โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6 - 12 พ.ค. 2555

Posted: 13 May 2012 01:21 PM PDT

ก๊าซพิษรั่วอีกที่นิคมฯเหมราชคนงานเจ็บ 50 คน

เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. วันที่ 6 พ.ค. ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อ.มาบตาพุด จ.ระยอง เกิดเหตุก๊าซพิษมีกลิ่นฉุนรั่วอีก ที่บริษัท อดิตยาเบอร์ล่าเคมีคัลส์ (ประเทศไทย) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโรงงานบีเอสที ที่เกิดเหตุถังสารเคมีระเบิดและเกิดเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมาระยะทาง 4 ก.ม. ?ทั้งนี้ เหตุสารเคมีรั่วไหลที่บริษัท อดิตยาฯเกิดจากโรงงานหยุดเดินเครื่องฉุกเฉิน ทำให้ตัวปล่องของโรงงานปล่อยสารเคมีออกมา สารที่รั่วออกมาเป็นสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์(Sodium hypochlorite NaOCl) ที่เป็นสารตั้งต้นทำโซดาไฟ ?ส่งผลให้คนงานสูดดมเข้าไปหลายคน ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง อ่อนเพลีย และแสบคอ เจ้าหน้าที่ของบริษัทปิดกั้นบริเวณไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไป โดยผู้ที่จะเข้าไปได้ต้องสวมชุดและหน้ากากป้องกันเนื่องจากเป็นสารเคมี อันตราย เบื้องต้นมีการทยอยนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษประมาณ 50 รายนำส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด โรงพยาบาลบ้านฉาง และโรงพยาบาลระยอง ทั้งนี้ บริษัทอดิตยาฯเป็นผู้ผลิตโซดาไฟ คลอรีน และอีพ็อกซี่เรซิ่น

(แนวหน้า, 6-5-2555)

ธุรกิจรองเท้า-สิ่งทอเล็งย้ายฐานไปเพื่อนบ้าน

นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย เปิดเผยว่า จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันขณะนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรองเท้าอย่างมากเนื่องจากเป็น อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งแรงงานสูง โดยเฉพาะกว่า 50% อาศัยแรงงานต่างด้าวเมื่อแรงงานฝีมือขั้นต่ำต้องปรับเพิ่มจึงส่งผลต่อเนื่อง ไปยังแรงงานฝีมือที่ต้องขยับตามเพื่อรักษาคนงานเอาไว้ เนื่องจากภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือทำให้เกิดการดึงตัวแรงงานสูงขึ้น

"เมื่อเราเพิ่มค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวันโดยไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพด้านฝีมือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้ แรงงานต่อรองมากขึ้น ธุรกิจจึงต้องจ่ายเพิ่มในทุกระดับ ซึ่งเอกชนไม่ได้ว่าถ้ารัฐบาลจะขึ้นค่าแรงแต่ขอให้มองเรื่องการพัฒนาฝีมือ ประกอบด้วย และมีมาตรการมาส่งเสริมเอกชนบ้างเช่น การส่งเสริมเอกชนไปทำตลาดต่างประเทศ ให้เงินสนับสนุนบางส่วนไปเพิ่มประสิทธิภาพด้านแรงงาน ฯลฯ แต่กลับเป็นว่าเอกชนต้องพึ่งตนเองเป็นหลัก ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เอกชนเขากลับได้รับการส่งเสริมทุกด้าน" นายชนินทร์กล่าว

นายชนินทร์กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ผลิตรองเท้ากำลังมองหาทางออกคือการพิจารณาย้ายลงทุนไปยังแนวตะเข็บ ชายแดนไทยเพื่อรับแรงงานต่างด้าวและการย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ พม่าเนื่องจากพม่าเริ่มเปิดประเทศคาดว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งแรงงานต่างด้าวคง ย้ายกลับถิ่นฐานเดิม ไทยจะพึ่งแรงงานต่างด้าวไม่ได้อีกต่อไปและที่สุดธุรกิจรองเท้าไทยจะอยู่ได้ เฉพาะส่วนของการทำเทรดเดอร์เท่านั้น

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้น 300 บาทต่อวันนำร่อง 7 จังหวัดและ 40% ในจังหวัดที่เหลือนั้นยอมรับว่าส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ให้ทุกระบบต้องปรับ เพิ่มขึ้นแต่การได้แรงงานที่มีฝีมือยังเหมือนเดิมและอาจไม่จูงใจให้แรงงาน ขั้นต่ำพัฒนาฝีมือตนเอง ดังนั้นธุรกิจเองหากหาเครื่องจักรทดแทนได้ก็คงจะต้องลงทุนเพิ่มแต่ธุรกิจใด ที่ยังจำเป็นต้องใช้แรงงานเชื่อว่าที่สุดคงจะต้องมองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

นายพากร วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานในพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยามีการติดป้ายประกาศรับแรงงานใหม่ เข้าทำงานจำนวนมากตั้งแต่หลังเทศกาลสงกรานต์เนื่องจากโรงงานเริ่มมีการ ฟื้นฟูกิจการจากภาวะน้ำท่วม ซึ่งก่อนหน้านั้นแรงงานเกือบ 1 แสนคนต้องว่างงานชั่วคราว อย่างไรก็ตามภาพรวมแรงงานดังกล่าวยังคงเข้าสู่ระบบไม่เต็มที่เพราะโรงงานบาง แห่งยังรอเครื่องจักรใหม่และบางแห่งปิดกิจการรวมถึงการย้ายไปยังพื้นที่อื่น

"ต้องยอมรับว่าแรงงานโดยรวมยังคงขาดแคลนโดยเฉพาะแรงงานฝีมือขั้นต่ำ เพราะคนไทยส่วนหนึ่งยังเลือกงานอยู่ ถ้ารัฐไม่จัดระบบการศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการ ก็จะต้องอาศัยแรงงานต่างด้าวมากขึ้นและที่สุดโรงงานส่วนหนึ่งต้องมองการย้าย ฐานไปเพื่อนบ้าน"

(ข่าวสด, 7-5-2555)

สภาฯ ผู้ป่วยจากการทำงาน ร้องจัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ

7 พ.ค. 55 – สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แถลงการณ์ฉบับที่ 1

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย


สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน ซึ่งเป็นองค์กรที่รวบรวมสมาชิกที่มีทั้งคนงานและชุมชนที่ประสบปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานและมลพิษสิ่งแวดล้อม รวมกลุ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ดำเนินการร่วมเรียกร้องสิทธิ และ ผลักดันนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กับ รัฐบาลในนามสมัชชาคนจนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้นำด้านสุขภาพในพื้นที่อุตสาหรรมต่างๆที่ทำ งานขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งยังเข้าร่วมเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เหตุการณ์ระเบิดของโรงงานบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบพุด  จังหวัดระยอง ผลิตสารโพลีเมอร์ผสมกับยาง เป็นชิ้นส่วนในการผลิตถุงมือยาง ทำให้เกิดไฟไหม้อย่างรุนแรงและมีสารสารโทลูอีน และสารอื่นๆ ที่ระเหยคละคลุ้งส่งผลกระทบให้กับชุมชนเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้ในอนาคต เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ถือว่าเป็นความบกพร่องประมาทเลินเล่อ ของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สะเทือนขวัญต่อสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง ที่มีคนงานเสียชีวิตฉับพลัน 12 ศพ บาดเจ็บกว่า 130 ราย และในวันต่อ จากโรงงานระเบิด
เพียง 4 กิโลเมตร ก็เกิดสารเคมีรั่วไหลภายในบริษัทไทยคลอ คาลี ดีวิชั่น จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ทำให้คนงานเจ็บป่วยฉับพลันกว่า 50คน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อยมาจนเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ของคนในชุมชนดังกล่าว เหตุการณ์ระเบิดโรงงานครั้งนี้นับเป็นข่าวสร้างความเสียหายอีกครั้งหนึ่งต่อ ภาพลักษณ์ของสังคมและประเทศชาติ  ที่อาจทำให้ถูกมองว่ามีแต่นโยบายที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาอุตสาหกรรม  จนละเลยขาดระบบการป้องกันตรวจสอบ จากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ เมื่อวันที่ 10พฤษภาคม 2555 ผ่านมาจะครบรอบ 19 ปี สถานการณ์เรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน ชีวิตคนงานก็ยังต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต เสี่ยงภัยอยู่ทุกวินาที ทั้งภัยเครื่องจักรอันตราย และจากสารเคมีที่ร้ายแรง  รวมไปถึงปัญหาในการเข้าไม่ถึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงมีความเห็นและขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล  ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ต่อกรณีนี้ดังนี้

ข้อเสนอเร่งด่วนดังนี้

1.ให้คนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้ได้เข้าถึงสิทธิการดูรักษา อย่างดีและได้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทด แทน                                                                                                              

2.ให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยเพื่อแสดงความรับผิดชอบนอกเหนือกฎหมาย

3.ให้ตรวจสอบสถานประกอบการณ์ที่มีอันตรายโดยเร่งด่วนและยุติการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ปลอดภัย

ข้อเสนอในระยะยาว ดังนี้

1.รัฐต้องมีนโยบายแผนงานแห่งชาติพัฒนาระบบงานอาชีวเวชศาสตร์เพื่อให้มี การผลิตบุคลกรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวด ล้อมที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในระยะยาว การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน การจัดบริการที่สามารถทำให้ลูกจ้าง นายจ้างเข้าถึงได้ง่าย

2.ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่วยจากการทำงานเพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

3.ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงานตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่องโดยลูกจ้าง มีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล.เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง

4.รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้
-ฉบับที่ ๑๕๕ ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย  ค.ศ.๑๙๘๑ (พ.ศ.๒๕๒๔)
-ฉบับที่ ๑๖๑ ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.๑๙๘๕ (พ.ศ.๒๕๒๘)
-ฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.๒๐๐๖ (พ.ศ.๒๕๔๙)

5.ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ  เพื่อนำไปสู่ วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน

6.การบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง

7.เร่งจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ ทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และ บูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทย โดยเน้นมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา

8.การงดใช้แร่ใยหิน  ชดเชยผู้ป่วย

9.จัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ

ณ.วันที่ 7 พฤษภาคม 2554

สมบุญ สีคำดอกแค สภาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย    

(ประชาไท, 7-5-2555)  

คนงานตกนั่งร้านตึกใบหยกดับ 3 ศพ

มื่อเวลา 14.15 น. วันที่ 7 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกิดเหตุพนักงานติดสติ๊กเกอร์ภายนอกอาคารใบหยก 2 ถนนราชปรารภ แขวงราชปรารภ เขตราชเทวี ตกจากนั่งร้านเสียชีวิต 3 ศพ โดยก่อนเกิดเหตุได้มีพนักงานจำนวน 5 คน ขึ้นไปบนนั่งร้าน เพื่อติดสติ๊กเกอร์บริเวณด้านนอกอาคารดังกล่าว โดยนั่งร้านจอดอยู่บริเวณชั้น 69 จากความสูงของอาคารทั้งหมด 89 ชั้น แต่จู่ๆ นั่งร้านได้เกิดหักกลาง ทำให้คนงาน 3 คนพลัดตกลงมา

โดยศพแรกติดค้างอยู่ที่สนามไดร์ฟกอล์ฟบนชั้น 18 ส่วนศพที่สองติดค้างอยู่บริเวณสระน้ำชั้นที่ 20 และศพที่สามติดค้างอยู่ชั้นที่ 36 ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ศพ ยังไม่ทราบชื่อและภูมิลำเนา ส่วนคนงานอีก 2 คนที่รอดชีวิตอย่างหวุดหวิด เพราะสามารถกระโดดเกาะนั่งร้านที่หักไว้ได้ทัน และเจ้าหน้าที่ของอาคารต้องทุบกระจกออกไปช่วยไว้ได้ ท่ามกลางความหวาดเสียว

(เดลินิวส์, 7-5-2555)

นายกฯ จี้รมว.อุตสาหกรรมวางระบบโรงงานปลอดภัย เข้มต่อใบอนุญาต

ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ก่อนเริ่มการประชุมครม. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีเหตสารคลอรีนรั่วไหลจากโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จ.ระยอง โดยพบว่า โรงงานของบริษัท อดิตยาเบอร์ล่าเคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เคยปล่อยให้สารเคมีรั่วไหลมาแล้ว จึงเกิดคำถามว่า ทำไมถึงมีการต่อใบอนุญาต ทั้งๆ ที่เคยทำผิดระเบียบ ก่อนจะมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมวางระบบโรงงานอุตสาหกรรม ใหม่ เพื่อสร้างความปลอดภัย อีกทั้ง ให้ประสานกับกระทรวงมหาดไทยดูแลประชาชนให้อยู่ร่วมกับโรงงานได้ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเป็นห่วงแรงงานที่ได้รับอุบัติเหตุเครนหักที่ตึกใบหยก พร้อมกำชับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานดูแลทรัพย์สินและคุณภาพชีวิตแรง งานอีกด้วย

(มติชนออนไลน์, 8-5-2555)

กสร.เร่งตรวจสอบกรณีคนงานตกนั่งร้านเสียชีวิต

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีพนักงานบริษัทคิว แอดเวอร์ไทซิ่ง 5 คน พลัดตกลงจากนั่งร้าน ชั้น 68 ของอาคารใบหยก สกายทาวเวอร์ 2 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ขณะขึ้นไปติดป้ายโฆษณาสินค้า ทำให้เสียชีวิตทันที 3 คน และบาดเจ็บอีก 2 คน ว่า กรณีนี้แรงงานที่บาดเจ็บระบุว่านั่งร้านมีรอยร้าวอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำงานไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุว่ากรณีดัง กล่าวเป็นความบกพร่องของบริษัทผู้รับเหมาติดป้ายโฆษณาหรือไม่ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ระบุชัดเจนว่า นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานให้กับคนงาน และมีหน้าที่กำกับดูแลให้แรงงานสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวในการปฏิบัติงาน และหากพบว่าแรงงานไม่ปฏิบัติ นายจ้างมีสิทธิระงับการปฏิบัติงาน และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขณะเดียวกันก็กำหนดให้คนงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ความ ปลอดภัยด้วย

อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่ควบคุมการปฏิบัติงานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัติความ ปลอดภัยฯ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 8-5-2555)

ประกันสังคมเผยพร้อมจ่ายเงินทดแทน เหตุบึ้มโรงงานมาบตาพุด

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน สั่งให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน โดยพร้อมจ่ายเงินให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดของ บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด ซึ่งได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอหลักฐานจากญาติผู้เสียชีวิตเท่านั้น โดยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลจำนวน 104 ราย เป็นเงิน 4.5 ล้านบาท ค่าทำศพผู้เสียชีวิตจำนวน 12 ราย รายละ 30,000 บาท เป็นเงิน 360,000 บาท และค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจำนวน 12 ราย เป็นเงิน 13,824,000 บาท รวมเป็นเงิน 18,684,000 บาท

ด้าน ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม แถลงว่า กรณีการเกิดเหตุระเบิดของ บริษัท บีเอสทีฯ และการเกิดสารเคมีรั่วไหลของบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งในการดูแลพื้นที่อุตสาหกรรม ทั้งมาบตาพุดและพื้นที่อุตสาหกรรมอื่นๆโดยนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมสอบทานแผนป้องกันความเสี่ยงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงในเรื่องของสารพิษ สารไวไฟ สารเคมี ให้มีการสอบทานกระบวนการซ่อมบำรุงของโรงงานอุตสาหกรรมและให้มีการตรวจคุณภาพ การดำเนินงานอย่างเข้มข้น พร้อมทั้งแผ่นป้องกันความเสี่ยงให้มีการดำเนินการสอบทานทุกไตรมาส รวมถึง เวลาที่จะเสนอขอต่อใบอนุญาตโรงงาน ต้องนำส่งแผนป้องกันความเสี่ยงที่ต้องสอบทานด้วยว่าแผนดังกล่าวสามารถ ปฏิบัติได้จริง และให้มีการสอบทานโรงงานที่มีข้อบกพร่องเกิดเหตุซ้ำซาก และทบทวนมาตรการในการต่อใบอนุญาตใหม่ให้เข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม

รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า จากนี้ไปภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะสร้างมาตรฐานเป็นโรงงานปลอดภัยและชุมชนอยู่รวมได้ นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดให้มีระบบแจ้งข้อมูลระหว่างนิคมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยให้มีการแจ้งข้อมูลไปยังชุมชน ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้มีการบูรณาการศูนย์ข้อมูล โดยให้มีการประมวลข้อมูลข่าวสาร ให้สามารถนำไปใช้สั่งการโดยมีผู้รับผิดชอบโดยตรง

รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า ทั้งนี้ ให้ชี้แจงภาคประชาชนรับทราบข้อมูลทันทีที่เกิดเหตุและข้อมูลดังกล่าวจะต้อง ไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้เริ่มจากพื้นที่ที่เกิดเหตุ เชื่อมโยงข้อมูลไปยังระดับจังหวัด และให้เชื่อมโยงข้อมูลจากศูนย์ อีเอ็มซี สแควร์ซึ่งเป็นศูนย์ที่ดูแลข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กน อ.)มายังศูนย์ข้อมูลของสำนักนายกรัฐมนตรีอีกทั้ง นายกรัฐมนตรีให้กระทรวงอุตสาหกรรมตรวจสอบ ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนป้องกันภัยชุมชน โดยให้ทำงานร่วมกับกระทรวงหมาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและภาคประชาชน ซึ่งให้มีการบูรณาการแผนและเชื่อมโยงกับแผนป้องกันภัยในระดับจังหวัด

(เนชั่นทันข่าว, 8-5-2555)

คนงาน ชินเอ บุก ก.แรงงาน จี้ช่วยเจรจานายจ้าง หวั่นล้มสหภาพฯ

ก.แรงงาน 8 พ.ค.-กลุ่มคนงานจากโคราช 300 คนบุก กระทรวงแรงงานปิดบันไดทางขึ้น-ลิฟต์ จี้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือ หวั่นนายจ้างล้มล้างสหภาพแรงงาน ด้านอธิบดี กสร.วอนแรงงานเจรจาอย่างสันติอย่ากดดันเกินไป
 
คนงานบริษัท ชินเอไฮเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ภายในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จ.นครราชสีมา ประมาณ 300 คนได้เดินทางมาชุมนุมใต้ตึกกระทรวงแรงงาน เรียกร้องให้กระทรวงแรงงาน หาทางช่วยเหลือ หลังชุมนุมเรียกร้องให้สวัสดิการแต่กลับถูกเลิกจ้าง โดยบางช่วงของการชุมนุมได้มีความพยายามในการกดดันเจ้าหน้าที่ให้เร่งช่วย เหลือด้วยการปิดทางขึ้นลงอาคารทั้งบันไดและลิฟต์โดยสารด้วย
 
นายสมพร รอจันทร์ รองประธานสหภาพชินเอไฮเทค กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกิดสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ในเรื่องสวัสดิการต่างๆ จำนวน 35 ข้อ เช่น ขอเพิ่มค่าอาหาร จัดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น การพักร้อนฉุกเฉิน และให้จัดสนามกีฬา แต่การเจรจากับนายจ้างถึง 6 ครั้งไม่เป็นผล ขณะเดียวกัน นายจ้างได้สั่งเลิกจ้างคณะกรรมการสหภาพด้วยแสดงให้เห็นถึงเจตนาว่า บริษัทต้องการล้มล้างสหภาพแรงงาน จึงอยากเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือในการเจรจาให้นายจ้างรับคนงาน ทั้งหมดกลับเข้าทำงานตามปกติ

ด้านนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า ได้นัดตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้างมาเจรจาหาข้อสรุปในวันนี้ แต่กลับเจอกดดันด้วยการปิดทางเข้าออกอาคารสร้างความเดือดร้อนให้ข้าราชการ และประชาชนที่มาติดต่อราชการ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ที่สำคัญยังส่งผลให้นายจ้างเกิดความกังวลและไม่เดินทางมาเจรจาด้วย อย่างไรก็ตาม กสร.จะพยายามช่วยแรงงานเจรจากับบริษัทเพื่อหาข้อสรุปต่อไป.

(สำนักข่าวไทย, 8-5-2555)

ทำบุญครบรอบ 19 ปี เหตุเพลิงไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์

10 พ.ค. 55 - นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์  ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต ในโอกาสครบรอบ 19 ปี เหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์  หรือ วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ  10 พฤษภาคม ที่สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

นายอนุสรณ์ ระบุว่า จากรายงานของกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม พบว่า สถิติการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง  ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี  ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ 1.79 ของคนงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม อยากเห็นตัวเลขสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานกลายเป็นศูนย์ ซึ่งทุกฝ่ายทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง ภาครัฐรวมถึงชุมชน ต้องช่วยกันสร้างความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้น พร้อมกระตุ้นเตือนให้สังคมมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยจากการทำงานอย่าง ต่อเนื่อง

ด้านนางรัศมี ศุภเอม  อดีตคนงานเคเดอร์  กล่าวว่า  ยังจดจำเหตุการณ์เมื่อ 19  ปีที่ผ่านมาได้ดี เพราะต้องหนีตายด้วยการกระโดดลงมาจากชั้น 3 ของโรงงาน จนกระดูกสันหลังหัก กลายเป็นคนทุพพลภาพ  แม้จะพอเดินได้แต่ก็ไม่ปกติ จึงอยากฝากให้สถานประกอบการดูแลความปลอดภัยคนงานให้มากขึ้น และแจ้งเตือนคนงานทันทีที่เกิดเหตุอันตรายหรือไฟไหม้

ในงานนอกจากพิธีทำบุญแล้ว ยังมีการจัดพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์  เช่น การขับร้องเพลงตุ๊กตา ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  การสาธิต 10 บัญญัติปฏิบัติตนพ้นจากเหตุเพลิงไม้และการปฐมพยาบาล  การสาธิตการกู้ภัยด้วยหุ่นยนต์ค้นหา

(สำนักข่าวไทย, 10-5-2555)

เพลิงไหม้โรงงานหน้านิคมฯโรจนะโชคดีดับทัน

เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในโรงงานโนชั่น (ประเทศไทย ) จำกัด เลขที่ 1/48 ม.5 ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติกขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โรจนะ และตรงข้ามโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ของนิคมอุตสาหกรรมโรจนะชื่อโรงงาน โรจนะพาวเวอร์ โดยมีถนนกว้างเพียง 6 เมตรขวางกั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามคนงานและรปภ.ได้ใช้อุปกรณ์ถังดับเพลิงที่มีประจำอยู่ในพื้นที่ ปรับปรุงฉีดพ่นใส่จุดที่เพลิงไหม้ และสามารถดับเพลิงลงได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเท่านั้น แต่ไม่มีทรัพย์สินใด ๆเสียหายมากนัก และไม่มีคนงานได้รับบาดเจ็บ
         
ทั้งนี้พบว่าโรงงานดังกล่าวที่เกิดเพลิงไหม้เป็นโรงงานที่อยู่ระหว่าง การดำเนินการปรับปรุงอาคารและสายพาการผลิตสาเหตุเพราะถูกน้ำท่วมหนักเมื่อ เดือนตุลาคม 54 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดสายพานการผลิตในโรงงานได้ โดยยังไม่มีคนงานผลิตมาทำงานในโรงงานแต่คนงานจำนวนมากของโรงงานได้ไปผลิต ชิ้นงานทดแทนในที่อื่นเป็นการชั่วคราวปัจจุบันในพื้นที่โรงงานแห่งนี้คงมี แต่พนักงานประจำออฟฟิตกว่า 20คนเท่านั้นที่เข้าทำงานในสำนักงาน
         
นายเรวัต ประสงค์ นายอำเภออุทัย กล่าวว่า โชคดีที่สามารถดับเพลิงลงได้อย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกซ้อมของโรง งานและความเข้มของภาครัฐที่ประสานความร่วมมือผ่านทางโรงงานคนงาน การนิคมแห่งประเทศไทย ภาครัฐ และท้องถิ่นที่ร่วมกันฝึกซ้อมเผชิญเหตุมาโดยตลอดซึ่งทุกวันนี้โรงงานในนิคม อุตสาหกรรมโรจนะจำนวนมากยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโรงงานจึงมีการก่อสร้างใน โรงงานแทบทุกแห่งเพราะรับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 54ซึ่งทางจังหวัดและอำเภอได้เน้นย้ำให้ทุกโรงงานเพิ่มความเข้มในการดำเนิน การปรับปรุงในระดับสูงสุดเพื่อความปลอดภัยและมีอุปกรณ์เผชิญเหตุเช่นถังดับ เพลิง ไว้ประจำพร้อมแบบ 100%

(โลกวันนี้, 10-5-2555)

แรงงานร้องขอความปลอดภัยในการทำงาน-ยกเลิกใช้แร่ใยหิน

10 พ.ค.- แรงงานร้องขอความปลอดภัยในการทำงาน เสนอตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ยกเลิกใช้แร่ใยหินทันที เดินหน้าหาข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ ช่วยแรงงานที่ได้รับผลกระทบ

นางสมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้โรงงานแต่ละแห่งเร่งกำลังการผลิต ส่งผลต่อแรงงานต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และสารพิษ โดยขาดการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง และไม่มีเครือข่ายอาชีวอนามัยเพื่อแรงงาน จึงเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขึ้น เพื่อให้มีคณะทำงาน นำไปสู่การตั้งศูนย์ร้องเรียน และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น การยกเลิกการใช้แร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นต้น

นพ.อดุลย์ บัณฑุกุล สมาพันธ์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบกว่า 100 ประเภท และยังมีแร่ใยหินที่จะได้รับจากการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างอีกมาก ซึ่งสมาพันธ์อาชีวอนามัยฯ จะประสานความร่วมมือแพทย์ พยาบาล ทุกระดับ และพยาธิแพทย์ เพื่อเก็บข้อมูล ค้นหาผู้ป่วยจากแร่ใยหิน โดยการซักประวัติผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดว่ามีประวัติการทำงานอะไร ให้นำไปสู่การรวบรวมข้อเท็จจริง เป็นหลักฐานทางการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายที่ชัดเจนต่อไป

ด้านนายพุทธิ เนติประวัติ สหพันธ์แรงงานก่อสร้างและคนทำไม้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า แม้ ครม. มีมติเห็นชอบ ห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ แต่ปัจจุบันมีผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่เพียง 2 รายเท่านั้นที่ประกาศเลิกใช้แร่ใยหิน ซึ่งกลุ่มคนงานก่อสร้างถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยจากแร่ใยหิน แต่ในประเทศไทยการพิสูจน์โรคว่าเกิดจากการทำงานทำได้ยาก เนื่องจากไทยมีแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์น้อยมาก หากเจ็บป่วยแพทย์ก็จะลงความเห็นเพียงว่าเป็นมะเร็งปอดโดยไม่มีการพิสูจน์ต่อ ทำให้แรงงานเหล่านี้ต้องเจ็บป่วยโดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ เพราะผู้ประกอบมักอ้างว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้จริงว่าเกิดจากการทำงานในช่วง ที่เป็นลูกจ้างของตน เนื่องจากกว่าจะเกิดโรคแรงงานส่วนใหญ่จะมีการย้ายการทำงานไปแล้ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจริงจังในการแก้ปัญหานี้

(สำนักข่าวไทย, 10-5-2555)

แรงงานบ่นอุบ ค่าจ้าง 300 บาทได้จริง แต่เงื่อนไขทำงานเปลี่ยน

ที่โรงแรมสยามซิตี้ มูลนิธิฟรีดริค เอแบรท์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดโครงการเสวนาเรื่อง "นโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรม แนวคิดและประสบการณ์ของยุโรปและไทย" โดย Dr.Thorsten Shulten นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์สังคมประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ประสบการณ์ในประเทศยุโรปเกี่ยวกับการขึ้นแรงงานนั้นเกิดใน 2 รูปแบบ คือในเชิงการใช้รูปแบบกฎหมายและการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กระทั่งการเจรจาแบบไตรภาคีคือนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน ที่ใช้ต่อรองกับนายจ้าง โดยที่คำนึงในผลิตภาพของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งกลไกของรัฐสภาก็ควรจะมีบทบาทในการตรวจสอบในการติดตามเรื่องความเป็น ธรรมของค่าแรงด้วย

ส่วนในมุมมองจากสังคมไทยนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการพูดคุยกันเรื่องค่าจ้าง 300 บาท ที่รัฐบาลมีนโยบายการปรับไปเมื่อเร็วๆนี้นั้น ตัวแทนของกลุ่มสหภาพแรงงานในภาคต่างๆ ทั้งภาคยานยนต์ ไฟฟ้า สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ฯลฯ ร่วมสรุปว่า แม้จะมีการเพิ่มค่าจ้างต่อวันจริงๆ แต่สวัสดิการอื่นกลับโดนลดลงจากเดิม ในรูปแบบต่างๆ หรือในส่วนของผู้ที่มีรายได้เกิน 300 บาท ต่อวันอาจจะมีการใช้วิธีปรับตามขั้นบันได ตามฐานเงินเดือนซ่างแม้จะมีรายๆได้เพิ่มจริงแต่ก็ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ เศรษฐกิจที่พบเจอ

นายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ตั้งแต่มีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน ตามนโยบายของรัฐบาล เมื่อ 1 เมษายนที่ผ่านมา มี 73 กรณีที่ร้องเรียนเข้ามาด้วยความไม่เป็นธรรม โดยส่วนใหญ่ระบุว่ามีการขึ้นเงินเดือนจริง แต่เป็นไปในรูปแบบการนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง300บาท ซึ่งมีจำนวนประมาณร้อยละ 300 จากกรณีทั้งหมด ส่วนที่ไม่ปรับเลยที่ร้องเรียนมามีประมาณ 12 ราย ซึ่งก็เป็นธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ได้ยึดติดกับอุตสาหกรรมอาทิ บริษัทผลิตจิวเวอรี่ ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังมีการขึ้นค่าแรงให้จริง แต่ปรับวิธีการทำงานใหม่ อาทิ แต่เดิมใช้เหมาจ่าย แต่มีการจ่ายเป็นรายวัน การจ้างเป็นรายเดือนหรือรายวัน กระทั่งมีเงื่อนไขการทำงานที่ต่างไปจากเดิม หรือบางกรณีแรงงานอยากจะบอกข้อมูลแต่ก็กลัวจะตกงาน จึงต้องทนรับการเอาเปรียบต่อไป

นายพอพันธ์ อุยยานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ถึงเศรษฐกิจจะโต แต่ยังไม่มีอะไรการันตีว่าผลกำไรที่บริษัทได้จะถูกส่งมายังแรงงาน ซึ่งนั้นก็จะเป็นหนึ่งในสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตนมองว่ามีปัญหาโครงสร้างหลักๆ ที่ต้องให้ความสำคัญคือ 1.การกำหนดชั่วโมงของการทำงานที่บางบริษัททำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง ซึ่งมากเกินไปและประสิทธิภาพการผลิตไม่สัมพันธ์กับค่าจ้าง 2.ทัศนคติของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมักถูกกว่าการช่วยเหลือเป็นไปในแนวทางการรับบริจาค แต่ไม่การันตีถึงความเข้มแข็งในการจ้าง ทั้งที่สำคัญแม้เศรษฐกิจจะโตแต่ถ้าสวัสดิภาพแรงงานไม่ขยับตามก็จะเป็นการ เติบโตทางเศรษฐกิจแบบไม่มีคุณภาพ

(เนชั่นทันข่าว, 11-5-2555)

เหยื่อแรงงาน รง.รองเท้าบุรีรัมย์ถูกลอยแพ ได้เงินชดเชยแล้ว 5.8 ล้าน

 นายพันธ์ศักดิ์ ศรีนุชศาสตร์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้า กรณีแรงงานกว่า 180 คน ที่ได้รับผลกระทบจาก บริษัท บุรีรัมย์ แพน ฟุตแวร์ จำกัด สาขา อ.ลำปลายมาศ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนรองเท้าได้ปิดกิจการ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
      
ล่าสุดทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินการติดตามเร่งรัดเงินชด เชยและเงินค่าจ้างค้างจ่าย จากทางโรงงานให้กับแรงงานที่มีอายุงานตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป ให้ได้รับเงินตามที่กฎหมายกำหนดครบทุกรายแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 5 ล้าน 8 แสนบาท
      
พร้อมกันนี้ยังได้ประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่ รวมทั้งสถานประกอบการ เพื่อจัดหาตำแหน่งงานว่างช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับแรงงานกลุ่มดัง กล่าวด้วย
      
หากแรงงานรายใดต้องการฝึกฝีมือในด้านต่างๆ ตามความถนัดก็จะประสานไปยังศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเข้าทำการฝึกทักษะฝีมือฟรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อนำความรู้ไปประกอบ อาชีพอิสระ และเข้าสู่ระบบการจ้างงานในโรงงานต่างๆ เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนให้กับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างด้วยนายพันธ์ศักดิ์ กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 12-5-2555)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รำลึก 2 ปี 'เสธ.แดง' นายพลนอกคอก

Posted: 13 May 2012 08:40 AM PDT

รำลึก 2 ปีการถูกลอบสังหาร พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง เดือน เม.ย.-พ.ค. ปี 2553 คึกคัก

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่ช่วงเช้ามีกลุ่มคนเสื้อแดงทยอยเข้าร่วมรำลึก 2 ปีการถูกลอบสังหาร พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง เดือน เม.ย.-พ.ค. ปี 2553 ณ บริเวณจุดเกิดเหตุ บริเวณสวนลุมพินี  โดยมี น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล (เดียร์) บุตรสาว พล.ต.ขัตติยะ อยุ่ร่วมในกิจกรรม โดยพิธีเริ่มขึ้นในช่วงสายด้วยการทำบุญเลี้ยงพระ 37 รูป ขณะในช่วงเย็น เป็นพิธีกล่าวรำลึกถึง พล.ต.ขัตติยะและเหตุการณ์การชุมนุม

นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ต่างประเทศ กล่าวบนเวทีว่า ครบ 2 ปี เสธ.แดงถูกยิงตาย แต่ยังจับใครไม่ได้ จับได้แต่พวกของ เสธ.แดง และยังไม่ได้ประกันตัว

"เคยพบนายทหารคนหนึ่ง บอกว่า สไนเปอร์ คนที่ยิงเสธ.แดง ท่ามกลางนักข่าว ได้ขนาดนั้น มีไม่กี่คน ฝีมือระดับ A+  แต่ป่านนี้จับไม่ได้...ถึงวันนี้ ใครยิง เราไม่รู้ แต่คนสั่งยิงเราพอรู้แล้ว กรุณา อย่าคาดคั้นให้ผมตอบ เพราะจะพูดแบบ พล.อ.สนธิ(บุญรัตกลิน) ว่า ตายไปก็บอกไม่ได้"  

หลังจากนั้นเป็นการอ่านบทกวีรำลึก และเวลา 19.00 น. มีการจุดเทียนสีแดงและร้องเพลง ร่วมยืนไว้อาลัย และส่งต่อเทียนไปปักบริเวณที่เสธ.แดงถูกลอบยิง 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อรรถชัย อนันตเมฆ: เรื่อง...ตั๊กคงไม่รู้

Posted: 13 May 2012 07:19 AM PDT

ตั๊ก คงไม่เข้าใจเรื่องอากง มันไม่ใช่อย่างที่ตั๊กแสดงความคิดออกมา

ตั๊ก รู้ไหมว่าอากงไม่ใช่คนเสื้อแดง .... ??????

ตั๊กรู้ไหม ว่าอากงรักในหลวงเหมือนตั๊ก .....??????? 
(ที่บ้านอากงมีหลักฐานมากมาย ที่พี่เห็นในภาพอาจมากกว่าที่บ้านตั๊กซะด้วยซ้ำ)

ตั๊กรู้ไหมว่า อีมี่ โทรศัพท์ มือถือ ที่ใช้เป็นหลักฐานมัดอากงนั้น มันปลอมได้ (มาบุญครองทำซ้ำขายมากมาย)

ตั๊กรู้ไหมว่า อากงส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นดังกล่าวไปยังเลขาอภิสิทธิ์

ตั๊กคิดไหมว่า หากใครสักคนต้องการส่งข้อความหมิ่นเพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่สถาบัน เขาจะส่งไปยังเลขา "ส่วนตัว" นายกเพื่ออะไร

ตั๊ก.... แล้วตั๊กคิดว่า เบอร์โทรศัพท์ ของเลขา "ส่วนตัว" ของนายกนี่มันหามาส่งกันง่ายๆ หรือ แม้แต่ในศาลก็ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าอากง รู้เบอร์นายสมเกียรติ "เลขาส่วนตัว" นายกนั่นได้อย่างไร

ตั๊กรู้ไหมว่า กระบวนการพิจารณาของศาลไทย เป็นระบบกล่าวหา...

ตั๊กรู้ไหม ว่า จากระบบกฎหมายดังกล่าว หากตั๊กตกที่นั่งเดียวกับอากง ตั๊กก็คงลำบาก

ตั๊กรู้ไหมว่า หากศาลยังไม่ตัดสินถึงที่สุด ตามกฎหมายยังถือว่า อากงบริสุทธิ์ และ อากงติดคุกอยู่ในฐานะคนบริสุทธิ์ จนตาย (ยังมีคนที่ติดอยู่ในคุกในสภาพนี้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนไม่มีวาสนา)

ตั๊กรู้ไหม ว่า การรับสารภาพของอากง เป็นสิ่งที่ทนายแนะนำ เพราะ จะทำให้ติดคุกน้อยกว่าการยืนหยัดต่อสู้ความจริง

ตั๊กเข้าใจเรื่องการประกันตัวไหม รู้เรื่อง เขาให้กำนันเป๊าะ วัฒนา อัศวเหม ประกันตัว ไหม

กระบวนการยุติธรรมไทยปัจจุบัน ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมาก เปิดช่องให้ ผู้มีอำนาจ ผู้มีวาสนา ผู้ถือกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐ มากมาย ด้วยคำว่า ดุลยพินิจ

ซึ่งบ่อยครั้ง ดุลยพินิจ ทางราชการ กับ ดุลยพินิจ ของประชาชนไม่ตรงกัน

ในกรณีของอากง ศาลใช้ดุลยพินิจ ว่า กลัวอากงหลบหนี จึงไม่ให้ประกัน ในขณะเวลาเดียวกัน สนธิ ลิ้มทองกุล ศาลให้ประกัน ทั้งที่อัตราโทษ 85 ปี มากกว่า อากง ถึง 70 ปี (อากงโทษจำคุก 15 ปี)

เราคงไม่ตำหนิดุลยพินิจของศาล .... (เพราะห้ามวิจารณ์)

แต่ถามจริงๆ ในดุลยพินิจของตั๊ก ใครมันจะอยากหนีมากกว่ากัน ระหว่างคนที่มีโทษจำคุก 85 ปี กับ 15 ปี

และถ้าหาก เหตุการณ์นี้ ตกมาที่ตั๊กและญาติมิตรในอนาคต ตั๊กจะทำอย่างไร

แท้จริง ประเด็นของอากง มันเกี่ยวข้องกับคำถามที่ว่า "อากงผิดจริงหรือไม่" ไม่ใช่ เรื่อง "หมิ่นสถาบัน" อย่างที่ตั๊กเข้าใจ

ตั๊กรู้ไหมว่าการเมืองมันเป็นเรื่องสกปรก

ตั๊กเคยรู้หรือไม่ว่าตลอดเวลามีคนใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการใส่ร้ายฝ่ายตรงกันข้าม
ตั๊กเคยได้ยิน เรื่อง ที่คนตะโกนในโรงหนัง ว่า "ปรีดี ฆ่าในหลวง" ไหม (ไปหาอ่านได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ พิมพ์ในกูเกิ้ลก็น่าจะมี)

ตั๊กคิดว่าพวกที่ใช้สถาบันเป็นเครื่องมือ กับ อากง ใครเป็นภัยต่อในหลวงมากกว่ากัน ถ้ารักในหลวง ตั๊กควรทำอย่างไร

สุดท้าย อยากให้ตั๊กรู้ว่า คนที่ออกมาต่อสู้เรื่องอากง ไม่ได้มีแต่คนเสื้อแดง แต่มีนักวิชาการ อาจารย์ มากมาย ที่ไม่ใช่คนเสื้อแดง ตั๊กรู้ไหมว่าพวกเขาไม่ได้มาต่อสู้พียงเพื่ออากง แต่เขามาต่อสู้เพื่อ ตั๊ก และ ครอบครัวด้วย

แท้จริงพวกเขามาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของคนไทย ต่อสู้เพื่อมนุษย์ทุกคนที่อาจไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบกฎหมายไทยที่ยังมีข้อบกพร่อง จนอาจเป็นเครื่องมือของใครต่อใครที่มีอำนาจ ซึ่งในที่สุด เมื่อสังคมมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม ทุกคนก็จะได้รับประโยชน์ แม้แต่ตั๊ก ครอบครัวของตั๊ก ลูกของตั๊กในอนาคต สามีตั๊ก คนที่ตั๊กรัก แม้แต่คนเสื้อทุกสี ก็จะได้รับประโยชน์ จากการต่อสู้ของพวกเขาในครั้งนี้

อยากให้ตั๊กได้รู้ว่า ตั๊กคือคนหนึ่งที่พวกเขาออกมาต่อสู้เพื่อ ....

พี่รู้จักตั๊ก เชื่อว่าแท้จริงแล้ว ตั๊กมีจิตใจที่ดี ตรงไปตรงมา และ เป็นคนรากหญ้า เชื่อว่าที่ตั๊กโพสต์ออกมาแบบนั้น ก็เพราะ ตั๊กไม่รู้ ดังนั้น ตั๊กต้องขจัดความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ โดยด่วน

ตั๊กไม่ใช่คนโง่ แต่ที่ตั๊กไม่รู้ พี่วิเคราะห์ว่าเพราะตั๊ก "ไม่ฟัง"

และ การไม่ฟังอาจเกิดจาก "อคติ"

เราเป็นดารา มีชีวิต มีอาชีพวันนี้ได้ แท้จริงก็เพราะประชาชน

เราเป็นคนของประชาชน ต้องรักประชาชน ประชาชนทุกคน มีบุญคุณกับตั๊ก "ไม่เว้นแม้แต่อากง" 
พี่เชื่อว่า ในช่วงชีวิตอากง อากงและครอบครัว ต้องเคยสนับสนุนตั๊กบ้าง ไม่มาก ก็ น้อย

น้าทอม ดันดี เคยพูดว่า "ข้าวชามน้ำจอก ที่ชาวบ้านให้เรากิน เราอย่าลืมบุญคณ"

แค่ขจัดอคติที่มีกับประชาชน รับฟังพวกเขาบ้าง แค่นี้ก็ดีมากแล้ว

หวังว่าตั๊กคงได้อ่านที่พี่เขียน และทบทวนสิ่งที่ตัวเองคิดให้ดี เชื่อพี่ รักประชาชน กตัญญูต่อประชาชน รับใช้ประชาชน อยู่ข้างประชาชน แล้วจะเจริญอย่างมีเสรีภาพ ครับ
 

                                                                                           'พี่โด่ง'

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐไทยต้องรับผิดชอบต่อการตายของอากง เหยื่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

Posted: 13 May 2012 06:55 AM PDT

ก่อนอื่น ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจและอาลัยต่อการจากไปของนายอำพล (ไม่ขอเปิดเผยนามสกุล) หรือ “อากง” ที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลประจำเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 อากงผู้ต้องโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 20 ปี ข้อหาส่งข้อความทางโทรศัพท์ไปยังเลขานุการส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สี่ข้อความที่ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายสถาบันกษัตริย์

การตัดสินจำคุกกรณีนี้สร้างความสะเทือนใจต่อผู้รักความเป็นธรรม เนื่องจากอากงอายุ 61 ปีแล้ว ต้องจำคุกจนถึงอายุ 81 ปี ทั้งอากงไม่ใช่คนเสื้อแดง เป็นคนสามัญธรรมดา ดูแลภรรยา ลูก 3 คน หลาน 4 คน มีฐานะยากจน สุขภาพทรุดโทรมลง เคยป่วยเป็นมะเร็งช่องปาก อีกทั้งการตัดสินพิพากษาของระบบศาลไทยก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธาอย่างมากเพราะด้วยความไร้มาตรฐานไร้มนุษยธรรม คือ

1. ด้วยความอ่อนแอของจำเลย (อากง) ที่อายุมาก ขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีและโอกาสในการเตรียมสู้คดี เพราะไม่ได้รับการประกันตัว  ศาลเห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ส่ง SMS ไม่เป็น และไม่รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์นั้น มีแต่จำเลยเท่านั้นที่รู้เห็น เป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง1] อีกทั้งการอ้างของจำเลยไม่น่าเชื่อถือเพราะจำผิดบ้าง จำไม่ได้บ้าง

2. ใช้พยานแวดล้อมของโจทก์ เพราะจำเลยไม่รู้จักนายสมเกียรติ ไม่รู้หมายเลขโทรศัพท์ แต่ศาลเห็นว่า แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตน มิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน

3. ใช้ข้อมูลจากเสาสัญญาณ หลักฐานเพียงโทรศัพท์มือถือ ที่อีมี่หรือรหัสประจำเครื่องสามารถปลอมแปลงกันได้ มัดตัวจำเลย  แต่จำเลยไม่สามารถหาผู้เชี่ยวชาญมายืนยันข้อเท็จจริงนี้ ซึ่งหมายความว่าการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตกเป็นภาระของจำเลย ในขณะที่ไม่มีโอกาสต่อสู้

4. ปฏิเสธสิทธิการประกันตัว  ทนายความของอากงได้ยื่นขอประกันตัว 8 ครั้ง วางหลักทรัพย์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะการยื่นขอประกันตัว 2 ครั้งหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โดยยื่นขอประกันต่อศาลอุทธรณ์ วางหลักทรัพย์ 1.4 ล้านบาท มีอาจารย์ 7 คน ใช้ตำแหน่งค้ำประกัน และยื่นครั้งสุดท้ายต่อศาลฎีกา มีอาจารย์กลุ่มเดิม พร้อมเงิน 1 ล้านบาทเป็นหลักประกัน แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว [2] เพราะเห็นเป็นคดีโทษร้ายแรง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี และจะสร้างความเสียหายให้แก่สถาบันอีก จึงต้องกักขังและลงโทษให้หลาบจำ [3]

5. วางโทษสาหัสกว่าโทษฆาตรกรรม ในขณะที่ระบบการพิจารณาคดีของไทยใช้ระบบกล่าวหา ไม่ให้สิทธิประกันตัว ใช้พยานแวดล้อม ไม่ให้โอกาสจำเลยต่อสู้คดี จำเลยถูกสังคมตีตราว่าผิดก่อนที่คดีจะถูกตัดสินจนถึงที่สุด และหมดสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพใดๆ เพราะไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์

แม้ล่าสุด โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย สหภาพแรงาน นักพัฒนาเอกชน องค์กรสังคมนิยมจำนวนหนึ่งทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในวันกรรมกรสากล 1 พฤษภาคม 2555 ร่วมกันรณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขและนักโทษการเมืองทุกคน ไม่ว่าจะด้วยการออกจดหมายเปิดผนึก แถลงการณ์ ยื่นหนังสือหน้าสถานทูตไทย รณรงค์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท   แต่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลไทยภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และปัจจุบันนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับเพิกเฉยต่อปัญหาความไม่เป็นธรรมดังกล่าว   กระทั่งเกิดกรณีอากงเสียชีวิตในเรือนจำ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ยังคงยืนยันคำเดิมว่าจะไม่แก้กฎหมายอาญามาตรา 112   ทั้งไม่เอ่ยถึงการประกันตัว การปล่อยตัวชั่วคราวอีกด้วย

การเสียชีวิตของอากงในขณะติดคุกจึงเป็นผลพวงของการที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อเขาอย่างไร้มนุษยธรรม ไร้หลักมนุษยชนมาโดยตลอด อันเป็นการบั่นทอนร่างกายและจิตใจของอากง ส่งผลสะเทือนต่อนักโทษคนอื่นๆ และต่อสังคมในวงกว้าง  ทั้งเป็นผลพวงของการที่รัฐเมินเฉยข้อเรียกร้อง “ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคน” ของกลุ่มนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยที่เรียกร้องมาตั้งแต่หลังปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถ.ราชดำเนินและราชประสงค์ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่ต้องการย้ำ ณ ที่นี้ คือ ปัญหาความไม่ยุติธรรมมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่บีบคั้นให้คนไม่ผิดกลายเป็นคนผิด และรัฐไทยจึงควรต้องรับผิดชอบต่อเหยื่อทั้งหลาย

คุกมีไว้ขังคนจน พูดกันมานานเป็นสิบๆ ปี แต่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพราะอะไร?
คุกไทยเลวร้ายยิ่งกว่าโรงงานนรก เพราะผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นผู้ที่ต่ำต้อยที่สุดของสังคมอยู่ในสภาพที่เลวยิ่งกว่าความผิดของตัวเอง  ผู้เขียนต้องการเป็นปากเสียงให้แก่เหยื่อของเผด็จการที่นำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้เป็นเครื่องมือปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชนที่คัดค้านการทำรัฐประหาร  ดังเห็นได้จากจำนวนคดีที่เพิ่มขึ้นมากมายเป็นร้อยๆ คดี พร้อมกับโทษที่หนัก   ตัวอย่างกรณีดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกจำคุกมาแล้วร่วม 3 ปีก่อนถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 18 ปี แต่คดียังไม่สิ้นสุด กรณีของสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักรณรงค์สิทธิแรงงาน ไม่ได้รับการประกันตัวใดๆ และคดียังไม่ถูกตัดสิน  หรือกรณีสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และคนอื่นๆ  คนเหล่านี้คือคนที่คิดต่างแต่มีชีวิตอยู่เยี่ยงอาชญากรฆ่าคน  สภาพเช่นนี้สะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย  คือ

1. วาทกรรมของผู้มีอำนาจรัฐมักพูดว่า "ถ้าไม่อยากติดคุก ก็อย่าทำผิดสิ"  เป็นทัศนะที่ผิดเพราะคนที่พูดแบบนี้จะไม่มีวัน "ปฏิรูป" "แก้ไข" กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและระบบสังคม  คนแบบนี้จะเรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย แต่จะไม่ยอมให้ประชาชนเข้าไปแก้กฎหมาย ซึ่งเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย แต่กลับเป็นการสร้างรัฐแบบอำนาจนิยม ฟาสซิสต์ นาซี คอมมิวนิสต์เช่นจีน (ที่ปัจจุบันผู้นำไทยนิยมเดินทางไปกันมาก ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนประณามหยามเหยียด)

2. คนไม่ผิดแต่ถูกทำให้ผิด กรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นเพียงผู้ต้องหา แต่ถูกล่ามโซ่ก่อนตัดสินคดี ต้องแต่งชุดนักโทษ อันเป็นการละเมิดมาตรฐานยุติธรรมพื้นฐาน เพราะเขาควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนการตัดสินคดี  การที่ผู้ต้องหาต้องเข้าไปในห้องศาลในสภาพเช่นนั้น แทนที่จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของตนเองและปราศจากโซ่ เป็นการสร้างภาพในห้องศาลว่าคนนี้เป็น “ผู้ร้าย” ซึ่งมักมีผลต่อการตัดสินคดีในอนาคต และสมยศอาจประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับนักโทษคดีหมิ่นฯ คนอื่นๆ

จากนั้นเมื่อถูกพิพากษาว่าทำผิดก็เข้าไปอยู่ในคุก พบกับสภาพที่เลวร้ายยิ่งกว่าความผิดของตัวเอง ดังกรณีดา ตอปิโด และนักโทษการเมืองเสื้อแดงที่ถูกขังฟรีด้วยข้อหาก่อการร้าย ละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กฎหมายหมิ่นฯ  ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ ไม่มีทนาย ไม่ติดต่อญาติ ถูกซ้อมทรมาน ไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีเมื่อเจ็บป่วย อยู่กันอัดแน่นในห้องขัง พลิกตัวไม่ได้ อาหารด้อยคุณภาพ ต่อแถวยาว การขังแบบเหมารวม ผู้ต้องขังด้วยข้อหาลักเล็กขโมยน้อย มีโทษจำคุกไม่กี่ปี แต่ถูกนำไปขังรวมกับนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ ถูกนักโทษด้วยกันกลั่นแกล้ง  อันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องขัง  คุกไทยจึงเป็นสภาพที่ก่อให้เกิดแรงกดดัน ความเครียด นำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือฆาตกรรมภายในคุก

เบื้องต้นนี้ต้องการบอกว่า การทำผิดของคนไม่ใช่เรื่องปัจเจกบุคคล แต่ระบบสังคมก็เป็นปัจจัยที่บีบคั้นให้คนไม่ผิดกลายเป็นคนผิด เราจึงต้องเข้าไปตรวจสอบโครงสร้างสังคมไทยที่มีลักษณะชนชั้น ใช้เส้นสาย เลือกปฏิบัติ กีดกันคนจนให้ด้อยโอกาส ปิดกั้น ทำลายผู้ที่เห็นต่างจากผู้มีอำนาจ ไม่ให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ จนถึงขั้นใช้ความรุนแรงกับประชาชน (ที่เรียกว่าอาชญากรรมโดยรัฐ)

กระนั้น เจ้าหน้าที่รัฐไทยไม่เคยรับผิดชอบต่อประชาชน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐเอง ตกเป็นเหยื่อของกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ลอยแพคนเหล่านี้ ซึ่งเป็นการทำลายความมั่นคงของประชาชน  แต่ไปสร้างเสริมความมั่นคงของผู้มีอำนาจรัฐแทน ให้สามารถกดขี่ข่มเหงประชาชนคนยากจน คนด้อยโอกาสให้ไร้อำนาจต่อไป

สำหรับโครงสร้างสังคมแบบชนชั้นประกอบด้วยใครกันบ้างที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัญหาดังที่กล่าวมาทั้งหมด  เริ่มต้น ผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือ ผู้นำรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกเลือกมาจากอำนาจของประชาชน เนื่องจากมีอำนาจบริหารที่สามารถออกพระราชกฤษฎีกาปล่อยตัวนักโทษการเมืองชั่วคราวได้ รวมไปจนถึงหาวิธีการนำอดีตผู้นำรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ทหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังทหาร อาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและลงโทษได้  แต่กลับเพิกเฉย และเลือกที่จะหาหนทางช่วยเหลือเฉพาะกรณี เช่น กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลคือองค์ประกอบหนึ่งของรัฐไทยที่กำลังตอกย้ำความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ และค้ำยันโครงสร้างสังคมชนชั้นแห่งนี้ หากไม่รีบดำเนินการปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคน โดยไม่มีเงื่อนไข แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ปัญหาความขัดแย้งจะบานปลายดังกรณีของอากง ซึ่งเกือบจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายแล้วว่า หากรัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ จะมีความชอบธรรมเหลืออยู่อีกหรือไม่ ที่จะบริหารประเทศนี้ต่อไป

 


[1] เว็บไซด์ข่าวประชาไท. (เพิ่มเติม) ตัดสินคดี sms ‘อากง’ ผิดคดีหมิ่น+พ.ร.บ.คอมพ์ จำคุก 20 ปี.  วันที่ 23 พฤศจิกายน 2554.   www.prachatai3.info/journal/2011/11/37991.

[2] ข่าวมติชนออนไลน์.  "อานนท์ นำภา" แจงยื่นประกัน "อากงSMS" 8 ครั้ง ก่อนตัดสินใจถอนอุทธรณ์ เผยจำเลยยืนยันไม่ได้ทำผิด. www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336571392

[3] ข่าวมติชนออนไลน์.  ครก.112 ออกแถลงการณ์ไว้อาลัย "อากง" พร้อมแจ้งกำหนดการเคลื่อนไหว 27 พ.ค.นี้ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336727346&grpid&catid=02&subcatid=0202

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บินรณรงค์ปล่อยนักโทษการเมืองไทย-เหนือท้องฟ้าสหรัฐ

Posted: 13 May 2012 04:18 AM PDT

มีผู้ขับเครื่องบินเล็กติดป้ายเรียกร้องปล่อยนักโทษการเมืองในประเทศไทย ก่อนบินวนเหนือท้องฟ้าในนครลอส แอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

ที่มา: youtube.com/Reddie Hotz

ในช่วงสายของวันที่ 6 .. ที่ผ่านมา คนเสื้อแดงในสหรัฐอเมริกา ได้จัดกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองในประเทศไทย โดยนำแผ่นป้าย “Free Political Prisoners in Thailand” หรือ ปล่อยนักโทษการเมืองในประเทศไทย ติดไปกับเครื่องบินเล็กแล้วบินวนเหนือท้องฟ้านครลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา โดยการบินรณรงค์ดังกล่าวสามารถมองเห็นได้จากวัดไทยลอสแอนเจลิส และมีผู้บันทึกวิดีโอเอาไว้ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ระลึกนักโทษการเมืองชื่อจิตร ภูมิศักดิ์

Posted: 13 May 2012 02:03 AM PDT

วันที่ ๕ พฤษภาคม ที่ผ่านมานี้ ถือได้ว่าเป็นวันระลึกจิตร ภูมิศักดิ์ ครบรอบ ๔๖ ปี

ในประวัติศาตร์ที่ผ่านมา ต้องถือว่า จิตรเป็นนักคิด นักเขียน ของฝ่ายประชาชนที่มีความโดดเด่นที่สุด เรื่องของจิตรกลายเป็นตำนานเล่าขานของแทบทุกฝ่ายหลายสี และเพลงของจิตรที่สร้างแรงบันดาลใจแก่นักต่อสู้รุ่นหลัง โดยเฉพาะเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา ก็ยังเป็นที่ขับร้องกันต่อมา แต่ในที่นี้จะเล่าถึงจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะ ๑ ในนักโทษการเมืองของยุตสมัย และจะสะท้อนให้เห็นว่า ตราบเท่าที่สังคมไทย ยังคงมีนักโทษการเมือง สังคมไทยไม่สามารถที่จะเข้าถึงเสรีภาพและประชาธิปไตยอันแท้จริงได้

จิตร ภูมิศักดิ์ เดิมชื่อ สมจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๓ บิดาเป็นนายตรวจกรมสรรพสามิต ซึ่งต่อมา ใน พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดพระตะบอง ซึ่งขณะนั้น เป็นดินแดนที่ไทยได้รับคืนมาจากฝรั่งเศส เด็กชายสมจิตรจึงได้ย้ายไปอยู่พระตะบองด้วย ซึ่งกลายเป็นเงื่อนไขให้จิตรรู้ภาษาเขมรเป็นอย่างดี และในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามนี้เอง ที่รณรงค์ให้มีการเปลี่ยนชื่อให้ผู้ชายต้องมีชื่อแบบผู้ชาย สมจิตร จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น จิตร ภูมิศักดิ์ ต่อมา เมื่อสงครามโลกยุติลง ไทยต้องคืนดินแดนพระตะบอง บิดาของจิตรไปมีครอบครัวใหม่ หลังจากนี้ นางแสงเงิน ผู้มารดา เป็นผู้เดียวที่ทำงาน ทั้งขายของและเย็บผ้าเพื่อนำเงินมาเลี้ยงดูส่งเสีย พี่สาวของจิตร ที่ชื่อ ภิรมย์ และ จิตรเอง จนกระทั่งจบการศึกษา จิตรจึงมีความเห็นใจและผูกพันกับมารดาอย่างมาก

จิตรเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดเบจมบพิตร ต่อมา ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเข้าเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ ในขณะนั้น ได้มีกระแสการรณรงค์เรื่องสันติภาพ ซึ่งทำให้จิตรตื่นตัวขึ้นแล้วสนใจปัญหาบ้านเมือง กรณีสันติภาพเริ่มจากการที่สหรัฐฯส่งทหารเข้ารุกรานเกาหลี ในข้ออ้างว่าเพื่อป้องกันคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเหตุการณ์ในเกาหลีได้ขยายตัวเป็นสงครามระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ ประเด็นคือ รัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เห็นว่า สหรัฐฯเป็นมหามิตร และหวังในความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร จึงได้ส่งกองทัพไทยไปเข้าร่วมรบสนับสนุสหรัฐฯในสงครามครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ปัญญาชนไทยที่ก้าวหน้าจำนวนหนึ่ง มีความไม่เห็นพ้องต่อนโยบายเช่นนี้ โดยเสนอว่า รัฐบาลไทยไม่ควรส่งทหารชั้นผู้น้อยไปรบและตายในสงครามที่ไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังเสนอให้มหาประเทศแก้ปัญหาเกาหลีด้วยสันติวิธีและสันติภาพ เลิกใช้สงครามเป็นทางออก การรณรงค์ในลักษณะเช่นนี้ รัฐบาลไทยไม่อาจยอมรับได้ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๕ รัฐบาลจึงจับกุมกลุ่มฝ่ายค้าน และปัญญาชนนับร้อยคนเข้าคุก ด้วยข้อหากบฏ นี่น่าจะเป็นครั้งแรกในโลก ที่มีการจับกุมผู้เรียกร้องสันติภาพเป็นกบฎ กลุ่มกบฏสันติภาพถูกคุมขังเป็นนักโทษการเมืองราว ๕ ปีก็ถูกปล่อยตัว เพราะได้รับการนิรโทษกรรมในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐

เมื่อจิตร ภูมิศักดิ์ สนใจปัญหาบ้านเมือง และมึความตื่นตัวเขาได้เสนอแนวคิดที่ก้าวหน้าในหนังสือ ๒๓ ตุลา ซึ่งเป็นหนังสือประจำปีของมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ แต่กลุ่มพลังอนุรักษ์นิยมในมหาวิทยาลัยที่มีความคิดคับแคบไม่ยอมรับ จึงจับจิตร ภูมิศักดิ์ โยนบก คือ โยนลงจากเวทีหอประชุม จนจิตรได้รับบาดเจ็บ แต่แทนที่ฝ่ายที่คุกคามจิตรด้วยกำลังอันป่าเถือนเช่นนั้นจะถูกลงโทษ กลายเป็นว่า มหาวิทยาลัยลงโทษจิตรด้วยการพักการศึกษาเป็นเวลา ๒ ปี จิตรต้องออกไปทำงานประกอบอาชีพระยะหนึ่ง แล้วจึงกลับมาเรียนจนจบการศึกษา

ในทางวิชาการ จิตร ภูมิศักดิ์ ให้ความสำคัญแก่การค้นคว้าเพื่ออธิบายปัญหา กรณีหนึ่งที่จิตรเห็นว่าเป็นปัญหาอันร้ายแรง คือ ระบอยศักดินาที่กดขี่และมอมเมาความคิดของประชาชน ให้งมงายและมีความคิดแบบด้านเดียว เขาได้เขียนหนังสือ ชื่อ โฉมหน้าศักดินาไทย พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นงานวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นความเป็นมาและลักษณะพิเศษอันไม่เป็นธรรมของระบอบศักดินาในสังคมไทย หนังสือเล่มนี้กลับมาตีพิมพ์ และกลายเป็นหนังสือขายดีหลังกรณี ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖

นอกจากนี้ จิตรยังเขียนงานวิชาการไว้อีกหลายเรื่อง เช่น งานด้านวรรณคดี จิตรเป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่เสนอแนวทางวิพากษ์วรรณคดี ที่ชี้ให้เห็นว่า วรรณคดีเหล่านี้ สะท้อนแต่ชีวิตและความคิดของชนชั้นศักดินา ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชน และยังมิเนื้อหาอันมอมเมาเหลวไหล กดขี่สตรี เพราะงานวรรณคดีเหล่านี้ ไม่เคยที่จะพิจารณาสตรีในฐานะมนุษย์ แต่เห็นสตรีเป็นเพียงวัตถุทางเพศ เพื่อบำเรอชายชนชั้นศักดินา จากทัศนะของจิตรที่ชิงชังการกดขี่ทางเพศของชนชั้นศักดินา ทำให้จิตรกลายเป็นนักบุกเบิกรุ่นแรกของขบวนการสตรีนิยมฝ่ายก้าวหน้าในสังคมไทย ที่ก่อกระแสการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีต่อมา

แต่งานวิชาการชิ้นเอกของจิตร คืองานด้านภาษาศาสตร์ เรื่อง ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และ ขอมและลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ซึ่งจิตรค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ทั้งที่มีความจำกัดในด้านการค้นหลักฐาน จิตรอธิบายที่มาของตำว่า สยาม ไทย ลาวและ ขอม อย่างละเอียดและรอบด้าน โดยมีเป้าหมายการเสนอเพื่อคัดค้านแนวคิดชาตินิยมคับแคบ ที่ยืนอยู่กับแนวคิดครองความเป็นใหญ่ของเชื้อชาติไทย ซึ่งเป็นแนวทางการรณรงค์ชาตินิยม ในแบบจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ด้วยการเป็นนักคิด นักเขียนอิสระ และเสนอแนวทางในเชิงวิพากษ์สังคม บทบาทของเขาจึงไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มชนชั้นนำ ดังนั้น เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ทำการรัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๑ จอมพลสฤษดิ์ได้ล้มเลิกประชาธิปไตย ปิดรัฐสภา เลิกรัฐธรรมนูญ แล้วบริหารประเทศแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ เขาต้องการสร้างประเทศที่มีประชาชนว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังและปฏิบัติตามรัฐ โดยไม่มีฝ่ายค้าน ดังนั้น จึงใช้อำนาจคณะปฏิวัติ ทำการจับกุมกลุ่มฝ่ายค้าน พวกสังคมนิยม นักหนังสือพิมพ์ นักคิดนักเขียนอิสระเข้าคุกเป็นจำนวนมาก จิตรเป็นคนหนึ่งที่ถูกจับเข้าคุกในครั้งนี้ด้วย เขาจึงกลายเป็นนักโทษการเมือง ที่คิดคุกโดยไม่มีความผิดอะไรเลย ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ มีนักโทษในลักษณะนี้มากกว่า ๕๐๐ คน ซึ่งส่วนหนึ่งต่อมาก็ถูกฟ้องด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์ แต่หลายคนก็ถูกปล่อยตัว ยุคจอมพลสฤษดิ์จึงเป็นยุคมืดทางปัญญา ยุคแห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยุคแห่งอำนาจบาดใหญ่ของกองทัพ จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่กรรมในตำแหน่งเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๖ จากนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร มาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และใช้นโยบายผ่อนปรน ปล่อยตัวนักโทษการเมือง จิตรจึงถูกปล่อยจากคุกใน พ.ศ.๒๖๐๗ ซึ่งเท่ากับติดคุกโดยปราศจากความผิดถึง ๖ ปี

แม้ว่าจิตรจะได้รับการปล่อยตัว แต่บ้านเมืองยังอยู่ในยุคเผด็จการ ไม่มีประชาธิปไตย จิตรต้องการจะต่อสู้ต่อไป เขาจึงตัดสินใจเดินทางสู่เขตป่าเขาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ เพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ต่อสู้เพื่อเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยและสังคมนิยม วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ จิตรเสียสละชีวิตที่ชายป่าบ้านหนองกุง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร แม้ว่าเขาจะล่วงลับไปแล้ว แต่ผลงานและการต่อสู้ของเขา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นหลัง ที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และความเป็นธรรมในสังคมต่อไป และตำแหน่งที่เขาถูกยิงเสียชีวิต ในปัจจุบันก็มีการสร้างเป็นอนุสาวรีย์ไว้ เพื่อให้คนรำลึกถึง

ในบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และมีความเจริญในทางวัฒนธรรมความคิด เขาย่อมปล่อยให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิด และจะไม่มีการจับกุมคุมขังประชาชนเป็นนักโทษการเมือง เราจึงพบว่า ประเทศเช่น สวิทเซอร์แลนด์ สวีเด็น ฟินแลนด์ หรือประเทศแทบทั้งหมดในยุโรป จะไม่มีนักโทษการเมืองเลย แต่ในประเทศเผด็จการ ไม่มีประชาธิปไตย เช่นในพม่า และหลายประเทศแทบแอฟริกากลาง จะมีการจับกุมปัญญาชนที่คิดต่างจำนวนมากเป็นนักโทษการเมือง โดยเข้าใจว่า วิธีการคุกคามเช่นนี้ จะรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของตนไว้ได้ เป็นที่น่าเสียใจว่า ประเทศไทยนั้นอ้างคนเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่ก็ยังมีการจับคุมคุมขังนักโทษการเมืองเอาไว้จำนวนมาก นี่จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ยุคสมัยเผด็จการที่จิตร ภูมิศักดิ์ เผชิญผ่านมาแล้ว ๔๖ ปี จึงถึงเวลาแล้วที่ประเทศควรจะเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ และยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน การปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมดจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่จะทำประเทศไปสู่ความก้าวหน้าเช่นนั้น โดยเฉพาะการปล่อยนักโทษกรณี ๑๑๒ ซึ่งเป็นนักโทษทางความคิดอย่างแท้จริง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดจดหมายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถึง อากง “อิสรภาพจากคนเป็นถึงคนตาย”

Posted: 12 May 2012 11:52 PM PDT

 

หมายเหตุ: ประชาไทได้รับจดหมายจากผู้ใกล้ชิด สมยศ พฤกษาเกษมสุข จึงขออนุญาตนำเผยแพร่ต่อสาธารณะ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

 

ร่างตัวเล็ก บอบบางในชุดกางเกงขาสั้น เสื้อสีเหลือง ของชายชราอายุ 61 ปี ชื่ออำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” มาหาผมที่แดน 1 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555 เรานั่งคุยกันที่ใต้ต้นหูกวาง อากงบอกว่า เดินขึ้นบันไดเข้าห้องขังที่ชั้น 3 แดน 8 ไม่ไหวแล้ว ระยะนี้สามวันดีสี่วันไข้ คิดถึงลูกหลานเหลือเกิน ผมรับปากอากงว่าจะทำหนังสือถึงผู้อำนวยการส่วนควบคุมผู้ต้องขังนายสมพงษ์ ประดิษฐ์วงศ์กุล ให้ย้ายกลับมาอยู่แดน 1 ให้อยู่ห้องเดียวกับผม

ถัดมาเพียงสัปดาห์เดียววันที่ 17 เมษายน 2555 ผมเจออากงคราวนี้ร่างกายผ่ายผอม ซูบเซียวมากกว่าเดิม อากงบอกว่าออกกำลังกายมากจนเจ็บท้อง หลังจากนี้ผมพบอาจารย์สุดา รังกุพันธ์ ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ซึ่งมาฟังการไต่สวนคดีของผม จึงได้แจ้งให้อาจารย์สุดาให้ช่วยประสานงานการย้ายห้องขังของอากงให้ด้วย

วันที่ 21 เมษายน 2555 ผมเจออากงก่อนเยี่ยมญาติ อากงบอกว่าอยู่ในคุกนานแล้ว ทุกข์ทรมานเหลือเกิน ผมสอบถามว่าใครเล่าทำให้อากงติดคุกแบบนี้ อากงตอบด้วยแววตาซื่อสัตย์ว่า “โทรศัพท์” และยืนยันหนักแน่นว่า “ผมส่ง SMS ไม่เป็น” ผมจึงถามอากงว่า เป็นคนจำพวกล้มเจ้าหรือเปล่า อากงบอกว่า “ผมรักในหลวง ถ้าออกจากคุกจะไปถวายพระพร”

ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของอากง โดยปราศจากข้อสงสัยทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผมถูกจองจำได้พูดคุยกับอากงหลายครั้ง ได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกประการ นอกจากเป็นคนส่งข้อความโทรศัพท์มือถือไม่เป็นแล้ว ในชีวิต 60 ปีของอากง อากงไม่เคยรู้จักนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาก่อน และแน่นอนที่สุด เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้เบอร์โทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติอีกด้วย

การตัดสินลงโทษสถานหนักเป็นเวลา 5 ปี จำนวน 4 กระทง รวมจำคุกทั้งสิ้น 20 ปี สำหรับชายชราเงอะงะ ไม่ประสีประสาทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและเหตุการณ์บ้านเมือง จึงค่อนข้างเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับผู้รักความเป็นธรรมจนทำให้ข่าวอากงถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปีโด่งดังไปทั่วโลก

ขณะที่ศาลตัดสินลงโทษอากง 20 ปี ผมถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ผมได้เขียนโคลงสี่สุภาพถึงอากง ขณะที่กำลังรอการพิจารณาไต่สวนอยู่มีข้อความดังนี้

 

ตระละการบอดใบ้

 

หกสิบปีเฒ่าท้น                เดียงสา

ภักดีกษัตรา                     ถ่องแท้

ถูกกักขังกล่าวหา              หมิ่นกษัตริย์

ติดคุกยี่สิบปี                    ป่นปี้ยาวนาน

อากงอาการเศร้า               โศกศัลย์

SMS มหันต์                     บ่รู้

เทคโนโตไม่ทัน                แน่แท้

ใครส่งสงสัยอ้าง               อาจเอื้อม งุน งง

ใช้สี่ข้อความไซร์              ซังเต

รัฐประหารซวนเซ              แซ่ซ้อง

โทษถึงตายโอเค              รอดพ้น

ตระละการบอดใบ้             เศร้าใจฉิบหาย

ประชาชนทนไม่ได้            ต่อสู้

เสียงเล่าเขารับรู้                สู่ฟ้า

อธิปไตยพวกกู                 กอบกู้

ตัวตื่นหยัดยืนสู้                ต่อต้านทรราชย์

 

ทนายความนายอานนท์ นำภา และครอบครัวของเขายื่นคำร้องขอสิทธิประกันตัวอยู่หลายครั้งเพื่อให้อากงได้รับการรักษาพยาบาล และใช้ชีวิตชราภาพอยู่กับครอบครัว แม้ยื่นหลักทรัพย์จำนวนมาก และยังมีคณาจารย์จำนวนมากร่วมกันขอประกันตัวออกมา แต่ปรากฏว่าศาลยุติธรรมปฏิเสธที่จะให้การประกันตัวเช่นเดียวกันกับคนอื่น ๆ ที่ถูกกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 ด้วยเหตุผลเพียง 2 – 3 บรรทัด คือ มีโทษสูงกลัวการหลบหนี ในที่สุดอากงจึงสิ้นหวังต่อสิทธิการประกันตัวที่ถูกลิดรอนไปจากชีวิตของอากง

นี่คือความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานของอากง ที่ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของอากงทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว

อากงเป็นเสมือนพสกนิกรชาวไทยที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แม้กระทั่งต้องติดคุกทุกข์ทรมานแสนสาหัสด้วยข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรม การตัดสินลงโทษถึง 20 ปี ย่อมเป็นการลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ มาตรา 112 จึงขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพโดยสิ้นเชิง กระนั้นก็ตามสำหรับอากงที่กลายเป็นเหยื่อของมาตรา 112 ยังคงจงรักภักดีไม่มีเสื่อมคลายแม้แต่น้อย อากงจึงเชื่อว่าหากได้ขอพระราชทานอภัยโทษจากพระมหากษัตริย์แล้วจะได้รับความเมตตาให้ปล่อยตัวในที่สุด

วันที่ 4 พฤษภาคม 2555 ผมเจออากงเป็นครั้งสุดท้าย อากงบอกว่า “ผมขอไปก่อน” อากงมั่นใจเป็นอย่างมากว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอย่างแน่นอน ในขณะที่มือกุมท้องที่บวมเปล่งด้วยความเจ็บปวด อากงมีอาการแบบนี้มา 3 เดือนแล้ว แต่ไม่มีโอกาสตรวจรักษาอย่างละเอียดเพียงพอ เพราะสำหรับนักโทษในทุกเรือนจำทั่วประเทศต่างรับทราบกันดีว่า หากไม่มีอาการปางตาย จงอย่าเยื้องกายไปสถานพยาบาลของเรือนจำ มิเช่นนั้นจะถูกไล่ตะเพิดเหมือนหมู หมา กา ไก่ เพราะพวกนักโทษในสายตาของหมอ พยาบาล คือ พวกสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สมควรได้รับการรักษาพยาบาล กระนั้นก็ตามแม้มีอาการปางตาย กว่าจะไปพบแพทย์ หรือได้รับยารักษาพยาบาลก็มีขั้นตอนยุ่งยาก ส่วนใหญ่อาจพิการ หรือไม่ก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ผมได้รับทราบข่าวว่า อากงสิ้นลมหายใจไปแล้ว ความตายเป็นหายนะที่น่าสะพรึงกลัว ในฐานะเป็นนักโทษที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน ทันใดนั้นหัวใจผมเหมือนจะหยุดเต้น เลือดในกายเหมือนจะเย็นยะเยือก กำลังวังชาเหือดหายไปในทันที

“ผมขอไปก่อน” ประโยคสุดท้ายที่ไม่ได้หมายถึงการได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัว แต่หมายถึงความตายที่พรากวิญญาณของอากงจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ชายชราผู้บริสุทธิ์เดียงสา ต้องตายจากไปด้วยมาตรา 112 ที่เป็นเครื่องมือการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การตายของเขาสะท้อนกระบวนการยุติธรรมที่ไร้มาตรฐานของไทยเราที่เกิดขึ้นครั้งแล้ว ครั้งเล่า

ความตายของอากงคือความเหี้ยมโหด อำมหิตของมาตรา 112 และกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล ทั้งหมดนี้คือความเป็นจริงที่เจ็บปวดรวดร้าวของนักโทษตามมาตรา 112 ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานราวสัตว์เดรัจฉานในกรงขัง

อิสรภาพของร่างอันไร้วิญญาณ คือ เถ้าถ่านแห่งความทรงจำที่เจ็บปวดของสังคมเผด็จการภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย คือความเลวทราบต่ำช้าที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นภายใต้การโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องบุญบารมี และความดีจอมปลอม เพื่ออำนาจที่ฉ้อฉลของพวกเหล่าอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย

ไปสู่สุคติเถิด...อากงได้รับอิสรภาพแล้ว !!!

 

 

สมยศ พฤกษาเกษมสุข

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แดน 1

วันที่ 10 พฤษภาคม 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เว็บทำเนียบ ปธน.พม่าโพสต์รูปประชุม ครม. แต่ไร้เงารองประธานาธิบดี

Posted: 12 May 2012 03:37 PM PDT

ท่ามกลางข่าวลือสะพัดว่ารองประธานาธิบดีสายแข็ง "ทิน อ่อง มินต์ อู" ยื่นใบลาออก โดยขณะนี้ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลพม่า เช่นเดียวกับ ส.ส.พรรครัฐบาล "ออง ต่อง" ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับเหตุลอบทำร้ายขบวนรถหาเสียงของ "ออง ซาน ซูจี" เมื่อปี 2546 ก็ถูกปลดจากทีมเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยแล้วเช่นกัน 

ข่าวลือเรื่องการลาออกของรองประธานาธิบดีพม่า ทิน อ่อง มินต์ อู (อ่านข่าวย้อนหลัง) ยิ่งถูกสื่อมวลชนพม่ากล่าวถึงมากขึ้น หลังจากที่เมื่อวันศุกร์นี้ (11 พ.ค.) มีการเผยแพร่ภาพการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยไร้เงารองประธานาธิบดีเข้าร่วมประชุม

ภาพการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่รองประธานาธิบดี "ทิน อ่อง มินต์ อู" ไม่เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งปกติทิน อ่อง มินต์ อู จะนั่งถัดจากประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ท่ามกลางกระแสข่าวลือ "ลาออก" แพร่สะพัด (ที่มา: เว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า)

ภาพที่แสดงให้เห็นว่าทิน อ่อง มินต์ อู ไม่เข้าประชุมถูกนำไปตีพิมพ์ซ้ำในหนังสือพิมพ์รัฐบาล "นิวไลท์ ออฟ เมียนมาร์" ฉบับวันเสาร์ที่ 12 พ.ค. อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีรายงานหรือประกาศอย่างเป็นทางการของรัฐบาลพม่าว่ารองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง ทิน อ่อง มินต์ อู ยังดำรงตำแหน่งอยู่หรือไม่ (ที่มา: นิวไลท์ออฟเมียนมาร์, 12 พ.ค. 55 หน้า 8)

 

โดยในเว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อวันศุกร์นี้ ได้มีการเผยแพร่ภาพการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งประธานาธิบดีเต็ง เส่งนั่งเป็นประธานการประชุม แต่ทิน อ่อง มินต์ อู ซึ่งปกติจะนั่งอยู่ถัดจากประธานาธิบดีกลับไม่ปรากฏในภาพ ซึ่งขัดกับภาพของ นพ.จายหมอกคำ รองประธานาธิบดีคนที่สอง ซึ่งยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งเดิม

โดยภาพนี้ ยังถูกเผยแพร่ซ้ำในหนังสือพิมพ์นิวไลท์ ออฟ เมียนมาร์ ฉบับวันเสาร์ (12 พ.ค.) อีกด้วย

ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่า ทิน อ่อง มินต์ อู อายุ 61 ปี ได้ยื่นใบลาออกตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ หลังจากที่เขาเพิ่งกลับมาจากการรักษาตัวที่สิงคโปร์ โดยรองประธานาธิบดีผู้นี้ไม่ปรากฏตัวในที่สถานะ หรือในสื่อของรัฐเลยนับตั้งแต่มีกระแสข่าวการลาออกของเขา

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวอิระวดี ของสื่อมวลชนพลัดถิ่นพม่าก็รายงานข่าวว่านายออง ต่อง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งปัจจุบันเป็น ส.ส. พรรครัฐบาลในสภา "สายแข็ง" ก็ออกจากทีมเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยแล้วเช่นกัน โดยเจ้าตัวให้เหตุผลเรื่องสุขภาพ

ทั้งนี้แม้ว่าก่อนหน้านี้ ออง ต่อง จะประสบความสำเร็จในการเจรจาหยุดยิงกับกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSA/SSPP) และกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) แต่คาดว่าเหตุผลที่ออง ต่อง ถูกปลดจากทีมเจรจาสันติภาพของรัฐบาลพม่า เนื่องจากเขาไม่สามารถเจรจากับกองกำลังแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIA) ในรัฐคะฉิ่นได้ ซึ่งกองทัพพม่าเข้าไปรบในรัฐคะฉิ่นมากว่า 11 เดือนแล้ว และภาพของออง ต่อง ซึ่งถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับกรณีนำมวลชนผู้สนับสนุนรัฐบาลไปทำร้ายขบวนรถหาเสียงของนางออง ซาน ซูจี ที่หมู่บ้าน "เดปายิน" ทางตอนเหนือของพม่า เมื่อเดือน พ.ค. ปี 2546

ส่วนข่าวลือเรื่องการลาออกของรองประธานาธิบดี "สายแข็ง" นั้น สำนักข่าวอิระวดี รายงานด้วยว่า จนถึงขณะนี้รัฐบาลเองก็ยังไม่มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับตำแหน่งของเขา กระทั่งมีการห้ามสื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานข่าวดังกล่าว โดยอิระวดียังให้ความเห็นด้วยว่าภาพล่าสุดจากเว็บไซต์ทำเนียบประธานาธิบดีอาจจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทิน อ่อง มินต์ อู ลาออก แต่อย่างไรก็ตามผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองพม่าถือเอาภาพดังกล่าวเป็นหลักฐานสำคัญ

สาเหตุการลาออกของทิน อ่อง มินต์ อู ยังมีหลายกระแส โดยแหล่งข่าวซึ่งใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่าอ้างว่าเพื่อให้ทิน อ่อง มินต์ อู ไปทำหน้าที่อื่น หรือลดบทบาทความรับผิดชอบลง เนื่องจากเกรงว่าการดำรงตำแหน่งของทิน อ่อง มิ้นต์ อู จะเป็นอุปสรรคต่อการที่ชาติตะวันตกจะพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรพม่า

ทั้งนี้ พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย อดีตผู้นำรัฐบาลทหารพม่าให้ความนิยมชมชอบต่อทั้งเต็ง เส่ง และทิน อ่อง มินต์ อู และเลือกพวกเขาให้เป็นผู้นำพรรคการเมืองที่กองทัพสนับสนุนคือพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ลงเลือกตั้งเมื่อปี 2553 นอกจากนี้ยังเชื่อกันด้วยว่า พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย เป็นผู้วางตัวทั้งสองให้มีตำแหน่งในรัฐบาลปัจจุบัน

อิระวดี รายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ยังมีข่าวติดต่อกันมาตั้งแต่ปีก่อนว่าทั้งเต็ง เส่ง และทิน อ่อง มินต์ อู เกิดไม่ลงรอยกันเนื่องมาจากความแตกต่างของทั้งสองคน มากกว่าที่จะเป็นเรื่องแย่งชิงอำนาจ โดยเต็ง เส่งมีภาพลักษณ์คอรัปชั่นน้อยที่สุดในบรรดาอดีตผู้นำทหารพม่า โดยเขาและครอบครัวจนถึงบัดนี้ยังไม่มีข่าวออกมาว่ามีสายสัมพันธ์ใดกับนักธุรกิจใหญ่ในพม่า

นอกจากนี้ อิระวดียังรายงานด้วยว่า ตัวประธานาธิบดีเต็ง เส่งออกก็ไม่ได้รับการสนับสนุนภายในรัฐบาลเท่าใด โดยเป็นที่รู้กันว่ามีผู้ไม่พอใจการทำงานของรัฐมนตรีในทำเนียบประธานาธิบดีเท่าใด ทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและเรื่องคอรัปชั่น แม้แต่ตัวประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เองก็ถูกวิจารณ์จาก "ฉ่วย มาน" อดีตผู้นำรัฐบาลทหารคนสำคัญ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสภาประชาชนพม่า โดยฉ่วย มาน วิจารณ์เต็ง เส่ง ว่าดำเนินการปฏิรูปอย่างเชื่องช้า

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สำรวจสถานการณ์สิทธิของ ‘กะเทย’ หลังเทศกาลเกณฑ์ทหาร

Posted: 12 May 2012 01:33 PM PDT

 


หลังการตรวจเลือกทหารประจำปี 2555 ผ่านพ้นไปตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. เครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย (Thai Transgender Alliance) ได้ประชาสัมพันธ์เรื่อง การเตรียมความพร้อมสำหรับการเกณฑ์ทหาร ให้ความรู้ด้านกฎหมาย รวมถึงเคล็ดลับการเกณฑ์ทหาร เราได้สอบถามผลที่ได้รับจากโครงการ การทำงานด้านๆ อื่นของเครือข่ายฯ รวมทั้งได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงสถานะของกะเทยในสังคมไทย

เจษฎา แต้สมบัติ ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยกล่าวว่า ในช่วงที่มีการตรวจเลือกฯ พร้อมกับที่การประชาสัมพันธ์ข้อมูลดำเนินอยู่นั้น สิ่งที่กะเทยกังวลมากที่สุดสามารถสังเกตได้จากการโทรศัพท์เข้ามาสอบถาม คือการถูกละเมิดสิทธิ เช่น ถูกบังคับให้ถอดเสื้อต่อหน้าคนจำนวนมาก กะเทยหลายคนจะรู้สึกไม่มั่นใจเมื่อต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่แห่งอำนาจของผู้ชาย จึงมีการขอคำแนะนำเพื่อให้ปฏิบัติตัวได้เหมาะสม นอกจากนี้ยังรู้สึกกังวลว่าเมื่อไปเข้ารับการตรวจเลือกแล้วจะถูกเจ้าหน้าที่ระบุลงในเอกสาร สด.43ว่า เป็นโรคจิตถาวร 


เจษฎา แต้สมบัติ

ในส่วนของเรื่องร้องเรียนภายหลังเข้ารับการตรวจเลือกนั้น ทางเครือข่ายฯ ก็ได้รับเข้าและได้บันทึกไว้แล้ว หลังจากนี้จะมีการประชุมปรึกษาร่วมกับทางทหารและกระทรวงกลาโหมเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

เมื่อถามถึงที่มาของปัญหาที่ทางเครือข่ายฯรวบรวมไว้ เจษฎากล่าวว่า ในอดีต ประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว มีปัญหาต่างๆ ซึ่งได้ให้คำแนะนำออกไป ไม่ว่าจะเป็นการถูกสั่งให้ถอดเสื้อ การถูกชักชวนหรือชวนเชื่อต่างๆ ถูกชวนไปมีเพศสัมพันธ์ ถูกสั่งให้ทำกิจกรรมที่จะลดความเท่าเทียมกันระหว่างกะเทยกับเพศอื่น เช่น ถูกสั่งหรือขอให้ไปช่วยเสิร์ฟน้ำบีบนวดเจ้าหน้าที่ หรือเข้าร่วมการประกวดเพื่อสร้างบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหาเลย เพราะคนภายนอก คนที่มองดูเห็นเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน หรือความเสมอภาคทางเพศ สังคมไม่ได้ยอมรับว่ากะเทยเป็นเพศหนึ่ง แต่มองว่ากะเทยคือชายที่ผิดปกติ ดังนั้นการเป็นกะเทยจึงเป็นเรื่องผิดปกติ สังคมยังไม่อาจหาแบบแผนการปฏิบัติที่เหมาะสมมาใช้กับกะเทยได้

อีกทั้งการที่มีกะเทย (นายสามารถ มีเจริญ) ยื่นฟ้องแก้ไขข้อความ“โรคจิตถาวร” ที่ระบุลงในใบสด.43 เมื่อปี 2554 ก็ทำให้กะเทยถูกมองว่าไม่อยากเกณฑ์ทหาร ทั้งที่จริงแล้วกะเทยก็มีความหลากหลาย การเกณฑ์ทหารนำมาซึ่งสวัสดิการและประสบการณ์ใหม่ๆ กะเทยที่อยากเกณฑ์ทหารก็มี แต่ก็เป็นเพราะอคติที่ซ้อนทับกันหลายอย่าง ทั้งความเป็นชาติและความเป็นชายจึงไม่ค่อยให้การยอมรับในเรื่องนี้ อันที่จริงการที่กะเทยออกมาเรียกร้องเช่นนี้กลับจะทำให้กะเทยมีโอกาสได้เป็นทหารมากกว่า หากดูกันตามกฎหมายการจัดแบ่งประเภทผู้เข้ารับการตรวจเลือกฯ ผู้ที่ถูกระบุว่าเป็นโรคจิตถาวรจะถูกจัดเป็นบุคคลประเภทที่4 คือสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ ไม่อาจรับราชการได้ จึงไม่มีโอกาสเป็นทหารเลย แต่ถ้อยคำที่เปลี่ยนมาเป็น “เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด”ทำให้กะเทยถูกจัดอยู่ในคนประเภทที่2 คือสภาพร่างกายมีปัญหาแต่ไม่ถึงกับทุพลภาพ ซึ่งทำให้กะเทยมีโอกาสได้รับใช้ชาติ เมื่ออยู่ในภาวะที่บ้านเมืองคับขัน

ในประเด็นเรื่องสิทธิประโยชน์ที่กะเทยจะได้รับเมื่อการระบุถ้อยคำเปลี่ยนไป เจษฎาอธิบายว่าถ้อยคำที่คิดขึ้นมาจะถูกใช้เฉพาะในใบสด.43 หรือใช้สำหรับการเกณฑ์ทหารเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่มีร่างกายโดยกำเนิดเป็นเพศชาย ที่เคยเข้ารับการตรวจเลือกฯจะต้องนำใบสด.43นี้ไปประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ เช่นการสมัครงาน และแน่นอนว่าถ้อยคำ “โรคจิต” กับ “เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด” ย่อมจะทำให้กะเทยถูกมองอย่างแตกต่างกันออกไป ส่งผลต่อการที่กะเทยจะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคมอย่างมาก

เจษฎาเล่าว่าการทำงานของเครือข่ายฯ จะมีการประชุมระดมความคิดจากกะเทยทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ถ้อยคำ “เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด” ก็ได้มาจากการประชุมนี้ ซึ่งทางเครือข่ายฯเห็นตรงกันว่าเหมาะสมเป็นที่น่าพอใจแล้ว แต่หากดูคำภาษาอังกฤษกลับใช้ว่า Gender Identity Disorder คำนี้ระบุบัญชีไว้ในจำแนกโรคสากลขององค์การอนามัยโลก(WHO) ซึ่งขณะนี้ก็มีกลุ่มTGEU หรือ Transgender Europe กำลังเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่มีความหมายว่าการเป็นกะเทย ถือเป็นโรค เป็นความผิดปกติ

ในส่วนของถ้อยคำภาษาไทย จะเห็นได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นชาย แต่มีเพศสภาพอื่นๆ จะถูกสังคมนิยามเรียกขานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊ด สาวประเภทสอง ผู้หญิงข้ามเพศหรือกะเทย ซึ่งแต่ละคำก็แฝงความหมายและทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป ก่อนหน้านี้ทางเครือข่ายก็เคยถกเถียงกันว่าคำที่เหมาะสมควรใช้ว่าอะไร ภายหลังจึงได้ข้อตกลงให้ใช้คำว่า “กะเทย” เพื่อเป็นการยืนยันอัตลักษณ์ของคนเพศนี้ว่าเป็นเพศหนึ่ง ไม่ใช่ผู้หญิงประเภทที่สอง หรือคนข้ามเพศแต่อย่างใด เนื่องจากการระบุเช่นที่กล่าวมาจะทำให้กะเทยสูญเสียอัตลักษณ์ ต้องปฏิบัติตัวตามจารีตประเพณีแบบผู้หญิง

อย่างไรก็ดี ทางเครือข่ายฯ ทราบดีว่า ในอดีตคำว่ากะเทย จะมีวาทกรรมความหมายในแง่ลบ คือเป็นความผิดปกติ กะเทยหลายคนก็ไม่พอใจเมื่อถูกเรียกเช่นนี้  แต่เพื่อเป็นการรื้อสร้างวาทกรรมใหม่โดยใช้คำเก่า ทางเครือข่ายฯ จึงเลือกคำนี้แทนคำอื่นๆ ดังนั้น สิ่งที่ควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือการใช้ถ้อยคำ เพราะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้กะเทยถูกตีตราและเลือกปฏิบัติ

เจษฎายังเล่าอีกว่า ในการทำงานของเครือข่ายฯ จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพต่างๆ สำหรับการทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหม ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ออกคู่มือการเกณฑ์ทหารสำหรับกะเทย ในขณะนี้ก็กำลังจัดทำคู่มือทหารซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่ทหารจะต้องปฏิบัติต่อกะเทยว่าทำอย่างไรจึงจะมีความเหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีการทำงานร่วมกับทางการแพทย์ เนื่องจากที่ผ่านมาหรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน การสื่อสารและสังคมมักจะสร้างวาทกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับการศัลยกรรมและความงามขึ้นมา กะเทยจึงต้องผ่าตัดทำศัลยกรรมมากขึ้น และปัญหาที่เกิดตามมาก็คือความไม่ปลอดภัยหรืออันตรายจากการศัลยกรรมที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้รับการรับรองที่ถูกต้องและการขาดความรับผิดชอบของแพทย์ การทำงานตรงนี้จึงเป็นไปเพื่อช่วยพิทักษ์รักษาสิทธิของกะเทย

นอกจากนี้ยังมีการผลักดันกฎหมายรับรองสถานภาพคู่ชีวิต และการจัดทำคู่มือการรณรงค์ตามแผนงานสุขภาวะทางเพศ ซึ่งจะมีคณะสัญจรไปทุกภาคในประเทศ เพื่อจะเก็บรวบรวมปัญหา เก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ พยายามจะทำให้คนในสังคมเข้าใจและตระหนักว่ากะเทยไม่ได้ป่วยทางจิต

ช่วงท้ายของการพูดคุย เจษฎาให้ความเห็นไว้ว่าอยากให้สังคมปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อกะเทยว่าเป็นเพศหนึ่ง ไม่ใช่ผู้ที่ผิดปกติ แต่สิ่งที่สำคัญไปไม่น้อยกว่าก็คือการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย แม้ว่าในรัฐธรรมนูญมาตรา30 จะระบุว่าไม่ให้มีการกีดกันทางเพศ แต่ในกฎหมายอื่นที่นอกเหนือไปจากกฎกระทรวงกลาโหมซึ่งเพิ่งผลักดันสำเร็จก็ยังไม่มี ดังนั้นทางเครือข่ายจึงแบ่งการทำงานออกเป็นหลายส่วน คือทำงานร่วมกับส่วนราชการ และจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจ สร้างทัศนคติใหม่ๆ ที่สังคมพึงมีต่อกะเทยดังที่ได้กล่าวมา

ท้ายที่สุด เจษฎาฝากถึงเพื่อนๆ ไว้ว่า เมื่อถูกตั้งคำถามว่า “คุณเป็นกะเทยหรือเปล่า” ขอให้กะเทยมีจุดยืน ตอบไปเลยว่า “ใช่”  เพื่อยืนยันถึงศักดิ์ศรี และเท่าเทียมกับเพศอื่นๆ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น