โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เอ็นจีโอ โต้กรมเหมืองแร่ฯ ยันทุนจีนรุกคืบเหมืองโปแตชอีสานมีมูล

Posted: 09 May 2012 11:01 AM PDT

เผยเล็งขยายพื้นที่หนองคาย-นครพนม หลัง กพร.ออกตัวปฏิเสธข่าวแก้ไขกฎหมายอำนวยความสะดวกให้บริษัทเหมืองแร่จีน แจงหวั่นปัญหาเหมืองแร่ในจีนมีทั้งมาตรฐานด้านวิศวกรรมต่ำ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การละเมิดสิทธิฯ

 
จากการแถลงข่าวของอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กพร. และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีหารือได้ข้อยุติการตรวจสอบขั้นตอนการขอประทานบัตรเหมืองแร่โปแตช ทั้งนี้ ในเนื้อหาส่วนหนึ่งอธิบดี กพร.ได้ระบุว่า การเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อประมาณกลางเดือนเมษายน 2555 ได้มีการยกแหล่งแร่โปแตชให้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมทั้งแก้ไขกฎหมายอำนวยความสะดวกให้แก่บริษัทเหมืองแร่ของจีนนั้น ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง
 
“กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จะดำเนินการรับจดทะเบียนคำขออาชญาบัตรพิเศษ และดำเนินการคำขอตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่อไป มิได้มีการแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดแต่อย่างใด” อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กล่าว (อ่านรายละเอียดใน www.dpim.go.th)
 
วันนี้ (9 พ.ค. 55) นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน ซึ่งได้ติดตาม ตรวจสอบ กรณีการทำเหมืองแร่โปแตชในภาคอีสานมาอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนประเทศจีนก็ปรากฏว่ามีข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับนายทุนเหมืองของจีน รุกเข้ามาเพื่อขอสัมปทานแหล่งแร่ในภาคอีสานเพิ่มขึ้นอีกหลายพื้นที่
 
นายสุวิทย์ กล่าวให้ข้อมูลว่า ตามขั้นตอนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศยกเลิกมาตรา 6 ทวิ วรรคสอง ของ พ.ร.บ.แร่ 2510 ในเขตพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเปิดให้เอกชนสามารถยื่นคำขออาชญาบัตรกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อประกอบการเชิงพาณิชย์ และทำการผลิตแร่โปแตช
 
“จากการติดตามพบว่ากำลังมีการยื่นขออาชญาบัตรเพื่อทำการสำรวจแหล่งแร่โปแตช ในพื้นที่ อ.สังคม, อ.ท่อบ่อ, อ.ศรีเชียงใหม่ และ อ.สระใคร จ.หนองคาย เนื้อที่ประมาณ 100,000 ไร่ อ.เรณูนคร และ อ.พระธาตุพนม จ.นครพนม เนื้อที่ประมาณ 100,000 ไร่เช่นเดียวกัน โดยบริษัท แม่โขงไมนิ่ง และบริษัท ไทยโปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างทั้งไทย-จีน และ ไทย-ฝรั่ง” ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสานกล่าว
 
นอกจากนี้โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ที่มีชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ คัดค้านมากว่า 12 ปี ก็มีข่าวว่าบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ผู้ขอประทานบัตรกำลังจะขายหุ้น เพื่อระดมให้กับโครงการที่ต้องใช้ทุนมหาศาลอย่างโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในพม่า พร้อมกันนี้ บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ก็ได้ตกลงที่จะขายหุ้นส่วนหนึ่งในเหมืองแร่อลูมิเนียมในลาวให้กับผู้ร่วมลงทุนจากจีน (ดูใน http://www.bangkokpost.com/business/economics/290833/itd-set-to-sell-stakes)
 
“ถึงแม้ว่ายังไม่มีการเปิดเผยออกมาก็เชื่อว่าเหมืองแร่โปแตชที่อุดรฯ จะขายให้จีน เพราะที่ผ่านมาอิตาเลี่ยนไทย มีความสัมพันธ์ที่ดีกับนายทุนจีน ซึ่งรวมทั้งโครงการทวายนี้ด้วย” นายสุวิทย์ให้ข้อมูล
 
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทุนจีนได้รุกคืบเข้ามาอย่างหนักในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีกลุ่มนักธุรกิจในนาม “สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน” เดินสายล็อบบี้ เพื่อให้เกิดการลงทุนในภาคอีสาน และการเดินทางไปเยือนประเทศจีนของนายกรัฐมนตรี ก็เพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน โดยเฉพาะกรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช หากว่าหน่วยงานของรัฐเอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติเข้ามากอบโกยเอาทรัพยากร ก็จะเกิดผลกระทบตามมาอย่างมหาศาล
 
“การทำเหมืองในประเทศจีนมีปัญหามาก ทั้งในเรื่องมาตรฐานด้านวิศวกรรมที่ต่ำ เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมของในการตัดสินใจ ดังนั้น การที่ กพร.กำลังจะเอาแผ่นดินไทยไปขายให้ต่างชาติ กพร. ต้องตอบให้ได้ว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร” นายสุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย
 
ภาพจากการชุมนุมของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 300 คน บริเวณหน้ากรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 2 พ.ค.55 เพื่อทวงถามความคืบหน้าจากการยื่น 5,800 รายชื่อ คัดค้านการประกาศเขตคำขอประทานบัตร โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไขความจริงอีกครึ่ง ไล่ลำดับการประกันตัว ‘อากง’ ตั้งแต่ต้นจนจบ

Posted: 09 May 2012 09:33 AM PDT

วันนี้ (9 พ.ค.55) เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์รายงานกรณีอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ชี้แจงเกี่ยวกับ “อากง” หรือนายอำพล ผู้ต้องขังส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นเบื้องสูง หลังมีความเคลื่อนไหวชูป้ายทวงถามว่า “ใครฆ่าอากง” ระบุ คดีถึงที่สุดแล้ว เหตุจำเลยถอนอุทธรณ์เพื่อขอถวายฎีกา จึงไม่อาจยื่นประกันได้ แนะอัยการยื่นไต่สวนชันสูตรศพ

โดยทีมข่าวอาชญากรรม ไทยรัฐออนไลน์รายงานคำชี้แจงของนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาว่า คดีนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้ยื่นประกันตัวชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลอาญาส่งคำร้องขอประกันตัวให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง แต่ระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยได้ขอถอนอุทธรณ์ประมาณเดือนมีนาคม 2555 โดยตนทราบจากข่าวว่า จำเลยโดยทนายความประสงค์จะใช้สิทธิ์ยื่นถวายฎีกาเพราะจะถวายได้ต่อเมื่อคดีต้องถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีถึงที่สุด ก็ไม่อาจยื่นประกันตัวอีกได้ ถึงยื่นประกันก็คงไม่ได้ประกันเนื่องจากคดีไม่ได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลยุติธรรม

อธิบดีศาลอาญา กล่าวว่า ดังนั้น ตัวนายอำพลจึงอยู่ในการควบคุมของราชทัณฑ์ ซึ่งมีการรักษาพยาบาลของเขาอยู่แล้ว หากจะนำตัวมารักษาข้างนอกก็อาจทำได้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ควบคุม ต่อมาเมื่อนายอำพลเสียชีวิตไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ก็ถือว่าตายในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150-156 กำหนดให้อัยการยื่นคำร้องไต่สวนชันสูตรพลิกศพ เพื่อหาสาเหตุการตาย ซึ่งอาจจะมีการพิจารณาคดีนี้ในศาลอาญาอีกครั้ง.

 

คำชี้แจงจากทนายจำเลย

ด้านพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายจำเลยได้ชี้แจงเรื่องนี้ในเฟซบุ๊คส่วนตัวระบุว่า “ทนายความจำเลยขอชี้แจงเพิ่มเติมว่าในการขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์ซึ่งเป็นสองครั้งสุดท้ายก่อนมีการขอถอนอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 นั้น

1.ทนายความได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไปยังศาลอาญา ศาลอาญาให้ส่งเรื่องไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพร้อมกับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 "พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีกับพยานหลักฐานที่ศาล ชั้นต้นได้พิจารณาแล้วนับว่าร้ายแรง ประกอบกับข้อที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี และที่จำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยไม่ปรากฏว่าถึงขนาดจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ได้ ทั้งทางราชการก็มีโรงพยาบาลที่จะรองรับให้การรักษาจำเลยได้อยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องและแจ้งเหตุการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้จำเลยและผู้ขอประกัน ทราบโดยเร็วรายละเอียดปรากฏตาม "http://www.prachatai3.info/journal/2012/02/39377

2.ต่อจากนั้นทนายความได้ยื่นเรื่องอุทธรณ์ขอปล่อยตัวชั่วคราวไปยังศาลฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 "พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องร้ายแรงประกอบกับศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยถึง 20 ปี หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ส่วนที่จำเลยอ้างความป่วยเจ็บนั้นเห็นว่า จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวชอบแล้ว ยกคำร้อง" รายละเอียดปรากฏตาม http://www.flickr.com/photos/78114750@N07/7158608810/

นับแต่วันฟ้องคดี 18 มกราคม 2555 จนถึงวันที่ขอถอนอุทธรณ์วันที่ 3 เมษายน 2555 รวมศาลชั้นต้นยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำนวน 4 ครั้ง ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องจำนวน 3 ครั้ง และศาลฎีกายกคำร้องจำนวน 1 ครั้ง

จำเลยยื่นอุทธรณ์ด้วยความหวังว่าจะได้รับการปล่อยตัวระหว่างพิจารณาคดี แต่เมื่อไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวทำให้จำเลยต้องต่อสู้คดีในเรือนจำเป็นระยะเวลานานประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ จำเลยจึงใช้สิทธิถอนอุทธรณ์และเตรียมขอพระราชทานอภัยโทษ เพื่อให้ได้รับอิสรภาพโดยเร็วที่สุด

ประเด็นที่อธิบดีศาลพยายามชี้แจงคือ ณ ห้วงเวลาที่อากงเจ็บป่วยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลแล้ว เป็นหน้าที่ราชทัณฑ์ แต่คำถามคือ แล้วการยื่นคำร้องขอปล่อยตัว ทั้งแปดครั้งที่ผ่านมาศาลไม่มีโอกาสในการสั่งอนุญาตหรือ พฤติการณ์ใดของจำเลยที่แสดงว่าจำเลยจะหลบหนีหรือ ในเมื่อวันที่สั่งฟ้องจำเลยเดินไปศาล ยุติ ธรรมด้วยตนเอง

หรือแม้กระทั่งไม่มีเหตุความเจ็บป่วย หลักการคือต้องให้จำเลยประกันเป็นหลัก การไม่อนุญาตให้ประกันเป็นข้อยกเว้นมิใช่หรือ หรือเราเรียนกฎหมายมาคนละตำรากับศาล นักกฎหมายท่านไหนมีความเห็นต่างเชิญแลกเปลี่ยนได้ค่ะ”

 

คำชี้แจงจากนักวิชาการที่ใช้ตำแหน่งประกันตัวให้อากง

นอกจากนี้พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในนักวิชาการที่ยื่นประกันตัวอากงโพสต์ในเฟซบุ๊คว่า "....... ขอชี้แจงข้อมูลอย่างละเอียดอีกที วันที่ 20 ก.พ.นักวิชาการ 7 คนยื่นขอประกันอากงต่อศาลอุทธรณ์ (เป็นครั้งที่ 7) วันที่ 23 ก.พ.ศาลไม่ให้ประกัน, วันที่ 8 มี.ค.ยื่นอีกครั้งต่อศาลฎีกาโดยใช้ชื่อนักวิชาการกลุ่มเดิม ครั้งที่ 8 , 13 มี.ค.ศาลฎีกามีคำสั่่งปฏิเสธอีกเช่นเคย เรื่องขออภัยโทษเกิดขึ้นหลังจากการประกันสิ้นสุดแล้ว ไม่เกี่ยวกันเลย วันที่ไปยื่นขอประกันในชั้นศาลอุทธรณ์ ทั้งญาติและทนายก็ยังไม่ตัดสินใจว่าจะขออภัยโทษ เขาทำใจไม่ได้ที่จะต้องรับผิดกับสิ่งที่เขาไม่ได้ทำ นอกจากนี้ ถ้าอ่านข่าวที่มากับข่าวการเสียชีวิตของอากง ทนายอานนท์ก็บอกแล้วว่า ยังไม่ได้ยื่นเรื่องขออภัยโทษเลย.."

ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยื่นคำร้องของประกันตัวของนายอำพลคือ เขาได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น และระหว่างอุทธรณ์รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง และได้อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัว 3 ครั้ง และในการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ วันที่ 23 ก.พ. ในการขอประกันตัวชั้นอุทธรณ์ครั้งแรกโดยในครั้งนี้ใช้ตำแหน่งของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 7 คน ศาลอุทธรณ์ระบุเหตุผลในการยกคำร้องว่า

"พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีกับพยานหลักฐานที่ศาล ชั้นต้นได้พิจารณาแล้วนับว่าร้ายแรง ประกอบกับข้อที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี และที่จำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยไม่ปรากฏว่าถึงขนาดจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ได้ ทั้งทางราชการก็มีโรงพยาบาลที่จะรองรับให้การรักษาจำเลยได้อยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องและแจ้งเหตุการณ์ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้จำเลยและผู้ขอประกัน ทราบโดยเร็ว"

http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39377

จากนั้นทนายได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลฎีกาในวันที่ 8 มี.ค.โดยนักวิชาการกลุ่มเดิมเป็นผู้ยื่นประกัน ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้คำวินิจฉัยในวันที่ 15 มี.ค. ไม่ให้ประกันอากง โดยระบุเหตุผลว่า "พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องร้ายแรงประกอบกับศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยถึง 20 ปี หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี ส่วนที่จำเลยอ้างความป่วยเจ็บนั้นเห็นว่า จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวชอบแล้ว ยกคำร้อง"

http://prachatai.com/journal/2012/03/39683

ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 ทวิ นั้นระบุว่าแม้คำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจะถูกยกไป และแม้เมื่ออุทธรณ์หรือฎีกาคำร้องแล้วศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา(แล้วแต่กรณี)จะไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว แต่ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะร้องใหม่

 

"อากง" เคยได้ประกัน ชั้นสอบสวน

อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงเรื่องการประกันตัวของอากงยังมีมากกว่านั้นอีก นั่นคือ อากงเคยได้ประกันตัวในชั้นสอบสวน เป็นอิสระช่วงสั้นๆ ประมาณ 3 เดือนก่อนติดคุกยาวในชั้นพิจารณาคดี  

หลังถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 ส.ค.53  เขาถูกคุมตัวในเรือนจำนวน 63 วัน ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว

จากนั้นในวันที่ 29 ก.ย.53 ทนายความยื่นประกันตัวครั้งที่สอง โดยใช้ที่ดินของญาติเป็นหลักทรัพย์ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

หลังจากนั้น ในวันที่ 18 ม.ค. 54  อัยการมีคำสั่งฟ้องนายอำพลเป็นจำเลยในคดีที่มีการส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง ไปยังนายกรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญ มีความผิดตามมาตรา 14 (2), (3) ตามพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวตเตอร์ฯ และมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา ในวันนั้นจำเลยเดินทางมาศาลตามนัดหมาย และถูกควบคุมตัวอีกครั้งโดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ให้เหตุผลว่า

“ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว”

เรื่องนี้ “ช็อค” เจ้าตัวและครอบครัวที่มารอฟังผลในวันนั้นอย่างมาก (อ่านเรื่องราวในวันดังกล่าวและสภาพครอบครัวได้ในรายงาน http://prachatai.com/journal/2011/01/32687)

แม้แต่เจ้าหน้าที่ของ ปอท. (กองบังคับการปรามปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำคดีอากงเองก็เคยเอ่ยปากในการพูดคุยกับนักวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายนี้ว่า เป็นกรณีที่เขาเองก็งง เพราะเคยได้รับการประกันตัวมาแล้ว และเมื่อมีการนัดหมายในคดีก็มาโดยปกติ ดูอย่างไรก็ไม่น่าจะหลบหนี

 จากการพูดคุยกับผู้ต้องขังคดีเดียวกันที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำเดียวกับอากง เขาให้ข้อมูลในช่วงเวลานั้นว่า การเข้าคุกเป็นครั้งที่สองสร้างผลกระทบด้านจิตใจให้อากงอย่างมาก และเขานอนร้องไห้อยู่หลายคืนกว่าจะเริ่มปรับตัวได้อีกครั้ง ท่ามกลางการดูแลของเพื่อนนักโทษที่เห็นใจในชะตากรรม โดยเฉพาะเพื่อนคนสนิท ธันย์ฐวุฒิ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ ในข้อหาเป็นเว็บมาสเตอร์เว็บไซต์ นปช.ยูเอสเอ ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 13 ปี และในภายหลังได้ขอถอนอุทธรณ์และเตรียมขอพระราชทานอภัยโทษเช่นเดียวกับอากง

 

อ่านรายละเอียดคดี “อากง” http://freedom.ilaw.or.th/th/case/21

อ่านรายละเอียดคดี “ธันย์ฐวุฒิ” http://freedom.ilaw.or.th/th/case/19

 

=========================

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ทวิ ในกรณีที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ดังต่อไปนี้

(1) คำสั่งของศาลชั้นต้น ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์

(2) คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา

ให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งรีบส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความ หรือสำเนาสำนวนความเท่าที่จำเป็นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งโดยเร็ว

คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ.ยื่น จม. แจงรัฐบาลไทยไร้อำนาจ หวัง OIC ดันแผนสันติภาพ

Posted: 09 May 2012 08:28 AM PDT

 

9 พ.ค.55 เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงตัวแทนองค์การการประชุมอิสลาม OIC ณ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) แจงรัฐบาลไทยไร้อำนาจที่แท้จริง เสนอ OIC ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจผลักดันสันติภาพปาตานีอย่างเป็นทางการ และเพื่อเป็นการรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน OIC ควรเปิดโอกาสทางองค์กรเยาวชน องค์กรนักศึกษา และองค์ประชาสังคมในพื้นที่ ได้ร่วมนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการด้วย โดยจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้

0 0 0

 จดหมายเปิดผนึก

เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี

เรื่อง ข้อเสนอเพื่อสร้างสันติภาพที่ปาตานีต่อตัวแทน OIC
เรียน  ตัวแทนองค์การการประชุมอิสลาม OIC
สิ่งที่ส่งมาด้วย เอกสารข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเยาวชนปาตานี  1 ชุด

                ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้มหาเมตตาและกรุณาปราณี เป็นที่รับรู้ของสังคมสาธารณะทั่วโลกว่าสถานการณ์ความไม่สงบที่ปาตานีซึ่งได้ปะทุขึ้นมาในรูปแบบของการสู้รบกันระหว่างกองทัพรัฐไทยกับกองกำลังติดอาวุธกอบกู้เอกราชปาตานี โดยใช้ชุมชนชนบทและชุมชนเมืองเป็นยุทธบริเวณของการรบแบบจรยุทธ์ ซึ่งแตกต่างจากปรากฏการณ์การต่อสู้เมื่อก่อนปี ค.ศ. 2004 ที่ทั้งสองฝ่ายใช้ป่าเขาเป็นยุทธบริเวณการรบนั้น มาจากรากเหง้าปัญหาของความเป็นจักรวรรดินิยมสยามเมื่อปี ค.ศ. 1786 ทำการสงครามยึดดินแดนและอธิปไตยต่อรัฐปาตานี จนถึงปี ค.ศ.1909 สถานะของความเป็นรัฐปาตานีก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนรัฐสยามภายใต้อธิปไตยรัฐสยามอย่างเป็นทางการด้วยสนธิสัญญาอธรรมที่เรียกว่า Anglo-Siamese Treaty ซึ่งต่อมารัฐสยามก็เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐไทยเมื่อปี ค.ศ.1939

                การมาเยือนของตัวแทน OIC ยังดินแดนปาตานีหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยครั้งนี้ เป็นที่ตื่นเต้นของประชาชนปาตานีเป็นอย่างมาก เพราะด้วยการที่ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศการสู้รบของสงครามแบบจรยุทธ์มาเป็นระยะเวลา 8 ปี และยังไม่มีสัญญาณใดๆ ที่พอจะมีความหวังได้บ้างว่าสันติภาพปาตานีจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน พอได้ทราบข่าวว่า ตัวแทน OIC จะมาเยือนปาตานีด้วยภารกิจหลัก คือเพื่อรับรู้ถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงเป็นธรรมดาของคนที่สิ้นหวัง แล้วอยู่ๆ ก็มีอัศวินขี่ม้าขาวจะเข้ามาช่วยเหลือ จะรู้สึกตื่นเต้นและตื่นเต้น

                คงไม่มีใครปฏิเสธว่าตัวแปรสำคัญของสันติภาพปาตานีนั้นอยู่ที่ความจริง และเชื่อว่าเมื่อความจริงปรากฏปัญหาปาตานีกับรัฐไทยก็จะคลี่คลายลงไปเอง สรุปคือชะตาชีวิตหรืออนาคตชาวปาตานีขึ้นอยู่กับความจริงนั่นเอง แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ณ ปัจจุบัน อย่างเช่น ความเป็นเผด็จการซ่อนรูปประชาธิปไตยของโครงสร้างการปกครองของรัฐไทย ที่เห็นชัดเจนคือผู้นำประเทศสูงสุดที่ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจเป็นที่สิ้นสุดในการตัดสินใจกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาความมั่นคงของประเทศรวมถึงปัญหาปาตานีด้วย ดังปรากฏการณ์ของท่าทีนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ กับท่าทีของ ผบ.ทบ.ต่อกรณีการกระจายอำนาจให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองท้องถิ่นพิเศษ ท่าทีนายกรัฐมนตรีเห็นด้วย แต่ท่าที ผบ.ทบ.กลับไม่เห็นด้วย ในขณะเดียวกันสภาพของสถานะทางการเมืองของประชาชนในการจะกำหนดชะตาชีวิตตนเองด้วยการแสดงเจตจำนงทางการเมืองนั้น ก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะทางรัฐไทยยังไม่เปิดพื้นที่ทางการเมืองอย่างเคารพในความคิดเห็นของประชาชนอย่างแท้จริง และประชาชนที่มีความคิดต่างจากรัฐนั้น รัฐมักจะใช้วิธีการปราบปรามด้วยความรุนแรงนำ มากกว่าจะเลือกใช้แนวทางสันติวิธี โดยมีกฎหมายพิเศษสามฉบับรองรับการใช้ความรุนแรงเหล่านั้นของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการโดยไม่ต้องรับผิด คือ กฎอัยการศึก พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ.ความมั่นคง

                ตลอดระยะเวลา 8 ปี ท่ามกลางความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนซึ่งปัจจุบันยอดผู้สูญเสียชีวิตพุ่งถึงเกือบ 5,000 รายแล้ว นับได้ว่าเป็นแปดปีที่ชาวปาตานีเฝ้ารอคอยสันติภาพด้วยความหวังอย่างขมขื่น เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี หวังว่าการมาเยือนของตัวแทน OIC ยังปาตานีในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนชาวปาตานี จึงมีข้อเสนอให้กับทาง OIC ในการมีส่วนร่วมกันผลักดันสันติภาพที่ปาตานีให้เกิดขึ้นอย่างเร็ววันตามบทบาทที่ควรจะเป็น ดังนี้

                1.OIC ควรตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจผลักดันสันติภาพปาตานีอย่างเป็นทางการ

                2.เพื่อเป็นการรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน  OIC ควรเปิดโอกาสทางองค์กรเยาวชน องค์กรนักศึกษา และองค์ประชาสังคมในพื้นที่ ได้ร่วมนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการด้วย

                เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี เชื่อมั่นและศรัทธาในความเป็นพี่น้องของความเป็นมุสลิม ที่เข้าใจในความรู้สึกของหัวอกมุสลิมด้วยกัน ว่าจะไม่ทอดทิ้งกันแน่นอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า OIC จะยืนอยู่เคียงข้างประชาชนและความจริง

                                               ด้วยพระนามของอัลลอฮที่มหาเมตตาและกรุณาปราณี 
                                               เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี

               

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"อากง" เสียชีวิต อภิสิทธิ์ชี้รัฐบาลต้องชี้แจงทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้น

Posted: 09 May 2012 08:12 AM PDT

แนะรัฐบาลต้องพิสูจน์การเสียชีวิต เพราะเสียชีวิตภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงาน และกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดอยู่ในความดูแลของรัฐบาล เชื่อทุกกลุ่มมีสิทธิเคลื่อนไหวแก้ ม.112 แต่รัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย เพราะที่ผ่านมาเคยประกาศว่าจะไม่แก้แล้ว

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ รายงานการให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายอำพล หรือ อากง SMS ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเสียชีวิตในโรงพยาบาลเรือนจำว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม

โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทางรัฐบาลต้องไปพิสูจน์เกี่ยวกับการเสียชีวิต เพราะเป็นการเสียชีวิตภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงาน เราจึงต้องให้ความเป็นธรรม และรัฐบาลมีหน้าที่ต้องชี้แจงทั้งหมดว่าอะไรเกิดขึ้น เพราะกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดอยู่ในความดูแลของรัฐบาล

นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า อยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ ไม่อยากให้คนหยิบเรื่องนี้มาเป็นประโยชน์ทางการเมือง เพราะมีคนพยายามนำเรื่องของนายอำพลมาเป็นเรื่องการเมือง จึงทำให้นายอำพลเป็นเหยื่อของคนที่ทำอะไรหลายอย่าง แม้กระทั่งเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษ ก็มีคนไปบอกตั้งแต่แรกว่า ไม่ให้ขอ เลยทำให้ทุกอย่างล่าช้า ซึ่งกรณีของนายอำพลเข้าใจว่า ยังไม่ได้ขอพระราชทานอภัยโทษ

ต่อมามีผู้ถามว่า เกรงว่าจะมีการนำการเสียชีวิตของนายอำพล มาเป็นข้ออ้างในการขอแก้ไขมาตรา 112 อีกรอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องชี้แจง เพราะเป็นผู้รักษากฎหมาย และต้องดูแลการบังคับใช้กฎหมาย

ส่วนกรณีที่กลุ่มนิติราษฎร์เตรียมที่จะเคลื่อนไหวเดินหน้าแก้ไขมาตรา 112 อีกครั้งจะนำมาผนวกกันได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขามีสิทธิ์ที่จะเคลื่อนไหว รัฐบาลต้องทำให้เกิดความมั่นใจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย เพราะคนในรัฐบาลด้านหนึ่งยังเคลื่อนไหวอยากให้แก้กฎหมาย แต่ผู้รับผิดชอบในรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่แก้ ตรงนี้จึงต้องทำให้เกิดความมั่นใจ ในเมื่อรัฐบาลประกาศเป็นนโยบายว่าจะไม่สนับสนุนให้มีการแก้ไขมาตรา 112 แล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คลอดแล้วแนวชันสูตรผ่าศพมุสลิม ผู้นำศาสนาโอเค ชี้เป็นสิทธิผู้ดูแลศพ

Posted: 09 May 2012 08:09 AM PDT

กรรมการสิทธิแถลงหลังใช้เวลาศึกษา 6 ปี หวังเป็นอีกช่องสร้างความยุติธรรมชายแดนใต้ หมอยะลาแนะต้องเพิ่มแพทย์นิติเวชมุสลิม สร้างการยอมรับกระบวนการยุติธรรมไทย เผยสาระสำคัญ 2 ทัศนะทางศาสนา “ทำได้ – ไม่ได้” 

 

ชันสูตรศพมุสลิม - ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ที่ 3 จากซ้าย)
แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ
“แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ
ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม”

ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555

 

 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักจุฬาราชมนตรี และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  เปิดแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม”

จากนั้นมีการสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คน ประกอบด้วยผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นักกฎหมายในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงว่า การศึกษาแนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม เริ่มตั้งแต่ปี 2549 โดยนายวสันต์ พานิช อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการอำนวยความยุติธรรมให้กับผู้ตายและญาติที่เป็นชาวมุสลิมโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ศ.อมรา แถลงต่อไปว่า ต่อมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ ได้ดำเนินการต่อ โดยมีการหารือกับสำนักจุฬาราชมนตรี และสำนักจุฬาราชมนตรีได้ออกคำวินิจฉัยทางศาสนา (ฟัตวา) ที่ 04/ 2549 เรื่องการชันสูตรพลิกศพ สามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

ศ.อมรา แถลงอีกว่า นอกจากนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เดินทางไปศึกษาหลักการและแนวทางเรื่องนี้ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำศาสนา นักวิชาการ และ นักกฎหมาย มีการประชุม 5 ครั้ง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 จนปี 2555 มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักวิชาการศาสนาและนักกฎหมาย

นายอับดุลสุโก ดินอะ คณะทำงานร่างแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า สาระสำคัญของหนังสือแนวทางการตรวจชันสูตรดังกล่าว อยู่ในหน้า 25 ข้อ 2.2 การชุนสูตรศพ โดยเฉพาะการขุดและการผ่าศพขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่

สาระสำคัญในหน้าดังกล่าวระบุว่า จากการศึกษาไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุชัดเจนถึงการห้าหรืออนุมัติทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะศาสดา ทำให้นักวิชาการปัจจุบันมีทรรศนะที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ

 “ทัศนะแรก ไม่อนุญาตให้ขุดศพและตรวจชันสูตรศพ ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณ ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่าเกียรติยศและความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังมีอย่างสมบูรณ์” สาระสำคัญในหน้าดังกล่าว ระบุ

“ทัศนะที่สอง อนุญาตให้ขุดศพและชันสูตรศพ เป็นทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการโลกมุสลิมร่วมสมัยว่า การขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้ว หรือการชันสูตรศพที่เพิ่งเสียชีวิต แม้เป็นสิ่งต้องห้ามตามมติของปวงปราชญ์ แต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น ก็สามารถทำได้โดยอนุโลม” สาระสำคัญในหน้าดังกล่าว ระบุ

นายอับดุลสุโก เปิดเผยว่า  สำหรับหนังสือเล่มนี้ในเบื้องต้นบรรดาอุลามาอ์ (นักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม)ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการ แต่มีข้อกังวลคือ เมื่อมีการชันสูตรพลิกศพมุสลิมแล้ว จะสามารถอำนวยความยุธรรมให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ และจะทำให้สามารถนำผิดมาลงโทษได้หรือไม่

นายอับดุลสุโก กล่าวว่า การนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสามารถนำความยุติธรรมมาให้ประชาชนได้ และกระบวนการต่างๆตามแนวทางดังกล่าว จะมีแพทย์มุสลิมที่มีความน่าเชื่อถือเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการชันสูตรด้วย

นายแพทย์ฟาฏิน อะหะหมัด สาและอารง นายแพทย์ปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพดังกล่าว มีการเน้นว่า การชันสูตรพลิกศพมุสลิมสามารถทำได้หรือไม่ได้เท่านั้น ทั้งที่ ยังมีมิติอื่นที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน คือ การสนับสนุนการผลิตแพทย์นิติเวชที่เป็นมุสลิม และการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบความยุติธรรมของไทย

นายอิสมาแอล สะปันยัง หรือ บาบอแอ สะปาแย โต๊ะครูปอเนาะดูซงปันยัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี กล่าวในการสัมมนาว่า การที่มีทัศนะเรื่องการชัดสูตรศพของอูลามาอ์ เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเป็นเรื่องปลีกย่อย เพราะไม่มีตัวอย่างในสมัยศาสดา

“กรณีนี้ คนที่เห็นด้วยก็มีหลักฐาน ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยก็มีหลักฐาน แต่เมื่อสำนักจุฬาราชมนตรีออกคำวินิจฉัยเรื่องนี้แล้ว ใครจะทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้ ไม่ได้บังคับ เพราะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลศพหรือญาติที่จะอนุญาตหรือไม่” บาบอแอ สะปาแย กล่าว

บาบอแอ สะปาแย กล่าวอีกว่า อยากรู้ว่าเรียกอูลามาอ์มาร่วมงานครั้งนี้ด้วยทำไม หากต้องการให้อุลามาอ์มาให้คำตอบว่า ได้หรือไม่ได้ก็คงต้องเป้นเวทีเฉพาะของอูลามาอ์ แต่ถ้ามีคำวินิจฉัยแล้วก็ไม่จำเป็น

ดร.อับดุลเลาะ อาบูบากา ผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา กล่าวว่า การชันสูตรพลิกมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีหลักประกันว่า จะไม่มีการแทรกแซงการทำงานของทีมแพทย์นิติเวชที่ทำการชันสูตรพลิกศพ และที่สำคัญสุด ต้องสนับสนุนให้มีแพทย์นิติเวชที่เป็นมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย



 

เปิดสาระสำคัญ 2 ทัศนะ “ทำได้ – ไม่ได้”

นายอับดุลสุโก ดินอะ คณะทำงานร่างแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุสาระสำคัญของหนังสือแนวทางการตรวจชันสูตรดังกล่าว ดังนี้

สาระสำคัญของเรื่องนี้ อยู่ในหน้า 25 ข้อ 2.2 การชุนสูตรศพ โดยเฉพาะการขุดและการผ่าศพขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุชัดเจนถึงการห้าหรืออนุมัติทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะศาสดา ทำให้นักวิชาการปัจจุบันมีทรรศนะที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ

 
ทัศนะแรกไม่อนุญาต
               ทัศนะแรก ไม่อนุญาตให้ขุดศพและตรวจชันสูตรศพ ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์
           ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณ ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่าเกียรติยศและความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังมีอย่างสมบูรณ์ กฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปฏิบัติต่อผู้ตายจะต้องคอยระมัดระวังมิให้กระทบกระเทือนหรือเกิดอันตรายต่อศพ
           ท่านศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวย้ำไว้ว่า ท่านจงอย่าทำร้ายศพ ดังนั้นการขุดศพและการตรวจชันสูตรจึงเป็นการทำร้ายศพและไม่ให้เกียรติศพ โดยเฉพาะการตรวจชันสูตรศพนำไปสู่การล้าช้าในการจัดการศพที่ต้องเร่งรีบไปรับผลบุญที่ศพจะได้รับในโลกหน้าเป็นการค้านกันวจนะศาสดาที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อมีบุคคลหนึ่งเสียชีวิตเจ้าจงอย่ากักขังศพ ทว่าจงรีบนำศพสู่หลุมฝังโดยเร่งด่วน” (บันทึกโดยอีหม่ามอัฏฏอบรอนีย์) ทรรศนะดังกล่าว เป้นทรรศนะของนักวิชาการร่วมสมัยบางท่าน เช่น ชัยค มูฮัมมัด ซะกะริยา อัลกันดาฮารีย์, ชัยมูฮัมมัดบูรฮานุดดีน อัสสันบาฮารีย์, ชัยคมูฮัมมัด บะเคียต, ชัยคอัลอารอบีย์ อบูอิยาต อัฏฏอบาคีย์ และ ชัยคมูฮัมมัดอับดุลวะฮฮาบ

ทัศนะที่สอง อนุญาต
              ทัศนะที่สอง อนุญาตให้ขุดศพและชันสูตรศพ เป็นทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการโลกมุสลิมร่วมสมัยส่วนใหญ่ เช่น ชัยคฺ ยูซุฟ อัลดะญาวีย์, ชัยคฺฮุซัยน์ มัคลูฟ, ชัยคฺอิบรอฮีม อัลยะกูบีย์, ชัยคฺดร.มุฮัมมัด ซะอีด รอมาฏอน อัลบูฏีย์, ชัยค ดร.มะห์มูด นาซิม นุซัยมีย์ และ ชัยค ดร.มะห์มูด อาลี อัซซัรฏอวีย์ ที่อนุโลมการตรวจชันสูตรศพโดยให้เหตุผลในภาพรวมว่า ในภาวะปกติ ความเป็นจริงศาสนาให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือเสียชีวิต
              ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้มีชีวิตในชุมชนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบรวมร่วมกันในการจัดการศพตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ตามหลักนิติศาสตร์อิสลามทุกประการ ตามหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจากคัมภีร์อัลกุรอานและวัจนะศาสดา
              ดังนั้น การขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้ว หรือการชันสูตรศพที่เพิ่งเสียชีวิต แม้เป็นสิ่งต้องห้ามตามมติของปวงปราชญ์ แต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น ก็สามารถทำได้โดยอนุโลม

              ทัศนะที่ 2 นี้ มีคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ที่สำคัญของสถาบันและนักวิชาการในโลกมุสลิมสนับสนุนมากมาย เช่น

              1. สถาบันปราชญ์อาวุโสของประเทศซาอุดิอาระเบีย (ฮัยอะกิบารอุละมาอ) ในมติการประชุมครั้งที่ 9 หมายเลข 98 ลงวันที่ 14 เดือนซะอบาน ปีฮิจเราะห์ศักราช 1396

              2. ศูนย์นิติศาสตร์อิสลามของสันนิบาตชาติมุสลิม ในมติการประชุมครั้งที่ 10 ประจำเดือนเศาะฟัร ปีฮิชเราะห์ 1408

              3. สำนักงานสภาการวินิจฉัยของอัลฮัซฮัร ประเทศอิยิปต์ และวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1971

              4. สำนักงานวินิจฉัยประเทศอียิปต์ วินิจฉัยโดยมุฟตีอียิปต์สมัยต่างๆ คือ ชัยค อับดุลมาญีด ซาลีม หมายเลขข้อวินิจฉัย 639 ลงวันที่ 26 ซะอบาน ฮ.ศ.1356 และชัยค หุซัยน มัคลูฟ วินิจฉัยเมื่อปี ค.ศ.1951

              5. คณะกรรมการถาวรการวิจัยและวินิจฉัยประเทศซาอุดิอาระเบีย ในมติการประชุม วันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ.1935

              6. คณะกรรมการสภาวิจัยประเทศจอร์แดน ลงวันที่ 20 เดือนญะดิ้ลอาคิร ฮ.ศ.1937????????

              7. อายาตุลลอฮ ซัยยิด อัซซัยตานีย์ ผู้นำชีอะห์ในอิรัก และ ศ.ดร.มุสตอฟา อัลอัรญาวีย์ นักวิชาการาวอิรัก (เพราะประเทศอิรักมีการขุดศพมุสลิมมากมาย)

              8. ดร.อะห์หมัด อับดุลการีม นาญีบ

              9. อ.มุฮัมมัด มัศริ นักวิชาการมาเลเซีย

              10. คำวินิจฉัยทางศาสนาของสำนักจุฬาราชมนตรี ที่ 04/2549

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาลัยอากง จากมุมหนึ่งของฟินแลนด์

Posted: 09 May 2012 07:56 AM PDT

 
 
 
ในฐานะของคนหนึ่งและองค์กรหนึ่งที่รณรงค์เรื่องยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา) เรารู้ดียิ่งว่าจำเป็นและต้องทำกิจกรรมเพื่อร่วมสมานฉันท์กับพี่น้องในประเทศไทย และเพื่อร่วมแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวของอากง และก็ควรจะทำโดยเร็วที่สุด
 
จึงได้คิดเตรียมว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในสภาพที่เข้าเมืองไม่ง่ายนักในยามค่ำคืน ตัดสินใจว่า ในวันนี้คงเตรียมการเชิญชวนคนอื่นไม่ทัน ขอทำตามลำพังที่บริเวณที่อยู่อาศัยก่อนแล้วกัน
 
ไปค้นรูปอากงตาเวบเพื่อจะปรินส์ออกมาใช้ประกอบในพิธี ปรากฎว่าหมึกเครื่องปรินส์หมด 
 
ท่านศิลปินเจ้าบ้านบอก "ไม่เป็นไรเลือกรูปอากงที่ดูดีและชัดที่สุดมา เดี๋ยวจะวาดให้"  ช่างดีใจหาย 
 
ในระหว่างรอภาพวาด ซึ่งจริงๆ คิดว่าจะเป็นเพียงลายเส้นและใช้เวลาแปล๊บเดียวก็เสร็จ แต่คุณศิลปินเธอกลับใส่ใจในการวาดมาก บอกว่าอากงนี่หน้าตาดีนะ พร้อมบอกว่าจะขอมอบภาพนี้ให้กับป้าอุ๊และครอบครัวอากงด้วย   
 
ระหว่างรอ จรรยาก็เขียนคำ "อาลัย อากง เหยื่อ ม. 112" และเตรียมอุปกรณ์ แต่รอแล้วรอเล่าภาพวาดก็ไม่เสร็จ จนงีบหลับไป
 
ตื่นมาตอนตีสองภาพวาดของอากง (ที่ศิลปินบอกว่ายังไม่เสร็จดี) วางอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ มันเป็นภาพอากงที่งดงามและน่าสะเทือนใจยิ่งนัก 
 
จรรยาน้ำตาซึม บอกว่ายังไงๆ คืนนี้ก็ต้องทำพิธีอาลัยอากง ซึ่งวางแผนไว้คร่าวๆ ว่าจะทำที่ใต้ต้นโอ๊คเก่าแก่มีอายุกว่า 250 ปี ที่อยู่ในสวนสาธารณะข้างบ้าน
 
พระจันทร์ดวงโตช่างเป็นใจ พ้นขอบฟ้ามาร่วมเป็นสักขีพยาน เสียงนกร้องแทรกเข้ามาบางช่วง ผสานเสียงลมทะเลยามดึก  
เราจุดเทียนรอบต้นโอ๊คอายุ 250 ปี ที่เก่าแก่พอๆ กับกรุงรัตนโกสินทร์ มันผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านสงครามมามากมาย ทั้งสงครามแย่งชิงดินแดน และสงครามลัทธิการเมืองในประเทศ 
 
ในสภาพที่ถูกตัดกิ่งหลายจุดและครึ่งหนึ่งของต้นไม้ถูกตัดทิ้ง โอ็คต้นนี้ช่างดูบิดเบี้ยวและโศกสลด แต่กระนั้นก็สู้ชีวิตและยืนหยัด เพื่อประกาศถึงพลังอันแข็งแกร่งของธรรมชาติ ที่มนุษย์จำต้องยอมแพ้และขอขมา 
 
มันเป็นพิธีอาลัยใต้ต้นไม้ ที่เทียนวางกระจายอยู่บนหญ้าและตามซอกมุมที่สามารถวางได้ . . มีเพียงแสงเทียนที่ให้แสงสว่าง 
 
จรรยานั่งหน้าภาพอากงและป้ายทั้งสอง ไม่กล้ามองหน้าอากงตลอดเวลาเพราะกลั้นน้ำตาที่รื้อขึ้นขอบตาและความเจ็บปวดรวดร้าวในหัวอกไม่ไหว . .  
 
พร่ำบอกกับต้นโอ็คว่า เมื่อท่านผ่านร้อนผ่านหนาวและเห็นความเจ็บปวดสูญเสียมามากมายเพราะสงครามและการต่อสู้ระหว่างมนุษย์ โปรดช่วยเตือนใจผู้มีอำนาจในเมืองไทยให้ตระหนักในความโหดร้ายของมันด้วยเถิด 
 
ขอเป็นกำลังใจให้ป้าอุ๊และครอบครัวสู้ชีวิตต่อด้วยความเข้มแข็ง ประดุจโอ็คต้นนี้ที่ยืนหยัดท้ากาลเวลา 
 
ขออากงจงสู่สุขคติ และขอรับปากว่าจะสู้จนถึงที่สุด เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรมในประเทศไทย 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลือกตั้ง ส.ส.ในซีเรีย ฝ่ายต้าน รบ. มองเป็น 'ปาหี่'

Posted: 09 May 2012 07:37 AM PDT

ชาวซีเรียลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี

เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ประชาชนชาวซีเรียได้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แบบหลายพรรคเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ขณะที่ยังคงมีเหตุการณ์รุนแรงในประเทศอยู่ ขณะที่ฝ่ายต่อต้านพากันบอยคอตต์การเลือกตั้งนี้ บอกว่าเป็นปาหี่

จากรายงานของผู้สังเกตการอิสระในกรุงดามัสกัสเปิดเผยว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งบางตา ขณะที่ในพื้นที่ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด ก็พากันไม่ไปเลือกตั้งในวันจันทร์ (7 พ.ค.) ที่ผ่านมา

ด้านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลซีเรียแสดงให้เห็นภาพประชาชนยืนต่อคิวเข้าคูหาเลือกตั้ง โมฮัมหมัด อิบราฮิม อัล-ชาร์ รัฐมนตรีมหาดไทยของซีเรียกล่าวว่า การเลือกตั้งดำเนินไปอย่างสงบและศูนย์จัดเลือกตั้งก็เปิดเผยว่ามีผู้มาใช้สิทธิเยอะพอสมควร

นายกรัฐมนตรีอาเดล ซาฟาร์ กล่าวในที่ประชุมแถลงข่าวที่ศูนย์จัดการเลือกตั้งของซีเรียว่า การเลือกตั้ง ส.ส. ในซีเรียเป็นขั้นตอนสำคัญและเป็นประวัติการของซีเรีย ในการก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับการปฏิรูปอย่างครอบคลุม แม้จะมีการสมคบคิดอยู่เบื้องหลังคอยบั่นทอนการพัฒนาก็ตาม

ส่วนสหประชาชาติกล่าวแสดงความเห็นว่า การเลือกตั้งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างครอบคลุม สำหรับอนาคตของประชาธิปไตยในประเทศซีเรีย

"การเลือกตั้งนี้ไม่ได้มีอยู่ในขอบข่ายงานที่วางไว้" มาร์ติน เนเซอกี โฆษกของเลขาธิการสหประชาชาติกล่าว "นอกจากนี้แล้ว กระบวนการประชาธิปไตยยังไม่อาจสำเร็จลุล่วงได้ ตราบใดที่ยังคงมีเหตุการณ์ความรุนแรงอยู่"

ชาวซีเรียเห็นต่างเรื่องเลือกตั้ง
อนิตา แมคนอจท์ ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานจากกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ว่ากลุ่มประชาชนชาวซีเรียเอง มีความรู้สึกต่อการเลือกตั้งครั้งนี้หลากหลายปะปนกัน

"ในเมื่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของทหาร เมื่อพื้นที่หลายแห่งในประเทศยังคงแปลกแยกตัวเองจากรัฐบาลกลาง และในบางพื้นที่ของประเทศกลายเป็นดินแดนแห่งความหวาดกลัว จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะขับเคลื่อนกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมได้ นี่คือข้อถกเถียงของฝั่งหนึ่ง" แมคนอจท์กล่าว

"ข้อถกเถียงของอีกฝั่งหนึ่งมีอยู่ว่า พวกเขาได้เห็นจุดเริ่มต้นของพหุนิยมทางการเมืองในซีเรีย ที่แม้ว่ามันจะดูอ่อนแอและยังไม่สมบูรณ์ก็ตาม จาก 8 พรรค ที่ลงสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้ ถือว่ามีมากกว่าการเลือกตั้งครั้งที่แล้วถึง 7 พรรค ประเทศซีเรียเป็นประเทศที่ปกครองโดยพรรคเดี่ยวมานานหลายทศวรรษ นี่อาจจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เราได้เห็น"

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ากล่าวเสริมว่า ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของซีเรีย ระบุให้ครึ่งหนึ่งของผู้แทนฯ ในสภาใหม่ต้องมาจากกลุ่มกรรมกร ส่วนหนึ่งรวมถึงชาวนา หรือผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ชนบทด้วย

"ผู้ที่วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดเผยว่า สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนของคนงานเหล่านี้ถูกควบคุมโดยพรรคบาธ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูเป็นการปูทางให้กับพรรคบาธ ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ" แมคนอจท์กล่าว

ฝ่ายต่อต้านเชื่อเลือกตั้งครั้งนี้แค่ 'ปาหี่'
การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูฯใหม่เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ทำให้การปกครองของพรรคบาธนับ 5 ทศวรรษสิ้นสุดลง มีการตั้งพรรคการเมือง 9 พรรค และมี 8 พรรคที่ลงแข่งขันการเลือกตั้ง ส.ส. โดยพรรคที่อยู่ฝายเดียวกับรัฐบาลพรรคบาธ รวมตัวกันในกลุ่มชื่อ แนวร่วมประเทศชาติก้าวหน้า (National Progressive Front)

สำนักข่าวซานาของรัฐบาลซีเรีย รายงานว่าตัวเลขผู้ลงสมัครมีจำนวน 7,195 คน เพื่อลงชิงชัยตำแหน่งส.ส. 250 ที่นั่ง

อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์การเมืองเชื่อว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ของซีเรียจะไม่ช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ อะไร เมื่อแผนการหยุดยิงของสหประชาชาติที่ส่งผลตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. ยังไม่สามารถรักษาเอาไว้ได้

โอรายิบ อัล-รันทาวี ผ.อ. ศูนย์วิจัยการเมืองอัลคุดกล่าวว่า การเลือกตั้งดำเนินไปท่ามกลางสภาวะไร้ความมั่นคง ยังคงมีการฆ่าฟันและความรุนแรง ขณะที่มีคนจำนวนมากถูกกุมขัง, ถูกทรมาน หรือไร้ที่อยู่อาศัย รันทาวีแสดงความเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นแค่ 'สื่อโฆษณาชวนเชือ' เท่านั้น

แต่ทางรัฐมนตรีสารสนเทศของซีเรีย อัดนัน มาห์มูด ก็แสดงความเห็นว่าการลงคะแนนเสียงถือเป็นการช่วยปกป้องประเทศ

"การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งของประชาชนชาวซีเรีย เป็นการต่อต้านแผนการก่อการร้ายนำโดยต่างชาติและบางกลุ่มในประเทศที่ทำสงครามก่อการร้ายต่อประเทศเรา" อัดนันกล่าว

ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นแค่ 'ปาหี่' บาชาร์ อัล-ฮาราคี สมาชิกของสภาแห่งชาติซีเรีย (SNC) ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มฝ่ายต่อต้านบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นแค่ "การเล่นตลกของละครสวมหน้ากากโดยรัฐบาล"

อย่างไรก็ตาม นักกิจกรรมภายในประเทศก็รู้สึกไม่พอใจกับการที่ SNC จัดตั้งสภาการเปลี่ยนแปลงการปกครองของซีเรีย (Transitional Syrian Parliament) ที่ต้องการใช้ต่อสู้โค่นล้มรัฐบาลอัสซาด

 

ที่มา
Syria holds election snubbed by opposition, Aljazeera, 07-05-2012
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/05/201257225944407493.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โทลูอีน : กับความเสี่ยงต่อการแท้งและความผิดปกติของทารกในครรภ์

Posted: 09 May 2012 07:30 AM PDT

 

ความประมาทจนก่อให้เกิดการลุกไหม้ของสารโทลูอีนและเกิดการระเบิดของโรงงานฝ่ายผลิตยางรถยนต์ ภายในบริเวณ บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ (BST) ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 เป็นข่าวใหญ่ต่อสาธารณะ ส่งผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งบรรยากาศของการท่องเที่ยวของผู้ที่ชื่นชอบผลไม้ของจังหวัดระยอง สำหรับคนไทยทั่วประเทศคงมีคำถามคล้าย ๆ กันว่า เมื่อไรปัญหาของนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองจะได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง เพราะมีแต่ข่าวมลพิษ อุบัติภัย ความขัดแย้งกับชุมชน โดยเฉพาะความพยายามที่จะนำพื้นที่สีเขียวในอำเภอบ้านค่ายและอำเภอวังจันทร์ ตลอดจนพื้นที่ต้นน้ำมาใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม รวมทั้งคำถามถึงอนาคตในกรณีที่มีโรงงานหยุดผลิต ทิ้งร้าง รัฐมีหลักประกันใดที่เจ้าของกิจการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการขยะอันตรายและสารพิษในโรงงานที่ทิ้งร้าง เพราะกังวลใจว่าในที่สุดรัฐจะต้องเป็นผู้แบกภาระโดยนำภาษีของประชาชนไปจ่ายในส่วนที่โรงงานต้องรับผิดชอบถ้าหน่วยงานอนุญาตให้สร้างโรงงานมีการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่รัดกุมเพียงพอ เพราะการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งโรงพยาบาลในพื้นที่ต้องใช้งบประมาณในการรักษาผู้ป่วยจากอุบัติเหตุของโรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้งบประมาณปกติของโรงพยาบาลที่ได้รับจัดสรรให้ต่อหัวประชากรถูกเบียดบังไปใช้เพื่อรองรับความประมาทของโรงงานแทนที่จะใช้กับการส่งเสริมและรักษาสุขภาพของประชาชน

นักวิชาการกลุ่มที่ได้อ่านรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโรงงานนี้และบริษัทในเครือมีแผนที่การติดตั้งถังสารเคมีในการผลิตของโรงงาน ทุกคนภาวนาให้สามารถควบคุมการลุกไหม้ของโรงงานได้อย่างรวดเร็ว เพราะยังมีถังสารเคมีที่ติดตั้งในพื้นที่จำนวนมาก และโรงงานใกล้เคียง คือโรงงานบริษัทไบเออร์ไทย จำกัด ซึ่งมีถังสารเคมีอยู่จำนวนมากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความไม่ชัดเจนว่าสารเคมีที่ระเหยปนเปื้อนในอากาศครั้งนี้เป็นสารโทลูอีนเพียงชนิดเดียวหรือมีถังสารเคมีชนิดอื่นเกี่ยวข้องด้วย เช่น สารบิวทาไดอีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ความโชคดีของคนระยองครั้งนี้ คือ การที่มีฝนตกทำให้การควบคุมเพลิงเป็นไปได้ง่ายกว่าปกติ อย่างไรก็ตามผู้รับผิดชอบได้ให้ข้อมูลต่อสาธารณะว่า สารคมีที่ปนเปื้อนในอากาศและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย คือ โทลูอีน รวมทั้งให้ข้อมูลว่าสารชนิดนี้ไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็ง แต่มิได้ให้ข้อมูลความเป็นพิษของโทลูอีนในแง่มุมอื่น

การติดตามข่าวในฐานะนักวิชาการคนหนึ่ง ขอตั้งข้อสังเกตว่าการประกาศรับรองต่อสาธารณะถึงความปลอดภัยของสารปนเปื้อนในอากาศยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน มีความเร่งรีบรับรองว่าปลอดภัย และให้ประชาชนกลับบ้านได้ โดยขาดมาตรฐานและความน่าเชื่อถือทางวิชาการ หากเปรียบเทียบกับการระเบิดของโรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นมีการประกาศรายชื่อสารเคมีและปริมาณที่ตรวจพบ พร้อมทั้งให้ความรู้กับประชาชนเพื่อให้เข้าใจและนำไปใช้ในการปกป้องดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัว จึงปรารถนาที่จะเห็นการประกาศต่อสาธารณะของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ว่าได้ตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีชนิดใดบ้าง และตรวจวัดพบว่าค่าการปนเปื้อนเท่าใด พื้นที่ใดบ้างที่ปลอดภัย เนื่องจากเป็นที่ทราบชัดว่าการตรวจหาสารเคมีปนเปื้อนในอากาศนั้นต้องตรวจรายชนิด เพราะมีวิธีการตรวจไม่เหมือนกัน และค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารเคมีแต่ละชนิดเป็นค่าเฉพาะ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง เคารพ ปกป้อง และได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นและเพียงพอที่จะทำให้สิทธิของชุมชนที่จะดำรงชีพได้อย่างปกติ รวมทั้งสิทธิด้านต่างๆ ที่มีการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สนธิสัญญา และตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักการและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องซึ่งรัฐบาลไทยได้ลงนามไว้กับนานาชาติมีการดำเนินการเพื่อให้สิทธิเหล่านี้เกิดผลที่เป็นจริง

การเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับมลพิษโดยตรงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจปกป้องประชาชนซึ่งรัฐมีหน้าที่ในการปกป้องจากอุบัติภัย และมีความสำคัญยิ่งต่อนาทีชีวิตของเหยื่อ เพราะรายชื่อสารเคมีจำเป็นต่อการรักษาเพื่อลดความเป็นพิษของสารเคมีชนิดนั้น หากแพทย์ทราบชัดถึงชนิดสารเคมีที่เป็นต้นเหตุจะสามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงกับสาเหตุ อย่างไรก็ตามข้อมูลของสารเคมีที่เปิดเผยต่อสาธารณะในกรณีของโรงงานนี้มุ่งเน้นที่สารโทลูอีน บทความนี้จึงนำเสนออันตรายของโทลูอีนในแง่มุมที่มีการกล่าวถึงไม่มากนัก แต่มีความสำคัญต่อชุมชน คือ ผลกระทบต่อทารกและการแท้งของสตรีมีครรภ์

โทลูอีนเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่นิยมนำมาใช้เป็นตัวทำละลายทดแทนสารเบนซีน เนื่องจากโทลูอีนละลายในไขมันได้ดี จึงสามารถผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกายที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบได้เร็วและจากรายงานทางวิชาการพบว่าโทลูอีนสามารถแพร่ผ่านรกได้ดี ทำให้ตรวจพบโทลูอีนในเนื้อเยื่อต่างๆ ของทารกและในน้ำคร่ำที่อยู่ในมดลูกของแม่ที่สัมผัสโทลูอีน รวมทั้งพบในทารกแรกเกิดด้วย (1) การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าโทลูอีนสามารถคงอยู่ในสัตว์วัยอ่อนที่อยู่ในท้องแม่ได้นานถึง 24 ชั่วโมง และหนูเม้าซ์ที่ได้รับโทลูอีนขณะตั้งท้องนั้นตรวจพบโทลูอีนสะสมอยู่ในตับจำนวนมาก (2, อ้างตาม 3)

รายงานการศึกษาให้สัตว์ทดลองที่ได้รับโทลูอีน ด้วยวิธีให้กิน หรือให้ได้รับทางการหายใจ มีรายงานการศึกษาในสัตว์หลายชนิด เช่น หนู แฮมสเตอร์ และกระต่าย โดยให้ได้รับโทลูอีนในช่วงเวลาที่แม่มีอายุครรภ์ต่างๆ กัน พบว่ามีผลแตกต่างกันตามปริมาณและระยะเวลาที่สัตว์ทดลองได้รับสารโทลูอีน โดยอาการที่ตรวจพบมีความหลากหลาย ขึ้นกับชนิดสัตว์ ปริมาณโทลูอีนที่ได้รับและอายุครรภ์ เช่น ทำให้เกิดการแท้ง หรือมีผลให้ลูกที่เกิดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ อวัยวะที่สำคัญมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ เช่น หัวใจ ตับ ไต และสมอง รวมทั้งมีผลเพิ่มอัตราการตายของทารกก่อนหรือหลังคลอด สัตว์บางชนิดมีความไวกว่าสัตว์อื่น เช่น หนูทดลองจะมีความไวกว่าแฮมสเตอร์ นอกจากนี้ยังอาจพบความผิดปกติของเนื้อเยื่อประสาท การได้ยิน และการเจริญของกระดูกโครงร่างช้ากว่าปกติด้วย (อ้างตาม 4)

การศึกษาในคนที่ได้รับโทลูอีนจากการสูดดมต่อเนื่อง พบความผิดปกติของรูปร่าง เช่น กระดูกซี่โครงเพิ่มขึ้นซี่ที่ 14 ในกลุ่มที่ได้รับโทลูอีน 1,000 ppm นาน 6 ชั่วโมงต่อวัน ในช่วงที่มารดามีอายุครรภ์ 1-17 วัน นอกจากนี้พบความผิดปกติอื่น ๆ คือ ความผิดปกติของใบหน้าคล้ายกับทารกที่มารดาติดสุราในระยะตั้งครรภ์ คือ มีส่วนกลางของใบหน้าแบน กระบอกตาลึก กระดูกที่เชื่อมระหว่างรูจมูกแบน (รูปที่ 1 จาก 5 อ้างตาม 2) การให้กำเนิดทารกที่มีรูปร่างผิดปกติในคนนั้น มีรายงานว่าเกิดจากทารกได้รับโทลูอีนผ่านมดลูกในขณะที่อยู่ในครรภ์ และแม่ไม่สามารถกำจัดสารตกค้างจากโทลูอีนซึ่งไปทำลายไตได้ (รูปที่ 2 จาก 2)

 

รูปที่ 1 ใบหน้าของเด็กที่ได้รับโทลูอีนผ่านทางมดลูกของแม่

(ภาพนี้นำมาจากวารสาร Teratology 55:145–151 (1997) ซึ่งเจ้าของบทความได้ขออนุญาตเผยแพร่ภาพจาก Arnold และคณะ (1994) จึงถูกนำมาอ้างอิงในบทความนี้ โดยมิได้ขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน จึงขอให้ระมัดระวังในการนำไปเผยแพร่ต่อ)

 

รายงานการศึกษาสาเหตุการแท้งของสตรีมีครรภ์ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์สตรี 50 คน (ผ่านการตั้งครรภ์รวม 105 ครั้ง) ซึ่งทำงานในโรงงานผลิตลำโพงและได้รับโทลูอีนปริมาณสูง 88 ppm (ช่วง 50-150 ppm) เปรียบเทียบกับสตรีที่ทำงานในแผนกอื่นของโรงงานเดียวกันซึ่งได้รับโทลูอีน 1 ppm หมายถึง มีสารโทลูอีน 1 ส่วน ในสารละลาย 1 ล้านส่วน น้อยมากหรือไม่ได้รับเลย (0-25 ppm) จำนวน 31 คน (ผ่านการตั้งครรภ์รวม 68 ครั้ง) โดยเปรียบเทียบกับสตรีที่อยู่ในชุมชนทั่วไปที่เข้ารับการรักษาในคลินิกแม่และเด็กหลังการคลอด จำนวน 190 คน เป็นกลุ่มควบคุม (ผ่านการตั้งครรภ์รวม 444 ครั้ง) พบว่าสตรีกลุ่มที่ทำงานในโรงงานและได้รับโทลูอีนปริมาณสูง มีอัตราการแท้งสูงถึง 12.4 ครั้ง จากการตั้งครรภ์ 100 ครั้ง ซึ่งมีอัตราการแท้งสูงกว่าสตรี กลุ่มที่ทำงานในโรงงานเดียวกันซึ่งได้รับโทลูอีนน้อยหรือไม่ได้รับเลย ที่พบว่ามีอัตราการแท้งเพียง 2.9 ครั้ง จากการตั้งครรภ์ 100 ครั้ง ซึ่งความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสตรีกลุ่มในชุมชนทั่วไปนั้น พบอัตราการแท้ง 4.5 ครั้ง จากการตั้งครรภ์ 100 ครั้ง นอกจากนี้ในสตรีกลุ่มที่ได้รับโทลูอีนสูงนั้นเมื่อเปรียบเทียบอัตราการแท้งระหว่างก่อน-หลังเข้าทำงานในโรงงานความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยก่อนทำงานมีอัตราการแท้ง 2.9 ครั้ง จากการตั้งครรภ์ 100 ครั้ง และมีอัตราการแท้งเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าทำงานในโรงงานเป็น 12.6 ครั้ง จากการตั้งครรภ์ 100 ครั้ง สตรีเกือบทั้งหมดไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการได้รับสารโทลูอีนของสตรีมีครรภ์ความเสี่ยงต่อการแท้งและสูญเสียทารกในครรภ์ (6)

ถึงเวลาที่สิทธิของประชาชนในจังหวัดระยองจะได้รับการปกป้องอย่างแท้จริงหรือยัง เริ่มต้นที่สิทธิในการรับรู้ข่าวสาร และการชดเชย เยียวยา ที่เป็นธรรม จึงควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีมาให้ความเป็นธรรมกับประชาชนในการเข้าถึงสิทธิที่ถูกละเมิดมาอย่างต่อเนื่อง และตรวจสอบระบบการปกป้องประชาชนจากภัยพิบัติของโรงงานอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นผู้อนุมัติ/อนุญาตและควบคุมการดำเนินการ (7) 

รูปที่ 2 เมแทบอลิซีมของโทลูอีน อาศัยการทำงานของเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส (ADH) และอัลดีไฮด์ ดีโฮโดรจีเนส 1 (ALDH1) และ 2 (ALDH2) เพื่อสลายโทลูอีน โดยเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลและกำจัดออกทางปัสสาวะ

 

เอกสารอ้างอิง
(1) Goodwin, T.M. Toluene abuse and renal tubular acidosis. Obstet. Gynecol. 1988, 71:715–718.

(2) Wilkins-Haug, L. Teratogen Update: Toluene, Teratology. 1997, 55:145–151.

(3) Ghantous, H. and Danielsson, B.R.G. Placental transfer and distribution of toluene, xylene and benzene, and their metabolites during getation in mice. Biol. Res. Pregnancy. 1986, 7:98–105.

(4). EPA/635/R-05/004, Toxicological review of toluene (CAS No. 108-88-3), In Support of Summary Information on the Integrated Risk Information System (IRIS), September 2005. U.S. Environmental Protection AgencyWashington D.C.

(5) Arnold, G., R.S. Kirby, S. Langendoerfer, and Wilkins-Haug , L. Toluene embryopathy: Clinical delineation and developmental followup. Pediatrics. 1994, 93:216–220.

(6) Ng, T.P., Foo, S.C, and Yoong, T. Risk of spontaneous abortion in workers exposed to toluene. Brit. J. Ind. Med.1992, 49:804-808.

(7) (ร่าง) รายงานข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 2555 (คณะกรรมการกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างรายงานฉบับสมบูรณ์)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีตีนแดง: อากงตายแล้ว เสรีภาพเดินช้ากว่ามัจจุราช

Posted: 09 May 2012 07:10 AM PDT

 







ในที่สุด, อิสรภาพก็เดินทางมาถึงช้ากว่าความตาย

ยุติธรรมรอได้  หลีกทางให้บ้านเมืองสงบ

เขาดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ในวันแห่งรักและพักรบ

สงครามยังไม่จบ คนตายกี่ศพช่างแม่มัน!



"กลับบ้านเรานะ เขาปล่อยตัวลื้อแล้ว"

พลเมืองปลายแถว  ตายแล้วถึงได้สูดกลิ่นฝัน

เสรีภาพของคนจน  ยากเหลือทนต้องกัดฟัน

หรือต้องใช้ความตายเท่านั้น  เข้าแลกมันจึงจะได้มา



ถามคนใจดำ หัวใจคุณทำด้วยอะไร

ถ้อยคำนั้นบาดเนื้อใคร เจ็บตรงไหนหรือคุณเจ้าข้า

หรือเอสเอ็มเอสคือดาบคม ปักจมหัวใจให้เสียน้ำตา

เลือดไหลตกกี่หยดหรือคะ  ถึงต้องฆ่าต้องแกงกัน



ประเทศด้อยพัฒนา เสรีภาพเดินช้ากว่ามัจจุราช

ความตายลอยอยู่ในอากาศ อยู่หลังภาพวาดที่มีทุกบ้าน

ประตูคุกเปิดไว้รอ  และสูบกินคนอยู่ทุกวัน

บ้านเมืองวิปริตนี้ไม่ต้องการ เห็นไพร่ข้ามผ่านเป็นประชาชน



อากงตายแล้ว  เขาเป็นเพียงชายชรา

ราษฎรธรรมดา ทำมาหากินเดินถนน

ก้มหัวให้กติกา ความเป็นคนต่ำกว่ามาตรฐานสากล

ทั้งที่มึงก็คน กูก็คนเหมือนเหมือนกัน



อากงตายแล้ว เขาตายในคุก

นี่ไม่ใช่ยุค ประชาธิปไตยที่ใฝ่ฝัน

รัฐบาลของเรา เอาเลือดเพื่อนเรารองใส่พาน

แล้วคุกเข่าหมอบคลาน ส่งให้เผด็จการได้ดื่มกิน



อากงตายแล้ว ใครฆ่าชายชรา

ยุติธรรมที่ล่าช้า คืออาชญากรทั้งสิ้น

มนุษย์ราคาถูก มีอยู่มากมายเต็มแผ่นดิน

หายใจอยู่อย่างรวยริน  ได้กลิ่นความตายอยู่ทุกวัน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: ‘อากง’ ชั่วร้ายกว่าเป๊าะ วัฒนา และ...ทักษิณ?

Posted: 09 May 2012 07:03 AM PDT

“.....สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง  ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิดอย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสมในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่าชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป....”

บทความ "อากงปลงไม่ตก"
โดยโฆษกศาลยุติธรรม
14 ธ.ค.2554

 

อากงจบชีวิตลงแล้ว ระหว่างอยู่ในเงื้อมมือของกระบวนการยุติธรรม โดยสังคมยังไม่สิ้นสงสัยว่า อากงทำความผิดจริงหรือไม่ เป็นความผิดที่สมควรลงโทษจำคุก 20 ปี รุนแรงยิ่งกว่าคนร้ายฆ่าคนตายขนาดนั้นหรือไม่ เพราะอากงไม่มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ ฎีกา

ก่อนจบชีวิต อากงตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์ เช่นเดียวกับจำเลยคดี 112 คนอื่นๆ เพราะหากยื่นอุทธรณ์ ฎีกา ก็อาจต้องถูกจองจำอีกยาวนาน กว่าจะมีคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานว่าผิด หรือไม่ผิด หนทางเดียวที่จะได้อิสระ คือยอมรับสารภาพ หรือยอมให้คดีสิ้นสุด เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ

นี่คือความโหดร้ายของมาตรา 112 ที่ทำให้จำเลยต้องพึ่งพระมหากรุณาธิคุณทางเดียวเท่านั้น หลายสิบปีที่ผ่านมา จึงไม่เคยมีคดีใดขึ้นถึงฎีกา จนมีคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐาน

แน่ละ บางคนอาจเถียงได้ว่า สุขภาพของอากงย่ำแย่มานาน ถ้าได้รับการประกันตัวตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ อากงก็อาจเสียชีวิตที่บ้าน หรือต่อให้ไม่ถูกดำเนินคดีอะไรเลย อากงก็คงเสียชีวิตด้วยโรคร้ายอยู่ดี แต่ป่วยการที่จะโต้แย้ง เพราะความตายของอากงครั้งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกระบวนการยุติธรรมเต็มๆ ไม่ใช่เรื่องอ้าง “ถ้า” (เพราะเราก็อ้างได้ว่าถ้าอากงได้อยู่บ้านกับลูกหลาน มีกำลังใจมีความสุขตามอัตภาพ ก็อาจสู้โรคร้ายได้อีกหลายปี)

ทำไมอากงจึงไม่ได้ประกันตัวระหว่างสู้คดี ขณะที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีฆ่าคน ทุจริต ฉ้อฉล ยังได้ประกันตัวกันเกร่อ

ยกตัวอย่างผู้กว้างขวางระดับชาติ “กำนันเป๊าะ” สมชาย คุณปลื้ม ต้องคดีจ้างวานฆ่า “กำนันยูร” นายประยูร สิทธิโชติ ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 25 ปี พร้อม สท.เหี่ยว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 ให้จำคุก 25 ปี โดยก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษายืนคดีทุจริตที่ดินทิ้งขยะเขาไม้แก้ว จำคุก 5 ปี 4 เดือน ศาลให้นับโทษต่อกันเป็นจำคุก 30 ปี 4 เดือน แต่ก็ยังให้ประกันตัวในวงเงิน 10 ล้านบาท

โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ไม่มีเจตนาหลบหนี ทั้งยังไม่มีพฤติการณ์ที่จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

วันที่ 12 ตุลาคม 2548 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีฆ่ากำนันยูร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตที่ดินทิ้งขยะ กำนันเป๊าะอ้างว่าป่วย ขอเลื่อน เลื่อนไปเรื่อยๆ จนหนีไปในที่สุด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ศาลฎีกาจึงอ่านคำพิพากษาลับหลัง ว่ากำนันเป๊าะผิดจริง แต่ให้ลดโทษเป็น 3 ปี 5 เดือน

ส่วนคดีฆ่ากำนันยูร ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษาเมื่อ 29 พ.ย.2554 แต่อย่างที่รู้กัน กำนันเป๊าะหายแซบหายสอยไปแล้ว ศาลจึงสั่งปรับนายประกันคือลูกสาว 15 ล้านบาท ส่วน สท.เหี่ยวมีหนังสือขอเลื่อน อ้างว่าติดภารกิจช่วยเหลือน้ำท่วมที่ปทุมธานี (?) ศาลมาอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 นี่เอง ให้จำคุกทั้งคู่ 25 ปี โดยจำเลยหนีไปเรียบร้อย

วัฒนา อัศวเหม “เจ้าพ่อปากน้ำ” ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 10 ปี ตามมาตรา 148 ฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือ จูงใจ ให้บุคคลอื่นมอบให้ซึ่งทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น คือใช้อำนาจข่มขู่หรือจูงใจ ให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง และกรมที่ดิน ร่วมกันออกโฉนดที่ดิน ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เนื้อที่ 1,900 ไร่ ซึ่งทับที่คลองสาธารณประโยชน์ และที่เทขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม ต่อมาได้มีการนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปสร้างสนามกอล์ฟ และนำไปขายให้กับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อใช้ก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ

คดีนี้ ปปช.ชี้มูลความผิดตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.2550 และมาตัดสินในวันที่ 18 สิงหาคม 2551 โดยศาลนัดอ่านคำพิพากษาครั้งแรกวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 แต่นายวัฒนาหลบหนี ศาลสั่งปรับนายประกัน 2.2 ล้านบาทตามที่จำเลยยื่นบัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ประกันตัว (ศูนย์ข่าวอิศราเคยประเมินทรัพย์สินวัฒนาว่า มีสินทรัพย์ 9,760 ล้านบาท กำนันเป๊าะ 1,254 ล้านบาท)

“เจ้าพ่อปากน้ำ” ไปเบิกความที่ศาลครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ยืนยันความบริสุทธิ์ของตน ถ้าทำผิดจริงให้ลงโทษประหารชีวิต และยังให้สัมภาษณ์ยืนยันว่าจะไม่หนีไปไหน จะไปฟังคำพิพากษาแน่นอน แต่ถึงวันที่ 18 สิงหาคม วัฒนาก็ไม่ไป โดยก่อนหน้านั้น 3 วันยังคุยโทรศัพท์กับทนายว่า จะไปฟังคำพิพากษา แต่ไม่ทราบว่ารู้อะไรมาจึงเปลี่ยนใจ

คดีวัฒนายังไม่พิลึกเท่าคดี “น.ช.ทักษิณ”

วันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดไต่สวนพยานโจทก์ครั้งสุดท้าย ในคดีที่ดินรัชดา ซึ่งทักษิณ-พจมาน เป็นจำเลย ก่อนหน้านั้น 1 วัน จำเลยได้ยื่นคำร้องขอเดินทางออกนอกประเทศ ทักษิณขอไปญี่ปุ่น และจีน ระหว่างวันที่ 31 ก.ค.ถึง 10 ส.ค. พจมานขอไปจีน 5-10 ส.ค.และไปอังกฤษ 15-20 ส.ค. องค์คณะผู้พิพากษาอนุญาตให้ไปญี่ปุ่นและจีนแต่ให้กลับมาวันที่ 11 ถ้าจะไปอังกฤษให้ยื่นคำร้องใหม่

เหตุผลที่ทักษิณขอไปจีน ถ้ายังจำกันได้ ทนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อ้างว่าเพื่อไปรับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพฯ ในพิธีเปิดโอลิมปิก

แล้วเป็นไงละครับ ทักกี้ก็ลอยนวลมาจนทุกวันนี้ท่ามกลางความเป็นเดือดเป็นแค้นของพวกเสื้อเหลือง สลิ่ม แมลงสาบ โดยศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 17 กันยายน 2551 แต่จำเลยหลบหนีไปอยู่ที่อังกฤษเรียบร้อย จึงมาอ่านคำพิพากษาใหม่วันที่ 21 ตุลาคม โดยมีมติ 5 ต่อ 4 “ไม่ทุจริตแต่ติดคุก 2 ปี”

แทนที่พวกพันธมิตรจะเป็นเดือดเป็นแค้นว่าทักกี้เล่นเล่ห์หนีคดี พวกเขาควรตั้งคำถามว่า ทำไมศาลจึงอนุญาตให้ผู้ร้ายตัวเอ้เดินทางออกนอกประเทศ เพื่อไปดูโอลิมปิก ผมยังจำข่าวได้ว่าตอนนั้นพจมานขนกระเป๋าไป 9 ใบ โอ๊ค เอม อุ๊งอิ๊ง ไปส่ง ด้วยสีหน้าเศร้าสร้อย บางคนถึงกับร่ำไห้ (แค่ไปดูโอลิมปิกเนี่ยนะ)

คำถามวัดใจ
จะลดแรงกดดันไหม
ที่ยกตัวอย่างมาคือ 3 “ชราชน” คนดัง ซึ่งในวันที่หลบหนีอายุได้ 67,71 และ 59 ตามลำดับ โดยมีโทษหนักเบาต่างกัน (25 ปี, 10 ปี, 2 ปี) ทั้งสามได้ประกันตนตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แม้วางหลักทรัพย์สูง แต่เทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มีก็ไม่ถือเป็นขนหน้าแข้ง

ถามว่าถ้าอากงได้ประกัน อากงมีปัญญาหลบหนีไปอยู่เขมร จีน อังกฤษ หรือไม่ ลูกหลานอากงมีทรัพย์สินพอจะยอมเสี่ยงให้ถูกปรับ ถูกยึด หรือไม่ ระหว่างอากง กำนันเป๊าะ กับวัฒนา ใครมีปัญญาไปยุ่งกับพยานหลักฐานมากกว่ากัน

แน่นอน ประเด็นนี้ถ้ากล่าวให้ถึงที่สุด อย่างที่ อ.วรเจตน์พูดเสมอ ปัญหาของ 112 ข้อสำคัญที่สุด อยู่ที่อุดมการณ์ซึ่งกำกับการบังคับใช้

แต่ขณะเดียวกัน ผู้พิพากษาก็อ้างได้ว่าเนื่องจากความผิดตามมาตรา 112 กำหนดโทษ 3-15 ปี หมายถึงมีโทษขั้นต่ำ ศาลจะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 3 ปีไม่ได้ในแต่ละกระทง เมื่อโทษสูงเช่นนี้ก็มีแนวโน้มที่จำเลยจะหลบหนี และมักหลบหนี

ซึ่งมันก็พันกันเป็นงูกินหาง เมื่อโทษสูง และมีแนวโน้มว่าศาลไม่ให้ประกัน ถ้าจำเลยหนีได้ก็หนี หนีไม่ได้ก็ต้องรับสารภาพ เพื่อเร่งให้คดีจบๆ จะได้ขอพระราชทานอภัยโทษ ผลก็คือคำพิพากษาที่ออกมา มักสิ้นสุดแค่ศาลชั้นต้น ไม่มีคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานจริงๆ ว่า การกระทำอย่างนั้น คำพูดอย่างนี้ เป็นการ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” จริงหรือไม่ มาตรฐานของการดำเนินคดี 112 ก็ยิ่งคลุมเครือขึ้นไปอีก

คำถามสุดท้ายคือ เมื่อคดีอากงสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลย ผลสะเทือนที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่อะไร

1.อยู่เฉยๆ ไม่เห็นเป็นไร สื่อทั่วโลกก็ตีข่าวไป สื่อไทยไม่ได้สนใจลงข่าว ใครวิพากษ์วิจารณ์ในเฟซบุคก็ Let It Be (ปากไม่ดีก็เล่นงานอีก)

2.ผู้จงรักภักดีที่มองการณ์ไกล ออกมาเป็นตัวกลางเสนอให้แก้ไขปัญหาบางประการ เช่น แก้ไขกฎหมายที่ไม่ใช่แก้ตามข้อเสนอนิติราษฎร์ แต่แก้เพื่อลดข้อวิพากษ์วิจารณ์ลงระดับหนึ่ง สมมติเช่น ลดโทษจำคุกเหลือไม่เกิน 7 ปี (เหมือนก่อน 6 ตุลาคม 2519) และให้มีหน่วยงานกลางวินิจฉัยการแจ้งความกล่าวโทษก่อนดำเนินคดี นอกจากนี้ อาจรวมถึงเร่งรัดให้มีการประกันตัว หรือเร่งกระบวนการขอพระราชทานอภัยโทษสำหรับผู้ที่คดีถึงที่สุดแล้ว

ข้อสองเป็นการมองโลกในแง่ดีสุดๆ คือถึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาในเชิงหลักการ แต่ถ้ามันสามารถประนีประนอมไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในระยะเฉพาะหน้า ผมก็ยอมรับได้ กลัวแต่จะเป็นข้อหนึ่งสิครับ นี่คือเรื่องที่ต้อง “วัดใจ” กัน และต้องวัดพลังว่าพวกผู้จงรักภักดีที่คิดสั้น กับผู้จงรักภักดีที่มองการณ์ไกล อย่างอานันท์ ปันยารชุน หรือราชนิกูลที่เคยเสนอแก้ 112 ใครจะมีพลังผลักดันมากกว่า

สิ่งที่น่ากลัวคือกลัวจะเป็นอย่างที่ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิเคราะห์ไว้ในบทความเรื่อง “สัมพันธภาพเชิงอำนาจ กับความรุนแรง” ว่าพวก “สถาบันเชิงเครือข่าย” ยอมรับไม่ได้กับข้อเสนอของนิติราษฎร์ ไม่ใช่เพราะตัวเนื้อหา “คณะนิติราษฎร์เสนออะไรก็ไม่สำคัญ แต่ท่าทีของคณะนิติราษฎร์ที่กล้าเสนอต่างหากที่สำคัญกว่า”

พูดง่ายๆ คือพวกอนุรักษ์นิยมสุดขั้วมักคิดว่า “ถ้าไม่เรียกร้อง ก็อาจให้ด้วยความกรุณา เหมือนหยาดฝนหลั่งมาเอง แต่ถ้ามาเรียกร้อง แล้วยอมให้ ก็แปลว่ายอมแพ้แรงกดดัน ฉะนั้นยอมไม่ได้”

ถ้าคิดแบบนี้ก็จะหลีกเลี่ยงแรงกดดันไม่พ้น มีแต่จะถาโถมหนักหน่วงขึ้นทุกที

                                                                                     ใบตองแห้ง
                                                                                       9 พ.ค.55

 

ป.ล.ที่จริงคดีกำนันเป๊าะเป็นคดีพิสดาร เพราะถึงที่สุดแล้วไม่สามารถหาตัวได้ว่าใครเป็นมือปืนฆ่ากำนันยูร แต่มีมือปืนอีกทีม แอ่นอกมารับสารภาพกับตำรวจ ว่ากำนันเป๊าะ กับ สท.เหี่ยว จ้างวานฆ่ากำนันยูร แต่วางแผนฆ่าตั้ง 4 ครั้งไม่สำเร็จ รวมทั้งที่งานแต่งงานซึ่งกำนันยูรถูกฆ่าจริง ก็วางแผนไว้แต่แผนรั่วกำนันเป๊าะสั่งระงับ

ศาลชี้ว่าแม้ความผิดยังไม่เกิด แต่จำเลยก็มีความผิดฐานจ้างวาน ส่วนที่จำเลยอ้างว่า หัวหน้าพนักงานสอบสวนคือ พล.ต.ต.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รอง ผบช.ก.(ยศตำแหน่งขณะนั้น) ให้ตำรวจกองปราบอุ้มพยาน (มือปืนที่ไม่ได้ยิงปืน) ไปซ้อมเพื่อให้ปรักปรำโดยหวังเลื่อนตำแหน่งนั้น ศาลเห็นว่าฟังไม่ขึ้น

ส่วนคดีวัฒนา “เจ้าพ่อปากน้ำ” เคยร่วมกับ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย, พินิจ จารุสมบัติ, พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก และไพโรจน์ สุวรรณฉวี ตั้งพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่ "ชนชั้นนำ" ฝากความหวังว่าจะช่วยหยุดทักษิณและพรรคพลังประชาชนในภาคกลางและภาคอีสาน แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ จำต้องกลับลำร่วมรัฐบาล กระนั้น ระหว่างพิจารณาคดี มั่น พัธโนทัย รมว.ไอซีที (ในรัฐบาลสมัคร) ก็ให้การต่อศาลเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ว่าวัฒนาถูกทักษิณใช้อำนาจทางการเมืองกลั่นแกล้ง เช่นเดียวกับกำนันเซี๊ยะ (ประชา โพธิพิพิธ) และกำนันเป๊าะ เพื่อบีบให้รวมกับพรรคไทยรักไทย แต่ศาลชี้ว่า “แม้อาจมีมูลความจริงอยู่บ้าง แต่เหตุดังกล่าวก็เกิดจากที่จำเลยมีจุดอ่อนให้การเมืองเข้ามาสอดแทรกได้ ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มสตรีลาหู่เผยเหมืองแพลตทินัมก่อผลกระทบชุมชน-สิ่งแวดล้อม จี้ รบ.พม่ายุติ

Posted: 09 May 2012 05:58 AM PDT

องค์กรสตรีลาหู่ (LWO) เปิดตัวรายงานผลกระทบการทำเหมืองทองคำขาวของบริษัทพม่าในภาคตะวันออกรัฐฉาน เผย ชาวบ้านในพื้นที่รวมถึงที่ดินทำกินและผืนป่ากำลังถูกคุกคามอย่างหนัก จี้รัฐบาลสั่งยุติโครงการ

วันนี้ (8 พ.ค. 55) องค์กรสตรีลาหู่ (Lahu Woman’s Organization) จัดพิธีแถลงเปิดตัวรายงานผลกระทบจากการทำเหมืองทองคำขาว (Platinum) ของบริษัทพม่า ในพื้นที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉานภาคตะวันออก ในชื่อ "การแย่งชิงทองคำขาว" พร้อมแถลงต่อสื่อมวลชนถึงผลกระทบวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งแม่น้ำ ผืนป่า รวมถึงการเริ่มเกิดการค้าทางเพศ จากเหตุมีแรงงานชายเข้าไปขายแรงงานจำนวนมาก

ทั้งนี้ ข้อมูลรายงานซึ่งเพิ่งจัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า การขุดเหมืองทองคำขาวของบริษัทเหมืองพม่า ซึ่งมีทั้งหมด 5 บริษัท ในพื้นที่ใกล้กับหมู่บ้านอะเย หมู่บ้านชาวอาข่า อยู่ห่างจากตัวจังหวัดท่าขี้เหล็ก (ตรงข้ามอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) ไปทางเหนือประมาณ 13 กม. กำลังส่งผลกระทบชุมชนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง มีชาวบ้านกว่า 2,000 คน จาก 393 ครอบครัว ใน 8 หมู่บ้าน ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่โครงการขุดเหมือง ทั้งหมู่บ้านชาวลาหู่ อาข่า และไทใหญ่ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก

โดยบริษัทเหมืองของพม่ามีการบังคับซื้อเอาที่ดินชาวบ้านในราคาที่ถูก และมีที่ดินทำกินของชาวบ้านบางส่วนถูกยึดโดยที่ไม่มีการจ่ายค่าชดเชย โดยที่ดินทำกินของชาวบ้านและพื้นที่ป่ารวมเนื้อที่หลายร้อยเอเคอร์ ได้ถูกทำลายเสียหายจากการขุดเหมือง ขณะที่ถนนหนทางในพื้นที่ก็ได้รับความเสียหายจากการวิ่งบ่อยของรถบรรทุกหนัก ส่วนทองคำขาวที่บริษัทของพม่าขุดได้จากพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกส่งขายออกไปยังจีนและไทย

นางนาเวโบ สมาชิกองค์กรสตรีลาหู่ (LWO) หนึ่งในผู้สำรวจเก็บข้อมูลรายงาน  กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านในพื้นที่กำลังได้รับผลกระทบจากโครงการทำเหมืองดังกล่าวอย่างกว้างขวาง ทั้งผลกระทบจากมลพิษ และน้ำในลำน้ำที่เคยใช้ในชีวิตประจำวันก็เสียใช้การไม่ได้ ขณะที่ที่ดินทำกินตลอดจนภูเขาและผืนป่าในพื้นที่ กำลังถูกทำลายเสียหายจากการขุดเหมือง

"ชาวบ้านโดยเฉพาะหญิงแม่บ้านกำลังได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า เพราะแม่น้ำที่เคยใช้ในชีวิตประจำวันถูกเปลี่ยนทิศทางไหล และน้ำในแม่น้ำเสียใช้การไม่ได้  พวกเขาต้องเดินทางไกลเพื่อไปตักน้ำมาใช้ในครัวเรือน และจากเหตุที่มีผู้ชายหลั่งไหลเข้าไปขายแรงงานในการทำเหมือง ทำให้ในพื้นที่เริ่มมีการค้าทางเพศมากขึ้น" นางนาเวโบ กล่าว

นางนาเวโบ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่เคยร้องเรียนไปยังเจ้าหน้าที่พม่าในท้องที่หลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทำเป็นเหมือนไม่รู้ไม่เห็น ไม่ได้ยินเสียงเรียกร้องของชาวบ้าน หากจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่พม่าแล้ว บริษัททำเหมืองอยากจะทำอะไรก็ได้หมด แสดงให้เห็นว่า ในพม่ายังมีการปกครองด้วยระบอบอาวุธเป็นใหญ่อยู่

การสำรวจขุดเหมืองทองคำขาว หรือ แพลตทินัม ในพื้นที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก โดยบริษัทพม่าซึ่งได้รับสัมปทานจากทางการ ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 มีบริษัทเหมืองของพม่า 5 บริษัท เข้าไปดำเนินการ บริษัท Sai Laung Hein Company เป็นบริษัทใหญ่และได้รับการสัมปทานพื้นที่ขุดมากที่สุด โดยบริษัทนี้ทำการขุดและขนออกแร่ทองคำขาวไม่ต่ำกว่า 5 พันตันต่อเดือน

ทั้งนี้ องค์กรสตรีลาหู่ (WLO) ได้เรียกร้องรัฐบาลพม่าสั่งยุติโครงการในทันที โดยให้เหตุผลว่าโครงการเหมืองไม่ได้ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ แต่หากเป็นการสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านและทำลายธรรมชาติของป่าเท่านั้น โดยองค์กรเตรียมส่งเรื่องนี้ร้องเรียนไปยังสภารัฐบาลพม่า เพื่อให้มีการตรวจสอบและสั่งยุติโครงการดังกล่าวด้วย

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/ 


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาพันธ์สิทธิสากล-กรรมการสิทธิเอเชียร้องการชันสูตรศพ “อากง” ต้องโปร่งใส

Posted: 09 May 2012 05:28 AM PDT

สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากลและสมาคมสิทธิเสรีภาพไทย เรียกร้องทำการชันสูตรศพ “อากง” อย่างอิสระ พร้อมเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อความโปร่งใส ในขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชียชี้ไทยต้องยกเลิกมาตรา 112

9 พ.ค. 55 - สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (The International Federation for Human Rights –FIDH) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับสมาคมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (Union for Civil Liberty- UCL) ออกแถลงการณ์กรณีการเสียชีวิตของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ “อากง” ผู้ต้องขังคดีหมิ่นที่เสียชีวิตเมื่อเช้าวานนี้ (8 พ.ค.) ในเรือนจำ เนื่องจากอาการเจ็บปวดในช่องท้อง โดยเรียกร้องให้ทำการชันสูตรศพของนายอำพลอย่างเป็นอิสระ พร้อมทั้งเปิดเผยผลการตรวจสอบ พร้อมชี้ว่า สภาพเรือนจำไทยต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำสากลที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้อย่างมาก

สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล ระบุว่า การจำคุกของนักโทษที่มีอายุมากและมีสุขภาพที่ย่ำแย่ในเรือนจำของไทย เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังชี้ด้วยว่า การรักษาพยาบาลในเรือนจำของไทยมักเป็นไปอย่างจำกัด (primitive)

“การเสียชีวิตของนายอำพลเป็นเครื่องเตือนใจแก่ทางการไทย ถึงผลกระทบที่น่าเศร้าและโหดร้ายของการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงการปฏิเสธการให้ประกันอย่างเป็นระบบ” Souhayr Belhassen ประธานองค์กร FIDH กล่าว “รัฐบาลไทยควรให้ความสนใจแก่การเรียกร้องที่มากขึ้นของประชาชนไทยและประชาคมนานาชาติ เพื่อการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล หรือยกเลิกไป”

ที่มา: เว็บไซต์ FIDH

ทั้งนี้ อำพล เสียชีวิตเมื่อวันอังคารเช้าที่ผ่านมา โดยยังไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่นอน แต่ผลจากการชันสูตรศพวันนี้เปิดเผยว่า เขาน่าจะเสียชีวิตจากมะเร็งที่ตับระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ได้มีการนำอาหารในกระเพาะ เลือด และน้ำในช่องท้องไปตรวจว่ามีสารพิษอยู่หรือไม่ คาดว่าน่าจะใช้เวลาอีก 7 วันจึงทราบผลการตรวจ

ย้ำกฎหมายหมิ่นละเมิดเสรีภาพและประชาธิปไตย

นอกจากนี้ สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากลยังกล่าวถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วยว่า ไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งระบุให้รัฐต้องคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก 

“การไม่สนใจปัญหาของการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะเพียงแต่ทำให้ความรู้สึกอยุติธรรมในหมู่ประชาชนทั่วประเทศรุนแรงมากยิ่งขึ้น” แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนระบุในแถลงการณ์ “ในฐานะสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชน (แห่งสหประชาชาติ) มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ที่ไทยจะอนุญาตให้การแสดงออกอย่างเสรีเป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดยไม่ใส่ใจต่อหลักนิติรัฐและประชาธิปไตย”

ในขณะที่วันเดียวกัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียได้ออกแถลงการณ์ในกรณีการเสียชีวิตของนายอำพลเช่นเดียวกัน โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยต้องทำให้แน่ใจว่า การชันสูตรพลิกศพจะเป็นไปอย่างโปร่งใส นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับระบบรักษาพยาบาลในเรือนจำอย่างเปิดเผยที่สุด โดยอ้างอิงกับมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง 

ทั้งนี้ กฎดังกล่าว ระบุตามมาตรา 22(2) ว่า ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยและจำเป็นต้องใข้การรักษาพิเศษ จำเป็นต้องย้ายเพื่อได้รับการรักษาในสถาบันเฉพาะด้านหรือโรงพยาบาลของพลเรือน และควรได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ในสถาบันที่เหมาะสม นอกจากนี้ ในมาตรา 25(5) ยังกำหนดให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต้องรายงานต่อผู้อำนวยการด้วย หากพบว่าสภาพทางร่างกายหรือสุขภาพจิตของผู้ต้องขังจะได้รับผลกระทบจากการคุมขัง

นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศฮ่องกง ยังเรียกร้องให้ทางการไทยยกเลิกการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และปล่อยตัวผู้ต้องหาและผู้ต้องขังทั้งหมดที่ถูกจับกุมในข้อหาดังกล่าว

ที่มา:  เว็บไซต์ AHRC

“ความตายของอำพล แสดงให้เห็นแล้วว่าราคาของความจงรักภักดีนั้นสูงเกินไป: ชายคนหนึ่งต้องจ่ายสำหรับข้อความเอสเอ็มเอสสี่ข้อความด้วยชีวิตของเขา และครอบครัวของเขา ก็ต้องจ่ายด้วยความสูญเสียของผู้เป็นสามี พ่อ และอากง” แถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิเอเชียระบุ  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชันสูตร 'อากง' มะเร็งตับระยะสุดท้าย รอผล 7 วันตรวจสารพิษ จี้ยกระดับคุณภาพคุก

Posted: 09 May 2012 03:19 AM PDT

 

9 พ.ค.55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่โรงพยาบาลตำรวจ มีการผ่าพิสูจน์ศพนายอำพล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ ที่เพิ่งเสียชีวิตวานนี้ (8 พ.ค.) โดยมีฝ่ายต่างๆ ตามกฎหมาย รวมถึงมีนายแพท์ภายนอกเข้าร่วมสังเกตการณ์ 3 คน ได้แก่ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล และนพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต

พ.ต.อ.สุพล จงพาณิชย์กุลธร นพ.(สบ5) ในฐานะโฆษก รพ.ตำรวจ เปิดเผยผลการชันสูตรศพว่า ผู้เสียชีวิตเป็นมะเร็งที่ตับ และกระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้มีภาวะการหายใจที่ล้มเหลว อย่างไรก็ตาม หลังการผ่าชันสูตรศพ ต้องรอผลการตรวจชิ้นเนื้อประกอบด้วย

ด้านนพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ระบุว่า ที่พบมีปัญหาคือช่องท้องมีเนื้องอกบริเวณตับด้านซ้ายและลุกลามไปในช่องท้อง ลำไส้ แล้วก็มีน้ำในช่องท้องจำนวนมาก มีสองตายนิดหน่อย คาดว่าน่าจะเสียชีวิตเพราะมะเร็งระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตาม มีการนำอาหารในกระเพาะ เลือด น้ำในช่องท้องไปตรวจว่ามีสารพิษไหม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 7 วันจึงจะทราบผล

นพ.เชิดชัยตอบคำถามนักข่าวว่า ดูลักษณะแล้วน่าจะเป็นมะเร็งอยู่นานพอสมควร คุณหมอที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์น่าจะเอาไปตรวจ ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรังและลุกลาม อันนี้เป็นเรื่องของมนุษยธรรมนักโทษก็เป็นมนุษย์ควรได้รับการดูแลที่ดี ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยก็พยายามพูดถึงเรื่องนี้ในการประชุมพรรคทุกรอบ โดยพยายามเอาข้อเสนอของ คอป. เป็นจุดเริ่ม เช่น ย้ายผู้ต้องขังไปโรงเรียนตำรวจ แต่นักโทษคดีมาตรา 112 เป็นคนละเรื่องกัน กับอีกส่วนคือคดีที่ศาลพิพากษาไปแล้วซึ่งฝ่ายการเมืองไปยุ่งไม่ได้

นพ.ชิดชัยยังตอบคำถามอีกว่า เรื่องนี้น่าจะเป็นความบกพร่องในระบบทำงานมากกว่า หมอต้องทำตามหลักวิชาการ ถ้าไม่มีเครื่องมือต้องส่งไปรักษาข้างนอก ส่วนหากกลัวว่าผู้ต้องขังจะหลบหนีก็สามารถให้เจ้าหน้าที่ดูแลควบคุมได้ ส่วนการนอนโรงพยาบาลรอ 3 วันก่อนจะได้ตรวจนั้นไม่สมควรแน่

“ต้องแยกให้ออกระหว่างมนุษยธรรมกับเรื่องคดี ถ้าคนไข้ได้รับการตรวจและรู้ว่าเป็นมะเร็งควรให้ประกันมารักษาข้างนอก” นพ.เชิดชัยกล่าว

นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ดูจากสภาพตับแบบนี้เชื่อว่าเป็นมะเร็งมาไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป ดังนั้นสะท้อนว่า ระบบการรักษา การประเมินคนไข้ของกรมราชทัณฑ์มีปัญหา นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อคนไข้ใกล้จะเสียชีวิต โดยปกติเราต้องมีการปั้มหัวใจหรือใช้วิธีการต่างๆ เพื่อกู้ชีวิตคืนอย่างหนักหน่วง แต่เท่าที่ดูไม่เห็นร่องรอยการช่วยเหลือคนไข้อย่างหนักหน่วง

ด้านนพ.กิตติภูมิ ให้ความเห็นในภายหลังว่าระบุว่า น่าจะเสียชีวิตจากมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ช่องปากที่เคยเป็นมะเร็ง มีแผลที่เคยผ่าตัด ไม่มีต่อมน้ำเหลืองโต แสดงว่ารักษาหาย ส่วนร่องรอยสมองฝ่อนั้นเป็นเรื่องปกติของวัยชราซึ่งน่าจะเป็นผลต่อการเบิกความต่อศาลว่าจำไม่ได้ว่านำโทรศัพท์มือถือไปซ่อมที่ร้านในที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว

นอกจากนี้ นพ.กิตติภูมิ ยังระบุด้วยว่า ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายน่าจะมีโอกาสได้ประกันตัวมารักษาตัวภายนอกเรือนจำ และใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตกับครอบครัว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การปิดอภิมหาห้องสมุด e-books "Gigapedia": ปฐมบทสงครามลิขสิทธิ์สิ่งพิมพ์ยุคดิจิตัล

Posted: 09 May 2012 02:46 AM PDT

การควบคุมการเผยแพร่ความรู้เป็นสิ่งที่อำนาจให้ความสนใจมาช้านาน หลังการปฏิวัติการพิมพ์ในสังคมศักดินายุโรปส่วนใหญ่การจะตีพิมพ์สิ่งใดในรัฐหนึ่งๆ ก็จะต้องผ่านการอนุมัติจากทางราชสำนักก่อนเสมอ ราชสำนักที่ครองอำนาจอยู่จะต้องควบคุมความรู้ (หรือให้ตรงกว่านั้นก็คือความคิดที่อันตราย) ให้ได้ มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้แต่นอนว่าถึงที่สุดราชสำนักยุโรปก็ไม่สามารถทัดทานการเผยแพร่ความคิดใหม่ๆ จากสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยมและสภาวะสมัยใหม่ได้และก็ต้องผ่านการปฏิวัติและปฏิรูปกันไป นี่ทำให้สิ่งพิมพ์เป็นอิสระจากราชสำนักแต่มาตกอยู่ใต้การกำกับของทุนนิยมแทน นี่คือยุคที่ราวกับว่าจะมีเสรีภาพในการเผยแพร่ความรู้ที่เรารู้จักกันในศตวรรษที่ 19 และ 20

แต่ความรู้ที่เผยแพร่ได้อย่างเป็นเสรีในยุคนี้แท้จริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าการที่ผู้คนจะสามารถตีพิมพ์อะไรก็ได้ออกมาในท้องตลาดโดยไม่ละเมิดผู้อื่น กล่าวคือเพดานของเสรีภาพของความรู้คือเสรีภาพในการไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น เราจะเห็นได้กว่าเงื่อนไขของเสรีภาพในการเผยแพร่ความรู้ในปัจจุบันถูกผูกติดกับแนวคิดการผูกขาดการเผยแพร่ความรู้ที่เรียกว่า “ลิขสิทธิ์” อันเป็นสิทธิของเจ้าของความรู้ในการจัดการผู้ละเมิดการผูกขาดความรู้และมันก็ดำรงอยู่ได้อย่างราบรื่นตราบที่ไม่มีผู้ใดลุกขึ้นมาท้าทายมัน

เสรีภาพในทางพิมพ์ดำรงอยู่ในระบบทุนนิยมคู่กับอุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างค่อนข้างราบรื่นในศตวรรษที่ 20 เพราะมันเอื้อหนุนกันและกัน กล่าวคือตราบที่ทุนนิยมยังขูดรีดและหากำไรจากการใช้เสรีภาพของผู้คนได้ทุนนิยมก็จะไม่มีปัญหาอะไรกับเสรีภาพเหล่านั้น อย่างไรก็ดีในศตวรรษที่ 21 ในยุคอินเตอร์เน็ตที่สิ่งพิมพ์สามารถถูกเผยแพร่ได้ด้วยต้นทุนต่ำในแบบดิจิตัล ทุนนิยมก็เริ่มจะไม่สามารถหาผลกำไรจากการใช้เสรีภาพในการเผยแพร่ความรู้อย่างไร้ขีดจำกัดของผู้คนอีกต่อไป และปัญหาจึงบังเกิด

นักอ่านหลายๆ คงเคยได้ยินชื่อเว็บไซต์ www.gigapedia.com หรือที่รู้จักกันในนาม Gigapedia มาบ้างและหลายๆ คนก็คงเคยเข้าไปแวะเวียนในเว็บไซต์นี้มาบ้าง ก่อนที่มันจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น library.nu และปิดตัวลงไปในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ผ่านมาในที่สุด ถ้าจะกล่าวแนะนำอย่างสั้นๆ แล้ว เว็บไซต์นี้น่าจะเป็นห้องสมุดออนไลน์ที่คนสามารถดาวน์โหลดหนังสืดได้โดยเสรีที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นมา หรือให้ตรงกว่านั้นมันก็คือแหล่งรวมลิงค์โหลดหนังสือที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา (เพราะทางเว็บไซต์ไม่ได้โฮสต์หนังสือแม้แต่เล่มเดียว) งานส่วนใหญ่ที่เว็บไซต์นำเสนอลิงค์จะเป็นหนังสือวิชาการจากโลกภาษาอังกฤษจากสารพัดสาขาวิชา แต่ลิงค์หนังสือประเภทอื่นๆ ก็ปรากฏในเว็บไซต์เช่นกัน อาทิ วรรณกรรมคลาสสิก นวนิยายร่วมสมัย หนังสือชีวประวัติ หนังสือคู่มือต่างๆ ไปจนถึงนิตยสารปลุกใจเสือป่า และสิ่งที่น่าทึ่งของเว็บไซต์ก็คือปริมาณลิงก์หนังสือที่ทางเว็บไซต์นำเสนออันมีมหาศาลมาก แทบจะเรียกได้ว่านักอ่านแทบทุกคนที่เข้าไปท้าทายความหลากหลายของหนังสือในเว็ปไซต์นี้ด้วยการไปค้นหนังสือแปลกๆ ดูว่าจะเจอหรือไม่ก็มักจะไปจบกับการติดพันนั่งโหลดหนังสือจากทางเว็บไซต์เป็นเวลาหลายชั่วโมง ก่อนที่จะไปแนะนำเพื่อนนักอ่านคนอื่นๆ ให้เข้าไปใช้เว็บไซต์นี้อีกทอดหนึ่ง

ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า Gigapedia ได้ปรากฏขึ้นในโลกออนไลน์เมื่อใด แต่มันก็น่าจะปรากฏมาอย่างต่ำๆ ตั้งแต่ราวๆ กลางปี 2009 แล้ว [1] ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นที่อยู่มาเป็น ebooksclub.org และมาจบลงที่ library.nu ไม่มีการประเมินชัดเจนว่าในช่วงเวลาที่ทางเว็บปิดตัวลงทางเว็บมีลิงค์ไปสู่หนังสือทั้งหมดที่เล่ม แต่เบื้องต้นแล้วก็มีรายงานมาว่าทางเว็บน่าจะมีหนังสืออยู่ทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 400,000 เล่ม

การที่เว็บปิดตัวลงไปเฉยๆ ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์สร้างความประหลาดใจให้กับนักโหลดหนังสือบรรดาขาประจำของเว็บจากทั่วโลกมาก เท่าที่ผู้เขียนได้ยินก็มีความเชื่อต่างๆ นาๆ ว่าทางเว็บน่าจะถูกปิดโดยสหรัฐและการปิดนี้ก็น่าจะเกี่ยวข้องกับกฎหมาย SOPA และ PIPA ที่ผ่านสภาคองเกรสมา [2] ข้อเท็จจริงคือ ทางเว็บได้ปิดตัวลงไปเอง ภายหลังจากที่ทางเจ้าของเว็บไซต์ที่อยู่ในไอร์แลนด์ได้รับหมายฟ้องจากทางศาลเยอรมัน

การฟ้องเป็นผลผลิตของการสืบสวนกว่า 7 เดือนโดยสำนักพิมพ์ 17 สำนักพิมพ์ทั้งฝั่งยุโรปและอเมริการ่วมกันฟ้อง Library.nu และเว็บฝากไฟล์ ifile.it (โปรดอ่านต่อไป) โดยการฟ้องเกิดขึ้นในเยอรมันผ่านสำนักกฎหมายในเยอรมัน [3] กระบวนการสืบสวนกินเวลานานมากเพราะในตอนแรกทางฝั่งสำนักพิมพ์ได้พยายามหาที่ตั้งของเว็บ Library.nu แต่ในที่สุดก็พบว่าเว็บนี้ได้รับการโฮสต์ในยูเครน แต่ชื่อเว็บกลับได้รับการจดทะเบียนบนเกาะเล็กๆ ในแปซิฟิกนามว่าเกาะนูเว (Niue) การสืบสวนหาเจ้าของเว็บ Library.nu ยังไม่จบลงง่ายๆ แบบนี้ เพราะทางฝั่งสำนักพิมพ์ได้เห็นว่าหนังสือทุกเล่มใน library.nu นั้นได้รับการโฮสต์ที่เว็บ ifile.it [4] และจากการสืบสวนเบื้องต้นก็พบว่า ifile.it เป็นเว็บที่โฮสต์ในไอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศเดียวกับที่ทางสำนักพิมพ์ได้สืบมาว่าเป็นต้นสังกัดของ library.nu ทางสำนักพิมพ์จึงได้ว่าจ้างนักสืบอิสระในไอร์แลนด์ให้ทำการสืบสวนต่อทันทีถึงเจ้าของเว็บ ทางนักสืบในไอร์แลน์ก็สืบสวนไปจนได้รายชื่อของเจ้าของเว็บ ifile.it มาและพบว่าที่อยู่ของทั้ง library.nu และ ifile.it ล้วนอยู่ใกล้ๆ กันในเมืองกาลเวย์ อย่างไรก็ดี นักสืบก็ยังไม่สามารถหาความเชื่อมโยงกันของ library.nu และ ifile.it ที่จะใช้เป็นหลักฐานได้

จุดสิ้นสุดของการสืบสวนอยู่ตรงทางฝ่ายสำนักพิมพ์พบว่าการจ่ายเงินบริจาคให้กับเว็บไซต์ library.nu ทาง Paypal จะมีใบเสร็จระบุชื่อผู้รับเงินมาด้วย และก็ปรากฏว่าผู้รับเงินการบริจาคของ library.nu เป็นคนเดียวกับเจ้าของและผู้อำนวยการของ ifile.it นี่ทำให้หลักฐานในการฟ้องครบถ้วนและสำนักพิมพ์ทั้งหมด 17 สำนักพิมพ์ก็ร่วมกันฟ้องเจ้าของเว็บ library.nu และ ifile.it พร้อมๆ กันในการละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือของสำนักพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์หนึ่งก็ฟ้องการละเมิดหนังสือของตน 10 เล่ม ซึ่งโทษของการมีลิงค์ที่นำไปสู่ไฟล์หนังสือละเมิดลิขสิทธิ์หนึ่งเล่มนั้นก็เป็นค่าปรับจำนวน 250,000 ยูโรและโทษจำคุก 6 เดือน ต่อ 1 เล่ม [5] ทำให้ยอดค่าปรับรวมสำหรับการละเมิดทั้งหมดสูงกว่า 170 ล้านยูโร และเมื่อหมายศาลจากเยอรมันส่งไปถึงไอร์แลนด์ ตำนานของห้องสมุดออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดก็ปิดฉากลงด้วยน้ำมือของเจ้าของห้องสมุดแห่งนี้เอง ...และก็แทบไม่มีใครได้ยินอะไรจาก Library.nu อีก [6]

มีการกล่าวว่าผู้ที่เดือดร้อนจากการปิดตัวของ Library.nu จากทั่วโลกในระดับที่กล่าวว่าคนเหล่านี้คือ “99 เปอร์เซ็น” [7] (แน่นอนว่าเป็นการกล่าวเพื่อล้อกับขบวนการ Occupy) คนเหล่านี้คือบรรดาชนชั้นกลางในโลกที่รักการเรียนรู้และไม่มีเงินมากนัก พวกเขาอาจเป็นตั้งแต่นักวิชาการโลกที่สามไปจนถึงนักศึกษาและผู้ต้องการพัฒนาความรู้ของตนเองในโลกที่หนึ่ง อย่างไรก็ดีไม่ว่าพวกเขาจะไม่พอใจแค่ไหนพวกเขาก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก อย่างน้อยๆ ที่สุดกระแส “อคาเดมิคสปริง” ที่นักวิชาการพร้อมใจกันต่อต้านการขูดรีดของพวกสำนักพิมพ์ก็ดูจะไม่ได้เชื่อมโยงกับบรรดาผู้ไม่พอใจในการปิด Library.nu มากนัก แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเหมือนปฐมบทของสงครามลิขสิทธิ์ล่าสุดของโลกหนังสือที่คงจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ในยุคที่ทั้ง e-books และ e-readers ต่างๆ เริ่มเข้ามาแทนที่หนังสือเล่มแบบดั้งเดิม

 

อ้างอิง:

  1. ดู http://vikas-gupta.in/2009/08/10/gigapedia-the-greatest-largest-and-the-best-website-for-downloading-free-e-books/
  2. ซึ่งจริงๆ กฎหมายทั้งสองฉบับก็ยังไม่ผ่านสภาแต่อย่างใด และก็ถูกแขวนการพิจารณาไว้อย่างไม่มีกำหนดทั้งคู่
  3. รายชื่อสำนักพิมพ์ที่ร่วมกันฟ้อง (ในข่าวบอกว่า 17 สำนักพิมพ์ แต่ผู้เขียนนับรายชื่อได้เพียง 16)
    ได้แก่
    1. Cengage Learning
    2. Elsevier
    3. HarperCollins
    4. John Wiley & Sons
    5. The McGraw-Hill Companies
    6. Oxford University Press
    7. Pearson Education Inc.
    8. Cambridge University Press
    9. Georg Thieme
    10. Hogrefe
    11. Macmillan
    12. Pearson Education Ltd
    13. Springer
    14. Taylor & Francis
    15. C.H. Beck
    16. De Gruyter.

    ผู้สนันสนุนการฟ้องก็ได้แก่

    1. the Nederlands Uitgeversverbond NUV
    2. Associazione Italiana Editori
    3. the International Association of Scientific Technical and Medical Publishers (STM)

    ผู้ประสานงานการฟ้องได้แก่

    1. Börsenverein des Deutschen Buchhandels
    2. 2. the International Publishers Association

    ส่วนสำนักกฎหมายที่รับทำคดีมีนามว่า Lausen Rechtsanwälte ข้อมูลทั้งหมดจาก http://www.publishers.org/press/59/

  4. จริงๆ หนังสือใน library.nu ก็ได้รับการฝากไฟล์ไว้ในเว็บฝากไฟล์ชื่อดังอย่าง Mediafire, Megaupload และเว็บอื่นๆ ด้วย แต่เว็บเพียงเว็บเดียวที่หนังสือทุกเล่มต้องได้รับการฝากไว้คือ ifile.it
  5. ดู http://www.huffingtonpost.com/2012/02/15/librarynu-book-downloading-injunction_n_1280383.html
  6. ณ ปัจจุบันทางเว็บเพียงแจ้งว่าข้อมูลทั้งหมดได้ถูกลบไปแล้ว และ library.nu เก่าก็จบสิ้นไปแล้ว นอกจากนี้ขอให้ช่วยซื้อหนังสือผ่านทางเว็บเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางกฏหมายมหาศาลของทางเว็บ ดู http://library.nu/lnu.html
  7. ดู http://www.aljazeera.com/indepth/opinion/2012/02/2012227143813304790.html
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนนท.ชูกรณีอากงเรียกร้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์เรื่อง สิทธิประกันตัว แก้หรือยกเลิก112

Posted: 09 May 2012 01:58 AM PDT

9 พฤษภาคม 2555  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย( สนนท.)ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อกรณี อากงsms ผู้ต้องขังคดีส่งข้อความsmsที่ถูกระบุว่าละเมิดเบื้องสูง ที่ได้เสียชีวิตไปในเรือนจำพิเศษกรุงเทพภายหลังการขอยื่นประกันตัวโดยให้เหตุผลในเรื่องอายุและสุขภาพแต่ไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัวจากศาล

ในแถลงการณ์ สนนท.เรียกร้องต่อรัฐบาลให้ ลงมาความเป็นธรรมต่อคดีนักโทษทางการเมืองตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทุกกรณี ทั้งจากกระบวนการศาลยุติธรรม และการละเมิดสิทธิเสรีภาพ สิทธิการเป็นพลเมืองแห่งรัฐความอัปยศที่ถูกเป็นเหยื่อในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ให้สิทธิในการประกันตัว รวมถึงการแก้ไขหรือยกเลิก ม.112


..........................................................................................................................................

 

แถลงการณ์ ฉบับที่ ๓ แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตอากง

 

 
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ขอไว้อาลัยต่อการจากไปและและแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักต่อครอบครัวตั้งนพกุล หรือ อากง และไว้อาลัยต่อเสรีภาพในการประกันตัวของนักโทษทางการเมือง ในการถูกดำเนินคดีอันอัปยศแห่งระบบตุลาการไทย ผู้ตกเป็นเหยื่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกฎหมายอาญามาตรา 112ภายใต้ความไร้เสรีภาพแห่งอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ ภายใต้การสูญเสียหยดน้ำตาความหดหู่ไร้ซึ่งเสรีภาพในการได้รับสิทธิของผู้ต้องขัง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันตัว สิทธิในการเข้าถึงสาธารณสุข ฯลฯ ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้แรงกดทับของอำนาจเผด็จการในคราบบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทย นั้นแสดงออกซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากลโดยชัดเจน


การซ่อนเร้นความเคลือบเเคลงสงสัยต่อการจากไปของอากง  การกำราบให้ยอมสิโรราบต่ออำนาจเผด็จการนอกระบบโดยอำนาจตุลาการ ได้ส่งผลสั่นสะเทือนต่อทั้งความรู้สึก ต่อคำถามที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม อากง ผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นอาชญากรรมโดยแท้จริงใช่หรือไม่ กระบวนการการไต่สวนรองรับความเป็นพลเมืองในประเทศนี้เพียงแค่คดี การส่ง sms หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือเพราะเหยื่ออากง เข้าทางภาพมิติทางการเมืองใช่หรือไม่ เป็นอาวุธที่ให้ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ อากงถูกหยิบใช้  ขณะที่อารยประเทศกำลังจับตามองประเด็นการละเมิดสิทธิ การคุกคามจากอำนาจรัฐที่มีต่อเสรีภาพของประชาชน อากง ถูกเซ่นไหว้ด้วยความตายพร้อมกับเสรีภาพในการเรียกร้องต่อกระบวนการยุติธรรม ด้วยการคุกคามแห่งอำนาจรัฐ ด้วยกฎหมายที่ถูกตีตราแห่งอำนาจเผด็จการ การตอบคำถามต่อผู้สูญเสีย การได้รับความยุติธรรม การได้รับการรักษา การได้สิทธิในการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมเพียงพอหรือไม่ ขณะเดียวกันโทษอัตราสูงเยี่ยงคดีของ อากง  กับขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลกับถูกปล่อยตัว หรือ อากง ถูกคดี ม112 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระบวนการศาลยุติธรรมต้องมีข้อยกเว้น เลือกกระทำ เลือกปฏิบัติ ในการใช้อำนาจอธิปัตย์ทางตุลาการ


เราสหพันธ์นิศิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) ขอแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย และขอเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ ผู้ไม่มีอำนาจ ผู้กระหายในอำนาจ และผู้ไม่อยากจะมีอำนาจ ดังนี้


1.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศ โดย ฯพณฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงมาแก้ไขปัญหาให้ ความเป็นธรรมต่อคดีนักโทษทางการเมืองตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทุกกรณี ทั้งกระบวนการศาลยุติธรรม และการละเมิดสิทธิเสรีภาพ แห่งสิทธิการเป็นพลเมืองแห่งรัฐ จากความอัปยศที่ถูกเป็นเหยื่อในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

2.ขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว ผู้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางการเมือง ม.112 ให้ได้รับอิสรภาพ มีสิทธิในการต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม พร้อมทั้งการเยียวยาผู้ถูกผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง

3.ขอเรียกร้องให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา112 โดยเร็ว ซึ่งถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ทั้งที่มาแห่งบทบัญญัติอันไม่ชอบธรรมแห่งรัฐธรรมนูญเผด็จการ เพื่อมิให้ ผู้บริสุทธิ์ถูกกระทำโดยเครื่องมือแห่งอำนาจตุลาการของราชอาณาจักรไทย

ด้วยจิตคารวะ

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น