ประชาไท | Prachatai3.info |
- TCIJ: ชาวบางสะพานฮึ่ม นายอำเภอถูกสั่งย้ายไม่เป็นธรรม
- หัวหน้าอุทยานฯ มอบตัวหลังถูกซัดทอดคดีสังหารผู้เปิดโปงกรณีรื้อเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน
- มาตามนัด-ผู้ว่าฯ กทม.จัด "พิธีไล่น้ำ" ตามฤกษ์ 14.39 น.
- ศปภ.เตือน ปชช.เกาะเมืองอยุธยาเร่งอพยพด่วน คาดปริมาณน้ำสูง 4 เมตร
- ‘โกวิท’ ยืนยันไม่ยุบ ศอ.บต. แม่ทัพคุมเบ็ดเสร็จดับไฟใต้
- นักข่าวพลเมือง: แบไต๋เหมืองทองอัครา หวั่นโดนถอนบีโอไอ เหตุหมกเม็ดอีไอเอขยายโรงถลุงแร่
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1 - 7 ต.ค. 2554
- นายกสั่งเปิดประตูระบายน้ำอยุธยา ศภช.เตือน 9 คลอง กทม.น้ำจ่อล้นตลิ่ง
- เปิดอก ‘พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ’ ทำไมต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
- ภาคใต้เปิดฉากวันที่อยู่อาศัยโลก ชู ‘ลำสินธุ์’ ชุมชนต้นแบบจัดการตนเอง
- ศรีสุวรรณ จรรยา: เอ็นจีโอพร้อมตอบโต้รัฐบาล เมื่อ(ร่าง)กฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม...แท้ง
- เครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้ให้รัฐบาลเวลา 30 วัน ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
- กทม.ยกเลิก "พิธีไล่น้ำ" แต่อาจจัดเป็นการภายใน
TCIJ: ชาวบางสะพานฮึ่ม นายอำเภอถูกสั่งย้ายไม่เป็นธรรม Posted: 08 Oct 2011 11:38 AM PDT
9 ต.ค.54จากกรณีนายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร นายอำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ทำหน้าที่ได้ไม่ถึง 2ปี โดยเข้ารับตำแหน่งนายอำเภอบางสะพานเมื่อ 23กุมภาพันธ์ 2553ได้ถูกโยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดน สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากสร้างผลงานในการปฏิบัติหน้าที่อย่างดี โดยเฉพาะการบังคับใช้มาตรา 25 ตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ซึ่งทำให้โครงการอุตสาหกรรมโรงถลุงเหล็กต้องหยุดชะงักไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่เชื่อว่าการโยกย้ายอาจเกิดจากกรณีดังกล่าว ที่ผ่านมากว่า 20ปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีใครกล้าบังคับใช้มาตรา25มาก่อน ประชาชนในพื้นที่บางสะพานจึงเตรียมล่ารายชื่อชื่อเพื่อคัดค้านและให้ตรวจสอบเรื่องการโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมต่อรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย “การโยกย้ายนายอำเภอในครั้งนี้ ผมคิดว่าน่าจะเป็นผลพวงจากการที่ท่านนายอำเภอทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาโดยเน้นความถูกต้องมากกว่าถูกใจอย่างที่ท่านมักพูดเสมอเวลาเจอกับชาวบ้าน โดยเฉพาะเรื่องการบังคับใช้มาตรา 25ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507กับกลุ่มทุนขนาดให้ในบางสะพานที่บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึงจำนวน 798ไร่ เพราะผมเคยได้ยินคนพูดกันมาว่ามีการข่มขู่นายอำเภอมาตลอดหลังจากที่ท่านบังคับใช้มาตรา 25ว่า ระวังจะโดนย้ายไปเขมร” นายสวัสดิ์เกียรติ สีทับทิม ชาวบ้านบางสะพานกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
หัวหน้าอุทยานฯ มอบตัวหลังถูกซัดทอดคดีสังหารผู้เปิดโปงกรณีรื้อเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน Posted: 08 Oct 2011 09:21 AM PDT หัวหน้าอุทยานแก่งกระจานเข้ามอบตัวหลังถูกออกหมายจับคดีจ้างวานฆ่า อ.ป๊อด แกนนำเรียกร้องความเป็นธรรมให้กะเหรี่ยงแก่งกระจาน ตร.ค้นบ้านพบเฟอร์นิเจอร์ไม้หายาก และกระสุนเอ็ม 16 นับร้อยนัด ก่อนศาลให้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 1 ล้านบาท จนท.ค้นบ้านพบไม้หายากทั้งหลัง วานนี้ (7 ต.ค.) เวลา 15.40 น. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ามอบตัวกับ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ สุขแสวง รอง ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี หลังถูกออกหมายจับในข้อหา เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ในคดีลอบสังหารนายทัศน์กมล โอบอ้อม หรือ อาจารย์ป๊อด นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตขณะขับรถยนต์บนถนนเพชรเกษม อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา การออกหมายจับนายชัยวัฒน์ดังกล่าว เป็นผลจากการซัดทอดของนายชาญ ทองเกิด คนชี้เป้า ซึ่งให้การที่เป็นประโยชน์จนนำไปสู่การออกหมายจับนายศักดิ์ พลับงาม มือปืน และนายธวัชชัย ทองสุข สมาชิกเทศบาลหนองจอก ผู้รับงาน ซึ่งเป็นคนสนิทข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ใน จ.เพชรบุรี และนายดวง ไม่ทราบนามสกุล ทำหน้าที่ขับรถกระบะมิตซูบิชิ สตราด้า 4 ประตู สีบรอนซ์ทอง พาหนะของทีมมือปืน ส่วนสาเหตุการลอบสังหาร คาดว่าจะมาจากการที่นายทัศน์กมลเคยมีความขัดแย้งกับนักการเมืองท้องถิ่น และก่อนถูกลอบยิงเสียชีวิต ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานที่ถูกเผาขับไล่ออกจากป่า จนถูกสั่งห้ามเข้าพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจค้นบ้านพัก เลขที่ 144 หมู่ 6 ต.หนองจอก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นของนายชัยวัฒน์ การตรวจค้นไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันตำรวจอีกชุดกว่า 100 นาย เข้าตรวจค้น "ไร่ราชพฤกษ์"ของนายชัยวัฒน์อีกแห่ง บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ภายในบริเวณมีบ้านพักขนาดใหญ่สูง 2 ชั้น ด้านนอกสร้างด้วยอิฐแต่ด้านในสร้างและตกแต่งด้วยไม้หายากแทบทั้งหลัง ส่วนใหญ่เป็นไม้มะค่าหลากหลายขนาด เฟอร์นิเจอร์ในบ้านทุกชิ้นเป็นไม้ราคาแพง ภายในบริเวณยังมีสระน้ำขนาดใหญ่ น้ำตกเทียม และบ้านพักอีกหลายหลัง เจ้าหน้าที่ยังพบกระสุนปืนเอ็ม 16 กว่า 100 นัด จึงยึดไว้ตรวจสอบ ส่วนไม้ที่นำมาสร้างและตกแต่งบ้าน เจ้าหน้าที่ถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำไปตรวจสอบว่าได้มาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เวลา 10.50 น. วันนี้ (8 ต.ค.) ที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี พ.ต.ท.บุญช่วย สมใจ สว.สภ.บ้านลาด และเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน สภ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี นำตัวนายชัยวัฒน์ ยื่นขอฝากขังชั่วคราวและคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว ก่อนที่ศาลจะพิจารณาให้ประกันตัวไปด้วยหลักทรัพย์จำนวน 1 ล้าน 1 แสนบาท โดยเห็นว่าไม่เห็นมีการกระทำเป็นรูปธรรม จึงเป็นเพียงการคาดคะเน ประกอบกับนายชัยวัฒน์เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีหลักทรัพย์น่าเชื่อถือ ไม่น่าเชื่อว่าจะหลบหนี จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขห้ามใช้อำนาจหน้าที่นำผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีอาวุธดำเนินการเกี่ยวข้องกับครอบครัวของผู้คัดค้านหลังปล่อยตัวชั่วคราว หลังออกจากห้องพิจารณาคดี นายชัยวัฒน์รีบเดินทางกลับทันทีโดยไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแต่อย่างใด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
มาตามนัด-ผู้ว่าฯ กทม.จัด "พิธีไล่น้ำ" ตามฤกษ์ 14.39 น. Posted: 08 Oct 2011 09:07 AM PDT ผู้ว่าฯ กทม. ชี้ประกอบ "พิธีไล่น้ำ"ไม่มีอะไรเสียหายเป็นเรื่องมงคล คล้ายการทำบุญเมือง และใช้ส่วนตัวประกอบพิธี ยืนยันไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้น้ำท่วม พร้อมเฝ้าสถานการณ์ใกล้ชิด
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยข้าราชการ กทม. ประกอบ "พิธีไล่น้ำ" เมื่อ 8 ต.ค. ที่ศาลหลักเมือง (ที่มาของภาพ: Flickr/Arthit/CC) ตามที่มีรายงานข่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ยกเลิกการเชิญข้าราชการ กทม. ร่วมจัดพิธีไล่น้ำ และเปลี่ยนเป็นการจัดเป็นการภายในแทนนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ล่าสุดในวันนี้ (8 ต.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยข้าราชการ กทม. ได้มายังศาลหลักเมืองเพื่อร่วมทำพิธีไล่น้ำ โดยใช้ฤกษ์เวลา 14.39 น. ตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเวียน โดยผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่าใช้งบประมาณส่วนตัวประกอบพิธี ไม่ได้ใช้งบประมาณ กทม. ในเว็บไซต์มติชนออนไลน์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า มีผู้ใหญ่ที่เคารพแนะนำให้จัดพิธี และเห็นว่าไม่ได้มีอะไรเสียหาย กลับเป็นเรื่องมงคล ยืนยันว่าพิธีครั้งนี้ไม่ได้ไล่น้ำจาก กทม. ไปจังหวัดอื่น เป็นเพียงความเชื่อ ซึ่งคนไทยเก่ง มีทั้งความสามารถ และยังเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ งานครั้งนี้ คล้ายๆ กับการทำบุญเมือง และไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหาน้ำและป้องกันน้ำท่วมใน กทม. เฝ้าสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ศปภ.เตือน ปชช.เกาะเมืองอยุธยาเร่งอพยพด่วน คาดปริมาณน้ำสูง 4 เมตร Posted: 08 Oct 2011 08:54 AM PDT 8 ต.ค. 54 - มติชนออนไลน์รายงานว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ขอความร่วมมือให้เปิดประตูระบายน้ำพระอินทร์เพิ่มเป็น 50 ซ.ม. เพื่อเร่งระบายน้ำป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งในเบื้องต้นได้นำกำลังทหาร นำแท่งเหล็กไปวางเป็นแนวสะพานกั้นบริเวณด้านหน้าโรงงานฮอนด้า ส่วนการให้ความช่วยเหลือประชาชนก็เป็นไปได้ยาก เพราะว่าประชาชนไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ ยังรถยนต์ส่วนตัวไปจอดปิดพื้นผิวจราจรทำให้กีดขวางการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม จึงขอให้ประชาชนที่อยู่บริเวณเกาะเมือง เร่งอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากในคืนนี้คาดว่าปริมาณน้ำจะสูงขึ้น 4 เมตร หรือเทียบเท่าตึก 2 ชั้น จึงขอให้ประชาชนอพยพไปที่ศูนย์ราชการใหม่ที่สามารถรองรับประชาชนได้ถึง 1 หมื่นคน หรือเร่งย้ายออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย โดยไม่ต้องเป็นห่วงบ้านเรือนและทรัพย์สิน เนื่องจากว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารเรือ จะลาดตระเวนเข้าไปดูแล ล่าสุด เมื่อเวลา 20.00น. ทางศปภ. ได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่ประสบอุทกภัยจำนวน 3 ฉบับ โดยให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเร่งอพยพออกจากพื้นที่ไปอยู่ในที่ปลอดภัย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
‘โกวิท’ ยืนยันไม่ยุบ ศอ.บต. แม่ทัพคุมเบ็ดเสร็จดับไฟใต้ Posted: 08 Oct 2011 08:28 AM PDT ‘โกวิท วัฒนะ’ ลงชายแดนภาคใต้ แจงโครงสร้างใหม่ดับไฟใต้ โยกเลขาฯ ศอ.บต.เข้ากรุง ให้อำนาจแม่ทัพภาค 4 คุมเบ็ดเสร็จดับไฟใต้
8 ต.ค. 54 - เมื่อเวลา 09. 00 น. ที่ห้องประชุมหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) อโณทัย ตึกศูนย์สันติสุข กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เดินทางมาประชุมร่วมทหารระดับ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และผู้บังคับบัญชา พร้อมมอบนโยบาย โดยพล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาพที่ 4 กล่าวรายงานการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ พล.ต.อ.โกวิท เปิดเผยหลังการประชุมว่า แนวทางการ ได้เรียนให้ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ได้ทราบว่า ต่อไปหน่วยงานราชการทุกหน่วยจากหลายกระทรวงจะมาช่วยฝ่ายทหาร ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไปฝ่ายพลเรือนจะมาช่วยฝ่ายทหารมากขึ้น “ประเด็นสำคัญคือ จะให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้บริหารทุกหน่วย ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน กระทรวง ทบวง กรมที่จะมาทำงานในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารและรับผิดชอบ” พล.ต.อ.โกวิท กล่าว เวลา 13.30 น. วันเดียวกัน พล.ต.อ.โกวิท ได้เดินทางไปประชุมกับหัวส่วนราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต ) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยนายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ได้รายงานผลการดำเนินงาน พล.ต.อ.โกวิท กล่าวต่อที่ประชุมว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการหารือกับหลายฝ่าย ทั้งในคณะรัฐมนตรีและกับผู้บัญชาการทหารบก ต่างก็เห็นด้วยว่าจะให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่ ในการกำกับดูแลทั้งทหาร ตำรวจและหน่วยพลเรือนในพื้นที่ทั้งหมด “สำหรับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ในโครงสร้างใหม่ อาจจะต้องให้ระดับรองเลขาธิการอยู่ดูแลในพื้นที่ ส่วนรองปลัดกระทวงมหาดไทยที่เป็นเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ไปอยู่ที่ส่วนกลางกับผม โดยผมจะเป็นประธานกอ.รมน.(กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน) และประธานแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะตั้งชื่ออะไรนั้น จะกลับไปศึกษาให้เรียบร้อยก่อน” พล.ต.อ.โกวิท กล่าว พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า การให้แม่ทัพภาคที่ 4 ดูแลทั้งหมดนั้น ก็เพื่อให้แม่ทัพภาคที่ 4 ได้รู้ว่า แต่ละส่วนงานทั้งของกระทวง ทบวง กรมต่างๆ ทำอะไรบ้าง เรียกว่าให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้บัญชาการของพื้นที่ ทราบว่ามีหน่วยกำลังอะไรบ้าง เป็นผู้บูรณาการการบริหารพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้การแก้ปัญหาเดินหน้าต่อไปได้ดีขึ้น เป็นความจำเป็นที่ต้องช่วยกันแก้ปัญหาให้ได้ พล.ต.อ.โกวิท ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า จะไม่ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นคนดูแล เพียงแต่จะจัดให้เหมาะสมกับโครงสร้างเฉพาะการแก้ปัญหา เวลา 15.00 น . พล.ต.อ.โกวิท เดินทางไปที่ห้องประชุมพิทักษ์สันติราษฎร์ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อประชุมกับนายตำรวจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ที่ประชุมไม่ได้ประชุมเรื่องการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และตนก็ไม่ได้เสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในที่ประชุมแต่อย่างใด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักข่าวพลเมือง: แบไต๋เหมืองทองอัครา หวั่นโดนถอนบีโอไอ เหตุหมกเม็ดอีไอเอขยายโรงถลุงแร่ Posted: 08 Oct 2011 07:59 AM PDT เหมืองทองอัคราหวั่นโดนถอนบัตรส่งเสริมลงทุน (บีโอไอ) เหตุหมกเม็ดอีไอเอขยายโรงงานถลุงแร่ ซ้ำสร้างส่วนขยายก่อนมีใบอนุญาต เอ็นจีโอแฉบีโอไอแหกกฎข้อเสนอกรรมการสิทธิ์ฯ ห้ามส่งเสริมการลงทุนเหมืองแร่ทองคำ ให้บริษัทต่างชาติ ชี้ชาวบ้านรับผลกระทบอ่วม ไซยาไนต์ - สารหนู - ระเบิด เท่าตัว 8 ต.ค. 54 - มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจภายหลังเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองของบริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด กว่า 40 คน นำโดย นายวิม สรณะชาวนา เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการขยายโรงงานถลุงแร่ของบริษัทอัครา ไมนิ่ง จำกัด ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานคณะทำงานติดตามนโยบายเหมืองแร่ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทอัครา ไมนิ่ง จำกัด ได้ก่อสร้างโรงงานประกอบโลหกรรมส่วนขยายเพื่อถลุงแร่ทองคำในปริมาณเพิ่มขึ้น จากกำลังการผลิตปัจจุบันที่ 8,000ตันต่อวันมา เป็น 32,000 ตันต่อวัน โดยขณะนี้ได้ก่อสร้างส่วนขยายเกือบเสร็จหมดแล้ว รอเปิดระบบเท่านั้น ทั้งนี้บริษัทมีการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวมาตั้งแต่ปี2552 เรื่อยมา โดยที่ยังไม่มีใบอนุญาตใดๆ ทั้งสิ้น กล่าวคือ ก่อสร้างไว้ก่อนแล้วขอใบอนุญาตตามหลัง ทั้งนี้ใบอนุญาตที่จะต้องขอเพื่อเปิดโรงงานส่วนขยายจะมีใบสำคัญอย่างน้อยสองรายการคือ หนึ่ง รายงาน EHIA เนื่องจากโรงงานถลุงแร่ทองคำเข้าข่าย มาตา 67 วรรคสอง และสอง ใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานจากกรมโรงงานแต่ทั้งสองใบยังไม่มี และยังไม่ได้ นั่นหมายความว่า ขณะนี้บริษัทอัคราฯ ก่อสร้างโรงงานส่วนขยายก่อนมีใบอนุญาต ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการที่อัคราฯขอบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในส่วนของโรงงานส่วนขยายนี้ คือ ก่อนหน้านี้กรรมการสิทธิฯ ทำรายงานผลการตรวจสอบที่67/2549 เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2549 โดยมีมาตรการแก้ไขปัญหาข้อ 4.4 ว่า ‘ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณางดการส่งเสริมการลงทุนจากบริษัทต่างชาติในกิจการเหมืองแร่ทองคำและเงินที่ดำเนินการในประเทศไทย ภายในเวลา 90 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้’ แต่บีโอไอใช้วิธีเลี่ยงว่าไม่ได้ออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในส่วนของ การทำเหมือง/เหมืองแร่ แต่ออกบัตรส่งเสริมฯ ให้ในส่วนของ โรงงานถลุงแร่ เท่านั้น ผู้ประสานงานคณะทำงานติดตามนโยบายเหมืองแร่ฯกล่าวว่า สิ่งที่ตนคิดว่า บีโอไอผิดพลาด ก็คือ ถึงแม้จะออกบัตรส่งเสริมฯ ในส่วนของโรงงานก็ตามก็ไม่พ้นที่จะนำสินแร่จากส่วนของการทำเหมืองมาป้อนที่โรงงานเพิ่มขึ้นอยู่ดี แต่บีโอไอไม่สนใจว่าจะนำสินแร่มาจากที่ไหนก็ได้ ไม่ได้มองหรือสนใจปัญหาที่จะเกิดขึ้น บีโอไอไม่สนใจว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องการสินแร่มาป้อนโรงงานเพิ่มขึ้นจะทำอย่างไร บีโอไอบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของเขาที่จะต้องคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ “นอกจากนั้นแล้วยังมีประเด็นที่สำคัญมากที่บีโอไอและอัคราฯหมกเม็ดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ ในเงื่อนไขบัตรส่งเสริมฯ บอกว่า จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก สผ./คชก.ในด้านมาตรการป้องกันและแก้ไขฯ ภายใน 6 เดือนนับแต่ออกบัตรส่งเสริมฯ โดยอัคราฯ และบีโอไอไปเอารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ ที่ได้รับความเห็นชอบจาก สผ./คชก. เมื่อ 12 ก.พ. 2550 มาสวมหรือเป็นข้ออ้างหรือบิดเบือนออกบัตรส่งเสริมฯ ให้ ประเด็นก็คือ รายงานอีไอเอชาตรีเหนือฉบับนี้เป็นรายงานอีไอเอในส่วนของการขอขยาย 'การทำเหมือง' ไม่ใช่อีไอเอในส่วนขอขยาย'โรงงานถลุงแร่' แต่อย่างใด ถือเป็นการบิดเบือนแบบผิดฝาผิดตัว”ผู้ประสานงานคณะทำงานติดตามนโยบายเหมืองแร่ฯ กล่าว เขาระบุต่อว่า กรรมการสิทธิฯ เคยเรียกบีโอไอมาชี้แจงในประเด็นนี้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 54 ที่ผ่านมา บีโอไอตอบว่าเนื่องจากอีไอเอฉบับแหล่งชาตรีเหนือ ที่ผ่านความเห็นชอบเมื่อ 12 ก.พ. 2550 ที่เอามาอ้างอิงเพื่อออกบัตรส่งเสริมฯให้ก่อสร้างโรงงานส่วนขยายแก่อัคราฯ ไปนั้นขณะนั้นเป็นช่วงที่ยังไม่ต้องทำ HIA ตาม 67 วรรคสอง แต่พอมามีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้โรงงานประกอบโลหกรรมแร่ทองคำถือว่าเป็นโครงการรุนแรงตาม 67 วรรคสองนั้น บริษัทอัคราฯ เลยอยากแสดงสปิริตต่อสังคมว่ารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามรัฐธรรมนูญจึงตกลงปลงใจทำ EHIA ขึ้นมา เป็นเรื่องของอัคราฯ ไม่เกี่ยวกับบีโอไอแต่อย่างใด “แต่แท้จริงแล้วอัคราฯ กลัวถูกถอนบัตรส่งเสริมฯ มากกว่า นั่นก็คือ เอาอีไอเอแหล่งชาตรีเหนือในส่วนของการขออนุญาตขยายการทำเหมืองมาอ้างบิดเบือนให้บัตรส่งเสริมฯ ในส่วนของการขอขยายโรงงาน ซึ่งประเด็นนี้บีโอไอก็ต้องผิดด้วย ผิดที่ไม่ดูตาม้าตาเรือออกให้โดยผิดฝาผิดตัว” นายเลิศศักดิ์กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทอัคราฯได้รับประทานบัตรทำเหมืองอยู่ 2 เฟส หนึ่งคือ 'แหล่งชาตรี' หรือโครงการระยะที่1 อีไอเอผ่านความเห็นชอบไปเมื่อ 27 ธ.ค. 2542 และได้รับประทานบัตร5 แปลง 1,259 ไร่ (รวมใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายอีก1,575 ไร่ รวมเป็น 2,835ไร่) เมื่อ ปี 2543 สองคือ 'แหล่งชาตรีเหนือ' หรือโครงการระยะที่ 2 อีไอเอผ่านความเห็นชอบเมื่อ12 ก.พ. 2550 และได้รับประทานบัตร 9 แปลง 2,466 ไร่ เมื่อ 21 ก.ค. 2551 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1 - 7 ต.ค. 2554 Posted: 08 Oct 2011 06:12 AM PDT
KFC ร้องต่อศาลแรงงาน เพิกถอนคำสั่ง ครส. รายงานข่าวแจ้งว่าบริษัท ยัม เรสทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายไก่เคเอฟซี (KFC) ได้ส่ง e mail เพื่อประกาศให้พนักงานรับทราบว่าแม้ “คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยและสั่งให้ บริษัท ยัม รับบุคคลทั้งสามกลับเข้าทำงาน แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยดังกล่าว แต่ในฐานะที่เป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบ จึงเคารพคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม บริษัทมั่นใจว่า ไม่ได้กระทำอันสิ่งใดที่ไม่เป็นธรรมในการเลิกจ้างแต่ได้ปฏิบัติถูกต้องตาม กฎหมาย ทั้งนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ยังไม่ถือเป็นที่สุด และยังโต้แย้งได้บริษัทจึงจะเสนอร้องต่อศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาพิพากษายก เลิกคำวินิจฉัย ของคณะการรมการแรงงานสัมพันธ์ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 2-10-2554) “ธนินท์” ชี้ ค่าแรงขั้นต่ำต้อง 500 บาท-หนุนสุดตัวจำนำข้าว “ใครไม่เอาซีพีรับเอง” นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวบรรยายพิเศษให้คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 2552 เมื่อเร็วๆนี้ ว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกขณะนี้ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป (อียู) ยังมองไม่เห็นแนวทางแก้ไขปัญหา ส่วนหนึ่งที่อียูได้รับผลกระทบหนักขนาดนี้จนลามไปทั่วโลก เพราะเป็นกลุ่มที่มีหลายประเทศรวมตัวกันเป็นเศรษฐกิจเดี่ยว ซึ่งหากประเทศหนึ่งประเทศใดจะจ่ายเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประเทศสมาชิกรายอื่นๆ ก็จะถูกประชาชนของตัวเองต่อต้าน ต่างกับสหรัฐที่เชื่อว่าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลา ผู้บริหารซีพี ให้เหตุผลว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอียู ทำให้มีแต่คนถอนเงินออก ต่างกับในสหรัฐ ที่เกิดปัญหาแล้วอัดเงินเข้าไปให้ธนาคาร อีกอย่างสหรัฐสามารถพิมพ์เงินได้เอง ซึ่งตนเชื่อว่าจากนี้เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น เพราะโลกจะไปใช้เงินยูโรไม่ได้ ส่วนเงินหยวนของจีน ก็ยังไม่มีความแน่นอน แต่เป็นไปได้มาก ว่าเงินหยวนของจีนจะขึ้นมาแซงเงินยูโรกลายเป็นสกุลเงินอันดับ 2 ของโลก แนะจับตา2 ชาติเอเชีย นายธนินท์ กล่าวว่า เหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบมาถึงทวีปเอเชียแน่นอน ซึ่งตนจับตาดู 2 ประเทศในเอเชียเป็นหลัก คือ ไทยและจีน เพราะปัจจุบันไทยมีมูลค่าการส่งสินค้าไปยังจีนสูงเกือบ 50% ของการส่งออกทั้งปี และไทยยังได้เปรียบดุลการค้าจีน ซึ่งมีประชากรกว่า 3,000 ล้านคน เทียบกับมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐ ที่ราว 10% และอียูอีก 10% เท่านั้น ดังนั้น วิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐและอียู แม้จะส่งผลกระทบต่อไทยไม่มากในทางตรง แต่ต้องระวังในเรื่องของจีนว่าจะเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอยไปด้วยหรือไม่ ปัจจุบันจีนใช้ ทฤษฎีสองสูง ในการบริหารประเทศ คือ ปล่อยให้สินค้าราคาแพงขึ้น แต่เกษตรกรก็มีรายได้สูงขึ้น ส่วนไทยนั้น นายธนินท์ ระบุว่า จากที่ศึกษาดู พบว่า มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากในอดีตกว่า 200 เท่า ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่า แต่ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มน้อยที่สุด ทั้งราคาข้าว ราคาหมู และราคาไก่ เพิ่มขึ้นประมาณ 10-11 เท่า เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อราคาสินค้า เกษตรแพงขึ้นก็ถูกรัฐบาลควบคุมราคา แต่ในยามขาดทุนหรือราคาตกต่ำกลับไม่มีใครช่วย ดังนั้น ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนคือเกษตรกรรายย่อยที่จะต้องล้มหายตายจากไปก่อน ธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ “รัฐบาลที่มีความสามารถจะต้อดูว่า การทำให้คนจนมีรายได้มากขึ้นต้องทำอย่างไร ไม่ใช่ไปควบคุมราคาสินค้า ซึ่งคือการเอาเงินของคนจนที่เป็นเกษตรกรมาชดเชยให้กับคนจนในเมือง ท้ายที่สุดทุกคนก็ยังจนเท่ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐบาลจะหารายได้จากที่ไหนมาใช้จ่าย มาขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการ เพราะแม้แต่สหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ที่ใช้ ทฤษฎีสองต่ำ คือ ราคาสินค้าถูก ค่าแรงต่ำ ทำมาแล้วก็อยู่ไม่ได้” ลั่นค่าแรงขั้นต่ำต้อง500บาท นายธนินท์ กล่าวว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมของไทยควรอยู่ที่วันละ 500 บาท ไม่ใช่ 300 บาท คิดจาก 25 เท่า ตามสัดส่วนของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากอดีต หากทั้งรัฐและเอกชนกล้าจ่ายค่าแรงขั้นต่ำในระดับนี้ ผลดีที่ตามมาคือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) จะมีรายได้มากขึ้นทันที เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้นด้วย หนุนรับจำนำข้าว สำหรับเรื่องนโยบายข้าวนั้น ตนเห็นว่าคนที่ออกมาคัดค้านโครงการรับจำนำ โดยให้เหตุผลว่าราคาข้าวไทยในตลาดโลกจะสูงขึ้น แล้วถูกประเทศเวียดนามแย่งขายข้าวนั้น คนที่พูดอย่างนี้ พูดอย่างไม่เข้าใจ เพราะเวียดนามขายข้าวเพียงปีละ 4-5 ล้านตันเท่านั้น ส่วนไทยขายได้มากถึงปีละประมาณ 10 ล้านตัน ดังนั้นต่อให้ไทยขายข้าวในราคาถูก เวียดนามก็จะขายในราคาถูกกว่า แต่ไทยต้องมีข้าวเก็บในสต็อกอย่างน้อย 4 เดือน เพื่อป้องกันการขาดตลาด ซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างไซโลเก็บข้าวอย่างดีไว้จำนวน 5 ล้านตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่มีมูลค่าข้าวกว่า 1 แสนล้านบาท แล้วจ้างคนมาดูแลโดยไม่ต้องใช้ข้าราชการ ให้บริษัทเซอร์เวเยอร์เข้ามาช่วย แล้วให้ธนาคารเป็นผู้รับรอง "ผมยืนยันเลยว่าถ้าทำได้แบบนี้ แล้วไม่มีใครกล้าเอา ผมเอาเอง" . (กรุงเทพธุรกิจ, 3-10-2554) ลูกจ้างชั่วคราว กทม.โวยถูกลอยแพ 3 ต.ค. 54 - กลุ่มลูกจ้างชั่วคราวกองระบบคลอง สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เดินทางมาชุมนุมที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) เพื่อร้องเรียนถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากถูกยกเลิกสัญญาจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. จำนวน 424 คน โดยกลุ่มลูกจ้างไม่ทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด ทั้งนี้ กลุ่มลูกจ้างได้เรียกร้องให้มีการต่อสัญญาจ้างอีก 1 ปี เนื่องจากได้รับผลกระทบด้านรายได้และค่าใช้จ่ายที่ขาดหายไป หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจะกลับมาชุมนุมอีกครั้ง และจะไปร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานและศาลปกครองต่อไป “มีลูกจ้างบางส่วนที่ไม่มีความรู้และอายุมาก หากถูกเลิกจ้างจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก” ตัวแทนผู้ชุมุนม กล่าว ด้านนายจิระศักดิ์ จิวาลักษณ์ ผู้อำนวยการกองระบบคลอง กล่าวว่า ขณะนี้ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำได้แจ้งเรื่องไปยังปลัด กทม. ให้ทบทวนแก้ไขสัญญาการจ้างงานในโครงการรักษาความสะอาดคูคลองแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน และจะให้มีการจ่ายเงินชดเชยย้อนหลังแก่ลูกจ้างด้วย อย่างไรก็ตาม นายจิระศักดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าแล้ว แต่บางส่วนอาจยังไม่ทั่วถึง ทำให้ลูกจ้างเกิดความไม่พอใจ ซึ่งสาเหตุที่ต้องยกเลิกการจ้างเนื่องจาก กทม.ต้องการเปลี่ยนระบบการจ้างงานใหม่ โดยโอนให้ภาคเอกชนเป็นผู้จ้างงานแทน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนงบประมาณ ขณะที่นายอดิศักดิ์ ขันตี รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวว่า กทม.จะเร่งพิจารณาทบทวนสัญญาจ้างให้แล้วเสร็จใน 15 วัน โดยคาดว่าหากโอนให้ภาคเอกชนดำเนินการแทนแล้วจะมีการต่อสัญญาจ้างไปอีก 1 ปี เนื่องจากเกรงว่าหากมีการเลิกจ้างจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของลูกจ้าง อีกทั้งขณะนี้เป็นช่วงฤดูน้ำหลาก อาจทำให้เกิดอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ทั้งนี้ หลังผลการเจรจาเป็นที่น่าพอใจแล้ว ทำให้กลุ่มลูกจ้างยอมสลายการชุมนุมในเวลา 14.30 น. (โพสต์ทูเดย์, 3-10-2554) ปีใหม่ 48 จังหวัด ขึ้นค่าจ้าง 40% บุรีรัมย์นำโด่งชน 300 บ. เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดศูนย์อำนวยการยกระดับรายได้ 300 บาทว่า การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเพื่อใช้ติดตามและเป็นแหล่งข้อมูลกลางการปรับค่า จ้าง 300 บาท มีหน้าที่เก็บข้อมูล ประเมินผล วิเคราะห์ และรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศ ตั้งแต่ระดับคณะอนุกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด จนถึงคณะกรรมการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกลางของประเทศ ให้คำปรึกษา รับฟังปัญหา ให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนนำมาตรการการต่างๆ ที่รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายลงดำเนินการในพื้นที่ มีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานศูนย์ฯ นายเผดิมชัย ยังกล่าวความคืบหน้าการประชุมคณะอนุกรรมค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดเมื่อวัน ที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า คณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด 48 จังหวัดหรือ 63.15% เห็นด้วยกับนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 40% ในวันที่ 1 ม.ค.2555 ส่วนอีก 23 จังหวัดมีมติให้ปรับค่าจ้าง 30-35% และอีก 4 จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยองและสุราษฎร์ธานีไม่มีการลงมติ ขณะที่ จ.สมุทรสงครามมีมติ 2 แนวทางคือ ให้ปรับค่าจ้าง 40% และปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทในเวลา 3 ปี โดยจังหวัดที่มีมติให้ขึ้นค่าจ้างสูงสุดคือ บุรีรัมย์ ให้ขึ้น 83.7 % คือ จาก 166 บาท เป็น 300 บาท รองลงมาจังหวัดมุกดาการ มีมติให้ขึ้น 81.8% คือ จาก 165 บาทเป็น 300 บาท นอกจากนี้ ยังมี จ.ชัยภูมิ ปราจีนบุรี หนองบัวลำภู และ พัทลุงที่ให้ขึ้นมากกว่า 40% นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า ใน 6 จังหวัดที่เหลือได้แก่ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง สุราษฎร์ธานี สมุทรสงครามและบึงกาฬได้ให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดสรุปเรื่องการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและส่งข้อมูลมายังกระทรวงแรงงานภายใน 2-3 วันนี้ จะนำผลประชุมคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 77 จังหวัดเสนอที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางในวันที่ 5 ต.ค.นี้เวลา 09.30 น.ที่กระทรวงแรงงาน ด้านนายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย(อรท.) เปิดเผยผลการประชุมอรท.เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ว่าที่ประชุมเห็นชอบสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นวันละ 300 บาทและปรับเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีรุ่นใหม่เป็นเดือนละ 1.5 หมื่นบาท ในวันที่ 7 ต.ค.นี้ ผู้ใช้แรงงานจำนวนหลายพันคนจะเดินทางไปหน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือ ต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเพราะอยากฟังนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากปากของนายกรัฐมนตรี เพราะนโยบายของรมว.แรงงานที่จะปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ให้แก่แรงงานทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2555 หลังจากนั้นจะเพิ่มค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทครอบคลุมทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556 พวกตนคิดว่าช้าเกินไปเพราะไล่ตามค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อไม่ทัน ตอนนี้ก้าวกระโดดไปไกลกว่าค่าจ้างขั้นต่ำมาก จึงอยากให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทเร็วที่สุด โดยให้มีผลย้อนหลังในวันที่ 1 ต.ค.นี้เช่นเดียวกับลูกจ้างองค์กรรัฐวิสาหกิจ. (เดลินิวส์, 3-10-2554) องค์การแรงงาน จี้รัฐปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศพร้อมกัน 1 ม.ค.55 3 ต.ค. 54 - นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) เปิดเผยผลประชุม อรท.เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น วันละ 300 บาทและปรับเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีรุ่นใหม่เป็นเดือนละ 15,000 บาท โดย อรท.ได้ร่วมกับองค์กรแรงงานทุกภาคส่วน เตรียมจัดกิจกรรมเนื่องในวันแห่งการทำงานในวันที่ 7 ต.ค.นี้ เพื่อรณรงค์ให้ภาครัฐดูแลในเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่แรงงานไทย รวมทั้งให้การรับรองอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ทั้งนี้ ในวันดังกล่าว เวลา 09.00 น.จะตั้งขบวนแรงงาน จำนวนหลายพันคน จากหน้าสำนักงานองค์การประชาติ ถนนราชดำเนิน จากนั้นเวลา 10.00-11.00 น. จะเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะต้องการฟังนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากปากของนายกรัฐมนตรี และนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เนื่องจากที่ผ่านมา รมว.แรงงานไม่เคยเชิญฝ่ายแรงงานเข้าไปหารือ อย่างไรก็ตาม หากเชิญฝ่ายแรงงานไปหารือก็ยินดีพูดคุยกับรัฐบาล นายมนัส กล่าวต่อว่า นโยบายที่จะปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำอีกร้อยละ 40 ให้แก่แรงงานทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2555 หลังจากนั้นจะเพิ่มค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทครอบคลุมทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556 ตนคิดว่าช้าเกินไป เพราะไล่ตามค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อไม่ทันซึ่งตอนนี้ก็ก้าวกระโดดไปไกล กว่าค่าจ้างขั้นต่ำมาก จึงขอให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทอย่างเร็วที่สุด โดยให้มีผลย้อนหลังในวันที่ 1 ต.ค.นี้ เช่นเดียวกับลูกจ้างองค์กรรัฐวิสาหกิจ แต่หากรัฐบาลทำไม่ทันจริง ๆ อย่างช้าก็ขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2555 (สำนักข่าวไทย, 3-10-2554) ม็อบลูกจ้างมหาชัยประท้วงรง. เจ๊งปิดหนีลอยแพพนักงาน 300 คน สมุทรสาคร:เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2554 ที่หน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรสาคร ได้มีคนงานเฟอร์นิเจอร์ มารวมตัวกันประมาณ 300 คน เพื่อประท้วงขอความเป็นธรรม เนื่องจากโรงงานที่ทำอยู่อ้างเหตุขาดทุนปิดบริษัทหนี โดยมีนายบุญฤทธิ์ แสนพาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดฯ เป็นผู้รับเรื่อง และได้เชิญตัวแทนคนงานจำนวน 10 คน เข้ารับฟังคำชี้แจงขั้นตอนของสิทธิในการเรียกร้อง โดยในเบื้องต้นจะเรียกนายจ้างและลูกจ้างทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยตกลงกัน จนเป็นที่พอใจของคนงานต่างแยกย้ายกันกลับไปในที่สุด นางปาณิสา ทองนวน ตัวแทนลูกจ้าง บริษัท ควอลิตี้วู๊ด เฟอร์นิเจอร์ จำกัด กล่าวว่า โรงงานแห่งนี้ ตั้งอยู่เลขที่ 178 หมู่ 4 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งตนได้ทำงานอยู่ที่โรงงานแห่งนี้มานานกว่า 10 ปี แต่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทางโรงงานได้ปิดประตูรั้ว และมีการป้ายปิดประกาศว่า "เนื่องจากโรงงานได้ประสบภาวะขาดทุน และไม่มีเงินทุนหมุนเวียนมาเป็นระยะเวลานาน โดยบริษัทไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อไปได้อีก" โดยระบุวันที่ประกาศเป็นวันที่ 30 ก.ย. 2554 ทำให้ทุกคนต่างตกใจพร้อมกับตกงาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุของการลอยแพพนักงานในครั้งนี้ นอกจากประสบภาวะขาดทุนแล้ว ยังจะมาจากเรื่องที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ในต้นปีหน้า ซึ่งหากเลิกจ้างเสียแต่ตอนนี้ แล้วไปหาเหล่งฐานการผลิตใหม่ในพื้นที่ที่มีการจ้างงานรายได้ต่ำกว่าที่ สมุทรสาคร ก็จะทำให้นายจ้างขาดทุนน้อยลง (แนวหน้า, 3-10-2554)
ก.อุตสาหกรรมเตรียมเยียวยาโรงงาน-แรงงานที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม กรุงเทพฯ 5 ต.ค. - นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงปัญหาอุทกภัยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่รุนแรงเพิ่มขึ้น และจากรายงานล่าสุดทราบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 49 แห่ง ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ และต้องหยุดการทำงาน เบื้องต้นได้ประเมินความเสียหายประมาณ 1,000 ล้านบาท และหลังจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะเตรียมมาตรการช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการ โรงงาน และแรงงานที่อยู่ในโรงงาน โดยเบื้องต้นจะมีการจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อฟื้นฟูโรงงาน ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่ำกว่าระดับตลาดที่ร้อยละ 8 นอกจากนี้ จะเยียวยาคนงานที่บางรายต้องเสียทรัพย์สิน เช่น น้ำท่วมยานพาหนะ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือรายได้ในช่วงที่โรงงานต้องหยุดเดินเครื่องจักร ซึ่งจะหารือรายละเอียดอีกครั้ง (สำนักข่าวไทย, 5-10-2554)
บอร์ดค่าจ้างเสียงแตกไม่เคาะเพิ่ม40% นายจ้างชี้มาตรการอุ้มไม่ชัด-นัดถก 17 ต.ค. เมื่อเวลา 09.30 -13.30 น. ที่กระทรวงแรงงานได้มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง โดยมีการพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลางเป็นประธานการประชุม นพ.สมเกียรติ กล่าวภายหลังประชุมเป็นเวลาเกือบ 4 ชั่วโมงว่า ที่ประชุมยังไม่มีมติปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทโดยระยะแรกจะปรับเพิ่มขึ้น 40% ทุกจังหวัดในวันที่ 1 ม.ค.2555 แต่มีข้อเสนอทางเลือกให้ 2 แนวทาง คือ 1. ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทภายใน 2 ปี โดยปีแรก ปรับเพิ่มขึ้น 40% ทุกจังหวัดในวันที่ 1 ม.ค.2555 ส่วนปีที่สอง ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556 โดยมีเงื่อนไขว่าในปีแรกจังหวัดใดที่มีค่าจ้างขั้นต่ำถึง 300 บาทแล้ว ก็ให้คงอัตราค่าจ้างที่ปรับใหม่นั้นไว้ 2-3 ปี เพื่อแบ่งเบาภาระให้นายจ้างได้มีเวลาปรับตัว ทั้งนี้ ส่วนแนวทางที่สอง ให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแบบขั้นบันไดในเวลา 4 ปี โดยไม่ต้องอาศัยกลไกพิเศษเข้ามาช่วย เพื่อให้นายจ้างได้มีเวลาปรับตัวได้มากขึ้น ทั้งนี้ ตัวแทนฝ่ายนายจ้างไม่ได้ขัดข้องทั้งสองแนวทาง แต่อยากให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือที่ชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการค่าจ้างกลางไปรวบรวม มาตรการต่างๆ ที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการมาเสนอต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งหน้า วันที่ 17 ต.ค.2555 เวลา 9.30 น. ที่กระทรวงแรงงาน “ในที่ประชุมตัวแทนฝ่ายรัฐและฝ่ายลูกจ้างเสนอให้ปรับขึ้นค่าจ้างในเวลา 2 ปี ขณะที่ฝ่ายนายจ้างขอเวลา 4 ปีและเสนอมาตรการเพิ่มเติมเช่น การลดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็เข้าใจฝ่ายของนายจ้าง ซึ่งต้องการเห็นมาตรการที่ชัดเจนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพราะนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง จึงอยากรู้ว่าเขาจะได้รับความช่วยเหลือกลับมาอย่างไรบ้าง แต่วันนี้ยอมรับว่ามาตรการต่างๆ ก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งในฐานะบอร์ดค่าจ้างก็ไม่ได้เป็นเจ้าของเรื่องที่จะไปตอบแทนหน่วยงานเจ้า ของเรื่องได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะไปหารือกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน ขอให้ช่วยพูดคุยกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อให้ออกมาช่วยชี้แจงมาตรการต่างๆ ในส่วนที่รับผิดชอบ รวมทั้งอยากให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเข้า สู่คณะรัฐมนตรี(ครม.)พร้อมกันไปในคราวเดียวเพื่อให้มาตรการช่วยเหลือออกมา เป็นแพคเกจ” นพ.สมเกียรติ กล่าว นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงานมีความชัดเจนอยู่แล้ว เช่น การลดจ่ายเงินสมทบประกันสังคมลงฝ่ายละ 1.5% ใน 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิตจากเดิมฝ่ายรัฐบาลจ่ายอยู่ที่ 2.75% และฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้างจ่ายอยู่ที่ฝ่ายละ 5% ของค่าจ้างโดยการลดเงินสมทบนี้จะครอบคลุมแรงงานในระบบประกันสังคมทั้ง 9.6 ล้านคน และขอยืนยันว่าจะไม่ไปกระทบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งเงินออมชราภาพด้วย ทั้งนี้ จะเสนอให้รัฐบาลนำเงินสมทบในส่วนที่ลดลง 1.5% ในส่วนของรัฐบาล ไปเติมไว้ในส่วนของกรณีว่างงานและเงินออมชราภาพ ซึ่งเป็นมาตรการนี้เป็นมาตรการชั่วคราวในระยะ 1-2 ปีเท่านั้น รวมถึงโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่จะเสนอขออนุมัติงบลงทุนเพื่อสังคม วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โดยจะเสนอต่อบอร์ด สปส.ในวันที่ 11 ต.ค.นี้ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ผลิตชิ้นงานได้เพิ่มขึ้น “ผมตั้งใจว่าจะให้ได้ข้อยุติเรื่องปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17 ต.ค.นี้ เพื่อให้ทันกับแผนการปรับขึ้นค่าจ้าง ผมไม่อยากใช้วิธีการโหวต แม้จะชนะ แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย เพราะยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม คิดว่าถึงจุดหนึ่งต้องมีข้อยุติ แต่อยากให้เป็นความเห็นร่วมกัน” นพ.สมเกียรติ กล่าว นายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า ฝ่ายนายจ้างได้เสนอให้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เหลือ 4-5% เพื่อลดต้นทุนของนายจ้าง และเพิ่มรายได้ให้แก่ลูกจ้าง เพราะมาตรการลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23% ธุรกิจเอสเอ็มอีไม่ได้รับประโยชน์ ส่วนมาตรการให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ ทางเอสเอ็มอีก็ไม่อยากเป็นหนี้ “ที่ผ่านมารัฐบาลชดเชยทั้งน้ำท่วม ทั้งจำนำข้าว จึงอยากให้เข้ามาชดเชยส่วนต่างค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทนี้ด้วย ซึ่งถ้าทำได้รัฐบาลก็ไม่ต้องมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ เพราะเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลและพรรคร่วมได้หาเสียงและสัญญากับประชาชนไว้ ซึ่งคาดว่าการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 17 ต.ค. หากมีการโหวตก็เตรียมใจไว้แล้วถ้าจะต้องแพ้โหวต” นายอรรถยุทธ กล่าว วันเดียวกันเวลา 09.30 น. ที่กระทรวงแรงงาน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้มายื่นหนังสือต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน และปลัดกระทรวงแรงงาน น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า คสรท.มีมติเมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา ยืนยันให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ม.ค.ปีหน้า ตามที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ ซึ่งในวันที่ 7 ต.ค.นี้ เวลา 10.30 น. คสรท.จะร่วมกับองค์การแรงงานต่างๆ รวมประมาณ 3 พันคน ไปยื่นหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทำตามสัญญาที่ได้หาเสียงไว้ รวมทั้งขอให้ช่วยผลักดันการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้แรงงานสามารถจัดตั้งสหภาพและรวมตัวเรียกร้องสวัสดิการต่างๆ จากนายจ้างได้ “แรงงานสนับสนุนนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทของรัฐบาล และอยากให้ทำพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.ปีหน้า หากรัฐบาลไม่สามารถทำได้ ทาง คสรท.ก็จะหารือกันเพื่อดำเนินการตามกระบวนการตามกฎหมาย โดยรวบรวมรายชื่อยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพราะรัฐบาลทำผิดกฎหมายในเรื่องการหาเสียงเลือกตั้ง” รองประธาน คสรท. กล่าว นายเผดิมชัย กล่าวภายหลังรับหนังสือดังกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้เร่งดำเนินการเรื่องปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทอย่างเต็มที่ ซึ่งเหตุผลที่ต้องดำเนินการในเวลา 2 ปี เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการในการลดภาษีนิติบุคคล โดยปี 2555 จะลดจาก 30% เหลือ 23% และปี 2556 ลดจาก 23% เหลือ 20% ทั้งนี้ การลดหย่อนภาษีต้องทำเป็นรอบปี จึงไม่สามารถปรับค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศได้ในวันที่ 1 ม.ค.ปีหน้า ตามที่แรงงานเรียกร้องได้ ส่วนที่แรงงานจะออกมาเคลื่อนไหวให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง โดยจะไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 7 ต.ค.นี้ เป็นสิทธิที่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่อยากให้เป็นไปตามครรลอง และไม่กระทบต่อการท่องเที่ยว (แนวหน้า, 5-10-2554)
เครือข่ายแรงงานออกแถลงการณ์ ยืนยัน “ค่าจ้างต้อง 300 บาททันที” รร.บางกอกพาเลซ 6 ต.ค.- เครือข่ายแรงงานออกแถลงการณ์ยืนยัน “ค่าจ้างต้อง 300 บาททันที” ชี้ต้องปรับให้เท่ากันทั่วประเทศ พร้อมเดินหน้าปรับโครงสร้างค่าจ้าง และควบคุมราคาสินค้า เผยสหภาพ 120 แห่ง ในสังกัด เตรียมยื่นข้อเสนอนายจ้างเร่งปรับโครงสร้างค่าจ้างรับ 300 บาท ขณะที่คนงานเตรียมเคลื่อนไหวใหญ่พรุ่งนี้ (สำนักข่าวไทย, 6-10-2554) อิสราเอลเปิดรับแรงงานไทย นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น ประธานคณะอนุกรรมาธิการป้องกันการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ในคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา แถลงว่า ตั้งแต่ต้นปีหน้าแรงงานไทยสามารถเดินทางไปทำงานภาคการเกษตรที่ประเทศ อิสราเอลได้โดยไม่ถูกขูดรีด หลอกลวงและไม่ต้องใช้เส้นสาย เพียงแต่มีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณสมบัติตามที่นายจ้างระบุ โดยค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายให้บริษัทจัดหางานเหลือเพียงรายละ 69,306 บาทจากเดิมที่ต้องจ่าย 184,500-380,000 บาท ซึ่งถือเป็นการประสานกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอิสราเอล ซึ่งถือว่าให้เกียรติแรงงานไทยแห่งแรกของโลก ทั้งนี้กระทรวงแรงงานจะประกาศเปิดรับสมัครแรงงานไทยทางเวปไซด์ WWW.doe.go.th และ WWW.overseas.doe.go.th รับสมัครทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 23-39 ปี ประมาณ 6,000 คน และจะเปิดรับสมัครโดยตรงในวันที่ 21 ต.ค.-4พ.ย. ที่กรมการจัดหางาน สำนักจัดหางาน 10 เขตในกทม.และจัดหางานทุกจังหวัด อย่างไรก็ตามค่าจ้างแรงงานที่อิสราเอลสูงถึงเดือนละ 36,900 บาท ทำให้มีคนผู้สนใจไปทำงานมากสูงถึง 27,000 คนในขณะนี้ (โพสต์ทูเดย์, 6-10-2554) น้ำท่วมกระทบ รง.หยุดการผลิตแล้วกว่าพันแห่ง - แรงงานหยุด 3.5 หมื่นคน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มีโรงงานหยุดการผลิตทั่วประเทศแล้ว 1,166 แห่ง แรงงานหยุดงาน 35,000 คน ยังไม่รวม จ.พระนครศรีอยุธยา ที่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ที่เพิ่งได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วม จนต้องหยุดการผลิตจำนวน 49 แห่ง และมีแรงงานได้รับผลกระทบกว่า 10,000 คน ขณะที่ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งมีโรงงาน 179 แห่ง มีแรงงานประมาณ 1 แสนคน โรงงานบางแห่งได้หยุดการผลิตแล้ว ล่าสุดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอความร่วมมือผู้ประกอบการช่วยลูกจ้างที่ไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้หยุดงาน โดยไม่ถือเป็นวันลา และไม่มีความผิด รวมถึงให้คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ ดูแลเรื่องรายได้ของลูกจ้างตามสมควร (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 6-10-2554) ขบวนการแรงงานจี้รัฐขึ้นค่าแรง 300-ป.ตรีตามหาเสียง 7 ต.ค. 54 - นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มแรงงานแห่งประเทศไทย และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ กว่า 100 คน ได้เดินมาเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นผู้มารับหนังสือแทน ซึ่งหนังสือมีเนื้อหาขอให้พิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ รวมทั้งปรับเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี15,000 บาท ตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จะทำให้ผู้ใช้แรงงานพึงพอใจกับนโยบายดังกล่าว แต่รัฐบาลกลับประกาศใช้เฉพาะ 7 จังหวัด คือ กรุงเทพ ปริมณฑล และภูเก็ต ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่า จะให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศจะได้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ประกอบไปด้วย 6 สภา และ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ขอแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และสนับสนุนผลักดันให้ดำเนินการนโยบายดังกล่าวจนประสบผลสำเร็จ เพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ เครือข่ายนักศึกษา 4 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา และซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันงานที่มีคุณค่า 7 ต.ค. โดยระบุว่ารัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และการมีงานทำเมื่อจบการศึกษา รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้อที่ 87 และ 98 บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ ที่ว่าความสงบสุขที่ยืนยาวจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้ใช้แรงงานได้รับการดูแลที่ดี รัฐบาลต้องควบคุมดูแลกำหนดมาตราการณ์ต่างๆเพื่อให้ราคาสินค้ามีความเป็นธรรม และรัฐบาลต้องปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพและฟรี ตั้งแต่เกิดจนจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล มวลชนประมาณ 1,000 คน ได้ปิดการจราจรตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ จนถึงแยกมิสกวันเกือบทั้งหมด โดยเหลือไว้ให้รถสามารถวิ่งได้เพียง 1 ช่องทางจราจร ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวติดขัดตั้งแต่ช่วงเช้า ด้านนายกิตติรัตน์ ให้คำมั่นว่าจะดูแลเรื่องค่าครองชีพของแรงงานอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ อยากให้ผู้ประกอบการมั่นใจการทำงานของรัฐบาล นายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่ง ประเทศไทยเปิดเผยว่าสมาพันธ์ร่วมกับสภาองค์กรลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่ง ประเทศไทย และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกแถลงการณ์เรื่อง "งานที่มีคุณค่า ค่าจ้างต้อง 300 บาททันที" โดยได้ข้อสรุปร่วมกัน 3 ข้อ ที่อยากฝากไปถึงรัฐบาล คือ 1.การปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องปรับให้เท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.55 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 2.ยกเลิกการจ้างงานแบบเหมาค่าแรงและการจ้างงานที่ไม่มั่นคงทุกประเภท และ3.รัฐต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงเกินจริง "ผมไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทนำร่องใน 7 จังหวัด ขณะที่จังหวัดที่เหลือขึ้น 40% เพราะไม่เป็นธรรม และอาจทำให้เกิดปัญหาเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่สำคัญรัฐบาลต้องทำตามที่สัญญาไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชนะการเลือกตั้งด้วย" นายยงยุทธกล่าว ด้านนายพงษ์เทพ ไชยวรรณ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าแรงงานไม่พอใจผลประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ไม่ได้ข้อสรุปในการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ฝ่ายลูกจ้างคิดขึ้นมา แต่เป็นนโยบายหาเสียงของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับ สูงขึ้นแล้วทั้งๆ ที่ค่าจ้างยังไม่ได้ปรับขึ้นตามนโยบายนี้เลย นายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. กล่าวว่าในวันที่ 7 ต.ค.เครือข่ายกว่า 3,000 คน จะไปยื่นหนังสือรายชื่อแรงงานที่สนับสนุนนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท ซึ่งล่าสุดมีกว่า1 หมื่นรายชื่อ ถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล น.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าสัปดาห์หน้ากระทรวงการคลังจะส่งตัวแทนมาหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วย เหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่ยังไม่ชัดเจน (โพสต์ทูเดย์, 7-10-2554) แรงงานสระบุรีบุกกรุงชุมนุมหน้าสหประชาชาติทวงสัญญาค่าแรง 300 รัฐบาล “ปูแดง” จากกรณีการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปเมื่อ 3 ก.ค 54 พรรคเพื่อไทย ได้หาเสียงในประเด็นค่าแรงในกลุ่มผู้ใช้แรงงานว่าหลังจากได้รับเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งได้ส่ง ผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และ มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เปลี่ยนจาก “ค่าจ้างขั้นต่ำ” เป็น “รายได้ขั้นต่ำ 300 บาทและจะบังคับใช้เพียง 7 จังหวัดนำร่อง และสัญญาเรื่องต่างๆเพื่อให้ได้คะแนน แต่ส่อเค้าถูกเบี้ยว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-10-2554) ชงมาตรการลดเงินสมทบเข้าประกันสังคม 1-2% 11 ต.ค.นี้ วันนี้ (7 ต.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 ต.ค.นี้เตรียมเสนอมาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราร้อยละ 1-2 ของค่าจ้าง เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัย ขณะเดียวกัน ยังครอบคลุมไปถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2555 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.55 เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวมีระยะเวลา 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด สปส.ก่อน (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-10-2554) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นายกสั่งเปิดประตูระบายน้ำอยุธยา ศภช.เตือน 9 คลอง กทม.น้ำจ่อล้นตลิ่ง Posted: 08 Oct 2011 05:26 AM PDT นายกสั่งกรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม หลังนิคมอุตสาหกรรมโรจนะยังอ่วม ประสานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ ด้าน ศภช.เตือน 9 คลองกทม.น้ำจ่อล้นตลิ่ง ให้เตรียมพร้อมช่วยเหลือ ติดตามข้อมูลใกล้ชิด นายกสั่งกรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม หลังนิคมอุตสาหกรรมโรจนะยังอ่วม 8 ต.ค. 54 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาติดตามความคืบหน้าการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดอนเมือง โดยได้สอบถาม และได้แสดงความห่วงใยกรณีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงของ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ได้รายงานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะสถานการณ์ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งได้ขอให้มีการตัดถนนเพื่อระบายน้ำ ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการไปยังกรมชลประทานให้เปิดประตูระบายน้ำจำนวน 1 ประตู ซึ่งทำให้น้ำลดลงประมาณ 30 ซ.ม. ทันที โดยไม่ต้องมีการตัดถนน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้เดินตรวจเยี่ยมการรับเรื่องขอความช่วยเหลือจากประชาชน ในห้องปฏิบัติการ และได้สั่งการให้ประสานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครือข่ายในการรับร้องเรียนจากประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือและให้ประมวลข้อมูลกลับมายังส่วนกลางเพื่อให้ช่วยเหลือในทันท่วงที และให้ช่วยเหลือชีวิตคนให้มาอันดับ 1 ส่วนเส้นทางที่มีน้ำท่วม จนต้องมีการปิดการจราจรนั้น ให้ประสานขอประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ เพื่อเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้รับทราบข้อมูลด้วย นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผย วันที่ 8 ตุลาคม ว่าขณะนี้น้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณเกาะเมือง อ.พระนครศรีอยุธยา แล้วหลายจุด รวมถึงบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ทำให้ต้องเริ่มย้ายอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ รวมถึงผู้ป่วยขึ้นที่สูงแล้ว ทางด้าน นายไพจิตร โพธิ์จันทร์ ผู้อำนวยการแขวงการทางพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่เกาะเมืองและรอบนอกเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ 2 นาฬิกาวันนี้ น้ำทะลักเข้าท่วมในเกาะเมืองและรอบเกาะเมืองอย่างหนัก จนทำให้การเดินรถยากลำบาก โดยเฉพาะรถเล็ก จึงขอแนะนำให้ใช้รถ 6 ล้อขึ้นไป ศภช.เตือน 9 คลองกทม.น้ำจ่อล้นตลิ่ง ให้เตรียมพร้อมช่วยเหลือ ติดตามข้อมูลใกล้ชิด ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้แจ้งเตือนภัยล่าสุดเมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 8 ตุลาคม ว่า พื้นที่ใน กทม.มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น อาจล้นตลิ่งเข้าท่วมบางพื้นที่ โดยเฉพาะคลองบางพรม (ถ.กาญจนาภิเษก) คลองฉิมพลี คลองบางแวก (พุทธมณฑลสาย 1) คลองบางแวก (ถ.รัชดาภิเษก) คลองเปรมประชากร (ดอนเมือง) คลองลาดพร้าว (วัดลาดพร้าว) ปากคลองตลาด คลองบางซื่อ (ฝั่งขวา ถ.พหลโยธิน) คลองมหาสวัสดิ์ (ทั้งสองฝั่ง ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย และติดตามข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อย่างใกล้ชิดต่อไป ศปภ.เพิ่มช่องทางร้องเรียนผ่าน CALL CENTER ทุกค่ายมือถือ นายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กล่าวว่านายกรัฐมนตรีสั่งการให้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดทำงานบูรณาการในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาอุทกภัย นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการ โทร.แจ้งขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากสายด่วนโทร 1111 กด 5 จึงเพิ่มช่องทางให้สามารถ โทร.แจ้งผ่าน CALL CENTER ของทุกค่ายมือถือได้ทันทีฟรีรวมทั้ง 191 ซึ่งทั้งหมดจะประมวลข้อมูลส่งมายัง ศปภ. เพื่อจัดส่งความช่วยเหลือไปได้อย่างทันท่วงทีต่อไป นายวิมกล่าวเชิญชวนประชาชนคนไทยทั้งประเทศร่วมบริจาคช่วยเหลือทั้งเงินและสิ่งของ หากต้องการบริจาคเงินสามารถบริจาคเข้าบัญชีกองทุนผู้ประสบภัยสาธารณะสำนักนายกรัฐมนตรี หรือเดินทางมาบริจาคสิ่งของด้วยตนเองที่ชั้น 1 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง สำหรับสิ่งที่ผู้ประสบภัยต้องการมาก ได้แก่ นมผงสำหรับเลี้ยงทารก เรือท้องแบน น้ำยาล้างตา และของอุปโภคของแห้งพร้อมรับประทาน เป็นต้น เพราะยังมีความต้องการอีกมาก กรมเจ้าท่าเชิญเอกชนนำเรือส่วนตัวมาร่วมผลักดันน้ำลงทะเล นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า ตั้งโรงครัวทำอาหารแจกชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา โรงครัวดังกล่าวจะให้บริการทั้งอาหารและน้ำดื่มทุกวัน รวมถึงได้ขอความร่วมมือจากนักเรียนของโรงเรียนพาณิชย์นาวี เพื่อเป็นอาสาสมัครจำนวน 70 คนในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่รับผลกระทบจากน้ำท่วมในการขนสิ่งของและบรรจุกระสอบทราย และรับส่งขน ประชาชนออกจากพื้นที่น้ำท่วมประงานไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการเดินเรือไทย ในการเข้ามาช่วยลำเลียงอาหารเพื่อเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน จ.พระนครศรีอยุธยา และหากประชาชนรายใดหากมีความประสงค์จะนำเรือเข้ามาช่วยผลักดันน้ำออกสู่ทะเล ขอให้มาลงชื่อกับกรมเจ้าท่า เพื่อรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเข้าร่วมการผลักดันน้ำลงทะเล กรมเจ้าท่าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าน้ำมัน และ ค่าดำเนินการต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการนำเรือเข้าร่วมการผลักดันน้ำออกสู่ทะเล มาลงทะเบียนได้ที่ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ 1199 สถานการณ์น้ำท่วมที่ปทุมธานี ยังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมที่ปทุมธานี ยังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น หลังแม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณเพิ่มสูงต่อเนื่อง โดยที่ตำบลบางพูน เตรียมอพยพชาวบ้านแล้ว ชาวบ้านหมู่ 1 ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี เกือบ 200 หลังคาเรือน ซึ่งอาศัยอยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ต้องอพยพขึ้นมาอาศัยบนถนนโรโคโรด ในเต็นท์ที่หน่วยงานจัดไว้ให้ พร้อมเตรียมอพยพชาวบ้าน หากสถานการณ์เข้าสู่ขั้นวิกฤติ ขณะที่คลองเปรมประชากร ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้จะมีประตูระบายน้ำติดเครื่องสูบขนาด 24 นิ้ว ผลักน้ำลงสู่เจ้าพระยา แต่ระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่จังหวัดร้อยเอ็ด น้ำชีที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบขยายเป็นพื้นที่วงกว้าง น้ำไหลบ่าล้นกระสอบทรายเข้าท่วมหมู่บ้านสูงกว่า 1 เมตร 70 เซนติเมตร ทางจังหวัดเร่งอพยพย้ายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และร้านค้าออกมาตั้งนอกหมู่บ้าน ขณะที่ชาวบ้านกำลังขาดแคลนน้ำดื่มเป็นอย่างมาก ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, มติชนออนไลน์, สำนักข่าวไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เปิดอก ‘พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ’ ทำไมต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ Posted: 08 Oct 2011 05:10 AM PDT ตำรวจชายแดนใต้ เป็นกลไกหลักในกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นในคดีความมั่นคงในพื้นที่ เฉกเช่นเดียวกับส่วนอื่นของประเทศไทย วันนี้ถูกผลักให้ต้องรับผิดชอบกระบวนการขั้นต้นกว่ากระบวนการยุติธรรมปกติ คือ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) หน่วยงานที่มีฐานะกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส กำลังจะขอให้รัฐบาลยกเลิกเครื่องมือพิเศษนี้ ด้วยเหตุผลอะไรฟังจากปากของ “พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ” ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังนี้ ................................... พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ
วันที่ 8 ตุลาคม 2554 พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง จะเดินทางประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หน่วยเฉพาะกิจอโณทัย ในค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พล.ต.อ.โกวิท จะมอบนโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะประชุมเรื่องการปรับโครงสร้างการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ โดยจะให้มีการบูรณาการการทำงานกันระหว่างทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นช่วงบ่ายพล.ต.อ.โกวิท จะเดินทางมาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนวันที่ 9 ตุลาคม 2554 จะเดินทางลงพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเสนอเรื่องอะไรบ้าง จะเสนอให้ทยอยยกเลิกการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทีละอำเภอ โดยเลือกอำเภอที่มีเหตุการณ์ไม่สงบน้อยที่สุดก่อน เหตุขอยกเลิกเพราะในพื้นที่การใช้กฎหมายปกติ คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) เหมือนที่ใช้เหมือนทั่วประเทศอยู่แล้ว การขอออกหมายเพื่อควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกฉินฯ ผมจะขอน้อยที่สุด และไม่ใช่ขอเพื่อเอาคนมาซักถามแบบไม่มีเหตุผลเลย ต้องมีเหตุผลพอสมควร การขอออกหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ของผม เหมือนกับจะขอออกหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ได้เลย คือ ต้องมีเหตุผลพอ ต้องมีหลักฐานพอสมควรกว่าจะออกหมาย พ.ร.ก.ฉุกฉินฯ ตอนนี้พื้นที่ที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปแล้วก็มี 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา แล้วประกาศใช้มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 กับอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ซึ่งอำเภอแม่ลานก็เป็นพื้นที่ที่มีเหตุการณ์น้อย การใช้มาตรา 21 ที่ให้จำเลยเขาอบรมแทนการถูกขัง ตอนนี้ก็มีแค่ 4 คนเอง ที่ใช้กระบวนการนี้ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนเข้าอบรมแล้ว ที่ผ่านมาศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนใต้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตาม พ.ร.ก.ฉุกฉินฯ กี่คนแล้ว เป็นพันคน มีสถิติอยู่ แต่ตอนนี้ทางทหารได้ยุบศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ที่ใช้เป็นที่ควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกฉินฯ ซึ่งตั้งอยู่ในค่ายอิงคยุทธบริหารแล้ว อาจเป็นผลมาจากการประเมินหรือผลจากการร้องเรียน ก็เลยให้มาใช้ศูนย์พิทักษ์สันติอย่างเดียวในการควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังจากนี้คนที่ถูกควบคุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องถูกนำตัวอยู่ที่นี่ ซึ่งศูนย์พิทักษ์สันติผ่านการประเมินจากกาชาดสากลและองค์กรต่างๆ แล้วว่า เป็นสถานที่ควบคุมตัวได้ แต่ที่นี่ไม่มีลักษณะเป็นสถานที่คุมขัง ไม่มีการละเมิดสิทธิ เกือบทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตาม มีการติดตามเยี่ยมบุคคลที่ศูนย์ปล่อยตัวไปแล้ว ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ยกเลิกไปเมื่อไร ผมยังไม่เห็นคำสั่ง แต่ตอนนี้ทางทหารมาดูสถานที่ของศูนย์พิทักษ์สันติแล้ว การควบคุมตัวจะอยู่ภายใต้ตำรวจ ทางทหารส่งฝ่ายธุรการมาแลกเปลี่ยนข้อมูลเท่านั้น จะไม่มีทหารนำตัวไปซักถามต่างหาก ส่วนทหารจะใช้กฎอัยการศึกจะควบคุมตัวใครที่ไหนก็เป็นเรื่องของทหาร เพราะเป็นอำนาจของทหาร แต่ถ้าถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องส่งมาที่นี่ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้จะไม่ออกหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แบบเวียงแห ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นสถิติที่ถูกโจมตีได้ เพราะเวลาคนพูด เขาจะพูดเรื่องการควบคุมตัวมาซักถาม ว่าถูกจับ เมื่อจับคนมาแล้วไม่มีหลักฐานเอาผิดก็ต้องปล่อยตัวไป แล้วก็จะถูกโจมตี กรณีการควบคุมตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ชาวบ้านตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีความเชื่อมโยงอย่างไรกับสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีข่าวว่าตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรกะพ้อได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดปัตตานี เพื่อขอขยายเวลาควบคุมตัวนายนิเซ๊ะ ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นิเซ๊ะ ถูกทหารควบคุมตามกฎอัยการศึก จากนั้นถูกส่งมามายังศูนย์พิทักษ์สันติ ซึ่งได้ซักถามไปแล้ว ก็พบว่าไม่มีประโยชน์อะไรก็ปล่อยตัวไป ในส่วนของผม ถ้าหากซักถามไปแล้ว ไม่มีประโยชน์ก็จะปล่อยตัวไป การขอต่อเวลาควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตำรวจมีสิทธิเสนอขอต่อศาล แล้วศาลก็จะพิจารณาว่าจะให้ต่อเวลาหรือไม่ แต่การขอต่อเวลาควบคุมตัวหรือการขอออกหมายเพื่อควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯจะต้องเป็นความเห็นร่วมกันของ 3 ฝ่าย คือ ตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครอง เมื่อศาลอนุมัติ จึงสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน เมื่อครบ 7 วันก็สามารถขอต่อเวลาควบคุมตัวได้อีกครั้งละ 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน กรณีการขอขยายเวลาควบคุมตัวนายนิเซ๊ะของตำรวจสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ ก็ต้องเป็นความเห็นร่วมกันของทั้ง 3 ฝ่าย คือสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ ทหารในพื้นที่ และ นายอำเภอในพื้นที่ ทำไมกรณีของนายนิเซ๊ะต้องเป็นสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ มีข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดตาย 4 ศพ ในพื้นที่อำเภอกะพ้อ แต่เมื่อซักถามนายนิเซ๊ะแล้ว พบว่า ไม่เกี่ยวข้องและไม่มีประโยชน์อะไรก็ต้องปล่อยตัวไป นายนิเซ๊ะ เองก็ยินดีที่จะมาพบเรา หากเราเรียกตัวมา โดยปกติคนที่ถูกปล่อยตัวไป เราจะให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ บางครั้งเรียกเขาก็มา บางครั้งเราไปเยี่ยม ที่นี่อยู่แบบพี่แบบน้อง หลายคนมีความผูกพันกับที่นี่ การเข้ามาอยู่ทีนี่ ตั้งแต่เริ่มแรกต้องผ่านการตรวจสุขภาพจากแพทย์ของศูนย์ก่อน เข้ามาแล้ว มีอุปกรณ์เครื่องมือพร้อมทุกอย่าง สามารถปฏิบัติตัวตามหลักศาสนาอิสลาม และปล่อยเป็นอิสระไม่ได้ขัง เพียงแต่จะอยู่ภายในบริเวณของศูนย์พิทักษ์สันติเท่านั้น ก่อนจะถูกปล่อยตัวก็จะมีการตรวจร่างกายอีกครั้ง เพราะฉะนั้น ที่นี่จะไม่มีเรื่องร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิ และสามารถที่ตรวจสอบการทำงานได้ เวลามีการซักถามถูกถูกควบคุมตัวมีหน่วยงานภายนอกมาร่วมฟังด้วยหรือไม่ ถ้าหน่วยงานอื่นจะเข้ามาซักถาม เจ้าหน้าที่ของศูนย์พิทักษ์สันติก็ต้องอยู่ด้วย เพราะเคยมีเรื่องที่หน่วยงานอื่นมาซักถามแล้วทำร้ายเขาไปด้วย แต่เราต้องรับผิดชอบ ผมสั่งว่า ต้องมีเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สันติอยู่ด้วย ศูนย์พิทักษ์สันติมีเจ้าหน้าที่ซักถามอยู่ คนนอกหรือไม่ใช่ตำรวจของที่นี่ จะมาร่วมซักถามหรือมาสังเกตการเหมือน ป.วิอาญาไม่ได้ ข้อมูลจากการซักถามถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานในการออกหมายจับตาม ป.วิอาญาหรือไม่ มีบางกรณีที่สามารถออกหมายจับตาม ป.วิอาญา โดยเจ้าตัวรับสารภาพ แต่ตำรวจก็ไม่มีหลักฐานอื่น บุคคลที่ถูกควบคุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อาจจะได้รับการชี้แนะจากการคนข้างนอกว่า คุณเข้าไปแล้ว คุณอาจจะถูกซ้อม ฉะนั้นพวกนั้นเข้ามาจะไม่พูดอะไร แต่ที่นี่การซักถามต้องมีบุคคลที่มีความเชียวชาญด้วนจิตวิทยาโดยเฉพาะ คนที่ถูกควบคุมตัวเข้ามาใหม่ๆ ทางศูนย์พิทักษ์สันติจะไม่คุยเรื่องคดีของคุณเลย จะคุยเรื่องประวัติ การศึกษา วิถีชีวิตของคุณเป็นอย่างไร เพื่อให้คุ้นเคยกันก่อน แต่กรณีการซักถามแบบนี้ ต้องใช้เวลา ซึ่งก็ต้องขอขยายเวลาควบคุมตัวต่ออีก เพราะภายใน 7 วันยังซักถามยังไม่เสร็จ ยังไม่ถึงข้อมูลที่ต้องการ แต่การขอขยายเวลาควบคุมตัวก็ต้องให้ศาลพิจารณาว่า ควรจะให้ขยายเวลาหรือไม่ ช่วงปี พ.ศ.2548 - 2549 ศูนย์พิทักษ์สันติได้ควบคุมตัวถึง 200 กว่าคน เมื่อเข้ามาแล้ว ปรากฏว่าสถานการณ์ไม่เป็นอย่างที่ถูกชี้นำมาจากข้างนอก เพราะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติเป็นอย่างดี อย่างผู้ถูกควบคุมตัวรายล่าสุดที่ได้มาจากอำเภอยะหา จังหวัดยะลา รับสารภาพและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ตอนนี้มีหลายกลุ่มที่ออกมารณรงค์ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีความคิดเห็นอย่างไร รัฐบาลจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ ก็ต้องฟังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วย ถามว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มันดีหรือเปล่า มันก็มีข้อดีและไม่ดี ข้อไม่ดีคือ กฎหมายปกติมันมีอยู่แล้ว ทำไม่ต้องให้กฎหมายพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่มากเกินไป ส่วนที่ดีคือ การที่เจ้าหน้าที่จะทำตามกฎหมายปกติ บางครั้ง บางกรณีมันไม่ทันกับคนร้าย คนร้ายอาจจะหนีไปแล้วก็ได้ แต่ผมว่าต้องค่อยๆยกเลิกไป อย่างน้อยต้องชี้แจ้งทำความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชนได้ ทุกวันนี้ ประชาชนให้ความร่วมมือมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องเห็นใจประชาชน เขาไม่พูดไม่บอก เพราะกลัวฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐ อันตรายกับเขา และเราก็ไม่สามารถคุ้มครองเขาได้ 24 ชั่วโมง ปัจจุบันแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่มีการปรับตัวจากอดีตอย่างไร สำหรับตำรวจ ผมเน้นมาก เพราะสถานการณ์ในอดีต ตำรวจของเราตกเป็นจำเลย สิ่งที่คนพูดคือ ไม่รับความเป็นธรรม ดังนั้นเราต้องปรับตัว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 นโยบายของเราตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมาย อาจต้องเป็นธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ทุกเรื่องที่เกิดขึ้น หากมีการร้องเรียน ตำรวจสามารถชี้แจ้งอย่างเต็มปาก เต็มตำ ตอบไปอย่างตรงไปตรงมา อีกด้านหนึ่งที่ต้องทำงานควบคู่กันคือ เรื่องงานมวลชน ที่นี่มีโรงเรียนการเมือง ตั้งขึ้นมาเพื่ออบรมเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้น ใครก็แล้วแต่ ที่มาทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเข้าอบรมโรงเรียนการเมืองของเราก่อน อย่างน้อยต้องรู้ ขนบธรรมเนียม ปฏิบัติของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอย่างไร บางคนไปละเมิดสิทธิของประชาชนโดยทีรู้ไม่ถึงการณ์ เป็นการสร้างเงื่อนไขขึ้นมา งานมวลชนในอดีต จะเป็นชุดมวลชนสัมพันธ์ มีหน้าที่ทำงานมวลชน แต่ผมว่า ตำรวจทั้งโรงพักต้องทำงานมวลชนทั้งหมด อย่างจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่ เราจะจับเขาเรามีข้อมูลหรือเปล่า เป็นความผิดครั้งแรกเป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ อาจจะว่ากล่าวตักเตือนได้หรือเปล่า ประเมินสถานการณ์ความไม่สงบตอนนี้เป็นอย่างไร สถานการณ์โดยส่วนใหญ่มันก็ดีขึ้น คำว่าดีขึ้นเราคุยกันเฉพาะข้าราชการในการประชุมในการเทียบสถิติ เอาตัวเลขมาเปรียบเทียบ แต่ผมว่าตราบใดที่ยังคงมีคนเสียชีวิตในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตำรวจมีหน้าที่รักษาความปล่อยภัยชีวิตและทรัพย์สิน มียิงมีฆ่าทุกวัน จะบอกว่าดีขึ้นไม่ได้ แนวโน้มผมว่าดีขึ้นเรื่อยๆ หนึ่ง เราอย่าไปสร้างเงื่อนไข สอง ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนทุกระดับให้ได้ ตำรวจของผมเหมือนกองกำลังประจำถิ่น ต้องอยู่ในพื้นที่ ทหารเขามาแล้วก็ไป ดั้งนั้นฐานของเราก็คือประชาชน ผมบอกว่าสงครามในเมืองแพ้ชนะอยู่ประชาชน ยิ่งสู้รบยิ่งเสียมวลชน ยิ่งรบยิ่งทำลายมวลชน ผมเคยอยู่ที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เคยทำงานมวลชนที่นั่น เพราะเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท. ) ฝ่ายใดได้ประชาชน ฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ แต่ที่นั่นง่ายกว่าที่นี่ เพระการตั้งฐานของตำรวจต้องตั้งในหมู่บ้าน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจะเข้าโจมตี ก็ต้องถามมวลชนหรือประชาชนในหมู่บ้านก่อนว่า ทหารชุดนี้ ตำรวจชุดนี้เป็นอย่างไร ถ้ามวลชนบอกว่าตำรวจชุดนี้ไม่ดี ชอบรังแกชาวบ้าน ไม่เกิน 7 วัน ฐานแตกแน่ แต่ถ้าตำรวจชุดนี้ดี ไม่มีทางที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจะเข้าโจมตีได้ เพราะถ้าโจมตี พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเองจะเสียมวลชน เพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยต้องอาศัยเสบียงจากชาวบ้าน เพราะพวกเขาอยู่ในป่า ส่วนมวลชนอยู่ในหมู่บ้าน คดีสำคัญๆ ตอนนี้มีคดีอะไรบ้าง ความคืบหน้าเป็นอย่างไร คือคดีลอบวางระเบิดที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีความคืบหน้าเยอะ ออกหมายจับคนร้ายแล้ว และกำลังติดตามที่มาที่ไปของรถที่คนร้ายใช้ลอบวางระเบิดอยู่ คนร้ายในคดีนี้เกี่ยวข้องยาเสพติดจริงหรือไม่ กับขบวนการก่อความไม่สงบเป็นคนละกลุ่มกัน แต่ตัวผู้ปฏิบัติการอาจจะเกี่ยวพันก็ได้ ที่เรารู้ว่ามันพันกันอยู่ เพราะอาวุธที่ใช้เกี่ยวโยงกับการก่อเหตุไม่สงบ แล้วบุคคลที่เกี่ยวพันขบวนการก็มีส่วนพัวพันกับยาเสพคิด ส่วนเงินจากยาเสพมีความเชื่อมโยงกับขบวนการก่อความไม่สงบหรือเปล่า ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด เพราะเงินที่เข้าขบวนการ ไม่ได้โอนเงินผ่านธนาคาร แต่ดูการจากพฤติกรรมผู้นำท้องถิ่น น่าจะมีส่วนเกี่ยงข้อง เพราะมีการค้ายาเสพติดเยอะเท่าที่รู้ เรื่องยาเสพติดนั้น ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) มีการประชุมเรื่องยาเสพติดทุกวันพฤหัสบดีกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่ของเราเป็นเป้าหมายหลักที่ยาเสพติดจากภาคเหนือจะทะลักเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นยาบ้า ใบกระท่อม ยาไอซ์จากประเทศมาเลเซียทะลักเข้ามาในพื้นที่ ในพื้นที่มีพ่อค้ารายใหญ่ เราก็พยายามจับ ผมก็ยังสงสัยมีสั่งการจากเรือนจำได้อย่างไร เราไปตรวจเรือนจำ เจอคนที่สั่งค้ายาเพราะเรายึดโทรศัพท์ในเรือนจำได้ ปรากฏว่าหมายโทรศัพท์ตรงกับหมายเลขผู้ต้องหาที่ถูกจับ ตอนนี้ทหารมอบหมายให้ผมรับผิดชอบในเขต 5 เมืองหลัก คือเมืองสุไหง-โกลก เมืองเบตง เมืองยะลา ปัตตานีและนราธิวาส แต่หากไม่พอ ทหารก็จะมาเสริม อาสาสมัครรักษาดินแดนมาเสริม จะต้องเอาให้อยู่ ซึ่งทหารจะดูแลในพื้นที่นอกเมือง แถบชนบท เรื่องการปรับโครงสร้างใหม่เป็นอย่างไร รัฐบาลจะปรับโครงสร้างใหม่ โดยให้มีการบูรณาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงสร้างใหม่เหมือน กอ.สสส.จชต. (กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้)ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่งคงเป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมาหดไทย ทหาร ตำรวจ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ส่วนระดับภูมิภาคมอบให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธาน โดยมตำรวจกับศอ.บต. เป็นกรรมการ เดิมศอ.บต.แยกออกจากหน่วยความมั่นคง เพราะมีกฎหมายคนละฉบับ ระดับจังหวัดมีผู้ราชการจังหวัดเป็นประธาน มีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกับผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจจังหวัดนั่งซ้ายขวา ให้นายอำเภอ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรและผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข 2 ตัว เป็นทีมงานเดียวกัน ผมบอกว่า ต้องให้ฝ่ายปกครองเป็นใหญ่ ผู้ว่าราชการเป็นใหญ่ เพราะการสั่งการจะดีกว่า สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ภาคใต้เปิดฉากวันที่อยู่อาศัยโลก ชู ‘ลำสินธุ์’ ชุมชนต้นแบบจัดการตนเอง Posted: 08 Oct 2011 04:12 AM PDT ทุกวันจันทร์แรกในเดือนตุลาคมของทุกปี สหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) มาตั้งแต่ปี 1989 เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกได้ให้ความสนใจกับสถานการณ์ที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตลอดจนสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และเพื่อสร้างความตระหนักในความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการให้มนุษย์ทุกคน มีที่อยู่อาศัย อันเป็นปฏิบัติการร่วมกันทั่วโลก ภายใต้การแก้ปัญหาตามแผน 40/202 วันที่ 17 ธันวาคม 1985 สำหรับประเทศไทย องค์การที่อยู่อาศัยแห่งสหประชาชาติ (UN–HABITAT) ให้ความสนใจการดำเนินงานภายใต้โครงการบ้านมั่นคง ในการสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของคนจนในชุมชนแออัด โดยชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินงานพัฒนาร่วมกับท้องถิ่น และเชื่อมโยงกับภาคีพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในแต่ละเมือง ใน 200 เมืองทั่วประเทศ ภายใน 4 ปี (2548–2551) UN–HABITAT เห็นว่าเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับ Millennium Development Goals และ Cities Without Slum จึงประสานความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดงานมหกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกขึ้น ทั้งในส่วนของกิจกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกของประเทศไทย และการจัดสัมมนานานาชาติ งานวันที่อยู่อาศัยโลกในปี 2552 ของประเทศไทย ซึ่งเคยจัดเฉพาะขบวนคนจนเมือง หันมาผนึกกำลังกับขบวนที่ดินในชนบท ด้วยการนำเสนอประสบการณ์การแก้ปัญหาที่ดินในชนบท เพื่อเสนอให้รัฐบาลช่วยทะลุทะลวงอุปสรรคหลายๆ ประการในระดับปฏิบัติการ และระดับนโยบายเพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยโดยชุมชนและท้องถิ่นประสบความสำเร็จ ทั้งในส่วนของชุมชนผู้เดือดร้อน ให้มีหนทางและเกิดความมั่นคงทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน หน่วยงานท้องถิ่นสามารถออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนได้อย่างถูกจุด รวดเร็วและเป็นธรรม ในระดับนโยบายคือรัฐบาลได้ช่วยแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เป็นปัญหาของประเทศไทยได้สำเร็จ กระทั่ง มาถึงปี 2554 วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม 2554 งานวันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้ สหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อหลักว่า “Cities And Climate Change” หรือ “เมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ถึงกระนั้นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วประเทศ ยังคงร่วมกันจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินโดยขบวนชุมชนและท้องถิ่น โดยเริ่มงานตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2554–วันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันนโยบายที่ดินทำกินในรูปแบบการแก้ไขปัญหาทั้งตำบล และที่อยู่อาศัยเมืองโดยขบวนองค์กรชุมชนและท้องถิ่น เชื่อมโยงเข้าสู่ปฏิบัติการ “ท้องถิ่นจัดการตนเอง” รองรับกระแสการปฏิรูปประเทศ ที่กำลังมีการรณรงค์อย่างเอาจริงเอาจังอยู่ในขณะนี้ ในภาคใต้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 10–12 ตุลาคม 2554 เริ่มเคลื่อนขบวนแรลลี่ ในเวลา 08.00 น. ที่ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ไปยังตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เวลาประมาณ 13.40 น. จากนั้นขบวนแรลลี่จะเคลื่อนไปถึงโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา กระทั่งเวลาประมาณ 14.00 น. ของวันที่ 11 ตุลาคม 2554 จนเวลาประมาณ 19.30 น. ขบวนแรลลี่จะไปถึงจุดหมายสุดท้าย ณ ชุมชนท่าเรือใหม่รัษฎา ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สำหรับตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ถูกเลือกเป็นจุดเปิดงานวันที่อยู่อาศัยโลกของภาคใต้ ในปี 2554 เพราะเป็นชุมชนที่เข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้ ภายใต้การทำงานของเครือข่ายสินธุ์แพรทอง ส่งผลให้ตำบลลำสินธุ์เป็นชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานของแต่ละกลุ่ม กระทั่งเกิดศูนย์การเรียนรู้หลักสูตรเกษตรพอเพียง เป็นศูนย์กลางของการอบรมเรียนรู้แลกเปลี่ยนของคนในตำบลลำสินธุ์ ระหว่างปี 2513–2523 ตำบลลำสินธุ์เป็นพื้นที่สีแดง เป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างรัฐกับกองกำลังพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการส่งกองกำลังทหารเข้ามาปราบปราม และจับกุมบุคคลต้องสงสัยเป็นพลพรรคของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไปสอบปากคำ
อุทัย บุญดำ
“มีชาวบ้านจำนวนมากถูกยัดเยียดกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เกิดโศกนาฏกรรมจับชาวบ้านยัดลงถังแดงเผา มีคนตายสูญหายประมาณ 3,008 คน เด็ก ผู้หญิง คนชรา หนีกระเจิดกระเจิงเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ เพราะไร้ทางเลือกไม่สามารถไว้วางใจรัฐได้” พี่เล็ก หรือนายอุทัย บุญดำ ผู้ประสานงานเครือข่ายสินธุ์แพรทอง ซึ่งระหกระเหินขึ้นเขาบรรทัดเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เล่าว่า ระหว่างปี 2513-2523 ตำบลลำสินธุ์กลายเป็นพื้นที่สีแดง เป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างรัฐกับกองกำลังพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กระทั่งปี 2523 รัฐบาลประกาศใช้นโยบาย 66/23 การเมืองนำการทหาร จนสามารถยุติการสู้รบลงได้ ปี 2527 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านลำสินธุ์จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มพัฒนาชุมชน กลุ่มสาธารณสุขทุกหมู่บ้าน แต่ด้วยความไม่พร้อมของชุมชน กลุ่มต่างๆ พากันล้มระเนระนาด เหลือเพียงไม่กี่กลุ่มที่พอบริหารจัดการได้ กลุ่มออมทรัพย์เปรียบเสมือนเส้นเลือดของชาวบ้าน ไม่ว่าค่าใช้จ่ายใดๆ ฝากความหวังไว้ที่กลุ่มนี้ เพราะชาวบ้านไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน จึงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ คนส่วนหนึ่งที่ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ลงมาจากภูเขา ก็ไม่เชื่อในกระบวนการของรัฐ ชาวบ้านลำสินธุ์จึงหารือกันตามงานวัด และงานเทศกาล เห็นว่ากลุ่มที่บริหารจัดการได้ สมควรจะให้กลุ่มที่ยังบริหารจัดการไม่เป็น ได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ จนถึงปี 2544 ชาวบ้านจึงมีนัดนั่งแลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงปัญหาของตำบลลำสินธุ์ ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน จนมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายสินธุ์แพรทอง มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานของแต่ละกลุ่ม โดยได้รับงบประมาณจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จนสามารถแก้ปัญหาการจัดการกลุ่มได้ “เราเน้นสร้างคนเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาสาธารณะ โดยไม่เน้นการแก้ปัญหาที่ดินโดยตรง เรามองว่าที่ดินเป็นปัญหาสาธารณะอย่างหนึ่ง ที่สามารถจะเชื่อมโยงคนได้ทั้งตำบล เนื่องจากแนวทางการแก้ไขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจึงมีเวทีหารือสรุปกันทุกเดือนเพื่อร่วมกันทบทวน และหาแนวทางแก้ปัญหา” นายอุทัย อธิบาย นายอุทัย เล่าว่า ที่นี่เป็นที่เดียวที่ชาวบ้านสามารถล้มต้นยางได้โดยไม่ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้ามาฟันต้นยางทิ้ง เป็นพื้นที่ที่ไม่มีปัญหากับกรมป่าไม้ เพราะเราพยายามพัฒนาคน ไม่รุกล้ำพื้นที่ป่าไม้เพิ่มเติม เราทำข้อมูลแผนที่ทำมือ มีเป้าหมายเพื่อขอพิสูจน์สิทธิ์ กระทั่งเชื่อมโยงแผนที่ 1:4000 จนพบพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณควนรงค์ว่า ไม่ได้อยู่ในเขตป่าสงวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตป่าไม้ สามารถนำมาออกโฉนดที่ดินให้กับชาวบ้าน ที่มีปัญหาเรื่องที่ดิน ที่ทำกินได้ครึ่งหนึ่ง กระทั่งปี 2551 เครือข่ายสินธุ์แพรทอง ได้เปิดศูนย์เรียนรู้การใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน มีวิทยากรท้องถิ่นที่มีความรู้เฉพาะด้านคอยให้ความรู้ ด้านการผลิตไม้ผล ศูนย์รวบรวมผลผลิต กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นต้น โดยให้ผู้เข้าอบรมพักกับครอบครัวเกษตรกรเพื่อที่จะทำการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และภูมิความรู้ที่มีของแต่ละคน คนเข้ามาอบรมรุ่นหนึ่งๆ จำนวน 100 คน กระจายลงบ้านต่างๆ ซึ่งมีสมาชิกในครอบครัว 4–5 คน แต่ละครอบครัวต้องมีแผนพัฒนาในระดับครอบครัวด้วย แล้วจะมีการประเมินและขยายผลต่อไปว่า แต่ละครอบครัวจะต้องพัฒนาอะไรต่อไปบ้าง เช่น ปลูกผักสวนครัวกี่ชนิด ผักอะไรบ้าง จะลดพลังงานอย่างไร จะเผาถ่านใช้เอง หรือทำก๊าซชีวภาพใช้ในครัวเรือน ศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายฯ สร้างเงื่อนไขให้คนมาอบรมเป็นการบ้านไปนั่งคุยกับชาวบ้านว่า มีระบบการใช้ชีวิตในวิถีพอเพียงอย่างไร ทำอะไรกี่เรื่อง เริ่มจากเรียนรู้จากการสังเกตกันภายในครัวเรือน แลกเปลี่ยนกันระหว่างคนมาอบรมกับชาวบ้าน จากนั้นเรียนรู้จากคนรอบบ้าน ให้ไปสอบถามคนข้างบ้านว่า คนนี้อยู่แบบนี้จริงหรือจัดฉากขึ้นมา ฉากที่เห็นตอนนี้ กับที่เห็นเห็นแรกๆ ต่างกันอย่างไร นอกจากชาวบ้านจะพัฒนาครอบครัวตัวเองแล้ว ยังต้องพัฒนาครัวเรือนข้างๆ ด้วย แล้วจะนำมาสรุป สรุปเท็จไม่ได้ เนื่องจากคนมาอบรมสัมผัสได้ หากเพื่อนบ้านช่วยกันโกหกว่า บ้านนี้ไม่เกี่ยวข้องยาเสพติด เราจะให้ผู้เข้าอบรมสังเกตลูกของชาวบ้านตาลอยๆ อยู่หรือเปล่า พ่อบ้านกินเหล้าหรือไม่ ความอบอุ่นในครอบครัวสื่อออกมาจากอะไร คุยกับเราเขาสื่อด้วยสายตา ด้วยใจ ด้วยภาษากายอะไรไหม เมื่อลงไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากชาวบ้าน มีการนั่งคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผสมผสานกับประสบการณ์ของแต่ละคน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้เรียนรู้ คนที่มาร่วมแลกเปลี่ยนก็ได้ประโยชน์ “เราใช้โครงการฝึกอบรมบุคคลข้างนอกเป็นเครื่องมือพัฒนาชาวบ้านในชุมชนไปในตัว พอทำสักพักก็นำมาทบทวนว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ตามแผนพัฒนาของเราหรือไม่ เกิดความรู้อะไรไปบ้างไหม ทุกคนซึ่งมีแผนพัฒนาของตัวเอง จะต้องนำมาสรุปและถอดบทเรียนขยายความรู้ที่เพิ่มขึ้นมา” นายอุทัย บอก “เราเน้นสร้างคนเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาสาธารณะ โดยไม่เน้นการแก้ปัญหาที่ดินโดยตรง เรามองว่าที่ดินเป็นปัญหาสาธารณะอย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงคนในระดับตำบล ซึ่งแนวทางในการแก้ไขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งมีเวทีหารือสรุปกันทุกเดือนเพื่อมาร่วมกันนั่งทบทวนและหาแนวทางในการแก้ปัญหา” “จากการที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเลือกพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ เป็นจุดเปิดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้ เพราะต้องการให้ชุมชนได้เสนอกระบวนการการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ไม่ใช่เน้นแค่ที่อยู่ ที่ทำกิน แต่หมายถึงเรื่องกระบวนการ การทำงาน การจัดการตัวเองของชุมชนโดยองค์กรของชาวบ้านเอง” นายอุทัย อธิบาย ทั้งนี้เพื่อให้เห็นรูปธรรมของชุมชนจัดการตนเอง อันจะนำไปสู่แนวทางการปฏิรูปประเทศไทยต่อไปในวันข้างหน้า สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ศรีสุวรรณ จรรยา: เอ็นจีโอพร้อมตอบโต้รัฐบาล เมื่อ(ร่าง)กฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม...แท้ง Posted: 08 Oct 2011 03:43 AM PDT วันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมาถือว่าเป็นวันสุดท้ายที่คณะรัฐมนตรีจะได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 ในการที่จะได้ร้องขอไปยังรัฐสภาภายใน 60 วันเพื่อขอให้พิจารณา(ร่าง)กฎหมายที่ยังคงค้างการพิจารณาอยู่ในรัฐสภาที่ยังมิได้ให้ความเห็นชอบ ให้ได้กลับมาพิจารณาและให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ภายหลังจากที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไป และมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นมาบริหารประเทศแล้ว ในรัฐสภาชุดก่อนหน้าที่จะมีการยุบสภามีการพิจารณา(ร่าง)พระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ... คงค้างอยู่ในชั้นกรรมาธิการของวุฒิสภา เมื่อมีการยุบสภาไปเสียก่อนร่างกฎหมายดังกล่าวจึงคงค้างการพิจารณาอยู่ในรัฐสภา จนกระทั่งมีสภาชุดใหม่ มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว หลายคนจึงคาดหวังว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะได้รับการยืนยันกลับไปยังรัฐสภาใหม่ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาและนำมาประกาศบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็วต่อไป เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศนั่นเอง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอหรือยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าวกลับไปยังรัฐสภาภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นที่แน่ชัดว่ารัฐบาลมิได้ให้ความสำคัญ หรือความสนใจต่อกรณีปัญหาดังกล่าวเลย จึงถือว่าเป็นการประกาศศึกกับภาคประชาสังคม และเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทั้งประเทศขึ้นมาโดยเจตนา ถือเป็นการท้าทายบนสถานะและความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ชื่อปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข สส.จังหวัดเลย อดีตวิศวกรโยธา ประจำกองควบคุมการก่อสร้าง สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายรักเกียรติ สุขธนะ) ที่เคยถูกกล่าวหากรณีพัวพันการทุจริตยามูลค่า 1,400 ล้านบาท แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนเอาผิดได้ การทำแท้ง(ร่าง)กฎหมายองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมฯที่รอคลอดมากว่า 10 ปีของรัฐบาล โดยโยนกลับไปให้กระทรวงทรัพยากรฯ ยกร่างทำใหม่ สวนทางนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ถือเป็นการฆ่าตัดตอนพลังภาคประชาชนในการตรวจสอบโครงการลงทุนที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและสุขภาพ ก็ขอให้จับตาดูว่าความขัดแย้งรุนแรงจะเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้าอย่างไร เพราะระยะเวลาเพียงไม่นานที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ แถลงนโยบายต่อรัฐภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ในเรื่องนโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อ 5.3 ระบุว่า “รัฐบาลจะดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเร่งรัดการควบคุมมลพิษ โดยการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ปรับปรุงกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เอื้อต่อการเข้าถึงขององค์กรภาคประชาชน ผลักดันกฎหมายว่าด้วยองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม....” แต่เมื่อเข้ามาบริหารประเทศจริงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กลับทำตรงกันข้าม โดยคณะรัฐมนตรี ได้โยนเรื่องกลับไปให้กระทรวงทรัพยากรฯ ยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่ หรือกลับไปนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง โดยยึดถือตามร่างกฎหมายฉบับที่เสนอโดยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง หรือคณะกรรมการ 4 ฝ่าย หากทีมงานที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีความรู้และได้ศึกษาที่มาที่ไปในการผลักดันกฎหมายองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมฯ ก็จะพบว่า ร่างกฎหมายองค์การอิสระสิ่งแวดล้อมฯ ได้ผ่านกระบวนการวิจัย การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศมาอย่างยาวนานนับสิบปี นับแต่รัฐธรรมนูญฯ ปี 2540 เป็นต้นมา และร่างกฎหมายที่ค้างอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ วุฒิสภา ก็เป็นร่างที่เสนอโดยคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนตัวแทนภาควิชาการ และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อยู่แล้ว รัฐบาลอาจจะอ้างว่าปัจจุบันก็มีองค์การอิสระในรูปของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว แต่แท้ที่จริงระเบียบดังกล่าวขัดต่อกฎหมายและที่สำคัญขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้งหลายประการ ส่วนจะขัดอย่างไร เดี๋ยวรออีกไม่นานจะฟ้องให้ศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัยหรือมีคำพิพากษาว่าผิดอย่างไร การมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรฯ ไปยกร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ จะทำให้ขั้นตอนการพิจารณากฎหมายนี้ล่าช้าออกไป และมีเป้าหมายแอบแฝงที่ต้องการปรับรื้อโครงสร้างองค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมฯ โดยไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมฯ ในรูปแบบองค์กรระดับชาติ เพื่อลดทอนพลังในการตรวจสอบและถ่วงดุลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรอาจรุนแรงฯ ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ 2550 ร่างกฎหมายดังกล่าว มีหลักการเนื้อหาสาระสำคัญที่ผ่านการพิจารณาแก้ไขจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับ หากรัฐบาลต้องการปรับแก้เนื้อหาในร่างกฎหมายก็สามารถดำเนินการได้ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภาโดยการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา การให้กระทรวงทรัพยากรฯ ไปยกร่างใหม่ ทำให้กระบวนการล่าช้าออกไปอีกมาก และอาจเป็นปัญหาต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าต่อกระบวนการพิจารณาอนุมัติการพัฒนาและการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และโครงการลงทุนของเอกชน รัฐบาลคงลืมไปว่า ขณะนี้วิกฤตการณ์มาบตาพุดยังไม่คลี่คลาย ยังมีคดีความฟ้องร้องค้างกันอยู่ในศาลปกครองสูงสุดถึง 3 คดีใหญ่ ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรคสอง และเมื่อรัฐบาลและรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ไม่ให้ความสำคัญกับการผลักดันกฎหมายดังกล่าวให้ผ่านรัฐสภาโดยเร็ว แต่กลับใช้เทคนิคชั้นเชิง ตามข้อเสนอแนะของข้าราชการในกระทรวงทรัพย์ฯหัวโบราณ และกฤษฎีกาที่มีแต่ผู้สูงอายุจำนวนมาก โดยมุ่งหวังดิสเครดิตภาคประชาสังคม และองค์กรเครือข่าย ก็เห็นทีที่จะต้องสร้างสอนบทเรียนอีกหลาย ๆ บทให้กับรัฐบาลที่ดีแต่โม้ชุดนี้ กับรัฐมนตรีหน้านี้กันต่อไป อย่าลืมนะครับว่ามีโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่เป็นเมกกะโปรเจ็คหลายโครงการที่จะต้องจัดทำ EHIA ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง และตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552 มีมากมายหลายโครงการ ที่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายเกิดขึ้นกับประชาชน เช่น โครงการขยายอาคารและก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และพัทยา-มาบตาพุด โครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ โครงการท่าเรือปากบารา โครงการโรงไฟฟ้า IPP ทั้งหลาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ทั้ง 10 สายใน กทม.และปริมณฑล โครงการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ โครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ฯลฯ ไม่รวมโครงการต่าง ๆ ในมาบตาพุด ที่อยู่ในคำสั่งศาลปกครองกว่า 67 โครงการด้วย โครงการเหล่านี้บางโครงการผ่าน EIA ไปแล้ว แต่ต้องกลับไปทำ EHIA ใหม่ทั้งหมด เพราะถือว่าเป็นโครงการประเภทรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ต้องผ่านการให้องค์การอิสระพิจารณาเห็นชอบเสียก่อน แต่ถ้าไม่ทำก็มีทางเดียวเท่านั้นคือ การฟ้องร้องต่อศาล อยากเห็นนักว่ารัฐบาลชุดนี้และรัฐมนตรีกระทรวงนี้ จะมีปัญญาแก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้หรือไม่... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้ให้รัฐบาลเวลา 30 วัน ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน Posted: 08 Oct 2011 03:35 AM PDT 8 ต.ค. 54 - เครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เพื่อทวงถามตามข้อเรียกร้องข้อแรกข้อฉบับที่ 1 หลังจากปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ต้องสงสัยที่เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวโดยไม่ได้แสดงหมายใดๆ เพื่อให้รัฐบาลชี้แจงถึงเหตุผลของการควบคุมตัวนายนิเซ๊ะว่าควบคุมตัวด้วยข้อมูลหลักฐานใด หลังจากแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ถูกเผยแพร่สู่สังคมสาธารณะ 3 วัน พร้อมเรียกร้องให้ภายใน 30 วันรัฐบาลต้องแสดงชัดเจนต่อการยกเลิกการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่อง ขอให้ยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา กรณีทวงถามข้อเรียกร้องต่อแถลงการณ์ฉบับที่ 1 อ้างถึงกรณีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าจับกุมนายนิเซ๊ะ นิฮะ โดยไม่ได้แสดงหมาย แล้วได้ควบคุมตัวไปยังค่ายทหารบริเวณโรงไฟฟ้าปัตตานี ต่อมาได้ควบคุมตัวไปซักถามยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี กระทั่งถึงวันที่ 22 กันยายน 2554เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ยื่นคำร้องขอออกหมายควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 โดยมิได้แจ้งเหตุความจำเป็นใดๆ และในวันที่ 25 กันยายน 2554เจ้าหน้าที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์นำผลการซักถามให้ผู้ถูกควบคุมตัวลงลายมือชื่อในเอกสาร ครั้นต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัวในวันที่26 กันยายน 2554และย้ายสถานที่ควบคุมตัวไปที่ศูนย์พิทักษ์สันติศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลาเป็นการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนและไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการไต่สวนโดยศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนผู้ร้องและผู้ร้องคัดค้าน ในวันวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2554 เวลา 09.30นาฬิกา นั้น เมื่อวันที่3 ตุลาคม 2554 เครือข่ายประชาสังคมคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉิน 17 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1ในกรณีข้างต้น 3 ข้อ คือ 1.หลังจากแถลงการณ์ฉบับนี้( ฉบับที่1)ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ ขอให้รัฐปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะทันที เพื่อเป็นบรรทัดฐานและให้มีหนังสือยอมรับผิดต่อความผิดพลาดในการทำงานของเจ้าหน้าที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ 2.ให้รัฐชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบตามสมควรแก่กรณี 3. ขอเสนอต่อรัฐบาลให้ยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 ภายใน 30 วันถ้ายังตระหนักถึงความมั่นคงในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปรากฏว่าเมื่อวันที่4 ตุลาคม 2554 เวลาประมาณ 14.00น. เจ้าหน้าที่ได้ทำการปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ อย่างเงียบๆโดยมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงจากการนัดของศาลเพื่อไต่สวนการควบคุมตัวโดยมิชอบในวันที่5 ตุลาคม 2554 หรือไม่ เพื่อความชัดเจนในเจตนาของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวและการปล่อยตัว นายนิเซ๊ะ นิฮะให้สังคมสาธารณะได้เข้าใจอย่างถูกต้อง และแสดงถึงความจริงใจของรัฐบาลต่อการเรียกร้องความยุติธรรมต่อประชาชนของเครือข่ายประชาสังคมคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงขอเรียกร้องเพิ่มเติมดังนี้.- 1.ขอให้รัฐบาลชี้แจงถึงเหตุผลของการควบคุมตัวนายนิเซ๊ะนิฮะ ด้วยข้อมูลหลักฐานใด/และ การที่เจ้าหน้าที่ ปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะก่อนถึงวันกำหนดนัดไต่สวนของศาล ด้วยเหตุผลใด?โดยให้ชี้แจงภายในเวลา 3 วัน หลังจากที่แถลงการณ์ฉบับนี้ถูกเผยแพร่สู่สังคมสาธารณะ 2.ขอให้รัฐบาลแสดงท่าทีให้ชัดเจนต่อมาตรการการเยียวยาผู้ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่โดยยึดกรณีของนายนิเซ๊ะ นิฮะ เป็นบรรทัดฐาน 3.ขอให้รัฐบาลมีคำตอบชัดเจนต่อกรณีการเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภายในระยะเวลา 30 วัน อนึ่งภายใน ระยะเวลา 30 วันหากรัฐบาลไม่มีการแสดงท่าทีใดๆ เราเครือข่ายประชาสังคมคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะยกระดับการเคลื่อนไหวต่อไปอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากรัฐบาล สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม(MAC) ศูนย์ประสานงานองค์กรนักศึกษาและเยาวชนชายแดนใต้(BOMAS) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) องค์การบริหาร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี องค์การบริหารนักศึกษาภาคปกติมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา สภานักศึกษาองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิและเข้าถึงความยุติธรรม(HAP) มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้(YAKIS) ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย(CCPD) ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา(PUKIS) สมาคมเยาวชนเพื่อการพัฒนา(YDA) สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (DEEPPEACE) สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย(สนมท.) เครือข่ายผู้ช่วยทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม(SPAN) เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้(INSOUTH) กลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้มหาวิทยาลัยรามคำแหง(PNYS) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กทม.ยกเลิก "พิธีไล่น้ำ" แต่อาจจัดเป็นการภายใน Posted: 07 Oct 2011 07:03 PM PDT ส่งเอสเอ็มเอสแจ้งยกเลิกการจัด "พิธีไล่น้ำ" ด้าน "มติชนออนไลน์" เผยแหล่งข่าวแจ้งว่าอาจจัดเป็นการภายในแทน ตามที่มีรายงานข่าวว่า สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โดยนางเพียงใจ วิศรุตรัตน รองปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ออกหนังสือเชิญผู้อำนวยการสำนักและหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) ขอเชิญร่วมพิธีไล่น้ำ ซึ่งมีกำหนดจัด 8 ต.ค. ที่ศาลหลักเมืองนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ล่าสุด มติชนออนไลน์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจาก กทม. ว่า ทางกทม.ได้ส่งข้อความมายังมือถือเจ้าพนักงานถึงกิจกรรมดังกล่าว ว่ามีการยกเลิกไป แต่จากการตรวจสอบพบว่า ยังมีพิธีกรรมนี้อยู่จริง และทำเป็นการภายใน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น