ประชาไท | Prachatai3.info |
- 17 พ.ค. “วันนี้มีใครตาย”
- วันสุดท้ายสวดอภิธรรมศพ ‘อากง’ น้องสาวฟาบิโอ-อียู-สวีเดน ร่วมงาน
- ชาวแม่รำพึงประกาศชนกลุ่มทุน แจงโดนแจ้งความกว่า 20 คดี หลังตรวจสอบทุนรุกป่าสงวน
- ญาติมาเอง ยื่น จม.นายกจี้ปล่อยนักโทษการเมือง-พัฒนาคุกทั่วประเทศ
- รองเลขาศาลหนักใจกรณีอากง โบ้ยหลักฐานขอประกันไม่ชัด-หมอชี้มะเร็งระยะลุกลาม
- เตรียมจัดเวที ดึง‘กฟผ.-ก.พลังงาน-นักวิชาการ’ ชนข้อมูลโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง
- ปรีดี อั้ม เกษียร สมศักดิ์ และคนอื่นๆ
- วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตีความ ม.291 หรือไม่?
- ใจ อึ๊งภากรณ์: ยิ่งลักษณ์ตบหน้าวีรชนเสื้อแดงสองปีหลังราชประสงค์เลือด
- อาเจะห์เดือด หลังเลือกตั้งผู้ว่าฯ ถล่มดับอดีตผู้บัญชาการ GAM
- เอ็นจีโอแรงงานชี้ สปส. ปล่อยกู้ไปทำงาน ตปท. แค่นำหนี้เข้าระบบ
- ตัดแขน...ตัดขา: แค่เรื่องหวือหวาหรือเป็นความจริง
- ตัดแขน...ตัดขา: แค่เรื่องหวือหวาหรือเป็นความจริง
- ข่ายผู้ป่วยถาม รมว.แรงงาน BST ระเบิดตายมากกว่าข่าว 5 เท่า?
- ส.ส. พรรคแรงงานจี้รบ. อังกฤษ แจงจุดยืนต่อการตายกรณี 'อากง'
Posted: 16 May 2012 02:53 PM PDT นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ
นายสมพาน หลวงชม
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 ( ศปช.) มายเหตุ – ประชาไทนำเสนอซีรี่ส์ “วันนี้มีใครตาย” นำเสนอเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2553 (หลังเหตุการณ์ 10 เมษา) โดยจะทยอยนำเสนอความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อเป็นการรำลึกและย้ำเตือนถึงบาดแผลความรุนแรงที่อีกสองปีให้หลังสังคมไทยก็ยังไม่มีทางออกว่าจะจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วันสุดท้ายสวดอภิธรรมศพ ‘อากง’ น้องสาวฟาบิโอ-อียู-สวีเดน ร่วมงาน Posted: 16 May 2012 02:26 PM PDT บรรยากาศคับคั่ง สวดวันสุดท้าย “อากง” สถานทูตสวีเดน, สหภาพยุโรป, น้องสาวฟาบิโอ, โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม มาร่วมงานด้วย ญาติระบุเก็บไว้ 100 วันก่อนฌาปนกิจ
16 พ.ค. ที่วัดด่านสำโรง บรรยากาศงานสวดอภิธรรมศพวันสุดท้ายของนายอำพล หรือ อากง มีประชาชนร่วมเป็นจำนวนมาก ก่อนที่ทางญาติจะเก็บศพไว้ 100 วันก่อนฌาปนกิจ โดยภายในงานนอกเหนือจากธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. และแกนนำ นปช.หลายคนแล้วยังมีนายแอนเดรียส แมกนุสสัน เลขานุการโท ฝ่ายการเมือง จากสถานทูตสวีเดน, แอนนา มาร์ตินส์ หัวหน้าฝ่ายการเมือง สื่อและข้อมูลข่าวสาร ของสหภาพยุโรป, นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยเดินทางเข้าเยี่ยมนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เรือนจำมาแล้ว รวมถึง อลิซาเบตตา โปเลนกี น้องสาวของนายฟาบีโอ โปเลนกี ช่างภาพชาวอิตาเลียนที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยในวันพรุ่งนี้ (17 พ.ค.) เธอจะเดินทางไปยัง บช.น.เพื่อทวงถามความคืบหน้าในคดีของพี่ชายที่ถูกยิงเสียชีวิต และมีกำหนดจะร่วมรำลึกการเสียชีวิตของฟาบิโอในวันที่ 19 พ.ค.นี้ด้วย ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นายนิธิวัต วรรณศิริ กลุ่มเสรีราษฎร ได้ส่งการ์ดเชิญผู้ที่เกี่ยวข้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวแม่รำพึงประกาศชนกลุ่มทุน แจงโดนแจ้งความกว่า 20 คดี หลังตรวจสอบทุนรุกป่าสงวน Posted: 16 May 2012 02:01 PM PDT 19 ชาวบ้าน ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย หลังร่วมตรวจสอบการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง พื้นที่กว่า 800 ไร่ เดินหน้าแจ้งความกลุ่มทุน พ้อใช้สิทธิปกป้องชุมชน กลับถูกลิดรอนสิทธิโดยไม่ชอบธรรม ทั้งการคืนพื้นที่ยังไม่คืบหน้า วันนี้ 16 พ.ค. 55 ที่สถานีตำรวจภูธรบางสะพาน ชาวบ้านตำบลแม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง กว่า 200 คน ยื่นหนังสือต่อตัวแทนนายอำเภอบางสะพานโดยปลัดอาวุโสนายถวิล ฉันทาวรานุรักษ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจบางสะพาน พ.ต.อ.วิติพจน์ พจนาคม และร้อยเวรผู้รับผิดชอบคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับใช้ ม.25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 พ.ต.ท.ธฤต เรืองเดชา กรณีการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึงของบริษัทในเครือสหวิริยา จำนวน 52 แปลง พื้นที่กว่า 800 ไร่ สืบเนื่องจาก กรณีดังกล่าวมีการบังคับใช้ ม.25 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค.53 แต่ปัจจุบันคดีความไม่มีความคืบหน้า อีกทั้งมีความพยายามยัดข้อหา แจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้านที่ติดตามตามตรวจสอบการบุกรุกพื่นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง และพื้นที่สาธารณะใน อ.บางสะพาน จำนวน 20 กว่าคดี โดยล่าสุดมีการแจ้งความคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายด้วย “วันนี้ผมเป็นหนึ่งในจำเลยที่ถูกแจ้งความฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งเป็นเงินเกือบ 900,000 บาท พวกผมโดนฟ้องกันทั้งหมด 19 คน แต่ละคนที่ถูกฟ้องถือว่าเป็นผู้นำชุมชนที่มีความหวงแหนสมบัติของชาติของชุมชน พวกผมไม่ได้ผลประโยชน์อะไรจากการตรวจสอบเรื่องการบุกรุกป่าสงวนนี้ แต่ผมต้องทำเพราะมันคือบ้านผม ลูกหลานผมอยู่ที่นี่ หากเราไม่มีป่าไม้ไว้ให้ลูกหลาน มีแต่อุตสาหกรรมที่มีแต่มลพิษ อีกหน่อยเราก็คงต้องเป็นแบบคนมาบตาพุด” เสกสรร วีรกุล ชาวบ้านผู้ถูกฟ้องคดีกล่าว เสกสรร กล่าวด้วยว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวบ้านและแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ถูกแจ้งความดำเนินคดี ซึ่งส่วนตัวถือว่าทุนกลุ่มนี้ไม่มีธรรมาภิบาล พยายามที่จะเป็นศัตรูกับชาวบ้าน และเมื่อคิดเช่นนั้นชาวบ้านก็พร้อมที่จะชนด้วยข้อกฎหมายเช่นกัน โดยในวันนี้จะลงบันทึกประจำวันกับร้อยเวรเป็นหลักฐานก่อนว่าชาวบ้านจะแจ้งความดำเนินคดีกลับกับบริษัทในเครือสหวิริยาเช่นกัน “ก็คอยดูว่าสุดท้ายชาวบ้านที่ต้องสู้เพื่อปกป้องชุมชน ปกป้องตนเองตามสิทธิที่พึงมีตามรัฐธรรมนูญ กับกลุ่มทุนที่มีเงิน มีคนหนุนหลัง เอาพื้นที่ของชุมชนเราหาผลกำไรมายาวนานกว่า 20 ปี แต่คดโกงประเทศโดยการเอาที่สาธารณะ ที่ป่าสงวนฯ มาเป็นสมบัติส่วนตัวเพื่อประกอบธุรกิจ ว่าใครจะแพ้ ใครจะชนะ” “เรื่องนี้ผมอยากให้เป็นเรื่องสาธารณะมากทีสุด เพราะพวกผมโดนกระทำมาตลอด ไม่เช่นนั้นเราจะมีกฏหมายรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร มีสิทธิชุมชนเพื่ออะไร หากเราใช้สิทธิแต่เรากลับถูกลิดรอนสิทธิโดยความไม่ชอบธรรมเช่นนี้” นายเสกสรร กล่าว ด้านนายสุพจน์ ส่งเสียง กล่าวว่า ที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมาย ม.25 ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507ที่นี่เชื่องช้ามาก บริษัทในเครือสหวิริยา ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ปข 1 แจ้งความร้องทุกข์ตามคดีอาญาที่ 262/2554 ตั้งแต่เดือน เม.ย.54 เวลาผ่านมาปีกว่า คดียังไม่คืบหน้า สอบสวนไม่เสร็จ ชี้แนวเขตไม่ได้ แต่นายอำเภอโดยย้าย 2 คน รองผู้กำกับที่เหลือเวลาการทำงานเพียง 5 เดือนจะเกษียณ ก็ถูกย้ายไปชายแดน จ.สระแก้ว “แต่ทุนไม่สามารถย้ายพวกผมที่เป็นชาวบ้านที่ไม่ได้มีตำแหน่งได้ จึงยัดคดีให้แทน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ยอมตกเป็นเครืองมือโดยทำให้ชาวบ้านมองว่าขาดความเป็นธรรม วันนี้พวกผมจึงมายื่นหนังสือถึงนายอำเภอให้มีการดำเนินการในเรื่องการบังคับใช้ ม.25 อย่างเป็นธรรม ถึง ผกก.เรื่องเกี่ยวกับคดีความต่างๆ และร้อยเวรที่รับเรื่อง รวมถึงขนส่งจังหวัดที่จะต้องตรวจสอบในเรืองของภาษีล้อเลื่อนที่ชาวบ้านได้ข่าวแว่วมาว่ามีการหลบเลี่ยงภาษี อย่างละเอียดด้วย” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ชาวบ้านจะเดินทางกลับได้แจ้งว่า ชาวบ้านที่ถูกแจ้งความเรียกค่าเสียหายจำนวน 19 คน จะทยอยมาแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทในเครือสหวิริยา เมื่อทำการแจ้งความเรียบร้อยทุกคนจะแจ้งเลขคดีให้ผู้สื่อข่าวทราบ และช่วยติดตามต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ญาติมาเอง ยื่น จม.นายกจี้ปล่อยนักโทษการเมือง-พัฒนาคุกทั่วประเทศ Posted: 16 May 2012 01:15 PM PDT
ภาพยื่น จม.ต่อ รองนายกยงยุทธ วิชัยดิษฐ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.55 เวลา 10.00 น. เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ญาตินักโทษทางการเมือง นักโทษ ม.112 หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชนุภาพ เช่น นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) และ แม่นายสุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ เป็นต้น ได้รวมตัวกันประมาณ 50 คน บริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองและนักโทษที่โดนคดีอาญามาตรา 112 ทันที โดยให้รวมนักโทษที่โดนคดีอาญามาตรา 112 เป็นนักโทษการเมือง ทบทวนการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์และข้อเสนอของและคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) รวมทั้งพัฒนาความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขัง โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกมารับจดหมายดังกล่าวแทนนายกรัฐมนตรี พร้อมกับพูดคุยกับผู้ชุมนุม และยืนยันว่า "จะต้องไม่มีใครเป็นเหมือนอากงอีก" (ทั้งนี้ อากงหรือ นายอำพล หรือเป็นที่รู้จักในทางสาธารณะในนามว่า "อากง SMS" ผู้ต้องขังคดี ม.112 ที่ได้เสียชีวิตในเรือนจำเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา) คลิปสัมภาษณ์จิตรา คชเดช ผู้ประสานงานกลุ่มฯ หลังยื่นจดหมาย
น.ส.จิตรา คชเดช ผู้ประสานงานกลุ่มในนามเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่า การมาครั้งนี้เพื่อยื่นหนังสือให้กับนายกรัฐมนตรี มีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและยกสถานะนักโทษตามคดีอาญามาตรา 112 เป็นนักโทษการเมือง ข้อ 2 ให้ทบทวนการแก้ไขมาตรา 112 ที่รัฐบาลพูดมาตลอดว่าจะไม่มีการแก้ไขมาตรา 112 นี้ อยากให้หยิบไปทบทวนดู เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศประชาธิปไตยหรือว่ากลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรแรงงานก็มีการเรียกร้องมาจากทั่วโลก รวมถึงคนในประเทศเองก็เห็นว่ามาตรา 112 มีปัญหา ซึ่งกรณีอากงหรือนายอำพลก็เสียชีวิตในเรือนจำ และข้อที่ 3 อยากให้ดูแลความเป็นอยู่ในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร เรื่องการรักษาพยาบาลและเรื่องที่อยู่ที่ไม่แออัด “รองนายกยงยุทธ วิชัยดิษฐ ผู้มารับจดหมายแทนนายก ได้รับปากว่า เรื่องทั้งหมดที่เราพูดถึง ท่านเข้าใจดีและก็ทราบเป็นอย่างดีแล้วก็จะเร่งแก้ไขและดำเนินการให้อย่างเร่งด่วน” ผู้ประสานงานเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยกล่าว จิตรา คชเดช ให้เหตุผลที่ควรมีการแก้ไข ม.112 ว่า “เพราะเป็นมาตราหนึ่งที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ขัดแย้งกับหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีปัญหาเรื่องของใครก็ได้ที่จะแจ้งความจับใครก็ได้ และคดีนี้ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เวลาพิพากษาไปแล้วก็ไม่นำไปสู่สาธารณะ เพราะอาจจะโดนข้อหาหมิ่นฯ ซ้ำได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมาตรา 112 เป็นปัญหาแบบนี้ มันเท่ากับมันไม่มีเสรีภาพที่เราจะพูดอะไรหรือจะวิพากษ์วิจารณ์ หรือที่จะเข้าถึงข้อมูลได้โดยมาตรานี้ คิดว่าจะต้องมีการแก้ไข” “เราจะเห็นได้ว่าคนที่โดนมาตรา 112 นี่ มันจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เพราะว่าคนที่โดนมาตรา 112 สิ่งที่เขาพูดหรือเผยแพร่ออกไปมันไม่ได้ไปสู่สังคมส่วนใหญ่เลย เรียกว่าสังคมส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขาพูดหรือเขาทำอะไร เพราะฉะนั้นสังคมส่วนใหญ่แทบไม่รับรู้ ในเมื่อสังคมส่วนใหญ่ไม่รู้มันก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสังคมอยู่แล้ว แต่มันกลายเป็นว่ามันเป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม หรือว่าเป็นเรื่องของการรับรู้ภายในแล้วก็มีการลงโทษกันภายใน ซึ่งถือว่าเป็นโทษรุนแรงมากถ้าเทียบกับโทษอื่นๆ” จิตรากล่าว นอกจากนี้จิตรา ยังได้เปิดเผยถึงกิจกรรมของทางกลุ่มในครั้งต่อไปว่าในวันที่ 19 พ.ค.นี้ จะมีการเดินรณรงค์จากลาน ร.6 หน้าสวนลุมพินีไปที่ ราชประสงค์ เพื่อเรียกร้องยกเลิกมาตรา 112 แล้วก็ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองด้วย
ทั้งนี้ในส่วนของจดหมายที่ทางกลุ่มนี้ได้ยื่นต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีใจความว่า เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมประชาธิปไตยและญาตินักโทษการเมือง นักโทษที่โดนคดีอาญามาตรา 112 เห็นปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมต่อนักโทษการเมืองและนักโทษที่โดนคดีอาญามาตรา 112 เกี่ยวกับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวซึ่งมีความพยายามประกันตัวหลายครั้งให้กับนักโทษที่คดียังไม่สิ้นสุด และสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำ จนได้มีเหตุการณ์ที่ทุกคนขวัญเสียเป็นอย่างมาก กรณี นายอำพล ตั้งนพกุล (อากง) นักโทษคดีอาญามาตรา 112 ซึ่งศาลมีคำพิพากษาลงโทษ 20 ปี โดยที่ทนายความมีความพยายามประกันตัวถึง 8 ครั้ง แม้จะอ้างหลักฐานการป่วยเป็นมะเร็ง หรือให้อาจารย์มหาวิทยาลัย 7 ท่านมาช่วยค้ำประกัน พร้อมด้วยเงินจากกรมคุ้มครองสิทธิอีก 1 ล้าน แต่ไม่ได้รับอนุญาต จนกระทั่งต้องยอมถอนอุทธรณ์และได้เสียชีวิตในเรือนจำในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตมาจากเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย และไม่มีการรักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่ควรจะได้รับ ในขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.54 ที่ผ่านมาคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ได้เสนอแนะรัฐบาล ว่าควรผลักดันการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าว เช่นเดียวกับ "คณะนิติราษฎร์" ที่เสนอให้มีการปรับแก้กฎหมายมาตรานี้ ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรเพิกเฉยควรนำมาพิจารณา พร้อมทั้งเปิดให้สังคมได้มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงประชาพิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างของปัญหามาตรา 112 เช่น การที่ใครๆก็ฟ้องได้ การที่ไม่อนุญาตให้พิสูจน์ "ความจริง" อย่างกฏหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา มาตรา 329 ที่ยกเว้นความผิดถ้าเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตและติชมด้วยความเป็นธรรม ขณะที่มาตรา 330 ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็น "ความจริง" ก็ไม่ต้องรับโทษ(เว้นแต่เป็นเรื่องส่วนตัว และไม่เป็น "ประโยชน์สาธารณะ") แต่ ม.112 ไม่สามารใช้ได้ รวมทั้งมาตรานี้ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันก็ได้รับการบัญญัติขึ้นโดยคณะรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ออกคำสั่งในนามคณะปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน ยกเลิกมาตรา 112 เดิม แล้วบัญญัติ 112 ขึ้นใหม่ โดยเพิ่มโทษสูงสุดจาก 7 เป็น 15 ปี และเป็นครั้งแรกที่มีโทษขั้นต่ำของความผิดนี้ คือ "ตั้งแต่ 3 ปี" ไว้ด้วย มาตรา 112 จึงเป็น "กฎหมาย" หรือ "ผลพวง" ของคณะรัฐประหาร และขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย แม้แต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โทษสูงสุดเพียง 3 ปี และไม่มีโทษขั้นต่ำ
จึงขอให้รัฐบาลดำเนินการดังนี้ 1.ปล่อยตัวนักโทษการเมืองและนักโทษที่โดนคดีอาญามาตรา 112 ทันที โดยให้รวมนักโทษที่โดนคดีอาญามาตรา 112 เป็นนักโทษการเมืองด้วย 2.ให้รัฐบาลทบทวนการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์และข้อเสนอของ คอป. 3.ให้รัฐบาลเข้าไปดูแลความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำ เช่นการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐบาลทั่วไป และทันท่วงที และให้มีหมอ พยาบาล เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย และจัดอาหารที่เพียงพอ สะอาด มีประโยชน์ หลากหลายและรสชาติที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงที่พักที่ไม่แออัดให้กับนักโทษทุกเรือนจำทั่วประเทศทันที
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รองเลขาศาลหนักใจกรณีอากง โบ้ยหลักฐานขอประกันไม่ชัด-หมอชี้มะเร็งระยะลุกลาม Posted: 16 May 2012 12:40 PM PDT 16 พ.ค. เวลา 13.30 น. ที่อาคารรัฐสภา 2 นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดประชุมพิจารณาศึกษากรณีการเสียชีวิตของนายอำพล หรือ อากง ในระหว่างถูกคุมขังในราชทัณฑ์ เพื่อไม่ให้ปรากฏเหตุในลักษณะเช่นเดียวกันอีก โดยเชิญหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เช่น กรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาลราชทัณฑ์ สำนักงานศาลยุติธรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งทนายความและญาติของผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีประชาชนที่สนใจและสื่อมวลชนเข้าร่วมฟังคับคั่ง การประชุมเริ่มโดยผู้แทนกรมสารนิเทศ กระทรวงต่างประเทศ รายงานถึงผลกระทบจากกรณีการเสียชีวิตของนายอำพลว่า สื่อต่างประเทศได้รายงานและวิพากษ์วิจารณ์การเสียชีวิตของนายอำพลมากพอสมควร โดยเชื่อมโยงกับประเด็นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เสรีภาพการแสดงออก และการเมืองภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ทางกระทรวงต้องให้ข้อมูลแก่ประชาคมโลก สหภาพยุโรป (EU) ซึ่งติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่นายอำพลยังไม่เสียชีวิตได้แสดงความกังวลเรื่องการบังคับใช้มาตรา 112 และย้ำเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกของไทย รองโฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้มาสอบถามรายละเอียดเหตุผลการเสียชีวิตของนายอำพล ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจ และเสนอข้อเรียกร้อง 3 เรื่อง คือ สิทธิในการได้รับการประกันตัว สิทธิในการรักษาพยาบาลของผู้ต้องหา และให้ดำเนินการชันสูตรศพนายอำพลเพื่อหาสาเหตุการตาย นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการศาลยุติธรรม กล่าวว่าศาลเองก็ไม่สบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิด ศาลได้เคยอนุญาตให้ปล่อยตัวนายอำพลชั่วคราวเมื่อ 4 ต.ค. 2553 ด้วยหลักประกัน 5 แสนบาท แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้รับการประกันตัวอีก ในคดีมาตรา 112 ศาลก็เคยอนุญาตให้บางคนประกันตัว เช่น นายสนธิ ลิ้มทองกุล จากการเก็บสถิติในกระบวนยุติธรรม ศาลจะอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยที่เป็นคนไทยร้อยละ 93 ไม่อนุญาตร้อยละ 7 เท่านั้น รัฐธรรมนูญบอกว่าการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิพื้นฐาน แต่ก็ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ที่จะไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี ศาลจะใช้ดุลยพินิจเป็นรายกรณี การที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวแม้ว่านายอำพลจะมีอาการป่วย นายสราวุธชี้แจงว่าปกติศาลจะปล่อยตัวถ้ามีหลักฐานแสดงชัดเจนเพียงพอ แต่ตอนที่นายอำพลยื่นคำร้องขอประกันตัว เอกสารที่ยื่นมีใบรับรองแพทย์ ศาลเห็นว่าอาการเจ็บป่วยยังไม่ได้ปรากฏมาก น่าเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี และอาการป่วยยังสามารถรักษาระหว่างจองจำได้ ถึงมีการยืนขอปล่อยตัวชั่วคราวหลายครั้ง แต่ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงยังคงเหมือนเดิม ศาลก็ยังยืนยันตามเดิม ใช้เหตุผลซ้ำๆ กับที่เขียนไว้ของเดิม และต้องชี้แจงว่ารูปแบบคำสั่งกับคำพิพากษาแตกต่างกัน คำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวหรือไม่ต้องทำอย่างรวดเร็วในวันเดียวกัน ที่มีผู้ถามว่าทำไมศาลไม่รู้สึกว่าอาการเจ็บป่วยนั้นร้ายแรงทั้งที่ใบรับรองแพทย์ระบุว่าเป็นมะเร็ง จริงๆ มะเร็งมีหลายระยะ ระยะแรกๆ อาจรักษาหาย ควรมีการระบุความรุนแรงของอาการ นายสราวุธยืนยันว่าศาลมีความเป็นกลาง พิจารณาตามหลักฐานและเกณฑ์ที่กำหนด แต่การใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาแต่ละคนมีความแตกต่างกันภายใต้กรอบกฎหมาย ตนมีความหนักใจในการแถลงครั้งนี้เช่นกัน เพราะตนไม่ใช่ศาล นายอานนท์ อำภา ทนายความนายอำพล ตั้งข้อสังเกตว่าในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คำสั่งศาลไม่ได้ออกมาในวันเดียวกันอย่างที่นายสราวุธกล่าว ตนเคยยื่นขอปล่อยตัวจำเลย แต่เดือนครึ่งแล้วศาลก็ยังไม่สั่งจนต้องถอนอุทธรณ์ ตนไม่แน่ใจว่าจะต้องรอให้อากงปากพูดไม่ได้ เลือดออกหูจึงจะให้ประกันหรือเปล่า และปัญหาสำคัญในกระบวนการยุติธรรมคือ เห็นได้ว่าการไม่อนุญาตให้ประกันตัวมันบังคับให้จำเลยไม่สู้คดี เช่น กรณีนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความนายอำพลอีกผู้หนึ่ง เสนอว่า ในการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ศาลควรเขียนระบุให้ชัดเจนว่าข้อเท็จจริงที่อาศัยเป็นฐานของดุลยพินิจ “เกรงว่าจะจำเลยหลบหนี” นั้นคืออะไร และเสนอให้ราชทัณฑ์เพิ่มงบประมาณการตรวจรักษาโรคที่ต้องเฝ้าระวังเช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ เพราะแม้ผู้ป่วยจะอาการไม่รุนแรงระยะแรกแต่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพื่อเฝ้าระวังว่าโรคลุกลามไปแค่ไหนแล้ว ตนมีแต่ใบรับรองแพทย์ก่อนที่อากงจะเข้าคุกมาให้ศาลพิจารณา แต่หลังจากนั้นก็ยากลำบากในการติดตามอาการของอากง ขณะที่นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล ในฐานะผู้มีส่วนร่วมชันสูตรพลิกศพอากง ระบุว่า อากงเป็นมะเร็งตับในระยะลุกลาม ไม่ใช่ระยะสุดท้าย ซึ่งพบชิ้นเนื้อมะเร็งประมาณ 7 เซนติเมตร แต่เชื้อดังกล่าวนั้น ไม่ได้ลามไปถึงหัวใจ และทำให้ตนตั้งข้อสังเกตว่า ขั้นตอนในการส่งตัวไปรักษานั้น มีความบกพร่องมากน้อยหรือไม่ เพราะถ้าหากเป็นเช่นนั้น ทางกรมราชทัณฑ์ก็ควรแก้ไขปรับปรุงในเรื่องดังกล่าว นายสรสิทธิ์ จงเจริญ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ชี้แจงการดูแลทางการแพทย์ในเรือนจำว่าผู้ต้องขังที่เข้ามาใหม่ทุกคนต้องพบแพทย์และสอบถามประวัติความเจ็บป่วย ถ้าผู้ต้องขังไม่สบายสามารถพบแพทย์ในเรือนจำได้ทุกวัน จะมีเวรพยาบาลดูแลอยู่ หากสถานพยาบาลในเรือนจำรักษาไม่ไหวจึงจะส่งไปที่โรงพยาบาลกลางราชทัณฑ์ หากผู้ป่วยมีจำนวนมากจนแพทย์และเครือมือไม่เพียงพอก็จะมีการส่งผู้ป่วยออกไปข้างนอกประจำ นายแพทย์บุญมี วิบูลย์จักร แพทย์ในโรงพยาบาลกลางราชทัณฑ์ ยอมรับว่าโรงพยาบาลกลางราชทัณฑ์ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้เต็มศักยภาพเท่าโรงพยาบาลข้างนอกที่มีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มอัตรา เนื่องจากทัณฑสถานไม่ใช่ที่สำหรับคนทั่วไป เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลกลางราชทัณฑ์จะทำงานตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะใช้ระบบเวรพยาบาลแทน ส่วนกรณีที่คนไข้เจ็บป่วยรุนแรง เวรพยาบาลจะแจ้งแพทย์ทราบและให้แพทย์สั่งรักษาทางโทรศัพท์ การรักษาคนไข้ที่ถูกคุมขังมีข้อจำกัดเพราะระบบการกักตัวนักโทษในบางเวลา วันเสาร์ อาทิตย์ ก็ใช้แต่ระบบเวรพยาบาล ไม่มีแพทย์เว้นแต่เหตุฉุกเฉิน ส่วนการดูแลรักษานายอำพลก่อนเสียชีวิตนั้น นายแพทย์บุญมีเล่าว่าตอนแรกอากงได้แจ้งความเจ็บป่วยเรื่องมะเร็งช่องปาก แพทย์ด้านหูคอจมูกได้ตรวจอาการ แต่ไม่พบอาการกำเริบ เมื่อกลางปีที่แล้ว คนไข้บอกว่ามีรู้สึกอาการจะกลับมาเป็นใหม่ แพทย์ตรวจแล้วก็ยังไม่พบอาการผิดปกติ แต่ก็ได้ส่งไปตรวจ MRI ที่คอในโรงพยาบาลรัชวิภา ก็ยังไม่พบอาการมะเร็งที่ช่องปาก กระทั่งเดือนมกราคมปีนี้ อากงมาหาแพทย์อีกครั้งโดยบอกว่าเจ็บที่คอ แพทย์พบว่าต่อมน้ำเหลืองที่คอโต เบื้องต้นให้ยาปฏิชีวนะ อาการก็ดีขึ้น ต่อมน้ำเหลืองก็ยุบลงไปและกลับไปเรือนจำตามเดิม คนไข้จะหายไปจากการรักษาเป็นช่วงๆ ระหว่างนั้นก็ใช้ชีวิตเหมือนผู้ต้องขังปกติ ไม่ได้มีอาการเหนื่อยหรือเจ็บป่วยร้ายแรง นายแพทย์บุญมีกล่าวว่า โรงพยาบาลราชทัณฑ์สามารถผ่ามะเร็งเบื้องต้นได้ทันที แต่กรณีของอากงนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไร โรคที่ช่องปากก็ผ่านการรักษาอย่างถูกต้องแล้ว ส่วนอาการปวดท้องนั้นยังอยู่ในช่วงการตรวจหาโรค ตอนนั้นอากงเริ่มปวดท้อง ท้องบวมโต เราก็รับไว้ในโรงพยาบาลโดยได้ให้ยาเพื่อรอตรวจในวันถัดไปเหมือนโรงพยาบาลอื่นๆ แต่เพราะคนไข้มาในวันศุกร์ ช่วงนั้นเป็นวันหยุดราชการ เสาร์ อาทิตย์ กระบวนการส่งต่อจึงชะงักไปก่อน อาการอากงตอนนั้นยังดูไม่อยู่ในขั้นรุนแรง ความดันปกติ ทานอาหารได้ เหมือนอาการทั่วไปของโรคในช่องท้อง เดินเหินช่วยเหลือตัวเองได้ แพทย์วางแผนจะตรวจข้างนอก แต่ต้องส่งในเวลาทำการ หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น โรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม ทนายความของกลุ่มคนเสื้อแดงในเหตุสลายการชุมนุมปี 53 ซึ่งมาร่วมฟังการประชุม ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ตนรู้ถึงอาการป่วยของอากงจากการที่ไปเยี่ยมคราวที่แล้ว ในฐานะนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน มองว่าการที่ศาลปฏิเสธการประกันตัวเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน ตนได้เรียนกับรัฐบาลว่าปัจจุบันประเทศไทยมีนักโทษทางความคิดหรือนักโทษการเมืองจำนวนมาก รัฐบาลจึงจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพเรือนจำ รัฐบาลนี้ได้รับการเลือกตั้งมาโดยประชาชน รัฐบาลต้องตอบสนองมาตรฐานสากลเรื่องสิทธิมนุษยชน ในช่วงรัฐบาลทหารที่นำโดยนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น แต่ตอนนี้ต้องยุติลงเพราะเรามีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เราต้องรับประกันว่าการตายของอากงจะไม่สูญเปล่า เราต้องประกันสิทธินักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดทุกคนด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เตรียมจัดเวที ดึง‘กฟผ.-ก.พลังงาน-นักวิชาการ’ ชนข้อมูลโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง Posted: 16 May 2012 12:40 PM PDT คนตรังเตรียมจัดเวทีศึกษาโรงไฟฟ้าถ่านหิน-พลังงานทางเลือก ดึงกฟผ.-กระทรวงพลังงาน-นักวิชาการปะทะข้อมูล หวังเป็นฐานความรู้ตัดสินใจ หวั่นความแตกแยกขั้วหนุน-ต้านขยายวงกว้าง ดีเดย์เริ่ม 30 พ.ค.นี้ วันที่ 16 พ.ค.55 นักพัฒนาภาคเอกชน (NGOs) นักธุรกิจ ข้าราชการ สื่อมวลชน และชาวบ้านในจังหวัดตรัง ร่วมหารือเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย (กฟผ.) ที่ห้องดุสิตา 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วิทยาเขตตรัง อ.เมือง จ.ตรัง นายมานิต วงษ์สุรีย์รัตน์ ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง กล่าวว่า ตอนนี้ในจังหวัดตรังมีทั้งฝ่ายที่คัดค้านและสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างมาก จะทำอย่างไรให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถกถึงข้อมูลข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าถ่านหิน หากปล่อยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดสรรงบประมาณจัดจ้างบริษัทหรือมหาวิทยาลัยจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะเกิดความขัดแย้งในตรังเพิ่มขึ้นอีก นายมานิต เสนอด้วยว่า น่าจะมีวงสนทนาหารือเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ในเวลา 13.00 น. ทุกวันพุธของสัปดาห์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วิทยาเขตตรัง โดยคราวหน้าตนจะเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง เจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดตรัง มาให้ข้อมูลก็ได้ ขณะที่ นายวานิช สุนทรนนท์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฅนตรัง กล่าวว่า คนตรังน่าจะหาเวทีเสวนาหารือกันว่าจะออกมาในรูปแบบไหนเพื่อหาทางออกจากด้วยเหตุและผลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ทำอย่างไรเพื่อรับฟังเหตุผลกันได้โดยการเชิญคนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นักวิชาการด้านพลังงาน โดยควบคุมสถานการณ์เพื่อจะได้ไม่นำไปสู่ความแตกแยกมากยิ่งขึ้น ส่วนนายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานมูลนิธิหยาดฝน เสนอว่า น่าจะมีวงคุยหารือกันเดือนละ 1 ครั้ง เนื่องจากหากคุยกันทุกสัปดาห์เกรงว่าจะถี่เกินไปที่จะปลีกตัวจากการงาน ทั้งนี้อาจมีการลงไปดูสถานการณ์พื้นที่ พูดคุยกับชาวบ้านบ้าง นายศักดิ์กมล แสงดารา ผู้ประสานงานฝ่ายกฎหมายของมูลนิธิอันดามัน กล่าวให้ข้อมูลว่า ได้รับข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าตอนนี้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืององค์การบริหารส่วนตำบล มีการเจรจากว้านซื้อที่ดินใน ต.วังวน อ.กันตังแล้ว น่าจะมีกระบวนการของคนตรังอย่างเร่งด่วน ต่อกรณีดังกล่าว นางสาวศยามล ไกรยูรวงศ์ ผู้อำนวยการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศน์วิทยา (สจน.) แสดงความเห็นว่า หากเป็นเช่นนั้น ควรมีเวทีการให้ความรู้เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก ในวันที่ 13 มิ.ย.55 เป็นเวทีแรก และตามด้วยเวทีการให้ข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง โดยเชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน และนักวิชาการด้านพลังงานมาให้ข้อมูล ในครั้งถัดไป ขณะที่นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ เลขานุการมูลนิธิอันดามัน แสดงความเห็นว่า เวทีการให้ความรู้เกี่ยวกับพลังงานทางเลือกน่าจะจัดในวันที่ 30 พ.ค.55 โดยการเชิญพลังงานจังหวัดตรัง และตัวแทนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตรังมาให้ข้อมูล แล้วตามด้วยเวทีการให้ข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง โดยเชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน และนักวิชาการด้านพลังงานมาให้ข้อมูลในวันที่ 13 มิ.ย.55 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ข้อตกลงร่วมตามที่นายภาคภูมิ เสนอโดยจัดเวทีพลังงานทางเลือกในวันที่ 30 พ.ค.55 ที่ห้องชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดตรัง และเวทีการให้ข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังในวันที่ 13 มิ.ย.55 พร้อมร่วมกันเป็นเจ้าภาพประสานงานกับทุกภาคส่วนให้เกิดเวทีของคนตรังขึ้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ร่วมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย นายมานิต วงษ์สุรีย์รัตน์ ตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง นางจิตชยา วรกัลป์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัทดิเอกซ์พลอเรอร์จำกัด นายวิมล วิระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการบริษัทแปลนครีเอชั่นส์จำกัด นายจรัญ ชื่นในธรรม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง นายเสน่ห์ หมื่นโพธิ์ ข้าราชการบำนาญ นายวานิช สุนทรนนท์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฅนตรัง นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ เลขานุการมูลนิธิอันดามัน นางสาวศยามล ไกรยูรวงศ์ ผู้อำนวยการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศน์วิทยา (สจน.) นายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานมูลนิธิหยาดฝน นายศักดิ์กมล แสงดารา ผู้ประสานงานฝ่ายกฎหมายของมูลนิธิอันดามัน นายชัยพร จันทร์หอม กรรมการสมัชาสุขภาพแห่งชาติ นายศิลเรืองศักดิ์ สุขใสเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) นายชนะ เสียงหลาย นักเขียน นางบุษบง เสียงหลาย ฯลฯ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปรีดี อั้ม เกษียร สมศักดิ์ และคนอื่นๆ Posted: 16 May 2012 11:15 AM PDT
“อาจารย์ปรีดีไม่ได้เป็นคนที่วิเศษวิโส วิจารณ์ได้” อั้ม (ไม่ใช่ดารา) เวปไซต์ประชาไท 15 พ.ค. 2555 “กับปุ่มกลางหลังที่มองไม่เห็นของคนอื่น ควรต้อง handle with care” เกษียร เตชะพีระ, Facebook, 15 พ.ค. 2555 “ในสังคมสมัยใหม่ ไม่ใช่มาคอย regulate ว่า ใครต้อง มี "ท่าทีแสดงออก" อย่างไร เพราะมันขัดกับธรรมชาติ
ดูเหมือนว่าข้อถกเถียงกรณีสาวโหนรูปปั้นปรีดีจะเกี่ยวพันกับ “เส้นแบ่ง” ระหว่างสิ่งต่าง ๆ บนฐานความชอบธรรมที่เรียกว่าเสรีภาพ “เสรีภาพ” ที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างการวิพากษ์วิจารณ์กับการลบหลู่ดูหมิ่นหายไปจนเห็นแต่การวิพากษ์วิจารณ์เพียงอย่างเดียว “เสรีภาพ” ที่ทำให้เส้นแบ่งระหว่างสิทธิของเรากับสิทธิของเขาหายไปจนเห็นแต่สิทธิของเราเพียงฝ่ายเดียว ถ้าเชื่อจอห์น ล๊อค ที่ว่า “อิสรภาพไม่ใช่เสรีภาพสำหรับให้ทุกคนกระทำตามต้องการ (อย่างที่เรารับฟังกันมา) (John Locke, Second Treatise of Government. p. 32) ข้อเสนอของเกษียร เตชะพีระที่แนะนำให้ “handle with care” น่าจะหมายถึงการพิจารณาเส้นแบ่งที่ว่าให้ถี่ถ้วนรอบคอบทั้งเนื้อหาและวิธีการก่อนที่จะใช้เสรีภาพของเราในชุมชนที่มีความหลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงการยัดเยียดสิ่งที่เรายึดมั่นว่าจริงกว่าด้วยกำลังให้กับสมาชิกร่วมชุมชน เพราะการใช้เสรีภาพนี้มีผลพวงโดยตรงต่อความสุขความทุกข์ ชีวิตและจิตใจของคนอื่น นอกจากนี้ การยัดเยียดความจริง/ความหมายของเราให้คนอื่นนี้ก็มีปัญหาในตัวมันเอง เพราะว่า ประการแรก ความหมายเป็นนิยามร่วม ไม่สามารถบังคับกะเกณฑ์กันได้ ต่อให้ต้องการยัดเยียดและมีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ การยอมรับความหมายโดยสนิทใจก็ต้องผ่านการสร้างฉันทามติด้วยวิธีการต่าง ๆ และใช้เวลารอคอยอย่างเยือกเย็น ประการที่สอง ความหมายที่ฝังตัวลงไปในสังคมแล้วมีรากลึกพัวพันเกี่ยวโยงซับซ้อน การไปรื้อถอนอย่างหักหาญนั้นไม่ง่าย หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ผลที่ได้อาจจะตีกลับ หรือถ้าการรื้อถอนนั้นเกิดขึ้นจริงก็มักก่อเกิดเป็นบาดแผลเรื้อรังในสังคมรอการปะทุ (ซึ่งหมายความว่าการรื้อถอนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง ทำได้แต่เพียงปิดทับเอาไว้) หรือไม่ก็จะทำลายความหมายทางอุดมการณ์บางประการที่คาดหวังในสัญญะนั้นลงไปจนสัญญะว่างเปล่าไร้ความหมายไปด้วย ตัวอย่างของปัญหาประการแรกนั้น เห็นได้จากความเป็นสถาบันของสถาบันต่าง ๆ ในสังคมไทยที่กว่าจะหยั่งรากลึกจนเป็น “ปุ่มกลางหลัง” ของคนในสังคมได้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน เช่น ปรากฏการณ์ “เสื้อเหลือง” จึงเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2549 ไม่ใช่ พ.ศ. 2516 หรือ พ.ศ. 2519 ตัวอย่างของปัญหาประการที่สองนั้น ในกรณีของการโหนรูปปั้นปรีดี วิธีการเช่นนั้นน่าจะมีผลในการทอนความศักดิ์สิทธิ์ของรูปปั้นน้อยมาก (เมื่อพิจารณาจาก ‘เม้นท์’ ที่มีต่อเจ้าของรูป) หรือถ้าคนในสังคมยินดีกับการโหนรูปปั้นปรีดี รูปปั้นนั้นคงไม่มีความหมายใดๆ มากไปกว่าม้าหมุนเด็กเล่นในสนาม ความหมายที่ถูกทำลายไป คงไม่ใช่เพียงแค่ความศักดิ์สิทธิ์แบบเจ้าพ่อเจ้าแม่ แต่คงรวมไปถึงประวัติศาสตร์และความทรงจำของอุดมการณ์ทางการเมืองของท่านผู้ประศาสน์การด้วย จะเป็นไปได้มากกว่า และดีกว่าไหม ถ้าค่อย ๆ ทอน ถอดถอนหรือรื้อสร้างความหมายผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนมีมติร่วมกัน เพราะว่าอันที่จริงแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าความจริงของเราจริงกว่า? หรือต่อให้จริงแล้วไง? โลกมันซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะอยู่ได้ด้วย “ความจริง” เพียงไม่กี่ชุดหรือไม่? การอยู่ร่วมกันโดยสันติของมนุษย์บนโลกควรประกอบด้วยอะไรบ้าง? ความจริงแห้งๆ ทื่อๆ อย่างเดียวพอไหม? ดังนั้น “ความจริง” ที่เราค้นพบและ “เสรีภาพ” ที่เรามี/อ้าง ไม่ใช่ใบอนุญาตให้เราใช้กำลังทำลายความหมายที่ชุมชนมีร่วมกัน ในชุมชนหนึ่ง ๆ สมาชิกชุมชนแต่ละคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพของตนเองด้วย การใช้เสรีภาพของอย่างไร้ขอบเขตย่อมทำลายโอกาสในการใช้เสรีภาพของคนอื่น ๆ “เสรีภาพ” จึงกำเนิดจากความคิดที่จะพิทักษ์สิทธิของผู้อื่นก่อนการใช้เสรีภาพของตนเอง การเรียกร้อง “เสรีภาพ” จึงต้องเริ่มต้นด้วยการคิดถึงสิทธิของผู้อื่น ไม่ใช่เริ่มต้นด้วยการยัดเยียดความต้องการของตนเองไปให้ผู้อื่นจนไม่เหลือพื้นที่สำหรับความเป็นไปได้อื่นๆ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตีความ ม.291 หรือไม่? Posted: 16 May 2012 10:59 AM PDT บัดนี้กระบวนการแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้เสร็จสิ้นลงเกือบหมด และเราก็กำลังจะได้ “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” (ส.ส.ร.) มาทำหน้าที่ยกร่าง “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ให้เราเสนอแนะ คัดค้าน วิพากษ์วิจารณ์ ก่อนตัดสินใจลงมติกันต่อไป กระนั้นก็ดี ยังมีประเด็นค้างคาอยู่ว่า การแก้ไข มาตรา 291 เป็นเพียงการใช้ “เสียงข้างมากที่ลากไปไกล” เกินกว่าที่รัฐธรรมนูญจำกัดไว้หรือไม่ และหากเป็นดังนั้น “ศาลรัฐธรรมนูญ” จะสามารถพิทักษ์ชาติโดยล้มกระดาน มาตรา 291 จนทำให้การตั้ง ส.ส.ร. ต้องล้มเลิกได้หรือไม่ ? ก่อนหน้านี้ พลตรีจำลอง ศรีเมือง และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ใช้ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อเสนอเรื่องให้ “อัยการสูงสุด” ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า การที่สมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งได้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นั้น ถือเป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้” หรือไม่ หากคุณรสนา และ พรรคประชาธิปัตย์จะอาศัยช่องทางตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) โดยขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยเหตุว่า มาตรา 291 ที่แก้ไขเป็น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย[ที่]มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ก็ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินย่อมทราบดีว่า มาตรา 245 (1) นั้น เป็นกรณีการตรวจสอบ “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” เช่น พระราชบัญญัติ ซึ่งต่างจากกรณี มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จึงนำมาปะปนกันมิได้ แม้ผู้เขียนจะกังวลต่อความชอบธรรมและความเหมาะสมของการแก้ไข มาตรา 291 แต่เรื่องที่กังวลไม่น้อยไปกว่ากัน ก็คือการอ้าง มาตรา 68 เพื่อนำ “ศาลรัฐธรรมนูญ” มาเป็นประเด็น ซึ่งผู้เขียนมีข้อสังเกตสามประการ ดังนี้ (1) มาตรา 68 เป็นเรื่อง “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ซึ่งต่างจากการแก้ไข มาตรา 291 ซึ่งเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” อย่างไรก็ดี การที่สมาชิกรัฐสภาจะเสนอญัตติ หรือออกเสียงลงคะแนน หรือกระทำการอื่นที่เกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 291 นั้น ไม่ถือเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” แต่ถือเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” ซึ่งผู้กระทำมิอาจเลือกว่าจะกระทำหรือไม่กระทำได้เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ตนปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ แต่เป็นอำนาจหน้าที่ถูกกำหนดให้กระทำไปในฐานะส่วนหนึ่งของกลไลตามรัฐธรรมนูญ เช่น หน้าที่ในการเข้าประชุมและลงคะแนนตามดุลพินิจภายใต้ มาตรา 122 คือ จะอ้างว่ากระทำเพื่อตนเองหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้ และจะสงวนการใช้สิทธิเสรีภาพว่าขอไม่รับรู้ยุ่งเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ เช่นกัน เป็นต้น ข้อที่สำคัญกว่านั้น คือ หากมีการตีความว่า “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญ กลายเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ตาม มาตรา 68 ไปเสียแล้ว ก็จะส่งผลแปลกประหลาดทำให้ อัยการสูงสุด และ ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรที่มีเขตอำนาจล้นพ้น สามารถรับเรื่องมาตรวจสอบ สอบสวน วินิจฉัยการใช้อำนาจหน้าที่ได้มากมาย เช่น การใช้อำนาจของคณะองคมนตรีในการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตาม มาตรา 19 การใช้อำนาจของรัฐสภาในการเห็นชอบการประกาศสงครามตาม มาตรา 189 หรือแม้แต่ การใช้อำนาจของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาในการเลือกผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 204 เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น หาก มาตรา 68 ถูกตีความให้นำมาใช้อ้างได้อย่างพร่ำเพรื่อ เช่น อ้างเพื่อนำอำนาจตุลาการมาตรวจสอบยับยั้งการใช้ดุลพินิจของผู้แทนปวงชนในการออกเสียงลงมติได้ทุกกรณีแล้วไซร้ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” นี้เองอาจกลับกลายเป็นสิทธิที่ถูกนำมาใช้ในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ อันขัดต่อหลักการใช้สิทธิตาม มาตรา 28 อีกด้วย (2) มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเฉพาะ “กระทำที่ยังไม่เสร็จสิ้น” ดังนั้น หากการกระทำตามข้อกล่าวหา คือ การลงมติสนับสนุนการแก้ไข มาตรา 291 ในวาระแรกซึ่งได้จบสิ้นลงไปแล้ว ก็ย่อมไม่มีกรณีให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาต่อไป และแม้อัยการสูงสุดจะยื่นเรื่องไป ศาลก็ไม่มีอำนาจเพิกถอนหรือยกเลิกการกระทำของสมาชิกรัฐสภาแต่อย่างใด เพราะ มาตรา 68 เพียงแต่ให้อำนาจ “สั่งการให้เลิกการกระทำ” เท่านั้น อนึ่ง แม้การกระทำบางอย่างอาจเสร็จสิ้นไปแล้วและไม่สามารถถูกตรวจสอบตามช่องทางตาม มาตรา 68 ได้ แต่ก็ยังถูกตรวจสอบโดยวิธีการอื่นได้ตามกฎหมาย เช่น โดยอาศัยการตรวจสอบโดย ป.ป.ช. ซึ่งทางแกนนำพันธมิตรฯ ก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างแข็งขันเช่นกัน (3) อัยการสูงสุดต้องตีความ มาตรา 68 ให้เกิดบรรทัดฐานที่ดี ทั้งนี้อัยการสูงสุดในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่ในการตีความ มาตรา 68 โดยตรง ควรให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่า เหตุที่ยุติการสอบสวนและไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้น มิได้เป็นเพราะอัยการสูงสุดเห็นว่า การแก้ไข มาตรา 291 นั้น เป็นไปเพื่อล้มล้างการปกครองฯ หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศฯ อย่างผิดวิถีรัฐธรรมนูญ หรือไม่ แต่เป็นเพราะ อัยการสูงสุดเห็นว่า เรื่องที่เสนอมานั้น ไม่เข้าลักษณะกรณีที่เสนอได้ดังที่อธิบายมาในข้อ (1) และแม้หากเสนอได้ การกระทำที่กล่าวหาก็เสร็จสิ้นยุติไปแล้วตามข้อ (2) จึงไม่มีอำนาจไปสืบสวนข้อเท็จจริงหรือยื่นเรื่องต่อไปได้ ในทางกลับกัน หากอัยการสูงสุดทำการสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติม และสุดท้ายให้เหตุผลทำนองว่า การแก้ไข มาตรา 291 ไม่ได้เป็นการ “ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฯ” แต่อย่างใด ก็จะทำให้เกิดความคลุมเครือว่า ต่อไปนี้ อาจมีผู้เสนอเรื่องอีกสารพัดมาให้พิจารณาสอบสวน ทั้งที่เรื่องเหล่านั้นเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่นอกเหนือไปจากเขตอำนาจของอัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ และยิ่งหากผู้เสนอเรื่องเหล่านั้นเป็นผู้รับเงินภาษีประชาชนแล้ว ก็ยิ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ แต่ก็ไม่แน่ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้ว มาตรา 68 หรืออำนาจหน้าที่ของ อัยการสูงสุด และ ศาลรัฐธรรมนูญ จะยังคงมีอยู่ต่อไปหรือไม่เพียงใดนั้น ก็ยังมิอาจตอบได้เช่นกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใจ อึ๊งภากรณ์: ยิ่งลักษณ์ตบหน้าวีรชนเสื้อแดงสองปีหลังราชประสงค์เลือด Posted: 16 May 2012 09:30 AM PDT การที่นายกยิ่งลักษณ์เดิ งานศพอากงยังไม่ทันเสร็จสิ้น นายกยิ่งลักษณ์ก็ไปค้ เวลารัฐมนตรีมหาดไทย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ พูดต่อว่าเสื้อแดงที่ไปยื่นหนั องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch รายงานว่ารัฐบาลบาห์เรนทรมานนั การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยที่ อับดุลฮาดี อัลคาวาจา เป็นหนึ่งในนักโทษการเมือง 8 คนที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิ ในขณะที่มหาอำนาจตะวันตกวิจารณ์ คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ หลังเหตุกาณ์นองเลือดราชประสงค์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อาเจะห์เดือด หลังเลือกตั้งผู้ว่าฯ ถล่มดับอดีตผู้บัญชาการ GAM Posted: 16 May 2012 09:18 AM PDT อาเจะห์เดือด หลังเลือกตั้งผู้ว่าฯแค่เดือนเศษ ถล่มดับอดีตผู้บัญชาการกองกำลังขบวนการ GAM ทีมชนะเลือกเลือกตั้ง เผยเป็นเลขานุการสภาบริหารชุดใหม่
ถล่มเละ – นาย Syukri alias Pangkuk อดีตผู้บังคับบัญชากองกำลังขบวนการปลดปล่อยอาเจะห์(GAM) ซึ่งเป็นเลขานุการสภาบริหารจังหวัดอาเจะห์ ของอินโดนีเซีย ถูกยิงถล่มเสียชีวิต หลังผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและทีมบริหารชุดใหม่มาได้แค่เดือนเศษ
ล็อคซูมาเว อินโดนีเซีย – เมื่อกลางดึกของวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ที่เมืองบลัง จังหวัดอาเจ๊ะ เกิดเหตุคนร้ายยิงถล่มรถของนายสุกรีอัลยัส ปังกุก (Syukri alias Pangkuk) สมาชิกพรรคอาเจะห์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขานุการสภาบริหารจังหวัดอาเจะห์ นายนัสรุลเลาะห์ ดะห์ลาวี โฆษกพรรคอาเจะห์ เปิดเผยว่า นายสุกรีอัลยัส เสียชีวิตพร้อมเพื่อนร่วมงานผู้หญิง จากการถูกยิงถล่มระหว่างเดินทางจากเมืองบันดาอาเจะห์เพื่อกลับบ้านที่เมืองล็อคซูมาเว ขณะนี้ทางพรรคอาเจะห์ยังไม่แน่ชัดถึงสาเหตุการสังหารโหด สำนักข่าวอาเจะห์โพสต์ เปิดเผยว่า นายสุกรีอัลยัส เคยดำรงตำแหน่งระดับผู้บังคับบัญชากองกำลังเพื่อปลดปล่อยอาเจะห์ (GAM) ในช่วงสู้รบกับกองกำลังความมั่นคงอินโดนีเซีย เหตุการณ์นี้ถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของพรรคอาเจะห์หลังได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะบริหารจังหวัดอาเจะห์ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา
ที่มา : http://atjehpost.com/read/2012/05/16/9158/40/5/Korban-Penembakan-Mobil-di-Bireuen-Ternyata-Sekretaris-Partai-Aceh-Lhokseumawe
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เอ็นจีโอแรงงานชี้ สปส. ปล่อยกู้ไปทำงาน ตปท. แค่นำหนี้เข้าระบบ Posted: 16 May 2012 09:16 AM PDT เอ็นจีโอด้านแรงงานเตือนนโยบายโครงการกู้เงินไปทำงานต่างประเทศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) แค่โยกหนี้นอกระบบเข้าระบบเท่านั้น จี้กระทรวงฯ เร่งตรวจสอบกวาดล้างธุรกิจบริษัทและนายหน้าเถื่อน เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความเข้าใจในพื้นที่ 16 พ.ค. 55 – จากกรณีที่นางดุษฎี อัมรานุรักษ์ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ สปส.เตรียมจัดทำโครงการเงินกู้เพื่อไปทำงานต่างประเทศ แก้ปัญหาแรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รูปแบบของโครงการเป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สปส. กรมการจัดหางาน (กกจ.) และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ โดย สปส.จะนำเงินกองทุนประกันสังคมไปฝากไว้ในธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ธนาคารปล่อยกู้ให้แรงงานไทยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่ กกจ.จะทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกแรงงานไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (17 พ.ค.) สปส.จะเชิญตัวแทนธนาคารทุกแห่งเข้าร่วมหารือกับ สปส.และ กกจ.ที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อกำหนดรายละเอียดในการจัดทำโครงการ เช่น จำนวนแรงงานที่จะไปทำงาน คุณสมบัติแรงงานที่จะปล่อยกู้ หลักเกณฑ์การปล่อยกู้ และอัตราดอกเบี้ย คาดว่ารายละเอียดต่างๆจะชัดเจนหลังการประชุมวันพรุ่งนี้ โดยหลังได้ข้อสรุปจะมีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อขอความเห็นชอบการดำเนินโครงการและอนุมัติวงเงินปล่อยกู้ต่อไป ด้าน น.ส. พัชณีย์ คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการและนักวิจัยของโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (TLC) กล่าวถึงกรณีนี้ว่าว่าวิธีการปล่อยกู้ของสำนักงานประกันสังคม เป็นการเกาไม่ถูกที่คัน เพราะการให้กู้ยืมไม่ใช่คำตอบที่จะแก้โจทก์ปัญหาการหลอกลวงคนงานไทยไปทำงานต่างประเทศให้จ่ายค่าบริการ ค่าหัวแพงๆ เกินที่กฎหมายกำหนด ถึงกู้เงินมาได้ก็ยังถูกหลอกให้จ่ายค่าหัวแพงอยู่ดี มันเป็นแค่การเอาหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบเท่านั้น เพื่อไม่ให้เสียดอกเบี้ยมากขึ้น ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็ยังรับประกันไม่ได้อีกว่า แรงงานทุกคนจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขของ สปส.ให้กู้ยืมเงินได้อย่างทั่วถึง พัชณีย์เห็นว่าวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกทาง คือ เจ้าหน้าที่กรมจัดหางานของกระทรวงแรงงานต้องเข้าไปตรวจสอบบริษัทจัดหางาน นายหน้า หรือ สาย ว่าเถื่อนหรือไม่ และป้องกันการเข้าไปหลอกลวงประชาชน โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หาทางป้องกันปัญหา ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านระแวดระวัง อย่าหลงเชื่อสายที่ไม่จดทะเบียน รวมถึงประกาศว่ามีตำแหน่งงานจริง อย่างกรณีการโฆษณาว่ามีตำแหน่งงานที่ประเทศออสเตรเลีย แล้วเริ่มมีสายออกมารับสมัครงาน แต่ปรากฏว่า ทางกระทรวงแรงงานยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการไปทำงานที่ประเทศออสเตรเลียแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่รัฐต้องทำงานเชิงรุกให้ทันกับธุรกิจเอกชนที่กำลังแซงหน้า ออกหาเหยื่อ ส่วนเรื่องหลักประกัน หาก สปส.มีความจริงใจ ต้องให้แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศได้เข้าถึงสิทธิในกองทุนประกันสังคม ไม่ใช่มีทัศนะแบบทุนคิดแต่เรื่องกู้ยืมเงิน ให้คนงานเป็นหนี้ตลอด คนงานไทยที่ทำงานก่อสร้าง ทำงานบ้าน เป็นช่างฝีมือ ก็เป็นแรงงานในระบบที่ควรมีสิทธิเข้าถึงกองทุนนี้ได้ เพื่อว่าเวลามีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วย เสียชีวิตในเวลาทำงาน หรือกลับมาแล้วตกงาน ก็สามารถใช้สิทธิของประกันสังคม ซึ่งสิทธินี้คนงานไทยไปทำงานต่างประเทศยังขาดอยู่มาก หลายคนต้องมาใช้ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งนายทุนจัดหางานขาดความรับผิดชอบในการดูแลสวัสดิการ แม้บอกว่า คนงานจะต้องทำประกันชีวิต แต่คนงานไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ เลยจากประกันชีวิตที่ตัวเองทำไว้ ท้ายสุดพัชณีย์ฝากไว้ว่า หน้าที่บทบาทตรงๆ ของ สปส. คือหาทางให้คนงานไทยได้รับสิทธิและสวัสดิการนี้อย่างถ้วนหน้ามากกว่า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตัดแขน...ตัดขา: แค่เรื่องหวือหวาหรือเป็นความจริง Posted: 16 May 2012 09:05 AM PDT ช่วงต้นปี 2555 ได้เกิดข่าวครึกโครมขึ้น เมื่อหนังสือพิมพ์ชื่อดังฉบับหนึ่งได้เผยแพร่ข่าวกรณีเด็กถูกตัดลิ้นไก่จนพิการ ก่อนถูกนำไปเป็นเครื่องมือในการขอทานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จนเกิดเป็นกระแสสังคมที่พูดถึงประเด็นดังกล่าวอย่างกว้างขวาง พร้อมกับคำถามที่ว่า “ปัญหาเด็กขอทานในประเทศไทยในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงไปถึงเพียงนี้แล้วจริงหรือ” ขบวนการนายหน้าที่จับเด็กมาตัดแขน – ขาเด็กหรือทำให้สูญเสียอวัยวะเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน ในประเทศไทยมีอยู่จริงหรือไม่และแท้จริงแล้วเด็กขอทานที่พิการมาจากที่ใด โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ขอหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาบอกเล่ากับสังคมได้รู้ถึงเบื้องหลังของปัญหานี้กัน “การตัดแขน – ขา ในทางการแพทย์จะใช้คำว่า “การตัดรยางค์” ซึ่งการตัดรยางค์นี้ ต้องเกิดจากการที่แพทย์ทำการตรวจ รักษา ประเมินผู้ป่วย และเห็นว่ารยางค์หรือแขน - ขาของผู้ป่วยดังกล่าวในทางการแพทย์ไม่อาจที่จะเก็บรักษาไว้ได้ต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากการเก็บอวัยวะดังกล่าวไว้เป็นส่วนของร่างกายของผู้ป่วยต่อไปจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น การที่มีเลือดออกจำนวนมาก การเน่าและติดเชื้อกระจายทั่วร่างกาย จึงจำเป็นที่จะต้องตัดรยางค์คือแขนขาของผู้ป่วยออก ซึ่งก่อนที่จะทำการตัดรยางค์จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยเสมอ เนื่องจากอวัยวะดังกล่าวถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมถึงการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามระบบกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานอีกมากมายในทางการแพทย์” จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าการตัดแขน – ขา ในแต่ละครั้งมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนพอสมควรเลยทีเดียว ทั้งยังต้องอาศัยทักษะ ความสามารถ รวมถึงความชำนาญเฉพาะทาง ที่มิใช่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เมื่อการตัดแขน – ขา มิใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่าย แล้วทำไมจึงมักปรากฏข่าวขบวนการตัดแขนขาเด็ก เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน ตามสื่อแขนงต่างๆ ได้อยู่เป็นประจำ จากการติดตามสถานการณ์ปัญหาเด็กขอทานของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา เกี่ยวกับข่าวการตัดแขน – ขาเด็กเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทานอย่างต่อเนื่อง พบว่าหลายต่อหลายครั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการจับเด็กมาตัดแขน – ขา มักเป็นข้อมูลที่ “เลื่อนลอย” และ “ปราศจากข้อเท็จจริง” เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นมักเป็นข้อมูลที่มิได้กลั่นกรองหรือมีการตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียดแล้ว ก่อนที่จะให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน ยกตัวอย่างเช่น กรณีการตัดลิ้นไก่เด็กที่เป็นข่าวครึกโครมนั้น หากวิเคราะห์จากข่าวที่นำเสนอ จะพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงการสอบถามเบื้องต้นจากเด็กที่คาดว่าจะถูกทำร้ายจนสูญเสียอวัยวะเท่านั้น มิใช่จากการตรวจร่างกายเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์อย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งภายหลังเมื่อมีการตรวจร่างกายเด็กแล้ว ก็พบว่าเด็กคนดังกล่าวมีความพิการมาแต่กำเนิด หาใช่ถูกทำร้ายร่างกายจนพิการไม่ ดังนั้นการให้ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นเพียงการนำเสนอข่าวเพื่อสร้าง “ความหวือหวา” แค่เพียงชั่วคราว และทำให้วาทกรรม “นายหน้าจับเด็กมาตัดแขน – ขา หรือทำให้พิการ” ก่อนนำมาขอทาน กลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทางสังคมอย่างมิรู้จบ นอกจากการนำเสนอข่าวที่สร้างความหวือหวาแล้ว ยังมีภาพยนตร์หรือละครบางเรื่องที่มีฉากการนำเด็กมาทำร้ายร่างกายจนพิการก่อนพาไปขอทาน ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ผู้ที่ได้รับชม เกิดการติดตั้งฐานความคิดที่ว่า “เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย และคงมีเด็กจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการนำเด็กมาตัดแขน – ขา อย่างแน่นอน” จากการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ ประกอบกับข้อมูลจากการดำเนินการของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ทางโครงการฯ ยังมิเคยพบกรณีการทำร้ายเด็กจนสูญเสียอวัยวะ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทานแม้แต่กรณีเดียว จึงอาจเป็นข้อยืนยันได้ว่า ปัญหาการนำเด็กมาตัดแขน – ขา ให้พิการก่อนนำเด็กมาขอทานยังไม่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าคนในสังคมอาจมีข้อสงสัยว่า “เช่นนั้นแล้วทำไมจึงสามารถพบเห็นเด็กขอทานที่มีความพิการได้เป็นจำนวนมากตามท้องถนน” เด็กขอทานที่พบตามข้างถนนในประเทศไทยนั้น ร้อยละ 80 มักจะเป็นเด็กที่มาจากประเทศกัมพูชา ซึ่งในประเทศกัมพูชานั้น มีกับระเบิดบางส่วนที่ทางการยังเก็บกู้ไม่หมด จึงทำให้เด็กบางคนสูญเสียอวัยวะเพราะไปเหยียบกับระเบิดเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีเด็กที่มีความพิการมาตั้งแต่กำเนิดหรือประสบอุบัติเหตุอื่นๆ จนสูญเสียอวัยวะอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งนายหน้าก็มักเลือกเด็กที่พิการเหล่านี้ เพื่อเข้ามาเป็น “เครื่องมือในการขอทาน” เพราะสามารถเรียกร้องความน่าสงสารให้กับผู้คนที่เดินผ่านไป – มา ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึง รายได้ที่จะเทเข้าสู่กระเป๋าของนายหน้าค้ามนุษย์ก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าขบวนการตัดแขน – ขาเด็กจะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในประเทศไทย แต่ในเรื่องการทำร้ายร่างกายเด็กขอทานอย่างรุนแรง เพื่อบังคับให้เด็กทำการขอทานนั้น ถือเป็นกรณีที่สามารถพบได้อยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นการใช้บุหรี่จี้ , ใช้ไม้หรือสายไฟ , ตบ , ตี , ชกต่อย ฯลฯ ตามร่างกายของเด็ก เป็นต้น โดยมีเหตุผลอยู่หลายประการ อาทิ เด็กไม่สามารถขอทานได้ตามที่นายหน้าตั้งเป้าไว้ หรือ เด็กมีความดื้อ , ซน , ส่งเสียงดังจึงถูกทำร้ายร่างกายจนบอบช้ำ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้จากการสอบถามเด็กที่สามารถช่วยเหลือเด็กออกจากขบวนการค้ามนุษย์มาได้แล้วและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อมักบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ตนเองได้รับบาดแผลหรือรอยฟกช้ำนั้นๆ มา แม้ว่าประเทศไทยอาจไม่มีขบวนการนำเด็กมาตัดแขน – ขา อยู่จริง แต่ตราบใดที่เด็กขอทานยังสามารถสร้างรายได้ระดับมหาศาลให้กับกลุ่มขบวนการนายหน้าค้ามนุษย์ ไม่แน่ว่าการนำเด็กมาตัดแขน – ขา ที่เราพบเห็นในฉากหนึ่งในละครหรือภาพยนตร์ อาจกลายเป็นเรื่องที่น่าหดหู่ในโลกแห่งความจริงก็เป็นได้...
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตัดแขน...ตัดขา: แค่เรื่องหวือหวาหรือเป็นความจริง Posted: 16 May 2012 09:02 AM PDT โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ชี้ขบวนการขอทานที่ตัดแขนตัดขา ยังไม่มีรายงานว่าเกิดขึ้นในประเทศไทย เด็กพิการส่วนมากมาจากกัมพูชา แต่การใช้ความรุนแรงกับเด็กขอทานมีมาก ช่วงต้นปี 2555 ได้เกิดข่าวครึกโครมขึ้น เมื่อหนังสือพิมพ์ชื่อดังฉบับหนึ่งได้เผยแพร่ข่าวกรณีเด็กถูกตัดลิ้นไก่จนพิการ ก่อนถูกนำไปเป็นเครื่องมือในการขอทานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จนเกิดเป็นกระแสสังคมที่พูดถึงประเด็นดังกล่าวอย่างกว้างขวาง พร้อมกับคำถามที่ว่า “ปัญหาเด็กขอทานในประเทศไทยในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงไปถึงเพียงนี้แล้วจริงหรือ” ขบวนการนายหน้าที่จับเด็กมาตัดแขน – ขาเด็กหรือทำให้สูญเสียอวัยวะเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน ในประเทศไทยมีอยู่จริงหรือไม่และแท้จริงแล้วเด็กขอทานที่พิการมาจากที่ใด โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ขอหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาบอกเล่ากับสังคมได้รู้ถึงเบื้องหลังของปัญหานี้กัน “การตัดแขน – ขา ในทางการแพทย์จะใช้คำว่า “การตัดรยางค์” ซึ่งการตัดรยางค์นี้ ต้องเกิดจากการที่แพทย์ทำการตรวจ รักษา ประเมินผู้ป่วย และเห็นว่ารยางค์หรือแขน - ขาของผู้ป่วยดังกล่าวในทางการแพทย์ไม่อาจที่จะเก็บรักษาไว้ได้ต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากการเก็บอวัยวะดังกล่าวไว้เป็นส่วนของร่างกายของผู้ป่วยต่อไปจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น การที่มีเลือดออกจำนวนมาก การเน่าและติดเชื้อกระจายทั่วร่างกาย จึงจำเป็นที่จะต้องตัดรยางค์คือแขนขาของผู้ป่วยออก ซึ่งก่อนที่จะทำการตัดรยางค์จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยเสมอ เนื่องจากอวัยวะดังกล่าวถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมถึงการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามระบบกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานอีกมากมายในทางการแพทย์” จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าการตัดแขน – ขา ในแต่ละครั้งมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนพอสมควรเลยทีเดียว ทั้งยังต้องอาศัยทักษะ ความสามารถ รวมถึงความชำนาญเฉพาะทาง ที่มิใช่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เมื่อการตัดแขน – ขา มิใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่าย แล้วทำไมจึงมักปรากฏข่าวขบวนการตัดแขนขาเด็ก เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน ตามสื่อแขนงต่างๆ ได้อยู่เป็นประจำ จากการติดตามสถานการณ์ปัญหาเด็กขอทานของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา เกี่ยวกับข่าวการตัดแขน – ขาเด็กเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทานอย่างต่อเนื่อง พบว่าหลายต่อหลายครั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการจับเด็กมาตัดแขน – ขา มักเป็นข้อมูลที่ “เลื่อนลอย” และ “ปราศจากข้อเท็จจริง” เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นมักเป็นข้อมูลที่มิได้กลั่นกรองหรือมีการตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียดแล้ว ก่อนที่จะให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน ยกตัวอย่างเช่น กรณีการตัดลิ้นไก่เด็กที่เป็นข่าวครึกโครมนั้น หากวิเคราะห์จากข่าวที่นำเสนอ จะพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงการสอบถามเบื้องต้นจากเด็กที่คาดว่าจะถูกทำร้ายจนสูญเสียอวัยวะเท่านั้น มิใช่จากการตรวจร่างกายเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์อย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งภายหลังเมื่อมีการตรวจร่างกายเด็กแล้ว ก็พบว่าเด็กคนดังกล่าวมีความพิการมาแต่กำเนิด หาใช่ถูกทำร้ายร่างกายจนพิการไม่ ดังนั้นการให้ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นเพียงการนำเสนอข่าวเพื่อสร้าง “ความหวือหวา” แค่เพียงชั่วคราว และทำให้วาทกรรม “นายหน้าจับเด็กมาตัดแขน – ขา หรือทำให้พิการ” ก่อนนำมาขอทาน กลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นทางสังคมอย่างมิรู้จบ นอกจากการนำเสนอข่าวที่สร้างความหวือหวาแล้ว ยังมีภาพยนตร์หรือละครบางเรื่องที่มีฉากการนำเด็กมาทำร้ายร่างกายจนพิการก่อนพาไปขอทาน ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ผู้ที่ได้รับชม เกิดการติดตั้งฐานความคิดที่ว่า “เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย และคงมีเด็กจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการนำเด็กมาตัดแขน – ขา อย่างแน่นอน” จากการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ ประกอบกับข้อมูลจากการดำเนินการของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ทางโครงการฯ ยังมิเคยพบกรณีการทำร้ายเด็กจนสูญเสียอวัยวะ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขอทานแม้แต่กรณีเดียว จึงอาจเป็นข้อยืนยันได้ว่า ปัญหาการนำเด็กมาตัดแขน – ขา ให้พิการก่อนนำเด็กมาขอทานยังไม่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าคนในสังคมอาจมีข้อสงสัยว่า “เช่นนั้นแล้วทำไมจึงสามารถพบเห็นเด็กขอทานที่มีความพิการได้เป็นจำนวนมากตามท้องถนน” เด็กขอทานที่พบตามข้างถนนในประเทศไทยนั้น ร้อยละ 80 มักจะเป็นเด็กที่มาจากประเทศกัมพูชา ซึ่งในประเทศกัมพูชานั้น มีกับระเบิดบางส่วนที่ทางการยังเก็บกู้ไม่หมด จึงทำให้เด็กบางคนสูญเสียอวัยวะเพราะไปเหยียบกับระเบิดเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีเด็กที่มีความพิการมาตั้งแต่กำเนิดหรือประสบอุบัติเหตุอื่นๆ จนสูญเสียอวัยวะอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งนายหน้าก็มักเลือกเด็กที่พิการเหล่านี้ เพื่อเข้ามาเป็น “เครื่องมือในการขอทาน” เพราะสามารถเรียกร้องความน่าสงสารให้กับผู้คนที่เดินผ่านไป – มา ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึง รายได้ที่จะเทเข้าสู่กระเป๋าของนายหน้าค้ามนุษย์ก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าขบวนการตัดแขน – ขาเด็กจะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในประเทศไทย แต่ในเรื่องการทำร้ายร่างกายเด็กขอทานอย่างรุนแรง เพื่อบังคับให้เด็กทำการขอทานนั้น ถือเป็นกรณีที่สามารถพบได้อยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นการใช้บุหรี่จี้ , ใช้ไม้หรือสายไฟ , ตบ , ตี , ชกต่อย ฯลฯ ตามร่างกายของเด็ก เป็นต้น โดยมีเหตุผลอยู่หลายประการ อาทิ เด็กไม่สามารถขอทานได้ตามที่นายหน้าตั้งเป้าไว้ หรือ เด็กมีความดื้อ , ซน , ส่งเสียงดังจึงถูกทำร้ายร่างกายจนบอบช้ำ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้จากการสอบถามเด็กที่สามารถช่วยเหลือเด็กออกจากขบวนการค้ามนุษย์มาได้แล้วและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อมักบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ตนเองได้รับบาดแผลหรือรอยฟกช้ำนั้นๆ มา แม้ว่าประเทศไทยอาจไม่มีขบวนการนำเด็กมาตัดแขน – ขา อยู่จริง แต่ตราบใดที่เด็กขอทานยังสามารถสร้างรายได้ระดับมหาศาลให้กับกลุ่มขบวนการนายหน้าค้ามนุษย์ ไม่แน่ว่าการนำเด็กมาตัดแขน – ขา ที่เราพบเห็นในฉากหนึ่งในละครหรือภาพยนตร์ อาจกลายเป็นเรื่องที่น่าหดหู่ในโลกแห่งความจริงก็เป็นได้...
|
ข่ายผู้ป่วยถาม รมว.แรงงาน BST ระเบิดตายมากกว่าข่าว 5 เท่า? Posted: 16 May 2012 08:54 AM PDT (16 พ.ค.55) สมบุญ สีคำดอกแค สภาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อ้างรายงานข่าวผู้เสียชีวิตจากโรงงานบีเอสที 0 0 0 จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จากการที่สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 55 เพื่อเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยให้คนงานที่ประสบอันตรายและเสียชีวิต ได้สิทธิตามกฎหมายและชดเชยการสูญเสีย รวมทั้งการตรวจสอบต่อเหตุการณ์ระเบิดของโรงงานบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบพุดวันที 5 พ.ค. 55 ที่ทำให้คนงานเสียชีวิต 12 ศพ บาดเจ็บร้อยกว่าคน ขณะเดียวกันวันที่ 6 พ.ค. 55 โรงงานอดิตตยา เบอร์ล่าเคมีคัลส์ (ประเทศไทย)สารเคมีรั่วไหล ข้อหารือกันในวงประชุม วันที่ 15 พ.ค.55 เรื่อง การสื่อสารความเสี่ยงเพื่อสุขภาพคนมาบตาพุด ครั้งที่ 2 ที่วัดหนองแฟบ จ.ระยอง จัดโดยหลายองค์กร มีนักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า BST. มีคนงานที่เป็นพนักงานซัฟคอนแทร๊กและคนงานข้ามชาติอยู่ด้วย และจำนวนคนงานที่เสียชีวิตจริงๆ น่าจะมากว่า 12 ศพ ตามที่เป็นข่าวถึง 5 เท่า คนเจ็บป่วยมีอาการอย่างไรมีจำนวนเท่าไหร่ ทราบว่าคนงานบางคนแก้วหูแตกมีเลือดออกมาทันทีด้วย และขณะเหตุเกิดแล้ว อธิบดีกรมควบคุมมลพิษไม่สามารถเข้าไปในบริเวณโรงงานได้ จึงเพียงแต่วัดมลพิษหน้าประตูโรงงานและข่าวทางการพยายามพูด ว่าสารทูโลทีนสลายไปแล้ว ไม่มีพิษภัย แล้วกรมสวัสดิการสำนักความปลอดภัยแรงงานได้เข้าไปด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะได้บังคับใช้ กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยกับนายจ้างหรือยัง คำชี้แจงจากนักวิชาการเชี่ยวชาญสารเคมี อธิบายว่าถ้าสารทูโลทีนถูกเผาไหมเป็นควันดำเป็นสารที่มีพิษและส่งผลให้เกิดมะเร็งภายหลังได้ หลายคนสงสัยว่ากฎหมายยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ แล้วจะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างไรในกรณีเช่นนี้ ทราบข้อมูลว่าขณะเกิดเหตุโรงงานระเบิดที่ BST มีคนงานซัฟฯ และ อาจมีคนงานข้ามชาติ ที่น่าจะประสบอันตรายและเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง กรณีนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร ใครรับผิดชอบค่าเจ็บป่วยประสบอันตรายหรือเสียชีวิตและปัจจุบันผู้มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างไร ต่อสิทธิอันชอบธรรมขั้นพื้นฐานตามกฎหมายของคนงานดังกล่าว การที่คนงานประสบอันตรายจากแรงระเบิดและสารเคมีรั่วไหล ทางโรงงานได้แจ้งบัญชีรายชื่อหรือกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานและสำนักงานกองทุนเงินทดแทนตรวจสอบข้อเท็จหรือยัง ผลเป็นอย่างไร เพื่อเป็นหลักฐานเรื่องการประสบอันตรายจากการทำงาน ณ.ขณะเกิดเหตุระเบิด โรงงานใกล้เคียงกันห่างไม่ถึง 200 เมตรกลับมีโรงงานบังคับให้คนงานเข้าไปทำงานและต้องสูดเอาควันพิษเข้าไปในปอดและเสี่ยงตาย ในขณะที่คนอื่นๆ ต่างหนีตายเพื่อความปลอดภัย การปฎิบัติเช่นนี้กับลูกจ้าง ถือเป็นความผิดหรือไม่ รวมทั้งนายจ้างจะต้องรับผิดชอบกับการตรวจเช็คสุขภาพคนงานแบบอาชีวเวชศาสตร์หรือไม่ แต่คนงานได้เล่าว่า โรงงานให้ตรวจปัสสาวะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คนงานอยากเรียกร้องให้นำแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เข้าตรวจสุขภาพคนงานทั้งหมดในสถานประกอบการโดยเร่งด่วน ผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน สิ่งแวดล้อมล้อมชุมชนทางโรงงานจำเป็นต้องมีมาตรการรับผิดชอบตามกฎหมาย พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 แต่หลังเกิดเหตุชาวบ้านเล่าว่า แม้แต่คำขอโทษของทั้งสองโรงงานก็ยังไม่มีชาวบ้านมีอาการป่วยคันแสบจมูก กับถูกบ่ายเบี่ยงบอกว่ามีโรงงานอื่นๆตั้งเยอะแยะ เหตุการณ์ร้ายแรงขนาดนี้ในนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ความเสี่ยงภัยสารเคมีสูงสูงทำไมไม่มีสัญญานเตือนภัยเกิดขึ้น เพราะโรงงานก็คิดว่ายังเอาอยู่ ทำให้ทุกคนสับสน แม้แต่หมอพยาบาลก็ยังไม่ทราบว่าสารอะไรระเบิด อะไรรั่วไหลทำให้การรักษาไม่ถูกทางได้ หากเป็นสารร้ายแรงถึงชีวิตจะช่วยทันย่างไร นักวิชาการพูดว่าถ้าบังเอิญเอาไม่อยู่ทูโรทีน 2-3 ถังระเบิดขึ้นมาพร้อมกันแรงระเบิดจะไปไกลถึง ดังนั้นที่ความเข้าใจที่สังคมส่วนใหญ่มักพูดเสมอว่านิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ความจริงแล้ว นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขาดการควบคุมจากกฎหมายมากที่สุด ทั้งยังขาดการจัดตั้งองค์กรสหภาพแรงงานที่จะมาเป็นปากเป็นเสียงและคุ้มครองผลประโยชน์ให้กับผู้ใช้แรงงานในนิคมอีกด้วย ข้อเสนอเร่งด่วนดังนี้ 2.ขอทราบผลการตรวจสอบสถานการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าว จากกระทรวงแรงงานและจำนวนตัวเลขที่แจ้งต่อกองทุนเงินทดแทนประกันสังคม 3.ให้คนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้ได้เข้าถึงสิทธิการดูรักษาอย่างดีและได้เข้าถึงสิทธิตามกฏหมายกองทุนเงินทดแทน /หากมีคนงานข้ามชาติหรือคนงานซัฟคอนแท๊ก ได้รับการประสบอันตรายหรือเสียชีวิตจริงต้องเร่งรัดให้นายจ้างปฎิบัติในมาตรฐานเท่าเทียมกันไม่เลือกปฎิบัติ 4.ให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยเพื่อแสดงความรับผิดชอบนอกเหนือกฎหมาย 5.ให้ตรวจสอบสถานประกอบการณ์ที่มีอันตรายสูงโดยเร่งด่วนและยุติการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ปลอดภัย 6.ขอสนับสนุนข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลของนาย
ข้อเสนอในระยะยาว ดังนี้ 2.ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน 3.ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงานตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่องโดยลูกจ้างมีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล.เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง 4.รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ - ฉบับที่ 155 ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524) - ฉบับที่ 161 ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) - ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549) 5.ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ เพื่อนำไปสู่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ในการทำงาน 6.การบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง 7.เร่งจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และ บูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทย โดยเน้นมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา 8.การงดใช้แร่ใยหิน ชดเชยผู้ป่วย 9.จัดตั้งกองทุนความเสี่ยงผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษสิ่งแวดล้อม
ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 สมบุญ สีคำดอกแค สภาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ส.ส. พรรคแรงงานจี้รบ. อังกฤษ แจงจุดยืนต่อการตายกรณี 'อากง' Posted: 16 May 2012 07:42 AM PDT เคอร์รี แมคคาร์ธี รมต. ต่างประเทศเงาและส.ส. พรรคแรงงาน ตั้งคำถามในสภาอังกฤษต่อกรณีการเสียชีวิตอากง จี้รบ.อังกฤษควรมีท่าทีชัดเจนต่อปัญหาการรักษาพยาบาลในคุกและการใช้.ม. 112 ในไทย เว็บไซต์ AsianCorrepondent รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศเงาของอังกฤษ เคอรรี แมคคาร์ธี (Kerry McCarthy) ส.ส. พรรคแรงงานจากเขตบริสตอลตะวันออก ได้ตั้งคำถามต่อรัฐบาลอังกฤษในสภา เกี่ยวกับกรณีการเสียชีวิตของ "อากง" หรือนายอำพล และในประเด็นการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยด้วย รายงานดังกล่าวระบุว่า มีการส่งคำถามไปยังรัฐมนตรีประจำสำนักนายกของอังกฤษ โดยเป็นคำถามที่กำหนดให้มีการตอบภายในวันที่ 21 พ.ค. แต่หากยังไม่ตอบภายในเวลานั้น อาจถือได้ว่า รัฐบาลอังกฤษยัง "อยู่ระหว่างการพิจารณา" (holding) การตอบคำถามนั้นไว้ก่อน ซึ่งคำถามดังกล่าว มีดังนี้
รายงานดังกล่าวชี้ว่า คำถามเหล่านี้ บ่งบอกถึงการที่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้กลายเป็นประเด็นสากลที่กว้างขึ้น โดยจะมีผลให้รัฐบาลอังกฤษต้องทบทวนในจุดยืนของตนเอง ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเท่านั้น แต่ยังต่อเรื่องการรักษาพยาบาลและความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในประเทศไทยด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น