ประชาไท | Prachatai3.info |
- ปมจ่อไล่เก็บภาษีนักการเมืองยุค 'อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์' ประยุทธ์ ยันไม่ได้กลั่นแกล้ง
- 4 นศ.ขอนแก่นโดนข้อหาหมิ่นศาล เหตุรณรงค์ปล่อย 'ไผ่' หน้าศาลขอนแก่น
- TDRI เตือนไทย 'จะสูงแต่วัย แต่รายได้ยังไม่สูง'
- สองผู้พิพากษาสหรัฐฯ ตัดสินค้านคำสั่งพิเศษห้ามการเดินทางฉบับที่ 2 ของทรัมป์
- เตรียมดำเนินคดี-ปรับทัศนคติ แกนนำค้านท่าเรือปากบารา หลังล้มเวทีฟังความเห็น EHIA
- จัดหางานเผย เพียง 1 เดือน เกาหลีระงับคนไทยเดินทางไปทำงานมากที่สุดกว่า 50 ราย
- GAY OK BKK ซีซั่น2: ซีรีส์ชีวิตจริงเกย์เมืองหลวง เปลี่ยนมุมมอง-ปรับความคิดสังคม
- ไต้หวันเสนอแผนยกเครื่องกองทัพ-จัดซื้อเครื่องบินรบสเตลท์เพื่อป้องกันภัยจากจีน
- สุเทพหนุนประยุทธ์อยู่ต่อหากปฏิรูปไม่เสร็จ ยิ่งลักษณ์หนุนตั้ง กก.กลางสร้างปรองดอง
- เยาวลักษ์ อนุพันธุ์: เมื่อศาล “จำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและมุ่งขยายอำนาจรัฐ”
- ประยุทธ์ ลั่น 'ผมเป็นนักประชาธิปไตยคนหนึ่ง' แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ถูกต้อง
- การเมืองเรื่องทำโพลล์
- เลขาฯคณะพูดคุยสันติสุข ระบุใช้เวลา 6 เดือน กำหนดพื้นที่ปลอดภัยชายแดนใต้
ปมจ่อไล่เก็บภาษีนักการเมืองยุค 'อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์' ประยุทธ์ ยันไม่ได้กลั่นแกล้ง Posted: 17 Mar 2017 09:30 AM PDT กรณี สตง.แจ้งเก็บภาษีจากนักการเมืองยุค รบ.อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์ 30 คน 'ประยุทธ์' ชี้ไม่ได้กลั่นแกล้ง 'ประวิตร' ยันไม่กระทบปรองดอง 'วิษณุ' แจงเหตุเข้าขายเลี่ยงภาษี พร้อมรับว่าการตามทรัพย์สินของทักษิณในต่างประเทศทำได้ยาก เหตุติดข้อกฎหมาย 17 มี.ค.2560 รายงานข่าวระบุว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้งกรมสรรพากรให้เรียกเก็บภาษีจากนักการเมือง ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง เข้าข่ายการหลีกเลี่ยงภาษีประมาณ 60 คน ว่าได้รับรายงานแล้ว แต่เท่าที่ทราบมีนักการเมืองที่เข้าขายเลี่ยงภาษี ประมาณ 20-30 คน ไม่ใช่ 60 คน และยังไม่เห็นรายชื่อว่ามีใครบ้าง โดยแจ้งระหว่างที่มีการประชุมกรณีเรียกเก็บภาษีของทักษิณ และหากจะการดำเนินการเรียกเก็บภาษีก็จะต้องใช้มาตรฐานเดียวกันกับกรณีของอดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนบรรทัดฐานว่าใครจะถูกหรือผิด อยู่ที่ศาลจะตัดสิน ซึ่งการดำเนินการจะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติไม่ใช้มาตรา 44 และไม่อยากให้นำไปโยงกับการสร้างความปรองดองที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ เพราะเป็นคนละเรื่องกันและไม่อยากให้เอาเรื่องนี้มาต่อรองกับเรื่องสร้างความปรองดอง "เรื่องนี้เรารู้อยู่แล้วก่อนจะทำว่าเป็นเรื่องที่พูดในสังคมว่าหากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลยปล่อยให้กระบวนการหมดอายุความรัฐบาลก็จะโดยฟ้องมาตรา 157 ละเว้นปฎิบัติหน้าที่ แต่หากทำการเก็บภาษีก็จะโดนกล่าวหาเลือกปฎิบัติไล่บี้ทำอยู่ฝ่ายเดียว คนคนเดียว ได้ไป 4.7ล้านบาทไม่พอยังจะเอาอีก เราจึงไม่หลวมตัวออกมาตรา 44 แต่ให้ว่าตามกระบวนการปกติ เพราะเรื่องนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองตัดสินแล้วการซื้อขายหุ้นผิดกฎหมายดังนั้นจึงต้องทำตามกฎหมายและการเรียกเก็บภาษีก็ต้องดำเนินการแต่แม้เป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็มีกฎหมายกำหนดไว้ เหมือนคนไปขโมยของเมื่อศาลตัดสินให้มีโทษจำคุก 10 ปี หรือตลอดชีวิตแล้ว แต่ก็ต้องไล่บี้เอาทรัพย์สินคืน ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับศาลที่จะเป็นผู้ตัดสิน" วิษณุ กล่าว วิษณุ กล่าวว่า การเรียกเก็บภาษีกับอดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากกระบวนการของสรรพากรแล้ว ยังมีกระบวนการของหน่วยงานอื่นดำเนินการควบคู่กันไปด้วย แต่ไม่ขอเปิดเผย เพราะเกรงจะเสียรูปคดี พร้อมย้ำว่า การดำเนินการของรัฐบาล เนื่องจากสังคมตั้งข้อสังเกต หากรัฐบาลไม่ดำเนินการจะถูกกล่าวหา ว่าปล่อยปละละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ได้ และหากศาลตัดสินว่าอดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องจ่ายภาษี แต่ทรัพย์สินส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ ก็ต้องไปพิสูจน์กันว่าทรัพย์สินที่โอนให้บุตรก่อน หรือหลังจากถูกฟ้องร้องดำเนินคดีภายใน 1 ปีหรือไม่ หากพิสูจน์ได้ ก็สามารถนำกลับมา เพื่อจ่ายภาษีให้กรมสรรพากรได้ "การเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจะต้องเรียกเก็บกับเจ้าตัว เพราะถือเป็นความผิดต่อบุคคล แต่ยอมรับว่าการตามทรัพย์สินของทักษิณในต่างประเทศทำได้ยาก เพราะติดข้อกฎหมาย ดังนั้นต้องดูว่าทรัพย์สินมีทรัพย์สินของทักษิณอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ หรือมีทรัพย์สินที่ยักย้ายถ่ายเทจำหน่ายไปยังบุคคลอื่นหรือไม่ถ้าสืบตรวจสอบพบก็สามารถที่จะเรียกเก็บได้ เหมือนกฎหมายล้มละลายผู้ที่ถูกฟ้องล้มละลายคือไม่มีทรัพย์สินติดตัว แต่ถ้าลูก ภรรยา ญาติพี่น้องมี และสืบทราบว่าเป็นการยักย้ายถ่านโอนให้ 1 ปีก่อนถูกศาลมีคำสั่งก็สามารถยึดเอาทรัพย์สินส่วนนั้นมาได้" วิษณุ กล่าว ประยุทธ์ ชี้ไม่ได้กลั่นแกล้งขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณี สตง. เตรียมแจ้งสรรพากรให้เรียกเก็บภาษีจากนักการเมืองในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เนื่องจากพบว่ามีรัฐมนตรีบางคนมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก หลังจากพ้นตำแหน่ง แต่ส่วนใหญ่เป็นการแจ้งเฉพาะเงินเดือน ไม่ได้นำ ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาคำนวณภาษี ว่า เมื่อมีการส่งเรื่องมา ก็ได้มอบให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ เพราะนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบเอง ซึ่งหลังจากนี้ คงมีการส่งเรื่องในกรณีเดียวกันเข้ามาเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง และหากคดีใดที่มีความเชื่อมโยงกับคดีอื่น ๆ เชื่อว่าเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ใช่เรื่องของการกลั่นแกล้ง เพราะ มีทั้งกฎหมายปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ( ปปท.). และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) "รัฐบาลต้องอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานเหล่านี้ทำงานตามขั้นตอน รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องติดตามความคืบหน้าต่าง ๆ ขออย่าตีความว่า เมื่อการตัดสินออกมาแล้วจะมีการฮั้วเกิดขึ้น หรือต่อมาก็จะไม่มีความผิด เพราะทุกอย่างอยู่ที่หลักฐานและหลักการในการพิจารณา ซึ่งบางเรื่องเมื่อผิดก็ต้องผิด แต่บางเรื่อง ดูเหมือนผิดแต่ไม่ผิด" นายกรัฐมนตรี กล่าว ประวิตร ยันไม่กระทบปรองดองพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีนี้ด้วยว่า ไม่กระทบแนวทางการสร้างความปรองดอง เพราะทุกอย่างต้องว่าไปตามกระบวนการกฎหมาย กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องละเว้นใคร ขออย่านำมาเชื่อมโยงกับการสร้างความปรองดอง เพราะเป็นคนละส่วนกัน "ขณะนี้การสร้างปรองดองเดินหน้าไปได้ด้วยดีการเชิญพรรคการเมืองมาหารือแสดงความเห็น เป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้และในวันที่ 20 มีนาคมนี้ ผมจะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดองทั้งหมดของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดอง (ป.ย.ป.) เพื่อสรุปการทำงานและเตรียมการเข้าสู้กรอบการทำงานในระยะที่ 2 ที่ตั้งไว้" พล.อ.ประวิตร กล่าว เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
4 นศ.ขอนแก่นโดนข้อหาหมิ่นศาล เหตุรณรงค์ปล่อย 'ไผ่' หน้าศาลขอนแก่น Posted: 17 Mar 2017 08:54 AM PDT 4 นักศึกษานักกิจกรรมได้รับหมายเรียกจากศาลขอนแก่น หลังผอ.สำนักอำนวยการศาลขอนแก่นกล่าวหาละเมิดอำนาจศาล ระบุเหตุมาจากรณรงค์ปล่อยเพื่อนหน้าศาล ศาลนัดพิจารณา 24 เม.ย.นี้
16 มีนาคม 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศาลจังหวัดขอนแก่นออกหมายเรียกตัวนักกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น 4 คนจากกิจกรรมรณรงค์ "ปล่อยไผ่" หลังทราบผลว่าไผ่ไม่ได้ประกันตัว เหตุเกิดเมื่อ 10 ก.พ.2560 ที่หน้าศาลจังหวัดขอนแก่น เหตุการณ์การให้กำลังใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการจับกุมและดำเนินคดี นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการที่เขาแชร์รายงานข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 ของเว็บไซต์ BBC Thai ในเฟซบุ๊กส่วนตัว หลังเขาได้รับประกันตัวแล้ว ต่อมาได้ถูกเพิกถอนการประกันโดยศาลให้เหตุผลว่าหลังได้ประกันตัวเขามีการกระทำการอันส่อเจตนาว่าท้าทายอำนาจรัฐ ทั้งนี้ โทษทางอาญาของข้อหานี้คือ จำคุกได้ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อ้างว่าได้รับคำร้องจากนายจตุภัทร์ เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา ทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นจึงได้ติดต่อประสานงานกับ ม.ขอนแก่น และจัดสอบการวัดความรู้คอมพิวเตอร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยทางมหาวิทยาลัยได้ส่งเจ้าหน้าที่ 2 คนมาดำเนินการจัดสอบให้แก่จตุภัทรภายในทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น สำหรับผลการสอบทางมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบ หลังจากที่ได้ตรวจเอกสารชุดทดสอบเรียบร้อยแล้่่่ว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
TDRI เตือนไทย 'จะสูงแต่วัย แต่รายได้ยังไม่สูง' Posted: 17 Mar 2017 08:43 AM PDT สมเกียรติ ยกงานวิจัยชี้ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยแล้ว และกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์แบบ แต่ปัญหาคือ "สูงแต่วัย แต่รายได้ยังไม่สูง" แนะเตรียมความพร้อม ทั้งคนดูแลและแหล่งเงิน 17 มี.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ได้นำเสนอในรายการคิดยกกำลังสอง ทางไทยพีบีเอส กับประเด็น 'เตรียมตัวเตรียมใจ…สังคมสูงวัยมาแล้ว' โดยยกงานวิจัยของ วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สมเกียรติ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยแล้ว และกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์แบบ "ประเทศจะสูงแต่วัย แต่รายได้ยังไม่สูง ในเอเชียด้วยกันประเทศที่สูงทั้งวัยสูงทั้งรายได้คือญี่ปุ่น ตามมาด้วยเกาหลี สิงคโปร์ ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกที่สูงแต่วัยแต่รายได้ยังไม่สูง" ดร.สมเกียรติ กล่าว พร้อมระบุว่า ประเทศอาเซียนประเทศอื่น ยังจะไม่เป็นสังคมสูงวัยไปอีกพักใหญ่ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ประเทศเหล่านี้มีประชากรอายุไม่เยอะ" สมเกียรติ กล่าว สำหรับปัญหาที่จะตามมาหากประเทศไทยไม่มีความพร้อม ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า ที่เกิดขึ้นแล้วคือการขาดแรงงาน เนื่องจากขณะนี้หาคนงานยากมาก ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเนื่องจากผู้สูงอายุจะขึ้นบรรไดก็เป็นเรื่องยากจึงจำเป็นต้องมีลิฟ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่ชุมชนหรือที่พักอาศัย ค่าดูแลผู้สูงอายุในการรักษาพยาบาลก็จะมากขึ้น โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต จนกระทั่งส่งผลทำให้เกิดคำถามต่อจริยธรรมอีกมากมายตามมา สมเกียรติ กล่าวอีกว่า โรคที่จะทำห้ผู้สูงอายุเสียชีวิตกัน แต่ก่อนเสียชีวิตก็จะมีความทรมานในส่วนของผู้สูงอายุเอง และจะเป็นต้นทุนของสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ โดย 5 โรคที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตในประเทศไทย อันดับแรกคือโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคระบบสืบพันธุ์-ทางเดินปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับต่อไร้ท่อ และระบบย่อยอาหาร ซึ่งการรักษาพยาบาลจะแพงมาก เช่น โรคมะเร็งก่อนจะเสียชีวิตนั้น จะมีค่าใช้ในการรักษาพยาบาลสูงมาก ตัวอย่าง โรคมะเร็งในเดือนสุดท้ายก่อนจะเสียชีวิตจะมีค่าใช้จ่ายหากคิดตามบัตรทองอยู่ประมาณ 45,000 บาทต่อคนต่อเดือน สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า ต่อไปผู้สูงอายุจะมีผู้ที่ติดบ้านติดเตียงมากยิ่งขึ้น และต้องการวัสดุอุปกรณ์ เช่น ต้องมีไม้เท้า มีรถเข็น มีโครงจับเดิน ขณะที่ผู้ติดเตียง ก็จะต้องมีผ้ายาง เบาะนอน ฯลฯ ส่วนผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น ก็จะต้องมีเครื่องดูดเสมหะ เครื่องออกซิเจน เครื่องให้ยา เครื่องพ่นยา ฯลฯ รวมทั้งต้องการผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับ สำลี ต่างๆ มากมาย สมเกียรติ ระบุว่า ในปัจจุบันผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงมีไม่ถึง 4 แสนคน แต่อีกไม่นานจะมีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 8 แสนคน หรือใกล้เคียง 1 ล้านคน ซึ่งแปลว่าต้องการคนดูแลเพิ่มขึ้นด้วย รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ดูแลมากขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ตกกับผู้สูงอายุเองหรือภาครัฐหากต้องดูแลก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยอีก 20 ปี ค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนนี้ส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุและวัสดุอุปกรณืต่างๆ จะตกถึงปีละ 2 แสนล้านบาท ซึ่ง ดร.สมเกียรติ ระบุถึงข้อเสนอที่ วรวรรณ ได้เสนอผ่านงานวิจัยนี้ว่า ต้องเตรียมตัวเตรียมใจว่าเราจะเข้าสู่สังคมสูงวัย เช่น เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก หนทางในบ้านต่างๆ และที่สำคัญต้องเตรียมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หากไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลค่าใช้จ่ายต่อภาครัฐแพงมาก และตัวผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะทุกข์ทรมาน คนจำนวนมากหากจะเสียชีวิตก็ต้องการอยู่กับครอบครัว เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมตัว เช่น คนดูแลและแหล่งเงินเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สองผู้พิพากษาสหรัฐฯ ตัดสินค้านคำสั่งพิเศษห้ามการเดินทางฉบับที่ 2 ของทรัมป์ Posted: 17 Mar 2017 08:10 AM PDT ช่วงเย็นวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมาตามเวลาสหรัฐฯ ผู้พิพากษารัฐบาลกลางสหรัฐฯ ประจำฮาวายออกคำสั่งแบบมีผลทั่วประเทศสกัดกั้นคำสั่งห้ามการเดินทางชุดที่ 2 ของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีลักษณะกีดกันคนที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มโลกมุสลิม นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณให้ทรัมป์ต้องอธิบายต่อศาลในเรื่องที่เขาใช้โวหารโจมตีอิสลาม นอกจากศาลฮาวายแล้วศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ แห่งรัฐแมริแลนด์เป็นศาลอีกแห่งหนึ่งที่ตัดสินสกัดกั้นคำสั่งพิเศษชุดที่ 2 ของโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ให้มีผลชั่วคราว เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คำสั่งพิเศษของทรัมป์ที่อ้างเรื่องความมั่นคงถูกศาลสั่งสกัดกั้นโดยที่ก่อนหน้านี้คำสั่งพิเศษฉบับแรกของทรัมป์เคยถูกศาลรัฐบาลกลางในซีแอตเทิลสั่งสกัดกั้นมาแล้ว คำสั่งห้ามเดินทางเข้าสหรัฐฯ ฉบับที่ 2 ของทรัมป์นั้นออกมาเมื่อวันที่ 6 มี.ค. มีการลดความเข้มงวดลงเมื่อเทียบกับฉบับแรกโดยให้เลือกแค่มีผลกับ 6 ประเทศ และนำเนื้อหาบางส่วนที่เกิดเป็นข้อพิพาทระดับแรกออก อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาเดอร์ริค เค วัตสัน ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากบารัก โอบามา เป็นผู้พิพากษาศาลแขวงในฮอนโนลูลูกล่าวว่าคำตัดสินของเขามีเหตุผลเพราะคำสั่งทรัมป์มีลักษณะจงใจออกมาด้วยการแสดงความไม่ชอบศาสนาใดศาสนาหนึ่งอย่างชัดเจนแม้จะอ้างว่าเป็นคำสั่งที่เป็นกลางทางศาสนาก็ตาม ทางด้านผู้พิพากษาธีโอดอร์ ดี ชวง จากศาลในแมริแลนด์ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากโอบามาก็ออกมากล่าวในทำนองเดียวกันหลังจากที่มีกลุ่มองค์กรเพื่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัยฟ้องร้องศาลในเรื่องนี้ ทางด้านทรัมป์ออกมากล่าวตอบโต้เรื่องนี้ในสไตล์เดียวกับที่เขาใช้ช่วงรณรงค์หาเสียง โดยกล่าวตอบโต้วัตสันด้วยเสียงตะโกนว่าคำตัดสินของวัตสันเป็นไป "ด้วยเหตุผลทางการเมือง" และยังกล่าวประณามศาลอุทธรณ์ภาคเก้าที่ยืนยันคำตัดสินระงับคำสั่งพิเศษห้ามการเดินทางชุดก่อนหน้านี้ด้วย ทรัมป์อ้างอีกว่าคำสั่งศาลเหล่านี้ทำให้สหรัฐฯ "ดูอ่อนแอลง" และบอกว่าอาจจะประกาศใช้คำสั่งชุดเดิมอีกครั้ง หลังมีการประกาศใช้คำสั่งพิเศษห้ามการเดินทางชุดที่ 2 กลุ่มองค์กรด้านผู้อพยพและลี้ภัยต่างก็พากันยื่นฟ้องต่อศาลอีกครั้ง โดยผู้พิพากษาวัตสันตัดสินว่าคำร้องของอิหม่ามจากสมาคมมุสลิมแห่งฮาวายมีเหตุผลพอที่จะต่อต้านคำสั่งนี้ด้วยฐานเรื่องการกีดกันทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่คำสั่งนี้จะส่งผลเสียที่แบบที่แก้ไขเยียวยาไม่ได้อยู่ด้วย โดยวัตสันเปิดเผยว่าทรัมป์เป็นผู้แสดงออกเจตนาการกีดกันทางศาสนาเองผ่านคำปราศรัยของเขา อิสมาอิล เอลชิคห์ อิหม่ามที่เป็นพลเมืองสหรัฐฯ มีแม่ยายเป็นชาวซีเรียที่กำลังหาวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ซึ่งวัตสันชี้ว่ากรณีคำสั่งห้ามเดินทางจะส่งผลเสียหายต่อพวกเขาอย่างไร เอลชิคห์กล่าวถึงคำตัดสินในครั้งนี้ว่า "นี่คือช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมสำหรับประชาธิปไตย ศาสนา และสิทธิมนุษยชน" และแสดงความดีใจที่ครอบครัวของเขาจะไม่ถูกคำสั่งห้ามเดินทางเหนี่ยวรั้งไม่ให้ครอบครัวไม่ได้พบหน้ากันอีก ในกรณีของศาลในรัฐแมริแลนด์ผู้พิพากษากล่าวว่ามีสิ่งบ่งชี้ชัดเจนว่าการสั่งห้ามเดินทางของทรัมป์นั้นไม่ได้เป็นไปด้วยเหตุผลหลักๆ ในด้านความมั่นคงของชาติ
เรียบเรียงจาก 2 Federal Judges Rule Against Trump's Latest Travel Ban, New York Times, 15-03-2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เตรียมดำเนินคดี-ปรับทัศนคติ แกนนำค้านท่าเรือปากบารา หลังล้มเวทีฟังความเห็น EHIA Posted: 17 Mar 2017 06:56 AM PDT หลังกลุ่มคัดค้านโครงการท่าเรือน้ำลึกปากปารา จ.สตูล ยึดเวที EHIA ค.1 ทำให้ไม่มีการจัดรับฟังความเห็น ผู้ว่าลงนามหนังสือสรุปเหตุการณ์ถึงหน่วยงานความมั่นคง เตรียมดำเนินคดีแกนนำและอาจเรียกปรับทัศนคติ พร้อมเลื่อนเวลาเตรียมจัดเวทีใหม่ 45-60 วัน 17 มี.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวลาประมาณ 13.00 น. สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมรายงานว่า ที่อ.ละงู จ.สตูล นายภัทรพนธ์ รัตนพิเชฏฐชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 16 มี.ค.2560 ถึงหน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อสรุปสถานการณ์การคัดค้านโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล และแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์เมื่อวานนี้ (16 มี.ค. 2532) ภายหลังที่ชาวบ้านราว 300 คนบุกยึดพื้นที่โรงเรียนบ้านปากบาง อ.ละงู จ.สตูล ที่ใช้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) หรือเวที ค.1 ตั้งแต่ช่วงกลางดึกของวันที่ 15 มี.ค. 2560 ที่ผ่านมา โดยชาวบ้านระบุถึงความต้องการปฏิรูปการจัดทำ EIA และ EHIA ใหม่ให้มีความโปร่งใสและประชาชนมีส่วนร่วมที่จะกำหนดชะตากรรมของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในพื้นที่ สาระสำคัญของหนังสือฉบับดังกล่าว เป็นการอธิบายถึงกิจกรรมการต่อต้านโครงการฯ ระหว่างวันที่ 15-16 มี.ค.2560 โดยมีการระบุชื่อแกนนำชาวบ้าน พฤติกรรมการเคลื่อนไหว ระยะเวลา จำนวนผู้ที่เข้าร่วม รวมถึงแนวทางการดำเนินการเพื่อจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) หรือเวที ค.1 โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราต่อไป มีข้อความของหนังสือตอนหนึ่งระบุว่า เมื่อวานนี้ (16 มี.ค.2560) เวลาประมาณ 06.00 น. กลุ่มผู้คัดค้านประมาณ 300 คน ปิดประตูโรงเรียนห้ามไม่ให้คนนอกเข้ามาภายใน ต่อมา พล.ต.เจตน์พัธน์ ศรีวงศ์ รอง ผอ.รมน.จว.สตูล ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ได้สั่งการให้หน่วยกำลัง ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ และสมาชิก อส. ประมาณ 300 นาย เข้าปฏิบัติหน้าที่ควบคุมรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่การจัดเวทีและเจรจากับกลุ่มผู้คัดค้าน ผลการเจรจาเบื้องต้นกลุ่มผู้คัดค้านยังคงยืนยันต่อต้านการจัดเวทีต่อไป "การประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่าง ผวจ.สตูล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า รอง ผบก.ภ.จว.สตูล นายอำเภอละงู ผกก.สภ.ละงู และบริษัทที่ปรึกษาโครงการ มีมติเห็นชอบร่วมกันคือ ให้เลื่อนการจัดเวทีออกไปอีก 45-60 วัน ดำเนินคดีกับกลุ่มแกนนำผู้คัดค้านทุกฐานความผิด และหากมีความจำเป็นจะต้องเชิญแกนนำมาปรับทัศนคติ" ตอนหนึ่งของหนังสือระบุ ประสิทธิชัย หนูนวล จากเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินและนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวบอกเล่าสภาพปัญหาเบื้องต้นของรายงานอีไอเอและเรียกร้องการปฏิรูประบบอีไอเอก่อนที่จะเริ่มดำเนินการใหม่กับโครงการท่าเรือปากบารา สรุปความได้ว่า กฎหมายอีไอเอไม่ใช่เพียงรายงานฉบับหนึ่ง แต่เป็นเครื่องมือของการสร้างความชอบธรรมในเมกกะโปรเจคทั้งหลาย เบื้องหลังกฎหมายฉบับนี้น่าจะประกอบด้วยกลุ่มทุนมหาศาลที่จะได้รับประโยชน์จากการบิดเบี้ยวและฉ้อฉลของกฎหมาย การปฏิรูปอีไอเอจึงไม่เคยเกิดขึ้นได้สักที กติกาซึ่งสามารถบิดเบี้ยวได้ตลอดเวลา เช่น เจ้าของโครงการเป็นคนจ้างบริษัทมาทำรายงานเอง จ่ายเงินเอง รายงานจะออกมาเช่นไร, ผู้พิจารณาอนุมัติรายงานเรียกว่า คชก.หรือคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ไม่ต้องรับผิดชอบ หากเกิดความเสียหายขึ้น จากการดำเนินโครงการภายใต้รายงานอีไอเอ, ในกระบวนการประเมินผลหรือ ค2 นั้น ไม่ได้รับการตรวจสอบจากสาธารณะว่า ใช้เครื่องมืออะไรประเมินผล ระยะเวลาการประเมินผล มาตราการลดผลกระทบที่เชื่อถือได้ว่าทำได้จริงหรือไม่, กระบวนการรับฟังความเห็นว่าต้องประเมินอะไรบ้าง ค1 ไม่เคยทำจริง เพราะบริษัทพูดแต่ข้อดีของโครงการ, ในภาคใต้ มักจะเห็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงในจังหวัด ไปนั่งร่วมกับเจ้าของโครงการเสมอ มาทำหน้าที่เป็นประธานเปิดเวทีอีไอเอให้กับบริษัทที่จัดทำรายงาน
สำหรับเหตุการณ์เมื่อวานนี้ มติชนออนไลน์รายงานว่า เวลาประมาณ 09.00 น. มีชาวบ้านผู้คัดค้านประมาณ 300 คน นําโดยนายไกรวุฒิ ชูสกุล ปักหลักชุมนุมบริเวณโรงเรียนบ้านปากบาง สถานที่จัดเวที ค.1 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA และเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการท่าเรือนํ้าลึกปากบารา กลุ่มคัดค้านได้พักค้างแรมในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งวันรุ่งขึ้น (16 มี.ค.) เวลาประมาณ 11.00 น. พลตรีเจตน์พัธน์ ศรีวงศ์ รอผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จังหวัดสตูล พร้อมนายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า และ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดสตูล พร้อมกำลังประมาณ 300 นาย เข้าเจรจากับแกนนนำกลุ่มคัดค้านว่า เวที ค.1 เป็นการจัดเวทีโดยเชิญผู้แทนกลุ่มสนับสนุน และกลุ่มคัดค้าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันหาทางออกที่เป็นรูปธรรม แกนนำกลุ่มคัดค้านได้แจ้งว่า จะไม่มีการเจรจาใด โดยยื่นข้อเสนอให้ล้มเลิกเวทีดังกล่าวเท่านั้น ทางกลุ่มจึงจะยุติการชุมนุม เจ้าหน้าที่จึงตรึงกำลังบริเวณพื้นที่โดยรอบการชุมนุมเพื่อติดตาม ต่อมาเวลาประมาณ 14.30 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมรองอธิบดีกรมเจ้าท่า รอง ผบก.ภ.จว.สตูล นอภ.ละงู และ ผกก.สภ.ละงู รวมทั้งบริษัทเจ้าของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ประชุมปรึกษาหารือ และมีมติเห็นชอบร่วมกันว่าจะมีการเลื่อนจัดเวทีประชุมฯ ออกไปราว 45 – 60 วัน โดยจะมีการดําเนินคดีกับแกนนํากลุ่มฯ และผู้คัดค้านทุกฐานความผิด และหากมีความจําเป็นอาจเชิญแกนนํากลุ่มฯ มาปรับทัศนคติ เวลาประมาณ 17.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านทยอยเดินทางกลับจากพื้นที่โรงเรียนบ้านปากบาง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ทั้งนี้ยังไม่ปรากฎทรัพย์สินในพื้นที่ชุมนุมเกิดความเสียหาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จัดหางานเผย เพียง 1 เดือน เกาหลีระงับคนไทยเดินทางไปทำงานมากที่สุดกว่า 50 ราย Posted: 17 Mar 2017 06:49 AM PDT กรมการจัดหางาน เผยสถิติเดือนกุมภา คนหางานเดินทางไปทำงานต่ 17 มี.ค. 2560 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานแจ้งว่า วรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยถึงสถิติเดือน ก.พ.ที่ผ่ วรานนท์ กล่าวต่ออีกว่า เพื่อป้องกันการถู ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
GAY OK BKK ซีซั่น2: ซีรีส์ชีวิตจริงเกย์เมืองหลวง เปลี่ยนมุมมอง-ปรับความคิดสังคม Posted: 17 Mar 2017 06:11 AM PDT GAY OK BANGKOK เป็นซีรีส์ที่นำเสนอมุมมองการใช้ชีวิตของเกย์ในกรุงเทพฯมีทั้งหมด 5 Episodeโดยทำงานร่วมกับ TestBKK และ APCOM โดย TestBKKเป็นโครงการของ APCOM เพื่อส่งเสริมให้ชายรักชายรับการตรวจเชื้อ HIV ส่วน APCOM เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องเอดส์และคนข้ามเพศรวมไปถึงสิทธิ สุขภาพ และความเป็นอยู่ทั่วภูมิภาคทั้งเอเชียและแปซิฟิก ซีรีส์เรื่องนี้แตกต่างจากซีรีส์อื่นตรงที่มีการสอดแทรกการรณรงค์ให้มีการป้องกันตัวเองจากโรคทางเพศสัมพันธ์ สนับสนุนให้ไปตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV และแนะนำยาเพร็พซึ่งเป็นยาต้านไวรัส HIV โดยซีซั่นแรกออกอากาศทางช่องยูทูปช่องของ TestBKK GAY OK BANGKOK ได้รับกระแสตอบรับอย่างท่วมท้นจากแฟนซีรีส์มียอดผู้ชมในยูทูปสูงถึงสี่แสนกว่าวิวในแต่ละ EP และจากการเช็คยอดผู้ชมซีรีส์ในยูทูปไม่ใช่ว่ามีแค่เพียงคนไทยเท่านั้นที่ดูยังมีผู้ชมจากต่างประเทศที่ดูซึ่งไม่น่าเชื่อประเทศที่ไม่มีการยอมรับเกย์อย่างประเทศอินโดนีเซียติดอันดับเป็นอันดับ 2 เนื่องจากหนังเรื่องนี้มีซับไตเติลเป็นภาษาอังกฤษด้วย โจโจ้ ทิชากร ภูเขาทอง ผู้กำกับเล่าว่า ซีรีส์เรื่องนี้เป็นเหมือนช่องทางหนึ่งที่ให้พวกเขาได้รับรู้ว่าพวกเขามีตัวตนอยู่บนโลกเพราะว่าประเทศของพวกเขาไม่ให้มีการแสดงออกแบบนี้ผ่านสื่อเนื่องจากเรื่องของศาสนา ไม่เพียงแค่เท่านี้องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องเกย์ของประเทศฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ก็ได้ทำการรณรงค์เรื่องโรคติดต่อทางเพศขึ้นมาเหมือนกันหลังจากที่ซีรีส์ในซีซั่นแรกเผยแพร่ออกไปจึงทำให้เกิด GAY OK BANGKOK Season 2 ขึ้นมาจะมีเนื้อหาเข้มข้นและดราม่ากว่าเดิม เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา Trasher Bangkok ร่วมกับTestBKK และ APPCOM จัดงานเปิดซีรีส์เรื่อง GAY OK BANGKOK Season 2ให้สื่อมวลชนและผู้เข้าร่วมงานชม 2 EP ที่ Thong LorArt Space ตั้งแต่เวลา 20.00 น.ซึ่งภายในงานมีนักแสดงทั้งเก่าและใหม่มาร่วมงาน 9 คน อีกทั้งทีมงานที่กำกับดูแลซีรีส์เรื่องนี้ มิดไนท์ พูนเกษตรวัฒนา ผู้อำนวยการ APPCOM ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่าซีรีส์ GAY OK BANGKOK เมื่อซีซั่นที่แล้วโด่งดังไปถึงต่างประเทศทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่ว่าประเทศเราจะทำอะไร เขาก็ดูเราเป็นแบบอย่างอยู่ดังนั้นGAY OK BANGKOK Season 2นี้จะเข้มข้นหลากสีสันขึ้นด้วยนักแสดงมากมายที่เพิ่มขึ้นมาก็จะมีด้วยกันถึง 7 EPให้ติดตามชม และเราพยายามจะโยงเรื่องราวชีวิตของเกย์กับนวัตกรรมสมัยใหม่ให้เกย์รู้จักดูแลและป้องกันตัวเองเพราะมีเกย์ในกรุงเทพฯบางส่วนมีเชื้อ HIV แต่ไม่รู้ตัว โจโจ้ เสริมว่า เนื้อหาในหนังพูดถึงชีวิตธรรมดาทั่วไปของเกย์เมืองหลวงที่เหมือนผู้คนทั่วไป มีรัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งแตกต่างจากซีรีส์ทั่วไปในเมืองไทยที่มองภาพเกย์เป็นตัวตลก เศร้า รันทด จึงทำให้เกิดโปรเจกต์นี้ขึ้นมา แต่ในตอนนั้นไม่มีเงินจึงหาผู้สนับสนุนอย่าง TestBKK และ APCOM ประกอบกับมีความคิดที่ตรงกันจึงอยากหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรณรงค์ให้คนหันมาตรวจเลือดและดูแลสุขภาพกันมากขึ้นอีกทั้งยังกล่าวขอบคุณทีมงานทุกคนที่ช่วยกันทำมาจนเกิดเป็นซีซั่นสองและที่ขาดไม่ได้คือผู้ชมที่ให้การสนับสนุนตลอดมา โจโจ้ กล่าวอีกว่าหลังจากที่ซีซั่น 1 ได้เผยแพร่ออกไปก็มีคนส่งข้อความมา โทรมาคุยว่ากล้าที่จะไปตรวจเลือดเพิ่มขึ้น ทุกอย่างมันก็ไม่ได้น่ากลัว และทาง TestBKK ก็ได้ส่งข้อมูลมาหาเราว่ามีคนมาตรวจเลือดเยอะขึ้นกว่าเดิมมาก อีกทั้งมีคนรู้จักยาเพร็พเพิ่มขึ้น และที่สำคัญมีคนที่ติดเชื้อ HIV โทรมาขอบคุณที่เรื่องราวในซีรีส์ทำให้คนทั่วไปมองคนที่ติดเชื้อ HIV ว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป ผู้กำกับกล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม อย่างที่เรารู้กัน "ทุกคนจะผูกเรื่องเกย์กับเรื่องกามไว้ด้วยกัน" หาว่ามั่วเซ็ก นั่นทำให้ต้องตั้งคำถามกลับไปว่า ทำไมจึงมองว่าเรื่องเซ็กเป็นเรื่องที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหญิงก็มีเรื่องเซ็กไม่อยากให้เหมารวม และอยากให้เปลี่ยนมุมมองต่อเกย์ว่าเป็นเหมือนชายหญิงปกติผ่านซีรีส์เรื่องนี้ที่สำคัญคือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ว่า เกย์ต้องมีความตลก อันเป็นผลผลิตจากสื่อบันเทิงที่มักสร้างภาพดังกล่าวซ้ำๆ "ความตลกที่สร้างขึ้นกลายเป็นว่าเราเป็นเหยื่อให้เขามาหัวเราะเรา เช่น Slapstick หรือตลกแบบเจ็บตัว อยากให้เปลี่ยนมุมมองการนำเสนอภาพของเกย์ถึงจะตลกก็อยากให้ตลกเพราะบุคลิกลักษณะของตัวเอง อย่างเทยเที่ยวไทย เขามีความตลกในตัวของพวกเอง" โจโจ้ กล่าว นอกจากนี้หลายคนมองว่าประเทศไทยเป็นสวรรค์ของเกย์ โจโจ้ กลับมองว่ามันเป็นแค่ "เปลือก" เกย์สามารถแสดงออกกันในที่สาธารณะได้ด้วยการจับมือหรืออื่นๆแล้วก็จริงแต่ใช่ว่าจะเป็นสวรรค์จริงๆ เพราะว่าประเทศไทยยังมีอะไรหลายอย่างที่ไม่ยอมรับสิทธิของเกย์ เช่น การรับรองเพศทางกฎหมาย โจโจ้ กล่าวทิ้งท้ายว่าหากเป็นไปได้ก็อยากจะรวมกลุ่มเกย์ในอาเซียนเพื่อร่วมกันทำซีรีส์ อาจจะมี GAY OK SOUTHEAST ASIAในอนาคตก็เป็นได้ ติดตามชมซีรีส์ GAY OK BANGKOK Season 2 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.00 น. ทาง LINETV เริ่มออกอากาศวันแรก วันอาทิตย์ที่ 19 มี.ค. นี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไต้หวันเสนอแผนยกเครื่องกองทัพ-จัดซื้อเครื่องบินรบสเตลท์เพื่อป้องกันภัยจากจีน Posted: 17 Mar 2017 04:33 AM PDT รัฐมนตรีกลาโหมไต้หวันเสนอแผนป้องกันประเทศต่อสภานิติบัญญัติ เสนอรับมือภัยคุกคามทางอากาศและทางทะเลโดยวางแผนยกเครื่อง "ฝูงบินขับไล่" เสนอจัดซื้อเครื่องบินล่องหนจากสหรัฐอเมริกา โดยแผนยกเครื่องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจีนแผ่นดินใหญ่มีแนวโน้มคุกคามมากขึ้นแถมเพิ่มงบกลาโหมจนใช้จ่ายเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา แฟ้มภาพเครื่องบินรบรุ่น Lockheed F-117 Nighthawk ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีแบบล่องหน (ที่มา: defenselink.mil/Wikipedia) แฟ้มภาพเครื่องบิน F-16 ทั้งนี้ รมว.กลาโหมไต้หวันเสนอแผนป้องกันประเทศ 4 ปี ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยมีแผนเสริมสมรรถนะฝูงบิน F-16 ด้วย (ที่มา: wikipedia/ Public Domain) 17 มี.ค. 2560 รัฐบาลสาธารณรัฐจีน หรือไต้หวัน มีแผนเสริมสมรรถนะฝูงบิน F - 16 และจัดซื้อเครื่องบินรบล่องหน หรือ สเตลท์ (Stealth) โดยสถานีวิทยุ RTI ของไต้หวันรายงานว่า ฟงซื่อควน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไต้หวัน รายงานต่อสภานิติบัญญัติเมื่อวันที่ 16 ว่า จะดำเนินกลยุทธ์ "ป้องกันตนเองอย่างเข้มแข็ง เสริมกำลังระดับสูงเพื่อหยุดยั้งฝ่ายตรงข้าม" อย่างไรก็ตาม สมาชิกสภามีความกังขาต่อวิธีการเสริมกำลังให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไต้หวันได้ให้ความสำคัญกับวิธีการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศและทะเลในยุค "สงครามอสมมาตร" หรือสงครามที่กองกำลังฝั่งหนึ่งแข็งแกร่งกว่าอีกฝั่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่องบประมาณ โดย รมว.กลาโหมไต้หวันคาดหวังว่า งบประมาณของกองทัพซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนเป็น 2.05% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี จะขยับขึ้นเป็น 3% ในปีหน้า เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณกลาโหมของจีนและไต้หวัน พบว่า จีน ที่เพิ่งประกาศเพิ่มงบประมาณกองทัพเมื่อสัปดาห์นี้ มีงบประมาณอยู่ที่ 1.51 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 7% ของจีดีพี สูงเป็นอันดับสองของโลกรองมาจากสหรัฐฯ ขณะที่ไต้หวันมีขนาดงบประมาณกองทัพอยู่ที่ 1.14 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.05% ของจีดีพี รมว.กระทรวงกลาโหมยกใจความในรายงานข้อปัญหาและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ที่เผยแพร่ทุก 4 ปีมากล่าวว่า ปัจจุบัน ไต้หวันกำลังประสบกับภัยคุกคามทางอากาศ ทะเล และหัวรบจำนวนหลักพันลูกที่หันหัวมาที่เกาะ รายงานระบุว่า เป้าหมายของจีนในประเด็นความขัดแย้งระหว่างไต้หวันคือการปิดล้อมไต้หวันเอาไว้ และใช้ "เครื่องมือทางทหารที่หลากหลาย" ในการโจมตีและยึดครองหมู่เกาะรอบๆ ทั้งนี้ รายงานยังเตือนถึงภัยการคุกคามทางไซเบอร์ที่มีกล่าวว่า จีนมีเครื่องมือในการโจมตีเครือข่าย (ไซเบอร์) ของทหารและพลเรือนได้ ในรายงานได้ระบุอีกว่า ไต้หวันควรหาเครื่องบินรบที่สามารถขึ้นสู่ท้องฟ้าในแนวดิ่ง เพิ่มจำนวนขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ และเสริมขีดความสามารถของกองทัพเรือด้วยเรือดำน้ำที่ผลิตในประเทศและเรือรบจู่โจมฉับพลัน ทั้งนี้ รัฐบาลไต้หวัน นำโดยประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ได้รื้อฟื้นแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอาวุธเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคการสั่งซื้ออาวุธจากต่างชาติอันมีที่มาจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจและการทูตของจีนในเวทีโลก เหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทวีความตึงเครียดให้กับสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก หลังจากที่สหรัฐฯ ได้มีการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD และกำลังดำเนินการส่งโดรนจู่โจม เกรย์ อีเกิลส์ ไปประจำการในเกาหลีใต้เพื่อรับมือภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ ซึ่งจีน ในฐานะประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับเกาหลีเหนืออาจตีความเป็นการยั่วยุจีนได้ ล่าสุด เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รมต. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เดินสายเยือนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เพื่อพูดคุยประเด็นการต่างประเทศ เศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค โดยทิลเลอร์สันได้เสร็จสิ้นการเยือนเกาหลีใต้แล้ว และจะเดินทางไปเยือนจีนในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ ข้อพิพาทระหว่างจีนและไต้หวันเรื้อรังมาตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2492 เมื่อกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเอาชนะกองกำลังของพรรคก๊กมินตั๋งบนจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งต้องลี้ภัยไปตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่ไต้หวัน ที่ผ่านมา รัฐบาลปักกิ่งมีนโยบายควบรวมไต้หวันให้เป็นส่วนหนึ่งของจีนเสมอมา ในขณะที่รัฐบาลไต้หวันเองถือว่าตนมีอำนาจอธิปไตยบนพื้นที่ดังกล่าว
แปลและเรียบเรียงจาก Taiwan to ask US for stealth fighters to combat China threat, The Guardian, 17 March 2017 Tillerson begins trip to S. Korea amid growing N.K. threats, Yonhap, 17 March 2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุเทพหนุนประยุทธ์อยู่ต่อหากปฏิรูปไม่เสร็จ ยิ่งลักษณ์หนุนตั้ง กก.กลางสร้างปรองดอง Posted: 17 Mar 2017 02:43 AM PDT สุเทพหนุน พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ต่อ หากปฏิรูปประเทศไม่เสร็จ ยันเป็นกองเชียร์อย่างเปิดเผย ไม่ลับๆ ล่อๆ แนะควรปฏิรูป 5 ด้าน ขณะที่ 'ยิ่งลักษณ์' หนุนข้อเสนอ 'เพื่อไทย' ตั้งกก.กลางสร้างปรองดอง ที่มา เฟซบุ๊กแฟนเพจ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) 17 มี.ค.2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส.พร้อมด้วยกลุ่มแกนนำฯเดินทางเข้าพบ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง พร้อมกับเข้าร่วมหารือแสดงความคิดเห็นในส่วนของ กปปส.ในการปฏิรูป ที่กระทรวงกลาโหม หลังจากนั้น สุเทพ กล่าวว่า มวลมหาประชาชนคาดหวังให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการปฏิรูปประเทศให้เสร็จก่อนจะมีการเลือกตั้ง เพื่อประเทศจะได้เดินหน้าต่อไปได้ แต่หากการปฏิรูปประเทศไม่แล้วเสร็จตามโรดแมปที่วางไว้ก็ให้อยู่ต่อได้ตนไม่ขัดข้อง แต่จะต้องทำงานต่อไปให้ดีที่สุด ไม่ใช่อยู่เฉย ๆ ยอมรับว่าเชียร์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพราะแก้ปัญหาได้ตรงใจประชาชน โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศ เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ "พวกผมเชียร์ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่แล้ว เราเชียร์แบบเปิดเผย ไม่ได้ลับๆ ล่อๆ เราเชียร์เลย และรู้ว่าสิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ ปฏิรูปประเทศตรงใจพวกเรา ไม่ต้องมา กล่าวหากัน เรารับเลย ชัดเจน ..ผมชื่นชม รัฐบาล และคสช.ที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามาแสดงความคิดเห็น คนทำงานจะได้เข้าใจปัญหาลึกซึ้งถึงแก่นจริงๆ แต่ขอให้ดำเนินการที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศไทย ตามขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อถื่อของสังคมไทย" สุเทพ กล่าว สุเทพ กล่าวว่า ได้เสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ ว่าควรปฏิรูป 5 ด้าน แต่ที่สำคัญที่สุดคือการปฏิรูปการเมือง ที่จะต้องให้เป็นการเมืองของประชาชน ไม่ใช่ของนักการเมือง ผู้บริหารของพรรคก็ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกในพรรค การบริหารพรรคต้องเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ต้องทำหน้าที่อย่างโปร่งใส ยุติธรรม เมื่อมีผู้ทุจริตต้องรับโทษตามที่กำหนด และหากเป็นเจ้าหน้าที่กกต. เสียเองจะต้องรับโทษ 2 เท่า สุเทพ กล่าวถึงคำสั่ง ประกาศ และการใช้ ม.44 ของ คสช. ว่า ไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างความปรองดอง เพราะเป็นรัฐฐาธิปัตย์ ที่รัฐบาลและคสช.มีอำนาจใช้กฎหมายพิเศษได้ เจตนารมณ์ของมวลมหาประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศไทย การลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องของมวลมหาประชาชนหลายล้านคนทั้งในประเทศ และคนไทยในต่างประเทศ เป็นระยะเวลายาวนานถึง 204 วัน เมื่อปี พ.ศ. 2556-2557 มีเจตนารมณ์ร่วมกันอย่างแรงกล้าที่จะให้มีการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง เนื่องจากสังคมไทยในยุคที่ผ่านมาตกอยู่ภายใต้สภาวะทางการเมืองที่ฉ้อฉล และทุจริตคอรัปชั่นมาเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งประเทศถูกกัดกร่อนเสียหายอย่างรุนแรง การนำนโยบายประชานิยมที่ไร้ความรับผิดชอบมา มอมเมาประชาชน ระบบราชการถูกแทรกแซง กระบวนการยุติธรรมถูกกดดัน ประชาชนที่รักความเป็นธรรมถูกข่มขู่ ระบบนิติรัฐ นิติธรรม ถูกละเมิดบิดเบือน ประชาชนถูกแบ่งแยกเป็น พวกเขา พวกเรา ด้วยการใช้ข้อมูลเท็จ แม้กระทั่งสถาบันเบื้องสูงก็ถูก ดึงเข้ามาอยู่ในสถานการณ์อย่างไม่บังควร และที่เลวร้ายที่สุดคือการทุจริตคอรัปชั่น ที่มีการสมคบกันระหว่างนักการเมืองเลวและข้าราชการชั่ว มวลมหาประชาชนเห็นว่า มิอาจปล่อยให้ระบอบการเมืองที่ชั่วร้ายทำลายประเทศ ได้อีกต่อไป จึงได้ลุกขึ้นต่อสู้ เรียกร้อง ด้วยการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ อย่างสงบ สันติ อหิงสา ให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ครั้นเมื่อ คสช. โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าควบคุมบริหารประเทศ และประกาศเจตนารมณ์ที่จะปฏิรูปประเทศ จึงได้รับการสนับสนุนจากมวลมหาประชาชนอย่างท้วมท้น เพราะมวลมหาประชาชนเห็นว่า นี่เป็นแนวทางเดียวตรงตามข้อเรียกร้องของมวลมหาประชาชนที่เรียกร้องมาโดยตลอด มวลมหาประชาชน จึงขอสนับสนุนแนวทางการปรองดอง ที่ยึดการบังคับใช้กฎหมาย โดยนิติธรรม และขอสนับสนุนการปฏิรูปประเทศตามแนวทางที่ได้เสนอมานี้ ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปกฎหมาย และองค์กร ที่มีหน้าที่ในการแก้ไขป้องกัน ปราบปราม การทุจริต ปฏิรูประบบราชการและการกระจายอำนาจ ด้านโครงสร้างการบริหารราชการ ปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรม ยิ่งลักษณ์หนุนข้อเสนอ 'เพื่อไทย' ตั้งกก.กลางสร้างปรองดองวันเดียวกันที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดไต่สวนพยานจำเลยครั้งที่ 12 คดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้อง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ฐานปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำข้าว เป็นการไต่สวนพยาน 3 ปาก ช่วงเช้า 2 ปาก คือ บุคคลจัดหาผู้ตรวจสอบบัญชี ตำรวจที่จับกุมคดีเกี่ยวกับจำนำข้าว และช่วงบ่าย คือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่มา เฟซบุ๊กแฟนเพจ Yingluck Shinawatra ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์กรณีเรียกเก็บภาษีจากหุ้นชินคอร์ปฯ กรณีนี้ศาลฎีกามีคำพิพากษายึดทรัพย์ไปแล้ว 45,000 ล้านบาท ยังไม่รู้ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น การจะเรียกเก็บภาษีต่าง ๆ ทั้งที่ศาลฎีกาตัดสินไปแล้ว หวังว่าคงไม่ใช่การใช้อำนาจที่ตัวเองมีอยู่ หรือกฎหมายที่ตัวเองมีอยู่ ไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง หรือเพื่อหาวิธีการทางกฎหมายไล่ล่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง "เห็นใจกันเถอะค่ะ ทุกอย่างดูจากมุมข้างนอก เราก็ยังไม่รู้ว่าในแง่ของรัฐบาล ในเรื่องข้อกฎหมายใด วิธีการใด รายละเอียดต่าง ๆ เราก็ยังไม่ทราบ ที่สำคัญมันเป็นเหมือนไล่ล่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็หวังว่ากฎหมายจะคำนึงถึงความยุติธรรม คำนึงถึงการที่จะบังคับใช้กับทุกคน อย่างเท่าเทียมกัน อย่าให้กฎหมายเป็นเครื่องมือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อไล่ล่า และเพื่อทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากขึ้น ดิฉันตั้งข้อสงสัยนี้ไว้ หวังว่าผู้ที่รักษากฎกติกาจะกระทำกับทุกคนอย่างเท่าเทียม" ยิ่งลักษณ์ กล่าว ส่วนรัฐบาลควรชี้แจงหรือไม่ว่าใช้กฎหมายข้อใดเพื่อความเป็นธรรมนั้น ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เชื่อว่าไม่ใช่แค่เพียงครอบครัวดิฉันหรือผู้ที่มีผลกระทบเท่านั้น เชื่อว่าประชาชนทุกคนคงอยากจะฟังคำชี้แจงจากรัฐบาล เราคงไม่อยากได้ยินคำว่าอภินิหารทางกฎหมายเกิดขึ้น เราอยากเห็นการใช้กฎหมายด้วยความสุจริตและเป็นธรรม เมื่อถามย้ำว่าการดำเนินคดีหุ้นชินฯ จะกระทบการสร้างความปรองดองที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้หรือไม่นั้น ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ถ้าเป็นการไล่ล่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้วไม่ได้เกิดความเสมอภาค ก็ยังไม่เห็นว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เราจะก้าวข้ามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร เราเป็นผู้ที่ถูกกระทำอยู่ปลายทาง ผู้ที่ถือกติกาก็คงต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอตั้งกรรมการกลางเพื่อสร้างความปรองดอง ว่า เป็นเรื่องดี เพราะรัฐบาลต้องเปิดใจและในแง่การสร้างความบริสุทธ์ใจ อยากให้ผู้ที่มีความเป็นกลางมาร่วมดำเนินการด้วย เพื่อจะได้ไม่มองว่ารัฐบาลเป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง ถ้ามีกรรมการอิสระและเป็นกลาง ทุกคนจะเชื่อมั่นว่าคนที่เป็นกลางจะให้ความยุติธรรมถือเป็นสิ่งที่ดี และอยากสนับสนุนแนวคิดนี้ ส่วนกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินนักการเมืองในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้น ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า การตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมืองมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตรวจสอบอยู่แล้ว ซึ่งยังไม่ทราบว่าสิ่งที่สตง.จะส่งมาคืออะไร ขอให้ได้รายละเอียดก่อน ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติแสดงความห่วงใยเรื่องการใช้มาตรา 44 ว่า เป็นความห่วงใยที่ส่งผ่านมานานแล้ว คงไม่ต้องพูดซ้ำ เชื่อว่ารัฐบาลทราบ แต่ทำอย่างไรที่รัฐบาลจะรีบคืนอำนาจให้กับประชาชน อย่าใช้อำนาจที่มีอยู่ เพื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะหากเกิดตรงนี้ได้ก็จะเกิดความเข้าใจและความสามัคคี
ที่มา : สำนักข่าวไทย, มติชนออนไลน์, เฟซบุ๊กแฟนเพจ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) และ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Yingluck Shinawatra ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์: เมื่อศาล “จำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและมุ่งขยายอำนาจรัฐ” Posted: 17 Mar 2017 02:05 AM PDT เมื่อศาลจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและมุ่งขยายอำนาจรัฐ หัวหน้าศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุศาลรับรองอำนาจจากรัฐประหาร ให้คำสั่ง คสช. ชอบด้วยกฎหมาย กระทบสิทธิเสรีภาพประชาชน เชื่อเหตุเพราะศาลไม่ยึดโยงกับประชาชน การเรียนการสอนนิติศาสตร์มีปัญหา จมอยู่กับตัวบทกฎหมาย 'ศาล' แขวงรัฐบาลกลางฮาวาย มีคำพิพากษาฉุกเฉินระงับคำสั่งของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ห้ามประชาชนในประเทศมุสลิมเข้าประเทศอีกครั้งหนึ่ง อาจเป็นตัวเปรียบเทียบที่ไม่ได้ทาบทับกันสนิท แต่อย่างน้อยคงเห็นว่า อำนาจตุลาการของสหรัฐฯ พยายามปกป้องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กลับมาที่บ้านเรา อำนาจตุลาการกลับทำในสิ่งตรงกันข้าม คือจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและมุ่งขยายอำนาจรัฐ เป็นประโยคที่เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวกับประชาไท เป็นที่รับรู้กันดีว่า ทุกครั้งที่เกิดรัฐประหาร ศาลซึ่งเป็นหนึ่งในสามอำนาจหลักจะให้ความชอบธรรมแก่คณะรัฐประหาร โดยใช้เหตุผลว่าเมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จย่อมมีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ และคำสั่งหรือการกระทำใดๆ ของคณะรัฐประหารผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์ย่อมเป็นกฎหมาย เมื่อฐานคิดของอำนาจตุลาการเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ตามมาจึงมักยืนอยู่คนละฟากกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เยาวลักษ์ อธิบายผ่านตัวอย่างคดี 8 แอดมินเพจเรารัก พล.อ.ประยุทธ์ ที่ถูกควบคุมตัวไปโดยอ้างว่านำไปตรวจสอบเพราะอาจจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งที่ความผิดนี้ไม่ได้อยู่ในฐานความผิดตามคำสั่งที่ 3/2558 และคำสั่งที่ 13/2559 ที่จะสามารถควบคุมตัวได้ 7 วันในค่ายทหาร "เราก็ยื่นคำร้องว่าเป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบ ปรากฏว่าพอเรายื่นคำร้องปุ๊บ วันรุ่งขึ้นทางพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็เอา 8 แอดมินมาแถลงที่กองปราบ แล้วเราก็แถลงเลยว่าช่วงที่มีการควบคุมตัวไม่เข้าคำสั่งทั้งสอง เราได้ยื่นคำร้องคุมตัวไม่ชอบต่อศาล แต่ศาลไม่ตรวจสอบคำสั่งว่าชอบหรือไม่ชอบ ศาลบอกว่าถ้ามีคำสั่งที่ 3/2558 กับ 13/2559 ถือว่าควบคุมตัวชอบ โดยไม่ได้ดูคำสั่งว่าเนื้อหากฎหมายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นี่คือชั้นต้นเลย "แล้วทางตำรวจก็เอา 8 แอดมินมาแถลงว่า มีการกระทำความผิดตามมาตรา 116 เป็นคดีความผิดฐานความมั่นคง ซึ่งเข้าองค์ประกอบของคำสั่งที่ 3/58 พอศาลทำการไต่สวน ศาลก็ดูจากเนื้อข่าว แล้วศาลก็บอกว่าเมื่อเป็นคดีความผิดตามมาตรา 116 ก็ถือเป็นความผิดเข้า 3/58 ก็ยกคำร้องของเราเลย" เยาวลักษ์ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อศาลไม่ตรวจสอบเนื้อหาของคำสั่งเช่นนี้จึงทำให้เกิดช่องว่าง โดยการที่เจ้าหน้าที่รัฐพยายามใช้คดีความมั่นคงเป็นข้ออ้างจับประชาชนที่แสดงความคิดเห็นเข้ามาควบคุมตัวตามคำสั่งทั้งสอง อีกตัวอย่างหนึ่งที่เยาวลักษ์ยกขึ้นมาเพื่อแสดงถึงประเด็นนี้ คือคดีของไผ่ ดาวดิน หรือจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ถูกจับตามมาตรา 112 จากการแชร์ข่าวของบีบีซีไทย โดยศาลไม่ยอมให้ประกันตัว เยาวลักษ์ อนุพันธ์ "ศาลบอกว่า พิเคราะห์แล้วคดีมีอัตราโทษสูง และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร มันกลายเป็นการปิดตาย ไม่ให้สิทธิในการประกันตัว ซึ่งขัดแย้งกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลยังบอกว่า จำเลยเคยถูกดำเนินคดีอาญาหมายเลขดำที่ 61 ของมณฑลทหารบกที่ 23 ในความผิดฐานร่วมชุมนุมและมั่วสุมทางการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) จำเลยได้เคยรับการปล่อยตัว แต่จำเลยยังคงมีพฤติการณ์แสดงความเห็นในสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวและต่อต้านกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งตรงนี้ไม่มีฐานกฎหมายรองรับเลย เพราะหลักของการประกันตัวต้องไม่ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน แล้วไผ่ก็ไปรายงานตัวทุกนัด ไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี ซึ่งกฎหมายบ้านเมืองที่ศาลว่าคือคำสั่ง คสช. "คือการแสดงออกของจำเลยที่อยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมันเป็นหลักการพื้นฐาน แต่ศาลมาใช้ศัพท์ว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อให้เห็นว่ามีแนวโน้มจะกระทำความผิดซ้ำ คือศาลมองว่าการแสดงออกของไผ่เป็นการกระทำความผิด มันก็เลยทำให้เห็นว่าวิธีคิดของศาลที่ไม่ยอมรับเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน" ย้อนกลับไปดูรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 4 ที่ระบุว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ ทำให้เยาวลักษ์สรุปว่าเป็นมาตราที่ไม่เป็นจริง แต่เขียนไว้เพื่อหลอกชาวโลก อีกคดีหนึ่งที่ยิ่งแสดงชัดเจนถึงฐานคิดของศาลไทยต่ออำนาจรัฏฐาธิปัตย์คือคดีของพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ที่ออกเดินจากบ้านไปศาลทหาร และถูกแจ้งข้อหาตามมาตรา 116 ให้เป็นคดีความมั่นคง ทางเยาวลักษ์และศูนย์ทนายได้ทำการโต้แย้งกับศาลทหารว่าเป็นพลเรือนต้องไม่ถูกพิจารณาคดีในศาลทหารตามกติการะหว่างประเทศ ซึ่งศาลทหารได้ส่งให้ศาลยุติธรรมให้ความเห็น โดยศาลอาญาได้ให้ความเห็นที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 ว่า 'ศาลอาญาพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า การที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติย่อมมีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งอันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับประชาชนได้'
ทำให้คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 37/2557 เรื่องความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหารตามคำสั่งนี้ "เรารู้สึกว่าประกาศฉบับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เราก็ยื่นให้ศาลทหารส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความวินิจฉัย" เยาวลักษ์ เล่าต่อว่า "ศาลทหารบอกว่าศาลทหารเป็นอิสระและเป็นกลางแล้ว แม้จะสังกัดกระทรวงกลาโหม แต่ระบบยุติธรรมก็เป็นอิสระและเป็นกลาง ศาลทหารก็ไม่ยอมส่งคำร้องของเราไปยังศาลรัฐธรรมนูญ โดยบอกว่าไม่มีบทบัญญัติที่ให้ศาลทหารมีอำนาจส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เขาพูดในทำนองว่าตามรัฐธรรมนูญให้อำนาจเฉพาะศาลปกครองและศาลยุติธรรม แต่ไม่ได้อำนาจศาลทหาร ดังนั้น จึงไม่อาจส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยได้" ซักไซ้เยาวลักษ์ต่อไปว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้สถาบันศาลและตุลาการมีฐานความคิดโอนเอียงไปทางอำนาจนิยม เธอให้ทัศนะว่า "ในสามอำนาจคืออำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ มีอำนาจตุลาการอำนาจเดียวที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ฉะนั้น จึงเห็นว่าตุลาการไม่ได้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งที่เจตนารมณ์ของสามอำนาจเขียนไว้ชัด และยังเป็นเรื่องของวิธีคิด การเรียนการสอนของหลักสูตรนิติศาสตร์ของไทยด้วย คือสอนแต่ตัวบทกฎหมาย เขาชอบแซวว่าพวกนักกฎหมายเป็นพวกที่กักขังตัวเองอยู่กับตัวบท อ่านแต่ตัวบท แต่ไม่ได้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่ามีที่มาอย่างไร ตอนหลังเราจึงเห็นคดีที่วินิจฉัยตามตัวบท โดยไม่มีมิติสังคม การเมือง ไม่มีอะไรเลย วินิจฉัยแบบมุ่งดูแค่พยานหลักฐาน กลายเป็นนักกฎหมายเทคนิค "ในต่างประเทศ ถ้าจะเรียนนิติศาสตร์ คุณต้องจบปริญญาตรีก่อนใบหนึ่ง แล้วเรียนนิติศาสตร์เป็นใบที่สอง ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ประสบการณ์การทำงานด้านกฎหมายควรมีมากกว่า 10 ปีถึงจะไปเป็นผู้พิพากษาได้ แต่ของเราคือ จบนิติศาสตร์ สอบเนติบัณฑิต แล้วก็เข้าเส้นทาง อายุ 25 ก็เป็นผู้พิพากษา การให้คุณค่าของตำแหน่งตุลาการก็ถูกให้ค่าไว้สูงมาก กลายเป็นตำแหน่งที่พิเศษมากกว่าอาชีพนักกฎหมายอื่น" เป็นสองเหตุผลหลักที่เยาวลักษ์แสดงความเห็นกับประชาไท "ปกติอำนาจตุลาการต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่ระบบยุติธรรมเราตอนนี้รับรองอำนาจรัฐเผด็จการ ยอมรับอำนาจของ คสช. แล้วตรวจสอบการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน มันกลับตาลปัตรกัน" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประยุทธ์ ลั่น 'ผมเป็นนักประชาธิปไตยคนหนึ่ง' แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ถูกต้อง Posted: 17 Mar 2017 01:23 AM PDT พล.อ.ประยุทธ์ ปาฐกถา ขับเคลื่อน Thailand 4.0 ย้ำเป้าหมายหลักของรัฐบาลคือนำประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ระบุวันนี้ยังขึ้น VAT ไม่ได้ ชี้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยน ยุทธศาสตร์ 6 ด้านที่ร่างไว้แล้วต้องสร้างการรับรู้ให้ได้ โอด วันนี้เพื่อนเหลือน้อยที่สุด เหลือ รมต.ไม่กี่คน นอกนั้นทิ้งหมดแล้ว บอกเป็นทหารก็ตายตั้งแต่วันแรกที่สมัครแล้ว ภาพ พล.อ.ประยุทธ์ นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ ประจำทำเนียบรัฐบาลออกกำลังเพื่อสุขภาพที่ดี 15 มี.ค.2560 (ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล) 17 มี.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "การขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้านเกษตรอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ" ตอนหนึ่งว่า ทุกวันนี้ไม่ว่าจะจบคณะอะไรมาทุกอย่างต้องทำงานร่วมกัน เพราะอยู่ห่วงโซ่เดียวกัน ไม่ใช่โซ่ ที่กระทรวงยุติธรรมกำลังจะออกมาเพื่อติดตามคนที่กระทำผิด สำหรับประเทศไทยเองนั้นพื้นฐานอาชีพคือเกษตรกรรม ที่ต้องดูแลมากเป็นพิเศษ ปัจจุบันปัญหาของโลกที่เรายังต้องติตตาม เรื่องสภาพอากาศ โรคระบาดที่เกิดขึ้นใหม่ ที่เกษตรกรต้องรับมือ พร้อมให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้หนอนหัวดำมีที่ยืนในประเทศไทย ผมเป็นนักประชาธิปไตยคนหนึ่ง แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ถูกต้อง"ผมไม่เคยไปต่อต้านพวกท่าน ผมเป็นนักประชาธิปไตยคนหนึ่ง แต่ผมต้องอยู่ในกรอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ทำอย่างไรประชาธิปไตยจะไม่ถูกบิดเบือน จะต้องไม่ขัดแย้ง ประชาชนจะต้องยืนอยู่ตรงไหน ถือเป็นสิ่งสำคัญของประเทศไทย หลายประเทศทำได้ทั้งหมด มีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวที่ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง เพราะติดขัดในข้อกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย คนที่บังคับใช้กฎหมายก็ทำไม่ได้ ล้วนแต่เป็นปัญหาของประเทศ ซึ่งเราต้องร่วมมือกันจัดระเบียบสังคมอีกสักหน่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปละเมิดสิทธิ เพียงแต่เราต้องดูว่าเวลาที่คนเหล่านี้ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำให้ประชาชนสังคม และประเทศเดือดร้อนแค่ไหน โดยเฉพาะคนบางกลุ่มแล้วดูว่าทำไมพวกผมถึงต้องเข้ามาทำแบบนี้ ยืนยันว่าผมไม่ได้รังแกใคร ผมทำเพื่อทุกคนในประเทศนี้ 70 กว่าล้านคน ยืนยันว่าไม่ได้ทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง เราไม่สามารถจะอยู่นิ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ ผมและรัฐมนตรีทุกคนจะต้องเรียนรู้งานทั้งหมด ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติ และผู้กำหนดนโยบาย แต่ทั้งหมดอย่าไปเครียด เราต้องอยู่กับสิ่งที่เป็นปัจจุบันให้ได้ ต้องอยู่กับความขัดแย้งให้ได้ โดยตัวเราจะต้องเป็นผู้ลดความขัดแย้งด้วยตัวเอง ถ้าทุกคนช่วยกันลดความขัดแย้งก็จะลดลง ถ้าทุกคนช่วยกันปรองดองก็จะปรองดองทั้งหมด อย่าไปร่วมขัดแย้งกับใคร ไม่ใช่ใครชวนไปก็ไปกับเขาแล้วเกิดความขัดแย้ง เนื่องจากคนไทยละเอียดอ่อนมีฟิลลิ่ง รักใครก็รักจริง เกลียดใครก็เกลียดจริง เกลียดไม่เลิก เราต้องปรับตัวด้วยเหตุผล จะรักใครต้องรักด้วยเหตุผล เหมือนผู้หญิงรักใครต้องรักด้วยสมอง อย่าใช้แค่ความรู้สึก หรือรูปร่างหน้าตา จะต้องใช้สติปัญญาในการรักคน ผมมีประสบการณ์มาก่อน ต้องใช้สมอง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว เป้าหมายหลักนำประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางพล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เราจำเป็นต้องรู้เท่าทัน และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป้าหมายหลักของรัฐบาลคือการนำประเทศ หลุดพ้นจากกับดักรายได้ประเทศปานกลาง กับดักคือหลุมพราง หลอกล่อให้คนเดินเข้าไปมีคนเข้ามาจูงเข้าไปตกหลุมตกร่องตลอดทาง เพราะถ้ารู้ว่าเป็นกับดักก็อย่างหลงเดินเข้าไป หาทางเดินที่ปลอดภัย ประเทศก็เช่นเดียวกันถ้ายังมัวติดกับดักเดิมๆ ทั้งความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ ประชาธิปไตยที่นอกกรอบมากเกินไป ประชาชนขาดหลักคิดที่ดี การศึกษาที่ไม่ต้องเนื่องไม่เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ไม่ได้ ก็จะทำให้ประเทศติดอยู่กับกับดักเดิมๆ และเกิดปัญหาคนที่จ้องหาผลประโยชน์กับความอ่อนแอต่างๆ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ตอนนี้เรามุ่งเน้นแต่ขอให้คนอื่นช่วยจนเป็นบ่อเกิดขอสิ่งเหล่านี้ เราจึงต้องช่วยกันทำความเข้าใจกับสังคม เพื่อให้หลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางด้วย และชาวบ้านมีรายได้ต่อหัว 5,000 ดอลลาร์ต่อปีต่อคน แล้วพอกินหรือไม่ ขณะที่รายได้จากการเกษตรมีน้อยกว่า และการผลิตยังขาดการเชื่อมโยง แต่บางคนยังย่ำอยู่ที่เดิม "เราต้องทำให้เขามีหลักคิดที่ถูกต้อง คิดอยู่ในหลักก่อนยังไม่ต้องคิดนอกกรอบ หากมีกรอบความคิดของตัวเองหมดก็ทำงานลำบาก ไม่มีใครชอบให้เกิดความขัดแย้ง และตนไม่เคยปิดกั้น แต่ให้สรุปเป็นกลุ่มมาให้ตน เพราะฟังความคิดทุกคนไม่ได้ ทุกวันนี้ก็ฟังอยู่ 70 ล้านคน ผ่านทางสื่อสารมวลชน ตื่นเช้ามาก็หน้างอมทุกวัน ช่วงบ่ายยิ่งงอมหนักขึ้นเพราะต้องทำงาน งานเก่าก็ไม่เสร็จงานเก่าก็ต้องทำ เพราะปัญหาเข้ามาทุกวัน โลกมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยรัฐบาลไม่เคยหยุดที่จะเปลี่ยนตัวเอง พัฒนาตัวเองให้สอดคล่องกับความเปลี่ยนแปลงของโลก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว ย้ำวันนี้ยังขึ้น VAT ไม่ได้พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ตนไม่เคยลดสิทธิประโยชน์ของประชาชน เพียงแต่บอกว่าถ้ามันมีเงินพอก็คงไว้เท่าเดิมก่อน ก็ขออย่าเอาไปพูดอีก วันก่อนตนพูดภาษี VAT เพียงพูดให้ฟังว่าจะดีขึ้นอย่างไรหากร่วมมือกัน แล้วมันทำได้หรือเปล่า ตนก็เห็นใจ เรื่องขึ้นภาษี VAT วันนี้รัฐบาลยังทำไม่ได้ แต่อันไหนทำได้ก็ทำ ถ้ามีความขัดแย้งก็ไม่ทำ ทำที่มีความขัดแย้งน้อยที่สุด อย่าออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้อย่างเดียว ต้องดูว่ากฎหมายออกมาแล้วประชาชนจะได้อะไร ตอนนี้ตนรื้อกฎหมายกว่า 3,000 ฉบับมาทบทวน เพราะต้องตามให้ทันโลก บอกเป็นทหารก็ตายตั้งแต่วันแรกที่สมัครแล้ว"วันนี้ผมเข้ามาตักตวงหรือ ผมไม่สงสารประเทศหรือ แผ่นดินนี้ที่พวกผมรักษา แล้วให้เหยียบกันอยู่ทุกวัน ตายทับถมกันไปเท่าไหร่ ใครตาย นั่นแหละคือสิ่งที่ผมคิด ผมถึงเข้ามาอยู่ตรงนี้ ผมไม่ได้ทวงบุญคุณกับใครทั้งสิ้น ทหารมันตายตั้งแต่วันแรกที่สมัครเข้ามาเป็นทหารแล้ว เพราะต้องไปรบไปอยู่ชายแดน อย่างน้อยก็รถคว่ำตาย เพราะไปไกลบ้าน พอนั่งรถกลับมาก็ตายไปเยอะ เสี่ยงมาถึงวันนี้ได้ก็บุญแล้ว และผมก็ต้องมาเสี่ยงต่ออีก มันควรจะพักผ่อนได้แล้ว" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยน ยุทธศาสตร์ 6 ด้านที่ร่างไว้แล้วต้องสร้างการรับรู้ให้ได้พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านที่ร่างไว้แล้วจะต้องนำออกมาสร้างการรับรู้ให้ได้ ในส่วนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงไม่ใช่แค่ทหารและตำรวจอย่างเดียว แต่เป็นความมั่นคงที่ประชาชนต้องมีส่วนช่วยในการเฝ้าระวัง ถ้าประชาชนมีความขัดแย้งกันเองความมั่นคงก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นทุกคนจึงฝากความหวังไว้ เมื่อมีการรบหรือมีความขัดแย้ง มีความรุนแรง มีการใช้อาวุธก็ต้องใช้ทหารตำรวจ แต่ถ้ายังสงบสุขอยู่แล้วมีคนไม่ดีเข้ามาตอนนั้นทุกคนต้องช่วยตน นายกฯ กล่าวว่า ในเรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนวยความสะดวกทางราชการจะไปไหนมาไหนหรือไปติดต่อราชการต้องมีเหตุผลว่าไม่ได้ทันทีเพราะอะไร หรือกี่วันจะเรียบร้อย แต่อย่าไปไล่ล่าเขามากนักเพราะเขากำลังเปลี่ยนตัวเองอยู่ อย่าเอาเงินไปให้เขา บางคนต้องการความสะดวกก็เสนอให้เงินเขา เขาเรียกเงินก็ให้เขาบ้าง และท้ายที่สุดก็มาบอกว่าการทุจริตยังมีอยู่ มันก็เป็นการสมยอมกัน หามาให้ตนลงโทษให้หมดถ้าตัวเองเป็นคนทำก็เสนอมาให้ลงโทษตัวเอง เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมาตนเสนอผู้ประกอบการว่าต้องช่วยกัน ถ้าโทษแต่ข้าราชการอย่างเดียวก็ไม่ได้ ทุกอย่างต้องมีการสมยอม แต่ข้าราชการต้องไม่ทำเด็ดขาด หลายคนยอมเช่นไปต่อทะเบียนหรือตรวจแบบสร้างบ้านเอกสารต่อคิวเป็นตั้ง ก็รอกันเป็นตั้งๆ แต่ถ้าจะทำให้เร็วก็จ่ายเงินให้เขา 3,000-30,000 บาทให้เขาไป แบบนี้เราถึงต้องไปเร่งให้การบริการภาครัฐทำงานรวดเร็วขึ้นและพัฒนาระบบดิจิทัล "วันนี้ยังช้าอยู่จึงเป็นบ่อเกิดในการเรียกหรือให้ผลประโยชน์ ต่อไปใครเรียกรับผลประโยชน์ให้มาแจ้งที่ศูนย์ดำรงธรรมหรือจะแจ้งมาที่นายกฯ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามไม่เช่นนั้นก็จะพูดกันไปทำให้เสียหายว่าประเทศไทยขี้โกงทั้งประเทศ แบบนั้นไม่ใช่ เราต้องแก้ปัญหากับภายในอย่าไปตะโกนให้โลกรู้ว่าประจานกันอยู่ได้ ไม่ยอมทำสิ่งที่ดีกลบสิ่งที่ไม่ได้ ผมยืนยันว่าไม่ได้ทิ้งสิ่งที่ไม่ดีให้อยู่สบายๆ เพราะต้องมีการลงโทษกันต่อไป ไอ้นี่ก็โพนทะนากันทั่วไปหมด เขาก็ฟังและดูดันทุกวัน อ่านหนังสือพิมพ์ท่านทุกวัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว วันนี้เพื่อนเหลือน้อยที่สุด เหลือ รมต.ไม่กี่คน นอกนั้นทิ้งหมดแล้วนายกฯ กล่าวว่า วันนี้ไทยต้องไปชี้แจงเรื่องสิทธิมนุษยชนไป 3 วันแล้วเราส่งผู้แทนไป 30 คน อีกพวกหนึ่งบอกว่าไปทำไม ไปตั้ง 30 คนไปแค่ 2 คนก็พอ ได้สั่งปลัดกระทรวงยุติธรรมไปชี้แจงในทุกเรื่องทั้งเรื่องการใช้มาตรา 44 พ.ร.บ. และพระราชกำหนด และชี้แจงสถานการณ์ในประเทศว่าเกิดอะไร พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ประเทศไทยระบบเครือญาติยังมีอยู่ แต่จะทำอย่างไรถึงจะไม่ทุจริต ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ไม่มีหรอกที่เราจะไม่รู้จักกับใคร ทุกคนมีเพื่อน ดีหรือไม่ดีก็เพื่อนช่วยมันสักหน่อย คนไทยคิดแบบนี้ วันนี้ตนทำแบบนั้นไม่ได้ วันนี้เพื่อนตนเหลือน้อยที่สุด เหลือที่เป็นรัฐมนตรีไม่กี่คน นอกนั้นทิ้งตนหมดแล้ว วันนี้เลือกตั้งมันเลือกได้ไหม เลือกตั้งมีคนเลือกอยู่แล้ว เลือกได้ก็เลือกไป ปัญหาคือจะเลือกแล้วได้คนเดิมหรือไม่ก็ไม่รู้ และที่ผ่านมาประชาธิปไตยเราก็ไม่ได้ล้มเหลว แต่ต้องมาช่วยกันตกแต่ง ตนเป็น คสช.ก็เหมือนช่าง ซึ่งทำคนเดียวไม่ได้อยู่แล้ว เอาความคิดเดิมๆ ไปต้านทั้งหมด ก็เจ๊งเหมือนเดิม"รัฐธรรมนูญมีอยู่แล้วไม่ใช่เอามาตีกัน รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายหลัก แต่กฎหมายลูก กฎหมายรองในเชิงบังคับว่ารัฐต้องทำอย่างนี้ ประชาชนต้องทำอย่างนั้น มันมีกฎหมายตัวนี้อยู่ ท่านบอกว่ารัฐธรรมนูญเขียนว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพแล้วยังไง แล้วคนอื่นเขาเดือดร้อนหรือไม่ วันนี้เดือดร้อนออกมาเป็นกลุ่มๆ แต่เมื่อออกมารวมกันมากๆประเทศก็เดือดร้อน ฉะนั้นทุกคนต้องสงบตรงนี้ให้ได้ ผมก็แก้ปัญหาทุกจุด ทุกคนก็ต้องรอเวลาบ้าง พูดคุยสอบถามข้อเท็จจริงบ้าง แต่หลายเรื่องเอาความคิดเดิมๆ ไปต่อต้านทั้งหมดจะเดินไปได้อย่างไร มันไปไม่ได้ก็เจ๊งเหมือนเดิม ทำไปไร้ค่าไร้ประโยชน์ ก็อยากให้สร้างความเข้าใจหน่อย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ตนอาจจะไม่ได้เก่งวิชาการ แต่อาจจะเก่งเรื่องการทำให้เป็นรูปธรรม ทหารทำได้แค่นี้ แต่ตนต้องอ่านหนังสือมากๆ การคิดแบบทหารบางทีก็ทำให้เกิดได้เร็วขึ้น เพราะทหารถ้าทำงานไม่เสร็จกลับบ้านไม่ได้ ถ้าเข้าไปยึดที่หมายไม่ได้ กลับบ้านไม่ได้ ตายอยู่ที่นั่น นี่คือนิสัยทหาร ตนจึงต้องทำทุกอย่างให้เสร็จเดินไปข้างหน้าให้ได้ สู่ที่หมายสุดท้ายคือมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน วันนี้ปัญหาข้างทางเยอะต้องกำจัดไปให้ได้ แก้ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน รายงานข่าวระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้มีการตรวจเข้มบุคคลที่เข้ามาร่วมงาน โดยเฉพาะกระเป๋าที่ติดตัวจะมีการรื้อค้นอย่างละเอียด ดูแม้กระทั่งข้อความในกระดาษ หรือใบเสร็จต่างๆ เนื่องจาก เว็บไซต์เด็กหลังห้อง ได้เผยแพร่ภาพข่าวป้ายผ้าปริศนาบริเวณสะพานลอยถนนงามวงศ์วาน หน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 2 ผืน ข้อความว่า "Thailand 4.สูญญญ.." และ "รัฐบาลคนดียุคภาษีอาน" โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ติดตั้ง เมื่อเวลา 18.00 น.ของวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์, มติชนออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์ และ เว็บไซต์เด็กหลังห้อง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 16 Mar 2017 11:32 PM PDT
ผู้เขียนค่อนข้างเห็นด้วยกับฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐว่าข้อมูลโพลล์ของนายวีระ ไม่น่าเชื่อถือ (แต่จะไม่พูดว่าเป็นข้อมูลเท็จ เพราะมันเป็นข้อมูลจริงที่ได้มาจากการทำโพลล์ของนายวีระ) และไม่สามารถยอมรับผลโพลล์ที่ออกมาว่าเป็นความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศได้ ความจริงไม่ได้มีเพียงข้อมูลจากโพลล์ของนายวีระที่ดูไม่น่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ได้จากสำนักโพลล์ดังๆของบ้านเรา 2-3 สำนักที่นำข้อมูลมาเผยแพร่ทางสื่อมวลชนกันทุกอาทิตย์ พยายามบอกว่าประชาชนคนไทยคิดอย่างนั้นชอบอย่างนี้ ก็ไม่ได้แตกต่างจากไปจากโพลล์ของนายวีระเท่าใดนัก คือความน่าเชื่อถือของข้อมูลมีค่อนข้างน้อย ไม่แตกต่างกับผลโพลล์ของนายวีระสักเท่าใด ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้เป็นดูถูกหรือดูหมิ่นว่าการทำโพลล์ของนายวีระหรือโพลล์ของสำนักโพลล์ดังๆไม่ดี ไม่มีคุณภาพ แต่เพราะเข้าใจดีว่าการทำโพลล์ให้ได้ข้อมูลหรือผลโพลล์ตรงกับสภาพความเป็นจริงในหมู่ประชากรทั้งหมด เป็นเรื่องยากมาก กระบวนการวิจัยเชิงสำรวจที่นำมาใช้ในการทำโพลล์ มีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำจริงได้ยาก จึงทำให้ผลการวิจัยหรือผลโพลล์เบี่ยงเบนหรือไม่ตรงกับสภาพจริงได้ง่าย ประการแรก การวิจัยเชิงสำรวจมีแนวคิดว่าผู้วิจัยจะต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล ให้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรที่ทำการศึกษา จะทำให้สามารถใช้ข้อมูลที่เก็บจากกลุ่มตัวอย่าง (เพียงจำนวนน้อย) มาอ้างอิงเป็นข้อมูลของประชากรทั้งหมดได้ การวิจัยแบบนี้จึงต้องระมัดระวังในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มหรือวิธีเลือกตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างมักมีขนาดใหญ่พอสมควร มีการกระจายตัวไปทุกภาคส่วนของประชากร ทำให้ต้องเก็บข้อมูลจำนวนมาก ใช้เวลานาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับการทำโพลล์ของสำนักโพลล์ทั้งหลาย ที่ต้องการผลในเวลาอันรวดเร็ว ทันข่าว ทันเหตุการณ์ ดังนั้นคนทำโพลล์จึงมักจะเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพียงจำนวนน้อย ไม่ค่อยกระจายตัว ที่เห็นส่วนใหญ่ใช้กลุ่มตัวอย่างเพียงหนึ่งพันถึงสองพันคนแทนประชาชนห้าสิบล้านคน กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมักจะเป็นเครือข่ายหรือขาประจำของสำนักโพลล์แต่ละสำนักเท่านั้น ไม่ใช่ประชาชนทั่วไปที่บังเอิญถูกสุ่มตัวอย่างมาตามหลักสถิติที่แท้จริง ตรงจุดนี้ทำให้ผลโพลล์ที่ออกมามักมีความคลาดเคลื่อนหรือเบี่ยงเบนไปในทิศทางเดียวกับจุดยืนของสำนักโพลล์ เช่น สำนักโพลล์ที่สนับสนุนรัฐบาล มักจะมีเครือข่ายที่เป็นพวกสนับสนุนรัฐบาลด้วยกัน ผลโพลล์ที่ออกมาจึงมักจะเอนเอียงไปทางสนับสนุน ชื่นชมรัฐบาลเป็นพิเศษ ตรงกันข้ามสำนักโพลล์ที่ไม่เชียร์รัฐบาลเหมือนสำนักโพลล์วีระ สมความคิด ผลโพลล์ก็จะออกมาในทิศทางไม่เชียร์รัฐบาล ผลโพลล์จึงไม่ใช่ความคิดเห็นที่แท้จริงของประชาชนทั้งประเทศ เหมือนที่คนทำโพลล์ชอบอ้างอยู่เสมอ ปัจจัยส่วนที่สองที่ทำให้ผลโพลล์ โดยเฉพาะโพลล์การเมือง เกิดความคลาดเลื่อนหรือเบี่ยงเบนได้ง่ายก็คือปัญหาผู้ให้ข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่างที่เลือก ไม่ได้เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีในเรื่องนั้น หรือพูดง่ายๆก็คือกลุ่มตัวอย่างไม่ได้เป็นคนที่มีข้อมูลที่นักวิจัยถาม การทำโพลล์เริ่มต้นมาจากเรื่องทางการเมือง ซึ่งนำโพลล์มาใช้สำรวจความนิยมทางการเมือง เช่น หยั่งเสียงว่าคนใด พรรคใดจะชนะการเลือกตั้ง มีการไปสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่าจะเลือกใครพรรคใด กรณีนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็นแหล่งข้อมูลที่ดี สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้อง ผลโพลล์จึงมักจะสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งจริง แต่ในตอนหลังโพลล์ถูกนำไปใช้สอบถามความคิดเห็นประชาชนแทบทุกเรื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งมีสำนักโพลล์หลายสำนักที่พยายามแข่งขันกันทำโพลล์แทบทุกอาทิตย์ ทำให้เกิดทำโพลล์โดยไม่ได้ระมัดระวังว่ากลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลนั้น มีข้อมูลอยู่จริงหรือไม่ เช่น ถามว่า "การปรองดองที่รัฐบาลทำอยู่ เป็นความตั้งใจปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริงหรือ เป็นเกมส์ทางการเมืองของรัฐบาล" หรือถามว่า "คดีวัดธรรมกายเกี่ยวกับนักการเมืองหรือไม่" คำถามวิจัยแบบนี้กลุ่มตัวอย่างที่เลือก ไม่ได้เป็นผู้มีข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ เพราะไม่ได้เข้าไปร่วมในเหตุการณ์โดยตรง ดีไม่ดียังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าการปรองดองหมายถึงอะไร หรือคดีวัดธรรมกายนั้นเป็นอย่างไร การตอบโพลล์จึงเป็นการตอบไปตามความรู้สึกนึกคิดในขณะนั้น ไม่ได้ตอบบนหลักฐานข้อเท็จจริงใดๆทั้งสิ้น ผลโพลล์ที่ออกมาจึงมีคลาดเคลื่อนสูง และบ่อยครั้งที่พบว่าผลโพลล์มีความสอดคล้องกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้นช่วงเวลาก่อนทำโพลล์ หรือพูดได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบโพลล์ไม่ได้ให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริง แต่เป็นการตอบโพลล์ตามกระแสสังคม ณ เวลานั้น การทำโพลล์จึงมักถูกนำมาใช้ในทางการเมืองเพื่อสร้างกระแสความนิยมหรือกระแสความเกลียดชังต่อบุคคล พรรคการเมืองหรือสถาบันต่างๆ แทนที่จะเป็นเครื่องมือสำหรับการสำรวจ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้เป็นข้อมูลข่าวสารสำหรับการทำงานต่อไป ความเบี่ยงเบนของผลโพลล์ นอกจากจะเกิดจากอคติในการเลือกกลุ่มตัวอย่างแล้ว ยังเกิดขึ้นจากอคติในการออกแบบการวิจัย โดยเฉพาะการตั้งโจทย์หรือตั้งคำถามในการวิจัย ที่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งตามกระแสของสังคม หรือตามจุดยืนของสำนักโพลล์มากกว่าการดำรงอยู่บนฐานวิชาการที่เป็นกลางอย่างแท้จริง การทำโพลล์ส่วนมากในปัจจุบัน ไม่ได้เน้นในเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงเหมือนโพลล์เลือกตั้ง แต่จะเน้นไปที่การถามความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้ให้ข้อมูลเป็นหลัก ประชาชนมีความคิดเห็นในเรื่องนี้ เรื่องนั้นอย่างไร ก็ยิ่งสนับสนุนให้มีการตั้งโจทย์ที่เอนเอียงได้ง่ายยิ่งขึ้น เราจึงเห็นการทำโพลล์ในลักษณะที่เป็นการอวยรัฐบาลโดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลมีอำนาจพิเศษ มากกว่าจะเป็นการแสดงความเห็นแบบตรงไปตรงมา หรือในทางตรงกันข้ามในช่วงที่กระแสสังคมให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แทนที่จะมีโพลล์ออกมาในลักษณะเป็นกลางถามความเห็นความรู้สึกของประชาชนอย่างรอบด้านทั้งในเชิงบวกเชิงลบต่อปัญหานั้น เรากลับเห็นโพลล์ในรูปแบบที่พยายามสื่อให้เห็นว่าเรื่องนั้นมีแต่ปัญหา หาข้อดีไม่ได้เลย สมควรแล้วที่รัฐบาลจะใช้กำลังเข้าไปแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องระมัดระวังผลที่จะเกิดตามมา ข้อจำกัดทั้งสามประการที่กล่าวมานี้ ถือว่าเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ผลโพลล์หรือผลการวิจัยเชิงสำรวจมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้มาก นักวิจัยหรือคนทำโพลล์ทุกคนก็รู้กันดี แต่การทำวิจัยกับคนกับสังคม ก็เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงอคติเหล่านี้ อีกทั้งการทำโพลล์การเมือง/สังคมในปัจจุบันไม่ได้เป็นงานเชิงวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่ง การทำโพลล์ได้กลายเป็นเครื่องมือในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่สำคัญขององค์การที่เป็นเจ้าของสำนักโพลล์ ทำให้ชื่อหน่วยงานได้ปรากฎตามสื่อกระแสหลักตลอดเวลา สถาบันการศึกษาเล็กๆบางแห่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีนักศึกษา ได้รับทุนการวิจัยมากขึ้นเพราะการทำโพลล์ ในส่วนรัฐบาลหลายๆรัฐบาล ก็พยายามนำโพลล์มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความนิยมต่อรัฐบาล นโยบายรัฐบาล รวมถึงเป็นเครื่องมือในการสร้างทัศนคติ ความเชื่อทางการเมืองของประชาชนให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาล การทำโพลล์เป็นเครื่องมือที่ดีในการประเมินว่ากระแสสังคมที่รัฐบาลหรือองค์การของรัฐพยายามสร้างขึ้น เช่น กระแสการปฏิรูป กระแสการปรองดอง ได้รับการตอบรับจากประชาชนมากน้อยเพียงใด จากข้อจำกัดที่มีอยู่ในกระบวนการทำโพลล์ ประกอบกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการทำโพลล์ในปัจจุบันดังที่เรารู้กันอยู่ การทำโพลล์ที่ผ่านมาจึงไม่ค่อยมีปัญหาใดๆ ผลโพลล์ส่วนใหญ่ก็ออกมาในทิศทางที่รัฐบาลค่อนข้างพอใจ มีการเผยแพร่ผลโพลล์แต่ละสำนักผ่านสื่อกระแสหลัก กระแสรองกันอย่างเอิกเกริกแทบทุกวัน โดยไม่ค่อยมีใครออกมาตำหนิกันว่าผลโพลล์ของคนนั้นไม่ดีไม่สมบูรณ์อย่างไร และไม่มีการกล่าวโทษใครเรื่องการทำโพลล์ เพิ่งจะมากรณีการทำโพลล์ของนายวีระ สมความคิดในครั้งนี้เท่านั้นเอง ที่ผลลัพธ์ออกมาค่อนข้างแตกต่างไป จนถึงขั้นต้องถูกออกหมายจับในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นเรื่องที่คนในวงวิชาการสมควรจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นบรรทัดฐานทางวิชาการในยุคนี้ก็ได้ว่า "คนทำโพลล์จะต้องไม่ปล่อยให้ผลโพลล์ออกมาในลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐบาล"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เลขาฯคณะพูดคุยสันติสุข ระบุใช้เวลา 6 เดือน กำหนดพื้นที่ปลอดภัยชายแดนใต้ Posted: 16 Mar 2017 10:30 PM PDT เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา รายงานข่าวระบุว่า พล.ต.สิทธิ ตระกูลวงศ์ เลขานุการคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำตัวแทนคณะพูดคุยฯ ตอบข้อซักถามสื่อมวลชน ถึงความคืบหน้าในการพูดคุยฯ ว่า ฝ่ายไทยและผู้เห็นต่างได้กำหนดพื้นที่ปลอดภัย (เซฟตี้โซน) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เบื้องต้น 5 พื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยคณะทำงานเทคนิคร่วม 2 ฝ่ายจะพิจารณาจากเกณฑ์คัดเลือก คือ เป็นพื้นที่ที่เกิดเหตุรุนแรงบ่อยครั้ง สามารถควบคุมการปฏิบัติได้ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการสำรวจประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกคือการเตรียมพื้นที่ ใช้เวลา 3 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงจัดตั้งพื้นที่และประเมินผล ซึ่งใช้เวลา 3 เดือนเช่นกัน โดยจะมีคณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่ปลอดภัย ที่ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายผู้เห็นต่าง และประชาชนในพื้นที่ เบื้องต้นพื้นจะนำร่องใน 1 อำเภอ "การกำหนดพื้นที่ปลอดภัยหรือเซฟตี้โซน ถือเป็นมาตรการทดสอบความไว้วางใจระหว่างกันของฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้เห็นต่าง ซึ่งปัจจุบันยังเกิดความไม่เชื่อมั่นซึ่งกันและกัน เป็นการลดจำนวนเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น และเพื่อให้คนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาในสิ่งที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุรุนแรงนอกเหนือจากกลุ่มก่อความไม่สงบ นั่นคือภัยแทรกซ้อน เช่น ยาเสพติด ค้าน้ำมันเถื่อน การเมืองท้องถิ่น จึงได้มีการกำหนดร่วมกันเบื้องต้นว่าในพื้นที่ปลอดภัยจะเกิดเหตุรุนแรงได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และจะต้องพิสูจน์ทราบร่วมกันว่าใครเป็นคนทำ แต่ถ้าหากหาคนรับผิดชอบไม่ได้ ก็จะยกเลิกพื้นที่ปลอดภัย" พล.ต.สิทธิ กล่าว ด้าน ธวัชชัย ฤทธากรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติด้านการข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรองต่างประเทศ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ หนึ่งในคณะพูดคุยฝ่ายไทย กล่าวว่า กลุ่มผู้เห็นต่างที่มาร่วมพูดคุยกับฝ่ายไทยทั้งหมดมีรายชื่ออยู่ในบัญชีด้านความมั่นคง ซึ่งคงไม่ต้องระบุว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ แต่ยอมรับว่าในแต่ละกลุ่ม เช่น บีอาร์เอ็นก็มีกลุ่มย่อยออกไป ซึ่งบางกลุ่มก็ยังไม่สามารถควบคุมกันเองได้ แต่ไม่ว่าจะมีการพูดคุยเพื่อสันติสุขหรือไม่ เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เกิดขึ้นตลอดเวลา การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาก็จะไม่มีทางทำให้เหตุการณ์ยุติได้อย่างยั่งยืน น.อ.จักรพงษ์ อภิมหาธรรม หัวหน้าสำนักงานคณะประสานงานระดับพื้นที่และคณะทำงานเทคนิคร่วม กล่าวว่า ยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ยังไม่เข้าใจและไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยเพื่อสันติสุข แต่ส่วนใหญ่เข้าใจและเห็นด้วย ดังนั้นจำเป็นต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บังคับหน่วยและกำลังพลผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หากมองสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดใช้แดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีคดีเกิดขึ้นทั้งหมด ประมาณ 200,000 คดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงเพียง 9,900 คดี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.4 เท่านั้น ที่มา : สำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น