ประชาไท | Prachatai3.info |
- รายงาน: ผู้ต้องขัง ม.112 ตกสำรวจ และรวมปฏิทินคดีหมิ่นพระบรมเดชานภาพ
- ‘เครือข่ายคนจนฯ’ จี้ผู้ว่าฯภูเก็ต ยุติใช้ พ.ร.บ.อาคารฯ ไล่รื้อชุมชน
- ตั้งสมาคมสื่อมวลชนชายแดนใต้ ‘ตูแวดานียา มือรีงิง’ นายกฯคนแรก
- กระทรวงต่างประเทศออกแถลงการณ์ชี้แจง หลัง 'ยูเอ็น' เรียกร้องไทยแก้กม. หมิ่น -พ.ร.บ. คอมพ์
- เปิดรากภาพยนตร์มาเลย์ จากอินเดียสู่ชาตินิยมมลายู
- ‘นิว แมนดาลา’ ปล่อยตอน 2: 'ศาสนา' กับสามจังหวัดชายแดนใต้
- บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม
- เมาท์มอย: พจนานุกรมไทยไม่มีคำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” และน้ำท่วมเป็นเรื่องเวรกรรม?
- ธนาคารโลก ระบุเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จำเป็นต้องปรับปรุง ‘อุดมศึกษา’
- ชาวเมืองหยอเผยถูกทหารพม่าบังคับเกณฑ์แรงงานต่อเนื่อง
- รองนายกฯ ร่ำไห้ 'ไฮเทค' ส่อจม ศปภ. แถลง กทม.ฝั่งเหนือเตรียมอพยพ ก่อนย้ำ แค่ 'เตรียม'
- พรรค SNLD ไทใหญ่ผิดหวังทางการพม่าไม่ปล่อยตัว "เจ้าเสือแท่น"
- จำคุก 'จินตนา' 4 เดือนกับการแลกสิทธิชุมชน-สิทธิสิ่งแวดล้อมกลับคืนมา นับว่าคุ้มยิ่ง
- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: 100 ปี จาก "ปฏิวัติจีน" ของ (หมอ) ดร.ซุนยัตเซ็น ถึง "กบฏ ร.ศ.130" ของหมอเหล็งในสยาม (1911-2011 หรือ 2454- 2554)
- 70 ปี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับคณะนิติราษฎร์ (1)
รายงาน: ผู้ต้องขัง ม.112 ตกสำรวจ และรวมปฏิทินคดีหมิ่นพระบรมเดชานภาพ Posted: 13 Oct 2011 10:17 AM PDT สถานการณ์ของนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้ในเวทีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศ หรือยูพีอาร์ (UPR - Universal Periodic Review) ที่เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อต้นตุลาคมที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่หยิบยกปัญหา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จนกลายเป็นประเด็นฮอตในเวทีโลก สิทธิการประกันตัวยังเป็นปัญหาที่ถูกพูดถึงมากจากทุกส่วน สถิติสูงสุดของการยื่นประกันตัวของผู้ต้องหาคดีนี้อยู่ที่ 10 ครั้ง และหลักทรัพย์สูงราว 2 ล้านบาท มีผู้ต้องหาเพียงส่วนน้อย (มาก) ที่ได้รับสิทธิการประกันตัว แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงอยู่ในเรือนจำจนปัจจุบัน ในที่นี้จะกล่าวถึงกรณีล่าสุด (?) ที่เพิ่งถูกคุมขัง กับกรณีที่ไม่เคยเป็นที่รับรู้ ซึ่งศาลพิพากษาโทษจำคุก 10 ปี ส่วนในตอนสุดท้ายจะเป็นตารางกำหนดการการพิจารณาคดีของผู้ต้องหารายต่างๆ คนสิงคโปร์ ใบปลิว และโทษจำคุก 10 ปี วันชัย (ขอสงวนนามสกุล) ชายชาวสิงคโปร์ วัยใกล้ 60 ปีหรืออาจ 60 กว่าปี เขาอยู่เมืองไทยมากว่า 30 ปี พูดภาษาไทยได้ชัดเจน ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 6 เม.ย.52 ที่บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล ขณะนั้นมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เขาเอาเอกสารใบปลิว 3 แผ่น 6 หน้า มาแจกผู้ชุมนุม ชื่อว่า “พระไตรปิฎก ฉบับแก้แค้น” ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองหลังรัฐประหารอย่างรุนแรง อันที่จริง เขาเริ่มเขียนเอกสารดังกล่าวตั้งแต่เกิดเหตุการณ์บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเป็นช่วงพีคของความโกรธแค้น เนื่องจากเขามีอาชีพเป็นมัคคุเทศน์มาตลอดชีวิตในเมืองไทย เอกสารที่เขาเขียนเวอร์ชั่นแรกหนา 50 กว่าหน้า แต่เมื่อซีรอกซ์แจกผู้คนแล้วพบว่าไม่ค่อยมีใครอยากได้เอกสารหนาๆ จึงปรับเป็นใบปลิวแทน โดยตระเวนแจกตามสถาบันการศึกษา 10 กว่าแห่ง ด้วยคาดหวังว่าที่นั่นจะเต็มไปด้วยผู้อุดมปัญญาและพร้อมถกเถียง วันชัย มีภรรยาเป็นคนไทย ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันราว 15 ปี แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน เธอมีอาชีพขายเสื้อผ้าเล็กๆ น้อยๆ ตัวเขาสนใจการเมือง โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์เพราะมีอาชีพเป็นมัคคุเทศน์ แต่ช่วงหลังชักไพล่มาอ่านประวัติศาสตร์การเมือง เขามักคุยโวว่าอ่านหนังสือประวัติศาสตร์มานับไม่ถ้วน และนับถือพระเจ้าตากสินเป็นพิเศษ เขาเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า เขาไม่ได้สังกัดกลุ่มใด และเคยไปฟังเวทีปราศรัยของ นปช.เพียง 2-3 ครั้ง ในวันเกิดเหตุ เขาต้องการไปแจกใบปลิวที่ธรรมศาสตร์ แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด จึงตัดสินใจไปแจกในที่ชุมนุมแทน จนกระทั่งการ์ดของ นปช.ที่ดูแลบริเวณที่ชุมนุมได้จับตัวเขาส่งตำรวจ หลังจากเห็นข้อความในเอกสาร เขาเสียใจและโกรธแค้น นปช.อย่างมาก และยืนยันว่าแม้จะใช้ถ้อยคำรุนแรง แต่เขามีเหตุผล เขายืนยันเช่นนั้นอีกในวันพิจารณาคดีแต่ศาลไม่อนุญาตให้เขาได้อธิบาย ทั้งยังพิจารณาคดีแบบปิดลับ แม้แต่ภรรยาก็ต้องออกไปรอนอกห้องพิจารณา เขาไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวตั้งแต่วันที่ตำรวจฝากขัง กระทั่งศาลพิพากษาเขาเมื่อวันที่ 26 ก.พ.53 สั่งลงโทษจำคุก 10 ปี ริบของกลาง คำฟ้องระบุว่า “เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2552 เวลากลางวัน จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระมหากษัตริย์โดยกระทำการแจกเอกสารให้ประชาชนจำนวนหลายคนซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเอกสารขึ้นต้นมีข้อความว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อันเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ และมีข้อความที่ปรากฎในเอกสารเป็นการ กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาที่ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ เหตุเกิดที่แขวง-เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ,33” คำพิพากษาระบุว่า “จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลย นอกจากจะเป็นความผิดร้ายแรงที่กระทำต่อองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นประมุขและทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของประชาชนทั้งประเทศตลอดมาเป็นเวลาช้านานแล้ว การกระทำของจำเลยยังมีผลกระทบต่อความรู้สึกของปวงชนชาวไทยทั้งมวลอย่างรุนแรง สมควรต้องระวางโทษในขั้นสูง จึงกำหนดโทษจำคุก 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบในชั้นพิจารณาก็ถือได้ว่าเป็นการรับว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดตามฟ้อง เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาทางคดีอยู่บ้าง กรณีมีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสาม ตาม ปอ.ม.78 คงจำคุกจำเลยมีกำหนด 10 ปี ริบของกลางทั้งหมด.” อีกไม่กี่วันถัดมาหลังคำพิพากษาในคดีแรก ในวันที่ 5 มี.ค.53 อัยการสั่งฟ้องเขาในคดีลักษณะเดียกันอีก 1 คดี โดยศาลเพิ่งพิพากษาลงโทษจำคุก 5 ปี ไปเมื่อวัน 28 ก.พ.54 นี้เอง แต่เป็นการให้นับโทษต่อจากคดีเดิม เพดานโทษจำคุกจึงยังอยู่ที่ 10 ปี เช่นเดิม คำฟ้องระบุว่า “เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลากลางวัน จำเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยการนำเอกสารซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปวางไว้บริเวณอาคาร 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เหตุเกิดที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112” คำพิพากษาระบุว่า “พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุก 10 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 5 ปี ให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากคดีอาญา หมายเลขแดงที่ อ. 754/2553 ของศาลอาญา ริบของกลาง.” อาจเพราะเขาเครียดจากโทษของคดีแรก และความเครียดจากสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำ ซึ่งเขาระบุว่ากินไม่ค่อยได้ นอนไม่เคยหลับ ทำให้เขาแสดงอารมณ์โกรธ และพูดจาวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงภายในศาล กระทั่งถูกส่งไปสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ซึ่งเป็นสถานบำบัดผู้ป่วยจิตเวช เขาอยู่ที่นั่นเกือบ 2 เดือน ก่อนศาลจะพิพากษาคดี ปัจจุบันวันชัยถูกจำคุกอยู่ที่แดน 4 เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยมีภรรยาคอยเยี่ยมเสมอ แต่ช่วงหลังๆ เธอเริ่มเงียบหายไป โดยวันชัยก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
โปรแกรมเมอร์ เฟซบุ๊ก และความหวังในการประกันตัว สุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) วัย 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ให้กับบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เขาเพิ่งเปิดบริษัทใหม่ได้ไม่ถึงเดือนในวันที่โดนเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมาทางเทคโนโลยี (ปอท.) นับสิบนายบุกเข้าจับกุม เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าเขาเป็นผู้ทำเพจ “เราจะครองแผ่นดินโดย...” [เซ็นเซอร์โดยประชาไท] ใช้นามแฝงว่า “ดอกอ้อริมโขง” ซึ่งปรากฏข้อความเข้าข่ายหมิ่นฯ เจ้าตัวให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา อย่างไรก็ตาม สุรภักดิ์ ระบุกับผู้ใกล้ชิดว่า ในการตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์แบบพกพาอีก 1 เครื่องนั้น เขาพยายามติดต่อพยานเพื่อมาดูและกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งขอติดต่อทนายความ แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธและยึดโทรศัพท์มือถือไป กระทั่งนำตัวมาสอบสวนที่ ปอท. จึงได้พบทนายความ เขายังระบุอีกว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีหลักฐานอย่างชัดเจนในการกล่าวหาเขาแต่อย่างใด เพียงแต่ระบุว่า มีนักศึกษาไปร้องทุกข์กล่าวโทษเกี่ยวกับเพจนี้ แล้วจากนั้นก็มีพยานอีก 1 คนที่ระบุเชื่อมโยงตัวเขาเข้ากับเพจดังกล่าว สุรภักดิ์ เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ก่อนจะถูกจับกุม กำลังพัฒนาโปรแกรม ERP (Enterprise resource planning) ให้กับบริษัทเอกชน 2 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าเกือบ 6 ล้านบาท พัฒนาไปกว่า 40% แล้วและยังค้างอยู่ การฝากขังผลัดที่ 4 จะครบกำหนดในวันที่ 20 ต.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าทางครอบครัวจะยื่นประกันตัวอีกครั้ง หลังจากยื่นประกันมาแล้วทุกครั้งที่มีการฝากขัง แต่ได้รับการปฏิเสธ
ปฏิทินผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ*
17 ต.ค.54 ดารณี ศาลนัดฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีพิจารณาคดีลับขัด รธน.? 9 พ.ย.54 โจ กอร์ดอน หรือเลอพงษ์ พิพากษา 23 พ.ย.54 อำพล (SMS) พิพากษา 6 ธ.ค.54 (ศาลทหาร) ชนินทร์ (ทหารอากาศ) สืบพยานโจกท์ 14-16 ก.พ.55 จีรนุช (ผอ.ประชาไท) สืบพยานจำเลย 17-20 ก.ค. 55 เอกชัย (ขายซีดี ABC) สืบพยานโจกท์-จำเลย 21 พ.ย.54 – 4 พ.ค.55 สมยศ (บก.Red Power) สืบพยานโจทก์-จำเลย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 21 พ.ย.54 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดสระแก้ว) 19 ธ.ค.54 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดเพชรบูรณ์) 16 ม.ค.55 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดนครสวรรค์) 13 ก.พ.55 สืบพยานโจทก์ (จังหวัดสงขลา) 18-20, 24-26 เม.ย.55 สืบพยานโจกท์ (กรุงเทพฯ) 1-4 พ.ค.55 สืบพยานจำเลย 5-8, 12-15 มิ.ย.55 สุรชัย (กลุ่มแดงสยาม)** สืบพยานโจกท์-จำเลย
*ทุกคดีพิจารณาคดีที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เวลา 9.00 น. ยกเว้นกรณีที่ระบุไว้เป็นการเฉพาะภายในวงเล็บ **กรณีสุรชัยมีหลายคดี ซึ่งมีความคืบหน้าทางคดีแตกต่างกันดังตารางด้านล่าง (ขอบคุณข้อมูลจากคุณซาร่า)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
‘เครือข่ายคนจนฯ’ จี้ผู้ว่าฯภูเก็ต ยุติใช้ พ.ร.บ.อาคารฯ ไล่รื้อชุมชน Posted: 13 Oct 2011 10:16 AM PDT เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 12 ตุลาคม 2554 ที่ชุมชนท่าเรือใหม่รัษฎา ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ขบวน Car Rally วันที่อยู่อาศัยโลก 2554 ภาคใต้ ที่เดินทางข้ามจังหวัดต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 มีนางอัญชลี วานิชเทพบุตร และนายเรวัต อารีรอบ 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมชาวบ้านจาก 14 จังหวัดภาคใต้ เดินทางมาร่วมงานประมาณ 400 คน นายเรวัต กล่าวในงานวันที่อยู่อาศัย 2554 ภาคใค้ว่า เมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้เข้าคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับปัญหาพิพาทกับชาวบ้านกับพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ เขตป่าอนุรักษ์ เพื่อหาทางออก โดยอาจจะเปิดให้ชาวบ้านเช่าในราคาถูก “หากรัฐบาลชุดนี้ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องโฉนดชุมชน ผมกับคุณอัญชลี จะหาหนทางแก้ไขปัญหานี้เอง โดยประสานงานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต เพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาของชุมชนให้ได้ แม้จะติดขัดกับข้อกฏหมายก็ตาม” นายเรวัต กล่าว นางอัญชลี กล่าวต่อผู้มาร่วมงานว่า ชุมชนไหนในจังหวัดภูเก็ตที่ต้องการผลักดันเกี่ยวกับนโยบายโฉนดชุมชนต่อคณะรัฐมนตรี สามารถประสานงานกับทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยเป็นคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ในรัฐบาลชุดที่ผ่านมาให้ดำเนินการเรื่องนี้ได้ ทางพรรคประชาธิปัตย์พร้อมจะประสานคณะรัฐมนตรีชุดนี้ให้ เวลา 09.30 น. มีการจัดเวทีเสวนา “ย้อนมองการพัฒนา สังคม ชุมชน ท้องถิ่น นโยบายกับความเป็นจริง” เกี่ยวกับการจัดการที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยสู่การจัดการกองทุนเมือง สวัสดิการชุมชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นายขนิฐ คงทอง ตัวแทนเครือข่ายที่ดินภาคใต้ นางวารุณี ธารารัตนากุล ตัวแทนเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดภูเก็ต นางละออ ชาญกาญจน์ ตัวแทนเครือข่ายเมืองสงขลา นายสมยศ วิจักขณาวุธ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีนายสุวัฒน์ คงแป้น ผู้ชำนาญการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) นำเสวนา ต่อมา เวลา 11.25 น.นางสาวฒุฒิพร ทิพย์วงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต ได้ยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผ่านนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เนื้อหาข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตของเครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต ประกอบด้วย ขอให้ชุมชนในเครือข่ายฯ สามารถขอรับการพัฒนา หรืออนุญาตให้ชุมชนสามารถพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ โดยเฉพาะน้ำประปา ไฟฟ้า ถนน คูระบายน้ำ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนโดยเร่งด่วน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอและจังหวัดได้ ให้หน่วยงานรัฐยุติการดำเนินคดีกับชาวชุมชน ในการแก้ปัญหาของแต่ละชุมชนให้มีการเจรจาโดยมีตัวแทนของเครือข่ายฯ เข้าร่วมทุกครั้ง ให้ยุติการไล่รื้อชุมชนในทันที โดยเฉพาะการใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เป็นเครื่องมือในการไล่รื้อชุมชน ชุมชนที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีให้สามารถพัฒนาชุมชนได้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น และให้ดำเนินการตามมติที่มีการพิสูจน์สิทธิที่ดินแล้ว โดยหน่วยงานของรัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และให้ทางจังหวัดใช้มาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ สำหรับกลุ่มชาวเล (5 ชุมชนในจังหวัดภูเก็ต) ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนดั้งเดิมของเมือง และมีการพัฒนาและแก้ปัญหาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ต่อมา เวลา 12.00 น. นายสมเกียรติ และผู้ร่วมงานร่วมปลูกป่าชายเลน และปล่อยปูลงสู่ทะเล ปิดงานวันที่อยู่อาศัยโลก 2554 ของภาคใต้ อัญชลี วานิชเทพบุตร, เรวัต อารีรอบ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตั้งสมาคมสื่อมวลชนชายแดนใต้ ‘ตูแวดานียา มือรีงิง’ นายกฯคนแรก Posted: 13 Oct 2011 10:10 AM PDT นายระพี มามะ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) จังหวัดนราธิวาส ในฐานะว่าที่กรรมการและเลขานุการสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มผู้สื่อข่าวหลายแขนงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะร่วมจัดตั้งสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา โดยจะมีนายตูแวดานียา มือรีงิง เป็นนายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้คนแรก ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม นายระพี เปิดเผยต่อไปว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา สำนักข่าวอามานนิวส์ อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี ได้จัดประชุมเพื่อจัดตั้งสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งที่ 2 โดยมีการร่างระเบียบข้อบังคับเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะจัดตั้งเป็นสมาคมอย่างเป็นทางการได้ไม่เกิน 2 เดือน นายระพี เปิดเผยด้วยว่า สำหรับกรรมการสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยตัวแทนสื่อแขนงต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ และอื่นๆ ส่วนสมาชิกของสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยสื่อมวลชนที่อยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนสื่อนอกพื้นที่ หรือสื่อต่างๆประเทศ แต่มีบุคลากรที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกได้เช่นกัน นายระพี เปิดเผยว่า สำหรับสาเหตุที่จะตั้งสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จำนวนมาก แต่ยังไม่มีการรวมตัวเป็นองค์กรที่เข้มแข็งของสื่อ ตนในฐานะเลขานุการสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสมาคมนี้ขึ้นมา จึงได้ชักชวนสื่อต่างๆในพื้นที่มาร่วมกันจัดตั้งสมาคมนี้ขึ้นมา นายระพี เปิดเผยว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา เนื่องจากที่ผ่านมาการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกโจมตีเยอะว่า นำเสนอข่าวข้างเดียว ดังนั้น การตั้งสมาคมขึ้นมา ก็เพื่อจะให้เป็นแกนหลักในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป โดยในอนาคตอาจจะต้องมีพื้นที่ของสมาคมเองโดยเฉพาะในการนำเสนอข้อเท็จจริงและการสร้างความเข้าใจทั้งในภาคสื่อมวลชนเองหรือในภาคสังคม แต่สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง “เราต้องการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ปี 2547 มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ซึ่งทุกเหตุการณ์ล้วนผ่านสายตาของสื่อ ดังนั้นในฐานะที่พวกเราเป็นคนในพื้นที่อยู่ด้วย เราจึงต้องการมีส่วนในการสร้างสันติสุขด้วย โดยไม่ต้องรอภาครัฐอย่างเดียว” นายระพี กล่าว นายระพี เปิดเผยว่า สำหรับที่ตั้งของสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะตั้งอยู่ที่สำนักข่าวอามาน อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี ส่วนในจังหวัดนราธิวาสจะมีสำนักงานอยู่ที่ชุมชนยะกัง ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส ส่วนที่จังหวัดยะลา สงขลาและสตูล คาดว่าจะมีสำนักงานตั้งอยู่ด้วยในอนาคต สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กระทรวงต่างประเทศออกแถลงการณ์ชี้แจง หลัง 'ยูเอ็น' เรียกร้องไทยแก้กม. หมิ่น -พ.ร.บ. คอมพ์ Posted: 13 Oct 2011 10:08 AM PDT กระทรวงต่างประเทศออกแถลงการณ์ชี้แจง หลัง 'แฟรงค์ ลา รู' ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออกของ 'ยูเอ็น' เรียกร้องให้ไทยแก้ กม. อาญามาตรา 112 -พ.ร.บ. คอมพ์ ยอมรับกฎหมายดังกล่าวมีปัญหาจริง พร้อมแจง รบ. กำลังดำเนินการป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด สืบเนื่องจากเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (10 ต.ค. 54) 'แฟรงค์ ลา รู' ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยสากลนั้น วันนี้ กระทรวงต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงต่อสาธารณะในประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย "มิใช่กฎหมายพิเศษ หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายอาญา เพื่อเป็นกลไกคุ้มครองพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง" ในลักษณะเดียวกับการให้ความคุ้มครองต่อบุคคลทั่วไป ต่างเพียงแค่พระมหากษัตริย์มิได้อยู่ในสถานะที่จะฟ้องร้องบุคคลใดได้ เนื่องจากอยู่เหนือความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศยอมรับว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์ที่กฎหมายดังกล่าวถูกใช้ไปในทางที่ผิด ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทางรัฐบาลจึงได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งผลให้คดีที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอจำนวนมากตกไป นอกจากนี้ ยังระบุว่า ในส่วนของพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องขอหมายศาลก่อนดำเนินการใดๆ ทำให้ป้องการการใช้กฎหมายดังกล่าวในทางละเมิดสิทธิ นอกจากนี้ ยังอยู่ในการพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วย
0000 แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศ 13 ตุลาคม 2554 อ้างถึงแถลงการณ์ของนาย Frank La Rue ผู้เสนอรายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการปกป้องและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2554 เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทย กระทรวงการต่างประเทศขอให้ข้อมูล ดังนี้ ในฐานะสังคมเสรีประชาธิปไตย ประเทศไทยให้ความสำคัญกับความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย ซึ่งมิใช่กฎหมายพิเศษ หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายอาญา เพื่อเป็นกลไกคุ้มครองพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง กฎหมายดังกล่าวให้ความคุ้มครองต่อสิทธิส่วนพระองค์และชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทน ในลักษณะเดียวกับที่กฎหมายหมิ่นประมาท – ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา – ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ความแตกต่างอยู่ที่ภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญของไทย สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่เหนือความขัดแย้งใด ๆ ไม่อยู่ในสถานะที่จะฟ้องร้องประชาชนของพระองค์เองได้ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพด้านวิชาการ อย่างไรก็ดี เมื่อใดที่คำวิพากษ์วิจารณ์หรือความคิดเห็นกลายมาเป็นข้อกล่าวหา บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องพร้อมจะรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของตน ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปไม่ว่าผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายของการถูกกล่าวหาจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้กระนั้นก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้ปรากฏการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฯ ในการเป็นกลไกเพื่อคุ้มครองพระเกียรติของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ซึ่งในบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนด้วยเช่นกัน รัฐบาลตระหนักถึงศักยภาพของประเด็นปัญหาดังกล่าว และมุ่งที่จะป้องกันการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในทางที่ไม่ถูกต้อง ในการนี้ จึงได้มีการดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณากลั่นกรองคำร้องต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีมาตรฐานที่ชัดเจนต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฯ ส่งผลให้คำร้องจำนวนมากตกไป เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าขาดหลักฐานที่เพียงพอ สำหรับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีขึ้นเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการห้ามชั่วคราวการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันและระงับการแพร่กระจายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ต อนึ่ง เพื่อป้องกันการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับคำสั่งศาลก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข โดยรัฐบาลจะรวบรวมความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ที่ผ่านมา หลายภาคส่วนในสังคมไทยได้มีการหารือและจัดโต้เวทีเชิงวิชาการเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การโต้เวทีดังกล่าวได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าวต่อไป กระทรวงต่างประเทศออกแถลงการณ์ชี้แจง หลัง 'แฟรงค์ ลา รู' ผู้ตรวจการพิเศษด้านเสรีภาพการแสดงออกของ 'ยูเอ็น' เรียกร้องให้ไทยแก้ กม. อาญามาตรา 112 -พ.ร.บ. คอมพ์ ยอมรับกฎหมายดังกล่าวมีปัญหาจริง พร้อมแจง รบ. กำลังดำเนินการป้องกันการใช้กฎหมายดังกล่าวในทางที่ผิด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดรากภาพยนตร์มาเลย์ จากอินเดียสู่ชาตินิยมมลายู Posted: 13 Oct 2011 10:04 AM PDT
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล กองทุนวรรณกรรมไทย–มลายู โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดเสวนาเรื่อง “วรรณกรรม ดนตรี บริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย” หนึ่งในโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ร่องรอยกาลเวลา : อ่าวปัตตานี ร้อยมาลัยใส่เสียงวรรณกรรม” เมื่อเวลา 9.00–11.00 น. วันที่ 29 กันยายน 2554 ที่ห้องประชุมคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นายจิรวัฒน์ แสงทอง อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวต่อวงเสวนาว่า แนวคิดเรื่องความเป็นมลายูแท้จริงคืออะไร เป็นประเด็นปัญหาที่ยังคลุมเครือตลอดตั้งแต่ยุคอาณานิคมจนถึงปัจจุบัน ความคลุมเครือดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาการนิยามภาพยนตร์มลายูไม่ต่างกัน การเขียนประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มลายู/มาเลเซีย มักระบุให้การจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง Laila Majnun โดยบัลเดน สิงห์ รัจฮันส์ ผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ชาวอินเดีย เมื่อปี 1934 ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการสร้างสรรค์ภาพยนตร์มลายู นายจิรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อพิจารณากระบวนการสร้างและตัวภาพยนตร์เรื่อง Leila Majnun พบว่า นอกจากบริษัทผู้สร้างจะมาจากบอมเบย์ ประเทศอินเดียแล้ว ทีมงานทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่เป็นชาวอินเดีย ขณะที่ผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ก็เป็นชาวอินเดีย จากปัญจาบ ในส่วนของเนื้อเรื่องก็เป็นการดัดแปลงจากภาพยนตร์อินเดียมาสร้างใหม่ เนื้อหานำมาจากนิทานอาหรับอีกทอดหนึ่ง การนำเสนอในภาพยนตร์ก็มีฉากเต้นรำ ที่ระบุชัดเจนว่า เป็นระบำอาหรับและอียิปต์ นายจิรวัฒน์ กล่าวอีกว่า ดูเหมือนจะมีเพียงดารา และภาษาที่ใช้ในภาพยนตร์เท่านั้น ที่แสดงออกถึงความเป็นมลายู เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบเหล่านี้ การนิยามความเป็นมลายูในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว จึงมีปัญหาไม่น้อย ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้การเขียนประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มลายู จะยอมรับ Leila Majnun เป็นภาพยนตร์เรื่องแรก แต่การให้การยกย่องคุณูปการของผู้กำกับภาพยนตร์อินเดียอย่างค่อนข้างจำกัด ในประวัติศาสตร์ฉบับทางการ ก็เหมือนจะสะท้อนให้เห็นภาวะอิหลักอิเหลื่อ อันเกิดจากความคลุมเครือของการนิยามดังกล่าวนี้ กล่าวคือ ปัญหาความอิหลักอิเหลื่อเกิดขึ้น เมื่ออุดมการณ์มลายูนิยมเพิ่มสูงขึ้นในกระบวนการสร้างชาติ และหลังจากกำเนิดชาติมาเลเซีย “ก่อนจะถึงช่วงเวลาดังกล่าว ความเป็นมลายูยังเปิดกว้างต่อการนิยาม และมีความลื่นไหลสูง ชนต่างเชื้อชาติได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอความเป็นมลายูในภาพยนตร์ได้อย่างไม่ขัดเขิน และอภิสิทธิ์เหนือความเป็นมลายู ยังไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคาบสมุทรมลายู ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของชาติมาเลเซียในเวลาต่อมา ความเป็นมลายูที่เด่นชัดที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าวคือ ภาษาที่แพร่กระจายข้ามพ้นพรมแดนของรัฐอาณานิคม” นายจิรวัฒน์ กล่าว นายจิรวัฒน์ กล่าวว่า ด้วยการลงทุนทางด้านการผลิตภาพยนตร์ในช่วงอาณานิคม หนังมาเลเซียมักจะมีลักษณะเป็นเรื่องของความผูกพันต่อชาติ เช่น การนำเสนอให้เห็นถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น ในมิติความเป็นมลายู และการใช้ภาษามลายูในหนัง แม้ในอดีตตัวละครฮังตั๊ว(Hang Tuah) จะเป็นฮีโร่เก่าแก่ของประเทศมาเลเซีย แต่กลับมีผู้กำกับการแสดงเป็นคนอินเดีย ทั้งดาราส่วนใหญ่ในช่วงยุคแรกของหนังมลายู ก็ถูกคัดเลือกมาจากคณะละครเวที “เห็นได้ชัดเจนจากคณะละครเร่ที่มีชื่อว่า Bangsawan หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม Malay Opera ซึ่งมีทั้งละคร ดนตรี มายากล กายกรรม มีทั้งลักษณะการแสดงแบบยุโรป และแบบท้องถิ่น ใช้ภาษามลายูในการแสดง รูปแบบการแสดงได้รับอิทธิพลจากประเทศอาณานิคมในยุคนั้น และในช่วงหลังมีนักแสดงจากทั่วทุกมุมโลกมารวมอยู่ในคณะ Bangsawan ปี 1930 อุดมการณ์ชาตินิยมเริ่มก่อตัวมากขึ้น ทำให้เกิดการกลืนวัฒนธรรมที่เคยมีความหลากหลายของชนต่างเชื้อชาติ จนมีการครอบงำของวัฒนธรรมของเชื้อชาติเดียวไป” นายจิรวัฒน์ กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
‘นิว แมนดาลา’ ปล่อยตอน 2: 'ศาสนา' กับสามจังหวัดชายแดนใต้ Posted: 13 Oct 2011 09:47 AM PDT เว็บไซต์นิวแมนดาลา ซึ่งเป็นเว็บไซต์อภิปรายเรื่องสังคม การเมือง วัฒนธรรมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เปิดตัววีดีโอซีรีส์ชุดใหม่ในหัวข้อ ‘ชาติ ศาสน์ กษัตริย์’ เปิดพื้นที่พูดคุยในประเด็นสามเสาหลักของประเทศไทย ผ่านมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยมีผู้ร่วมสนทนาเป็นนักวิชาการแถวหน้าทั้งไทยและต่างประเทศ อาทิเช่น ผาสุก พงษ์ไพจิตร, คริส เบเกอร์, แอนดรูว์ วอล์กเกอร์, เดส บอล, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ในตอนที่สองของซีรีส์ชุดนี้ มีวิทยากรรับเชิญ อาทิ ศาสตราจารย์เดส บอลล์ จากศูนย์ยุทธศาสตร์และความมั่นคงศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอันเดอรส์ เองวัลล์ จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งสต็อกโฮล์ม โดยมุ่งอภิปรายปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังดำเนินอยู่อย่างยืดเยื้อ ผ่านมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตอนที่ 2 ของซีรีส์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” (ผู้ชมสามารถเลือกคลิก ‘cc’ เพื่อเปิดคำบรรยายภาษาไทย) นิโคลัส ฟาร์เรลลี นักวิจัยประจำวิทยาลัยเอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และหนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์นิวแมนดาลา ให้สัมภาษณ์ว่า เหตุผลที่ผู้จัดทำเลือกที่จะหยิบเอาประเด็นสามจังหวัดภาคใต้มาอภิปรายในหัวข้อ ‘ศาสนา’ เพราะเขาเห็นว่าปัญหานี้เป็นความท้าทายหลักทางศาสนาและวัฒนธรรมที่รัฐบาลไทยทุกสมัยต้องเผชิญและจัดการ ดังจะเห็นจากในรอบสิบปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงแล้วกว่า 4,000 คน รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบและบอบช้ำอีกนับไม่ถ้วน “พื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จึงเปรียบเป็นเหมือนแผลลึกของชาติไทย ซึ่งเปราะบางต่อการถูกใช้ประโยชน์จากกลุ่มที่มีวาระคุลมเครือ” ฟาร์เรลลี่กล่าว เขาเสริมด้วยว่าปัญหานี้ ยังอยู่ในความสนใจของแวดวงนักวิชาการ ไม่เพียงแต่ในออสเตรเลียเท่านั้น แต่ยังเป็นที่สนใจของนักวิชาการทั่วโลกด้วย เนื่องจากเป็นความสนใจสากลในประเด็นการก่อการร้ายและลัทธิสุดโต่งที่มาในทุกรูปแบบ ทั้งนี้ เขาชี้ว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว มีลักษณะที่น่าสนใจ คือมีลักษณะเป็นสงครามกลางเมืองที่มีผู้ก่อเหตุเป็นกลุ่มอาชญากรรมทางการเมือง มีการฆ่าแบบอุกอาจ ซึ่งมีที่มาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจด้วยส่วนหนึ่ง ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หนึ่งในวิทยากรของซีรีส์ตอนนี้ กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ทำงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และได้สัมผัสกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน นักการเมือง กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และเจ้าหน้าที่รัฐ เธอเสนอว่า รัฐบาลควรหันมาให้ความสนใจกับปัญหานี้จริงจัง โดยมุ่งการปฏิรูปโครงสร้างทางการปกครอง เปิดเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ และเห็นปัญหาของการใช้กฎหมายพิเศษในสามจังหวัด “นี่เป็นปัญหาที่น่ากังวลมากที่สุด แต่มันกลับเป็นเรื่องที่ไม่ว่ารัฐบาลไหนๆ ก็ไม่อยากจะแตะ ถ้าหากรัฐบาลไหนมีความกล้าหาญพอที่จะจัดการกับข้อเสนอดังกล่าวได้ มันอาจจะแก้ปัญหาทางศาสนา เชื้อชาติ และความคับแค้นให้บรรเทาลงได้” ดวงยิหวากล่าวในเว็บไซต์นิวแมนดาลา ฟาร์เรลลี่กล่าวส่งท้ายว่า เช่นเดียวกับการอภิปรายในตอนอื่นๆ นักวิชาการเหล่านี้ จะให้มุมมองที่อิสระและตรงไปตรงมาต่อประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้อ่านสามารถนำไปขบคิดต่อ และเป็นรากฐานในการอภิปรายในเรื่องต่อไปที่ว่าด้วย “กษัตริย์” ซึ่งเป็นตอนที่สามของซีรีส์ชุดนี้ด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม Posted: 13 Oct 2011 09:25 AM PDT เมื่อนานมาแล้ว ปี พ.ศ. 2538 น้ำท่วมประเทศไทย ผมเขียนหนังสือร้อยพันปัญหาในการก่อสร้างเล่มที่ 3 เรื่อง “บ้านหลังน้ำท่วม” โดยมีเป้าหมายในการให้คนที่มีทุกข์จากการถูกน้ำท่วม ทราบแนวทางในการปรับปรุงบ้านของตนเองอย่างถูกวิธี และประหยัดงบประมาณ ซึ่งเป็นหนังสือที่ไม่มีลิขสิทธิ์ใดๆ จึงมีผู้จัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายไปเป็นจำนวนหลายแสนเล่ม มาถึงวันนี้ คนไทยทั้งหลายเข้าใจเรื่องน้ำท่วมมากขึ้น ศึกษาข่าวสารบนความไม่ประมาทมากขึ้น และเริ่มมีการ “เตรียมตัว” เพื่อจัดเตรียมบ้านให้พร้อมก่อนที่น้ำจะมา จึงขอเขียนบันทึก “บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม” แบบสั้นกระชับนี้ขึ้น ซึ่งหวังว่าคงจะพอมีประโยชน์ครับ ขอให้หลับตาแล้วนึกภาพถึงว่าเรากำลัง “เตรียมเมืองรับศึกสงคราม” นะครับ 1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง ขอให้คิดว่าเราเหมือนกำลังตั้งค่ายคูประตูหอรบอยู่ เราต้องรู้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีเราทางทิศใดได้บ้าง และหากเกิดความพลาดพลั้งขึ้นมา เราจะหนีไปทางไหนได้บ้าง ซึ่งข้าศึกอาจจะเข้ามาตีเราหลายทางก็ได้ และเราก็อาจจะมีทางหนีไปหลายทางก็ได้ บางครั้งข้าศึกไม่ได้มาตีแค่ 2-3 ทาง แต่ทำการ “ล้อม” เราเอาไว้ทุกด้านก็ได้ ทำให้ทางหนีของเราถูกปิดกั้นไว้หมด หากเมื่อรู้แนวทางเหล่านั้นแล้ว ก็ขอให้เริ่มวางแผนที่จะ “หยุดน้ำ หยุดข้าศึกที่จะเข้ามาโจมตีเรา” ซึ่งการหยุดยั้งน้ำหรือข้าศึกนั้น มีหลายวิธีที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการ “สร้างเขื่อนชั่วคราว” ด้วยกระสอบทราย หรือเอาแผ่นวัสดุใดๆ มากั้นก็ได้ การปิดกั้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งใช้ความเข้าใจพื้นฐาน บวกกับสอบหาข้อมูล ก็จะพอทราบกันเองได้ครับ 2. กำแพงบ้านไว้กันน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพังนะครับ ตามปกติแล้ว รั้วบ้านที่เป็นคอนกรีตหรือก่ออิฐ จะเปรียบเสมือนกำแพงเมืองที่จะกันน้ำไม่ให้เข้ามาในบ้านของเรา แต่เราต้องไม่ลืมว่าน้ำหนักของน้ำที่ขังหรือถาโถมเข้ามากดที่ด้านข้างของกำแพงรั้วเรา จะทำให้รั้วบ้านของเราเกิดการเอียง หรือแตกร้าว หรือพังลงมากได้ เพราะรั้วบ้านทั่วไป วิศวกรท่านจะไม่ได้ออกแบบไว้ให้รับแรงหรือน้ำหนักที่กระทำด้านข้างได้มากนัก ทางป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ เราหากระสอบทรายมาวางไว้อีกด้านหนึ่งของรั้วบ้านเรา (ในบ้านเรา) วางไว้ติดชิดกับรั้วไปเลย ยามเมื่อรั้วจะเอียงเพราะว่าน้ำที่ท่วมกดน้ำหนักมาอีกด้านหนึ่ง กระสอบทรายก็จะทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักเอาไว้ ถ่ายแรงจากรั้วมา รั้วก็ยังตั้งตรงอยู่ได้ “กำแพงเมืองของเราก็ไม่แตก หรือล้มครืนลงมา” ครับผม 3. น่าจะมี “ปืน” ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับ “รูรั่ว” บ้านหลายหลังที่มีรู มีรอยแตกเล็กๆ ตามผนังหรือช่องหน้าต่าง ตามรอยต่อของผนังกับเสาและคาน หรือแม้แต่ตามรั้วบ้าน ซึ่งบางครั้งเราไม่มีเวลา (หรืองบประมาณ) ที่จะแก้ไขได้ที่ต้นเหตุ จะตามช่างมาซ่อมแซมหรือก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หรือไม่ทันเวลาเสียแล้ว ดังนั้น เราก็น่าจะมีวัสดุอุดประสานรอยจำพวก ซิลิโคน หรือ อะคริลิค หรือ โพลี่ยูริเทน เอาไว้ เพื่ออุดรอยเหล่านี้ ซึ่งเราน่าจะทำได้ด้วยตัวเอง (โดยเฉพาะในจังหวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรืออยากจะฝึกตัวเองเป็นช่างบ้าง) แต่การที่เราจะใช้วัสดุ ประสานที่มีความยืดหยุ่นและอยู่ในหลอดแข็งๆนี้ได้ เราจะต้องมีอุปกรณ์การ "ฉีด" ซึ่งภาษาช่างทั่วไปเขาเรียกกันว่า "ปืน" ซึ่งราคาไม่แพงเลยครับ บางครั้ง ท่านอาจจะต้อง "พกปืน" ไว้ในบ้านของท่านสักชุด เพื่อช่วยเหลือตัวเองในการต่อสู้ ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในบ้านของเราครับ 4. อย่าให้ต้นไม้ล้มทับบ้าน ยามน้ำท่วมและพายุมา ต้นไม้ทั้งหลายที่อยู่ในบ้านหรือใกล้บ้านเราจะเป็นอันตรายยามมีพายุมา เพราะต้นไม้อาจจะล้ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูก เพราะต้นไม้เหล่านั้นไม่มี “รากแก้ว” ครับ) หรือ กิ่งต้นไม้บางประเภทที่ค่อนข้างเปราะ (เช่น ต้นประดู่กิ่งอ่อน) อาจจะหักลงมาสู่ตัวบ้านเรา ต้องทำการเล็มกิ่งหรือตัดกิ่งบางกิ่งออกไปเสีย ยามเมื่อน้ำท่วม ระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก (หรือน้ำท่วมเข้ามาได้จริงๆ) รากของต้นไม้จะแช่น้ำเป็นเวลานาน รากต้นไม้จะเน่าได้ แล้วความสามารถในการยึดเกาะกับดินก็จะน้อยลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีรากแก้ว) ต้นไม้ก็อาจจะล้มลงได้ ต้องทำการค้ำยันลำต้นเอาไว้ให้ดี ก่อนน้ำจะท่วมครับ สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องการให้ปุ๋ย ซึ่งตอนที่น้ำท่วมห้ามให้ปุ๋ยต้นไม้ครับ เพราะจะทำให้รากเน่าเร็วขึ้น (ต้นไม้ที่โดนน้ำท่วมก็เหมือนคนป่วย เขาไม่ต้องการอาหารดีๆ (แต่ย่อยยาก) ครับ ขอให้หายป่วยเสียก่อนค่อยกินอาหารดีๆ เยอะๆได้ครับ) 5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดิน บ้านใครมีถังน้ำใต้ดิน ต้องตรวจสอบ “ฝา” ของถังน้ำให้ดีๆ เพราะเวลาน้ำท่วม ถังน้ำจะอยู่ใต้น้ำด้วย หากฝาของถังน้ำมีระบบป้องกันน้ำเข้าไม่ดี น้ำสกปรกที่ท่วมเข้ามา ก็จะไปปนกับน้ำสะอาดในถังน้ำของเรา ปัญหาเรื่องโรคภัยต่างๆ ก็จะตามเข้ามาหาตัวเราโดยทันทีครับ หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำเล็ดลอดเข้ามาในถังของเราได้ ก็ขอให้ต่อท่อน้ำตรงจากท่อประปาหน้าบ้านเรา เข้ามาที่ตัวบ้านของเราเลย (โดยปกติแล้ว บ้านที่มีถังน้ำใต้ดินจะมีวาล์วหมุนเปิดทางให้น้ำประปาจากหน้าบ้านเรา วิ่งผ่านตรงเข้ามาในบ้านโดยไม่ลงไปที่ถังน้ำใต้ดินได้ ต้องหาวาล์วตัวนี้ให้เจอ แล้วต่อตรงเข้ามาเลยดีกว่า น้ำจะเบาลงหน่อย แต่ก็ยังเป็นน้ำสะอาดครับ) 6. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบ้าน ตัดกระแสไฟเสีย ภายนอกบ้านของเราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างเช่น ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ หรือแม้กระทั่งไฟสนาม และกริ่งหน้าบ้าน ต้องหาสวิตซ์ตัดไฟให้พบว่า จะต้องตัดไฟตรงไหนไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้ ยามเมื่อน้ำท่วมเข้ามา ต้องทำการตัดไฟตรงนั้นเสีย (แม้กระทั่งยามจะเข้านอน ถ้าไม่แน่ใจว่าน้ำจะท่วมเข้ามาตอนเราหลับอยู่หรือเปล่า ก็ต้องปิดสวิตซ์ไฟฟ้าของอุปกรณ์เหล่านั้นเสีย ตื่นมาตอนเช้า หากน้ำยังไม่ท่วม ก็ค่อยเปิดสวิตซ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งครับ) ส่วนการย้ายเครื่องมือย้ายอุปกรณ์เหล่านั้นในตอนนี้ หากแน่ใจว่าน้ำท่วมแน่ และมีช่างมาช่วยย้าย ก็อาจจะย้ายได้ แต่หากไม่มีช่างมาช่วย ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำเอง ก็อาจจะต้องยอมให้อุปกรณ์เหล่านั้นแช่น้ำไปก่อนตอนน้ำท่วม 7. ป้องกัน งู เงี้ยว เขี้ยว ขอ ตะกวด และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ยามน้ำท่วม มิใช่เพียงมนุษย์และสัตว์เลี้ยงของเราเท่านั้นที่ต้องหนีน้ำท่วม แต่เหล่าสัตว์ต่างๆ ก็ต้องหนีน้ำกันด้วย และการหนี้น้ำท่วมที่ดีที่สุด ก็คือการเข้ามาในบ้านของเรา เพราะบ้านของเราพยายามกันน้ำท่วมอย่างดีที่สุดแล้ว ปัญหาก็คือ เหล่าสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่ทั้งเลื้อยและทั้งคลานเข้ามาในบ้านเรา เป็นสิ่งที่เราไม่ต้อนรับ และอาจเป็นผู้ทำอันตรายเราด้วย ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่า “รู” ต่างๆของบ้านเราจะต้องโดน “อุด” เอาไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูที่ประตูหน้าต่าง หรือที่ผนังบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รูจากท่อระบายน้ำ” ที่พื้นบ้านของเรา (เขาชอบมาทางนี้กันครับ) บางท่านอาจจะมีการโรย “ปูนขาว” ล้อมรอบบ้านเอาไว้ด้วยก็ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าโรยรอบบ้านจริงๆ และ ไม่ถูกน้ำท่วม หรือถูกฝนชะล้างจนหายไปหมดครับ) เพราะปูนขาวจะกันสัตว์เหล่านี้ได้ครับ นอกจากนี้ก็น่าจะเตรียมยาฉีดกันแมลง ติดบ้านไว้ด้วยครับ 8. เรื่องส้วม ส้วม ส้วม สุขา สุขา เป็นเรื่องของความสุขที่เปลี่ยนไปเป็นความทุกข์ทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบส้วมที่เป็นระบบบ่อเกรอะ บ่อซึมแบบเดิม ที่น้ำจากการบำบัดจะต้องซึมออกสู่ดิน แต่พอน้ำท่วม น้ำจากดินภายนอกจะซึมเข้ามาในบ่อ ก็ทำให้บ่อเกรอะเต็มไปด้วยน้ำ ส้วมก็จะเกิดอาการ “อืด และ ราดไม่ลง” หากน้ำจากภายนอกท่วมมาก มีแรงดันมาก ก็อาจจะเกิดอาการ “ระเบิด” ทำให้สิ่งปฏิกูลต่างๆ พุ่งกลับมาที่โถส้วม ความสุขหายไป ความทุกข์ปล่อยออกไม่ได้ ในกรณีนี้ ต้องยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ต้องป้องกันไม่ให้สิ่งปฏิกูลทั้งหลายพุ่งกลับออกมาทางโถส้วม ต้องปิดโถส้วมให้ดี หากเป็นโถส้วมนั่งราบที่มีฝาปิด ก็ต้องปิดฝาให้แน่น เอาเชือกผูกเอาไว้ หากเกิดอาการพุ่งขึ้น ก็จะไม่เรี่ยราดทำความสะอาดยาก กรณีนี้ทำเฉพาะโถส้วมชั้นล่างก็พอ เพราะน้ำคงไม่ท่วมถึงชั้นสองครับ (เพราะหากท่วมถึงชั้นสอง เราคงไม่ได้อยู่ในบ้านได้แล้ว) กรณีที่เป็นบ่อบำบัดสำเร็จ ซึ่งเขาจะทำงานโดยไม่ต้องมีบ่อเกรอะบ่อซึม ในเวลาปกติเขาจะบำบัดจนเสร็จภายในถังเอง แล้วก็จะระบายน้ำที่บำบัดเสร็จแล้วลงท่อระบายน้ำนอกบ้านของเรา ยามเมื่อน้ำท่วม น้ำจากบ่อบำบัดจะไหลระบายออกไปไม่ได้ เพราะระดับน้ำที่ท่วมอยู่สูงกว่าบ่อบำบัด ซึ่งเป็นการแก้อะไรไม่ได้ ต้องปล่อยไว้อย่างนั้นครับ ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นจะมีมอเตอร์อัดอากาศเข้าไป (ซึ่งในบ้านส่วนใหญ่จะไม่ใช้รุ่นนี้) ก็ต้องตรวจดูว่ามอเตอร์อยู่ที่ไหน หากมอเตอร์น่าจะอยู่ในระดับที่น้ำท่วมถึง ก็ต้องตัดกระแสไฟไม่ให้เข้าไปสู่ตัวเครื่องกลนั้นครับ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังก็คือ “ท่อหายใจ” ที่เป็นท่อระบายอากาศของระบบส้วมของเรา ต้องมั่นใจว่าท่อหายใจนั้นจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่มีโอกาสท่วม หากท่อหายใจของเราอยู่ระดับต่ำ ก็ต้อง “ต่อท่อ” ให้มีระดับสูงขึ้นให้ได้ จะต่อแบบถาวรก็ได้ (หากมีช่างมาทำ หรือเราทำเป็น) หรือจะต่อแบบท่อไม่ถาวร ก็คือเอาสายยางธรรมดา มาครอบท่อหายใจเดิม แล้วก็ยกให้ปลายท่อนั้นอยู่สูงขึ้นกว่าระดับน้ำที่คาดหมายว่าจะท่วมครับ ท่อหายใจนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในการช่วยระบายความดันภายในระบบส้วมของเรา ไม่ให้สิ่งปฏิกูลมีแรงดันมากเกินไปครับ 9. ปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟ ตรวจสอบและแยกวงจร เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของบัญญัติ 20 ประการของบทความนี้ เพราะอันตรายที่มองไม่เห็นก็คือเรื่องของ “ไฟฟ้า” ครับ แต่ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตเสียแล้ว หากบ้านของเรามีการแยกวงจรไฟฟ้าไว้ตั้งแต่แรก คือวงจรไฟฟ้านอกบ้าน วงจรไฟฟ้าชั้นล่าง และวงจรไฟฟ้าชั้นบน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้านอกบ้านเมื่อน้ำท่วมนอกบ้าน หากน้ำสูงขึ้นมาจนเข้าในตัวบ้าน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้าชั้นล่าง หากน้ำสูงขึ้นถึงชั้นสอง น่าจะหาทางออกจากบ้านเพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว เพราะสวิตซ์หลักของบ้านโดยทั่วไปจะอยู่ที่ชั้นล่างระดับประมาณ 1.8 เมตรจากพื้นห้องครับ กรณีที่บ้านไหนโชคดี วงจรไฟฟ้าชั้นล่างแยกวงจรออกมาเป็นระดับปลั๊กด้านล่างและระดับสวิตซ์บน ก็ค่อยๆ ตัดวงจรปลั๊กชุดล่างก่อนตามระดับน้ำที่ท่วมขึ้นมา หากกรณีที่ไม่มีการจัดวงจรเอาไว้อย่างเป็นระบบตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เราต้องค่อยๆทำการทดสอบอย่างใจเย็นๆว่าปลั๊กหรือสวิตซ์ชุดใดจะมีการตัดวงจรไฟฟ้าจากคัทเอาท์หลักบ้าง แล้วทำโน้ตบันทึกเอาไว้ หากเมื่อน้ำท่วมเมื่อไร ก็จะได้ทราบว่าเราต้องตัดวงจรชุดใดก่อน (ตัดวงจรส่วนที่ถูกน้ำท่วม) อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากหน่อยที่จะตรวจสอบ แต่ก็ต้องใจเย็นๆและตั้งใจที่จะตรวจสอบครับ ในกรณีที่วงจรบางวงจรที่ควบคุมทั้งปลั๊กหรือสวิตซ์ตัวล่างกับปลั๊กหรือสวิตซ์ตัวบน ก็จำเป็นต้องตัดวงจรทั้งหมด ห้ามเสี่ยงโดยเด็ดขาดครับ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่สามารถขนย้ายได้ในตอนนี้ ก็อาจขนย้ายขึ้นไปไว้ชั้นบนก่อน ยังไม่ต้องใช้ตอนนี้ก็ได้เช่น เตาไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องตีไข่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องชาร์จโทรศัพท์ ฯลฯ ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังต้องใช้งานอยู่ ก็ต้องเตรียมการขนย้ายขึ้นข้างบนเอาไว้เลย เช่นเครื่องไมโครเวฟ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ การขนย้ายยุ่งยาก และหาที่วางยาก เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ก็ต้องวางแผนว่าจะเอาอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต หากยังใช้อยู่แล้วยามน้ำท่วมขึ้น จะมีคนช่วยขนหรือไม่ หรือจะทิ้งเอาไว้อย่างนั้น เรื่องไฟฟ้าเป็นอันตรายที่มองไม่เห็น และน้ำเป็น “สื่อไฟฟ้า” ด้วย ดังนั้นเรื่องไฟฟ้าในบ้าน จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องมีการตรวจสอบและเตรียมการครับ 10. ตรวจสอบว่าประตูหน้าต่างแน่นหนาและแข็งแรง เพราะว่าประตูบ้านของเรา (ไม่ว่าจะเป็นประตูที่รั้วบ้าน หรือประตูที่ตัวบ้านเรา) และหน้าต่าง เป็นจุดหนึ่งที่ถือว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด มีโอกาสที่จะบิด หรือเผยอตัว หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน หากมีแรงดันน้ำมากๆ ดันเข้ามา ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบความแข็งแรงให้ดี ต้องพยายามที่จะใช้ “กลอน” ช่วยรับน้ำหนักทางด้านข้างด้วย การลงกลอนในบานประตูและหน้าต่างที่ไม่ได้ใช้เป็นปกติธุระ น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะป้องกันน้ำวิ่งเข้ามาที่ตัวบ้านของเราได้ครับ หากหนักหนาจริงๆ ประตูหน้าต่างของเราดูจะอ่อนแอรับแรงดันน้ำไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องเอาไม้มาตีพาดขวางช่วยรับแรง หรือเอาของหนักๆมาวางช่วยดันประตูเอาไว้ (ต้องเป็นประตูด้านที่เราไม่ใช้โดยปกตินะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาตอนที่เราจะหนีออกจากบ้าน หรือตอนที่คนเขาจะเข้ามาช่วยเราในบ้าน ยามเกิดวิกฤติครับ) 11. เตรียมระบบสื่อสารทุกประเภทเอาไว้ให้พร้อม ระบบสื่อสารทุกอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นระบบโทรศัพท์ปกติหรือโทรศัพท์มือถือ ระบบอินเตอร์เน็ตทั้งมีสายและไร้สาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารพิเศษอย่างอื่น (เช่นระบบดาวเทียม วอร์คกี้ทอร์คกี้ เป็นต้น) เพราะการรับข่าวสาร และการติดตามข่าวสารเรื่องภัยน้ำท่วมที่จะมาถึงตัวเราเป็นเรื่องสำคัญ และไม่น่าจะเกิดความผิดพลาดในทุกวินาที และหากน้ำท่วมแล้ว การขอความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ณ วินาทีวิกฤตินั้นแน่นอน อีกทั้งระบบสื่อสารที่เรามีนั้น มิได้ใช้เพียงการที่เราช่วยตัวเอง แต่อาจจะมีผู้เดือดร้อนคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการคำปรึกษาจากเรา ก็สามารถติดต่อกับเราได้ ต้องคนละไม้คนละมือเสมอ ทุกคนล้วนลำบากทั้งสิ้นครับ 12. ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างมีความจำเป็นยามเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ จะต้องมีการชาร์จไฟไว้ให้เต็มร้อยตลอดเวลา เพราะยามน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าทั้งหมดอาจติดขัดครับ นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องชาร์จไฟให้เต็มที่แล้ว การใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเมื่อไฟฟ้าปกติไม่มา จะต้องประหยัดไฟด้วย เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำงานได้เต็มที่ยามฉุกเฉิน อีกทั้งต้องเตรียมอุปกรณ์อื่นเสริมอีกด้วย เช่นไม้ขีดไฟ เทียนไข เป็นต้น 13. ย้ายของทุกอย่างให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม ข้าวของในบ้านของเรา ไม่ใช่เพียงเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าเท่านั้นที่เราจะต้องมีการจัดการย้ายให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่ามีความสำคัญ และอาจจะเสียหายได้เมื่อมีน้ำท่วม ตั้งแต่รถยนต์ ถังกาซ เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ของขวัญ รูปภาพ ฯลฯ ขอให้ย้ายไปสู่ที่ที่เหมาะสม ซึ่งที่ที่เหมาะสมนั้นอาจจะอยู่ในตัวบ้านของเรา หรือจะย้ายออกไปเก็บไว้นอกบ้าน สถานที่อื่นที่คิดว่าปลอดภัย มีข้อมูลว่า เมื่อน้ำท่วม หลายคนเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากการ “ห่วงของ” ต้องลุยน้ำกลับไปกลับมาเพื่อขนของออกจากบ้าน และหลายครั้งที่ขนของออกมาแล้ว แต่ไม่มีที่วาง ก็จำต้องวางไว้ในที่ที่ไม่ปลอดภัย ปรากฏว่าของที่อุตส่าห์ขนออกมาด้วยความเสียดายหรือความผูกพันนั้น ถูกผู้ชั่วร้ายใจทรามขโมยต่อเอาไปอีกด้วย แต่ของที่เราจะย้ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นของทุกอย่างไปเลย เลือกเฉพาะที่เราคิดว่าต้องย้ายเท่านั้น ของบางอย่างที่แช่น้ำได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องขนย้ายก็ได้ 14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำให้เป็นประโยชน์ วัสดุส่วนใหญ่จะกลัวน้ำ หรือไม่สามารถที่จะสู้กับน้ำได้ แต่พลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำ ดังนั้นอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นพลาสติก น่าจะต้องมีการเตรียมการเอาไว้ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำพลาสติก ท่อพลาสติก กระดานพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าหรือแผ่นพลาสติก ที่เราจะเอาไว้ใช้หุ้มอุปกรณ์หรือส่วนต่างๆของบ้านเรา ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ฯลฯ แม้กระทั่งการหุ้มป้องกันตัวเรา หรืออวัยวะบางส่วนของตัวเราครับ ขอให้หาซื้อผ้าหรือกระดานพลาสติกเก็บเอาไว้ใกล้มือเรา ยามฉุกเฉิน พลาสติกจะเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มากจนคาดไม่ถึงได้ครับ และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ “ห่วงยาง” ครับ 15. เตรียมอาหาร น้ำดื่ม และยาให้พร้อม เพราะยามน้ำท่วมแล้ว เราอาจจะต้องติดอยู่ในบ้านของเราก็ได้ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพของเราก็คือ “อาหาร” ที่ต้องเตรียมเอาไว้ ทั้งอาหารที่ต้องมีการปรุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า (หรือกาซ) กับอาหารที่สามารถกินได้เลย โดยไม่ต้องมีการปรุง และต้องเตรียมเรื่อง “น้ำดื่ม” เอาไว้ด้วย เตรียมให้เพียงพอสำหรับทุกคนประมาณ 3 วันครับ ยาเป็นสิ่งสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องเตรียมเอาไว้ (ในที่ที่ปลอดภัย) ยาหลักๆก็คือ ยาแก้ปวด ยากแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาล้างแผล ยาแก้แพ้ ยากันแมลงและยาของโรคประจำตัวของทุกคน มีผู้หวังดีแนะนำบอกต่อว่า อย่าสะสม “สุรา” เอาไว้ตอนน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมนานๆ อาจจะมีคนกลุ้มใจ แล้วใช้สุราแก้ความกลุ้มใจ จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนเหล่าขวดสุราที่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ต้องขนไปไกลก็ได้ เพราะขวดสุราเหล่านั้น เขาสามารถแช่น้ำได้ ไม่มีปัญหาประการใด 16. บ้านชั้นเดียว ต้องตรวจสอบหลังคาด้วย สำหรับบ้าน 2 ชั้น หลังคาบ้านจะมีผลมากยามเมื่อฝนตกหนักๆ ซึ่งเราน่าจะต้องดูแลกันไปพอสมควรแล้วในเวลาที่เพิ่งผ่านมา แต่ในกรณีน้ำท่วมนั้นหลังคาไม่ค่อยมีผลมากเท่าไร เพราะน้ำท่วมจากข้างล่างขึ้นไป หากท่วมถึงหลังคาชั้นสอง เราก็น่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก่อนหน้านั้นแล้ว แต่กรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำอาจจะท่วมชั้นล่างของบ้านอย่างรวดเร็ว หลังคาหรือส่วนของหลังคาจึงเป็นพื้นที่หลบภัยได้ชั่วคราวพื้นที่หนึ่ง เราจึงต้องตรวจสอบทางหนีทีไล่ของเรา กรณีที่เราต้องขึ้นไปหนีภัยบนหลังคา ซึ่งเราอาจจะขึ้นไปทางฝ้าเพดานของเรา (กรุณาอย่าลืมตัดวงจรไฟฟ้าที่บ้านทั้งหมดก่อนจะขึ้นไปบนฝ้าเพดานสู่หลังคานะครับ) 17. ระวังโจร ระวังมาร ระวังผู้ชั่วร้าย เป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสลดใจที่สังคมน่าอยู่และเห็นอกเห็นใจของเมืองไทยเรา ได้ถูกลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำไปหลายส่วนแล้ว ดังนั้นเราจึงได้ข่าวเนืองๆว่า มีผู้ชั่วร้ายที่อยากได้ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก เข้ามารังแกจี้ปล้นประชาชนที่กำลังลำบากทุกข์เข็ญ ยามน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังยุ่งกับภารกิจอย่างอื่น เหล่าคนชั่วก็จะออกอาละวาดรังแกผู้ที่กำลังเดือดร้อน มีการขโมย จี้ปล้น ฉกชิงวิ่งราว ให้เราได้ทราบอยู่เป็นประจำ และมีความเป็นไปได้ว่าหนึ่งในอนาคตนั้นอาจจะเป็นตัวเราและบ้านของเรา ดังนั้น การเตรียมการป้องกันโจร จึงเป็นอีกประการหนึ่งที่เราต้องเตรียมการ อย่าเก็บของมีค่าเอาไว้ในบ้านของเรา เอาไปฝากที่อื่นก่อนดีกว่า เงินทองไม่จำเป็นที่ต้องพกมากมาย และคอยเฝ้าสังเกตบุคคลที่น่าสงสัย การส่งเสียดังๆในบางครั้ง จะเป็นอาวุธป้องกันตัวเราได้ 18. เพื่อนบ้าน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน ในกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการต่อสู้ป้องกันโจรประการเดียว แต่หมายถึงในทุกๆกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เรา “ขอความช่วยเหลือ” จากเพื่อนบ้าน แต่หมายถึงการที่ “เราจะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน” ด้วย รวมๆกันก็หมายถึง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง” เพราะความรักที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เสมอยามที่คนเรามีความลำบากร่วมกัน อย่าต่อสู้หรือป้องกันภัยทั้งหลายคนเดียว ต้องสื่อสารกัน ต้องจับมือกัน และวางแนวทางการป้องกัน การต่อสู้ที่เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วเราจะมีโอกาส หากตอนนี้เหล่าเพื่อนบ้านยังไม่มีการเคลื่อนไหวร่วมกัน เราก็อาจจะเป็นแกนตัวเล็กๆที่จะเป็นผู้เริ่มต้นได้ครับ อย่าอาย อย่ากลัวใครเขาหมั่นไส้ครับ หากเราเป็นคนดี มีจิตใจดี ทุกคนจะเข้าใจครับ 19. เตรียมทางหนีทีไล่เพื่อออกจากบ้าน ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การป้องกันน้ำท่วมก็เหมือนการป้องกันเมืองจากการโจมตีของข้าศึก ซึ่งเราอาจจะป้องกันเอาไว้ได้หรือป้องกันไม่ไหวก็ได้ หากถึงที่สุดแล้ว เราไม่มีทางต่อสู้ได้แน่ๆ พ่ายแพ้แล้ว การเตรียม “ทางหนี” เป็นเรื่องที่จำเป็น หากเราเตรียมทางหนีเอาไว้แต่แรก เราก็สามารถหนีได้ หนีทัน เกิดความเสียหายน้อยลง ทางหนีจากกรณีน้ำท่วมบ้าน อย่าคิดเพียงทางหนีออกจากบ้าน แต่ต้องคิดให้จบว่าหนีออกไปแล้ว จะหนีด้วยอะไร มีเรือหรือห่วงยางหรือไม่ มีเชือกสาวตัวเองหรือไม่ จะพกอะไรติดตัวไปบ้าง (ที่สามารถพกพาแบกหามไปได้) และจะมุ่งหน้าไปทางทิศใด มุ่งหน้าไปไหน และจะไปหยุดที่ใด พักที่ใด กับใคร ทุกอย่างต้องคิดเป็นกระบวนการ และคิดให้จบวงจรไว้แต่แรกครับ 20. ตั้งจิตให้มั่น ตอนนี้ “สติ” สำคัญที่สุด อย่าเสียเวลากับการเกรี้ยวโกรธ อย่าเพิ่งด่าอะไรใคร อย่าโทษฟ้าดิน ยังมีเวลาและโอกาสอีกมากมายที่จะทำเช่นนั้น เวลานี้เป็นเวลาที่เราต้องตั้งสติ และคิด และเตรียมการอย่างเป็นระบบ เราต้องรับรู้ข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์จากคนที่เชื่อถือได้ (ระวังคำพูดนักการเมืองนิดนะครับ) ต้องฟังวิทยุ หรือแม้แต่ติดตามทางอินเตอร์เน็ต (เช่น http://www.thaiflood.com/ หรือ http://flood.gistda.or.th/ เป็นต้น) ค่อยๆ กลับไปอ่านตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 19 แล้วอาจจะเพิ่มข้ออื่นๆที่เราคิดออกเข้าไปอีกได้ เมื่ออ่านแล้วก็ตรวจสอบ และลงมือทำทันทีครับ .... ตอนนี้ “สติ” สำคัญที่สุดครับ บทตาม บทความนี้ถูกเขียนขึ้นเท่าที่ผู้เขียนมีข้อมูลและความรู้ มิใช่เป็นบทความที่สมบูรณ์ที่สุดแต่ ต้องการเขียนขึ้นในฐานะของคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการเป็นประโยชน์กับผู้อื่นในสภาวะวิกฤติของบ้านเมืองบ้าง โดยหวังว่าอาจจะ “ลดความทุกข์” ให้สังคมได้ส่วนหนึ่ง แม้เป็นส่วนเล็กน้อยก็ตาม บทความนี้ “ไม่มีลิขสิทธิ์” ครับ ผู้ใดต้องการนำไปเผยแพร่ ณ ที่ใดก็สามารถทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหรืออ้างอิงแหล่งที่มาหรือชื่อผู้เขียนก็ได้ กรุณาอย่าเกรงใจ นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สถ. ๓๔๔ ว. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมาท์มอย: พจนานุกรมไทยไม่มีคำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” และน้ำท่วมเป็นเรื่องเวรกรรม? Posted: 13 Oct 2011 08:13 AM PDT เม้าท์ข่าวประจำสัปดาห์กับหลิ่มหลี และชามดอง ว่าด้วยคำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ศัพท์ที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่มี เม้าท์ๆ มอยๆ พิธีไล่น้ำของ กทม. และวิกฤตน้ำท่วมกับความเชื่อเรื่องเวรกรรมของคนบางกลุ่ม . สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธนาคารโลก ระบุเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จำเป็นต้องปรับปรุง ‘อุดมศึกษา’ Posted: 13 Oct 2011 07:07 AM PDT กรุงโตเกียว วันที่ 13 ตุลาคม 2554 – รายงานฉบับใหม่ของธนาคารโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกระบุว่า ประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางในภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานและระบบเศรษฐกิจในช่วงที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่านี้ โดยภาพรวมในภูมิภาคนี้ สถาบันอุดมศึกษาสามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ในการพัฒนาทักษะแรงงานและการวิจัยที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิต และพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาวะการแข่งขันสูงในโลก รายงานที่มีชื่อว่า “การอุดมศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะและงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก” ได้ชี้ให้เห็นถึงทักษะเฉพาะทางที่แรงงานต้องมีเพื่อสามารถหางานได้และสามารถส่งเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันและประสิทธิภาพในการผลิต โดยรายงานฉบับนี้ได้วิเคราะห์ถึงประโยชน์ของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในการสร้างงานวิจัยซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประยุกต์และการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน การพัฒนาการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคนี้ในช่วง 2-3 ทศวรรษนี้มีความก้าวหน้าไปมากนี้ ที่ผ่านมา โดยอัตราการเข้าศึกษาได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 หรือสูงกว่าในหลายประเทศจากอัตราเดิมที่ต่ำมาก ทั้งนี้ ความท้าทายโดยรวมที่สำคัญ คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาและจัดหาแรงงานที่มีทักษะตามที่ตลาดต้องการและการศึกษาวิจัย “ในภาวะของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญกับความท้าทายในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต โดยความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อประเทศพยายามที่จะพัฒนาจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลางไปเป็นประเทศที่มีรายได้สูง” นายเจมส์ อดัมส์ รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าว รายงานฉบับนี้กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษาในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกไม่สามารถสร้างทักษะให้กับนักศึกษาได้อย่างเพียงพอตามที่ภาคการผลิตต้องการ โดย “ผู้จ้างงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต้องการทักษะในการแก้ปัญหา การสื่อสาร การบริหารจัดการ และทักษะอื่น ๆ ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิต อย่างไรก็ตาม ความเห็นของผู้จ้างงานและค่าตอบแทนแรงงานมีทักษะที่สูงชี้ให้เห็นถึงความขาดแคลนของทักษะเหล่านี้ ในบรรดาผู้ที่เข้าทำงานใหม่” นางเอ็มมานูเอล ดิ เกรุเพโล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนามนุษย์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก และผู้เขียนหลักของรายงานฉบับนี้กล่าว “ความเหลื่อมล้ำระหว่างทักษะที่ภาคการผลิตต้องการและทักษะที่สถาบันอุดมศึกษาผลิตออกมาอาจส่งผลบัณฑิตต้องใช้เวลาหางานหลังจากจบการศึกษานานขึ้น ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่อาจส่งผลกระทบต่อความคาดหวังในชีวิตของคนรุ่นใหม่” นางอิมัลนวล จิเมเนส ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าว นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษายังไม่ได้มีส่วนในการส่งเสริมงานวิจัยประเภทที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคการผลิต มหาวิทยาลัยสามารถมีบทบาทในการผลิตความคิดใหม่ ๆ สำหรับภาคธุรกิจและส่งเสริมการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีด้วยงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี หากแต่โดยรวมแล้วมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังมีส่วนร่วมค่อนข้างจำกัด แม้กระทั่งในเรื่องการปรับใช้และพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้า “การพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างการอุดมศึกษาและภาคธุรกิจ ได้กลายเป็นประเด็นทางนโยบายที่สำคัญ เนื่องจากบทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีความสำคัญมากขึ้น โดยนอกจากจะเป็นแหล่งให้การศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้กลายเป็นแหล่งความรู้ทางด้านทักษะเฉพาะด้านทางอุตสาหกรรม นวัตกรรม และทักษะการประกอบธุรกิจ” นายปราทีก ทันดอน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซฟิก ผู้เขียนร่วมของรายงานฉบับนี้ กล่าว “รายงานนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างมาก เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็วตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา และยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาระดับการเติบโตให้ยั่งยืน และพัฒนาให้มีรายได้สูงขึ้น การจะบรรลุความท้าทายทั้งสองเรื่องนี้ต้องอาศัยการปรับปรุงผลิตภาพ” นางแอนเน็ต ดิกสัน ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าว “การพัฒนาคุณภาพของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเติบโตทางรายได้ของประเทศ” ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอุดมศึกษาต่อการเจริญเติบโตของประเทศ การเข้าถึงการศึกษาโดยรวมมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยการสนับสนุนจากเงินกู้ยืมทางการศึกษาและนโยบายเงินให้เปล่า อย่างไรก็ตามผลการวิจัยของบริษัทและนายจ้างพบว่า ทักษะทางด้านเทคนิค อุปนิสัยในการทำงาน และการวิเคราะห์ของผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นยังสามารถที่จะพัฒนาได้อีกโดยอาศัยการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ รายงานฉบับนี้ระบุว่า สาเหตุหลักที่การศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ คือการที่สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งบริหารงานแยกจากกันเป็นเอกเทศไม่ได้เชื่อมโยงกัน รัฐบาลสามารถมีบทบาทหลักในการทำให้การอุดมศึกษาทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ โดยมีการเชื่อมโยงกันระหว่างสถาบันการศึกษาด้วยกัน และมีความเชื่อมโยงกับภาคการผลิต สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษาอื่น ๆ รายงานฉบับนี้ให้ความสำคัญกับ 3 แนวทางการดำเนินงาน ซึ่งนโยบายสาธารณะสามารถมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลผลิตของระบบอุดมศึกษา สนับสนุนด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พัฒนาการบริหารจัดการสถาบันของรัฐ การเกื้อหนุนระบบการศึกษาขั้นอุดมศึกษา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชาวเมืองหยอเผยถูกทหารพม่าบังคับเกณฑ์แรงงานต่อเนื่อง Posted: 13 Oct 2011 06:49 AM PDT แม้พม่าจะมีรัฐบาลใหม่จากการเลื แหล่งข่าวชาวเมืองหยอรายหนึ่ “ทหารพม่าได้บังคับให้ชาวบ้ แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนการเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รองนายกฯ ร่ำไห้ 'ไฮเทค' ส่อจม ศปภ. แถลง กทม.ฝั่งเหนือเตรียมอพยพ ก่อนย้ำ แค่ 'เตรียม' Posted: 13 Oct 2011 06:43 AM PDT "กิตติรัตน์" ร่ำไห้หลังพ่ายน้ำถล่มนิคมไฮเทค "ยิ่งลักษณ์" ย้ำ กทม.ชั้นในปลอดภัยแน่ 'ประชา' สรุปน้ำทั้งแผ่นดิน 1.6 หมื่นล้าน หาร 550ล้าน/วัน ศปภ.เตือน กทม.ฝั่งเหนือ เตรียมพร้อมอพยพภายใน 7 ชม. หลัง ปตร.แตก ก่อนแถลงแก้ตื่น ไม่ได้สั่งอพยพ แค่เตรียมพร้อม "กิตติรัตน์" ร่ำไห้หลังพ่ายน้ำถล่มนิคมไฮเทค "ยิ่งลักษณ์" ย้ำ กทม.ชั้นในปลอดภัยแน่ "ในส่วนของ กทม.อยากให้ประชาชนสบายใจ เพราะเรายังทำแนวป้องกันอยู่ ทางกทม.ได้ออกมายืนยันในส่วนการดูแลเขตพื้นที่ กทม. สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือแ นวกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ในฝั่งปทุมธานีและนนทบุรี ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ยืนยันว่าตอนนี้สามารถใช้คำว่า กทม.ปลอดภัยได้ โดยเฉพาะแนวที่อยู่ภายในแนวกั้นน้ำ ส่วนด้านนอกแนวกั้นน้ำอาจจะเจอน้ำบ้าง แต่ไม่ใช่น้ำในปริมาณสูง" น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว (มติชน) 'ประชา' สรุปน้ำทั้งแผ่นดิน 1.6 หมื่นล้าน หาร 550ล้าน/วัน สำหรับจังหวัดที่เกิดอุทกภัยมีทั้งสิ้น 28 จังหวัด รุนแรง 10 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา หากรวม กทม.ด้วยเป็น 11 จังหวัด สั่งอพยพประชาชนแล้ว 3 จังหวัด คือ นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี (กรุงเทพธุรกิจ) ศปภ.เตือน กทม.ฝั่งเหนือ เตรียมพร้อมอพยพภายใน 7 ชม. หลัง ปตร.แตก ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี หัวหน้าศปภ. กล่าวว่า ขณะนี้ยังพอมีเวลาที่จะให้ประชาชนได้อพยพ ขอร้องว่าอย่าตกใจเพราะเจ้าหนาที่ทำทุกวิถีทางแล้ว แต่สุดความสามารถ ดังนั้นน้ำจะไหลเข้าตอนเหนือของกทม. ขอให้ประชาชนตั้งสติและเข้มแข็งเพื่อความอยู่รอดของทุกคน ดังนั้น พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบคืออ.คลองหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต อ.เชียงรากน้อย เอไอที ลำลูกกา หมู่บ้านไวท์เฮ้าส์ สายไหม และตอนเหนือของถนนรังสิต-ปทุมธานี ดังนั้น หากใครมีบ้าน 2 ชั้นให้เก็บของขึ้นที่สูงและนำรถไปจอดในที่สูง ขอให้เดินทางออกจากบ้านทันที โดยสนามบินดอนเมืองเตรียมรองรับประชาชน ส่วนรถยนต์สามารถนำมาจอดที่รันเวย์สนามบินได้ (ข่าวสด) แถลงแก้ตื่น ไม่ได้สั่งอพยพ แค่เตรียมพร้อม ด้านนายปลอดประสพ กล่าวว่า ยืนยันว่ากทม. ชั้นในปลอดภัย 100 % แต่ที่ประกาศเตือนประชาชนย่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้พร้อมรับมือสถานการณ์ หากจะมีเหตุเลวร้ายสุดคงมีปริมาณน้ำไม่เกิน 1 เมตร และคงไม่เกินพื้นที่บริเวณเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี ไม่ถึงขั้นนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่แนวคันกั้นน้ำบริเวณถนนด้านข้างประตูระบายน้ำคลองบ้านพร้าวพังเป็นแนวยาวกว่า 80 เมตร ล่าสุดในวันนี้เจ้าหน้าที่ในท้องที่และเจ้าหน้าที่จากหลายภาคส่วน กำลังใช้ความพยายามในการกั้นกระแสน้ำบริเวณจุดนี้อย่างเต็มกำลัง โดยมีวิศวกรร่วมวางแผนงานการสร้างคันกั้นด้วยแท่งเหล็กตอกเข็มลงไปเพื่อยึดแท่งเหล็กให้แน่นขึ้น ใช้แผ่นเหล็กขนาดใหญ่อัดรองกระแสน้ำอีกชั้นเพื่อชะลอความแรงของน้ำ ซึ่งต้องใช้วิธีการตอกระยะ 5 เมตร เพื่อวัดความแรงและวัดความแข็งแรงของพื้นที่ด้วย สามารถกู้ไปได้แล้วกว่า 50 เมตร ยังคงเหลือช่วงบริเวณรอยต่อจากประตูระบายน้ำคลองบ้านพร้าวที่มีความกว้างประมาณ 30 เมตร ที่เจ้าหน้าที่กำลังจะเร่งกู้เพื่อให้ปริมาณน้ำบริเวณช่องทางน้ำที่พังในจุดนี้ลดความแรงลง (ข่าวสด)
............................... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พรรค SNLD ไทใหญ่ผิดหวังทางการพม่าไม่ปล่อยตัว "เจ้าเสือแท่น" Posted: 13 Oct 2011 06:40 AM PDT พรรคการเมืองไทใหญ่ (SNLD) และสมาชิกครอบครัวนักโทษการเมื มีรายงานว่า หลังจากทางการพม่าได้ประกาศนิ นางคำเปา บุตรสาวของเจ้าเสือแท่น เปิดเผยว่า หลังจากทราบข่าวว่าบิดาจะได้รั "เรารู้สึกยินดีและดีใจที่รั ขณะที่จายเล็ก โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่ เช่นเดียวกัน นางเวย์ เวย์ ลุต ภรรยาของเจ้าขุนทุนอู กล่าวว่า รู้สึกเสียใจที่เจ้าขุนทุนอู และผู้นำคนอื่นๆ ไม่ได้รับการปล่อยตัว อย่างไรก็ตาม ทางครอบครัวจะยังคงเฝ้ารอการปล่ ทั้งนี้ เมื่อต้นปี 2548 ทางการพม่าได้จับกุมผู้นำคนสำคั อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้สถานีโทรทัศน์ของรั ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำคุก 'จินตนา' 4 เดือนกับการแลกสิทธิชุมชน-สิทธิสิ่งแวดล้อมกลับคืนมา นับว่าคุ้มยิ่ง Posted: 13 Oct 2011 05:06 AM PDT วันที่ 11 ต.ค.54 เหมือนฟ้าผ่ามากลางใจของนักอนุรักษ์ทั่วประเทศ เมื่อศาลประจวบคีรีขันธ์ได้อ่านคำพิพากษาจำคุก “คุณจินตนา แก้วขาว” แกนนำนักอนุรักษ์บ้านกรูด 4 เดือน ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.53 ซึ่งประกอบด้วยองค์คณะท่านผู้พิพากษา นายสุรศักดิ์ สุวรรณประกร นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ และนายสุรพันธุ์ ละอองมณี ไม่รับข้อฎีกาเพื่อวินิจฉัยทางคดี แต่ศาลได้เมตตาปรับลดโทษลงเหลือให้จำคุกเพียงแค่ 4 เดือน ตามที่มีเหตุอันควรบรรเทาโทษได้ นั่นคือ การเข้ามอบตัวแต่โดยดีโดยไม่หลบหนี คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเมื่อวันที่ 30 ก.ย.46 ยกฟ้อง เพราะพยานหลักฐานที่อัยการนำมาสืบศาลฟังไม่ได้ว่ามีน้ำหนักความผิดจริง ต่อมามีการอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พลิกคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ส.ค.48 ให้จำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบมาตรา 362 และ 83 ซึ่งเป็นความผิดฐานบุกรุก โดยมีอาวุธ (น้ำปลาวาฬ) หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตลอดเวลากว่า 10 ปีของการต่อสู้ นับแต่วันที่เกิดเหตุพิพาททางคดี คือวันที่ 13 ม.ค.44 ที่จินตนาและชาวบ้านกรูดได้บุกเข้าไปในงานเลี้ยงครบรอบ 3 ปีโครงการโรงไฟฟ้าบ้านกรูด เพื่อใช้สิทธิในการปกป้องวิถีชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 กับนโยบายของรัฐบาล และผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัท ยูเนียนเพาเวอร์ดีเวลลอปเมน์ จำกัด แต่การบุกรุกเข้าไปในสถานที่อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาครอบครองโดยปกติสุข ก็ย่อมจะต้องมีความผิดตามกฎหมายเป็นธรรมดา แต่ถ้าเรามองกันแต่เฉพาะข้อกฎหมาย โดยไม่ดูบริบทขององค์รวมหรือเหตุปัจจัยแห่งที่มาของการพิพาท และผลประโยชน์ได้เสียที่จะตกแก่สาธารณะมิใช่เรื่องส่วนตัวแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นธรรมนักต่อคุณจินตนาและกระบวนการต่อสู้ของภาคประชาสังคม แม้คำพิพากษาดังกล่าว จะนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรงของพี่น้องชาวบ้านและนักอนุรักษ์ทั่วประเทศก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยและพิพากษาแล้วก็ต้องน้อมรับ แม้จะตะขิดตะขวงใจอย่างไรก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลทั้ง 3 ศาลก็ทำให้เราเห็นรูปแบบและปรากฎการณ์ของกระบวนการยุติธรรมกันชัดแจ้งมากยิ่งขึ้นว่าเป็นเช่นไร และต่อไปนี้จะเป็นการถอดบทเรียนการต่อสู้ของภาคประชาชน ในทุกท้องถิ่น ในการปกป้องสิทธิของชาวบ้านและชุมชนที่มีอยู่แต่เดิมแล้วโดยธรรมชาติ โดยมิมีใครมาหักหาญน้ำใจหรือเปลี่ยนแปลงได้เพียงเพราะกระบวนการทางนโยบายสาธารณะของนักการเมืองจอมปลอม ที่ไม่ยอมรับผิดชอบต่อความเสียหายหรือเดือดร้อนต่อประชาชน ที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐ เชื่อว่า 120 วันหรือ 4 เดือนที่จินตนาต้องอยู่ในคุกในเรือนจำ แต่กระบวนการทางสังคม จะแพร่กระจายก่อเกิดการประสานงานกันเป็นเครือข่ายจะแน่นแฟ้นขึ้น เพราะจะมีกลุ่มกัลยาณมิตรแวะเวียนไปเยี่ยมเยือนเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและกระบวนการต่อสู้กับคุณจินตนาอยู่แทบทุกวัน ในส่วนของชุมชนคนบ้านกรูด ก็คงจะมีกิจกรรมต่อเนื่องตลอด 120 วันเพื่อย้ำเตือน “สิทธิทางธรรมชาติ” โดยชอบของชาวบ้าน เพื่อประจานหรือสะท้อนให้อำนาจรัฐเห็นว่า กระบวนการชาวบ้านไม่เคยสะทกสะท้านต่ออำนาจรัฐและอำนาจทุน ที่เข้ามาบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ “เงิน” อาจจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างอะไรก็ได้ แต่คงจะซื้อสิทธิและอุดมการณ์ของชาวบ้านกรูดคงไม่ได้ ไม่เช่นนั้นตลอดระยะเวลากล่า 10 ปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ต่าง ๆ ที่จะลงไปก่อสร้างที่บ้านกรูด-บ่อนอกคงได้เกิดแล้วเป็นแน่ คุณจินตนาให้สัมภาษณ์อย่างแหลมคมก่อนเดินเข้าเรือนจำอย่างมีศักดิ์ศรีว่า "แค่ติดคุกยังมีวันออก เราไม่ได้ถูกยิงทิ้ง ไม่ได้เสียชีวิตเหมือนการต่อสู้ของนายเจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอกแกนนำต้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก แต่ไม่ทราบว่าในระหว่างที่ติดคุกจะต้องเจออะไรบ้างและขอไม่ให้มีการอภัยโทษ ขอให้สังคมรับรู้บทบาทของการต่อสู้ และขอให้มองเรื่องความเป็นธรรมมากกว่าการใช้กฎหมายมาจัดการกับแกนนำเหมือนกลุ่มทุน" เป็นการให้สัมภาษณ์ที่สะท้อนให้รัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมทราบว่า กระบวนการการต่อสู้ของภาคประชาชนนั้น เปิดเผย ตรงไปตรงมา บนฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ภายใต้การคุ้มครองของรัฐธรรมนูญ แต่หน่วยงานของรัฐและกฎหมายลูกต่างหากที่ไร้ประสิทธิภาพในการปกป้องวิถีชีวิตของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะความไร้ประสิทธิภาพในการปกป้องแกนนำชาวบ้าน ตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมาเราต้องสูญเสียแกนนำนักอนุรักษ์ไปแล้วกว่า 20 คนจากการพิฆาตของกลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์หรือกลุ่มทุน โดยที่ส่วนใหญ่หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ไม่สามารถให้การคุ้มครองได้ ทั้ง ๆ ที่แกนนำเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริสุทธิ์ กระทำการแทนชาวบ้าน เพราะต่างมีอุดมการณ์เพื่อปกป้องสิทธิชุมชน-สิทธิทางสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งสิ้น อาทิ อาจารย์บุญทวี อุปการะกุล ผู้นำการรณรงค์คัดค้านมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน ครูประเวียน บุญหนัก ผู้นำการคัดค้านโรงโม่หิน จ.เลย นายวินัย จันทมโน นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่คัดค้านนายทุนตัดไม้ทำลายป่าบ้านน้ำหรา อ.ควนกาหลง จ.สตูล นายทองอินทร์ แก้ววัตตา แกนนำคัดค้านการสร้างโรงงานกำจัดกากสารอุตสาหกรรม จ.ระยอง นายทุนหรือจุน บุญขุนทด แกนนำการคัดค้านการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ กำนันทองม้วน คำแจ่มและนายสม หอมพรหม ผู้นำการคัดค้านการให้สัมปทานโรงโม่หิน จ.หนองบัวลำภู นายอารีย์ สงเคราะห์ ผู้นำการต่อต้านการบุรุกป่าและรณรงค์ปกป้องผืนป่าต้นน้ำคลองคราม จ.สุราษฎร์ธานี นายจุรินทร์ ราชพล นักอนุรักษ์ที่ต่อสู้คัดค้านการทำลายพื้นที่ป่าชายเลน ต.บ้านป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายนรินทร์ โพธิ์แดง แกนนำต่อต้านโรงโม่หินของนักการเมืองระดับชาติในเขตพื้นที่ จ.ระยอง นายพิทักษ์ โตนวุธ แกนนำชาวบ้านลุ่มน้ำชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ลุกขึ้นต่อสู้คัดค้านโรงโม่หินของนักการเมืองระดับชาติที่บุกรุกป่าอนุรักษ์ นายแก้ว ปินปันมา แกนนำชาวบ้านที่เข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ขัดแย้งกับนายทุน นายสุวัฒน์ วงศ์ปิยะสถิตย์ ชาว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แกนนำชาวบ้านคัดค้านโครงการกำจัดขยะราชาเทวะ นายสมพร ชนะพล แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำกระแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี คัดค้านการสร้างเขื่อนคลองกระแดะ นายบุญสม นิ่มน้อย แกนนำกลุ่มอนุรักษ์และคัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงแยกคอนเดนเสทในพื้นที่ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี นายปรีชา ทองแป้น สารวัตรกำนัน ต.ควนกรด อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช แกนนำเรียกร้องสิทธิชุมชนจากโครงการก่อสร้างบำบัดน้ำเสียเทศบาล ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง นครศรีธรรมราช คุณบุญฤทธิ์ ชาญณรงค์ แกนนำชาวบ้านเรียกร้องสิทธิชุมชนและต่อต้านการค้าไม้เถื่อนตำบลคลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี คุณบุญยงค์ อินต๊ะวงศ์ แกนนำชาวบ้านร่องห้า ต.ผางาม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ลุกขึ้นต่อสู้กับโรงโม่หินดอยแม่ออกรูของนักการเมืองระดับชาติที่บุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ นายคำปัน สุกใส แกนนำชาวบ้านป่าชุมชนเชียงดาว ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ลุกขึ้นต่อสู้ขัดขวางการบุกรุกพื้นที่ป่าชุมชน นายสำเนา ศรีสงคราม ประธานชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำพอง จ.ขอนแก่น แกนนำชาวบ้านต่อสู้กับการโรงงานที่ทำให้แม่น้ำพองเน่าเสีย นายเจริญ วัดอักษร แกนนำชาวบ้านบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเรียกร้องให้ตรวจสอบการบุกรุกที่สาธารณะของนายทุนผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น นายสุพล ศิริจันทร์ แกนนำชาวบ้านเครือข่ายป่าชุมชนแม่มอก จ.ลำปาง ต่อสู้ขัดขวางขบวนการค้าไม้เถื่อน คุณพักตร์วิภา เฉลิมกลิ่น แกนนำชาวบ้านหัวกระบือ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนทราย พระสุพจน์ สุวโจ พระนักปฏิบัติธรรม ณ สวนเมตตาธรรม อ. ฝาง จ.เชียงใหม่ พยายามต่อสู้กับนายทุนที่ต้องการฮุบที่ดินสถานปฏิบัติธรรม นายทองนาค เสวกจินดา แกนนำคัดค้านโรงงานถ่านหิน ต.ท่าทราย จ.สมุทรสาคร บุคคลเหล่านี้ล้วนต่อสู้ตามสิทธิที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ตามกระบวนการยุติธรรม แต่ก็ต้องมาถูกปองร้ายทำลายชีวิต ไปเสียก่อนวัยอันสมควร โดยที่กระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ แต่สิ่งที่แกนนำเหล่านี้ได้จุดประกายการต่อสู้ไว้นั้น ได้สร้างอานิสงค์และคุณูปการแผ่กระจายเป็นต้นกล้าใหม่ที่ไม่มีวันย่อท้อให้กับแกนนำนักอนุรักษ์ทั่วประเทศ เหมือนดั่ง “ตายสิบ...เกิดแสน” แล้ว การจำคุกจินตนา จึงเป็นเพียงแค่บทเรียนขั้นประถมของกระบวนการต่อสู้เพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์กันชั่วลูกหลาน ตราบใดที่อำนาจรัฐ อำนาจทุน และความอยุติธรรมยังเป็น 2 มาตรฐานเต็มแผ่นดินไทย...การต่อสู้ของชาวบ้านไม่มีทางสิ้นสุดลงได้เพราะคำพิพากษาของศาล... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 13 Oct 2011 04:58 AM PDT (หนึ่ง) เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าว "รำลึก 100 ปีปฏิวัติซินไห่ ปธน.จีน เรียกร้องรวมชาติจีน-ไต้หวัน" (http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37313) ดังรายละเอียดนี้ "ประธานาธิบดีจีน กล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสครบรอบ 100 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองจีน เป็นระบอบสาธารณรัฐ ชี้สองชาติจีน-ไต้หวัน ต้องยุติการเป็นปรปักษ์ เยียวยาความเจ็บปวดในอดีต และร่วมมือกัน พร้อมยกคำพูด “ซุนยัดเซ็น” การรวมชาติเป็นความหวังของชาวจีนทุกคน พิธีรำลึกครบรอบ 100 ปีการปฏิวัติซินไห่ ที่ศาลามหาประชาชน กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ 9 ต.ค. 54 (ที่มา: สำนักข่าวซินหัว) ข่าวพิธีรำลึกครบรอบ 100 ปีการปฏิวัติซินไห่ ทางสถานีโทรทัศน์ CCTV ของจีน (ที่มา: TheChineseNews/Youtube) ปักกิ่ง - สำนักข่าวซินหัว รายงานวันนี้ (9 ต.ค.) ว่า ที่ศาลามหาประชาชน กรุงปักกิ่ง ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันครบรอบ 100 ปี การปฏิวัติซินไห่ ปี 1911 (พ.ศ. 2454) โดยนายหูจิ่นเทา กล่าวว่า ความพยายามที่จะทำให้ความเห็นพื้นฐานร่วมทางการเมืองในการคัดค้าน “เอกราชของไต้หวัน” มีความจำเป็น และจะต้องชูฉันทามติ “1992” “เรา ควรยุติการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างสองฟากฝั่ง เยียวยาความเจ็บปวดในอดีต และทำงานร่วมกันเพื่อการฟื้นฟูพลังอันยิ่งใหญ่ของชาติจีน” นายหูจิ่นเทากล่าว นโยบายฟื้นฟูจีน (Rejuvenating China ) เป็นนโยบายสำคัญของ ดร.ซุนยัดเซ็น และผู้ร่วมการปฏิวัติในปี 1911 นี้ ......... ทั้งนี้ การปฏิวัติในปี 1911 เริ่มต้นในวันที่ 10 ตุลาคมปี 1911 เป็นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ และสิ้นสุดโดยทำให้การปกครองระบบจักรพรรดิกว่า2,000 ปีของจีนและราชวงศ์ชิง (1644-1911) ต้องยุติลง และทำให้จีนกลายเป็นรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งแรกของทวีปเอเชีย ปาฐกถาในวันอาทิตย์ของนายหูจิ่นเทา เขาได้ยกคำพูดของ ดร.ซุนยัดเซ็นที่ว่า “การรวมชาติเป็นความหวังของชาวจีนทุกคน ถ้าการรวมชาติประสบผลสำเร็จ ประชาชนจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่ถ้าไม่ ประชาชนก็จะได้รับผลกระทบ” นายหูจิ่นเทา กล่าวด้วยว่า “การรวมชาติโดยสันติวิธี คือ วิธีรับใช้ผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนชาวจีนทุกคน รวมทั้งเพื่อนร่วมชาติที่ไต้หวัน” นายหูจิ่นเทากล่าว...." สอง) เมื่อไม่นานนี้ ดาราฮ่องกงดังคับโลก "เฉินหลง" (Jackie Chan) สร้างหนังยิ่งใหญ่ เรื่อง "1911 Revolution" เนื่องในโอกาส 100 ปี ปฏิวัติ "เก็กเหม็ง" ของจีน ลงทุนหลายร้อยล้าน เฉินหลงเล่นเป็นคนสนิทของ ดร.ซุนยัตเซ็น และก็เป็น รมต. กระทรวงทหารบก หนังเรื่องนี้ฉายทั่วโลก เปิดตัวเมื่อต้นเดือนตุลา ในหนังยิงกันทั้งเรื่อง ดูแล้วเหนื่อย แต่มันสสสส... กับประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ที่จบลงด้วย ฮองไทเฮา (พระพันปีหลวง องค์ที่เป็นต่อจากซูสีไทเฮา) ประกาศสละราชสมบัติ ในนาม Little Emperor: Puyi ดร.ซุนยัตเซ็น กลายเป็นประธาธิบดีคนแรก ก่อนที่จะถูก ยวนซีไข ทรยศ แล้วเมืองจีนก็ออกจาก "ยุคศักดินา" เข้า "ยุคขุนศึก" และ "สงครามกลางเมือง" ยาว ก่อนชัยชนะของเหมาเจ๋อตุง และการสร้างชาติใหม่ สาม) ประวัติศาสตร์ปฏิวัติจีน 1911 (2454) มีปฏิสัมพันธ์กับ "ปฏิวัติสยาม" หรือ "กบฏ ร.ศ.130" (ค.ศ. 1912 พ.ศ.2454/55) อย่างน่าพิศวง เพียง 4 เดือน จากวันที่ 10 เดือนตุลา (ของปฏิวัติจีน) ถึงวันที่ 27 เดือนกุมภา (ของเหตุการณ์ในสยามประเทศไทย ซึ่งยังนับการขึ้นปีใหม่แบบเก่า คือ 1 เมษา ไม่ใช่ 1 มกรา) ก็มีการรวมตัวของบรรดาทหารหนุ่มรุ่นแรกเพื่อทำการปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน "สยาม" และก็ตรงกับสมัยต้นรัชกาลที่ 6 (ครองราชย์มาได้เพียง 15 เดือน หลังจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 5 เมื่อ 23 ตุลา 2453/1910) "ผู้ก่อการ" ของ "ร.ศ. 130" คือนายทหารหนุ่มจำนวนถึง 91 คน ถูกจับเสียก่อนลงมือปฏิบัติการณ์ -3 คน ถูกตัดสิน ประหารชีวิต (ลดโทษเป็นจำคุก) -20 คน จำคุกตลอดชีวิต -32 คน จำคุก 20 ปี -6 คน จำคุก 15 ปี -30 คน จำคุก 12 ปี หัวหน้า "กบฏ ร.ศ. 130" คือ นพ.ร.อ. เหล็ง ศรีจันทร์ (หรือหมอเหล็ง) กับ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ นายทหารหนุ่มมากๆ รุ่นนั้นส่วนใหญ่อายุ 20 ปี ต้นๆ การก่อการในสยามประเทศครั้งนั้น บ้างก็เรียก "กบฏหมอเหล็ง" (เพราะหัวหน้า เป็นหมอทหาร ชื่อเหล็ง) บ้างก็เรียก "กบฏเก็กเหม็ง" (เป็นคำยืมจากสำเนียงจีนแต้จิ๋ว) รายละเอียดดู http://politicalbase.in.th/index.php/กบฎ ร.ศ.130 ความพยายาม "ปฏิวัติประชาธิปไตย" ของสยาม จะมาสำเร็จใน "ระดับหนึ่ง" ก็อีก 20 ปีต่อมา คือ เมื่อ 24 มิถุนา 2475 (1932) โดย "คณะราษฎร"(อ่านว่า คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน) แต่เส้นทางเดินของ "ประชาธิปไตยไทยสยาม" ก็ลดเลี้ยวเคี้ยวคด ถ้านับแต่ครั้งแรก คือ จาก ร.ศ.130 (พ.ศ.2454/55) ก็เกือบ 100 ปี มาแล้ว ต้องต่อสู้กันอีกหลายครั้งหลายคราว ไม่ว่าจะเป็น ตุลา/ตุลา (2516-2519 หรือ 1973-1976) หรือ พฤษภา/พฤษภา (2535-2553 หรือ 1992-2010) สี่) "อดีต ปัจจุบัน และอนาคต" ดูเหมือนจะอยู่ใน "กาลานุกรม" (time line) เดียวกัน เมื่อถึงปีเดือนกุมภาหน้า ค.ศ.2012 หรือ พ.ศ.2555 ก็จะครบรอบ "กบฏ ร.ศ. 130" น่าที่เราจะต้องจัดการศึกษาวิจัย ประเมินเหตุและผลทางประวัติศาสตร์/การเมือง ของสยามประเทศไทยกันเสียทีว่า เรามาจากไหนกัน และ "เราจะไป (กัน) ทางไหน" ครับ Thailand-Siam: Quo Va Dis สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 ปี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับคณะนิติราษฎร์ (1) Posted: 13 Oct 2011 02:19 AM PDT ตอนที่ 1 ในอ้อมอกคณะราษฎร
000 เนื่องในโอกาสที่ ครบรอบ 1 ปี คณะนิติราษฎร์และ 5 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมายเพียงหยิบมือ ได้กระทำในสิ่งที่ไม่มีผู้ใดทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย นั่นคือ ใช้อำนาจของปัญญาเหตุผลนำเสนอการล้มล้างรัฐประหาร ด้วยข้อเสนอให้ผลจากการรัฐประหาร 2549 เสียเปล่า นอกจากเป็นคำประกาศที่อหังการ และยืนหยัดอยู่กับอำนาจอธิปไตยของราษฎรที่ถูกปล้นชิงเรื่อยมาแล้ว การจุดไฟกลางสายลมนี้ ยังถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยว่าทั้งเสียดแทงใจดำ ทั้งถูกอกถูกใจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการรัฐประหารครั้งล่าสุด ความสำคัญของข้อเสนอหาได้อยู่ที่ความสมบูรณ์พร้อม และเป็นตัวแบบสำเร็จรูปที่จะทำให้เราหยุดยั้งรัฐประหารได้ชั่วกัลปาวสานไม่ แต่อยู่ที่พลังของมันได้เคลื่อนออกมาสู่ปริมณฑลสาธารณะแล้ว ทั้งยังลากให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจได้ลงสนามมาเป็นผู้เล่นกันอย่างอึกทึก ผู้เขียนมีความเห็นว่า สิ่งหนึ่งที่จะทำได้นอกจากการประกาศตัวสนับสนุนคณะนิติราษฎร์ในหน้า Facebook แล้ว การเขียนบทความขึ้นมาสนองสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอ ก็คงจะช่วยกันต่อยอดแตกแขนงแนวคิด “โรลล์แบ็ค” ไปสู่สังคมที่ประชาธิปไตย ที่มีหลักการและโต้แย้งกันด้วยเหตุผล ไปสู่สังคมที่บรรลุนิติภาวะ ไปสู่การก้าวพ้นจากสังคมลูกแหง่ที่จำนนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระ พ่อ แม่ และผู้ใหญ่โดยไร้ซึ่งคำถาม ในฐานะที่ผู้เขียนสนใจเรื่องพระๆ เจ้าๆ ตลอดจนเรื่องเก่าเรื่องแก่เป็นทุนเดิม จึงขอร่วมขบวนความเคลื่อนไหวทางความคิดในแขนงนี้เพื่อนำไปสู่การวิพากษ์ สงสัยต่อสิ่งที่เรียกว่า ความไม่เป็นประชาธิปไตยในคณะสงฆ์ไทย โดยอาศัยความเข้าใจในบริบททางประวัติศาสตร์ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ว่ากันว่ากฎหมายฉบับนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยบัญญัติกฎหมายมา และอาจกล่าวว่า เราไม่อาจเข้าใจคณะสงฆ์ไทยได้เลยหากเราละเลยประวัติศาสตร์การต่อสู้ในสังคมสงฆ์ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น ในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีอายุครบรอบ 70 ปี ได้แต่หวังใจว่า การเสื่อมมนต์ขลังของมายาคติ 14 ตุลา 16 อาจทำให้เรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในวันเดียวมีความสำคัญขึ้นมา และเป็นโภชน์ผลให้แก่ประชาชน เจ้าของอธิปไตยของประเทศได้พอๆกัน หรือมากกว่า 14 ตุลา 16 อนึ่ง บทความนี้มีความซับซ้อนและยืดยาวจนผู้เขียนไร้ความสามารถที่จะตัดใจให้จบในรูปบทความสั้นๆบทความเดียว จึงขอแบ่งเป็น 2 ส่วน บทนี้คือส่วนแรกที่จะฉายให้เห็นกระบวนการก่อกำเนิด และส่วนที่สอง จะว่าด้วยมรณกรรมของพระราชบัญญัตินี้
แบบจำลองสังคมการเมืองไทย ใน กฎหมายคณะสงฆ์ การเมืองในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 นั้นเป็นแบบจำลองที่สะท้อนสังคมไทยได้เป็นอย่างดี พ.ร.บ.ฉบับนี้ อาจนับว่าอยู่ในฐานะเดียวกันกับรัฐธรรมนูญที่ว่ากันว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง นั่นคือ ฉบับปี 2475 และปี 2489 กฎหมายเหล่านี้แม้จะเป็นนวัตกรรมของระบอบประชาธิปไตยที่สถาปนาขึ้นโดยมีความหวังว่าจะอยู่คู่กับสังคมไทยไปจนชั่วนิรันดร์ แต่ก็ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานทางอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการ อำนาจนิยม อนุรักษ์นิยม ที่ไม่ละอายในการละเมิดกติกาครั้งแล้วครั้งเล่า จนต่อต้านไม่ไหวและพังทลายพ่ายแพ้ในเวลาต่อมา ก่อนจะเข้าฉากสำคัญ เราต้องเข้าใจถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ของรัฐกับคณะสงฆ์ในการสถาปนารัฐสยามรัฐชาติสมัยใหม่เสียก่อน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ.121 : Made in Absolute Monarchy หัวใจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฐานะที่เป็นรากฐานของรัฐชาติสมัยใหม่ของสยามนั้นคือ การรวมศูนย์อำนาจการปกครองและการดูดกลืนทรัพยากรเข้าส่วนกลางโดยมี กษัตริย์ ณ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ ระบอบนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ชุดใหม่ระหว่างองค์รัฏฐาธิปัตย์ กับอำนาจดั้งเดิมที่อยู่ชายขอบ ไม่ว่าจะเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราชโดยกลไกต่างๆ ทั้งระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ทั้งการปรับระบบควบคุมกำลังคน การปฏิรูประบบภาษีใหม่ ให้มาขึ้นอยู่กษัตริย์โดยตรง แทนที่จะผ่านตัวแทน ก๊กกลุ่มขุนนางต่างๆ ทั้งในระดับราชสำนักและหัวเมือง กลไกสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้างความชอบธรรมผ่านอำนาจการจัดการเรื่องความรู้ การจัดการศึกษาในด้านหนึ่งก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ราษฎรในการอ่านเขียน และไต่เต้าในด้านอาชีพการงาน แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการกล่อมเกลาสร้างความภักดีแก่รัฐสยามใหม่ที่กำลังเติบโต เครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลสยามตรองเป็นอย่างดีแล้วนั่นก็คือ สถาบันสงฆ์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐเข้าไปมีบทบาทในการจัดการวัด และใช้วัดเป็นฐานสร้างความชอบธรรมมาอย่างยาวนาน แต่ในระบอบใหม่นี้ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดการ มีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการวางสายบังคับบัญชาที่แน่นอน ตามหลักการปกครองราชการแบบอย่างเจ้าอาณานิคมที่รัชกาลที่ 5 ได้แบบอย่างมาจากประเทศใต้อาณานิคมอังกฤษ ดังนั้นการเถลิงอำนาจอาณาจักรเหนือพุทธจักรอย่างชัดเจนและจริงจัง จึงเริ่มขึ้นอย่างแนบเนียนด้วยการส่งให้พระราชาคณะไป "จัดการศึกษา" ตามวัดในหัวเมือง โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่ปี ร.ศ.117 (พ.ศ.2441) คู่ไปกับการจัดการศึกษาของฝ่ายฆราวาสโดย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ[2] ในฝ่ายอาณาจักรได้มีการตรากฎหมาย พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ส่วนฝ่ายพุทธจักรก็มี พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)[3] สาระสำคัญในพ.ร.บ.ตัวหลังก็คือ การเข้าไปจัดการควบคุมอำนาจในเชิงพื้นที่ และการแต่งตั้งบุคลากรที่ไว้ใจได้ด้วยระเบียบสมัยใหม่ที่มีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน เพื่อง่ายต่อการปกครองจากส่วนกลาง โดยเฉพาะการสถาปนาอำนาจผ่านกฎหมายที่ในตัวบทกำหนดให้รัฐบาลส่วนกลางสามารถให้คุณให้โทษกับสงฆ์ในท้องถิ่น และยังเปลี่ยนพระสงฆ์ให้มีสถานะกึ่งข้าราชการไปเสียด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความเห็นว่า กฎหมายนี้เป็นการทำลายความสัมพันธ์ 3 เส้าคือ รัฐ-วัด-ชุมชน ด้วยการตัดส่วนที่เรียกว่า ชุมชน การออกแบบโครงสร้างเชิงอำนาจนี้ อีกสาเหตุหนึ่งก็เพื่อใช้แก้ไขปัญหาภายในวงการสงฆ์เอง ซึ่งไม่แข็งแรงพอที่จะควบคุมพฤติกรรมที่เสื่อมเสียของพระ เพราะว่าในสายตาของชนชั้นนำแล้ว การเกิดคดีที่ฉาวโฉ่ของพระอย่างไม่ได้หยุดหย่อน ถือได้ว่ามันเป็นความอ่อนแอที่สั่นคลอนความมั่นคงของฝ่ายอาณาจักรอีกด้วย ภาพซ้าย แสดงให้เห็นกลุ่มที่เข้าร่วมการประชุมมณฑลเทศาภิบาล นำโดย สมเด็จฯ กรมดำรงราชานุภาพ ระบบเทศาภิบาล มีฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างรัฐชาติในส่วนภูมิภาค ที่มา: udclick.com ภาพขวา ซุ้มรับเสด็จร.5 หลังจากนิวัตพระนคร แสดงความยิ่งใหญ่มั่งคั่งที่มีเบื้องหลังจากการดูดกลืนทรัพยากรจากหัวเมืองต่างๆ
เป็นพระ-เป็นเจ้า ในวงการพุทธศาสนานั้น ได้มีความขัดแย้งภายในดำรงอยู่เรื่อยมา แต่คู่ขัดแย้งที่เด่นชัดที่สุดหลังจากสถาปนารัฐสมัยใหม่นั่นคือ ขั้วของสงฆ์สองนิกายคือ มหานิกายที่อยู่มาแต่เดิม กับ ธรรมยุติกนิกาย ในมุมของฝ่ายหลังนั้นมีพลังและแรงผลักดันอันมุ่งมั่นในการจะสถาปนาพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ น่าเลื่อมใส สมสมัย มีความเป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยผู้นำคือ วชิรญาณภิกขุ (เจ้าฟ้ามงกุฎ) ในอีกด้านคณะสงฆ์ใหม่นี้ก็เป็นฐานอำนาจทางการเมืองใหม่ระหว่างที่อยู่นอกราชบัลลังก์ด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพระธรรมยุตนั้นมากับเส้น ที่มีรัชกาลที่ 4 เป็นองค์อุปถัมภ์ใหญ่ ความบาดหมางดังกล่าวถูกบ่มเพาะขึ้นด้วยดูถูกจากฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยเฉพาะหลังจากที่รัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้มีการชี้ผิดในพระมหานิกายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ในการอุปสมบทไม่ถูก บวชในสีมาไม่ถูก ครองผ้าไม่ถูก มีวงศ์ที่เสื่อมมาตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่สอง และมีประพฤติทราม[5] ความอึดอัดและมีท่าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้รับการบ่มเพาะมาตั้งแต่ครั้งนั้น ความบาดหมางได้รับการบอกเล่าและสืบทอดมาอย่างเป็นระบบ ในที่นี้ขอประกาศให้เห็นอคติว่า ผู้เขียนใช้หลักฐานส่วนใหญ่อ้างอิงจากงานเขียนของพระหรืออดีตพระในค่ายมหานิกาย จึงมิอาจปฏิเสธภาพลบต่อธรรมยุตที่เกิดจากการอ้างอิงงานเหล่านี้ด้วย พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 ถูกตราขึ้นเป็นกลไกของรัฐสยามในการจัดการอำนาจการปกครองสงฆ์อย่างชัดเจน พุทธจักรขึ้นอยู่กับอาณาจักรและกษัตริย์ บนยอดปิรามิดของอำนาจในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้นก็ถูกวางตัวไว้แล้วว่าต้องเป็นพระที่วางใจได้ซึ่งจะเป็นใครไม่ได้นอกจากพระสงฆ์ชั้นสูงจากธรรมยุกตินิกาย ทำให้คณะสงฆ์สยามอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายธรรมยุตมาอย่างยาวนานถึง 38 ปี นั่นคือ วาระของสมเด็จพระสังฆราชนับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ปี 2442-2464) และสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (ปี 2464-2480) ข้อสังเกตก็คือ ทั้งสองมีสถานะที่เป็นทั้ง “พระ” และ “เจ้า” ตั้งแต่สถาปนาธรรมยุกตินิกายขึ้น พระสังฆราชผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองสงฆ์ ก็ตกอยู่กับฝ่ายธรรมยุติกนิกายเสมอมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2442-2480 องค์ซ้าย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (2443-2464) คณะสงฆ์หลังการปฏิวัติสยาม 2475 การปฏิวัติสยาม 2475 ได้รับการพิสูจน์ทางประวัติศาสตร์แล้วว่า ไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงแบบชิงสุกก่อนห่ามของคนเพียงหยิบมือ แต่มีเชื้อพันธุ์ของการปฏิวัติที่ถูกบ่มเพาะมาแล้ว และไม่ใช่เพียงคนหยิบมือ แต่ยังกระจายตัวมากไปกว่าในเขตดุสิต หรือในพระนคร พบรายงานว่า พระสงฆ์ สามเณร มีความสนใจและตื่นเต้นที่จะมีรัฐธรรมนูญสำหรับการปกครองพระสงฆ์บ้าง และพระเหล่านั้นต่างเรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาคให้ที่จะให้พระสังฆราชอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับกษัตริย์ โดยเรียกร้องผ่านการอภิปรายในวัด บางแห่งก็รายงานว่า มีความตื่นตัวของพระสงฆ์ โดยพบว่าพระสงฆ์จำนวนหนึ่งเขียนจดหมายถึงรัฐบาลแสดงความยินดี และชื่นชมรูปแบบการปกครองแบบใหม่ พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงคณะสงฆ์ให้สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย[6] เหล่าพระผู้ใหญ่ก็ล้วนตระหนักดีถึงความขัดแย้งในวัดระหว่างพระลูกวัดและเจ้าอาวาส ถึงกับมีการประกาศเตือนมายังเจ้าอาวาส ในแถลงการณ์คณะสงฆ์ ปี 2475[7]
ความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยหลังกบฏบวรเดช 2476 ความขัดแย้งของกลุ่มอนุรักษ์นิยมกับคณะราษฎรถึงคราวไม่อาจประนีประนอมและแตกหักกัน จากเหตุการณ์ การประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และปิดสภาโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งถูกตอบโต้ด้วยการการยึดอำนาจคืนเพื่อรักษาระบอบรัฐธรรมนูญของคณะราษฎรที่นำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา และไปจบลงที่การนองเลือดและการปราบกบฏบวรเดชอันเป็นตัวแทนของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในปี 2476 ห้วงเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้ชัยชนะในยกแรกของคณะราษฎรที่สามารถรักษาจิตวิญญาณของระบอบรัฐธรรมนูญที่สร้างขึ้นมาใหม่ได้สำเร็จ หลังการปราบกบฏบวรเดชและการชำระความยุ่งยากของฝ่ายปฏิปักษ์แล้ว[8] ได้สร้างความมั่นใจต่อมหาชนถึงสถานะที่มั่นคงยั่งยืนของระบอบใหม่นี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อความมั่นใจดังกล่าวได้ส่งผลต่อกลุ่มก้อนทางการเมืองที่จะเรียกร้องให้สังคมของตนมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ในที่นี้คือ กลุ่มพระสงฆ์
ภาพประชาชนร่วมยินดีกับคณะราษฎรที่ปราบกบฏบวรเดชปี 2476
คณะสงฆ์และการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม ความมั่นใจในระบอบใหม่ที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น อาจส่งพลังให้แก่พระภิกษุหนุ่มที่ต้องการจุดประกายความเปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งและความอึดอัดจากการถูกกดขี่ การต่อสู้และความขัดแย้งภายในวัดที่ระเบิดออกมาเป็นระยะซึ่งเราพบหลักฐานอยู่ 3 กรณี นั่นคือ กรณีวัดปทุมคงคา ปี 2475 กรณีวัดปทุมวนาราม ปี 2476 และกรณีวัดดวงแข ปี 2477 ทั้งหมดถือได้ว่าเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในดงขมิ้นของพระสงฆ์รุ่นใหม่ และไม่ได้เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างนิกายเพียงอย่างเดียว[9] แต่เป็นการเรียกร้องในฐานะของอุดมการณ์ของยุคสมัย ที่วัดปทุมคงคา วาบประกายไฟของการเปลี่ยนแปลง เกิดจากการที่พระลูกวัดคิดล้มเลิกระเบียบการสอบคัดเลือกนักเรียนธรรมและบาลีสนามหลวง แต่เจ้าอาวาสไม่ยินยอม จนเกิดเหตุวุ่นวายอันมาจากการที่พระลูกวัดขว้างปากุฏิ แน่นอนว่า อาการลามปามไม่เคารพที่ต่ำที่สูงเยี่ยงนี้ส่งผลให้มหาเถรสมาคม ผู้ทรงอำนาจสูงสุดสั่งขับไล่เหล่าพระดังกล่าวออกจากความเป็นพระศาสนา (บัพพาชนียกรรม) แต่เหตุการณ์ก็ยังได้ลามต่อเนื่องมายังวัดปทุมวนาราม ซึ่งก็เกิดเหตุการณ์ที่พระลูกวัดต่อต้านเจ้าอาวาสเช่นกัน มหาเถรสมาคมส่งพระผู้ใหญ่ไประงับเหตุ สั่งการให้สึกลูกวัดและให้พระรูปดังกล่าวที่เข้ามาแก้ไขปัญหาครองวัดเป็นเจ้าอาวาส ขณะที่วัดดวงแข พระรูปหนึ่งเดิมอยู่วัดปทุมวนารามที่เคยต้องคดีมาแล้ว ก็ได้ก่อเหตุขึ้นอีก ครานี้พระดังกล่าวดื้อแพ่งไม่ยอมสึก คณะธรรมยุตอันเป็นต้นสังกัดของวัดดวงแข เห็นว่าวัดนี้ไม่อาจปกครองได้ และน่าจะด้วยอคติเป็นทุนเดิม เมื่อพบว่าวัดนี้ภิกษุส่วนใหญ่เป็นชาวอีสานจึงทำการยุบวัดเสีย (อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาชาวบ้านก็ได้ทำการฟื้นวัดนี้ขึ้นมาอีกครั้ง) เหตุผลการลงโทษ เราอาจสรุปได้จากพระดำรัสของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่
การลงโทษอย่างหนักนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้อำนาจแบบเผด็จการของคณะสงฆ์ ขณะที่ในทางโลกได้เปลี่ยนมาสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว หนักข้อไปกว่านั้นก็คือ การแสดงความเห็นของพระสังฆราชที่ตอกย้ำลักษณะอำนาจนิยมของสังคมสงฆ์ ผ่านตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด นั่นก็คือ การชี้ให้เห็นว่าในรั้ววัดแล้ว เจ้าอาวาสเป็นขาใหญ่ที่มีอำนาจมากที่สุด สามารถลงโทษพระลูกวัดหนักเท่าไหร่ก็ได้ แม้พระลูกวัดไม่มีความผิด ก็สามารถไล่ออกจากวัดไปได้ เรามาดูตัวบทที่กล่าวถึงกัน
จาก “คณะปฏิวัติ” สู่ “คณะปฏิสังขรณ์ฯ”อหังการแด่ความเสมอภาค ก่อนปฏิวัติสยาม 2475 ปรีดี พนมยงค์ และพรรคพวกที่เป็นทั้งพลเรือนและทหารได้เช่าห้องเพื่อใช้ในการประชุมเพื่อเตรียมปฏิวัติ ณ ถนน Rue du Sommarard ในเขต Quartier Latin กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [12] ในปี 2477 ก็พบว่า มีพระสงฆ์หนุ่มสังกัดมหานิกาย จากวัดมหาธาตุ, วัดเชตุพนฯ, วัดเบญจมบพิตร, วัดสุทัศน์ฯ และวัดอรุณ ได้นัดพบกันที่บ้านคหบดี ในเขต อ.บางรัก บ้านหลังนั้นชื่อว่า "ภัทรวิธม" เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2477 ว่ากันว่า จำนวนพระหนุ่มที่เดินทางมีจำนวนกว่า 300 ได้เรียกชื่อคณะผู้ก่อการคราวนี้ไว้ว่า “คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา” การหารือครั้งนั้นได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ถึงข้อเสนอต่อรัฐเพื่อการเปลี่ยนโครงสร้างของคณะสงฆ์ให้มีความเท่าเทียมกัน มีการประกาศแถลงการณ์และเป็นที่รับรู้ในที่สาธารณะผ่านหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2477 ว่า "...เป็นไปเพื่อความเสมอภาคในการปกครองคณะสงฆ์ และเพื่อการรวมนิกายสงฆ์ให้มีสังวาสเสมอกัน คือให้มีการอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน..." หลังจากนั้นได้มีหนังสือไปเสนอแด่พระผู้ใหญ่และรัฐบาลในภายหลัง [13] ตัวละครใน คณะปฏิสังขรณ์ฯนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นทั้งพระหนุ่ม ยุวสงฆ์รุ่นแรกที่มีคุณวุฒิแล้ว เช่น พระมหาสนิท (พระธรรมวโรดม-ขณะนั้น) เปรียญ 6 ประโยค พรรษา 23, พระมหาสมบูรณ์ (พระธรรมวรนายก) เปรียญ 6 ประโยค พรรษา 26, พระมหาแย้ม (แย้ม ประพัฒน์ทอง) เปรียญ 8 ประโยค พรรษา 26, พระมหาประหยัด (ประหยัด ไพทีกุล) เปรียญ 3 ประโยค พรรษา 22 ซึ่งรวมไปถึงสมเด็จพระสังฆราชปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ ในครั้งที่ยังเป็นพระมหาปุ่น เปรียญ 6 ประโยคด้วย อย่างไรก็ดีพบว่าในผู้เข้าร่วมหลักร้อย ยังมีภิกษุหนุ่มและเณรน้อยเข้าร่วมด้วย [14] เราต้องไม่ลืมว่า กบฏบวรเดชนั้นจบลงไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2476 นั่นหมายถึง สังคมในยุคนั้นได้เห็นแล้วว่าอำนาจรัฐในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นธงนำความเสมอภาค ได้รับการปกป้องอย่างจริงจัง การเกิดขึ้นของคณะปฏิสังขรณ์ฯ จึงมี timing ที่สอดคล้องกับบรรยากาศของบ้านเมืองที่สนับสนุนระบอบใหม่นี้อย่างแข็งขันไปด้วย ว่ากันว่าสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 (2515-2517) แผนการก่อการและนวัตกรรม เมื่ออ่านกระบวนการก่อกำเนิดคณะปฏิสังขรณ์ฯแล้ว เราจะเห็นว่าช่างเป็นเรื่องเล่าที่เต็มไปด้วยสีสันและอารมณ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะโครงเรื่องที่ดูคู่ขนานไปกับการดำรงอยู่ของคณะราษฎรดังที่เทียบเคียงไปบ้างแล้วในฉากที่ปารีส กับบ้าน “ภัทรวิธม” การรวมตัวกันของคณะสงฆ์ เอาเข้าจริงแล้วก่อนจะเกิดภาพเหล่านั้นได้ ก็ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ในแผนขั้นที่หนึ่งระบุถึงการหาพรรคพวกที่เห็นตรงกัน เริ่มต้นจากการวางแผนให้ภิกษุ 9 รูปมาในงานทำบุญที่บ้าน "สุขมาสถาน" เมื่อพิธีกรรมเสร็จก็มีการปรึกษาปัญหาการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเห็นพ้องว่าควรจะแก้ไขพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ แผนขั้นต่อมาก็ขยายเครือข่าย โดยกำหนดให้แต่ละรูปต้องหาลูกข่ายให้ได้ 10 รูป[15] นี่คือบันทึกหน้าแรก ก่อนที่จะเกิดการพบปะกันที่ บ้านภัทรวิธมที่มีจำนวนพระและสามเณรรวมกว่า 300 และการสื่อสารระหว่างกันที่เป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์มากนั่นก็คือ ระหว่างพระภิกษุที่ใช้โอกาสบิณฑบาตตอนเช้า ได้มีเขียนข้อความใส่ในบาตรส่งข่าวกัน ซึ่งพระธรรมวรนายกเรียกวิธีการนี้ว่า "ไปรษณีย์บาตร"[16]
ทำไมต้อง “คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา” ก่อนจะลงตัวในชื่อนี้ เคยมีการเสนอชื่อ "คณะปฏิวัติคณะสงฆ์" "คณะปฏิวัติการพระศาสนา" "คณะปฏิรูปการศาสนา" แต่คำว่า "คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา" ได้มาจาก พระมหาประหยัด ซึ่งได้แนวคิดมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Restoration" ซึ่งแปลว่า "ปฏิสังขรณ์" คือ ทำสิ่งที่ทรุดโทรมให้กลับคืนดีดังเดิม ว่ากันว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบว่าคำนี้ เนื่องจากเป็นคำกลางๆ เหมาะกับสมณเพศ[17]
เหตุและผล แรงจูงใจของคณะปฏิสังขรณ์ฯกับสังคมประชาธิปไตย หากวัดกันตามจำนวนแล้ว พระสงฆ์ในมหานิกายในปี 2478 นั้น มากมายนับเท่าทวีเมื่อเทียบกับ ธรรมยุติกนิกาย เฉพาะวัดของมหานิกายก็มีถึง 17,305 วัด ขณะที่วัดธรรมยุตมีเพียง 260 วัด[18] การเปลี่ยนแปลงระดับพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน นอกจากทำให้เจ้าทั้งหลายเปลี่ยนสถานภาพมาสู่ความเท่าเทียมกับคนธรรมดาในเชิงทฤษฎีแล้ว ในหมู่สงฆ์มหานิกายเองก็คงใฝ่ฝันถึงวันที่พวกตนจะเท่าเทียมกัน และขึ้นเป็นใหญ่ได้เช่นกัน หลังปฏิวัติสยามจนถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชในปี 2476 พระสงฆ์ธรรมยุตกลับไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจ มีการตั้งข้อสังเกตว่า พระเหล่านี้อาจจะส่งเงินสนับสนุนกลุ่มกบฏบวรเดช อันเนื่องจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) กับ นายพลตรีพระยาเสนาสงคราม (ม.ร.ว.อี๋ นพวงศ์) หนึ่งในกองกำลังของเหล่ากบฏบวรเดช[19] หลังเหตุกบฏบวรเดช รัฐบาลข่มฝ่ายกษัตริย์และเจ้านายให้อยู่ในสถานะที่ตกต่ำเป็นอย่างยิ่ง และแน่นอนว่า มันส่งผลต่ออภิสิทธิ์ของพระธรรมยุตฯ ที่อิงอยู่กับชนชั้นอันสูงศักดิ์ไปด้วย ดังนั้นการที่พระมหานิกายท้าทายกลับคืนไปยังพระธรรมยุตด้วยการเสนอกฎหมายใหม่ จึงมีนัยการต่อสู้ทางชนชั้นเช่นนี้อยู่ด้วย ขณะเดียวกันในระบอบใหม่นี้ ความเป็นประชาธิปไตยได้สร้างความตื่นตัวของคณะสงฆ์ขึ้นอย่างน่าสังเกต การดำรงอยู่ของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 ในสายตาของพระสงฆ์บางกลุ่มแล้วเห็นว่ามันขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสำคัญที่สุดของบ้านเมืองเป็นอย่างมาก ด้วยความประทับใจของพระสงฆ์กับระบอบใหม่นี้เราจะเห็นได้ว่า พระสงฆ์เริ่มสร้างคำอธิบายให้เห็นว่า พุทธศาสนานั้นมีความสัมพันธ์กับระบอบที่เกิดขึ้นใหม่ว่า มีความเป็นประชาธิปไตยและเป็นสังคมที่เสมอภาค[20] ปรากฏการณ์ที่กลายเป็นชนวนใหญ่โตหลังจากปัจจัยต่างๆสุกงอมมาแล้ว นั่นก็คือ กรณีของพระญาณนายก ซึ่งถือกันว่า เป็นคดีที่ใหญ่โตที่แสดงให้เห็นการที่พระมหานิกายถูกกระทำจากพระผู้ใหญ่ที่เป็นพระธรรมยุตอย่างไม่เป็นธรรมยิ่ง
คดีพระญาณนายก พระญาณนายก (ปลื้ม) เจ้าอาวาสวัดอุดมธานี อ.วังกระโจม จ.นครนายก เจ้าคณะจังหวัด เกิดความขัดแย้งกับพระผู้ใหญ่จนถูกถอดสมณศักดิ์อย่างไม่เป็นธรรมในปี 2477 [21] โดยผู้พิพากษาความผิดก็คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ผู้บัญชาการคณะสงฆ์ ปฏิบัติแทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์สูงสุดในมหาเถรสมาคม เหตุการณ์สรุปโดยย่อได้ดังนี้ 1.พระราชกวี วัดเทพศิรินทร์ (ธรรมยุติ) เจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี (ในที่นี้ให้ธรรมยุติปกครองมหานิกาย) แต่งตั้งเจ้าคณะแขวง และอุปัชฌาย์โดยมิได้ปรึกษาพระญาณนายกที่เป็นเจ้าคณะจังหวัด จึงถือว่าเป็นการก้าวก่ายอำนาจกัน ข้ามขั้นตอน ทั้งยังเล่นพรรคเล่นพวก และผิดหลักเกณฑ์ แต่พระราชกวีก็ถกเถียงว่าไม่ผิด เนื่องจะพระรูปที่สนับสนุนเป็นพระวิสามัญมีคุณวุฒิพิเศษ และมีตัวอย่างแต่งตั้งเช่นนี้มาแล้วด้วย[22] 2.พระญาณนายกไม่ยอม ได้ทำเรื่องฟ้องไปยังสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (ขณะที่ยังทรงงานได้อยู่) ความขัดแย้งดังกล่าวนำไปสู่การที่พระราชกวีปลดพระญาณนายก โดยให้ขึ้นหิ้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์ และแต่งตั้งพระมุนีนายกเป็นเจ้าคณะจังหวัดแทน[23] 3.พระญาณนายกยังถูกรุมจากการที่เจ้าอธิการจอน เจ้าคณะหมวดตำบลบ้านเล่า วัดท่าทราย อ.วังกระโจม นครนายก ได้ทำบัตรสนเท่ห์ใส่ความพระญาณนายกว่า เสพเมถุนและยักยอกเงินไว้ให้กับหญิง แต่บัตรสนเท่ห์ถูกจับได้ จึงนำเรื่องฟ้องศาล และพบว่าผิดจริง ให้จำคุกและปรับเงิน แต่ให้รอลงอาญาไว้ก่อน[24] 4.ในขณะเดียวกัน กรณีขึ้นโรงขึ้นศาลนี้ ทำให้พระราชกวี ส่งเรื่องไปฟ้องสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ในฐานะผู้บัญชาการคณะสงฆ์ ขณะนั้นที่ยังไม่มีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช พระญาณนายก ถูกตัดสินว่า การกระทำดังกล่าว เป็นการละเมิดสังฆาราชาณัติ เป็นกรณี “เป็นภิกษุฟ้องภิกษุในศาล" ซึ่งมีความผิด โดยเฉพาะในฐานเจ้าคณะจังหวัดที่ควรจะรู้ระเบียบดีจึงถือว่าจงใจฝ่าฝืนและดูหมิ่นพระสังฆราชาณัติ ความผิดสมควรให้สึกแต่ถือว่ามีความดีความชอบ จึงเห็นเพียงถอดสมณศักดิ์ เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2477 ขณะที่เจ้าอธิการจอนให้ถอดจากเจ้าคณะหมวดลงเป็นพระอนุจร[25] การให้สึกนั้น นับเป็นโทษรุนแรงมากในระดับเดียวกันกับประหารชีวิตในกฎหมายฝ่ายอาณาจักรเลยทีเดียว คำพิพากษากรณีนี้ ถูกมองว่าเป็นการตัดสินที่เล่นพรรคเล่นพวก และเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต เหล่าคณะศิษยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือเกิดไม่พอใจระบบการปกครองคณะสงฆ์ที่ “ไม่เสมอภาค” โดยกล่าวหาว่า ระบบดังกล่าวให้อภิสิทธิ์แก่ธรรมยุติปกครองมหานิกายได้ ในขณะที่มหานิกายไม่มีสิทธินั้น จึงยื่นหนังสือประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมจากพระสงฆ์จำนวน 536 รูป 43 วัด ยื่นเรื่องเสนอรัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ กล่าวโทษพระราชกวี และพระมุนีนายก เจ้าคณะจังหวัดนครนายกรูปใหม่ ในข้อหาที่ว่าไม่สามารถอำนวยความสงบเรียบร้อยในการปกครองให้เกิดขึ้นและไม่สามารถให้ "ความเสมอภาค" แก่ผู้อยู่ใต้การปกครอง การบริหารทำด้วยความพอใจของตนเป็นประมาณไม่คำนึงถึงความเสื่อมเสียอันจะเกิดแก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง จึงขอเปลี่ยนตัวทั้งคู่ให้ออกจากตำแหน่ง การเคลื่อนไหวนั้นมีนัยทางการเมืองนั่นก็คือ การปฏิเสธสิทธิพิเศษแก่คณะสงฆ์ธรรมยุตปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย[26] แต่คำร้องทุกข์เหล่านั้นถูกปฏิเสธโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) และการที่คณะสงฆ์ของเปลี่ยนตัวเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าคณะมณฑลนั้น มหาเถรสมาคมพิจารณาว่า ไม่มีเหตุผลสมควร ทั้งยังย้ำด้วยประโยคที่ฟังคุ้นหูพวกเราในปัจจุบันสมัยมากๆ ว่า
ภาพซ้าย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส (ธรรมยุต) ผู้บัญชาการคณะสงฆ์ขณะนั้น ปฏิบัติการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ภาพขวา เหรียญพระญาณนายก (ปลื้ม) วัดอุดมธานี จ.อุทัยธานี (มหานิกาย) ปี 2483
กระบวนการทางการเมืองสู่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484
การดำเนินงานของคณะปฏิสังขรณ์ฯ หลังจากพบปะกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกแล้ว ก็ได้วางขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นหลักการ ตั้งแต่การเดินเรื่องตามระเบียบและกฎเกณฑ์ การใช้พลังกลุ่มต่อรองทางการเมือง การใช้พลังสื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียง และการผลักดันผ่านนักการเมืองที่มีความสำคัญและเข้าใจหลักการดังกล่าว ซึ่งมีผลออกมาอย่างน่าสนใจ ได้แก่ ขั้นแรก คณะปฏิสังขรณ์ฯ ทำการยื่นเรื่องราวต่อฝ่ายบริหารคณะสงฆ์ตามลำดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือต่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้บัญชาการคณะสงฆ์, รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ และพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี[28] การดำเนินการดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการกระทำที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่ได้เป็นการลักลอบโจมตีไปที่พระรูปใดรูปหนึ่ง แต่เป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมการเมืองที่ผลัดใบใหม่ ขั้นที่สอง คณะปฏิสังขรณ์ฯ ใช้พลังกลุ่มในการเคลื่อนไหวทั้ง คณะสงฆ์และฆราวาส หลังจากวิ่งเต้นขอเสียงสนับสนุนแล้ว พบว่าในช่วงแรกมีภิกษุในกรุงเทพฯและภูมิภาคสนับสนุนถึง 800 รูปจาก 100 วัด ต่อมาเพิ่มอีก 92 วัด 177 รูป ในที่สุดก็มีคณะสงฆ์ปักษ์ใต้มาสมทบอีก 12 จังหวัด 368 วัด ที่มีมวลชนพระรวม 2,080 รูป[29] ทำให้เห็นว่า ข้อเสนอของคณะสงฆ์ไม่ใช่จำนวนเพียงหยิบมือเดียว และตอกย้ำให้เห็นว่าคณะสงฆ์ตื่นตัวกับการจะมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยนี้มากเพียงใด ขั้นที่สาม ใช้สื่อมวลชนสนับสนุน คณะปฏิสังขรณ์ฯ น่าจะเล็งเห็นการก้าวเดินไปข้างหน้าจะต้องเป็นหาแนวร่วมในวงกว้าง ขณะนั้นสื่อที่ขยายไปในวงกว้างและมีประสิทธิภาพที่สุดน่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ เราพบว่า มีสื่อที่สนับสนุนคณะปฏิสังขรณ์ ได้แก่ หลักเมือง, ประชาชาติ และไทยใหม่[30] ขั้นที่สี่ ใช้พลังทางการเมืองสนับสนุน พระมหาประหยัด ก็ได้ขอคำปรึกษาทางแนวคิดจากถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมการหัวก้าวหน้าในสมัยนั้น ซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อเขา ถวัติ กับคณะปฏิสังขรณ์ฯส่วนหนึ่ง ได้เข้าพบปรีดีที่บ้านและปรีดีได้แนะนำขุนสมาหารหิตคดีให้ช่วยในการร่างพระราชบัญญัติ ขณะเดียวกันปรีดีก็รับรองความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองว่าจะไม่เข้าไปจับกุมขัดขวาง[31] นับเป็นจุดเริ่มต้นที่เข้าท่า แต่ความสัมพันธ์อันดีกับปรีดี และถวัติ ฤทธิเดชนี้เองทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกปรักปรำว่าเป็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ที่ต้องการจะทำลายล้างพุทธศาสนา ภาพซ้าย ถวัติ ฤทธิเดช (2437-2493) ผู้นำกรรมกรหัวก้าวหน้า ผู้เป็นที่ปรึกษาคณะปฏิสังขรณ์ฯ
ภาพขวา ปรีดี พนมยงค์ (2443-2526) ขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็สนับสนุนคณะปฏิสังขรณ์ฯด้วย
อุปสรรคบ่มี ประชาธิปไตยบ่เกิด เฉกเดียวกับการดำเนินการปฏิวัติของคณะราษฎร นั่นคือ แรงต้านจากผู้กุมอำนาจอยู่เดิมอันเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม อย่าลืมว่า คณะปฏิสังขรณ์ฯ ไม่สามารถใช้กำลังอาวุธเพื่อยึดอำนาจในการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่พระแต่ละรูปก็ไม่มีอำนาจในการปกครอง ไม่มีอำนาจทางการเงินมากพอ หลังจากที่คณะปฏิสังขรณ์ฯ เปิดตัวในสื่อหนังสือพิมพ์และยื่นหนังสือไปยังผู้มีอำนาจทางการเมืองและคณะสงฆ์ แรงปฏิกิริยาดังกล่าวมีพลังในการบ่อนเซาะขบวนการของพระรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก อุปสรรคแรก คือ การลาออกของพระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) ขณะที่พระรุ่นใหม่ต่อสู้อย่างเปิดเผย แต่สิ่งที่ฝ่ายอำนาจเก่าถนัดก็คือ การใช้อำนาจในการล็อบบี้ พบว่า พระราชธรรมนิเทศ อธิบดีกรมธรรมการ ฆราวาสผู้ดำรงตำแหน่ง นายกพุทธสมาคมฯในขณะนั้น (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2476-2479) ได้โน้มน้าว พระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) ให้ลาออกจาก ประธานคณะปฏิสังขรณ์ฯ บ้างก็ว่า พระราชธรรมนิเทศ ส่งคนมาข่มขู่ ทำให้พระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) แถลงการณ์ปฏิเสธว่ามีส่วนในคณะปฏิสังขรณ์ ทำให้รองประธาน และคณะกรรมการอีกหลายคนลาออกตามไปด้วย[32] ถ้อยแถลงบางส่วนยังเป็นผลลบต่อคณะปฏิสังขรณ์ นั่นคือ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นถึงการจัดองค์กรหลวมๆ ของคณะปฏิสังขรณ์ฯที่ขาดเอกภาพ แม้คณะสงฆ์จะมีไฟฝันที่ลุกโชนเพียงใด แต่ยังไม่สามารถรวมตัวกันอย่างได้แข็งขัน ในด้านหนึ่งก็เพราะว่า ในคณะปฏิสังขรณ์ฯ มีอยู่หลายกลุ่มที่ไม่เคยร่วมงานกันมาก่อน ยังไม่ต้องนับถึงว่าเคยร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่เพียงความไม่พอใจการปกครองสงฆ์ร่วมกันที่เป็นธงนำร่วมกัน นอกจากนั้นการเลือกตำแหน่งประธานก็พิจารณาจากคุณวุฒิที่ระดับ “เปรียญ” การขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้ไม่มีเวลาที่สั่งสมอุดมการณ์และความเข้าใจร่วมกัน[34] จึงไม่สามารถทัดทานการโจมตีเป็นรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวกันว่า คณะปฏิสังขรณ์ฯ ก็ยังเดินหน้าต่อไปแบบไม่มีหัว ไม่มีประธาน รองประธานอยู่หลายเดือน[35] ข้อที่สอง การต่อต้านของมหาเถรสมาคมและกระทรวงธรรมการ นอกเหนือไปจากการขู่บังคับให้พระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) ลาออกแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าละอายก็คือ การพิจารณาลงโทษภิกษุผู้เข้าชื่อ[36] ยิ่งหากเป็นวัดปกครองโดยภิกษุธรรมยุตแล้ว คณะปฏิสังขรณ์ฯ ยิ่งถูกกระทำดังเป็นจำเลยคดีอุกฉกรรจ์ เช่น นำตัวไปกักขังในโรงธรรมศาลา ห้ามเยี่ยม ทรมานให้อดฉันเพล และให้อดฉันน้ำ สอบสวนนอกประเด็น แม้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรส่วนภูมิภาคระดับอำเภอและจังหวัด ยังปฏิบัติต่อพระผู้เป็นจำเลยอย่างไม่มีสัมมาคารวะ ให้พระยืนบนพื้นดิน แล้วพวกตนไปยืนบนโต๊ะกล่าวกระทบกระเทียบ [37] พบว่าพระระดับแกนนำของคณะปฏิสังขรณ์ฯ หลายรูปยังถูกบีบคั้นในรูปแบบต่างๆ จนเจ้าอาวาสตัดสินใจส่งไปจำพรรษา ณ วัดต่างจังหวัด เช่น พระมหาสนิธ เขมจารี วัดพระเชตุพนฯ ให้ไปอยู่ราชบุรี พระมหาทองสุก สุทสฺโส วัดมหาธาตุไปสระบุรี พระมหาสมบูรณ์ จนฺทโก วัดมหาธาตุไปนครนายก[38] เพื่อการจัดการขั้นเด็ดขาดมากขึ้น มหามกุฏราชวิทยาลัยออกประกาศลงโทษ สมาชิกคณะปฏิสังขรณ์ฯ นั่นคือ ตัดท่อน้ำเลี้ยงและหนทางสู่เกียรติยศ ด้วยการตัดเงินบำรุงครู และห้ามเจ้าคณะยกย่องให้พวกเขาเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะหมวด ห้ามขอเบี้ยอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์ ที่สำคัญก็คือ การตัดตอนทางความคิดไปสู่พระรุ่นใหม่ โดยการห้ามตั้งเขาเหล่านั้นเป็นครู ด้วยเกรงว่าจะเผยแพร่ความคิดดังกล่าว [39] ข้อที่สาม กรณีพระธรรมปิฎก วัดเชตุพนฯ เจ้าคณะมณฑลราชบุรีลาออก ด้วยความที่ในคณะปฏิสังขรณ์มีพระจากราชบุรีจำนวนมาก พระธรรมปิฎกจึงถูกสงสัยว่าเป็นพวกคณะปฏิสังขรณ์ จึงได้เกิดการงัดข้อขึ้นกับฝ่ายมหาเถรสมาคม ในกรณีเสนอโยกพระธรรมยุต เจ้าแขวงกำแพงแสน เป็นกิตติมศักดิ์ เนื่องจากอยู่ต่างถิ่น ไม่สะดวกต่อการปกครอง แต่ประธานมหาเถรสมาคมไม่อนุมัติ โดยกล่าวหากลับไปว่า พระธรรมปิฎกต้องการถอดถอนเพื่อให้พวกปฏิสังขรณ์บรรจุแทน ซึ่งพระธรรมปิฎก็ทำหนังสือตอบโต้ว่าไม่เป็นความจริง และในเมื่อไม่เป็นที่ไว้วางใจ จึงขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล และยื่นเรื่องให้มหาเถรสมาคมพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่มหาเถรสมาคมก็ไม่ได้พิสูจน์ใดๆ และไม่มีการยับยั้งการลาออก ในจังหวะนั้นเอง ก็ได้โยกคนของตนเข้าเป็นเจ้าคณะมณฑลราชบุรีแทน[40]
บรรลุเป้า? การต่อสู้อันดุเดือดดังกล่าว ได้ผลลัพธ์ที่งดงามไม่น้อย ความสำเร็จขั้นแรกของคณะปฏิสังขรณ์ฯ ก็คือ การผลักดันข้อเสนอจนเข้าไปเป็นญัตติในสภาได้ โดย หลวงวรนิติปรีชา ส.ส.จังหวัดสกลนคร แต่ยังไม่สำเร็จ เพราะส.ส.บางคนพิจารณาว่า ข้อเสนอไม่ได้ดำเนินตามระเบียบของมหาเถรสมาคม[41] การเข้าสภาครั้งที่ครั้งที่สอง โดย ทองม้วน อัตถากร ส.ส.มหาสารคาม ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2478 ให้เชิญพระใหญ่น้อยให้มาประชุม เพื่อร่างระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ในลักษณะการรวมนิกายสงฆ์ แต่เรื่องก็เงียบหายไป ในครั้งที่สาม โดย ทองอยู่ พุฒิพัฒน์ ส.ส.ธนบุรี เมื่อ 28 ธันวาคม 2479 รัฐบาลนำร่างพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ส่งไปยังมหาเถรสมาคม เพื่อทำความตกลงร่วมกันระหว่างคณะสงฆ์ และปรากฏว่ามหาเถรสมาคมยินยอมพิจารณาร่างนี้ โอกาสดังกล่าวนับเป็นชัยชนะเบื้องต้นของ คณะปฏิสังขรณ์ฯ[42]
พานรัฐธรรมนูญ สัญลักษณ์ของระบอบใหม่ที่กลายเป็นพุทธศิลป์ในวัดทั่วประเทศ
ภาพขวาแผงคอสองวิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จ.ลำปาง เขียนขึ้นใหม่ตามแบบเดิม น่าจะทำขึ้นในปี 2482
ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านเวทีอันชอบธรรม ร่างพระราชบัญญัตินี้ ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงวางโครงสร้างของคณะสงฆ์เท่านั้น แต่เป็นการเสนอเพื่อแตกยอดความคิดดังกล่าวออกไป มหาเถรสมาคมได้มีการคัดเลือกคณะกรรมาธิการขึ้น แบ่งเป็นฝ่ายมหานิกาย 3 รูป และฝ่ายธรรมยุต 2 รูป ส่วนการตัดสินจะอยู่ในมือคณะกรรมการในมหาเถรสมาคม ซึ่งในการประชุมเดือนกันยายน 2480 คณะกรรมการได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ถึง 3 ร่าง ได้แก่ ร่างของคณะกรรมาธิการ, ร่างของกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) และอีกร่างหนึ่งเป็นของธรรมยุติกนิกาย ซึ่งมีหลักการคล้ายกระทรวงธรรมการ[43] ข้อที่ต่างกันก็คือ มาตรา 5 ที่ร่างของคณะกรรมาธิการเน้นว่า ส่วนกลางให้ปกครองรวมกัน 2 นิกาย แต่ในส่วนภูมิภาคให้แยกกันปกครอง ขณะที่สองร่างหลัง เป็นข้อความกลางๆไม่ระบุว่ารวมหรือแยกแต่อย่างใด ที่น่าสังเกตก็คือ กรรมการมหาเถรสมาคม ฝ่ายมหานิกายต้องการร่างพ.ร.บ.ของคณะกรรมาธิการ เมื่อการลงมติในคราแรกในการโหวตเสียงเท่ากัน ร้อนถึงการต้องตัดสินด้วยการให้พระที่งดออกเสียงนั้นได้ออกเสียง ซึ่งพระที่เหลือนั้นเป็น มหานิกาย ทำให้กรรมการฝ่ายธรรมยุตไม่พอใจ ขณะที่ฝ่ายมหานิกายก็ไม่ยินยอม และในที่สุดฝ่ายธรรมยุตก็ประท้วงด้วยการลาออก แต่ความยุ่งยากนี้ไม่สิ้นสุดทำให้ที่ประชุมตัดสินใจส่งร่าง พ.ร.บ.ให้รัฐบาลเป็นผู้พิจารณา[44] ร่างพ.ร.บ.นี้ถูกนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในเดือนสิงหาคม 2481[45] และได้นำเข้าสู่การประชุมลับและลงมติว่าแก้ไขพระราชบัญญัติ โดยสรุปว่าให้รวมการปกครองและแยกศาสนพิธีระหว่างทั้งสองนิกาย ไม่ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ด้วยคะแนน 61 เสียง[46] อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.นี้ค้างเติ่งอยู่นานจนนายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม ส.ส.จังหวัดนนทบุรี ทนไม่ไหวจึงยื่นกระทู้ถามรัฐบาลในปี 2483 เหตุผลของรัฐบาลก็คือ อยู่ในกระบวนการปรับแก้ไขกับคณะสงฆ์[47] ขณะที่สาเหตุเบื้องหลังนั้นมาจากความละเอียดอ่อนของปัญหาในคณะสงฆ์ที่รัฐบาลไม่กล้าตัดสินใจ โดยเฉพาะเมื่อมีนักการเมืองตัวแทนจากทั้งมหานิกาย คือ หลวงวิจิตรวาทการ อดีตมหาเปรียญ 5 ประโยค สำนักวัดมหาธาตุ ขณะที่ฝ่ายธรรมยุต คือ ทองสืบ ศุภะมาร์ค อดีตมหาเปรียญ 9 ประโยค วัดมกุฏกษัตริยารามทั้งคู่จึงออกแรงปกป้องผลประโยชน์ให้กับฝ่ายของตนอย่างเต็มที่ [48] จนกระทั่งร่าง พ.ร.บ.ได้เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในปี 2484 เมื่อเดือนกันยายน[49] และประกาศใช้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ในวันที่ 14 ตุลาคม 2484 เป็นต้นมา นอกจากนั้นยังมีการแนบแถลงการณ์ เรื่อง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ด้วย แถลงการณ์นี้ได้เน้นว่า ได้รับความเห็นชอบของคณะสงฆ์ และได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วและย้ำว่าเป็นการปกครองสงฆ์ที่อนุโลมตามวิธีของบ้านเมือง ซึ่งอ้างว่าเป็นเช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าใช้ นอกจากนั้นยังระบุว่า พ.ร.บ.นี้ ยังเปิดทางให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก เมื่อเสร็จแล้วหรือไม่เกิน 8 ปีนับจากประกาศใช้พ.ร.บ. ให้ทำการรวมนิกายสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[50]
สายลมเปลี่ยน สังฆราชก็เปลี่ยนสาย ก่อนที่จะมีการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.คณะสงฆ์สำเร็จ ก็ปรากฏว่า รัฐบาลคณะราษฎร ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีเดิมจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ให้พระฝ่ายธรรมยุตดำรงตำแหน่งพระสังฆราช เมื่อรัฐบาลสถาปนา สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสสฺเถระ) วัดสุทัศน์เทพวราราม เจ้าคณะใหญ่หนใต้ มหานิกาย ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ในเดือนพฤศจิกายน 2481 โดยเหตุผลว่า อาวุโสและทรงคุณวุฒิที่สุด ที่น่าสังเกตคือ สมเด็จพระสังฆราชกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สิ้นพระชนม์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2480 นั่นหมายถึง ช่วงที่บัลลังก์ว่างเกือบปี และช่วงนั้นเอง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทน ปฏิบัติการทางการเมืองครั้งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงฐานอำนาจการบริหารคณะสงฆ์ให้กลับมาสู่มหานิกาย สอดรับกับอำนาจการปกครองประเทศที่เปลี่ยนศูนย์กลางไปแล้ว[51] สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสสฺเถระ) วัดสุทัศน์เทพวราราม เจ้าคณะใหญ่หนใต้ มหานิกาย ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ในเดือนพฤศจิกายน 2481 ดำรงตำแหน่งถึงปี 2487
ชัยชนะเบื้องต้นและการเอาคืนของมหานิกาย หลังจากที่ฝ่ายมหานิกายได้โอกาสขึ้นมามีอำนาจบ้าง พบว่ามีการตีกลับในเชิงการเมืองในหลายกรณี ได้แก่ การรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดี) กรณีพระญาณนายกที่เคยถูกถอดสมณศักดิ์เนื่องจากรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำเรื่องขึ้นฟ้องศาล สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ก็โปรดให้คืนสมณศักดิ์ตามเดิมในปี 2482 นอกจากนั้นก็ยังให้ถอดพระราชกวี เจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรีออกจากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล เนื่องจากไม่รักษาความเป็นกลางระหว่างสงฆ์สองนิกายถ้าเป็นเจ้าคณะต่อไปเกรงจะเกิดความวุ่นวายไม่รู้จบ [52] นอกจากนั้นยังมีกรณีที่มีการทำเรื่องขอโอนวัดธรรมยุติมาอยู่กับมหานิกาย ในช่วงปี 2482 เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ พระเมธาธรรมรส เจ้าอาวาสวัดพิชัยญาติได้ทำเรื่องผิดร้ายแรงในสายตาของคณะธรรมยุต แต่สมเด็จพระสังฆราชพิจารณาว่า ไม่เหลือวิสัยที่จะแก้ไขได้จึงให้พระเมธาธรรมรสขอขมาต่อเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตและเถรสมาคมคณะธรรมยุตในมหาเถรสมาคม แต่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะธรรมยุต ไม่รับขอขมา ในส่วนที่ผิดวินัยและอาณัติสงฆ์ จนกล่าวว่าหากจะโอนไปขึ้นนิกายอื่นๆ คณะธรรมยุติก็ไม่ขัดข้อง ดังนั้น จึงได้มีการโอนวัดพิชัยญาติการาม ไปขึ้นกับมหานิกาย ใต้การปกครองเจ้าคณะแขวงใต้ธนบุรี [53] อีกกรณีหนึ่งคือ เรื่องนาคหลวง ความเข้าใจผิดเรื่องนาคหลวงที่เข้าใจกันไปว่า นาคหลวงจะต้องเป็นพระธรรมยุตเท่านั้น เริ่มในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชในปี 2443-2464) ที่แบ่งพระอุปัชฌาย์เป็นสองฝ่ายอย่างเด็ดขาด ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงที่ธรรมยุตเฟื่องฟูและเป็นที่นิยม ทำให้นาคหลวงแทบทั้งหมดจึงเป็นฝ่ายธรรมยุต นั่นจึงทำให้เข้าใจผิดกันไปว่า ผู้ที่มาบวชมาเป็นนาคหลวงจะเป็นพระธรรมยุตเท่านั้น ขณะที่ประเพณีก่อนหน้านั้นสมเด็จพระสังฆราชจะรับเป็นพระอุปัชฌาย์ของนาคหลวงทั้งสองนิกาย หากต้องการบวชในธรรมยุตก็ให้ไปบวชซ้ำที่วัดบวรนิเวศ ดังนั้นหลังจากที่แต่งตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งเป็นพระมหานิกาย เรื่องการบวชนาคหลวงก็ให้ย้อนกลับไปเหมือนเดิมคือ สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์นาคหลวงทั้งสองนิกาย [54] ทำสังฆกรรมร่วมกันได้อีกครั้ง นี่คือ ส่วนหนึ่งของการตีกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้งของฝ่ายมหานิกาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ก็คือ รัฐธรรมนูญแห่งพุทธจักรไทยนั่นแล พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ได้สะท้อนฐานความคิดทางการเมืองของสังคมไทยในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี นั่นคือ การรื้อโครงสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กรสงฆ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่หัวอย่างพระสังฆราชลงมา การแบ่งโครงสร้างการบริหารการปกครองใหม่ที่มีการแบ่งแยกอำนาจ และคานอำนาจระหว่างกัน เพื่อรองรับการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในวงการสงฆ์เองที่นับวันจะซับซ้อนขึ้น การออกแบบโครงสร้างใหม่นี้ก็เพื่อสร้างหลักการร่วมกันโดยมิต้องยึดอยู่กับปัญหาบุคคล ที่เป็นต้นตอความไม่ชอบมาพากลอันเนื่องมาจากอคติทั้งปวง สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจตามหลักอธิปไตยที่ระบอบประชาธิปไตยได้สถาปนาขึ้น สาระสำคัญของ พ.ร.บ.นี้ อาจจำแนกได้เป็นสามประการ ได้แก่ [55] ประการแรก ยุบเลิกมหาเถรสมาคม ที่ทำหน้าที่องค์กรปกครองสงฆ์หนึ่งเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่กับตัวเอง ในโครงสร้างใหม่นี้ได้แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วนได้แก่ สังฆสภา ถืออำนาจนิติบัญญัติ สังฆมนตรีถืออำนาจบริหาร และคณะวินัยธร ถืออำนาจตุลาการ เพื่อถ่วงดุลอำนาจการบริหารคณะสงฆ์เช่นเดียวกับการปกครองฝ่ายอาณาจักร ประการที่สอง หลังจากที่มหาเถรสมาคมหายไปจากโลก กฎหมายก็ยังจำกัดอำนาจสมเด็จพระสังฆราชด้านบริหารคณะสงฆ์ให้มีอำนาจแต่เพียงในนาม ดังนั้นเอาเข้าจริงแล้วตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแทบจะไม่มีความหมายใดๆในการบริหาร แต่เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเป็นประมุขของฝ่ายสงฆ์ กล่าวได้ว่าทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยลำพังมิได้ ซึ่งในวิธีคิดแบบนี้ทำให้พระสังฆราชไม่ต้องรับผิดชอบการบริหาร เนื่องจากว่าอำนาจการบริหารอยู่ที่สังฆนายกและคณะสังฆมนตรีแล้ว จึงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ เช่นเดียวกับกษัตริย์ในฝ่ายของอาณาจักร ประการที่สาม วางลู่ทางที่จะรวมนิกายสงฆ์ให้เป็นนิกายเดียวกัน ตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 60 เพื่อที่จะทำสังคายนาพระธรรมวินัยในเวลา 8 ปี เพื่อรวมนิกายสงฆ์ เรามาทำรู้จักกันว่า องค์กรที่ถืออำนาจอธิปไตยของคณะสงฆ์ในสมัยนั้น มีหน้าตาเป็นอย่างไรกัน
อำนาจที่หนึ่ง สังฆสภา สมาชิกสังฆสภา กำหนดไว้ว่ามีจำนวนไม่เกิน 45 รูป ประกอบด้วยสมาชิกได้แก่ พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป, พระคณาจารย์เอก, พระเปรียญเอก (ตั้งแต่เปรียญ 7-9) คัดมาจากพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติถึง แต่หากมีจำนวนมากจะคัดตาม “ลำดับอาวุโส” [56] ประธานและรองประธานสภา สมเด็จพระสังฆราชก็จะเป็นคนแต่งตั้งจากสมาชิกสังฆสภา[57] อนึ่ง สมาชิกสังฆสภาไม่ได้เกิดจากการ “เลือกตั้ง” แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกฎหมายได้เปิดช่องให้ตั้ง “คณะกรรมการวิสามัญ” ที่ไม่จำเป็นต้องสมาชิกสังฆสภา เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการประชุม หากมีความรู้ความสามารถ และคณะกรรมาธิการยังมีอำนาจนิมนต์ภิกษุ หรือเชิญผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการมาแสดงความคิดเห็นกิจการที่กระทำอยู่[58] สิ่งเหล่านี้เป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้คณะสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมได้กว้างขวาง อำนาจหน้าที่ของสังฆสภา มีหน้าที่ในการออกสังฆาณัติ (เทียบได้กับพระราชบัญญัติ) กติกาสงฆ์(พระราชกฤษฎีกา) กฎองค์การ (กฎกระทรวง) พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช (พระบรมราชโองการ) ข้อบังคับ (กฎสำนักนายกรัฐมนตรี) และระเบียบ (ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี) ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย[59] เพื่อไม่ให้การดำเนินการของคณะสงฆ์เป็นที่กังขาต่อพระธรรมวินัย หรือขัดกับพระไตรปิฏก จึงได้มีการระบุไว้เลยว่า หากมีข้อสงสัยในญัตติต่างๆ ให้ตีความโดยรักษาพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดไม่จำเป็นต้องลงมติ หรือใช้เสียงข้างมาก[60] การเสนอญัตติเข้าประชุมสภาที่มีอยู่สามทาง ได้แก่ จากคณะสังฆมนตรี จากกระทรวงศึกษาธิการ และจากสมาชิกสังฆสภา แต่ในส่วนสมาชิกสังฆสภา จะเสนอได้ก็ต้องให้สังฆนายกรับรองเสียก่อน[61] อำนาจของตำแหน่งนี้จึงทำให้ทั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติพยายามผลักดันพระสงฆ์ของตนขึ้นดำรงตำแหน่งสังฆนายก ซึ่งในที่สุดฝ่ายธรรมยุตก็คว้าความได้เปรียบนี้ไปเมื่อตำแหน่งอยู่ที่ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส สายธรรมยุต รัฐบาลประกาศแต่งตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2485[62] กระนั้นความละเอียดอ่อนในระบบการปกครองใหม่นี้คงจะเป็นความกังวลใจของรัฐบาล จนถึงต้องกับห้ามโฆษณาข้อความที่เกี่ยวกับการประชุมสังฆสภา คณะกรรมาธิการสังฆสภา คณะสังฆมนตรี หรือคณะกรรมการที่คณะสังฆมนตรีตั้งขึ้นให้พิจารณาเป็นการลับ จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[63] การออกแบบโครงสร้างของสังฆสภา คงล้อมาจากสภาผู้แทนราษฎรที่ให้อำนาจของสภาเป็นใหญ่ นั่นคือ กรณีที่พระสังฆราช ไม่เห็นด้วยกับร่างสังฆาณัติ อันเป็นเสมือนกับ กฏหมายเทียบเท่าพระราชบัญญัติ จะคืนมายังสังฆสภาหรือไม่ก็ตาม สังฆสภาจะปรึกษากันและออกเสียงคะแนนลับ ถ้าสังฆสภายังมีมติตามเดิมให้ถวายสังฆราชอีกครั้ง หากยังมีปัญหา ก็ให้นำร่างส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณา ถ้าเห็นสมควร ให้นำเสนอประธานสังฆสภาแล้วให้ประธานสังฆสภาลงนาม ประกาศใช้สังฆาณัตินั้นได้เลย[64] สังฆสภาชุดแรกที่ได้รับการประกาศในปี 2485 มีจำนวน 41 รูป มีการเปิดประชุมสังฆสภาสมัยสามัญครั้งแรกวันที่ 29 พฤษภาคม 2485 ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุ ถือว่าเป็นงานรัฐพิธี สมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธาน จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปร่วมงานจำนวนมากต่อมามีการประชุมคัดเลือกประธานและรองประธานสังฆสภา[65] ประธานสังฆสภารูปแรกคือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ[66] สายมหานิกาย ซึ่งตามหลักแล้วแม้พระมหานิกายจะดำรงตำแหน่งสำคัญอยู่ที่พระสังฆราช และประธานสังฆสภา แต่ก็ถือว่าเสียรังวัดอย่างมากที่ปล่อยให้พระฝ่ายธรรมยุตครองตำแหน่งสังฆนายกที่จะมีบทบาทและอำนาจในการบริหารเป็นอย่างมาก
อำนาจที่สอง คณะสังฆมนตรี ประกอบด้วยสังฆนายก 1 รูป และสังฆมนตรีอีกไม่เกิน 9 รูป ผู้แต่งตั้งก็คือ สมเด็จพระสังฆราช กำหนดไว้ว่า สังฆนายก และสังฆมนตรีอย่างน้อย 4 รูปต้องมาจากสังฆสภา นอกจากนั้นอาจเลือกภิกษุผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ แม้มิได้เป็นสมาชิกสังฆสภาก็ได้ [67] สังฆมนตรีที่ทำหน้าที่คล้ายรัฐมนตรี มีวาระการดำรงตำแหน่งอยู่ที่ 4 ปี [68] คณะสังฆมนตรีนั้นจะมีหน้าที่บริหารคณะสงฆ์ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค คล้ายคลึงกับฝ่ายราชอาณาจักร ส่วนกลางประกอบด้วย 4 องค์การ (คล้ายกระทรวง) ได้แก่ องค์การปกครอง (คล้ายกระทรวงมหาดไทย) องค์การศึกษา (คล้ายกระทรวงศึกษาธิการ) องค์การเผยแพร่ องค์การสาธารณูปการ[69] และกฎหมายเปิดช่องให้เพิ่มองค์การอื่นได้ตามความเหมาะสม คณะสังฆมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เต็มในการบริหารและบังคับบัญชาผู้กระทำผิด เมื่อมีอำนาจก็ต้องมีการรับผิดชอบ สังฆนายกและสังฆมนตรีต้องรับผิดชอบการบริหารร่วมกันในกิจการทั่วไป[70] ในด้านธุรการและการประสานงาน พ.ร.บ.กำหนดตำแหน่ง เลขาธิการสังฆสภา ที่เป็นคนจากกรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสังฆสภาและสำนักงานเลขาธิการคณะสังฆมนตรี เพื่อการนี้ให้มีสิทธิเสนอคำชี้แจงในคณะสังฆมนตรีด้วย [71] จึงนับเป็นตัวเชื่อมระหว่างการทำงานฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรอีกส่วน[72]
อำนาจที่สาม คณะวินัยธร เป็นคณะสงฆ์ผู้พิจารณาคดีหรือวินิจฉัยอธิกรณ์ หมวดนี้ ไม่ได้ระบุรูปแบบที่ชัดเจน เปิดช่องให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยและสังฆาณัติที่จะบัญญัติอย่างรอบคอบต่อไป ในพระราชบัญญัตินี้ เห็นได้ชัดว่า รัฐบาลและสภาเห็นความสำคัญกับส่วน “สังฆสภา” เนื่องจากมีเนื้อหาและรายละเอียดมากที่สุด คือ กว่า 7 หน้า ขณะที่รองลงมาคือ “คณะสังฆมนตรี” 4 หน้า นอกจากนั้นในหมวด “วัด” ก็นับเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดที่สัมพันธ์กับประชาชน ขณะที่หมวด “สมเด็จพระสังฆราช” “สาสนสมบัติ” (สะกดแบบเดิม) และ “คณะวินัยธร” มีรายละเอียดน้อยมาก ภาพซ้าย สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ประธานสังฆสภารูปแรก จากฝ่ายมหานิกาย การสลายตัวของ “คณะปฏิสังขรณ์” อาจกล่าวได้ว่า หลังจากที่ส่งไม้ถึงรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎรรับในหลักการแล้วว่าจะแก้ไขพ.ร.บ.ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ก็ทำให้คณะปฏิสังขรณ์ฯ ค่อยๆ สลายตัวตามลำดับ โดยมีสาเหตุจาก การลาสิกขาของสมาชิก เช่น พระมหาแย้ม ประพัฒน์ทอง ลาสิกขาในปี 2479 พระมหาประหยัด (ประหยัด ไพทีกุล) ลาสิกขาในปี 2481 รวมถึงสาเหตุจากการโยกย้ายวัดและโยกย้ายตำแหน่ง ออกไปจากกรุงเทพฯ[73] นอกจากนั้นคณะปฏิสังขรณ์ฯยังถูกเพ่งเล็งจากเจ้านายชนชั้นสูงในฐานะภัยต่อความมั่นคง ดังที่พบหลักฐานว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนจดหมายถึงสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (น่าจะอยู่ราวๆปี 2477-ผู้เขียน) มีข้อความที่เรียกคณะปฏิสังขรณ์ว่า "พระเก๊กเหม็ง" ทั้งยังมองการเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่าเป็นวิธีการแทรกซึมบ่อนทำลายของขบวนการคอมมิวนิสต์ที่จะ "ทำลายศาสนา" นั่นก็คงเนื่องด้วยว่า พระเหล่านี้มีความใกล้ชิดกับปรีดี พนมยงค์ และถวัติ ฤทธิเดชนั่นเอง[74] คณะปฏิสังขรณ์ฯ จึงแทบจะไม่มีเหตุผลที่จะดำรงอยู่อีกต่อไป จึงค่อยๆเสื่อมสลายไปในที่สุด สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ยืนเท้าสะเอว) เขียนถึงสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (นั่งบนรถไฟ? เสื้อขาว) ได้เรียกคณะปฏิสังขรณ์ว่า "พระเก๊กเหม็ง" ภาพนี้แสดงถึงวัยสนธยาของทั้งสอง
การเปลี่ยนแปลงคณะสงฆ์ จาก พ.ร.บ.ฉบับประชาธิปไตย การดำเนินการตามพระราชบัญญัติที่มีโครงสร้างที่เป็นธรรมมากขึ้น และเปิดช่องทางให้พระสงฆ์ปฏิบัติงานตามความสามารถมากกว่าเดิมที่รวมศูนย์อยู่ที่มหาเถรสมาคม พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์ ได้แบ่งผลงานที่มาจากการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ในพ.ร.บ.ตัวใหม่นี้ ให้เห็นเป็นผลงานอันน่าตื่นตาตื่นใจ 2 ช่วง ได้แก่ ระยะแรก ปี 2485-2490 เป็นระยะปรับตัวเตรียมงานปกครอง เป็นช่วงที่มีการออกสังฆาณัติ ออกระเบียบมากที่สุด เช่น สังฆาณัติระเบียบบริหารคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค พ.ศ.2485, สังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ.2486, สังฆาณัติระเบียบพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2487 เป็นต้น นอกจากนั้นถือว่ามีการตื่นตัวทางการศึกษาขึ้นมาก โดยเปิดการศึกษาวิชาการฝ่ายสามัญเป็นครั้งแรกอย่างจริงจังในระดับมหาวิทยาลัยคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย ปี 2489 และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ปี 2490 นับเป็นการเตรียมผลิตบุคลากรเพื่อเข้าไปดำเนินการปกครองสงฆ์ต่อไป[75] ระยะที่สอง ปี 2490-2503 เป็นระยะทำงานเชิงรุก นับเป็นยุคที่คณะสงฆ์ไทยเฟื่องฟูขึ้นมาก เพราะมีความพร้อมทางด้านบุคลากรที่เข้าใจ พ.ร.บ.มากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (คล้าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ของ พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุ ได้มีการทำงานเชิงรุก โดยส่งพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ไปยังภูมิภาคต่างๆ และนำพระสังฆาธิการและพระสงฆ์มาอบรมที่วัดมหาธาตุ ทั้งยังส่งภิกษุไปดูงานและเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ[76] หากเปรียบกับรัฐบาลทางโลกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่อสังคมไทยแล้ว ผลงานของรัฐบาลคณะสงฆ์ที่คู่ขนานกันไปนั้นสัมฤทธิผลอย่างน่าสนใจ สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1) การกำหนดเขตการปกครองคณะสงฆ์ มีการแบ่งหน่วยปกครองลดหลั่นไปในระดับภาค จังหวัด อำเภอ ตำบลและวัด ในระดับภาค เดิมแบ่งตามเขตภาคปกครองของบ้านเมือง ต่อมาปรับให้เหมาะสมกับฝ่ายสงฆ์แบ่งเป็น 5 ภาค เจ้าคณะภาคขึ้นตรงต่อสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง[77] ต่อมาในระดับจังหวัด แม้จะมีเจ้าคณะจังหวัดแต่ก็ไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเผด็จการ แต่เป็นเพียงหัวหน้าคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดก็ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆทั้ง 4 ดังที่กล่าวไปแล้ว เช่นเดียวกับระดับอำเภอก็มีเจ้าคณะอำเภอ และคณะกรรมการสงฆ์อำเภอที่ดูแลอยู่ด้วย[78] รองลงมาคือระดับตำบล และเจ้าอาวาสวัด ที่ไม่ได้มีกรรมการใด 2) การแต่งตั้งเลื่อนชั้นผู้ปกครองคณะสงฆ์ พระสงฆ์ผู้ทำการปกครองจะเรียกว่า “พระคณาธิการ” แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนกลาง อันประกอบด้วย สังฆมนตรีและเลขานุการสังฆมนตรี และส่วนภูมิภาค ได้แก่ เจ้าคณะตรวจการภาคลงไปจนถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาส[79] ซึ่งการแต่งตั้งและเลื่อนชั้นนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ พบว่าสิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงผลงานของคณะสงฆ์ในแต่ละปีเป็นอย่างดี โอกาสที่จะใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องในการนำมาซึ่งยศและตำแหน่งระดับสูง โดยปราศจากการตรวจสอบจึงเป็นไปได้ยาก[80] 3) การแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ พระราชบัญญัตินี้บ่งบอกคุณสมบัติที่ควรจะเป็นและแก้ไขความบกพร่องจาก พ.ร.บ.เดิม นั่นคือยกเว้นพระอุปัชฌาย์ที่เคยเป็นมาก่อน สังฆาณัตินี้ให้เป็นอยู่ต่อไป[81] และยุคนี้แทบจะไม่มีปัญหาอุปัชฌาย์เถื่อนแล้ว เนื่องจากความรู้ความเข้าใจนั้นมีมากขึ้นแล้ว[82] 4) การก่อตั้งและขยายสำนักวิปัสสนา โดยหลักการนับได้ว่าภารกิจของพระสงฆ์มีอยู่ 2 ประการ ก็คือ คันถ ธุระ การศึกษาเล่าเรียน และ วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) สังฆนายกองค์แรก ได้ทำการรวบรวมวัดป่าในเขตอีสานขึ้นต่อคณะสงฆ์ธรรมยุตเกือบทั้งหมด นอกจากนั้นยังพบว่ามีฝ่ายมหานิกายไม่น้อยที่เลื่อมใสข้อวัตรของธรรมยุติแล้วหันไป อุปสมบทแปรญัตติใหม่ แม้จะมีพรรษากว่า 10 พรรษาแล้วก็ตาม ซึ่งภายในเวลาไม่ถึงสิบปี พบว่าธรรมยุตได้ตั้งมั่นในเขตอีสานตอนบนและล่างแทบทั้งหมด ทำให้ฝ่ายมหานิกายตื่นตัวว่าได้สูญเสียสมาชิกจำนวนมากจึงทำให้ฝ่ายมหานิกายให้ความสนใจกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้น[83] พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ได้ส่งเปรียญวัดมหาธาตุไปศึกษาพุทธศาสนาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระที่พม่าในปี 2495 และยังให้พระเถระพม่าเข้ามาสอน โดยเปิดสอน ณ อุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา ปรากฏว่าเป็นที่สนใจกันมาก[84] การแข่งขันดังกล่าวจึงส่งผลให้การศึกษาของพุทธศาสนาขยายตัวคึกคักมากขึ้น 5) การควบคุมความประพฤติพระภิกษุสามเณร คณะสังฆมนตรีได้ประชุมอกประกาศชี้แจงหรือห้ามในเรื่อง ต่างๆ เช่น ประกาศคณะสงฆ์ พ.ศ.2489 ห้ามจัดให้มีการพนันในบริเวณวัด, พ.ศ.2489 ห้ามภิกษุสามเณรแสดงตนเป็นอาจารย์บอกเลข สลากกินแบ่ง หรือสลากกินรวบ, พ.ศ.2490 ห้ามมีระบำในวัด, พ.ศ.2495 ห้ามภิกษุสามเณรเรียกเงินค่าเวทมนต์และห้ามทดลองของขลัง, พ.ศ.2496 ห้ามบรรพชิตรับบุตรบุญธรรม, พ.ศ.2499 ห้ามเปิดการแข่งขันชกมวยในวัด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมที่สลับซ้อนมากขึ้น จนกระทั่งในปี 2500 ได้ตั้งกองวินยาธิการเพื่อกวดขันความประพฤติโดยเฉพาะ ซึ่งนับว่าวางแผนงานในการควบคุมความประพฤติอย่างเป็นระบบและทันท่วงที[85] ในส่วนของคณะวินัยธรพบว่า สังฆาณัติให้ใช้ระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ พ.ศ.2486 นับเป็นกระบวนการพิจารณาอธิกรณ์ที่เป็นธรรมที่สุดในด้านนิตินัย เนื่องจากมีการมอบหมายงานอย่างอิสระโดยไม่ก้าวก่ายงานปกครอง ขณะที่การสอบสวนก็สร้างระบบที่ตัดผู้เกี่ยวข้องกับคดีออกไป [86] พระราชบัญญัตินี้นับได้ว่าสร้างเงื่อนไขให้ ภิกษุฝ่ายมหานิกายได้มีอำนาจทางการเมืองในการปกครองสงฆ์ มากขึ้นอย่างไม่เคยทำได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คณะสงฆ์ยังสามารถจัดการบริหารกันเองได้ โดยมีการแทรกแซงจากฝ่ายอาณาจักรไม่มากนัก ซึ่งต่างจากการพิจารณาแบบ พ.ร.บ.เก่า เนื่องจากได้มอบอำนาจพิจารณาคดีไว้ที่ต้นสังกัดของผู้กระทำผิด จึงนับว่าเป็นระบบที่มีปัญหาเรื่องอคติและผลประโยชน์ระหว่างกัน[87]
ส่งท้าย เพื่อส่งต่อ นี่คือ ผลงานของคณะปฏิสังขรณ์ พระสงฆ์ร่วมสมัย คณะราษฎรและยุคสมัยที่อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือประชาชน ที่เป็นบทขับขานแห่งชัยชนะของพลังประชาธิปไตย เป็นชัยชนะที่ได้มาจากการต่อสู้กับสังคมเก่าด้วยหลักการและเหตุผล รวมถึงหมากกลทางการเมือง ก่อนที่เราจะอิ่มเอมใจไปกับชัยชนะ ต้องไม่ลืมว่าการสูญเสียตำแหน่งแห่งที่ ลาภ ยศ สรรเสริญของพระสายธรรมยุต ได้สั่งสมความขุ่นเคืองไม่พอใจอยู่ลึกๆ ไม่นับถึงความขัดแย้งร้าวฉานภายในของพระสงฆ์มหานิกายเอง และพ.ร.บ.นี้ก็ไม่ได้ไปไกลมากถึงกับการท้าทายศักดินาและการแบ่งแยกลำดับชั้นสูงต่ำในคณะสงฆ์ ดังที่เราเห็นว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญยังเป็นพระระดับ Elite ของสังคมไทย พระรุ่นใหม่ในนามคณะปฏิสังขรณ์ฯ ไม่ได้ขึ้นมามีอำนาจดุจดังที่คณะราษฎรทำได้สำเร็จ และเหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นไปอีกเมื่อผนวกกับสถานการณ์ทางการเมืองที่พลิกผันเมื่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมกลับมายึดกุมอำนาจนำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การกำชัยชนะเพื่อเป็นแชมป์ว่ายากแล้ว แต่การรักษาแชมป์ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่องนั้นยากยิ่งกว่า และนี่คือ สถานการณ์ของรัฐบาลคณะราษฎรและผู้สนับสนุนพ.ร.บ. คณะสงฆ์ 2484 จะต้องเผชิญอย่างจริงจังในเวลาต่อมา
(โปรดติดตาม ตอนที่ 2 มรณกรรมใต้ตีนเผด็จการ เร็วๆนี้) [1] "คำประกาศสำนักพิมพ์นิติราษฎร์" ใน "สำนักพิมพ์นิติราษฎร์ อีกหนึ่งภารกิจนิติศาสตร์เพื่อราษฎร" .ประชาไทออนไลน์. http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37369 (12 ตุลาคม 2554) [2] “ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์” ใน ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 19 หน้า 295 วันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ.121, น.295-296 [3] “ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์” ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 19 หน้า 295 วันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ.121, น.295-296อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ไม่ได้ประกาศบังคับใช้ในประเทศ การเข้าไปควบคุมคณะสงฆ์ด้วยตัวกฎหมายได้ทยอยไปในปีต่างๆเช่น ปี 2445 ในมณฑลกรุงเทพฯ, มณฑลกรุงเก่า, มณฑลพิศณุโลก, มณฑลนครศรีธรรมราช, มณฑลนครราชสีมา, มณฑลราชบุรี, มณฑลปราจิณบุรี, มณฑลนครสวรรค์, มณฑลนครไชยศรี, มณฑลชุมพร, มณฑลภูเก็จ, มณฑลจันทบุรี, มณฑลอิสาณ และมณฑลบูรพา ขณะที่มณฑลอุดรในปี 2451 สุดท้ายที่มณฑลมหาราษฎร์ มณฑลพายัพและมณฑลปัตตานีในปี 2467 [4] ดูในการเสวนา การเสวนาเรื่อง "เจาะลึก …..พ.ร.บ.สงฆ์" 11 เมษายน 2545 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์, ไพศาล พืชมงคล, วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แะดนัย เอกมหาสวัสดิ์ http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/004957.htm (17 เมษายน 2545) [5] คนึงนิตย์ จันทบุตร. การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ.2477-2484 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2528, น.16 [6] Kenneth P. Landon. Siam in Transition : A Brief survey of cultural trends the years since the Revolution of 1932 (New York : Green Wood Press), 1968, p.216-217 และ Virginia Thompson. Thailand : The New Siam (New York : Paragon Book Reprint Corporation), 1967, p.623-672 อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. การปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539, น.78 [7] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.78 [8] ดูการต่อสู้ทางการเมืองที่ซับซ้อนทั้งใต้ดินและบนดินของฝ่ายเจ้า ใน ณัฐพล ใจจริง ‘ “คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร” : การก่อตัวของ “ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ‘ ใน ฟ้าเดียวกัน 6 : 1 (มกราคม-มีนาคม 2551) [9] คนึงนิตย์ จันทบุตร. การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ.2477-2484 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2528, น.66 [10] แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 20 (2475), น.715 อ้างใน คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.67-68 [11] แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 20 (2475), น.716 อ้างใน คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.69 [12] ดุษฎี พนมยงค์. "ร้านกาแฟ Cafe de la Paix ในกรุงปารีส กับนายปรีดี พนมยงค์" ใน ข่าวสดออนไลน์ . http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEUzTURnMU1nPT0= (17 สิงหาคม 2552) บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า ร้านกาแฟ Cafe de la Paix ที่คนมักอ้างว่าเป็นแหล่งพบปะพูดคุยเพื่อการทำปฏิวัตินั้นไม่เป็นจริง เนื่องจากว่าเป็นร้านกาแฟที่หรูหราและมีราคา รวมถึงการยืนยันจากบันทึกความทรงจำของ พูนสุข พนมยงค์ [13] ไทยใหม่, ปีที่ 5 ฉบับที่ 69 (22 กุมภาพันธ์ 2477) อ้างใน คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.73 [14] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.75 [15] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.106-107 [16] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.108 [17] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.70 [18] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.81 [19] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.98 [20] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.100 [21] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.63-65 [22] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.84-85 [23] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.86 [24] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.87 [25] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.87 [26] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.88-89 [27] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.90 [28] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.111 [29] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.114-115 [30] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.117 [31] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.117 [32] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.119-120 [33] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.120 [34] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.122 [35] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.120 [36] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.123 [37] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.129 [38] แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.150-151 [39] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.129 [40] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.129-131 [41] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.141 [42] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.142 [43] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.142-143 [44] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.144-146 [45] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.147 [46] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.150 และ 153 [47] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.105-106 [48] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.107-108 [49] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.108-109 [50] "แถลงการณ์ เรื่อง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1415 [51] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.159-161 [52] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.205 [53] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.205 [54] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.212-213 [55] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.113 [56] มาตรา 11 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1394 [57] มาตรา 12 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1394 [58] มาตรา 25 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1399 [59] มาตรา 22 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1398 การเทียบเคียงลำดับชั้นทางกฎหมาย ดูใน โชติ ทองประยูร. กฎหมายสงฆ์ฉบับเก่า ภาค 3 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484, น.3.51 อ้างใน เชิงอรรถ พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.122 [60] มาตรา 17 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1396 [61] มาตรา 16 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1396 [62] แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.190 [63] มาตรา 27 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1400 [64] มาตรา 24 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1399 [65] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.127-128 [66] แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.176-186 [67] มาตรา 29 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1401 [68] มาตรา 31 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1401 [69] มาตรา 33 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1402-1403 [70] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.130 [71] มาตรา 59 ใน “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1409 [72] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.124-125 [73] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.217-218 [74] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.219-220 [75] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.137 [76] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.138 [77] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.139-140 [78] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.141-142 [79] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.144 [80] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, 2539, น.146 [81] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, 2539, น.148 [82] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, 2539, น.149 [83] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.154-155 [84] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.156 [85] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.158-159 [86] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.184 [87] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.184-185 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น