ประชาไท | Prachatai3.info |
- กรรมการสิทธิ์ค้านซื้อแท็บเล็ตจากจีน-พร้อมถามหาที่เสียบปลั๊ก
- เขื่อนคลองช้าง สตูล ทำไมต้องสร้าง ศึกษาอย่างเข้าใจ..ก่อนภัยจะถึงตัว
- รองอธิบดีป่าไม้ ร่วมกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง เดินสำรวจแนวเขตป่าที่ถูกบุกรุก
- ‘สุรชัย’ร่วม 8 ผู้ต้องขัง112 เตรียมยื่นจม.นายกฯ ดันรัฐบาลขออภัยโทษ
- ‘โรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง’ เข้าสู่โหมดสงครามข้อมูลข่าวสาร
- คนสตูลลุกฮือต้านเขื่อนคลองช้าง ล้มเวทีกรมชลฯนำเสนอร่างอีไอเอ
- ชาวไทยพุทธหยุดพึ่งรัฐ ขอเจรจาขบวนการยุติศึกไฟใต้
- บอร์ด สปสช.มีมติเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวปี 55 อีก 209 บาท
- บอร์ด สปสช.มีมติเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวปี 55 อีก 209 บาท
- การปกครองท้องถินแบบมีส่วนร่วมเปรียบเทียบไทย - ฝรั่งเศส 1 หลักว่าด้วยการมีผู้แทนท้องถิ่นของฝรั่งเศส
- นักวิเคราะห์เตือนปูติน อย่าให้การปกครองที่ยาวนานนำไปสู่ความซบเซา
- จดจำอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟูกูชิมา อย่าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
- โวยเสื้อยืดฮิตเลอร์-ต่างชาติตำหนิคนไทยทำเก๋โดยไม่รู้ความหมาย
- นักกิจกรรมประกาศยุติอดอาหาร เดินหน้าร้องปฏิรูปศาล-ปล่อยนักโทษการเมือง
- ธเนศวร์ เจริญเมือง: วิกฤตหมอกควัน
กรรมการสิทธิ์ค้านซื้อแท็บเล็ตจากจีน-พร้อมถามหาที่เสียบปลั๊ก Posted: 05 Mar 2012 07:55 AM PST กล่าวหาจีนผลิตสินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ถามรัฐบาลกล้ารับประกันหรือไม่แท็บเล็ตจะไม่เกิดอันตรายต่อเด็ก และเตรียมปลั๊กสำหรับเอาแท็บเล็ตชาร์จแบตเพียงพอจำนวนนักเรียนต่อห้องหรือยัง เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานวันนี้ (5 มี.ค.) ว่านายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการซื้อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ว่า โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ดี แต่ตนไม่เห็นด้วยที่ ครม.อนุมัติซื้อแท็บเล็ตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะสินค้าที่ผลิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคุณภาพ และไม่ได้มาตรฐาน รัฐบาลสามารถรับประกันได้หรือไม่ว่าแท็บเล็ตดังกล่าวมีคุณภาพ และจะไม่เกิดเหตุอันตรายต่อเด็กนักเรียนได้ รวมทั้งตนขอถามว่า นอกจากตัวเครื่องแท็บเล็ตแล้ว รัฐบาลได้เตรียมแบตเตอรี่และจุดเสียบปลั๊กไฟไว้รองรับด้วยหรือไม่ เพราะถ้าหนึ่งห้องเรียนมีนักเรียน 50 คน มีแท็บเล็ต 50 เครื่อง ก็จะต้องมีจุดเสียบปลั๊กไว้สำหรับชาร์จไฟฟ้า 50 ที่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
เขื่อนคลองช้าง สตูล ทำไมต้องสร้าง ศึกษาอย่างเข้าใจ..ก่อนภัยจะถึงตัว Posted: 05 Mar 2012 06:38 AM PST กรมชลประทานอ้างว่า “มีคนสตูลจำนวนหนึ่งทำหนังสือถวายฎีกา ถึงสำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานสร้างเขื่อนคลองช้าง ด้วยเหตุผลว่าจังหวัสสตูลประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพเกษตรกรรม” นี่คือเหตุผลที่กรมชลประทานพยายามชี้แจงเพื่อให้ได้กลับมาทบทวนการสร้างเขื่อนในพื้นที่จังหวัดสตูลอีกครั้งหนึ่ง หลังจากความพยายามก่อนหน้าที่เคยล้มเหลว เมื่อปี พ.ศ. 2538 เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ รวมถึงสมาชิกสภาตำบลทุ่งนุ้ย ในสมัยนั้นมีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว จึงเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งว่า...ด้วยเหตุผลตามที่กรมชลประทานกล่าวอ้างนั้น มีที่มาที่ไป และข้อเท็จจริงประการใด และนั่นก็เป็นที่มาของคำถามที่ชวนสงสัยยิ่งหลากหลายแง่มุม...เช่น “ สตูล แห้งแล้งถึงขนาดจะต้องสร้างเขื่อนแล้วกระนั้นหรือ....? ” “ ภูมิประเทศของจังหวัดสตูลซึ่งมีแผ่นดินหน้าแคบ และมีพื้นที่ลาดชันจำนวนมากนี้ เหมาะสมจะมีเขื่อนหรือไม่ และมีความเสี่ยงขนาดไหน หรือไม่อย่างไร..? “ “ สตูลเมืองที่ฝนตกชุก...และมีลุ่มน้ำ สายคลองกระจายอยู่เกือบทั่วทุกอำเภอ...ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ดีกว่านี้แล้วหรือ...ถึงตัดบทสรุปว่าต้องสร้างเขื่อน...? “ “ การอ้างว่า เขื่อน จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม..จะเชื่อถือได้อย่างไรเมื่อน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ และภาคกลางเมื่อปลายปีที่ผ่านมา..ทุกคนต่างรู้กันทั่วทั้งประเทศว่า...กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในเขื่อนผิดพลาด...ไม่ใช่หรือ..? “ “ กรณีข่าวลือที่ว่า...มีการปลอมแปลงรายชื่อ..เพื่อขอถวายฎีกา...ขอพระราชทานเขื่อน..ที่กรมชลประทานเอามาอ้าง สร้างความชอบธรรม เพื่อกลับมาทบทวนโครงการอีกครั้งหนึ่งนั้น...เรื่องนี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ใครอยู่เบื้องหลัง..? นี่เป็นข้อสงสัยเพียงส่วนหนึ่งครับ หากเป็นเรื่องที่อดคิดไม่ได้ เพราะหากเราจะนึกถึงเขื่อนขึ้นมา เราก็มักจะนึกถึงภาคอีสาน หรือภาคเหนือภาคเหนือ เนื่องจากเป็นภาคพื้นที่ต่างรู้กันว่าฝนตกไม่ชุกเหมือนภาคใต้ จึงมีสภาพแห้งแล้งสูง จะเห็นได้ว่าในที่เหล่านั้นจะมีเขื่อนต่างๆเกิดขึ้นเยอะแยะ มากมาย แต่พอมาที่ภาคใต้ พบว่ามีอยู่ไม่มากนัก หรือมีแบบที่นับกันได้เลยทีเดียว ไอ้ที่สร้างไปแล้วก็ว่ากันไปครับ...เห็นปัญหากันอยู่ เพราะสุดท้ายแล้วเขื่อนเหล่านั้นก็ไม่ได้ดูแล หรือให้ประโยชน์อะไรกับชาวบ้านเท่าที่ควร ที่เห็นๆก็ กรมชลประทานได้ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นรีสอร์ท ทั่กตากอากาศ เป็นร้านอาหาร ไว้รองรับบรรดาลูกพี่หรือขาใหญ่ทางการเมือง อย่างที่รู้ๆกันอยู่ เขื่อนบางแห่งถึงขั้นเอาที่ดินริมเขื่อนที่เวนคืนจากชาวบ้าน มาทำสนามกอล์ฟ ตีข้ามหัวชาวบ้านไปมา ก็เยอะไป อย่างนี้จะให้คิดอย่างไง นอกจากนั้นก็ไว้จัดหารายได้เข้ากรม หรือเข้ากระเป๋าใครบ้างก็ไม่รู้เหมือนกัน (ใครอยากรู้ก็ไปตรวจสอบกันเอาเอง) จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดเล็กๆ ประชากรเพียง 300,286 คน บนเนื้อที่ 1,754,585 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นป่าเขารอยต่อของสองเทือกเขาคือ เทือกบรรทัด และเทือกสันกลาคีรี จึงมีพื้นที่ลาดชันอยู่เยอะมาก มีที่ราบสำหรับปลูกข้าวเพียงเล็กน้อย จากนั้นก็เป็นที่ทะเลชายฝั่ง ที่มีหน้าแผ่นดินแคบมาก เมื่อดูโดยภาพรวมแล้วแทบไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ที่จะสร้างเขื่อน และเมื่อถามถึงความแห้งแล้ง ก็ยิ่งกล่าวได้ว่าเป็นจังหวัดฝั่งอันดามันจังหวัดหนึ่งที่มีฝนตกชุกหนาแน่นตลอดทั้งปี เพราะจากสถิติของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าปริมาณน้ำฝนเมื่อปี พ.ศ. 2550 ทั้งปี 2,300 มม. และในปี พ.ศ. 2554 มีปริมาณฝนทั้งปี 2,427 มม. ถือว่าเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งไม่ถือว่าจังหวัดนี้จะแห้งแล้งจนถึงขั้นวิกฤติร้ายแรง ส่วนข้ออ้างเรื่องน้ำท่วม นี่ยิ่งใช้อ้างไม่ได้อีกแล้วนับจากหลายเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งประจักษ์ชัดกับคนทั้งประเทศแล้วว่า เกิดจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนสำคัญสามสี่เขื่อนของกรมชลประทาน เช่นเขื่อนภูมิพล เขื่อนปาสักฯ จนทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ และภาคกลางเมื่อปลายปีที่แล้ว เป็นเหตุผลที่อ้างเมื่อไหร่..ก็ตายเมื่อนั้น ส่วนปัญหาน้ำในฤดูแล้ง อันนี้ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า ในบางปีเกิดขึ้นจริงกับบางพื้นที่ โดยเฉพาะชุมชนริมชายฝั่งทะเล หากแต่นี่คือสิ่งที่ไม่น่าจะเกินภาวะวิสัยที่จะแก้ไข เพราะจังหวัดสตูลมีความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำ หรือแหล่งน้ำพอประมาณ ซึ่งต่างกับภาคอีสานหากถึงฤดูแล้ว น้ำในบึงในหนองก็จะเหือดแห้งตามไปด้วย เพราะฉะนั้นปัญหานี้จะต้องกลับมาทบทวนเรื่องการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อยกระดับ หรือพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้น ตลอดถึงการเชื่อมโยงโครงข่ายสายน้ำต่างๆที่มีอยู่ และการจัดทำเหมืองฝายหรือระบบชลประทานเพื่อการเกษตรในพื้นที่ให้ครอบคลุมทั่วถึงมากขึ้นด้วย เหล่านี้เป็นเรื่องที่ระดับผู้บริหารบ้านเมืองจะต้องขบคิดให้หนัก ใช่สักแต่จะสร้างเขื่อนอยู่ท่าเดียว อย่างนี้ถือว่าไม่ได้ใช้ความสามารถจริง แล้วยังมีเหตุผลอื่นใดอีก ที่จะมาอ้างเรื่องการสร้างเขื่อนอีกหรือไม่...? แต่อีกประเด็นหนึ่งที่อดจะกล่าวถึงไม่ได้ คือเรื่องการยื่นถวายฎีกา...นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญ เพราะปกติแล้วการรบกวนเบื้องสูง นั่นหมายถึงความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ที่ใครไม่ก็ไม่อาจช่วยได้ แม้แต่พ่อบ้าน พ่อเมือง หรือระบบกลไกทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศแห่งนี้ จึงต้องถวายความเดือนร้อนเหล่านั้น เป็นฎีกา ให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับทราบ ซึ่งพระองค์ท่านก็ไม่เคยทรงละเลยต่อความเดือดร้อนของพสกนิกรของพระองค์ หากแต่เรื่องการถวายฎีกาเขื่อนคลองช้างนั้น พบว่าไม่ปกติ ด้วยว่า หลังจากคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดคุณหมดนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ได้มีการลงมาตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องโครงการเขื่อนคลองช้าง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554 ตามที่ชาวบ้านร้องเรียนไป ทำให้พบว่าหนึ่งในประเด็นร้องเรียนนั้นคือ การกล่าวอ้าง ปลอมแปลง หรือแอบอ้างการใช้รายชือราษฎรกว่า 200 รายชื่อ แนบไปกับฎีกาฉบับดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2552 จนเป็นเหตุผลให้กรมชลประทานอ้างได้ว่า..เหตุผลสำคัญที่ต้องร้างเขื่อนที่สตูลเพราะชาวบ้านเดือดร้อน และขอพระราชทานเขื่อนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนมีการพูดกันในพื้นที่สร้างเขื่อนอย่างแพร่หลายว่า “เขื่อนพระราชทาน” แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริง หลังจากกรรมการสิทธิ์ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักพระราชวัง ว่าเขื่อนนี้เป็นโครงการหลวงหรือไม่ กลับได้รับการชี้แจงเจ้าหน้าที่ของสำนักว่า ไม่มีโครงการนี้ในโครงการหลวงแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังมีเจ้าของรายชื่ออย่างน้อยสามคนที่ถูกแอบอ้างชื่อ ได้มาแสดงตัวต่อเวทีการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการสิทธิ์ฯในครั้งนั้น ว่า ตนเป็นหนึ่งในผู้มีรายชื่อตามเอกสารแนบท้ายฏีกา แต่ลายมือชื่อตามที่ปรากฏในนั้นไม่ใช่ของตน นอกจากนั้นยังพบข้อพิรุธในการเซ็นต์ชื่ออีกหลายจุด ซึ่งล้วนน่าสงสัย และชวนคิดได้ว่า นี่คือลายมือชื่อปลอม จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด มีคำสั่งให้ตรวจสอบข้อพิรุธดังกล่าว และเพื่อพิสูจน์ให้แจ้งชัด เพราะหากเป็นอย่างนั้นจริง ถือว่าเจตนาหมิ่นเบื้องสูง เพราะเป็นการทูลเท็จ จนขณะนี้ก็ยังไม่ทราบว่าผลการสอบเหล่านั้นถึงที่สุดแล้วหรือไม่ อย่างไร จากข้อสังเกต ข้อสงสัย และคำถามที่ได้หยิบยกมานี้ ไม่ทราบได้ว่าจะได้รับคำตอบได้อย่างไร และจากใคร หรือใครจะเป็นคำสมควรตอบ หากแต่เป็นประเด็นที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง นี่ขนาดว่ายังไม่ได้โยงใยกับประเด็นท่าเรือน้ำลึกปากบารา และการจัดสรรพื้นที่เพื่อการนิคมอุตสาหกรรม มาให้ขบคิดอย่างมีเหตุมีผลนะครับ หากแต่เบื้องต้นมีข้อมูลที่แสดงอยู่ในเอกสารโครงการยุทธศาสตร์ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ของกรมเจ้าท่า ที่ปรากฏอยู่ด้วยว่าจะต้องจัดหาแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อสำรองไว้ใช้กับโครงการดังกล่าว สงสัยว่างานนี้คนสตูลคงโดนปั่นหัวกันหลายตะหลบแล้วละครับ เมื่อเป็นอย่างนี้จึงเชื้อเชิญให้พวกเราคนสตูล และคนในพื้นที่ที่จะได้รับผลได้ หรือผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากโครงการดังกล่าวนี้ ได้โปรดพินิจ พิเคราะห์ด้วยเหตุ ด้วยผล และศึกษาสืบค้นข้อมูล ข้อเท็จจริง และเชื่อมโยงให้เป็นระบบ..ก็จะทำให้เห็นถึงซอกหลืบอะไรบางอย่างที่มันซ่อนเร้นอยู่ มากกว่าที่เราคิด และทั้งนี้เพื่อจะได้ร่วมกันคิด ตริตรอง และร่วมกันตัดสินใจต่อชะตากรรมของตัวเอง..ว่า..ที่สุดแล้ว จังหวัดสตูลมีความจำเป็นแค่ไหน อย่างไรที่จะต้องสร้างเขื่อน..ในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่เรียกว่า..”คลองช้าง” (คิดเอาเถอะครับ..) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
รองอธิบดีป่าไม้ ร่วมกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง เดินสำรวจแนวเขตป่าที่ถูกบุกรุก Posted: 05 Mar 2012 06:28 AM PST รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ และเจ้าพนักงานสอบสวนคดีอาญา ร่วมกับชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ม่รำพึง เดินสำรวจและชี้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เครือสหวิริยาบุกรุกรวม 798 ไร่
2-3 มีนาคม นายประยุทธ หล่อสุวรรณศิริ รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ และเจ้าพนักงานสอบสวนคดีอาญาที่ 262/2554 กรณีเครือสหวิริยาขัดคำสั่งทางปกครอง ม. 25 ของนายอำเภอบางสะพานในฐานะเจ้าพนักงานดูแลป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง ที่ออกคำสั่งให้งดกระทำการใดๆ ในพื้นที่และออกจากป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึงตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 53 ได้ร่วมกับชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ม่รำพึงเดินสำรวจและชี้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เครือสหวิริยาบุกรุกรวม 798 ไร่ “ที่ทางกรมฯลงพื้นที่ในครั้งนี้เนื่องจากตัวแทนชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงได้ร้องขอให้ลงมาชี้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง เพื่อนำไปประกอบสำนวนคดีที่ทางเจ้าพนักงานสอบสวนอ้างกับชาวบ้านว่ายังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเหตุดังกล่าว เราจึงลงพื้นที่มา และจากการที่ผมได้ดูพื้นที่จริงก็เห็นได้ชัดว่าที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของป่าสงวนฯจริงโดยสภาพซึ่งผมยังแปลกใจว่าทำไมถึงมีการออกเอกสารสิทธิกันได้ และต้องขอบคุณชาวบางสะพานที่ช่วยเหลือราชการในการตรวจตราและนำพื้นที่ป่าคืนให้กับชาติ เราก็จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเต็มที่” นายประยุทธ กล่าว ด้านนายแช่ม ทองห่อ ชาวบ้านที่ร่วมเดินสำรวจ บอกว่าหลักหมุดเดิมโดนขยับหลายที่ ตนรู้เพราะที่บริเวณนี้พี่ชายเคยมีกรรมสิทธิ ”สทก.”ที่ทางราชการออกให้ แต่ปัจจุบันได้เป็นกรรมสิทธิของบริษัทสหวิริยาหมดแล้ว “ในการเดินสำรวจและชี้แนวเขตในครั้งนี้ ผมดีใจที่กรมป่าไม้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่หากชาวบ้านไม่เหมารถขึ้นไปเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีการขยับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมป่าไม้หรือไม่ เพราะเรื่องการบุกรุกกระทั่งเพิกถอนที่ดิน 52 แปลงของแม่รำพึง มันยิ่งว่า มหากาพย์ ที่เมื่อใดชาวบ้านไม่เคลื่อนไหว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เข้าเกียร์ว่างเช่นกัน ใครจะเชื่อว่า ใช้เวลาในการจัดการเกือบ 20 ปี ยังไปไม่ถึงไหน ผมและชาวบ้านถามนายอำเภอ นายก็ว่าให้ป่าไม้สำนัก 10 ป่าไม้โยนให้ที่ดิน ที่ดินอ้างกลับป่าไม้อีกส่วนพนักงานสอบสวนก็อ้างการชี้แนวเขต อ้างกันมาปีกว่า สำนวนยังไม่เสร็จ แต่หลังจากวันนัผมหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ นายอำเภอบางสะพานคนใหม่ ในฐานะเจ้าพนักงานผู้ควบคุมดูแลป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง คงต้องเร่งดำเนินการเรื่องนี้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรมเสียที” นายวิฑูรย์ บัวโรย ประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง กล่าว ทั้งนี้หลังจากเดินสำรวจในช่วงเย็นชาวบ้านและรองอธิบดี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสรุปงานอย่างเป็นทางการซึ่งผู้สื่อข่าวจะติดตามเพื่อนำเสนอต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
‘สุรชัย’ร่วม 8 ผู้ต้องขัง112 เตรียมยื่นจม.นายกฯ ดันรัฐบาลขออภัยโทษ Posted: 05 Mar 2012 06:27 AM PST
5 มี.ค.55 นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยานายสุรชัยกล่าวว่าได้เข้าเยี่ยมสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ที่เรือนจำ และนายสุรชัยได้เสนอแนวทางช่วยเหลือผู้ต้องขังเสื้อแดงและผู้ต้องขังตามมาตรา 112 สำหรับรัฐบาลว่า สำหรับผู้ที่คดีเด็ดขาดแล้ว รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมสามารถถวายเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระมหากษัตริย์ได้ เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259,260,261 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีด้วยซ้ำที่จะต้องถวายความเห็นว่าผู้ต้องขังควรหรือไม่ควรได้รับพระราชทานอภัยโทษ นายสุรชัยระบุด้วยว่า เขาอยู่ระหว่างการร่างหนังสือร้องทุกข์ต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนักโทษทางการเมืองที่คดีเด็ดขาดแล้ว โดยจะให้นักโทษคดีหมิ่นฯ ที่คดีสิ้นสุดแล้ว 8 คน ร่วมลงนามด้วย จากนั้นจะให้ญาติของผู้ต้องขังนำไปยื่นต่อนายกฯ เร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ผู้ต้องขังคดีหมิ่นที่นายสุรชัยระบุชื่อ ได้แก่ สุรชัย, สมยศ, เลอพงษ์ หรือ โจ กอร์ดอน, เสถียร, วันชัย, ณัฐ, สุชาติ และดารณี หรือ ดา ตอร์ปิโด สุรชัย ระบุด้วยว่า สำหรับผู้ที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณาคดี นายกรัฐมนตรีในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร ควรหารือกับประมุขฝ่ายตุลาการคือประธานศาลฎีกา เพื่ออธิบายให้ฝ่ายตุลาการเข้าใจว่าคดีต่างๆ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกับคนเสื้อแดง ขณะที่กลุ่มการเมืองอีกกลุ่มก็มีคดีตามกฎหมายแต่ไม่ถูกจับกุมคุมขังแต่อย่างใด นอกจากนี้แม้แต่บรรดาแกนนำของเสื้อแดงก็ล้วนได้ประกันตัวหมดแล้ว แต่มวลชนยังอยู่เต็มคุก ทำให้ระบบต่างๆ ถูกตั้งคำถามและสร้างความลำบากใจให้รัฐบาลที่ประชาชนคนเล็กคนน้อยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวในคดีการเมือง อนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 ระบุว่า ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใด ๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้า ฯ ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้ มาตรา 260 ระบุว่า ผู้มีเรื่องราวซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำ จะยื่นเรื่องราวต่อพัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้ เมื่อได้รับเรื่องราวนั้นแล้ว ให้พัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว แล้วให้รีบส่งเรื่องราวนั้นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มาตรา 261 ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมี หน้าที่ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควร จะถวายคำแนะนำต่อ พระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้ มาตรา 261ทวิ ระบุว่า ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นเป็น การสมควรจะถวาย คำแนะนำต่อพระมาหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้อง โทษก็ได้ การพระราชทานอภัยโทษตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
หมายเหตุ ขออภัย ประชาไทแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดบางส่วน (6 มี.ค. 0.24 น.) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
‘โรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง’ เข้าสู่โหมดสงครามข้อมูลข่าวสาร Posted: 05 Mar 2012 06:15 AM PST “เกือบ 1 ปีแล้ว มีคนพากำนัน ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางส่วน ไปดูงานที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีการแจกของให้ชาวบ้านด้วย เข้าไปดูเองซิ บริเวณสวนปาล์มติดป่าชายเลนนั่นแหละ ที่ถูกกว้านซื้อเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน” ชาวบ้านคนหนึ่งบอก พลางชี้นิ้วไปตามเส้นทางแล้วหลบหน้าเข้าบ้านในทันที 0 0 0 ข่าวคราวโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง เริ่มปรากฏต่อสาธารณะชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 เมื่อนายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดตรัง ณ ศาลากลางจังหวัดตรัง นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ชี้แจงถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ตรัง และจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ว่า ภาคใต้ใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 2,263 เมกะวัตต์ แต่กำลังผลิตของภาคใต้มีเพียงแค่ 2,135 เมกะวัตต์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องรับซื้อไฟฟ้ามาจากภาคกลาง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น “หากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ตรัง จะทำให้จังหวัดตรังและจังหวัดอื่นในภาคใต้มีไฟฟ้าใช้ด้วย ซึ่งนับวันปริมาณเชื้อเพลิงสำรองประเภทก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีไม่ถึง 20 ปี ขณะที่ถ่านหินลิกไนต์สำรองที่เหมืองแม่เมาะเหลือไม่ถึง 30 ปี จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้า หากไม่ได้สร้าง รัฐบาลจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากตะวันออกกลาง ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น” นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ อธิบายถึงความจำเป็นของการสร้างโรงไฟฟ้า ต่อหน้าหัวหน้าส่วนราชการ นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ชี้แจงถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในจังหวัดตรัง มีอยู่ 3 พื้นที่ คือ บ้านทุ่งค่าย ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง, บ้านหาดทรายขาว ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง และบ้านนายอดทอง ตำบลวังวน อำเภอกันตัง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีเรือขนส่งถ่านหินอยู่แล้ว และมีพื้นที่ขนาด 1,000 ไร่รองรับ เหมาะต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้า “ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการลงพื้นที่ให้ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จากการพบปะกับผู้นำชุมชน ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้แสดงท่าทีคัดค้านหรือให้การสนับสนุน แต่ยินดีเป็นผู้ประสานงานให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” นายสุมิต บอกถึงขั้นตอนและท่าทีของชุมชนต่อโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง ต่อมา นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าราชการอำเภอกันตัง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ศาลาประชาคมอำเภอกันตัง สำหรับเหตุผลที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคัดเลือกอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 ใน 9 โรงของภาคใต้ นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล บอกว่า เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการขนส่งถ่านหินทางทะเล จากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียเข้ามาได้ง่าย ส่วนกรณีที่ชาวบ้านกังวลว่า โรงไฟฟ้าถ่านหิน จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่นั้น นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล ยืนยันว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยในระบบปิดตั้งแต่ขั้นตอนการขนส่งทางทะเล จนถึงกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้า “จะมีการติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฝุ่นก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ ระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำ มีหอหล่อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิน้ำ ให้มีระดับใกล้เคียงแหล่งน้ำธรรมชาติ มีโรงบำบัดน้ำทิ้งและกักเก็บในบ่อพัก เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของ กฟผ.” นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล ย้ำ ต่อมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดตรัง ประกอบด้วย ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำตรัง มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิอันดามัน โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา ร่วมกันจัดเวทีเรียนรู้ “โรงไฟฟ้าถ่านหินดีจริงหรือ?” ที่ห้องประชุมคอซิมบี้เทศบาลเมืองกันตัง มีผู้คนเข้าร่วมประมาณ 150 คน “ผมอ่านเอกสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดูแล้ว ผมเชื่อว่าพิษภัยของโรงไฟฟ้าถ่านหิน คงไม่เลวร้ายเหมือนโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอดีต เดี๋ยวนี้มีเทคโนยีใหม่ๆ ที่มีมาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะเขียนข้อมูลเท็จลงในเอกสาร” ชายคนหนึ่งพูดผ่านไมโครโฟนพลางชูเอกสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นเอกสารตอบโต้กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ที่ออกมาให้ข้อมูลถึงอันตรายที่ชุมชนจะได้รับจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยอ้างอิงรายงานการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังกับโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 700 เมกะวัตต์ ของบริษัท เก็คโค่–วัน จำกัด จังหวัดระยอง ขณะที่เจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบอกว่า ขณะนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง อยู่ในขั้นตอนการลงพื้นที่ให้ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นประชาชน ยังไม่ได้คัดเลือกสถานที่ และยังไม่มีการซื้อที่ดิน ทว่า รายงานการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบุแผนดำเนินการคัดเลือกสถานที่ว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554–วันที่ 30 มีนาคม 2554 จากนั้นเริ่มกระบวนการจัดซื้อสถานที่ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2554–วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ส่วนขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2554–วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 จึงไม่แปลกที่ช่วงท้ายของ “เวทีโรงไฟฟ้าถ่านหินดีจริงหรือ?” ผู้เข้าร่วมเวทีจึงเรียกร้องให้จัดเวทีสาธารณะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ทั้งในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด โดยให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประสานงานเชิญเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาเปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับรู้ข้อมูลอย่างรอบด้าน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
คนสตูลลุกฮือต้านเขื่อนคลองช้าง ล้มเวทีกรมชลฯนำเสนอร่างอีไอเอ Posted: 05 Mar 2012 06:05 AM PST คนสตูลลุกฮือต้านเขื่อนทุ่งนุ้ย ล้มกรมชลประทานนำเสนอร่าง EIA ชี้ไม่ศึกษาชุมชนผลกระทบตรง ตั้งข้อสังเกตชั้นหินผุ-จุดเสี่ยงดินถล่ม-ใกล้เหมืองระเบิดหิน ผู้ว่าฯลูกล่อลูกชนแพรวพราว ท้ายสุดจำนนยอมยกเลิกเวที
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 5 มีนาคม 2555 ชาวบ้านตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประมาณ 500 คน รวมตัวกันบริเวณหน้าโรงแรมพินนาเคิลวังใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งกรมชลประทานและบริษัทที่ปรึกษาจัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการและจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองช้าง (เขื่อนทุ่งนุ้ย) โดยมีการเปิดปราศรัยบนรถแห่ ถือธงเขียว แจกแถลงการณ์คัดค้านโครงการอ่างเก็บน้ำคลองช้าง (เขื่อนทุ่งนุ้ย) และปิดป้ายผ้าเพื่อไม่ให้มีการจัดเวที นายยุทธนา มรรคาเขต สารวัตรกำนันตำบลทุ่งนุ้ย ปราศรัยว่า กระบวนการศึกษาเขื่อนคลองช้าง ไม่ได้สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการจริง เพราะจากเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อย 3 ครั้ง ที่ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 % ต่างมีความเห็นว่ เขื่อนคลองช้างไม่เหมาะสมที่จะสร้างในพื้นที่จังหวัดสตูล แต่กลับไม่ปรากฏความเห็นดังกล่าวในบทสรุปของเอกสารรายงานแต่อย่างใด “การศึกษา EIA ไม่ครอบคลุม เช่นโรงโม่หินอยู่ห่างจากที่ตั้งสันเขื่อนไม่กี่กิโลเมตร เกิดแรงสั่นสะเทือนในการระเบิดหิน รวมถึงจังหวัดสตูลเป็นชั้นหินผุ และตำบลทุ่งนุ้ยยังเป็นจุดเสี่ยงภัยดินโคลนถล่มด้วยเป็นจุดเสี่ยงสำคัญต่อความปลอดภัยของเขื่อน” นายยุทธนา กล่าว นายสุกรี เศษระนำ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองช้าง ปราศรัยว่า มีการกล่าวอ้างเหตุผลการสร้างเขื่อนจากกรมชลประทานว่ามีประชาชนกลุ่มหนึ่งรวมตัวถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานเขื่อน แต่เมื่อตรวจสอบพบว่ามีการราษฎรจำนวนมาก จนอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลมีคำสั่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง เนื่องจากเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง จนบันนี้ก็ยังไม่มีผลสอบที่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร จึงถือเป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ชอบตั้งแต่ต้น “ชาวบ้านต้องการพบกับผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงถึงเหตุผลที่คัดค้านอ่างเก็บน้ำคลองช้าง และให้ยุติเวทีปัจฉิมนิเทศโครงการในวันที่ 5 มีนาคม 2555 นี้ไว้ก่อน เพื่อสร้างความกระจ่างตามข้อสังเกตเบื้องต้น” นายสุกรี กล่าว ต่อมาเวลา 10.27 น. นายพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้มาพบกับชาวบ้านที่หน้าเวที ก่อนขึ้นเวทีปราศรัยพูดคุยกับชาวบ้าน จากนั้นนายสุกรี ได้ยื่นหนังสือขอให้นายพิศาล ตรวจสอบกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนคลองช้าง โดยนายพิศาล รับปากว่าตนจะตรวจสอบกรณีการปลอมรายชื่อชาวบ้านเพื่อขอพระราชทานเขื่อน โดยให้ตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมเวทีการนำเสนอร่าง EIA อ่างเก็บน้ำคลองช้าง แล้วขึ้นไปยังห้องตะรุเตา โรงแรมพินนาเคิลวังใหม่ เพื่อเปิดเวทีของกรมชลประทาน ในเวลา 10.43 น. นายสมบูรณ์ คำแหง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ถามชาวบ้านตัดสินใจว่าจะส่งตัวแทนเข้าเวทีของกรมชลประทาน หรือไม่เข้าเวทีแล้วกลับไปยังตำบลทุ่งนุ้ยเพื่อปิดถนนยนตรการกำธร (หาดใหญ่-สตูล) แต่ต้องล้มเวทีก่อน เวลา 10.50 น. ชาวบ้านจึงฮือล้มเวทีการนำเสนอร่าง EIA อ่างเก็บน้ำคลองช้าง นายพิศาล ต้องขอเจรจากับตัวแทนชาวบ้าน “อะไรที่ทำเพื่อประชาชน ผมพร้อมจะปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นเอ็นจีโอ ข้าราชการ นักธุรกิจ ผมไม่อยากให้มีการปิดถนน ผมอยากให้มีการพูดคุยกันไม่ใช่มาคัดค้าน ถ้าสร้างกลุ่มคัดค้านผมก็สร้างได้โดยการเกณฑ์คนมาสัก 5 พันคน ผมจำได้ว่ามีคนสงขลามาคัดค้านด้วย” นายพิศาล กล่าว ชาวบ้านตอบว่า ใช่ เป็นชาวบ้านจากบ้านคลองกั่ว ตำบลรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกับตำบลทุ่งนุ้ย ซึ่งหากมีการก่อสร้างเขื่อนก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน เวลา 11.15 น. นายพิศาล จึงประกาศยกเลิกเวทีการนำเสนอร่าง EIA อ่างเก็บน้ำคลองช้าง ท่ามกลางเสียงปรบมือของชาวบ้าน ต่อมาเวลา 11.24 น. ที่ห้อง 302 โรงแรมพินนาเคิลวังใหม่ นายพิศาล ได้เจรจากับตัวแทนชาวบ้าน 12 คน ตัวแทนชาวบ้านเสนอให้นายพิศาล ดำเนินการตรวจสอบกรณีมีการปลอมรายชื่อชาวบ้านถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานเขื่อน เสนอให้พัฒนาฝายดุสน ที่ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน ซึ่งตื้นเขิน และให้นายพิศาลในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลเป็นเจ้าภาพประสานงานกับกรมชลประทานศึกษาพัฒนาสายน้ำต่างๆ ในจังหวัดสตูล โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยนายพิศาล รับปากว่าจะดำเนินการตามที่ตัวแทนชาวบ้านเสนอ นายพิศาล กล่าวหลังการเจรจาเสร็จสิ้นว่า เมื่อชาวบ้านบอกว่าข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษา ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ตนจึงต้องยุติเวทีการนำเสนอร่าง EIA อ่างเก็บน้ำคลองช้าง เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่มาบอกว่าไม่ต้องการเขื่อน จากนี้อาจมีโครงการประเภทอื่นที่แก้ปัญหาเรื่องน้ำมาดำเนินการ “ก่อนที่ผมจะย้ายมาเป็นผู้ว่าฯ สตูลก็ติดตามข่าวสารภายในจังหวัดตลอด ต่อไปผมจะแก้ปัญหาเดิมทีมีอยู่ ไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ให้เกิดขึ้น และพัฒนาสตูลให้เป็นแบบสตูล ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการพัฒนา ทุกๆ โครงการในจังหวัดสตูลประชาชนต้องมีส่วนร่วม” นายพิศาล กล่าว กระทั่งในเวลา 11.51 น. นายพิศาล ได้ขึ้นเวทีปราศรัยชาวบ้านอีกครั้ง เพื่อบอกเล่าถึงผลการเจรจากับตัวแทนชาวบ้าน ท่ามกลางเสียงปรบมือและเฮลั่น ก่อนที่กลุ่มชาวบ้านจะสลายตัวในเวลา 12.00 น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ชาวไทยพุทธหยุดพึ่งรัฐ ขอเจรจาขบวนการยุติศึกไฟใต้ Posted: 05 Mar 2012 05:47 AM PST เวทีชุมชุนสะท้อนเสียง 3 ศาสนา รัฐดูแลไม่เท่าเทียม ชาวไทยพุทธหยุดพึ่งรัฐ ขอเจรจาขบวนการยุติศึกไฟใต้ เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 มีนาคม 2555 ห้องประชุมรามัน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มูลนิธิศักยภาพชุมชน จัดเวทีหารือเครือข่ายชาวมุสลิม ชาวพุทธและชาวจีน เรื่อง “ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ความเห็นของผู้หญิง เยาวชน และ ผู้นำชุมชน” มีผู้เข้าร่วม 40 คน นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน รายงานผลการจัดเวทีชุมชน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 รวม 70 เวที มีผู้เข้าร่วม 900 กว่าคน นางชลิดา รายงานว่า ชาวบ้านทั้ง 3 ศาสนาต่างสะท้อนความรู้สึกออกมาว่า ตนได้รับการดูแลจากรัฐบาลน้อยกว่าศาสนาอื่น เช่น ชาวพุทธมองว่า เจ้าหน้าที่รัฐให้ความสำคัญกับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบชาวมุสลิมมากกว่า โดยดูโครงการช่วยเหลือต่างๆ ที่ลงสู่หมู่บ้านมุสลิมก่อน อีกทั้งข้อเสนอของชาวมุสลิมมักได้รับการตอบรับ "ชาวบ้านไทยพุทธมองว่า รัฐเอาใจมุสลิมมากกว่า เช่น บางหน่วยงานรัฐ เปิดรับสมัครผู้ที่พูดภาษามลายูได้ แต่ ชาวพุทธพูดภาษามลายูไม่ได้" นางชลิดา รายงานต่อไปว่า ขณะที่ชาวมุสลิมมองว่า เจ้าหน้าที่รัฐดูแลชาวพุทธมากกว่าชาวมุสลิม ส่วนคนจีนมองว่า ที่ผ่านมาเปรียบเสมือนลูกเลี้ยง คือไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ ทั้งนี้ชาวบ้านทั้ง 3 ศาสนาต่างมีข้อเสนอเหมือนกัน คือขอให้รัฐปฏิบัติกับชาวบ้านทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน อย่าลำเอียง หรือเอาใจฝ่ายใดฝ่าย “ทั้งสามศาสนาต่างมองว่าตนถูกละเลยและเห็นว่ารัฐเอาใจอีกฝ่ายมากกว่า จึงเกิดคำถามว่า เจ้าหน้าที่ที่ลงไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างไร ทำไมจึงทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้นได้”นางชลิดากล่าว นางชลิดา รายงานว่า ชาวบ้านต่างสะท้อนให้เห็นว่า เพราะการแก้ปัญหาของรัฐบาลนั้น ไม่เคยฟังชาวบ้าน ชาวบ้านจึงต้องพึ่งตัวเอง โดยการรวมกลุ่มหางบประมาณกันเอง เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมของกลุ่ม ชาวไทยพุทธส่วนหนึ่งที่เป็นเหยื่อจากการฆ่ารายวัน จึงอยากให้ขบวนการก่อความไม่สงบ ออกมาบอกพวกตนโดยตรง ว่าจะต้องการอะไร พวกตนอยากเจรจาต่อรองกับขบวนการโดยตรง เพราะพวกตนอาศัยในพื้นที่มานาน ไม่อยากย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะไม่มีต้นทุนเริ่มต้นชีวิตใหม่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับการให้เงินช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รายละ 7.5 ล้านบาท เพราะเกินความจำเป็น และกังวลว่า จะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการฆ่าในจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น และต้องใช้งบประมาณสูง งบประมาณแผ่นดินอาจมีไม่พอ การเยียวยาควรเป็นการสร้างหลักประกันในชีวิต เช่น สนับสนุนทุนการศึกษา สนับสนุนอาชีพแก่แม่หม้าย นางสาวชลิดา รายงานต่อไปว่า ชาวบ้านทั้ง 3 ศาสนา มองว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความซับซ้อนมาก ทั้งการแบ่งแยกดินแดน การเมืองท้องถิ่น ยาเสพติด การค้าของเถื่อน การทุจริต ทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
บอร์ด สปสช.มีมติเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวปี 55 อีก 209 บาท Posted: 05 Mar 2012 05:43 AM PST วิทยา"เผยบอร์ด สปสช.มีมติอนุมัติเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวปี 55 เพื่อให้การบริหารคล่องตัว เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาแนวทางการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีข้อเสนอให้มีการปรับปรุงกรอบวงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2555 ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ซึ่งที่ประชุมบอร์ดได้เห็นชอบอนุมัติตามกรอบวงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะนำงบประมาณ 2555 มาใช้ในงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2555 จำนวน 2,755.60 บาทต่อประชากร เพิ่มจากปี 2554 ที่ได้รับ 2,546.48 บาทต่อประชากร นายวิทยา กล่าวว่า งบประมาณจำนวนดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ตามกรอบที่เสนอมาประกอบด้วย 1.งบเหมาจ่ายรายหัว 100,391,131,000 ล้านบาท สำหรับประชากร 48,333,000 คน 2.งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์ 2,940.055 ล้านบาท สำหรับประชากร 157,600 คน 3.งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 3,857.893 ล้านบาท สำหรับประชากร 21,476 คน 4.งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง 437.895 ล้านบาท สำหรับประชากร 1,614,210 คน 5. งบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช 187.141 ล้านบาท สำหรับประชากร 111,172 คน นายวิทยา ยังกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยได้หารือร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งครั้งนั้นมีข้อสรุปว่า จะมีกิจกรรมที่ปรับเพิ่มขึ้นเพิ่มเติมใน 4 ประเด็น คือ 1.การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาเครือข่ายบริการแบบครบวงจรภายในพื้นที่ตาม Service Plan ของกระทรวงสาธารณสุข 2.สนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยฯของกระทรวงสาธารณสุข 3.สนับสนุนการอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม.ในการจัดการสุขภาพชุมชน ผ่านการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล 4.สนับสนุนการพัฒนาคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพระดับจังหวัด ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ข้อสรุปเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในหลายประเด็น อาทิการลดอัตราตายโรคหัวใจขาดเลือด ให้เหลือร้อยละ 1 และอัตราตายโรคหลอดเลือดสมองให้เหลือเพียงร้อยละ 1 รวมทั้งในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 60 และให้ผู้ป่วยนอกร้อยละ 10 ได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พิจารณาสนับสนุนการดำรงรักษาแพทย์ที่ทำงานในพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น พื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล ภายใต้การดำเนินงานโครงการสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการแบบครบวงจร นอกจากนี้แล้ว รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวถึงความคืบหน้าของการบรูณาการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ คือกองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคมและกองทุนประกันสุขภาพ 30 บาทเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหลังจากที่มีนโยบายการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้ได้รับบริการที่เร็วที่สุด ซึ่งจะเริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศทั้งรัฐและเอกชนโดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว ไม่มีการถามสิทธิ์อีกต่อไป ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินล่วงหน้า ในการเตรียมพร้อมเริ่มระบบบริการดังกล่าว ได้มอบหมายให้นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช.หารือข้อสรุปการบริหารค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินร่วมกันของ 3 กองทุนให้เสมอภาคและเท่าเทียม อย่างไรก็ตาม ในวันนี้นายแพทย์ไพจิตร์ ได้เชิญหน่วยบริการประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติกับโรงพยาบาลในสังกัด และประสานโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ตำรวจ กลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียว นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า การเตรียมพร้อมเริ่มระบบบริการนั้น สปสช.ทำหน้าที่ 2 ประการ คือจัดทำโปรแกรมรองรับการเบิกจ่ายหรือทำหน้าที่เป็นหน่วยระบบจ่ายกลาง (Clearing house) ในการจ่ายค่าชดเชยบริการ.ให้หน่วยบริการทั้ง 3 กองทุน ซึ่งจะต้องประชุมชี้แจงหน่วยบริการเพื่อให้เข้าใจวิธีการเบิกจ่าย หากระบบต่างๆ มีความพร้อมจะดำเนินการทั้งโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและเอกชนทุกแห่งทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน เตรียมจัดทำฐานข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลของ 3 กองทุนลงฐานข้อมูล 1330 และจัดประชุมให้เจ้าหน้าที่ มีข้อมูลเพื่อจะตอบข้อสงสัยให้กับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ คาดว่าเมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการในวันนี้แล้ว (5 มีนาคม) จะเร่งดำเนินการต่อไป.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
บอร์ด สปสช.มีมติเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวปี 55 อีก 209 บาท Posted: 05 Mar 2012 05:43 AM PST วิทยา"เผยบอร์ด สปสช.มีมติอนุมัติเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวปี 55 เพื่อให้การบริหารคล่องตัว เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาแนวทางการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีข้อเสนอให้มีการปรับปรุงกรอบวงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2555 ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ซึ่งที่ประชุมบอร์ดได้เห็นชอบอนุมัติตามกรอบวงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะนำงบประมาณ 2555 มาใช้ในงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2555 จำนวน 2,755.60 บาทต่อประชากร เพิ่มจากปี 2554 ที่ได้รับ 2,546.48 บาทต่อประชากร นายวิทยา กล่าวว่า งบประมาณจำนวนดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ตามกรอบที่เสนอมาประกอบด้วย 1.งบเหมาจ่ายรายหัว 100,391,131,000 ล้านบาท สำหรับประชากร 48,333,000 คน 2.งบบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์ 2,940.055 ล้านบาท สำหรับประชากร 157,600 คน 3.งบบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 3,857.893 ล้านบาท สำหรับประชากร 21,476 คน 4.งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง 437.895 ล้านบาท สำหรับประชากร 1,614,210 คน 5. งบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช 187.141 ล้านบาท สำหรับประชากร 111,172 คน นายวิทยา ยังกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยได้หารือร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งครั้งนั้นมีข้อสรุปว่า จะมีกิจกรรมที่ปรับเพิ่มขึ้นเพิ่มเติมใน 4 ประเด็น คือ 1.การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาเครือข่ายบริการแบบครบวงจรภายในพื้นที่ตาม Service Plan ของกระทรวงสาธารณสุข 2.สนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยฯของกระทรวงสาธารณสุข 3.สนับสนุนการอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม.ในการจัดการสุขภาพชุมชน ผ่านการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล 4.สนับสนุนการพัฒนาคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพระดับจังหวัด ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ข้อสรุปเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในหลายประเด็น อาทิการลดอัตราตายโรคหัวใจขาดเลือด ให้เหลือร้อยละ 1 และอัตราตายโรคหลอดเลือดสมองให้เหลือเพียงร้อยละ 1 รวมทั้งในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 60 และให้ผู้ป่วยนอกร้อยละ 10 ได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พิจารณาสนับสนุนการดำรงรักษาแพทย์ที่ทำงานในพื้นที่ที่มีปัญหา เช่น พื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล ภายใต้การดำเนินงานโครงการสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการแบบครบวงจร นอกจากนี้แล้ว รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวถึงความคืบหน้าของการบรูณาการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ คือกองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคมและกองทุนประกันสุขภาพ 30 บาทเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหลังจากที่มีนโยบายการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้ได้รับบริการที่เร็วที่สุด ซึ่งจะเริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศทั้งรัฐและเอกชนโดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว ไม่มีการถามสิทธิ์อีกต่อไป ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินล่วงหน้า ในการเตรียมพร้อมเริ่มระบบบริการดังกล่าว ได้มอบหมายให้นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช.หารือข้อสรุปการบริหารค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินร่วมกันของ 3 กองทุนให้เสมอภาคและเท่าเทียม อย่างไรก็ตาม ในวันนี้นายแพทย์ไพจิตร์ ได้เชิญหน่วยบริการประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติกับโรงพยาบาลในสังกัด และประสานโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ตำรวจ กลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียว นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า การเตรียมพร้อมเริ่มระบบบริการนั้น สปสช.ทำหน้าที่ 2 ประการ คือจัดทำโปรแกรมรองรับการเบิกจ่ายหรือทำหน้าที่เป็นหน่วยระบบจ่ายกลาง (Clearing house) ในการจ่ายค่าชดเชยบริการ.ให้หน่วยบริการทั้ง 3 กองทุน ซึ่งจะต้องประชุมชี้แจงหน่วยบริการเพื่อให้เข้าใจวิธีการเบิกจ่าย หากระบบต่างๆ มีความพร้อมจะดำเนินการทั้งโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐและเอกชนทุกแห่งทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน เตรียมจัดทำฐานข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลของ 3 กองทุนลงฐานข้อมูล 1330 และจัดประชุมให้เจ้าหน้าที่ มีข้อมูลเพื่อจะตอบข้อสงสัยให้กับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ คาดว่าเมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการในวันนี้แล้ว (5 มีนาคม) จะเร่งดำเนินการต่อไป.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
การปกครองท้องถินแบบมีส่วนร่วมเปรียบเทียบไทย - ฝรั่งเศส 1 หลักว่าด้วยการมีผู้แทนท้องถิ่นของฝรั่งเศส Posted: 05 Mar 2012 03:41 AM PST ชื่อบทความเดิม: ประชาธิปไตยท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นของฝรั่งเศสและไทย 1: หลักว่าด้วยการมีผู้แทนท้องถิ่นของฝรั่งเศส
บทนำ หลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมตัดสินใจกับหน่วยงานของรัฐซึ่งรวมไปถึงกิจกรรมต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนได้ ในรัฐสมัยใหม่เองนั้นภาระกิจของรัฐย่อมที่จะต้องเกี่ยวพันกับความต้องการของประชาชนอันเป็นภาระกิจพื้นฐาน อย่างไรก็ตามปัจจุบันความต้องการขอประชาชนนั้นมีความหลากหลายมากขึ้นและรัฐเองคงไม่สามรถที่จะตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้โดยลำพัง รัฐจึงเลือกที่จะกระจายอำนาจของตนจากเดิมที่เคยเป็นลักษณะของการรวมศูนย์อำนาจ(centralisation)มาสู่การแบ่งอำนาจ(déconcentration)และจนมาถึงการกระจายอำนาจ(décentralisation) เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการที่รวดเร็วและรวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตัดสินใจต่างๆได้ อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นยังไม่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัดอันเนื่องมาจากข้อจำกัดในหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเสียสิทธิ์อันเนื่องมาจากการไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือการไม่รู้ถึงสิทธิ์ในการเข้ามีส่วนร่วม ในประเทศฝรั่งเศสเองหากดูจากประวัติศาสตร์แล้วจะเห็นว่าในทุกๆการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญล้วนมีการริเริ่มมาจากประชาชนทั้งสิ้น หากแต่ในการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นพลเมืองชาวฝรั่งเศสเองก็มีสิทธิตามกฎหมายที่ไม่แตกต่างจากคนไทยเท่าไหร่นักแต่สิ่งที่แตกต่างกันอาจจะเป็นการที่คนฝรั่งเศสเองตระหนักและรักษาสิทธิของตนเองมากกว่าคนไทยก็เป็นได้ การปกครองส่วนท้องถิ่นของฝรั่งเศสเองก็มีรูปแบบที่ไม่แตกต่างจากของไทยมากนักแต่ประชาช่นกลับมีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมมากกว่า งานเขียนชิ้นนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่างของการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่นของประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสเพื่อเป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมของท้องถิ่น
หลักประชาธิปไตยท้องถิ่น (La démocratie local) ประชาธิปไตยท้องถิ่นนั้นประกอบไปด้วยสองหลักการที่สำคัญคือหลักการว่าด้วยการมีผู้แทนและหลักการว่าด้วยการมีส่วนร่วม [1] ในส่วนของหลักการว่าด้วยการมีผู้แทนนั้นได้ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 72 วรรค2ของรัฐธรรมนูญ ได้แก่การที่พลเมืองเลือกผู้แทนของตนเข้าไปเพื่อใช้อำนาจและผู้แทนเหล่านั้นยังต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อพลเมืองอยู่ในส่วนของการมีส่วนร่วมนั้นคือพลเมืองสามารถเข้าไปมีส่วนในการโต้เถียงสาธารณะในประเด็นที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นและเรื่องเกี่ยวกับกิจจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมต่างๆในท้องถิ่นอาทิเช่นการกำหนดให้กิจกรรมบางประเภทของท้องถิ่นต้องผ่านการปรึกษาหารือจากประชาชนก่อนหรือการเปิดโอกาสให้ประชานเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรวมถึงการเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างๆมาใหข้อมูลแก่ประชาชนในแต่ละโครงการของท้องถิ่น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหลักประชาธิปไตยท้องถิ่นนั้นเป็นหลักในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆของท้องถิ่นโดยถือว่าประชาชนเป็นผู้เล่นที่สำคัญในกิจกรรมของท้องถิ่น 1. หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นโดยระบบผู้แทน (La démocratie local représentative) หากรัฐใดมีการชี้นำเจตนารมณ์ของประชาชนแล้วไซร้รัฐนั้นย่อมไม่ใช่รัฐประชาธิปไตยข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งว่าประชาชนที่ไม่สามารถพูดหรือเลือกตัวแทนของตนได้นั้นประเทศนั้นย่อมไม่ใช่ประชาธิปไตย [2] จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าในสังคมตะวันตกให้คุณค่ากับสิทธิของประชาชนในการแสดงออกและยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ประชาชนสามารถเลือกผู้แทนของตนได้โดยอิสระปราศจากการครอบงำ ในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นถือวาเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กเช่นองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นต้น เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดดังนั้นในการที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก็คือการให้สิทธิแก่ประชาชนในการเลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นนั้นๆ อยางไรก็ตามหลักการมีผู้แทนนั้นยังประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญอีกหลายประการไม่ว่าจะเป็นหลักการในการรับรู้(droit au savoir) หลักการว่าด้วยสิทธิในการพูด(droit à la parole) 1.1 หลักการในการรับรู้ (droit au savoir) สภาท้องถิ่นใช้อำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆโดยการออกเสียงของสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งการออกเสียงในข้อบัญญัติท้องถิ่นแต่ละฉบับนั้นสมาชิกสภาท้องถิ่นย่อมมีสิทธิในการรับรู้ถึงข้อมูลที่จำเป็นต่างๆเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งในอดีตการรับรู้ถึงข้อมูลต่างๆที่จำเป็นนั้นเกือบจะเป็นการผูกขาดโดยฝ่ายบริหารของท้องถิ่น ปัญหาในเรื่องการมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลที่จำเป็นของสมาชิกสภาท้องถิ่นนั้นถือเป็นปัญหาที่อยู่ใจกลางในการปฏิบัติงานตามหลักการว่าด้วยประชาธิปไตยท้องถิ่น - สิทธิของพลเมืองท้องถิ่นก่อนปี ค.ศ. 1992 สิทธิของพลเมืองท้องถิ่นในปัจจุบันนั้นไม่แตกต่างจากสมชิกสภาท้องถิ่นในการรับรู้ถึงข้อมูลต่างๆที่จำเป็นและมีผลกระทบต่อกิจกรรมของท้องถิ่นหากแต่ในก่อนปี 1992 นั้นสิทธิในการรับรู้ถึงข้อมูลของสมาชิกสภาท้องถิ่นแทบจะไม่แตกต่างจากสิทธิของประชาชนเลยจนทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องกลับมาทบทวนถึงเขตอำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาท้องถิ่นว่าควรจะมีการปรับปรุงอย่างไร เนื่องจากในอดีตมีเพยงแต่นายกเทศมนตรีเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเอกสารของฝ่ายปกครองได้ ในส่วนของเปรเฟต์ [3] นั้นไม่สามรถที่จะเข้าถึงข้อมูลที่ตนเองมีส่วนได้เสียได้ สิทธิในการรับรู้ข้อมูลของสมาชิกสภาท้องถิ่นไม่อาจถูกจำกัดได้และอาจเรียกข้อมูลเพิ่มเติมได้ในระหว่างวาระการประชุมเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ในส่วนของสมาชิกสภาจังหวัดและสมาชิกสภาภาคนั้นสิทธิในการรับรู้ข้อมูลเกิดขึ้นครั้งแรกในปี1871และครั้งที่สองในปี 1972 หลักการรับรู้นี้ถือเป็นหลักสำคัญที่ช่วยให้สมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆได้อยางถ้วนถี่โดยดูข้อมูลต่างๆที่ได้รับมาประกอบกัน หลักการนี้ถือได้ว่าเป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยท้องถิ่น หลักการนี้ได้รับการรับรองโดยศาลปกครองในปี1973 1.1.1 สิทธิในการศึกษาอบรมเพิ่มเติม (droit à la formation) ในประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับการให้ตัวแทนของท้องถิ่นในระดับเทศบาล (commune) ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เล็กและใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดในการหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในการทำงานในฐานะของตัวแทนในระดับท้องถิ่นเพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการทำงานในด้านต่างๆองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องจัดสรรงบประมานส่วนหนึ่งไว้เพื่อเป็นการจัดการศึกษาอบรมเพิ่มเติมให้แก่ตัวแทนท้องถิ่น ทั้งนี้สิทธิดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในมาตรา L2123-12 ของประมวลกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [4] โดยมีใจความว่าสมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิในการเข้าศึกษาอบรมเพื่อที่จะนำไปใช้ในการทำงาน สิทธิในการศึกษาอบรมเพิ่มเติมนี้ให้สิทธิแก่ตัวแทนในระดับเทศบาลในการเลือกที่จะเข้าอบรมในสาขาใดสาขาหนึ่งที่สนใจและเป็นประโยชน์แก่การทำงานได้ซึ่งหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้องสามารถจัดอบรมให้โดยมหาวิทยาลัยหรือสถบันการเมืองต่างๆเช่นพรรคการเมืองเป็นต้น สิทธิในการศึกษาอบรมเพิ่มเติมนี้นอกจากจะให้แก่สมาชิกสภาเทศบาลแล้วกฎหมายยยังให้ขยายรวมไปถึงสมาชิกสภาความร่วมมือระหว่าเทศบาล (communauté d'agglomération) [5] และสมาชิกสภาความร่วมมือระหว่างเทศบาลขนดใหญ่ (Communauté urbaine ) [6] อีกด้วย 1.2 สิทธิในการพูด สิทธิในการพูดหรือสิทธิในการแสดงออกของตัวแทนท้องถิ่นนั้นเป็นสิทธิที่สำคัญในการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของท้องถิ่นเนื่องจากในการทำหน้าที่ตัวแทนของท้องถิ่นนั้นย่อมหลีดเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการโต้เถียงหรือเสนอความคิดเห็นเพื่อแสดงออกถึงความต้องการของส่วนรวมในเรื่องของสิทธิในการพูดนั้นสามารถแยกออกได้เป็นสองประเด็นคือสิทธิในการเสนอและสิทธิในการอภิปราย 1.2.1 สิทธิในการเสนอ (le droit de proposer) สิทธิในการเสนอให้บรรจุวาระข้อประชุม้องถิ่นนั้นเป็นสิทธิของตัวแทนท้องถิ่นทั้งในระดับเทศบาล ระดับจังหวัดและระดับภาคหรือแคว้นสิธิในการเสนอนี้ค่อนข้างกว้างซึ่งสิทธินี้สามารถเสนอได้ทั้งก่อนจะเริ่มการประชุมสภาท้องถิ่นหรือแม้แต่ระหว่างการประชุมสภาท้องถิ่น โดยที่สิทธิในการเสนอวาระก่อนที่จะเริ่มมีการประชุมสภาท้องถิ่นนั้นสมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นใหม่หรือร่างขอแก้ไขเพิ่มข้อบัญญัติท้องถิ่นเดิมก็ได้ ก่อนปี1992 การเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบัญญัติท้องถิ่นสามารถทำได้โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นในระดับเทศบาลที่มีประชากรมากกว่า3500คนโดยสมาชิกสภาจังหวัดและสมาชิกสภาภาคเท่านั้น ภายหลังกฎหมายปี1992 [7] สมาชิกสภาท้องถิ่นในทุกระดับสามารถเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือร่างขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบัญัติท้องถิ่นได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ สำหรัยเทศบาลที่มีประชากรน้อยกว่า3500คนต้องแจ้งวาระการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือร่างขอแก้ไขเพิ่มเติมก่อนการประชุมสภาท้องถิ่นเป็นเวลาสามวัน สำหรับเทศบาลขนาดอื่นให้เสนอวาระก่อนห้าวันและสิบสองวันสำหรับสมาชิกสภาจังหวัดและสภาภาค ในส่วนของสิทธิในการเสนอวาระระหว่างการประชุมนั้นได้มอบให้แก่สมาชิกสภาเทศบาลในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นระหว่างการประชุมในการเสนอข้อบัญญัติทุกเรื่องรวมถึงข้อบัญัติที่เกี่ยวข้องการงบประมานในส่วนของสมาชิกสภาจังหวัดและสภาภาคนั้นจะไม่ได้รับสิทธินี้เนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนสมาชิกที่มีจำนวนมากกว่าสมาชิกสภาเทศบาล 1.2.2 สิทธิในการอภิปราย (le droit de débattre) หลักประชาธิปไตยท้องถิ่นได้กำหนดสิทธิของสมาชิกสภาท้องถิ่นไว้ว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นมีสิทธิในการแสดงออกหรือเสนอความคิดเห็นได้โดยมีเงื่อนไขในการใช้สิทธินั้นสามประการด้วยกันคือ 1. สมาชิกสภาท้องถิ่นมีสิทธิในการเข้าประชุมสภาท้องถิ่นโดยไม่ถูกขัดขวางและต้องจัดให้มีการประชุมสภาท้องถิ่นไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้งในทุกๆสี่เดือนสำหรับสมาชิกสภาเทศบาล [8] ในส่วนของสภาจังหวัดและสภาภาคนั้นการประชุมสภาจัดขึ้นโดยประธานสภาจังหวัดและประธานสภาภาคตามลำดับโดยสมาชิกสภาจังหวัดหรือสภาภาคจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามสามารถยื่นคำร้องต่อประธานสภาเพื่อขอให้มีการเปิดประชุมสภาได้ 2. รัฐบัญญัติลงวันที่6 กุมภาพันธ์ 1992 ได้กำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิในการตั้งคำถามด้วยวาจาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นสำหรับเทศบาลที่มีประชากรต่ำกว่า3500คนการอภิปรายโดยวาจาเกี่ยวกับข้อบัญญัติภายในหรือข้อบัญญัติพิเศษไม่อาจถูกขัดขวางได้ไม่ว่าโดยทางใดการจัดให้มีการประชุมสภานั้นจัดโดยฝ่ายบริหารของท้องถิ่นแต่ตัวฝ่ายบริหารเองไม่มีอำนาจในการจำกัดเสรีภาพในการอภิปรายของสมาชิก 3. การทำหน้าที่ของสมาชิกสภาท้องถิ่นนั้นในการอภิปรายนั้นจะได้รับการรับรองว่าจะปลอดการการคุกคามไม่ว่าโดยทางใดและยังรวมไปถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสมาชิกในครอบครัวอีกด้วยการอภิปรายนั้นจะต้องเป็นไปโดยเจตจำนงที่เป็นอิสระปราศจากการครอบงำจากบุคคลภายนอกหรือถูกควบคุมโดยผลประโยชน์ของเอกชนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
อ้างอิง:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
นักวิเคราะห์เตือนปูติน อย่าให้การปกครองที่ยาวนานนำไปสู่ความซบเซา Posted: 05 Mar 2012 02:46 AM PST นักวิเคราะห์ชี้ การอยู่ในอำนาจที่ยาวนานของปูติน อาจนำประเทศไปสู่การซบเซาหากไม่ยอมปฏิรูปการเมือง-เศรษฐกิจ และหากรัฐยืนยันที่จะใช้มาตรการกดขี่ต่อไป-ไม่ยอมเปิดเสรีทางการเมือง จะทำให้ฝ่ายค้านเพิ่มความถึงรากขึ้น 5 มี.ค. 55 – สำนักข่าวเอเอฟพีรัสเซีย รายงานบทวิเคราะห์ภายหลังชัยชนะการเลือกตั้งของวลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สามของรัสเซีย โดยนักวิเคราะห์ชี้ว่า เขาจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายจากการประท้วงของประชาชนที่มีสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างชาญฉลาด ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้ประเทศตกอยู่ในภาวะซบเซา ทั้งนี้ วลาดิเมียร์ ปูติน ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้โดยทิ้งห่างจากคู่แข่งจากพรรคอื่นๆ อย่างชัดเจน โดยคิดเป็นคะแนนเสียงราวร้อยละ 64 ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ เช่น นายเกนนาดี้ ซูกานอฟ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย ได้คะแนนร้อยละ 17.14 และนายมิคาอิล โปรโครอฟ ผู้สมัครอิสระได้คะแนนร้อยละ 7.50 ถึงแม้ว่าปูตินจะกล่าวว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์โปร่งใส แต่ฝ่ายที่คัดค้านก็ชี้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางพร้อมนัดชุมนุมประท้วงในวันเดียวกัน การได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ จะทำให้ปูตินสามารถอยู่ในอำนาจต่อได้ถึงปี 2024 ถ้าหากเขาได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2018 ทำให้นักวิเคราะห์ชี้ว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง จะทำให้สภาพการเมืองเกิดผลเสียมากกว่าผลดี และจะทำให้เขาเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัสเซียถัดจากสตาลิน หากนับตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของปูตินในปี 1999 การครองอำนาจอย่างยาวนานที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์มองว่ามีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตในสมัยของสหภาพโซเวียต ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองเกือบสองทศวรรษของลีโอนิด เบรซเนฟในระหว่างปี 1964-1982 ซึ่งการขาดการปฏิรูปการเมือง ทำให้สหภาพโซเวียตอ่อนแอลงและล่มสลายไปในที่สุดเมื่อปี 1991 “มันไม่ใช่การก้าวไปสู่ความมีเสถียรภาพ หากแต่มันคือการก้าวไปสู่การซบเซาต่างหาก” อเล็กซานเดอร์ โคโนวาลอฟ ประธานแห่งสถาบันการประเมินทางยุทธศาสตร์แห่งมอสโคว์ กล่าว ด้านมาร์ค อูร์นอฟ จากสถาบันเพื่อการศึกษาเศรษฐศาสตร์ (Higher School of Economics) กล่าวว่ารัสเซียยังขาดทรัพยากรและความมุ่งมั่นทางการเมืองที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น “ระบบในปัจจุบันต้องการการปฏิรูปที่ลึกซึ้งทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แต่มันกลับไม่มีทรัพยากรด้านการเงินและการเมืองอย่างเพียงพอที่จะทำได้” เขากล่าว นอกจากนี้ ยังชี้ด้วยว่า ถึงแม้ว่าปูตินจะเห็นด้วยว่าการคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศ แต่ปูตินเองอาจจะไม่เต็มใจนักในการแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากจะเป็นการก่อสงครามกับพรรคพวกของตนเอง คาโนวาลอฟ กล่าวว่า การประท้วงของฝ่ายค้านที่ดำเนินอยู่จะมีแนวโน้มขยายใหญ่ขึ้นในอนาคต เพื่อจับตาความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดีปูตินทุกย่างก้าว และเพื่อเรียกร้องการปฏิรูปที่ถึงรากเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่และมีพลวัตรมากขึ้น นักวิเคราะห์จากสถาบันยุทธศาสตร์ ยังชี้ด้วยว่า หลังจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ การประท้วงของประชาชนที่มีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ นี้ อาจจะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองเสี่ยงต่อความรุนแรงแบบถึงรากมากขึ้น “ไม่ค่อยมีเหตุผลมากนักที่จะต้องกลัวการเปลี่ยนแปลงของฝ่ายตรงข้าม หากแต่ส่วนหนึ่งของชนชั้นนำที่อยู่รอบตัวปูตินต่างหากที่เริ่มกลัว [ต่อความเปลี่ยนแปลง]” คาโนวาลอฟกล่าว นักวิเคราะห์มองว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่าชัยชนะของปูติน จะนำไปสู่การค่อยๆ เปิดบรรยากาศทางการเมืองต่อฝ่ายค้าน หรืออาจจะนำไปสู่การใช้มาตรการกดขี่ที่มากขึ้น ยูริ คอร์กอนยุค นักวิเคราะห์การเมืองจากมอสโคว์ ชี้ว่า ทางการคงจะลองใช้มาตรการหลายรูปแบบ โดยในตอนแรกอาจจะลองกดดันฝ่ายค้าน และหากรัฐบาลมองว่าไม่ประสบความสำเร็จ ก็อาจจะลองเปลี่ยนยุทธศาสตร์ไปเปิดบรรยากาศทางการเมืองแทน อย่างไรก็ตาม ยูริชี้ว่า การเปิดเสรีทางการเมืองนี้คงจะไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลเป็นแน่ ด้านฝ่ายค้าน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้จัดการประท้วงอย่างสงบในบริเวณที่ตกลงไว้กับทางการล่วงหน้า ก็ได้ประกาศว่าตนเองก็พร้อมจะเปลี่ยนจุดยืนทันทีหากรัฐบาลใช้มาตรการรุนแรงตอบโต้ “หากรัฐบาลต้องการจะหันไปสู่การเผชิญหน้าอย่างรุนแรง แน่นอนว่าฝ่ายค้านก็จะปรับเปลี่ยนยุทธวิธีและจุดประสงค์ของการเคลื่อนไหว” บอริส อาคูนิน นักเขียนนิยายนักสืบและหัวขบวนของกลุ่มฝ่ายค้านกล่าว “และจากนั้น ก็เป็นไปได้ว่า ผู้นำขบวนที่ใหม่และถึงรากกว่าเดิมก็จะปรากฏขึ้น” บอริสกล่าว
ที่มา: เรียบเรียงจาก Long-reigning Putin must avoid stagnation trap: analysts สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
จดจำอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟูกูชิมา อย่าให้เกิดขึ้นในประเทศไทย Posted: 05 Mar 2012 02:02 AM PST กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลให้ 5 มี.ค. 55 - นักกิจกรรมของกรีนพีซติดตั้งป้ “เรารำลึกถึงและเอาใจช่ แม้ว่าโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลี “ประชาชนไม่ควรถูกบังคับให้ใช้
กรีนพีซได้เผยแพร่รายงานฉบั นอกจากนี้กรีนพีซยังรณรงค์ให้ “เราขอเชิญชวนคนไทยทุกคนมีส่ กรีนพีซเป็นองค์กรสากลอิสระที่
หมายเหตุ : (1) รายงาน “บทเรียนจากฟูกูชิมา” www.greenpeace.or.th/ (2) ร่วมลงชื่อเรียกร้องอาเซียนได้ (3) ในปี พ.ศ. 2538 อาเซียนได้ก้าวเข้าสู่การใช้ (4) แผนความร่วมมือด้านพลั สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
โวยเสื้อยืดฮิตเลอร์-ต่างชาติตำหนิคนไทยทำเก๋โดยไม่รู้ความหมาย Posted: 05 Mar 2012 01:46 AM PST นสพ.เดอะ ซัน ของอังกฤษรายงานเรื่องการขายเสื เดอะ ซัน พาดหัวข่าวเสื้อยืดรูปฮิตเลอร์กลายเป็นแฟนชั่นนาซีสำหรับวัยรุ่นไทย (ที่มา: The Sun) หน้าเว็บไซต์ของสำนักข่าว The Sun ของอังกฤษ รายงานเมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา เสื้อยืดลายการ์ตูนของผู้นำนาซี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กลายเป็นแฟชั่นใหม่ในประเทศไทย ร้านเสื้อผ้าในกรุงเทพมหานครเริ ซึ่งการขายเสื้อลายฮิตเลอร์นี้ แต่ทางผู้ค้าเสื้อก็พยายามอธิ คนขายเสื้อที่ชื่อฮัทกล่าวว่า มีชาวต่างชาติบางคนรู้สึกไม่ หนึ่งในผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เสื "มันทำร้ายความรู้สึกของชาวยิ ตัวการ์ตูนของฮิตเลอร์ไม่เพี รัฐบาลเผด็จการนาซีของฮิตเลอร์ อับราฮัม คูเปอร์ รองอธิบดีศูนย์ไซมอน วีเซนธาล ในลอส แองเจลลิส ซึ่งคอยสอดส่องพฤติกรรมลัทธินี แต่คูเปอร์ก็ได้กล่าวอีกว่
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Hitler T-shirts are a Nazi trend for Thai youth, The Sun, 04-03-2012 http://www.thesun.co.uk/sol/ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
นักกิจกรรมประกาศยุติอดอาหาร เดินหน้าร้องปฏิรูปศาล-ปล่อยนักโทษการเมือง Posted: 05 Mar 2012 12:31 AM PST นักกิจกรรมยุติการอดอาหารหน้าศาลอาญาหลังจากดำเนินกิจกรรมมาได้ 23 วัน ระบุไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม พร้อมยกระดับเป็นกลุ่ม "ปฏิญญาหน้าศาล" เตรียมดำเนินกิจกรรมหน้าศาลทุกวันอาทิตย์ 5 มี.ค. 55 - เวลา 9.30 น. บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดา กลุ่มประชาชนและนักกิจกรรมราว 10 คน ซึ่งผลัดกันดำเนินกิจกรรมอดอาหารมาตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ. ได้ประกาศยุติการอดอาหารแล้ววันนี้ หลังจากดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องมาเป็นเวลา 23 วัน ต่อจากการอดอาหารของนายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข และนางผุสดี งามขำ เพื่อรณรงค์เรื่องสิทธิการประกันตัวของนักโทษการเมือง ตัวแทนกลุ่มกิจกรรม ระบุว่า สาเหตุที่ต้องการยุติกิจกรรมดังกล่าว เนื่องจากไม่เชื่อมั่นเเละมองเห็นความไร้มาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม แม้พยายามเรียกร้องด้วยสันติวิธี เเต่กลับเห็นปัญหาในระบบยุติธรรมมากขึ้น จึงยกระดับข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปศาล-กระบวนการยุติธรรมให้มีความยุติธรรม และปล่อยนักโทษการเมืองอย่างไม่มีเงื่อนไข นางสาวจิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย หนึ่งในเครือข่ายของกลุ่มกิจกรรมที่มาร่วมการอดอาหาร ได้อ่าน "ปฏิญญาหน้าศาล" หน้าป้ายศาลอาญา ถ. รัชดาภิเษก ที่ชี้ให้เห็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของไทยโดยเฉพาะกรณีการตัดสินของนายสนธิ ลิ้มทองกุล จากนั้นประชาชนเเละนักกิจกรรมได้ร่วมจุดเทียนสีเเดงเพื่อเป็นการยุติการอดอาหาร นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย นักกิจกรรมกลุ่มประกายไฟ กล่าวว่า "ได้ตัดสินร่วมกับกลุ่มนักกิจกรรมจะจัดการเสวนาทุกวันอาทิตย์ที่หน้าศาลอาญา รัชดา เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เเละผลักดันให้มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องของปฏิญญาหน้าศาลต่อไป” ทั้งนี้ นายเทวฤทธิ์ระบุว่าจะแจ้งกำหนดการที่ชัดเจนแก่สาธารณะและผู้ที่สนใจโดยเร็วที่สุด 0000 แถลงการณ์ ยุติการชุมนุมอดอาหารเรียกร้องสิทธิประกันตัว เดินหน้ารณรงค์ปล่อยนักโทษการเมือง จากการชุมนุมอดอาหารเรียกร้องสิทธิการประกันตัวผู้ต้องหาทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ.55 ที่เริ่มต้นโดย คุณไท ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข และ คุณผุสดี งามขำ จำนวน 112 ชม.และทางเครือข่ายได้รับไม้ต่อเรื่อยมาจนถึงวันนี้เป็นเวลา 23 วัน แล้วนั้น เราได้ดำเนินการอย่างสงบสันติวิธี เพื่อเรียกร้องเพียงแค่สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีพึงได้แก่ผู้ต้องหา เราเรียกร้องหลักประกันความยุติธรรมขั้นต่ำสุดที่ควรจะบังเกิดขึ้นในสังคมนี้ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมมีความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะได้สู้คดีอย่างแฟร์ๆ อันจะไม่ก่อให้เกิดการลงโทษคนเหล่านั้นก่อนมีคำตัดสิน เพื่อไม่ให้เกิดการกักขังบีบบังคับให้ผู้บริสุทธิ์ต้องยอมรับสารภาพแม้เขาเหล่านั้นอาจจะไม่ได้กระทำผิด และเพื่อให้ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ให้สิทธิการประกันตัว แต่ 23 วันที่ผ่านมาเรากลับไม่ได้รับการตอบรับในการยืนยันหลักการขั้นพื้นฐานที่สุดนี้ ในทางตรงกันข้ามเรากลับพบสิ่งที่ตอกย้ำความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมยิ่งขึ้นอีกจากการไม่มีมาตรฐานในการให้สิทธิในการได้รับการประกันตัว อย่างกรณีที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ถูกตัดสินว่ามีโทษถึง 85 ปี (เหลือจำคุกจริง 20 ปี) ในความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ กรณีรับรองเอกสารในฐานะกรรมการบริษัทอันเป็นเท็จฯ เมื่อวันที่ 28 ก.พ.55 ซึ่งเป็นคดีที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงทางเศรษฐกิจปากท้องของคนจำนวนมาก อีกทั้งคุณสนธิก็มีศักยภาพในการหลบหนีมากกว่าผู้ต้องหาทางการเมืองหลายๆคน กลับได้รับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันตัวในทันที ทั้งๆที่มีการตัดสินโทษแล้ว แน่นอนที่เราเห็นด้วยอย่างยิ่งที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ควรได้รับสิทธิดังกล่าว แต่นักโทษการเมืองทั้งผู้ต้องหาที่เป็นผลสืบเนื่องจากการสลายการชุมนุมเมษา-พ.ค.53 และผู้ต้องหาความผิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็ควรจะได้รับสิทธิดังกล่าวด้วยเช่นกัน และหลายคนเป็นเพียงผู้ต้องหายังไม่ได้มีคำตัดสินด้วยซ้ำ เพื่อที่เราจะได้มีมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมและเพื่อหลักประกันความยุติธรรม อย่างไรก็ตามด้วยบทพิสูจน์ทั้งที่ผ่านมาและตลอดเวลาที่เราได้ชุมนุมอดอาหารนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำปัญหาความไร้มาตรฐานของกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น พวกเราจึงเห็นควรที่จะยุติการชุมนุมอดอาหารเนื่องจากยิ่งอดยิ่งร้องขอยิ่งเห็นภาพที่ไร้มาตรฐานตอกย้ำซ้ำๆ และเราเห็นว่าปัญหานี้สะท้อนปัญหากระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ดังนั้นเราจึงเคลื่อนไหวรณรงค์ต่อสังคมต่อไปในนาม “ปฏิญญาหน้าศาล” เพื่อเรียกร้อง 1.ให้มีการปฏิรูปศาลและกระบวนการยุติธรรมให้มีความยุติธรรม ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และผลักดันข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น โดยจะมีกระบวนการจัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมต่อไป 2.รณรงค์เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งกรณีผลจากการสลายการชุมนุมเมษา-พ.ค.53 และกรณี ม.112 รวมทั้งกรณีอื่นๆ ซึ่งถือเป็นปฏิกิริยาจากการรัฐประหาร และการปล่อยหรือการให้เป็นโมฆะถือเป็นการลบล้างผลพวงจากการทำรัฐประหาร19 ก.ย.49 อีกทางเช่นกัน ทั้งนี้ทางเครือข่ายจะดำเนินการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง โดยในเบื้องต้นจะมีการนัดทำกิจกรรมประจำหน้าศาลอาญา รัชดา ทุกวันอาทิตย์ และการจัดสัมมนาเพื่อแสวงหาข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปศาลและกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ปฏิญญาหน้าศาล 5 ก.พ.2555 กลุ่มเพื่อนนักโทษการเมือง, องค์กรสร้างสรรค์ประชาธิปไตย, สมัชชาสังคมก้าวหน้า, กลุ่มประกายไฟ, เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย และสำนักงานกฎหมายราษฎรประสงค์ ฯลฯ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ธเนศวร์ เจริญเมือง: วิกฤตหมอกควัน Posted: 04 Mar 2012 07:23 PM PST วิกฤตหมอกควันที่ต่อเนื่องนับเกือบสามสัปดาห์ สะท้อนให้สภาวการณ์สังคมไทยที่มีปัญหาใหญ่หลายประเด็น 1. รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยเพียงชนะคะแนน แต่กุมอำนาจรัฐราชการไม่ได้ และต้องพะวงกับฝ่ายค้านในสภาและนอกสภา ทั้งพะวงเรื่องข่าวลือต่างๆ กระทั่งการชกใต้เข้มขัดของฝ่ายค้านและพวกสีเหลือง จึงพยายามทำงานระดับชาติให้ได้อยู่รอด แต่ยากที่จัดเวลามาทำงานในระดับท้องถิ่น 2. รัฐรวมศูนย์ที่มีมานานมาก แต่งตั้งคนไปเดินไปเดินมาในต่างจังหวัด รับเงินเดือนหลายหมืน แต่ไม่แก้ไขปัญหาใดๆ กวาดแทบทุกปัญหาเข้าใต้พรม แล้วก็ย้าย ย้าย ปัญหาก็เลยไม่เคยได้แก้ไข ผมถามว่าวันนี้ ผู้ว่าฯ อยู่ไหน ทำอะไร นายอำเภอแต่ละอำเภอทำอะไร ควันเต็มบ้านเต็มเมือง พวกเขาทำอะไรกัน ใครรับผิดชอบบ้างตลอด 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไปที่ไหน ก็เห็นแต่ควัน มีแต่คนเผาาาาาาา ใครทำอะไร 3. นายก อบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) หาเสียงจะมีเลือกตั้งใหม่ เดือนพฤษภาคมนี้ เคยพูดไหมว่าจะทำอะไร แน่นอน ในที่สุด นี่ก็คือ ความทับซ้อนของระบบผู้ว่าฯ แต่งตั้งกับนายกฯ อบจ. เลือกตั้ง แล้วตกลงใครรับผิดชอบปัญหาเหล่านี้ ก็โยนกันไปๆ มาๆ และสุดท้าย 4. ภาคประชาสังคม อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) ชาวบ้าน ชนชั้นกลาง สื่อ ก็เห็นกันอยู่ว่าควันเต็มเมือง ออกจากบ้านเห็นใครเผาอะไร เคยแวะลงไปดูไหม เคยถามไหม ถ่ายรูปไหม ทำเป็นข่าวไหม นายอำเภอ กำนัน ผญบ. ชมรมองค์กรต่างๆ ตำรวจ ครู พระสงฆ์ มหาวิทยาลัยต่างๆ หอการค้า กลุ่มผู้รักชาติ รักศาสนาต่างๆ ฯลฯ ตกลงมีใครค้นพบสาเหตุไหมครับว่า เราจะแก้ไขปัญหากันอย่างไร ไม่มีใครดับไฟตามข้างทางทั้งหลายได้เลยหรืออย่างไร คนรับผิดชอบปัญหาเหล่านี้คือใคร อยู่ที่ไหนบ้าง หรือจะต้องทำอย่างที่ รมว.สาธารณสุขว่า คือ อพยพออกไปจากจังหวัดนี้ เมืองนี้ ถ้าทุกฝ่ายไม่ช่วยกัน ในที่สุด ก็จะต้องทำแบบนี้ คือสำลักควันพิษที่เต็มเมือง แล้วล้มตายกันทั้งในบ้านและนอกบ้าน แล้วก็หนีกันอลหม่าน ซึ่งก็มีทางหนีทางเดียว ดังที่ได้พูดไปแล้วเมื่อคืน วิกฤตควันพิษคลุมเมือง ทำร้ายประชาชนในช่วง 3 สัปดาห์มานี้ คือผลพวงของการทับซ้อนของหน่วยงาน ซึ่งไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ไม่รู้ว่าใครต้องรับผิดต่องานนี้ ดีแต่สร้างภาพกันไป ขอคนนั้นมาช่วย คนนี้มาช่วย เป็นลูกคนช่างขอส่วนกลางมาช่วย ทั้งๆ ที่คนเผากันทั้งบ้านทั้งเมือง ควันลอยเต็มหมู่บ้าน ไม่เห็นมีใครทำอะไรได้ เรื่องนี้ ไม่เห็นต้องไปขอใครมาช่วย ก็ขนาดเราด้วยกัน ยังไม่ยอมแก้ไขปัญหาอะไรเลย ก็เผากันอยู่ทุกวัน ก็เห็นๆ กันอยู่นี่ เรายังไม่ทำอะไรเลย ฉะนั้น 1. เราถึงต้องช่วยกันยกเลิกระบบราชการภูมิภาค ที่ไม่เคยรับผิดชอบต่อปัญหาใดๆ ให้ได้ เราจะย้ายเขาก็ไม่ได้ จะถามอะไร เขาก็ไม่เคยมาตอบเรา 2. เหลือไว้แต่ระบบท้องถิ่นที่ผู้บริหาร อบจ. และเทศบาล และ อบต. มาจากการเลือกตั้ง ไปและมาโดยอำนาจของประชาชน ถ้ามีหมอกควันแบบนี้ แล้วแก้ไม่ได้ ไม่ยอมลงโทษ คนเผา ไม่ออกมาจัดการปัญหาภายในสองสัปดาห์ ก็ออกไป เราก็หาคนใหม่มาทำงาน ระบบการจัดการปัญหาบ้านเมือง ต้องมีคนรับผิดชอบ และประชาชนจะต้องมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่ทนอยู่กันแบบนี้ แล้วก็บ่นๆ แซวกันไปมา เรื่องว่าจะต้องอพยพออกจากเมืองเมื่อใด จะไปตายกันที่ไหนได้บ้าง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น