ประชาไท | Prachatai3.info |
- ไขประเด็น 'เยียวยา' เสียงจากผู้สูญเสีย หลักกฎหมาย และคดีแพ่งตัวอย่าง เมษา 52
- ศาลจำคุกแฮกเกอร์ 10 ปี 10 เดือน ฐานเจาะระบบ ธ.ไทยพาณิชย์ โอนเงิน 3 แสนกว่าบาท
- ก่อนถึงวันพิพากษาคดีที่ดินลำพูน 'ชะตากรรมผู้บุกเบิก ที่กำลังถูกทำให้เป็นผู้บุกรุก'
- แอมเนสตี้ฯ เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก
- UNDP รุกวิจัยกฎหมายชายแดนใต้ เทียบรัฐ-NGO ใครเข้าถึงชาวบ้าน
- ประชาธรรม: จากปัญหาชายแดนใต้-กระจายอำนาจ ความเป็นไปได้ของโมเดล 'เชียงใหม่มหานคร'-'นครปัตตานี'
- ปิยบุตร แสงกนกกุล: ทำความเข้าใจหลักการ “เงินเยียวยา” ทำไมห้ามฟ้องแพ่ง
- กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองที่ใช้เฟซบุ๊กมากสุดในโลก-ส่วนหุ้นเฟซบุ๊กยังดิ่งต่อเนื่อง
- เผย 7 บทความ ‘ประวิตร’ ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดย ‘ไอแพด’
- ทหารกองทัพรัฐฉานเกิดเผชิญหน้ากับ อส.หัวเมือง-ทหารพม่า
- ออง ซาน ซูจีเยือนกรุงเทพฯ สัปดาห์หน้า
- 2 ครอบครัวเหยื่อ พ.ค.53 คาใจเงื่อนไขเยียวยา ยอมรับทั้งน้ำตาหลังเคลียร์ข้อกฎหมาย
- ชาวบ้านเตรียมร่วมชนข้อมูล หลังเอกชนเมินคำขอชะลอเวทีอีเอชไอเอเหมืองโปแตชอุดร
- กองทัพรัฐฉานเหนือ-ใต้จัดงานวันกอบกู้รัฐฉานปีที่ 54 ในหลายเมือง
- เปิดข้อตกลง 12 ข้อหลังเจรจากองทัพรัฐฉาน - รัฐบาลพม่าที่เชียงตุง
ไขประเด็น 'เยียวยา' เสียงจากผู้สูญเสีย หลักกฎหมาย และคดีแพ่งตัวอย่าง เมษา 52 Posted: 24 May 2012 09:55 AM PDT เมื่อแบบฟอร์มการรับเงินปรากฏข้อความชัดเจน ในข้อ 2 ที่ห้ามไม่ให้ผู้เสียหายไปฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งกับหน่วยงานใดๆ ของรัฐเพื่อเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีก สร้างความช็อคและสั่นสะเทือนความรู้สึกกับญาติผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งที่ปักหลักแน่วแน่ในการต่อสู้เพื่อให้มีการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ โดยจะดำเนินการทั้งในทางแพ่งและทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวน้องเฌอ (สมาพันธ์ ศรีเทพ) ครอบครัวน้องเกด (กมนเกด อัคฮาด) ครอบครัวลุงคิม (ฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง)
“พี่ เฉยๆกับเงินก้อนนี้นะ จะได้หรือไม่ได้พี่ไม่ได้กระตือรือล้นขนาดนั้น ถ้าได้เงินแล้วเราต้องถอนฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่ยิงคนตาย พี่แค่อยากรู้ว่าทหารยิงสามีพี่ทำไม แล้วการที่พี่จะไม่ได้รับเงินมันเป็นเพราะพี่ไม่ยอมถอนฟ้องใช่มั้ย ซึ่งตอนแรกพี่แค่หวังอยากได้รับเงินเยียวยาก้อนนี้มาดูแลเฮีย แต่ตอนนี้ก็ไม่ทันแล้ว" วรานิษฐ์ ภรรยาฐานุทัศว์ กล่าวพร้อมปาดน้ำตา พะเยาว์ อัคฮาด แม่น้องเกดถึงกับร่ำไห้กลางที่ประชุมชี้แจงในวงของบรรดา “ผู้ใหญ่” ภายในทำเนียบรัฐบาล โดยเฉพาะท่าทีของผู้เกี่ยวข้องบางคนที่ไม่แยแสกับคำถามของเหยื่อ และพูดชัดเจนว่า “หากไม่พอใจเงื่อนไขนี้ก็กลับบ้านไป” “มันแน่นในอก นี่หรือขาข้างหนึ่งของการปรองดองจากรัฐบาลที่เราเลือกมา ไม่มีใครเข้าใจความรู้สึกของเรา เขาพูดเหมือนไม่แคร์ ตั้งธงแบบนี้ มึงต้องยอม ใหม่ๆ ภาพรวมทุกอย่างกว้างมาก มันทำให้เรานอนใจ ไม่เคยมีใครมาบอกว่าจะมีเงื่อนไขแบบนี้” พะเยาว์กล่าวพร้อมระบุว่าเธอไม่อยากให้รัฐมีแนวทางเช่น คอป.ซึ่งระบุชัดเจนว่าจะค้นหาความจริงแต่จะไม่เปิดเผยตัวบุคคล “มันไม่ควรมาก้าวก้ายกับเรื่องคดีความซึ่งเป็นสิทธิของเรา ถามว่าคดีแพ่ง คดีอาญา สำหรับเรามันก็เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ คดีแพ่งก็มีการสืบพยานเหมือนกัน ถ้าเราฟ้องแพ่งชนะ มันก็เปิดเผยรายชื่อได้ว่าใครทำผิด หรืออย่างน้อยหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ต้องยอมรับ ซึ่งมันสำคัญมากสำหรับเรา” พะเยาว์กล่าว ส่วนสุมาพร แม่น้องเฌอ เองก็รู้สึกไม่ต่างกัน และเข้าใจแต่แรกว่า นี่คือการ “เยียวยาเพื่อมนุษยธรรม” ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับคดีความ “อย่างนี้ก็ไม่น่าจะพูดเรื่องมนุษยธรรมอะไรแต่แรก” “แล้วหลักเกณฑ์พวกนี้ที่ออกมาผู้เสียหายก็ไม่ได้ร่วมแสดงความเห็นด้วยเลย”สุมาพร กล่าว แต่สุดท้าย เรื่องราวก็จบลงด้วยการชี้แจงของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ที่พยายามอธิบายรายละเอียดต่างๆ จนทั้งสองยอมรับการเยียวยาในครั้งนี้ ขณะที่กรณีของนายฐานุทัศน์นั้นยังไม่ได้อยู่ใน “รอบแรก” ของการรับเงินเยียวยา และยังมีปัญหาที่ต้องจัดการกันต่อเนื่องจากเขาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ผู้บาดเจ็บ” เป็นอัมพาตจากการถูกยิง และเพิ่งมาเสียชีวิตในภายหลัง ประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ เยียวยาครั้งนี้ดีกว่าฟ้องเองหรือไม่ “การต่อสู้ของแม่ไม่จบแค่นี้แน่นอน” พะเยาว์กล่าวทิ้งท้าย คำประกาศของแม่น้องเกดเป็นสิ่งที่ยังคงเป็นไปได้ ปิยบุตร แสงกนกกุล นักกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ ออกมาโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตัวเพื่ออธิบายถึงหลักการในกรณีการเยียวยานี้ตั้งแต่ช่วงบ่าย เมื่อกระแสความไม่พอใจของผู้สูญเสียและผู้ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขของรัฐบาลดังขึ้น ประเด็นหลักสำคัญคือ ไม่มีการตัดเรื่องการฟ้องอาญา และอันที่จริงไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดใดมาห้ามมิให้ดำเนินคดีอาญาได้ แต่ในกรณีของการฟ้องแพ่งนั้นต่างไป เพราะเป็นการฟ้องที่ “หน่วยงานของรัฐ” ไม่สามารถชี้ชัดไปที่ตัวบุคคลเหมือนอาญาที่มุ่งหมายลงโทษผู้กระทำผิด และเมื่อหน่วยงานรัฐแพ้คดีแพ่งก็ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นเดียวกับการจ่ายเงินเยียวยาในขณะนี้ ซึ่งการจ่ายเงินเยียวยาน่าจะได้จำนวนที่มากกว่าและรวดเร็วกว่าสำหรับผู้เสียหาย “ฐานที่รัฐบาลยอมจ่ายนี้ เป็น without fault แน่นอน เพราะจ่ายโดยไม่ได้ไปหาฐานละเมิด ตามความคิดการพึ่งพาอาศัยกันฉันมิตร (national solidarity)” “ผมคิดว่า ช่องทางนี้สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหาย ไม่ต้องรับภาระในการฟ้องศาล แล้วก็ไม่ได้บังคับด้วย หากผู้เสียหายอยากจะฟ้องก็ได้ เช่น ผมมั่นใจมากว่าความเสียหายของผม ได้ค่าสินไหมทดแทน เกิน 7.7 ล้านบาท แน่ๆ ผมก็ไม่เอาช่องเยียวยาของรัฐบาล แต่เลือกไปฟ้องศาลเอา” ความเห็นของปิยบุตร อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนหลักการนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในสังคมไทย ทำให้การกำหนดหลักเกณฑ์ยังคงสร้างความสับสน “รัฐบาลเองก็อาจแยกไม่ออกกระมัง เลยเขียนระเบียบออกมาแบบเร็วๆแบบนี้ จริงๆ ตอนทำระเบียบ ผมไม่รู้ว่าเขาเอาแบบของ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มาดูมั้ย อันนี้เขียนโอเคเลย มีคณะกรรมการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเขียนชัดว่าไม่ตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ผู้เสียหายหรือจำเลยพึงได้ตามกฎหมายอื่น ผมยังเห็นต่อไปอีกว่า ถ้าทำให้เป็นระบบกว่านี้ ควรออกมาในรูปแบบ ดังนี้ 1.) มีคณะกรรมการพิจารณา ผู้เสียหายยื่นคำร้อง 2.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายพอใจ รับไป จบ 3.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายไม่พอใจ อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณฺ ผู้เสียหายพอใจ จบ 4.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายไม่พอใจ อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณฺ ผู้เสียหายไม่พอใจ ฟ้องศาล เพื่อให้ศาลกำหนดจำนวนเงินให้ใหม่ 5.) กรณีไม่เลือกช่องทางคณะกรรมการ ก็ไปฟ้องศาลได้โดยตรง 6.) นี่เป็นความรับผิดแบบ without fault ไม่ใช่ความรับผิดแบบ fault หากตั้งฐานเอาแบบ fault ก็ไปฟ้องได้ (ประเด็น คือ ผู้ปฏิบัติกฎหมายไทยจะรู้จักและแยกแยะ without fault กับ fault ได้หรือไม่ หรือเหมารวมไปหมด ดังนั้น จริงๆน่าจะตรากฎหมาย เขียนระเบียบให้ชัด ผมจึงคาดเดาว่า ด้วยเหตุนี้เอง ระเบียบฯ จึงไปเขียนว่าตัดสิทธิฟ้องแพ่ง เพราะ ไม่รู้จักเรื่อง without fault กับ fault รู้จักแค่ว่าถ้าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เรียกเงินกัน ต้องเป็นฟ้องแพ่งแบบละเมิดหมด)” “ระเบียบฯตัวนี้ ก็ไม่ได้แย่ทั้งหมด เพราะ เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้เลือก ว่าจะเข้าช่องคณะกรรมการเยียวยา หรือ ฟ้องศาลเอง ก็สุดแท้แต่ผู้เสียหายจะประเมินเอา กรณีนี้มันจะไปคล้ายๆกับ การประนีประนอมกันนอกศาล”ปิยบุตรแสดงความเห็น อ่านฉบับเต็มที่ http://prachatai.com/journal/2012/05/40658
ย้อนรอยคดีแพ่ง เมษา 52 ผลลัพธ์เป็นอย่างไร หากย้อนดูร่องรอยที่เคยเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เคยมีการฟ้องคดีแพ่งเกิดขึ้นแล้ว โดยคนเสื้อแดง 2 รายที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหาร เมื่อปี 2552 บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง และชนะคดีในศาลชั้นต้น ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ คดีดังกล่าว คือคดีที่ นายไสว ท้องอ้ม และ นายสนอง พานทอง เป็นโจทก์ฟ้อง สำนักนายกรัฐมนตรี จำเลยที่1, กองบัญชาการกองทัพไทย จำเลยที่2, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำเลยที่3, พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ จำเลยที่ 4, กองทัพบก จำเลยที่ 5 ในคดีหมายเลขดำที่ 5971/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 2302/2554 โดยศาลมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาเฉพาะจำเลยที่ 2 และ 5 นายไสว ทองอ้ม ถูกยิงที่ต้นแขนซ้าย ไม่สามารถใช้แขนซ้ายประกอบภารกิจตามปกติได้อีก จึงถูกเลิกจ้างและขาดรายได้ ขอเรียกค่าเสียหายจากการเสียโอกาสในการประกอบการงานได้โดยสิ้นเชิงเป็นเวลา 20 ปี รวมแล้วเป็นเงิน 2,857,538 บาท ส่วนนายสนอง พานทอง ถูกยิงบริเวณขาขวาไม่สามารถใช้ขาขวาประกอบภารกิจตามปกติได้เป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้างและขาดรายได้ ขอเรียกค่าเสียหายจากการขาดโอกาสในการประกอบการงานได้โดยสิ้นเชิงเป็นเวลา 25 ปี รวมแล้วเป็นเงิน 2,245,205 รวมทั้งสองรายเป็นเงิน 5,102,743 บาท ศาลแพ่งมีคำพิพากษาออกมาเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2554 ให้โจทก์ชนะคดี และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 5 ต้องชำระเงินให้กับโจทก์ โดยชำระให้รายละ 1,200,000 บาท และ 1,000,000 บาทตามลำดับ รวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สุวิทย์ ทองนวล ทนายความในคดีนี้ระบุด้วย ภายหลังคำพิพากษาได้เข้าพบกับกองทัพเพื่อชี้แจงว่าทั้งสองเป็นชาวบ้านที่ถูกยิง ต้องพิการและทำมาหากินไม่ได้ กองทัพได้รับหลักการดังกล่าวพร้อมระบุว่าไม่ติดใจต่อกรณีนี้ แต่ไม่ทราบว่าเหตุใดอัยการจึงต้องอุทธรณ์ ถึงขณะนี้ กรณีนี้ยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะอยู่ในเงื่อนไขใดของการเยียวยา เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552 และมีการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งกันไปจนชนะคดีในศาลชั้นต้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ทนายความในคดีนี้ได้ยืนยันว่า ขณะนั้นยังไม่มีสัญญาณการปรองดองใดๆ ตัวผู้เสียหายเองก็ต้องเร่งดำเนินการเพราะคดีละเมิดนั้นมีอายุความเพียง 1 ปีหลังเกิดเหตุและรู้ตัวผู้กระทำผิด ถามว่าถึงที่สุด หากสองรายนี้ได้ทำการฟ้องร้องด้วยตัวเองและชนะคดีจนได้เงินตามจำนวนแล้ว แต่ปรากฏน้อยกว่าเงินเยียวยาที่กำหนดให้ในปัจจุบันจะทำเช่นไร ทนายความกล่าวว่า เรื่องจะต้องเร่งหารือกับผู้รับผิดชอบกำหนดหลักเกณฑ์ของการเยียวยาต่อไป เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็คงไม่เป็นธรรมกับบุคคลทั้งสองเช่นกัน เปิดคำพิพากษา สลายม็อบสามเหลี่ยมดินแดง เมษา 52 เรื่องนี้เป็นทั้งเรื่องหลักการทางกฎหมาย ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางความรู้สึก ซึ่งยังต้องทำความเข้าใจกันต่อไป อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากกระแส “ปรองดอง” ที่เกิดขึ้นของฝ่ายรัฐบาล ก็คงพอเข้าใจได้ว่าเหตุใดผู้สูญเสียจึงตั้งคำถามและสงสัยต่อมาตรการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ที่สำคัญ กระบวนการค้นหาความจริงจากส่วนต่างๆ ก็คืบหน้าไปอย่างล่าช้า หากพิจารณาจากรายละเอียดในคำพิพากษาคดีแพ่งของไสวและสนอง ก็อาจเข้าใจได้ว่า เหตุใดผู้สูญเสียเช่น พะเยาว์ อัคฮาด และคนอื่นๆ ยังคงเรียกร้องต้องการการสืบพยาน อย่างน้อยก็ให้มีการระบุความผิดของหน่วยงาน ไม่ว่าในศาลใดๆ เพราะ “ข้อเท็จจริง” ที่ได้แม้เพียงเล็กน้อย คือ สิ่งที่จะทำให้บาดแผลของเขาได้รับเยียวยาอย่างแท้จริง คำพิพากษาลงชื่อผู้พิพากษา นางอำไพ อรัญนารถ , นายสัมพันธ์ ผาสุข โดยมีส่วนหนึ่ง ดังนี้ “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ในวันที่ 8 ถึง 14 เมษายน 2552 มีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในหลายสถานที่ รัฐบาลเห็นว่าการชุมนุมดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญ เพราะมีการปิดถนน ตรวจค้นรถยนต์ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา และปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล โดยในวันที่ 12 เมษายน 2552 มีกลุ่ม นปช. ประมาณ 500 คน นำกำลังขัดขวางการจราจรบริเวณสี่แยกใต้ทางด่วนดินแดง และเข้าทำการตรวจค้นรถประชาชนที่ผ่านไปมา ส่วนหนึ่งพยายามบุกรุกเข้ายึดโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุม “สุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาครั้งที่ 14” อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน นายกรัฐมนตรีจึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง ในวันที่ 12 เมษายน 2552 ดังกล่าว และออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร และออกคั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 จัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ กอฉ. โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการทหารบกเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการดังกล่าว กอฉ.มีอำนาจจัดชุดปฏิบัติการจากตำรวจ ทหาร และพลเรือนเข้าระงับการก่อความไม่สงบ และช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน มอบหมายให้ศูนย์ราชการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ และอื่นๆ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และออกประกาศตามมาตรา 11(6) แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ห้ามกระทำการใดๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคม หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ ดังนั้น ในวันที่ 13 เมษายน 2552 เวลา 2 นาฬิกา จึงมีการสั่งการให้ใช้กำลังทหารบกเข้าระงับเหตุและเปิดการจราจรในบริเวณดังกล่าว โดยเวลา 4 นาฬิกามีการจัดกำลังทหารบก 2 กองพัน คือ ร.2 พัน 3 รอ. และ ร.21 พัน 1 รอ. เข้าปฏิบัติต่อพื้นที่ที่สี่แยกใต้ทางด่วนดินแดง ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของกองกำลังทหารดังกล่าว ปรากฏว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งร่วมชุมนุมอยู่ด้วยถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์ที่ 1 ถูกยิงที่ไหล่ซ้ายเป็นเหตุให้ไม่สามารถกลับมาใช้แขนซ้ายได้ตามปกติอีก โจทก์ที่ 2 ถูกยิงหัวเข่าลูกสะบ้าแตกไม่สามารถใช้ขาข้างขวาได้ตามปกติอีก โจทก์ทั้งสองจึงกลายเป็นผู้พิการ จึงมาฟ้องคดีนี้ เพื่อเรียกให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2538 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การต่อสู้ว่า ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 13 เมษายน 2552 ดังกล่าว กองกำลังทหารได้รับการต่อต้านจากกลุ่ม นปช. โดยใช้ระเบิดเพลิง แก๊สน้ำตา และพลซุ่มยิงด้วยปืนพกจากทิศตะวันออกของถนนวิภาวดีรังสิตและจากทางด่วนดินแดง มีการขับรถแท็กซี่และรถโดยสารประจำทางพุ่งชนทหาร ใช้ท่อนไม้ เหล็ก อิฐ หิน ขว้างปากลุ่มทหารจนกระทั่งต้องจัดกำลังเสริม จึงสามารถระงับเหตุได้ การปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่จึงเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จึงไม่มีความรับผิดทั้งทางแพ่ง อาญา และทางวินัย ปัญหามีต้องวินิจฉัยตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่า กองกำลังทหารบกกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองและเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดต้องรับผิดชดใช้สินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า กองกำลังทหารที่ออกปฏิบัติภารกิจในวันเกิดเหตุประกอบด้วยกองกำลังจากทหารจากสองกองพัน คือ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ซึ่งมีพันเองพิษณุพงศ์ รอดศิริ เป็นผู้บังคับกองพัน และกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งมีพันโทพงษ์ศักดิ์ เอี่ยมพญา เป็นผู้บังคับกองพัน กองกำลังทหารดังกล่าวออกปฏิบัติภารกิจในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุเป็นไปเพื่อระงับเหตุไม่สงบ และเปิดผิวการจราจรบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงให้เป็นปกติ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ศอฉ. ซึ่งมีพล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นผู้อำนวยการ และผู้บัญชาการทหารบก ภายใต้กรอบของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยได้รับคำสั่งให้ออกปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2552 จนจบภารกิจ ในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยข้อเท็จจริงยุติว่า กองกำลังทหารดังกล่าวจัดกองกำลังเป็น 3 แถว แถวแรกเป็นพลทหารถือโล่และกระบอง อยู่ห่างกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 50 เมตร แถวที่สองเป็นทหารชั้นประทวน มีอาวุธปืนเอ็ม 16 ประจำกาย อยู่ห่างออกไปประมาณ 15 ถึง 20 เมตร ซึ่งฝ่ายจำเลยเบิกความว่าใช้กระสุนซ้อมรบ และแถวที่สามเป็นทหารชั้นประทวนมีอาวุธปืนเอ็ม 16 บรรจุกระสุนจริงประจำกาย อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 ถึง 25 เมตร และมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำอยู่กองพันละ 6 ถึง 7 คน มีอาวุธปืนพกสั้นขนาด 11 มม. ประจำกาย 1 คน การปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์เช่นนี้ต้องปฏิบัติภายใต้กฎการใช้กำลังของกองทัพไทย ผนวก จ เรื่องการใช้กำลังปราบปรามการจลาจล สามารถใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองและปกป้องกำลังพลได้ตามความจำเป็น ซึ่งฝ่ายโจทก์เบิกความว่า กองกำลังทหารตั้งแถวเดินเข้าหากลุ่มผู้ชุมนุม แถวแรกเดินถือไม้เคาะโล่เข้าหาผู้ชุมนุม แถวที่สองและแถวที่สามซึ่งถือปืนบางส่วนยิงขึ้นฟ้า บางส่วนยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมแตกกระเจิง โจทก์ที่ 1 จึงตามรถแกนนำไป แต่ขณะที่โจทก์ที่ 1 เอี้ยวตัวกลับเพื่อหันมามองทหารที่อยู่ด้านหลัง จึงถูกยิงที่หัวไหล่ซ้ายล้มลงหมดสติ โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า เห็นแถวทหารเดินเข้าหากลุ่มผู้ชุมนุม โดยยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่ เมื่อผู้ชุมนุมไม่ยอมสลายตัว จึงยิงในแนวระนาบแล้วกระจายตัวตีโอบล้อมกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้เกิดการอลหม่าน ผู้ชุมนุมบางส่วนล้มลง โจทก์ที่ 2 เห็นผู้ชุมนุมคนหนึ่งถูกยิงล้มลงจึงเข้าไปช่วยเหลือ เป็นเหตุให้ถูกยิงเข้าที่หัวเข่า และทหารกรูกันเข้ามา ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 5 เบิกความว่า ทหารไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ชุมนุม ทหารใช้กระสุนจริงยิงเฉพาะในคราวที่ยิงยางรถยนต์โดยสารที่กลุ่มผู้ชุมนุมขับเข้าพุ่งชนแนวทหาร กระสุนที่ถูกโจทก์ที่ 1 มิใช่อาวุธสงคราม แต่เป็นอาวุธขนาด 9 มม. เช่นเดียวกับกระสุนที่ถูกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่มิได้ใช้อยู่ในกองทหารที่ออกปฏิบัติหน้าที่ในวันดังกล่าว อีกทั้งมีทหารบางคนถูกยิงได้รับบาดเจ็บโดยกระสุนขนาด 9 มม. เช่นเดียวกับฝ่ายโจทก์ กระสุนปืนที่ยิงถูกโจทก์ที่ 1 และ 2 จึงมิได้มาจากอาวุธปืนของฝ่ายกองกำลังทหาร เห็นว่า แม้ฝ่ายจำเลยจะอ้างว่ากองกำลังทหารที่ออกปฏิบัติภารกิจในวันดังกล่าวมีอาวุธปืนชนิดเอ็ม 16 ประจำกาย แต่ในแถวทหารที่ปฏิบัติภารกิจในวันดังกล่าวมีบางส่วนที่มีอาวุธปืนพกสั้นร่วมอยู่ด้วย ทั้งตามภาพถ่าย หมาย จ.4 จ.17 และจ.18 แสดงภาพถ่ายที่ทหารถือปืนกลเบา และปืนพกสั้น โดยพยานจำเลยที่ 2 และที่ 5 เบิกความรับว่า ทหารในภาพซึ่งถืออาวุธปืนกลเบามิใช่ทหารชั้นสัญญาบัตร โดยน่าจะเป็นทหารชั้นประทวน และไม่ทราบว่าอาวุธปืนกลเบาหรือปืนอูซี่ดังกล่าวจะใช้กระสุนปืนขนาด 9 มม.หรือไม่ และรับว่าตามภาพถ่ายหมาย จ.18 เป็นภาพทหารถืออาวุธปืนพกสั้น แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นนายทหารชั้นประทวนหรือชั้นสัญญาบัตร และพยานจำเลยที่ 2 และ 5 ทุกปากยอมรับในแถวของผู้ชุมนุมไม่เห็นว่ามีผู้ชุมนุมคนใดถืออาวุธปืนไม่ว่าชนิดใด การที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 และ 5 ระบุว่าผู้ชุมนุมใช้พลซุ่มยิงกลุ่มทหาร จึงเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐาน ซึ่งเมื่อฟังพยานจำเลยทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่า พยานโจทก์ทั้งสองมีน้ำหนักฟังได้ว่า กระสุนปืนที่ยิงมาถูกโจทก์ทั้งสองยิงมาจากกลุ่มทหาร โดยพยานโจทก์บรรยายให้เห็นเหตุการณ์ที่โจทก์ทั้งสองประสบว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดอย่างต่อเนื่องกันมาว่า กองกำลังทหารตั้งแถวเข้ายึดคืนพื้นที่ โดยเดินมุ่งเข้ากลุ่มผู้ชุมนุม มีการยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่ให้ฝ่ายผู้ชุมนุมล่าถอย เมื่อฝ่ายผู้ชุมนุมไม่ยอมสลายตัว ทั้งยังได้ใช้กำลังในการขัดขวางการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายทหาร โดยการใช้ขวดยาชูกำลังบรรจุน้ำมันจุดไฟ ซึ่งฝ่ายจำเลยเรียกว่าระเบิดเพลิงขว้างปาใส่ทหาร รวมทั้งก้อนอิฐ ก้อนหิน และอื่นๆ ทหารจึงหันมายิงในแนวระนาบ เป็นเหตุให้ฝ่ายผู้ชุมนุมแตกกระเจิงและเกิดการอลหม่านขึ้น โจทก์ที่ 1 วิ่งหนีกลุ่มทหารตามรถแกนนำไป แต่ขณะที่กำลังหันกลับมามองกลุ่มทหารที่อยู่ด้านหลัง จึงถูกยิงที่หัวไหล่ซ้ายดังกล่าว ซึ่งเห็นว่าโจทก์ที่ 1 นำสืบได้สมเหตุสมผล และเป็นธรรมชาติ ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าในครั้งแรกที่ทหารถืออาวุธเดินรุกเข้าหาฝ่ายผู้ชุมนุมนั้น ผู้ชุมนุมไม่ยอมล่าถอยเพราะ เห็นว่าทหารยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่เท่านั้น แต่เมื่อทหารหันกลับมายิงในแนวระนาบ เป็นปกติธรรมดาที่ผู้ชุมนุมย่อมต้องเกิดความตกใจกลัวและหนีร่นไป ดังที่โจทก์ที่ 1 เบิกความว่า โจทก์ที่1 วิ่งหนีตามรถแกนนำไป และถูกยิงในขณะกำลังหันกลับมามองด้านหลัง เชื่อว่าโจทก์ที่1 เห็นว่ากระสุนปืนมาจากทิศทางใด ส่วนโจทก์ที่ 2 เบิกความให้เห็นภาพการปฏิบัติการของฝ่ายทหารได้อย่างสอดคล้องตรงกั เชื่อว่าแม้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถระบุได้ว่าบุคคลใดเป็ เมื่อฟังประกอบข้อเท็จจริงว่าฝ่ แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองยืนยันว่ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อฟังได้ว่าบุคคลในกองกำลั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ศาลจำคุกแฮกเกอร์ 10 ปี 10 เดือน ฐานเจาะระบบ ธ.ไทยพาณิชย์ โอนเงิน 3 แสนกว่าบาท Posted: 24 May 2012 06:37 AM PDT ศาลอาญาพิพากษาจำคุกแฮกเกอร์หนุ่ม 21 ปี 9 เดือน ฐานลวงระบบคอมพิวเตอร์ธ.ไทยพาณิชย์ ปลอมเป็นลูกค้า ใช้ข้อมูลโอนเงิน 368,800 บาท แต่เนื่องจากรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง เป็น 10 ปี 10 เดือน (24 พ.ค.55) ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ที่ห้องพิจารณา 804 ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.912/55 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ฟ้องนายภาณุพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ ฤกษ์เสริมสุข อายุ 30 ปี เป็นจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เข้าระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหาย ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โจทก์ฟ้องว่าระหว่างวันที่ 22 ก.ย.-27 ก.ย.52 ต่อเนื่องกัน จำเลยบังอาจใช้ข้อมูลหมายเลข 16 หลัก ที่ปรากฏบนหน้าบัตรเอทีเอ็ม พร้อมรหัสลับที่ใช้ถอนเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหายที่ออกให้แก่ลูกค้า 4 ราย จำเลยนำไปสมัครขอใช้บริการ SCB EASY NET โดยกำหนดชื่อประจำตัว และรหัสผ่านด้วยตนเองตามขั้นตอนและวิธีการที่ธนาคารกำหนด เป็นเหตุให้ธนาคารหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นลูกค้าทั้ง 4 ราย จึงออกชื่อประจำตัวผู้ใช้ให้ จากนั้นจำเลยได้นำชื่อประจำตัวของผู้เสียหาย และรหัสผ่านไปโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายเพื่อใช้ชำระค่าสินค้า หรือบริการทางอินเทอร์เน็ตหลายครั้ง เป็นร้านค้าต่างประเทศรวม 4 ครั้ง เป็นเงินจำนวน 368,800 บาท ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ติดตามจับกุมได้ จำเลยให้การรับสารภาพ เหตุเกิดที่แขวงและเขตจตุจักร กทม. ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา 269/7, 334, 335 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 5,7,9 เป็นความผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรม ฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ 5 กระทง จำคุกกระทงละ 9 เดือน รวมจำคุก 3 ปี 9 เดือน ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหายจำนวน 4 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 8 ปี และฐานลักทรัพย์ จำคุกกระทงละ 2 ปี จำนวน 5 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี รวมโทษจำคุกเป็นเวลา 21 ปี 9 เดือน คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยไว้ 10 ปี 10 เดือน 15 วัน และให้จำเลยชดใช้เงินคืนจำนวน 368,800 บาท แก่ผู้เสียหาย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ก่อนถึงวันพิพากษาคดีที่ดินลำพูน 'ชะตากรรมผู้บุกเบิก ที่กำลังถูกทำให้เป็นผู้บุกรุก' Posted: 24 May 2012 06:24 AM PDT ในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ เป็นวันที่ศาลจังหวัดลำพูน จะอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีชาวบ้านลำพูน บุกยึดที่ดินที่ถูกปล่อยทิ้งร้างไม่ได้ทำประโยชน์มาเป็นเวลานาน นานจนชาวบ้านในละแวกนั้นแทบไม่รู้เลยว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเจ้าของเป็นใคร และที่สำคัญที่ดินแปลงที่พิพาทนี้เดิมเป็นพื้นที่ที่จะต้องถูกนำมาจัดสรรให้กับเกษตรกร แต่กลับถูกคนต่างถิ่น (ซึ่งรู้ภายหลังว่าเป็นนายทุน) เข้ามาครอบครองแย่งที่ดินซึ่งควรเป็นของเกษตรกรไปเป็นของตนเองและพวกพ้อง จนนำมาสู่การฟ้องร้องดำเนินคดี และจะมีคำพิพากษาสูงสุดในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เหตุการณ์เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง ปี ๒๕๓๖ โดยกลุ่มชาวบ้านในแถบอำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง และกิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาที่ดิน ๓ ประการได้แก่ ปัญหาการถูกนายทุนแย่งชิงและบุกรุกที่ดินทำกินและที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชน ปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินโดยไม่มีการทำประโยชน์ของนายทุนรายใหญ่ และปัญหาการถูกแย่งชิงสิทธิการได้ที่ดินภายใต้โครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมของรัฐ ชาวบ้านเหล่านี้ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการยื่นหนังสือร้องเรียน การชุมนุมกดดัน ชาวบ้านได้ทำทุกวิถีทางอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากภาครัฐ จนกระทั่งนำมาสู่การใช้ปฏิบัติการเข้าบุกยึดที่ดิน และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนายทุน ที่มีกระบวนการได้มาไม่ชอบธรรมและถูกปล่อยทิ้งร้าง ด้วยการใช้หลักสิทธิชุมชน ซึ่งมีรากฐานมาจากสิทธิ “ธรรมชาติ – สิทธิชุมชน”อันเป็นการประสานระหว่าง “จารีตเดิม” กับผลประโยชน์แบบใหม่ จนทำให้เกิดปรากฎการณ์สั่นคลอนระบอบทรัพย์สินที่รัฐกำหนด ซึ่งมีอยู่เพียงสองแบบ คือสิทธิของเอกชนและสิทธิของรัฐเท่านั้น ปรากฏการณ์ในครั้งนี้จึงไม่ใช่แค่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่เท่านั้น แต่เงื่อนไขที่ทำให้ชาวบ้านตัดสินใจลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน คือการที่ชาวบ้านตระหนักถึงความไม่เท่าเทียมและความไม่เป็นธรรม ในการได้สิทธิในที่ดิน และที่สำคัญกระบวนการได้สิทธิในที่ดินของเอกชนที่ไม่ชอบธรรมนั้น ก็ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติของรัฐและกลไกรัฐ ที่ตอบสนองเพียงเฉพาะคนบางกลุ่มที่มีทุน ขณะที่ชาวบ้านในท้องถิ่นดังเดิมที่ยากไร้ ก็ถูกผลักไสและปล่อยทิ้งจากการดำเนินการของรัฐ การเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของชาวบ้านถูกตอบโต้อย่างรุนแรง จากทั้งกลไกอำนาจรัฐในท้องถิ่นและจากนายทุน และเพื่อลดทอนพลังท้าทายและอำนาจต่อรองของฝ่ายประชาชน อำนาจรัฐและนายทุนจึงใช้กระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปราบปรามชาวบ้าน ด้วยการจับกุมและฟ้องร้องดำเนินคดีกว่า ๑,๐๐๐ คดี ซึ่งสั่นคลอนความเชื่อมั่นของมวลสมาชิก ขณะที่การได้ที่ดินแต่ไร้สิทธิที่รองรับโดยกฎหมายยิ่งถูกท้าทายจากสังคม ชาวบ้านได้ทำการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อจัดทำกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้ที่ดินร่วมกันของสมาชิกภายในกลุ่ม โดยวิธีการแบ่งที่ดินออกเป็น ๒ ลักษณะ คือการแบ่งเป็นที่สาธารณะสำหรับหมู่บ้าน และแบ่งเป็นที่ทำกินให้กับชาวบ้านภายในกลุ่ม ซึ่งมีลักษณะเป็นการถือครองแบบปัจเจก แต่ใช้กฎระเบียบและคณะกรรมการเป็นผู้ควบคุมสิทธิการใช้ตามกฎระเบียบที่วางไว้ เช่น ห้ามซื้อขายโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ หรือคณะกรรมการอาจยึดที่ดินคืนกองกลางกรณีมีการซื้อขายที่ผิดกฎระเบียบที่กำหนดไว้ เป็นต้น และมีการแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของและมีแนวเขต ซึ่งเรียกว่า “โฉนดชุมชน” เป็นการผสมผสานความคิดระบอบกรรมสิทธิ์แบบเอกชนเข้ากับระบอบกรรมสิทธิ์แบบจารีตประเพณี ปฏิบัติการบุกยึดที่ดินของชาวบ้านลำพูน จึงเป็นการต่อสู้ที่ไม่ใช่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเรื่องของที่ดิน ไม่ใช่การต่อสู้เฉพาะแค่ชาวบ้านในชนบท เพื่อครอบครองสะสมที่ดินเพื่อความมั่งคั่ง แต่เป็นการท้าทายค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ ความรู้และความคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรที่ดินที่มีอยู่เดิม ซึ่งถูกมอมเมาและให้คุณค่าในเชิงพาณิชย์ ว่าที่ดินเป็น “สินค้า” ซึ่งมีเพียงคนกลุ่มเล็กเท่านั้นที่เข้าถึงและครอบครองสิทธิในที่ดิน ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไร้ที่ดิน แต่ปฏิบัติการของชาวบ้านที่ลำพูนได้สร้างความหมายใหม่ ด้วยการนิยามคุณค่าของที่ดินว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็น “ฐานชีวิตและปัจจัยการผลิตสำคัญสำหรับทุกคน” จากปฏิบัติการของชาวบ้านลำพูนในครั้งนั้น ก็ได้ก่อให้เกิดกระแสการลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดินครั้งใหญ่ในประเทศไทย จนกระทั่งปี ๒๕๔๗ รัฐบาล (ทักษิณ ชินวัตร ๑) ได้เริ่มตระหนักถึงที่ดินทำกิน และนำไปสู่การประกาศขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ไร้ที่ดินทำกิน โดยมีผู้มาลงทะเบียนจำนวนกว่า ๑ ล้านคน และเมื่อข้อมูลความต้องการของเกษตรกรถึงมือรัฐบาล รัฐบาลก็ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะบรรดาเจ้าที่ดินส่วนใหญ่ ล้วนมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง และที่สำคัญมีนักการเมืองจำนวนมากที่เป็นคนถือครองที่ดินเสียเอง ปี ๒๕๕๓ รัฐบาล (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้นำเอาข้อเสนอของภาคประชาชนที่เรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ในรูปแบบ “โฉนดชุมชน” จนนำไปสู่การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุม พร้อมกับตั้งคณะกรรมการประสานงานจัดให้มีโฉนดชุมชนขึ้น และต่อมาในปี ๒๕๕๔ รัฐบาลก็ได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ซึ่งทำให้ความขัดแย้งเรื่องที่ดินได้รับการผ่อนคลายลง และต่อมาในปี ๒๕๕๔ ภาคประชาชนได้ผลักดันพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลให้บรรจุแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินไว้ในนโยบายของรัฐบาล จนกระทั่ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำไปแถลงต่อรัฐสภาประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาล (นโยบายข้อ ๕.๔ สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ) ซึ่งดูเหมือนสถานการณ์ความขัดแย้งเรื่องที่ดินจะมีทางออกที่ดีขึ้น แต่เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน) โดยมีสาระสำคัญ คือ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยให้ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ สามารถขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะรายได้ จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 59 ทวิ ให้ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ สามารถเลือกที่จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชน ตลอดจนเป็นการปรับปรุงกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน มติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าว ก็สะท้อนถึงวิถีคิดแบบเดิม คือการให้สิทธิในที่ดินในระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน และให้คุณค่าของที่ดินที่เป็นสินค้า มีความสำคัญในทางพาณิชย์เท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ล้าหลังกว่าชาวบ้านลำพูน ที่กำลังสร้างความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมให้กับที่ดินใหม่ ที่มีความยั่งยืนและเป็นธรรมแก่พลเมืองไทย ในการมีสิทธิในที่ดินอย่างเท่าเทียมกัน กระบวนการยึดที่ดินของชาวบ้านลำพูน ซึ่งศาลจังหวัดลำพูนจะอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ นี้ จึงไม่ใช่จบลงเพียงแค่การตัดสินถูกผิดทางกฎหมาย หากแต่เป็นประกฎการณ์ที่ได้แสดงถึงความเติบโตของสังคมชนบท ที่ได้ทำให้เกิดการปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจในการจัดการทรัพยากรที่ดิน ดังเช่นการนำไปสู่การตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินหลายแห่งทั่วประเทศ ดังที่เห็นเป็นข่าวในปัจจุบัน คุณูปการของชาวบ้านลำพูนที่ได้สร้างไว้แก่สังคมไทย กำลังเดินทางมาถึงบททดสอบที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่าง “กฎหมาย” กับ “ความเป็นธรรม” ภายใต้อุ้งมือของกระบวนการยุติธรรมไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
แอมเนสตี้ฯ เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก Posted: 24 May 2012 06:17 AM PDT
วันนี้เวลา 9.30 น. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยได้จัดแถลงข่าวเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ประจำปี 2555 ของ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ โรงแรมรอยัล เบญจา ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2554 โดยให้ทั้งภาพรวมของห้าภูมิภาคและข้อมูลของแต่ละประเทศจากทั้งหมด 155 ประเทศและดินแดน รายงานชี้ให้เห็นว่าการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังดำเนินต่อไปอย่างเข้มแข็งในทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทยมีหลายประเด็นที่น่าห่วงใยเช่น การขัดแย้งกันด้วยอาวุธภายในประเทศ การลอยนวลพ้นผิด เสรีภาพในการแสดงออก ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมือง และโทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (สากล) ซึ่งได้ดำเนินการให้การศึกษา สร้างความเข้าใจ และรณรงค์ในประเด็นสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนาน ได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยเรียกร้องให้รัฐให้ความสำคัญในการเคารพสิทธิมนุษยชนและเห็นคุณค่าของทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน โดยแนะรัฐบาลไทยควรพิจารณาและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลดังนี้ กฎหมายด้านความมั่นคงในประเทศ · ยุติการจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการและประกันว่าผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนจะได้รับการนำตัวเข้าสู่การไต่สวนของคณะตุลาการอย่างเป็นอิสระโดยทันที โดยเป็นองค์คณะที่มีคุณสมบัติในการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการควบคุมตัวบุคคล กฎหมายจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น · ยุติการเซ็นเซอร์เว็บไซต์โดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อคุ้มครองกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ · ให้ยกเลิกข้อกล่าวหาใดๆ ที่มีต่อจีรนุช เปรมชัยพร บรรณาธิการข่าวออนไลน์สำหรับความเห็นที่มีผู้โพสต์ในเว็บบอร์ดที่เธอเป็นผู้ดูแล และยกเลิกข้อกล่าวหาต่อบุคคลอื่นๆ ทั้งหมดที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพียงเพราะต้องการแสดงความเห็นของตนอย่างสงบและสันติ โทษประหาร · ให้มีการเปลี่ยนการลงโทษประหารชีวิตมาเป็นการลงโทษด้วยการจำคุกตลอดชีวิต · ให้ประเทศไทยให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) การทรมานและการปฏิบัติอื่นๆ ที่โหดร้าย · ให้สอบสวนรายงานการทรมานและการปฏิบัติอื่นๆ ที่โหดร้ายที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ทหารและบุคคลอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ การขัดแย้งกันด้วยอาวุธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย · ยุติการสนับสนุนและการให้เงินอุดหนุนการจัดซื้ออาวุธขนาดเล็ก และให้เข้มงวดต่อการบังคับใช้ระเบียบที่เกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืน · ให้มีการแก้ไขเนื้อหาของกฎอัยการศึกอย่างกว้างขวาง หรือให้ยกเลิกไป · ในการนำมาตรการฉุกเฉินมาใช้นั้น ให้ใช้ตามหลักกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้แก้ไขข้อบัญญัติในพรก.ฉุกเฉินฯ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายและมาตรฐานดังกล่าว รวมทั้งการแก้ไขมาตรา 17 ที่มีข้อยกเว้นไม่ให้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อเจ้าพนักงานในสภาพการณ์ทั่วไป · ประกันว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามสถานที่ต่างๆ และตามค่ายทหารสามารถเข้าถึงทนายความ ญาติพี่น้อง และได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม และมีการอนุญาตให้หน่วยงานสิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระเข้าเยี่ยมสถานควบคุมตัวทุกแห่ง · ให้หาทางสืบหาและแจ้งให้ทราบถึงที่อยู่ของทนายสมชาย นีลไพจิตรและบุคคลอื่นที่ถูกบังคับให้สูญหาย เพื่อประกันว่าจะมีการนำตัวผู้ที่รับผิดชอบต่อการสูญหายมาลงโทษ · ให้สัตยาบันรับรองต่ออนุสัญญาสากลว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และดำเนินการที่จำเป็นเพื่อบังคับใช้อนุสัญญาในระดับประเทศโดยทันทีหลังมีการให้สัตยาบัน วิกฤตทางการเมือง · ให้ประกันว่าผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและครอบครัวได้รับการเยียวยาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมือง · ให้มีการสอบสวนกรณีการบังคับขับไล่ชาวโรฮิงญา และประกันว่ามีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และให้มีการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการบังคับขับไล่เช่นนี้อีกในอนาคต · ให้เคารพต่อพันธกรณีที่ต้องอนุญาตให้ผู้แสวงหาที่พักพิงสามารถเข้าถึงกระบวนการแสวงหาที่พักพิงอย่างจริงจัง และให้ได้รับการติดต่อกับ UNHCR และประกันว่าบุคคลที่หลบหนีจากภัยคุกคามจะได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ · ให้ยุติการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยอย่างไม่มีเวลากำหนดและโดยพลการ และยุติการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยในสภาพที่แออัดเป็นเวลานาน · ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย 1951 และพิธีสาร 1967 (1951 Convention Relating to the Status of Refugees and its 1967 Protocol) · ให้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับคนงานพลัดถิ่น เพื่อประกันว่าคนงานเหล่านี้ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมและได้รับผลตอบแทนที่เท่าเทียมจากการทำงาน มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ มีโอกาสได้พักผ่อน ทำกิจกรรมสันทนาการ และมีการจำกัดชั่วโมงทำงานอย่างชอบด้วยเหตุผล · ให้ยุติการละเมิดใดๆ ที่กระทำต่อคนงานพลัดถิ่น ทั้งการค้ามนุษย์และการรีดไถ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
UNDP รุกวิจัยกฎหมายชายแดนใต้ เทียบรัฐ-NGO ใครเข้าถึงชาวบ้าน Posted: 24 May 2012 05:45 AM PDT UNDP ร่วม STEP และศอ.บต. หนุนวิทยาลัยอิสลาม ม.อ. ทำแผนช่วยประชาชนด้านกฎหมายชายแดนใต้ ศึกษารูปแบบการให้ความรู้ เวทีกลุ่มย่อยเผยทั้ง 2 ฝ่ายยังทำงานไร้เอกภาพ แต่ช่วยอุดช่องโหว่กระบวนการยุติธรรม
ระดมความคิด – เวทีระดมความเห็นของกลุ่มภาครัฐ ในโครงการเสริมสร้างการตระหนักด้านกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 23 พฤษภาคม 2555 ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องประชุมอีหม่ามฆอซาลีย์ อาคารนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยอิสลามศึกษา จัดเวทีระดมความเห็น “แผนยุทธศาสตร์การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเชิญรุก” โครงการเสริมสร้างการตระหนักด้านกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประจำชาติ(UNDP)โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)มีผู้เข้าร่วม 30คน นางสาววิปัญจิต เกตุนุติ ผู้จัดการ STEP เปิดเผยว่า UNDP ร่วมวิทยาลัยอิสลามศึกษา จัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างความตระหนัก การให้ความรู้เรื่องกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมด้านกฎหมายของคนในชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะศึกษารูปแบบการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เช่น มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสิลม สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ อัยการ ตำรวจและศาล นางสาววิปัญจิต เปิดเผยว่า จากนั้นทางโครงการจะสรุปจากการระดมความคิดเห็นเป็นรายงานและทำข้อนำเสนอเชิงนโยบาย เสนอต่อหน่วยงานส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการนี้มีระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2555 นายสุทธิศักดิ์ ดือเระ หัวหน้าโครงการเสริมสร้างการตระหนักด้านกฎหมายแก่ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า โครงการนี้ มีผลผลิต 4 ชิ้น ได้แก่ 1.การทำแผนที่ (Mapping) ขององค์กรที่ช่วยเหลือทางด้านกฎหมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.จัดทำแผนยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเชิงรุกทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนักในด้านกฎหมาย 4.จัดทำคู่มือสำหรับผู้ช่วยทนายหรือผู้คู่มือกฎหมายสำหรับผู้สนใจเรื่องกฎหมาย โดยทั้ง 4 ชิ้นจะต้องส่งให้ UNDP ภายในเดือนกรกฎาคม 2555 จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มองค์กรช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐและภาคเอกชน ในการระดมความคิด เพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายเชิงรุก ผศ.ดร.นิเลาะ แวอุเซ็ง อาจารย์คณะวิทยาลัยอิสลามศึกษาและทีมงานโครงการ กล่าวสรุปการระดมความเห็นของกลุ่มภาครัฐว่า มีจุดแข็ง คือ มีงบประมาณ มีบุคลากรที่มีความรู้ มีความพร้อมที่จะทำงานเชิงรุกส่วนจุดอ่อน คือ 1 บุคคลากรโดยเฉพะเจ้าหน้าที่ระดับชุมชนไม่มีความรู้เรื่องการบังคับกฎหมาย ขาดในจิตสำนึก มีความหวาดระแวงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน กับเจ้าหน้าที่กันเอง และกับประชาชนกันเอง ไม่สามารถบูรณการการทำงานระหว่างหน่วยงานได้ ขาดความเป็นทีม การประสานระหว่างหน่วยงานมีปัญหา มีขั้นตอนที่ล้าช้า ผศ.ดร.นิเลาะ สรุปอีกว่า ประชาชนในพื้นที่ยังไม่สามารถใช้กฎหมายเป็นประโยชน์ได้ ถือเป็นโอกาส เพราะประชาชนที่นี่เป็นมุสลิม 80 เปอร์เซ็นต์ มีวิถีอิสลามและยึดหลักความเป็นพี่น้อง หากสามารถใช้โอกาสนี้นำกฎหมายมาสร้างความเข้มแข็งในการแก้ปัญหาได้ จะสร้างความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานภาครัฐได้ ซึ่งปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ ให้เครือข่ายภาคประชาชนมีส่วนรวมมากที่สุด มีเจ้าภาพที่ชัดเจน สร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการจากภาครัฐ สามารถบูรณการและทำงานเป็นทีม นำไปสู่การแก้ปัญหาในระยะยาว นายฮาฟิต สาและ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานีและทีมงานของโครงการ กล่าวของสรุปของกลุ่มภาคประชาชนว่า จุดแข็ง คือมีบุคลากรที่เป็นคนในพื้นที่ รู้ภาษาของคนในพื้นที่ มีจิตอาสาจึงได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้าน มีการลงพื้นที่แม้พื้นที่เสี่ยง บางองค์กรมีการพัฒนาองค์กรและบุคคลากรทีเป็นมืออาชีพ ให้ความสำคัญกับข้อมูล มีการศึกษาวิจัยและนำผลวิจัยมาใช้ นายฮาฟิต กล่าวสรุปอีกว่า จุดอ่อน ไม่มีการประสานงานระหว่างองค์กรในพื้นที่ ไม่มีงบประมาณ บางองค์กรไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านกฎหมาย ขาดนักวิชาการมาอธิบายปรากฏการณ์โดยเฉพาะมิติทางสังคม เพราะองค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายเองก็ยังมีความคิดที่จำกัด มองแต่ในเชิงคดี ไม่มีความแหลมคมในภาพกว้าง นายฮาฟิต กล่าวสรุปด้วยว่า ส่วนโอกาส คือมีเครือข่ายกว้างขวางและชาวบ้านยอมรับมากขึ้น เพราะมีการพูดถึงเรื่องความเป็นธรรมซึ่งเป็นที่ค้นหาของคนในพื้นที่มาตลอด 8 ปี่ที่ผ่านมา มีความพยายามพัฒนากระบวนการยุติธรรม และพยายามอุดช่องโหว่ให้กระบวนการยุติธรรมของภาครัฐ ที่สำคัญ ประชาชนเริ่มเข้มแข็งและกล้าหาญมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการทำงานของภาคประชาสังคม นายฮาฟิต สรุปอีกว่า ส่วนอุปสรรค คือ การทำงานของเครือข่ายยังไม่มีเอกภาพเช่นเดียวกับภาครัฐ ซึ่งเป็นอุปสรรค์ใหญ่ ขณะที่ผู้ใช้กฎหมายเองก็มีปัญหา เพราะใช้อำนาจหน้าที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมองอีกฝ่ายว่าให้ความช่วยเหลือฝ่ายตรงข้าม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ประชาธรรม: จากปัญหาชายแดนใต้-กระจายอำนาจ ความเป็นไปได้ของโมเดล 'เชียงใหม่มหานคร'-'นครปัตตานี' Posted: 24 May 2012 05:34 AM PDT
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ปิยบุตร แสงกนกกุล: ทำความเข้าใจหลักการ “เงินเยียวยา” ทำไมห้ามฟ้องแพ่ง Posted: 24 May 2012 05:14 AM PDT กรณีการรับเงินเยียวยาความเสียห พอคดีแบบนี้เพิ่มมากขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติก็เข้ามาช่วยด้วยการออกกฎหมายรายฉบับ กำหนดเรื่องที่ใช้ความรับผิด เมื่อกำหนดค่าเสียหายให้แล้ว ผู้เสียหายยังไม่พอใจ ก็จะอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการอีกช หากผู้เสียหายพอใจตกลงรับเงินค่าเสียหาย ก็ไม่อาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย นี่เป็นหลักการปกติ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติลงมาช่วย เพื่อให้คดีไม่รกศาล และผู้เสียหายก็ได้เงินรวดเร็ว กฎหมายแบบนี้มีมากมายที่ฝรั่งเศส เคยมีผู้ร้องไปยังศาลสิทธิมนุษย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นคดีเรียกค่าเสียหาย เรียกเงินเท่านั้น ไม่ได้ตัดสิทธิการฟ้องคดีอาญา ดังนั้น ที่รัฐบาลทำอยู่ก็น่าจะเป็นเช่น ที่ฝรั่งเศส มีกฎหมายอยู่ฉบับหนึ่ง ตราเมื่อ 4 มีนาคม 2002 กฎหมายนี้กำหนดว่า บุคคลผู้เสียหายจากการตรวจ การรักษาพยาบาล โดยที่ความเสียหายนี้ ไม่ได้เกิดจากการกระทำละเมิด ผู้เสียหายอาจร้องขอต่อคณะกรรมก อาจเป็นไปได้ว่า เกิดใช้สองช่อง คือ ฟ้องศาล และ ร้องกับคณะกรรมการ เช่น ฟ้องศาลไปแล้ว ศาลยังไม่ตัดสิน แล้วมาขอคณะกรรมการอีก กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องต้องแจ้งแ เช่น ร้องขอคณะกรรมการแล้ว แต่คณะกรรมการยังไม่วินิจฉัย ก็เลยไปฟ้องศาลอีก กฎหมายกำหนดให้ ผู้ฟ้องต้องแจ้งแก่ศาลด้วยว่า ตนได้ร้องต่อคณะกรรมการฯไว้ด้วย ในกรณีที่คณะกรรมการฯวินิจฉัยให 1.) พอใจ รับเงิน จบ ห้ามฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้อีก 2.) ไม่พอใจ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ วินิจฉัยมา พอใจ จบ ห้ามฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้อีก 3.) ไม่พอใจ อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ วินิจฉัยมา ไม่พอใจ ไปฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายในเรื่ 1.) พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้า 2.) กรณีสลายการชุมนุม ไม่มีช่องไหนที่จะฟ้องตัวคนได้เลย เพราะการสั่ง การปฏิบัติการ การสลายชุมนุมอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งนั้ 3.) เมื่อฟ้องหน่วยงานไปแล้ว หากศาลพิจารณาว่าเป็นละเมิดจริง 4.) หากหน่วยงานจ่ายไปแล้ว เห็นว่า เจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิด กระทำโดยจงใจหรือประมาทร้ายแรง หน่วยงานก็ไปไล่เบี้ยเอากับเจ้า 5.) จะเห็นได้ว่า หากใช้ช่อง พ.ร.บ. ปี 39 แล้ว กระบวนการจะช้าและเป็นภาระแก่ผู้เสียหายมาก ดังนี้ 1. ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็ 6.) การสลายการชุมนุมในปี 52 มีคดีตัวอย่าง ทนายสุวิทย์ ทองนวล (ทำคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ร่วมกับทนายคารม พลพรกลาง) เป็นคนทำคดีฟ้องฐานละเมิดโดยเอา พ.ร.บ. 39 มาใช้ ขอไปประมาณกว่า 3 ล้าน ศาลสั่งให้หน่วยงานชดใช้ ได้มาล้านกว่าๆ (เคยเป็นข่าวใน น.ส.พ. ข่าวสด) และไม่แน่ใจว่าหน่วยงานสู้คดีต่อ 7.) กรณีระเบียบฯเยียวยานี้ เปิดทางเลือกให้ผู้เสียหาย หากผู้เสียหายไม่เอาทางนี้ ก็ไปฟ้องได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าไปฟ้องต่อศาล ก็ต้องใช้หลักตาม พ.ร.บ. ปี39 ซึ่งไม่มีทางที่จะฟ้องอภิสิทธิ์ 8.) ระเบียบฯนี้ ไม่ได้ตัดเรื่องความผิดอาญา ในระบบกฎหมายเท่าที่เป็นอยู่ตอน นอกจากนี้ยังมีอีกปัญหาด้วย คือ กรณีความรับผิดแบบ without fault นั้น ศาลไทยยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าไ ทีนี้ ในกรณีกฎหมายปี 2002 ของฝรั่งเศสนั้น เขาก็เอาเฉพาะเรื่องกรณี without fault เท่านั้น ที่ให้ใช้ช่องคณะกรรมการฯ แต่ถ้าเป็นการฟ้องความรับผิ แต่พอมากรณีของไทย มันจะผสมมั่วๆ อยู่นิดหนึ่ง คือ กรณีระเบียบเยียวยา ไม่ได้พูดเรื่อง without fault เพราะ เขาอาจไม่รู้จักก็ได้ แต่ผมเห็นว่าฐานที่รัฐบาลยอมจ่ายนี้ เป็น without fault แน่นอน เพราะจ่ายโดยไม่ได้ไปหาฐานละเมิด แต่ระเบียบฯนี้ก็ไปเขียนอีก นักกฎหมายไทยไม่ค่อยรู้จัก เรื่อง without fault ทุกวันนี้ตอนบรรยายวิชากฎหมายปกครอง ผมจะพูดเรื่องนี้ประมาณ 3 คาบทุกครั้ง เพราะ concept แบบ without fault ต่อไปจะใช้เยอะขึ้นแน่นอน ตามความคิดการพึ่งพาอาศัยกั จริงๆ เรื่องนี้พอมีโผล่ๆ มาอยู่บ้าง เช่น กรณี ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กรณีร่าง พ.ร.บ. ความเสียหายจากการรับริการส อีกประเด็น ก็คือ คนไทยส่วนใหญ่ถูกความคิดแบบ และหากฟ้องแบบ fault ไปได้ ก็ต้องเจอกับ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้า รัฐบาลเองก็อาจแยกไม่ออกกระมัง เลยเขียนระเบียบออกมาแบบเร็วๆ แบ ตอนทำระเบียบ ไม่รู้ว่าเขาเอาแบบของ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียห หากจะทำให้เป็นระบบกว่านี้ ควรออกมาในรูปแบบ ดังนี้ 1.) มีคณะกรรมการพิจารณา ผู้เสียหายยื่นคำร้อง 2.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายพอใจ รับไป จบ 3.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายไม่พอใจ อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้เสียหายพอใจ จบ 4.) คณะกรรมการกำหนดจำนวนเงิน ผู้เสียหายไม่พอใจ อุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้เสียหายไม่พอใจ ฟ้องศาล เพื่อให้ศาลกำหนดจำนวนเงินให้ใหม่ 5.) กรณีไม่เลือกช่องทางคณะกรรมการ ก็ไปฟ้องศาลได้โดยตรง 6.) นี่เป็นความรับผิดแบบ without fault ไม่ใช่ความรับผิดแบบ fault หากตั้งฐานเอาแบบ fault ก็ไปฟ้องได้ (ประเด็น คือ ผู้ปฏิบัติกฎหมายไทยจะรู้จั
ที่มา: เฟซบุ๊คส่วนตัวปิยบุตร แสงกนกกุล มีการเรียบเรียงเพิ่มเติมในเวลา 00.34 น.(25 พ.ค.55) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองที่ใช้เฟซบุ๊กมากสุดในโลก-ส่วนหุ้นเฟซบุ๊กยังดิ่งต่อเนื่อง Posted: 24 May 2012 05:04 AM PDT
(23 พ.ค.) หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า มีผู้ใช้บริการของ “เฟซบุ๊ก” สื่อสังคมออนไลน์ในกรุงเทพฯ มากกว่าเมืองอื่นๆ ในโลก บริษัทวิเคราะห์สังคมออนไลน์ที่มีชื่อเสียงในระดับสากล “โซเชียลเบเกอร์” รายงานผลการสำรวจผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ “เฟซบุ๊ก” พบว่า ในกรุงเทพฯมีผู้ใช้ 8.68 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ตามมาด้วยกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย 7.43 ล้านคน เป็นอันดับ 2 และ เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี 7.07 ล้านคน อยู่ในอันดับที่ 3 ดังนั้น กรุงเทพฯของไทยจึงสามารถเอาชนะเมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย นครนิวยอร์ก และ นครลอสแองเจลิสของสหรัฐ เป็นต้น ส่วนเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ติดอยู่ใน 20 อันดับสูงสุดของผู้ใช้เฟซบุ๊กก็มี กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ติดอันดับที่ 13 ของโลก มีผู้ใช้ 3.33 ล้านคน สิงคโปร์อันดับที่ 17 มีผู้ใช้ 2.66 ล้านคน สำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กในกรุงเทพฯ 8.68 ล้านคน ถือว่ามากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในเขตเมืองซึ่งคาดว่าน่าจะมีจำนวนถึง 16 ล้านคน ทั้งนี้เป็นตัวเลขประเมินของสำนักงานสถิติแห่งชาติ นายไบรอัน เพอร์รี วัย 28 ปี ผู้เฝ้าติดตามสังคมออนไลน์ ในกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า การจัดอันดับของ "โซเชียลเบเกอร์" ใช้ข้อมูลที่ได้จากสื่อโฆษณาในเฟซบุ๊ก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่อยู่เขตนอกเมืองของกรุงเทพฯ พยายามเข้าถึงสื่อออนไลน์ตัวนี้ ขณะที่ในเขตเมืองนั้น สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าเพราะมีบริการอินเทอร์เน็ตได้มากกว่าในเขตเมือง ขณะเดียวกัน ก็ยังมีอีกเหตุผลสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงข้อมูลเรื่องผู้ใช้ตรงนี้ด้วย เพราะยังขาดข้อมูลในบางเมืองใหญ่ของทวีปเอเชีย เช่นในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งโซเชียลเบเกอร์ระบุว่า ทั้งประเทศมีผู้ใช้มากถึง 27 ล้านคน นอกจากนั้น ข้อมูลนี้ก็ยังไม่ได้นับถึงฮ่องกง และเมืองอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็สัดส่วนจำนวนประชากรมากเช่นกัน ยกเว้นในประเทศจีน ซึ่งเฟซบุ๊กยังถูกปิดกั้นอยู่ และบางเมืองของจีนก็ไม่ได้อยู่ในรายงานสำรวจข้อมูลนี้ นายเพอร์รี กล่าวต่อไปว่า สังคมออนไลน์เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ จนอาจกล่าวได้ว่า เฟซบุ๊กในประเทศไทยสำหรับคนหลายๆ คนก็คืออินเทอร์เน็ต ซึ่งนอกจากดูคลิปวิดีโอ ส่งข้อความแล้ว ยังสื่อสารกับเพื่อนได้ เล่นเกม โดยไม่ต้องใช้บราวเซอร์อีกต่อไป อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนไทยติดเฟซบุ๊กอย่างมากในสังคมไทยก็เพราะมันสำคัญยิ่งในการสื่อสาร หลายคนสนุกกับการโต้ตอบการสื่อสาร แต่ไม่ชอบแสดงความเห็นเกี่ยวกับเพื่อนหรือคนรู้จัก เฟซบุ๊กจึงเป็นเหมือนสิ่งสารพัดประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้เป็นแนวนิยมใหม่สำหรับประเทศไทย หรือเรียกว่าเป็นอะไรที่คนทำได้ทุกอย่างในอินเทอร์เน็ต โซเชียลเบเกอร์ยังเปิดเผยถึงอัตราส่วนการขยายตัวของเฟซบุ๊กในกรุงเทพฯ ซึ่งสูงถึงร้อยละ 104.8 ซึ่งสูงถึงอย่างมากเมื่อเทียบกับเมือง 10 อันดับ ซึ่งตัวเลขจะอยู่ที่ร้อยละ 20-80 เท่านั้น แต่สำหรับตัวเลขทั้งประเทศของผู้ใช้เฟซบุ๊กแล้ว โซเชียลเบเกอร์ระบุว่า สหรัฐมีผู้ใช้มากที่สุดในโลก ตามมาด้วย บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก สหราชอาณาจักร ตุรกี ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส และ เยอรมนี ส่วนประเทศไทยซึ่งมีประชากร 67 ล้านคน อยู่ในอันดับที่ 16 มีผู้ใช้ทั้งหมด 14 ล้านคน
เตรียมตรวจสอบหุ้นเฟซบุ๊กดิ่ง มูลค่าหุ้นของเฟซบุ๊กยังลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 นับจากมีการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ โดยลดลงไปอีก 3.03% หลังจากเมื่อวันจันทร์ หุ้นของเฟซบุ๊กตกลงไปแล้วกว่า 11% โดยมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่หุ้นละ 31 ดอลลาร์ จากราคาเปิดตัวที่หุ้นละ 38 ดอลลาร์ มูลค่าหุ้นที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ หรือ FINRA เตรียมตรวจสอบกระบวนการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทว่าเป็นไปอย่างทั่วถึงหรือมีความผิดปกติใดๆ หรือไม่ หลังมีรายงานว่า มอร์แกน สแตนลีย์ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้น ปล่อยให้เฟซบุ๊กเพิ่มราคาและจำนวนหุ้นไอพีโอมากเพื่อจำหน่ายให้ผู้ที่ไม่ต้องการถือไว้อย่างจริงจัง ส่งสัญญาณที่ไม่ถูกต้องให้แก่ตลาด อย่างไรก็ตาม มอร์แกน สแตนเลย์ หนึ่งในผู้จัดจำหน่ายหุ้นของเฟซบุ๊กยืนยันว่า บริษัทดำเนินการขายหุ้นอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ทุกประการ
ที่มา: เดลินิวส์และสำนักข่าวไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เผย 7 บทความ ‘ประวิตร’ ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดย ‘ไอแพด’ Posted: 24 May 2012 04:43 AM PDT สถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ดเพิ่มสถิติรับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษคดีอาญามาตรา 112 อีก 7 กรณี หลังจากที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือไอแพด ร้องทุกข์กล่าวโทษนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และคอลัมนิสต์ของเว็บไซต์ประชาไท ด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยอ้างบทความจำนวน 7 ชิ้น บทความทั้ง 7 ที่ได้นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประชาไท มีดังนี้ ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมที่ทุกคนต้องคิดและพูดเหมือนกัน มิใช่สังคม สำหรับความคืบหน้าในสำนวนคดี ร.ต.ท. เมธี ศรีวันนา พนักงานสอบสวน (สบ1) สถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ด ได้ส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์มายังกองบรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน และไอพีแอดเดรส ซึ่งทางประชาไทยังไม่มีการติดต่อกลับไป อย่างไรก็ตาม นายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณธิการบริหาร ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวแก่นายประวิตร ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เขียนมายังกองบรรณาธิการ ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายประวิตร แต่อย่างใด สำหรับสภ. เมืองรอยเอ็ด กำลังเป็นสถานีตำรวจที่น่าจับตาในแง่สถิติการร้องทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งที่ผ่านมา นายวิพุธ สุขประเสริฐ ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษผู้เขียนบทความและผู้แสดงความเห็นในเว็บไซต์ประชาไทไปแล้วทั้งสิ้น 15 ราย รวมบรรณาธิการและผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท พ.ต.ท.สุคิด เพ็ชรโยธา พนักงานสอบสวน สบ.3 เจ้าของคดี ที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือนามปากกา "I Pad" ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายสุรพศ ทวีศักดิ์ หรือนามปากกา นักปรัชญาชายขอบ เคยให้ข้อมูลกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า ในทางปฏิบัติ กระบวนการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนสอบสวนคดีที่มีการร้องทุกข์กล่าว โทษด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ความเห็นของพนักงานสอบสวนยังไม่ถึงที่สุด พนักงานสอบสวนต้องส่งไปให้ ตร.ภูธรภาค และ ตร.ส่วนกลางพิจารณาตามลำดับ แม้ สภ.ที่รับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ก็ต้องส่งให้พิจารณาเช่นกัน พ.ต.ท.สุคิดให้ความเห็นกรณีที่มีการฟ้องร้องที่ สภ.เมืองร้อยเอ็ดเป็นจำนวนมากว่า เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกคดี หากไม่เช่นนั้นก็จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในหมวดความมั่นคง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจึงเป็นผู้ใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในชั้นสืบสวนสอบสวน หากเห็นว่ากรณีใดไม่เข้าลักษณะความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 เลย และได้รับความเห็นจาก ตร.ภาคและตร.ส่วนกลางแล้ว ก็จะไม่ดำเนินการต่อ จากการณีของนายวิพุธที่ร้องบุคคลจำนวน 5 รายในการร้องทุกข์คราวเดียวกับสุรพศ แต่ตำรวจสอบแล้วมีมูลเพียง 2 ราย พ.ต.ท.สุคิดระบุว่า การร้องทุกข์กล่าวโทษนั้น แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหน้าที่รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกกรณี แต่หากกรณีใดไม่เป็นข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการสืบสวนและสั่งฟ้องแล้ว ผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดยไม่มีมูลก็สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษกลับได้ในฐานแจ้งความเท็จ ทั้งนี้ อนุกรรมการฯ ได้สอบถามกรณีที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษที่สภ.เมืองร้อยเอ็ดจำนวนมากกว่า ปกติ พ.ต.ท.สุคิดรับว่าจากปี 2553 เป็นต้นมา มีการร้องทุกข์มากจริงและมีสถิติสูงมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 4 ด้วยกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ทหารกองทัพรัฐฉานเกิดเผชิญหน้ากับ อส.หัวเมือง-ทหารพม่า Posted: 24 May 2012 04:07 AM PDT กองกำลังอาสาสมัครหัวเมืองสนธิ แหล่งข่าวชายแดนด้านจังหวัดแม่ การเผชิญหน้าของกองกำลังทั้ ด้าน พ.ท.อ่องเมียะ ผบ.หน่วยภาคพื้นที่ที่ 6 ของกองกำลังไทใหญ่ SSA เปิดเผยว่า ทหารไทใหญ่ SSA ได้ควบคุมตัวร.ต.จายหลู่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่ อย่างไรก็ตาม พ.ท.เจ้าอ่องเมียะ กล่าวว่า ทางฝ่ายทหาร SSA ไม่ได้กักขังร.ต.จายหลู่ แต่อย่างใด ซึ่งทาง SSA ได้ขอเก็บอาวุธปืนสั้นของเขา 2 กระบอก พร้อมด้วยวิทยุสื่อสาร 2 เครื่อง และโทรศัพท์มือถืออีก 1 เครื่องไว้ ส่วนตัวร.ต.จายหลู่ ก็ให้อยู่ร่วมกับทหาร SSA ไว้ไม่ได้มีการทำร้ายเขา หากทหารพม่าได้ถอนกำลังออกจากพื ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา ทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบที่ 286 ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่หัวเมือง ตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้บุกโจมตีฐานทหารไทใหญ่ SSA ที่ตั้งบนดอยใกล้กับบ้านร่ สำหรับบ้านหัวเมือง เป็นอดีตที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ ขณะเดียวกันมีรายงานว่า เมื่อวานนี้ (23 พ.ค.) ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่ ทั้งนี้ หลังการประชุมเจรจาสันติภาพระดั
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ออง ซาน ซูจีเยือนกรุงเทพฯ สัปดาห์หน้า Posted: 24 May 2012 02:52 AM PDT โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เผยว่า นางออง ซาน ซูจี เตรียมเยือนกรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ แฟ้มภาพนางออง ซาน ซูจี ระหว่างร่วมเปิดงานคอนเสิร์ตระดมทุนช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า ซึ่งจัดโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี เมื่อ 30 ธ.ค. 54 ล่าสุดโฆษกพรรคเอ็นแอลดีเปิดเผยวันนี้ (24 พ.ค.) ว่านางออง ซาน ซูจี จะเดินทางเยือนกรุงเทพฯ สัปดาห์หน้าเพื่อเข้าร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (ที่มา: ประชาไท/แฟ้มภาพ)
สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (24 พ.ค.) ว่านายเนียน วิน โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของพม่า เปิดเผยว่า นางออง ซาน ซู จี หัวหน้าพรรค จะเดินทางเยือนกรุงเทพ ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศของเธอเป็นครั้งแรกในช่วง 24 ปีของเธอ โดยนางออง ซาน ซูจี จะเข้าร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 1 มิถุนายน ทั้งนี้นางซู จี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านวัย 66 ปี ของพม่า ยังมีแผนที่จะเดินทางเยือนยุโรปในเดือนหน้า ซึ่งเธอจะเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่เธอได้รับประจำปี 2534 ที่กรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ และจะกล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาสหราชอาณาจักร รวมทั้งเข้าร่วมประชุมทางด้านแรงงานที่จัดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
2 ครอบครัวเหยื่อ พ.ค.53 คาใจเงื่อนไขเยียวยา ยอมรับทั้งน้ำตาหลังเคลียร์ข้อกฎหมาย Posted: 24 May 2012 02:04 AM PDT (24 พ.ค.25) ที่บริเวณจุดลงทะเบียนผู้ได้รับเงินเยียวยาจากเหตุความเสียหายและความรุนแรงทางการเมืองตามหลักมนุษยธรรม ระหว่างปี 2548-2553 ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี มีผู้เดินทางมาลงทะเบียนอย่างคับคั่ง นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของนางสาว กมนเกด อัคฮาด (น้องเกด) ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวัดปทุมวนาราม และนางสุมาพร ศรีเทพ มารดาของนายสมาพันธ์ ศรีเทพ (น้องเฌอ) ผู้เสียชีวิตการชุมนุมที่บริเวณถนนราชปรารภ ได้ลงชื่อในใบรับรองการเยียวยาโดยไม่ยอมรับในเงื่อนไขข้อ 2 เกี่ยวกับการระงับสิทธิ์ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือหรือชดเชยอื่นๆ จากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงสิทธิทางศาลในการฟ้องคดีแพ่ง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยินยอมรับเอกสารโดยให้เหตุผลว่าไม่ตรงตามเงื่อนไข จากนั้นนางพะเยาว์ พร้อมด้วยครอบครัวศรีเทพ ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลขอเข้าพบนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อนุกรรมการในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) เพื่อให้ชี้แจงเงื่อนไขการถอนฟ้องแพ่ง ด้านนายปกรณ์ พันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ชี้แจงเงื่อนไขการถอนฟ้องคดีแพ่งในเบื้องต้นโดยย้ำให้ไปถามรายละเอียดจากนายธงทอง เพราะเงื่อนไขนี้อยู่ในส่วนนโยบาย ส่วนตัวไม่มีอำนาจตัดสินใจ ภาพโดย: Kaekai Ing ผู้สื่อข่าวรางานเพิ่มเติมว่า นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของกมนเกดได้ให้สัมภาษณ์หลังการเข้าหารือว่ารู้สึกรับไม่ได้กับท่าทีการชี้แจงที่ไม่ให้ความใส่ใจกับคำถามของผู้เสียหายของนายธงทอง แต่ในท้ายที่สุดเมื่อนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯ ได้ชี้แจงในรายละเอียด และหารือกันระหว่างครอบครัวเหยื่อรายอื่นแล้วทำให้พอยอมรับได้ แม้จะด้วยความเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม ดำเนินการต่อสู้ในช่องทางต่างๆ อย่างถึงที่สุด ขณะที่นางสุมาพร ศรีเทพ แม่ของนายสมาพันธ์ ศรีเทพ กล่าวว่า ในท้ายที่สุดก็ได้ยอมรับเงื่อนไขนี้หลังจากมีการชี้แจงกระบวนการทางกฎหมายแล้ว แต่รัฐบาลไม่น่าใช้คำว่า "เยียวยาเพื่อมนุษยธรรม" ซึ่งทำให้ผู้เสียหายเข้าใจผิดว่าจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีความ และก่อนหน้านี้ภาครัฐไม่เคยชี้แจงเรื่องดังกล่าวกับประชาชนให้เกิดความชัดเจนมาก่อนเลย เพิ่งมาเห็นเงื่อนไขวันนี้จึงทำให้รู้สึกช็อค อีกทั้งการออกฎเกณฑ์ต่างๆ ก็ไม่ได้มีตัวแทนผู้เสียหายเข้าไปร่วมพิจารณาด้วย
หมายเหตุ มีการเพิ่มเติมเนื้อหาข่าวเมื่อวเลา 22.30 น. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ชาวบ้านเตรียมร่วมชนข้อมูล หลังเอกชนเมินคำขอชะลอเวทีอีเอชไอเอเหมืองโปแตชอุดร Posted: 23 May 2012 10:06 PM PDT กพร.-ผู้ว่าฯ อุดร ทำหนังสือขอบริษัทเอกชนชะลอจัดเวทีรับฟังความเห็นรายงานอีเอชไอเอโครงการเหมืองแร่โปแตช หวั่นปัญหาม็อบชนม็อบแต่ถูกเมิน ด้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีเตรียมแจงข้อมูล หวังสร้างความเข้าใจให้คนเมืองอุดรฯ 23 พ.ค.55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำหนังสือถึง บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์โปเรชั่น จำกัด (บริษัทเอพีพีซี) เพื่อขอความร่วมมือให้ชะลอการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ของโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ณ โรงแรมบ้านเชียง อ.เมือง จ.อุดรธานี ในวันที่ 24 พ.ค.55 ตั้งแต่เวลา 07.30 – 14.00 น. นอกจากนี้ ในวันที่ 22 พ.ค.55 จังหวัดอุดรธานี โดยผู้ว่าราชการ ก็ได้ลงนามหนังสือส่งไปถึงบริษัทเอพีพีซีแล้ว ในประเด็นเดียวกัน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดปัญหาม็อบชนม็อบ ทั้งนี้ กรณีความเห็นดังกล่าวของ กพร.สืบเนื่องจากคณะกรรมการศึกษา ติดตามกระบวนการขออนุญาตประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดี กพร.ได้ประชุม เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา และมีข้อสรุปร่วมกันว่า ขอให้บริษัทฯ ยุติการจัดเวที เพราะเป็นห่วงถึงความขัดแย้งรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และขณะนี้คณะกรรมการกำลังอยู่ในระหว่างการวางแนวทางในการดำเนินการเพื่อจะศึกษาตรวจสอบการขอประทานบัตร และกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการศึกษาอีเอชไอเอ ก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย จึงควรต้องยุติ เพื่อรอผลการศึกษาและตรวจสอบของคณะกรรมการให้แล้วเสร็จเสียก่อน “กพร. พิจารณาเห็นแล้วว่าหากมีเวทีเกิดขึ้นจะทำให้เกิดความแตกแยกแบ่งชาวบ้านเป็นสองฝักสองฝ่ายทั้งคัดค้านและสนับสนุน จนนำสู่การเกิดความรุนแรงในพื้นที่ตามมาได้ จึงได้ส่งหนังสือถึง บริษัทเอพีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการดังกล่าว เพื่อขอความร่วมมือชะลอการจัดเวทีในครั้งนี้ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในพื้นที่ ในระหว่างที่คณะกรรมการกำลังศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาในเรื่องโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี” เนื้อหาในหนังสือระบุสาระสำคัญ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงยืนกรานที่จะจัดเวทีขึ้นในวันที่ 24 พ.ค.55 ต่อไป แม้ นายวรากร บำรุงชีพโชต หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ได้ประสานงานดำเนินการจัดส่งหนังสือของ กพร.ถึงบริษัทเอพีพีซีแล้ว ผู้สื่อข่าวในพื้นที่รายงานเพิ่มเติมว่า ที่บ้านโนนสมบูรณ์ ต.ห้วยสามพาด อ.ประจักษ์ศิลปาคม เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้มีการประชุมหารือนานกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อกำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวต่อเวทีดังกล่าว “วันนี้เห็นชัดแล้วว่าผู้ที่ไม่ยอมเดินตามกระบวนการคือบริษัทฯ ไม่ใช่ชาวบ้าน ทั้งๆ ที่คณะกรรมการกำลังร่วมกันศึกษา อีกทั้ง กพร.และผู้ว่าฯ ก็ทำหนังสือแจ้งไปแล้ว แต่ก็ไม่ยอมฟัง โดยเขาได้เตรียมการจ้างคนเอาไว้แล้วหัวละ 300 บาท เพื่อเข้าร่วมประชุมรับรองรายงาน และคอยปะทะกลุ่มอนุรักษ์ฯ” นางมณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าว นางมณีกล่าวด้วยว่า ทางกลุ่มฯ เตรียมพร้อมจะเดินทางไปที่โรงแรมบ้านเชียง เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนเมืองอุดรฯ และผู้มาเข้าร่วมเวที เพราะบริษัทฯ กำลังจะสร้างภาพหลอกลวง ให้คนมาร่วมรับรองรายงานดังกล่าว ทั้งที่โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรฯ ไม่ได้เข้าข่ายโครงการรุนแรง ซึ่งบริษัทฯ ไม่ต้องทำรายงานอีเอชไอเอตามกฎหมาย ด้านนายสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน กล่าวว่า เวทีในครั้งนี้ขาดความชอบธรรมทางกฎหมายในการที่จะจัดขึ้น ไม่มีกฎหมายรองรับ เนื่องจากเวทีในครั้งนี้ไม่อยู่ในขั้นตอนของโครงการศึกษาตามกฎหมายโครงการรุนแรง ในส่วนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 “สิ่งที่เราสงสัยคือเวทีนี้ จัดทำไม จัดเพื่ออะไร ทั้งที่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าจะต้องให้มีการจัดขึ้นตามกระบวนการเลย บริษัทแค่ต้องการสร้างภาพต่อนักลงทุนโดยเฉพาะจีน เพื่อระบายหุ้นออกไป เพื่อนำเงินลงทุนไปหนุนบริษัทแม่หรืออิตัลไทย ที่กำลังจะลงทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในทวาย ที่ประเทศพม่า ” นายสุวิทย์กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
กองทัพรัฐฉานเหนือ-ใต้จัดงานวันกอบกู้รัฐฉานปีที่ 54 ในหลายเมือง Posted: 23 May 2012 01:40 PM PDT โดยกองทัพรัฐฉานเหนือ จัดที่ บก.บ้านไฮ ส่วนกองทัพรัฐฉานใต้ นอกจากจัดงานที่ บก.ดอยไตแลงแล้ว ปีนี้มีการจัดงานที่เมืองน้ำคำ ติดชายแดนจีนด้วย ขณะที่เจ้ายอดศึกพร้อมคณะ ซึ่งเดินทางไปเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลพม่า ถือโอกาสจัดงานรำลึกวันกอบกู้รัฐฉานร่วมกับประชาชนในเมืองเชียงตุงเป็นครั้งแรก ขณะที่ขากลับคนเชียงตุง-ท่าขี้เหล็กแห่ต้อนรับ กองทัพรัฐฉาน SSA/RCSS จัดงานวันกอบกู้รัฐฉาน ที่บ้านม้า เมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือติดชายแดนจีน (ที่มาของภาพ: สำนักข่าวฉาน) สำนักข่าวฉาน (S.H.A.N.) ภาคภาษาไทย รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 55 ซึ่งตรงกับวันกอบกู้ชาติรัฐฉานครบ 54 ปี กองทัพรัฐฉาน SSA ทั้งกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSA/SSPP) และ กองทัพรัฐฉานใต้ (SSA/RCSS) ได้จัดงานพิธีรำลึกกันอย่างคึกคัก ในปีนี้ถือว่ามีความพิเศษกว่าทุกปี เนื่องจากกองทัพรัฐฉานใต้ SSA/RCSS นอกจากจะมีพิธีจัดงานที่ดอยไตแลง ที่ตั้ง บก.สูงสุด ตรงข้าม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอนแล้ว ยังได้มีการจัดงานพิธีอย่างยิ่งใหญ่อีกแห่งเป็นครั้งแรกที่เมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือ มีประชาชนเข้าร่วมนับพันคน ขณะที่ พล.ท.เจ้ายอดศึก พร้อมคณะผู้นำระดับสูงซึ่งเป็นคณะเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลพม่ารวมกว่า 20 คน ได้ร่วมงานฉลองวันกอบกู้ชาติกับประชาชนเป็นครั้งแรกที่เมืองเชียงตุง ภายหลังจากเดินทางไปเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลพม่า ระดับชั้นสหภาพที่เมืองเชียงตุง เมื่อวันที่ 19 พ.ค. และเดินทางไปเยือนเขตปกครองพิเศษเมืองลา หรือ กองกำลังเมืองลา NDAA กลับถึงเชียงตุงในวันที่ 21 พ.ค. พอดี โดยมีสมาชิกพรรคการเมือง เช่น พรรค SNLD , NLD , USDP ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ รวมถึงผู้นำชุมชน ผู้นำชมรมวัฒนธรรม กลุ่มชนเผ่า กลุ่มเยาวชน และประชาชนหลากหลายอาชีพในเมืองเชียงตุงราว 400 คน ให้การต้อนรับและร่วมงานเลี้ยงฉลองกลางวันร่วมกัน พล.ท.เจ้ายอดศึก กล่าวในงานเลี้ยงว่า กรณีทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า โดยระบุว่า สถานการณ์โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปพร้อมกับรัฐบาลพม่าชุดใหม่ได้ยื่นมือขอเจรจาสันติภาพกับกลุ่มต่อต้านทุกกลุ่มเพื่อสร้างสันติภาพของประเทศ ทางกลุ่ม RCSS/SSA จึงเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจากการจับปืนต่อสู้มานานกว่า 50 ปี หันมาเปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้ด้วยการเจรจาทางการเมือง ประชาชนชาวเมืองเชียงตุง ให้การต้อนรับเจ้ายอดศึก และคณะ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 55 (ที่มาของภาพ: สำนักข่าวฉาน) พล.ท.เจ้ายอดศึก ได้กล่าวชักชวนให้ประชาชนหันมาใส่ใจการเมือง และขอให้ประชาชนใส่ใจเรื่องการทำบัตรประจำตัวประชาชน โดยให้เหตุผลว่า หากไม่มีบัตรประชาชนจะไม่สามารถเข้าเล่นการเมือง หรือ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ด้วยเหตุที่ประชาชนไม่ใส่ใจการเมืองและไม่มีบัตรประชาชนไปลงคะแนนเลือกตั้ง จึงทำให้การเลือกซ่อมครั้งที่ผ่านมาพรรคการเมืองไทใหญ่ไม่ได้รับชัยชนะ ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ในวันกอบกู้ชาติรัฐฉาน ปีที่ 54 นี้ พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน SSPP (Shan State Progressive Party) ปีกทางการเมืองของกองทัพรัฐฉานเหนือ ได้จัดงานพิธีรำลึกอย่างยิ่งใหญ่เช่นกัน โดยงานจัดขึ้นที่กองบัญชาการใหญ่บ้านไฮ เขตเมืองเกซี รัฐฉานภาคเหนือ มีผู้นำระดับสูง กองกำลัง และประชาชนเข้าร่วมมากกว่า 1 พันคน ในงานพิธีมีการเล่าประวัติความเป็นมาวันกอบกู้ชาติรัฐฉาน และทางผู้นำระดับสูงของ SSPP/SSA เช่น เจ้าเสือแท่น เจ้าขุนแสง เจ้าเครือไต ได้กล่าวถึงความเป็นมาเกี่ยวกับการต่อสู้รวมถึงบทเรียนต่างๆ ที่ SSPP/SSA ได้ประสบผ่านพ้นมา พร้อมกันได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เหล่าผู้นำ และทหารหาญที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กู้ชาติที่ผ่านมาด้วย พล.ท.เสือแท่น ผู้นำระดับสูงในกองทัพรัฐฉาน SSA 'เหนือ' กล่าวสุนทรพจน์ ในงานวันกอบกู้รัฐฉาน ที่ บก.บ้านไฮ (ที่มาของภาพ: SSPP/SSA /สำนักข่าวฉาน) วันกอบกู้ชาติรัฐฉาน หรือ ที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า "วันลุกพื่น" ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2501 โดยเจ้าน้อย หรือ ซอหยั่นต๊ะ ได้รวบรวมกลุ่มเพื่อนและผู้มีอุดมการณ์รักชาติรวม 31 คน ทำพิธีดื่มน้ำสาบานปฏิญาณตนร่วมกันทำการต่อสู้ทวงถามสนธิสัญญาปางโหลงจากพม่าและนำเอกราชกลับคืนสู่รัฐฉาน โดยจัดตั้งเป็นกองกำลังขึ้นในชื่อ “กองกำลังหนุ่มศึกหาญ” หรือเรียกตามชื่อเต็มคือ “กองกำลังหนุ่มศึกหาญกอบกู้เอกราชสู่รัฐฉาน” ที่ฝั่งแม่น้ำสาละวิน โดยประชาชนในรัฐฉานได้ยึดถือเอาวันที่ 21 พ.ค. เป็นวันต่อสู้เพื่อเอกราช หรือ วันกอบกู้ชาติ เป็นวันสำคัญของชาติ มีการจัดงานรำลึกและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เหล่าวีระบุรุษที่เสียสละเลือดเนื้อจากการต่อสู้เพื่อกู้ชาติรัฐฉานเป็นประจำทุกปี
ที่มา: กองทัพรัฐฉาน SSA "เหนือ" – ใต้ จัดงานรำลึกวันกู้ชาติครบ 54 ปี, Khonkhurtai : 23 พฤษภาคม 2555 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เปิดข้อตกลง 12 ข้อหลังเจรจากองทัพรัฐฉาน - รัฐบาลพม่าที่เชียงตุง Posted: 23 May 2012 12:27 PM PDT
สำนักข่าวฉานเปิดเผยรายละเอียด 12 ข้อตกลงระหว่างกองทัพรัฐฉาน SSA และรัฐบาลพม่า หลังเจรจาระดับสหภาพที่เมืองเชียงตุงเมื่อ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา ส่วนพื้นที่ปกครองที่ "หัวเมือง" กองทัพรัฐฉานและอาสาสมัครพม่ากลุ่ม "เจ้ามหาจ่า" จะมีการหารือและลงสำรวจกำหนดเขตกันปลายเดือนนี้
โดยสำนักข่าวฉาน [S.H.A.N.] รายงานว่า คณะเจรจาสันติภาพของสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS กองทัพรัฐฉาน SSA นำโดย พล.ท.เจ้ายอดศึก ได้พบเจรจาหารือเรื่องสันติภาพกับคณะเจรจาสันติภาพของรัฐบาลพม่า ที่เมืองเชียงตุง เมืองหลวงที่ 2 ของรัฐฉาน อยู่ในภาคตะวันออกของรัฐฉาน การเจรจาจัดขึ้นที่เรือนรับรองพิเศษ ภายใน บก.กองทัพภาคเชียงตุง สองฝ่ายใช้เวลาหารือกันนานเกือบ 12 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 น. ในการเจรจาทางฝ่าย RCSS/SSA ได้ยื่นข้อเสนอ 12 ข้อ ส่วนฝ่ายพม่าไม่ได้มีข้อเสนอ ซึ่งหลังจาก RCSS/SSA ยื่นข้อเสนอแล้ว สองฝ่ายได้มีการเจรจาต่อรองกันจนในที่สุดได้ลงนามในข้อสัญญาร่วมกัน 12 ข้อ ได้แก่ 1.แผนปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด ที่ RCSS/SSA เสนอนั้น คณะเจรจารัฐบาลพม่าเห็นชอบและจะนำไปเสนอต่อประธานาธิบดีต่อไป 2. สองฝ่ายจะลงสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดเขตพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยสมาชิก RCSS/SSA ประชาชน และผู้อพยพ สิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ และทหารสองฝ่ายจะลาดตระเวนร่วมกัน เพื่อยุติการปะทะระหว่างกัน 3. เกี่ยวกับการดูแลพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวทหาร ทั้งที่ดินทำกิน การเกษตร ปศุสัตว์ นั้น ทางฝ่ายรัฐบาลจะให้การส่งเสริมและสนับสนุน และประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้ตามสิทธิที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 4. รัฐบาลจะส่งเสริมและสนับสนุนด้านภาษา วรรณกรรม และประเพณีวัฒนธรรม ตามที่ฝ่าย RCSS/SSA เสนอ 5. RCSS/SSA ได้รับอนุญาตติดต่อองค์กรต่างประเทศ ทั้งองค์กร NGO / INGOs เพื่อเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือโครงการบรรเทาทุกข์และการพัฒนาของ RCSS/SSA โดยที่ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องออกใบอนุญาตในการดำเนินงานต้องตามกฎหมาย 6. ตามที่ RCSS/SSA เสนอขอจัดตั้งสถานีวิทยุ และสำนักข่าว Tai Freedom ในเมืองนั้น สามารถเข้าไปจดทะเบียนดำเนินการได้ทันที หลังจากรัฐบาลได้ออกกฎหมายควบคุมสื่อแล้ว 7. เกี่ยวกับการเสนอเรียกร้องขอให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองของ RCSS/SSA นั้น รัฐบาลจะพิจารณาปล่อยตัวโดยเร็ว ยกเว้นผู้มีคดีอาญา 8. สองฝ่ายจะเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมสำหรับจัดตั้งเป็นคณะสังเกตการณ์กระบวนการสร้างสันติภาพ โดยจะเริ่มภายในเดือนกรกฎาคมนี้ 9. สองฝ่ายจะสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งหากมีความเชื่อมั่นต่อกันแล้วจะทำการถอดถอนชื่อ RCSS/SSA ออกจากบัญชีองค์กรนอกกฎหมาย 10. รัฐบาลจะช่วยเหลือการจัดตั้งเขตโครงการอุตสาหกรรมพิเศษในพื้นที่คุ้มครองของ RCSS/SSA ในพื้นที่เมืองเต๊าะ เมืองทา (ตรงข้าม อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่) 11. รัฐบาลอนุญาตให้ RCSS/SSA ทำการติดต่อหรือพบหาพรรคการเมือง / กลุ่ม / องค์กร / ชมรมและกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั่วประเทศได้อย่างเสรี 12. รัฐบาลจะจัดทำบัตรประจำตัวให้แก่สมาชิกครอบครัวของ RCSS/SSA ประชาชน และผู้อพยพ ที่อยู่ในพื้นที่คุ้มครองของ RCSS/SSA ทั้งนี้ ข้อตกลงสองฝ่ายทั้ง 12 ข้อ มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการและการปฏิบัติการประกอบอีกหลายหัวข้อย่อย โดยเฉพาะเรื่องแผนปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดร่วมกัน และการกำหนดพื้นที่ในเขตกิ่งอำเภอหัวเมืองและกิ่งอำเภอเมืองทา รวมถึงการร่วมกันจัดการดูแลเรื่องการเปิดจุดผ่อนปรน 3 จุด คือ จุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จุดผ่อนปรนบ้านไม้ลัน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน และจุดผ่อนปรนบ้านมานน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ สองฝ่ายจะตั้งฐานปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยท่าข้ามแม่น้ำสาละวินร่วมกันอีก 3 จุด คือ 1. ท่าสบป๊าด 2.ท่าซะแงะ และ 3.ท่าเต ส่วนพื้นที่หัวเมือง เจ้าหน้าที่ในกองทัพรัฐบาลพม่าประจำบ้านหัวเมือง จะนำเจ้าหน้าที่จากสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS กองทัพรัฐฉาน SSA และ “เจ้ามหาจ่า” หัวหน้ากองกำลังอาสาสมัครพม่า ประจำหัวเมือง พบปะหารือกันในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2555 นี้ ทั้งนี้ เพื่อลงสำรวจพื้นที่และร่วมกันกำหนดพื้นที่ครอบครองสำหรับ RCSS/SSA ต่อไป ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น