ประชาไท | Prachatai3.info |
- TCIJ: สกต.จัดเวทีรณรงค์กลางเมืองสุราษฎร์ฯ หวังสร้างความเข้าใจปัญหาคดีที่ดินคนจน
- 25 องค์กรนักศึกษา-ภาคประชาชน ร่วมค้านเหมืองแร่ทองคำ
- 23.20 น. ผู้ว่าฯ กทม แถลงวิกฤติมาถึงแล้ว 6 เขต กทม. เตือนรับน้ำ-ศปภ. แถลงคอนเฟิร์ม
- 'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: ร่วมด้วยช่วยกันวุ่น
- ร้องทนายความมุสลิมปัตตานีทิ้งคดี ประธานศูนย์ฯ โต้ มุ่งทำลายชื่อเสียง
- สื่อชายแดนใต้นำเงินบริจาคส่งถึงมือผู้ประสบภัย 27 ต.ค.
- ตูนีเซียจัดเลือกตั้งสภาร่าง รธน. ฉบับใหม่
- ประชาสังคมชายแดนใต้รณรงค์ต้าน พรก.ฉุกเฉิน
- ปันประสบการณ์จากญี่ปุ่น กรณีภัยพิบัติ ประชาชน และรัฐ และสื่อควรทำอย่างไรในภาวะวิกฤต
- โต๊ะเจรจาที่ปาตานี: ทางแพร่งและพงหนาม
- การบริการสาธารณูปโภคกับเหตุการณ์ภัยพิบัติ
- โฆษก ศปภ.ปัดไม่เคยประกาศให้คน กทม.เก็บของสูง1ม. แอดมินFB ศปภ.รับประสานงานพลาด
- คำแนะนำ ต.หัวไผ่ ในฐานะผู้ประสบภัยก่อน: มีศักดิ์ศรีและมีใจให้คนอื่นด้วย
- ปชป.จี้นายกฯ รับผิดชอบ หลังประกาศ ม.31 แล้วมีคนถูกไฟดูดตาย
- แรงงานจากพม่าที่มหาชัยบริจาคอาหารแห้งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
TCIJ: สกต.จัดเวทีรณรงค์กลางเมืองสุราษฎร์ฯ หวังสร้างความเข้าใจปัญหาคดีที่ดินคนจน Posted: 23 Oct 2011 01:52 PM PDT สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ทำรณรงค์ต่อเนื่อง 3 วัน หวังสร้างความเข้าใจกับสาธารณะชนเรื่องการกระจุกตัวของที่ดิน รวมทั้งกระบวนการยุติธรรมในคดีที่ชาวบ้านถูกข้อหาบุกรุก วานนี้ (23 ต.ค.54) ผู้สื่อข่ายรายงานว่า สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) จัดกิจกรรมรณรงค์เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมกับคดีความปัญหาที่ดินทำกิน” ระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2554 โดยใช้พื้นที่บนถนนคนเดินหรือลานหินโค้งริมน้ำตาปี อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี การจัดงานรณรงค์ดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ด้วยความร่วมมือของสมาชิก 6 ชุมชน ในเครือข่าย สกต.ประกอบด้วย 1.ชุมชนไทรงามพัฒนา12.ชุมชนไทรงามพัฒนา23.ชุมชนไทรงามพัฒนา34.ชุมชนไทรงามพัฒนา45.ชุมชนสันติพัฒนา6.ชุมชนคลองไทรพัฒนา โดยมีจุดประสงค์ในการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจกับสาธารณะชนและสังคมในวงกว้างเรื่องการกระจุกตัวของที่ดิน รวมทั้งกระบวนการยุติธรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีที่ชาวบ้านถูกข้อหาบุกรุก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมวันแรกมีการเปิดเวทีสาธารณะว่าด้วยเรื่องความไม่เป็นธรรมทางกฎหมายกรณีที่ดินคนจนหวังสร้างความเข้าใจกับสาธารณะชน และชี้แจงกรณีชาวบ้านถูกฟ้องร้องจากการตรวจสอบการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิ์ครอบครองที่ดิน โดยไม่ถูกต้องของกลุ่มธุรกิจเอกชนในพื้นที่ ซึ่งพบว่าการพูดคุยดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่สันติบาลสวมชุดนอกเครื่องแบบมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย วันที่ 2 ของการจัดงานรณรงค์ หลังเสร็จจากการทำกิจกรรมในตอนเช้า เมื่อเวลา 09.30 น.มีการเปิดเวทีพูดคุยสร้างความเข้าใจเรื่อง “ที่ดิน สปก.กับการออกโฉนดชุมชน การแย่งชิงปัจจัยการผลิตจากกลุ่มทุน และกระบวนการยุติธรรม” โดยตัวแทนของแต่ละชุมชน มีการถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานีวิทยุ F.M 102.25 Mz. ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดรวมทั้งหน่วยงาน อบจ.อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสถานที่และด้านสุขาภิบาล นอกจากนั้น ในบริเวณที่มีการจัดกิจกรรม สมาชิกทั้ง 6 ชุมชนได้นำผลผลิตผักปลอดสารพิษ ที่ทำการผลิตในชุมชนออกจำหน่ายในราคาถูก ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจพอสมควร ประมวลบรรยากาศ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
25 องค์กรนักศึกษา-ภาคประชาชน ร่วมค้านเหมืองแร่ทองคำ Posted: 23 Oct 2011 01:42 PM PDT เครือข่ายนักศึกษาสี่ภาค ร่วมองค์กรนักศึกษา-ภาคประชาชน ค้านเหมืองแร่ทองคำ ชี้ลงพื้นที่เหมืองทองคำพิจิตร เห็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ก่อผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจ ซ้ำกฎหมายแร่หนุนประโยชน์ผู้ประกอบการ 20 ต.ค.54 เครือข่ายนักศึกษาสี่ภาค ออกแถลงการณ์คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ โดยมี 25 องค์กรนักศึกษา และองค์กรภาคประชาชนร่วมลงชื่อ และร่วมปฏิบัติการคัดค้าน ณ บริเวณตลาดหน้าที่ว่าการอำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก และบริเวณเหมืองแร่ทองคำ สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ศึกษาประเด็นปัญหาเหมืองแร่ทองคำ ณ บ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร พบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่รัฐกล่าวอ้างว่าจะได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ แต่กลับพบปัญหาต่างๆ มากมาย รวมทั้งความไม่ถูกต้อง ชอบธรรม อาทิ กฎหมายที่ใช่ในการสัมปทานเหมืองแร่ กระบวนการมีส่วนร่วมและข้อมูลที่ได้รับของประชาชนในชุมชนและผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ และรัฐไม่ได้ให้ความสนใจกับปัญหาที่เกิด แถลงการณ์ดังกล่าวระบุข้อเรียกร้อง ว่าประชาชนต้องตระหนัก ตื่นตัวถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้างสังคมและสิ่งแวดล้อม และต้องเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในการให้ข้อมูลสิทธิหน้าที่ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำที่กระทบต่อตนเองและผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้ง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองแร่ควรไร้รับการดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ ขณะที่ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องยกเลิกการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองแร่และควรทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแก้กฎหมายให้มีการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิชุมชนที่เพิ่มขึ้น เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและประเทศชาติจะได้เข็มแข็งอย่างยั่งยืน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
23.20 น. ผู้ว่าฯ กทม แถลงวิกฤติมาถึงแล้ว 6 เขต กทม. เตือนรับน้ำ-ศปภ. แถลงคอนเฟิร์ม Posted: 23 Oct 2011 11:49 AM PDT 23 ตุลาคม 2554 เวลา 23.20 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัย ฉบับที่ 4/2254 ให้เฝ้าระวังเขตดอนเมือง หลักสี่ บางเขน จตุจักร บางซื่อ และสายไหม กรุงเทพมหานครจึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ขนย้ายสิ่งของมีค่า รถยนต์ และอย่างอื่นที่เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินเคลื่อนย้ายไปยังศูนย์พักพิงที่ กทม.จัดเตรียมไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนผู้ป่วย เด็กและคนชราเป็นลำดับแรก และขอให้ทุกฝ่ายติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด "ปัญหาที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้น คงหนักพอที่จะทำให้ต้องเรียนเชิญทุกท่านมาในค่ำคืนนี้ แต่ก็ไม่อยากให้พี่น้องประชาชนตื่นตระหนก ขอให้พี่น้องประชาชนมีความมั่นใจว่า กทม. จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน ตามความสามารถ และจะร่วมกับ ศปภ.เพื่อแก้ไขสถานการณ์ โดยในคืนนี้และ 24 ชั่วโมงต่อจากนี้ กทม.จะระดมเจ้าหน้าที่ทั้งหน่วยเครื่อนที่เร็ว และหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน "เรามองว่าสถานการณ์ตอนนี้อาจจะนำไปสู่ขั้นวิกฤติ และอย่างที่ผมให้คำมั่นสัญญาไว้ว่า ถ้าสถานการณ์ถึงขึ้นวิกฤติ ผมจะเป็นคนแรกที่จะบอก" "จากการประเมินสถานการณ์ ตัวชี้วัดในทุกเรื่อง เรามีข้อสรุปได้เพียงข้อสรุปเดียวว่า ปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรงจะเกิดขึ้นในพื้นที่เขต ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน จตุจักร บางซื่อ และสายไหม และจะประเมินสถานการณ์ในวันพรุ่งนี้หากต้องมีการเตือนในเขตอื่นๆที่ติดกับเขตดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้แถลงด้วยว่า จะได้แจ้งเตือนสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ เพื่อประสานกับชาวต่างชาติ และขอความร่วมมือสื่อมวลชนกระจายข่าว ผู้ว่า กทม. ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนด้วยว่า "ส่วนหนึ่งของปัญหาเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาถนนพหลโยธินตัดคลองรังสิต ซึ่งผมพูดมาเป็นสิบครั้ง ในพื้นที่ของปทุมธานี ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง แต่ด้วยความห่วงใย กทม. ได้เข้าไปสร้างคันกั้นน้ำ คนกระทั่งเมื่อคืนนี้ได้พยายามเข้าไปกู้สถานการณ์แต่ไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะมีประชาชนจำนวนมากคัดค้านสิ่งที่เราทำ รวมทั้งมีการสื่อสารว่า อาจจะมีการใช้ความรุนแรง เมื่อเจ้าหน้าที่ กทม. ไม่ได้การคุ้มครอง จึงได้ถอนตัวออกมา และเมื่อไม่สามารถกู้สถานการณืได้ วันนี้จึงชัดเจน" "ผมขอย้ำนำครับว่า ผมได้เตือนไว้แล้วเป็นสิบครั้ง" ผู้ว่า กทม. ระบุ เวลาประมาณ 00.45 น. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นำโดย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการ ศปภ. แถลงทาง สทท. 11 ยืนยันถึงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินการของกรุงเทพมหานครอย่างเต็มที่และใกล้ชิด เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์ในการช่วยเหลือประชาชนใน 6 เขตพื้นที่เสี่ยง คือ เขตดอนเมือง สายไหม บางเขน บางซื่อ จตุจักร และหลักสี่ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยขอให้กรุงเทพมหานครประสานการปฏิบัติกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตลอด 24 ชม. จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: ร่วมด้วยช่วยกันวุ่น Posted: 23 Oct 2011 11:05 AM PDT เห็นท่าทีสุขุมพันธ์กับเห็นพวกคนกรุงคนชั้นกลางโรคกลัวน้ำเอารถขึ้นไปจอดบนสะพานบนทางด่วน แล้วหมั่นไส้ อยากให้รัฐบาลปล่อยน้ำท่วมกรุงเทพฯ เสียให้เท่าเทียมกัน บางคันจอดแล้วยังเอาผ้าคลุมรถไว้ซะดิบดี รักถนอมรถเมริงเหลือเกิน บางคันเอากระดาษมาติด “ขอความกรุณา” แหม ทีเวลาม็อบยึดราชประสงค์อดไปช็อปปิ้ง หัวฟัดหัวเหวี่ยง เอาใจเขาใส่ใจเราหน่อย ไม่ว่ากันถ้าบ้านถูกน้ำท่วม ไม่ว่ากันที่คืนนั้นคลองประปาแตกแล้ว Panic ขับรถขึ้นไปจอดชั่วคราว เช้าสายบ่ายรุ่งขึ้นค่อยขยับขยาย แต่บางคนไม่ใช่อย่างงั้นสิครับ บ้านยังไม่ท่วมซักหน่อย แต่กะจอดทิ้งถึงลอยกระทง เห็นทางด่วนเป็นที่จอดชั้นดี มีกล้องเฝ้ารถให้ด้วย เจ้าหน้าที่รัฐก็ไปโอนอ่อนผ่อนตาม โอเค รถเยอะมากไม่รู้จะลากทิ้งที่ไหน แต่ขอเสนอว่านี่แหละ ภาษีน้ำท่วมก้อนแรก จดทะเบียนรถไว้แล้วประกาศปรับวันละพัน เหมาจ่ายหมื่นนึง รถราคาเป็นแสนเป็นล้านทำไมจะจ่ายไม่ไหว อย่าอ้างว่าคุณเดือดร้อน คนอื่นเขาก็เดือดร้อนเหมือนกัน มีคนอีกตั้งมากมายที่เขาอยากเอารถขึ้นไปจอด แต่เขายังมีความละอาย ที่จริงผมเข้าใจดีว่าเราจำเป็นต้องปกป้อง กทม.เพื่อเป็นฐานในการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วมโดยรอบ มันไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจ ภาพลักษณ์การลงทุน (รัฐบาลอ้างผิด) แต่คุณต้องมีฐานที่มั่น ต้องมีศูนย์บัญชาการ ศูนย์การแพทย์ ศูนย์การผลิตและขนส่งเสบียง ตลอดจนเป็นศูนย์อพยพ เป็นที่พักพิงของผู้ประสบภัยจากพื้นที่รอบๆ มันไม่ใช่ปกป้องเพื่อให้คนกรุงใช้ชีวิตตามปกติสุข ไปชอปปิ้งตามห้าง ไปกินเหล้าเที่ยวผับ ไปสรวลเสเฮฮาอย่างที่เคยทำกัน ฉะนั้นต่อให้กรุงเทพฯ น้ำไม่ท่วม กรุงเทพฯ ก็ต้องรับภาระ ผมจึงเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้เก็บภาษีที่ดินโรงเรือนพื้นที่น้ำไม่ท่วมแล้วยกเว้นภาษีให้พื้นที่น้ำท่วม 3 ปี 5 ปี ออกเป็นพระราชกำหนดเลยครับ เอาภาษีที่ดินที่รัฐบาล ปชป.ร่างไว้มาปรับปรุงแล้วประกาศใช้ทันที นั่นเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องถกเถียงกัน แต่ในระยะเฉพาะหน้า ผมเห็นด้วยว่าต้องปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพฯ บ้าง เพื่อลดแรงดันของน้ำที่อยู่นอกคันกั้นน้ำด้านเหนือ ผมเชื่อว่าคนกรุงตอนนี้ยอมรับได้ ถ้าน้ำท่วมซัก 20-30 ซม.ไม่เข้าบ้าน ไม่ต้องตัดน้ำตัดไฟ โดยรัฐบาลต้องชี้แจงให้เข้าใจว่า ต้องลดแรงกดดันของมวลน้ำลง ถ้าไม่ลดมันอาจจะพังคันกั้นน้ำ แล้วคราวนี้มันจะท่วม 1-2 เมตรเหมือนอยุธยา นครสวรรค์ เพราะเท่าที่เห็น น้ำในคลองเลียบถนนวิภาวดียังต่ำกว่าตลิ่งตั้งเมตร หลายๆ คลองในกรุงเทพฯ ก็แห้งผาก ทั้งๆ ที่รัฐบาลใช้อำนาจตามมาตรา 31 พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สั่งให้เปิดประตูระบายน้ำแล้ว อย่างว่า นักประวัติศาสตร์บอกว่าถ้าไม่เกิดปฏิวัติ 2475 คุณชายสุขุมพันธ์จะเป็นกษัตริย์ เพราะ ร.7 ท่านสำนึกบุญคุณกรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่สนับสนุนให้เป็นกษัตริย์ ท่านไม่มีโอรส จึงเลือกคุณพ่อคุณชายสุขุมพันธ์ไว้สืบราชสมบัติ คุณชายสุขุมพันธ์ผู้มาจากการเลือกตั้งก็เลยตั้งตัวเหมือนเจ้าผู้ครองนครไปซะนี่
ถึงวันนี้ ไม่ใช่เรื่องยากที่จะชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจว่า วิกฤติน้ำเกินความสามารถที่รัฐบาลไหนจะรับมือ ยังไงๆ มันก็ท่วมอยู่ดี แต่สิ่งที่ทำให้ประชาชนหงุดหงิดสับสนคือ ศปภ.สอบตกในการประเมินสถานการณ์และชี้แจงให้เตรียมรับมือ ยกตัวอย่างเช่น คนดอนเมืองโกรธ เพราะไม่คิดว่าจะโดนน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว เขารับรู้ข่าวสารว่าน้ำจะมาทางเมืองเอก ถ้าคันกั้นน้ำพังจะทะลุทะลวงมาทางเมืองเอก เมื่อเมืองเอกยังไม่แตก เขาก็ตายใจ ที่ไหนได้ไม่คาดคิดว่าน้ำจะมาทางคลองประปา โดยไม่มีใครเตือนล่วงหน้า อันที่จริง การประเมินสถานการณ์ยามภัยพิบัติ ไม่มีใครประเมินได้ถูกต้องแม่นยำ 100% ต่อให้อเมริกา ญี่ปุ่น ก็ไม่ได้ประเมินทอร์นาโดถล่มนิวออร์ลีนส์ หรือสึนามิที่ฟูกูชิมะได้ถูกต้อง 100% พูดภาษาข่าวคือไม่มีใคร “ฟันธง” ได้ทั้งหมด เขาเพียงแต่ประเมินว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดจะเป็นอย่างนี้ ดีที่สุดจะเป็นอย่างนี้ แล้วก็ชี้แจงให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลที่เป็นจริง update อยู่เสมอ ว่าควรจะรับมืออย่างไร ไม่ใช่บอกว่านวนคร “เอาอยู่” หรือ “ตายแน่” ต้องบอกว่ารัฐบาลจะป้องกันให้ดีที่สุด แต่ก็คาดการณ์ในทางร้าย ให้เตรียมตัวเตรียมใจเตรียมพร้อมไว้ด้วย ถ้า ศปภ.เตือนภัยจะมีเวลาให้อพยพ 3 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง ก็ว่าไป คนจะได้เตรียมเอาของชิ้นใหญ่ๆ ออกมาก่อน แพคกระเป๋าเสื้อผ้า จัดสิ่งของจำเป็นไว้ใกล้มือ ฯลฯ กรุงเทพฯ ก็เหมือนกัน ศปภ.ต้องคาดการณ์ให้ประชาชนเข้าใจว่า ถ้าสถานการณ์เลวร้ายที่สุด คันกั้นน้ำแตกตรงไหน แล้วจะเกิดอะไรขึ้น อย่าไปฟันธงว่าน้ำท่วม และก็อย่าฟันธงว่าน้ำไม่มีทางท่วม แต่ ศปภ.ต้องออกทีวีรวมการเฉพาะกิจทุกวัน ชี้แจงความเป็นจริงว่า ณ วันนี้น้ำที่อยู่เหนือคันกั้นน้ำ กทม.มีเท่าไหร่ ไปทางตะวันตกเท่าไหร่ ตะวันออกเท่าไหร่ และจะลงมาอีกเท่าไหร่ จะระบายเข้า กทม.เท่าไหร่ และจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้คนในส่วนต่างๆ รวมทั้งจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันไม่เป็นไปตามแผน เช่นน้ำอาจจะมาทางคลองประปา น้ำอาจจะกระฉอกตามแนวคันกั้นริมเจ้าพระยา ทั้งนี้ต้องเอานักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญออกมาอธิบาย แล้วนายกฯ หรือ ผอ.ศปภ.ค่อยสรุป แล้วก็พูดให้เป็นเอกภาพกัน ไม่ใช่ยิ่งลักษณ์พบประชาชนบอกให้ขนข้าวของขึ้นสูง 1 เมตร แต่รัฐมนตรีรายหนึ่งยืนยันว่าน้ำไม่ท่วม รัฐมนตรีอีกรายบอกว่าท่วมแหงแก๋ 1-2 เมตรเท่าอยุธยา แล้วชาวบ้านจะเชื่อใครดี ศาสตร์ของการสื่อสารในภัยพิบัติบอกว่า ยิ่งเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติ คุณยิ่งต้องแถลงข่าวถี่ยิบ กทม.ทำถูกแล้วที่แถลงข่าวทุก 3 ชั่วโมง แต่ ศปภ.ยังงมโข่งอยู่ที่ไหนไม่ทราบ คุณต้องบอกสถานการณ์ล่วงหน้า เช่น บอกให้รู้ว่า กทม.จะต้องเผชิญภาวะนี้ไปอีกนานเท่าไหร่ อย่างน้อยก็ถึงวันที่ 30 พ.ย.ฉะนั้นถ้าใครลางานได้ ใครไม่มีภารกิจจำเป็น วันหยุดยาวนี้ก็พาครอบครัวลี้ภัยขับรถไปต่างจังหวัด ไปพักบ้านญาติ ไปชะอำ หัวหิน เมืองกาญจน์ ชลบุรี ระยอง แล้วหาที่ฝากรถไว้ (จะให้ดี รัฐบาลควรสั่งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดจัดที่รับฝากรถ) ใครจำเป็นก็ขึ้นรถทัวร์กลับมาเฝ้าบ้าน กลับมาทำงาน จะลด Panic ลงได้ระดับหนึ่ง การสื่อสารในขณะที่เกิดภัยพิบัติเป็นศาสตร์และศิลป์ ศปภ.ต้องช่วงชิงพื้นทื่สื่อ เพื่อสยบความวุ่นวายโกลาหล ซึ่งไม่จำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อควบคุมสื่อ แต่ใช้สื่อให้เป็น ปัญหาของสื่อไทย นอกจากอคติ เกลียดชัง ตั้งเป้าล้มรัฐบาล (ซึ่งว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง) สื่อโดยทั่วไปยังเคยชินกับการขายข่าวร้าย ขายความตื่นตระหนก เช่น ถ้า ศปภ.คาดการณ์ว่าสถานการณ์จะมี 3 ระดับ ตั้งแต่ดีที่สุดไปจนเลวร้ายที่สุด แน่นอน สื่อก็จะเอาสถานการณ์เลวร้ายที่สุดไปพาดหัวข่าวให้มัน panic เข้าไว้ หรือถ้า ศปภ.ไม่แถลงอะไรเลย สื่อไทยก็จะเอาข่าวลือข่าวเจาะข่าวซีฟในทางร้ายมาขายอยู่ดี หรือน้ำท่วมที่อำเภอหนึ่ง สื่อก็จะไปทำข่าวจุดท่วมสูงที่สุด หนักที่สุด แล้วก็ยื่นไมค์ให้ชาวบ้านบอกว่า ยังไม่มีใครมาช่วยเลย (มีแต่ช่อง 3 นี่แหละค่า) ฉะนั้นคุณจะต้องสยบสื่อด้วยการแถลงข้อเท็จจริงอย่างละเอียด กระจ่างแจ้ง ทางทีวีของรัฐ หรือรวมการเฉพาะกิจ เอาผู้เชี่ยวชาญทุกส่วนมานั่งอธิบาย อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งหลังอาหาร วิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ยังมีลักษณะพิเศษที่เหนื่อยหนักเข้าไปอีก เพราะภัยพิบัติส่วนใหญ่ อย่างสึนามิ ทอร์นาโด จะมารวดเดียวจบ รัฐต้องป้องกันและกู้ภัยในภาวะฉุกเฉิน แล้วก็ติดตามให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟู แต่น้ำท่วมครั้งนี้กินเวลายาวนาน ขณะที่กรุงเทพฯ ยังอยู่ในขั้นป้องกัน บางบัวทองต้องกู้ภัย ที่อยุธยาก็ยังมีชาวบ้านลอยคอรอความช่วยเหลือ (ซึ่งถ้ากรุงเทพฯ เอาตัวไม่รอด อยุธยาจะยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่) ขณะที่นครสวรรค์น้ำกำลังจะลด รัฐบาลต้องทำงาน 3 อย่างพร้อมกัน ในขณะที่โงหัวไม่ขึ้นกับการผันน้ำระบายน้ำไม่ให้ท่วมกรุงเทพฯ ก็ต้องแบ่งมือไม้ไปช่วยเหลือคนอยุธยา คนปทุมธานี และต้องคิดแผนฟื้นฟู ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำลดอีกต่างหาก ซึ่งอันที่จริงก็เป็นเรื่องดี เพราะถ้าประกาศมาตรการช่วยเหลือสร้างความเป็นธรรมระยะยาว เช่น เก็บภาษีที่ดินโรงเรือนคนที่น้ำไม่ท่วม ยกเว้นให้คนน้ำท่วม ก็จะลดอารมณ์ความรู้สึกของคนที่ถูกน้ำท่วมอยู่ตอนนี้ (ซึ่งพวกที่โดนแถวปทุมธานีลงมาทางบางบัวทอง สายไหม คือคนชั้นกลางนะครับ ให้เงิน 5,000 ขี้ปะติ๋ว ต้องหามาตรการเรื่องภาษีเรื่องราคาวัสดุซ่อมแซมฟื้นฟู)
แต่บ้านเราก็เป็นซะแบบนี้ สังเกตดูเวลาไฟไหม้ในซอย รถดับเพลิงอาสาโน่นมูลนิธินี่มาเป็นร้อย มาด้วยใจ ขอขอบพระคุณไม่ลืมไปจนวันตาย แต่ตอนนี้พวกเมริงช่วยหลีกๆ ให้รถใหญ่เข้ามาหน่อยได้ไหม เพราะจุกทางเข้าออกไปหมด วุ่นแบบนี้บ้านกรูไฟไหม้หมดพอดี ปัญหาที่ผมร่ายมาตั้งแต่ต้น เชื่อว่ารัฐบาลก็รู้ คนในรัฐบาลตั้งมากตั้งมายก็รู้ ไม่ต้องให้ใบตองแห้งสอนหรอก แต่ที่มันเป็นปัญหาเพราะรู้แล้วบริหารจัดการไม่ได้ ไม่มีความเป็นเอกภาพ ความเป็นเอกภาพหมายถึงมีศูนย์บัญชาการที่กะทัดรัด เชื่อมต่อไปยังฝ่ายปฏิบัติต่างๆ มีที่ปรึกษาแต่ละด้านที่เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา แล้วรวมศูนย์การแก้ไขปัญหา แต่ปัญหาของ ศปภ.คือผมเชื่อว่าในสนามบินดอนเมืองเนี่ย มีผู้คนไปร่วมด้วยช่วยกันมากกว่าผู้อพยพเสียอีก มีที่ปรึกษามากมายไม่รู้กี่หน่วยงาน ไม่รู้นักวิชาการกี่มหาลัย แล้วก็นักการเมืองเดินกันให้ควั่ก ต่างคนต่างก็อยากร่วมทำบุญ (มีทั้งที่ปรารถนาดีและอยากเอาหน้า) แล้วมันก็สะเปะสะปะไปหมด เพราะศูนย์บัญชาการไม่สามารถจัดจ่ายบทบาทที่เหมาะสม ผ้าป่าสามัคคีถึงจะมั่วแต่เขาก็มีรูปการจัดตั้งโดยธรรมชาติ เช่นมีมรรคทายกคอยรับบริจาค มีโฆษกงานวัด และมีแม่ครัวขาประจำ มีกำนันผู้ใหญ่บ้านกะเกณฑ์แรงงาน แต่ ศปภ.ไม่มีอะไรเลย แถมยังไม่มีความรู้เรื่องน้ำ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าควรฟังความเห็นใคร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไหน ยิ่งลักษณ์เพิ่งจะตั้งวีระ วงศ์แสงนาค เป็นประธานบริหารจัดการน้ำ มีนักวิชาการอย่างรอยล จิตรดอน, สมบัติ อยู่เมือง, อานนท์ สนิทวงศ์ ฯลฯ ซึ่งถูกต้องแล้ว แต่เพิ่งจะตั้ง ไม่รู้ พล.ต.อ.ประชาแกไปนั่งทำอะไรอยู่ เอาละ เรื่องเทคนิคจบไปชุดหนึ่ง แต่เรื่องบริหารจัดการด้านอื่นๆ อีกล่ะ ความเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองก็มีปัญหา ผมไม่ได้จะบอกว่ามีแต่เสื้อแดงอย่างที่ครหากัน แต่มันหมายถึงว่าความเป็นนักการเมืองมันทำให้เกิดความเกรงใจคนนั้นคนนี้ ก๊กนั้นก๊กนี้ ไอ้นี่ก็อยากมีความเห็น ไอ้นั่นก็อยากมีบทบาท เอ้า จู่ๆ ยายเจ๊โดดมาจากไหนไม่ทราบ ไม่เคยเห็นหน้าค่าตา โดดมาเป็นนางเอกกลางเรื่อง ขึ้น ฮ.ตรวจน้ำท่วมแล้วเข้าประชุมเฉยเลย ภาพเปรียบเทียบง่ายๆ คือถ้ามีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รวบอำนาจบริหารทั้งหมดไปไว้ที่ ศอฉ. การบริหารจัดการจะง่ายกว่านี้ เพราะมีแค่นายกฯ หรือรองนายกฯ เป็น ผอ.ศอฉ.แล้วก็สั่งการตามสายบังคับบัญชาของกองทัพ ที่กะทัดรัด รวดเร็ว ชัดเจน เพราะเป็นรูปการจัดตั้งที่ใช้ในยามสงคราม ที่พูดนี่ไม่ใช่สนับสนุนให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะมันมีผลเสีย ในด้านที่จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเผด็จการ รัฐบาลใช้อำนาจบังคับประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ไม่ให้ออกมาเรียกร้องโวยวาย ตรงนี้รัฐบาลคิดถูกแล้ว ที่บอกว่าต้องใช้การทำความเข้าใจกับประชาชน รัฐบาลประชาธิปไตยสามารถบริหารภัยพิบัติได้ ถ้าทำงานมีประสิทธิภาพ อเมริกา ญี่ปุ่น เขาทำได้ เพราะมีระบบบริหารราชการที่ดี ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำ แต่ของเรามันร่วมด้วยช่วยกันวุ่นไปหมด จึงถูกเปรียบเทียบและเรียกร้องให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (โดยผู้ที่เรียกร้องก็มี Agenda) หลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศใช้มาตรา 31 “รวบอำนาจ” ก็ดูเหมือนรวบอำนาจไปจาก กทม.เท่านั้น แต่ ศปภ.กลับเดี้ยงเป็นอัมพาต ไม่รู้จะเอาไงต่อ สถานการณ์ที่ผ่านมา “ฟันธง” ได้ว่า พล.ต.อ.ประชาสอบตกในฐานะ ผอ.ศปภ.แล้วก็ไม่รู้จะหาใครมาแทน อำนาจไปรวมศูนย์ที่ยิ่งลักษณ์ ถนนทุกสายมุ่งไปสู่นายกฯมือใหม่ ซึ่งต้องรับทั้งการตัดสินใจทางเทคนิค การตัดสินใจทางการบริหารและการเมือง การตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ การตัดสินใจเรื่องช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการฟื้นฟู ฯลฯ ยิ่งเข้าสู่ภาวะคับขัน ก็ยิ่งมีข้อเสนอในการแก้ปัญหาหลากหลาย เช่น อาจารย์ ม.รังสิตไปแถลงเรียกร้องให้ระบายน้ำทางถนนวิภาวดี ไปลงอุโมงค์ยักษ์ที่ดินแดง นักวิชาการบางรายก็เรียกร้องให้เอาน้ำดันน้ำ ปล่อยน้ำเข้าท่วมแนวที่ 1 ที่ 2 คือถนนศรีสมานกับถนนแจ้งวัฒนะ ไอเดียเข้าท่านะครับ แต่พอออกทีวีบอกว่า “พวกนักวิชาการที่ทำงานกับรัฐบาลไม่เชื่อว่าผมเก่งกว่า” จบเห่เลย คือต่างคนก็ต่างมีอัตตาเชื่อว่าตัวเองถูก ไม่คำนึงว่าคนที่ตัดสินใจเขาต้องเลือกจากหลายแนวทางที่เสนอ ซึ่งมันมีปัจจัยอื่นๆ เช่น การทำความเข้าใจกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ทุกคนอยากมีส่วนร่วมทั้งนั้น ไม่ได้บอกว่าผิด แต่ถ้าทุกคนเอาอัตตาบอกว่ารัฐบาลต้องฟังกรู แบบนี้ก็ชุลมุนไปหมด ก็ไม่ได้บอกว่าผิดอีกนั่นแหละครับ สาเหตุเพราะรัฐบาลไม่มีแนวทางของตัวเองที่ชัดเจน มันก็เลยยุ่งเหยิงไปหมด นี่น่าจะเป็นสาเหตุหนี่งที่ทำให้ thaiflood ถอนตัวจาก ศปภ.ซึ่ง ศปภ.ชี้แจงว่า thaiflood ต้องการเข้าไปร่วมประชุม ขอมีส่วนแนะนำรัฐบาล แต่ ศปภ.ให้เข้าประชุมไม่ได้ ผมสันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะใน ศปภ.เองก็ปวดหมองอยู่แล้ว หาเอกภาพไม่ได้ ความเห็นของฝ่ายต่างๆ ก็ไม่ตรงกัน สับสนวุ่นวายอยู่แล้ว เลยไม่ยอมให้ thaiflood มีส่วนร่วม ทั้งที่น่าจะจัดบทบาทให้เขา ขาใหญ่ถอยไป ในมุมหนึ่ง ต้องติงว่า thaiflood ทำตัวไม่เหมาะสม เหมือนโดดเรือหนีแล้วเจาะเรือในยามคับขัน โดยไม่คำนึงถึงผู้โดยสารตาดำๆ เพราะจะส่งผลให้ประชาชนไม่บริจาคช่วยน้ำท่วม ไม่ใช่ว่าไม่บริจาคผ่าน ศปภ.แล้วไปบริจาคให้ thaiflood แต่อาจเสียความรู้สึกงดบริจาคทั้งสองฟากไปเลย เรื่องจริงหรือไม่ก็สะท้อนว่าไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ เหมือนไม่ได้แสดงบทบาทให้สมกับความเก่งของตัวเองแล้วอารมณ์เสีย กระนั้นถ้าถามว่าจริงไหม เรื่องนี้ผมก็ได้ยินเข้าหูมาพอสมควร และเป็นเรื่องคอขาดบาดตายที่ต้องรีบแก้ไข แม้ยังไม่ด่วนสรุปว่าเป็นอย่างนั้นไปเสียหมด เพราะมองอย่างให้ความเป็นธรรมก็ต้องบอกว่า ปทุมธานี นนทบุรี อยุธยา มีแต่เสื้อแดงทั้งนั้นนี่ครับ ของบริจาคมันจะไปไหนเสีย ส.ส.ในพื้นที่ก็เป็น ส.ส.รัฐบาลเกือบหมด ไม่ใช่เพื่อไทยก็ชาติไทย ส่วนอาสาสมัครที่ไปช่วยงาน ก็มีมวลชนเสื้อแดงจำนวนมาก ไม่แปลกหรอกที่เขาจะใส่เสื้อแดงชูธงแดงแสดงพลังไปช่วยขนของบริจาคที่ดอนเมือง แต่ประเด็นสำคัญก็คือ การบริหารจัดการเรื่องของบริจาคเป็นไปอย่างคลุมเครือ ไม่เป็นไปตามระบบ เช่นเอา เก่ง การุณ ไปเซ็นอนุมัติออกของ เอาเจ๋ง ดอกจิก มาเดินกร่าง แล้วผู้สื่อข่าวก็รายงานว่าของเหลือเต็มสต๊อก มันอาจจะส่งไปไม่ทัน ไม่มีกำลังพอขนส่งก็ได้ แต่เมื่อ “ผู้สื่อข่าวรายงานว่า” ก็รู้เสียเถอะว่านี่คือจุดอ่อน รัฐบาลจึงควรแยกศูนย์รับบริจาคและช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกไปให้ชัดเจน ให้กระทรวงมหาดไทย กองทัพ และอาสาประชาชน ร่วมกันรับผิดชอบ จัดส่งสิ่งของให้จังหวัด อำเภอ มีศูนย์ปฏิบัติการระดับอำเภอ ตำบล ให้ทหารและอาสาประชาชนเป็นผู้จัดส่ง ถ้าจะให้ดีก็ส่งถึงตำบล ให้นายก อบต.ไปจัดการ ถ้ามันไปไม่ทั่วถึง ชาวบ้านเขาก็ด่านายก อบต.เอง เอานักการเมืองออกมา เอาขาใหญ่ออกมา เอา ส.ส.ออกมา อย่ามาร่วมด้วยช่วยกันวุ่น ถ้า ส.ส.อยากตั้งศูนย์ช่วยเหลือของตัวเอง ของพรรคเพื่อไทย ก็ตั้งไป แต่อย่ามีภาพ ส.ส.เอาถุงบริจาคของ ศปภ.ไปแจกจ่ายเด็ดขาด มองมุมกลับ ผมว่าที่ผ่านมารัฐบาลยังโชคดีนะครับ ที่มีพรรคประชาธิปัตย์กับสื่ออคติจ้องเตะตัดขา ทำให้สังคมเบื่อหน่ายพฤติกรรมของสุขุมพันธ์ และบรรดาลิ่วล้อพรรคพระแม่ธรณีบีบมวยผม (ตั้งคันกั้นน้ำแล้ว-ฮา) ที่ยุให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่พอใช้มาตรา 31 ก็ด่า โพลล์เอแบคถึงออกมาว่าชาวบ้านเบื่อหน่ายการเล่นเกมการเมือง การโจมตีรัฐบาลอย่างจ้องโค่นล้ม เช่น ให้ข่าวว่ามีไซยาไนด์ในคลองประปา ไปจนถึงการบิดเบือนภาพยิ่งลักษณ์ในเฟซบุค ทำให้เกิดกระแสปกป้องรัฐบาล ซึ่งก็ช่วยปกป้องความไร้ประสิทธิภาพไปด้วย มวลชนที่เลือกข้างแล้ว ยังไงก็ไม่เปลี่ยนใจต่อให้น้ำท่วมถึงปาก เพราะความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามที่เล่นวิธีสกปรก กระนั้นถ้าไม่อุดช่องโหว่มันก็จะขยายขึ้นเรื่อยๆ ผมเห็นด้วยกับเฟซบุค ศปภ.นะที่บอกว่าสื่อค่ายหนึ่ง (ในหลายๆค่าย) จ้องเล่นงานรัฐบาลเต็มเหนี่ยว เพราะดูบทความในเว็บไซต์ที่บางครั้งก็ไปเอาจากเว็บบล็อกของบุคคลที่มีอคติมาลง หรือเขียนข่าวให้ร้ายโดยไม่มีที่มาที่ไป มีแต่ “แหล่งข่าว” โดยคนเขียนไม่ได้ลงชื่อด้วยซ้ำ แล้วก็ว่า ศปภ.ยึดอำนาจหวังฮุบงบ กทม.ว่ากรมชลประทานบริหารน้ำไม่เป็น เปิดประตูระบายน้ำช่วงเย็นทำให้น้ำทะลัก คล้ายๆ กับที่ ปชป.หาว่ารัฐบาลไม่เอาคนรู้จริงมาบริหาร ต้องเอาคนอย่างปราโมทย์ ไม้กลัด ที่ไหนได้ ลุงปราโมทย์แกไปนั่งกับรัฐบาลแล้วอธิบายให้เสร็จสรรพว่ามันต้องมีน้ำกระฉอกบ้าง ผมดูคลิปข่าวที่มีอาจารย์จุฬาฯ กล่าวหาว่าจะส่งนักศึกษาไปช่วย ศปภ.แล้วต้องใส่เสื้อแดง ดูแล้วก็สังเวช อาจารย์ท่านอาจอ้างว่าได้ฟังมาอย่างนั้นจริง แต่คนเราถ้าไม่มีอคติ ก็ต้องฟังหูไว้หูแล้วตรวจสอบความเป็นจริง ไม่ใช่มาพูดออกทีวีทำลายตัวเอง แต่ที่ต้องพูดถึงในฐานะนักข่าวด้วยกันก็คือท่าทีของพิธีกร ซึ่งทำท่ายิ้มแย้มสมใจ คิดว่าได้ประเด็นเด็ด คุณเป็นนักข่าวก็น่าจะรู้ว่าอาสาสมัครที่ ศปภ.มีทุกสี ทำไมไม่ซักค้าน คล้ายกันเลยกับพิธีกรที่สัมภาษณ์นายอำเภอปากเกร็ด ว่าเก่ง การุณ พาชาวบ้านไปรื้อคันกั้นน้ำ คือออกอาการเหมือนลิงได้แก้ว สะใจกรูได้เล่นเมริงแล้ว เพียงแต่ 2 กรณีนี้ข้อเท็จจริงมันต่างกัน ต้องแยกแยะ ญาติผมบ้านอยู่แถวเมืองทองธานีเล่าว่า ชาวบ้านด่ากันตรึม เพราะคืนนั้นชาวบ้านไปกันหลายคน เขาเห็นกับตา ฝั่งปากเกร็ดให้รถแบคโฮลไป แต่ฝั่งดอนเมืองทำคันกั้นไม่ได้ เพราะไม่มีถนน (ฝั่งปากเกร็ดมีถนนเลียบคลอง) พอทำไม่ได้ ฝั่งดอนเมืองก็พาลพาโลจะมาพังคันกั้นฝ่ายปากเกร็ดให้ท่วมด้วยกัน คือถ้าเป็นอารมณ์ชาวบ้านต่อชาวบ้านมันไม่เท่าไหร่หรอกครับ แต่นักการเมืองแทนที่จะมีวุฒิภาวะ บอกแล้วว่าถ้าไม่อุดช่องโหว่ ก็จะพากันพังเหมือนคันกั้นน้ำ ดีนะที่มัลลิกา บุญมีตระกูล ช่วยไว้ (ทำให้ภาพลักษณ์แย่ไปทั้งสองฝ่าย) ใบตองแห้ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ร้องทนายความมุสลิมปัตตานีทิ้งคดี ประธานศูนย์ฯ โต้ มุ่งทำลายชื่อเสียง Posted: 23 Oct 2011 10:32 AM PDT อนุกูล อาแวปูเต๊ะ
เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. วันที่ 21 ตุลาคม 2554 ที่สำนักงานทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี นายพิทักษ์นิติภูมิ ดอเหะ แจ้งว่าเป็นผู้ช่วยประธานใหญ่องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (อ.ต.ร.) สำนักงานตั้งอยู่บ้านเลขที่ 163/15 ซอยเสนานิคม 1 ถนนพหลโยธิน 32 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โดยนายพิทักษ์นิติภูมิ ทำหน้าที่ผู้ประสานงานฝ่ายจัดตั้ง–อบรมภาคใต้ ได้นำชาวบ้านประมาณ 20 คน เดินทางมายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี จดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าวระบุว่า มีทนายความของศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานีบางคน เรียกรับเงินจากชาวบ้านเพื่อดำเนินการทางคดี ไม่รับผิดชอบต่อลูกความ ไม่ไปศาล และไม่ช่วยยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการทางคดีให้ลูกความ พร้อมกับเรียกร้องให้ศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี ชี้แจงกรณีคดีที่ยังค้างคาอยู่อีก 3 คดี นายสากีมัน เบญจเดชา ทนายความประจำมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม สำนักงานจังหวัดปัตตานี เพื่อนร่วมงานในมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี พร้อมผู้ช่วยทนายความอีก 5 คน ได้ร่วมกันชี้แจงข้อกล่าวหากับผู้ร้องเรียน โดยยืนยันว่าข้อมูลที่ทางตัวแทนกล่าวอ้างนั้น เป็นการเข้าใจผิด สำหรับ 3 คดีที่อ้างว่าเป็นปัญหา มีเพียง 2 คดี และจำเลย 3 คน ที่ทนายความของศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานีรับผิดชอบ ทุกคดีที่กล่าวอ้างมีความคืบหน้า โดยเฉพาะคดีดำที่ 0226/2551 ทางทนายความของศูนย์ฯ ดำเนินการสิ้นสุดศาลมีคำพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ส่วนคดีดำที่ 2262/2554 ศาลนัดสืบพยานวันที่ 22–23 มีนาคม 2555 “ส่วนคดีดำที่ 212/2554 คดีแดงที่ 212/2554 เป็นคดีผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 คดี ที่ยกขึ้นมากล่าวหาศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี ไม่ใช่คดีความมั่นคง จึงไม่เข้าเงื่อนไขการรับช่วยทางคดีของมูลนิธิศุนย์ทนายความมุสลิมมาตั้งแต่ต้น เห็นได้ชัดเจนว่า การกล่าวหามาจากความเข้าใจผิด” นายสากีมันชี้แจง นายสากีมัน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ไม่เคยรู้จักนายพิทักษ์นิติภูมิมาก่อน และไม่เคยได้ยินชื่อองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (อ.ต.ร.) ทราบแต่เพียงว่า บุคคลที่มาร้องเรียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับญาติผู้เสียหาย ที่มีการระบุในจดหมายเปิดผนึกทั้ง 3 คดี และไม่ได้รับผลกระทบจากการว่าความของทนายความประจำศูนย์ทนาความมุสลิม จังหวัดปัตตานี ต่อมา เวลาประมาณ 15.00 น. วันเดียวกัน มีชายไม่ทราบชื่อว่าจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แจกใบปลิว “เสียงจากประชาชนภาคใต้” ความยาวหนึ่งหน้ากระดาษ A4 บริเวณประตูมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทั้ง 4 ประตู ใบปลิวฉบับดังกล่าวพาดหัวว่า “เสียงเรียกร้องความถูกต้องของประชาชนชาวมุสลิมภาคใต้” หนึ่งในเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่อยู่ในเหตุการณ์ เปิดเผยว่า มีชายขับรถกระบะสีบรอนซ์เงิน จำป้ายทะเบียนไม่ได้ มาจอดที่ป้อมยามด้านหน้ามหาวิทยาลัยฯ โดยมีรถกระบะสีน้ำเงินจอดรออยู่ห่างๆ จากนั้น ชายในรถกระบะสีบรอนซ์เงิน ได้ลงรถจากรถนำใบปลิวประมาณ 100 ใบ มายื่นให้กับยามรักษาการณ์ พร้อมกับเงิน 100 บาท แล้วพูดเป็นภาษามลายูว่า ช่วยแจกคนเข้าออกมหาวิทยาลัยให้ด้วย แต่ยามรักษาการ์ปฏิเสธไม่ยอมรับเงิน ชายคนดังกล่าวจึงขึ้นรถขับหนีไป นอกจากนี้ ยังมีชายขับรถกระบะออกแจกจ่ายใบปลิวบริเวณศาลจังหวัดปัตตานีด้วย โดยบริเวณที่แจกใบปลิวอยู่ในรัศมีการจับภาพของกล้องวงจรปิด สำหรับเนื้อหาในใบปลิว มีข้อความกล่าวหาศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานีว่า เรียกรับเงินจากชาวบ้าน จนทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเป็นหนี้สิน ขณะที่คดีความไม่คืบหน้า มีกี่ทิ้งคดี ซ้ำเติมความทุกข์ให้กับผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอนุกูล อาแวปูเต๊ะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า เชื่อว่ากลุ่มคนที่ออกมาแจกจ่ายใบปลิว เป็นคนกลุ่มเดียวกับที่มาร้องเรียนทนายความของมศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี ขณะนี้ทางศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี กำลังตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งข้อมูลจากกล้องจรปิดว่า กลุ่มผู้ร้องเรียนเป็นใคร เป็นกลุ่มเดียวกับผู้แจกจ่ายใบปลิวหรือไม่ นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า สำหรับเนื้อหาในหนังสือเปิดผนึก ทางศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี สามารถชี้แจงต่อผู้ร้องเรียนด้วยข้อมูลที่ทางศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานีมีอยู่ แต่เนื้อหาในใบปลิวเป็นการจงใจโจมตีและทำลายชื่อเสียงของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี เพราะไม่มีการระบุชื่อผู้ร้องเรียน หรือเรียกร้องความเป็นธรรม มีแต่ชื่อ “เสียงจากประชาชนภาคใต้” ไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้แจกจ่ายใบปลิวเป็นใคร ตนยืนยันว่า ถ้ามีหน่วยงานใดต้องการตรวจสอบ ยินดีที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงตามที่มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานีมีอยู่ในมือ หลังจากมีการร้องเรียนและแจกจ่ายใบปลิว “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” พยายามติดต่อนายพิทักษ์นิติภูมิ ตามหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ระบุไว้ในนามบัตร ซึ่งนายพิทักษ์นิติภูมิมอบให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี แต่ไม่มีการตอบรับ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สื่อชายแดนใต้นำเงินบริจาคส่งถึงมือผู้ประสบภัย 27 ต.ค. Posted: 23 Oct 2011 10:25 AM PDT เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2554 นายตูแวนาดียา มือรีงิง ว่าที่นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยผลสรุปของโครงการธารน้ำใจชาว 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซับน้ำตาช่วยผู้ประสบอุทกภัย ภาคกลาง เหนือ อีสาน ของเครือข่ายสื่อมวลชนชายแดนใต้ ร่วมกับนักศึกษาและกลุ่มรักสันติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ขณะนี้มียอดเงินบริจาคผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี “ธารน้ำใจชายแดนใต้” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวมทั้งสิ้น 296,477 บาท นายตูแวนาดียา เปิดเผยอีกว่า ได้ตั้งจุดรับบริจาค 3 จุด คือที่มัสยิดยุมิยะฮ หน้าวงเวียนหอนาฬิกา จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 10-15 ตุลาคม 2554 บริเวณมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีและลานศิลปวัฒนธรรมระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2554 และบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าโคลีเซี่ยมจังหวัดยะลา ซึ่งที่นี่นายกฤษณา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2554 นายตูแวนาดียา เปิดเผยต่ออีกว่า สำหรับเงินสดทั้งหมด รวมถึงข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม เสื้อผ้า และสิ่งของต่างๆ ได้นำขึ้นรถบรรทุกหกล้อ 2 คันแล้ว ซึ่งตัวแทนสื่อมวลชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และนักศึกษาในพื้นที่ประมาณ 30 คน จะนำไปมอบให้ผู้ประสบอุทักภัยตามภาคต่างๆ โดยเดินทางพร้อมกับขบวนรถของทหารหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ในวันที่ 27 ตุลาคม 2554 นายระพี มามะ เลขาธิการสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ตนพร้อมกับเพื่อนสื่อมวลชนอีก 4 คน ได้ตั้งจุดรับบริจาคในจังหวัดนราธิวาส พบว่าประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เช่น บางส่วนมองว่ากลุ่มผู้รับบริจาคอาจเป็นมิจฉาชีพ หรือสงสัยว่าหากบริจาคแล้วจะเห็นผลอย่างไร จึงส่งผลทำให้ได้รับบริจาคน้อยกว่าที่ปัตตานีและยะลา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ตูนีเซียจัดเลือกตั้งสภาร่าง รธน. ฉบับใหม่ Posted: 23 Oct 2011 10:20 AM PDT 9 เดือนหลังจากการลุกฮื เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 7:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของตูนีเซีย ได้เปิดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้ รัฐบาลตูนีเซียกล่าวว่า ได้ คาเมล เจนดูวบี ประธานกรรมการการเลือกตั้งของตู ทางด้านมารดาของ โมฮาเมด บูวอาซีซี คนขายผักที่เผาตัวเองประท่ "ตอนนี้ฉันมีความสุขแล้วที่ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ "ฉันอายุ 39 ปี และนี่เป็นครั้งแรกที่ฉันได้เลื "ฉันมีความสุขมากๆ สำหรับประเทศตูนีเซีย มันเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติ "ผมรู้สึกว่าหั "ผมแทบนอนไม่หลับเมื่อคืนนี้ ผมเคยคิดว่าผมอาจไม่ได้ การประท้วงประปราย การประท้วงลามไปยังประเทศเพื่ ประเทศตูนีเซียค่อนข้างสงบในช่ ซึ่งในเย็นวันเสาร์ (22 ต.ค.) ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ก็ได้จับตั หนึ่งในผู้ที่ถูกจับเมื่อเย็นวั เจ้าหน้าที่ตำรวจไต่สวนเขาเรื่ ผลิตผลจากการปฏิวัติ สำนักข่าวอัลขาซีร่าระบุว่ามี โดยเมื่อช่วงเช้าของวันเสาร์ (22 ต.ค.) กลุ่มผู้ประท้วงราว 20 คนได้นั่งอยู่นอกคัสบาห์ใกล้กั นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเยาวชน 7 คน อดอาหารประท้วงตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. ที่ผ่านมาเพื่อประท้วงที่รั ไลลา เอล-อาร์บี ผู้ที่มีลูกชายเข้าร่วมการประท้ ไลลา บอกว่าเธอจะไม่ไปลงคะแนนเสี ความหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่ต่างจากผู้ประท้ "ผมหวังว่าตูนีเซียจะเปลี่ ทางด้าน ฮัมดี อับเดสซาลาม นักกิจกรรมทางการเมืองก็เรียกร้ "มีการจับกุมตัวโดยพุ่งเป้าไปที ขณะที่เจนดูวบี ประธานองค์กรอิสระ ISIE ได้เตือนไม่ให้รัฐบาลรั ส่วนโฆษกของโซเฮียร์ มาร์คลอฟ ผู้สมัครอิสระในเขตนาเบลและนั เขาบอกอีกว่าเขาเชื่อว่าการจั ที่มา Aljazeera : Live Blog
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ประชาสังคมชายแดนใต้รณรงค์ต้าน พรก.ฉุกเฉิน Posted: 23 Oct 2011 10:12 AM PDT เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวั เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 ต.ค. เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวั ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างทางที่คารา วานเคลื่อนไปได้มี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในแถลงการณ์ยังระบุว่า ข้อมูลจากศูนย์ทนายความมุสลิ
ที่มา : http://www.khaosod.co.th สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ปันประสบการณ์จากญี่ปุ่น กรณีภัยพิบัติ ประชาชน และรัฐ และสื่อควรทำอย่างไรในภาวะวิกฤต Posted: 23 Oct 2011 10:09 AM PDT ผู้เขียนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 10 ปี และผ่านสถานการณ์วิกฤตกรณีสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดความเสียหาย และแพร่กัมมันตรังสีเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เขาเขียนสเตตัสบนเฟซบุ๊กเพื่อแชร์ประสบการณ์ที่ประชาชนและรัฐบาลญี่ปุ่นเผชิญกับภัยพิบัติในครั้งนั้น โดยตั้งข้อสังเกตคร่าวๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนของประชาชน และแนวทางการจัดการของรัฐบาล ประชาไทขออนุญาตนำขอความของเขาที่โพสต์ต่อเนื่องกันหลายวันมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่การทำความเข้าใจ และแนวทางการปฏิบัติตัวของประชาชนทั่วไป 000 : "การช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นฟื้น ไม่ใช่การไปเป็น"อาสาสมัคร" ทุกคน แต่ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด นักธุรกิจก็ทำธุรกิจ พ่อค้าก็ค้าขาย นักโฆษณาก็ชวนคนออกเที่ยว งานรื่นเริงก็ควรจัดตามปกติ คนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประสบภัยก็ควรดำเนินชีวิตตามปกติ หากประเทศโดยรวมเป็นปกติ เศรษฐกิจก็เดินได้ รัฐก็มีภาษีเข้า หากทุกคนไปเป็นอาสาสมัคร รัฐจะเดินไปได้อย่างไร งานต่างๆให้ข้าราชการ ทหาร ซึ่งรับเงินเดือนราชการลงไปทำ คนทั่วไปทำอาสาสมัครเท่าที่ไม่กระทบต่องานประจำก็พอ...เงินส่วนหนึ่งบริจาคแต่อีกส่วนหนึ่งก็นำไปเที่ยวตามปกติ หากทุกคนงดเที่ยวธุรกิจท่องเที่ยวก็เจ๊ง จะเอาภาษีไหนเข้ารัฐ : งานอาสาสมัครที่ผมทำอยู่ในญี่ปุ่นเพื่อช่วยเมืองไทย...เข้าไปคอมเมนท์กระทู้น้ำท่วมที่ญี่ปุ่น เขียนและบอกว่า"น้ำไม่ได้ท่วมประเทศไทย" "น้ำท่วมบางจังหวัดและท่วมกรุงเทพบางส่วน" อย่ายกเลิกทริปไปเที่ยวเมืองไทย ภาคใต้เรามีชายทะเลสวยงาม น้ำไม่ได้ท่วม อีสานก็มีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย หากกังวลเรื่องรถวิ่งได้ไม่ได้ก็เน้นนั่งเครื่องบินไปก็ได้...น้ำไม่ได้ท่วมทั้งประเทศไทย คือข้อความที่ผมบอกคนต่างชาติทุกคน... สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้จากสึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือ การนำเสนอภาพข่าวที่เจาะจงเฉพาะนิวเคลียร์ทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างเข้าใจผิดคิดว่านิวเคลียร์ปกคลุมไปทั่วท้องฟ้าประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศ ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นเพียงแค่บางส่วนของประเทศญี่ปุ่น ความเข้าใจผิดของต่างชาติทำให้จังหวัดที่อยู่ห่างไกลออกไปเกือบ600กิโลเมตรก็ได้รับผลกระทบทางธุรกิจเพราะนักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางทั้งหมด ดังนั้นการประโคมข่าวเรื่องน้ำท่วมจนละเลยการนำเสนอสภาพเมืองที่ไม่ได้รับผลกระทบก็สามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับต่างประเทศได้เช่นกัน : ในภาวะวิกฤติสื่อมวลชนควรทำหน้าที่ "นำเสนอข่าว" ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็น "หน่วยกู้ภัย" เพราะการทำหน้าที่เป็น "หน่วยกู้ภัย" ทำให้สื่อมีแนวโน้มที่จะเสนอแต่เรื่องราวกิจกรรมของตัวเองหรือภาคธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีกับตัวเองเท่านั้น ทำให้ประชาชนได้ข่าวไม่ครบถ้วน...สื่อมวลชนทำหน้าที่ของตัวเองในการเสนอข้อมูลข่าวอย่างรอบด้าน ประชาชน อาสาสมัคร : ในช่วงสึนามิ ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้รถทั่วไปขึ้นทางด่วน เพราะจะสงวนเอาไว้สำหรับการส่งความช่วยเหลือ อาหารสิ่งของจำเป็น เข้าไปในพื้นที่ให้เร็วที่สุด รถที่จะอนุญาติให้เข้าไปในพื้นที่ต้องได้รับการอนุมัติทั้งหมดและจะติดป้ายพิเศษไว้ว่า"รถขนสิ่งของสำหรับนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย" : ในสภาวะวิกฤต ปากคนญี่ปุ่นก็บ่นรัฐบาลแต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล รัฐบาลสั่งให้อพยพมาแต่ตัว ห้ามเอาของออกมาและขึ้นรถที่กำหนด ทุกคนก็ยอมทำตามแม้จะไม่เห็นด้วย รัฐบาลอนุญาตให้กลับไปเก็บของได้คนละไม่เกินหนึ่งกระสอบทุกคนก็ทำตาม : ในสภาวะวิกฤตในการอพยพประชาชน ญี่ปุ่นจะเน้นอพยพกันเป็นชุมชน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับว่าใครอยากไปศูนย์ไหน ก็ได้และการช่วยเหลือ ก็จะให้การช่วยเหลือผ่านชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการประสานกับชุมชนและองค์กรอาสาสมัครและคอยรับคำสั่งจากรัฐบาลเพื่อกระจายสู่คนในชุมชน ในกรณีที่ไม่ไม่มีจุดลี้ภัยในเทศบาลตัวเองก็จะติดต่อไปยังพื้นที่ใกล้เคียงสรุปการเคลื่อนย้ายประชาชนจะทำเป็นชุมชนโดยเทศบาลเป็นหัวหน้าหลัก อาสาสมัครและทหารก็ทำงานตามกรอบที่เทศบาลนั้นวางไว้ : สาเหตุที่ท้องถิ่นต้องเป็นคนประสานงานหลัก เพราะท้องถิ่นมีรายชื่อลูกบ้านทุกคนและทำงานในท้องที่ และประชาชนมีความคุ้นเคยกับการติดต่อกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอยู่แล้ว และข้าราชการขององค์กรปกครองท้องถิ่นคือกลุ่มคนที่รู้จักชุมชนในท้องถิ่นมากกว่า ข้าราชการส่วนกลางที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปตามระยะเวลาแล้วย้ายออกไป : ในสภาวะวิกฤตรัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้กองทัพเป็นแนวหน้าในการลงไปกู้ภัยเพราะกองทัพเป็นหน่วยงานรัฐที่สามารถเคลื่อนพลได้เร็วและมีความสามารถในการดูแลตัวเองได้ตั้งแต่เรื่องการกิน การถ่าย และที่พัก รวมทั้งมีอุปกรณที่เพรียบพร้อม กำลังพลไม่ต้องไปฝากท้องกับพื้นที่ประสบภัย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นทหารมากกว่าพลเรือนที่ลงไปกู้ภัย เพราะกองทัพถูกฝึกมาในด้านนี้ แต่กองทัพก็จะทำงานตามคำสั่งของรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นเจ้าภาพใหญ่ ส่วนพลเรือนอาสาสมัครทุกคนก็มีความสำคัญไม่แพ้ทหาร เพียงแต่ทำงานกันคนละอย่าง สรุปก็คือในภาวะวิกฤติ ทุกฝ่ายก็ควรได้รับการชมเชย เพราะทุกฝ่ายต่างก็ทำหน้าที่หนุนกัน เพื่อให้ผ่านวิกฤต ทั้งทหาร ข้าราชการพลเรือน. อาสาสมัคร ทุกคนคือฮีโร่ที่ เท่ากัน : ปกติ หากประเทศชาติ สามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้. รัฐบาลจะได้หน้า. ในฐานะผู้บริหาร. รัฐบาลได้หน้า. ประชาชนของรัฐบาลนั้น ก็ได้หน้าเช่นกัน .... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
โต๊ะเจรจาที่ปาตานี: ทางแพร่งและพงหนาม Posted: 23 Oct 2011 10:05 AM PDT บทความนี้จะให้ภาพรวมสถานการณ์ภาคใต้ในปัจจุบันได้ว่า ใคร เป็นใคร ทำอะไร และปัญหาภาคใต้คืออะไร หลังจากรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จัดตั้งขึ้นเรียบร้อย เจ้าหน้าที่หลายคนทำงานด้านเจรจาสันติภาพใต้ดินในสามจังหวัดภาคใต้ รู้ชะตาตัวเองดีว่า ถึงเวลาต้องออกจากงาน เป็นที่รู้กันดีในสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. (National Security Council - NSC) มีไม่กี่คนได้พยายามเปิดการเจรจากับกลุ่มพูโลภายใต้การนำของนายกัสตูรี มาห์โกต้า และนายนัวร์ อัลดุลลามาน ทั้งคู่มักอ้างถึงความร่วมมือกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่นๆเช่นกลุ่ม บีอาร์เอ็น-คอร์ดิเนต (Barisan Revolusi Nasional /Coordinate - BRN/C) ปัญหาก็คือ ในช่วงระหว่างมีการเจรจาลับนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติกลับไม่ประสบความสำเร็จในการชักจูงรัฐบาลพลเรือนเปิดทางให้อำนาจอย่างเต็มที่กับเจ้าหน้าที่และกระบวนการเจรจาดังกล่าว รวมทั้งไม่สามารถสร้างหลักประกันได้ว่าการเจรจาจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็ตาม ปัญหาสำคัญประการต่อมาคือ กระบวนเจรจาดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายกระทั่งกลายมาเป็นความสับสน อันเนื่องจากความไม่เป็นเอกภาพของกลุ่มผู้นำมลายูที่กำลังลี้ภัยอยู่ในต่างแดน ต่างกล่าวอ้างภาวะความเป็นผู้นำของกลุ่มองค์กรเคลื่อนไหว เช่นปรากฏว่ามีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นผู้นำกลุ่มพูโลถึงสามราย ซึ่งไม่ต่างจากผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้นำกลุ่มบีอาร์เอ็น คอร์ดิเนต นอกจากนั้น ยังมีฝ่ายทหารซึ่งไม่ชอบกระบวนการเจรจาสันติภาพที่ได้นำเสนอโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายทหารก็ยังส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการเจรจาลับ นายทหารอาวุโสคนหนึ่งเน้นกับผู้เขียนว่า "สภาความมั่นคงแห่งชาติไม่สามารถประกันความต่อเนื่องได้ เราเป็นกุญแจดอกสำคัญในการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้" ประเด็นนี้เป็นที่ยอมรับกันดีในกลุ่มแบ่งแยกดินแดนดั่งกล่าวที่ได้เคยจับอาวุธสู้รบกับฝ่ายทหารมาก่อนในยุคคริสต์ศักราชที่ 1970 ถึง 1980 ในตอนนี้ บริบทความขัดแย้งทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เปลี่ยนไปมาก มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นใหม่เกิดขึ้นมา เป็นกลุ่มปฎิบัติการในพื้นที่ ติดตามดูแลพลพรรคตามกลุ่มเซลล์ต่างๆทั่วภาคใต้ที่พูดภาษามลายูอย่างทั่วถึง แทบพูดได้ว่ามีเพียงไม่กี่คนในกลุ่มรุ่นใหม่ที่เข้าถึงและยอมรับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นพี่ๆ ผู้นำกลุ่มเหล่านี้มีการพบปะเสวนากันเป็นประจำก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยอมรับคำสั่งร่วมจากกลุ่มอื่น กลุ่มจูแว (นักรบปาตานี) เป็นตัวอย่างที่ดี กลุ่มนี้ไม่มียุทธศาสตร์ทางหนีทีไล่เลย นอกจากจะพึ่งพากลุ่มลูกพี่เก่าๆ แต่เพราะปัญหาคือ ท่ามกลางผู้นำกลุ่มรุ่นพี่เองก็ไม่มีเอกภาพและการรวมตัวที่สมบูรณ์เพียงพอ ดังนั้น ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์คงที่แบบนี้ พวกจูแวจึงไม่ได้เดือดร้อนหรือมีความรู้สึกเร่งรีบอะไรที่จะเสริมสร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มรุ่นพี่ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นพี่ มักชอบคิดแต่เรื่องดินแดนและการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ที่น่าสังเกตคือทุกกลุ่มมักพูดว่าพวกเขาเป็นคู่เจรจาที่แท้จริง ทั้งที่เอาเข้าจริงมีหลายกลุ่มหลายพวกที่ใช้ชื่อองค์กรเดียวกัน จนทำให้กลุ่มคลังสมอง ภาคประชาสังคม รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น องค์กรการประชุมอิสลาม (Organisation of Islamic Conference - OIC) ต้องหันมาแสดงความสนใจอย่างจริงจัง ส่วนนักเจรจาสันติภาพหรือผู้ไกล่เกลี่ยก็เหมือนผู้นำแบกแยกดินแดนรุ่นพี่ที่สนใจเฉพาะเรื่องดินแดนเช่นกัน ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว องค์กรโอไอซี (OIC) ได้จัดการจัดประชุมหลายครั้งกับผู้นำแบ่งแยกดินแดนที่ลี้ภัยต่างแดนเหล่านี้ พร้อมกับได้เรียกร้องให้พวกเขาจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมารองรับ โดยให้ชื่อว่า "สภาประชาชนปัตตานี" (United Patani People Council - UPPC) ประเด็นสำคัญต่อข้อเสนอนี้คือ เมื่อยี่สิบปีก่อนเคยมีผู้นำรุ่นพี่ในขบวนการเบอร์ซาตู (Bersatu) ได้พยายามลองทำมาแล้วแต่ล้มเหลว เนื่องจากไม่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนใดที่มีความยืดหยุ่นและมีข้อเสนอแลกเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อดีตสมาชิกคนหนึ่งขบวนการเบอร์ซาตูปรารภว่า "ถ้ารัฐบาลไทยไม่สนใจในสภาประชาชนปัตตานี (UPPC) องค์กรโอไอซีก็ทำอะไรไม่ได้" อย่างไรก็ดี ไม่มีใครรอไฟเขียวจากกรุงเทพฯ ผู้ที่เข้าร่วมประชุมที่โอไอซีจัดให้ข้อมูลว่า รุสดี ยินงอ ผู้นำรุ่นพี่พูโลอีกคนหนึ่ง (แต่เป็นคนละกลุ่มกับกัสตูรี) พร้อมจะกระโดดเข้ามาเป็นผู้นำสภาประชาชนปัตตานี ทันทีหลังจากที่มีการก่อตั้งเรียบร้อยอย่างเป็นทางการ ผู้นำอีกคนหนึ่งคือ แซมซูดิน คาน ผู้ซึ่งเคยประกาศตัวเองว่าเป็นผู้นำพูโล เขาพอจะมีสายสัมพันธ์และรู้จักผู้นำโอไอซีบางคน แต่ปัญหาก็คือไม่ใครรู้ว่ามันจะมีผลอย่างไรต่อการยอมรับในบรรดากลุ่มแบ่งแยกดินแดนลี้ภัยทั้งหลาย อีกทั้งมีเพียงผู้คนจำนวนน้อยเท่านั้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของกลุ่มที่เรียกว่า “ผู้นำ” นอกจากนี้ ยังมีเรื่องปวดหัวคือ ยังไม่ผู้นำแบ่งแยกดินแดนลี้ภัยคนใด มีความสามารถชักจูงให้องค์กรระหว่างประเทศ คล้อยตามว่า เขามีบารมีและความสามารถในการเป็นผู้นำหรือมีอำนาจสั่งการต่อกลุ่มวัยรุ่นไทย-มาเลย์หลายพันคนในสามจังหวัดภาคใต้ที่รู้จักกันในนาม “จูแว” อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีหลายๆฝ่ายรวมทั้งทหารไทยเชื่อว่า การเจรจากับกลุ่มแบกแยกดินแดนรุ่นพี่ๆ ยังเป็นทางออกที่ดี เพราะในตอนนี้กลุ่มจูแวไม่ออกตัวมาเจรจาโดยตรงเพราะกลัวว่าอาจจะถูกปองร้ายหรือฆ่าตาย หากการเจราจาในอนาคตเกิดล้มเหลวขึ้นมา อีกเหตุผลหนึ่งที่พวกจูแวทั้งหลายจะไม่ออกมาร่วมขบวนการเจรจาสันติภาพก็คือ ทุกวันนี้ การที่พวกเขาสามารถโจมตีเหล่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไหน เมื่อใดก็ได้ย่อมแสดงถึงความเป็นผู้ชนะอยู่แล้ว ตอนนี้กรอบการเจรจาของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSC) กำลังมาถึงโค้งสุดท้าย ในขณะที่ฝ่ายทหารกระตือรือร้นจะเริ่มกระบวนการสันติภาพอีกครั้งหนึ่งกับบรรดากลุ่มรุ่นพี่ ผู้นำทหารหลายคนบอกกับผู้เขียนว่า ยินดียอมรับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซีย เพื่อช่วยในเรื่องไกล่เกลี่ย และคาดหวังว่าผู้ให้การคุ้มครองเจ้าเก่าเหล่านี้จะสามารถนำพวกจูแวมาสู่โต๊ะเจรจา หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะเข้าร่วมในฐานะตัวแทนพวกจูแวได้ เรื่องนี้พูดง่ายแต่ทำยาก เนื่องจากกลุ่มจูแว โดยเฉพาะพวกวัยรุ่นเหล่านี้ไม่ค่อยแยแสในเรื่องการเจรจาสันติภาพ พวกเขาวาดหวังว่าผู้คุ้มครองเจ้าเก่าจะสามารถผนึกเป็นกำลังสำคัญของฝ่ายการเมืองในกระบวนการสันติภาพร่วมกับรัฐไทย แต่ก็เป็นเรื่องที่คาดหวังยาก เพราะต่างก็รู้ดีว่าขบวนการของตนอยู่ในสถานะที่แยกส่วนและมีอิสระในการเคลื่อนไหวมากเกินไป ส่วนผู้คุ้มครองเก่าๆ ก็อยู่กันอย่างไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างมากด้วย ดังนั้นไม่ว่าการขยับไปสู่การตั้งโต๊ะเจรจากระบวนการสันติภาพอย่างเป็นทางการจึงเป็นเรื่องยาก ยกเว้นแต่เมื่อใดที่กลุ่มผู้คุ้มครองเจ้าเก่าสามารถรวมตัวกันและยอมเป็นฝ่ายการเมืองด่านหน้าให้กับกลุ่มจูแว เมื่อนั้น กลุ่มจูแวก็อาจบรรลุความมุ่งหมายในการปลดปล่อยมาตุภูมิในประวัติศาสตร์ของพวกเขา “ปาตานี” ซึ่งบางคนที่ผันตัวมาเป็นพวกจูแวก็เพราะความโกรธแค้นจากความอยุติธรรมที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น เหตุการณ์ตากใบ และบางส่วนก็พอใจรับใช้กลุ่มพ่อค้ายาเสพติดและพ่อค้าของเถื่อนตามชายแดนมากกว่า ส่วนคนอื่นๆ ยังคิดว่าการเจรจาเป็นแผนการร้ายอันจะล่อพวกเขาให้ปรากฏตัวออกมาเพื่อรอวันตาย สอง-สามเดือนก่อน ทั้งฝ่ายตำรวจและทหารพูดกันคนละเรื่องถึงเบื้องหลังการระเบิดรถยนต์ที่ยะลา ทหารบอกว่าเป็นฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ตำรวจกลับบอกว่าเป็นฝีมือของพวกค้าของเถื่อน ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ หลังจากเหตุการณ์ระเบิดใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส สิ่งที่น่าสนใจคือ การอธิบายสถานการณ์จากฝั่งรัฐก็ไม่เป็นเนื้อเดียวกันด้วย เช่นที่ฝ่ายตำรวจและทหารต่างออกมาพูดถึงเบื้องหลังเหตุการณ์ระเบิดรถยนต์ที่ยะลาเมื่อสอง – สามเดือนก่อนกลับเป็นคนละเรื่อง เพราะในขณะที่ตำรวจบอกว่าเป็นฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทหารกลับอธิบายว่าเป็นฝีมือของพวกค้าของเถื่อน และอีกเหตุการณ์เมื่อไม่นานมานี้หลังจากเหตุการณ์ระเบิดรถจักรยานยนต์และรถยนต์ที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลลงความเห็นว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดที่ว่าจ้างกลุ่มวัยรุ่นหัวรุนแรง (จูแว) เพื่อตอบโต้การกวาดล้างยาเสพติด แต่แหล่งข่าวของกองทัพกลับลงความเห็นว่าเป็นปฏิบัติการของกลุ่มจูแวเองที่ต้องการสั่งสอนบทเรียนแก่สังคมไทยว่าธุรกิจค้าประเวณีและอบายมุขทั้งหลายล้วนแต่เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อีกต่อไปในพื้นที่ ซึ่งแหล่งข่าวในกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออดิเนต (ไม่ใช่พวกเดียวกับกลุ่มของกัสตูรี) มีความเห็นสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของของฝ่ายทหารไทยเรื่องสาเหตุในการโจมตีที่สุไหงโกลกเมื่อเดือนสิงหาคม ศกนี้ สมาชิกคนนี้แสดงความกังวลต่อพวกวัยรุ่นบางคนที่ยอมทำงานให้กลุ่มมิชฉาชีพต่างๆ ประเด็นนี้ทำให้กลุ่มขบวนการติดประวัติอาชญากรรมไปด้วย สร้างความความอับอาย และบั่นทอนเป้าหมายระยะยาว เพราะมันแสดงให้เห็นว่ากลุ่มขบวนการซึ่งยังอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ไม่สามารถควบคุมความประพฤติของวัยรุ่นเหล่านี้ได้ ทั้งนี้แหล่งข่าวคนเดียวกันยังยืนยันคำกล่าวอ้างของรัฐบาลพร้อมตอกย้ำว่า “พวกผู้ใหญ่ในขบวนการรู้สึกเป็นห่วงว่าการกระทำดังกล่าวคาบเส้นการต่อสู้ที่มีกับอาชญากรรม” ซึ่งข้อสังเกตดังกล่าวจะเข้าทางรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มีแนวโน้มต้องการใส่ร้ายป้ายสีขบวนการที่ได้ต่อสู้มาเป็นเวลาช้านานเพื่อลดความสำคัญของประวัติศาสตร์คับแค้นใจของคนมลายูในปัตตานี รัฐบาลยิ่งลักษณ์มีมุมมองที่น่าสนใจ คือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ความแร้นแค้นทางประวัติศาสตร์และกลุ่มลักลอบค้ายาเสพติดนั้นถือว่าเป็นพวกทำผิดกฎหมายเหมือนกัน ฉะนั้นมันง่ายมากที่จะเดาท่าทีของรัฐบาลชุดนี้ต่อ “การเจรจาสันติภาพ” ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่าทีของฝ่ายทหารไทยจึงมีความสำคัญ ประเด็นมีอยู่ว่า ฝ่ายทหารจะสามารถทำงานร่วมกับกัวลาลัมเปอร์หรือจาการ์ตาได้หรือไม่ เพราะลึกๆในสายตาของฝ่ายทหาร ทั้งสองประเทศไม่ได้วางตัว “เป็นกลางที่แท้จริง” สำหรับการเจรจาสันติภาพ เพราะถือว่าเป็น “กลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสีย” โดยตรง อันเนื่องมาจากสาเหตุที่ผู้นำรุ่นพี่ๆเหล่านี้ได้รับสัญชาติสองประเทศนี้พร้อมที่พำนักถาวร ซึ่งในสายตาของฝ่ายไทยไม่ได้ถือว่าเป็น “กลาง” อย่างไรก็ตาม ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจกันดีว่า ทั้งกัวลาลัมเปอร์และจากาตาร์ นั้นมีความสำคัญจำเป็นต้องดึงเข้ามามีส่วนไกล่เกลี่ยไม่มากก็น้อย เพื่อโน้มน้าวเอากลุ่มต่างๆเข้ามาสู่โต๊ะเจรจาเดียวกัน กระนั้นก็ตามยังไม่มีหลักประกันว่ากลุ่มจูแวจะเห็นดีด้วย เพื่อให้กระบวนการเจรจาสันติภาพประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องสิ่งมีดึงดูดน่าพอใจหรือข้อเสนอที่น่าสนใจที่จะทำให้กลุ่มจูแวสนใจและยอมรับ ซึ่งในขณะนี้พวกเขาเป็นฝ่ายเหนือกว่าในภาคสนามเนื่องจากสามารถโจมตีเป้าหมายได้ทุกพื้นที่ทุกเวลาเมื่อพวกเขาต้องการ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
การบริการสาธารณูปโภคกับเหตุการณ์ภัยพิบัติ Posted: 23 Oct 2011 09:51 AM PDT หลังจากน้ำท่วมบ้าน ผมได้ไปจ่ายค่าน้ำประปาเดือนที่ก่อน แล้วถามเจ้าหน้าที่การประปานครหลวง ว่าบ้านน้ำท่วมใช้น้ำไม่ได้ต้องจ่ายค่าบริการ พวกเขาบอกว่าต้องจ่าย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ในเมื่อส่งมอบบริการให้ไม่ได้ แล้วทำไมผมต้องจ่าย ในเมื่อหมู่บ้านมีการตัดน้ำและไฟฟ้าไปแล้ว ผมคิดว่า การสนทนากับเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องไร้ประโยชน์ จึงกลับบ้าน แล้วถามผ่านเว็บบอร์ดรับเรื่องราวร้องทุกข์ในวันที่ 20 ตุลาคม และโพสต์ข้อความว่า “ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่ กปน. ว่าบ้านผมถูกน้ำท่วม ไม่สามารถใช้น้ำประปาได้ ต้องเสียค่าบริการหรือไม่ ถ้าต้องเสีย โปรดส่งมอบน้ำประปาไปที่บ้านเลขที่ ...ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง นนทบุรี มิฉะนั้นถือว่าการบริการไม่ครบถ้วน” ผมเสียเวลาเฝ้าติดตามมาหลายวัน ทั้งไม่มีอีเมล์ตอบกลับและการโพสต์ขึ้นเว็บบอร์ด เนื่องจากการโพสต์บนเว็บบอร์ด กปน. ต้องให้แอดมินพิจารณา ผมเข้าใจว่า เจ้าหน้าที่ กปน. คงจะน้ำท่วมหมดแล้วจึงไม่สามารถตอบได้ บนเว็บไซต์ของ กปน. ก็แสดงความห่วงใยกับผู้ประภัยอย่างสูง มีข่าวการส่งน้ำดื่มมากถึง 50,000 ขวด มูลค่าน่าจะประมาณ 100,000 บาท ไปให้ผู้ประสบภัยภาคเหนือที่อยู่นอกเขตบริการ แต่ยังไม่มีข่าวสารใดมาถึงผู้อยู่ในพื้นที่บริการ ต่อมาผมติดต่อไปที่ TRUE เพื่อขอพักการใช้อินเตอร์เน็ตชั่วคราวประมาณ 2 เดือน เขาบอกว่า ต้องเสียบริการเดือนละ 300 บาท ครึ่งหนึ่งของค่ารายเดือน ผมจึงตัดสินใจอย่างไม่ลังเลว่ายกเลิกการใช้บริการถาวร เพราะมีทางออกหลังน้ำลดคือไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตของ 3BB แทน ส่วนการไฟฟ้านครหลวง น่าจะเป็นเหมือนกับ กปน. ความจริง ผมเข้าใจถึงปัญหานี้สำหรับพื้นที่ประสบภัยดี เพียงแต่ครั้งนี้ผมขอร้องเรียนในฐานะผู้เดือดร้อน ซึ่งผมคิดว่าในเมื่อการส่งมอบบริการไปไม่ถึง ก็ไม่ควรเก็บบริการ โดยเฉพาะขณะนี้ ได้ตัดน้ำและไฟฟ้าที่หมู่บ้านของผมไปแล้ว ในประสบการณ์ครั้งนี้ กับบริการที่มีการแข่งขันบ้างคือ อินเตอร์เน็ต ผมมีทางเลือกระหว่าง TRUE กับ 3BB ดังนั้น ไม่ลังเลใจที่ยกเลิกบริการ TRUE และไปใช้ 3BB แทนภายหลังน้ำลด ซึ่งอาจจะนานถึง 3 เดือน ประหยัดเงินเกือบสองพันบาท บริการผูกขาดของรัฐวิสาหกิจ เราไม่มีทางเลือกใดที่จะเปลี่ยน ผมไม่ขอความเห็นใจจากพวกเขา แต่พวกเขาไม่ควรเก็บค่าบริการ ถ้าพวกเขายังต้องการเก็บที่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์ยากของประชาชนแล้ว ผมขอเสนอทางออกของการให้บริการไฟฟ้าและน้ำประปาให้มีการแข่งขันมากขึ้น การไฟฟ้าผลิต เป็นผู้จัดส่งไฟฟ้า ด้วยการเป็นเจ้าของระบบสายส่ง เพราะพื้นที่ระบบสายส่งมาจากการเวรคืนในราคาถูกและมีการผูกขาด และรับผิดชอบการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศ เพราะพื้นที่สร้างเขื่อนเป็นพื้นที่สาธารณะและบางส่วนมาจากการเวรคืนจากชาวบ้านในราคาถูก โรงงานผลิตไฟฟ้าต่างๆ ประมูลให้เอกชนทำ การไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาครับผิดชอบสถานีจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่และระบบส่งย่อย แต่จะยุบเป็นองค์กรเดียวกับผู้รับผิดชอบระบบสายส่งกลางก็ย่อมทำได้ การประปานครหลวงและการประปาภูมิภาค เป็นผู้จัดส่งน้ำ ด้วยการเป็นเจ้าของระบบท่อ การผลิตน้ำเป็นของเอกชนทั้งหมด การให้เอกชนผลิตต้องไม่มีการผูกขาดในระดับพื้นที่ ทุกคนมีสิทธิเลือกบริการของใครก็ได้ แน่นอนพวกเขาสามารถจัดระบบพูลที่ขายผ่านระบบจัดส่งกลาง มีการวัดปริมาณส่งเข้าและออก และบริหารค่าบริการ สิ่งเหล่าควรจัดการได้ ด้วยกฎหมายผูกขาดในปัจจุบัน การประปานครหลวงและภูมิภาคเท่านั้นที่จะเป็นผู้วางท่อ การไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาคเท่านั้นเป็นผู้ปักเสาและวางสาย หมู่บ้านบางแห่งใน อ.บางกรวย อยู่ห่างจากโรงงานผลิตน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ประมาณ 3 กิโลเมตร ไม่สามารถใช้น้ำประปาได้ เพราะ กปน. แจ้งว่า จำนวนประชากร 100 หลังคาเรือนไม่คุ้มค่าการวางท่อ เมื่อ อบต.จะวางก็ทำไม่ได้ เนื่องจาก กปน. อ้างกฎหมายผูกขาดที่ให้ กปน. เป็นผู้วางเท่านั้น ในที่สุด อบต.ต้องจ่ายค่าก่อสร้างให้กับ กปน. ซึ่งราคาประเมินของ อบต. เป็นเพียง 2/3 ของ กปน. ขอยกตัวเลข เช่น อบต. ใช้งบเมตรละ 1,000 บาท แต่ กปน. จะใช้งบ 1,500 บาท และทรัพย์สินต้องโอนให้ กปน. เมื่อมีการปรับโครงสร้างการให้บริการสาธารณูปโภคใหม่จะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ย่อมสามารถจัดการตัวเองในยามวิกฤติได้ โดยไม่ต้องวิงวอนร้องขอ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
โฆษก ศปภ.ปัดไม่เคยประกาศให้คน กทม.เก็บของสูง1ม. แอดมินFB ศปภ.รับประสานงานพลาด Posted: 23 Oct 2011 07:43 AM PDT (23 ต.ค.54) กรณีเฟซบุ๊กของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ขึ้นข้อความก่อนหน้านี้ว่า "ศปภ.ประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่ กทม.ทั้งหมดเก็บของขึ้นสูงในระดับ 1 เมตร เนื่องจากประตูน้ำเปิดหมดแล้ว ในคืนนี้ระดับน้ำจะขึ้นสูงสุดเวลา 21.00น." ต่อมา สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. รายงานว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ในฐานะโฆษก ศปภ. ระบุว่า ศปภ. ไม่เคยประกาศเตือนดังกล่าว และไม่ทราบว่าใครไปโพสต์ข้อความทำนองดังกล่าว ทั้งนี้ ได้ขอตรวจสอบโดยด่วนว่า เหตุใดจึงมีประกาศเตือนแบบนี้ขึ้นเฟซบุ๊กของ ศปภ. ได้ ทั้งนี้ หลังจากมีการเสนอข่าวดังกล่าว ล่าสุด (21.30น.) ข้อความแจ้งเตือนดังกล่าวได้ถูกลบออกไปแล้ว โดยผู้ดูแลแฟนเพจดังกล่าวได้ขึ้นข้อความขออภัย พร้อมระบุว่า เป็นความผิดพลาดจากการประสานงานของแอดมิน โดยทาง ศปภ.ดอนเมืองยังไม่มีประกาศดังกล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คำแนะนำ ต.หัวไผ่ ในฐานะผู้ประสบภัยก่อน: มีศักดิ์ศรีและมีใจให้คนอื่นด้วย Posted: 23 Oct 2011 06:12 AM PDT พื้นที่ อบต. หัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จมน้ำในระดับ 1.5-2 เมตร และจุดที่ระดับนำสูงสุดราว 4 เมตร มาตั้งแต่ ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ รวมเป็นระยะเวลา 1 เดือนเศษแล้ว อบต.ที่นี่ ทำงานฐานข้อมูลภัยพิบัติและเตรียมการจัดการอพยพคนและดูแลผู้ได้รับผลกระทบไว้ก่อนน้ำจะมาถึง พวกเขารู้ว่าโดยภูมิศาสตร์และสถิติแล้วพื้นที่ของพวกเขาน้ำท่วมแน่ๆ จึงเตรียมตัวรับน้ำตั้งแต่ต้นเดือน กันยายนกระทั่งน้ำมาถึงพื้นที่ของเขาในราวกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยชาวบ้านในพื้นที่ มีฉันทามติที่จะทำคันกั้นน้ำจากดินเหนียวเป็นระยะทางยาวกว่า 1,700 เมตร เพื่อสู้กับน้ำ กันพื้นที่ไว้ได้ราวร้อยกว่าไร่ เพื่อรองรับผู้ประสบภัยและเป็นศูนย์บัญชาการ ในการกระจายความช่วยเหลือและเครื่องอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังใช้พื้นที่วัดซึ่งตั้งสูงกว่าพื้นที่ทั่วไป อีก 3 แห่ง เป็นจุดรองรับและบริหารจัดการเครื่องอุปโภคบริโภค รองรับประชาชนกว่า 5,000 ชีวิต 1,300 ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม คนหัวไผ่ต้องยอมรับว่า น้ำปีนี้มากกว่าปีที่ผ่านๆ มาจริงๆ และพวกเขาพ่ายแพ้ให้กับความแรงของน้ำ ที่มาระลอกหลังสุด วันที่ 13 ต.ค. ทำให้พวกเขาเสียพื้นที่จำนวนหลายร้อยไร่ ให้กับน้ำที่ท่วมขังอยู่ราวๆ 1.20 เมตร เป็นระดับที่ต่ำกว่าน้ำที่ท่วมทุ่งนาและผลผลิตที่กำลังจะเก็บเกี่ยวซึ่งเขาจมพื้นที่หลายพันไร่ใน ต.หัวไผ่ ซึ่งจุดที่สูงสุดของระดับคือ ราว 4 เมตร วันนี้พื้นที่ต.หัวไผ่ ยังเหลือผืนดินให้ประชาชนได้มาร่วมกันใช้ เดินเล่น พูดคุย และทำกิจกรรมเหมือนยามปกติ ราวๆ 4-5 ไร่ พื้นที่เล็กๆ กลับช่วยได้มากในแง่ของสุขภาพทางใจ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สำหรับการกระจายสิ่งของที่ประชาชนในหัวไผ่ ได้เข้ามารับโดยเสมอหน้ากันในเกือบๆ ทุกวัน ประชาไทลงพื้นที่หัวไผ่ ซึ่งขณะนี้กลายเป็นทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ระยะทาง 6 กิโลเมตรจากถนนสายเอเชียหากถนนยังใช้การได้ก็คงใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่เมื่อเปลี่ยนมาสู่การโดยสารทางเรือ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งกรมเจ้าท่า และกองทัพ เราใช้เวลาร่วมชั่วโมง เนื่องจากเรือไม่สามารถวิ่งได้เร็วนัก เพราะเกรงกระแสลมและคลื่น เราสอบถามถึงการทำงาน และคำแนะนำในการเตรียมตัวและเตรียมใจสำหรับคนกรุงเทพฯ ซึ่งกำลังต้องเผชิญกับน้ำที่ถูกระบายออกไปจากพื้นที่รับน้ำซึ่งถูกตรึงเอาไว้ในพื้นที่ของพวกเขายาวนานกว่า 1 เดือน ต. หัวไผ่ เตรียมการรับมือกับภาวะน้ำท่วมอย่างไร ปีนี้น้ำมาไวกว่าปกติ พอเรารู้ว่าน้ำน่าจะมาเดือนสิงหาวันที่สิบห้าเราก็เตรียมเรื่องน้ำดื่ม และข้าวสาร เราไปเฝ้าระวังที่ประตูระบายน้ำคลองบางโฉมศรี ไม่ให้พัง และมีการประชุมกันเพื่อปรึกษาหารือ เช่นว่าจะเอาบ้านไว้ไหม เพราะแน่นอนว่า ถ้าน้ำท่วม ที่นาก็ไปแน่ๆ เราประสานงานและช่วยเหลือทาง ต. น้ำตาล ต. อินทร์บุรี เทศบางอินบุรี ท่างาม ชีน้ำร้าย อบต. ในเขต อ. อินทร์บุรีทั้งหมด เพื่อให้เขากรอกทราย ทำพนังกั้นน้ำไม่ให้ผ่านมาหัวไผ่ อีกส่วนหนึ่งเราก็ส่งข่าวเครือข่ายในเขตลพบุรี เช่น มหสร บางขาม เพื่อรวมกำลังกันออกมา เพื่อช่วยป้องกัน แต่พอถึงเวลาจริงๆ หลังจากที่ได้รับข่าวว่าตรงคอสะพานบางโฉมศรีมีปัญหา เราก็ไปดู ก็หวังจะจัดการ แต่ไม่สามารถจัดการได้ ก็ย้อนกลับพื้นที่ ระดมแมคโคร พื้นที่ไหนจะกันไว้ก็บอกมา อบต.ก็จะสนับสนุน แต่ส่วนใหญ่ก็ใช้พลังคนในหมู่บ้านในการป้องกัน ส่วนอบต. ก็เป็นกองหนุนและบริหารในภาพรวม จัดการกับระบบสาธารณูปโภคไว้อย่างไร เรื่องการสาธารณูปโภค เราประชุมกันให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนหลัก การจัดการในหมู่บ้านมีห้าคน ให้ห้าคนกระจายความรับผิดชอบว่าคนหนึ่งดูแลบ้านกี่หลัง อีกส่วนหนึ่งคือให้เบอร์นายก อบต. ไปกันชาวบานให้หมด เพราะเราห่วงการจัดการที่ไม่ทั่วถึง ถ้าประชาชนมีเบอร์โทรศัพท์ของนายกฯ ก็ทำให้เราบริหารได้ง่ายขึ้น อีกทางหนึ่งก็คือมีหอกระจายข่าว แต่น้ำก็มาเร็วกว่าที่คิด รับมืออย่างไร น้ำเข้ามาหัวไผ่ตั้งแต่ 20 สิงหาคม ที่เรารู้ตัว ว่ายังไงก็มาแน่ เราก็ออกไปช่วยเขาที่ ต.บ้านน้ำตาล ช่วยกรอกทราย เรียงกระสอบ แต่ทำได้ไม่นาน ก็หมดโอกาสเพราะน้ำมาถึงบ้านเรา พอมาวันที่ 12-13 ก.ย. คอสะพานบางขุนศรีก็พัง เป็นรูเล็กๆ แต่ทางชลประทานไม่ได้จัดการ ขนาดวันที่จะพังใหญ่ผมรู้เอาบ่ายสองโมง ไปถึงโน่นไม่เกินบ่ายสามโมง ก็คุยกับทางชลประทานว่าใครจะจัดการได้ แมคโครที่มีอยู่ขอใช้ได้ไหม เพราะว่าเป็นแมคโครของชลประทาน เราก็ไปวานให้ อบต. มหศร ขนกระสอบมาเตรียมไว้ พอเราจัดการเสร็จแล้ว เราขอให้เขาสั่งรถแมคโครทำให้หน่อย แต่ไม่มีใครทำ อีกอย่าง การอุดน้ำที่ไปอุดอยู่นั้นก็ไม่ใช่จุดที่จะชะลอนำได้ แต่มีสะพานยาวที่ตรงชัยนาทอีกที่ และ ต.บ้านน้ำตาลอีกที่ อยากบอกหน่วยงานรัฐ ณ วันนี้อยากให้หน่วยงานรัฐต้องพูดความจริงกัน ประตูระบายน้ำตรงไหนอายุนาน และต้องบอกว่าควรจะซ่อมยังไง และไม่ใช่ผิดวัตถุประสงค์ อย่างบางโฉมศรีนั้น มีวัตถุประสงค์ให้ระบายน้ำออกจากคลองเชียงรากสู่เจ้าพระยา ไม่ใช่ระบายน้ำจากเจ้าพระยาสู่เชียงราก ต้องเอาความจริงมานั่งดูกัน ที่ศูนย์บัญชาการตอนนี้ มีการบริหารจัดการอย่างไร ศูนย์บัญชาการขณะนี้รองรับประชาชนอยู่ 93 ครัวเรือน ประมาณ 400 คน การรักษาพื้นที่นี้ได้ ทำให้การจัดการของบริจาคเข้าไปสู่หมู่บ้านได้ สำหรับสิ่งของอุปโภคบริโภคสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ น้ำบริโภคกับข้าวสาร แต่ประชาชนมักจะไม่ค่อยร้องขอ ขณะนี้ ยังรับมือได้อยู่ มีกรณีที่ส่งของหรือดูแลไม่ทั่วถึงหรือไม่ คนตำบลหัวไผ่จะไม่เกรงใจนายก เบอร์ผมจะแปะไว้ที่หน้าอบต. เลย และจะบอกทีมงานไว้ว่าถ้าใครโทรหา ก็ไม่ต้องถามว่าใครเป็นใคร เพราะคนโทรหาผมก็ต้องมีธุระ ชาวบ้านเขาจะกล้าแต่เราก็ไม่ได้จับผิดกัน เช่นสมมติรู้ว่ามีคนไม่ได้ของใช้ นายกก็ต้องชวนผู้ใหญ่บ้านที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ ลงไปด้วยกัน ข้อเสนอแนะสำหรับคนกรุงเทพฯในการรับมือกับภาวะน้ำท่วม ก็อยากจะเรียนอย่างนี้ครับว่า สำหรับคนกรุงเทพฯ คงต้องวางระบบกันใหม่ เพราะว่าเป็นชุมชนใหญ่ อย่างหมู่บ้านจัดสรร คงต้องวางระบบกันใหม่ เพื่ออนาคตที่น้ำจะท่วม คงต้องแบ่งช่วงกันดูแล ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล เขาจะเรียกว่าประธานชุมชน เทศบาลก็ต้องวางตัวว่า ชุมชนหนึ่งมีกี่ครอบครัว ต้องวางระบบคนดูแลขึ้นมาจะด้วยจิตอาสา หรืองบประมาณชั่วคราวก็ได้ เพราะเทศบาลสามารถว่าจ้างได้อยู่แล้วนะครับ อาจจะกำหนดอัตราส่วนการดูแลหนึ่งต่อสิบหรือหนึ่งต่อยี่สิบ ต้องสร้างลักษณะอย่างนี้ เอาไว้ดูแลคอยกระจายของ เหมือนของผม เรามี 4 จุดในการกระจายของให้ 13 หมู่บ้าน และคนในพื้นที่ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 คน สมาชิก อบต.อีก 2 คนหล่านี้ต้องเปิดโทรศัพท์ตลอด ใครทุกข์ใครร้อน ใครเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ส่งข่าวทันที เราเป็นศูนยกลางก็ต้องรู้ว่าเมื่อส่งข่าวเข้ามาจะบริหารจัดการอย่างไร เรืออยู่ตรงไหน ต้องมาทันที หมายความว่าการบริหารผ่านโทรทัศน์วิทยุโดยรวมจะไม่ค่อยได้ผลหรือ ไม่ได้ผลครับ ผมบอกได้เลย เพราะมันไปไม่ถึง เพราะพอน้ำท่วมจริงๆ ไม่มีใครมาคอยนั่งดูนั่งฟังหรอก ฉะนั้นคนในชุมชนต้องจัดการ สิ่งเหล่านี้ในกรุงเทพฯจะทำอยางไรจึงจะเกิดชุมชนอย่างนี้และแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดเป็นส่วน อีกอย่างหนึ่งคือต้องประสานกับกรมบรรเทาสาธารณภัย เพราะถ้าเกิดในกรุงเทพฯ ผมเชื่อว่ากรมบรรเทาสาธารณะภัยน่าจะช่วยได้พอสมควรเพราะเป็นกรมหลัก เรื่องเรือเป็นหัวใจหลัก ณ วันนี้เราจะเห็นว่าการอพยพจะร้องขอเรือกันเพื่อจขนคนออกมาเพราะถึงเวลาจริงๆ รถมันใช้ไม่ได้ เรื่องน้ำอาหารต้องเตรียมอย่างไร ต้องเตรียมไว้แต่ต้น พอรู้ว่าน้ำจะเข้า ถามว่า วันนี้กรุงเทพฯเตรียมน้ำไหม อาจจะยังไม่ได้เตรียม อย่างผม พอรู้ว่าน้ำจะเข้า ผมก็เตรียมไว้แล้ว ข้าวสารพร้อมไหม อย่าคิดว่าคนกรุงเทพฯมีข้าวสารพอนะ อีกอย่างหนึ่งถ้าจะดีก็น้ำปลา หุงข้าวร้อนๆ อย่างน้อยก็มีน้ำปลา หรือไม่ก็หุงข้าวแบบโบราณ ทานน้ำข้าว อย่างนี้จะอิ่มกว่า ต้องเตรียมใจอย่างไร อยากฝากพี่น้องประชาชนว่าอยากให้นึกถึงคำว่าศักดิ์ศรี ไม่ว่าน้ำท่วมหรือเกิดอะไรขึ้น ไม่ต้องไปขอใคร เราทำอย่างไรให้ตัวเราสู้ได้ และเราต้องมีใจให้คนอื่นด้วย ไม่ใช่อยู่แบบตัวคนเดียว ไม่เคยสนใจเพื่อนบ้านเลย ต้องเกาะกลุ่มกันไว้ อย่างน้อย 3-5 ครอบครัวต้องเกาะกลุ่มกันไว้บ้านใกล่เรือนเคียง ต้องอย่างนี้ครับ การทำงานของอบต. หัวไผ่ไม่ได้ดำเนินไปอย่างโดดเดี่ยว เพราะมีเครือข่ายองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้ความช่วยเหลือกันทั้งในด้านข้อมูล และแรงงาน ในระยะแรกที่น้ำเริ่มเข้าท่วมพื้นที่ ต.หัวไผ่ ประชาไทได้สัมภาษณ์ ผู้ใหญ่โกเมศร์ ทองบุญชู จากเครือข่ายอาสาสมัครช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดการภัยพิบัติและพัฒนาระบบอาสาสมัครป้องกันภัยพิบัติมายาวนานหลายปี ได้ขึ้นมาให้ความช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. พร้อมด้วยอาสาสมัคร 15 คน ลงและเรือยนต์ 6 ลำ แบ่งภารกิจเป็นสามส่วนคือ สนับสนุนการขนส่ง เช่น รับส่ง ผู้ปวย คนที่ออกไปธุระ สองคือ ขนส่งถุงยังชีพ และส่วนที่สามคือการทำพนังกั้นน้ำให้กับศูนย์บัญชาการ โดยเขาเห็น โมเดลการจัดการกับภัยพิบัติโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่เริ่มตัดสินใจนั้น เป็นโมเดลที่น่าศึกษาและนำไปใช้ในหลายๆ พื้นที่ ทีมอาสาสมัครของผู้ใหญ่ลงไปทำอะไรในพื้นที่บ้าง ภารกิจหลักๆ คือ สองสามเรื่อง ที่ผ่านมามีอาสาสมัคร 15 คน ลงมาตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน เอาเรือมาด้วยพร้อมเครื่องยนต์ 6 ลำ แบ่งภารกิจเป็นสามส่วน คือหนึ่ง เนื่องจากน้ำท่วมหนัก และพื้นที่ที่เราจะต้องประสานงานคือ อบต. และพื้นที่ข้างนอก มีเรือที่รับส่ง ผู้ป่วย คนที่ออกไปธุระ สนับสนุนขนส่งผู้คน มีเรือเร็วด้วย สอง ขนส่งถุงยังชีพ และก็แบ่งเป็นเรื่องถุงเพราะว่าการไปรับถุงยังชีพที่หน่วยงานต่างๆ สนับสนุนมา ส่วนที่สาม เห็นโมเดลของพี่ทวีป เป็นโมเดลหนึ่งที่น่าเรียนรู้ คือการรักษาฐานที่มั่น มีการทำศูนย์บัญชาการ เนื่องจาก 13 หมู่บ้านท่วมหมด เหลือหนึ่งหมู่บ้านที่ยกพนังกั้นขึ้นมา แต่ถ้าเจอน้ำเยอะก็จะรับไม่ไหว เราก็ต้องรักษาให้ได้ ก็เอาเรือไปลากผักตบชวามาปะพนังกันน้ำกั้นลดแรงกระแทกคลื่น ภารกิจหลักๆ มีสามเรื่อง เรื่องเอาผักตบชวามาทำพนังกั้นน้ำเกิดขึ้นมาอย่างไร ผักตบชวา เป็นความคิด ที่เรานึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร สภาพดินที่เราเห็น เขาใช้ดินตักขึ้นมาไม่มีกระสอบทราย แล้วน้ำเซาะง่าย แต่เมื่อน้ำมาก็เป็นคลื่น ก็ไม่มีอะไรเลยก ต้องเอาผักตบชวา เอามาปะ และสามารถที่จะลดแรกกระแทกได้ อย่างน้อยคลื่นมาปะทะกับผักตบก่อน พวกที่เขาเดินสำรวจ ก็นอนไม่หลับเพราะคลื่นแรงมาก ตื่นเช้าขึ้นมาก็เดินกันเอยะ เส้นทางสองกิโลเศษ เราดูว่าช่วงไหนที่ลมเข้า คลื่นเข้า ก็ยากในการเอาผักตบเข้ามา ต้องเอาเรือสองลำไปช่วยลาก หมู่บ้านที่เหลือไว้เป็นศูนย์ที่ทำการอบต, และมีฐานอพยพ มีอาคารอเนกประสงค์ ตอนนี้ระดับน้ำด้านข้างเลยผมไปไม่กี่เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 1 หนึ่งเมตร ยี่สิบเซ็นติเมตร ถ้าพนังล้มก็จะไม่มีที่อยู่ ต้องพยายามเสริมคันกั้นน้ำไว้ตลอด ไอ้คลื่นนี่มันแปลก เปลี่ยนทิศทาง ต้องคอยสำรวจ ที่นี่มีดินทรายผสมด้วย แต่ถ้าเรามีผักตบมาวาง ตอนนี้คนที่อพยพมาก็เยอะ บางส่วนนอนบ้าน แต่เขามาทำอาหาร เอาเด็กเล็กๆ มาอยู่ที่นี่ คนที่นี่เขาอดทนสูงมาก เพระเขาอยู่ที่บ้านเป็นหลัก น้ำท่วมสองเมตร เขาก็ต่อขึ้นไป จริงๆ คนเขาก็ไม่อยากอยู่ที่ศูนย์อพยพ ถ้าเขามีเพื่อนเขาก็ไปอยู่บ้านเพื่อน ถ้ามีญาติเขาก็ไปอยู่บ้านญาติ เท่าที่มาอยู่ในพื้นที่ ได้เจอกับกรณีฉุกเฉินบ้างหรือไม่ รับมืออย่างไร ไม่มีเหตุฉุกเฉิน ต้องชื่นชมหัวไผ่เพราผู้บริหารที่นี่เข้าใจ เห็นพลังความเข้มแข็งของชุมชน นี่น่าจะเป็นโมเดลใหม่ จุดแข็งอะไรที่เห็นว่าน่าจะเป็นโมเดลได้ ระบบจัดการ ผมเห็นงานช่วยเหลือภัยพิบัติหลายพื้นที่ แต่ระบบการจัดการอย่างถุงยังชีพที่นี่จัดการได้ดีมาก ไม่มีเกะกะเพ่นพ่าน ทั่วถึง ไม่ร้อง ไม่โวยวาย แกนนำชาวบ้านพวกเราก็ไปสนับสนุน และทุกวันที่ลงปฏิบัติการผักตบก็มีคนมาช่วยยี่สิบสามสิบคนเว้นแค่จะมีประชุม สิ่งสำคัญที่สุดที่นี่มีน้ำใจ กระบวนการเรียนรู้ที่ตำบลนี้มีสิ่งน่าจะเป็นโมเดลของการจัดการภัยพิบัติย่อย เป็นการต่อสู้กับภาวะภัยพิบัติโดยท้องถิ่นจริงๆ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ปชป.จี้นายกฯ รับผิดชอบ หลังประกาศ ม.31 แล้วมีคนถูกไฟดูดตาย Posted: 23 Oct 2011 02:41 AM PDT รองโฆษก ปชป. ชี้เกิดเหตุคนที่นนทบุรีเสียชีวิตจากไฟดูด หลังใช้ ม.31 พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจและรู้ว่าน้ำจะไปทางไหน จึงขอให้ออกมาแสดงความรับผิดชอบ ชี้กรณีที่เกิดขึ้นสามารถร้องศาลปกครองได้ นอกจากนี้มีผู้ร้องเรียนว่าถ้าไม่ปักธงแดงจะไม่ได้รับของช่วยเหลือ สำนักข่าวไทย รายงานวันนี้ (23 ต.ค.) ว่า น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณีที่มีการปล่อยน้ำไป จ.นนทบุรี และมีประชาชนเสียชีวิตจากไฟดูด ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นหลังมีการใช้มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและรู้ว่าจะปล่อยน้ำไปทางไหน จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีแสดงความรับผิดชอบ และล่าสุดได้ประสานกับทนายความและฝ่ายกฎหมายไว้แล้ว เพื่อรองรับดูแลประชาชน เพราะเห็นว่ากรณีที่เกิดขึ้นสามารถร้องศาลปกครองได้ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการติดตามพบว่าประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมมีความเครียดทั้งจากการสูญเสีย ทรัพย์สินและรายได้ จึงอยากขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต นอกจากนี้ยังได้รับการร้องเรียนว่าความช่วยเหลือยังไปไม่ถึง ทั้งที่ของบริจาคจำนวนมาก แต่มีการเลือกปฏิบัติ โดยประชาชนร้องเรียนมาว่าถ้าไม่มีธงแดง ก็ไม่ได้รับบริจาค และถ้าไปเบิกของจาก ศปภ.ไปช่วย หากไม่ใช่พวกพ้องก็ไม่ให้ ด้านนายสกลธี ภัททิยกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรีเรียกร้องทุกฝ่ายร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม แต่ขณะเดียวกันคนในพรรคเพื่อไทยกลับเล่นการเมือง มีการประชุม ส.ส.กทม.ของเพื่อไทยกับแกนนำแล้วโจมตีการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. โดยสื่อสารข้อมูลที่บิดเบือน เช่นกรณีน้ำท่วมดอนเมือง ก็ไปประชาสัมพันธ์ว่าเป็นเพราะน้ำจากคลองประปา แต่มาโจมตีว่า กทม.ไม่ปล่อยน้ำ ถือเป็นการฉวยโอกาสสร้างความเป็นวีรสตรี เพื่อหวังลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ในสมัยหน้า พร้อมกันนี้ยังเรียกร้องนายกรัฐมนตรีแสดงภาวะผู้นำแก้ปัญหาความขัดแย้งของ ประชาชน ที่อยู่ในเขตรอยต่อ และบริเวณพนังกั้นน้ำ และขอให้กำกับดูแลให้ ศปภ.แถลงข้อมูลที่เป็นจริง สำหรับกรณีที่มีข่าวว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 26-27 ต.ค. รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วย เพราะจะได้นำปัญหาของประชาชนมาหารือและช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง เพราะจะได้ระดมสมองช่วยกันแก้ปัญหาให้ประชาชน แต่ต้องไม่หมกเม็ดนำร่างแก้ พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหมเข้ามาอาศัยช่วงชุลมุนแล้วให้สภาพิจารณา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
แรงงานจากพม่าที่มหาชัยบริจาคอาหารแห้งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม Posted: 23 Oct 2011 02:20 AM PDT กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มหาชัยร่วมใส่บาตร-ทำบุญ ระดมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านผู้ประสานงานฯ เผยแรงงานข้ามชาติจำนวนหนึ่งไม่กล้าขอความช่วยเหลือช่วงน้ำท่วมเนื่องจากนายจ้างเอาเอกสารประจำตัวไปเก็บไว้ แถมยังไม่ได้รับค่าจ้าง วอนรัฐบาลอนุโลมเรื่องเอกสารเพื่อให้เข้าถึงความช่วยเหลือก่อน (23 ต.ค.54) เส่ง เท เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) และกลุ่มแรงงานต่างๆ ร่วมมือกับพระสงฆ์นักศึกษาจากพม่าและพระสงฆ์ไทย ทำบุญ ตักบาตรข้าวสารและอาหารแห้งเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยทำใน 9 ชุมชนที่มหาชัยสมุทรสาคร สิ่งของที่ได้มาจะมอบผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด โดยทำในช่วงเช้า 3 ชุมชนและช่วงบ่าย 5 ชุมชน เส่ง เท ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ (MWRN) กล่าวว่า ช่วงน้ำท่วม มีแรงงานข้ามชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า ติดต่อขอความช่วยเหลือมาจำนวนหนึ่ง เนื่องจากมีปัญหา อาทิ ไม่มีเอกสารประจำตัวแรงงาน เนื่องจากนายจ้างนำไปเก็บไว้ จึงไม่กล้าออกไปไหน บ้างก็ยังไม่ได้ค่าจ้าง ซึ่งได้ทำการรับเรื่องและส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ไทยพีบีเอส และเครือข่ายเอ็นจีโอแล้ว ทั้งนี้ เขาเรียกร้องต่อรัฐบาลว่า ในภาวะเช่นนี้ สิ่งที่จำเป็นจริงๆ สำหรับแรงงานข้ามชาติคือ การอนุโลมเรื่องเอกสารต่างๆ เนื่องจากแรงงานที่ไม่มีเอกสารอยู่กับตัวจะไม่กล้าออกมาข้างนอก บางพื้นที่ เจ้าหน้าที่ไปข่มขู่ ทำให้แรงงานยิ่งกลัว ประกอบการไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดีพอ พวกเขาจะยิ่งไม่กล้าติดต่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพตามมา อนึ่ง แรงงานข้ามชาติที่ประสบอุทกภัย สามารถติดต่อแจ้งขอความช่วยเหลือที่ อ่อง จ่อ โทร 0867555337 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น