โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

"อยากให้ยิงกบาล" หยาบคาย+กฎหมาย ผลพวงหลังรณรงค์ "No มาตรา112"

Posted: 07 May 2012 11:14 AM PDT


เริ่มเป็นที่ตอบรับทั้งจากนานาชาติและกลุ่มผู้ใช้เน็ตเพื่อรณรงค์ประชาธิปไตยและ เสรีภาพทั้งหลาย (Social Network) เริ่มรณรงค์แนวร่วมจากโลกไซเบอร์ ประกาศ "Free from Fear - อิสระจากความกลัวมาตรา 112"

อ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้พูดถึงการรณรงค์ครั้งนี้ว่า "รณรงค์ NO 112 คราวนีั้ ไม่รู้คุณเล็ก Junya Lek Yimprasert และคุณ @Mongkhon Atthajak ไปสรรหา "นางแบบ" มาจากไหน คนดู มัวแต่โฟกัสที่ "นางแบบ" จน "ลืม" message เรื่อง 112 ไปเลยนะเนี่ย (ฮา) ... ยังมีอีกหลายท่านนะ สนใจตามไปดูที่ fb คุณเล็ก หรือคุณ Mongkhon กันเอาเองเถอะ"
ในขณะที่กระแส ตอบรับในกิจกรรมดีขึ้นเรื่อยๆ โดยมีคนไทยทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศทยอยส่งรูปมาร่วมกิจกรรมเพื่อจัดทำโปสเตอร์แผ่นแรกฉบับคนไทยและมีการแชร์ภาพและการ  update ข้อมูลต่อเนื่อง (ดู NO มาตรา 112 ระบาดหนัก แพร่สู้โลกไซเบอร์และที่ประเทศฝรั่งเศส)

* * * * *

ACT4DEM กับการรณรงค์ชูป้ายทำโปสเตอร์ "No มาตรา 112" เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก


ผลจากกิจกรรมรณรงค์ครั้งล่าสุดของแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) โดยการเผยแพร่โปสเตอร์ "ผู้หญิงก้าวหน้าจาก 50 ประเทศทั่วโลกชูป้าย “NO มาตรา 112″ เรียกร้องไทยยอมรับเสรีภาพในการแสดงออก”  เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2555 และมีการเผยแพร่ต่อในหลายเว็บไซต์ ทำให้เกิดผลข้างเคียง โดยในหมู่ผู้นิยมเจ้าบางส่วนได้  “เสียบประจาน”  จรรยา ผู้ริเริ่มการรณรงค์ครั้งนี้  

นอกจาก คำว่าเลว และคำด่าทอตามปกติของคนคลั่งด้วยภาษาหยาบคาย ยังมีการโพสต์ที่คุกคามถึงสวัสดิภาพในชีวิตด้วย ดังภาพข้างล่างที่ว่า "อยากให้คนไทยในเยอรมัน ยิงกบาลแม่งจริงๆ"

 
* * * * * *

 

การโจมตีจากค่ายคลั่งสถาบันฯ ทำมาตลอดกับทุกกลุ่มที่ต้องการให้ประเทศไทยปลดล็อคมาตรา 112

 

 

คงจำกันได้ว่า แม้แต่เฟซบุ๊คของสถานทูตสหรัฐฯ ยังถูกกลุ่มคนเหล่านี้โจมตีอย่างสาดเสียเทเสียมาแล้ว จนเป็นที่น่าสมเพชเวทนาและขบขันในหมู่คนที่มีเหตุผล เพราะมีการไล่สถานทูตอเมริกาให้ออกไปจากประเทศไทย อีกทั้งยังถามคำถามสถานทูตอเมริกาว่า "อเมริกา คนไทยหรือเปล่าจนท้ายที่สุด สถานทูตอเมริกาต้องโพสต์เตือนให้ "งดเว้นการใช้ภาษาที่หยาบคาย รุนแรงหรือขมขู่"

แต่กระนั้น เราก็คงไม่ลุกขึ้นมาพูดถึงพฤติกรรมไร้การควบคุมที่กระทำในนามความรักสถาบันฯ ด้วยการขี่มาตรา 112 ของคนกลุ่มนี้ที่จำนวนไม่น้อยเป็นเยาวชนอนาคตของชาติ เป็นคนชั้นกลางในเมืองหลวง คนเดินสยามพารากอน ชอบกิน KFC ใช้เครื่องสำอางนำเข้าราคาแพง ถือกระเป๋า LV ใบละหมื่นใบละแสน เฝ้าตามกระแสแฟชั่นตะวันตกอย่างไม่ให้ขาดตอนแม้แต่อาทิตย์เดียว

แต่คนกลุ่มนี้กลับเป็นคนที่ทนไม่ได้แม้แต่น้อยที่จะได้ฟังเสียงจากนานาชาติ - ที่นำกระแสการบริโภคของพวกเขา - ยามที่ติติงไทยในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องเสรีภาพสื่อและเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย โดยเฉพาะการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาตรา 112 กับนักคิด นักเขียน และนักสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก นับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา

ยิ่งกว่านี้มาตรา 112 เป็นหนึ่งในข้อกฎหมายที่นานาชาติพากันเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกหรือทบทวนมาอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านจากทั้งสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ EU  องค์กรสิทธิมนุษยชนชนที่มีชื่อเสียงในโลกเกือบทุกองค์กร และนักวิชาการมากมาย

คนคลั่งเจ้ายังคิดและเชื่ออยู่หรือว่า  "แม้มีปัญหาในเมืองไทย แต่ถ้ายังสามารถปิดหู ปิดตา ปิดปากชาวต่างชาติได้ต่อไปว่าประเทศไทยไม่มีปัญหา ทุกคนสบายดี และทุกคนในประเทศไทยรักสถาบันฯ ทุกคนยอมก้มหัวด้วยความรักด้วยความเต็มใจ" พวกเขาจะยังคงสร้างความกร่าง ดำรงความเป็นอภิสิทธิ์ชน ด้วยการคุกคามใครก็ได้อย่างไม่ต้องคิดถึงเหตุผล ไร้มารยาท และเลวทรามแค่ไหนก็ได้ ด้วยการอ้างว่ารักสถาบันฯ หรือ

 

การโจมตีจรรยา ยิ้มประเสริฐ 

พวกเขารู้ว่า คนต่างชาติรู้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นที่เมืองไทยและร่วมประกาศว่าเรารู้ว่าต้นตอปัญหาเมืองไทย คนคลั่งเจ้าจึงคลั่งเป็นฟืนเป็นไฟ และเกิดการโจมตี จรรยา ยิ้มประเสริฐ ผู้ประสานแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดทำโปสเตอร์ "NO มาตรา 112 เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก" แผ่นนี้ ด้วยท่าทีที่รุนแรง หยาบคาย ถึงขั้นขู่ฆ่า

 

 

โดยมีคนมารับลูกว่า "เพื่อนผมคน เยอรมัน รักในหลวงมาก เด๋วฝากมันจัดหนักให้"

 

เพจไม่ชอบยิ่งลักษณ์เพื่อประชาชนที่่กักกันตัวเอง "Dislike Yingluck for Concentration Citizen"

ทั้งนี้ เราไม่มีเวลาตามเก็บข้อมูลเสียบประจานทุกเพจ  จึงได้แต่ตามไปที่ต้นตอที่เพจ  "Dislike Yingluck for Concentration Citizen"  หรือจะแปลไทยแบบได้ว่า "ไม่ชอบยิ่งลักษณ์เพื่อประชาชนที่กักกันตัวเอง"

 

 

อืม! สงสัยคนตั้งชื่อเพจนี่ฝักใฝ่ลัทธินาซี เพราะ ชื่อเพจนี่ทำให้นึกถึง "Concentration Camps" ที่ฮิตเลอร์สร้างไว้ทั่วในสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อกักกันและสังหารชาวยิว จนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ผลพวงจากฮิตเลอร์และสงครามโลกครั้งที่สองคือชีวิตของประชากรโลกกว่า 40 ล้านคน เพราะความคลั่งอำนาจของคนคนเดียว!

* * * * * *

IPAD บุกหน้าวอลล์จรรยา ขู่แจ้งจับมาตรา 112

 

แม้แต่ ในหน้าวอลล์ของจรรยา ก็ถูกคนคลั่งเข้ามาใช้ภาษาหยาบคายบ้างเป็นระยะ โดยเฉพาะในช่วงจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกมาตรา 112 จนต้องบล๊อคบางคนไปเช่นกัน

ล่าสุดก็ถูกนายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือ IPAD ที่อ้างตัวว่าเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เป็นคนเดียวที่ได้ดำเนินเรื่องฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยกฎหมายมาตรา 112 ร่วม 30 คดี กับนักวิจารณ์สังคม อาจารย์และสื่อมวลชนที่เป็นที่รู้จักดี รวมทั้ง จีรนุช  เปรมชัยพร (ประชาไท) สุรพศ ทวีีศักดิ์ (อาจารย์) และ ประวิตร โรจนพฤกษ์ (นักข่าวอาวุโส เดอะเนชั่น) และจรรยา ยิ้มประเสริฐ

เขาคนนี้มีท่าทีที่อวดเบ่ง และใช้ภาษาที่หยาบคาย "อี" "ไอ้"​ ด่ากราดผู้คนด้วยคำว่า "กะหรี่" "ควย" "หี" "ตุ๊ด" ตลอดเวลา แถมยังอวดเบ่งอยู่เนืองๆ อ้างว่าได้รับคำแนะนำจากตำรวจที่ สภ. ร้อยเอ็ด รวมทั้งให้ชื่อตำรวจมาด้วย อีกทั้งยังพาดพิงถึงสำนักพระราชวังอีกต่างหาก

นี่คือพฤติกรรมของคนที่อ้างรักในหลวงและฟ้องร้องนักคิด นักเขียน นักวิชาการ และสื่อมวลชนถึง 30 คดี

น่าสังเวชใจว่าสังคมไทยปล่อยให้คนบ้าคลั่งคนหนึ่ง ที่ไม่มีวุฒิภาวะและเหตุผลอย่างสิ้นเชิง ใช้กลไกทางกฎหมายมาตรา 112 ที่เปิดช่องโหว่ไว้มากมาย และโทษรุนแรงจนน่าตระหนก เช่นนายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือ ฉายา IPAD "ใช้ฟ้องร้องใครก็ได้ กี่คดีก็ได้ ที่สถานีตำรวจใดก็ได้" และยังใช้ช่องโหว่กฎหมายนี้ ไปเที่ยวระราน หยาบคายกับคนทั่วไซเบอร์ จนเป็นเป็นเอือมระอาของผู้คน ได้มากมายขนาดนี้

IPAD ยังเอ่ยอ้างถึงหลายคน


 

... อีห่าอ้วน จีนุ๊ด ก็เหมือนกัน 30 พค. สมมติ ว่ารอด

บอกมันรออีก 30 กว่าคดี ของกู วิพุธ คนเดียว เกินสิบแล้ว

แต่กูว่า 30 พค. ไม่รอดแน่อีเหี้ยอ้วนนั่นน่ะ

อย่าเชื่อ สมสาก มากนัก ไอ้สัดนั่น แค่แปล ban for men เอ๊ย! ban for life ยังแปลผิดเลย

ใครเชื่อสากหงอก for men ก็ควายดีๆ นี่เอง

 


อีกะหรี่ จรรยา กูไม่ได้ อวดเบ่ง แต่กูลงมือจริง

 

เอางี้ คดีมึง ร้อยเวร ชื่อ พตท. บรรเจิด รายละเอียดที่เหลือไปหาเอาเอง

 

  อยากรู้อะไรถามเลย ว่าตอนนี้มึงโดนแล้ว 1 คีด จริงหรือไม่

 

เพราะกูไม่เคยขู่

 

ปล. ฝากให้ประวิตร โรจน ร้อยเวร ชื่อ รตท. เมธี ให้มันไปถาม รตท เมธี ดูได้ว่าตอนนี้ ร้อยเวร เห็นสมควรสั่งฟ้องแล้ว

อันนี้ดิของจริง

 

 

* * * * * *

 

สำหรับท่านที่ชอบอ้างว่ามาตรา 112 ต้องคงไว้ เพราะสถาบันฯ ฟ้องร้องเองไม่ได้

 

ขอตอบว่า ไม่มีกฎหมายข้อใดเลย "ที่ห้ามสถาบันฯ ดำเนินการฟ้องร้องใคร"

แต่ ที่สถาบันฯ ไม่ต้องฟ้องเอง เพราะกฎหมาย โดยเฉพาะมาตรา 112 (และตามมาด้วย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550) เปิดกระทั่งให้ "ใครก็ได้" ฟ้อง "ใครก็ได้" ทั่วประเทศ  "ที่สถานีตำรวจไหน"ก็ได้ "จะกี่คดีก็ได้" (IPAD คนเดียวล่อไปซะกว่า 30 คดี) โดยไม่ต้องมีหลักฐานมากมายอะไร นี่ไม่เรียกว่าให้อภิสิทธิ์กันจนเกินขอบเขตจนกลายเป็นการคุกคามเสรีภาพประชาชนทั้งประเทศหรอกหรือ?

โดยเฉพาะถ้าบอกว่าทุกคนคือหนึ่งคนเท่ากัน แต่คนทั้งประเทศไม่สามารถฟ้องสถาบันฯ ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสถาบันฯ โดยเฉพาะกษัตริย์อยู่ภายได้การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 8

แต่คนคิดต่างทั้งประเทศถูกฟ้องหมิ่นสถาบันฯ จากใครก็ได้ ไม่ว่าที่ไหน กี่คดีก็ได้ ไม่ว่าจริงหรือเท็จ และตำรวจก็ต้องรับฟ้องสถานเดียว และอัยการก็ต้องส่งฟ้องสถานเดียวภายใต้มาตรา 112

นี่ไม่ใช่ปัญหาหรือ? นี่ไม่ถือเป็นการคุกคามเสรีภาพประชาชนหรือ?

นอกจาก แค่ทำตามหน้าที่ก็ปฏิเสธไม่ได้แล้ว รัฐบาลตั้งแต่สมัยอภิสิทธิยังตั้งวอรูมหลายคณะ ที่ DSI หนึ่งคณะ และที่ MICT อีกหลายคณะ รวมทั้งลูกเสือไซเบอร์ ที่ไม่ใช่แค่ทำการตามจับ และปิดกั้นเท่านั้น ยังมีกระบวนการล่อซื้อที่ไม่ต่างจากการล่อซื้อจากผู้ค้ายาเสพติด (ด้วยการหลอกมาเป็นเพื่อนชวนคุยเรื่องสถาบันเพื่อเก็บหลักฐาน) แล้วนำกำลังไปบุกจับตัว

เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมาก็มี ชาวไอทีถูกสอยเพราะกระบวนการล่อซื้อ   นี่เรียกได้ว่า ไม่ใช่แค่การทำตามหน้าที่ธรรมดา แต่เป็นกระบวนการปราบจับด้วยวิธีคิดเดียวกันกับการจัดการกับอาชญากรค้ายาเสพติด

คนตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาบันฯ ไม่ใช่ผู้ร้าย ไม่ใช่ผู้ค้าหรือผู้เสพยาบ้า ไม่ใช่อาชญากร แต่รัฐมองพวกเขา พวกเราเป็นอาชญากร เพราะทำอาชญากรรมทางความคิด

รัฐบาลที่ไม่เคารพผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เลือกตัวเองเข้ามาบริหารบ้านเมือง และโหดร้ายกับผู้ลงคะแนนเสียงของตัวเอง เท่านี้ ไม่มีอีกแล้วในประเทศอารยะ?

ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ ยังทำงานอยู่ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ภายใต้การกำกับของ รมต. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ และรมต. เฉลิม อยู่บำรุง

ด้วยเหตุนี้  ถึงแม้ว่าจะถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 จริงตามคำขู่ของ IPAD  จรรยา ได้ประกาศแล้วว่า จะไม่สู้กับ 112 ว่าตัวเองละเมิดหรือไม่ละเมิด 112 หรือสถาบันกษัตริย์ แต่จะสู้ว่า 112 และ มาตรา 8 ละเมิดคำปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ไทยให้สัตยาบันเมื่อปี 2491 และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ไทยรับรอง . .

เพราะทุกสิ่ิงที่ได้ทำมา ทั้งงานเขียนและงานรณรงค์ต่างๆ จรรยาได้กระทำ โดยไม่ได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  แต่เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกและความยุติธรรมในประเทศไทย อีกทั้งยังได้ดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายและแผนกิจกรรมของแอคชั่นเพื่อ ประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) ที่เป็นองค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศไทย ที่คนไทยและนานาชาติรู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้ 

* * * * * *

เสรีภาพในการแสดงออกเป็นหัวใจของมนุษย์

 

 

การนำเอาตัวอย่างคำด่าทอ และข่มขู่เหล่านี้มาให้ดูกัน เพื่อทำให้สังคมไทยได้ร่วมกันฉุกคิดว่า จะยอมให้การคุกคามคนอื่นอย่างเลวทรามเช่นนี้ กระทำกันได้ต่อไปโดยไม่มีการติติง เพราะคนกลุ่มนี้อ้างว่าทำไปเพราะรักในหลวงกันได้ต่อไปหรือ  การอ้างแบบนี้ โดยไม่ต้องทำตัวให้เป็นสุภาพชนกลับยิ่งจะเป็นการทำร้ายซึ่งภาพลักษณ์ของสถาบันฯ มิใช่หรือ?

เราคงต้องมาร่วมเตือนสติกันและกันในสังคมไทยบ้างว่า "ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในประเด็นอะไรก็ตาม ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่เรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์"  สังคมก็ควรผ่อนปรน ปล่อยให้มีการโต้เถียงกันด้วยเหตุด้วยผล อย่างเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันของมนุษย์แต่ละคน

และต้องลุกมาช่วยกันปรามพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ของพวกลัทธินาซีใหม่ทั้งหลาย ที่ชอบใช้ท่วงทำนอง และภาษา ที่นอกจากเหยียดหยามความเป็นมนุษย์แล้ว ยังเต็มไปด้วยคำข่มขู่ คำอาฆาตมาดร้าย และการเสียดสีทางเพศที่ไม่เป็นเรื่องจริงแม้แต่น้อย อาทิ "พวกนี้กลับมาโดนกระทืบแน่นอน"

ในทางตรงกันข้าม น่าเศร้าใจที่นอกจากไม่มีการห้ามปรามแล้ว ผู้ทำหน้าที่แอดมินของเพจคลั่งเจ้าทั้งหลายจำนวนไม่น้อย อาทิ ในเพจที่ยกมาให้ดูนี้ ยังได้แสดงอาการยุยงต่อด้วย โดยไม่มีการห้ามปรามให้คนใช้สติและเหตุผล

 * * * * * *

ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันบนความหลากหลายเถิด

คนไทยจำเป็นจะต้องเข้าใจ ว่า ประเทศไทยนั้นมีความหลากหลาย ทั้งมีพื้นที่กว้างใหญ่พอสมควรกว่า ห้าแสนกว่าตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 78 จังหวัด (ร่วมหกหมื่นกว่าตำบล)  มีประชากร 66 ล้านคน  ที่มาจากกว่า 40 ชนเผ่า และมีหลายศาสนาและความเชื่อ

หรือ จะเรียกว่ามี 66 ล้านคน  66 ล้านปัญหาก็น่าจะได้ . .ในความหลากหลายและกว้างใหญ่นี้

  •   สังคมไทยจะให้ทุกคนคิดเหมือนกัน ทำอะไรเหมือนกัน และไม่ให้ทางเลือกคนคิดต่างเลยหรือ?
  •   จะไม่ให้ประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมในการนำพาประเทศชาติสู่อนาคตที่ศิวิไลซ์บ้างเลยหรือ?
  • จะไม่ยอมให้เสรีภาพในการแสดงออก และแสดงความคิดเห็น ในทุกๆ ด้าน ด้วยเหตุด้วยผลกับพวกเขา /พวกเรา เลยละหรือ?
  •  จะต้องปล่อยให้ประเทศถูกลากลงสู่ความสุดโต่งและหยาบคายและโหดร้ายต่อกันไปเช่นนี้อีกนานแค่ไหน เพราะคิดไม่เหมือนกันเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์?

ประเทศส่วนใหญ่ที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์  โดยเฉพาะประเทศ ที่เป็นอารยะและร่ำรวย มีการทำโพลกันมาโดยตลอดว่า ประชาชนต้องการหรือไม่ต้องการสถาบันฯ ทั้งนี้คนต้องการฯ และไม่ต้องการฯ ต่างก็อยู่กันได้  ไม่มีใครลุกขึ้นมาขู่ฆ่า หรือแจ้งตำรวจจับอีกฝ่ายเข้าคุกอย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องมีเหตุผล  เพราะไม่รักสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นที่ประเทศไทย

ทำไมเมืองไทย จึงเป็นปัญหามากนัก กับแค่การแก้กฎหมายมาตราเดียวเช่นมาตรา 112  เพื่อทำให้คนคลั่งเช่น IPAD และคนที่มีพฤติกรรมที่นำมาให้เห็นข้างบน ไม่สามารถใช้กฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ตามอำเภอใจ เพื่อจะได้เผยความเป็นนาซีของตัวเองได้ภายใต้ร่มเงาของมาตรานี้

เอาเข้าจริง กฎหมายมาตรา 112 มีไว้เพื่อคุ้มครองคนคลั่งและฉกฉวยประโยชน์จากการรักหรืออ้างว่ารักสถาบันฯ  มากกว่าคุ้มครองสถาบันเอง  และถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไป คนที่ทำลายสถาบันฯ ไม่ใช่ใครหรอก ก็พวกท่านทั้งหลายนี่แหล่ะ ที่อ้างกันเหลือเกินว่ารักสถาบันฯ

 

***********

ข้อมูลเพิ่มเติม

NO มาตรา 112 ระบาดหนัก แพร่สู้โลกไซเบอร์และที่ประเทศฝรั่งเศส

เกี่ยวกับ แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย(ACT4DEM)

ประวัติและผลงาน จรรยา ยิ้มประเสริฐ 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มท.1 เตรียมใช้นโยบาย "ส่งเสริม" แทน "ปกป้อง" สถาบันฯ

Posted: 07 May 2012 10:42 AM PDT

มหาดไทยลงนามร่วม 8 หน่วยงาน ส่งเสริม "การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มท.1 เผยรัฐบาลไม่มีนโยบายปกป้องสถาบัน เพราะการปกป้องฯ เท่ากับว่าเหมือนมีคนไม่เคารพและจ้องทำร้าย แต่รัฐบาลเห็นว่าทุกคนมุ่งมั่นและรักสถาบันฯ ไม่มีใครมุ่งทำร้าย ดังนั้นจึงจะส่งเสริมมากกว่า

สำนักข่าวไทย รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการดำเนินงานตามแผนงานส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ ในระดับพื้นที่ ร่วมกับ 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงกลาโหม

เพื่อเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันในการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนแผนงาน สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สร้างสำนึกความเป็นชาติ และหวงแหนในการพิทักษ์สถาบันหลักของชาติ

นายยงยุทธ กล่าวว่า แนวทางการทำงานจะแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1.การสร้างความเข้าใจของประชาชนในชาติให้ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนหลักบูรณาการส่วนราชการในพื้นที่ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ โดยการจัดหลักสูตรอบรมในทุกระดับ และ 2.การสร้างความตระหนักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริในรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมเช่นกัน พร้อมทั้งจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้พระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกอำเภอ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้กับเด็กและประชาชนทั่วไป

“รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายในการส่งเสริมปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ได้มีนโยบายในการปกป้องสถาบัน เพราะการปกป้องสถาบัน ดูเหมือนจะมีคนที่ไม่เคารพสถาบันและจ้องทำร้าย แต่รัฐบาลชุดนี้เห็นแล้วว่าทุกคนมุ่งมั่นและรักสถาบัน ไม่มีใครมุ่งทำร้าย ดังนั้นจึงจะส่งเสริมมากกว่า” นายยงยุทธกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ระดมพลังต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง เตรียมการใหญ่รุกไล่ กฟผ.

Posted: 07 May 2012 10:41 AM PDT

“เอ็นจีโอ-นักวิชาการ-ชาวบ้าน” หารือต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง เตรียมเปิดเวทีให้ชาวบ้านที่ไปทัศนศึกษาแม่เมาะถกข้อดี-ข้อเสีย ระดมคนเดินสายศึกษาผลกระทบโรงไฟฟ้ามาบตาพุด-แม่เมาะ เตรียมการใหญ่รุกไล่ กฟผ.

 
 
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 7 พ.ค.55 ที่ศาลาเอนกประสงค์มูลนิธิอันดามัน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง นักวิชาการ นักพัฒนาภาคเอกชน (NGOs) และชาวบ้านจากตำบลบางสัก ตำบลวังวน ตำบลกันตังใต้ ตำบลนาเกลือ และตำบลอื่นๆ ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประมาณ 30 คน ร่วมประชุมหารือแนวทางในการเคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง
 
นายศักดิ์กมล แสงดารา ผู้ประสานงานฝ่ายกฎหมายของมูลนิธิอันดามัน เปิดเผยว่า เวลาประมาณ 10.00 น. วันที่ 9 พ.ค.55 นี้ ที่โรงเรียนบ้านแหลม ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จะมีการจัดเวทีสาธารณะเกี่ยวกับการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง โดยนำชาวบ้านที่เคยไปทัศนศึกษาดูงานกับมูลนิธิหยาดฝน และชาวบ้านที่เคยไปทัศนศึกษาดูงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มาถกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดี และข้อเสียของการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ชาวบ้านร่วมรับฟังเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจแก่ชาวบ้านในการคัดค้าน หรือสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง
 
นางสาวศยามล ไกรยูรวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.) หารือว่า กำลังมีโครงการที่จะนำชาวบ้านในอำเภอกันตังประมาณ 40 คน ไปทัศนศึกษาดูงานที่โรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ที่อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในกลางเดือนมิถุนายน 2555 จึงต้องการแกนนำชาวบ้านตำบลวังวน ตำบลกันตังใต้ ตำบลบางสัก ตำบลนาเกลือ ฯลฯ ตำบลละ 5 คน รวมถึงอาจารย์ และนักวิชาการจำนวนหนึ่ง โดยนัดกันมาประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 6 มิ.ย.55 ที่มูลนิธิอันดามัน
 
นายภาคภูมิวิธานติรวัฒน์ เลขานุการมูลนิธิอันดามัน เสนอว่า ที่ผ่านมามูลนิธิอันดามัน ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เครือข่ายปฏิรูปเทือกเขาบรรทัด เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดวังวน ประกาศชัดแล้วว่าคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง เสนอว่าน่าจะมีการรวมเครือข่ายเพื่อคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเป็นจริงเป็นจังในระดับจังหวัด และควรมีการหามวลชนเพิ่มด้วยการยกระดับให้เป็นเรื่องของคนตรัง ไม่ใช่เรื่องของคนวังวน หรือคนกันตัง เพราะผลกระทบมันกินอาณาเขตมากกว่าตำบล มากกว่าอำเภอ
 
ด้าน ผศ.อภิรักษ์ สงรักษ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับวิธีการดำเนินการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ต้องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ด้วยการล็อบบี้เข้าหาผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ สาธารณสุขจังหวัด หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ฯลฯ ชี้แจงแต่ด้านดี ทำอย่างไรที่จะสามารถกันให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยออกจากพื้นที่จังหวัดตรัง
 
ขณะที่นายตะวัน ทุ่ยอ้น ตัวแทนชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กล่าวว่า ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง มีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่าจะต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังจนถึงที่สุด โดยต้องการหาแนวร่วมมวลชนนับพันในการประท้วงแสดงพลังในตัวจังหวัดตรัง โดยมีเป้าหมายในการไล่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยออกจากจังหวัดตรัง ซึ่งอาจต้องหารือกันว่าเมื่อไหร่ อย่างไร
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมต้านโลกร้อนแถลง กนอ.เพิกถอนโรงงานระเบิด

Posted: 07 May 2012 10:38 AM PDT

สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกแถลงการลงนามโดยนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เรียกร้อง กนอ. ต้องเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานบีเอสทีของบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ที่ระเบิดในมาบตาพุด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

0 0 0

 

กนอ.ต้องเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานบีเอสที
ของบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ที่ระเบิดในมาบตาพุด

ตามที่ได้เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ของบริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง จนทำให้มีคนงานเสียชีวิตไป 5 คนและบาดเจ็บไปกว่า 70 คนเมื่อบ่ายวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมิใช่เป็นเหตุครั้งแรกของบริษัทนี้ เพราะเมื่อวันที่ 5-6 มีนาคม 2552 ก็เคยเกิดสารเคมีรั่วไหลขณะขนถ่ายสารเคมีขึ้นมาจากท่าเรือมาบตาพุดแล้วครั้งหนึ่ง

จากการตรวจสอบของสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนพบว่าโรงงานดังกล่าวเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทย-สิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์ใน การนำมิกซ์ซีโฟว์จากโรงงานผลิตโอเลฟินส์ มาสกัดหรือแปรรูปให้เป็นอนุพันธ์ซีโฟว์ต่าง ๆ และราฟฟิเนท-1 เช่น สาร1,3 บิวทาไดอีน สารเอ็มทีบีอี และบิวทีน-1 และมีสารซี 4-แอลพีจี และสาร 1,2 บิวทาไดอีน นอกจากนี้ยังได้มีการขยายธุรกิจผลิตยางสังเคราะห์ E-SBR (Emulsion Styrene-Butadiene Rubber) และ ยางสังเคราะห์ BR (Polybutadiene Rubber) ภายใต้ชื่อ บริษัท บีเอสทีอิลาสโตเมอร์ จำกัดด้วย

เมื่อโรงงานดังกล่าวเกิดการระเบิดและไฟไหม้ จะก่อและแพร่กระจายมลพิษออกมามากมายประกอบไปด้วย 1)ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 2)ฝุ่นละอองรวม (TSP) 3)สาร Non Methane Hydrocarbon (NMHC) 4)สาร Methyl Tertiary Butyl Ether (MTBE) 5)สาร Total Hydrocarbon (THC) 6)สาร 1,3 บิวทาไดอีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ที่เป็นอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง 19 ชนิดตามประกาศของกรมควบคุมมลพิษ

ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวได้ขอขยายโรงงานและการผลิตเพิ่มเติมโดยได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งจากเอกสารรายงาน EHIA ดังกล่าวถูกคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ได้ท้วงติงความไม่สมบูรณ์หลายประการ และรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการระเบิดและไฟไหม้จนทำให้คนงานต้องมาเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากนี้ ชี้ให้เห็นว่าโรงงานดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างหรือขยายกิจการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้อีกต่อไป ซึ่งหน่วยงานภาครัฐผู้กำกับดูแลและให้ใบอนุญาต คือ กนอ. และกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานดังกล่าวโดยทันที เพื่อปกป้องวิถีชีวิตของชาวบ้านใน 30 กว่าชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่มาบตาพุดและคนงานต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อการจัดการโรงงานที่ผิดพลาดล้มเหลวต่อโรงงานอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งบริษัทที่ให้ใบรับรอง ISO 14001 และ ISO/OHSAS 18001แก่โรงงานดังกล่าวก็จะต้องพิจารณาตรวจสอบและทบทวนการให้ใบรับรองดังกล่าวด้วย รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมก็จะต้องทบทวนการเป็นสมาชิกในโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry ของโรงงานดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้หน่วยงานรัฐดังกล่าวต้องกำกับดูแลให้บริษัทดังกล่าวจ่ายค่าชดเชยเยียวยาให้กับคนงานที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งค่าตกใจให้กับชาวชุมชนมาบตาพุดโดยรอบในอัตราสูงสุดตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกอบพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 กำหนดด้วย

อนึ่งสมาคมฯจักได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการและจี้ให้ กนอ. และ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรมเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานดังกล่าวต่อไป รวมทั้งจักยื่นเรื่องต่อศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่สมาคมร่วมกับชาวบ้าน 43 รายได้ฟ้องร้องหน่วยงานรัฐดังกล่าวต่อศาลปกครองแล้วต่อไปด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โทลูอีนอันตราย โวยรัฐบิดเบือนข้อมูล ชี้จัดการอุบัติภัยเคมีดีขึ้นแต่ยังต้องแก้อีก

Posted: 07 May 2012 10:35 AM PDT

สืบเนื่องจากเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ที่โรงงานของบริษัทบีเอสทีอิลาสโตเมอร์ ในเครือบริษัทกรุงเทพซินธิติกส์ (BST) ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เมื่อวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา มูลนิธิบูรณะนิเวศซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามกรณีนี้อย่างใกล้ชิด ได้ออกมาให้ความเห็นว่า แม้การรับมือสถานการณ์ อาทิ การควบคุมเพลิง การตัดสินใจประกาศอพยพจะเป็นไปอย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ แต่ในด้านอื่นๆ ยังคงมีปัญหาอยู่โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี เช่น สารโทลูอีน ซึ่งแท้จริงแล้วมีอันตราย และเป็นไปได้ว่าจะยังคงตกค้างอยู่ในพื้นที่อีกเป็นเวลานาน ไม่เฉพาะวันเกิดเหตุ จนเป็นเหตุให้การป้องกันตัวเองจากสารเคมีของประชาชนยังไม่รัดกุมเพียงพอ นอกจากนี้ในด้านระบบจัดการกับอุบัติภัยสารเคมีของประเทศไทยที่ยังมีส่วนที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอีกมาก

7 พฤษภาคม 2555 ที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ นางสาววลัยพร มุขสุวรรณ รองผู้อำนวยการมูลนิธิฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสารเคมี ระบุว่า แม้สารโทลูอีนโดยลำพังจะระเหยง่าย แต่เมื่ออยู่ในบรรยากาศที่มีโอโซนและแสงแดด จะคงตัวอยู่ได้นานถึง 27,950 วัน หรือมากกว่า 76 ปี ทั้งนี้ในพื้นที่มาบตาพุดมีการตรวจพบสารโอโซนโดยกรมควบคุมมลพิษในจำนวนเกินค่ามาตรฐานทุกปีและในทุกสถานีตรวจวัดของพื้นที่มาบตาพุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า สารโทลูอีนที่ปล่อยออกมาจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ จะคงอยู่ยาวนานมากกว่า 2 วัน และอาจมากถึง 70 กว่าปี เพิ่มโอกาสที่ประชาชนจะได้รับสารโทลูอีน ซึ่งมีฤทธิ์เฉียบพลัน คือ ระคายเคืองจมูกและปอด เจ็บในทรวงอก และในระยะยาว สารโทลูอีนมีพิษต่อตับ ไต สมอง กระเพาะปัสสาวะ และระบบประสาท รวมทั้งพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ ดังนั้นมาตรการเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มิใช่ว่าเพียงสองวันก็ประกาศว่าสถานการณ์เป็นปกติแล้ว

การเฝ้าระวังค่าปนเปื้อนของสารเคมีในอากาศยังจำเป็นต้องตรวจวัดสารเคมีอีกหลายชนิด มิใช่สารโทลูอีนเพียงอย่างเดียว เพลิงไหม้ที่โรงงาน BST ทำให้สารโทลูอีนถูกเผาไหม้ ก่อปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายได้อีกหลายชนิด เช่น หากโทลูอีนถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ จะเกิดสารคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้คลื่นไส้ เวียนหัว จนถึงหมดสติและเสียชีวิตได้หากได้รับในปริมาณมาก หากเผาไหม้เกือบสมบูรณ์ จะเกิดสารคาร์บอนมอนออกไซด์ เป็นพิษเมื่อสูดดม ระคายเคืองผิวหนัง ระคายตา ทางเดินหายใจส่วนบน และยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ควันดำที่เห็นจากเหตุเพลิงไหม้โรงงาน BST เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าสารโทลูอีนได้ถูกเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องทางเคมี กลายเป็นสารเคมีอีกหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารอันตรายและมีฤทธิ์เฉียบพลัน บางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังค่าปนเปื้อนของสารเคมีอื่นๆและแจ้งผลให้ประชาชนทราบเป็นระยะ

การให้ข้อมูลทั้งจากบริษัทและหน่วยงานรัฐเฉพาะเจาะจงที่สารโทลูอีนและการย้ำว่าไม่เป็นสารก่อมะเร็ง จึงถือเป็นการบิดเบือนข้อมูล ทำให้ความน่ากลัวของเหตุการณ์น้อยลง ซึ่งเข้าใจได้ในแง่ที่ไม่อยากให้สาธารณะชนแตกตื่น อย่างไรก็ตาม อาจทำให้ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่เช่นหน่วยกู้ภัยและนักข่าวที่เข้าไปทำข่าวหรือชุมชนรอบๆ ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและไม่ป้องกันตัวอย่างเพียงพอ เช่นมีรายงานว่านักข่าวที่บินไปทำข่าวกับเฮลิคอปเตอร์ในวันต่อมาถึงกับหน้ามืดและอาเจียนจากการสูดสารเคมีเข้าไปเป็นระยะเวลานาน

ด้านนางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ให้ความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การที่สามารถควบคุมเหตุเพลิงได้ภายในที่ค่อนข้างรวดเร็ว รวมทั้งตัดสินใจประกาศอพยพ 18 ชุมชน เพื่อป้องกันผลกระทบหากเหตุลุกลามเป็นวงกว้างในครั้งนี้ ถือได้ว่าการจัดการกับอุบัติภัยสารเคมีของประเทศไทยมีพัฒนาขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีส่วนจำเป็นต้องปรับปรุงอีกมาก ซึ่งส่วนที่สำคัญคือการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเหตุครั้งนี้ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติอยู่หลายส่วน เช่น ชาวบ้านไม่ได้ยินเสียงตามสายเพราะฝนตกหนัก ระบบ sms ไม่แจ้งเตือนเพราะเจ้าหน้าที่เพิ่งรับทราบข่าวหลังเหตุสงบแล้ว จุดรวมพลในการอพยพไม่ชัดเจน หรือแม้จะมีการประกาศผ่านทางสื่อโทรทัศน์แต่ประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ได้ดูทีวีก็ไม่ได้รับข้อมูล เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เนื่องจากมาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ ผลิต และเก็บสารเคมีอันตรายมากที่สุดในประเทศไทย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดอุบัติภัยสารเคมี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบการแจ้งเตือนภัย การอพยพ และการจัดการกับอุบัติภัยจะต้องทำงานได้ สำหรับเหตุการณ์ครั้งนี้ หากอุบัติเหตุไม่ได้เกิดขึ้นที่ถังเก็บสารโทลูอีน แต่เป็นสารเคมีชนิดอื่นที่ร้ายแรงกว่า เพราะโรงงานปิโตรเคมีทุกโรงในมาบตาพุดมีการใช้และผลิตสารเคมีอันตรายอีกจำนวนมากที่มีอันตรายร้ายแรงกว่าสารโทลูอีน และหากไม่ได้เกิดในระหว่างที่โรงงานดังกล่าวปิดทำการในวันหยุด โศกนาฏกรรมครั้งนี้ก็อาจรุนแรงและส่งผลเสียหายยิ่งกว่านี้ การป้องกันและเตรียมรับมือจึงมีความจำเป็น

ในแง่การเยียวยารักษาผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติภัยในครั้งนี้ อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศกล่าวว่า ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนงานทั้งของบริษัท BST และบริษัทรับเหมาเฉพาะทาง และเนื่องจากสารที่ได้รับสัมผัสจำนวนมากซึ่งยังระบุไม่ได้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีมาตรการติดตามเฝ้าระวังสุขภาพระยะยาวของคนงานผู้ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนจะต้องเร่งสร้างมาตรการเหล่านี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายสิทธิร่อนจดหมายติงกรณีไทยรัฐพาดหัวเหยียดชาติพันธุ์

Posted: 07 May 2012 10:32 AM PDT

7 พฤษภาคม 2555 เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นายสราวุธ วัชรพล หัวหน้ากองบรรณิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรณี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐใช้คำพาดหัวข่าวไม่เหมาะสม สร้างทัศนคติในทางลบแก่กลุ่มชาติพันธุ์ กล่าวโทษแบบเหมารวม ขัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวต่อชนพื้นเมืองชาติพันธุ์กระเหรี่ยง สร้างความเสื่อมเสียถึงเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และอาจมีผลทำให้สาธารณะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือมีความเข้าใจไปในทางลบเกี่ยวกับชนพื้นเมืองซึ่งก็เป็นสมาชิกอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของประเทศไทย และยังขัดต่อแนวปฏิบัติของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เรื่องการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับชาติพันธุ์และศาสนา

จดหมายยังเรียกร้องความรับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวที่ขัดต่อหลักปฏิบัติของสื่อสารมวลชน และขอให้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติตรวจสอบการนำเสนอข่าวดังกล่าว ตลอดจนดำเนินมาตรการสร้างความเข้าใจกับบุคคลากรสื่อมวลชนและป้องกันการนำเสนอข่าวที่เป็นการสร้างอคติทางเชื้อชาติในลักษณะเช่นนี้อีก เพื่อให้สื่อมวลชนทำหน้าที่อย่างปราศจากอคติ สร้างความความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณะ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนความแตกต่าง การนับถือกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ โดยจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้

0 0 0

จดหมายเปิดผนึก
สำหรับเผยแพร่ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2555
กรณี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐใช้คำพาดหัวข่าวไม่เหมาะสม สร้างทัศนคติในทางลบแก่กลุ่มชาติพันธุ์

เรียน

  1. คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
  2. คุณ สราวุธ วัชรพล หัวหน้ากองบรรณิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  3. บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เนื่องจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ www.thairath.co.th ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2555 ได้เผยแพร่ข่าวด้วยพาดหัวข่าวว่า “เห็นแก่ได้ ! ชนกลุ่มน้อยโค่นไม้ – ปลูกกัญชา รุกป่าแก่งกระจาน” และอีกครั้งในวันนี้ว่า “ตะลึง! ชนกลุ่มน้อยบุกรุกป่าต้นน้ำเพชรบุรีหนักต้นไม้ใหญ่ถูกโค่น” โดยมีเนื้อหาว่า “หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำกำลังเจ้าหน้าที่ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ บินตรวจพื้นที่ป่าแก่งกระจาน หลังถูกชนกลุ่มน้อยเห็นแก่ได้ บุกรุกโค่นป่า และลักลอบปลูกกัญชา ในพื้นที่ป่าประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นเชื่อว่าเป็นชาวกะเหรี่ยง-กะหร่าง ร่วมมือกับบุคคลภายนอก เนื่องจากพฤติกรรมที่เคยตรวจพบมีแค่พียงการแผ้วถางป่าและปลูกพืชไร่ แต่ครั้งนี้พบการแปรรูปไม้ที่โค่นด้วย” [1]

การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ใช้คำพาดหัวข่าวที่มีลักษณะกล่าวหาหรือกล่าวโทษแบบเหมารวม กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง-กะหร่าง ตลอดจนชนกลุ่มน้อยอื่นที่มีอยู่ทั่วประเทศ เป็นการแสดงให้เห็นถึงทัศนคติในด้านลบของผู้ที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนแล้ว และยังเป็นการสร้างอคติต่อชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์แก่ผู้บริโภคสื่ออย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้ว และยังเป็นนำเสนอข่าวที่ขัดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวต่อชนพื้นเมืองชาติพันธุ์กระเหรี่ยง เป็นการสร้างความเสื่อมเสียถึงเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และอาจมีผลทำให้สาธารณะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือมีความเข้าใจไปในทางลบเกี่ยวกับชนพื้นเมืองซึ่งก็เป็นสมาชิกอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของประเทศไทย อันเป็นการนำเสนอข่าวที่ก่อให้เกิดอคติและการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และยังขัดต่อแนวปฏิบัติของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เรื่องการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับชาติพันธุ์และศาสนา ประกาศเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 ซึ่งมีข้อกำหนด ดังนี้ [2]

  1. พึงจำกัดเฉพาะบุคคลผู้กระทำความผิดหรือเกี่ยวข้องกับผู้นั้นเท่านั้น มิบังควรขยายหรือให้เกิดความเข้าใจกว้างไกลพาดพิงถึงเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ผิวสี ศาสนา ความเชื่อถือหรือถิ่นกำเนิดของผู้นั้น ทั้งนี้เพื่อ มิให้เกิดความเข้าใจผิด ความเสียหาย หรือการถูกเหยียดหยามหรือเกลียดชังต่อส่วนรวม ซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำความผิดนั้น
  2. ในกรณีที่ปรากฏเบื้องต้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ผู้นั้นได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ความผิดโดยศาลยุติธรรมแห่งชาติก่อน จึงไม่ควรนำเสนอข่าวหรือภาพข่าวเพื่อให้เกิดความเสียหายก่อนการพิสูจน์ความ ผิดทางกฎหมาย
  3. เพื่อป้องกันปัญหาการนำเสนอข่าวหรือภาพข่าว หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ผิวสี ศาสนา ความเชื่อถือหรือถิ่นกำเนิดของผู้ตกเป็นข่าว ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ควรตระหนักถึงในข้อเท็จจริงและจริยธรรมแห่ง ความเป็นจริง ไม่ควรนำเสนอข่าวและภาพข่าวในทำนองปรักปรำให้เกิดความเข้าใจผิดกันทั้งหมด

ในขณะที่ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงชนพื้นเมืองจากผืนป่าแก่งกระจานกำลังเรียกร้องไม่ให้เกิดการบิดเบือนความเข้าใจและเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิของตน โดยร่วมกับสภาทนายความเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 เรียกค่าเสียหายกว่าสองล้านบาทละขอให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ ประกาศขอโทษโจทก์และชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานใน หนังสือพิมพ์เป็นระยะเวลา 15 วัน จากการที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานนำเจ้าหน้าที่เข้าทำลายทรัพย์สินและบังคับอพยพชาวบ้านออกจากป่าซึ่งชนพื้นเมืองดังเดิมเชื้อสายกะเหรี่ยงอยู่อาศัยมาหลายชั่วอายุคน อีกทั้งยังให้สัมภาษณ์กับนักข่าวหลายสำนักว่าชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้าย เป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศเพื่อนบ้านบุกรุกป่าและเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อันเป็นการกล่าวร้ายกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ทำให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555 คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ แห่งองค์การสหประชาชาติยังได้มีหนังสือสอบถามมายังรัฐบาลไทยเกี่ยวกับกรณีการบังคับอพยพและความรุนแรงต่อชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงในกรณีเดียวกันนี้

จากแนวปฏิบัติข้างต้นและเพื่อดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรเครือข่าย จึงขอเรียกร้องให้ ไทยรัฐออนไลน์ รับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวที่ขัดต่อหลักปฏิบัติของสื่อสารมวลชน และขอให้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติตรวจสอบการนำเสนอข่าวดังกล่าว ตลอดจนดำเนินมาตรการสร้างความเข้าใจกับบุคคลากรสื่อมวลชนและป้องกันการนำเสนอข่าวที่เป็นการสร้างอคติทางเชื้อชาติในลักษณะเช่นนี้อีก เพื่อให้สื่อมวลชนทำหน้าที่อย่างปราศจากอคติ สร้างความความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณะ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนความแตกต่าง การนับถือกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์

  • เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
  • สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
  • เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
  • มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
  • มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  • โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม

 

  1. รายละเอียดข่าวตาม http://www.thairath.co.th/content/edu/258185
    และ http://www.thairath.co.th/content/edu/258349
  2. แนวปฏิบัติของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เรื่องการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับชาติพันธุ์และศาสนา ประกาศเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม2550 http://www.presscouncil.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=154&Itemid=100006

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

NGO หนุนวิทยาเพิ่มงบ ปี 56 ตามมติบอร์ด สปสช.

Posted: 07 May 2012 10:25 AM PDT

ตามที่สำนักงบประมาณได้เสนองบภาพรวมปี 56 และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พค. ที่ผ่านมา โดยตัดงบเหมาจ่ายรายหัวของ สปสช. อยู่ที่ 2,755.60 บาท ต่อคน ลดจากปีนี้ 4.9 % และ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ยืนยันว่าจะมีการเสนอรายละเอียดงบ สปสช. ต่อคณะรัฐมนตรี อีกครั้งในวันที่ 8 พค.ที่จะถึงนี้ ต่อข่าวดังกล่าว นส.บุญยืน ศิริธรรม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร เปิดเผยว่า บอร์ด สปสช.มีมติ เมื่อวันที่ 11 เมย. ที่ผ่านมาเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ซึ่งมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธานได้เสนองบเหมาจ่ายรายหัวปี 56 ของ สปสช. ไว้ที่ 3,123.47 บาทต่อคน หรือเพิ่มขึ้นจากปี55 ประมาณ 7.9 % เพื่อคงสิทธิประโยชน์ และการเข้าถึงบริการของประชาชน ไม่ต่ำกว่าเดิม รวมทั้งเพื่อรองรับนโยบายเพิ่มคุณภาพของระบบ 30 บาท ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และให้เกิดความเท่าเทียมของสามกองทุน โดยงบเหมาจ่ายรายหัวที่เสนอ 3,123.47 บาทต่อคน ได้มาจากการคิดทางวิชาการดังนี้

  1. รายการตามสิทธิประโยชน์เดิมเพื่อรักษาคุณภาพของการให้บริการไม่ให้ลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา และรองรับกับอัตราเงินเฟ้อที่คำนวณไว้ในอัตราต่ำสุด เป็นเงิน 2,939.73 บาทต่อคนหรือเพิ่มขึ้นจากปี55 ประมาณ 1.5 %
  2. เพิ่มค่าตอบแทนพิเศษให้หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามประกาศฉบับที่ 4,6 และ 7 เพื่อลดภาระเงินบำรุงของ รพ. เป็นเงิน 102.20 บาท ต่อคน
  3. เพิ่มค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐบาลในการบรรจุพยาบาลใหม่ 3,000 อัตรา ในภาคใต้และการเพิ่มเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ขั้นต่ำ 15,000 ต่อเดือน เพิ่มค่าแรงลูกจ้างขั้นต่ำ 300บาทต่อวัน รวมเป็นเงิน 82.00 บาทต่อคน

ดังนั้นถ้าจะให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช.สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการได้เท่าเดิม เพิ่มคุณภาพการให้บริการของ รพ.ต่างๆ สร้างความเท่าเทียมของสามกองทุนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจะต้องจัดงบประมาณเหมาจ่ายสนับสนุนปี 56 เป็นเงินรวม 3,123.47 บาทต่อคน หรือเพิ่มขึ้นจากปีนี้ 7.9% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่ารัฐบาลชุดที่แล้วของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่มให้ระบบบัตรทองของ สปสช. ในปี55 นี้ประมาณ 13.8% จึงจะทำให้ระบบ 30 บาทมีคุณภาพเท่าเทียมกับกองทุนอื่นตามที่รัฐบาลหาเสียงสัญญากับประชาชนไว้

“การดูแลให้ได้งบประมาณเพียงพอเป็นหน้าที่โดยตรงของ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ที่ต้องผลักดันงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวปี 56 ตามที่บอร์ด สปสช. มีมติไว้เพราะเป็นการตั้งงบประมาณที่เป็นไปตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้แล้ว รวมทั้งรัฐบาลต้องไม่ตัดงบประมาณสนับสนุนการส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เพราะเป็นภัยเงียบที่เป็นปัญหาของประเทศ ทำให้เกิดโรคหัวใจ ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม และที่ผ่านมาได้เริ่มต้นทำไว้ดีอยู่แล้ว ถ้างบนี้ถูกคณะรัฐมนตรีตัดลดลง แสดงว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคตามที่ประกาศไว้” กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนองค์กรเอกชน กล่าวและย้ำว่าจะติดตามดูผลการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญกับนโยบายเพิ่มคุณภาพของระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคจริงหรือเป็นเพียงการหาเสียง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาที่ปรึกษาถก 4 ข้อหารือ OIC ดูแลมุสลิม-กระจายอำนาจดับไฟใต้

Posted: 07 May 2012 10:22 AM PDT

นายไชยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(สปต.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จะมีการประชุมสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(สปต.) จำนวน 12 คน ที่จะประชุมร่วมกับนาย Sayed Kassem EI Masry ตำแหน่งที่ปรึกษาและผู้แทนพิเศษของนายเอกเมเลดดิน อิซาโนกลูเลขาธิการโอไอซี (OIC) และคณะ เพื่อพิจารณากรอบในการพูดคุยกับคณะของนาย Sayed Kassem EI Masry ซึ่งมีกำหนดประชุมร่วมกันในช่วงเช้าวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 ที่ศอ.บต.

สภาที่ปรึกษาถก 4 ข้อหารือ OIC ดูแลมุสลิม-กระจายอำนาจดับไฟใต้

นายไชยยงค์ เปิดเผยอีกว่า การเดินทางมาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของตัวแทนโอไอซีครั้งนี้ เพื่อเป็นการติดตามการบ้านที่ที่ประชุมโอไอซี ครั้งที่ 38 ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิถุนายน 2554 ณ กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ฝากให้รัฐบาลไทยดำเนินการ 4 ข้อ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น

นายไชยยงค์ เปิดเผยว่า ทั้ง 4 ข้อ ได้แก่ การแก้ปัญหาเรื่องความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการจังหวัดชายแดนภาคใต้ การดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการลดปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่ ซึ่งทั้ง 4 ข้อ กรรมการสภาที่ปรึกษาทั้ง 12 คน จะหารือเพื่อเตรียมพูดคุยเรื่องนี้กับตัวแทนโอไอซีด้วย

นายกษิต ภิรมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในการประชุมโอไอซีครั้งนั้น ได้สอบถามเกี่ยวกับคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น คดีตากใบ และคดีที่เกิดจากการฆ่าตัดตอนที่เกิดขึ้นในพื้นที่

นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เตรียมข้อเสนอต่อผู้แทนโอไอซีระหว่างพบปะผู้นำศาสนาในวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 ข้อ ได้แก่ ขอให้คณะกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เดินทางไปเยี่ยมสำนักงานเลขาธิการโอไอซี ที่เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

นายแวดือราแม เปิดเผยอีกว่า ข้อที่ 2 ขอให้โอไอซีให้ทุนการศึกษาแก่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปศึกษาทางด้านศาสนาในต่างประเทศ และ 3 ขอให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้การดูแลของโอไอซี

ทั้งนี้ ตัวแทนโอไอซี มีกำหนดเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2555

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาคมภาคใต้รับ อาเซียนจำเป็น แต่ต้องป้องสิทธิชุมชน

Posted: 07 May 2012 10:08 AM PDT

องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนภาคใต้ร่วม 100 ชีวิต ร่วมร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ชูผู้แทนคณะกรรมาธิการอาเซียนฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องปกป้องสิทธิชุมชนและให้สิทธิชุมชนปกป้องทรัพยากรจากกลุ่มทุน และให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติในทุกประเทศได้สิทธิเป็นพลเมืองอาเซียน

ประชาคมภาคใต้รับ อาเซียนจำเป็น แต่ต้องป้องสิทธิชุมชน

ยุคก้าวเข้าสู่โลกที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริงอาจกำลังมาถึงอย่างแท้จริงแล้ว เมื่อ “ประชาคมอาเซียน” กำลังจะเกิดขึ้นก้าวเป็นหนึ่งเดียวด้วยแนวคิดใหม่ที่ว่า เราจะหลอมรวมเป็นประชาคมหนึ่งเดียว สร้างสรรค์และดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน สร้างอัตลักษณ์เป็นหนึ่งเดียวภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community) ซึ่งจะทำให้เป็นจริงภายในปี 2558 แต่ในความเป็นจริงแล้วแต่ละประเทศยังคงดำรงความเป็นตัวของตัวเอง แยกกันคิด แยกกันทำอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คำถามคือจะทำอย่างไร ประเทศสมาชิกของอาเซียนจึงจะก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กัน

เพื่อเตรียมก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสัมฤทธิ์ผล หลายปีที่ผ่านมาได้มีการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดปฏิญญาอาเซียนขึ้นมามากมายหลายประเด็น เพื่อเตรียมการให้เอื้อต่อแนวทางในการอยู่ร่วมกันของการเป็นพลเมืองอาเซียน อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อปี 2552 ปฏิญญาอาเซียนเรื่องการปกป้องและส่งเสริมสิทธิด้านแรงงานข้ามชาติ เมื่อปี 2550 เป็นต้น เพื่อให้อาเซียนมีกฎกติการ่วมกันในทุกด้านให้ทันในปี 2558 ที่ทุกประเทศต้องก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อย่างไรก็ตาม ประชาชนระดับรากหญ้าเข้าถึงความรู้ประเด็นอาเซียนน้อยกว่าคนกลุ่มอื่น ทั้งยังเป็นประชากรส่วนใหญ่ของอาเซียนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วย ซึ่งปฏิญญาที่จะร่างเป็นปฏิญญาแรกของอาเซียนคือ “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”

ผู้แทนอาเซียน ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนคณะกรรมาธิการไทยระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ ไอชาร์ (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการระดมข้อเสนอเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศไทยเข้าสู่ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มองว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการจัดทำปฏิญญาฯ ในหมู่ประชาชนคนไทยและองค์กรต่างๆ ในสังคมไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการเพิ่มพูนความเข้าใจและสร้างการตระหนักรู้ในสาธารณชนเกี่ยวกับ AICHR รวมถึงความหมายและความสำคัญของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

AICHR ได้ร่วมกับมูลนิธิเสฐียรโกเศศ – นาคะประทีป และมูลนิธิคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนจัดเวทีระดมความคิดเห็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา โดยเชิญองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคประชาชนทั่วภาคใต้จำนวน 70 คน ซึ่งทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ด้านผู้บริโภค ด้านการศึกษา แรงงาน การพัฒนา เครือข่ายประมงพื้นบ้าน เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ผู้พิการ กลุ่มผู้หญิง รวมถึงกลุ่มเยาวชน ประกอบด้วย จังหวัดตรัง สุราษฎร์ธานี พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา ระนอง พังงา และจังหวัดสตูล เข้าร่วมระดมความคิดเห็นในประเด็นสิทธิคนพิการ สิทธิเด็กและเยาวชน สิทธิของผู้ไร้รัฐไร้สัญชาติ สิทธิสตรี สิทธิแรงงานข้ามชาติ สิทธิด้านการพัฒนาในภาพรวม

ประชาคมภาคใต้รับ อาเซียนจำเป็น แต่ต้องป้องสิทธิชุมชน

จากการสัมมนา ภาคประชาชนมีข้อเสนอหลากหลาย อาทิ คนพิการเรียกร้องให้คนพิการบางกลุ่มที่พิการเพียงเล็กน้อยมีสิทธิในการเรียนแพทย์ เข้าถึงการศึกษาได้เท่าเทียมกับคนปกติ เข้าถึงสิทธิการคุ้มครองค่าแรงและสวัสดิการเท่าเทียมคนปกติ กลุ่มเด็กและเยาวชนเรียกร้องให้มีการเตรียมการรองรับทางการศึกษา การเปิดโรงเรียนรองรับเด็กที่เกิดจากแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครอบครัวเป็นสำคัญ ตลอดจนการเคารพอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

จากเวทีพบว่า มีประเด็นที่เป็นข้อเสนอใหม่ต่ออาเซียน มาจากกลุ่มคนทำงานแรงงานข้ามชาติที่เสนอให้มีการเลือกตั้งผู้แทนคณะกรรมาธิการอาเซียนฯ อยากให้ในอาเซียนมีการเลือกผู้แทนโดยการเลือกตั้ง และให้มีผู้แทนตามประเด็นเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนในอาเซียนทุกกลุ่ม เช่น แรงงานข้ามชาติ ผู้พิการ สตรี การคุ้มครองแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน ให้มีความเท่าเทียมกันกับคนที่ใช้แรงงานในประเทศที่แรงงานต่างชาติทำงานอยู่ เช่น เรื่อง ค่าจ้าง ภาษี การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและบริการของรัฐ กระบวนการยุติธรรมนอกจากนี้ยังมีประเด็นจากกลุ่มสิทธิการพัฒนาจากภาพรวมที่กลัวว่ากฎกติกาอาเซียนบางข้อให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนมากกว่า จึงเรียกร้องให้เขียนในปฏิญญาว่า “ชุมชนมีสิทธิปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์สาธารณะ” และประเด็นจากกลุ่มสิทธิคนไร้รัฐไร้สัญชาติ เรียกร้องให้ปฏิญญาบัญญัติว่า คนที่ไร้รัฐไร้สัญชาติในทุกประเทศให้ถือว่าเป็น “พลเมืองของอาเซียน” และได้รับสิทธิในฐานะพลเมือง

ดร.ศรีประภา ได้ให้ความคิดเห็นในแง่ของการเลือกตั้งผู้แทนว่า การเลือกตั้งผู้แทนที่มีความเชี่ยวชาญของอาเซียน ในอนาคตหากเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน ก็สามารถให้มีการเลือกตั้งผู้แทนได้ หากมีกลไกที่ทำหน้าที่เช่นนี้ เช่น การรับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิ เรื่องการนำไปใช้ ต้องเป็นประชาชนนำไปใช้ เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนอ้างต่อรัฐและรัฐบาลไทย และมีความร่วมมือระหว่างรัฐที่จะทำให้ความร่วมมือได้รับการยอมรับ โดยสร้างกลไกความร่วมมือ เช่น เรื่องแรงงาน สิ่งที่ได้รับจากหลายกลุ่ม จะนำไปใช้สำหรับการเจรจา

นายสุรสีห์ โกศลนาวิน ประธานมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป กล่าวว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนอยู่บนโครงสร้างของ 3 เสาหลัก คือ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน 2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนรับรองกฎบัตรอาเซียนเมื่อปี 2550 ส่งผลให้แต่ละประเทศต่างมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียน เรียกว่าการก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนนั้น เราประเทศสมาชิกต้องยอมรับกติกาใหม่ของอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น ในปี 2558 นี้ กล่าวง่ายๆ เราอาจต้องเปิดหน้าต่างหลายๆ บานจากที่ไม่เคยเปิดมาก่อน เพื่อต้อนรับเพื่อนบ้านอย่างเปิดกว้างภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นโยบายการเปิดเสรีด้านแรงงาน อาชีพสงวนที่เปิดรับเฉพาะคนในประเทศเท่านั้นทำได้ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะไม่เป็นเช่นนั้นอีก หรือในอนาคตการข้ามพรมแดนในแต่ละประเทศอาจทำได้อย่างเสรี กรณีเรื่องแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอาจเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีไปด้วย ประเด็นเหล่านี้ แต่ละประเทศจะเตรียมการอย่างไร ทัศนคติเดิมๆ ที่เคยมองแรงงานข้ามชาติจำต้องเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของความเป็น “มนุษย์” เราต้องก้าวข้ามหรือก้าวให้พ้นเส้นพรมแดนที่ขีดแบ่งแยกเราให้ได้ เราจะยอมรับพวกเราในฐานะพลเมืองอาเซียนกันอย่างไร ....แบบเท่าเทียม เสมอภาค และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้

สำหรับเรื่องสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นความพยายามของประเทศสมาชิกที่จะผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎบัตรอาเซียน วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในอาเซียน ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนที่คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบริบทในภูมิภาคแห่งนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เทวฤทธิ์ มณีฉาย

Posted: 07 May 2012 08:22 AM PDT

ในขณะที่เราดูถูกชาวบ้านที่ไปขอหวยขอเลขจากสัตว์บ้าง ให้สัตว์ทำนายทายทักโชคชะตาว่าเป็นเรื่องงมงาย แต่เรากลับเอาวัวมาทายโชคชะตาของประเทศหรือบ้านเมืองผ่านทีวีพูลได้ แถมเวลาถ่ายทอดไม่มีข้อความ "โปรดใช้วิจารณญาณในการชม" ด้วย อืมมมม

สเตตัสในเฟซบุ๊ก, 7 พ.ค. 2555

สมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐดูแลความปลอดภัยคนงานในอุตสาหกรรมอันตราย

Posted: 07 May 2012 12:57 AM PDT

(7 พ.ค.55) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ออกแถลงการณ์กรณีเกิดเหตุระเบิดในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้รัฐบาลมีแนวนโยบายต่อการป้องกันให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนักอันตราย มีแนวนโยบายที่รอบด้านและชัดเจนเรื่อง มาตรฐานการปล่อยมลพิษ รวมถึงมีแนวนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการสร้างความร่วมมือประสานงาน ตลอดจนการประชุม ปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานในพื้นที่ เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัญหาที่แท้จริงและการแสวงหาหนทางและการป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ

00000


แถลงการณ์

แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์สารเคมีระเบิดในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
ทำให้มีแรงงานเสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บ 129 คน เมื่อ 5 พฤษภาคม 2555
และขอเรียกร้องรัฐบาลต่อการมีแนวนโยบายที่ชัดเจนต่อการคุ้มครองแรงงาน
ให้เกิดความปลอดภัยจากการทำงานในอุตสาหกรรมอันตรายในประเทศไทย
“รัฐอย่าทำหน้าที่เพียงติดพลาสเตอร์ ทายาแดง ให้กินแอสไพริน เพราะเป็นการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น”

 

สืบเนื่องจากสถานการณ์สารเคมีโทลูอีน (Toluene) บริเวณโรงเก็บสารตัวทำละลายของบริษัทบี เอส ที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้เกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงจนลุกไหม้ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ส่งผลให้มีแรงงานเสียชีวิต 12 คน และบาดเจ็บกว่า 129 คน ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทในเครือของบริษัทกรุงเทพซินธิติ จำกัด (BST) ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางสงเคราะห์ที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตยางรถยนต์ ยางชิ้นส่วนยานยนต์ พื้นรองเท้าพลาสติก และอุปกรณ์กีฬา โดยเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตยางสังเคราะห์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชีย

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อแรงงานและครอบครัวที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการทำงานในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่อีกไม่กี่วันจะเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2555 ขณะเดียวกันก็ขอชื่นชมรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์อย่างละเอียดโดยทันที

แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ระเบิดดังกล่าวกลับเป็นเพียงภาพสะท้อนถึงปลายทางรูปธรรมของสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยจากการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆในประเทศไทย ที่ยังต้องเผชิญกับอุบัติเหตุจากการทำงานจนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง แม้รัฐบาลไทยจะมีแนวนโยบายหรือมาตรการในการจัดการกับปัญหา แต่พบว่ารัฐยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ทั้งๆที่ข้อมูลจากหอการค้าไทย ระบุว่าสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทย 10 อันดับแรก ปี 2554 ในลำดับที่ 6 7 และ 8 คือ เม็ดพลาสติก , ผลิตภัณฑ์ยาง และเคมีภัณฑ์ มูลค่า 265,312 , 252,969 และ 250,046 ล้านบาท ตามลำดับ แต่ชีวิตของแรงงานกลับแปรผกผันกับตัวเลขการส่งออกดังกล่าว
ในการนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องด้วยเหตุผลสำคัญจำนวน 8 ประการ ดังต่อไปนี้

(1) แม้จะมีการระบุว่าเหตุระเบิดครั้งดังกล่าวนี้อยู่ในช่วงระหว่างการปิดโรงงานเพื่อซ่อมบำรุงประจำปี แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว โรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่เมื่อเดินเครื่องการผลิตไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะต้องมีการปิดซ่อมบำรุงเพื่อทำการตรวจซ่อมบำรุงเครื่องจักรและเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาบางตัวที่ถึงรอบการหมดอายุ กรณีดังกล่าวหากเป็นการซ่อมบำรุงปกติในระหว่างที่มีการเดินเครื่องการผลิต ทางโรงงานจะมีหน่วยซ่อมบำรุงดูแลเป็นการเฉพาะ แต่หากเป็นการซ่อมบำรุงเพื่อทำการตรวจเช็คทั้งหมด ทางโรงงานจะมีการว่าจ้างบริษัทภายนอกเข้ามาทำการซ่อมบำรุง บ่อยครั้งที่การจ้างงานภายนอกมาพร้อมกับความไม่ปลอดภัยของแรงงานที่เข้ามาทำงาน เนื่องจากแรงงานกลุ่มที่เข้ามาซ่อมบำรุงนี้ ไม่ใช่แรงงานประจำที่มีความชำนาญพื้นที่หรือมีความรู้พื้นฐานเพียงพอกับระบบการผลิตของโรงงาน หรือคุ้นเคยกับการทำงานในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงของสารเคมีที่มีไอระเหยและสามารถติดไฟได้ง่าย รวมถึงความเข้มงวดและความตระหนักของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบการ (จป.) มีน้อย ทำให้โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานแบบครั้งนี้ด้วยความประมาทจึงมีสูงมาก

(2) สืบเนื่องจากเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ได้ให้ความเห็นต่อการดำเนินโครงการของบริษัทกรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด ว่าเป็นโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 67 วรรค 2 ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าวได้ระบุชัดเจนว่าการดำเนินการของโรงงานยังขาดการประเมินความเสี่ยงในเรื่องอุบัติภัย ทั้งๆ ที่โครงการฯมีการใช้วัตถุดิบสารเคมีหลายชนิดทั้งสารไวไฟและสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะขาดการประเมินในเรื่องของการแพร่กระจายของสารพิษที่เกิดจากเหตุไฟไหม้ ระเบิดหรือไฟไหม้พร้อมกับเหตุระเบิด นอกจากนี้ยังขาดการประเมินความปลอดภัยในช่วงการซ่อมบำรุงที่อาจจะต้องใช้บุคคลากรจากภายนอกด้วย ความเสี่ยงจะแตกต่างกันไปจากการใช้บุคลากรของบริษัทอย่างเดียว

นอกจากนั้นแล้วในรายงานยังระบุอีกว่า โรงงานแห่งนี้ไม่มีการระบุเรื่องการประเมินความเสี่ยงและศักยภาพการรองรับอุบัติภัย ทั้งในเรื่องของการขาดข้อมูลแสดงทิศทางการแพร่กระจายของสารเคมีหากเกิดอุบัติภัย, ขาดข้อมูลการแจ้งเหตุหรือการสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน, ไม่ปรากฏแผนรวมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไม่กำหนดการซ้อมแผนรับมืออุบัติภัยอย่างสม่ำเสมอและครอบคลุมทุกชุมชนที่มีความเสี่ยง, ขาดการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี และขาดแผนการดูแล เยียวยา และฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบและสิ่งแวดล้อมจากอุบัติภัย เหล่านี้คือข้อมูลสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงการที่โรงงานไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานแม้แต่น้อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ เมื่อวันที่ 5-6 มีนาคม พ.ศ.2552 โรงงานแห่งนี้ก็ได้เกิดสารเคมีรั่วไหลขณะขนถ่ายสารเคมีขึ้นมาจากท่าเรือมาบตาพุดมาแล้วครั้งหนึ่ง

(3) โทลูอีน (Toluene) เป็นของเหลวใสและเป็นสารไวไฟที่ถือว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ที่ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สารเคมีประเภทนี้ส่งผลต่อสุขภาพสูง คือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อไขกระดูกและโลหิตอาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด สำหรับแรงงานที่ต้องทำงานอยู่กับสารเคมีประเภทนี้เป็นเวลานาน ต้องเผชิญกับร่างกายที่อ่อนเพลีย มีอาการเหมือนมึนเมา คลื่นไส้ บางคนมีอาการวิงเวียน หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากหายใจไม่ออก สำหรับผิวหนัง ถ้าถูกโทลูอีนเป็นเวลานานซ้ำที่เดิมจะเป็นแผลอักเสบ แน่นอนข้อมูลดังกล่าวนี้แรงงานโดยทั่วไปกลับไม่ทราบและขาดการเข้าถึงเพื่อการป้องกันในระหว่างการทำงานจนเกิดความสูญเสียขึ้น

(4) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ว่าด้วยการกระจายความเจริญจากเมืองหลวงไปสู่ภูมิภาค ภายในนิคมมีพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ โรงงานอุตสาหกรรมกว่า 300 โรงงาน มีอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ เหล็ก โรงกลั่นน้ำมัน และโรงไฟฟ้า ทั้งนี้กว่า 50% ของโรงงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่และชุมชนโดยรอบ จนนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ จนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 ศาลปกครองจังหวัดระยองได้พิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษ บังคับให้โรงงานในพื้นที่ต้องจัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 วรรค แต่การดำเนินการของกรมควบคุมมลพิษก็ยังล่าช้าและไม่มีมาตรการบังคับอย่างจริงจัง รวมถึงมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นรูปธรรมของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความรุนแรงครั้งล่าสุด

(5) ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปัจจุบัน (2554) ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้รับสารพิษจากสารเคมี จนประสบความเจ็บป่วย บาดเจ็บ พิการ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานปีละไม่ต่ำกว่า 200,000 ราย เสียชีวิตประมาณปีละ 800 ราย ซึ่งไม่รวมถึงผู้ใช้แรงงานภาคเกษตรกรรม แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ เรียกได้ว่า อัตราการเจ็บป่วยจากการทำงานไม่ได้ลดน้อยลง ปัจจุบันโรคที่เป็นปัญหามากที่สุดในแรงงานทุกกลุ่มในภาคอุตสาหกรรม คือ โรคกล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และโรคจากสารเคมี ซึ่งโรคเหล่านี้แรงงานมักจะถูกสำนักงานกองทุนเงินทดแทนตีความว่าไม่ใช่การเจ็บป่วยจากการทำงาน ทำให้แรงงานเข้าไม่ถึงการดูแล และนำมาสู่การฟ้องร้องคดีบ่อยครั้ง สิทธิจากระบบประกันสังคมก็ยังไม่ครอบคลุมโรคที่เกิดจากการทำงาน นี้คือพิษภัยของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่แรงงานต้องเผชิญ

สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยจากการทำงานจึงส่งผลต่อความสูญเสียทั้งทางตรง ได้แก่ รายได้ ผลิตภาพในการผลิต และทางอ้อม ได้แก่ ผลกระทบทางจิตใจและการดำรงชีวิตของลูกจ้าง ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศประมาณค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาความปลอดภัยและอาชีวอนามัยว่า จะมีค่าเสียหายประมาณร้อยละ 4 ของรายได้ประชาชาติ ในขณะที่ผลของความสูญเสียในเชิงคุณภาพชีวิตไม่อาจประเมินหรือทดแทนได้

(6) แม้ว่าในโรงงานหรือสถานประกอบการแต่ละแห่งจะมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบการ (จป.) ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน อย่างไรก็ตามกลับพบว่าความเสี่ยงในสถานประกอบการก็ยังไม่ได้ลดลง สุขภาพของลูกจ้างยังเผชิญกับความเสี่ยงจากการทำงาน เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้น พบว่าสถานประกอบการยังขาดการบังคับใช้กฎหมายและการรณรงค์เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังเช่นกรณีการเข้ามาของบริษัทซ่อมบำรุงภายนอกในบริษัท BST เป็นต้น รวมทั้งยังไม่มีการยกระดับและปรับปรุงมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยตามปัจจัยเสี่ยงให้ทันต่อความก้าวหน้าในการผลิตทางภาคอุตสาหกรรม เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงจากความไม่ปลอดภัยในการทำงานยังเป็นปัญหาสำคัญของสถานประกอบการในย่านอุตสาหกรรมแต่ละพื้นที่

จากตัวอย่างของอุบัติภัยจากสารเคมีในพื้นที่มาบตาพุด เช่นในช่วงปลายปี 2550 ถึงต้นปี 2551 พบว่าเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมี 4 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ที่โรงงานบริษัทแพรกซ์แอร์ (Praxair) เป็นโรงงานผลิตน้ำแข็งแห้ง ตั้งอยู่ตำบลมาบตาพุด เกิดเหตุท่อและถังแก๊สแอมโมเนียระเบิด เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2550

ครั้งที่ 2 โรงงานไทยออร์แกนนิกเคมิคัลส์ ในเครือบริษัทอดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลล์ ตั้งอยู่ในนิคมเหมราชตะวันออก เกิดเหตุก๊าซคลอลีนรั่วไหลเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2551 ทางนิคมฯ ไม่มีการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ชุมชนใกล้เคียงทราบ

ครั้งที่ 3 โรงงานพีทีที ฟีนอลในเครือ ปตท. อยู่ในนิคมเหมราชตะวันออกเกิดเหตุสารคิวมีนรั่วไหลในปริมาณมากระหว่างทดลองเดินเครื่องเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2551 มีคนงานกว่า 112 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด โดยแหล่งข่าวจากภายในนิคมระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 2 คน แต่ทางบริษัทและสาธารณสุขจังหวัดแถลงข่าวว่าไม่มีผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด

ครั้งที่ 4 โรงงานพีทีที ฟีนอลในเครือปตท.ได้เกิดเหตุระเบิดทำให้มีสารเคมีรั่วไหลเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2551

นอกจากนั้นแล้วจากข้อมูลของสำนักความปลอดภัยแรงงาน รายงานว่าในปี 2553 มีสถานประกอบการเพียง 17,883 แห่ง (ร้อยละ 4.76) จากจำนวนรวมทั้งประเทศ 375,914 แห่ง ที่ได้รับการตรวจความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม เป็นการตรวจด้วยสายตาไม่ใช่การตรวจด้วยเครื่องมือตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ และสรุปได้ว่าโดยเฉลี่ยในแต่ละปีทางกระทรวงแรงงานสามารถส่งเจ้าพนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจด้านความปลอดภัยได้ประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนสถานประกอบการทั้งหมดเท่านั้น

(7) เมื่อมาพิจารณาความเจริญเติบโตของท้องถิ่น คือ จังหวัดระยอง กับภาระความรับผิดชอบต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กลับพบว่าท้องถิ่นต้องรับผิดชอบหลายเรื่องโดยเฉพาะจากปัญหามลพิษ แต่ท้องถิ่นกลับไม่มีงบประมาณเพียงพอต่อการจัดการในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากพบว่าอุตสาหกรรมต่างๆ ในจังหวัดระยองเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับการยกเว้นการจ่ายภาษี ทำให้รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บจากโรงงานหรือสถานประกอบการจึงมีน้อยมาก เมื่อระบบภาษีมีข้อยกเว้น งบประมาณที่ท้องถิ่นได้รับจึงไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ปัญหาที่รุนแรงขึ้นทุกวัน ทั้งๆ ที่ผู้สร้างมลพิษต้องเป็นผู้จ่ายก็ตาม

(8) นับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมาที่ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขึ้นมาภายใน 1 ปี ตามมาตรา 52 เพื่อทำหน้าที่ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน แก้ไข และร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของภาครัฐและเอกชน

อย่างไรก็ตามกลับพบว่ากระบวนการจัดตั้งสถาบันฯ เป็นไปด้วยความเร่งรีบ รวมทั้งยังพบว่าหน้าที่ของสถาบันที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบัน ยังขาดการทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนเพื่อเสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาแก้ไขปัญหา และศึกษาวิเคราะห์เพื่อเสนอมาตรการส่งเสริมการป้องกันความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินการเพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหา จัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประกันสิทธิของบุคคลที่จะได้รับหลักประกันความปลอดภัยจากการทำงาน

ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ที่ผ่านมาการดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ภาครัฐมุ่งเน้นไปแก้ปัญหามลพิษและอุบัติภัยซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้ตระหนักอย่างเพียงพอถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ “แรงงาน” และ “ประชาชน” ในพื้นที่ รวมทั้งขาดการตระหนักและเรียนรู้ถึงบทเรียนและประสบการณ์ของประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาแล้ว ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษและผลกระทบในทางลบอื่นๆ ตามมาอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องความไม่ปลอดภัยจากการทำงานของแรงงานในฐานะทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของการจ้างงาน เพื่อที่จะได้เตรียมการในการมียุทธศาสตร์และการวางนโยบายอย่างไรที่จะป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นหรือให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

(1) รัฐบาลต้องมีแนวนโยบายต่อการป้องกันให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนักอันตราย เนื่องจากอุตสาหกรรมประเภทนี้เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของอุตสาหกรรมไทย รวมถึงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนับพันล้านหรือหมื่นล้าน โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดระบบที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ละส่วนต้องเข้ามารับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในการสร้างให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานให้มากขึ้น มีการทำงานอย่างบูรณาการของหน่วยงานทุกระดับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น บทบาทของจังหวัด ท้องถิ่น เช่น เทศบาล บทบาทของกรม กระทรวงต่างๆ โดยเฉพาะบทบาทของกระทรวงแรงงานต่อการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิแรงงาน

(2) รัฐบาลต้องมีแนวนโยบายที่รอบด้านและชัดเจนเรื่อง มาตรฐานการปล่อยมลพิษ เมื่อรัฐบาลได้ปล่อยให้มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากที่เกินกว่าพื้นที่จะรองรับได้จริง เนื่องจากพบว่าแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและชุมชนใกล้เคียงต้องเผชิญกับมลพิษจากสารเคมีอย่างรุนแรง แม้จำนวนมลพิษที่แต่ละโรงงานปล่อยออกมาจะได้มาตรฐานการปล่อยมลพิษก็ตาม แต่เมื่อทุกโรงงานต่างปล่อยมลพิษและพัดมารวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ ซึ่งเกินกำลังความสามารถของธรรมชาติที่จะรองรับได้ในพื้นที่นั้นๆได้ ทำให้ส่งผลต่อระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตเลวลงอย่างที่แรงงานและชุมชนต้องประสบอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องพิจารณาระเบียบ กฎเกณฑ์ในการจัดตั้งโรงงาน โดยคำนึงถึงศักยภาพในการรองรับของพื้นที่ เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีโรงงานตั้งรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาในการควบคุมดูแล และทำให้ไม่สามารถระบุโรงงานที่เป็นแหล่งปล่อยสารมลพิษได้ จึงควรพิจารณาระเบียบกฎเกณฑ์ในการจัดตั้งโรงงานเสียใหม่ โดยคำนึงถึงศักยภาพความสามารถในการรองรับมลพิษของพื้นที่ด้วย

(3) รัฐบาลควรมีแนวนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการสร้างความร่วมมือประสานงาน ตลอดจนการประชุม ปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานในพื้นที่ เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัญหาที่แท้จริงและการแสวงหาหนทางและการป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ เพราะสหภาพแรงงานถือเป็นกลไกสำคัญในการทำงานด้านการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานกับแรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการแต่ละแห่ง โดยเฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายแก่แรงงานในพื้นที่

ทั้งนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะขอยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายเดิมชัย สะสมทรัพย์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม เนื่องในวันความปลอดภัย และเชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยจะคำนึงพร้อมให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน มากกว่าเพียงตัวเลขการส่งออกที่ทะยานสูงขึ้นทุกปีตามแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศไทย ที่กลับซ่อนตัวเลขชีวิตแรงงานผู้สูญเสียโดยปราศจากการตระหนักอย่างจริงจัง และขอให้ความสูญเสียครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย

ขอแสดงความนับถือ

นายชาลี ลอยสูง
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

แถลงผ่านสื่อสาธารณะเมื่อ 7 พฤษภาคม 2555
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยประกอบด้วย
1. สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย
2. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
3. สหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย
4. สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย
5. สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
6. สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการ จังหวัดภูเก็ต
7. สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย
8. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย -อ้อมใหญ่
9. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านพระปะแดง
10. กลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า
11. กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก
12. กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง
13. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง
14. กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง
15. มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
16. โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
17. สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
18. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
19. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
20. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กทม.
21. สมาคมรวมไทยในฮ่องกง
22. เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
23. มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์
24. มูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์
25. มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน
26. มูลนิธิเพื่อนหญิง
27. กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
28. กลุ่มเพื่อนประชาชน
29. เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM)
30. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สภาฯ ผู้ป่วยจากการทำงาน ร้องจัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ

Posted: 06 May 2012 11:14 PM PDT

7 พ.ค. 55 – สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ …

แถลงการณ์ฉบับที่ 1

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน ซึ่งเป็นองค์กรที่รวบรวมสมาชิกที่มีทั้งคนงานและชุมชนที่ประสบปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานและมลพิษสิ่งแวดล้อม รวมกลุ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ดำเนินการร่วมเรียกร้องสิทธิ และ ผลักดันนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กับ รัฐบาลในนามสมัชชาคนจนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้นำด้านสุขภาพในพื้นที่อุตสาหรรมต่างๆที่ทำงานขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งยังเข้าร่วมเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เหตุการณ์ระเบิดของโรงงานบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบพุด  จังหวัดระยอง ผลิตสารโพลีเมอร์ผสมกับยาง เป็นชิ้นส่วนในการผลิตถุงมือยาง ทำให้เกิดไฟไหม้อย่างรุนแรงและมีสารสารโทลูอีน และสารอื่นๆ ที่ระเหยคละคลุ้งส่งผลกระทบให้กับชุมชนเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้ในอนาคต เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ถือว่าเป็นความบกพร่องประมาทเลินเล่อ ของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สะเทือนขวัญต่อสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง ที่มีคนงานเสียชีวิตฉับพลัน 12 ศพ บาดเจ็บกว่า 130 ราย และในวันต่อ จากโรงงานระเบิดเพียง 4 กิโลเมตร ก็เกิดสารเคมีรั่วไหลภายในบริษัทไทยคลอ คาลี ดีวิชั่น จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ทำให้คนงานเจ็บป่วยฉับพลันกว่า 50คน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อยมาจนเป็นที่เดือดร้อนรำคาญของคนในชุมชนดังกล่าว เหตุการณ์ระเบิดโรงงานครั้งนี้นับเป็นข่าวสร้างความเสียหายอีกครั้งหนึ่งต่อภาพลักษณ์ของสังคมและประเทศชาติ  ที่อาจทำให้ถูกมองว่ามีแต่นโยบายที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาอุตสาหกรรม  จนละเลยขาดระบบการป้องกันตรวจสอบ จากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ เมื่อวันที่ 10พฤษภาคม 2555 ผ่านมาจะครบรอบ 19 ปี สถานการณ์เรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน ชีวิตคนงานก็ยังต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต เสี่ยงภัยอยู่ทุกวินาที ทั้งภัยเครื่องจักรอันตราย และจากสารเคมีที่ร้ายแรง  รวมไปถึงปัญหาในการเข้าไม่ถึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงมีความเห็นและขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล  ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ต่อกรณีนี้ดังนี้

ข้อเสนอเร่งด่วนดังนี้

1.ให้คนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้ได้เข้าถึงสิทธิการดูรักษาอย่างดีและได้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทดแทน                                                                                                               

2.ให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยเพื่อแสดงความรับผิดชอบนอกเหนือกฎหมาย

3.ให้ตรวจสอบสถานประกอบการณ์ที่มีอันตรายโดยเร่งด่วนและยุติการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ปลอดภัย

ข้อเสนอในระยะยาว ดังนี้

1.รัฐต้องมีนโยบายแผนงานแห่งชาติพัฒนาระบบงานอาชีวเวชศาสตร์เพื่อให้มีการผลิตบุคลกรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในระยะยาว การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน การจัดบริการที่สามารถทำให้ลูกจ้าง นายจ้างเข้าถึงได้ง่าย

2.ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

3.ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงานตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่องโดยลูกจ้างมีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล.เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง

4.รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ 

-ฉบับที่ ๑๕๕ ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย  ค.ศ.๑๙๘๑ (พ.ศ.๒๕๒๔) 

-ฉบับที่ ๑๖๑ ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.๑๙๘๕ (พ.ศ.๒๕๒๘) 

-ฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.๒๐๐๖ (พ.ศ.๒๕๔๙) 

5.ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ  เพื่อนำไปสู่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ในการทำงาน

6.การบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง

7.เร่งจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และ บูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทย โดยเน้นมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา

8.การงดใช้แร่ใยหิน  ชดเชยผู้ป่วย

9.จัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ

ณ.วันที่ 7 พฤษภาคม 2554

สมบุญ สีคำดอกแค สภาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย                        

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น