โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

องค์การแรงงานระหว่างประเทศจวกไทยใช้แรงงานทาสทำประมง

Posted: 30 Mar 2017 11:51 AM PDT

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ของสหประชาชาติ ออกรายงานวิจารณ์ไทยอย่างหนักกรณียังมีเรือประมงใช้แรงงานทาส มีเหตุสังหารคนงาน ทำร้ายร่างกาย ใช้แรงงานวันละ 20 ชั่วโมง และไม่มีค่าจ้าง ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นไทยถูกนานาชาติวิจารณ์มานานและเสี่ยงต่อการถูกคว่ำบาตรการส่งออกอาหารทะเล

ที่มาของภาพประกอบ: รายงานหน้าแรกของ ILO เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560

องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานของสหประชาชาติออกรายงานเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ซึ่งระบุว่าประเทศไทยยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการสังหาร การค้ามนุษย์ และบังคับใช้แรงงานทาสที่เป็นแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมการประมงในไทยได้ แม้ว่าจะมีการออกกฎหมายใหม่จากรัฐบาลก็ตาม (อ่านรายงานที่นี่)

เดอะการ์เดียนระบุว่าน้อยครั้งที่จะมีการตัดสินในเชิงวิพากษ์วิจารณ์จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานของยูเอ็น โดย ILO เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขปัญหาการกดขี่แรงงานประมงในน่านน้ำไทยมาก่อนแล้วหลังจากที่สหภาพแรงงานนานาชาติเคยร้องเรียนในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการเมืองปีที่แล้ว ซึ่งมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคนงานข้ามชาติถูกใช้แรงงาน 20 ชั่วโมงต่อวัน ถูกทำร้ายร่างกายและไม่มีค่าจ้างที่จ่ายเป็นเงิน

หลักฐานดังกล่าวมาจากสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) และสมาพันธ์สหภาพแรงงานนานาชาติ (ITUC) ส่งให้ ILO โดยที่ ITF ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ลูกจ้างทั้งชาวไทยและผู้อพยพตั้งแต่ในปี 2558

นักกิจกรรมแสดงการตอบรับเป็นอย่างดีที่ ILO ออกมาเรียกร้องในเรื่องนี้ เนื่องจากมีหลักฐานเพิ่มเติมว่าทางการไทยมความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหานี้น้อยมากแม้ว่าจะมีการกดดันจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

จากหลักฐานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ระบุว่ามีคนงานถูกจับขังและให้ทำงานจับสัตว์น้ำอย่างผิดกฎหมายในน่านน้ำอินโดนีเซียแม้ว่าจะต้องเงินค่านายหน้าเพื่อเข้าทำงานจำนวนมาก มีลูกจ้างรายหนึ่งถูกไต้ก๋งเรือทุบตีและถูกล่ามคอไว้กับเรือหลังจากที่เขาพยายามหลบหนี มีคนงานจำนวนหนึ่งบอกว่าเขาเห็นเพื่อนคนงานถูกไต้ก๋งฆ่าตาย มีคนงานชาวกัมพูชารายหนึ่งถูกยิงเสียชีวิต มีชาวประมงไทย 4 ราย ถูกสังหารด้วยการโยนลงทะเล นอกจากนี้คนงานยังบอกว่าพวกเขาถูกผูกมัดด้วยการเป็นแรงงานขัดหนี้ ทำให้พวกเขาต้องทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ต้องทนเห็นไต้ก๋งเรือทารุณทางกายกับลูกเรือคนอื่น แล้วยังต้องทำงาน 20 ชั่วโมงต่อวันโดยที่ได้รับอาหารจำกัด

เรื่องราวคล้ายกันนี้ยังเคยถูกนำเสนอในเดอะการ์เดียนมาแล้วตั้งแต่ปี 2557 นอกจากนี้รายงานของรัฐบาลไทยเองยังมีการพูดถึงการกดขี่แรงงานบนเรือไทยที่ซายา เดอ มัลฮา ที่มีคนงานประมงจำนวนมากถูกใช้แรงงานในแบบที่ผิดกฎหมายแรงงานและกฎหมายผู้อพยพ กรีนพีซเคยรายงานถึงเรื่องนี้ว่าคนเหล่านี้ถูกซื้อตัวจากการค้ามนุษย์และถูกบังคับให้ใช้แรงงานโดยได้พักแค่ 4 ชั่วโมงต่อวัน มีลูกเรือบางคนบอกว่าพวกเขาต้องอยู่กับท้องทะเลมาตลอด 5 ปี ติดต่อกัน

แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้ที่ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่มีมูลค่ากว่า 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นอันดับ 4 ของโลกแต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิแรงงาน และการประมงอย่างผิดกฎหมาย ไทยถูกลดระดับจากสหรัฐฯ ในเรื่องการค้ามนุษย์และถูกสหภาพยุโรปให้ใบเหลืองในปี 2558 เพื่อเตือนให้ไทยแก้ไขปัญหานี้มิเช่นนั้นอียูจะงดนำเข้าจากไทย

แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามปฏิรูปและออกกฎหมายใหม่เพื่อแก้ไขเรื่องนี้แต่ ILO ก็เน้นย้ำว่าพวกเขายังแก้ปัญหาได้ไม่ดีพอ มีช่องโหว่เรื่องกรอบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ในแง่ของการกำกับดูแลนายหน้าจัดหาแรงงาน การดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทุจริต และการตรวจสอบเรืออย่างมีประสิทธิภาพ

สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนแถลงว่าทางการไทยให้ความร่วมมือกับการสืบสวนสอบสวนของ ILO เป็นอย่างดีและ ILO ก็เล็งเห็นความพยายามของไทยในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง ทางการไทยบอกว่าการทำงานของพวกเขามีความก้าวหน้าขึ้นแล้วในเรื่องที่ ILO หลังจากมีการร้องเรียน

อย่างไรก็ตาม จอห์นนี ฮานเซน ประธานฝ่ายประมงของ ITF เปิดเผยว่าถึงแม้ทางการไทยจะมีความคืบหน้าแต่ก็ยังอีกไกลถึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงได้ ทางด้านตีฟ เทรนต์ จากมูลนิธิเพื่อความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมกล่าวว่ารัฐบาลไทยดำเนินเรื่องการบังคับใช้แรงงานอย่างไม่ปะติดปะต่อ มีแค่การบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำคุกคนค้ามนุษย์ที่ท่าเรือที่ อ.กันตัง จ.ตรัง แต่ก็ยังคงมีการทำธุรกิจเถื่อนใช้แรงงานทาสอยู่เนื่องจากการทุจริต

อานดี้ ฮอลล์ นักสิทธิมนุษยชนที่ออกจากประเทศไทยหลังถูกฟ้องร้องดำเนินคดีก่อนหน้านี้กล่าวว่าในไทยไม่เพียงแค่มีกรณี การใช้แรงงานทาสในเรือประมงเท่านั้น แต่ในฟาร์มไก่ สวนยาง โรงงานส่งออกเนื้อไก่กับอาหารทะเลขนาดใหญ่ โรงงานส่งออกเครื่องมือการแพทย์อย่างถุงมือยาง หรือในโรงงานส่งออกพืชผลไม้ ก็ยังมีกรณีเช่นนี้

 

เรียบเรียงจาก

Thailand accused of failing to stamp out murder and slavery in fishing industry, The Guardian, 30-03-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

2 ศพรือเสาะ 'กอ.รมน.' แจงเกิดยิงปะทะ จนวิสามัญฯ น้องผู้ตายยันทั้งคู่ไม่มีอาวุธ

Posted: 30 Mar 2017 09:36 AM PDT

กอ.รมน. แจงเกิดยิงปะทะ จนวิสามัญฯ 2 ราย โยงยิงรถรับส่งนักเรียนต้นเดือน พร้อมแสดงความเสียใจกับครอบผู้เสียชีวิต ด้านน้องผู้ตายที่รอดจากเหตุการณ์ ยันกับวารตานีว่าทั้งคู่คนไม่มีอาวุธ ระหว่างลงจากรถก็เห็นชัดเจนว่าทุกคนมือเปล่า

30 มี.ค.2560 ศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา เวลา 13.30 น. เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการข่าวทหาร และเจ้าหน้าที่ทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ 46 ได้เรียกตรวจรถยนต์ของบุคคลต้องสงสัย และเกิดยิงปะทะกัน ซึ่งจุดเกิดเหตุอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างบ้านไอร์จือนะห์ หมู่ 5 กับบ้านธรรมเจริญ หมู่ 6 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ส่งผลให้ผู้ต้องสงสัยเสียชีวิต 2 ราย ตรวจสอบเบื้องต้นทราบชื่อคือ อิสมาแอ หามะ อายุ 28 ปี กับ อาเซ็ง อูเซ็ง อายุ 30 ปี ทั้งคู่มีภูมิลำเนาอยู่ใน อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส นอกจากนี้บริเวณที่เกิดเหตุพบอาวุธสงคราม และอาวุธปืนพกขนาด 9 มม. ตกอยู่อย่างละ 1 กระบอก 

พ.ต.อ.เรืองศักดิ์ บัวแดง ผู้กำกับการ สภ.รือเสาะ กล่าวว่า จากการตรวจสอบประวัติของ อาเซ็ง พบว่ามีหมายจับคดีความมั่นคง 3 คดี และทั้งสองคนเกี่ยวข้องกับคดีกราดยิงรถของ สมชาย ทองจันทร์ จนมีผู้เสียชีวิต 4 ศพ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา 

น้องผู้ตายที่ติดรถมาด้วย ยันทั้ง 2 ไม่มีอาวุธ 

ขณะที่ สำนักสื่อวารตานี (Wartani) ที่ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ครอบครัวและน้องสาวผู้เสียชีวิตที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งรถกระบะคัยเกิดเหตุ มีผู้ร่วมเดินทางทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วยผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย และ น.ส.เอ (นามสมมุติ) อายุ 15 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู ม.3 และเป็นน้องสาวของอิสมาแอ โดยเธอเล่าว่า พี่ชายซึ่งเพิ่งจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีได้เพียงปีเศษและได้กลับมาอยู่บ้านนั้น ต้องการจะไปพบปะกับเพื่อนๆ และได้มาชวนตนไปและตนก็รับปากไปด้วย โดยออกจากหมู่บ้านในเวลาประมาณ 13.00 น. โดยระหว่างอกไปได้มี อาเซ็ง อูเซ็ง อายุ 30 ปี จะขออาศัยไปด้วย บอกว่าจะลงระหว่างทาง และพี่ชายได้ตอบรับเพื่อจะไปส่ง

น้องสาวของอิสมาแอ เล่าต่อว่า มาถึงบริเวณที่เกิดเหตุสังเกตว่ามีรถยนต์คันหนึ่งตามติดและเบียดรถตน พี่ชายซึ่งเห็นความผิดปกติแล้วได้ประคองรถ แต่รถคันดังกล่าวก็ปาดหน้า จนทำให้พี่ชายเบรกเพื่อหยุดรถ จากนั้นมีชายถือปืน โดยตนไม่ได้สังเกตว่ามีกี่คนลงมาจากรถคันดังกล่าว พร้อมตะโกนให้ยกมือ และลงจากรถ พร้อมกับอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ พวกตนจึงลงจากรถ แต่แล้วก็มีชายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ดึงตัวตนออกไปหลังรถกระบะ ประมาณระยะนึงแล้วให้หันหลัง ระหว่านั้นตนได้เห็นเจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งอยู่กับพี่ชายและอาเซ็ง จากนั้นได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ทำให้ตนตกใจมาก จึงหันกลับไปเห็นว่าอาเซ็งถูกยิงล้มลง แต่พี่ชายยังไม่เป็นไร แล้วจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็บอกให้ตนหันหลังกลับไปอีกครั้ง สักพักจึงได้ยินเสียงปืนอีกครั้งหนึ่่ง  ด้วยความตกใจจึงหันไปดู แต่เจ้าหน้าที่ก็ดึงตัวตนขึ้นรถพาตัวไป ฉก.รือเสาะ ก่อนที่จะพาไปโรงพัก แล้วจึงพากลับบ้านกลับถึงบ้านเวลา 23:00 โดยประมาณ

น้องสาวของอิสมาแอ ได้ยืนยันกับสำนักสื่อวาร์ตานี ว่า อาเซ็งและนาย อิสมาแอ ไม่มีอาวุธ และระหว่างลงจากรถก็เห็นชัดเจนว่าทุกคนมือเปล่า

กอ.รมน. แจงเกิดยิงปะทะ จนวิสามัญฯ 2 ราย โยงยิงรถรับส่งนักเรียนต้นเดือน

 

 พ.อ.ยุทธนาม เพชรม่วง รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า

ไทยพีบีเอส รายงานด้วยว่า พ.อ.ยุทธนาม เพชรม่วง รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ชุดปฏิบัติการข่าว กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า สนธิกำลังทหารพรานที่ 46 ตั้งด่านตรวจจุดสกัด บนถนนภายในหมู่บ้าน บ้านตะบิงรูโต๊ะ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส จนเกิดการยิงปะทะกับกลุ่มคนร้าย จนวิสามัญฆาตกรรม 2 คน คือ อิสมาแอ  และอาเซ้ง  พร้อมยึดอาวุธได้จำนวนหนึ่ง เมื่อวานนี้( 29 มี.ค.) 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบประวัติของผู้เสียชีวิต มีคดี ป.วิอาญา และคดีความมั่นคง ของศาลจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดยะลา นอกจากนี้ อาวุธที่ยึดมาได้ ตรวจสอบเป็นปืนที่ยึดมาได้การลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ในตำบลวังพญา และลอบยิงตำรวจสถานีตำรวจภูธรโกตาบารู เมื่อปี 2556

รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ระบุว่า นอกจากนี้ ยังพบว่า เป็นคนลอบยิง สมชาย ทองจันทร์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านธรรมเจริญ ต.โตกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ขณะขับรถยนต์ส่งลูกไปโรงเรียน จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมขอแสดงความเสียใจกับครอบผู้เสียชีวิตทั้งสองคนด้วย ซึ่งการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ในการติดตามจับคนร้ายมาดำเนินคดี แต่ผู้เสียชีวิตทั้งสองคน ไม่ยอมให้มีการจับและยังยิงต่อสู้ เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องใช้อาวุธประจำตัวยิงตอบโต้เพื่อป้องกันตัว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ฯ โวยเสรีภาพในฮ่องกงสั่นคลอน หลังตำรวจเตรียมตั้งข้อหาผู้นำ 'ปฏิวัติร่ม'

Posted: 30 Mar 2017 09:31 AM PDT

ตำรวจฮ่องกงเตรียมแจ้งข้อหานักกิจกรรม 'ปฏิวัติร่ม' เมื่อปี 2557 หลายคน แอมเนสตี้ห่วงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบถูกสั่นคลอน

<--break- />

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แจ้งว่า ทาง แอมเนสตี้ฯ พบว่าเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบในฮ่องกงกำลังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง หลังตำรวจได้แจ้งไปยังผู้นำหลายคนของ "การปฏิวัติร่ม" เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี 2557 ให้เข้าไปรายงานตัวเพื่อแจ้งข้อหา

รายงานดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังจาก แคร์รี แลม ถูกแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกงโดยคณะกรรมการ 1,200 คนที่เลือกโดยรัฐบาลจีน นักกิจกรรมที่ได้รับการแจ้งว่าจะถูกตั้งข้อหารวมไปถึงนักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย และสมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกงที่เข้าร่วมการเรียกร้องประชาธิปไตยด้วย

"การมุ่งคุกคามนักกิจกรรมคนสำคัญในการปฏิวัติร่มแสดงถึงความถดถอยของเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบในฮ่องกง การกระทำดังกล่าวเป็นภัยต่อเสรีภาพที่เข้มแข็งในฮ่องกงและมีแต่จะเพิ่มความตึงเครียดทางการเมือง" มาเบล โอ ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮ่องกง กล่าว

อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮ่องกง ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการตั้งข้อหาต่อนักกิจกรรมในครั้งนี้อาจมีแรงจูงใจทางการเมือง เพราะการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน แต่กลับเพิ่งมาแจ้งข้อหาในช่วงที่แคร์รี แลมได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการคนใหม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตรองเลขา สปสช. อัด 'พาณิชย์' เมินควบคุมราคายาปล่อยประชาชนถูกเอาเปรียบ

Posted: 30 Mar 2017 08:46 AM PDT

อดีตรองเลขาธิการ สปสช.อัดกระทรวงพาณิชย์เมินควบคุมราคายา ปล่อยให้ประชาชนถูกเอาเปรียบ ชี้หลังทำซีแอลประหยัดงบจัดซื้อยาได้กว่า 2 หมื่นล้านบาท ยืนยัน สปสช.แทรกแซงกระบวนการจัดซื้อยาเฉพาะยาที่คนไทยถูกเอาเปรียบ เช่น ยาราคาแพง ยาโรคเอดส์ ไตวายเรื้อรัง คิดสัดส่วนแล้วเพียง 4.9 %

เนตรนภิส สุชนวนิช อดีตรองเลขาธิการ สปสช.

30 มี.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า เนตรนภิส สุชนวนิช อดีตรองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยในงานเสวนา "บทเรียน 10 ปีซีแอลและการเข้าถึงยาจำเป็น" เมื่อเร็วๆ นี้ว่า หลักการจัดซื้อยาของ สปสช.มีอยู่ 3 เรื่องไม่ว่าจะถูกจำกัดงบประมาณรายหัวอย่างไรก็ตาม คือ 1.ต้องทำให้คนเข้าถึงยาตามความจำเป็น 2.ยาที่เข้าถึงต้องเป็นยาที่มีคุณภาพ และ 3.มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งการตัดสินใจซื้อยาต้องมีการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ก่อน โดยอ้างอิงจากบัญชียาหลักแห่งชาติ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อรองราคา แล้วถึงเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อ ขณะเดียวกัน ในกระบวนการจัดซื้อก็จะเน้นเรื่องคุณภาพ โดยกำหนดในทีโออาร์ว่าจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพจาก Third Party หรือหากยาบางตัวไม่มีห้องแล็ปในเมืองไทยก็ต้องส่งไปตรวจสอบที่ต่างประเทศ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในส่วนของผลที่เกิดจากการประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (ซีแอล) เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาคือทำให้ต้นทุนราคายาที่ สปสช.จัดซื้อลดลงอย่างมโหฬาร เช่น ยาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ยารักษาโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตัน จากราคา 70 บาท แต่ทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) สามารถจัดซื้อได้เพียง 90 สตางค์เท่านั้น เฉพาะยาตัวนี้ช่วยประหยัดงบประมาณไปได้ 500-600 ล้านบาท และหากนับรวมยาทุกตัวในช่วงปี 2551-2553 สปสช.ประหยัดงบประมาณการจัดซื้อยาไปได้ 2,000-3,000 ล้านบาท และในช่วงปี 2553-2557 ประหยัดได้อีกกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ประหยัดได้นี้บางส่วน สปสช.เอามาพัฒนาระบบการจัดการเรื่องยาต้านพิษ และเซรุ่มพิษงู เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยา และ รพ.ได้ใช้ยาเพื่อรักษาผู้ป่วยในทันที เป็นต้น  

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคำพูดที่กล่าวว่า สปสช.แทรกแซงกระบวนการจัดซื้อยาของประเทศ ซึ่งต้องบอกว่า สปสช.แทรกแซงเฉพาะยาที่คนไทยถูกเอาเปรียบ เช่น ยาราคาแพง ยาโรคเอดส์ ไตวายเรื้อรัง คิดสัดส่วนแล้วเพียง 4.9 % ของเงิน 1.45 แสนล้านบาทที่ไทยจัดซื้อยาเข้ามาในประเทศ

"ซีแอลเป็นอะไรที่คนมีความรู้สึกว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐ แต่การใช้อำนาจรัฐก็มีความจำเป็นหากไม่ได้รับความร่วมมือในการเข้าถึงยาสำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้" เนตรนภิส กล่าว

เนตรนภิส กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ก็ไม่ได้อาศัยแค่ซีแอลอย่างเดียว พัฒนาการในเรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ระบบการจัดซื้อรวมในปี 2547 จากนั้นมีการทำซีแอลในปี 2550 มีการจัดทำบัญชียา จ2 ในปี 2551 รวมทั้งกระบวนการเจรจาต่อรองราคาในปี 2554 อย่างไรก็ดี การควบคุมราคายาผ่านกลไกเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้ควบคุมใดๆ เกี่ยวกับยาที่เข้ามาในประเทศไทยเลย ปล่อยให้กลไกราคายาเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภค ยาบางตัวขายในร้านยา 70 บาท แต่ขายในโรงพยาบาลเอกชน 500 บาท โดยไม่มีการต่อสู้ใดๆ จากกระทรวงพาณิชย์ทั้งสิ้น

"พอถามก็บอกว่าขายตามราคาหน้ากล่อง ซึ่งหน้ากล่องจะเขียนเท่าไหร่ก็ได้ แล้วกระทรวงพาณิชย์รู้ได้อย่างไรว่าราคาหน้ากล่องเป็นราคาที่เหมาะสม ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ยังทำไม่ได้ก็คงต้องขอฝาก ซึ่งจริงๆก็ฝากมานานแล้ว ว่าท่านต้องเข้ามาควบคุมดูแลเรื่องนี้" เนตรนภิส กล่าว

อัจฉรา เอกแสงศรี อดีตรองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ราคายาหลังจากทำซีแอล ทาง อภ.สามารถจัดหายาในราคาที่ลดลงจากยาต้นแบบประมาณ 60% เช่น ยาโดซีแท็กเซล (Docetaxel) รักษาโรคมะเร็ง, ยาเลทโทรโซล (Letrozole) รักษาโรคมะเร็งเต้านม ราคาลดลงมากว่า 60% โดยเฉพาะยาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) รักษาโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตัน ลดลงถึง 90% ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนำเงินที่ประหยัดได้ไปซื้อยาได้มากขึ้น

ขณะเดียวกัน การประกาศใช้มาตรการซีแอลยังทำให้บริษัทยาชื่อสามัญที่สามารถผลิตยาเหล่านี้ได้ นำเข้าและจดทะเบียนยาเพื่อจำหน่ายมากขึ้นอีกด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไผ่ ดาวดินเผยช่วงนี้อ่าน 'ข้างหลังภาพ' เล่มต่อไปเล็ง 'ปีกหัก' ของคาลิล ยิบราล

Posted: 30 Mar 2017 07:18 AM PDT

ไผ่ ดาวดิน ซึ่งถูกคุมขังระหว่างรอพิจารณาคดี ม.112 แชร์ข่าวบีบีซี เผยว่าระหว่างนี้เขากำลังอ่าน "ข้างหลังภาพ" ซึ่งถึงตอนที่กำลังดราม่า หลังจากนั้นจะอ่าน "ปีกหัก" ของคาลิล ยิบราน และเล็งๆ หลายเล่มของ 'รงค์ วงศ์สวรรค์

พร้อมให้กำลังใจนักกิจกรรม ใครชัดเจน-พร้อมเรื่องไหนก็ทำได้เลยไม่ต้องรอปรึกษากัน-เชื่อมั่นประชาชนเปลี่ยนแปลงได้ ตัวเขาก็เคยเห็นด้วยกับ รปห. 49 และใช้เวลาหลายปีกว่าจะรับรู้ผลร้ายของรัฐประหาร

 

30 มี.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากบุคคลใกล้ชิดที่ได้เข้าเยี่ยม จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ที่เรือนจำจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจตุภัทร์เปิดเผยสภาพความเป็นอยู่ในระหว่างถูกคุมขังรอการพิจารณาคดีที่จะเริ่มในเดือนสิงหาคมนี้ว่า เขากำลังอ่านวรรณกรรม "ข้างหลังภาพ" ผลงานของศรีบูรพาอยู่ "ถึงตอนที่ นพพร กลับมาเมืองไทยแล้ว กำลังดราม่า"

โดยเขากล่าวด้วยว่า หนังสือเล่มต่อไปที่ตั้งใจอ่านคือ "ปีกหัก" ผลงานของคาลิล ยิบราน และเล่มต่อๆ ไปจะอ่านหนังสือหลายเล่มที่เป็นผลงานของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์

ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยสภาพการเข้าเยี่ยมจตุภัทร์ในปัจจุบันว่า เป็นการเข้าเยี่ยมในห้องเยี่ยมปกติเหมือนนักโทษทั่วไปแล้ว และมีเวลาเยี่ยมจำกัดเพียง 15 นาที ต่างจากแต่ก่อนที่เรือนจำให้เยี่ยมได้นานกว่านี้

อนึ่ง จตุภัทร์ยังระบุถึงผู้ที่จะทำกิจกรรมให้กับเขาว่า อยากให้เป็นการเคลื่อนไหวอิสระ ถ้าชัดเจนในหลักการเล้ว ใครมีความพร้อม มีความถนัดด้านไหนก็ทำได้เลย โดยไม่ต้องรอปรึกษากันเพราะว่าใช้เวลาเยอะ และบางทีอาจไม่มีข้อสรุป

"เราคาดหวังกับกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ เราจึงมาคาดหวังต่อขบวนการเคลื่อนไหวที่จะทำให้สิทธิมนุษยชนดีขึ้น แต่ในเมื่อขบวนการเคลื่อนไหวก็ซบเซาเป็นแบบนี้ อยากเสนอให้พวกเราใจเย็น ให้ประชาชนได้เก็บรับบทเรียน"

เขากล่าวด้วยว่า ผู้คนอยู่ในยุคสมัยที่ทหารเข้ามาทำหน้าที่จับคนบนเฟซบุ๊ก ศาลก็ไร้เหตุผลในด้านสิทธิผู้ต้องขังในการพิจารณาคดีของเขา

"คิดดูว่าในปี 49 ผมก็ยังเห็นด้วยกับการรัฐประหาร ใช้เวลาหลายปีกว่าที่ผมจะได้เห็นถึงผลร้ายของมัน ผมคิดว่าประชาชนคนอื่นๆ ก็น่าจะเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีเวลาได้รับรู้ถึงความเลวร้ายของการรัฐประหารเหมือนอย่างผม"

สำหรับการไต่สวนคดี 'ไผ่ ดาวดิน' จะเริ่มต้นนัดแรกในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ โดยกำหนดสืบพยานโจทก์วันที่ 3, 4, 15,16, 17 สิงหาคม 2560 และสืบพยานจำเลยวันที่ 30, 31 สิงหาคม และ 5, 6, 7 กันยายน 2560 ฝ่ายอัยการยื่นบัญชีพยาน 17 ปาก รวมทั้ง พล.ท.พิทักษ์พล ชูศรี ผู้แจ้งความดำเนินคดี ซึ่งจะเบิกคำให้ปากแรกในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ นอกจากนี้ยังมีเจ้าพนักงานผู้ทำการจับกุม ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และผู้ชำนาญการด้านภาษา

ในส่วนของจำเลย ทนายระบุจะมีพยานจำนวน 15 ปาก แบ่งเป็นเพื่อนผู้รู้จักคุ้นเคยและเคยทำกิจกรรมร่วมกับไผ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา โดยทนายความให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากการสืบพยานเป็นไปตามนัดหมาย ไม่มีการเลื่อนใดๆ น่าจะมีการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายในไม่เกิน 2 เดือน หรือไม่เกินเดือนพฤศจิกายน

อนึ่งเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานเพื่อนัดหมายการสืบพยาน ทั้งนี้ทนายความจำเลยยังได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักทรัพย์ 700,000 บาท แต่ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่าคดีนี้เป็นคดีความมั่นคง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งมาแล้วและยังไม่เหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI หนุนสอบแข่งบรรจุครู 2 ทางคู่กัน จบศึกษาศาสตร์ทางหลัก บุคคลทั่วไปทางเสริม

Posted: 30 Mar 2017 06:15 AM PDT

ศุภณัฏฐ์  นักวิจัยอาวุโส TDRI แนะเปิดรับสมัครผู้จบสาขาศึกษาศาสตร์เป็นวิธีการหลัก  ส่วนบุคคลทั่วไปเป็นวิธีเสริมสำหรับพื้นที่ที่มีความขาดแคลน ช่วยเพิ่มโอกาสในการคัดเลือกคนเก่ง ชี้ผู้จบหลักสูตรศึกษาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเป็นครูสอนดีทุกคน

30 มี.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์  นักวิจัยอาวุโส  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เขียนบทความ 'ข้อคิดเห็นบางประการต่อนโยบายการคัดเลือกครูสอนดี'  โดยระบุว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศการสอบแข่งขันบรรจุข้าราชการครูปี 2560 โดยเปิดรับสมัครผู้จบการศึกษาจากสาขาอื่นที่ไม่ใช่ศึกษาศาสตร์ ได้เกิดข้อถกเถียงว่านโยบายนี้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเปิดรับสมัครเฉพาะผู้จบสาขาศึกษาศาสตร์หรือไม่

ศุภณัฏฐ์ ระบุว่า ระบบการศึกษาควรมีการเปิดรับทั้งสองวิธีการควบคู่กัน โดยการเปิดรับสมัครผู้จบสาขาศึกษาศาสตร์เป็นวิธีการหลัก  ส่วนการเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปเป็นวิธีเสริมสำหรับพื้นที่ที่มีความขาดแคลนครูในสาขาขาดแคลนและการสรรหาครูอาชีวศึกษาซึ่งต้องการการบริหารที่แตกต่างจากครูสายสามัญ หากไม่มีความขาดแคลนครู การเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปจะเป็นการสิ้นเปลือง เพราะต้องเพิ่มงบประมาณในการคัดเลือกและการฝึกอบรมเพิ่มเติม

ทั้งนี้ การวัดความขาดแคลนครูควรพิจารณาจากจำนวนผู้สอบผ่านรายสาขาเปรียบเทียบกับความต้องการในแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการควรเปิดเผยต่อสาธารณะ

ศุภณัฏฐ์ เห็นว่า การเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการคัดเลือกคนเก่งและลดความขาดแคลนครูบางสาขา แต่ไม่สามารถรับประกันว่าจะได้ครูสอนดี ซึ่งหมายถึงครูที่มีความรู้ความสามารถด้านการสอนทั่วไปและการสอนในวิชาเฉพาะ เช่น ครูคณิตศาสตร์ควรสามารถวิเคราะห์สาเหตุได้ว่า ทำไมนักเรียนเข้าใจผิดว่า "0.2 x 6 มากกว่า 6/0.2" หรือหาตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่ช่วยให้นักเรียนใจความหมายของ "1¼ หารด้วย ½"  ได้

การสอบแข่งขันบรรจุข้าราชการในปัจจุบันยังเป็นการคัดเลือกคนเก่งเนื้อหาวิชามากกว่าครูสอนดี เพราะข้อสอบวัดเฉพาะเนื้อหาความรู้วิชาเอก ความรู้รอบตัวและความรู้เรื่องกฎหมายการศึกษา  ไม่มีการทดสอบความสามารถด้านการสอนในวิชาเอก  นอกจากนี้ ผู้สอบผ่านบางคนจะได้สอนนักเรียน ทั้งที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการสอน  โดยปัจจุบัน คุรุสภาอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้าสอนได้ชั่วคราวเป็นเวลา 2 ปี และกำหนดเพียงว่าผู้นั้นต้องพัฒนาตนเองจนได้รับใบอนุญาตฯ ภายในระยะเวลาดังกล่าว

กรณีกระทรวงศึกษาธิการต้องการที่จะเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป ศุภณัฏฐ์ เสนอว่าก็ควรเร่งปรับปรุงการคัดเลือก โดยเพิ่มการทดสอบความสามารถด้านการสอนด้วย และควรต้องจัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านการสอนอย่างเข้มข้น ดังกรณีตัวอย่างโครงการ Boston Teacher Residency  ที่เขตพื้นที่บอสตันเปิดโครงการรับสมัครบุคคลทั่วไปเพื่อลดความขาดแคลนครูสาขาคณิตศาสตร์ โดยให้ทุนการศึกษาซึ่งช่วยดึงดูดคนเก่ง และมีการคัดเลือกผู้สมัครผ่านการทดลองสอนและการทำกิจกรรม ผู้สอบผ่านต้องเข้ารับการเตรียมความพร้อมด้านทฤษฎีก่อนเปิดภาคเรียนและต้องฝึกฝนกับครูพี่เลี้ยงในช่วงเปิดเทอม โดยการสังเกตการสอนของครูพี่เลี้ยง ผลปรากฏว่านักเรียนที่เรียนกับครูในโครงการนี้มีพัฒนาการของผลการเรียนดีกว่านักเรียนกลุ่มอื่น   นอกจากนี้  ร้อยละ 86 ของครูในโครงการนี้คงทำงานสอนต่อเนื่องไปนานกว่า 3 ปี   ในขณะที่ครูทั่วไปเพียงร้อยละ 53 เท่านั้นที่สอนนานกว่า 3 ปี   

ศุภณัฏฐ์ เห็นว่า ผู้จบหลักสูตรศึกษาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเป็นครูสอนดีทุกคน จากข้อมูลของโครงการทดสอบความรู้นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ปีสุดท้าย วิชาเอกคณิตศาสตร์ ในปี 2551 (The Teacher Education and Development Study in. Mathematics: TEDS-M 2008) ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมทั้ง 17 ประเทศ นักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ไทยกลุ่มเก่งที่สุด 20% แรก (TOP 20) มีผลการสอบวิชาการสอนคณิตศาสตร์เทียบเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาสิงคโปร์ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 2 ของการทดสอบ ขณะที่กลุ่มอ่อนที่สุดมีผลการสอบใกล้เคียงกับคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาชิลีซึ่งอยู่ในอันดับสุดท้าย

นอกจากนี้ โครงการทดสอบนานาชาติ TIMSS 2011 (Trends in International Mathematics and Science Study) ยังพบด้วยว่า ในปี 2554 ร้อยละ 55 ของนักเรียน ม.2 ของไทย ซึ่งเรียนกับครูรุ่นใหม่ (ประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 5 ปี) ถูกสอนให้จําสูตรและวิธีการทําโจทย์เป็นหลักทุกคาบเรียนมากกว่าได้รับการสอนให้เข้าใจเนื้อหาจริงๆ

คณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทยควรปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานของตนด้วยเช่นกัน ตั้งแต่การรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ที่บางแห่งรับนักศึกษามากเกินความสามารถในการดูแล หลักสูตรที่คุรุสภากำหนดยังไม่มีกลุ่มวิชาการสอนในวิชาเฉพาะ ทั้งที่ประเทศที่มีระบบการศึกษาคุณภาพสูงให้ความสำคัญมาก เช่น มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิในประเทศฟินแลนด์มีกลุ่มวิชานี้ประมาณร้อยละ 21 ของหน่วยกิตทั้งหมด และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพยังขาดการบริหารจัดการที่ดี โดยโครงการ TEDS-M 2008 ได้สำรวจพบว่ามากกว่าครึ่งของนักศึกษาไม่ได้รับการดูแลจากครูพี่เลี้ยง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะโรงเรียนและครูพี่เลี้ยงไม่มีความพร้อมและมีภาระงานหนักอยู่แล้ว ปัญหาเหล่านี้น่าจะแก้ไขได้โดยการปรับปรุงหลักสูตรและการตั้งโรงเรียนเพื่อทำหน้าที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยเฉพาะ

ศุภณัฏฐ์ ระบุอีกว่า คุรุสภาควรเพิ่มความเข้มแข็งในการกำกับดูแลคุณภาพผู้จบการศึกษาและคณะศึกษาศาสตร์ โดยการสอบเพื่อออกใบอนุญาตฯ ที่จะเริ่มในปี 2561 ควรมีการทดสอบความสามารถด้านการสอนในวิชาเฉพาะด้วย นอกจากความรู้ด้านเนื้อหาวิชาและการสอนทั่วไป และการประเมินหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์ควรพิจารณาผลการสอบเพื่อออกใบอนุญาตและผลการสอบแข่งขันบรรจุข้าราชการครูร่วมกับตัวชี้วัดอื่นด้วย ซึ่งในกรณีผลประเมินต่ำ ควรให้คณะศึกษาศาสตร์นั้นลดจำนวนการรับนักศึกษาในปีต่อๆ ไป

ความร่วมมือระหว่างฝ่ายกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นผู้กำกับโรงเรียน  และคณะศึกษาศาสตร์และกลุ่มครู เป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิรูประบบการบริหารบุคลากรทั้งกระบวนการ   การปฏิรูปการฝึกหัดและการคัดเลือกครูเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน แต่ควรพิจารณาข้อมูลต่างๆ ประกอบอย่างรอบด้าน เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยยึดผลประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรษาสิริ กุหลาบ: ความคิดเห็นไม่ควรถูกปิดกั้น-ไม่ว่าทัศนคติทางการเมืองเป็นแบบใด

Posted: 30 Mar 2017 06:00 AM PDT

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงเหตุการณ์ กสทช. มีมติระงับการออกอากาศช่องวอยซ์ทีวีด้วยอำนาจของกฎหมายและคำสั่ง คสช. ฉบับต่างๆ (อ่านรายละเอียดได้ที่ ดาบ โซ่ แส้ กุญแจมือ: เปิดเครื่องมือเชือด Voice TV) น่าตั้งคำถามว่าในยุคนี้ หากสื่อไร้เสรีภาพ ประชาชนจะยังมีเสรีภาพอยู่อีกหรือ?

ประชาไทพูดคุยกับ พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวิเคราะห์ถึงภาพรวมของสถานการณ์ ร่วมกันตั้งคำถามถึงบทบาทขององค์กรสื่อและภาคประชาชน ต่อเสรีภาพและการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น

ไม่เฉพาะกับสื่อแต่ยังกระทบต่อการแสดงความเห็นในพื้นที่สาธารณะ

พรรษาสิริ อ้างถึง สุภิญญา กลางณรงค์ โพสต์ลงเฟซบุ๊คถึงกรณีนี้ว่า การระงับใบอนุญาตออกอากาศของวอยซ์ทีวีครั้งนี้ทำให้เกิด chilling effect ("ผลอันน่ากลัว"  - หมายเหตุ: แปลโดยประชาไท) ต่อวงการสื่อ ที่ทำให้สื่อไม่สามารถตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐได้ (อ่านโพสต์ของสุภิญญาได้ที่นี่)

เธอให้ความเห็นว่า ส่วนตัวมองว่านี่ไม่ใช่เป็นเพียง chilling effect ต่อนักวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน แต่ยังเป็น chilling effect ในพื้นที่สาธารณะด้วย เพราะเท่าที่ประเมินคร่าวๆ ผู้ที่แสดงความเห็นคัดค้าน คำสั่งของ กสทช. เท่าที่สังเกตการณ์จากการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ ถ้าไม่เป็นองค์กรวิชาชีพสื่อ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และองค์กรสิทธิผู้บริโภค ก็จะเป็นประชาชนที่น่าจะติดตามรายการเหล่านี้และมีแนวคิดสอดคล้องกับจุดยืนของผู้ดำเนินรายการ จึงมองว่านี่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางความเห็นและเสรีภาพสื่อ

แต่ในภาพรวม สังคมหรือสื่อบางสำนักก็ไม่ได้ตั้งคำถามว่านี่เป็นการละเมิดเสรีภาพทางความเห็นหรือเสรีภาพสื่อหรือไม่ เพียงแต่รายงานว่าเป็นการผิดกฎเกณฑ์ที่ กสทช. และคสช. ตั้งไว้ แต่ไม่ได้มองว่ากฎเกณฑ์เหล่านั้นหรือกระบวนการพิจารณาและกำกับดูแลมีความชอบธรรมมากน้อยเพียงใด

เสรีภาพสื่อไม่ควรเกี่ยวข้องกับเรื่องทัศนคติทางการเมือง

พรรษาสิริมองว่า อาจเป็นไปได้ที่มีสื่อและประชาชนเห็นว่า การระงับใบอนุญาตวอยซ์ทีวีชั่วคราวเป็นการละเมิดเสรีภาพ แต่ก็ไม่สามารถแสดงความเห็นคัดค้านอย่างเต็มที่ เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะวอยซ์ทีวีมีกลุ่มทุนตระกูลชินวัตรเป็นเจ้าของ และรายการที่เป็นต้นเหตุก็มีผู้ดำเนินรายการที่มักแสดงจุดยืนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารและคสช.มาตลอด การที่แสดงจุดยืนสนับสนุนวอยซ์ทีวีและคัดค้าน กสทช. ในครั้งนี้ ก็อาจทำให้ถูกมองว่าเป็น "เสื้อแดง" หรือผู้ที่ขัดขวางเส้นทางการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ได้ ทั้งๆ ที่กรณีนี้เป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่เรื่องการเมืองโดยตรง ถ้าเป็นสื่ออื่นๆ ปฏิกิริยาการคัดค้านเรียกร้องอาจแตกต่างไป

ปฏิกิริยาของสังคมแบบนี้ นำมาสู่คำถามที่ว่า เสรีภาพสื่อ = เสรีภาพประชาชน อย่างที่องค์กรวิชาชีพสื่อมักหยิบยกมาใช้จริงหรือ? ประชาชนทั่วไปใส่ใจหรือไม่กับการจอดำของสถานีหนึ่ง คนกลุ่มไหนที่รู้สึกเดือดร้อน คนกลุ่มไหนที่ไม่แยแสหรือสะใจ ถ้าคนทั่วไปไม่แคร์ ก็ไม่มีความจำเป็นที่ กสทช. และคสช. ต้องใส่ใจว่าทำเรื่องนี้ไปแล้วสังคมจะเดือดร้อน

วิเคราะห์ Voice TV กับการนำเสนอวิพากษ์วิจารณ์รัฐ

พรรษาสิริเสนอด้วยว่า เมื่อย้อนดูประวัติการ "จัดการ" กับ วอยซ์ทีวีในแต่ละครั้ง พบว่าเป็นข้อหาเดิมๆ เป็นรายการหรือผู้ดำเนินรายการคนเดิมๆ และเป็นรายการเชิงวิเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ดำเนินรายการหรือผู้วิเคราะห์ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะเน้นข้อเท็จจริงชุดใดชุดหนึ่งเป็นพิเศษ หากเห็นว่าข้อเท็จจริงชุดนี้ไม่ได้รับการนำเสนออย่างกว้างขวางหรือให้น้ำหนักเท่าที่ควรในสื่ออื่นๆ และนำเสนอจุดยืนของตนเอง

สิ่งที่น่าสังเกตคือ หากใช้มาตรฐานในการกำกับดูแลเนื้อหาที่ระบุว่า รายการหรือผู้ดำเนินรายการเหล่านี้นำเสนอข้อมูลชุดเดียว ไม่ให้พื้นที่กับข้อมูลอื่นๆ หรือมีการแสดงความเห็นแทรกในข้อมูลที่นำเสนอซึ่งไม่แปลกสำหรับการเป็นรายการเชิงวิเคราะห์ แต่ทำไมมาตรฐานเดียวกันนี้ไม่ไปใช้กับรายการข่าวหรือเล่าข่าว ซึ่งโดยลักษณะรายการต้องนำเสนอข้อเท็จจริงโดยไม่ใส่ความเห็น แต่ก็ยังพบรายการเล่าข่าวจำนวนมากที่ผู้ดำเนินรายการใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปหรือนำเสนอหรือย้ำข้อมูลฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากกว่า เช่นช่วงนี้ในกรณีการยิงเยาวชนนักกิจกรรมชาวลาหู่ แต่รายการเหล่านี้กลับไม่ถูกพิจารณา นั่นเป็นเพราะรายการเหล่านี้นำเสนอความเห็นที่ไม่ตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์รัฐหรือไม่

องค์กรสื่อและสังคมควรเป็นผู้คานอำนาจกับรัฐและกสทช.

พรรษาสิริชี้ว่า กรณีนี้สะท้อนปัญหาความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการกำกับดูแลสื่อ เพราะสิ่งที่เกิดกับวอยซ์ทีวีครั้งนี้ไม่ใช่เป็นครั้งแรก และทุกๆ ครั้งก็มีการเรียกร้องและวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งของ กสทช. ในทิศทางเดียวกัน แต่ก็ยังเกิดขึ้น เช่น รายงานระบุว่า คณะอนุกรรมการกำกับเนื้อหาและผังรายการเสนอให้ระงับ 3 วัน แต่ กสท. เพิ่มเป็น 7 วัน ทำอย่างนี้ ใครจะเป็นคนคานอำนาจตรวจสอบ หรืออุทธรณ์กสทช.ได้ หรือคณะอนุฯ พิสูจน์อย่างไรที่บอกว่า ข้อมูลไม่รอบด้าน ส่วนตัวจึงตั้งคำถามกับบทบาทขององค์กรสื่อ องค์กรวิชาชีพสื่อ และสังคม ที่หากยึดในหลักการเสรีภาพในการแสดงความเห็นและเสรีภาพสื่อ ก็ควรจะร่วมกันปกป้องวอยซ์ทีวี และเรียกร้องให้ กสทช. หรือคสช. ทบทวน เพราะสิ่งที่เกิดกับวอยซ์ทีวี อาจเกิดกับตัวเองก็ได้ถ้าเขาใช้อำนาจอย่างนี้ แต่ในทางปฏิบัติก็เข้าใจได้ว่าเหตุที่องค์กรเหล่านี้ก็ทำไม่ได้ อาจมาจากเหตุผลทางการเมืองและเศรษฐกิจ จะไปขัดใจฐานผู้ชมหรือผู้อ่านของตัวเองที่อยู่การเมืองคนละขั้วไม่ได้ ก็ต้อง self-censor ตัวเองต่อไป

สื่อควรกล้านำเสนอประเด็นสิทธิและเสรีภาพต่อไป

สิ่งที่ควรทำถ้าไม่แสดงจุดยืนเรื่องเสรีภาพสื่อและการแสดงความเห็น ก็ควรตามประเด็นที่วอยซ์ทีวี รายงาน เพราะบางเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีไหน ก็ควรจะต้องให้ความสนใจ เช่น เรื่องของชัยภูมิ ป่าแส หรือวีระ สมความคิด เพราะเกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยตรง ถ้ามองเผินๆ ก็จะไม่เกี่ยวกับการเมืองเสื้อสีอย่างชัดเจน ยกเว้นจะมีแหล่งข่าวที่ลากเข้ามาให้เกี่ยวข้อง

สื่อต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมองจากมุมเดียวกันหรือสนับสนุนสิ่งที่วอยซ์ทีวีรายงาน จะลองมองต่างหรือตรวจสอบก็ได้ เพื่อให้ประเด็นยังคงอยู่ ไม่ถูกเบี่ยงประเด็น ถ้าจะให้หายข้องใจ ควรตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และควรใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ อย่าให้ chilling effect มีผลต่อการรายงานข้อเท็จจริงในเหตุการณ์เหล่านี้

ผู้บริโภคอย่างเราก็คือผู้เสียหายเพราะขาดช่องทางเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

พรรษาสิริกล่าวว่า สังคมควรใส่ใจกับเรื่องการกำกับดูแลสื่อให้มากขึ้น เพราะนี่คือกลไกอันชอบธรรมที่รัฐใช้อยู่ และถ้ามองย้อนกลับไป รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็มีกลไกทางกฎหมายในการจัดการกับสื่อไม่ต่างกัน ดังนั้นถ้าเราเห็นว่า ทั้งรัฐบาล สถาบันนิติบัญญัติ องค์กรอิสระของรัฐที่ไม่ควรอยู่ใต้อำนาจรัฐ สถาบันสื่อและสถาบันอื่นๆ ในสังคมไม่สามารถสร้างกลไกการตรวจสอบและกำกับดูสื่อที่มีประสิทธิภาพ ถ่วงดุลตรวจสอบได้ และอยู่บนหลักการประชาธิปไตย ภาคประชาชนก็ต้องสร้างเอง

บทบาทขององค์กรผู้บริโภคน่าสนใจมาก เพราะไม่ได้มองจากมุมมอง 'สิทธิและเสรีภาพ' ซึ่งมักถูกนำไปโยงกับการเมือง (politicised) แต่มองในฐานะว่าผู้บริโภคเสียอะไรหากขาดช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และควร 'สู้' พร้อมทั้งเรียกร้องด้วยวิธีใหม่ๆ เพราะที่ผ่านมาก็เถียงอยู่บนประเด็นเดิมๆ ที่รัฐไม่เคยฟังและใช้ argument เดิมๆ ในการลงดาบ ความท้าทายของพลเมืองและผู้ใช้สื่อในยุคนี้ คือต้องระบุให้เป็นรูปธรรม หรือสะท้อนว่าการลงดาบอย่างนี้ส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของรัฐอย่างไร เพราะบางเรื่องที่มีเสียงคัดค้านเยอะ รัฐมีท่าทีถอย (หรือแอบทำเงียบๆ) ถ้าไม่คอยค้าน ก็จะเจอเหตุการณ์อย่างนี้อีก

ทั้งนี้เธอได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ทุกประเด็นย้อนกลับไปยังสภาพการณ์ทางการเมืองและสังคมในปัจจุบันว่า ความแตกต่างทางอุดมการณ์และความเชื่อทางการเมือง มีอิทธิพลต่อทุกเรื่อง ทำให้ประชาชนทั่วไป นักวิชาการ นักวิชาชีพ ไม่สามารถมองเหตุการณ์นี้ได้ด้วยหลักการ (freedom of expression/ freedom of press; transparency, participatory process) เพราะถ้าวิเคราะห์ตามหลักการเหล่านี้ได้ ก็จะมีวิธีอื่นในการจัดการและกำกับดูแลวอยซ์ทีวีที่ไม่ต้องมาถึงขั้นการระงับใบอนุญาต
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เข้าฤดูเกณฑ์ทหาร เครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ แนะสื่อเลิกเสนอข่าวเชิงลบ-ตลก

Posted: 30 Mar 2017 03:37 AM PDT

ฤดูเกณฑ์ทหารมาอีกแล้ว เครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ ขอสื่อเลิกนำเสนอข่าวเป็นตัวตลก นักวิชาการแนะเริ่มที่ระดับปัจเจกก่อนขยายทัศนคติให้ทั่วถึง ด้าน ผอ.กองการสัสดีแจงจัดห้องตรวจมิดชิด-เร่งทำความเข้าใจเรื่องสิทธิของสาวประเภทสอง 


29 มี.ค. 2560 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยสำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ และ American Jewish World Service (AJWS) จัดงาน "จิบกาแฟ นั่งคุย "กะเทยเกณฑ์ทหารผ่านสื่อ" ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ โดยมีเจนวิทย์ เชื้อสาวะถี เป็นพิธีกรดำเนินงาน
 
เจษฎา แต้สมบัติ มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน พูดในหัวข้อ "เส้นทาง "กะเทยไทยในการเกณฑ์ทหาร" โดยเริ่มด้วยการขอให้สื่อมวลชนหรือแม้กระทั่งคนทั่วไปเรียกกลุ่ม LGBT โดยใช้คำที่ถนอมน้ำใจหรือถามพวกเขาก่อนว่าพวกเขาจะให้เรียกว่าอะไร ทั้งนี้ สามารถเลี่ยงโดยการเรียกชื่อของพวกเขาหรือใช้คำว่าคุณแทน

สำหรับความเป็นมาของการขับเคลื่อน สด.43 เธอกล่าวว่า เริ่มมาจากการที่สาวประเภทสองมาเกณฑ์ทหารแต่ละครั้ง ถึงพวกเขาจะได้ไม่ต้องไปรับใช้ชาติแต่พวกเขาจะถูกระบุว่าเป็นโรคจิต วิกลจริต นั่นจะเป็นผลทำให้เวลาไปสมัครงาน นายจ้างจะไม่รับ หรือแม้กระทั่งจะไปศึกษาต่อต่างประเทศก็เกิดปัญหาเช่นกัน โดยการต่อสู้เพื่อการขับเคลื่อนเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 โดยคุณสามารถ มีเจริญ หรือน้ำหวาน คัดเลือกถ้อยคำที่ไม่เกิดการตีตราและความหมายไม่ผิดเพี้ยนจึงเกิดถ้อยคำมากมาย เช่น "หน้าอกผิดรูป" "การรับรู้เพศแตกต่างจากเพศกำเนิด" "ความผิดปกติในการรับรู้เพศ" เพราะในทางภาษาไทยมีความหลากหลาย การใช้คำต่างๆ จึงมีนัยยะ เลยต้องระมัดระวังในการใช้คำใน สด.43 จึงได้ถ้อยคำที่ว่า "ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด" และหลังจากนั้นเธอได้ลงพื้นที่กับคณะเพื่อตรวจดูตามสถานที่เกณฑ์ทหารว่ามีการปฏิบัติต่อสาวประเภทสองเป็นไปในทางที่ไม่ดูถูก เหยียดหยามความเป็นเพศ อีกทั้งพยายามที่จะผลิตสื่อให้กับสาวประเภทสองเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร ทั้ง โปสเตอร์ คลิปวิดีโอ แต่ก็ยังมีสาวประเภทสองบางคนที่แม้จะผ่านการตรวจจากแพทย์ทหารแล้วยังต้องไปจับใบดำใบแดง เนื่องจากไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศ เธอจึงอยากให้ทั้งกลุ่มทางการแพทย์ที่ทำงานตรวจร่างกายทำงานให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกันทุกโรงพยาบาลว่าควรแปลงเพศก่อนหรือเปล่า หรือให้กรมการแพทย์สุขภาพจิตมาตรวจสอบสภาพจิตใจว่าเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด โดยทุกสถานทางการแพทย์ที่ตรวจต้องมีมาตรฐานเดียวกัน

ช่วงต่อมาเป็นช่วง จับเข่าคุย กะเทยเกณฑ์ทหารผ่านสื่อ ซึ่งดำเนินรายการโดย นัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร ในช่วงนี้มีผู้พูดด้วยกัน 5 คน ดังนี้

เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. กล่าวว่า แต่ละฝ่ายควรทำหน้าที่ของตัวเองแต่ก็ไม่ควรไปละเมิดกลุ่มคนบางกลุ่มและเข้าหากันเพื่อปรับให้เข้าใจกัน โดยแนะนำให้ทำวาระรายการบังคับดูแบบรายการของ คสช.ตอนหกโมงเย็น โดยเนื้อหารายการควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเกณฑ์ทหารแทนการนำเสนอความตลกของสาวประเภทสองที่มาเกณฑ์ทหาร  เพราะสื่อสมัยนี้ชอบเบี่ยงเบนประเด็นให้เป็นเรื่องสนุก เฮฮา เอาความตลกของสาวประเภทสองมาเสนอ

"สื่อ ถ้าหากถูกติ เขาก็จะรู้ว่าควรที่จะปรับปรุง เราควรที่จะเสริมแรงทางบวกกัน" เอื้อจิต กล่าวและว่า ที่น่าเป็นห่วงคือสื่อท้องถิ่น ที่ทาง กสทช.ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะควบคุมได้เพียงสื่อส่วนกลาง อีกทั้งสมัยนี้มีการถ่ายรายการลงช่องยูทูบ ซึ่งส่วนนี้เราก็ไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน และโทรทัศน์ควรมีวาระแห่งชาตินำเสนอให้เห็นการเปลี่ยนแปลง เป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่ใช่การสร้างภาพลักษณ์หรือการประชาสัมพันธ์ เพื่อปรับทัศนคติทางสังคมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้เข้ากัน

สุดท้าย เอื้อจิต กล่าวว่า อยากให้สาวประเภทสองลองเปลี่ยนการนำเสนอตัวเองขณะไปเกณฑ์ทหารว่าตัวเองไม่ใช่ผู้ชายแทนที่จะแต่งตัวไม่สุภาพ มาเป็นการแต่งตัวที่สุภาพ มิดชิดขึ้น แต่บนเสื้อผ้าอาจจะมีสัญลักษณ์อะไรเพื่อสื่อว่าตัวเองเป็นสาวประเภทสองให้เป็นที่สนใจ เขายังเสนอให้ไทยยึดแบบอย่างจากข้อบังคับของอังกฤษและอเมริกาที่ทำขึ้นต่อกลุ่ม LGBT ในการเข้ารับเกณฑ์ทหารโดยเนื้อหาในข้อบังคับเป็นคำแนะนำ อย่างละเอียดให้กับกองทัพในการดูแลกลุ่ม LGBT ที่เข้าไปเป็นทหาร เช่น เรื่องการแต่งกาย การใช้ชีวิตอยู่ในกองทัพ รวมไปถึงสิทธิเสรีภาพที่พวกเขาควรได้รับ

พันเอกสมพล ปะละไทย ผู้อำนวยการกองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการเกณฑ์ทหารได้นัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการเคารพสิทธิของสาวประเภทสองที่มาเกณฑ์ทหาร ไม่ว่าจะเป็นการจัดที่นั่งให้เหมาะสม การใช้กิริยาวาจาของทหารหรือแม้กระทั่งเพื่อนที่มาร่วมเกณฑ์ต่อสาวประเภทสองที่มาเกณฑ์ทหารให้ใช้คำพูดที่สุภาพ ไม่พูดหยอกล้อ ปฏิบัติกับเขาให้เหมือนกับเป็นน้องสาวของเรา ส่วนเรื่องการตรวจร่างกาย จะมีการจัดห้องที่มิดชิดให้และผู้ที่สามารถเข้ามาตรวจได้นั้นมีเพียง 3 คน คือ กรรมการแพทย์ กรรมการสัสดีจังหวัด และประธานกรรมการโครงการตรวจเลือก ส่วนในเรื่องของสื่อ สื่อต้องได้รับการอนุมัติเพื่อที่จะเข้ามาทำข่าว

พันเอกสมพลกล่าวต่ออีกว่า ผู้ที่สามารถเข้าไปตรวจร่างกายได้ต้องมีใบอนุญาต ทางเรามีการตรวจเลือก ไม่ใช่ว่าทหารคนไหนก็ได้สามารถเข้าไป สื่อมวลชนที่จะเข้าไปก็ต้องได้รับการคัดเลือกเหมือนกันและถ้าไม่จำเป็นประธานโครงการตรวจเลือกก็จะไม่เข้าไปในห้อง ส่วนเรื่องความไม่เสมอภาคของการตรวจเลือกทหาร เขาได้พูดคุยกับกองทัพภาคทุกที่และทางการแพทย์ที่สามารถตรวจเพื่อขอใบรับรองแพทย์ ทั้งนี้มีคู่มือให้สำหรับศึกษาเพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ย้ำว่าจะทำอะไรก็ต้อง เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการและพิธีกรช่อง Voice TV กล่าวว่า เราอยู่ในสถานการณ์ที่ความเข้าใจเกี่ยวกับกะเทยกำลังเปลี่ยน แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนนั้นเป็นไปได้ง่ายบ้างยากบ้างแล้วแต่กรณี ซึ่งการกระจายตัวของการเปลี่ยนยังไปได้ไม่ทุกจุด การนำเสนอสิ่งต่างๆ ออกไปเพื่อให้ผู้คนรับรู้และยอมรับสิ่งนั้นจึงต้องระมัดระวัง เพราะไม่ใช่แค่สื่ออย่างเดียว มีตัวเราด้วยที่เป็นสื่อ คนส่วนใหญ่จะเล่าเรื่องคนอื่นในสิ่งที่อยากเล่า เช่น กะเทยสวย กะเทยตลก เป็นสิ่งที่เราใส่กรอบให้เขา เราควรที่จะ "เล่าเรื่องเขาอย่างที่เขาเป็น" เรื่องนี้ควรเริ่มที่สื่อมวลชนก่อนที่ต้องยกเลิกการนำเสนอข่าวสาวประเภทสองที่ไปเกณฑ์ทหารแล้วเอามาทำเป็นเรื่องตลก แต่ทั้งหมดนี้ก็ควบคุมยากเมื่ออยู่ในสถานที่เกณฑ์ทหารที่เต็มไปด้วยผู้ชาย เหล่าสาวประเภทสองก็ย่อมถูกหยอกล้อเป็นธรรมดาเพราะผู้ชายไทยมีนิสัยด้านมืดในการเหยียดเพศอื่นๆ ไม่ว่าจะเหยียดเพศหญิง กะเทย เกย์ หรือเพศชายด้วยกันเอง

เขากล่าวว่า เห็นได้ว่าสังคมไทยในช่วงหลังมานี้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายเกี่ยวกับการนิยามเกี่ยวกับสาวประเภทสอง สิ่งนี้ก็ส่งผลต่อมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายเพื่อรองรับสาวประเภทสอง และขั้นตอนสุดท้ายคือทำให้สังคมเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยยังมีบรรทัดฐานแบบเก่าๆ ตกค้างอยู่ เช่น ยังมีคนบางกลุ่มล้อกะเทยว่าเป็นตัวตลก แต่คนส่วนใหญ่ก็ยอมรับกลุ่มคนที่เป็นสาวประเภทสองเป็นเหมือนคนธรรมดามากขึ้น จึงอยากจะวอนสื่อในการนำเสนอเรื่องราวของสาวประเภทสองในมุมมองที่ไม่ใช่กลุ่มคนที่แปลกหรือตลก เฮฮา

รณภูมิ สามัคคีคารมย์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า ในช่วงมกราคมถึงมีนาคม ทางมูลนิธิได้รับโทรศัพท์หรือข้อความทางแฟนเพจเพื่อสอบถาม 200-300 ข้อความต่อเดือนเกี่ยวกับการเตรียมตัวเกณฑ์ทหาร บางรายเครียดมากจนถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย ทางมูลนิธิจึงต้องให้คำปรึกษา และจากการที่เราได้เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2557-2559 มีข่าวที่กล่าวเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารทั้งหมด 72 ข่าว มี 69 ข่าวที่มุ่งเน้นไปที่สาวประเภทสอง โดยใช้คำพูด "ชายสวย" "สองกะเทยสวยเข้าเกณฑ์ทหาร" "สาวนะยะ" หรือใช้ให้โชว์บัตรประชาชนบ้าง หรือในเชิงเปรียบเทียบกับผู้หญิง เช่น "ผู้หญิงต้องอาย" "ผู้หญิงต้องยอมมอบมดลูกให้" มากกว่าเนื้อหาข่าวที่กล่าวถึงกระบวนการเกณฑ์ทหาร ซึ่งสิ่งหลักๆ ในเนื้อข่าวมีอยู่ 3 อย่างคือ 1.กะเทยคือสีสัน กระตุ้นความสนุก กระตุ้นบรรยากาศในการเกณฑ์ทหาร สร้างความชื่นใจให้กับพี่ทหาร 2.กะเทยมาเกณฑ์ทหารคือเรื่องฮือฮา เรื่องแปลก 3.สิ่งสำคัญของกะเทยที่มาเกณฑ์ทหารอยู่ที่รูปลักษณ์และร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้อัตลักษณ์ของสาวประเภทสองเป็นตัวตลกของทหารและเพื่อนที่มาร่วมเกณฑ์ทหาร

สุดท้าย รณภูมิ บอกว่าเมื่อเราไม่พอใจหรือโดนอะไรที่ละเมิดเราก็ควรต้องแสดงออกมา ส่วนในเรื่องคู่มือแนวการปฏิบัติของสาวประเภทสองในการเกณฑ์ทหารตอนนี้ก็ได้ปรับปรุงแล้วและวอนให้ กสทช.ช่วยเป็นสื่อในการเผยแพร่ให้ทั่วถึง

รมิดา จรินทิพย์พิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการแข่งขันและการกำกับดูแลกันเอง กล่าวว่า ตนเองมีหน้าที่ดูแลผู้รับใบอนุญาตและกำกับในด้านเนื้อหาของสื่อที่จะเผยแพร่ออกไปโดยใช้ มาตรา 37 ของ พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และในด้านจรรยาบรรณสื่อ สำนักฯ มีหน้าที่ส่งเสริมทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันในสังคมเพื่อให้กลุ่มองค์กรสื่อแต่ละแห่งนำไปปรับใช้ในองค์กร สำหรับเรื่องการเกณฑ์ทหารนี้มีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดูแล สื่อเป็นผู้สื่อสาร และกลุ่มคนเฉพาะที่เรียกร้องสิทธิคือ สาวประเภทสอง อย่างไรก็ตาม เธอมองว่าไม่ใช่เพียงกลุ่มสาวประเภทสองเท่านั้น แต่ผู้ชายเองก็เหมือนกัน ตัวอย่างจากที่มาริโอ้ เมาเร่อ นักแสดงซึ่งเข้าเกณฑ์ทหาร ก็มีสื่อนำเสนอข่าวขณะถอดเสื้อตรวจร่างกายว่า ผิวขาว หัวนมชมพู สิ่งนี้ก็ควรคำนึงเหมือนกันเพราะเรื่องนี้เป็นสิทธิส่วนบุคคล ซึ่ง กสทช.ในฐานะคนกลาง จะเชิญสื่อต่างๆ เข้ามารับฟังและเรียนรู้ร่วมกัน

อนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1-12 เมษายน 2560 เครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและคณะจะทำการลงพื้นที่ตามเขตต่างๆ ที่มีการเกณฑ์ทหารและตรวจสอบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิดให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผอ.บีบีซีเวิลด์ ตอบกรณี ‘ไผ่ ดาวดิน’ การแชร์เป็นสิทธิในการเผยแพร่ข่าวสาร

Posted: 30 Mar 2017 02:26 AM PDT

ผู้อำนวยการบีบีซีภาคบริการโลกเผย รัฐบาลทั่วโลกกำลังหาช่องทางควบคุมสื่อเพื่อจัดการข้อมูลก่อนส่งถึงประชาชน ส่วนสื่อต้องมุ่งมั่นที่จะรายงานข้อเท็จจริงอย่างยุติธรรมและซื่อสัตย์ ตั้งใจรักษาเสรีภาพเพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นกลางให้โลกได้รับรู้ พร้อมตอบกรณีไผ่ ดาวดิน การกดแชร์เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนรับรู้ข่าวสาร เป็นสิทธิที่ทุกคนควรมี


ฟรานเชสกา อันส์เวิร์ธ (ขวา)
 

29 มี.ค. 2560 ฟรานเชสกา อันส์เวิร์ธ ผู้อำนวยการบีบีซีภาคบริการโลก และรองผู้อำนวยการฝ่ายข่าว บรรยายเรื่อง เสรีภาพสื่อในยามที่โลกอำนาจนิยมเบ่งบาน ที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ชั้น 2 ห้อง 205 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยชี้ว่า ความสัมพันธ์ของบีบีซีกับนักการเมือง ไม่ต่างกับการชักเย่อ ที่แต่ละฝ่ายควรจะต้องดึง ซึ่งความเป็นจริงก็เป็นกระบวนการตามหลักการประชาธิปไตย เพราะเป็นการทดสอบผู้ที่อยู่ในอำนาจ สื่อสามารถถูกตรวจสอบได้ หากสื่อมีอำนาจมากเกินไปจะส่งผลกระทบ สร้างความเสียหายต่อระบบการเมือง หากอ่อนแอเกินไปจะเสี่ยงต่อการถูกดึงไปทางใดทางหนึ่ง เสี่ยงต่อการสูญเสียเสรีภาพของสื่อ

ฟรานเชสกา เล่าจากประสบการณ์ในช่วงการรณรงค์ทำประชามติ กรณีสหราชอาณาจักรต้องการออกจากสหภาพยุโรป (EU) ว่า บีบีซีต้องสู้กับการปล่อยข่าวจากทั้งสองฝั่ง ที่พยายามอยากแก้ไขข่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายตนเอง ทั้งนี้เอง บีบีซีได้รับการยอมรับจากนักการเมืองว่าเป็นอิสระ และเราต้องคงความอิสระนั้นไว้ การทำประชามติครั้งนั้นเตือนให้เรารู้ว่าเส้นแบ่งระหว่างการตรวจสอบอย่างเหมาะสมและการแทรกแซงสื่อเป็นสิ่งที่เราต้องหวงแหน

ฟรานเชสกา เล่าต่อว่า ในการรักษาสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สื่อต้องมีความรับผิดชอบ รู้ถึงจุดกึ่งกลางระหว่างเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสุดโต่งพร้อมผลกระทบที่จะตามมา ในกรณีประเทศไทยมีกฎหมายมาตรา 112 เพื่อปกป้องราชวงศ์ ตอนนั้นบีบีซีเกือบตกที่นั่งลำบากจากการนำเสนอบทความประวัติของในหลวงรัชกาลใหม่ลงสื่อออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาที่ออฟฟิศบีบีซีกรุงเทพ ทำให้เนื้อหาที่นำเสนอถูกบล็อค แต่ความเป็นจริงแล้วบทความดังกล่าวเขียนขึ้นและตีพิมพ์ที่สำนักงานใหญ่บีบีซีที่ลอนดอน ซึ่งพนักงานในประเทศไทยต่างไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความนั้น

ทั้งนี้ภายในห้องบรรยาย ได้มีผู้ตั้งคำถามถึงกรณีนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาหรือไผ่ ดาวดินที่ถูกดำเนินคดี 112 หลังแชร์พระราชประวัติในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่บีบีซีนำเสนอ ฟรานเชสกา ตอบว่าบีบีซีเชื่อในหลักการสิทธิที่จะเผยแพร่ (The Right to Share) การกดแชร์เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนรับรู้ข่าวสาร เป็นสิทธิที่ทุกคนควรมี บีบีซีไม่มีเจตนาจะทำให้เกิดความไม่พอใจ และไม่ได้มาที่นี่เพื่อละเมิดกฎหมาย แต่เป็นการทำงานตามกรอบมาตรฐานของกองบรรณาธิการ

"ดิฉันไม่อยากจะพูดถึงประเด็นเก่าๆ ระหว่างเรา เราอยากมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทย เราไม่อยากทำให้ประเทศไทยไม่พอใจ รวมถึงราชวงศ์ แต่บีบีซียืนยันในบทความดังกล่าวและเชื่อมั่นว่ามันตรงกับหลักการบรรณาธิการของบีบีซี และมันเลี่ยงไม่ได้ จะเป็นการดีด้วยซ้ำที่ในประเทศใดก็ตาม นักการเมืองและสื่อมวลชนจะเห็นไม่ตรงกันตลอด" ฟรานเชสกา กล่าว

ฟรานเชสกา เล่าต่อว่า ตอนนี้คำถามสำหรับสื่อและนักการเมืองคือ ใครเป็นผู้จำกัดเสรีภาพและเราควรถูกตัดสินอย่างไร ใครคือผู้กำกับดูแล และกฎกติกาในการกำกับดูแลคืออะไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณว่าอยู่ส่วนไหนของโลก วัฒนธรรมของประเทศนั้นเป็นอย่างไร มุมมองด้านประชาธิปไตยและบทบาทของสื่อในระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยและเสรีภาพสื่อไม่สามารถเกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน บางทีอาจไม่เกิดขึ้นเลย และจำเป็นต้องใช้เวลา

ฟรานเชสกา ระบุด้วยว่า ค่อนข้างเป็นกังวลสำหรับการคุกคามสื่อจากรัฐบาลบางประเทศ ตามรายงานขององค์กรสื่อไร้พรมแดน นักข่าวหลายร้อยคนถูกจำคุกในประเทศตุรกี หลังล้มเหลวในการทำรัฐประหารเมื่อเดือนกรกฎาคม และนักข่าวอีกหลายร้อยคนถูกขังในประเทศจีน, 27 คนในประเทศอียิปต์, 24 คนในประเทศอิหร่าน รัฐบาลฮังการีจัดตั้งองค์กรสื่อจากฝ่ายการเมืองมีอำนาจในการเซ็นเซอร์การรายงานข่าว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กีดกันไม่ให้สื่อหลายสำนักเข้าฟังการแถลงข่าวของทำเนียบขาวและเลือกเฉพาะสื่อบางสำนักในการเข้าทำเนียบขาวเท่านั้น

"ดูเหมือนว่าทุกวันนี้ รัฐบาลทั่วโลก กำลังหาทางควบคุมสื่อ หรือใช้อำนาจควบคุมข่าวสารที่จะส่งต่อถึงประชาชน ในบางครั้งยิ่งเราพูดถึงเสรีภาพสื่อมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งฟังดูว่างเปล่ามากเท่านั้น" ฟรานเชสกา กล่าว

 

เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก SEAPA 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ทักษิณ' ส่งทนายแจ้งความ 'เปลว สีเงิน-ทีนิวส์' หมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอม

Posted: 30 Mar 2017 02:09 AM PDT

ทักษิณส่งทนายแจ้งความ หมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เปลว สีเงิน กรณีเขียนบทความเรื่องหุ้นชิน -ทีนิวส์-ปราชญ์ สามสี กรณีโกตี๋

30 มี.ค. 2560 เว็บไซต์ไทยโพสต์ รายงานว่า ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) นายชุมสาย ศรียาภัย ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี กับ เปลว สีเงิน และ สำนักข่าว TNEWS ในข้อหา หมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

นายชุมสายกล่าวว่า กรณีของ เปลว สีเงิน นั้น สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา ได้เขียนบทความในคอลัมน์ คนปลายซอย กล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร ว่า มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น ชินคอร์ป และกล่าวหาว่าข้าราชการทำตามคำสั่งของ นายทักษิณ ที่ไม่ประเมินและเรียกเก็บภาษี ทั้งที่เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะการเรียกเก็บภาษีดังกล่าวได้ยุติไปแล้วว่าไม่สามารถทำได้ มิฉะนั้นก็คงไม่มีการปล่อยให้เรื่องผ่านมาหลายรัฐบาลเป็นแน่

ส่วนการดำเนินคดีกับสำนักข่าว TNEWS นั้น เป็นการกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการของโกตี๋ และนายจารุพงศ์ โดยให้ขอให้ดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการลงโฆษณาและเผยแพร่ข้อความ รวมถึงเพจเฟซบุ๊กที่ชื่อ "ปราชญ์ สามสี" ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นในการเขียนข้อความอันเป็นการใส่ร้ายดังกล่าวด้วย ส่วนข้อหาที่ขอให้ดำเนินคดี คือความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) (5) และมาตรา 15

นายชุมสาย กล่าวเตือนไปยังผู้ที่คิดจะเขียนหรือส่งต่อข้อความในลักษณะใส่ร้ายต่อนายทักษิณว่าขอให้ยุติเพราะหากกระทำการอันเข้าข่ายเป็นความผิดก็จะมีการดำเนินคดีทุกคน ทั้งผู้สร้างหรือผู้ส่งต่อข้อความ

อนึ่ง เมื่อปลายปีที่่ผ่านมา มีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยมาตรา 14(1) เรื่องการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีการแก้ไขใจความสำคัญโดยเพิ่มองค์ประกอบว่า เป็นการนำเข้า "โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง" และเพิ่มข้อความ "อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา" และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ของ สนช. ย้ำหลายครั้งในต่างกรรมต่างวาระว่า มาตรา 14(1) ไม่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาท

ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของ สนช.แล้ว และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ค.นี้ (120 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพงษ์ ไม่ท้อ หลัง สนช.มีมติถอดถอน ตัดสิทธิการเมือง 5 ปี

Posted: 30 Mar 2017 01:37 AM PDT

สุรพงษ์ อัด สนช. ไม่ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริง แต่เป็นการใช้อารมณ์ที่ไม่พอใจกรณีที่ตนขอนับองค์ประชุม เผยรอประธานสนช.วินิจฉัย หลังยื่นเช็คความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เหตุอดีตศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเรื่องลักษณะนี้มาแล้ว

แฟ้มภาพ

30 มี.ค. 2560 การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน สุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากกรณีออกหนังสือเดินทางธรรมดาให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร โดยมิชอบ โดยเป็นการลงมติถอดถอนหรือไม่ ด้วยวิธีการลงคะแนนลับด้วยการขานชื่อ  

ผลการลงคะแนนปรากฏว่า ที่ประชุม สนช. มีมติ  ถอดถอน  231 เสียง ไม่ถอดถอน 4 เสียง ไม่ออกเสียง 3 เสียง ซึ่งเสียงถอดถอนได้คะแนนไม่น้อยกว่า 3 ใน  5 หรือตั้งแต่ 150 คะแนน  ของจำนวนสมาชิก สนช. ที่มีอยู่  250 คน จากมตินี้ส่งผลให้ สุรพงษ์ ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง  และถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันลงมติ ทั้งนี้  สนช. จะแจ้ง ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้กล่าวหา  และสุรพงษ์  ผู้ถูกกล่าวหา  รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้รับทราบต่อไป  

สุรพงษ์ เปิดเผยว่า ต้องยอมรับที่วันนี้(30 มี.ค.) ต้องถูกถอดถอนแล้ว ยืนยันว่าไม่ท้อ เชื่อว่าในครั้งนี้สังคมไทยจะได้รับทราบอะไรมากขึ้น เพราะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สนช. ไม่ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริง แต่เป็นการใช้อารมณ์ที่ไม่พอใจกรณีที่ตนสอบถามกฎระเบียบตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 13 และข้อบังคับที่ 20 เรื่องให้ประธานวินิจฉัย หลังจากแสดงความสงสัยว่าระหว่างพิจารณาถอดถอนในชั้นแถลงปิดคดี องค์ประชุมครบหรือไม่ ถูกต้องตามข้อบังคับหรือไม่

สุรพงษ์ กล่าวว่า ต้องรอการวินิจฉัยของประธานสนช. หลังจากที่ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทยได้ยื่นเรื่องสอบถามไปว่า การถอดถอนครั้งนี้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะในอดีตศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเรื่องลักษณะนี้มาแล้วและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือว่าผูกพันทุกองค์กร ผมนจะปรึกษากับทีมกฎหมายว่าประเด็นใดที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมได้ จะดำเนินการภายใต้กฎหมายต่อไป 

"อย่างน้อยวันนี้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชนว่าการตัดสินลงคะแนนในวันนี้ของสนช.เป็นไปอย่างที่สื่อคาดการณ์เอาไว้วานนี้ (29 มี.ค.) อยู่แล้วว่าจะพิจารณาตามความโกรธ ไม่ใช่ตามข้อเท็จจริง ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นเป็นความจริงหรือไม่ จะมีธงหรือไม่ รู้กันอยู่แก่ใจ และ หากเป็นเช่นนี้ เท่ากับผมถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี หลังจากนี้คงแก่เกินกว่าที่จะกลับมา คงให้เด็กรุ่นใหม่เข้ามาทำงานการเมือง ซึ่งตลอดชีวิตการเมือง ไม่เคยยึดติดกับตำแหน่ง ไม่เคยมักใหญ่ใฝ่สูง  ไม่อิจฉาริษยาใครทั้งสิ้น แต่เป็นตัวของตัวเองมาตลอด ต้องการเห็นชาติบ้านเมืองพัฒนา เจริญรุ่งเรือง คนไทยมีความสุขก้าวหน้าทุกคน" สุรพงษ์ กล่าว

 

ที่มา : เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา และสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนเกาหลีใต้เริ่มชอบจีนน้อยกว่าชอบญี่ปุ่น-หลังจีนตอบโต้เพราะให้สหรัฐฯ ติดตั้ง THAAD

Posted: 30 Mar 2017 01:01 AM PDT

สถาบันวิจัยคาบสมุทรเกาหลีสำรวจความคิดเห็นชาวเกาหลีใต้ พบความชื่นชอบต่อจีนแผ่นดินใหญ่ลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น หลังจากที่จีนใช้ไม้แข็งคว่ำบาตรวัฒนธรรมเกาหลีและโจมตีบริษัทล็อตเต เพื่อตอบโต้เกาหลีใต้อนุญาตให้สหรัฐฯ ติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธ THAAD หลายเป็นประเด็นความสัมพันธ์ที่น่าจับตามองของชาติมหาอำนาจกับอิทธิพลในคาบสมุทรเกาหลี

กองทัพสหรัฐเมริกาที่ฐานทัพยองซาน กรุงโซล ระหว่างลำเลียงอุปกรณ์เพื่อติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธระบบ THAAD สำหรับเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2017 หลังจากที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยไกลหลายหน (ที่มา: Flickr/U.S. Pacific Command)

30 มี.ค. 2560 สถาบันอาซานเพื่อการวิจัยนโยบาย (Asan Institute for Policy Studies) ซึ่งเป็นสถาบันอิสระไม่สังกัดฝ่ายที่ทำการศึกษาเรื่องนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและเสถียรภาพของคาบสมุทรเกาหลี เปิดเผยรายงานระบุว่าหลังจากที่เกาหลีใต้ยอมให้สหรัฐฯ ติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธข้ามทวีปในชั้นบรรยากาศปลายทาง (Terminal High Altitude Area Defense หรือ THAAD) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับจีนและสหรัฐฯ อย่างกระทันหัน

ระบบป้องกันขีปนาวุธดังกล่าวจะมีการติดตั้งภายในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี 2560 แต่ในช่วงเดือนมีนาคมก็มีชิ้นส่วนจำนวนหนึ่งของ THAAD ส่งถึงเกาหลีใต้แล้ว เรื่องนี้ทำให้ทางการจีนโต้ตอบด้วยความไม่พอใจ โดยมีการสั่งห้ามนำเข้าสินค้าทางวัฒนธรรมของเกาหลีและมีการปราบปรามการท่องเที่ยวเกาหลีด้วย บริษัทใหญ่ของเกาหลีคือลอตเต้กรุ๊ปที่ให้ความร่วมมือเรื่องการอนุญาตติดตั้ง THAAD บนเกาะซองจูก็ถูกตอบโต้จากรัฐบาลจีนเช่นกันและผู้บริโภคในจีนเองก็บอยคอตต์ไม่ใช้สินค้าจากลอตเต้

เหตุการณ์นี้ยังเป็นการเดินหมากของทั้งฝ่ายทางการสหรัฐฯ และฝ่ายทางการจีนในช่วงสูญญากาศทางอำนาจหลังถอดถอนประธานาธิบดี พัก กึนเฮ ของเกาหลีใต้ สหรัฐฯ ประเมินว่าหลังจากนี้เกาหลีใต้มีโอกาสสูงที่จะได้รัฐบาลสายก้าวหน้าพวกเขาจึงรีบเร่งติดตั้ง THAAD ให้เร็วที่สุด ส่วนจีนเน้นให้ผู้คนเอาความไม่พอใจไปทุ่มใส่บริษัทลอตเต้แต่ก็ไม่ได้ขยายความกล่าวโทษบริษัทสัญชาติเกาหลีอื่นๆ โดยทางสถาบันอาซานยังวิเคราะห์ว่าจีนน่าจะกำลังรอดูรัฐบาลใหม่ของเกาหลีใต้เพื่อขอความร่วมมือกับพวกเขา

สถาบันอาซานระบุว่ามันเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจมาก พวกเขาต้องเผชิญกับวิกฤตทางการเมืองในประเทศตัวเอง ได้เห็นโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเห็นคาบสมุทรเกาหลีกลายเป็น "ลานสู้รบ" ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในเรื่อง THAAD แล้วชาวเกาหลีใต้เองคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

จากคำถามนี้ สถาบันอาซานทำการสำรวจชาวเกาหลีใต้ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่าชาวเกาหลีใต้มีความชื่นชอบประเทศจีนน้อยลงจนอยู่ในระดับต่ำกว่าความชื่นชอบประเทศญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งความชอบที่น้อยลงนี้มาจากการที่จีนตอบโต้เรื่อง THAAD ในขณะเดียวกันชาวเกาหลีใต้ก็มีความชื่นชอบในสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยด้วย

ผลสำรวจของอาซานระบุอีกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 แล้วในตอนนี้มีชาวเกาหลีใต้สนับสนุนการติดตั้ง THAAD มากขึ้นและมีผู้ต่อต้านการติดตั้งน้อยลง ซึ่งคนกลุ่มที่สนับสนุนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนอายุ 60 ปี ที่มีแนวโน้วสนับสนุนปาร์กกึนฮเยและติดจุดยืนต่อต้านจีนตามผู้นำ โดยรวมๆ แล้วชาวเกาหลีใต้ต่างก็แสดงทัศนคติทางลบกับส่งทีพวกเขามองว่าเป็นการแทรกแซงอย่างเกินเลยจากประเทศมหาอำนาจในประเด็นคาบสมุทรเกาหลี

 

ชาวเกาหลีใต้กับความชื่นชอบประเทศต่างๆ

ผลสำรวจของอาซานระบุว่าจากคะแนนความชื่นชอบจาก 0-10 (ชอบน้อยที่สุดไปจนถึงชอบมากที่สุด) คะแนนความชอบจีนของพวกเขาลดลงจาก 4.31 ในเดือนมกราคมเหลือ 3.21 ในเดือนมีนาคมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับช่วงปี 2558 หลังจาก พัก กึนเฮ เข้าร่วมพิธีสวนสนามกองทัพที่จัตุรัสเทียนอันเหมินแะแสดงท่าทีเป็นมิตรกับผู้นำจีน และยิ่งกว่านั้นคือความชื่นชอบจีนของเกาหลีในตอนนี้ลดลงต่ำกว่าญี่ปุ่น (3.33 คะแนน) เสียอีก จากทีญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้คะแนนความชอบต่ำเสมอมาในสายตาของชาวเกาหลี ยิ่งหลังจากมีกรณีขัดแย้งเรื่องรูปปั้น "หญิงบำเรอ" ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม 2559 แล้วก็ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น ถดถอยลง แต่จากการสำรวจแล้วคะแนนความชอบญี่ปุ่นลดลงเล็กน้อย ขณะที่จีนคะแนนความชืนชอบลดลงมากกว่า ซึ่งน่าจะเป็นเพราะพวกเขาไม่ชอบการตอบโต้ทางเศรษฐกิจของจีนในกรณี THAAD

ในด้านของสหรัฐฯ นั้นชาวเกาหลีใต้ยังให้คะแนนสูงพอสมควรแต่ก็ลดลงเล็กน้อยจาก 5.77 ในเดือนมกราคมเหลือ 5.71 ในเดือนมีนาคมแต่ก็เป็นจำนวนที่ไม่มีนัยสำคัญมากเท่ากับกรณีจีน อย่างไรก็ตามในประวัติศาสตร์แล้วชาวเกาหลีมักจะแสดงการต่อต้านอย่างแข็งขันเมื่อเหล่ามหาอำนาจแย่งชิงคาบสมุทรเกาหลีหรือแทรกแซงประเด็นภายในของเกาหลีใต้

อาซานมองว่าความชื่นชอบจีนของกลุ่มคนสูงวัยในเกาหลีใต้ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบในรัฐบาลปาร์กกึนฮเยด้วย อย่างเมื่อช่วงรับบาลปาร์กกึนฮเยสนับสนุนจีนคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ก็มีท่าทีสนับสนุนจีนตาม หมายความว่าคนสูงวัยในเกาหลีใต้แค่มีทัศนคติในเรื่องต่างๆ เอนเอียงตามผู้นำในยุคนั้นเท่านั้นเอง ไม่นับว่าคนสูงอายุในเหาหลีใต้ยังมักจะเป็นพวกอนุรักษ์นิยมจัดในประเด็นเรื่องความมั่นคง แต่เมื่อพิจารณาจากกราฟแล้วความชื่นชอบจีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญในหมูประชากรชาวเกาหลีอายุ 20-29 ปีและ 30-39 ปีด้วยเช่นกัน

เมื่อเทียบกับกรณีความชื่นชอบสหรัฐฯ แล้ว การสำรวจโดยอาซานในช่วงเดือนมกราคมกับเดือน มีนาคมพบว่ามีคะแนนขึ้นลงแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุมากกว่า ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับกลางๆ (5 คะแนน) แต่คนสูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป ดูจะช่นชอบสหรัฐฯ มากขึ้น ส่วนกลุ่มช่วงอายุที่ชื่นชอบสหรัฐฯ ลดลงมากจะเป็นกลุ่มอายุ 40-49 ปี อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจคือกลุ่มช่วงอายุ 20-29 ปี ที่ก่อนหน้านี้มีความชื่นชอบสหรัฐฯ มากเช่นเดียวกับกลุ่มประชากรสูงวัยแต่ในปัจจุบันมีความชื่นชอบลดลง อาซานประเมินว่าแนวคิดสนับสนุนสหรัฐฯ ในเกาหลีน่าจะมาจากแนวคิดอนุรักษ์นิยมในประเด็นความมั่นคงและความชื่นชอบอำนาจอ่อน (soft power) แบบของสหรัฐฯ

 

ความชื่นชอบผู้นำ

ในแง่การสำรวจความชื่นชอบผู้นำประเทศต่างๆ ได้แก่ โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ สีจิ้นผิงของจีน และชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น นั้น อาซานมองว่าความชื่นชอบในตัวทรัมป์จากเดิมอยู่ที่ราว 1 คะแนน หลังทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชาวเกาหลีก็ดูจะแสดงการชื่นชอบทรัมป์เพิ่มากขึ้นเป็น 3 คะแนน แต่ก็ลดลงพอสมควรในช่วงเดือนมีนาคมทำให้อาซานประเมินว่าความชอบหรือไม่ชอบในตัวทรัมป์ไม่ได้ส่งผลต่อความชื่นชอบในประเทศสหรัฐฯ น่าจะเพราะว่าเกาหลีใต้มองสหรัฐฯ เป็นประเทศพันธมิตรทางการทหารและมองประเทศสหรัฐฯ ในเชิงบวก

ขณะที่ความชื่นชอบในผู้นำสีจิ้นผิงของจีนนั้นจากเดิมที่อยู่ในระดับ 4 คะแนนมาโดยตลอดในเดือน มีนาคมชาวเกาหลีใต้ชื่นชอบสีจิ้นผิงลดลงเหลือ 2.93 คะแนน นั่นเป็นไปได้ว่ากรณีการโต้ตอบเรื่อง THAAD ของจีนไม่เพียงส่งผลต่อความชื่นชอบประเทศจีนลดลงแต่ยังส่งผลต่อความชื่นชอบผู้นำจีนลดลงด้วย

 

ข้อสรุป

สถาบันอาซานสรุปว่าในขณะที่เกาหลีใต้กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลังปาร์กกึนฮเยออกจากตำแหน่งและกำลังจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ พวกเขาก็ต้องเผชิญแรงกดดันจากจีนกับสหรัฐฯไป พร้อมๆ กัน โดยที่การตอบโต้ของจีนต่อกรณี THAAD สร้างความเสียหายต่อการส่งออกวัฒนธรรมของเกาหลีใต้และต่อบริษัทเกาหลีใต้ในจีน ขณะเดียวกันอิทธิพลการเมืองภายในก็ส่งผลต่อทัศนคติของชาวเกาหลีใต้ต่อประเด็นการติดตั้ง THAAD โดยสหรัฐฯ อย่างเรื่องการสนับสนุนหรือการต่อต้านรัฐบาล เช่นกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ต่อต้านปาร์กกึนฮเยมอง THAAD ในแง่ลบไปด้วยแม้ว่าพวกเขาจะมีแนวคิดเรื่องความมั่นคงของชาติในเชิงมอนุรักษ์นิยม

อย่างไรก็ตามสิ่งทีเห็นได้ชัดคือความชื่นชอบจีนแผ่นดินใหญ่ในสายตาชาวเกาหลีใต้ลดลงอย่างมากจากวิธีการตอบโต้เชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีน ขณะที่สหรัฐฯ นั้นแม้คนสูงอายุชาวเกาหลีใต้จะสนับสนุนมากขึ้นแต่ต้องคอยดูท่าทีกลุ่มอายุ 20-29 ปี และ 40-49 ปี ที่มองสหรัฐฯ แย่ลง อีกทั้งภาพลักษณ์ของทรัมป์ที่คนไม่ค่อยชอบก็อาจจะกลายเป็นอุปสรรคของสหรัฐฯ ในอนาคตได้ด้วย

ทั้งนี้สิ่งที่น่าประเมินกันต่อไปในอนาคตคือความไม่แน่นอนของเกาหลีใต้ว่าจะเลือกผู้นำคนใหม่จะเป็นอย่างไรต่อไป ที่แน่ๆ ไม่ว่าจะมีการติดตั้งระบบป้องกัน THAAD หรือไม่ เกาหลีใต้ก้มีแนวโน้มสนับสนุนสหรัฐฯ มากกว่าจีนในระยะยาว กลุ่มมหาอำนาจจึงต้องคำนึงว่าการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของประชาชนเช่นนีมีความสำคัญเพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงและปรับความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ต่อไป

 

เรียบเรียงจาก

Changing Tides: THAAD and Shifting Korean Public Opinion toward the United States and China, Asan Institute for Policy Studies, 20-03-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการแจงคดีทายาทกระทิงแดงชนตำรวจเสียชีวิตปี 55 ยันพยายามตามตัวมาส่งฟ้องตลอด

Posted: 30 Mar 2017 12:59 AM PDT

รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แจงข้อเท็จจริงคดีทายาทกระทิงแดงชนตำรวจเสียชีวิตปี 55 ระบุเจ้าตัวใช้ทุกช่องทางเลี่ยงมาพบเพื่อส่งฟ้องต่อศาล ขีดเส้น 27 เม.ย.นี้ต้องมา

30 มี.ค. 2560 กรณีความคืบหน้าการดำเนินคดีกับ วรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเจ้าของกระทิงแดง หลังสำนักข่าวเอพีในนิวยอร์ก สหรัฐฯ นำเสนอชีวิต วรยุทธ ผู้ต้องหาคดีขับรถชน ดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ  ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อเสียชีวิต เมื่อปี 2555 ไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศด้วยความสบายใจโดยยังไม่ถูกดำเนินคดีใด ๆ ทั้งที่คดีใกล้จะหมดอายุความภายในปีนี้ และถูกพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกแล้วไม่เข้ารายงานตัวหลายครั้ง ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้น

ล่าสุดวันนี้ (30 มี.ค.60) ประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงความคืบหน้าคดีนี้ว่า หลังช่วงปลายเดือนมี.ค. ปีก่อน(2559) ทาง วรยุทธ ได้ร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งในประเด็นซ้ำซ้อน โดยเฉพาะเรื่องความเร็วของรถ อัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นดังกล่าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการในข้อหา ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควรและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จึงได้สั่งยุติการสอบสวนเพิ่มเติม พร้อมออกหนังสือให้มาพบอัยการเพื่อนำตัวฟ้องต่อศาลในวันที่ 25 เม.ย. 2559 ต่อมา วรยุทธ ขอเลื่อนเข้าพบอัยการ ด้วยเหตุทั้งติดภารกิจในต่างประเทศ และมีการร้องขอความเป็นธรรมที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเรื่อยมา ระหว่างนั้นอัยการได้มีหนังสือถึงตำรวจ สน.ทองหล่อ ให้ติดตาม วรยุทธ มาพบเพื่อส่งฟ้องตลอด จนล่าสุด ได้มีการนัดให้ วรยุทธ มาพบในวันนี้ (30มี.ค.60) แต่ผู้ต้องหาก็ยังมีหนังสือขอเลื่อนเนื่องจากติดภารกิจที่ประเทศอังกฤษ จึงเลื่อนนัดไปวันที่ 27 เม.ย. นี้ หากยังขอเลื่อนนัดด้วยเหตุเลื่อนลอยอาจเป็นเหตุให้อัยการพิจารณาออกหมายจับเพื่อติดตามตัวมาดำเนินคดีได้

กรณีที่ผ่านมา วรยุทธ มีหนังสือร้องเรียนขอสอบสวนเพิ่มเติมไปยังคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำให้เป็นเหตุไม่สามารถออกหมายจับได้ ซึ่งในทางข้อเท็จจริงแล้วกรรมาธิการฯ ก็ไม่ได้เข้าก้าวล่วงอำนาจกระบวนการสอบสวนคดีอาญาแต่อย่างใด แต่เป็นสิทธิของผู้ต้องหาในการร้องขอความเป็นธรรมและหน้าที่ของกรรมาธิการฯในการสอบสวนตามคำร้องขอ

ทางสำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันว่า คดีดังกล่าวมีความพยายามติดตามตัว วรยุทธ มาส่งฟ้องตลอด ประเด็นผู้ต้องหามีชื่อเสียง มีฐานะทางสังคมสูงนั้น เชื่อว่าจะทำให้คดีเป็นที่สนใจติดตามและถูกตรวจสอบจากสังคมมากขึ้น ขณะที่อายุความของข้อหาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีในความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควรและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที คดีจะหมดอายุความวันที่ 3 ก.ย.ปีนี้ ส่วนข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย นั้นจะหมดอายุความวันที่ 3 ก.ย. 2570 หรืออีก 10 ปี ข้างหน้า  

ที่มา : สำนักข่าวไทย และเฟซบุ๊กแฟนเพจ Banrasdr Photo

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จุฬาฯ กับขบวนการนักศึกษา

Posted: 29 Mar 2017 10:20 PM PDT


 

เมื่อมีเกิดการยึดอำนาจโดยคณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 อันเป็นการรัฐประหารที่นำประเทศไทยไปสู่ยุคมืดแห่งเผด็จการ มีการจับกุมคุมขังปัญญาชน และนักการเมืองฝ่ายค้านจำนวนมาก ควบคู่กับการใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริการลงทุน และประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เร่งขยายการลงทุนเพื่อพัฒนาภาคการผลิตทุนนิยมเสรี เผด็จการได้เข้าควบคุมมหาวิทยาลัย โดยจอมพลสฤษดิ์รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยด้วยตนเอง และต่อมาเมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่กรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย ส่วน พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รับตำแหน่งอธิการบดี

จุฬาลงกรณ์ภายใต้ยุคเผด็จการ จะเต็มไปด้วยกิจกรรมแบบไร้สาระ ประเภทงานรับน้องรับพี่อันยืดเยื้อ ที่น่าสังเกตคือ ระบบโซตัสได้พัฒนาอย่างเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้น โดยเน้นที่การรับน้องใหม่แบบอำนาจนิยม คือ การกำหนดงานรับน้องที่รุ่นพี่ สามารถกระทำการทรมานหรือสั่งการอย่างอื่นต่อรุ่นน้องอย่างไม่มีเหตุผล บังคับน้องใหม่ให้เข้าห้องซ้อมเชียร์ ขาดไม่ได้เด็ดขาด การบังคับการแต่งกายของนิสิตปี 1 วิธีการที่สำคัญของรุ่นพี่ ก็คือการว๊ากŽ โดยใช้เสียงดัง กระโชกโฮกฮาก ตระโกนใส่เพื่อข่มน้องใหม่

การที่งานแข่งกีฬาและการซ้อมเชียร์เป็นงานใจกลาง นำมาสู่การปลูกฝังความยึดมั่นในคณะนิยมอย่างไร้เหตุผล จนขยายเป็นการวิวาทกันระหว่างนิสิตต่างคณะภายในมหาวิทยาลัยอยู่เสมอ ที่เกิดเหตุการณ์ระดับรุนแรง เช่น การปะทะกันระหว่างนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์กับนิสิตคณะรัฐศาสตร์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 นำมาสู่ความตึงเครียดภายในมหาวิทยาลัย และครั้งใหญ่อีกครั้งวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2509 นิสิตคณะวิศวกรรมกับยกพวกตีกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ทำให้ตำรวจต้องนำกำลังไปตรึงมหาวิทยาลัย และต้องปิดมหาวิทยาลัย 3 วัน

อย่างไรก็ตาม ภายใต้บรรยากาศยุคมืด กิจกรรมนิสิตมีมีเนื้อหาสาระบางลักษณะก็พัฒนาขึ้น เช่น การก่อตั้งชุมนุมพุทธศาสนาและประเพณี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 เป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมด้านศาสนาในมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการโดยนิสิตเอง นอกจากนี้ก็คือกิจการด้านงานค่ายอาสาพัฒนาชนบท โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ที่บุกเบิกงานค่ายอาสาสมัครในฐานะที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรของสโมสรนิสิต ตั้งแต่ พ.ศ.2502 กิจกรรมค่ายลักษณะเช่นนี้ กลายเป็นแบบที่ทำให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ดำเนินต่อมา

จนถึงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2513 ก็เกิดการเคลื่อนไหวใหญ่ของนิสิตจุฬาฯ โดย ประสาร มฤคพิทักษ์ นายกสโมสร ได้นำนิสิตหลายพันคนเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้สอบสวนผู้บริหารมหาวิทยาลัยในกรณีทุจริตในเรื่องที่ดินและสิ่งปลูกสร้างศูนย์การค้าและโรงแรมของมหาวิทยาลัย ที่บริเวณสยามสแควร์และปทุมวัน ในที่สุด จอมพลถนอม กิตติขจร นายกสภามหาวิทยาลัย ต้องยอมตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งนำมาสู่การลงโทษทางวินัยแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 3 คนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ซึ่งเป็นการนำชัยชนะขั้นต้นมาสู่ขบวนการนักศึกษาที่กำลังก่อรูปขึ้น

ใน พ.ศ.2514 กลุ่มนิสิตฝ่ายก้าวหน้าในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้ง "กลุ่มฟื้นฟูโซตัสใหม่" เพื่อต่อต้านระบบรับน้องแบบไร้เหตุผลที่ดำเนินอยู่ และกลับไปสู่ความหมายที่เป็นจริงของโซตัส ซึ่งเป็นคำย่อภาษาอังกฤษของ น้ำใจ ระเบียบ ประเพณี สามัคคี อาวุโส การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้สร้างผลสะเทือนอย่างมาก กลุ่มนิสิตรุ่นพี่และอาจารย์ที่ต้องการรักษาระบบรับน้องแบบเดิมได้รวมกำลังกันต่อต้าน กลายเป็นกระแสอภิปรายกันในสังคม

วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ก่อการรัฐประหารฟื้นฟูเผด็จการ ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในหมู่นักศึกษาปัญญาชน กระแสที่จะเริ่มนำมาสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม คือ การที่ ธีรยุทธ บุญมี นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกให้ตำแหน่งเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2515 และกรรมการศูนย์นิสิตชุดนี้ ได้เปิดการรณรงค์ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ โดยการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2515 กระแสนี้ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างมาก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ขบวนการนักศึกษาเริ่มที่จะกลายเป็นแกนกลางของขบวนการมวลชน

กระแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายนิสิตนักศึกษา นำมาสู่เหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญ คือ กรณี 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ซึ่งเริ่มจาก ธีรยุทธ บุญมี ผลักดันให้มีการตั้ง "กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" แต่ถูกรัฐบาลทหารจับกุม 13 คน แล้วนำมาสู่การประท้วงใหญ่ของประชาชนขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นิสิตจุฬาฯหลายคน ได้เข้าไปมีส่วนนำการเคลื่อนไหว เช่น ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ธเนศร์ เจริญเมือง  วิรัติ ศักดิ์จิระภาพงษ์  และ จีระนันท์ พิตรปรีชา เป็นต้น ในที่สุด ฝ่ายเผด็จการทหารก็ถูกโค่นล้มลง และประเทศกลับฟื้นคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย ในกรณีนี้ มีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ สมเด็จ วิรุฬพล นิสิตปี 1 คณะเศรษฐศาสตร์ เสียชีวิตโดยการยิงของฝ่ายทหาร ซึ่งกลายเป็นประจักษ์พยานหนึ่งในความเหี้ยมโหดของฝ่ายเผด็จการ

ยุคหลัง 14 ตุลาคม เป็นสมัยที่ขบวนการนักศึกษาได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างมาก และยังเป็นสมัยที่เกิดกระแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองของมวลชนระดับล่าง อันได้แก่ กรรมกรและชาวนาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นักศึกษากลายเป็นพลังสำคัญในการวิพากษ์สังคม และนำเสนอการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบก้าวหน้า กระแสทางการเมืองในฝ่ายนักศึกษาได้มีแนวโน้มในทางสังคมนิยมมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น การเกิดประชาธิปไตยและการบริหารตนเองในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ก็คือกระแสโจมตีและกวาดล้างการรับน้องแบบป่าเถื่อนจนล่มสลาย โดยเฉพาะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบบโซตัสเปิดฉากลงทุกคณะ กรณีนี้นำมาสู่กิจกรรมนักศึกษาแบบใหม่ที่ก้าวหน้าที่ยืนอยู่บนหลักเหตุผล และไปสู่ประชาชนระดับล่าง กิจกรรมทางการเมืองและสังคม ได้เข้ามาเป็นกิจกรรมหลักของนิสิตแทนเรื่องการเชียร์ และการแข่งกีฬา และนำมาสู่การยุติคณะนิยมและการวิวาทระหว่างคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กระแสประชาธิปไตยได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือการปรับระบบการปกครองนิสิตมาเป็นองค์การบริหารสโมสรนิสิต และมีการตั้งสภานิสิตทำหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณางบประมาณ ซึ่งเป็นการจำลองแบบตามระบบรัฐสภา สภานิสิตที่มีการเลือกตั้งโดยตรงของนิสิตเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2517 มีการตั้งพรรคการเมืองของนิสิต ขึ้นมาแข่งขันเช่นเดียวกับพรรคการเมืองภายนอก คือ โดยเฉพาะกลุ่มนิสิตที่ก้าวหน้าได้ตั้งพรรคชื่อ พรรคจุฬาประชาชน ลงสมัครรับเลือกตั้ง และมีบทบาทอย่างมากในสภานิสิต ต่อมา พรรคจุฬาประชาชนก็ชนะการเลือกตั้งเข้าบริหารจุฬาฯในเดือนมกราคม พ.ศ.2519 โดยมี อเนก เหล่าธรรมทัศน์ นิสิตคณะแพทยศาสตร์รับตำแหน่งนายกสโมสร

ใน พ.ศ.2519 กระแสความขัดแย้งทางการเมืองภายนอกเริ่มรุนแรงมากขึ้น เพราะพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือกลุ่มฝ่ายขวา ได้จัดตั้งกันขึ้นเพื่อต่อต้านขบวนการนักศึกษาและนำมาสู่การเผชิญหน้า และในที่สุด ก็นำมาสู่ความรุนแรงและการกวาดล้างขบวนการนักศึกษาในเวลาเช้วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พร้อมทั้งการก่อรัฐประหารฟื้นอำนาจเผด็จการในเวลาเย็นวันนั้น ในการปราบปรามครั้งนี้ วิชิตชัย อมรกุล นิสิตปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสียชีวิตในการปราบปรามด้วย

สรุปว่า แม้ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะถูกพิจารณาว่าเป็นมหาวิทยาลัยศักดินา แต่ในยุคสมัยแห่งขบวนการนักศึกษา นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันด้วย ซึ่งบทบาทในด้านนี้ของนิสิตจุฬาฯ ไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงกันมากนัก ในที่นี้จึงเก็บมาเล่าให้ฟังเพื่อให้เห็นภาพอีกด้านหนึ่งด้วย


 

เผยแพร่ครั้งแรกใน:  โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 609 วันที่ 25 มีนาคม 2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีรัฐใดที่ประชาธิปไตยเข้มแข็งโดยปราศจากการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง

Posted: 29 Mar 2017 10:00 PM PDT

 

หนึ่งในบรรดาข้อถกเถียงในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทยในช่วงที่ผ่านมาก็คือข้อถกเถียงเกี่ยวกับแนวความคิด "จังหวัดจัดการตนเอง"ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่นบนพื้นฐานของ "self determination rights" หรือสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเองตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ซึ่งบางฝ่ายได้โต้แย้งว่าต้องพัฒนาการเมืองการปกครองหรือประชาธิปไตยในระดับชาติเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาพัฒนาการปกครองท้องถิ่นทีหลัง กอรปกับนายกรัฐมนตรีได้ออกมาย้ำเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มี.ค 60 ที่ผ่านมาอีกว่า ยังไม่พร้อมกระจายอำนาจปกครองตนเองเพราะยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านอีกด้วย

แต่ผมกลับเห็นตรงกันข้ามเพราะผมเชื่อว่าไม่มีรัฐใดที่ประชาธิปไตยเข้มแข็งโดยปราศจากการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ดังคำกล่าวของ Konrad Adenauer  อดีตนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีที่ว่า "No state without city"  ซึ่งหากแปลตรงตัวก็คือ "ไม่มีรัฐใดที่ไม่มีเมือง" ซึ่งความหมายที่แท้จริงคือ "ไม่มีทางที่การเมืองการปกครองในระดับชาติ(state)จะเข้มแข็งได้ หากปราศจากการปกครองท้องถิ่น(ในที่นี้หมายถึงเมืองหรือcityซึงรวม town,township,municipality ฯลฯ)ที่เข้มแข็ง" นั่นเอง


การปกครองท้องถิ่นคืออะไร

ได้มีปรมาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ได้ให้คำจำกัดความไว้มากมายไม่ว่าจะเป็น Daniel Wit, William A. Robson, William V. Hollowway ฯลฯ ซึ่งสามารถสรุปความได้ว่า "การปกครองท้องถิ่นหมายถึงการปกครองของชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่อยู่ภายในชุมชนตามขอบเขตอำนาจที่ได้รับ(กรณีรัฐเดี่ยว)หรือความเป็นอิสระ(กรณีรัฐรวม)จากรัฐบาลกลางหรือส่วนกลาง โดยจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล, มีสิทธิตามกฎหมายในการตรากฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ, ตลอดจนมีงบประมาณที่มาจากการจัดเก็บภาษีและรายได้ในรูปแบบต่างๆ ภายในท้องถิ่นของตนเอง, สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมีเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในการปฏิบัติงานเป็นของตนเอง"


การปกครองท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร


1) เป็นการให้การศึกษาและฝึกฝนทางการเมือง(Providing Political Education and Training)

การปกครองท้องถิ่นเป็นหนึ่งในรูปแบบของการศึกษาเรียนรู้ทางการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นในแต่ละครั้งย่อมเป็นช่วงเวลาและบรรยากาศของการเรียนรู้ทางการเมืองเป็นอย่างดียิ่ง เช่น การรณรงค์หาเสียง, การประกาศและตรวจสอบนโยบาย ฯลฯ  ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยตรงแล้วยังสามารถพัฒนาไปสู่การลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยตนเองและพัฒนายกระดับสูงขึ้นจนถึงระดับชาติต่อไป


2) เป็นการส่งเสริมความเป็นพลเมืองและการมีส่วนร่วม (Promoting Citizenship and Participation)

การปกครองท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้อย่างใกล้ชิด เพราะการเมืองระดับชาติประชาชนมีความรู้สึกว่าไกลตัว แต่การปกครองท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับประชาชนอย่างแนบแน่นมากกว่า   โอกาสที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองย่อมมีความเป็นไปได้สูง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นพลเมืองที่มีความเข้มแข็งในทางการเมืองและตระหนักถึงสิทธิประโยชน์และความสำคัญของตนในทางการเมือง ฉะนั้น การปกครองท้องถิ่นจึงช่วยยกระดับและขยายไปสู่ความเข้มแข็งในทางการเมืองระดับชาติต่อไป


3) เป็นความเท่าเทียมทางการเมือง (Political Equality)

เมื่อเปรียบเทียบกับการเมืองในระดับชาติแล้ว การปกครองท้องถิ่นสร้างความเท่าเทียมทางการเมืองมากกว่า เพราะประชาชนทุกคนในท้องถิ่นมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างทั่วถึงและกว้างขวางกว่าการเมืองระดับชาติ


4) มีผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง (political Stability)

การปกครองท้องถิ่นเปรียบเสมือนการให้การศึกษาทางการเมืองด้วยการให้ประชาชนมีประสบการณ์ในการเลือกผู้นำที่ตนไว้วางใจ ซึ่งความไว้วางใจที่มีต่อรัฐบาลนับเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ


5) ก่อให้เกิดความรับผิดชอบ (Accountability)

การปกครองท้องถิ่นก่อให้เกิดความรับผิดชอบ สร้างการตรวจสอบและถ่วงดุลของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะอยู่ใกล้ชิดกับตนเอง จึงได้รู้เห็นความไม่ชอบมาพากลต่างๆได้ดี เช่น มีบ้านหลังใหญ่ขึ้น มีรถยนต์ราคาแพงขึ้น ฯลฯ


6) สามารถสนองตอบต่อความต้องการ (Responsiveness)

เนื่องจากสภาพของท้องถิ่นแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาจึงต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การสนองตอบของระบบการเมืองต่อข้อเรียกร้องหรือ ความต้องการของท้องถิ่นจึงสอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่ระบบการเมืองคำนึงถึงปัจจัยนำเข้า(Input) หรือข้อมูลนำเข้าที่ป้อนเข้าสู่ระบบการเมืองแล้วแปรรูปเป็นปัจจัยนำออก(Output) ที่ตรงกับข้อเรียกร้องและความต้องการของท้องถิ่น ดังคำกล่าวที่ว่า "ไม่มีใครรู้ปัญหาท้องถิ่นดีกว่าคนท้องถิ่น" นั่นเอง

น่าเสียดายที่ไทยเรามีการขับเคลื่อนในเรื่องของการกระจายอำนาจได้มีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ จวบจนปัจจุบันนับได้ถึง 48 จังหวัดที่ได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องจังหวัดจัดการตนเองนี้ อาทิ ปัตตานีมหานคร ระยองมหานคร ภูเก็ตมหานคร ขอนแก่นมหานคร ฯลฯ และในที่สุด อดีตคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้มีการแนวความคิดที่จะเสนอร่าง พ.ร.บ.จังหวัดปกครองตนเองฯเพื่อที่จะใช้เป็นกฎหมายกลางสำหรับทุกๆจังหวัดที่จะได้ไม่ต้องไประดมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายแบบที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการมาจนมีการยื่นร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารเชียงใหม่มหานครฯ ต่อสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วเมื่อ 26 ตุลาคม 2556 โดยมีรองประธานสภาฯ ไปรับร่าง พ.ร.บ.ฯ และรายชื่อถึงกว่า12,000 คนด้วยตนเองถึงที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ร่าง พ.ร.บ.ฯต้องมาสะดุดหยุดอยู่เมื่อเกิดการยุบและยึดสภามาตามลำดับ

มิหนำซ้ำยังมีการพยายามที่จะลดทอนอำนาจและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆสารพัดวิธี โดยลืมไปว่าการกระจายอำนาจนั้นคือคำตอบของการปรองดองและสมานฉันท์ เพราะการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ประกอบไปด้วยผู้คนจากทุกกลุ่มทุกฝ่ายและทุกสีที่เห็นความจำเป็นของการกระจายอำนาจ ที่สำคัญที่สุดก็คือ "การไม่กระจายอำนาจ ย่อมไม่ใช่การปฏิรูป" และย่อมไม่ใช่การปรองดองสมานฉันท์อย่างแน่นอน

โลกเขาไปถึงไหนๆแล้ว การพยายามที่จะฝืนกระแสโลก โดยพยายามรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางเช่นในปัจจุบันที่กำลังทำกันอยู่ย่อมที่จะฉุดรั้งประเทศไทยให้ล้าหลังจนเกินกว่าที่จะแก้ไขเยียวยาได้โดยง่าย

อย่าลืมนะครับว่า ระบอบเผด็จการจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากผู้นำที่เข้มแข็ง ฉันใด ระบอบประชาธิปไตยก็จะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากพลเมืองที่เข้มแข็ง ฉันนั้น

 

-------------

หมายเหตุ  เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 29 มีนาคม 2560

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น