ประชาไท | Prachatai3.info |
- ทุนนิยาม101: แรงงานสู้นายจ้างตุกติกเลี่ยงปรับค่าแรง 300 บาท
- ชุมนุมต่อเนื่อง ร้อง “ยิ่งลักษณ์” เปิดเจรจาแก้ปัญหา “สมัชชาคนจน”
- "ปานเทพ" เชื่อเสื้อแดงตาสว่างเพราะพันธมิตรฯ ไม่ออกมาเคลื่อนไหว
- ชาวบ้านเชียงรายเฮ ศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว “คดีฟ้อง 1.12 ล้าน” ค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล
- ร้อง “ชมรมเสียงสตรีฯ” ถูกอิทธิพลคุกคามปมปัญหาที่ สปก.
- กสทช. คลอดเกณฑ์จัดระเบียบวิทยุชุมชน
- แฉรถขนเหล็กบริษัทใหญ่ เลี่ยงภาษีไม่ติดป้ายทะเบียน
- กรุงเทพโพลล์สำรวจ “ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ”
- ประชาธรรม: ปรองดองฉบับ “นิติราษฎร์” จำแนก 4 กลุ่มก่อนนิรโทษกรรม
- เปิด 4 ข้อเสียงสันติจากหมู่บ้าน เผยเด็กชายแดนใต้อาการหนัก
- เศรษฐศาสตร์การล้ออย่างเป็นประชาธิปไตย (Economics of Democratic Parody)
- เริ่มไต่สวนการตายนักข่าวญี่ปุ่น-2 เสื้อแดงถูกยิง 10 เมษา
- คนงานชินเอประท้วงกระทรวงแรงงาน จี้ให้นายจ้างรับกลับ
ทุนนิยาม101: แรงงานสู้นายจ้างตุกติกเลี่ยงปรับค่าแรง 300 บาท Posted: 21 May 2012 02:11 PM PDT ทุนนิยาม 101 ตอนล่าสุด แรงงานภาคตะวันออกเผยสารพัดวิธีนายจ้างตุกติกปรับค่าจ้าง 300 บาท ทั้งเอาสวัสดิการอื่นๆ มารวมเป็นค่าแรงอัตราใหม่ หรือเปลี่ยนการคิดค่าจ้างจากรายเดือนเป็นรายวันเพื่อให้จ่ายได้เท่าเดิม ชี้เรื่องนี้คนงานต้องพึ่งศาลแรงงาน คลิกเพื่อรับชม "ทุนนิยาม 101: แรงงานสู้นายจ้างตุกติกเลี่ยงปรับค่าแรง 300 บาท" 22 พ.ค. 55 - รายการทีวีออนไลน์ "ทุนนิยาม 101" (Capitalism 101) โดยกลุ่มทุนนิยมที่สังคมกำกับ (Embedded Capitalism) "วิทยากร บุญเรือง" ทำหน้าที่พิธีกรรายการ แทน "เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร" ซึ่งติดภารกิจ โดยทุนนิยาม 101 ตอนนี้ได้เชิญ "บุญยืน สุขใหม่" ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ร่วมประเมินสถานการณ์หลังรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรง 40% ทั่วประเทศ ซึ่งมีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. โดยนายบุญยืนเผยว่า ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะประกาศขึ้นค่าจ้างวันละ 300 บาทใน 7 จังหวัด และอีกร้อยละ 40 ทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 นั้น ก่อนหน้านี้หลายสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกได้ยื่นข้อเรียกร้องกับนายจ้างตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยขอให้สถานประกอบการณ์ปรับค่าจ้างให้พนักงานทุกคนตามผลต่างของค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลประกาศ ไม่ใช่ปรับขึ้นค่าจ้างเฉพาะคนที่ไม่มีรายได้ถึงระดับค่าจ้างขั้นต่ำ ตัวอย่างเช่นที่ จ.ระยอง ค่าจ้างเดิมอยู่ที่วันละ 189 บาท อัตราใหม่หลัง 1 เม.ย. 55 อยู่ที่วันละ 264 บาท บาท หรือ 75 บาท เช่น ดังนั้นตามข้อเรียกร้องนี้คนเงินเดือห้าพัน หรือสามหมื่น จะต้องได้ค่าจ้างเพิ่มวันละ 75 บาท หรือ 2,220 บาทเท่ากัน มีการเจรจาต่อรองกัน โดยมี 15 สหภาพแรงงานที่สามารถทำเป็นข้อตกลงได้ แต่ยังมีอีก 30 สหภาพแรงงานที่อยู่ระหว่างการเจรจา นอกจากนี้ยังมีพนักงานในบริษัทอื่นๆ ที่ไม่มีสหภาพแรงงาน แต่เห็นบริษัทที่มีสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องแล้วสามารถทำได้ ก็ได้นำข้อเรียกร้องในลักษณะเดียวกันนี้ไปยื่นเจรจากับนายจ้างด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก แสดงข้อกังวลต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นกับคนงานหลังประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ของรัฐบาล เพราะมีกรณีที่สถานประกอบการรายใหญ่ไม่ยอมปรับค่าจ้าง เนื่องจากเกรงว่าจะมีการยื่นข้อเรียกร้องของพนักงานในบริษัทที่รับเหมาช่วงการผลิตอีกที นอกจากนี้ยังมีหลายบริษัทเลือกใช้วิธีประกาศเลิกกิจการ แล้วเปิดกิจการใหม่แล้วรับพนักงานแล้วเริ่มนับอายุงานใหม่ เพื่อเลี่ยงการปรับค่าจ้างในอัตราที่สูง นอกจากนี้ ยังมีนายจ้างหลายสถานประกอบการที่ใช้วิธีปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาลกำหนดจริง แต่หันไปปรับลดสวัสดิการอื่นๆ ลงเพื่อทำให้สถานประกอบการจ่ายค่าจ้างได้เท่าเดิม โดยนายบุญยืนกล่าวว่า กฎหมายคุ้มครอง 2 ฉบับ ม.20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 สภาพการจ้างอื่นใดดีอยู่แล้ว ห้ามนายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง สหภาพแรงงานสามารถฟ้องร้อง หรือร้องเรียนไปที่แรงงานจังหวัดให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย นอกจากนี้ ม.123 ห้ามนายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจะเป็นคุณยิ่งกว่า ดังนั้นการที่นายจ้างเอาค่าเช่าบ้าน เบี้ยขยัน เบี้ยเลี้่ยง นำมาคิดรวมกับค่าจ้างแล้วบอกว่านี่เป็นค่าจ้างที่ปรับแล้วถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ดังนั้นถ้านโยบายรัฐบาลให้เพิ่มค่าจ้าง 300 บาท สวัสดิการที่คงอยู่แล้ว ก็ต้องคงอยู่ ส่วนค่าจ้างขั้นต่ำที่ยังไม่ครบ 300 บาท นายจ้างก็ต้องไปเติมให้ครบ ไม่อย่างนั้นคนงานก็ต้องฟ้องศาลเพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ถ้าไม่นำไปฟ้องศาล เรื่องนี้ก็จะไม่มีโจทย์ ไม่มีจำเลย นายจ้างจะทำอย่างไรก็ได้ นอกจากนี้ ยังพบวิธีที่นายจ้างบางโรงงาน เลี่ยงการปรับค่าจ้างในอัตราที่ประกาศใหม่ โดยใช้วิธีเปลี่ยนการคำนวณค่าจ้างจากรายเดือนที่เอาเงินเดือนหารด้วย 30 วัน ก็เปลี่ยนเป็นรายวันเอา 26 วัน หาร โดยมีหลายกรณีใน จ.ระยอง ที่เดิมพนักงานได้เงินเดือนละ 6,000 บาท หาร 30 ก็คือมีรายได้ 200 บาท ต่อมาพอมีประกาศอัตราค่าจ้างใหม่ของระยองคือจากวันละ 189 บาท ก็เป็นวันละ 264 บาท บางสถานประกอบการก็เลี่ยงการปรับขึ้นค่าจ้าง แต่ใช้วิธีคำนวณค่าจ้างแบบรายวันแทน โดยเอาเงินเดือนเดิมหาร 26 วัน ก็เท่ากับวันละ 264 บาท หรือเท่ากับมีรายได้เดือนละ 6,000 บาทเท่าเดิม แล้วเอาสัญญาจ้างงานฉบับใหม่ไปให้ลูกจ้างเซ็นยินยอม ซึ่งเรื่องนี้สำคัญอยู่ที่ตัวพนักงานเองต้องยืนยันรักษาสิทธิตัวเอง โดยจะไปหวังพึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานก็คงพึ่งได้ยาก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
ชุมนุมต่อเนื่อง ร้อง “ยิ่งลักษณ์” เปิดเจรจาแก้ปัญหา “สมัชชาคนจน” Posted: 21 May 2012 01:18 PM PDT สมัชชาคนจน 6 เครือข่ายกรณีปัญหา เข้ากรุงทวงสัญญาแก้ปัญหารายกรณีร้องต่อรัฐบาลทำหน้าที่ให้สมกับที่คนรากหญ้าไว้วางใจ เปิดการเจราจาแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน หลังปัญหาคั่งค้างมา 20 ปี เปลี่ยนมือมากว่า 7 รัฐบาล จากเมื่อวันที่ 20 พ.ค.55 ชาวบ้านที่ได้รับผลกระจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในนามสมัชชาคนจนนำโดยนายอานนท์ ศรีเพ็ญพร้อมกับชาวบ้านประมาณ 400 คนจาก 6 เครือข่ายกรณีปัญหา ประกอบด้วย เครือข่ายเขื่อน เครือข่ายป่า เครือข่ายที่ดิน เครือข่ายประมงพื้นบ้าน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก สภาเครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงาน ได้ร่วมกันชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องต่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัติ นายกรัฐมนตรี ให้เปิดการเจราจาแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน วันที่ 21 พ.ค.55 เวลา 10.30 น. นายสมเกรียติ พ้นภัยแกนนำชาวบ้านกรณีเขื่อนปากมูล ได้ร่วมกับชาวบ้านประมาณ 300 คนทำกิจกรรมเดินรณรงค์ ชี้แจงให้กับประชาชนในกรุงเทพฯ เข้าใจปัญหาของสมัชชาคนจนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นเวลา 20 ปีแล้วมากกว่า 7 รัฐบาล และได้เดินรณรงค์รอบๆ ทำเนียบรัฐบาล ต่อมานายยงยุทธ นวนิยม ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ก่อนที่จะยื่นพร้อมกับหนังสือถึงรัฐบาลให้กำหนดวันหมายวันเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน โดยมีนางอัจจิมา จันสุวานิชย์ ตัวแทนสำนักรับเรื่องราวร้องทุกสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีผู้รับหนังสือ ด้านนางอัจจิมา ได้กล่าวกับชาวบ้านที่มายื่นหนังสือว่าจะรับประสานรายงานให้ท่ายกทราบต่อไป นายสมเกรียติ พ้นภัยแกนนำชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าพวกเราชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้ง 6 เครือข่ายจะชุมนุมรอคอยวันนัดหมายกำหนดวันเจรจาจากฟากรัฐบาล และยังหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของคนรากหญ้า นั้นจะแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
"ปานเทพ" เชื่อเสื้อแดงตาสว่างเพราะพันธมิตรฯ ไม่ออกมาเคลื่อนไหว Posted: 21 May 2012 12:42 PM PDT "พิชาย รัตนดิลก" ชี้เสื้อแดงอุปถัมภ์คงฟังข้อเสนอ "ทักษิณ" ที่ให้ลืมอดีตแล้วหันหน้าปรองดอง แล้วอำนาจรัฐจะหันมาจัดการแดงกลุ่มที่วิจารณ์ทักษิณ ด้านโฆษก พธม. เชื่อการที่เสื้อเหลืองไม่ออกมาเคลื่อนไหว-ประชาธิปัตย์จึงไม่มีมวลชน ดังนั้นเพื่อไทยจึงใช้อำนาจได้เต็มที่โดยเลือกไปจับมืออำมาตย์ ทำให้เสื้อแดงตาสว่างว่าถูกหลอก วานนี้ เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานความเห็นของ ผศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งกล่าวระหว่างร่วมรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี โดย ผศ.ดร.พิชาย กล่าวว่า สิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณพูดในวันที่ 19 พ.ค.ให้เสื้อแดงลืมอดีตแล้วหันหน้าเข้าปรองดอง คนเสื้อแดงส่วนใหญ่ที่เป็นแดงอุปถัมภ์คงฟัง และที่เป็นลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างนายจตุพร นายณัฐวุฒิ ก็คงหยุด ส่วนแดงแบบนางธิดา ซึ่งเป็นเมียอำมาตย์คงไม่พูดอะไรมากเพราะหากไม่หยุดเดี๋ยวหมอเหวงไม่ได้ตำแหน่ง แต่ก็ยังไว้ฟอร์มอยู่บ้าง ด้วยการใช้ภาษาให้ฟังดูคลุมเครือ แต่อีกพวกที่ไม่ฟังและวิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คือพวกที่มีอิทธิพลในเฟซบุ๊ก แต่ไม่มีอิทธิพลในการเคลื่อนมวลชนมากนัก แล้วถ้ายังเคลื่อนไหวต่อไป จนวันหนึ่งสร้างความเสี่ยงต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นไปได้ที่อำนาจรัฐจะหันมาจัดการกับคนกลุ่มนี้ การพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ เหมือนเป็นการทิ้งระเบิดใส่กลุ่มคนเสื้อแดง เพียงแต่คิดว่าตัวเองคุมแดงส่วนใหญ่ได้ ส่วนแดงกลางๆ ที่รักความเป็นธรรม อาจไม่เอาทั้่ง พ.ต.ท.ทักษิณ และก็ไม่เอาพวกล้มเจ้าด้วย ซึ่งเพื่อนนักวิชาการของตนก็มีที่คิดแบบนี้ ที่ไม่กล้าที่จะเป็นแดงแล้ว ผศ.ดร.พิชาย กล่าวด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณประเมินมวลชนต่ำไป ถ้ายังดันทุรังออก พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อนิรโทษกรรมตัวเอง หรือแม้กระทั่งแก้รัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจศาล องค์กรอิสระ และอำนาจประชาชน ก็จะต้องเชิญหน้ากับการต่อต้าน ไม่เฉพาะกลุ่มคนที่ไม่เอา พ.ต.ท.ทักษิณอย่างเดียว อาจมีกลุ่มคนที่อดีตเคยเอา พ.ต.ท.ทักษิณออกมาร่วมด้วย และยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่อาจได้ผลกระทบจากการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้เผชิญหน้าเซอร์ไพรส์อย่างคาดไม่ถึงจากมวลชน นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า คนเสื้อแดงเคยมองว่าเลือกพรรคเพื่อไทยเข้าไปเพื่อต่อกรกับอำมาตย์แต่สรุปก็ไปจับมือกับอำมาตย์ เหมือนพันธมิตรฯ ที่เคยเอานายอภิสิทธิ์เข้าไปเพราะหวังจะปฏิรูปการเมือง แต่แล้วก็ไปจับมือนายเนวิน ทั้งหมดก็เป็นเพียงการรวมกลุ่มอำนาจเพื่อให้ตัวเองมีอำนาจนานเท่าที่จะนานได้ เห็นแก่อำนาจมากกว่าประชาชน บทเรียนที่ได้คือ คนเสื้อแดงบางกลุ่มจะได้ตื่น ที่คิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ก็จะตาสว่าง กลุ่มทุน อย่างไรก็คิดแค่จะมีอำนาจ มวลชนเป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ต่างกับการขึ้นสู่อำนาจของประชาธิปัตย์ "การที่พันธมิตรฯไม่เคลื่อนมวลชน ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้ขึ้น ทำให้พลังอำนาจของประชาธิปัตย์ หรือที่คนเสื้อแดงพูดว่าขบวนอำมาตย์ ไม่มีมวลชนออกมาเคลื่อนอย่างเต็มพิกัด ทำให้พรรคเพื่อไทยไม่มีศัตรูเผชิญหน้าเป็นด่านแรก ก็เลยไม่ต้องรวมตัวสู้กับอะไร ก็มีแต่คนมีอำนาจเต็มว่าจะใช้อำนาจอย่างไร ในที่สุดก็เลือกปรองดองกับอำมาตย์เพื่อรักษาอำนาจไว้นานที่สุด แล้วความจริงก็ปรากฎ แต่ถ้าพันธมิตรฯออกมา คนเสื้อแดงก็จะรวมพลังกันสู้กับพันธมิตรฯ ถึงวันนี้ธาตุแท้ก็ยังไม่ออก มันเป็นสิ่งที่คุ้ม เสื้อแดงจะได้ตาสว่างว่าถูกหลอก สิ่งที่สู้มาจนกระทั่งมีการเสียชีวิต ทักษิณก็บอกว่ามันเป็นเพียงสิ่งปัญญาอ่อน" นายปานเทพ กล่าว นายปานเทพ กล่าวเสริมว่า พ.ต.ท.ทักษิณคิดว่าการเจรจากับอำมาตย์คือคำตอบ โดยมองข้ามมวลชนเสื้อแดง โดยเห็นเป็นเรื่องเล็ก ตนคิดว่าการที่พ.ต.ท.ทักษิณตัดสินใจแบบนี้ ด้านหนึ่งประเมินน้อยไปในฝ่ายต่อต้านตัวเองว่ามีจำนวนน้อย อีกด้านหนึ่งประเมินต่ำไปว่าสามารถเรียกมวลชนตัวเองออกมาได้มากเท่าเดิม แล้วเรื่อง พ.ร.บ.ปรองดอง หากออกมา พันธมิตรฯเคลื่อน แล้วถ้านิรโทษกรรมครอบคลุมถึงฝ่ายทหาร เสื้อแดงเคลื่อน พ.ต.ท.ทักษิณจะเจอต่อต้านจากหลายฝ่าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
ชาวบ้านเชียงรายเฮ ศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว “คดีฟ้อง 1.12 ล้าน” ค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล Posted: 21 May 2012 12:33 PM PDT ศาลจังหวัดเชียงรายจำหน่ายคดีชั่วคราว กรณีบริษัทเอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหาย 1,120,000 บาท จากชาวบ้านที่คัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล ชี้ให้รอคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีชาวบ้านยื่นฟ้องเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จากการที่บริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่น จ.เชียงราย เป็นจำเลยจำนวน 9 คน ฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1160 / 2553 ศาลจังหวัดเชียงราย เรียกเงินกว่า 1,120,000 บาท จากเหตุที่ชาวบ้านไปชุมนุมคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่บ้านไตรแก้ว ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ต่อมาวันนี้ (21 พ.ค. 55) ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว โดยให้รอผลคำพิพากษาจากศาลปกครองเชียงใหม่ที่ชาวบ้านยื่นฟ้องเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หากผลเป็นเช่นใดให้คู่ความขอยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาของศาลปกครองเป็นที่สุด วานนี้ (21 พ.ค.55) เวลา 9.00 น. ห้องพิจารณาคดีที่ 8 ศาลจังหวัดเชียงราย ศาลได้นัดสืบพยานโจทก์ในคดีหมายเลขดำที่ 1160 /2553 ที่บริษัท พลังงานสะอาดดี 2 จำกัด ยื่นฟ้องชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่นซึ่งรวมตัวชุมนุมคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เรียกค่าเสียหาย 1,120,000 บาท โดยเหตุดังกล่าวเกิดเมื่อกลางปี 2553 โดยในคำฟ้องระบุว่าการชุมนุมคัดค้านของกลุ่มชาวบ้านทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่ไม่สามารถก่อสร้างรั้วของโรงงานได้ตามเวลา จึงถูกผู้รับเหมาริบเงินมัดจำจำนวนกว่า 1,120,000 บาท และต่อมา กลุ่มชาวบ้านจำนวน 100 คนยื่นฟ้องคณะกรรมกำกับกิจการพลังงานต่อศาลปกครองเชียงใหม่เพื่อให้เพิกถอนใบอนุญาตฯ ที่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ จำนวนกว่า 50 คนได้ร่วมเดินทางมาฟังการสืบพยานพร้อมกับจำเลยทั้ง 9 คนด้วย ต่อมาเวลาประมาณ 10.30 ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ไว้ชั่วคราว โดยเห็นว่าประเด็นในคดีเรื่องโต้แย้งว่าการออกใบอนุญาตฯ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้นเป็นประเด็นสำคัญที่จะชี้ขาดข้อพิพาทในคดีนี้ จึงสมควรรอฟังผลคำพิพากษาคดีของศาลปกครองเชียงใหม่ที่กลุ่มชาวบ้านฟ้องขอเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวเสียก่อน และเมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเป็นประการใด ให้โจทก์หรือจำเลยแถลงขอยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาของศาลปกครองเป็นที่สุด มิฉะนั้นถือว่าคู่ความไม่ติดใจดำเนินคดีนี้ ให้จำหน่ายออกจากสารบบความโดยเด็ดขาด นายบุญซ่น วงค์คำลือ ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์กล่าวให้ข้อมูลว่า กรณีการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลนี้ ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่น จ.เชียงราย ได้คัดค้านมาตั้งแต่เมื่อปี 2552 เพราะเห็นว่าการเข้ามาของโรงงานจะส่งผลกระทบต่อวิถีเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านส่วนใหญ่ โดยตลอดเวลาได้ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานราชการให้ตรวจสอบความถูกต้องของการอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พ.ค.54 สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่นจำนวน 100 คนได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยชีวมวล ของบริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ เป็นคดีหมายเลขดำที่ 146 / 2554 และต่อเมื่อวันที่ 30 ส.ค.54 ศาลปกครองมีคำสั่งห้ามบริษัทก่อสร้างโรงงานไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ปัจจุบันบริษัทฯ จึงไม่สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ ได้ “วันนี้การที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวนั้น พวกเราถือว่าภารกิจการต่อสู้เพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตและทรัพยากรในท้องถิ่นยังไม่หมดลง เรายังคงจะร่วมกันเพื่อรักษาบ้านเกิดเราไว้ต่อไป แม้คำสั่งศาลเชียงรายจะเป็นผลดีกับเราบ้างก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวหรือกระทั่งคำสั่งศาลปกครองก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้หากพวกเรานิ่งเฉยไม่ทำอะไรต่อ” นายบุญซ่นกล่าว นายพนม บุตะเขียว ทนายความเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า คดีนี้เหตุเกิดมาจากการใช้สิทธิชุมนุมของพี่น้องกลุ่มอนุรักษ์ฯ ในคัดค้านโรงงานไฟฟ้าฯ ที่จะเข้ามาตั้งอยู่บริเวณชุมชนของตน เพื่อปกป้องวิถีชีวิตเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่รวมถึงผลกระทบที่อาจตามมา ทำให้ชาวบ้านถูกฟ้องร้องเป็นคดีนี้ โดยตลอดมากลุ่มชาวบ้านได้ใช้แนวทางการต่อสู้โดยอาศัยเรื่องสิทธิชุมชนตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้เป็นฐานในการต่อสู้คดีมาโดยตลอด ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิชุมชนของประชาชนเป็นหลักในการทำงาน “เราเห็นว่า การเข้ามาตั้งอยู่ในชุมชนของโรงงานไฟฟ้าฯ ประชาชนในพื้นที่อาจจะได้รับผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พวกเขาควรมีสิทธิในการตัดสินใจในการเข้ามาของโรงงานฯที่จะเข้ามาอยู่ในชุมชนของพวกเขาไม่น้อยกว่า 20 ปี จึงได้เข้ามาร่วมทำงานกับชาวบ้านกลุ่มอนุกรักษ์ฯ ในคดีนี้” นายพนมกล่าว นายพนมกล่าวด้วยว่า การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีไว้เป็นการชั่วคราว ส่วนหนึ่งก็เป็นผลดีกับชาวบ้านที่ลดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเดินทางมาศาลของชาวบ้านตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่าภารกิจของชาวบ้านในการรักษาบ้านเกิดของพวกเขายังไม่ได้หมดลง ประชาชนยังคงต้องติดตามและจับตาเรื่องราวเหล่านี้ต่อไป ทั้งนี้ยังมีคดีที่บริษัทฯ ฟ้องนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ ที่ส่งหนังสือขอให้ยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายปยังหน่วยงานราชการต่างๆ เป็นคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทอีก 1 คดีที่ศาลนี้ด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
ร้อง “ชมรมเสียงสตรีฯ” ถูกอิทธิพลคุกคามปมปัญหาที่ สปก. Posted: 21 May 2012 11:55 AM PDT กลุ่มสตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ พบ “ลดาวัลลิ์” ประธานชมรมเสียงสตรีฯ ร้องปัญหาถูกข่มขู่คุกคาม-แย่งชิงพื้นที่เกษตรจากกลุ่มอิทธิพล แจงไม่ใช่แค่สู้เพื่อทำกิน แต่หวังพัฒนาศักยภาพตัวเอง-ชุมชนให้เข้มแข็ง รักษาที่ดินเป็นมรดกสู่ลูกหลาน เมื่อวันที่ 20 พ.ค.55 เวลา 13.00 น.ตัวแทนกลุ่มสตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้จำนวน 20 คนนำโดยนางอุบล จันทร์ดำ และนางสาวชูศรี โอฬากิจ จากชุมชนไทรงามพัฒนา ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี เดินทางเข้าพบนางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ประธานชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทยที่ศาลาประชาคม อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราชร่วมกับเครือข่ายกลุ่มสตรีอำเภอทุ่งใหญ่และอำเภอใกล้เคียง เพื่อรับฟังนโยบายการทำงานของชมรมเสียงสตรีที่มีเป้าหมายการทำงานมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของสตรีรวมทั้งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสตรีในทุกๆ ด้านสร้างความเท่าเทียมและส่งเสริมสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงให้เป็นคนดีมีคุณค่าต่อสังคม ตัวแทนกลุ่มสตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ได้มีการร้องเรียนต่อนางลดาวัลลิ์ถึงปัญหาความเดือดร้อนที่กำลังประสบอยู่ ทั้งเรื่องการถูกข่มขู่คุกคาม การถูกแย่งชิงพื้นที่ทำการเกษตรจากกลุ่มอิทธิพลและการถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นบางคนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในพื้นที่ ในเบื้องต้นหลังจากรับทราบปัญหาและข้อเรียกร้อง นางลดาวัลลิ์ ได้แนะนำให้ทำหนังสือพร้อมรายละเอียดส่งมาที่ประธานชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทย โดยรับปากจะติดตามดูแลในเรื่องนี้ถึงแนวทางในการแก้ปัญหาซึ่งได้สร้างความพอใจให้กับกลุ่มตัวแทนสตรี “รู้สึกดีมากที่ได้มาพบพูดคุยกับท่านประธานชมรมเสียงสตรี เพราะคิดว่าเป็นช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนที่ผู้หญิงสามารถทำได้และรู้สึกมีกำลังใจมั่นใจในพลังของผู้หญิงมากขึ้น” นางอุบล จันทร์ดำหนึ่งในตัวแทนกลุ่มสตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นเวลา 15.00 น.นางลดาวัลลิ์ วงศ์สรีวงศ์ ก็ได้เดินทางไปกราบนมัสการร่างหลวงพ่อนวล ที่วัดประดิษฐาราม ต.บางรูป อ.ทุ่งใหญ่ ก่อนเดินทางไปปฏิบัติภารกิจต่อ ทั้งนี้ กลุ่มสตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ได้ร่วมเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องที่ดินทำกินของสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ในพื้นที่โฉนดชุมชนนำร่อง 7,500 ไร่ตามนโยบายของรัฐบาล บนพื้นที่ สปก.ใน ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี แต่ต้องประสบปัญหาการถูกข่มขู่ คุกคามจากกลุ่มอิทธิพลกลุ่มต่างๆ อย่างไรก็ตามแรงกดดันทำให้เกิดการรวมพลังของกลุ่มผู้หญิงในชุมชนขึ้นอย่างเป็นรูปแบบ เพื่อลุกขึ้นมาต่อต้านความไม่เป็นธรรมและเรียกร้องสิทธิของตัวเอง สวามินี สมาชิกกลุ่มสตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ กล่าวว่า เป้าหมายของกลุ่มฯ ไม่ใช่แค่ได้ที่ดินทำกินอย่างเดียว แต่เมื่อได้ที่ดินทำกินมาแล้วจะต้องพัฒนาศักยภาพของตัวเองและชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สามารถรักษาที่ดินเป็นมรดกสู่รุ่นลูกหลาน นี่คือโจทย์ที่เหล่าสตรีสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ต้องร่วมกันคิด ดังนั้นการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทยและกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอันเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่กลุ่มสตรีให้ความสนใจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
กสทช. คลอดเกณฑ์จัดระเบียบวิทยุชุมชน Posted: 21 May 2012 11:53 AM PDT มติกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ผ่านร่างหลักเกณฑ์ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เตรียมความพร้อมสู่การออกใบอนุญาตตามแผนแม่บท คาดประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส.ค.นี้ (21 พ.ค.55) พ.อ. ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แถลงข่าว ผลการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ว่า ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์ดังกล่าว เป็นการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียงของประเทศไทย โดยนำเอากลุ่มวิทยุกระจายเสียงที่เป็นผู้ทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง และผู้ที่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตไว้แล้ว ตั้งแต่สมัย กทช. จนถึงวันวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 (ตามมติ กสท. ครั้งที่ 16/2555) จำนวนกว่า 7,000 สถานี เข้าเตรียมความพร้อมไปสู่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง ตามข้อกำหนดของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่กำหนดให้ต้องดำเนินการออกใบอนุญาตวิทยุกระจายเสียงภายใน 2 ปี นับแต่มีผลบังคับใช้ สาระสำคัญของร่างประกาศจะกำหนดประเภทการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระเสียง เป็น 3 ประเภท คือ บริการสาธารณะ บริการชุมชน และบริการทางธุรกิจ การกำหนดคุณสมบัติการเป็นผู้ทดลองประกอบกิจการฯ โดยกำหนดระยะเวลาในการทดลองประกอบกิจการ 1 ปี หากจะมีการต่อเวลา จะต้องพิจารณาจากประวัติการทดลองประกอบกิจการว่าจะต้องไม่ขัดต่อเงื่อนไขการทดลองการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ในส่วนของมาตรฐานทางเทคนิค ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ไว้ว่า กำลังส่งออกอากาศ ไม่เกิน 200 วัตต์ ความสูงของสายอากาศวัดจากจุดสูงสุดของสายอากาศถึงพื้นดินไม่เกิน 40 เมตร รัศมีการให้บริการไม่เกิน 15 กิโลเมตร และมาตรฐานเครื่องส่งต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้เพื่อให้ควบคุมคุณภาพสัญญาณให้ดีไม่รบกวนกันดังเช่นในปัจจุบัน จากนั้นจะนำร่างประกาศฉบับนี้เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กสทช. www.nbtc.go.th เพื่อเชิญชวนและรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ในวันที่ 22 พฤษภาคม ถึง 7 กรกฎาคม 2555 จากนั้นจะนำผลจากการรับฟังความคิดเห็นมาปรับปรุงร่างประกาศแล้วนำเสนอที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณา และเสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อทราบ คาดว่าประมาณเดือนสิงหาคม จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุม กสท. ยังได้มีมติผ่านหลักเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง โดยที่ประกาศฉบับนี้รับรอง 2 กระบวนการ คือ 1. การรับทดสอบเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับการทดลองประกอบกิจการ 2. การรับจดทะเบียนห้องปฏิบัติการทดสอบเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับการทดลองประกอบกิจการ ส่งผลให้ ต่อไปนอกจากจะส่งเครื่องฯ มาทดสอบที่ สำนักงาน กสทช. แล้วยังสามารถส่งเครื่องฯ ไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการภายนอกที่ผ่านการรับจดทะเบียนจากสำนักงาน กสทช. ได้ ที่ประชุม กสท. ยังได้มีมติไม่อนุญาตให้นำเข้าเครื่องรับสัญญาณ (Set Top Box) ตามที่มีบริษัทขอมา เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าเครื่องรับดังกล่าวเป็นเครื่องรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพและเสียงหรือการอื่นใด ซึ่งสามารถให้เข้าใจในความหมายด้วยคลื่นความถี่ อันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมตามคำนิยามใน พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้นการนำเข้าจึงต้องได้รับใบอนุญาต แต่โดยที่ กสท. พิจารณาการนำเข้าเครื่องรับสัญญาณตามคำขอแล้วเห็นว่า การนำเข้าดังกล่าวบริษัทฯ ต้องการจะนำไปใช้รับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ย่านความถี่ 470 – 790 MHz ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลมาก่อน จึงมีมติไม่อนุญาตให้นำเข้าเครื่องรับสัญญาณดังกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
แฉรถขนเหล็กบริษัทใหญ่ เลี่ยงภาษีไม่ติดป้ายทะเบียน Posted: 21 May 2012 11:19 AM PDT จากกรณี ชาวบ้านและกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงกว่า 200 คน ได้ยื่นหนังสือต่อ นายอำเภอ ผู้กำกับการสภ.บางสะพาน ร้อยเวร และสำนักงานขนส่งบางสะพาน กรณีการบังคับใช้ มาตรา25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ และการหลบเลี่ยงภาษีโดยใช้รถเถื่อนไม่มีการติดแผ่นป้ายทะเบียนในการขนส่งมาเป็นเวลากว่า 20 ปี เมื่อวันที่ 16 พ.ค.55 นั้น เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านสกัดบริเวณแยกท่าเรือ และสามารถจับกุมรถบรรทุกขนเหล็กได้ 2 คัน เนื่องจากเป็นรถผิดกฎหมายไม่มีทะเบียน โดยแจ้งกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงมาเป็นพยานในการจับกุมพร้อมเหล็กของกลางบนรถทั้งสองคันและนำมาไว้ที่โรงพัก สภ.บางสะพาน ล่าสุดเช้าวันวันที่ 20 พ.ค.55 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่ขับรถผ่านโรงพักบางสะพานว่า เหล็กของกลางบนรถทั้งสองคันหายไร้ร่องรอย และเกรงว่าสุดท้ายการจับกุมรถเถื่อนครั้งนี้ก็จะลอยนวลอีก “ผมอยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ขนส่ง หรือแม้แต่นายอำเภอบางสะพานควรเปิดหูเปิดตารับเรื่องราวตามความเป็นจริงความถูกต้องเสียที” วิฑูรย์ บัวโรย ประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
กรุงเทพโพลล์สำรวจ “ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ” Posted: 21 May 2012 09:19 AM PDT ประชาชน 98.0% เชื่อความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุ มหาวิทยาลัย โรงเรียน และครอบครัว ควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ให้เห็นเป็นรูปธรรม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 994 คน พบว่า สิ่งที่ประชาชนคิดถึงมากที่สุดเมื่อพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ คือ เป็นความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ศิลปะ การวาดรูป วาดการ์ตูน การออกแบบบ้าน การออกแบบเสื้อผ้า (ร้อยละ 19.1) รองลงมาคือ การประดิษฐ์คิดค้นผลงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น (ร้อยละ 16.2) และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การสร้างหุ่นยนต์ นวัตกรรมยานยนต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 13.3) เมื่อถามว่าตนเองเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ ประชาชนถึงร้อยละ 83.5 ระบุว่าตนเองมีความคิดสร้างสรรค์ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวเกิดจากการจินตนาการ แรงบันดาลใจ ประสบการณ์ การช่างสังเกต การฝึกฝนตั้งแต่เด็ก สิ่งแวดล้อมรอบตัว ขณะที่ร้อยละ 16.5 ระบุว่าเป็นคนไม่มีความคิดสร้างสรรค์ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า ไม่ชอบคิด ไม่มีจินตนาการ ความเครียด คิดไปก็ไม่มีประโยชน์ ชอบทำตามคนอื่นๆ คิดแล้วกลัวทำผิด อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าประเทศไทยขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 66.2 ระบุว่าขาดแคลน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า คนไทยไม่ชอบคิดนอกกรอบ ชอบเลียนแบบคนอื่น ไม่มีคนสนับสนุนและต่อยอดทางความคิด ในขณะที่ร้อยละ 33.8 ระบุว่าไม่ขาดแคลน โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า คนไทยชอบอะไรแปลกๆ อยู่แล้ว มีศักยภาพในตัวเอง คนสมัยใหม่กล้าคิดกล้าทำ เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะเชื่อว่าตนเองมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวก็ไม่ได้แปลงมาสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง เมื่อถามต่อว่าปัจจัยใดเป็นตัวบั่นทอนทำลายความคิดสร้างสรรค์ในตัวของประชาชนคนไทยมากที่สุด ร้อยละ 32.6 ระบุว่าเป็นผลมาจาก ความเครียดจากปัญหาด้านการเงิน และค่าครองชีพ รองลงมาร้อยละ 23.5 เป็นผลมาจากสภาพสังคมไทยที่ไม่ค่อยยอมรับผู้ที่มีความคิดแปลก แตกต่าง และร้อยละ 14.7 เชื่อว่าเป็นผลมาจากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือ ขาดการให้ความสำคัญของฝ่ายการเมือง ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทยพบว่า ประชาชนร้อยละ 98.0 ระบุว่ามีประโยชน์ กล่าวคือจะช่วยให้มองโลกในมุมมองที่กว้างขึ้น จะทำให้มีการคิดค้นและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น รวมถึงมีแนวคิดใหม่ๆ ทำให้คนมีการพัฒนา ทันสมัยทันโลก เป็นผู้นำทางความคิด ขณะที่มีเพียงร้อยละ 2.0 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่มีประโยชน์ โดยประชาชนกลุ่มนี้เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และประเทศไทยก็พัฒนาอยู่แล้ว ทั้งนี้ประชาชนเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรเป็นสถาบันที่มีบทบาทมากถึงมากที่สุดในการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ให้เห็นเป็นรูปธรรม (ร้อยละ 81.5) รองลงมาคือ โรงเรียน (ร้อยละ 80.4) และครอบครัว (ร้อยละ 74.3)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
ประชาธรรม: ปรองดองฉบับ “นิติราษฎร์” จำแนก 4 กลุ่มก่อนนิรโทษกรรม Posted: 21 May 2012 09:10 AM PDT นิติราษฎร์เสนอการจำแนกกลุ่มต่างๆ เพื่อนิรโทษกรรมกับติดตามลงโทษ บนฐานค้นหา “ความจริง” โดยเสนอเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ พร้อมยันเคลื่อนต่องานช้างลบล้างผลพวงรัฐประหาร-ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ กองทัพ ศาล และสถาบันการเมือง
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 ร้านหนังสือ Book Re:public จัดงานรำลึก 2 ปี 19 พฤษภาคม เสวนาปรองดองกับความเป็นธรรม? ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ตนไม่ชอบคำว่า ปรองดอง เพราะถูกคนกลุ่มหนึ่งนำไปใช้เรียบร้อยแล้ว และความหมายที่แท้จริงก็ถูกใช้อย่างบิดเบือน ส่วนข้อเสนอของเรา เราเคยคุยในหมู่นิติราษฎร์มาแล้วหลายครั้ง และได้ข้อสรุปตามคำประกาศนิติราษฎร์ฉบับที่ 34 (ซึ่งจะออกฉบับสมบูรณ์ประมาณเดือนมิถุนายน) คือ หนึ่งเราจะไม่นิรโทษกรรมทุกฝ่าย หรือยึดตามแบบข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เพราะว่าสถาบันพระปกเกล้าไม่พูดเรื่องม.112 และใครทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แต่สิ่งที่คณะนิติราษฎร์จะทำ คือ เราจะไม่นิรโทษกรรมกับเจ้าหน้าที่และผู้สั่งการทั้งหลาย เพราะประเทศไทยเกิดเหตุการณ์แบบนี้หลายครั้งหลายหน ถ้าเรายอมให้ทำแบบนี้ต่อไปก็จะเกิดการฆ่าหมู่ทางการเมืองอีก ครั้งนี้ต้องยืนยันว่าจะไม่ทำแบบนั้นอีกต่อไป หมายความว่าเราเสนอให้สืบสวนข้อเท็จจริง และดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่และผู้สั่งการให้หมด ทีนี้มาดูรายละเอียดว่าเราจะทำแบบไหน ทุกวันนี้เวลาเราพูดเรื่องนิรโทษกรรมจะพูดแบบเหมารวมหมด ซึ่งเราไม่เอา ในขณะเดียวกันหลายฝ่ายก็รู้สึกอ่อนล้าจากความขัดแย้ง ก็อยากเคลียร์ให้จบ เราจึงเสนอว่าต้องแยกการกระทำออกมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร49 ออกมาเป็นชุด ดังนี้ หนึ่ง การกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้สั่งการทั้งหลาย จะไม่มีการนิรโทษกรรม จะต้องมีการสืบสวนข้อเท็จจริงกันต่อไปว่าใครเป็นคนสั่ง ใครกระทำความผิด ซึ่งจากข้อเสนอนี้ก็มีข้อโต้แย้งว่า "ดูเจ้าคิดเจ้าแค้นมากเกินไป เจ้าหน้าที่ผู้น้อยที่ทำตามคำสั่งของผู้บัญชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จะทำอย่างไร ทำไมถึงไม่ปล่อยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย" อยากเรียนว่า ตามกฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา17เขียนไว้ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไปโดยสมควรแก่เหตุ ไม่เลือกปฏิบัติ ทำตามอำนาจของตุลาการ เจ้าหน้าที่ก็จะพ้นผิดโดยอัตโนมัติ หมายความว่า หากไม่กระทำเกินกว่าเหตุ เช่น เจตนาไปยิงคนตายด้วยสไนเปอร์ เลือกปฏิบัติ เจตนาฆ่า ก็จะพ้นผิดตามกฎหมายโดยไม่ต้องใช้การนิรโทษกรรม สอง กลุ่มผู้ชุมนุมหรือบรรดาประชาชนทั้งหลาย ซึ่งเราตั้งคำถามไว้ว่า คนที่ถูกกล่าวหา หรือมีความผิดละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือกฎหมายความมั่นคง และคดีอาญาที่ลหุโทษ มีความผิดเล็กๆน้อยๆ พวกนี้เสนอให้นิรโทษทันที สาม คือกลุ่มที่ไม่เข้ากลุ่มที่หนึ่งและสอง คือ ประชาชนทั่วไปที่มีความผิดที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งการเมือง มีมูลเหตุจูงใจในทางการเมืองที่เชื่อมโยงมาตั้งแต่ 19 กันยาฯ เราไม่นิรโทษกรรมทันที แต่ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่าเกี่ยวกับรัฐประหาร 19 กันยาฯหรือไม่ ถ้าเกี่ยวกับ 19 กันยาฯ นิรโทษ ไม่เกี่ยวกับ 19 กันยา ไม่นิรโทษต้องดำเนินคดีต่อ ในระหว่างที่กรรมการชุดนี้กำลังวินิจฉัยชี้ขาดว่าเกี่ยวกับความขัดแย้ง 19 กันยาฯหรือไม่ คนที่ถูกจับกุมคุมขังให้มีการปล่อยไปก่อน แล้วค่อยพิจารณาโทษ สี่ กลุ่มที่โดนคำพิพากษาตัดสินให้จำคุกหรือยังมีคดีติดตัว ที่เป็นคดีที่ริเริ่มมาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เสนอให้ (ตามข้อเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหาร) เริ่มต้นคดีใหม่ทั้งหมด เช่น คดีทักษิณก็ให้เริ่มต้นใหม่คดีใหม่ แต่ไม่นิรโทษกรรมคุณทักษิณ ฉะนั้นจะเห็นว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์ไม่ใช่ การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง
การที่จะทำให้ข้อเสนอนี้เป็นรูปธรรมได้ เราเสนอให้ทำในกรอบของรัฐธรรมนูญ เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาเรื่องการขัดรัฐธรรมนูญ เช่น ถ้าทำในรูปของพ.ร.บ.ก็อาจจะมีคนไปร้องว่า ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะไปลบล้างคำพิพากษา ไปแทรกแซงอำนาจศาลหรือกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นจึงนำไปใส่ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้การเขียนในรัฐธรรมนูญยังมีข้อดีแฝงไว้ คือ ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอได้ โดยใช้ชื่อ 50,000 ชื่อ ข้อเสนอของนิติราษฎร์มีมาก จนหลายคนงงว่าจะทำอะไรกันบ้าง ซึ่งภายในระยะหนึ่งปีข้างหน้าที่คิดว่าจะต้องทำให้มากขึ้น คือ หนึ่ง เรื่องลบล้างผลพวงรัฐประหารตามที่ได้เสนอไปเมื่อปีที่แล้ว การลบล้างผลพวงรัฐประหารต้องทำเพื่อเป็นการทำลายสถาบันรัฐประหารในสังคมไทย ถ้าทำสำเร็จจะไม่มีใครกล้าทำรัฐประหาร สอง ดำเนินการขจัดความขัดแย้งตามสูตรของนิติราษฎร์ตามที่ได้กล่าวไป ซึ่งจะทำให้การสังหารหมู่ประชาชนยากมากขึ้นเพราะจะถูกดำเนินคดีหมด สาม ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้แก่ ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ศาล กองทัพ และสถาบันการเมือง เพื่อปรับโครงสร้างของประเทศ ถ้าทำสำเร็จ โครงสร้างทางสมดุลอำนาจของประเทศจะเปลี่ยนไปมาก
อันนี้เป็นประเด็นในทางกฎหมาย ในทางการเมืองการปรองดองที่กำลังจะทำกันอยู่อย่างข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งตนเห็นว่ามีข้อดีอยู่ เช่น บทที่ว่าด้วยตัวอย่างการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองจากต่างประเทศ 10 ประเทศ อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องทฤษฎี เกี่ยวกับความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน และทฤษฎีเรื่องความปรองดองแห่งชาติ แต่สองส่วนที่ดีมากนี้ถูกทำลายลงทั้งหมดจากข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าฯเอง เพราะทฤษฎี เกี่ยวกับความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน และทฤษฎีเรื่องความปรองดองแห่งชาติ ไม่ว่าจะใช้ตำรากี่เล่มก็เหมือน กันหมด คือ ต้องพูดความจริง ประเด็นต้นเหตุความขัดแย้งต้องกล้าพูดออกมาให้หมดทุกเรื่อง แต่ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าไม่พูดเรื่องม.112 ใครทำรัฐประหารก็ไม่พูด เรื่องสถาบันกษัตริย์ก็ไม่ให้พูดแล้วจะปรองดองกันได้อย่างไร เรา ก็ต้องมาคุยกันว่าบทบาทของเราจะเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญก็ต้องทำ การประกาศไม่นิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ทำให้กองทัพไม่พอใจ สิ่งที่มันจะเกิดขึ้น และเราต้องทำความเข้าใจ คือ อาจมีพรรคการเมืองไม่พอใจพวกเรา สถาบันต่างๆ อาจมองพวกเราว่าพวกอยู่ไม่สุข ตนต้องการรับฟังคำแนะนำด้วยว่าถ้าผมเจอเหตุการณ์แบบนี้ ผมควรจะปฏิบัติอย่างไร ความเห็นของท่านอาจจะเข้าสู่ที่ประชุมของนิติราษฎร์ด้วย ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ กล่าวว่า เวลานิติราษฎร์เสนออะไรไป เราไม่ได้เรียกร้องให้พวกท่านเชื่อ หรือทำตาม ถ้าท่านอ่านแล้วก็เพิ่มเติมเหตุผล ณ ปัจจุบันสิ่งที่นิติราษฎร์ต้องการคือให้สังคมนำข้อเสนอนิติราษฎร์ไปพูดคุย กันด้วยเหตุผล อ่านแล้วจะเห็นแย้ง หรือเห็นต่าง ก็คุยกันด้วยเหตุผล นี่คือ สิ่งที่นิติราษฎร์เสนอโดยผ่านมุมมองของกฎหมาย
ที่มา: เว็บไซต์ประชาธรรม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
เปิด 4 ข้อเสียงสันติจากหมู่บ้าน เผยเด็กชายแดนใต้อาการหนัก Posted: 21 May 2012 09:09 AM PDT
ศอ.บต.ชี้อนาคตปาตานีอยู่กับคนพื้นที่ บังยุบวิจารณ์ไม่แตะอำนาจ ข้อเสนอใหม่เลิกกฎหมายพิเศษไม่ได้ ให้ถอนทหาร เผยเหตุยาเสพติดรุนแรง ระบาดหนัก 2 พันหมู่บ้าน ถามเอาไหมใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯปราบ สลดเด็กโควตาพิเศษถูกรีไทร์ 4พันคน
สันติภาพกลางแดด? – เครือข่ายประชาหารือสู่สันติภาพชายแดนใต้ จัดมหกรรมสันติภาพ “เสียงท้าทายจากกำปง”เพื่อเสนอข้อค้นพบและข้อเสนอแนะจากการจัดเวทีประชาหารือ ท่ามกลางอากาศร้อนจัด เมื่อ 20 พฤษภาคม 2555 ที่หาดวาสุกรี ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
เปิด 4 ข้อแผนสันติภาพจากหมู่บ้าน นางเรืองรวี พิชัยกุล ผู้ประสานงานโครงการอาวุโส มูลนิธิเอเชีย เปิดเผยว่า มูลนิเอเชียได้รับข้อเสนอมากมาย ในการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีเสียงสะท้อนจากคนในพื้นที่จริงๆ ในการแก้ปัญหาพื้นที่ของตัวเอง มูลนิธิจึงจัดโครงการจัดทำข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับประชาชน “เสียงท้าทายจากกัมปง” นี้ขึ้นมา เมื่อจักเวทีแล้วพบว่า ประชาชนสามารถก้าวข้ามความกลัวในการที่จะสะท้อนความวิตกกังวลต่างๆ ในชีวิตของตัวเอง สำหรับสาระสำคัญของ ข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับประชาชน “เสียงท้าทายจากกัมปง” มี 4 ประเด็น ได้แก่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กระบวนการยุติธรรม ยาเสพติด และการศึกษา โดยเวทีประชาหารือกว่า 100 เวทีดังกล่าว จัดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ถึงธันวาคม 2554 แต่ละเวทีมีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 30 คน ศอ.บต.ชี้อนาคตปาตานีอยู่กับคนพื้นที่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า การสร้างสันติภาพของภาคประชาชนที่มอง คือ ยาเสพติด การศึกษากระบวนการยุติธรรม และความปลอดภัย ซึ่งต่างจากรัฐที่มองเรื่องความมั่นคง เรื่องแรก คือการแก้ปัญหายาเสพติดนั้น เป็นเสียงเรียกร้องถูกต้อง เพราะยาเสพติดไม่กลัวทหาร ตำรวจ แต่กลัวชุมชนกับศาสนา ส่วนการศึกษานั้น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องการเรียนตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ขึ้นอยู่กับการวัดผลด้วยระบบโอเน็ต แต่เป็นการให้คนเป็นคนดี พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ขณะที่ เรื่องกระบวนการยุติธรรมนั้น จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้คนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้มากที่สุด เพราะ จะไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยจะทำอย่างไรให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในพื้นที่ เพราะกระบวนการนี้แค่เริ่มต้น ก็ไม่มีค่าทนายเหมือนกระบวนการยุติธรรมปกติ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ส่วนเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัย ต้องโอนภารกิจนี้ไปอยู่ในหมู่บ้าน เพราะคนที่รู้ปัญหาดีว่าใครเกี่ยวข้องกับปัญหาความมั่นคง คือ คนในหมู่บ้าน ส่วนเจ้าหน้าที่บางครั้งจับคนมาโดยไม่วิเคราะห์ว่า เป็นเรื่องอะไร แต่บอกว่าเป็นเรื่องความมั่นคง ทั้งๆ ที่ในพื้นที่มีปัญหาอื่นๆ อยู่ด้วย ซึ่งหากตั้งโจทย์ผิด ความเดือดร้อนก็จะตกอยู่กับประชาชน ดังนั้นการทำให้มีความสุขได้นั้น คำตอบสุดท้ายอยู่ที่หมู่บ้าน บังยุบวิจารณ์ ไม่พูดอนาคต ไม่แตะอำนาจ นายมูฮำมัดอายุบ วิจารณ์ว่า ข้อเสนอแผนสันติภาพฉบับนี้ ไม่พูดถึง 4 ประเด็น คือ 1.มีการพูดคุยเรื่องอนาคตของปาตานีน้อยเกินไป 2.มีการพูดคุยเรื่องความมั่นคงน้อยไป เพราะพื้นที่นี้ มีปัญหาความมั่นคง 3.ข้อเสนอนี้ไม่พูดถึงความยุติธรรมเชิงอำนาจ และ 4.เป็นประเด็นสำคัญ คือ การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติโดยหมู่บ้านจะทำได้อย่างไร ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน นายมูฮำมัดอายุบ เสนอด้วยว่า ต้องมีการพูดคุยกับกลุ่มที่มีความคิดเห็นต่างด้วย อย่าคุยกันเอง และคนที่ร่วมวงคุย ต้องเป็นคนในพื้นที่ของจริงและมีความมุ่งมั่นที่จะพูดคุย เพื่อให้สามารถสะท้อนปัญหาที่แท้จริงให้ได้ โดยต้องสร้างรูปแบบสันติภาพที่เป็นจริงที่คนในหมู่บ้าน(กัมปง)อยากได้ นายมูฮำมัดอายุบ เสนออีกว่า ในเรื่องการพูดคุยมี 3 พวกที่จะทำ คือ รัฐ เรา และขบวนการ อย่าปล่อยให้รัฐทำอย่างเดียว ถ้าโอกาสเปิดชาวบ้านต้องร่วมทำ ทำไปแล้วถ้ามีข้อเสนอเพิ่มก็ช่างมัน ในเมื่อเป็นข้อเสนอจริงจากกัมปง ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ วิจารณ์ว่า ข้อเสนอดังกล่าว เป็นข้อเสนอของคนพื้นที่ซึ่งน่าสนใจ แต่ข้อเสนอหลายอย่าง ค่อนข่างประนีประนอม เกรงใจอยู่ ไม่ฟันธงชัดเจน ผศ.ดร.บุษบง วิจารณ์อีกว่า ข้อเสนอทั้ง 4 ประเด็น ต่างจากการศึกษาวิจัยขององค์กรอื่นทีเพิ่มประเด็นเศรษฐกิจด้วย แต่ทั้ง 4 ประเด็นดังกล่าว ก็เป็นปัญหาหัวใจหลักที่แสดงให้เห็นว่าคนในพื้นที่คิดอย่างไร พร้อมเสนอทางออกให้ด้วย ซึ่งต่างจากคนนอกพื้นที่ ที่มองอย่างมีอคติ ข้อเสนอใหม่ เลิกกฎหมายพิเศษไม่ได้ ให้ถอนทหาร นายอิสมาแอ เต๊ะ อดีตจำเลยคดีความมั่นคง กล่าวว่า ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทหารทั้งหมด 150,000 นาย เฉลี่ยต่อประชากรในพื้นที่ จะพบว่า มีเจ้าหน้าที่ 1 คน ต่อประชากร 10 คน แต่เหตุรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการลงพื้นที่พบว่า ประชาชนต้องการให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ กฎอัยการศึก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แต่ถ้าไม่สามารถยกเลิกได้ ก็ควรถอนทหารออกไปจากพื้นที่บางส่วน นายอิสมาแอ กล่าวอีกว่า ส่วนกองกำลังท้องถิ่น โดยเฉพาะ ทหารพราน มาจากคนในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ แต่ต้องการมีอำนาจ จึงมาสมัครเป้นทหารพราน เพราะสามารถถืออาวุธได้ จึงทำให้เป็นภาพลบต่อทหาร การให้ชาวบ้านในท้องถิ่นตัวเองจริงๆ มาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะทำได้ดีที่สุด พ.อ.สุรเทพ หมูแก้ว หัวหน้าแผนยุทธการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า การยกเลิกกฎหมายพิเศษไม่ได้ขึ้นอยู่กับทหาร แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล กองทัพมีหน้าที่เพียงบันทึกสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ การให้ความร่วมมือของประชาชนกับทหาร และหน่วยข่าวกรองในพื้นที่รายงานว่า ยังมีการเคลื่อนไหวของขบวนการก่อความไม่สงบอย่างไร ซึ่งทั้ง 3 ประเด็น เป็นตัวประเมินว่าควรจะต่ออายุการใช้กฎหมายพิเศษต่อไปหรือไม่ พ.อ.สุรเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ตนกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับวิทยาลัยป้องกันราอาณาจักร (วปอ.) โดยยังอยู่ระหว่างรวมรวบความเห็นจากคนในพื้นที่ว่า ควรยกเลิกหรือไม่ คาดว่าจะเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2555 รัฐเปิดช่องชาวบ้านสอบเจ้าหน้าที่ นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) กล่าวว่า ศอ.บต. รู้ว่า เจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายพิเศษที่สร้างความไม่เป็นธรรมกับประชาชน หรือเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองหรือพวกพ้อง เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่ปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เข้าถึง เข้าใจและพัฒนา และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้กฎหมาย เช่น หลายกรณีที่ให้ภาคประชาชนเข้ามาตรวจสอบเหตุที่เจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ เผยยาเสพติดระบาดหนัก 2 พันหมู่บ้าน พ.อ.สุวรรณ เชิดฉาย หรือ เสธ.ขาว หัวหน้าศูนย์ปองกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า ยอมรับว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจริง ซึ่งกำลังพยายามจัดการอยู่ ทั้งนี้ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนคนติดยาเสพติดมากที่สุด ใน ประเทศ มีสัดส่วน 28 คนต่อ 1,000 คน โดยสัดส่วนปกติของประเทศ คือ ผู้ติดยาเสพติด 3 คน ใน 1,000 คน และ 94 % ของ 2,000 หมู่บ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปัญหายาเสพติด โดยผู้เสพยาเสพติดรายใหม่มีอายุน้อยลงมาก ถามเอาไหมใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯปราบ พ.อ.สุวรรณ เสนอด้วยว่า หากจะใช้กฎหมายพิเศษอย่าง พระราชกำหนดการบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาใช้แก้ปัญหายาเสพติดจะเอาด้วยหรือไม่ เพราะสามารถปิดล้อมตรวจค้นได้ สลดเด็กโควตาพิเศษถูกรีไทร์ 4 พันคน นายมาหามะ กล่าวว่า ที่ผ่านมา นักเรียนที่ได้โควตาพิเศษตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2554 ถูกรีไทร์แล้ว 4,000 กว่าคน ซึ่งศอ.บต.ได้เรียกเด็กที่ถูกรีไทร์ (ออกกลางคัน) มารายงานตัว เพื่อช่วยหาที่เรียนแห่งใหม่ให้ แต่เด็กมารายงานตัวเพียง 100 คน เด็กทีเหลือไม่ยอมกลับบ้าน ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจว่ายังเรียนอยู่และได้ส่งเงินไปให้ทุกเดือน นางสาวพัชรา ยิ่งดำนุ่น เครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี เสนอว่า ต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ ทุ่มเทงบประมาณในการสนับสนุนการจัดการศึกษาในพื้นที่ สร้างความไว้วางใจในการพัฒนาสถาบันการศึกษา เช่น ปอเนาะ ตาดีกา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสร้างหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยแก่บุคลากรทางการศึกษา สำหรับเครือข่ายประชาหารือสู่สันติภาพชายแดนใต้ ประกอบ ด้วยองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ จานวน 12 องค์กร ได้แก่ เครือข่ายวิทยุชุมชนปัตตานี (PCRN) สมาคมผู้หญิงกับสันติภาพ (We Peace) เครือข่ายอาสาสมัครสื่อสันติภาพชายแดนใต้ (SPM) เครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ (GDST) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ (SFST) ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา (PUKIS) สานักข่าวอามาน (AMAN) เครือข่ายส่งเสริมสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรม (HAP) เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (SPAN) กลุ่มสันกาลาคีรี (SK) ศูนย์พิทักษ์วัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตยจังหวัดชายแดนใต้ (CCPD) เครือข่ายประชาสังคมนราธิวาส (CSN-N)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
เศรษฐศาสตร์การล้ออย่างเป็นประชาธิปไตย (Economics of Democratic Parody) Posted: 21 May 2012 08:58 AM PDT ได้อ่านงานของการล้อ (Parody) การตลกร้าย (Irony/Satire) ในช่วงนี้แล้วก็เห็นการถกเถียงอย่างกว้างขวางมากมายทีเดียวครับ หนึ่งในบทความที่คิดว่าชอบที่สุดคือของ อธิป จิตตฤกษ์ [1] ซึ่งได้ให้หลักของการล้อและข้อโต้แย้งมุมกลับต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ ในบรรดาความรู้มากมายที่ได้จากงานของคุณอธิปนั้น สิ่งแรกที่จับได้คือ หัวใจสำคัญของการล้อได้แก่การหาแง่มุมที่จะทำให้เกิดอารมณ์ “ขำ” แต่การขำที่ว่าไม่เคยเป็นสากล (universality) เพราะอย่างน้อยคนที่ถูกล้อหรือคนที่เคารพบูชาสิ่งที่ถูกล้อก็ไม่ขำไปด้วย และเมื่อมีคนไม่พอใจเสมอ การล้อจึงเป็นทั้งการส่งเสียงเรียกร้อง (active voices) และต้องรับแรงปฏิกิริยาร้องเรียก (reactive voices) กลับมาด้วยในเวลาเดียวกัน
ทีนี้หากลองบิดมามองในแง่มุมแบบเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะ (Public Choices Economics) ก็คงกล่าวได้ว่า การส่งเสียงล้อและเสียงต่อต้านการล้อนั้นคือกระบวนการใจกลางของประชาธิปไตย เพราะทุกเสียงที่แสดงออกมานั้นเมื่อนับถ้วนแล้วหากเสียงไหน “มากกว่า” เสียงนั้นก็ควรจะได้รับการยอมรับ เช่น หากนายขนมต้มล้อนายขนมปัง แล้วนายขนมปังโกรธ (คนที่รักนายขนมปังก็โกรธไปด้วยก็พาลมาด่านายขนมต้ม) แต่โดยรวมแล้วการล้อของนายขนมต้มทำให้คนส่วนใหญ่ขำขันได้มากกว่าที่จะเกลียด (ซ้ำยังช่วยล้อเสียด้วย) เช่นนี้ กลุ่มของนายขนมปังก็นับว่าพ่ายแพ้ประชาธิปไตยการล้อในแบบเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะไป ปัญหาสำคัญคือในตลาดการเมืองแห่งการล้อเลียน (Political Market of Parody) หรือตลาดที่จะนับได้ถ้วนว่าเสียงสนับสนุนการล้อเลียนดังกล่าวหรือเสียงคัดค้านปฏิเสธนั้นมากกว่ากัน “ไม่มีอยู่จริง” ไม่เหมือนการเลือกตั้งที่คนเรานำบัตรไปลงคะแนนหย่อนลงกล่องแล้วสามารถนำขึ้นมานับได้อย่างเห็นๆ จะจะ การแสดงออกถึงเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านการล้อจึงต้องกระทำผ่านการแสดงออกทางการเมืองในรูปต่างๆ นัยนี้ นับว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียเมื่อเทียบกับการหย่อนบัตรลงคะแนน เพราะว่า การหย่อนบัตรลงคะแนนนั้นเป็นเรื่องของการวัดแบบให้น้ำหนักเท่าๆ กันสำหรับทุกๆ คนในสังคม แต่ในพื้นที่ของการล้อเลียน น้ำหนักความรู้สึกไม่มีทางเท่าเทียมกัน คนที่ผ่านมาขำๆ กับคนที่เป็นใจกลางการถูกล้อเลียนย่อมรู้สึกเจ็บปวดขำขันในระดับที่แตกต่างกัน การแสดงออกทางการเมือง “นอกแบบ” การลงคะแนนเสียงเปิดโอกาสให้พูดถึง ความเข้มข้นของความรู้สึก (intensity of utility/disutility) ได้อย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกันการขับเน้นอารมณ์เพื่อแสดงออกอย่างเต็มที่เหล่านั้นก็แฝงความเสี่ยงความรุนแรงเอาไว้ด้วย อย่างไรก็ตามแต่การพิจารณาเรื่องนี้จากแง่มุมแบบเศรษฐศาสตร์ซึ่งอิงกับความสุขมวลรวมแต่เพียงอย่างเดียว (Utilitarianism) นั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมเท่าใดนัก เพราะหากพิจารณาเช่นนั้น อาจนำไปสู่สังคมที่โหดร้ายได้ เช่นในสังคมที่ไม่ Mature (จริงๆ สังคมที่ Mature แล้วก็มีให้เห็นอยู่มาก) อย่างเช่นสมัยเด็กเรามักจะล้อเลียนเพื่อนชั้นประถมที่มีลักษณะแตกต่างออกไป เช่น เรียนช้า หน้าตาแปลก ฯลฯ การกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นที่ชัดแจ้งว่า “ขำมากๆ” คือในชั้นเรียนทุกคนก็แสดงออกว่าสนุกสนานกับการล้อเพื่อนเหล่านี้ ในแง่นี้เสียงเอกฉันท์กลับไปกระทำกับผู้ที่อ่อนแอทางสังคมและกดทับเขาให้ต้องยินยอมพร้อมใจกับการถูกล้อ การล้อที่เป็นการเมืองและเป็นประชาธิปไตยจึงต้องมีเงื่อนไขเบื้องต้นว่าจะต้องเป็นการล้อ ซึ่งเสียงของคนเล็กคนน้อยในสังคมถูกยกระดับขึ้นมาต่อสู้กับเสียงของใจกลางอำนาจบางอย่าง การล้อควรใช้เพื่อต่อสู้กับเสียงที่ยิ่งใหญ่กว่าและไม่สามารถจะเผชิญหน้าได้อย่างตรงไปตรงมา มากกว่าที่จะกลายเป็นเรื่องเสรีในความหมายที่ใครๆ ก็สามารถจะใช้งานการล้อเลียนได้โดยไม่มีขีดจำกัด แต่หากตั้งกฎเกณฑ์เอาเสียเช่นนี้แล้ว การล้อก็จะต้องมาพร้อมกับการทำให้โรแมนติกและอ่อนแอ (Romanticized and etiolated) และนำมาสู่ภาพบิดเบือนที่ทำให้เข้าถึงสถานะที่แท้จริงได้ยากยิ่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ แล้วใครจะเป็นคนตัดสินว่าการล้อเลียนไหนเป็นการล้อเลียนจากจุดยืนของผู้ที่อ่อนแอ และหลีกเลี่ยงสภาวะโหดร้ายที่คนอ่อนแอถูกรุมล้อเลียน... คำตอบก็คือ “ไม่มี” ซึ่งหมายความว่า การจะมีคนกำกับเส้นแบ่งเหล่านี้ได้นั้นต้องมีการยอมรับอำนาจเด็ดขาดอันหนึ่งก่อน อาจจะโดยการทำสัญญาประชาคมให้แก่รัฐเป็นผู้ดำเนินการนั้น แต่ทว่า ในโลกของการล้อเลียนแล้ว รัฐนั่นเองที่มักตกเป็นเป้าของการล้อเลียน (เพราะรัฐเป็นศูนย์กลางอำนาจโดยธรรมชาติอยู่แล้ว) การให้รัฐเข้ามากำกับเส้นแบ่งตรงนี้จึงไม่สามารถทำได้ นัยนี้จึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องเรียนรู้กันเอาเองจากความโหดร้ายในอดีต (live and learn) นอกจากนี้แล้วบางครั้งการเผชิญหน้ากันในพื้นที่ของการล้อเลียนนั้นไม่ได้มุ่งไปที่ “ตัวคน” แต่อาจจะมุ่งไปที่อุดมการณ์หรือตัวคนที่เป็นภาพตัวแทนของอุดมการณ์บางอย่างอยู่ เช่นการล้อฮิตเลอร์ ไม่ได้เป็นการล้อตัวฮิตเลอร์หากเป็นการล้อเลียนต่ออุดมการณ์นาซี และนีโอนาซีสม์ที่ยังดำรงอยู่ เป็นต้น การล้อประเภทหลังนี้จึงเป็นการล้อแบบที่เรียกว่าการล้อไร้เหยื่อ (Victimless Parody) หรือในขณะเดียวกันอาจกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าเป็นการล้อที่เต็มไปด้วยเหยื่อมากมาย (Victimful) เพราะใครก็สามารถเป็นเหยื่อจากการล้อเช่นนี้ได้ด้วย การล้อในระดับที่สลับซับซ้อนขึ้นไปอีกก็เช่น หากนายขนมต้มเป็นภาพตัวแทนของลัทธิเสรีนิยม แต่เนื่องจากนายขนมต้มเป็นที่เคารพอย่างมาก นายขนมต้มจึงได้รับการเชิดชูบูชาอย่างอนุรักษนิยมด้วยโดยชนรุ่นหลัง ทีนี้เมื่อมีการนำนายขนมต้มมาล้อเลียน โดยนัยคือการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อ “การบูชา” นายขนมต้มอย่างอนุรักษนิยม (แต่ไม่ได้มุ่งเอาขำขันตัวนายขนมต้มเป็นหลัก) จึงเกิดความสับสนขึ้นมาว่าการล้อดังกล่าวเป็นการล้อต่อการบูชา หรือต่อตัวนายขนมต้มกันแน่ นัยนี้ การล้อจึงต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ เส้นแบ่งบางๆ ระหว่างการล้อนายขนมต้ม กับการ detox-conservatism ออกจากตัวนายขนมต้มให้กลับมาเป็นภาพตัวแทนเสรีนิยม และอาจจะเป็นสิ่งที่คุณอธิปเขียนเอาไว้ในบทความว่า “Parodize at Your Own Risk” คือเมื่ออยากจะล้อก็ต้องมีชั้นมีเชิงพอจะสร้างความแตกต่างตรงนี้และทำให้คนเชื่อ/และขำขันไปกับมันให้ได้ ถ้าทำไม่ได้และเสียงส่วนใหญ่ปฏิเสธก็ต้องรับความเสี่ยงไปเอง ทั้งนี้การปฏิเสธก็ต้องมีขอบเขตที่จำกัดด้วยโดยไม่ไปประทุษร้ายต่อร่างกายของผู้ทำการล้อเลียนหรือสร้างความหวาดผวา (terror) ด้วยการล่าแม่มด เมื่อกล่าวถึงความขำกับความเป็นสากล นอกจากจะเป็นสากลในแง่ของผู้รับสารว่าจะขำเหมือนกันหมดหรือไม่?แล้ว... การถามในเชิงการเมืองว่า “ถ้าคุณจะล้อนายขนมต้ม แล้วไม่ล้อนายขนมปังหรือไม่ล้อคนอื่นๆ อย่าล้อดีกว่ารึเปล่า?” ก็มีความสำคัญ, คำถามนี้มีประเด็นเพราะเป็นการพยายามถามกลับไปว่าตกลงแล้วการล้อนั้นเป็นเรื่องที่ถ้าไม่ได้ล้อคนทุกๆ คนได้อย่างเสมอหน้ากันนั้นนับว่ามีคุณค่าหรือไม่? อย่างไรก็ตามต้องทบทวนให้เห็นว่า คำถามดังกล่าวมีคำตอบได้หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าเรามองการล้อบนฐานทางทฤษฎีแบบใด หากมองการล้อว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองปราศจากอุดมการณ์ (neutral ideology) หมายความว่าการล้อสามารถรับใช้อุดมการณ์ได้ทั่วๆ ไป ก็อาจจะตอบได้ว่า การล้อไม่จำเป็นต้องล้อทุกคนถึงจะมีสิทธิธรรมที่จะล้อนายขนมต้ม (การล้อไม่เคย fair ขนาดนั้นอย่างน้อยคนที่อนุรักษนิยมคงไม่นำการล้อไปล้อภาพตัวแทนอนุรักษนิยมเป็นแน่) ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้ว “การล้อต้องเลือก” และเป็นการเลือกตามอำเภอในหรือรสนิยมของผู้ล้อเป็นสำคัญ (โดยตระหนักถึงความเสี่ยงจาก reactive voices ตลอดเวลา) กระนั้นก็ตาม แม้การล้อจะต้องเลือก แต่หากเลือกแล้วว่าจะล้ออะไร... การล้อควรมีเสรีภาพที่จะได้ล้อ สิ่งนี้สำคัญ หมายความว่า คำกล่าวประเภทที่บอกว่า "ถ้าคุณจะล้อนายขนมต้มได้ คุณควรจะล้อนายขนมปังได้ด้วยนั้น" ไม่ได้เป็นคำกล่าวที่บอกว่าถ้านาย A จะล้อนายขนมต้ม นาย A จะต้องล้อนายขนมปังด้วย แต่หมายความว่า ถ้านาย A จะล้อนายขนมต้ม แล้วนาย B อยากล้อนายขนมปัง นาย B ควรมีสิทธิ์ได้ล้อนายขนมปังเท่าๆ กับที่นาย A มีสิทธิ์ล้อนายขนมต้ม อันนี้คล้ายๆ กับกำลังกล่าวถึงความเป็นธรรมของการล้อ (equity of parody) มองในมุมเศรษฐศาสตร์ การจะตัดสินการล้อเลียนจึงเป็นอำนาจที่สังคมควรมีสัญญาประชาคมที่จะยกการตัดสินไปเป็นสิทธิธรรมของ “ตลาด” และตลาดดังกล่าวควรเป็นตลาดเสรี คือใครใคร่ล้อต้องได้ล้อ และรอรับผลจากการล้อเหล่านั้นอย่างมี equity of parody เพราะในท้ายที่สุดแล้วไม่มีใครจะสามารถมาตัดสินคุณภาพความขำ และความเหมาะสมของการล้อเลียนได้โดยลำพัง การตัดสินโดยตลาดนั้นไม่ได้หมายความถึงเพียงเชิงปริมาณเท่านั้น (เช่นมีคนสนับสนุนต่อการล้อเลียนและความขำขันเหล่านั้นมากน้อยเพียงไร) แต่ยังหมายถึงความเข้มข้นของความขำขันและการสนับสนุนด้วย ทั้งนี้ ความขำนอกจากมันจะไม่เคยเป็นสากลแล้วมันยังมีลักษณะเป็นสกรรมสภาวะ (transitive reality) กล่าวคือ มันมีความเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่นสมมติว่าวันนี้นายขนมต้มโดนล้อเลียน คนขำกันทั้งบ้านทั้งเมือง แต่วันพรุ่งนี้มีคนเผาตัวเองประท้วงที่ไปล้อเลียนนายขนมต้ม สังคมคงไม่ขำกับการเผาตัวเองดังกล่าว และในขณะเดียวกันการขำขันไปกับการล้อเลียนนายขนมต้มก็ถูกเปลี่ยนสภาวะไปเป็นเรื่องต้องห้าม (taboo) ทันที
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
เริ่มไต่สวนการตายนักข่าวญี่ปุ่น-2 เสื้อแดงถูกยิง 10 เมษา Posted: 21 May 2012 08:44 AM PDT
21 พ.ค.55 ที่ห้องพิจารณา 403 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง 63 วันนี้ (21 พ.ค.) ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต คดีหมายเลขดำที่ ช.1/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ สัญชาติ ญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ที่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 ก่อนเริ่มพิจารณาคดีนายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความ นปช. ได้ยื่นคำร้องขอรวมคดีชันสูตรพลิกศพของคดีหมายเลขดำ ช.4/2555 ที่พนักงานอัยการสำนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนหาสาเหตุการเสียชีวิตของ นายวสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ราชดำเนินเมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 และศาลนัดพิจารณาคดีในวันนี้ด้วย รวมกับคดีของนายฮิโรยูกิ เพื่อความสะดวกในการพิจารณาคดีเนื่องจากวันและเวลาเกิดเหตุใกล้เคียงกันและ มีพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานคดีนายฮิโรยูกิ และคดีของนายวสันต์เป็นคนละชุดกัน จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้รวมสำนวน ส่วนที่นายยูซูเกะ มูราโมโต้ อายุ 43 ปี น้องชายนายฮิโรยูกิ ได้แถลงต่อศาลผ่านล่ามและเจ้าหน้าที่ของสถานทูตญี่ปุ่นว่าประสงค์จะขอเบิก ความ ในวันนี้เนื่องจากไม่สะดวกเดินทางไป-กลับระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า นายยูซูเกะ ยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความ ซึ่งมีเอกสารบางรายการที่นายยูซูเกะจะต้องเซ็นไว้เป็นหลักฐานจึงต้องการให้ มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางกฎหมายเพื่อความโปร่งใส ซึ่งนายเจษฎา ทนายความ นปช. ได้รับที่จะเป็นทนายความให้นายยูซูเกะ ศาลจึงได้เริ่มกระบวนการไต่สวน โดยนายยูซูเกะ เบิก ความสรุปว่า พยานมีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นพี่น้องนายฮิโรยูกิผู้ตาย โดยผู้ตายมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีอาชีพเป็นนักข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ประจำประเทศญี่ปุ่น อายุงาน 15 ปี รับผิดชอบทำข่าวทุกด้านทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น พยานทราบข่าวที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2553 เวลาเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นว่า ผู้ตายเสียชีวิตขณะทำข่าวการชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้องในประเทศไทย จาก นั้นจึงแจ้งบิดา-มารดาและภรรยาของผู้ตาย เมื่อทั้งสามทราบข่าวจึงได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อติดต่อขอดูศพทันทีในวัน ดังกล่าว และยืนยันว่าเป็นศพนายฮิโรยูกิ จึงได้ขอนำศพกลับไปทำพิธีกรรมทางศาสนาที่ประเทศญี่ปุ่น โดยพยานสอบถามสาเหตุการเสียชีวิตจากพ่อแม่และภรรยาของผู้ตายทราบว่า ผู้ตายถูกยิงเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ทำข่าวการชุมนุมในกรุงเทพ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 เวลา 21.00 น. ซึ่งหลังจากศพถึงประเทศญี่ปุ่นพยานก็ได้เห็นศพและยืนยันว่าเป็นพี่ชายจริง โดยหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมทางศาสนาพยานและครอบครัวยังติดใจที่จะให้รัฐบาล ไทย สอบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิตของพี่ชายและสืบหาบุคคลที่ใช้อาวุธปืนยิง จึงติดต่อสถานทูตญี่ปุ่นให้ดำเนินการประสานรัฐบาลไทย ต่อมาทราบว่ารัฐบาลไทยดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าว และได้รายงานความคืบหน้าให้พยานทราบเป็นระยะ โดยพยานเคยให้การกับพนักงานสอบสวนแล้วก่อนที่จะมาเบิกความในคดีนี้ ซึ่งพยานขอยืนยันคำให้การในชั้นพนักงานสอบสวนด้วยว่า นายฮิโรยูกิ เดินทางมาประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 เม.ย.53 เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ข่าวที่บริเวณ ถ.ราชดำเนิน และ เท่าที่ทราบผู้ตายเคยเดินทางเข้าออกประเทศไทยหลายครั้ง แต่ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับบุคคลใดในระเทศไทย ส่วนสาเหตุที่บิดา-มารดาไม่ได้เดินทางมาเบิกความด้วยเนื่องจากบิดา-มารดาแก่ ชราแล้ว ส่วนภรรยาผู้ตายก็มีภาระต้องเลี้ยงบุตรสาว 2 คน จึงไม่ได้มาเบิกความ โดยนายยูซูเกะ ตอบทนายความด้วยว่า ไม่ทราบว่านักข่าวต่างประเทศที่เข้าไปทำข่าวในประเทศต่างๆ รัฐบาลของประเทศนั้นๆ จะให้การคุ้มครองนักข่าวหรือไม่ สำหรับผู้ตายเองก่อนหน้านี้ก็เคยไปทำข่าวการชุมนุมของประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศไทย ซึ่งการเสียชีวิตของพี่ชายพยานทราบข่าวจากอินเทอร์เน็ตที่ปรากฏภาพผู้ตาย กำลังปฏิบัติหน้าที่ว่าผู้ตายเสียชีวิตในช่วงที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่ทหาร สลายการชุมนุม โดยพยานไม่ทราบขนาดและความร้ายแรงของอาวุธปืน แต่เคยสอบถามไปยังสำนักข่าวรอยเตอร์ ต้นสังกัดผู้ตายแจ้งว่าไม่สามารถยืนยันได้ว่าใครเป็นคนยิงผู้ตาย ภายหลังนายยูซูเกะ เบิกความเสร็จสิ้นแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานปากต่อไปในวันที่ 2 ก.ค.นี้ เวลา 09.00น. พร้อมกำชับให้ทนายความจัดพยานเป็นกลุ่มเพื่อสะดวกกับการสืบพยาน เพราะมีจำนวนมากถึง 56 ปาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. พร้อมกับ น.พ.เหวง โต จิราการ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เดินทางมาร่วมฟังการไต่สวน นอกจากนี้ ยังมีนายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขาธิการมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 และผู้สื่อข่าวจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง มาร่วมฟังจำนวนมากด้วยจนล้นห้องพิจารณาคดี ขณะ ที่เมื่อเบิกความเสร็จ นายยูซูเกะ ได้เดินทางกลับพร้อมรถสถานทูตญี่ปุ่นทันทีเพื่อไปยังสนามบินเดินทางกลับ ประเทศญี่ปุ่น โดยไม่ได้สัมภาษณ์แต่อย่างใด ด้านนายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความ นปช. กล่าวถึงการไต่สวนชันสูตรพลิกศพของนายวสันต์ และนายทศชัยว่า วันนี้ ตนได้เสนอบัญชีพยานที่จะไต่สวน รวม 24 ปาก ขณะที่อัยการโจทก์ ผู้ร้องเสนอบัญชี 59 ปาก โดยพยานที่จะนำเข้าไต่สวนจะมีทั้งพยานที่เห็นเหตุการณ์ พนักงานสอบสวน และญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งศาลได้นัดไต่สวนวันที่ 31 ก.ค.นี้ เวลา 09.00 น. ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
คนงานชินเอประท้วงกระทรวงแรงงาน จี้ให้นายจ้างรับกลับ Posted: 21 May 2012 05:45 AM PDT 21 พ.ค. 55 - สำนักข่าวไทยรายงานว่าคนงานบริษัท ชินเอไฮเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสุรนารี และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร สูงเนิน จ.นครราชสีมา รวมกว่า 1,000 คน เดินทางมาชุมนุมประท้วงขวางทางเข้าออกกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่เช้ามืด ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของกระทรวงฯ ต้องปิดทางเข้าออกทุกทาง จนข้าราชการและประชาชนที่จะมาติดต่อราชการไม่สามารถเข้าออกได้ตามปกติ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดินแดง ประมาณ 10 นาย คอยดูแลสถานการณ์ที่ค่อนข้างตึงเครียด ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของกระทรวงฯ ได้เปิดประตูให้ข้าราชการได้เข้าไปทำงานแล้ว ผู้ที่จะผ่านเข้าออกต้องแสดงบัตรประจำตัวข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่เท่านั้น ขณะที่คนงานส่วนหนึ่งปีนรั้วเข้ามานอนพักอยู่บริเวณชั้นล่างนกระทรวงแรงงาน นายเดชสิงห์ ท้าวไธสง หนึ่งในคนงานที่ชุมนุมประท้วง กล่าวว่า หลังจากต้องหยุดงานมานานแล้วกว่า 1 เดือน ถึงวันนี้คนงานต้องการเจรจากับนายคุริโอะ นิชิมูระ เจ้าของโรงงานชาวญี่ปุ่นเพียงคนเดียว เพราะการเจรจาผ่านตัวแทนบริษัทในช่วงที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จ และมีการส่งจดหมายขู่จะฟ้องกลับคนงานที่ออกมาเคลื่อนไหวเป็นเงินมากถึง 200 ล้านบาท ที่สำคัญมีการเลิกจ้างคณะกรรมการสหภาพและผู้นำคนงานไปแล้วกว่า 100 คน ข้อเรียกร้องสำคัญขณะนี้คือ การให้คนงานได้กลับเข้าทำงานตามปกติ และคงสวัสดิการและสภาพการจ้างเดิมไว้ ส่วนสวัสดิการที่เรียกร้องใหม่รวม 35 ข้อ ให้มาเจรจากันภายหลัง ด้านนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุจะทำแถลงการณ์ชี้แจงคนงานในส่วนที่เข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้การเคลื่อนไหวบานปลาย เพราะขณะนี้คนงานไม่มีแกนนำ จึงไม่สามารถพูดคุยหรือตกลงได้ ส่วนสาเหตุที่นายจ้างไม่มาเจรจา เพราะลูกจ้างยังคงมีการความพยายามยกระดับการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ทำให้นายจ้างกลัวจนการเจรจาไม่มีความคืบหน้า ขณะที่นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในวันนี้จะประสานให้ทางบริษัทชินเอไฮเทค จัดรถมารับคนงานที่ต้องการจะกลับไปทำงาน เบื้องต้นทางบริษัทตกลงจะไปรับคนงาน แต่มีข้อแม้ว่าผู้นำแรงงานกว่า 100 คนที่ต้องมีการสัมภาษณ์และทำความเข้าใจกันก่อนกลับเข้าทำงาน อยากเรียกร้องให้คนงานที่ออกมาเคลื่อนไหวนึกถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากประเทศชาติ เพราะการเคลื่อนไหวที่ไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอ จะทำให้นักลงทุนหวั่นวิตก อาจย้ายฐานการผลิตได้ เนื่องจากข้อเรียกร้องไม่สมเหตุผล จากการเจรจากับคนงานในข้อเรียกร้อง 35 ข้อที่ให้เพิ่มสวัสดิการ เช่น การขอสนามกีฬาหญ้าเทียม เพื่อลดอาการบาดเจ็บ ขอเพิ่มค่ารถหรือค่าอาหารจาก 25 บาท เป็น 70 บาท ขอให้จ่ายโบนัส 2 ครั้งต่อปี เฉพาะสมาชิกสภาพแรงงานเท่านั้น เป็นต้น แต่หากยืนยันจะปักหลักประท้วงต่อก็จะให้ชุมนุมอย่างสงบ ห้ามไปรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่บนอาคาร หากฝ่าฝืนจะประสานตำรวจดำเนินคดีข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น