ประชาไท | Prachatai3.info |
- ผู้ประกอบการสื่อขยับตั้ง ‘สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์’ นิรันดร์ เยาวภาว์ นั่งนายกฯ
- โวยเวที “อีเอชไอเอ” เหมืองโปแตชอุดรฯ ระดมกำลัง ตร.-อส.ขวาง “ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ” เข้าร่วม
- โวยเวที “อีเอชไอเอ” เหมืองโปแตชอุดรฯ ระดมกำลัง ตร.กันชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ เข้าร่วม
- โวยเวที “อีเอชไอเอ” เหมืองโปแตชอุดรฯ ระดมกำลัง ตร.กันชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ เข้าร่วม
- ยูโร 2012: ว่าด้วยเกร็ดตัวเลขนอกเหนือเรื่องฟุตบอลของทั้ง 16 ทีม
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "นี่เหรอหู"
- คนโป่งอางเชียงดาวยื่นหนังสือถึงยิ่งลักษณ์ ‘หยุดสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง’
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: สองปี 19 พฤษภาคม 2553 ประชาชนต้องการอะไร?
- บรรยากาศการเลือกตั้ง ปธน. คนใหม่ของอียิปต์ คนใช้สิทธิบางตา
- เอ็นจีโอสวนกลับอิตาเลี่ยนไทย บี้ กพร.เข็นโปแตชเข้าโครงการรุนแรง
- สนนท. หนุนสมัชชาคนจนเจรจารัฐบาล-ยิ่งลักษณ์นั่งหัวโต๊ะ
- สมัชชาคนจนเก็บกระเป๋ากลับบ้าน รอเปิดเจรจาทางการ 22 มิ.ย.นี้
- โรงเรียนพ(ล)บค่ำ 4 : วิเคราะห์พายุ Social Network กับ บก.ลายจุด
- โสภณ พรโชคชัย: แนวทางการแก้ปัญหาแฟลตดินแดง
- "ธาริต" แย้มรัฐบาลมาร์คใช้ "ผังล้มเจ้า" ทำให้เกมโอเวอร์
ผู้ประกอบการสื่อขยับตั้ง ‘สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์’ นิรันดร์ เยาวภาว์ นั่งนายกฯ Posted: 25 May 2012 11:01 AM PDT
สืบเนื่องจากการที่ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตข่าวออนไลน์ที่มาจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ รวมทั้งจากสำนักข่าว และสื่อทีวี ได้รวมตัวประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันจัดตั้ง “ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์” เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และความรู้ความเข้าใจด้านการนำเสนอข่าวออนไลน์ต่อสาธารณชน และเพื่อกำกับดูแลและส่งเสริมให้มีการนำเสนอข่าวสารที่ผลิตโดยสมาชิกชมรมฯ ไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย ล่าสุด สมาชิกของชมรมฯ ได้ยื่นขอจัดตั้งเป็น “สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์” ขึ้นมาแทน ซึ่งกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดตั้งสมาคมฯ เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตไปสู่สาธารณชนอย่างหลากหลาย และให้เข้าถึงข้อมูลได้กว้างขวาง และมีธรรมาภิบาล พร้อมทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการส่งเสริมเสรีภาพของสื่อบนอินเทอร์เน็ต และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ข่าวของสมาชิกสมาคมฯ สำหรับการยื่นการขอจดทะเบียน “สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์” มีนายชวรงค์ ลิมป์ปัทนปาณี เป็นนายกสมาคมฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 สมาชิกสมาคมฯ ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันในเรื่องกิจกรรมของสมาคมฯ โดยนายชวรงค์ได้ขอลาออกจากนายกสมาคมฯ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติให้นายนิรันดร์ เยาวภาว์ เป็นนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ แทน
ที่มา: ศูนย์ข่าว TCIJ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โวยเวที “อีเอชไอเอ” เหมืองโปแตชอุดรฯ ระดมกำลัง ตร.-อส.ขวาง “ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ” เข้าร่วม Posted: 25 May 2012 09:09 AM PDT กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีโวยถูกปิดกั้นไม่ให้ร่วมเวที “อีเอชไอเอ” โครงการเหมืองโปแตชอุดรฯ ตำรวจกว่า 200 นาย ตรึงกำลัง-ตั้งด่านสกัด ด้านเอ็นจีโอจวกผู้ว่าฯ เป็นประธานเปิดงาน จี้ กพร.แสดงความรับผิดชอบ 24 พ.ค.55 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 300 คน รวมตัวกันที่บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี เพื่อเดินทางไปเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ของโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ที่โรงแรมบ้านเชียง ซึ่งบริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ว่าจ้าง บริษัท ทีม คอลซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาและจัดเวที แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกลับถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าไปร่วมเวทีเพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานดังกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าเวลาประมาณ 07.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ได้สนธิกำลังกันจากหลายสถานีในจังหวัดอุดรฯ กระจายเฝ้าสังเกตการณ์การเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ นอกจากนี้ก็มีการตั้งด่านสกัดเป็นจุดๆ เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกบายพาสอุดรธานี ไปจนถึงบริเวณสนามทุ่งศรีเมือง ส่วนบริเวณโรงแรมบ้านเชียงซึ่งเป็นสถานที่ดำเนินการจัดประชุม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กมากันเป็นแนวปิดประตูทางเข้าออกของโรงแรม และภายในบริเวณโรงแรมยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ อส.ซึ่งฝ่ายปกครองจังหวัดอุดรฯ จัดเตรียมมา รวมจำนวนกว่า 200 นาย ตรึงกำลังทั่วโรงแรม ป้องกันไม่ให้ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ และคนภายนอกที่สนใจในเมืองเข้าไปเข้าร่วมเวที นอกจากสื่อมวลชนและชาวบ้านฝ่ายของบริษัท ทั้งนี้ มีชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีประมาณ 30 คน ได้ไปยืนถือป้ายคัดค้านการจัดเวทีที่ด้านหน้าโรงแรม และแบ่งกลุ่มกระจายกันออกทำการรณรงค์ให้ข้อมูล แจกเอกสารใบปลิวถึงความไม่ชอบธรรมและการกีดกันไม่ให้เข้าร่วมเวทีอีเอชไอเอในครั้งนี้ ไปตามบริเวณตลาดเทศบาลบ้านเชียง ตลาดบ้านห้วย และตลอดแนวสองฝั่งถนนโพธิ์ศรีจนถึงสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งได้รับความสนใจจาก พ่อค้าแม่ค้าในตลาด และคนในเมืองอุดรฯ ขณะเดียวกัน นายขวัญชัย ไพรพนา ได้นำสมาชิกชมรมคนรักอุดรจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยรถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงมาดักรอที่หน้าโรงแรม เพื่อเตรียมเผชิญหน้ากับกลุ่มอนุรักษ์ฯ นางมณี บุญรอด แกนนำชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวถึง ความตั้งใจของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ที่จะไปเข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ว่า ต้องการที่จะไปเสนอมุมมองความคิดเห็นของชาวบ้าน ที่ติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานีมาเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี และชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีเป็นผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โครงการฯ ก็ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และก็มีข้อเสนอแนะต่อโครงการฯ ด้วย แต่กลับถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายไม่ให้ชาวบ้านเข้าร่วม และยิ่งไปกว่านั้น นายขวัญชัย ไพรพนา ยังได้พากลุ่มชมรมคนรักอุดรฯ และรถเครื่องเสียงขนาดใหญ่ มาขัดขวางด้วย “ดิฉันจึงอยากจะตั้งคำถามถึงกลุ่มชมรมคนรักอุดรว่าที่ผ่านมาประกาศต่อสาธารณะว่าเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ในวันนี้กลับมีพฤติกรรมที่สวนทางกัน โดยมาปิดกั้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เพื่อมาแสดงความคิดเห็นต่อโครงการเหมืองโปแตช” นางมณีกล่าว ด้านนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน กล่าวว่า การจัดเวทีอีเอชไอเอ ของบริษัทในวันนี้ เป็นการแนะนำจาก กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. ให้ดำเนินการทำ แต่กลุ่มอนุรักษ์ฯ กลับถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการฯ ตามรัฐธรรมนูญ กพร.จึงสมควรที่จะออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ “ในส่วนของราชการจังหวัดอุดรธานีนั้น ก่อนหน้านี้ 2 วัน ชาวบ้านได้เข้าพบผู้ว่าฯ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อความไม่ชอบธรรมในการจัดเวทีมาแล้ว แต่ผู้ว่าฯ กลับไปปรากฏตัวเป็นประธานเปิดงาน ทั้งๆ ที่ผู้ว่าฯ ควรใช้สติปัญญาพิจารณาว่า ควรจะสนับสนุนเวทีลักษณะนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าต่อไปชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ จะดำเนินการจัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โปแตชฯ ผู้ว่าฯ ก็ต้องมาร่วมเช่นกัน” นายสุวิทย์ กล่าว นายสุวิทย์ กล่าวด้วยว่า การจัดเวทีของบริษัทเอพีพีซี ในวันนี้มีขึ้นเพื่อผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เพราะในความเป็นจริงนั้นโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ไม่เป็นโครงการรุนแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดให้ทำ อีเอชไอเอ จึงไม่จำเป็นต้องทำ อีเอชไอเอ เพื่อเสนอให้ คณะกรรมการองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมพิจารณา ที่ต้องทำคือ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอเพียงเท่านั้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โวยเวที “อีเอชไอเอ” เหมืองโปแตชอุดรฯ ระดมกำลัง ตร.กันชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ เข้าร่วม Posted: 25 May 2012 09:08 AM PDT กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีโวยถูกปิดกั้นไม่ให้ร่วมเวที “อีเอชไอเอ” โครงการเหมืองโปแตชอุดรฯ ตำรวจกว่า 200 นาย ตรึงกำลัง-ตั้งด่านสกัด ด้านเอ็นจีโอจวกผู้ว่าฯ เป็นประธานเปิดงาน จี้ กพร.แสดงความรับผิดชอบ 24 พ.ค.55 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 300 คน รวมตัวกันที่บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี เพื่อเดินทางไปเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ของโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ที่โรงแรมบ้านเชียง ซึ่งบริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ว่าจ้าง บริษัท ทีม คอลซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาและจัดเวที แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกลับถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าไปร่วมเวทีเพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานดังกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าเวลาประมาณ 07.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ได้สนธิกำลังกันจากหลายสถานีในจังหวัดอุดรฯ กระจายเฝ้าสังเกตการณ์การเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ นอกจากนี้ก็มีการตั้งด่านสกัดเป็นจุดๆ เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกบายพาสอุดรธานี ไปจนถึงบริเวณสนามทุ่งศรีเมือง ส่วนบริเวณโรงแรมบ้านเชียงซึ่งเป็นสถานที่ดำเนินการจัดประชุม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กมากันเป็นแนวปิดประตูทางเข้าออกของโรงแรม และภายในบริเวณโรงแรมยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ อส.ซึ่งฝ่ายปกครองจังหวัดอุดรฯ จัดเตรียมมา รวมจำนวนกว่า 200 นาย ตรึงกำลังทั่วโรงแรม ป้องกันไม่ให้ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ และคนภายนอกที่สนใจในเมืองเข้าไปเข้าร่วมเวที นอกจากสื่อมวลชนและชาวบ้านฝ่ายของบริษัท ทั้งนี้ มีชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีประมาณ 30 คน ได้ไปยืนถือป้ายคัดค้านการจัดเวทีที่ด้านหน้าโรงแรม และแบ่งกลุ่มกระจายกันออกทำการรณรงค์ให้ข้อมูล แจกเอกสารใบปลิวถึงความไม่ชอบธรรมและการกีดกันไม่ให้เข้าร่วมเวทีอีเอชไอเอในครั้งนี้ ไปตามบริเวณตลาดเทศบาลบ้านเชียง ตลาดบ้านห้วย และตลอดแนวสองฝั่งถนนโพธิ์ศรีจนถึงสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งได้รับความสนใจจาก พ่อค้าแม่ค้าในตลาด และคนในเมืองอุดรฯ ขณะเดียวกัน นายขวัญชัย ไพรพนา ได้นำสมาชิกชมรมคนรักอุดรจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยรถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงมาดักรอที่หน้าโรงแรม เพื่อเตรียมเผชิญหน้ากับกลุ่มอนุรักษ์ฯ นางมณี บุญรอด แกนนำชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวถึง ความตั้งใจของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ที่จะไปเข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ว่า ต้องการที่จะไปเสนอมุมมองความคิดเห็นของชาวบ้าน ที่ติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานีมาเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี และชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีเป็นผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โครงการฯ ก็ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และก็มีข้อเสนอแนะต่อโครงการฯ ด้วย แต่กลับถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายไม่ให้ชาวบ้านเข้าร่วม และยิ่งไปกว่านั้น นายขวัญชัย ไพรพนา ยังได้พากลุ่มชมรมคนรักอุดรฯ และรถเครื่องเสียงขนาดใหญ่ มาขัดขวางด้วย “ดิฉันจึงอยากจะตั้งคำถามถึงกลุ่มชมรมคนรักอุดรว่าที่ผ่านมาประกาศต่อสาธารณะว่าเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ในวันนี้กลับมีพฤติกรรมที่สวนทางกัน โดยมาปิดกั้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เพื่อมาแสดงความคิดเห็นต่อโครงการเหมืองโปแตช” นางมณีกล่าว ด้านนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน กล่าวว่า การจัดเวทีอีเอชไอเอ ของบริษัทในวันนี้ เป็นการแนะนำจาก กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. ให้ดำเนินการทำ แต่กลุ่มอนุรักษ์ฯ กลับถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการฯ ตามรัฐธรรมนูญ กพร.จึงสมควรที่จะออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ “ในส่วนของราชการจังหวัดอุดรธานีนั้น ก่อนหน้านี้ 2 วัน ชาวบ้านได้เข้าพบผู้ว่าฯ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อความไม่ชอบธรรมในการจัดเวทีมาแล้ว แต่ผู้ว่าฯ กลับไปปรากฏตัวเป็นประธานเปิดงาน ทั้งๆ ที่ผู้ว่าฯ ควรใช้สติปัญญาพิจารณาว่า ควรจะสนับสนุนเวทีลักษณะนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าต่อไปชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ จะดำเนินการจัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โปแตชฯ ผู้ว่าฯ ก็ต้องมาร่วมเช่นกัน” นายสุวิทย์ กล่าว นายสุวิทย์ กล่าวด้วยว่า การจัดเวทีของบริษัทเอพีพีซี ในวันนี้มีขึ้นเพื่อผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เพราะในความเป็นจริงนั้นโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ไม่เป็นโครงการรุนแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดให้ทำ อีเอชไอเอ จึงไม่จำเป็นต้องทำ อีเอชไอเอ เพื่อเสนอให้ คณะกรรมการองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมพิจารณา ที่ต้องทำคือ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอเพียงเท่านั้น | |
โวยเวที “อีเอชไอเอ” เหมืองโปแตชอุดรฯ ระดมกำลัง ตร.กันชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ เข้าร่วม Posted: 25 May 2012 08:57 AM PDT กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีโวยถูกปิดกั้นไม่ให้ร่วมเวที “อีเอชไอเอ” โครงการเหมืองโปแตชอุดรฯ ตำรวจกว่า 200 นาย ตรึงกำลัง-ตั้งด่านสกัด ด้านเอ็นจีโอจวกผู้ว่าฯ เป็นประธานเปิดงาน จี้ กพร.แสดงความรับผิดชอบ 24 พ.ค.55 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 300 คน รวมตัวกันที่บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี เพื่อเดินทางไปเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ของโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ที่โรงแรมบ้านเชียง ซึ่งบริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ว่าจ้าง บริษัท ทีม คอลซัลติ้ง เอนจีเนียริ่ง จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาและจัดเวที แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกลับถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าไปร่วมเวทีเพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานดังกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าเวลาประมาณ 07.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ได้สนธิกำลังกันจากหลายสถานีในจังหวัดอุดรฯ กระจายเฝ้าสังเกตการณ์การเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ นอกจากนี้ก็มีการตั้งด่านสกัดเป็นจุดๆ เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกบายพาสอุดรธานี ไปจนถึงบริเวณสนามทุ่งศรีเมือง ส่วนบริเวณโรงแรมบ้านเชียงซึ่งเป็นสถานที่ดำเนินการจัดประชุม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กมากันเป็นแนวปิดประตูทางเข้าออกของโรงแรม และภายในบริเวณโรงแรมยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ อส.ซึ่งฝ่ายปกครองจังหวัดอุดรฯ จัดเตรียมมา รวมจำนวนกว่า 200 นาย ตรึงกำลังทั่วโรงแรม ป้องกันไม่ให้ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ และคนภายนอกที่สนใจในเมืองเข้าไปเข้าร่วมเวที นอกจากสื่อมวลชนและชาวบ้านฝ่ายของบริษัท ทั้งนี้ มีชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีประมาณ 30 คน ได้ไปยืนถือป้ายคัดค้านการจัดเวทีที่ด้านหน้าโรงแรม และแบ่งกลุ่มกระจายกันออกทำการรณรงค์ให้ข้อมูล แจกเอกสารใบปลิวถึงความไม่ชอบธรรมและการกีดกันไม่ให้เข้าร่วมเวทีอีเอชไอเอในครั้งนี้ ไปตามบริเวณตลาดเทศบาลบ้านเชียง ตลาดบ้านห้วย และตลอดแนวสองฝั่งถนนโพธิ์ศรีจนถึงสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งได้รับความสนใจจาก พ่อค้าแม่ค้าในตลาด และคนในเมืองอุดรฯ ขณะเดียวกัน นายขวัญชัย ไพรพนา ได้นำสมาชิกชมรมคนรักอุดรจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยรถบรรทุก 6 ล้อติดเครื่องขยายเสียงมาดักรอที่หน้าโรงแรม เพื่อเตรียมเผชิญหน้ากับกลุ่มอนุรักษ์ฯ นางมณี บุญรอด แกนนำชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวถึง ความตั้งใจของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ที่จะไปเข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ว่า ต้องการที่จะไปเสนอมุมมองความคิดเห็นของชาวบ้าน ที่ติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานีมาเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี และชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีเป็นผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โครงการฯ ก็ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และก็มีข้อเสนอแนะต่อโครงการฯ ด้วย แต่กลับถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายไม่ให้ชาวบ้านเข้าร่วม และยิ่งไปกว่านั้น นายขวัญชัย ไพรพนา ยังได้พากลุ่มชมรมคนรักอุดรฯ และรถเครื่องเสียงขนาดใหญ่ มาขัดขวางด้วย “ดิฉันจึงอยากจะตั้งคำถามถึงกลุ่มชมรมคนรักอุดรว่าที่ผ่านมาประกาศต่อสาธารณะว่าเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ในวันนี้กลับมีพฤติกรรมที่สวนทางกัน โดยมาปิดกั้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เพื่อมาแสดงความคิดเห็นต่อโครงการเหมืองโปแตช” นางมณีกล่าว ด้านนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน กล่าวว่า การจัดเวทีอีเอชไอเอ ของบริษัทในวันนี้ เป็นการแนะนำจาก กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. ให้ดำเนินการทำ แต่กลุ่มอนุรักษ์ฯ กลับถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการฯ ตามรัฐธรรมนูญ กพร.จึงสมควรที่จะออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ “ในส่วนของราชการจังหวัดอุดรธานีนั้น ก่อนหน้านี้ 2 วัน ชาวบ้านได้เข้าพบผู้ว่าฯ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อความไม่ชอบธรรมในการจัดเวทีมาแล้ว แต่ผู้ว่าฯ กลับไปปรากฏตัวเป็นประธานเปิดงาน ทั้งๆ ที่ผู้ว่าฯ ควรใช้สติปัญญาพิจารณาว่า ควรจะสนับสนุนเวทีลักษณะนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าต่อไปชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ จะดำเนินการจัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โปแตชฯ ผู้ว่าฯ ก็ต้องมาร่วมเช่นกัน” นายสุวิทย์ กล่าว นายสุวิทย์ กล่าวด้วยว่า การจัดเวทีของบริษัทเอพีพีซี ในวันนี้มีขึ้นเพื่อผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เพราะในความเป็นจริงนั้นโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ไม่เป็นโครงการรุนแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดให้ทำ อีเอชไอเอ จึงไม่จำเป็นต้องทำ อีเอชไอเอ เพื่อเสนอให้ คณะกรรมการองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมพิจารณา ที่ต้องทำคือ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอเพียงเท่านั้น | |
ยูโร 2012: ว่าด้วยเกร็ดตัวเลขนอกเหนือเรื่องฟุตบอลของทั้ง 16 ทีม Posted: 25 May 2012 08:08 AM PDT ประชาไทขอโหมโรงกระแสมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2012) ตอนแรก เสนอเกร็ดตัวเลขเกี่ยวกับประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ที่มิใช่ราคาต่อรอง อายุเฉลี่ยผู้เล่น หรือสถิติการทำประตู ประชากร (Population) ที่มา: http://www.tradingeconomics.com และ http://en.wikipedia.org/wiki/England (เข้าดูเมื่อ 24 พ.ค. 55) อัตราการว่างงาน (Unemployment Rates) (เรียงลำดับจากประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดไปหามากที่สุด) ที่มา: http://www.tradingeconomics.com และ http://www.bbc.co.uk/news/business-17752753 (เข้าดูเมื่อ 24 พ.ค. 55) การกระจายรายได้ ค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) เป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้หรือการกระจายความร่ำรวย สัมประสิทธิ์จีนีถูกนิยามให้เป็นอัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 (หรือ 0-100%) สัมประสิทธิ์จีนีที่ต่ำจะแสดงถึงความเท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ หากค่านี้สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงการกระจายรายได้ที่เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น ซึ่งจากการประมาณการของธนาคารโลก (World Bank Gini %) โดย 16 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน มีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมดังนี้ (เรียงลำดับจากประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้น้อยเป็นอันดับแรก) ที่มา: จากการประมาณการของธนาคารโลก (World Bank Gini %) [x][xx] (เข้าดูเมื่อ 22 พ.ค. 55) คุณภาพการศึกษา ในเดือนพฤษภาคม ปี 2012 The project is based at the Institute Applied Economic and Social Research University of Melbourne ได้เปิดเผยการสำรวจและการจัดอับดับที่เรียกว่า Universitas 21 ซึ่งเป็นการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาในประเทศ 48 ประเทศ โดยประเทศในการแข่งขันยูโร 2012 ทั้ง ทั้ง 16 ทีมเมื่อนำมาเรียงลำดับจะได้ดังนี้
ที่มา: Universitas 21 (เข้าดูเมื่อ 22 พ.ค. 55)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "นี่เหรอหู" Posted: 25 May 2012 07:10 AM PDT | |
คนโป่งอางเชียงดาวยื่นหนังสือถึงยิ่งลักษณ์ ‘หยุดสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง’ Posted: 25 May 2012 07:02 AM PDT เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 55 ที่ผ่านมา ตัวแทนชาวบ้านบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้เข้ายื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นครั้งที่ 2 หลังจากได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ตรวจเยี่ยมโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกองทัพบก ที่บ้านนาหวาย ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และเปิดโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และชาวบ้าน 14 หมู่บ้าน กว่า 5,000 คน ต้อนรับและร่วมกันปลูกป่าและทำฝายชะลอน้ำ โดยตัวแทนชาวบ้านบ้านโป่งอาง ได้เข้ายื่นหนังสือให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ยุติกระบวนการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิง โดยกรมชลประทาน โดยในหนังสือระบุว่า ตามที่ทางชาวบ้านบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14มกราคม 2555โดยร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(Pmove) เพื่อขอความเป็นธรรม และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ยุติกระบวนการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงนั้น ต่อมา ได้มีหนังสือตอบรับจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กลับมาว่าได้ส่งเรื่องถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาแล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะเวลาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบนมีข้อจำกัดระยะเวลา ที่จะสิ้นสุดลงภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 (รวม 600 วัน) ตามเงื่อนไขสัญญาที่ทางกรมชลประทานได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัทพี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด ร่วมกับบริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัทธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่ง ณ เวลานี้ ระยะเวลาตามเงื่อนไขสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว ในขณะที่ ทางกรมชลประทาน ได้ส่งหนังสือ เรื่อง สรุปผลการศึกษาโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน การศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ได้รับทราบผลการศึกษาของโครงการฯ ตามเอกสารหน้าที่ 7 ของจดหมายข่าวนั้น ทางกรมชลประทาน ให้มีการชะลอโครงการ แต่มีความพร้อมที่จะดำเนินการดังกล่าวในอนาคต หากได้รับความเห็นพ้องต้องกันว่า โครงการฯดังกล่าว มีความจำเป็นที่จะพัฒนาเพื่อให้เป็นประโยชน์ในพื้นที่อำเภอเชียงดาวได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำซุ้ม ยังคงยืนยันที่จะให้มีการยุติการศึกษาหรือเข้ามาดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งนี้ด้วยเหตุผล 3 ข้อหลักๆ คือ 1) กระบวนการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการดำเนินงานที่ล้มเหลวมาตั้งแต่ต้น ทั้งการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุม จากอ่าง มาเป็น “เขื่อน” ขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถประเมินมูลค่า และคุณค่าได้ ที่สำคัญขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการฯ 2) การเข้ามาดำเนินงานตามโครงการฯดังกล่าว ได้สร้างความแตกแยกของคนภายในชุมชน วิถีเดิมที่เคยเป็นชุมชนพี่น้อง พึ่งพาอาศัยกัน กลายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น 3) แม้ว่ากรมชลประทานจะยังคงมีความพยายามที่จะดำเนินการเข้ามาศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ให้ได้นั้น ชาวบ้านหมู่บ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง ลุ่มน้ำซุ้ม ลุ่มน้ำแม่ป๋าม ยังคงยืนยันจะไม่เข้าร่วมกระบวนการศึกษาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุกรูปแบบ ทั้งนี้ ในหนังสือในตอนท้าย ได้ระบุว่าชาวบ้านบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จึงเรียนมายัง พณฯท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอติดตามการพิจารณาให้มีการยุติกระบวนการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน โดยกรมชลประทาน และที่สำคัญชาวบ้านบ้านโป่งอาง ขอยืนยันอย่างมั่นคงที่จะติดตาม ทวงถาม และพิทักษ์สิทธิของชุมชนอย่างต่อเนื่อง หรือหากมีการกระทำใดๆ อันเป็นการข่มขู่คุกคามผู้นำ แกนนำ หรือชาวบ้าน ชาวบ้านบ้านโป่งอางจะดำเนินการทุกวิถีทางตามสิทธิอันพึงมีของชุมชนเพื่อให้โครงการอ่าง(เขื่อน)เก็บน้ำแม่ปิงตอนบนยุติจนถึงที่สุด” ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: สองปี 19 พฤษภาคม 2553 ประชาชนต้องการอะไร? Posted: 25 May 2012 06:27 AM PDT สารจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในค่ำวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 นั้นชัดเจนคือ เป้าหมายการต่อสู้ของประชาชนได้บรรลุแล้วเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาล ภารกิจของประชาชนสิ้นสุดลงแล้ว นับแต่นี้ไป เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดำเนินการสร้างประชาธิปไตยด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แสวงหาความยุติธรรมให้แก่ประชาชนด้วยการชดเชยเยียวยาและ “การปรองดอง” ฉะนั้น ขอให้ประชาชนผู้สูญเสียยอม “เสียสละ แล้วลืมทุกอย่าง” ก้าวไปข้างหน้า เพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร “ได้กลับบ้าน” มีโอกาสเข้ามาผลักดันการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอีกครั้ง นัยหนึ่ง การต่อสู้ของประชาชนถึงเวลายุติแล้ว ให้แยกย้ายกันกลับบ้านได้ เพื่อรอเลือกตั้ง สสร. จากนี้ไปเป็นเรื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย! แน่นอนว่า นี่เป็นความรับรู้ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยส่วนข้างมากที่เห็นว่า ภารกิจประชาธิปไตยยังไม่บรรลุ การต่อสู้จะต้องดำเนินต่อไปจนถึงที่สุด การชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อรำลึกวาระครบรองสองปีการสังหารหมู่ประชาชนเมษายน-พฤษภาคม 2553 นับเป็นการรวมตัวของมวลชนคนเสี้อแดงครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ตลอดสองปีมานี้ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยยังคงเพิ่มจำนวนและเข้มแข็งขึ้น ด้วยอุดมการณ์ที่เหนียวแน่นมั่นคง หลังจากฝ่าห่ากระสุน ระเบิด แก๊สน้ำตา กองเลือด และการใส่ร้ายป้ายสีด้วยข้อหาฉกรรจ์สารพัด ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยได้พัฒนายกระดับขึ้นจนกลายเป็นพลังการเมืองที่มีจิตสำนึกทางการเมืองและความเรียกร้องต้องการที่ชัดเจนแน่วแน่คือ ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริงและบรรลุความเป็นธรรม ไม่ว่าจะต้องใช้เวลายาวนานและฝ่าฟันความยากลำบากจะเพียงไหน ประชาธิปไตยที่แท้จริงที่พวกเขาต้องการไม่ใช่ประชาธิปไตยจอมปลอม ไม่ใช่ประชาธิปไตยอุปถัมป์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่มีข้อยกเว้นในวงเล็บ แต่เป็นประชาธิปไตยที่ปวงประชามหาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง ที่ซึ่งมติของประชาชนคือคำตอบสุดท้ายที่ไม่ขึ้นกับอำนาจเหนือโลกใด ๆ ที่ซึ่งแต่ละคนมีศักดิ์และสิทธิ์ทางการเมือง มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่เท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยที่พวกเขาเรียกร้องต้องการนี้ ไม่มีอะไรซับซ้อนยุ่งยากหรืออุดมคติแต่อย่างใด มันคือประชาธิปไตยเสรีนิยมธรรมดา ๆ คือระบอบหนึ่งคนหนึ่งเสียง ที่ซึ่งแต่ละคนอาจมีฐานะสังคม ยศศักดิ์ ยากดีมีจน การศึกษามากน้อยแตกต่างกันไป แต่เมื่อเข้าคูหาเลือกตั้ง ทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน ประชาธิปไตยหมายถึงชะตากรรมบ้านเมืองถูกกำหนดจาก “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” นี้ โดยที่อำนาจอธิปไตยทั้งสามคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ต้องมาจากคูหาเลือกตั้ง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ประชาชนยังต้องการความเป็นธรรม ซึ่งในปริบทภาพรวมคือ ระบอบเศรษฐกิจสังคมที่ให้ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนแบ่งในโภคทรัพย์และความเจริญของประเทศอย่างเป็นธรรม ภายใต้กฎกติกาบนหลักการพื้นฐานที่ว่า “ทุกคนเสมอกันเบี้องหน้ากฎหมาย” แต่ความเป็นธรรมเฉพาะหน้าที่ประชาชนกำลังเรียกร้องต้องการในขณะนี้ก็คือ การให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายในวิกฤตการเมืองตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งรวมถึงให้ความเป็นธรรมแก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ถูกโค่นล้มด้วยวิธีรัฐประหาร ถูกใส่ร้ายป้ายสี และซ้ำเติมด้วยคดีการเมืองต่าง ๆ รวมตลอดถึงผู้ถูกกระทำอื่นทั้งหมด และท้ายสุดคือ ความยุติธรรมจากรณีสังหารหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งประกอบด้วยการเปิดเผยความจริงทั้งหมดถึงผู้บงการ ผู้สั่งการ ผู้ลงมือกระทำ ผู้ถูกกระทำ ทั้งผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ สูญเสียทรัพย์และอื่น ๆ แล้วดำเนินการตามฐานานุรูปด้วยกระบวนการยุติธรรมและด้วยการชดเชยเยียวยาอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ในการต่อสู้ยืดเยื้อหลายปี มวลชนผู้รักประชาธิปไตยมีการพัฒนาเป็นขั้น ๆ จากประสบการณ์จริงที่ได้เรียนรู้อย่างเจ็บปวด การเปลี่ยนผ่านสำคัญที่สุดคือ การสังหารหมู่เมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งพวกเขาได้ยกระดับขึ้น จากมวลชนที่ร่ำร้อง แบมืออ้อนวอนขอประชาธิปไตย มาเป็นมวลชนรู้สำนึกที่มุ่งช่วงชิงประชาธิปไตยมาด้วยมือของตนเอง โดยไม่ชะเง้อหน้า หวังรอแต่ “ความกรุณาปราณีที่หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน” ผลงานและชะตากรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นแรงบันดาลใจให้คนจำนวนมากตื่นตัวทางการเมือง ออกมาต่อสู้เสี่ยงชีวิตเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยและความเป็นธรรม แสวงหาความยุติธรรมให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และก็เพื่ออนาคตของตนเองและลูกหลานที่จะได้อยู่ในสังคมนี้เยี่ยงมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรบอกว่า ความสูญเสียที่ผ่านมาเกิดจาก “ความเข้าใจผิด” ความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็น “เรื่องไร้สาระ” และ “ปัญญาอ่อน” ประเทศควรก้าวไปข้างหน้า ถึงวันนี้ ประชาชนได้พายเรือส่งตนเอง “ถึงฝั่ง” แล้ว จากนี้ ตนเองจะไปขึ้นภูเขา ประชาชนจะแบกเรือขึ้นภูเขาตามมาอีกทำไม มีนัยว่า ประชาชนควร “ทิ้งเรือ” ได้แล้ว ให้ประชาชนยอมรับ “การปรองดอง” ให้ผู้สูญเสียยอม “เสียสละและลืมทุกอย่าง” เพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะได้ “กลับบ้าน” มาบริหารประเทศภายใต้ ระบอบจารีตนิยมต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นความต้องการส่วนตัวของท่านเอง แต่ไม่ใช่ของขบวนประชาธิปไตย! แต่สำหรับประชาชนที่ผ่านการต่อสู้ในหลายปีมานี้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีต้นเหตุมาจากการปกครองของพวกเผด็จการที่เหยียบย่ำกดขี่ ไม่ยอมรับในศักดิ์ศรีอันเท่าเทียมของประชาชน ปฏิเสธที่จะให้ประชาชนปกครองตนเองตามหนทางประชาธิปไตย ปัญหาไม่ใช่ความรับรู้ที่ต่างกัน ไม่ใช่ความบกพร่องทางสมองของใครบางคน แต่เป็นความขัดแย้งขั้นรากฐานว่า ใครคือเจ้าของอำนาจที่แท้จริงในสังคมไทย ระหว่างพวกเผด็จการหรือฝ่ายประชาชน! ในการต่อสู้เพื่อไปบรรลุประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยมี “ผู้นำ” และ “แกนนำ” จำนวนหนึ่งพ่วงมาด้วย ผู้ร่วมทางเหล่านี้ได้เสียสละทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ สุ่มเสี่ยงชีวิต สถานะ ครอบครัว อาชีพของตนอย่างน่ายกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็คือหนึ่งในผู้ร่วมทางที่ถูกกระทำอยุติธรรมตลอดหลายปีมานี้ ผู้ร่วมทางเหล่านี้ได้สร้างคุณูปการแก่ประชาชนไว้มากมายอย่างมิอาจลืมเลือน ส่วนคำประกาศยุติการต่อสู้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและ “แผนการปรองดอง” ของรัฐบาลที่จะตามมานั้น จะมีผลสะเทือนทางลบต่อสถานะเกียรติภูมิของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. ในสายตาของมวลชนสักเพียงใด กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ในที่สุด ประชาชนก็จะก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปได้ และเดินหน้าต่อไปด้วยสองขาของตนเอง ด้วยผู้นำและแกนนำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในหมู่พวกเขาเอง เติบใหญ่เป็นขบวนประชาธิปไตยที่เป็นอิสระ กล้าแข็ง และทรงพลัง นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยได้อย่างถึงราก บรรลุถึงประชาธิปไตยในที่สุด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
บรรยากาศการเลือกตั้ง ปธน. คนใหม่ของอียิปต์ คนใช้สิทธิบางตา Posted: 25 May 2012 06:19 AM PDT หลังจากที่อดีตปธน.มูบารัคถูกโค่นล้มจากการชุมนุมของประชาชน 15 เดือนต่อมา อียิปต์ก็มีการเลือกตั้ง ปธน. คนใหม่ แต่ผู้มาใช้สิทธิโดยรวมน้อยกว่าครั้งที่มีการเลือกตั้ง ส.ส. ผู้สื่อข่าวบอกว่าชาวอียิปต์เป็นห่วงเรื่องความมั่นคงปลอดภัย หลังจากที่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นมาช่วงหลังปฏิวัติ เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 55 ที่ผ่านมา อียิปต์เปิดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นวันที่สอง หลังจากที่สามารถโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีออสนี มูบารัค ได้ 15 เดือน การเลือกตั้งในวันที่สองเริ่มเปิดคูหาเมืองเวลา 8 โมงเช้า ตามเวลาท้องถิ่น และปิดคูหาเมื่อเวลา 2 ทุ่ม มีผู้ลงสมัครเลือกตั้ง 13 ราย และจะมีการเลือกตั้งในรอบหลังอีกช่วงกลางเดือน มิ.ย. ที่จะถึงนี้ สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่าเมื่อวานนี้ (23) มีผู้คนมายืนต่อคิวรอใช้สิทธิเป็นจำนวนมากในหลายคูหา บ้างก็รอเข้าคิวจนถึงเย็น ขณะที่ในวันที่สองมีผู้คนใาใช้สิทธิบางตาลงกว่าวันแรก โดยรวมแล้วผู้คนยังมาใช้สิทธิน้อยกว่าการเลือกตั้งส.ส. ก่อนหน้านี้ ซึ่งพรรคสายอนุรักษ์นิยมกวาดที่นั่งได้จำนวนมาก บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยโดยส่วนใหญ่ เว้นแต่ว่ามีการขว้างปาก้อนหินใส่ผู้สมัคร อาห์เม็ด ชาฟิค ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยของมูบารัค อัลจาซีร่ารายงานอีกว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้เป็นการขับเคี่ยวกันระหว่างผู้สมัครสายอนุรักษ์นิยมอิงศาสนากับสายฆราวาสอย่างชาฟิค และอัมร์ มูสซา อดีตประธานสันนิบาตชาติอาหรับผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นรมต. ต่างประเทศสมัยมูบารัค ฟูอาด์ มาห์มูด อายุ 57 ปี แสดงความเห็นว่า เขาเลือกลงคะแนนในวันที่สองเนื่องจากต้องการเลี่ยงฝูงชนหนาแน่น เขาเลือกอัมร์ มูสซา เนื่องจากมูสซารู้เรื่องประเทศอียิปต์และมีประสบการณ์ เขาเคยเลือกพรรคของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในช่วงเลือกตั้ง ส.ส. มาก่อน แต่ก็ไม่ได้อะไรจากพวกเขาเลย ผู้ชนะจากผู้ลงสมัครทั้ง 13 คน จะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากมูบารัคผู้ที่เคยปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการมากว่า 30 ปี และถูกประท้วงขับไล่ออกจากตำแหน่งไปในปี 2011 ที่ผ่านมา ผู้ลงสมัครทั้ง 13 รายมีแนวคิดการเมืองต่างกันทั้งสายสังคมนิยม สายเสรีนิยม-ฆราวาสนิยม ไปจนถึงอนุรักษ์นิยม โพลล์สำรวจความเห็นยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าตัวเต็งที่จะคว้าตำแหน่ง ปธน. คือใคร ราวยา ราเกห์ ผู้สื่อข่างอัลจาซีร่ารายงานจากเมืองสุเอซ เมืองท่าของอียิปต์ บอกว่าผู้ลงคะแนนจำนวนมากให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัย ในการพิจารณาเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ครั้งนี้ "เมื่อช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา หลังจากการปฏิวัติ ความปลอดภัยกลายเป็นเรื่องที่ชาวอียิปต์ให้ความสำคัญในระดับต้น" ราเกห์กล่าว ราเกห์รายงานอีกว่าหลังจากการปฏิวัติอียิปต์ ก็มีการละเมิดกฏหมายหลายกรณี มีรายงานการลักพาตัวทุกรูปแบบ การจารกรรมรถยนต์ การบุกรุกบ้านเรือน และความรุนแรงในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศนี้ ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่าตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่เหตุการณ์อาชญากรรมทั้งหลายอาจจะมาจากการที่ตำรวจไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของบ้านเมือง หลังจากที่ตำรวจถูกกล่าวหาโจมตีอย่างมากในช่วงปฏิวัติ 18 วัน การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นส่วนสุดท้ายของการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในอียิปต์หลังยุคมูบารัค ขณะที่ยังคงอยู่ภายใต้การสอดส่องของสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (SCAF) สภาทหารฯ ได้เรียกร้องให้ประชาชนชาวอียิปต์ออกมาใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ปธน. ในครั้งนี้ และเตือนไม่ให้ทำผิดกฏ "การร่วมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของพลเมืองเป็นเครื่องการันตีความโปร่งใสและความปลอดภัยของระบบการเลือกตั้ง" โมฮาเม็ด อัล-อัสซาร์ สมาชิกสภาทหารฯ กล่าวผ่านสำนักข่าง MENA ของรัฐบาล ก่อนหน้านี้สภาทหารฯ เคยสัญญาว่าจะคืนอำนาจแก่ประชาชนก่อนสิ้นสุดเดือน มิ.ย. หลังจากที่ประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งแล้ว แต่หลายคนกลัวว่าทหารจะแค่ถอนตัวจากอำนาจแบบหลอกๆ กองทัพอียิปต์มีอำนาจทางเศรษฐกิจมาก และต้องการเก็บความลับด้านงบประมาณโดยได้รับการงดเว้นการตรวจสอบจากส.ส. สามารถควบคุมคนของฝ่ายบริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทัพ และปกป้องตนเองจากการถูกดำเนินคดี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เอ็นจีโอสวนกลับอิตาเลี่ยนไทย บี้ กพร.เข็นโปแตชเข้าโครงการรุนแรง Posted: 25 May 2012 05:58 AM PDT เอ็นจีโอสวนกลับ อิตาเลี่ยนไทยเดินหน้าทำอีเอชไอเอ อัดสร้างภาพหวังระดมมวลชนสนับสนุนโครงการ บี้ กพร. –กระทรวงทรัพฯ เข็นโครงการเหมืองแร่โปแตชเข้าโครงการอันตรายอีกรอบ หลังอุตสาหกรรมเหมืองแร่หลุด 11 โครงการรุนแรง ไม่ต้องทำอีเอชไอเอตาม ม. 67 วรรค 2 หวังสร้างมาตรฐานกฎหมายเหมืองใต้ดินทั้งประเทศ 25 พ.ค. 55 - มีความเคลื่อนไหวภายหลังการเดินหน้าการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Review : ค.3) โครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ที่โรงแรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งบริษัทเอเชีย แปซิฟิก โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ว่าจ้าง บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง อนด์ เมเนจเม้นท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 และนำมาซึ่งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเวทีสุดท้ายในครั้งนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทรัพยากรแร่ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องชัดเจนในการทำเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายของของบริษัทเอพีพีซี คือ การทำอีเอชไอเอ เป็นเจตนารมย์ของบริษัท หรือเป็นการปฎิบัติตามข้อกฎหมาย 67 วรรค 2 เนื่องจากโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี หลุดจากการเป็นโครงการที่เข้าข่ายความรุนแรง เพราะฉะนั้นบริษัทอิตาเลี่ยนไทยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำอีเอชไอเอแต่ประการใด สิ่งที่ทำเพียงแค่ต้องการสร้างภาพว่าบริษัทมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ประเด็นสำคัญก็คือเหตุใด กพร.จึงปล่อยให้บริษัทเดินหน้าทำอีเอชไอเอ ทั้งที่ไม่ต้องทำเรื่องนี้แต่อย่างใด “เมื่อไม่เข้าโครงการความรุนแรง เหตุใดบริษัทอิตาเลี่ยนไทยจึงดึงดันเดินหน้าทำอีเอชไอเอ เพื่ออะไร หรือเพื่อเกณฑ์มวลชนให้ตีกัน ระดมมวลชนเพื่อสนับสนุนโครงการของตนเอง กพร.ต้องถามบริษัทอิตาเลี่ยนไทยให้ชัดว่า ทำตามข้อกฎหมายหรือเจตนารมย์อย่างอื่น อย่าลืมว่าที่ผ่านมากระบวนการการทำโครงการเหมืองแร่โปแตชผิดตั้งแต่ต้น มันก็ผิดไปทั้งหมดตั้งแต่ประเด็นการไต่สวนขอประทานบัตร ที่มีปัญหากันอยู่ในขณะนี้ แล้วจะไปทำประเมินอีเอชไอเอได้อย่างไร” นายเลิศศักดิ์ กล่าว นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากระบวนการขั้นตอนก็ผิดมากมายแต่กลับไปจัดทำประเมินอีเอชไอเอ มันกลับหัวกลับหางกันไปหมด บริษัทจะเอาข้อมูลมาจากไหนไปประเมิน ต้องไม่ลืมว่าโปแตชมีหลายพื้นที่ทั่วอีสาน เพราะฉะนั้นจะต้องมีมาตรฐานทางกฎหมายทีชัดเจนว่าโครงการเหมืองแร่โปแตชจะเข้าหรือไม่เข้าโครงการอันตราย นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่า โครงการเหมืองแร่โปแตชไม่เข้าข่ายโครงการรุนแรงตามมาตรา 67วรรค 2 ทั้งที่โครงการแบบนี้เป็นโครงการอุตสาหกรรมอันตราย นั้นหมายถึง มันไม่ได้สร้างกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ดี เพราะฉะนั้น กพร. ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ต้องทบทวนโครงการเหมืองแร่ใต้ดิน และทำหนังสือไปยังหน่วยงานราชการทีเกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สผ. หรือกระทรวงทรัพยากรฯ ส่งเรื่องกลับไปยังคณะกรรมการอิสระสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทบทวน ให้ดึงกลับโครงการเหมืองแร่โปแตชเข้าประเภทโครงการความรุนแรง นั้นหมายถึงจะส่งผลไปถึงมาตรฐานการทำเหมืองแร่ใต้ดินทั้งหมดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาด้วยว่า ยังมีโครงการไหน ที่ควรจะต้องทบทวนเปลี่ยนเพิ่มเติม กพร.ควรจะเป็นตัวนำร่อง สนับสนุนโครงการอันตราย ให้จัดอยู่ในประเภทกิจการที่อาจมีผลกระทบรุนแรง เพื่อให้มีกระบวนการศึกษาและตรวจสอบอย่างรอบคอบ ด้านนายชาติ หงส์เทียมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า กพร.ทราบว่า โครงการเหมืองแร่โปแตช ไม่เข้าโครงการความรุนแรง แต่การทำอีเอชไอเอ มันจะทำให้มีข้อมูลรายละเอียดมากกว่าการทำอีไอเอตามปกติ ทาง กพร.จึงแนะนำให้ทางบริษัทพิจารณาว่าจะทำอีเอชไอเอหรือไม่ ซึ่งทางบริษัททำตามคำแนะนำ ส่วนจะเป็นการผิดขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ ก็เป็นดุลยพินิจของ สผ. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สนนท. หนุนสมัชชาคนจนเจรจารัฐบาล-ยิ่งลักษณ์นั่งหัวโต๊ะ Posted: 25 May 2012 05:44 AM PDT เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 55 ที่ผ่านมาสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเสนอสมัชชาคนจนในการยื่นข้อเรียกร้องเจรจากับรัฐบาล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ แถลงการณ์สนับสนุนการต่อสู้ของพี่น้องสมัชชาคนจน สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เป็นองค์กรนักศึกษาที่มีจุดยืนเคียงข้างประชาชน เราต้องการเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่ดำรงความเป็นธรรมภายใต้คำขวัญ “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยจึงเคลื่อนไหวรณรงค์คัดค้านแนวทางที่ไม่เอื้อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะปัญหาของคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ การที่สมัชชาคนจน องค์กรภาคประชาชนที่มีประวัติการศาสตร์การต่อสู้ยาวนานเกือบ 20 ปี และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมัชชาคนจนได้เรียกร้องยื่นหนังสือต่อรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย แต่ในที่สุดแล้ว เกือบทุกปัญหาของพี่น้องสมัชชาคนจนยังไม่ได้รับการแก้ไข และในครั้งนี้ สมัชชาคนจนได้นัดรวมตัวเครือข่ายต่างๆ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเวทีเจรจากับพี่น้องเครือข่ายถึงปัญหาต่างๆ มาตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมีพี่น้องที่ประสบประเด็นปัญหาอันประกอบด้วย เครือข่ายพี่น้องที่ประสบปัญหาจากการสร้างเขื่อน เครือข่ายพี่น้องที่ต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อน เครือข่ายที่ดิน เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายประมง ซึ่งเป็นพี่น้องที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบจากนโยบายของรัฐและบรรดากลุ่มทุนอุตสาหกรรม ภายใต้วาทกรรมการพัฒนาที่ไม่นำมาซึ่งการพัฒนา อันส่งผลให้พี่น้องประชาชนถูกละเมิดสิทธิ สูญเสียโอกาส สูญเสียอาชีพและทรัพย์สิน กระทั่งบางคนต้องสูญเสียอวัยวะและชีวิต โดยที่ปัญหาของพวกเขายังไม่ได้รับการแก้ไข และเยียวยาจากรัฐบาล ในนามสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและเครือข่ายองค์กรนักศึกษา มีความเห็นและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลดังนี้ 1.ขอสนับสนุนข้อเสนอของพี่น้องสมัชชาคนจนในการยื่นข้อเรียกร้อง ขอให้รัฐบาลเปิดเวทีเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหารายกรณีของสมัชชาคนจนทันที โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม 2.ขอสนับสนุนและให้กำลังใจการต่อสู้ของพี่น้องสมัชชาคนจน อันเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการเรียกร้องและปกป้องสิทธิของตนเองตามรัฐธรรมนูญ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนคนรากหญ้า จะเร่งดำเนินการตามข้อเสนอของสมัชชาคนจนโดยทันที ประชาธิปไตยต้องกินได้ การเมืองต้องเห็นหัวคนจน ด้วยจิตคารวะ 24 พฤษภาคม 2555 สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชมรมมหาวิทยาลัยชาวบ้าน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มเพื่อนนักกิจกรรม (FAN) กลุ่มนกกระจอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มระบายฝัน มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มเผยแพร่กฏหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สมัชชาคนจนเก็บกระเป๋ากลับบ้าน รอเปิดเจรจาทางการ 22 มิ.ย.นี้ Posted: 25 May 2012 05:11 AM PDT หลังการเจรจานอกรอบตัวแทนรัฐบาลรับปากแก้ปัญหาเร่งด่วนพื้นที่ป่าทับที่ทำกิน จ่อนำเรื่องเงินเยียวยาเขื่อนราษีไศลเข้าครม.29 พ.ค.นี้ ส่วนเวทีเจรจาทางการเดือนหน้าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงทบวงกรมเข้าร่วม วันนี้ (25 พ.ค.55) กลุ่มสมัชชาคนจนที่ปักหลักชุมนุมบริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา กำลังเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเย็นวันนี้ หลังมีการหารือกับตัวแทนรัฐบาลได้คำตอบเป็นที่น่าพอใจ พร้อมกับมีการนัดหมายให้มาเจรจากันอีกครั้งในวันที่ 22 มิ.ย.2555 นายพุฒ บุญเต็ม ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน กล่าวว่าในวันนี้มีการเจรจากรณีเร่งด่วนเกี่ยวกับพื้นที่ป่าทับที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ต.สองพี่น้อง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร และปัญหาเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่ จ.พัทลุง จ.ตรัง และจ.นครศรีธรรมราช ทางเครือข่ายเห็นความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจากที่มีการเรียกเจ้าหน้าที่อุทยานมาพูดคุยถึงถึงแนวทางแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยการแก้กฎหมายซึ่งจะเป็นแนวทางในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยทำกินได้อย่างปกติสุขขณะที่หน่วยราชการก็ไม่ผิดระเบียบด้วย ส่วนระยะสั้นนั้นทางสมัชชาคนจนเสนอให้มีมติ ครม.คุ้มครองในทั้ง 2 กรณี เพื่อยับยังปัญหาของชาวบ้านพื้นที่ป่า ซึ่งมีทั้งการข่มขู่คุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้าไปตัดต้นยางพาราของชาวบ้าน การเข้าจับกุมชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการรับที่จะนำไปหารือต่อ นายพุฒ กล่าวด้วยว่า สำหรับการหารือนอกรอบระหว่างตัวแทนสมัชชาคนจนกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐนมตรี เมื่อวันที่ 24 พ.ค.55 เป็นการหารือเพื่อสรุปข้อมูลอย่างชัดเจน และมีการนัดหมายเปิดเวทีเจรจากับรัฐบาลอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มิ.ย.55 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงทบวงกรมเข้าร่วม ส่วนกรณีเร่งด่วนเขื่อนราษีไศล นั้นจะมีการนำเสนอ ครม.ในวันที่ 29 พ.ค.ที่จะถึงนี้ ในเรื่องเงินเยียวยา 133 ล้านบาท ทั้งนี้ ในการหารือตัวแทนรัฐบาลได้รับปากที่จะเร่งเดินหน้ากระบวนการแก้ปัญหาโดยเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ ทำความเข้าใจในกรณีที่สามารถทำได้ให้เสร็จสิ้นก่อนการประชุมเจรจาในวันที่ 22 มิ.ย.55 ซึ่งคาดว่าในวันดังกล่าวจะมีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นางไข ประกอบนา ประธานกลุ่มตัวแทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนราษีไศลและตัวแทนประมาณ 100 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกฯ เพื่อเรียกร้องให้เร่งรัดกรมชลประทาน 8 (มูลล่าง) เขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ อนุมัติการจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว โดยให้ชดเชยไร่ละ 32,000 บาท จากผู้เดือดร้อน 436 ราย ขณะที่นายวีระพัฒน์ แก้วคำ ประธานกลุ่มตัวแทนราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำพัฒนาชนบทห้วยก๊ากวาก ยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายกฯ เร่งรัดการช่วยเหลือเงินค่าชดเชยแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าว ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบ 248 ราย โดยขอให้จ่ายชดเชยไร่ละ 5 หมื่นบาท จากทั้งหมด 3,000 ไร่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โรงเรียนพ(ล)บค่ำ 4 : วิเคราะห์พายุ Social Network กับ บก.ลายจุด Posted: 25 May 2012 04:26 AM PDT
18 พ.ค. 55 สมบัติ บุญงามอนงค์ (หรือ หนูหริ่ง หรือ บก.ลายจุด) บรรยายหัวข้อ “โลกคู่ขนาน Online-Offline กับอัตราเร่งดิจิตอล พายุ Social Network” ที่ The Reading Room สีลม ซอย 19 พูดคุยถึงยุคเปลี่ยนผ่านสู่วิถีชีวิตแบบดิจิตอล ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในช่วงชีวิตเรา กิจกรรมนี้อยู่ในโครงการ โรงเรียนพ(ล)บค่ำ ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 4 โดย The Reading Room ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหวของวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งเรื่องเทคโนโลยี สื่อ ศิลปะ ขบวนการทางสังคม จัดในวันศุกร์ที่ 3 ของแต่ละเดือน อินเตอร์เน็ตสร้างความเท่าเทียม เป็นพื้นที่ให้ประวัติศาสตร์ไพร่ บก.ลายจุด เกริ่นถึง การปฏิวัติดิจิตอล โดยยกตัวอย่างประสบการณ์ที่ตนทำนิตยสารของ NGO เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนนั้นใช้พิมพ์ดีดไฟฟ้า ตอนนี้พิมพ์ดีดไฟฟ้าแทบจะหายไปแล้ว ช่วงแรกที่ใช้คอมพิวเตอร์ ยังอึ้งตอนที่รู้ว่าการกด ctrl+c และ ctrl+v สามารถ copy ข้อความแบบไม่ยั้งได้ เมื่อราว 2 ปีที่แล้ว การประกาศยกเลิกบริการโทรเลขของสำนักงานไปรษณีย์ทำให้หลายคนใจหายอยู่พัก แต่ที่จริงยังมีอีกหลายอย่างที่หายไปแบบเงียบๆ อย่าง เพจเจอร์ พิมพ์ดีด ฟิล์ม และแฟกซ์ก็ใกล้จะถึงเวลาเช่นกัน เราอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยที่มีนัยยะสำคัญและเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ยุคปฏิวัติอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นด้วยอัตราเร่งที่มากขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้อนๆกันเช่น เว็บ 2.0, Social network, Smartphone ทำให้อัตราเร่งเร็วขึ้น บิล เกตส์ เคยกล่าวว่าอินเตอร์เน็ตโตเร็วเหมือนชีวิตสุนัข (1 ปีของคนเท่ากับ 7 ปีของสุนัข) อินเตอร์เน็ตทำให้คนเท่าเทียมกันมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่คนไม่กี่คนเป็นผู้ชี้นิ้วกำหนดทิศทางการรับรู้ของคน เมื่อก่อนช่อง 7 คุณแดงเป็นผู้กำหนดทุกอย่าง แต่ในอินเตอร์เน็ต เรามีสิทธิเป็น someone เท่าๆ กับคุณแดง นักข่าวรายงานข่าวผ่าน Twitter ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านบรรณาธิการ “เชื่อว่าอัตราเร่งของอินเตอร์เน็ตมันยังไม่จบแค่นี้ วันข้างหน้าอัตราเร่งต้องเป็นพายุแน่นอน นี่ผ่านมาแค่กี่ปีเอง เรามาถึงแค่ยุค Smartphone ซึ่งเครื่องก็ยังแพงอยู่ Blackberry เคยเฟื่องสุดฤทธิ์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่คิดว่าจะจบชีวิตอย่างน่าอนาถขนาดนี้ หลายอย่างเกิดและจากไปเร็วมาก Facebook ทำสถิติผู้ใช้ 50 ล้านคนได้ในเวลาแค่สองปี แต่เทคโนโลยีอื่นๆ ต้องใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะมีคนใช้ขนาดนั้น อัตราเร่งเป็นเรื่องที่มีนัยยะสำคัญ เครื่องบินถ้าไม่บินที่ความเร็วถึงจุดหนึ่งก็บินไม่ขึ้น เรื่องบางเรื่องถ้าไม่มีพลังเร่งถึงจุดหนึ่งก็ไม่สามารถไปต่อได้ เมื่ออินเตอร์เน็ตมีอัตราเร่งถึงจุดหนึ่งจะเกิดปรากฎการณ์ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อย่างอาหรับสปริง (คลื่นการปฏิวัติในอาหรับและแอฟริกาเหนือ) ที่ก่อตัวจากโลกออนไลน์ และกระโดดออกมายังโลกออฟไลน์ เป็นปรากฏการณ์ที่ตลกเพราะเคลื่อนไหวโดยไม่มีแกนนำ พฤติกรรมออนไลน์จะไม่ถูกจำกัดโดยรูปแบบเดิมๆ” บก.ลายจุดกล่าวถึงยุคอินเตอร์เน็ตในแง่การสร้างพื้นที่ให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์สามัญชนว่า “เมื่อวานนี้ไปงานรำลึก 20 ปี เหตุการณ์พฤษภา 35 มีคนพูดอย่างน้อยใจว่าการศึกษาไม่บันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน พูดก็พูดแบบผ่านๆไป แล้วเราจะเข้าถึงประวัติศาสตร์ของไพร่สามัญชนอย่างไร ก็เพียงแค่เสิร์ชใน Google สมัยก่อนถ้าจะรู้เรื่อง 6 ตุลา 2519 ตอนนั้นต้องไปเช่าสไลด์มาตลับหนึ่ง แล้วใช้เครื่องฉายสไลด์มาฉายดูทีละภาพ และเอาคนในเหตุการณ์มาเล่า แต่แค่ 20 ปี การเรียนรู้เปลี่ยนไปเร็วมาก”
เศรษฐศาสตร์ดิจิตอล กับต้นทุนเฉียดศูนย์ บก.ลายจุด กล่าวถึงการปฏิวัติดิจิตอลในแง่เศรษฐศาสตร์ว่า ส่งผลให้การผลิตต่างๆ สามารถลดต้นทุนได้มหาศาล หรือกลายเป็นต้นทุนเฉียดศูนย์ ต้นทุนแบ่งเป็น 2 ชนิด ต้นทุนคงที่กับต้นทุนผันแปร ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์มีต้นทุนคงที่คือ นักเขียน ออฟฟิศ ซึ่งใช้งานได้เรื่อยๆ ต้นทุนผันแปรคือ กระดาษ หมึก รถขนส่ง ยิ่งพิมพ์มากยิ่งต้องซื้อมาก แต่การผลิตด้วยระบบดิจิตอล เช่น ทำเว็บข่าว ต้นทุนคงที่ก็คือนักข่าวและโดเมน ต้นทุนผันแปรหายไป คนดูเว็บ 1 คน หรือล้านคน ต้นทุนก็ไม่ต่าง มีการประเมินว่าภายใน 7-8 ปี หนังสือพิมพ์ที่เป็นกระดาษในสหรัฐอเมริกาจะหมดไป แล้วเข้าสู่ระบบการผลิตแบบดิจิตอล “สมัยใช้กล้องฟิล์ม กว่าจะกดได้รูปหนึ่งสยองมาก ค่าฟิล์ม 5 บาทต่อใบ ค่าล้างและอัดอีก 5 บาท กดชัตเตอร์ทีเสีย 10 บาท แถมยังต้องถ่ายอีกภาพกันเสีย พฤติกรรมนี้ยังหลอนมาถึงการถ่ายรูปยุคดิจิตอลทั้งที่เห็นอยู่ว่ารูปใช้ได้ เดี๋ยวนี้ถ่ายรัวๆได้โดยไม่ต้องเสียดาย ในระบบเศรษฐศาสตร์ดิจิตอล ต้นทุนเป็นต้นทุนเฉียดศูนย์ ไม่ถึงขนาดศูนย์แต่เกือบๆ Blog Facebook ก็ใช้ฟรี เสียแค่ค่าอินเตอร์เน็ต ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้ทิศทางการผลิตแบบเดิมๆล่มสลาย และเหวี่ยงมาสู่การผลิตในอีกแบบ”
โลกยุคเปลี่ยนผ่าน ใครจะอยู่ใครจะไป อยู่ที่วิสัยทัศน์ บก.ลายจุด กล่าวว่าการปฏิวัติดิจิตอลทำให้โครงสร้างสังคมวัฒนธรรมต่างๆ ที่มีอยู่เดิมกำลังถูกครอบ สิ่งใหม่ไม่ได้มาถีบสิ่งเดิมออกไป แต่สองสิ่งจะอยู่คู่กันก่อน เหมือนอีกามาขี้ปล่อยเมล็ดพืชใส่ต้นไม้ใหญ่ เมล็ดนั้นงอกต้นใหม่ออกมาครอบต้นไม้เดิมเรื่อยๆ กระทั่งกลืนทุกอย่างที่เป็นสิ่งเดิม กลายเป็นสิ่งใหม่ ตอนนี้เรากำลังอยู่ระหว่างตอนที่ถูกครอบ แต่ยังเห็นสิ่งเดิมอยู่ เมื่อสิ่งเดิมถูกครอบหมดแล้ว คนจะอยู่ได้ก็คือคนที่มีวิสัยทัศน์ สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของโลก ประเมินรูปการเศรษฐกิจสังคมการเมืองในอนาคตออกแล้วนำจุดนั้นมาใช้ประโยชน์ในการวางที่ทางให้ตัวเอง ยกตัวอย่างคนทำธุรกิจ Web hosting ที่ตนเคยคุยด้วยสมัยก่อน (50 เม็กกะไบต์ เดือนละ 3000 บาท) ตอนนั้นเจ้าของบอกว่าทำแล้วได้กำไรเล็กน้อยมาก แต่ไม่สนใจ เพราะไม่คิดว่าในอนาคตคนจะต้องแห่กันมาใช้อินเทอร์เน็ต การล้มละลายของโกดักเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย โกดักเป็นบริษัทแรกๆ ที่ผลิตกล้องดิจิตอลมาขาย แต่กลับเลิกล้มไป เพราะผู้บริหารดูถูกการถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลซึ่งเป็นของใหม่ว่าภาพห่วย สู้กล้องฟิล์มซึ่งมีการคิดค้นพัฒนามายาวนานไม่ได้ อีกทั้งถ้าสนับสนุนกล้องดิจิตอลมากๆ จะทำให้ฟิล์มจะขายไม่ได้ แต่หลังจากนั้น มีผู้ผลิตรายอื่นๆพัฒนากล้องดิจิตอลมาแข่งขันกันจำนวนมาก สิบกว่าปีผ่านไป กลับกลายเป็นว่าฟิล์มหาซื้อยาก
อัตราเร่งในชีวิตของเราแตกต่างกัน เห็นได้จากโฆษณาของการรถไฟ บก.ลายจุด พูดถึงการเกิดของเว็บ 2.0 ว่าเปลี่ยนแปลงความคิดความเชื่อของคนต่อสื่อมวลชน เมื่อก่อนสื่อพูดอะไรคนจะเชื่อหมด เวลาคนจะยืนยันว่าสิ่งที่ตัวเองเล่าเป็นความจริงก็มักพูดว่า ก็เขาออกทีวี เขาลงหนังสือพิมพ์ สื่อมีสถานะเป็นผู้รับรองความจริง แต่พอมีเว็บ 2.0 เกิดขึ้น ข่าวออกแบบหนึ่ง แต่จะมีคอมเม้นมาพูดอีกแบบแล้วทะเลาะกัน เป็นการวิจารณ์สื่อที่ทำงานเร็วกว่าสมาคมนักข่าวหรือสมาคมวิชาชีพที่ตรวจสอบกันเองเสียอีก ความเป็นมหาชนทำงานเองในทุกๆ เรื่อง เข้าตีความเชื่อ วิถีทาง วัฒนธรรมแบบเดิมหมด ปีที่ผ่านมาบางคนลอยกระทงหน้าคอม การอวยพรปีใหม่ก็เปลี่ยนรูปแบบหลายครั้งในเวลาไม่กี่ปี จากการ สคส. เปลี่ยนเป็นอีการ์ด เปลี่ยนเป็น SMS แล้วเป็น What’s app ใน Smartphone บางคนอาจขบถรักษาจุดยืนกลางกระแสที่เชี่ยวกราดได้ อย่าง อ.เกษียร เตชะพีระ ที่ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ (แต่มี ipad?) ซึ่งตนนับถือคนแบบนี้ แต่ไม่มีใครขวางกระแสได้ เวลาคนเถียงกันระหว่างฝ่ายที่จะวิ่งเข้าหาความเปลี่ยนแปลงกับฝ่ายที่บอกว่าค่อยเป็นค่อยไปได้ไหม แล้วคุยกันไม่รู้เรื่อง จริงๆ แล้วเขาไม่ได้ขัดกัน เขาเห็นสิ่งเดียวกัน กำลังไปที่เดียวกัน แต่ว่าคนวิ่งด้วยอัตราเร่งที่ต่างกัน โลกตอนนี้มันมีคนทุกยุค ต้องทำความเข้าใจช่องว่างตรงนี้เราอยู่บนอัตราเร่งที่ต่างกัน ทำให้เขาไม่เข้าใจเรา “ผมคิดว่าคนที่บ้าที่สุดคือคนที่ซื้อแฟกซ์เครื่องแรก จะมีคำถามว่าซื้อไปทำอะไร แพงก็แพง การซื้อแฟกซ์ในยุคที่คนอื่นยังไม่ใช้แฟกซ์กันมันเป็นเรื่องที่พะอืดพะอมมาก จะส่งหาใคร ทำไมไม่ส่งจดหมาย จนวันที่ใช้แฟกซ์กันทั้งเมือง คนถึงเปลี่ยนไปถามว่าทำไมยังไม่มีแฟกซ์ เราอยู่ในโลกที่มีอัตราเร่งต่างกัน คนที่วิ่งเป็นจรวดบอกว่าทำไมไม่เปลี่ยนสักที คนที่เดินอัตราเท้าก็บอกว่าจะรีบไปไหน เช่นคนผลิตโฆษณาการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เขาไม่เข้าใจว่า อัตราเร่งของการรถไฟไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ทุกวันนี้มีแต่คนเรียกร้องรถไฟความเร็วสูง” บก.ลายจุด สรุปว่าเมื่อสิ่งใหม่ถูกคิดค้นขึ้น ไม่ว่าจะแปลกแค่ไหน แต่ถ้ามันประหยัดกว่า ถูกกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า ประชาธิปไตยมากกว่า (เปิดโอกาสให้ใครก็ได้เป็นแบบคุณแดงช่อง 7 ได้) คนที่ยอมรับสิ่งนั้นก็จะค่อยๆสะสมตัวเรื่อยๆถึงปริมาณหนึ่ง จนกลายเป็นยุคเปลี่ยนซึ่งคนส่วนใหญ่เอาสิ่งนั้น
ตัวป่วนในโลกไซเบอร์ ไม่ต้องเขียนกฎหมายปราบ แต่สร้างวัฒนธรรมออนไลน์ เรื่องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ บก.ลายจุดเสนอแนะว่าเราควรจะเข้าใจว่าเป็นการ “แลกเปลี่ยน” ทางความคิด ไม่ใช่การ “เอาชนะ” ทางความคิด สิ่งที่ต้องทำในการแลกเปลี่ยนความคิดมี 2 อย่าง 1.สื่อสารความคิดให้ชัดเจนที่สุด ให้คู่สนทนาเข้าใจได้มากที่สุด 2.รับฟังและอ่านความคิดอีกฝ่าย เข้าใจเขาให้มากที่สุด ไม่ว่าเราจะขยับความคิดตัวเองหรือไม่ แต่ก็ได้แลกเปลี่ยนไปแล้ว ไม่จำเป็นว่าอีกฝ่ายต้องเชื่อตาม ขอให้สื่อชัด ฟังชัด แล้วก็หยุด ไม่จำเป็นต้องเถียงเพื่อเอาชนะ พยายามทำสิ่งนั้นให้เป็นวัฒนธรรม “คนเล่นอินเตอร์เน็ทเหมือนคนที่เพิ่งออกจากคุก เหมือนเพิ่งมีเสรีภาพ ไม่มีกำแพง ไม่มีผู้คุม ก็ใส่กันเต็มที่ แต่สังคมพลาดตรงที่ไปเขียนกฎหมายมาครอบ สิ่งที่เราต้องการไม่ใช่กฎหมายแต่คือวัฒนธรรม แต่เราไม่ได้สร้างวัฒนธรรมในโลกออนไลน์ให้ดี เราพูดถึงสิ่งนี้น้อยมาก ไม่ว่าจะฝ่ายไหนสีอะไรพูดถึงสิ่งที่ก้าวหน้าแต่ไม่สร้างวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าเลย สังคมเราขาดวัฒนธรรมประชาธิปไตย” บก.ลายจุดยังอธิบายเพิ่มเติมถึงคำว่า วัฒนธรรม ในมุมมองของตัวเอง “ที่เห็นรำๆ เอื้อนไปเอื้อนมา ไม่ใช่วัฒนธรรม แต่มันคืออดีตที่เราสต๊าฟไว้ให้เรามองเห็นผ่านกาลเวลา จริงๆ มันไม่มีใครแต่งตัวนางรำแบบนั้นให้เห็นในชีวิตจริง วัฒนธรรมเป็นสิ่งมีชีวิต มีตัวตนจริงๆ ตื่นขึ้นมาก็ทำสิ่งนี้ คุณกินกาแฟ คุณใช้อินเตอร์เน็ตนี่แหละคือวัฒนธรรม คุณทำสิ่งนั้นจริงๆ ไม่ต้องทำพิธีกรรมเล่นอินเตอร์เน็ตเล่นทวิตเตอร์ร่วมกันปีละครั้ง แบบนั้นเขาเรียกการอนุรักษ์ วัฒนธรรมมันจะเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ และเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับชีวิต ไม่ฝืดไม่ฝืน การใส่ชุดไทยปีละครั้งมันไม่ใช่วัฒนธรรม มันเป็นแค่การเอามาโชว์ อนุรักษ์ว่าเราเคยมีสิ่งนี้อยู่”
สังคมไทยขาดวัตถุดิบทางความคิดที่มีคุณภาพ วิจารณ์ NGOs ตกเทคโนโลยี บก.ลายจุดกล่าวว่าตนสนใจ Wikipedia เพราะมองว่า Wikipedia เป็นฐานความรู้ที่เป็นตัวช่วยทดแทนระบบการศึกษาที่สิ้นหวังได้ มีคนเคยถามว่าทำไมคนไทยยังเชื่อว่าโคตรเหง้าของเรามาจากรัฐสุโขทัย ก็เพราะความรู้ในระบบที่จำกัดมีให้เราแค่นี้ แต่ Wikipedia มันขยายความรู้ไปได้ไกล ความรู้ที่ผลิตออกมามันเป็นอีกแบบหนึ่ง ทำให้เรายืนอยู่บนความจริง “เมื่อโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่การผลิตต้องใช้ความรู้ สติปัญญา แต่เราไม่ได้ลงทุนกับเรื่องแหล่งข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบทางความคิด สังคมจะก้าวไปอย่างไร ถ้าดินประเทศไทยแห้งขนาดนี้ ไม่มีสารอาหารขนาดนี้ เราจะผลิตอะไร นี่คือสิ่งที่กังวล” บก.ลายจุด ยังวิจารณ์ NGOs ไทยว่าไม่ค่อยนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารกับผู้คนภายนอก การทำโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบเก่าๆ มันไม่สามารถรู้ได้ว่าใครหรือคนกลุ่มไหนที่กำลังตามหาเรา หรืออยากเข้ามาช่วย แต่ Social network เป็นประตูเชื่อมให้คนที่มีความต้องการสอดคล้องกันได้มาเจอกัน NGOs ไม่สามารถเป็นผู้นำทางความคิดในสังคมได้เพราะเทคโนโลยีที่ใช้อยู่มีประสิทธิภาพต่ำ ทั้งยังมีทัศนะเกี่ยวกับตัวเองว่า small is beautiful ซึ่งเป็นแนวคิดเฉพาะของ NGOs ไทย ชอบทำตัวเหมือนเป็นหนูในท่อ ทำงานหนักแต่คนก็ไม่รู้จักไม่เข้าใจความคิด ในช่วงการถามแลกเปลี่ยน ผู้ฟังถามว่าการเป็นนักเคลื่อนไหวหน้าจอคอม หรือ Clicktivism แสดงความเห็น กด Like กด Share Retweet แต่ไม่ออกไปประท้วงบนถนนนั้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจริงๆ หรือไม่ บก.ลายจุด ตอบว่า แม้แต่คลิกก็เปลี่ยนแปลงสังคมได้ การคลิกมีผลทำให้คนลงไปบนท้องถนนมากขึ้น มีหลายคนที่เคลื่อนไหวหน้าจอคอมแต่ก็ลงไปบนถนนด้วย ช่วงแลกเปลี่ยนยังมีการตั้งคำถามว่า การกด Like ใน Facebook มันแปลว่าอะไรได้บ้าง ผู้ฟังบางส่วนมองว่าการกด Like ไม่ได้มีความหมายในตัวมันเอง Like ไม่ได้แปลว่าชอบเสมอไป จำนวน Like ในแฟนเพจอาจไม่ได้บอกจำนวนผู้นิยมชมชอบ แต่แสดงถึงความสนใจติดตามของผู้คน การ Retweet ก็ไม่ได้แปลว่าต้องเห็นด้วย ตรงกันข้าม อาจแปลว่าไม่เห็นด้วยแต่อยากประจาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
โสภณ พรโชคชัย: แนวทางการแก้ปัญหาแฟลตดินแดง Posted: 25 May 2012 04:24 AM PDT ข่าวเกี่ยวกับการรื้อแฟลตดินแดงที่มีอายุ 47 ปี (2508-2555) กำลังฮือฮากันอยู่ในขณะนี้ ดูประหนึ่งทางราชการไม่เห็นใจชาวบ้าน แต่ในความเป็นจริงแฟลตเหล่านี้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ที่ควรจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อประชาชนไทยโดยรวม ตอนแรกสร้างแฟลตดินแดงให้ชาวสลัมอยู่ ซึ่งต่อมาก็พากันขายสิทธิ์กันแทบหมด ค่าเช่าที่เช่าจากการเคหะแห่งชาติโดยตรงก็น้อยมาก ปัจจุบันคงเป็นเงินประมาณ 600 บาท ในขณะที่ค่าเช่าตลาดที่ชาวบ้านนำไปเช่าต่ออาจสูงถึง 3,000 บาท และในทางกายภาพสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียก็เคยระบุว่าควรรื้อถอน แม้อาคารเหล่านี้อาจไม่พังลงในทันทีแต่ก็คงในไม่ช้า อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ยังไม่มีการย้ายผู้อยู่อาศัย ก็คงเป็นเพราะยังอาจขาดแผนการโยกย้ายที่แน่ชัด และเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงจากค่าเช่าที่ต่ำมากนั่นเอง เหตุผลของ “คนจน” ที่ไม่ยอมย้าย ได้แก่ ค่าเช่าถูก ไม่สามารถไปหาที่เช่าที่ถูกเช่นนี้ได้อีก ค่าชดเชยไม่สามารถชดเชยวิถีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนไป อยู่มานานคุ้นเคยกับอยู่แถวนี้ และมีลูกหลานเรียนหนังสืออยู่แถวนี้ เชื่อว่าอาคารยังแข็งแรง เกรงว่าทางราชการจะเอาที่ดินที่เป็นทำเลทองนี้ไปโกงกินหาผลประโยชน์ เหตุผลเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเช่นกัน เหตุผลที่ควรขอให้ชาวแฟลตดินแดงย้ายออกจาก ได้แก่: 1. ที่ผ่านมา ค่าเช่าถูกมาก (ไม่เกิน 600 บาท) ยังไม่พอค่าดูแลชุมชน การเคหะแห่งชาติยังต้องแบกภาระค่าดูแลเพิ่มเติมให้อีก ดังนั้นจึงเท่ากับได้อยู่ฟรี โดยอยู่มา 42 ปี หรือ 2 ชั่วคนแล้ว สมควรที่จะคืนสมบัติของแผ่นดิน (ทรัพยากรของประชาชน) นี้แก่ส่วนรวม 2. ถ้านำแฟลตเหล่านี้ไปให้เช่าต่อ คงได้ค่าเช่าเดือนละ 3,000 กว่าบาท แสดงว่าแต่ละปี แต่ละเดือนที่ผ่านมา ผู้ครอบครองได้กำไรจากสมบัติของแผ่นดินเป็นเงินนับล้านแล้ว วันนี้จึงควร “พอ” 3. ประชาชนทั่วไปไม่เคยโชคดีได้ (อภิ)สิทธิ์ แบบนี้ เพราะต้องเก็บหอมรอมริบไปหาซื้อบ้านที่มักตั้งอยู่นอกเมืองไกล ๆ เพื่อให้ได้ราคาถูก ชาวบ้านทั่วไปต่างต้องตื่นแต่เช้าเดินทางมาทำงานหรือส่งบุตรหลานมาเรียนหนังสือในเมืองเช่นกัน 4. อาจมีบางครอบครัวในแฟลตดินแดงที่ฐานะยากจน ไปไหนไม่ได้จริง ๆ ในกรณีนี้ ถ้าเป็นคนแก่ไร้ญาติก็คงต้องสงเคราะห์กันไป แต่ถ้าเป็นครอบครัว ก็คงต้องหางาน หาสถานศึกษาให้บุตรหลานได้เรียน รวมทั้งหางานให้บุตรหลานทำเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว แต่จะมาครอบครองสมบัติของแผ่นดินไปเรื่อย คงไม่ได้ 5. หากแฟลตเหล่านี้เป็นของเอกชน คงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ให้เช่าจะจ่ายค่าชดเชยถึงรายละ 400,000 บาท เงินเหล่านี้มาจากภาษีของประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งควรนำไปใช้ประโยชน์แก่ส่วนรวมในทางอื่น การชดเชยเป็นเงินมากมายนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เสียหาย 6. ทรัพยากรของชาตินี้ควรใช้ประโยชน์ให้สมคุณค่า ในเวลานี้ที่ดินในบริเวณดังกล่าวคงมีค่าเป็นเงินตารางวาละ 200,000 บาท ทางราชการจึงควรเอาที่ดินนี้มาใช้ประโยชน์ให้ดีที่สุด และเพื่อนำรายได้และภาษีอากรที่พึงได้รับไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศโดยรวม 7. บางท่านอาจวิตกว่า ขืนให้รัฐบาลเอาที่ดินไปใช้ประโยชน์ จะมีการโกงกินเกิดขึ้น แท้จริงแล้วการโกงป้องกันได้ด้วยกระบวนการตรวจสอบที่ดี การอ้างเรื่องโกงจนไม่ทำอะไรเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา และทำให้ประชาชนทั้งประเทศเสียประโยชน์จากการที่สมบัติของแผ่นดินถูกครอบครองโดยประชาชนเฉพาะกลุ่ม เป็นสิ่งที่ควรทบทวน ประชาชนทั่วไปที่ไม่เคยเห็นสภาพของอาคารโดยเฉพาะแฟลต 1-8 ในปัจจุบัน หากได้เห็นคงไม่กล้าย้ายเข้าไปอยู่ สภาพทางกายภาพเช่นนี้เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน หากพังลงมา จะเสียหายต่อวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทย และเสียชื่อเสียงของประเทศเป็นอย่างมากที่ปล่อยให้คนอยู่ในอาคาร จนอาคารพังทลาย ในอีกแง่หนึ่ง แฟลตดินแดงหมดอายุขัยทางเศรษฐกิจ (Economic Age) แล้ว ควรรื้อเพื่อสร้างใหม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้สูงสุด โดยอาจเป็นศูนย์การค้า สำนักงาน หรืออาคารชุดพักอาศัยในรูปแบบใดก็ได้ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างหนาแน่นในใจกลางเมืองเช่นนี้ เป็นข้อดีที่ทำให้มหานครของเราจะได้ไม่ขยายออกไปในแนวราบรอบนอกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรในการจัดหาสาธารณูปโภคต่าง ๆ โดยใช่เหตุ
สิ่งที่รัฐบาลพึงทำก็คือ 1. จัดหาที่อยู่อาศัยทดแทนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในแฟลตดินแดงได้ย้ายออกไปอยู่ 2. รื้ออาคารโดยรีบด่วนก่อนที่จะมีผู้เสียชีวิต การเคหะแห่งชาติควรใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์ที่สุด เพื่อนำรายได้และภาษีอากรมาทำนุบำรุงประเทศโดยรวม 3. ให้ความรู้แก่ผู้เช่า ให้รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมให้มีจริยธรรม ไม่เอาเปรียบสังคม และหากขาดแคลนไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ตามอัตภาพ ก็อาจได้รับการสงเคราะห์ตามควรจากรัฐบาล 4. ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ให้ช่วยกันปกป้องสมบัติของแผ่นดินเอง อย่าปล่อยให้ใครโกง ทั้งผู้บริหารของหน่วยราชการ นักการเมือง หรือแม้แต่ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ครอบครองใช้สอยอยู่ 5. ควรให้ผู้อยู่อาศัยลงนามในบันทึกความเข้าใจว่า หากอาคารพังทลายลงมาและเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้อยู่อาศัยเอง จะไม่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากทางราชการซึ่งได้เตือนล่วงหน้าแล้ว ทางราชการควรนำสมบัติของแผ่นดินมาใช้สอยเพื่อประโยชน์แก่มหาชนชาวไทยทั้งมวล
ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
"ธาริต" แย้มรัฐบาลมาร์คใช้ "ผังล้มเจ้า" ทำให้เกมโอเวอร์ Posted: 25 May 2012 03:20 AM PDT 25 พ.ค. 55 - เนชั่นทันข่าวรายงานว่านายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ถึงคดีผังล้มเจ้าว่าไม่ได้ยุติแต่เป็นแค่การระงับไว้ก่อน แต่หากมีหลักฐานเพิ่มเติมก็สามารถนำกลับขึ้นมาพิจารณาได้ ทั้งนี้คดีดังกล่าวเกิดจาก ปี 2553 คนไทย สองกลุ่มทะเลาะกันอย่างรุนแรง ตนเห็นด้วยกับรัฐบาลขณะนั้นว่าต้องทำให้การฆ่ากันหยุดโดยเร็ว การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังตนเห็นด้วย และภาคภูมิใจในเป็นฝ่ายปฏิบัติให้ผู้มีอำนาจ เหมาะสมกับสถานการณ์ ณ ขณะนั้น เรื่องผังล้มเจ้าก็ปรากฏขึ้น ตนไม่อยากใช้คำว่าเป็นยุทธวิธีส่วนหนึ่งทำให้เกมโอเวอร์ ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะนั้นก็อยู่ใน ศอฉ. รวมทั้งเป็นคณะกรรมการคดีพิเศษก็ได้เสนอให้เป็นคดีพิเศษ ตนรู้สึกว่าเมื่อฝ่ายความมั่นคงได้บอกว่าได้ช่วยกันทำชาร์ทผังล้มเจ้า เราก็รู้สึกว่าไม่สบายใจ ถ้ามีขบวนการที่จะล้มเจ้าก็เป็นเรื่องที่หน่วยบังคับใช้กฎหมายต้องดำเนินคดี นายธาริตกล่าวถึงเหตุผลทำไมจึงงดการสืบสวนว่า ในผังมี 29 รายชื่อเราสอบสวนร่วมกับอัยการ เราทำงานรูปคณะกรรมการสอบสวนและร่วมกันทำเรื่องนี้มา ใน 39 รายชื่อมีบางรายชื่อที่เข้าข่ายกระทำการล่วงละเมิดตาม ม.112 เราก็แยกเป็นรายคน ซึ่งทั้งสั่งฟ้อง อัยการเห็นด้วย บางคนสารภาพ ศาลลงโทษ บางคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลและอัยการ ที่บอกว่าเลิกเป็นศูนย์ไม่ใช่ เราดำเนินการเป็นส่วนๆ แต่อีกส่วนของผังล้มเจ้า การกระทำของ 19 คนที่เป็นขบวนการเดียวกัน เราสอบมาสองปีเศษแล้ว พนักงานสอบสวนเชื่อแต่แรกว่ามีที่มาที่ไปแต่พอสอบเข้าก็ไม่มีใครยอมรับว่าใครเป็นคนทำ หรือมีวิธีคิดอย่างไร ทำเป็นขบวนการอย่างนั้นอีกทั้งหน่วยที่ทำก็ไม่มีใครยอมรับ ทุกคนปฏิเสธว่าไม่มีส่วนร่วมในการทำผัง พอทำหนังสือเราก็ทำหนังสือถึง ผอ.ศอฉ. ซึ่งก็คือนายสุเทพในขณะนั้น แต่นายสุเทพก็ไม่ตอบ และไม่มีข้อเท็จจริงว่าใครเป็นคนทำ ขณะพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็บอกว่าเป็นคนกลางอีกที เมื่อถามว่าใครทำ พ.อ.สรรเสริญก็บอกว่าเป็นฝ่ายความมั่นคง ทั้งนี้ผังล้มเจ้าไม่เคยนำเข้าที่ประชุม ศอฉ. เรื่องดังกล่าว พ.อ.สรรเสริญเป็นผู้นำไปเปิดเผยต่อสาธารณชน แต่เมื่อถามท่านท่านก็ไม่แน่ใจว่าใครทำ "เรื่องผังล้มเจ้า ในการข่าวมีหรือไม่ผมไม่เถียง แต่ถ้าจะให้เขาติดคุกติดตะรางก็ต้องทำให้สิ้นสงสัย"นายธาริตกล่าว เมื่อถามว่า ครั้งนั้่นใช้ 112 เป็นมาตรการในทำให้เกมส์โอเวอร์ เป็นเหตุให้ตอนนี้เกิดความสับสนเรื่องการใช้ ม. 112 หรือไม่ นายธาริตกล่าวว่า ดีเอสไอเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐ กติกากำหนดว่า ฝ่ายบริหารเป็นฝ่ายรัฐบาล ข้าราชการประจำเป็นฝ่ายปฏิบัติ ในปี 2553 มีนโยบายใช้กฎหมายอย่างจริงจังให้มันจบ เมื่อสถานการณ์เลิก รัฐบาลนี้ใช้มาตรการเรื่องปรองดอง ก็ต้องให้ส่วนราชการปฏิบัติ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติว่าให้ข้าราชการพลเรือนต้องปฏิบัติตามนโยบายราชการ แล้วจะถูกประณามว่าเปลี่ยนสี ก็กติกาเป็นอย่างนี้แล้วจะให้ทำอย่างไร ตนไม่สบายใจมากว่าเมื่อสังคมยังแตกแยก ดีเอสไอรับผิดชอบงานคดีด้านนี้ ฉะนั้นจะมีความเห็นอย่างไรต้องมีทั้งคนถูกใจและไม่ถูกใจ ส่วนคดีหมิ่นเบื้องสูงของนายจตุพรนั้น นายธาริตกล่าวว่า เมื่อได้ฟังครั้งแรกก็รับไม่ได้ เมื่อมาร้องเราก็ต้องรับ ขณะนั้นตนก็แว้บขึ้นมาว่าใครมาพูดอย่างนี้น่าจะเข้าข่ายผิด จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาและสอบสวน แต่พนักงานสอบสวนก็ใช้พยานกลาง คือนักภาษาศาสตร์ อีกกลุ่มคือนักสื่อสารมวลชน และ มวลชนที่ฟัง เมื่อมาประมวลบอกว่าต้องฟังให้ครบทั้ง ซึ่งสรุปว่า เขาพูดในบริบทที่ต่อว่าผู้นำประเทศในขณะนั้น การพูดอย่างนี้ตนว่าไม่ได้ล่วงละเมิดสถาบัน เขาพุ่งเป้าไปที่คนอื่นไม่ใช่สถาบัน ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น