ประชาไท | Prachatai3.info |
- แรงงานอยุธยายังต้องการความช่วยเหลือ ด้าน คกก.ฟื้นฟูนิคม เห็นชอบให้จ่ายเงินเดือน ต.ค.
- องค์กรแรงงานฮ่องกง เยี่ยม ‘สมยศ’ ชี้ทุกกลุ่มควรมีเสรีภาพในการแสดงออก
- ผู้ว่าฯ กทม. เผย 3 จุดเสี่ยง แจ้ง 27 ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำย้ายที่อยู่ชั่วคราวในวันพรุ่งนี้ (23 ต.ค.)
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15 - 21 ต.ค. 2554
- บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์: 9 คำถามที่อยากให้ ศปภ. และผู้ว่า กทม. ตอบ
- 'ไทยฟลัด' ถอนตัวระบุรับไม่ได้ ศปภ.เซ็นเซอร์ข้อมูลน้ำท่วม
- คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน ศาลปกครองกำหนดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก 26 ต.ค. นี้
- ประสบการณ์น้ำท่วมบ้านบัวทอง "อย่าลืมอุดท่อระบายน้ำ"
- สภาทนายความจี้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกเชื้อชาติ
- ทำไมท่วมแต่ฉัน ? ฉันก็คนเหมือนกัน ฉันฟ้องศาลได้หรือไม่?
- สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนชี้ฟ้องรัฐบาลเรื่องน้ำท่วมได้
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ถึงน้ำไม่ลด"
- รายงานสถานการณ์จากศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัย 22 ตค.54
- ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
- "หม่อมปลื้ม" เทียบขบวนการ "Occupy Wall St." ที่สหรัฐฯ คือ "พันธมิตรฯ" บ้านเรา
แรงงานอยุธยายังต้องการความช่วยเหลือ ด้าน คกก.ฟื้นฟูนิคม เห็นชอบให้จ่ายเงินเดือน ต.ค. Posted: 22 Oct 2011 09:56 AM PDT แรงงานอยุธยายังต้องการความช่วยเหลือเผยการส่งอาหารยังไม่ทั่วถึง ขาดค่าน้ำมันรถ-เรือ ด้านคณะกรรมการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมเห็นชอบให้จ่ายเงินเดือน ต.ค. 1 เดือนก่อนร้อยละ 75 – 100 จ.อยุธยาเตรียมจ้างงานเร่งด่วนหลังน้ำลด ทำความสะอาดบ้านเรือน อาคาร และสถานที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ วันละ 150 บาท คนละ 20 วันหมุนเวียนกัน 22 ต.ค. 54 - นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมฯ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมใน จ. อยุธยา เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ที่ผ่านมา และได้พบปะกับประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาที่ได้ตั้งศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัย แล้วนำสิ่งของไปส่งให้กับคนที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมนั้น พบว่ามีอุปสรรคเอาเรือขนสิ่งของอาหารให้พี่น้องคนงานตามบ้านที่ติดน้ำท่วม โดยเฉพาะค่ารถ ค่าน้ำมันรถและน้ำมันเรือที่ทางกลุ่มใช้ขับส่งของ เพราะคนในพื้นที่ไม่สามารถออกมาได้ด้วยค่าเรือแพงมากประมาณ 300 -500 บาทต่อเที่ยว ด้านนายประยูร ติ่งทอง อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ได้หารือกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดฯ สรุปเบื้องต้นว่า ผู้ประกอบการยินดีจ่ายเงินให้กับผู้ใช้แรงงานของตนเองในเดือนตุลาคมนี้เป็นเวลา 1 เดือนก่อนคือ ประมาณร้อยละ 75 – 100 หลังจากนั้น คณะกรรมการฯ จะหารือกันเป็นครั้งๆ ไป เบื้องต้นจะเร่งฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมก่อน ทั้งการสูบน้ำออก การขนย้ายเครื่องมืออุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย หรือการนำเข้ามาเพิ่มเติม ทั้งในและต่างประเทศ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ด้านนางปราณี ไชยเดช แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ทางแรงงานจังหวัดฯ ได้เตรียมโครงการจ้างงานเร่งด่วนไว้รองรับผู้ใช้แรงงานหลังน้ำลด คือทำความสะอาดบ้านเรือน อาคาร และสถานที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ วันละ 150 บาท คนละ 20 วันหมุนเวียนกันไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
องค์กรแรงงานฮ่องกง เยี่ยม ‘สมยศ’ ชี้ทุกกลุ่มควรมีเสรีภาพในการแสดงออก Posted: 22 Oct 2011 09:38 AM PDT ประธานองค์กร Asia Monitor Resource Center เข้าเยี่ยม "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ระบุไม่สนใจการเมืองภายในของไทยไม่ว่าเสื้อเหลืองหรือแดง แต่ทุกกลุ่มควรมีเสรีภาพในการแสดงออก เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา Apo Leong ประธานองค์กร Asia Monitor Resource Center ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศฮ่องกงได้เข้าเยี่ยมนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร Red Power และอดีตนักกิจกรรมด้านแรงงานซึ่งโดนข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 ภายหลังเข้าเยี่ยมว่า เขามาสัมมนาในเมืองไทยและเพิ่งทราบข่าวว่านายสมยศถูกคุมขังอยู่ที่นี่ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นปัญหาร่วมกันในเอเชียที่รัฐบาลจะใช้เครื่องมือการจับกุมคุมขังกระทำกับนักกิจกรรมด้านต่างๆ แม้ในช่วงหลังนายสมยศจะหันมาเคลื่อนไหวด้านการเมืองแล้วก็ตาม Leong ให้ความเห็นว่า เขาไม่สนใจการเมืองภายในว่าใครจะหาว่าเขาเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง เพราะสิ่งที่เป็นปัญหาใจกลางคือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐานอันเป็นสากล ไม่ว่ากลุ่มไหนก็ต้องมีสิ่งนี้ “แม้ว่าจะเป็นศัตรูของคุณ เขาก็ต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มีเสรีภาพในการรวมตัว รวมทั้งมีเสรีภาพในการจัดตั้งสหภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับขบวนการแรงงาน” อาโปกล่าว ประธานองค์กรแรงงานจากฮ่องกล่าวอีกว่า ในเวลา 15 นาทีที่ได้เข้าเยี่ยม เขามีโอกาสคุยกับสมยศไม่นานนัก เพราะมีคนอื่นๆ ต่อคิวคุยด้วย เขาได้ทักทายสมยศและพูดถึงเรื่องเก่าๆ ที่เคยเคลื่อนไหวร่วมกันในการเรียกร้องสิทธิกรณีโรงงานผลิตตุ๊กตาเคดอร์ จ.นครปฐม เกิดเพลิงไหม้เมื่อปี 2536 จนมีคนงานเสียชีวิตเกือบ 200 ราย ซึ่งบริษัทแม่เป็นบริษัทฮ่องกง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ผู้ว่าฯ กทม. เผย 3 จุดเสี่ยง แจ้ง 27 ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำย้ายที่อยู่ชั่วคราวในวันพรุ่งนี้ (23 ต.ค.) Posted: 22 Oct 2011 09:20 AM PDT ผู้ว่าฯ กทม. ห่วงประชาชนนอกแนวป้องกันริมน้ำเจ้าพระยา หลังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบ่ายวันนี้เพิ่มฉับพลันอย่างผิดปกติอยู่ที่ 2.40 ม. เป็นไปได้ให้ย้ายที่อยู่ชั่วคราวในเช้าพรุ่งนี้ รวมถึงประชาชนที่อยู่ในแนวคันกั้นน้ำหากไม่มั่นใจให้ย้ายไปยังศูนย์พักพิงที่ กทม. จัดไว้ 22 ต.ค. 54 - เวลา 19.15 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวสถานการณ์และการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) โดยกล่าวว่า วันนี้ช่วงบ่ายระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นมากอยู่ที่ระดับ 2.40 ม. และมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ แต่สถานการณ์ในภาพรวมยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ ซึ่งยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป สำหรับที่คลองหกวา เขตสายไหม ระดับน้ำลดลง 3 ซม. ฝั่งตะวันออกมีน้ำขึ้นลง 1-2 ซม. 3 จุดสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังและป้องกันเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามมี 3 จุดที่กรุงเทพมหานครเป็นห่วง คือ จุดแรกบริเวณถนนพหลโยธินตัดคลองรังสิตที่อยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ โดยกรุงเทพมหานครได้พยายามเข้าไปกอบกู้สถานการณ์ตั้งแต่เช้าด้วยการเสริมแนวคันกันน้ำแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังไม่มีแรงสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ขณะนี้มีน้ำเอ่อท่วมมาถึงบริเวณเซียร์รังสิต และอนุสรณ์สถานแล้ว คาดว่าอีกไม่นานจะเข้าถึงพื้นที่สนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศปภ. จุดที่ 2 ระดับน้ำในคลองเปรมเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ขณะนี้บริเวณหน้า สน.ดอนเมือง ระดับน้ำถึงตลิ่งแล้ว ซึ่งจุดอ่อนสำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งเหนือ และจุด 3 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่วันนี้สูงขึ้นกว่าปกติมาก เนื่องจากน้ำขึ้นอย่างฉับพลัน ทั้งที่ในช่วงเช้าไม่มีสัญญาณใดๆ คาดการณ์ไว้ว่าระดับน้ำทะเลหนุน 0.98 มม. วัดระดับน้ำที่บางไทร 3,617 ลบ.ม./วินาที แต่ช่วงบ่ายวันนี้วัดระดับน้ำพบเพิ่มสูงมากอยู่ที่ระดับ 2.40 เมตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนใน 5 เขต ได้แก่ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางพลัด และบางกอกน้อย ทั้งนี้ในหลายจุดได้รับการแก้ไขแล้ว แต่อีกหลายจุดอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข จากการตรวจพื้นที่โรงพยาบาลศิริราชพบระดับน้ำสูงมาก มีน้ำซึมเข้าไปด้านในโรงพยาบาล เนื่องจากเป็นเขื่อนเก่า ขณะนี้แก้ไขได้แล้วและได้สั่งการให้จัดเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องสูบน้ำประจำจุดตลอด 24 ชม. พร้อมทั้งเสริมแนวป้องกันจาก 2.80 ม. เป็น 3 ม. แล้วในทันที สำหรับวันพรุ่งนี้น้ำจะขึ้นสูงสุดเวลาประมาณ 16.00 น. เกรงว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับวันนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำเหนือมาโดยไม่อาจคาดคะเนได้ ขอให้ชุมชนที่อยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วมทั้ง 27 ชุมชน ในพื้นที่ 13 เขต รวมประมาณ 1,200 หลังคาเรือน ได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราว เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน ให้ทำความเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นการอพยพทั่วไป แต่เป็นการย้ายชั่วคราวเฉพาะชุมชนดังกล่าว อย่างช้าไม่ควรเกินพรุ่งนี้เช้า (23 ต.ค. 54) ส่วนชุมชนอื่นๆ ที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ ทั้งในและนอกแนวป้องกันหากรู้สึกไม่มั่นใจ ก็สามารถย้ายไปพักที่ศูนย์พักพิงที่จัดไว้ให้ได้ เตรียม รพ.ลาดกระบัง พร้อมให้บริการชาว กทม. ตะวันออก หากเกิดเหตุฉุกเฉิน นอกจากนี้ ได้เตรียมแผนสำรองไว้โดยให้หาสถานที่สำหรับเป็นศูนย์พักพิงขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับประชาชนได้หลักพันขึ้นไป มีทางเข้าออกและสัญจรได้สะดวก เพราะหากประชาชนกระจายกันอยู่จำนวนมากในหลายพื้นที่จะไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง อีกทั้ง ได้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลลาดกระบังไปยังโรงพยาบาลสิรินธรทั้งหมด เพื่อสำรองเตียงทั้ง 150 เตียง ให้พร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออกหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น แต่ยังเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยนอกตามปกติ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15 - 21 ต.ค. 2554 Posted: 22 Oct 2011 08:00 AM PDT ท่วมโรงงานกระทบลูกจ้าง 3.5 แสน นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานแรงงานจังหวัด ณ วันที่ 15 ต.ค.เวลา 12.00 น. พบว่า ภาพรวมใน 15 จังหวัดทั่วประเทศมีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 10,368 แห่งและมีลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน 352,025 คน อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์น้ำท่วมยังยืดเยื้อคาดว่าจะทำให้แรงงานได้รับผลกระทบเสี่ยงต่อ การถูกเลิกจ้างประมาณ 1 แสนคน เนื่องจากสถานประกอบการไม่สามารถฟื้นฟูได้ทันและไม่สามารถทนแบกรับการจ่าย ค่าจ้างได้นาน ขณะที่ลูกจ้างก็ได้รับค่าจ้างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย อาจจะต้องมีการเคลื่อนย้ายหางานใหม่ซึ่งบางส่วนอาจจะต้องตกงาน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้ในส่วนของจ.พระนครศรีอยุธยามีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม 616 แห่ง ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน 195,406 คนแยกเป็นนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครมีสถานประกอบการ 49 แห่ง ลูกจ้าง 10,882 คน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะมีสถานประกอบการ 236 แห่ง ลูกจ้าง 99,751 คน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค)มีสถานประกอบการ 143 แห่ง ลูกจ้าง 51,168 คน นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินมีสถานประกอบการ 89 แห่ง ลูกจ้าง 27,590 คน และนิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ วังน้อยมีสถานประกอบการ 99 แห่ง ลูกจ้าง 6,015 คน “ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ถูกน้ำท่วม ยังไม่ได้หยุดกิจการและเป็นจุดเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังคือ ที่จ.ปทุมธานีได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมนวนครซึ่งมีสถานประกอบการ 227 แห่ง ลูกจ้าง 270,000 คน นิคมอุตสาหกรรมบางกระดีมีสถานประกอบการ 44 แห่ง ลูกจ้าง 12,000 คน รวมทั้งในกรุงเทพฯได้แก่ นิคมลาดกระบังมีสถานประกอบการ2,083 คน ลูกจ้าง 86,965 คน และนิคมอุตสาหกรรมบางชันมีสถานประกอบการ 2,081 แห่ง ลูกจ้าง 48,105 คน ทั้งนี้ ส่วนที่เกิดเหตุระเบิดภายในโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค) จ.พระนครศรีอยุธยานั้นมีลูกจ้างคนไทยได้รับบาดเจ็บ 1 ราย ขณะนี้อาการปลอดภัยและกลับบ้านแล้ว ” อธิบดีกสร. กล่าว นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า บ่ายวันนี้(15ต.ค.)ตนได้หารือกับตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างจากจ.ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาและนครปฐมเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเพื่อนเพื่อ ช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆโดยหาตำแหน่งรอง รับให้แก่ลูกจ้างที่เดือดร้อนซึ่งได้ข้อสรุปว่า มีสถานประกอบการ 22 แห่งจากใน 8 จังหวัดได้แก่ จ.ปทุมธานี เพชรบุรี ชลบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และประจวบคีรีขันธ์มีตำแหน่งงานรองรับ 18,857 อัตรา ซึ่งกสร.จะนำรายละเอียดตำแหน่งงานในแต่ละจังหวัดใส่ลงเวบไซต์ www.labour.go.th ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ “จากการหารือสรุปว่าจะมีการจ้างงานชั่วคราวเป็นเวลา 2-3 เดือน แต่นายจ้างเป็นห่วงเรื่องของประกันสังคมและระบบภาษี ซึ่งเป็นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย ผมได้บอกแก่นายจ้างว่าอะไรที่ช่วยผ่อนปรนได้ก็ขอให้ผ่อนปรนเพราะเป็นการจ้าง งานชั่วคราวและได้รับปากที่จะไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ส่วนลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการนั้นยังคงใช้สิทธิประกันสังคมได้เช่นเดิม และกรณีบาดเจ็บจากการทำงานสถานประกอบการในโครงการที่เป็นผู้จ้างงานต้องดูแล รับผิดชอบ” นายอาทิตย์ กล่าว อธิบดีกสร. กล่าวด้วยว่า กสร.เตรียมหามาตรการรองรับแรงงานที่อาจจะต้องถูกเลิกจ้างโดยเตรียมเสนอของบ ประมาณเพิ่มเติม 200 ล้านบาทจากรัฐบาลมาเพิ่มเติมในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งปัจจุบันมีเงิน อยู่แล้วประมาณ 230 ล้านบาท เพื่อเตรียมรับมือกับแรงงานที่อาจจะถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสามารถมายื่นคำร้องต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดทั่วประเทศหรือที่กระทรวงแรงงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกหนังสือคำสั่ง ให้จ่ายค่าชดเชย หากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ทางกสร.จะนำเงินจากกองทุนมาจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในอัตราดังนี้ สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 120 วันแต่ไม่เกิน 3 ปี จะได้รับค่าชดเชย 30 เท่าของค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละพื้นที่ ลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี จะได้รับค่าชดเชย 60เท่า ของค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละพื้นที่ และลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับค่าชดเชย 90เท่า ของค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ในกรณีที่นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างกองทุนสามารถช่วยเหลือในการจ่ายค่าจ้างไม่ เกิน 60เท่า ของค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละพื้นที่ซึ่งแต่ละบุคคลจะได้ไม่เท่ากัน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กกจ.ได้เตรียมแผนฟื้นฟูอาชีพให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยโดยมาตรการแรกได้ มีโครงการจ้างงานเร่งด่วนซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลแล้ว 236 ล้านบาทจากกรอบวงเงินดำเนินโครงการ 300 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจ้างงานรายวันให้ค่าจ้างวันละ 150 บาทโดยจ้างงานไม่เกินคนละ 20 วัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการบูรณะฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและชุมชนของตนเอง นอกจากนี้ ภายหลังน้ำลดได้ให้มีการจัดงานนัดพบแรงงานเร่งด่วนกระจายไปตามจังหวัดที่ได้ รับผลกระทบโดยเน้นตำแหน่งงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท และภายในงานก็จะมีการเปิดลงทะเบียนแรงงานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศซึ่ง ขณะนี้ได้เจรจากับประเทศอิสราเอลที่สามารถส่งแรงงานไปทำงานในแบบรัฐต่อรัฐ โดยเสียค่าใช้จ่ายตามจริงซึ่งตามกฎหมายไว้ไม่เกินคนละ 7 หมื่นบาท อธิบดีกกจ. กล่าวอีกว่า ขณะนี้กกจ.ได้เตรียมตำแหน่งงานว่างไว้รองรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบไว้จำนวน 86,341 อัตราไว้รองรับ ส่วนใหญ่เป็นงานด้านการบริการ สายการผลิตและสายช่าง รวมประมาณกว่า 57,000 อัตรา ที่เหลือเป็นงานด้านภาคการเกษตร และตำแหน่งงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี (คมชัดลึก, 15-10-2554) คาดแรงงานนิคมอยุธยา อาจตกงาน 3-10 เดือน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยระบุถึงปัญหาที่น่ากังวลหลังจากวิกฤตน้ำท่วม ผ่านพ้นไป คือจะมีแรงงานถึงหลักแสนคนในพื้นที่จังหวัดพระนครอยุธยาอาจต้องหยุดงานนาน 3 -10 เดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของแต่ละโรงงานที่ฟื้นฟูให้สายงานการผลิตกลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมระบุว่ากลุ่มแรงงานที่น่าห่วงมากที่สุด คือพนักงานรับเหมาช่วง ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 30 ของการจ้างงาน เพราะไม่มีสัญญาจ้างระยะยาว ด้านกระทรวงแรงงานระบุถึงการเตรียมงานไว้ 60 ประเภท เพื่อรองรับแรงงาน ซึ่งมีสถานประกอบการเกือบ 70 แห่ง ที่พร้อมรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีอัตราจ้างงานเกือบ 90,000 ตำแหน่ง ขณะที่การช่วยเหลือผู้ประกอบการกระทรวงอุตสาหกรรรมเตรียมเสนอมาตรการ เยียวยาระยะยาว โดยจะขอให้รัฐบาลพิจารณาผ่อนผันการเสียค่าสาธารณูปโภคของโรงงานที่ได้รับผล กระทบออกไปอีก 6 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ รวมถึงยกเว้นค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตโรงงานและให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (TPBS, 15-10-2554) น้ำไหลเข้า"แฟคตอรี่แลนด์"แล้วส่งผลเขตอุตสาหกรรม 5 แห่งในอยุธยาถูกน้ำท่วมหมด "น้ำเข้าตอนเที่ยงคืนเมื่อคืนนี้ แต่ผู้ประกอบการรู้ตัวก่อน ก็ได้อพยพคนออกมาแล้ว ...ตอนนี้ถือว่า นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่ง ถูกน้ำท่วมหมดแล้ว " นายประยูร กล่าว แฟคตอรี่แลนด์ เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรม ใน อ.วังน้อย มีเนื้อที่ราว 130 ไร่ มีโรงงานตั้งอยู่ จำนวน 93 แห่ง และมีแรงงาน ประมาณ 8.5 พันคน ส่วนใหญ่เป็นโรงงาน ขนาดเล็กที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และ อิเลคทรอนิกส์ ป้อนโรงงานขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรม บ้านหว้า(ไฮเทค) และ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ "การที่แฟคตอรีแลนด์ถูกน้ำท่วม จะเป็นผลกระทบลูกโซ่ต่อปัญหา ซัพพลาย เชน เพราะพวกนี้เป็นโรงงานขนาดเล็กที่ป้อนชิ้นส่วนให้กับโรงงานขนาดใหญ่" นายประยูร กล่าว ส่วนระดับน้ำสูงสุดในเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้ เขากล่าวว่า ระดับน้ำสูงสุดอยู่บริเวณ ถนนส่วนกลางโครงการ มีความสูงประมาณ 1.20 เมตร และบางโรงงานน้ำยังไม่ไหลเข้าไป เนื่องจากมีการจัดทำคันกั้นน้ำไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ได้หยุดการผลิตไว้ชั่วคราว ขณะนี้ถือว่า นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ถูกน้ำท่วมครบทุกแห่งแล้ว เริ่มตั้งแต่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร, สวนอุตสาหกรรมโรจนะ, นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค), นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และ เขตประกอบการอุตสาหกรรม แฟคตอรี่แลนด์ (รอยเตอร์, 16-10-2554) นายจ้างขอชะลอขึ้นค่าจ้าง 300 บ. ชงบอร์ดค่าจ้าง 17 ต.ค.นี้ นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ประธานสมาคมนายจ้างผู้ประกอบการค้าขนมไทยและกรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง แถลงข่าวเรียกร้องให้คณะกรรมการค่าจ้างกลาง ชะลอพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ300 บาท เนื่องจากขณะนี้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมในหลายจังหวัด ทำให้มีสถานประกอบการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบกว่า 1หมื่นแห่ง ลูกจ้างและครอบครัวเดือดร้อนหลายแสนคน ดังนั้น เพื่อให้สถานประกอบการได้มีเวลาฟื้นฟู คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 6เดือน ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางซึ่งประกอบด้วย 3 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายภาครัฐ นายจ้างและลูกจ้างในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ จะเสนอให้ที่ประชุมชะลอการพิจารณาปรับขึ้นค่าค้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทั้งนี้ ล่าสุดมีข้อเสนอ 2 แนวทาง ได้แก่แนวทางแรกเป็นของฝ่ายภาครัฐและลูกจ้างที่ให้ปรับขึ้นค่าจ้าง 40%จากอัตราค่าจ้างแต่ละจังหวัดในปัจจุบันในวันที่ 1 มกราคม 2555และปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในวันที่ 1 มกราคม 2556และแนวทางที่สองเป็นของฝ่ายนายจ้างที่ให้ปรับขึ้นค่าจ้างแบบขั้นบันไดใน เวลา4 ปี ส่วนที่จะเสนอในที่ประชุมบอดร์ค่าจ้างในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ขอให้ชะลอการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทออกไปก่อนเป็นเวลา 6เดือน นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า ปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทภายในเวลา 1ปีเป็นการปรับแบบก้าวกระโดด ในกรุงเทพฯและปริมณฑลขึ้นมาถึง 85 บาทต่อวัน ต่างจังหวัด 70-75 บาทต่อวัน ซึ่งส.อ.ท.ไม่เห็นด้วยและเห็นว่าเป็นไปไม่ได้เพราะต้องใช้เวลาปรับตัว 3-4ปี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว ส่วนมาตรการลดภาษีนิติบุคคลปีหน้าจาก 30% เหลือ 27 % นั้น ส.อ.ท.ไม่ต้องการยินดีจ่ายภาษี (ฐานเศรษฐกิจ, 16-10-2554) ประธาน "สร.รฟท." ชี้ปัญหาอุบัติเหตุ ประจวบฯ - นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) พร้อมภาคีเครือข่าย จัดงานครบรอบ 2 ปี รำลึกอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่สถานีเขาเต่า ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ผู้เสียชีวิตทั้ง 7 ราย ที่บริเวณสถานีรถไฟเขาเต่า อำเภอหัวหิน พร้อมเผยว่า ต้องการที่จะแสดงถึงเจตนารมณ์ในการรณรงค์สร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการให้ บริการของการรถไฟฯ ให้เป็นที่มั่นใจของประชาชนผู้ใช้บริการ เกิดมาตรฐานความปลอดภัยในการให้บริการให้ดีที่สุดปลอดภัยที่สุด ที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟหลายครั้ง เช่น รถด่วนพิเศษขบวนที่ 11 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ชนท้ายขบวนรถนำเที่ยวงานพืชสวนโลก เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2549 มีผู้บาดเจ็บ 77 ราย รถไฟเสียหายเกือบร้อยล้านบาท, เหตุขบวนรถที่ 178 ชนเข้ากับขบวนรถด่วนที่ 41 ที่สถานีหนองแก อำเภอหัวหิน เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2550 พนักงานเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 109 คน การรถไฟฯ เสียหาย 200 ล้านบาท และเหตุขบวนรถด่วนที่ 84 ตกรางที่สถานีรถไฟเขาเต่า อำเภอหัวหิน เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2552 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 88 ราย การรถไฟฯ เสียหายกว่า 100 ล้านบาท อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นล้วนมาจากการละเลยมาตรฐานความปลอดภัยใน 3 ด้านหลัก คือ ความล้มเหลวในระบบซ่อมบำรุง, การไม่แก้ไขอัตรากำลังที่ขาด แคลนพนักงานทำงานตลอด 7 วัน และรถจักรเกือบทั้งหมดระบบ Safety Device ชำรุด (ข่าวสด, 16-10-2554) เผยโรงงานกว่าหมื่นแห่งจมบาดาล-ลูกจ้างเดือดร้อน 4.4 แสนคน วันนี้(17 ต.ค.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ได้รับข้อมูลจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ณ วันที่ 17 ต.ค.2554 เวลา 12.00 น. พบว่าขณะนี้ใน 17 จังหวัดที่ถูกน้ำท่วม มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั่วประเทศ 10,827 แห่ง และลูกจ้างเดือดร้อน 446,777 คน ซึ่งในจำนวนนี้เฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบ 5,296 แห่ง ลูกจ้างเดือดร้อน 373,590 คน คิดเป็น 100% อธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า ขณะนี้ นิคมอุตสาหกรรมนวนครในจังหวัดปทุมธานี จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากวันนี้น้ำได้ไหลบ่าเข้าท่วมแล้ว และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) และฝ่ายทหาร ได้สั่งการให้สถานประกอบการที่มีอยู่ทั้งหมด 227 แห่ง และมีลูกจ้าง 1.75 แสนคน หยุดกิจการชั่วคราว และอพยพลูกจ้างออกนอกพื้นที่ เพื่อดำเนินการป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ซึ่งในส่วนของ กสร.ได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัยขึ้นที่บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน รวมทั้งให้มีการตรวจสอบว่าหากสถานการณ์น้ำท่วมยืดเยื้อ จะมีสถานประกอบการที่ต้องหยุดกิจการกี่แห่ง และลูกจ้างต้องหยุดงานกี่วัน (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-10-2554) ประชาสั่งนวนครปิดเครื่องจักรขนขึ้นที่สูง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะ ประธานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ล่าสุด ได้สั่งการนิคมอุตสาหกรรม นวนคร ปิดเครื่องจักร และอพยพของและคน ขึ้นที่สูงแล้ว เพราะล่าสุด น้ำได้ไหลบ่าลงมาเข้าท่วมประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยตอนแรกตนตั้งใจเข้าไปเยี่ยมประชาชนในบริเวณดังกล่าว แต่เข้าพื้นที่ไม่ได้ ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ประกอบด้วยบริษัทต่างๆ กว่า190 บริษัท มีพนักงานกว่า 2 แสนคน (ไอเอ็นเอ็น, 17-10-2554) แรงงานเลิกชุมนุม ระบุช่วยโรงงานอยุธยาก่อน 17 ต.ค. 54 - นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยหรือ คสรท. กล่าวว่า วันนี้ เครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูปค่าจ้างที่เป็นธรรม ประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) , องค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงาน ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ขอยกเลิกการชุมนุมที่หน้ากระทรวงแรงงาน จากเดิมที่มีการนัดหมายกับผู้ชุมนุม เพื่อรอฟังมติที่ประชุมของคณะกรรมการค้าจ้างกลาง ซึ่งมี น.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการไตรภาคี เป็นประธาน มีวาระการประชุม คือ การพิจารณาการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายหาเสียงของรัฐบาล ทั้งนี้ สาเหตุของการยกเลิกชุมนุมนั้น เป็นเพราะทางเครือข่ายแรงงาน ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ต้องการช่วยเหลือแรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ที่จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ จะต้องปรับขึ้นเป็น 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ ส่วนโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ ก็ให้มีการพิจารณาเป็นกรณีไป (ไอเอ็นเอ็น, 17-10-2554) ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ทั่วประเทศเริ่ม 1 เม.ย.55 วันนี้ ( 17 ต.ค.) เวลา 11.30 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน ได้มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ซึ่งมีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุม โดยเป็นการพิจารณาถึงการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวเริ่มขึ้นล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมคือเวลา 09.30 น. เนื่องจาก นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ได้เชิญปลัดกระทรวงฯและตัวแทนฝ่ายนายจ้างเข้าหารือนอกรอบก่อน ที่ห้องทำงานรัฐมนตรี จากนั้นการประชุมดังกล่าวจึงเริ่มขึ้น ซึ่งใช้เวลาประชุมประมาณ 1 ชั่วโมง นพ.สมเกียรติ ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลของคณะกรรมการค่าจ้างจังหวัด และข้อเสนอจากคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง จึงมีมติเอกฉันท์ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับปี 2555 ขึ้นทั่วประเทศอีกประมาณร้อยละ 40 ซึ่งมี 7 จังหวัดที่ได้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ต โดยจะให้เริ่มในวันที่ 1 ม.ค.55 แต่เนื่องจากขณะนี้เกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วม ทางคณะกรรมการฯจึงจะเสนอให้เปลี่ยนไปบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.55 ส่วนจังหวัดที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 300 บาท ก็จะมีการพิจารณาในปี 56 ต่อไป ขณะที่จังหวัดที่ได้ปรับถึง 300 บาทแล้วก็ให้คงอัตรานี่ไว้ไปจนถึงปี 58 อย่างไรก็ตาม หากสภาพเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ก็จะมีการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดให้เร็วขึ้นกว่ากำหนด เมื่อถามว่ามติดังกล่าวเป็นผลจากการหารือนอกรอบระหว่างรมว.แรงงาน กับตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ใช่หรือไม่ นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า รมว.แรงงานไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามมีการพูดคุยกันบ้าง แต่เป็นเรื่องของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ชี้แจงถึงมาตรการที่จะช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่า จ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่กระทรวงการคลังเห็นชอบ เช่น การลดภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อย 23 ในปี 2555 และการหักรายจ่ายของค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปหักภาษีนิติบุคคลได้ 1.5 เท่า จากที่ก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานได้เสนอไว้ที่ 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ที่มีทุนจด ทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท นอกจากนี้ ในที่ประชุม กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้างได้เสนอมาตรการอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การเสนอขอลดภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยล 7 ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มธุรกิจ แต่ครอบคลุมเฉพาะบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้รับไปพิจารณา รวมทั้งการลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม และขยายเวลาการนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ทั้งนี้ ตนคาดว่าจะเสนอในเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมในการประชุม วันที่ 25 ต.ค.นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ทั่วประเทศ จะทำให้อัตราค่าจ้างแต่ละจังหวัดเพิ่มขึ้นดังนี้ จ.ภูเก็ต กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร 300 บาทต่อวัน จ.ชลบุรี 274.4 บาทต่อวัน จ.ฉะเชิงเทรา และสระบุรี 270.2 บาทต่อวัน จ.พระนครศรีอยุธยา 266 บาทต่อวัน จ.ระยอง 264.6 บาทต่อวัน จ.พังงา 260.4 บาทต่อวัน จ.ระนอง 259 บาทต่อวัน จ.กระบี่ 257.6 บาทต่อวัน จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 256.2 บาทต่อวัน จ.ลพบุรี 254.8 บาทต่อวัน (เดลินิวส์, 17-10-2554) อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เชื่อ เดือนนี้นายจ้างที่ประสบอุทกภัยยังจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาพรวมสถานการณ์อุทกภัยทั่วประเทศ ยังไม่มีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง เนื่องจากนายจ้างส่วนใหญ่กลัวเมื่อน้ำลดเปิดงานจะไม่มีลูกจ้างทำงาน ขณะที่โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ช่วยเหลือลูกจ้างในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่นชั่วคราว นายจ้างก็เกรงว่าลูกจ้างโดยเฉพาะแรงงานฝีมือจะไม่กลับมาทำงานด้วยอีก อย่างไรก็ตามจากการพูดคุยกับสถานประกอบการต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม ต่างยินยอมที่จะจ่ายค่าจ้างงวดแรกตามงวดการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งมีทั้งระยะเวลา 15 วันและ 1 เดือนในช่วง ตุลาคมนี้ ส่วนงวดที่ 2 ทางภาครัฐคงต้องเข้าไปช่วยเหลือแบ่งเบาภาระให้แก่นายจ้าง เนื่องจากขณะนี้นายจ้างไม่สามารถผลิตสินค้าได้ ทำให้ไม่มีรายได้เช่นที่ผ่านมา ขณะเดียวกันได้กำชับให้ผู้รับเหมาช่วง (ซับคอนแทรก) ดูแลจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง เพราะถือว่าเป็นนายจ้างโดยตรง อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงแรงงานกำลังเตรียมวางมาตรการช่วยเหลือลูกจ้าง ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม โดยจะจัดหางบประมาณมาเป็นค่าครองชีพ เพื่อดูแลลูกจ้างให้มีเงินพออยู่ได้ แม้จะเป็นเงินจำนวนไม่มาก เพราะขณะนี้ลำพังนายจ้างฝ่ายเดียวคงแบกรับภาระในเรื่องนี้ไม่ไหว รวมทั้งได้เตรียมการช่วยเหลือลูกจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง เช่น การของบเพิ่มเติมในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างอีกจำนวน 200 ล้านบาท ที่ปัจจุบันมีเงินอยู่แล้ว 230 ล้านบาท (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 17-10-2554) รมว.แรงงานระบุน้ำท่วมไม่กระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แต่นายจ้างขอเลื่อนจ่าย เม.ย. ปีหน้า เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวก่อนการประชุม ครม.ถึงกรณีคณะกรรมการค่าจ้างกลางมีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ อีกร้อยละ 40 ทำให้ค่าจ้างใน 7 จังหวัด เพิ่มเป็นวันละ 300 บาท เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล ว่า เรื่องนี้ยังไม่นำเสนอต่อที่ประชุมครม. เมื่อถามว่า สถานการณ์น้ำท่วมจะเป็นปัญหาทำให้นายจ้างปฏิบัติไม่ได้หรือไม่ รมว.แรงงานกล่าวว่า มีมติกันไปเมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยตัวแทนนายจ้างทั้งหมดเห็นด้วยเป็นเอกฉันท์กับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น วันละ 300 บาท เพียงแต่ขอขยายการจ่ายออกไปเป็นวันที่ 1 เม.ย. 2555 เท่านั้น เมื่อถามต่อว่า การปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบการที่ต้องรับภาระ นายเผดิมชัย กล่าวว่า ไม่ เราขึ้นค่าแรงอีกร้อยละ 40 ทั่วประเทศตามอัตรา ส่วนกรณีโรงงานต่าง ๆ ที่ประสบอุทกภัยต้องฟื้นฟูความเสียหายนั้น คงต้องแยกกันและโรงงานก็ไม่ได้ต้องฟื้นฟูทั่วประเทศ มีแต่เฉพาะ จ.อยุธยาหรือจังหวัดอื่นที่ถูกน้ำท่วม เมื่อถามต่อว่าคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยไม่เห็นด้วย โดยมองว่าเป็นการฉวยโอกาสปรับขึ้น รมว.แรงงาน กล่าวว่า ไม่ได้ฉวยโอกาสอะไร แต่เป็นมติของนายจ้างซึ่งการฟื้นฟูก็เป็นช่วงอีก 5-6 เดือน ก็พอดีจังหวะกัน ซึ่งเขาขอเองด้วย (เดลินิวส์, 18-10-2554) WD ยันไม่ย้ายฐาน พร้อมจ่ายค่าจ้างแรงงาน 75% ในช่วง 6-7 เดือนที่ฟื้นฟู 18 ต.ค. 54 - นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จะเสนอคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้าพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งในเรื่องของเงินกู้และเรื่องสิทธิประ โยชน์ทางภาษีเป็นเวลา 8 ปี โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นมาตรการที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้ประกอบการ และจะมีการหารือกับบริษัทอื่นๆ อีกเพื่อกำหนดแนวทางในการเข้าไปช่วยเหลือ ในวันนี้ รมว.อุตสาหกรรมได้หารือกับบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด และ บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยนพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า เวสเทิร์น ดิจิตอล ต้องการให้เร่งเข้าไปช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในเรื่องการสนับสนุนเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อการฟื้นฟู รวมถึงการกู้เครื่องจักรในโรงงานออกมาภายใน 1-2 เดือน เพื่อนำไปผลิตที่อื่นแทน "หากใช้เวลา 1-2 เดือนก็จะใช้เวลาฟื้นฟูราว 4-6 เดือนในการกลับมาผลิตได้ใหม่ ระยะเวลาที่หายไปคิดเป็นมูลค่าส่งออกหายไป 40% หรือ 8 หมื่นล้านบาทจากยอดการผลิต 2 แสนล้าน" รมว.อุตสาหกรรม กล่าว ขณะเดียวกันทางเวสเทิร์น ดิจิตอล ระบุว่า หากรัฐบาลสามารถช่วยเหลือแก้ปัญหาได้อย่างเร่งด่วน บริษัทก็ยังยืนยันจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตต่อไป เพราะขณะนี้โรงงานในไทยทั้งที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน เป็นฐานการผลิตอันดับ 1 ของบริษัท เนื่องจากลงทุนที่นี่มานานแล้ว ว นอกจากนี้ ทางบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล ยังระบุว่าพร้อมจ่ายค่าจ้างแรงงาน 75% ในช่วง 6-7 เดือนที่อยู่ในช่วงฟื้นฟูให้กับพนักงานที่มีอยู่ 40,000 คน (อินโฟร์เควสท์, 18-10-2554) สั่งปิดนิคมฯลาดกระบังชั่วคราว วันนี้(18ต.ค.) นายสมคิด แท่นวัฒนกุล รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. ได้ออกหนังสือเวียน เพื่อขอความร่วมมือออกหนังสือผู้ประกอบการจำนวน 231 แห่ง โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ให้หยุดประกอบกิจการชั่วคราว เพื่อเป็นการป้องกันกับความเสียหายใดๆ รวมทั้งสวัสดิภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ที่อาจเกิดจากสถานการณ์น้ำท่วม ที่คาดว่าจะเกิดในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เบื้องต้นนิคมฯ ลาดกระบัง มีพื้นที่ 2,559 ไร่ มูลค่าลงทุน 89,491 ล้านบาท มีแรงงาน 48,000 คน ส่วนใหญ่ เป็นกิจการยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อาหาร เป็นต้น “สถานการณ์น้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี มีปริมาณมากและไหลเข้ามาสู่ในเขตมีนบุรี หนองจอก และ ลาดกระบัง จากนั้นก็ไปสมุทรปราการ และ ฉะเชิงเทรา จึงจำเป็นต้องหามาตรการป้องกันโดยด่วน”นายสมคิดกล่าว. (เดลินิวส์, 18-10-2554) รมว.อุตฯ รับข้อเสนอเอกชนตั้งกองทุน 5 หมื่นลบ.-มาตรการฟื้นธุรกิจหลังน้ำท่วม นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม รวมถึงนักลงทุนญี่ปุ่นและหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย โดยยื่นข้อเสนอถึงรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ ประกอบการในการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูวงเงิน 50,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังรวมถึงมาตรการเยียวยาในด้านต่างๆ เช่น ให้ธนาคารของรัฐปล่อยสินเชื่อไม่กำหนดเพดานให้เป็นไปตามความเสีย หาย, ขอให้บีโอไอยกเว้นภาษีการนำเข้าเครื่องจักรและขยายสิทธิประโยชน์, ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เข้ามาช่วยเหลือดูแลในเรื่องการจ่ายสินไหมและค่าชดเชยของบริษัท ประกันภัยโดยเร็ว, ขอผ่อนผันระเบียบการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ, ให้ชะลอหรือเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทใน 7 จังหวัด รวมทั้งการปรับขึ้น 40% ในจังหวัดอื่นๆ จากเม.ย.55 ไปเป็นต้นปี 56 รวมถึงขอให้ยกเว้นการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 5% ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการโดยลูกจ้างยังคงได้สิทธิ์ประโยชน์เหมือน เดิม, และขอให้กระทรวงแรงงานนำเงินกองทุนประกันสังคมมาดูแลเรื่องการว่าง งาน โดยจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในช่วงปิดกิจการหรือฟื้นฟูเป็นเวลา 3-6 เดือน โดยไม่ต้องเลิกจ้าง ประธาน ส.อ.ท. กล่าวด้วยว่า ภาคเอกชนเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์ประสานฟื้นฟูแบบบูรณาการในแต่ละ พื้นที่ ซึ่งจะสามารถฟื้นฟูได้ครบวงจรทั้งโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้าและประปา ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ผ่อนปรนภาระเงินต้นและดอกเบี้ย และให้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดมาตรการในเรื่องการผิดนัดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของผู้ประกอบ การไม่ให้เป็น NPL อย่างไรก็ดี จากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในขณะนี้ ผู้ประกอบการยังมั่นใจว่าสินค้าอุปโภคบริโภคจะไม่ขาดแคลน โดยยังมีสต็อกเหลืออยู่กว่า 1 เดือน แต่สิ่งที่จะกระทบคือในส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์ ด้านนักลงทุนญี่ปุ่น ได้ขอให้รัฐบาลไทยบริหารจัดการการระบายน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมที่ยังไม่ถูกน้ำท่วม อย่างไรก็ดี โรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมไปแล้วเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนป้อนภาค อุตสาหกรรมที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและจะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ ใช่เฉพาะประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดว่ายอดผลิตรถยนต์ปีนี้จะไม่ถึง 1.8 ล้านคันตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ พร้อมกันนี้นักลงทุนญี่ปุ่นขอให้ภาครัฐเร่งเข้าไปฟื้นฟูโดยเร็ว หลังน้ำลด เพราะจะมีผลดีต่อทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก โดยในระหว่างนี้จะต้องนำเข้าชิ้นส่วนและเครื่องจักรเพื่อให้การผลิต เป็นไปอย่างราบรื่น และหวังว่ารัฐบาลจะให้สิทธิพิเศษทั้งในเรื่องการเคลื่อนย้าย เครื่องจักร ภาษีและกฎระเบียบทางศุลกากร นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม ระบุว่า รัฐบาลจะรวบรวมข้อเสนอของภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มาตรการภาษี และแนวทางการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมเฉพาะหน้า ไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยว และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์หน้า ส่วนมาตรการที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งจัดทำรายละเอียดโดยทันที ส่วนข้อเสนอภาคเอกชนที่อยากให้รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขปัญหาให้เบ็ดเสร็จนั้น คงไม่สามารถทำได้ เพราะจะกระทบต่อการเรียกร้องสินไหมจากบริษัทประกันของผู้ประกอบการ เหมือนช่วงที่เกิดเหตุความไม่สงบที่ราชประสงค์เมื่อช่วงต้นปี ทั้งนี้ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ (อินโฟเควสท์, 19-10-2554) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอยุธยา ยันนิคมฯ ทุกแห่งจะไม่เลิกจ้าง นายวรรณรัตน ศรีสุกใส สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมกำลังหวั่นวิตก เกรงว่านายจ้างจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างหรือถูกเลิกจ้าง กรณีสถานประกอบการต้องปิดตัวลงในช่วงที่ประสบภัยน้ำท่วม จึงขอยืนยันว่าสถานประกอบการทุกแห่งจะจ่ายเงินให้กับผู้ใช้แรงงานทุกคน ร้อยละ 75 – 100 และจะไม่ทอดทิ้ง เพราะผู้ใช้แรงงานทุกคนเป็นผู้ที่มีฝีมือ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน “สถานประกอบการทุกแห่งยินดีที่จะจ่ายเงินดูแลผู้ใช้แรงงาน บางแห่งจ่าย 100 เปอร์เซ็นต์ บางแห่งจ่ายร้อยละ 75 ไม่มีที่ใดไม่จ่าย ไม่การเลิกจ้าง และรับปากจะดูแลลูกจ้างของตนเอง เพราะลูกจ้างทุกคนที่อยู่ในสถานประกอบการ ทุกคนล้วนแต่ผู้ที่มีคุณภพ มีฝีมือ และเป็นที่ต้องการของนายจ้าง ไม่ทอดทิ้ง กระทรวงแรงงานช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน” (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 19-10-2554) สอท.แจงน้ำท่วมทำคนว่างงานครึ่งล้าน ทั้งนี้ได้จัดทำข้อเสนอต่อภาครัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ให้สามารถเร่งฟื้นตัวและดำเนินกิจการ คงสภาพการจ้างงานต่อไปได้ภายหลังน้ำลด ประกอบไปด้วย 1.ชะลอหรือเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ใน 7 จังหวัด และปรับขึ้น40% จังหวัดอื่นๆ ในเดือนเม.ย. 2555 ออกไป โดยให้มีผลบังคับใช้ในต้นปี 2556 เนื่องจากผู้ประกบการที่อยู่ในพื้นที่อุทกภัย และผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่อื่น แต่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากอุทกภัยครั้งนี้ มีนจำนวนมาก ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูไม่น้อยกว่า 1 ปี 2.ยกเว้นการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตรา 5% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการ ในช่วงระหว่างการปิดกิจการชั่วคราวและฟื้นฟู โดยที่ลูกจ้างยังคงได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนเดิม และ 3.สนับสนุนผู้ประกอบการคงสภาพการจ้างงาน โดยขอให้กระทรวงแรงงานพิจารณานำเงินจากกองทุนประกันสังคม ที่ดูแลเรื่องการว่างงาน ซึ่งมีวงเงินยู่ 55,680 ล้านบาท มาจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในช่วงปิดกิจการและฟื้นฟู เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน โดยไม่ต้องมีการเลิกจ้าง อย่างไรก็ตามการปิดกิจการชั่วคราวเนื่องจากภาวะน้ำท่วมโรงงานเป็นเหตุ สุดวิสัย ที่ไม่สามารถป้องกันได้ กฎหมายแรงงานไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือค่าทดแทนให้แก่ ลูกจ้างในระหว่างกิจการ แต่หากมีการเลิกจ้างต้องจ่ายชดเชยตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา118 แต่ขณะนี้มีหลายกิจการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างในการจ่ายค่าจ้างในอัตรา 75% หรือ 50% ในช่วงที่หยุดงาน ซึ่งผู้ประกอบการอาจช่วยเหลือได้แค่ 1-2 เดือน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการหยุดการผลิตและความเสียหายจากน้ำท่วม (โพสต์ทูเดย์, 19-10-2554) อยุธยาฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเปิดดำเนินการในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ 20 ต.ค. 54 - การประชุมแก้ไขปัญหาผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันนี้ (20 ต.ค.54) มีนายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานแก้ไขปัญหาผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นประธาน โดยในที่ประชุม นายทวี นริสศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงความคืบหน้าของการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดพระ นครศรีอยุธยาว่า ได้ระดมผู้เกี่ยวข้องร่วมประเมินและจัดทำแผนกู้นิคมฯ โดยให้แล้วเสร็จก่อนปีใหม่ เพื่อเป็นของขวัญให้กับประชาชน ตั้งเป้าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม จึงขอความร่วมมือไปยัง ศปภ. ให้เตรียมระดมเครื่องสูบน้ำให้กับจังหวัดฯ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จตามที่ตั้ง เป้าหมายไว้ “วันที่ 16-30 พฤศจิกายนนี้ก็จะเร่งสูบน้ำ ใช้เวลาประมาณ 15 วัน หลังจากนั้นแล้ว ระหว่างนี้เราจะแจ้งผู้ประกอบการ ให้ส่งวิศวกรเข้าไปดูโรงงาน ณ ขณะนี้น้ำอยู่ในนิคมฯ ประมาณ 2 เมตร ถึง 2.30 เมตร ถ้าลดลงเหลือ 80 ซม. ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปสำรวจความเสียหายได้เลย” สำหรับการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ใช้แรงงาน นายทวี นริสศิริกุล กล่าวว่า ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการให้จ่ายเงินบางส่วนให้กับผู้ใช้แรงงาน แล้ว รวมถึงทางจังหวัดฯ จะใช้ระบบประกันสังคมจ่ายชดเชยให้อีกทางหนึ่งคือประมาณ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 20-10-2554) “เผดิมชัย” เปิดแพกเกจอุ้มลูกจ้าง-นายจ้าง (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-10-2554) สั่ง 7 นิคมฝั่งตะวันออกทำแผนอพยพ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งให้นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ 7 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน, ลาดกระบัง, อัญธานี, เวลโกรว์, บางพลี, บางปู, และทีเอฟดี เตรียมแผนอพยพแรงงาน และเคลื่อนย้ายเครื่องจักร รวมทั้งสินค้า เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากประสบการณ์ในหลายนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องเสียหายไป เพราะปริมาณน้ำในครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น แผนการรับมือแบบเดิมๆ ไม่สามารถนำมาใช้ได้ "ปริมาณน้ำจะเข้ามาโจมตีอย่างสายฟ้าแลบ ซึ่งการป้องกันล่วงหน้าไว้ดีกว่า หากไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าน้ำทะลักเข้ามาจริงจะได้ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยได้ย้ำว่าอย่าต่อสู้แบบวัดดวง แต่ต้องเตรียมการอพยพให้พร้อม นักลงทุนญี่ปุ่นต่างคาดหวังให้รัฐบาลป้องกันนิคมอุตสาหกรรมที่เหลือให้เสีย หายน้อยที่สุด ถ้าคราวนี้พลาดอีกก็ไม่สามารถแก้ตัวได้เลย" นายวรรณรัตน์กล่าว นางมณฑา ประนุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ยื่นหนังสือขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน และลาดกระบัง ให้หยุดประกอบกิจการ และให้จัดการป้องกันเครื่องจักร ขนย้ายอุปกรณ์ สินค้า รวมทั้งขนย้ายสารเคมีที่มีพิษไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว ด้านนายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทย ฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กล่าวว่า แม้มีนิคมอุตสาหกรรมเสียหายจากน้ำท่วมไปแล้ว 6 แห่ง ทำให้ฮอนด้าได้รับผลกระทบพอสมควร แต่ก็รู้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ อย่างไรก็ตามคาดหวังให้รัฐบาลสู้ต่อไป ถ้ารัฐบาลสู้ภาคเอกชนก็พร้อมที่จะสู้ด้วยกัน โดยในส่วนของโรงงานฮอนด้า ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังนั้น ขณะนี้ในสายการผลิตรถจักรยานยนต์ได้หยุดดำเนินการไปแล้ว 4-5 วัน เหลือเพียงการผลิตอุปกรณ์เพื่อส่งออก นอกจากนี้ ฮอนด้าได้ปิดตัวอาคารทางเข้า-ออก วางแนวกระสอบทรายรอบโรงงาน และเคลื่อนย้ายรถจักรยานยนต์ขึ้นไปไว้ชั้น 2 ซึ่งสูงกว่า 5 เมตร ถอดอุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องจักรไว้ที่สูง จึงมีความมั่นใจว่าสินค้ามีความปลอดภัยแน่นอน รวมทั้งยังได้ส่งพนักงานไปประจำคอยดูแลระดับน้ำในคลองตลอดเวลา เพื่อจะได้รับมือได้ทัน นายสุรพร สิมะกุลธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในโรงงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กล่าวว่า ขณะนี้ต้องควบคุมกระจายน้ำออกไปให้ระดับความสูงของน้ำไม่เกิน 2 เมตร เพราะหากสูงเกิน 2.30 เมตร นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่สามารถรับมือได้ รวมทั้งจะต้องเตรียมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับหากน้ำเข้าท่วมก็ต้องยันไว้ เร่งสูบออกไม่ให้เกิน 2 เมตร หากรัฐบาลรักษาโรงงานที่เหลือไว้ไม่ได้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่ คาดว่าจะอยู่ระดับ 5% อาจจะติดลบ 5% ก็ได้ เพราะโรงงานที่ไม่ถูกน้ำท่วมไม่สามารถผลิตสินค้าได้ เพราะขาดชิ้นส่วนการผลิต "รัฐบาลจะต้องป้องกันนิคมอุตสาหกรรมที่เหลือให้ได้ หากป้องกันไม่ได้รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ คนบริหารประเทศจะต้องทำงานเป็น ถ้าทำไม่เป็นต้องถอยให้คนที่ทำเป็นเข้ามาจัดการ อย่าทนอยู่จนต้องให้ประชาชนออกมาไล่" นายสุรพรกล่าว (คมชัดลึก, 20-10-2554) วิกฤตน้ำท่วม ทำอุตสาหกรรมเสียหายเดือนละแสนล้าน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า วิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นไม่ได้สร้างความเสียต่อภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่กระทบต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจของประเทศด้วย รัฐบาลจึงต้องเตรียมมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลดที่ไม่ล่าช้า เพราะขณะนี้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงไม่ควรนำข้ออ้างที่ติดขัดกับข้อกฏหมายหรือหลักเกณฑ์ใดๆ มาอ้าง แต่ต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการช่วยเหลือให้เกิดขึ้นได้รวดเร็วที่สุด เพราะขณะนี้ความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าเดือนละกว่า 100,000 ล้านบาท หากปล่อยไว้นานเกิน 4 เดือนหลังน้ำลด แล้วแก้ไขหรือช่วยเหลือภาคเอกชนให้กลับมาผลิตสินค้าไม่ได้ อาจทำให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ประมาณการไว้ว่าจะเติบ โต 4% อาจติดลบได้ นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ส.อ.ท.เข้าใจดีกว่ากรณีที่รัฐบาลไม่ยอมประกาศให้วิกฤตน้ำท่วมได้รับการแก้ไข โดยเร็วผ่านการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เนื่องจากอาจเกรงว่าจะเป็นเงื่อนไขให้บริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่ายค่าเสียหาย ให้กับลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมได้ แต่รัฐบาลก็ควรหามาตรการอื่นๆ เข้ามาทดแทนในเรื่องนี้ เพื่อให้วิกฤตคลี่คลายในเวลาที่รวดเร็ว สำหรับผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย.ของ ส.อ.ท. พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 90.7 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ระดับ 102.5 ต่ำสุดในรอบ 26 เดือนนับตั้งแต่เดือน ส.ค.2552 ที่ระดับ 88.0 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือนที่ลดลงจาก 110.0 มาอยู่ที่ระดับ 94.0 ต่ำสุดในรอบ 27 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค.2552 ที่อยู่ระดับ 96.7 เนื่องจากซึ่งคาดว่าค่าดัชนีเดือน ต.ค.จะลดมากกว่านี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ความเสียหายจากน้ำท่วมเริ่มกระจายวงกว้างมากขึ้น “ทั้งนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นและดัชนีคาดการณ์ล่วงหน้าต่างก็ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน และการที่ค่าดัชนีต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในระดับที่ไม่ดี และคาดว่าค่าดัชนีเดือน ต.ค.จะต่ำกว่านี้ เพราะดัชนีที่สำรวจในเดือน ก.ย.เป็นเพียงแค่ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพียง 1 ใน 3 ของความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น” นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลควรชะลอการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันออกไปก่อน ออกมาตรการลดผลกระทบสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ และออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยเร็ว ขณะที่ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้นถึงผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมต่อยอดผลิตรถยนต์ปีนี้ คาดว่าจะทำให้ยอดการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 1.65 ล้านคัน ต่ำกว่าเป้าเดิมที่ตั้งไว้ 1.8 ล้านคัน หรือหายไปประมาณ 150,000 คัน โดย 9 เดือนแรกของปีนี้ผลิตรถยนต์ได้แล้ว 1.28 ล้านคัน “เรื่องนี้ ต้องดูสถานการณ์เป็นรายวัน เพราะตัวเลขนี้เป็นการประมาณเบื้องต้นก่อนที่แต่ละค่ายจะหยุดการผลิต ซึ่งในเดือน พ.ย.คาดว่าภาพจะชัดเจนขึ้น โดยขณะนี้แต่ละค่ายก็พยายามหาชิ้นส่วนจากที่อื่นมาทดแทนให้ทันกับการผลิต” นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ย.อยู่ที่ 174,212 คัน ถือว่าสูงสุดตั้งแต่มีการผลิตรถยนต์ปี 2504 เนื่องจากเป็นเดือนแรกที่อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มได้รับชิ้นส่วนจากบริษัทแม่ ในญี่ปุ่นตามปกติ และทำให้การผลิตเพื่อส่งออกทำลายสถิติด้วย โดยผลิตเพื่อส่งออกได้90,293 คัน ส่วนการผลิตเพื่อขายในประเทศอยู่ที่ 87,012 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.5% (ไทยรัฐ, 21-10-2554)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์: 9 คำถามที่อยากให้ ศปภ. และผู้ว่า กทม. ตอบ Posted: 22 Oct 2011 07:39 AM PDT หลังจากเป็นผู้ติดตามข่าวน้ำท่วม เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม วันนี้ผมเริ่มใกล้เข้าสู่ฐานะ “ผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เนื่องจากบ้านผมอยู่ในพื้นที่แขวงสีกัน เขตดอนเมือง บ้านอยู่ห่างจากคลองเปรมประชากรประมาณ 100 เมตร เป็นพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม หลังจากเก็บข้าวของชั้นล่างขึ้นที่สูงตามคำประกาศเตือนของผู้ว่ากทม. และ ศปภ. ผมมีคำถามมากมายที่เกิดขึ้น และคิดว่าชาวกรุงเทพฯ และประชาชนในทุกจังหวัดก็คงมีคำถามคล้ายๆ กัน ที่อยากให้ ศปภ. , ผู้ว่ากทม. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยแถลง ช่วยตอบ ด้วยครับ คำถามก่อนน้ำท่วม 1. ถ้าน้ำทะลักมาจริงๆ ผมจะได้รับการเตือนภัยหรือไม่ จากช่องทางไหน (ทีวี , SMS, รถกระจายข่าวของสำนักงานเขต, จุดพลุ ฯลฯ) เพราะเมื่อดูข่าวพื้นที่ถูกน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร บางบัวทอง ฯลฯ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้ข้อมูลเหมือนกันว่า ก่อนที่น้ำจะทะลักไหลเข้ามาท่วมบ้าน ไม่มีการแจ้งเตือนให้รู้ตัวเลย 2. เวลาแจ้งเตือนให้ยกของขึ้นที่สูง หรือขึ้นชั้นสอง หลายบ้านคงเจอปัญหาคล้ายๆ กันว่าไม่สามารถยกของที่อยู่ชั้นหนึ่งขึ้นไปชั้นสองได้หมด ก็ต้องพยายามยกขึ้นที่สูง แต่ยกไปก็สงสัยไปว่า ต้องยกของสูงเท่าใดถึงจะปลอดภัย 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หรือ 2 เมตร เอาของขึ้นโต๊ะกินข้าวจะพ้นน้ำหรือไม่ ช่วยคาดการณ์ระดับได้มั๊ยครับ คนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่จะได้ยกของได้ถูก หรือลงทุนซื้อที่วางของได้ถูกต้อง 3. หากมีการแจ้งให้อพยพ ผมอยากรู้ว่าผมควรใช้เส้นทางไหนในการเดินทาง ควรไปโดยวิธีใด รถส่วนตัว รถของสำนักงานเขต รถของทหาร และจะให้ขึ้นรถได้ที่ไหน 4. หากต้องไปอยู่ศูนย์พักพิง ช่วยบอกข้อมูลด้วยครับว่าผมควรเตรียมตัว เตรียมของ ไปอยู่นานประมาณกี่วัน จะได้เตรียมตัว เตรียมใจได้ถูก 5. ผมอยากรู้ก่อนการอพยพจากบ้านว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านผมแล้ว น้ำจะท่วมอยู่สักกี่วัน หรือกี่เดือน จะได้เตรียมสิ่งของเครื่องใช้ไปได้อย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะไปอยู่บ้านญาติ หรือไปอยู่ศูนย์พักพิง และจะได้รู้ว่าผมควรวางแผนการใช้ชีวิตอย่างไรในช่วงน้ำท่วม ทั้งเรื่องไปทำงาน ลูกไปเรียน การกลับมาดูบ้านเป็นระยะ ฯลฯ คำถามหลังน้ำท่วม 6. ผมคิดว่าผู้ที่ถูกน้ำท่วมต่างมีความเครียดนานับประการ เพื่อลดความเครียดให้แก่ประชาชน ผมอยากให้รัฐบาลช่วยทำการบ้าน (มีหน่วยงานภาครัฐจำนวนมากที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำโดยตรง พอที่จะมีเวลาช่วยคิดเรื่องนี้ได้) เพื่อช่วยบอกข่าวดีบ้างว่า รัฐบาลจะมีนโยบายและมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วมอย่างไร เช่น เรื่องการซ่อมแซมบ้าน คนที่ทำงานในโรงงานซึ่งยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ ข้าวและผลผลิตทางการเกษตรที่ถูกน้ำท่วม ฯลฯ 7. ตอนนี้ผมเริ่มคิดถึงการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด ผมอยากรู้ข้อมูลว่า ในปีหน้า หรือปีต่อๆ ไป มีโอกาสจะเกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่แบบนี้มากน้อยเพียงใดในพื้นที่ต่างๆ จะได้ตัดสินใจลงทุนปรับปรุง ซ่อมแซม และป้องกันบ้านจากภัยน้ำท่วมได้อย่างเหมาะสม คำถามต่อการทำงานของ ศปภ. และ กทม. 8. การแถลงข่าว การให้ข้อมูลตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของ ศปภ. และ กทม. ทำเป็น 2 เวอร์ชันได้มั๊ยครับ (1) เวอร์ชันแบบทั่วไปอย่างที่ทำอยู่ในเวลานี้ และ (2) เวอร์ชันแบบเทคนิค มีข้อมูลวิชาการเชิงลึก เพื่อให้ผู้ที่เข้าใจและสนใจข้อมูลเหล่านี้ จะได้เข้าใจเหตุผลที่ท่านใช้ประกอบการตัดสินใจมากขึ้น เช่น ทำไมเปิดหรือไม่เปิดประตูระบายน้ำ ทำไมผันน้ำไปทางนี้ ทำไมไม่เร่งผันน้ำลงทะเล ฯลฯ และจะได้ไม่เกิดปัญหาการวิจารณ์บางเรื่องออกไปอย่างเข้าใจผิด (ซึ่งเกิดขึ้นมากมายในสังคมออนไลน์) สร้างความสับสนในสังคม รวมทั้งช่วยเพิ่มความเชื่อถือต่อการตัดสินใจและการดำเนินงานของ ศปภ. มากยิ่งขึ้น 9. ศปภ. ช่วยปรับปรุงเวปไซด์ของ ศปภ. ให้เป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สำคัญๆ สำหรับการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมได้มั๊ยครับ และเป็นข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วว่าเชื่อถือได้ เช่น - แหล่งข้อมูลติดตามสถานการณ์น้ำท่วม - วิธีการป้องกันบ้านจากน้ำท่วมอย่างถูกต้อง เช่น การกั้นกระสอบทราย การก่ออิฐ ฯลฯ - การป้องกัน/ลดความเสียหายรถยนต์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าจากน้ำท่วม (หากเคลื่อนย้ายหนีน้ำไม่ได้ ) - การใช้ชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยหากติดอยู่ในบ้านที่ถูกน้ำท่วม - การเตรียมข้อมูล การเตรียมตัวเพื่อติดต่อบริษัทประกันภัย ฯลฯ ผมประเมินว่า จากข้อมูลที่ ศปภ. และ กทม. มีอยู่ในเวลานี้ อาจไม่มีข้อมูลที่จะตอบได้อย่างชัดเจนในทุกคำถาม ผมอยากให้ช่วยบอกข้อมูลในลักษณะคาดการณ์ก็ได้ครับ มีแนวโน้ม/ความเสี่ยงมาก ปานกลาง หรือน้อย และในกรณีไม่มีข้อมูลก็โปรดแจ้งว่าไม่มีข้อมูลเพียงพอ ผมและประชาชนจะได้รู้ว่าควรตัดสินใจอย่างไร หรือ ควรจะหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไร และจะได้เป็นการเปิดขยายพื้นที่ให้นักวิชาการ องค์กรชุมชน ที่มีข้อมูลได้ช่วยส่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ศปภ.และ กทม. หมายเหตุ (1) ผมอยากบอกว่า หากผมเป็นคนต่างจังหวัดที่น้ำกำลังท่วมอยู่ ผมคงรู้สึกน้อยใจเนื่องจากการแถลงข่าวของศปภ. มีแต่ข้อมูลเฉพาะคนกรุงเทพฯ เป็นหลัก คนต่างจังหวัดก็อยากรู้ว่า น้ำจะลดหรือยัง ใช้เวลานานเท่าใด รัฐบาลมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไรต่อจากนี้ (2) ช่วยปรับปรุงบริการรับเรื่องแจ้งขอความช่วยเหลือจาก Hot Line ของรัฐบาลด้วยครับ เพิ่มคู่สายรับเรื่องขอความช่วยเหลือให้มากขึ้น เช่น เบอร์ 1111 โทรไม่เคยติด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
'ไทยฟลัด' ถอนตัวระบุรับไม่ได้ ศปภ.เซ็นเซอร์ข้อมูลน้ำท่วม Posted: 22 Oct 2011 06:05 AM PDT ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยฟลัดชิ่งจาก ศปภ. แฉรัฐบาลขอตรวจข้อมูลก่อนแถลง ลั่นไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ต่อ อัดยับ ศปภ.บริหารจัดการที่ไม่เป็นเอกภาพ 22 ต.ค. 54 - ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่าที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายปรเมศวร์ มินศิริ ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยฟลัดดอทคอม (Thaiflood.com) และกรรมการผู้จัดการบริษัท บัณฑิต เซ็นเตอร์ (Kapook.com) ที่มา ช่วยงานภาครัฐกับ ศปภ. ที่กองอำนวยการร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเปิดให้ผู้มีจิตอาสามาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ และรับเรื่องราวต่างๆ ในการที่จะบริจาคนั้น ได้เกิดความขัดแย้งกันในการจัดการกับ ศปภ. ภาคประชาชน ทำให้นายปรเมศวร์ ผู้ที่ดูแลและมีหน้าที่ในส่วนของการให้ข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์น้ำท่วมไม่พอใจการทำงานของ ศปภ. ในการห้ามนำเสนอในข้อมูลดังกล่าว และมีการปิดบังข้อมูลในเรื่องความไม่พอใจในการทำงานของกองอำนวยการ จึงขอแยกกองหน่วยงานข้อมูลข่าวสารน้ำท่วมและผู้ประสบภัยไปตั้งที่อื่น นายปรเมศวร์ กล่าวต่อว่า ไทยฟลัดได้มาตั้งศูนย์อยู่ที่ดอนเมือง ตามคำเชิญชวนของรัฐบาลตั้งแต่ต้น ช่วงสัปดาห์แรกยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการให้การสนับสนุนข้อมูล เพื่อเตือนภัยแก่ประชาชนเป็นอย่างดี แต่พอสถานการณ์น้ำท่วมหนักขึ้น ได้ขอเสนอตัวเป็นตัวแทนภาคประชาชนที่จะเข้าไปร่วมให้ข้อมูลแก้ปัญหากับภาครัฐ กลับได้รับการปฏิเสธ แค่ให้ทำหน้าที่ "พีอาร์" (ประชาสัมพันธ์) ข้อมูลที่ ศปภ. จัดมาแถลงเท่านั้น "ทางไทยฟลัดเห็นว่า ข้อมูลช่วงหลังจากภาครัฐเริ่มไม่พอที่จะนำมาวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่มีการคิดและทำ จึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่ไทยฟลัดจะต้องแบ่งกำลังมาอยู่ตรงนี้ รวมทั้งดอนเมืองเองก็มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมสูง และถึงย้ายไปผมก็ยังมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่รัฐ พอที่จะขอประสานข้อมูลกันได้ เรามาอยู่ที่นี่คือต้องการช่วยผู้ประสบภัยอย่างเดียว ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นขั้วการเมืองขั้วใด มีความพยายามจะขอเซ็นเซอร์ข้อมูลของไทยฟลัด ทั้งที่เราพยายามเตือนประชาชนด้วยข้อเท็จจริง ไม่ใช้คำที่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการให้ข้อมูลจริงที่นำไปสู่การตัดสินใจได้" ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยฟลัด กล่าว นายปรเมศวร์ กล่าวอีกว่า มีเหตุการณ์ที่รับไม่ได้คือ ล่าสุดที่ไทยฟลัดออกแถลงการเตือนสถานการณ์น้ำท่วม กทม.ออกไป กลับมีการโทรศัพท์จากภาครัฐเข้ามาแสดงความไม่พอใจ อยากให้ปรับเปลี่ยนท่าทีในการออกแถลงการณ์ เช่น ข้อมูลบางอันก็ขอให้ส่งผ่าน ศปภ. ก่อนที่จะมีการนำเสนอ ซึ่งตนบอกว่าทำไม่ได้ เพราะยามวิกฤติประชาชนกำลังรอข้อมูลเพื่อความอยู่รอด แต่กลับจะเอาข้อมูลไปกรองก่อน ที่สำคัญมันยังอาจทำให้ข้อมูลถูกบิดเบือนได้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เท่าที่ทำงานเป็น ศปภ. มีข้อมูลอะไรที่ประชาชนควรรับรู้ แต่ ศปภ.ไม่เคยให้นั้น นายปรเมศวร์ กล่าวว่า สิ่งที่ไม่เคยได้รับคือ มาตรการต่างๆ ของภาครัฐในการรองรับปัญหา เช่น มีการประกาศแผนอพยพ แต่ไร้แผนรองรับ ทั้งที่ควรจะบอกชัดเจนก่อนว่าให้อพยพไปไหน ไม่ใช่อยู่ๆ น้ำเข้ามาแล้ว ผู้คนแตกตื่น แต่ไม่รู้ว่าจะต้องอพยพไปไหน เมื่อวานนี้ (21 ต.ค.) นายกฯ แถลงว่าจะปล่อยน้ำให้ระบายผ่าน กทม. เราก็อยากฟังแผนการระบายน้ำ เพื่อจะได้ช่วยคิดช่วยทำ แต่ ศปภ.กลับแถลงแค่ขอเครื่องสูบน้ำจากภาคเอกชน ตนเคยเสนอแผนการระบายน้ำอย่างเป็นระบบที่คลองเปรมมาแล้ว ก็เห็นว่าที่ประชุม ศปภ.เอาไปพิจารณาและเอาไปทำ ก็อยากจะเห็นแผนในลักษณะเดียวกันออกมาจากรัฐบาล ไม่อยากเห็นเพียงว่าพอแก้ปัญหาไม่ได้เพราะไม่เป็นระบบ สุดท้ายก็มาพูดแค่ว่า เราได้ทำเต็มความสามารถแล้วเท่านั้น รายงานข่าวจาก ศปภ. แจ้งว่า หลังจากกลุ่มไทยฟลัดนำบุคลากรออกไปตั้งที่ทำการใหม่ที่ใช้ในการให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ทางมูลนิธิกระจกเงาที่อยู่ด้วยกันภายใน ศปภ. ก็ได้เข้าไปใช้พื้นที่แทนทันที พร้อมติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน ศาลปกครองกำหนดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก 26 ต.ค. นี้ Posted: 22 Oct 2011 04:58 AM PDT ศาลปกครองสงขลากำหนดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก กรณีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน ผู้ฟ้องคดีเตรียมแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาลก่อนตุลาการผู้แถลงคดีจะอ่านคำแถลงการณ์คดี 22 ต.ค. 54 - เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่าในวันที่ 26 ตุลาคม 2554 เวลา 11.00 น. ศาลปกครองสงขลากำหนดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 2 ในคดีหมายเลขดำที่ 187,188 / 2552 ที่นายอิสมาแอ เตะ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และนายอามีซี มานาก ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ถูกฟ้องคดี กรณีที่มีการควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับผู้ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและคำรับสารภาพ หลังจากแสวงหาพยานหลักฐานครบถ้วนเพียงพอพิพากษาคดีแล้ว ในวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกตุลาการผู้แถลงคดีจะอ่านแถลงการณ์ว่าคดีนี้จะพิพากษาคดีอย่างไร โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีแถลงต่อศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือต่อศาลก่อน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ศาลจะกำหนดนัดวันฟังคำพิพากษาต่อไป โดยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2554 ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำแถลงเป็นหนังสือต่อศาลก่อนนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก โดยยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนคดี กล่าวคือ ฟ้องคดีทั้งสองได้นำเสนอพยานหลักฐานโดยชัดแจ้งเพื่อยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีการกระทำตามคำฟ้องจริง ในส่วนของการควบคุมตัวเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ปรากฏตามใบรับรองแพทย์และเวชระเบียนการตรวจรักษาของผู้ฟ้องคดีที่ 1 ภาพถ่ายบาดแผล และพยานหลักฐานอื่นๆ ในขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องโดยไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยัน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญแห่งคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ ซึ่งฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโดยตลอด แล้วเกิดอันตรายแก่ร่างกายขึ้นในระหว่างการควบคุมตัว และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551 ญาติของผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวก เห็นร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย ซึ่งถือเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลจังหวัดปัตตานีได้รับคำร้องดังกล่าวไว้ และมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารผู้ควบคุมตัวนำผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่เจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะได้แสดงข้อมูล ข้อเท็จจริง เหตุผลและข้อกฎหมายตามที่ได้ให้การต่อศาลในคดีนี้ เพื่อยืนยันว่าตนปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกในระหว่างควบคุมตัวแต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่ทหารดังกล่าวกลับปล่อยตัวผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกไปในยามวิกาล และไม่ได้มาศาลตามหมายเรียกของศาลจังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้ศาลยกคำร้องของผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวก เนื่องจากผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกได้รับการปล่อยตัว จึงไม่มีเหตุให้ศาลวินิจฉัยคำร้อง และคำแถลงเป็นหนังสือดังกล่าวยังได้ขอนำพยานที่เห็นสภาพร่างกายที่บอบช้ำจากการทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานของผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว เข้าแถลงต่อศาลปกครองด้วยวาจา และขอส่งแผ่นบึกทึกภาพและเสียง (VCD) ของกลุ่ม IN SOUTH ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสะท้อนปัญหาและผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายพิเศษต่อศาล นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองยังมีความประสงค์ขออนุญาตเปิด VCD ดังกล่าวในศาลด้วย เหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2551 และผู้ฟ้องคดีทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน 2554 เป็นวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี และนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 26 ตุลาคม 2554 นี้ ระยะเวลานับแต่วันฟ้องถึงวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเกือบ 3 ปี คดีนี้นับว่าเป็นคดีแรกที่เหยื่อผู้ถูกควบคุมตัวและซ้อมทรมานตามอำนาจของกฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องคดีเพื่อให้หน่วยงานรัฐ (กองทัพบกและกระทรวงกลาโหม) รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ซึ่งอยู่ในสังกัดของตนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผู้ฟ้องคดีทั้งสองต้องอาศัยความกล้าหาญและเข้มแข็งอย่างมากในการตัดสินใจฟ้องและดำเนินคดีถามหาความเป็นธรรมและการเยียวยาจากหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ทหารผู้ทำละเมิด โดยหวังว่าการใช้สิทธิตามระบบกระบวนการยุติธรรมนี้จะส่งผลให้หน่วยงานแก้ไขปรับปรุงบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนและประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เพื่อดำรงหลักประกันสิทธิเสรีภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้คงอยู่ และหวังว่ากระบวนการยุติธรรมจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ ซึ่งในวันที่ 26 ตุลาคม 2554 นี้ จะได้ทราบแนวคำพิพากษาของคดีนี้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ประสบการณ์น้ำท่วมบ้านบัวทอง "อย่าลืมอุดท่อระบายน้ำ" Posted: 22 Oct 2011 04:46 AM PDT บ้านบัวทองเป็นหมู่บ้านหนึ่งใน ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง นนทบุรี ซึ่งถูกน้ำท่วมไปเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ตั้งอยู่ห่างจากตลาดบางใหญ่ 2 กม. ทั้งที่ได้เตรียมการมานานพอสมควร แต่ไม่สามารถฝ่าน้ำท่วมไปได้ หมู่บ้านนี้เคยเผชิญกับน้ำท่วมปี 2538 มาแล้ว ในครั้งนี้มีบทเรียนที่น่าสนใจ วันที่ 10 ต.ค. มีเหตุน้ำท่วมโรงพยาบาลบางบัวทอง เนื่องจากคันกั้นน้ำพัง แต่สถานการณ์ก็ผ่านพ้นเพราะปริมาณน้ำมาสุดที่คลองบางไผ่ ที่อยู่ด้านเหนือของหมู่บ้านนี้ ชุมนุมจึงสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมด้านนี้ รวมถึงการปิดท่อระบายน้ำด้านนี้ เพราะพวกเขาเคยมีประสบการณ์น้ำเข้าทางท่อระบายน้ำในปี 2538 ส่วนด้านใต้เปิดตามปกติเนื่องจากระดับน้ำคลองถนนไม่มีระดับสูง วันที่ 19 ต.ค. น้ำระลอกใหญ่มาถึงบางบัวทอง ช่วงสายประตูน้ำพิมลราชพังน้ำทะลักเข้าตลาดบางบัวทอง ท่วมหมู่บ้านชลลดา น้ำไหลเข้ามาทางคลองบางไผ่ คันกั้นตามแนวคลองเริ่มรับไม่ได้ กำนันและ อบต. ระดมชาวบ้านกรอกกระสอบทราย ตอนบ่าย แต่ละกลุ่มบ้านประชุมวางแผนทำแนวกระสอบทรายกั้นน้ำตามปิดถนนรอง ปิดท่อระบายที่ท่อมาจากด้านเหนือ และมีการพูดถึงการวางกระสอบกั้นแนวบ่อบำบัดน้ำเสียที่ต่อกับคลองด้านใต้และอุดท่อระบาย เตรียมเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำและสูบน้ำที่ล้นแนวกระสอบทราย ตอนเย็น รถขนทรายมาส่งทราย ชาวบ้านกรอกทรายและเรียงทำคันกั้นน้ำบนถนนรองตามแผน เวลาประมาณ 23.00 น. น้ำทะลักเข้าท่อระบายน้ำที่ต่อกับคลองด้านใต้ และชะตากรรมของหมู่บ้านก็มาถึง น้ำในคืนวันที่ 19 ประมาณ สูงระดับพื้นถนน เวลาประมาณ 5.00 น. วันที่ 20 ต.ค. น้ำสูงขึ้นอีก 20 ซม. จากนั้นน้ำค่อยๆไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เวลาประมาณ 9.00 น. น้ำสูงประมาณ 30 ซม. ช่วงบ่ายน้ำขึ้นมาที่ระดับ 80 ซม. ในการป้องกันถนนรองที่วางกระสอบสองแนวสูงประมาณ 1.2 เมตร และเตรียมเสริมเป็น 1.5 เมตร เมื่อน้ำล้นแนวที่ 1 เข้าในพื้นที่ 12 ม. * 3 ม. ย่อมเป็นปริมาณที่สามารถสูบกลับออกไปได้ รวมถึงความคิดในการอุดท่อระบายน้ำและเตรียมเครื่องน้ำสำหรับดูดน้ำออกย่อมทำให้ทุกชีวิตใช้ชีวิตเป็นปกติได้ ผมเห็นว่าการเตรียมตัวทำได้ดีพอสมควร และหมู่บ้านอยู่ติดถนนกาญจนาภิเษก อยู่ใกล้ย่านธุรกิจสำคัญ เช่น ตลาดบางใหญ่ บิ๊กซี บางใหญ่ ย่อมมีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ดังนั้น จึงควรอยู่รอดได้ การไม่ได้ปิดท่อระบายน้ำคลองด้านใต้ทันที เพราะน้ำท่วมช่วงก่อนหน้านี้มวลน้ำมาไม่ถึง ซึ่งลักษณะการไหลของน้ำจะเอ่อล้นทีละแนวคลองตามช่วงเวลาน้ำขึ้นและลง จึงอาจจะไม่เข้าใจลักษณะนี้ทำให้ไม่คิดว่าน้ำจะมากในคลองด้านใต้ของหมู่บ้าน แต่คราวนี้มวลน้ำมากกว่าเดิมจึงไหลขยายพื้นที่ท่วมต่อไป รวมถึงคลองนี้ด้วย จากประสบการณ์นี้ จึงเชื่อว่า ถ้ามีการเตรียมการในระดับหมู่บ้านยังมีความเป็นไปได้ในการป้องกันตัวเอง เพียงแต่หน่วยงานปกครองท้องที่และหน่วยงานเกี่ยวข้องต้องวางระบบการส่งกำลังบำรุง เพื่อทำให้แต่ละพื้นที่สามารถต่อสู้ได้ ในความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับ กทม. ในขณะนี้ บอกได้ว่าทำให้เกิดความสิ้นหวังมากขึ้น สิ่งที่รัฐบาลกดดันให้ กทม. ปล่อยน้ำผ่านคลองชั้นในของ กทม. นั้น เจ้าหน้าที่ กทม. บอกว่า จะสามารถช่วยได้ระบายน้ำได้สัก 600,000 ลบ.ม. ต่อวัน แต่ข้อมูลอาจะไม่ครบถ้วน ถึงจะมากกว่า 10 เท่าก็ตาม เมื่อเทียบกับปริมาณ มากกว่า 100 ล้าน ลบ.ม. การระบายผ่านของ กทม. ก็แค่น้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทรเท่านั้นเอง เพียงแต่ว่า กทม. กลายเป็นผู้ร้าย ผมยังไม่เห็นว่า หน่วยงานรัฐได้จัดระบบสนับสนุนในการต่อสู้ของระดับพื้นที่เช่นกัน ทำเฉพาะการบรรเทาทุกข์เท่านั้น จึงแค่หวังว่า อย่าทำให้ความสิ้นหวังมากกว่านี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สภาทนายความจี้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกเชื้อชาติ Posted: 22 Oct 2011 04:31 AM PDT คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่นสภาทนายความ ออกแถลงการณ์จี้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกเชื้อชาติ เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 54 ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่นสภาทนายความได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสัญชาติ เชื้อชาติ ความแตกต่างทางภาษา หรือสถานะทางกฎหมาย" โดยมีรายละเอียดดังนี้ ............................. แถลงการณ์เรื่อง การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสัญชาติ เชื้อชาติ ความแตกต่างทางภาษา หรือสถานะทางกฎหมาย ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ สืบเนื่องจากสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งราษฎรไทยและแรงงานต่างด้าว และด้วยปัญหาการสื่อสารทางภาษา ความหวาดกลัว ทำให้แรงงานต่างด้าวซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทย กับประชาชนไทย หรือหน่วยงานภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยได้ ส่งผลให้ผู้อพยพและแรงงานข้ามชาติเหล่านั้นได้รับความเดือดร้อนเป็นเท่าทวีคูณ ที่ผ่านมาเป็นที่น่ายินดีว่ามีหลายภาคส่วนได้พยายามช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ แก่ทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสัญชาติ เชื้อชาติ ความแตกต่างทางภาษา หรือสถานะทางกฎหมาย แต่ก็ยังมีหลายภาคส่วนเช่นกันที่ยังกังวลและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายในการเข้ามาและอยู่อาศัยในประเทศไทย หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยหากให้ความช่วยเหลือหรือให้ที่พักพิงแก่แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามที่ประสบอุทกภัยเหล่านั้น ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามไม่สามารถเข้าถึงหรือได้รับความช่วยเหลือทางปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำรงชีพตามความเหมาะสม รวมทั้งได้รับการปฏิเสธจากที่พักพิง ทั้งที่หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดตั้งขึ้น ด้วยปัญหาดังกล่าว คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ตระหนักและเล็งเห็นว่า การชี้แจงและทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน ราษฏรไทยและองค์กรทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เพื่อคลายข้อกังวล ลดปัญหา และเสริมสร้างความเข้าใจ ดังต่อไปนี้
๑) แรงงานต่างด้าวทุกคนถือเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการร่วมขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย สำหรับประเภทงานที่ขาดแคลนแรงงาน สกปรก รายได้น้อย และเป็นงานที่แรงงานไทยไม่ทำ ควรที่จะได้รับการยอมรับและปฏิบัติว่าเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมไทย ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามในสถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ จำเป็นต้องให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรมแก่ทุกคนโดยเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสัญชาติ เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม หรือสถานะทางกฎหมาย ซึ่งมีหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา อนุสัญญาระหว่างประเทศจำนวนมาที่ไทยลงนาม และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ให้การรับรอง ๒) สถานะทางกฎหมายของแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติในประเทศไทย รัฐบาลไทยได้ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว โดยขึ้นทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยและขออนุญาตทำงาน (WORK PERMIT) ต่อกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และแรงงานต่างด้าวบางส่วนได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์ชาติ โดยถือหนังสือเดินทาง (PASSPORT) วีซ่า (VISA) และมีใบอนุญาตทำงาน (WORK PERMIT) ตามนโยบายของรัฐบาลไทย แต่ก็ยังมีแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามอีกส่วนหนึ่งที่อยู่อาศัยในประเทศไทยโดยผิดกฎหมายด้วยเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าแรงงานต่างด้าวหรือผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวจะเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายหรือถูกกฎหมาย ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ก็ตาม การดำเนินการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวเพื่อเป็นการช่วยชีวิตบุคคลในสถานการณ์อุทกภัยด้วยวิธีการใด ๆ ดังนี้ ๑. การช่วยเหลือ ลำเลียง หรือให้แรงงานต่างด้าวหรือผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว ให้โดยสารรถ เรือ หรือยานพาหนะใด ๆ มิอาจถือว่าเจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะ กระทำผิดเกี่ยวกับการนำพาหรือให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๗๐ ๒. การช่วยเหลือ ให้ที่พักพิง ซึ่งอาจเป็นบ้านส่วนตัว โรงแรม ที่พักฉุกเฉิน สถานที่ราชการ หรือเอกชน หรือสถานที่ใด ๆ แก่แรงงานต่างด้าวหรือผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว มิอาจถือว่าเจ้าของบ้าน โรงแรม ผู้ที่รับผิดชอบดูแลที่พักฉุกเฉิน สถานที่ราชการหรือเอกชนหรือสถานที่ใด ๆ เหล่านั้น ได้กระทำผิดพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ ๓. กลุ่มแรงงานต่างด้าวหรือผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานหรืออาศัยอยู่ในเขต/พื้นที่จังหวัดที่ขึ้นทะเบียน และบุคคลนั้นจำเป็นต้องเดินทางออกนอกเขต/พื้นที่จังหวัดที่ตนขึ้นทะเบียนขณะเกิดอุทกภัย โดยไม่ได้ขออนุญาตออกกนอกพื้นที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มิอาจถือว่าบุคคลนั้นกระทำผิดเกี่ยวกับการออกนอกเขต/พื้นที่ขึ้นทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาต ๔. แรงงานต่างด้าวหรือผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวที่ไม่สามารถทำงานกับนายจ้างเดิมหรือในอาชีพเดิมได้ด้วยเหตุจากอุทกภัย และจำเป็นต้องทำงานกับนายจ้างใหม่หรือทำงานอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอาชีพที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือมิได้ทำการแจ้งเปลี่ยนย้ายงานย้ายนายจ้างตามกฎระเบียบของกระทรวงแรงงาน หากเป็นการทำงานเพื่อยังชีพระหว่างประสบอุทกภัย มิอาจถือว่าบุคคลนั้นกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานในอาชีพที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผิดประเภท หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ๕. การรักษาพยาบาลให้กับแรงงานต่างด้าวหรือผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว มิอาจถือว่าแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ผู้ให้การรักษาโรคนั้นได้กระทำผิดกฎหมาย ๖. การที่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าเจ้าหน้าตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีหน้าที่จับกุมคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมาย หรืออาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย หรือออกนอกเขต/พื้นที่จังหวัดที่ขึ้นทะเบียน หากพบหรือทราบว่ามีคนต่างด้าวเช่นว่านั้น และไม่ได้ดำเนินการจับกุม มิอาจถือว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นกระทำผิดเกี่ยวกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ๗. เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน ผู้มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับคนต่างด้าวที่ทำงานผิดประเภทหรือไม่มีใบอนุญาตให้ทำงาน หากพบหรือทราบว่ามีคนต่างด้าวเช่นว่านั้น มิอาจถือว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นกระทำผิดเกี่ยวกับการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ๘. ในทางตรงกันข้ามเจ้าหน้าที่และบุคคลทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการรักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์ โดยเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดของการอยู่ร่วมกัน รวมทั้งเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต้องเกื้อกูลดูแลกันตามหลักสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม ๓) ช่วงวิกฤตอุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันในหลายพื้นที่ ลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวจำนวนมากไม่มีเอกสารใดๆ พกติดตัว เช่น ใบอนุญาตทำงาน หนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวคนไม่มีสัญชาติไทย ฯลฯ เนื่องจากสูญหาย หรือไม่สามารถนำออกมาจากที่พักได้ หรือนายจ้างอาจยึดถือไว้ จึงขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานต่างด้าวหรือผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว โดยไม่ควรคำนึงถึงเอกสารใบอนุญาต หรือบัตรต่าง ๆ เหล่านั้น ๔) นายจ้างที่ยึดใบอนุญาตทำงาน หนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวคนไม่มีสัญชาติไทย ฯลฯ ของแรงงานต่างด้าวไว้ ขอความร่วมมือจากนายจ้าง ให้ส่งมอบคืนบัตรหรือเอกสารประจำตัวบุคคลเหล่านั้นแก่แรงงานต่างด้าว เนื่องจากการยึดบัตรหรือเอกสารประจำตัวของบุคคลอื่นอาจมีความผิดตามกฎหมาย ๕) การให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และมาตรการคุ้มครองสิทธิแก่แรงงานต่างด้าว ในฐานะแรงงานตามนัยแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และกฎหมายอื่นๆ ภาครัฐ เอกชน และนายจ้าง ต้องช่วยเหลือและคุ้มครองสิทธิอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน คณะอนุกรรมการฯ ขอขอบพระคุณทุกภาคส่วนของสังคมไทยที่หยิบยื่นความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยทุกคนโดยเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ทำไมท่วมแต่ฉัน ? ฉันก็คนเหมือนกัน ฉันฟ้องศาลได้หรือไม่? Posted: 22 Oct 2011 04:01 AM PDT อีกหนึ่งบทความกับสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย “วีรพัฒน์ ปริยวงศ์” ร่วมคิดผ่าน “สามปุจฉา” ว่าด้วยกระบวนการทางตุลาการ บริหาร และ นิติบัญญัติ ที่อาจเปลี่ยน “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ให้เป็น “โอกาสทางประชาธิปไตย”
ภาพมวลน้ำล้อมรอบกรุงเทพมหานคร จาก http://drbl.in/cffA วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ บทนำ: “น้ำท่วมแล้วไง ?” มวลน้ำใจของคนไทยเอ่อล้นมาพร้อมกับสารพัดวาทะว่าด้วยวิกฤตอุทกภัย บ้างก็ว่าเพราะธรรมชาติส่งมรสุมมาหนักและนานกว่าปกติ บ้างก็ว่าเป็นฝีมือมนุษย์ที่ตัดไม้แล้วเททรายถมคลอง บ้างก็ว่าเพราะคนเห็นแก่ตัวกั้นน้ำไว้จนระบายช้าผิดธรรมชาติ บ้างก็ว่าภาครัฐบริหารน้ำสะเปะสะปะ คนหนึ่งกักไว้ผลิตไฟ อีกคนกักไว้กันแล้ง อีกคนกักไว้กันท่วม เลยไม่รู้จะกักกันอย่างไร บ้างก็ว่าต้องวางผังเมืองและสร้างทางน้ำใหม่ หรือไม่ก็บอกให้จัดพิธีขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ คำพูดเหล่านี้มีแง่มุมน่าสนใจสามประการ ประการแรก คำพูดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่แช่เปื่อยมาจากวิกฤตน้ำท่วมในอดีต เปรียบดั่ง “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ที่ช่วยกันพูด ช่วยกันคิด ช่วยกันเถียง แต่พอน้ำลด น้ำปากก็หมด แน่นอนว่าน้ำใจของผู้มีจิตอาสานั้นน่าชื่นชมอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ตะกอนความจริงที่เหลือก็คือ ความคิดเห็นที่จะแก้ไขปัญหาได้ไหลลงท่อออกทะเลไปกับน้ำ ฝ่ายที่บริจาคของเก่าก็เก็บเงินซื้อของใหม่ ฝ่ายที่ได้รับของบริจาคก็เก็บเงินซ่อมบ้านแล้วรอรับบริจาคครั้งต่อไป ส่วนนักคิดนักวิจารณ์นักวิชาการก็รอไต่อ่างมาพายเรือวนกันอีกรอบทุกห้าถึงสิบปี ประการที่สอง เมื่อน้ำท่วมทุกคนไม่เท่ากัน มุมมอง “ความเป็นธรรมในการจัดการน้ำท่วม” ของตนในสถานการณ์หนึ่ง อาจตรงกันข้ามกับมุมมองตนเองในอีกสถานการณ์หนึ่ง สมมติมีคนไทยแบบ John Rawls วันแรกอยู่ที่กรุงเทพฯ นั่งทำบุญบริจาค “like” ทาง facebook แต่ก็กดดู update เพราะกลัวน้ำมา แต่วันที่สองต้องไปนั่งกดจิตและรอความช่วยเหลืออยู่บนหลังคาที่นครสวรรค์ แม้ชื่อสถานที่จะทำให้เชื่อว่าเป็นแดนเทวดาเหมือนกัน แต่คนคนนี้ก็คงหนักใจที่จะสวมผ้าคลุมไม่รู้ร้อน (veil of ignorance) ข่มให้ตนกลับไปสู่สถานะที่มองไม่เห็นสิ่งที่เกิดที่กรุงเทพฯและนครสวรรค์ เพื่อใคร่ครวญอย่างยุติธรรมว่า หากตนเป็นรัฐบาลตนจะเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างไรให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ? ประการที่สาม คงดีไม่น้อยหากประโยคว่า “เราจะฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” ไหลหลากท่วมท้นมาจากคนไทยทุกคน แต่ก็คงน่ารันทดยิ่งนักหากคำพูดดังกล่าวกลับกลบเสียงคนไทยแบบ John Rawls จนแทบไม่ได้ยิน เพราะพอเริ่มคิดเริ่มพูดทวงหาความเป็นธรรม ก็ถูกก่นด่าว่าสร้างความแตกแยกไปทำไม หากไม่ถูกบังคับให้ไปนั่งบนหลังคา ก็กลับไปนั่งกด “like” ยังจะดูดีมีคุณธรรมเสียยิ่งกว่า ผู้เขียนเกรงว่าบทความนี้อาจเป็นเรื่องที่คนอยากรู้จะยังไม่ได้อ่าน ส่วนคนที่ได้อ่านก็อาจยังไม่ได้อยากรู้ แต่เมื่อไม่แน่ใจว่าจะได้เขียนอีกนานแค่ไหน และคนที่อยากให้ได้อ่านจะมีเวลาอ่านอีกนานเพียงใด บทความนี้จึงจำต้องละจากเรื่อง “วิกฤตน้ำท่วมในแง่มุมของคนที่ยังไม่ถูกท่วม” (ว่าจะเตรียมรับสถานการณ์อย่างไร ซึ่งก็สำคัญ – ณ วันที่เขียนผู้เขียนก็ยังเป็นหนึ่งในนั้น) แล้วคิดเรื่อง “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ที่เป็นปัญหาของทั้งคนที่ยังไม่ถูกท่วมและที่ถูกท่วมไปแล้ว (ซึ่งผู้เขียนก็อาจกลายเป็นหนึ่งในนั้น) ผู้เขียนขอชวนให้ช่วยกันคิดว่า นอกจากเราจะมีจิตอาสาส่งแรงส่งเงินส่งกำลังใจให้กัน หรือต่อว่าติติงกัน หรือพร่ำวนกับข้อเสนอสูงส่งในหนังสือพิมพ์และจอโทรทัศน์อันล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นแล้ว จะยังมี “กระบวนการ” อื่นใดหรือไม่ ที่สามารถเอื้อให้คนไทยร่วมกันไล่ “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ออกไป แม้ “วิกฤตน้ำท่วม” อาจอยู่ต่อไปอีกเป็นเดือนและจะกลับมาตามธรรมชาติอีกในอนาคตก็ตาม ? สำหรับเวลานี้ ผู้เขียนขอร่วมคิดผ่าน “สามปุจฉา” ว่าด้วยกระบวนการทางตุลาการ บริหาร และ นิติบัญญัติ ที่อาจเปลี่ยน “วิกฤตน้ำปากไหลหลาก” ให้เป็น “โอกาสทางประชาธิปไตย” ได้ดังนี้
ปุจฉาที่ ๑: “เธอ” ไม่ท่วม ท่วมแต่ “ฉัน” ฉันก็คนเหมือนกัน ฉันฟ้องศาลได้หรือไม่ ?
Apichat Weerawong AP
ผู้เขียนไม่คิดว่ามีศาลใดในโลกที่มีอำนาจสั่งให้น้ำลดแล้วไหลลงทะเล แต่ก็ไม่คิดว่าวันนี้สังคมไทยมีคำตอบที่ชัดเจนว่า “การระบายน้ำออกทะเลได้เร็วและดีที่สุด” นั้นต้องทำอย่างไร ผู้เขียนเองไม่ได้เชี่ยวชาญการจัดการปัญหาอุทกภัย และไม่ทราบถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือหลักการใดที่จะนำมาตัดสินความเป็นธรรม อีกทั้งบรรดารัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญรายวันก็พูดไม่ตรงกัน หลายคนรวมถึงผู้เขียนก็ไม่รู้จะเชื่อใคร กระนั้นก็ดี ยังมีประชาชนไทยที่ถูกบังคับให้ต้องเชื่อตัวเอง เมื่อตนเชื่อว่าถูกข่มเหงให้ถูกท่วมและไม่เป็นธรรม แต่เมื่อไม่รู้จะพึ่งใคร ก็จำใจตั้งศาล ณ บัลลังก์คันดิน และไม่ยั้งที่จะลงมือบังคับคดีพิทักษ์ทรัพย์รถแบ็คโฮแล้วปล่อยหรือกักน้ำด้วยตนเอง ภาพเช่นนี้ทั้งน่าเห็นใจและหนักใจไม่น้อยไปกว่าภาพที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหลั่งน้ำตาขอร้องให้ประชาชนบางส่วนยอมเสียสละเพื่อช่วยกันรักษาจังหวัดไว้ แม้จะต้องแลกด้วยตำแหน่งของตนก็ตาม สังคมไทยเริ่มตั้งคำถามว่าใครมีคุณธรรม ใครเห็นแก่ตัว แต่การตั้งคำถามที่ไร้กระบวนการและทิศทางเช่นนี้ กว่าจะหาคำตอบได้สุดท้ายน้ำท่วมก็ลด น้ำปากก็หมด คนก็ลืม เรื่องที่ปะทะกันก็แล้วไป ไว้อีกห้าหกปีค่อยว่ากันใหม่ แต่ลองคิดไกลไปอีกขั้น หากประชาชนที่เชื่อว่าตนตกเป็นเหยื่อน้ำท่วมอย่างสาหัสมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะว่ารัฐได้กั้นน้ำเพื่อปกป้องประชาชนอีกส่วน จะถือว่าประชาชนส่วนแรก “ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” และนำคดีไปฟ้องศาลได้หรือไม่ ? หรือประชาชนต้องจำยอมเชื่อข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่บอกว่าต้องยอมให้ท่วม โดยไม่อาจโต้แย้งหรือตรวจสอบได้ รอได้แต่ค่าช่วยเหลือชดเชย ? หรือประชาชนจำต้องกลับไปตั้งศาล ณ บัลลังก์คันดิน (ซึ่งอาจลามไปถึงบัลลังก์คอนกรีต) แล้วบังคับคดีเรียกหาความยุติธรรมด้วยตนเอง ? หากน้ำไม่ท่วมศาลไปเสียก่อน ช่องทางแสวงหาความยุติธรรม ณ บัลลังก์ศาลปกครองก็พอมีอยู่ โดยประชาชนผู้ได้รับความเสียหายอาจมอบอำนาจยื่นฟ้อง นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กรมชลประทาน และฟ้องเผื่อไปถึง คปภ. (คณะกรรมการบริหารจัดการแก้ปัญหาอุทกภัยนโคลนถล่มและภัยแล้ง) กปภ.ช. (คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบริหารน้ำ ด้วยเหตุว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหลายได้มีข้อสั่งการ มติ คำสั่ง หรือกระทำทางปกครองอันนำไปสู่หรือมีผลกัก กั้น ปล่อย หรือจัดการน้ำในบางบริเวณจนผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายอย่างสาหัสเกินกว่าที่ควรเป็นนั้น ถือเป็นการกระทำทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ว่า “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” นั้น อาจฟ้องว่าเพราะ “มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และขอให้ศาลสั่งห้ามการกระทำลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อสำคัญ คือ มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ได้ให้อำนาจศาลสามารถบังคับสั่งห้ามการกระทำไปถึงอนาคตได้ อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขเพื่อความเป็นธรรมเฉพาะกรณีได้อีกด้วย นอกจากจะฟ้องเรื่อง “การเลือกปฏิบัติ” แล้ว หากจะฟ้องเรื่องการ “ละเลยต่อหน้าที่” หรือ “ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร” (เช่น หน้าที่การระบายน้ำเพื่อป้องปัดภัยพิบัติ การให้ข้อมูลหรือสั่งอพยพ การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา ฯลฯ) หรือ “การกระทำละเมิดหรือรับผิดอย่างอื่น” (เช่น เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดความเสียหายในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน ฯลฯ) ก็อาจฟ้องไปพร้อมกัน อีกทั้งการฟ้องคดีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะย่อมไม่ติดข้อจำกัดเรื่องอายุความตาม มาตรา ๕๒ แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ แต่ใช่ว่าฟ้องไปแล้วศาลจะต้องรับฟ้อง ศาลปกครองอาจไม่รับฟ้องโดยอธิบายว่า การบริหารจัดการน้ำในยามอุทกภัยไม่ถือเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง แต่เป็นการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินหรือเป็นเรื่องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล หรืออธิบายว่าคดีนี้ไม่สามารถกำหนดคำบังคับคดีได้ หรือหากฟ้องช้า ก็อาจอธิบายว่าการกระทำทางข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นไปแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือศาลอาจพิจารณาว่าการแก้ไขปัญหายังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนและสั่งการไม่แล้วเสร็จ ศาลจึงอาจไม่รับคดีไว้พิจารณา เป็นต้น มีตัวอย่างคดีที่ประชาชนเคยโต้แย้งมติรัฐมนตรีเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติ ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โดยเห็นว่าเป็นกรณีที่ฝ่ายบริหารกระทำการในฐานะที่เป็นรัฐบาล เป็นเพียงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ศาลปกครองจึงมิอาจตรวจสอบได้โดยสภาพ อย่างไรก็ดี ศาลปกครองสูงสุดกลับเห็นว่า การใช้อำนาจทางปกครองเพื่อปฏิบัติตามนโยบายคณะรัฐมนตรีนั้น ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียย่อมโต้แย้งได้ จึงมีคำสั่งให้รับคดีดังกล่าวไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๗๒/๒๕๕๑) สุดท้ายแม้ศาลรับฟ้อง ก็ยังมีปัญหาว่า “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” หรือการกระทำที่ไม่ชอบนั้นเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาควบคู่กับหลักกฎหมายปกครองอื่นอย่างไร เช่น หลักความได้สัดส่วนและสมควรแก่เหตุ หลักคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือหลักความชัดเจนแน่นอนและคาดหมายได้จากการกระทำทางปกครอง หลักกฎหมายเหล่านี้ ตลอดจนบทบัญญัติบางมาตราของกฎหมายฉุกเฉิน เช่น มาตรา ๑๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ (หากมีการประกาศใช้) หรือ มาตรา ๔๓ แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ เปิดช่องให้ศาลชั่งน้ำหนักว่า ฝ่ายปกครองได้แก้ปัญหาตามความจำเป็นและสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น ทำไปเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงและเศรษฐกิจของชาติ การรักษาเมืองหลวงเพื่อเป็นศูนย์ในการช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศ ฯลฯ ซึ่งจะฟังขึ้นหรือไม่เช่นใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับดุลพินิจที่ศาลจะไต่สวนฟังความจากทุกฝ่าย ไม่ใช่ให้ใครผูกขาดความเป็นธรรมตามอำเภอใจแต่ผู้เดียว ผู้เขียนพึงตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้ ข้อสังเกตประการแรก อาจมีผู้ถามว่า “ฟ้องไปแล้วได้อะไรขึ้นมา ?” “ฟ้องเพื่อให้ทุกคนถูกท่วมด้วยกันหรือ ?” ผู้เขียนตอบว่า การฟ้องคดีจะสำเร็จหรือมีผลออกมาเช่นใดนั้น ผู้เขียนไม่ติดใจมากเท่ากับการสนับสนุนให้ประชาชนคนไทยตื่นตัวกับสิทธิเสรีภาพที่ตนมีอยู่ และไม่ขยาดกลัว “กระบวนการประชาธิปไตย” ที่ประกันให้ทุกคนในสังคมมีสิทธิและช่องทางในการเรียกร้องความเป็นธรรมด้วยตนเองอย่างเท่าเทียมกัน การเผชิญหน้าอย่างสันติผ่านกระบวนการกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ตัวเลือกสำรองของการใช้ “กฎหมู่” หรือ “กฎแห่งความอาทรเมตตา” ที่แคบกว้างตามอำเภอใจของแต่ละบุคคล หรือแม้แต่ “กฎแห่งกรรม” ที่อาจอยู่เหนือการควบคุม แน่นอนว่าในวิกฤตปัจจุบันย่อมไม่มีใครอยากให้ใครถูกน้ำท่วม แต่คงไม่เป็นธรรมหากจะบอกว่าคนถูกท่วมกับคนไม่ถูกท่วมมีสิทธิคิดแทนกันได้ ไม่ว่าสุดท้ายผลแห่งคดีจะออกมาเช่นใด หากศาลรับฟ้อง ทุกฝ่ายย่อมได้ประโยชน์จากการอาศัยกระบวนการยุติธรรมเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและฟังความทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม ศาลสามารถเรียกพยานและเอกสารรวมถึงข้อมูลที่ภาครัฐเก็บไว้มาไต่สวน ซึ่งประชาชนผู้ฟ้องก็จะได้ร่วมตรวจสอบ ตลอดจนนำความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์การแก้ปัญหาในต่างประเทศมาสนับสนุนหักล้างให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาได้ สมควรกล่าวเพิ่มว่า การอาศัยกระบวนการยุติธรรมเพื่อ “แสวงหาข้อเท็จจริง” จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ประชาชนไม่อาจหวังพึ่งภาครัฐ สื่อมวลชน หรือนักวิชาการได้เท่าที่ควร เห็นได้จากข้อถกเถียงบางส่วนที่ยังวกวนและไม่กระจ่าง ณ เวลานี้ อาทิ - จริงหรือไม่ว่า ความรุนแรงและความยืดเยื้อของวิกฤตที่ประชาชนในบางพื้นที่ต้องถูกน้ำท่วมสูงเป็นเวลานานเป็นเพราะภาครัฐเลือกปฏิบัติช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่บางส่วนโดยการไม่ปล่อยให้น้ำระบายออกตามธรรมชาติโดยสะดวก ? และจริงหรือไม่ว่า การปล่อยให้น้ำท่วมทุกพื้นที่ก็มิได้ทำให้นำท่วมจุดใดลดน้อยลง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่มิได้ออกแบบมาให้ระบายน้ำหลากนอกแม่น้ำ อีกทั้งมวลน้ำจากภาคเหนือมีมหาศาล การยอมให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ก็มิได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ? - จริงหรือไม่ว่า ภาครัฐได้ละเลยการบริหารจัดการน้ำโดยกักน้ำในเขื่อนไว้มากและนานเกินไปตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ และต่อมาในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีการจัดการปล่อยน้ำให้ทันการณ์ ? และจริงหรือไม่ว่าเป็นเพราะมีเหตุให้เชื่อว่าจำเป็นต้องกักน้ำจำนวนมากไว้กันแล้ง ? - จริงหรือไม่ว่า รัฐบาลได้เลือกปฏิบัติโดยทุ่มงบประมาณวัสดุก่อสร้างคันหรือเขื่อนกั้นน้ำให้แข็งแรงและทนทานเฉพาะบางพื้นที่ ในขณะที่บางพื้นที่กลับได้รับการสนับสนุนที่ขาดแคลนไม่เท่าเทียมกัน (เทียบคันดินกับคันคอนกรีต) หรือแม้แต่ “กองเรือผลักดันน้ำครั้งใหญ่ที่สุดในโลก” นั้น หากมีประโยชน์ตามที่อ้างจริง ย่อมต้องไม่เลือกปฏิบัติจัดเฉพาะที่ปลายน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น แต่ต้องขับน้ำจากภาคกลางตอนบนเพื่อเร่งผลักมวลน้ำลงมาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มวลน้ำที่สมทบจากภาคเหนือจะสูงขึ้น ? - จริงหรือไม่ว่า เขตอุตสาหกรรมที่จมน้ำไปหลายแห่งนั้น บางแห่งได้รับการเลือกปฏิบัติให้ความคุ้มกันดูแลหนาแน่นเป็นพิเศษยิ่งกว่าที่อื่น (แม้สุดท้ายจะรักษาไว้ไม่ได้ก็ตาม) เพราะเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับสูงมีส่วนได้เสียกับกำไรของเขตอุตสาหกรรมนั้น ในขณะที่หลายพื้นที่กลับไม่ได้รับการแจ้งเตือนและถูกละเลย ? - จริงหรือไม่ว่า การบริหารน้ำที่เลือกปฏิบัติและผิดพลาดเป็นผลมาจากการที่เจ้าหน้าที่บางหน่วยงาน ไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่หรือให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ เพราะเกรงกลัวอิทธิพลทางการเมืองที่โยงใยกับผลประโยชน์ของพื้นที่บางบริเวณ และงบประมาณในการเตรียมการรับมือน้ำท่วมกลับถูกย้ายไปใช้เพื่อการอื่น ? ฯลฯ ผู้เขียนไม่ปักใจว่าคำตอบของคำถามข้างต้นจะต้องเป็นอย่างไร และไม่อาจทราบได้ว่าเป็นเพียงข้ออ้างข้อสงสัยที่ลึกซึ้งหรือเลื่อนลอย ขณะเดียวกันก็เห็นใจประชาชนที่อัดอั้นและต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมไม่น้อยไปกว่าที่เห็นใจภาครัฐและฝ่ายปกครองตลอดจนกองทัพที่เหน็ดเหนื่อยกับการพยายามแก้ปัญหาให้ดีที่สุด มีหลายคดีในอดีตที่ฝ่ายปกครองพยายามผันระบายน้ำ แต่เมื่อไม่อาจทำให้ถูกใจทุกคนก็ถูกฟ้องหลายคดี เชื่อเหลือเกินว่าหากทำให้ไม่มีใครถูกท่วมได้ ภาครัฐก็คงกระทำไปแล้ว กระนั้นก็ดี ผู้เขียนจำต้องย้ำว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ระบบการต่อว่าให้ร้ายว่าใครผิดใครถูก แต่เป็นกระบวนการนำความจริงมาเปิดเผย โต้แย้ง และตรวจสอบอย่างเป็นระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่อาจผิดพลาด ถูกปิดบังหรือถูกละเลย ผู้ที่ชนะคดีในทางกฎหมาย ใช่ว่าจะต้องชนะในทางความเป็นจริงเสมอไป ตรงกันข้าม การที่ศาลไม่รับฟ้องคดีจนประชาชนไร้ที่พึ่งนั้น อาจจุดประกายการต่อสู้ทางประชาธิปไตยเพื่อปฏิรูปสังคมก็เป็นได้ ข้อสังเกตประการที่สอง รัฐธรรมนูญได้ประกัน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “ความเสมอภาค” ให้คนไทยทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าจะในยามแล้งหรือยามน้ำหลาก ไม่ว่าจะรวยจนหรืออยู่ ณ จังหวัดใด แต่คำว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “ความเสมอภาค” นั้น ไม่ได้แปลว่า “ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกันทุกประการ” ตรงกันข้าม ยามใดที่ “ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน” ยามนั้น “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “ความเสมอภาค” ย่อมไม่หลงเหลือ ลองนึกถึงสังคมที่คนทุกคนไม่ว่า เด็กทารก มหาเศรษฐี หรือคนชราที่ตกงาน ต้องจ่ายภาษีเท่ากัน เกณฑ์ทหารพร้อมกัน และได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาลเท่ากัน ก็คงจะเห็นภาพปัญหาได้โดยไม่ต้องอธิบาย แต่การที่เด็กทารกกลับนำไปสู่สิทธิการหักภาษี หรือคนชราที่ตกงานได้รับเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาลมากกว่ามหาเศรษฐี ก็เป็นภาพการ “การเลือกปฏิบัติ” อย่างเป็นธรรมที่เราชินตา รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ ก็ใช้ถ้อยคำที่แสดงให้เห็นว่า “การเลือกปฏิบัติ” ไม่ใช่เป็นสิ่งต้องห้าม ดังที่บัญญัติว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้” เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้าม “การเลือกปฎิบัติ” ทั้งปวง แต่เจาะจงห้ามเฉพาะการเลือกปฎิบัติ “ที่ไม่เป็นธรรม” อีกทั้งยังต้องเกิดจาก “เหตุแห่งความแตกต่าง” เฉพาะตามที่กฎหมายระบุไว้ แม้กฎหมายจะใช้ถ้อยคำกินความทั่วไปแต่ก็ไม่ได้เปิดกว้างว่าจะเป็นเหตุอะไรก็ได้ เช่น หากรัฐจะเลือกปฏิบัติลดภาษีให้เฉพาะผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่องเพื่อกันการสมองไหลออกนอกประเทศ ก็อาจมีผู้เถียงว่าทำได้แน่นอน ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ บัญญัติต่อไปว่า “มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม...” หากสมมติ (arguendo) ว่า ศาลเห็นว่าการจัดการกักกั้นน้ำมีลักษณะ “เลือกปฏิบัติ” ขั้นต่อไปที่จะพิจารณาว่า “เป็นธรรมหรือไม่” นั้น ก็น่าคิดว่าการกักกั้นน้ำเพื่อปกป้องพื้นที่บางส่วนในประเทศจะถือว่าเป็นมาตรการที่ทำไปเพื่อ “ขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น” ตามหลักการใน รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ ได้หรือไม่ ? แน่นอนว่ามาตรการลดภาษีและดอกเบี้ย ชะลอหนี้สิน ลดค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ แก่ผู้ประสบภัยย่อมชอบด้วยหลักการนี้ แต่การเลือกปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการประกอบธุรกิจและเดินทางไปมาอย่างอิสระของคนส่วนหนึ่ง จะแลกด้วยการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เช่น ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือแม้แต่สิทธิในเคหสถานที่ต้องเสียหายหรือจมน้ำนานมากขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร ? เส้นวัดความสำคัญของสิทธิเสรีภาพแต่ละประเภทของบุคคลในแต่ละสถานการณ์อยู่ที่ใด ? หรือเส้นวัดนี้สามารถขยับเลื่อนได้โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือหรือค่าชดเชย แม้จะไม่มีผู้ใดอยากกลายเป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือชดเชยก็ตาม ? ศาลไทยพร้อมศึกษาประสบการณ์ของศาลต่างประเทศที่ใช้เวลาเป็นร้อยปีในการพัฒนาหลักเกณฑ์เหล่านี้แทนการตีความตัวบทลายลักษณ์อักษรตามอำเภอใจหรือไม่ ? หรือศาลไทยจะถือว่าเป็นคำถามที่กฎหมายควรละคำตอบไว้ให้ประชาชนอาศัยกระบวนการทางการเมืองเพื่อเรียนรู้และตัดสินใจตามกาลเวลา ? ประเด็นทางนิติศาสตร์ที่ท้าทายเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับประชาธิปไตยใดที่กำลังพัฒนา แม้คำตอบอาจไม่ชัดเจนทุกข้อ แต่สิ่งที่แน่ชัดในขั้นต้นก็คือ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘ วรรคสาม ประกอบกับมาตรา ๖๗ วรรคสาม ประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถยกสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคขึ้นอ้างได้โดยตรงด้วยตนเองเพื่อขอความคุ้มครองจากศาล และศาลก็ย่อมมีดุลพินิจว่าจะคุ้มครองอย่างไรให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย รวมถึงภาครัฐที่ต้องรับหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ผู้เขียนเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ของวิเศษสำเร็จรูปที่ดีพร้อม แต่ต้องผ่านการทดสอบ ปฏิบัติจริง และขัดเกลาพัฒนาตามกาลเวลา คำพูดมักง่ายที่ว่าผู้อยู่ในสถานะต่างกันย่อมได้รับการปฏิบัติที่ต่างกัน และต้องยอมรับสภาพนั้นเสมอไป จึงเป็นกรงความคิดที่คับแคบและตื้นเขินไม่ต่างไปจากปัญหาเรื่องรัฏฐาธิปัตย์รัฐประหารอันล้วนต้องอาศัยการพัฒนาขัดเกลาโดยสถาบันตุลาการที่ลึกซึ้ง หลักแหลมและแยบยล ซึ่งประชาชนอาจจะได้พึ่งพิงและตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปจากยามวิกฤตครั้งนี้ Sukree Sukplang Reuters
* * หมายเหตุ: นี่เป็นบางส่วนจากบทความเรื่อง น้ำขึ้นให้รีบตัก: พลิก “วิกฤติน้ำปากไหลหลาก” สู่ “โอกาสทางประชาธิปไตย” เผยแพร่ช่วงวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ เพื่อร่วมรำลึกถึงพระปิยมหาราชผู้ทรงริเริ่มพัฒนาการชลประทานของไทยให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ อ่านฉบับเต็มแบบ PDF
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนชี้ฟ้องรัฐบาลเรื่องน้ำท่วมได้ Posted: 22 Oct 2011 03:48 AM PDT 22 ต.ค. 54 - สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนออกแถงการณ์เรื่อง "หากประชาชนที่ถูกน้ำท่วมเห็นว่าได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากคำสั่งและความผิดพลาดในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อผู้สั่งการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้" โดยมีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เรื่อง หากประชาชนที่ถูกน้ำท่วมเห็นว่าได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากคำสั่งและความผิดพลาดในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อผู้สั่งการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ ........................................... เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าวิกฤตการณ์ปัญหา “น้ำท่วม” ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศ เกิดจากปัญหาที่หลายคนเชื่อว่าเป็นภัยตามธรรมชาติ ที่ไม่อาจป้องกันได้มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 54 ที่ผ่านมา แต่ระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมาน่าจะเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับน้ำหนักของการใช้เป็นข้ออ้างว่าเป็น “อุบัติภัย” ที่ไม่อาจป้องกันแก้ไขได้ตามกฎหมาย บัดนี้ระยะเวลาก้าวผ่านเข้าเดือนที่ 4 แล้วรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมีระยะเวลามากพอที่จะเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่ทว่าก็ยังไร้ความสามารถในการจัดการปัญหาให้กับประชาชนได้ ทำให้ประชาชนนับล้านคนได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย ซึ่งรัฐบาลก็แสดงให้เห็นถึงการขาดเอกภาพในการบริหารสั่งการ มีการให้ข่าวผ่านสื่อสารมวลชนอย่างสับสน โดยขาดข้อมูล ข้อเท็จจริง สร้างความโกลาหล และหวาดผวาไปทั่วทุกพื้นที่เสี่ยงภัย แทบทุกวัน ในขณะที่บางพื้นที่ยังไร้การเหลียวแลจากภาครัฐ ทั้งนี้การบริหารข้อมูลของรัฐบาลสับสน การสื่อสารกับประชาชนไม่มีประสิทธิภาพ วันนี้บอกอย่าง วันพรุ่งนี้บอกอีกอย่าง วันนี้บอกประชาชนว่าป้องกันแก้ไขปัญหาได้แล้ว อีกวันกลับออกมาบอกว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พร้อมขอโทษขอโพยประชาชน โดยไม่หันมาพิจารณาตัวเองว่าไร้ประสิทธิภาพในการบริหารหรือไม่ ปัจจุบันแม้รัฐบาลจะอ้างการใช้อำนาจสั่งการตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ในฐานะเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่หากในการปฏิบัติการตามหน้าที่ดังกล่าวได้สั่งการไป โดยขาดข้อมูลที่แท้จริง ก่อให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่ควรจะถูกน้ำท่วมจนสร้างความเดือดร้อนและเสียหายต่อชาวบ้านไปจนเกินสมควรแก่เหตุ ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้สั่งการย่อมมีความผิดและต้องรับผิดชอบต่อคำสั่งนั้น ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาด้วย ชาวบ้านหรือประชาชนท่านใด ครอบครัวใดที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากคำสั่งของรัฐในการบริหารจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐ หรือผู้ที่คิดว่าตนเองเสียหาย สามารถที่จะรวมตัวกันหรือแยกกันฟ้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อศาลปกครองได้ เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายทางทรัพย์สินต่าง ๆ ได้สูงสุด ตามที่กฎหมายแพ่ง และกฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบัญญัติได้ เพราะการสั่งการใด ๆ จำต้องมีความรับผิดชอบตามมาด้วย มิใช่เป็นการเอาชนะกันทางการเมืองเท่านั้น ผู้เดือดร้อนและเสียหายคนใดประสงค์จะร่วมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากภาครัฐ โปรดปริ๊นแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจได้ที่ www.thaisgwa.com เพื่อที่สมาคมฯจะได้เป็นผู้แทนดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้กับทุกท่าน ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ประกาศมา ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2554 นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ถึงน้ำไม่ลด" Posted: 22 Oct 2011 02:49 AM PDT | |
รายงานสถานการณ์จากศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัย 22 ตค.54 Posted: 21 Oct 2011 11:46 PM PDT สถานการณ์ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พื้นที่รองรับผู้อพยพศูนย์ดอนเมืองคนเต็มเกินเป้าแล้ว ส่วนที่ศูนย์ราชการขยายพื้นที่รองรับเพิ่ม ด้านแรงงานไทรอาร์ม นำกางเกงในชาย-หญิง 1,170 ตัวมอบให้ผู้อพยพ วันที่ 22 ต.ค.54 เวลา 10.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงาน ข้อมูลอัพเดตสถานการณ์ศูนย์พักพิงชั่งคราว ในเขต กทม.และปริมณฑลที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การสนับสนุนว่า บริเวณอาคาร เทอร์มินัล 2 สนามบินดอนเมือง ที่เดิมเตรียมไว้รองรับผู้อพยพ 2,500 คน ล่าสุดมีผู้อพยพ 3,200 คนแล้ว ในขณะที่ยังมีผู้อพยพทยอยเดินทางมาเข้าเรื่อยๆ ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการอพยพไปมาที่ดอนเมืองสามารถเปลี่ยนจุดหมายไปยังศูนย์พักพิงโรงเรียนสาระวิทยา บางเขน ซึ่งมีผู้อพยพอยู่ประมาณ 100 คน ยังสามารถรองรับได้อีก 400 คน และศูนย์พักพิงสถาบันราชภัฏธัญบุรี คลอง 6 ยังสามารถรับได้แต่ยังไม่ระบุจำนวน โดยทาง ศปภ.มีการจัดรถรับส่งจากอาคาร เทอร์มินัล 2 สนามบินดอนเมืองให้
ภาพโดย: ประชาไท
ศูนย์พักพิงวัดอู่ข้าว อ.คลองหลวง จ.ปทุมธาณี สามารถรับได้ 300คน ปัจจุบันมีผู้อพยพเพียง 78 คน ยังสามารถรับผู้เดือดร้อนได้อีก 228 คน ศูนย์พักพิงโรงเรียนทีปังกรรัศมีโชติ สามารถรับผู้อพยพได้ 500 คน ตอนนี้มีผู้อพยพเข้าไปอาศัยถึง 731 คน อีกทั้ง ในปัจจุบัน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ ได้ประกาศขยายพื้นที่รองรับเพิ่ม เนื่องจากเดิมศูนย์ราชการสามารถรองรับได้เพียง 650คน แต่ในปัจจุบัน มีผู้เดือดร้อนอพยพเข้าไปจำนวนถึง 1,359 คน และคาดว่าจะมีเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภาพโดย: เทวฤทธิ์ มณีฉาย ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในเวลาประมาณ 11.00น กลุ่มตัวแทนจากกลุ่มไทรอาร์ม (TRY ARM) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ถูกยกเลิกสัญญาการจ้างจากผู้ผลิตชุดชั้นในไทรอัมพ์ จำนวน 10 คน ได้นำชุดช้้นในชาย-หญิงที่ทางกลุ่มได้ทำการตัดเย็บจำนวน 1,170 ตัว มามอบให้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ภาคประชาชน ศูนย์อพยพอาคาร 2 สนามบินดอนเมือง โดยมีนายสมบัติ บุญงามอนงค์ อดีตประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงาเป็นตัวแทนรับมอบ หลังจากนั้นตัวแทนกลุ่มดังกล่าวก็ได้เข้าร่วมทำงานเป็นอาสาช่วยงาน ศปภ.ภาคประชาชนต่อไป
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 21 Oct 2011 07:49 PM PDT ส่วนสาเหตุที่รัฐบาลประกาศ พ.ร.บ.ป้องกันฯ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร ต้องไปถามรัฐบาล แต่ยืนยันว่า กทม.เปิดประตูระบายน้ำมาโดยตลอด แต่อาจเปิดได้ไม่เต็มที่ เพราะผมมีหน้าที่รับผิดชอบต่อชาวกทม. ไม่ใช่รับผิดชอบต่อคนทั้งชาติ หากถามความรู้สึกผม ถ้าจะให้ทำอะไรก็พร้อมทำทุกอย่าง ผมถวายชีวิตให้คนกทม.แล้ว แค่กฎหมายนี้ทำไมผมจะยอมรับไม่ได้ ผู้ว่าฯ กทม. เผยเมื่อก่อนเปิดประตูน้ำไม่เต็มที่ เพราะดูแล กทม. ไม่ใช่รับผิดชอบคนทั้งชาติ | |
"หม่อมปลื้ม" เทียบขบวนการ "Occupy Wall St." ที่สหรัฐฯ คือ "พันธมิตรฯ" บ้านเรา Posted: 21 Oct 2011 03:57 PM PDT “ม.ล.ปลื้ม" ชี้ขบวนการ “Occupy Wallstreet” ซึ่งถูกเชิดชูว่าเป็นขบวนการประชาชนต่อต้านรัฐที่ช่วยอุ้มพวกนายทุนนั้น มีความคล้ายกับขบวนการ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ในบ้านเรา เพราะเรียกร้อง “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” เหมือนกัน ในรายการ The Daily Dose ประจำวันที่ 21 ต.ค. 54 ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับขบวนการ Occupy Wallstreet ที่กำลังลุกลามไปสู่ อีกหลายๆ ประเทศ ทั้งในยุโรป และเอเซียแปซิฟิค ซึ่งล่าสุดมี 82 ประเทศแล้วนั้น ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ระบุว่าการลุกลามออกไปหลายประเทศที่กำลังเกิดขึ้น มีขบวนการและเครือข่ายประสานงานจัดตั้งมวลชนขึ้นมา แต่มวลชนที่ออกมาชุมนุมนั้นก็มีความประสงค์ที่จะมาชุมนุมในลักษณะนี้อยู่แล้ว ออกมาด้วยความสมัครใจ คนเหล่านี้ไม่ได้ถูก “ซื้อ” มาเพื่อ “ชุมนุม” แต่อย่างใด โดยคนที่ออกมาชุมนุมนั้นต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวว่าตนได้ลองมานั่งคิดดูว่ากลุ่ม Occupy Wallstreet นี้ ไม่พอใจกับเรื่องอะไร ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุหนึ่งนั้น กลุ่มคนเหล่านี้ไม่พอใจกับการบริหารงานของรัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush และ Barack Obama ที่นำเงินกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าไปอุ้มสถาบันการเงินให้อยู่รอดพ้นจากวิกฤตการเงินระลอกล่าสุด (Subprime crisis) ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่ก็สามารถอยู่รอดมาได้ (ยกเว้น Lehman Brothers) ทั้งนี้กลุ่มที่ออกมาประท้วงนั้นมองว่าพวกเขาซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ 99% นั้นกลับไม่ได้รับการช่วยเหลือจากเงินภาษีประชาชนที่นำเอาไปอุ้ม Wallstreet โดย ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวว่าเหตุผลนี้ดูจะเข้าใจได้ ดูเป็นเหตุเป็นผล และเป็นสิ่งที่รัฐบาลในกรุงวอชิงตันจะต้องฟังและนำไปพิจารณาในการปรับนโยบายที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจในแบบที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายมากขึ้น “ผมคิดว่าข้อเสนอของ Occupy Wallstreet ข้อนี้เป็นเหตุเป็นผลและเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการยอมรับจากรัฐบาลใหม่ ถ้าเกิด Obama แพ้การเลือกตั้ง และประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐได้รับเลือกตั้งมาแก้ไขปัญหาการว่างงานและอื่นๆ” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าว แต่ข้อเรียกร้องบางเรื่องนั้น ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวต่อไปว่าก็ไม่เข้าใจว่ากลุ่ม Occupy Wallstreet เรียกร้องเรื่องอะไร บางทีจะบอกว่านายธนาคารนั้นร่ำรวยเกินไป มันก็เป็นเรื่องของนักธุรกิจที่ประกอบธุรกิจที่ต้องแสวงหากำไร ให้บริษัทของตัวเองมีรายได้สูง ให้ตนเองร่ำรวย มีโบนัส มีเงินเดือน ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะเราอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ต้องแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเศรษฐกิจระบบทุนนิยมในสหรัฐฯ อยู่แล้ว “บางเรื่องมันก็มีเหตุมีผล บางเรื่องผมก็ไม่รู้ว่าเขาจะบ่นไปทำไม มันจะแก้อะไรได้” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าว เมื่อย้อนกลับมาดูเมืองไทย ม.ล.ณัฏฐกรณ์ แสดงทัศนะว่าการชุมนุมของกลุ่ม Occupy Wallstreet นั้นมีความคล้ายคลึงกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) มากกว่าการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และที่สหรัฐฯ เองนั้นก็มีม็อบสองม็อบเช่นเดียวกับบ้านเรา โดยก่อนหน้านั้นมีการชุมนุมของกลุ่ม Tea Party ซึ่งเชียร์พรรครีพับลิกัน ส่วนกลุ่ม Occupy Wallstreet ก็อาจจะสนับสนุนพรรคเดโมแครตมากกว่า แต่ทั้งนี้กลุ่ม Occupy Wallstreet ก็ไม่ได้ชอบพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ พวกเขาไม่ชอบรัฐบาลใดก็ตามที่เข้ามาแล้วไปอุ้มสถาบันการเงิน อุ้มชนชั้นนายทุน และไปช่วยให้ไม่มีการกำกับดูแลการบริหารงานของสถาบันการเงินใหญ่ๆ ไปเปิดให้มีความเสรีมากเกินไป สำหรับสถาบันการเงินต่างๆ ที่ดูเหมือนเอาเปรียบประชาชนและเอาเปรียบผู้บริโภค “แต่ว่าผมว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเขาคงไม่ได้เชียร์พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ถ้าให้เขาเลือกผมคิดว่าเขาอาจจะเลือกพรรคเดโมแครต” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าว ถึงแม้บางคนจะเปรียบเทียบว่าการชุมนุมของกลุ่ม Occupy Wallstreet นั้นเหมือนกับกลุ่ม นปช. เพราะว่ามีแนวคิดที่เสรีนิยม แต่ในส่วนตน ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กลับมองว่าการชุมนุมของกลุ่ม Occupy Wallstreet นั้นเหมือนกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ มากกว่า เพราะว่าในที่สุด สิ่งที่เรียกร้องนั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และก็ไม่เหมาะสมกับประเทศ เพราะเมื่อย้อนไปดูการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งแต่ปี 48 เป็นต้นมา ล้วนแล้วแต่เป็นการเรียกร้องขอรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นการเรียกร้องที่ต้องการให้มีการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่อาจจะต้องดึงกองทัพ หรือดึงองค์กรอื่นๆ เข้ามา เช่น ตุลาการ เพื่อเข้ามาจัดการ เพื่อเข้ามาประหารรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง ที่มาจากประชาชน ทั้งนี้ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวต่อไปว่าถึงแม้สิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ เรียกร้องดังที่ได้กล่าวไปนั้น จะไม่ใช่สิ่งที่กลุ่ม Occupy Wallstreet เรียกร้อง แต่กลุ่ม Occupy Wallstreet ก็ได้เรียกร้องสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ในสังคมของสหรัฐฯ เช่นกัน ตนเห็นว่าการเรียกร้องให้มีการลดความเหลื่อมล้ำในสหรัฐฯ ตามข้อเสนอของกลุ่ม Occupy Wallstreet นั้นมันไม่มีทางเกิดขึ้น และถ้ามันเกิดขึ้นตนก็ไม่เชื่อว่ามันจะดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วยซ้ำไป “มองข้ามชอร์ตไปกลุ่ม Occupy Wallstreet ได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจในการปกครองประเทศในสหรัฐฯ ในแบบที่พวกเขาก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าถ้าเป็นแบบไหนแล้วมันจะดีกว่าในปัจจุบัน … คือถ้าไม่มีรัฐบาลของ Bush ไม่มีรัฐบาลของ Obama แล้วมันจะเป็นรัฐบาลแบบไหน เข้ามาแบบไหน ที่จะดีกับประชาชนอเมริกันส่วนใหญ่อีก 99%” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าว เพราะฉะนั้นสิ่งที่กลุ่ม Occupy Wallstreet เรียกร้องมันจึงเป็นไปไม่ได้ แล้วถ้านำมาปฏิบัติมันอาจจะไม่มีผลดีต่อการเมืองและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็ได้ ซึ่งคล้ายกับสิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ ได้เรียกร้องในบ้านเรา แต่ทั้งนี้ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวว่าตามทัศนะของตนถึงแม้การเคลื่อนไหวของกลุ่ม Occupy Wallstreet จะเหมือนกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มากกว่ากลุ่ม นปช. แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันบางเรื่องเท่านั้น ไม่ใช่ทุกเรื่อง ส่วนกลุ่ม นปช. นั้น ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทียบว่ามีความเหมือนกับกลุ่ม Tea Party ในบางเรื่องเหมือนกัน เช่น สื่อกระแสหลักของสหรัฐฯ เองก็มีการโจมตีการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Tea Party เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. ในบ้านเรา ทั้งๆ ที่จริงแล้วในการเคลื่อนไหวนั้นมันมีหลักการ และก็มีแนวคิดที่ควรจะได้รับการปฏิบัติโดยรัฐบาล แต่ว่ากลับถูกมองว่าเป็นฝ่ายที่ออกมาสร้างความวุ่นวายตั้งแต่แรก ทั้งนี้ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ กล่าวว่าการเปรียบเทียบนี้เป็นเพียงมุมมองของตนเอง ถ้าหลายคนไม่เห็นด้วยก็ให้ลองนำไปคิดดู เพราะตนมองว่าการเปรียบเทียบเรื่องนี้มีความหมายสำหรับการมองเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น