ประชาไท | Prachatai3.info |
- เรื่องเล่านอกคันกั้นน้ำ
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 8 - 14 ต.ค. 2554
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 8 - 14 ต.ค. 2554
- ทุนนิยาม101: พัฒนาการระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย (ตอนจบ)
- TCIJ: ชาวบ้านประจวบฯ ยืนหนังสือขอบคุณเรือนจำฯ เอาใจใส่ “จินตนา แก้วขาว”
- 'ภัควดี' ชี้สังคมไทยมีกลุ่มผูกขาด-นิยาม 'สันติวิธี'
- องค์กรสิทธิย้ำ รัฐบาลไทยต้องลงนามอนุสัญญายุติเลือกปฏิบัติแรงงานข้ามชาติ
- นายกมั่นใจรักษากรุงเทพจากน้ำท่วม ด้าน กทม. เตรียมพร้อมศูนย์พักพิงหากเกิดวิกฤติ
- เวทีรับฟังสมัชชาสุขภาพอุบลชู “ภาคประชาชน” ร่วมแก้ปัญหาทุกด้าน
- พม่าอนุญาตผู้ใช้แรงงานตั้งสหภาพและผละงานประท้วง
- พรมแดนรัฐไม่อาจเป็นพรมแดนรัก
- น้ำท่วม : วิบากกรรมแห่งยุคสมัย วิบากกรรมอำพราง
- อ้าย เหว่ย เหว่ย ติดอันดับหนึ่ง 100 ศิลปินทรงพลังประจำปี 2011
- รมว.แรงงานเผยเจรจาสถานประกอบการให้ลูกจ้างลางาน ไม่ถูกตัดเงิน
- ทีดีอาร์ไอแนะใช้ประกันว่างงานชดเชยลูกจ้างภัยน้ำท่วม
Posted: 14 Oct 2011 09:22 AM PDT ก่อนอื่นก็ขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เรื่องที่จะเล่าทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวที่คุ้นเคยกับน้ำท่วมที่บ้านมาตั้งแต่เกิด เพราะว่าเผอิญบ้านที่อยู่เป็นบ้านริมคลองที่มีน้ำท่วมทุกปีอย่างสม่ำเสมอ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราอยากจะเขียนเรื่องนี้เป็นบันทึกออกมาให้คนอ่านกันหลายๆคน ก็มาจากการได้อ่านบทความที่เขียนโดยคุณ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ออกมาตัดพ้อต่อว่าผ่านทางข้อเขียนในหนังสือพิมพ์มติชน กรณีที่มีชาวบ้านที่ปทุมธานีออกมารื้อทำลายคันกั้นน้ำเพื่อให้น้ำไหลเข้าท่วมชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ท่านกล่าวว่าเป็นการแสดงออกถึงความตกต่ำทางด้านศีลธรรม (คล้ายกับที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษชี้แจงว่าการตกต่ำของศีลธรรมทำให้เกิดการจลาจลครั้งร้ายแรงในอังกฤษ?) เป็นการกระทำที่ขาดความเห็นอกเห็นใจต่อชาวไทยด้วยกัน การทำแบบนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ที่แก้ไขสถานการณ์นั้นหมดกำลังใจทำงาน และท่านก็ยังได้ยกตัวอย่างการแก้ไขปัญหาและการประพฤติตนของชาวญี่ปุ่นที่ประสบภัยธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่มีการประพฤติตัวและจิตสาธารณะที่น่ายกย่องมากกว่าคนไทยมากมายหลายเท่า หลังจากที่เราได้อ่านบทความนี้ ก็รู้สึกว่าท่านไม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย น่าเห็นใจว่า ถึงแม้ท่านจะมีความคิดดี แต่คงจะมุ่งไปกับการควบคุมระดับน้ำ จนลืมดูคน, บริบท และสถานการณ์รอบข้างที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานานต่อเนื่องกันหลายปีก่อนช่วงน้ำท่วมแค่สองเดือนนี้ เพราะท่านไม่ได้คลุกคลีอยู่ในพื้นที่ ก็คงจะไม่มีคนกล้าบอกท่าน ว่าแนวคิดของท่านนั้นคล้ายกับเรื่องในนิยาย ที่มีความจริงเจืออยู่น้อยนิดจนทำให้นำเอาแนวคิดนี้ไปใช้แก้ปัญหาจริงแทบไม่ได้เลย สาเหตุเป็นอย่างไรนั้น ค่อยมาว่ากันต่อไป ก่อนอื่นก็ขอแนะนำพื้นที่ตั้งบ้านของเราก่อน ว่าอยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ บริเวณปากคลองที่ติดกับคลองบางกอกน้อยปัจจุบัน คลองนี้ชาวบ้านเรียกว่าคลองขุด เล่ากันว่ารัชกาลที่ 4 ตรัสให้ขุดคลองนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยในการชลประทานและการขนส่งสินค้าต่างๆจากเมืองนครชัยศรี เพื่อเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (ปัจจุบันก็คือคลองบางกอกน้อย) ใช้เป็นทางขนข้าว และแหล่งน้ำในการปลูกข้าวในพื้นที่นี้ที่เป็นที่ของหลวง มีเจ้าฟ้าและเชื้อพระวงศ์ต่างๆที่สืบเชื้อสายมาจากพระองค์ มาจับจองอยู่มาก ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ยังมีที่ให้เช่าในบริเวณนี้อยู่ผืนหนึ่ง พื้นที่นี้เป็นที่ลุ่ม ชาวบ้านที่อยู่แถวนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนเป็นหลัก บ้านเราก็มีส่วนอยู่แปลงหนึ่ง ทุกคนจะทำคันกั้นน้ำและลอกท้องร่องให้สูงขึ้นทุกปีเพื่อกันน้ำท่วม และช่วงก่อนหน้าน้ำไม่นาน ที่บ้านเราจะไม่ดายหญ้าในสวนเลย จะปล่อยให้รกอยู่อย่างนั้น เพื่อรักษาอาศัยรากของต้นหญ้าที่ขึ้นเป็นแผงหนาเพื่อรักษาหน้าดิน ไม่ให้หลุดไปตามกระแสน้ำหลาก ที่มักจะไหลแรงมากกว่าปกติ ในช่วงก่อนที่กรุงเทพจะสร้างเขื่อนริมคลอง, คันกั้นน้ำ, อ่างกักเก็บน้ำ และประตูระบายน้ำต่างๆ เราจำได้ว่าทุกปีเวลาน้ำหลากจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกมาก เพราะหมายถึงเรือสองลำที่จอดไว้ใต้ถุนบ้านจะถูกเอามาซ่อม โดยใช้ชันผสมยาง ค่อยๆทาและอุดรอยรั่วจนหมด และเรือสองลำนี่แหละที่จะเป็นพาหนะหลักในการสัญจรของบ้านเราไปในช่วงนี้ ซึ่งสะพานข้ามคลองที่เป็นแบบเดิมจะสูงมากกว่าสะพานคอนกรีตสมัยใหม่ เรือลอดผ่านได้สบาย เผลอๆจะเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกกว่าเดิมเสียอีก แถมร้านค้าก็ย้ายตัวเองและสินค้าลงเรือมาขายถึงหน้าบ้าน แทบไม่ต้องออกไปไหนเลย จะมีเรื่องไม่ดีบ้างก็ตอนพวกสัตว์มีพิษพวก งู ตะขาบ มากัดบ้างจนต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นบางที แต่เรื่องนี้ก็เป็นแค่เรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการสร้างคันกั้นน้ำ เขื่อน และประตูระบายน้ำรอบกรุงเทพในช่วงสิบปีหลังนี้เท่านั้น เพราะหลังจากนั้น เราก็สังเกตว่าเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เรารู้สึกว่าน้ำมันท่วมมากขึ้น น้ำท่วมนานขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่หน้าน้ำ แต่น้ำในคลองก็ไหลแรงขึ้นจนกัดเซาะตลิ่งพังไปหลายแถบ มานั่งสังเกตทีหลังว่าเกิดจากเขื่อนคอนกรีตที่ถูกกั้นน้ำในแนวดิ่ง ที่เพิ่มความแรงของน้ำ ต่างจากตลิ่งธรรมชาติที่เป็นแนวลาดเอียง ลดความแรงของคลื่นก่อนที่จะมาถึงบ้านเราได้ ประกอบกับคลื่นที่เกิดจากการขับเรือหาเจ้าความเร็วในคลองเล็กยิ่งแล้วใหญ่ เครือข่ายคูคลองเดิมที่เคยมีก็ถูกถมทำถนน ที่มีอยู่ก็ไม่มีการขุดลอกอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ตื้นเขินไปเอง ถนนสายใหม่บางสายก็สร้างขวางทางน้ำ(บางทีก็สร้างบนทางน้ำเดิม) ทำให้น้ำไหลช้าและท่วมขัง ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 เราเคยนึกสงสัยว่า ทำไมแทบจะไม่มีใครมาช่วยบ้านเรา มาแจกของ หรือแค่มาเยี่ยมเยือนถามทุกข์สุขของบ้านเราบ้างเลย ทั้งๆที่เป็นด่านหน้าของกรุงเทพที่โดนน้ำท่วมทุกปี เพิ่งมาถึงบางอ้อตอนที่มีคนใหญ่คนโตที่ตอนนี้ก็ได้ดีไปแล้วในรัฐบาลใหม่ ท่านนั่งเรือยนต์โก้หรูมาพร้อมผู้ติดตามมาแจกข้าวสารอาหารแห้ง ท่านแจกมาถึงบ้านเพื่อนบ้านของเรา บ้านของเราเป็นบ้านหลังสุดท้าย ย่าเราซึ่งนั่งรอดูท่าอยู่เห็นเรือวกกลับไป ก็ไปคุยกับเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านได้ยินว่า ท่านพูดว่า “บ้านนี้หลังใหญ่ คงจะไม่เดือดร้อนมาก เอาของไปช่วยคนที่เดือดร้อนจริงๆดีกว่า” บ้านเราเป็นบ้านเก่าที่สร้างแบบโบราณ หลังใหญ่ก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนในบ้านจะได้รับความเดือดร้อนน้อยกว่าคนที่อยู่ในบ้านเล็กกว่าเลย สิ่งสำคัญที่สำคัญกว่าคือกำลังใจจากภาครัฐก็พอแล้ว แต่มันก็คงจะเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยในสายตาของท่าน ช่วงน้ำท่วมหลังปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ก็มีเรื่องแปลกๆบอกมาจากรัฐบาล ว่าพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพจะต้อง “เสียสละ” เป็นพื้นที่รับน้ำ ที่ผันมาจากทางเหนือ อ้อมรอบกรุงเทพเพื่อรักษาส่วนที่สำคัญของประเทศเอาไว้ เราเองก็มีความรู้สึกแปลกๆมาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว แต่ก็บอกไม่ถูกว่าเกิดจากอะไร มีเพื่อนบ้านมาเล่าให้ฟังว่า คนรู้จักที่ทำสวนผลไม้เป็นอาชีพ คงจะมีพื้นที่มากอยู่เหมือนกัน ได้ทำแนวกันน้ำจากกระสอบทรายและใช้เครื่องสูบน้ำออกจากสวนกันทั้งวันทั้งคืน เพื่อรักษาต้นไม้ในสวนคล้ายกับที่หลายบ้านทำ แต่เรื่องมันก็ต่างกันอีก เพราะว่าในตอนนั้นทุกคนปล่อยให้สวนล่มไปหมดแล้วเพราะสู้น้ำไม่ไหว มีแต่ลุงคนนี้คนเดียวที่ยังสู้อยู่ วันดีคืนร้าย ก็มีคนอ้างว่ามาจากทางการ เล่ากันอีกว่าท่าทางเหมือนทหาร มาพูดจาขอร้องแกมข่มขู่ให้ลุง “เสียสละ” ปล่อยน้ำเข้าสวน เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่อื่นได้เร็วยิ่งขึ้น เรื่องก็จบลงที่ลุงต้องจำใจไขน้ำให้ท่วมสวน ส่วนลุงจะได้รับเงินชดเชยหรือไม่ คนเล่าก็ไม่ได้บอกต่อ แต่เดาว่าคงไม่ได้ พอฟังเรื่องนี้จบ ทุกคนในบ้านเราที่ล้อมวงฟังกันอยู่ก็เงียบสนิท คนเล่าก็เงียบ คนฟังยิ่งเงียบกริบ มีแต่มองหน้ากันไปมา ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าแต่ละคนคิดอะไรอยู่ แต่เราก็คงจะพอจินตนาการหัวอกของคนที่ต้อง"จำใจ"ไขน้ำให้ท่วมสวนของตัวเองได้ดี สิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าเรา มันชัดเจนมาก ว่าตอนนี้ คันกั้นน้ำธรรมดาที่เราเห็น ไม่เพียงแค่ทำหน้าที่ในการกันน้ำท่วมได้เท่านั้น มันยังได้ "แยก" ผู้คนออกจากกันไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นเราก็ได้ยินเรื่องของความเสียสละนี้เรื่อยๆ เราก็ทำหูทวนลมบ้างเพราะรำคาญถึงความดัดจริตของคนพูด ในขณะเดียวกันก็คิดในใจว่าเราจะต้องเสียสละให้กับใครที่ไหน เพื่ออะไร และทำไมเราถึงจะต้องเป็นฝ่ายที่ถูกยัดเยียดให้ต้องจำยอมเสียสละด้วย เพราะว่าเรา ไม่เคยได้รับเงินชดเชย น้ำใจ และกำลังใจจากภาครัฐเลยแม้แต่สักครั้งเดียว เดาว่าชาวบ้านที่ปทุมธานีก็คงรู้สึกไม่ต่างกัน จึงได้ออกมาทำลายคันกั้นน้ำ จนทำให้ก็ท่านออกมาตัดพ้อว่า ไม่เห็นใจคนทำงานหนักที่พยายามแก้ปัญหาอย่างสุดแรงบ้างเลย ซึ่งว่ากันตามตรงก็น่าเห็นใจทั้งสองฝ่าย แต่สำหรับเราแล้ว เรื่องน้ำท่วมนี้เป็นเรื่องปกติของคนที่อยู่แถบนี้มาแต่เดิมแล้ว จะมากจะน้อยก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่ทำให้มันหนักหนาสาหัส ก็คือนโยบายการก่อสร้างและพัฒนาที่ดินของภาครัฐ ที่ถูกสร้างและออกแบบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่เป็นที่ราบต่ำเกิดใหม่บนแนวดินโคลน ที่มีแนวโน้มน้ำไหลผ่านจำนวนมากในช่วงหน้าฝนเลย กลับไปสร้างกำแพง บีบทางน้ำให้แคบลงและไหลแรงขึ้น พัฒนาเมืองใหญ่ดักกลางทางน้ำเอาเสียดื้อๆ เรียกได้ว่ามีการพัฒนาแบบ"ขวาง"ทางน้ำ พอน้ำมามากเข้าจริงๆ ก็รับมือกันไม่ไหว สรุปเอาตรงนี้เลยว่า ภัยครั้งนี้มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากธรรมชาติก็จริง แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักเหมือนในญี่ปุ่น สาเหตุหลักจริงๆที่ทำให้หนักหนามันมาจาก”คน” นี่แหละ ที่ทำให้น้ำท่วมครั้งนี้หนักกว่าครั้งไหนๆ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 8 - 14 ต.ค. 2554 Posted: 14 Oct 2011 09:15 AM PDT ขบวนการแรงงานจี้รัฐขึ้นค่าแรง 300-ป.ตรีตามหาเสียง 7 ต.ค. 54 - นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มแรงงานแห่งประเทศไทย และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ กว่า 100 คน ได้เดินมาเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นผู้มารับหนังสือแทน ซึ่งหนังสือมีเนื้อหาขอให้พิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ รวมทั้งปรับเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี15,000 บาท ตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จะทำให้ผู้ใช้แรงงานพึงพอใจกับนโยบายดังกล่าว แต่รัฐบาลกลับประกาศใช้เฉพาะ 7 จังหวัด คือ กรุงเทพ ปริมณฑล และภูเก็ต ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่า จะให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศจะได้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ประกอบไปด้วย 6 สภา และ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ขอแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และสนับสนุนผลักดันให้ดำเนินการนโยบายดังกล่าวจนประสบผลสำเร็จ เพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ เครือข่ายนักศึกษา 4 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา และซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันงานที่มีคุณค่า 7 ต.ค. โดยระบุว่ารัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และการมีงานทำเมื่อจบการศึกษา รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้อที่ 87 และ 98 บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ ที่ว่าความสงบสุขที่ยืนยาวจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้ใช้แรงงานได้รับการดูแลที่ดี รัฐบาลต้องควบคุมดูแลกำหนดมาตราการณ์ต่างๆเพื่อให้ราคาสินค้ามีความเป็นธรรม และรัฐบาลต้องปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพและฟรี ตั้งแต่เกิดจนจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล มวลชนประมาณ 1,000 คน ได้ปิดการจราจรตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ จนถึงแยกมิสกวันเกือบทั้งหมด โดยเหลือไว้ให้รถสามารถวิ่งได้เพียง 1 ช่องทางจราจร ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวติดขัดตั้งแต่ช่วงเช้า ด้านนายกิตติรัตน์ ให้คำมั่นว่าจะดูแลเรื่องค่าครองชีพของแรงงานอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ อยากให้ผู้ประกอบการมั่นใจการทำงานของรัฐบาล นายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่ง ประเทศไทยเปิดเผยว่าสมาพันธ์ร่วมกับสภาองค์กรลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่ง ประเทศไทย และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกแถลงการณ์เรื่อง "งานที่มีคุณค่า ค่าจ้างต้อง 300 บาททันที" โดยได้ข้อสรุปร่วมกัน 3 ข้อ ที่อยากฝากไปถึงรัฐบาล คือ 1.การปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องปรับให้เท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.55 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 2.ยกเลิกการจ้างงานแบบเหมาค่าแรงและการจ้างงานที่ไม่มั่นคงทุกประเภท และ3.รัฐต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงเกินจริง "ผมไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทนำร่องใน 7 จังหวัด ขณะที่จังหวัดที่เหลือขึ้น 40% เพราะไม่เป็นธรรม และอาจทำให้เกิดปัญหาเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่สำคัญรัฐบาลต้องทำตามที่สัญญาไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชนะการเลือกตั้งด้วย" นายยงยุทธกล่าว ด้านนายพงษ์เทพ ไชยวรรณ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าแรงงานไม่พอใจผลประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ไม่ได้ข้อสรุปในการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ฝ่ายลูกจ้างคิดขึ้นมา แต่เป็นนโยบายหาเสียงของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับ สูงขึ้นแล้วทั้งๆ ที่ค่าจ้างยังไม่ได้ปรับขึ้นตามนโยบายนี้เลย นายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. กล่าวว่าในวันที่ 7 ต.ค.เครือข่ายกว่า 3,000 คน จะไปยื่นหนังสือรายชื่อแรงงานที่สนับสนุนนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท ซึ่งล่าสุดมีกว่า1 หมื่นรายชื่อ ถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล น.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าสัปดาห์หน้ากระทรวงการคลังจะส่งตัวแทนมาหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วย เหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่ยังไม่ชัดเจน (โพสต์ทูเดย์, 7-10-2554) แรงงานสระบุรีบุกกรุงชุมนุมหน้าสหประชาชาติทวงสัญญาค่าแรง 300 รัฐบาล “ปูแดง” จากกรณีการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปเมื่อ 3 ก.ค 54 พรรคเพื่อไทย ได้หาเสียงในประเด็นค่าแรงในกลุ่มผู้ใช้แรงงานว่าหลังจากได้รับเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งได้ส่ง ผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และ มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เปลี่ยนจาก “ค่าจ้างขั้นต่ำ” เป็น “รายได้ขั้นต่ำ 300 บาทและจะบังคับใช้เพียง 7 จังหวัดนำร่อง และสัญญาเรื่องต่างๆเพื่อให้ได้คะแนน แต่ส่อเค้าถูกเบี้ยว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-10-2554) ชงมาตรการลดเงินสมทบเข้าประกันสังคม 1-2% 11 ต.ค.นี้ วันนี้ (7 ต.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 ต.ค.นี้เตรียมเสนอมาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราร้อยละ 1-2 ของค่าจ้าง เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัย ขณะเดียวกัน ยังครอบคลุมไปถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2555 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.55 เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวมีระยะเวลา 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด สปส.ก่อน (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-10-2554) โรจนะวิปโยค-ท่วมเรียบทุกโรงงาน วันนี้ (9 ต.ค.) นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤติหนัก โดยน้ำได้เข้าไปท่วมโรงงาน 198 แห่งหมดแล้ว เพิ่มจากวันที่ 8 ต.ค. ที่ท่วมโรงงานเพียง 10-20 แห่งเท่านั้น และไม่สามารถกู้ได้แล้ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้เร่งสร้างคันกั้นน้ำให้สูงเพิ่มเป็น 6.5 เมตร จากเดิมอยู่ที่ 5.1 เมตรก็ตาม แต่กระแสน้ำแรงมาก เบื้องต้นได้ประสานขอกำลังทหารช่างเข้ามาช่วยในพื้นที่แล้ว นายประยูร ติ่งทอง อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า มูลค่าลงทุนในเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะอยู่ในระดับที่ 70,000 ล้านบาท มีแรงงาน 90,000 คน อย่างไรก็ตามหลายโรงงานได้ขนของรวมถึงสต็อกและเครื่องจักรที่มีราคาแพง และมีน้ำหนักไม่มากไปไว้ที่สูงเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะผู้ผลิตรถยนต์ ฮอนด้าที่ขนรถยนต์ที่เพิ่งผลิตเสร็จ 3,000 คันได้ทันเวลา อุตฯเรียกเอกชนถกเยียวยาโรงงานน้ำท่วม นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่10 ต.ค. น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม จะเรียกภาคเอกชนทั้งส.อ.ท. และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้าพบเพื่อหารือถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ รวมทั้งหามาตรการเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพราะโรงงานที่น้ำท่วมเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานประกอบ ทั้งในกลุ่มของยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต้องวางแผนการจัดหาวัตถุดิบมาป้อนโรงงาน ใหม่ ซึ่งอาจจะใช้จากแหล่งผลิตอื่นในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย จีน เกาหลี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโรงงานที่ได้รับความเสียหายในจังหวัดอื่นๆ ได้แก่ นครสวรรค์ ลพบุรี โดยในลพบุรีมีโรงงานของบริษัทอินโดราม่า ผู้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ขนาดใหญ่ถูกน้ำท่วมเช่นเดียวกัน สำหรับมาตรการเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจผู้ประกอบการต้องการให้มีการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนหลังน้ำลด เช่น การทำงานของบริษัทประกัน ในการประเมินความเสียหายหลังน้ำท่วม การซ่อมแซมเครื่องจักร ถนน เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาขับเคลื่อนได้อีกครั้ง และผู้ประกอบการจะได้กลับมาดำเนินการอย่างเร็วที่สุด "ต้องการให้มีการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพราะผู้ประกอบการมีภาระมาก โดยเฉพาะในด้านแรงงาน ที่จำเป็นต้องรักษาไว้ โดยโรงงานในอยุธยาทั้งหมดมีการจ้างงานกว่า 2 แสนคน ซึ่งหากดำเนินการล่าช้าโรงงานขนาดเล็กจะต้องรับภาระมากที่สุด" นายพยุงศักดิ์ กล่าว นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมหลังจากนี้อาจจะเกิดปัญหาขาดแคลน วัตถุดิบในการผลิตได้ เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดใหญ่หยุดผลิตกันหมดแล้ว ทั้งในจังหวัดอยุธยา และจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคกลาง โดยในจังหวัดลพบุรีก็มีโรงงานที่ได้รับความเสียหายไปแล้วกว่า 20 โรง โดยเฉพาะโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งทอต้นน้ำก็ได้รับความเสียมาก ดังนั้นในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมฯบ้านหว้า (ไฮเทค) ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมให้ดี เพราะในนิคมฯบ้านหว้า มีโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอยู่ หากรวมกับที่ลพบุรี 2 โรงงานนี้มีกำลังการผลิตรวมเป็น 40% ของประเทศ หากน้ำท่วมจะกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งหมด (โพสต์ทูเดย์, 9-10-2554) แรงงาน 14 ล้านคน รายได้แค่พอยังชีพ ชี้นายจ้างไทย-เทศ ให้ค่าแรงห่าง 60 เท่า นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนางานที่มีคุณค่า ค่าจ้างต้อง 300 บาท ทันที ถึงวิธีการคิดต้นทุนค่าแรง มีผลกระทบต้นทุนการผลิตอย่างไร?" ว่า ค่าจ้างแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ ค่าจ้างพอยังชีพ และค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยค่าจ้างพอยังชีพ เป็นต้นทุน ที่นายจ้างคิดว่าจำเป็นต้องจ่ายให้แรงงาน เพื่อให้ มีกำลังทำงาน ทำให้งานเดินไปได้ ซึ่งปัจจุบันแรงงาน ไทยที่เป็นลูกจ้างเอกชน 14 ล้านคน อยู่ในกลุ่มได้รับค่าจ้างพอยังชีพ และเคยสำรวจพบบางจังหวัดมีแรงงานได้รับค่าจ้างไม่ถึงวันละ 100 บาท ทั้งที่หากคิดต้นทุนการผลิตทั้งหมด 100 บาท ในจำนวนนี้เป็นต้นทุนค่าจ้าง 2-3 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2-3 ขณะที่ในประเทศที่เจริญแล้วมีต้นทุนค่าจ้างอยู่ที่ร้อยละ 20-25 ส่วนค่าจ้างที่เป็นธรรม มีเงื่อนไขการจ่ายโดยดูจากฝีมือ ประสบการณ์และผลิตงานได้มาก ถึงแม้ไทยจะปรับค่าจ้างสูงกว่าวันละ300 บาท แต่ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มไปถึงร้อยละ 20-25 เหมือนต่างประเทศ เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเดิมจ่ายค่าจ้างวันละ 100 บาท หาก ค่าจ้างเป็นวันละ 134 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34 แรงงานเห็นแล้ว อาจตกใจค่าจ้างพุ่งสูงมาก แต่ จริงๆ แล้วต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2-2.3 ไม่ถึงร้อยละ 34 นายณรงค์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการ ประเมินผลกระทบต่อต้นทุน จากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ในธุรกิจต่างๆ ได้แก่ การผลิตต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.61 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 อาหารและเครื่องดื่ม ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.24 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.28 กระดาษและการพิมพ์ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.61 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.53 ยางและพลาสติกต้นทุนแรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.97 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น 1.60 เหล็กและผลิตภัณฑ์ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.45 คอนกรีต ซีเมนต์ ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.24 ไม้ เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.34 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.65 บริการต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.19 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 ภาพรวมโดยเฉลี่ยจะมีต้นทุน ค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.29 ต้นทุนการผลิต โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.08 "ประเทศไทยกับประเทศที่เจริญแล้วจ่าย ค่าจ้างต่างกัน 60 เท่า ทั้งที่ช่วงกว่า 50 ปีอุตสาหกรรมในไทยเติบโตกระทั่งทุกวันนี้ มีระดับรายได้ขั้นกลางถึงสูง และหากเทียบประเทศใกล้เคียง เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำแบบไทย อย่างมาเลเซียค่าจ้าง สูงกว่าไทย 2-3 เท่า และบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ก็มีค่าจีดีพีต่ำกว่าไทย" นายณรงค์กล่าว และว่า ค่าจ้างของแรงงานไทยยังเพิ่มขึ้น ได้อีก แต่เป็นไปได้ยาก เพราะเมื่อจะขึ้นค่าจ้างบริษัทเล็กๆ บอกว่าจะเจ๊ง บริษัทขนาดใหญ่มักจะนำเรื่องนี้ ขึ้นมาอ้างเช่นกัน ทั้งที่เงินเดือนผู้บริหารกับ พนักงานต่างกันลิบลิ่ว เช่น ธุรกิจธนาคารเงินเดือน ผู้บริหารกับพนักงานต่างกัน 33 เท่า หรือบริษัทขนาดใหญ่เงินเดือนผู้บริหาร 10 คน สามารถนำมาจ้างพนักงานได้ถึง 300 คน และการขึ้นเงินเดือน ผู้บริหารทำแบบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ลูกจ้าง คิดเป็นบาท ซึ่งการปรับค่าจ้างไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง "การคิดต้นทุนการผลิตของบริษัทขนาดใหญ่ มีการนำค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของบริษัท หรือ ผู้บริหาร แม้กระทั่งค่าช็อปปิ้งเสื้อผ้าจากการไปเที่ยวเมืองนอก ก็นำมารวมอยู่ในต้นทุนการผลิต ทำให้ต้นทุนค่าจ้างสูง ดังนั้น เมื่อแรงงานเจรจา ต่อรองขอขึ้นค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ กับนายจ้าง จะต้องขอให้คิดต้นทุนการผลิตโดยแยกค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของบริษัทออกไป อย่านำมาคิดรวมกัน เพราะไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง" นายณรงค์กล่าว ขณะที่นายชาลี ลอยสูง ประธาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า จากผลสำรวจของ คสรท.เรื่องค่าครองชีพ ที่เป็นธรรม ซึ่งเพียงพอเลี้ยงดูครอบครัวได้ในปี 2552 พบว่าอยู่ที่วันละ 421.02 บาท หรือเดือนละ 12,630.62 บาท และปี 2554 อยู่ที่วันละ 561.79 บาท หรือเดือนละ 16,853.84 บาท (แนวหน้า, 10-10-2554) สมานฉันท์แรงงานไทยเปิดรับบริจาคช่วยน้ำท่วม เตรียมแถลงข้อเสนอ 11 ต.ค. 10 ต.ค. 54 - จากกรณีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง อาทิ นครสวรรค์ ลพบุรี ปทุมธานี อยุธยา และสถานการณ์ล่าสุด มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างยานยนต์แห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิค โลหะและยานยนต์แห่งประเทศไทย จัดประชุมเร่งด่วนวานนี้ (9 ตุลาคม 2554) โดยจะจัดแถลงข้อเสนอต่อรัฐและขบวนการแรงงาน ในการช่วยเหลือแรงงาน ในวันพรุ่งนี้ (11 ตุลาคม 2554) เวลา 11.00 น. ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนมักกะสัน ราชเทวี กรุงเทพฯ นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า วันนี้น้ำได้ทะลักเข้าท่วมพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยาสร้างความเสีย หายให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์หลายร้อยล้าน เท่าทราบคนงานได้เข้าไปช่วยนายจ้างในการกรอกทรายช่วยกันปิดกั้นน้ำไม่ให้ เข้าโรงงาน เพื่อรักษาพื้นที่โรงงานไว้ เพราะหากไม่มีโรงงานก็ไม่มีเงินไม่มีค่าจ้าง ซึ่งน้ำได้ทะลักเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแล้ววานนี้ สร้างความเสียหายอย่างมาก แม้ว่านายจ้างจะเร่งขนรถสินค้าออกมาจากพื้นที่บ้างแล้วแต่ก็ไม่ทัน เห็นว่ารถต้องจมน้ำหลายพันคัน ทางขบวนการแรงงานเห็นว่า ผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ ต้องกระทบกับทั้งนายจ้าง และลูกจ้างหลายแสนคน ที่อาจมีการปิดงานเพี่อฟื้นฟูสถานประกอบการ และอาจถึงขั้นตกงาน ซึ่งทางขบวนการแรงงานมีความเป็นห่วงพี่น้องแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยครั้งนี้ รวมทั้งขอแสดงความเสียใจต่อนายจ้างที่ต้องประสบปัญหาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้เปิดรับบริจาคอาหารและของใช้ที่จำเป็นต่อ การดำรงชีวิต อาทิ อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรืองบประมาณเพื่อจัดซื้อสิ่งของต่างๆ ที่จำเป็น ได้ที่ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02-251-3170 โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะนำสิ่งของไปบริจาคในวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2554 นี้ (ประชาไท, 10-10-2554) แรงงานอยุธยา 1.8 แสนรายเคว้ง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังประชุมช่วยเหลือวิกฤติน้ำท่วมว่า จากการประเมินความเสียหายล่าสุดพบว่า ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แห่งเดียว มีลูกจ้างที่ต้องหยุดทำงานชั่วคราวร่วม 1.8 แสนคน แบ่งเป็นโรงงานที่อยู่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีสถานประกอบการ 49 แห่ง มีพนักงานกว่า 1.6 หมื่นคน สวนอุตสาหกรรมโรจนะ มีกิจการ 236 แห่ง มีการปิดงานชั่วคราว 180 แห่ง รวมคนงานทั้งสิ้น 1 แสนคน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) มีสถานประกอบการ 143 แห่ง มีคนงานกว่า 6 หมื่นคน ในส่วนนี้ได้ประกาศหยุดงานชั่วคราว ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน มีสถานประกอบการ 90 แห่ง ลูกจ้าง 8-9 หมื่นคน ในส่วนนี้บางกิจการยังไม่หยุดงาน ดังนั้น กระทรวงจึงได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อเข้าไปช่วยเหลือแล้ว โดยมีคำสั่งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมการจัดหางาน เร่งเข้าไปเจรจากับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมใน จ.พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ เพื่อช่วยเหลือแรงงานให้สามารถย้ายงานไปทำที่อื่นได้โดยยังคงสภาพการจ้างงาน ที่บริษัทเดิมเอาไว้ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตั้งศูนย์ช่วยเหลือในการประกอบอาหารในพื้นที่น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยวันละ 1 หมื่นกล่อง ส่วนมาตรการช่วยเหลือในระยะยาว ได้มอบหมายกรมการจัดหางานเตรียมหาตำแหน่งงานว่างที่ใกล้เคียงให้ผู้ใช้แรง งานที่ได้รับผลกระทบในกรณีถูกเลิกจ้าง ซึ่งขณะนี้มีอัตราว่างรองรับแล้วกว่า 5.7 หมื่นตำแหน่ง ในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ปทุมธานี ระยอง ชลบุรี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ รวมถึงสั่งการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เตรียมเข้าซ่อมแซมบ้านเรือน วัด สถานที่สาธารณะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรทางการเกษตร ให้แก่ประชาชนหลังน้ำลด (คมชัดลึก, 11-10-2554) คสรท.จี้รัฐช่วยแรงงานน้ำท่วม หวั่นนายจ้างฉวยโอกาสเลิกจ้าง นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า วิกฤตน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและลูกจ้าง เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาวอย่างเป็น รูปธรรม ในการฟื้นฟูสถานประกอบการ และชดเชยรายได้แก่ผู้ใช้แรงงาน หากไม่มีมาตรการที่ชัดเจน เชื่อว่า จะมีแนวโน้มว่าผู้ใช้แรงงานอาจถูกเลิกจ้างจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อภาพรวมระบบเศรษฐกิจไทย (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 11-10-2554) ครม.อนุมัติขึ้นค่าจ้างพนักงาน รสก. มีผล 1 ตุลาคมนี้ 11 ต.ค. 54 - น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจำนวน 2.4 หมื่นคน จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 67 แห่งให้เป็นวันละ 300 บาท ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เบื้องต้นนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดูแลผลกระทบจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย (มติชน, 11-10-2554) นิคมไฮเทคสุดต้านน้ำทะลักเข้าแล้ว "กิตติรัตน์"กอดคอร้องไห้นักธุรกิจญี่ปุ่น 13 ต.ค. 54 - เมื่อประมาณ 07.00 น.มีกระแสน้ำเข้านิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค) ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายเอเซีย-นครสวรรค์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถัดจากนั้นอีก 2 ชั่วโมงน้ำเริ่มรุนแรงมากขึ้น โดยกระแสน้ำได้โอบตีเข้าทางด้านทิศใต้ แต่ยังไม่ทำลายพื้นที่โรงงานสำคัญ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังระดมกำลังเพื่อเร่งกู้สถานการณ์อุดรอยรั่วทางทิศใต้ ที่มีน้ำรั่วซึมเข้ามามากที่สุด โรงงานบางแห่งได้อพยพคนงาน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหอพักออกมาแล้ว ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคมี พื้นที่โครงการประมาณ 2,379 ไร่ มีโรงงาน 143 ราย ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเลคทรอนิคส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมยางและพลาสติก มูลค่าการลงทุนกว่า 65,000 ล้านบาท และมีแรงงานอีกกว่า 50,000 คน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้ระดมเร่งอุดรอยรั่วทางทิศใต้นิคมฯ ไฮเทค ที่มีน้ำรั่วซึมเข้ามาแต่พยายามหลายทางแล้วไม่สามารถอุดได้ ปริมาณน้ำซึมเพิ่มเข้ามามาก และเจ้าหน้าที่ได้เร่งให้อพยพออกมาจากพื้นที่แล้ว แรงดันน้ำอัดจนแนวกั้นเอาไม่อยู่ แถมคันดินยังเป็นดินโคลนอีก ในนิคมนี้มีหอพักด้วย ยังมีคนอาศัยอยู่ภายในหอพักที่ยังออกมาไม่หมด ซึ่งน้ำไหลเชี่ยวแรงและปริมาณสูง ช่วงเย็นจะมีน้ำไหลจากทางเหนือลงมาเพิ่มอีก (ข่าวสด, 13-10-2554) ก.แรงงานชงมาตรการอุ้มลูกจ้าง หลังพบได้ค่าจ้างแค่ 50-75% ต่อวัน วันนี้ (13 ต.ค.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดใน 15 จังหวัด ที่มีสถานประกอบการและลูกจ้างได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยจากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 12 ต.ค.มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบ 10,134 แห่ง และลูกจ้าง 292,058 คน ให้ไปจำแนกความเสียหายของแรงงานทั้งหมดว่าได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนหรือไม่ ช่วงที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม เนื่องจากได้รับข้อมูลจากแรงงานว่า มีบางบริษัทจ่ายค่าจ้าง 75% หรือ 50% (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 13-10-2554) พนง.ไทยมิซูวาปิดถนนขวางทหารกั้นคันแนวน้ำหน้าโรงงาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 13 ตุลาคม ได้มีคนงานของบริษัทไทยมิซูวา ตั้งอยู่ถนนปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว ม.2 ต.บ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี ประมาณ 200 คน ปิดถนนหน้าโรงงานทั้งขาไปและขากลับทำให้การจราจรที่จะมุ่งหน้าไปลาดหลุมแก้ว และมุ่งหน้าเข้าปทุมธานี รถไม่สามารถผ่านไปมาได้ ต่อมา นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ส.ส.ปทุมธานี เขต 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วย พ.ต.อ.นิสากร บุญตานนท์ ผกก สภ.เมืองปทุมธานี พร้อมด้วย พ.ต.ท.รัฐพงศ์ สุจริต สว.จร และชุดสืบสวนได้ไปยังจุดเกิดเหตุกลุ่มคนงานประท้วงและเจ้าหน้าตำรวจได้เข้า เจราจากับผู้ชุมนุม โดยมีกลุ่มตัวแทนคนงานได้แจ้งว่าสาเหตุในการปิดถนนครั้งนี้เนื่องมาจากเจ้า หน้าที่ทหารช่างจะมาทำการตั้งแนวกั้นน้ำหน้าโรงงานเพื่อบล็อคน้ำไม่ให้น้ำ ข้ามถนนมาอีกฝากหนึ่งเพื่อรักษาพื้นที่ชั้นใน แต่ตัวโรงงานขณะนี้น้ำได้เข้าท่วมด้านหลังจะทำให้โรงงานได้รับความเสียหาย จึงได้มาปิดถนนเรียกร้องให้กั้นถนนคันคลองด้านหลังโรงงานด้วย จากนั้น นายสุรพงษ์ และพ.ต.อ.นิสากร ได้เข้าไปในโรงงานขอเจราจากับผู้บริหารโรงงานพร้อมกับขอร้องผู้ชุมนุมให้ เปิดช่องทางโดยให้ชุมนุมที่ริมทางทั้งสองฝั่งถนน และคนงานยินยอมเปิดทางให้รถวิ่ง สัญจรไปมาได้ทั้งสองช่องทางได้แล้วแต่เรื่องเจราจายังหาข้อยุติอยู่. (มติชน, 13-10-2554) ประกันสังคมในจังหวัดพื้นที่ประสบอุทกภัย เปิดช่องทางบริการแก่นายจ้างและผู้ประกันตน นางพจนารถ สุทธิพร รักษาราชการแทนประกันสังคมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ประสบอุทกภัยอย่างหนัก นายจ้างและผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปจ่ายเงินสมทบที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดพระ นครศรีอยุธยา สามารถจ่ายเงินสมทบได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงไทย นอกจากนี้ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ และแรงงานนอกระบบ จ่ายเงินสมทบได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส โดยเสียค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท และจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที ทั้งจากธนาคารและเคาน์เตอร์เซอร์วิส สำหรับผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานไว้แล้ว และถึงกำหนดนัดรายงานตัวแต่ไม่สามารถเดินทางไปรายงานตัวได้ตามกำหนด เนื่องจากประสบอุทกภัย ขอให้ไปรายงานตัวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทันทีที่สามารถ เดินทางไปได้ ซึ่งทางสำนักงานฯ จะพิจารณาเป็นกรณีมีเหตุผลอันสมควรและจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานให้ต่อไป หรือหากสะดวกจะไปรายงานตัวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตามกำหนดในใบนัดรายงานตัว หรือสอบถามได้ที่ 035-213415-8 และ 035-336442 (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 14-10-2554) แรงงานเดือดร้อนจากน้ำท่วม 3 แสนคน แนะให้ลูกจ้างหยุดได้ ไม่ถือเป็นวันลา วันที่ 14 ต.ค. ที่ศปภ.ดอนเมือง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่าศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงแรงงาน พบว่าจากการติดตามสถานการณ์ในช่วง 1-13 ต.ค. มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจำนวน 8,454 แห่ง มีลูกจ้างได้รับผลกระทบ 320,086 คน ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการเพื่อ ขออนุญาตลูกจ้างมาทำงานสาย หยุดงาน โดยไม่ถือเป็นวันลา และขอให้จัดสวัสดิการเรื่องรถรับส่ง ที่อยู่อาศัย ขณะนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการแล้ว 10,154 แห่ง มีลูกจ้างได้รับการดูแลแล้ว 299,362 คน กรมการจัดหางานได้จัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ 86,341 อัตรา นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้ขานรับนโยบายของรัฐบาล โดยจัดหาทรายจาก จ.ชลบุรี มาเป็นแนวป้องกันที่ จ.ปทุมธานี รวม 1,400 ตัน และจัดหาสิ่งของไปช่วยเหลือจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม (ข่าวสด, 14-10-2554) ก.แรงงานพร้อมจัดหางานรองรับ 89,000 ตำแหน่ง จากผลกระทบน้ำท่วมโรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้เตรียมงานไว้กว่า 60 ประเภทเพื่อเตรียมพร้อมรองรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโรงงาน อุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมใน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยหน่วยงานและสถานประกอบการที่พร้อมจะรองรับแรงงานมีจำนวนถึง 60-70 แห่ง อัตราการจ้างงานกว่า 89,000 อัตรา ขณะที่กระทรวงแรงงานได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสถานประกอบการที่ ถูกน้ำท่วม โดยจะไม่ถือว่าการหยุดงานของพนักงานในช่วงนี้เป็นการขาดงาน แต่จะถือเป็นวันลาของพนักงาน ทั้งนี้ กรมการจัดหางานได้เตรียมพนักงานที่จะเข้ามาประสานและเตรียมรองรับการ ให้ข้อมูลกับแรงงานที่ประสบปัญหาอุทกภัย เพื่อให้แรงงานดังกล่าวสามารถเข้าทำงานได้ทันทีที่มีตำแหน่งว่าง (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 14-10-2554) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 8 - 14 ต.ค. 2554 Posted: 14 Oct 2011 09:15 AM PDT ขบวนการแรงงานจี้รัฐขึ้นค่าแรง 300-ป.ตรีตามหาเสียง 7 ต.ค. 54 - นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มแรงงานแห่งประเทศไทย และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ กว่า 100 คน ได้เดินมาเข้ายื่นหนังสือเรียกร้องต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นผู้มารับหนังสือแทน ซึ่งหนังสือมีเนื้อหาขอให้พิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ รวมทั้งปรับเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี15,000 บาท ตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จะทำให้ผู้ใช้แรงงานพึงพอใจกับนโยบายดังกล่าว แต่รัฐบาลกลับประกาศใช้เฉพาะ 7 จังหวัด คือ กรุงเทพ ปริมณฑล และภูเก็ต ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่า จะให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศจะได้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ประกอบไปด้วย 6 สภา และ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ขอแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และสนับสนุนผลักดันให้ดำเนินการนโยบายดังกล่าวจนประสบผลสำเร็จ เพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ เครือข่ายนักศึกษา 4 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา และซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันงานที่มีคุณค่า 7 ต.ค. โดยระบุว่ารัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และการมีงานทำเมื่อจบการศึกษา รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้อที่ 87 และ 98 บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ ที่ว่าความสงบสุขที่ยืนยาวจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้ใช้แรงงานได้รับการดูแลที่ดี รัฐบาลต้องควบคุมดูแลกำหนดมาตราการณ์ต่างๆเพื่อให้ราคาสินค้ามีความเป็นธรรม และรัฐบาลต้องปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพและฟรี ตั้งแต่เกิดจนจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล มวลชนประมาณ 1,000 คน ได้ปิดการจราจรตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ จนถึงแยกมิสกวันเกือบทั้งหมด โดยเหลือไว้ให้รถสามารถวิ่งได้เพียง 1 ช่องทางจราจร ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวติดขัดตั้งแต่ช่วงเช้า ด้านนายกิตติรัตน์ ให้คำมั่นว่าจะดูแลเรื่องค่าครองชีพของแรงงานอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ อยากให้ผู้ประกอบการมั่นใจการทำงานของรัฐบาล นายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่ง ประเทศไทยเปิดเผยว่าสมาพันธ์ร่วมกับสภาองค์กรลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่ง ประเทศไทย และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกแถลงการณ์เรื่อง "งานที่มีคุณค่า ค่าจ้างต้อง 300 บาททันที" โดยได้ข้อสรุปร่วมกัน 3 ข้อ ที่อยากฝากไปถึงรัฐบาล คือ 1.การปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องปรับให้เท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.55 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 2.ยกเลิกการจ้างงานแบบเหมาค่าแรงและการจ้างงานที่ไม่มั่นคงทุกประเภท และ3.รัฐต้องควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้สูงเกินจริง "ผมไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทนำร่องใน 7 จังหวัด ขณะที่จังหวัดที่เหลือขึ้น 40% เพราะไม่เป็นธรรม และอาจทำให้เกิดปัญหาเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่สำคัญรัฐบาลต้องทำตามที่สัญญาไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชนะการเลือกตั้งด้วย" นายยงยุทธกล่าว ด้านนายพงษ์เทพ ไชยวรรณ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าแรงงานไม่พอใจผลประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ไม่ได้ข้อสรุปในการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ฝ่ายลูกจ้างคิดขึ้นมา แต่เป็นนโยบายหาเสียงของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับ สูงขึ้นแล้วทั้งๆ ที่ค่าจ้างยังไม่ได้ปรับขึ้นตามนโยบายนี้เลย นายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. กล่าวว่าในวันที่ 7 ต.ค.เครือข่ายกว่า 3,000 คน จะไปยื่นหนังสือรายชื่อแรงงานที่สนับสนุนนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท ซึ่งล่าสุดมีกว่า1 หมื่นรายชื่อ ถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล น.พ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าสัปดาห์หน้ากระทรวงการคลังจะส่งตัวแทนมาหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วย เหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่ยังไม่ชัดเจน (โพสต์ทูเดย์, 7-10-2554) แรงงานสระบุรีบุกกรุงชุมนุมหน้าสหประชาชาติทวงสัญญาค่าแรง 300 รัฐบาล “ปูแดง” จากกรณีการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปเมื่อ 3 ก.ค 54 พรรคเพื่อไทย ได้หาเสียงในประเด็นค่าแรงในกลุ่มผู้ใช้แรงงานว่าหลังจากได้รับเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งได้ส่ง ผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และ มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เปลี่ยนจาก “ค่าจ้างขั้นต่ำ” เป็น “รายได้ขั้นต่ำ 300 บาทและจะบังคับใช้เพียง 7 จังหวัดนำร่อง และสัญญาเรื่องต่างๆเพื่อให้ได้คะแนน แต่ส่อเค้าถูกเบี้ยว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-10-2554) ชงมาตรการลดเงินสมทบเข้าประกันสังคม 1-2% 11 ต.ค.นี้ วันนี้ (7 ต.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 ต.ค.นี้เตรียมเสนอมาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราร้อยละ 1-2 ของค่าจ้าง เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัย ขณะเดียวกัน ยังครอบคลุมไปถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2555 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.55 เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวมีระยะเวลา 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด สปส.ก่อน (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-10-2554) โรจนะวิปโยค-ท่วมเรียบทุกโรงงาน วันนี้ (9 ต.ค.) นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤติหนัก โดยน้ำได้เข้าไปท่วมโรงงาน 198 แห่งหมดแล้ว เพิ่มจากวันที่ 8 ต.ค. ที่ท่วมโรงงานเพียง 10-20 แห่งเท่านั้น และไม่สามารถกู้ได้แล้ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้เร่งสร้างคันกั้นน้ำให้สูงเพิ่มเป็น 6.5 เมตร จากเดิมอยู่ที่ 5.1 เมตรก็ตาม แต่กระแสน้ำแรงมาก เบื้องต้นได้ประสานขอกำลังทหารช่างเข้ามาช่วยในพื้นที่แล้ว นายประยูร ติ่งทอง อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า มูลค่าลงทุนในเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะอยู่ในระดับที่ 70,000 ล้านบาท มีแรงงาน 90,000 คน อย่างไรก็ตามหลายโรงงานได้ขนของรวมถึงสต็อกและเครื่องจักรที่มีราคาแพง และมีน้ำหนักไม่มากไปไว้ที่สูงเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะผู้ผลิตรถยนต์ ฮอนด้าที่ขนรถยนต์ที่เพิ่งผลิตเสร็จ 3,000 คันได้ทันเวลา อุตฯเรียกเอกชนถกเยียวยาโรงงานน้ำท่วม นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่10 ต.ค. น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม จะเรียกภาคเอกชนทั้งส.อ.ท. และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้าพบเพื่อหารือถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ รวมทั้งหามาตรการเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพราะโรงงานที่น้ำท่วมเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานประกอบ ทั้งในกลุ่มของยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต้องวางแผนการจัดหาวัตถุดิบมาป้อนโรงงาน ใหม่ ซึ่งอาจจะใช้จากแหล่งผลิตอื่นในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย จีน เกาหลี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโรงงานที่ได้รับความเสียหายในจังหวัดอื่นๆ ได้แก่ นครสวรรค์ ลพบุรี โดยในลพบุรีมีโรงงานของบริษัทอินโดราม่า ผู้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ขนาดใหญ่ถูกน้ำท่วมเช่นเดียวกัน สำหรับมาตรการเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจผู้ประกอบการต้องการให้มีการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนหลังน้ำลด เช่น การทำงานของบริษัทประกัน ในการประเมินความเสียหายหลังน้ำท่วม การซ่อมแซมเครื่องจักร ถนน เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาขับเคลื่อนได้อีกครั้ง และผู้ประกอบการจะได้กลับมาดำเนินการอย่างเร็วที่สุด "ต้องการให้มีการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน เพราะผู้ประกอบการมีภาระมาก โดยเฉพาะในด้านแรงงาน ที่จำเป็นต้องรักษาไว้ โดยโรงงานในอยุธยาทั้งหมดมีการจ้างงานกว่า 2 แสนคน ซึ่งหากดำเนินการล่าช้าโรงงานขนาดเล็กจะต้องรับภาระมากที่สุด" นายพยุงศักดิ์ กล่าว นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมหลังจากนี้อาจจะเกิดปัญหาขาดแคลน วัตถุดิบในการผลิตได้ เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดใหญ่หยุดผลิตกันหมดแล้ว ทั้งในจังหวัดอยุธยา และจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคกลาง โดยในจังหวัดลพบุรีก็มีโรงงานที่ได้รับความเสียหายไปแล้วกว่า 20 โรง โดยเฉพาะโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งทอต้นน้ำก็ได้รับความเสียมาก ดังนั้นในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมฯบ้านหว้า (ไฮเทค) ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมให้ดี เพราะในนิคมฯบ้านหว้า มีโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอยู่ หากรวมกับที่ลพบุรี 2 โรงงานนี้มีกำลังการผลิตรวมเป็น 40% ของประเทศ หากน้ำท่วมจะกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งหมด (โพสต์ทูเดย์, 9-10-2554) แรงงาน 14 ล้านคน รายได้แค่พอยังชีพ ชี้นายจ้างไทย-เทศ ให้ค่าแรงห่าง 60 เท่า นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนางานที่มีคุณค่า ค่าจ้างต้อง 300 บาท ทันที ถึงวิธีการคิดต้นทุนค่าแรง มีผลกระทบต้นทุนการผลิตอย่างไร?" ว่า ค่าจ้างแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ ค่าจ้างพอยังชีพ และค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยค่าจ้างพอยังชีพ เป็นต้นทุน ที่นายจ้างคิดว่าจำเป็นต้องจ่ายให้แรงงาน เพื่อให้ มีกำลังทำงาน ทำให้งานเดินไปได้ ซึ่งปัจจุบันแรงงาน ไทยที่เป็นลูกจ้างเอกชน 14 ล้านคน อยู่ในกลุ่มได้รับค่าจ้างพอยังชีพ และเคยสำรวจพบบางจังหวัดมีแรงงานได้รับค่าจ้างไม่ถึงวันละ 100 บาท ทั้งที่หากคิดต้นทุนการผลิตทั้งหมด 100 บาท ในจำนวนนี้เป็นต้นทุนค่าจ้าง 2-3 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2-3 ขณะที่ในประเทศที่เจริญแล้วมีต้นทุนค่าจ้างอยู่ที่ร้อยละ 20-25 ส่วนค่าจ้างที่เป็นธรรม มีเงื่อนไขการจ่ายโดยดูจากฝีมือ ประสบการณ์และผลิตงานได้มาก ถึงแม้ไทยจะปรับค่าจ้างสูงกว่าวันละ300 บาท แต่ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มไปถึงร้อยละ 20-25 เหมือนต่างประเทศ เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเดิมจ่ายค่าจ้างวันละ 100 บาท หาก ค่าจ้างเป็นวันละ 134 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34 แรงงานเห็นแล้ว อาจตกใจค่าจ้างพุ่งสูงมาก แต่ จริงๆ แล้วต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2-2.3 ไม่ถึงร้อยละ 34 นายณรงค์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการ ประเมินผลกระทบต่อต้นทุน จากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ในธุรกิจต่างๆ ได้แก่ การผลิตต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.61 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 อาหารและเครื่องดื่ม ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.24 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.28 กระดาษและการพิมพ์ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.61 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.53 ยางและพลาสติกต้นทุนแรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.97 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น 1.60 เหล็กและผลิตภัณฑ์ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.45 คอนกรีต ซีเมนต์ ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.24 ไม้ เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.34 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.65 บริการต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.19 ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 ภาพรวมโดยเฉลี่ยจะมีต้นทุน ค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.29 ต้นทุนการผลิต โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.08 "ประเทศไทยกับประเทศที่เจริญแล้วจ่าย ค่าจ้างต่างกัน 60 เท่า ทั้งที่ช่วงกว่า 50 ปีอุตสาหกรรมในไทยเติบโตกระทั่งทุกวันนี้ มีระดับรายได้ขั้นกลางถึงสูง และหากเทียบประเทศใกล้เคียง เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำแบบไทย อย่างมาเลเซียค่าจ้าง สูงกว่าไทย 2-3 เท่า และบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ก็มีค่าจีดีพีต่ำกว่าไทย" นายณรงค์กล่าว และว่า ค่าจ้างของแรงงานไทยยังเพิ่มขึ้น ได้อีก แต่เป็นไปได้ยาก เพราะเมื่อจะขึ้นค่าจ้างบริษัทเล็กๆ บอกว่าจะเจ๊ง บริษัทขนาดใหญ่มักจะนำเรื่องนี้ ขึ้นมาอ้างเช่นกัน ทั้งที่เงินเดือนผู้บริหารกับ พนักงานต่างกันลิบลิ่ว เช่น ธุรกิจธนาคารเงินเดือน ผู้บริหารกับพนักงานต่างกัน 33 เท่า หรือบริษัทขนาดใหญ่เงินเดือนผู้บริหาร 10 คน สามารถนำมาจ้างพนักงานได้ถึง 300 คน และการขึ้นเงินเดือน ผู้บริหารทำแบบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ลูกจ้าง คิดเป็นบาท ซึ่งการปรับค่าจ้างไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง "การคิดต้นทุนการผลิตของบริษัทขนาดใหญ่ มีการนำค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของบริษัท หรือ ผู้บริหาร แม้กระทั่งค่าช็อปปิ้งเสื้อผ้าจากการไปเที่ยวเมืองนอก ก็นำมารวมอยู่ในต้นทุนการผลิต ทำให้ต้นทุนค่าจ้างสูง ดังนั้น เมื่อแรงงานเจรจา ต่อรองขอขึ้นค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ กับนายจ้าง จะต้องขอให้คิดต้นทุนการผลิตโดยแยกค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของบริษัทออกไป อย่านำมาคิดรวมกัน เพราะไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง" นายณรงค์กล่าว ขณะที่นายชาลี ลอยสูง ประธาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า จากผลสำรวจของ คสรท.เรื่องค่าครองชีพ ที่เป็นธรรม ซึ่งเพียงพอเลี้ยงดูครอบครัวได้ในปี 2552 พบว่าอยู่ที่วันละ 421.02 บาท หรือเดือนละ 12,630.62 บาท และปี 2554 อยู่ที่วันละ 561.79 บาท หรือเดือนละ 16,853.84 บาท (แนวหน้า, 10-10-2554) สมานฉันท์แรงงานไทยเปิดรับบริจาคช่วยน้ำท่วม เตรียมแถลงข้อเสนอ 11 ต.ค. 10 ต.ค. 54 - จากกรณีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง อาทิ นครสวรรค์ ลพบุรี ปทุมธานี อยุธยา และสถานการณ์ล่าสุด มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างยานยนต์แห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิค โลหะและยานยนต์แห่งประเทศไทย จัดประชุมเร่งด่วนวานนี้ (9 ตุลาคม 2554) โดยจะจัดแถลงข้อเสนอต่อรัฐและขบวนการแรงงาน ในการช่วยเหลือแรงงาน ในวันพรุ่งนี้ (11 ตุลาคม 2554) เวลา 11.00 น. ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถนนมักกะสัน ราชเทวี กรุงเทพฯ นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า วันนี้น้ำได้ทะลักเข้าท่วมพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยาสร้างความเสีย หายให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์หลายร้อยล้าน เท่าทราบคนงานได้เข้าไปช่วยนายจ้างในการกรอกทรายช่วยกันปิดกั้นน้ำไม่ให้ เข้าโรงงาน เพื่อรักษาพื้นที่โรงงานไว้ เพราะหากไม่มีโรงงานก็ไม่มีเงินไม่มีค่าจ้าง ซึ่งน้ำได้ทะลักเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแล้ววานนี้ สร้างความเสียหายอย่างมาก แม้ว่านายจ้างจะเร่งขนรถสินค้าออกมาจากพื้นที่บ้างแล้วแต่ก็ไม่ทัน เห็นว่ารถต้องจมน้ำหลายพันคัน ทางขบวนการแรงงานเห็นว่า ผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ ต้องกระทบกับทั้งนายจ้าง และลูกจ้างหลายแสนคน ที่อาจมีการปิดงานเพี่อฟื้นฟูสถานประกอบการ และอาจถึงขั้นตกงาน ซึ่งทางขบวนการแรงงานมีความเป็นห่วงพี่น้องแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยครั้งนี้ รวมทั้งขอแสดงความเสียใจต่อนายจ้างที่ต้องประสบปัญหาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้เปิดรับบริจาคอาหารและของใช้ที่จำเป็นต่อ การดำรงชีวิต อาทิ อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรืองบประมาณเพื่อจัดซื้อสิ่งของต่างๆ ที่จำเป็น ได้ที่ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02-251-3170 โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะนำสิ่งของไปบริจาคในวันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2554 นี้ (ประชาไท, 10-10-2554) แรงงานอยุธยา 1.8 แสนรายเคว้ง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังประชุมช่วยเหลือวิกฤติน้ำท่วมว่า จากการประเมินความเสียหายล่าสุดพบว่า ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แห่งเดียว มีลูกจ้างที่ต้องหยุดทำงานชั่วคราวร่วม 1.8 แสนคน แบ่งเป็นโรงงานที่อยู่นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีสถานประกอบการ 49 แห่ง มีพนักงานกว่า 1.6 หมื่นคน สวนอุตสาหกรรมโรจนะ มีกิจการ 236 แห่ง มีการปิดงานชั่วคราว 180 แห่ง รวมคนงานทั้งสิ้น 1 แสนคน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) มีสถานประกอบการ 143 แห่ง มีคนงานกว่า 6 หมื่นคน ในส่วนนี้ได้ประกาศหยุดงานชั่วคราว ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน มีสถานประกอบการ 90 แห่ง ลูกจ้าง 8-9 หมื่นคน ในส่วนนี้บางกิจการยังไม่หยุดงาน ดังนั้น กระทรวงจึงได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อเข้าไปช่วยเหลือแล้ว โดยมีคำสั่งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และกรมการจัดหางาน เร่งเข้าไปเจรจากับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมใน จ.พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ เพื่อช่วยเหลือแรงงานให้สามารถย้ายงานไปทำที่อื่นได้โดยยังคงสภาพการจ้างงาน ที่บริษัทเดิมเอาไว้ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตั้งศูนย์ช่วยเหลือในการประกอบอาหารในพื้นที่น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยวันละ 1 หมื่นกล่อง ส่วนมาตรการช่วยเหลือในระยะยาว ได้มอบหมายกรมการจัดหางานเตรียมหาตำแหน่งงานว่างที่ใกล้เคียงให้ผู้ใช้แรง งานที่ได้รับผลกระทบในกรณีถูกเลิกจ้าง ซึ่งขณะนี้มีอัตราว่างรองรับแล้วกว่า 5.7 หมื่นตำแหน่ง ในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ปทุมธานี ระยอง ชลบุรี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ รวมถึงสั่งการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เตรียมเข้าซ่อมแซมบ้านเรือน วัด สถานที่สาธารณะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรทางการเกษตร ให้แก่ประชาชนหลังน้ำลด (คมชัดลึก, 11-10-2554) คสรท.จี้รัฐช่วยแรงงานน้ำท่วม หวั่นนายจ้างฉวยโอกาสเลิกจ้าง นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า วิกฤตน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและลูกจ้าง เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยเหลือทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาวอย่างเป็น รูปธรรม ในการฟื้นฟูสถานประกอบการ และชดเชยรายได้แก่ผู้ใช้แรงงาน หากไม่มีมาตรการที่ชัดเจน เชื่อว่า จะมีแนวโน้มว่าผู้ใช้แรงงานอาจถูกเลิกจ้างจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อภาพรวมระบบเศรษฐกิจไทย (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 11-10-2554) ครม.อนุมัติขึ้นค่าจ้างพนักงาน รสก. มีผล 1 ตุลาคมนี้ 11 ต.ค. 54 - น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจำนวน 2.4 หมื่นคน จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 67 แห่งให้เป็นวันละ 300 บาท ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เบื้องต้นนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดูแลผลกระทบจากการเพิ่มค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย (มติชน, 11-10-2554) นิคมไฮเทคสุดต้านน้ำทะลักเข้าแล้ว "กิตติรัตน์"กอดคอร้องไห้นักธุรกิจญี่ปุ่น 13 ต.ค. 54 - เมื่อประมาณ 07.00 น.มีกระแสน้ำเข้านิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค) ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายเอเซีย-นครสวรรค์ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถัดจากนั้นอีก 2 ชั่วโมงน้ำเริ่มรุนแรงมากขึ้น โดยกระแสน้ำได้โอบตีเข้าทางด้านทิศใต้ แต่ยังไม่ทำลายพื้นที่โรงงานสำคัญ ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังระดมกำลังเพื่อเร่งกู้สถานการณ์อุดรอยรั่วทางทิศใต้ ที่มีน้ำรั่วซึมเข้ามามากที่สุด โรงงานบางแห่งได้อพยพคนงาน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหอพักออกมาแล้ว ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคมี พื้นที่โครงการประมาณ 2,379 ไร่ มีโรงงาน 143 ราย ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเลคทรอนิคส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมยางและพลาสติก มูลค่าการลงทุนกว่า 65,000 ล้านบาท และมีแรงงานอีกกว่า 50,000 คน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้ระดมเร่งอุดรอยรั่วทางทิศใต้นิคมฯ ไฮเทค ที่มีน้ำรั่วซึมเข้ามาแต่พยายามหลายทางแล้วไม่สามารถอุดได้ ปริมาณน้ำซึมเพิ่มเข้ามามาก และเจ้าหน้าที่ได้เร่งให้อพยพออกมาจากพื้นที่แล้ว แรงดันน้ำอัดจนแนวกั้นเอาไม่อยู่ แถมคันดินยังเป็นดินโคลนอีก ในนิคมนี้มีหอพักด้วย ยังมีคนอาศัยอยู่ภายในหอพักที่ยังออกมาไม่หมด ซึ่งน้ำไหลเชี่ยวแรงและปริมาณสูง ช่วงเย็นจะมีน้ำไหลจากทางเหนือลงมาเพิ่มอีก (ข่าวสด, 13-10-2554) ก.แรงงานชงมาตรการอุ้มลูกจ้าง หลังพบได้ค่าจ้างแค่ 50-75% ต่อวัน วันนี้ (13 ต.ค.) นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดใน 15 จังหวัด ที่มีสถานประกอบการและลูกจ้างได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยจากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 12 ต.ค.มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบ 10,134 แห่ง และลูกจ้าง 292,058 คน ให้ไปจำแนกความเสียหายของแรงงานทั้งหมดว่าได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนหรือไม่ ช่วงที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม เนื่องจากได้รับข้อมูลจากแรงงานว่า มีบางบริษัทจ่ายค่าจ้าง 75% หรือ 50% (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 13-10-2554) พนง.ไทยมิซูวาปิดถนนขวางทหารกั้นคันแนวน้ำหน้าโรงงาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 13 ตุลาคม ได้มีคนงานของบริษัทไทยมิซูวา ตั้งอยู่ถนนปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว ม.2 ต.บ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี ประมาณ 200 คน ปิดถนนหน้าโรงงานทั้งขาไปและขากลับทำให้การจราจรที่จะมุ่งหน้าไปลาดหลุมแก้ว และมุ่งหน้าเข้าปทุมธานี รถไม่สามารถผ่านไปมาได้ ต่อมา นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ส.ส.ปทุมธานี เขต 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วย พ.ต.อ.นิสากร บุญตานนท์ ผกก สภ.เมืองปทุมธานี พร้อมด้วย พ.ต.ท.รัฐพงศ์ สุจริต สว.จร และชุดสืบสวนได้ไปยังจุดเกิดเหตุกลุ่มคนงานประท้วงและเจ้าหน้าตำรวจได้เข้า เจราจากับผู้ชุมนุม โดยมีกลุ่มตัวแทนคนงานได้แจ้งว่าสาเหตุในการปิดถนนครั้งนี้เนื่องมาจากเจ้า หน้าที่ทหารช่างจะมาทำการตั้งแนวกั้นน้ำหน้าโรงงานเพื่อบล็อคน้ำไม่ให้น้ำ ข้ามถนนมาอีกฝากหนึ่งเพื่อรักษาพื้นที่ชั้นใน แต่ตัวโรงงานขณะนี้น้ำได้เข้าท่วมด้านหลังจะทำให้โรงงานได้รับความเสียหาย จึงได้มาปิดถนนเรียกร้องให้กั้นถนนคันคลองด้านหลังโรงงานด้วย จากนั้น นายสุรพงษ์ และพ.ต.อ.นิสากร ได้เข้าไปในโรงงานขอเจราจากับผู้บริหารโรงงานพร้อมกับขอร้องผู้ชุมนุมให้ เปิดช่องทางโดยให้ชุมนุมที่ริมทางทั้งสองฝั่งถนน และคนงานยินยอมเปิดทางให้รถวิ่ง สัญจรไปมาได้ทั้งสองช่องทางได้แล้วแต่เรื่องเจราจายังหาข้อยุติอยู่. (มติชน, 13-10-2554) ประกันสังคมในจังหวัดพื้นที่ประสบอุทกภัย เปิดช่องทางบริการแก่นายจ้างและผู้ประกันตน นางพจนารถ สุทธิพร รักษาราชการแทนประกันสังคมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ประสบอุทกภัยอย่างหนัก นายจ้างและผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปจ่ายเงินสมทบที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดพระ นครศรีอยุธยา สามารถจ่ายเงินสมทบได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงไทย นอกจากนี้ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ และแรงงานนอกระบบ จ่ายเงินสมทบได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส โดยเสียค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท และจะได้รับใบเสร็จรับเงินทันที ทั้งจากธนาคารและเคาน์เตอร์เซอร์วิส สำหรับผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานไว้แล้ว และถึงกำหนดนัดรายงานตัวแต่ไม่สามารถเดินทางไปรายงานตัวได้ตามกำหนด เนื่องจากประสบอุทกภัย ขอให้ไปรายงานตัวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทันทีที่สามารถ เดินทางไปได้ ซึ่งทางสำนักงานฯ จะพิจารณาเป็นกรณีมีเหตุผลอันสมควรและจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานให้ต่อไป หรือหากสะดวกจะไปรายงานตัวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตามกำหนดในใบนัดรายงานตัว หรือสอบถามได้ที่ 035-213415-8 และ 035-336442 (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 14-10-2554) แรงงานเดือดร้อนจากน้ำท่วม 3 แสนคน แนะให้ลูกจ้างหยุดได้ ไม่ถือเป็นวันลา วันที่ 14 ต.ค. ที่ศปภ.ดอนเมือง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่าศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงแรงงาน พบว่าจากการติดตามสถานการณ์ในช่วง 1-13 ต.ค. มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจำนวน 8,454 แห่ง มีลูกจ้างได้รับผลกระทบ 320,086 คน ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการเพื่อ ขออนุญาตลูกจ้างมาทำงานสาย หยุดงาน โดยไม่ถือเป็นวันลา และขอให้จัดสวัสดิการเรื่องรถรับส่ง ที่อยู่อาศัย ขณะนี้ได้ขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการแล้ว 10,154 แห่ง มีลูกจ้างได้รับการดูแลแล้ว 299,362 คน กรมการจัดหางานได้จัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ 86,341 อัตรา นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้ขานรับนโยบายของรัฐบาล โดยจัดหาทรายจาก จ.ชลบุรี มาเป็นแนวป้องกันที่ จ.ปทุมธานี รวม 1,400 ตัน และจัดหาสิ่งของไปช่วยเหลือจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม (ข่าวสด, 14-10-2554) ก.แรงงานพร้อมจัดหางานรองรับ 89,000 ตำแหน่ง จากผลกระทบน้ำท่วมโรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้เตรียมงานไว้กว่า 60 ประเภทเพื่อเตรียมพร้อมรองรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโรงงาน อุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมใน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยหน่วยงานและสถานประกอบการที่พร้อมจะรองรับแรงงานมีจำนวนถึง 60-70 แห่ง อัตราการจ้างงานกว่า 89,000 อัตรา ขณะที่กระทรวงแรงงานได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสถานประกอบการที่ ถูกน้ำท่วม โดยจะไม่ถือว่าการหยุดงานของพนักงานในช่วงนี้เป็นการขาดงาน แต่จะถือเป็นวันลาของพนักงาน ทั้งนี้ กรมการจัดหางานได้เตรียมพนักงานที่จะเข้ามาประสานและเตรียมรองรับการ ให้ข้อมูลกับแรงงานที่ประสบปัญหาอุทกภัย เพื่อให้แรงงานดังกล่าวสามารถเข้าทำงานได้ทันทีที่มีตำแหน่งว่าง (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 14-10-2554) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ทุนนิยาม101: พัฒนาการระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย (ตอนจบ) Posted: 14 Oct 2011 09:00 AM PDT รายการทีวีออนไลน์ "ทุนนิยาม 101" (Capitalism 101) โดยกลุ่มทุนนิยมที่สังคมกำกับ (Embedded Capitalism) ดำเนินรายการโดย "เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร" นำเสนอตอนที่สาม สัมภาษณ์นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการและนักวิจัยสิทธิแรงงาน มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน ตอน พัฒนาการระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย โดยตอนนี้นำเสนอเป็นตอนจบ ทั้งนี้ในช่วงท้ายรายการ บัณฑิตมีข้อเสนอต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทว่า ถ้ามองในแง่บทเรียนของการเจรจาต่อรองเรื่องเจรจาค่าจ้างขั้นต่ำที่ยาวนานกว่า 40 ปีในการเมืองไทยนั้น บทเรียนข้อแรกคือ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ว่าจะปรับขึ้นเท่าไหร่ ไม่เคยได้มาโดยปราศจากการปรึกษาหารือ หรือเจรจาต่อรองทั้งในทางสังคมและการเมือง บทเรียนข้อสองคือ ไม่ว่าจะเสนอตัวเลข ปรับค่าจ้างขึ้นสูงเท่าไหร่ ฝ่ายนายจ้างหรือผู้ประกบอากรมักมีเสียงคัดค้านเสมอมา เพียงแต่บางปีอาจมีความสามารถคัดค้านที่แรง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองและการลงทุนในช่วงเวลานั้น บทเรียนข้อสาม เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็จะส่งผลสำคัญต่อการเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำ อาจจะได้ขึ้นช้า หรือได้ขึ้นน้อยมาก เพราะฉะนั้นถ้ามองจากบทเรียนคราวนี้ หมายความว่าครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ฝ่ายการเมืองหยิบยกเรื่องนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเน้นไปที่อัตราการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ชัดเจน ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการเอื้ออำนวยกับอำนาจการต่อรองในทางอ้อมของของฝ่ายแรงงาน (ที่ยังไม่เป็นปึกแผ่นอยู่) ความสำเร็จของการปรับอัตราค่าจ้างจะขึ้นได้สูง หรือไม่ ย่อมเป็นปกติที่จะพบแรงคัดค้านจากฝ่ายผู้ประกอบการ และย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายแรงงานถ้าตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำ ฝ่ายแรงงานหลายกลุ่มก็ยิ่งเชียร์ ในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้ปกครองประเทศ เป็นตัวกลางในการหาทางออก เลี่ยงไม่พ้นก็ต้องเป็นผู้จัดเวทีให้เกิดการเรียนรู้ปรึกษาหารือให้มากที่สุด อย่าให้เรื่องนี้เป็นเรื่องไตรภาคีแคบๆ ของฝ่ายนายจ้างไม่กี่คน ฝ่ายแรงงานไม่กี่คน หรือฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐไม่กี่คน ถกเถียงกันในคณะกรรมการไตรภาคีและเจรจาในกระทรวงแรงงานเท่านั้น ต้องเปิดให้เป็นประเด็นทางสังคมและการเมืองที่หลายฝ่ายช่วยกันคิด ฝ่ายทุนทั้งกิจการขนาดเล็กขนาดกลาง หรือว่าสมาคมธุรกิจต่างๆ ย่อมมีเสียงคัดค้าน แต่ถ้าดูน้ำเสียงที่ผ่านมาจะพบว่าฝ่ายธุรกิจจำนวนมากก็ไม่ถึงกับไม่ยอมรับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำอย่างสิ้นเชิง แต่เสนอให้ปรับทีละขั้น เช่น 10% ก่อนได้ไหม ถึงจะเป็น 300 บาทใน 2-3 ปีข้างหน้า นี่ก็น่าสนใจ เพราะเขาไม่ได้ต่อต้านแบบไม่เอา 300 บาทเลย แต่ชัดเจนว่าฝ่ายแรงงานก็อยากให้ปรับ 300 บาทโดยเร็วทันที พร้อมกันทั่วประเทศ ดังนั้นการจัดเวทีการปรึกษาหารือร่วม หรือการเจรจาต่อรองที่จะเกิดขึ้นต้องจัดให้มากขึ้น เพราะการปรึกษาหารือร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยถือนี้เป็นสิ่งเดียวที่จะนำไปสู่ความเข้าใจและความร่วมมือในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลได้ บัณฑิตกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
TCIJ: ชาวบ้านประจวบฯ ยืนหนังสือขอบคุณเรือนจำฯ เอาใจใส่ “จินตนา แก้วขาว” Posted: 14 Oct 2011 08:09 AM PDT เครือข่ายพันธมิตรเพื่อสิ่งแวดล้อม จ.ประจวบคีรีขันธ์ หวั่นความปลอดภัย “จินตนา แก้วขาว” แต่เบาใจเรือนจำฯ เอาใจใส่ดี เขายื่นหนังสือขอบคุณ แต่ยังต้องจัดเวรยามดูแลความปลอดภัยตลอด 4 เดือน วันที่ 13 ต.ค.54 เวลาประมาณ 13.30 น. ที่เรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ นักกฎหมายจากสภาทนายความ และนายพิชัย ศรีใส กรรมการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสิ่งแวดล้อม จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวนกว่า 200 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอบคุณแก่ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ดูแลนางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ซึ่งได้รับโทษจำคุกจากคดีการต่อสู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.54 โดยมีนายนายวีรศักดิ์ ระเบียบธรรม รองผู้บัญชาการเรือนจำฯ ลงมารับหนังสือ จากรณี นางจินตนา ถูกศาลฎีกาพิพากษาตัดสินให้จำคุกเป็นระยะเวลา 4 เดือน ในคดีบุกรุก รบกวนการครอบครองที่ดิน ของ บริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอบเม้นท์ จำกัด เจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด จากเหตุการณ์ล้มโต๊ะจีนของบริษัทฯ หนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาระบุถึง ประเด็นสำคัญซึ่งทางเครือข่ายฯ มีความห่วงใย คือ สวัสดิภาพและความปลอดภัยของนางจินตนา ในระหว่างที่ต้องรับโทษในเรือนจำฯ แต่จากที่ทางเครือข่ายฯ ได้เข้าเยี่ยมนางจินตนาใน 3 วันที่ผ่านมา ทางเรือนจำฯ ได้ปฏิบัติและดูแลนางจินตนาเป็นอย่างดี ทำให้เครือข่ายพันธมิตรฯ คลายความวิตกกังวลไปได้บ้าง ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น.ทางเครือข่ายฯ ได้มีการประชุมหารือ เรื่องการจัดเวรยามการดูแลความปลอดภัย โดยจะมีตัวแทนของเครือข่ายพันธมิตร ทั้ง 8 เครือข่ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่นางจินตนาต้องโทษ นอกจากนั้น ยังมีการหารือร่วมกันเรื่องการรับรู้ของสังคมและกิจกรรมการเปิดเวทีเมื่อครบรอบ 1 เดือนของการต้องโทษ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 นี้ เพื่อสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น และร่วมเป็นกำลังให้กับนางจินตนา โดยจะเชิญนักวิชาการ เพื่อนมิตร ฯลฯ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
'ภัควดี' ชี้สังคมไทยมีกลุ่มผูกขาด-นิยาม 'สันติวิธี' Posted: 14 Oct 2011 07:33 AM PDT เมื่อวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2554 ณ ห้องแลคเชอร์ ชั้น 2 อาคารมีเดีย อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ หอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดเสวนา "เดือนตุลา : ความรุนแรง สันติวิธี และ การต่อสู้ทางวัฒนธรรม" โดยมีวิทยากรที่ร่วมเสวนาประกอบด้วย ภัควดี ไม่มีนามสกุล นักเขียนและนักแปลอิสระ ชัชวาล บุญปัน อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมิตร ใจอินทร์ ศิลปินอิสระในสาขาทัศนศิลป์ โดยมีณัฐกร วิทิตานนท์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ชัชวาล บุญปัน กล่าวว่า ความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคมไทยมายาวนาน สิ่งที่จะแก้ไขความรุนแรงได้คือการเปิดเผยความจริง ซึ่งการเปิดเผยความจริงคือสันติวิธีที่ทำให้สังคมเป็นปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการปิดกั้นไม่ให้มีการแสวงหาความจริง เป็นการสร้างความรุนแรงให้สังคม เพราะความจริงจะทำให้สังคมร่วมกันตัดสินใจได้ ในประวัติศาสตร์สังคมที่ผ่านมา มันล่มสลายเพราะสังคมไม่รู้ว่าอะไรคือความจริง เช่น สังคมของชนเผ่ามายา ที่แข่งกันสลักรูปหินใหญ่ ทำลายสิ่งแวดล้อมจนสุดท้ายนำมาสู่การล่มสลายของชนเผ่า หรือสังคมที่รู้ว่าความจริงมันคืออะไร แต่คิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว สังคมก็ล่มสลายอย่างเรื่อง อุทกภัย โลกร้อน เป็นต้น หรือสังคมรู้ว่าความจริงคืออะไร แต่ไม่แก้ไขเพราะติดปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ผลประโยชน์ อำนาจ ฯลฯ สังคมก็อาจล่มสลาย ชัชวาล กล่าวต่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติในการแสวงหาความจริง แม้ว่าผู้ปกครองจะปิดกั้น ข่มขู่ไม่ให้คนแสวงหาความจริง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าสมัยไหนก็ทำไม่สำเร็จ เช่น สมัยของกาลิเลโอที่จะอธิบายความจริงเกี่ยวกับโลก ก็มีการวิวาทะระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ สันตะปาปาพยายามทำให้หนังสือของกาลิเลโอเป็นหนังสือต้องห้าม ไม่ได้รับการเผยแพร่ แม้ในกรุงโรมจะไม่ได้อ่าน แต่นอกกรุงโรมนั้นได้อ่านหมด กรณีประเทศไทย แอนดรูว์ มาร์แชลรู้เรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยจากเอกสารวิกิลีกส์ประมาณ 3-4 พันฉบับ เขาไม่สามารถเขียนให้คนไทยอ่านได้ แต่เขาสามารถเขียนเป็นภาษาต่างประเทศและเผยแพร่ไปทั่วโลก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าความจริงไม่สามารถปิดกั้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกสมัยใหม่ นอกจากนี้ ชัชวาล อ้างบทสัมภาษณ์ของแอนดรูว์ มาร์แชล ว่ามันน่าแปลกที่ในยุคโลกาภิวัตน์ คนไทยไม่สามารถพูดถึงประเด็นใจกลางที่เป็นอนาคตของลูกหลานตัวเองได้ มันไม่สามารถหาทางออกได้หากยังไม่มีใครยอมรับว่าใครทำอะไรลงไป มันจะเป็นวงจรอุบาทว์ต่อไป ซึ่งแอนด์ดรูว์เห็นว่าการยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 จะทำให้สังคมไทยสามารถพูดในสิ่งที่ไม่สามารถพูดถึงได้ "มีคนกล่าวว่าสังคมไทยขาดจิตวิญญาณที่จะพูดความจริง แต่คิดว่าไม่จริง เพราะหลังรัฐประหารปี 49 นั้นมีคนแบบกาลิเลโอเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เกิดการตั้งคำถามว่า คนไทยทำไมถึงถูกห้ามไม่ให้พูด เขียน หรืออ่านหนังสือบางเล่มที่คนทั้งโลกได้อ่านทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ ตรงกันข้ามสื่อกระแสหลักไม่ส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเปิดเผย เพื่อที่จะทำให้คนไทยประเมินความจริงแบบรอบด้าน และรู้เท่าทัน เพราะนี่คือพลังที่จะทำให้สังคมไทยไม่ไปสู่ความล่มสลาย แต่เครือข่ายอำนาจที่ไม่มีจิตวิญาณที่จะยอมรับความจริง พยายามจะอนุรักษ์ความรุนแรงเพื่อเป็นเครื่องมือปกปิดความจริง" อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว ชัชวาล ตั้งคำถามต่อไปว่า ทำไมต้องปกปิดข้อมูลข่าวสารอย่าง วิกิลิกส์ นั่นเป็นเพราะข้อมูลนั้นมีพลังการอธิบายสูง คือมันมากกว่าคำอธิบายเดิมที่หมดพลังไป ในโลกแบบอริสโตเติ้ลไม่สามารถอธิบายได้อย่างที่เคยเป็นอีกต่อไปแล้ว เพราะมีคำอธิบายใหม่ๆเกิดขึ้นและดีกว่าเดิม เมื่อใดก็ตามที่มีคำอธิบายใหม่และมีพลังอธิบายมากกว่า คำอธิบายนั้นจะยั่งยืนมั่นคงมากกว่า จนกว่าจะมีคำอธิบายใหม่มาคัดค้านมันให้ตกไป "ขอเปรียบเทียบในเชิงวิทยาศาสตร์ คำอธิบายของวิกิลีกส์อาจจะเทียบได้กับปรากฏการณ์ "photo reactive effect" หมายความว่าปรากฏการณ์นี้มันเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสของโลกทัศน์กลศาสตร์คลาสสิค ซึ่งมันมีพลังในการอธิบายมาก จนกระทั่งมีเหตุการณ์เล็กๆเกิดขึ้น คือ มีแสงตกกระทบแผ่นโลหะแล้วมีกระแสไฟฟ้าไหล ก็คิดว่าจะอธิบายด้วยแนวคิดกลศาสตร์นิวตันแบบเดิม แต่ปรากฏว่าทำอย่างไรก็อธิบายไม่ได้ จนกระทั่งต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งทฤษฎีโปรตอนของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อธิบายเรื่องนี้ได้ กลายเป็นว่าทฤษฎีนี้ มีพลังในการอธิบายปรากฏการณ์ได้มากขึ้น เปรียบได้กับวิกิลีกส์ที่ทำให้เราสามารถอธิบายการเมือง และปรากฏการณ์ทางสังคมได้มากกว่าเดิม การได้อ่านข้อมูลมากขึ้นย่อมทำให้ประเมินปรากฏการณ์ได้มากขึ้นกว่าเดิม กรณีดังกล่าวก็ทำให้เราพบว่าความงอกงามทางปัญญาจะเกิดขึ้นจากอิสรภาพ เสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นอย่างเต็มที่และยืนยันว่าผลมันเกิดขึ้นอย่างไรจริงๆ" ชัชวาล กล่าว ชัชวาล สรุปว่า ในโลกปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และไม่สามารถสกัดกั้นได้ พลังการอธิบายโลกแบบเดิมมันลดลง เครื่องมือของสังคมไทยในการปกป้องพลังอธิบายเดิมคือ พลังรัฐประหาร ในโลกวิทยาศาสตร์ เราพูดถึงหลักการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานมันไม่เคยหายไปไหน มันแค่เปลี่ยนรูปแบบ เมื่อเทียบกับสังคมไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา ไม่ว่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหารกี่ครั้ง สิ่งที่ประชาชนทำ สะท้อนให้เห็นว่า มันยังคงมีพลังของประชาธิปไตยอยู่ ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็สะท้อนว่าพลังประชาธิปไตยนั้นยังคงอยู่ การจำคุก เข่นฆ่า ไม่ได้ทำให้หายไป การต่อสู้ทางวัฒนธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะรักษาพลังประชาธิปไตยไว้ ที่ผ่านมาเราก็ได้เห็นสามัญชนกับการเปลี่ยนโลกเพื่อตั้งคำถามว่าวิถีชีวิตแบบไหนแน่ที่คนไทยต้องการ คำถามนี้คือ การยืนยันว่าวิธีที่จะทำให้สังคมกลับไปสู่ความปกติ ก็คือวิถีชีวิตที่ต้องการสิทธิเสรีภาพนั่นเอง
ภัควดี ไม่มีนามสกุล เริ่มต้นกล่าวถึงความสนใจเรื่องการปราบจลาจลว่า ทำไมต่างประเทศประท้วงบ่อย แต่ไม่มีคนตาย ทำไมประเทศเราจึงมีคนตาย ดังนั้น จากความสนใจในประเด็นเรื่องการปราบจารจลของตน จึงนำมาสู่เรื่องที่จะนำมาเล่าอยู่สองเรื่องคือหนึ่ง เรื่องความรุนแรงของรัฐ ในเมืองไทยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปราบจลาจล ซึ่งในภาษาอังกฤษมีอยู่สองอย่าง อย่างแรกเรียก "Counterinsurgency" ภาษาไทยเรียกว่าการปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ซึ่งคิดว่ายังแปลไม่ถูกและยังไม่รู้ว่าจะแปลอย่างไรจึงขอเรียกเป็นภาษาอังกฤษ-ภัควดี) อีกอย่างคือ Riot control หรือการควบคุมการจลาจล เมืองไทยไม่มีการแยกสองอย่างนี้ ฉะนั้นทุกครั้งที่เกิดปัญหาประชาชนประท้วงในเหตุการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 กรือเซะ ตากใบ เมษายน 52 เราจะใช้วิธีการเดียวกันคือการเอาอาวุธหนักออกมาปราบ วิธีการที่รัฐไทยทำคือ "counterinsurgency" ซึ่งจริงๆแล้ววิธีนี้ใช้ใน 3 กรณี หนึ่ง ใช้ในการสงคราม สอง การรุกรานเพื่อการยึดครอง และสามการปราบปรามกบฏติดอาวุธ ภัควดี กล่าวต่อว่า ในสงครามเวียดนาม เวลาทหารสหรัฐเข้าไปปราบปรามคนเวียดนาม เขาจะฆ่ามั่ว ฆ่าชาวบ้านด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเป็นเรื่องยากที่เขายากจะแยกแยะว่าใครเป็นใคร ก็เลยฆ่าหมด เป็นวิธีการเหมารวม สิ่งที่อยากจะบอกคือรัฐไทยอยู่ในชุดความคิดนี้ไม่เคยเปลี่ยน การปราบประชาชนก็ปราบแบบ "counterinsurgency" ตลอดเวลา ฉะนั้นเราจะเห็นว่า ตอนพฤษภา 53 ทำไมพยาบาลตาย ทำไมสื่อมวลชนตาย นั่นก็เป็นเพราะทหารไทยปราบหมด ฆ่าตายหมด นี่คือชุดความคิดของรัฐไทยที่มีต่อประชาชนไทย ทำไมรัฐไทยจึงคิดแบบนี้ทั้งที่ประเทศอื่นเขาก้าวหน้าไปหมดแล้ว บทความอาจารย์ธงชัยในหนังสือฟ้าเดียวกันเล่มล่าสุดตอบคำถามนี้ได้ดี โดยบอกว่ารัฐไทยในช่วงรัชกาลที่ 5 ไปรับเอาความคิดแบบอาณานิคมเข้ามา ขณะเดียวกันกรุงเทพฯที่เป็นศูนย์กลางก็มองพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นอาณานิคมด้วย อธิปไตยของรัฐไทยในสายตาผู้ปกครอง คือ การมีอำนาจเหนือดินแดน สิ่งสำคัญคือดินแดน ไมใช่คน เพราะฉะนั้นรัฐไทยจึงไม่ใช่รัฐประชาชาติ คือไม่ได้มองว่าชีวิตมนุษย์ประชาชนสำคัญต่อรัฐ ดังนั้นเมื่อต้องการปราบปรามประชาชน คือ การปราบปรามให้หมดสิ้น เหมือนปราบปรามประเทศในอาณานิคม นอกจากนี้ นักเขียนและนักแปลอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีคิดของรัฐและศาล ยังมีวิธีคิดเป็นชนเผ่าอยู่ แนวคิดสมัยใหม่ศาลต้องมองมนุษย์เป็นปัจเจกบุคคล ใครทำผิดก็หาหลักฐานเป็นบุคคล แต่ศาลและรัฐกลับมีแนวคิดคล้ายช่างกลตีกัน คือ ตีหมดทุกคน โดยไม่มองว่าคนนี้เป็นอริหรือไม่ เห็นหัวเข็มขัดก็ตีไว้ก่อน ศาลไทยก็คิดแบบนี้ เวลาจับคนเสื้อแดง แค่ใส่เสื้อแดงก็ผิดหมด ไม่มีการพิสูจน์เป็นรายปัจเจกบุคคล วิธีคิดนี้ครอบงำรัฐไทยมาตลอด ส่วนวิธีปราบจลาจลแบบ Riot control โดยปกติประเทศโลกที่หนึ่งจะใช้กันมาก คือ มีข้อห้ามในการใช้อาวุธที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ได้แก่ กระบอง โล่ แก๊สน้ำตา ปืนฉีดน้ำ สเปรย์พริกไทย ใช้กระสุนยาง วิธีการนี้มีมาเป็นร้อยปี อย่างประเทศอังกฤษเขาใช้วิธีนี้มานานแล้ว น่าสนใจว่าทำไมอังกฤษ ประเทศซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคม แต่ไม่ใช้วิธีปราบปรามรุนแรง ไม่ใช้วิธีการฆ่าให้ตายหมด วิธีการนี้เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามอังกฤษก็เลิกใช้กระสุนยางไปเมื่อ 30 กว่าปีแล้วเพราะอาจเกิดอันตรายได้ "เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐไทยไม่เคยใช้วิธีนี้ในการปราบปรามการจารจลในขณะที่ประเทศอื่นๆอย่าง เยอรมันหรือมาเลเซียเองใช้วิธีนี้ในการควบคุมฝูงชนและไม่ทำให้ผู้ประท้วงเสียชีวิต ทำไมรัฐไทยไม่เปลี่ยนชุดความคิด เปลี่ยนวิธีการปราบจาลาจลใหม่" นักเขียนและนักแปลอิสระ กล่าว ภัควดี กล่าวต่อว่า ประเด็นที่สองเรื่อง สันติวิธี การต่อสู้แบบนี้ไม่ใช่เป้าหมายในตัวมันเองถ้าเราสังเกตดูมันเกิดขึ้นในระยะหลัง อาจเรียกได้ว่า คานธีเป็นคนริเริ่ม แต่ปัญหาอยู่ที่การนิยามรุนแรง ซึ่งแต่ละคนจะคิดแตกต่างกัน การประท้วงในต่างประเทศ แรกเริ่มคือนักสันติวิธีจะพยายามห้ามโน่น ห้ามนี่ จนเกิดการโต้เถียงกันในขบวนการประท้วง และมีแบ่งโซนกันประท้วงว่าโซนสีเขียว (แบบสันติวิธี) โซนสีแดง (แบบแนวหน้าชอบปะทะ ไม่ได้นั่งเฉย เช่นอาจมีการรื้อรั้ว) แต่เวลาประท้วงจริงกลับปรากฏว่าผู้ประท้วง จะเทไปอยู่ในโซนสีแดงทุกครั้ง เพราะเวลาโดนยิงแก๊สน้ำตาก็โดนหมด ฉะนั้นความรุนแรงจึงยากที่จะนิยามได้ เพราะในบางประเทศการใช้ระเบิดขวด ถูกกล่าวหาว่ารุนแรง แต่ในประเทศแคนนาดาโซนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ระเบิดขวดเป็นมาตรฐานของการประท้วง ไม่ถือว่าเป็นความรุนแรงเพราะผู้ประท้วงปาระเบิดขวดหมด แล้วปรากฏว่าการระเบิดขวดก็ไม่ได้ทำให้อาคารไหม้ด้วย การประท้วง WTO หลายครั้ง คนก็จะบอกว่าผู้ประท้วงใช้ความรุนแรง เช่นการรื้อรั้ว (แต่ไม่มีใครตาย)แต่ก็ได้ผลทำให้ที่ประชุมหยุดการประชุมชั่วคราวได้เหมือนกัน อย่างนี้เรียกว่ารุนแรงหรือไม่ ในขณะที่ทั่วโลกประท้วงสหรัฐในการทำสงครามกับอิรัก โดยใช้หลักสันติวิธี แต่สุดท้ายก็ห้ามไม่ได้ จึงเกิดคำถามขึ้นมาอีกว่าแบบนี้สันติวิธีเกินไปหรือเปล่าจึงทำให้ไม่สามารถยับยั้งสงครามได้ มันจึงเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบ สันติวิธีในเมืองไทยมีปัญหามากกว่าในต่างประเทศ เป็นเพราะมันถูกผูกขาดหรือนิยามโดยคนกลุ่มเดียว และนักสันติวิธีในเมืองไทยไม่ใช่นักเคลื่อนไหว ใช้ทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ ส่วนใหญ่เป็นนักสันติวิธีในห้องแอร์ นักสันติวิธีกลุ่มนี้มักจะเอาตัวอย่างในต่างประเทศมาโดยไม่ดูบริบท จะอ้าง คานธี หรือ เนลสัน แมนเดลา ซึ่งไม่ได้ดูว่าคานธีเคยคิดใช้อาวุธต่อสู้กับอังกฤษ แต่คิดว่าไม่ได้ผลเลยไม่ใช้ ส่วนแมนเดลาก็เคยใช้อาวุธในการต่อสู้มาก่อนเหมือนกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงหันมาต่อสู้โดยสันติวิธี "อหิงสาของคานธีที่นำมาใช้กัน อย่างการประท้วงเรื่องเกลือ เราจะเห็นภาพคนเดินให้ตำรวจตีหัวโดยไม่ตอบโต้ เป็นภาพที่น่าสะเทือนใจมาก แต่ถามว่าวิธีการนี้มันใช้ได้ทุกที่หรือเปล่า เขาบอกว่าคนอินเดียใช้วิธีการนี้ได้เพราะอินเดียมีระบบวรรณะ และวรรณะต่ำ คือ จัณฑาล ซึ่งถูกกดขี่หรือถูกทำร้ายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่วรรณะนี้จะเดินไปให้เขาตีเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นการที่วิธีการนี้จะสำเร็จในพื้นที่อื่น จะต้องสร้างระบบวรรณะขึ้นมาหรือไม่" นักเขียนและนักแปลอิสระ กล่าว ภัควดี กล่าวอีกว่า ในสังคมไทยเป็นสังคมของเจ้าพ่อ นักเลง การใช้สันติวิธีแบบอินเดีย เช่น การเดินไปให้เขาตี อาจทำไม่ได้ การใช้สันติวิธีจึงต้องมีเงื่อนไขเฉพาะ นักสันติวิธีเมืองไทยเอาเรื่อง อหิงสามาใช้โดยไม่ดูบริบท ทำให้มีปัญหาในสังคม นอกจากนี้ยังนำสันติวิธีไปผูกติดกับศาสนา โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าคนที่คิดเรื่องจิตวิญญาณ มักจะมองคนเป็นระดับชั้น คือเมื่อเราเชื่อเรื่องจิตวิญญาณเราก็เชื่อว่ามีจิตวิญาณที่ลุ่มลึกกับจิตวิญญาณที่ตื้นเขิน ฉะนั้นจึงนับถือคนที่มีจิตวิญญาณที่ลุ่มลึก จึงทำให้คนที่คิดเรื่องนี้ยึดติดกับผู้นำที่มีบารมี สังเกตได้จากขบวนการสัตยาเคราะห์ของอินเดีย "กระบวนการสันติวิธีในไทยนั้นแปลก เพราะในต่างประเทศสันติวิธีนั้นมีเป้าเหมายทางการเมือง เช่น คานธีต้องการเอกราชจากอังกฤษ เนลสัน แมนเดลาต้องการยกเลิกการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ มาร์ติน ลูเธอร์คิงต้องการให้คนยอมรับสิทธิคนผิวดำในอเมริกา หรือแม้กระทั่งสันติวิธีในการประท้วง WTO ก็ต่อต้านทุนนิยม แต่ในไทยใช้สันติวิธีเฉยๆ ไม่มีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ทางการเมืองอะไรเลย คือ ไม่เคยบอกว่าต้องการอะไรทางการเมือง ไม่เคยสร้างภาพวิสัยทัศน์การเมืองแบบที่เขาต้องการ สันติวิธีเพื่อสันติวิธีเท่านั้นเอง เป็นสันติวิธีที่ระบอบการปกครองเป็นอะไรก็ได้ ขอแต่อย่าให้มีใครตาย ถ้าสันติวิธีเป็นอย่างนี้ก็อยากให้ผู้ทำสันติวิธีนอนอุเบกขาอยู่บ้านดีกว่า" นักเขียนและนักแปลอิสระ กล่าว ภัควดี สรุปว่า การต่อสู้ประชาชนไทยต่อไปข้างหน้า เราคงต้องมาคิดเรื่องสันติวิธีกันใหม่ มาสร้างสันติวิธีกันใหม่ที่ไม่ต้องผูกขาดโดยคนกลุ่มเดียว นอกจากนี้ทุกความเปลี่ยนแปลงไม่โรแมนติก ฉะนั้นจึงไม่ต้องยึดติดกับตัวบุคคล เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงเราจึงต้องมีการเตรียมตัว เรื่องสันติวิธีเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อความเปลี่ยนแปลงที่ได้รับความนิยม เพราะการเปลี่ยนแปลงรัฐด้วยการใช้กองกำลังอาวุธ เราต้องมีทุน อาวุธ เหมือนสมัยก่อน แต่ปัญหาคือเมื่อไรก็ตามที่เราจัดตั้งกองทัพหนึ่งขึ้นมาเพื่อปราบอีกกองทัพหนึ่ง มันจะสร้างอสูรกายขึ้นมากดขี่เราอีก เกิดบาดแผลจากการใช้กองกำลังอาวุธ และใช้เวลาในการเยียวยานาน เป็นไปไม่ได้ที่เราจะใช้ความเป็นเผด็จการมาสร้างประชาธิปไตย ส่วนเรื่องการนำสันติวิธีมาใช้ ปัญหามันอยู่ที่การนิยามความรุนแรงที่ต่างกัน เพราะในเมืองไทยสันติวิธีมันถูกผูกขาดโดยคนกลุ่มหนึ่ง คนกลุ่มนี้ได้ออกทีวี เพราะเขาบอกว่า การเทเลือดคือความรุนแรง เป็นต้น ภัควดี กล่าวทิ้งท้ายว่า ดีใจที่คนทำงานด้านศิลปะหันมาสนใจประเด็นนี้ ซึ่งถ้าดูการประท้วงในต่างประเทศ ศิลปินมีบทบาทสูงมาก และทำให้การประท้วงมีสีสัน เช่น การประท้วงในประเทศอิตาลี กลุ่ม "ตูเต้ เบียงเช่" ที่เชื่อว่าสันติวิธีคือการประท้วงแล้วไม่เจ็บตัว เวลาประท้วงเขาจะใส่เกราะ แล้วเดินไปให้ตำรวจตี เขาก็ไม่เจ็บตัว ฉะนั้นถ้าศิลปินเข้ามาร่วมเคลื่อนไหว ก็จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มิตร ใจอินทร์ กล่าวถึงประท้วงทางวัฒนธรรมโดยการอดอาหาร ว่า รู้สึกแปลกใจ อดอาหารแต่ก็ยังมีแรงมาก ยังอยู่ได้ ทฤษฎีกาลิเลโอในปัจจุบัน เราใช้วิกิลีกส์ผ่านโลกออนไลน์ การปกปิดความจริงและความอุจาดทางความคิดวิปริตยิ่งกว่าน้ำท่วม ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ และกฎหมายมาตรา 112 ตนคิดว่าเป็นความรุนแรงอย่างมาก เกิดความวิปริต และเกิดอะไรขึ้นจากความจริง ความรุนแรงคือการปกปิดความจริง โดยเฉพาะเรื่องสถาบันกษัตริย์ วิธีการต่อสู้กับความวิปริตเหล่านี้แบบสามัญชน คือการเข้าถึงข้อมูล และการตรวจสอบได้ "การอดอาหารประท้วง 112 ชั่วโมง นั้นคิดมานานแล้ว เพราะรู้สึกตกใจที่ศิลปินด้วยกันที่เคยใช้แนวทางสันติวิธีมาก่อนในการต้านรัฐประหาร กลับร่วมมือเผด็จการ โดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดกับอำนาจเผด็จการ "รู้ทั้งรู้ว่าชั่ว ก็ยังสมคบ" ศิลปินอิสระ กล่าว มิตร กล่าวต่อว่า อดอาหารประท้วง เพราะไม่ค่อยเห็นด้วยกับการที่สถาบันกษัตริย์ไม่สามารถพูดถึงได้ เพราะ มาตรา 112 และการที่คณะวิจิตรศิลป์สนใจ ทำให้ตนอยากทำเรื่องนี้ต่อ โดยจะจัดเวทีพูดเรื่องนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่าลืมว่าประชาชนไทยเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว แต่การรัฐประหารทำให้อำนาจของประชาชนไทยหายไป มิตร กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากเห็นสถานะของสถาบันกษัตริย์มีการเปลี่ยนแปลง และสามารถพูดถึง หรือตรวจสอบได้มากขึ้น บทบาท สถานะ อำนาจของสถาบันต้องพูดได้ในชีวิตประจำวัน ปัญหาของสังคมไทยที่ผ่านมาเกิดจากการสมรู้ร่วมคิดของกลุ่มต่างๆในสังคมกับอำนาจเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน สื่อมวลชน เอ็นจีโอ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงของการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนซักถาม นายทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ สาขาสื่อศิลปะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นการต่อสู้ทางวัฒนธรรมว่า สิ่งที่น่าสนใจคือสิ่งที่อยู่ระหว่างสันติวิธี และความรุนแรง เป้าหมายของวิธีการต่อสู้หรือขบวนการของพวกสังคมใหม่ มันไม่ได้มีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจริง แต่โดยตัวของมันเอง วิธีการต่อสู้ มันเป็นวิธีการเปิดเวทีหรือเปิดพื้นที่ใหม่ ที่นำไปสู่การต่อสู้ในหลายๆรูปแบบ เช่นในอเมริกามีนักต่อสู้วัฒนธรรมร่วมกัน 2 คน ชื่อ เดอะ เยส แมน (The Yes Man) วิธีการแบบเดอะ เยส แมน คือปลอมตัวเป็นผู้แทนของสมาคมการค้า หรือบุคคลสำคัญ เข้าไปร่วมประชุมสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็น IMF WTO เสร็จแล้วก็จะมีการ sanction เช่น ยกตัวอย่างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางเศรษฐกิจ เป็นต้น และจะปฏิเสธหรือไม่เอาด้วยกับมติที่มันจะเกิดขึ้นจาก WTO หรือ IMF จนกลายเป็นเรื่องเป็นราว และคนกลุ่มนี้ก็เป็นคนที่วิจัยและศึกษาเรื่องนั้นๆมาก่อน และมีแถลงการณ์ออกมาก่อนว่ามติของที่ประชุมจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร เป็นเรื่องที่ในที่ประชุมไม่มีทางคัดค้านได้เพราะมองในเรื่องผลกระทบ และเขาก็ใช้วิธีการแบบนี้ในเวทีเล็กอื่นๆ พอมีคนเข้าร่วมกลุ่มมากขึ้น ก็เปลี่ยนกันไปหลายเวที ต่อมาในภายหลังก็ถูกจับได้ พวกเขาทำถึงขั้นที่ว่า ทำเว็บเพจของรัฐบาลปลอมในช่วงรัฐบาล จอร์จบุช ขึ้นมาโดยมีเนื้อหาที่สนับสนุนสงครามอ่าว ทำให้รัฐบาลจอร์จบุชถูกด่าเละ โดยไม่รู้เรื่อง ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าอะไรคือสถานะ จอร์จบุช และนำไปสู่คำถามว่า รัฐบาลสนับสนุนสงครามจริงหรือไหม หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่ชื่อ กอลิล่าเกิร์ล จะประท้วงโดยการสวมชุดกอลิล่า ออกไปตามที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดประเด็นถกเถียง ตั้งแต่เพศสภาพ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์และความไม่ธรรม ซึ่งปัจจุบันกอลิล่าเกิร์ลมีอยู่ทั่วอเมริกา และเนื่องจากทุกคนใส่ชุดกอลิล่า จึงทำให้ไม่รู้ว่ามันเป็นเกิร์ลหรือบอย มันจึงทำให้เกิดการประท้วงทางวัฒนธรรม และนำไปสู่การทบทวนสิ่งต่างๆในประเด็นเหล่านี้ หรือมีชายคนหนึ่งคล้ายกับกลุ่มเดอะเยสแมน คือ ปลอมตัวเป็นตัวแทนนักลงทุน จากนั้นใช้กาวตราช้างเช็คแฮนด์กับบุคคลสำคัญ วิธีการแบบนี้มันอาจจะไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรในเบื้องต้น แต่มันนำไปสู่การเปิดบาดแผลของประเด็นต่างๆในประเทศที่เขาไปเยี่ยม ซึ่งตอนนี้เขาไม่ต้องทำถึงขั้นเอากาวตราช้างทามือเพื่อเช็คแฮนด์ แต่แค่ประกาศว่าจะไปที่ไหน ประเด็นปัญหาเหล่านี้ก็จะถูกเปิดโดยสื่อมวลชนทันที การเคลื่อนไหวบางครั้งที่ถูกมองว่าไร้สาระอาจจะนำไปสู่การเปิดประเด็น หรือการพูดคุยต่อไป อาจจะไม่ต้องเป็นแบบวิชาการ หรือว่าต้องมีการเสนออะไรก่อนก็ได้ หรือไม่ต้องเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรม แบบนิติราษฎร์ทุกกลุ่มก็ได้ เพราะแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน.
ที่มา: สำนักข่าวประชาธรรม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
องค์กรสิทธิย้ำ รัฐบาลไทยต้องลงนามอนุสัญญายุติเลือกปฏิบัติแรงงานข้ามชาติ Posted: 14 Oct 2011 05:55 AM PDT เมื่อวันที่ 13 ต.ค.54 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ออกแถลงการณ์ต่อความเห็นและคำสัญญาของรัฐบาลไทยในประเด็นการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ สืบเนื่องจากการรายงานสถานการณ์สิทธิของรัฐบาลไทย ณ สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยย้ำว่า รัฐบาลไทยต้องจริงใจในการลงนามในอนุสัญญารับรองสิทธิแรงงานข้ามชาติ พร้อมแจง สถานการณ์ที่เป็นจริงในพื้นที่ ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลรายงานในที่ประชุม แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ในการรายงานสถานการณ์สิทธิของรัฐบาลไทย ทางการไทยอ้างว่า คนงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างชาติ มีระบบคุ้มครองด้านสังคมและประกันสังคมอย่างเท่าเทียมกัน หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว มสพ. ชี้ว่า ยังมีแรงงานข้ามชาติกว่า 1 ล้านคนซึ่งจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายในประเทศ ยังคงถูกปฏิเสธอย่างเป็นระบบไม่ให้เข้าถึงกองทุนเงินทดแทน เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมกำหนดให้แรงงานข้ามชาติต้องแสดงหนังสือเดินทาง ซึ่งแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนจะไม่มีเอกสารดังกล่าว ยกเว้นแต่จะได้รับการพิสูจน์หลักฐานแล้วเท่านั้น มสพ. ยังชี้ว่า การที่รัฐบาลไทยเสนอให้แรงงานต่างชาติซื้อประกันภัยเอกชน ยังตอกย้ำการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติในการเข้าถึงเงินทดแทนในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งเป็นการละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - ICERD) ที่รัฐบาลไทยลงนามเป็นภาคีอยู่ด้วย นอกจากนี้ ในเวทีการรายงานสถานการณ์สิทธิยูพีอาร์ รัฐบาลไทยกล่าวว่า ได้จัดหาการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่โรงพยาบาล แก่แรงงานข้ามชาติที่ไม่จดทะเบียนและบุตรตามหลักมนุษยธรรมอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม มสพ. อ้างข้อมูลการทำงานในพื้นที่และพบว่า ข้ออ้างดังกล่าวไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจากแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนส่วนใหญ่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวนเมื่อไปรักษาที่โรงพยาบาล และไม่ได้รับประโยชน์จากเงินสนับสนุนด้านสาธารณสุขดังกล่าวแต่อย่างใด มูลนิธิด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาการลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของเเรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกครอบครัว (International Convention on the Rights of Migrant Workers and Members of Their Families) ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะจากยูเอ็นที่รัฐบาลไทยยังไม่รับ พร้อมทั้งกระตุ้นให้รัฐบาลไทยทบทวนแนวทางการปฏิบัติและนโยบายที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล 00000 วันที่ 13 ตุลาคม 2554 แถลงการณ์ต่อความเห็นและคำสัญญาของรัฐบาลไทย เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ “เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถทำตามคำสัญญาที่จะส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ มสพ.กระตุ้นรัฐบาลไทยให้พิจารณาที่จะลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกครอบครัว และเพื่อแสดงถึงความเชื่อมั่นในความเห็นและความพยายามที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติตามที่สัญญา มสพ.กระตุ้นรัฐบาลไทยให้ทบทวนแนวการปฏิบัติและนโยบายในประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิคนข้ามชาติ กรณีที่ขัดแย้งกับพันธกรณีสากลของประเทศไทยและมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป” การทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (Universal Periodic Review - UPR) มีขึ้นที่กรุงเจนีวา ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม 2554 ในสมัยประชุมที่ 12 ของคณะทำงานตามกระบวนการ UPR (UPR Working Group) ในระหว่างกระบวนการ UPR คณะทำงานที่ประกอบด้วยรัฐภาคี 47 แห่งของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ทบทวนสถิติข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย โดยเปิดให้มีการอภิปรายอย่างอิสระของบรรดารัฐภาคีสมาชิก จากการทบทวนกรณีประเทศไทย ผู้แทนประเทศ 52 คนได้กล่าวถ้อยแถลง และผู้แทนอีกเจ็ดคนได้ส่งคำถามล่วงหน้า จากข้อเสนอแนะทั้งหมด 172 ข้อ ประเทศไทยรับไปพิจารณาทันที 100 ข้อ โดยข้อเสนอแนะที่ยังไม่รับพิจารณาทันที 72 ข้อจะมีการนำไปปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคมอีกครั้งหนึ่ง โดยมีกำหนดต้องให้คำตอบต่อข้อเสนอแนะที่เหลืออยู่ไม่เกินวาระการประชุมสมัยที่ 19 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2555 มสพ.ขอแสดงความยินดีต่อคำสัญญาของรัฐบาลไทยในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิแรงงานและสิทธิแรงงานข้ามชาติ ดังนี้ Ø ประเทศไทยจะลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว Ø ประเทศไทยจะลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานโลก ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง Ø ประเทศไทยจะมีหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการต่อกลไกพิเศษ (special procedures) ทั้งหลายภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ Ø ประเทศไทยจะส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ Ø ประเทศไทยจะเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบการตรวจสอบด้านแรงงานนอกจากความชื่นชมต่อรัฐบาลไทยสำหรับความก้าวหน้าเมื่อเร็ว ๆ นี้ มสพ.ต้องการย้ำถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ และต้องการชี้แจงบางประเด็นเกี่ยวกับข้อสังเกตของรัฐบาลไทยที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ เราหวังว่ารัฐบาลไทยจะพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อหาทางปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย และแนวการปฏิบัติให้สอดคล้องกับพันธกรณีสิทธิมนุษยชนสากลของประเทศไทย ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ 1. ในข้อสังเกตเชิงสรุปของรัฐบาลไทย มีการอ้างว่า “ระบบคุ้มครองด้านสังคมและประกันสังคม (มีให้กับ) สำหรับคนงานทุกคน ทั้งที่เป็นคนไทยและแรงงานข้ามชาติจดทะเบียน” รวมทั้ง “นายจ้างของแรงงานข้ามชาติยังสามารถเลือกซื้อประกันภัยของเอกชนได้ หรือ (อาจ) จ่ายค่าชดเชยเต็มจำนวนให้กับแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ข้อชี้แจงในกรณีนี้หากมองในความเป็นจริงกล่าวได้ว่า แรงงานข้ามชาติกว่าหนึ่งล้านคนซึ่งจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ยังคงถูกปฏิเสธอย่างเป็นระบบไม่ให้เข้าถึงกองทุนเงินทดแทนในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับความเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งเป็นผลมาจากหนังสือเวียนเลขที่ รส.0711/ว.751 ที่เป็นระเบียบภายในของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกำหนดให้แรงงานข้ามชาติต้องแสดง “หนังสือเดินทาง” แต่แรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนจะไม่มีเอกสารดังกล่าว เว้นแต่จะได้ผ่านขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ข้อกำหนดถือเป็นการกีดกันแรงงานข้ามชาติในการไดรับเงินทดแทนกรณีที่บาดเจ็บจากการทำงาน นอกจากนั้น ระเบียบภายในเหล่านี้ยังละเมิดพันธกรณีของรัฐบาลไทยที่มีต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 19 ว่าด้วยการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกันในเรื่องค่าทดแทนกรณีเกิดอุบัติเหตุสำหรับคนงานในชาติและคนงานต่างชาติ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - ICERD) ข้อเสนอของรัฐบาลไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ให้ซื้อประกันภัยเอกชน ยังคงตอกย้ำการเลือกปฏิบัติและกีดกันแรงงานข้ามชาติในการเข้าถึงการได้รับเงินทดแทนอย่างเท่าเทียมกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการ อีกทั้งข้อเสนอดังกล่าวไม่มีระเบียบปฏิบัติอย่างชัดเจน และเป็นไปในลักษณะที่นายจ้างสมัครใจทำเอง จึงไม่อาจเป็นหลักประกันแก่แรงงานข้ามชาติว่าจะได้รับเงินทดแทนอย่างเท่าเทียมในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับความเจ็บป่วยจากการทำงาน 2. ในคำแถลงเปิดการประชุมและข้อสังเกตเชิงสรุปของรัฐบาลไทย มีการระบุว่า “แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียน จะได้รับสิทธิประโยชน์และการคุ้มครอง กรณีที่เจ็บป่วย ได้รับบาดเจ็บ ทุพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ เทียบเท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใดๆ ต่อแรงงานข้ามชาติผ่านการพิสูจน์สัญชาติและได้รับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งรวมถึงสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมที่ให้เงินทดแทนต่อแรงงานข้ามชาติกรณีที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับความเจ็บป่วยจากการทำงาน” อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการชี้แจงกรณีดังกล่าวยังขาดการดำเนินการและบังคับให้นายจ้างนำลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ส่งผลให้มีแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนแล้วและขึ้นทะเบียนกับกองทุนประกันสังคมเพียงไม่ถึง 20% (จากจำนวนแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนและผ่านขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ 500,000 คน) เป็นเหตุให้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ตกอยู่ใต้ความเสี่ยงและไม่มีประกันสุขภาพ[1] 3. ต่อกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ มสพ. ยินดีต่อการปรับปรุงขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติ โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการพิสูจน์สัญชาติขึ้นที่จังหวัดระนอง และแม้จะมีศูนย์เช่นนี้ แต่แรงงานข้ามชาติก็ยังไม่สามารถสมัครเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางของรัฐ ในทางตรงข้าม แรงงานข้ามชาติถูกบังคับให้ต้องติดต่อผ่านนายหน้าเอกชนที่คิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากสำหรับบริการที่ไม่มีการควบคุม เป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น ขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติเป็นโอกาสที่เครือข่ายนายหน้าที่ปราศจากการควบคุมและมีขนาดใหญ่เข้ามาเอารัดเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ เราขอกระตุ้นอย่างจริงจังให้รัฐบาลไทยควบคุมขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติให้ดีกว่านี้ เพื่อให้ “ซับซ้อนน้อยลงประหยัดเวลามากขึ้น และคุ้มทุนมากขึ้น” อย่างจริงจังสำหรับแรงงานข้ามชาติ 4. ในแง่ของข้อสังเกตเชิงสรุปของรัฐบาลไทยที่บอกว่า “แรงงานข้ามชาติที่ไม่จดทะเบียนและบุตร ได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่โรงพยาบาลตามหลักมนุษยธรรม” ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าบริการดังกล่าวมีการจัดให้โดยไม่คิดมูลค่าหรือไม่ หรือจะสามารถเข้าถึงได้อย่างไร ทั้งนี้ตามข้อมูลของเจ้าหน้าที่มสพ.ที่ทำงานโดยตรงกับแรงงานข้ามชาติ ข้ออ้างดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจริง มีเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นที่นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้บางส่วน แต่โดยทั่วไปแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียน เมื่อได้รับบาดเจ็บและไปรักษาโรงพยาบาลก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวน ในทางปฏิบัติแล้ว พวกเขาไม่ได้รับประโยชน์จากเงินสนับสนุนด้านสาธารณสุขดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่เป็นที่ชัดเจนเช่นกันว่า ระบบ “ดูแลสุขภาพที่มีอยู่” ต่างจาก “เงินสนับสนุนการดูแลสุขภาพ” ที่รัฐบาลไทยอ้างว่าได้จัดไว้สำหรับกับผู้ไม่มีสถานะบุคคลอย่างไร 5. ในระหว่างกระบวนการ UPR รัฐบาลไทยยืนยันว่า “มีกลไกที่ให้ความเพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติกรณีที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและสภาทนายความ” และทางกระทรวงยุติธรรมสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม แรงงานข้ามชาติมักไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นได้ เนื่องจากสถานะของการเป็นแรงงานข้ามชาติ และอุปสรรคด้านภาษาที่ทำให้พวกเขาไม่มีพลัง แรงงานข้ามชาติยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่ามีบริการเช่นนั้น และบ่อยครั้งที่พวกเขาตกเป็นเหยื่อการปฏิบัติมิชอบของนายจ้าง ถูกนายจ้างขู่ที่จะยึดเอกสารแสดงตน หรือขู่ที่จะเลิกการจ้างงาน เมื่อว่างงาน แรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยต่อไป และอาจถูกจับกุมและถูกส่งกลับเวลาใดก็ได้ ในกรณีที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมหรือการค้ามนุษย์ แรงงานข้ามชาติมักกลัวไม่กล้าไปแจ้งความกับตำรวจ เกรงว่าจะถูกจับหรือส่งกลับ กระบวนการ UPR ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นพื้นที่การเจรจาอย่างสร้างสรรค์ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รัฐบาลไทยได้แสดงเจตนารมณ์และความก้าวหน้าในการยอมรับสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ และคุณูปการของแรงงานเหล่านี้ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถทำตามคำสัญญาที่จะส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ และปฏิบัติตามข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR มสพ.กระตุ้นรัฐบาลไทยให้พิจารณาข้อเสนอแนะที่สำคัญอย่างยิ่งอีกข้อหนึ่ง กล่าวคือการลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกครอบครัว (International Convention on the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families- ICRMW) และเพื่อแสดงถึงความเชื่อมั่นในความเห็นและความพยายามที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติตามที่สัญญา มสพ.กระตุ้นรัฐบาลไทยให้ทบทวนแนวการปฏิบัติและนโยบายในประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิคนข้ามชาติ กรณีที่ขัดแย้งกับพันธกรณีสากลของประเทศไทยและมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เราสนับสนุนให้มีการปรึกษาหารืออย่างมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประกันว่าจะมีการทบทวนและปฏิบัติอย่างจริงจัง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นายกมั่นใจรักษากรุงเทพจากน้ำท่วม ด้าน กทม. เตรียมพร้อมศูนย์พักพิงหากเกิดวิกฤติ Posted: 14 Oct 2011 05:50 AM PDT นายกรัฐมนตรี ตรวจคันกั้นน้ำหลักหก ยืนยันต้องปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจ มั่นใจรักษาพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ ด้าน กทม. เตรียมพร้อมศูนย์พักพิงรับผู้ประสบภัยหากเกิดวิกฤติน้ำขึ้นสูง ส่วนคนปทุมธานี เครียดถูกตัดน้ำตัดไฟสองพันครอบครัวปิดถนนประท้วง นายกรัฐมนตรีมั่นใจรักษาพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่ให้ถูกน้ำท่วมได้ 14 ต.ค. 54 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดินทางมาตรวจเยี่ยมแนวพนังกั้นน้ำหลักหก เมืองเอก จังหวัดปทุมธานี เพื่อตรวจสอบสถานการณ์น้ำและความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี รายงานข้อมูลให้รับทราบ พร้อมระบุว่า จะมีการเพิ่มแนวกระสอบทรายให้สูงขึ้นจากแนวเดิมอีก 30 เซนติเมตร และอาจจะเพิ่มอีก 20 เซนติเมตร โดยขณะนี้ระดับน้ำในคลองรังสิตยังทรงตัว อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี รายงานว่าขณะนี้ไม่สามารถปิดประตูระบายน้ำคลองหนึ่งได้ จึงทำให้น้ำยังไหลลงมายังคลองรังสิต จึงขอให้นายกรัฐมนตรีช่วยเจรจา ด้าน นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ภาครัฐจะควบคุมสถานการณ์ให้ได้มากที่สุด โดยมีทำแนวกั้นน้ำอย่างแน่นหนาและเตรียมความพร้อมตลอดเวลา ดังนั้น ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ ทั้งนี้ เรามองภาพรวมในการรักษาเศรษฐกิจของประเทศ และจะดูแลไม่ให้กระทบบ้านเรือนประชาชนมากนัก จากนั้น นายกรัฐมนตรีขึ้นรถทหารไปตรวจแนวคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำคลองรังสิตตัดกับคลองเปรมประชากร ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า จะรองรับน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมกรุงเทพฯ หากคันกั้นน้ำที่หลักหกชำรุด ยังมีคันกั้นน้ำที่เมืองเอกสำรองไว้ หรือหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินจะสามารถซ่อมแซมและสูบน้ำลงคลองรังสิตได้ทัน พร้อมจะเฝ้าระวังแนวคันกั้นน้ำตลอด 24 ชั่วโมง นายกรัฐมนตรี ยังให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า การไปดูแนวคันกั้นน้ำที่หลักหก เพราะต้องการให้เสริมแนวกั้นให้สูงขึ้น เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ยืนยันว่า รัฐบาลดูแลประชาชนในภาพรวมทุกจังหวัด ป้องกันความเสียหายไม่ให้กระจายออกไปมากกว่านี้ อยากขอความร่วมมือกับประชาชนเสียสละเพื่อส่วนรวม ซึ่งขณะนี้สามารถสบายใจได้ระดับหนึ่ง เพราะปริมาณน้ำไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม และเชื่อว่ากรุงเทพฯจะไม่เป็นเหมือนจังหวัดนครสวรรค์หรือพระนครศรีอยุธยา และเมื่อเราเร่งขุดคลองให้แล้วเสร็จโดยเร็ว จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น รัฐบาลเห็นใจประชาชนทุกคนที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็ต้องปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจ กรุงเทพฯถือเป็นหัวใจและเป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจประเทศ ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน “ดิฉันขอให้ประชาชนสบายใจ กรุงเทพมหานครก็น่าจะสบายใจได้แล้ว เราทำทุกวิถีทางและทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกัน ดูแลทั้ง กทม.และพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ และแนวคันกั้นน้ำ เราก็เสริมให้แข็งแรง นอกจากนี้ ยังมีแนวคันกั้นน้ำในโครงการพระราชดำริอีก ตรงนี้อยากให้ทุกฝ่ายสบายใจ รัฐบาลดูแลในภาพรวม ดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบทุกคน และดูแลภาพรวมของประเทศ” ทอท.ยืนยันดอนเมืองเตรียมพื้นที่รองรับผู้ประสบภัย 24 ชม. กรุงเทพฯ 14 ต.ค.- พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ตุลาคม มีประชาชนที่เกรงว่าจะประสบภัยน้ำท่วมเข้ามาพักที่ศูนย์อพยพ อาคาร 2 สนามบินดอนเมืองบางส่วน และเมื่อพบว่าน้ำไม่ได้ท่วมที่พักอาศัย จึงได้เดินทางกลับ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่อพยพดังกล่าว ทาง ทอท.เตรียมพร้อมรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมตลอด 24 ชม. ส่วนประชาสัมพันธ์ ฝ่ายกิจการพิเศษ แจ้งว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมั่นใจระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีเขื่อนดินสูง 3.5 เมตร สามารถป้องกันสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ได้แน่นอน สภาทนายความเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สภาทนายความ 14 ต.ค.– ตัวแทนสภาทนายความนำโดย นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ แถลงเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของสภาทนายความ ถนนราชดำเนิน และที่ทำการสภาทนายความสาขาโรงเรียนภูมิไพโรจน์พิทยา (ในการบริหารของสภาทนายความ) โดยจะเปิดรับเงิน สิ่งของและปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ก่อนส่งต่อให้บริษัทในเครือเนชั่น ลำเลียงไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดต่าง ๆ ต่อไป และยังเตรียมความพร้อมรองรับผู้อพยพประมาณ 300 คนไว้ที่โรงเรียนภูมิไพโรจน์พิทยาด้วย นอกจากนี้สภาทนายความยังจะเปิดให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือทางคดี ที่สำนักงานสภาทนายความจังหวัดทุกเขตศาลจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่สภาทนายความส่วนกลาง โดยมีทนายอาสาคอยให้คำแนะนำเช่น เรื่องหลักฐานสำคัญที่สูญหาย หรือประสานงานเรื่องญาติสูญหาย โดยสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 0 2629 1430 ต่อ117 134 หรือ 0 2282 9726 กทม. เตรียมพร้อมศูนย์พักพิงรับผู้ประสบภัยหากเกิดวิกฤติน้ำขึ้นสูง กรุงเทพฯ 14 ต.ค.- นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวภายหลังเดินทางไปตรวจความพร้อมศูนย์พักพิง ผู้ประสบอุทกภัย ณ โรงเรียนวัดมหาธาตุ เขตพระนคร และโรงเรียนวัดเทวราชกุญชร เขตดุสิต ซึ่ง กทม. ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตจัดหาที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัย โดยจัดให้มีเครื่องนอน อาหารครบ 3 มื้อ สาธารณูปโภค ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้การดูแลผู้ประสบภัยในช่วงภาวะวิกฤติว่า กทม.ได้ตั้งศูนย์พักพิงภายในโรงเรียนในสังกัด กทม. รวม 96 โรงเรียน และโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง รองรับได้แห่งละประมาณ 100 คน เพื่อให้การดูแลผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และผู้ประสบภัยจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ที่ต้องการเข้ามาพักพิง โดยขณะนี้ กทม. มีความห่วงใย 27 ชุมชน นอกแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากระดับน้ำ ที่อาจเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ โดยได้สั่งการให้ผู้อำนวยการเขตทยอยประชาชนออกมาจากชุมชน ซึ่ง กทม. ได้ประสานความร่วมมือกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และสำนักเทศกิจ กทม. ในขนย้ายสิ่งของและประชาชนออกมาจากชุมชน หากพบว่าประชาชนมีภาวะเครียดจากภัยน้ำท่วม สำนักอนามัยและสำนักการแพทย์จะจัดทีมนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ หากประชาชนสามารถสอบถามรายชื่อโรงเรียนที่กรุงเทพมหานคร จัดไว้รองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม โทร. 0 2437 6631-5 ต่อ 3418 ในเวลาราชการ หรือเว็บไซต์ www.bmaeducation.in.th หรือ สายด่วน กทม.โทร.1555 ตลอด 24 ชั่วโมง ประท้วงถูกตัดนำ-ไฟ จากน้ำท่วม เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 14 ต.ค. ชาวบ้านหมู่บ้านปาริชาติ ถนนปทุมธานี บางบัวทอง ม.5 ต.บางคูวัด จ.ปทุมธานี ได้รวมตัวกันชุมนุมอยู่ที่หน้าหมู่บ้านปาริชาติ พร้อมทั้งมีปากเสียงกับกลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองบางคูวัด ที่มาคอยดูแลแนวคันดินกั้นน้ำใต้สะพานเกาะเกรียง เนื่องจากกลัวชาวบ้านจะมารื้อคันดินออกจะทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมเขตโรงงานและวังจักรกรีบงกช ทำให้ชาวบ้านต่างไม่พอใจที่ทางเทศบาลไม่ยอมให้น้ำไหลเข้าท่วมเพื่อแบ่งเบาน้ำจากในหมู่บ้านที่ได้ถูน้ำท่วมถึงชั้นสองแล้ว ทำให้ชาวบ้านใช้รถหกล้อปิดกั้นกลางถนนรถไม่สามารถวิ่งไป จ.สุพรรณบุรี ได้ โดยนางผุสดี เทียนมาวร ประธานหมู่บ้าน และนายสุพัฒน์ นิ่มแสง กรรมการหมู่บ้านได้ออกมาชีแจ้งว่าสาเหตุที่จำเป็นต้องปิดถนนในครั้งนี้เนื่องจากเมื่อเจ้าหน้าที่ไฟฟ้า และการประปา ได้มาตัดน้ำตัดไฟ ทำให้ชาวบ้านจำนวน 2,000 ครอบครัว เดือดร้อนไปตามกัน ทำให้ชาวบ้านจะหุง ข้าวหรืออาบน้ำก็ไม่ได้ทำให้คนในหมู่บ้านนี้เครียดมันเกิดอะไรขึ้นเมื่อถูกน้ำท่วมบ้านเกือบจะถึงชั้นสองอยู่แล้ว ยังไม่มีผู้ใดเข้ามาเหลียวแลเลย จึงจำเป็นต้องมาปิดถนนร้องเรียกความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นมาทำไม่ไม่ช่วยแก้ไขให้ชาวบ้านกับมาตัดน้ำตัดไฟสร้างความเดือนร้องของชาวบ้าน ทางด้านนายไพศาล กล่ำสนอง ส.อบจ.เขตบางคูวัด พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาลที่ได้รวมตัวกันอยู่ที่แนวคันดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านรื้อแนวคันดิน เนื่องจากเขตนี้ได้ป้องกันน้ำไม่ให้เข้าเขตโรงงานและยังมีตำหนักจักรีบงกช ที่ตั้งอยู่ในเขตนี้จึงต้องป้องกันน้ำไว้ให้ได้และจะไม่ให้ใครมาทำลายเด็ดขาด ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย, กรุงเทพธุรกิจ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เวทีรับฟังสมัชชาสุขภาพอุบลชู “ภาคประชาชน” ร่วมแก้ปัญหาทุกด้าน Posted: 14 Oct 2011 05:04 AM PDT เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานีจัดเวทีรับฟังความเห็นต่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำเข้าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ ที่ประชุมเสนอภาคประชาชนร่วมแก้ปัญหาทุกประเด็น ระบุ ไม่ใช่แค่พูด แต่ต้องมีงบประมาณให้ทำงานได้จริง เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 54 ที่ผ่านมาที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานีจัดเวทีรับฟังความเห็นต่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำเข้าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปลายปีนี้ ที่ประชุมเสนอภาคประชาชนร่วมแก้ปัญหาทุกประเด็น ระบุ ไม่ใช่แค่พูด แต่ต้องมีงบประมาณให้ทำงานได้จริง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดเวทีรับฟังความเห็นครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมมากกว่าหนึ่งร้อยราย ทั้งภาครัฐ วิชาการ และภาคประชาชนในจังหวัด โดยร่วมกันหารือเกี่ยวกับร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ วันที่ ๑๙-๒๑ ธันวาคมนี้ ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ภายใต้ประเด็นหลัก “รับมือภัยพิบัติ จัดการภัยสุขภาวะ” เวทีรับฟังแบ่งเป็น ๕ ห้องย่อย โดยมีหน่วยงานในระดับจังหวัดที่ดูแลประเด็นนั้นๆ เป็นผู้ดำเนินการประชุม ได้แก่ ๑.การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ... ไม่คิดสั้น) โดย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และศูนย์สุขภาพจิตที่๗ ๒.ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี ๓.การจัดการปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณยาที่ผิดกฎหมาย ทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๔.การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ๕.การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีทุกภาคส่วน โดย เครือข่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. ท้องถิ่น) และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้จัดการมูลนิธิประชาสังคม ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า เวทีนี้เกิดจากการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดอย่างแท้จริง เห็นได้จากผู้รับผิดชอบห้องย่อยทุกห้อง ล้วนเป็นตัวจริงที่ทำงานในประเด็นนั้นๆ “นอกจากหน่วยงานที่รับผิดชอบจะมานำคุยเองแล้ว เขายังเป็นผู้เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในประเด็นนั้นมาเข้าร่วมเวทีด้วย ทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกตื่นตัว เพราะคนทำงานฝ่ายต่างๆ มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย ตามประสบการณ์การทำงานของแต่ละฝ่าย” “สิ่งที่เห็นชัดเจนในเวทีนี้คือ ทุกฝ่ายอยากช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆ ของจังหวัดอุบลจริงๆ แต่ละห้องแลกเปลี่ยนความเห็นกันเต็มที่ และหลายห้องก็คุยกันดุเดือด โดยเฉพาะประเด็นการจัดการภัยพิบัติและการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็ก เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนเผชิญอยู่ สุดท้ายก็เห็นร่วมกันว่า จากเดิมที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้จัดการปัญหาต่างๆ เป็นหลัก ต่อไปนี้ เครือข่ายภาคประชาชนต้องเข้ามาร่วมจัดการปัญหามากขึ้น นอกจากนี้ ข้อเสนอที่ทำได้ในระดับจังหวัด เช่น การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาโฆษณายาและอาหาร และการรณรงค์สร้างสุขในจังหวัดอุบล ก็มีผู้รับไปเคลื่อนงานต่อทันที โดยไม่ต้องรอมติจากที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ผู้สื่อข่าวรายงานถึงข้อเสนอที่สำคัญจากเวทีว่า เรื่องการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย มีการเสนอให้ผู้ป่วยทางจิต กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป มีสิทธิได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงบริการทางสุขภาพจิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เนื่องจากผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มใหญ่คือผู้ป่วยทางจิต ผู้มีปัญหาซึมเศร้า และผู้ใช้สารเสพติดและสุรา นอกจากนี้ ควรป้องกันปัญหาโดยเน้นการพัฒนาระบบการช่วยเหลือเชิงรุก การเพิ่มภูมิคุ้มกันทางจิต และฝึกทักษะให้คนทั่วไปมองเห็นคุณค่าในตนเอง ประเด็นการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ แม้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จะสามารถผลิตชุดทดสอบสาร โพลาร์ ซึ่งเป็นสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำออกมาแล้ว แต่ยังหาซื้อได้ยาก และใช้ทดสอบยาก ที่ประชุมจึงเสนอให้มีการผลิตชุดทดสอบที่ใช้ง่ายเหมือนชุดทดสอบหาการตั้งครรภ์ โดยขอให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ผลิตและกระจายชุดทดสอบในวงกว้าง เพื่อให้หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก และสามารถนำไปทดสอบน้ำมันทอดซ้ำได้เองในครัวเรือน ว่าน้ำมันที่ใช้อยู่เสื่อมสภาพหรือยัง ประเด็นปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณยาที่ผิดกฎหมาย เสนอให้เกิดกลไกให้ความรู้และสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคประชาชน เพื่อเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหานี้อย่างจริงจัง รวมทั้งให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดมาตรการและบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับสื่อมวลชนที่สร้างปัญหาดังกล่าว ส่วนการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง จากเดิมที่กรมป้องกันและบรรเทาสารณภัยเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการภัยพิบัติ ที่ประชุมเสนอให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อจัดการภัยพิบัติโดยตรง และมีภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมแจ้งเตือนภัย เช่น เครือข่ายวิทยุเครื่องแดงของภาคประชาชน รวมทั้งมีงบประมาณสนับสนุนให้ภาคประชาชนทำงานได้คล่องตัวและเป็นรูปธรรม ไม่ใช่การดำเนินการในลักษณะอาสาสมัครอย่างที่เป็นอยู่ ประเด็นสุดท้าย การจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างมีส่วนร่วม เสนอให้เครือข่ายผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบาย พร้อมทั้งร่วมรับผิดชอบถึงผลจากการตัดสินใจนั้นๆ นอกจากนี้ มีการเสนอให้เครือข่ายผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมจัดการลุ่มน้ำขนาดใหญ่ด้วย เพราะพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งเล็กและใหญ่เชื่อมโยงและทับซ้อนกันอยู่ และต้องมีการจัดสรรงบประมาณและเครื่องจักรกลเพื่อให้การทำงานในพื้นที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีโครงสร้างการดำเนินงานจากล่างขึ้นบน คือจากพื้นที่ไปสู่นโยบายกลาง และใช้ภูมิปัญญาของชุมชนในการจัดการน้ำด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในเวทีเป็นไปอย่างตื่นตัว โดยข้อเสนอส่วนใหญ่เน้นที่การสร้างกลไก เพื่อให้ภาคประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ เกิดความเข้มแข็ง และสามารถมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ในการแก้ปัญหาระดับพื้นที่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเสนอให้จัดสรรงบประมาณ และกระจายอำนาจให้ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเสนอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้จัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ให้ข้อมูลกับประชาชนเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลการทำงานขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นด้วย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พม่าอนุญาตผู้ใช้แรงงานตั้งสหภาพและผละงานประท้วง Posted: 14 Oct 2011 04:28 AM PDT พม่าออกกฎหมายใหม่อนุญาตผู้ใช้แรงงานตั้งสหภาพแรงงานและผละงานประท้วงได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี สร้างความยินดีแก่สหประชาชาติที่เห็นว่าเป็นนิมิตหมายใหม่ของการปฏิรูปอีกขั้นหนึ่ง 14 ต.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่าประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ลงนามกฎหมายฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งจะนำมาใช้ทดแทนกฎหมายสหภาพแรงงานปี พ.ศ.2505 เจ้าหน้าที่พม่าเปิดเผยว่า กฎหมายใหม่อนุญาตผู้ใช้แรงงานมีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานและสามารถหยุดงานประท้วงโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ การตั้งสหภาพแรงงานจะต้องมีสมาชิกขั้นต่ำ 30 คนและจะต้องมีตราสัญลักษณ์และชื่อเป็นของตนเอง และจะต้องแจ้งล่วงหน้าจำนวนผู้ใช้แรงงานที่จะเข้าร่วมประท้วง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้แรงงานในภาคบริการที่จำเป็น เช่น บริการด้านสุขภาพ ดับเพลิง โทรคมนาคม ประปาและไฟฟ้า ไม่ได้รับอนุญาตให้ผละงานประท้วง นายญาน วิน ทนายความและโฆษกของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลพม่า กล่าวแสดงความยินดีต่อกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ แม้ว่าจะยังไม่ใช่กฎหมายที่ดีนัก ขณะที่องค์การแรงงานสากลสนับสนุนในหลักการว่าเป็นก้าวสำคัญของรัฐบาลพม่าเพราะการเคลื่อนไหวของผู้ใช้แรงงานที่ผ่านมาในพม่ามักลงเอยด้วยการถูกจับกุมคุมขัง แต่องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แสดงท่าทีระมัดระวังเพราะยังไม่ได้ศึกษาตัวบทกฎหมายอย่างละเอียด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 14 Oct 2011 03:50 AM PDT เรื่อง “รัก” ที่มีมากกว่า “รัก” เรื่องราวของ “มีชอ” สาวลูกครึ่งมอญ-กะเหรี่ยง ที่พบรักกับหนุ่มไทย กรณีศึกษาการเมืองเรื่องสถานะ สำหรับความรักข้ามพรมแดน
“...ขอบฟ้าแม้จะคนละฟาก ห่างไกลกันมากแต่ก็ฟ้าเดียวกัน รักข้ามขอบฟ้า ข้ามมาผูกพัน ผูกใจรักมั่น สองดวงให้เป็นดวงเดียว” เนื้อหาของบทเพลงรักข้ามขอบฟ้า แม้จะเป็นเพลงเก่าแต่ยังคงใช้ได้กับทุกยุคสมัย หลายคนฟังเพียงผ่าน ๆ แล้วรู้สึกว่าไพเราะ ขณะที่หลายคนดื่มด่ำกับเพลงนี้อย่างลึกซึ้งเช่นเดียวกับ มีชอ มีชอ (MI CHAW) หญิงผู้มีมารดาเป็นชาวมอญและบิดาเป็นชาวกะเหรี่ยง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 7 คน วันเดือนปีเกิดในเอกสารของ UNHCR คือวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 ปัจจุบันมีชออายุ 26 ปี เธอเกิดที่ประเทศพม่าแต่ไม่ทราบหมู่บ้านหรือเมืองที่เกิด ตั้งแต่จำความได้ครอบครัวของเธออาศัยอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง อพยพหนีภัยสงครามเรื่อย ๆ มีชอไม่เคยเจอทหารพม่า พอได้ยินข่าวว่าจะมีทหารมา ก็จะย้ายหนีทุก 1-2 ปี ประมาณปี 2540 มีชอเดินทางเข้ามาประเทศไทยพร้อมพี่สาว-น้องสาว รวม 4 คน โดยน่าจะเดินทางเข้ามาทางบ้านเปิ่งเคลิ่ง ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง รอนแรมมาตามป่า และพักอยู่ที่บ้านกุยต๊ะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง 1 คืน จากนั้นมีคนมารับพาไปที่พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยจากการสู้รบนุโพหรือแคมป์นุโพ ครอบครัวของมีชอไม่มีญาติพี่น้องอยู่ประเทศไทยมาก่อน เธออยู่ที่แคมป์นุโพได้ 1 ปี พ่อ แม่และน้องอีก 3 คนก็ตามมาอยู่ด้วย โดยอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 9 section 9 ปี 2541 ได้มีการทำบัตรประจำตัว (UN-card) ให้กับผู้หนีภัยการสู้รบภายในแคมป์นุโพ มีชอและครอบครัวได้อาศัยอยู่ที่แคมป์นุโพเรื่อยมาไม่ได้เดินทางกลับพม่าอีกเลย ขณะอยู่ที่แคมป์นุโพ มีชอได้เข้าเรียนที่โรงเรียนภายในแคมป์ และพบกับวุฒิกร กานดา หรือก่ำ ชายสัญชาติไทยที่เข้าไปรับจ้างทำหน้าที่ครูสอนหนังสือ ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นความรัก จนกระทั่งต้นปี 2551 มีชอและครอบครัวได้ยื่นคำร้องขอไปประเทศที่สามต่อ UNHCR และในเดือนเมษายนจึงได้เข้ารับการสัมภาษณ์กับ Oversea Processing Entity (OPE) องค์การระหว่างประเทศที่ดูแลเรื่องการคัดเลือกผู้หนีภัยการสู้รบฯเดินทางไปประเทศที่สาม[1] จนในที่สุดได้รับอนุมัติและได้เดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 โดยพี่สาวคนโตได้เดินทางไปอยู่ก่อนแล้ว มีชอและครอบครัวได้ไปอยู่ที่เมืองเซนต์พอลล์ รัฐมินิทโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ได้ประมาณ 1 เดือน มีชอก็ไปขอทำ social security card [2]และ ID card และเมื่ออาศัยอยู่ครบ 1 ปี เธอก็ได้รับ green card[3] ซึ่งเลขประจำตัวใน green card เป็นเลขเดียวกับ UN-card ตลอดเวลาที่เธอใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา มีชอติดต่อสื่อสารกับก่ำเป็นประจำในฐานะของคู่รัก พฤษภาคม 2554 มีชอขอวีซ่าแบบนักท่องเที่ยว (Refugee travel) มาที่ประเทศไทย และอาศัยอยู่กับวุฒิกรที่บ้านของเขาในอำเภออุ้มผาง ทั้งคู่จัดพิธีมงคลสมรสในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2554 ก่อนที่มีชอจะบินกลับเพราะวีซ่าของเธอจะหมดอายุในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 มีชอบอกว่า “หากเธออยู่ที่อเมริกาอีก 1 ปีครึ่งก็จะได้รับสิทธิเป็น American citizen หรือพลเมืองสหรัฐฯ แต่ขณะนี้มีชอตั้งครรภ์ได้ประมาณ 2 เดือน เธอและก่ำกังวลเรื่องอนาคตของลูกน้อยและการก่อร่างสร้างครอบครัวให้ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ จึงปรึกษากับญาติคือ นางรัศมี กานดาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอุ้มผาง นางรัศมี นำเรื่องราวของมีชอเข้าหารือกับรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร ซึ่งกรุณาให้คำแนะนำ ดังนี้ “แนวคิดหลักในการจัดการสำหรับกรณีนี้ ก็คือ การรักษาสิทธิให้แก่มนุษย์ตัวน้อยที่กำลังเติบโตในครรภ์ของมีชอภายใต้กฎหมายของรัฐที่มีจุดเกาะเกี่ยวทั้งสองรัฐที่สำคัญ กล่าวคือ รัฐไทยและรัฐอเมริกัน ซึ่งวิธีจัดการที่ควรทำภายใต้ 2 ปฏิบัติการ ก็คือ สิ่งแรกที่เราควรตะหนัก ก็คือ การรักษาสิทธิของบุตรของมีชอในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตบิดา ไม่ว่าเขาจะเกิดนอกหรือในประเทศไทย และไม่ว่าจะมีการสมรสตามกฎหมายระหว่างมีชอและวุฒิกรหรือไม่ แต่เพื่อมิให้การพิสูจน์สิทธินี้ยากลำบากเกินไป ก็ควรมีการทำให้การสมรสของมีชอและวุฒิกรเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไทยซึ่งเป็นรัฐเจ้าของสัญชาติของวุฒิกรผู้เป็นบิดา หรือในกรณีที่การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยไม่อาจทำได้โดยเร็ววัน ก็ต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานให้ชัดเจนว่า วุฒิกรก็คือบิดาตามข้อเท็จจริงของบุตรในครรภ์ของมีชอ ซึ่งการทำสมุดฝากครรภ์ของโรงพยาบาลอุ้มผางเพื่อการนี้ก็เป็นทางออกที่มั่นคงและชัดเจน และในกรณีที่บุตรคลอดในสหรัฐอเมริกา ก็ควรมีการจดทะเบียนการเกิดให้แก่บุตรต่อสถานกงสุลไทยประจำสหรัฐอเมริกาในสถานะคนสัญชาติไทย ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ส่วนการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านคนอยู่ถาวร (ท.ร.14) ตามมาตรา 36 แห่งกฎหมายเดียวกัน อันนำไปสู่การมีบัตรประจำตัวคนสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 จะทำเมื่อใดก็ได้ ในประการที่สอง เราคงต้องตระหนักว่า หากมีชอคลอดบุตรบนแผ่นดินของสหรัฐอเมริกา บุตรย่อมมีสิทธิในสัญชาติอเมริกันโดยหลักดินแดน ดังนั้น การรีบเดินทางกลับไปสหรัฐอเมริกาย่อมเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งมีชอและบุตรในครรภ์ มีความเป็นไปได้ที่บุตรที่จะเกิดขึ้นอาจมีสถานะเป็นคนสัญชาติอเมริกันก่อนที่มีชอจะได้สัญชาติอเมริกันโดยการแปลงสัญชาติ ในทิศทางนี้ สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นด้วยก็คือสิทธิในการเข้าเมืองอเมริกันของคุณวุฒิกรในขณะที่บุตรเกิดบนแผ่นดินอเมริกัน ดังนั้น การสมรสตามกฎหมายเอมริกันของมีชอและวุฒิกรจึงเป็นสิ่งที่ควรพยายามทำให้ได้ แต่ก็น่าเสียดายที่สถานกงสุลอเมริกันประจำประเทศไทยตอบว่า ไม่มีอำนาจดำเนินการจดทะเบียนสมรสให้แก่บุคคลที่ยังไม่มีสถานะพลเมืองสัญชาติอเมริกัน ดังนั้น หากคุณวุฒิกรร้องขอวีซ่าเข้าสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับ การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอเมริกันก็อาจทำได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในกรณีที่คุณวุฒิกรไม่อาจตามมีชอไปสหรัฐอเมริกา การจดทะเบียนสมรสก็อาจทำได้อีกครั้งและคงไม่มีอุปสรรค หากเมื่อมีชอได้รับการรับรองสิทธิในสัญชาติอเมริกันโดยการแปลงสัญชาติแล้ว และเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง การจดทะเบียนสมรสทั้งตามกฎหมายไทยและอเมริกันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอีกต่อไป ขอให้ตระหนักว่า ภายใต้ปฏิบัติการทั้งสองทิศทาง สิทธิในการอยู่ร่วมกันฉันท์ครอบครัว (Right to family union) ของบุคคลทั้งสามก็อาจเป็นไปได้ทั้งในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา และเมื่อประเทศพม่าปรับทัศนคติต่อชนกลุ่มน้อยที่เกิดในประเทศพม่า ก็มีความเป็นไปได้ที่มีชอและบุตรในครรภ์จะได้รับรองสิทธิในสัญชาติพม่า” โอกาสของครอบครัวน้อยๆ นี้ก็อาจมีความเป็นไปได้อีกด้วยในประเทศพม่า แต่โอกาสที่สามนี้คงไม่เกิดขึ้นก่อน ค.ศ.2015 และอาจเกิดขึ้นล่าช้าไปกว่านั้นอีก ดังนั้น สถานการณ์ที่เป็นจริงของครอบครัวเล็กๆ นี้คงเป็นเรื่องที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยและรัฐอเมริกันเท่านั้น” วุฒิกรและมีชอได้เดินทางไปแจ้งความประสงค์กับฝ่ายทะเบียน ที่ว่าการอำเภออุ้มผางว่าต้องการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย อำเภออุ้มผางไม่ปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสของทั้งคู่ และขอให้ทั้งคู่ไปขอเอกสารจากสถานทูตอเมริกาเพื่อยืนยันว่า มีชอมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะสามารถจดทะเบียนสมรส คือ อายุ 20 ปีขึ้นไป มีอาชีพการงานในอเมริกาและไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน มีชอจึงประสานงานทางอีเมล์กับสถานกงสุลอเมริกาที่จังหวัดเชียงใหม่ในการขอเอกสารรับรองดังกล่าว คำตอบจากสถานกงสุลคือ “ปฏิเสธ” ทางสถานกงสุลไม่สามารถออกเอกสารรับรองใด ๆ ได้ เนื่องจากเธอยังไม่ได้มีสถานะเป็นพลเมืองสัญชาติอเมริกัน และมีคำแนะนำให้มีชอลองติดต่อกับสถานทูตประเทศพม่า เพราะสัญชาติที่ระบุในพาสปอร์ตของเธอคือ “พม่า” ในส่วนของโรงพยาบาลอุ้มผาง ได้แนะนำให้มีชอและวุฒิกร เดินทางไปฝากครรภ์ในวันที่ 26 กันยายน 2554 โดยมีชอมีทะเบียนผุ้ป่วย (Hospital Number) 57659 ในสมุดฝากครรภ์ของมีชอ ระบุบิดาของเด็กคือ นายวุฒิกร กานดา ซึ่งเป็นเอกสารของทางราชการชิ้นแรกที่ยืนยันความสัมพันธ์ของครอบครัวเล็ก ๆ ครอบครัวนี้ ในวันนี้ มีชอวางแผนจะกลับไปให้กำเนิดบุตรที่ประเทศอเมริกา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในขณะที่ลูกน้อยของเธอกำลังจะคลอด วุฒิกรจะสามารถเดินทางเข้าไปอยู่ร่วมเป็นกำลังใจให้การคลอดดำเนินไปอย่างราบรื่น ปลอดภัยทั้งแม่และลูก จากนั้นเมื่อปฏิบัติตามกระบวนการอย่างเคร่งครัด เธอและลูกจะมีสัญชาติอเมริกัน และจะเดินทางกลับมาประเทศไทยเพื่อจดทะเบียนสมรสกับสามีของเธอในประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การได้สร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ในอนาคต [1] ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อองค์การเป็น Resettlement Support Center (RSC) [2] คล้ายกับประกันสังคมของไทย และเป็นหมายเลขที่สำคัญที่สุดสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะเปิดบัญชีธนาคาร ได้รับบัตรเครดิต ได้รับใบอนุญาตขับรถ, ซื้อรถ, รับการประกันสุขภาพในประเทศและเปิดใช้บัญชีเพื่อการเกษียณ นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการการจ้างงานและสำหรับการกรอกแบบแสดงรายการภาษี [3] คนถือกรีนการ์ดจะได้รับสิทธิมีถิ่นที่อยู่ถาวร มีสิทธิเท่ากับชาวเมริกายกเว้นมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ต้องถือกรีนการ์ดอย่างน้อย 5 ปีจึงจะขอสอบเป็น citizen ได้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
น้ำท่วม : วิบากกรรมแห่งยุคสมัย วิบากกรรมอำพราง Posted: 14 Oct 2011 03:48 AM PDT จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ศูนย์รวมของทุกอย่างจะกระจายตัวไปตามภูมิภาค และการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมอาจไม่จำเป็นต้องพะวงว่าจะกระทบกระเทือนต่อศูนย์รวมทุกสิ่งอย่างของประเทศ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กระนั้นก็อาจเป็นเรื่องที่ควรทำ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปี 2554 นี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดรับน้ำเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่มากตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระดับโลกอย่าง “ลา นิญญา” ซึ่งหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัสไม่ใช่ใครที่ไหน หากเป็นประเทศไทยของเราเอง เมื่อต้นปีพบว่ามวลน้ำมหาศาลหลากไหลเข้าท่วมด้ามขวานถือเป็นวิกฤติการณ์หนึ่งที่ควรบรรจุไว้ในประวัติศาสตร์ภัยพิบัติในประเทศ ถัดมาแถบภาคเหนือในจังหวัดเล็กๆ ของผู้เขียนเองก็หลีกไม่พ้นที่จะถูกน้ำท่วมสูงในรอบห้าปีหลังจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2549 หนำซ้ำหลายพื้นที่ยังเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากซึ่งเกิดขึ้นอย่างถี่กระชั้น แม้แต่เชียงใหม่ก็ยังถูกกระแสน้ำลามเลียในตัวเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบสองทศวรรษที่ผู้เขียนมีชีวิตอยู่ ทุนนิยมเติบโตอยู่ในทุกซอกทุกมุมของชีวิต จนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แม้กระทั่งผู้ที่พยายามหนีห่างจากมัน เสมือนหนึ่งคุกตะรางที่จองจำผู้คนไว้ ภายใต้กรอบกำหนดของความเป็นรัฐชาติ และกรอบกำหนดของความเป็นรัฐในระบบโลกที่มีกติการะหว่างชาติเป็นเครื่องมือ สภาพเช่นนี้ส่งผลให้ประเทศเล็กๆ เช่นประเทศไทยนั้นจำต้องแขวนตัวเองอยู่กับระบบดังกล่าว แม้จะมีวาทกรรม “เศรษฐกิจพอเพียง” หลอกล่อใจให้รู้สึกว่าคนไทยใช้ชีวิตกลมกลืนกับวิถีธรรมชาติ แต่ก็ไม่อาจเป็นความจริงขึ้นมาได้ หลายปีมานี้พื้นที่เกษตรกรรมอาหารในภาคเหนือและอีสานถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมอุตสาหกรรม กล่าวคือ เป็นการผลิตพืชผลทางการเกษตรเพื่อสนองการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งโดยมากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นไปเพื่อการผลิตสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เช่น การปลูกยางพาราเพื่อผลิตยางรถยนต์ การปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เป็นต้น เหตุผลที่ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชชนิดดังกล่าวนั้นเนื่องจากหวังผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งผันตามระบบทุนนิยมนั่นเอง กล่าวก็คือ หากเกษตรกรไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่อาจอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในปัจจัยหลากหลายมิติได้ เช่น การเข้าถึงการศึกษาของบุตร การเข้าถึงการรักษาพยาบาล ตลอดจนการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานตามแบบฉบับของโลกในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นแล้ว ผู้บุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตรอาจเป็นนายทุนเสียเองที่กว้านซื้อพื้นที่จากชาวบ้านเพื่อการลงทุนระยะยาว ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความเติบโตของความเป็นเมือง ภาวะเช่นนี้นำไปสู่ความเสียสมดุลทางธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง นอกจากนั้นแล้วอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต อย่างไรก็ตาม ประเด็นของผู้เขียนยังคงอยู่ในเรื่องของ “น้ำท่วม” น้ำท่วมไม่เพียงแต่เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากตามปรากฏการณ์ลานิญญา หากยังเป็นเกิดจากภาวะสมดุลที่ผันผวนเนื่องจากการก่อกวนธรรมชาติภายในประเทศด้วย ทั้งนี้ เรื่องของการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำก็เป็นสิ่งที่น่ากลัวไม่แพ้กัน แม้จะมีเหตุผลนับประการที่หลายคนมองว่าดี เช่น เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเพื่อจัดสรรสู่พื้นที่แห้งแล้ง ถึงอย่างไรก็ต้องแลกกับการถากถางทำลายผืนป่า จะว่าไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่หมุนเวียนอยู่บนแผ่นดินไทยขณะนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่กระหน่ำซ้ำเติมสถานการณ์ความแปรปรวนทางธรรมชาติอย่างไม่อาจบรรยายได้ เรื่องของเรื่องก็คือ ผู้เขียนเชื่ออย่างสนิทใจว่า โลกได้ดูดกลืนประเทศไทยเข้าสู่ระบบทุนนิยมอย่างไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะถอนตัวอย่างไร แม้แต่ตัวผู้เขียนเองยังใช้ชีวิตอยู่ในระบบดังกล่าวอย่างไม่รู้ว่าจะขาดมันได้อย่างไร น้ำท่วมจึงเป็น “วิบากกรรมแห่งยุคสมัย” ที่คนไทยต้องร่วมกันเผชิญ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กระแสน้ำไหลที่ผิดปกติในขณะนี้อันเกิดจากการจัดการน้ำของกรมชลประทานเพื่อรักษาศูนย์รวมของระบบทุนนิยมภายในประเทศอย่างกรุงเทพมหานครนั้น ถือเป็น “วิบากกรรมอำพราง” ที่ชาวต่างจังหวัดในภาคกลางต้องเผชิญโดยลำพัง แม้จะมีหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้คนที่มีจิตอาสาเคียงข้างคอยช่วยเหลือ แต่ก็นั่นแหละ สิ่งเหล่านั้นอาจไม่ควรเกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย เมืองนครสวรรค์จำต้องจมบาดาลอยู่อย่างน้อยสองเดือน เมืองอยุธยาน้ำท่วมสูงเป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สิ่งเหล่านี้เป็น “วิบากกรรมอำพราง” ที่พวกเขาตกเป็นผู้รองรับ ทั้งที่กรุงเทพมหานครคือจุดศูนย์กลางของสาเหตุของน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ แต่กลับไม่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม เป็นตรรกะที่สอดคล้องกับแนวคิดคู่สังคมไทยมาช้านานว่า ผู้คนไม่ควรรู้จักรับผลเท่าการกระทำ หากต้องให้รู้จักแต่รับผลมากกว่าการกระทำ ตัวอย่างเช่น การทำงานน้อยแต่ค่าตอบแทนมากของผู้คนบางกลุ่ม ซึ่งตรรกะนี้ใช้ได้กับเรื่องน้ำท่วม คนกรุงเทพมีส่วนในการใช้สอยซึ่งมีค่าเท่ากับทำลายมากกว่าคนต่างจังหวัดแต่แทบไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เลย สมแล้วที่เป็นวิบากกรรมอำพรางแห่งยุคสมัย... ขณะที่การถากถางทำลายธรรมชาติเป็นไปเพื่อสนองนายทุน วิบากกรรมกลับตกต่อผู้คนที่อาจไม่ได้ผลประโยชน์จากการถากถางทำลายนั้น ต่อประเด็นเรื่องการจัดการน้ำขณะนี้ หลายเสียงกระซิบกระซาบมาว่า คนต่างจังหวัดจำนวนหนึ่งต้องการที่จะรักษาเมืองหลวงไว้ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นเรื่องที่มีสภาพสองแพร่งในตัวมันเอง กล่าวก็คือ ด้านหนึ่ง กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของความช่วยเหลือจริง ขณะที่อีกด้าน กลับกลายเป็นคำถามที่ว่า เหตุใดความช่วยเหลือจึงต้องรวมศูนย์อยู่เฉพาะที่กรุงเทพมหานคร จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ศูนย์รวมของทุกอย่างจะกระจายตัวไปตามภูมิภาค และการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมอาจไม่จำเป็นต้องพะวงว่าจะกระทบกระเทือนต่อศูนย์รวมทุกสิ่งอย่างของประเทศ แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กระนั้นก็อาจเป็นเรื่องที่ควรทำ เมื่อถึงเวลานั้น อาจเป็นไปได้ว่า น้ำท่วมจะไม่ใช่วิบากกรรมอำพรางอีกต่อไป
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
อ้าย เหว่ย เหว่ย ติดอันดับหนึ่ง 100 ศิลปินทรงพลังประจำปี 2011 Posted: 14 Oct 2011 01:48 AM PDT นิตยสาร ArtReview ของอังกฤษจัดอันดับ 100 ศิลปินที่ทรงพลังที่สุดประจำปี 2011 ซึ่งอ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินและนักกิจกรรมผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับทางการจีนได้ถูกจัดให้เป็นอันดับหนึ่ง โดย ArtReview ให้เหตุผลว่า เขาเป็นผู้ทำให้ศิลปะก้าวข้ามพรมแดนจากแกลอรี่มาสู่โลกความจริง นิตยสาร ArtReview ของอังกฤษจัดอันดับ 100 ศิลปินที่ทรงพลังที่สุดประจำปี 2011 ซึ่งอ้าย เหว่ยเหว่ย ศิลปินและนักกิจกรรมผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับทางการจีนได้ถูกจัดให้เป็นอันดับหนึ่ง โดย ArtReview ให้เหตุผลว่า อ้าย เหว่ย เหว่ย เป็นผู้ที่มีความเป็นนักกิจกรรมมากพอๆ กับความเป็นศิลปิน การเป็นทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันถือเป็นการก้าวออกจากแนวคิดที่ว่าศิลปินควรจะทำงานอยู่แต่ในอาณาเขตเฉพาะคือภายใต้กำแพงแกลอรี่หรือพิพิธภัณฑ์ "เขาเป็นผู้ที่ผลักดันให้ศิลปินออกมาอยู่นอกเขตแกลอรี่หรือพิพิธภัณฑ์ ค้นหาหนทางให้ศิลปะอยู่ร่วมกับชีวิตจริงแทนที่จะเป็นสิ่งที่อยู่ในพื้นที่จำกัดเฉพาะตามสถาบันต่างๆ ซึ่งพอคุณเดินออกมาแล้ว มันก็ไม่สำคัญอีก" มาร์ค แรบโพลท์ บก. ArtReview กล่าว อ้าย เหว่ย เหว่ย เป็นศิลปินจีนผู้ที่เคยมีผลงานร่วมออกแบบ 'สนามรังนก' สนามกีฬาโอลิมปิกของจีน ขณะเดียวกันก็มักวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีน เขาเคยถูกรัฐบาลจีนจับเข้าห้องขัง 81 วันจาก 'คดีความทางเศรษฐกิจ' แต่ก็มีคนกล่าวกันว่าเป็นการถูกจับครั้งนี้เพราะเรื่องที่อ้ายกล่าววิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง The Independent ของอังกฤษระบุว่าการจัดแสดงผลงานเมล็ดทานตะวันของไอมีสัญญะทางการเมือง เนื่องจากช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมของประธานเหมา เจ๋อ ตุง ได้มีการใช้โฆษณาชวนเชื่อโดยยกให้ประธานเหมาเป็นพระอาทิตย์และประชาชนเปรียบเสมือนดอกทานตะวันที่หันหน้าไปทางผู้นำ การจัดอันดับ 100 บุคคลผู้ทรงพลังทางศิลปะของ ArtReview ในครั้งนี้ดำเนินมาเป็นครั้งที่ 10 แล้ว โดยกรรมการผู้จัดอันดับเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ 26 คนจากทั่วโลก ArtReview ระบุว่าเป้าหมายของการจัดอันดับในครั้งนี้เป็นไปเพื่อการบันทึกความมีพลังอำนาจของบุคคลเหล่านี้และเพื่อสะท้อนภาพของ 'โลก' ที่ส่งผลต่อการสร้างและการจัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัย นอกจากอ้ายแล้ว ผู้ที่ติดอันดับรายอื่นๆ มีทั้งศิลปิน ภัณฑารักษ์ และประธานแกลอรี่ศิลปะ
From Ai to Zhukova: meet the art world's most powerful figures, The Independent, 13-10-2011 Ai Weiwei number one in ArtReview's Power 100, ArtReview, 12-10-2011
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รมว.แรงงานเผยเจรจาสถานประกอบการให้ลูกจ้างลางาน ไม่ถูกตัดเงิน Posted: 14 Oct 2011 12:58 AM PDT (14 ต.ค.54) เมื่อเวลาประมาณ 12.00น.ที่ผ่านมา ตอนหนึ่งในการแถลงข่าวของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากเหตุอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่อยุธยา เพื่อความปลอดภัย ได้เจรจากับผู้ประกอบการให้ลูกจ้างสามารถลางานได้ โดยไม่ถูกตัดเงินหรือถือเป็นการหยุดงาน นอกจากนี้ กรมจัดหางานได้เตรียมหางานรองรับผู้ที่ต้องการทำงาน โดยขณะนี้มีอัตรารองรับกว่า 89,000 อัตรา ชนิดงาน 60 กว่าประเภทในจังหวัดที่ไม่มีน้ำท่วม ซึ่งขณะนี้มี 10,000-20,000 รายที่ได้งานทำแล้ว ขอให้มั่นใจว่าจะไม่มีตกงานหลังน้ำลดลง ทั้งนี้ สามารถแจ้งความประสงค์ทำงานที่โทร 1506 และกระทรวงแรงงาน 022482222
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ทีดีอาร์ไอแนะใช้ประกันว่างงานชดเชยลูกจ้างภัยน้ำท่วม Posted: 13 Oct 2011 11:13 PM PDT (14 ต.ค.54) เหตุการณ์น้ำท่วมทำให้สถานประกอบการจำนวนมากต้องหยุดดำเนินการและเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนทั้งจากภัยน้ำท่วมและจากการขาดรายได้ วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านหลักประกันสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เสนอให้กองทุนประกันสังคมใช้กลไกการประกันการว่างงานในการช่วยเหลือลูกจ้างที่ต้องหยุดงานเพราะสถานประกอบการหยุดดำเนินการเพราะภัยน้ำท่วม และเป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่เคยสมทบเงินประกันสังคมมาก่อน ไม่ใช่ลูกจ้างทั่วไป โดยให้สถานประกอบการในเขตน้ำท่วมแจ้งแก่สำนักงานประกันสังคมถึงจำนวนวันที่หยุดดำเนินงาน เพื่อใช้ในการคำนวณเงินชดเชยกรณีว่างงาน ทั้งนี้ ในปัจจุบันกองทุนประกันการว่างงานมีเงินสะสมมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท เงินจำนวนนี้สะสมไว้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกงานด้วยเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ หรือโรงงานต้องหยุดดำเนินการเพราะภัยพิบัติ ถ้าเหตุน้ำท่วมครั้งนี้ทำให้ลูกจ้างตกงานชั่วคราวประมาณ 2 แสนคน กองทุนประกันสังคมจะต้องใช้เงินประมาณ 600 ล้านบาทเพื่อจ่ายเงินชดเชยประมาณ 30 วันให้แก่ผู้ตกงานเหล่านั้น เงินชดเชยนี้เป็นสิทธิของผู้ประกันตนที่สมทบทุกเดือนเพื่อประกันการว่างงาน และการว่างงานด้วยเหตุภัยพิบัติเป็นเหตุที่กองทุนประกันการว่างงานควรที่จะคุ้มครอง ด้วยเงินชดเชยเป็นเงินไม่มาก คือร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทาภาระด้านการเงินได้ระดับหนึ่ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น