ประชาไท | Prachatai3.info |
- “ฟีมูฟ” ผนึก “สอช.” ชุมนุมวันที่อยู่อาศัยสากล จี้รัฐฯ สร้างกลไกร่วมแก้ปัญหา
- เริ่มแล้วงานรำลึก 6 ตุลา-แพร่ 25 ภาพที่หล่นหายในประวัติศาสตร์
- ประชาไทบันเทิง ตอน AV ที่รัก (2): เรื่องเล่าสาว AV
- ขอคืน “พิพิธภัณฑ์” เปลี่ยนเป็น “บ้านพัก” ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ฯ
- ข้าแต่ศาลที่เคารพ...... "ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" เปิดจดหมายของผู้ถูกควบคุมตัวตามหมาย ฉฉ.
- โอกาสและความท้าทายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ
- มหาเดร์ย้ำต้องใช้ฐานความรู้ ฝ่าวิกฤติในโลกมุสลิม
- กวีตีนแดง: สิ่งไหนเล่าที่โดมโหมจิตข้า
- ผู้ต้องสงสัยหมาย พ.ร.ก.ใต้ คัดค้าน พ.ร.ก.หลังคุมตัวกว่าสองสัปดาห์
- ความเป็นปัจจุบันสมัยของกาลิเลโอ
- ความเป็นปัจจุบันสมัยของกาลิเลโอ
- 17 เครือข่ายประชาสังคม ร้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
- "คณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร" หนุนข้อเสนอ "นิติราษฎร์"
- พม่าส่งกำลังทหารเข้าประจำในรัฐฉาน 200 กองพัน
- นานาชาติเล็งจี้สถานการณ์สิทธิฯ ไทย 5 ตุลานี้
“ฟีมูฟ” ผนึก “สอช.” ชุมนุมวันที่อยู่อาศัยสากล จี้รัฐฯ สร้างกลไกร่วมแก้ปัญหา Posted: 03 Oct 2011 03:10 PM PDT ตัวแทนพีมูฟ-สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนฯ เคลื่อนขบวนวันที่อยู่อาศัยสากล จี้รัฐเร่งแก้ปัญหา ด้านตัวแทนรัฐบาลเผยรับข้อเสนอตั้งคณะกรรมการร่วมแก้ปัญหา - โฉนดชุมชนเดินต่อ – คดีเร่งด่วนส่งสำนักนายกช่วยรายกรณี วันนี้ (3 ต.ค.54) ที่บริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล ชาวบ้านในขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (Pmove) และสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) กว่า 4,000 คน ร่วมชุมนุมเพื่อรอผลการหารือเรื่องการกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล หลังจากที่มีการเปิดแถลงข่าวเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ในงานวันที่อยู่อาศัยสากลซึ่งจัดโดยเครือข่ายสลัม 4 ภาค หนึ่งในเครือข่ายของ Pmove และมีการออกแถลงการณ์เรื่อง “ความทุกข์ยังหมักหมม ความจนยังขี่ข่ม คนจนจึ่งทวงถาม” ระบุถึงการนัดหมายชุมนุม การชุมนุมครั้งนี้ Pmove และสอช.ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 6 “เปิดการเจรจา เร่งแก้ปัญหา ตามสัญญาประชาคม” ระบุว่า เนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล แม้ปัญหาของเครือข่ายฯ ในหลายเรื่องจะถูกบรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา แต่ยังมีอีกหลายกรณีปัญหาที่ยังคลุมเครือและขาดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ อีกทั้งมีหลายกรณีที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โอกาสนี้ จึงเป็นนิมิตหมายใหม่ในการสะสางปัญหาที่คั่งค้าง และแก้ไขให้เป็นรูปธรรม โดยเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการเจรจาอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งสร้างกลไกการแก้ไขปัญหาที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในการชุมนุม มีชาวบ้านจากทุกภูมิภาคของประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน คดีความเกี่ยวกับกรณีที่ดินในเขตป่า และปัญหาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ รวมทั้งกลุ่มชาวบ้านที่ต้องการเรียกร้องการบังคับใช้กฎหมาย เช่นกรณีกลุ่มคนไทยผลัดถิ่นเข้าร่วม โดยมีการชูป้ายผ้า และธงกระดาษเขียนระบุข้อเรียกร้องด้วย นายบุญมี คำเรือง ชาวบ้านสมัชชาคนจน (สคจ.) กรณีเขื่อนปากมูล กล่าวว่า ชาวบ้านมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องกลไกการแก้ไขปัญหาร่วมกันจากรัฐบาล โดยเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านก็ได้มารวมตัวกันเพื่อมาทวงสัญญาที่ตัวแทนพรรคการเมืองให้ไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมแล้วครั้งหนึ่ง แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลเพิ่งได้รับการโปรดเกล้า ส่วนปัญหาหลักของชาวบ้านที่มาเรียกร้องไม่ว่าป่าไม้ ที่ดิน ที่สาธารณะ หรือกรณีเขื่อนล้วนเป็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารและที่อยู่อาศัย ถือเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต “รัฐควรรับผิดชอบเรื่องนี้ อย่างรัฐที่แล้วก็มีนโยบายอยู่ แต่มันก็สิ้นกลไกลงไป มาคราวนี้เราก็มาเสนอว่าให้รัฐนั้นสร้างกลไกที่มีอยู่แล้วขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อดำเนินการต่อ” นายบุญมี กล่าว และขยายความว่า กลไกที่ว่านั้นคือคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วย รัฐบาล ข้าราชการ และชาวบ้าน เป็นกลไกการทำงาน 3 ส่วนร่วมกัน ขณะที่ นายสนั่น อุ่นให้ผล ประธานสหกรณ์เคหะสถานบ้านมั่นคงรุ่งเรืองพัฒนาจำกัด จ.จันทบุรี กล่าวถึง เหตุผลการมาร่วมเรียกร้องในครั้งนี้ ว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันเพิกเฉย ไม่มีนโยบายแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้คนจน ทั้งที่ที่ผ่านมาชาวบ้านมีการดำเนินการร่วมแก้ปัญหาด้วยตนเองในโครงการบ้านมั่นคง และการจัดทำโฉนดชุมชนแต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ ดังนั้นจึงมีการเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ปัญหาระหว่างรัฐบาลกับประชาชน นอกจากนั้นยังมีกรณีเรื่องเงินงบประมาณโครงการบ้านมั่นคง 6,000 ล้านบาท ที่คงค้างอยู่อีก 3,000 ล้านบาท จากรัฐบาลชุดที่แล้วยังไม่ได้มีการเบิกจ่าย นายสนั่น กล่าวด้วยว่าในส่วนของ สอช.ขณะนี้ประเด็นหลักที่มีการเคลื่อนไหว คือ เรื่องที่อยู่อาศัย และกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งกองทุนนี้จะมาจากเงินออมของชาวบ้านเพื่อการจัดซื้อที่ดิน โดยให้ชาวบ้านบริหารจัดการเอง และให้รัฐมีส่วนช่วยสมทบ “รัฐบาลนี้น่าจะมีพลังมากกว่ารัฐบาลที่แล้ว น่าจะทำอะไรได้เร็วกว่า และเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งด้วย” นายสนั่นแสดงความเห็น ส่วนนางอรวรรณ ทรายคำ สมาชิกโครงการบ้านมั่นคงรอยพระพุทธบาตร เครือข่ายบ้านมั่นคง จ.เชียงราย กล่าวว่า เครือข่ายฯ จากเดินทางมาร่วมเรียกร้องกรณีที่อยู่อาศัยกว่า 50 คน โดย จ.เชียงรายขณะนี้มีโครงการบ้านมั่นคงทั้งหมด 10 โครงการ แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการกู้เงิน และต้องการมาทวงสัญญาที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้หาเสียไว้ ทั้งที่บอกว่าจะช่วยเปิดทางเพื่อการกู้เงินสร้างบ้าน โครงการรถไฟฟ้า และโครงการเรียนฟรี “โครงการบ้านหลังแรก หรือรถคันแรกไม่ได้เอื้อกับคนจน แต่เอื้อให้กับคนรวยมีเงินเดือน” นางอรวรรณกล่าว และว่า อยากให้รัฐบาลหันมาคุย มาให้ความสนใจกับชาวบ้านบ้าง เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.ตัวแทนผู้ชุมนุม จำนวน 32 คนได้เข้าร่วมเจรจาในทำเนียบรัฐบาลกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะตัวแทนของนายรัฐมนตรี จากที่ก่อนหน้านี้เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น.ทางกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมได้ส่งผู้แทนจำนวน 10 คนเข้าร่วมเจรจาภายในทำเนียบรัฐบาลแต่การเจรจาไม่ได้ข้อสรุป โดยมีการแจ้งให้กับผู้ชุมนุมรับทราบว่าไม่มีตัวแทนของผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเข้าร่วมในการเจรจา หลังใช้เวลาในการเจรจาราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ตัวแทนผู้ชุมนุมได้เดินทางออกมาจากทำเนียบรัฐบาล โดยมีรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเดินทางออกมาร่วมชี้แจงข้อสรุปจากการประชุมให้ผู้ชุมนุมได้รับทราบ อาทิ นายกรัฐมนตรีรับข้อเสนอเรื่องการตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายฯ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ ส่วนเรื่องโฉนดชุมชนถือเป็นโครงการที่ดีซึ่งจะมีการเดินหน้าต่อ นอกจากนั้น ในส่วนคดีความเร่งด่วนเห็นควรส่งให้สำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาช่วยเหลือเป็นรายกรณี ส่วนคดีความอื่นๆ ที่มีการรวบรวมเป็นเล่มจะมีการส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมดำเนินการต่อไป จากนั้น ตัวแทนผู้ชุมนุมได้มอบเงินจำนวน 13,930 บาทที่มีการรวมรวมจากสมาชิกเครือข่าย ให้กับตัวแทนของรัฐบาลเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และก่อนที่จะมีการสลายตัวกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำสัญญาประชาคมร่วมกันว่าจะกลับมารวมตัวกันอีกครั้งหากรัฐบาลบิดพลิ้วไม่ทำตามสิ่งที่รับปากไว้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงเช้า ก่อนที่จะมารวมตัวกันที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำกิจกรรมเดินรณรงค์เพื่อที่อยู่อาศัย โดยขบวน Pmove และเครือข่ายสลัม 4 ภาค นัดหมายกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วน สอช.นัดหมายที่ลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นเดินขบวนจากไปยังสำนักงานองค์การสหประชาชาติ (UN) ประจำประเทศไทย ยื่นหนังสือถึงผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติเนื่องในวันที่อยู่อาศัยสากล
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
เริ่มแล้วงานรำลึก 6 ตุลา-แพร่ 25 ภาพที่หล่นหายในประวัติศาสตร์ Posted: 03 Oct 2011 09:43 AM PDT นักกิจกรรมจัดงานรำลึก 35 ปี 6 ตุลา 19 ที่ มธ.ท่าพระจันทร์ 1-14 ต.ค.นี้ เผยแพร่ภาพชุดใหม่ เหตุการณ์เช้าวันที่ 6 ตุลาผ่าน 2519.net-เฟซบุ๊ก
โครงการกำแพงประวัติศาสตร์: ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับเครือข่ายเดือนตุลา องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน(CCP) กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้านอำนาจนอกระบบ(TCAD) กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย(LLTD) กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์(LKS) และกลุ่มประชาคมมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย(FMCD) จัดงานสัปดาห์รำลึก 35 ปี 6 ต.ค.19 ระหว่างวันที่ 1-14 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ วิภา ดาวมณี ผู้ประสานงานคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ระบุว่า ในปีนี้ มีภาพเหตุการณ์วันที่ 6 ต.ค.2519 ซึ่งไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนจำนวน 25 ภาพ ส่งมาจากอดีตนักเรียนอาชีวะผู้ไม่ประสงค์ออกนาม โดยภาพชุดดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ช่วงเช้า หลังมีการใช้กำลังตำรวจ-ตชด. บุกเข้าไปใน มธ. โดยเบื้องต้นเผยแพร่ทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ http://2519.net และเพจ Truth Finding ในเฟซบุ๊ก วิภา ระบุว่า ภาพชุดดังกล่าว มีชายคนหนึ่งถูกใส่กุญแจมือ ลากลงจากรถ และนำมาแขวนคอ โดยจากการตรวจสอบ ชายในภาพเป็นคนละคนกับชายในภาพที่ถูกแขวนคอซึ่งเผยแพร่ก่อนหน้านี้ ซึ่งคือ วิชิตชัย อมรกุล นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยให้ผู้ชุมนุมใน มธ. ช่วงคืนวันที่ 5 ต่อเช้าวันที่ 6 อย่างไรก็ตาม จนขณะนี้ยังไม่ทราบว่าชายคนดังกล่าว และคนอื่นๆ ในภาพเป็นใคร ทั้งนี้ หากมีผู้ทราบเบาะแสก็สามารถติดต่อมาที่ตนเองในฐานะผู้ประสานงานคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ได้
นอกจากนี้ วิภาเปิดเผยว่า แม้สาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตรัฐมนตรีสำนักนายกฯ เคยแถลงออกสื่อว่ามีการชดเชยให้ญาติวีรชน 6 ตุลา แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลใดชดเชยให้ญาติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเลย ซึ่งรวมถึงรัฐบาลทักษิณด้วย สำหรับการให้ความสนใจกับงานรำลึกในแต่ละปีนั้น วิภากล่าวว่า ขึ้นกับการเมืองของแต่ละยุคสมัย โดยตั้งแต่หลังรัฐประหาร มีเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ทำให้ได้เห็นอดีตคนเดือนตุลาที่เปลี่ยนไป แบ่งวิธีคิดอุดมการณ์ชัดเจน ส่งผลถึงความร่วมมือในการจัดงาน ซึ่งเธอสงสัยว่าคนเหล่านั้นเข้าใจเจตนารมณ์ของคนเดือนตุลาแค่ไหน โดยพวกเขาจะพูดถึงแต่ประวัติศาสตร์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองปัจจุบัน ทำราวกับประวัติศาสตร์หยุดนิ่ง ไม่เข้าใจอุดมการณ์ของวีรชนที่สู้เพื่อคนยากจน ขณะที่อีกกลุ่ม มองว่าจนปัจจุบันคนก็ยังถูกรังแกจากอาชญากรรมของรัฐ ยกตัวอย่างเช่นเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ต่อกรณีที่มีข้อวิจารณ์ว่าเป็นการนำอดีตมารับใช้การเมืองหรือไม่นั้น วิภาตั้งคำถามกลับว่า การเมืองคืออะไร และว่าต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถูกกดขี่ ประชาชนที่ถูกรังแก บางพวกคิดแต่เรื่องทักษิณ ซึ่งน่าเบื่อ บางคนตั้งองค์กรมา โดยไม่เคยเรียกร้องอะไรเลยก็มี วิภา กล่าวเสริมว่า การจัดงานรำลึกไม่ใช่เป็นการแค้นไม่เลิก แต่เป็นการบอกว่าความยุติธรรมมันไม่มี ต้องประกาศเพื่อให้เรียนรู้ เป็นการตอกย้ำว่า อาชญากรรมรัฐไม่สมควรเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย และไม่ควรมีการใช้กลไกรัฐจัดการกับคนที่คิดต่าง
นิทรรศการหนังสือต้องห้าม ณ บริเวณ ลานโพธิ์ ติดประตูท่าพระจันทร์ ระหว่างวันที่ 2 -9 ต.ค. วันอังคารที่ 4 ตุลา ณ ลานโพธิ์ วันพฤหัสที่ 6 ตุลา ณ สวนประวัติศาสตร์ หน้าหอประชุมใหญ่ 11.30 น. - 12.30 น. การแสดง ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ละครเรื่อง "เก้าอี้" จากกลุ่มประกายไฟ และ Action ของนักศึกษาจากกลุ่มต่างๆ อ่านบทกวี ร้องเพลง และโปรยดอกกุหลาบ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ประชาไทบันเทิง ตอน AV ที่รัก (2): เรื่องเล่าสาว AV Posted: 03 Oct 2011 09:38 AM PDT “AYA UETO [1] ผันตัวเองมาเล่นหนัง AV !” “คุณพระ !” ผู้เขียนอุทานขึ้นมาทันใดหลังจากที่อ่านข่าวเธอในเว็บบล็อกหนึ่ง จากนั้นก็ค้นหาข้อมูลเจ้าละหวั่น พลางนึกในใจ “ต๊าย ไอดอลมาดสาวห้าวแสนซน ราวกับตัวละครนักกีฬาสาวในการ์ตูนญี่ปุ่นนี่นะ เล่น AV” นึกถึงบรรยากาศสมัยไอดอลญี่ปุ่นรุ่งเรืองเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว อย่าง KYOKO FUKADA หนู AYA เองก็รุ่นน้องไม่กี่ปี พลางจินตนาการเลยเถิดว่าไอดอลที่หนุ่มๆ สมัยนั้นคลั่งไคล้หันมาเล่น AV กันหมด “กรี๊ดดดด.... ผู้เขียนคิดอะไรอยู่นี่ อร๊างงงงง” ในที่สุดแล้วก็พบว่าเป็นความเข้าใจผิดของชาวเน็ตที่ฟูมฟายไปก่อน แท้จริงแล้วเป็นสาว AV ที่หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับเธอ ซ้ำจั่วหัวโฆษณายังจงใจเขียนให้เข้าใจผิด กลายเป็น AV เบิกเนตรทั้งสาวกหนู AYA และผู้ชื่นชอบหนัง AV กันทั้งคู่ แต่ด้วยวงการบันเทิงที่มีการแข่งขันกันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ กระแส KOREAN FEVER ญี่ปุ่นเองก็ไม่แพ้บ้านเรา จนมีข่าวประท้วงสถานีโทรทัศน์ฟูจิเมื่อเดือนสิงหาคมจากผู้ชมและนักแสดงที่ไม่ชอบที่รายการโทรทัศน์มีแต่รายการของเกาหลีใต้เยอะเกินไป ในประเทศเองก็ต้องทำการบ้านอย่างหนัก หนูๆ ไอดอลหน้าใหม่ก็ต้องขับเขี้ยวกับรุ่นพี่ภายใต้วัฒนธรรม “ผู้มาก่อน-ผู้มาทีหลัง” ในวงการบันเทิง ส่วนรุ่นพี่ก็พยายามแข่งกับสังขารที่โรยราก่อนที่น้องๆ หน้าใหม่จะขึ้นมาโดดเด่นจนคนหลงลืมตัวเธอเองไป “แล้วในวงการนักแสดง AV ล่ะ?” ด้วยความสงสัยใคร่รู้นี้เอง ผู้เขียนจึงเริ่มการนับจำนวนสาว AV ที่มีชื่อปรากฏในอินเตอร์เน็ต [2] พบว่า มีนักแสดงหญิงจำนวน 4,893 คน นักแสดงชาย 138 คน ผู้กำกับที่มีชื่อเสียง 187คน บริษัทที่ผลิตหนังแนวนี้ 47 บริษัท ชื่อนักแสดงสาวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A (あ) มากที่สุดในบรรดาชื่อสกุลที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรอื่นถึง 646 คน ! ผู้เขียนมีข้อสังเกตส่วนตัวว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีชื่อสกุลที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น SATOU, SUZUKI, SAITO ซึ่งติดอันดับ TOP 10 ชื่อสกุลที่เยอะที่สุดในญี่ปุ่น การที่มีตัวอักษร A (あ) มากนั้น อาจเป็นเพราะเป็นคำที่สามารถเรียกดูได้ในอันดับแรกๆ ทั้งการค้นแบบใช้ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นและตัวอักษรภาษาอังกฤษเพราะเป็นอักษรแรกทั้งสองภาษา เพื่อการแข่งขันในการตลาด แต่เนื่องจากนักแสดง AV จะมีชื่อเสียง เป็นที่จดจำ หรือมีแฟนคลับนั้นมีจำนวนน้อยและหากเปรียบเทียบกับนักแสดงภาพยนตร์หรือละครทางโทรทัศน์ น้องอ้อย หรือ SORA AOI ก็ใช้ชื่อสกุลที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A (あ) เช่นกัน แต่ถึงกระนั้น ใช่ว่านักแสดงจะใช้ชื่อจริงเสียงจริงในวงการนี้ทั้งหมด แม้ว่าปัจจุบันสังคมญี่ปุ่นจะยอมรับอาชีพนักแสดงหนังแนวนี้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนแล้วก็ตาม ในการสรรหาสาวๆ มาแสดงหนังผู้ใหญ่นั้น สาวๆ ที่แมวมองทาบทามให้มาเล่นหนังหรือเดินเข้ามาสมัครด้วยตัวเองจะมีการทำสัญญากับเอเจนซี ในนั้นจะระบุได้ว่าเธอสามารถหรือไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง และบริษัทสามารถหรือไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น ประเภทของหนังที่แสดง ชื่อที่ใช้ในวงการ การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว จำนวนเรื่องที่ต้องแสดง ค่าตอบแทนที่ได้ทั้งจากบริษัทและหลังจากหักให้เอเจนซีแล้ว ไปจนถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ เช่น การใส่หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัย การกลืนกินน้ำรัก การส่งผลการตรวจสุขภาพในแต่เดือนให้เอเจนซี เป็นต้น หากย้อนไปเมื่อ 10-20 ปีก่อน ผู้หญิงที่มาแสดงหนังแนวนี้มักจะถูกคนทั่วไปเข้าใจว่าติดหนี้ยากุซาบ้าง ผู้หญิงใจแตกบ้าง โดนล่อลวงมาถ่ายบ้าง ทั้งที่บ้านเราจะที่ญี่ปุ่น เรื่องราวเบื้องหลังฉากรักอันเร่าร้อนเป็นที่แพร่หลายในบ้านเรามากขึ้นหลังจากอินเตอร์เน็ตใช้กันอย่างแพร่หลาย หลายท่านคงจำเรื่องราวที่หนุ่มไทยได้แฟนเป็นสาวญี่ปุ่นแล้วพาไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อนๆ จนหลายคนอิจฉา จากนั้นจึงเล่าเรื่องชีวิตอันน่าสงสารของเธอว่าถูกข่มขืนและบังคับให้ถ่ายหนังโป๊เนื่องจากไม่รับรักลูกชายนักการเมืองส่วนคุณแม่ที่เป็นนายอำเภอหญิงก็ช่วยอะไรเธอไม่ได้เนื่องจากอิทธิพลมืดของนักการเมืองระดับประเทศ สุดท้ายเธอถูกบังคับให้ขายตัวต่างประเทศหลายปี พอหมดสัญญาทาสจึงหลบลี้มาเที่ยวเมืองไทย
ผู้เขียนได้อ่านเรื่องนี้ครั้งแรกเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว ในกระทู้เว็บไซต์ลามกของไทยเว็บหนึ่ง แต่ก็สืบหาต้นตอของเรื่องนี้ไม่ได้ว่ามาจากเว็บไหนหรือใครเป็นผู้เขียน พอหลังจากนั้นไม่กี่ปี มีคนโพสต์เรื่องนี้ตามเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่างๆ มากมาย แม้ในระยะหลังๆ จะมีการนำบทสัมภาษณ์ดารา AV แบบที่แตกต่างไปจากนี้ เช่น บทสัมภาษณ์ SORA AOI [4] ในช่วงที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์ “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” ที่เธอร่วมแสดง ในญี่ปุ่นเรื่องราวของสาว AV ที่สั่นสะเทือนสังคมญี่ปุ่นที่สุดคือบทสัมภาษณ์สาว AV ในหนังสือชื่อ AV Joyu ตีพิมพ์ในปี 1996 และติดอันดับ Bestseller เขียนโดย NAGASAWA MITSUO ผู้เคยเป็นบรรณาธิการนิตยสารปลุกใจเสือป่า หนังสือเล่มนี้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในวงการสื่อมวลชนและวงการวิชาการ AV Joyu รวบรวมบทสัมภาษณ์ดารา AV หลายคน พวกเธอได้เล่าถึงชีวิตวัยเยาว์อันโหดร้าย ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่ง (ไม่เปิดเผยชื่อ) เล่าว่าเธอถูกพ่อเลี้ยงและพี่ชายข่มขืนและทำแท้งถึง 3 ครั้ง KAWAKAMI MIKU ในวัยเด็กชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังในโลกของตัวเองเนื่องจากครอบครัวมีปัญหา และ MATSUMOTO TOMI ถูกแฟนหนุ่มยากุซาหักหลังปัจจุบันเหลือเพียงรอยสักรูปผีเสื้อที่ต้นขาเป็นที่ระลึกถึงความเจ็บปวดเท่านั้น แม้หนังสือเล่มนี้จะสะท้อนแง่มุมที่ไม่ค่อยมีใครรู้ของพวกเธอ แต่ก็เป็นประเด็นถกเถียง [5] กันว่าเรื่องเล่าของพวกเธอมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเรื่องราวที่เป็นจริงกับเรื่องที่สร้างขึ้น นักสังคมวิทยาวิเคราะห์เรื่องราวของพวกเธอว่าเป็นการสร้าง “หน้าฉาก” และ “หลังฉาก” เอาไว้เพื่อต่อรองกับอำนาจบางอย่างที่เธอต้องต่อรอง ต่อสู้ อยู่รอบตัวเธอ ภายใต้สังคมญี่ปุ่นที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ทั้งอีกฉากหนึ่งก็เป็นที่ปลดปล่อยตัวเองออกจากความแปลกแยกในบริบทของการแสดงหนังผู้ใหญ่ซึ่งเป็นภาวะที่บรรทัดฐานทางสังคมปกติพร่าเลือนไป ตัวอย่างเช่น บทสัมภาษณ์ของนักแสดงที่เคยถูกพ่อเลี้ยงและพี่ชายข่มขืนว่า เธอสามารถกรีดร้องเท่าไรก็ได้เท่าที่อยากจะกรีดร้องตอนที่เธอแสดง แต่ในชีวิตที่ผ่านมาของเธอนั้นเธอไม่สามารถกรีดร้องเช่นนั้นได้ ปัจจุบันเรื่องเล่าแบบใหม่จากบทสัมภาษณ์สาว AV ในนิตยสารปลุกใจเสือป่าหรือในเว็บไซต์ของเธอเองจะเป็นเรื่องราวเบาๆ กุ๊กกิ๊ก น่ารัก และเซ็กซี่ ตามบุคลิกของสาวๆ แต่ละคน ส่วนผู้อ่านแม้จะวิเคราะห์ไปว่าสังคมสมัยใหม่มันเสื่อมทราม บริโภคนิยม ผู้หญิงเห็นเงินเป็นพระเจ้าจนวิ่งไปถ่ายหนังโป๊เพื่อมีกระเป๋าแบรนด์เนม มี life style เก๋ๆ แบบเซเลป ไว้อวดเพื่อนฝูง แม้เรื่องเล่าของเธอและคนที่วิจารณ์จะต่างจากสิบปีก่อน และอาชีพของพวกเธอจะได้รับการยอมรับแต่เธอก็มิวายตกเป็นผู้ถูกกระทำ แต่อย่างน้อย เธอก็มีวิธีต่อรองกับอำนาจชายเป็นใหญ่ในสังคมด้วยเสน่ห์ ความงาม เรือนร่าง และลีลา ที่ไม่ยังสามารถสยบให้ชายมอบกายถวายชีวีเฉกเช่นคลีโอพัดตราทำให้มาร์ค แอนโทนี หลงหัวปักหัวปำได้เมื่อ 40 ปีก่อนคริสตกาล
อ้างอิง:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ขอคืน “พิพิธภัณฑ์” เปลี่ยนเป็น “บ้านพัก” ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ฯ Posted: 03 Oct 2011 09:30 AM PDT เผยพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่” ซึ่งปรับปรุงจาก “บ้านพักศึกษาธิการจังหวัด” จะต้องกลับไปเป็นบ้านพักของ “ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1” ซึ่งจะเดินทางมารับตำแหน่ง 6 ต.ค. นี้ หลังทำหนังสือ “ขอคืนพื้นที่” ด้าน “มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง” วอนราชการทบทวนเพราะภาคสังคมใช้งบหลายล้านซ่อมแซม-ปรับปรุงบ้านเก่าให้กลับมาใช้ทำกิจกรรม-นิทรรศการ ที่ผ่านมาเยาวชน-ชุมชนได้ใช้ประโยชน์หลายด้าน
“ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน” อาจถูกปรับปรุงกลายเป็นบ้านพักของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 (สพท.ชม.1) ซึ่งมารับตำแหน่งแทนผู้อำนวยการคนเก่าซึ่งก่อนหน้านี้ได้อนุญาตให้มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเข้ามาปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่มาของภาพ: Facebook/ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ (Creative Urban Solutions Center) "บ้านดินกลางเวียง" ภายใน “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน” สร้างขึ้นหลังจากได้รับมอบพื้นที่จาก สพท.ชม.1 เมื่อกุมภาพันธ์ปี 2553 โดยสร้างจากขยะรีไซเคิลซึ่งรวบรวมและสร้างโดยอาสาสมัครและมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองตั้งแต่ 12 เมษายน 2553 โครงการดังกล่าวเป็นโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกลุ่มศึกษาเมืองและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยสังคม และภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ที่มาของภาพ: Facebook/ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ (Creative Urban Solutions Center)
(3 ต.ค. 54) ตามที่ประชาไท เคยนำเสนอข่าวเรื่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 (สพท.ชม.1) ได้อนุญาตให้มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง ใช้พื้นที่บ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ มุมถนนราชวิถีตัดกับถนนราชภาคินัย ซึ่งไม่ได้มีการใช้งานเป็นเวลานานมาปรับปรุงเป็น “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน” ซึ่งมีรูปแบบเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนแห่งใหม่ และสนับสนุนการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวกับวิชาท้องถิ่น เช่น เรื่องผังเมือง สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การสืบทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น เปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2553 นั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
แจ้งขอพื้นที่คืน-เปลี่ยนเป็นบ้านพัก ผอ.สพท.เชียงใหม่ เขต 1 หนังสือ ศธ.04047/6291 ลงวันที่ 30 ก.ย. 54 ถึงเลขาธิการมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเรื่อง “ขอคืนพื้นที่และอาคารบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (เดิม)” ล่าสุดเมื่อ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยว่าที่ ร.ต. อาทิตย์ เรืองวุฒิ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ได้ทำหนังสือที่ ศธ.04047/6291 ถึงเลขาธิการมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเรื่อง “ขอคืนพื้นที่และอาคารบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (เดิม)” โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคำสั่งแต่งตั้งและโยกย้าย นายชุมพล รัตน์เลิศลบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 แทนนายโกศล ปราคำ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 คนเดิมซึ่งเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย. โดยหนังสือระบุว่า “เป็นสิทธิในการเข้าพักอาศัยบ้านพักดังกล่าวเป็นสิทธิตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1” ท้ายหนังสือยังระบุว่า ผอ.สพท.เชียงใหม่ เขต 1 จะเดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 6 ต.ค. นี้ และจะนำสัมภาระส่วนตัวมาเก็บไว้ในบ้านพักดังกล่าว
มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองทำหนังสือขอให้ สพท.ชม.1 ทบทวนการขอคืนพื้นที่ ต่อมาเมื่อ 2 ต.ค. 54 นายศุภวัตร ภูวกุล ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง (เชียงใหม่) ได้ทำหนังสือถึง รองผู้อำนวยการ สพท.ชม. 1 “เรื่อง ขอให้พิจารณาทบทวนเรื่องการขอคืนพื้นที่และอาคารบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (เดิม)” ในหนังสือระบุว่า “คณะกรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ได้จัดการประชุมกันในวันที่ 2 ตุลาคม 2554 และมีมติว่า ขอให้ท่านได้โปรดพิจารณาทบทวนการขอคืนพื้นที่ดังกล่าว" โดยให้เหตุผลว่า “หนึ่ง อาคารนี้ไม่เหมาะสมเป็นที่อยู่อีกแล้ว เนื่องจากได้มีการดัดแปลงให้เป็นอาคารสำหรับการจัดนิทรรศการ และห้องแสดงต่างๆ ตลอดจนห้องและลานกิจกรรมเพื่อการศึกษา สอง มูลนิธิฯ ได้ใช้เงินปรับปรุงอาคารสถานที่เป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท สาม มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์ของเยาวชนและบุคคลทั่วไป เพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และสังคมให้เป็นเมืองสีเขียว มีคุณภาพ และมีความน่าอยู่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้นี้ จึงได้มอบงบประมาณให้สร้างบ้านดินจากขยะ และวัสดุเหลือใช้กลายเป็นบ้านดินจากเศษขยะหลังเดียวที่มีคนจากทั่วประเทศมาศึกษาดูงานสมควรที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ สี่ ในช่วงเวลาปีเศษที่ผ่านมา ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ ณ พื้นที่และอาคารนี้ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่สถาบันการศึกษาต่างๆ จัดส่งนักเรียนนักศึกษามาเรียนรู้ ทำกิจกรรม และฝึกงานอย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงเวลาเรียนและวันหยุดสุดสัปดาห์ จนเป็นที่รู้จักคุ้นเคยและสร้างชื่อเสียงแก่สำนักงานของท่านที่สนับสนุนกิจกรรมการศึกษาแก่ส่วนรวม กิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาได้สนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชนและบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นไปตามภารกิจของสำนักงานของท่าน และเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักงานของท่านอนุญาตให้มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ใช้พื้นที่และอาคารแห่งนี้ การยุติการใช้พื้นที่บ้านพักศึกษาธิการจังหวัด (เดิม) แห่งนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ฯ โดยที่มูลนิธิฯ ไม่มีสถานที่อื่นรองรับ เท่ากับว่าเมืองเชียงใหม่จะสูญเสียแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองและชุมชนและย่อมเกิดคำถาม ตลอดจนสร้างความเสื่อมเสียแก่หน่วยราชการที่รับผิดชอบด้านการบริหารการศึกษา โดยเฉพาะชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสำนักงานของท่าน มูลนิธิฯ ขอขอบพระคุณที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้กรุณาให้มูลนิธิฯ ได้ใช้พื้นที่และอาคารแห่งนี้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และหวังว่าจะได้รับความกรุณาพิจารณาทบทวนการขอคืนพื้นที่และอาคารฯ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา”
หารือล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุป ผอ.ยึดระเบียบมีบ้านพักข้าราชการต้องเข้าอยู่ ล่าสุด (3 ต.ค.) ที่อาคารศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ฯ มีการหารือกันระหว่างคณะกรรมการของมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง กับนายชุมพล รัตน์เลิศลบ ผู้อำนวยการ สพท.ชม.1 โดยทางคณะกรรมการของมูลนิธิหลายคนได้ชี้แจงต่อนายชุมพล ถึงความสำคัญของการมี “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ฯ” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนและเยาวชน ซึ่งมีเยาวชนเข้ามาดูงานอยู่ตลอด และที่ผ่านมาผู้บริหาร สพท.ชม.1 คนก่อนได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการ ต่อมาจึงมีการใช้งบประมาณของมูลนิธิและภาคสังคมใน จ.เชียงใหม่ หลายล้านบาทเพื่อปรับปรุงอาคารบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม ให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ทางสาธารณะได้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจากโครงการเชียงใหม่เอี่ยม ได้สนับสนุนให้สร้างบ้านดินซึ่งทำจากขยะ โดยสร้างในพื้นที่ซึ่งเป็นศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ฯ ดังกล่าวเพื่อแหล่งศึกษาด้านการจัดการขยะ ขณะที่นายชุมพล ได้ชี้แจงที่ประชุมว่ามีความเห็นใจในการทำหน้าที่ของทางมูลนิธิ แต่เขาเองก็มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากคำสั่งย้ายด่วนจาก จ.พะเยา และแม้จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน คงไม่สามารถเดินทางไปกลับเพื่อมาทำงานที่เชียงใหม่ได้ ทั้งนี้ตามระเบียบราชการถ้ามีบ้านพักให้อยู่ต้องย้ายเข้าไปอยู่ หากไม่เข้าพักและหันไปเช่าบ้านก็เกินกำลังเนื่องจากค่าเช่าบ้านใน จ.เชียงใหม่สูงมากเดือนละกว่าสองหมื่นบาทซึ่งเบิกราชการไม่ได้ ดังนั้นเงินเดือนข้าราชการคงไม่สามารถเช่าได้ นอกจากนี้ตนมีครอบครัว มีแม่และภรรยาที่ต้องดูแล และมีสัตว์เลี้ยงจำนวนหนึ่งด้วย โดยในวันที่ 6 ต.ค. นี้จะต้องย้ายสิ่งของประมาณ 3 คันรถบรรทุก 6 ล้อเข้ามาในบริเวณดังกล่าว ผอ.สพท.ชม.1 ยังแนะนำให้ทางมูลนิธิไปขอใช้อาคารศาลแขวงเชียงใหม่ หรือศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเก่าเป็นสถานที่ของศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ฯ แทนพื้นที่บ้านพักศึกษาธิการจังหวัด เพราะเป็นสถานที่ซึ่งถูกทิ้งไว้ ทำให้กรรมการมูลนิธิบางคนชี้แจงว่าทั้งอาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ถูกปรับปรุงเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ดำเนินการโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ ส่วนอาคารศาลแขวงกำลังถูกปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการหารือระหว่างผู้บริหาร สพท.ชม.1 และกรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองในวันนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยทางมูลนิธิจะแจ้งผลการหารือไปยังนายชุมพลอีกครั้ง โดยนายชุมพลกล่าวว่าขอให้เป็นคำตอบที่ชัดเจนเพราะเขาเองยังไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ข้าแต่ศาลที่เคารพ...... "ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" เปิดจดหมายของผู้ถูกควบคุมตัวตามหมาย ฉฉ. Posted: 03 Oct 2011 09:27 AM PDT
วันเสาร์ที่ทุกคนน่าจะได้พักผ่อน แต่หลายคนอาจจะกังวลใจกับงานที่ทำในอาทิตย์ที่ผ่านมา หรืองานและเรื่องราวที่รออยู่เบื้องหน้าในอาทิตย์ถัดไป ข้าพเจ้าได้รับจดหมายน้อยฉบับหนึ่งจากศูนย์พิทักษ์สันติ จชต ที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา จดหมายลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 บรรยายถึงข้อความที่เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นและได้ยิน มีข้อความว่า “ ข้าพเจ้านายนิเซ๊ะ นิฮะ ยังมีสติสมัญชญะดี ร่ายกายแข็งแรง หลังจากนี้ถ้าหากมีอะไรในกระบวนการซักถามในชั้น พ.ร.ก. ข้าฯ นายนิเซ๊ะ นิฮะ จะไม่ให้การใดทั้งสิ้น นอกจากจะยืนยันคำให้การเดิม ถ้าหากเกิดอะไรขึ้นแก่ข้าฯ ไม่ว่าร่างกายหรือชีวิต หรือกรณีใดก็ตาม ข้าฯ ขอเขียนหนังสือนี้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการต่อไป” ลงชื่อ ขอคัดค้าน พ.ร.ก. 1 ตุลาคม 2554 ลายมือและร่องรอยของจดหมายที่ถูกพับจนเล็ก บ่งบอกถึงที่มาและที่ไปของจดหมายได้ดี ด้วยเส้นสายตัวหนังสือที่หนักแน่น ชัดเจน นายนิเซ๊ะ นิฮะ ถูกจับกุมเมื่อเวลารุ่งเช้า วันที่ 16 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่ทหารตรวจค้นบ้านนายนิเซ๊ะ นิฮะ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมิได้แสดงหมายแต่อย่างใด และควบคุมตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ไปยังค่ายทหารบริเวณโรงไฟฟ้าปัตตานี ถนนปัตตานี - ยะลา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ต่อมานายนิเซ๊ะ นิฮะ ถูกย้ายสถานที่ควบคุมตัวยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีในวันเดียวกัน มีรายงานว่านายนิเซ๊ะ ได้รับการปฏิบัติอย่างดีระหว่างการควบคุมตัวและได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ค่ายอิงคยุทธฯด้วยความสมัครใจต่อข้อซักถามต่าง ๆ ภายหลังการควบคุมตัวตามอำนาจกฎอัยการศึกเป็นเวลา 7 วัน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 นายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้รับแจ้งว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จะยื่นคำร้องขอออกหมายควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยย้ายการควบคุมตัวไปที่ค่ายอิงคยุทธฯ และในวันที่ 26 กันยายน 2554 นายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้ลงชื่อในบันทึกซักถามซึ่งเป็นการสิ้นสุดการควบคุมตัวและผู้ถูกควบคุมตัวย่อมจะได้รับการปล่อยตัวตามระเบียบปฏิบัติที่ถือปฏิบัติกันมา แต่กลับถูกส่งตัวไปที่ศูนย์พิทักษ์สันติ จชต ที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา โดยนายนิเซ๊ะ นิฮะ ซึ่งสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี ไม่ได้ทราบถึงข้อกล่าวหาหรือข้อสงสัยที่มีอยู่แต่อย่างใด อีกทั้งเขาก็ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงกับศาลจังหวัดปัตตานีในวันที่ 22 กันยายน ในระหว่างที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจขอศาลจังหวัดปัตตานีออกหมายจับตามอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นครั้งแรก ถ้ามีโอกาสนายนิเซ๊ะ นิฮะ อาจจะพูดเป็นภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำกว่าตัวหนังสือว่า ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก… นับแต่วันที่ 26 กันยายน 2554 นายนิเซ๊ะ นิฮะ ถูกควบคุมตัวที่ศูนย์พิทักษ์สันติที่ตั้งอยู่ที่โรงเรียนตำรวจภูธร 9 จังหวัดยะลา ระหว่างนั้นการซักถามนายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้รับการปฏิบัติอย่างดี และซักถามดำเนินไปด้วยคำถามเดิม ๆ เช่น คำถามเกี่ยวกับอาชีพ คำถามเกี่ยวกับกิจกรรมในสมัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ สมัยปฎิวัติรัฐประหารและการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ 19 ปีที่แล้วในช่วงพฤษภาทมิฬ ในวันที่ 29 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอขยายการควบคุมตัวตามอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหลังจากการควบคุมตัวอีก 7 วัน โดยนายนิเซ๊ะ นิฮะ ก็ไม่มีโอกาสได้พูดกับศาลที่เคารพว่า ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก……………. ในวันที่ 30 กันยายน 2554 ทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้รับคำร้องจากญาติว่าต้องการให้มีการปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะเนื่องจากทางเจ้าหน้าที่ฯ ไม่ได้ซักถามประเด็นใดใดเพิ่มเติม การถูกควบคุมตัวโดยไม่มีเหตุจำเป็นตามกฎหมายนั้นไม่ตรงกับเจตนารมณ์ ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะนายนิเซ๊ะ นิฮะเป็นผู้บริสุทธิ์และยืนยันว่าจะว่าได้ให้การแก่เจ้าหน้าที่แล้วและยืนยันคำให้การเดิม ทนายความฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งไต่สวนคำร้องขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัว โดยขอให้ศาลเรียกเจ้าหน้าที่ผู้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัวและผู้ถูกควบคุมตัวมาไต่สวน และขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ถูกควบคุมตัว เพราะการควบคุมตัวบุคคลไว้ไม่มีเหตุจำเป็นตามสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใดย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ทั้งนี้ ศาลไม่ได้เรียกให้มีการไต่สวนคำร้องในวันดังกล่าว ศาลฯจึงยังไม่ได้มีโอกาสได้ยินเสียงร้องจากนายนิเซ๊ะ นิฮะ ว่าผมขอคัดค้านพรก……………. ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนผู้ร้องและผู้ร้องคัดค้านแลนายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ถูกควบคุมตัว ในวันวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2554 เวลา 09.30 น. ซึ่งเป็นเวลาอีกกว่า 5 วันหลังจากที่นายนิเซ๊ะ นิฮะ ได้มอบหมายให้ทนายความนำความมาเสนอต่อศาลเพื่อให้ศาลรับฟังแต่ศาลก็ยังคงไม่ได้ยิน นายนิเซ๊ะ นิฮะ จึงได้เขียนจดหมายฉบับดังกล่าวส่งให้ญาติพับจนเล็กส่งออกมาให้คนภายนอกได้รับรู้ความรู้สึกของตน การออกหมายจับของศาลเพื่อการควบคุมตัวบุคคลอันเกิดจากดุลพินิจของเจ้าพนักงานฯ ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษถูกตั้งคำถามเสียงดังมาโดยตลอด ด้วยการเปรียบเทียบความสัมฤทธิ์ผลของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของจำนวนผู้ถูกควบคุมตัวที่ได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับจำนวนคดีที่ศาลมีคำสั่งยกฟ้องมานานนับ 7 ปี จนเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ภายหลังการบังคับใช้ พ.ร.ก.กว่า 5 ปี ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาเรื่องคำแนะนำของประธานศาลฎีกา เกี่ยวกับการพิจารณาคำร้องขอจับกุมและควบคุมตัวบุคคลตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยกำหนดหลักการสำคัญบางประการเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เช่น การขอศาลออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้นำข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในคำแนะนำประธานศาลฎีกาได้ระบุด้วยว่า ศาลจังหวัดที่เกี่ยวข้องต้องไต่สวนให้ได้ความก่อนออกหมาย ศาลควรสอบถามผู้ร้องว่า เคยมีการออกหมายจับและควบคุมตัวบุคคลมาก่อนที่ศาลใดหรือไม่ เพื่อมิให้มีการควบคุมตัวเกินระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งระบุว่าให้ผู้รับผิดชอบรายงานความคืบหน้าการจับกุมตามหมายต่อศาลทุกสามเดือนจนกว่าจะจับกุมได้ เมื่อจับกุมตามหมายจับได้แล้วให้จัดทำรายงานแจ้งต่อศาล หากเปลี่ยนสถานที่ควบคุมตัวให้รายงานให้ศาลทราบทันที เมื่อมีการปล่อยตัวไม่ว่าเมื่อใดก็ตามต้องแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่ผู้ถูกควบคุมตัวไว้ใจทราบและนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลที่ออกหมายจับเพื่อการปล่อยตัว ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวศาลจะเพิกถอนหมายจับ หรือสั่งเป็นอย่างอื่นได้ หมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีหากไม่สามารถจับกุมบุคคลได้ ศาลอาจเรียกผู้ขอออกหมายมาสอบถามหรือเพิกถอนหมายจับได้ อีกทั้งประธานศาลฎีกากำหนดด้วยว่าถ้าการจับกุมและควบคุมตัวไม่เป็นไปตามกฎหมาย ให้ศาลทำการไต่สวน มีคำสั่งให้นำผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลเพื่อไต่สวนได้ เป็นต้น จดหมายน้อยฉบับดังกล่าวเป็นเสียงร้องเรียกดังดังต่อสาธารณะฉบับแรกจากผู้ถูกควบคุมตัว ทั้งที่มีผู้ถูกควบคุมตัวภายใต้อำนาจกฎหมายพิเศษหลายรายที่ไม่สามารถเขียนหนังสือ ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย ไม่สามารถมีทนายความร่างคำร้องขอคัดค้านการควบคุมตัว บางรายเคยมีรายงานว่าถูกซ้อมทำร้ายร่างกายระหว่างการควบคุมตัว และเคยแม้กระทั่งไม่มีชีวิตที่รอดกลับออกไปจากการควบคุมตัว เช่น กรณีนายสุไลมาน แนซา แม้เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังอยู่ในขั้นตอนการไต่สวนการตายของศาลฯ แต่มีเสียงสะท้อนการทำงานของนักสิทธิมนุษยชนและนักกฎหมายมาโดยตลอดว่า ข้อร้องเรียนเรื่องการซ้อมทรมานผู้ต้องหาเดิมๆ นั้นไม่ควรนำมาเผยแพร่กันอีก นักสิทธิมนุษยชนได้แต่เรียกร้องปกป้องแต่ผู้ต้องสงสัย ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง ไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้เสียหายและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ก่อการได้ฆ่าสังหารผู้บริสุทธิ์ไปเป็นจำนวนมาก เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ากฎหมายพิเศษมีเพื่อสถานการณ์พิเศษที่ต้องการการบริหารจัดการเป็นพิเศษ ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้บริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งต้องได้รับการเยียวยาทั้งด้านการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและความเป็นธรรมนั้นคือการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ แม้ว่ารัฐบาลใหม่เองก็ยังไม่มีแนวทางออกทางการเมืองที่ชัดเจนเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ถ้าจะให้คนในรัฐบาลยกมือว่าใครได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาแล้วบ้าง คงมีคนยกมือขึ้นไม่มากก็น้อย พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ประกาศใช้ในพื้นที่กรุงเทพและจังหวัดต่าง ๆในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เป็นฉบับเดียวกับที่ประกาศใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นระยะเวลากว่า 7 ปีติดต่อกัน การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือการทบทวนที่มาของกฎหมาย และการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นคงเป็นหน้าที่ผู้มีอำนาจในการกำหนดนิตินโยบายของรัฐบาลคงต้องรับฟังทุกด้านและคำนึงถึงหลักการที่ว่า การบังคับใช้กฎหมายนั้นต้องมีมาตรฐานเดียวไม่ใช่สองมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมประเทศที่เป็นจริง ดังนี้เสียงเรียกร้องของผู้ถูกควบคุมตัวแม้แต่เพียงรายเดียว เราทุกคนก็ต้องรับฟัง ข้าแต่ศาลที่เคารพ ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก... ......................
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
โอกาสและความท้าทายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ Posted: 03 Oct 2011 08:55 AM PDT
ในช่วงหลายเดือนมานี้ตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์กระแสหลักมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2554 มีข่าวกรณีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าคนหนึ่งทำงานอยู่ที่ จ.สมุทรสาคร และผ่านการพิสูจน์สัญชาติเมื่อเดือนมกราคม 2554 เรียบร้อยแล้ว ได้ประสบอุบัติเหตุล้มศีรษะกระแทกพื้นจนอาการสาหัส แต่เมื่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้ตรวจสอบประวัติกลับพบว่า แรงงานยังไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ตามพรบ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ทำให้ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเองเป็นเงินร่วมแสนกว่าบาท แต่เนื่องจากแรงงานไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา ทำให้ต้องออกมารักษาตามมีตามเกิดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา สถานการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การตั้งคำถามทั้งต่อนายจ้าง สำนักงานประกันสังคม และกระทรวงแรงงาน ถึงช่องว่างการดูแลและคุ้มครองการเข้าถึงสิทธิแรงงานข้ามชาติที่ยังมีการละเลยและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอยู่ รวมถึงขาดการตรวจสอบและติดตามจากนายจ้าง จนนำมาสู่ความสูญเสีย ความหวั่นวิตกของแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเรียบร้อยแล้ว และต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามที่กฎหมายระบุไว้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ เฉพาะที่ จ.สมุทรสาครเพียงจังหวัดเดียว มีแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วกว่า 70,000 คน แต่กลับมีแรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพียง 10,000 กว่าคนเท่านั้น นี้คือช่องว่างที่น่าหวาดหวั่นต่อคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ใช้แรงงานคนหนึ่งยิ่งนัก ! นี้ไม่นับว่าโดยทั่วไปแล้วแรงงานข้ามชาติจำนวนมากต่างก็ยังเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและบริการสาธารณะที่รัฐจัดให้ เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา สิทธิสวัสดิการอื่นๆ รวมถึงการต้องเผชิญกับความยากจนอันเนื่องมาจากภาวะของการถูกจำกัดสิทธิ์ในการเดินทางเพื่อการประกอบอาชีพ และความรู้สึกด้อยคุณค่า ไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ไม่เท่าเทียมคนอื่น น้อยเนื้อต่ำใจในชะตากรรมที่เผชิญ กรณีดังกล่าวทำให้นึกถึงตัวอย่างรูปธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่งที่เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในท้องถิ่นโดยตรงและสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอุดช่องว่างดังกล่าวนี้ได้ ท้องถิ่นหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการการอยู่ร่วมกันของคนต่างชาติพันธุ์ อีกท้องถิ่นหนึ่งเป็นเรื่องของการจัดการปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน เทศบาลเชิงดอย ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ต้องเผชิญกับปัญหาที่เป็นผลมาจากการอยู่ร่วมกันกับประชากรต่างชาติพันธุ์กลุ่มลาหู่ที่ไม่มีสัญชาติไทยที่อพยพลงมาจากบนดอย จ.เชียงราย เข้ามาเป็นแรงงานรับจ้างในตัวเมืองเชียงใหม่ ได้มาอาศัยอยู่ร่วมกับคนเมืองในหมู่บ้านแม่ดอกแดง และนำมาซึ่งปัญหาการอยู่ร่วมกันในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไม่ถึงการพัฒนาสถานะบุคคล การไม่สามารถควบคุมเรื่องการย้ายเข้าย้ายออกของคนลาหู่ การไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติในชุมชน การต้องมาใช้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานร่วมกัน ความไม่สมดุลในการจัดการวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และปัญหาเรื่องการเข้าไม่ถึงการศึกษาของเด็กลาหู่ ปัญหาดังกล่าวได้สร้างความอึดอัดคับข้องใจและการแบ่งฝักฝ่ายคนในหมู่บ้าน จนในที่สุดเทศบาลตำบลเชิงดอย จึงได้ร่วมกับสำนักงานประสานงานวิจัยเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานคริสตจักรภาคที่ 6 ลาหู่ และหน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม สภาคริสตจักรในประเทศไทย ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชักชวนคนเมืองและคนลาหู่มาแสวงหาคำตอบในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ จนในที่สุดเทศบาลเชิงดอยจึงได้ออกเป็นเทศบัญญัติกำหนดแนวทางการจัดการในการอยู่ร่วมกันในชุมชนบ้านแม่ดอกแดงขึ้นมา เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้จับมือกับโรงพยาบาลแม่แตง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่แตง ผลักดันโครงการหน่วยปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ พัฒนาให้เกิดคลินิกชุมชนเมืองแกนซึ่งเป็นศูนย์แพทย์ชุมชนขึ้นมา ปรัชญาของศูนย์แห่งนี้ ก็คือ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยยามใด ชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นใคร เชื้อชาติใดก็ตาม จะต้องนึกถึงเป็นอันดับแรก ปัจจุบันศูนย์แพทย์ชุมชนแห่งนี้ดูแลประชากร 16 หมู่บ้าน รวมประมาณ 13,000 คน โดยมีแพทย์และพยาบาลมาทำการตรวจรักษาทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีอุปกรณ์ทางการแพทย์และรถพยาบาลบริการรับส่งผู้ป่วยจากบ้านถึงศูนย์แพทย์ชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เทศบาลเมืองเมืองแกนสนับสนุนงบประมาณด้านการบริหารจัดการ ส่วนบุคลากร ยา เวชภัณฑ์ได้รับงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้ผู้ป่วยลดลงโดยเฉพาะวัณโรคซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยในชุมชนเป็นจำนวนมาก แน่นอนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมากย่อมมองว่าการอพยพเข้ามาของแรงงานข้ามชาติเป็นการเบียดเบียนทรัพยากร สวัสดิการ และโอกาสการมีงานทำซึ่งจำกัดอยู่แล้ว แต่ในข้อเท็จจริงก็ต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านโครงสร้างประชากร เนื่องจากมีสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อัตราการเกิดต่ำลงเรื่อยๆ รวมทั้งยังประสบภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานในบางภาคการผลิต เช่น ประมง ประมงทะเลต่อเนื่อง คนรับใช้ในบ้าน แต่เมื่อแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ที่เข้ามาทำงานแล้ว ต่างต้องอยู่ในชุมชนที่แออัด สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เข้าไม่ถึงการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ โอกาสที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และสุขภาพอนามัยที่เลวร้ายของแรงงานข้ามชาติและคนไทยโดยรวมในท้องถิ่นก็เป็นเรื่องกระทบที่จะติดตามมาอย่างแน่นอน หลายท้องถิ่นอาจจะกล่าวว่า พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ.2542 และแผนการถ่ายโอนฯ พ.ศ.2545 ที่เป็นการกระจายอำนาจภารกิจของรัฐไปสู่ท้องถิ่น ก็ไม่ได้ระบุภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ มีเพียงระบุในเรื่องของ “ส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน” เท่านั้น อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่า “แรงงานข้ามชาติ” ก็ถือเป็น “แรงงาน” คนหนึ่งเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันบริบทต่างๆได้เอื้อต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ เช่น การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กระบวนการสมัชชาสุขภาพเชิงประเด็น/เชิงพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ , การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ภายใต้ พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2550 รวมถึงบทบาทของสหภาพแรงงานไทยในระดับพื้นที่ เช่น สหภาพในคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กระทั่งบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านต่างๆ เหล่านี้ต่างมีส่วนสำคัญยิ่ง จากตัวอย่างจะเห็นยุทธวิธีน่าสนใจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 2 แห่งนำมาใช้ คือ การพัฒนาให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของฝ่ายต่างๆในชุมชนที่เป็นแกนสำคัญในการเข้ามาดำเนินงานร่วมกัน มุ่งไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นเป็นสำคัญ ดังนั้นถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเริ่มต้นทำงานเพื่อการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิแรงงานข้ามชาติ การเริ่มต้นด้วยการเน้นกระบวนการสร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงวิธีคิดเรื่องทัศนคติเชิงชาติพันธุ์จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ผ่านกิจกรรมต่างๆที่ออกแบบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาจุดร่วมของปัญหา, ค้นหาความรู้ที่จะนำมาใช้ในการจัดการปัญหา ,ออกแบบแนวทางการพัฒนากลไกการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทความเป็นประชากรกลุ่มเฉพาะของแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนการพัฒนารูปแบบในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะนำไปสู่การปรับวิธีคิดให้เกิดการยอมรับและเคารพต่ออัตลักษณ์และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของแรงงานข้ามชาติ การส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจอันดี การเคารพความแตกต่างทางชาติพันธุ์ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในท้องถิ่น และในที่สุดการเคารพสิทธิในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องก็จะติดตามมา เพราะเอาเข้าจริงแล้ว ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการอยู่ร่วมกันในชุมชน ที่สาเหตุสำคัญเกิดจากความไม่เข้าใจกัน มาจากอคติหรือการรับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงไม่ตรงกัน ทำให้เกิดการกีดกันและผลักไสคนอีกกลุ่มหนึ่งไปอยู่ชายของของสังคม และเข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆที่พึงมีพึงได้ วันนี้ท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นคงไม่สามารถปฏิเสธการมีอยู่ของแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านได้แล้ว ดังนั้นการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบที่ดีผ่านกลไกความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆในท้องถิ่น โดยเฉพาะการนำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นปรากฏการณ์ในเชิงบวกซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ แรงงานอพยพข้ามชาติจะได้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ท้องถิ่นก็จะได้กำลังแรงงานในสาขาที่ขาดแคลนจริง ซึ่งการจัดการลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องที่ท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจะจัดการได้ด้วยตนเองเพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆที่พร้อมเอื้ออำนวยและเป็นพันธมิตรอยู่แล้ว [1] นักวิจัยในโครงการวิจัยเรื่อง : ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนความเป็นธรรมทางสุขภาวะของแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับนายณัฐพงษ์ มณีกร และนางรำพึง จำปากุล จากหน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม สภาคริสตจักรในประเทศไทย ได้รับทุนวิจัยจากชุดโครงการความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงาน: ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบาย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระยะเวลาดำเนินการ 1 มีนาคม 2554 – 31 กรกฎาคม 2555
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
มหาเดร์ย้ำต้องใช้ฐานความรู้ ฝ่าวิกฤติในโลกมุสลิม Posted: 03 Oct 2011 08:49 AM PDT ม.อิสลามยะลามอบปริญญาให้ มหาเดร์ ย้ำต้องใช้ฐานความรู้ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แก้ปัญหาของโลกมุสลิม ยกตัวอย่างมาเลเซียที่ก้าวไกล เพราะยอมรับเป้าหมายร่วมของคนต่างศาสนากัน
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. วันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ทำพิธีมอบปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ดร.มหาเดร์ โมฮามัด อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของประเทศมาเลเซีย โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นผู้มอบ จากนั้น เวลา 10.30 น. ดร.มหาเดร์ โมฮามัด กล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษามลายู หัวข้อ “บทบาทองค์ความรู้ในการเสริมสร้างสันติภาพในภูมิภาค” (Peranan Ilmu Dalam Menegak Kedamaian Serantau) ดร.มหาเดร์ กล่าวว่า ความสามารถทางปัญญา เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับภัยคุกคามที่ประชาชาติมุสลิมทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ใช่เพียงการแสวงหาความรู้ทางศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น ดร.มหาเดร์ กล่าวต่อไปว่า มีเรื่องที่น่าเศร้าใจ คือ ทั้งๆ ที่ในอดีตมุสลิมเป็นผู้ก่อเกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ปัจจุบันมุสลิมกลับละเลยกับการพัฒนาวิทยาการต่างๆ และขาดการสานต่อ เนื่องจากไม่เห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ จนประเทศแถบยุโรปสามารถพัฒนาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนกลายเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมากในโลกจนถึงปัจจุบัน แต่ประเทศมุสลิมกลับเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาลงทุกที และยังถูกรังแก และถูกรุกรานจากผู้ที่เจริญในวิทยาการมากกว่า “หลายประเทศมุสลิมในโลกที่กำลังเผชิญการสู้รบในหมู่มุสลิมด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่เป็นข้อผิดพลาด เนื่องจากอิสลามห้ามการฆ่าพี่น้องมุสลิมด้วยกันเอง แม้คนที่นับถือศาสนาอื่นก็ตาม เพราะมุสลิมส่งเสริมการแสวงหาชีวิตที่สงบสุข ไม่สู้รบกับคนอื่น ยกเว้นการป้องกันตัวเองจากการรุกรานของคนอื่น” ดร.มหาเธร์ กล่าว ดร.มหาเธร์ กล่าวว่า ประเทศที่กำลังเผชิญปัญหา ต้องก้าวพ้นปัญหาด้วยปัญญาและความรู้ การมีมหาวิทยาลัยเป็นของตัวเองในพื้นที่ จะทำให้ประชาชนที่นั่นมีความรู้ มีปัญญา ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแก้ปัญหาได้ โดยการแก้ปัญหาไม่วางอยู่บนฐานของอารมณ์ความรู้สึก แต่อยู่บนฐานของความรู้ ดร.มหาเธร์ กล่าวว่า โลกปัจจุบัน มุสลิมควรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเจริญก้าวหน้า มีความมั่งคงปลอดภัยในชีวิต ทุกอย่างต้องมาจากการผลักดันของตัวเอง จากการแสวงหาความรู้ให้ตัวเอง เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในโลกแห่งการแข่งขันและการคุกคามได้ ดร.มหาเธร์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถสร้างความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตมนุษย์ได้ แต่ต้องระวังการใช้ความรู้ในทางที่ผิด เพราะจะกลายเป็นการทำลาย ซึ่งหลักการศาสนาอิสลามจะช่วยให้การใช้ความรู้เหล่านี้ เป็นไปในทางที่ดีเพื่อสร้างสังคมที่เจริญได้ “ประเทศมาเลเซียสามารถก้าวถึงการพัฒนาที่ก้าวไกล และประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ เนื่องจากการยอมรับในเป้าหมายร่วมกันของคนต่างความคิดเห็น และต่างศาสนาในประเทศ ที่สำคัญการพัฒนาประเทศเป็นไปในช่วงเวลาที่ประเทศมีความสงบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากผู้นำของประเทศมาเลเซียที่มีความรู้ ความสามารถในการควบคุมจัดการคนที่มีความคิด ความต้องการที่แตกต่างกัน ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้” ดร.มหาเธร์ กล่าว ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปากียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เปิดเผยว่า เหตุที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลามอบปริญญารัฐศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ดร.มหาเดร์ เนื่องจากเป็นบุคคลสำคัญที่อุทิศตนและสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศและโลก และสร้างชื่อเสียงในการพาประเทศมาเลเซียเจริญรุ่งเรื่องที่สุด จนเป็นที่รู้จักของโลก ในนามบิดาแห่งการพัฒนามาเลเซีย ในพิธีดังกล่าวมีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นผู้กล่าวต้อนรับ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
กวีตีนแดง: สิ่งไหนเล่าที่โดมโหมจิตข้า Posted: 03 Oct 2011 08:35 AM PDT
กวีตีนแดง:
ถึงยุค เปลี่ยนผ่าน อันวิปลาส ธรรมศาสตร์ ประกาศเคียง รัฐประหาร โอ้...แม่โดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ คอรัปชั่น เลวกว่า กระบอกปืน วันนี้ ฉันรัก นิติราษฎร์... นิติศาสตร์ เพื่อราษ- ฎรตื่น ประชาชน ชนะแล้ว จงหยัดยืน ท้าทวงคืน ย้อนเกล็ด เผด็จการ สิ่งไหนเล่า ที่โดม โหมจิตข้า ให้แกร่งกล้า กี่เดือนปี ไม่มีหวั่น วันนี้โดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ กลายเป็นสัญ- ลักษณ์ พิทักษ์ใคร ผ่านคืนวัน ฉันเคยรัก ธรรมศาสตร์ ด้วยองอาจ อยู่เคียงข้าง ชาวนาไร่ สอนให้ฉัน หลงรัก ผู้ยากไร้ แบ่งปันมวล ดอกไม้ ให้ชาวนา เมื่อฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง ถือหาง คนสั่งฆ่า เพียงความ เคลื่อนไหว ใครสั่งมา ยอมขายตัว เป็นข้า รองฝ่าใคร ตำนานโดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ ยังคงก้อง กังวาน อยู่หรือไม่ กำแพงสูง ตระหง่าน ปิดกั้นใจ แยกตัวจาก ผู้ยากไร้ แล้วหรือยัง -เพียงคำ ประดับความ- หมายเหตุ: ขออภัยชาวธรรมศาสตร์ที่มิได้มีจุดยืนดังกล่าวมา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ผู้ต้องสงสัยหมาย พ.ร.ก.ใต้ คัดค้าน พ.ร.ก.หลังคุมตัวกว่าสองสัปดาห์ Posted: 03 Oct 2011 08:28 AM PDT เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 นายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ต้องสงสัยตามหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ถูกควบคุมตัวที่ศูนย์พิทักษ์ นายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตั โดยนายนิเซ๊ะ นิฮะบ้านเลขที่ 32/5 หมู่ที่ 3 ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตั ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่ศูนย์เสริมสร้ ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่ หลังจากถูกควบคุมตัวตามกฎ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นเวลา 6 วัน นายนิเซ๊ะ จึงตัดสินใจเขียนหนังสือเป็
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ความเป็นปัจจุบันสมัยของกาลิเลโอ Posted: 03 Oct 2011 08:21 AM PDT ผมได้ติดตามอ่านข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอของอาจารย์คณะนิติราษฎร์ในโอกาสครบรอบ 5 ปีรัฐประหาร 2549 และครบรอบ 1 ปีการก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคม ล่าสุดมีผู้ออกมาใช้วาทกรรมเรียก อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ว่าเป็น “กาลิเลโอหลงยุค” ทำให้ผมมานึกทบทวนว่า วาทกรรมดังกล่าวนั้นมีสาระหรือไม่เพียงใด หรือเป็นแค่ถ้อยคำที่นักกฎหมายการเมืองมักจะประดิษฐ์เวลากล่าวถึงฝ่ายตรงข้ามที่มีความคิดต่างจากตนเอง เมื่อมีนักกฎหมายเรียกนักกฎหมายคนหนึ่งว่า เป็นกาลิเลโอหลงยุค ทำให้ผมนึกถึงชีวประวัติช่วงหนึ่งของ กาลิเลโอ กาลิเลอี ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมาย Galileo Galilei (* 15 กุมภาพันธ์ 1564 - † 8 มกราคม 1642) นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ ชาวอิตาลี ซึ่งชีวิตของเขาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมายอยู่ในช่วงหนึ่ง เนื่องจากเขาถูกดำเนินคดีในปี 1633 โดยฝ่ายศาสนจักรในช่วงยุคการปกครองของพระสันตปาปา Urban ที่ 8 อันที่จริงแล้วกาลิเลอีมีความขัดแย้งกับศาสนจักรมาตั้งแต่ปี 1613 – 1616 เนื่องจากเขาพยายามที่จะศึกษาแนวความคิดของโคเปอร์นิคัสให้สิ้นสงสัย ตามความเชื่อของโคเปอร์นิคัสเชื่อว่า พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบจักรวาล และโลกหมุนรอบพระอาทิตย์ นอกจากนี้โลกยังหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันและกลางคืนขึ้น ในปี 1631 กาลิเลโอได้เขียนจดหมายถึง Casteli นักบวชนิกายเบเนดิกต์ เรียกร้องให้มีการ “ตีความ” เกี่ยวกับถ้อยคำในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เสียใหม่ โดยคำนึงถึงแนวความคิดของโคเปอร์นิคัสดังกล่าวข้างต้น ในเบื้องต้นนั้นความขัดแย้งยุติลงในปี 1616 โดยการห้ามสอนแนวความคิดเกี่ยวกับโลกของโคเปอร์นิคัสดังกล่าว ในปี 1618 พระคาร์ดินัล Bellarmin ถึงกับออกมาเรียกร้องให้กาลิเลโอเลิกสอนหนังสือเลยทีเดียว ต่อมามีพระสันตปาปาองค์ใหม่ นั่นคือ พระสันตปาปา Urban ที่ 8 ซึ่งเป็นเพื่อนกับกาลิเลโอ กาลิเลโอก็ได้พยายามผลักดันแนวความคิดข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง ในระยะแรกไม่ปรากฏว่ามีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งในปี 1632 กาลิเลโอได้เขียนบทสนทนาที่เรียกว่า “Dialogo sopra i due massimi sistemi” (บทสนทนาเกี่ยวกับระบบโลกที่สำคัญสองระบบ) ในบทสนทนาดังกล่าว เป็นบทสนทนาระหว่างบุคคลสองคนที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับแนวความคิดเกี่ยวกับโลกของโคเปอร์นิคัส และตัวแทนความเชื่อฝ่ายโคเปอร์นิคัสใช้วีธีการโต้แย้งที่ดีกว่าให้อีกฝ่ายสิ้นสงสัยได้ ปรากฏว่าหนังสือดังกล่าวถูกสั่งห้ามเผยแพร่ในทันทีทันใด หนึ่งปีหลังจากนั้นงานเขียนของกาลิเลโอก็ถูกสั่งห้ามทั้งหมด กาลิเลโอเองก็ถูกจับกุมและถูกฟ้องในข้อหาไม่ให้ความเคารพต่อศาสนจักรและข้อหานอกรีต พระคาร์ดินัลประจำศาลไต่สวน (ศาลไต่สวนนี้มีชื่อเสียงในด้านการใช้วิธีการทรมานในการสืบสวน) ได้กล่าวหากาลิเลโอว่า กระทำการขัดคำสั่งของพระคาร์ดินัล Bellarmin ที่ได้สั่งไว้ในปี 1616 ท้ายที่สุดกาลิเลโอต้องเพิกถอนข้อสมมติฐานของตนที่ว่าโลกกลม และดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างก็หมุนรอบพระอาทิตย์ แต่ภายหลังจากการดำเนินคดี กาลิเลโอก็ยังกล่าวว่า “Eppur si muove” (แต่มัน (โลก) ก็เคลื่อนไหว) กาลิเลโอถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต แต่ได้รับอภัยโทษ โดยกำหนดเงื่อนไขให้กลับไปยังเมืองของตน และตกอยู่ภายใต้การกักบริเวณภายในบ้านพักของตนเองจนกระทั่งเสียชีวิต ในปี 1979 พระสันตปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศตรวจสอบทบทวนคำพิพากษาคดีของกาลิเลโอใหม่ และในปี 1992 พระสันตปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ก็ได้ประกาศเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกาลิเลโอในกรณีดังกล่าว จากข้อพิพาทของนักกฎหมาย และที่ไม่ใช่นักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ และมีผู้ออกมาให้สมญานามหนึ่งในคณะนิติราษฎร์ว่าเป็น “กาลิเลโอหลงยุค” อีกรอบหนึ่ง ถ้าความคิดของกาลิเลโอซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโคเปอร์นิคัส ที่เห็นว่าโลกกลมและหมุนรอบพระอาทิตย์นั้นเป็น “สัจจะ” ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ก็ย่อมอาศัยเวลาในการพิสูจน์ว่า เป็นสัจจะหรือไม่ด้วย อันที่จริงข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ เป็นเพียงข้อความคิดเห็นหนึ่งที่ได้แสดงออกและเสนอต่อสังคมว่า ควรจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างไร และวิธีที่นิติราษฎร์เสนอก็ไม่ใช่วิธีที่ใช้กำลังป่าเถื่อนหรือไม่สอดคล้องกับระบอบการปกครองในปัจจุบันแต่ประการใด เมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางออกก็ย่อมเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีแนวทางในการตัดสินความแตกต่างนั้นไว้แล้ว ซึ่งนิติราษฎร์ก็ได้เสนอแนะเอาไว้ว่า ใช้วิธีการ “ประชามติ” นั่นคือตัดสินด้วยเสียงข้างมาก หากผลที่เกิดขึ้นจากข้อเสนอของนิติราษฎร์จะเป็นผลเสียหรือเป็น “เท็จ” คนส่วนใหญ่ที่ลงประชามติเห็นด้วยก็จะได้เรียนรู้ร่วมกันด้วยตนเองว่า การกระทำแบบนี้มันส่งผลเสียอย่างไร ไม่ใช่ให้ผู้ที่เห็นว่าตนมีความรู้ มีคุณธรรม ฉลาดกว่าคนอื่นมาเป็นคนคอยชี้ว่า อันนี้ดี อันนี้ไม่ดี คุณโง่ คุณไม่รู้เท่าทันเหมือนผม คุณทำตามที่ผมคิดตามที่ผมสั่งก็แล้วกัน เดี๋ยวก็ดีเอง การคิดอย่างนี้มันก็ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองที่ใช้บังคับอยู่ไม่ใช่หรือ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ประชาธิปไตยก็ไม่สามารถถูกเสกหรือเนรมิตขึ้นได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ และที่สำคัญประชาธิปไตยไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้า “ประชา” ในรัฐนั้น ไม่ได้เรียนรู้บทเรียนประชาธิปไตยโดยตนเอง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
ความเป็นปัจจุบันสมัยของกาลิเลโอ Posted: 03 Oct 2011 08:20 AM PDT ผมได้ติดตามอ่านข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอของอาจารย์คณะนิติราษฎร์ในโอกาสครบรอบ 5 ปีรัฐประหาร 2549 และครบรอบ 1 ปีการก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในสังคม ล่าสุดมีผู้ออกมาใช้วาทกรรมเรียก อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ว่าเป็น “กาลิเลโอหลงยุค” ทำให้ผมมานึกทบทวนว่า วาทกรรมดังกล่าวนั้นมีสาระหรือไม่เพียงใด หรือเป็นแค่ถ้อยคำที่นักกฎหมายการเมืองมักจะประดิษฐ์เวลากล่าวถึงฝ่ายตรงข้ามที่มีความคิดต่างจากตนเอง เมื่อมีนักกฎหมายเรียกนักกฎหมายคนหนึ่งว่า เป็นกาลิเลโอหลงยุค ทำให้ผมนึกถึงชีวประวัติช่วงหนึ่งของ กาลิเลโอ กาลิเลอี ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมาย Galileo Galilei (* 15 กุมภาพันธ์ 1564 - † 8 มกราคม 1642) นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ ชาวอิตาลี ซึ่งชีวิตของเขาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมายอยู่ในช่วงหนึ่ง เนื่องจากเขาถูกดำเนินคดีในปี 1633 โดยฝ่ายศาสนจักรในช่วงยุคการปกครองของพระสันตปาปา Urban ที่ 8 อันที่จริงแล้วกาลิเลอีมีความขัดแย้งกับศาสนจักรมาตั้งแต่ปี 1613 – 1616 เนื่องจากเขาพยายามที่จะศึกษาแนวความคิดของโคเปอร์นิคัสให้สิ้นสงสัย ตามความเชื่อของโคเปอร์นิคัสเชื่อว่า พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบจักรวาล และโลกหมุนรอบพระอาทิตย์ นอกจากนี้โลกยังหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันและกลางคืนขึ้น ในปี 1631 กาลิเลโอได้เขียนจดหมายถึง Casteli นักบวชนิกายเบเนดิกต์ เรียกร้องให้มีการ “ตีความ” เกี่ยวกับถ้อยคำในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เสียใหม่ โดยคำนึงถึงแนวความคิดของโคเปอร์นิคัสดังกล่าวข้างต้น ในเบื้องต้นนั้นความขัดแย้งยุติลงในปี 1616 โดยการห้ามสอนแนวความคิดเกี่ยวกับโลกของโคเปอร์นิคัสดังกล่าว ในปี 1618 พระคาร์ดินัล Bellarmin ถึงกับออกมาเรียกร้องให้กาลิเลโอเลิกสอนหนังสือเลยทีเดียว ต่อมามีพระสันตปาปาองค์ใหม่ นั่นคือ พระสันตปาปา Urban ที่ 8 ซึ่งเป็นเพื่อนกับกาลิเลโอ กาลิเลโอก็ได้พยายามผลักดันแนวความคิดข้างต้นอีกครั้งหนึ่ง ในระยะแรกไม่ปรากฏว่ามีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งในปี 1632 กาลิเลโอได้เขียนบทสนทนาที่เรียกว่า “Dialogo sopra i due massimi sistemi” (บทสนทนาเกี่ยวกับระบบโลกที่สำคัญสองระบบ) ในบทสนทนาดังกล่าว เป็นบทสนทนาระหว่างบุคคลสองคนที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับแนวความคิดเกี่ยวกับโลกของโคเปอร์นิคัส และตัวแทนความเชื่อฝ่ายโคเปอร์นิคัสใช้วีธีการโต้แย้งที่ดีกว่าให้อีกฝ่ายสิ้นสงสัยได้ ปรากฏว่าหนังสือดังกล่าวถูกสั่งห้ามเผยแพร่ในทันทีทันใด หนึ่งปีหลังจากนั้นงานเขียนของกาลิเลโอก็ถูกสั่งห้ามทั้งหมด กาลิเลโอเองก็ถูกจับกุมและถูกฟ้องในข้อหาไม่ให้ความเคารพต่อศาสนจักรและข้อหานอกรีต พระคาร์ดินัลประจำศาลไต่สวน (ศาลไต่สวนนี้มีชื่อเสียงในด้านการใช้วิธีการทรมานในการสืบสวน) ได้กล่าวหากาลิเลโอว่า กระทำการขัดคำสั่งของพระคาร์ดินัล Bellarmin ที่ได้สั่งไว้ในปี 1616 ท้ายที่สุดกาลิเลโอต้องเพิกถอนข้อสมมติฐานของตนที่ว่าโลกกลม และดาวเคราะห์ทั้งหลายต่างก็หมุนรอบพระอาทิตย์ แต่ภายหลังจากการดำเนินคดี กาลิเลโอก็ยังกล่าวว่า “Eppur si muove” (แต่มัน (โลก) ก็เคลื่อนไหว) กาลิเลโอถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต แต่ได้รับอภัยโทษ โดยกำหนดเงื่อนไขให้กลับไปยังเมืองของตน และตกอยู่ภายใต้การกักบริเวณภายในบ้านพักของตนเองจนกระทั่งเสียชีวิต ในปี 1979 พระสันตปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศตรวจสอบทบทวนคำพิพากษาคดีของกาลิเลโอใหม่ และในปี 1992 พระสันตปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ก็ได้ประกาศเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกาลิเลโอในกรณีดังกล่าว จากข้อพิพาทของนักกฎหมาย และที่ไม่ใช่นักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ และมีผู้ออกมาให้สมญานามหนึ่งในคณะนิติราษฎร์ว่าเป็น “กาลิเลโอหลงยุค” อีกรอบหนึ่ง ถ้าความคิดของกาลิเลโอซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโคเปอร์นิคัส ที่เห็นว่าโลกกลมและหมุนรอบพระอาทิตย์นั้นเป็น “สัจจะ” ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ก็ย่อมอาศัยเวลาในการพิสูจน์ว่า เป็นสัจจะหรือไม่ด้วย อันที่จริงข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ เป็นเพียงข้อความคิดเห็นหนึ่งที่ได้แสดงออกและเสนอต่อสังคมว่า ควรจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างไร และวิธีที่นิติราษฎร์เสนอก็ไม่ใช่วิธีที่ใช้กำลังป่าเถื่อนหรือไม่สอดคล้องกับระบอบการปกครองในปัจจุบันแต่ประการใด เมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางออกก็ย่อมเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีแนวทางในการตัดสินความแตกต่างนั้นไว้แล้ว ซึ่งนิติราษฎร์ก็ได้เสนอแนะเอาไว้ว่า ใช้วิธีการ “ประชามติ” นั่นคือตัดสินด้วยเสียงข้างมาก หากผลที่เกิดขึ้นจากข้อเสนอของนิติราษฎร์จะเป็นผลเสียหรือเป็น “เท็จ” คนส่วนใหญ่ที่ลงประชามติเห็นด้วยก็จะได้เรียนรู้ร่วมกันด้วยตนเองว่า การกระทำแบบนี้มันส่งผลเสียอย่างไร ไม่ใช่ให้ผู้ที่เห็นว่าตนมีความรู้ มีคุณธรรม ฉลาดกว่าคนอื่นมาเป็นคนคอยชี้ว่า อันนี้ดี อันนี้ไม่ดี คุณโง่ คุณไม่รู้เท่าทันเหมือนผม คุณทำตามที่ผมคิดตามที่ผมสั่งก็แล้วกัน เดี๋ยวก็ดีเอง การคิดอย่างนี้มันก็ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองที่ใช้บังคับอยู่ไม่ใช่หรือ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ประชาธิปไตยก็ไม่สามารถถูกเสกหรือเนรมิตขึ้นได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ และที่สำคัญประชาธิปไตยไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้า “ประชา” ในรัฐนั้น ไม่ได้เรียนรู้บทเรียนประชาธิปไตยโดยตนเอง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
17 เครือข่ายประชาสังคม ร้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ Posted: 03 Oct 2011 07:59 AM PDT
(3 ต.ค.54) 17 เครือข่ายประชาสังคมด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใน 30 วัน พร้อมเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ซึ่งถูกควบคุมตัวต่อเนื่องโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน และให้มีหนังสือยอมรับผิดต่อความผิดพลาดในการทำงานของเจ้าหน้าที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ และให้รัฐชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบตามสมควรแก่กรณี 000000
แถลงการณ์ กรณี/เรื่อง ขอให้ยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ได้มีใบแจ้งข่าวจากศูนย์ทนายความมุสลิม แจ้งว่าศาลจังหวัดปัตตานีเรียกเจ้าหน้าที่ไต่สวนการควบคุมตัวไม่ชอบ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กรณีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าจับกุมนายนิเซ๊ะ นิฮะ ที่บ้านเลขที่ 32/5 หมู่ที่3 ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี ในวันที่ 16 กันยายน 2554 เวลาประมาณ 05.00 นาฬิกา โดยไม่ได้แสดงหมายแต่อย่างใด และควบคุมตัวไปยังค่ายทหารบริเวณโรงไฟฟ้าปัตตานี ต่อมาเวลาประมาณ 09.00 นาฬิกา วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ทหารได้ควบคุมตัวต่อไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และทำการซักถามโดยมิได้แจ้งว่าการควบคุมตัวและการซักถามดังกล่าว เป็นไปโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายใด ระหว่างการซักถามเจ้าหน้าที่สอบถามถึงประวัติส่วนตัว โดยมิได้มีการซักถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ค่ายอิงคยุทธบริหารฯ แจ้งกับนายนิเซ๊ะ นิฮะ ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ยื่นคำร้องขอออกหมายควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมิได้แจ้งว่าเหตุที่ขอออกหมายควบคุมตัวดังกล่าวเป็นไปด้วยความจำเป็นใด และในวันที่ 25 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์นำผลการซักถามให้ผู้ถูกควบคุมตัวลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว โดยในเอกสารดังกล่าวผู้ถูกควบคุมตัวให้การปฏิเสธและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบใดๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการควบคุมตัวในวันที่ 26 กันยายน 2554 และย้ายสถานที่ควบคุมตัวไปที่ศูนย์พิทักษ์สันติ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา จึงเป็นการดำเนินการที่ซ้ำซ้อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ภายหลังจากที่ผู้ร้องคัดค้านได้ยื่นคำร้องแล้วนั้น ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนผู้ร้องและผู้ร้องคัดค้านและนายนิเซ๊ะ นิฮะ ผู้ถูกควบคุมตัว ในวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2554 เวลา 09.30 นาฬิกา ทั้งนี้นายนิเซ๊ะ นิฮะ นั้นปัจจุบันเป็นปัญญาชนที่มีบทบาทในงานพัฒนาชุมชนตามวิถีชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น อดีตเป็นนักกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงสมัยที่มีการชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันว่า เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี2535 ร่วมกับพรรคสานแสงทองซึ่งเป็นพรรคการเมืองนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นก็ได้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับงานพัฒนาสังคมและชุมชนมาโดยตลอด อาทิเช่นงานค่ายอาสาพัฒนาชนบท หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้มีโอกาสร่วมเคลื่อนไหวกับสมัชชาคนจน กระทั่งได้รับเลือกเป็นประธาน PNYS (กลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง) เมื่อปี 2537 และต่อมาได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม ร่วมกับองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2540 คณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง ด้วยตระหนักถึงมาตรฐานแห่งหลักนิติรัฐที่มีเจตนารมณ์จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และจะผดุงซึ่งความยุติธรรมในสังคม ถ้าพิจารณาถึงประโยชน์ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต่อการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งที่ชายแดนใต้ โดยยึดหลักเจตนารมณ์แห่งหลักนิติรัฐข้างต้นแล้ว คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่มีเหตุผลแห่งตรรกะใด ที่จะยอมรับได้ว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอ้างอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในขณะควบคุมตัวประชาชนที่ถูกสงสัย และตามอำนาจของกฎหมายฉบับนี้ ประชาชนไม่มีสิทธิจะทำการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างว่าได้ปฏิบัติตามหน้าที่ อาทิเช่น กรณีมีการซ้อมทรมานผู้ถูกสงสัยขณะควบคุมตัว โดยเฉพาะที่เป็นข่าวครึกโครม นั่นคือ กรณีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง และกรณีนักศึกษาราชภัฎยะลา เพื่อไม่ให้เป็นแค่น้ำผึ้งเพียงหยดเดียว ที่เป็นเหตุให้ต้องเกิดการแสดงออกทางการเมืองของภาคประชาชน ที่ยกระดับมากกว่านี้ และทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศต้องเสียชื่อเสียงต่ออานารยะประเทศที่เคารพในหลักการสิทธิมนุษยชนสากลนั้น เครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐ ดังต่อไปนี้
องค์กรภาคี เครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
"คณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร" หนุนข้อเสนอ "นิติราษฎร์" Posted: 03 Oct 2011 06:28 AM PDT ชี้ข้อเสนอจาก "นิติราษฎร์" จะช่วยรักษาจุดด่างพร้อยจากรัฐประหาร 19 กันยา และสร้างกลไกป้องกันรัฐประหารในอนาคต พร้อมประณามการใส่ร้ายป้ายสี การบิดเบือนข้อเท็จจริง การขู่อาฆาตมาดร้าย และความพยายามใดๆ ที่มุ่งทำลายเสรีภาพทางวิชาการและบรรยากาศประชาธิปไตยทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เว็บไซต์วิฬัจฉา ได้เผยแพร่ "แถลงการณ์กลุ่มคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร ต่อกรณีข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์" ลงวันที่ 3 ต.ค. 54 ผู้ลงชื่อท้ายแถลงการณ์ประกอบด้วย กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์, อนุชา โสมาบุตร, อิศรา ก้านจักร, ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม, ปิยบุตร บุรีคำ, ประสงค์ สีหานาม และพงศาล มีคุณสมบัติ โดยท้ายแถลงการณ์ ยังมีการเชิญชวนนักวิชาการลงชื่อสนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ด้วยทาง anticoup@groups.facebook.com โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้ 000 แถลงการณ์กลุ่มคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร ตามที่คณะนิติราษฎร์ได้เผยแพร่ข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ ในวาระครบ 4 ปีรัฐประหาร ต่อสารธารณชนเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 โดยมีสาระสำคัญใน 4 ประเด็น คือ การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549, การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลยและการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ภายหลังรัฐประหาร รัฐประหาร 19 กันยายน 2549, และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง มีทั้งที่เห็นด้วยและที่เห็นต่าง มีทั้งที่สร้างสรรค์และที่ทำลายล้าง มีทั้งที่อ้างอิงหลักฐานอันน่าเชื่อถือและที่อ้างอิงอาวุธยุทโธปกรณ์อันน่า หวาดหวั่น ด้วยความเชื่อมั่นและเจตนาที่จะธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย เรา–ผู้มีรายนามดังปรากฏข้างท้ายแถลงการณ์นี้–ได้ศึกษาข้อเสนอทางวิชาการของ คณะนิติราษฎร์โดยละเอียดแล้ว จึงได้ร่วมกันแสดงจุดยืนของเราในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. เราสนับสนุนข้อเสนอทางวิชาการทั้ง 4 ประเด็นของคณะนิติราษฎร์ โดยเล็งเห็นว่าข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวนอกจากจะช่วยรักษาจุดด่างพร้อยจาก การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แล้ว ยังช่วยสร้างกลไกการป้องกันการก่อรัฐประหารในอนาคตอีกด้วย ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวอุดมไปด้วยจิตวิญญาณประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 2. เราเสนอให้รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติ ราษฎร์ไปพิจารณา ศึกษาความเป็นไปได้ และนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง อันจะเป็นโอกาสสำคัญในการเสริมรากฐานประชาธิปไตยของประเทศให้แข็งแกร่งอีก คำรบหนึ่ง 3. เราขอเชิญชวนให้บรรดานักวิชาการและประชาชนทุกสาขาอาชีพ–ไม่ว่าจะอยู่ในแวด วงนิติศาสตร์หรือไม่ก็ตาม–อย่านิ่งเฉย โปรดออกมาร่วมเสนอแนะและวิพากษ์ วิจารณ์ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ บนฐานความรู้ความเข้าใจของท่าน เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบด้านอันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนา ประชาธิปไตยของประเทศ 4. เราขอประณามการใส่ร้ายป้ายสี การบิดเบือนข้อเท็จจริง การขู่อาฆาตมาดร้าย และความพยายามใดๆ ก็ตามที่มุ่งทำลายเสรีภาพทางวิชาการและบรรยากาศประชาธิปไตยทั้งในที่ลับและ ที่แจ้ง ซึ่งไม่เพียงไม่ก่อประโยชน์อันใดแก่สังคมแล้วยังกัดกร่อนทำลายกลุ่มผู้กระทำ การเช่นนั้นเองด้วย ขอให้ประชาธิปไตยจงเบ่งบาน มวลหมู่เผด็จการจงสิ้นสูญ กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ (วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 3 ตุลาคม 2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
พม่าส่งกำลังทหารเข้าประจำในรัฐฉาน 200 กองพัน Posted: 03 Oct 2011 05:26 AM PDT กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าเผย กองทัพพม่าส่งกำลังเข้ แฟ้มภาพทหารกองทัพพม่า (Photo: mmmilitaty.blogspot.com) เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มเครือข่ายเพื่อประชาธิ ทั้งนี้ หนังสือรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งมีชื่อว่า “การบริหารด้านพลเรือนและกำลั เฉพาะในรัฐฉาน ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ไทย และลาว มีกำลังทหารพม่าหน่วยต่างๆ เข้าประจำการมากกว่า 200 กองพัน และยังเป็นที่ตั้งกองบั โดยกองทัพภาคตะวันออก มีกำลังทหารในสังกัด 50 กองพัน แบ่งเป็นกองพันทหารราบ 19 กองพัน กองพันทหารราบเบา 31 กองพัน โดยประจำการอยู่ในรัฐคะยาห์ 10 กองพัน ที่เหลือ 40 กองพันอยู่ในรัฐฉาน ส่วนกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนื กองทัพภาคสามเหลี่ยม (เชียงตุง) มีกำลังทหาร 39 กองพัน แบ่งเป็นกองพันทหารราบ 14 กองพัน และกองพันทหารราบเบา 25 กองพัน ในส่วนของกองทัพภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นกองทัพภาคตั้งขึ้นใหม่ นอกจากนี้ ในรัฐฉานยังมีกำลังพลหน่วยต่างๆ ของกองทัพพม่าประจำอีกนับสิ ทั้งนี้ รัฐฉานถือเป็นรัฐยุทธศาสตร์สำคั ตามรายงานของมูลนิธิสิทธิมนุ ขณะที่รายงานหนังสือ "ผู้ถูกช่วงชิง" จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่ สำหรับกลุ่มเครือข่ายเพื่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||
นานาชาติเล็งจี้สถานการณ์สิทธิฯ ไทย 5 ตุลานี้ Posted: 03 Oct 2011 04:02 AM PDT สืบเนื่องจากในวันที่ 5 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะถึงรอบการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ภายใต้สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ด้วยกระบวนการ Universal Periodic Review (ยูพีอาร์) โดยจะมีตัวแทนจากนานาชาติตั้งคำถามทางการไทยในประเด็นสิทธิฯ ที่ต่างชาติเห็นว่ามีการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล และทางการไทยมีหน้าที่จะต้องรายงาน รวมถึงสามารถรับข้อเสนอแนะมาปฏิบัติได้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ทางตัวแทนรัฐบาลจากหลายประเทศจากแถบยุโรป อาทิ อังกฤษ นอรเวย์ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ มุ่งตั้งคำถามทางการไทยในหลายประเด็น แต่เรื่องที่ต่างชาติให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 และพรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึงหลายฝ่ายมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก นอกจากนี้ เรื่องที่รัฐบาลต่างชาติให้ความสนใจ ยังรวมถึง การค้นหาความจริงในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2554 เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สิทธิฯ ของผู้ลี้ภัยจากชายแดนพม่า รวมถึงความเป็นกลางของคณะกรรมการสิทธิฯ ไทย และองค์กรอิสระอื่นๆ เช่น คณะกรรมการปรองดองฯ และศาลด้วย ทั้งนี้ ข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้อธิบายว่า กระบวนยูพีอาร์ นับเป็นกระบวนการที่เป็นเอกลักษณ์ของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่เปิดโอกาสให้แต่ละประเทศผลัดกันตรวจสอบสถานการณ์สิทธิของประเทศต่างๆ โดยใช้กระบวนการที่เป็นมิตรและปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ (Constructive engagement) กับผู้นำประเทศต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสถานการณ์สิทธิฯ ในทุกประเทศอย่างทั่วถึง บัน คี มุน เลขาธิการแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน “มีศักยภาพที่ดีมากในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนแม้แต่ในประเทศที่อยู่ในมุมมืดของโลกใบนี้” สำหรับประเทศไทย ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ชี้แจงสถานการณ์สิทธิฯ ไทย ตามรายงานที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งตอบคำถามต่อนานาชาติในประเด็นต่างๆ ที่ถูกตั้งคำถาม โดยจะถึงคิวการรายงานในวันที่ 5 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ในเวลา 18.30 -21.30 น. ตามนาฬิกาประเทศไทย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามชมกระบวนการดังกล่าวได้ ผ่านการถ่ายทอดสดทางเว็บไซต์ http://www.un.org/webcast/unhrc/ หรือสามารถเข้าร่วมงาน ‘ปาร์ตี้สิทธิมนุษยชน’ Human Rights Party: WTF is UPR? [Live Cast: The 1st Cycle of Thailand Universal Periodic Review] ซึ่งจัดโดยองค์กรภาคประชาสังคมของไทย เพื่อรณรงค์ความตระหนักรู้ในกระบวนการยูพีอาร์ได้ ในวันที่ 5 ตุลาคม เวลา 18.30 สถานที่ ‘Reading Room’ หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กดังกล่าว __________________
คำถามที่น่าสนใจบางส่วนจากรัฐบาลต่างประเทศ ประเด็นเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 สาธารณรัฐเช็ก • สืบเนื่องจากข้อมูลที่ได้รับร่วมกันจากผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก และผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านการบังคับใช้กฎหมายพิเศษและประหารชีวิตโดยทันทีหรือตามอำเภอใจนั้น เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รัฐบาลไทยได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง โดยต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2553 การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกิดความตึงเครียดขึ้น จนเป็นเหตุแก่การกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่รัฐใช้อาวุธหนักเข้าปราบปรามการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 21 รายและบาดเจ็บกว่า 700 ราย เราทราบว่า ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งบัญญัติให้การใช้กำลังโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นไปโดยจำกัดที่สุด และการใช้กำลังนั้นจะต้องอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อวัตถุประสงค์อันชอบธรรมที่ต้องการจะได้รับ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอเรียนถามคำอธิบายโดยย่อต่อมาตรการที่รัฐบาลไทยนำมาพิจารณาก่อนการใช้กำลัง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติข้างต้นและหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้ปืนกลโดยเจ้าหน้าที่รัฐ สหราชอาณาจักร • อยากทราบความคืบหน้าว่ารัฐบาลไทย ได้ให้คำตอบอย่างไรต่อรายงานและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้นำข้อเสนอแนะใดมาปฏิบัติ และมีการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและการเงินแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงไร นอร์เวย์ • รัฐบาลไทยจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้แน่ใจว่าคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติที่ตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ความวุ่นวายเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2553 จะได้รับทรัพยากรและอำนาจตามที่จำเป็น เพื่อหาผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน และนำมาซึ่งความยุติธรรมได้ ประเด็นเสรีภาพในการแสดงออก เดนมาร์ก • รัฐบาลไทยมีมาตรการใดในการปกป้องเสรีภาพทางการแสดงออกของสาธารณะ ซึ่งรวมถึงเสรีภาพของสื่อแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์, สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ เนเธอร์แลนด์ • ประเทศไทยถูกวิจารณ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับมาตรการการบล็อคเว็บไซต์และการจำกัดเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และประเด็นอ่อนไหวอื่นๆ ในขณะเดียวกัน สื่อเองก็ถูกกล่าวหาว่ามีการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างเข้มข้น ในด้านรัฐบาลไทยนั้นก็ยอมรับในหลายโอกาสว่า มีการใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันฯ ในการควบคุมความคิดเห็นของประชาชน ด้วยเหตุนี้ อยากทราบว่า ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เมื่อไหร่ อย่างไร และการปฏิรูปดังกล่าวจะรวมถึงการมีเกณฑ์ที่ชัดเจนและมีเหตุผลต่อการพิจารณาการกระทำผิดกรณีหมิ่นฯ หรือไม่ สวิตเซอร์แลนด์ • รัฐบาลมีมาตรการอย่างไรในการสร้างหลักประกันเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติแก่ประชาชนไทย ทั้งนี้ รัฐบาลไทยคาดว่าจะเชิญผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออกมายังประเทศไทยหรือไม่? • รัฐบาลไทยจะมีการพิจารณาทบทวนกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่? สหราชอาณาจักร • ประเทศไทยคาดว่าจะมีการทบทวนประมวลกฎหมายซึ่งเคยใช้ควบคุมเสรีภาพในการแสดงออก โดยมองหาวิธีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมหรือไม่ หากการทบทวนฯ เกิดขึ้น ประเทศไทยสามารถให้รายละเอียดหรือภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมได้หรือไม่ นอร์เวย์ • ไม่ทราบว่ารัฐบาลจะเร่งกระบวนการที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ในแง่การกำหนดความชัดเจนในการบังคับใช้ และการกำหนดบทลงโทษของกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ เพื่อที่จะป้องกันการใช้กฎหมายดังกล่าวในทางละเมิดสิทธิฯ ประเด็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม สวิตเซอร์แลนด์ • รัฐบาลไทยมีมาตรการอย่างไรในการสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทความเป็นอิสระและความเป็นธรรมของกระบวนการยุติธรรมไทย สหราชอาณาจักร • อยากทราบว่าประเทศไทยจะมีขั้นตอนในการปฏิรูประบบยุติธรรม ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่รอการพิจารณาคดีหรือผู้ที่ถูกจำคุกอย่างไร? ประเด็นเรื่องโทษประหารชีวิต สวิตเซอร์แลนด์ • รัฐบาลไทยคาดว่าจะมีการพิจารณายกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม่? สาธารณรัฐเช็ก • สาธารณรัฐเช็กมีความยินดีที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลไทยจะพิจารณาให้สัตยาบันต่อข้อกำหนดเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตของกติกาดังกล่าวด้วยหรือไม่ ประเด็นเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนเธอร์แลนด์ • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คือ หน่วยงานที่มีความสำคัญยิ่งด้านความเป็นอิสระและความเป็นธรรมต่อการสอบสวนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยคณะกรรมการสิทธิฯ ในประเทศไทยได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นเอกเทศโดยผู้แทนจากศาลยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนเมษายน/พฤษภาคม 2553 โดยคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว ยังคงไม่ได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณชน ด้วยเหตุนี้ จึงขอสอบถามว่า การทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ในประเทศไทยได้กล่าวถึงกระบวนการคัดสรรคณะกรรมการสิทธิฯ ในอนาคต ว่าจะเป็นไปอย่างโปร่งใส มีส่วนร่วม เพื่อให้แน่ใจว่าได้คณะทำงานที่มีความเป็นอิสระ เป็นธรรม และมีความสามารถหรือไม่? สหราชอาณาจักร • อยากทราบว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไทยจะปฏิบัติภารกิจโดยสอดคล้องกับหลักการปารีสที่มีขึ้นเพื่อชี้แนะแนวการปฏิบัติงานของสถาบันแบบเดียวกันนี้ทั่วโลกหรือไม่ ประเด็นเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดนมาร์ค • รัฐบาลไทยมีแผนการใดที่จะกำจัดการปฏิบัติที่เลวร้ายในสถานคุมขัง และสร้างหลักประกันว่าการทรมานเพื่อบังคับให้ผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ ดังเช่น กรณีในสามจังหวัดชายแดนใต้ จะได้รับการสืบสวนอย่างรัดกุมและเป็นธรรม โดยพยานเองก็ปราศจากความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ต่อการรายงานการกระทำดังกล่าวด้วย สหราชอาณาจักร • อยากทราบว่าประเทศไทยจะพิจารณายกเลิกกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งร่วมถึงพรก.ฉุกเฉินหรือไม่? หากมีการยกเลิกดังกล่าว จะมีกรอบระยะเวลาการดำเนินงานอย่างไร
สาธารณรัฐเช็ค • ประเทศไทยมีมาตรการอย่างไรในการบรรลุมาตรฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานกักกันแรงงานข้ามชาติ เช่น ศูนย์อำนวยการพิเศษในการปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีแรงงานที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือค้าแรงงานเถื่อน ซึ่งเป็นไปตามคำบัญชาของนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 125/12223 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 เนเธอร์แลนด์ • แม้ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัยพร้อมทั้งข้อกำหนดเพิ่มเติมปี 1967 แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นประเทศที่ให้แหล่งพักพิงแก่กลุ่มผู้ลี้ภัยจำนวนมาก และต้องผูกพันกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยโดยมากนั้น ขาดซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายด้าน รวมถึง การถูกละเมิดโดยตำรวจและถูกเหยียดเชื้อชาติ ในการนี้ ขอสอบถามว่า การทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้รวมเอาหลักการ Non-refoulement เข้าพิจารณาหรือไม่? หลักการดังกล่าว คือ การที่รัฐบาลไทยสร้างความมั่นใจว่า จะไม่มีบุคคลใดถูกขับไล่ ส่งตัวกลับ หรือถูกส่งมอบในฐานะนักโทษ กลับไปยังประเทศหรือดินแดนที่ซึ่งเขาอาจต้องพบเจอกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง นอกจากนี้ ขอสอบถามว่า ประเทศไทยจะมีการปรับข้อกฎหมายเพื่อประกันรายอย่างยุติธรรม ชดเชยรายได้แก่แรงงานข้ามชาติโดยเท่าเทียม สร้างสภาวะการทำงานที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ปราศจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น