โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

หลัง ‘อั้ม’ ยังมี ‘ปรีดี’ คุยกับอั้ม-คุยกับรุ่นพี่อั้ม เปิดประวัติศาสตร์กระแสรอง

Posted: 17 May 2012 02:49 PM PDT

 

เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนหนึ่งที่ต้องถูกกล่าวถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะเป็นทั้งเดือนเกิดและเดือนถึงแก่อสัญกรรมของ นายปรีดี พนมยงค์ (11 พ.ค. 2433 -  2 พ.ค. 2526) ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย

ปีนี้ยังเป็นปีที่ครบรอบ 8 ทศวรรษการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เวลานี้จึงช่างดูประจวบเหมาะกับการที่ชื่อ “ปรีดี พนมยงค์” ถูกกล่าวขานมากเป็นพิเศษบน social network แต่ตลกร้ายตรงที่มันไม่ใช่เพราะมี “วันปรีดี” หรือ “วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง” ระบุไว้ในปฏิทินตามบ้าน แต่เป็นเพราะ “ดราม่า” นักศึกษาใหม่โพสต์ท่าโหนรูปปั้นนายปรีดีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากวันครบรอบชาตกาล 112 ปี ปรีดี พยมยงค์ เพิ่งผ่านไปไม่นาน ชาวธรรมศาสตร์ได้นำมาภาพนี้มาประณาม วิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม และมีการแชร์ต่อกันมากกว่า 600 ครั้งจากแหล่งเดียวกัน บางคนเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาจัดการ ขณะที่บางส่วนมองว่าการประณามดังกล่าวเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล

เพียงสองวันหลังเกิดกระแสดังกล่าว กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) ได้จัดกิจกรรม จากดราม่า "น้องอั้ม" ถึง "รูปปั้นอ.ปรีดี"  เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ณ ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ชั้น 2 ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเป็นการพาผู้ร่วมงานทัวร์ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของรูปปั้นนายปรีดีในภาพที่กลายเป็นดราม่า เพื่อให้ทราบถึงประวัติและแนวคิดของนายปรีดี พนมยงค์

“จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คิดว่าน่าจะมีการพูดถึงอาจารย์ปรีดีมากกว่าเดิม เราจะไม่เข้าใจเจตนาในการถ่ายภาพของอั้มจริงๆ ถ้าเกิดไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และอุดมการณ์ของอาจารย์ปรีดีก่อน” ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษากลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย เท้าความถึงที่มาของกิจกรรมนี้

 

 

ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษากลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย หนึ่งในผู้จัดกิจกรรม

 

ปราบเล่าถึงสาเหตุการถ่ายรูปของ อั้ม เนโกะ ซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นน้อง ว่ามาจากการที่อั้มเกิดคำถามในวันแรกพบของนักศึกษาใหม่ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดอาจารย์ปรีดี ว่าทำไมจึงมีแต่กิจกรรมเคารพสักการะบูชารูปปั้นอาจารย์ปรีดีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รุ่นน้องทุกคนจะถูกรุ่นพี่ปลูกฝังให้ไหว้ “พ่อปรีดี” ทั้งที่ความจริงแล้วอาจารย์ปรีดีมีเรื่องราวมากมายที่ถูกลืมและสังคมต้องรู้ แต่ไม่มีการพูดถึงเลย รวมทั้งเห็นระบบโซตัสแล้วมองว่านักศึกษาควรจะมีความเท่าเทียมกันตามเจตนารมณ์ อุดมการณ์ ของอาจารย์ปรีดี ซึ่งต้องศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวของอาจารย์ปรีดีจึงจะเข้าใจ

ปราบ กล่าวว่า อั้มถ่ายภาพดังกล่าวเพื่อท้าทายสังคมหรือคนที่รักอาจารย์ปรีดีให้ตั้งคำถามกับตนเองว่า เราควรจะรักและเคารพแบบใด การเคารพอาจารย์ปรีดีแบบบูชารูปปั้น เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ “ล่วงละเมิดมิได้” มันจะนำไปสู่การเคารพแบบไม่คิด เคารพเพราะเห็นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกคนต้องบูชา ไม่ศึกษาเรื่องราวและแนวคิดของเขาให้ดีก่อนที่จะเคารพ ซึ่งมันไม่ได้ประโยชน์อะไร การเคารพอาจารย์ปรีดีในทางที่ดีที่สุดคือการนำเรื่องราวของอาจารย์ปรีดีไปเรียนรู้และไปกระจายให้มากที่สุด ไม่ใช่การออกมาปกป้องรูปปั้น

“คุณดุษฎี พนมยงค์ บุตรสาวของอาจารย์ปรีดีก็มาบอกว่าภาพนั้นอาจจะไม่เหมาะสม แต่ไม่ผิด เพราะเป็นตามอุดมการณ์ของอาจารย์ปรีดีที่ว่าเรากับเขาต้องเท่ากัน ผู้จัดการสถาบันปรีดีพนมยงค์ก็ออกมาให้กำลังใจน้องอั้ม ว่ามันเป็นการท้าทายให้คนที่รักอาจารย์ปรีดีอย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ให้รักอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น คือต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ก็เลยจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจในประเด็นดังกล่าว มารับข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ปรีดีมากขึ้นมาใช้ประกอบการพิจารณา”

“จริงๆแล้วนักศึกษาธรรมศาสตร์รู้เรื่องราวเกี่ยวกับอาจารย์ปรีดีน้อยมาก พอเข้ามาก็แทบไม่ได้เรียนรู้อาจารย์ปรีดีเลยนอกจากว่าเป็นผู้ก่อตั้งมหาลัย มันจึงมีเหตุการณ์ที่ว่านักศึกษาธรรมศาสตร์กล่าวหานักศึกษาธรรมศาสตร์ด้วยกันเองว่าเป็นพวกล้มเจ้า หรือมีบัณฑิตธรรมศาสตร์ออกมาขับไล่นิติราษฎร์ให้ออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันสะท้อนว่าสังคมไทยหรือบัณฑิตธรรมศาสตร์ ไม่เคยเรียนรู้เรื่องอะไรจากอาจารย์ปรีดีเลย อาจารย์ปรีดีทำไมต้องถูกขับไล่ออกนอกประเทศ และไปเสียชีวิตต่างประเทศ ด้วยข้อหาล้มเจ้า ข้อหาคอมมิวนิสต์ สิ่งเหล่านี้มันยังเกิดขึ้นในสังคมไทยจนทุกวันนี้ นั่นหมายความว่า เราเรียนรู้อะไรบ้าง หรือว่าเราแค่รู้จักอาจารย์ปรีดีและเคารพเหมือนทวยเทพ เหมือนเครื่องสักการะบูชาที่ไร้ความหมาย นักศึกษาธรรมศาสตร์จะเรียกอาจารย์ปรีดีว่าพ่อ อย่าลืมไหว้พ่อนะ เอาพวงมาลัยไปไหว้ อย่าลืมไปจุดธูปบูชา ขอเกรดดีๆ  นั่นไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และไม่ใช่อุดมการณ์ของอาจารย์ปรีดี”

ส่วนกรณีที่นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สั่งให้ตรวจสอบเรื่องนี้ ปราบเห็นว่าเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องออกมาดูแล แต่ต้องดูว่าเป็นการดูแลแบบสนับสนุนคนที่พยายามจะล่าแม่มดหรือไม่ วิธีการที่ดีที่สุดคือผู้บริหารควรจะเผยแพร่เรื่องราวของอาจารย์ปรีดีมากๆ ไม่ควรจะทำหน้าที่เพียงการออกมาปกป้องรูปปั้นเท่านั้น

 

น้องอั้ม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่โพสท่าถ่ายรูปกับรูปปั้นปรีดีที่เป็นข่าว

อั้ม เนโกะ สาวประเภทสองซึ่งเป็นผู้โพสท่าโหนรูปปั้นนายปรีดี เป็นผู้หนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม ผู้สื่อข่าวจึงถามถึงความรู้สึกต่อกระแสสังคมที่โจมตีอย่างรุนแรง เธอกล่าวว่า การประณามหรือการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะว่าตัวเองยอมรับแล้วว่าต้องมีกระแสที่ไม่ชอบอย่างมาก พร้อมรับการวิจารณ์ แต่สำหรับคนบางกลุ่มที่ต้องการจะคุกคามหรือใช้ความรุนแรงในการจัดการความคิดที่ต่างนั้น ตนมองว่าไม่ต่างอะไรกับช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่พอใจนักศึกษาใช้ข้ออ้างต่างๆนานาเพื่อคุกคามและเข่นฆ่าคนที่คิดต่างจากตน การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างเป็นสิ่งที่สำคัญในสังคมประชาธิปไตย

“อาจารย์ปรีดีพยายามทำให้สังคมไทยมีสิทธิเสรีภาพ มีการเคารพซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างและหลากหลาย และเปิดธรรมศาสตร์ให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งองค์ความรู้เก่า และการคิดแบบใหม่ที่แตกต่างสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น แต่ทุกวันนี้การศึกษาไทยไม่ได้สอนให้เด็กเข้าใจการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างบ้างเลย ไม่ได้สอนให้เคารพถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น กลับเป็นการสนับสนุนประชาชนที่เห็นต่างถูกทำร้าย ถูกฆ่า ถูกไล่ออกจากประเทศ ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย ถูกไล่ออกจากสังคมโดยรวมโดยที่ไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้แก่คนที่คิดต่าง เมื่อคุณมีพื้นที่ที่จะเชื่อแล้ว คุณก็ต้องมีพื้นที่ให้กับคนที่ไม่เชื่อได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างสันติ อย่างมีเหตุผลซึ่งกันและกัน จึงจะนำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎร์และอาจารย์ปรีดีได้วางรากฐานเอาไว้”

อั้มยังกล่าวว่าแม้การกระทำของตนจะทำให้หลายคนรู้สึกกระทบกระเทือนใจ แต่ตัวเองไม่ได้มีเจตนาลบหลู่หรือดูหมิ่นอาจารย์ปรีดีแต่อย่างใด สิ่งที่ตนต้องการจะสื่อแก่สังคมนั้นมีอะไรมากกว่าการแสดงออกที่เห็นภายนอก ต้องการให้เห็นว่านักศึกษากับอาจารย์ปรีดีนั้นเปรียบเสมือนเพื่อนใหม่ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน อาจารย์ปรีดีไม่ต้องการให้มนุษย์มีการแบ่งสูงแบ่งต่ำ ในงานรับเพื่อน (การรับน้องของธรรมศาสตร์) รุ่นพี่สั่งให้รุ่นน้องลงไปกราบอาจารย์ปรีดี แต่ตอนไหว้ไม่ได้สอนให้รุ่นน้องตระหนักถึงสิ่งที่อาจารย์ปรีดีต้องการสื่อถึงสังคม หรือจุดยืนทางการเมืองของธรรมศาสตร์ตอนที่ก่อตั้งเลยแม้แต่นิดเดียว รู้เพียงว่าอาจารย์ปรีดีเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ปรีดีต้องการให้ตัวเองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเทพเจ้าที่ต้องมาบนขอเกรดเอ ขอให้ได้งานทำดีๆ หรือไม่ และเราจะให้ความสำคัญกับสิ่งๆไหนระหว่างลัทธิบูชารูปปั้น หรือการนับถือที่แนวคิดและการกระทำของอาจารย์ปรีดี

 

ภาพกิจกรรม จากดราม่า "น้องอั้ม" ถึง "รูปปั้นอ.ปรีดี"

 

 

นักศึกษากลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย พาชมห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ซึ่งแสดงชีวประวัติและแนวคิดของนายปรีดี ในแต่ละจุดจะมีการสอดแทรกสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว

 

 

เสาที่สูงเหลื่อมล้ำกันนี้แสดงถึงสภาพสังคมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีความเหลื่อมล้ำ ภาพส่วนบนของเสาแสดงชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยของเจ้านาย ภาพส่วนล่างแสดงความแร้นแค้นของสามัญชน

 

 

แผนการอภิวัฒน์สยามเป็นแผนการที่ลับมาก ผู้ชมต้องโค้งจ้องถ้ำมองเพื่ออ่านแผนการลับหลังภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม

 

เสา 6 ต้นแสดงถึงหลัก 6 ประการ หลักการสำคัญของคณะราษฎรในการอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475 เสาทุกต้นมีความสูงเท่ากัน ต่างกับเสาที่สูงเหลื่อมล้ำกันในพื้นที่ที่กล่าวถึงยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์

 

แผนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นความลับจนทำให้นายปรีดียังต้องโกหกภรรยาว่าไปอยุธยาในช่วงที่เริ่มปฏิบัติการ แต่ได้เขียนจดหมายมาขอโทษที่ตนโกหกในภายหลัง

 

 

 

พื้นที่สีแดง ลวดหนามรายล้อม แสดงมรสุมชีวิตของนายปรีดีที่ถูกกลุ่มอำนาจเก่าและศัตรูทางการเมืองโจมตีอย่างหนักทั้งการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ล้มเจ้า และกล่าวหาอยู่เบื้องหลังการสวรรคตรัชกาลที่ 8 กระทั่งถูกรัฐประหาร ทำให้นายปรีดีหมดอำนาจ และต้องหนีออกนอกประเทศในภายหลัง ประชาธิปไตยของไทยถูกบิดเบือนความหมายนับแต่นั้นมา

 

ส่วนนี้กล่าวถึงการอสัญกรรมอย่างสงบของนายปรีดีที่กรุงปารีสในปี 2526 โดยไม่มีการส่งพวงหรีดจากรัฐบาลไทยในสมัยนั้น (รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์)

 

ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปี 2526 นักศึกษาธรรมศาสตร์นำถ้อยคำนี้ไปขึ้นภาพแปรอักษรเพื่อระลึกถึงนายปรีดี

 

ห้องโถงกลางมีจุดเด่นอยู่ที่รูปปั้นนายปรีดี ด้านหลังมีแท่งประติมากรรมแสดงหลักการสำคัญ 5 ประการของแนวคิด “สังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย” ที่เกิดจากการตกผลึกความรู้และประสบการณ์ที่สังคมมายาวนานของนายปรีดี ได้แก่ 1.เอกราช 2.อธิปไตย 3.สันติภาพ 4.ความเป็นกลาง 5.ความไพบูลย์และประชาธิปไตย โครงสร้างเสาที่ยังไม่สมบูรณ์เปรียบเช่นแนวคิดของนายปรีดีที่ยังไม่บังเกิดผล ผู้นำชมยังกล่าวว่าความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่แนวทางใหม่ทำให้นายปรีดีถูกกำจัดกระทั่งไม่สามารถกลับมาเหยียบแผ่นดินแม่ได้ นั่นทำให้รูปปั้นนายปรีดีไม่มีขา

 

หมายเหตุ: ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ และหอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ที่อาคารโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เปิดให้เข้าชมในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-15.30น.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำถามที่ต้องตอบ จากกรณีโศกนาฏกกรรมโรงไฟฟ้าชีวมวลอุดรฯ

Posted: 17 May 2012 02:32 PM PDT

อุบัติเหตุอาคารโรงไฟฟ้าชีวมวลถล่มกับคำถามถึงมาตรฐาน การดูแลผลกระทบ และการมีส่วนร่วม หากแม้แต่มาตรฐานก่อสร้างขั้นต้นยังไม่มีความปลอดภัย แล้วชาวบ้านจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าจะดูแลผลกระทบต่อชุมชน วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อมได้

 

 

กระแสข่าวครึกโครมเป็นการใหญ่ เมื่อเขตงานก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล หรือที่ชาวบ้านรับรู้ว่าโรงงานไฟฟ้าแกลบ ที่มีตัวอาคารโรงงานกว้างกว่า 240 เมตร สูง 15-30 เมตร บนพื้นที่ตั้งกว่า 100 ไร่ของบริษัท บัวสมหมาย ไบโอแมส จำกัด ในเขตพื้นที่ ต.หนองนาคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี โครงสร้างได้พังถล่มลง จนทำให้คนงานก่อสร้างเสียชีวิตทันที 1 ราย รถยนต์ 4 คัน ที่จอดอยู่ภายในตัวอาคารถูกต้นเสาและโครงเหล็กทับพังเสียหาย รวมถึงรถเครนขนาดใหญ่ที่จอดอยู่ถูกทับขาดเป็นสองท่อน ประเมินค่าเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

เหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่นำมาสู่ความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. ในช่วงเย็นของวันที่ 4 พ.ค.55 ขณะที่กลุ่มคนงานก่อสร้างที่อยู่ภายในตัวอาคารโรงงานประมาณ 20 คน กำลังปฏิบัติหน้าที่ตามปรกติ ได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชกพัดใส่ตัวอาคารอย่างรุนแรง จนหัวหน้าคนงานต้องสั่งให้ลูกน้องหยุดการปฏิบัติงานและให้เข้าหาที่หลบกำบังภายในตัวอาคาร แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อตัวโครงสร้างเสาโรงงานที่ทุกคนเชื่อมั่นว่าแข็งแรงมั่นคงและได้มาตรฐาน กลับทยอยโค่นพังลงจนถล่มลงทั้งหมด เมื่อลมแรงระลอกสุดท้ายได้โถมเข้าใส่ตัวอาคาร
 
สิ้นสุดอาคารร่างทรงมหึมา คนงานก่อสร้างกว่า 20 ชีวิต วิ่งหนีเอาชีวิตรอดแทบไม่ทัน แต่มัจจุราชก็ยังต้องการชีวิต เมื่อเคราะห์กรรมตกอยู่ที่ชายหนุ่มจาก จ.นนทบุรี วัยเพียง 30 ปีเศษ ซึ่งไม่อาจหนีพ้นเอื้อมมือของอุบัติเหตุในครั้งนี้ได้ เขาถูกคานซึ่งจะรองรับน้ำหนักของโครงหลังคาทับเสียชีวิตคาที่ ทว่าสิ่งที่น่าแปลกและชวนสงสัยจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ คือ บ้านพักคนงานและบ้านชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งปลูกกันเป็นแบบมุงหญ้าคาธรรมดา กลับไม่มีความเสียหายใดๆ จากลมพายุฟ้าฝนในครั้งนี้เลย
 
นางสาวสดใส สร่างโศก กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนและเป็นธรรม จ.อุบลราชธานี ตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า หากไม่เกิดอุบัติเหตุพังถล่มครั้งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่จะยังรู้หรือเปล่าว่าจะเกิดโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นที่บ้านของตนเอง จะรู้หรือเปล่าว่าหากสร้างเสร็จจะเกิดผลกระทบใดๆ ตามมากับชุมชน สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของคนที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้าฟ้าชีวมวล ซึ่งโรงงานที่เกิดอุบัติเหตุนี้อยู่ห่างจากชุมชนไม่ถึง 1 กิโลเมตร และบริษัทบัวสมหมายฯ ไม่ได้สร้างแค่ที่อุดรฯ แห่งเดียว ที่ผ่านมามีการดำเนินโครงการและเริ่มทยอยก่อสร้างอีกมากมาย ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วอย่าง จ.อุบลราชธานี หรือที่กำลังดำเนินการขออนุญาตอย่าง จ.ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ
 
“กรณีที่อุบลฯ หลังจากโรงงานเปิดใช้งานขึ้นก็เกิดปัญหากับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ผลกระทบจากฝุ่นโรงงานทำให้เกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจโดยเฉพาะกับเด็ก ปัญหาการแย่งแหล่งน้ำใช้จากชาวบ้าน เนื่องจากโรงไฟฟ้าชีวมวลต้องการใช้น้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าสูง จึงทำให้ชาวบ้านที่ใช้น้ำในการเกษตรต้องมาเสียสละแบ่งปันแหล่งน้ำให้นายทุน โดยต้องมาเสียประโยชน์จากผลิตผลทางการเกษตรของตนเองโดยที่ไม่ได้อะไรเลย” นางสาวสดใสกล่าว
 
นางสาวสดใส ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลที่อุดรฯ เริ่มแรกจะผลิตไฟฟ้าเพียง 10 เมกะวัตต์ เพื่อหลีกเลี่ยงการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมทั้งสร้างภาพต่อชุมชนว่าเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กในชุมชนไม่มีผลกระทบรุนแรง แต่เมื่อผ่านไปสักระยะจะเพิ่มพลังการผลิตเป็นกว่า 30 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ผลกระทบเกิดขึ้นตามอย่างทบทวีคูณ ทั้งการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองที่เพิ่มมากขึ้น หรือปัญหาความขัดแย้งจากการแย่งชิงแหล่งน้ำจากเกษตรกรและชุมชนเพื่อให้เพียงพอต่อการผลิต ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วที่ จ.อุบลราชธานี ที่ผ่านมา บริษัทบัวสมหมายฯ หรือบริษัทอื่นที่จะดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ไม่เคยสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมหรือให้คนในชุมชนเจ้าของพื้นที่ได้แสดงความคิดเห็นและออกแบบการผลิตพลังงานในชุมชนของตนเองเลย แล้วอะไรจะเป็นมาตรฐานรองรับในเรื่องนี้ให้กับชุมชนและชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบได้
 
“ขณะนี้มีแผนการที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลในอีสานกว่า 300 โรงงาน โรงไฟฟ้าชีวมวลซึ่งเป็นเรื่องของพลังหมุนเวียนที่ได้ใช้ประโยชน์ก็จริง แต่หากขาดความรับผิดชอบต่อผลกระทบ ไร้มาตรฐานในการจัดการดูแล ก็ไม่รู้จะมีไปทำไม เพราะคนที่จะต้องรับชะตากรรมโดยตรงจากผลกระทบ คือชาวบ้านที่ต้องอยู่กับโรงงานกว่า 25 ปีของระยะเวลาการให้อนุญาตดำเนินกิจการ ไม่ใช่นายทุนเจ้าของกิจการที่มาแล้วก็ไป” นางสาวสดใสกล่าวทิ้งท้าย
 
ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าสาเหตุสำคัญของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นมาจากดินฟ้าอากาศ? มาตรฐานการก่อสร้าง? หรือความประมาทเลินเล่อของคนงาน? กันแน่ และหากเป็นเช่นนี้ชาวบ้านในพื้นที่จะมั่นใจกับโรงงานขนาดใหญ่ที่จะตั้งในชุมชนได้อย่างไร เพราะแม้แต่มาตรฐานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโรงงานขั้นต้นยังไม่มีความปลอดภัย ถ้าหากโรงงานแล้วเสร็จและมีการตั้งโรงงานขึ้น ชาวบ้านจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าผลกระทบอื่นจะดูแลและจัดการได้ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อมในภายหลัง
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

18 พ.ค.2553 “วันนี้มีใครตาย”

Posted: 17 May 2012 01:43 PM PDT


นายออง ลวิน (มูฮัมหมัด อารี) 
อายุ  21 ปี  สัญชาติ พม่า ถูกยิงเวลาประมาณ 17.30 น.บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง บาดแผลกระสุนปืนที่หน้าอกทะลุเข้าช่องอก เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาลทหารผ่านศึก       

 

 

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘หมอตุลย์’ นำประชาชนร่วมรำลึกครบ 2 ปี การบุก รพ.จุฬา

Posted: 17 May 2012 01:14 PM PDT

 

 

 

เมื่อเวลา16.00 น. ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าร.6 กลุ่มเสื้อหลากสีนำโดยนพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ มีกิจกรรมนัดรำลึกเหตุการณ์สองปีที่มีการบุกรุกเข้าตึก สก. รพ.จุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553  พร้อมแจกหนังสือตามหาความจริงผู้ก่อการรุนแรงเหตุการณ์ 12 มีนาคม-19พฤษภาคม2553 (พลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม และเพื่อนมิตรที่จากไป) โดยสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน

เวลา16.45 น. นพ.ตุลย์ได้เริ่มนำขบวนไปยังถนนสีลมหน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยาเพื่อรำลึกถึงนางสาวธัญนันท์ แถบทอง ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิด M79 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553   ตัวแทนกลุ่มได้กล่าวไว้อาลัยว่าเพื่อให้ตระหนักว่าการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยนั้นควรปราศจากอาวุธ แต่การชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นได้มีการใช้อาวุธสงครามกระทำต่อพลเรือนเป็นเหตุให้มีการสูญเสียของประชาชนที่ไม่ใช่คนเสื้อแดงด้วย เป็นเพียงผู้ที่นำอาหารมาให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้น หลังจากนั้นจึงยืนสงบนิ่งไว้อาลัย

 


 

ต่อมาได้เดินขบวนมายังบริเวณหน้าตึกสก.รพ.จุฬา นพ.ตุลย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 นายพายัพ ปั้นเกต แกนนำนปช.ได้นำกำลังบุกเข้ารพ.จุฬาอ้างว่าได้มีเจ้าหน้าที่ทหารอยู่ภายใน รพ.นั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อวิชาชีพแพทย์และพยาบาลและขณะนั้นสมเด็จพระสังฆราชประชวรอยู่ จึงต้องนำส่งตัวไปรักษายัง รพ.ศิริราชแทน

นพ.ตุลย์ยังกล่าวอีกว่าเหตุการณ์วันนั้นเชื่อได้ว่าคนเสื้อแดงต้องการเข้ามาจับตนเอง เพราะตอนนั้นได้เกิดกลุ่มเสื้อหลากสีแล้ว หากวันนั้นจับได้ตนคงตายไปแล้ว ทั้งนี้นพ.ตุลย์ ได้เรียกร้องว่าผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมจำนวน 91 ศพนั้นไม่ได้มีแต่เพียงคนเสื้อแดง ยังมีเจ้าหน้าที่ทหารอย่างพลเอกร่มเกล้า ธุวธรรมที่นับเป็นศพแรกด้วย อย่าเร่งดำเนินคดีเพียงแค่ 13 ศพเท่านั้น 

ในเวลา 18.30 น.มีการจุดเทียนรำลึก จากนั้นจึงมีการปิดกิจกรรมด้วยการร่วมกันยืนร้องเพลง เพลงสดุดีมหาราชาและเพลงสรรเสริญพระบารมี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ใหม่ฝรั่งเศสเตรียมตัดเงินเดือน 30% หวังผ่อนปัญหาเศรษฐกิจประเทศ

Posted: 17 May 2012 10:52 AM PDT

คณะรัฐบาลชุดใหม่ของฝรั่งเศสเตรียมตัดลดเงินรายได้ของตนเองลงร้อยละ 30 เพื่อแสดงให้ประชาชนฝรั่งเศสเห็นความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ

17 พ.ค. 55 - คณะรัฐบาลชุดใหม่ของฝรั่งเศสภายใต้การนำของประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ เตรียมเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในวันนี้ที่กรุงปารีส ซึ่งนายกรัฐมนตรี ฌอง-มาร์ก เอโรลต์ ประกาศว่า วาระเร่งด่วนของรัฐบาลชุดใหม่คือการตัดลดเงินรายได้ของคณะรัฐมนตรีลงร้อยละ 30 เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนฝรั่งเศส และแสดงความจริงใจของรัฐบาลชุดใหม่ในการเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของฝรั่งเศสด้วย

ทั้งนี้ การตัดลดเงินรายได้ของประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่สะท้อนให้เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างรัฐบาลชุดใหม่กับชุดเก่า โดยอดีตประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาโกซีย์ เพิ่มรายได้ให้กับตัวเองถึงร้อยละ 170 ภายในช่วงเวลา 5 ปีที่เขาดำรงตำแหน่ง คิดเป็นจำนวน 19,000 ยูโร

นายกรัฐมนตรีฌ็อง-มาร์ก เอโรลต์ ได้เสนอพ.ร.บ. เพื่อตัดเงินเดือนของคณะรัฐมนตรีลงร้อยละ 30 ซึ่งคิดเป็น 9,940 ยูโรต่อเดือน เช่นเดียวกับรัฐมนตรีระดับล่าง ซึ่งจะได้รับเงินเดือน 9,443 ยูโร หลังจากถูกตัดรายได้ลง

ส่วนรายได้ของนายเอโรลต์และอัลลองด์นั้น ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยพ.ร.บ. จึงมีกำหนดการผ่านกฎหมายในภายหลังเมื่อเริ่มมีการประชุมสภา โดยการตัดเงินเดือนจะมีผลย้อนหลัง ซึ่งจะส่งผลให้พวกเขาได้รับรายได้ 14,910 ยูโรต่อเดือน

"เราจำเป็นต้องยึดมั่นในกฎเกณฑ์ขององค์กรและปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดตามที่หลักการที่รัฐบาลนี้ได้ยึดมั่น" นาจา วัลโล เบลกาเซม โฆษกของรัฐบาลกล่าวหลังการเสร็จสิ้นประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรก   

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก New French Government Begins By Cutting Its Own Pay และเนื้อหาบางส่วนจาก สำนักข่าวแห่งชาติ 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อากง 112"

Posted: 17 May 2012 09:45 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อากง 112"

ถึงเวลากำจัดความเกลียดชังต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ

Posted: 17 May 2012 09:03 AM PDT

 
 
ในขณะที่ชาวอเมริกันที่เป็นหญิงรักหญิง ชายรักชาย รักสองเพศ และคนข้ามเพศ รู้สึกตื่นเต้นยินดีกับคำประกาศของประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าที่สนับสนุนการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันเมื่อสัปดาห์ก่อน ชุมชนความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยได้แต่เฝ้ามองด้วยความอิจฉา เพราะเราอาจต้องรออีกหลายทศวรรษกว่าจะมีผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมเช่นโอบาม่า
 
สถานการณ์จริงในปัจจุบันของประเทศไทยนั้นตรงกันข้าม การเมืองไทยเต็มไปด้วยความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ เมื่อรมต.มหาดไทย ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์มีแนวคิดเรื่องการรับรองการแต่งงานคนรักเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมายเมื่อหลายปีก่อน แนวคิดนั้นก็ถูกปัดตกไปอย่างรวดเร็วโดยนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ พตท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นแนวคิดแบบตะวันตก
 
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน จสต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เรียก นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.ประชาธิปัติย์ ว่า  “แต๋วแตก” คำตอบกลับของนายบุญยอดคือ “ไม่ได้เป็นอย่างที่กล่าวอ้าง ในพรรคเพื่อไทยมีคนที่แต๋วแตกมากกว่าอีก”
 
การกล่าวอ้างว่าฝ่ายตรงข้ามเป็น เกย์ กะเทย ตุ๊ด แต๋ว เพื่อโจมตีทางการเมือง ถูกนำมาใช้โดยทั้งสองฝ่ายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สังคมไทยมองคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศว่า สติไม่สมประกอบ, บกพร่องทางศีลธรรม ดังนั้นจึงไม่สมควรได้รับความเคารพใดๆ
 
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าจะคาดเดาได้ ในประเทศที่ 1) วิชาการทางการแพทย์ยังจัดให้กะเทยเป็น “ความผิดปกติทางจิต”  2) ประชากรส่วนใหญ่ที่เรียกตัวเองว่าเป็น “พุทธ” เชื่อว่าหญิงรักหญิง ชายรักชาย กะเทยและคนข้ามเพศ เป็นพวกผิดศีลธรรมเพราะทำกรรมในชาติก่อน 3) นักเรียนมัธยมต้นถูกสอนในตำราของกระทรวงศึกษาธิการและในการสอบโอเน็ตว่า การรักเพศเดียวกันคือ “ความเบี่ยงเบนทางเพศ” 4) สื่อที่ได้รับความนิยม เช่นรายการตีสิบ คอยตอกย้ำความเชื่อในเชิงลบเช่นนี้อยู่ซ้ำๆ โดยการเลือกนำเสนอภาพว่า หญิงรักหญิง ชายรักชาย และกะเทย เป็นมีศีลธรรมต่ำ, สำส่อน และแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี
 
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยไม่มี บุคคลสาธารณะที่ประกาศตัวเองอย่างเปิดเผยว่าชอบเพศเดียวกัน แม้จะเป็นเรื่องที่รู้ๆ กันอยู่ว่า ผู้นำประเทศหลายคนก็เป็นคนรักเพศเดียวกัน แม้แต่คนรักต่างเพศที่ไม่กลัวจะถูกลือว่าเป็นเกย์หรือเลสเบี้ยนก็ยังลังเลที่จะสนับสนุนสิทธิความหลากหลายทางเพศ เพราะกลัวถูกมองว่ามีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำไปด้วย
 
ชาวต่างชาติมักมองประเทศไทยว่า เป็นประเทศที่ “ให้การยอมรับ” ต่อหญิงรักหญิง ชายรักชาย และกะเทย เพราะพบเห็นกะเทยได้ทั่วไปมากกว่าในประเทศของตน แต่มายาคตินี้ตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานผิดๆ ที่ว่า กะเทยที่พบเห็นได้ทั่วไปนั้นได้รับการยอมรับนับถือหรือสิทธิต่างๆ อย่างเสมอภาค น้อยคนนักที่จะสังเกตว่ากะเทยเหล่านั้นได้รับโอกาสให้ทำงานแต่ในระดับล่าง  หรือการที่เห็นเกย์ไทยสนุกสนานกันเต็มที่กับชีวิตกลางคืนตามผับบาร์เกย์ที่มีอยู่ทั่วไป ก็ปิดบังความจริงที่ว่า มีเกย์จำนวนน้อยที่เปิดเผยตนเองกับครอบครัว และยิ่งน้อยลงไปอีกที่จะเปิดเผยตนเองในที่ทำงาน โดยเฉพาะหากทำงานในภาครัฐหรือบริษัทใหญ่ 
 
จริงอยู่ที่ว่า หญิงรักหญิง ชายรักชาย และกะเทย ในเมืองไทยไม่ต้องกลัวโดนเอาไม้มาทุบหัวเหมือนในต่างประเทศ แต่นั่นก็เป็นเพราะ จารีตวัฒนธรรม ได้คอยตอกย้ำเข้าไปในสมองอยู่แล้วว่า มีความเป็นมนุษย์น้อยกว่าคนอื่น ตราบใดที่เรายังอยู่เงียบๆ ในรั้วที่วัฒนธรรมกำหนดไว้ สังคมก็จะปล่อยเราเฉยๆ แต่หากเราพยายามที่จะข้ามเข้าไปในพื้นที่ที่เป็นทางการมากขึ้น สังคมก็พร้อมที่จะลงทัณฑ์ให้เรา “อยู่กับร่องกับรอย” บางครั้งถึงขนาดด้วยการใช้ความรุนแรง
 
การก่อม็อบปิดกั้นรุมด่าทอยับยั้งขบวนพาเหรดเชียงใหม่เกย์ไพรด์เมื่อสามปีก่อน หรือการที่ผู้คนส่วนใหญ่ในเชียงใหม่สนับสนุนคำสั่งห้าม “การแต่งกายผิดเพศ” บนขบวนรถบุปผชาติและสงกรานต์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการต่อต้านทางวัฒนธรรมไม่ให้หญิงรักหญิง ชายรักชาย และกะเทย ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค
 
ปริมณฑลสาธารณะไม่ใช่พื้นที่เดียวที่หญิงรักหญิง ชายรักชาย และกะเทย ต้องคอยระมัดระวัง คนจำนวนมากรู้สึกอึดอัดเมื่อรู้สึกว่ามีหญิงรักหญิง ชายรักชาย หรือกะเทย เข้ามาในพื้นที่ส่วนตัวของตน คนส่วนใหญ่ยังคงต่อต้านร่างกฎหมายที่จะรับรองการแปลงเพศ ด้วยเหตุผลว่า ผู้ชายจะ “ถูกกะเทยหลอก” แต่งงาน (ในขณะที่กฎหมายการแต่งงานของคนเพศเดียวกันดูเหมือนจะดู “น่ากลัว” น้อยกว่า เพราะไม่เกี่ยวกับคนส่วนใหญ่) 
 
สถานการณ์ยิ่งรุนแรงถึงขั้นชีวิต เมื่อมีผู้รู้สึกว่า “ถูกรุกล้ำ” พื้นที่ส่วนตัวจริง ไม่ใช่แค่จินตนาการสถานการณ์อนาคต
 
เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ทอมคนหนึ่งถูกฆ่าที่จังหวัดตราดและศพถูกนำไปทิ้งในอ่างเก็บน้ำ ผู้ต้องหาคือแม่ของหญิงสาวที่เป็นแฟนของเหยื่อสารภาพอย่างเต็มปากเต็มคำว่าที่วางแผนฆ่านั้นเพราะไม่อยากให้ลูกสาวคบกับทอม คดีนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า เหยื่อถูกฆ่าเพราะอัตลักษณ์ทางเพศของตน กรณีเช่นนี้จะถูกนับว่าเป็น "อาชญากรรมจากอคติเกลียดชัง" (hate crime) ในต่างประเทศที่มีกฎหมายต่อต้านอาชญากรรมที่มีแรงกระตุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนจากอคติรังเกียจของผู้กระทำต่ออัตลักษณ์ของผู้ถูกกระทำ เช่น กฎหมาย Matthew Shepart Act ในสหรัฐอเมริกา (เพื่อรำลึกถึงเด็กหนุ่มที่ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมเพราะเป็นเกย์)
 
เราต่างอยากภาวนาว่า กรณีนี้เป็นเพียงแค่กรณีที่เกิดขึ้นลอยๆ โดดๆ แต่เริ่มมีหลักฐานปรากฏให้เห็นว่านี่อาจเป็นหนึ่งในรูปแบบความรุนแรงต่อทอมและหญิงรักหญิงที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่นี้ เมื่อสามปีก่อน เด็กสาวอายุ 17 ปีสองคนที่มีความสัมพันธ์กันแบบหญิงรักหญิงถูกพบเป็นศพพร้อมแผลถูกแทงกว่าหกสิบแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตำรวจสันนิษฐานว่า ถูกฆาตกรรมด้วยฝีมือของผู้ชายที่มาติดพันคนใดคนหนึ่งและไม่พอใจในความสัมพันธ์ของเด็กทั้งสอง เนื่องจากไม่มีเหตุน่าสงสัยอื่นๆ ตำรวจจึงสันนิษฐานได้อย่างรวดเร็วว่า น่าจะเกิดจากความหึงหวงและอคติเป็นสาเหตุ แต่กรณีนี้นับว่าเป็นกรณียกเว้น
 
เนื่องจากการมองด้วยมุมมอง "อาชญากรรมจากอคติเกลียดชัง" ไม่มีอยู่ในระบบกฎหมายของไทย ตำรวจจึงมักฟันธงไปก่อนว่า กรณีอื่นๆ ที่คล้ายกันนั้นเกิดจากความหึงหวงกันทั่วๆ ไปเท่านั้น ในระยะเวลาหกปีที่ผ่านมา มีอีกอย่างน้อยห้าคดีที่ทอมหรือหญิงรักหญิงถูกฆ่าโดยตำรวจสันนิษฐานว่าสาเหตุเพราะไปติดพันผู้หญิงที่มีแฟนหรือสามีอยู่แล้ว
 
การสันนิษฐานเช่นนี้เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับผู้กระทำความผิด และโยนความผิดไปให้กับเหยื่อ ราวกับว่าการฆ่าทิ้งเป็นการตอบแทนที่สาสมแล้วกับการไปเกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่มีแฟนหรือสามีอยู่ก่อน ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้สังคมมืดบอดมองไม่เห็นว่า ในเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกัน หากผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นผู้ชายก็ไม่น่าที่จะถึงขนาดถูกฆ่าทิ้ง กรณีที่จังหวัดตราดแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ผู้ตายจะไม่ถูกฆ่าอย่างแน่นอนหากเธอเป็นผู้ชาย
 
การฆ่าทิ้งยังมิใช่ความรุนแรงอย่างเดียวที่ทอมและหญิงรักหญิงต้องประสบ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เด็กหญิงอายุ 14 ปีคนหนึ่งที่จังหวัดเลยเข้าแจ้งความกับตำรวจว่า ถูกพ่อแท้ๆ ข่มขืนมาตลอดสี่ปี โดยพ่อรับสารภาพและแก้ตัวว่า ทำไปเพราะ “ชอบคบหากับพวกทอม สั่งสอนแล้วไม่เชื่อ”  เป็นที่รู้กันว่าการข่มชืนหญิงรักหญิง “เพื่อรักษาให้หาย” (“corrective rape”) นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย แต่ที่ผ่านมาไม่เคยได้รบความสนใจจากภาครัฐ
 
กรณีต่างๆ เหล่านี้น่าจะเป็นเพียงแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ปลายให้เห็นเท่านั้น คำถามคือยังมีความรุนแรงจากความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศอีกมากมายเท่าใดที่ไม่ถูกรายงานหรือแจ้งความ กรณีการฆ่าทอมและหญิงรักหญิงอย่างโหดเหี้ยมเหล่านี้ทำให้องค์กรด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยร่วมกับ International Gay and Lesbian Human Rights Commission ส่งจดหมายถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการต่างประเทศ และสำเนาถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และให้มีมาตรการต่างๆ เพื่อกำจัดความรังเกียจและการเลือกปฏิบัติต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ ทั้งนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากภาครัฐแต่อย่างใด
 
รายงานของสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนองค์การสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้วระบุว่า การฆาตกรรม ทุบตีทำร้าย ลักพาตัว ข่มขืน และการประทุษร้ายทางเพศต่อ หญิงรักหญิง ชายรักชาย รักสองเพศ และคนข้ามเพศ เป็นความรุนแรงที่เกิดจาก “ความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงทางเพศ และมีแรงกระตุ้นจากความต้องการลงทัณฑ์ต่อผู้ที่ถูกมองว่า “ละเมิดบรรทัดฐานทางเพศ” และความรุนแรงเช่นนี้ “มักจะโหดเหี้ยมกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับอาชญากรรมที่เกิดจากอคติเกลียดชังรูปแบบอื่น”
 
การปิดหูปิดตาแสร้งบอกว่า “ประเทศไทยให้การยอมรับต่อเพศที่สาม” ทำให้สังคมไทยมืดบอดต่อความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคม เปิดโอกาสให้อาชญากรรมที่โหดเหี้ยมเช่นนี้เกิดขึ้น
 
จริงอยู่ที่ว่า กะเทย (จากชายเป็นหญิง) ไม่ค่อยตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยที่พบเห็นได้ทั่วไป แม้ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่ถูกเยาะเย้ยและเลือกปฏิบัติอยู่ แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อทอมและหญิงรักหญิงแสดงให้เห็นว่า การข้ามเส้นแบ่งเรื่องเพศจากหญิงไปเป็นชาย อาจเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยากสำหรับคนไทยบางส่วน โดยเฉพาะเมื่อเข้ามาใกล้กับชีวิตของตนเอง
 
ในโอกาสวันยุติความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศสากลในวันนี้ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนองค์กรสหประชาชาติ Navi Pillay ได้กล่าวว่า "ความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ ไม่ต่างกับลัทธิแบ่งเพศ การเหยียดผู้หญิง ลัทธิแบ่งแยกสีผิว และลัทธิรังเกียจคนต่างชาติ แต่ในขณะที่อคติต่างๆ ที่ว่านี้ถูกรัฐบาลทั่วโลกประณาม  ความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศมักกลับถูกมองข้ามไป แต่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าการเลือกปฏิบัติและอคติต่างๆ นั้นทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์อย่างโหดเหี้ยมเพียงใด ไม่มีใครมีสิทธิที่จะปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลอื่นๆ ว่ามีคุณค่าต่ำกว่าหรือ ไม่ควรค่าต่อการให้ความเคารพ พวกเราทุกคนมีสิทธิเช่นเดียวกัน ควรได้รับความเคารพและการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมเช่นเดียวกัน โดยไม่ขึ้นกับวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ"
 
แม้ว่าปีที่แล้วประเทศไทยจะปรับนโยบายต่างประเทศอย่างสำคัญ ด้วยการให้การสนับสนุนสิทธิความหลากหลายทางเพศในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก แต่รัฐบาลไทยกลับไม่ได้ให้การสนับสนุนมติสหประชาชาติที่ต้องการประณามการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรมด้วยสาเหตุความหลากหลายทางเพศ
 
มาถึงตอนนี้ เมื่อเริ่มมีหลักฐานว่า ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นในบ้านของเราเอง ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการในการกำจัดต้นตอของความรังเกียจต่อคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ ที่ยังแอบซ่อนอยู่อย่างแยบยล แต่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในสังคมไทย
 
 
 
(แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Nation วันที่ 17 พ.ค. 2555 http://www.nationmultimedia.com/opinion/Homophobia-and-prejudice-Its-time-to-kil-the-hate-30182152.html)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ยืนงบเหมาจ่าย สปสช. ปี 56 ลดร้อยละ 4.9

Posted: 17 May 2012 08:56 AM PDT

ลดจากปี 55 ก่อนปรับลดช่วยน้ำท่วมซึ่งตั้งไว้ที่ 2895.60 บาทต่อคน หรือลดลงร้อยละ 4.9 รพ.ร้องสวนทางนโยบายเพิ่มคุณภาพบัตรทองของรัฐบาล

ครม.มีมติเมื่อวันที่ 14 พค. ที่ผ่านมารับร่าง พรบ.งบประมาณปี 56 ในวงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท โดยตั้งงบเหมาจ่ายรายหัว สปสช. อยู่ที่ 2,755.60 บาทต่อคน ลดจากปี 55 ก่อนปรับลดช่วยน้ำท่วมซึ่งตั้งไว้ที่ 2895.60 บาทต่อคน หรือลดลงร้อยละ 4.9 และมีการปรับลดหรือตัดงบชดเชยบริการด้านอื่นๆ อีก เช่น งบค่าบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ได้รับ 410.0 ล้านบาทลดลงจากปี55 ร้อยละ 6.35 และตัดงบควบคุมป้องกันปอดอุดตันเรื้อรังที่ตั้งไว้ 99.5 ล้านบาท งบบริการผู้ติดยาเสพติดที่ตั้งไว้ 195.2 ล้านบาทและงบบริการจิตเวชจำนวน 142.1 ล้านบาท ทั้งสามรายการถูกตัดงบออกหมด

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทเปิดเผยว่า จากเอกสารงบประมาณที่สำนักงบประมาณเตรียมเสนอสภาผู้แทนราษฎรที่จะประชุมในระหว่างวันที่ 21-23 พค. นี้งบเหมาจ่ายรายหัว สปสช. ได้รับอนุมัติ 2,755.60 บาทต่อคนเป็นเงินหลังหักเงินเดือนหน่วยบริการของรัฐแล้วเหลือ 100,699 ล้านบาทดูแลประชากรบัตรทอง 48.44 ล้านคน หรือคิดเป็น 2,078.83 บาทต่อคน ขณะที่ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ปี 55 นี้ รัฐบาลตั้งงบกลางไว้ให้ 66,000 ล้านบาท ดูแลข้าราชการและครอบครัวประมาณ6 ล้านคน หรือเฉลี่ยคนละ 11,000 บาท คิดเป็น 5 เท่าของเงินที่รัฐบาลจัดสรรดูแลประชาชนทั่วไปในระบบบัตรทอง เป็นการเพิ่มความ เหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนมากขึ้นและทำให้ระบบบัตรทองเหมือนระบบอนาถาในอดีตสวนทางกับนโยบายรัฐบาลที่สัญญาว่าจะเพิ่มคุณภาพของระบบบัตรทองและสร้างความเท่าเทียมของสามกองทุน

“การปรับลดงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว สปสช.ปี 56 ของรัฐบาลนับเป็นครั้งแรกในรอบสิบปีนับแต่มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นต้นมาและเกิดขึ้นพร้อมกับที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศนโยบายจะเก็บเงินสามสิบบาทอีกครั้งหนึ่งรวมทั้งสัญญาว่าจะเพิ่มคุณภาพการเข้าถึงบริการของระบบบัตรทองให้เท่าเทียมระบบสวัสดิการข้าราชการ ลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างระหว่างสามกองทุนประกันสุขภาพของรัฐ ทำให้เกิดความแคลงใจว่า การที่รัฐบาลลดงบระบบบัตรทองและเพิ่มงบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการให้มากขึ้น ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากกว่าห้าเท่า จะทำให้เกิดความเท่าเทียมของประชาชนในการเข้าถึงคุณภาพบริการได้อย่างไรและการลดงบประมาณเหมาจ่ายขณะที่ภาวะเงินเฟ้อและการขึ้นค่าแรง ค่าครองชีพสูงขึ้น จะกระทบต่อฐานะการเงินของรพ.ในระบบ สปสช. ในปีหน้าอย่างหนัก โดยเฉพาะรพ.ของรัฐขนาดเล็กที่อยู่ตามอำเภอต่างๆ หลายร้อยแห่งส่วนรพ.ขนาดใหญ่ของรัฐและรพ.เอกชนจะหนีไปให้บริการข้าราชการและชาวต่างประเทศตามนโยบาย medical hub ของรัฐบาลมากกว่า ซึ่งตอนนั้นระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคก็จะเป็นระบบอนาถาสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ จะโยนบาปว่าเป็นเรื่องการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพของรพ.ของรัฐหรือของ สปสช.ไม่ได้” ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวย้ำ

นพ.อารักษ์  วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทเปิดเผยว่า ชมรมแพทย์ชนบทเป็นห่วงถึงนโยบายฉุกเฉินไปที่ไหนก็ได้แต่เป็นห่วงว่าแง่ปฏิบัติจริงแล้วรัฐบาลให้ความจริงใจแค่ไหนหรือเป็นเพียงการหาเสียงเพราะมีความพยายามจะจำกัดให้เฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตไปที่ไหนก็ได้เท่านั้น ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำเป็นอื่นๆ อีกจำนวนมากจะไม่ได้รับสิทธิและมีแนวโน้มว่ากระทรวงสาธารณสุขรวมทั้งกรมบัญชีกลางจะยอมขึ้นค่าชดเชยให้เอกชนมากกว่า 10,500 บาทต่อหนึ่งน้ำหนัก DRG ตามแรงบีบของสมาคม รพ.เอกชน รวมทั้งมีประเด็นทางกฎหมายว่าการที่ คณะกก.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติชุดใหม่ มีมติออกประกาศให้ใช้เงินจากกองทุน สปสช.ไปจ่ายชดเชยค่าบริการฉุกเฉินให้กับระบบประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการก่อนเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่ เพราะกฎหมายกำหนดให้เงินกองทุน สปสช. ใช้ชดเชยให้ได้เฉพาะผู้ป่วยในระบบ สปสช.เท่านั้น

“รมว.สาธารณสุขควรจะเสนอตั้งงบประมาณจากรัฐบาลเป็นกองทุนฉุกเฉินเพิ่มเติมสำหรับนโยบายนี้โดยเฉพาะและมอบให้ สปสช.เป็น Clearing house ไม่ใช่ให้ใช้เงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำรองจ่ายแทนกองทุนอื่นไปก่อนซึ่งกฎหมายไม่ได้อนุญาตให้ทำได้” อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กร ARTICLE 19 ให้ความเห็นกับศาลไทยในคดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

Posted: 17 May 2012 08:52 AM PDT

องค์กรนานาชาติ อาร์ติเคิล 19 (ARTICLE 19) เป็นองค์กรปกป้องสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ที่ทำงานรณรงค์กว่ายี่สิบปี เพื่อให้ประเทศต่างๆ เคารพและปฏิบัติตามหลักการมาตรา 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และ มาตรา 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 

มาตรา 19 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็น และการแสดงออกสิทธินี้ รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิด โดยปราศจากความแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถืงเขตแดน (คำแปลฉบับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.))

มาตรา 19 แห่ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 
1.     บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง

2.     บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภทโดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ ในรูปศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก

3.    การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค 2 ของข้อนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวอ่าจจะมีข้อจำกัดในบางเรือง แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ

     (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น

     (ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศิลธรรมของประชาชน (คำแปลฉบับ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.))

ARTICLE 19 เป็นใคร?
ARTICLE 19 เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนนานาชาติที่ทำงานเพื่อปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก ARTICLE 19 ได้ตั้งชื่อองค์กรและมุ่งมั่นในการปฏิบัติพันธกิจตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ได้ประกาศถึงสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออกรวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท

ในการนำเสนอความคิดเห็นครั้งนี้ต่อคดี พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 สำนักงานอัยการสูงสุด กับ นายสมยศพฤกษาเกษมสุข ARTICLE ได้นำเสนอข้อถกเถียงและเหตุผลประกอบจำนวน 60 ข้อ เพื่อให้ศาลไทยพิจารณา

ทั้งนี้ ARTICLE 19  ได้ระบุไว้ในความคิดเห็นครั้งนี้ว่า “ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ARTICLE 19 ได้เพิ่มพูนความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและสั่งสมประสบการณ์ในระดับนานาชาติเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน บ่อยครั้งที่ ARTICLE 19ได้ให้ความคิดเห็นในการพิจารณาคดีต่อศาล ทั้งในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ หรือให้แนวทางและ/หรือทำงานร่วมกับทนายความท้องถิ่นเพื่อเตรียมคดีในกรณีที่จะต้องขึ้นศาลในประเทศ ข้อเสนอแนะของ ARTICLE 19 ตั้งอยู่บนมาตรฐานที่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน และการเปรียบเทียบกับกฎหมายอื่นที่ได้มาตรฐานเดียวกัน ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้การหนุนช่วยศาลในการตีความหมายที่เฉพาะเจาะจงในกรณีที่เป็นประเด็นเฉพาะของคดีที่ต้องตีความคำว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างถึงที่สุด

ความคิดเห็นของ ARTICLE 19 ต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ARTICLE 19 จำนนด้วยเหตุผลว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ว่าฉบับใดก็ตาม ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก เพราะว่ามันไม่สอดรับกับหลักการที่ให้อนุญาตจำกัดสิทธิได้ ตามที่ได้ชี้ให้เห็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งกว่านั้น ARTICLE 19 ยังได้จำนนต่อเหตุผลอีกว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ว่าฉบับใดก็ตาม ไม่สอดรับกับหลักการแห่งมาตรา 19 วรรค 3 ของ ICCPR เพราะว่า มันบรรจุไว้ด้วยนัยยะที่ไม่จำเป็นและไม่สมเหตุสมผลต่อความจำเป็นที่จะต้องคุ้มครองภาพลักษณ์ชื่อเสียงของปัจเจกบุคคล รวมทั้งสมาชิกราชวงศ์และบุคคลสาธารณะ ในการสนับสนุนข้อถกเถียงในเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ARTICLE 19 อาศัยเอกสารประกอบจากการคำตัดสินคดีหลายคดีและจากถ้อยคำแถลงของศาลระหว่างประเทศและศาลภูมิภาค และจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ในการสนับสนุนข้อถกเถียงในเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ARTICLE 19 อาศัยเอกสารประกอบจากการคำตัดสินคดีหลายคดีและจากถ้อยคำแถลงของศาลระหว่างประเทศและศาลภูมิภาค และจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนข้อถกเถียงที่ว่าการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเสรีภาพในการแสดงออก

ARTICLE ได้ยกกรณีตัวอย่างของการตัดสินคดีหมิ่นพระประมุข และคดีหมิ่นประมาทในหลายกรณี

ในคดีหมิ่นประมาทพระประมุข ภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ARTICLE ได้ยกตัวอย่างกรณีของประเทศคองโกและประเทศสเปน เพื่อชี้ให้เห็นว่ากฎหมายนี้ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร 

ในปี 2554 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (ECtHR) ได้มีคำตัดสินที่สอดคล้องกันนี้ในคดีของ Otegi Mondragon กับรัฐบาลสเปน ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและการปกป้องชื่อเสียงของกษัตริย์ ในกรณีนี้ ECtHR ตัดสินว่า การลงโทษผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมาย ด้วยข้อกล่าวหาว่าสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อกษัตริย์สเปน ขัดกับหลักแห่งเสรีภาพในการแสดงออกของเขา

การตัดสินนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่บนการเลือกข้างเพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านกษัตริย์ และไม่ได้เกี่ยวกับว่ามันเป็นเรื่องส่วนพระองค์ แม้ว่า ECtHR ยอมรับว่าข้อคิดเห็นของ Otegi Mondragon อาจจะเข้าข่ายก้าวร้าว แต่ศาลได้เน้นย้ำว่า เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ภายใต้บริบทแห่งการถกเถียงที่เป็นประเด็นความสนใจร่วมของสาธารณะ ที่จะโต้เถียงกันจนถึงระดับที่มีการกล่าวอ้างเกินจริงหรือจนกระทั่งก่อให้เกิดการยั่วยุทางอารมณ์ได้ ECtHR ตัดสินว่ากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐ ไม่สามารถได้รับการยกเว้นจากการวิพากษ์วิจารณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นมันจะเป็นการคุ้มครองประมุขของประเทศจนสูงเกินความเหมาะสมตามวิถีการเมืองกษัตริย์

ECtHR ตั้งข้อสังเกตว่าข้อคิดเห็นของ Otegi Mondragon นั้นเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของสถาบันกษัตริย์ในฐานะสัญลักษณ์ประมุขของรัฐ รวมทั้งในฐานะที่เป็นพลังอำนาจที่ตามความเห็นของ Otegi Mondragon ได้กระทำการทรมานบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ความคิดเห็นเหล่านี้ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนและต่อประเด็นทางการเมืองที่อยู่นอกขอบเขตของ “แห่งเกียรติยศชื่อเสียงเฉพาะบุคคล” ของกษัตริย์ ECtHR ได้เน้นย้ำว่า การสั่งขังคุกต่อกรณีความผิดในประเด็นที่เก่ียวกับการถกเถียงแลกเปลี่ยนทางการเมือง ที่จำกัดสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงออก ยอมให้กระทำได้เฉพาะในกรณีที่รุนแรงอย่างถึงที่สุดเท่านั้น อาทิเช่น การยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ทั้งนี้ไม่มีข้อกล่าวหาใดในคดีของ Otegi Mondragon ที่บ่งชี้ถึงความรุนแรงเช่นนั้น ความผิดของเขากับบทลงโทษจึงถือว่าไม่มีความสมเหตุสมผล

บทสรุปของ ARTICLE 19 
จากความคิดเห็นทั้งหลายทั้งมวลที่ได้กล่าวมาในเอกสารชิ้นนี้ ด้วยความเคารพ พวกเราขอเสนอแนะว่า ศาลควรจะยุติทุกคดีฟ้องร้องต่อนายสมยศ และสั่งให้ปล่อยตัวเขาออกจากเรือนจำโดยปราศจากเงื่อนไข ในการกระทำเช่นนี้ ศาลควรจะทำความเห็นออกมาด้วยว่า ศาลรัฐธรรมนูญของไทยควรจะมีการทบทวนบทลงโทษกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคดี และดำเนินการเพิกถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทย”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

tongdee (นามแฝง)

Posted: 17 May 2012 07:39 AM PDT

7 ปีประชาไท ผมต้องเปลี่ยนโน๊ตบุุ๊ค 4 เครื่อง เปลี่ยนนามแฝงที่ใช้โพสไปเรื่อยๆ แม่งกลัวโดนจับ ผมไม่ใช่พวกเสื้อแดงนะครับ แต่ชอบเข้ามาอ่านข่าวและบทความในเวปนี้ ก็ของมันชอบ หาอ่านที่ไหนไม่ค่อยได้เลย ถูกปิดกั้นหมด มีที่นี่ที่เดียวที่ชอบลงข่าวแบบว่าที่ผมชอบ

"tongdee" ผู้อ่านประชาไท แสดงความคิดเห็นท้ายข่าว "7 ปีที่มีประชาไท : จาตุรนต์ ฉายแสง", 17 พ.ค. 55

เผยโฉมหน้าครม.ใหม่ฝรั่งเศส ตำแหน่งหญิง-ชายคนละครึ่ง

Posted: 17 May 2012 07:12 AM PDT

เมื่อเย็นวันพุธที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศสจากพรรคสังคมนิยม ฟรองซัวส์ อัลลองด์ ได้ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประกอบด้วย 34 ตำแหน่ง โดย 17 ตำแหน่งเป็นของสตรี และมีการเพิ่มตำแหน่งรมต.กระทรวงสิทธิสตรีใหม่ด้วย  

การประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ซึ่งประกอบด้วยสตรีเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมด โดยเป็นไปตามคำมั่นสัญญาของอัลลองด์ในการหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ 

หากไม่นับตำแหน่งนายกรัฐมตรี ซึ่งฌ็อง-มาร์ก เอโรลต์ ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา จะมีจำนวนตำแหน่งรัฐมนตรีทั้งหมด 34 ตำแหน่ง โดยมากกว่าจำนวนคณะรัฐมนตรีสมัยนิโคลาส ซาร์โกซีสองตำแหน่ง 

มีข้อกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับข่าวการไม่เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีของมาร์ตีน โอบรีย์ อดีตคู่แข่งร่วมพรรคของออลลองด์ และหนึ่งในสมาชิกที่มีประสบการณ์ที่สุดคนหนึ่งในพรรคสังคมนิยม หลังจากที่เธอถูปฏิเสธตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 

อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อวิจารณ์ว่าตำแหน่งสูงๆ ยังคงกระจุกอยู่สำหรับผู้ชายเท่านั้น ถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรีนี้จะเป็นคณะแรกของฝรั่งเศสที่มีความเท่าเทียมทางเพศอย่างชัดเจนก็ตาม 

อดีตนายกรัฐมนตรีโลรองท์ ฟาบิอุส วัย 65 ผู้ซึ่งเคยนำการรณรงค์ต่อต้าสนธิสัญญาธรรมนูญยุโรปในปี 2005 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ทำให้เกิดความกังวลในหมู่ชาวยุโรปอยู่บ้าง โดยนักวิจารณ์บางส่วนมองว่า ในขณะที่ชาวฝรั่งเศสคิดว่าเขาเป็นตัวเลือกที่แปลก และอาจนำปัญหามาสู่ยุโรปในอนาคต แต่ก็อาจจะเป็นประโยชน์ในการได้เสียงสนับสนุนจากชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่โหวต "ไม่รับ" ในการลงประชามติปี 2005 ซึ่งส่งผลให้สนธิสัญญาธรรมนูญยุโรปยังมีความไม่แน่นอน 

ฌ็อง อีฟ เลอ เดรียง นักการเมืองวัย 64 ปีจากบริตตานี ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ในขณะที่มานูเอล วาลส์ นักการเมืองสายกลางที่สนับสนุนระบบตลาดเสรีได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ส่วนอาโนด์ มอนเตอบูก์ สมาชิกเอียงซ้ายจากพรรคสังคมนิยมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม 

เหล่าสตรีแถวหน้า 

คริสเตียน โตบีรา จากแคว้นเฟรนช์กีเนีย ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ทำให้เธอเป็นสตรีที่ได้รับตำแหน่งสูงที่สุดในคณะรัฐมนตรี เธอเป็นนักกฎหมายวัย 60 ปีที่ได้ตรากฎหมายทำให้การค้าทาสเป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติในปี 2001 นอกจากนี้ เธอยังเป็นสตรีผิวดำคนแรกที่ลงแข่งขันเป็นผู้สมัครการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปี 2002 ด้วย 

ส่วนสตรีคนอื่นๆ ที่ได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีได้แก่ มาริซอล ตูแรน เป็นรัฐมนตรีกระทรวงอนามัยและสังคม เซซิล ดูโฟลต์เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการเคหะ ซึ่งเป็นผู้นำของพรรคกรีนด้วย นอกจากนี้ ยังมีสตรีคนอื่นๆ ที่ช่วยอัลลองด์ในการหาเสียง เช่น ออเรลี่ ฟิลิเปตติ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม และนาจา วัลโล เบลกาเซม ดูแลเรื่องสิทธิสตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่ในครม.ด้วย ในขณะเดียวกันเธอยังได้รับตำแหน่งโฆษกรัฐบาลด้วย 

อันน์ เซซิล มัยล์แฟร์ นักกิจกรรมเพื่อสิทธิสตรีจากองค์กร Osez le Féminisme (กล้าจะเป็นเฟมินิสต์) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว France 24 ว่า เธอรู้สึกว่ามันมีการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่างหญิงและชายในคณะรัฐมนตรี โดยผู้หญิงได้รับตำแหน่งที่สำคัญน้อยกว่า ยกเว้นกระทรวงยุติธรรม 

"นี่ก็เป็นสิ่งที่น่าผิดหวังเล็กน้อย" เธอกล่าว อย่างไรก็ตาม เธอระบุว่าจำนวนที่เท่าเทียมกันก็นับเป็นตัวอย่างที่ดีต่อสังคม 

โฉมหน้าสตรีในคณะรัฐมนตรีใหม่บางส่วน

ออเรลี ฟิลิเปตติ 

เธอเป็นนักการเมืองและนักเขียนนวนิยายเชื้อสายอิตาเลียน โดยนวนิยายเรื่องแรกของเธอ Les derniers jours de la classe Ouvrière (วันสุดท้ายของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2003 ได้รับการแปลเป็นหลายภาษา ในปี 2008 เธอถูกลวนลามโดยโดมินิค สเตราส์ คาห์น สมาชิกพรรคสังคมนิยมและอดีตประธานไอเอ็มเอฟ และกล่าวว่า เธอจะไม่มีวันอยู่ในห้องเพียงสองต่อสองกับเขาอีก

นาจา วัลโล เบลกาเซม 

เธอเป็นลูกคนที่สองจากทั้งหมด 7 คน และเกิดที่ประเทศโมร็อคโก นาจาเข้าร่วมพรรคสังคมนิยมในปี 2002 และในปี 2007 ได้เข้าร่วมในการรณรงค์หาเสียงในการแข่งขันเลือกตั้งปรธานาธิบดีในปี 2007 ในฐานะโฆษกให้กับเซโกลีน รอยัล ต่อมาในปี 2008 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาในแคว้นโรห์น เธอได้รับการจับตามองว่าจะได้เป็นดาวรุ่งในพรรคสังคมนิยมในอนาคต

เซซิล ดูโฟลต์ 

เป็นผู้นำของพรรคกรีนตั้งแต่ปี 2006 และเป็นเพียงผู้นำพรรคผู้เดียวที่ได้รับตำแหน่งนี้สองสมัย 

มาริซอล ตูเรน

เธอเป็นสมาชิกสภาจากแคว้น Indre-et-Loire ผู้ได้รับความนับถือจากฝ่ายซ้ายจำนวนมาก เธอมีบทบาทในการย้ำเตือนอัลลองด์ถึงคำสัญญาที่เขาเคยกล่าวไว้ในการเลือกตั้งเรื่องการให้ผู้หญิงได้รับอำนาจ โดยย้ำว่า "เราต้องมีผู้หญิงในตำแหน่งที่สำคัญ"   

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก New Socialist cabinet takes power in France

Nine women who might benefit from Hollande's Cabinet promise

 

หมายเหตุ: ทำการแก้ไขการสะกดชื่อบุคคลตามคำท้วงติงของผู้อ่าน เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 17 พ.ค. 55 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บีบีซี ค้นใจเหล่าเผด็จการ ทำไมพวกเขาถึง 'แปลก'

Posted: 17 May 2012 07:07 AM PDT

 
เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2012 สำนักข่าว BBC ได้นำเสนอรายงาน 'เดอะ ดิกเตเตอร์ : เหตุใดผู้นำเผด็จการถึงชอบทำเรื่องแปลก' เขียนโดย เฮเลีย ชุง เนื้อหาของบทความมีดังต่อไปนี้
 
ภาพยนตร์ตลกเรื่องล่าสุดของซาชาร์ บารอน โคเฮน ชื่อเดอะ ดิกเตเตอร์ หรือ จอมเผด็จการ เป็นเรื่องราวชวนหัวของตัวละครสมมุติที่ชื่อนายพลอลาดีน ผู้นำประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกา ซึ่งเป็นการนำเสนอภาพผู้นำที่ชอบทำอะไรแปลกๆ ในมุมมองที่สุดโต่ง
 
ตัวละครเอกของโคเฮนใช้ชีวิตอย่างหรูหราอยู่ในประเทศสมมุติชื่อวาดิยา โดยมีกองทัพบอดี้การ์ดสาวรายล้อม
 
ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า ภาพยนตร์มีกำหนดฉายวันที่ 16 พ.ค. 2012 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "จอมเผด็จการผู้เสี่ยงชีวิตของตัวเองเพื่อคอยปกป้องไม่ให้ประชาธิปไตยเข้ามากร้ำกรายประเทศที่เขากดขี่ใช้อำนาจอย่างรักใคร่"
 
ซึ่งตัวละครแบบนี้เอง ได้รับแรงบันดาลใจมาจากมุมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบียที่ถูกสังหารหลังจากถูกโค่นล้มจากอำนาจเมื่อปีที่แล้ว
 
"เผด็จการมักจะหลงผิดคิดว่า 'ไม่ว่าฉันจะทำอะไรก็เป็นเรื่องโอเค' " เฟรด คูลลิดจ์ ศาตราจารย์จิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดกล่าว เขาเป็นคนที่คอยเก็บข้อมูลประวัติของคิมจองอิล, ซัดดัม ฮุสเซ้น และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
 
เฟรด เชื่อว่าผู้นำเหล่านี้จำนวนมากจะมีลักษณะความผิดปกติทางบุคลิกภาพผสมปนเปกัน ไม่ว่าจะเป็น ความหลงตัวเอง (narcissism), หวาดระแวง และซาดิสม์
 
จากการศึกษาเรื่องราวชีวิตของเหล่าผู้นำเผด็จการที่มีชื่อเสียงบางคน อะไรกันที่เป็นแรงขับให้เขาทำพฤติกรรมประหลาดๆ 
 
ผู้ทดสอบอำนาจ : กรณีของ จักรพรรดิ์ คาลิกูลา ค.ศ. 12-41
จักรพรรดิ์ คาลิกูล่าของอาณาจักรโรมันเป็นหนึ่งในจอมเผด็จการยุคแรกๆ ของประวัติศาสตร์ ผู้ที่เป็นคนอารมณ์ร้อนและมีนิสัยทำอะไรคาดเดาไม่ได้
 
"เขาเคยสั่งให้เรือแล่นมาเรียงตัวกันเป็นเส้นตรงพาดผ่านอ่าวเนเปิ้ล เพื่อที่เขาจะได้ใช้เดินข้ามจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งได้" ดร. เบเนต ซัลเวย์ กล่าว เขาเป็นอาจารย์อาวุโสด้านประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยลอนดอนคอลเลจ
 
คาลิกูลา ยังชื่นชอบม้าแข่งมากๆ ด้วย เขามักจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยไปกับม้าตัวโปรดของเขาในบ้าน ซื้อทาสจำนวนมาก และดื่มไวน์จากถ้วยทองคำ
 
พฤติกรรมแปลกๆ คาดเดาไม่ได้ของคาลิกูลา เช่นครั้งหนึ่งเขาเคยสั่งให้ทหารเก็บสะสมเปลือกหอยในช่วงที่มีการรบต่อต้านบริเทน (อังกฤษในปัจจุบัน) ทำให้มีคนตั้งคำถามกับสภาพทางจิตของเขา
 
อย่างไรก็ตาม ศจ. ปีเตอร์ ไวส์แมน นักประวัติศาสตร์ยุคคลาสสิก จากมหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์เชื่อว่าคาลิกูล่ารู้ดีว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ เขาแค่ฉวยโอกาสความเป็นไปได้ในการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จและทำตัวเอาแต่ใจ
 
ด้าน ดร. ซัลเวย์เชื่อว่า การที่ค่าลิกูลาขึ้นสู่อำนาจขณะยังไม่เป็นผู้ใหญ่ ด้วยอายุเพียง 24 ปี รวมถึงการขาดประสบการณ์ ถือเป็นสิ่งที่อธิบายการกระทำของเขาได้
 
"เป็นเรื่องง่ายที่เราจะได้เห็นใครก็ตามที่ได้รับอำนาจเบ็ดเสร็จโดยไม่มีการเตรียมการ จะทำให้เขาซึมซับอำนาจเข้าไปโดยตรง เหมือนกับว่าคุณมีนายกรัฐมนตรีวัยรุ่นโดยที่ไม่ได้ฝึกฝนเขามาก่อน"
 
ซัลเวย์บอกอีกว่า เขาอาจจะทำสอบขีดจำกัดของการใช้อำนาจของเขาเองด้วย "ทุกครั้งที่มีคนคล้อยตามความต้องการของเขา มันจะกลายเป็นการส่งเสริม และทำให้เขาเชื่อว่าเขาเป็นผู้มีอำนาจอย่างยิ่ง"
 
แต่ก็ไม่ใช่ทุกเรื่องพฤติกรรมแปลกแยกของผู้นำคนนี้จะเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้ เรื่องที่ว่าคาลิกูล่าแต่งตั้งให้ม้าของเขาเป็นกงสุล ตำแหน่งสูงสุดของโรม ถือเป็นเรื่องเข้าใจผิด
 
ดร.ซัลเวย์ กล่าวยืนยันว่า ไม่มีม้าตัวใดที่เคยได้เป็นกงสุล แม้ว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะบ่งบอกว่าคาลิกูล่ามั่นหมายจะทำเช่นนี้
 
"แต่มันเหมือนเป็นเรื่องขำขัน ที่มาจากปากของเหล่าสมาชิกวุฒิสภา ที่ไม่ถูกกับคาลิกุล่า"
 
หมอผีหวาดระแวง : กรณีของ ฟรองชัวส์ ดูวาเลียร์ ค.ศ. 1907-1971
จอมเผด็จการหลายคนมักจะมีแนวโน้มเป็นโรคจิตหวาดระแวง โดยที่สภาพแวดล้อมรอบข้างจะกลายเป็นตัวส่งเสริมด้วย
 
"บุคลิกลักษณะของพวกเขาทำให้ตัวพวกเขาเองยังรักษาอำนาจไว้ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นคนที่ไวต่อการรับรู้เรื่องภัยคุกคามหรือการวางแผนสมคบคิด คุณก็จะสามารถกำจัดคู่แข่งของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งจริงๆ หรือแค่จินตนาการไปเองก็ตาม)"
 
อดีตประธานาธิบดีของเฮติ ฟรองชัวส์ "ปาป้า ด็อค" ดูวาเลียร์ แสดงออกถึงความหวาดระแวงหลายครั้งมากในตลอดระยะเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ 14 ปี
 
จากการที่เป็นหมอผีวูดู เขาเป็นคนที่เชื่อในไสยศาสตร์มาก เขาเชื่อว่าตัวเองมีวิญญาณวูดูคอยคุ้มครองอยู่ในทุกวันที่ 22 ของเดือน ในช่วงปีหลังๆ เขาจะยอมออกจากทำเนียบประธานาธิบดีแค่ในวันที่ 22 ของเดือนเท่านั้น
 
เขาอ้างว่าได้ใช้คำสาปของวูดูเล่นงานปธน. จอห์น เอฟ เคนเนดี ของสหรัฐฯ และบอกว่าที่เคนเนดีถูกสังหารในวันที่ 22 พ.ย. 1963 เป็นเพราะอำนาจอิทธิฤทธิ์ของเขาเอง
 
เขามีองครักษ์ส่วนตัวชื่อ ตอนตอน มาคูเตส ซึ่งเป็นคำแสลงในภาษาเฮติหมายถึงบูกี้แมน (bogeyman-เป็นภูตผีที่มักผู้ใหญ่มักใช้เล่าขู่ให้เด็กกลัว มีรูปร่างลักษณะต่างกันไปในแต่ละพื้นที่) รวมถึงได้สั่งห้ามองค์กรต่างๆ ที่เขาคิดว่าเป็นภัยต่อการปกครองของเขารวมถึง องค์กรลูกเสือด้วย
 
มีรายงานว่าฟรองชัวส์เป็นผู้ที่สั่งให้มีการสังหารสุนัขสีดำทุกตัวในเฮติ เขารอดพ้นจากการลอบสังหารมาได้ 6 ครั้ง แต่ก็เสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บในปี 1971
 
ผู้หลงตัวเอง : กรณีของ อิดี อามิน ค.ศ. 1920 - 2003
อิดี อามิน ปกครองอูกันดาในช่วงทศวรรษ 70s ชอบเรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้พิชิตจักรวรรดิ์อังกฤษ" และที่เป็นที่รู้จักคือ "กษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์" โดยที่อิดียังได้แต่งตั้งตัวเองให้เป็นจอมพล และมอบ เหรียญอิสริยาภรณ์ของกองทัพอังกฤษ กับเหรียญกล้าหาญกองทัพบกอังกฤษ ให้กับตัวเองด้วย
 
เขาหลงตนถึงขนาดว่าตัวเขามีศักดิ์เทียบเท่าหรือมากกว่าพระราชินีอลิซาเบธที่สองของอังกฤษ และบอกว่าตัวเขาควรจะเป็นประมุขของเครือจักรภพ ไม่ใช่พระราชินี
 
มีรายงานว่าเขานำหัวของศัตรูทางการเมืองแช่ไว้ในตู้เย็นของเขาด้วย แม้ว่าเรื่องนี้จะยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่มีครั้งหนึ่งที่เขาพูดกับที่ปรึกษาของเขาก่อนอาหารเย็นว่า "ผมต้องการกินหัวใจของคุณ ผมต้องการกินลูกๆ ของคุณ"
 
เขามีภรรยา 5 คน มีลูกหลายสิบคน และขอให้คนเรียกตัวเองว่า "พ่อใหญ่" (Big Daddy)
 
ลัทธิบูชาบุคคล : กรณีของ ซาปาร์มูรัท นิยาซอฟ ค.ศ. 1940 - 2006
ซาปาร์มูรัท นิยาซอฟ เป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งตลอดชีวิตของเติร์กเมนิสถาน เขาได้สร้างลัทธิบูชาตัวบุคคลขึ้นในระดับที่เทียบชั้นกับ "จอมเผด็จการ" ของโคเฮนได้เลย
 
นิยาซอฟให้คนสร้างรูปปั้นทองคำและทำให้หมุนได้เพื่อที่จะสามารถหันไปหาพระอาทิตย์ได้ตลอดเวลา
 
ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของเติร์กเมสนิสถานยังคงอยู่ในภาวะยากจน เขากลับมีพระราชวังน้ำแข็งสร้างอยู่ที่เมืองหลวง และสั่งให้มีการสร้างทะเลสาปในใจกลางทะเลทราย
 
เขายังได้ตั้งชื่อเมือง, สวนสนุก, เดือนมกราคม และอุกกาบาตตามชื่อของเขา
 
แม้ว่าเขาจะมีโครงการที่ใหญ่โต แต่ผู้นำคนนี้ก็เป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้ที่ออกกฏหมายแปลกๆ หลังจากที่เขาเลิกบุหรี่ในปี 1997 เขาสั่งให้รัฐมนตรีทุกคนเลิกตามเขาด้วย เขายังได้สั่งห้ามการแสดงบัลเลต์, โอเปร่า, และการไว้ผมยาวกับการไว้หนวดเคราของผู้ชาย
 
เขาเขียนหนังสือเช่นเดียวกับซัดดัม ฮุสเซ็น หนังสือชื่อ 'รัคห์นามา' เป็นการรวบรวมความคิดของเขาเกี่ยวกับอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของชาวเติร์ก ซึ่งกลายมาเป็นหนังสือที่ต้องอ่านในห้องสมุดของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ที่แปลกก็คือ ประชาชนต้องสอบผ่านเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ด้วยถึงจะได้รับอนุญาตให้มีใบขับขี่ได้
 
เช่นเดียวกับ คาลิกูล่า เขาชื่นชอบม้าและได้เปิดสถานพักผ่อนสำหรับม้าด้วยเงิน 20,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีสระว่ายน้ำ, เครื่องปรับอากาศ และศูนย์การแพทย์ อยู่ภายใน
 
นิยาซอฟเสียชีวิตในปี 2006 และรูปปั้นทองคำของเขาถูกย้ายออกไปในปี 2010
 
ผู้ที่สืบอำนาจต่อจากเขาคือ เคอบันกูลี เบอดีมุคาเมดอฟ จัดให้มีการประกวดม้าสวยงามในปี 2011 ซึ่งมีการให้รางวัลพรมปูม้ายอดเยี่ยม และรางวัลเครื่องแต่งกายวันหยุดยอดเยี่ยมสำหรับม้าด้วย
 
มายาคติภาพลักษณ์ : กรณีของ คิม จอลอิล ค.ศ. 1942-2011
มีเผด็จการยุคใหม่เพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ถูกนำมาถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางมากเท่าผู้นำเผด็จการคนก่อนหน้านี้ของเกาหลีเหนือ คิม จองอิล
 
จากการพยายามทำตัวเป็นคุณพ่อที่แสนดี คิม จองอิล ได้ใช้สื่อที่รัฐบาลควบคุมเป็นเครื่องมือในการรักษามายาคติภาพลักษณ์เรื่องอำนาจสถานะของตน
 
เรื่องต่างๆ ที่นำเสนอมีตั้งแต่เรื่องที่ดูเกินจริงไปจนถึงเรื่องธรรมดาทั่วไป จากการบอกเล่าของทางการเผิดเผยว่าเมื่อคิมถือกำเนิดมาก็มีรุ้งกินน้ำสองสายและมีดาวส่องสว่างอยู่บนท้องฟ้า และเมื่อเขาเสียชีวิตทะเลน้ำแข็งขนาดใหญ่ก็แตกออกเป็นสองซีก
 
สื่อของรัฐบาลเกาหลีเหนือเปิดเผยอีกว่า เมื่อคิมโยนโบวลิ่งครั้งแรก เขาได้คะแนนเต็ม 300 และเมื่อเขาตีกอล์ฟครั้งแรกเขาก็ตีได้โฮลอินวัน 5 หลุม อันเดอร์พาร์ 38
 
"เผด็จการไม่สนใจว่าตนจะต้องทุ่มเงินเป็นล้านเพื่อส่งเสริมลัทธิบูชาตัวบุคคล และมีความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นต่ำ มองแค่ความต้องการของตนเอง" ศจ.คูลลิดจ์กล่าว
 
เช่นเดียวกับ นิยาซอฟ แน่นอนว่าชีวิตของคิม จองอิล สะท้อนความเป็นอยู่หรูหรา ขณะที่ชาวเกาหลีเหนือหลายแสนคนกำลังจะตายด้วยความอดอยาก
 
มีรายงานเปิดเผยว่า ขณะที่คิมซึ่งเดินทางไปเยือนรัสเซียโดยทางรถไฟเนื่องจากเกลียดการขึ้นเครื่องบิน เขาได้สั่งให้มีการขนส่งล็อบสเตอร์ทางอากาศมาให้ที่รถไฟทุกวัน
 
ความชื่นชอบในภาพยนตร์ของเขาทำให้เขาสั่งให้จับตัวผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเกาหลีใต้และภรรยาที่เป็นนักแสดงมา และสั่งให้สร้างภาพยนตร์สำหรับเขา จนกระทั่งศิลปินสองรายนี้สามารถหลบหนีออกมาได้
 
ต้องโทษที่อำนาจ หรือ บุคลิกลักษณะ?
ศจ. คูลลิดจ์กล่าวว่า ขณะที่กลุ่มยีนส์ทำให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกลักษณะได้ เช่น การหลงตัวเอง, หวาดระแวง และต่อต้านสังคม แต่สภาพแวดล้อมก็มีส่วนผลักดันพวกเขา โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมาแต่กำเนิด
 
"การสืบทอดทางพันธุกรรมนั้นแข็งแรงมากเท่าหรือมากกว่าสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ขณะที่พันธุกรรมเป็นความโน้มเอียงที่จะเกิดความผิดปกติ แต่สภาพแวดล้อมก็ช่วยส่งเสริมให้ความโน้มเอียงนี้เกิดขึ้นหลายเท่าตัว"
 
ศจ. คูลลิดจ์ ให้ข้อมูลว่าลักษณะของผู้หลงตัวเอง (narcissist) จะฝักใฝ่ในอำนาจและถูกดึงดูดด้วยตำแหน่งยศถาสูงๆ ได้ง่าย
 
"หากคุณต้องการจะมีอำนาจ และคุณมีแรงขับที่ว่านั้น คุณอาจกลายเป็นเผด็จการได้ นี่เป็นสิ่งที่ยากจะต้านทาน และเมื่อพวกเขาได้อำนาจมาแล้ว พวกเขาก็ลงยาก บุคลิกลักษณะเหล่านี้มักจะทำให้เขาอยู่ในอำนาจได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณรู้สึกไวต่อการคุกคามและการวางแผนสมคบคิด คุณก็จะกำจัดศัตรูคู่แข่งของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ศจ. คูลลิดจ์กล่าว 
 
มีบุคคลต่อต้านสังคมจำนวนมากที่มีเสน่ห์ดึงดูด และใช้เสน่ห์ที่ว่านี้เพื่อขึ้นสู่อำนาจ และบางครั้งก็ขึ้นสู่อำนาจด้วยความโหดเหี้ยมด้วย
 
 
 
ที่มา
The Dictator: Why do autocrats do strange things?
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: พุทธะปฏิเสธ 'ศาสนายากล่อมประสาท'

Posted: 17 May 2012 06:41 AM PDT

ผมมีข้อสังเกตว่า คนที่สังคมมองว่าปฏิเสธศาสนาหรือไม่นับถือศาสนานั้น เมื่อพิจารณาความคิดเกี่ยวกับศาสนาของเขาแล้ว กลับพบมุมมองคล้ายกับ “พุทธะ” อย่างมีนัยสำคัญ

เช่น มุมมองต่อพุทธศาสนาของจิตร ภูมิศักดิ์ ในคำอธิบายสาระและเจตนารมณ์ของบทความเรื่อง “ผีตองเหลือง” ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการบ่อนทำลายพุทธศาสนา ก่อนที่ศาลทหารกรุงเทพฯ จะพิพากษาคดีของเขา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2507 ตอนหนึ่งว่า

จำเลยจึงขอศาลได้โปรดพิจารณาเหตุผล ข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง แล้วพิพากษาชี้ขาดให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ซึ่งได้ถูกกักขังทรมานมาเป็นเวลา 6 ปีเศษแล้ว ให้ได้รับอิสรภาพอันมีเกียรติ ขอศาลได้ชี้ว่า การกระทำโดยสุจริตเพื่อสร้างสรรค์ เพื่อความดีงาม เพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพระศาสนา อันเป็นสิ่งที่แม้พระศาสดา พระภิกษุ และชาวพุทธที่แท้ทั้งหลายย่อมกระทำกันนี้ เป็นความผิดและต้องรับโทษหรือ และจำเลยเองในฐานะที่เป็นสาราณียกร ซึ่งเชื่อโดยสุจริตว่า บทความนี้เป็นบทความเพื่อพิทักษ์พุทธศาสนา และกำจัดสิ่งโสโครกสิ่งปฏิกูลทั้งหลายบรรดาที่เข้ามาแอบแฝงอาศัยศาสนาหากิน ซึ่งพระศาสดาพระพุทธสาวกที่แท้ทั้งหลายได้ต่อสู้เพื่อทำลายให้หมดไปนี้ พึงต้องได้รับโทษ หรือคำพิพากษาของศาลย่อมจักเป็นประวัติศาสตร์อยู่ตลอดไปชั่วกาลนาน (http://www.reocities.com/thaifreeman/jit/yonbok/yonbok.html)

สาระสำคัญตามทัศนะของจิตร คล้ายกับทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ ที่ว่า

“Religious distress is at the same time the expression of real distress and the protest against real distress. Religion is the sigh of the oppressed creature, the heart of a heartless world, just as it is the spirit of a spiritless situation. It is the opium of the people.

The abolition of religion as the illusory happiness of the people is required for their real happiness. The demand to give up the illusion about its condition is the demand to give up a condition which needs illusions.” http://atheism.about.com/od/weeklyquotes/a/marx01.htm

“ความทุกข์ตามหลักศาสนาเป็นทั้งอาการของความทุกข์ที่แท้จริง และเป็นการต่อต้านความทุกข์ที่แท้จริงด้วย ศาสนาเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ แต่ก็เป็นหัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ เป็นจิตวิญญาณของสภาพการณ์ที่ไร้จิตวิญญาณ ศาสนาคือยาฝิ่นของมวลชน

การล้มเลิกศาสนาแบบที่ให้ความสุขอย่างเพ้อฝันแก่ประชาชน เป็นเงื่อนไขจำเป็นที่ทำให้พบความสุขที่แท้จริง เสียงเรียกร้องให้ยุติมายาคติของเงื่อนไขความสุขเช่นนั้น เป็นเสมือนเสียงเรียกร้องให้ทลายเงื่อนไขอันเป็นเหตุให้เกิดมายาคติดังกล่าวด้วย” (สำนวนแปลของพิภพ อุดมอิทธิพงษ์)

จะเห็นว่า ศาสนาที่มาร์กซ์มองว่าเป็น “ยาฝิ่น” หรือ “ยากล่อมประสาท” ของประชาชนคือ “ศาสนาแบบที่ให้ความสุขอย่างเพ้อฝันแก่ประชาชน” คำวิจารณ์ของจิตรในบทความเรื่อง “ผีตองเหลือง” ก็วิจารณ์ศาสนาในความหมายดังกล่าวนี้

แท้จริงแล้วพุทธะก็ปฏิเสธ “ศาสนายากล่อมประสาท” หรือ “ศาสนาแบบที่ให้ความสุขอย่างเพ้อฝันแก่ประชาชน” เช่น ที่พุทธะวิจารณ์ว่า เมื่อมีทุกข์ภัยต่างๆ แล้วมนุษย์หันไปพึ่งต้นไม้ จอมปลวก ภูเขา ว่าคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะขจัดทุกข์ภัยต่างๆ ได้ หรือเชื่อว่าแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์จะชำระล้างบาปได้ เทพเทวาหรือพระพรหมจะดลบันดาลความสุขให้ได้ เป็นต้น พุทธะปฏิเสธความเชื่อ เช่นนี้ ด้วยเหตุผลว่าไม่ใช่ความเชื่อที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง

ฉะนั้น ศาสนาในความหมายของพุทธะจึงไม่ใช่ศาสนาแบบที่ให้ความสุขอย่างเพ้อฝันแก่ประชาชน แต่เป็นศาสนาในความหมายของการใช้ชีวิตแสวงหาสัจจะและอิสรภาพ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของพุทธะที่ใช้ชีวิตลองผิดลองถูกจนค้นพบ “อริยสัจสี่” ด้วยตนเอง

สำหรับจิตร ศาสนายากล่อมประสาทคือ “สิ่งโสโครกสิ่งปฏิกูลทั้งหลายบรรดาที่เข้ามาแอบแฝงอาศัยศาสนาหากิน” จำเป็นต้องขจัดออกไป สำหรับมาร์กซ์ “การล้มเลิกศาสนาแบบที่ให้ความสุขอย่างเพ้อฝันแก่ประชาชน เป็นเงื่อนไขจำเป็นที่ทำให้พบความสุขที่แท้จริง” และสำหรับพุทธะเอง ศาสนาแบบที่ให้ความสุขอย่างเพ้อฝัน เช่นการพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลต่างๆ ย่อมไม่อาจดับทุกข์ได้จริง

หากมองตามทัศนะของจิตรและมาร์กซ์ ศาสนาแบบให้ความสุขอย่างเพ้อฝันแก่ประชาชนเป็น “ยากล่อมประสาท” เพราะเป็นการหลอกลวงมอมเมาให้ผู้คนอยู่ในโลกของความเพ้อฝัน ไม่สนใจเหตุผลและโลกของความเป็นจริง นอกจากนี้ศาสนาในความหมายดังกล่าวยังถูกใช้สร้าง “มายาคติ” มอมเมาประชาชนให้ซาบซึ้งในบุญญาธิการ สยบยอมต่ออำนาจศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นปกครอง อันเป็นที่มาของการกดขี่และความอยุติธรรมในรูปแบบต่างๆ

พุทธะเองก็มองเห็นอันตรายของการใช้ศาสนามอมเมาเพื่อการกดขี่ ดังที่ปฏิเสธระบบวรรณะ และการตัดสินคุณค่าของมนุษย์จากชาติกำเนิด เป็นต้น

ฉะนั้น ศาสนาที่แท้ในความหมายของพุทธะ จึงหมายถึง “ศรัทธาในการใช้ชีวิตแสวงหาสัจจะอิสรภาพ และความเป็นธรรม”

ผมคิดว่าคนอย่างจิตร และมาร์กซ์นี่แหละ คือคนที่มีศาสนาในความหมายของผู้ที่มีศรัทธาในการใช้ชีวิตแสวงหาสัจจะ อิสรภาพ (จากการกดขี่) และความยุติธรรม

แน่นอนศาสนาในความหมายนี้ เราไม่อาจมีได้เพียงแค่จดจำคำสอน หรือเชี่ยวชาญในการอธิบายคำสอน แต่มีได้ด้วย “การปฏิบัติ” ซึ่งหมายถึงการดำเนินชีวิตบนเส้นทางของผู้ศรัทธาในการแสวงหาสัจจะ อิสรภาพ และความเป็นธรรม

การมีศาสนาในความหมายนี้จึงไม่ใช่ “การรับสัจจะมาจากปากของพุทธะ” เพราะต่อให้เราท่องจำสิ่งที่พุทธะสอนได้มากมายเพียงใดก็ไม่ได้ทำให้เราค้นพบสัจจะ อิสรภาพ และความเป็นธรรมได้ แต่จะเป็นไปได้เมื่อเราได้ใช้ชีวิตแสวงหาสัจจะ อิสรภาพ และความเป็นธรรมด้วยตนเองดังที่พุทธะเคยใช้ชีวิตเช่นนั้นมาก่อน

แต่สัจจะ อิสรภาพ และความเป็นธรรมในบริบทที่แตกต่าง ย่อมมีรายละเอียดแตกต่างกัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้มีศาสนาที่แท้จึงต้องใช้ชีวิตแสวงหาด้วยตนเอง คำสอนของพุทธะเป็นเพียงการแนะแนวทาง และ “พุทธะคือเพื่อนที่ดี” (กัลยาณมิตร) คนหนึ่งเท่านั้น หาใช่ “บุคคลศักดิ์สิทธิ์” ใดๆ ไม่

ทว่าสิ่งที่น่าเศร้าคือ พุทธะและศาสนาของท่านกำลังถูกใช้เป็น “ยากล่อมประสาท” พุทธะถูกยกให้เป็น “บุคคลศักดิ์สิทธิ์” ธรรมะกลายเป็น “ของศักดิ์สิทธิ์” ที่ไม่เกี่ยวกับการส่งเสริมวิถีชีวิตแสวงหาสัจจะ อิสรภาพ และความเป็นธรรมอีกแล้ว

พุทธศาสนาโดยรวมถูกบิดเบือนเป็นเครื่องมือค้ำจุนอำนาจของชนชั้นปกครอง เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ในรูปพุทธพานิชต่างๆ ธรรมะที่เคยเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับความหมาย คุณค่า แก่นสารของชีวิต ถูกแปรรูปเป็น “ธรรมะฮาวทู” ประเภทให้ “ความสุขแบบเพ้อฝัน” จนเกลื่อนตลาดหนังสือธรรมะไปแล้ว

ในยุคแห่งการสถาปนาให้สังคมไทยเป็น “ศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก” เราแทบจะหาพุทธศาสนาในความหมายของการส่งเสริมศรัทธาในวิถีชีวิตแสวงหาสัจจะ อิสรภาพ และความเป็นธรรมไม่ได้เลย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตัวเลขสถานการณ์แรงงานไทย: เดือนเมษายน 2555

Posted: 17 May 2012 01:06 AM PDT


Published under a Creative Commons License By attribution, non-commercial

7 ปีที่มีประชาไท : จาตุรนต์ ฉายแสง

Posted: 16 May 2012 09:09 PM PDT

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น