โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

การปรองดองแท้จริงต้องควบคู่กับการทำความจริงให้ปรากฎ

Posted: 03 May 2012 10:00 AM PDT

 

ธิดา ถาวรเศรษฐ (รูปประกอบจาก ThaiEnews.blogspot.com)
ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.

 

ถ้าศึกษาการปรองดองในประเทศต่าง ๆ จะพบว่าการเกิดการปรองดองในประเทศใดประเทศหนึ่งได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ที่ผู้เขียนมาทบทวนพิจารณาดังนี้ คือเหตุผลชุดที่หนึ่งที่เป็นขั้นแรก

ประการแรก ความขัดแย้งได้ลุกลามร้าวลึก จนสร้างความเกลียดชังระหว่างกันอย่างรุนแรง

ประการที่สอง มีการต่อสู้ด้วยอาวุธ มีการเข่นฆ่ากันโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชนสองฝ่าย

ประการที่สาม ประเทศนั้น ๆ ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขอีกต่อไป มีโอกาสที่ความขัดแย้งจะลุกลามขยายตัว การลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธขยายตัวมีคนล้มตายมากขึ้นเรื่อย ๆ

ประการที่สี่ ถึงเวลาที่คนในสังคมตระหนักว่าอยู่อย่างนี้ต่อไปไม่ได้

นำมาสู่เหตุผลชุดที่สองขั้นต่อมาเพื่อนำไปสู่การปรองดอง หลังจากที่คนในสังคมตกลงใจว่าจำเป็นต้องปรองดองเพื่อความปกติสุขของสังคม ถ้าคนในสังคมยังไม่สุกงอมที่จะปรองดอง การปรองดองด้วยความคิดของคนส่วนน้อยจะยังไม่สัมฤทธิ์ผลเป็นอันขาด ดังนั้นการปรองดองจะเกิดได้หรือไม่ต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของคู่ขัดแย้ง การทำความเข้าใจว่าคู่ขัดแย้งหลักและปัญหาหลักของประเทศคืออะไร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ให้ตรงจุด

เมื่อคนส่วนหนึ่งคิดว่าคู่ขัดแย้งหลักในสังคมไทยคือคุณทักษิณ ชินวัตรและพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ การแสดงออกของทั้งสองฝ่ายในทิศทางการปรองดอง จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญโด่งดัง และเชื่อว่าจะทำให้จบเรื่องขัดแย้งในสังคมได้ และเมื่อความต้องการให้เกิดการปรองดองขึ้นในประเทศไทยนั้นได้มาจากชัยชนะทางการเมืองในการเลือกตั้ง ทำให้พรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณ ปรารถนาจะให้ก้าวต่อไปในการบริหารประเทศ มั่นคง แก้ปัญหาของประเทศและผู้ถูกกระทำทั้งหลายทั้งปวง สร้างนิติรัฐ นิติธรรมได้ อย่างรวดเร็ว กระบวนการปรองดองในรูปแบบต่าง ๆ จึงมีความพยายามให้เกิดขึ้นให้ได้เร็วที่สุด ในขณะที่กลุ่มเครือข่ายระบอบอำมาตย์ที่มีอำนาจกุมกลไกรัฐและกุมสังคมไทย ยังไม่ยินดีเข้าสู่กระบวนการปรองดอง เห็นได้ชัดจากเวทีรัฐสภาที่มีวุฒิสมาชิกและพรรคประชาธิปัตย์ ที่สำแดงกำลังขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างสุดกำลัง ประสานกองกำลังนอกระบบ มีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า สส. และ สว. สี่ร้อยกว่าคนทำผิด จึงขอให้ศาลถอดถอน ในข้อหาล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550

หรือกลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มสหธรรมิก กลุ่มสารพัดชื่อแปลก ๆ ก็พยายามเคลื่อนไหว (ที่ไม่มีคนร่วม) เพื่อต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่นำไปสู่การให้มี สสร. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่

แต่ด้วยเหตุที่คุณทักษิณและป๋าเปรมเป็นบุคคลสำคัญในฝ่ายความขัดแย้งสองข้าง การพยายามปรองดองของบุคคลสำคัญจึงเป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย และส่งผลต่อกระแสรวมของความขัดแย้งในสังคม จึงเป็นเรื่องน่าพิจารณาว่า เพียงการตกลงใจของสองคนจะทำให้สังคมไทยตกผลึกในเรื่องการปรองดองหรือไม่ คำถามต่อมา คุณเปรมต้องการปรองดอง จริงหรือไม่? และเครือข่ายระบอบอำมาตย์ในระบบราชการที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนทั้งหลายต้องการปรองดอง จริงหรือไม่?

ทั้งต้องเน้นที่คำถามสำคัญว่า เครือข่ายอำมาตย์รวมทั้งคุณเปรมยินดีที่จะคืนอำนาจให้กับประชาชน จริงหรือไม่? ทนได้หรือไม่? ยอมรับได้ไหมที่ประชาชนไทยจะมีอำนาจแท้จริงทางการเมืองการปกครอง โดยให้สิ้นสุดระบอบอำมาตยาธิปไตย

ถ้าคำตอบคือไม่จริงหรอก เช่นนั้น การปรองดองก็เป็นเพียงการต่อรองให้พื้นที่ระบอบอำมาตย์ยังมีอยู่จำนวนหนึ่งใช่หรือไม่? ปรองดองเพื่อแบ่งพื้นที่ของผู้ปกครองสองฝ่ายให้พออยู่ร่วมกันได้ อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง นี่จึงไม่ใช่การปรองดองที่แท้จริง เป็นเพียงการปรองดองของผู้ปกครองกันเอง มิใช่การปรองดองของประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยกับผู้ปกครองที่ไม่ต้องการคืนอำนาจให้กับประชาชน และที่จริงประชาชนในโลกนี้ไม่มีเหตุผลที่จะต้องปรองดองกับผู้ปกครอง ประชาชนมีแต่ถูกปกครองด้วยอำนาจปกครองที่ชอบธรรมหรือไม่ และถูกบังคับให้จำยอมต่ออำนาจปกครองที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ สัจธรรมมีว่า มีแต่การต่อสู้ของประชาชนเท่านั้น จึงจะได้อำนาจมาเป็นของประชาชน แต่การปรองดองของรัฐบาลกับคนสำคัญทางระบอบอำมาตยาธิปไตยก็สร้างความสบายใจให้กับประชาชนทั่วไปได้พอสมควร เพราะเป็นการมองในมิติรวมของสังคมไทยตามโพลที่ได้สำรวจกันมา ทั้งชอบธรรมสำหรับรัฐบาล แต่สร้างความไม่สบายใจให้กับคนเสื้อแดงจำนวนไม่ใช่น้อย เพราะประชาชนคนเสื้อแดงยังไม่ยินดีจะปรองดองกับผู้ปกครองในฝ่ายอำมาตยาธิปไตย จนกว่าสังคมรู้ความจริงและเอาคนผิดมาลงโทษ (ลองสอบถามดูได้)

สำหรับกระบวนการปรองดองจะเริ่มต้นนับหนึ่งได้นั้น สังคมไทยต้องมีความรับรู้ร่วมกัน ในระดับใกล้เคียงกัน ในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อตระหนักถึงความจำเป็นในการเดินไปสู่ทิศทางเดียวกันในอนาคตสังคมไทย

ดังนั้น การทำความจริงให้ปรากฏชัดเจนในเรื่องราวที่เกิดขึ้น ตั้งแต่มูลเหตุของความขัดแย้ง เปิดเผยการทำรัฐประหาร ใครได้ใครเสียประโยชน์ และความจริงในการเข่นฆ่าประชาชน จนถึงการทำคดีและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ใช่นิติธรรม เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเปิดเผยความจริงเหล่านี้ เป็นวาระเร่งด่วน มิฉะนั้นจะเกิดการปรองดองที่แท้จริงไม่ได้นอกจากแสดงลิเก สำหรับคณะ คอป. ที่ตั้งขึ้นมาในยุคประชาธิปัตย์ที่เอาอย่างการแก้ปัญหาในต่างประเทศ ก็ลืมชื่อของตนเองว่าต้องเป็นคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ เลยไม่มีผลงานในการค้นหาความจริงออกมาเลย ได้แต่ลอกตัวเลขจากหน่วยงานเกี่ยวกับคดีและคนได้รับผลกระทบ ไม่ได้นึกว่าชื่อองค์กรนี้บ่งถึงภาระหน้าที่สำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป คือค้นหาและเปิดเผยความจริงเพื่อนำไปสู่การปรองดอง ผู้เขียนได้พยายามสอบถามประชาชนคนเสื้อแดง ทุกคนต้องการทำความจริงให้ปรากฏและเอาคนผิดมาลงโทษทุกคน แต่ก็ยินดีที่จะปรองดอง เพราะพวกเขาเชื่อว่าคนเสื้อแดงไม่ได้ทำผิด ไม่มีกองกำลังอาวุธ มาเรียกร้องประชาธิปไตยให้ยุบสภาเพื่อให้เลือกตั้งเท่านั้น กระบวนการปรองดองในต่างประเทศก็ต้องเริ่มจากการจัดตั้งคณะกรรมการคอป.(TRC) แบบนี้ขึ้น แล้วทำงานเพื่อค้นหาความจริงอย่างจริงจังก่อนเข้าสู่กระบวนการปรองดอง คณะกรรมการ คอป. (TRC) ในต่างประเทศจะเอาการเอางานในการค้นหาความจริง แล้วตีแผ่ในทั้งประเทศและต่างประเทศ

ขณะนี้คดีความที่ไต่สวนในคดีผู้เสียชีวิตก็เริ่มขึ้นแล้ว ชัดเจนว่าการตายของทหารที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยานั้น ตายด้วยระเบิดมือ M67 ที่คนเสื้อแดงไม่มีความสามารถจะไปขว้างได้ในระยะที่หวังผลการขว้าง เพราะอยู่ห่างกันกว่าระยะขว้างระเบิดมือ และเป็นไปไม่ได้ที่คนเสื้อแดงจะมีอาวุธเช่นนั้น นี่เป็นตัวอย่างในกรณีการตายของทหารว่าไม่ได้เกิดจากคนเสื้อแดงหรือ M79 หรืออาร์ก้าจากชายชุดดำ

ความขัดแย้งที่จะคลี่คลายได้ต้องทำให้ความรับรู้ในสังคมค่อนข้างเป็นเอกภาพ บนพื้นฐานของความจริง กระบวนการปรองดองจึงจะขับเคลื่อนต่อไป ถ้าไม่ใส่ใจที่จะทำให้สังคมชัดเจนว่ามีอะไรเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาการปรองดองก็จะเดินหน้าโดยความขัดแย้งยังมีแต่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากสังคมได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกกำลังผู้ปกครองในระบอบอำมาตย์ฯ แทรกแซง สร้างภาพให้กลุ่มตนถูกต้อง ให้ประชาชนเป็นพวกเลวร้าย ผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง จึงจำเป็นต้องทำให้ข้อมูลข่าวสารจริงได้เป็นที่รับรู้ในสังคม ดังนั้นการปฏิรูปสื่อเพื่อประชาชนต้องเกิดขึ้นให้ได้ พร้อมกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ให้ได้นิติรัฐ นิติธรรม เปิดเผยการเข่นฆ่าประชาชนและกระบวนการใส่ร้ายป้ายสี มิใช่เพื่อความอาฆาตมาดร้าย แต่ให้ได้เอกภาพแห่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเรื่องจริง จากนั้นจึงจะปูทางสู่นิติรัฐ นิติธรรมและการปรองดองได้

ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า รัฐบาลนี้ต้องเร่งขบวนการทำความจริงให้ปรากฏโดยเร็วที่สุด ทำให้การไต่สวนคดีที่รัฐและประชาชนฟ้องร้องเจ้าหน้าที่และผู้ทำผิดในการเข่นฆ่าประชาชนเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ และดำเนินการโดยเร็ว ให้ประกันและปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังจากคดีการเมือง

ทบทวนแก้ปัญหาการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม ตั้งข้อหารุนแรงเกินจริง พยานหลักฐานเท็จ บังคับให้สารภาพผิดในสิ่งที่ไม่ได้ทำ สารพัดความเลวร้ายที่กระทำต่อเพื่อนมนุษย์และคนไทยด้วยกัน ที่ยังไม่ได้ทำในยุคนี้ ก็เพียงแต่เผาในถังแดงเท่านั้น ถ้าไม่แก้ปัญหาเหล่านี้ สังคมไทยไม่มีทางที่จะบรรลุความปรองดอง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พธม.วอนศาลเว้นค่าธรรมเนียมอุทธรณ์คดีปิดสนามบิน ระบุ 13 แกนนำไม่มีรายได้ประจำ

Posted: 03 May 2012 09:46 AM PDT

แกนนำพันธมิตรฯไต่สวนคำร้องขอละเว้นค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ ร้อยละ 2.5 จากค่าปรับ 522 ล้าน คดีชุมนุมสุวรรณภูมิ ระบุจำเลยทั้ง 13 คน ไม่มีรายได้ประจำจึงไม่สามารถนำเงินมาวางในชั้นอุทธรณ์ได้ 
 
3 พ.ค. 55 - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่าศาลนัดไต่สวนคำร้อง คดีที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กับพวกรวม 13 คน จำเลย คดีที่บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ยื่นฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ 6453 /2551 เรียกค่าเสียหายจากการชุมนุมปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ได้ยื่นขอให้ศาลพิจารณาสั่งละเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ ร้อยละ 2.5 จากวงเงินค่าปรับที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาให้แกนนำและแนวร่วมพันธมิตรฯจ่ายจำนวน 522,160,947 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ในคดีชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง 
 
โดยในวันนี้ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ ยื่นคำเบิกความของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ,นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์,นายอมร อมรรัตนานนท์ และนายสุริยะใส กตะศิลา เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อชี้ให้ศาลเห็นว่า แกนนำและแนวร่วมพันธมิตรฯ จำเลยทั้ง 13 คน ไม่มีรายได้ประจำ จึงไม่สามารถนำเงินมาวางในชั้นอุทธรณ์ได้ อีกทั้งการฟ้องร้องในคดีนี้ ไม่ได้เป็นการฟ้องเพื่อเรียกหนี้สินส่วนบุคคล แต่การกระทำของแกนนำพันธมิตรฯที่ตกเป็นจำเลยเป็นการทำเพื่อประเทศชาติ ทั้งนี้ศาลแพ่งนัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ เวลา 13.00 น.
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานร้องศาลปกครอง ได้รับผลกระทบจากการทำงานของอุทยานฯ

Posted: 03 May 2012 09:42 AM PDT

ปู่คออี้นำชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อศาลปกครองกลาง

ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 เวลา 13.00 น. ณ ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ (“ปู่คออี้” ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งป่าแก่งกระจาน) อายุ 101 ปี พร้อมชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จะยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเรียกค่าเสียหายกรณีได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยการรื้อทำลาย เผาบ้านเรือน ยุ้งฉาง และทรัพย์สิน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา และขอสิทธิในการกลับไปอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่บรรพบุรุษป่าแก่งกระจาน

ด้วยเมื่อวันที่ 5-9 พฤษภาคม 2554 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของนายโคอิ หรือคออี้ มีมิ และชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบริเวณตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี กว่า 20 ครอบครัว จนได้รับความเสียหายแก่สิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน โดยมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉาง ถูกจุดไฟเผาราว 100 หลัง ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า” มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ยุทธการตะนาวศรี”

นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ และชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่เรียกตัวเองว่า “ปกาเกอะญอ” (จกอว์ หรือสกอว์) มี “อัตลักษณ์ชาติพันธุ์” เป็นของตัวเอง ตั้งรกรากถิ่นฐานบนพื้นที่สูงบริเวณลำห้วยเหนือแม่น้ำบางกลอย ที่ “บ้านบางกลอยบน” ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มาเป็นเวลานานกว่า 100 ปีนับแต่ครั้งบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน ประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนอย่างพอเพียง ซึ่งได้รับการวิจัยและพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการทางด้านเกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ นิเวศวิทยา และมานุษยวิทยานิเวศ แล้วว่า เป็นการทำไร่เชิงคุณภาพที่รักษาสมดุลของธรรมชาติ

นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ กับพวกรวม 6 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี จึงได้นำคดีมาสู่ศาลปกครองกลาง เพื่อยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ ในฐานะหน่วยงานซึ่งกำกับดูแลอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะเหตุที่นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน ละทิ้ง/ ออกจากบ้านเรือนที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย-บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นการออกคำสั่งโดยมีความผิดพลาดในข้อเท็จจริง (l’erreur de fait) นายชัยัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ไม่ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง สถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติและกฎหมายทะเบียนราษฎรของผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน รวมถึงไม่ตรวจสอบพื้นที่ทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนดั้งเดิมเสียก่อน โดยกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน เป็น “ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ทั้งยังรื้อ เผา ทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการทางปกครอง การกระทำทางปกครองที่ขัดต่อพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และขัดต่อหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ทั้งยังเป็นการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองที่ขัดต่อหลักกฎหมายปกครอง เพราะตามข้อเท็จจริงเห็นได้ชัดว่ามีมาตรการที่เหมาะสมอยู่หลายมาตรการ แต่มาตรการที่นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ในฐานะฝ่ายปกครอง เลือกที่จะเผาทำลายบ้านและทรัพย์สินของชาวบ้าน มิใช่มาตรการที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีมาตรการอื่นๆ ภายใต้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่องแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักกฎหมายปกครองมากกว่า คือ การยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้งเดิม, การเพิกถอนพื้นที่ที่รับประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้อนุรักษ์ ป่าสงวน ซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ได้อยู่อาศัยดำเนินชีวิตและใช้ประโยชน์ที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานานหรือก่อนที่รัฐจะประกาศกฎหมายหรือนโยบายทับซ้อนพื้นที่ดังกล่าว

การกระทำของนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน และชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ทำให้ต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย ทรัพย์สิน พื้นที่ทำกิน และสูญเสียอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และศักยภาพในการสืบทอดวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรมซึ่งเป็นวิถีที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและวิถีชีวิตพอเพียงตามรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 หน่วยงาน ชดใช้ค่าเสียหาย และขอสิทธิในการกลับไปอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่เดิมซึ่งเป็นพื้นที่บรรพบุรุษ โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง

ก่อนหน้านี้นายน่อแอะ หรือหน่อเอะ มีมิ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบุตรชายนายนายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติการดังกล่าวเช่นกัน ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2,622,500 บาท โดยศาลได้รับคำฟ้องไว้พิจารณาแล้ว
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ChinaAid เผยเฉินกวงเฉิงถูกรัฐบาลจีนขู่ให้ออกจากสถานทูตสหรัฐฯ

Posted: 03 May 2012 09:38 AM PDT

หลังจากกรณีที่เฉินกวงเฉิง นักกิจกรรมตาบอดหนีออกจากการกักบริเวณของจีนไปอยู่ในสถานทูตสหรัฐฯ ขณะที่ภรรยาเพื่อนของเฉินและองค์กร ChinaAid เผยว่า ครอบครัวเฉินถูกรัฐบาลจีนข่มขู่ ทำให้เขาจำต้องออกจากสภานทูต

 
3 พ.ค. 2012 - เว็บไซต์ ChinaAid รายงานว่าเมื่อเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ของวันที่ 2 พ.ค.ตามเวลาของจีน เชงจินยาน ภรรยาของหูเจียเพื่อนสนิทของเฉินกวงเฉิง นักกิจกรรมที่หนีการกักบริเวณของรัฐบาลจีน ได้โพสท์ข้อความในทวิตเตอร์บอกว่าสื่อไม่ได้รายงานข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรณีของเฉินกวงเฉิง โดยเฉินไม่ได้ออกจากสถานทูตสหรัฐฯ ด้วยความประสงค์ของตนเอง
 
มีสื่อบางฉบับในจีนรายงานว่า รัฐบาลสหรัฐฯ และจีน ต่างก็ตกลงร่วมกันในกรณีของเฉิน ซึ่งเป็นเรื่อง "น่าอับอาย"
 
ต่อมา เซง จินยาน กล่าวผ่านทวิตเตอร์ว่า กวงเฉินโทรศัพท์หาเธอบอกว่า เขาไม่ได้พูดว่า "ผมอยากจูบ" ฮิลลารี่ คลินตัน ตามที่สื่อรายงาน แต่เขาใช้คำว่า "ผมอยากพบกับ" ฮัลลารี่ คลินตัน รมต.ต่างประเทศ ของสหรัฐฯ
 
ChinaAid เผยครอบครัวเฉินถูกข่มขู่
ทวีตตอบโต้ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สื่อรัฐบาลจีนรายงานข่าวว่า เฉิน กวงเฉิง เดินออกมาจากสถานทูตสหรัฐซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองทางการทูตด้วยตนเองเมื่อวันที่ 2 พ.ค.
 
บ็อบ ฟู ประธาน ChinaAid ได้รับโทรศัพท์จาก ไมค์ โพสเนอร์ ผู้ช่วยของฮิลลารี่ คลินตัน ซึ่งจะมาเยือนจีนพร้อมกับฮิลลารี่ โพสเนอร์บอกว่า เขาได้ร่วมเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวของเฉินในกรุงปักกิ่ง รวมถึงไปเยี่ยมบางคนในโรงพยาบาล
 
โพสเนอร์กล่าวย้ำว่าทางการสหรัฐฯ มีหน้าที่ดูแลให้ครอบครัวของเฉินปลอดภัยและเป็นอิสระ ขณะเดียวกันก็บอกว่าต้องมีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทางรัฐบาลจีนและรัฐบาลสหรัฐฯ วางไว้ การแก้ต่างทางกฏหมายของเฉินจึงจะเป็นผล
 
อย่างไรก็ตามทาง ChinaAid ก็ได้รับรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือบอกว่า เหตุที่เฉินตัดสินใจออกจากสถานทูตสหรัฐฯ เนื่องจากถูกบังคับให้ทำ จากการที่รัฐบาลจีนข่มขู่สมาชิกครอบครัวของเฉิน และจากรายงานที่เกี่ยวข้องกันระบุว่าทางสหรัฐฯ ได้ทอดทิ้งเฉินแล้ว
 
ส่วนทวิตเตอร์ของเชงจินยาน เขียนไว้ว่า "หยวนเว่ยจิง (ภรรยาของเฉิน) บอกเมื่อตอนเที่ยงว่า เธอพบเจอเฉินกวง เจ้าหน้าที่ในเมืองหลินยี่ มณทลซันตง ได้วางกล้องวงจรปิดไว้ในบ้านเฉิน และมียามถือไม้เฝ้าอยู่ในบ้าน ถ้าหากกวงเฉิงไม่ออกจากสถานทูตสหรัฐฯ ภรรยาและลูกของเขาจะถูกส่งตัวกลับไปที่บ้านในเมืองหลินยี่ มณทลซันตงโดยทันที"
 
ทวิตเตอร์ของจินยานเผยอีกว่า "กวงเฉิงไม่ได้ต้องการออกจากสถานทูตสหรัฐฯ แต่เขาไม่มีทางเลือก หากเขาไม่ออก หยวนเว่ยจิง จะถูกส่งกลับซันตงโดยทันที หวาน เว่ยจิง บอกกับฉันว่า 'จินยาน ฉันกลัวมาก' "
 
บ็อบ ฟู บอกว่าพวกเขาเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์ของเฉิน หากการที่เขาถูกบีบให้ออกจากสถานทูตสหรัฐฯ เป็นเรื่องจริง และเรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลจีนและรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยรายละเอียดการเจรจาในเรื่องเฉินและครอบครัวของเขา เพื่อที่ประชาคมโลกจะสามารถให้ความเชื่อถือต่อต่อทั้งสองฝ่ายได้
 
ด้านสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หลังจากที่เฉินออกจากสถานทูตสหรัฐฯ แล้วเขาก็อาศัยอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีนในโรงพยาบาลกรุงปักกิ่ง
 
เฉิน เผยอยากออกจากประเทศ 
และเมื่อวันที่ 3 พ.ค. เฉินก็ได้ใช้โทรศัพท์ในโรงพยาบาลคุยกับนักข่าวบอกว่าเขาอยากออกจากประเทศจีน และกลัวเรื่องความปลอดภัยของครอบครัวเขา หากเขายังคงอยู่ในจีนภายใต้สภาพที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ บอกว่าเขายังรู้สึกมีความสุขดีอยู่
 
"ผมรู้สึกไม่ปลอดภัย สิทธิและสวัสดิภาพของผมไม่มีใครรับรองได้ที่นี่" เฉินกล่าว และเสริมอีกว่าครอบครัวเขาก็สนับสนุนให้เขาเดินทางไปสหรัฐฯ
 
ฮิลลารี่ ไม่ได้กล่าวถึงกรณีเฉิน
ในวันเดียวกัน (3 พ.ค.) ฮิลลารี่ คลินตัน ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การจับตามองของบุคคลทางการทูต ก็ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐ-จีน (S&ED) โดยใช้โอกาสนี้กล่าวเรียกร้องให้จีนปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่ก็ไม่ได้เน้นย้ำถึงกรณีเฉิน กวงเฉิง
 
ด้านประธานาธิบดีจีน หู จินเทา กล่าวปราศรัยว่าทั้งจีนและสหรัฐฯ ควรเคารพกันและกันแม้จะมีความเห็นไม่ตรงกัน
 
"พิจารณาจากสภาพการณ์ของประเทศที่ต่างกันแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ที่ทั้งจีนและสหรัฐฯ จะมองในทุกๆ ประเด็นด้วยสายตาที่ตรงกัน" หู กล่าว
 
ทางการจีนร้องสหรัฐฯ ขอโทษ กรณีให้เฉินอยู่นสถานทูต
ทางสำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า ทางการจีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ ขอโทษในกรณีที่ให้ที่อยู่แก่เฉิน กวงเฉิง โดยหลิว เหว่ยมิน โฆษกการต่างประเทศของจีนกล่าวว่า ทางการจีนรู้สึกไม่พอใจในเรื่องนี้ และการกระทำของสหรัฐฯ ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน
 
 
 
 
เรียบเรียงจาก
Chinese dissident Chen seeks US exile deal
 
ChinaAid Response to Chen Guangcheng “Walking Out of US Embassy”, ChinaAid, 02-05-2012
 
Zeng Jinyan: Chen Guangcheng Talked to Me. What Media Reported Is Wrong., ChinaAid, 02-05-2012
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เริ่มแล้ว! ส่ง 2 ผู้ต้องหาป่วนใต้อบรมแทนถูกขัง ตาม ม. 21 พ.ร.บ.ความมั่นคง

Posted: 03 May 2012 09:26 AM PDT

 


 

กิตติ สุระคำแหง 

 

นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ศาลจังหวัดนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา มีคำสั่งให้นายรอยาลี บือราเฮง และนายยาซะ เจ๊ะมะ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เข้ารับการอบรมแทนการถูกขัง ตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) โดยทั้ง 2 คนยืนยันจะเข้ารับการอบรมและพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งศาลทุกประการ

นายกิตติ เปิดเผยอีกว่า  ขณะนี้ผู้ต้องหาทั้ง 2 คนเริ่มเข้ารับการอบรมที่หน่วยสันติสุข 3 ศูนย์สันติสุขกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายพระปกเกล้าที่ 5 (ป.พัน5) ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นเวลา 6 เดือน

นายกิตติ  เปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2555 ในวันที่ศาลจังหวัดนาทวีนัดไต่สวนคำร้องขอเข้าอบรมตามมาตรา 21 ของผู้ต้องหาทั้ง 2 คน มีคณะกรรมการตามมาตรา 21 ทั้ง 4 คณะ เข้าร่วมฟังการไต่สวนด้วย ได้แก่ คณะกรรมการรับรายงานตัว คณะกรรมการสอบสวนพิเศษ คณะกรรมการช่วยเหลือด้านคดีและชดเชยค่าเสียหาย และคณะกรรมการกลั่นกรองชุดสุดท้าย ก่อนเข้ากระบวนการตามมาตรา 21 นอกจากยังมีผู้ที่ได้รับความสูญเสียจากการกระทำจากผู้ต้องหาทั้ง 2 มาศาลด้วย

“ระหว่างการไต่สวน ผู้เสียหายแถลงต่อศาลว่า ให้อภัยต่อผู้ต้องหาทั้ง 2 คน และ ต้องการให้บุคคลทั้ง 2 กลับมาเป็นคนดีอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข ส่วนตนเองก็ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐแล้ว”

สำหรับผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ได้เข้ารายงานตัวของเข้าอบรมตามมาตรา 21 ต่อพล.ต.ธฤทธิ์ สุนทร อดีตผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจสงขลา ที่หน่วยเฉพาะกิจสงขลา เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2555

โดยนายรอยาลี บือราเฮง อายุ 25 ปี อยู่บ้านเลขที่ 56/1 หมู่ที่ 3 ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีหมายจับของศาลจังหวัดนาทวี คดีร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หลังจากร่วมกับพวกโจมตีฐานปฏิบัติการชุดคุ้มครองหมู่บ้านเกาะแลหนัง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย และบาดเจ็บ 1 นาย

ส่วนนายยาซะ เจะหมะ อายุ 25 ปี อยู่บ้านเลขที่ 52/6 หมู่ที่ 6 ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีหมายจับของศาลจังหวัดสงขลา ข้อหาร่วมกันก่อการร้ายพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยใช้อาวุธปืนยิง นายสุชาติ อุดม อายุ 45 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดริมถนนสายสะบ้าย้อย-คูหา หมู่ที่ 1 ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2547

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์พิพากษา คุก 2 ปี รอลงอาญา ‘ปกาเกอญอ’ ทนายเตรียมฎีกา “ป่ารุกคน”

Posted: 03 May 2012 08:40 AM PDT

 

3 พ.ค.55 เวลาประมาณ 9.00 น. ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษ นายติแป๊ะโพ (ไม่มีนามสกุล) มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา14 และมาตรา 31 วรรค 2 (3) ลงโทษจำคุก 2 ปี โดยให้รอการลงโทษไว้ก่อนมีกำหนด 1 ปี พร้อมให้จำเลยและบริวารออกจากพื้นที่ดังกล่าว  หลังจากศาลจังหวัดแม่สอดมีคำพิพากษายกฟ้องในศาลชั้นต้น

ทั้งนี้ คณะทำงานด้านกฎหมายเตรียมจะฎีกาทั้งสองคดีต่อไปเพื่อยืนยันสิทธิของชุมชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

สืบเนื่องจากนางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุล ประชาชนในชุมชนแม่อมกิ  ตำบลแม่วะหลวง  อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นชาวปกาเกอญอได้ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวน   แห่งชาติพ.ศ.2507 ข้อหาร่วมกันยึดถือ ครอบครองที่ดิน ตัด โค่น ก่นสร้างแผ้วถางป่า ทำประโยชน์ในที่ดินเขตป่าสงวนฯ และพนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1770/2551 และ 1771/2551 ต่อศาลจังหวัดแม่สอด ซึ่งเดิมในศาลชั้นต้นจำเลยได้รับสารภาพ คดีจึงไม่มีการสืบพยาน ประกอบกับขณะนั้นยังไม่มีทนายความ ศาลจึงพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด ลงโทษจำคุก 1  ปีโดยไม่รอการลงโทษ แต่เนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะล่ามไม่ได้สาบานตน ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ตามอุทธรณ์ของจำเลย

เมื่อคดีกลับมาพิจารณาคดีอีกครั้งในศาลชั้นต้น จำเลยได้ต่อสู้ว่าตนอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ดังกล่าวมาตั้งแต่บรรพบุรุษก่อนที่จะมีการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติและก่อนจะมีมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่ผ่อนผันให้ราษฎรสามารถอยู่ในบริเวณนั้นๆได้ ระหว่างรอการพิสูจน์สิทธิ และจำเลยมีวิถีการทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียนซึ่งไม่ใช่การทำไร่เลื่อนลอยตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง  มีพยานปากสำคัญเป็นนายอำเภอท่าสองยางและผู้ใหญ่บ้านขณะเกิดเหตุเบิกความสนับสนุนว่าประชาชนในพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินมาก่อนมีการประกาศป่าสงวน อีกทั้งมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เบิกความถึงรายงานการวิจัยว่าวิถีการทำไร่หมุนเวียนเป็นการผลิตที่สามารถรักษาสมดุลของธรรมชาติไม่ใช่การทำลายป่าไม้ และจากภาพถ่ายที่เกิดเหตุเป็นการทำไร่หมุนเวียน     ศาลจังหวัดแม่สอดจึงมีคำพิพากษายกฟ้องนางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุลทั้งสองคดีเนื่องจากเห็นว่าขาดเจตนาในการกระทำความผิด อัยการจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมาเมื่อวันที่  13 มีนาคม 2555 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องนางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชา เนื่องจากเชื่อว่าจำเลยอยู่และทำกินมาก่อนประกาศเขตป่าสงวนตามคำให้การพยาน ทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าสามารถเข้าแผ้วถางทำไร่ในที่เกิดเหตุได้ เป็นการขาดเจตนา ยกคำฟ้อง และให้จำเลยออกจากป่าสงวนที่เกิดเหตุเนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุ 

ส่วนในคดีนายติแป๊ะโพ (ไม่มีนามสกุล) ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยตัดสินให้จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา14และมาตรา 31 วรรค 2 (3) แต่การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามกฎหมายที่มีบทบัญญัติหนักสุด คือ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ลงโทษจำคุก 2 ปี โดยให้รอการลงโทษไว้ก่อนมีกำหนด 1 ปี พร้อมให้จำเลยและบริวารออกจากพื้นที่ดังกล่าว

ทั้งนี้โดยศาลให้เหตุผลในคำพิพากษาว่าจำเลยก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่า แล้วยึดถือครอบครองป่านั้นทำประโยชน์เพื่อปลูกพริกและข้าว อันเป็นการเสื่อมเสียแก่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยจำเลยมีเจตนา เพราะถึงแม้ว่า จำเลยจะได้ทำกินในบริเวณนั้นก่อนที่จะมีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ก็ตาม แต่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย และเมื่อปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยจะอ้างความไม่รู้กฎหมายมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้ จำเลยจึงมีความผิดและต้องได้รับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าว
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลยะลารับฟ้องคดีแพ่งกรณีทหารสังหาร ‘อาหะมะ มะสีละ’

Posted: 03 May 2012 08:09 AM PDT

ศาลยะลารับฟ้องและยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล คดีเรียกค่าเสียหายทางละเมิดกรณีเจ้าหน้าที่ทหารยิงนายอาหะมะ มะสีละ ชาวบ้านเสียชีวิตระหว่างลาดตระเวน อ้างเป็นสมาชิกกลุ่มก่อการไม่สงบ ครอบครัวยืนยันไม่เกี่ยวข้องฟ้องศาลแพ่ง นัดพร้อม 16 ก.ค.

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555  ศาลจังหวัดยะลาได้นัดไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ในคดีหมายเลขดำที่ 190/2554  ระหว่างนางอูงุง  กูโน  ที่ 1  ด.ช. อับดุลเล๊าะห์  มะสีละ  ที่ 2 ด.ญ.วิลดาน มะสีละ  ที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางละเมิด ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ต่อสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1 กระทรวงกลาโหม ที่ 2 กองทัพบกที่ 3 เป็นจำเลย  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดของจำเลยทั้งสามกระทำละเมิดใช้อาวุธปืนยิงทำให้นายอาหะมะ  มะสีละ จนถึงแก่ความตาย ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่

ทนายโจทก์นำพยานเข้าสืบสามปาก  ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีโดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล และมีคำสั่งรับฟ้อง  โดยศาลได้นัดพร้อมในวันที่  16  กรกฎาคม  2555 เวลา 9.00 น.

สำหรับเหตุในคดีนี้ คือ เมื่อวันที่  27 กรกฎาคม 2553 เจ้าหน้าที่ทหารประจำหน่วยเฉพาะกิจยะลา ที่ 12  ได้ใช้อาวุธปืนยิงนายอาหะมะ  สะสีละ  ในระหว่างออกลาดตระเวนเดินเท้า  จนเป็นเหตุให้นายอาหะมะ  สะสีละ  ถึงแก่ความตาย  และได้เผยแพร่ข่าวว่านายอาหามะ  มะสีละ เป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่  ขณะที่ญาติยืนยันว่านายอาหามะ  มะสีละ  มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบแต่อย่างใด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้สร้างความเศร้าเสียใจและความสูญเสียแก่ครอบครัวอย่างมาก ทางครอบครัวจึงประสงค์ให้สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม และกองทัพบก ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำละเมิดดังกล่าว  จึงนำคดีมายื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554          

ต่อมาวันที่  4  สิงหาคม  2554  ศาลจังหวัดยะลามีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยเห็นว่าเป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือการกระทำอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง แต่ครอบครัวผู้เสียชีวิตไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2554 และศาลอุทธรณ์ ภาค 9  ได้มีคำสั่งว่าคดีดังกล่าวเป็นการกระทำในลักษณะเดียวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจในการยิงนายอาหามะ มะสีละ จนถึงแก่ความตาย ข้อพิพาทในคดีจึงเป็นคดีที่มิใช่คดีที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองแต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นัดพร้อมก่อนพิพากษา 19 ก.ย.คดี “สมยศ” –กก.สิทธิ ชี้บทความแค่เรื่องเล่าโจมตี “เปรม”

Posted: 03 May 2012 07:08 AM PDT

 

3 พ.ค. 55 ที่ศาลอาญา รัชดา มีการสืบพยานฝ่ายจำเลยนัดสุท้าย คดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา112   โดย น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขึ้นเบิกความต่อศาลเป็นปากสุดท้าย ก่อนจะมีการนัดพร้อมในวันที่ 19 ก.ย. 55 เพื่อกำหนดวันพิพากษาอีกครั้ง เนื่องจากต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำร้องที่ส่งไปก่อนหน้านี้ว่า มาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ด้านนายสมยศ  กล่าวว่ารู้สึกพอใจกับการสืบพยานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโจทก์หรือจำเลย ขอขอบคุณผู้ที่มาให้กำลังใจทุกๆ คน โดยเฉพาะพยานที่มาให้การตามความเป็นจริง คิดว่าคำให้การของพยานหลายคนจะไม่เป็นประโยชน์เฉพาะคดีของตน แต่รวมไปถึงคดีอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย และหวังว่าทุกคนคงจะร่วมกันสู้ต่อไป

ส่วนการสืบพยาน นพ.นิรันดร์ กรรมการสิทธิฯ และอดีต ส.ว.อุบลราชธานี เบิกความว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระ มีเป้าหมายหลักคือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร ในอดีตได้ทำการตรวจสอบระบอบทักษิณว่ามีการทุจริตเชิงนโยบายอย่างไรบ้าง ตรวจสอบการฆ่าตัดตอนในคดียาเสพติด และการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล

นิรันดร์ กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาคดีอาญา ก็อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรฯ หากยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์  ผู้ถูกกล่าวหาจะถูกกระทำในลักษณะเดียวกับผู้กระทำความผิดไม่ได้  ในระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษา จำเลยต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว สำหรับนายสมยศก็เคยเข้าร้องเรียนต่อองค์กรฯ เรื่องที่รัฐบาลในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ช่วงการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง

นอกจากนี้ กรรมการสิทธิฯ ยังได้รับการร้องเรียนมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อทำลายคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน  โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า การกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทกษัตริย์ เป็นลักษณะเดียวกับการกล่าวหาว่านักศึกษาในสมัย 6 ต.ค. 19 เป็นคอมมิวนิสต์

ในส่วนของบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์  นิรันดร์เห็นว่าพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง และไม่อยากให้ใครดึงพระองค์ลงมา แต่การวิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งสามารถทำได้เพราะเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ส่วนมาตรา 112 นั้น มีอัตราโทษรุนแรงเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับข้อกล่าวหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อีกทั้งบุคคลใดก็สามารถไปร้องทุกข์กล่าวโทษได้ จึงมีนักวิชาการจำนวนมากที่ตื่นตัวต่อเรื่องนี้ เพราะต่างเห็นว่าการบังคับใช้ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็เคยเข้าร้องเรียนเรื่องนี้ต่อกรรมการสิทธิฯ เช่นกัน

นิรันดร์เบิกความถึงรูปภาพในนิตยสาร Voice of Taksin ว่าดูจากรูปแล้วเป็นข้าราชการ นักการเมือง อำมาตย์ จึงไม่น่าจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนเนื้อหาของบทความ แผนนองเลือด ก็เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ การวางแผนฆ่าทักษิณ ชินวัตร เป็นเรื่องทางการเมือง ไม่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เลย รวมถึงเรื่อง 6 ตุลาแห่ง 2553 ทั้ง2บทความอ่านแล้วก็ไม่พบว่าทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียแต่อย่างใด และโดยส่วนตัวก็ไม่เชื่อว่าในหลวงจะอยู่เบื้องหลังความรุนแรงใดๆ การเขียนในลักษณะเช่นนี้ เป็นการเขียนปรักปรำกล่าวหาโดยไม่มีข้อเท็จจริงหรือเป็นเรื่องเล่า แต่เข้าใจว่าคนสำคัญที่กลุ่มเสื้อแดงบอกว่าดึงสถาบันลงมาคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  เพราะพบว่าเปรมมีพฤติกรรมเป็นหัวหน้าอำมาตย์ การที่คนพูดเช่นนี้ก็เป็นเพราะไม่อยากให้มีการแทรกแซงทางทหาร อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าการดึงเปรมเข้ามา ทำให้สังคมแตกแยก เพราะทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และองคมนตรีเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะถูกดึงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง

ทนายกล่าวถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 48 ว่าการวิพากษ์วิจารณ์พระองค์นั้นสามารถทำได้ นิรันดร์ตอบว่า ตนน้อมนำมาเป็นแนวการทำงานเสมอ และเห็นว่ามีความเชื่อมโยงกับหลัก The King can do no wrong โดยเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องการสอนการตีความและบังคับใช้กฎหมายให้แก่ประชาชนทางอ้อม ส่วนสถาบันกษัตริย์นั้นถือสถาบันหลักของชาติ แต่การที่มาตรา112 จัดอยู่ในหมวดความมั่นคงนั้นถือว่าไม่ควร  อำนาจของรัฐมักมีความมิชอบ ดังนั้นสถาบันกษัตริย์ก็ไม่ควรมาเกี่ยวข้องกับการเมืองและความมั่นคง แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องรักษาไว้ในฐานะประมุขของรัฐ

สุธาชัย เบิกความในฐานะนักประวัติศาสตร์ ตีความถ้อยคำตามฟ้อง
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 พ.ค.55 ในช่วงบ่าย มีการสืบพยานจำเลย โดย ผศ. ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ  อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นให้การ

ทนายจำเลยถามพยานเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ สุธาชัยกล่าวว่าหลักฐานชิ้นหนึ่งสามารถนำมาตีความได้หลายอย่าง คนแต่ละฝ่ายก็ตีความแตกต่างกัน คำกล่าวว่าประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะนั้นเป็นจริง แต่ไม่เสมอไป อย่างเช่นเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่ผู้ชนะในอดีตกลับเป็นผู้แพ้ทางประวัติศาสตร์ เรื่องการบันทึกประวัติศาสตร์ไทยในช่วงผลัดแผ่นดินจากพระเจ้าตากสินไปยังราชวงศ์จักรีนั้น สุธาชัยกล่าวว่า ประวัติศาสตร์แบบเดิมได้อธิบายเรื่องบุญบารมีไว้ว่า พระเจ้าตากสินได้หมดบุญแล้ว ผู้อื่นที่สั่งสมบุญบารมีมามากจึงขึ้นมาแทน ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าตากสินกับรัชกาลที่ 1 (ก่อนปราบดาภิเษก) คือการร่วมกันรบกับพม่า เรื่องการชิงราชสมบัตินั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติในประวัติศาสตร์ ในอดีตถือว่าบุญบารมีส่วนหนึ่งวัดด้วยกำลัง เป็นกลไกธรรมดาของการเมืองในสมัยนั้น สมัยอยุธยาก็เต็มไปด้วยการชิงราชสมบัติเช่นกรณีของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จพระนารายณ์ หรือสมเด็จพระเพทราชา ผู้ใดที่มีความสามารถก็ได้ขึ้นครองราชย์ เวลากล่าวถึงประวัติศาสตร์เรื่องการชิงราชสมบัติจึงไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท

ทนายจำเลยได้ถามถึง “ถุงแดง” ซึ่งบทความ “แผนนองเลือด” ของจิตร พลจันทร์ได้กล่าวถึงผู้ที่โค่นนายตัวเองโดยจับลงถุงแดงแล้วฆ่า สุธาชัยอธิบายว่า ถุงแดง คือสิ่งที่ถูกใช้ในการประหารเจ้านายส่วนใหญ่เพื่อไม่ให้โลหิตต้องพื้น แต่พระเจ้าตากสินไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากเจ้านาย เวลาประหารจึงไม่ใช้ถุงแดง แต่ใช้วิธีตัดศีรษะ เรื่องนี้ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงธนบุรีซึ่งเป็นเอกสารที่เผยแพร่อยู่ทั่วไป สามารถไปหาอ่านได้ ส่วนเนื้อหาในแบบเรียนนั้นโดยมากจะนำมาจากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ซึ่งไม่ได้ลงละเอียดนัก และนักประวัติศาสตร์แต่ละคนก็ตีความแตกต่างกัน

สุธาชัยตอบคำถามทนายเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองของตนว่า ได้รับเชิญให้ไปพูดในฐานะนักวิชาการ ไม่ขออ้างว่าตนเป็นกลาง แต่ก็มีกลุ่มที่ชอบเป็นธรรมดา ตนรู้จักสมยศในฐานะนักสหภาพแรงงาน หนึ่งในคนสำคัญที่เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิผู้ใช้แรงงาน  และทราบมาว่าหลังรัฐประหารปี 49 สมยศเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปก.) เป็นหนึ่งในผู้ที่ไม่ยอมรับรัฐประหาร และคัดค้านรัฐธรรมนูญปี 50 เพราะเห็นว่ามาจากการฉีกรัฐธรรมนูญปี 40 โดยใช้กำลังซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม ในปี 53 ตนและสมยศได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการสังหารประชาชน เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ตนได้ถูกจับกุมในข้อหาชุมนุมเกิน 5 คนตามพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน

สุธาชัยกล่าวว่าช่วงเวลานั้นมีข่าวเรื่องผังล้มเจ้า โดยมีพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นผู้นำมาเผยแพร่ ในผังมีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นแกนกลาง, พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข และนักวิชาการอีกหลายคน ชื่อในผังทั้งหมดเป็นฝ่ายเสื้อแดง หลังจากเห็นว่ามีชื่อตนอยู่ในผัง ก็ได้ยื่นฟ้องอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, สุเทพ เทือกสุบรรณ และพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ศาลได้พยายามไกล่เกลี่ยกระทั่งพันเอกสรรเสริญยอมรับว่าผังล้มเจ้าเกิดจากความคิดเห็นของ ศอฉ. ไม่ได้มีหลักฐานชัดเจน ผังเพียงแค่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเท่านั้น ไม่ได้แสดงว่าบุคคลเหล่านั้นล้มเจ้าจริง ตนจึงยอมความ ที่ผ่านมาตนยังไม่เคยถูกดำเนินคดีมาตรา 112

ทนายจำเลยถามถึงประเด็นที่เสื้อแดง นปช. รวมทั้งจำเลยคัดค้าน สุธาชัยตอบว่าพวกเขาคัดค้านระบอบอำมาตยาธิปไตย ใครเป็นหัวขบวนของกลุ่มอำมาตย์ตามประวัติศาสตร์นั้นไม่ระบุชัดเจน หลังปฏิวัติปี 2475 ได้มีกลุ่มนิยมเจ้า หรือ royalist ที่ไม่ยอมรับหลักประชาธิปไตย และพยายามรวมตัวกันคัดค้านประชาธิปไตยของคณะราษฎร ปัจจุบันหัวขบวนอำมาตย์ที่ชัดที่สุดคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่ก่อนหน้านี้อาจหมายถึงคนอื่นๆ เช่น กบฏบวรเดช พระองค์เจ้าธานีนิวัต พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งเป็นกลุ่ม royalist ไม่ระบุชัด เสื้อแดงมองว่าพลเอกเปรมเป็นสัญลักษณ์ของอำมาตย์ จากบทบาทการนำคณะรัฐประหารเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 49

เรื่องนิตยสาร Voice of Taksin สุธาชัยกล่าวว่า ตนเคยเขียนบทความลงนิตยสารเรื่องคัดค้านรัฐประหารและอำมาตยาธิปไตย โดยเห็นว่าฝ่ายประชาธิปไตยต้องมีหนังสือเป็นอาวุธในการต่อสู้ และเห็นว่าชื่อ Voice of Taksin นั้นมีผลในทางการตลาด เนื่องจากมีคนจำนวนมากนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ตนใช้ชื่อจริงในการเขียน ส่วนนักเขียนทั่วไปอาจใช้นามจริงหรือนามปากกาก็ได้ ตอนที่ตนเขียนบทความนั้นไม่ทราบว่านามปากกา จิตร พลจันทร์ เป็นใคร

สุธาชัยได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความ “6 ตุลา แห่ง 2553” ในนิตยสาร Voice of Taksin ว่าบทความโจมตีอำมาตย์ที่อยู่เบื้องหลังการนองเลือดคล้ายเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 คำว่า “หลวงนฤบาล” ในบทความ นั้นเป็นตัวละครในเรื่อง “โรงแรมผี” เป็นตัวละครฝ่ายดี จิตใจดี เสียสละ และยังอยู่ในนวนิยาย “ชัยชนะหลวงนฤบาล” ของ ดอกไม้สด ตนคิดว่าตัวละครนี้เป็นตัวแทนฝ่ายอำมาตย์ โยงถึงกษัตริย์ไม่ได้ ในบทความนี้ไม่มีถ้อยคำหรือใจความที่กล่าวถึงกษัตริย์เลย ข้อกล่าวหาเป็นการตีความอย่างเกินเลย การที่บทความกล่าวถึงผู้อยู่เบื้องหลังจอมพลถนอม จอมพลประภาส จอมพลสฤษดิ์ ตนคิดว่าหมายถึงพวกนิยมเจ้าอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ควง อภัยวงศ์, พลเอกสำราญ แพทยกุล และพระองค์เจ้าธานีนิวัต

ส่วนบทความ “แผนนองเลือด” ว่า สุธาชัยเห็นว่าเนื้อความตอนที่กล่าวถึงผู้ที่ฆ่านายตัวเองโดยจับลงถุงแดงนั้น เนื้อความพูดกลางๆ อ่านแล้วหมายถึงใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าปราสาททอง พระเพทราชา ต่างก็เป็นขุนนางมาก่อน การเมืองระบบก่อนปี 2475 เป็นแบบนี้ทั้งสิ้น ต้องไปถามจิตร พลจันทร์ ผู้เขียน ว่าหมายถึงใคร ส่วนเนื้อความที่กล่าวถึงแผนการที่เคาะลงมาจากโรงพยาบาลย่านพระราม 9 นั้น อ่านแล้วไม่ทราบว่าใครอยู่โรงพยาบาลพระราม 9 และไม่ทราบว่าโรงพยาบาลนี้อยู่ที่ใด ตนคิดว่าเรื่องนี้เขียนไม่ดี อ่านแล้วไม่เข้าใจ ต่างจากบทความอื่นของจิตรที่เคยเขียนดีกว่านี้ และที่ไม่เข้าใจที่สุดคือเรื่องนี้เป็นหลักฐานในการเอาผิดคนได้อย่างไร ส่วน“สำนักงานทรัพย์สินส่วนตัว 2491” ที่ปรากฏในบทความ ที่ฝ่ายโจทก์อ้างว่าคือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สุธาชัยกล่าวว่าไม่ใช่ เพราะกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีมาตั้งแต่ปี 2479 ส่วนพฤติกรรม “หลวงของนฤบาล” ที่บทความสื่อว่าทำตัวเกี่ยวข้องกับการเมืองตลอดเวลา สุธาชัยให้ความเห็นว่าไม่แปลก เพราะพวกนิยมเจ้าก็เล่นการเมืองได้

สุธาชัยยังเบิกความถึงสถานการณ์ที่มีการพูดถึงสถาบันกษัตริย์มากขึ้นในความขัดแย้งทางการเมือง ว่าช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ มาตรา 112 เป็นที่พูดถึงมากยิ่งขึ้นเพราะการกำจัดศัตรูทางการเมืองด้วยข้อหาหมิ่นฯที่มากขึ้น ทำให้เรื่องนี้เป็นโจทย์ใหญ่ของสังคม ทุกคนล้วนถูกสอนมาให้จงรักภักดีเหมือนกัน แต่มีคนที่อ้างความจงรักภักดีของตัวเองและโจมตีคนอื่นว่าไม่จงรักภักดีอย่างการที่ สนธิ ลิ้มทองกุล โจมตี ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ด้วยมาตรา 112 ทำให้สิ่งนี้กลายเป็นแฟชั่น และยังมีการคิดผังล้มเจ้า เป็นสาเหตุของการรณรงค์เรื่องมาตรา 112 ตอนที่ตนมีชื่อในผังล้มเจ้า มีคนโทรมาด่าว่าเป็นถึงอาจารย์จุฬาฯทำไมทำเช่นนี้ เจ้าหน้าที่คณะรัฐศาสตร์ก็ด่า กระบวนการนี้ก่อให้เกิดการคุกคามจนทำให้ต้องฟ้องร้อง ในอดีตมีบุคคลสำคัญจำนวนมากที่โดนฝ่ายอำมาตย์ใส่ร้ายป้ายสีอย่าง ปรีดี พนมยงค์, ป๋วย อึ้งภากรณ์, ครูบาศรีวิชัย, บุญสนอง บุณโยทยาน และพระพิมลธรรม สุธาชัยยังกล่าวว่าถึงแม้ว่าจิตร พลจันทร์จะผิดจริง ก็ต้องไปฟ้องจิตรมากกว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 บอกว่าบรรณาธิการไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้เขียน จึงไม่เข้าใจว่าทำไมสมยศถึงต้องโดนจับ

อัยการถามถึงความเกี่ยวข้องระหว่างพยานและจักรภพ เพ็ญแข เจ้าของนามปากกา “จิต พลจันทร์” สุธาชัยกล่าวว่าตนเคยคุยกับจักรภพ โดยจักรภพเป็นผู้ที่สนใจเรื่องการต่างประเทศมาก ขึ้นเวทีกับจักรภพ และมีความเห็นทางการเมืองที่สอดคล้องกัน อัยการตั้งคำถามต่อว่า พยานเคยขึ้นเวทีไฮปาร์คด้วยกัน ก็ต้องรู้ว่าบทความใดเป็นของจักรภพใช่หรือไม่ สุธาชัยปฏิเสธว่าไม่จำเป็น ตนกับจักรภพมักคุยกันเรื่องต่างประเทศมากกว่าเรื่องในประเทศ

สุธาชัยตอบคำถามเกี่ยวกับนิตยสาร Voice of Taksin ว่าบทความที่จะนำไปตีพิมพ์ส่งทางอีเมลล์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ทราบรายละเอียดว่าพนักงานของสมยศมีหน้าที่อะไรบ้างเพราะไม่ได้ยุ่งกับกองบรรณาธิการมาก สุธาชัยยอมรับว่าคนที่เป็นแม่งาน ดูแลการลงบทความให้ทันเวลาคือสมยศ อำนาจในการตัดสินใจลงบทความเป็นของสมยศโดยมาก แต่ไม่น่าเป็นคนที่นำงานมาตรวจปรู๊ฟ เพราะคงทำไม่ไหว

ทั้งนี้นายสมยศ ถูกจับในฐานะที่เป็นบรรณาธิการนิตยสารVoice of Taksin ซึ่งศอฉ. ตรวจพบว่ามีบทความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์2บทความ จึงส่งให้กรมสืบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ทำการสอบสวน  และถูกควบคุมตัวไว้ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. 54 ขณะกำลังจะเดินทางไปยังประเทศกัมพูชาพร้อมกับคณะทัวร์ การดำเนินคดีมีการเริ่มสืบพยานมาตั้งแต่วันที่ 21พ.ย. 54 จนสิ้นสุดในวันนี้ รวมมีการนัดสืบพยานทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ 13 ครั้ง โดยที่มีการร้องขอประกันตัวไปแล้วถึง 9 ครั้ง แต่ศาลยกคำร้องทั้งหมด

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

May Day 2012: ว่าด้วยตัวเลขสถานการณ์แรงงานไทยที่น่าสนใจ

Posted: 03 May 2012 04:03 AM PDT

พบผู้มีงานทำ 38.06 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.56 แสนคน ภาคกลางว่างงานสูงที่สุด อัตราส่วนสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะมีสหภาพแรงงานเพียง 398–399 แห่ง สำนักวิจัยต่างประเทศชี้ไทยอยู่ใน 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในโลก

ภาวะการมีงานทำ

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2555 พบผู้ที่อยู่ในวัยกำลังแรงงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 38.80 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.06 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.56 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 4.84 แสนคน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 จำนวน 7.2 แสนคน (จาก 38.08 ล้านคน เป็น 38.80 ล้านคน)

โดยผู้มีงานทำ 38.06 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 จำนวน 5.1 แสนคน (จาก 37.55 ล้านคน เป็น 38.06 ล้านคน) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ซึ่งมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้นและลดลงในสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผู้ทำงานในสาขาการเกษตร เพิ่มขึ้น 5.2 แสนคน (จาก 12.93 ล้านคน เป็น 13.45 ล้านคน) สาขาการผลิต เพิ่มขึ้น 5.6 แสนคน (จาก 5.42 ล้านคน เป็น 5.98 ล้านคน) สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้น 6.0 หมื่นคน (จาก 1.62 ล้านคน เป็น 1.68 ล้านคน) สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัยเพิ่มขึ้น 5.0 หมื่นคน (จาก 0.38 ล้านคน เป็น 0.43 ล้านคน) ตามลำดับ

ส่วน ผู้ทำงานลดลง ได้แก่ ผู้ทำงานในสาขาการก่อสร้าง ลดลง 1.80 แสนคน (จาก 2.72 ล้านคน เป็น 2.54 ล้านคน) สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร 1.50 แสนคน (จาก 2.51 ล้านคน เป็น 2.36 ล้านคน) สาขาการศึกษา 1.1 แสนคน (จาก 1.39 ล้านคน เป็น 1.28 ล้านคน) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 8.0 หมื่นคน (จาก 6.19 ล้านคน เป็น 6.11 ล้านคน) สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกายการดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น 3.0 หมื่นคน (จาก 1.75 ล้านคน เป็น 0.72 ล้านคน) สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 2.0 หมื่นคน (จาก 1.07 ล้านคน เป็น 1.05 ล้านคน) สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 2.0 หมื่นคน (จาก 0.66 ล้านคน เป็น 0.64 ล้านคน) และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 1.0 หมื่นคน (จาก 0.11 ล้านคน เป็น 0.10 ล้านคน) ตามลำดับ

สำหรับผู้ว่างงานทั่วประเทศมีจำนวน 2.56 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม (ลดลง 1.2 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554) ประกอบด้วยผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 8.3 หมื่นคน อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.73 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการบริการและการค้า 8.0 หมื่นคน ภาคการผลิต 6.3 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 3.0 หมื่นคน

โดยผู้ว่างงานที่มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา จำนวน 8.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4.8 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 3.1 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.1 หมื่นคน ตามลำดับ

ทั้งนี้ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง 7.2 หมื่นคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6.8 หมื่นคน ภาคเหนือ 5.3 หมื่นคน กรุงเทพมหานคร 3.3 หมื่นคน และภาคใต้ 3.0 หมื่นคน หากคิดเป็นอัตราการว่างงานกรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานสูงสุด ร้อยละ 0.8 ส่วนภาคที่มีอัตราการว่างงานต่ำสุดเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.5

คนงานในอุตสาหกรรม

จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานพบว่าอัตราการจ้างงานจำแนกตามอาชีพ 5 อันดับแรก ปี 2554 ภาคเกษตร 13,793,927 คน ภาคบริการ 7,536,882 คน ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ 4,499,637 คน อาชีพพื้นฐานต่างๆ 4,181,230 และผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร 3,081,625 คน

ส่วนผู้มีงานทำจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตรกรรม 5 อันดับแรก ได้แก่ ภาคการบริหารราชการ 1.55 ล้านคน (ร้อยละ 6.62) ภาคการก่อสร้าง 2.31 ล้านคน (ร้อยละ 9.85) ภาคกิจการโรงแรม 2.61 ล้านคน (ร้อยละ 11.13) ภาคการผลิต 5.32 ล้านคน (ร้อยละ 22.65) ภาคการขายส่ง 5.99 ล้านคน (ร้อยละ 25.51)

องค์กรแรงงาน

จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 จำนวนองค์กรแรงงาน มีทั้งสิ้น 1,766 แห่ง จากสถานประกอบกิจการทั้ง หมด 344,578 แห่ง ลูกจ้าง 7,514,875 คน มีองค์กรลูกจ้าง 1,406 แห่ง ประกอบด้วย สภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง สภาพแรงงานในกิจการเอกชน 1,329 แห่ง สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ 1 แห่ง สหพันธ์แรงงาน 19 แห่ง สภาองค์กรลูกจ้าง 13 แห่ง

โดยที่อัตราสหภาพแรงงานต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง อยู่ที่ 398.46 อัตรา เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.52 จากปี 2553 เฉลี่ยแล้วสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะมีสหภาพแรงงาน 398–399 สหภาพ

ส่วนอัตราสหพันธ์แรงงานต่อสหภาพแรงงานทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 1.38 อัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 9.50 แสดงว่าทุกสหภาพแรงงาน 100 สหภาพ จะมีการรวมตัวกันขึ้นมาเป็นสหพันธ์แรงงาน 1–2 สหพันธ์แรงงาน

ส่วนอัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน (ในสถานประกอบกิจการที่มีสหภาพแรงงาน) ต่อจำนวนลูกจ้างทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 7.42 เป็นอัตราเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 11.13 แสดงว่าลูกจ้างทุกๆ 100 คนจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 11–12 คน

ปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์

กรณีปัญหาแรงงานสัมพันธ์มีระดับปัญหาจำแนกไว้ 2 ระดับ ได้แก่ ข้อขัดแย้ง และ ข้อพิพาทแรงงาน ทั้งนี้ข้อขัดแย้งหมายถึง ความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ไม่ถือว่าเป็นข้อพิพาท สำหรับข้อพิพาทแรงงาน หมายถึงปัญหาอันเกิดขึ้นจากการขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีการแจ้งข้อเรียกร้อง และมีการเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ หรือไม่มีการเจรจากันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (3 วัน) และฝ่ายที่แจ้ง ข้อเรียกร้องได้แจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบ

จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานพบว่า อัตราการเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง ในปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 69.07 อัตราเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1 2.4 0 แสดงว่าสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ 69 – 70 แห่ง หากจำแนกเฉพาะข้อพิพาทแรงงานพบว่ามีอัตราการเกิด ข้อพิพาทต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง อยู่ที่ 22.93 ซึ่งคิดเป็นอัตราเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 28.63 แสดงว่าสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะเกิดข้อพิพาท 22–23 แห่ง

สำหรับข้อขัดแย้ง พบว่ามีอัตราการเกิดข้อขัดแย้งต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง อยู่ที่ 46.14 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 5.77 แสดงว่าสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะเกิดข้อขัดแย้ง 46 – 47 แห่ง

ตัวเลขอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ค่าแรงขั้นต่ำในเขตอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของไทย (ก่อนและหลังการนโยบายขึ้นค่าแรง 40%)



เขตอุตสาหกรรม


ก่อนนโยบายขึ้นค่าแรง 40%


หลังนโยบายขึ้นค่าแรง 40%


ลำพูน


169


236


ระยอง


189


264


อยุธยา


190


265


สระบุรี


193


269


ฉะเชิงเทรา


193


269


ชลบุรี


196


273


ปทุมธานี 


215


300


สมุทรปราการ


215


300


กรุงเทพมหานคร 


215


300

ค่าจ้างตามวุฒิการศึกษาในอุตสาหกรรมต่างๆ 

จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ร่วมกันทำโครงการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ประจำปี 2553/2554 โดยการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการในครั้งนี้ทางคณะทำงานรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการ 302 แห่งมีทั้งสถานประกอบการไทย ต่างชาติและร่วมทุน และเป็นทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก กระจายไปในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม 26 กลุ่ม ทุกพื้นที่ของประเทศ ได้รายละเอียดดังนี้

ค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ย ดังนี้

-วุฒิปวช.          6,590 บาท
-ปวส.               7,697 บาท
-ปริญญาตรี      11,518 บาท
-ปริญญาโท      16,868 บาท
-ปริญญาเอก     24,691 บาท

ค่าจ้างขั้นต้นสูงที่สุด จำแนกตามสาขาวิชาระดับ ปวช.และปวส. ผู้ที่จบมาจากช่างเทคนิคค่าจ้างขั้นต้นสูงที่สุดคือ  6,694 บาทและ 7,903 บาท ส่วนต่ำที่สุดคือด้านคหกรรมศาสตร์ สำหรับปวช. และปวส.อยู่ที่ 6,196.- และ 7,169 บาท ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตร์ ได้ค่าจ้าง 15,056 บาท 19,670 บาท และ 37,840 บาท ตามลำดับ 

จำแนกตามกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างขั้นต้นแก่ผู้ไม่มีประสบการณ์ระดับปวช. และปวส. สูงที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าโดยมีค่าจ้าง 9,500 บาท 12,369 บาท ระดับปริญญาตรี อุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างขั้นต้น  สูงสุดเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า ให้ที่  17,774 บาท กลุ่มปิโตรเคมี ก๊าซและพลังงานทดแทนให้ค่าจ้างขั้นต้น 14,147 บาท ระดับปริญญาโท อุตสาหกรรมยานยนต์จ่ายค่าจ้างขั้นต้นให้สูงที่สุดคือ 21,074 บาท ส่วนปริญญาเอก อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางให้ค่าจ้างขั้นต้น 30,000 บาท

ค่าแรง ‘คอปกขาว’ ในอุตสาหกรรมต่างๆ (ก่อนนโยบายขึ้นค่าแรง 40%)

จากการสำรวจ Thailand Salary Guide 2012 โดย Adecco Group Thailand สำรวจตัวอย่างคนทำงานในแผนกต่างๆ พบฐานเงินค่าตอบแทนต่ำสุดและสูงสุดของพนักงานใหม่หรือทำงานน้อยกว่า 5 ปี ได้ดังนี้



ลักษณะงาน


ค่าตอบแทนต่ำสุด (บาท)


ค่าตอบแทนสูงสุด (บาท)


ฝ่ายกฎหมาย


10,000


50,000


ฝ่ายจัดการ


10,000


60,000


ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์


10,000


60,000


ฝ่ายบัญชี


10,000


80,000


ฝ่ายขาย


10,000


80,000


ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์


10,000


80,000


ฝ่ายไอที


10,000


100,000


ฝ่ายเทคนิคอุตสาหกรรม


12,000


40,000


ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์


12,000


45,000


ฝ่ายการเงิน


13,000


45,000


ฝ่ายวิจัย


15,000


25,000


วิศวกร


15,000


60,000


ฝ่ายซัพพลายเชน


15,000


60,000


ฝ่ายลอจิสติกส์


18,000


30,000

สำนักวิจัยต่างประเทศชี้ไทยอยู่ใน 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในโลก

สำนักวิจัยต่างประเทศอย่าง Gallup รายงานผลการสำรวจอัตราการว่างงานประจำปี ค.ศ. 2011 (2011 global unemployment report) ซึ่งสำรวจใน 148 ประเทศและเขตปกครองพิเศษทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 9 ประเทศทั่วโลก ที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุด หรือต่ำกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในปีที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ไทยเป็นแดนสวรรค์ในด้านแรงงาน

โดย 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในโลก ประกอบไปด้วย 4 ประเทศในยุโรป คือ ออสเตรีย เบลารุส มอนเตเนโกร และยูเครน, และอีก 5 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย



1. Austria

> Unemployment: <5%

> GDP: $351.4 billion (35th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $41,700 (18th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


2. Belarus

> Unemployment: <5%

> GDP: $141.2 billion (60th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $14,900 (85th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


3. China

> Unemployment: <5%

> GDP: $11.3 trillion (2nd highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $8,400 (119th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 30% – 39%


4. Japan

> Unemployment: <5%

> GDP: $4.4 trillion (4th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $34,300 (37th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


5. Montenegro

> Unemployment: <5%

> GDP: $7.0 billion (152nd highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $11,200 (104th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


6. Taiwan

> Unemployment: <5%

> GDP: $885.3 billion (19th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $37,900 (28th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


7. Thailand

> Unemployment: <5%

> GDP: $601.4 billion (24th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $9,700 (112th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 20% – 29%


8. Ukraine

> Unemployment: <5%

> GDP: $329.0 billion (38th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $7,200 (132nd highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


9. Vietnam

> Unemployment: <5%

> GDP: $299.2 (42nd highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $3,300 (167th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 20% – 29%

ตารางแสดง 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุด หรือต่ำกว่าร้อยละ 5 จากการสำรวจ 2011 global unemployment report ของ Gallup

ในรายงานระบุว่า ประเทศไทยซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อตัวของประชากรราว 9,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (299,479 บาท) ต่อคนต่อปีนั้น และการที่ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานต่ำ ก็เนื่องจากเศรษฐกิจของไทยมีการพัฒนาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีตัวขับเคลื่อนสำคัญ คือ รายได้จากการส่งออก ที่มีสัดส่วนครอบคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติของไทย รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ

ทั้งนี้จากข้อมูลของธนาคารโลกก็ระบุว่า อัตราการว่างงานเฉลี่ยของไทยตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีเพียงแค่ร้อยละ 2 ของประชากรเท่านั้น

 

ที่มา:

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ
กระทรวงแรงงาน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
Adecco Group Thailand
http://www.foxbusiness.com

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เล็ง บัญชาเมฆ บิดาของบัวขาว ป.ประมุข

Posted: 03 May 2012 03:27 AM PDT

ที่ค่าย ป.ประมุขฟ้องเรียกเอาเงิน 100 ล้านบาท ตนมีฐานะยากจนจะขายที่นาก็ได้ไม่เท่าไหร่ คิดว่ามาฆ่าให้ตายจะง่ายกว่า

เดลินิวส์, 3 พ.ค. 2555

Ban That Scene! หนังสั้นกล้าท้าแฉวงการแผ่นฟิล์มพม่า

Posted: 03 May 2012 03:03 AM PDT

 

หมายเหตุ: 
สาละวินนิวส์ออนไลน์ แปลจาก
Burma Comedy Shows Changing Censorship Rules โดย TODD PITMAN จาก Irrawaddy วันที่ 2 พฤษภาคม 2555
เผยแพร่ครั้งแรกที่ 
http://salweennews.org/home/?p=4355 


เมื่อผู้กำกับภาพยนตร์ชาวพม่าอย่าง ทุนซอว์วิน หรือ วิน ลุกขึ้นมาสร้างหนังตลกเสียดสีวงการภาพยนตร์ในประเทศ ที่กว่าจะมาสู่สายตาประชาชนต้องผ่านขั้นตอนที่ทั้งแปลกประหลาดอะไรมาบ้าง เขารู้ดีว่าสิ่งที่จะถูกหยิบมาใส่ในหนังเรื่องนี้ได้ดีที่สุดก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นใน “ชีวิตจริง” นี่แหละ

หนังสั้นเรื่อง Ban That Scene! (ตัดฉากนั้นซะ!) กล้าท้าทายล้อเลียนคณะกรรมการเซ็นเซอร์หนังได้อย่างเจ็บแสบ ซึ่งคณะกรรมการแต่ละคนในเรื่อง พยายามจะปกป้องภาพพจน์ของประเทศกันสุดฤทธิ์ได้อย่างฮา

เมื่อคณะกรรมการแต่ละคนนั่งประจำที่ลงบนเก้าอี้เบาะนวม เผชิญหน้ากับเงาภาพที่พุ่งออกมาจากเครื่องโปรเจ็กเตอร์ ท่ามกลางความมืดสลัวในโรงหนังของรัฐบาล พวกเขาก็เริ่มโจมตีทุกอย่างที่ปรากฏบนจอภาพ ทั้งฉากภาพขอทาน การคอรัปชั่น ฉากไฟฟ้าดับ ไม่เว้นแม้กระทั่งฉากต่อสู้กันบนถนน เพราะฉากที่ว่ามาล้วนแล้วจะทำให้ “ภาพพจน์” ของประเทศแปดเปื้อนเสื่อมเสียได้ จึงมีเสียงของหัวหน้าคณะกรรมการตะโกนฝ่าความมืดออกมาว่า “ตัดฉากนี้ ตัดออกไปเลย” อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่า

การทำหนังเรื่องออกมาโดยที่ผู้กำกับอย่าง วิน ยังอยู่รอดปลอดภัย ไม่ถูกจับเข้าคุก ก็เป็นเรื่องที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ศิลปินบางส่วนเริ่มที่จะกล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ในยุคของรัฐบาลชุดใหม่ที่ดูเหมือนจะเปิดโอกาสให้มีการแสดงออกอย่างเสรีมากขึ้น หลังจากต้องตกอยู่ภายใต้กฎเหล็กของเผด็จการมานานหลายทศวรรษ แต่ขณะเดียวกัน หนังก็สะท้อนให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างในพม่าที่ยังไม่เปลี่ยน ผู้กำกับไม่ได้ส่งหนังเรื่องนี้ให้คณะกรรมการเซ็นเซอร์หนังพิจารณาเพราะรู้ดีว่ายังไงก็ต้องถูกแบนแน่นอน

ทว่า คณะกรรมการเซ็นเซอร์มีอำนาจตรวจสอบเฉพาะหนังที่สร้างออกมาเพื่อจำหน่ายเท่านั้น วินจึงต้องยอมตัดใจเรื่องผลกำไร แล้วแจกให้ดูกันฟรีๆ ไปเลย เพื่อไม่ให้หนังถูกแบน โดยเขาบอกว่า จำเป็นต้องเสียสละเพื่อให้ผู้ชมทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้ว่า คนทำหนังพม่าต้องพบเจอกับอุปสรรคอะไรบ้าง

Ban That Scene ถูกฉายครั้งแรกในเทศกาลหนัง “Art of Freedom” ณ กรุงย่างกุ้งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเทศกาลหนังดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยนางอองซานซูจี และซากานาร์ นักแสดงตลกและผู้กำกับหนังชื่อดัง นอกเหนือจากนี้ วินยังได้เผยแพร่ลงในเว็บไซต์ยูทูป และทำเป็นดีวีดีจำนวน 1 หมื่นแผ่น ออกมาแจกประชาชนทั่วไปอีกด้วย

ความโดดเด่นของหนังเรื่องนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความขัดแย้งกันระหว่างภาพลักษณ์อันสวยงามของประเทศที่รัฐบาลพยายามนำเสนอออกสู่สายตาโลกภายนอก กับความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมที่ไม่น่าอภิรมย์ ซึ่งล้วนเป็นผลงานของรัฐบาลเผด็จการทั้งสิ้น อย่างเช่น ฉากที่ชายพิการคนหนึ่ง เดินขอทานเพื่อหาเงินไปทำงานต่างประเทศ ที่ทำให้หัวหน้าคณะกรรมการเซ็นเซอร์ถึงกับตาโตด้วยความตกใจเมื่อเห็นฉากนี้ “เสียภาพพจน์ของประเทศหมด ถ้าชาวต่างชาติเห็นเข้า เขาคงจะคิดว่าประเทศเรามีขอทานด้วย” ขณะที่คณะกรรมการอีกคนแย้งว่า ใครๆ เขาก็รู้ทั้งนั้นว่าที่นี่มีขอทานจริงๆ แต่ท่านหัวหน้าก็เถียงข้างๆ คูๆ ว่า “ในชีวิตจริงน่ะมีได้ แต่ไม่ใช่ในหนัง”

มีอยู่ฉากหนึ่ง ซึ่งเป็นฉากเลิฟซีนระหว่างพระเอกกับนางเอก แต่อยู่ๆ ไฟ (ในหนัง) ก็ดับขึ้นมา ซึ่งอาจทำให้กระทรวงไฟฟ้าเสื่อมเสียได้ คณะกรรมการคนหนึ่งบอกว่า จริงๆ เรื่องไฟดับก็เกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ฟังอย่างนี้แล้ว มีหรือที่หัวหน้าคณะกรรมการจะนิ่งเฉย เขารีบเถียงว่า พม่าไม่ได้ขาดแคลนไฟฟ้าเสียหน่อย จริงๆ แล้วเรามีไฟฟ้าเหลือเฟือจนต้องส่งออกไปขายต่างประเทศไงล่ะ (แต่ความจริงอันน่าเศร้ามีอยู่ว่า ประชาชนพม่ากว่า 75 เปอร์เซ็นต์ต้องใช้ชีวิตในยามค่ำคืนท่ามกลางความมืด ไม่มีไฟฟ้าใช้ ขณะที่รัฐบาลขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้ต่างประเทศไปเกือบหมด)

ขณะที่คณะกรรมการกำลังเถียงกันอยู่นั้น อยู่ๆ ไฟฟ้าในโรงหนังก็เกิดดับพรึบขึ้นมา จนต้องพึ่งเครื่องปั่นไฟฉายหนังกันต่อ ในขณะที่เครื่องปั่นไฟเริ่มทำงาน เสียงกรนของคณะกรรมการท่านหนึ่งก็ดังขึ้นมาพร้อมๆ กัน

ผู้กำกับบอกว่า เขารู้สึกเซอร์ไพรส์มากเมื่อรู้ว่า หนังของเขาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงบางท่าน โดยหนึ่งในจำนวนนั้นบอกเขาว่า “มันเป็นสิ่งที่ควรจะให้สาธารณชนได้ดู ประชาชนควรจะได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้ายังคงมีการตัดฉากแบบนี้ออกไป ก็คงไม่เหลืออะไรให้ดูแล้ว”

ซากานาร์ได้กล่าวว่า หนังเสียดสีวงการภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ศิลปินได้อิสรภาพในการสร้างสรรค์ผลงานกลับคืนมาอีกครั้ง

ปัจจุบัน เป็นที่ทราบกับดีว่า การสร้างหนังซักเรื่องหนึ่งต้องใช้เงินทุนจำนวนไม่น้อย ซึ่งไม่เฉพาะค่าใช้จ่ายในเรื่องโปรดักชั่น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกด้วย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติได้จัดอันดับให้พม่าเป็นประเทศที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก ซึ่งวินบอกว่า แม้แต่ฉากที่ถูกแบนก็ยังสามารถสร้างได้ ถ้าจ่ายเงินใต้โต๊ะ ซึ่งในหนังก็มีอยู่ฉากหนึ่งที่กระเช้าของขวัญถูกส่งมามอบให้คณะกรรมการถึงโรงหนัง ซึ่งทุกคนต่างดีใจเมื่อเห็นว่ากระเช้าของขวัญมีทั้งช่อดอกไม้และวิสกี้ต่างประเทศ เป็นของกำนัลเล็กๆ น้อยๆ จากผู้ผลิตหนังรายหนึ่ง

ในตอนจบของหนัง ผู้กำกับปิดท้ายด้วยข้อความสั้นๆ กลางจอว่า “We can change” (เราเปลี่ยนได้)

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อาการโฮโมโฟเบียในรัฐสภาไทย

Posted: 03 May 2012 01:33 AM PDT

 

จากกรณีที่ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย เรียกนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ว่าเจ๊ และมีอาการแต๋วแตก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ (จากเหตุการณ์ประท้วงประธานสภาว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา แล้วก็ทำท่าและพูดว่าไฮฮิตเลอร์ จนต้องถูกเชิญออกจากห้องประชุมคืนก่อน) และถูกนายบุญยอดโต้ตอบกลับว่าเขาไม่ได้เป็น สามารถพิสูจน์ได้ แต่ที่พรรคเพื่อไทยนั่นต่างหากที่มีคนเป็นมากกว่า นั้นแสดงถึงอาการโฮโมโฟเบียของ ส.ส.ทั้งสองคนเป็นอย่างดี

อาการโฮโมเบียคืออะไร โฮโมโฟเบีย (Homophobia) หมายถึงความรู้สึกเกลียดกลัวต่อคนหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล (หรืออาจจะมีเหตุผลแอบแฝงอยู่ลึกๆ ที่เราพยายามปฏิเสธมัน)

และหมายรวมไปถึงการดูถูกเหยียดหยาม หรือใช้คำเรียกแบบสลับเพศ เช่นกรณีที่จ่าประสิทธิเรียกนายบุญยอดว่าเจ๊ ตามความเชื่อความคิดของคนทั่วไปที่เคยชินกับระบบสองเพศ ที่คิดว่าหากผู้ชายคนหนึ่งชอบผู้ชายอีกคน เขาจะต้องอยากจะเป็นผู้หญิง หรือเจ๊ อย่างที่จ่าประสิทธิ์เข้าใจ ซึ่งไม่ใช่ เพราะผู้ชายสามารถรักใคร่ผู้ชายด้วยกันได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องรู้สึกว่าเป็นเพศหญิง

ในเวทีไฮปาร์กทางการเมืองก็เช่นกัน ภาพผู้นำคนสำคัญของพรรคการเมือง จะถูกพรรคฝ่ายตรงกันข้ามนำมาตกแต่งให้เป็นตุ๊ดแต๋วกะเทยในลักษณะที่น่ารังเกียจพร้อมกับคำอธิบายภาพในแบบหยาบคาย แสดงความถ่อยเถื่อนกันอย่างโจ่งแจ้งตามระดับความเข้มข้นของอาการโฮโมโฟเบียในแต่ละบุคคล

ขณะเดียวกันนั้น โฮโมโฟเบียก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับกลุ่มคนรักต่างเพศเช่นจ่าประสิทธิเท่านั้น

ในกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ หญิงรักหญิง ชายรักชาย กะเทย คนข้ามเพศ คนรักสองเพศ ก็อาจเป็นโฮโมโฟเบียได้เช่นกัน เรียกว่าโฮโมโฟเบียภายใน (Internalized Homophobia) ที่เกิดจากทัศนคติด้านลบที่สังคมมีต่อคนเหล่านี้ ทำให้พวกเขาได้รับผลกระทบจากทัศนคติของสังคม นำมาสู่ความรู้สึกรังเกียจต่อตัวเองอยู่ลึกๆ อาจโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

เช่นไม่ยอมรับว่าตัวเองรักเพศเดียวกัน หรือไม่กล้าที่จะเปิดเผย บอกว่าตัวเองเป็นคนรักเพศเดียวกันเป็นต้น

กรณีที่นายบุญยอดปฎิเสธว่าเขาไม่ใช่แต๋ว พร้อมที่จะให้พิสูจน์ ก็เช่นกัน แถมยังบอกว่าที่พรรคเพื่อไทยมีคนเป็นคนหลากหลายทางเพศมากกว่าอีก ก็เป็นโฮโมโฟเบียเช่นกัน และเป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไปในสังคมไทย ไม่ใช่เพียงแต่ในรัฐสภาเท่านั้น

เพียงแต่การที่ประเด็นตุ๊ดแต๋ว กะเทย ทอมดี้เกิดขึ้นในรัฐสภาไทยนั้น มันสามารถบอกได้ว่าเรื่องเพศสภาวะของมนุษย์ที่แตกต่างจากความเคยชินของสังคมไทย (จริงๆ ก็น่าจะชินนะ เพราะกะเทยคืออัตลักษณ์อันโบราณนานมาของไทยเรา) สามารถใช้เป็นอาวุธทำลายล้างกันทางการเมืองได้ และมันยังสามารถสั่นสะเทือนสถานะทางการเมืองของบุคคลได้ สังคมไทยจึงรับรู้อย่างไม่เป็นทางการมาตลอดว่านายกรัฐมนตรีคนไหนที่เป็นชายรักชาย หรือสส.หญิงคนไหนที่เป็นหญิงรักหญิง

การโต้เถียงเรื่องเพศของ ส.ส.สองคนนี้ จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์มากมาย

ใหญ่ยิ่งกว่าประเด็นที่นายบุญยอด สุขถิ่นไทย แสดงท่าไฮฮิตเลอร์ล้อเลียนประธานสภานั่นเสียอีก!

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วันเสรีภาพสื่อโลก: แอมเนสตี้ฯ ระบุการทำร้ายผู้สื่อข่าวยังเกิดขึ้นทั่วโลก

Posted: 03 May 2012 12:58 AM PDT



เนื่องในวันเสรีภาพสื่อโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 3 พ.ค. ของทุกปี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สรุปสถานการณ์สื่อทั่วโลก ชี้การทำร้ายผู้สื่อข่าวยังเกิดขึ้นทั่วโลก รายละเอียดมีดังนี้ 
 

 
 

                                                                                            00000


ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในสื่อมวลชนทั่วไปทั้งที่ปากีสถานถึงโคลัมเบีย เม็กซิโกถึงซูดานและประเทศส่วนใหญ่ทั่วทั้งยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง ยังต้องเผชิญการคุกคาม การทำร้าย การสั่งคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม ถึงแม้กระทั่งความตาย อันเป็นผลเนื่องมาจากการทำงานของตนเอง

อเมริกา
ผู้สื่อข่าวพยายามเปิดโปงการใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทุจริต พวกเขามักตกเป็นเป้าหมายการโจมตีและการคุกคามทั่วทั้งทวีปละตินอเมริกาและแคริบเบียน

จากเม็กซิโกถึงโคลอมเบีย คิวบา ฮอนดูรัส และเวเนซูเอลล่า ทั้งฝ่ายรัฐบาลหรือและอาชญากรรมต่างๆ มุ่งโจมตีผู้สื่อข่าวซึ่งรายงานปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน การฉ้อฉลอำนาจและการทุจริต

เม็กซิโกเป็นหนึ่งในประเทศที่อันตรายมากสุดในทวีปอเมริกาสำหรับผู้ทำงานด้านสื่อ โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศ

เมื่อวันที่ 28 เมษายน มีผู้พบศพเรจีนา มาร์ติเนซ (Regina Martinez) ผู้สื่อข่าวอยู่ในบ้านของเธอเองที่เมือง Veracruz เรจีนาเป็นผู้สื่อข่าวสายการเมืองของนิตยสาร Proceso และในช่วงสามสิบกว่าปีที่ผ่านมาได้รายงานข่าวปัญหาความมั่นคง การค้ายาเสพติดและการทุจริต หน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นระบุว่ากำลังจะสอบสวนเหตุฆาตกรรมครั้งนี้

ในขณะเดียวกัน สภาสูงของเม็กซิโกได้ผ่านกฎหมายฉบับใหม่เพื่อคุ้มครองผู้สื่อข่าวและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่ถูกคุกคาม

แต่เม็กซิโกไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่คนทำงานด้านสื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามอย่างเหลือเชื่อจากการทำงานของตนเอง
ดีนา เมซา (Dina Meza) ผู้สื่อข่าวและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวฮอนดูรัสถูกคุกคามทางเพศหลายครั้งตั้งแต่ต้นปี 2555 ในวันที่ 6 เมษายน ระหว่างที่เดินกับลูกแถวๆ บ้าน ก็สังเกตเห็นผู้ชายสองคนแอบถ่ายรูปเธอกับลูก

แอฟริกา
แอฟริกาเป็นพื้นที่อันตรายมากสุดแห่งหนึ่งสำหรับผู้สื่อข่าว ในประเทศต่างๆ อย่างเช่น เอธิโอเปียและแกมเบีย หน่วยงานความมั่นคงจับตามองเว็บไซต์และสถานีโทรทัศน์และวิทยุอย่างเข้มงวด พร้อมจะปราบปรามผู้แสดงความเห็นต่างจากรัฐ
ในรวันด้าและเอธิโอเปียมีการฟ้องร้องดำเนินคดีและมีการสั่งลงโทษจำคุกเป็นเวลานานต่อผู้สื่อข่าวที่วิจารณ์นโยบายของรัฐ ผู้สื่อข่าวที่รายงานการรณรงค์ให้มีการประท้วงอย่างสงบ หรือผู้สื่อข่าวที่กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงทุจริต

ทางการในซูดานใช้วิธีใหม่ๆ เพื่อจัดการผู้สื่อข่าวอิสระ รวมทั้งการใช้กฎหมายอย่างมิชอบเพื่อป้องกันและมีการสั่งปรับผู้ที่รายงานข่าวต่อต้านรัฐบาล

ในแกมเบียและโซมาเลีย สถานการณ์ของผู้สื่อข่าวอันตรายมาก หลายคนต้องหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศเพื่อความปลอดภัย คนที่เหลืออยู่ต้องเผชิญกับมาตรการสั่งห้ามไม่ให้มีการรายงานข่าวอย่างอิสระในประเทศ นับแต่ปี 2550 มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 27 คนที่ถูกสังหารในโซมาเลีย สามคนถูกสังหารจากการโจมตีโดยตรงที่กรุง Mogadishu เมืองหลวงในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา

อาลี อาเหม็ด อับดี (Ali Ahmed Abdi) ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์และสถานีวิทยุ Radio Galkayo ถูกมือปืนสามคนยิงจนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ในเมือง Galkayo ภาคกลางของโซมาเลีย ในวันที่ 5 เมษายน มาหัด ซาลัด อาดาน (Mahad Salad Adan) ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุ Radio Shabelle ถูกคนร้ายสามคนยิงจนเสียชีวิตที่เมือง Beletweyne ใกล้กับพรมแดนติดกับประเทศเอธิโอเปีย ทางการยังไม่สามารถลงโทษบุคคลใดที่เกี่ยวข้องในการฆาตกรรมเหล่านี้เลย


เอเชีย-แปซิฟิก

ปากีสถานเป็นหนึ่งในประเทศอันตรายมากสุดในโลกสำหรับผู้สื่อข่าว เฉพาะในปี 2554 มีผู้สื่อข่าวที่ถูกสังหารอย่างน้อย 15 คน

ในปีนี้เมื่อวันที่ 17 มกราคม มูคาร์ราม อาติฟ (Mukarram Aatif) ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ Dunya TV และสถานีวิทยุ Deewa radio ถูกสมาชิกกลุ่มฏอลีบันปากีสถานยิงจนเสียชีวิตระหว่างทำละหมาดในตอนค่ำที่เมือง Shabqada ประมาณ 30 กม.จากเมือง Peshawar เมืองหลวงของแคว้น Khyber Pakhtunkhwa

โฆษกกลุ่มฏอลีบันแถลงในเวลาต่อมาว่า พวกเขาได้เตือนนายอาติฟ “หลายครั้งแล้วให้หยุดรายงานข่าวต่อต้านกลุ่มฏอลีบัน แต่เขาก็ไม่ยอม สุดท้ายก็ต้องจบชีวิตเช่นนี้”

เช่นเดียวกับในจีน ผู้สื่อข่าวและผู้จัดทำเว็บบล็อกในศรีลังกาก็ต้องทำงานในบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว เพราะรู้ดีว่าทางการน่าจะติดตามตรวจสอบอีเมลและโทรศัพท์ที่พวกเขาใช้

ในประเทศส่วนใหญ่ ทางการไม่สามารถสอบสวนอย่างเต็มที่เมื่อเกิดการละเมิดกับผู้สื่อข่าว อย่างเช่นในฟิลิปปินส์ นับแต่รัฐบาลนายอควิโนเข้าสู่ตำแหน่งเมื่อปี 2553 มีผู้สื่อข่าว 12 คนที่ถูกคนร้ายไม่ทราบชื่อสังหาร แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการสั่งลงโทษผู้ใด

ผู้สื่อข่าวและนักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตก็ตกเป็นเป้าการละเมิดในหลายประเทศทั่วเอเชียในปี 2554

ในจีนซึ่งมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 513 ล้านคน ทางการควบคุมสอดส่องอย่างเข้มงวดในสิ่งที่ประชาชนอ่านและแลกเปลี่ยนทางอินเทอร์เน็ต

ผู้จัดทำเว็บบล็อกที่มักเขียนประเด็นซึ่งรัฐบาลมองว่าอ่อนไหว จะถูกจับตามอง ถูกสอบสวนและถูกคุกคามอย่างเข้มงวดเป็นประจำโดยฝ่ายความมั่นคง และในบางกรณีก็หายตัวไปเลย

แต่นักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตของจีนก็ฉลาดพอที่จะหาวิธีการที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมของรัฐ ผู้ที่สนับสนุนนายเฉิงกวงเชิง (Cheng Guangcheng) นักเคลื่อนไหวที่ตาบอด ได้พากันโพสต์รูปตัวเองใส่แว่นตาดำ หรือบางคนก็ได้เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในสื่อสังคมออนไลน์ของตนเองให้เป็นรูปใส่แว่นตาดำ

ยุโรป
ปี 2555 เป็นปีที่รัฐบาลเผด็จการในอดีตประเทศสหภาพโซเวียตได้กระชับอำนาจของตนเองมากขึ้น มีการปรับ มีการปราบปรามผู้เห็นต่าง ปราบปรามเสียงวิจารณ์และการประท้วง ไม่ใช่ปีที่ดีสำหรับเสรีภาพของการแสดงออกเลย

ในเบลารุส มีการปราบปรามภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปลายปี 2554 ต่อเนื่องมาถึงปี 2555 เป็นเหตุให้นักเคลื่อนไหวในฝ่ายค้านและผู้นำเอ็นจีโอคนสำคัญหลายคนถูกสั่งขังคุก

ในอาเซอร์ไบจาน การลุกฮือรอบใหม่จากแรงบันดาลใจที่ได้ของการลุกฮือในตะวันออกกลางเป็นเหตุให้รัฐบาลปราบปราม มีการสั่งห้ามการประท้วงต่อต้านรัฐบาล และมีการตัดสินจำคุกแกนนำ 14 คนเป็นเวลานาน ตลอดทั้งปี ผู้สื่อข่าวและนักเคลื่อนไหวต้องเผชิญการคุกคามและการควบคุมตัว เนื่องจากไปเปิดโปงความฉ้อฉลของรัฐ โดยรัฐใช้ข้อหาที่กุขึ้นมาเอง
อุซเบกิสถานและเติร์กเมนิสถานยังคงปราบปรามเสียงที่แสดงออกอย่างเป็นอิสระ มีการปกปิดเสียงที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มงวด

ในรัสเซียมีภาพที่ค่อนข้างหลากหลาย ข้อกล่าวหาว่ามีการโกงการเลือกตั้งอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เป็นเหตุให้มีการประท้วงครั้งใหญ่สุดนับแต่ปี 2534 แม้ว่าทางการจะอนุญาตให้มีการประท้วงซึ่งดำเนินผ่านไปอย่างสงบ แต่ก็มักปราบปรามการชุมนุมรายย่อย และจับกุมผู้ที่เข้าร่วม

ตะวันออกกลาง
แม้ว่าในประเทศที่มีการลุกฮือเมื่อปี 2554 อย่างเช่น ตูนิเซียและลิเบีย จะมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในการแสดงความเห็นของสื่อ แต่มาตรการควบคุมเสรีภาพสื่อทั้งด้านกฎหมายและอื่นๆ ยังดำเนินต่อไปอย่างกว้างขวางในภูมิภาคนี้ ที่อิหร่าน ทางการยังคงควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด มีการติดตั้งระบบตรวจสอบทางอินเทอร์เน็ตแบบใหม่ (Cyber Police) ทั่วประเทศ ที่ซาอุดิอาระเบีย มีการนำบทลงโทษใหม่มาใช้สำหรับผู้ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลที่ต่อต้านหรือขัดแย้งกับคำตัดสินตามกฎหมายอิสลาม

การโจมตีทำร้ายผู้สื่อข่าวและผู้จัดทำเว็บบล็อกในภูมิภาคนี้ เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวถูกสังหารหรือถูกควบคุมตัวโดยพลการ ถูกทรมานหรือถูกคุกคามในช่วงที่มีการลุกฮืออย่างต่อเนื่องในซีเรีย ในช่วงที่มีความขัดแย้งที่ลิเบียเมื่อปี 2554 และระหว่างการลุกฮือของประชาชนในตูนิเซีย อียิปต์ เยเมน และบาห์เรน การละเมิดยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าการลุกฮือของประชาชนจะยุติลงแล้ว ผู้สื่อข่าวและผู้จัดทำเว็บบล็อกในอียิปต์ที่วิจารณ์หน่วยงานทหาร จะถูกควบคุมตัวเพื่อสอบปากคำ ผู้ทำงานด้านสื่อในตูนิเซียถูกตั้งข้อหาก่อความไม่สงบหรือกระทำการที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี

ผู้สื่อข่าวและนักเขียนยังถูกควบคุมตัวโดยพลการหรือถูกคุกคามในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ทั้งที่อิหร่าน อิรัก จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และพื้นที่ยึดครองปาเลสไตน์ (Occupied Palestinian Territories) อันเป็นผลเนื่องมาจากการแสดงความเห็นต่อต้านทางการ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น