ประชาไท | Prachatai3.info |
- TCIJ: โผล่ข้อมูลโต้กลุ่มค้านอ่างน้ำแม่ปิงฯ ในเว็บไซต์ฯ ชาวบ้านจวกไม่แจงต่อหน้า
- เกษียร เตชะพีระ
- ซูจีและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานพม่าหารือรอบที่สาม
- รายงาน:madiFESTO 2011 กับปฏิบัติการป่วนทางวัฒนธรรม
- แนวรบในพื้นที่ประชาสังคม: เลิกปกป้องอภิสิทธิ์ชนกันเสียที
- ขบวนการ ’ยึดวอลล์สตรีท’ ประกาศกร้าว “เราคือคนจำนวน 99 เปอร์เซ็นต์”
- โทรข่มขู่กลุ่มประกายไฟ เลิก “ละครแขวนคอ” อ้างนักศึกษาไม่พอใจ
- จดหมายเปิดผนึกถึงสภา มธ. ขอให้ตรวจสอบและยุติสนับสนุนเผด็จการของ 'สมคิด'
- รัฐบาลซีเรียยึดเมืองรัสทาน กวาดต้อนจับกว่า 3,000 ราย
- นักข่าวพลเมือง: บุก‘อุทยานฯเภตรา’ยื่นหนังสือหัวหน้าใหม่ ค้านเพิกถอนสร้าง ‘ท่าเรือปากบารา’
- ศูนย์ทนายมุสลิมเตรียมแถลง ผลกระทบ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯชายแดนใต้ หลังปล่อยนิเซ๊ะ นิฮะ
- 'พลเมืองเน็ต' เตือนรัฐอย่าใช้กรณีทวิตเตอร์นายกฯ จำกัดเสรีภาพ
- เครือข่ายองค์กรโลกเรียกร้องให้รัฐบาลไทย เข้าร่วมภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ
- อภิสิทธิ์แนะต้องไม่ให้การเมืองยุ่งเรื่องแก้กฎหมายแต่งตั้งทหาร
- "ดารุณี" เข้ารับทราบข้อกล่าวหาฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคง
TCIJ: โผล่ข้อมูลโต้กลุ่มค้านอ่างน้ำแม่ปิงฯ ในเว็บไซต์ฯ ชาวบ้านจวกไม่แจงต่อหน้า Posted: 04 Oct 2011 01:41 PM PDT 3 บริษัท ที่ปรึกษาโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน แจงเหตุผลการศึกษาความเหมาะสม-วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่านเว็บไซต์ โดนชาวบ้านจวกเล่นสกปรก ไม่ชี้แจงต่อหน้า ยันเดินหน้าคัดค้านต่อ ชี้ไม่โดนเองไม่รู้สึก วันนี้ (4 ต.ค.54) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทที่ปรึกษา โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท ธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด และกรมชลประทาน เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน กรมชลประทาน ชี้แจงกรณีที่มีกลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านโครงการดังกล่าว พร้อมให้เหตุผลโต้แย้งต่อข้อคัดค้านของชาวบ้าน เอกสารการชี้แจงเหตุผลของกลุ่มผู้คัดค้าน ดังกล่าวระบุว่า กลุ่มผู้คัดค้านโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน ซึ่งอ้างว่าเป็นพี่น้องประชาชนบ้านโป่งอาง ม.5 ต.เมืองนะ ชุมชนลุ่มน้ำแม่แตงตอนบน/ลุ่มน้ำแม่คอง เครือข่ายทรัพยากรอำเภอเชียงดาว พี่น้องปลายน้ำลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน ชุมชนลุ่มน้ำแม่ป๋าม ได้จัดทำแถลงการณ์ เรื่อง “ขอคัดค้านการดาเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” [A] มีข้อสังเกตการศึกษาโครงการฯ ในประเด็นต่างๆ ซึ่งทางที่ปรึกษาและกรมชลประทานขอชี้แจงในแต่ละประเด็นดังนี้ 1. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานตามโครงการ ชุมชนไม่มีโอกาสเข้าถึง รับรู้ข่าวสาร รายละเอียดโครงการฯ ที่เป็นจริงรอบด้าน เช่น กรณีการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางคณะศึกษาได้เบี่ยงเบนประเด็น โดยพยายามอธิบายในเรื่องการพัฒนาและซ่อมแซมระบบชลประทานเดิมให้มีประสิทธิภาพ มิได้กล่าวถึงโครงการสร้างอ่าง (เขื่อน) แม่น้ำปิงตอนบนแต่อย่างใด คำชี้แจง ในการดำเนินงานก่อนเริ่มงาน ได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือ ในช่วงวันที่ 18-20 ตุลาคม 2553จำนวน 4 เวที ประกอบด้วยเวทีที่ 1 ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านโป่งอาง ผู้เข้าร่วมประชุม 13 คน เวทีที่ 2 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลเมืองนะ ผู้เข้าร่วมประชุม 23 คน เวทีที่ 3 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลพระธาตุปู่ก่ำ ผู้เข้าร่วมประชุม 22 คน และเวทีที่ 4 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลเชียงดาว ผู้เข้าร่วมประชุม 93 คน โดยเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อรับฟังสภาพปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ พบว่า ในพื้นที่ อ.เชียงดาว ได้เสนอปัญหาเกี่ยวกับการชำรุดของโครงการชลประทานเดิม การพัฒนาฝาย/โครงการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ชุมชนเสนอ และเห็นด้วยกับการศึกษาอ่างเก็บน้าแม่ปิงตอนบน (อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมที่อาจจะมีความรุนแรงในอนาคต ผลจากการประชุมปรึกษาหารือดังกล่าว กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้นำมาจัดทำกรอบและแผนการศึกษาโครงการ นำเสนอในการประชุมปฐมนิเทศโครงการในวันที่ 21 มกราคม 2554 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลเชียงดาว โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย การจัดทำแผนการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน และการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน โดยในการจัดทาแผนพัฒนาแหล่งน้ำประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่ การปรับปรุงโครงการเดิม การพัฒนาแหล่งน้ำระดับชุมชน และการพัฒนาแหล่งน้ำระดับลุ่มน้ำ (อ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน) ส่วนการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน ประกอบด้วย ขั้นตอนการศึกษา การสำรวจ และแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ตามประกาศ ทส. 29 ธันวาคม 2552 หลังจากการนำเสนอแผนการดำเนินงานในการปฐมนิเทศโครงการ (Public Scoping) แล้ว ได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการชลประทานเดิม แผนการพัฒนาโครงการชลประทานขนาดกลางและขนาดเล็กในลุ่มน้ำ และการกำหนดที่ตั้งโครงการ นำมาเสนอในการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 ในวันที่ 24 มีนาคม 2554 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 96 คน เปิดโอกาสให้ที่ประชุมแสดงความคิดเห็น และสรุปผลการประชุมส่งให้กับเทศบาลตำบล และหน่วยงานราชการในอำเภอเชียงดาวในวันที่ 5 เมษายน 2554 นอกจากนี้ ในการประชุมทุกครั้ง ได้มีการพบปะผู้นำชุมชนในพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การประชุม ข้อมูล และรายละเอียดในการประชุมแต่ละครั้ง พร้อมทั้งเชิญผู้มีส่วนได้เสียของโครงการให้เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง อีกทั้งในเอกสารประกอบการประชุมปฐมนิเทศโครงการในวันที่ 21 มกราคม 2554 ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน และขั้นตอนการศึกษา การสำรวจโครงการอย่างละเอียด จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าในการศึกษาโครงการตั้งแต่เริ่มศึกษา ได้มีการชี้แจงและให้ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินงานของโครงการทุกระยะและทุกด้าน ทั้งในส่วนของแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ และการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน ผ่านทางผู้นำชุมชน การประชุม ติดประกาศตามเทศบาล และหน่วยงานราชการต่างๆ ในอำเภอเชียงดาว 2. กระบวนการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจไม่ได้เกิดขึ้นจากคนในชุมชนอย่างแท้จริง เพราะคนในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการสร้างเขื่อน ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่มีการดึงเอาหน่วยงานราชการ ชุมชนนอกพื้นที่ มาเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาโครงการเป็นหลัก คำชี้แจง ในกระบวนการมีส่วนร่วมได้เปิดโอกาสให้คนในชุมชนโดยเฉพาะบ้านโป่งอางเข้ามามีส่วนร่วมและตัดสินใจ โดยก่อนเริ่มศึกษาโครงการ ได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือในลักษณะ Focus Group ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งได้มีการแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ และในระหว่างการศึกษาโครงการ ได้เชิญผู้นำชุมชนและคนในชุมชนเข้าร่วมประชุมในแต่ละครั้ง สำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาโครงการ ได้มีชาวบ้านโป่งอางได้สมัครเข้าร่วมเป็นอาสาท้องถิ่น ตั้งแต่เดือนตุลาคมจำนวน 8 คน และได้ร่วมสำรวจในด้านแหล่งท่องเที่ยว สัตว์ป่า ป่าไม้ คุณภาพน้ำ นิเวศทางน้ำ การประมง แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ และด้านสุขภาพ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างอาสาท้องถิ่นและผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทำให้การศึกษามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การศึกษายังได้นำเอาข้อคิดเห็น และคำแนะนำจากคนในชุมชนที่เสนอในการประชุมและพบปะแต่ละครั้งเข้ามาประกอบการศึกษาโครงการ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำขอให้มีการใช้ประโยชน์ในชุมชนอำเภอเชียงดาวเป็นลำดับแรก ไม่มีการผันน้ำไปยังลุ่มน้ำอื่น มีการระบายน้ำในฤดูแล้งเพื่อรักษาระบบนิเวศ การศึกษาต้องเน้นที่ความปลอดภัยของอาคารหัวงานและชุมชนในพื้นที่ สิทธิประโยชน์ของการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่จะมีในอนาคต เช่น ให้สิทธิในการประมงในอ่างเก็บน้ำ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งส่วนแบ่งรายได้อื่นๆ ที่จะเกิดจากการพัฒนาโครงการ ขอให้พิจารณาชุมชนหมู่ 5 เป็นลำดับแรก ซึ่งคณะผู้ศึกษาได้นำมาเป็นกรอบการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการระยะต่อไป 3. ขั้นตอน กระบวนการศึกษามีลักษณะเร่งรีบในการดำเนินการ ขัดหลักวิชาการ ขาดรายละเอียดของการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างรอบด้าน คำชี้แจง การศึกษามีระยะเวลา 20 เดือน (ปัจจุบันยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ) กระบวนการศึกษาและขั้นตอนในการดำเนินการ เป็นไปตามหลักการของกรมชลประทานและครอบคลุมการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ตามประกาศ ทส. 29 ธันวาคม 52 โดยในระหว่างการดำเนินการ จะมีการประชุมย่อยหลายครั้งเพื่อนำเสนอผลการศึกษาในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ การจัดทำแผนการพัฒนาลุ่มน้ำ การศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน ความก้าวหน้าการศึกษา การคัดเลือกองค์ประกอบ รายละเอียดโครงการ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางป้องกันและแก้ไขผลกระทบ ซึ่งครอบคลุมทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ และเมื่อสิ้นสุดการศึกษาจะนำรายละเอียดทั้งหมดไปเสนอต่อชุมชนเพื่อให้ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง 4. ที่ตั้งโครงการอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนโป่งอางดังกล่าว อยู่ห่างจากชุมชนเพียงแค่ 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ รวมถึงพื้นที่น้ำท่วมอยู่ในเขตพื้นที่ป่าต้นน้าแม่ปิง ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร ป่าชุมชน ของคนในชุมชน ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญไหลหล่อเลี้ยงชุมชนผ่านระบบเหมืองฝายของหมู่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่ จนถึงที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา คำชี้แจง ที่ตั้งของโครงการได้พิจารณาจากแนวทางเลือก 3 ทางเลือก โดยทางเลือกที่คัดเลือกจะมีปริมาณน้ำท่ามาก และตำแหน่งที่ตั้งโครงการที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชน ทำให้การเข้าถึงพื้นที่โครงการสะดวกกว่าทางเลือกอื่น ช่วยส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของชุมชนได้ (ข้อมูล จากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 และการพบปะผู้นำชุมชนในช่วงเดือนมีนาคม 2554) ส่วนด้านความปลอดภัยของโครงการ ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของหัวงาน โดยเฉพาะด้านแผ่นดินไหว รวมถึงได้ศึกษาวางแผนปรับปรุงภูมิทัศน์ และการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนกับโครงการ ในรูปแบบเดียวกับเขื่อนขุนด่านปราการชล (จ.นครนายก) ที่ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับเขื่อนและสามารถต่อยอดในด้านเศรษฐกิจของชุมชนได้ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ (พื้นที่น้ำท่วม) อยู่บริเวณชายขอบอุทยานแห่งชาติผาแดง และบางส่วนมีการให้สิทธิทำกินกับชาวบ้านในหมู่ 5 แล้ว โดยพื้นที่อ่างเก็บน้ำจะจำกัดอยู่ในบริเวณช่องเขา ซึ่งไม่กระทบกับพื้นที่อุทยานส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร และป่าชุมชน ที่สำคัญของคนในชุมชน และในการศึกษา จะพิจารณาแนวทางการแก้ไขและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ส่วนการไหลในแม่น้ำปิง อ่างเก็บน้ำจะทำหน้าที่กักเก็บชะลอน้ำส่วนเกินในฤดูฝน นำไปใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนทั้ง 6 ตำบลในพื้นที่ อ.เชียงดาว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการระบายน้ำรักษาระบบนิเวศในฤดูแล้ง จึงไม่เกิดผลกระทบต่อการไหลในลำน้ำในพื้นที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จนถึงที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา นางสาวธิวาภรณ์ พะคะ ตัวแทนชาวบ้านโป่งอาง แสดงความเห็นต่อ กรณีการชี้แจงข้อมูลผ่านเว็บไซต์โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน กรมชลประทาน ว่า คำชี้แจงนี้ทางบริษัทที่รับจ้างและกรมชลฯ ควรจะตอบต่อหน้าชาวบ้านมากกว่า การอาศัยชี้แจงเหตุผลผ่านทางเว็บไซต์เช่นนี้เป็นการใช้วิธีการที่สกปรกมาก พร้อมระบุด้วยว่า โครงการดังกล่าวไม่มีความโปร่งใส ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมในโครงการนี้ เพราะหากมีการก่อสร้างโครงการจริงชาวบ้านจะต้องได้รับผลกระทบ แต่กลับไม่ยอมเปิดเผยความจริงให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้รับรู้ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ “ชาวบ้านต้องถูกเวนคืนที่ดินหรือย้ายออกไปอยู่ที่อื่น แล้วเราจะต้องได้รับผลกระทบอีกมหาศาล ความเป็นพี่เป็นน้องก็ต้องมีการแยกจากกัน วัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่อยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในพื้นที่อำเภอเชียงดาวก็จะไม่หลงเหลือ” “อยากจะฝากผ่านทางกรมชลประทาน ให้มีความเมตตาชาวบ้าน และทุกสิ่งทุกอย่างนั้น เรามีความเชื่อว่าจะจบลงที่กรมชลประทาน ถ้ากรมชลประทานยุติ หรือเลิกสัญญาจ้างกับทางทีมที่เข้ามาศึกษาโครงการนี้ เพราะที่ผ่านมา ทีมศึกษาฯ นั้นได้มาหลอกทั้งชาวบ้านและหลอกทั้งกรมชลประทาน โดยการใช้ทุกวิธีต่างๆ ซึ่งมาถึงตอนนี้ ชาวบ้านทุกคนก็ยืนยันจะไม่ยอมให้มีการสร้างเขื่อน ไม่ยอมให้เข้ามาศึกษาอีกต่อไป ถึงแม้จะมีการส่งทีมใหม่เข้ามาศึกษาอย่างไรก็ตาม ทางชาวบ้านเองก็จะไม่เอาอยู่แล้ว” นางสาวธิวาภรณ์กล่าว ส่วน นายกลิ้ง ผู้อาวุโสหมู่บ้านโป่งอาง วัย 74 ปี เล่าว่าว่า ทุกวันนี้ นอนไม่หลับ ก็เพราะการเครียดเรื่องของเขื่อนที่เขาจะมาสร้างนี่แหละ มันมีความน่ากลัว เปรียบเสมือนจมูกที่เกิดการอุดตัน และลำน้ำเป็นร่องเล็กๆ เวลาที่ถูกปิดกั้นลำน้ำก็จะขึ้นสูง ถ้ามีการเก็บกักก็จะเทียบเท่ากับตึก 20 กว่าชั้นเลยทีเดียว นอกจากนั้น ผู้อาวุโสของหมู่บ้านโป่งอางยังเรียกร้องไม่ให้มีการก่อสร้างหรือการสำรวจกระบวนการศึกษาต่างๆ เนื่องจากคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง “ที่ผ่านมา พวกเขาบอกข้อมูลแต่ส่วนดี และพยายามจะเข้ามาอยู่ แน่ละ พอเขื่อนสร้างขึ้นมาแล้ว พวกท่านไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ท่านอยู่ที่อื่น อยู่ที่กรุงเทพหรือที่ไหน ที่ไม่ใช่พื้นที่สร้างเขื่อน และท่านก็จะบอกว่าสร้างเสร็จเรียบร้อย แต่ชาวบ้านต้องอยู่ที่นี่ชาวบ้านจะเป็นตายร้ายดีช่างมัน แล้วถ้าเกิดพังขึ้นในวินาทีเดียว เวลากลางคืน เวลาคนนอนหลับ เงียบ ไม่รู้นอนคดคู้อยู่ ไม่สามารถเอาตัวรอดได้ ก็ตายทั้งหมด ไม่มีใครที่จะเอาตัวรอดได้ แม้กระทั้งสัตว์” นายกลิ้ง กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้ แถลงการณ์ของชาวบ้านที่ถูกระบุ ถึงในเอกสารการชี้แจงเหตุผลของกลุ่มผู้คัดค้าน ดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้
ข้อมูลประกอบ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 04 Oct 2011 12:23 PM PDT | |
ซูจีและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานพม่าหารือรอบที่สาม Posted: 04 Oct 2011 12:11 PM PDT มีรายงานว่านางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีและนายอ่องจี รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของพม่ ขณะที่การพบปะหารือกันในครั้งนี “ในความคิดของฉัน การฟังเสียงของประชาชนนั้นเป็ ส่วนในจดหมายที่ประธานาธิบดีเต็ อย่างไรก็ตาม การหารือระหว่างนางซูจีและนายอ่องจีท่ีผ่านมา ตามรายงานของหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือรวมไปถึงเรื่องการนิรโทษกรรมนักโทษ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ ขณะที่เมื่อถามกรณีว่าพรรคเอ็นแอลดีจะจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองหรือไม่ นางซูจีได้หลบเลี่ยงที่จะตอบคำถาม ขณะที่เมื่อเร็วๆนี้นายญานวิน ผู้นำคนสำคัญอีกคนหนึ่งของพรรคเอ็นแอลดีก็เคยกล่าวว่า พรรคเอ็นแอลดีอาจพิจารณาจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง หากพบว่า การเมืองในพม่าพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น (ที่มา: แปลจาก DVB 3 กันยายน 2554)
แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รายงาน:madiFESTO 2011 กับปฏิบัติการป่วนทางวัฒนธรรม Posted: 04 Oct 2011 10:43 AM PDT รายงานเรื่อง “การป่วน” ในงาน madiFESTO ซึ่งได้กลายเป็นการป่วนสังคมวัฒนธรรมไทยในหลากหลายมิติ กระตุกให้เจ้าของสังคม วัฒนธรรม ที่ถูกสอนให้รู้จักแต่ความภาคภูมิใจในสารพัดความเป็นไทย ต้องตั้งคำถามต่อรากเหง้าความเชื่อของตัวเอง เห็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์และชื่อกิจกรรมของงานเทศกาล madiFESTO 2011 ทีแรก ผู้เขียนก็คิดเอาเองตามประสาคนนอกวงการศิลปะว่า คงไม่ต่างจากงานแสดงศิลปะอื่นๆ ที่ถ้าไม่อาร์ตจนดูไม่รู้เรื่อง หรือคนทั่วไปดูอย่างไรก็ไม่เข้าใจว่างานจะสื่อถึงอะไร ก็คงเป็นงานยกย่องยกชูความเป็นไทยแบบกระทรวงวัฒนธรรมที่มีอยู่ทั่วไปหมดแล้ว แต่เมื่อได้เข้าชมงานโดยไม่ได้ตั้งใจ จากการไปเยี่ยม "มิตร ใจอินทร์"ใน"ปฏิบัติการอดอาหาร 112 ชั่วโมง"ของเขาแล้ว ผู้เขียนก็พบว่างานเทศกาลครั้งนี้ช่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยความสามารถในการสร้างความปั่นป่วนได้อย่างที่ไม่คาดคิด... madiFESTO เป็นกิจกรรมที่ปีนี้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (Media Arts and Design) สังกัดคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีนี้กิจกรรมและศิลปินที่เข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาก มีทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท ศิลปินอิสระที่ถูกเชิญมาแสดงงาน กิจกรรมเสวนาด้านศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ และดูเหมือนแนวทางศิลปะแบบ madiFESTO จะค่อยๆ ชัดเจนขึ้นตามลำดับ ในลักษณะงานศิลปะแบบที่มี “ปฏิบัติการป่วนทางวัฒนธรรม” ไปด้วยพร้อมๆ กัน (แน่นอนว่าความหลากหลายของศิลปินและรูปแบบงานย่อมมีอยู่ แต่ผู้เขียนในฐานะคนนอกวงการไม่มีความรู้พอจะกล่าวถึง) แม้ไม่สามารถเข้าชมงานในทุกชิ้นและทุกเวลาสถานที่ ผู้เขียนก็พบว่างานแสดงหลายชิ้นในเทศกาลครั้งนี้ได้ทำให้พรมแดนของสิ่งที่เรียกว่า “ศิลปะ” แบบที่เข้าใจกันทั่วไปในสังคมไทยพร่าเลือน และไม่ใช่ศิลปะบริสุทธิ์นามธรรมและลอยตัวอยู่เหนือสังคมการเมืองที่เราอยู่อีกต่อไป แต่ศิลปะได้ถูกหลอมรวมเข้ากับปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ปฏิบัติทางการเมือง ปฏิบัติการทางสังคม และปฏิบัติการทางวัฒนธรรม ดังชื่องานที่บอกอยู่แล้วตั้งแต่ต้นว่าเป็น “เทศกาลปฏิบัติการทางวัฒนธรรมร่วมสมัย” งานศิลปะแบบปฏิบัติการจึงเต็มไปด้วยการแสดงออก และกระทำการต่างๆ โดยเฉพาะในรูปแบบของ “การป่วน” ในงาน madiFESTO ทั้งงานจึงแทบจะกลายเป็นการป่วนสังคมวัฒนธรรมไทยในหลากหลายมิติ ชื่องานในปีนี้คือ “FALL” ที่ในภาษาไทยถูกแปลว่า “ล้ม” ก็ได้หยิบฉวยคำที่ติดปากติดหูคนไทยในรอบสองสามปีที่ผ่านมา มาเล่น ซ่อนนัยยะ และเปิดการตีความให้ศิลปินที่เข้าร่วมแสดงงานได้สร้างสรรค์งานอย่างน่าสนใจ ความป่วนเริ่มตั้งแต่ป้ายข้อความบริเวณลานจอดรถหอศิลปวัฒนธรรมที่ตีความได้หลายนัยยะ วิธีการแจกกำหนดการของเทศกาลแบบป่วนๆ คืออยู่ในถังขยะและถูกขยุ้มยับเป็นก้อน
พิธีอ่านคำประกาศเปิดเทศกาลในเครื่องจับเท็จ พร้อมผู้คุมตรวจสอบ ให้นัยยะของการเสียดสีตัวเทศกาลและคำประกาศเสียเอง (ขอบคุณภาพจาก Supapong และเชิญชวนให้อ่านคำประกาศ FALL อันทรงพลัง) ช่วงเวลาการจัดเทศกาลใน madiFESTO ก็เต็มไปด้วยความปั่นป่วน กิจกรรมถูกจัดขึ้นที่นู้นบ้าง ที่นี่บ้าง เวลาดึกดื่นบ้าง เช้าตรู่บ้าง เช่น โปรแกรมการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่อง “MERVEMUSIK” เริ่มฉายในเวลา 1.30 น. ใครเห็นก็ต้องถามทันทีว่าบ้าหรือเปล่า ฉายหนังตอนตีหนึ่งครึ่ง! หรือกำหนดการอดข้าวของมิตร ใจอินทร์เองก็หยุดลงเอาตอนตี 4 แถมการแถลงคำประกาศก็เกิดขึ้นตอนเช้าตรู่ของวันเสาร์ ทำให้ใครได้ยินก็สงสัยว่าใครที่ไหนจะตื่นมาร่วมกิจกรรม อีกทั้งห้วงเวลาการจัดเทศกาลยังถูกแบ่งเป็นช่วงต่างๆ ไม่ได้จัดเสร็จภายในรอบเดียว แต่เปลี่ยนย้ายไปแสดงในแกลอรี่ศิลปะต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่อีกหลายแห่ง เช่น หลังเสร็จการจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรม งานจัดแสดงที่ร่ำเปิงอาร์ตสเปซ ก็เพิ่งเริ่มจัดแสดงต่อภายใต้ชื่อเทศกาลเดียวกัน ระยะเวลาของเทศกาลนี้จึงแทบบอกให้แน่นอนไม่ได้ว่าเริ่มต้นเมื่อไร และสิ้นสุดลงเมื่อไร ยังไม่ต้องพูดถึงสถานที่จัดงานซึ่งกระจายไปทั่วเมืองเชียงใหม่ และอยู่ในที่แปลกๆ ที่ดูไม่น่าจะใช้จัดกิจกรรมได้ เช่น กิจกรรมฉายภาพยนตร์ “ร่วมรักกับความเหงา” ถูกจัดในตึกร้างย่านอาเขต, นิทรรศการ “บ้านพ่อ” ที่กลุ่มศิลปะใช้บ้านเช่าหนึ่งหลังเป็นที่จัดแสดงงาน, งาน “แผนการล่วงหน้า Rise” ถูกนำไปหลบซ่อนแสดงที่ร้านอาหารเจ๊ใหญ่ ผักปลอดสารพิษ บริเวณถนนนิมมานเหมินทร์ หรือกิจกรรม “ลองดี” (Be Good) พื้นที่จัดแสดงก็เคลื่อนไหวไปมารอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระทั่งยังมีการนำรูปแบบทัวร์เข้ามาเพื่อพาผู้ชมให้สามารถตระเวนชมเทศกาลศิลปะในพื้นที่ต่างๆ พร้อมพูดคุยกับศิลปินในเวลา 1 วัน กาละและเทศะแบบปกติๆ ของการจัดแสดงงานศิลปะทั่วๆ ไป จึงถูก madiFESTO ทำลายลงอย่างราบคาบ แถมอารมณ์ขรึมขัง เก่าแก่ สูงส่ง และเข้าถึงยากแบบที่หอศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทยทั่วไปมักเป็นกัน ก็ถูกการแสดงงานศิลป์แบบมีอารมณ์ขัน เล่นสนุก เสียดเย้ย และทิ่มแทง ของศิลปินกลุ่มนี้นำมาเขย่าเล่นอย่างเมาส์มัน (คำว่า “เทศกาล” โดยตัวมันเอง ก็สะท้อนความสนุกสนานและมีชีวิตชีวา) ใบปลิวที่แจกและวางไว้อยู่ทั่วทั้งงาน คล้ายใบปลิวโฆษณาทั่วไป แต่เมื่ออ่านข้อความดีๆ จึงเห็นความป่วน พื้นที่จัดแสดงภาพถ่ายแบบป่วนๆ ของแจกอย่างหนึ่งในงานคือถุงยางอนามัย พร้อมการรณรงค์ “Love me-safe sex” การป่วนทางวัฒนธรรม (Culture Jamming) นั้น เป็นการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมในตะวันตก เช่นการล้อเลียนภาพโฆษณาสินค้าหรือตราสินค้า โดยการป่วนมีเป้าหมายสองอย่าง คือรบกวนการสื่อสารของแนวคิดกระแสหลักในสังคมบริโภคนิยม และสื่อสารความหมายหรือข้อมูลบางอย่างที่ทวนกระแสให้คนทั่วไปรับรู้หรือตั้งคำถาม การสื่อสารแบบนี้จึงสร้างพื้นที่อิสระทางวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อสะกิดให้ผู้บริโภคหรือผู้ชมหยุดคิด ตั้งคำถาม และในขั้นสูงสุดคือเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนเองจากผู้บริโภคกลับไปสู่การเป็นพลเมืองที่ตระหนักถึงปัญหาสังคมและหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น รูปแบบการป่วนวัฒนธรรมมักถูกใช้โดยกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวที่เติบโตมาในสังคมบริโภคสุดขั้ว ผนวกกับบทบาทของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และวัฒนธรรมปัจเจก ที่เน้นการไม่มีผู้นำ การลงมือทำด้วยตนเอง ปฏิบัติการต่างๆ จึงเป็นไปอย่างมีอารมณ์ขัน สนุกสนาน มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแตกต่างจากขบวนการทางการเมืองที่เคร่งขรึมในสมัยก่อน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ “สามัญชนเปลี่ยนโลก” ของภัควดี วีระภาสพงษ์ โดยสำนักพิมพ์ของเรา) เทศกาล madiFESTO ก็ดูเหมือนจะได้ทดลองป่วนในหลากหลายมิติ ทั้งป่วนภายในวงการศิลปะกันเอง ตั้งคำถามท้าทายไปถึงความเป็นศิลปะ ความเป็นศิลปิน และพื้นที่ในการจัดแสดงงาน หรือการป่วนเรื่องการบริโภคนิยม งานหลายชิ้นตั้งคำถามไปถึงวัฒนธรรมท่องเที่ยว วัฒนธรรมการช็อปปิ้ง วัฒนธรรมการกินของชนชั้นกลาง หรือการปะทะประสานระหว่างโลกาภิวัตน์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเคลื่อนเข้าหากันอย่างชุลมุน ปั่นป่วนแยกจากกันแทบไม่ออกอีกต่อไป ขณะที่งานอีกหลายชิ้นยังขยับขยายการป่วนทางวัฒนธรรมจากเรื่องการบริโภคอย่างในสังคมตะวันตก ไปป่วนแนวคิดความเป็นไทยกระแสหลัก ตั้งคำถามกับสิ่งที่คนมักคิดว่าเป็นไทยๆ ไม่เหมือนชาติใดในโลก และเปิดโปงสิ่งที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังความเป็นไทยนั้นอีกที ทั้งในเรื่องพรมแดน ชนชั้น ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และค่านิยมต่างๆ เช่น งานภาพสามมิติ ซึ่งคำว่าไทยตรงกลางภาพประกอบขึ้นจากรูปเล็กๆ ของผู้คนที่แต่งตัวด้วยชุดชนเผ่า, ภาพถ่ายเด็กน้อยใช้เท้าตีระฆังในวัด, ภาพถ่ายเส้นทางจักรยานแต่รถที่วิ่งกลับเต็มไปด้วยรถจักรยานยนต์, หรือภาพถ่ายผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชั้นและสถานะในเชียงใหม่กว่า 20 ภาพเรียงต่อกันในแถวยาวเหยียด พร้อมชื่อและหมู่บ้านที่อยู่ เป็นต้น
อาหารฟาส์ตฟู้ดถูกนำไปป่วนวางบนขันโตกแบบล้านนา
ป่วนงานมอเตอร์โชว์ด้วยรถเก่าบุโรทั่ง ป่วนวาทกรรมแบบไทยๆ โดยให้ผู้ชมสามารถนำข้อความค่านิยมแบบต่างๆ ไปแปะบนตัวหุ่นจำลองเด็กที่สมองถูกด้ายขึงเป็นข่ายทั่วไปหมด
ความป่วนเกิดขึ้นแม้แต่เรื่องเพศสภาพในห้องน้ำ พร้อมเสียงเพลงประกอบที่แตกต่างไปตามสีเสื้อของผู้เข้าใช้ห้องน้ำ
ป่วน แผนที่ประเทศไทย
ที่จัดแสดงงานแบบป่วนๆ และข้อความสะท้อน“ความเป็นไทย”ในบางด้าน
สัญลักษณ์แบบไพร่ๆ ของคนเสื้อแดงถูกนำมาทำใหม่ในชุดสูทสมัยใหม่แบบผู้ดีๆ ให้นัยยะย้อนแย้งเชิงอัตลักษณ์
ไม่เพียงแต่การป่วนทางวัฒนธรรม madiFESTO ยังป่วนไปในมิติทางสังคมและทางการเมือง ตัวอย่างในสองมิตินี้ คืองานของมิตร ใจอินทร์ และของกีรติ กุสาวดี ซึ่งกลายเป็นข่าวอย่างที่ทราบกัน กรณีงาน“ปฏิบัติการอดอาหารท้วงประเทียด 112 ชั่วโมง” (112 Hunger Strike) ในฐานะการตั้งคำถามต่อประเด็นทางการเมืองอย่างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ทำให้ศิลปะ ปฏิบัติการแบบสันติวิธีอย่างการอดอาหาร และการเรียกร้องทางการเมือง มาหลอมรวมกันเป็นพลังของงานชิ้นนี้ ซึ่งศิลปินต้องใช้เวลาเตรียมงานนานถึง 2-3 เดือน เมื่อต้องค่อยๆ ลดปริมาณการกินอาหารในแต่ละวันให้เหลือ 2 มื้อ และแต่ละมื้อกินน้อยลงๆ เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับ “การแสดง” หรือปฏิบัติการจริง ขณะที่งาน “ลองดี” (Be Good) ของกีรติได้ทำให้ศิลปะกลายเป็นปฏิบัติการตั้งคำถามทางสังคม โดยเฉพาะต่อระบบการศึกษาไทย ความป่วนของ “ลองดี” ถูกวางไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การให้รองคณบดีเป็นผู้ล่ามโซ่ทั้ง 5 จุดในพิธีเปิดงาน และเก็บรักษากุญแจที่ล็อคโซ่ไว้ในงานแสดงที่หอศิลป์ ขณะที่ศิลปินต้องใช้ชีวิตภายใต้ชุดดังกล่าวอีก 5 วัน ก่อนที่ผู้ทำการไขกุญแจที่ล็อคไว้คือนักการฯ ของคณะวิจิตรศิลป์ ซึ่งเป็นที่รักของนักศึกษาในคณะมานาน อุปมาต่อการล็อค-ปลดล็อค และสถานะทางสังคมของผู้ที่ทำหน้าที่ใส่โซ่ตรวนและผู้ปลดปล่อยพันธนาการของบัณฑิตจึงทำได้อย่างน่าสนใจในปฏิบัติการนี้ เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติการของนายกีรติได้ถูกห้ามเข้าไปยังพื้นที่ในมหาวิทยาลัยอย่างไม่ได้ตั้งใจและไม่มีการวางแผนไว้ แต่การสั่งห้ามก็สามารถถูกมองให้เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ ที่ช่วยในการเปิดโปงนัยยะของอำนาจในระบบการศึกษาปัจจุบันอย่างเจ็บแสบ การยกชูคุณค่าของสิ่งของอย่างชุดครุยและใบปริญญาอย่างสูงส่ง จนหลงลืมเสรีภาพทางความคิดและความรู้ที่นักศึกษามีอย่างแท้จริงไป กระทั่งการยึดกุมนิยามความดีไว้ภายใต้ระบบอำนาจก็ถูกงานของกีรติป่วนและเปิดโปงออกมา ภายใต้การปฏิเสธไม่ให้เข้ามหาวิทยาลัย เพราะ “ไม่เหมาะสม”
ปฏิบัติการ “ลองดี” จบลงโดยนักการฯ ของคณะวิจิตรศิลป์เป็นผู้ปลดล็อคกุญแจโซ่ตรวนให้กีรติ ที่สุดแล้ว ความป่วนดังกล่าวได้ทำให้พรมแดนของศิลปะกับชีวิตประจำวันพร่าเลือนไป ศิลปะในความหมายของเทศกาล madiFESTO ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในหอศิลป์ แล้วตั้งโชว์สวยหรู ราคาแพงๆ แต่คนทั่วไปเอื้อมไม่ถึงอีกต่อไป หากมันลงไปอยู่ในชีวิตประจำวัน ในห้วงเวลาของคนปกติ ในสถานที่ไหนก็ได้ กระทั่งลงไปอยู่ในการใช้ชีวิตของเราๆ ท่านๆ
ดังที่กีรติ ผู้ทดลองอยู่กับชุดครุย โซ่ตรวน และแท่งปูน นิยามงานของตนเองว่าคือการทดลองใช้ชีวิตมากกว่าจะเป็นงานศิลปะเสียด้วยซ้ำ เขาทดลองว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างไรกับภาวะเงื่อนไขที่ศิลปินสร้างขึ้น รวมทั้งค้นหาคำตอบของโจทย์เรื่องความดีที่เขาตั้งขึ้น หรืองานของมิตร ใจอินทร์ที่ใช้การกินอาหารอันเป็นกิจกรรมทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน ใครๆ ก็นึกไม่ถึงว่าการ “อด” ไม่กินอาหารจะกลายเป็นงานศิลปะหรือปฏิบัติการทางการเมืองได้ แต่มันเป็นได้ อาจเพราะมันได้เล่นกับความเป็น-ความตายของมนุษย์ ได้ตั้งคำถามกับสิ่งปกติอย่างการกินขึ้นมา และได้ทำให้เงื่อนไขเวลา 112 ชั่วโมงที่กำหนดขึ้นกลายเป็นแนวคิดและกรอบกำหนดของงานด้วย ดังนั้น ในทั้งการทดลองรูปแบบการใช้ชีวิต และการตั้งคำถามกับเรื่องต่างๆ ในสังคม จึงสามารถเป็น “งานศิลปะ” และ “การป่วน” ที่ใครก็ตามในสังคมสามารถทำได้เช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินหรือนักปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญมาจากไหน อาจกล่าวได้ว่างาน madiFESTO 2011 ในครั้งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของรูปธรรมในการรณรงค์ต่อสู้ทางวัฒนธรรม และในระดับชีวิตประจำวันแบบที่มิตร ใจอินทร์และกลุ่มศิลปินเสนอในวันสุดท้ายของการอดอาหาร madiFESTO ได้เปลี่ยนหอศิลป์ธรรมดาๆ จนกลายเป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางการเมือง-สังคม-วัฒนธรรม ศิลปะถูกทำให้มีชีวิตชีวา เป็นเรื่องสนุกสนาน มีอารมณ์ขัน แต่ก็เสียดสีเย้ยหยันสังคมวัฒนธรรมไทยอย่างนุ่มนวลและแหลมคม กระทั่งเกิดพลังในการตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ กระทั่งอาจเลยเถิดไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ก็เป็นได้ อย่างน้อยก็ในทางจินตนาการต่อสังคมการเมืองไทยของผู้เข้าชมเทศกาล ผลตอบรับเล็กๆ ต่อเทศกาลครั้งนี้ที่ผู้เขียนได้พบ ปรากฏอยู่บนข้อความในกระดาษเล็กๆ แผ่นหนึ่งที่ถูกติดไว้บนผนังซึ่งให้ผู้เข้าชมร่วมแสดงความคิดเห็นต่อระบบการศึกษาไทย แน่นอนว่าหลายคนไม่ได้เขียนถึงแต่เรื่องการศึกษา แต่บ่นเรื่องนู้นเรื่องนี้กันอีกหลากหลาย รวมไปถึงกระดาษแผ่นเล็กสีเหลือง ลายมือวัยรุ่นๆ แผ่นนั้นซึ่งมีข้อความว่า “NO 112 คือ? อยากรู้” อันทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่าวิธีสื่อสารทางศิลปะและวัฒนธรรมในแบบ madiFESTO 2011 ได้ก่อคลื่นแห่งการตั้งคำถามและความสงสัยใคร่รู้ขึ้นในคนรุ่นใหม่ที่เข้าชมงานแล้ว อย่างน้อยก็ใครสักคนหนึ่งที่ได้เขียนข้อความนั้นลงไป...
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
แนวรบในพื้นที่ประชาสังคม: เลิกปกป้องอภิสิทธิ์ชนกันเสียที Posted: 04 Oct 2011 10:05 AM PDT
ขณะนี้มีความวิตกกังวลค่อนข้างมากในหมู่นักพัฒนา นักกิจกรรม และนักวิชาการสาย ‘ปฏิรูป’ ว่าองค์กรอิสระหรือหน่วยงานกึ่งรัฐทั้งหลายของภาคประชาสังคมไทยกำลังจะถูกเช็คบิลจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเนื่องจากได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลทักษิณ การที่รัฐบาลชุดปัจจุบันดำเนินการหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปรับเปลี่ยนทิศทางบริหารจัดการงบประมาณด้านหลักประกันสุขภาพ การขอคืนพื้นที่บ้านพิษณุโลกจากสำนักปฏิรูป (สปร.) ของหมอประเวศ การดึงงบกองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน 800 ล้านบาทของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่อนุมัติโดยรัฐบาลชุดที่แล้ว มาพิจารณาใหม่ หรือแม้กระทั่งการเชิญ TPBS ไปชี้แจงการดำเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฎร ล้วนนำมาสู่ความกังวลที่ว่าจะเป็นการแก้แค้นทางการเมือง เป็นการทำให้พื้นที่ของคนเล็กคนน้อยต้องหมดไป ทำให้องค์กรชาวบ้านที่เข้มแข็งอยู่แล้วต้องอ่อนแอลง รวมทั้งจะทำให้เอ็นจีโอและขบวนการเคลื่อนไหวของชาวบ้านไม่ได้รับความสำคัญอีกต่อไปเมื่อเทียบฐานมวลชนที่เชื่อมโยงกับพรรคเพื่อไทย ข้อกังวลโดยเฉพาะในแง่ของผลที่จะเกิดขึ้นกับคนเล็กคนน้อยที่มักขาดช่องทางในเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ควรรับฟัง แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานอิสระกึ่งรัฐของประชาสังคมไทยจะสามารถอยู่เหนือการตรวจสอบและควบคุมใดๆ ที่ผ่านมาหน่วยงานเหล่านี้มิเพียงแต่มีส่วนอย่างสำคัญในการทำลายระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนการทำรัฐประหาร และสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการสังหารหมู่ประชาชนโดยรัฐในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภคม 2553 ด้วยการเข้าเป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเท่านั้น หากแต่ยังมีความเป็นการเมืองและมีแนวทางการทำงานบนอุดมการณ์ที่ค่อนไปในทางอนุรักษ์นิยมและสนับสนุนสถาบันการเมืองจารีต ขณะเดียวกันก็กีดกันมวลชนคนส่วนใหญ่ออกจากการเข้าถึงทรัพยากร ในที่นี้จะขออภิปรายผ่านกรณีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ปัจจุบันดำเนินการโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) องค์กรหลักอันหนึ่งของ “ประชาสังคมไทย” การวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นการวิจัยที่วางอยู่บนฐานความต้องการของคนท้องถิ่น โดยเน้นให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการวิจัยกับทุกฝ่ายตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดปัญหา การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน เดิมในแวดวงเอ็นจีโอการวิจัยเพื่อท้องถิ่นรู้จักกันในนามงานวิจัยไทบ้าน/ชาวบ้าน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับนโยบายรัฐที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน ปัจจุบัน สกว. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำงานสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยไม่เพียงแต่ให้ทุนวิจัย แต่ยังผลิตผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการวิจัย พัฒนาแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย ประสานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ และจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายต่างๆ ปัจจุบันกิจการการวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ของ สกว. เติบโตอย่างมาก ในปีที่ 13 ของการดำเนินงาน มีโครงการวิจัยจำนวน 1,820 โครงการ มีชาวบ้านและบุคคลอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องราว 30,000 คน มีงบประมาณสนับสนุนจำนวนหลายร้อยล้านบาท รวมทั้งมีการร่วมมือกับบางมหาวิทยาลัยเปิดโครงการปริญญาโทเพื่อผลิตบุคลากรทำงานสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ การเปลี่ยนจากงานวิจัยไทบ้าน/ชาวบ้านมาเป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตขยายตัวของ “ประชาสังคมไทย” ที่เข้ามาแทนที่การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับกลุ่มชาวบ้านอันถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของขบวนการภาคประชาชนแต่เดิม งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นกลไกที่สำคัญหนึ่งของประชาสังคมไทยในทำงานกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้ สกว. เป็นหน่วยงานที่ประชาสังคมไทยได้ผลักดันการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2535 ในฐานะ “หน่วยงานของรัฐที่อยู่นอกระบบราชการในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี” นอกจากนี้ ในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมาประชาสังคมไทยมีอำนาจอย่างมากในการผลักดันนโยบายรัฐในหลายเรื่อง รวมถึงการผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “องค์กรอิสระ” หลายองค์กร เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของประชาสังคมไทย ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยร่วมสมัย ประชาสังคมไทยถูกวิจารณ์อย่างหนักต่อท่าทีที่ไม่ไว้วางใจและหวาดระแวงต่อระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยเน้นการสร้างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นของพลเมืองที่ไม่สามารถมีสิทธิมีเสียงและไม่สามารถแข่งขันในระบบการเมืองแบบตัวแทนที่มีการใช้เงินซื้อเสียงมากได้ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบถกเถียงเรียนรู้/ปรึกษาหารือของประชาสังคมไทยในฐานะคู่ตรงข้ามประชาธิปไตยแบบตัวแทน ขณะเดียวกันงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก็ยังเป็นกลไกของการปฏิรูปประเทศไทยในช่วงหลังการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย นักพัฒนา นักกิจกรรม และนักวิชาการสาย ‘ปฏิรูป’ กังวลว่าการเช็คบิลกับองค์กร/หน่วยงานอิสระกึ่งรัฐจะทำให้องค์กรชาวบ้านถูกละเลยเมื่อเทียบมวลชนอย่างกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองและพรรคเพื่อไทย แต่พวกเขาควรจะต้องสำเหนียกด้วยว่าที่ผ่านมามวลชนส่วนใหญ่ของประเทศแทบไม่เคยที่จะได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจำนวนมหาศาลของหน่วยงานอิสระกึ่งรัฐเหล่านี้ กรณีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นพบว่ามีการสืบทอดประเพณีในการนิยามและให้ภาพ “ชุมชน” แบบเป็นเนื้อเดียวและตายตัว โดยละเลยความสัมพันธ์เชิงอำนาจในชุมชนที่สลับซับซ้อน กลุ่มคนที่หลากหลายที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแตกต่างกัน รวมทั้งละเลยเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้คนที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในขอบเขตหมู่บ้าน/พื้นที่หนึ่งๆ แต่ขยายตัวไปตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะตามการขยายตัวของชีวิตนอกภาคเกษตร ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของคนเสื้อแดงนั้นเป็นผลพวงจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคมไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ฐานของคนเสื้อแดงส่วนใหญ่คือเกษตรกรหรือชาวนาที่ผันตัวมาเป็นผู้ที่ทำมาหากินนอกภาคเกษตรด้วย ดังนั้น กรอบแนวคิดที่จำกัดว่าด้วย “ชุมชน” ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจึงไม่เพียงแต่ยากที่จะครอบคลุมถึงชีวิตที่เป็นจริงของผู้คนส่วนใหญ่ แต่ยังกีดกันมวลชนเหล่านี้ออกไปโดยปริยายด้วย ขณะเดียวกันงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ สกว. ได้พัฒนาระเบียบวิธีวิจัยอย่างเป็นระบบในฐานะชุดความรู้และชุดเครื่องมือที่จะนำไปใช้ขยายผลในทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งแม้จะมีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจปัญหาและหาทางออกของคนในท้องถิ่นระดับหนึ่ง แต่ก็ได้กลายเป็นพิมพ์เขียวและเป็นการตีกรอบการทำความเข้าใจชีวิตและโลกรอบๆ ตัวของผู้คน ขณะเดียวกันดูเหมือนว่า “พลังและปัญญาของท้องถิ่น” ตามสโลแกนของ สกว. จะเกิดขึ้นได้หรือจะรื้อฟื้นขึ้นมาได้ก็ต่อได้เมื่อผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเท่านั้น ขณะที่การทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในแบบอื่นๆ ของชาวบ้านที่ไม่ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น อาทิ การเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง การเรียกร้องประชาธิปไตยแบบตัวแทน กลับถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ขาด “ปัญญา” ขาด “ความสว่าง” ขาดข้อมูลและการรู้เท่าทัน นอกจากนี้ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นยังได้กลบเกลื่อนปิดบังปัญหาเชิงโครงสร้างและความไม่เป็นธรรมทางการเมืองของประเทศ การเน้นการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้กลายเป็นโอกาสของหน่วยงาน/สถาบันจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาทางสังคมการเมืองของประเทศให้ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดี ขณะที่พื้นฐานการวิเคราะห์ปัญหาของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะเน้นไปที่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมในฐานะสาเหตุหลักของวิกฤติต่างๆ ของชุมชนท้องถิ่น มากกว่าจะมองไปถึงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองที่มีความโยงใยและทำให้ผลประโยชน์จากระบบทุนนิยมไปตกอยู่กับคนส่วนน้อยจนกลายเป็นความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่สำคัญในระยะหลังๆ การวิจัยเพื่อท้องถิ่นหันมาเน้นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของชาวบ้านในระดับครัวเรือนและปัจเจกบุคคล อาทิ การวิจัยเพื่อเลิกเหล้าและลดอบายมุข งานวิจัยเพื่อส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดความฟุ่มเฟือย เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะวางอยู่บนแนวคิดลำดับชั้นของอำนาจทางศีลธรรมที่ชนชั้นนำในภาคประชาสังคมมีศีลธรรมที่เหนือกว่าคนทั่วไป ยังเป็นการลดทอนความซับซ้อนของปัญหา เช่น ความยากจน ให้อยู่ในความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลเท่านั้น อันสอดคล้องกับทัศนคติที่มองมวลชนเสื้อแดงว่าเป็นคนไม่ดี เห็นแก่เงินหรือผลประโยชน์โดยเฉพาะจากนโยบายประชานิยมและจากการซื้อเสียง รวมทั้งไม่รู้จักมีชีวิตที่พอเพียงและพึ่งตนเอง อันเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับคนดีตามความหมายของประชาสังคมไทย งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นปัญหาขององค์กร/หน่วยงานอิสระกึ่งรัฐของประชาสังคมไทย ที่ไม่เพียงแต่มีอุดมการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง หากแต่ยังมีปัญหาการถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำของภาคประชาสังคมไทย จึงเป็นการยากที่มวลชนส่วนใหญ่ซึ่งมีแนวคิดและอุดมการณ์ที่แตกต่างจะเข้าถึงและไม่ถูกกีดกัน แม้ว่าเงินงบประมาณที่หล่อเลี้ยงหน่วยงานอิสระกึ่งรัฐของประชาสังคมไทยจะมาจากภาษีอากรของประชาชนทั้งหมดก็ตาม ดังนั้น หากความวิตกกังวลของนักพัฒนา นักกิจกรรม และนักวิชาการสาย ‘ปฏิรูป’ ต่อการเช็คบิลองค์กร/หน่วยงานอิสระกึ่งรัฐเหล่านี้ ไม่ได้หมายรวมถึงพยายามเสนอทางออกว่าจะมีแนวทางที่เหมาะสมอย่างไรที่สังคมจะสามารถควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแลองค์กร/หน่วยงานอิสระกึ่งรัฐเหล่านี้ได้ และจะสร้างโอกาสให้มวลชนคนส่วนใหญ่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ด้วยได้อย่างไร ความวิตกกังวลเหล่านี้ก็คงเป็นได้เพียงการปกป้องอภิสิทธิ์ชนอีกกลุ่มในสังคมไทยไว้ก็เท่านั้น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ขบวนการ ’ยึดวอลล์สตรีท’ ประกาศกร้าว “เราคือคนจำนวน 99 เปอร์เซ็นต์” Posted: 04 Oct 2011 09:35 AM PDT ก้าวเข้าสู่อาทิตย์ที่สามแล้ว สำหรับขบวนการ ‘ยึดวอลล์สตรีท’ (Occupy Wall Street) หรือการชุมนุมบริเวณถนนวอลล์สตรีท ใจกลางกรุงนิวยอร์ค โดยการชุมนุมดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อ 17 กันยายนที่ผ่านมา จากคนหนุ่มสาวจำนวนร้อยกว่าคนที่กางเตนท์ และยึดพื้นที่บริเวณหน้าตลาดหุ้นวอลล์ตรีท บัดนี้ได้เพิ่มจำนวนเป็นหลายพันคน และขยายการชุมนุมไปหลายเมืองในสหรัฐฯ ทั้งบอสตัน ชิคาโก เซนต์หลุยส์ และลอสแองเจลิส
‘ขบวนการขัดขืนที่ไร้ซึ่งผู้นำ’ ขบวนการดังกล่าวอธิบายในเว็บไซต์ของตนเองว่า ‘Occupy Wall Street’ เป็นขบวนการ “ขัดขืนแบบไร้ผู้นำ ประกอบไปด้วยผู้คนจากหลายสี เพศสภาวะและแนวคิดทางการเมือง” หากแต่มีจุดร่วมเดียวกัน คือ “เป็นร้อยละ 99 ที่จะไม่ทนต่อการขูดรีดและคอร์รัปชั่นของคนจำนวนร้อยละ 1” และระบุว่า มุ่งใช้ยุทธศาสตร์แบบสันติวิธีตามวิถีของ ‘อาหรับ สปริง’ หรือการลุกฮือของประชาชนในตะวันออกกลางในต้นปีที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ผู้ชุมนุมดังกล่าว ได้ยึดพื้นที่บริเวณลิเบอร์ตี พลาซ่า หรือสวนสาธารณะซุคคอตติ (Zuccotti Park) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่าสองอาทิตย์แล้ว โดยอาศัยการระดมพลหลักๆ จากโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ reddit และมีเว็บไซต์ของตนเอง คือ occupywallst.org โดยที่มาของความคิดดังกล่าว มาจากเว็บไซต์ของนิตยสารหัวก้าวหน้าอย่าง Adbusters ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการชุมนุมของชาวอียิปต์ในจตุรัสทาห์เรียที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และเหตุการณ์ชุมนุมในกรุงมาดริดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แฮรริสัน ชูลตส์ นักวิเคราะห์การตลาดและดอกเตอร์สาขาสังคมวิทยา หนึ่งในผู้ประสานงานขบวนการ ‘ยึดวอลล์สตรีท’ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว France 24 ว่า คนที่มาชุมนุมในครั้งนี้ประกอบด้วยคนที่มีความคิดแบบถึงราก (radical) และหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอนาธิปไตย สหภาพแรงงาน หรือคอมมิวนิสต์ และยอมรับว่าข้อเรียกร้องของขบวนการยังมีความกระจัดกระจายอยู่ “พวกเขา [ผู้ชุมนุม] ต้องการจะสร้างให้เกิดขบวนการขัดขืนที่คล้ายกับอาหรับสปริง โดยการยึดครองพื้นที่ที่เป็นสัญลักษณ์” เขากล่าว “ผมไม่สามารถพูดแทนทุกคนได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วผมอยากจะให้ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง ผมไม่สนับสนุนสถาบันการเมืองที่ล้าหลังและสถาบันการศึกษาที่เก่าเก็บ เราต้องการมาตรการรองรับทางสังคมที่ดีกว่านี้ และเปลี่ยนแปลงระบบการเงินของประเทศใหม่ทั้งหมด”
วอลล์สตรีท คือ หนึ่งเปอร์เซ็นต์ ? หลายฝ่ายมองว่า การประท้วงของคนจำนวนมากในครั้งนี้ เป็นผลมาจากความไม่พอใจของเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ทำให้เกิดการว่างงานสูง ทำให้คนหนุ่มสาวจำนวนมากไม่สามารถหางานทำได้หลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัย ประกอบกับมาตรการรองรับทางสังคมที่ไม่ทั่วถึง เช่น การรักษาพยาบาล หรือการศึกษา ทำให้คนจำนวนมากหันไปที่สถาบันการเงินใหญ่ๆ ในวอลล์สตรีท ในฐานะสาเหตุของความเหลื่อมล้ำเศรษฐกิจดังกล่าว มาริสา เอเกอร์สตอรม นักศึกษาปริญญาเอกม.ฮาร์วาร์ด หนึ่งในผู้ประท้วง ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า “ระบบตรวจสอบและถ่วงดุลแบบอเมริกันได้ถูกทำลายลงไปแล้ว ด้วยอิทธิพลของธนาคารและสถาบันทางการเงินขนาดยักษ์ที่ทำให้เสียงของประชาชนไม่มีที่ทางในระบบ” การชุมนุมดังกล่าว นอกจากจะได้รับการสนับสนุนและสมานฉันท์จากสหภาพแรงงานขนส่งแห่งอเมริกา Local 100 และสหภาพแรงงานลูกจ้างภาคบริการแห่งรถใต้ดินนิวยอร์ก 32BJ แล้ว ยังได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการ นักแสดง และผู้กำกับหนัง เช่น นาโอมิ ไคลน์, นอม ชอมสกี้, ไมเคิล มัวร์, ซูซาน ซาแรนดอน, อเล็ก บอล์ดวิน และเศรษฐีพันล้านอย่าง จอร์จ โซรอสด้วย “ใครที่ตาสว่างก็คงจะรู้ว่าลัทธิพรรคพวกในวอลล์ตรีท –โดยทั่วไปก็คือสถาบันทางการเงิน – ได้สร้างความเสียหายให้กับประชาชนของสหรัฐอเมริกาและของโลก และก็ควรจะรู้ด้วยว่าเขาทำอย่างนี้มาตลอด 30 ปีแล้ว และอำนาจทางเศรษฐกิจของพวกเขาก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายพร้อมๆ กับอำนาจทางการเมือง และนั่นก็ทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ที่ทำให้ความร่ำรวยมหาศาลและอำนาจทางการเมือง กระจุกอยู่ในกลุ่มคนเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น...” นอม ชอมสกี้ระบุในข้อความสนับสนุนที่ส่งไปยังกลุ่มผู้ประท้วง “การประท้วงที่กล้าหาญและองอาจที่กำลังดำเนินอยู่ในวอลล์สตรีท จะสามารถนำเรื่องหายนะนี้ออกสู่ความสนใจของสาธารณชน ซึ่งจะนำไปสู่ความพยายามเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม และทำให้สังคมมีสภาพที่ดีกว่าในปัจจุบัน” เขากล่าว
เหตุการณ์ยังสงบหลังเกิดการปะทะ ตั้งแต่การชุมนุมได้ก่อตัวขึ้น ผู้ชุมนุม ’ยึดวอลล์สตรีท’ ได้เกิดการปะทะและถูกจับกุมจากตำรวจไปแล้วสองครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน หลังจากผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งได้เริ่มเคลื่อนขบวนไปยังตัวเมือง ส่งผลให้คนกว่า 80 คนถูกตำรวจจับกุมในข้อหาฝ่าฝืนการจราจร ทั้งนี้ มีพยานเห็นว่าตำรวจใช้สเปรย์พริกไทยจัดการกับผู้ชุมนุมผู้หญิงสามคน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ส่งผลให้ทางกรมตำรวจนิวยอร์ก หรือเอ็นวายพีดี ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตำรวจที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการดังกล่าว นอกจากนี้ ในวันเสาร์ที่ผ่านมา (1 ต.ค.) หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ได้รายงานว่า ได้มีการจับกุมผู้ชุมนุมกว่า 700 คนในข้อหาก่อความไม่สงบในที่สาธารณะ หลังจากที่ผู้ประท้วงได้เคลื่อนขบวนไปยังสะพานบรุ๊กลิน อย่างไรก็ตาม ผู้ประท้วงส่วนใหญ่ก็ได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา ทิม แฟลนเนลลี โฆษกของสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ หรือเอฟบีไอ กล่าวว่า เขาไม่คิดว่าผู้ชุมนุมในนิวยอร์คจะกลายเป็นการประท้วงที่มีความรุนแรงเหมือนเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่า เอฟบีไอยังคอยจับตาสถานการณ์และตอบสนองตามที่จำเป็น “ณ จุดนี้ เราไม่คาดว่าจะมีเหตุการณ์ความไม่สงบที่ใหญ่กว่านี้เกิดขึ้น แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นในเมือง ทางกรมตำรวจนิวยอร์ค และเอฟบีไอ จะส่งเจ้าหน้าที่และทรัพยากรที่จำเป็นเข้าไปควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ขยายวงกว้างขึ้น” แฟลนเนลลี่กล่าวกับสำนักข่าวเอพี ทั้งนี้ เว็บไซต์ www.occupytogether.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์อย่างไม่เป็นทางการของผู้สนับสนุนกลุ่ม ‘Occupy Wall Street’ ระบุว่า นอกจากขบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นในกรุงนิวยอร์คแล้ว ยังได้ขยายไปยังเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นซานฟรานซิสโก ชิคาโก อิลลินอยส์ มิชิแกน วิสคอนซิน อัลบามา ฟลอริด้า เท็กซัส ไปจนถึงแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ การรวมตัวดังกล่าวยังเกิดขึ้นในทวีปอื่นๆ ด้วย เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย รวมถึงหลายประเทศในยุโรป คลิปการชุมนุมบางส่วนของ Occupy Wall Street สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
โทรข่มขู่กลุ่มประกายไฟ เลิก “ละครแขวนคอ” อ้างนักศึกษาไม่พอใจ Posted: 04 Oct 2011 09:23 AM PDT วันที่ 4 ต.ค.2554 ที่ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มประกายไฟ จัดแสดงละคร เนื่องในโอกาส 35 ปี เหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 ก่อนวันแสดง มีโทรศัพท์อ้างเป็นองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ข่มขู่ผู้ประสานงานกลุ่มประกายไฟ ให้ยกเลิกการแสดง น.ส.ภรณ์ทิพย์ มั่นคง ผู้ประสานงานกลุ่มประกายไฟ เล่าว่า วันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา มีชายซึ่งอ้างว่าเป็น อมธ.ท่าพระจันทร์ โทรศัพท์มาหาเธอหลายครั้ง เพื่อต่อรองให้ยกเลิกการแสดงละคร โดยให้เหตุผลหลายประการว่า เกรงว่าจะนำไปสู่การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, มีนักศึกษาธรรมศาสตร์จำนวนมากไม่พอใจต่อการที่กลุ่มประกายไฟใช้ลานโพธิ์แสดงละคร, เกรงจะกระทบต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และเกรงว่าการย้ำเตือนเหตุการณ์ 6 ต.ค.19 จะทำให้เกิดความวุ่นวาย ภรทิพย์ กล่าวว่าผู้ที่โทรศัพท์หาเธอกล่าวในลักษณะขมขู่ว่า ได้มีการเกณฑ์นักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ไม่พอใจไม่น้อยกว่า 100 คนไว้แล้ว ซึ่งจะมาดูการแสดงอย่างแน่นอน และชายในโทรศัพท์ขู่ว่าจะไปแจ้งความกับกลุ่มประกายไฟที่สถานีตำรวจชนะสงคราม ฐานบุกรุกสถานที่ ให้เตรียมพร้อมสู้คดีได้ ภรณ์ทิพย์ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการทำหนังสือถึงรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อขอใช้สถานที่แสดงละครแล้ว ซึ่งได้รับการตอบกลับเป็นหนังสือให้ใช้สถานที่ลานโพธิ์ได้ และได้มีการจัดแถลงข่าวร่วมกับ อมธ.อีกด้วย อย่างไรก็ดี การแสดงเริ่มขึ้นในเวลา 13.00 น.โดยจำลองการแสดงของนักศึกษาธรรมศาสตร์ 2 คน ในวันที่ 4 ต.ค.2519 ซึ่งแขวนตัวเองกับต้นโพธิ์ที่ลานโพธิ์ เพื่อแสดงการตายของพนักงานการไฟฟ้า 2 คน ที่ถูกแขวนคอจนเสียชีวิตที่ จ.นครปฐม มีผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษา ประชาชน และผู้ที่ผ่านไปมาร่วมชม จนกระทั่งการแสดงใกล้จบ เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เมื่อมีกลุ่มนักศึกษาธรรมศาสตร์ 3-4 คน นำป้ายคัทเอาท์ขนาดใหญ่เขียนข้อความ “ปันน้ำใจ ช่วยภัยเหนือ” ฝ่ากลุ่มคนเข้ามายังด้านหน้าลานโพธิ์ที่มีการแสดงละครอยู่ และเกิดการโต้เถียงกับผู้ชม ถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ลานโพธิ์เพื่อรำลึกเหตุการณ์ 6 ต.ค.19 กับการใช้ลานโพธิ์เพื่อระดมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การโต้เถียงดำเนินไปครูหนึ่งจึงยุติลงโดยไม่มีความรุนแรงแต่อย่างใด ระหว่างนั้นมีกลุ่มคนราว 30-40 คน ยืนถือป้ายผ้าข้อความ “ขอสนับสนุนคณะนิติราษฎร์ ต่อต้านรัฐประหารทุกรูปแบบ” ตั้งแถวที่บริเวณใกล้ลานโพธิ์ และเดินไปรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมตะโกนข้อความ “เรารักนิติราษฎร์ เพราะนิติราษฎร์รักประชาชน” ไปตลอดทาง หลังการแสดงละครของกลุ่มประกายไฟจบลง ผู้สื่อข่าวได้ย้อนกลับไปที่ลานโพธิ์อีกครั้งว่า พบว่าไม่มีกิจกรรมใดๆ บริเวณลานโพธิ์ มีเพียงป้ายคัทเอาท์รับบริจาคเพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัยขนาดใหญ่ตั้งอยู่ และผู้ที่สัญจรไปมาบางส่วนแวะพักผ่อนที่เท่านั้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จดหมายเปิดผนึกถึงสภา มธ. ขอให้ตรวจสอบและยุติสนับสนุนเผด็จการของ 'สมคิด' Posted: 04 Oct 2011 08:50 AM PDT
จดหมายเปิดผนึกถึงสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง ขอให้ตรวจสอบและยุติพฤติกรรมสนับสนุนระบอบเผด็จการของ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีคนปัจจุบัน 1. ด้วยปรากฎหลักฐานอย่างชัดเจนในหลายโอกาสที่ผ่านมาว่า นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีผู้นี้ได้นำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าสนับสนุนการปฎิวัติรัฐประหารและการมีส่วนเกื้อกูลสนับสนุนในการปราบปรามสังหารประชาชน และยังเคยเป็นเลขานุการสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่สร้างความแตกแยกให้กับประเทศไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนี้ยังแสดงตนปกป้องการรัฐประหารในทุกรูปแบบ ควบคู่ไปกับการนำพากลุ่มอาจารย์จำนวนหนึ่งให้ร่วมกันสนับสนุนเผด็จการ 2. นอกจากนี้ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ยังบังอาจแสดงออกโดยเปิดเผยหมิ่นหยามผู้ประศาสน์การและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ว่ากระทำการในลักษณะเดียวกับการรัฐประหาร ทั้งที่ตนเองก็จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และควรเข้าใจได้เป็นอย่างดีว่า ท่านผู้ก่อตั้งและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ยึดถือหลักการประชาธิปไตยเป็นเป้าหมายสูงสุดมาโดยตลอด การเสนอข้อความดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นการเนรคุณต่อบรรพชนผู้ทรงคุณูปการของมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง เพราะท่านผู้ประศาสน์การนั้น คือเสาเอกและผู้ก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทยมาแต่เริ่มต้น 3. การกระทำของอธิการบดีผู้นี้นั้น ล้วนมุ่งเน้นในการใช้มหาวิทยาลัยรับใช้นักการเมืองเผด็จการตลอดเวลา แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่า เป็นผู้บิดเบือนและทรยศต่อหลักการสำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่นคือหลักการประชาธิปไตย และการปกครองโดยธรรมะและกฎหมาย สนับสนุนการรัฐประหาร และยังเข้าร่วมเป็นมือเท้าของกลุ่มเผด็จการที่ปล้นชิงประชาธิปไตยไปจากประชาชน จนได้รับการตอบแทนด้วยตำแหน่งและผลประโยชน์ต่าง ๆ อันน่าจะรวมถึงตำแหน่งอธิการบดีธรรมศาสตร์ด้วย การทรยศต่อหลักการประชาธิปไตยเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ชาวธรรมศาสตร์ทุกรุ่นทุกวัยไม่อาจรับได้อย่างเด็ดขาด พวกข้าพเจ้าผู้มีรายนามต่อท้ายนี้ ซึ่งเป็นศิษย์ธรรมศาสตร์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยจนถึงยุคปัจจุบัน จึงขอเรียกร้องให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาพฤติกรรมของนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ รวมทั้งขอให้ทบทวนและยุติพฤติกรรมเหล่านั้นในทันที และให้สภามหาวิทยาลัย ฯ ร่วมพิจารณาอย่างถี่ถ้วนด้วยว่า บุคคลผู้ที่ทำลายหลักการประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยอย่างรุนแรงเช่นนี้ สมควรจะได้รับโทษประการใด จึงเรียนมาเพื่อขอให้สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการพิจารณาโทษของอธิการบดีผู้นี้ตามแต่มหาวิทยาลัยจะเห็นสมควร โดยพวกข้าพเจ้าจะรอรับทราบผลการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อไป ขอแสดงความนับถือ สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ ตมธก. สำราญ ตมธก. ประสิทธิ ตมธก. ธงชัย วินิจจะกุล มธ. 2517 สายัณห์ สุธรรมสมัย มธ. 2511 ธนศักดิ์ ฤกษ์เจริญพร มธ. 2511 ชวลิต ณ นคร มธ. 2511 สุรชัย ณ ป้อมเพชร มธ. 2511 และ สส.มธ. ปี 12 บุญยงค์ มหาวิเศษศิลป์ กรรมการ อมธ. 2516 สมาน เลิศวงศ์รัตน์ นายก อมธ. 2518 ประจวบ พยัคฆพันธุ์ รองนายก อมธ. 2516 สุชาติ ธาดาธำรงเวช กรรมการ อมธ. 2516 และอดีต รมต. คลัง มณฑล ชาติสุวรรณ รองประธานสภานักศึกษา และ สส.มธ. 4 ปี ประสาร สินสวัสดิ์ กรรมการ อมธ. 2516, รองนายก อมธ. 2519 และรองประธานกรรมการบัณฑิต 2518 วิสูตร ทิพวิรัตน์พจนา กรรมการ อมธ. 2516 อำนาจ สถาวรฤทธิ์ มธ. 2516 กฤษฎางค์ นุชจรัส นายก อมธ. 2521 ดวงใจ แอรักกุล มธ. 2519 วิไลลักษณ์ หวังธนาโชติ มธ. 2518 พิสุทธิ์ พุทธิกุลสถิต มธ. 2517 สถิต สิริสวัสดิ์ กรรมการ อมธ. 2517
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รัฐบาลซีเรียยึดเมืองรัสทาน กวาดต้อนจับกว่า 3,000 ราย Posted: 04 Oct 2011 08:17 AM PDT รัฐบาลซีเรียบุกยึดเมืองรั 3 ต.ค. 2011 - นักกิจกรรมในซีเรียรายงานว่ นักกิจกรรมบอกว่าตัวเลขผู้ที่ถู นักกิจกรรมผู้ให้ข้อมูลชื่อฮั ทางด้านสื่อรัฐบาลซีเรียอ้างว่ โดยเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมาสื่อรัฐบาลซีเรี เปิดตัว 'สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ' กลุ่มสภาแห่งชาติซีเรีย (SNC) เป็นตัวแทนของกลุ่มต่อต้านรั โฆษก SNC กล่าวว่าการรวมกลุ่มในครั้งนี้ หลังจากนั้นในวันที่ 2 ต.ค. กลุ่ม SNC ก็ได้ประกาศการจัดตั้งสภาถ่ "สภาฯ ของชาวซีเรียเปิดกว้างให้กั "ทางสภาฯ มีหน้าที่ขับเคลื่อนประชาชนทุ โดยฆอลิยูนยังได้บอกอีกว่ "พวกเราคือแนวร่วมท่ามกลางการสั ที่มา Syrian opposition forms united front, Aljazeera, 02-10-2011 Thousands held in Syria security swoop, Aljazeera, 03-10-2011 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักข่าวพลเมือง: บุก‘อุทยานฯเภตรา’ยื่นหนังสือหัวหน้าใหม่ ค้านเพิกถอนสร้าง ‘ท่าเรือปากบารา’ Posted: 04 Oct 2011 07:56 AM PDT
ชาวบ้านเครือข่ายประชาชนฯสตูล บุก “อุทยาน" หัวหน้าใหม่เผย พร้อมให้ความร่วมมือแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวผ่านผู้นำชุมชน
นายนันพล เด็นเบ็ญ ชาวบ้านตำบลปากน้ำ ยื่นหนังสือคัดค้านการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 มิถุนายน 2554 ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ชาวบ้านเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูลประมาณ 50 คน เข้าพบนายวีระ ขุนไชยรักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เพื่อยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะหมู่เกาะเภตรา เพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา และแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่มารับตำแหน่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราคนใหม่ นายวีระ ขุนไชยรักษ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา กล่าวว่า หากมีความคืบหน้าในเรื่องการขอเพิกถอนพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา สำหรับการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารานั้น หากมีการประชุมของหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องนี้ในพื้นที่ ตนจะให้ชาวบ้านร่วมประชุมด้วย อีกทั้งตนจะบอกข่าวความเคลื่อนไหวในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานฯผ่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ “อุทยานฯต้องทำตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายมอบหมายให้ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะต้องร่วมกับชุมชนในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรและผลประโยชน์จะต้องตกอยู่กับคนส่วนใหญ่” นายวีระ กล่าว นางนุจรี พุ่มเพชร ชาวบ้านตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล กล่าวว่า หากบอกข่าวความเคลื่อนไหวในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ขอให้ติดต่อมายังชาวบ้าน และเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูลโดยตรง “ฉันไม่เชื่อใจผู้นำในพื้นที่ ไม่ว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน หรือในระดับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เพราะที่ผ่านมาข่าวเกี่ยวกับท่าเรือน้ำลึกปากบารา ทางผู้นำชุมชนในพื้นที่ และภาครัฐในพื้นที่เก็บงำเรื่องเอาไว้พยายามไม่ให้ชาวบ้านทราบเลย นอกจากชาวบ้านจะรู้เรื่องเอาเองเท่านั้น” นางนุจรี กล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศูนย์ทนายมุสลิมเตรียมแถลง ผลกระทบ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯชายแดนใต้ หลังปล่อยนิเซ๊ะ นิฮะ Posted: 04 Oct 2011 07:49 AM PDT ศูนย์ทนายมุสลิมเตรียมแถลง ผลกระทบจากพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯชายแดนใต้ นับสถิติเทียบตัวเลขผู้ถูกคุมตัวกับคดีที่ศาลยกฟ้อง 18 องค์กรในชายแดนใต้เคลื่อนจี้ยกเลิก ล่าสุดศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนใต้ ได้ปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ แล้ว นายอับดุลเลาะห์ เปิดเผยต่อไปว่า ตั้งแต่ปี 2548 มีจำนวนผู้ร้องเรียนเรื่องผลกระทบจากการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯสูงมาก พร้อมกับจำนวนผู้ที่ถูกไต่สวนในชั้นศาล และจำนวนผู้ที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องมานำเสนอด้วย ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมของผลกระทบที่ชาวบ้านที่นี่ได้รับจากพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นายอับดุลเลาะห์ เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดวันแถลงข่าว แต่คิดว่าน่าจะภายในสัปดาห์นี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่สังคมกำลังสนใจ และส่งสัญญาณให้รัฐบาลใหม่ทราบว่า ควรจะต่ออายุการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกหรือไม่ คิดว่าการแถลงข่าวครั้งนี้ จะส่งสร้างผลสะเทือนได้ไม่น้อย หากถูกนำไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของรัฐบาล นายอับดุลเลาะห์ เผยด้วยว่า นอกจากนี้ จะมีการร้องเรียนเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษไปละเมิดสิทธิของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากด้วย “ส่วนตัวเห็นว่า การแก้ไขพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ใช่ทางออกที่จะทำให้ลดผลกระทบจากการละเมิดสิทธิโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายได้ ทางออกคือต้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไปเลย เพราะมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องหลักปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ซึ่งทำเยี่ยงการจับกุมผู้ต้องหา ทั้งที่รัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า ถ้าศาลยังไม่ตัดสินความผิด ต้องสงสัยไว้ก่อนว่า ผู้ต้องสงสัยเป็นผู้บริสุทธิ์” นายอับดุลเลาะห์ กล่าว นายอับดุลเลาะห์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยเยี่ยงผู้กระทำผิดจริง สังเกตจากการควบคุมตัวคนไปซักถามในกระบวนการซักถามตามหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีการซักถามเพื่อให้ผู้ต้องสงสัยรับผิด ไม่ใช่เพื่อหาข้อมูลว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์หรือไม่ แม้ผู้ถูกควบคุมตัวจะปฏิเสธก็ตาม แถมยังมีการขอต่อเวลาควบคุมตัวต่อไปได้อีก เพื่อใช้เวลาซักถามจนกว่าผู้ถูกควบคุมตัวจะรับสารภาพ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2554 กลุ่มนักกิจกรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 18 องค์กร นำโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ได้ร่วมกันได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอให้ยกเลิกการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา ในนามเครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แถลงการณ์ระบุว่า กรณีเจ้าหน้าที่จับกุมตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ที่ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี อดีตนักกิจกรรมเพื่อสังคม ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554โดยไม่มีการแสดงหมาย จากนั้นนายนิเซ๊ะ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ขอต่ออายุการควบคุมตัวตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯว่า เป็นการควบคุมตัวที่ไม่มีเหตุผล แถลงการณ์ระบุต่อไปว่า เครือข่ายประสังคมคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีข้อเรียกร้องต่อรัฐ 3 ข้อ คือ 1.ขอให้ปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ ทันที เพื่อเป็นบรรทัดฐานและให้มีหนังสือยอมรับผิดต่อความผิดพลาดในการทำงานของเจ้าหน้าที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ 2.ให้รัฐชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบตามสมควรแก่กรณี 3.ขอเสนอต่อรัฐบาลให้ยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ภายใน 30 วัน ถ้ายังตระหนักถึงความมั่นคงในสิทธิเสรีภาพของประชาชน นายลีโอ เจ๊ะกือลี กรรมการเครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนใต้ หรืออินเซาท์ INSOUTH หนึ่งในองค์กรร่วมออกแถลงการณ์ เปิดเผยว่า กิจกรรมต่อไปที่จะเกิดขึ้น เพื่อผลักดันให้มีการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ องค์กรของตนมีแผนไว้สองระยะ คือในระยะสั้น จะใช้วิธีการรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเป็นหลัก เช่น อาจจะมีการออกแบบสติกเกอร์แจกจ่ายไปยังองค์กรเครือข่าย การใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ในการรณรงค์ เป็นต้น นายลีโอ เปิดเผยต่อไปว่า ส่วนในระยะยาวนั้น มีการวางแผนคร่าวๆว่า จะมีการขับเคลื่อนให้เป็นประเด็นใหญ่ ส่วนวิธีการจะเป็นอย่างไรนั้น ยังบอกไม่ได้ นายลีโอ เปิดเผยอีกว่า ส่วนเหตุผลที่อินเซาท์ เข้าร่วมในเครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากที่ผ่านมาภาคประชาสังคมในพื้นที่ มีความพยายามในการเดินหน้าคัดค้านและขอให้ยกเลิกการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาโดยตลอด ทั้งในรูปแบบการรณรงค์และการเรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ที่ละเมิดสิทธิชาวบ้าน แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กลับไม่ได้ให้ความร่วมมือมากนัก กลายเป็นว่า ภาคประชาสังคมคิดเรียกร้องแทน “แต่กรณีนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ผู้ได้รับผลกระทบออกมาคัดค้านเอง ทำให้การขยับเรื่องนี้ง่ายขึ้นเยอะ แต่สังเกตได้อีกอย่างว่า ช่วงนี้ภาคประชาสังคมในพื้นที่มีการขยับเรื่องนี้กันเยอะขึ้นด้วย ทำให้บรรยากาศในการเรียกร้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อำนวยให้เครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกแถลงการณ์ครั้งนี้” นายลีโอ กล่าว นายลีโอ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่ใช่เพราะความกลัวอย่างเดียว ที่ทำให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่กล้าคัดค้านหรือเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปละเมิดสิทธิชาวบ้าน แต่ที่ผ่านมาเป็นเพราะชาวบ้านไม่เข้าใจกระบวนการเรียกร้องและชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือจนถึงที่สุด ทำให้การเรียกร้องขององค์กรภาคประชาสังคมไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ไม่ไกล “แต่กรณีของนายนิเซ๊ะ นิฮะ ซึ่งเป็นนักกิจกรรมที่เคยเคลื่อนไหวประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ด้วยนั้น ย่อมเข้าใจว่า การคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้วยตัวเอง ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวเรียกร้องของภาคประชาสังคมและนักกฎหมายเดินต่อไปได้ง่ายขึ้น” นายลีโอ กล่าว สำหรับองค์กรร่วมในแถลงการณ์ ประกอบด้วย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม(MAC) ศูนย์ประสานงานองค์กรนักศึกษาและเยาวชนชายแดนใต้ (BOMAS) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) องค์การบริหาร องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี องค์การบริหารนักศึกษาภาคปกติมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เครือข่ายส่งเสริมสิทธิและเข้าถึงความยุติธรรม (HAP) มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ (YAKIS) ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (CCPD) ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา (PUKIS) สมาคมเยาวชนเพื่อการพัฒนา (YDA) สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (DEEPPEACE) สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) เครือข่ายผู้ช่วยทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (SPAN) เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (INSOUTH) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF) กลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้มหาวิทยาลัยรามคำแหง (PNYS) รายงานข่าวแจ้งว่า เวลาบ่ายวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนใต้ ได้ปล่อยตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะ แล้ว โดยมีการแจ้งให้ญาติและทนายความรับทราบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้นำตัวนายนิเซ๊ะ นิฮะไปส่งที่อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี และนายนิเซ๊ะ นิฮะได้เดินทางกลับภูมิลำเนาโดยปลอดภัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงแจ้งมาเพื่อทราบ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
'พลเมืองเน็ต' เตือนรัฐอย่าใช้กรณีทวิตเตอร์นายกฯ จำกัดเสรีภาพ Posted: 04 Oct 2011 07:33 AM PDT
4 ตุลาคม 2554 เครือข่ายพลเมืองเน็ต ออกแถลงการณ์แสดงท่าทีกรณีการเข้าสู่บัญชีทวิตเตอร์ของนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้รับอนุญาต ระบุกรณีดังกล่าว แม้มีความชัดเจนว่าเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แต่รัฐต้องระมัดระวังในการสืบหาตัวผู้กระทำผิด เนื่องจากหมายเลขไอพีอินเทอร์เน็ตหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียวไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อย่างแม่นยำ เตือนรัฐอย่าตั้งฐานความผิดเกินเลย เพราะตลอดสี่ปีที่ผ่านมา พบปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายซึ่งออกโดยสมัยรัฐบาลคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จำนวนมาก และกรณีดังกล่าวต้องไม่ถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการออกมาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้ 0 0 0 4 ตุลาคม 2554 แถลงการณ์ สืบเนื่องจากเมื่อเวลาประมาณ 10:23-10:44 น. ของวันที่ 2 ตุลาคม 2554 บัญชีทวิตเตอร์ @PouYingluck ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกเข้าถึงโดยบุคคลอื่น และได้เผยแพร่ข้อความจำนวน 8 ข้อความอย่างต่อเนื่อง มีเนื้อหาวิพากษ์นโยบายสาธารณะ เครือข่ายพลเมืองเน็ต มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้ 1. กรณีที่เกิดขึ้น มีความชัดเจนว่าเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยแท้ คือเป็นความผิดที่กระทำต่อตัวระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยมีการเข้าถึงระบบโดยมิชอบ (มาตรา 5) และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านไปจากเดิม (มาตรา 9) 2. รัฐต้องมีความระมัดระวังในการสืบหาตัวผู้กระทำผิด เนื่องจากหมายเลขไอพีอินเทอร์เน็ตหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อย่างแม่นยำ อาจเกิดการจับผิดตัวและละเมิดสิทธิผู้บริสุทธิ์ได้ 3. กรณีที่เกิดขึ้น ผู้กระทำได้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์นโยบายสาธารณะและการทำงานของพรรคเพื่อไทยจำนวนเจ็ดข้อความ และแสดงออกอย่างชัดเจนในข้อความสุดท้ายที่ว่า "แม้กระทั่ง twitter ตนเองยังปกป้องไว้ไม่ได้ แล้วประเทศนี้จะปกป้องได้อย่างไร? ฝากให้พี่น้องคิดดูนะครับ" ว่าเป็นการกระทำโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นางสาวยิ่งลักษณ์ จึงไม่ควรเป็นความผิดตามมาตรา 14 เพราะไม่เข้าข่ายทั้ง "ข้อมูลคอมพิวเตอร์เท็จ" เพราะเป็นความคิดเห็น และ "ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม" เพราะแสดงตัวทั้งทางตรงและทางอ้อมว่าไม่ใช่เจ้าของบัญชี ทั้งนี้การกระทำทั้งหมดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาประมาณ 20 นาที 4. สังคมควรตระหนักถึงปัญหาของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกผ่านในสมัยรัฐบาลคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยเฉพาะมาตรา 14 (นำเนื้อหาเข้าสู่ระบบ), 15 (ภาระความรับผิดของผู้ให้บริการ), และ 20 (การปิดกั้นการเข้าถึง) ที่ว่าด้วยการเผยแพร่เนื้อหา ซึ่งตลอดสี่ปีที่ผ่านมาพบปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายมาตราดังกล่าวจำนวนมาก 6. กรณีที่เกิดขึ้นควรเป็นบทเรียนให้ทั้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการและนักพัฒนาระบบได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องสิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต หนึ่งในนั้นคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิเองในกรณีนี้ทุกฝ่ายควรตระหนักว่าความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น และกรณีดังกล่าวต้องไม่ถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการออกมาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อเสรีภาพออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เครือข่ายองค์กรโลกเรียกร้องให้รัฐบาลไทย เข้าร่วมภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ Posted: 04 Oct 2011 07:12 AM PDT ภาคประชาสังคมระบุรัฐบาลใหม่ต้ นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา/ กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมาธิการสิทธิมนุ ประเทศไทย เป็นประเทศเป้าหมายหลั หนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่องค์กรเครือข่ายระหว่ ปัจจุบัน 118 รัฐภาคีทั่วโลก ได้เข้าร่วมกับภาคีธรรมนูญกรุ การให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุ “ภายใต้รัฐบาลใหม่ ถือได้ว่านี่เป็นโอกาสอันสาคั องค์กรเครือข่ายเพื่ “ภายใต้การปฏิรูประบบ กลไก และนโยบายหลักโดยรัฐบาล ผู้บริหารชุดใหม่พึงจะได้รับประโยชน์จากการเข้ เมื่อเข้าเป็นภาคีแล้ว รัฐบาลไทยจะสามารถเข้ามีส่วนร่ ข้อมูลพื้นฐาน จนถึงปัจจุบัน อัยการศาลกำลังไต่สวนอยู่ 6 คดี ก่อนนำขึ้นสู่การพิจารณาคดีในชั ศาลได้ออกหมายจับ 18 ฉบับ หมายเรียก 9 ฉบับ มีคดี 3 คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ อัยการศาลยังขออนุมัติ องค์กรเครือข่ายเพื่ รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.coalitionfortheicc.org สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อภิสิทธิ์แนะต้องไม่ให้การเมืองยุ่งเรื่องแก้กฎหมายแต่งตั้งทหาร Posted: 04 Oct 2011 05:17 AM PDT ชี้หากจะแก้ไขกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลต้องระบุให้ชัดว่าแก้เพราะปัญหาเรื่องใด พร้อมดักคอหากมีการให้งบหมู่บ้านเสื้อแดงจะกลายเป็นเรื่องสองมาตรฐาน สร้างความขัดแย้ง ด้าน "ประวิตร" ค้านแก้กฎหมาย-ยันทหารรู้จักกันเองดีที่สุด ส่วน "ประยุทธ" บอกให้เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง พร้อมปฏิเสธข่าวส่งทหารฝึกอิสราเอลเพื่อกลับมาปฏิวัติ อภิสิทธิ์แนะต้องไม่ให้การเมืองเข้าไปยุ่งกับการแก้กฎหมายแต่งตั้งทหาร สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (4 ต.ค. 54) ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ออกมาเคลื่อนไหวกดดันทหาร กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารของกองทัพ และขอแก้ไข พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายของไทยหลายฉบับเป็นผลพวงมาจากอดีต ทั้งนี้ หากกองทัพไม่สนองนโยบายของรัฐบาล และทำให้การบริการราชการแผ่นดินมีปัญหา ก็อาจจะสามารถแก้ไขได้ แต่ไม่ใช่ให้การเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยว ซึ่งหากจะมีการแก้ไข พระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐบาลจะต้องระบุให้ชัดว่าต้องแก้ไขเพราะมีปัญหาในเรื่องใด วอยซ์ทีวี ยังรายงานคำพูดของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งกล่าวว่าทหารยังสามารถตอบสนองนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลได้ดี การหาวิธีแก้กฎหมายโยกย้ายตำแหน่งนั้น เชื่อว่ากฎหมายที่เกิดขึ้น ก็มีผลมาจาก ในช่วงหนึ่งที่การเมืองเข้าแทรกแซงทหารตามอำเภอใจ วันนี้ควรแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า แต่เท่าที่รับทราบข้อมูลมา มีเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะประเด็นการเมืองเป็นส่วนมาก สำนักข่าวแห่งชาติ ยังรายงานกรณีที่นายอภิสิทธิ์กล่าวถึง การขยายของหมู่บ้านเสื้อแดงว่า ต้องถามไปถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ว่ามีความพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือไม่ และหากมีการให้งบประมาณลงไปในพื้นที่ ก็อาจกลายเป็น 2 มาตรฐานได้ และอาจจะเป็นการสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตามเห็นว่า คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ควรจะเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าวด้วย
ประวิตรค้านแก้กฎหมายแต่งตั้งทหาร ยันทหารรู้จักกันเองดีที่สุด มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (4 ต.ค.) ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวคัดค้านการแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ว่า เป็นคนหนึ่งในคณะกรรมการจัดทำ พ.ร.บ.กลาโหม คิดว่าจุดประสงค์ของกรรมาธิการที่ทำเพราะต้องการให้ทหารมีเอกภาพ ในการสั่งการให้กำลังพลเข้ามาดูแลประเทศ ไม่มีใครที่รู้จักทหารดีเท่ากับทหาร ไม่มีใครรู้จักเท่าเรารู้จักกันเอง ดังนั้น การแต่งตั้งจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ทหารเข้ามาแต่งตั้งกันเอง และการดำเนินการทุกขั้นตอนเขามีหมด อีกทั้งยังเป็นกฎของกระทรวงที่จะต้องดำเนินการเช่นนั้น ไม่ทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ ไม่ใช่จะเป็นการล้วงลูกไปล้วงลูกมา "สมัยผมดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่เคยไปยุ่งกับเหล่าทัพ หากเขาทำไม่ดี เขาผิด ผู้บังคับหน่วยเป็นคนผิด เขารู้ว่าใครมีขีดความสามารถขนาดไหน ผู้บังคับหน่วยทุกระดับเขารู้ว่าควรจะใช้คนอย่างไร และทุกขั้นตอนจะมีบอร์ด ตั้งแต่ระดับกรม กองพล กองทัพ และระดับกองทัพบก ถึงจะมาเข้ามาถึงคณะกรรมการ และเจตนาที่ทำนั้น ไม่ได้มีเจตนาเพื่อใคร แต่เจตนาให้กองทัพเป็นปึกแผ่น" พล.อ.ประวิตรระบุ
ประยุทธ์ปฏิเสธข่าวส่งทหารฝึกอิสราเอลเพื่อกลับมาปฏิวัติ ส่วน เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า "การเมืองจะแก้อย่างไรก็ว่ากันไป" นอกจากนี้ ผบ.ทบ. ปฏิเสธกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ระบุว่า มีการคัดชื่อทหารออกจากกองทัพเพื่อไปฝึกที่ประเทศอิสราเอลแล้วนำกลับมาปฏิวัติ โดยบอกว่า ไม่มี มันไม่ใช่การ์ตูน และยืนยันว่าไม่เคยส่งทหารไปฝึกร่วมกับอิสราเอล ส่วนคำถามที่ว่าทำไมมีข่าวลือการปฏิวัติเกิดขึ้นตลอด พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่รู้จะทำไปทำไม วันนี้คิดแค่เรื่องน้ำท่วมก็แย่แล้ว อย่าไปคิดเรื่องอื่น พร้อมกล่าวว่าจะพยายามทำหน้าที่ของให้ดีที่สุดในการพิทักษ์ปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และช่วยเหลือทุกข์สุข ประชาชน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
"ดารุณี" เข้ารับทราบข้อกล่าวหาฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคง Posted: 04 Oct 2011 04:26 AM PDT "ดารุณี กฤตบุญญาลัย" เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ลุมพินี คดีฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคง หลังหนีออกนอกประเทศนับปี ยันจะร่วมขุมนุมกับ นปช. ต่อไป ด้านทนาย นปช. เผย "จรัล ดิษฐาอภิชัย" เตรียมเข้ามอบตัวเช่นกัน วันนี้ (4 ต.ค.) สำนักข่าวแห่งชาติรายงานว่า นางดารุณี กฤตบุญญาลัย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เดินทางเข้ารับทราบ ข้อกล่าวหา ฝ่าฝืน พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 กับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี หลังร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. และหลบหนีออกนอกประเทศ เมื่อปีที่ผ่านมา โดยปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา พร้อมแนบคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร โดยยืนยันว่า ตนเองร่วมชุมนุมอย่างสงบ ปราศจากอาวุธ แต่เกรงไม่ปลอดภัย จึงหนีออกนอกประเทศไปตั้งหลัก เมื่อมีความพร้อม จึงเข้ามอบตัว โดยยอมรับว่า ขณะอยู่ในประเทศกัมพูชาได้พบทั้ง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นอกจากนี้ ตนเองยังเคยเดินทางเข้า-ออก ประเทศไทย ตามแนวชายแดนมาแล้วหลายครั้ง โดยจากนี้ก็จะร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม นปช.ต่อไป ด้าน นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. เชื่อว่า หลังการสอบปากคำ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะปล่อยตัว นางดารุณี โดยไม่เรียกหลักทรัพย์ประกัน แต่ก็ได้เตรียมหลักทรัพย์เผื่อไว้จำนวน 50,000 บาท ส่วน นายจรัล ดิษฐาอภิชัย แกนนำกลุ่ม นปช. ได้เดินทางเข้าประเทศมาแล้ว รอเพียงการติดต่อขอเข้ามอบตัว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น