๆ (Cost Push) เมื่อบวกกับแรงหนุนจากด้านการเติบโตของอุปสงค์ (Demand Pull) และคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อแล้ว ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลโดยรวมของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวจะทำให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้สูงขึ้นประมาณร้อยละ 0.6-0.7 เมื่อประกอบกับผลจากการปรับขึ้นราคาพลังงานและปัจจัยอื่นๆ จะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 ทรงตัวสูงที่ระดับร้อยละ 3.9 - แม้ค่าจ้างจะทยอยปรับเป็น 300 บาทเท่ากัน แต่อำนาจซื้อของแรงงานจะไม่เท่ากันเนื่องจากค่าครองชีพในแต่ละจังหวัดมีความแตกต่าง โดยหากเปรียบเทียบกันแล้ว จังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑลและจังหวัดหัวเมืองใหญ่มักมีค่าครองชีพสูงกว่าจังหวัดที่ค่อนข้างห่างไกล เมื่อค่าจ้างปรับขึ้นเป็น 300 บาทเท่ากัน แรงงานในเขตศูนย์กลางเศรษฐกิจอย่างเช่นกรุงเทพฯ จะมีอำนาจซื้อต่ำกว่าจังหวัดในส่วนภูมิภาค ซึ่งจุดนี้อาจมีผลต่อการเลือกพื้นที่ที่แรงงานจะเข้าไปทำงานอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการเคลื่อนย้ายแรงงานมักไหลไปยังจังหวัดที่ตั้งของธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีอุปสงค์ต่อแรงงานสูง โดยประเด็นค่าครองชีพอาจเป็นปัจจัยรองลงมา - อัตราการว่างงานอาจขยับขึ้นเล็กน้อยในระยะสั้น สำหรับผลต่อการจ้างงาน คาดว่าภายใต้กระบวนการปรับตัวของธุรกิจในการรับมือกับค่าจ้างที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดนี้ ย่อมมีการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดหรือไม่เพิ่มจำนวนพนักงาน การลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อทดแทนแรงงานคนในกระบวนการบางขั้นตอน และสำหรับอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้แรงงานเข้มข้นอาจจำต้องมีการโยกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดต้นทุน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้อาจมีผลต่อความต้องการจำนวนแรงงานในภาคธุรกิจบ้างพอสมควร อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัวและเศรษฐกิจยังคงมีการลงทุนขยายกำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรม ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการว่างงานของไทยในระยะสั้นน่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในปี 2555 สูงขึ้นเล็กน้อยจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.7 ในปี 2554 ขณะที่แนวโน้มในระยะต่อๆ ไป คงต้องขึ้นอยู่กับทิศทางการลงทุนของประเทศเป็นสำคัญ - การรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยหลังค่าแรงปรับขึ้น เป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นด้านแรงงานเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความกังวลต่อภาคธุรกิจไทยถึงความสามารถในการแข่งขันและโอกาสการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของไทยในอนาคต และเมื่อมีการปรับฐานค่าจ้างอย่างฉับพลัน จะมีผลให้ต้นทุนแรงงานของไทยสูงขึ้นค่อนข้างมากหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยหลังจากปรับค่าจ้างเป็น 300 บาท ค่าจ้างคนงานในระดับโรงงานของไทยจะขึ้นมาอยู่ใกล้เคียงกับมาเลเซีย ขณะที่จะสูงกว่าอินโดนีเซีย 2 เท่า สูงกว่าเวียดนามและกัมพูชา 3-4 เท่า และสูงกว่าพม่าเกือบ 9 เท่า ซึ่งหากต้องการรักษาช่วงห่างของต้นทุนแรงงานของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้คงอยู่เท่าเดิม ก็หมายความว่าภาคธุรกิจไทยจะต้องเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ผลิตภาพแรงงานของไทยสูงกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ประมาณ 1.5 เท่า สูงกว่าลาวและเวียดนามประมาณ 2.5-3 เท่า ขณะที่สูงกว่ากัมพูชาและพม่าประมาณ 4-5 เท่า ทั้งนี้ ผลิตภาพของแรงงานของไทยในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2-3 ต่อปี ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงผลิตภาพของแรงงานไทยอย่างก้าวกระโดดนับเป็นโจทย์สำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนไทย - ทั้งนี้ โจทย์ในด้านการยกระดับประสิทธิภาพทางธุรกิจอาจไม่สามารถทำให้บังเกิดผลสำเร็จได้โดยฉับพลัน แต่เป็นประเด็นที่ต้องใช้ระยะเวลา โดยธุรกิจต้องมีการลงทุนในปรับกระบวนการผลิตนำเอาเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดการพึ่งพาแรงงานคน ตลอดจนต้องมีการพัฒนาความรู้ ทักษะและฝีมือแรงงาน ซึ่งในประเด็นนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยในปัจจุบันอาจมีศักยภาพสูงพอที่จะสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้ค่อนข้างดี แต่ต้องยอมรับว่าธุรกิจจำนวนไม่น้อยยังมีกำลังไม่เพียงพอที่จะพัฒนาตัวเองโดยลำพัง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ซึ่งในระยะแรกภาครัฐอาจต้องมีมาตรการในการสนับสนุนช่วยเหลือให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ทันต่อโครงสร้างค่าจ้างที่เปลี่ยนไป -ภาครัฐมีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างบูรณาการในทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจ โดยนอกเหนือจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ เช่น ระบบโลจิสติกส์ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ประเด็นด้านการพัฒนาคนก็ต้องได้รับความสนใจและการผลักดันเชิงนโยบายอย่างจริงจัง ซึ่งมาตรการที่น่าจะมีการดำเนินการ อาทิ - การกำหนดโครงสร้างภาษีที่ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลมีนโยบายลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลง แต่ในกรณีของธุรกิจเอสเอ็มอี อาจได้ประโยชน์จากมาตรการนี้น้อย ในระยะแรกจึงควรมีมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มให้แก่ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน นอกจากนี้ อาจพิจารณากำหนดมาตรการทางภาษีที่ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพโดยเฉพาะ โดยกำหนดนิยามของกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรในความหมายที่กว้างและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาคนในองค์กรมีทั้งกระบวนการที่สามารถวัดได้เป็นตัวเงินหรือมีใบเสร็จ เช่น การจัดหลักสูตรอบรม การส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม การดูงานหรือฝึกงานในต่างประเทศ เป็นต้น แต่ขณะเดียวกัน การพัฒนาทักษะความสามารถของพนักงานยังมีในส่วนที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้ชัดเจนหรือไม่มีใบเสร็จ เช่นกระบวนการในลักษณะ On-the Job Training (OJT) หรือ In-house Training ซึ่งผู้ประกอบการก็ต้องมีต้นทุนเช่นเดียวกัน - การวางแผนพัฒนาบุคลากรทั้งภายใต้ระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะและความสามารถของกำลังคน โดยในส่วนของกิจกรรมนอกระบบการศึกษา เช่น การจัดโครงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานโดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ส่วนในระบบการศึกษานั้น ควรมุ่งผลิตบุคลากรในสาขาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศในอนาคตอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์หลักหรืออุตสาหกรรมที่มุ่งสู่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ (เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์เทคโนโลยีแห่งอนาคต เกษตรแปรรูปขั้นสูง พลังงานซึ่งรวมถึงพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่สร้างมูลค่าสูงต่างๆ) โดยสรุป จากนโยบายปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันที่จะมีผลบังคับใช้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูเก็ต เริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน 2555 ส่วนอีก 70 จังหวัดที่เหลือจะปรับขึ้นในอัตราร้อยละ 39.5 และเมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม 2556 จะปรับขึ้นเป็น 300 บาททั่วประเทศนั้น ในด้านหนึ่งจะส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ใช้แรงงานให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าต้นทุนของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอาจมีผลให้สินค้าและบริการหลายประเภททยอยปรับขึ้นในระยะต่อไป โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลโดยรวมของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2555 สูงขึ้นประมาณร้อยละ 0.6-0.7 (โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 3.9) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า นับจากนี้ เศรษฐกิจไทยน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจัยด้านค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นนี้ ผนวกกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจในภูมิภาคที่กำลังก้าวสู่เป้าหมายการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ตลอดจนผลจากอุทกภัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองและวิถีทางการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติทั้งของภาครัฐและเอกชนไทย รวมถึงนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ แม้ว่าในด้านหนึ่ง ต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปีนี้จะเพิ่มแรงกดดันให้แก่ภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่หากมองอีกมุมหนึ่งอาจเป็นเสมือนตัวเร่งให้ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัวอย่างทันท่วงที แต่ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในด้านการสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพด้านทรัพยามนุษย์ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากธุรกิจผ่านพ้นจุดนี้ไปได้ก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ในขณะที่แนวโน้มค่าจ้างแรงงานในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าก็จะกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาวะการจ้างงานในระยะต่อไป คือ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ และการบริหารจัดการภัยพิบัติ ที่จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศ โดยไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการลงทุนจากต่างประเทศยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านจ้างงาน การพัฒนาอุตสาหกรรม และโอกาสในการขยายศักยภาพการส่งออกของไทยต่อไปในอนาคต
ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
มิติมุมมองสตรีนิยมกับกองทุนพัฒนาสตรี (1) Posted: 26 Mar 2012 04:30 AM PDT มิติมุมมองสตรีนิยมแตกต่างจากมิติมุมมองอื่น ๆ ในทุกเรื่องก็ว่าได้ ดังนั้นการมองกองทุนพัฒนาสตรีก็ไม่มีข้อยกเว้น ด้วยเหตุนี้เรื่อง “การพัฒนาสตรี” ในภาพรวม และการลดทอนการพัฒนาฯ ให้เป็นเพียงเรื่อง “กองทุน” ก็ดี จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งคาถามโดยนักสตรีนิยมและนักเคลื่อนไหวที่ใช้มุมมองสตรีนิยมเข้ามาวิพากษ์ อนึ่งการมีนายกรัฐมนตรีหญิงก็ดี การนาผู้หญิงที่ประสบความสาเร็จทางเศรษฐกิจก็ดี อดีตฝ่ายซ้าย อดีตนักพัฒนาเอกชนและนักอ่านข่าวเข้ามาดูแลเรื่องนี้ก็ใช่ว่าจะผ่านการถูกวิพากษ์หรือตั้งคาถามได้ แม้ว่าจะยกเอาประเด็นเรื่อง “ประชานิยม” หรือ “การซื้อใจแลกเสียง” ทางการเมืองออกไปก็ยังต้องถูกวิพากษ์อยู่ดี จริงอยู่การมีหน่วยงานพัฒนาสตรีโดยรัฐก็ดี การมีกองทุนพัฒนาสตรีก็ดีเป็นเรื่องดี แต่ในทัศนะสตรีนิยมแล้วต้องดูว่าหลักคิด/วิธีคิดเบื้องหลังเป็นอย่างไร ทาไปเพื่ออะไร ทาอย่างไร และสุดท้ายจะนาไปสู่การพัฒนาสตรีตามแนวทางสตรีนิยมหรือไม่ ตํอไปนี้คือแนวทางการมองการพัฒนาสตรีในทัศนะสตรีนิยมบางประการ การพัฒนาคืออะไร? ปกติแล๎วคนธรรมดาทั่วไปรวมทั้งนักวิชาการกระแสหลักด๎วยมักใช๎คาวำ “การพัฒนา” ไปเลยโดยไมํตั้งคาถามวำ จริง ๆ แล๎ว การพัฒนาคืออะไร มีความหมายอะไร มีกี่แนวทาง มีการโต๎เถียงกันหรือไมํวำ “นั่นคือการพัฒนา” “นั่นไมํใชํการพัฒนา” การพัฒนามีแตํเฉพาะด๎านดีหรือวำมีด๎านเสียด๎วย การพัฒนาถูกกาหนดนิยามโดยใคร ที่ไหน เมื่อไร ระดับการตัดสินใจและการมีสํวนรํวมอยูํในระดับไหน อยำงไร การประเมินผลทาโดยใคร ใช๎อะไรเป็นเครื่องชี้วัดและอื่น ๆ อีกมากมายเป็นต๎น การพัฒนาในทัศนะสตรีนิยม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญํและยุํงยากซับซ๎อนมาก ในโลกตะวันตกต๎องเปิดสอนเป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอกด๎วยซ้าไป องค์การระหวำงประเทศ เชํน สหประชาชาติ (UN.) ก็ถึงกับต๎องมีโครงการเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง องค์กรผู๎หญิงที่ไมํสังกัดรัฐ (เป็น NGOs) ระดับนานาชาติก็มีที่จะคอยชี้แนะให๎ทุนและตรวจสอบประเมินผลการพัฒนาและการพัฒนาสตรีควบคูํกันไปด๎วย ในทัศนะของนักวิชาการสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์สิ่งที่เรียกวำการพัฒนาเป็นประเด็นหรือเรื่องราวที่ถกเถียงกันมากมายเผ็ดร๎อนมานานตั้งแตํคา (term) และทฤษฎีวำด๎วยการพัฒนาถูกประกอบสร๎างขึ้นมาหรือไมํ อยำงไร โดยใคร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร/เพื่ออะไร ในทัศนะสตรีนิยมก็เชํนกัน การนิยามการพัฒนาเป็นเรื่องที่มีการประชัน (contested) กันมาก สํวนหนึ่งเป็นเพราะมโนทัศน์การพัฒนานาเอาสมมุติฐานเชิงวิวัฒนาการหลาย ๆ อยำงของยุโรปในยุคคริสต์ศตวรรษที่สิบเก๎าที่ประกอบด๎วยแนวคิดหลาย ๆ อยำงที่มีอยูํกํอนหน๎านั้นแล๎วเข๎าไปด๎วย ตัวอยำงเชํน แนวคิดวำด๎วย การก้าวหน้า (progress) และการเลื่อนสูงขึ้น (advancement) ซึ่งสื่อความหมายที่แสดงวำ แตกตำงในเชิงดี-ไมํดี ที่นอกจากจะเป็นการประทับตราที่ไมํเป็นธรรมแล๎ว ยังมีลักษณะการแบํงเป็นขั้วตรงข๎าม ผลคือเมื่อพูดถึงการพัฒนาก็ทาให๎เกิดวิธีคิดที่แบํงความแตกตำงระหวำงประเทศ สังคมหรือ “สิ่ง” ใดก็แล๎วแตํวำมีสภาวะหนึ่งที่พัฒนามากกวำอีกสภาวะหนึ่ง นักสตรีนิยมจึงถือวำ “วาทกรรมวำด๎วยการพัฒนา” ของโลกที่ถูกประกอบสร๎างขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองนิยามการพัฒนาความหมายของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย๎ายเชิงโครงสร๎าง (structural shifts) ที่วัดได๎ในความหมายของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GNP นั้นไม่ถูกต้อง ยกเอามาเพียงแคํนี้ก็ทาให๎การถกเถียงเรื่องการพัฒนาและการพัฒนาสตรีโดยเฉพาะ “กองทุนพัฒนาสตรี” เผ็ดร๎อนแตํนำจะแหลมคมมากขึ้น ยกตัวอยำงเชํน การเคลื่อนย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง กับ การใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ/GNP เป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาเมื่อเอาทัศนะมุมมองสตรีนิยมเข๎ามาจับก็ไมํใชํเรื่องงำยถ๎านักสตรีนิยมและผู๎ที่อ๎างวำกาลังทางานเพื่อผู๎หญิงไมํศึกษาให๎ละเอียดและลึกซึ้ง การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างคืออะไร? นักสตรีนิยมมีความเห็นต่อสิ่งนี้ว่ายังไง? เรื่องนี้อยำงเดียวก็ยุํงยากมากแล๎วนักวิชาการด๎านสังคมศาสตร์มีความเห็นไมํตรงกัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง หรืออะไรที่ใกล๎เคียงกัน หรือแสดงให๎เห็นการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย๎ายเชิงโครงสร๎างจึงต๎องถูกนามาทาความเข๎าใจโดยใช๎มิติมุมมองสตรีนิยมที่แตกตำงหลากหลายและมีพลวัตเข๎ามาจับ ตัวอยำงเชํน กระบวนการแตกต่างทางโครงสร้าง (structural differentiation) เรื่องนี้เป็นประเด็นพื้นฐานของสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาแนวโครงสร๎าง-หน๎าที่นิยมที่ยังมีอิทธิพลตํอการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสังคม-วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองกระแสหลักอยูํ นักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ก็ใช๎ มโนทัศน์นี้เชื่อมโยงอยูํกับ ทฤษฎีวิวัฒนาการทั้งหลาย ของประวัติศาสตร์ หรือการเปลี่ยนแปลงของสังคมในแนวโครงสร๎าง-หน๎าที่นิยม อนึ่งในทางวิชาการถือวำทฤษฎีวิวัฒนาการก็ดี โครงสร๎าง-หน๎าที่นิยมก็ดีนั้นใช๎ไมํได๎แล๎วเพราะมีลักษณะเหมารวม (generalization) และมีวิธีคิดแบบ “ขั้วตรงข๎าม” และฯลฯ แตํแปลกที่วำนักสังคมศาสตร์กระแสหลักและกระแสรอง เชํน นักมาร์กซิสต์รวมทั้ง “คอมมิวนิสต์เกำ” ในเมืองไทยและนักกิจกรรมที่เคยเป็นแดงแบบ “ฝ่ายซ๎าย” เมื่อยี่สิบ-สามสิบปียังคงใช๎เป็นวิธีคิดกันอยูํอยำงเอาจริงเอาจัง เชํนเดียวกับองค์กรทุนนิยมโลก เชํน กองทุนการเงินระหวำงประเทศหรือ IMF. และองค์กรการค๎าระหวำงประเทศคือ WTO ที่นักกิจกรรมฝ่ายซ๎ายที่กลายเป็น “เสื้อแดง” ตํอต๎านหนักหนาก็ใช๎มโนทัศน์นี้เชํน มาตรการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หรือ “structural adjustment” ซึ่งจะพูดถึงภายหลัง .....ดู ๆ แล๎วออกจะออกอาการ “ไมํอยูํกับรํองกับรอย” (inconsistency) เทำไร ในความพยายามของนักสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาสายนี้ต๎องการอธิบายวำ สังคมเปลี่ยนแปลง (พัฒนา) จากสังคมที่ไมํซับซ๎อน (simple societies) เชํน สังคมเผำพันธุ์ สังคมหมูํบ๎าน สังคมชนบท ความสัมพันธ์และกิจกรรม พฤติกรรมตำง ๆ ทางสังคมเกิดขึ้นผำนความสัมพันธ์ทางเครือญาติ สํวนในสังคมทันสมัยที่สลับซับซ๎อนนั้นมีสถาบันตำงหากที่ทาหน๎าที่ด๎านการศึกษา เชํน โรงเรียน การจัดหาหรือสร๎างงาน (โดยรัฐและตลาด) การปกครองมีรัฐบาลที่ศูนย์กลางและระบบราชการลดหลั่นลงไปถึงระดับหมูํบ๎าน พรรคการเมือง ศาสนา ในสังคมไทยก็มีพุทธศาสนา คณะสงฆ์และวัดเป็นหลัก นอกจากนั้นก็มีคริสต์ อิสลาม นันทนาการ หรือการบันเทิง พักผํอนหยํอนใจ เชํน กีฬา “ดูหนัง ฟังเพลง” ในแบบสมัยใหมํเข๎ามาแทนที่การเลํนพื้นบ๎าน เชํน จ๏อยซอในภาคเหนือ หมอลาในภาคอีสาน เพลงเรือ เพลงอีแซว ลาตัด ลิเกในภาคกลาง หนังตะลุง โนราในภาคใต๎ เป็นต๎น เหลำนี้ถูกแทนที่ด๎วยเพลงไทยสากล เพลงสากล ภาพยนตร์ฮอลลีวูด ละครโทรทัศน์ชํองตำง ๆ การเตะตะกร๎อของชายไทยบางกลุํมก็คํอย ๆ ตกจากกระแสมากบ๎างน๎อยบ๎าง ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษและยุโรปเข๎ามาแทนที่ รวมทั้งการพนันและสภาวะความเป็น “แฟนพันธุ์แท๎” ที่ตามมาด๎วย การเปลี่ยนแปลงสังคมเหลำนี้อยูํภายใต๎การพัฒนา ซึ่งสํวนใหญํเราจะเห็นวำเขาเน๎นที่เศรษฐกิจ เชํน ในรูปของการสร๎าง “โครงสร๎างพื้นฐาน” เชํน ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์จากโทรศัพท์มีสาย จนเป็นโทรศัพท์มือถือ .....สิ่งที่ขอตั้งเป็นข๎อสังเกตคือ การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงดังกลำวไมํเพียงแตํนาเอา “คำนิยม” ใหมํ ๆ เข๎ามาเทำนั้น แตํนาเอา “วิธีคิดใหมํ” ซึ่งถ๎าใช๎ศัพท์ทางวิชาการที่เข๎าใจยากหนํอย เชํน “กระบวนทัศน์” (paradigms) และ “วาทกรรม” (discourses) ใหมํ ๆ เป็นต๎น ผลคือทาให๎วิธีคิดของผู๎คนในสังคมไทยแตกตำงหลากหลาย ซับซ๎อน ขัดแย๎งและเปลี่ยนไปไมํหยุดนิ่ง นักวิชาการบางคนบางกลุํมก็บอกวำมี “พลวัต” ที่จริงแล๎วสิ่งที่เกิดขึ้นในทัศนะของนักวิชาการสายการพัฒนาเห็นวำนี้คือ การเปลี่ยนแปลงอยำงแตกตำงไปจากเดิมของโครงสร๎างตำง ๆ เชํน โครงสร๎างเศรษฐกิจจากการเพาะปลูกเพื่อยังชีพไปสูํการเพาะปลูกเพื่อขาย จึงมีความจาเป็นต๎องใสํ “ทุน” และ “เทคโนโลยี” ใหมํ ๆ เข๎าไป เชํน การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข๎าว ข๎าวโพด มันสาปะหลัง ยางพารา ต๎องใช๎เครื่องจักร เชํน รถไถ ปุ๋ยเคมี ยาฆำแมลง-วัชพืช ต๎องสร๎างเขื่อนขนาดใหญํเพื่อกักน้าไปใช๎ในการเกษตรกรรมแบบใหมํและผลิตกระแสไฟฟ้า ผลที่ได๎รับคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติก็จะเพิ่มขึ้น เทำนี้ก็ถือวำประสบความสาเร็จแล๎วในทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักบางคน บางกลุํม บางสังกัด อยำงไรก็ตาม นักสตรีนิยมแนวทางตำง ๆ โดยเฉพาะนักสตรีนิยมสายวิชาการและนักสตรีนิยมที่เป็นนักเคลื่อนไหวหรือนักกิจกรรมที่ถือวำตนหรือกลุํมตนเป็นสํวนหนึ่งขององค์กรที่ไมํใชํรัฐหรือเรารู๎จักกันในชื่อภาษาอังกฤษยํอ ๆ วำ “NGOs” หรือ “เอ็นจีโอ” ถือวำตรงนี้สาคัญจึงจะพูดถึงอีกทีในตอนหลัง ไมํเฉพาะนักสตรีนิยมเทำนั้นที่ไมํเห็นด๎วย นักวิชาการและนักพัฒนาอีกหลายแนวหลายกลุํมก็เชํนกันบ๎างไมํเห็นด๎วย บางสํวนบางเรื่อง บ๎างก็ไมํเห็นด๎วยในสาระสาคัญและตั้งคาถามแรง ๆ ไปเลยก็มี บ๎างก็เสนอและผลักดันให๎เกิด “การพัฒนาทางเลือก” (alternatives development) ขึ้นมาแทน บ๎างก็เสนอแนวทางเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่ทุกฝ่ายตำงก็อ๎างวำแนวทางของตนเข๎าลักษณะนั้น ประเด็นสาคัญที่นักสตรีนิยมไมํเห็นด๎วยกับการพัฒนากระแสหลักที่รัฐบาลของประเทศตำง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด๎วย และองค์การระหวำงประเทศที่เกี่ยวข๎องกับการพัฒนา เชํน ธนาคารโลก กองทุนระหวำงประเทศ (IMF.) และองค์การค๎าระหวำงประเทศหรือที่เรารู๎จักกันในชื่อยํอภาษาอังกฤษวำ WTO. จนถึงขนาดที่นักสตรีนิยมสากลและนักสตรีนิยมไทย เอ็นจีโอไทย ออกมาเคลื่อนไหวตํอต๎านมีประเด็นหลัก ๆ คือ การพัฒนากระแสหลักที่ขยายไปทั่วโลก หรือที่เราเรียกกันวำ “โลกาภิวัต” (globalization) นั้น ไมํได๎มีแตํเฉพาะด๎านบวกเทำนั้น แตํมีด้านลบของมันด๎วย เพราะฉะนั้นนักวิชาการและนักสตรีนิยมอิสระ (วิธีคิดไมํสังกัดรัฐ พรรคการเมืองและกลุํมผลประโยชน์ตำง ๆ รวมทั้งนักสตรีนิยมสายกิจกรรมอิสระจึงออกมาเคลื่อนไหวกันอยำงเป็นขบวนหลายทศวรรษมาแล๎ว ครำว ๆ คือตั้งแตํหลังการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ประมาณห๎าสิบ-หกสิบปีมาแล๎ว) ขบวนการเคลื่อนไหวดังกลำว มีชื่อทางสังคมวิทยาวำ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งนักสังคมวิทยาเห็นวำอยำงน๎อยก็มีมานานพอควรย๎อนหลังกลับไปที่แซ็งต์-ซิมฮอง (Saint-Simon, 1768-1825) นักปราชญ์สังคมชาวฝรั่งเศสที่บางคนถือวำเป็นบิดาของสังคมนิยมฝรั่งเศสผู๎มองเห็นผลเสียของระบบทุนนิยมในยุคที่ยุโรปเปลี่ยนเข๎าสูํคริสต์ศตวรรษที่สิบแปด อยำงไรก็ตาม ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง แบํงเป็นประเด็นที่บํงชี้ความเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ตํอต๎านการเปลี่ยนแปลงในนามการพัฒนาวำมีด๎านลบและด๎านลบที่วำนี้แผํกระจายไปทั่วโลก ดังนั้นต๎องมีการจัดองค์กรและเครือขำยขึ้นมาตั้งคาถาม ทักท๎วงและถึงขั้นลงมือปฏิบัติการตํอต๎านมีสี่ประเด็นปัญหาใหญํ ๆ ที่นักสังคมวิทยาคือกิดเด็นส์ (Giddens, A., 1985) ชี้ให๎เห็นดังนี้ (1) การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่มุํงสร๎างหรือสถาปนาหรือรักษาไว๎ซึ่งสิทธิทางการเมืองตำง ๆ (2) การเคลื่อนไหวของแรงงานหรือกรรมกรที่มุํงควบคุมเชิงป้องกันสถานที่ทางาน (เชํน โรงงาน) ที่ถูกท๎าทายหรือถูกประชันขันแขํงมากขึ้นก็ดีถูกเปลี่ยนรูปแบบไปสูํการกระจายให๎กว๎างมากขึ้นของอานาจทางเศรษฐกิจ (เชํน การเพิ่มอานาจให๎กับนายทุนและทุนตำงชาติ เป็นต๎น พูดอีกอยำงหนึ่งการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวทางนี้เป็นการตํอสู๎ของผู๎ใช๎แรงงานและคนที่ทางานด๎านการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงาน ตัวอยำงเชํน เอ็นจีโอด๎านแรงงาน เป็นต๎น-ผู๎เขียน) (3) ขบวนการเคลื่อนไหวด้านนิเวศหรือสิ่งแวดล้อม (ecological movements) ตำง ๆ ซึ่งมุํงสนใจและเคลื่อนไหวตํอสู๎ในประเด็นหยุดยั้งหรือจากัดความเสียหายตำง ๆ ทางด๎านสิ่งแวดล๎อมและทางสังคม ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติโดยการกระทาทางสังคมตำง ๆ (ในเมืองไทยเรารู๎จักกับคาวำระบบนิเวศน์ก็ดี นิเวศวิทยาก็ดี ผลกระทบตํอสิ่งแวดล๎อมก็ดี การรณรงค์ไมํให๎ทิ้งขยะอยำงไมํรับผิดชอบ การตัดไม๎ทาลายป่า การรณรงค์รักษาป่าต๎นน้า การรณรงค์ตํอต๎านโรงไฟฟ้าถำนหินที่แมํเมาะ บํอนอก-บ๎านกรูด การตํอต๎านการสร๎างทํอก๏าซ การรณรงค์ตํอต๎านการสร๎างเขื่อน เชํน เขื่อนปากมูล รวมทั้งลำสุด การเฝ้าระวังโครงการป้องกันน้าทํวมของรัฐบาลก็ดี ตำง ๆ เหลำนี้เป็นผลของขบวนการเคลื่อนไหวในแนวนี้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะบทบาทของ “ชาวบ๎าน” เอ็นจีโอ และนักวิชาการจานวนหนึ่ง .....อ๎อ!อยำลืมเรื่อง “ปัญหาโลกร๎อน” อีกลํะ-ผู๎เขียน) (4) ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ (peace movements) ประเด็นปัญหาที่ขบวนการเคลื่อนไหวแนวทางนี้ให๎ความสาคัญคือ การท๎าทายตํอต๎านอิทธิพลที่แพรํกระจายอยูํทั่วไปของอานาจทหารและลัทธิชาตินิยมที่ก๎าวร๎าวรุนแรง (ในเมืองก็ได๎แกํ การตํอต๎านการปฏิวัติ-รัฐประหาร การทาสงครามกับเพื่อนบ๎าน การใช๎กาลังจัดการปัญหา ความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ การวิสามัญฆาตรกรรมผู๎ต๎องสงสัยในการค๎ายาเสพย์ติด เป็นต๎น นอกจากสี่แนวที่ยกขึ้นมาโดยกิดเด็นส์ (A. Giddens) ดังกลำวแล๎ว ในระยะตํอมาจนถึงปัจจุบันก็มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเกิดขึ้นอีกหลายขบวนการ (5) ขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน (human right movements) ที่ตํอสู๎ป้องกันและผลักดันไมํให๎มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนด๎านตำง ๆ เชํน สิทธิคนพิการ สิทธิชนกลุํมน๎อย ชนเผำพื้นเมือง สิทธิเด็ก สิทธิตรี สิทธิมนุษยชนของผู๎สูงอายุ เป็นต๎น และยังมีอื่น ๆ อีกมาก ความจริงแล๎ว สิทธิมนุษยชนก็เป็นการขยายตัวออกมาของ “สิทธิ” (rights) ตำง ๆ นั่นเอง ดังนั้นในเมืองไทยเราจึงได๎ยิน (เห็น) การพูดถึง “สิทธิมนุษยชน” ในรัฐธรรมนูญแหํงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เชํน ในหมวด 1 บททั่วไป มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลยํอมได๎รับความคุ๎มครอง นอกจากนั้นเรายังได๎เห็นการมีแผนแหํงชาติวำด๎วยสิทธิมนุษยชน เห็นการเกิดขึ้นและการทางานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เป็นต๎น เรื่องสิทธิมนุษยชนนี้วำไปแล๎วได๎รับการชูประเด็นและผลักดันให๎เกิดเป็นขบวนการโดยนักวิชาการ และเอ็นจีโอด๎านสิทธิมนุษยชน ไมํได๎มาจาก “รากหญ๎า” โดยตรงเนื่องจากเป็นเรื่องที่คํอนข๎างเป็นนามธรรม มีลักษณะสากล แตํก็ไมํได๎หมายความวำไมํมีฐานทางความคิดและกิจกรรมที่โยงกับ “รากหญ๎า” (6) ขบวนการเคลื่อนไหวของผู้หญิง (women’s movement) ขบวนการนี้ถือวำเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มีพลังและมีบทบาทมาก มีทั้งลักษณะรํวมกับขบวนการเคลื่อนไหวอื่น ๆ และตำงจากขบวนการเหลำนั้นด๎วย ที่ถือวำสาคัญคือ การนาเอามิติมุมมองเรื่องเพศ/เพศภาวะ (เพศสภาพ) เข๎ามาเติมเต็มให๎กับทุกขบวนการเคลื่อนไหวเลยก็วำได๎ กลำวอีกอยำงหนึ่งคือชี้ให๎เห็นวำขบวนการเคลื่อนไหวตำง ๆ ที่มีอยูํขาดมิติมุมมองแบบสตรีนิยม นอกจากที่เอํยถึงหกแนวทางของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแล๎วยังมีขบวนการเคลื่อนไหวฯ อื่น ๆ อีกมาก เชํน ขบวนการเคลื่อนไหววำด๎วยสิทธิหญิงรักหญิง (lesbian’s rights) ขบวนการสิทธิเกย์ (gay rights) ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสัตว์ (animal rights) ขบวนการสิทธิผู๎บริโภค (consumer’s rights) เป็นต๎น เมื่อมาถึงจุดนี้จะจบตอนอยำงไรดีจึงจะเข๎าประเด็นที่ตั้งไว๎เป็นหัวข๎อหรือชื่อบทความที่วำ “มิติมุมมองสตรีนิยมกับกองทุนพัฒนาสตรี” นอกจากตั้งเป็นข๎อสังเกตวำเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญํและสลับซับซ๎อน ขัดแย๎งและเลื่อนไหลมาก นักสตรีนิยมหรือผู๎ที่จะเลํนเรื่องนี้จะต๎องศึกษาค๎นคว๎าให๎มาก ๆ และจะต๎องมีสติด๎วย จึงจะเกิดปัญญานอกจากนั้นผมอยากเสนอเพียงบางประเด็นวำ (1) กํอนที่จะลงไปถกเรื่อง “กองทุนพัฒนาสตรี” ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผู๎ที่เกี่ยวข๎องโดยเฉพาะนักวิชาการด๎านการพัฒนาก็ดี ด๎านสิ่งแวดล๎อมก็ดี ด๎านสิทธิมนุษยชนก็ดี ด๎านการตํอต๎านความรุนแรงทุกรูปแบบก็ดีและอื่น ๆ โดยเฉพาะนักสตรีนิยม จะต๎องศึกษา ทบทวนองค์ความรู๎ประเมินและวิพากษ์ สิ่งที่เรียกวำ การพัฒนากระแสหลักให๎ “แตก” เสียกํอน ไมํวำการพัฒนานั้นจะเกิดในประเทศไทยหรือในตำงประเทศ โดยใช๎มิติมุมมองสตรีนิยม ซึ่งมีลักษณะเป็นวิชาการมาก ๆ จะปลํอยให๎รัฐบาลหรือนักเคลื่อนไหวทาไปฝ่ายเดียวโดยไมํมีการท๎วงติงคงไมํได๎ (2) จะต๎องตระหนักวำ “การพัฒนา” มีผลทั้งด๎านบวกและด๎านลบ ด๎านบวกคืออะไร แตํที่จะทาให๎มิติมุมมองการพัฒนามีลักษณะวิพากษ์หรือถึงรากถึงโคนมากขึ้น นักสตรีนิยมจะต๎องชี้ให๎เห็นด๎านลบของมัน จากนั้นคํอยถกเถียงกัน จึงจะทาให๎เกิดมีสาระขึ้นมา (3) การพัฒนาจะเอา “เสียงสํวนใหญํ” หรือแม๎กระทั่งหันไปใช๎ “ลัทธิประโยชน์นิยม” ของคนสํวนใหญํก็ยังไมํพ๎นจากการถูกวิพากษ์มาตัดสินเพียงอยำงเดียวไมํได๎เพราะอาจไปกระทบ “สิทธิ” ของ “คนสํวนน๎อย” หรือกระทบสิ่งแวดล๎อมอยำงถาวร เชํน การเรียกร๎องให๎มีการสร๎างงาน การเรียกร๎องให๎เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอาจไปทาลายระบบนิเวศน์ (ความหลากหลายทางชีวภาพ) อาจทาลายสิทธิเด็ก สิทธิสตรี แม๎กระทั่งละเมิดสิทธิสัตว์ (4) นักสตรีนิยมจะต๎องเจาะเข๎าไปให๎ถึงวำ “การพัฒนา” เป็นสิ่งประกอบสร๎างทางสังคมของยุคทันสมัย (modern period) นักวิชาการ/นักสตรีนิยมบางกลุํมบางสานักคิดอาจเรียกวำ เป็นภาษาหรือข๎อความที่ประกอบขึ้นด๎วย “วาทศิลป์” (rhetorics) บางคนก็เรียกวำเป็น “วาทกรรม” (discourses) ซึ่งมีอยูํหลายชุด บางคนก็บอกวำมี “ทฤษฎี” การพัฒนาแนวตำง ๆ ที่อธิบายเรื่องนี้ บางคนก็ดูลึกไปกวำนั้นอีกวำสิ่งที่เรียกวำ “การพัฒนา” มีชุดความรู๎ของประชาธิปไตยเสรีนิยม (liberal democracy) ที่หนึ่งเน๎นสิทธิของปัจเจก สองทุนนิยมแข่งขันที่มุํงเน๎นการสร้างกาไรสูงสุดให๎กับ “ทุน” หรือนายทุน/ผู๎ประกอบการ/นักธุรกิจ โดยใช๎ตลาดเป็นพื้นที่ในการอ๎างความชอบธรรม ถ๎าพูดถึง “สิทธิ” ก็มักจะใช๎ “สิทธิในการบริโภค” เป็นต๎น สาม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ถูกนามารับใช๎ทุนนิยมแขํงขัน เชํน เพื่อผลิตสินค๎าและบริการออกมาให๎ซื้อ-ขาย เอากาไรกัน เชํน เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรศัพท์มือถือ การสํง SMS เพื่อเชียร์ดาราคนโปรดที่คำยธุรกิจบันเทิงตำง ๆ ซึ่งมีโยงใยกับธุรกิจสื่อสารรํวมมือกันจัด เป็นต๎น เป็นไปได๎ไหมวำ ธุรกิจแบบนี้ดึงเอาเงินจากผู๎หญิงวัยรุํนไปมากกวำผู๎ชายวัยรุํน กลำวอีกอยำงหนึ่งคือ ปรากฏการณ์ “บ๎าดารา” หรือ “คลั่ง เซเลบฯ” ในหมูํคนรุํนใหมํ มีมิติทางเพศภาวะอยูํเต็ม ๆ (5) ทั้งประชาธิปไตยเสรีนิยม ทุนนิยมแขํงขันและวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี เป็น “สามประสาน” ที่ทรงพลังเป็นการรํวมมือระหวำงกลุํมผลประโยชน์ผำนการเข๎ามาใช๎อานาจรัฐ อานาจตลาด และอานาจเทคโนโลยีให๎กลับกลุํมผลประโยชน์ตำง ๆ ดังนั้น รัฐบาลพรรคการเมือง กลุํมการเมือง กลุํมธุรกิจการค๎า นักการตลาด นักเทคโนโลยี ฯลฯ จึงเป็นกลไกที่รํวมกันผลักดันการพัฒนากระแสหลัก เป็นการ “ฮั้ว” กันในหมูํชนชั้นผู๎นาโดยใช๎ วาทศิลป์เรื่อง “ปรองดอง” มาอาพราง (6) ด๎วยเหตุนี้นักวิชาการด๎านการพัฒนา นักสตรีนิยมและนักเคลื่อนไหวควรจะจับตาดูรัฐ รัฐบาลทุกรัฐบาล พรรคการเมืองทุกพรรค กลุํมทุนทุกกลุํม การเลือกตั้ง ฯลฯ อยำงระมัดระวังเป็นพิเศษ ยังจาได๎ไหมวำสมัยที่เป็น “เอ็นจีโอ” นั้นคุณมีจุดยืนอยำงไร การเข๎ามาเป็นสํวนหนึ่งของกลไกรัฐ กลไกตลาด/ทุน คุณเปลี่ยนไปอยำงไร? คุณกาลังทาอะไร? เพื่อใคร? เพื่อประชาธิปไตย.....เพื่อ “รากหญ๎า” หรือวำเป็นแผนของคุณที่จะ “ดึงเอาทุนมาสู๎ทุน” เพื่อประโยชน์และความเป็นธรรมกับผู๎คนในระดับ “รากหญ๎า” …..แผนนี้แยบยลจน “ทุน” ตามไมํทัน .....และสามารถทาได๎แคํไหน? ตอนนี้ใช๎เวลาและพื้นที่ไปมากกวำทุกตอน แตํก็ยังไมํจบอยูํดี จึงต๎องลงท๎ายวำ “ยังมีตํอ” 12 มีนาคม 2555 __________________________________
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ฝ่ายค้านประกาศลาออกจากกรรมาธิการปรองดอง Posted: 26 Mar 2012 03:41 AM PDT ส.ส.ประชาธิปัตย์ 9 คนลาออกจาก กมธ.ปรองดอง "จุรินทร์" ฉะมีการยืมมือรัฐสภา-สถาบันพระปกเกล้าเพื่อนิรโทษกรรม เรียกร้อง "สถาบันพระปกเกล้า" ถอนรายงาน ด้าน "บิ๊กจิ๋ว" ร่อนจดหมายโต้ "มาร์ค" ยันนิรโทษกรรมเป็นทางออกของชาติ เหมือน 66/23 สร้างประชาธิปไตย ฝ่ายค้านขอลาออกจาก กมธ.ปรองดอง สำนักข่าวไทยรายงานว่า วันนี้ (26 มี.ค.) เวลา 11.30 น.ที่รัฐสภา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 9 คน ได้ขอแสดงความจำนงลาออกจากตำแหน่ง หลังยื่นหนังสือให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ประธานกรรมาธิการฯ ทบทวนรายงานผลการวิจัยแนวทางสร้างความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า แต่ พล.อ.สนธิ ไม่รับฟัง และเร่งรัดเสนอเรื่องดังกล่าวต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ให้บรรจุในวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อขอความเห็น และลงมติในรายงานงานของกรรมาธิการฯ ทั้งที่มีการขยายเวลาการพิจารณาของ กรรมาธิการฯ ไปอีก 30 วัน “ฝ่ายค้านเห็นว่า ควรทบทวนรายงานผลการวิจัย เพื่อให้รายงานครบถ้วน ไม่ให้มีการหยิบบางประเด็น มาเป็นประโยชน์ของฝ่ายใด ไม่ให้นำข้อมูลมาใช้เปรียบเทียบในทางที่ผิด อีกทั้ง เรียกร้องให้สถาบันพระปกเกล้าถอนรายงานออก เพื่อป้องกันถูกใช้เป็นเครื่องมือนำไปสู่การนิรโทษกรรม ทำให้ประเทศขัดแย้งครั้งใหม่ และขอคัดค้านที่นายสมศักดิ์ บรรจุเรื่องนี้เร่งด่วน เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น และเห็นว่าเป็นการมัดมือชก หรือยืมมือรัฐสภา ยืมมือกรรมาธิการและสถาบันพระปกเกล้า เพื่อลงมติเพื่อนำไปสู่เป้าหมายนิรโทษกรรม” นายจุรินทร์กล่าว สำหรับกมธ.สัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ มีจำนวนทั้งหมด 9 คนประกอบด้วย 1.นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 2.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3.นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4.นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง 5.นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส 6.นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก 7.นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี 8.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 9.น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม.
"บิ๊กจิ๋ว" ร่อนจดหมายโต้ "มาร์ค" ยันนิรโทษกรรมเป็นทางออกของชาติ ขณะเดียวกัน มติชนออนไลน์ รายงานว่าวันนี้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือออกมาตอบโต้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในประเด็นการนิรโทษกรรมจะล้มล้างอำนาจตุลาการ ทำลายระบบยุติธรรมและการยกเลิกผลคดีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้นำจดหมายมาให้เจ้าหน้าที่สภานำมาแจกแก่สื่อมวลชน สำหรับเนื้อหาการตอบโต้นั้นในหนังสือระบุว่า พล.อ.ชวลิตเห็นว่าการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมจะช่วยให้ระบบยุติธรรมของไทยดีขึ้น เพราะจะไม่นำเอาปัญหาการเมืองที่เกิดจากระบอบการรัฐสภาและเผด็จการรัฐประหารมาแก้ไขระบบยุติธรรมของศาล นอกจากจะแก้ไขปัญหาไม่ได้กลับทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น พร้อมยืนยันการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยเชื่อว่าการใช้นโยบาย 66/23 สร้างประชาธิปไตยในอดีต จะเป็นทางออกสูงสุดของชาติ โดยนิรโทษกรรมอย่างไม่มีเงื่อนไข ช่วยให้เกิดความปรองดองและความสามัคคีในชาติได้อย่างแท้จริง ส่วนการยกเลิกคดีที่ดำเนินโดย คตส.นั้น เห็นว่าทุกอย่างจะต้องกลับไปสู่สภาพเดิม เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการเมือง เมื่อ คตส.มีที่มาไม่ถูกต้อง จึงถือว่าผิดตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อระบอบทำให้เกิดปัญหา จึงต้องยุติทุกอย่างที่ดำเนินการโดย คตส. [อ่านรายละเอียดของจดหมายทั้งหมดที่นี่] สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
เรียนรู้ ‘ฮอด’ บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 2) Posted: 26 Mar 2012 02:37 AM PDT
‘ฮอด’ คือเส้นทางผ่านของทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับ พ่อหนานนาค ใจเขียว ชาวบ้านจากฮอด บอกเล่าให้ฟังว่า “สมัยเมื่อตนเองอายุสิบกว่าปี มีทหารญี่ปุ่นเข้ามาพักบ้านของเราเป็นหลังๆ ซึ่งบริเวณที่พัก คือ บ้านหลวงเก่า ตอนที่ทหารญี่ปุ่นเข้ามานั้น เขาก็ไม่ทำอะไร แต่เรากลับมีรายได้จากการขายอาหารให้กับทหารญี่ปุ่น เดินทางผ่านบ้านวังลุง ขึ้นมาพักที่บ้าน พวกเขามาอยู่บ้านเราประมาณครึ่งเดือนแล้วก็เดินทางต่อ บ้านของเราเป็นเพียงทางผ่านของทหารญี่ปุ่น ต่อมา ทหารญี่ปุ่นก็เกิดการล้มตาย ก็ได้นำมาฝังไว้ที่โรงเรียน ซึ่งสาเหตุการตายของทหารญี่ปุ่น คือ ตายเพราะเป็นพยาธิ ตายเพราะความหิวโหย ไม่ได้กินอะไรนั่นเอง” “ตอนนั้น ทหารญี่ปุ่นจะมาพร้อมๆ กัน เดินทัพกันมาเป็นกองทัพ และวังลุงก็จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ ผมอยู่กับแม่ ซึ่งตอนนี้แม่ก็อายุ 91 ปีแล้ว แม่ก็ได้ช่วยเหลือทหารญี่ปุ่น พ่อก็ได้ของจากทหารญี่ปุ่น จากการบอกเล่ามา ญี่ปุ่นจะเอาปืนมาแลกข้าว มาแลกกล้วย หรืออะไรที่สามารถเป็นอาหาร เพราะว่าข้างบนดอยไม่มีอะไรกิน เวลานอนมดไต่เต็มหน้าตาก็มี ซึ่งตอนนั้นเองแม่ได้เข้าไปช่วย ซึ่งตอนกลางคืน ฝนก็ตก ตอนนั้นเองก็ได้ชวนแม่ไปอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วย เพราะแม่เองก็ยังเป็นสาว มีป้าปุ๋น ที่สมัยนั้นเป็นคนที่งาม หน้าตาดี แม่ทัพญี่ปุ่นก็จะพาแกไปทุกที่เลย ฉะนั้น สถานที่ที่วังลุง จึงเป็นสถานที่เดินทัพของทหารญี่ปุ่น แล้วก็มาตายที่วังลุงกันเป็นจำนวนมาก ฮอดเราจึงเป็นเมืองผ่านของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ก็ขึ้นไปทางเส้นสายปาย สายห้วยน้ำดัง ซึ่งสามารถข้ามไปพม่า” นายพิชิต อุดธิ สมาชิก อบต.วังลุง ตำบลฮอด เล่าให้ฟัง มีหลักฐานที่ยืนยันมากมายว่า ทหารญี่ปุ่นได้เดินทัพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ การขุดพบซากของมีด ปืน ของทหารญี่ปุ่น แม้ในปัจจุบัน ชาวบ้านบอกว่าจะไม่ค่อยพบเห็นกันแล้วก็ตาม ฮอด เป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์ แผ่นดิน แม่น้ำและป่าไม้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอำเภอฮอด ตั้งอยู่ที่บริเวณ หมู่ที่ 2 บ้านหลวงฮอด ตำบลฮอด มีสถานที่ราชการตั้งอยู่ เช่น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ เป็นต้น จึงถือว่าพื้นที่ตำบลฮอด เป็นศูนย์กลางของราชการและเป็นศูนย์รวมของความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ วิถีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมในการสืบทอดดำรงอยู่ของคนฮอดมาช้านาน หมู่บ้านแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นในสมัยพ่อหลวงแก้ว ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมา สมัยพ่อหลวงชุ่มเป็นผู้ใหญ่บ้านแทน มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมา 60-70 หลังคาเรือน พร้อมทั้งมีการก่อสร้างวัดวาอารามขึ้นมาในช่วงสมัยนั้น แต่ไม่มีพระมากราบไหว้บูชา ชาวบ้านก็เลยหาถาวรวัตถุมาปั้น คือ ดินกี่ จนมีมาถึงปัจจุบันนี้ จากนั้น ชาวบ้านก็ไปนิมนต์หนานคำ เข้ามาอยู่ที่วัด และมีการตั้งชื่อวัด คือ วัดคัมภีราราม ซึ่งเป็นที่มาจากนามขอพระครูคัมภีรธรรม บริเวณบ้านวังลุงในอดีตนั้น ก็ถือเป็นอีกศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญของฮอด มีการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ขนส่งสินค้าทางน้ำระหว่างฮอดไปจนถึงปากน้ำโพ นครสวรรค์เลยทีเดียว “กลุ่มที่อยู่บนดอยก็ลงมาซื้อของที่วังลุง ของสินค้าที่มาจากปากน้ำโพก็มาถึงที่นี่ สมัยนั้นสินค้าจะขึ้นมาทางเส้นน้ำ และวังลุงเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการค้าขาย คือ หันหลังชนฝา หันหน้าเข้าหาน้ำ วังลุงจึงมีความหลากหลาย มีแขก หรือคนฮอดบ้านเราเรียกกันว่า กุลา มีคะฉิ่น และอีกหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาอยู่ในวังลุง คนจีนก็มีมากในตอนนั้น ส่วนเชื้อสายของผมเองเป็นขมุ ผมเองยังเป็นลูกครึ่งระหว่างหลวงฮอดกับวังลุง เพราะว่าวังลุงมีการแยกจากหลวงฮอดไป นาคอเรือก็แยกจากวังลุงไป แต่พื้นที่ก็ยังอยู่พื้นที่เดียวกัน” นั่นเป็นการบอกเล่าของชาวบ้านเก่าแก่ดั้งเดิมของฮอด ที่บ่งบอกว่า ฮอด มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยน และเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ฮอด ยังขึ้นชื่อในเรื่อง ‘คนหาปลา’ “รายได้จากการขายปลานั้นจะได้มากกว่า เมื่อก่อนนั้น การรับจ้างรายวันจะได้ประมาณ 70 บาท แต่การหาปลาจะได้มากกว่า วันหนึ่งขายปลาได้หลายร้อยบาท บางวันหาปลาได้เยอะ ก็ขายปลาได้เงินหนึ่งพันสองพันกว่าบาทก็มี” “เราจะใช้เรือพาย แต่ก็จะไปถึงแค่วังลุง จะไปไกลไม่ได้ เพราะเรือนั้นเป็นเรือพาย ต้องถ่อไป จะทำให้เหนื่อย ไปไกลก็ไม่ได้ พอตอนใกล้จะค่ำก็ต้องรีบกลับ” “เหมือนกับที่คำโบราณบอกว่า จะใช้หงายก็เฉพาะเวลาช่วงฤดูแล้ง จะเอาไปหลอกปลา ยามพรรษาก็จะเอาไปหลอกคนเฒ่า เพราะว่ามันขาว คนเฒ่าชอบสะดุ้งเข้าใส่ คือพอหน้าแล้งต้องเอาไปลงที่น้ำใส ถ้าเป็นน้ำขุ่นก็ไม่ได้ ทีนี้ปลาไปเห็นเข้า ก็ว่ายหนี สุดท้ายก็เข้าไปในแหที่เขิงไว้” นายนิวัฒน์ บอกเล่า ว่ากันว่า การใช้หงายล่อปลาเช่นนี้ วันหนึ่งสามารถหาปลาได้มากถึง 100 กิโลกรัมเลยทีเดียว แน่นอนว่า ปลาในสมัยก่อนนั้นมีมากกว่าเงินทองเสียอีก โดยดูได้จากวัฒนธรรมคนฮอดเวลาช่วยเหลืองานบุญก็ทำด้วยการลงแรงหาปลามาช่วยเหลือชาวบ้านที่ขัดสนในยามยาก นั่นถือว่า ชุมชนในตำบลฮอดนั้นมีอาชีพทำนา ทำสวน และการหาปลามาเพื่อยังชีพและเพื่อค้าขายกันนานหลายชั่วอายุคนมาแล้ว ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่สงบ ปกติสุข เป็นสังคมแห่งสันติสุข รักใคร่กลมเกลียวกันมาโดยตลอด 0 0 0 ข้อมูลประกอบ
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ทหารพม่าบุกโจมตีกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" หลังทำสัญญาหยุดยิงรอบใหม่ Posted: 26 Mar 2012 01:33 AM PDT ขณะที่รัฐบาลพยายามเจรจาหยุดยิงกับชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่ม กองทัพพม่ายังคงเดินหน้ แหล่งข่าวในพื้นที่รายงานว่า เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา ทหารกองทัพพม่าได้บุกเข้าโจมตี ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงกองกำลั "สาเหตุการบุกโจมตีของทหารพม่า อาจเกิดจากความไม่พอใจที่ก่ เจ้าหน้าที่ SSPP/SSA เปิดเผยอีกว่า นับตั้งแต่กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSPP/SSA และรัฐบาลพม่าลงนามข้อสัญญาหยุ ทั้งนี้ กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSPP/SSA มีพล.ต.ป่างฟ้า เป็นผู้นำ เคลื่อนไหวในรั ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
กลุ่มอนุรักษ์ฯ โวย กนอ.เปิดทางนิคมฯ บางสะพาน ปลดล็อคเอกชนใช้พื้นที่ป่า Posted: 26 Mar 2012 01:01 AM PDT กลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพาน แฉการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเห็นชอบหลักการเขตนิคมฯ เครือสหวิริยา เมินปัญหารุกที่สาธารณะ เผยปมขัดแย้งที่ดินเขตป่าสงวน ถูกเพิกถอนเอกสารสิทธิ์แล้ว พื้นที่ทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึงกับบริษัทเครือสหวิริยา แฟ้มภาพ:ประชาไท สืบเนื่องจากกรณีที่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีจดหมายชี้แจงส่งถึงคณะกรรมการสิทธิ เมื่อวันที่ 25 มี.ค.55 นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีดังกล่าวว่า กลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูดและเครือข่ การขอใช้พื้นที่ในเขต อ. นางจินตนา แสดงความเห็นว่า การที่การนิคมฯ อ้างต่อคณะกรรมการสิทธิมนุ “เราไม่แปลกใจที่กระทรวงอุ นางจินตนา กล่าวถึงข้อเรียกร้องว่า อยากให้การนิคมฯ ทบทวนความเห็นที่อนุญาตให้ ขณะที่ นายสมหวัง พิมสอ ชาวบ้าน หมู่ที่ 1 ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตัวแทนเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ รวมทั้งผังเมืองของ อ.บางสะพานที่ประชาชนเข้าไปมีส่ นายสมหวัง กล่าวว่า การสนับสนุนให้จัดตั้งนิคมอุ ทั้งนี้ โครงการขยายโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาที่ ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงกับชุมชนในพื้นที่ ทั้งเรื่องการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนฯ การขอใช้น้ำจากคลองบางสะพาน การขอเช่าพื้นที่ป่าช้าสาธารณะและทางสาธารณะ ปัญหาป่าพรุที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 18 ม.ค.48 เห็นชอบนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตเหล็กขั้นต้น ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยเครือสหวิริยามีโครงการจะสร้างที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.ชุมพร ต่อมา การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เห็นชอบในหลักการที่เครือสหวิริยาขอนำพื้นที่โครงการอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร 6,404 ไร่เศษ ขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยรอผลการเห็นชอบในรายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากนั้น เครือสหวิริยาจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อ 7 เม.ย.49 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านโครงการอุตสาหกรรมก็มีมติเห็นชอบไปในวันที่ 7 ก.พ.50 ทั้งที่มีการคัดค้านในหลายประเด็นของประชาชนต่อเนื่องมาหลายเดือนตั้งแต่กันยายน 2549 รวมทั้งการขอใช้พื้นที่ป่าสงวน การขอเช่าที่สาธารณะก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติตามขั้นตอน และการขอให้ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธินับสิบแปลงในพื้นที่ป่าพรุของชุมชน ยังไม่เสร็จสิ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
'กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล'เสนอปรองดอง นับหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรม Posted: 25 Mar 2012 06:26 PM PDT
25 มี.ค.55 กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลจัดกิจกรรมเสวนาบาทวิถี "ปรองดองบนความอยุติธรรม...ทำเพื่อใคร?" หน้าศาลอาญารัชดา โดยมี ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อ.สุดา รังกุพันธ์ ทนายประเวศ ประภานุกูล ทนายเสาวรส โพธิ์งาม รวมทั้งญาติผู้ต้องขัง เช่น ภรรยาอากง ภรรยานายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ร่วมแสดงความเห็นต่อกระบวนการปรองดองของรัฐบาล รัฐสภา และรายงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า ประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112 กล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการนิรโทษกรรมของสถาบันพระปกเกล้าบางข้อเป็นการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ยิงประชาชนเมื่อ 2 ปี ก่อนด้วย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการนิรโทษกรรมหลัง 6 ตุลาคม 2519 และ พฤษภาคม 2535 การนิรโทษกรรมหลัง 6 ตุลาคม19 เป็นการตัดตอนไม่ให้มีการสืบสวนไปถึงคนสั่งฆ่า ปัจจุบันนี้ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น การปรองดองจึงเป็นคำพูดสวยหรู เป็นการริเริ่มของฝ่ายอำมาตย์ เพื่อให้เรายอมรับว่าตายฟรี ว่าเผาบ้านเผาเมือง ว่าไม่เอาผิดผู้สั่งฆ่า ให้เรายอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งตนเองไม่เห็นด้วย การปรองดองต้องเกิดขึ้นเมื่อความจริงปรากฏแล้ว คนสั่งยิงต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อน เสาวรส โพธิ์งาม ทนายความและอาสาสมัครศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกรณีสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53 (ศปช.) ซึ่งลงพื้นที่เก็บข้อมูลผู้ถูกจับกุม/ดำเนินคดี ให้ความเห็นต่อการปรองดองว่า ต้องมีความจริงว่า ใครเป็นผู้สังหารประชาชน ต้องปล่อยนักโทษการเมือง โดยยกเลิกความผิดที่รัฐกล่าวหา เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง เกิดจากอำนาจรัฐในเวลานั้นยัดข้อหา และข่มขู่คุกคามให้รับสารภาพ จากนั้น ศาลก็หยิบยกคำสารภาพในชั้นสอบสวนไปพิจารณาพิพากษาคดี “การที่นายอภิสิทธิ์เสนอ(ในเวทีที่จัดโดยกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติ) ให้นำข้อเท็จจริงในชั้นศาลมาเป็นข้อเท็จจริงของสังคม แสดงว่านายอภิสิทธิ์ไม่รู้เลยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมมีปัญหา และเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งในปัจจุบัน ดังนั้น การปรองดองจะไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และไม่จริงใจพูดเรื่องนักโทษการเมือง” อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงอำนาจตุลาการว่า มีปัญหาในเชิงรัฐธรรมนูญมาตลอดตั้งแต่ พ.ศ.2490 เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติให้ยึดโยงกับประชาชน แต่ถือตนเองตัดสินในพระปรมาภิไธย และผูกขาดการตีความความยุติธรรม โดยไม่มีอำนาจอื่นตรวจสอบ กระบวนการยุติธรรมไทยจึงมีกรอบคิดแบบอำนาจนิยม และไม่มีกรอบคิดเรื่องประชาธิปไตยมาตลอด การรัฐประหาร 19 กันยา ทำให้ทุกอย่างเปิดเผย ทำให้เราเห็นว่าศาลมีความบิดเบี้ยว และเข้ามาแทรกแซงการเมืองมากเกินไป “ธีรยุทธ บุญมี อธิบายว่าการปกครองโดยกฎหมายเกิดขึ้นก่อนประชาธิปไตย ถ้าประชาธิปไตยบิดเบี้ยว ตุลาภิวัฒน์ก็มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปจัดการ เป็นการอธิบายที่ผิดพลาด เพราะระบบกฎหมายไม่มีความถูกต้องในตนเอง กรอบคิดเรื่องกฎหมายมี 2 ลักษณะ คือ กฎหมายแบบอำนาจนิยม กรอบคิดแบบนี้ถือว่ารัฏฐาธิปัตย์ออกกฎหมายมา ประชาชนต้องปฏิบัติตาม กับอีกลักษณะหนึ่ง คือ กฎหมายเป็นสัญญาประชาคม เป็นกติกาที่ประชาชนมากำหนดร่วมกัน ดังนั้น กฎหมายที่ชอบธรรมต้องมาจากการร่างของรัฐสภา ถ้าคิดตามกรอบนี้ มีกฎหมายไทยไม่น้อยกว่าครึ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่ผู้พิพากษาไทยไม่เคยตั้งคำถาม โดยเฉพาะ ม.112 ซึ่งแก้ไขล่าสุดโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อปี 19” อ.สุธาชัย กล่าวสรุปว่า การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เกิดความปรองดองจึงเป็นเรื่องใหญ่ แต่รัฐบาลนี้ก็คงทำอะไรไม่ได้ เพราะเกรงใจอำมาตย์ ศาล และกองทัพ อ.สุดา รังกุพันธ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ดำเนินรายการกล่าวเน้นว่า หากรัฐบาลต้องการให้เกิดความปรองดอง ต้องปล่อยนักโทษการเมืองทุกคน ทั้งที่ถูกจับหรือหลบหนีอยู่ รวมทั้งนักโทษคดี 112 ด้วย ต้องทำให้พวกเขาพ้นผิด กลับสู่สภาพเดิมก่อนรัฐประหาร 19 กันยา หลังจบเสวนา ผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 50 คน ร่วมกันกล่าวคำปฏิญญา “สังคมไทยจะปรองดองต้องเอาคนผิดติดคุก ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกปล่อยตัว” ทั้งนี้ กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลจะจัดกิจกรรมเสวนาบาทวิถี หน้าศาลอาญารัชดา ทุกวันอาทิตย์ เพื่อรณรงค์ให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และปล่อยตัวนักโทษการเมือง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น