โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

จี้พ่อเมืองหนองบัวลำภู เปิดเวทีแจงโครงการพัฒนาลำน้ำพะเนียง

Posted: 19 Mar 2012 06:50 AM PDT

ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง จวกผู้ว่าฯ จังหวัดหนองบัวลำภู เสนอโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะเนียงเข้าใน ครม.สัญจร โดยชาวบ้านไม่ทราบข้อมูล-ไม่มีการทำเข้าใจใดๆ ยื่นหนังสือจี้ชี้แจง

 
วันนี้ (19มี.ค. 2555) เวลาประมาณ 09.00 น.ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง จ.หนองบัวลำภู ประมาณ 80 คน  ได้รวมตัวกันเดินทางไปยัง ศูนย์ราชการศาลากลาง จ.หนองบัวลำภู เพื่อยื่นหนังสือแก่ นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ขอให้มีการเปิดเวทีชี้แจงข้อมูลโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะเนียง จ.หนองบัวลำภู ทั้งในส่วนของการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการขุดลอกครั้งที่ผ่านมาและโครงการที่จะมีการขุดลอกลำน้ำพะเนียงขึ้นใหม่ตลอดทั้งสายน้ำ
 
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นที่ จังหวัดอุดรธานี โดยทางจังหวัดหนองบัวลำภูโดยผู้ว่าฯ ได้มีการนำเสนอโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะเนียงเข้าในการประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งนั้นด้วย โดยที่ชาวบ้านในพื้นที่และผู้มีสิทธิที่ดินตามลำน้ำพะเนียงไม่ทราบข้อมูลและการทำเข้าใจใดๆ ต่อโครงการที่นำเสนอสู่ ครม.สัญจร พร้อมกันนี้ปัญหาผลกระทบจากการขุดลอกในครั้งที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานใดๆ ด้วยเช่นกัน
 
กลุ่มอนุรักษ์ฯ ลำพะเนียงได้แสดงความห่วงใยต่อประเด็นปัญหาดังกล่าวฯ เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่รับทราบข้อมูล และเกรงจะเกิดผลกระทบดังเช่นการขุดลอกครั้งที่ผ่านมา เช่น การสูญเสียที่ดินที่นา การพังทลายของหน้าดินริมตลิ่ง ฝายและสะพานที่เคยใช้ประโยชน์สูญเสียไปพร้อมการขุดลอก ระบบนิเวศตามธรรมชาติสูญหายลดลง จึงต้องการให้ทางผู้ว่าฯ ที่รับผิดชอบในพื้นที่ ได้เปิดเวทีชี้แจงข้อมูลโครงการพัฒนาลำน้ำพะเนียงและการแก้ไขปัญหาผลกระทบในครั้งที่ผ่านด้วย
 
โดยเวลาประมาณ 09.00 น. กลุ่มชาวบ้านได้รวมตัวกันบริเวณลานจอดรถศาลากลางจังหวัด จากนั้นจึงได้มีการส่งตัวแทนชาวขึ้นไปยังอาคารสำนักงานจังหวัด บริเวณชั้น 4 ซึ่งเป็นห้องทำงานของผู้ว่าฯ เพื่อทำความเข้าใจต่อประเด็นที่จะยื่นในวันนี้ โดยมีฝ่ายเลขานุการผู้ว่าฯ มาเจราจา ซึ่งทางชาวบ้านต้องการให้ทางจังหวัดเปิดห้องประชุมเพื่อให้ทางกลุ่มชาวบ้านที่มีประมาณ 80 คน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนรับฟังและเป็นสักขีพยานในการยื่นหนังสือครั้งนี้ด้วย
 
ทางฝ่ายเลขานุการผู้ว่าฯ ได้แจ้งกับตัวแทนชาวบ้านว่าผู้ว่าราชการจังหวัดติดราชการในพื้นที่ จึงขอให้เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายยุทธศาสตร์จังหวัดเข้าร่วมชี้แจงแทน ทางชาวบ้านจึงยอมตกลง และทยอยเข้าห้องประชุมที่ทางจังหวัดจัดให้ แต่เมื่อถึงเวลานัดหมายจริงกลับมีเพียงฝ่ายยุทธศาสตร์จังหวัดเข้าร่วมชี้แจง
 
ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ ลำพะเนียง อ้างว่าการรวมตัวกันยื่นหนังสือในวันนี้ อาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนอนุญาตดำเนินโครงการที่จะมีผลกระทบฯ และมาตรา 67 สิทธิบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรฯ
 
มีข้อเสนอต่อผู้ว่าฯ ในประเด็นดังต่อไปนี้คือ 1. ขอให้เปิดเวทีชี้แจงข้อมูลการแก้ไขปัญหาและการฟื้นฟูลำพะเนียงที่เกิดผลกระทบจากการขุดลอกครั้งที่ผ่านมา และ 2.ขอให้เปิดเวทีชี้แจงข้อมูลโครงการการพัฒนาและการจัดการน้ำในลุ่มน้ำลำพะเนียง โดยจะยื่นเรื่องให้ผู้ว่าฯ ไว้เพื่อนัดหมายวันและเวลาในการเปิดเวทีชี้แจงดังกล่าว หากไม่มีความคืบหน้าก็จะเดินทางมาทวงถามที่ศาลากลางจังหวัดอีกครั้ง
 
“ชาวบ้านต้องการให้มีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนซักถามเพราะที่ผ่านมาชาวบ้านไม่เคยรับรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบนลำน้ำพะเนียงเลย ตอนนี้ชาวบ้านต้องการมีส่วนร่วมในทรัพยากรของตนเองที่ใช้ประโยชน์และพึ่งพิงในวิถีชีวิตอยู่ทุกวัน พร้อมทั้งต้องการให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบแก้ไขปัญหาจากการพัฒนาลำน้ำพะเนียงครั้งที่ผ่านมาด้วย” นายวิเชียร ศรีจันทร์นนท์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง กล่าว
 
ด้าน นายสุรศักดิ์ วงศาโรจน์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดหนองบัวลำภูและเป็นฝ่ายยุทธศาสตร์นโยบายจังหวัดหนองบัวลำภู ตัวแทนรับหนังสือ ชี้แจงต่อชาวบ้านว่า ในการประชุมครม.สัญจร ที่ จ.อุดรธานี นั้น ทาง จ.หนองบัวลำภูได้นำเสนอโครงการต่างๆ ทั้งจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นงบประมาณกว่า 8,000 ล้านบาท ในส่วนของโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาลำน้ำพะเนียง จ.หนองบัวลำภู ของบไปประมาณ 1,800 ล้านบาท
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อตัวแทนชาวบ้านยื่นหนังสือเรียบร้อยแล้ว นายนายสุรศักดิ์ฯ รับปากว่าจะส่งเรื่องต่อให้ผู้ว่าฯ ทันทีเพื่อให้เกิดการเปิดเวทีเกิดขึ้น และจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน เข้าร่วมชี้แจงในเวทีดังกล่าวด้วย
 
“งบประมาณ 1,800 ล้านบาทในการพัฒนาลำน้ำพะเนียง จะเป็นการขอเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบของ จ .หนองบัวลำภู มีทั้งส่วนของการสร้างประตูระบายน้ำ 13 ประตู งบประมาณ 1,300 ล้านบาท และการขุดสระขุดบ่อน้ำในไร่นา และการขุดลอกลำพะเนียงด้วย หนังสือที่ยื่นมานี้จะส่งต่อให้ผู้ว่าเพื่อให้เกิดการเปิดเวทีอย่างเร็วที่สุด” นายสุรศักดิ์กล่าวเพียงสั้นๆ
 
ทั้งนี้ ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง เป็นกลุ่มชาวบ้านที่ก่อตัวขึ้นภายหลังการเกิดผลกระทบจากการขุดลอกลำน้ำลำพะเนียงและเป็นกลุ่มชาวบ้านที่มีที่ดินติดลำพะเนียงรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากลำน้ำลำพะเนียง จ.หนองบัวลำภู ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549 เพื่อรวมตัวกันติดตามนโยบายการจัดการน้ำในลำน้ำพะเนียงและฟื้นฟูผลกระทบจากการขุดลอก
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

10 ปีสุขภาพถ้วนหน้า ระดมถกสู่ความเป็นธรรมยั่งยืน

Posted: 19 Mar 2012 05:14 AM PDT

ภาคีสุขภาพเตรียมจัดประชุมใหญ่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครบ10 ปี หลังพบช่วยลดความเหลื่อมล้ำระบบสุขภาพไม่ต้องล้มละลาย เดินหน้าพัฒนาสู่ความเป็นธรรมและยั่งยืน ระดมนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมกำหนดอนาคตระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อคนไทยทุกคน

นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า  องค์กรด้านสุขภาพทางด้านสาธารณสุขเตรียมจัดประชุมวิชาการเรื่อง “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในทศวรรษที่สอง” ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง” นโยบายรัฐบาลต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”และปาฐกถาเรื่อง “เหลียวหลังแลหน้า ระบบสุขภาพถ้วนหน้า” โดย ศ.พิเศษ ดร.อัมมาร สยามวาลา และหัวข้อสำคัญอีกประการหนึ่งเรื่อง “การเมืองและดุลอำนาจในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” 

ทั้งนี้ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทยในปีนี้เดินหน้ามาถึงเวลา 10 ปีเต็ม ภายใต้เป้าหมายหลัก คือ “การสร้างหลักประกันให้กับคนทุกคนให้สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น และไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย ด้วยบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ประชาชนพอใจ โดยคำนึงถึงเกียรติและศักดิ์ศรีของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน”โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพแก่คนไทยทุกคนที่ไม่มีสิทธิในระบบสวัสดิการของข้าราชการและสิทธิในระบบประกันสังคม

นายแพทย์พงษ์พิสุทธ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)  ระบบหลักประกันสุขภาพในปัจจุบันครอบคลุมประชาชนถึง 48 ล้านคน ช่วงเวลาครบ 10 ปี เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการประเมินผล ด้วยเหตุนี้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก.) จึงได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ดำเนินการประเมินผลระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทยในช่วงทศวรรษแรก (พ.ศ.2545-2554) ผลจากการศึกษาพบว่า ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้เพิ่มขึ้น ลดภาระรายจ่าย และปกป้องครัวเรือนไม่ให้ล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาลที่สูง การประเมินผลครั้งนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต เช่น ควรรักษาและขยายการปกป้องครัวเรือนจากภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล เพื่อลดการจ่ายเมื่อไปใช้บริการ และป้องกันภาระค่าใช้จ่ายที่อาจทำให้ล้มละลายและยากจน

ผอ.สวรส.กล่าวว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสถานพยาบาลภาคเอกชนและประกันสุขภาพเอกชน ควรพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบประกันสุขภาพต่างๆ เพื่อให้ผู้ให้บริการไม่เลือกปฏิบัติ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารระหว่างกองทุน และให้มีการเชื่อมต่อสิทธิเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิของสมาชิกจากสิทธิหนึ่งไปยังอีกสิทธิหนึ่ง อย่างน้อยควรต้องให้ระบบมีมาตรฐานเดียวกันในด้านสิทธิประโยชน์ วิธีจ่ายเงินที่เป็นมาตรฐานและอัตราเดียวกัน ระบบการเรียกเก็บค่าบริการ และระบบตรวจสอบ เป็นต้น

“ผลการประเมินผลดังกล่าวยังไม่ได้เผยแพร่และนำเสนออย่างกว้างขวางมากนัก รวมทั้งการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอนาคต ยังต้องการการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการ ร่วมเรียนรู้ ร่วมคิด และร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาให้มีความชัดเจนขึ้น เพื่อให้การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไปสู่เป้าหมายการดำเนินงานที่วางไว้อย่างสมบูรณ์ ภายใต้การดำเนินงานที่เป็นการเสริมพลังซึ่งกันและกันของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สวรส. จึงได้จัดประชุมวิชาการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในทศวรรษที่สอง ในครั้งนี้ขึ้น” ผู้อำนวยการสถาบันฯกล่าว

ทั้งนี้ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมายังพบว่า ประชาชนได้เข้าถึงยาที่จำเป็น และยาที่มีราคาสูงโดยเฉพาะยาจ.2 ยารักษาจิตเวช ยากำพร้า และยาต้านไวรัสเอดส์ นอกจากนี้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมีผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องกว่า26,000 คน โดยล้างไตประมาณ 14,000 คน และฟอกเลือดประมาณ 12,000 คน นอกจากนี้แล้ว ประชาชนยังได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจกจำนวนมากถึงโดยเฉพาะปี 2554 มีผู้สูงอายุได้รับการผ่าตัดตาต้อกระจกประมาณ 80,000 ราย และทำให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วกว่า 5 ล้านราย ขณะเดียวกัน สปสช.ยังได้ลดค่ายาโดยการจัดซื้อยาหรือเวชภัณฑ์ที่มีราคาและอัตราการใช้สูง เช่น ยาต้านไวรัสเอดส์ ยารักษาโรคหลอดเลือด และยารักษาโรคมะเร็งบางราย ในปี 2551-2553 สามารถประหยัดงบประมาณได้ 1,800 ล้านบาท เป็นต้น

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มหันตภัย ม.นอกระบบฯ

Posted: 19 Mar 2012 05:08 AM PDT

มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ ม.นอกระบบฯ เปรียบเหมือนไวรัสร้ายที่บ่มเพาะตัวในยุคของรัฐบาลซึ่งมาจากคณะรัฐประหาร (คมช.) นั้น   บัดนี้เริ่มเติบโตแพร่ระบาดสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ  จนน่าเป็นห่วงว่าหากรู้ไม่ทัน ไม่กำจัดและป้องกันอย่างจริงจังจะลุกลามต่อไปจนเสียหายเกินแก้  จึงขอให้ข้อมูลเชิงประจักษ์แก่ทุกท่านอันอาจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้บ้าง ดังนี้

1. ที่มาไม่ถูกต้องเพราะผลประโยชน์ทับซ้อน/วาระซ่อนเร้น
กลุ่มผู้ผลักดันเรื่อง ม.นอกระบบฯ ล้วนเป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในมหาวิทยาลัย  เป็นนายก

สภา/กรรมการสภามหาวิทยาลัย  นับตั้งแต่ “นายกฯ เขายายเที่ยง” พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนมากมายคือโต้โผใหญ่ผลักดันมาตั้งแต่ต้น และเมื่อมาดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ. จึงผลักดันเรื่องนี้เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติทันที  นายมีชัย  ฤชุพันธุ์ประธานสภานิติบัญญัติเองก็มีตำแหน่งในสภามหาวิทยาลัยร่วม 10 แห่ง อธิการบดีแทบทุกมหาวิทยาลัยก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ  ล้วนเป็นผู้มีประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเร้น  จึงร่วมกันเร่งผลักดันพรบ. มหาวิทยาลัยนอกระบบฯ ไปได้หลายมหาวิทยาลัย  ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2540 และปี 2550 คือองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาฯ ที่มีอยู่  (ขณะนี้คณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งมีนายประสบ  บุษราคัม เป็นประธาน  ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิก พรบ.ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติตราออกใช้โดยไม่ชอบเหล่านี้ จำนวน 191 ฉบับ)

2. ผลกระทบ
การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบฯ โดยอ้างลอย ๆ ถึงความอิสระคล่องตัวและความเป็นเลิศทาง

วิชาการบังหน้านั้นได้ส่งผลร้ายต่อหน่วยงาน  ระบบราชการ  ข้าราชการและประชาชนจำนวนมาก  ที่ร้ายไปกว่านั้นคือผู้คนส่วนใหญ่มักไม่มีโอกาสหรือช่องทางรับรู้ความจริงอันเลวร้ายของมันได้เท่าที่ควร  เช่น

- การเพิ่มภาระเงินงบประมาณของประเทศโดยไม่จำเป็น ทันทีที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบฯ   

ข้าราชการซึ่งส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในมหาวิทยาลัยซึ่งเปลี่ยนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพิ่มเกือบเท่าตัว  โดยอ้างว่าเพื่อชดเชยการเสียสิทธิจากการเป็นข้าราชการ  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  คนเหล่านี้ยังคงเป็นข้าราชการบำนาญ  ได้รับเบี้ยหวัด และสิทธิทางสวัสดิการสำหรับตนและครอบครัว ได้เช่นเดิม  จึงดูไร้เหตุผลว่าทำไมจึงต้องจ้างคนเดิม  ความรู้ความสามารถ สติปัญญาและคุณธรรมเท่าเดิมโดยใช้เงินมากขึ้น 

- การเพิ่มภาระทางการเงินของนิสิตนักศึกษาและผู้ปกครอง  นอกจากเงินงบประมาณจากรัฐแล้ว

มหาวิทยาลัยนอกระบบฯ ทุกแห่งยังจะต้องหาเงินมาเลี้ยงตัวเองให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น  เพราะบรรดาผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับล้วนได้ปรับเงินค่าตอบแทนตำแหน่งบริหารตามสูตรสารพัดที่จะคิดกันขึ้นมาได้  และเรื่องตลกที่ขำไม่ออกก็คือเงินเดือนและค่าตอบแทนเหล่านี้มีการออกระเบียบว่าเป็นความลับ  ผู้ใดเปิดเผยถือว่ากระทำผิดวินัยขั้นร้ายแรง  ว่ากันว่า ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจะได้รับเงินแต่ละเดือนมากกว่าเงินเดือนนายกรัฐมนตรีเสียอีก  จึงเป็นที่มาของการขึ้นค่าเรียนและค่าธรรมเนียมทุกประเภท  บางมหาวิทยาลัยก็เลี่ยงไปขึ้นราคาทางอ้อมไม่ให้รู้ตัวโดยเก็บค่าเรียนแบบเหมาจ่าย  ซึ่งผู้ที่รับกรรมไปเต็ม ๆ ก็คือผู้ปกครองและบุตรหลานตาดำ ๆ นั่นเอง

- การสร้างสังคมธุรกิจการศึกษาลดคุณค่าปริญญา  เมื่อมหาวิทยาลัยต้องใช้เงินมากขึ้น  การขึ้น

ราคาเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเพียง  จึงต้องแข่งขันกันแย่งลูกค้า  ขยายอาณาเขตเปิดสอนไปทั่วทั้งในเมืองชนบท  เละเทะกันถึงขนาดไปกว้านหาลูกค้ากันไปถึงประเทศด้อยพัฒนารอบข้าง  รับไม่อั้น  โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ  ดังที่มีสมาคมวิชาชีพบางแห่งออกมาประกาศไม่รับรองมาตรฐานบางคณะ  บางสาขาวิชา  เล่นเอาหน้าแตกต้องขายผ้าเอาหน้ารอด  แก้ตัวกันจ้าละหวั่น  น่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศที่อุดมไปด้วยบัณฑิตด้อยคุณภาพ  ถ้ายังปล่อยให้ทำธุรกิจการศึกษากันแบบนี้ 

-  การทำลายทรัพยากรบุคคล   ไม่น่าเชื่อว่าอาจารย์พนักงานมหาวิทยาลัยนอกระบบฯ ทุกวันนี้มี

สภาพไม่ต่างอะไรกับลูกจ้างที่ต้องคอยพะวงกับการต่อสัญญาจ้าง  ต้องยำเกรงไม่ขัดใจนายจ้าง  และอาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำตรงที่พรบ.มหาวิทยาลัยนอกระบบฯ กำหนดให้ไม่มีสหภาพพนักงานเพื่อปกป้องเรียกร้องสิทธิให้พนักงาน  นอกจากนี้มหาวิทยาลัยนอกระบบฯ เกือบทุกแห่งยังกีดกันห้ามข้าราชการเป็นผู้บริหาร  แม้ว่าจะมีความรู้  ความสามารถและประสบการณ์เพียงใดก็ตาม  จึงปรากฏว่าหลายคณะ หลายภาควิชาต้องเอาพนักงานที่ด้อยทั้งคุณวุฒิ  ความสามารถและประสบการณ์มาบริหาร  ซึ่งดูจะเป็นที่พึงพอใจของผู้บริหารระดับสูง อาจเป็นเพราะอ่อนน้อม  เชื่อฟัง  ยำเกรง  ต่างกับข้าราชการซึ่งไม่สามารถทำกับเขาตามอำเภอใจได้  เพราะมีกฎหมายข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยกำกับอยู่ 

- การทำลายระบบคุณธรรม   ดังคำกล่าวที่ว่า “ชนชั้นใดออกกฎหมาย  ย่อมเป็นไปเพื่อชนชั้น

นั้น”  มหาวิทยาลัยนอกระบบฯ ทุกวันนี้จึงมีกฎระเบียบแปลก ๆ ออกมา เช่น การตั้งคณะหรือหน่วยงานใหม่ ๆ แปลก ๆ ที่ไม่จำเป็น  เพียงเพื่อให้มีตำแหน่งเป็นบำเหน็จรองรับพวกพ้อง  และเพื่อให้มีสิทธิมายกมือเลือกกันเองในตำแหน่งต่าง ๆ เข้าทำนองแบบ“สภาเกาหลัง” การก้าวกระโดดไปรับเงินเดือนสูงกว่าเดิมของผู้บริหารที่มาจากอาจารย์ซึ่งไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ  การได้รับเงินเดือนในระดับสูงต่อเนื่องแม้เมื่อพ้นตำแหน่งผู้บริหารและกลับมาอยู่ในสายวิชาการ  รวมทั้งการให้ได้รับเงินค่าตอบแทนตำแหน่งทางวิชาการ(เดิมผู้บริหารต้องเลือกรับค่าตอบแทนตำแหน่งบริหารหรือวิชาการเพียงอย่างเดียว  จึงกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารไว้สูง) ควบกับค่าตอบแทนตำแหน่งบริหาร  โดยงดเว้นไม่ต้องทำภาระงานวิชาการ(ตรงนี้สตง.ควรสนใจเข้ามาตรวจสอบบ้างเพราะน่าจะผิดกฎหมายเรื่องเงินประจำตำแหน่งซึ่งให้เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น)  นี่ยังไม่รวมถึงการออกกฎ/ระเบียบกีดกัน  เลือกปฏิบัติกับข้าราชการอีกหลายเรื่อง

- การทำลายสังคมไทย   มหาวิทยาลัยนอกระบบฯ จะกีดกันคนชั้นกลางและคนยากไร้  ให้ด้อย

โอกาสเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา  ทุนนิยมจะครอบงำการผลิตบัณฑิต  อนาคตของชาติจะมีแต่บัณฑิตที่มาจากครอบครัวร่ำรวย  มีเงิน  จ่ายแพง  รีบจบเพื่อมาถอนทุน  ไม่มีเวลาคิดถึงส่วนรวม  ลูกศิษย์คือลูกค้า  ครูอาจารย์จะกลายเป็นผู้รับจ้างสอน  ไม่มีความรักความผูกพันฉันท์ศิษย์กับครู  บทบาทของมหาวิทยาลัยในการชี้นำสิ่งที่ถูกต้องแก่สังคม เช่น ยุค 14 ตุลาฯ ก็จะเลือนหาย

3. แนวทางแก้ไข 
การแก้ปัญหา ม.นอกระบบฯ ต้องแก้ที่สาเหตุ  และดูจะไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากถูกละเลยมาหลายปี 

แต่ถ้าไม่เริ่มวันนี้ก็จะยิ่งแก้ยากยิ่งขึ้น  เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น  ผู้นำรัฐบาลต้องมีสติรู้เท่าทันไม่หลงไปกับวาทกรรมสวยหรูที่ลวงให้เข้าใจว่า  การออกนอกระบบจะเกิดผลดีต่ออุดมศึกษาและประเทศไทย  ต้องเริ่มต้นแก้ไขกฎหมายเพื่อประชาชนก่อนทำเพื่อคนในครอบครัว  และต้องให้สัญญาณไฟแดงกับสารพัดมหาวิทยาลัยที่ผู้บริหารเห็นเขาบริโภคกันจนอิ่มแปล้ก็เริ่มลูบท้องร้องจะออกนอกระบบบ้าง  เช่น บางมหาวิทยาลัย ที่ไม่มีปัญญาแก้ปัญหาอาจารย์ลวนลามนิสิต  ตัดเกรดตามความสวย ดังที่เป็นข่าว  จงสำรวจตัวเองก่อนว่าบริหารงานแบบนี้  ยังมีหน้าอยากจะออกนอกระบบกับเขาด้วย  เรื่องนี้ขอจบด้วยคำว่า “ม.นอกระบบฯ   จุดจบของชาติ  ตัดโอกาสคนจน”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกัน ‘ดา ตอร์ปิโด’ เกรงหลบหนี

Posted: 19 Mar 2012 04:59 AM PDT

 

เมื่อวันที่ 16 มี.ค.55 นายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวว่า ในวันนี้เขาได้เดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ต เพื่อมาฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์หลังจากยื่นคำร้องไปเมื่อ 3 วันก่อน โดยศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่า “พิเคราะห์แล้วคดีนี้ศาลชั้นต้น สั่งคำจำคุกจำเลย มีกำหนด 15 ปี จำเลยเคยยื่นคำร้องของปล่อยชั่วคราวต่อศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มาแล้วหลายครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาต จำเลยมายื่นในครั้งนี้อีก ทั้งพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณามาแล้ว นับว่าร้ายแรง หากให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยอาจหลบหนีได้ จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้ยกคำร้อง แจ้งเหตุผลการไม่อนุญาตให้จำเลยทราบโดยเร็ว” ลงชื่อผู้พิพากษา นางอารีย์ เตชะหรูวิจิตร นายสิทธิพร บุญฤทธิ์ นางวาสนา อัจฉรานุวัฒน์

 

กิตติชัยกล่าวว่า การยื่นประกันตัวครั้งนี้ใช้เงินสด 1.44 ล้านบาทของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ดารณีถูกคุมขังมาหลายปีแล้วตั้งแต่ชั้นสอบสวนกระทั่งระหว่างสู้คดี ยื่นประกันหลายครั้งแต่ไม่เคยได้รับการประกันตัว ขณะที่สุขภาพก็ย่ำแย่เนื่องจากเป็นโรคขากรรไกรยึดติด ยังไม่ได้รับการผ่าตัดรักษา ทำให้ไม่สามารถทานอาหารของเรือนจำได้ ต้องซื้ออาหารทางเอง และเขาก็ไม่มีเงินสำหรับส่งเสียรายเดือนให้น้องสาว จึงอาศัยเพียงเงินบริจาค ผู้ใดที่สนใจช่วยเหลือดารณี สามารถบริจาคได้ที่บัญชีออมทรัพย์ ชื่อ นายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนพูนผล  เลขที่บัญชี 297-1-25805-5, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาภูเก็ต เลขที่บัญชี 537-406116-0, ธนาคารกรุงเทพ สาขาภูเก็ต เลขาที่บัญชี 264-4-40298-0 ติดต่อที่เบอร์ 085 4263555

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 11 - 17 มี.ค. 2555

Posted: 19 Mar 2012 04:53 AM PDT

 

เร่งช่วยแรงงานไทยอิสราเอล-ปาเลสไตน์ปะทะเดือด 

เมื่อวันที่ 11( มี.ค.) นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทย 4 คน ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่ประเทศอิสราเอลใช้ปฏิบัติการทางอากาศโจมตี ฉนวนกาซาของปาเลสไตน์อย่างหนัก เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทล-อาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้รุดเข้าไปดูแลและให้ความช่วยเหลือคนไทยกลุ่มดังกล่าวแล้ว ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยฯรายงานมายังกระทรวงการต่างประเทศว่าแรงงานไทยทั้ง 4 คนเข้าไปทำงานในภาคการเกษตร โดยรับลูกหลงจากเหตุการณ์ปะทะดังกล่าว และทั้งหมดถูกส่งไปรักษาพยาบาลทันทีหลังจากเกิดเหตุ โดยคนไทย 3 คนบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ขณะที่คนไทย 1 คนต้องพักรักษาตัวในห้องไอซียู ซึ่งล่าสุดยังไม่ได้สติ ทั้งนี้ แรงงานกลุ่มดังกล่าวเข้าไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และนายจ้างเข้าไปดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล โดยมีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทล-อาวีฟให้การช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เราได้แจ้งข่าวให้ญาติของคนไทยที่บาดเจ็บได้ทราบเรียบร้อยแล้ว

(เดลินิวส์, 11-3-2555)

แฉหลอกทำงานซาอุฯให้ถือวีซ่าท่องเที่ยว

เชียงใหม่ - นางพรรณวดี พลอยทับทิม จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย แจ้งว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2553 บริษัทผลิตพรมในประเทศซาอุดีอาระเบีย นำเข้าแรงงานไทยจำนวนประมาณ 15 คน ซึ่งเดินทางไปทำงานโดยใช้วิธียื่นขอรับการตรวจลงตราประเภทเยี่ยมดูงาน สามารถพำนักอยู่ในซาอุดีอาระเบียได้ 30 วัน และนายจ้างสัญญาว่าจะดำเนินการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราให้เป็นประเภททำงาน รวมทั้งขอใบอนุญาตทำงานให้ในภายหลัง ซึ่งจนถึงปัจจุบันบริษัทดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินการตามที่สัญญา ไว้ได้

จึงส่งผลให้แรงงานไทยกลุ่มดังกล่าวมีสถานะเป็นแรงงานผิดกฎหมายและอาจประสบปัญหาความยุ่งยากหากประสงค์จะเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยด

ทั้งนี้ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ยังคงนโยบายระงับการตรวจลงตราประเภททำงานให้กับบุคคลสัญชาติไทย

ขอแจ้งเตือนประชาชนคนหางานที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย อย่าได้หลงเชื่อคำเชิญชวนจากบุคคลใดว่าสามารถพาเข้าไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย ในลักษณะดังกล่าวได้ด และหากมีผู้แอบอ้างว่าสามารถจัดส่งไปทำงานซาอุดีอาระเบียด้วยวิธีการใดวิธี การหนึ่ง ขอให้ตรวจสอบข้อมูลและติดต่อสอบถามสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0-5311-2744-46 ต่อ 19, 20

(ข่าวสด, 11-3-2555)

รมว.แรงงาน สั่งตั้งกรรมการสอบการเรียกเก็บค่าบริการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลสูงเกินจริง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งตั้งกรรมการสอบการเรียกเก็บค่าบริการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลสูงเกิน จริง เปิดเผย สั่งพ้นตำแหน่งข้าราชการระดับ 9 ไปจนถึงระดับ 7 หลังสอบพบขบวนการกินค่าหัวคิวแรงงานเกินกฎหมายกำหนด รายละ 3-4 แสนบาท

นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีปัญหาร้องเรียนการเก็บค่าบริการ (ค่าหัวคิว) แรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ว่า ขณะนี้นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีคำสั่งให้นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่มีนายโชคชัย ศรีทอง รองอธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นประธาน เพื่อหาข้อเท็จจริง แต่เบื้องต้นเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความโปร่งใส และไม่มีอะไรติดขัด ได้สั่งย้ายนายสุทธิ สุโกศล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ออกจากตำแหน่งดังกล่าวไว้ก่อน รวมถึงได้เรียกนางอรัชพร เทพวัลย์ อัครราชทูตฝ่ายแรงงานไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล กลับมาประจำประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้สั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 8 ลงไป อีก 3-4 คน

นายสง่า กล่าวว่า จากการสอบสวนในเบื้องต้นพบว่าเรื่องนี้ทำเป็นขบวนการ โดยมีข้าราชการและบริษัทจัดหางานรู้เห็นเป็นใจ เปิดช่องให้มีการเก็บค่าหัวคิวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด สูงถึงรายละ 3-4 แสนบาท ทั้งที่กฎหมายระบุให้จัดเก็บไม่เกินคนละ 180,000 บาท แต่หากว่าจัดส่งด้วยรูปแบบรัฐต่อรัฐ จะเสียค่าหัวถูกลงเฉลี่ยไม่เกิน 60,000 บาทเท่านั้น

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 12-3-2555)

จัดหางานชะลอการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศลิเบีย

นายปรีชา อินทรชาธร จัดหางานจังหวัดยโสธร เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศลิเบีย ยังไม่มีความปลอดภัยต่อการดำเนินชีวิตตามปกติของประชาชน และสถานการณ์การจ้างงานยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของแรงงานไทย และเพื่อป้องกันมิให้แรงงานไทยได้รับความเดือดร้อนขณะทำงานในประเทศลิเบีย กรมการจัดหางานจึงได้ชะลอการจัดส่งแรงงานไทย ไปทำงานในประเทศลิเบียออกไปก่อน

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ขอความร่วมมือกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาว่า พื้นที่ใดของประเทศลิเบียมีความปลอดภัยต่อการเข้าไปทำงานของแรงงานไทย และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลี สามารถพิจารณารับรองความเหมาะสมของสภาพการจ้างของนายจ้างได้แล้ว กรมการจัดหางานจะได้พิจารณาอนุญาตการเดินทางไปทำงานในประเทศลิเบียต่อไป หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดยโสธร เลขที่ 98 หมู่ที่ 22 ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร หมายเลขโทรศัพท์ 045-722057

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 12-3-2555)

รง.เล็งปรับค่าจ้าง 20%ประเดิมหัวหน้า-ฝีมือ

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า โรงงานอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างจัดทำแผนที่จะปรับฐานค่าจ้าง 15-20% แก่แรงงานระดับหัวหน้างาน ช่างฝีมือ และกลุ่มทำงานมานาน ซึ่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 500,000-1 ล้านคน เพื่อให้ฐานเงินเดือนของกลุ่มนี้ห่างจากแรงงานระดับล่าง หลังจากที่นโยบายปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 40% และนำร่องค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทใน 7 จังหวัด ของรัฐบาลมีผลบังคับใช้วันที่ 1 เม.ย.55

"หากไม่มีการปรับฐานเงินเดือนให้กับหัวหน้างานหรือระดับช่างฝีมือก็จะทำ ให้แรงงานระดับล่างบางโรงงานมีค่าจ้างที่ใกล้เคียงหรือเท่ากัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในโรงงานได้ หากเป็นแบบนี้ก็จะทำให้แรงงานฝีมืออาจย้ายไปอยู่โรงงานที่ให้ค่าจ้างสูงๆ มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแรงงานกลุ่มนี้มีไม่มากเพียง 10-20% ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบที่มีอยู่ 5.5 ล้านคน"

นอกจากนี้ผลการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ่าย ค่าจ้างให้พนักงานเพิ่มอีกเฉลี่ยปีละ 60,000 ล้านบาท หรือจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าในภาพรวมเพิ่ม 3-6% ซึ่งอาจทำให้ผู้ผลิตสินค้าในบางประเภทจำเป็นต้องปรับราคาเพิ่มอีก 3-6% เช่นกัน ยกเว้นสินค้าที่มีการแข่งขันสูง เพราะหากมีการปรับราคาอาจทำให้เสียเปรียบคู่แข่งได้

(บ้านเมือง, 12-3-2555)

"เผดิมชัย"ปูดขบวนการงาบค่าหัวคิวแรงงานไปอิสราเอล ฟาดเละ 6พันล้าน เก็บหลักฐานส่งปปช.-ดีเอสไอ

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า ขณะนี้กำลังเร่งตรวจสอบการทุจริตจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศอิสราเอลพบมีการกินค่าหัวคิว 300,000-400,000 บาทต่อคน ทำให้แรงงานต้องไปกู้เงินนอกระบบเป็นหนี้สิน ขณะที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายจริงไม่ถึง 100,000 บาท ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการส่งแรงงานไทยไปแล้วไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 คน ได้ค่าหัวคิวรายละ200,000 บาท รวมแล้วประมาณ 6,000 ล้านบาท

นายเผดิมชัยกล่าวว่า  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งแรงงานไปอิสราเอลมีทั้งข้าราชการประจำ และนักการเมืองน่าจะมีส่วนรู้เห็นด้วย สัปดาห์ที่ผ่านมาสั่งตรวจสอบข้าราชการพัวพันตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลกับครอบครัวและญาติของแรงงานที่เดินทางไปปอิสราเอลใน 7 อำเภอพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมเก็บบันทึกภาพและเสียง เพื่อรวบรวมข้อมูลส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)
 
นายเผดิมชัยกล่าวว่า นอกจากประเทศอิสราเอลมีคนเดินทางไปทำงานประมาณ 10,000 คนต่อปีแล้ว ตอนนี้กำลังตรวจสอบประเทศอื่น ๆ เช่น ไต้หวันเก็บค่าหัวคิวราว 70,00-80,000 บาทต่อคน
 
"ผมกำลังรอตัวเลขที่ชัดเจนอีกนิดหนึ่งและจะแถลงข่าว ใครมาวิ่งเต้น ผมไม่ให้ เพราะทนไม่ได้เรื่องพวกนี้ ตอนที่เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีใหม่ ๆ นโยบายผมเน้นหนัก คือ เรื่องการไปต่างประเทศ คนอีสานไปทำงานเรามักได้ยินกันว่า เสียนา เสียเมีย  เสียน้ำตา คำเหล่านี้มันต้องหมดไป วันนี้ผมจะทำให้ตรงนั้นเป็นจริงไม่ใช่วัวหายแล้วล้อมคอก"นายเผดิมชัยกล่าว และว่า
 
"เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ช็อก และใหญ่มาก  ผมเข้าไปทลายแก๊งเลย มันอันตรายกับผม เพราะในอดีตร่วมกันทำทั้งข้าราชการ นักการเมือง แต่ผมไม่พูดว่าใคร ป.ป.ช.และดีเอสไอไปตรวจกันเองกับบริษัทพวกนี้ ในยุคเราต้องไม่มี"

นายเผดิมชัยกล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีหนังสือสอบถามไปทางอิสราเอลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจริงที่ใช้ใน การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงาน เนื่องจากเวลาตรวจสอบไล่เบี้ยกับผู้เกี่ยวข้องอ้างว่าคิดค่าหัวรายละ 300,000-40,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางฝ่ายอิสราเอลเรียกเก็บ ส่วนใครรับเงินนั้นไม่รู้ ต้องสอบถามไปทางอิสราเอลว่า มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพือให้ทราบว่าต้นทุนแท้จริงเท่าไหร่

"ผมอยากถามว่า คุณมีความเป็นมนุษย์หรือไม่ เงินค่าหัวคิว 400,000 บาท แรงงานที่ไปต้องถามให้ชัดเจนว่า ได้เงินเดือนเท่าไหร่ สมมติได้เงินเดือน ๆ ละ30,000 กว่าบาท ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ สมมติเหลือเงินส่งให้ทางบ้าน 15,000 บาท พ่อแม่ต้องนำเงินตรงนี้ไปผ่อนเงินกู้นอกระบบ 300,000-400,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาท ยกตัวอย่าง ทำงาน 10 เดือนได้เงิน 150,000 บาท แล้วคุณโกงไป 400,000 บาท หากคนงานทำงาน 1-2 ปี แล้วกลับมายังเป็นหนี้ หัวใจคุณทำด้วยอะไร เท่ากับไปทำงานต่างประเทศไม่ได้อะไร กลับมาแล้วยังเป็นหนี้"นายเผดิมชัยกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า เรื่องนี้โยงถึงนักการเมืองด้วยใช่หรือไม่ นายเผดิมชัย กล่าวว่า ไม่รู้  นักการเมืองอาจจะไม่เห็นก็ได้  แต่ถ้าไม่รู้เห็นด้วยก็ยากแล้ว ตอนนี้สั่งให้หยุดส่งแรงงานไปอิสราเอลทันที ห้ามทุกบริษัท ส่วนใครจะเสนออย่างไรก็ต้องหยุด เพื่อจัดระบบใหม่ 
 
นายเผดิมชัย กล่าวต่อไปว่า ทางกระทรวงฯกำหนดนโยบายจัดระบบใหม่ เรียกเจ้าหน้าที่แรงงาน 77 จังหวัดที่ประกอบด้วย 5 หน่วยงาน ได้แก่ แรงงานจังหวัด กรมการจัดหางานจังหวัด สวัสดิการจังหวัด กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และประกันสังคม เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ต่อไปใครเป็นนายหน้าจัดหาคนงานต้องนำแรงงานไปที่กรมการจัดหางานจังหวัด นายหน้าจะได้รับตอบแทน5,000 บาท แต่ต้องจัดปฐมนิเทศคราวละ 500-1,000 คน แล้วจัดส่งไปทีละชุด ทั้งนี้ได้กำหนดต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมแรงงานไทยไปอิสราเอลประมาณ  100,000 บาทไม่เกิน 120,000 บาท
 
นายเผดิมชัยกล่าวว่า สำหรับค่าใช้จ่าย 100,000 บาท แรงงานไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบ 300,000-400,000 บาท ทั้งนี้ทางประกันสังคมจะออกค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ซื้อตั๋วเครื่องบิน โดยทางแรงงานมาลงนามทำบันทึกข้อตกลงที่กรมการจัดหางานจังหวัด 

(มติชนออนไลน์, 12-3-2555)

เผยลูกจ้าง 160,000 คน ยังไม่กลับเข้าทำงาน แนะรีบสมัครเข้าโครงการ เพื่อนช่วยเพื่อน

ก.แรงงาน 13 มี.ค.- นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีที่ยังมีลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม จำนวน 163,712 คน จากสถานประกอบการจำนวน 283 แห่ง ยังไม่ได้กลับเข้าทำงานว่า จากการตรวจสอบสถานประกอบการเหล่านี้ยังไม่ได้มีนโยบายเลิกจ้างคนงาน และยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 75 สาเหตุส่วนหนึ่งมาปัญหาในทางธุรกิจ รวมถึงความไม่มั่นใจในแผนป้องกันน้ำท่วมของรัฐบาล จึงซื้อเวลาเพื่อรอความชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การหยุดงานเป็นเวลานานโดยได้รับค่าจ้างเพียงร้อยละ 75 ทำให้คนงานหลายคนเดือดร้อน เพราะรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีพ จึงขอแนะนำให้ลูกจ้างที่นายจ้างยังไม่เปิดงาน รีบสมัครเข้าโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนที่จะช่วยรองรับลูกจ้าง ให้ไปทำงานในสถานประกอบการที่มีความพร้อม ในระหว่างรอการเปิดงานของสถานประกอบการเดิม โดยไม่ต้องลาออก และสามารถรับค่าจ้างได้ 2 ทาง โดยปัจจุบันโครงการ เพื่อนช่วยเพื่อนยังคงมีความต้องการลูกจ้างมากกว่า 80,000 อัตรา ในสถานประกอบการ 702 แห่ง รวม 44 จังหวัด  สำหรับยอดรวมตัวเลขการเลิกจ้างล่าสุด มีสถานประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างไปแล้วรวม 51,520 คน ในสถานประกอบการ 136 แห่ง โดยมี พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดที่มีการเลิกจ้างมากที่สุดถึง 32,116 คน รองลงมาคือ ปทุมธานี 18,706 คน

(สำนักข่าวไทย, 13-3-2555)

อธิบดีกรมสวัสดิการฯ ยืนยัน คนงาน โตชิบา” 4,000 คน ไม่ถูกเลิกจ้าง

ก.แรงงาน 13 มี.ค.- อธิบดีกรมสวัสดิการฯ ยืนยันคนงาน โตชิบา” 4,000 คน ไม่ถูกเลิกจ้าง เผยส่งเจ้าหน้าที่คอยดูแลแล้ว ยืนยันหากไม่เปลี่ยนสภาพการจ้าง สามารถรับเข้าทำงานต่อได้เลย โดยไม่ต้องเลิกจ้าง
 
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าในการควบรวมกิจการของ บริษัท โตชิบา สตอเรจ ดีไวส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือฟุจิซึกรุ๊ปเดิม กับบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล(ประเทศไทย) จำกัด ภายหลังได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย ส่งผลให้คนงานบริษัทโตชิบาฯ กว่า 4,000 คน ได้รับผลกระทบ โดยหลายคนกังวลว่าจะต้องถูกเลิกจ้างว่าในเวลา 15.00 น. วันนี้ ตัวแทนทั้งบริษัท ได้นัดชี้แจงกับคนงานที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี ซึ่งตนได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไปคอยสังเกตการณ์ แล้ว เบื้องต้น ได้รับรายงานว่าบริษัทเวสเทิร์นฯ ยืนยันจะไม่มีการเลิกจ้าง และรับเข้าทำงานต่อทั้งหมด จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น ยกเว้นคนงานบางคนที่อาจต้องการให้มีการเลิกจ้างเพื่อขอรับเงินชดเชยตามอายุ การทำงาน เพราะมองว่าจะไม่ได้ประโยชน์จากการนับอายุงานต่อเนื่อง เพราะอายุงานเกิน 10 ปีไปแล้ว ดังนั้น จึงต้องมีการเจรจากับทางบริษัทต่อไป ว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ หากไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้นก็ไม่สามารถนำมาอ้างว่าถูกเลิก จ้างได้
 
ด้านน.ส.สดศรี ทองมาก กรรมการสหภาพแรงงาน ฟูจิตสึ กรุ๊ป แห่งประเทศไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่บริษัทหยุดงานเนื่องจากน้ำท่วมตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 5 เดือนแล้ว ที่บริษัทจ่ายค่าจ้างให้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ต้องทำงาน อย่างไรก็ตาม บริษัทแจ้งว่าจะจ่ายค่าจ้างจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้เท่านั้น ทำให้คนงานกังวลถึงอนาคตซึ่งยังไม่มีความชัดเจน เพราะล่าสุด โรงงานซึ่งเคยถูกน้ำท่วม ได้ถูกโยกย้ายเครื่องจักรออกไปจนหมดแล้ว

(สำนักข่าวไทย, 13-3-2555)

ก.แรงงาน ชง ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม เข้า ครม.เน้นขยายสิทธิประโยชน์

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง..) เปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.....ซึ่งแก้ไขปรับปรุงจาก พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว และเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา แต่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไม่ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ทำให้ร่างกฎหมายต้องตกไปในที่สุด
      
ทั้งนี้ ตนจึงได้ให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นำร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณากฎหมายของกระทรวงแรงงาน เมื่อผ่านความเห็นชอบก็จะเสนอต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) เพื่อพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) และหาก ครม.ให้ความเห็นชอบก็จะส่งไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบเนื้อหาร่างกฎหมาย หลังจากนั้น ก็เสนอเข้าสู่สภาฯต่อไป
      
นายโกวิท สัจจวิเศษ ผอ.กองนิติการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ....ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณากฎหมายของกระทรวงแรงงานแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของ รมว.รง.เพื่อนำเข้า ครม. ทั้งนี้ สาระสำคัญหลักๆ ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ได้แก่ 1.การขยายการคุ้มครองของระบบประกันสังคมไปสู่ลูกจ้างหน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวัน 2.การขยายนิยามคำว่าทุพพลภาพโดยผู้ประกันตน ซึ่งสูญเสียอวัยวะถึงขั้นทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนโดยไม่ต้องเป็นผู้ที่ทุพพลภาพโดยสิ้นเชิง
      
3.กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติสามารถลด หรืองดการเก็บเงินจากการค้างจ่ายเงินสมทบของนายจ้าง ซึ่งกฎหมายกำหนดค่าปรับไว้ที่ร้อยละ 2 ของยอดเงินค้างชำระแต่ละเดือน 4.กรณีขยายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม โดยลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างเลยในช่วงหยุดงานจากปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากนายจ้างประสบปัญหาทางการเงิน หรือภาวะขาดทุนจนไม่สามารถจ่ายเงินค่าจ้างได้เลย ทางกองทุนประกันสังคมก็จะจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง โดยจะพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นของนายจ้าง รวมทั้งพิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป
      
5.การกำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีทายาท คู่สมรส หรือญาติรับสิทธิประโยชน์บำเหน็จชราภาพแทนเมื่อเสียชีวิตสามารถทำหนังสือให้ ผู้ใดก็ได้เป็นผู้รับสิทธิประโยชน์นี้แทน และ 6.ขยายการรับสิทธิประโยชน์ทดแทนทุกกรณีจาก 1 ปี เป็น 2 ปี
      
นายโกวิท กล่าวอีกว่า การขยายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้แก่ลูกจ้างประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเลยในช่วงที่หยุดงานจากปัญหาน้ำท่วมนั้น จะต้องเกิดจากนายจ้างที่ประสบปัญหาอย่างหนักจริงๆ กระทั่งไม่มีกำลังจ่ายค่าจ้างเลย และจะต้องพิจารณาข้อมูลหลักฐานและพิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นรายกรณีไป ไม่ใช่อยู่ๆ สปส.จะไปจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างที่ว่างงานเลยทันที เพราะตามมาตรา 75 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างกรณีให้ลูกจ้างหยุดงาน เนื่องจากเหตุฉุกเฉิน เช่น ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
      
หากร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้ผ่านสภาฯและมีผลบังคับใช้ทางสปส. ก็จะต้องมาจัดทำร่างกฎกระทรวงรองรับ ซึ่งจะต้องมาจัดทำรายละเอียดว่า จะจ่ายเงินกรณีว่างงานกี่เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง และจ่ายเป็นเวลากี่เดือนนายโกวิท กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 13-3-2555)

ผอ.สรต.ปัดเอี่ยวกินหัวคิวแรงงานไทยไปอิสราเอล

วานนี้ (13 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีการเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยไปทำงานที่ อิสราเอล โดยล่าสุดมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานไทยที่ไปทำ งานอิสราเอล และได้มีการสั่งย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่ง ว่า จากการสัมภาษณ์นายสุทธิ สุโกศล ผอ.สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ (สรต.) กรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นหนี่งในข้าราชการที่ถูกคำสั่งย้าย โดยเป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา
      
ทั้งนี้ นายสุทธิ ได้ชี้แจงว่า ตนยังไม่เห็นหนังสือคำสั่งย้ายอย่างเป็นทางการ และยืนยันว่า ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขบวนการเรียกเก็บเงินค่าหัวคิวแรงงานไทยที่ไป ทำงานที่อิสราเอล ซึ่งการดำเนินการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลก็เป็นไปตามระเบียบของ กกจ.ที่กำหนดไว้
      
ส่วนกรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องการจัดส่งแรงงาน ไทยไปอิสราเอลถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็จะมีการตรวจสอบโครงการเก่าๆ ของรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งตนก็พร้อมที่จะให้ตรวจสอบและขอยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่อง นี้ อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ทางโทรศัพย์พิ่มเติมในวันนี้ (13 มี.ค.) ถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจาก นายสุทธิ ไม่รับสายแต่อย่างใด
      
ด้านนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า กกจ.ได้เตรียมการแก้ปัญหาการเรียกเงินค่าหัวคิวและนายหน้าเถื่อนหลอกลวงแรง งานไทยไปทำงานต่างประเทศ โดยจะมีการนำร่องจัดตั้งศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จให้แก่แรงงานไทยที่จะไป ทำงานต่างประเทศ ภายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กซี โลตัส ทั้งในเรื่องตำแหน่งงานในแต่ละประเทศ บริษัทจัดหางานที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานจะหมุนเวียน กันเข้ามา ให้คำปรึกษาแก่แรงงานไทย
      
รวมทั้งจะมีเจ้าหน้าที่ของธนาคาร เช่น กรุงไทย, ออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ฝากเงินไว้ มาตั้งโต๊ะคอยให้บริการเงินกู้เพื่อไปทำงานต่างประเทศ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ และผ่อนชำระหนี้คืนผ่านการหักเงินเดือน ซึ่งตั้งเป้าจะนำร่องในจังหวัดอุดรธานี, ขอนแก่น และ นครราชสีมา คาดว่า จะเปิดทำงานได้ภายในเดือน พ.ค.นี้
      
เราตั้งเป้าเปิดศูนย์บริการเบ็ดเสร็จให้ครอบคลุมในกว่า 20 จังหวัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เพื่อให้แรงงานได้มาพบพูดคุยกับบริษัทจัดหางานที่มีตัวตนจริงๆ และได้มาตรฐานโดยตรง รวมทั้งได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อไปทำงานต่างประเทศ เชื่อว่า วิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหานายหน้าเถื่อน และบริษัทจัดหางานเถื่อน ซึ่งเรียกเก็บค่าหัวคิวและหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งให้ทูตแรงงานของกระทรวงแรงงานเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่แต่ละประเทศเก็บเพิ่มเติมจากแรงงานไทย เช่น ค่าล่าม ค่าที่พัก ค่าดูแลคนงานต่างๆ โดยจะหันมาใช้ระบบรัฐต่อรัฐมากขึ้นอธิบดี กกจ.กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 14-3-2555)

เตือนคนหางานงดเดินทางเข้ามาเลเซีย หลังเจ้าหน้าที่กำลังกวาดล้างแรงงานผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด

นางสาวรัตนา อุทัยรัตน์ จัดหางานจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลประเทศมาเลเซียและรัฐบาลส่วนท้องถิ่นของรัฐซาราวัก ได้เปิดโอกาสให้แรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมายไปลงทะเบียนเพื่อขอรับนิรโทษกรรม ขณะนี้ได้หมดเวลาลงแล้ว ทางการมาเลเซีย และรัฐซาราวักกำลังปฏิบัติการกวาดล้างแรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมายอย่างเข้ม งวด โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจ ทหาร ร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ด้วย

ดังนั้น จึงขอแจ้งเตือนประชาชนและคนหางานที่จะเดินทางไปยังประเทศมาเลเซีย ขอให้งดการเดินทางที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือเดินทางเข้าไปแล้วแต่ไปลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต มิฉะนั้นจะถูกทางการเมเลเซียจับกุมและดำเนินคดี และ/หรือถูกเนรเทศออกนอกประเทศ นอกจากนี้แล้วยังจะเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ด้วย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 14-3-2555)

ทีดีอาร์ไอ. แนะฟื้นฟูโรงงานน้ำท่วมหันใช้เทคโนโลยี- ลดใช้ต่างด้าว

ทีดีอาร์ไอแนะใช้โอกาสเปิดเสรีอาเซียนส่งออกแรงงานไทยระดับป.ตรี ลดว่างงาน เปิดตลาดแรงงานระดับบนในต่างประเทศ  ส่วนแรงงานระดับล่างที่ยังต้องพึ่งคนต่างด้าวควรใช้โอกาสฟื้นฟูโรงงานจากน้ำ ท่วมกระตุ้นให้ปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เน้นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ใช้คนน้อยลง จะคุ้มค่ากว่าและลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน
 
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า   จากการศึกษาตลาดแรงงานทั่วประเทศ 18 กลุ่มจังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ยืนยันโครงสร้างแรงงานไทยมีปัญหาความไม่สอดคล้องกันของการผลิตและการจ้างงาน จนเกิดภาวะแรงงานล้นเกินและขาดแคลนไปพร้อมกัน  โดยมีแรงงานล้นเกินในระดับ ป.ตรีจนมีปัญหาว่างงาน
 
ทางออกนอกจากปรับคุณภาพแรงงานกับการศึกษาและการจ้างงานให้สมดุลซึ่งต้อง ใช้เวลานาน ทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณาคือการส่งเสริมให้มีการจ้างงานปริญญาตรีในตลาด ต่างประเทศ เปิดตลาดแรงงานระดับบนของไทยในตลาดเสรีอาเซียนซึ่งกำลังจะมีผลเป็นทางการใน อีก  2-3 ปีนี้  เป็นโอกาสดีที่ควรเตรียมความพร้อมแรงงานป.ตรีของไทยให้สู้ได้ในตลาดเสรี  แทนการส่งเฉพาะแรงงานระดับล่าง ที่มีระดับวุฒิการศึกษาประถมหรือมัธยมเป็นหลักอย่างที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ไปทำงานใช้แรงงาน  หากเราส่งแรงงานที่มีฝีมือมากขึ้น วุฒิการศึกษาสูงขึ้น ก็จะค่อย ๆ แทรกซึมสร้างส่วนแบ่งตลาดแรงงานระดับบนของไทยในต่างประเทศได้ด้วย
 
การศึกษายังพบว่า  ในบางกลุ่มคลัสเตอร์ยังใช้แรงงานระดับล่างที่เป็นต่างด้าวจำนวนมาก  ซึ่งแน่นอนว่าความต้องการแรงงานระดับล่างยังสูงมากจนแรงงานระดับนี้ของไทยมี ไม่พอจึงมีการขอใช้แรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น หากจะแก้ปัญหานี้ให้ได้ผลในระยะยาวต้องมีการรื้อโครงสร้างการผลิตของประเทศ
 
ข้อเสนอในระยะสั้นและทำได้เลยคือ การใช้สถานการณ์ที่โรงงานต่าง ๆ ประสบภัยน้ำท่วมจนต้องฟื้นฟูครั้งใหญ่นี้ กระตุ้นให้ผู้ประกอบการโรงงานเหล่านั้นปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตที่ใช้ เทคโนโลยีสูงขึ้น ใช้คนน้อยลง  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  จะช่วยลดการขาดแคลนแรงงานไทยและการขอใช้แรงงานต่างด้าวโดยไม่จำเป็น การปรับปรุงกระบวนการเช่นนี้ยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากการ ใช้เครื่องจักรเทคโนโลยีคู่กับแรงงานฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งในส่วนนี้มีแรงงานไทยรองรับเพียงพออยู่แล้ว
 
ตลาดแรงงานระดับนี้แยกกันชัดเจน ว่ามีการศึกษาระดับประถมหรือมัธยม  ซึ่งเรามีแรงงานในกลุ่มนี้ไม่เพียงพอจึงต้องพึ่งการใช้แรงงานต่างด้าว การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีมากขึ้นก็จะได้ชิ้นงานมากขึ้น เป็นการแก้ปัญหาการผลิตและลดภาระค่าใช้จ่ายที่สูงจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น จึงควรใช้โอกาสนี้ทำไปพร้อมกันเลยดร.ยงยุทธ กล่าว.

(มติชนออนไลน์, 14-3-2555)

กบข.5 หมื่นคนเตรียมหยุดงานประท้วง

นายวิศร์ อัครสันติกุล ประธานองค์กรเครือข่ายสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่องค์กรเครือข่ายสมาชิก กบข.ทั่วประเทศ เรียกร้องให้แก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณเงิน กบข.ตามมาตรา 63 ให้สมาชิกได้รับบำนาญที่สูงขึ้น สามารถลาออกได้และได้รับประโยชน์ที่เป็นธรรมกรณีถึงแก่กรรม ตลอดจนมีผลย้อนหลังไปถึงผู้ที่เกษียณไปแล้ว เนื่องจากเป็นกฎหมายที่สร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่กลุ่มสมาชิกที่มีทั้ง 12 องค์กร อาทิ ทหาร ตำรวจ ครู หรือผู้พิพากษา เป็นต้น และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่จะต้องดูแลสมาชิกหลังเกษียณอายุราชการอย่าง แท้จริง โดยขณะนี้ฝ่ายกฎหมายรัฐสภาได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้น สมาชิกทั่วประเทศกว่า 5 หมื่นคนเตรียมนัดหยุดงานในวันที่ 27 มี.ค.นี้ เพื่อชุมนุมเรียกร้องต่อรัฐบาลอีกครั้งที่ลานพระบรมรูปทรงม้าตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป.

(ไทยรัฐ, 14-3-2555)

แรงงานแจงศาลขึ้นค่าแรง 300 ศึกษารอบด้านแล้ว

เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ศาลปกครองนัดไต่สวน คดีพิพาทระหว่าง บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์(ประเทศไทย) จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 กระทรวงแรงงาน (ผู้ถูกฟ้องคดี)เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ด้วยการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เฉพาะ7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ส่วนจังหวัดอื่นปรับจากเดิมประมาณ 20% ส่งผลกระทบต่อดัชนีค่าครองชีพและภาระเงินเฟ้อ เป็นเหตุนายจ้างในฐานะผู้ประกอบการได้รับความเสียหาย ก่อนที่จะกำหนดวันวินิจฉัยคดีอีกครั้งต่อไป

ด้าน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง แถลงชี้แจงว่า การประชุมกรรมการค่าจ้างได้ศึกษาดัชนีมวลรวมของประเทศอย่างรอบคอบแล้ว รวมถึงการกำหนดราคาค่าจ้างขั้นต่ำตามค่าครองชีพ ความสามารถด้านอาชีพ และได้ทำหนังสือให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัดจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่จำ เป็นของลูกจ้างทุกจังหวัดด้วย

ทั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้แทรกแซงการพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำด้วยการนำนโยบาย 300 บาทมาชี้นำ แต่เป็นเพียงเสนอข้อมูลสภาพสังคมและเศรษฐกิจเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 กระทรวงแรงงาน มีองค์ประชุมที่กำหนดไว้จำนวน 14 คน ตามกฎหมาย ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายรัฐจำนวน 5 คน ผู้แทนนายจ้าง 5 คน และลูกจ้าง 4 โดยที่ประชุมเมื่อวันที่ 2 พ.ย.2554 เห็นพ้องกันให้ปรับค่าแรงได้ แต่ไม่ได้เป็นมติที่ประชุม

(โพสต์ทูเดย์, 15-3-2555)

คนงาน โตชิบานับพันบุก ก.แรงงานเรียกร้องรับประกันไม่เลิกจ้าง

ก.แรงงาน 15 มี.ค.- คนงานโตชิบานับพันคน บุก ก.แรงงาน เรียกร้องให้รับประกันไม่มีการเลิกจ้าง หลังจากที่บริษัทจะควบรวมกิจการ แม้นายจ้างทั้งสองบริษัทจะยืนยันก่อนหน้านี้แล้ว ด้านอธิบดีกรมสวัสดิฯ เผยสามารถทำตามข้อเรียกร้องของคนงาน โดยจะให้นายจ้างทำข้อตกลงว่าจะไม่เลิกจ้าง

คนงานบริษัทโตชิบา สตอเรจ ดีไวส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือฟุจิตสึ กรุ๊ปเดิม ประมาณ 1,000 คน เดินทางมาชุมนุมที่หน้ากระทรวงแรงงาน เรียกร้องให้นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หาทางช่วยเหลือคนงานจำนวนกว่า 4,000 คน ที่กังวลว่าจะถูกเลิกจ้าง จากการที่บริษัทจะควบรวมกิจการกับบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) หรือ WD หลังประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา

นายอภิรมย์ แพไธสงค์ ประธานสหภาพแรงงานฟูจิตสึกรุ๊ปแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการเจรจาระหว่างตัวแทนนายจ้างทั้ง 2 บริษัทกับคนงานที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี เมื่อวานนี้ แม้จะมีการยืนยันว่าจะไม่เลิกจ้าง แต่ก็ถือว่ายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของอนาคตว่าจะมีการเปิดงานได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันคนงานหยุดงานมานานแล้วกว่า 5 เดือน การได้ค่าจ้างเต็ม 100% ระหว่างรอการเปิดงาน ก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เพราะที่ผ่านมาคนงานได้เงินเดือนเฉลี่ยที่ 6,000-7,000 บาท แต่อยู่ได้ด้วยการทำงานล่วงเวลา อีกทั้งเมื่อไปทำงานเสริมในบริษัทอื่นระหว่างรอการเปิดงาน กลับถูกตัวแทนบริษัท WD เตือนว่าอาจถูกนำมาเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้างได้ จึงอยากให้กระทรวงแรงงานเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์ อักษร ว่าจะไม่มีการเลิกจ้าง รวมถึงรับประกันว่าคนงานจะได้รับสวัสดิการที่ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับ เมื่อโอนย้ายไปทำงานกับบริษัทใหม่ด้วย 

ด้านนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า สามารถดำเนินการได้ตามข้อเรียกร้องของคนงาน ทั้งในส่วนของการเชิญนายจ้างมาทำบันทึกข้อตกลงว่าจะไม่มีการเลิกจ้าง เพราะที่ผ่านมาได้รับการยืนยันจากบริษัทฯ มาตลอดว่าจะมีการเลิกจ้าง ส่วนข้อกังวลเรื่องสวัสดิการนั้น ยืนยันว่าเมื่อจะมีการควบรวมกิจการ คนงานจะต้องได้รับสวัสดิการไม่น้อยกว่าของเดิม ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง

อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวอีกว่า สำหรับการหางานทำระหว่างรอการเปิดงานนั้น หากเป็นการทำงานในบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนช่วยเพื่อนจะได้รับความคุ้มครองโดยที่นายจ้างไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ โดยปัจจุบันโครงการดังกล่าว ยังมีตำแหน่งงานว่างอีกมากกว่า 80,000 อัตรา ในสถานประกอบการ 702 แห่ง รวม 44 จังหวัด อย่างไรก็ตาม อยากฝากเตือนคนงานว่า การออกมาเคลื่อนไหวด้วยการชุมนุมเพื่อกดดัน ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนผ่านในลักษณะนี้ อาจทำให้นายจ้าง หรือนักลงทุน เกิดความกังวลใจ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อคนงานในอนาคต ดังนั้น จึงควรใช้วิธีการส่งตัวแทนมาเจรจาหารือกันมากกว่า

(สำนักข่าวไทย, 15-3-2555)

มูระตะตั้งโต๊ะแถลงข่าวปฎิเสธการเป็นแกนนำในการยื่นฟ้องเพิกถอนประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง

16 มี.ค. 55 - ผู้สื่อข่าวรายงานจาก บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดเลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กรณี นายอนุกูล สงวนเงิน กรรมการบริษัท พร้อมผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวม 9 คน ร่วมกันแถลงข่าวปฎิเสธการเป็นแกนนำในการยื่นฟ้องเพิกถอนประกาศคณะกรรมการค่า จ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 6) โดยกล่าวว่า ตามที่ทางสื่อมวลชนได้มีการนำเสนอข่าวว่า บรัทมูระตะ อิเล็กทรอนิสค์(ประเทศไทย) จำกัด เป็นแกนนำบริษัทต่าง ๆ 42 บริษัท ในการยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6)ไปก่อนหน้านั้น
     
ซึ่งทางบริษัทขอแถลงว่า บริษัท มูระตะ ฯ ไม่ใช่แกนนำผู้ฟ้องคดี แต่ทางบริษัท ได้ให้ความร่วมมือสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ในฐานะหนึ่งในสมาชิกการฟ้องร้องดังกล่าวเป็นการดำเนินการและยื่นฟ้องโดยสภา องค์การนายจ้าง ฯ ที่ให้สมาชิกขององค์การมอบอำนาจให้ไว้

บริษัท มูระตะ อิเล็กทรอนิกส์(ประเทศไทย)จำกัด มีนโยบายปฎิบัติตามระเบียบกฎข้อบังคับ ประกาศที่ชอบด้วยกฎหมายและปฎิบัติตามกฎหมายทุกอย่าง ตามที่มีข่าวออกมาลักษณะเช่นนี้ ทางบริษัท ๆ เป็นแกนนำบริษัท 42 บริษัทผู้ฟ้องคดี ทำให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบต่อแรงงานทั้งภายนอกและภายในเป็นอย่างมาก จึงมีปัญหาในการดำเนินการของบริษัท ฯ ดังนั้นเพื่อยุติปัญหาดังกล่าว ทางบริษัท ฯ จึงมีมติขอถอนตัวออกจากการเป็นผู้ร่วมฟ้งคดีนี้ และบริษัทฯจะได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะส่วนของบริษัทฯต่อศาล ปกครองต่อไป

สำหรับเรื่องนโยบายการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำซึ่งเป็นโยบายของรัฐบาล ทางบริษัทไม่ขัดข้อง เบื้องต้น วันที่ 1 เมษายนนี้เป็นต้นไป ทางบริษัทจะขึ้นค่าแรง 76 บาทกับพนักงานทุกคน ส่วนแนวโน้มเรื่องค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ยังไม่ขอชี้แจงเพราะเป็นเรื่องในอนาคต

บริษัท มูระตะอิเล็กทรอนิกส์(ประเทศไทย)จำกัด ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 300 คน เป็นแรงงานภาคอุสหกรรมผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ พนักงานทุกคนจะเป็นแรงงานจากจังหวัดลำพูนมากกว่าจังหวัดอื่น ที่ผ่านมาไม่พบหรือมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องหรือการชุมนุม ฯ ซึ่งรายละเอียดนอกเหนือจากนี้ ทางบริษัท ขอสงวนสิทธิ์ในการให้ข่าว ซึ่งในวันนี้ วัตถุประสงค์ของบริษัทฯ คือการแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องการปฎิเสธเป็นแกนนำในการยื่นฟ้องเพิก ถอนประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 6)เท่านั้น...

 (เนชั่น, 16-3-2555)

โฆษกศาลปค.แจง การสั่งคุ้มครองขึ้นค่าแรง 300 บ. ต้องชั่งน้ำหนักความเสียหาย

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม นายไพโรจน์ มินเด็น กล่าวถึงคดีที่บริษัทเอกชนยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนและขอให้มีคำสั่งคุ้มครอง ชั่วคราว กรณีคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่จะมีผลในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งศาลปกครองได้ทำการไต่สวนคู่ความไปเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ว่า ปกติหลังศาลทำการไต่สวนคู่ความเสร็จสิ้นแล้ว หากได้ข้อเท็จจริงครบถ้วน จะวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจการพิจารณาของศาลปกครองหรือไม่ ถ้าไม่อยู่ศาลก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยและไม่สามารถออกคำสั่งคุ้มครองได้ แต่ถ้าคดีอยู่ในเขตอำนาจ ศาลจะวินิจฉัยต่อไปว่าควรออกคำสั่งคุ้มครองตามคำขอของผู้ฟ้องหรือไม่ โดยพิจารณาความเสียหายที่จะเยียวยาได้ภายหลังหรือไม่หากไม่ออกคำสั่งคุ้ม ครอง รวมทั้งหากศาลออกคำสั่งคุ้มครองแล้วจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หรือไม่ คือจะชั่งน้ำหนักระหว่างฝ่ายรัฐกับเอกชน เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งตามปกติแล้วหากศาลไต่สวนเสร็จสิ้นได้ข้อเท็จจริงครบถ้วน ไม่ต้องเรียกเอกสารเพิ่มเติม ก็จะใช้เวลาไม่นานที่จะมีคำสั่งว่าจะดุ้มครองหรือไม่ต่อไป แล้วแต่ข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งคดีนี้ยังไม่ทราบว่าไต่สวนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่
 
 นายไพโรจน์ กล่าวว่า การไต่สวนเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองตามคำขอของผู้ฟ้องคดีนั้น ศาลยังไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดเนื้อหาของคดีว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด แต่จะพิจารณาเพียงว่าสมควรที่จะออกคำสั่งคุ้มครองตามคำขอของผู้ฟ้องคดีหรือ ไม่เท่านั้น
 
 เมื่อถามว่าหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองให้ผู้ฟ้องคดีนี้ทำให้แรงงาน 5.4 ล้านคนไม่ได้ขึ้นค่าจ้างนั้น นายไพโรจน์กล่าวว่า การขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาก่อนการพิพากษาคดีนี้เป็นเรื่องใหญ่ ศาลจะให้หรือไม่ให้ตนไม่สามารถตอบได้ เพราะไม่ใช่องค์คณะผู้พิพากษา และไม่เห็นสำนวนคดี

(มติชนออนไลน์, 16-3-2555)

'สุรพงษ์' ประสานสถานทูตไทยในอิหร่านช่วยแรงงานไทยส่งเงินกลับ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงผลกระทบ กรณีที่สหภาพยุโรป หรืออียู จะมีมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินกับประเทศอิหร่านว่า กรณีที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือแรงงานไทย 30 คน ที่ไปทำงานเป็นพนักงานนวดสปา ซึ่งบริษัทอาจจะไม่มีการประสานเรื่องการส่งเงินมาให้ญาติ  จึงได้ประสานสถานเอกอัคราชทูตไทยที่อิหร่าน ให้เป็นสื่อกลางในการประสานกับหน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องหรือไม่ก็อาจจะ ประสานกับสำนักงานหนังสือเดินทางแต่ละจังหวัด เพื่อให้เกิดความสะดวกมากที่สุดในการให้แรงงานไทยส่งเงินกลับมาให้ญาติในไทย

รมว.กต. กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอิหร่านทั้งหมดประมาณ560 คน แบ่งเป็นแรงงานไทย 367 คน นักเรียนไทย 62 คน และเป็นผู้ที่สมรสกับชาวอิหร่าน 71 คน  ในส่วนนักเรียนไทยกับผู้ที่สมรสกับชาวอิหร่านไม่รู้สึกเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากนักเรียนไทยเป็นนักเรียนที่ได้รับทุน และผู้ที่สมรสกับชาวอิหร่านก็น่าจะมีเงินใช้จ่ายอยู่แล้ว

ส่วนแรงงานไทยมีบริษัทที่มีคนไทยทำงานอยู่ 5 บริษัท และในจำนวนนี้มีบริษัทคนไทย3 บริษัท ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องการส่งเงินกลับประเทศ เนื่องจากเป็นบริษัทคนไทยหากแรงงานต้องการส่งเงินมาให้ครอบครัวก็สามารถ ประสานให้ญาติมารับกับทางบริษัทได้เลย แต่อีกบริษัทที่เป็นบริษัทสัญชาติฝรั่งเศส น่าจะมีศักภาพในการที่แรงงานไทยจะส่งเงินกลับประเทศ โดยบริษัทจะประสานและดำเนินการให้

นอกจากนี้ รมว.กต. ยังได้กล่าวยืนยันว่า ไทยและอิหร่านมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่แน่นแฟ้น และมีการค้าข้าวระหว่างกันทำให้เป็นห่วงผู้ค้าข้าวของไทยว่าจะมีปัญหาเรื่อง การส่งผลผลิตทางการเกษตรไปอิหร่านหากส่งไปแล้วจะได้รับเงินอย่างไร จึงเตรียมนำเรื่องนี้ไปหารือกับนายกรัฐมนตรี โดยอาจจะมีการเสนอแนวทางแก้ปัญหา แต่ก็ต้องสอบถามความคิดเห็นของผู้ค้าข้าวก่อนว่ายินดีหรือไม่

(ฐานเศรษฐกิจ, 17-3-2555)

อยุธยาจัดตลาดนัดแรงงาน ช่วยเหลือแรงงานผู้ประสบอุทกภัย 5,000 อัตรา

จัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จับมือบริษัทจัดหางานในพื้นที่ จัดตลาดนัดแรงงาน ช่วยเหลือแรงงานผู้ประสบอุทกภัย 5,000 อัตรา

นางพัชรนันท์ พันธุ์พิริยะ จัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดจัดตลาดนัดแรงงานขึ้นในวันที่ 19 เมษายนนี้ ที่ศูนย์การค้าอยุธยาพาร์ค ภายใต้โครงการจัดหางานเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือแรงงานและสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย อีกทั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสให้แรงงานที่ประสบอุทกภัยและประชาชนที่ว่างงาน มีโอกาสสมัครงานกับนายจ้างหรือสถานประกอบการโดยตรง โดยร่วมมือกับบริษัทจัดหางานในพื้นที่ พร้อมตั้งเป้ารับสมัครเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้จะมีสถานประกอบการกว่า 40 บริษัทมาให้บริการ

สำหรับกิจกรรมภายในงาน จะมีบริการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง การเดินทางไปทำงานต่างประเทศ การแนะนำวิชาชีพ และการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระ

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 17-3-2555)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทูตสหรัฐฯ ได้รับแจ้งรายชื่อ 619 นักโทษการเมืองในพม่า

Posted: 19 Mar 2012 04:53 AM PDT

กลุ่มอดีตนักโทษการเมืองในพม่ายื่นรายชื่อนักโทษการเมืองในพม่า 619 คน ให้กับ เดเรก มิทเชลล์ ทูตพิเศษสหรัฐฯ ก่อนที่เขาจะไปเยือนกรุงเนปิดอว์

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มอดีตนักโทษการเมืองในพม่าบอกว่า พวกเขาได้ยื่นบัญชีรายชื่อนักโทษพม่า 619 คนที่ยังคงถูกขังอยู่ให้กับทูตพิเศษของสหรัฐฯ เดเรก มิทเชลล์ ก่อนที่เขาจะมาเยือนกรุงเนปิดอว์ ในช่วงต้นสัปดาห์นี้

นินท์ นินท์ เวย์ คณะกรรมการกลุ่มอดีตนักโทษฯ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อเปิดเผยว่า "พวกเราพบปะเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ และได้มอบบัญชีรายชื่อให้กับพวกเขา เป้นบัญชีรายชื่อของนักโทษทางการเมือง 619 คนในพม่า พวกเขาบอกว่าพวกเขาจะส่งมอบรายชื่อให้แก่มิชเชลล์ก่อนที่เขาจะเดินทางมาเนปิดอว์"

มิทเชลล์ เป็นผู้แทนพิเศษและผู้ประสานงานด้านนโยบายของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมาเขาได้จัดประชุมแถลงข่าวที่สถานทูตสหรัฐฯ ในย่างกุ้ง มิทเชลล์กล่าวว่าเขาได้พูดคุยกับรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับการปล่อยตัวนักโทษการเมืองด้วย

"รายชื่อฉบับนี้ยืนยันว่ามีนักโทษทางการเมืองในพม่า 619 คน ถูกขังอยู่ในเรือนจำ 41 แห่งทั่วประเทศ" นินท์ นินท์ เวย์ กล่าว "แต่อาจจะมีจำนวนมากกว่านี้ที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน"

"พวกเราได้ตรวจสอบยืนยันรายชื่อทุกคน (นักโทษทั้ง 619 คน)" เธอกล่าว "พวกเรายังได้พิจารณาจากรายชื่อของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า (AAPP) และจากพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ด้วย"

ทางสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่าเปิดเผยในเว็บไซต์ว่าในตอนนี้มีนักโทษทางการเมืองในพม่าราว 800 คน แต่ก็สามารถยืนยันรายละเอียดแน่ชัดได้เพียง 413 คนเท่านั้น

เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมามีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองในพม่า รวมถึงผู้นำสมัยการประท้วง 88 อย่างมิ้น โก หน่าย และพระกัมบีระหนึ่งในพระสงฆ์ที่เป็นที่รู้จักในช่วงการปฏิวัติชายจีวรเมื่อปี 2550 ด้วย

นักโทษจำนวนมากในรายชื่อนักโทษการเมืองล่าสุดนี้ถูกกุมขังในความผิดฐานทรยศต่อประเทศ, ฆาตกรรม และเข้าร่วมชุมนุมอย่างผิดกฏหมาย

 

ที่มา US Envoy Told 619 Political Prisoners in Burma, Irrawaddy, 16-03-2012 http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=23229

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เลื่อนนัดพร้อมไต่สวนการตายพลทหารฯ ยิงกันเอง? ปี53

Posted: 19 Mar 2012 04:52 AM PDT

 

19 มี.ค. 55 ที่ศาลอาญารัชดา ศาลนัดพร้อมคดีที่พนักงานอัยการพิเศษ  ฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นผู้ร้องให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของร้อยตรี ณรงค์ฤทธิ์ สาละ ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 28 เม.ย.53 ที่ถนนวิภาวดีรังสิตขาออก บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ชี้ว่าเหตุเสียชีวิตอาจเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน แต่เนื่องจากการประกาศวันนัดพร้อมยังไม่ครบ 15 วันตามกฎหมาย และยังขาดรายละเอียดพยานบุคคลจำนวน 55 ปากที่ผู้ร้องได้แจ้งไว้ ศาลจึงได้สั่งให้เลื่อนวันนัดพร้อมออกไป และให้ผู้ร้องจัดทำบัญชีที่ระบุรายละเอียดของพยานบุคคลให้ศาลพิจารณาเพื่อจัดกลุ่มพยานที่มีจำนวนมากก่อนเข้าสู่กระบวนการไต่สวน ทั้งนี้ ได้มีการแจ้งนัดพร้อมครั้งต่อไปคือวันที่ 18 มิถุนายน 2555 ช่วงเช้าที่ศาลอาญารัชดา

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แรงงานไทยที่แอลจีเรียถูกนายจ้างเบี้ยวสัญญา

Posted: 19 Mar 2012 03:21 AM PDT

แรงงานไทยที่แอลจีเรีย ร้องเรียนนายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างงาน ยังไม่มีหน่วยงานรัฐเข้าไปให้ความข่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2555 กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออกได้รับเรื่องร้องเรียนจากแรงงานไทยที่ทำงานในโรงกลั่นน้ำมันที่ประเทศแอลจีเรีย กว่าพันคน ถูกนายจ้างเบี้ยวค่าจ้าง ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากนายพรเทพ บุญเทพ ตัวแทนลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนว่า ได้ถูกน้ายจ้างที่ประเทศแอลจีเรียเอาเปรียบไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างงาน ในโรงกลั่นน้ำมันที่ตนเองและเพื่อนแรงงานไทยกว่าพันคนทำงานอยู่นั้นแรงงานไทยส่วนใหญ่ทำสัญญากับบริษัทจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ชื่อ “บจง. เกริกส์ไทย เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 84/1 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกระปิ กรุงเทพฯ เบอร์โทรฯ 02-3773440” โดยจัดส่งคนงานทำงานให้กับนายจ้างสัญชาติเกาหลี คือ Red sea engineering &construction Co.,Ltd. และไปทำงานในโครงการ SKIKDA  REFINERY  PROJECT,SKIKDA ALGERIA ในประเทศ แอลจีเรีย 

ต่อมานายจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างงานที่ทำไว้กับลูกจ้าง แรงงานไทยกว่าพันคนจึงมีการรวมตัวกันและยื่นข้อเสนอต่อนายจ้างให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง จำนวน 3 ข้อ คือ

1. กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ขอให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้างวันละ 2 ขั่วโมง

2. กรณีที่ลูกจ้างเดินทางไปทำงานแล้วฝนตกไม่สามารถทำงานได้ครบ 8 ชั่วโมง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเต็ม 8 ชั่วโมง

3. ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้กับลูกจ้างตามที่ระบุในสัญญาจ้างงาน

และในวันเดียวกันเวาลประมาณ 16.00 น. (เวลาในประเทศไทย) ผู้แทนนายจ้างและลูกจ้างได้มีการเจรจากัน สามารถตกลงกันได้ในประเด็นเดียวคือ “กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้างวันละ 2 ขั่วโมง” ส่วนในประเด็นอื่นไม่สามารถตกลงกันได้และผู้แทนนายจ้างได้ยื่นข้อเสนอที่ขัดกับสัญญาการจ้างงานต่อลูกจ้างจำนวน 3 ข้อ ดังนี้

1. บริษัทจะจ่ายค่าแรงเป้นแบบเหมาจ่ายรายเดือนตามสัญญาที่ระบุไว้ คือวันละ 8 ชั่วโมง ไม่รวมวันศุกร์และไม่มี OT ในกรณีวันที่ฝนตก ถ้ามาทำงานบริษัทฯ สั่งให้กลับก็จะได้ค่าแรงเหมาจ่ายในค่าแรง 8 ชั่วโมง ถ้าไม่มาทำงานก้จะหักค่าแรงตามจำนวนวันที่ไม่มาทำงาน

2. ในช่วงที่ไม่มี Material บริษัทให้ทำงานวันละ 10 ชั่วโมง และทำงานวันศุกร์เว้นศุกร์ ถ้า Material เข้ามาก็จะทำงานเป็นปกติ(วันศุกร์อาจจะทำทุกศุกร์)

3. ถ้าพนักงานไม่เห็นด้วยทั้งสองข้อเสนอและต้องการลาออกกลับประเทศไทย ทางบริษัทจะหักค่าเดินทาง ค่าตั๋วเครื่องบินตามในสัญญาที่ระบุไว้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนเรื่องเอกสารการเดินทางกลับและการดำเนินการตามขั้นตอนของประเทศแอลจีเรีย

ขณะนี้แรงงานไทย จำนวนกว่าพันคนยังคงไม่รับข้อเสนอของนายจ้างเนื่องจากเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างมากเกินไปและยังเป็นการขัดต่อสัญญาจ้างแรงงานี่ทำไว้ก่อนมาทำงานที่ประเทศแอลจีเรียด้วย แรงงานไทยกว่าพันคนยังคงชุมนุมกันโดยสงบที่หน้าไซน์งานเพื่อรอคำตอบจากนายจ้าง และได้พยายามประสานไปยังสถานฑูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศสเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเพราะเป็นวันหยุดราชการ ต่อมมาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2555 เวลา 14.00 น.(เวลาในประเทศไทย) ได้ประสานไปที่เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานในประเทสไทยก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน คือ “จะติดต่อกลับในวันจันทร์ที่ 19 มีนา” สถานการณ์ล่าสุดเมื่อเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. ตัวแทนแรงงานไทยนายพรเทพ บุญเทพ แจ้งว่านายจ้างกำลังให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสะลายการชุมนุมถ้าไม่ยอมกลับที่พัก ขณะนี้แรงงาไทยก็ได้แต่เฝ้ารอว่าเมื่อไรจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาเพื่อให้คำแนะนำว่าเขาควรทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตที่เหลืออยู่ดี?

หมายเหตุ 

• นายพรเทพ บุญเทพ เป็นอดีตผู้ก่อการสหภาพแรงงานนากาตัน ที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานเมื่อปี 2549 หวังจะไปขายแรงในต่างแดนยังถูกนายทุนตามไปเอาเปรียบ

• ท่านใดประสงค์ที่จะช่วยเหลือหรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ตัวแทนพนักงาน นายพรเทพ บุญเทพ 005-002-1355-6298-173

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาสวัต บุญศรี: สื่อภายใต้ “ความดี” และ “คุณธรรม”

Posted: 19 Mar 2012 01:48 AM PDT

สัปดาห์ที่แล้วผู้เขียนได้ชมรายการที่นี่ตอบโจทย์ทางไทยพีบีเอส คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการได้ถามคำถามต่อสื่อฟากดาวเทียมสี่ค่าย ได้แก่ วอยซ์ทีวี ทีนิวส์ เอเอสทีวีและน้องใหม่ล่าสุด บลูสกายทีวี คำถามแต่ละคำถามล้วนเผ็ดร้อนและลีลาการตอบคำถามของตัวแทนสื่อแต่ละค่ายนั้นก็แพรวพราวควรค่าแก่การถกเถียงยิ่งนัก

คำถามหนึ่งซึ่งน่าสนใจมากของคุณภิญโญคือ ในภาวะความขัดแย้งเช่นนี้ บทบาทของสื่อควรเป็นเช่นไร แล้วสื่อควรเลือกฟากหรือไม่อย่างไร คำตอบที่ผมฟังแล้วสะดุดใจอย่างยิ่งมาจากปากของ โสภณ องค์การณ์ หนึ่งในผู้จัดรายการทางเอเอสทีวี

คุณโสภณกล่าวว่าสื่อจะต้องเลือกที่ยืนอยู่ข้างความดีและคุณธรรม ไม่ต้องคิดกันมาก ใช้วิจารณญาณคิดกันได้ว่าอะไรคือความดีและความยุติธรรม

สมัยผู้เขียนเรียนหนังสือด้านสื่อสารมวลชนระดับปริญญาตรีนั้น ยามถึงบทเรียนเรื่องหน้าที่และบทบาทของสื่อมวลชนครั้งใด คำตอบที่ได้รับการปลูกฝังพร้อมความคิดเชิงอุดมการณ์เพื่อมวลชนคือ สื่อมวลชนจะเป็นกลางไม่ได้ สื่อจะต้องยืนอยู่ข้างประชาชน ต้องทำหน้าที่เป็นหมาเฝ้าบ้านของขุดคุ้ยและรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนที่ไร้โอกาสทั้งด้านการเงิน อำนาจและการเข้าถึงสื่อ

แต่มา ณ ปัจจุบัน สื่อหลายสำนักต่างเสนอทฤษฎีในการตัดสินการทำงานของสื่อผ่าน “ความดี” และ “คุณธรรม” แทน โดยพวกเขาเชื่อว่าการที่ประชาชนแบ่งเป็นสองฝ่ายเช่นนี้ หากใช้วิจารณญาณคิดพิเคราะห์ให้ดีแล้วย่อมรู้ดีว่าควรเลือกอยู่ฝ่ายไหน บทสรุปสั้น ๆ ประเด็นความดีและคุณธรรมนั้นในทัศนะของพวกเขานั้นคือ ขจัดระบอบทักษิณ ทักษิณคือศูนย์รวมของเรื่องเลวร้ายทุกอย่างทีเกิดขึ้นมาในประเทศ

การที่สื่ออื่นเลือกที่จะปกป้อง เป็นกระบอกเสียงให้ทักษิณและฝ่ายเสื้อแดงล้วนแล้วแต่เป็นพวกชั่วและไร้คุณธรรมทั้งสิ้น

คำถามที่น่าสนใจต่อแนวคิดด้านสื่อเรื่องนี้คือแล้วเราจะวัดความดีและคุณธรรมนี้ได้อย่างไร

ความดีและคุณธรรมล้วนเป็นเรื่องนามธรรมที่ไม่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ ไม่มีเครื่องมือชนิดใดบนโลกใบนี้ที่สามารถวัดการกระทำหนึ่งดีกว่าอีกการกระทำหนึ่งได้ เราไม่สามารถสร้างดัชนีชี้วัดได้ว่า การให้เงินขอทานห้าบาทกับถวายเงินสร้างโบสท์หนึ่งล้านบาทอันไหนเป็นความดีมากกว่ากัน เราไม่สามารถวัดได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เคยโกงกินสองคน จากพฤติกรรมโดยรวมแล้วคนไหนมีคุณธรรมมากกว่ากัน

หากใครคิดเครื่องมือวัดความดีและคุณธรรมขึ้นมาบนโลกได้ ผมเชื่อว่ารางวัลโนเบลไม่พลาดไปอยู่ที่ห้องเก็บของของท่านเป็นแน่

แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องบทบาทของสื่อ ปรากฎการณ์การเมืองไทยทุกวันนี้ขัดแย้งกันด้วยการมองเหตุการณ์ผ่านกรอบความคิดอย่างน้อยสองชุดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่งมองว่าการกำจัดนักการเมืองคอรัปชั่นด้วยวิธีใดก็ได้เป็นเรื่องชอบธรรม ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งกลับไม่เห็นด้วยและต่อต้านวิธีการรัฐประหารที่กำจัดนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าคอรัปชั่น ทั้งสองกระบวนทัศน์นี้ยังมีการถกเถียงหาจุดลงรอยไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างตัดสินกันด้วยกรอบคิดที่ตนพิจารณาแล้วว่าถูกต้อง

เรื่องแบบนี้ผมเองนึกไม่ออกว่าจะสามารถตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดี มีคุณธรรมหรือไม่มีคุณธรรมได้อย่างไร ดังนั้นการที่สื่อหลายแขนงเลือกที่จะความคิดเอียงเข้าข้างตัวเองว่าตนเป็นคนดีมีคุณธรรมและมีวิจารณญาณตัดสินได้ แล้วเลือกที่จะนำเสนอข่าวผสมปนเปกับอคติ ก็ดูเป็นเรื่องที่น่าหัวร่อไม่น้อย

เอาเป็นว่าหากสื่อไหนที่เลือกฝั่งเลือกฝ่ายโดยใช้คุณสมบัติความดีและคุณธรรม ก็อยากรบกวนจ้างนักวิจัยช่วยผลิตเครื่องมือเหมือนมิเตอร์วัดกระแสไฟออกมาเลยเถิด จากนั้นวัดกันเลยว่าเจ้าความดีและคุณธรรมที่ท่านถืออยู่นี่มันมีมากขนาดไหนหนอ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แฟลชม็อบปิดตาที่ “หอศิลป์” ประท้วง “เสรีภาพ” ที่ถูก “แขวน”

Posted: 19 Mar 2012 01:46 AM PDT

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (18 มี.ค.) ราว 19.00 น. ประชาชนราว 40-50 คน นำโดยกลุ่ม “กวีราษฎร์” ได้จัดกิจกรรมประท้วง “Flash Mob” เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ไม่อนุญาตให้จัดงานวัฒนธรรมและอภิปรายทางวิชาการ “แขวนเสรีภาพ” ด้วยการผูกตาด้วยผ้าสีแดง และหยุดนิ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่ผู้ประท้วงจะแยกย้ายโดยสงบในภายหลัง

โดยก่อนหน้านี้ งานวัฒนธรรมและการอภิปรายทางวิชาการ “แขวนเสรีภาพ” ที่จัดโดยคณะนักเขียนแสงสำนึก เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เดิมกำหนดสถานที่จัดกิจกรรมเป็นหอศิลป์กรุงเทพฯ ต่อมา ผู้จัดงานได้รับแจ้งจากทางหอศิลป์ว่าไม่อนุญาตจัดงาน โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่อ่อนไหวทางการเมือง ทางคณะนักเขียนแสงสำนึก จึงประกาศย้ายสถานที่จัดงานเป็นห้อง 105 อาคารเทวาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งภายหลังได้ย้ายสถานที่มาจัดที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว หลังจากเกิดเหตุขัดข้องจากทางมหาวิทยาลัย

 

ภาพโดย "Prainn Rakthai"

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มติเอกฉันท์ “ชัยวัฒน์ สถาอานันท์” รับรางวัล “ศรีบูรพา” คนที่ 24

Posted: 19 Mar 2012 01:45 AM PDT

กองทุนศรีบูรพามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ “ชัยวัฒน์ สถาอานันท์” นักวิชาการด้านสันติวิธี เป็นผู้สมควรได้รับรางวัล “ศรีบูรพา” คนที่ 24 ประจำปี 2555

 
 
วันนี้ (19 มี.ค.55) นายสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย ผู้จัดการสถาบันปรีดี พนมยงค์ เปิดข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก ระบุ กองทุนศรีบูรพามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการด้านสันติวิธี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้สมควรได้รับรางวัล “ศรีบูรพา” คนที่ 24 ประจำปี 2555 หลังจากเมื่อปี 2554 รางวัลนี้ถูกมอบให้แก่ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ บรรณาธิการนิตยสารสารคดี
 
สำหรับพิธีมอบรางวัลศรีบูรพากำหนดขึ้นพร้อมกับการจัดงาน “วันนักเขียน-5 พฤษภา” ในวันที่ 5 พ.ค.55 ซึ่งจัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
 
ด้าน ประวัติ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นศาสตราจารย์ประจำและหัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในปี พ.ศ.2549 เป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่มีบทบาทในการเสนอแนวทางเพื่อคลี่คลายความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นกรรมการภาคประชาสังคมนอกพื้นที่ ในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
 
นอกจากนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการ และคณะทำงานฝ่ายจัดการ/บรรณาธิการ ของโครงการจัดพิมพ์คบไฟ มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา ซึ่งเป็นโครงการจัดพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่หนังสือวิชาการทั้งของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ ตลอดจนวรรณกรรมชั้นดีจากต่างประเทศ เป็นจำนวนมากมายอย่างต่อเนื่อง
 
ทั้งนี้ รางวัลศรีบูรพา เป็นรางวัลที่มอบสำหรับศิลปิน นักคิด นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่า โดยมีเงื่อนไขการพิจารณา ดังนี้ 1.เป็นนักคิด นักเขียน นักแปล กวี หรือนักหนังสือพิมพ์ที่มีมีชีวิตที่เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีงามและแบบฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม และมนุษยชาติมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน อย่างเช่น “ศรีบูรพา” 2.มีผลงานติดต่อกันมายาวนานไม่น้อยกว่า 30 ปี และต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน และ 3.ยังมีชีวิตอยู่
 
การมอบรางวัลดังกล่าวเป็นกิจกรรมหนึ่งของ “กองทุนศรีบูรพา” ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2531 เพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา (31 มีนาคม พ.ศ.2448 - 16 มิถุนายน พ.ศ.2517) นักประชาธิปไตย นักเขียน นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยและของโลก
 
อนึ่งหนังสือประชาสัมพันธ์มติดังกล่าวมีเนื้อหา ดังนี้
 
 
 
ที่ ว.๒ /๒๕๕๕
 
กองทุนศรีบูรพา
ถนนสุขุมวิท ๕๕ (ซอยทองหล่อ)
พระโขนง กทม.๑๐๑๑๐
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕
 
เรื่อง   “รางวัลศรีบูรพา” ประจำปี ๒๕๕๕
 
เรียน   สื่อมวลชน
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย   ๑.รายนามผู้ได้รับรางวัล “ศรีบูรพา”
๒.ประวัติย่อของ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
 
ด้วย“รางวัลศรีบูรพา” เป็นกิจกรรมหนึ่งของ “กองทุนศรีบูรพา” ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์-“ศรีบูรพา” (พ.ศ.๒๔๔๘-๒๕๑๗) นักประชาธิปไตย นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยและของโลก  เป็นรางวัลที่มอบแก่ศิลปิน นักคิด นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่า และมีชีวิตที่เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีงาม รวมทั้งเป็นแบบ ฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยมีเงื่อนไขการพิจารณาดังนี้
 
๑.เป็นนักคิด นักเขียน นักแปล กวี หรือนักหนังสือพิมพ์ที่มีชีวิตที่เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีงามและแบบฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม และมนุษยชาติมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน อย่างเช่น “ศรีบูรพา”
 
๒.มีผลงานติดต่อกันมายาวนานไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี และต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
 
๓.ยังมีชีวิตอยู่
 
“กองทุนศรีบูรพา”ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๑ (เว้นพ.ศ.๒๕๓๓ ) มีผู้ได้รับรางวัลมาแล้ว ๒๒ ครั้ง(เว้น พ.ศ.๒๕๓๓) มีผู้ได้รับรางวัล ๒๓ คน และในปี ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นปีครบรอบ ๑๐๐ ปีศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) คณะอนุกรรมการฝ่ายรางวัลเกียรติคุณ ในคณะกรรมการจัดงาน ๑๐๐ ปีศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์)ได้ประกาศมอบ “รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปีศรีบูรพา” ให้แก่ นายสุวัฒน์ วรดิลก นายขรรค์ชัย บุนปาน และศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ความละเอียดตามเอกสารหมายเลข ๑
 
สำหรับปี ๒๕๕๕ นี้คณะกรรมการ “กองทุนศรีบูรพา” มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นผู้สมควรได้รับรางวัล “ศรีบูรพา” ประวัติตามเอกสารแนบหมายเลข ๒
 
อนึ่ง พิธีมอบ “รางวัลศรีบูรพา” กำหนดขึ้นพร้อมกับการจัดงาน “วันนักเขียน-๕ พฤษภา” ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕  ซึ่งจัดโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย โดยในวันดังกล่าวได้เรียนเชิญผู้ได้รับรางวัลกล่าวสุนทรกถา  สำหรับสถานที่จัดงานวันนักเขียนและกำหนดการจัดงานโดยละเอียดให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
 
 
ขอแสดงความนับถือ
 
(นายประยอม ซองทอง)
ประธานคณะกรรมการ “กองทุนศรีบูรพา”
 
 
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุภัตรา ภูมิประภาส: ผู้หญิงกับการเมือง - ซินมาร์อ่อง

Posted: 19 Mar 2012 12:33 AM PDT

ซินมาร์อ่อง (ที่มา: Irrawaddy)

ซินมาร์อ่อง (Zin Mar Aung) อดีตนักโทษการเมืองวัย 36 ปี จากสหภาพพม่าได้รับการประกาศชื่อเป็น “ผู้หญิงกล้าหาญของโลก” ปี 2555 (2012 International Women of Courage Award Winners) เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา เธอเดินทางไปสหรัฐเพื่อรับมอบรางวัลนี้จากนางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ โดยมีนางมิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐมาร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบรางวัลด้วย

นอกจากนี้นิตยสารนิวสวีค (Newsweek) ร่วมกับเว็บเดอะ เดลี่ บีสท์ (The Daily Beast) ยังได้จัดอันดับให้          ซินมาร์อ่องเป็น 1 ใน 150 “สตรีผู้ปราศจากความกลัว” (Fearless women) ของปี 2555 ด้วยเช่นกัน

ซินมาร์อ่อง ถูกจองจำอยู่ในคุกเมืองมัณฑเลย์นานถึง 11 ปี นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2541 เธอได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552

ความผิด” ที่ทำให้เธอต้องโทษจำคุกอยู่ถึง 11 ปีนั้น คือการร่วมรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า

ซินมาร์อ่องเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาระหว่างปี 2539-2541 งานรณรงค์ของเธอในช่วงนั้นคือการผลิตและแจกจ่ายใบปลิวเรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตให้จัดตั้งสหพันธ์นักศึกษาได้ ซินมาร์อ่องเป็นสมาชิกกลุ่มยุวชนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือพรรคเอ็นแอลดีของนางอองซาน ซูจี ด้วย และเมื่อพรรคเอ็นแอลดีเรียกร้องให้รัฐบาลทหารจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติภายใน 60 วัน ซินมาร์อ่องร่วมกับเพื่อนนักศึกษาเขียนจดหมายและบทกวีสนับสนุนพรรคเอ็นแอลดี และทำการเผยแพร่กับประชาชน นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เธอถูกจับกุมและพิพากษาลงโทษ

เมื่อถูกถามถึงช่วงชีวิตที่เป็นนักโทษการเมืองหญิงนั้น ซินมาร์อ่องบอกว่าเธอมีสภาพไม่ต่างไปจากนักโทษการเมืองคนอื่นๆไม่ว่าหญิงหรือชาย ความต่างอยู่เพียงแค่ใครจะถูกขังนานกว่ากัน

มีนักโทษการเมืองจำนวนมากในพม่า ที่พวกเราต้องถูกจองจำนั้นไม่ใช่เพราะเราทำความผิดอะไร แต่เป็นเพราะพวกเราทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อประเทศของเรา ฉันไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่ถูกจองจำด้วยเหตุนี้ ฉันทำในสิ่งที่ถูกต้องและครอบครัวของฉันก็สนับสนุนสิ่งที่ฉันกำลังทำ”

สิบเอ็ดปีในคุกเมืองมัณฑเลย์ ซินมาร์อ่องแทบไม่มีโอกาสได้สนทนาสื่อสารกับใครเลย เพราะถูกแยกขังเดี่ยว แต่เธอบอกว่าเธอไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เพราะรำลึกถึงกวีบทหนึ่งอยู่เสมอว่า เขาอาจจองจำร่างกายของเธอได้ แต่มิอาจกักขังหัวใจของเธอไว้”

ซินมาร์อ่องบอกว่าเวลา 11 ปีในคุกนั้นเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมสำหรับเธอเลย แต่ก็เป็นแรงผลักดันให้เธอทำงานทางการเมืองต่อไป ประชาชนในประเทศของเธอต้องทุกข์ทนมานานกับการที่เห็นคนดีๆถูกจับมาจองจำอิสรภาพ และหากสถานการณ์เช่นนี้ยังดำรงอยู่ต่อไป ประเทศจะไม่สามารถพัฒนาไปได้เลย ดังนั้น จึงมีงานอีกมากที่เธอต้องทำต่อไป

เมื่อได้รับอิสรภาพ ซินมาร์อ่องทุ่มเททำงานทางการเมืองต่อโดยทันที เธอได้ก่อตั้งสมาคมสำหรับอดีตนักโทษการเมืองหญิงเพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง และเปิดโรงเรียนการเมืองในเมืองร่างกุ้งโดยมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้นักกิจเคลื่อนไหวทางการเมืองและภาคประชาชนในการเผชิญกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่า นอกจากนี้ ซินมาร์อ่องยังร่วมก่อตั้งกลุ่มกิจกรรมสตรีชาติพันธุ์ในพื้นที่ความขัดแย้งอีกด้วย

เมื่อถูกถามถึงบทบาทและความสำคัญของผู้หญิงกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซินมาร์อ่องบอกว่าโลกนี้มีประชากรหญิงอยู่ครึ่งหนึ่ง ผู้หญิงที่มีคุณภาพจะทำให้ทุกภาคส่วนที่ผู้หญิงเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นพัฒนาไปด้วย ซินมาร์อ่องประกาศว่ามีนักกิจกรรมหญิงอีกจำนวนมากในพม่าที่ทำงานส่งเสริมประชาธิปไตยเช่นเดียวกับเธอ และต่อจากนี้ไป เธอจะเปิดบทบาทผู้หญิงคนอื่นๆที่ทำงานการเมือง พร้อมๆไปกับการทำงานด้านการพัฒนาการศึกษา

ซินมาร์อ่องเล่าว่าเธอกำลังรณรงค์จัดกลุ่มศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับเครือข่ายผู้หญิงที่เธอทำงานด้วยในเรื่องวาทกรรมที่ว่าประชาธิปไตยเป็นแนวคิดของตะวันตกที่แปลกแยกกับ วิถีเอเชีย” โดยบ่อยครั้งที่ผู้ปกครองที่เป็นพวกอำนาจนิยมในเอเชียมักอ้างว่า “วิถีเอเชีย”นั้นสอดคล้องกับประชาชนในประเทศมากกว่าระบบประชาธิปไตย

เราพยายามทำงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าประชาธิปไตยไม่ใช่สำหรับตะวันตกเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของมนุษย์ ทำไมเราถึงไม่สามารถทำให้สังคมของเรามีประชาธิปไตยได้ล่ะ?”

รางวัล “ผู้หญิงกล้าหาญของโลก” ริเริ่มเมื่อปี 2550 โดย นางคอนโดลิสซ่า ไรซ์ (Condoleezza Rice) อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ เพื่อมอบให้เป็นเกียรติกับผู้หญิงจากทั่วโลกที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีความกล้าหาญและความเป็นผู้นำในการส่งเสริมสิทธิสตรีและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สตรี ทั้งๆที่บ่อยครั้งที่เธอเหล่านั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงและตกอยู่ในอันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิต

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 มีผู้หญิง 46 คนจาก 34 ประเทศ ได้รับรางวัล “ผู้หญิงกล้าหาญของโลก”

นอกจากซินมาร์อ่อง จากสหภาพพม่าแล้ว ผู้ได้รับรางวัล ผู้หญิงกล้าหาญของโลก” ปี 2555 อีก 9 คน ได้แก่ Maryam Durani นักสิทธิสตรีจากอัฟกานิสถาน, Pricilla de Oliveira Azevedo ตำรวจหญิงจากบราซิล, Jineth Bedoya Lima นักข่าวโคลัมเบีย, Hana Elhebshi สถาปนิกชาวลิเบียที่เสี่ยงภัยบันทึกเหตุการณ์ในลิเบียออกเผยแพร่ต่อประชาคมโลก, Aneesa Ahmed นักสิทธิสตรีจากมัลดีฟท์, Shad Begum นักสิทธิสตรีจากปากีสถาน, Samar Badawi นักสิทธิสตรีจากซาอุดิอาระเบีย, Hawa Abdallah Mohammed Salih นักสิทธิสตรีจากซูดาน, และ Safak Pavey นักสิทธิมนุษยชนที่ทำงานด้านสิทธิผู้ลี้ภัยและผู้พิการ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น