โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

TCIJ: ชาวกาฬสินธุ์ร่วมถกปัญหานิวเคลียร์ ชี้ควรให้ความรู้กับสังคม

Posted: 25 Oct 2011 01:08 PM PDT

เวทีเสวนาโรงฟ้านิวเคลียร์ เอ็นจีโอ ชี้แม้โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะทำให้คนตื่นตัว แต่ความชัดเจนในด้านความรู้เรื่องนิวเคลียร์อย่างรอบด้านของประชาชนยังไม่มี ชาวบ้านแนะควรมีการให้การศึกษา ขยายเวทีสร้างความเข้าใจ

 
 
เมื่อวันที่ 24 ต.ค.54 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมโรงเรียนหัวหินวัฒนาลัย บ้านหนองนู ต.หัวหิน อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน พร้อมองค์กรภาคี ได้แก่ เครือข่ายพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต, เครือข่ายติดตามเรื่องนิวเคลียร์ จ.กาฬสินธุ์, เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และ Mekong school Alumni, EarthRights International ได้จัดเวทีเสวนาเรื่องโรงฟ้านิวเคลียร์ โดยมีผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ จำนวนกว่า 60 คน เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนข้อมูล
 
จากกรณีที่พื้นที่ อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการดำเนินการสำรวจความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตั้งแต่ปลายปี 2553 และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วางเป้าหมายที่จะทำโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่ โดยไม่ได้ถูกระบุในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553–2573 หรือ แผน PDP2010 (Thailand Power Development Plan 2010) 
 
ทั้งนี้ แผน PDP 2010 ได้กำหนดแผนการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 29 โรง ซึ่งประกอบด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 52,890 เมกะวัตต์ ในระยะ 20 ปี (ปี 2573) จากเดิมผลิตได้ 28,045 เมกะวัตต์ (ปี 2552) และจะมีการกำหนดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เครื่องแรกในปี 2563 
 
ที่ผ่านมา กฟผ. แสดงรายงานหัวข้อการศึกษาเรื่องสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยใช้องค์ประกอบการพิจารณา 3 ด้านคือ ด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์ สรุปว่าพื้นที่เหมาะสมเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 อันดับแรกคือ 1) อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 2) ต.พนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 3) ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 4) ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี และ 5) ปากน้ำละแม อ.ละแม จ.ชุมพร โดยเป้าหมายหลักคือ จ.นครสวรรค์และอุบลราชธานี 
 
ดร.ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์ นักวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ชาวบ้านได้รับทราบข้อมูลจากกระแสข่าวว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ จ.กาฬสินธุ์ และมีการลงสำรวจพื้นที่ หลังจากนั้นทางการก็เข้ามาให้ข้อมูลฝ่ายเดียวว่าเราจะมีการพัฒนา และมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง แต่ยังไม่เคยมีใครเข้ามาให้ข้อมูลกับชาวกาฬสินธุ์อย่างสมบูรณ์ ว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
 
“ผลกระทบเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผู้คนตื่นตัวกันมากขึ้น ดังนั้น ในวันนี้จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่เราจะร่วมกันเรียนรู้ และรณรงค์เผยแพร่ เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงการใช้พลังงาน และรู้เท่าทันปัญหาการพัฒนาพลังงานของประเทศ” ดร.ธวัชวงศ์ชัย กล่าว
 
ส่วนนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน กล่าวว่า หลังจากที่เกิดเหตุการณ์สึนามิและการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดการตื่นตัวของกระแสสังคมทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยส่งผลให้รัฐบาลประกาศชะลอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ในทางปฏิบัติ การดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีอย่างต่อเนื่อง และขยายลงสู่ชุมชน ในขณะที่ความชัดเจนในด้านความรู้เรื่องนิวเคลียร์อย่างรอบด้านของประชาชนยังไม่มี ซึ่งประเด็นเหล่านี้ทางสังคมและชุมชนที่เกี่ยวข้องควรจะได้รับการรับรู้และวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในด้านการพัฒนาพลังงาน
 
“เรากำลังจะเอาพื้นที่เกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ไปแลกกับอุตสาหกรรม ในขณะที่ชุมชนก็มักจะถูกอ้างเสมอว่าเพื่อการพัฒนา แต่ไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ฉะนั้นจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าถ้ามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วคุณภาพชีวิตเราจะดีขึ้นหรือไม่” นายสุวิทย์กล่าว 
 
ด้านนายสมคิด เหล่าประชา ชาวตำบลกุดโดน หมู่ที่ 13 กล่าวว่า ในพื้นที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้น ควรมีการให้การศึกษากับคนในชุมชนทั้งนักเรียน ผู้นำ และชาวบ้าน ซึ่งไม่ใช่การต่อต้านหรือบอกว่าเอาโครงการ แต่เน้นการให้ข้อมูลความรู้อย่างรอบด้าน แล้วมีการขยายเวทีไปสู่ภาคส่วนต่างๆ
 
“ทางการได้เข้ามาเปิดเวทีและให้ข้อมูลแต่ด้านดี แจกผ้าห่ม พร้อมกับเงิน 200 บาท แล้วให้ชาวบ้านยกมือเห็นด้วย ซึ่งบางคนก็ไม่รู้เรื่องเห็นเขายกมือก็ยกเอากับเขา ทว่าพวกเราไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลเลยว่านิวเคลียร์มันคืออะไร จะมีผลกระทบหรือไม่” นายสมคิดกล่าว
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยูเอ็น เรียกร้องช่อง 'ไทยอาเซียนนิวส์เน็ตเวิร์ค' ถอนข่าว หลังบิดเบือนคำพูดเลขาธิการ UNESCAP

Posted: 25 Oct 2011 10:45 AM PDT

สหประชาชาติ เรียกร้องสถานีโทรทัศน์ 'ไทยอาเซียนนิวส์ เน็ตเวิร์ค' ถอนรายงานข่าวน้ำท่วม ที่บิดเบือนคำพูดของ เลขาธิการคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ว่าติเตียนรัฐบาลไทยในการ จัดการปัญหาภัยพิบัติ

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา (21 ต.ค. 54) องค์กรสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (United Nations) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ให้สถานีโทรทัศน์ 'ไทยอาเซียนนิวส์ เน็ตเวิร์ค ถอดถอนข่าวน้ำท่วม ที่นำเสนอการบิดเบือนคำพูดของ ด็อกเตอร์ โน ลีน เฮย์เซอร์ เลขาธิการคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ ว่าติเตียน รัฐบาลไทยในการจัดการน้ำท่วม

ดร. เฮย์เซอร์ระบุในแถลงการณ์ว่า การบิดเบือนคำพูดดังกล่าว เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับความสมานฉันท์และความสนับ สนุนของสหประชาชาติที่มีต่อประเทศไทยอย่างชัดเจน

"การอ้างคำพูดดังกล่าวผิดอย่างสิ้นเชิง สะท้อนมาตรฐานของการทำงานข่าวที่ตกต่ำ ซึ่งควรทำหน้าที่สะท้อนความ จริง" ดร. เฮย์เซอร์กล่าว

แถลงการณ์ดั้งเดิมของยูเอ็นเอสแคป ที่ออกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม และ 'ไทยอาเซียนนิวส์เน็ตเวิร์ค' นำไปออก อากาศนั้น มีข้อความการแสดงความเสียใจและแสดงความสมานฉันท์จากองค์กรสหประชาชาติ ต่อเหยื่อที่ประสบ เหตุอุทกภัยในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ

นอกจากนี้ ยังระบุว่า หน่วยงานต่างๆ กว่า 20 หน่วยของสหประชาชาติ ภายใต้กลไกการประสานงานระดับภูมิภาค กำลังวางแผนดำเนินงานร่วมกับอาเซียนในระหว่างปี 2011-1015 ในการจัดการและป้องกันภัยพิบัติระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ไม่มีคำตำหนิหรือติเตียนรัฐบาลไทยในการจัดการปัญหาน้ำท่วมในแถลงการณ์ดังกล่าวของ UNESCAP ตามที่ 'ไทยอาเซียนนิวส์ เน็ตเวิร์ค' นำไปรายงานแต่อย่างไร

เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมาสถานีข่าว 'ไทยอาเซียนนิวส์ เน็ตเวิร์ค' ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ภาษาอังกฤษ ที่ออก อากาศผ่านดาวเทียมเอเชีย แซตเทลไลท์ เทเลวิชั่น หรือ เอเอสทีวี จึงได้ทำการแก้ไขข่าวดังกล่าว และระบุว่า คำ พูดดังกล่าว มาจากเจอรี เวลาสเคซ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานอาวุโสระดับภูมิภาคของหน่วยยุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อ บรรเทาภัยพิบัติ แห่งสหประชาชาติ

ไทยอาเซียนนิวส์ เน็ตเวิร์ค ยังได้ตีพิมพ์คำขอโทษ และย้ำว่า ข้อผิดพลาดดังกล่าวที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นความตั้งใจแต่ อย่างไร
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิสิทธิ์ยอมรับว่าไปมัลดีฟส์ - แต่เหตุผลของเขาเป็นเรื่องจริงหรือ?

Posted: 25 Oct 2011 09:30 AM PDT

เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เขียน บล็อกเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ว่าอดีตนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านจากพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้หนีไปมัลดีฟส์เพื่อการพักผ่อนวันหยุดสั้นๆ ไม่ประหลาดใจแต่อย่างใดที่บล็อกของผมต้องเผชิญกับการหัวเราะเยาะจากผู้อ่านประจำที่เป็นชาวต่างชาติ และผู้สนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ "โกหก" "ขยะ" "คนเขียนนี่ถูกจ้างมาจากรัฐบาลหรือ?" บลา บลา และอื่นๆ

ตอนแรกพรรคประชาธิปัตย์ดูเหมือนจะปฏิเสธว่ามาร์คไปอาบแดดที่รีสอร์ทหรูในมัลดีฟส์ขณะที่กรุงเทพฯ เผชิญน้ำท่วมใหญ่ หรือเลี่ยงบาลีไปตามเคย (ทำไมพรรคประชาธิปัตย์และความจริงไม่ออกมาให้รายละเอียด) โดยไม่ปฏิเสธว่าอภิสิทธิ์เคยไปที่นั่น

ตอนนี้พวกเขายอมรับว่าอภิสิทธิ์ได้ไปมัลดีฟส์ แต่ยอมรับหลังจากที่เขาวางเรื่องราวต่างๆ ได้เสร็จ

ที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นข้อความที่เขียนโดยประชาธิปัตย์เองโดยอ้างจากรายงานในหนังสือพิมพ์มติชน ที่ว่าอภิสิทธิ์เดินทางไปมัลดีฟส์แต่ไปตามคำเชิญของประธานาธิบดีมัลดีฟส์ที่ทาบทามไว้หลายเดือนแล้ว พร้อมยังอ้างว่าอภิสิทธิ์กับประธานาธิบดีมัลดีฟส์หารือกันเรื่อง "น้ำท่วม" แต่ทำไมมาร์คถึงไม่ประกาศการเดินทางเยือน "อย่างเป็นทางการ" ของเขาก่อนที่เขาจะออกจากประเทศ เขาจะเขียนรายงานเรื่องการควบคุมอุทกภัยของชาวมัลดีฟส์ด้วยหรือเปล่า? ทำไมต้องหลบเลี่ยง? ทำไมต้องเป็นความลับ?

เมื่อพิจารณาอย่างรวดเร็วในเว็บไซต์ของประธานาธิบดีมัลดีฟส์ และดูที่ลิสต์การเข้าพบอย่างเป็นทางการ ก็พบว่าเป็นที่ชัดแจ้งที่ไม่มีการระบุเรื่องการเยือนของอภิสิทธิ์ มีเพียงการระบุถึงการแข่งขันคริกเก็ต และสาส์นต่างๆ ทั่วไปที่ประธานาธิบดีส่งไปยังนักการทูต แต่ไม่มีอะไรที่ระบุถึงการเยือนมัลดีฟส์ที่สำคัญของคุณมาร์คที่มาพูดเรื่องการต่อสู้กับน้ำท่วม

ดังนั้น นี่อภิสิทธิ์ได้เพิ่มข้อผิดพลาดใหม่ๆ ขึ้นมาหรือ? ผมแน่ใจว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นคำถามระหว่างการแถลงข่าวของประธานาธิบดีที่มัลดีฟส์ ซึ่งจะต้องกระตือรือร้นที่จะตอบเมื่อมีการแถลงข่าวในตอนเช้า

แต่ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งเดียวที่จะตัดสินเรื่องการตัดสินใจไปพักผ่อนหรูหราของนาย อภิสิทธิ์ได้ ก็คือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของไทย พวกเขาอยากได้ผู้นำที่ ทั้งที่มีอุทกภัยครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในชั่วชีวิต แล้วได้อดทนอยู่และทำอย่างดีที่สุด หรือนักการเมืองคนหนึ่งชอบโจมตีจากด้านข้างสนามแล้วหนีไปพักผ่อนที่รีสอร์ทหรู เมื่อถึงคราวลำบาก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'7 ปี ตากใบ' ชีวิต...ที่จำต้องก้าวต่อไป

Posted: 25 Oct 2011 09:21 AM PDT

“แม้ว่าเหตุการณ์จะล่วงเลยมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นเมื่อวานนี่เอง”  นี่เป็นความรู้สึกของผู้เป็นเหยื่อส่วนใหญ่จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธร  หรือ สภ. ตากใบ อ.ตากใบ จ. นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 7 คนและเสียชีวิตขณะขนย้ายอีก 78 คน รวมทั้งมีผู้บาดเจ็บสาหัสร้อยกว่าคน  นอกจากนั้นมีกลุ่มที่ถูกทางการดำเนินคดีในฐานะแกนนำและมีส่วนร่วมวางแผนเพื่อก่อให้เกิดการชุมนุม 58 ราย แต่เมื่อวันที่  8 พฤศจิกายน 2549 อัยการสูงสุดได้สั่งถอนฟ้องคดีนี้  

แม้เหตุการณ์จะล่วงเลยมาแล้ว 7 ปี  แต่ครอบครัวผู้สูญเสีย และเหยื่อผู้บาดเจ็บ ยังคงต้องทุกข์ทรมานกับบาดแผลใจ และบาดแผลกาย ที่เกิดกับกลุ่มผู้พิการจากเหตุการณ์  นอกจากนั้นบางครอบครัวต้องเผชิญกับผลกระทบที่ตามมาครั้งแล้วครั้งเล่า ที่อาจเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ตากใบ   ทำให้ความทรงจำของพวกเขาไม่เคยจางหายไป หรือบางคนก็ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่จนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในเมืองไทยและต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามภายหลังจากเหตุการณ์วิปโยคนี้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็เข้าไปทำงานเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ  และในทางกฎหมาย ครอบครัวเหล่านี้ก็มีการฟ้องคดีแพ่งเรียกร้องความเสียหายจนได้รับค่าชดเชยรวมทั้งหมดประมาณ 47 ล้านบาท แต่ที่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ และสังคมที่ติดตามเรื่องตากใบ รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมคือ การไต่สวนการตาย ที่ศาลได้พิพากษาว่าเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ ทั้งที่มีหลักฐานการเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่โดยตรง อีกทั้งมีผู้ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส และพิการ ในตอนสลายการชุมนุม

เป็นเวลา 7 ปีแล้วกับสภาพชีวิตหรือความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ซึ่งต้องประสบกับชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะผู้พิการที่ต้องปรับตัวในการดำเนินชีวิตให้อยู่รอด นอกจากนั้นก็ยังมีครอบครัวที่ต้องพบเจอกับเหตุการณ์ความไม่สงบเรื่อยมา

เหตุการณ์ซ้ำๆ
ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา “ตีเมาะ กาบากอ” หรือ “มะดอ” แม่ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ตากใบ ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบซึ่งเกิดขึ้นกับลูกชายและญาติมิตร ทั้งเสียชีวิตบ้าง ถูกดำเนินคดีบ้าง

“เรื่องมันก็หลายปีแล้ว ถ้าจะให้เล่าไม่รู้จะจำรายละเอียดได้หรือเปล่า ครั้งแรกก็สูญเสียลูกชาย” ไม่ทันที่เธอจะเอ่ยชื่อน้ำตาก็เริ่มไหลริน และไม่สามารถเปล่งเสียงออกมาได้ เพระเธอรู้สึกว่าเหตุการณ์วันนั้นมันเพิ่งผ่านไม่นาน  ปัญหาอื่นก็เข้ามารุมเร้า และความรู้สึกแย่ ๆ มันวนเวียนเข้ามาในหัวของเธออย่างไม่ขาดสาย เธอปาดน้ำตา ทำใจสักพัก และเล่าต่อให้ผู้มาเยือนคือสมาชิกในเครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพชายแดนใต้  ฟังว่า

“หลังจากที่ช็อกกับเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งลูกชายคือ “อาบีดี กาบากอ” เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิต และ มะมิง วัย 38 ปี ที่ต้องคดีในเหตุการณ์ตากใบแล้ว ต่อมาไม่นาน ปี 2548 (14 พฤศจิกายน 2548) “เจ๊ะรอฮิง” ลูกชาย และญาติอีกคนคือ “นายซู หะมะ” ก็ถูกจับในคดีก่อเหตุร้ายรายวัน   แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายกฟ้องในคดีนี้

หลังจากนั้นช่วงเดือนกันยายน 2554 ลูกเขย “รูดิง” ทหารได้เชิญตัวไปอบรมโดยการออกดะวะห์ ...(ดะวะห์ คือ การเผยแพร่ศาสนา แต่ความหมายตรงนี้ คือ การไปขัดเกลาจิตใจของตัวเอง)  เนื่องจากเจ้าหน้าที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ถล่มที่ค่ายบ้านไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อกลับมาอยู่บ้านสักพัก ขณะที่กำลังเตรียมตัวไปออกดะวะห์อีกครั้ง ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมารออยู่ที่หน้าบ้านเพื่อมารับตัวไปที่สถานีตำรวจ  นายรูดิง และครอบครัวไม่ไว้ใจตำรวจ จึงหนีไปอยู่ที่อื่น ทำให้เจ้าหน้าที่ออกหมายจับ และหลังจากนั้นไม่นานลูกสาวคนเล็กของเธอวัย 16 ปี เสียชีวิตด้วยหัวใจอักเสบ”  เธอเล่าด้วยน้ำเสียงที่หดหู่

ความเศร้าโศกเสียใจที่มีมากมายทำให้เธอต้องกลายเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ !!!

อาการช็อกที่เกิดขึ้นหลายๆ ครั้งกับเธอได้เป็นตัวเร่งให้ร่างกายทรุดโทรม และมีภูมิต้านทานน้อยลง กระทั่งมีโรคหัวใจมาเยือนหา เธอต้องเผชิญกับอาการเหนื่อยง่าย แม้แต่จะไปเดินเล่นใกล้ๆ ก็ยังไม่ค่อยไหว และทำงานหนักไม่ได้ ประกอบกับอายุที่เกือบหกสิบปีแล้ว

นอกจากเธอได้รับผลกระทบ จากการเสียชีวิตของลูกสาวอันเป็นที่รัก และวิตกกังวลกับคนในครอบครัวรวมสามคนที่ต้องเจอกับคดีความมั่นคงแล้ว  มากกว่านั้นลูกเขยที่มีหมายจับซึ่งหนีออกจากบ้านไปแล้ว  ก็ทิ้งภรรยา และ หลานเล็ก ๆ สองคน 2 คน อายุ 4 และ 5 ขวบ ซึ่ง “มะดอ” ผู้เป็นยาย   มิอาจทิ้งให้อยู่กันตามลำพัง จึงรับมาอยู่ด้วย  ดูแลเรื่องอาหารการกิน  รวมทั้งค่าเล่าเรียนของหลานด้วย ในขณะที่เธอเองก็ทำงานไม่ได้  เหลือแต่สามีซึ่งอายุมากต้องทำงานคนเดียว  ไร่นาเธอก็จ้างให้เพื่อนบ้านทำ ผลผลิตที่ได้  เมื่อขายได้   รายได้ส่วนหนึ่งก็ต้องนำมาเป็นค่าจ้าง

นอกจากนั้นเธอต้องสูญเสียทรัพย์สิน และค่าใช้จ่าย ที่ต้องใช้เพื่อประกันตัวและดำเนินคดีคนในครอบครัวเป็นจำนวนหลายแสนบาทก็ตาม แต่เธอก็ไม่ได้รู้สึกโกรธเคืองใคร เธอบอกว่า ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของพระองค์อัลลอฮ์  และเธอหวังว่าบททดสอบที่เผชิญอยู่นี้ จะได้รับการตอบแทนที่ดีจากพระองค์อัลลอฮ์ ไม่โลกนี้ก็โลกหน้า

ในเหตุการณ์ตากใบ นอกจากมีแม่และภรรยาที่ต้องสูญเสียคนในครอบครัว  รวมทั้งมีสมาชิกในครอบครัวที่ยังคงตกอยู่ภายใต้ความหวาดระแวงของเจ้าหน้าที่   ยังมีเหยื่อที่พิการสาหัสจากเหตุการณ์ตากใบ  5 คน    2 คน ในนั้นมีนายมาลีกี ดอเลาะ ซึ่งสูญเสียขาข้างหนึ่ง และ แวดี  มะโซ๊ะ  สูญเสียตาข้างซ้าย ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปรกติได้

ชีวิตใหม่ของมาลีกี
“โชคดีที่ได้ภรรยาดี ทำกับข้าวให้เรากิน ซักผ้าให้เรา เธอไม่เคยบ่นเลย” มาลีกีเล่าชีวิตใหม่หลังจากที่ได้แต่งงานและมีธุรกิจเล็ก ๆ เป็นร้านขายของชำ  

มาลีกี ดอเลาะ ชายหนุ่มวัย 35 ปีผู้สูญเสียขาข้างหนึ่งหลังจากที่ถูกซ้อนทับกัน 5 ชั้น ระหว่างที่ถูกขนย้ายจาก สภ.ตากใบ  ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี กระทั่งเขาต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลหาดใหญ่นานถึง 2 เดือนโดยมีแม่และน้องสาวเป็นผู้ประคับประคองดูแล

วันนี้ “มาลีกี” มีภรรยาเป็นผู้ร่วมชีวิต หลังจากที่แม่ของเขา “ยาเร๊าะ” เคยรับภาระดูแลลูกชายเพราะช่วงแรกมาลีกีมีสภาพร่างกายที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ เนื่องจากแขนและขามีลักษณะฝ่อลีบ ไร้กำลัง มือทั้งสองข้างหงิกงอจนไม่สามารถจับอะไรได้ แม้แต่จะทาแป้ง แปรงฟัน หรือจับช้อนกินข้าว

วันนี้มาลีกีเริ่มมีสุขภาพแข็งแรง พึ่งตัวเองได้บ้าง แต่แม่ของเธอเริ่มแก่ลงไม่สามารถดูแลเขาอีกต่อไป ครอบครัวจึงหาภรรยาให้มาลีกีมาช่วยดูแลแทนแม่

ระหว่างที่สนทนากับมาลีกี  ภรรยาของเธอง่วนอยู่ในครัว และขายของอยู่หน้าบ้าน สักพักเธอก็มานั่งคุยด้วย ไม่นาน ฉันจึงถามภรรยาของเขาว่า เป็นอย่างไรบ้าง เธอก็ไม่ตอบแต่แอบยิ้มเหมือนพอใจกับชีวิตของเธอ เมื่อถามไปตรงๆ ว่า คิดนานหรือเปล่า กว่าจะตอบตกลงแต่งงานกับมาลีกี  เธอก็ไม่ตอบอีก  เอาแต่เขินอาย ทันใดนั้นมาลีกี  จึงพูดด้วยคำตลกเหมือนจะกลบความอายของทั้งคู่

“ไม่ได้คิดนานเลยใช่ไหม เพราะแบหล่อ (แบแปลว่า พี่ชาย หรือเป็นคำเรียกแทนสามี)”

 “ภรรยาทำหน้าที่ได้ดี ไม่เคยบ่นอะไร และผมเองก็พยายามพูดอะไรขำๆ เพื่อไม่ให้เธอเครียด เพราะโดยปรกติเป็นคนตลกอยู่แล้ว ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุที่เพื่อน ๆ ชอบมาหาเราที่บ้าน” เขาเล่าพลางชี้ไปที่เพื่อนผู้ชาย ซึ่งนั่งและกำลังคุยอยู่หน้าบ้าน

มาลีกีได้รับเงินจากการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายคดีแพ่งในเหตุการณ์ตากใบ ประมาณหนึ่งล้านกว่าบาท เขานำเงินเหล่านั้นไปสร้างบ้านเพิ่มเติม ส่วนหนึ่งนำเป็นต้นทุนเปิดกิจการขายของชำ และอีกส่วนหนึ่งใช้รับจำนำสวนยาง แล้วนำผลผลิตที่ได้จากสวนยาง  ขายเป็นรายได้มาจุนเจือครอบครัว และยังเลี้ยงดูแม่ของเขาด้วย             

“ตอนนี้เราก็พึ่งมาลีกีด้วย”  แม่ของเขาพูดแทรกด้วยเสียงที่เคอะเขิน แต่แอบภูมิใจในตัวลูกชายที่สามารถพึ่งตัวเองได้และยังรับภาระทางเศรษฐกิจ ดูแลเธออย่างเต็มใจ

นอกจากเขาต้องดูแลกิจการนี้แล้ว เขาก็ยังซื้อที่ดิน เพื่อปลูกสวนยาง  เขาเล่าว่า

“ทุกเช้าก็ไปสวนกับภรรยา ช่วยกันปลูกสวนยาง ช่วยเท่าที่ช่วยได้ เสร็จจากนั้นก็กลับมาขายของ” ทั้งนี้เนื่องจากบ้านของมาลีกีตั้งอยู่หน้าโรงเรียนนิรันดร ต.บางปอ อ.เมือง จ.นราธิวาส ทำให้ร้านค้าของเขา ก็พออยู่ได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้เขาจะมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่สภาพร่างกายของเขาก็เจ็บป่วยอยู่บ่อยครั้ง เขาเพิ่งผ่านการผ่าตัดไส้ติ่ง และเผชิญกับโรคแทรกซ้อน  คือโรคไต และล่าสุด หมอบอกว่า เป็นไส้เลื่อนด้วย  และเขาก็ยังมีอาการชาที่บริเวณหลัง และแขนทั้งสองข้าง  บางวันเขาใช้รถ มอเตอร์ไซค์สี่ล้อ ที่ดัดแปลงสำหรับคนพิการ    ซึ่งเขาเพิ่งซื้อเมื่อสามเดือนที่แล้ว ขับออกไปข้างนอก เพราะถ้าถูกลมแรง ๆ อาการก็จะดีขึ้น ด้วยเหตุนี้เขาต้องออกไปทำสวน เพื่อเป็นการกายภาพบำบัดภายในตัว และพยายามนวดตัวเองบ่อย ๆ

แม้ว่าชะตากรรมชีวิตของมาลีกี ยังคงต้องเผชิญกับความเจ็บปวด และความไม่ปรกติของร่างกายก็ตาม แต่เขาก็ยังคงยิ้มได้และไม่เคยย่อท้อกับการดำเนินชีวิตที่ยากลำบาก ในฐานะคนพิการไปตลอดชีวิต  แต่ชุมชนสังคม และหน่วยงานภาครัฐด้านความมั่นคง  ควรเรียนรู้และใส่ใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น  เพื่อเป็นบทเรียนในการจัดการความขัดแย้ง การส่งเสริมสันติวิธีเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา  และการควบคุมสถานการณ์ในอนาคต  ไม่ให้เกิดเหตุผิดพลาด  ที่นำไปสู่การเจ็บ การตาย และพิการของประชาชนเป็นจำนวนมากเช่นนี้  อีกต่อไป

ดวงตาที่หายไปกับชีวิตที่หมดหวัง
“เขาทำงานหนักไม่ได้แล้ว วันก่อนชวนไปไถนา ไม่ทันไร ตาข้างซ้ายก็มีน้ำไหลออกมากลายเป็นสีแดงก่ำ และเขาก็ปวดหัวหนักมาก” พ่อของแวดีเล่าให้สมาชิกในเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ที่ไปเยี่ยมเยือนได้ฟัง ขณะที่ทุกคนนั่งอยู่หน้าบ้าน ซึ่งอยู่ด้านหลังมัสยิดตากใบ อ.ตากใบ จ. นราธิวาส

“แวดี มะโซ๊ะ” มีคำนำหน้าเป็นเด็กชาย ในขณะที่เกิดเหตุการณ์ตากใบเมื่อปี 2547   ตอนนั้นเขาเพิ่งอายุได้ 14 ปี และกำลังเรียนหนังสืออยู่ที่ “ปอเนาะกาปงดาแล” โรงเรียนสอนศาสนาดั้งเดิมใกล้บ้านพี่ชาย  ซึ่งพี่ชายของเขาเป็นคนหนึ่งที่ได้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบ โดยวันเกิดเหตุเขากับเพื่อนชวนกันไปเที่ยวที่ตลาดตากใบ ทำให้เขาต้องอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ  แวดีเล่าว่า

“ระหว่างที่มีการสลายการชุมนุม ตอนได้ยินเสียงปืน ผมและคนอื่นๆ หมอบราบกับพื้น แต่ด้วยความอยากรู้ของผมตามประสาเด็ก ผมก็เลยชะเง้อหน้า ทันใดนั้นกระสุนปืนก็วิ่งตรงมาที่หัวและเฉียดเข้าที่ลูกตาข้างซ้าย หลังจากนั้นผมก็สลบไม่รู้สึกตัวอีกเลย” ด้วยเวลาที่มันผ่านมานานหลายปี   ทำให้แวดี เล่าด้วยอารมณ์ที่ดูเหมือนนิ่งสงบ   แต่ฉันรู้ว่า ซ่อนด้วยอารมณ์น้อยใจ และรู้สึกหดหู่ในโชคชะตาของตนเอง

แวดีได้รักษาตัวที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 18 วัน ในวันนั้น  แม่ของเธอไม่อยากเชื่อสายตาตนเอง ที่เห็นสภาพลูกชาย ตาที่ถูกยิงนั้น ดวงตาหลุดออกมาอย่างน่ากลัว เธอนึกว่าอย่างไรเสีย ลูกชายก็คงไม่รอดแล้ว แต่ขอบคุณพระเจ้า ที่ทำให้ลูกชายเธอหายไว  นอกจากโดนยิงที่ตาแล้ว  ลูกชายยังมีแผลที่น่องข้างขวา ซึ่งคาดว่าน่าจะเฉียดกระสุนปืน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  แวดีโดนแสงแดดจัดๆไม่ค่อยได้   และทำงานหนักก็ไม่ได้ เพราะจะมีอาการปวดหัว และน้ำตาไหล  ทำให้เขาไม่สามารถประกอบอาชีพได้เช่นคนปกติ  แต่เมื่อไม่นานมานี้ เขาก็ไปช่วยพี่ชายขายของชำแถวบ้าน  แต่ร้านก็ได้ปิดลงเสียแล้ว เขาจึงไม่มีรายได้ ต้องอาศัยพ่อเป็นหลัก ซึ่งทำงานหาปลาในบึงขาย ส่งผลให้พ่อและแม่ของเขาเป็นห่วงว่าเขาจะใช้ชีวิตในอนาคตอย่างไร หากพ่อแม่ไม่อยู่!!

เมื่อถามความรู้สึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตน แวดีบอกว่า “แม้จะยังรู้สึกโกรธ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้” เมื่อถามต่อว่า เมื่อนึกย้อนถึงเหตุการณ์ตากใบ  จะเห็นภาพอะไร เขาก็บอกว่า “เขาเห็นเจ้าหน้าที่ที่กำลังเตะเขาและคนอื่น ๆ” เขาพูดพร้อมก้มหน้าด้วยบุคลิกปรกติของเขา ที่เขินอายและไม่พูดมาก

อย่างไรก็ตามแวดีได้รับเงินช่วยเหลือ ภายหลังการฟ้องร้องในคดีแพ่งด้วยเงินประมาณ 6 แสนบาท และพ่อได้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นสวนมะพร้าว  ที่พอจะนำมาเป็นวัตถุดิบทำอาหารในแต่ละวันได้ และเป็นพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว

แต่หลังจากเหตุการณ์ เขาก็ไม่ได้ไปเรียนต่ออีกเลย “จะไปเรียนได้ไง ตอนนั้นไม่มีเงิน” พ่อของเขาพูดแทรก แต่เมื่อถามเจ้าตัว ก็บอกว่า “ไม่อยากไปเรียนต่อเพราะโตแล้ว อายเพื่อนๆ” เขาบอกเหตุผล

ด้วยครอบครัวที่มีฐานะยากจน และไม่ได้ส่งเสริมเรื่องการเรียนหนังสือ  ทำให้แวดีขาดโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนไป เมื่อประกอบกับความพิการของเขา ที่ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้เช่นคนปกติ  ฉันจึงจินตนาการต่อไม่ได้ว่าเขาจะมีชีวิตได้อย่างไร หากวันหนึ่งพ่อแม่เขาแก่ตัวลง

นี่คือ สภาพชีวิตของผู้คนที่เหลืออยู่ จากเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งนี้  ที่พวกเขาจำต้องดำเนินชีวิตต่อไป สังคมคงต้องช่วยกันประคับประคองชีวิตที่เหลืออยู่ ของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบ   เพื่อให้รู้ว่าพวกเขาไม่ได้โดดเดี่ยว  และสังคม รวมทั้งภาคส่วนต่างๆ คงต้องร่วมกันยุติความรุนแรง ส่งเสริมแนวทางสันติวิธี  และดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม

ตระหนักถึงความสำคัญของชีวิต เคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน  เพื่อไม่ให้มีการละเมิดชีวิตเกิดขึ้นได้ง่ายๆอีก

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลนัดครั้งแรกคดี นศ.ยะลา ฟ้องกองทัพ ‘ซ้อมทรมาน’

Posted: 25 Oct 2011 09:07 AM PDT

คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน ศาลปกครองกำหนดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ผู้ฟ้องคดีเตรียมแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาลก่อนตุลาการผู้แถลงคดีจะอ่านคำแถลงการณ์คดี

ในวันที่ 26 ตุลาคม  2554  เวลา 11.00 น. ศาลปกครองสงขลากำหนดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ณ  ห้องพิจารณาคดีที่  2  ในคดีหมายเลขดำที่ 187,188 / 2552  ที่นายอิสมาแอ เตะ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และนายอามีซี  มานาก ผู้ฟ้องคดีที่ 2  ยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ถูกฟ้องคดี กรณีที่มีการควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  มีการทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับผู้ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและคำรับสารภาพ  หลังจากแสวงหาพยานหลักฐานครบถ้วนเพียงพอพิพากษาคดีแล้ว    ในวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกตุลาการผู้แถลงคดีจะอ่านแถลงการณ์ว่าคดีนี้จะพิพากษาคดีอย่างไร  โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีแถลงต่อศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือต่อศาลก่อน  เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก  ศาลจะกำหนดนัดวันฟังคำพิพากษาต่อไป   

โดยเมื่อวันที่ 21  ตุลาคม  2554  ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำแถลงเป็นหนังสือต่อศาลก่อนนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก  โดยยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนคดี   กล่าวคือ  ฟ้องคดีทั้งสองได้นำเสนอพยานหลักฐานโดยชัดแจ้งเพื่อยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีการกระทำตามคำฟ้องจริง  ในส่วนของการควบคุมตัวเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด  ปรากฏตามใบรับรองแพทย์และเวชระเบียนการตรวจรักษาของผู้ฟ้องคดีที่ 1  ภาพถ่ายบาดแผล  และพยานหลักฐานอื่นๆ   ในขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องโดยไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยัน  โดยเฉพาะประเด็นสำคัญแห่งคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ  ซึ่งฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโดยตลอด  แล้วเกิดอันตรายแก่ร่างกายขึ้นในระหว่างการควบคุมตัว   และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์  2551  ญาติของผู้ฟ้องคดีที่  1  กับพวก  เห็นร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย   ซึ่งถือเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว  จึงได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 90  แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา   ศาลจังหวัดปัตตานีได้รับคำร้องดังกล่าวไว้  และมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารผู้ควบคุมตัวนำผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลในวันที่ 5  กุมภาพันธ์  2551   ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่เจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะได้แสดงข้อมูล  ข้อเท็จจริง  เหตุผลและข้อกฎหมายตามที่ได้ให้การต่อศาลในคดีนี้  เพื่อยืนยันว่าตนปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกในระหว่างควบคุมตัวแต่อย่างใด   แต่เจ้าหน้าที่ทหารดังกล่าวกลับปล่อยตัวผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกไปในยามวิกาล  และไม่ได้มาศาลตามหมายเรียกของศาลจังหวัดปัตตานี  เป็นเหตุให้ศาลยกคำร้องของผู้ฟ้องคดีที่ 1  กับพวก  เนื่องจากผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกได้รับการปล่อยตัว  จึงไม่มีเหตุให้ศาลวินิจฉัยคำร้องและคำแถลงเป็นหนังสือดังกล่าวยังได้ขอนำพยานที่เห็นสภาพร่างกายที่บอบช้ำจากการทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานของผู้ฟ้องคดีทั้งสองกับพวกที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว  เข้าแถลงต่อศาลปกครองด้วยวาจา  และขอส่งแผ่นบึกทึกภาพและเสียง (VCD)  ของกลุ่ม IN SOUTH  ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสะท้อนปัญหาและผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายพิเศษต่อศาล  นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองยังมีความประสงค์ขออนุญาตเปิด VCD ดังกล่าวในศาลด้วย

เหตุแห่งคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2551 และผู้ฟ้องคดีทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม2552  ต่อมาวันที่ 20  มิถุนายน 2554 เป็นวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี  และนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 26  ตุลาคม 2554 นี้    ระยะเวลานับแต่วันฟ้องถึงวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเกือบ 3 ปี 

คดีนี้นับว่าเป็นคดีแรกที่เหยื่อผู้ถูกควบคุมตัวและซ้อมทรมานตามอำนาจของกฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องคดีเพื่อให้หน่วยงานรัฐ (กองทัพบกและกระทรวงกลาโหม) รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ซึ่งอยู่ในสังกัดของตนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผู้ฟ้องคดีทั้งสองต้องอาศัยความกล้าหาญและเข้มแข็งอย่างมากในการตัดสินใจฟ้องและดำเนินคดีถามหาความเป็นธรรมและการเยียวยาจากหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ทหารผู้ทำละเมิด โดยหวังว่าการใช้สิทธิตามระบบกระบวนการยุติธรรมนี้จะส่งผลให้หน่วยงานแก้ไขปรับปรุงบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนและประชาชนในพื้นที่อย่างมาก  เพื่อดำรงหลักประกันสิทธิเสรีภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้คงอยู่  และหวังว่ากระบวนการยุติธรรมจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ  ซึ่งในวันที่ 26ตุลาคม 2554  นี้  จะได้ทราบแนวคำพิพากษาของคดีนี้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปชป.เผยอภิสิทธิ์ไปพบประธานาธิบดีมัลดีฟส์เพื่อหารือเรื่องน้ำท่วม

Posted: 25 Oct 2011 08:52 AM PDT

โฆษก ปชป. รับอภิสิทธิ์ไปมัลดีฟส์จริง แต่ไปตามคำเชิญของประธานาธิบดีที่ทาบทามไว้นานแล้ว แถมหารือกันเรื่องน้ำท่วม ซ้ำระหว่างที่เยือนมัลดีฟส์ยังสั่งให้แกนนำ ปชป. เข้าเยี่ยมผู้บริหารการประปาด้วย เพราะนายอภิสิทธิ์เป็นคนพบรอยรั่วคลองประปา ขณะที่รัฐบาลใช้เวลา 12 ชั่วโมงปลุก "ยิ่งลักษณ์" มาดูตอนตี 4 ด้านบล็อกเกอร์เขียนบทความระบุไปค้นเว็บประธานาัธิบดีมัลดีฟส์แล้วแต่ไม่พบข้อมูลอภิสิทธิ์หารือเรื่องน้ำท่วมที่มัลดีฟส์

วันนี้ (25 ต.ค.) มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แถลงว่าที่พรรคเพื่อไทยโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เดินทางไปพักผ่อนที่หมู่เกาะมัลดีฟส์ ท่ามกลางประชาชนที่กำลังประสบปัญหาอุทกภัยนั้น

นายชวนนท์แถลงว่านายอภิสิทธิ์เดินทางไปตามคำเชิญของประธานาธิบดีมัลดีฟส์ที่ทาบทามไว้นานแล้ว และในการหารือก็คุยเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมเป็นหลัก โดยในระหว่างนั้นยังสั่งการให้แกนนำ ปชป.ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะกับผู้บริหารการประปานครหลวง เนื่องจากนายอภิสิทธิ์เป็นคนแรกที่พบรอยรั่วที่บริเวณคลองประปา ซึ่งมีการประสานแจ้งให้รัฐบาลทราบแล้ว แต่รัฐบาลมีการใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงในการปลุก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ตื่นขึ้นมาดูตอน 04.00 น. ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ถ้าการอยู่ในประเทศของผู้นำฝ่ายค้านเป็นเรื่องสำคัญ ก็คงไม่ต้องมีนายกฯแล้ว และถ้ามีข้อเสนอว่าให้นายกฯลาออก หรือลาพักร้อน 2 สัปดาห์ แล้วให้ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาแก้ปัญหา ตนก็เป็นคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้

ขณะที่ในบล็อกของแอนดรูว์ สปูนเนอร์ ได้เขียนบทความว่าเขาได้ตรวจสอบเว็บไซต์ของประธานาธิบดีมัลดีฟส์ก็ไม่พบกำหนดการที่ระบุถึงการเยือนมัลดีฟส์และเข้าพบประธานาธิบดีของนายอภิสิทธิ์และการพูดคุยกันเรื่องการต่อสู้กับน้ำท่วม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นศ.ใต้รำลึก 7 ปีตากใบ ดุอาขอสันติภาพ ยกเลิก กม.พิเศษ

Posted: 25 Oct 2011 08:49 AM PDT

นักศึกษาชายแดนใต้ ร่วมรำลึก 7 ปี ตากใบ ร่วมละหมาดฮายัต ขอดุอา ให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน ขอยกเลิกกฎหมายพิเศษ  และให้สถานการณ์น้ำลดลงโดยเร็ว

วันนี้ (25 ต.ค. 54) เวลา 08.00น.   สหพันธ์นิสิต นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้(สนน.จชต.)  และนักศึกษาจากส่วนกลาง จำนวนร้อยกว่าคน ได้รวมตัวกันที่สำนักงานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส  จากนั้นได้เดินทางไปยังหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส  เพื่อจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ตากใบครบรอบ  7 ปี  ในหัวข้อกิจกรรมเรียกว่า หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน  ภายใต้คอนเซปต์  “7 ปี รำลึกตากใบ...ละหมาดฮายัตอหิงสา” (ขอพรจากพระผู้เป็นเจ้า)

ต่อมาเวลาประมาณ 10.00น. กลุ่มนักศึกษาได้เดินทางมาถึง สภ.ตากใบ อ.ตากใบ  จ.นราธิวาส  และได้รวมตัวข้างหน้า สภ.ตากใบเพื่อร่วมกันละหมาดฮายัตอหิงสา เพื่อขอความยุติธรรมจากพระเจ้า พร้อมกับอ่านอัรวาฮ์(คำอ่านอุทิศแด่ผู้เสียชีวิต)  มอบแด่วีรชนผู้สูญเสียในเหตุการณ์ตากใบเมื่อวันที่ 25  ต.ค.ปี 2547  หลังจากนั้นแกนนำนักศึกษาได้แจกกระดาษเพื่อให้เพื่อนๆนักศึกษาได้เขียนข้อความบอกความในใจลงในกระดาษเพื่อให้กำลังใจแก่ครอบครัวผู้ที่สูญเสีย  และส่งสัญญาณไปยังวีรชนในเหตุการณ์ตากใบที่ล่วงลับ

นายกริยา มูซอ  เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.)  และผู้ประสานงานเครือข่ายคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน  ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า  เนื่องจากพื้นที่หน้า สภ.ตากใบ  เป็นพื้นที่ที่สังคมมลายูในพื้นที่มองว่าเป็นพื้นที่ที่น่ากลัว  ทางนักศึกษามองว่า ผู้ที่ไปเรียกร้องเมื่อปี 47 ไม่มีอาวุธ  แต่กลับถูกสลายการชุมนุม ทำให้เกิดการสูญเสียหลายชีวิต  ที่ผ่านมานักศึกษาได้มีการจัดกิจกรรมแนวสันติวิธีมาตลอด และในปีนี้จึงได้มีการทำกิจกรรมแนวสันติวิธีต่อเนื่อง เพื่อที่จะสร้างความตระหนักแก่คนในพื้นที่ในการใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหาโดยที่จะนำเสนอในรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งเป็นการรำลึกเหตุการณ์ตากใบเพื่อรณรงค์ให้ทุกคนในสังคมหันมาให้ความสำคัญจนนำไปสู่การเรียกร้องความยุติธรรมธรรม และเพื่อให้นิสิตนักศึกษามีส่วนร่วมในการนำเสนอความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ตากใบตลอดจนสร้างความกล้าในการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์ในรูปแบบสันติวิธี

นายกริยา  ยังได้กล่าวถึงเป้าหมายในการรวมตัวกันละหมาดฮายัตว่า เพื่อขอให้สันติภาพที่ยั่งยืน เกิดขึ้น โดยเร็ว ณ ชายแดนใต้  พร้อมกับขอให้ ยกเลิกการบังคับใช้ กฎหมายพิเศษ โดยเร็ว  และขอให้ ผู้ประสบอุทุกภัย ผ่านวิกฤติในครั้งนี้ได้โดยเร็ว

ต่อมาตัวแทนนักศึกษาได้มอบของชำร่วยแก่ พ.ต.อ.นิตินัย หลังยาหน่าย ผู้กำกับการ สภ.ตากใบ เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานในพื้นที่ต่อไป และพุดคุยกับชาวบ้านก่อนเดินทางกลับ

กรณีตากใบ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เหตุการณ์เริ่มจากการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและให้ปล่อยตัว ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ทั้ง 6 คน  และต่อมารัฐได้ใช้มาตรการในการสลายการชุมนุม จนนำไปสู่การจับกุมผู้ประท้วงและมีผู้เสียชีวิตระหว่างขนส่งผู้ต้องหา 84 ศพ และสูญหายอีกจำนวนมากกว่า 60 คน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อัพเดตศูนย์พักพิง กทม.

Posted: 25 Oct 2011 08:49 AM PDT

ข้อมูลศูนย์พักพิงใน กทม.

หมายเหตุ: ข้อมูลได้มาจากข้อมูลสาธารณะต่างๆ ที่มีประกาศ ควรตรวจสอบก่อนเข้าอพยพ เพราะข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ศูนย์พักพิง
สถานที่
เบอร์ติดต่อ
จำนวนรับได้
หมายเหตุ
เขตสายไหม
หมู่ 1 รัตนโกสินทร์สมโภช
0-2533-3493, 081-824-7876
1,000
 
ไทยรัฐวิทยา 75 เฉลิมพระเกียรติ
ถ.วัชรพล-รามอินทรา
 
100
(พม.)
วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
.พหลโยธิน คลองถนน
 
1,000
(พม.)
คลองถนน
0-2521-0501, 089-531-8349
200
 
ร.ร.พรพระร่วงประสิทธิ์
ออเงิน
0-2519-8827, 086-997-8234
300
 
ร.ร.ออเงิน (อ่อนเหมอนุสรณ์)
 
0-2533-3494, 089-987-0706
100
 
ร.ร.ออเงิน
ซอยวัดออเงิน สุขาภิบาล 5 แขวงออเงิน
 
50
 
ร.ร.วัดหนองใหญ่
 
0-2533-3493, 081-824-7876
100
 
ร.ร.วัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
 
0-2521-0501, 089-531-8349
30
 
ร.ร.วัดเกาะสุวรรณาราม
คลองถนน
0-2523-6845, 089-887-4850
300
 
ร.ร.ประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
 
0-2523-7649, 080-790-8079
300
 
ร.ร.สายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
 
0-2536-0363, 089-124-5443
100
 
ร.ร.ซอยแอนเนกซ์ (กาญจนาภิเษก-2)
 
0-2523-8976, 081-689-2472
50
 
ร.ร.ฤทธิยะวรรณาลัย
คลองถนน 
0-2531-3676, 081-875-9518
1,500
(พม.)
ร.ร.ฤทธิยะวรรณาลัย 2
.สายไหม 43
081-939-7288
800
(พม.)
เขตคันนายาว
ร.ร.จินดาบำรุง
บางเขน
0-2510-5423, 085-127-8705, 085-430-8807
400
 
ร.ร.ราชวินิตบางเขน
ซอยชินเขต 1/22
085-430-8807 
1,200
(พม.)
เขตหลักสี่
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ริมคลองประปา ถนนประชาชื่น
 
1,000
Update 24 ต.ค.54
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ
อาคารศูนย์ประชุมทรงกลม
081-174-4910, 081-643-2821
2,540
ปิดรับผู้พักพิง Update 25ต.ค.54
ร.ร.เคหะท่าทราย
 
0-2589-9777
450
 
ร.ร.เคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1
 
0-2573-4835
500
 
ร.ร.เคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2
 
0-2573-4836
500
 
ร.ร.ทุ่งสองห้อง
 
0-2573-7908
400
 
ร.ร.บางเขน (ไว้สาลี อนุสรณ์)
 
0-2454-7569
400
 
 
0-2573-7123
200
 
เขตบางเขน
อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ
0-2942-8316#2211, 085-481-7989, 082-054-7784
500
 
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ
.พหลโยธิน ตรงข้ามทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
086-789-7391, 0-2522-7777
300
(พม.)
โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา
.รามอินทรา ซ.7 แขวงอนุสาวรีย์
081-627-5125, 081-341-4212
500
(พม.)
ร.ร.ไทยนิยมสงเคราะห์
 
 
0-2521-0427, 081-804-8776
1,000
 
ร.ร.บ้านคลองบัว-(เอี่ยมแสงโรจน์)
 
0-2519-9104, 086-102-7193
500
 
ร.ร.บ้านบัวมล-(เจริญราษฎร์อุทิศ)
 
0-2519-8825, 089-132-2877
600
 
ร.ร.ประชาภิบาล
 
0-2521-0424, 081-984-7984
500
 
 
0-2552-2079, 081-714-6422
600
 
เขตดอนเมือง
ร.ร.เปรมประชา
สีกัน
0-2573-4956, 081-692-0232
200
 
ร.ร.พหลโยธิน
สีกัน
0-2531-3005, 081-343-8382
200
 
ร.ร.บำรุงรวิวรรณวิทยา
สีกัน
0-2536-2196, 084-459-4774
500
 
ร.ร.วัดเวฬุวราราม
สีกัน
0-2565-2525, 086-378-0022
500
 
ร.ร.ประชาอุทิศ
สีกัน
0-2929-2172, 084-427-3676
800
 
ร.ร.วัดดอนเมือง
สีกัน
0-2566-2862, 081-869-3464
500
 
อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2
 083-310-7544, 089-920-7494
4,131
ปิดรับและกำลังทำการย้าย
337 ถนนเชิดวุฒากาศ
081-640-5175, 089-665-7007
1,000
(พม.)
ร.ร.ดอนเมืองจาตุรจินดา
 
 
300
(พม.)
ร.ร.พระหฤทัยดอนเมือง
.สรงประภา
0-2928-2565-9
100
(พม.)
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
 
081-935-8270
400
(พม.)
ถ.สรงประภา
0-2193-6018, 0-2193-6064, 084-700-6349
 
ที่พักของหน่วยอาสากองหนุนของทหารUpdate 20 ต.ค.54
เขตคลองสามวา
ทรายกองดิน
0-2543-7305, 087-017-0111
150
 
 
0-2175-3076, 089-962-7904
150
 
ทรายกองดินใต้
087-980-3681
 
 
บางชัน
087-017-0111
150
 
ร.ร.ประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
 
0-2175-3070, 086-908-2215
100
 
ร.ร.สุเหร่าสามวา
สามวาตะวันตก ซ.หทัยราษฎร์ 38
0-2993-1284, 089-213-0606
50
 
ร.ร.วัดสุขใจ
สามวาตะวันออก
0-2906-1632, 081-646-9167
50
 
ร.ร.วัดศรีสุก
สามวาตะวันออก
0-2988-6143, 089-149-8004
50
 
ร.ร.สุเหร่าคลองสี่
สามวาตะวันออก
0-2989-7244, 084-008-4727
50
 
ร.ร.วัดลำกระดาน
 
0-2569-1054, 086-000-4581
50
 
ร.ร.วัดแป้นทอง
 
0-2915-4279, 089-072-2963
100
 
ร.ร.วัดพระยาสุเรนทร์
 
0-2914-0176, 086-983-4109
50
 
ร.ร.วัดบัวแก้ว
 
0-2543-7305, 089-893-2853
100
 
ร.ร.วัดสุทธิสะอาด
 
0-2915-6511, 081-467-6495
100
 
ร.ร.สุเหร่าแสนแสบ
 
0-2543-7322, 089-987-1686
200
 
ร.ร.สุเหร่าเกาะขุนเณร
 
0-2543-7042, 085-169-7366
50
 
ร.ร.บ้านแบนชะโด
 
0-2906-1319, 081-325-0188
50
 
ร.ร.โสมาภาพัฒนา
. 35 พระยาสุเรนท์
0-2734-8865, 081-8286135
300
ศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยี มีนบุรีโปลีเทคนิค
ซ.สามวา
0-2906-2949-50
200
วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
เลียบคลองสอง แขวงสามวาตะวันตก
 
1,000
เขตหนองจอก
ร.ร.มัธยมวัดหนองจอก
 
081-924-8329
1,200
วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก
 
 
1,000
ศูนย์โรงเรียนศาสนบริหารธุรกิจ
 
084-647-1636, 0-2543-1229
200
.ยงนิมา ลำผักชี
 
 
 
 
081-712- 8211, 084-387-4016
1,200
ร.ร.สามแยกท่าไข่
 
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.นีลราษฎร์อุปถัมภ์
 
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.สุเหร่าศาลาแดง
 
0-2543-1163, 086-795-0728
400
 
ร.ร.หลวงแพ่ง
 
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
 
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.สุเหร่าใหม่
 
0-2543-1493, 089-795-4968
300
 
.เชื่อมสัมพันธ์ 25 ถ.เชื่อมสัมพันธ์ โคกแฝด
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.วัดสีชมพู
 
0-2988-6099, 081-346-5633
300
 
ร.ร.อิสลามลำไพร
 
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.บ้านเจียรดับ
 
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.สุเหร่านาดับ
 
081-648-5557
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.สิริวังวิทยาคาร
 
 
 
ร.ร.วัดใหม่กระทุ่มล้ม
 
 
 
ร.ร.วัดราษฎร์บำรุง
 
 
 
ร.ร.สุเหร่าบ้านเกาะ
 
0-2989-9727, 089-989-1603
400
 
ร.ร.ลำบุหรี่พวง
 
 
 
ร.ร.วัดพระยาปลา
 
0-2563-1118, 086-525-8386
600
 
ร.ร.วัดลำต้อยติ่ง
ลำต้อยติ่ง
0-2988-7224, 089-528-0936
500
 
ร.ร.สังฆประชานุสรณ์
ลำผักชี
0-2988-5967, 080-596-5511
1,000
 
ร.ร.วัดทรัพย์สโมสร
โคกแฝด
0-2186-0506, 084-438-2038
700
 
ร.ร.วัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
กระทุ่มราย
0-2543-1160, 081-658-4876
1,000
 
ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์
 
0-2543-1166
1,000
 
ร.ร.วัดสามง่าม
คู้ฝั่งเหนือ
0-2906-1013, 081-838-0755
600
 
ร.ร.วัดใหม่เจริญราษฎร์
คลองสิบสอง
0-2989-9821, 081-685-2053
300
 
ร.ร.วัดแสนเกษม
คลอง สิบสอง
0-2989-9575, 081-612-6072
400
 
ร.ร.สุเหร่าคลองสิบเอ็ด
 
0-2988-6297, 081-584-4122
300
 
ร.ร.สุเหร่าคลองสิบ
คลองสิบ
0-2988-6307, 089-125-857
300
 
ร.ร.สุเหร่าคลองเก้า
 
0-2989-7377, 0-2989-7377
300
 
ร.ร.ลำเจดีย์
 
0-2988-6715, 089-134-2529
300
 
เขตมีนบุรี
ร.ร.สุเหร่าบางชัน
 
0-2517-2157, 089-980-1749
200
 
ร.ร.วัดแสนสุข
 
0-2540-7241, 081-689-5759
200
 
ร.ร.วัดบำเพ็ญเหนือ
 
0-2517-0906, 084-144-3343
300
 
ร.ร.มีนบุรี
 
0-2540-7137, 081-431-4614
200
 
ร.ร.คลองสองต้นนุ่น
ร่วมเกล้า ใกล้เกษมบัณฑิต
0-2543-8222, 089-787-9499
200
 
วัดใหม่ลำนกแควก
 
 
 
ร.ร.บ้านเกาะ
ในซอยดับเพลิงบางชัน
0-2543-8333, 081-385-3298
200
 
ร.ร.ศาลาคู้
 
0-2186-0510, 081-382-5060
150
 
ร.ร.สุเหร่าทรายกองดิน
ข้างสนามกอล์ฟกฤษดา
0-2543-8669, 086-337-1510
500
 
ร.ร.คลองสาม
 
0-2543-8111, 081-829-9539
200
 
ร.ร.วังเด็กวิทยานุสรณ์ (คลองสี่)
 
0-2543-8452, 086-795-0728
300
 
ร.ร.บางชัน
ถ.รามอินทรา 109 (พระยาสุเรน 1)
 
 
ร.ร.บึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
ถ.สุวินทวงศ์
 
 
(มติชน)
ร.ร.เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
 
086-302-5018
1,000
วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
 
081-442-8013
200
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร
 
086-317-8086
200
เขตจตุจักร
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เสนานิคม
084-654-2220
300
.พหลโยธิน เสนานิคม
081-860-9578, 089-027-9329
1,000
 
0-2512-6000, 0-2513-3134, 0-2513-3137, 081-640-5175
1,500
ร.ร.พรตพิทยพยัต
 
083-906-5111
1,200
(พม.)
โครงการเคหะชุมชน (แฟลต) คลองสองต้นนุ่น
 
0-2504-3050
 
 
 
เบอร์โทร พม. (ศปภ.ดอนเมือง)
ร.ร.วัดบึงบัว
ลำปลาทิว
086-9801-6439
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
เขตทุ่งครุ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บางมด
0-2470-9999
400
 
เขตทวีวัฒนา
ร.ร.วัดปุรณาวาส
ศาลาธรรมสพน์
0-2441-9584, 081-318-8311
500
 
ร.ร.มัธยมศึกษาปุรณาวาส
 
0-2441-9584, 081-700-6968
100
 
ร.ร.ประถมศึกษาปุรณาวาส
ศาลาธรรมสพน์
 
 
 
ร.ร.คลองมหาสวัสดิ์
ศาลาธรรมสพน์
0-2447-7430, 081-345-7489
600
 
ร.ร.ตั้งพิรุฬห์ธรรม
 
0-2441-3073-4, 081-334-9561
500
 
ร.ร.คลองทวีวัฒนา
 
0-2441-9449, 085-813-8017
500
 
ร.ร.คลองบางพรหม
 
0-2441-3157, 081-834-2548
500
 
ร.ร.คลองต้นไทร
 
0-2448-1539, 081-009-9421
500
 
เขตยานนาวา
ร.ร.วัดด่าน
 
081-808-6213
150
(พม.)
ร.ร.วัดช่องลม ช่องนนทรี วัดช่องลม
 
081-197-9990
600
(พม.)
ร.ร.ประถมนนทรีวิทยา
 
081-197-9990
600
(พม.)
ร.ร.วัดสุทธิวราราม
 
081-902-1254
1,500
(พม.)
ร.ร.เจ้าพระยาวิทยาคม
 
081-902-1254
700
(พม.)
ร.ร.ยานนาเวศ
 
081-902-1254
900
(พม.)
ร.ร.สตรีศรีสุริโยทัย
 
081-902-1254
800
(พม.)
เขตพระโขนง
ร.ร.สิริรัตนาธร
 
089-780-6809
1,200
(พม.)
ร.ร.พระโขนงวิทยาลัย
 
089-780-6809
1,000
(พม.)
ร.ร.วชิรธรรมสาธิต
 
089-780-6809
1,000
(พม.)
ร.ร.สายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์
 
081-928-9428
1,000
(พม.)
ร.ร.ปทุมคงคา
 
081-928-9428
1,000
(พม.)
ร.ร.มัธยมวัดธาตุทอง
 
081-928-9428
700
(พม.)
ร.ร.ประภามนตรี
.บางนา–ตราด
 
200
(พม.)
วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ
สุขุมวิท 97/1 แขวงบางจาก
081-566-6174
300
(พม.)
เขตบางนา
ร.ร.ลาซาล                     
 .ลาซาล ถ.สุขุมวิท 105
0-2393-3510
200
(พม.)
เขตบางกะปิ
ราชมังคลากีฬาสถาน
ถนนรามคำแหง
0-2369-0999
1,500
ให้พื้นที่จอดรถด้วย
ร.ร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
 
081-967-1436
1,500
(พม.)
ร.ร.นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา 3
 
081-967-1436
900
(พม.)
ร.ร.วัดเทพลีลา
 
0-2318-0675, 085-902-0540
100
 
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ
 
 
300
(พม.)
เขตบึงกุ่ม
ร.ร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2
 
08-5242-6965
800
(พม.)
ร.ร.ชินวร
.เสรีไทย 12 ถ.เสรีไทย
0-2377-9889
100
(พม.)
เขตห้วยขวาง
ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
ถ.รัชดาภิเษก 
08-1912-9804
1,000
(พม.)
เขตคลองสาน
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม
 
08-1901-7414
 
 
ร.ร.วัดเศวตฉัตร
บางลำภูล่าง
0-2437-2327, 087-157-2690
300
 
ร.ร.วัดสุวรรณ
 
 
0-2437-5585, 084-123-7170
200
 
ร.ร.วัดพิชัยญาติ
 
0-2437-3768, 089-924-4327
200
 
ร.ร.วัดทองธรรมชาติ
 
0-2437-9456, 081-849-4559
100
 
ร.ร.วัดทองเพลง
 
0-2438-2657, 081-342-3999
200
 
ร.ร.วัดนพคุณ
 
0-2437-2040, 081-694-9564
100
 
ร.ร.วัดสุทธาราม
 
0-2438-8692, 089-661-4725
300
 
เขตวังทองหลาง
วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย
 
081-951-5833
100
(พม.)
โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
.รามคำแหง ซ.รามคำแหง 43/1 
 
1,500
(พม.)
เขตราษฎร์บูรณะ
วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
 
081-879-2660
200
 
ร.ร.วัดบางปะกอก
บางปะกอก
0-2427-2607, 081-311-3352
200
 
ร.ร.วัดประเสริฐสุทธาวาส
 
0-2427-4626, 086-807-9821
200
 
ร.ร.วัดราษฎร์บูรณะ
 
 
200
 
เขตสาทร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ
 
081-467-7457
100
(พม.)
เขตบางพลัด
วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
 
081-718-6779
100
(พม.)
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยามฯ
 
0-2883-1901
ต่อ 111, 081-375-1305
200
(พม.)
ร.ร.วัดฉัตรแก้วจงกลนี บางอ้อ
 
0-2424-3321, 089-498-7085
50
 
ร.ร.วัดสามัคคีสุทธาวาส
 
 
0-2424-0200, 086-392-8899
50
 
ร.ร.วัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
 
0-2434-3268, 081-930-8824
50
 
ร.ร.วัดเทพากร
 
 
0-2424-4089, 089-990-0641
50
 
ร.ร.วัดรวก
 
0-2424-2461, 081-685-3834
50
 
ร.ร.วัดคฤหบดี
 
0-2424-4046, 087-980-1551
50
 
ร.ร.วัดพระยาศิริไอยสวรรค์
 
0-2424-0417, 086-991-6020
50
 
ร.ร.บางยี่ขันวิทยาคม
 
0-2424-1208, 081-825-3733
50
 
ร.ร.วัดเปาโรหิตย์
 
0-2424-1374, 081-401-4072
50
 
ร.ร.วัดวิมุตยาราม
 
0-2424-1025, 081-804-7422
50
 
ร.ร.วัดอาวุธวิกสิตาราม
 
0-2424-1249, 089-141-3448
50
 
เขตสัมพันธวงศ์
วัดจักรวรรดิราชาวาส
.จักรวรรดิ
0-2222-9990
200
 
ร.ร.วัดปทุมคงคา
 
0-2233-3216, 089-992-6329
50
 
เขตธนบุรี
ร.ร.วัดกัลยาณมิตร
 
0-2466-2655, 086-337-7210
500
 
ร.ร.วัดบุคคโล
 
0-2468-0659, 081-495-2155, 0-2639-5520
500
 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
081-838-8767
 
วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
 
081-265-2265
500
วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
 
081-866-8302
100
เขตบางกอกน้อย
ศิริราช
081-820-8886, 0-2412-9392
500
 
ร.ร.มัธยมวัดดุสิต
อรุณอมรินทร์
0-2424-4068, 0-2424-8870, 081-820-8886
ไม่ได้เป็นจุดอพยพ
ร.ร.วัดดุสิตาราม
 
0-2424-0418, 081-584-0763
300
 
ร.ร.วัดอมรินทราราม
 
087-824-5358
100
(พม.)
ร.ร.ปริยัติธรรม (วัด)
 
087-824-5358
150
(พม.)
ร.ร.โฆสิตสโมสร
 
081-619-2818
200
(พม.)
ร.ร.วัดประยุรวงศาวาส
 
085-333-2732
300
(พม.)
ร.ร.มัธยมวัดนายโรง
 
 
100
โรงเรียนการจรัลสนิมวงศ์บริหารธุรกิจ
ถ.จรัลสนิมวงศ์ 41
0-2434-6155-8, 086-776-5513
200
(พม.)
ร.ร.วัดสุวรรณคีรี
 
0-2424-0416, 081-868-2695
100
 
ร.ร.วัดสุวรรณาราม
 
0-2424-4087, 089-457-0321
100
 
ฐานทัพเรือกรุงเทพฯ
 
 
100
 
กองเรือเล็ก
 
 
20
 
เขตบางคอแหลม
ร.ร.วัดจันทร์นอก
 
0-2289-0148, 086-082-3033
100
 
ร.ร.วัดบางโคล่นอก
บางโคล่
0-2289-0090, 089-745-194
100
 
ร.ร.วัดลาดบัวขาว
 
0-2289-0664, 081-937-5705
100
 
ร.ร.วัดจันทร์ใน
 
0-2289-3733, 086-971-0630
100
 
ร.ร.วัดราชสิงขร
 
0-2289-0611, 081-422-2556
100
 
ร.ร.วัดไผ่เงินโชตนาราม
 
0-2211-3966, 081-904-232
100
 
ร.ร.วัดไทร
 
0-2289-0400, 085-229-0608
200
 
เขตพระนคร
ร.ร.วัดพระเชตุพน พระบรมมหาราชวัง
 
0-2222-0830, 081-920-8686
80
 
รร.วัดมหาธาตุพระบรมมหาราชวัง
 
0-2222-2869, 080-967-9105
80
 
ร.ร.วัดอินทรวิหาร
บางขุนพรหม
0-2281-9875, 081-752-0165
80
 
ร.ร.วัดราชบพิธ
 
0-2222-0867, 081-442-9136, 08-1696-4363
80
 
ร.ร.วัดตรีทศเทพ
 
0-2282-7851
80
 
ร.ร.วัดมกุฏกษัตริยาราม
 
0-2281-2570, 087-089-7587
80
 
ร.ร.วัดมหรรณพ์
 
0-2224-1165, 089-770-3244
80
 
ร.ร.วัดราชนัดดา
 
0-2221-0903, 089-773-0738
80
 
ร.ร.วัดราชบูรณะ
 
0-2221-9844, 089-982-6341
80
 
ร.ร.วัดสุทัศน์
 
0-2221-4331, 081-308-0116
80
 
ร.ร.วัดใหม่อมตรส
 
0-2281-7670, 081-382-6251
80
 
ร.ร.กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง
.เขื่อนขันธ์นิเวศน์
 
100
(พม.)
เขตดุสิต
ร.ร.ทีปังกรวิทยพัฒน์ (วัดโบสถ์)
 
081-636-5019
80
(พม.)
ร.ร.นวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
 
086-788-9246
1,200
(พม.)
ร.ร.ราชวินิตประถม
 
081-837-6804
100
(พม.)
วิทยาลัยเทคนิคดุสิต
 
 
100
(พม.)
ศูนย์นันทนาการ เซนต์คาเบรียล
ถ.สามเสน
086-625-5449
500
(พม.)
ร.ร.วัดเทวราชกุญธร
 
0-2281-7938, 089-797-7550
200
 
ร.ร.วัดราชผาติการาม
 
0-2241-0495, 081-828-3515
50
 
ร.ร.วัดจันทรสโมสร
ถนนนครไชยศรี
0-2241-2655, 089-699-4559
300
 
เขตบางซื่อ
ร.ร.มัชฌันติการาม
 
 083-425-8944
181
ร.ร.วัดสร้อยทอ
 
0-2585-6463, 083-199-2104
50
 
ร.ร.ราชนันทาจารย์ สามเสนวิทยาลัย 2
 
081-827-4595
900
(พม.)
ร.ร.วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
 
0-2585-1678, 081-807-7410
30
 
ร.ร.วัดบางโพโอมาวาส
 
0-2585-0627, 085-143-5953
50
 
ร.ร.วัดประชาศรัทธาธรรม
 
0-2585-1678, 081-807-7410
50
 
ร.ร.มัชฌันติการาม
 
0-2585-2201, 089-127-8049
50
 
ร.ร.วัดเลียบราษฎร์บำรุง
 
0-2585-7077, 087-066-7673
30
 
ร.ร.วัดทองสุทธาราม
 
0-2585-6824, 081-726-1314
50
 
เขตราชเทวี
ร.ร.สันติราษฎร์วิทยาลัย
 
081-207-5407
1,000
(พม.)
ร.ร.ศรีอยุธา
 
081-207-5407
 
 
ร.ร.มักกะสันพิทยา
 
081-637-6544
500
(พม.)
เขตพญาไท
ร.ร.พญาไท
 
081-837-6804
100
(พม.)
เขตป้อมปราบฯ
ร.ร.วัดพลับพลาไชย
 
081-837-6804
50
(พม.)
เขตบางแค
ร.ร.ราชวินิตประถมบางแค
 
081-836-6082
200
(พม.)
ร.ร.ปัญญาวรคุณ
บางแค
081-910-9107
400
(พม.)
ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านลูกเสือ และยุวกาชาดฯ
 
 
500
(พม.)
ศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยี กรุงธน
ซ.เพชรเกษม 98 เขตบางแค
081-613-1349, 085-093-7327
200
(พม.)
เขตประเวศ
ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
ประเวศ
081-066-2111
 
 
ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
ประเวศ
081-754-4060
 
 
เขตลาดกระบัง
ศูนย์อพยพ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม “พระจอมเกล้าลาดกระบังปันน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม”
อาคารสมเด็จพระเทพฯ     
0-2329-8277, 0-2329-8288 และ 0-2329-8299
200
ร.ร.วัดบึงบัว
คุ้มเกลา 25 ถ.คุ้มเกล้า
0-2360-5587, 089-899-0538
70
 
ร.ร.วัดสุทธาโภชน์
ถ.ฉลองกรุง ทับยาว
0-2737-3088, 086-570-5404
282
ร.ร.ลำพะอง
ถ.ทับยาว (ลำพักชี หนองจอก)
0-2737-2206, 089-040-5089
150
 
ร.ร.วัดทิพพาวาส
ลำปลาทิว
0-2738-6847, 089-046-5307
150
 
ร.ร.วัดลาดกระบัง
 
0-2326-9653, 087-038-5701
80
 
ร.ร.วัดปลูกศรัทธา
 
 
0-2326-9005, 081-421-9318
100
 
ร.ร.วัดบำรุงรื่น
ร่มเกล้า 25 ใกล้เทพศิรินทร์ร่มเกล้า
0-2360-9283, 089-885-9076
180
 
ร.ร.วัดพลมานีย์
ทับยาว
0-2172-9743
100
 
ร.ร.แสงหิรัญวิทยา
เรียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์
0-2326-6937, 089-495-2217
 
 
ร.ร.สุเหร่าลำนายโส
 
 
0-2918-4656, 089-964-9338
300
 
ร.ร.วัดลานบุญ
 
0-2329-0283, 086-577-5452
120
 
ร.ร.วัดสังฆราชา
 
0-2181-2213, 087-038-5701
135
 
ร.ร.แดงเป้า (สิงสุขบุรณะ)
 
 
0-2737-9319, 086-029-4799
50
 
ร.ร.เคหะชุมชนลาดกระบัง
 
0-2543-9568, 086-828-7617
200
 
ร.ร.เคหะชุมชนลาดกระบังปากบึง
 
0-2543-9844, 081-551-4596
150
 
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 
08-6308-8568
2,000
(พม.)
ร.ร.วัดราชโกษา
 
086-9801-6439
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.ประสานสามัคคี
 
086-9801-6439
 
เบอร์โทรเจ้าหน้าที่เขต
ร.ร.วัดขุมทอง
ขุมทองลำต้อยติ่ง
0-2739-3145, 086-894-4409 
150
 
ร.ร.ตำบลขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
 
089-452-7776
210
 
ร.ร.ตำบลขุมทอง (ประชา อุทิศ)
 
083-132-7700
210
 
เขตยานนาวา
ร.ร.วัดช่องลม
 
 
0-2285-3466, 087-929-3492
100
 
ร.ร.วัดช่องนนทรี
 
0-2284-2134, 089-825-9843
200
 
ร.ร.วัดดอกไม้
 
0-2294-0796, 089-021-5852
200
 
ร.ร.วัดคลองภูมิ
 
0-2294-1985, 081-315-7560
300
 
ร.ร.วัดคลองใหม่
 
0-2294-3246, 081-279-4398
100
 
เขตคลองเตย
ร.ร.วัดสะพาน
พระโขนง
0-2742-9640, 081-843-8488
300
 
ร.ร.วัดคลองเตย
 
0-2249-3412, 081-298-7874
350
 
ร.ร.ชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
 
0-2249-4499, 089-787-4968
800
 
ร.ร.ศูนย์รวมน้ำใจ
 
0-2249-2189, 086-522-0590
500
 
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง)
ตรงข้ามเมเจอร์เอกมัย
02-392-5951ต่อ1000
289
เขตหนองแขม
ร.ร.วัดอุดมรังษี
 
0-2421-0220, 081-659-5337
800
 
ร.ร.บ้านขุนประเทศ
 
 
0-2421-0075, 081-696-9180
400
 
ร.ร.คลองบางแวก
 
0-2421-3821, 089-684-2468
500
 
ร.ร.ประชาบำรุง
 
0-2421-0168, 086-567-3683
500
 
ร.ร.มัธยมวัดหนองแขม
 
0-2429-3714, 081-625-0544
500
 
ร.ร.วัดศรีนวลธรรมวิมล
 
0-2429-3655, 086-897-4607
200
 
ศูนย์วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
.เพชรเกษม
081-907-3563, 0-2421-0115, 0-2421-1388
500
(พม.)
เขตจอมทอง
.วุฒากาศ แขวงบางค้อ
081-841-4934
300
บางกอกใหญ่
ร.ร.ประถมทวีธาภิเศก
 
 
200
(พม.)
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
 
 
500
(พม.)
เขตบางบอน
วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม
.เอกชัย116 ถ.เอกชัย 
 
500
(พม.)
เขตสวนหลวง
ถ.พัฒนาการ
0-2722-7970-6
1,500
(พม.)
เขตสะพานสูง
ร.ร.ตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
ถ.ถนนรามคำแหง 
 
1,500
(พม.)
เขตสาธร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
.นางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ
 
200
(พม.)
รังสิต
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (รังสิต)
.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
081-571-1292, 0-2577-5456
1,000
(พม.)

 

ศูนย์อพยพในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

  • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 0-2610-5416
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 0-2564-4027
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย08-1925-1491
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น 08-1964-2135
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 08-6308-8568
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี 0-2549-3339
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตน โกสินทร์ 08-1491-9722
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 08-9921-6758
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 08-5067-5699
  • วิทยาลัยราชพฤกษ์ 0-2432-6111 ต่อ 115
  • วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 08-2972-7200 ต่อ 146
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ 0-2909-1428
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 08-9895-0332
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 03-5322-0769
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 08-9700-1113
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ 08-1425-7661
  • มหาวิทยาลัยธนบุรี 08-4001-2120
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 08-9808-8393
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี 08-1826-6272
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 08-1987-0662
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 08-9206-6991
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาด ใหญ่ 08-0702-8811
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 08-1648-8699
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 08-1707-7910
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 08-1838-8767
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กล้วยน้ำไท) 0-2350-3650 ต่อ 300
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม 08-1382-7329
  • วิทยาลัยนครราชสีมา 08-4035-7713
  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม 08-4654-2220

สายด่วนขอความช่วยเหลือ

  • สำนักนายกรัฐมนตรี 1111 กด 5 ได้ 24 ช.ม.
  • สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784
  • ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956
  • บริการแพทย์ฉุกเฉินและนำส่งโรงพยาบาลฟรี 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินฯ
  • สายด่วนกรมชลประทาน 1460 หรือ 0-2669-2560 (24 ช.ม.ช่วงวิกฤต)
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
  • ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม 24 ช.ม. 1193
  • บขส. 1490
  • สายด่วน กรมทางหลวง 1586
  • สายด่วน ขสมก. สอบถามเส้นทางเดินรถ 184
  • ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
  • การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
  • ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ท่าอากาศยานไทย 0-2535-1111
  • สายด่วน กฟภ. 1129
  • กระทรวงแรงงาน ช่วยเหลือนายจ้าง-ลูกจ้าง สายด่วน 1506 หรือ 0-2248-2222
  • ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม. ปริมณฑล ภาคกลาง ติดต่อศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 0-2281-5443
  • ภาคใต้ขอความช่วยเหลือได้ที่กองทัพภาคที่ 4 โทร.0-7538-3405, 0-7538-3253
  • กรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

เรียบเรียงข้อมูลโดยหลักจาก:

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พม.ร่วม ศธ.ตั้งศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย เพิ่ม 86 แห่ง

Posted: 25 Oct 2011 07:34 AM PDT

‘ศูนย์ราชการฯ’ ปิดรับผู้อพยพ ส่งต่อไปอาคาร 19 ปี กสท. ‘ศูนย์ฯ ดอนเมือง’ ทยอยย้ายผู้อพยพไป ‘ชลบุรี’ ขณะที่ผู้ประสบภัยบางส่วนยังอยู่ มธ.รังสิต ส่วน ครม.ให้หมื่นครอบครัวอยู่ฟรีบ้านพักอุทยาน ระดมเครื่องสูบน้ำช่วยกรุง

วันนี้ (25 ต.ค.54) เว็บไซต์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผยว่า ขณะนี้ พม.ได้จับมือกับกระทรวงการศึกษาธิการ (ศธ.) จัดตั้งศูนย์พักพิงเพิ่มเติมเฉพาะกรุงเทพมหานคร 86 แห่ง โดยให้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทุกเขตพื้นที่ ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดุสิต ธัญบุรี  บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บึงกุ่ม ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร พลับพลาไชย มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สาทร สามเสน สายไหม หนองแขม หนองจอก และเขตห้วยขวาง โดย พม.ให้การสนับสนุนที่นอนและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิงทุกแห่ง

สำหรับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เปิดศูนย์พักพิงเพิ่มเติมโดยการเคหะแห่งชาติในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 6 แห่งได้แก่ 1.การเคหะชุมชนหนองจอก จำนวน 1,200 คน 2.การเคหะชุมชนร่มเกล้า จำนวน 1,500 คน 3.การเคหะชุมชนพรพระร่วงประสิทธิ์ จำนวน 865 คน 4.เอื้ออาทรวัดสาขลา จ.สมุทรปราการ จำนวน 3,000 คน 5.เอื้ออาทรเศรษฐกิจ 1 จ.สมุทรสาคร จำนวน 1,200 คน 6.เอื้ออาทรเศรษฐกิจ2 จำนวน 3,000 คน สำหรับประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถสอบถามได้ที่ พม.(ศปภ.ดอนเมือง) โทร. 0-2504-3050

‘ศูนย์ราชการฯ’ ปิดรับผู้อพยพ - ส่งต่อไปอาคาร 19 ปี กสท.
ขณะที่เนชั่นทันข่าวรายงานว่า ศูนย์พักพิงภายในศูนย์ราชการฯ ประกาศปิดรับผู้พักพิงเพิ่มเติมแล้ว เนื่องจากมีผู้เข้าพักพิงเต็มพื้นที่ทั้ง 3 เฟส จำนวนมากถึง 2,540 คน อย่างไรก็ตามยังมีผู้ประสบภัยทยอยเดินทางมาจากหลายพื้นที่ที่น้ำเริ่มหลากเข้าท่วม โดยเฉพาะประชาชนย่านหลักหก ทั้งด้วยรถโดยสารรถประจำทางของทางราชการ และรถยนต์ส่วนตัว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ไปพักที่ศูนย์พักพิงในอาคาร 19 ปี ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือCAT ล่าสุดมีประชาชนจากย่านหลักหกเข้ามาพักแล้วกว่า 200 คน ซึ่งศูนย์นี้จะรับผู้พักพิงได้ประมาณ 500 คน เท่านั้น 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณศูนย์พักพิงของ CAT นั้น เดิมคือศูนย์กีฬา โดยเปิดพื้นที่ชั้น 1 บริเวณสนามแบดมินตันเป็นพื้นที่นอน และนำกระดาษกล่องมาทำเป็นที่กั้น แยกเป็นล็อคเพื่อจัดที่นอนให้เป็นสัดส่วน สำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในจุดนี้ วาสนา วิสฤตาภา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ให้ข้อมูลว่ามีทั้ง พม., นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมูลนิธิพุทธฉือจี้ ซึ่งการดูแลผู้พักพิงจะใช้แนวทางเดียวกับที่ศูนย์ราชการฯ คือมีการลงทะเบียนแบ่งแยกการพักเป็นแบบครอบครัวหรือชายหญิง และหญิงโสด มีสมุดเบิกของใช้ส่วนตัวไว้และมีบัตรประจำตัวทุกคน

ทยอยย้ายผู้อพยพจาก ‘ศูนย์ฯ ดอนเมือง’ ไป ‘ชลบุรี’
นอกจากนั้นยังมีรายงานข่าวจากศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง ว่ามีเจ้าหน้าที่จาก พม.ได้แจ้งผู้อพยพที่พักพิงในศูนย์ฯ ให้ลงทะเบียนเพื่อย้ายไปยังสถาบันการพลศึกษา ชลบุรี ที่จะรองรับผู้อพยพได้ถึง 4,000 คน เนื่องจากน้ำได้ท่วมบริเวณ ถ.วิภาวดีรังสิต และมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผู้สมัครใจลงทะเบียนกว่า 500 คน จาก 4,131 คน โดยจะมีรถของ ขสมก.ให้บริการไปส่ง และผู้ที่ลงทะเบียน จะได้รับอาหารแห้งพร้อมมุ้งติดตัวไปยังศูนย์พักพิงที่ จ.ชลบุรีด้วย

นอกจากนี้ทั้งนี้ยังมีศูนย์พักพิงที่ จ.สมุทรสาคร และ จ.นครปฐม ส่วนผู้อพยพที่ต้องการเดินทางกลับภูมิลำเนาสามารถลงทะเบียนไว้ก่อนแต่ต้องรอความชัดเจนเรื่องสถานที่จึงจะเคลื่อนย้ายได้ 

สำหรับ จ.ชลบุรี นอกจากจะมีศูนย์อพยพที่ สถาบันพลศึกษา ชลบุรีแล้ว ยังมีอีก 7 แห่ง ประกอบด้วย ด้วย 1.ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน ชลบุรี 2.ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2 3.มณฑลทหารบกที่ 14 4.ค่ายลูกเสือวชิราวุธ 5.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6.สวนสัตว์เปิดเขาเขียว และ 7.เทศบาลตำบลหนองไม้แดง รวมทั้งหมดรองรับได้กว่า 8,300 คน

ผู้พักพิงจาก ‘มธ.รังสิต’ ถึง ‘สนามราชมังกีฬาสถาน’
วันเดียวกัน ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) แจ้งว่าศูนย์พักพิงที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน มีผู้ประสบภัยย้ายมาจากศูนย์พักพิง มธ.รังสิต มาอาศัยแล้วกว่า 500 คน ซึ่งการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้จัดสถานที่รับรองไว้ 3 จุด คือ บริเวณห้องพักนักกีฬาใต้สนามกีฬาโซน E อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์และการกีฬา และอาคารพักพิงนักกีฬา 300 เตียง โดยคาดว่าในวันนี้ (25 ต.ค.54) จะมีมาเพิ่มอีก 1,500 คน

ด้านนายกนกพันธ์ จุลเกษม ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผยว่าเช้านี้จะมีการประชุมประเมินสถานการณ์ เพื่อให้การดูแลผู้อพยพมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดการเรื่องขยะ ส่วนการดูแลความปลอดภัย นอกจากเจ้าหน้าที่ รปภ.ของกกท. ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 50 นาย ที่มาดูแลความปลอดภัยภายในบริเวณโดยรอบด้วย

ผู้ประสบภัยบางส่วนยังอยู่ มธ.รังสิต
เนชั่นทันข่าวรายงานด้วยว่า ประชาชนที่เข้ามาพักในศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบปัญหาอุทกภัย บริเวณยิมเนเซี่ยม 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เริ่มทยอยเดินทางออกเพื่อขึ้นรถยีเอ็มซีของทหาร และรถ ขสมก.ที่ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับความร่วมมือจาก ขสมก.ที่จะนำรถเมล์ของ ขสมก.กว่า 200 คันมารับประชาชนที่บางส่วนจะเดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องจากปริมาณน้ำเริ่มลดแล้วในบางพื้นที่ แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังต้องพักที่ศูนย์พักพิงแห่งนี้เพื่อรอเวลาที่น้ำจะลดและเดินทางกลับภูมิลำเนา 

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเปิดเผยว่า ศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ยิมเนเซี่ยม1 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสต์แห่งนี้ ยังไม่มีการปิดศูนย์พักพิงผู้อพยพแต่อย่างใดยังคงมีประชาชนบางส่วนพักอยู่ แต่อาจจะไม่สะดวกเหมือนเช่นเคย เพราะน้ำได้เข้ามาท่วมพื้นที่ส่วนที่อยู่รอบๆ ศูนย์อพยพ และท่วมบริเวณที่เคยใช้เป็นที่รับประทานอาหารของผู้อพยพ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องประกาศให้ประชาชนที่เข้ามาพักในศูนย์นี้ได้ทราบว่า ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีรถรับส่งประชาชนกลับภูมิลำเนาหากพื้นที่ใดปริมาณน้ำเริ่มลดผู้ใดมีความประสงค์ที่จะเดินทางกลับให้ลงทะเบียนไว้ และหากผู้ประสบภัยคนใดยังไม่ต้องการที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา ทางเราได้ประสานกับทาง ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่จะเปิดสนามราชมังคลากีฬาสถาน ให้ผู้ประสบภัยพักพิงในด้านทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ในห้องพักนักกีฬาและห้องสำนักงาน รวมทั้งเปิดอาคารที่ทำการ กกท.หลังเดิมให้เป็นที่พักด้วย และได้จัดเตรียมให้ใช้ชุดเครื่องนอนสำหรับนักกีฬาเยาวชนแห่งชาติที่มีจำนวนกว่า 7,000 ชุด และยังมีที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร อ.เมือง จ.สระบุรี อีกหนึ่งแห่งที่ยังเปิดรองรับผู้อพยพที่ได้รับความเดือดร้อน

ปริญญา เปิดเผยต่อไปอีกว่า ยังคงมีผู้อพยพบางส่วนที่เป็นประชาชนใน จ.ปทุมธานี ที่ยังขอปักหลักอยู่ในศูนย์อพยพที่ยิมเนเซี่ยม1 แห่งนี้ เพราะเป็นสถานที่ใกล้บ้าน สามารถเดินทางไปตรวจดูทรัพย์สิน หรือของมีค่าที่บ้านได้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยยืนยันยังคงมีน้ำและไฟฟ้าใช้ตามปกติ

ครม.ให้หมื่นครอบครัวอยู่ฟรีบ้านพักอุทยาน ระดมเครื่องสูบน้ำช่วยกรุง
ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า ครม.ไฟเขียว ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมพักบ้านพักในอุทยานแห่งชาติใกล้ กทม.กว่า 30 แห่ง รวม 10,000 ครอบครัว ฟรี พร้อมสั่งระดมเครื่องสูบน้ำจากทั่วประเทศมาช่วยกรุงเทพฯ สูบน้ำออก นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรฯเสนอให้ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมไปเข้าพักในบ้านพักของอุทยานแห่งชาติได้ฟรี ซึ่งมีกว่า 30 แห่ง ในจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ เช่น ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี ซึ่งมีบ้านรองรับได้ประมาณ 10,000 ครอบครัว โดยติดต่อได้ที่ ศปภ.เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.เป็นต้นไป ซึ่งบ้านพักของอุทยานแห่งชาติมีทั้งที่เป็นทะเลและภูเขา
 
นายปรีชา กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกัน ครม.เห็นชอบตามที่ตนเสนอให้กระทรวงมหาดไทยติดต่อนำเครื่องสูบน้ำของทุกจังหวัดทั่วประเทศที่ไม่ประสบอุทกภัยหรือจาก 56 จังหวัด ระดมเข้ามาช่วยสูบน้ำช่วยกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละจังหวัดมีเป็นร้อยเครื่อง ซึ่งกระทรวงทรัพยากรฯ จะเป็นแม่งานในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามคำแนะนำของกรมทรัพยากรน้ำ และให้เจ้าหน้าที่ของสำนักทรัพยากรน้ำแต่ละภาคที่ไม่ประสบอุทกภัยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาช่วยกันดูแลระบบระบายน้ำ รวมแล้วได้ประมาณ 500 คน ขณะเดียวกันได้สั่งเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติที่มี 30,000 คน มาช่วยเหลือการอพยพของประชาชนโดยให้ผลัดเวรเป็นวันละ 3 กะ กะละ 10,000 คน ให้หมุนช่วยเหลือกันตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน

 

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยิ่งลักษณ์แถลง กรณีเลวร้ายสุดน้ำท่วมสูง-ต่ำ สิบเซ็นถึงเมตรครึ่งใน กทม.

Posted: 25 Oct 2011 07:22 AM PDT

เวลาประมาณ 20.45 น. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจถึงสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ว่า ขณะนี้มวลน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลมาจากภาคกลางจะผ่านกรุงเทพมหานครเพื่อไหลลงสู่ทะเล โดยได้กำชับให้หน่วยงานของทุกกระทรวง กรุงเทพมหานคร และทุกเหล่าทัพ ได้ระวังกันอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะให้มวลน้ำก้อนใหญ่นี้ สร้างความเดือดร้อนให้น้อยที่สุด หรือในพื้นที่ที่จำกัดได้

ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่คือ พลังของน้ำครั้งนี้มีแนวโน้มมากเกินกว่าที่พนังกั้นน้ำประตูน้ำ หรือมาตรการต่างๆ จะป้องกันไว้ได้ และมีโอกาสอย่างสูงยิ่งที่น้ำจะทะลักเข้ามาทั้งในเขตพื้นที่ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ขณะนี้พื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่สุด คือ แนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวพนังกั้นน้ำต่างๆ พื้นที่ที่อยู่นอกแนวริมน้ำ ก็จะได้รับผลกระทบ โดยการเกิดน้ำท่วม ส่วนระดับน้ำจะสูงเท่าใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการบริหารจัดการวิกฤตน้ำทะลักครั้งนี้ ให้ค่อยเป็นค่อยไป พร้อมกับบรรเทาความรุนแรง ตลอดจนขึ้นอยู่กับความสูงของพื้นที่

สำหรับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ขณะนี้มีน้ำเหนือซึ่งผ่านจังหวัดปทุมธานี และนนทบุรี ได้ล้นเข้ามาที่บริเวณอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ อยู่ระหว่างป้องกันบริเวณคลองมหาสวัสดิ์ โดยเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายไปสู่อ่าวไทย นอกจากนั้นตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา รัฐบาลและกรุงเทพมหานครจะดูแลแนวคันกั้นน้ำเพื่อให้สามารถทานแรงอันมหาศาลของน้ำให้ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากน้ำมีปริมาณมากเกินกว่าศักยภาพของระบบจะรองรับได้ ดังนั้น พื้นที่ในเขตต่างๆ ทางฝั่งธนบุรี รวมทั้งจังหวัดปริมณฑลจะมีน้ำท่วมในพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มในระดับเฉลี่ยประมาณ 0.5 เมตร

นอกจากนี้ เพื่อลดความกดดันของพลังน้ำ ได้ปิดประตูระบายน้ำปากคลองเปรมประชากร เพื่อให้พื้นที่ที่อยู่บริเวณตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเขตดอนเมือง หลักสี่ สายไหม บางซื่อ บางเขน ถนนพหลโยธิน ไปจนถึงอนุสรณ์สถานดอนเมือง และถนนวิภาวดีรังสิต ได้รับผลกระทบที่ลดน้อยลง โดยจะเร่งระบายน้ำจากคลองรังสิตลงคลองหกวาสายล่าง เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะเข้าสู่กลางใจเมืองกรุงเทพมหานคร หรือพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน และไม่สร้างความเสียหายให้มากเกินไป ซึ่งถ้ามาตรการเหล่านี้เป็นไปตามแผน และไม่มีการเสียหายของแนวป้องกันเพิ่มเติม ก็น่าจะสามารถควบคุมไม่ให้ระดับน้ำสูงเกิน 50 เซนติเมตร

บริเวณด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร คือ บริเวณมีนบุรี หนองจอก ลาดพร้าว ซึ่งมีคลองระพีพัฒน์ คลองหกวาสายล่าง คลองแสนแสบ ก็จะมีทั้งมาตรการเร่งระบายน้ำไปทางตะวันออก เพื่อลงสู่ทะเลตามแนวคลองที่ขุดเอาไว้และออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาผ่านคลองแสนแสบอีกด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากพื้นที่เหล่านี้อยู่ในเขตหลากน้ำ ดังนั้น ระดับน้ำจะสูงกว่าบริเวณอื่นๆ โดยจะอยู่ในช่วงประมาณ 1 ถึง 1.5 เมตร

กรณีที่เลวร้ายที่สุด หากเราไม่สามารถป้องกันแนวป้องกันจุดใดจุดหนึ่งหรือทั้ง 3 จุดดังกล่าวได้ หรือไม่สามารถชะลอพลังอันมหาศาลของน้ำได้ หรือมีปัจจัยอื่น ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น แนวเขื่อนพัง แนวพนังกั้นน้ำพัง ระดับน้ำในทะเลสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ระดับน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็จะสูงต่ำแตกต่างกันไป  10 ซม. -1.5ม. อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะควบคุมน้ำให้เข้าน้อยที่สุด จำนวนวันน้อยที่สุด โดยสูบน้ำเพื่อลดการท่วมขังให้เร็วที่สุด ทั้งโดยกรมชลประทาน เรือดันน้ำ และการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ประมาท ขอให้ประชาชนเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีค่าขึ้นที่สูงเพื่อให้อยู่ระดับที่ปลอดภัยจากน้ำท่วมขัง โดยได้ให้มีการเฝ้าระวังเข้มงวดเพื่อรักษาพระบรมมหาราชวัง โรงพยาบาลศิริราช เขตพระราชฐานต่างๆ ระบบสาธารณสุข เช่น การไฟฟ้า โรงพยาบาล ประปา ให้ได้รับกระทบจากเหตุการณ์นี้ให้น้อยที่สุด

และเพื่อรองรับสถานการณ์จากคลองรังสิตด้านเหนือ ได้ให้ ศปภ. ย้ายผู้พักพิงไปยังศูนย์ต่างๆ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย และให้ย้ายเครื่องอุปโภคที่ได้รับบริจาคจากดอนเมืองชั้นล่าง ไปที่อาคารจันทนยิ่งยง บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาสัย โดยอาสาสมัครสามารถไปที่สนามกีฬาได้ตั้งแต่พรุ่งนี้

ทั้งนี้ ยิ่งลักษณ์กล่าวว่าพร้อมให้คำมั่นว่าจะดูแลเต็มความสามารถ และพร้อมทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร จนกว่าวิกฤตจะผ่านพ้นไป
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กองทัพสหรัฐฯถอนเรือช่วยน้ำท่วมกลับ เหตุ รบ.ไทยท่าทีไม่ชัด ทูตสหรัฐยันนาวิกฯยังทำงานในพื้นที่

Posted: 25 Oct 2011 05:21 AM PDT

 เรือขนส่งอากาศยานของสหรัฐ 'ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน' ที่เตรียมช่วยอุทกภัยในไทย ถอนกลับแล้ว หลังจากรบ.ไทยส่งสัญญาณไม่ชัดเจนในการขอความช่วยเหลือ ด้านไทยปฏิเสธ ไม่ได้ปัดความช่วยเหลือ ทูตสหรัฐระบุ ทีมนาวิกฯ สหรัฐ ยังช่วยน้ำท่วมในพื้นที่ 

 วันนี้ (25 ต.ค. 54) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า กองทัพเรือสหรัฐได้ถอนเรือจำนวนหนึ่งที่ส่งมาให้ความช่วยเหลืออุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย กลับฐานทัพของสหรัฐไปแล้ว เนื่องจากได้รับสัญญาณที่ "ไม่ชัดเจน" จากรัฐบาลไทย 

โฆษกกองทัพเรือสหรัฐ ชี้ กลับเพราะไม่ได้รับคำขอที่ชัดเจน

รายงานดังกล่าว อ้างคำพูดของโฆษกกองทัพเรือสหรัฐ นาวาตรีจอห์น เพอร์กิน ซึ่งระบุว่า เรือบรรทุกเครื่อบินยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน และเรืออื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ถูกส่งมาในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเตรียมพร้อมการให้ความช่วยเหลือต่ออุทกภัยในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กองทัพสหรัฐ ไม่เคยได้รับคำขอร้องอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทย ทำให้สหรัฐตัดสินใจถอนเรือขนส่งเครืองบิน และเรือลำที่สี่ ออกจากพื้นที่ดังกล่าว และถอนกลับไปประจำที่กองทัพสหรัฐ

"พวกเราเตรียมพร้อมที่จะช่วยอยู่แล้ว หากแต่เราไม่ได้รับคำร้องขอ" เจ้าหน้าที่กองทัพสหรัฐรายหนึ่งที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าว "มีสองช่องทาง (สำหรับรัฐบาลไทย) หนึ่งก็คือตอบรับว่า 'รับ' และอีกอัน ก็คือ 'ไม่รับ'"

เรือขนส่งอากาศยานขนาดใหญ่ ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน ได้เดินทางมาถึงท่าเรือประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม และสี่วันถัดจากนั้น ก็ได้รับคำสั่งให้หันหัวเรือและเดินทางต่อมายังประเทศไทย เพื่ออยู่ในตำแหน่งที่เตรียมพร้อมหากได้รับการขอความช่วยเหลือ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กองทัพเรือสหรัฐจำนวนสิบคน ได้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อขนส่งถุงทรายหลายพันถุง และเพื่อประเมินว่า กองทัพสหรัฐจะสามารถช่วยเหลือไทยได้อย่างไร

ในขณะนี้ เรือขนส่งเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน อยู่ในระหว่างการเดินทางไปยังญี่ปุ่น เพื่อเข้าร่วมการฝึกทหารประจำปี

ทางการไทยแจง ไม่ได้ปฏิเสธความช่วยเหลือ 

ด้านสุรพงษ์ โตจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน แต่จะกลับไปหารือที่กระทรวงว่าเป็นอย่างไร และกล่าวว่า ทางกองทัพสหรัฐและทหารไทยได้เดินทางลงไปยังพื้นที่ และมีข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งเขายังไม่เห็น แต่ตอนแรกที่สหรัฐประสงค์จะให้ความช่วยเหลือ  ประเทศไทยก็ยินดี อย่างไรก็ตาม ต้องขอดูรายงานในรายละเอียดล่าสุด 

รมว. กระทรวงต่างประเทศกล่าวต่อว่า จนถึงขณะนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ยังไม่ติดต่อมา และทราบว่า เรือดังกล่าวของสหรัฐจะเดินทางกลับ แต่ประเทศอื่นๆ เช่น จีน ไม่มีปัญหาอะไร  

นอกจากนี้ มติชนออนไลน์รายงานว่า ฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธกระแสข่าวดังกล่าว โดยกล่าวว่า ไทยยินดีรับความช่วยเหลือจากมิตรประเทศ ส่วนที่มีข่าวว่าเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐจะเดินทางไปประเทศอื่น แปลว่าสหรัฐถอนความช่วยเหลือจากไทยจึงไม่เป็นความจริง เพราะเรือดังกล่าวจะแวะผ่านภูมิภาคนี้อยู่แล้ว มีความคิดจะเข้ามาช่วยเหลือไทยจริง แต่เนื่องจากช่วงเวลากระชั้นชิดและมีกำหนดการเดินทางไปประเทศอื่น จึงเดินทางออกไปโดยไม่เกี่ยวกับการถอนความช่วยเหลือแต่อย่างใด

ด้านคริสตี เคนนี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้ชี้แจงต่อข่าวดังกล่าวในทวิตเตอร์ส่วนตัว ราว 10  นาฬิกาของวันนี้ (25 ต.ค. 54) ว่า ในขณะนี้ ทีมให้ความช่วยเหลือของนาวิกโยธินสหรัฐ ยังคงทำงานในพื้นที่กับทางการไทยอย่างต่อเนื่อง และเรือยูเอสเอส มัสติน ยังคงจอดอยู่ที่ท่าเรือในประเทศไทย แต่ไม่ได้กล่าวถึงเรือขนเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน แต่อย่างใด  


คริสตี เคนนี @kristiekenney ทวีตชี้แจงเมื่อเวลาประมาณ 10.00น. วันนี้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้ลี้ภัยจากพม่าผลิตเทียนไขช่วยผู้ประสบอุทกภัย

Posted: 25 Oct 2011 04:14 AM PDT

ผู้ลี้ภัยจากพม่าที่ จ.กาญจนบุรี ช่วยกันผลิตเทียนไขจำนวน 20,000 เล่ม ก่อนส่งมอบผ่านรองผู้ว่าฯ กาญจนบุรีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง

เนชั่นทันข่าว รายงานวันนี้ (25 ต.ค.) ว่า นายสายัณห์ ธรรมอยู่ ผู้จัดการภาคสนาม สำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเบอร์) UN เจ้าหน้าที่ศูนย์พักพิงพื้นที่ผู้ลี้ภัยบ้านต้นยาง ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เป็นตัวแทนมอบเทียนไขจำนวน 20,000 เล่ม ที่ผลิตขึ้นจากฝีมือของผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงและพม่า เพื่อให้จังหวัดกาญจนบุรีนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม โดยมีนายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รอง ผวจ.กาญจนบุรีเป็นผู้รับมอบ

นายสายัณห์ ธรรมอยู่ กล่าวว่า เทียนไขที่นำมามอบดังกล่าว ผลิตโดยชาวกะเหรี่ยงและพม่า ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ ที่อาศัยอยู่ภายในศูนย์อพยพบ้านต้นยาง เมืองชายแดนอำเภอสังขละบุรี โดยการผลิตเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ลี้ภัยทราบข่าวว่าประเทศไทยกำลังประสบอุทกภัยน้ำท่วมอย่างหนัก เป็นเหตุให้พี่น้องคนไทยได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง โดยผู้ลี้ภัยยังหวังว่าสถานการณ์น้ำท่วมกลับเข้าสู่สภาวะปกติเร็ว

ส่วนนายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะรอง ผวจ.กาญจนบุรี กล่าวว่าจะนำเทียนที่ได้รับมอบไปรวมกับเทียนที่ทางวัดต่างๆ นำมามอบให้ ซึ่งทั้งหมด จ.กาญจนบุรีได้ทยอยนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดกาญจนบุรีโดยตรง นายชัยวัฒน์ กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

25 ต.ค. - น้ำยังคงท่วมถนนจรัญสนิทวงศ์

Posted: 25 Oct 2011 03:46 AM PDT

วันที่ 25 ต.ค.54 เจ้าหน้าที่ยังคงปิดการจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์ระหว่างซอย 74 ถึง 86 ต่อไป เนื่องจากน้ำยังคงท่วมถนนจรัญสนิทวงศ์ในช่วงดังกล่าว โดยวันนี้มีน้ำจากอำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี ไหลมาสมทบ ทำให้ระดับน้ำในซอยต่างๆ สูงเกือบถึงสะโพก และท่วมชุมชนริมแม่น้ำสูงกว่า 1 เมตร ส่วนระดับน้ำบนผิวถนนสูงประมาณ 30 ซม. มีรถสิบล้อของทหารเรือและโรงพยาบาลยันฮี ให้บริการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชน และทหารนำเรือเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในซอยต่างๆ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ควันหลงกระแสก่อการร้าย เศรษฐกิจการเมืองระดับโลกสู่ชีวิตประจำวัน

Posted: 25 Oct 2011 01:37 AM PDT

หลังจากผ่านวันครบรอบเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและโลกไปในเดือนกันยายนที่ผ่านมาอันได้แก่ ครบ 10 ปี เหตุก่อการร้าย 11 กันยา 2544และ ครบ 5 ปี รัฐประหาร 19 กันยา 2549 ควันหลงและมรดกของภัยก่อการร้ายยังเหลือค้างอยู่ในรูปแบบของมาตรการป้องกันเหตุวินาศกรรมต่างๆ และมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานที่สำคัญ

มาตรการรักษาความมั่นคงของรัฐไทยและสหรัฐอเมริกามีความเชื่อมโยงอยู่หลายประการ ทั้งในแง่ การมองว่าสิ่งใดเป็นภัยคุกคาม มาตรการตอบโต้และป้องกันภัย รวมถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เทคโนแครตด้านความมั่นคง ฯลฯ

ซึ่งหากย้อนไปทำการศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่าไทยมีความสัมพันธ์และได้รับอิทธิพลการจัดกองทัพและหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงมาจากสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น เป็นอย่างมาก

กระแสตื่นกลัวการก่อการร้ายสากล และสารพัดมาตรการรักษาความปลอดภัยได้ถูกเปิดโปงและวิเคราะห์อย่างกว้างขวางว่าได้นำไปสู่การใช้ความรุนแรง และมีการใช้งบประมาณไปเป็นจำนวนมากเพื่อทุ่มลงไปกับกิจกรรมเหล่านั้นคนไทยคงจำเครื่อง CTX และ GT200 ได้ดี ไม่ต่างจากชาวอเมริกันที่ต้องอยู่กับวิกฤตการขาดดุลงบประมาณ จนสหรัฐถังแตกอยู่ในเวลานี้

สิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนยันต์คุ้มกันให้กับความล้มเหลวและสิ้นเปลืองของกิจกรรมด้านความมั่นคง คือ การอ้างเรื่องความไม่มั่นคงจากภัยคุกคามซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับคนจำนวนไม่น้อยจนยินยอมจำกัดสิทธิของตนเองไปให้กับรัฐ หรือหน่วยงานต่างๆ ในนามของ “มาตรการรักษาความปลอดภัย”

ภัยคุกคามทั้งหลายที่เคยเผชิญกันมาในสังคมต่างๆ ล้วนแล้วแต่พิสูจน์ว่าสามารถสลายหรือลดทอนความรุนแรงโดยใช้สันติวิธี และมาตรการที่เป็นธรรมเปิดพื้นที่ให้กับทุกฝ่ายได้ถกเถียงเพื่อสร้างกติกาในการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจกันใหม่ และกำหนดสถานะบทบาทบนฐานของการมีส่วนร่วม

ปัจจุบันองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือธุรกิจเอกชน ได้ใช้ข้ออ้างเรื่อง “ความไม่มั่นคง” หรือ “ภัยคุกคาม” สร้างมาตรการความปลอดภัยหลากหลายรูปแบบมาใช้กับประชาชนที่มีกิจกรรมกับหน่วยงานเหล่านั้น

กิจกรรมที่ยังคงภาวะระวังภัยขั้นสูงอยู่ คือ การคมนาคมทางอากาศ มาตรการรักษาความปลอดภัยในสนามบินถูกนำมาล้อเลียนในภาพยนตร์ต่างประเทศหลายเรื่องและในสารคดีบางเรื่องก็ชี้ให้เห็นว่ามีการเลือกปฏิบัติในมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบางธุรกิจมากกว่าธุรกิจอื่น เช่น พกไม้ขีด ไฟแช็ค ขึ้นเครื่องได้ แต่น้ำนมที่เป็นของเหลวกลับต้องมีภาระตรวจสอบมากจนผู้โดยสารเลือกที่จะไม่นำไปดีกว่า

ผมได้ประสบเหตุการณ์ดังกล่าวหลายครั้ง เนื่องด้วยปีนี้จะต้องเดินทางไปกลับเส้นทาง เชียงใหม่-ขอนแก่น โดยต้องผ่าน กรุงเทพฯ ก่อน อยู่หลายรอบสิ่งที่ปรากฏคือ หากนั่งเครื่องบินสายการบินเดียวกันทั้ง 4 เที่ยว จะต้องตรวจความปลอดภัยเพียงสองครั้ง คือ ตรวจ ณ ต้นทางเชียงใหม่ขามา และ ณ ต้นทางขอนแก่นในขากลับโดยไม่ต้องตรวจซ้ำที่กรุงเทพฯ ทั้งสองขาแต่หากเดินทางด้วยสายการบินต่างกัน ทุกท่านจะตรวจความปลอดภัย 4 ครั้ง คือ เพิ่มการตรวจที่กรุงเทพฯ มาทั้งขาไปและขากลับ

สิ่งที่พนักงานสายการบินหนึ่งที่มีบริการครอบคลุมทั้งสองเส้นทางกล่าวอ้างคือ “หากเดินทางกับเราทุกเที่ยวบินก็ได้รับการตรวจจากเจ้าหน้าที่ของเรา ณ ต้นทางแล้วไม่ต้องตรวจซ้ำอีก แต่ถ้ามากับสายการบินอื่น เราต้องตรวจซ้ำ”

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ใครมาต่างสายการบิน ต้องเดินจากทางออกด้านในสนามบินสุวรรณภูมิออกมายังด้านนอกเพื่อตรวจความปลอดภัยก่อนที่จะเดินกลับไปที่ประตูทางออกด้านใน รวมระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร สองรอบก็ปาไปเกือบ 7 กิโลเมตรและเป็นที่น่าฉงนว่าการให้เดินออกมาจะอันตรายกว่าให้อยู่ด้านในหรือไม่และเหตุใดคนที่เดินทางมาด้วยสายการบินเดียว 4 เที่ยวไม่ต้องถูกตรวจซ้ำเหมือนคนที่ใช้บริการสายการบินอื่น

สิ่งที่สายการบินบางแห่งกล่าวอ้างความปลอดภัยระหว่างการเปลี่ยนสายการบินเพื่อต่อเครื่องบินอีกสายการบินหนึ่งโดยบังคับให้ผู้โดยสารที่ตรวจความความปลอดภัยมาจากสนามบินต้นทางแล้ว และอยู่ด้านในของสนามบินพร้อมจะขึ้นเครื่องต่อต้องเดินออกไปด้านนอกเพื่อทำการตรวจความปลอดภัยอีกครั้งจึงจะขึ้นเครื่องได้นั้นจึงดูเป็นการสร้าง “ต้นทุน” และ “อุปสรรค” ให้กับผู้ที่ใช้สายการบินอื่น มากกว่าเหตุผลเรื่องความปลอดภัย

การใช้ข้ออ้างเรื่องความปลอดภัย ความไม่มั่นคง ล้วนแต่เป็นการกล่าวอ้างที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการตรวจสอบเจตจำนงที่แท้จริงของมาตรการเหล่านั้น โดยอาศัยการสร้างภาวะความหวาดกลัวจากภัยคุกคาม และขาดเหตุผลรองรับ ดังนั้นเราจะต้องร่วมกันตรวจสอบถึงการดำรงอยู่ของภาวะความหวาดกลัวเช่นว่า และมาตรการทั้งหลายที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ และการกีดกันทางการค้าแอบแฝงที่ได้สร้างความอยุติธรรมให้กับประชาชน และเป็นการสกัดกั้นการแข่งขันที่เป็นธรรมในโลกเสรี

 


หมายเหตุ: ภาพประกอบจาก The Wandering Angel (CC BY 2.0)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวไทใหญ่ในเชียงใหม่ เตรียมจัดคอนเสิร์ตระดมทุนช่วยน้ำท่วม 28 - 30 ต.ค. นี้

Posted: 25 Oct 2011 12:14 AM PDT

เครือข่ายพี่น้องชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่รวมตัวกันเตรียมจัดงานคอนเสิร์ต 3 วัน 3 คืน เพื่อระดมทุนและรับสิ่งของบริจาคนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในไทย

ในวันที่ 28-30 ตุลาคม 2554 นี้ เครือข่ายพี่น้องชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่จากหลายกลุ่มองค์กรรวมตัวกันจัดงานเพื่อระดมทุนและรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในประเทศไทย โดยใช้ชื่องานว่า “งานคอนเสิร์ต: พี่น้องไทยใหญ่รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” งานมีกำหนดจัดขึ้นที่วัดป่าเป้า ถ.มณีนพรัตน์ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีการเชิญศิลปินนักร้องชื่อดังจากรัฐฉานหลายคนมาร่วมแสดง อาทิ จายอ่องทีคำ, จายหาญแลง, นางหลาวหลาว, นางแสงอ่อน, นางหลานน และมีนักร้องนักดนตรีจากกลุ่มเยาวชนไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ร่วมแสดง

งานนี้จะมีการเก็บค่าผ่านประตูเข้าชมคนละ 50 บาท ต่อคืน และภายในงานจะมีการตั้งโต๊ะรับบริจาคสิ่งของต่างๆ ด้วย ส่วนรายได้จากการจัดงานหลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจะมอบให้กับหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมต่อไป

เมื่อปีที่ผ่านมา (2553) เครือข่ายพี่น้องชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดงานคอนเสิร์ตลักษณะนี้ แล้วครั้งหนึ่ง จากเหตุหลายพื้นที่ของประเทศไทยขณะนั้นเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมหนัก ซึ่งชาวไทใหญ่เห็นว่าผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อน ชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยจึงสำนึกอยากมีส่วนร่วมในการให้ความเหลือและจึงได้รวมตัวกันจัดงานขึ้น โดยการจัดงานครั้งนั้นสามารถระดมเงินทุนได้กว่า 1.2 แสนบาท และได้นำไปมอบให้กับเทศบาลนครเชียงใหม่ส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย

สำหรับรายละเอียดการจัดงานระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จัดโดยเครือข่ายพี่น้องชาวไทใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยยะ 087-1906928 , คุณอานไตย 080-1257474

 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น