โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ชาวกะเหรี่ยงสาละวินเรียกร้องยุติสร้างเขื่อน รัฐบาลไทย-พม่าต้องเปิดเผยข้อมูล

Posted: 21 Mar 2017 12:41 PM PDT

ชาวกะเหรี่ยงสองฝั่งแม่น้ำสาละวินทั้งที่ จ.แม่ฮ่องสอน และฝั่งรัฐกะเหรี่ยง ร่วมกันทำกิจกรรมเนื่องในวันหยุดเขื่อนโลก ประกอบพิธีกรรมเพื่อปกป้องแม่น้ำ พร้อมอ่านแถลงการณ์คัดค้านการสร้างเขื่อน เรียกร้องรัฐบาลไทย-พม่าต้องเปิดเผยข้อมูลโครงการสร้างเขื่อนสาละวินให้ประชาชนรู้ และรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ

ชาวบ้านริมสองฝั่งแม่น้ำสาละวินทั้งจากรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า และฝั่งไทยนับพันคน รวมตัวกันที่หาดทรายริมแม่น้ำสาละวิน ที่บ้านอิตูท่า รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อทำกิจกรรมเนื่องในวันหยุดเขื่อนโลก โดยจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา โดยในงานประกอบด้วยการแสดงของกลุ่มเยาวชนเพื่อสะท้อนปัญหาการสร้างเขื่อน การกล่าวปราศรัยของตัวแทนชาวบ้านจากทั้งสองฝั่งน้ำ การอ่านแถลงการณ์ และการทำพิธีกรรมตามความเชื่อ

กรรมการอาวุโสบ้านอิตูท่า กล่าวต่อผู้มาร่วมงานว่า การสร้างเขื่อนฮัตจี จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนกะเหรี่ยงที่ยังคงอยู่ภายใต้สถานการณ์สงคราม ซึ่งที่ผ่านมาทหารพม่าได้ส่งกองกำลังเข้ามาควบคุมพื้นที่บริเวณหัวงานเขื่อนฮัตจี และกดดันให้ชาวบ้านออกไป อีกทั้งเขื่อนยังจะก่อให้เกิดผลกระทบต่ออาชีพของคนท้องถิ่น เช่น การหาปลา การเกษตร ตลอดจนส่งผลต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมตลอดลำน้ำ

จอบอ แกนนำเยาวชนโรงเรียนบ้านอิตูท่า ระบุว่า ที่ผ่านมาเคยได้ข่าวการสร้างเขื่อนมานานแล้ว และทราบว่าเขื่อนที่กำลังจะสร้างนี้มีขนาดใหญ่ และจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนในรัฐกะเหรี่ยงอย่างมาก ตนเองรู้สึกเป็นกังวลอย่างมาก เพราะหากมีการเดินหน้าสร้างเขื่อนจริง ชาวบ้านโดยเฉพาะในรัฐกะเหรี่ยงก็จะถูกทหารพม่ากดดันจนไม่มีที่อยู่

นอกจากนี้ตัวแทนชาวบ้านได้อ่านแถลงการณ์คัดค้านการสร้างเขื่อนสาละวิน โดยชี้ว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านทั้งสองฝั่งในวงกว้าง ขอให้ยุติการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำสาละวิน เพื่อปล่อยให้แม่น้ำไหลอย่างอิสระ ทั้งรัฐบาลไทยและพม่าต้องเปิดเผยข้อมูลโครงการสร้างเขื่อนสาละวินให้ประชาชนรู้ และรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ

นายก่านา เจ้าหน้าที่ด้านป่าไม้ของรัฐกะเหรี่ยง กล่าวด้วยว่า พื้นที่ลุ่มแม่น้ำสาละวินมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งทางรัฐกะเหรี่ยงประสงค์จะอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลาน หากสร้างเขื่อนพื้นที่ป่าเหล่านี้ก็จะถูกท่วมและอาจถูกสัมปทานไปหมด

อีกทั้ง ในงานยังมีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อเพื่อแสดงออกถึงการปกป้องแม่น้ำสาละวินร่วมกัน ได้แก่ มีการเลี้ยงผีขุนน้ำตามความเชื่อแบบดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง เพื่อแสดงความเคารพต่อแม่น้ำ และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกป้องคุ้มครองแม่น้ำสาละวิน สำหรับผู้ถือศาสนาคริสต์ ได้ร่วมกันขอพรต่อพระเจ้าให้ช่วยปกปักรักษาแม่น้ำสาละวินเช่นกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัวแอพพลิเคชัน ‘ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน’ คัดกรอง ‘เด็กจนจริง’

Posted: 21 Mar 2017 10:57 AM PDT

แอพพลิเคชันในโทรศัพท์ของคนเรานั้นมีมากมาย และช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตได้หลายอย่าง เช่น  mobile banking ที่ทำธุรกรรมทางการเงินได้โดยไม่ต้องไปถึงธนาคาร ฯลฯ ล่าสุด ในแวดวงการศึกษา เรามีแอพพลิเคชั่นตัวใหม่ ชื่อว่า "ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน" ที่จะครูได้มีส่วนร่วมในการคัดกรองนักเรียนที่ยากจน โดยคุณครูสามารถบันทึกข้อมูลโดยการไปถ่ายรูปที่บ้านของนักเรียน และกรอกข้อมูลต่างๆ ออนไลน์ทำให้การประมวลผลเพื่อคัดแยกเด็กนักเรียนยากจนที่จะได้รับทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวว่า ผู้สนับสนุนโครงการนี้คือ กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ สสค. มีวัตถุประสงค์หลักในการคัดกรองนักเรียนยากจนและยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพราะว่าเงินจะไปถึง "ถูกคน" มากกว่าที่เคยเป็น

ไกรยศเน้นย้ำว่า การแยกแยะเด็กที่จนจริงๆ ออกมานั้นมีความสำคัญหลายประการ เช่น

-  งบประมาณจะไม่สูญเปล่าไปกับคนที่ไม่ควรจะได้ ด้วยงบประมาณเท่าเดิมการคัดแยกที่แม่นยำก็เพิ่มโอกาสที่รัฐจะให้ความช่วยเหลือกับนักเรียนที่จนจริงในจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย

-  เมื่อรู้แล้วว่าใครที่เป็นเด็กยากจน การใช้แอพนี้ยังจะสามารถติดตามเขาได้ต่อเนื่อง ไม่ใช่ให้เงินแล้วจากกัน ครูจะสามารถ Monitor เด็กเป็นรายบุคคลได้จนกระทั่งจบการศึกษา หากเขาเริ่มขาดเรียน คะแนนไม่ดี เราจะได้รู้ทันเวลาว่าเขามีปัญหาอะไร ความยากจนอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เขามีผลกระทบต่อการเรียน ครูและสถานศึกษาก็จะได้มีโอกาสสนับสนุนได้ทันเวลาอีกด้วย

โครงการนำร่อง เก็บข้อมูลเด็ก 10 จังหวัด

ไกรยศ อธิบายว่า คุณครูประจำชั้นและครูที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของเด็กเหล่านี้ผ่านการใช้แอพพลิเคชัน โดยจะมี username และ password ของรายบุคคล กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ช่วงชั้น ป.1-ม.3 และหากคัดกรองได้ดีอาจเหลือเงินไปช่วยในระดับอนุบาล หรือ ม.ปลาย ซึ่งต้องรอดูนโยบายในอนาคต เมื่อได้รับข้อมูลมาแล้วคุณครูจะไปเยี่ยมและเก็บข้อมูลบ้านของเด็ก ข้อมูลทั้งหมดจะส่งเข้าไปที่ส่วนกลาง ทางกระทรวงการศึกษาธิการก็จะประมวลข้อมูลของเด็กแต่ละคนว่าใครมีความยากจนสูงสุดและเรียงลำดับลงมา การจัดกลุ่มจะทำให้เห็นสภาพเด็กกลุ่มยากจนที่สุดได้ชัดเจนแล้วจะได้พิจารณาให้ได้รับทุนยากจนไปก่อน
 
เขากล่าวว่า ตอนนี้กำลังดูอยู่ว่าเมื่อกระทรวงเห็นข้อมูลจากการเก็บข้อมูลของทั้ง 10 จังหวัดนำร่องแล้ว เช่น นครปฐม, อุดรธานี, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, ตรัง, ภูเก็ต, กาญจนบุรี, จันทบุรี จะมีนโยบายอย่างไรหรือนักเรียนแต่ละคนจะได้รับทุนเพิ่มเติมหรือเปล่า เรื่องทุนในเบื้องต้นนั้น ระดับประถมศึกษาจะให้ทุนจำนวน 1,000 บาทต่อปี ระดับมัธยมศึกษาจำนวน 3,000 บาทต่อปี วิธีการให้เงินจะให้ทางโรงเรียนเป็นคนเบิกเงินให้เด็ก บางโรงเรียนมีสหกรณ์คุณครูก็จะเอาไปฝากในบัญชี บางโรงเรียนไม่มีสหกรณ์ของโรงเรียนก็จะให้ผู้ปกครองมารับเงิน
 
การจดทะเบียนรายชื่อจะมาจากส่วนกลางว่าเด็กคนไหนได้หรือไม่ได้ทุน ก่อนหน้านี้มีเกณฑ์แค่อย่างเดียวคือ ครอบครัว คำถามก็คือทั้งบ้านมีรายได้สูงกว่าหรือต่ำกว่า 40,000 โดยให้เด็กตอบว่า Yes หรือ No ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตอบ Yes ทำให้ไม่สามารถแยกคนที่จนจริงๆ กับคนจนไม่จริงออกจากกันได้ บางโรงเรียนเด็ก 100% ติ๊กว่าจนหมดเลย ทำให้ไม่มีปัญญาหาเงินมาจ่ายให้กับนักเรียน งบประมาณก็จำกัด โดยใช้วิธีแบ่งเป็นโคต้าให้โรงเรียน ถ้าเป็นชั้นประถมจะได้ไม่เกิน 30 - 40% เด็กที่โชคร้ายไปเรียนโรงเรียนที่เด็กยากจนทั้งโรงเรียน ทุนก็จะถูกกำหนดเพดานให้ได้ที่ 30 - 40% ของจำนวนนักเรียนยากจน ขณะเดียวกันโรงเรียนที่ติ๊กมาเหมือนกันหมด แต่เด็กจนจริงๆ แค่ 10% ก็จะได้งบประมาณไป 30% เช่นเดียวกัน คนที่ไม่น่าจะได้ก็ได้ไป คนที่ควรต้องได้ก็ไม่ได้ นี่เป็นเหตุให้ต้องมีการจัดทำแอพพลิเคชันนี้
 
ในการใช้แอพพลิเคชัน คุณครูต้องไปถ่ายรูปที่บ้านของเด็กว่า สภาพบ้านนั้นเป็นอย่างไร ครอบครัวมีสมาชิกกี่คน มีการบันทึกเลขบัตรประจำตัวประชาชน มีรหัส GPS ระบุตำแหน่งของบ้าน ให้คนอื่นๆ ในระบบสามารถตรวจสอบตามกลับไปได้ และต้องมีผู้ใหญ่บ้านยืนยันว่าข้อมูลที่กรอกมานั้นเป็นความจริง ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้ทำให้มีความมั่นใจในข้อมูลที่ได้มากขึ้น ทำให้กระทรวงวางแผนใช้งบประมาณได้ถูกคนไม่มีการรั่วไหล นอกจากนี้มันยังทำให้ครูได้รู้จักเด็ก รู้จักครอบครัวของเด็กมากขึ้น ปกติข้อมูลจะอยู่ในแฟ้มในลิ้นชัก แต่กรณีนี้ข้อมูลจะอยู่ในมือถืออยู่ตลอด สามารถเรียกขึ้นมาดูได้ว่ามีอะไรที่ครูสามารถช่วยเหลือเด็กได้
 
ส่วนข้อเสียของแอพพลิเคชันนั้น บางทีสมาร์ทโฟนของคุณครูอาจจะเป็นรุ่นเก่าเกินไป ไม่สามารถรองรับแอพพลิเคชันนี้ได้ ต่อไปทางกระทรวงหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องก็อาจจะต้องมีการสนับสนุนอุปกรณ์คุณครู เพื่อให้ตรวจเช็คได้ว่า ได้มีการลงไปบ้านของเด็กจริงไหม มีข้อมูลเชิงประจักษ์จริงไหม มีการรับรองจากผู้ใหญ่บ้าน มีบ้านเช็คพิกัด GPS หรือไม่ ทุกอย่างมีหลักฐานและสามารถตรวจสอบได้โดยจะไม่มีเด็กคนไหนออกจากการดูแลของครูอีก แต่เรื่องนี้ก็เรียกร้องกับครูสูงเช่นกัน ต้องเป็นครูที่ดีใส่ใจเด็ก นอกจากนี้ยังเคยมีคนเสนอให้ทำในส่วนของเด็กพิการด้วย มันก็จะเกิดความหลากหลายมากขึ้น
 
มีการทดลองมาแล้ว 1 ปีการศึกษาตอนนี้ข้อมูลทั้งหมดได้เข้ามาครบแล้วจาก 10 จังหวัด ช่วงปิดเทอมนี้จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลและจะเสนอให้กระทรวงตัดสินใจตามนโยบายว่ามีจะเกณฑ์ออกมอย่างไรกับทั้ง 77 จังหวัดในปีการศึกษาหน้า คือ ปีการศึกษา 2560 ส่วนเรื่องของรายละเอียดต้องให้ทางกระทรวงตัดสินใจ

คุณครูเล่าเรื่องการใช้แอพพลิเคชันใหม่

คุณครูสุมาลี ผาสุก โรงเรียนบ้านตรอกสะเดา จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งในผู้ใช้แอพพลิเคชันดังกล่าว เปิดเผยว่า แรกเริ่มที่ได้ใช้แอพลิเคชัน ครั้งแรกจะดูทาง conference วิธีการใช้จากโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือก พอดูเสร็จจะมีเอกสารให้เข้าไปในระบบ จากนั้นจะเซฟข้อมูลลงคอมและเรียกประชุมครูในโรงเรียนเพื่อเป็นการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจตรงกันรวมถึงให้โหลดเอกสารต่างๆ ของการอบรม พอเสร็จแล้วก็อธิบายเกี่ยวกับแอพที่อยู่ในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์แล้วแต่ว่าครูส่วนใหญ่จะใช้แบบไหน แต่ส่วนมากจะใช้แบบโทรศัพท์มากกว่า จากนั้นก็ออกพื้นที่เพื่อดูว่าบ้านไหนมีปัญหา แล้วทำหนังสือรวบรวมข้อมูลให้ ผอ.กับครูฝ่ายวิชาการที่รับผิดชอบเด็กยากจน
 
ข้อมูลจากคู่มือการบันทึกข้อมูลการคัดกรองเด็กนักเรียนยากจน ระบุถึงการทำงานของแอพพลิเคชั่น ดังนี้
 
- ครูถือกระดาษแบบคัดกรอง นร.01 เพื่อไปคัดกรองนักเรียนยากจน
 
- นามาบันทึกเข้าสู่ระบบสารสนเทศผ่านเว็บแอปพลิเคชันในคอมพิวเตอร์
 
- แนบรูปสภาพบ้านของนักเรียนที่ถ่ายมาเข้าสู่ระบบ
 
- ปักหมุดตำแหน่งที่ตั้งบ้านของนักเรียนใน Google Map
 
 

การให้ความช่วยเหลือแบบเดิม ได้เพียงรายกรณี

ครูสุมาลีเล่าถึงกรณีช่วยเหลือเด็กยากจนที่ผ่านมา คือ กรณีของเด็ก ม.1 เด็กพึ่งเข้าเรียนปีแรกบ้านห่างจากโรงเรียนประมาณ 5-6 กิโลเมตร พ่อพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อยู่กับย่า ย่าเองก็อายุมากแล้ว อาศัยแค่เงินคนแก่ เขาต้องทำทุกอย่างก่อนจะได้มาโรงเรียน มาถึงโรงเรียนก็เวลา 8.30 น.ไม่ทันเข้าแถว สภาพบ้านถือว่าแย่จนครูประจำชั้นเขียนไปขอทุนโครงการของบริษัท AIS ทาง AIS ก็เลยให้เขียนเรียงความไปเพื่อขอทุน และครูประจำชั้นเองก็มีการถ่ายรูปบ้านขึ้น facebook ขอความช่วยเหลือ จึงได้รับความช่วยเหลือจำนวนมาก
 

อุปสรรคที่พบของแอพพลิเคชัน

ครูสุมาลียังกล่าวถึงอุปสรรคของผู้ปฏิบัติจริงในการใช้แอพพลิเคชันนี้ด้วยว่าคือ 1.การส่งข้อมูล ปัญหาเกิดจากสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่อาจจะไม่ค่อยสะดวกเท่าที่ควร ตัวอย่างบางคนส่งข้อมูลมาแล้ว แต่ตนเองที่เป็นแอดมินของโรงเรียนไม่ได้รับข้อมูล จึงต้องให้กลับไปทำข้อมูลใหม่ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก
 
2.การลากพิกัด GPS คุณครูหลายคนมีปัญหากับระบบ GPS เยอะมาก คุณครูบางคนลงพื้นที่แต่ไม่ได้ลาก ตำแหน่ง GPS  และบางคนถ่ายรูปเสร็จอะไรเสร็จตรงนั้นแต่ไม่ได้กดส่งข้อมูล แต่กลับมาส่งที่โรงเรียน พอเป็นอย่างนั้นก็กลายเป็นว่าพิกัดบ้านของเด็กอยู่ที่โรงเรียนหมดเลย
 
3.เราไปที่บ้านเด็กแล้วผู้ปกครองเขาไม่อยู่เพราะต้องทำงานกลับเย็น อาจจะเป็นรับจ้างรายวัน หรือพอนัดแล้วก็มีภารกิจเร่งด่วน ส่วนครูเองก็ไปได้แค่ช่วงเย็น เนื่องจากต้องทำหน้าที่สอนหนังสือ บ้านเด็กบางคนก็อยู่ไกลมาก เช่น อยู่ในดงอ้อย ดงมัน ซึ่งขับรถลำบาก
 
หลังจากมาใช้แอพพลิเคชั่นนี้ คิดว่าประสบความสำเร็จดี ในภาพรวมนั้นถือว่าโอเค เพราะว่ามีครูที่เป็นวัยรุ่นเยอะ เวลาสั่งงานก็จะเป็นมืออาชีพ เป็นขั้นตอน เรื่องของเทคโนโลยีก็ถือว่าโอเค เหลือแต่เพียงอินเตอร์เน็ตที่อาจจะยังไม่พร้อมเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ต้องเปิดอินเตอร์เน็ตของตัวเองใช้ บางคนใช้โทรศัพท์รุ่นที่ไม่สามารถรองรับตัวแอพพลิเคชันดังกล่าวได้ก็ต้องพยายามปรับตัว ในเรื่องของการประสานงาน ส่วนมากทางเขตพื้นที่กาญจนบุรีนั้น คนที่ดูแลระบบจะมี  Line ถ้าคนไหนมีปัญหาก็จะมีการแชทคุยกัน 1-1 และกลุ่มใน Facebook คอยประสานงานกัน
 
ครูสุมาลี กล่าวทิ้งท้ายว่า ระบบดังกล่าวถือว่าโอเคแม้ว่าเพิ่งเริ่มต้นและมีหลายอย่างต้องปรุงปรุง ปรับตัว อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ยกระดับไปถึงมหาวิทยาลัยด้วยตนก็เห็นด้วยเนื่องจากเด็กมหาวิทยาลัยบางส่วนมาจากต่างจังหวัด ต้องมีภาระและค่าใช้จ่าย และบางคนต้องทำงานหารายได้เสริม
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายชนเผ่าฯ ร้อง 'ประยุทธ์-กสม' ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง 'ชัยภูมิ ป่าแส' ถูกวิสามัญฯ

Posted: 21 Mar 2017 10:39 AM PDT

เครือข่ายชนเผ่าฯ และเครือข่าย 31 องค์กร ประณาม เหตุวิสามัญฯ  'ชัยภูมิ ป่าแส' ร้อง 'ประยุทธ์-กสม' ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง พร้อมเข้ากทม. ร้องคืนความเป็นธรรม 'แอมเนสตี้-ฮิวแมนไรท์วอทช์' จี้ทางการไทยสอบอย่างเป็นอิสระ ขณะที่ 'ประยุทธ์' สั่งสอบความชัดเจนตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงอีกครั้ง

21 มี.ค.2560 สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารกระทำการวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ อายุ 17 ปี และจับกุมพงศนัย แสงตะหล้า อายุ 19 ปี คนขับรถที่เดินทางมาด้วยกัน หลังจากมีการตรวจค้นรถที่ด่านตรวจบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา

ล่าสุดวันนี้ (21 มี.ค.60) ภาคีองค์กรและเครือข่าย 31 องค์กร ร่วมลงนามแถลงการณ์ท่าทีและข้อเรียกร้องต่อเหตุการณ์ดังกล่าว 3 ประเด็นคือ 1.ประณามการกระทำที่เจ้าหน้าที่ทหารที่ได้วิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ถือเป็นการกระทำโหดร้ายป่าเถื่อนและไร้มนุษยธรรม 2.ขอเรียกร้องต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี ชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรมในครั้งนี้ โดยเร่งด่วน  และ 3.ขอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนมีมาตรการและกลไกในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิตและญาติผู้ตายและเพื่อนผู้ตายที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในขณะนี้ อย่างเร่งด่วน 

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) ร่วมกับภาคีองค์กรและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ระบุด้วยว่า จะได้ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการตรวจสอบตามข้อเรียกร้องข้างต้น และยินดีสนับสนุนการปฏิบัติการที่ดีของบุคคลและหน่วยงานทุกภาคส่วน

สำหรับ 31 ภาคีองค์กรและเครือข่ายที่ร่วมลงนามแถลงการณ์ นอกจาก คชท. แล้ว ยังประกอบด้วย  เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง เครือข่ายสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน (Sangsan) เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ (CSOs for Gender Equality) Rainbow dream group เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ สภาชาติพันธุ์ชาวเล ชนเผ่ามอแกน มอแกลน อุรักลาโว้ย เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ แม่ฮ่องสอน เครือข่ายไทใหญ่  ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์ โครงการพัฒนาพื้นที่สูง (UHDP) มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (ส่งเสริมโอกาสผู้หญิง) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม ศูนย์เพื่อนหญิงอำนาจเจริญ สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย  เครือข่ายปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเผ่าพื้นเมือง  มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ เครือข่ายผู้หญิงใจอาสาเมือง ชมรมอาสาสมัครกฎหมายเพื่อผู้หญิง มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก  เครือข่ายพิทักษ์สิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์  มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ เครือข่ายการทางานด้านเด็กและเยาวชน 58 องค์กร สมาพันธ์เพื่อช่วยเหลือชาวมอญผู้ประสบภัยตามแนวชายแดน เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี มูลนิธิภูมิปญญาชนเผาพื้นเมืองบนพื้นที่สูง เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิพัฒนาความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (AIPP Foundation)

เข้ากทม. ร้อง 'ประยุทธ์' คืนความเป็นธรรม

นอกจากนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 09.00น. วันนี้(21 มี.ค.60) ที่สำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมือง แห่งประเทศไทย (สชพ.) ภาคีองค์กรเครือข่าย ชนเผ่า 33 เครือข่าย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จำนวนกว่า 30 คน ได้เดินทางมาร่วมกันอ่านแถลงการณ์ 3 ข้อ กรณี ชัยภูมิ ถูกวิสามัญดังกล่าว ต่อสื่อมวลชน ที่ให้ความสนใจทั้งจากในไทยและสำนักต่างประเทศ อาทิ ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว CNN. ก่อนที่ตัวแทนส่วนหนึ่งจะได้เดินทางต่อไปยัง กรุงเทพฯ เพื่อแถลงการณ์และยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อนายกฯและรัฐบาล รวมไปถึง คสช.ให้พิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวเพื่อความเป็นธรรม

แอมเนสตี้-ฮิวแมนไรท์วอทช์ จี้สอบอย่างเป็นอิสระ

ขณะที่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และฮิวแมนไรท์วอทช์ ออกแถลงการณ์ เรียกร้องทางการไทยให้ดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นอิสระและเห็นผลต่อกรณีการสังหาร ชัยภูมิ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และทางการไทยต้องรับประกันว่าผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบจะต้องถูกนำตัวเข้ารับการไต่สวน หากพบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ อันเป็นเหตุให้เขาเสียชีวิต โดยผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดจะต้องถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในศาลพลเรือนซึ่งได้มาตรฐานระหว่างประเทศและเป็นธรรม

ประยุทธ์ สั่งสอบความชัดเจนตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงอีกครั้ง

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีเจ้าหน้าที่ทหารทำการวิสามัญ ชัยภูมิ ว่า ได้มีการตอนสอบขั้นต้นไปแล้วว่าเหตุเกิดเพราะอะไร เบื้องต้นเจ้าหน้าที่รายงานว่า ได้ทำการเรียกตรวจค้นรถยนต์ที่ชัยภูมิโดยสารมา พบยาบ้าจำนวนหนึ่ง และชัยภูมิได้วิ่งหนีออกไปจากรถ ก่อนจะพยายามปาระเบิดขว้างใส่เจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้ จนทำให้ชัยภูมิ เสียชีวิต ทั้งนี้ ได้มีการสั่งการให้ตรวจสอบความชัดเจนตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอีกครั้งหนึ่งแล้ว ส่วนประเด็นที่สังคมมองว่าชัยภูมิ ถูกวิสามัญ เพราะเป็นนักกิจกรรมชาติพันธ์นั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่ได้คิดแบบนี้ 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.ยุติธรรม จ่อโอนคดี 'โกตี๋' เข้าดีเอสไอ เหตุเกี่ยวก่อการร้าย พบ M16 ที่หายปี 53

Posted: 21 Mar 2017 09:35 AM PDT

ประยุทธ์ ยันประสานลาวตามตัว 'โกตี๋' มาโดยตลอด ขอสื่ออย่าประโคมข่าวการลอบทำร้ายผู้นำ-จับอาวุธสงคราม หวั่นกระทบความเชื่อมั่นการลงทุน ด้านกต.โยนฝ่ายความมั่นคงขอตัวง่ายกว่า 

21 มี.ค.2560 รายงานข่าวระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าการตรวจยึดอาวุธสงครามจำนวนมากจากบ้านพักของเครือข่าย วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ (โกตี๋) แกนนำเสื้อแดงปทุมธานี ภายในบริษัท ไทยแม็กซ์กรุ๊ป จำกัด จ.ปทุมธานี และบ้านปูน 2 ชั้น ซึ่งขณะนี้หลบหนีอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า เป็นเรื่องของการติดตามอยู่แล้ว ซึ่งได้มีการประสานความร่วมมือในระดับรัฐบาล และฝ่ายความมั่นคงของทั้ง 2 ประเทศมาโดยตลอด ความร่วมมือต่าง ๆ ดีขึ้น ส่วนจะได้ตัวโกตี๋หรือไม่ ต้องใช้เวลาต่อไป ส่วนข่าวการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีนั้น มีการระวังตัวอยู่แล้วเป็นปกติ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี ก็มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว 

พล.อ.ประยุทธ์  กล่าวแสดงความเป็นห่วงต่อการนำเสนอข่าว กรณีเรื่องการลอบทำร้ายผู้นำ รวมถึงการจับอาวุธสงครามว่า ขอให้สื่ออย่าประโคมข่าวมากนัก เพราะจะส่งผลกับความเชื่อของนักลงทุนต่างประเทศ และผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย 

เตรียมโอนคดีให้ดีเอสไอ

สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า เบื้องต้นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังพิจารณาจะส่งคดีของโกตี๋มาให้ดีเอสไอ เนื่องจากมีอาวุธเอ็ม 16 หนึ่งกระบอกซึ่งเป็นปืนที่หายไปเมื่อช่วงการชุมนุมทางการเมืองปี 2553 คดีมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการก่อการร้าย จึงเตรียมโอนอย่างเป็นทางการให้กับดีเอสไอ 

สำหรับการตรวจค้นอาวุธที่ผ่านมา สุวพันธุ์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับและเป็นผลจากการสืบสวนที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อตรวจค้นพบอาวุธ พบหลักฐานที่อาจจะพัวพันกับคดีพิเศษ จึงเห็นว่าควรโอนไปให้ดีเอสไอดำเนินการ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับผลการสอบสวนที่กำลังดำเนินการ

"ตอนนี้รอหนังสืออย่างเป็นทางการ ส่วนการประสานกับทางการลาวเพื่อขอตัวโกตี๋มาดำเนินคดี ต้องถามรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง"  สุวพันธุ์ กล่าว

กต.โยนฝ่ายความมั่นคงขอตัวง่ายกว่า 

ขณะที่ ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ กล่าวภายหลังการประชุมร่วม ครม. ถึงกรณีนี้ด้วยว่า ที่ประชุม ครม.ไม่ได้สั่งการ หรือกำชับอะไรต่อกระทรวงการต่างประเทศ ในการประสานงานกับผู้ที่หลบหนีคดีในต่างประเทศ รวมถึงกรณี วุฒิพงศ์

ต่อกรณีคำถามจะมีการประสานงานกับทางการลาวเพื่อส่งตัววุฒิพงศ์หรือไม่ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ในเรื่องนี้มีการขอตัวในระดับความมั่นคง ไม่ได้ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ เราได้รับเพียงข้อมูล ถ้าจะขอตัวผ่านกระทรวงจะมีขั้นตอนตามกฎหมายที่มาก โดยเรื่องนี้ทางฝ่ายความมั่นคงเขาคุยกันอยู่แล้ว

 

ที่มา สำนักข่าวไทย, บ้านเมือง และเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดผลชันสูตรปากเปล่าวิสามัญฯหนุ่มลาหู่-คนขับปฏิเสธเอี่ยวยา-ญาติไม่มีเงินประกัน 2 ล้าน

Posted: 21 Mar 2017 08:55 AM PDT

ความคืบหน้ากรณีชัยภูมิ ป่าแส ใบรับรองการตายระบุถูกยิงอก ผลชันสูตรปากเปล่าระบุถูกยิงทะลุแขน ทนายเผยยังต้องรอผลชันสูตรทางการอีก 1 เดือน ด้านเพื่อนผู้รอดชีวิตที่เป็นคนขับรถ โดนข้อหายาเสพติด ฝากขังคุกเชียงใหม่ ศาลเรียกเงินประกัน 2 ล้าน ญาติไม่มีเงิน ไทยพีบีเอสสัมภาษณ์พยานแวดล้อมอ้างผู้ตายถูกลากมาซ้อม พอวิ่งหนีจึงถูกยิง ตำรวจเล็งสอบที่มารถยนต์-เส้นทางการเงิน "ชัยภูมิ"

21 มี.ค.2560 สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารกระทำการวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ อายุ 17 ปี และจับกุมพงศนัย แสงตะหล้า อายุ 19 ปี คนขับรถที่เดินทางมาด้วยกัน หลังจากมีการตรวจค้นรถที่ด่านตรวจบ้านรินหลวง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา

ผลชันสูตรปากเปล่าไม่เหมือนเอกสารการตาย

ลักษณะของด่านตรวจรินหลวง เป็นด่านตรวจยาเสพติดของทหาร ตั้งอยู่กลางสามแยก มีการตั้งบังเกอร์ มีสิ่งปลูกสร้างถาวร และมีการตั้งเครื่องกีดขวางทุกทิศทาง โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่คนในชุมชนบ้านกองผักปิ้ง ใช้เดินทางเข้าออกเป็นประจำ (ที่มา: แฟ้มภาพ/Googlmaps)

ประชาไทสัมภาษณ์ สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความจากศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ซึ่งให้คำปรึกษากับกลุ่มที่เฝ้าติดตามเหตุการณ์ สุมิตรชัยให้ข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพชัยภูมิ และสถานะของพงศนัย ระบุว่า แพทย์บอกผลการชันสูตรพลิกศพกับญาติชัยภูมิว่า กระสุนเข้าที่ต้นแขนซ้ายและทะลุเข้าไป มีลูกปืนบางส่วนแตกในลำตัวซึ่งแพทย์ได้ผ่าออกมาแล้ว แต่ไม่สามารถกำหนดระยะยิงได้ เนื่องจากเป็นการยิงจากปืนความเร็วสูงและแพทย์ไม่มีความรู้ด้านนี้ ข้อมูลส่วนนี้จะได้จากแพทย์ที่ลงพื้นที่ชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ ส่วนบันทึกผลการชันสูตรศพอย่างเป็นทางการยังต้องใช้เวลารวบรวมอีกประมาณ 1 เดือน

สุมิตรชัยกล่าวด้วยว่า สิ่งของที่พบในที่เกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืน ระเบิด พนักงานสอบสวนได้ส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบต่อไปแล้ว

สภาพศพในที่เกิดเหตุเผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์ TNN

หนังสือรับรองการตายที่เผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์ TNN ระบุสาเหตุการตายเบื้องต้นว่า "บาดแผลกระสุนปืนลูกโดดทำลายอวัยวะในช่องอก"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำนักข่าว TNN เปิดเผยภาพเอกสารหนังสือรับรองการตาย จากโรงพยาบาลนครพิงค์ ลงวันที่ 18 มี.ค.ลงนามรับรองโดย พญ.ปุยเมฆ เกษมถาวรศิลป์ ระบุถึงสาเหตุการตายของชัยภูมิว่า "เสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนลูกโดดทำลายอวัยวะในช่องอก (GUN SHOT WOUND TO THE CHEST)" ทั้งนี้ ท้ายหนังสือรับรองการตายระบุด้วยว่า สาเหตุการตายที่ระบุในหนังสือรับรองการตายฉบับนี้ถูกระบุไว้ตามกฎเกณฑ์ของบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลทะเบียนราษฎร์ การทำสถิติการตายของประเทศ และใช้ในด้านการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขเท่านั้น ดังนั้นจึงอาจมีข้อมูลที่แตกต่างจากข้อมูลในใบรับรองทางกฎหมายชนิดอื่น (เช่น ใบชันสูตรพลิกศพ) ได้

คนขับรถถูกฝากขังเรือนจำเชียงใหม่ ญาติไม่มีเงินประกัน 2 ล้าน

กรณีของ พงศนัย ผู้ขับรถ Honda Jazz ที่ชัยภูมินั่งไปด้วย ทนายความจากศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่นระบุว่า พงศนัยถูกกล่าวหาในคดียาเสพติดร่วมกับผู้เสียชีวิต และถูกนำไปฝากขังที่เรือนจำ จ.เชียงใหม่ ในเบื้องต้นพงศนัยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสอบสวนพยานเพิ่มเติม โดยได้เรียกมารดาของผู้เสียชีวิตมาให้ปากคำ และกำลังจะเรียกเจ้าของรถตามชื่อที่ระบุไว้ในทะเบียนมาสอบสวน

ญาติของพงศนัยระบุว่า ศาลเรียกหลักทรัพย์ประกันตัวพงศนัยเป็นจำนวน 2 ล้านบาท แต่ทางญาติไม่มีหลักทรัพย์เพียงพอจะยื่นประกันตัว

ล่าสุด ได้มีพิธีการฝังศพชัยภูมิ ตามประเพณีท้องถิ่นที่สุสานของชุมชนแล้วเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ด้านทหารผู้กระทำการวิสามัญฆาตกรรม เว็บไซต์ PPTV รายงานว่า เจ้าหน้าที่ทหารคนดังกล่าวได้เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้วตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. และถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา โดยพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปสู้คดีในชั้นศาล

คาดประเด็นร้อน 1-2 เดือน เผยผลชันสูตรทางการ เปิดไต่สวนการตาย

สำหรับขั้นตอนการชันสูตรพลิกศพนั้น สุมิตรชัย อธิบายว่า ศพของชัยภูมิถูกส่งไปที่ รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ทีมชันสูตร ได้แก่ อัยการ แพทย์ พนักงานสอบสวนได้ชันสูตรพลิกศพแล้ว แต่อัยการยังไม่แถลงผลพิสูจน์อย่างเป็นทางการ บันทึกการชันสูตรศพยังต้องใช้เวลารวบรวมอีกประมาณ 1 เดือนก่อนที่จะส่งให้กับพนักงานสอบสวนในรูปแบบของรายงาน

สุมิตรชัย กล่าวต่อว่า หลังอัยการสรุปรายงานชันสูตรพลิกศพจากทุกภาคส่วนแล้วจึงยื่นคำร้องขอไต่สวนการชันสูตร (ไต่สวนการตาย) ต่อศาลตามมาตรา 150 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเขาไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลากี่เดือนเพราะขึ้นอยู่กับรายงานของแต่ละที่ว่าจะส่งกลับมาเมื่อไร คาดว่าคงใช้เวลาเพียง 1-2 เดือนเนื่องจากกรณีนี้เป็นที่พูดถึงเป็นวงกว้าง ในขณะที่ปรกติจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ทนายความจากศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น อธิบายถึงกระบวนการพิจารณาในชั้นการไต่สวนการตายว่า อัยการจะยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวนและเสนอหลักฐานตอนชันสูตรพลิกศพ รวมไปถึงรายงานการชันสูตรจากทุกส่วนงานที่รับผิดชอบ จะมีการนำเสนอข้อเท็จจริง ข้อมูลหลักฐานจากฝั่งเจ้าหน้าที่และญาติผู้เสียชีวิต เมื่อศาลไต่สวนแล้วได้ข้อยุติว่าสาเหตุเสียชีวิตมาจากใคร พฤติการณ์การเสียชีวิตเป็นอย่างไร ศาลจะส่งสำนวนและคำสั่งศาลให้อัยการ ถ้าศาลตัดสินว่าเกิดจากการกระทำเกินกว่าเหตุ หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายให้อำนาจไว้ หรือไม่เป็นไปเพื่อป้องกันตัวตามที่เจ้าหน้าที่อ้าง ก็จะกลายเป็นคดีฆ่าคนตายขึ้นมา ซึ่งเป็นหน้าที่ของอัยการที่จะดำเนินการตัดสินใจสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องต่อไป

ไทยพีบีเอสสัมภาษณ์พยานแวดล้อมอ้างผู้ตายถูกลากมาซ้อม พอวิ่งหนีจึงถูกยิง

ขณะที่เมื่อคืนวันที่ 21 มี.ค. ในรายการข่าวภาคค่ำไทยพีบีเอส ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยพีบีเอส มีการลงพื้นที่สำรวจจุดตรวจถาวรบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพบว่ามีสภาพค่อนข้างโล่ง อยู่ใกล้จุดตัดทางแยก ห่างจากจุดตรวจมีร้านค้า โรงเรียน ลานกีฬา ชุมชนและป้อมจุดตรวจเก่า

โดยไทยพีบีเอสยังสัมภาษณ์พยานรายหนึ่ง ซึ่งไทยพีบีเอสไม่ระบุชื่อ โดยให้ข้อมูลที่ต่างจากเจ้าหน้าที่ว่า ในช่วงที่เกิดเหตุชาวบ้านเห็นเยอะแยะ ตอนที่ชาวบ้านจะเข้าไปใกล้ๆ เจ้าหน้าที่บอกว่า "ไม่ต้องเข้าใกล้ มันไม่มีอะไร มันยังไม่ตาย"

คำให้การพยานแวดล้อมสถานที่เกิดเหตุยืนยันว่าได้ยินเสียงปืน 3 นัด โดย 2 นัดแรกเกิดขึ้นก่อนที่นายชัยภูมิจะวิ่งไปในที่จุดที่ถูกยิงเสียชีวิต ต่อมาได้ยินเสียงปืนอีก 1 นัด และเห็นนายชัยภูมิล้มลง

"ชาวบ้านเห็นเยอะแยะ อยู่ในรถลากเขาออกมาซ้อม เหยียบหน้าเขาไว้ แล้วยิงขู่สองนัด พอหลุดจากที่ทหารซ้อม พอหลุดไป ก็วิ่งหนี พอวิ่งหนี ทหารก็ไล่ยิง แล้วไม่ให้ชาวบ้านเข้าใกล้ด้วย" พยานแวดล้อมรายหนึ่งให้ข้อมูล

 

ตั้งข้อสังเกตด่านไม่มีกล้องวงจรปิด ตำรวจสอบที่มารถยนต์-เส้นทางการเงิน "ชัยภูมิ"

ไทยพีบีเอสยังอ้างถึงคำให้การพยานแวดล้อมอ้างถึงกล้องวงจรปิดที่ด่านจุดตรวจว่า ปกติด่านตรวจทุกด่านต้องมีกล้องวงจรปิดเพื่อบันทึกรถที่สัญจรผ่านด่านตรวจเช่นเดียวกับด่านอื่นๆ อย่างน้อย 2 ตัว

โดยพยานแวดล้อมให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสว่า ในช่วงที่มีการตรวจค้น ชาวบ้านก็เห็นไกลๆ ไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แต่เห็นว่าเขาเปิดกระโปรงรถไว้ไม่ได้เข้าใกล้ นอกจากนี้ระบุว่าชาวบ้านไม่เห็นว่ามีการต่อสู้กัน แต่เห็นว่ามีการลากคนออกจากรถมาซ้อม

ตำรวจยังสอบสวนที่มาของรถยนต์ทะเบียน ขก 3774 ว่าเป็นทะเบียนรถไม่ตรงกับชื่อเยาวชนทั้ง 2 คน มีข้อมูลเบื้องต้นว่านายชัยภูมิใช้รถยนต์เกือบปี ซื้อขายรถไม่ได้แบบโอนกรรมสิทธิ์ โดย พ.ต.อ.ชลเทพ ใหม่ไชย ผู้กำกับการ สภ.นาหวาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสว่าผู้ตายก่อนตายได้โทรศัพท์กับผู้ใด การเงินการทองในบัญชีได้รับโอนมาจากที่ไหน มีขบวนการไหนมาหลอกใช้ไหม เด็กที่ว่าเป็นเด็กดีทำไมมียาอยู่ในรถ

ส่วนผู้ยิงที่เป็นเจ้าหน้าที่ เราเรียกมาสอบปากคำ ว่ามีเหตุผลอะไรต้องยิง เขาบอกว่าเป็นการยิงป้องกันตัว ถ้าเขาไม่ยิงจะถูกระเบิด อันนี้เป็นคำให้การของเขา ตำรวจก็จะหาพยานแวดล้อมมาสอบ ว่าน้ำหนักที่ให้การเชื่อถือได้ขนาดไหน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เทเรซา เมย์ ประกาศจะใช้ 'มาตรา 50' ให้เริ่มกระบวนการ 'เบร็กซิท'

Posted: 21 Mar 2017 07:17 AM PDT

นายกฯ สหราชอาณาจักรประกาศจะใช้กฎหมายมาตรา 50 ภายในวันที่ 29 มี.ค. นี้เพื่อให้มีการหารือการออกจากสมาชิกภาพสหภาพยุโรป ท่ามกลางท่าทีไม่เป็นมิตรจากผู้นำสกอตแลนด์ที่เรียกร้องให้มีการลงประชามติแยกตัวเองออกจากสหราชอาณาจักร และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากพรรคการเมืองอื่นว่าพยายามเร่งกระบวนการเกินไป

21 มี.ค. 2560 หลังจากการทำประชามติ 'เบร็กซิท' ที่ผลออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้สหราชอาณาจักรออกจากสมาชิกภาพสหภาพยุโรป (อียู) ภาคส่วนทางการเมืองต่างๆ ของสหราชอาณาจักรก็ผ่านกระบวนการพิจารณาหลายขั้นตอนจนกระทั่งเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศว่าจะใช้กฎหมายมาตรา 50 ภายในวันที่ 29 มี.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นกลไกอย่างเป็นทางการในการเริ่มหารือกับสหภาพยุโรปเรื่องที่สหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกภาพ

ทิม แบร์โรว์ ผู้แทนถาวรของสหราชอาณาจักรประจำสหภาพยุโรปแจ้งเตือนสหภาพยุโรปในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา (20 มี.ค.) ว่าจะมีจดหมายประกาศใช้มาตรา 50 ในวันดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มต้นกระบวนการให้สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปภายในวันที่ 29 มี.ค. 2562 เมย์ประกาศเรื่องนี้ในขณะที่เธอเดินทางเยือนแคว้นเวลส์และมีกำหนดการจะเยือนไอร์แลนด์เหนือและสกอตแลนด์ก่อนการแจ้งด้วยจดหมายอย่างเป็นทางการ

เมย์กล่าวว่าเธอจะดำเนินการให้มีการเจรจาข้อตกลงเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสหราชอาณาจักรและผู้คนทุกภาคของสหราชอาณาจักรมากที่สุด โดยที่เธอมีเป้าหมายของตัวเองเช่นการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี และการทำงานในประเด็นต่างๆ ร่วมกับสหภาพยุโรปต่อไป

การประกาศดังกล่าวออกมาหลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนิโคลา สเตอร์เจียน มุขมนตรีประจำสกอตแลนด์ประกาศจะให้มีการลงประชามติแยกตัวสกอตแลนด์เป็นอิสระในรอบที่สองหลังจากที่การเจรจาเบร็กซิทขาดความคืบหน้า รวมถึงเปิดเผยว่าเมย์ปฏิเสธไม่ยอมหารือเรื่องการให้สกอตแลนด์ยังคงเข้าถึงตลาดการค้าแบบตลาดเดียว (Single Market) ของอียู และมีแนวโน้มจะใช้อำนาจจำกัดสกอตแลนด์มากขึ้นหลังออกจากสมาชิกภาพอียูแล้ว โดยสเตอร์เจียนกล่าวว่าอาจจะมีการลงประชามติในเรื่องนี้ภายในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2561 และช่วงฤดูใบไม้ผลิ 2562

เดวิด ดาวิส เลขาธิการกิจการเบร็กซิทกล่าวยืนยันว่าจะมีการประกาศใช้มาตรา 50 ในสัปดาห์หน้าอย่างแน่นอน ดาวิสบอกว่ากระบวนการนี้จะเป็นขั้นตอนการ "เจรจาหารือที่สำคัญที่สุดของยุคสมัย" สำหรับสหราชอาณาจักร และทางการสหราชอาณาจักรจะพยายามหารือให้เกิดการทำงานร่วมกันได้กับทุกชาติและเกิดความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างสหราชอาณาจักรกับ "เพื่อน" และ "พันธมิตร" ของพวกเขาในสหภาพยุโรป

ทางการสหราชอาณาจักรเปิดเผยอีกว่าพวกเขายังไม่มีแผนการจะประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเร็วขึ้นหลังจากประกาศใช้กฎหมายมาตรา 50 โดยเรื่องนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะเลื่อนการเลือกตั้งเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในวันที่ 4 พ.ค. นี้หรือไม่ โดยที่ในการเจรจาหารือเบร็กซิทช่วงแรกอาจจะมีความคืบหน้าน้อยมากเนื่องจากเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเลือกตั้งฝรั่งเศสด้วย

เจเรมี คอร์บิน ผู้นำพรรคแรงงานของสหราชชอาณาจักรกล่าวว่า พรรคแรงงานยอมรับอาณัติของนายกรัฐมนตรีในการเริ่มกระบวนการออกจากสหภาพยุโรป และพวกเขาเคารพต่อเสียงของประชาชน แต่ก็วิจารณ์กระบวนการก่อนหน้านี้ว่ารัฐบาลล้มเหลวในการสร้างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับรูปแบบการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร

ทิม ฟาร์รอน ผู้นำพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยวิจารณ์เมย์ในเรื่องกระบวนการเบร็กซิทเช่นกันว่าเป็นการ "เร่งกระบวนการโดยไม่มีแผนการและไม่มีเนื้อหาอะไรเลย" ในช่วงที่เมย์กำลังไปเยือนเขตปกครองต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเป็นเอกภาพของสหราชอาณาจักร แต่ฟาร์รอนมองว่าสิ่งที่เมย์ทำจะยิ่งสร้างความแตกแยกและความขมขื่นของภาคส่วนอื่นๆ ในชาติ

"คุณไม่สามารถเร่งเบร็กซิทแล้วจะมีประเทศที่เข้มแข็งเป็นเอกภาพได้" ฟาร์รอนวิจารณ์เมย์

ที่บรัสเซลส์ซึ่งเป็นศูนย์กลางสหภาพยุโรปและเมืองหลวงของเบลเยียม นายกรัฐมนตรี ชาร์ลส์ มิเชล แสดงความยินดีที่สหราชอาณาจักรประกาศวันเจรจาหารือเบร็กซิทชัดเจนโดยมองว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน
 

เรียบเรียงจาก

Theresa May to trigger article 50 on 29 March, The Guardian, 20-03-2017
https://www.theguardian.com/politics/2017/mar/20/theresa-may-to-trigger-article-50-on-29-march

Scottish independence: Nicola Sturgeon fires starting gun on referendum, The Guardian, 13-03-2017
https://www.theguardian.com/politics/2017/mar/13/nicola-sturgeon-fires-starting-gun-on-second-scottish-independence-referendum

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สืบพยานนัดแรก นักกิจกรรม-นักข่าวจำเลยคดีประชามติราชบุรี ศาลสั่งห้ามจดบันทึก

Posted: 21 Mar 2017 06:48 AM PDT

สืบพยานนัดแรกวันที่ 21-24 มี.ค.คดีประชามติบ้านโป่ง 4 นักกิจกรรม 1 นักข่าวขึ้นศาล ศาลสั่งไม่ให้ผู้สังเกตการณ์จดบันทึก-ห้ามรายงานคำเบิกความ วันนี้ต้องสืบพยานโจทก์ 4 ปากสืบได้เพียง 1 

ภาพจากแฟ้มภาพประชาไท
 
21 มี.ค. 2560 ที่ศาลจังหวัดราชบุรี มีการสืบพยานโจทก์ในคดีหมายเลขดำที่ 2418/2559 ที่พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรี เป็นโจทก์ ฟ้อง ปกรณ์ อารีกุล กับพวกรวม 5 คน ในข้อหา ร่วมกันดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ ในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะปลุกระดม โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง และขัดคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้พิมพ์ลายนิ้วมือ 
 
ก่อนการพิจารณาคดี ศาลออกข้อกำหนดไม่ให้ผู้สังเกตการณ์บันทึกการสืบพยานและห้ามรายงานคำเบิกความระหว่างสืบพยาน
 
จันจิรา จันทร์แผ้ว หนึ่งในทนายจำเลย ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นการสืบพยานโจทก์ คือ พ.ต.ท.เนรมิต งามขำ กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 โดยเป็นการสืบพยานในประเด็นเกี่ยวกับสติ๊กเกอร์โหวตโน โดยพยานยืนยันว่า พ.ร.บ.ประชามติ ห้ามรณรงค์ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง สำหรับการสืบพยานปากนี้ยังไม่จบ ต้องสืบต่อในวันพรุ่งนี้ 
 
จันจิรา ระบุว่า เดิมวันนี้นัดสืบพยานโจทก์ 4 ปาก และพรุ่งนี้กำหนดสืบพยานจำเลย คงต้องเลื่อนไปกำหนดนัดใหม่ ส่วนอีก 3 นัดที่เหลือน่าจะสืบพยานโจทก์ได้เสร็จสิ้น
 
สำหรับจำเลยทั้งห้าคนประกอบด้วย นักกิจกรรม 4 คน และนักข่าว 1 คน ได้แก่ ปกรณ์ อารีกุล, อนุชา รุ่งมรกต, อนันต์ โลเกตุ สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวประชาไท เหตุเกิดสืบเนื่องจากนักกิจกรรม 4 คนเดินทางเดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้าน 23 คนที่ถูกเรียกรายงานตัวฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. จากกรณีการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ส่วนผู้สื่อข่าวได้ติดรถไปทำข่าวดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นตำรวจได้ตรวจค้นรถที่ทั้งหมดโดยสารมาและพบเอกสารความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญ และรณรงค์โหวตโนหลายรายการในรถดังกล่าวจึงจับกุมและแจ้งข้อกล่าวหาโดยระบุว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะแจกจ่ายเอกสารดังกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตามในคำสั่งฟ้องของอัยการระบุถึงสติ๊กเกอร์โหวตโนเพียงรายการเดียว โดยเขียนว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันกระทำความผิดโดยการแจกจ่ายสติ๊กเกอร์ข้อความ "7 สิงหา Vote No ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" ซึ่งเป็นการเผยแพร่ข้อความในช่องทางอื่นใดที่ผิดจากข้อเท็จจริง มีลักษณะปลุกระดม โดยมุ่งให้ไม่ไปใช้สิทธิ ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของคณะบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ในการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย มาตรา 61 วรรคสอง พ.ร.บ.ประชามติ โดยอัยการขอให้ลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปีและริบของกลางทั้งหมด
 
ส่วนในบันทึกการจับกุมของตำรวจก่อนหน้านี้ระบุถึงของกลางที่ตรวจพบบนรถว่า พบของกลาง คือ แผ่นไวนิลข้อความ "นายกไทยใครๆ ก็โดนล้อ" 1  แผ่น ไมโครโฟน ลำโพง ที่่คั่นหนังสือ "โหวตโน", จุลสาร การออกเสียง จำนวน 66 ฉบับ, แผ่นเอกสาร ปล่อย 7 นักโทษประชามติโดยไม่มีเงื่อนไข 21 แผ่น, แผ่นเอกสาร ความเห็นแย้ง 2 ฉบับ, เอกสารแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ ฉบับลงประชามติ 9 ฉบับ, เอกสารจะใช้สิทธิลงประชามตินอกเขตจังหวัดทำอย่างไร 70 ฉบับ และสติ๊กเกอร์โหวตโนจำนวนมาก
 
 
 
มาตรา 61  พ.ร.บ.ประชามติ ระบุว่า ผู้ใดกระทําการดังต่อไปนี้ 
 
(1) ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

(2) ให้ เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคํานวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง 

(3) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สําคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียงหรือวิธีการ ลงคะแนนออกเสียง 

(4) เปิด ทําลาย ทําให้เสียหาย ทําให้เปลี่ยนสภาพ ทําให้สูญหาย ทําให้ไร้ประโยชน์ นําไป หรือขัดขวางการส่งหีบบัตรออกเสียงหรือบัตรออกเสียง เว้นแต่เป็นการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ โดยชอบด้วยกฎหมาย

(5) เล่นหรือจัดให้มีการเล่นการพนันขันต่อใดๆ อันมีผลเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียง ไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง 

(6) เรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อจะไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอยางใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง 

(7) ขาย จําหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิด ในเขตออกเสียงระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อนวันออกเสียงจนสิ้นสุดวันออกเสียง
 
ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
 
ผู้ใดกระทําการตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับ ไม่เกินสองแสนบาท ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดไม่เกินห้าปีด้วยก็ได้ ในกรณีการกระทําความผิดตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เป็นการกระทําความผิดของ คณะบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนดสิบปี
 
ผู้ใดกระทําการตาม (7) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทําการตาม (6) เป็นผู้รับหรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด สําหรับตนเองหรือผู้อื่น ถ้าได้แจ้งถึงการกระทําดังกล่าวต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการ การเลือกตั้งมอบหมายก่อนหรือในวันออกเสียง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษและไม่ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ ชี้เรือดำน้ำโปรจีน เด็ดสุด ซื้อ 2 แถม 1 ถูก-คุณภาพใช้ได้ พร้อมบริการเสริมแน่น

Posted: 21 Mar 2017 06:01 AM PDT

พล.อ.ประยุทธ์ ระบุโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ จากจีน ราคาถูกที่สุดและคุณภาพใช้ได้ แล้วก็มีการบริการต่างๆ ไม่ว่าจะระบบอาวุธ ระบบการซ่อม ซื้อ 2 ลำ ให้ 3 ลำ

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

21 มี.ค.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ จากประเทศจีน จำนวน 3 ลำ ว่า เขาบอกแล้วไง เขาแถม ใช่เปล่าเรื่อดำน้ำใช่ไหม ที่เขาบอกว่าซื้อ 2 ลำ ให้ 3 ลำ ใช่ไหม มันประหยัดกว่า

"พวกเราต้องเข้าใจว่า อันแรก ทุกคนต้องเข้าใจในเหตุผลความจำเป็นในการที่ต้องมี อันที่หนึ่ง ถ้าเข้าใจตรงกันโอเค ต้องมี อันที่สอง คือ มีแล้วจะซื้อจากไหน เพราะเราผลิตเองไม่ได้ เราไม่มีเงินเพียงพอที่จะไปซื้อของแพงๆ  อันที่สาม คือ ไอ้ที่มันเป็นตัวเลือกนี่ ราคามันถูกกว่า แต่คุณสมบัติมันยังต่ำนี่รับได้ไหม ปลอดภัยไหม ซึ่งมันก็มีหลายอย่าง วันนี้กองทัพไทยก็ซื้อของแบบนี่ล่ะ เพราะเงินเรามีน้อยไง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ถ้าเปิดในเว็บไซต์ มันมีขายทุกอย่างทุกยี่ห้อ แล้วยี่ห้อที่ใช้แล้วดี นั่งแล้วดีปลอดภัย  ซึ่งความปลอดภัยมีเหมือนกัน เพียงแต่คุณภาพอาจจะเป็นประเทศที่มีชื่อเสียง เมื่อผลิตออกมาก็จะมีความเชื่อมั่นมากกว่า หรือแพงกว่า ดังนั้นเราต้องดูหลายอย่าง
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ราคาถูกที่สุดและคุณภาพใช้ได้ แล้วก็มีการบริการต่างๆ ไม่ว่าจะระบบอาวุธ ระบบการซ่อมการอะไรต่างๆ การช่วยกันสนับสนุนการก่อสร้างโรงเก็บเรือ มันเป็นข้อเสนอเพิ่มเติมขึ้นมา และโครงการนี้เป็นโครงการจีทูจี หรือ โครงการรัฐต่อรัฐ  ตนสอบถาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แล้ว ท่านก็บอกว่ายินดีให้ผู้ตรวจเงินแผนดิน (สตง.) เข้ามาตรวจสอบนะ จริงๆ แล้ว สตง. ตรวจสอบมาตลอด ไม่ใช่ไม่ตรวจสอบ การซื้ออาวุธของกองทัพนี่ตรวจ ตอนตนเป็น ผบ.ทบ.นั้น สตง.ก็เข้าไปตรวจ มีข้อสังเกตให้ทางกองทัพก็รับข้อสังเกตมาพร้อมชี้แจงตามข้อเท็จจริง เมื่อรับได้เขาก็ให้หน่วยงานดำเนินการต่อ ไม่ใช่ว่าเป็นรัฐบาลนี้แล้วไม่ตรวจสอบ เขาตรวจสอบทุกโครงการ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปรับเพดาน

Posted: 21 Mar 2017 03:54 AM PDT

21 มี.ค.2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอ  สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สำหรับ สาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ....ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยกเว้นทรัพย์สินจากการจัดเก็บภาษี ฐานภาษี อัตราภาษี การคำนวณภาษี การลดหรือยกเว้นภาษี โดยยกเลิก พ.ร.บ.โรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และ พ.ร.บ.กำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2529 และกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่  เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างของภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และช่วยกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

ซึ่ง ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม. ในวันนี้ว่า สาระสำคัญของร่างดังกล่าวนั้น ได้มีการอัตราเพดานที่ดินรกร้างจากเดิม 5% เป็นเพดานไม่เกิน 2% ของฐานภาษี และจัดเก็บเพิ่มขึ้น 0.5% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 5% 

ในส่วนของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 0.2% ของฐานภาษี ซึ่งต้องเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมนั้น โดยต้องเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด ด้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี ด้านที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากดังกล่าวนั้น ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 2% ของฐานภาษี 

ส่วนการคำนวณภาษีนั้น ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 ม.ค. ของปีภาษีนั้น ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณไม่เกิน 50 ล้านบาท 

ณัฐพร กล่าวด้วยว่า ยังได้ออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อเป็นช่องทางการขอลดหย่อนภาษีได้ 90% จากอัตราฐานภาษี กรณีที่มีบ้านพักอาศัยอยู่มาเป็นระยะเวลานานแต่ราคาที่ดินปรับเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเจ้าของบ้านมีรายได้ไม่มาก รวมทั้งกำหนดข้อบังคับห้ามขายห้ามโอนหากติดหนี้ภาระภาษี ยกเว้นกรณีขายทอดตลาด  อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะใช้ระยะเวลาการพิจารณาในขั้นตอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติประมาณ 2-3 เดือน และจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 1 ปี

 

ที่มา : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลและกรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ ปัดใช้ ม.44 จัดการ 'อูเบอร์' แต่ยังผิดกฎหมายอยู่ ชี้ต้องคุ้มครองแท็กซี่

Posted: 21 Mar 2017 03:04 AM PDT

'ขนส่ง' ยัน จับ-ปรับอูเบอร์ทันที หากมีผู้แจ้งเบาะแส ด้านแท็กซี่ชี้ปฏิเสธผู้โดยสารเหตุไม่คุ้ม กองตรวจการขนส่งทางบกสั่งปรับแท็กซี่แซวผู้โดยสารหน้าตาขี้เหร่ อบรมระเบียบการให้บริการ

ที่มาภาพ : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

21 มี.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า เมื่อเวลา 14.30 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงกรณีปัญหาการร้องเรียนขอให้มีการใช้ ม.44 จัดการแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ว่า ไม่มีแนวคิดที่จะใช้ มาตรา 44 จัดการแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ซึ่งต้องไปดูก่อนว่าแอพฯ อูเบอร์ทำถูกกฎหมายหรือไม่  ซึ่งตอนนี้กำลังให้กระทรวงคมนาคมพูดคุยหาทางออก ทั้งนี้กฎหมายการให้บริการ การขนรับส่งผู้โดยสารโดยมีค่าตอบแทน มีกฎระเบียบ ข้อบังคับอยู่แล้ว คือกฎหมาย ที่ควบคุมเรื่องแท็กซี่ มีป้ายเหลือง และป้ายต่าง ๆ ต้องดำเนินการตามข้อบังคับ

พล.อ.ปะยุทธ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับแอพพลิเคชั่นอูเบอร์ ที่เป็นปัญหาเพราะมีคนร้องเรียนมาว่าทำผิดกฎหมาย ก็จำเป็นต้องไปตรวจสอบ ต้องไปจับกุม แต่ในขณะเดียวกันแอพพลิเคชั่นดังกล่าวก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็ต้องหากฎหมายที่เหมาะสมว่าจะทำอย่างไร ที่จะไม่สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ต้องช่วยกันพัฒนา และหามาตรการใหม่ที่จะไปเสริม แต่ในวันนี้แอพฯ ยังผิดกฎหมายอยู่ ก็ต้องคุ้มครองให้คนที่ขับแท็กซี่ที่ถูกต้องกฎหมายด้วย

'ขนส่ง' ยัน จับ-ปรับอูเบอร์ทันที หากมีผู้แจ้งเบาะแส 

ขณะที่ สนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า หากอูเบอร์ ยืนยันที่จะให้บริการในช่วงที่มีการศึกษาร่วมกัน 6 เดือน - 1 ปี เมื่อกรมการขนส่งทางบก ได้รับการร้องเรียนและแจ้งเบาะแส จะดำเนินการจับและปรับทันที เนื่องจากได้ชี้แจงข้อกฎหมายว่า รถที่ให้บริการสาธารณะอย่างถูกต้อง ต้องเป็นรถป้ายเหลือง ต้องจดทะเบียนบันทึกประวัติ ตรวจสอบสภาพรถปีละ 2 ครั้ง และทำประกันภัยรถ คนขับและผู้ใช้บริการ  

ส่วนคณะกรรมการ ที่จะเข้ามาศึกษาแนวทางข้อกฎหมาย เพื่อรองรับการให้บริการรถในรูปแบบอูเบอร์นั้น อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า ต้องใช้เวลาอีกระยะ โดยขณะนี้ ได้ติดต่อไปยัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ แล้ว น่าจะตั้งคณะกรรมการได้ภายในเดือนนี้  ขณะที่ การติดตั้งจีพีเอส ในรถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 เส้นทางกรุงเทพ-ต่างจังหวัด ของ บขส. ขณะนี้คืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 80 จากจำนวนรถทั้งหมด 6,000 คัน เชื่อจะติดตั้งครบตามกำหนด 

ด้านแท็กซี่ชี้ปฏิเสธผู้โดยสารเหตุไม่คุ้ม

วิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เปิดเผยถึงปัญหาที่แท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสารว่าต้องการให้กระทรวงคมนาคมทบทวนโครงสร้างค่าโดยสารในปัจจุบันให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากสาเหตุหลักของการปฏิเสธผู้โดยสาร เหตุเพราะไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงทำให้ไม่คุ้มค่าที่จะไปส่งผู้โดยสาร

ด้านการให้บริการแอพพลิเคชั่นต่างๆนั้น นายวิฑูรย์ มองว่าไม่ได้อยากมีเรื่องกระทบกระทั่งอยากให้มีบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ยอมรับว่ารายได้ลดลงร้อยละ 30 ส่วนตัวสนับสนุนแนวทางที่กรมขนส่งทางบกจะทำแอพพลิเคชั่น Smart Taxi ที่พัฒนาโดยคนไทย ยกระดับแท็กซี่ไทยด้วยความปลอดภัยในการติดกล้องวงจรปิด และการใช้บัตรแสดงตัวตนผู้ขับขี่

ปรับแท็กซี่แซวผู้โดยสารหน้าตาขี้เหร่ อบรมระเบียบการให้บริการ

จากกรณีที่มีผู้โพสต์คลิปผ่าน Facebook ด้วยการถ่ายทอดสด เมื่อเวลา 01.00 น.ของคืนวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ถึงพฤติกรรมคนขับรถแท็กซี่หมายเลขทะเบียน ทว 330 กรุงเทพมหานคร ใช้วาจาไม่สุภาพ โดยการแซวผู้โดยสารสาวว่าหน้าตาขี้เหร่ จึงไม่มีแท็กซี่จอดรับ ทำให้แฟนของหญิงสาวไม่พอใจ เกิดการโต้เถียงกัน ก่อนที่คนขับรถแท็กซี่จะให้ผู้โดยสารลงจากรถก่อนถึงที่หมาย พร้อมทั้งยังได้ตามลงไปหาเรื่องต่อ จนเกิดการชกต่อยกันขึ้น จากนั้นคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ สน.บางซื่อ และฝ่ายผู้โดยสารก็ได้เข้าร้องเรียนกับศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารด้วย

วานนี้ (20 มี.ค.60) กองตรวจการขนส่งทางบก (กตส.) ได้เรียก สมศักดิ์ แสนศักดิ์ คนขับรถแท็กซี่คันดังกล่าว มาสอบข้อเท็จจริง ซึ่งก็ให้การยอมรับว่าได้ใช้วาจาไม่สุภาพ เป็นเหตุให้ผู้โดยสารไม่พอใจ และมีการทะเลาะวิวาทกันจริง ทั้งนี้ กตส.เห็นว่าคนขับรถแท็กซี่ดังกล่าวกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติรถยนต์ จึงลงโทษฐานความผิดแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ และในฐานความผิดไม่ส่งผู้โดยสารถึงจุดหมายปลายทางตามที่ตกลง ด้วยการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุดเป็นเงิน 2,000 บาท และอบรมเรื่องกฎระเบียบในการให้บริการที่ดีเป็นเวลา 3 ชั่วโมง พร้อมทั้งบันทึกประวัติเพื่อติดตามพฤติกรรมต่อไป

 

เรียบเรียงจาก : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล Voice TV และ ช่อง 7

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำพิพากศาล#2 ‘ไผ่ ดาวดิน’ กับสิทธิประกันตัวในคดี 112 สิทธิพื้นฐานที่ถูกเมินเฉย

Posted: 21 Mar 2017 01:39 AM PDT

แม่ไผ่ ดาวดิน ถามทำไมใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ แต่กลับไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำไมคนแชร์อีกสามพันและเจ้าของบทความไม่โดนฟ้อง ด้านทนายไผ่ บอกศาลให้เหตุผลไม่ได้ว่าเหตุไม่ให้ประกัน ไม่รู้เยาะเย้ยอำนาจรัฐอยู่ในมาตราไหนของกฎหมาย การไม่ให้ประกันคดี 112 เหมือนบีบให้ต้องสารภาพ ยันทุกคนต้องได้รับสิทธิประกันตัว

คลิปเสวนา คำพิพากศาล หัวข้อ "สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดี 112"

งานเสวนา 'คำพิพากศาล' หัวข้อ สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดี 112 จากขวาไปซ้าย-พริ้ม บุญภัทรรักษา, กฤษฎางค์ นุตจรัส, สาวตรี สุขศรี และภาสกร อินทุมาร

งานเสวนา 'คำพิพากศาล' ที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา จัดโดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และภาคีเครือข่าย ในหัวข้อ 'สิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดี 112' พริ้ม บุญภัทรรักษา มารดาของจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาหรือไผ่ ดาวดิน และกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายของไผ่ ดาวดิน ได้มาร่วมพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

พริ้มกล่าวว่า ในเมื่อกฎหมายต้องใช้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แล้วเหตุใดไผ่จึงไม่ได้รับการประกันตัวเฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป

"เขาบอกว่าเยาะเย้ยอำนาจรัฐ เราคิดว่าความหมายนี้มันกว้าง คิดไปได้ต่างๆ นานา ศาลมองว่าเยาะเย้ยอำนาจรัฐ ที่ไผ่ทำคือเมื่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วไปถูกรัฐกระทำโดยไม่ชอบก็ออกมาต่อต้าน แต่กลายเป็นว่าเอามาพ่วงในคดีมาตรา 112"

พริ้มยังเล่าอีกว่า ทางครอบครัวได้เพิ่มวงเงินประกันตัว มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงเป็นนายประกัน อีกทั้งสังคมก็รู้ดีว่าไผ่ไม่หลบหนี แต่ศาลก็ยังบอกว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลง

"เราเป็นประชาชน เราก็ทำตามกฎหมายมาตลอด ยอมรับกระบวนการทางกฎหมายทุกอย่าง แม้กระทั่งแจ้งความ ออกหมายจับโดยไม่ออกหมายเรียก แล้วคุมตัวไปไม่ใช่สถานที่สอบสวน เราถูกกระทำมาตลอด เราก็เลยไม่เข้าใจว่าจะให้ประชาชนอย่างเราเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานได้จากไหน

"เวลาท่านพูดว่าเป็นนักกฎหมาย เรียนวิชานิติศาสตร์ รู้กฎหมายดี แต่เอากฎหมายมาทำกับเราอย่างไม่ชอบธรรม คนเรียนนิติศาสตร์จะบอบช้ำขนาดไหน เราทำงานด้านกฎหมาย ช่วยเหลือประชาชนมาตลอด เราสู้เพื่อความยุติธรรมมาตลอด แต่เราไม่ได้รับความยุติธรรม แล้วไผ่ก็ยืนยันว่าถ้าเอากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาทำกับไผ่แบบนี้ มันทำให้สั่นคลอนความยุติธรรมที่เป็นที่พึ่งครั้งสุดท้ายของประชาชน แล้วจะบอกกับประชาชนยังไงว่าให้เคารพกฎหมาย เราก็เห็นความยุติธรรมที่เลือกเป้าหมาย สามพันคนที่แชร์บทความ เจ้าของบทความไม่โดนดำเนินคดี แล้วก็สร้างความหวาดกลัวให้กับครอบครัว นี่คือเป้าหมายของเขา แต่มันยุติธรรมกับประชาชนมั้ย"

พริ้มกล่าวทิ้งท้ายว่า

"คุณมีกฎหมายในมือ คุณใช้อำนาจ แต่ประชาชนใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม"

ด้านกฤษฎางค์ เล่าถึงประสบการณ์การทำงานในคดีของไผ่ว่า

"ทุกคนคงรู้ว่าไผ่กำลังจะอยู่ในคุกครบ 3 เดือนแล้ว ยื่นประกันไปทั้งหมด 7 ครั้ง เหตุผลก็เดิมๆ คือไม่มีเหตุจะเปลี่ยนแปลงคำสั่ง แล้วแปลว่าอะไร แล้วจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ช่วยบอกหน่อย แต่ก็ไม่มีคำตอบ คำตอบก็อยู่สายลมตลอด ไหนจะบังคับให้พิจารณาคดีลับด้วย ห้ามผู้คนเข้าไปฟัง เราขออนุญาตเข้าไปเยี่ยมเป็นการส่วนตัวที่เรือนจำ เพราะเวลาปรึกษาคดีกับไผ่ต้องคุยกันหลายแง่มุม ก็ไม่มีโอกาส ได้แค่เจอกัน ใช้โทรศัพท์คุยกัน มีกล้องวงจรปิด แล้วก็มีเจ้าหน้าที่ยืนอยู่ข้างหลัง เราไม่สามารถคุยเป็นส่วนตัวได้ อันนี้เป็นปัญหาที่เห็นอยู่ เพียงแต่ไม่ได้เกิดมาเป็นลูกผู้พิพากษาหรือลูกนายพลเท่านั้นเอง ถึงไม่ได้รับการประกันตัว"

"คุณมีกฎหมายในมือ คุณใช้อำนาจ แต่ประชาชนใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม"

และนี่คือสิ่งที่นักโทษคดี 112 ส่วนใหญ่ต้องเผชิญ กฤษฎางค์ อธิบายว่า สภาพเช่นนี้จึงเท่ากับบีบให้จำเลยต้องรับสารภาพ เพื่อให้รับโทษลงลงและมีโอกาสออกจากเรือนจำเร็วขึ้น อย่างน้อยก็ติดคุกน้อยกว่าที่จะต้องถูกขังไว้ตลอดการพิจารณาคดี

กฤษฎางค์อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า ปัจจุบัน มีคดี 112 ที่ถูกฟ้องอยู่ 46 คดี ไม่รวมที่ถูกขังตามค่ายทหาร ได้รับการประกันตัว 12 คดี โดยเดิมทีคดี 112 มีโทษสูงสุดต่อหนึ่งกรรมไม่เกิน 3 ปี แต่ได้รับการแก้ไขหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยออกเป็นคำสั่งของคณะรัฐประหาร แก้โทษจำคุกจาก 3 ปีเป็น 15 ปี ซึ่งทฤษฎีทางกฎหมายการจะกำหนดโทษต้องมีเหตุผล

"เพียงแต่ต้องการให้มันเป็นเครื่องมือใช้กล่าวหากันก็เลยกำหนดโทษให้สูง เป็นที่มาของโทษ 15 ปี และเป็นที่มาของคำสั่งไม่ให้ประกันตัว ผมหลับตา ไม่ต้องอ่านคำสั่งของศาล ผมยื่นประกันไผ่ไปทั้งหมด 7 ครั้ง เหตุผลที่ไม่ให้ประกันคือ คดีนี้มีอัตราโทษสูง เป็นคดีที่ถูกกล่าวหาเกี่ยวกับความมั่นคง กระทบกระเทือนความรู้สึกของประชาชน มีพฤติกรรมเป็นการเยาะเย้ยอำนาจรัฐ ไม่รู้อยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตราอะไร และออกไปจะไปสร้างความเสียหายต่อพยานหลักฐาน ทั้งหมดมีแค่นี้แหละที่ไม่ให้ประกัน และผมคิดว่าทุกคดีที่ไม่ให้ประกันก็มีแค่นี้

"ผมก็อายนะ เพราะผมถือว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ก้าวเท้ามาเป็นทนาย 38 ปีมาแล้ว ผมรู้สึกว่า 20 ปีหลังนี้เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการยุติธรรม เพราะสิทธิประกันตัวก็เหมือนที่คุณแม่ของไผ่บอก เนื่องจากเราเป็นระบบกล่าวหา ก็ต้องต่อสู้จนพ้นจากการถูกกล่าวหา เราไม่ได้ผ่านระบบการไต่สวนว่ามีมูลมั้ยที่จะไปจับเขา ให้เขาต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมและเป็นอิสระ ทีนี้จับมาก่อน ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าไผ่จะได้สอบมั้ยหรือไผ่จะไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐานมั้ย หลักมันอยู่ที่ว่าคุณไม่มีอำนาจจับคนที่คุณยังไม่ตัดสินมาขังไว้ ข้อยกเว้นมีนิดเดียวที่อยู่ในกฎหมาย เช่นเป็นผู้มีอิทธิพล แต่พฤติการณ์เหล่านี้ไม่ได้ปรากฏในคดีเลย ถามว่าเอาอะไรมาคิด"

"ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าไผ่จะได้สอบมั้ยหรือไผ่จะไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐานมั้ย หลักมันอยู่ที่ว่าคุณไม่มีอำนาจจับคนที่คุณยังไม่ตัดสินมาขังไว้ 

กฤษฎางค์ เชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบยุติธรรมเป็นเช่นนี้ เพราะระบบยุติธรรมก็เป็นเพียงระบบราชการอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้สูงส่งไปกว่าที่ประชาชนคิดหรือที่ระบบเรียกร้องบอกตัวเองว่าระบบยุติธรรมสูงส่งแตะต้องไม่ได้ อีกทั้งกระบวนการคัดเลือกคนเข้าเป็นผู้พิพากษาก็อาจจะมีปัญหา

"ถามว่าผมพูดอย่างนี้กลัวหมิ่นอำนาจศาลหรือเปล่า คือผมคิดว่าเราวิจารณ์ได้ พูดได้ กล่าวหาได้ด้วยซ้ำว่าท่านวินิจฉัยผิด และยิ่งถ้าท่านไม่ใช้เหตุผลในการวินิจฉัยหรือให้เหตุผลแบบผิดๆ เรายิ่งว่าได้ด้วยซ้ำ เพราะประธานศาลฎีกาคนปัจจุบัน พูดให้โอวาทไว้ตอนปีใหม่ว่า คำพิพากษาและคำวินิจฉัยใดๆ ของศาลจะต้องตอบคำถามได้ ต้องมีเหตุผล

"แต่ถ้าตอบไม่ได้หรือว่าไม่มีเหตุผลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ยื่นไป 7 ครั้งก็ไม่มีเหตุผลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว มันก็เป็นกรณีที่ท่านต้องตอบเรา ถ้าท่านไม่ตอบ เราก็วิจารณ์ท่าน แม้แต่ในการพิพากษาชั้นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ก็ยังอนุญาตให้ผู้พิพากษาที่ไม่เห็นด้วยทำความเห็นแย้งได้ ผมอยากยุยงให้ผู้คนวิจารณ์ศาลให้มากขึ้น มากกว่าที่จะสยบยอมกับสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เพราะมันเป็นทางเดียว"

"ล่าสุดที่เจอกัน ไผ่บอกว่าเขาเข้าใจดี เขาคงต้องต่อสู้ต่อไป เขาถามเพียงแต่ว่าพวกเราที่อยู่ข้างนอกยังจะร่วมต่อสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตยหรือเปล่าเท่านั้นเอง"

กฤษฎางค์ยังเล่าถึงบทสนทนาที่ไผ่พูดกับเขาด้วยว่า

"ไผ่บอกผมเองว่า วันที่เบิกตัวมาฟังคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เรื่องไม่ให้ประกันตัว เขาก็ไปหิ้วตัวมาจากเรือนจำ เมื่อพิจารณาคดีเสร็จ ศาลก็ให้คุยกับทนายก่อน วันนั้นผมไม่ได้ไป มีน้องทนายไปแทน ให้คุยกันสี่ห้านาที ผู้คุมก็รีบเอาตัวออกไปเลย โดยมี สห. (สารวัตรทหาร) 4 คนควบคุมตัวไปเรือนจำ ผมก็ไม่ทราบว่าลูกความผมโดนอะไรบ้าง ระหว่างนั่งรถไปด้วยกัน สห. หนึ่งในสี่คนก็บอกกับไผ่ว่า มึงน่าจะได้รับการประกันตัวนะ เดี๋ยวกูจะได้ล่อมึงซะ นี่ไผ่เล่าให้ผมฟัง ถ้าผิดก็ต้องโทษไผ่ ถ้าจริงก็ต้องโทษศาลว่า สห. มาเกี่ยวอะไรกับศาล ราชทัณฑ์มาเกี่ยวอะไรกับ สห. สห. มาทำไม"

กฤษฎางค์ยืนยันหลักการว่า ไม่ใช่เฉพาะคดี 112 หรือคดีของไผ่เท่านั้น แต่ทุกคดีควรได้รับการประกันตัว เพราะไม่ให้ประกันเป็นที่มาของการวินิจฉัยคดีที่ไม่เป็นธรรมและทำให้คนบริสุทธิ์ต้องอยู่ในคุกเป็นจำนวนมาก

"ถ้าเราพูดเฉพาะคดี 112 ผมเข้าใจว่าโอกาสของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่จะเข้าใจและใช้หลักกฎหมายในการดำเนินคดี ผมแทบมองไม่เห็น ไม่มีความหวัง ผมก็รอคอยแต่ว่าเมื่อไหร่เหตุการณ์ต่างๆ จะเปลี่ยนไป เพราะคนที่มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมขาดความกล้าหาญ คนในกระบวนการยุติธรรมหวังที่จะทำผ่านๆ ไปเพื่อลาภยศสรรเสริญ และหวังเพียงแต่อยู่รอดไปวันๆ ผมเข้าใจนะว่าคนที่พิจารณาไม่ให้ประกันแต่ละคนก็คงลำบากใจ การให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดีแบบนี้ คงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรื่องนี้ไผ่เข้าใจ

"ล่าสุดที่เจอกัน ไผ่บอกว่าเขาเข้าใจดี เขาคงต้องต่อสู้ต่อไป เขาถามเพียงแต่ว่าพวกเราที่อยู่ข้างนอกยังจะร่วมต่อสู้ต่อไปเพื่อประชาธิปไตยหรือเปล่าเท่านั้นเอง"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ศรีสุวรรณ' จี้ประยุทธ์งัด ม.44 ปลดบอร์ดและผู้บริหาร รฟม. ยก 6 ข้อเอื้อประโยชน์เอกชนเพียงรายเดียว

Posted: 21 Mar 2017 01:22 AM PDT

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย แถลง ค้านการกินรวบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยาย ยก 6 ข้อเท็จจริงเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเพียงรายเดียว พร้อมทั้งขอประยุทธ์ ใช้ ม.44 ปลดบอร์ดและผู้บริหาร รฟม. ยกชุด
ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
 
21 มี.ค.2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจงจาก ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ว่าทางสมาคมฯ ได้ออก แถลงการณ์ เรื่อง คัดค้านการกินรวบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยาย โดยยก 6 ข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเพียงรายเดียว พร้อมทั้งขอให้หัวหน้า คสช. ให้อำนาจ ม.44 ปลดบอร์ดและผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยกชุด 
 
โดย แถลงการณ์มีรายละเอียดดังนี้
 
 
แถลงการณ์
สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
เรื่อง คัดค้านการกินรวบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยาย อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเพียงรายเดียวและขอให้ หน.คสช.ให้อำนาจ ม.44 ปลดบอร์ดและผู้บริหารรฟม.ยกชุด
 
นับตั้งแต่รัฐบาลคสช.เข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่กลางปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แต่งตั้งเพื่อนเตรียมทหารร่วมรุ่นหลายคนเข้าไปเป็นกรรมการและประธานกรรมการในบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่งรวมทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการแต่งตั้ง พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เข้าไปเป็นประธานกรรมการบอร์ด รฟม. ซึ่งภายหลังจากนั้นมีการดำเนินการในลักษณะเข้าข่ายที่จะเอื้อเอกชนรายเดียวในการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายหรือ เป็นการกินรวบทั้งโครงการทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีปัญหาตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงการดำเนินการให้เอกชนเดินรถ ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวทั้งหมดตามข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
 
1. ในระหว่างก่อสร้างเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม โดยสรุปว่า สตง.ได้มีการตรวจพบว่า มีผู้บริหารของรฟม.ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระ ซึ่งมีบริษัท ช.การช่าง จำกัดเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างส่งผลให้ รฟม. เกิดความเสียหายจากการที่ต้องเพิ่มมูลค่างานวงเงินถึง 290 ล้านบาท และต้องมีการขยายระยะเวลาในการก่อสร้างให้ผู้รับเหมาอีก 90 วัน
 
2. กรณีเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2559 และวันที่ 28 ธ.ค. 2559 คสช. ใช้มาตรา 44 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินหรือสายเฉลิมรัชมงคลช่วงหัวลำโพง-บางซื่อและโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพ-บางซื่อและช่วงบางซื่อ-บางแคและเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อโดยสรุปว่าให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดําเนินการจ้างผู้ประกอบการเอกชนเพื่อติดตั้งระบบรถไฟฟ้า จัดการเดินรถไฟฟ้าและบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงเตาปูน-บางซื่ออันเป็นระยะทางสั้นประมาณหนึ่งกิโลเมตรให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อแก้ปัญหาการจราจรและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยคํานึงถึงการให้ประชาชนได้ใช้บริการรถไฟฟ้าโดยเร็ว สะดวกและประหยัดค่าโดยสารและเป็นประโยชน์ต่อการเดินรถเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล)ช่วงหัวลําโพง-บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อการจ้างดังกล่าวไม่ถือเป็นการร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐการกําหนดค่าจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทําสัญญาจ้างดังกล่าวให้รฟม.ดําเนินการโดยใช้ผลการเจรจาต่อรองของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดําเนินการ (งานสัญญาที่ 5) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางซื่อกับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน)รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เป็นกรอบในการพิจารณาโดยคํานึงถึงประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการและประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการดําเนินกิจการและการใช้ทรัพยากรของรัฐ ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์วิธีการและแนวทางในการใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2558 มาใช้กับการดําเนินการด้วย
 
ข้อเท็จจริงดังกล่าวมีโครงการรถไฟฟ้าเกี่ยวข้อง 3 โครงการ คือ (1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ ซึ่งปัจจุบันเปิดให้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547 โดยทางรฟม.ได้ทำการเปิดประมูลและจ้างเอกชนราย บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้เดินรถ (2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จประมาณ 80% และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี 2561 อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเดินรถ (3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่ – บางซื่อมีสถานีเตาปูนเป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระและรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ โดยจ้างเอกชนรายบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้เดินรถโดยวิธีการเจรจาตรงไม่มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไปแต่อย่างใด
 
3. เดิมการคัดเลือกให้เอกชนดำเนินการโครงการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระใช้วิธีการประมูลและอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกฯตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินกิจการของรัฐพ.ศ. 2535 ( พรบ.ร่วมทุน 2535 ) จึงเป็นโครงการที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนตามพรบ.ร่วมทุน 2535 ที่ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการคือ รฟม.ปฏิบัติตามพรบ.ดังกล่าวต่อไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ และให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปตามพรบ.ร่วมทุน 2556 แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการ รฟม.และผู้รับสัมปทานรายเดิม คือ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือ บีเอ็มซีแอล (ซึ่งประสบปัญหาขาดทุนและภายหลังรวมกิจการกับ บมจ.ทางด่วนฯและเปลี่ยนชื่อเป็นบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM) กลับดำเนินการให้มีการเจรจาตรงต่อกันโดยผลักดันให้กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการการเจรจาตรงกับผู้ประกอบการรายเดิมอันเป็นการขัดต่อ พรบ.ร่วมทุน 2556 ที่คณะกรรมการคัดเลือกฯตามมาตรา 13 แห่งพรบ.ร่วมทุน 2535 มีมติให้ดำเนินการคัดเลือกโดยวิธีประมูลตาม พรบ.ร่วมทุน 2535 ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งถ้าหากใช้วิธีการประมูลตั้งแต่แรกแล้วปัจจุบันนี้จะได้ผู้รับสัมปทานในการเดินรถรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนี้แล้วอย่างแน่นอน
 
ทั้งๆ ที่ทราบดีอยู่แล้ว่าการเจรจากับเอกชนรายเดียวทำให้เอกชนมีอำนาจต่อรองสูงแตกต่างจากการประมูลราคาซึ่งจะต้องมีเอกชนหลายรายเข้าร่วมประมูลแข่งขันเสนอราคากันซึ่งโดยปกติการประกวดราคาจะได้ราคาที่ถูกกว่าการเจรจากับเอกชนรายเดียวประมาณร้อยละ 15-20 ซึ่งทำให้รัฐใช้งบประมาณได้ประโยชน์สูงสุดมากกว่าการเจรจากับเอกชนรายเดียว
 
โดยสรุปว่า เหตุที่ คสช. ต้องใช้มาตรา 44 ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพราะปัญหาเกิดจากการบริหารงานภายใน รฟม. ภายใต้การกำกับดูแลของประธานบอร์ด ที่ชื่อ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ
 
4. ขณะนี้ข้อเท็จจริงปรากฏอย่างชัดเจนว่า BEM มีความต้องการที่จะที่จะผูกขาดสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายทั้งหมดโดยจะขอรวมสัญญาเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายเป็นสัญญาเดียวกันทั้งหมดคือ (1.) การเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ตั้งแต่ปี 2559 ไปจนสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 เป็นการเดินรถไฟฟ้าที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 มีสัญญาสัมปทานผูกพันอยู่แล้ว โดยรฟม.จะได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวในช่วงตั้งแต่ปี 2529  ไปจนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 รวมเป็นเงินประมาณ 52,945 ล้านบาท (2.) การเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ที่ต่ออายุสัมปทานจาก (1.) ออกไปอีก 20 ปี ไปจนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานใหม่ในปี 2592 และ (3.) การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2559 ถึงปี 2592 เป็นโครงการที่ต้องลงทุนใหม่ในระบบรถไฟฟ้าและยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องการประมาณการรายได้
 
โดย BEM จะขอแบ่งผลประโยชน์ให้กับ รฟม.โดยวิธีการแบ่งจากผลตอบแทนการลงทุนของเอกชนเมื่อค่า Equity Internal Rate of Return (Equity IRR) เกิน 9.75% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการแบ่งเงินตอบแทนจากเดิม ซึ่งนักการเงินเห็นว่าการแบ่งรายได้โดยวิธี Equity IRR ดังกล่าวนั้น ไม่เหมาะสม โดยมีข้อสังเกตว่าการใช้ค่า Equity IRR นั้น เอกชนสามารถแต่งตัวเลขได้ ไม่มีใครใช้ เพราะตรวจสอบไม่ได้ โอกาสที่จะเกิดขึ้นคือรัฐจะไม่มีทางได้เงินตอบแทนซึ่งไม่เหมือนกับสายสีน้ำเงินเดิม และไม่สอดคล้องกับหลักการการให้สัมปทานในรูปแบบ Net Cost ที่ต้องการให้เอกชนรับความเสี่ยงด้านเงินทุนต้นทุนดำเนินการและรายได้สายสีน้ำเงินเดิมซึ่งรัฐรู้ว่าจะได้รายได้จากค่าโดยสารและการแบ่งผลประโยชน์จากค่าโดยสาร
 
ทั้งนี้จากข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐเป็นผู้ลงทุนโครงการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เป็นเกือบทั้งหมดประกอบกับรัฐยังต้องนำทรัพย์สินของตนเองในโครงการสายเฉลิมรัชมงคลมาให้เอกชนเพื่อหารายได้อีกดังนั้นรัฐควรจะต้องได้รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นรายปีหลังจากที่สัญญาสายเฉลิมรัชมงคลสิ้นสุดลงเช่นเดียวกับเอกชนด้วยทั้งในส่วนของรายได้จากค่าโดยสารและรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์เช่นเดียวกับกรณีของสายเฉลิมรัชมงคลมิใช่ต้องรอจนกว่าเอกชนได้รับผลตอบแทนในระดับที่พึงพอใจแล้วจึงแบ่งให้ซึ่งเป็นการแบ่งผลประโยชน์ที่ผิดหลักการลงทุนและเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชน
 
ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวทางองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้เคยมีหนังสือแจ้งต่อ ผู้ว่ารฟม.แล้ว แต่ผู้ว่า รฟม.ไม่เคยสนใจในข้อสังเกตดังกล่าวเลย
 
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่มีปัญหาตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงการดำเนินการให้เอกชนเดินรถ ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวทั้งหมดน่าจะเข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์เอกชนรายเดียว ด้วยเหตุผลดังนี้
 
(1.) กรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลมีบุคคลที่เป็นที่ปรึกษาอยู่กับกลุ่มบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างและผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย น่าจะเข้าข่ายกรณีมีผลประโยชน์ทับซ้อน และมีเจตนาไม่สุจริตอีกด้วยซึ่งเดิมเคยมีบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกฯและคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯอยู่หลายคนแต่กรรมการดังกล่าวได้ถอนตัวไปหมดแล้วเพราะไม่มีความประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการในลักษณะเอื้อเอกชนรายเดียว
 
(2.) ผู้รับจ้างก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระคือบริษัท ช.การช่างจำกัด(มหาชน) ส่วนบริษัทเอกชนที่เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเดิม คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM  ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเดียวกันจึงมีประเด็นปัญหาว่าจะเป็นกรณีเอกชนรายเดียวเข้ามีอำนาจผูกขาดผลประโยชน์และเข้ามาครอบงำการดำเนินการของรฟม.หรือไม่
 
การดำเนินการของรฟม.ดังกล่าวจึงขัดกับแนวทางในการใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม  (Integrity Pact) อย่างชัดเจน
 
6. โดยสรุปแล้วโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนี้มีปัญหาตั้งแต่การแก้ไขข้อสัญญาในการก่อสร้างที่ สตง.ต้องเข้ามาตรวจสอบการคัดเลือกให้เอกชนดำเนินการเดินรถซึ่งเดิมเคยมีมติให้ดำเนินการคัดเลือกโดยวิธีประมูลแต่ต่อมาใช้วิธีการเจรจากับผู้ประกอบการายเดียวและต่อมาจะรวมสัญญาเป็นสัญญาเดียวกันทั้งหมดบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างสัญญาที่ 2 และบริษัทผู้รับจ้างเดินรถ (ซึ่งเดิมขาดทุนแต่มารวมกิจการอีกบริษัทในกลุ่มอีกบริษัทหนึ่ง) เป็นกลุ่มบริษัทเดียวกันทั้งหมดและกรรมการบางคนในคณะกรรมการคัดเลือกฯและคณะกรรมการกำกับฯก็ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างอีกด้วยรวมทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคัดเลือกฯและคณะกรรมการกำกับฯหลายคนต้องลาออกไปเพราะไม่ยอมให้มีการเอื้อเอกชนรายเดียวซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้เป็นที่ชัดเจนว่าเกิดจากปัญหาการทำงานของประธานและบอร์ดรฟม.หรือไม่ ?
 
ด้วยข้อเท็จจริงที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นปัญหาที่ท่าน หัวหน้า คสช. และหรือท่านนายกประยุทธ์ สมควรที่จะใช้มาตรา 44 ปลดบอร์ด รฟม.ทั้งหมดและตั้งบอร์ดใหม่ทั้งหมด เช่นเดียวกับบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
 
ทั้งนี้หากจะมีการนำเรื่องการรวมสัญญาในเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายโดยไม่ใช้วิธีประมูลและใช้วิธีเจรจาตรง ซึ่ง BEM จะขอแบ่งผลประโยชน์ให้กับ รฟม.โดยวิธีการแบ่งจากผลตอบแทนการลงทุนของเอกชนเมื่อค่า Equity Internal Rate of Return (Equity IRR) และนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 21 มี.ค. 2560 นี้ แสดงว่ารัฐบาลไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์สูงสุดของประชาชน ให้รฟม.แอบเจรจากับเอกชนรายเดียวและกระทำการโดยไม่เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทราบเลย  จึงเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเอื้อเอกชนรายเดียวอย่างชัดเจน ซึ่งสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะนำความเข้าร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. และ สตง. ต่อไป
 
แถลงมา ณ วันที่ 21มีนาคม 2560
 
ศรีสุวรรณ  จรรยา
เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลไม่เลื่อนนัดพร้อมคดีไผ่ตามคำขอทนาย ‘ไผ่’ แจงศาลยิบ ยืนยันถูกละเมิดสิทธิ

Posted: 21 Mar 2017 12:52 AM PDT

ทนายขอเลื่อนนัด เหตุมีเวลาคุยกับจำเลยน้อยเรือนจำแออัดเสียงดัง ศาลไม่เลื่อนระบุจำเลยถูกขังมานานแล้ว และขอให้จำเลยหยุดพูดคำว่า "เสียเปรียบ" คดีนี้ไม่ใช่คดีเดียวที่ศาลไม่ให้ประกัน  ด้านจตุภัทร์และพ่อให้เหตุผลยาวเหยียดโต้แย้งเรื่องการคุมขังระหว่างต่อสู้คดี "ผมแค่ต้องการความเป็นอิสระและความเท่าเทียมในการสู้คดี" จตุภัทร์กล่าว 


ภาพจากแฟ้มภาพประชาไท

21 มี.ค.2560 เวลา 10.00 น. ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ศาลเริ่มพิจารณาคดีของจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน โดยในวันนี้เป็นนัดตรวจพยานหลักฐานเพื่อนัดหมายการสืบพยานหลังจากนัดที่แล้วจำเลยให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาและขอต่อสู้คดี การพิจารณาในวันนี้ไม่ปิดลับ มีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังประมาณ 30 คน แต่มีคำสั่งให้ผู้เข้าฟังการพิจารณาปิดโทรศัพท์ทุกคน และมีสารวัตรทหารรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่ในห้องพิจารณาคดีด้วย ขณะที่ภายนอกห้องพิจารณาคดียังมีเพื่อนของไผ่มารอให้กำลังใจแต่ไม่สามารถเข้าฟังได้เนื่องจากไม่มีที่นั่งประมาณ 10 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทนายจำเลยขอเลื่อนการนัดตรวจพยานหลักฐานในครั้งนี้ออกไปก่อน โดยให้เหตุผลว่า หลังการส่งฟ้อง ทนายไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับลูกความได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากลูกความถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำและห้องเยี่ยมในเรือนจำมีสภาพแออัดไม่ได้แยกระหว่างส่วนของทนายความและผู้เยี่ยมทั่วไป ทางคณะทนายได้ร้องขอทางเรือนจำให้จัดสถานที่ในการคุยกับลูกความแต่ทางเรือนจำได้ปฏิเสธ นายจตุรภัทร์กล่าวเสริมว่า การพูดคุยในห้องเยี่ยมนอกจากสภาพแออัดเสียงดัง ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วยังมีเครื่องดักฟังด้วย 

กฤษฎางค์ นุตจรัส  ทนายความจำเลยกล่าวเสริมว่า ทางจำเลยไม่ต้องการให้กระบวนการล่าช้าเนื่องจากจำเลยถูกคุมขังอยู่ โดยจะขอเวลา 7 วันในการรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมส่งให้ศาลก่อนทำการนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐานในครั้งหน้า

จตุภัทร์กล่าวยกตัวอย่างเรื่องการถูกละเมิดสิทธิด้วยการไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว โดยกล่าวกับศาลว่า สภาพของตัวเขาก็เหมือนกับการได้ถูกพิพากษาไปแล้ว ไม่มีอิสรภาพในการออกมาหาพยานหลักฐานในการสู้คดี ขณะที่โจทก์มีเวลา 90 วันในการหาหลักฐานพยาน แต่ตัวเขากลับมีเวลาพบกับทนายความเพียงไม่นาน

ผู้พิพากษาที่ออกนั่งบัลลังก์กล่าวว่า เนื่องจากจำเลยได้ถูกขังมานานแล้วจึงไม่ต้องการให้กระบวนการล่าช้าต่อไป และขอให้หยุดพูดคำว่าเสียเปรียบ คดีนี้ไม่ได้เป็นคดีเดียวที่ศาลไม่ให้ประกันตัว คำสั่งศาลอุทธรณ์ถือว่าเป็นข้อยุติแล้ว และนัดนี้เป็นนัดในการตรวจพยานหลักฐาน ไม่ใช่การไต่สวนเรื่องการขอประกันตัว

จตุภัทร์ชี้แจงรายละเอียดในการยื่นขอประกันตัวในชั้นศาลต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้ประตัวโดยให้เหตุผลว่าเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี ในขณะที่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์กลับมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า เกรงว่าเมื่อจำเลยได้รับการปล่อยตัวจะไปกระทำการอันเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ

"ผมแค่ต้องการความเป็นอิสระและความเท่าเทียมในการสู้คดี" จตุภัทร์กล่าว 

นายวิบูลย์ ภัทรรักษา บิดาของจตุภัทร์ได้ยกมือขึ้นโต้แย้งเพิ่มเติมว่า ขอแสดงความไม่เห็นด้วยที่ศาลมีคำสั่งห้ามไม่ให้พูดคำว่าเสียเปรียบ ด้วยเหตุว่าสภาพที่เป็นอยู่ทุกคนก็เห็นอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร

จตุภัทร์ยกตัวอย่างในเรือนจำที่ตัวเขาถูกกักขังอยู่ว่า มีผู้ต้องขังและนักโทษ 1,300 กว่าคน ทุกคนไม่ได้มีสถานะเหมือนกับตัวเขา ผู้ต้องขังที่คดียังไม่สิ้นสุดมีโอกาสได้ประกันตัว ผู้ที่ศาลตัดสินพิพากษาหรือคดีสิ้นสุดแล้วจึงถูกขัง และพวกเขาเหล่านั้นมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นผู้ต้องขังเพื่อลดโทษ แต่ในกรณีของเขาบอกว่าไม่สามารถอธิบายได้ว่าตัวเองอยู่ในจุดไหนของกระบวนการยุติธรรม

 จตุภัทร์ยังได้กล่าวว่า ในการถอนประกัน เหตุผลที่พนักงานสอบสวนร้องขอก็ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือคำสั่งศาลในการให้ประกันตัว และหากศาลมีเงื่อนไขอย่างไรในการให้ประกันตัว เช่น ต้องไม่เย้ยหยันอำนาจรัฐ การให้เลิกเล่นเฟซบุ๊ก ก็ควรระบุมาตั้งแต่ต้นเพื่อที่ว่าเมื่อผิดเงื่อนไขก็สามารถถอนประกันได้ และหากคดีพิจารณาจนสิ้นสุดแล้วเห็นว่าตนมีความผิดก็ยินดีที่จะถูกคุมขัง 

"หากจะขังผม ก็ขอให้ขังผมในฐานของผู้ที่กระทำความผิด แต่อย่าขังผมในฐานะผู้ถูกกล่าวหา ในระหว่างนี้ ผมไม่ควรที่จะถูกคุมขัง จนกวากระบวนการพิจารณาคดีจะสิ้นสุด" จตุภัทร์กล่าว

ผู้พิพากษากล่าวว่า จะไม่เลื่อนวันนัดพิจารณา เนื่องจากทนายความในคดีนี้มีหลายคน ให้ทนายทำหน้าที่หาพยานหลักฐานในการสู้คดีให้ได้ แต่จะอนุญาตให้ทนายความได้ปรึกษาหารือเพื่อเตรียมความพร้อมกับลูกความโดยจะนัดหมายเวลาตรวจพยานหลักฐานใหม่เป็นเวลา 13.30 น. ในส่วนข้อโต้แย้งของไผ่ในเรื่องการประกันตัว ศาลจะรับไว้เพื่อนำไปปรึกษาพิจารณากันอีกครั้ง 

การพิจารณาคดีในช่วงเช้าได้สิ้นสุดลงประมาณเวลา 11.00 น. โดยหลังจากนั้นจตุภัทร์ได้หารือกับทนายความ และการนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐานจะเริ่มอีกครั้งที่ห้องพิจารณา 4 ชั้น 3 ศาลจังหวัดขอนแก่นเวลา 13.30 น. 

ไม่ได้ประกันอีกครั้ง - ตารางสืบพยานมากกว่า 30 ปาก คาดพิพากษา พ.ย.นี้

เวลาประมาณ 14.30 น. มีการนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐานและนัดสืบพยานคดีนี้ โดยศาลสั่งให้ผู้เข้าสังเกตการณ์คดีวางกระเป๋าและโทรศัพท์ไว้ด้านนอกห้องพิจารณาทั้งหมด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาล อัยการ ทนายความจำเลยได้ข้อสรุปตารางการนัดสืบพยานร่วมกัน โดยอัยการยื่นบัญชีพยานทั้งสิ้น 17 ปาก ได้แก่ พล.ท.พิทักษ์พล ชูศรี ผู้แจ้งความดำเนินคดี เจ้าพนักงานผู้ทำการจับกุม ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และผู้ชำนาญการด้านภาษา

ในส่วนของจำเลย ทนายระบุจะมีพยานจำนวน 15 ปาก แบ่งเป็นเพื่อนผู้รู้จักคุ้นเคยและเคยทำกิจกรรมร่วมกับไผ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอเน็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา โดยจะส่งบัญชีรายชื่อพยานจำเลยภายใน 15 วันหลังจากนี้

สำหรับวันนัดสืบพยาน กำหนดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 3,4,15,16,17 สิงหาคม 2560 สืบพยานจำเลยในวันที่ 30,31 สิงหาคม และวันที่ 5,6,7 กันยายน 2560

ทนายความให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หลังเสร็จสิ้นการสืบพยานน่าจะมีการอ่านคำพิพากษาภายในไม่เกิน 2 เดือน หมายความว่าในคดีนี้น่าจะมีคำตัดสินของศาลชั้นต้นไม่เกินช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีนี้ หากการสืบพยานเป็นไปตามนัดหมาย ไม่มีการเลื่อนใดๆ

หลังได้ข้อสรุปดังกล่าว จตุภัทร์ยกมือขึ้นถามศาลว่า ในระหว่างรอการสืบพยานซึ่งทิ้งระยะเวลา 5 เดือนนี้จะขังเขาไว้ในเรือนจำหรือไม่ เขาจะได้รับสิทธิเช่นจำเลยในคดีทั่วไปหรือไม่ ศาลตอบว่าเหตุที่จะเร่งรัดให้มีการพิจารณาคดีให้เร็วที่สุดก็เพราะว่าเห็นว่าจำเลยถูกคุมขังไว้นานแล้ว และระหว่างรอการสืบพยานก็มีการคุมขังต่อ ยกเว้นหากมีเหตุใหม่ใดๆ ก็ให้ทำเรื่องยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเข้ามา

จากนั้นทนายความจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงิน 700,000 บาท โดยให้เหตุผลประกอบว่า จำเลยจะปฏิบัติตนตามข้อกำหนดของศาลโดยเคร่งครัด ดังนี้

"1.จำเลยจะไม่แสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก หรือจะไม่แสดงความคิดเห็นทางด้านการเมืองไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ อันเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ

2.จำเลยจะไม่ทำกิจกรรมใดๆ อันทำให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินคดีนี้

3.จำเลยจะไม่หลบหนีไปจากอำนาจของศาล โดยจำเลยจะมารายงานตัวต่อศาลทุก 10 วัน และจะมาศาลตามกำหนดนัดที่ศาลสั่งทุกครั้ง

หากศาลเห็นว่าจะมีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดอื่นใดในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยเพิ่มเติมนอกจากนี้ ขอศาลได้โปรดกำหนดเงื่อนไขอันสมควรและจำเลยยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขทุกประการ"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาเวลาประมาณ 16.00 น. ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่าคดีนี้เป็นคดีความมั่นคง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งมาแล้วและยังไม่เหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง

ทั้งนี้ จตุภัทร์ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2559 ตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai ผู้เข้าแจ้งความดำเนินคดีคือ พันโทพิทักษ์พล ชูศรี รักษาการหัวหน้ากองกิจการพลเรือนมณฑลทหารบกที่ 23 นายทหารซึ่งได้ติดตามการทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหวนักกิจกรรมและภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมาตั้งแต่หลังรัฐประหารปี 2557 โดยศาลจังหวัดขอนแก่นได้ออกหมายจับลงวันที่ 2 ธ.ค. 2559 เขาถูกควบคุมตัวขณะกำลังร่วมขบวนเดินธรรมยาตรากับพระไพศาล วิสาโล ที่จังหวัดชัยภูมิ อย่างไรก็ตาม เขาได้รับการประกันตัวอยู่ในช่วงสั้นๆ ก่อนที่วันที่ 22 ธ.ค.ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว หลังพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องให้เพิกถอนการประกันตัวด้วยเหตุผลที่เขามีพฤติกรรม "เย้ยหยันอำนาจรัฐ" เขาถูกคุมขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดขอนแก่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงวันนี้เป็นเวลา 89 วัน มีการขอยื่นประกันตัวมากกว่า 6 ครั้งแต่ศาลปฏิเสธทุกครั้ง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บอร์ดคุมราคาฯ ออกประกาศสั่ง 'ผู้ค้าออนไลน์' ต้องแสดงราคา รายละเอียดให้ชัดเจนบนสื่อออนไลน์

Posted: 21 Mar 2017 12:04 AM PDT

เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 44 พ.ศ. 2560 เรื่องการแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าและบริการ ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือออนไลน์ ประกาศ ณ วันที่ 24 ม.ค. 2560 ลงนามโดย อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

ประกาศระบุว่า โดยที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการได้มีมติเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 เห็นควรกำหนดให้มีการกำกับดูแลการแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าและ บริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสในการเปรียบเทียบ ราคาหรือค่าบริการก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 (5) มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ จึงออกประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์

ข้อ 3 ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงราคาจำหน่าย ค่าบริการ รวมถึงประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด น้ำหนัก และรายละเอียดของสินค้าหรือบริการ โดยการเขียน พิมพ์ หรือกระทำให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่นใดในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจนั้น ในลักษณะที่ชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย การแสดงราคาจำหน่ายสินค้า ค่าบริการตามวรรคหนึ่ง ให้แสดงราคาต่อหน่วย ราคาหรือค่าบริการนั้นจะมีตัวเลขภาษาใดก็ได้ แต่ต้องมีตัวเลขอารบิคอยู่ด้วย สำหรับข้อความหรือรายการที่แสดงควบคู่กับราคาจำหน่ายหรือค่าบริการต้องเป็นภาษาไทย แต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้

ข้อ 4 กรณีที่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากราคาจำหน่ายสินค้าหรือ ค่าบริการที่ให้บริการที่แสดงไว้ตามข้อ 3 ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแสดงค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผย โดยแสดงไว้ควบคู่กับการแสดงราคาจำหน่ายสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการ

ข้อ 5 การแสดงราคาจำหน่ายปลีกสินค้าหรือค่าบริการที่ให้บริการตามข้อ 3 ต้องแสดงให้ตรงกับราคาที่จำหน่าย หรือค่าบริการที่ให้บริการ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อต่ำกว่า ราคาจำหน่าย หรือค่าบริการที่แสดงไว้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ผสานวัฒนธรรม' จี้นำคนผิดมาลงโทษเยียวยาผู้เสียหาย กรณีทหารวิสามัญ 'ชัยภูมิ ป่าแส'

Posted: 20 Mar 2017 11:28 PM PDT

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอให้นำคนผิดมาลงโทษเยียวยาผู้เสียหาย กรณีทหารวิสามัญนักเรียนมัธยม เยาวชนต้นกล้าชาวลาหู่ คุ้มครองพยานในการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง

21 มี.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ออกแลถงการณ์ ขอให้นำคนผิดมาลงโทษเยียวยาผู้เสียหาย กรณีทหารวิสามัญนักเรียนมัธยม เยาวชนต้นกล้าชาวลาหู่ คุ้มครองพยานในการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง โดยระบุว่า เมื่อวันที่  17 มี.ค. ชัยภูมิ ป่าแส เยาวชนชายนักเรียนมัธยม 4 มีภูมิลำเนาที่ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารยิงเสียชีวิตโดยอ้างว่าเป็นเหตุวิสามัญฆาตกรรมขณะตรวจค้นยาเสพติด โดยการปฎิบัติการครั้งนี้เป็นพื้นที่รับผิดชอบของร้อย.ม.2 บก.ควบคุมที่ 1 ฉก.ม 5 เหตุเกิดเวลาประมาณ 10.00 น. บริเวณด่านตรวจ บ.รินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ร่วมกับ ชสท.ที่ 9 กกล.ผาเมือง  โดยเจ้าหน้าที่ทหารบริเวณด่านตรวจดังกล่าวอ้างว่าขอตรวจรถยนต์ยี่ห้อ Honda รุ่น jazz สีดำ ป้ายทะเบียน ขก 3774  เชียงใหม่ ขับมาตามเส้นทางจาก บ.เมืองนะ โดยมี พงศนัย แสงตะหล้า อายุ 19 ปี เป็นผู้ขับและ ชัยภูมิ ป่าแส อายุตามบัตร 21 ปี นั่งมาด้วย ได้ให้ความร่วมมือออกมาจากรถ แต่เกิดมีปากเสียงกับเจ้าหน้าที่ทหารและมีการทำร้ายร่างกาย ต่อมา ชัยภูมิ ถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณใกล้ด่านทหารดังกล่าว ส่วนพงศนัยถูกจับกุมดำเนินคดีส่งตัวเพื่อฝากขังข้อหามียาเสพติดไว้ในครอบครอง

เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความสงสัยให้กับชาวบ้านและนักกิจรรมในพื้นที่เป็นอย่างมากเนื่องจากชัยภูมิเป็นนักเยาวชนนักกิจรรมเครือข่ายเยาวชนต้นกล้า มีความสามารถทางดนตรีและการทำภาพยนตร์สั้น แม้ยังไม่มีสัญชาติไทยแต่ได้ทำงานเรียกร้องสิทธิในการมีสัญชาติให้กับตนเองและชุมชนด้วยแนวทางสันติวิธี อีกทั้งเป็นที่รักของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์และภาคประชาสังคม  ร่วมทำกิจกรรมทางสังคม ออกค่าย แต่งเพลง เล่นดนตรี และทำหนังสั้น  รวมทั้งได้เข้าร่วมโครงการ "เด็กและเยาวชนส่งเสียงเพื่อสื่อสารสังคม" ของมูลนิธิส่งเสริมเพื่อเด็กและเยาวชน สถาบันเด็กและเยาวชน (สสย.) สะท้อนปัญหาของเด็กชนเผ่า ส่วนพงศนัยก็เป็นนักเรียนดีเด่นของโรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานนักเรียน โดยทั้งสองคนเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกัน

ทั้งนี้ทางหน่วยงานทหารได้นำเสนอข่าวและภาพโดยอ้างว่าได้มีการตรวจค้นรถยนต์พบยาเสพติดจำนวนหนึ่ง พบมีดทำการเกษตรและมีระเบิดหนึ่งลูก อีกทั้งการวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิเกิดจากเจ้าหน้าที่ติดตามในระหว่างชัยภูมิวิ่งหลบหนี ผู้ต้องหาพยายามจะนำระเบิดแบบขว้างสังหารไม่ทราบชนิดใส่เจ้าหน้าที่ จึงยิงตอบโต้ไป 1 นัดทำให้ชัยภูมิเสียชีวิต ซึ่งอาจขัดกับพยานหลักฐานที่ปรากฎตามเนิ้อตัวร่างกายของผู้ตาย และข้อมูลพยานหลักฐานที่ฝ่ายชาวบ้านกล่าวอ้าง

การปราบปรามยาเสพติดเป็นภาระกิจสำคัญซึ่งต้องดำเนินการด้วยความเป็นมืออาชีพและงานด้านการข่าวที่แม่นยำ อีกทั้งเมื่อมีการมอบหมายภาระกิจสำคัญกับเจ้าหน้าที่ทหารที่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญในการปราบปรามยาเสพติด จนอาจนำมาสู่การใช้กำลังเกินกว่าเหตุและการกระทำการละเมิดต่อประชาชน หากขาดการตรวจสอบถ่วงดุลย่อมอาจทำให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกระทำการที่นอกกฎหมายได้ ในขณะเดียวกันสิทธิในชีวิตย่อมต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่มีใครควรถูกพรากชีวิตไปโดยพลการ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมมีความห่วงกังวลในการสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าว จึงขอเรียกร้องดังนี้ 1. ขอให้ทางราชการดำเนินการชันสูตรพลิกศพและการไต่สวนการตายให้ได้สาเหตุการเสียชีวิต ใครเป็นผู้ทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยเร่งด่วนและรอบคอบ และขอให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนในระดับจังหวัดเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่รอบด้านและเป็นจริง  ทั้งนี้คณะกรรมการฯต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน 

2. การสืบสวนสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวต้องคำนึงถึงการคุ้มครองพยาน และการให้ความเป็นธรรมกับทั้งผู้เสียหาย (ผู้เสียชีวิตและผู้ต้องหาคดียาเสพติด) และผู้ถูกกล่าวหา(กรณีการวิสามัญฆาตกรรม) ด้วยความเป็นธรรม เนื่องจากเป็นคดีที่เป็นที่สนใจของสาธารณะชนและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มเปราะบางที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง และมีการนำผู้ต้องสงสัยกระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยไม่ละเว้น เนื่องจาก ดังนั้นจึงขอให้ย้ายเจ้าหน้าที่ทหารที่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่โดยด่วนเพื่อไม่ให้ข่มขู่หรือยุ่งเหยิงกับพยาน 3. ขอให้รับประกันว่าการดำเนินคดีต่อ พงศนัย ผู้ต้องสงสัยกรณีที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าตรวจพบยาเสพติดให้โทษจำนวนหนึ่งในรถยนต์ที่ตรวจค้นขณะเกิดเหตุการณ์วิสามัญ มีความเป็นธรรม อีกทั้งจะต้องมีการคุ้มครองพยานและรับประกันความปลอดภัยต่อนายพงศนัยฯ ในขณะถูกควบคุมตัวด้วย

และ 4. มีข้อมูลน่าเชื่อว่ามีเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2560 เกิดเหตุวิสามัญฆาตกรรม อาเบ แซ่หมู่อายุ 32 ปี โดยทหารในเขตพื้นที่รับผิดชอบของร้อย.ม.2 บก.ควบคุมที่ 1 ฉก.ม 5 เช่นกัน โดยเจ้าหน้าที่ก็ได้อ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลในลักษณะเดียวกันว่า ได้ตรวจยาเสพติดและในติดตามจับกุม อาเบ ที่พยายามหลับหนี อาเบ ได้ขัดขวางการจับกุม และพยายามฆ่าเจ้าหน้าที่ด้วยการขว้างระเบิดที่มีลักษณะคล้ายกันใส่เจ้าหน้าที่  ด้วยเหตุดังกล่าวจึงขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี อาเบ แซ่หมู่ ถึงพฤติกรรมและการปฏิบัติหน้าที่ในด้านการปราบปรามยาเสพติด ของเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยนี้เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับญาติและชุมชนของอาเบด้วยเช่นกัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น