โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประธาน กกต. ไม่หวั่นหากถูกเซตซีโร่ มีชัย ชี้ 'กกต.จังหวัด' ทำให้เกิดข้อครหา

Posted: 23 Mar 2017 11:06 AM PDT

กกต. เข้าให้ข้อมูลต่อ กก.ศึกษาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ชี้ 'กกต.จังหวัด' มีความจำเป็น ด้าน 'มีชัย' สวนการมี กกต.จังหวัด ทำให้เกิดข้อครหาและถูกวิพากษ์วิจารณ์ ขณะที่ ประธาน กกต. ไม่กังวลหาก 5 กกต. ถูกเซตซีโร่

23 มี.ค.2560 รายงานข่าวระบุว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (23 มี.ค.) ศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการศึกษาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

สมชัย ย้ำ 'กกต.จังหวัด' จำเป็น

สมชัย ย้ำว่า กกต.ยังยืนยันตามร่างเดิม ที่เห็นความจำเป็นของ กกต.จังหวัด ในการสนับสนุนงานการเลือกตั้ง แต่อาจปรับเปลี่ยนที่มา เพื่อให้ปลอดจากการเมือง โดยให้มาจากการสรรหา จากคณะกรรมการผู้มีประสบการณ์ ทั้งการเลือกตั้ง การทำงานสืบสวนสอบสวน การบริหารงานองค์กร ภาคประชาสังคม และผู้ที่ให้การศึกษาภาคการเมืองกับประชาชน  และทำหน้าที่เสมือนบอร์ด ที่กำกับดูแลการเลือกตั้ง จ่ายค่าตอบแทนเป็นเบี้ยเลี้ยง ไม่ใช่เป็นเงินเดือนเหมือนในอดีต 

"จะใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งดูแล้วมีแนวโน้มว่า คณะกรรมการเห็นด้วยที่ยังคง กกต.จังหวัดเอาไว้ แต่ขณะเดียวกันจะให้มีผู้ตรวจการเลือกตั้งจำนวนหนึ่ง อาจจะ 100 คน ไม่ต้องมากถึง 600 คน ตามที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอ เพื่อให้มาร่วมสนับสนุนการทำงานตรวจการเลือกตั้งในเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหา  เชื่อว่า จะทำให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริตเที่ยงธรรม" สมชัย กล่าว พร้อมระบุด้วยว่า ขณะนี้ กกต. ยังรอให้ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีผลบังคับใช้  เพื่อยืนยันคุณสมบัติของ กกต.ที่เหลือ และรอการสรรหา กกต.ใหม่ให้ครบ 7 คน จึงจะจัดการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่

ประธาน กกต. ไม่กังวลหาก 5 กกต. ถูกเซตซีโร่

ขณะที่ ประธาน กกต. กล่าวภายหลัง กกต. เข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการศึกษาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  สนช. ว่าหากมีการเซตซีโร่ กกต. ก็ไม่ได้กังวลใจ หากเห็นว่าเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ  เพราะไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง มีหน้าที่อะไรก็ทำงานไปในส่วนที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด  ตามคุณสมบัติที่ได้รับเลือกมา 

"กกต.ไม่ได้กังวลว่าเราจะอยู่หรือไป ถ้าเกิดเซตซีโร่แล้วบ้านเมืองดีขึ้นก็ยินดี  เพราะ กกต.เข้ามาเพื่อช่วยประเทศชาติให้การเลือกตั้งดีขึ้นเทียบเคียงนานาประเทศได้ อย่าไปกังวลเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว เอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง" ศุภชัย กล่าว

มีชัย ชี้มี 'กกต.จังหวัด' ทำให้เกิดข้อครหา

ด้าน มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ กกต. เข้าให้ความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ยังคงยืนยันว่า มีความจำเป็นต้องมี กกต.จังหวัด เป็นบอร์ดดูแลการเลือกตั้งว่า ที่ผ่านมา กกต. เคยทำหนังสือมายัง กรธ. แต่ไม่มีข้อเสนอนี้ และก็เป็นที่ยอมรับแล้วว่าการมี กกต.จังหวัด ทำให้เกิดข้อครหา วิพากษ์วิจารณ์ ถูกครอบงำจากการเมือง และการให้ กกต. จังหวัด มีอำนาจเหมือน กกต. ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ จึงได้ตัดส่วนนี้ออก

ที่มาภาพ เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา

ต่อข้อถามถึงการเสนอให้ กกต.จังหวัด มาจากการสรรหา ไม่ต้องยึดโยงกับข้าราชการ เพื่อให้ปลอดอิทธิพลการเมืองนั้น มีชัย เชื่อว่าหาได้ยาก ส่วนที่ว่าข้อเสนอต่างๆ จะสวนทางกับหลักการของ กรธ. หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ สนช. จะเป็นผู้พิจารณา และขอโอกาสให้ กรธ. ได้เข้าชี้แจงในวาระ 2 ที่เป็นการพิจารณารายมาตรา เพื่อชี้แจงเห็นผลของการแก้ไขว่าจะเป็นอย่างไร พร้อมยืนยัน ไม่กังวลต่อข้อเสนอขององค์กรอิสระต่างๆ ว่าจะเป็นการล็อบบี้ สนช. เพราะ กรธ. ก็มีสิทธิเข้าชี้แจง แต่สุดท้ายหากไม่เป็นไปตามหลักการของ กรธ. ก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่ดีกว่า เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ที่ผ่านมา สนช. และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ส่วนใหญ่ ก็เห็นด้วยกับหลักการของ กรธ.

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย และเว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำพิพากศาล#3 ‘ละเมิดอำนาจศาล’ กฎหมายที่ทำให้เสรีภาพไปต่อไม่ได้

Posted: 23 Mar 2017 10:00 AM PDT

นักวิชาการร่วมวงวิพากษ์ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ถามเป็นการใช้ดุลพินิจที่กว้างขวางเกินไปหรือไม่ ด้านผู้วิจัยประเด็นนี้บอกเป็นกฎหมายลักษณะพิเศษที่ให้ศาลเริ่มเอง พิพากษาเอง ไม่ต้องผ่านกระบวนการปกติ และยังไม่สามารถหาหลักเกณฑ์ใดๆ ได้ว่าละเมิดศาลเลยคืออะไร ปิยบุตรระบุการใช้กฎหมายในลักษณะที่ทำให้เสรีภาพไปต่อไม่ได้

งานเสวนา 'คำพิพากศาล' หัวข้อ การละเมิดอำนาจศาล ดูหมิ่นศาล หมิ่นประมาทศาล จากขวาไปซ้าย สรชา สันตติรัตน์, สุดสงวน สุธีสร และภาสกร อินทุมาร

งานเสวนา 'คำพิพากศาล'จัดโดย เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และภาคีเครือข่าย ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประเด็นหนึ่งที่กำลังเป็นที่ถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันมาก เกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลที่ขยายแดนออกมาเรื่อยๆ จึงมีการจัดเสวนาในหัวข้อ 'การละเมิดอำนาจศาล ดูหมิ่นศาล หมิ่นประมาทศาล' ขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาคือสุดสงวน สุธีสร อดีตอาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสรชา สันตติรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุดสงวนเล่าจากประสบการณ์ตรงที่ถูกศาลพิพากษาจำคุก 1 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล หลังจากพ้นโทษเธอก็กลับไปดูเนื้อหากฎหมายฐานละเมิดอำนาจศาล เธอกล่าวว่า

"ในเรื่องการละเมิดอำนาจศาล ตนเองก็ยังมีประเด็นว่าเป็นการตีความหรือใช้ดุลพินิจที่กว้างขวางเกินไปหรือไม่ ถ้ามองตามหลักวิชา การใช้ดุลพินิจใดๆ ก็ตาม ต้องใช้ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายบัญญัติไว้ ไม่มีสิทธิใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ"

สุดสงวน อธิบายว่า มาตราที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมี 4 มาตรา คือมาตรา 30, 31, 32 และ 33 โดยในมาตรา 30 กฎหมายระบุว่า ให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลที่เห็นจำเป็น เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนการพิจารณาดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและเที่ยงธรรม อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึงการสั่งห้ามคู่ความ มิให้ดำเนินการพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้า หรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควร

"กฎหมายกำหนดว่าศาลมีอำนาจกำหนดกับใคร เมื่อไหร่ ไม่ใช่กับทุกคน แต่ต้องเป็นคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือกับบุคคลภายนอก ซึ่งเน้นว่าต้องอยู่ต่อหน้าศาลตามที่จำเป็น อาจารย์ถามว่าการประพฤติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาลหมายถึงอะไร เราก็ต้องกลับไปดู ซึ่งระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 31 ว่าผู้ใดกระทำการใดๆ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งข้อหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือขัดขืนไม่กำหนดตามข้อกำหนดของศาลตามมาตรา 30

"ในเรื่องการละเมิดอำนาจศาล ตนเองก็ยังมีประเด็นว่าเป็นการตีความหรือใช้ดุลพินิจที่กว้างขวางเกินไปหรือไม่ ถ้ามองตามหลักวิชา การใช้ดุลพินิจใดๆ ก็ตาม ต้องใช้ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายบัญญัติไว้ ไม่มีสิทธิใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ"

"แต่จะต้องต่อหน้าศาล ไม่ใช่เข้าไปปุ๊บก็จัดการเลย จึงไม่แน่ใจว่าเป็นดุลพินิจที่กว้างขวางเกินไปหรือไม่ เพราะการละเมิดอำนาจศาลต้องเน้นที่ตัวบุคคลที่ทำบริเวณศาลใช่หรือไม่ ซึ่งหมายถึงอะไร ศาลก็ต้องออกข้อกำหนดมาก่อนว่าอย่าทำบริเวณศาล

"และเมื่อดูจากซีซีทีวีวันนั้น ใครเป็นคนประพฤติตนไม่เรียบร้อย อาจารย์ถูกมองว่าเป็นแกนนำ เป็นคนพาคนไปที่นั่น ซึ่งจริงๆ อาจารย์ไปร่วม ก็อธิบายชัดเจน แล้วทำไมถึงต้องมาลงที่อาจารย์ เพราะถ้าดูซีซีทีวีจะเห็นชัดว่าอาจารย์ไม่ใช่คนที่โห่ร้อง อาจารย์เป็นคนห้ามด้วยซ้ำ"

นอกจากนี้ สุดสงวนยังตั้งข้อสังเกตจากกรณีของเธอที่ใช้วิธีอ่านคำพิพากษาโดยการฉีกจากซองออกมาอ่าน ทำให้เธอไม่รู้ว่าใครคือผู้พิพากษาในคดีของเธอ ซึ่งเธอกล่าวว่าในต่างประเทศ การอ่านคำพิพากษาจะต้องเป็นผู้พิพากษาในคดีนั้นอ่านต่อหน้าโจทกย์และจำเลย เพราะจะทำให้เกิดความรับผิดชอบ เธอตั้งคำถามทิ้งท้ายว่า

"สิ่งที่อาจารย์ทำ บุคคลต้องอยู่หน้าศาลในห้องพิจารณาคดีหรือเปล่า ต้องทำอะไรจนเป็นการขัดขวางการพิจารณาคดีใช่หรือไม่ แต่อาจารย์อยู่ข้างนอก ไปเป็นเพื่อนประชาชน แล้วอาจารย์ทำตัวไม่เรียบร้อยตรงไหน"

ด้านสรชา ผู้ทำการศึกษาประเด็นนี้ อธิบายว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลปรากฏขึ้นในอังกฤษตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 โดยมีหลักคิดว่าศาลเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์และเป็นประธานในห้องพิจารณาคดี ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายพิเศษหรืออำนาจพิเศษในการจัดการให้ห้องพิจารณาคดีมีความสงบและเป็นไปโดยเรียบร้อย เพื่อที่จะสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้ ดังนั้น ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจึงเป็นความผิดที่ไม่มีทฤษฎีรองรับที่แน่นอน เป็นความผิดพิเศษที่ให้อำนาจศาลสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดโดยไม่จำเป็นต้องมีคนฟ้องร้องและสามารถลงโทษได้ทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ความในคดีเท่านั้น

ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตั้งแต่ ร.ศ.127 ครั้นเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งปี 2478 จึงถูกรวบรวมไว้เป็นความผิดเฉพาะในมาตรา 30-33 และเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับคดีทุกประเภท ทุกชั้นศาล

งานชิ้นนี้ทำการศึกษาเหตุผลประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีละเมิดอำนาจศาล ตั้งแต่ปี 2475-2555 มีทั้งหมด 107 คดีเท่าที่ปรากฏในเว็บศาลฎีกา และได้ศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับเต็มเพียง 16 ฉบับ

"หลักการพื้นฐานของความผิดฐานนี้" สรชา กล่าวเพิ่มเติม "เป็นความผิดที่ให้อำนาจศาลไว้เป็นพิเศษที่ทำให้ผู้พิพากษาไม่ต้องดำเนินตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น ไม่จำเป็นต้องมีทนายความ ไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องร้อง ถ้าเป็นความผิดที่เกิดต่อหน้าศาล ศาลสามารถพิจารณาพิพากษา ณ ตอนนั้นได้เลย เพราะถือว่าความผิดละเมิดเป็นความผิดที่ศาลเป็นผู้เสียหาย เป็นความผิดต่อศาลโดยตรง ซึ่งส่งผลต่อวิธีพิจารณาความละเมิดอำนาจศาลทั้งหมด

"ในการไต่สวนคดี ถ้าเป็นการละเมิดที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลจะเป็นวัน สต็อป เซอร์วิส ศาลเห็นเอง พิจารณาเอง พิพากษาเองได้ หากเป็นการกระทำที่ไม่ได้เกิดต่อหน้าศาล ศาลก็สามารถพิจารณาและสามารถค้นหา ไต่สวนข้อเท็จจริงลับหลังจำเลยได้ ทั้งเป็นดุลพินิจของศาลว่าการกระทำใดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย"

จากนั้น สรชาได้ยกตัวอย่างหลากหลายกรณี เช่น ในคำพิพากษาฎีกาปี 2549 เป็นคดีที่ฝากขังผู้ต้องหาในห้องคุมขังด้านล่างศาลเพื่อรอการพิจารณา เมื่อผู้พิพากษให้เจ้าหน้าที่ศาลไปตาม ปรากฏว่าจำเลยไม่ได้อยู่ในห้องขัง แต่นั่งรออยู่ภายนอก สืบพบว่ามีการมอบเงินให้เจ้าหน้าที่เพื่อไม่ต้องเข้าไปอยู่ในห้องขัง ศาลจึงลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลต่อเจ้าหน้าที่เพราะถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เมื่อมีการต่อสู้ว่าตัวจำเลยไม่ได้อยู่ในห้องพิจารณา ศาลก็ให้เหตุผลว่าอยู่ในบริเวณศาล

หรือตัวอย่างการพกพาอาวุธหรือวัตถุที่ไม่เหมาะสมเข้าไปในศาล เท่าที่ปรากฏจะมีฎีกาที่นำอาวุธปืนที่บรรจุกระสุนเข้าไปในบริเวณศาล ในส่วนอาวุธปืนบรรจุกระสุน เริ่มตั้งแต่ปี 2497 ทั้งสามศาลตัดสินเหมือนกันคือให้จำคุก 6 เดือน แม้ว่าจะเป็นปืนที่อยู่ในเสื้อผ้าปกปิด อีกกรณีหนึ่งศาลชั้นต้นให้จำคุก 6 เดือน อุทธรณ์ให้จำคุก 2 เดือน และศาลฎีกาให้จำคุก 2 เดือนโดยไม่รอการลงโทษ ขณะที่อีกคดีหนึ่งพกปืนเข้าไปเช่นกัน แต่มีใบอนุญาต ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ลงโทษจำคุก 3 เดือน ศาลฎีกาปรับ 500 และโทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี สรชาตั้งข้อสังเกตว่าพฤติกรรมแบบเดียวกัน แต่มีการลงโทษไม่เท่ากัน

"ทุกขั้นตอนของการดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาล ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณา การไต่สวน การซักถามพยานหลักฐาน หรือการพิพากษาลงโทษ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล เท่าที่ศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาก็ยังไม่สามารถสรุปหลักอะไรได้เลย หากเราเป็นจำเลยในคดีนี้ก็จะคาดเดาค่อนยากว่าจะทำอย่างไร แนวทางการต่อสู้คดีแทบจะวางไม่ได้"

"มาตรา 30 ที่ให้ศาลออกข้อกำหนด กฎหมายบัญญัติไว้ว่าการออกข้อกำหนดจะทำได้ 2 กรณีคือ กรณีที่บุคคลเหล่านั้นอยู่ต่อหน้าศาล หากเป็นกรณีเพื่อรักษาความสงบหรือเพื่อให้กระบวนการพิจารณาดำเนินไปได้ด้วยความรวดเร็ว กรณีที่ 2 คือสั่งห้ามไม่ให้ประพฤติตนไปในทางก่อความรำคาญต่างๆ แต่ที่มักเป็นปัญหา มักมีคนไม่เข้าใจว่า อย่างไรจึงเรียกว่าการประพฤติตนไม่เรียบร้อย

"เท่าที่ศึกษามา ศาลบอกเหตุผลประกอบคำพิพากษาฎีกาว่าเฉพาะการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลเท่านั้นที่ศาลจะต้องออกข้อกำหนด ส่วนการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ศาลไม่จำเป็นต้องออกข้อกำหนด หมายความว่าหากเป็นกรณีที่ศาลมองว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ศาลสามารถสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการออกข้อกำหนดไว้ก่อน"

สรชา อธิบายว่า การประพฤติตนไม่เรียบร้อยตามคำพิพากษาฎีกาต่างๆ ได้ให้คำนิยามไว้ว่า คือการไม่ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบตามที่กฎหมยกำหนดไว้หรือโดยจารีตประเพณี ส่วนคำว่าในบริเวณศาล หมายถึงตัวอาคารณ บริเวณพื้นที่ของศาล ตามธรรมดาแล้วน่าจะเป็นภายในรั้วของศาล แต่หากพฤติกรรมไม่เรียบร้อยเกิดขึ้นทั้งในและนอกบริเวณศาล และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันมาก็ยังถือว่าเป็นในบริเวณศาล

"การขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดจะมีฎีกาที่บอกว่าพฤติการณ์เหล่านี้ละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ สองฎีกาแรกเป็นกรณีที่ยื่นคำร้องต่อศาลแล้วเขียนไม่โอเค เช่นรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม รู้สึกว่าศาลมีอคติ ศาลก็บอกให้แก้ไขข้อความ หากไม่แก้จะลงโทษละเมิดอำนาจศาล แต่ฎีกาปี 2478 คือยื่นคำร้องต่อผู้พิพากษา ในฎีกาใช้คำว่าข้าหลวงยุติธรรม ใช้คำพูดว่า ผู้พิพากษาจดคำพยานผิดพลาด นั่งพิจารณาไม่ครบองค์คณะ ถ้าจะให้พิจารณาต่อไปจะทำให้ไม่ได้รับความยุติธรรม อันนี้ศาลพิจารณาเห็นว่าไม่ผิดฐานละเมิดอำนาจศาล"

ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่พูดถึงการประพฤติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาล เช่น ใช้รองเท้าตีกันในเวลาที่ศาลเปิดทำการ, การทำร้ายพยานโจทก์บริเวณข้างศาลนอกห้องพิจารณา, การทะเลาะวิวาทกันภายหลังศาลพิจารณา, ผู้คุมนักโทษถือไม้ไผ่เข้าไปในห้องควบคุมตัวผู้ต้องขังด้านล่างศาล แล้วก็ใช้ไม้ทำร้ายผู้ต้องขัง ศาลลงโทษว่าแม้จะเป็นเจ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่มีอำนาจทำ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย, การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนหรือเปลี่ยนตัวจำเลยในขณะที่ศาลพิจารณาอยู่, การเติมข้อความลงไปในคำฟ้องหรือเป็นทนายว่าความในระหว่างที่ถูกพักใบอนุญาตว่าความ, การยื่นคำร้องขอเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษาและเขียนว่าศาลไม่ได้ดำเนินการพิจารณาไปโดยเที่ยงธรรม กลั่นแกล้งโจทก์เพราะมีอคติ เหล่านี้เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

ส่วนพฤติการณ์ที่ศาลให้เหตุผลว่าอยู่ในบริเวณศาล โดยหลักมักจะเป็นการเรียกรับเงินกันในบริเวณศาล ตั้งแต่ห้องควบคุมผู้ต้องหา ร้านขายอาหาร โรงอาหาร โต๊ะมานั่งแถวศาล จะถือเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เพราะถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาล แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่บอกว่าไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาลคือเรื่องการปลอมเอกสาร จะเห็นได้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่ปี 2542-2548 จะเห็นว่าการนำเอกสารปลอม โดยรู้ว่าปลอมไปยื่นต่อศาลถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล แต่คำพิพากษาศาลฎีกาปี 2546 กลับระบุว่า แม้จำเลยจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการปลอมเอกสาร แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการปลอมนั้นเกิดขึ้นในบริเวณศาลจึงไม่ผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

เมื่อพิจารณาคำพิพากษาศาลฎีกาฐานละเมิดอำนาจศาลสามารถสรุปหลักเกณฑ์อะไรได้ คำตอบของสรชาคือสรุปหลักเกณฑ์ไม่ได้เลย

"ทุกขั้นตอนของการดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาล ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณา การไต่สวน การซักถามพยานหลักฐาน หรือการพิพากษาลงโทษ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล เท่าที่ศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาก็ยังไม่สามารถสรุปหลักอะไรได้เลย หากเราเป็นจำเลยในคดีนี้ก็จะคาดเดาค่อนยากว่าจะทำอย่างไร แนวทางการต่อสู้คดีแทบจะวางไม่ได้"

"เมื่อเกิดความไม่แน่นอน...ทำให้ผู้อยู่ในบังคับของกฎหมายไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการใดๆ หรือไม่กล้าเลือกที่จะใช้เสรีภาพใดๆ เพราะไม่แน่ใจว่าใช้เสรีภาพแล้วจะถูกลงโทษหรือไม่...นี่คือการใช้กฎหมายในลักษณะที่ทำให้เสรีภาพไปต่อไม่ได้ เพราะคนที่มีเสรีภาพไม่กล้าใช้"

ด้านปิยบุตร แสงกนกกุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า

"ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลมีลักษณะพิเศษ ถ้าดูหมิ่นศาลหรือหมิ่นประมาทศาลต้องใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ แต่พอเป็นละเมิดอำนาจศาล พูดง่ายๆ คือศาลชงเอง กินเอง เริ่มต้นเอง จบเอง ไต่สวนเองหมดเลย ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทำนองนี้ควรเป็นข้อยกเว้นอย่างยิ่ง ไม่ควรต้องมี เพราะมีเจตนารมณ์เบื้องหลังของกฎหมายข้อนี้คือ หากกระบวนการยุติธรรมกำลังดำเนินไป แล้วถูกขัดขวาง จนทำให้ศาลพิจารณาต่อไม่ได้ จึงต้องมีกฎหมายนี้เพื่อให้ศาลดำเนินการต่อได้

"แต่ที่อาจารย์สรชารวบรวมมาจะเห็นว่า มีการนำไปใช้กว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหามีอยู่คำหนึ่งคือประพฤติปฏิบัติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาล คำว่าประพฤติปฏิบัติตนไม่เรียบร้อยหมายถึงอะไร โวยวายอยู่ในศาล ถ้าจะหมายถึงการชุมนุมก็คือไปบล็อกไม่ให้ศาลเข้ามาตัดสิน หรือปั่นป่วนในศาลจนดำเนินคดีไม่ได้ อย่างนี้น่าจะเข้าข่ายประพฤติปฏิบัติตนไม่เรียบร้อย แต่ที่ผ่านมาตามแนวฎีกามีตั้งแต่เรื่องการให้สินบน การนำยาบ้าเข้ามา มันกระจัดกระจายไปหมด ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ไม่ควรรวมอยู่ในประพฤติปฏิบัติตนไม่เรียบร้อย"

ปิยบุตร กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน ศาลยังขยายความคำว่า ในบริเวณศาล ออกไปรวมภายนอกด้วย เขายกตัวอย่างคำพิพากษศาลฎีกาปี 2559 โดยสรุปความว่า การที่ผู้ถูกกล่าวหาลงข้อความในเฟสบุ๊ค โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านของผู้ถูกกล่าวหา แต่เมื่อข้อความส่วนหนึ่งเกิดจากการถ่ายรูปบุคคลในบริเวณศาล เพื่อนำไปประกอบการแสดงข้อความเท็จที่แสดงต่อสาธารณชน ย่อมถือได้เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาล มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ในมุมมองของเขาเห็นว่า กรณีนี้ไม่มีทางอยู่ในความหมายของคำว่าภายในบริเวณศาลได้เลย ซึ่งน่าคิดว่าขอบเขตของเรื่องนี้สุดท้ายแล้วจะอยู่ตรงไหน

"การให้สินบน การเอายาเสพติดเข้ามาในบริเวณศาล ถ้าไม่ถูกต้อง มันต้องใช้ช่องทางที่ถูกต้องมาจัดการ เช่น กฎหมายยาเสพติดหรือการให้สินบนเจ้าพนักงาน แต่ทำไมต้องใช้ละเมิดอำนาจศาล ผมก็คิดได้ข้อเดียวเท่านั้นคือเพราะเป็นความผิดลักษณะพิเศษที่ศาลเริ่มต้นเอง จบเองในตัว รวดเร็วทันใจ ถ้าใช้กระบวนการปกติอาจจะช้ากว่า

"เมื่อเกิดความไม่แน่นอน ไม่ชัดเจนในกฎหมายลักษณะนี้จะส่งผลอะไร มันส่งผลในแง่ที่ว่าทำให้ผู้อยู่ในบังคับของกฎหมายไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการใดๆ หรือไม่กล้าเลือกที่จะใช้เสรีภาพใดๆ เพราะไม่แน่ใจว่าใช้เสรีภาพแล้วจะถูกลงโทษหรือไม่ เมื่อมีการตีความแบบนี้ เพิ่มบ้าง ลดบ้าง อย่ากระนั้นเลย เพื่อความปลอดภัยของตัวเองก็เซ็นเซอร์ตัวเองตั้งแต่ต้น นี่คือการใช้กฎหมายในลักษณะที่ทำให้เสรีภาพไปต่อไม่ได้ เพราะคนที่มีเสรีภาพไม่กล้าใช้"

ปิยบุตร กล่าวว่า ในสังคมไทยมีการใช้กฎหมายลักษณะคล้ายๆ กันนี้อยู่กลุ่มหนึ่ง คือการใช้กฎหมายลงโทษบุคคลที่ใช้เสรีภาพวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่น ถ้าเป็นกรณีพระมหากษัตริย์ก็มีมาตรา 112 ซึ่งตอนนี้ขยายความไปไกลมาก ถ้าวิจารณ์พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้วิจารณ์อาจโดนมาตรา 116 ถ้าวิจารณ์ศาลก็อาจโดนละเมิดอำนาจศาล นี่ย่อมเท่ากับว่าองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐสำคัญๆ ทั้งหลายมีกฎหมายป้องกันตัวเอง

"ถ้าเราบอกว่าเราเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตยจริง องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายต้องอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์ตลอดเวลาอยู่แล้ว มันเป็นเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การสอบครูผู้ช่วย โดยไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ว่าด้วยข้อสังเกตบางประการ

Posted: 23 Mar 2017 09:08 AM PDT

 


1. รู้จักตำแหน่ง "ครูผู้ช่วย"

สำหรับคนทั่วไปนั้นอาจไม่คุ้นกับคำว่า "ครูผู้ช่วย" เท่าใดนัก ตามกฎหมายแล้ว ครูผู้ช่วยเป็นตำแหน่งผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา ก่อนจะขึ้นไปเป็นครู หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น ครูแรกบรรจุในช่วงทดลองงานในเวลา 2 ปี ซึ่งก็คือการก้าวขาไปเป็นครูในระบบราชการแล้วนั่นเอง ดังนั้น ครูผู้ช่วยจึงเป็นตำแหน่งที่เป็นประตูแห่งโอกาสทั้งในนามผู้ต้องการเป็นครูเอง สถาบันการศึกษาและนักเรียนที่จะได้รับบุคลากรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง

ครูผู้ช่วย เกิดขึ้นจาก พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547  เกิดจากการที่ยกเลิกระบบ อาจารย์ 1 อาจารย์ 2 อาจารย์ 3 และให้มีเพียง ครูผู้ช่วย และครู แล้วบวกเพิ่มวิทยฐานะเข้าไป

 

2. การสร้างครูให้เป็นองค์กรวิชาชีพ

 ระบบการศึกษาเป็นที่คาดหวังของคนในสังคมไทยว่าจะเป็นรากฐานสำคัญที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าเทียบทันกับอารยประเทศ ทั้งยังเป็นแพะรับบาปถึงความล้าหลัง เมื่อมีเหตุการณ์เชิงประจักษ์ต่างๆ แสดงออกมา เช่น ผลคะแนนสอบที่ตกต่ำลง ฯลฯ ตัวแทนของระบบการศึกษาที่เลี่ยงไม่พ้นจะกล่าวถึง "ครู" ที่ต้องแบกรับภาระนี้ กระนั้นครูก็ตกเป็นเป้าของการโจมตี เมื่อตกเป็นข่าวต่างๆนานา ทั้งข้อเบาและหนัก ไม่ต่างจากข้าราชการอย่างตำรวจ หรือพระที่เป็นตัวแทนของรัฐที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ปี 2557 จำนวนครูที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมากถึง 402,412 คน จากจำนวนทั้งหมด 641,793 คน[2] ด้วยจำนวนบุคลากรมหาศาลนั้น จึงนำมาซึ่งปัญหาจากปริมาณที่มากนี้ไปด้วย 

บทบาทของครูนั้นค่อนข้างกว้างขวาง และครูก็มีประเภทที่แตกต่างกันไป หากแยกตามการสอน ในโรงเรียนประถมศึกษามีครูปฐมวัย, ครูสังคมศึกษา, ครูคณิตศาสตร์, ครูภาษาไทย, ครูภาษาอังกฤษ, ครูภาษาจีน, ครูศิลปะ, ครูพลศึกษา, ครูเกษตร, ครูงานบ้าน-งานประดิษฐ์, ครูวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ส่วนครูระดับมัธยมศึกษา ก็คล้ายกันแต่อาจเพิ่มเติมครูวิทยาศาสตร์ที่แยกไปตามสาขาเช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ในระดับประถม หรือมัธยมที่ขาดแคลน ครูคนเดียวอาจสอนหลายวิชา และเป็นทั้งครูประจำชั้นพร้อมกับการสอนวิชาอื่น หลายครั้งพบว่าการสอนไม่ตรงกับวุฒิครู เช่น ครูที่จบเกษตรมาต้องมารับภาระสอนวิชาคอมพิวเตอร์และสังคมศึกษา และครูในโรงเรียนนั้นก็มีหลายแบบ ตั้งแต่ครูที่เป็นข้าราชการทั้งครูใหม่อย่างครูผู้ช่วย ครูที่มีวิทยฐานะต่างๆ (สมัยก่อนคือ ตำแหน่งอาจารย์ 1, 2, 3) ผู้บริหาร ขณะที่ครูอัตราจ้างก็เป็นตำแหน่งชั่วคราวที่เป็นสัญญาระยะสั้น

เมื่อเทียบกับข้าราชการในสายอื่นๆอาจนับได้ว่า "หนัก" พอดู ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้อาชีพต่างๆขยายตัวมากขึ้น ทางเลือกของอาชีพจึงมีมากกว่าการเป็นครู  ปัญหานี้เป็นที่ตระหนักกันดีมาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2488 ที่รัฐบาลเห็นว่า ผู้มีความสามารถไม่ได้ทำอาชีพครูเหมือนเดิมแล้ว จึงตั้ง "คุรุสภา" ขึ้นมามีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เน้นเรื่องนโยบายการศึกษา วิชาการ วินัยครู และการรักษาผลประโยชน์ครู และกำหนดให้ครูต้องเป็นสมาชิกคุรุสภา[3]

แต่เดิมนั้นการดำรงอาชีพครูนั้นมิได้มีความจำเป็นต้องใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี 2546 ที่รัฐบาลไทยรักไทยผลักดันให้เกิด พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ที่มีผลบังคับวิชาชีพครู เป็นวิชาชีพควบคุมที่ต้องได้รับใบอนุญาตก่อน[4] ตั้งแต่นั้นมาผู้สอบบรรจุครู มีข้อบังคับว่าจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือพูดอีกแบบก็คือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูนั้นเพิ่งเกิดขึ้นไม่ถึง 15 ปีนี่เอง แม้ว่าจะมี พระราชบัญญัติครูมาตั้งแต่ปี 2488 ต่างจากใบประกอบโรคศิลปะของแพทย์ (อย่างช้าในปี 2479 ตาม พรบ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2479) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (พรบ.วิชาชีพวิศวกรรม  พ.ศ.2505), ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม (พรบ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ.2508) ที่เริ่มมาอย่างยาวนาน

ความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องที่สำคัญก็คือ การปรับหลักสูตรให้สายครุศาสตร์ต้องเรียนเป็นเวลา 5 ปี นั่นคือวิชาการ 4 ปี บวกกับการฝึกสอนในโรงเรียนอีก 1 ปี เมื่อปี 2547[5] การออกแบบให้เรียนเช่นนี้ก็อ้างว่าเพื่อเสริมทักษะการสอนให้เข้มข้นมากขึ้น

 

3. ชนชั้นของวิชาชีพ กับสถานะของครู

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การสร้างเขตแดนของวิชาชีพครูในนามของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้นเริ่มต้นได้ช้ากว่าวิชาชีพอื่นๆ ทั้งที่เป็นอาชีพที่มีบทบาทมาอย่างยาวนาน การเน้นความเป็นครูที่ตัวบุคคล จริยามารยาท และความเป็นครูที่ศักดิ์สิทธิ์ และผู้มีพระคุณจึงถูกตอกย้ำอยู่เสมอ ผ่านพิธีกรรมการไหว้ครูที่สืบเนื่องมาจากพิธีกรรมในสังคมจารีต ตำแหน่งแห่งที่ของครูจึงอยู่ท่ามกลางแนวคิดแบบเก่า และซ้อนทับกับสถานะของวิชาชีพในโลกสมัยใหม่

ภาพของ "แสงเรืองๆ" และ "แม่พิมพ์" ที่เหนื่อยยากตรากตรำทำงานหนัก (เพลงแม่พิมพ์ของชาติ) แต่ภาพในเชิงธุรกิจก็คือ "ครูเป็นเรือจ้าง" (เพลงพระคุณที่สาม) กลับเป็นภาพในแง่ไม่ดีนัก ดังนั้นครูในอุดมคติ อาจนับเป็นคนดีในอุดมคติ อาจเทียบเคียงได้กับพระภิกษุที่เคยเป็นครูในสมัยโรงเรียนวัด

อย่างไรก็ตามสถานะของครู มิได้รับการยกระดับในเชิงนโยบายเท่าที่ควร โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ สถาบันฝึกหัดครู กว่าจะได้รับการยกระดับมาเป็นการเรียนการสอนระดับวิทยาลัยครู ก็ต้องรอจนถึงปี 2518 และหากมองด้วยแว่นของสังคมไทยที่เห็นว่า การเป็นมหาวิทยาลัยนั้นแสดงถึงความสูงส่งกว่าทางด้านระดับทางวิชาการ กว่าวิทยาลัยครูจะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ก็ต้องรอจนถึงปี 2547 (ก่อนหน้านั้น ปี 2538 เป็นเพียงสถาบันราชภัฏ) ทุกวันนี้นับเป็นมหาวิทยาลัยระดับรองที่ไม่ได้อยู่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ การได้รับการจัดสรรงบประมาณที่น้อยยิ่งกว่าน้อย หากเทียบในปี 2560[6] มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับงบประมาณ 13,933,378,100 บาท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5,572,408,400บาท, ม.ธรรมศาสตร์ 3,790,583,600 บาท, ม.เชียงใหม่ 5,942,550,400 บาท ขณะที่ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ 780,401,900  บาท, ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 396,126,100 บาท, ม.ราชภัฏนครรราชสีมา 539,805,500 บาท, ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช 603,833,000 บาท ม.ราชภัฏกาญจนบุรี ได้รับงบประมาณเพียง 364,469,100 บาท งบประมาณของ ม.มหิดลนั้นมีมากกว่า ม.ราชภัฏกาญจนบุรีถึงกว่า 38 เท่า

ยังไม่นับว่า ม.ราชภัฏเหล่านี้ติดขัดระเบียบตามพระราชบัญญัติทำให้ไม่สามารถปรับตัวทางด้านธุรกิจได้ดีนัก บางแห่งที่มีความสนใจจะลงทุนก็เจอปัญหาระเบียบราชการ การแข่งขันในแง่นี้จึงยิ่งกลายเป็นปัญหาอีก งบประมาณที่น้อยจึงเป็นปัญหาโดยรากฐานที่สัมพันธ์กับศักยภาพการผลิตบัณฑิต งานวิจัยและองค์ความรู้ด้านการศึกษาให้มีความเป็นไปได้ เช่นเดียวกับวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมหาศาลมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

การเลือกเรียนครูในช่วงหนึ่งแล้วจึงเป็นอาชีพที่ไม่ใช่หมุดหมายของนักเรียนมากนัก เห็นได้ชัดจากระบบสอบคัดเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในยุคก่อน วิชาชีพครูไม่ได้รับความนิยมเมื่อเทียบเท่ากับสายแพทย์ วิศวกร บัญชี เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ จนกระทั่งกลางทศวรรษ 2550 ที่คะแนนสอบเข้าสายศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์กระเตื้องขึ้นอย่างเห็นได้ชัด[7]

มิอาจปฏิเสธได้ว่า วิชาชีพครูที่เป็นข้าราชการนั้นมีมั่นคงสูง ได้รับความเคารพนับถือ มีเครดิตทางการเงิน และยังมีสวัสดิการแบบราชการที่ครอบคลุมถึงครอบครัว พื้นที่แห่งวิชาชีพนี้จึงมีลักษณะเป็นพื้นที่แห่งการแข่งขันโดยตัวของมันเองไปด้วย การปิดระบบด้วยการให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จึงทำให้ระบบดังกล่าวแคบลง โอกาสเข้าสู่งานในการสอบแข่งขันที่มีผู้เข้าแข่งขันน้อยรายจึงมีความเป็นไปได้มากกว่า นั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ในระยะหลังที่คะแนนสอบวิชาด้านนี้สูงขึ้น และการเข้าสอบแข่งขันเพื่อเรียนวิชาชีพครูในม.ราชภัฏต่างๆ ก็คึกคักขึ้นด้วย

การเรียน 5 ปี ก็ดี หรือการสอบครูโดยต้องมีใบประกอบวิชาชีพก็ดี เป็นข้อถกเถียงมาระยะหนึ่งในสังคมไทยถึงข้อดี ข้อเสียและการปรับเปลี่ยน ปี 2551 ได้มีผู้เสนอให้ผลิตครูที่มีคุณภาพเช่นในอดีตที่มีสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางในการผลิตครู คือ วิทยาลัยวิชาการศึกษา (College of education) โดยจัดตั้งตามภาคภูมิศาสตร์ ภาคละ 1 แห่ง โดยจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก[8] ปี 2554 ถึงกับมีการเสนอให้เรียนถึง 6 ปีแล้วได้วุฒิปริญญาโทไปด้วย[9] ข้อเสนอต่างๆ ยังไม่มีข้อยุติ จนกระทั่งเร็วๆนี้ที่รัฐบาลเผด็จการเข้ามาจัดการปฏิรูปการศึกษา

           

4. ปัญหาในการสอบครูผู้ช่วยเดิม และการแก้ปัญหาใหม่พร้อมกับการกระชับอำนาจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีความวิตกเรื่องคุณภาพของครู และปัญหาครูขาดแคลนในบางสาขาวิชา รวมไปถึงปัญหาในการสอบครูผู้ช่วยเดิมนั้นดำรงอยู่จริง พบว่ามีการทุจริตการสอบครูผู้ช่วย เหตุการณ์ใหญ่โตที่รู้กันไปทั่วเกิดขึ้นเมื่อปี 2556[10] ยังพบว่ามีการเปิดสอบ และบรรจุครูที่ไม่สอดคล้องบัญชีผู้สอบได้ที่ขึ้นรอไว้อยู่ ทั้งที่มีกำหนดระยะเวลาที่ขึ้นบัญชีอยู่ราว 2 ปี ข้อมูลในปี 2559 พบว่า มีผู้ขึ้นบัญชีจำนวน 11,333 คน บรรจุได้ 3,854 คน สละสิทธิ์ 115 คนและคงเหลือจำนวน 7,364 คน[11] หรือปัญหาการรับสินบนเพื่อจัดการเรื่องย้ายบัญชีข้ามเขตพื้นที่[12]

หลายฝ่ายเห็นกันว่า เมื่อมีปัญหาเช่นนี้แล้ว ก็นับว่าต้นทางสู่การเป็นครูนั้นไม่สง่างาม โดยเฉพาะเมื่อเจอปัญหาทุจริต การวิ่งเต้น เล่นเส้นสาย จะเห็นได้ว่า หากมองจากสายตาที่ห่วงใย แวดวงการศึกษา บุคลากรครู โดยเฉพาะเรื่องครูผู้ช่วยนั้น มีเรื่องน่าหนักใจและน่าเป็นห่วง เช่นเดียวกับปัญหาทางการเมืองระดับประเทศ ในที่สุดการแก้ไขปัญหาก็มาด้วยอำนาจจากปากกระบอกปืน การปฏิรูปการศึกษามากับรัฐบาลเผด็จการ รัฐบาลชุดนี้เข้ามาควบคุมระบบการศึกษาในหลายต่อหลายเรื่อง แต่ในกรณีครูผู้ช่วยนั้นเห็นได้ชัดจากการเข้ามาพยายามแทรกแซงการจัดสอบครูผู้ช่วย ด้วยการออกประกาศที่มีนัยว่า ผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูก็มีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วยได้เช่นกัน[13]

แน่นอนว่า ประกาศนี้สร้างความขัดแย้งกันระหว่างผู้สนับสนุนและคัดค้าน โดยฝ่ายแรกก็ต้องการรักษาผลประโยชน์และสิทธิ์ของตน และเหตุผลทางวิชาชีพ ส่วนฝ่ายหลังก็ให้เหตุผลว่า การแข่งขันอย่างเปิดกว้างน่าจะเปิดโอกาสให้ได้ครูที่มีคุณภาพมากกว่า ซึ่งเป็นฐานความคิดร่วมกันของคนจำนวนมากที่รับทราบปัญหาการศึกษาว่ายากที่จะแก้ไขดังที่กล่าวมาเบื้องต้น ฝ่ายประธานประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) ได้ออกมาโต้แย้ง[14] ในวันเดียวกันรัฐบาลก็ประกาศใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[15] มาตรา 44 จึงเป็นการสำแดงอำนาจขึ้นมาเพื่อรวบอำนาจการบริหาร โดยการปลด ก.ค.ศ. เดิมแล้วแต่งตั้งใหม่ ลดจำนวนจาก 31 เหลือ 15 คน ทั้งยังให้อำนาจอีกหลายประการซึ่งคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญในบทความนี้ ซึ่งการบริหารงานบุคคลถือเป็นหัวใจสำคัญหนึ่งที่สัมพันธ์กับการสอบครูผู้ช่วยนั่นเอง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่คิดว่า นโยบายของตนนั้นประเสริฐที่สุด ทั้งที่เรื่องทั้งหลายเป็นประเด็นสาธารณะที่ควรถกเถียงกัน ต่อรองกันว่าควรจะตัดสินใจร่วมกันอย่างไร แม้ระบบเดิมจะมีปัญหาเพียงใด ก็พึงจะตัดสินใจกันตามครรลองที่เป็นประชาธิปไตยและบรรยากาศถกเถียงที่เปิดกว้างกว่านี้

 

5. ข้อเสนอ

หลังจากรัฐบาลนี้หมดอายุไขลง ก็ควรจะเป็นเวลาที่เราควรจะทบทวนถึงประเด็นต่างๆของการศึกษา ในประเด็นว่าด้วยการสอบครูผู้ช่วยนั้น ยิ่งคงต้องถกเถียงกันระหว่างฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านการให้สิทธิ์ผู้สอบที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และนโยบายที่ออกมาก็ควรจะต้องประกาศทิ้งช่วงเวลาให้ยาวนานกว่านี้ เช่น ประกาศเลยว่าอีก 5 ปีข้างหน้า นักศึกษาที่เรียนจบ 4 ปี ก็สามารถสอบครูได้ ใครยังต้องการเรียนครู 5 ปี ก็ยังทำได้อยู่และรัฐบาลอาจจะต้องมีแต้มต่อให้ หรือต้องให้พวกที่เรียน 4 ปีมีเงื่อนไขที่ต้องผ่านประสบการณ์ฝึกสอน หรือกระทั่งการปรับหลักสูตรเหลือ 4 ปีเท่ากัน หรืออาจต้องเป็นการผสมผสานกัน อย่างที่บอก การถกเถียงมันควรเกิดอย่างกว้างขวางและทำให้มันงอกเงยได้มากไปกว่านี้ ในแผ่นดินที่เปิดกว้าง แผ่นดินที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น.

 

เชิงอรรถ

[1]อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

[2]สำนักงานสถิติแห่งชาติ. "จำนวนครู/อาจารย์ (แบบจัดชั้นเรียน) จำแนกตามสังกัด ทั่วราชอาณาจักร ปีการศึกษา 2549-2557". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries06.html

[3]คุรุสภา. "ความเป็นมา". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.ksp.or.th/ksp2013/profile/index.php?l=th&tid=2&mid=12&pid=10

[4]"พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546". ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 120 ตอนที่ 52 ก, 11 มิถุนายน 2546, น.15

[5] สุรชัย เทียนขาว. "ทบทวนแนวทางการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน". มติชนรายวัน (8 ธันวาคม 2551) อ้างถึงใน Wasawat Deemarn. "การผลิตครู 5 ปี กับ บทความ "ทบทวนแนวทางการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน" สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก https://www.gotoknow.org/posts/228764

[6]"พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560". ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนที่ 84 ก, 23 กันยายน 2559, น.

[7] มติชนออนไลน์. "แต้มแอดมิสชั่นส์ครุศาสตร์ พุ่งสูงกว่า"วิทยาศาสตร์-มนุษยศาสตร์" ปธ.คุรุสภาเผยคนเก่งเรียนครูเพิ่ม". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1413805399 (20 ตุลาคม 2557)

[8] สุรชัย เทียนขาว. "ทบทวนแนวทางการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน". มติชนรายวัน (8 ธันวาคม 2551) อ้างถึงใน Wasawat Deemarn. "การผลิตครู 5 ปี กับ บทความ "ทบทวนแนวทางการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน" สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก https://www.gotoknow.org/posts/228764

[9] unigang. "ยกเลิกครูหลักสูตร5ปีในปี56". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.unigang.com/Article/12537

[10] คม ชัด ลึก. "เงินสะพัด200ล้านสอบทุจริตครูผู้ช่วย". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/154966 (29 มีนาคม 2556)

[11] Thai Hot NEWS. "สรุปจำนวนผู้สอบแข่งขันได้ขึ้นบัญชี กศจ.ในการสอบครูผู้ช่วย พ.ศ.2558-2559". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.thai-hotnews.com/news/26663 (3 กุมภาพันธ์ 2560)

[12] กระทรวงศึกษาธิการ. "สพฐ.สั่งบัญชีครูยึดหลักพื้นที่ ถ้าข้ามเขตต้องให้ ก.ค.ศ.เห็นชอบ/หวังแก้ปัญหาเรียกรับเงินเมื่อขอย้าย". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=36693&Key=hotnews (28 เมษายน 2557)

[13] กระทรวงศึกษาธิการ. "สพฐ.สั่งบัญชีครูยึดหลักพื้นที่ ถ้าข้ามเขตต้องให้ ก.ค.ศ.เห็นชอบ/หวังแก้ปัญหาเรียกรับเงินเมื่อขอย้าย". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=36693&Key=hotnews (28 เมษายน 2557)

[14] มติชนออนไลน์. "ประธาน ส.ค.ศ.ท.ฉะ ศธ.เปิดกว้าง ป.ตรีทุกสาขาสอบครูได้ หวั่น น.ศ.เมินเรียน 'ครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์'". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.matichon.co.th/news/503357 (21 มีนาคม 2560)

[15] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. "สั่งม.44ปลดบอร์ดก.ค.ศ.ชุดเดิม รื้อระบบบริหารขรก.ครู". สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/746411 (21 มีนาคม 2560)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เล่าเรื่องสมัยแรกของจุฬาฯ ครบศตวรรษ

Posted: 23 Mar 2017 08:55 AM PDT


ตามประวัติความเป็นมานั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนามาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยขั้นอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2559 ตามปฏิทินแบบเก่าที่ขึ้นปีใหม่ในเดือนเมษายน ดังนั้น วันที่ 26 มีนาคม ปีนี้ จึงจะเป็นโอกาสครบรอบหนึ่งศตวรรษของมหาวิทยาลัย ก็น่าที่จะต้องลองทบทวนบทบาททางสังคมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

ตั้งแต่เริ่มมีการสร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ในประเทศสยาม เป้าหมายสำคัญคือ การผลิตบุคคลเข้ามารับใช้ระบบราชการที่มีการปฏิรูปใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ระบบขุนนางแบบเก่าผลิตจำนวนคนได้ไม่พอเพียง และยิ่งกว่านั้น ระบบราชการสมัยใหม่ไม่ได้รองรับด้วยความรู้แบบจารีตประเพณีที่ศึกษาพระบาลีหรือศิลปศาสตร์ 18 ประการ แต่ต้องเป็นความรู้วิทยาการแบบตะวันตก จึงนำมาสู่การตั้งโรงเรียนแบบสมัยใหม่จำนวนมากในพระนคร และตามหัวเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางมณฑล โดยระยะแรกรับนักเรียนที่เป็นชาย เพราะผู้หญิงไม่มีสิทธิรับราชการเป็นขุนนาง ต่อมา จึงได้เริ่มมีการตั้งโรงเรียนสตรี เพื่อให้สตรีมีความรู้สมัยใหม่เป็นภรรยาที่เชิดหน้าชูตาของสามีที่เป็นข้าราชการ

จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 6 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(สนั่น เทพหัสดิน) ที่รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีบทบาทสำคัญมากในการเสนอให้มีการตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้นในประเทศสยาม แต่แนวคิดนี้ถูกคัดค้านอย่างหนัก เพราะเสนาบดีอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแบบเดิม ก็ผลิตข้าราชการได้อยู่แล้ว ไม่ต้องตั้งมหาวิทยาลัยให้สิ้นเปลือง แต่ในที่สุดโครงการนี้ก็บรรลุผล เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯให้การสนับสนุน

เป้าหมายในขั้นแรกของมหาวิทยาลัย คือ การผลิตข้าราชการที่มีความรู้ใหม่มารองรับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และผลิตแพทย์สู่โรงพยาบาลของราชการ ดังนั้น ผู้ที่เข้าศึกษาในระยะแรก จึงเป็นกุลบุตรที่เป็นบุตรขุนนางและคหบดีและยังมีจำนวนไม่มากนัก ดังมีหลักฐานว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระยะแรกก่อตั้งนั้น มี 4 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การสอนในขั้นแรกรับนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าเรียน จัดเป็นขั้นประกาศนียบัตร และในรุ่นแรกเมื่อ พ.ศ.2460 นั้นมีมีผู้จบการศึกษา 45 คน เป็นชายทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นประกาศนียบัตรแพทย์ 37 คน รัฐประศาสนศาสน์ 6 คน และวิศวกรรม 2 คน

ต่อมา เมื่อ พ.ศ.2466 มีการปรับปรุงการสอนคณะแพทยศาสตร์ขึ้นเป็นชั้นปริญญาตรี และเปลี่ยนคุณสมบัติผู้เข้าเรียนเป็นผู้ที่สอบได้มัธยมปีที่ 8 แพทย์ศาสตร์บัณฑิตจบรุ่นแรกเมื่อ พ.ศ.2471 จำนวน 18 คน และเมื่อ พ.ศ.2472 ได้มีการเพิ่มการสอนในระดับประกาศนียบัตรครูมัธยมอักษรศาสตร์เรียน 2 ปี โดยมีนักเรียนรุ่นแรก 16 คน แต่กล่าวโดยรวมแล้ว ในระยะแรกของมหาวิทยาลัย อัตราการจบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ยังน้อยมาก คือไม่เกิน 70 คนต่อปี

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อย ก็ตื่นเต้นกับสถานการณ์นี้ด้วย เช่น อุบล คุวานเสน นิสิตอักษรศาสตร์ได้เล่าว่า เธอและเพื่อนกลุ่มหนึ่ง ได้ขึ้นรถไปดูการปฏิวัติที่ลานพระบรมรูปทางม้า เห็นรถถังและทหารเต็มไปหมด เลยรู้สึกกลัวจึงกลับมาห้องเรียนตามเดิม ส่วน ผอบ วิโรจน์เพ็ชร ซึ่งจบการศึกษาแล้ว ขณะนั้น รับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครู  เพ็ชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ถนนเพชรบุรี ก็ได้เดินจากโรงเรียนไปดูเหตุการณ์ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเช่นกัน

ปรากฏว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ได้นำมาซึ่งกระแสความตื่นตัวในเรื่องสิทธิของราษฎรที่จะเรียกร้องในสิ่งที่ตนเองต้องการ ในกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็คือ การที่นิสิตได้ประท้วงเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยยกระดับการศึกษาของคณะอื่นจากประกาศนียบัตร เป็นปริญญาตรีเช่นเดียวกับคณะแพทย์ศาสตร์ ในที่สุด รัฐบาลคณะราษฎรก็ได้ปรับหลักสูตรยกระดับการศึกษาคณะอื่นเป็นขั้นอนุปริญญาและในทีสุดเป็นขั้นปริญญาตรี โดยเริ่มจากปีการศึกษา 2476 ซึ่งจะทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลายเป็นแหล่งผลิตปัญญาชนที่จะมีบทบาทในการให้ความรู้ทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น

พ.ศ.2479 พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม(แปลก ขีตตะสังคะ) รัฐมนตรีกลาโหม ได้เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ขณะที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) รับตำแหน่งผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ.2477 ซึ่งในสมัยนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้นำคณะราษฎรได้ให้ความสำคัญแก่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างมาก

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2481 พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็เริ่มมีเปลี่ยนแปลง เช่น การกำหนดให้มีเครื่องแบบนิสิตให้สอดคล้องกับนโยบายวัฒนธรรม แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2482 รัฐบาลคณะราษฎรได้ผลักดันให้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่บริเวณตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จากถนนพระราม 1 ถึงถนนพระราม 4 เนื้อที่ 1196 ไร่ 32 ตารางวา ให้เป็นทรัพย์สินเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมด เพราะแต่เดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯยกที่ดินแปลงนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพของบาทบริจาริกาของพระองค์ ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงต้องจ่ายค่าเช่าให้ทรัพย์สินส่วนมหากษัตริย์โดยตลอด และผลจากกฎหมายยกที่ดินฉบับนี้ ทำให้จุฬาลงกรณ์ฯได้ครอบครองที่ดินอันมีค่า และกลายเป็นแหล่งสร้างทรัพย์สินอันมหาศาลให้กับมหาวิทยาลัยต่อมา

นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเข้ามีบทบาทางการเมืองครั้งแรก หลังจากที่รัฐบาล พล.ต.หลวงพิบูลสงคราม เคลื่อนไหวชาตินิยม โดยเรียกร้องดินแดนมณฑลบูรพาคืนจากฝรั่งเศส เริ่มเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2483 นิสิตจุฬาลงกรณ์ฯได้จัดการเดินขบวนใหญ่จากมหาวิทยาลัยไปถึงกระทรวงกลาโหม เพื่อสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งการเรียกร้องนี้ต่อมาบรรลุผล เพราะใน พ.ศ.2484 รัฐบาลไทยได้ดินแดนคืนมาจากฝรั่งเศส 4 จังหวัด แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง รัฐบาลไทยต้องคืนดินแดนเหล่านี้ให้ฝรั่งเศส

หลังจากฝ่ายทหารยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2490 คณะรัฐประหารต้องการจะลดบทบาทด้านสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จึงเปิดคณะรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ.2491 ที่น่าสนใจคือ การย้อนยุคเป้าหมายการศึกษา เพราะในขณะที่เป้าหมายการศึกษาสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง อยู่ที่การมุ่งสร้างความรู้ในเรื่องประชาธิปไตยให้แก่สังคม ซึ่งจะเป็นข้าราชการในระบบใหม่ แต่เป้าหมายของคณะรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ยังย้อนยุคกลับไปสู่เป้าหมายแบบเดิม คือ การผลิตข้าราชการให้กับกระทรวงมหาดไทย จึงได้มีการนำข้าราชการจากกระทรวงมหาดไทย มีเป็นอาจารย์พิเศษหลายคน และมีข้อตกลงให้บัณฑิตที่จบคณะรัฐศาสตร์ 3 รุ่นแรก จำนวนรุ่นละ 60 คน กระทรวงมหาดไทยจะรับเป็นปลัดอำเภอทั้งหมด ดังนั้น นิสิต 3 รุ่นนี้ จึงเป็นนิสิตชายหมด ไม่มีนิสิตหญิงเลย

นี่เป็นเรื่องเล่าพอหอมปากหอมคอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสมัยแรก ฉบับหน้าจะมาเล่าต่อเรื่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับขบวนการนักศึกษาครับ


เผยแพร่ครั้งแรกใน: โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 608 วันที่ 18 มีนาคม 2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อรอนงค์ ทิพย์พิมล: TU101 ประวัติศาสตร์ร่วมอาเซียนและปมประวัติศาสตร์บาดแผล

Posted: 23 Mar 2017 08:11 AM PDT

อรอนงค์ ทิพย์พิมล บรรยายวิชา TU101 อธิบายลักษณะร่วมของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประวัติศาสตร์บาดแผล-ความขัดแย้งร่วมสมัย ตั้งแต่พิพาทดินแดน จนถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่างโขนหรือผ้าบาติก แนะควรสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์ใหม่อาเซียนร่วมกัน ลดความเป็นรัฐ เพิ่มความเป็นประชาคมภูมิภาค แทนที่การเขียนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม

กดติดตามรับชมคลิปใหม่ๆ ที่

 

 

15 มี.ค. 2560 วิชา มธ 101 โลก อาเซียน และไทย เปิดบรรยายในหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ร่วมของอาเซียน" ณ ห้อง SC 1059 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต โดยมีอรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์เป็นผู้บรรยาย

 

ประวัติศาสตร์ร่วม ประวัติศาสตร์เลือด: มายาคติระหว่างรัฐบนเส้นเวลาเดียวกัน

อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายถึงประวัติศาสตร์ที่ภูมิภาคอาเซียนมีร่วมกัน เริ่มต้นตั้งแต่สมัยเป็นรัฐอาณาจักร ไม่มีเขตแดนพรมแดนแน่นอนต่างจากรัฐสมัยใหม่ อำนาจอาณาจักรไม่คงที่ ประเทศราชไม่ได้เป็นของใครซักคน การส่งบรรณาการเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองก็ทำกับหลายฝ่าย เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน สิ่งที่มีร่วมกันคือการค้าภายในภูมิภาคและนอกภูมิภาค

ภายหลังการปลดแอกตนเองจากการเป็นอาณานิคม ประเทศทั้งหลายในภูมิภาคเลือกสร้างประวัติศาสตร์เพื่อสร้างนิยามตัวตนแห่งชาติร่วมกัน โดยอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เป็นช่วงที่ประวัติศาสตร์สร้างความวุ่นวายและรอยร้าวในภูมิภาคมากที่สุด เกิดการสร้างกระแสรักชาติด้วยการสร้างศัตรูร่วมกันเพื่อให้คนในชาติรักกัน สร้างมายาคติต่อประเทศในภูมิภาค

"แต่ละประเทศมีศัตรูในประวัติศาสตร์ไม่เหมือนกัน พม่ามีอังกฤษ ไทยก็มีพม่า กัมพูชามีไทยกับฝรั่งเศส ตำราเรียนฉบับกัมพูชามองสยามว่าเป็นมหาโจร โจรสยาม ส่วนตำราเรียนไทยก็มองกัมพูชาว่าเลี้ยงไม่เชื่อง ไว้ใจไม่ได้ ไทยมองลาวเป็นบ้านพี่เมืองน้อง มองลาวด้อยกว่า แต่ลาวเองก็เห็นไทยเป็นศักดินาสยาม"

 

นาม "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" แพร่หลายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แท้จริงมีหลายชื่อเรียกมาแต่โบราณ

อรอนงค์ บรรยายว่า พื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการนิยามกลุ่มรัฐสมัยใหม่ในรูปแบบหนึ่งที่เริ่มแพร่หลายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง แท้ที่จริงภูมิภาคนี้เป็นที่รู้จักมานานแล้ว อินเดีย เรียกว่า สุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลในตำราพุทธศาสนา แปลว่า แผ่นดินแห่งทอง หมายถึงสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีพ่อค้า,พราหมณ์ที่เดินทางมาค้าขาย เผยแพร่ศาสนา  จีน เรียกว่า นานยาง (Southern Sea) มีประวัติศาสตร์การค้า การทูตมายาวนาน อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ พ่อค้ามลายู เรียก ดินแดนที่อยู่ใต้ลม (Land Below the Wind) เพราะว่าต้องอาศัยลมมรสุมในการเดินทางเข้ามา ส่วนญี่ปุ่นนั้นเรียกว่านามโป

ในยุคอาณานิคม อินโดจีน เป็นนิยามของรัฐอาณานิคมฝรั่งเศส เวียดนาม ลาว กัมพูชา หมายถึงดินแดนที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียและจีน รวมไปถึง ทฤษฎีโดย ยอร์จ เซเดส์ (George Coedes) ที่เรียกภูมิภาคนี้ว่า  รัฐแบบฮินดู หรือ อินเดียไกล (Greater/ Further India)เพราะเชื่อว่าแถบนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม การเมืองระบบจารีต

แนวคิดเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่นั้น แต่เดิมเป็นศูนย์บัญชาการของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันก็มีกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยสหราชอาณาจักรที่ต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น ต่อมาในช่วงสงครามเย็นได้มีการก่อตั้ง Southeast Asia Treaty Organization (SEATO)  ใน พ.ศ. 2497 เป็นองค์กรด้านความมั่นคงในภูมิภาคเพื่อต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนอาเซียนนั้นตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2510 มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และไทยเป็นสมาชิกก่อตั้ง เพื่อต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ และมีผลงานชิ้นโบว์แดงก็คือการร่วมกันแสดงจุดยืนหยุดยั้งการรุกรานของเวียดนามในกัมพูชาเมื่อช่วงทศวรรษที่ 2530 โดยมีไทยเป็นหัวเรือใหญ่ ซึ่งหลังจากสงครามเย็น อาเซียนมีพัฒนาการทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมเรื่อยมาจนปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับเสาหลักอีกสองเสา ได้แก่ เสาความมั่นคง การเมือง และเสาด้านสังคมวัฒนธรรม

 

สร้างชาติจากบาดแผล: เจ็บปวดตั้งแต่รบพุ่งกันจนถึงแย่งกันเป็นเจ้าของตำรับ 'ท่าจีบ'

"เหตุการณ์ที่กระแทกกระทั้นอารมณ์และจิตใจอย่างลึกซึ้ง และยังคงส่งผลสะเทือนยาวนานต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งต่อกลุ่มคนที่รับรู้และต่อสังคม ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการชำระสะสางให้กระจ่างเสียที เพราะมักเป็นโศกนาฏกรรมที่เหนือความคาดหมายหรือเกินกว่าจะอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลภายใต้ชุดวัฒนธรรมหรือศีลธรรมหนึ่งๆ ตราบใดที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายได้อย่าง "ลงตัว" อดีตอันเกิดจากความรุนแรงเหล่านี้ก็จะคาราคาซัง รบกวนจิตใจผู้คนต่อไป และมีอิทธิพลต่อความทรงจำของบุคคลและสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อการหล่อหลอมอัตลักษณ์ของสังคมนั้นๆ อย่างมาก"

ธงชัย วินิจจะกูล (2539), "ความทรงจำกับประวัติศาสตร์บาดแผล : กรณีการปราบปรามนองเลือด 6 ตุลา 19" ใน รัฐศาสตร์สาร (19:3)

อรอนงค์ ให้ความหมายของประวัติศาสตร์บาดแผล โดยอธิบายจากคำบรรยายของธงชัย วินิจจะกูลว่า เป็นความทรงจำที่มีความรุนแรง โศกเศร้าเกินกว่าที่จะเข้าใจได้ง่ายๆตามกรอบเหตุผลและศีลธรรมจรรยาชุดหนึ่งๆ เป็นภาวะลักลั่นว่า จะเผชิญหน้าอย่างไร คลี่คลายอย่างไร จะจำอย่างไรและจะลืมอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น กรณีเจ้าอนุวงศ์ ที่ประเทศลาวมองเป็นวีรบุรุษผู้ตั้งใจนำชาวลาวกลับจากสยามสู่บ้านเกิด ในขณะที่ไทยมองว่าเป็นกบฎ โดยเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้นสร้างความเจ็บปวดให้กับประเทศลาว เพราะสมัยนั้นสยามได้ปราบเจ้าอนุวงศ์และนำมาขังประจานจนสิ้นพระชนม์ในฐานะของกบฎ นอกจากนี้ เหตุการณ์เผาสถานทูตไทยในกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2546 ที่ลุกลามบานปลายจากข่าวลือว่า กบ - สุวนันท์ คงยิ่ง กล่าวว่านครวัดเป็นของไทย แสดงให้เห็นถึงความบาดหมางที่ร้าวลึกในประวัติศาสตร์เรื่องความขัดแย้งเชิงพรมแดน

แม้แต่ในไทยเอง กรณีของไทย – ปาตานี ก็มีการต่อสู้เพื่อนิยามตัวตน ปาตานีถูกยึดเป็นอาณานิคมในรัฐสยาม และด้วยนโยบายชาตินิยมจากกรุงเทพฯ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปตีความวิถีชีวิตของชาวมุสลิมภาคใต้ว่าไม่อารยะ ในปี พ.ศ. 2490 หะยีสุหลง ผู้นำและปัญญาชนในพื้นที่ ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 7 ข้อ ความว่า

1.ขอให้แต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจเต็มมาปกครองใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ให้มีอำนาจที่จะปลด ระงับ หรือโยกย้ายข้าราชการได้ บุคคลผู้นี้จักต้องถือกำเนิดในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งของ 4 จังหวัด และจักต้องได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนใน 4 จังหวัดนั้น

2.ข้าราชการใน 4 จังหวัดจักต้องเป็นมุสลิมจำนวน 80 %

3.ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทยเป็นภาษาราชการของ 4 จังหวัด

4.ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลางของการสอนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษา

5.ให้ใช้กฎหมายมุสลิมในศาลศาสนา แยกออกไปจากศาลจังหวัด โดยมีผู้พิพากษามุสลิม (KATH) นั่งพิจารณาร่วมด้วย

6.ภาษีเงินได้และภาษีทั้งปวงที่เก็บจากประชาชนใน 4 จังหวัดจักต้องใช้จ่ายเฉพาะใน 4 จังหวัดเท่านั้น

7.ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิมมีอำนาจเต็มในการดำเนินการเกี่ยวกับคนมุสลิมทุกเรื่อง โดยให้อยู่ในอำนาจสูงสุดของผู้นำตามข้อ 1

ผลที่ตามมาคือ รัฐบาลไทยสมัยนั้นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีการจับหะยีสุหลงไปคุมขัง หลังจากพ้นโทษแล้ว หะยีสุหลงได้หายสาบสูญไป นอกจากนี้ ยังมีการแย่งชิงมรดกทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการแย่งกันเป็นเจ้าของโขนและท่านาฏศิลป์ 'จีบ' ระหว่างไทยกับกัมพูชา การช่วงชิงความเป็นเจ้าของของผ้าบาติก การทำกริช การฟ้อนรำ แกงเนื้อ อังกะลุง ฯลฯ ระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสของการรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน

 

ชำระประวัติศาสตร์ร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทดแทนชาตินิยมด้วยประวัติศาสตร์ภูมิภาค

อรอนงค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลากหลายความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ร่วมกันในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นการชำระประวัติศาสตร์ร่วมกัน โดยบรรจุมุมมองประวัติศาสตร์ของทุกประเทศไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่ศึกษารู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในภูมิภาค "สมัยนี้มองเพื่อให้รู้ว่าเกิดอะไร เราไม่ใช่คนในยุคนั้น ใส่ทุกความจำเข้าไปเพื่อให้ประวัติศาสตร์บาดแผลที่หลอกหลอนนั้นได้รับการชำระ" ให้มีการจัดการพื้นที่พิพาทร่วมกัน ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันแทนที่จะแย่งกันเป็นเจ้าของ เนื่องจากภูมิภาคนี้มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว

อีกความเห็นหนึ่งคือ การเปลี่ยนเนื้อหาประวัติศาสตร์การสร้างชาติของแต่ละประเทศเป็นประวัติศาสตร์อาเซียน โดยไม่เน้นการต่อสู้ทางการเมือง ลดการดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของอาณาจักร/รัฐ และเปลี่ยนเป็นประวัติศาสตร์ของคนเล็กคนน้อยในพื้นที่ต่างๆ เช่น วิถีชีวิตของคนรอบนครวัด 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานยูเอ็นชี้ว่าการเหยียด-กีดกัน คือสาเหตุหนึ่งของความไม่เท่าเทียมทั่วโลก

Posted: 23 Mar 2017 07:35 AM PDT

ในรายงานเรื่องการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติระบุว่าถึงแม้โดยรวมการพัฒนามนุษย์จะดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 27 ปีที่แล้วแต่ยังคงมีปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียม หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้คนถูกกีดกันจากการมีส่วรร่วมทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเพราะการเหยียดอัตลักษณ์ เช่น การเหยียดชาติพันธุ์ เพศสภาพ หรือชนชั้นวรรณะ

ที่มาของภาพประกอบ: Flickr/John Nakamura RemyFlickr/สัญญาอนุญาต CC BY-S.A 2.0

สหประชาชาติออกรายงานเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2560 ระบุว่าถึงแม้ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาโลกเรามีพัฒนาการที่น่าประทับใจ แต่คนจำนวนมากก็ยังคงไม่ได้รับประโยชน์จากพัฒนาการนี้เนื่องจากการเหยียดและกีดกัน

ในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2560 ของสหประชาชาติระบุว่าการพัฒนามนุษย์โดยรวมแล้วมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาคของโลกเมื่อเทียบกับปี 2533 แต่ถึงแม้จะมีพัฒนาการทั่วๆ ไป แต่ปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันก็ยังคงอยู่

เฮเลน คลาร์ก ผู้จัดการโครงการพัฒนาของสหประชาชาติรายงานว่า ถึงแม้จะมีการพัฒนาเรื่องการเข้าถึงการศึกษาและสุขอนามัยโดยรวมๆ เพิ่มมากขึ้นและการให้โอกาสผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ปัญหาความยากจนและการกีดกันก็ยังคงอยู่แม้แต่ในประเทศพัฒนาแล้ว โดยที่มีคนมากกว่า 300 ล้านคน รวมถึงเด็ก 1 ใน 3 มีชีวิตอยู่ในสภาพที่เอนไปในทางยากจน

เรื่องของความยากจนและการกีดกันมักจะมีสาเหตุมาจากเรื่องการเหยียดอัตลักษณ์ต่างๆ (discrimination) อย่างเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ การเหยียดเพศสภาพ การเหยียดสถานะความเป็นผู้อพยพ ความเป็นชนพื้นเมือง เป็นคนพิการ หรือแม้กระทั่งชนชั้นวรรณะหรือสิ่งที่ถูกมองเป็นชนชั้นล่างทางสังคม ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มักจะถูกกดให้อยู่ภายใต้ความยากจนมากกว่า

คลาร์กกล่าวว่าควรมีการแก้ปัญหาด้วยการขจัดกฎหมายและบรรทัดฐานทางสังคมที่มีลักษณะการเหยียดหรือกีดกันอย่างลึกๆ และตราตรึงในสังคม รวมถึงต้องมีการพูดถึงปัญหาเรื่องผู้คนมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งฉุดรั้งความก้าวหน้าสำหรับผู้คนจำนวนมาก

ยูเอ็นยังพูดถึงเรื่องที่โดยรวมแล้วผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังคงถูกกีดกัน ใน 18 ประเทศยังคงมีกฎห้ามไม่ให้ผู้หญิงทำงานถ้าไม่ได้รับการอนุมัติจากสามี รวมถึงจำนวนประชากรผู้หญิงลดลงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโลกเนื่องจากการเหยียดเพศหญิงจนทำให้เกิดการบีบให้ทำแท้งเฉพาะเพศหญิงและสังหารทารกเพศหญิงในบางพื้นที่

เซลิม ยาฮาน ผู้อำนวยการสำนักงานรายงานเรื่องการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ (HDRO) กล่าวว่า "พวกเราให้ความสนใจกับค่าเฉลี่ยระดับชาติมากเกินไป ซึ่งเป็นการปกปิดมองไม่เห็นชีวิตของผู้คนที่มีความแตกต่างกันมาก" จึงเสนอให้มีการสำรวจคนท่ถูกกีดกันออกไปด้วยและหาสาเหตุว่าทำไมพวกเขาถึงถูกกีดกัน

รายงานของสหประชาชาติยังระบุถึงเรื่องคนที่ถูกไล่ที่ เช่น กลุ่มชนพื้นเมืองในบราซิลหลายชาติพันธุ์ที่รวมแล้วมากกว่า 25,000 คน ถูกไล่ที่เพื่อทำการก่อสร้างเขื่อน โดยที่การบังคับย้ายถิ่นฐานเหล่านี้ทำให้เกิดความแตกแยกของชุมชนและบีบให้กลุ่มชนพื้นเมืองต้องย้ายถิ่นฐานหลายครั้ง

เรียบเรียงจาก

Discrimination Compounds Global Inequality: UN Report, IPS News, 22-03-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เฟซบุ๊กเริ่มทดลองระบบแจ้งเตือน 'ข่าวปลอม' ในบางพื้นที่

Posted: 23 Mar 2017 06:52 AM PDT

เฟซบุ๊กเริ่มทดสอบนำระบบตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเว็บภายนอกมาใช้เพื่อต่อกรกับข่าวปลอมด้วยการออกข้อความเตือนผู้ใช้ว่าเนื้อหาหนึ่งๆ ยังเป็น "เนื้อหาที่ถูกโต้แย้ง" และแนะนำเว็บให้เข้าไปเช็คข้อเท็จจริง จากที่ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กเคยประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2559 ว่าจะร่วมมือกับเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อยับยั้งการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ผ่านโซเชียลมีเดียของพวกเขา

ที่มาของภาพประกอบ: Pixelkult/Pixabay

เนื้อหาแจ้งเตือนดังกล่าวมีคนพบหลังจากพยายามแชร์ลิงค์ข่าวเกี่ยวกับเรื่องที่มีคนอ้างว่าเคยมีการนำชาวไอร์แลนด์เข้าสู่สหรัฐฯ หลายแสนคนในฐานะการค้าทาส โดยปรากฎข้อความข้างใต้ลิงค์ข่าวว่าเนื้อหาของข่าวนี้ถูกโต้แย้งโดยเว็บไซต์ Snopes.com และสำนักข่าวเอพี

อย่างไรก็ตามเมื่อผู้สื่อข่าวผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยพยายามแชร์ลิงค์แบบเดียวกันกลับไม่พบว่ามีข้อความดังกล่าวขึ้น โดยเดอะการ์เดียนรายงานว่าข้อความดังกล่าวจะปรากฏให้เห็นเฉพาะกับผู้ใช้บางคนเท่านั้น เช่น เมื่อผู้สื่อข่าวในซานฟรานซิสโกทดลองโพสต์ลิงค์ข่าว "ทาสจากไอร์แลนด์" จะพบข้อความเตือนแต่ผู้ใช้ในซิดนีย์และลอนดอนจะไม่พบข้อความเตือนดังกล่าว โดยเฟซบุ๊กยังมีระบบแจ้งเตือน "ข่าวปลอม" ในระบบรีพอร์ตของเฟซบุ๊กอยู่แล้ว แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยมีข้อกังขาเกี่ยวกับระบบรีพอร์ตของเฟซบุ๊กในกรณีเรื่องการปล่อปละละเลยรูปอนาจารเด็ก

ทางด้านเดอะวีคจากอังกฤษระบุว่าเฟซบุ๊กกำลังทดลองระบบแจ้งเตือนข่าวปลอมโดยหลังจากที่ผู้แชร์ลิงค์พบข้อความจากเฟซบุ๊กว่าเป็น "เนื้อหาที่ถูกโต้แย้ง" เรื่องข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อคลิกที่ข้อความเตือนดังกล่าวจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมระบุว่า "คนจำนวนหนึ่งแชร์ข่าวปลอมโดยที่ไม่รู้ตัว เมื่อมีกลุ่มผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโต้แย้งเนื้อหาเหล่านี้ คุณอาจจะเข้าดูในเว็บไซต์ของพวกเขาได้ว่าเหตุใดเนื้อหาเหล่านี้ถึงถูกโต้แย้ง"

นอกจากนี้เฟซบุ๊กยังระบุอีกว่ากลุ่มเว็บตรวจสอบข้อเท็จจริงที่พวกเขาแสดงผลต้องเป็นเว็บที่ปรากฎให้เห็นว่าลงทะเบียนร่วมมือกับสถาบันพอยน์เตอร์ ซึ่งเป็นสถาบันการสื่อสารมวลชนไม่แสวงหาผลกำไรที่มีฐานในฟลอริดา พอยน์เตอร์ได้ก่อตั้งเครือข่ายผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงนานาชาติมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการข่าว

เดอะการ์เดียนระบุว่าหลังจากที่พยายามแชร์ข่าวที่มี "เนื้อหาที่ถูกโต้แย้ง" แล้วเรายังเลือกเผยแพร่ข้อความต่อไปก็จะมีข้อความเตือนในเรื่องความแม่นตรงของเนื้อหาอีกครั้งก่อนที่จะให้เราคลิก "ยืนยันจะโพสต์ต่อไป" ถ้าหากเรายังต้องการเผยแพร่ลิงค์ที่ถูกมองว่ามีปัญหานี้ แต่โพสต์ดังกล่าวผู้ใช้รายอื่นๆ จะมองเห็นข้อความระบุว่า "เนื้อหาถูกโต้แย้งโดย Snopes.com และสำนักข่าวเอพี"

ทางเฟซบุ๊กยังไม่แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องการทดลองระบบ "เนื้อหาที่ถูกโต้แย้ง" ดังกล่าว เมื่อมีคำถามต่อเรื่องนี้ในศูนย์ให้ความช่วยเหลือของเฟซบุ๊กพวกเขาก็ระบุเพียงว่า "ระบบนี้ยังไม่มีการเปิดให้ใช้ได้ทุกคน"

อย่างไรก็ตามเดอะวีครายงานว่าไม่ใช้ทุกคนที่จะชื่นชอบการทดลองระบบตรวจสอบเนื้อหาเช่นนี้ โดยที่พอล โจเซฟ วัตสัน บล็อกเกอร์ฝ่ายขวาและบรรณาธิการสื่อสายทฤษฎีสมคมคิดกล่าวหาว่าเว็บ snopes เป็น "สื่อของพวกซ้ายจัด" และ "เป็น 'ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง' ที่ไม่มีความรับผิดชอบ"

ทางด้านเลียม โฮแกน บรรณารักษ์และนักประวัติศาสตร์ ที่อยู่ในลิมเมอร์ริคซิตี้ ประเทศไอร์แลนด์ เป็นคนที่ติดตามมีมเรื่อง "ทาสชาวไอร์แลนด์" มาตั้งแต่ปี 2558 ระบุว่าระบบเตือนเรื่องข่าวปลอมนี้ทำให้ "กลุ่มผู้สนับสนุน (โดนัลด์) ทรัมป์เสียจริต"

เฟซบุ๊กประกาศตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. 2559 ว่าจะขอความร่วมมือกับกลุ่มผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเว็บไซต์ 5 เว็บคือ เอบีซีนิวส์, เอพี,  FactCheck.org, Politifact และ Snopes เพื่อตรวจสอบเวลาที่มีคนรายงานแจ้งว่าเป็น "ข่าวปลอม"

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก โพสต์ในเฟซบุ๊กของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าธุรกิจของเขาต้อง "มีความรับผิดชอบมากขึ้น" ต่อผู้คนเมื่อเทียบกับ "ผู้กระจายข่าว" ทั่วไป

"พวกเราเป็นพื้นที่ประเภทใหม่สำหรับการอภิปรายถกเถียงของประชาชนทั่วไป และนั่นหมายความว่าพวกเราต้องมีความรับผิดชอบชนิดใหม่ที่จะทำให้ผู้คนมีการสนทนากันอย่างมีความหมาย และเพื่อสร้างพื้นที่ให้ผู้คนรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้" ซัคเคอร์เบิร์กระบุ

เรียบเรียงจาก

'Disputed by multiple fact-checkers': Facebook rolls out new alert to combat fake news, The Guardian, 22-03-2017

Facebook trials 'fake news' warnings, The Week, 22-03-2017

Facebook Help Center (เข้าดูเมื่อ 23 มี.ค. 2560)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พี่เลี้ยงเด็กยุคใหม่ชื่อ 'iPad' ดีหรือเสียต่อพัฒนาการเด็ก

Posted: 23 Mar 2017 06:24 AM PDT

การเลี้ยงลูกด้วย iPad ดูจะเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในสังคม Thailand4.0 สังคมก้มหน้า พ่อ แม่ ลูก ที่น่าสนใจคือเด็กเล่น iPad ในอายุที่ต่ำลงเรื่อยๆ เรื่องนี้ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กอย่างไรในแต่ละช่วงวัย ข้อดีข้อเสียของมันคืออะไร 
 
จากกรณีที่ชายคนหนึ่งแชร์ประสบการณ์ของน้องสาวที่เลี้ยงลูกวัย 1 ขวบครึ่ง ด้วย iPadในกระทู้พันทิปและมีผลต่อเด็กจนคิดว่าลูกเป็นออทิสติกเช่น เรียกชื่อไม่หัน ไม่สบตา พูดสื่อสารไม่ได้ จนถึงช่วงเวลา 2 ขวบ จึงพาไปหาหมอที่ รพ. รามา หมอทดสอบพัฒนาการแล้วแต่ยังไม่ฟันธงชัดๆ ว่าอาจเป็นโรคติดสื่อ  (ติดiPad)จึงได้
 
เบื้องต้นเราจะลองสุ่มสำรวจพ่อแม่รุ่นใหม่ในชีวิตประจำวันทั่วไปที่เราเห็นว่า เขาให้ลูกเล่น iPad หรืออินเทอร์เน็ตกันตั้งแต่กี่ขวบ คิดอย่างไรจึงให้เล่น และมองเห็นผลดีผลเสียอย่างไรบ้าง 

พ่อแม่มองอย่างไร กับพี่เลี้ยงชื่อ iPad

ปุ๊ก (นามสมมุติ) แม่ที่ให้ลูกเล่นใช้สมาร์ทโฟน กล่าวยอมรับว่า เรื่องนี้ตัวพ่อแม่เองเป็นตัวอย่างไม่ดี เด็กมีพฤติกรรมเลียนแบบจากผู้ปกครองที่ดูมือถืออยู่ตลอด ทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาก็มีสิทธิ์ที่จะเล่น
 
"จริงๆ แล้วเด็กก็มีสิทธิ์ที่จะดูเพราะเรายังดูได้เลย แต่ต้องดูสิ่งที่ไม่ได้เป็นอันตรายกับเขา เราก็รู้อยู่ว่าเขาดูอะไรบ้างถือว่าอยู่ในความควบคุมของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะบังคับห้ามดูเลย สมัยนี้โลกไปถึงไหนกันแล้ว"ปุ๊ก กล่าว
เมย์ (นามสมมุติ) แม่ที่เชื่อว่าเทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเสริมพัฒนาการให้ลูกเติบโตอย่างรวดเร็วได้ ให้ข้อมูลว่า เธอให้ลูกเล่น iPad ตั้งแต่อายุ 1 ขวบ เพราะเชื่อมั่นในเทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะสามารถเสริมพัฒนาการให้ลูกเติบโตอย่างรวดเร็ว เลยทดลองการใช้สื่อส่วนนี้ และส่วนมากเด็กก็จะดู  YouTube  แต่จะจัดเลือกรายการให้ลูกดู ข้อดีคือลูกสามารถที่จะใช้สื่อเองได้ เลือกสิ่งที่ตัวเองชอบได้สามารถเลือกใช้ฟังก์ชั่นใน iPadได้

"ให้ลูกเล่นเพราะเชื่อมั่นในเทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะสามารถเสริมพัฒนาการลูกได้ ส่วนใหญ่ก็จะเล่นYouTube เราเป็นคนเลือกรายการให้เด็กดู ตอนนี้เด็กอายุ 2 ขวบกว่า แต่เราก็อยู่ตรงนั้นไม่ไปไหน มีการควบคุมดูแลว่าตอนนี้เด็กดูอะไรอยู่" เมย์ กล่าว

เมย์ กล่าวต่ออีกว่า ข้อเสียคือเวลาที่เด็กดูนานๆ จะส่งผลให้เด็กสายตาเสีย บางทีก็เลยเวลากำหนดเวลานอนที่จะต้องปิดไฟ พอจะให้เลิกเล่นก็จะมีอาการงอแงขอดูต่อ จึงต้องมีการยืดหยุ่น เคยปล่อยให้เด็กดูจนถึง ตี 1 ตี 2 ซึ่งควบคุมไม่ได้หรือสามารถจัดการได้

แหวน (นามสมมติ) แม่ที่ให้ลูกเล่น iPad ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เผยว่า การที่ให้ลูกเล่น iPadเพราะว่าเลี้ยงง่ายไม่ให้เด็กมายุ่งมากวน การทำแบบนี้รู้ว่าไม่ดีต่อตัวเด็กแต่ถ้ารู้จักควบคุมให้เป็นก็ไม่น่าส่งผลนัก จริงๆ แล้วคิดว่าหากจำกัดมากไปผลที่จะตามมาก็คือเด็กจะแอบเล่นเอง เชื่อได้เลยว่าพ่อแม่คนไหนที่มี iPadจะให้ลูกเล่นหรือต้องเปิดให้ลูกดู พอถึงเวลาที่ไม่ให้เด็กเล่นก็จะมีอาการงอแง และแสดงความไม่พอใจ

"แต่ส่วนของพี่ไม่ได้จำกัดเวลาแต่เด็กจะรู้ว่าควรเลือกตอนไหนปล่อยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเองจะไม่ค่อยจำกัด บางทีไปจำกัดมากเด็กก็จะแอบทำ อันไหนเกินเลยเราก็จะตักเตือน เราก็ดูอยู่ห่างๆ ตักเตือน ดูว่าเด็กทำอะไร" แหวน กล่าว

แหวน เผยต่อว่า ไม่มีความกังวลใจในอนาคตของเด็กเลย เพราะคิดว่าเป็นส่วนที่ดีกับการที่เด็กได้เรียนรู้เทคโนโลยี ความรู้บางอย่างก็ได้มาจาก iPadที่พ่อแม่บางคนให้ไม่ได้

"บางครั้งเด็กจะหาสิ่งที่เราตอบเขาไม่ค่อยได้ เขาจะหาจากใน YouTubeGoogle โดยรวมแล้วก็จะปล่อยให้เล่น พ่อแม่ยุคใหม่พี่มั่นใจว่าก็ทำแบบนี้ทุกคน ใครมี iPad ก็ต้องเปิดให้ลูกดู" แหวน กล่าว

สมชาย (นามสมมติ) พ่อที่ให้ลูกใช้ iPad ให้ข้อมูลว่า ให้ลูกเล่น iPadตั้งแต่อายุ 1 ขวบครึ่ง เพราะว่าในอดีตจนถึงปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ IT ในยุคสมัยใหม่นี้สื่อทุกอย่างมีการตอบโต้ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้เหมือนเป็นอวัยวะส่วนหนึ่ง เพื่อให้เด็กโตมาในยุคของเทคโนโลยีได้มีการเรียนรู้ตั้งแต่เด็กจะได้ไม่ลำบากในอนาคตข้างหน้า

สมชายเผยต่อว่า ข้อดีที่ได้จาก iPadคือลูกได้ภาษาอังกฤษ พูดได้ดี ชัดถ้อยชัดคำสำเนียงดี และไม่กังวลที่ว่าให้ลูกเล่น iPad จะส่งผลเสียเพราะเสียงตอบกลับจากโรงเรียนก็บอกว่าลูกมีการพัฒนาที่ดี ดังนั้นจึงเห็นว่าiPadไม่น่าจะแย่กว่าทีวี

"อยากให้เรียนรู้ไว้ตั้งแต่เด็กๆ เพราะว่าจะกลายเป็นธรรมชาติเพราะเด็กสมองจะได้พัฒนาเติบโต เหมือนกับว่าเด็กเคยใช้แล้วตั้งแต่เด็ก เคยใช้แล้วก็จะใช้ได้เป็นโดยธรรมชาติ เพื่อโตขึ้นมาเจอเทคโนโลยีจะได้ไม่ต้องลำบาก"สมชาย กล่าว

คำแนะนำจากนักกิจกรรมบำบัด'iPad'ควรเล่นเมื่อไร

ภูชิชย์ ฝูงชมเชย  นักกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า  iPadเป็นแค่สื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งของเด็ก มันมีทั้งข้อดีข้อเสีย มันก็เหมือนหนังสือหรือของเล่นอะไรชิ้นหนึ่ง แต่ตอนนี้สื่อส่วนใหญ่โจมตีว่า มีแต่ข้อเสียมากกว่าข้อดี

ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ มีครบเครื่องทั้งเสียงและภาพเคลื่อนไหว สามารถดาวน์โหลดเพลงหรือสื่อการเรียนรู้การสอนอะไรต่างๆ ได้มากมายไม่จำกัด เป็นอะไรที่อัพเดทข้อมูลที่เร็วไม่ต้องไปหาอุปกรณ์อะไรต่างๆเยอะ สามารถรู้ได้ทันทีทันใด

ส่วนข้อเสีย iPad กับเด็กคือ 1.พ่อแม่สมัยนี้ไม่ทราบว่าข้อเสียอาจมีมากตามแต่ละช่วงวัย ถ้าให้อุปกรณ์นี้ให้เหมาะสมตามช่วงวัยกับพัฒนาการของเด็กนั้นไม่มีปัญหาเลย แต่ส่วนใหญ่อาจไม่ใช่เช่นนั้น

"ช่วงเวลาที่เหมาะสมคืออยากให้เล่นตั้งแต่ 5 - 6 ปีขึ้นไป ถึงจะมาเรียนรู้เรื่องวิธีการใช้ iPadการใช้ด้วยตัวเอง ถ้าเป็นช่วงของเด็ก 1 - 2 ขวบ สื่อการเรียนการสอนที่เด็กควรจะได้รับควรเน้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมถึงการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ" ภูชิชย์ กล่าว

นักกิจกรรมบำบัด กล่าวต่อว่า ถ้าให้เล่นตอน 1 - 2 ขวบ ปัญหาอาจจะเกิดเพราะด้วยความสามารถหรือว่าพัฒนาการที่ควรจะต้องเรียนรู้แต่ไม่ได้เรียนรู้กลายเป็นเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ควรจะส่งเสริม เพราะกล้ามมือมัดเล็กที่ควรจะต้องใช้คือเรื่องของการกำ การถือของ ใช้นิ้วในการหยิบจับของชิ้นเล็ก โดยการใช้นิ้วทุกนิ้วให้มีความสัมพันธ์กัน แต่รูปแบบในการใช้ iPad คือใช้นิ้วเดียวเลยกลายเป็นว่าไม่ได้พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กทักษะไม่เกิดกลายเป็นไม่สัมพันธ์กันเรื่องหยิบจับเรื่องการถือดินสอระบายสีใช้กรรไกรถือแก้วน้ำก็อาจจะช้ากว่าคนอื่น นี่คือภาพที่เห็นชัดที่สุดถ้าเอามาใช้ไม่ตรงตามช่วงวัย

"การที่เด็กเล่น iPadตอนนี้ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจนว่า เล่นแล้วจะเกิดโรคอะไร เป็นแค่โอกาสเสี่ยงที่ส่งผลให้พัฒนาการเด็กอาจจะช้ากว่าวัย พัฒนาการหลักๆ มี 4 ส่วน  คือ1.พัฒนาการเรื่องกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 2.พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก 3.ภาษา 4.ทักษะเรื่องสังคมและการช่วยเหลือตัวเอง" ภูชิชย์ กล่าว

ภูชิชย์ วิเคราะห์ว่า ถ้าเด็กเล่น iPad ในช่วงวัย 3-4 ขวบ จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อันที่จริงเด็กต้องวิ่งต้องเล่น แต่กลับมานั่งเล่นiPadทั้งวันความหมายคือ นั่งที่เดิม และท่านั่งที่ไม่เหมาะสมเช่น เอนหลัง คอบิด สะโพกไม่อยู่ในท่าที่ควรจะเป็น เรื่องอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่ได้ใช้ในทิศทางที่ควรจะเป็น

ภูชิชย์ กล่าวต่ออีกว่า ถ้าเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก สิ่งที่ผู้ปกครองมักมองข้ามไปก็คือกล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อตาถือว่าเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กชนิดหนึ่ง พวกเด็กออทิสติกไม่มองไม่สบตาเป็นภาวะโรคอันหนึ่ง แต่ถ้าเล่น iPadเยอะๆ จะทำให้เป็นเด็กออทิสติกไหม อันนั้นไม่เกี่ยวกัน เป็นคนละเรื่องกัน แต่ความล้าของกล้ามเนื้อตาที่เด็กจ้อง ระยะห่างที่เด็กดูอาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาสั้นหรือยาว และมีผลอยู่แล้วเรื่องของตาแห้งเพราะการจ้องตลอดเวลากับแสงที่เข้าตา

อีกอย่างที่ผู้ปกครองมองข้ามคือ ภาวะเหม่อโดยที่ไม่รู้ตัว การที่เด็กนั่งจ้องอยู่รู้เรื่องไหมหรือเหม่อไปแล้ว เรื่องนี้จะส่งผลเสียเกี่ยวกับสมาธิเด็ก ดังนั้น การเล่นจะต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยจะต้องชวนคุยว่าเล่นอะไรอยู่ ทำอะไรอยู่เป็นยังไงบ้างเล่าให้ฟังหน่อย

ส่วนเรื่องของภาษาพอเล่น iPad ก็มักไม่คุยกับใครผู้ใหญ่จะคุยด้วยจะเรียกไปทำอะไรมักไม่สนใจ โอกาสในการเล่าเรื่องหรือสื่อสารกับผู้ใหญ่ว่าต้องการอะไรก็จะน้อยลง ทำให้พัฒนาการในการใช้ภาษาของเด็กยิ่งน้อยลงไปด้วย คำศัพท์ที่ต้องใช้ไม่เพิ่ม เด็กยิ่งอายุมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนคำศัพท์ก็ต้องยิ่งมากขึ้นด้วยรูปประโยคในการใช้ก็ต้องซับซ้อนมากขึ้น ประโยคความต้องการประโยคปฏิเสธประโยคขอร้องหรือแม้แต่ว่าเล่าเรื่อง สิ่งเหล่านี้จะขาดหายไป เขาไม่ได้ฟังนิทาน เรื่องสังคมก็อาจมีปัญหา เพราะชอบอยู่คนเดียวแยกตัวไม่อยู่กับเพื่อน

"ผลเสียในอนาคตถ้าในระยะยาว คือเรื่องวินัยของเด็ก ถ้าลำพังเรื่องเล่นเกมของเด็กยังควบคุมไม่ได้เรื่องช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวจัดตารางสอน เรื่องที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของเด็กก็จะหายไปเลย พอกลับถึงบ้านก็ทิ้งกระเป๋าเล่น iPadอย่างอื่นไม่สนใจเลย ภาวะเรื่องอารมณ์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ภาวะเรื่องการยับยั้งชั่งใจในการรอคอยก็น้อยลง พอบอกให้พักค่อยเล่นใหม่ก็ไม่ยอม จะต้องเล่นให้ได้ จะกินข้าวต้องมี iPadพอยับยั้งชั่งใจไม่ได้ก็จะมีผลว่าเด็กมีแนวโน้มติดเกมสูง เพราะเด็กคิดว่าการเล่นไม่จำเป็นต้องห่วงอะไร เมื่อไหร่ก็ได้เท่าไหร่ก็ได้กี่นาทีก็ได้" ภูชิชย์ กล่าว

ภูชิชย์ ระบุว่า สำหรับทางออกนั้น คงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นว่า iPad นั้นท่านได้แต่ใดมา ใครเป็นคนให้ ต้นตอก็คือพ่อแม่คนที่คัดสรรอุปกรณ์พวกนี้ให้ลูกถ้าพ่อแม่มีข้อมูลว่าไม่ใช่แค่ iPadอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาลูกได้ มีสื่ออย่างอื่นอีกมากมายที่มีจุดเด่นต่างๆ กัน ก็จะสามารถเลือกได้ว่าควรให้ลูกเล่นอะไรในช่วงวัยไหน วัยนี้ควรจะต้องโฟกัสเรื่องอะไร เช่นว่า ขวบครึ่งแล้วลูกต้องพูดได้แล้วการเคลื่อนไหวร่างกายต้องเดินได้แล้ว ถ้ารู้แล้วต้องมาดูว่าควรจะส่งเสริมลูกยังไงดี

"ข้อมูลพวกนี้จริงๆ ในอินเตอร์เน็ตมีเยอะอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าพ่อแม่จะจัดสรรเวลาอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม อย่างไร ไม่ใช่โยนของเล่นเอาไว้ให้ลูกเล่นคนเดียว ถ้าจะให้ของเล่น พ่อแม่ก็ต้องไปเล่นกับเด็กด้วย ความยาวของเวลาไม่สำคัญของบางคนอาจไม่มีเวลาเยอะ ให้เวลาไม่เยอะก็ได้แต่เล่นกับลูกให้เต็มที่"

เวลาคุณภาพ พ่อแม่-ลูก สร้างได้อย่างไร

พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเรื่องของเวลาคุณภาพที่พ่อแม่และลูกควรมีร่วมกันว่า

"การใช้เวลาที่มีคุณภาพกับลูก ไม่ได้หมายความว่าอยู่บ้านเดียวกันแล้วจะเรียกว่าใช้เวลาอย่างมีคุณภาพด้วยกัน หรือปล่อยให้ลูกนั่งเล่นอยู่ข้างๆ แต่พ่อแม่เอาแต่ดูหน้าจอมือถือ แบบนี้ก็ไม่เรียกว่าใช้เวลาคุณภาพเช่นกันนะคะ การใช้เวลากับลูกให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือการเล่น พูดคุย หยอกล้อ กอด ถามไถ่ความเป็นไปต่างๆ ในชีวิตลูก รับประทานข้าวพร้อมหน้ากันเป็นประจำอย่างน้อยๆ วันละมื้อ หรือในเวลาที่ลูกกำลังเล่นคนเดียว หรือทำกิจกรรมต่างๆ พ่อแม่ก็อาจสังเกตลูกอยู่ห่างๆ ดูว่าลูกเล่นอย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่รู้จักลูกน้อยของตัวเองดีขึ้น เมื่อต้องสอน หรือให้คำแนะนำแก่ลูก คุณก็จะสามารถเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับลูกน้อยแต่ละคนได้ เพราะคุณรู้จักลูกของตัวเองเป็นอย่างดี นอกจากนี้ การให้เวลายังทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าเขามีความสำคัญ ซึ่งจะช่วยสร้างความนับถือตนเอง (self-esteem)ซึ่งเป็นพื้นฐานทางอารมณ์ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตต่อไปในอนาคต" พญ.ถิรพร กล่าว

พญ.ถิรพร กล่าวว่า การใช้เวลากับลูก ถือเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเด็กๆ ในทุกช่วงวัย โดยพญ.ถิรพร ได้ให้คำแนะนำว่าในวัยทารกนั้น การที่คุณพ่อคุณแม่ให้เวลาและตอบสนองเสียงร้องของลูกอย่างทันที อุ้มเมื่อลูกร้อง ไม่เพียงเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ แต่ยังทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะสร้างความเชื่อมั่น (Trust) ในตัวผู้เลี้ยงดู ทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัยในโลกใบใหม่ จะช่วยให้ลูกมีอารมณ์ที่มั่นคงและร้องไห้น้อยลง ในทางกลับกัน หากเราปล่อยให้ลูกร้อง เพราะกลัวว่าจะสปอยล์ หรือจะทำให้ลูกติดมือวางไม่ได้ ลูกจะยิ่งร้องงอแง เพราะเขาขาดความเชื่อมั่นในตัวพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู และรู้สึกว่าโลกนี้ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจสิ่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ภายหลังได้

พญ.ถิรพร สำหรับเด็กวัยนี้ เริ่มโตขึ้นเข้าสู่วัยเตาะแตะ 1-3 ปี ว่า การใช้เวลากับลูกอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้คุณเข้าใจความต้องการของลูกน้อยได้ดี โดยเฉพาะเด็กวัยนี้ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ทักษะการสื่อสารอาจยังไม่ดีเท่าไรนัก เมื่อลูกต้องการ หรือรู้สึกบางอย่าง แต่สื่อสารบอกพ่อแม่ไม่ได้ ลูกก็อาจมีอาการหงุดหงิดร้องไห้ หากพ่อแม่ไม่ค่อยได้ใช้เวลากับลูกมากพอก็อาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่ลูกกำลังจะบอก ทำให้ลูกยิ่งหงุดหงิด พ่อแม่ก็อาจเริ่มโมโห ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อทั้งสองฝ่าย สำหรับลูกวัยนี้ พ่อแม่ควรเล่นกับลูก เล่านิทานให้เขาฟัง ชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง หากลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พยานนาทีวิสามัญฯ โผล่เพิ่ม เผย 'ชัยภูมิ' มือเปล่าโดนยัดยา มทภ.3 ยันภาพจากกล้องยิงป้องกันตัว

Posted: 23 Mar 2017 05:58 AM PDT

ผู้เห็นเหตุการณ์วิสามัญฯ 'ชัยภูมิ ป่าแส' โผล่เพิ่ม ชี้ไม่มีระเบิดติดตัว - โดนทหารยัดยา ระบุทหารลากตัว ทุบตี กระชากเสื้อ ถีบหน้าอก ก่อนผู้ตายวิ่งหนี แต่ทหารบอก "ยิงมันเลยๆ" ด้านแม่ทัพภาคที่ 3 ยืนยัน ภาพจากกล้องวงจรปิด

ชัยภูมิ ป่าแส (ที่มา: แฟ้มภาพ/flickr prachatai)

23 มี.ค. 2560 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ทหารวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ผ่านมา มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติการณ์การเสียชีวิตของชัยภูมิจากทั้งทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร รวมไปถึงพยานในเหตุการณ์หลายปาก (อ่านที่นี่)

ผู้เห็นเหตุการณ์เผย ไร้อาวุธ ถูกซ้อม - ยัดยา ได้ยินทหารพูด "ยิงมันเลยๆ"

วอยซ์ ทีวี ได้นำเสนอบทสัมภาษณ์คนจากกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอที่เห็นเหตุการณ์ โดยมีใจความ ดังนี้ (ดูวิดีโอตัวเต็ม คลิกที่นี่)

"มีเก๋งดำ มุ่งมาจากเมืองนะ รถจอดแล้วทหารบอกลงมา จะค้นในรถ น้องคนนั้นบอกทหารว่าผมไม่ผิด ลงไปทำไม จะตรวจก็ตรวจในรถก็พอ แล้วก็ขัดแย้งกัน"

"แล้วทีนี้น้องไม่ยอมลง ทหารเลยกระชากคอลงมา แล้วก็ตี สามคนรุมตี คือว่า ให้ชัยภูมินอนคว่ำ แล้วตีข้างหลัง เอากำปั้นตีหัว เอาตีนถีบ แล้วก็ยิงปืนขึ้นฟ้าหนึ่งนัด ปืนเอ็ม16 พอยิงปุ๊บ ทหารลูกน้องก็แห่กันวิ่งมาอีกสามเป็นหกคน" ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าว

ชายผู้เห็นเหตุการณ์พูดเป็นภาษาถิ่น ซึ่งพยานอีกคน ได้แปลเป็นใจความว่า "ทั้งตีทั้งถีบ กระชากเสื้อขึ้นมา ต่อยหน้า แล้วมือข้างซ้ายดึงผม ถีบตรงหน้าอก น้องกระเด็นหงายท้อง พอน้องลุกขึ้นก็วิ่งหนี แล้วระหว่างที่น้องชัยภูมิหนี เขา [ทหาร] กระชากไม่ทัน ทหารคนนั้นล้มหงายท้อง แล้วมันจะมีศาลาที่สามแยก น้องหนีไปทางนั้น แต่ทหารที่ไม่มีอาวุธทั้งสองคนก็ล้มเหมือนกัน ทหารอีกคน ตีนไปถูอะไรไม่รู้เลือดออก ทหารที่ไล่ชัยภูมิใส่เสื้อแขนสั้น แล้วพอหนีไปถึงที่หน้าบ้านตำรวจ ก็มีทหารพูดว่า ยิงมันเลยๆ"

"ทหารก็วิ่งมาอีกสองคน ถือปืนมาแล้วก็ยิงไปสามนัด แล้วทีนี้ลีซอก็แห่กันไปดู ก็บอกว่า ไม่ต้องมาดูๆ ยังไม่ตายๆ แล้วก็เอามือไปปั๊มหัวใจ" ผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าว

ผู้เห็นเหตุการณ์ได้กล่าวว่า ชัยภูมิไม่มีระเบิด ไม่มีอาวุธติดตัวสักอย่าง เพราะตอนนั้นชัยภูมิวิ่งหนีอย่างเดียว ไม่มีการขว้างปาระเบิดแต่อย่างใด

"ผู้ตายไม่มีอะไรในมือซักอย่าง น้องกลัวมาก ไม่ได้หันกลับมาอีกเลย วิ่งหน้าอย่างเดียว"

"น้องไม่ต่อสู้กับทหาร น้องก็นอนอยู่ ทหารเขาก็ตี เอาเท้าถีบตรงที่ท้อง พอน้องชัยภูมิโดนถีบตรงหน้าอกกระเด็นไป พอลุกขึ้นมาแล้วก็วิ่งหนี ตอนน้องหนีทหารยิงปืนสามนัด น้องก็ล้ม" ชายผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าว

หลังจากนาทีสังหารชัยภูมิ หญิงผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า เห็นทหารเปิดกระโปรงรถ ยัดยาบ้าลงไป รวมถึงนำมีดไปถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน

"พอน้องชัยภูมิตายปุ๊บ ทหารก็เอากระเป๋าของน้องไปที่ห้องทหาร อีกซักพักก็เอากระเป๋าใบนั้นกลับมาไว้ที่รถ คนที่นี่เห็นทหารยัดยาบ้าใส่ แล้วมีมีดอันนึงที่ทหารถือไว้ แล้วก็ไปหลังรถแล้วก็ถ่ายรูป"

"ยาบ้านี่เอามาจากไหนไม่รู้ แต่รู้สึกว่าเอามาจากที่ห้องของทหาร เอามาแล้วก็เอามาใส่ไว้ที่หน้ารถ สีเหลืองๆ ม้วนๆมา ก็ห่อไว้ คนหนึ่งเปิดกระโปรงหน้ารถ อีกคนหนึ่งใส่ยาบ้าส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งทหารไว้ไหนก็ไม่รู้ จากนั้นก็เอามีดมาถ่ายรูป" หญิงผู้เห็นเหตุการณ์ กล่าว

มทภ.3 โต้ ทหารยิงสมควรแล้ว พิสูจน์วงจรปิด "เป็นผมอาจกดออโต้ไปแล้วก็ได้"

วันเดียวกัน มติชนออนไลน์ รายงานว่า พล.ท.วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า การตั้งด่านเป็นการตั้งด่านปรกติ สามารถตรวจสอบได้จากกล้องวงจรปิด CCTV เจ้าหน้าที่ทหารที่เข้าไปค้นรถไม่ได้ถืออาวุธ มีเพียงชุดรักษาความปลอดภัยที่ถืออาวุธเข้าเวรยาม โดยในวันนั้นได้ทำการตรวจค้นตามปรกติ แต่ชัยภูมิมีพิรุธ เมื่อถูกเชิญลงจากรถได้วิ่งหนีและพยายามขว้างระเบิดมา เจ้าหน้าที่จึงต้องยิงป้องกันตัว โดยเล็งไปที่แขนแต่เฉียดไปโดนจุดสำคัญ

พล.ท.วิจักขฐ์ สิริบรรสพ (ที่มา: ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ กองทัพบก ภาคที่ 3)

พล.ท.วิจักขฐ์ ยังกล่าวว่า ตนเชื่อว่าชัยภูมิค้ายาจริง เนื่องจากหลักฐานเส้นทางการเงินและพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างมือเติบของชัยภูมิทั้งที่ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง เป็นนักเคลื่อนไหว รวมถึงมีหลักฐานว่าชัยภูมิเกี่ยวพันกับการค้ายามาตั้งแต่เดือน ม.ค. 2560 แล้ว แม่ทัพภาคที่ 3 วอนสังคม ให้ว่ากันด้วยข้อเท็จจริง ทางเจ้าหน้าที่จะดูแลครอบครัวผู้สูญเสียเป็นอย่างดี ทั้งยังกล่าวในมุมของทหารว่า "ปกติการตัดสินใจของพลทหาร ถ้าเป็นผมในเวลานั้นอาจกดออโต้ไปแล้วก็ได้"

"คดีนี้ว่าด้วยหลักฐานข้อเท็จจริง ไม่ใส่ร้าย รวมทั้งผู้บังคับหน่วยสอนลูกน้องดี มีการฝึกอบรม ทบทวนการตรวจค้นเสมอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ยิง ไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่เขามีความตั้งใจทำงาน อย่างไรก็ตาม ผมสั่งให้ดูแลขวัญกำลังใจ เพราะเขาตั้งใจทำงาน แต่กลับกลายเป็นคนร้าย ต่อไปจะไม่มีเจ้าหน้าที่กล้าปะทะ ส่วนตัวคิดว่าการกระทำดังกล่าวสมเหตุสมผล เพราะเป็นการป้องกันตนเอง โดยพยายามยิงจุดไม่สำคัญ แต่ก็เกิดความสูญเสีย" พล.ท.วิจักขฐ์  กล่าว

 
หมายเหตุ : ประชาไทได้ปรับแก้พาดหัวจากเดิม "พยานนาทีวิสามัญฯ โผล่เพิ่ม เผย 'ชัยภูมิ' มือเปล่าโดนยัดยา มทภ.3 ยันภาพจากกล้องชี้สมควรยิง" เป็น "พยานนาทีวิสามัญฯ โผล่เพิ่ม เผย 'ชัยภูมิ' มือเปล่าโดนยัดยา มทภ.3 ยันภาพจากกล้องยิงป้องกันตัว" อย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เมื่อเวลา 1.15 น. 24 มี.ค.2560
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ในนามของเต่า

Posted: 23 Mar 2017 03:18 AM PDT


เนื่องจากประเทศถังแตก

รัฐบาลทหารจึงตัดสินใจ

ทุบออมสินเอาเหรียญออกมา

ทำให้ประชาชนคนไทยสลดใจ


น่าจะดีกว่านี้ ถ้ารัฐบาลจะใส่ใจเรื่องเข็มขัดกับหวี

แม้ประเทศจะกำลังพัฒนามานานเหมือนเต่าคลาน

แต่เรายังภูมิใจได้

ถ้าเรายังเคารพความเป็นคน


และจะดีที่สุด หากรัฐบาลจะยอมรับว่า

ความโง่ของคนคนหนึ่งไม่ใช่อาชญากรรม

แต่ความโง่เป็นหมู่คณะ

ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง


ในนามของเต่า

พวกเราขอประท้วงการตายของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง.

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม.44 รักษาทุกโรค 'ประยุทธ์' ออก 2 คำสั่ง หัวหน้า คสช. แก้ พ.ร.บ.จราจร

Posted: 23 Mar 2017 03:03 AM PDT

23 มี.ค. 2560 จากกรณีเมื่อวันที่ 21 มี.ค.ทีผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 2 ฉบับเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ โดยคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 15/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ

โดยวานนี้ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยภายหลัง หัวหน้า คสช.มีคำสั่งดังกล่าว นั้น ว่า ในส่วนของการออกใบสั่งรถยนต์ทั่วไปนั้น ใบสั่งตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2560 เป็นต้นไปจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกรมการขนส่งทางบก ซึ่งส่วนนี้สำหรับประชาชนผู้ต่อทะเบียนภาษีที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายจราจรสามารถต่อภาษีได้ตามปกติ 

ส่วนเกณฑ์ปกติสำหรับประชาชนที่ถูกใบสั่งทำผิดกฏหมายจราจร ในส่วนนี้กรมการขนส่งทางบกจะใช้พื้นที่ของขนส่งเปิดโต๊ะรับชำระค่าปรับแทน สตช.ด้วย หากผู้ต่อภาษีรายใดชำระค่าปรับเรียบร้อยก็สามารถต่อภาษีได้ทันที แต่หากผู้ต่อภาษีไม่สะดวกชำระค่าปรับทางเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกจะออกป้ายต่อภาษีชั่วคราว ซึ่งจะมีลักษณะเป็นใบเสร็จ พร้อมแสตมป์ข้อความที่ระบุว่า "ใช้เป็นป้ายต่อทะเบียนภาษีชั่วคราว" หากกรณีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเรียกตรวจสอบรถก็สามารถแสดงป้ายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ป้ายต่อภาษีชั่วคราวจะมีอายุ 30 วัน และระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวผู้ต่อภาษีต้องไปชำระค่าปรับให้ครบถ้วน แต่หากไม่ดำเนินการหลังพ้น 30 วันเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้ดำเนินคดีฟ้องร้องต่อไป 

สำหรับการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกรมการขนส่งทางบกและ สตช. นั้น อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ระบุว่าวันนี้ (23 มี.ค.60) 2 ฝ่ายจะมีการหารือร่วมกันที่กองบังคับการตำรวจทางหลวง ถนนศรีอยุธยา เพื่อให้การเชื่อมต่อข้อมูลเกิดขึ้นโดยเร็ว เนื่องจากการประกาศ ม.44 มีผลบังคับใช้แล้ว จำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้มีผลสอดคล้องกัน 

ส่วนการออกประกาศ ม.44 ควบคุมเกี่ยวกับความปลอดภัยของรถโดยสารและรถยนต์ส่วนบุคคลนั้น อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า ในประเด็นรถโดยสารที่มีผลทันทีโดยเฉพาะในส่วนของรถตู้โดยสาร ซึ่งเดิมรถตู้ที่วิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งปกติจะมี 15 ที่นั่ง และรถตู้วิ่งระหว่างจังหวัดมี 14 ที่นั่ง การประกาศ ม.44 มีผลให้รถทั้ง 2 ประเภทจะต้องไปแก้ไขปรับปรุงตัวรถให้มี 13 ที่นั่งเหมือนกัน ทั้งนี้ ตามเจตนารมณ์ของประกาศ คสช.ต้องการให้มีการนำเบาะท้ายสุดของตัวรถออกไป 1 ที่นั่ง รวมทั้งเบาะกลางระหว่างคนขับกับผู้โดยสารด้านหน้า อีก 1 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อเอาออกไป 2 ที่นั่งก็จะมีจำนวนที่นั่งพอดีกับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว โดยเป้าหมายสำคัญต้องการให้การบรรทุกผู้โดยสารในรถตู้โดยสารมีที่เหลือและเกิดความคล่องตัวในการเปิดประตูด้านหลังกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ โดยการบังคับใช้กฎหมายตามประกาศดังกล่าวมีการมอบหมายให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าพนักงานรับไปดำเนินการ ดังนั้น ในส่วนนี้กรมการขนส่งทางบกจะมีการนำประกาศดังกล่าวเข้าหารือในคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อประกาศบังคับใช้กับรถตู้โดยสารทุกคัน 

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องของการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย นั้น จะต้องมีการติดตั้งในรถโดยสารและรถยนต์ส่วนบุคคลทุกคัน แต่มีข้อสงสัยว่าจะมีผลครอบคลุมถึงรถกะบะที่มีการต่อ cab ด้านหลังหรือไม่ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกชี้แจงว่าประกาศดังกล่าวจะครอบคลุมเฉพาะรถที่มีการกำหนดโครงสร้างว่ามีจำนวนกี่ที่นั่งเท่าใด หากรถคันใดมีการต่อเติมที่นั่งเพิ่มหรือเป็นพื้นที่ในรถที่ไม่ได้ถูกระบุเพื่อการใช้สำหรับโดยสาร (ใช้วางสิ่งของ) ก็จะไม่เข้าข่ายตามประกาศดังกล่าว รวมทั้งรถสองแถว ซึ่งตามโครงสร้างไม่สามารถติดเข็มขัดนิรภัยได้สำหรับผู้โดยสารด้านหลังก็จะใช้มาตรการควบคุมดูแลความปลอดภัยอื่น ๆ มาทดแทน

รายละเอียดคำสั่ง หัวหน้า คสช. ทั้ง 2 ฉบับ :


 

ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา และ กรุงเทพธุรกิจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิจิตรา สึคาโมโต้: Post-truth โลกที่คนไม่สนความจริง

Posted: 23 Mar 2017 02:21 AM PDT

งานวิจัยชี้ข่าวลือในโซเชียลมีเดียไม่มีวันหายไป พิจิตราย้ำโซเชียลมีเดียมีกระบวนการคัดเลือกข้อมูลข่าวสารเพียงแต่เฉพาะที่ผู้คนต้องการเสพ ส่งผลให้รับรู้เพียงแค่ 10% จากทั้งหมด หวั่นเคสตัวอย่างสามารถกระทบต่อโครงสร้างทางการเมืองได้

พิจิตรา  สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ บรรยายหัวข้อ Post-truth ในงาน CU Talk: Million Ways to GLOW ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจุฬาฯ Expo 2017 ที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา

พิจิตราอธิบายเกี่ยวกับ Post-truth โดยยกตัวอย่างการโพสต์รูปโปรไฟล์ในปัจจุบันที่เราต่างก็ต้องการเลือกรูปที่สวยที่สุด ดีที่สุด การประกอบสร้างเหล่านี้ที่เราเห็นเกิดขึ้นมาเป็นร้อยปีแล้ว แม้กระทั่งในการทำข่าว ถึงแม้ว่าจะนำเสนอความจริงของข่าว ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็มีเป็นร้อยเป็นพันเหตุการณ์ นักข่าวเป็นคนทำหน้าที่เลือกว่าอันไหนควรจะขึ้นมาอยู่บนหน้าจอ อะไรเป็นประเด็นที่ทุกๆ คนต้องรู้

พิจิตรายกตัวอย่างการนำเสนอภาพข่าวว่า เป็นภาพใหญ่ที่ด้านหนึ่งเป็นภาพของเชลยศึกที่ถูกปืนจ่อหัว อีกด้านเป็นภาพทหารให้น้ำเชลย ซึ่งสามารถเฟรมภาพได้ว่าเราจะเลือกเสนอภาพแบบไหน จะนำเสนอในเชิงมนุษยธรรม หรือจะนำเสนอภาพลบที่เชลยศึกถูกนำตัวไปแล้วถูกปืนจ่อหัวอยู่ นี่ทำให้เห็นได้ว่าแม้ว่าเป็นข้อเท็จจริง ต่อให้เป็นข่าวเหมือนกัน แต่บางทีการตัดต่อร้อยเรียงเรื่องอาจจะไม่เหมือนกัน สิ่งเหล่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับสื่อมวลชน รวมถึงในยุคปัจจุบันทุกคนมีโทรศัพท์อยู่ในมือ และสามารถผลิตสื่อเองได้ ในโลกออนไลน์ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีข่าวมากมาย ภาพและคำก็สามารถประกอบสร้างได้เช่นกัน

พิจิตรายกตัวอย่างการนำเสนอข่าวให้เห็นภาพการประกอบสร้างของคำที่ชัดเจนขึ้น ในกรณีของสำนักข่าวต่างประเทศอย่างฟอกซ์ลาติโลโน (Fox News Latino) สำหรับคนละตินอเมริกา และฟอกซ์นิวส์ (Fox news) ในข่าวเดียวกัน ขณะที่ฟอกซ์ลาติโลโน รายงานกรณีเด็กที่ได้ทุนการศึกษาว่า การให้ทุนคนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในอเมริกาเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่ฟอกซ์นิวส์ซึ่งนำเสนอในอเมริกากลับใช้คำว่า "money for illegal" เป็นเงินสนับสนุนคนไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในยุค Post-truth คือยุคที่มีความจริงหลายชั้น หลายชุดให้เราเลือก ทำให้เกิดความสับสนกับคนที่เสพข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้ว่าโลกโซเชียลมีเดียประกอบสร้างความจริงมากมายจนกระทั่งหลายๆ เรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เกิดขึ้นแล้ว เช่น การตัดต่อรูปคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไปยืนอยู่บนรันเวย์วิกตอเรียซีเคร็ต หรือเรื่องที่มีการเอาภาพกระเป๋าแบรนด์เนมมาเปรียบเทียบว่าคล้ายกับกระเป๋าประตูน้ำ (กระเป๋ากระสอบ) จนทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยว่าดีไซน์เนอร์อาจจะเคยมาเที่ยวเมืองไทยเกิดถูกใจเลยเอากระเป๋าประตูน้ำไปเป็นกระเป๋าดีไซน์เนอร์ กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ที่ทำให้มีบางคนเชื่อ หลายคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องขำๆ แต่เนื่องจากตนเองได้ทำงานวิจัยร่วมคณะวิศวกรรมศาสตร์ในด้าน data science ทำให้พบข้อมูลบางอย่าง

โดยการวิจัยนี้ได้ให้โจทย์กับทางวิศวะไปว่า อยากจะรู้ว่าในโลกโซเชียลมีเดียมีข่าวลือ และพูดถึงข่าวลืออย่างไรบ้าง จึงมีการคิดโปรแกรมหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า 'CU Tweet' ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์  ใช้แพลตฟอร์มทวิตเตอร์ในการทำงาน ตัวอย่างข้อมูลที่เราได้เช่น กรณีข่าวรัฐประหาร มีกราฟบ่งบอกว่าการรับรู้ข่าวสารของคนไทยนั้น มีแหล่งข่าวน้อยมาก แต่คนรีทวีตเยอะมาก หมายความว่ามีต้นฉบับน้อยมาก แต่เราชอบแชร์

อีกกรณีหนึ่งเป็นกรณีของข่าวลือเรื่องสรยุทธ สุทัศนะจินดา ถูกยิง จากโปรแกรมนี้ เราพบว่ามันมีทวิตเตอร์นิรนามหลายแอคเคาต์ทวีตไปเรื่อยๆ ว่า สรยุทธโดนยิง เต็มหน้าฟีดไปหมดในระดับวินาทีวิ่งไปเรื่อยๆ พร้อมแสดงภาพเส้นกราฟสีแดงที่เคลื่อนไหวตลอดแสดงให้เห็นว่าข่าวลือนั้นวิ่งไปเรื่อยๆ ในโลกโซเชียลมีเดีย และหลังจากกราฟสีแดงวิ่งได้สักระยะหนึ่งจะปรากฏกราฟสีฟ้าซึ่งแสดงถึงข่าวแก้ออกมา สิ่งที่ทำให้ดีใจมากเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นนี้คือคนที่ออกมาแก้ข่าวลือส่วนใหญ่เป็นนักข่าวและนักสื่อสารมวลชน แต่เราจะพบว่าข่าวลือจะยังคงวิ่งไปเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีข่าวแก้ออกมาแต่ข่าวลือก็จะไม่หายไปจากโลกโซเชียลมีเดีย

การทำงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้พบว่าข่าวลือต่างๆ เหล่านี้ทำให้นักข่าวต้องออกมาตามแก้ข่าวตลอดเวลา อีกทั้งยังไม่ได้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ เป็นข่าวขยะ อีกทั้งยังพบว่าหากมีข่าวเหล่านี้อยู่ในโลกออนไลน์เยอะยังสามารถทำให้กระทบโครงสร้างทางการเมืองได้ จากตัวอย่างช่วงระยะเวลา 1 เดือนก่อนที่จะมีการเลือกตั้งที่สหรัฐอเมริกา ข่าวไม่จริงพุ่งอยู่ในโลกออนไลน์สูงมากกว่าข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง และคนเสพข่าวที่เป็นเท็จเยอะมาก ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเฟซบุ๊กหลายท่านจะทราบว่าเฟซบุ๊กจะมีอัลกอริทึมที่จะซ่อนข้อมูลบางอย่าง และแสดงข้อมูลเฉพาะที่ผู้ใช้สนใจเท่านั้น ทำให้เห็นข้อมูลเพียงแค่ 10% จากทั้งหมด ดังนั้นหากคุณชอบการเมืองแบบไหนคุณจะเห็นแต่แบบที่คุณอยากได้

พิจิตราสรุปทิ้งท้ายไว้ว่าในโลก Post-truth เราจะเจอสิ่งเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เราควรจะต้องตื่นตัวได้แล้วว่าเราอยู่ในโลกที่เป็น Post-truth เราควรจะต้องเรียนรู้ว่าในโลกออนไลน์เหล่านี้มันมีความจริงและไม่จริงอยู่ และในความจริงที่มาจากคนเดียวกัน ก็อาจเป็นความจริงที่ไม่เหมือนกัน

เมื่อคุณค่าความเป็นครูถูกผูกขาด

Posted: 23 Mar 2017 01:44 AM PDT


 

การศึกษาเป็นงานด้านหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของสังคม หน้าที่ของมันคือการถ่ายทอดชุดความคิดต่างๆ ในสังคมให้มีผู้สืบทอดต่อไป ปราศจากความสามารถด้านนี้สังคมก็คงจะต้องเจอปัญหาหลายอย่าง ดังนั้นแล้วก็คงไม่แปลกอะไรที่ในสังคมแบบที่มีการแบ่งงานกันทำที่จะต้องทุ่มเททรัพยากรจำนวนหนึ่งสำหรับการศึกษาเพื่อจะได้มั่นใจว่าคนรุ่นต่อไปมีความรู้ที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ ยิ่งไปกว่านั้นคือเท่ากับว่าสังคมมีความสามารถในการกำหนดทัศนคติประชากรของมันเองได้ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองท่านหนึ่งจึงเคยกล่าวไว้ว่าการแต่งแบบเรียนนั้นจะเสียเงินเสียทองเพียงใดก็ไม่ว่า แต่ถ้าได้ตกแต่งนิสัยใจคอของนักเรียนให้เป็นไปในทางที่ต้องการแล้วก็ไม่ถือว่าแพงเลย

ครูซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการให้การศึกษาแก่อนุชนของสังคมโดยตรงจะได้มาอย่างไร คนประเภทไหนที่จะมาเป็นครูได้บ้างก็แล้วแต่แต่ละคนให้จะการกำหนดนิยาม ปัญหาคือครูเขาก็มีความเป็นสถาบันของเขาเองเหมือนกัน นั่นหมายความว่ามีวิธีในการถ่ายทอดชุดความคิดของตัวเองหนำซ้ำยังผูกขาดความสามารถในการนิยามตัวตนของพวกเขาเองอีกด้วย เมื่อคนที่ไม่ได้เรียนมาในสถาบันการผลิตครูริอ่านจะมาทำอาชีพครู (และได้รับการอนุญาตจากทางการเสียด้วย) คนที่อยู่ในระบบมาแต่ก่อนจึงย่อมไม่พอใจเป็นธรรมดา

วิชาชีพครูนั้นเป็นวิชาชีพที่สำคัญดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในกรณีของรัฐไทยซึ่งอำนาจรัฐแทรกตัวเข้าไปครอบงำสังคม รัฐส่วนกลางสมัยใหม่จำเป็นจะต้องควบคุมความคิดของประชากรภายในรัฐนั้นๆ ยิ่งคนที่ทำหน้าที่สอนสั่งมาแต่เดิมเป็นพระเสียด้วย ภารกิจครูจึงไม่สามารถแยกออกจากหน้าที่ในการให้ความรู้และถ่ายทอดศีลธรรมแบบที่รัฐต้องการ วงการนี้มี "โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์" มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทำเลเก่าของโรงเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จฯ ในปัจจุบันก่อนที่จะยุบรวมเข้าอยู่ในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในเวลาต่อมา

การนิพนธ์แบบเรียนก็มีกรมตำราทำหน้าที่นี้อยู่ โรงเรียนเอกชนก็มีอยู่บ้างแต่คงไม่มากและคงไม่ได้ทรงอิทธิพลต่อความคิดในการจัดการศึกษาในภาพใหญ่แต่อย่างใด แม้บางโรงเรียนอย่างอัสสัมชัญจะมีเจษฎาจารย์ฮีแลร์และตำราดรุณศึกษาซึ่งได้รับคำยกย่องมาถึงทุกวันนี้ แต่เท่าที่ทราบก็หาได้มีความพยายามจะดัดแปลงตำราดังกล่าวไปใช้สอนในโรงเรียนของราชการแต่อย่างใด

วงการครูเอกชนกับครูรัฐบาลนั้นแยกกันต่างหากตั้งแต่แรก ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีพัฒนาการผ่านร้อนผ่านหนาวมาแตกต่างกัน ถ้ามองเผินๆ จะเห็นว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ความต่างระหว่างโรงเรียนทั้งสองแบบก็คงจะอยู่ที่การแต่งกายกับหนังสือแบบเรียนบางเล่มอย่างดรุณศึกษา แต่ถ้ามีหลักสูตรประเทศแล้วดรุณศึกษาคงจะเป็นตำราหลักอย่างสมัยฮีแลร์ต่อไปไม่ได้ ในเมื่อครูเอกชนและครูรัฐไม่ได้สอนต่างกันเท่าใดแล้ว หัวใจคนเป็นครูในสถาบันทั้งสองแบบก็ไม่ควรจะต่างกันใช่หรือไม่?

คั่นตรงนี้ไว้ก่อน แต่หากท่านพอได้ยินข่าวมาบ้าง จะเห็นว่าในหลายปีที่ผ่านมาที่วงการครูเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นครูก็จะมีประเด็นวุ่นวายกันขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อถกเถียงซึ่งเป็นความสนใจหลักของบทความนี้ คือ คนที่จบการศึกษาระดับสูงมาจากสถาบันผลิตครูมักมีท่าทางไม่พอใจต่อการ "ข้ามสาย" ของคนที่เรียนจบวิชาเอกมาโดยตรง เป็นต้นว่าวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ พวกเขาอธิบายว่าคนกลุ่มอื่นๆ ไม่มีทางที่จะมีความเข้าใจในศาสตร์การสอนหรือสามารถทำงานครูได้ดีกว่าพวกตน

ข้อน่าสังเกตที่ต้องการจะนำเสนอก็คือหากมองลึกลงไปแล้วจะเห็นว่านี่เป็นปัญหาของการเป็นครูในระบบราชการ ครูโรงเรียนเอกชนไม่ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์อย่างครูโรงเรียนรัฐแต่ก็อาจจะได้อัตราเงินเดือนดีกว่าพอเป็นการถัวเฉลี่ย ถึงกระนั้นก็เทียบไม่ได้กับสวัสดิการข้าราชการที่มั่นคงและเอื้อเฟื้อกว่ามาก ดังนั้นการแข่งขันเพื่อแย่งกันเป็นข้าราชการจึงเป็นเรื่องจริงจังมาก คนอยากเป็นครูมีจำนวนมาก บางคนเลือกจะไปเป็นครูอัตราจ้างรอการบรรจุและแต่งตั้งไปพลางแต่ก็สอบไม่ได้หลายปีติดต่อกัน ความไม่พอใจที่ผู้มีอำนาจทำให้คู่แข่งมีเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้

แต่สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องให้สงวนการมีใบประกอบวิชาชีพให้อยู่แต่ในแวดวงของตนเองนั้นบางครั้งก็มีปัญหา แต่มันเป็นปัญหาเดียวกันกับที่คนเป็นครูจะรู้ลึกไปทำไมในเมื่อรู้มากก็ไม่ได้ใช้กับนักเรียน (โดยเฉพาะในระดับเล็กๆ) มันเป็นเรื่องจริงที่ความรู้ชั้นสูงมากๆ ไม่ได้ใช้ในโรงเรียนหากแต่ทำให้มนุษย์มีท่าทีต่อความรู้ที่ถูกต้อง เพียงแต่ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องศึกษาให้ลึกซึ้งอะไรแล้ว ศีลธรรมจรรยาความเป็นครูและศาสตร์การสอนก็น่าจะเป็นจุดเด่นที่คนเรียนครูจะชนะคนกลุ่มอื่นอย่างขาดลอย จนแล้วจนรอดก็เท่ากับต้องการให้ผูกขาดความเป็นครูไม่ให้เผื่อแผ่ไปยังคนกลุ่มอื่นนั่นเอง

ไม่ว่าในการศึกษาระดับใด ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าครูจำนวนมากที่มีวุฒิทางด้านศึกษาศาสตร์ก็ไม่ได้มีวิธีการสอนที่ดี ครูที่ไม่มีวุฒิอย่างว่าบางคนก็อาจจะสอนเก่งในระดับดีเลิศด้วยซ้ำไป แม้แต่ครูที่เคยสอนผู้เขียนมาก็ตาม หากผู้อ่านท่านอื่นมีประสบการณ์ที่แตกต่างไปก็อาจแลกเปลี่ยนกันได้ ก็ในเมื่อวุฒิก็ไม่ใช่เครื่องรับประกันความรู้และจิตวิญญาณก็น่าจะปล่อยให้มีการแข่งขันช่วยคัดกรองคนเก่งๆ มาเป็น "ข้าราชการครู" บ้าง แต่ในเมื่ออะไรอะไรยังเป็นอย่างนี้ก็คงจะทำได้แต่เพียงอุทานในใจว่าการผูกขาดในตลาดวิชาชีพครูนี้อาจเป็นความเคยชินจากสมัยจารีตกระมัง

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปรัชญาไม่ทำปรัชญา

Posted: 23 Mar 2017 01:18 AM PDT


 

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผมเสนอในงานประชุมวิชาการความยุติธรรม: มองไทย มองโลก ที่มหาวิทยาลัยบูรพาว่า พบเอกสารทางวิชาการสาขาปรัชญา/ปรัชญาและศาสนาที่น่าจะเข้าข่ายการลักลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) ซึ่งประกอบด้วย เอกสารประกอบการสอน 3 ชิ้น หนังสือ(ได้รับรางวัล) 1 ชิ้น บทความในวารสาร (ฐาน TCI) 1 ชิ้น และงานวิจัย (ที่ได้รับทุนสนับสนุน) 1 ชิ้น โดยลักษณะการลักลอกเป็นแบบการตัดแปะข้อความมาต่อๆ กัน เป็นการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นหน้าๆ โดยไม่อ้างอิง และการนำงานของตัวเองมาตัดแปะใหม่เพื่อให้เป็นงานอีกชิ้นหนึ่ง

ความตลกร้ายของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า คนเขียนเอกสารเหล่านั้นต่างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่ง รศ. ผศ. จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากอเมริกาและอินเดีย จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่คนเขียนเหล่านั้นจะไม่ทราบวิธีการทำงานที่ถูกต้องหรือไม่ทราบว่าการลักลอกผลงานทางวิชาการผิดจริยธรรม

นอกจากนั้น เมื่อมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ผู้มีอำนาจกลับมาคุยกับคนร้องเรียนว่าให้หยุดการพูดถึงเรื่องนี้ และให้เหตุผลสนับสนุนว่า การลักลอกผลงานเป็นสิ่งที่ยอมรับได้เพราะ คนเขียนเกษียณอายุไปแล้ว ผู้เขียนไม่ทราบวิธีการทำงานที่ถูกต้อง (หรือเขียนอีกแบบ อาจารย์ไม่ทราบว่าการลักลอกผิด) และการไม่เอาเรื่องเป็นวิธีการแก้ปัญหาแบบศาสนา เนื่องจากเป็นสาขาปรัชญาและศาสนา จึงต้องแก้ปัญหาแบบนี้

เหตุผลของผู้มีอำนาจน่าสนใจเพราะการลักลอกผลงานวิชาการไม่ต่างจากการขโมยงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง คำสอนของศาสนาต่างๆ จะสนับสนุนให้มีการขโมยงานคนอื่นมาเป็นงานของตนเองได้อย่างไร

ผมอภิปรายในงานประชุมว่า งานที่ลักลอกผลงานทางวิชาการเหล่านี้สะท้อนว่าผู้เขียนไม่ได้ทำปรัชญา (do philosophy) ไม่ได้ขบคิดไตร่ตรองปัญหาพื้นฐาน ไม่ได้พิจารณาว่าเอกสารที่ใช้ถูก/ผิด น่าเชื่อถือ/ไม่น่าเชื่อถืออย่างไร ทำแต่เพียงตัดแปะเอกสารให้ดูเหมือนกับว่าเป็นงานที่น่าเชื่อถือชิ้นใหม่เท่านั้น

นอกจากนั้น การทำงานแบบนี้ขัดแย้งกับลักษณะของวิชาปรัชญาที่ต้องอาศัยความคิดเชิงวิพากษ์ ในการขบคิด ตั้งคำถาม ประเมิน วิพากษ์งานทางปรัชญา และขัดแย้งกับคุณลักษณะนิสัยของนักปรัชญาที่เป็นผู้ชอบตั้งคำถาม และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานทางปรัชญาอีกด้วย

นอกจากนั้น สาเหตุที่ทำให้งานที่ลักลอกผลงานทางวิชาการมีจำนวนมาก และยังดำรงอยู่ได้ในวงการปรัชญาน่าจะมาจาก ประการแรก นักปรัชญาไทยเหล่านั้นมีคำตอบที่แน่นอนอยู่แล้ว คำตอบนั้นคือพุทธศาสนา จึงไม่ต้องแสวงหาคำตอบของคำถามทางปรัชญาอีกต่อไป ดังนั้นการทำปรัชญาจึงไม่มีความจำเป็น (ดูเพิ่มที่หนังสือขอบฟ้าปรัชญาของอ.โสรัจจ์)

ประการที่สอง นักปรัชญาไทยเหล่านั้นขลาดเขลาที่จะยืนยันต่อความจริง เป็นไปได้ยากมากที่คนตรวจงานจะไม่ทราบว่าเอกสารทางวิชาการลักลอกผลงานของผู้อื่น แต่ผู้ตรวงงานก็กลับให้รางวัลกับงาน กลับยอมรับให้มีการตีพิมพ์ นิสิตนักศึกษาที่อ่านเอกสารประกอบการสอนก็ช่วยกันเงียบเพื่อให้ตนเองอยู่รอดต่อไป

ประการสุดท้าย สังคมปรัชญาไทยไม่ได้ยอมรับ นับถือกันที่ผลงานจริงๆ แต่สนใจความเป็นพวกพ้อง ระบบอุปถัมภ์มากกว่าความสามารถที่แท้จริงๆ ของคนๆ หนึ่ง

ส่วนทางแก้ไขอาจทำได้ 2 ประการ ประการแรกส่งเสริมให้มีการฝึกทำปรัชญา เพราะการทำปรัชญาเป็นสิ่งที่ไม่เปิดช่องให้มีการลักลอกผลงานวิชาการได้เลย ในทางตรงข้ามกับส่งเสริมให้ทำงานอย่างวิพากษ์มากขึ้นด้วย ประการที่สอง สังคมปรัชญาจะต้องหยุดให้การสนับสนุนงานของเพื่อนร่วมงานที่ลักลอกผลงาน

สุดท้าย ทางแก้ไขนี้เหมือนจะหมดหวัง เพราะเสนอให้อาจารย์ปรัชญาฝึกทำปรัชญา ซึ่งจะให้ใครมาช่วยฝึกอาจารย์ปรัชญาทำปรัชญา และเป็นสิ่งที่น่าตั้งคำถามต่อไปอีกว่านิสิตนักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์เหล่านี้จะเป็นอย่างไร

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.แจงเองปมรื้อชุมชนป้อมมหากาฬ ชี้วิถีปัจจุบันของชุมชนก็ต่างจากในอดีต

Posted: 23 Mar 2017 12:05 AM PDT

รองโฆษก คสช. ยันรื้อถอนชุมชนป้อมมหากาฬ คำนึงถึงกฎหมาย อัตลักษณ์ ความร่วมมือของชุมชน ประโยชน์ในการใช้พื้นที่ ชี้สภาพของชุมชนในปัจจุบันแตกต่างอย่างชัดเจนกับวิถีของชุมชนนี้ในอดีต รัฐหวังพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ โดยยังดำรงความเป็นโบราณสถานไว้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา จากกรณีที่มีข้าราชการบำนาญกรมศิลปากรได้วิจารณ์ผ่านสื่อมวลชนถึงการรื้อถอนชุมชนป้อมมหากาฬว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ศึกษาประวิติศาสตร์และมุ่งเพียงการจัดระเบียบสังคมเท่านั้น เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Army PR Center' ของศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก รายงานว่า พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง  ​รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชี้แจงว่า ​การพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬเป็นการดำเนินการร่วมกันของหลายหน่วยงาน อาทิ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมศิลปากร เป็นต้นดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาร่วมให้คำแนะนำ โดยมี กทม. เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการโดยพิจารณาผลกระทบในทุกมิติ ทั้งตามขั้นตอนของกฎหมาย 

​รองโฆษก คสช. ระบุว่า วิถีชุมชน เอกลักษณ์ความเป็นโบราณสถาน มีกรอบการทำงานที่ต้องการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด มีการเยียวยากับประชาชนในชุมชน ดำเนินการด้วยความละมุนละม่อมมา โดยตลอด ขอเรียนว่าการที่คสช. เข้าให้การสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬนั้น มิได้มุ่งเน้นเพียงเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ให้เกิดความเรียบร้อยเท่านั้น หากแต่ได้คำนึงถึงกฎหมาย อัตลักษณ์และความร่วมมือของชุมชน รวมถึงประโยชน์ในการใช้พื้นที่ร่วมกันของประชาชนเป็นส่วนรวม อีกทั้งเป็นไปตามกระบวนการพัฒนาพื้นที่ของภาครัฐ ทั้งนี้หากพิจารณาสภาพของชุมชนป้อมมหากาฬในปัจจุบันจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนกับวิถีของชุมชนนี้ในอดีต และคงจะทำให้ได้เข้าใจถึงความจำเป็นของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเข้าพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะ โดยยังดำรงความเป็นโบราณสถานไว้

พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวอีกว่า การจัดระเบียบสังคมที่ คสช. เข้าดำเนินการในแต่ละพื้นที่ มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน อาทิ จัดระเบียบเพื่อบังคับใช้กฎหมาย จัดระเบียบเพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย จัดระเบียบเพื่อเกิดความร่วมมือและข้อตกลงร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  โดยก่อนที่จะเข้าดำเนินการหรือให้การสนับสนุน ได้มีการศึกษาข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำงานอย่างรอบคอบ กรณีชุมชนป้อมมหากาฬ หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็ได้มีการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาพิจารณาแนวทางที่ชุมชนจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมในอนาคต และเป็นพื้นที่ของส่วนรวมอย่างแท้จริง

​รายงานของศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก ระบุอีกว่า ป้อมมหากาฬเป็นโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2492 และตั้งแต่ปี 2502 เป็นต้นมารัฐบาลทุกสมัย มีการปรับปรุงป้อมมหากาฬ ให้มีความสะอาดเรียบร้อย และเป็นการอนุรักษ์โบราณและสถาปัตยกรรมของไทยมาโดยตลอด รวมทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า พร้อมทั้งได้ออก "พ.ร.ก. กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กทม. ปี 2535" เพื่อจัดทำสวนสาธารณะและโบราณสถาน โดยมีการพัฒนาพื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการขอความร่วมมือจากชุมชนป้อมมหากาฬให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เป็นการบุกรุก จนกระทั่งในปี 2547 ศาลปกครองสูงสุดมี คำวินิจฉัยชี้ขาดให้ กทม. มีสิทธิรื้อถอนชุมชนป้อมมหากาฬได้ เนื่องจากมีการตกลงซื้อขายและจ่ายเงินค่าทดแทนแล้ว ปัจจุบัน กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังร่วมกันดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณป้อมมหากาฬเพื่อจัดทำเป็นสวนสาธารณะ โดยยังคงอนุรักษ์ความเป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต่อไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น