โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

'กก.คุ้มครองผู้บริโภค' ค้าน สนช. แก้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค

Posted: 15 Mar 2017 12:36 PM PDT

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ค้านการนำ 'องค์การอิสระผู้บริโภค' รวมเข้ากับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามร่างแก้ไข  พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ชี้เป็นแนวคิดที่ย้อนยุคและเคยถูกคัดค้านมาโดยตลอด

15 มี.ค. 2560 รายงานข่าวจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและเสนอแนะแนวทาง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคปี 2522 แก้ไขปี 2541 และแก้ไขปี 2556 นั้น คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) พบว่า หลายประเด็นกระทบกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และขัดกับ มาตรา 46 ของร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติ ที่กำหนดว่าสิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ แต่ สนช.กลับนำสิทธิการรวมตัวกันของภาคประชาชนไปอยู่ภายใต้ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ที่กำลังดำเนินการแก้ไข หรือเท่ากับนำสิทธิในการรวมตัวกันโดยอิสระไปซุกอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ย้อนยุคและเคยถูกคัดค้านมาโดยตลอด

คอบช. ระบุด้วยว่า ในร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....ฉบับ สนช. นี้ ในมาตรา มาตรา 62 ถึงมาตรา 67 ของร่างพระราชบัญญัติขัดกับร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 46 ในหลายประเด็นได้แก่

1. องค์กรที่จะมีสิทธิในการรวมตัวกันเป็นองค์การอิสระผู้บริโภค ถูกจำกัดให้ต้องเป็นสมาคมและมูลนิธิที่จะต้องได้รับการรับรองหรืออนุญาตจากสคบ. เท่านั้น เท่ากับว่า การรวมตัวกันขององค์กรผู้บริโภคในรูปแบบอื่นๆ เช่น ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดต่างๆ  สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค สภาผู้บริโภคจังหวัดต่างๆ ไม่มีสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้  ทั้งที่ตามร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 วรรคสอง กำหนดให้มีสิทธิรวมตัวกันเป็นองค์กรผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบสมาคมและมูลนิธิเท่านั้น แต่มาตรา 63 กลับกำหนดให้ต้องเป็นองค์กรที่ต้องจดทะเบียนในรูปแบบสมาคมและมูลนิธิเท่านั้น

2. มาตรา 46 ตามรัฐธรรมนูญ กำหนดให้การรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคได้อย่างอิสระ แต่ภายใต้มาตรา 62 ถึงมาตรา 67 กลับจำกัดการรวมตัวขององค์กรผู้บริโภคให้เป็นเพียงคณะกรรมการองค์กรเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่อยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงเท่ากับเป็นองค์กรผู้บริโภคที่ขาดอิสระ

3. มาตรา 64 ของร่างแก้ไข กำหนดให้องค์กรผู้บริโภค ทำหน้าที่เพียงการให้ความคิดเห็นต่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเพื่อพิจารณาในการตรากฎหมาย กฎและข้อบังคับและในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยไม่สามารถนำเสนอความเห็นต่อรัฐบาลได้

ดังนั้น ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... ของ สนช. ที่แม้จะอ้างเรื่องการบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคนั้น  อย่างไรก็ตามไม่ควรควบรวมเอาอำนาจอันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน ผู้บริโภค เข้าไปอยู่ภายใต้การทำงานของหน่วยงานรัฐ หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เพราะนั่นคือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของภาคประชาชน และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคหรือสิทธิการรวมตัวกันของผู้บริโภคควรมีกฎหมายเฉพาะเพื่อการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวขึ้นมา ดังเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ ที่บอกไว้อย่างชัดเจนว่า มีสิทธิรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค...

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จึงขอแสดงจุดยืนคัดค้าน ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ดังกล่าว ที่จะรวมเอาการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภคเข้าไปอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้  และขอเรียกร้องให้พิจารณาเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อการจัดตั้งองค์การอิสระผู้บริโภค ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง

ในส่วนของ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค ที่แก้ไขนั้น  คอบช.เอง ยังพบว่า ปราศจากการมีมีส่วนร่วมจากผู้บริโภค และ องค์กรผู้บริโภค ไม่ก้าวหน้าอีกหลายประเด็นดังนี้

1.  การจำกัดขอบเขตความหมายของคำว่า "ผู้บริโภค" ทำให้ผู้บริโภคเสียผลประโยชน์  ทั้งที่ใช้สินค้าหรือบริการนั้นจริง  แต่กฎหมายกลับจำกัดถ้อยคำนิยาม เพียงการซื้อสินค้าและการใช้บริการต้องเป็นการใช้สอยส่วนตัว โดยไม่มีการนำไปใช้หรือให้บริการต่อเพื่อกิจกรรมทางพาณิชย์ ทางอุตสาหกรรม ทางศิลปวัฒนธรรม หรือทางวิชาชีพของผู้ซื้อหรือรับบริการนั้น เช่น ทนายความ ซึ่งเป็นวิชาชีพด้านกฎหมายซื้อรถยนต์เพื่อขับไปว่าความในศาล หรือติดต่อลูกความ ซึ่งเป็นการซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมทางวิชาชีพของผู้ซื้อ จึงไม่เป็นผู้บริโภคตามร่างกฎหมายนี้ หรือซื้อรถกระบะเพื่อส่งผัก หากรถยนต์นั้นชำรุดบกพร่องก็ถือว่าผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวไม่นับเป็นผู้บริโภค เพราะเป็นผู้ประกอบการที่ซื้อสินค้า

2. สิทธิผู้บริโภคในมาตรา 6 ของร่างแก้ไข ไม่สอดคล้องกับสิทธิผู้บริโภคสากล ได้แก่

2.1 สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในฐานะตัวแทนผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้ (The Right to be Heard) รวมทั้งร่วมกำหนดหลักเกณฑ์กับรัฐในการคุ้มครองผู้บริโภค

2.2 สิทธิที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี(The Right to Healthy Environment)  ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียตนาม ลาว และพม่าที่ได้จัดทำกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้รวมสิทธิผู้บริโภคในระดับสากลผนวกรวมเข้าไว้ด้วย

2.3 สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างอิสระ(The Right to Privacy and Freedom to Communicate) ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิผู้บริโภคที่กำลังปรับปรุงในหลักเกณฑ์ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคของสหประชาชาติ

ทั้งสามประการนี้ไม่ปรากฎในร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคฉบับแก้ไข

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนแปดริ้วไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน ยันกระทบเกษตรอินทรีย์

Posted: 15 Mar 2017 11:57 AM PDT

ชาวฉะเชิงเทรารณรงค์หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน ศึกษาพบสารปนเปื้อนกระทบเกษตรอินทรีย์ ยันป้องพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทางอาหาร แนะใช้พลังงานหมุนเวียนทางเลือก ด้านกลุ่มทุนยื่น EHIA รอบที่ 4 ชาวบ้านนัดรวมตัวรอฟังผลกว่า 100 คน หลัง สผ. เลื่อนพิจารณาเป็นวันที่ 23 มี.ค. นี้
 

 

15 มี.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวาน (14 มี.ค. 60) เวลาประมาณ 09.00 น. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ จัดเวทีเสวนาหัวข้อ "โรงไฟฟ้าถ่านหินกับผลกระทบต่อระบบเกษตรอินทรีย์" กรณี โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 600 เมกะวัตต์ ฉะเชิงเทรา มีนักวิชาการอิสระและภาคประชาสังคมเข้าร่วมสรุปผลว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนส่งผลกระทบต่อเกษตรอินทรีย์ ประชาชนในพื้นที่ร่วมคัดค้านโครงการฯ อย่างเข้มแข็ง ล่าสุดกลุ่มทุนยื่นรายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ต่อคณะกรรมการเชี่ยวชาญ (คชก.) รอบที่ 4  ขณะที่ขบวนการเกษตรอินทรีย์ จ.ฉะเชิงเทรา นัดรวมตัวกว่า 100 คนเพื่อรอรับฟังผลวันพรุ่งนี้ (16 มี.ค.60) แต่สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แจ้งเลื่อนพิจารณาเป็นวันที่ 23 มี.ค.60 โดยที่ขบวนการเกษตรอินทรีย์ ยังยืนยันขอปกป้องแหล่งอาหารและน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ มองว่าโครงการนี้จะทำลายเกษตรอินทรีย์  พร้อมมีเสนอให้มีพลังงานหมุนเวียนทางเลือก เพื่อป้องกันภาระต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

'เกษตรทางเลือก' ยันกระทบเกษตรอินทรีย์ 

นันทวรรณ หาญดี ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน ชาวบ้าน จ.ฉะเชิงเทราร่วมต่อสู้กันตั้งแต่ปี 2550 เนื่องจากเราพัฒนาการเกษตรและสร้างความเข้มแข็ง ศึกษาผลกระทบการทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งที่กระบวนการเข้าถึงข้อมูลนั้นยากมาก กลุ่มทุนได้อ้างกฎหมายเอกชนเพื่อไม่ให้ชาวบ้านรับรู้ข้อมูล และชาวบ้านยังถูกการเมืองท้องถิ่นกีดกัน โชคดีที่มีรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในมาตราที่เกี่ยวข้อง เราจึงยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร ที่เราจะยอมไม่ได้

นันทวรรณ กล่าวถึงโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 600 เมกะวัตต์ ฉะเชิงเทรา เพิ่มเติมว่า โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อพืชผักเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดย่อยในพื้นที่ที่ใช้ถ่านหิน จากบริษัทในเครือเดียวกัน ได้ส่งผลกระทบต่อสวนมะม่วงจนต้องโค่นทิ้ง เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าหากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนที่ขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม จะทำให้สูญเสียผลผลิตทางอาหารและน้ำจำนวนมาก ซึ่งในรายงาน EHIA ไม่มีการพูดถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทั้งที่พื้นที่ฉะเชิงเทราเป็นแหล่งที่มีระบบนิเวศขนาดใหญ่ และเป็นหน่ออ่อนของภาคการเกษตรอินทรีย์ระดับต้นๆ

มองนโยบายประเทศไม่ไปในทิศทางเดียวกัน 

วิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล ผู้อำนวยการมูลนิธิสายใจแผ่นดิน กล่าวถึง ประเด็นความปลอดภัยต่างๆ จากโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนไว้ว่า ส่งผลกระทบต่อเกษตรอินทรีย์ เกิดสารปนเปื้อน โลหะหนัก ปรอทต่อพืชผลทางการเกษตร ด้านพัฒนาการสมองในเด็กแรกเกิด เสนอให้ศึกษาผลกระทบอย่างชัดเจน เนื่องจากรายงาน EHIA ไม่ได้คาดการณ์ความเสี่ยงไว้ และไม่มีคำถามด้านความปลอดภัย ที่สำคัญคือเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนั้นสะอาดจริงหรือไม่ ได้ติดเครื่องดักจับปรอทจริงหรือเปล่า หากมองภาพปัจจุบันยังไม่ค่อยดีไหร่ในเรื่องการผ่านหรือไม่ผ่านมาตรฐาน  และการบริโภคหรือการเลือกซื้อ ไม่ซื้อ  เนื่องจากมีสารปนเปื้อนในผลผลิตการเกษตร ส่วนข้อสุดท้ายนั้น เป็นเรื่องปกติที่นโยบายของประเทศไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น รัฐบาลประกาศสนับสนุนเกษตรอินทรีย์และปุ๋ยเคมีไปพร้อมกัน

ชี้พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบ

กัญจน์ ทัตติยกุล เครือข่ายลุ่มน้ำบางปะกง กล่าวว่า ลุ่มน้ำคลองท่าลาดเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก  แต่ในรายงาน EIA  ไม่เคยบอกไว้ว่ามีปัญหาการใช้น้ำอย่างไรบ้าง โรงงานอุตสาหกรรมที่มีรายงาน EIA ไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายการเข้าออกของน้ำ อีกทั้งปัญหาน้ำเค็มที่ทำให้ภาคการเกษตรต้องงดทำนา สถานการณ์ที่ชุมชนขาดแคลนน้ำในพื้นที่แม่น้ำบางประกงและแม่น้ำปราจีนบุรี จนสำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดประกาศงดใช้น้ำ รวมทั้งใน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี เป็นพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำดิบที่ผลิตน้ำประปา การทำไร่ทำสวนยังต้องอาศัยน้ำจืดจากแม่น้ำบางประกง แต่น้ำแห้งประมาณ 80 กม. จากทะเล หมากตายเพราะภาวะภัยแล้ง

กัญจน์ กล่าวต่อว่า พื้นที่การจ่ายน้ำของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค( กฟภ.) ในฝั่งตะวันตกจากแม่น้ำบางประกง การใช้น้ำจากท่าลาด หลายชุมชนไม่ได้รับน้ำประปาจาก กฟภ. ในปี 2560 น้ำอาจจะลดลงอีก 50 % และไม่มีใครพูดแทนระบบนิเวศของแม่น้ำบางประกง ชาวบ้านขาดแคลนน้ำจากคลองท่าลาดอาจจะล่มสลาย และการใช้ประโยชน์ของที่ดินทำพื้นที่เกษตรผสมผสาน สวนผลไม้ในพื้นที่ยังต้องอาศัยน้ำจืดจากแม่น้ำบางประกงเช่นกัน ชาวบ้านต้องปรับตัวโดยการสูบน้ำมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแทน ส่วนการปลูกข้าวในลุ่มน้ำบางประกง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้าวหอมมะลิ สวนผสมผสานจำเป็นต้องใช้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีการขยาย กุ้ง ปลา อีกด้วย ทั้งนี้กลุ่มทุนเขายึดแม่น้ำเพราะต้องใช้ สรุปว่า สิ่งที่เราเห็นคือโครงการไม่เคยศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ เราจึงไม่ยอมให้โครงการขนาดใหญ่มาใช้น้ำ ทั้งที่ก็มีวิกฤติอยู่แล้ว

แนะพื้นที่บางประกงควรฟื้นฟูทางอาหาร

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 600 เมกะวัตต์ ฉะเชิงเทรา ขนาดใกล้เคียงกับกระบี่ที่ต่อต้านกันไม่น้อย เป็นโครงการใหญ่ ประมาณ 1 ใน 4 ของแม่เมาะ ขบวนการเกษตรอินทรีย์ที่ฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดของภาคกลาง ผลิตพืชผักสำคัญป้อนเมืองหลวงอันดับหนึ่ง ใช้พื้นที่ ทำเกษตรอินทรีย์ 18,000 ไร่ รับใช้ประชากรกว่า 60,000 คน ในปีนี้เกษตรกร 500 ราย มีอัตราการขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ ปัจจุบันรัฐบาลพูดถึงความไม่ปลอดภัยทางอาหาร และยินดีรับฝังความเห็นของประชาชน มีนโยบายให้โรงพยาบาล 18 แห่งนำร่องรับซื้อพืชผัก ดังนั้นโครงการนี้ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรอินทรีย์นั้นมีความขัดแย้งกับนโยบายของรัฐเอง

วิฑูรย์ กล่าวชื่นชมเครือข่ายการเกษตรทางเลือกในพื้นที่ฉะเชิงเทรา ว่า ร่วมต่อสู้และคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนมาเป็น 10 ปี ตอนนี้ไม่มีเหตุผลที่ คชก. จะอนุญาตให้โครงการนี้ดำเนินงาน ปัญหาใหญ่คืออำนาจของคณะกรรมการชุดนั้นที่ประชุมห้องเล็ก สำหรับพื้นที่ทำการศึกษาต้องเสนอให้ประชาชนรับทราบ หากมีการอนุญาตให้รายงาน EHIA ผ่านก็จะไม่ชอบธรรม แล้วจะไว้ใจอย่างไร จำเป็นต้องท้วงติงในความรับผิดชอบของกลุ่มทุนนี้ต่อไป ส่วนยุทธศาสตร์สำคัญของการพัฒนาประเทศ คือ อาหาร ซึ่งเห็นว่า พื้นที่บางประกงควรฟื้นฟูทางอาหาร เรื่องนี้เป็นของทุกคนเพื่อสนับสนุนให้อยู่รอด

ยกงานวิจัยชี้สารปรอทส่งผลต่อห่วงโซ่อาหาร พัฒนาการสมอง

ศุภกิจ นันทวรการ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้กล่าวถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงอาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่สหรัฐอเมริกาแล้วว่า สารปรอทส่งผลต่อระบบห่วงโซ่อาหาร พัฒนาการและสมอง นี่คือความมั่นคงของสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก  สำหรับความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า โดยภาพรวมระดับประเทศนั้นเหลือเฟือ กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองล้นเกิน เรามีไฟฟ้าสำรองเหลือเฟือไปถึง ปี 2572 ภาระโรงไฟฟ้าล้นเกิน ลองยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนที่ฉะเชิงเทรา เทพาที่สงขลา กระบี่ แม่เมาะที่ลำปาง กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองก็ยังเท่ากับค่ามาตรฐานอยู่ดี สรุปคือ เรามีโรงไฟฟ้าสำรองล้นเกินแต่ก็ยังพยายามสร้างเพิ่ม เรามีพลังงานหมุนเวียนทางเลือกอยู่แล้วอาจจะต้องรับผิดชอบมากขึ้น แต่ไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้คนในพื้นที่แน่นอน

นันทวรรณ  ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา  กล่าวถึงที่ไปที่มาว่า เราต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี 2550 การที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนขนาด 600 เมกะวัตต์ จ.ฉะเชิงเทรา ของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) ในเครือดับเบิ้ลได้ผ่านการคัดเลือก ชาวบ้านได้คัดค้านโครงการทุกวิถีทาง และตั้งแต่ปี 2555 บริษัทฯ ได้ยื่นรายงาน EHIA ให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณามาแล้วทั้งหมด 3 รอบ ชาวบ้านเองก็ได้นำเสนอข้อมูลอีกด้านจากรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ทำให้รายงาน EHIA ทั้ง 3 รอบไม่ผ่านความเห็นชอบจาก คชก. แต่ล่าสุด บริษัทฯ ได้ยื่น EHIA อีกครั้ง เป็นรอบที่ 4 และจะมีการพิจารณาในวันที่ 23 มี.ค. 2560 นี้ที่สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยชาวบ้านในพื้นที่จ.ฉะเชิงเทราได้นัดรวมรับฟังผลในวันเดียวกัน

สผ. ขอเลื่อนกระทันหัน

นันทวรรณ ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า จากเดิมที่ คชก. แจ้งไว้จะมีการพิจารณา EHIA ของกลุ่มทุนที่ยื่นเป็นรอบที่ 4 ในวันที่ 16 มี.ค. 60 เวลา 13.30  น. ทาง สผ. ขอเลื่อนกระทันหัน เนื่องจากคณะกรรมการได้ประชุมหารือกรณีที่ชาวบ้านยื่นหนังสือขอรับฟังผลพิจารณาร่วมด้วยประมาณ 100 คน แต่ช่วงบ่ายขากลับจากงานเสวนาที่จุฬาฯ เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 60 ที่ผ่านมา ตนได้รับการติดต่อจาก สผ. เรื่องขอเลื่อนวันพิจารณาเป็นวันที่ 23 มีนานี้แทน

นันทวรรณ ยังให้ข้อสรุปจากงานเสวนา หัวข้อ "โรงไฟฟ้าถ่านหินกับผลกระทบต่อระบบเกษตรอินทรีย์" กรณี โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 600 เมกะวัตต์ ฉะเชิงเทรา ที่สถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2560 นั้นกลุ่มนักวิชาการมีความเห็นว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำให้เกิดสารปนเปื้อนต่อเกษตรอินทรีย์ มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและน้ำ ทั้งนี้มีโรงไฟฟ้าในประเทศเหลือเฟือไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนเพิ่ม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

16 องค์กรของรัฐตาม พ.ร.บ. เฉพาะ ลงนามMOU วางมาตรการรองรับสังคมสูงวัย

Posted: 15 Mar 2017 10:37 AM PDT

ชี้ อีก 4 ปี ไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ พบแรงงานไทย 63% ขาดหลักประกันรายได้ยามเกษียณ เปิดกับดักมนุษย์เงินเดือนเสี่ยงเงินไม่พอใช้ยามชรา ด้าน 16 องค์กรของรัฐตาม พ.ร.บ. เฉพาะจับมือทำข้อเสนอรองรับสังคมสูงวัย

15 มี.ค.2560 รายงานข่าวจากกลุ่มงานการสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แจ้งว่า วันนี้ (15 มี.ค.60) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการลงนามใน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ โดยในปีนี้ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.เฉพาะ ได้เข้าร่วมเป็นองค์กรที่ 16  และ การประชุมวิชาการที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทอพ.) 16 องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ "ประชารัฐร่วมใจ สู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ" มี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "สูงวัยอย่างมีคุณค่า น้อมพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง"

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในฐานะประธาน ทอพ. กล่าวว่า องค์กรของรัฐที่จัดตั้งตาม พรบ.เฉพาะ เป็นกลไกบริหารจัดการสาธารณะใหม่ (New Public Management) ที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมกลไกรัฐเดิม เช่น ระบบราชการหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อเป็นกลไกตอบสนองของช่องว่างในกิจการสาธารณะที่ระบบเดิมที่มีข้อจำกัดซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มกลไกใหม่นี้ราวปี พ.ศ.2535 การรวมประชาคมขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ หรือ ทอพ. จึงเป็นจุดประสานกลางเพื่อทำความเข้าใจหน้าที่ บทบาทการทำงานต่อผู้เกี่ยวข้อง และยังเป็นการประสานกันและกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการใหม่ และร่วมสร้างประโยชน์ร่วมกันต่อประเทศด้วย

การประชุมวิชาการองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ถือเป็นเวทีจุดประกายให้เกิดการ 'สานพลัง' เครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกันของทั้ง 16 องค์กร นำไปสู่การพัฒนาประเทศใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ และกองทุนสนับสนุน เพื่อหนุนเสริมซึ่งกันและกัน โดยในปีนี้มีภาคีใหม่ในลำดับที่ 16 ได้แก่ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการเพิ่มมิติการทำงานที่ 5 คือด้านสื่อ เพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้แก่คนในสังคมโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดสื่อที่ปลอดภัย

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย ขณะนี้มี 3 ประเทศในอาเซียนที่เป็นสังคมสูงวัยแล้ว อันดับ 1 คือ สิงคโปร์ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 18% อันดับ 2 คือ ไทย มีสัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ที่ 16% หรือจำนวน 10.3 ล้านคน และอันดับ 3 เวียดนามอยู่ที่ 10% ซึ่งคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ที่ 20% และส่งผลให้อัตราการพึ่งพิงจะหนักขึ้นเป็นผู้สูงอายุ 1 คน ต่อวัยแรงงาน 3.2 คน ทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่มีผู้สูงวัยมากขึ้น

"ปัจจุบันยังพบช่องว่างในการเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยเฉพาะหลักประกันรายได้ยามเกษียณอายุ ที่พบว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือรายได้ต่ำกว่า 2,647 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โจทย์ใหญ่ที่จะตามมาคือ แรงงานไทย 63% ที่ไม่อยู่ในระบบการออมเพื่อเป็นหลักประกันรายได้ยามเกษียณ และยังพบกับดักมนุษย์เงินเดือน โดยรายจ่ายของมนุษย์เงินเดือนสูงกว่าเงินสนับสนุนของรัฐขั้นพื้นฐานจากประกันสังคมและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเมื่อเกษียณ อยู่ที่ 8,100 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตหากไม่มีการออมสมทบ  รวมถึงระบบรองรับข้อมูลด้านสุขภาพและด้านสังคม จึงเกิดความร่วมมือในหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะทั้ง 16 หน่วยงานในการพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัย ทั้งการจัดระบบและบริการสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การศึกษาวิจัยและการจัดการความรู้ การพัฒนานโยบายสาธารณะและสร้างเครือข่าย การพัฒนามาตรฐาน และการสื่อสารสังคม เพื่อรองรับสังคมสูงวัยให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ" ประธาน ทอพ. กล่าว

รศ.ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ ประธานคณะทำงานด้านการจัดการความรู้และประชุมวิชาการ ทอพ. กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากกว่า 10.3 ล้านคน คิด 16% และคาดว่าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2564  ในสัดส่วนถึง 20% ประเทศไทยยังมีช่องว่างด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรและการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ ในด้านสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ 95% มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน และมีโอกาสเกิดโรคประจำตัวสูงขึ้นในบั้นปลาย ส่วนด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุถึงร้อยละ 34% มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน และมีเพียง 15 ล้านคน ที่อยู่ในระบบการออมเพื่อเป็นหลักประกันรายได้ยามเกษียณ จากประชากรวัยทำงานกว่า 40 ล้านคน รวมถึงผลกระทบด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่เพียงลำพังคนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงคนรุ่นใหม่ยังมีทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุ

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้ความสำคัญต่อการเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยมีนโยบายและกฎหมายรองรับในหลายมิติ เช่น ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2559 ซึ่งเป็นแผนแม่บทด้านสุขภาพของประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องผู้สูงวัยอย่างมาก เป็นกรอบการดำเนินนโยบายด้านสุขภาพของรัฐ

นอกจากนั้น ตามหมวดสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขฯ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดูแลรักษาล่วงหน้า (Advance Care Plan) และมีความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุแบบประคับประคอง ซึ่ง สช. อยู่ระหว่างการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการตายดีและการดูแลแบบประคับประคองให้กับเครือข่ายต่างๆ โดยในการประชุมวิชาการในวันนี้ ที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทอพ.) 16 องค์กร จะมีการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขในสังคมผู้สูงวัยอีกด้วย

ทั้งนี้ องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. เฉพาะ ทั้ง 16 องค์กรที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา สถาบันอนุญาโตตุลาการ และสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

แนะนำ 16 องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ

องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ถือเป็นรูปแบบใหม่ขององค์กรรัฐที่สามารถดำเนินงานได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัวกว่าหน่วยงานที่อยู่ในระบบราชการปัจจุบัน  สามารถรองรับและตอบสนองต่อการปฏิรูปประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายด้าน ปัจจุบัน องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ มีทั้งหมด 16 องค์กร ได้แก่

1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เป็นองค์กรที่มุ่งเสริมสร้างการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม จนสามารถถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชน์ พร้อมส่งเสริมด้านการพัฒนากำลังคนและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

2. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สวทน. มีเจตนารมณ์ในการจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ  โดยสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมต่อการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมในประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

3. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. มีเจตนารมณ์ในพัฒนานักเรียน เยาวชนไทย ให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทัดเทียมนานาชาติ  โดยเน้นด้านการคิดวิเคราะห์ การใช้ข้อมูล และแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตหรือประกอบอาชีพ

4. สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ หรือ มว. มีพันธกิจที่สำคัญ คือ พัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย

5. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หรือ สวรส. มีภารกิจในการสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย  เพื่อสร้างความรู้นำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบายพัฒนาระบบสุขภาพอย่างมีระบบ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาของประเทศ และสามารถแก้ไขปัญหาสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

6. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เป็นองค์กรที่สร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทย โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ

7. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ สช. ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ "ระบบสุขภาพไทยพัฒนาจากกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา"

8. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน ทุกคนเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งในภาวะปกติและสาธารณภัยด้วยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน

9. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การวิจัยเชิงนโยบาย และการวิจัยประยุกต์ต่างๆ  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ และสังคม

10. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เป็นองค์กรซึ่งทำหน้าที่จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลัง  ให้บุคคลและองค์กรทุกภาคส่วนให้มีขีดความสามารถและเข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า "ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีขีดความสามารถ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ"

11. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนและเพิ่มศักยภาพ SME สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีภารกิจเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริม SME ของประเทศ

12. สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ หรือ สทบ. เป็นศูนย์กลางและโครงข่ายการเรียนรู้ เงินทุน สวัสดิภาพ สวัสดิการ และการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ครัวเรือนสมาชิกมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง อบอุ่น  เข้มแข็งสู่การเป็นภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

13. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา หรือ คส. มุ่งยกระดับคุณภาพครูสู่คุณภาพการศึกษาไทย เพื่อให้คุรุสภาเป็นสภาวิชาชีพที่เข้มแข็งและทันสมัย สามารถควบคุมและยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้มีมาตรฐานและจรรยาบรรณเป็นที่ยอมรับของสังคม

14. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ สกสค.  เป็นองค์กรยุคใหม่ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมสวัสดิการ  สวัสดิภาพ   สิทธิประโยชน์ เกื้อกูล ความมั่นคง ดังปณิธานที่ว่า "เรามีครู...อยู่ในหัวใจ"

15. สถาบันอนุญาโตตุลาการ ให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการและและประนอมข้อพิพาทในระดับสากลและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาทให้มีความเข้มแข็ง ได้มาตรฐานสากล เพื่อเป็นทางเลือกในการระงับข้อพิพาทด้วยความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย

16. สํานักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นองค์การมหาชนที่มุ่งรณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ และร่วมเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้คิดค้น 'เวิร์ลไวด์เว็บ' ชี้ 3 ปัญหาต้องแก้ไข-เพื่อให้อินเทอร์เน็ตกลับมารับใช้มนุษย์

Posted: 15 Mar 2017 08:22 AM PDT

ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี ผู้คิดค้นระบบเวิร์ลไวด์เว็บ (WWW) ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลเชื่อมต่อกันได้ทางอินเทอร์เน็ตเขียนบทความถึงวิกฤตปัญหา 3 ประการที่อินเทอร์เน็ตกำลังเผชิญ เรื่องแรกคือคนเรากำลังสูญเสียการควบคุมข้อมูลส่วนตัว เรื่องที่สองคือการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ผ่านทางเว็บทำได้ง่ายมาก และเรื่องนี้สามคือการโฆษณาทางการเมืองควรจะมีความโปร่งใสและสร้างความเข้าใจมากกว่านี้

ทิม เบอร์เนอร์ส ลี ที่มูลนิธิ World Wide Web Foundation
ที่มา: Scott Henrichsen/John S. and James L. Knight Foundation/
Wikipedia

15 ก.พ. 2560 เบอร์นเนอร์ส-ลี ผู้คิดค้นระบบเวิร์ลไวด์เว็บ (WWW) เขีบนในบทความระบุว่าเป็นเวลา 28 ปีมาแล้วที่เขาได้นำเสนอเกี่ยวกับระบบเวิร์ลไวด์เว็บโดยที่จินตนาการว่าผู้คนทุกคนจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้จากทุกที่และมีโอกาสเข้าถึงข้อมูล เข้ามามีส่วนร่วมได้ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหนวัฒนธรรมใด

เบอร์นเนอร์ส-ลี ระบุว่าแม้ในหลายๆ แง่เว็บไซต์ต่างจะตอบสนองในเรื่องดังกล่าวได้ แต่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเขาก็เป็นกังวลว่ามีเรื่อง 3 เรื่องที่ต้องแก้ไขเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตเพื่อให้มันกลับมาเป็นเครื่องมือรับใช้มนุษย์ทุกผู้ทุกนามได้

ปัญหาประการที่ 1 พวกเราสูญเสียการควบคุมข้อมูลส่วนตัวของพวกเรา

ผู้คิดค้นระบบเวิร์ลไวด์เว็บระบุถึงโมเดลทางธุรกิจของเว็บไซต์จำนวนมากที่บริการเนื้อหาฟรีแต่ต้องแลกมาด้วยการให้ข้อมูลส่วนตัวกับพวกเขา ผู้ใช้มักจะทำข้อตกลงผ่านเอกสารข้อตกลงและเงื่อนไขที่ยาวและดูน่าสับสน แต่หลักๆ แล้วผู้ใช้ก็มักจะไม่คิดอะไรมากถ้าข้อมูลของตัวเองบางส่วนถูกเก็บไปเพื่อแลกกับบริการฟรี แต่สิ่งที่ผู้คนไม่ทันคิดคือ การปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาถูกเก็บอยู่ในที่ๆ เรามองไม่เห้น ทำให้เราสูญเสียการควบคุมข้อมูลตัวเองไปในแง่ว่าจะแชร์ใครและแชร์เมื่อไหร่ นอกจากนี้เรายังเรียกร้องกับบริษัทต่างๆ ไม่ได้ด้วยว่าข้อมูลไหนที่เราไม่อยากแชร์บ้าง

เบอร์นเนอร์ส-ลี ระบุอีกว่าการเก็บข้อมูลของพวกเรายังอาจจะถูกบริษัทหรือรัฐบาลนำไปใช้ในเชิงการจับตามองพวกเราและออกกฎหมายสุดโต่งที่จะเหยียบย่ำสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิด้านอื่นๆ ของพวกเรา ในกรณีที่เป็นรัฐบาลกดขี่ข่มเหงอาจจะถึงขั้นมีการจับกุมหรือใช้ความรุนแรงกับคนที่รัฐบาลมองว่าเป็นศัตรูทางการเมือง หรือแม้กระทั่งกับรัฐบาลที่ไม่ได้โหดร้ายมากเท่าการจับตามองก็อาจจะส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในแง่ที่ทำให้คนเซนเซอร์ตัวเองได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้อินเทอร์เน็ตแย่ลงเพราะไม่สามารถกลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนในเรื่องสำคัญๆ อย่างสุขภาวะ เพศวิถี หรือศาสนา ได้

 

ปัญหาประการที่ 2 การเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ผ่านทางเว็บทำได้ง่ายมาก

ในยุคที่ผู้คนหันมาเสพข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือเว็บค้นหามากขึ้น การที่เว็บไซต์ต้องการทำเงินจากจำนวนคลิกของเราทำให้พวกเขาต้องการให้ได้รับการแสดงผลผ่านโซเชียลมีเดียได้บ่อยครั้งขึ้น การจะแสดงผลบ่อยครั้งขึ้นได้ก็ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึมของโซเชียลมีเดียที่มาจากการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เอง ทำให้โซเชียลมีเดียพวกนี้มีแนวโน้มจะนำเสนอลิงค์เว็บไซต์ที่พวกมันคำนวนเอาเองว่าเราจะกดคลิกดู โดยไม่สนใจว่าลิงค์ข่าวเหล่านั้นจะเป็นข่าวปลอมหรือเป็นข้อมูลเท็จหรือไม่ ซึ่งมักจะเป็นเนื้อหาที่แสดงการตื่นตูมเกินเหตุหรือดูน่าประหลาด หรือออกแบบมาเพื่อสอดรับกับอคติของผู้อ่าน และบางครั้งเรื่องหลอกลวงก็แพร่กระจายลามไปทั่วราวกับไฟป่า คนที่คิดไม่ซื่อก็จะใช้ตรงจุดนี้มาเอาเปรียบระบบเผยแพร่ข้อมูลเท็จเพื่อความได้เปรียบทางการเงินหรือทางการเมืองของตัวเอง

 

ปัญหาประการที่ 3 การโฆษณาทางการเมืองในโลกออนไลน์ต้องมีความโปร่งใสและสร้างความเข้าใจมากกว่านี้

เรื่องของระบบจัดเรียงข้อมูลหรืออัลกอริทึมจากการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้คนทำให้เบอร์นเนอร์ส-ลี มองว่าเป็นการทำให้การโฆษณาทางการเมืองเป็นอุตสาหกรรมที่ซับซ้อนขึ้น ขณะเดียวกันการจัดการข้อมูลเช่นนี้ก็ทำให้คนรณรงค์ทางการเมืองทำสื่อโฆษณาตั้งเป้าสื่อสารกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยตรงได้ และบางครั้งก็ถูกนำมาใช้ผิดๆ เช่นการเผยแพร่ข่าวปลอมหรือการสกัดกั้นคนอื่นจากการทำแบบสำรวจ หรือแม้กระทั่งการพูดแบบหนึ่งกับคนกลุ่มหนึ่งแล้วพูดแบบหนึ่งกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นระชาธิปไตยหรือไม่

 

ขึ้นอยู่กับทุกคนที่จะช่วยปกป้องอินเทอร์เน็ตที่ผู้คนร่วมกันสร้างขึ้นมา

จากปัญหาเหล่านี้ทำให้เบอร์นเนอร์ส-ลีเสนอทางออกว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายควรจะช่วยกันเรียกร้องความสามารถในการควบคุมข้อมูลข่าวสารของตัวเองกลับคืนมามาอยู่นมือประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีให้ควบคุมข้อมูลส่วนตัวได้หรือการเปลี่ยนวิธีการสร้างรายด้แบบใหม่ อีกทั้งยังต้องช่วยกันต่อสู้กับการออกกฎหมายสอดแนมของรัฐบาล ต้องช่วยกันตอบโต้ข้อมูลลวงต่างๆ และเรียกร้องให้ตัวกลางสื่ออย่างกูเกิลและเฟซบุ๊กช่วยแก้ปัญหานี้ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ให้มีการรวมศูนย์การตัดสินใจแค่คนกลุ่มเดียวว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เบอร์นเนอร์ส-ลีเสนอว่าน่าจะมีความโปร่งใสในด้านการทำอัลกอริทึมมากขึ้นเพื่อให้ผู้คนเข้าใจว่าการตัดสินใจของพวกเขาส่งผลอย่างไรกับชีวิต อีกทั้งควรเพิ่มความโปร่งใสในการรณรงค์ทางการเมืองด้วย

เบอร์นเนอร์ส-ลีระบุว่ามูลนิธิเว็บฟาวน์เดชันที่ต่อสู้เพื่อคุ้มครองการใช้เว็บไซต์ของทุกคนได้วางยุทธศาสตร์ 5 ปีฉบับใหม่เพื่อศึกษาวิจัยปัญหาเหล่านี้ถึงระดับรายละเอียดรวมถึงแสวงหาทางออกนโยบายเชิงรุกเพื่อให้เกิดแนวร่วมสร้างความก้าวหน้าทำให้เว็บไซต์เป็นอำนาจและโอกาสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน

แต่ลำพังแค่พวกเขาอย่างเดียวก็คงไม่ประสบความสำเร็จถ้าปราศจากผู้คนที่ใช้เว็บด้วย เบอร์นเนอร์ส-ลีระบุว่าแม้ตัวเขาจะเป็นผู้คิดค้นเว็บแต่สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามมาทั้งหลายอย่างเว็บล็อก ข้อความทวิต รูปถ่าย วิดีโอ แอพพลิเคชัน และเว็บเพจต่างๆ ล้วนมาจากการร่วมกันสร้างของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนับล้านเองที่ก่อรูปสังคมชุมชนออนไลน์ขึ้นมา นอกจากนี้เป็นประชาชนทั้งหลายเองที่รวมตัวกันต่อสู้กับการพยายามลิดรอนสิทธิการเข้าถึงเว็บไซต์และการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประท้วงในไนจีเรียที่ต่อต้านกฎหมายลิดรอนเสรีภาพโซเชียลมีเดีย การลุกฮือประท้วงการปิดอินเทอร์เน็ตบางพื้นที่ในแคเมอรูน การส่งเสริม ความเป็นกลางทางเน็ต (Net neutrality) ในอินเดียและสหภาพยุโรป รวมถึงการจัดตั้งองค์กรอย่าง W3C เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและความมั่นคงทางเทคโนโลยี

"เป็นพวกเราทั้งหมดทั้งมวลที่ร่วมกันสร้างเว็บแบบที่มีอยู่ทุกวันนี้ และในตอนนี้มันก็ขึ้นอยู่กับพวกเราที่จะสร้างเว็บในแบบที่เราต้องการ เว็บ...สำหรับทุกคน" เบอร์นเนอร์ส-ลีระบุในบทความ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นพดล' ชี้หุ้นชินคอร์ปฯขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษี

Posted: 15 Mar 2017 06:36 AM PDT

วิษณุย้ำใช้กม.ปกติดำเนินคดีภาษีหุ้นชิน แจ้งอุทธรณ์ได้ 'สรรพากร' ยันเสร็จก่อน 31 มี.ค.นี้ แน่นอน สตง.พร้อมร่วมประเมินภาษีชินคอร์ป ด้าน 'นพดล' ชี้หุ้นชินคอร์ปฯขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร หวังดำเนินการตามกฎหมายและหลักนิติธรรม
นพดล ปัทมะ (แฟ้มภาพ)

15 มี.ค.2560 กรณีความพยายามเรียกเก็บภาษี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีขายหุ้นชินคอร์ป ให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ เมื่อปี 2549 คิดเป็นมูลค่า 16,000 ล้านบาท นั้น นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการประเมินภาษีจากเงินได้ส่วนใด จากธุรกรรมตอนใด และจะอาศัยกฎหมายข้อใด ซึ่งในเบื้องต้นตนเห็นว่า เคยมีคำพิพากษาซึ่งสรุปความตอนหนึ่งได้ว่าหุ้นในชิน คอร์ปจำนวนที่รวมขายให้กลุ่มเทมาเส็กในปี 2549 นั้น ทักษิณ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ บุคคลอื่นๆ เป็นเพียงผู้ถือหุ้นแทน ไม่ใช่เจ้าของหุ้น, การขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็กได้ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ตามกฎหมายไทย เงินได้จากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นได้รับยกเว้นภาษีตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 23 ที่ออกตามประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวนี้ใช้มานานแล้วและใช้บังคับเป็นการทั่วไปกับทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น ดังนั้นการขายหุ้นชิน คอร์ปผ่านตลาดหลักทรัพย์ก็อยู่ภายใต้กฎกระทรวงฉบับเดียวกันนี้ ตราบใดที่ไม่มีการแก้ไข

นพดล กล่าวว่า ตนหวังว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและดำเนินการเรื่องนี้ตามกฎหมายและหลักนิติธรรม และยึดหลักความเท่าเทียมเสมอภาคกับทุกคน เชื่อว่า ถ้าทุกฝ่ายทำเช่นนั้น ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับการค้าและการลงทุนในประเทศได้

วิษณุย้ำใช้กม.ปกติดำเนินคดีภาษีหุ้นชิน

วันนี้ (15 มี.ค.60) วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมายได้เรียก ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร มาพบที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือเรื่องการเรียกเก็บภาษี ทักษิณ กรณีขายหุ้นดังกล่าว จากนั้น วิษณุได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษารความสงบแห่งชาติ(คสช.)

วิษณุ เปิดเผยภายหลังเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า กรมสรรพากร ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการ ซึ่งทุกอย่างไปด้วยความเรียบร้อย โดยกรมสรรพากรจะประเมินภาษีก่อนอายุความหมดในวันที่ 31 มี.ค.นี้ จากนั้นจะแจ้งให้ ทักษิณทราบว่าต้องชำระเสียภาษีจำนวนเท่าใด แต่หากไม่มาเสียภาษีต้องเสียค่าปรับ

"ส่วนการส่งหนังสือให้ทักษิณรับทราบเพื่อเสียภาษี ขอไม่เปิดเผยว่าจะส่งไปที่ไหน แต่ถ้าทักษิณไม่ยอมจ่าย ในชั้นนี้รัฐบาลยังไม่ฟ้องศาล เพราะทักษิณยังมีโอกาสยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการประเมินภาษีได้ภายใน 30 วัน ซึ่งขณะนี้กรมสรรพากรพร้อมประเมินภาษีแล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลไม่อยากจะตั้งธงว่าต้องชนะคดี แต่ขอให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย พร้อมเตรียมใจรับกับการถูกฟ้องกลับ ผมเคยถูกฟ้องในคดีอื่นมาก่อน จะไม่ออกกฎหมายคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐไม่ไห้ถูกฟ้องกลับเหมือนคดีจำนำข้าวที่ใช้มาตรา 44 ช่วยเจ้าพนักงานในการปฎิบัติหน้าที่ เรื่องการประเมินภาษีทักษิณต้องทำให้เสร็จในวันที่ 31 มีนาคมนี้ และต้องส่งคำประเมินไปให้ทักษิณให้ถูกต้องตามกฎหมาย  จากนั้นกระบวนการเรียกเก็บภาษีนับหนึ่งใหม่ไปอีก 10 ปี" วิษณุ กล่าว

วิษณุ กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขที่ทักษิณต้องเสียภาษี ยึดตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) แจ้งมาว่าประมาณ 1.6หมื่นล้านบาท  ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่าทักษิณถูกยึดทรัพย์ไปแล้ว 4.6 หมื่นล้านบาท จึงไม่ควรจะเสียภาษีอีกนั้น เป็นคนละส่วนกัน เพราะ 4.6 หมื่นล้านบาท เป็นผลมาจากคดีอาญาที่ชี้ว่าทุจริต ส่วนเรื่องการเสียภาษีเป็นอีกเรื่อง

"การซื้อขายหุ้นของทักษิณเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับกรณีการค้ายาเสพติดที่ถูกยึดทรัพย์และต้องเสียภาษี เหมือนกัน ซึ่งรัฐบาลใช้กฎหมายปกติดำเนินการ ไม่ได้ใช้อภินิหารทางกฎหมาย แต่เป็นการใช้ช่องทางที่พอจะเสี่ยงและหาทางออกได้ โดยทำตามกระบวนการที่มีอยู่ด้วยความรอบคอบ" วิษณุ กล่าว

ส่วนกรณีกระทรวงการคลังตั้งคณะกรรมการสอบเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่ไม่เรียกภาษีนั้น วิษณุ กล่าวว่า ตั้งคณะกรรมการสอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 แล้ว การสอบสวนต้องใช้เวลา เพราะต้องรอฟังข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี  2550-2555 แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ปฎิบัติหน้าที่ถือว่าไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้รับทราบเหตุผลที่กรมสรรพากรไม่ประเมินภาษี มี 3 เรื่อง แต่ไม่ขอเปิดเผย

'สรรพากร' ยันเสร็จก่อนหมดอายุความในวันที่ 31 มี.ค.นี้ แน่นอน

ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงกรณีเรียกเก็บภาษีจาก ทักษิณ ดังกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดต่างๆได้ แต่ยืนยันว่า กระบวนการต่างๆ นั้นจะพิจารณาอย่างรอบคอบ และทุกอย่างจะแล้วเสร็จก่อนหมดอายุความในวันที่ 31 มี.ค. 2560 นี้อย่างแน่นอน 

ทั้งนี้ กระบวนการ หรือขั้นตอนในรายละเอียดคงไม่สามารถเปิดเผยในที่นี้ได้ รวมถึงจำนวนเงินทั้งหมดที่จะรวมค่าเรียกปรับด้วย แต่ยืนยันข้าราชการทุกคนทำทุกอย่างโดยยึดกฎหมาย และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก

สตง.พร้อมร่วมประเมิน หากกรมสรรพากรไม่พร้อม

ขณะที่ พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า หลังจากวิษณุ ประชุมร่วมกับสำนักงานกฤษฎีกา อัยการสูงสุด กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สตง. เห็นชอบร่วมกันว่าการออกหมายเรียกเก็บภาษี พานทองแท้ และพิณทองทา ชินวัตร ในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่ากรมสรรพากรไม่ได้ออกหมายเรียกโดยตรงกับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถือเสมือนว่าเป็นหมายเรียกเก็บภาษีจากทักษิณ ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นตัวการในการซื้อขายหุ้น เนื่องจากศาลตัดสินแล้วว่า บุตรทั้ง 2 เป็นเพียงตัวกลาง ผู้รับประโยชน์จากการขายหุ้น คือ ทักษิณ ยืนยันว่า ไม่ได้ใช้แท็กติกทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นช่องทางของกฎหมายสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้

ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปจึงเริ่มใช้มาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากรในการตั้งคณะกรรมการประเมินภาษีเรียกเก็บภาษีจากการขายหุ้นของนายทักษิณ ทำให้การนับอายุความการเรียกเก็บเวลา 10 ปี สิ้นสุดลง และขั้นตอนการประเมินเรียกเก็บภาษีใช้เวลาเพียง 2-3 วัน จึงคาดว่าดำเนินการได้ทันสิ้นเดือนมีนาคมนี้

โดย สตง.พร้อมร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ประเมินภาษีหากสรรพากรไม่พร้อมดำเนินการ เมื่อประเมินภาษีแล้ว สามารถนำเอกสารปิดหน้าบ้านตามภูมิลำเนา แม้นายทักษิณ ไม่อาศัยอยู่สามารถตั้งทนาย หรือตัวแทนดำเนินการได้ ตั้งการอุทธรณ์ และดำเนินการชั้นศาล หากยังไม่ต้องการเสียภาษี จากกรณีการขายหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ รวมเป็นเงินการซื้อหุ้นกว่า 73,000 ล้านบาท เพื่อประเมินมูลค่าภาษีเบื้องต้น 16,000 ล้านบาท 

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น และผู้จัดการออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจ สภ.บ้านโป่ง แจ้งความจำเลยคดีศูนย์ปราบโกง หลังพบโพสต์ดูหมิ่นเจ้าพนักงานในเฟซบุ๊กเมื่อปีก่อน

Posted: 15 Mar 2017 06:02 AM PDT

พ.ต.ท.สรายุทธ บุรีวชิระ รองผู้กำกับการสืบสวน สภ.บ้านโป่ง แจ้งความดำเนินคดีดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และพ.ร.บ.คอมฯ กับจำเลยคดีเปิดศูนย์ปราบโกง เหตุโพสต์ต่อว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อ ก.ค. ปี 59 หลังถูกเจ้าหน้าที่พยายามเข้าค้นบ้านโดยไม่มีหมายค้น

15 มี.ค. 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า บริบูรณ์ เกียงวรางกูร หนึ่งในจำเลยคดีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ จ.ราชบุรี เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา ฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เบื้องต้นให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและจะขอให้การเพิ่มเติมในชั้นศาล ตำรวจอนุญาตปล่อยตัวในชั้นสอบสวนโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกัน

ประมาณ 16.00 น. บริบูรณ์ เกียงวรางกูร หนึ่งในจำเลยคดีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ จ.ราชบุรี และพยานคดีที่นักศึกษา นักกิจกรรม และนักข่าวถูกกล่าวหาว่าตระเตรียมแจกเอกสารประชามติที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้รับหมายเรียกให้มาพบพนักงานสอบสวน สภ.บ้านโป่ง เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำตามหน้าที่ และนำเข้าสู่รับบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ซึ่งบริบูรณ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

ข้อกล่าวหาระบุว่า วันที่ 15 ก.ค. 2559 พ.ต.ท.สรายุทธ บุรีวชิระ รองผู้กำกับการสืบสวน สภ.บ้านโป่ง ผู้กล่าวหา ตรวจสอบพบว่า เฟซบุ๊กของบริบูรณ์ได้โพสต์ข้อความอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย โดยกล่าวตำหนิ ดูหมิ่น เสียดสี การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กล่าวหา

ในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหามีใจความว่า เนื่องจากเมื่อ 14 ก.ค. 2559 พ.ต.ท.สรายุทธ ผู้กล่าวหา ซึ่งเป็นตำรวจได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง เข้าทำการตรวจสอบที่บ้านพักของผู้ต้องหา เพื่อค้นหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ต่อต้านการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 หลังจากนั้นเฟซบุ๊กขอบริบูรณ์ได้โพสต์ข้อความและภาพของ พ.ต.ท.สรายุทธ ผู้กล่าวหา ทำให้ผู้กล่าวหาได้รับความเสียหาย

ข้อกล่าวหายังระบุอีกว่า พ.ต.ท.สรายุทธได้เข้าไปตรวจสอบเฟซบุ๊กแล้วพบภาพของ บริบูรณ์เป็นผู้ใช้งาน จึงเชื่อว่าเฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นของผู้ต้องหา และผู้ต้องหาเป็นผู้โพสต์อย่างแน่นอน จึงมาแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวบริบูรณ์โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว และให้บริบูรณ์มาพบพนักงานสอบสวนตามกำหนดนัด ในวันที่ 17 เม.ย. 2560 เวลา 09.00 น.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

10 แกนนำ นปช. ร่วมคุยปรองดองเสนอยกเลิก ม.44 ด้านประวิตร ลั่นยกเลิกไม่ได้ ชี้ทุกคำสั่งคือกฎหมาย

Posted: 15 Mar 2017 04:30 AM PDT

นปช. เข้าคุยปรองดอง ชี้ปัญหาความขัดแย้งเกิดจาก คู่ขัดแย้งคู่หลัก คณะรัฐประหาร-ผู้รักประชาธิปไตย ระบุชนชั้นนำและพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมปรับตัวไม่ทันกับระบอบประชาธิปไตย จึงเลือกทำรัฐประหารยึดอำนาจไปจากประชาชน

ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย

15 มี.ค. 2560 ที่กระทรวงกลาโหม จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)  พร้อม 9 แกนนำ ประกอบด้วย ธิดา ถาวรเศรษฐ, นพ.แพทย์เหวง โตจิราการ, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์, อารีย์ ไกรนรา, ก่อแก้ว พิกุลทอง, นิสิต สินธุไพร, เกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์ และพรหมณ์ศักดิ์ระพี พรหมชาติ เข้าเสนอความเห็นแนวทางสร้างความสามัคคี ต่อคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง ที่มี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน

โดยได้นำเสนอความคิดเห็น แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ คำตอบสำหรับกรอบคำถาม 10 ข้อ และมุมมองเรื่องการสร้างความปรองดองโดยยึดโยงกับข้อเท็จจริงที่ผ่านมา ภายใต้หลักการความปรองดองจะเกิดได้ด้วยการสร้างประชาธิปไตย

เอกสารของ นปช.ได้ระบุข้อเสนอแนะเรื่องการปรองดอง โดยเริ่มคลี่คลายสาเหตุความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในสังคมมายาวนานนั้น เกิดจากคู่ขัดแย้งหลักระหว่างผู้ปกครองในคณะรัฐประหาร กับผู้ถูกปกครองที่ต้องการระบอบประชาธิปไตย ส่วนความขัดแย้งรองเกิดจากการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจของชนชั้นนำในฝ่ายอนุรักษ์นิยม และทั้งฝ่ายนักการเมืองจากเลือกตั้งกับพรรคอนุรักษ์นิยมด้วยกันเอง

"สิ่งสำคัญคือ เมื่อชนชั้นนำและพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมยังปรับตัวไม่ทันกับระบอบเสรีประชาธิปไตยและยังไม่ได้ชัยชนะในกติกาประชาธิปไตย จึงร่วมมือกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมอื่นๆ รวมทั้งกองทัพทำรัฐประหารยึดอำนาจประชาชนเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐประหาร 2 ครั้งหลัง ช่วงปี 2549 และ 2557 ทำให้ประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงที่จะอยู่ในวัฏจักรการเมืองแบบที่จะมีเลือกตั้งและรัฐประหารวนเวียนเช่นนี้แบบไม่มีอนาคตในระบอบประชาธิปไตย"

นปช.เสนอว่า แม้การปรองดองจะเป็นเรื่องจำเป็นและมีประโยชน์ แต่ประชาชนตั้งข้อสงสัยจะสำเร็จได้โดยมีรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นเจ้าภาพหรือไม่ เพราะบรรยากาศการใช้อำนาจยังมีการควบคุมสิทธิเสรีภาพและการบังคับใช้มาตรา 44 อยู่ตลอดเวลาเป็นอุปสรรค ขัดขวาง และไม่เอื้ออำนวยให้เกิดความปรองดองขึ้นในสังคม

"ทุกฝ่ายต้องจริงใจและสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมแก่การปรองดอง หยุดวาทกรรมแห่งความเกลียดชังและอารมณ์ ใช้หลักการเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้อง โดยการทำความจริงให้ปรากฏโดยมีคณะกรรมการที่น่าเชื่อถือทั้งในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ และมีองค์ความรู้ในการทำการปรองดอง เพื่อนำไปสู่ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ นปช.จึงมีข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้ประกาศ คำสั่ง และมาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่มุ่งหวังจะปิดกั้นสิทธิเสรีภาพประชาชน"

นอกจากนี้ ขอให้หยุดการสร้างความร้าวฉานและความเกลียดชังรอบใหม่ ตลอดจนเรียกร้องต่อการใช้กฎหมาย การออกกฎหมาย มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในประเทศ ให้มีหลักนิติธรรมแท้จริงและยึดโยงกับประชาชน ถูกตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรอิสระที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความขัดแย้งในสังคมไทย มีการเยียวยาทั้งทางคดีความและทางเศรษฐกิจสังคมโดยการทำความจริงให้ปรากฏ มีการยอมรับผิดและการให้อภัยตามหลักการปรองดองที่เป็นสากล

แฟ้มภาพประชาไท: การชุมนุมของ นปช. ที่ถนนอักษะ 6 เม.ย. 2557

สำหรับคำถาม 11 ข้อนั้น นปช.มีข้อสังเกตว่า การตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการต่างๆ ที่ยังไม่เป็นไปตามหลักการปรองดอง ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการ, อนุกรรมการ โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไม่เอื้อต่อการปรองดอง ยิ่งมีการบังคับใช้คำสั่งและกฎหมายต่างๆ รวมทั้งอำนาจมาตรา 44 ตลอดจนยังมีการสร้างวาทกรรมแสดงความเกลียดชังโจมตีผู้เห็นต่างทางการเมือง กระทั่งจากฝ่ายผู้มีอำนาจ ย่อมทำให้บรรยากาศความปรองดองเกิดขึ้นได้ยากมากยิ่งขึ้น

นปช.เสนอว่า คำถาม 11 ข้อที่มุ่งถามเพื่อตอบโจทย์ที่ได้สรุปไว้ล่วงหน้าแล้ว และมิได้สนใจสาเหตุแห่งปัญหา ดังนั้น นปช.จึงเน้นตอบคำถามด้วยหลักคิดทั่วไป คือ อุดมการณ์การเมืองในระบอบประชาธิปไตย หลักคิดเสรีนิยมที่ให้ความเห็นแตกต่างอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ รวมทั้งการยอมรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองด้านต่างๆ และหลักคิดเรื่องนิติรัฐนิติธรรมของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ

"ในคำถาม 11 ข้อเราสนใจประเด็นการเมือง, ความเหลื่อมล้ำ, กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม การทำการปฏิรูปเพื่อให้เกิดการปรองดองและข้อสุดท้ายซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและการแก้ไขในทัศนะของ นปช."

ในคำถามด้านการเมืองนั้น นปช.เสนอให้ยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศชาติ การเมืองการปกครองมีเป้าหมายที่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ให้คู่ขัดแย้งเลิกถือเอาบุคคลสำคัญกว่าระบบและระบอบ ไม่ใช้การทหารและความรุนแรงมาแก้ปัญหาทางการเมือง โดยให้การเมืองแก้ความขัดแย้งด้วยการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ไม่สนับสนุนการทำรัฐประหารและการออกกฎหมาย, คำสั่งจากระบอบรัฏฐาธิปัตย์เพื่อปราบปรามประชาชน

"คำสั่งต่างๆ และรัฐธรรมนูญที่มาจากระบอบรัฏฐาธิปัตย์ไม่ว่าจะเป็นฉบับชั่วคราวและฉบับประชามติที่ไม่เป็นไปตามกติกาประชาธิปไตยต้องยกเลิกและดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งยกเลิกกฎหมายและระเบียบใดๆ ที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ที่ไม่ชอบธรรม"

ส่วนการปฏิรูปประเทศและการวางยุทธศาสตร์ชาตินั้น นปช.เสนอให้ดำเนินการในช่วงเวลาที่มีรัฐบาลที่มาจากประชาชนตามกติการะบอบประชาธิปไตย องค์กรรัฐข้าราชการต่าง ๆ ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนต้องขึ้นต่ออำนาจรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ทำตัวเป็นอิสระและมีอำนาจเหนืออำนาจประชาชนในระบอบประชาธิปไตย"

นปช.ยังเสนอให้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมต้องยึดโยงกับประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ตรวจสอบได้ อยู่บนพื้นฐานนิติธรรมและความเท่าเทียมกันและสอดคล้องกับกฎหมายและกติกาสากล ทั้งต้องได้รับการปฏิรูปให้เป็นนิติธรรมตามกรอบประชาธิปไตย ที่สำคัญองค์กรอิสระต้องได้รับการปฏิรูปให้ยึดโยงกับประชาชน ตรวจสอบได้และมีอำนาจเหมาะสมตามระบอบประชาธิปไตย

สำหรับปัญหาความเหลื่อมล้ำ นปช.เชื่อว่า ได้ผูกติดกับการเมืองที่ต้องการความเท่าเทียม ต้องเน้น ระบบสวัสดิการของรัฐ การใช้ระบบภาษีที่ก้าวหน้า ภาษีมรดก และการจำกัดการถือครองที่ดินขนาดใหญ่ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยต้องปรับให้มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลกบนลักษณะเฉพาะของไทย และประชาชนถูกยกระดับด้านความรู้ความสามารถและรายได้จนสามารถแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ

"ประเด็นปฏิรูปเร่งด่วนที่เสนอคือ การปฏิรูประบบราชการทหารพลเรือน, องค์กรอิสระ, กระบวนการยุติธรรม, การศึกษา, ระบบตรวจสอบแบบสากลที่ได้มาตรฐาน ด้านเศรษฐกิจต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ความล้าหลังในภาคการผลิต, และรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น โดยการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ ต้องอยู่ในแนวทางและบรรยากาศของรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย อันยึดโยงกับประชาชน"

นปช. เสนอว่า การแก้ไขปัญหาให้อยู่ร่วมกันได้โดยสันติสุขต้องสร้างการยอมรับระบอบประชาธิปไตยแบบโลกเสรีประชาธิปไตยและกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิพลเมืองต่าง ๆ ต้องสร้างนิติรัฐนิติธรรมบนพื้นฐานความเท่าเทียมของคน ต้องมีการปรองดองตามหลักการและทำให้ความจริงปรากฏ และต้องเยียวยาผู้สูญเสียในอดีตอย่างเหมาะสมในด้านต่างๆ

รวมทั้งคดีความตลอดจนการลดเงื่อนไขความขัดแย้งในอนาคต เพื่อระงับความขัดแย้งรุนแรงในอนาคตเราเรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่มาจากประชาชนจากอำนาจประชาชนและยกเลิกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ที่เกิดจากคณะรัฐประหารทุกฉบับที่ยังมีผลใช้อยู่ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปบรรดากฎหมายที่ขัดหลักนิติธรรมและไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งขอให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งเข้าสู่กระบวนการปรองดองตามหลักการรวมทั้งกองทัพ และ คสช.

พลเอกประวิตร ยันทุกคำสั่งของ คสช. เปรียบเหมือนกฎหมาย ไม่สามารถยกเลิกได้

ด้านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุยังไม่ทราบข้อเสนอของ นปช.ที่เสนอให้ยกเลิกมาตรา 44 และทุกคำสั่งของ คสช.โดยระบุว่าคำสั่งก็คือคำสั่ง ทุกประกาศของ คสช.เปรียบเหมือนกฎหมายที่บังคับใช้ไปแล้ว ซึ่งกระทำเพื่ออนาคตให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ และอะไรที่เป็นกฎหมายไปแล้วก็ไม่สามารถยกเลิกได้

ส่วนการเสนอว่าการปฏิรูปประเทศควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้น พลเอกประวิตร ระบุว่าคสช.เป็นเพียงผู้ดำเนินการเริ่มต้นในระยะแรกเมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องดำเนินการต่อ ในด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศ ซึ่ง คสช.ทำได้แค่ไหนก็ทำเท่านั้นไม่ได้คิดที่จะทำตลอด ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ

 

ที่มาจาก: ประชาชาติออนไลน์ , สำนักข่าวไทย 1, 2

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลานพลทหารวิเชียร จ่อยื่นขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ครั้งที่ 2 พรุ่งนี้

Posted: 15 Mar 2017 03:11 AM PDT

นริศราวัลถ์ หลานพลฯวิเชียร เตรียมเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ครั้งที่สอง พรุ่งนี้ กรณีถูกดำเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นประมาทฯ และความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หลังโพสต์โวยน้าชายถูกซ้อมจนเสียชีวิตเมื่อปี 54 ที่หน่วยฝึกค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 

นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ (แฟ้มภาพประชาไท)

15 มี.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมว่า ในวันพรุ่งนี้ (16 มี.ค.2560) เวลา 10.00 น. นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หรือ เมย์ พร้อมทีมทนายความ จะเดินทางไปยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ณ สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (อาคาร A) ในกรณีที่ นริศราวัลถ์ ถูกแจ้งความดำเนินคดีในความผิดข้อหาหมิ่นประมาท และความผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ ตกเป็นผู้ต้องหาในคดี อาญาที่ 773/2558 สภ.เมืองนราธิวาส จนถูกจับกุมตามหมายจับศาลจังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2559 ที่ผ่านมา จากสถานที่ทำงานที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพมหานคร และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในเวลาต่อมา

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า 14 มี.ค. 2560 นริศราวัลถ์ ได้รับทราบจากรองผู้บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศตช.) ว่าได้มีความเห็นแย้งกับพนักงานอัยการ โดยทาง ศตช.เห็นควรส่งฟ้องศาลฐาน "หมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ควรให้สอบสวนเพิ่มเติม 5 ประเด็น และส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดชี้ขาด"   

คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากการที่พลทหารวิเชียร เผือกสม น้าชายของ นิรศราวัลภ์ ถูกซ้อมจนเสียชีวิตเมื่อปี 2554 ที่หน่วยฝึกค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส โดย นริศราวัลถ์ ได้เป็นตัวแทนของครอบครัวเรียกร้องความเป็นธรรม จนกระทั่งจากการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่และ ปปท. ซึ่งใช้เวลานานถึง 5 ปี จึงพบว่า ร.อ.ภูริ เพิกโสภณ เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าว 

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2558  ร.อ.ภูริ โสภณ ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) กล่าวหาว่า นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ ใช้เฟซบุ๊กโพสต์และแชร์รูปพร้อมข้อความหมิ่นประมาท ร.ท.ภูริ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง โดยพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนราธิวาส ได้ตั้งข้อหา "หมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" และพนักงานสอบสวนได้มีความเห็นเสนออัยการว่าควรสั่งฟ้องทั้งสองข้อหา

ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2559  อัยการจังหวัดนราธิวาสได้มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง นริศราวัลถ์ ทุกข้อกล่าวหา จึงต้องส่งไปให้ผู้บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 115/2557

นริศราวัลถ์ จะเดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ในวันที่ 16 มี.ค. 2560 เวลาประมาณ 10.00 น. ณ สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคารA) ชั้น 2 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พร้อมนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมอบให้อัยการสูงสุดใช้ประกอบการพิจารณาและสั่งคดีเพื่อความเป็นธรรมต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยมาตรา 14(1) เรื่องการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีการแก้ไขใจความสำคัญโดยเพิ่มองค์ประกอบว่า เป็นการนำเข้า "โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง" และเพิ่มข้อความ "อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา" และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ของ สนช. ย้ำหลายครั้งในต่างกรรมต่างวาระว่า มาตรา 14(1) ไม่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของ สนช.แล้ว และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ค.นี้ (120 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภ.คลองหลวงยอมรับ จับเด็ก 14 ปีถือป้ายกรณีธรรมกาย ส่งสถานพินิจ

Posted: 15 Mar 2017 03:04 AM PDT

15 มี.ค. 2560 กรณีมีกระแสข่าวในโซเชียลมีเดียว่า เด็กชาย วัย 14 ปี ถูกจับกุมด้วยข้อหาถือป้ายขอให้ยกเลิกมาตรา 44 กรณีวัดพระธรรมกาย โดยระบุว่า เขาถูกนำตัวไปที่ สภ.คลองหลวง เมื่อวันที่ 8 มี.ค. และถูกส่งตัวไปสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปทุมธานี

ประชาไทสอบถามไปยังห้องพนักงานสอบสวน สภ.คลองหลวง ได้รับการยืนยันว่ามีการนำตัวเด็กชายดังกล่าวไปที่ สภ.จริง ก่อนจะนำตัวไปที่สถานพินิจในวันเดียวกัน

ขณะที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้ข้อมูลว่า จากการติดต่อสอบถาม เจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ ยืนยันว่า เด็กชายดังกล่าวยังอยู่ที่สถานพินิจฯ

ด้านพระสิทธิชัย โสตฺถิชโย พระวัดพระธรรมกาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีดังกล่าวว่า เด็กชายคนดังกล่าวเคยบวชเป็นสามเณร และแสดงธรรมให้ชาวบ้านฟังด้วย ส่วนเรื่องคดีนั้น ทางทีมทนายคณะศิษย์ระบุว่า ล่าสุด เรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์เพื่อ ขอประกันตัว ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงรอคำสั่งอยู่

โดยมีการระบุว่า ก่อนหน้านี้ พ่อของเด็กมาถึงวันศุกร์ที่ 10 มี.ค. ตอนเย็น แต่ว่าเลยเวลาราชการ จึงไม่สามารถเข้าติดต่อเพื่อยื่นประกันตัวเด็กชายได้ ต่อมาในวันเสาร์ ได้เดินทางมาที่ศาลเยาวชนจังหวัดปทุมอีกครั้ง แต่ศาลไม่อนุมัติให้ประกันตัว เพราะเป็นวันหยุดราชการ

ต่อมา วันจันทร์ พ่อของเด็กมาทำเรื่องขอประกันตัว แต่ศาลไม่อนุมัติ เพราะชื่อบัตรประชาชนของพ่อ ไม่ตรงกับใบสูติบัตรของเด็กชาย จึงประสานให้แม่ลงมาจาก อมก๋อย เพื่อมายื่นเรื่องประกันตัวเด็ก วันอังคาร แม่ของเด็กได้มาขอประกันตัว ที่ศาลเยาวชนจังหวัดปทุม แต่ศาลก็ไม่อนุมัติให้ประกันในมูลเหตุที่ว่า มารดา และบิดา อยู่ต่างที่กัน และไม่สามารถอบรม และดูแลเด็กได้ จึงให้อยู่ในการดูแลของสถานพินิจ เพื่อปรับปรุงแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู พฤติกรรม
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ผ่านเกณฑ์สอบใบขับขี่ใหม่ อบรม 15 ชม. โดย ร.ร.สอนขับรถ เพดานไม่เกิน 6,000 บาท

Posted: 15 Mar 2017 01:30 AM PDT

ครม. อนุมัติการออกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ระบุ ผู้ขอใบอนุญาตเรียนอบรมขั้นตอนต่าง ๆ ครบ 15 ชั่วโมง ผู้ขอใบอนุญาตต้องผ่านการเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถเอกชน เพดานค่าเรียนสูงสุดไม่เกิน 6,000 บาท  

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา รายงานข่าวระบุว่า อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติแนวทางยกระดับการออกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะให้การออกใบอนุญาตขับขี่ในอนาคตมีลักษณะออกยากแต่ยึดง่าย เพื่อเป็นเกณฑ์เป้าหมายให้ผู้ขับรถที่ได้รับอนุญาตมีคุณภาพสูงขึ้น โดยหลังจาก ครม.ผ่านความเห็นชอบก็จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎกระทรวงต่อไป  ซึ่งการดำเนินการยืนยันว่าอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการยกมาตรฐานผู้ใช้รถใช้ถนน

สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า แนวทางการออกใบอนุญาตในอนาคตจะมีวิธีปฏิบัติ คือ ผู้ขอใบอนุญาตต้องผ่านการเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถเอกชน ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการพร้อมแล้วทั่วประเทศ 90 แห่ง ผู้ขอใบอนุญาตเรียนอบรมขั้นตอนต่าง ๆ ครบ 15 ชั่วโมง โรงเรียนสอนขับรถจะส่งรายชื่อผู้ขอสอบมาที่กรมการขนส่งทางบก โดยจะส่งข้อมูลทางออนไลน์  หลังจากนั้นผู้ที่ต้องการสอบใบอนุญาตจะต้องมาแสดงตัวที่กรมฯ หรือขนส่งจังหวัดที่จะออกใบอนุญาตขั้นตอนสุดท้ายให้  โดยจะครอบคลุมถึงผู้ที่มีใบขับขี่แล้วหากจะมีการต่อใบอนุญาตต้องไปผ่านการอบรมจากโรงเรียนสอนขับรถเอกชน 1 ชั่วโมง ก่อนออกใบอนุญาตต่อใบขับขี่เช่นเดียวกัน ซึ่งแนวปฏิบัตินี้จะต่างจากเดิมที่ผู้สอบใบขับขี่ต้องอบรมที่กรมฯ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง และผู้ต่อใบอนุญาตไม่ต้องอบรม
 
ส่วนการเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถจะมีการกำหนดเพดานค่าเรียนสูงสุดไม่เกิน 6,000 บาท  ส่วนผู้อบรมจะเสียค่าอบรมที่กำหนดอัตราในอนาคต แต่เชื่อว่าจะเป็นราคาที่ไม่สูงและประชาชนรับได้  ส่วนพื้นที่จังหวัดที่ขณะนี้ยังไม่มีโรงเรียนสอนขับรถก็จะให้ขนส่งจังหวัดเป็นหน่วยงานสอนและอบรมให้แก่ผู้ต้องการออกใบขับขี่
 
รายงานข่าวระบุด้วยว่า การปรับหลักเกณฑ์ออกใบอนุญาตดังกล่าว  กรมการขนส่งทางบกศึกษาแนวทางระยะหนึ่ง  โดยที่ผ่านมานอกจากเป้าหมายต้องการยกระดับคุณภาพสอบใบอนุญาตแล้วปริมาณผู้ต้องการสอบใบขับขี่ที่สูงขึ้นทุกวัน  ขณะที่หสน่วยงานราชการทั้งส่นกลางและต่างจังหวัดมีเจ้าหน้าที่รองรับไม่มาก  ส่งผลให้ผู้ประสงค์สอบใบขับขี่ในปัจจุบันต้องเข้าคิว เพื่อรอการสอบ  ซึ่งบางรายต้องใช้เวลารอมากกว่า 3 เดือน แนวทางการนำโรงเรียนสอนขับรถควบคุมนั้นก็ช่วยให้การสอบใบขับขี่รวดเร็วมากขึ้น

สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีดังนี้

1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการขอต่ออายุและการขออนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2548

2. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวและใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ส่วนบุคคลชั่วคราวต้องใช้หลักฐานผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดจากโรงเรียนการขนส่งหรือโรงเรียนสอนขับรถเป็นหลักฐานประกอบคำขอตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป

3. กำหนดนิยามคำว่า "โรงเรียนการขนส่ง" และ "โรงเรียนสอนขับรถ"

4. กำหนดให้ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ให้ยื่นคำขอตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางและใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือเอกสารหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักร หรือใบอนุญาตทำงาน พร้อมด้วยภาพถ่าย ใบรับรองแพทย์ และหลักฐานการรับรอง ซึ่งแสดงว่าได้ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดจากโรงเรียนการขนส่งหรือโรงเรียนสอนขับรถ

5. กำหนดให้ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานส่วนบุคคล ให้ยื่นคำขอตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน และใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบอนุญาต ขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใบอนุญาต ขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พร้อมด้วยภาพถ่าย แล้วแต่กรณี ในกรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าวต้องมิใช่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเพื่อการท่องเที่ยว การเล่นกีฬา การเดินทางผ่านราชอาณาจักร หรือแรงงานต่างด้าวซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ

6. กำหนดให้ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่อธิบดีกำหนดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน และใบอนุญาตขับรถรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล พร้อมด้วยภาพถ่าย แล้วแต่กรณี ใบรับรองแพทย์แสดงว่าไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตราย และไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ ได้แก่ วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม รวมทั้งหลักฐานแสดงว่าไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความคิดที่กำหนด

7. กำหนดให้ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ให้ยื่นคำขอตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานและใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถซึ่งยังไม่สิ้นสุดอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย แล้วแต่กรณี รูปถ่าย และในกรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าวต้องมิใช่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเพื่อการท่องเที่ยว การเล่นกีฬา การเดินทางผ่านราชอาณาจักร หรือแรงงานต่างด้าวซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ

8. กำหนดให้ผู้ที่จะต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบอนุญาตขับรถบดถนน  ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์ หรือใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นตามที่กำหนด ให้ยื่นคำขอล่วงหน้าก่อนใบอนุญาตขับรถเดิมสิ้นอายุไม่เกิน 30 วัน ตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยใบอนุญาตขับรถเดิม บัตรประจำตัวประชาชน ใบรับรองแพทย์ ในกรณีที่ผู้ขอเป็นคนต่างด้าวต้องมิใช่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเพื่อการท่องเที่ยว การเล่นกีฬา การเดินทางผ่านราชอาณาจักร หรือแรงงานต่างด้าว ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ และให้ยื่นใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางและใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือเอกสารหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักร หรือใบอนุญาตทำงาน พร้อมด้วยภาพถ่าย

9. กำหนดให้ผู้ที่จะต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้ยื่นคำขอล่วงหน้าก่อนใบอนุญาตขับรถเดิมสิ้นอายุไม่เกิน 30 วัน ตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยใบอนุญาตขับรถเดิม บัตรประจำตัวประชาชนใบรับรองแพทย์ และเอกสารหลักฐานแสดงว่าไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกตามที่กำหนด

10. กำหนดให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของแพทยสภาอาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบรับรองแพทย์สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการขอรับหรือต่ออายุใบอนุญาตขับรถ

11. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ หรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถต้องผ่านการอบรมและทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ซึ่งอย่างน้อยต้องทำการทดสอบความสามารถของปฏิกิริยาและสายตา การอบรมและทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วยความรู้ด้านกฎหมายและข้อบังคับการเดินรถ จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถ ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน การเตรียมความพร้อมก่อนขับรถ และการทดสอบขับรถ

ที่มา : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล และสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผอ.ไทยพีบีเอสประกาศลาออก รับผิดชอบปมซื้อหุ้นกู้ซีพีเอฟ

Posted: 15 Mar 2017 12:49 AM PDT


15 มี.ค. 2560 หลังกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณีไทยบีพีเอสลงทุนซื้อหุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) ล่าสุด เมื่อเวลา 20.09 น. เว็บไซต์ไทยพีบีเอส รายงานว่า กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. แล้ว หลังมีการซื้อตราสารหนี้ของบริษัทเอกชนจนนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์จากหลายภาคส่วน

กฤษดา ระบุว่า แม้ว่าการดำเนินงานจะถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แต่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน รวมทั้งเครือข่ายที่เคยทำงานร่วมกับไทยพีบีเอส ซึ่งตนเองได้รับฟังข้อกังวลจากทุกฝ่ายและน้อมรับคำแนะนำ จึงขออภัยต่อการดำเนินการที่กระทบความรู้สึกของทุกคนเป็นอย่างมากและขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากผู้อำนวยการไทยพีบีเอส


ยอมถอย ไทยพีบีเอสยุติลงทุนหุ้นกู้ที่สังคมสงสัย-ชงบอร์ดเร่งพิจารณา
ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา มีการเผยแพร่คำชี้แจงของคณะผู้บริหาร องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส ผ่านเว็บไซต์องค์กร โดยระบุว่า จะพิจารณาทบทวนกรอบนโยบายลงทุน รวมทั้งการยุติการลงทุนในตราสารหนี้บางบริษัท ที่อาจจะส่งผลให้ภาคประชาชนและสังคมโดยรวมเกิดข้อสงสัยและความคลางแคลงใจ โดยจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. พิจารณาโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม คณะผู้บริหาร ส.ส.ท. ชี้แจงด้วยว่า การบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว ได้ดำเนินการตามกรอบนโยบายลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย โดยได้ปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาทางการเงินก่อนแล้ว โดยเป็นการลงทุนในตราสารหนี้เท่านั้น ไม่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญหรือตราสารทุนประเภทอื่นๆ อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุผลการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำกว่า และบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดีกว่า
 

สมเกียรติชี้ไม่ผิดทางกฎหมาย แต่อาจมีปัญหาเชิงสัญลักษณ์ 
อนึ่ง วานนี้ สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่าง พ.ร.บ.ไทยพีบีเอส ระบุในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ต่อคำถามว่าไทยพีบีเอสในฐานะองค์กรสื่อสาธารณะ ไม่ควรลงทุนในตลาดทุน เพราะจะเป็นการแสวงหาผลกำไรใช่หรือไม่นั้น มาตรา 11 ของกฎหมายไทยพีบีเอส เขียนไว้ชัดเจนว่า รายได้ของไทยพีบีเอส มาจาก 7 แหล่ง โดยแหล่งหนึ่งคือดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สิน ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนจากการลงทุน การที่ไทยพีบีเอสไปลงทุนในการซื้อตราสารหนี้จึงไม่น่าจะเป็นปัญหาในข้อกฎหมายแต่อย่างใด

"ในประเทศไทย มีความเข้าใจผิดว่า องค์กรสาธารณะไม่สามารถ หรือไม่ควรลงทุนใดๆ นอกจากฝากเงินกับธนาคาร มิฉะนั้นจะเป็นการแสวงหาผลกำไร ซึ่งผิดวัตถุประสงค์องค์กร ผลก็คือองค์กรต่างๆ รวมทั้งมูลนิธิจำนวนมากมีปัญหาการขยายกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของตน เพราะขาดเงินทุน ในความเป็นจริง เส้นแบ่งของหน่วยงานแสวงหาผลกำไร และหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรคือ มีการนำส่วนของรายได้ที่มากกว่ารายจ่ายมาแบ่งกันในรูปเงินปันผลหรือไม่ ไม่ใช่ว่ารายได้มาจากไหน"

ต่อคำถามว่า การไปลงทุนตราสารหนี้ของซีพีเอฟ จะทำให้ไทยพีบีเอสเสียความอิสระในการเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับซีพีเอฟหรือไม่นั้น เขากล่าวว่า การลงทุนตราสารหนี้ของซีพีเอฟ ทำให้ไทยพีบีเอสมีฐานะเป็น "เจ้าหนี้" ของซีพีเอฟ ไม่ใช่เป็น "ผู้ถือหุ้น" ดังที่จะเกิดจากการลงทุนในหุ้น ความแตกต่างก็คือ เจ้าหนี้จะได้ผลตอบแทนในอัตราแน่นอนคือ ดอกเบี้ย โดยไม่ขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทเหมือนการได้เงินปันผลของผู้ถือหุ้น ในแง่มุมดังกล่าว กรณีนี้จึงไม่แตกต่างจากการที่ไทยพีบีเอสเอาเงินไปฝากธนาคารสักแห่ง เพราะมีผลทำให้ไทยพีบีเอสมีฐานะเป็น "เจ้าหนี้" ของธนาคารนั้นเช่นกัน และไม่น่าจะทำให้ไทยพีบีเอสทำข่าวที่เกี่ยวกับธนาคารนั้นอย่างตรงไปตรงมาไม่ได้

"ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า การลงทุนของไทยพีบีเอส ในตราสารหนี้ของซีพีเอฟจะไม่มีประเด็นคำถามเลย เพราะการไปลงทุนที่เฉพาะเจาะจงในกิจการใดนั้น นอกจากจะมีมิติด้านการเงินแล้ว ยังมีมิติในเชิง "สัญลักษณ์" ด้วย โดยการลงทุนนั้นอาจถูกมองว่าเป็นการ "สนับสนุน" องค์กรที่ไปลงทุนนั้น ในต่างประเทศ กองทุนต่างๆ เช่น กองทุนบำนาญข้าราชการของแคลิฟอร์เนีย (CalPERS) ซึ่งมีแนวคิดก้าวหน้า จะหลีกเลี่ยงจากการลงทุนในกิจการที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ละเมิดสิทธิแรงงานหรือไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยหวังว่าความเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของตนจะช่วยปรับพฤติกรรมของบริษัทต่างๆ ได้

"ในประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีการตั้ง "กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย" ซึ่งมุ่งลงทุนในหุ้นที่มีธรรมาภิบาลดี แล้วเอาเงินปันผลส่วนหนึ่งไปสนับสนุนงานต่อต้านคอรัปชัน ซึ่งมีผลดีทั้งมิติทางสังคมและมิติทางสัญลักษณ์ ดังนั้น คำถามในเรื่องนี้ก็คือ ไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นองค์กรสื่อที่มีภารกิจเพื่อมุ่งสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ ควรลงทุนในซีพีเอฟหรือไม่? หากดูท่าทีของสาธารณะต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในเครือซีพีในกรณีต่างๆ ที่ผ่านมา ผมเห็นว่า ผู้บริหารไทยพีบีเอสควรพิจารณาทบทวนการลงทุนนี้อีกครั้ง เรื่องนี้ไม่ถึงกับมีผลกระทบเสียหายอะไรมากมาย ถ้าทำไปโดยไม่ได้คิดให้รอบคอบ ก็คิดใหม่ ทำใหม่ได้ครับ" สมเกียรติระบุ

 

จากกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นจากสังคม ถึงการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ด้วยการนำสินทรัพย์สภาพคล่อง (รายได้ที่ยังไม่ถึงกำหนดใช้จ่าย) ไปซื้อตราสารหนี้ เพื่อทำให้สินทรัพย์สภาพคล่องนั้นสร้างรายได้และถูกนำไปพัฒนาองค์กร ซึ่งกรณีนี้มีผู้ชมผู้ฟังส่วนหนึ่ง ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมของการลงทุนดังกล่าว และกังวลว่าจะกระทบความเป็นอิสระในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะ ผู้บริหาร ส.ส.ท. ขอขอบคุณในทุกข้อคิดความเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ผู้บริหาร ส.ส.ท. รู้สึกเสียใจและขออภัยที่สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนที่ติดตามไทยพีบีเอสมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร ส.ส.ท ขอเรียนชี้แจงว่า การบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อให้การบริหารเงินรายได้ที่รอถึงกำหนดจ่าย มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด โดยมีการจัดการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เป็นเงื่อนไขกำกับการลงทุน คือ ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับเครดิตในระดับ A (จัดอันดับโดย TRIS) ซึ่งหมายถึงตราสารที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำ มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นในเกณฑ์สูง

ส่วนเรื่องการใช้ดุลยพินิจนั้น กลไกการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง ระเบียบ ส.ส.ท.กำหนดให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่จัดทำกรอบนโยบายลงทุนเสนอให้คณะกรรมการนโยบายอนุมัติในทุกปีงบประมาณ โดยเสนอขออนุมัติพร้อมกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว ฝ่ายบริหารจึงดำเนินการบริหารจัดการในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเงินฝากในสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ (พันธบัตรและหุ้นกู้) ซึ่งการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องในปีงบประมาณ 2560 ก็ดำเนินการตามกรอบนโยบายลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบาย และการตัดสินใจเลือกลงทุนในตราสารหนี้บริษัทใดบริษัทหนึ่งนั้น ฝ่ายบริหารจะมีการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน โดยลงทุนในตราสารหนี้เท่านั้น ไม่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญหรือตราสารทุนประเภทอื่นๆ อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุผลการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำกว่า และบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันในหลักการของสื่อสาธารณะ ที่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรอบด้าน เสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อคิดความเห็นต่าง ๆ ต่อการบริหารสินทรัพย์สภาพคล่องของส.ส.ท. จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหาร ส.ส.ท ตระหนัก และเล็งเห็นว่าจำเป็นต้องมีการพิจารณาทบทวนกรอบนโยบายลงทุน รวมทั้งการยุติการลงทุนในตราสารหนี้บางบริษัท ที่อาจจะส่งผลให้ภาคประชาชนและสังคมโดยรวมเกิดข้อสงสัยและความคลางแคลงใจ โดยจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท. พิจารณาโดยเร็วที่สุด


คณะผู้บริหาร ส.ส.ท.
15 มีนาคม 2560

 

 

หมายเหตุ: มีการเพิ่มเติมเนื้อหาข่าวและแก้ไขพาดหัว เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 15 มี.ค. 2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วีระ เข้ามอบตัวรับทราบข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมฯ ปมโพสต์โพลวัดความเชื่อมั่นต่อประยุทธ์แล้ว

Posted: 15 Mar 2017 12:37 AM PDT

วีระ สมความคิด เข้าพบ ปอท.รับทราบข้อกล่าวหาตามหมายจับศาล คดี พ.ร.บ.คอมฯ ปมโพสต์โพลวัดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีแล้ว ด้านประยุทธ์ ย้ำมีคนร้องทุกข์กล่าวโทษ ตนไม่ได้เป็นคนร้องทุกข์ ขอให้ทุกคนระมัดระวัง

15 มี.ค. 2560 จากกรณีเมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาญา ออกหมายจับ วีระ สมความคิด ในข้อหา นำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ปลอม ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการโพสต์เฟซบุ๊กทำโพลวัดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลโพลออกมาทำนองว่าประชานส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

วานนี้ (14 มี.ค.60) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า มีคนร้องทุกข์กล่าวโทษ ตนไม่ได้เป็นคนร้องทุกข์ 

"ผมไปสั่งใครไม่ได้อยู่แล้ว นี่ไงเวลาเรื่องอย่างนี้ บอกว่าไม่เป็นธรรม ถ้าอะไรที่เข้าตัวเองโดนหมดกลับมาหมดล่ะ แล้วเวลาตัวเองทำ ไม่รู้ว่าทำผิดทำถูก กฎหมายมีอยู่แล้ว ไม่ระมัดระวังเอง เพราะฉะนั้นนี่ล่ะกระบวนการที่เขาดูแลเรื่องกฎหมายอยู่ รัฐบาลไม่ต้องไปสั่งทุกเรื่อง ถ้าเขายังพูดจาเสียหายอะไรอีก ก็ยังมีคนฟ้องอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ระมัดระวังด้วยทุกคน ผมไม่ไปยุ่งเกี่ยวตรงนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ภาพวีระเข้ารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมกลุ่มคนมาให้กำลังใจ (ที่มาภาพ เพจ Banrasdr Photo)
 
ขณะที่วันนี้ (15 มี.ค.60) โพสต์ทูเดย์ เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) วีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) เดินทางมายัง บก.ปอท.พบ พ.ต.ท.สัณห์เพ็ชร หนูทอง รอง ผกก.(สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. เพื่อมารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายจับศาลอาญาดังกล่าว โดยมีทนายความและเพื่อนๆ มาให้กำลังใจ
 
วีระ กล่าวก่อนให้ปากคำว่า ตนมารายงานตัวตามหมายเรียก แต่ทำไมตำรวจ บก.ปอท.ถึงไม่ออกหมายเรียกมาก่อน แต่กับออกหมายจับเลย ทั้งๆที่ตนไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี ส่วนที่ตนโพสต์เรื่องโพลสำรวจความนิยมของรัฐบาล ซึ่งซูปเปอร์โพล ก็เคยทำเรื่องนี้ 2 ครั้ง และมีคนเข้ามาถามในเฟซบุ๊กตน ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กสาธารณะ ใครๆก็เข้าดูได้ และมีการตั้งคำถามกับตนว่า ทำไมวีระ ถึงไม่ทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเอง ส่วนคำถามที่ไปโพสต์ถามประชาชน ตนก็เอามาจาก 7 ข้อ คำขวัญตามเพลงคืนความสุขให้ประชาชน
 
"ผมไม่รู้จะผิดตรงไหน เป็นการแสดงความคิดเห็นของเสรีชน ส่วนผิดข้อหาใดบ้าง ยังไม่ทราบ ต้องรอพนักงานสอบสวนแจ้งก่อน และวันนี้ทนายความก็ได้เตรียมหลักทรัพย์มา เพื่อขอประกันตัวชั้นพนักงานสอบสวน เงินทั้งหมดมาจากกลุ่มเพื่อนที่ตนเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 6 โดยเรี่ยไรเงินมาช่วย หากจบคดีก็เอาเงินคืน ยืนยันพร้อมต่อสู้คดี" วีระ กล่าว 
 
รายงานข่าวระบุด้วยว่าหลังจากนั้น นายวีระ พร้อมทนายความเดินเข้าพบ พ.ต ท.สัณห์เพ็ชร โดยไม่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้าร่วมฟังการสอบปากคำ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

13th: ภาพยนตร์ตีแผ่การจับคนผิวดำไปเป็นทาสยุคใหม่ในสหรัฐอเมริกา

Posted: 15 Mar 2017 12:03 AM PDT


 

ระบบทาสได้สิ้นสุดอย่างเป็นทางการเมื่อ 150 ปีที่แล้ว แต่เอวา ดูเวอร์เนต้องการให้คุณเห็นอีกแง่มุมหนึ่งต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมซึ่งได้ยกเลิกมัน  

ภาพยนตร์สารคดีของเธอที่มีชื่อว่า "13th" คือการตีแผ่อย่างทรงพลังที่ว่าระบบการใช้แรงงานในคุกยุคใหม่นั้นเป็นอย่างไร ภาพยนตร์ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกผ่านเน็ตฟลิกซ์และในโรงภาพยนตร์บางโรงเมื่อวันศุกร์ได้สะท้อนถึงความจริงอันเปี่ยมด้วยอารมณ์และสอดคล้องกับยุคสมัยซึ่งอยู่ในช่วงเหตุการณ์สำคัญคือการเลือกตั้ง (ประธานาธิบดีสหรัฐฯ – ผู้แปล) และขบวนการชีวิตคนดำก็มีค่า (Black Lives Matter movement)

"13th" ได้รับการยืนปรบมือเพื่อเป็นเกียรติจากผู้ชมเมื่ออาทิตย์ที่แล้วในเทศกาลภาพยนตร์นิวยอร์ก มันกลายเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่นำออกฉายเพื่อเปิดเทศกาลอันทรงเกียรติดังกล่าว ชื่อของภาพยนตร์หมายถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 อันนำไปสู่การยกเลิกระบบทาสอย่างเป็นทางการ แต่    ดูเวอร์เนเน้นไปที่บทยกเว้นของการแก้ไขดังกล่าวซึ่งระบุว่า ระบบทาสและการตกเป็นทาสผู้อื่น (Servitude) อย่างไม่เต็มใจนั้นผิดกฎหมายเว้นแต่ว่าจะเป็นการลงโทษจากกรณีอาชญากรรม

ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์  ดูเวอร์เนกล่าวว่าตอนแรกเธอตั้งใจจะสร้างสารคดีซึ่ง "ศึกษาความคิดที่ว่าบริษัททั้งหลายหารายได้เป็นล้านๆ ดอลลาร์จากระบบการลงทัณฑ์มนุษย์" แต่สารคดีก็ได้นำมาสู่บทสนทนาร่วมสมัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับระบบยุติธรรมทางอาญาและการยิงชาวอเมริกันผิวดำจนเสียชีวิตจากตำรวจ

"ขณะที่ฉันได้ลงลึกไป (ในอุตสาหกรรมแรงงานในคุก) ฉันพบว่าคุณไม่สามารถบอกเล่าเรื่องราวอย่างเต็มที่โดยปราศจากการระบุบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของมัน" ดูเวอร์เนกล่าว บริบททางวัฒนธรรมก็คือ "ชีวิตคนดำก็สำคัญ" อันเป็นแนวคิดอันชัดเจนใน "13th" เสียก่อนที่จะอ้างอิงถึงชื่อขบวนการเสียอีก

สารคดีประกอบด้วยบทสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น เจลานี คอปป์แห่งสำนักข่าวนิวยอร์กเกอร์, เองเจลา เดวิส นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมือง ,นิวต์ กิงริช อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร , เฮนรี หลุยส์ เกตส์ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, ส.ส.ชาร์ลส์ บี แรงเกตแห่งนิวยอร์กจากพรรคเดโมแคต เป็นต้น

ดูเวอร์เนกล่าวว่าเน็ตฟลิกซ์ได้ทาบทามเธอเกี่ยวกับการทำโปรเจคเครือข่ายการถ่ายทอดทางอินเทอร์เน็ต ภายหลังจากเธอสิ้นสุดการถ่ายทำภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จคือ "Selma" ผลกระทบจากการที่มนุษย์ถูกคุมขังนั้นอยู่ในความสนใจของผู้กำกับหญิงคนนี้เป็นเวลานานและมักปรากฏโฉมอยู่บ่อยครั้งในงานของเธอ  ภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ของดูเวอร์เนคือ "Middle of Nowhere" ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่เทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์เมื่อปี 2012 คือเรื่องของผู้หญิงที่ต้องต่อสู้เพื่อสามีซึ่งถูกคุมขังกว่า 8 ปี 

ตัวละครตัวหนึ่งใน "Queen Sugar" ละครทางโทรทัศน์ของดูเวอร์เน ซึ่งถูกนำออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้วในช่อง Own คืออดีตนักโทษซึ่งประวัติทำให้เขาหางานทำได้ยากและทำให้มีความขัดแย้งในความสัมพันธ์กับครอบครัวของตัวเอง พี่สาวของเขาคือโนวาซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ได้อุทิศงานของตัวเองในการเปิดโปงอคติทางเชื้อชาติในระบบยุติธรรมของรัฐลุยเซียนา

แต่ก็มีความหลักแหลมใน "13th" ซึ่งเริ่มต้นด้วยเสียงของประธานาธิบดีโอบามาที่รำพึงขณะกล่าวคำปราศรัยในการประชุมระดับประเทศของสมาคมแห่งชาติสำหรับความก้าวหน้าของคนสีผิว (NAACP) ที่ว่า "สหรัฐฯ มีประชากรร้อยละ 5 ของประชากรโลกแต่มีนักโทษกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนนักโทษทั้งโลก" ดูเวอร์เนได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์อย่างรวดเร็วระหว่างสถิติอันน่าตื่นตาตื่นใจและช่วงภายหลังสงครามกลางเมืองนั่นคือบทสั้นๆ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 ได้ยินยอมให้ทางภาคใต้บูรณะเศรษฐกิจผ่านแรงงานของชาวคุก คนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาถูกจับเป็นจำนวนมากและมักด้วยคดีเล็กๆ น้อยๆ "มันคือการพุ่งขึ้นของจำนวนคุกเป็นครั้งแรกของในประเทศเรา" มิเชล อเล็กซานเดอร์ ผู้เขียนหนังสือ  "The New Jim Crow" ได้อธิบายในภาพยนตร์

"13th" ถือว่าภาพยนตร์เมื่อปี 1915 ของ ดี. ดับเบิลยู.กริฟฟิทคือ The Birth of a Nation นั้นสนับสนุนการสร้างภาพอันหลอกลวงแต่ยาวนานของคนผิวดำว่าเป็นอาชญากร สารคดียังได้นำเสนอสหรัฐฯในช่วงหลายทศวรรษของการประชาทัณฑ์ ความรุนแรงอันเกี่ยวกับเชื้อชาติและกฎหมายจิม โครว์ซึ่งนำไปสู่ขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมือง

ดังสารคดีได้แสดงถึงจำนวนที่พุ่งสูงขึ้นของนักโทษในสหรัฐฯ (จาก 357,292 ในปี  1970 มาสู่ 2,306,200 ในปี 2014) ดูเวอร์เนได้สำรวจ "กฎหมายและระเบียบ" (law and order) อันเป็นวาทกรรมที่ถูกทำให้เป็นที่นิยมโดยริชาร์ด นิกสันและโรนัลด์ เรแกนในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 อันเป็นความกลัวแบบผิดๆ ในการสร้างความชอบธรรมสำหรับความรุนแรงต่อนักกิจกรรมของพรรคแบล็คแพนเตอร์ (รวมไปถึงผู้นำเขตชิคาโกซึ่งถูกสังหารโดยตำรวจในปี 1969) และความแตกต่างทางเชื้อชาติในคำพิพากษาเกี่ยวกับคดียาเสพติดในช่วงโคเคนผงกำลังระบาดหนัก

"13th" ยังแสดงถึงภาพเก่าๆ ของผู้สมัครของพรรครีพับลิกันคือโดนัลด์ ทรัมป์ได้พูดถึงกรณี Central Park jogger อันอื้อฉาว นั่นคือวัยรุ่นชาวลาตินอเมริกาและชาวผิวดำ 5 คนถูกตัดสินจำคุกจากคดีข่มขืนและทำร้ายร่างกายนักวิ่งสาวอย่างทารุณเมื่อปี 1989 แต่หลักฐานจากการตรวจดีเอ็นเอในเวลาต่อมาได้พิสูจน์ว่าพวกเขาบริสุทธิ์ กรณีนี้ทำให้ทรัมป์ออกโฆษณาเต็มหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก เดลลีนิวส์เพื่อเรียกร้องให้รัฐนิวยอร์ก "นำกฎหมายประหารชีวิตกลับมาอีกครั้ง"

"13th" ได้นำเสนอวาทกรรมในช่วงหาเสียงอันอื้อฉาวของผู้สมัครจากพรรคริพับลิกันผู้นี้สลับไปกับภาพของชาวอเมริกันผิวดำซึ่งถูกเล่นงานโดยเครื่องฉีดน้ำความแรงสูงและตำรวจสุนัขในช่วงการต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมือง แต่คู่แข่งจากพรรคเดโมแครตของทรัมป์เองก็ไม่รอดในสารคดีเช่นกัน โดยภาพยนตร์เน้นคำกล่าวอันอื้อฉาวของนางฮิลลารี คลินตันในปี 1996 เกี่ยวกับ "อภิมหานักล่าเหยื่อ" (super predators) ขณะกำลังสนับสนุนกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมในปี 1994 ของนายบิล คลินตัน

ภาพยนตร์ยังสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับ American Legislative Exchange Council (ALEC) หรือกลุ่มสร้างนโยบายหัวอนุรักษ์นิยมซึ่งได้นำเสนอกฎหมายต้นแบบสำหรับบรรดาสมาชิกรัฐสภาของรัฐ รวมไปถึงกฎหมายซึ่งเอื้อต่อคุกที่สร้างรายได้ให้รัฐ ดูเวอร์เนกล่าวว่าเธอได้เรียนรู้เกือบทั้งหมดจากช่วงๆ นี้ในสารคดี   "ความจริงที่ว่ากฎหมายของเราจำนวนมากไม่ได้มาจากสมาชิกรัฐสภา ... นั้นสำหรับฉันดูน่ากลัวมาก" ดูเวอร์เนกล่าว

หนึ่งในส่วนซึ่งเปี่ยมด้วยอารมณ์มากที่สุดของสารคดีแสดงภาพวิดีโอของผู้ชายและผู้หญิงผิวดำซึ่งไร้อาวุธถูกสังหารโดยตำรวจ "13th" ได้โยงความสัมพันธ์ระหว่างวิดีโอกับภาพซึ่งถูกนำเสนอก่อนหน้านั้นคือภาพการประชาทัณฑ์คนผิวดำอย่างโหดเหี้ยม ภาพโลงศพที่เปิดอ้าของเอ็มเมต ทิลล์(1) รวมไปถึงภาพเคลื่อนไหวของคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาซึ่งถูกโจมตีในช่วงเรียกร้องสิทธิพลเมือง....

ดูเวอเนกล่าวว่าเธอหวังว่าภาพยนตร์จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนได้ "ใคร่ครวญอย่างแท้จริงถึงความคิดและความรู้สึกของพวกเขา" ว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันที่กักขังคนจำนวนมหาศาลอย่างไร ดูเวอร์เนกล่าวว่าเธอนั้นภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ว่าภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกผ่านเน็ตฟลิกซ์ซึ่งทำให้เข้าถึงคนดูได้มากขึ้น  "ความคิดที่ว่าชาวบ้านจะสามารถดูมันเมื่อไรหรือที่ใดก็ได้ มันช่างมีพลังนะ" เธอกล่าว

 

 

เชิงอรรถ

(1) เด็กชายผิวดำวัย 14 ปีซึ่งถูกประชาทัณฑ์จนเสียชีวิตจากการที่เขาไปทำท่ากรุ่มกริ่มกับผู้หญิงผิวขาว ที่รัฐมิสซิสซิปปี ในปี 1955  ผู้กระทำความผิดต่างถูกยกฟ้องโดยศาล และมารดาของเขาได้ให้โลงศพของเขาเปิดอยู่ตลอดเวลาในงานศพเพื่อแสดงถึงความโหดเหี้ยมของคนผิวขาว


หมายเหตุ: แปลและเรียบเรียง จากบทความ "Ava DuVernay's Netflix film '13th' reveals how mass incarceration is an extension of slavery" เขียนโดยเบโธนี บัตเลอร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2016          

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: รถแดง-แท็กซี่-อูเบอร์-แกร็บ มหากาพย์ศึกขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ ใครไป-ใครอยู่?

Posted: 14 Mar 2017 11:56 PM PDT

รายงานพิเศษจาก TCIJ เมื่อ 'เชียงใหม่' กลายเป็นสมรภูมิเดือดของบริการขนส่งสาธารณะ ทั้งทุนใหญ่ข้ามชาติ 'อูเบอร์-แกร็บ' ที่อ้างประชาชนล่ารายชื่อเสนอแก้กฎหมาย ส่วน 'รถแดง-แท็กซี่-ขนส่ง' อ้างกฎหมาย ตั้งด่าน ล่อซื้อ ไล่จับ สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ที่ยุ่งยากซับซ้อน แก้ไขไม่ตก และประชาชนไม่เคยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

<--break- />

เชียงใหม่ เป็นจังหวัดใหญ่ที่มีความสำคัญและได้ชื่อว่าเป็น'เมืองหลวง'แห่งภาคเหนือ มีประชากรอยู่อาศัยราว 1.7 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมืองประมาณ 1 ล้านคน ข้อมูลจากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่[1] ระบุว่า ปี 2558 มีผู้มาเยี่ยมเยือนจังหวัดเชียงใหม่ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประมาณ 9.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวราว 7.5 ล้านคน การท่องเที่ยวและการบริการสร้างรายได้ให้จังหวัดอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ในปี 2558 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 185,000 ล้านบาท มาจากการท่องเที่ยวและบริการในสัดส่วนที่มากกว่า 40% คือกว่าแสนล้านบาท[2] จึงไม่น่าเชื่อว่าการจัดการบริการขนส่งสาธารณะของจังหวัดเชียงใหม่กลับไร้ซึ่งประสิทธิภาพ สวนทางกับศักยภาพทางการท่องเที่ยวและบริการของจังหวัด จนน่าคิดว่าหากการจัดการขนส่งสาธารณะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ศักยภาพทางการท่องเที่ยวและการบริการของจังหวัดเชียงใหม่จะเพิ่มขึ้นอีกมากเพียงใด

ใครเป็นใครในความขัดแย้ง ?

ความไร้ประสิทธิภาพของบริการขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ เป็นปัญหาที่มีมานานนับสิบปี แม้จะมีความพยายามจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหน่วยงานของรัฐ เอกชนผู้ให้บริการ นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ และนักวิชาการ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ปัญหาเก่ายังคงคาราคาซัง แถมปัญหาใหม่ก็เกิดขึ้นอีก ล่าสุดเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ให้ บริการขนส่งสาธารณะเดิม คือรถสองแถวที่รู้จักกันในนาม 'รถแดง' และรถแท็กซี่มิเตอร์ อันประกอบด้วยรถแท็กซี่ของกลุ่มสหกรณ์นครลานนาเดินรถ ซึ่งเป็นสหกรณ์เดียวกันกับรถแดง และรถแท็กซี่ของสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์ กับผู้ขับขี่อิสระที่ใช้แอพพลิเคชั่น อูเบอร์ และ แกร็บ

อูเบอร์ เป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี 2552 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน 'Sharing Economy' โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรถ สามารถจะรับผู้โดยสารผ่านการนัดหมายด้วยแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ อูเบอร์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการที่สามารถจัดการการเดินทางของตนเองได้ง่ายขึ้น รู้ค่าโดยสารล่วงหน้า จ่ายค่าโดยสารผ่านการหักบัญชีบัตรเครดิตได้ ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางในการหารายได้เพิ่มเติมของผู้ที่มีรถยนต์ บริษัทอูเบอร์ มีรายได้จากการหักค่าคอมมิชชั่นจากค่าโดยสาร 20% เข้าบริษัท การถือกำเนิดของอูเบอร์ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ นิตยสารฟอร์บประเมินว่ามูลค่าของบริษัท อูเบอร์ มีสูงถึง 68 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2.3 ล้านล้านบาท)[3] ปัจจุบันเปิดให้บริการกว่า 500 เมืองทั่วโลก ปริมาณการใช้งานสูงเฉลี่ย 40 ล้านเที่ยวต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศที่อูเบอร์เปิดให้บริการไม่มีกฎหมายรองรับการให้บริการขนส่งสาธารณะโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต จึงเกิดปัญหาการต่อต้านจากผู้เสียประโยชน์ ทว่า อูเบอร์ก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้บริการ ในบางพื้นที่จึงสามารถผลักดันไปสู่การแก้กฎหมายให้อูเบอร์เป็นการบริการที่ถูกกฎหมายได้สำเร็จ

แกร็บ เป็นแอพพลิเคชั่นที่เริ่มให้บริการครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซียในปี 2555 ปัจจุบันให้บริการในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เดิม แกร็บเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้ในการวางแผนการเดินทางสำหรับผู้ใช้บริการเรียกแท็กซี่ ซึ่งเป็นแท็กซี่ที่จดทะเบียนรถแท็กซี่ประจำท้องถิ่นนั้นๆ เป็นเพียงแค่การอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการและผู้ขับแท็กซี่ ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินการของแกร็บจึงยังไม่ขัดต่อผลประโยชน์และกฎหมายของประเทศนั้นๆ ปัจจุบัน แกร็บ เปิดให้บริการ 30 เมืองใน 6 ประเทศ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ต่อมา แกร็บได้ขยายการให้บริการจากแท็กซี่ ไปสู่ผู้ที่มีรถยนต์เช่นเดียวกับอูเบอร์ ในนาม 'แกร็บคาร์' และยังมี 'แกร็บไบค์' สำหรับผู้ต้องการใช้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และ'แกร็บเอ็กซ์เพรส' สำหรับการรับส่งเอกสาร(แมสเซนเจอร์)และส่งของ ในแพล็ตฟอร์มของแกร็บจึง มีทั้งส่วนที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ แกร็บแท็กซี่ แกร็บเอ็กซ์เพรส ส่วนที่ถูกกฎหมายครึ่งหนึ่งผิดครึ่งหนึ่ง คือ แกร็บไบค์(ถูกกฎหมายสำหรับมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แต่ผิดกฎหมายสำหรับมอเตอร์ไซค์ที่ผู้ขับขี่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน) และผิดกฎหมายคือ แกร็บคาร์

รถแดง คือรถสองแถวที่ให้บริการในตัวเมืองเชียงใหม่ มีจำนวนทั้งสิ้น 2,465 คัน ผู้ขับรถแดงทั้งหมดเป็นสมาชิกของ สหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด แบ่งเป็นวิ่งประจำเส้นทาง 100 คัน ที่เหลือวิ่งวนไปตามความพึงพอใจของผู้ขับ สำหรับรถแดงที่วิ่งประจำเส้นทางนั้น จะไม่วิ่งออกนอกเส้นทางและจะเก็บค่าบริการ 10-20 บาทขึ้นกับระยะทาง ส่วนรถแดงที่ไม่ประจำเส้นทาง ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด หากระยะทางไม่เกินไปกว่าวงแหวนรอบสอง จะเก็บค่าบริการได้ไม่เกิน 30 บาท หากเดินทางไปไกลเกินกว่านี้จะต้องตกลงราคาค่าโดยสารกันเอง แต่ในทางปฏิบัติจะพบว่าผู้ขับรถแดงส่วนมากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ทั้งคนขับรถแดงบางส่วนยังแสดงกิริยาไม่สุภาพต่อผู้โดยสาร โก่งราคาค่าโดยสาร ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ทำให้ผู้ใช้บริการรถแดงรู้สึกเบื่อหน่าย แต่ก็ไม่มีทางเลือกมากนัก เนื่องจากการให้บริการรถสาธารณะในเชียงใหม่มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก

รถแท็กซี่ เชียงใหม่ทั้งจังหวัดมีรถแท็กซี่มิเตอร์จดทะเบียนเพียงแค่ 423 คัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่เป็นสมาชิกสหกรณ์นครลานนาเดินรถ 358 คัน(กลุ่มเดียวกับรถแดง) กลุ่มที่เป็นสมาชิกสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์ 50 คัน ที่เหลือเป็นผู้ขับขี่แท็กซี่อิสระ รถแท็กซี่มิเตอร์ที่วิ่งภายในรัศมีไม่เกินวงแหวนรอบสอง ตามข้อกำหนดจะต้องใช้มิเตอร์ในการกำหนดค่าโดยสาร แต่ในทางปฏิบัติไม่มีการใช้มิเตอร์แต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ ในบรรดาผู้ขับขี่แท็กซี่นี้ ก็มีความขัดแย้งที่ร้าวลึกในเรื่องของผลประโยชน์จากการให้บริการในพื้นที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จึงเป็นสองกลุ่มที่มีผลประโยชน์ขัดกันและไม่ลงรอยกันมาโดยตลอด รถแท็กซี่มิเตอร์ในเชียงใหม่ในส่วนที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์นครลานนาเดินรถ ไม่วิ่งรับผู้โดยสารทั่วไปอย่างในกรุงเทพมหานคร แต่จะจอดเป็นจุด เช่นสนามบิน สถานีขนส่ง ห้างสรรพสินค้า และไม่เปิดมิเตอร์ ส่วนกลุ่มที่เป็นสมาชิกสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์ซึ่งมีเพียง 50 คัน ก็รับผู้ โดยสารจากการโทรนัดหมายเวลาและสถานที่ ทางสหกรณ์ชูจุดขายในการกดมิเตอร์ทุกครั้งที่ให้บริการ ยกเว้นการไปส่งในระยะทางไกล ให้ใช้การตกลงราคาแทน

ข้อจำกัดและความบกพร่องของบริการขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ ผู้บริหารสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์จึงได้ติดต่อกับ แกร็บ เพื่อเปิดให้บริการแกร็บแท็กซี่ในจังหวัดเชียงใหม่ สหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์นำรถแท็กซี่ของสหกรณ์ 50 คันเข้าวิ่งภายใต้แอพพลิเคชั่นแกร็บแท็กซี่ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 หลังจากนั้นราวหนึ่งปี อูเบอร์ จึงเปิดให้บริการในเชียงใหม่ประมาณต้นเดือน พฤศจิกายน 2559 และได้รับการต้อนรับที่ดีจากทั้งผู้ใช้บริการและผู้ขับขี่ที่อูเบอร์เรียกว่าเป็น "อูเบอร์พาร์ทเนอร์" หลังจากนั้น แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน แกร็บก็เริ่มรับสมัครผู้ที่จะเข้าร่วมขับแกร็บคาร์ และเปิดให้บริการแกร็บคาร์ในแอพพลิเคชั่นไม่นานหลังจากนั้น

สงครามแห่งผลประโยชน์

กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์หลักคือผู้ขับรถแดงและแท็กซี่ สำหรับผู้ให้บริการรถสาธารณะอื่น เช่น รถตุ๊กตุ๊ก ที่จดทะเบียนทั้งสิ้น 1,123 คัน ก็เสียผลประโยชน์บ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากตลาดของรถตุ๊กตุ๊กคือนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการ ประสบการณ์ในการนั่งรถตุ๊กตุ๊กเพื่อความตื่นเต้นสนุกสนานเป็นครั้งคราวมากกว่า ดังนั้น เมื่ออูเบอร์และแกร็บเปิดให้ บริการในเชียงใหม่ บรรดาผู้เสียประโยชน์จึงกดดันเรียกร้องให้ทางการออกมาบังคับใช้กฎหมาย มีการกดดันให้เจ้าพนักงานของรัฐ ทั้งจากขนส่งจังหวัด เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำการกวดขันจับกุม รวมทั้งร้องเรียนไปยังทหารด้วย

นายชาญชัย กีฬาแปง ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อเร็วๆนี้ เกิดเหตุการณ์ที่เป็นกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ว่าเจ้าหน้าที่ขนส่งทำการล่อซื้อให้ผู้ขับอูเบอร์เข้ามารับผู้โดยสารภายในขนส่งจังหวัดแล้วทำการจับปรับ ในเรื่องนี้ TCIJ ได้รับการชี้แจงจากขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ นายชาญชัย กีฬาแปง ว่า "เหตุการณ์ในวันนั้น กลุ่มผู้ขับแท็กซี่จากสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์ ได้รวมตัวกันเข้ามายื่นหนังสือต่อขนส่งจังหวัด และมีการเชิญผู้สื่อข่าวมาทำข่าวด้วย หลังจากยื่นหนังสือ กลุ่มผู้ยื่นได้ทำการหลอกเรียกผู้ขับแกร็บคาร์ แสร้งว่าให้เข้ามารับผู้โดยสารในสำนักงานขนส่ง เมื่อผู้ขับแกร็บคาร์มาถึง กลุ่มผู้ขับจากสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์ได้เข้าล้อมรถ และเรียกตัวผู้ขับลงจากรถ ให้เจ้าหน้าที่มาทำการเปรียบเทียบปรับ กรณีนี้ถือเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า หากเจ้าหน้าที่ไม่ทำอะไรก็จะถือเป็นการทำผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 เจ้าหน้าที่ก็ต้องเปรียบเทียบปรับ แต่ข่าวที่ออกมามีความคลาดเคลื่อนว่าเป็นการล่อซื้อของเจ้าหน้าที่" นายชาญชัย ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ไม่มีนโยบายล่อซื้อ ที่ผ่านมาเมื่อมีผู้ร้องเรียน ก็จะออกจดหมายเชิญมาชี้แจง หากมีความผิดจริงทางขนส่งก็ตักเตือนและปรับตามที่กฎหมายกำหนด หากส่งจดหมายเชิญแล้วไม่มาพบ ก็จะเตือนในระบบเมื่อมาติดต่อสำนักงาน เช่น มาเสียภาษีหรือต่อใบขับขี่ ตนในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ทำตามกฎหมาย ยอมรับว่ากฎหมายที่มีอาจจะไม่ทันสมัย ไม่ตรงตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ต้องดำเนินการแก้ไข แต่ระหว่างที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จก็ต้องบังคับใช้กฎหมายเดิม ภายหลังจากข่าวที่คลาดเคลื่อนกระจายออกไป กระแสสังคมก็ตำหนิเจ้าหน้าที่ รวมทั้งตำหนิรถแดง ทั้งที่วันนั้นเป็นกรณีของกลุ่มสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์ที่ให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นแกร็บ และแท้จริงแล้วพวกเขาก็ได้รับผลกระทบจากแอพพลิเคชั่นแกร็บในส่วนของ 'แกร็บคาร์' เองด้วย

ทางฝ่ายรถแดง ซึ่งเป็นผู้เสียประโยชน์จากการถือกำเนิดของ 'อูเบอร์' และ 'แกร็บ' ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้เรียกประชุมสมาชิกสหกรณ์นครลานนาเดินรถ และออกมาตรการตอบโต้ โดยการจัดทีมไล่ล่าผู้ขับอูเบอร์และแกร็บ นายสิงห์คำ นันติ ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ ให้สัมภาษณ์ TCIJ ว่า ทีมดังกล่าวจะคอยสอดส่องและขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ หากพบตัวผู้กระทำผิดจะกักตัว และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มารับตัวไปเปรียบเทียบปรับ ตนในฐานะประธานสหกรณ์ฯ เมื่อสมาชิกเสียประโยชน์ ตนก็ต้องทำอะไรสักอย่าง แต่ยืนยันว่าทำในกรอบของกฎหมาย หากอูเบอร์และแกร็บอยากรับผู้โดยสารก็ไปทำให้ถูกกฎหมาย ตนรู้ปัญหาของรถแดงทุกอย่าง ทั้งสิ่งที่ประชาชนไม่พอใจ ทั้งพฤติกรรมของรถแดงที่ไม่เหมาะสม ทั้งโก่งราคา ทำการจราจรติดขัด หากมีผู้ร้องเรียนมาตนก็เรียกคนขับที่เป็นสมาชิกเข้ามาตักเตือน ยอมรับว่าเป็น ปัญหาที่พยายามปรับปรุงตัวมาหลายปี "เรื่องค่าโดยสาร หากเปรียบเทียบกับเมืองท่องเที่ยวอื่น เช่น ภูเก็ต หรือ พัทยา จะพบว่าที่เชียงใหม่นั้นถูกกว่ามาก หากทำใจให้เป็นกลาง ตัดความรำคาญที่เคยได้รับจากการให้บริการของรถแดงออกไป จะเห็นว่าคนขับรถแดงไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่นมากนัก ไม่งั้นคงไม่มาขับรถแดง คนขับอูเบอร์และแกร็บส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพเสริม มีบ้างที่ขับเป็นอาชีพเลยแต่ไม่มาก สิ่งนี้ทำให้คนขับรถแดงรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกแย่ง อาชีพ" นายสิงห์คำกล่าว

อูเบอร์ VS แกร็บ ทุนใหญ่ข้ามชาติปะทะกันในสมรภูมิเชียงใหม่

ความขัดแย้งระหว่าง รถแดง-รถแท็กซี่ กับ อูเบอร์-แกร็บ ในครั้งนี้ ก็คือการแย่งผลประโยชน์ที่ได้จากผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งเกือบทั้งหมดล้วนเอาใจช่วยให้ทั้งอูเบอร์และแกร็บ เป็นบริการที่ถูกกฎหมาย มีการสร้างแคมเปญลงชื่อเรียกร้องให้แก้กฎหมายให้อูเบอร์และแกร็บถูกกฎหมาย ซึ่งอูเบอร์และแกร็บเองก็ฉวยโอกาสนี้เป็นผู้รณรงค์ด้วยตัวเองเสียด้วย อูเบอร์ยังคงเชิญชวนคนมาขับอูเบอร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งทางเฟสบุ๊ค และการส่ง SMS ทางโทรศัพท์ให้ผู้ที่สนใจ โดยมีการตั้งโต๊ะรับสมัครคนขับ มีตัวแทนคอยช่วยสอนการใช้แอพพลิเคชั่น รวมทั้งในเฟสบุ๊คของอูเบอร์ก็มีการเชิญชวนให้คนมาร่วมป็น 'อูเบอร์พาร์ทเนอร์' และยังมีการโพสท์ข้อความในลักษณะโจมตีการให้บริการของรถแดง

การตั้งจุดช่วยเหลือในการโหลดและสอนการใช้งานแอพพลิเคชั่นของอูเบอร์

ในความเป็นจริงความขัดแย้งครั้งนี้มีอะไรมากกว่านั้น ทั้งอูเบอร์และแกร็บซึ่งสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้มากกว่ารถแดงและแท็กซี่ ก็เปิดสมรภูมิรบกันเองเพื่อแย่งชิงทั้งคนขับและผู้ใช้บริการ

ผู้ขับอูเบอร์ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้อูเบอร์ 20% ของค่าโดยสาร ขณะที่ผู้ขับแกร็บต้องจ่าย 15% การแย่งชิงผู้ขับดูเหมือนว่าแกร็บจะเหนือกว่าในแง่ที่ผู้ขับจ่ายน้อยกว่า แต่ผู้ใช้บริการมีความต้องการใช้อูเบอร์มากกว่าเนื่องจากค่าโดยสารโดยเฉลี่ยของอูเบอร์ถูกกว่าแกร็บ ในการแย่งชิงผู้ขับนี้ทั้งสองค่ายใช้นโยบายผลตอบแทนพิเศษในการจูงใจผู้ขับ นอกเหนือ จากค่าโดยสาร อูเบอร์จะเปลี่ยนรูปแบบการให้ผลตอบแทนพิเศษบ่อยครั้ง มีเกณฑ์ที่สลับซับซ้อน เช่นกำหนดให้วิ่งกี่เที่ยวในช่วงเวลา นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเขตเป็นชั้นในชั้นนอก ในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือในวันที่มีความต้องการใช้บริการสูงเช่นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ บางสถานที่ อาทิ บริเวณถนนคนเดิน อูเบอร์ก็จะสร้างเกณฑ์ขึ้นมาจูงใจให้ผู้ขับอูเบอร์รอรับผู้โดยสารอยู่ในบริเวณที่มีความต้องการสูง นอกจากนี้ อัตราค่าโดยสารของอูเบอร์ก็แปรผันตามความต้องการใช้บริการ กับจำนวนคนขับที่มีความพร้อมในการให้บริการ ในบางช่วงเวลาหากจำนวนผู้ใช้บริการต่อผู้ขับอูเบอร์น้อย ค่าโดยสารก็จะมี 'ตัวคูณ' ค่าบริการที่ต่ำกว่าแกร็บ ทำให้อูเบอร์เป็นตัวเลือกแรกของผู้ใช้บริการ และด้วยค่าโดยสารที่ต่ำทำให้ผู้ขับไม่สามารถทำกำไรจากค่าโดยสาร แต่หวังจะทำรายได้จากผลตอบแทนพิเศษ ผู้ขับอูเบอร์รายหนึ่งเล่าให้ TCIJ ฟังว่า        "ขับอูเบอร์หวังเฉพาะค่าโดยสารไม่สามารถอยู่ได้ เพราะไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย คือค่าน้ำมัน ค่าสึกหรอของรถ ค่าโอกาสที่เสียไปจากการทำรายได้ทางอื่น จึงต้องพยายามขับให้ได้ค่าตอบแทนพิเศษตามเกณฑ์ที่สลับซับซ้อนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตนรู้สึกเหมือนเป็นทาส เหมือนเป็นหนูที่ต้องถีบจักรตลอดเวลา เมื่อพิจารณาแล้วคิดว่าไม่คุ้มเพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บไข้ได้ป่วย และเสียสุขภาพจิต"

ขณะที่โครงสร้างเกณฑ์จูงใจของแกร็บไม่ยุ่งยากเท่าอูเบอร์ โดยมากจะคิดเป็นจำนวนเที่ยวที่วิ่งได้ในช่วงเวลาที่กำหนด แต่ก็ปรับเปลี่ยนไปมาอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดการไหลไปมาระหว่างผู้ขับอูเบอร์และแกร็บ ผู้ขับบางรายขับทั้งอูเบอร์และแกร็บ โดยใช้โทศัพท์มือถือสองเครื่องสำหรับแอพลิเคชั่นทั้งสอง

ตัวอย่างการคิดผลตอบแทนพิเศษของอูเบอร์

ผู้ขับรายหนึ่งเล่าให้ TCIJ ฟังว่า ตนเองเป็นคนเชียงใหม่ที่ไปทำงานที่กรุงเทพฯ และขับอูเบอร์เป็นรายได้เสริม พอทราบว่า อูเบอร์เปิดให้บริการที่เชียงใหม่ก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพราะรู้ดีว่าอูเบอร์จะได้รับความนิยมสูงที่เชียงใหม่ เนื่องจากตนทราบปัญหาของขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่เป็นอย่างดี ช่วงแรกที่ขับอูเบอร์มีรายได้เฉลี่ยสัปดาห์ละหมื่นกว่าบาท ตกเดือนละห้าถึงหกหมื่นบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมีเหลือเดือนละกว่าสามหมื่นบาท ต่อมาเมื่อมีคนขับมากขึ้น การคิดค่าตอบแทนมีความซับซ้อนมากขึ้น รายได้ก็ลดลง ตอนนี้เปลี่ยนมาขับแกร็บคาร์ ไม่กี่วันก่อนถูกจดหมายเรียกจากขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ไปเสียค่าปรับ จำนวน 2,000 บาท แต่ทางบริษัทก็ชดเชยให้ 3,000 บาท คิดซะว่าเป็นค่าเสียเวลาที่ต้องไปขนส่ง ขณะที่หากเป็นอูเบอร์จะได้รับการชดเชยเท่ากับจำนวนที่เสียค่าปรับเท่านั้นคือ 2,000 บาท แต่ตอนนี้ตนค่อนข้างวิตกว่าจะมีการรุมทำร้ายจากกลุ่มผู้เสียประโยชน์คือรถแดงและรถแท็กซี่

แหล่งข่าวยังได้ให้ข้อมูล TCIJ อีกว่า ในไตรมาสนี้ แกร็บ ยังทุ่มงบก้อนโตเพื่อที่จะทำการตลาดและโปรโมชั่นอื่นๆในประเทศไทย ด้วยเป้าหมายแย่งส่วนแบ่งการตลาดให้ได้มากที่สุด

เป็นที่น่าสังเกตว่า กฎหมายไม่อาจเอาผิดธุรกิจผู้เป็นเจ้าของช่องทางให้บริการ แต่สามารถเอาผิดผู้ขับอูเบอร์และแกร็บ การจ่ายเงินชดเชยค่าปรับให้ผู้ขับของทั้งอูเบอร์และแกร็บ อาจมองว่าเป็นความรับผิดชอบของทั้งสองค่ายที่มีต่อผู้ขับของตน หรือจะมองว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้ขับฝ่าฝืนไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ทั้งยังอาศัยโอกาสที่เกิดความขัดแย้งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการรณรงค์ให้เกิดการปรับแก้กฎหมาย เป็นการหาประโยชน์เข้าบริษัท โดยที่ตัวบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบอันใดต่อความขัดแย้งนี้ ทั้งยังแสวงประโยชน์จากการหักค่าคอมมิชชั่นจากผู้ขับและปล่อยให้แบกรับความเสี่ยงนานัปการกันเอง ทั้งสองบริษัทล้วนเป็นผู้ได้ประโยชน์บนความขัดแย้ง และไม่ว่าในท้ายที่สุดจะมีการแก้กฎหมายหรือไม่ บริษัทก็สามารถกอบโกยผลประโยชน์เข้าบริษัทอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

สิงห์คำ นันติ : ผมไม่ใช่มาเฟียรถแดง

สหกรณ์นครลานนาเดินรถ ถือกำเนิดขึ้นมาในปี พ.ศ. 2521 โดยการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ มีสมาชิกเป็นเจ้าของรถสองแถว เนื่องจาก พ.ร.บ. การขนส่งทางบก ปี พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ได้รับสัมปทานวิ่งรถโดยสารจะต้องเป็นนิติบุคคล เจ้าของรถจึงรวมตัวกันเป็นสหกรณ์เพื่อขอสัมปทานเส้นทางจากรัฐ โดยผู้พิจารณาก็คือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกของจังหวัด ซึ่งมีที่มาจาก พ.ร.บ.เดียวกันนี้ในมาตรา 17 กำหนดให้คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกิน 5 คน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วย หนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการ ขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น

สิงห์คำ นันติ ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ

ในปี 2546 สหกรณ์นครลานนาเดินรถ ได้ยื่นขอจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์จำนวน 300 คัน คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกของจังหวัดมีมติอนุญาต นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังมีความเห็นว่า "ในปี 2537 รัฐบาลมีนโยบายให้ทุกจังหวัดรับจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน ผู้ใช้บริการ สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการประกาศรับคำขอจดทะเบียนรถแท็กซี่ มิเตอร์ในช่วงเวลาดังกล่าว ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดสนใจยื่นคำขอ จึงไม่สามารถหาผู้สนใจมาลงทุนได้ ในขณะที่สหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด แสดงความประสงค์จะขอจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์ ในจังหวัดเชียงใหม่และมีความพร้อมที่จะลงทุน แต่เนื่องจากการเปิดรับจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์ ปัจจุบันเป็นระบบเสรี ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่หากเปิดเสรีตั้งแต่เริ่มต้นเกรงว่าจะเกิดปัญหา ทั้งในด้านของรถสองแถวแดงที่วิ่งอยู่เดิมจะไม่ยินยอมและอาจต่อต้านรวมตัวกันก่อปัญหา และผู้ที่สนใจจะลงทุนเมื่อเปิดเสรี เพราะระบบไฟแนนซ์ในปัจจุบันเอื้อต่อการลงทุน ดังนั้นหากมีผู้สนใจ เสี่ยงเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากจะก่อให้เกิดปัญหาการแข่งขันแบบทำลายกัน และปัญหา การจราจรของจังหวัดเชียงใหม่จะมีรถรับจ้างวิ่งวนเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ที่ประชุมได้พิจารณาถึง ข้อดีและข้อเสีย ของการจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์ ในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว มีมติในหลักการให้ สหกรณ์นครลานนาเดินรถ จำกัด จดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ทดลองก่อน ไม่เกิน 300 คัน ทั้งนี้การจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์จำนวน 1 คัน จะต้องลดจำนวนสองแถวแดงลง 1 คัน"[4] รถแท็กซี่มิเตอร์หมายเลขหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยผู้ที่เป็นเจ้าของรถแท็กซี่หมายเลขหนึ่งนี้ก็คือ นายสิงห์คำ นันติ ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ ผู้เอาสิทธิในการวิ่งรถแดงของตนเองมาแลก และการผูกขาดการจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ก็เริ่มต้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หากพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการฯ จะพบว่าคณะกรรมการเกรงว่าการเปิดให้จดทะเบียนอย่างเสรีจะเกิดการต่อต้านจากสมาชิกสหกรณ์นครลานนาเดินรถ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า สหกรณ์นครลานนาเดินรถได้มีการรวมตัวประท้วงเพื่อต่อรองผลประโยชน์ให้สมาชิกอยู่บ่อยครั้ง ในปี 2546 มีการประท้วงครั้งใหญ่ที่ข่วงประตูท่าแพ ต่อการกลับมาเดินรถอีกครั้งของผู้ประกอบการหมู่บ้านขวัญเวียง (บริษัท เอ ซี ซี เรียลเอสเตท จำกัด )ที่ได้รับสัมปทานเดินรถเส้นทาง หมู่บ้านขวัญเวียง-รอบเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการกลับมาเดินรถอีกครั้งหลังจากหยุดการเดินรถไปเนื่องจากภาวะขาดทุนตั้งแต่ปี 2541 และเมื่อกลับมาเดินรถก็ยังประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง แต่ผู้บริหารยืนยันว่าจำเป็นต้องยอมขาดทุนเพราะมีหลายฝ่ายขอร้องเพื่อให้เชียงใหม่ได้มีรถเมล์[5] ในการประท้วงใหญ่ดังกล่าว มีการขู่จะเผาบัตรสมาชิกพรรคไทยรักไทยของสมาชิกสหกรณ์นครลานนาเดินรถ และมีการทวงคำสัญญาจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยขณะนั้น ที่เคยให้คำสัญญาตั้งแต่เมื่อครั้งหาเสียงเลือกตั้งปี 2544 ว่า จะไม่ให้กลุ่มรถแดงที่มีกว่า 3,000 คัน และครอบครัวรวมแล้ว กว่า 10,000 คน ซึ่งเป็น 'ฐานเสียงอันแข็งแกร่ง' ของเขต 1 เชียงใหม่ ต้องได้รับผลกระทบ[6] กล่าวกันว่าการประท้วงครั้งนั้นจบลงด้วยการโทรสายตรงมาเคลียร์ของ เจ๊แดง เยาวภา วงศ์สวัสดิ์[7] 

การเป็นฐานเสียงทางการเมืองเป็นการต่อรองอย่างหนึ่งของกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ฯ ซึ่งแต่เดิมไม่มีพลังจะต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐเท่าใดนัก ทำให้สหกรณ์นครลานนาเดินรถ มีสภาพที่แปรเปลี่ยนไปจากการเป็นกลุ่มทางวิชาชีพกลายเป็นกลุ่มทางการเมืองแบบกลายๆ และอาจเป็นเหตุผลให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ต้องยอมให้สหกรณ์นครลานนาเดินรถ ได้สิทธิในการจดทะเบียนแท็กซี่มิเตอร์ตามที่สหกรณ์ฯร้องขอ เพราะอาจ'ต่อต้านรวมตัวกันก่อปัญหา' ตามที่ได้บันทึกไว้ในรายงานการประชุม

เมื่อถามประธาน สิงห์คำ ว่า เขาเป็นมาเฟียตามที่ผู้อื่นเรียกหรือไม่ สิงห์คำตอบ TCIJ ว่า เขาไม่ได้เป็นมาเฟีย ทุกวันนี้เขาไปไหนมาไหนคนเดียว เขาเพียงแค่ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ให้สมาชิกสหกรณ์ วันที่เขาเข้ามาดำรงตำแหน่งประธาน วันที่ 24 มิ.ย. 2536 นั้น สหกรณ์อยู่ในสภาวะย่ำแย่ มีเงินติดบัญชีเพียงสี่ร้อยเจ็ดบาท เป็นหนี้อีกล้านกว่าบาท เขาทำงานอย่างหนักเพื่อพลิกฟื้นสร้างอาณาจักรรถแดงจนมีวันนี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เขาอยู่มานาน "ที่ลือกันว่าจะมาขับแท็กซี่ต้องเสียเงินให้สหกรณ์หลายแสน ก็จริงครึ่งเดียว หากคุณเป็นรถแดงอยู่แล้วก็ออกรถแท็กซี่ไปจดทะเบียนในนามสหกรณ์ฯได้เลย แต่หากคุณไม่ได้เป็นคนขับรถแดง แล้วอยากจะมาขับแท็กซี่มิเตอร์คุณก็ต้องไปซื้อสิทธิ์ คือต้องไปถามว่ารถแดงคันไหนเขาอยากจะเลิกวิ่ง ก็ไปซื้อสิทธิ์เขา แล้วปกติเขาก็ขายทั้งรถขายทั้งสิทธิ์ มันก็ราคาสองแสนกว่าบาทขึ้นไป สหกรณ์ฯไม่ได้อะไร ก็มีแค่คุณต้องสมัครเป็นสมาชิกของสหกรณ์ ซึ่งพอคนเอาไปเรียกรวมว่าค่าป้าย เขาก็หาว่าผมเป็นผู้ได้ประโยชน์"

สิงห์คำ กล่าวต่ออีกว่า "ผมให้ความร่วมมือทุกอย่างหากราชการขอมาและเป็นกฎหมาย ตอนจังหวัดจัดงานพืชสวนโลก เขากลัวรถแท็กซี่ไม่พอให้บริการ ก็ขอให้มีการจดทะเบียนอิสระ ตอนนั้นสหกรณ์ฯก็จำยอม แต่ก็มีผู้มาขอจดทะเบียนแค่ไม่กี่คัน เมื่อปีที่แล้วก็มีการอนุมัติให้อีกรายจดทะเบียนสหกรณ์และได้มีการจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์ 50 คัน ถ้าผมเป็นมาเฟียจริงผมก็คงยกพวกไปป่วนเขาแล้ว"

อย่างไรก็ตาม TCIJ พบว่า สมาชิกจำนวนหนึ่งไม่พอใจการทำงานของนายสิงห์คำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานของแท็กซี่ที่สหกรณ์นครลานนาเดินรถได้รับสิทธิในการบริหารจัดการ ซึ่งอยู่ในสภาวะขาดทุน และต้องเอาเงินของสหกรณ์จากส่วนอื่นมาอุ้มเอาไว้ จนถึงมีการส่งหลักฐานการดำเนินงานที่ขาดทุนและเตรียมที่จะถอดถอนนายสิงห์คำ ออกจากประธาน ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ฯที่จะถึงในเดือนเมษายนนี้

สหกรณ์นครลานนาเดินรถ VS สหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์

ท่ามกลางการต่อสู้ของ รถแดง&แท็กซี่ กับ อูเบอร์&แกร็บ ที่กำลังขับเคี่ยวกันทั้งการไล่จับ วิ่งเต้นให้ถูกกฎหมาย รวบรวมรายชื่อ ให้ร้ายฝ่ายตรงข้าม อูเบอร์และแกร็บก็ต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ขณะที่สหกรณ์นครลานนาเดินรถกับสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์เองก็เปิดศึกซัดกันเองมาโดยตลอด สาเหตุหลักเกิดมาจากความขัดแย้งในการแย่งชิงพื้นที่สัมปทานให้บริการแท็กซี่ภายในท่าอากาศยานเชียงใหม่ และลึกๆแล้วก็อาจจะเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางการเมืองระดับชาติด้วย

ในปี พ.ศ. 2552 อันเป็นช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ จำกัด ได้เข้าบริหารกิจการแท็กซี่มิเตอร์ในพื้นที่สนามบินเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มผู้ประกอบการอีกราย เนื่องจากปริมาณผู้ใช้บริการสนามบินเชียงใหม่เติบโตขึ้นมาก แต่เดิมมีเพียงรถยนต์บริการ(ป้ายเขียว)ดำเนินงานโดยสหกรณ์รถยนต์บริการสนามบินเชียงใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการข้าราชการกองทัพอากาศ กองบิน 41

ขณะนั้น บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ ไม่มีรถเป็นของตนเอง จึงได้ชักชวนให้รถแท็กซี่ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์นครลานนาเดินรถมาเข้าร่วมรับผู้โดยสาร โดยในช่วงแรกมีรถแท็กซี่มิเตอร์ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์นครลานนาเดินรถ มาเข้าร่วมวิ่งที่สนามบินด้วย ต่อมาในปี 2556 ได้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นข้อขัดแย้งระหว่าง กฤษณ์ ศรีเปารยะ ผู้บริหารบริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ และ สิงห์คำ นันติ ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ เมื่อนายสิงห์คำ ไม่อนุญาตให้รถแท็กซี่มิเตอร์ของสมาชิกสหกรณ์ฯมาวิ่งกับบริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ ซึ่งกฤษณ์ เล่าให้ TCIJ ฟังว่า นายสิงห์คำ เรียกคนขับแท็กซี่มิเตอร์ที่มาร่วมวิ่งกับ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ ไปพบและเอากุญแจคล้องมือ กักขังคนขับแท็กซี่เหล่านั้นไว้ ณ ที่ทำการของสหกรณ์ฯ กฤษณ์ต้องบุกเข้าไปช่วย ในวันนั้นเขาทุบโต๊ะประกาศสงครามกับนายสิงห์คำตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งนายสิงห์คำก็ยอมรับกับ TCIJ ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริง "คนขับแท็กซี่ของสหกรณ์ก็เหมือนเป็นลูกของเรา จู่ๆใครก็ไม่รู้มาพาลูกคุณไป ไม่มาพูดคุย แจ้งให้ทราบ ไม่มีมารยาท เป็นใครก็ไม่ยอม" ขณะที่กฤษณ์มองว่า การกระทำของนายสิงห์คำ เพื่อทำให้การดำเนินงานของตนมีปัญหา และต้องการจะมาฮุบสิทธิการดำเนินงานที่สนามบิน

กฤษณ์ ศรีเปารยะ ประธานกรรมการ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ จำกัด

ก่อนที่สัญญาของการท่าอากาศยานเชียงใหม่และบริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ จะหมดลงในปี 2558 กฤษณ์ได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจะขอจดทะเบียนรถแท็กซี่มิเตอร์ เขาพยายามยื่นเรื่องผ่านทางขนส่งจังหวัด เพื่อให้เสนอเป็นวาระในคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกของจังหวัด จนท้ายที่สุด คณะกรรมการก็มีมติให้ กฤษณ์ จดทะเบียนสหกรณ์แท็กซี่เวียงพิงค์และได้สิทธิจดทะเบียนแท็กซี่มิเตอร์จำนวน 50 คันได้สำเร็จ

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับความขัดแย้งของทั้งสองสหกรณ์ ก็คือว่า ขณะที่ สิงห์คำ นันติ ประธานสหกรณ์นครลานนาเดินรถ ประกาศตัวเป็น 'ฐานเสียงอันแข็งแกร่ง' ของพรรคเพื่อไทย กฤษณ์ ศรีเปารยะ คือบุตรชายของ บวร ศรีเปารยะ ประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์จังหวัดเชียงใหม่ และกฤษณ์ ก็เป็นเลขาธิการ กปปส. เชียงใหม่ ที่ออกมาเคลื่อนไหวล้มรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ผลประโยชน์การท่าอากาศยานเชียงใหม่ กับภาระของผู้ใช้บริการ

เมื่อสัญญาระหว่างการท่าอากาศยานและบริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ หมดลง การท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้มีการสรรหาผู้ให้บริการใหม่ โดยเปิดให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูลด้วยการเสนอผลประโยชน์ ซึ่งทั้ง สหกรณ์นครลานนาเดินรถ และ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ รวมทั้งผู้ประกอบการรายอื่นรวมทั้งสิ้น 5 ราย ก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเสนอราคาในครั้งนี้ด้วย สำหรับสัญญาใหม่ระยะเวลา 3 ปี TOR ของการท่าอากาศยาน ได้ระบุให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องมีรถแท็กซี่มิเตอร์ อยู่ในความรับผิดชอบและกรรมสิทธิ์ จำนวน 130 คัน และจะต้องมีรถสำรองอีก 20 คัน ค่าผลประโยชน์ที่การท่าอากาศยานต้องการมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ส่วนแบ่งรายได้ 15% ของรายได้จริง ค่าเช่าพื้นที่จอดรถ 250 ตารางเมตร คิดค่าเช่าตารางเมตรละ 10 บาทต่อเดือน ค่าเช่าพื้นที่เคาเตอร์ในห้องโถงอาคารผู้โดยสารในประเทศ 24 ตารางเมตร และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 8 ตารางเมตร ในอัตราตารางเมตรละ 340 บาทต่อเดือน ค่าธรรมเนียมการใช้บริการพื้นที่ในอาคารอีก 15% ของราคาค่าเช่ารวม และภาษีโรงเรือนอีก 12.5% ส่วนที่สองคือผลประโยชน์รายเดือนที่การท่าอากาศยานเชียงใหม่เปิดให้ผู้เข้าประมูลเสนอผลประโยชน์รายเดือน

ผลการประมูล ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลคือ บริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่ จำกัด เสนอผลประโยชน์ให้การท่าอากาศยานเชียงใหม่สูงที่สุด คือ นอกเหนือจากส่วนแบ่งผลกำไรและค่าเช่า บริษัทได้เสนอผลตอบแทนให้การท่าอากาศยานเชียงใหม่อีกเดือนละ 1,561,436 บาท อันดับที่สองคือ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ จำกัด เสนอผลตอบแทนให้การท่าอากาศยานเชียงใหม่เดือนละ 888,8888 บาท สำหรับสหกรณ์นครลานนาเดินรถเสนอผลตอบแทนน้อยที่สุดเป็นลำดับที่ห้า คือ 555,555 บาทต่อเดือน

เมื่อถึงกำหนดเริ่มดำเนินงาน วันที่ 1 ตุลาคม 2558 บริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่ ซึ่งไม่มีรถเป็นของตัวเอง ก็ใช้วิธีการชักชวนรถแท็กซี่มิเตอร์ของสหกรณ์นครลานนาเดินรถมาวิ่งให้บริการ ปรากฏว่า นายสิงห์คำได้ออกมายับยั้ง ด้วยการมาดักรอที่หน้าสนามบินเชียงใหม่ เพื่อดักสมาชิกของสหกรณ์นครลานนาเดินรถที่เอารถมาวิ่งกับบริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่ จำกัด โดยจะยึดป้ายคืนและขับออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ซึ่งการถูกขับออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ก็เท่ากับขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ขับรถแท็กซี่มิเตอร์โดยอัตโนมัติ เนื่องจากข้อตกลงของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2546 ได้ให้สิทธิกับสมาชิกสหกรณ์นครลานนาเดินรถ โดยแลกกับการคืนสิทธิการขับรถแดง ตามที่ได้กล่าว ถึงก่อนหน้านี้ จนเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจต้องมาช่วยระงับเหตุ แท็กซี่ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์นครลานนาเดินรถที่นำรถมาวิ่งกับบริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่ หลายสิบคัน ไม่พอใจการการกระทำดังกล่าวจึงได้ไปร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

นายสิงห์คำให้เหตุผลว่า เป็นมติของสมาชิกสหกรณ์ฯ เนื่องจากสหกรณ์เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและได้เข้าร่วมประมูล การที่บริษัทที่ประมูลชนะ ไม่มีความสามารถในการจัดหารถ แต่มาใช้รถของสมาชิกสหกรณ์ฯ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม จึงจะต้องดำเนินการกับสมาชิกที่นำรถมาวิ่งกับบริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่ เพราะสมาชิกเหล่านั้นไม่เคารพมติของที่ประชุมสหกรณ์ฯ

อย่างไรก็ดี การเสนอประโยชน์ที่สูงลิ่วให้กับการท่าอากาศยานเชียงใหม่ และปัญหากระทบกระทั่งที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่ ดำเนินกิจการอยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งเดือน ก็ถูกการท่าอากาศยานเชียงใหม่บอกเลิกสัญญา และออกหนังสือเชิญสหกรณ์นครลานนา ให้เข้าเสนอผลประโยชน์อีกครั้งในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมการท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยไม่มีการเชิญ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ จำกัด แต่อย่างใด ทั้งที่ในการเสนอผลประโยชน์ครั้งก่อนหน้า บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ ได้เสนอผลประโยชน์เข้ามาเป็นลำดับที่สอง ขณะที่สหกรณ์นครลานนาเดินรถเสนอผลประโยชน์เป็นลำดับสุดท้าย

เมื่อ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ ทราบข่าวดังกล่าว จึงได้ทำหนังสือทักท้วง และขอเข้าร่วมเสนอผลประโยชน์ด้วย และเมื่อไปยังสถานที่และเวลา ตามที่การท่าอากาศยานเชียงใหม่นัดหมายให้สหกรณ์นครลานนาเดินรถมาเสนอผลตอบแทน พร้อมสื่อมวลชน ก็ไม่ปรากฏว่ามีการเสนอผลประโยชน์ของสหกรณ์นครลานนาเดินรถต่อการท่าอากาศยานเชียงใหม่แต่อย่างใด ในเรื่องนี้ บริษัท เจ็ดยอดบราเตอร์ บอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงได้เข้าแจ้งความเป็นหลักฐานต่อสถานีตำรวจภูพิงค์ และได้ยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เนื่องจากปรากฏว่า สหกรณ์นคร ลานนาเดินรถ ได้รับสัมปทานการดำเนินการแท็กซี่มิเตอร์ในท่าอากาศยานเชียงใหม่ไป

TCIJ ได้สอบถามเรื่องนี้ต่อนายสิงห์คำ เขาให้ข้อมูลว่า เป็นเพราะสหกรณ์นครลานนาเดินรถเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มีคุณสมบัติครบตาม TOR คือมีรถแท็กซี่มิเตอร์เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ 130 คันและรถสำรองอีก 20 คัน และสหกรณ์ นครลานนาได้มีการตกลงผลประโยชน์ที่เสนอ เท่ากับที่บริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่เสนอให้ คือ 1,561,436 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขาดทุนทุกเดือน เพราะนอกจากค่าผลประโยชน์ที่ต้องจ่ายรายเดือน ยังต้องหักค่าโดยสาร 15% ให้การท่าอากาศยานเชียงใหม่ และมีภาระต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานที่ทำงานจัดคิวที่สนามบินอีก จนต้องนำรายได้ส่วนอื่นของสหกรณ์ไปชดเชย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ทำหนังสือขอปรับลดผลประโยชน์ที่เสนอให้การท่าอากาศยานเชียงใหม่แล้ว อยู่ระหว่างรอการตอบรับ

TCIJ พยายามติดต่อเขอสัมภาษณ์ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานจังหวัดเชียงใหม่ โดยส่งจดหมายตามระเบียบและโทรสอบถามหลายครั้งแต่ไม่ได้รับการตอบรับให้เข้าพบ รวมทั้งได้โทรสอบถามไปยังฝ่ายบริหารธุรกิจของ บริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) แต่ได้รับคำตอบว่า ผู้ที่ทราบเรื่องเดินทางไปต่างจังหวัด

หากเป็นจริงตามที่นายสิงห์คำพูด ว่าสหกรณ์นครลานนาเดินรถเป็นผู้เดียวที่มีคุณสมบัติตาม TOR  การท่าอากาศยานเชียงใหม่ก็ต้องตอบคำถามว่าเหตุใดจึงปล่อยให้ บริษัท คาร์ เรนทัล เชียงใหม่จำกัด ได้ดำเนินกิจการในช่วงแรก ทั้งที่ขาดคุณสมบัติที่ระบุใน TOR

ค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว ส่งผลให้ผู้ขับแท็กซี่มิเตอร์ที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ต้องถูกสหกรณ์นครเดินรถลานนาเรียกเก็บเงินเดือนละ 12,000 บาท และเงินรายปีอีกปีละ 12,000 บาท เพื่อรวบรวมส่งให้การท่าอากาศยาน จึงเป็นเหตุให้ผู้โดยสารต้องถูกเก็บค่าโดยสารที่สูงขึ้นเป็นลูกโซ่ และเป็นสาเหตุให้ผู้โดยสารต้องการที่จะใช้อูเบอร์และแกร็บมากกว่า

คำถามสำคัญก็คือว่า ผู้โดยสารต้องเสียภาษีสนามบินให้กับการท่าอากาศยานอยู่แล้ว เหตุใดการท่าอากาศยานจึงเรียกผลประโยชน์จากผู้ประกอบการในอัตราที่สูงเช่นนี้ ทั้งส่วนแบ่งรายได้ ค่าเช่า ค่าตอบแทนรายเดือน และอื่นๆ ซึ่งท้ายที่สุดก็ส่งผลกระทบเป็นภาระแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และแท็กซี่มิเตอร์ที่มาร่วมวิ่งมีภาะค่าใช้จ่ายจนไม่สามารถใช้มิเตอร์ในการกำหนดค่าโดยสารที่เป็นธรรมได้ เท่ากับว่า การท่าอากาศยานมีส่วนทำลายระบบขนส่งสาธารณะเสียเองหรือไม่ ?

หากการไม่ใช้มิเตอร์ของรถแท็กซี่ เป็นสิ่งที่กระทำได้ เหตุใดใน TOR จึงต้องระบุข้อกำหนดให้รถที่เข้าร่วมวิ่งต้องเป็นรถแท็กซี่มิเตอร์ ?

คำถามต่อมาก็คือ เหตุใดการบริหารจัดการรถสาธารณะในท่าอากาศยานเชียงใหม่ จึงไม่ใช้มาตรฐานและวิธีการเดียวกันกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง ? ที่รถแท็กซี่คันใดก็สามารถเข้ามาให้บริการได้โดยจ่ายค่าธรรมเนียมไม่มากนัก และผู้โดยสารจ่ายเพิ่มค่า service charge จากมิเตอร์เที่ยวละ 50 บาท

ปัญหาขนส่งสาธารณะเชียงใหม่- ปัญหาของใคร ?

แน่นอนว่า ปัญหาขนส่งสาธารณะย่อมเป็นปัญหาของสาธารณะอย่างไม่ต้องสงสัย แต่การแก้ปัญหาของการจัดการขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ที่ผ่านมา กลับไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแก้ไข ในขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ล้วนแต่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับ แล้วเอาประชาชนมาเป็นข้ออ้างด้วยกันทั้งสิ้น

อูเบอร์และแกร็บ อาศัยช่องว่างของปัญหา หาผลประโยชน์โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้ที่เข้าร่วมขับหรือ 'พาร์ทเนอร์' ของตน มิหนำซ้ำยังสร้างแคมเปญรณรงค์ไปสู่การแก้ปัญหาที่ตนเองจะได้เข้ามารับผลประโยชน์ได้ตามกฎหมาย ผู้ขับอูเบอร์และแกร็บ ต้องเผชิญภาวะเสี่ยงกันเองโดยบริษัทไม่ต้องร่วมรับผิด ขณะที่ระบบการให้ค่าตอบแทนพิเศษที่ใช้ในการจูงใจคนขับก็ดูจะไม่เป็นธรรม และเป็นสิทธิขาดของบริษัท ไม่มีกฎหมายมาควบคุมและผู้ขับไม่มีอำนาจต่อรองอันใดกับบริษัทนอกจากจะย้ายไปขับอีกค่ายซึ่งไม่ต่างกันมากนัก

เจ้าหน้าที่รัฐที่เข้ามาดำเนินการตามกฎหมาย ก็เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ด้วยเกรงว่าตนเองจะมีความผิดหากละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โครงสร้างในการแก้ปัญหาคือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกของจังหวัด ซึ่งไม่ได้ศึกษาปัญหาอย่างจริงจัง เนื่องจากคณะกรรมการมีที่มาที่หลากหลาย มีเพียงขนส่งจังหวัดที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการฯ เท่านั้นที่อยู่กับปัญหาโดยตรง โดยเฉพาะปัญหาการจัดการขนส่งสาธารณะของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสลับซับซ้อน แต่โครงสร้างการบริหารราชการมีการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งบ่อยครั้ง ใน 10 ปีหลัง มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกของจังหวัดแล้วถึง 8 คน ทำให้การแก้ไขปัญหาขาดช่วง ไม่ปะติดปะต่อ และผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่ต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจปัญหา ที่สำคัญที่สุดคือ ภายใต้คณะกรรมการดังกล่าว ไม่ปรากฏว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมหรือส่งตัวแทนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ขาดการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมประชาธิปไตย

ผู้ประกอบอาชีพขับรถแดงและแท็กซี่มิเตอร์เชียงใหม่ ถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในเกมส์แห่งผลประโยชน์นี้ เป็นความจริงที่ว่าส่วนหนึ่งของปัญหาเป็นเพราะเขาเหล่านั้นเองมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน และหากพิจารณาถึงความรู้สึกไม่มั่นคงต่อการสูญเสียอาชีพ ที่อาจกระทบถึงชีวิตและครอบครัวของพวกเขา เราอาจจะพอเข้าใจได้ถึงปฏิกริยาโต้ตอบที่รุนแรงก้าวร้าว ทว่า ปัญหาที่แท้จริงของระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ อยู่ที่ไหนกันแน่ ?

 

อ้างอิง

[1] ข้อมูลจากสำนักงานสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่เข้าถึงได้ที่ http://www.cm-mots.com//modules/download/file/2016-08-24-2896392.pdf

[2] จากรายงานของประชาชาติธุรกิจ สืบค้นได้จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1480316174

[3] https://www.forbes.com/sites/liyanchen/2015/12/04/at-68-billion-valuation-uber-will-be-bigger-than-gm-ford-and-honda/#59f6d7d032e3

[4] รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกจังหวัดเชียงใหม่ครั้งที่ 1/2546 วันที่ 13 พฤษภาคม 2546

[5] พลเมืองเหนือรายสัปดาห์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 170 ประจำวันที่ 25 - 31 กรกฎาคม 2548 คอลัมน์ สัมภาษณ์พิเศษ "เปิดใจ ช้ำรถเมล์ขวัญเวียง รถเมล์เชียงใหม่มีไว้แค่ให้ดู" หน้า 10 สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal/2005/07/21254

[6] ปรียานุช วัฒนกูล, "การเมืองเรื่องการจัดระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่", วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2551

[7] สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1263377115

 

อ่านเรื่องเกี่ยวข้อง:
ทำความรู้จัก Grab VS Uber

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ยันไม่ใช้ ม.44 เก็บภาษีขายหุ้นชินคอร์ป แต่ยังใช้ควบคุมพื้นธรรมกาย

Posted: 14 Mar 2017 11:40 PM PDT

พล.อ.ประยุทธ์ แจงไม่ได้เลิกรถตู้ เข้มไม่มีคุณภาพห้ามออกมาวิ่ง ยันใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดธรรมกาย เพื่อรักษาพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่ทำงานรวดเร็วขึ้น แต่ยันไม่ใช้ ม.44 แก้ปัญหาหุ้นชินคอร์ป ระบุกรมสรรพากรต้องดำเนินการเรียกเก็บภาษีให้ทันก่อนวันที่ 31 มี.ค.นี้

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา รายงานข่าวระบุว่า เวลา 15.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีการใช้อำนาจมาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดธรรมกาย หลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยุติการค้นภายในวัด เเละถอดกำลังออกมาเเล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารยังคงตรึงกำลังภายนอกวัดเช่นเดิมว่า การใช้มาตรา 44 สำหรับเรื่องนี้ เป็นเเค่การเขียนให้ครอบคลุม เพื่อให้ดำเนินการสะดวก ไม่ใช่เขียนไว้เเล้วต้องทำตามทุกอย่าง  พร้อมกล่าวว่า ขอให้เข้าใจว่ามาตรา 44 เป็นกฎหมายที่รัดกุม ครอบคลุมไม่ต้องใช้หลายกฎหมาย เเต่เเท้ที่สุดเเล้วจะนำไปสู่การใช้กฎหมายปกติ ตอนนี้มีเเค่ใช้รักษาพื้นที่เท่านั้น ให้เจ้าหน้าที่ทำงานเร็วขึ้น เเต่ทางคดีนั้น กระบวนการยุติธรรมจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของสงฆ์เป็นเรื่องของพระธรรมวินัย เกี่ยวกับ พ.ร.บ.พระสงฆ์ให้ไปดูรายละเอียดตรงนี้ โดยขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประสานกับมหาเถรสมาคมให้ทำตามขั้นตอน โดยตนยึดกฎหมาย พ.ร.บ.สงฆ์มาตลอด

ยันไม่ใช้ ม.44 แก้ปัญหาเก็บภาษีขายหุ้นชินคอร์ป

กรณีที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เมื่อวันที่ 13 มี.ค.) เพื่อหารือความคืบหน้าการเรียกเก็บภาษี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีขายหุ้นชินคอร์ป เมื่อปี 2549 นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้ให้แนวคิดไปแล้วว่ารัฐบาลจะต้องไม่ทำขัดกับหลักยุติธรรม และจะไม่ใช้มาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปและมอบหมายให้กรมสรรพกร กระทรวงการคลังดำเนินการเรียกภาษี ส่วนจะได้หรือไม่นั้น ต้องไปเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีโอกาสโต้แย้งในชั้นศาล และต้องดูความเป็นมาของศาลที่ผ่านมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นศาลฎีกา เพราะหลายอย่างมีความซับซ้อน โดยกรมสรรพากรต้องดำเนินการเรียกเก็บภาษีให้ทันก่อนวันที่ 31 มี.ค.นี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวย้ำด้วยว่า การดำเนินการเรื่องนี้เป็นผลมาจากการประชุมของคณะกรรมการร่วมทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามข้อสังเกตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เสนอมา หากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลย จะกลายเป็นปัญหาอีกเหมือนคดีอื่น ๆ พร้อมกล่าวยืนยันว่าไม่ได้รังแกใคร

ไม่ได้เลิกรถตู้ เข้มไม่มีคุณภาพห้ามออกมาวิ่ง

สำหรับความคืบหน้ามาตรการคุมเข้มการจัดระเบียบความปลอดภัยรถตู้บริการสาธารณะ หลังมีผู้ประกอบการออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรม จากกระเเสข่าวว่า จะมีคำสั่งยกเลิกรถตู้บริการสาธารณะเเละเปลี่ยนมาใช้รถมินิบัสเเทนนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้ดูเเลเรื่องดังกล่าวเเล้ว โดยมีการหารือกับสมาคมรถตู้ ยืนยันว่าไม่มีการบังคับ เป็นไปตามความสมัครใจ ทั้งนี้ กรณีรถตู้ไม่มีคุณภาพ สภาพใช้การไม่ได้ ไม่มีความปลอดภัยต้องยกเลิก ถ้าปล่อยไว้ก็จะเป็นปัญหาเเบบเดิม โดยในวันนี้ได้ออกคำสั่งมาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรทางบก และมาตรการรักษาความปลอดภัยของการขนส่งสาธารณะ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลเป็นห่วงความปลอดภัยของประชาชน เเละก็เป็นห่วงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการที่ดี ๆ ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่มีความรับผิดชอบ ใช้รถไม่มีมาตรฐานต้องยกเลิก จึงต้องมาหารือกันเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก ถ้ารถตู้ไม่พอก็จะมีมินิบัสเสริม พร้อมให้กรมขนส่งออกข้อกำหนดเพิ่มเพื่อความปลอดภัยทั้งเรื่องรถ พลขับ เทคโนโลยีติดรถ ที่นั่งตามจำนวนจริง และมีเข็มขัดนิรภัย  พร้อมกล่าวยืนยันว่า ไม่ได้ยกเลิกรถตู้ เเต่ห้ามรถตู้ไม่ได้มาตรฐานออกมาวิ่ง และเสริมด้วยรถมินิบัสเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้บริการมากขึ้น  

ต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงเรื่องความคาดหวังต่อคณะผู้แทนไทย ในการนำเสนอรายงานด้วยวาจาต่อที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Committee) หรือคณะกรรมการประจำกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส  พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า เข้าใจดีว่าทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของ ICCPR ต้องโดนซักถามอยู่แล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นถูกซักถามประมาณ 10-11 คำถาม ซึ่งในเบื้องต้นคณะผู้แทนของไทยสามารถตอบคำถามได้ในทุกประเด็น ซึ่งทางคณะกรรมการฯรับทราบดีและไม่ได้สอบถามรุกไล่ประเทศไทยแต่อย่างใด หลังจากนี้ ทุกฝ่ายควรหันกลับมามองปัญหาและหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศอย่างไร 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น