ประชาไท | Prachatai3.info |
- 1911 ปฏิวัติ (ขับไล่) ราชวงศ์ชิง: คุยเรื่องเจ้า และล้มเจ้า (จีน)
- 15 พ.ค. “วันนี้มีใครตาย”
- 14 พ.ค. “วันนี้มีใครตาย”
- 13 พ.ค. “วันนี้มีใครตาย”
- 7 พ.ค. “วันนี้มีใครตาย”
- 28 เม.ย. “วันนี้มีใครตาย”
- คอป.เสนอ เลิก พ.ร.ก.ก่อการร้าย
- ปฏิญญาหน้าศาล ย้ำ อากงไม่ผิด เรียกร้อง รบ.แก้112 เรียกร้องสิทธิประกันตัวและระบบประกันสุขภาพในเรือนจำ
- 'ฮิวแมนไรท์วอทช์' ร้องรัฐบาลต้องยุติพ.ร.บ. ปรองดอง
- เครือข่ายเขาบรรทัดเตรียมบุกทำเนียบ ร้องรัฐยุติไล่คนออกจากป่า
- ศบชต.รุกแก้ปัญหาการศึกษา ยกระดับคุณภาพเด็กชายแดนใต้
- นักข่าวพลเมือง: ตั้งศูนย์ป้องกันปัญหาการค้าแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
- "เทพไท" เชื่อนปช. รำลึกที่ราชประสงค์ เพื่อหวังผลทางการเมือง
- บทเรียนที่ไม่เคยได้รับจากเหตุวิสามัญ
- โมเดล 'สันติธานี' เสนอปรับรัฐสอดคล้องวิถีชายแดนใต้
1911 ปฏิวัติ (ขับไล่) ราชวงศ์ชิง: คุยเรื่องเจ้า และล้มเจ้า (จีน) Posted: 15 May 2012 01:06 PM PDT
0 0 0
0 0 0
ถ้อยคำข้างต้นมาจากฉากสำคัญในหนังเรื่อง “1911” (ชื่อไทย “ใหญ่ผ่าใหญ่”) ซึ่งสร้างจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า "การปฏิวัติซินไฮ่" (Xinhai Revolution) ในปี ค.ศ.1911 มีผู้นำขบวนการปฏิวัติคนสำคัญคือ ดร.ซุนยัดเซน เหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้การปกครองระบอบจักรพรรดิของจีนที่มีมายาวนานกว่าสองพันปีสิ้นสุดลง และเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ เรื่องนี้เฉินหลงเป็นทั้งผู้กำกับ อำนวยการสร้าง และแสดงเอง เพื่อฉลองวาระครบ 100 ปีการปฏิวัติซินไฮ่ รวมทั้งเป็นหนังเรื่องที่ 100 ที่เฉินหลงแสดงด้วย (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538787083&Ntype=3 ) ในงานเสวนาและฉายภาพยนตร์ "1911 ปฏิวัติ (ขับไล่) ราชวงศ์ชิง" ซึ่งจัดที่ The Reading Room สีลม 19 เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา มีการฉายหนังเรื่องนี้ให้ผู้ร่วมงานชม ก่อนจะเป็นการพูดคุยวิเคราะห์แกะเกาถึงประวัติศาสตร์การปฏิวัติจากหนัง โดย หลิ่มหลี, ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง (นักวิเคราะห์ประจำร้านกาแฟ Cafe mes amis) และ บดินทร์ เทพรัตน์ (นักเขียนนิตยสาร Starpics) มีหลายคำถามที่น่าสนใจ เช่น อะไรอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการปฏิวัติทั้งที่ซุนยัดเซนมีกำลังน้อย เหตุใดซุนยัดเซนถึงไม่ล้มราชวงศ์ไปตั้งแต่ตอนแรก จีนแผ่นดินใหญ่ไม่ค่อยฉลอง 100 ปีการปฏิวัติเหมือนไต้หวันเพราะอะไร คนจีนคิดยังไงกับราชวงศ์ที่เคยมี เหตุใดสถาบันกษัตริย์จีนถูกล้ม แต่สถาบันกษัตริย์ไทยยังยืนหยัดได้หลังปฏิวัติ จึงขอหยิบมานำเสนอเพื่อการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
ขอบคุณภาพบรรยากาศงานจากเฟสบุ๊ค The Reading Room
ผลงานเรื่องที่ร้อย เฉินหลงยอมเป็นพระรอง อุทิศให้การปฏิวัติ บดินทร์: เฉินหลงกำกับหนังเรื่องนี้โดยควักเงินส่วนตัวสร้าง หนังเป็นการแสดงเรื่องที่ 100 ของเฉินหลง แต่เฉินหลงไม่ได้ให้ตัวเองเล่นบทเด่นเพื่อเชิดชูตัวเอง กลับเป็นตัวประกอบซึ่งบทนิดเดียว บู๊แค่นานๆครั้งให้คนดูหายคิดถึง แสดงว่าเฉินหลงเชิดชูการปฏิวัติครั้งนี้มากขนาดอุทิศหนังเรื่องที่ 100 ของตัวเองให้เรื่องนี้ ภาพันธ์: แม้จีนจะเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว แต่คนจีนก็ยังให้ความนับถือซุนยัดเซนซึ่งเป็นแนวประชาธิปไตย เพราะเขาถือเป็นมังกรตัวที่หนึ่งในการสร้างชาติ ที่ผ่านมามีหนังที่พูดถึงเหมาเจ๋อตุงไปแล้วคือ “The Founding of a Republic” (มังกรสร้างชาติ)คราวนี้จึงหันไปพูดถึงมังกรอีกตัวบ้าง
เฉินหลง รับบทเป็น หวงซิง ผู้บัญชาการใหญ่ในการปฏิวัติ ในหนัง 1911
ราชวงศ์พินาศ เพราะไม่มีเศรษฐกิจพอเพียง โครงการทูบีนัมเบอร์วัน บดินทร์: ก่อนการปฏิวัติ มีการเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อให้เท่าทันต่างชาติ แต่การปฏิรูปถูกขัดขวางจากคนใหญ่คนโตอย่างพระนางซูสีไทเฮา จนสถานการณ์มาถึง “the point of no return” ถ้าราชวงศ์ลองออกไปมองดูโลกนอกวังว่าสังคมเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้วค่อยๆก้าวทันก็อาจปรับตัวได้ แต่เมื่อมีอำนาจมากเกินไป ใครพูดอะไรก็ไม่ฟัง อยู่แต่ในโลกแคบๆของตัวเอง หลิ่มหลี: ตอนแรกซูสีไทเฮายอมให้มีโรงเรียน และมหาวิทยาลัยแบบตะวันตก ไม่ใช่เพราะต้องการให้ประเทศพัฒนา แต่ยอมเพราะเกมการเมือง ซูสีไทเฮาต้องการใช้ประโยชน์จากองค์ชายกง น้องชายของสวามีที่มีฐานอำนาจอยู่ที่ต่างชาติและเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ พระนางจึงยอมให้มีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีโรงเรียนที่ไม่ได้เรียนลัทธิขงจื๊อแต่ใช้หลักสูตรตะวันตก มีนักเรียนไปเรียนเมืองนอก ทำให้นักเรียนนอกซึมซับอุดมการณ์ประชาธิปไตย เสรีภาพ เสมอภาค และค้นพบว่าประเทศที่เขาอยู่ยังล้าหลัง นั่นเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้พระนางซูสีไทเฮาสั่งห้ามนักเรียนไปเรียนเมืองนอกในภายหลัง แต่ก็สายไปแล้ว ภาพันธ์: ประเด็นคือสมัยนั้นกระบวนวิธีคิดทางการเมืองยังน้อย ถ้าสมัยนั้นราชวงศ์คิดได้ว่าให้มีโครงการในพระราชดำริ มีเศรษฐกิจพอเพียง หรือโครงการทูบีนัมเบอร์วัน มันจะราบรื่นในการดึงมวลชนเข้าหาตัวราชวงศ์ แต่สมัยนั้นคงคิดไม่ออก ทำให้เผชิญแรงต่อต้านมาก
ระบบศีลธรรมและสงครามฝิ่น สิ่งที่ดับความเป็น “เจ้าโลก” ของจีน ภาพันธ์:จักรวรรดิจีนได้อิ่มตัวในความสำเร็จมาตั้งแต่สมัยต้นราชวงศ์หมิงที่อำนาจและวิทยาการต่างๆรุ่งเรืองถึงขีดสุด หย่งเล่อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง สามารถสร้างกองเรือที่ยิ่งใหญ่ออกสำรวจโลกอย่างกองเรือเจิ้งเหอได้ ในยุคโบราณ ถ้าพูดถึงศูนย์กลางจักรวาลจริงๆคงต้องเป็นจีน ส่วนตะวันตกยังไปไม่ถึงไหน แต่สิ่งที่มากับความเจริญก็คือ การหวนกลับเข้าไปหาระบบคุณธรรมศีลธรรม ระบบคุณธรรมมากำกับให้การพัฒนาเทคโนโลยีการสงครามของจีนหยุดชะงักไปลองไปดูอุดมการณ์ของขงเบ้งในเรื่องสามก๊กที่มองว่าการใช้อาวุธหนักๆล้างผลาญกันคือความบาป สะท้อนความคิดเรื่องคุณธรรมของหลอกว้านจง ผู้แต่งที่อยู่ในสมัยต้นราชวงศ์หมิง หลังจากรัชสมัยหยงเล่อ นโยบายจักรวรรดิจีนเปลี่ยนไป กองทัพเรือ เทคโนโลยีทางอาวุธไม่พัฒนา ระบบขงจื๊อพัฒนามาเรื่อยๆ แม้จะเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ชิงแล้วก็ตามก็ยังใช้กองทหารม้าศึกรบ แต่เทคโนโลยีนั้นไปเติบโตในตะวันตก ตะวันตกระบบศีลธรรมไม่ค่อยมี รบปล้นชิงเขาไปทั่ว ความเจริญที่พัฒนาขึ้นในตะวันตกเข้ามาคุกคามจีนที่เลิกพัฒนามาสองร้อยปีแล้ว แต่จีนยังเชื่อว่าศักยภาพตัวเองในการทำสงครามยังดีอยู่ ฝรั่งเป็นพ่อค้าฝิ่น หลังจีนต่อต้านฝิ่นจนเกิดสงครามและพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งแรก จีนก็เสียสิทธิต่างๆ ความเป็นศูนย์กลางจักรวาลของจีนก็พังทลายนับแต่นั้นมา ไม่มีสถานะนำในการเมืองโลกอีกแล้ว จักรวาลได้เคลื่อนไปทางตะวันตกแทน หลิ่มหลี: สงครามฝิ่นส่วนหนึ่งเกิดจากประเทศแถบยุโรปพยายามเข้ามาหารายได้ในประเทศจีน แต่ขายอะไรไม่ค่อยได้เพราะเมืองจีนมีสินค้ามากอยู่แล้ว จึงเอาฝิ่นจากอินเดียที่เป็นประเทศอาณานิคมอังกฤษเข้าไปขาย เขาไม่มีโครงการทูบีนัมเบอร์วันเลยเสร็จ สงครามฝิ่นทำให้จีนเสียอะไรและราชวงศ์ชิงมีเค้าจะล่มมาก่อนสมัยซูสีไทเฮาแล้ว สมัยซูสีไทเฮาเป็นช่วงที่เล่นการเมืองเพื่อประคับประคองราชวงศ์ในช่วงที่ราชวงศ์น่าจะล่มแล้วด้วยซ้ำ เพราะต่างชาติยกทัพมาบุกปักกิ่งแล้ว แต่ก็ยังประคองสถานการณ์จนได้ตายบนบัลลังก์ ภาพันธ์: ความเก่งของซูสีไทเฮาคือการหนุนหลังกบฏนักมวยเพื่อต่อต้านฝรั่ง เพราะที่ผ่านมาความเป็นฮั่นไม่ถูกกับความเป็นแมนจู (เผ่าพันธุ์ของราชวงศ์ชิง) แต่กบฏนักมวยที่รวมพลังกันต่อต้านตะวันตกทำให้ฮั่นกับแมนจูรวมกันเป็นหนึ่งเดียว คนที่อยู่ในกบฏนักมวยเป็นชาวฮั่นจำนวนมาก ถือเป็นการประคองสถานการณ์ของซูสีไทเฮาไม่ให้ราชวงศ์ซึ่งเป็นแมนจูถูกเกลียด แต่พระนางประมาทที่เอาเด็กมาขึ้นครองราชย์ เมื่อตัวเองตาย ราชวงศ์ก็ขาดที่พึ่ง หลิ่มหลี: จริงๆซูสีไทเฮาปกครองประเทศได้ แต่ธรรมเนียมจีนไม่ให้ผู้หญิงปกครอง พระนางจึงใช้วิธีคล้ายโจโฉที่ให้ฮ่องเต้เป็นหุ่นเชิดและตัวเองดูแลบ้านเมืองอยู่หลังม่าน ซูสีไทเฮาไม่ใช้วิธีแบบบูเช็กเทียนที่เป็นจักรพรรดินีเพราะอาจถูกต่อต้าน
กบฏนักมวยที่ร่วมกันสู้กับต่างชาติโดยราชสำนักแอบหนุนหลัง ถูกพูดถึงในหนังเรื่อง “หวงเฟยหง”
ทำไมซุนยัดเซนเลือกที่จะไม่กำจัดราชวงศ์ในตอนแรก บดินทร์: ในหนังจะเห็นว่าซุนยัดเซนไม่ได้ปฏิวัติครั้งเดียว แต่พยายามมาเป็นสิบปีแล้ว แต่ว่าเขาทำไม่สำเร็จสักทีกระทั่งปี 1911 ที่ทำสำเร็จทั้งที่กำลังพลไม่ได้มากกว่าเดิม หลิ่มหลี: การปฏิวัติที่อู่ชัง ปี 1911 (การต่อสู้ครั้งสำคัญที่ทำให้รัฐบาลชิงพ่ายแพ้) รัฐบาลชิงยึดเอาทางรถไฟที่เอกชนสร้างเป็นของรัฐ และเอาไปมัดจำกับสี่ประเทศ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน เพราะต้องการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ชาวบ้านรับไม่ได้ คณะปฏิวัติเลยใช้โอกาสนี้ก่อปฏิวัติจนสำเร็จ จริงๆแล้วไม่ใช่คนของซุนยัดเซนที่รบชนะ แต่เป็นเพราะทหารแปรพักตร์เอง ภาพันธ์: ซุนยัดเซนปฏิวัติโดยมีข้อตกลงให้ราชวงศ์ยังอาศัยอยู่ในวังต้องห้ามได้รวมถึงให้เงินสนับสนุน เป็นเพราะซุนยัดเซนยังไม่มีกำลังทหารมากพอที่จะคุมฝ่ายนายพลหยวนซื่อไข่ (ขุนศึกที่ทรยศราชวงศ์และช่วยซุนยัดเซนปฏิวัติ) จึงต้องให้คนอื่นมาดุลอำนาจเป็นสามขั้ว ตามคำพังเพยจีน “เมียสองต้องห้าม เมียสามตามตำรา” หากมีเมียสองคน จะทะเลาะกันจนคุมไม่ได้ แต่หากมีเมียสามคน จะดุลอำนาจกันเองทำให้เราไม่เหนื่อย การที่ซุนยัดเซนผูกมิตรกับราชวงศ์ทำให้เกิดสภาพดุลอำนาจสามขั้วคล้ายสามก๊ก สามารถรอโอกาสพลิกสถานการณ์มาเป็นผู้ชนะในภายหลังได้ ในอีกด้านราชวงศ์เองก็กำลังจะล่มอยู่แล้ว เพราะจักรพรรดิยังเด็ก
ซุนยัดเซน ในหนัง 1911
อะไรทำให้ราชวงศ์ชิงถูกล้มล้างภายหลัง แต่ปฏิวัติ 2475 ราชวงศ์ไทยยังอยู่ หลิ่มหลี: พื้นฐานนิสัยคนจีนได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อที่ให้ความนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ เชื่อในความดีงามของผู้ปกครอง เดิมคณะปฏิวัติจึงไม่คิดว่าจะต้องกำจัดราชวงศ์ แต่สาเหตุที่ราชวงศ์ถูกล้มในภายหลังเป็นเพราะจักรพรรดิปูยีพยายามจะกลับมามีอำนาจใหม่ หากย้อนไป ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้าย หมดอำนาจในปี 1912 โดยพระมารดาหยงลู่ประกาศสละราชบัลลังก์ แต่หลังจากนั้นไม่นาน คณะรัฐประหารที่สนับสนุนราชวงศ์ก็บุกเข้ามาในกรุงปักกิ่งเพื่อช่วยเหลือราชวงศ์ ทำให้เห็นว่าฝ่ายราชวงศ์ยังมีพลังอยู่ เมื่อฝ่ายปฏิวัติยึดอำนาจในปักกิ่งอีกครั้งจึงต้องขับไล่ปูยีออกไป ปูยีกระเสือกกระสนจะกลับเข้ามามีอำนาจในปักกิ่งตลอดเวลา ตอนที่ญี่ปุ่นยึดแคว้นแมนจูเรียและตั้งประเทศแมนจูกัวเพื่อเป็นฐานทัพบุกเข้าจีน ปูยียังร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยตกลงเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดในประเทศแมนจูกัว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประเทศแมนจูกัวถูกล้ม อดีตจักรพรรดิจึงกลายเป็นอาชญากรสงคราม แม้ปูยีพยายามหนีไปโซเวียต แต่เพราะโซเวียตเป็นมิตรกับจีนจึงทำให้ปูยีถูกส่งตัวกลับมาเป็นนักโทษที่จีน
ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ขณะเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดของประเทศแมนจูกัว
ภาพันธ์: หากเปรียบการปฏิวัติ 1911 ของจีน กับ ปฏิวัติ 2475 ของไทย ตอนที่รัชกาลที่ 7 เสียอำนาจ ราชวงศ์ยังมีพื้นฐาน connection ภายในที่แข็งแกร่ง แต่ปูยียังเด็กมากตอนที่ถูกปฏิวัติ เมื่อโตขึ้นมาและต้องการฟื้นอำนาจตัวเองจึงขาด connection ภายใน ทำให้ต้องไปยืมมือผู้อื่น เป็นหุ่นเชิดให้ญี่ปุ่นซึ่งกำลังมีบทบาทในจีนตอนนั้น แต่หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม อำนาจของปูยีจึงหมดไปด้วย หากจะกลับมาก็ลำบาก เพราะปูยีตกอยู่ในฐานะศัตรูของชาติแล้วเพราะร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ในประเทศไทยไม่มีเหตุการณ์ที่สถาบันกษัตริย์ไปพึ่งพาอำนาจของต่างชาติที่เป็นศัตรูของชาติ สำหรับจีนยังมีเงื่อนไขอื่นๆที่เป็นลบต่อราชวงศ์ เช่น อุดมการณ์คอมมิวนิสม์ที่ทำงานมานานพอที่จะปฏิเสธความมีอยู่ของราชวงศ์ ราชวงศ์ชิงยังเป็นชาวแมนจูที่ถูกมองว่าเป็นคนนอกด่านสำหรับชาวฮั่น
หากจีนเปลี่ยนราชวงศ์ โฉมหน้าการเมืองจีนอาจพลิกมาเหมือนไทย ภาพเปรียบเทียบจากหนัง 1911 และตัวจริงของนายพลหยวนชื่อไข่ นักการเมืองและนักการทหารผู้คุมกองทัพราชวงศ์ชิง แต่แปรพักตร์มาช่วยซุนยัดเซนล้มอำนาจราชวงศ์เพื่อแลกกับการเป็นประธานาธิบดี หลังเป็นประธานาธิบดีเขาได้ใช้อำนาจทางทหารรื้อฟื้นระบอบราชาธิปไตยและตั้งตนเป็นจักรพรรดิเป็นระยะสั้นๆ ก่อนจะล้มเลิกไปเพราะถูกต่อต้าน
บดินทร์: ตัวละครที่เห็นในหนัง 1911 ยังมักจะมีมิติเดียว ไม่ดีก็ชั่ว แต่จะมีตัวละครหนึ่งที่น่าจะอยู่ในความทรงจำของคนดูหนังเรื่องนี้นานที่สุด คือ หยวนซื่อไข่ จะเป็นคนเลวก็ไม่ใช่ แต่เป็นนักการเมืองที่แสวงหาอำนาจ ตอนแรกเหมือนกับเข้าข้างราชวงศ์ แต่พอราชวงศ์ไม่สนองความต้องการของตนก็แปรไปอยู่กับซุนยัดเซน ตอนแรกแสดงจุดยืนว่าต้องรักษาราชวงศ์ แต่ภายหลังกลับบอกว่าล้มก็ได้ ดูเป็นนักการเมืองมาก และเป็นคนที่มีอำนาจแทนซุนยัดเซนในเวลาต่อมา ภาพันธ์: หยวนซื่อไข่เป็นคนที่รู้จักโลกดีพอสมควร ถ้าเขาไม่ตายเสียก่อนระหว่างเป็นจักรพรรดิ โฉมหน้าการเมืองจีนอาจเปลี่ยน ระบบการเมืองอาจจะสวิงเข้ามาเหมือนประเทศไทยก็ได้ เพราะการปฏิวัติ 2475 ใช้การยืมพลังทหาร และหลังจากนั้นทหารก็ไม่เคยออกจากการเมืองไทยอีกเลย เช่นเดียวกัน ตรงนี้ก็เป็นการยืมมือทหารเข้ามาปฏิวัติล้มราชวงศ์ เพียงแต่ว่าขั้วอำนาจที่มีพลังมากที่สุดนี้ตายเร็วไปหน่อย ขั้วอำนาจอื่นขึ้นมาแทน ถ้าอำนาจหยวนซื่อไข่ยังอยู่ มันเราอาจจะเห็นจีนอีกแบบหนึ่งที่คล้ายบ้านเราก็เป็นได้ หลิ่มหลี: หยวนซื่อไข่เป็นคนที่หาผลประโยชน์ใส่ตัว คืออยากจะใหญ่ที่สุดให้ได้ เขาใช้ฝีปากชนะราชวงศ์ ขณะเดียวกันใช้กำลังชนะคณะปฏิวัติ เพราะกำลังทหารอยู่ในมือเขา มันน่าเสียดายที่เขาตาย ถ้าไม่ตายระบบเปลี่ยนแน่นอน นโยบายของเขาคือกลับขึ้นมาเป็นจักรพรรดิอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นการเปลี่ยนราชวงศ์ หากเขาเป็นชาวฮั่นอาจยิ่งได้รับการยอมรับ เพราะชาวฮั่นลึกๆแล้วต่อสู้เพื่อการล้มล้างการปกครองของแมนจูมาตลอด เพราะเขาถือว่าคนแมนจูเป็นคนนอกด่าน น่าเสียดายที่หนังเรื่องนี้ทำให้เขากลายเป็นตัวตลกเกินไป จริงๆเขาโหดเหี้ยมมากกว่านั้น แต่เข้าใจว่าเฉินหลงคงอยากให้หนังมีมุขบ้าง
เหมาเจ๋อตุง กับเจียงไคเชค สองขั้วที่ต่าง แต่เป็นทายาทซุนยัดเซนทั้งคู่? บดินทร์: เหตุการณ์ในหนังเหมือนจะกินเวลานาน แต่ที่จริงเป็นเหตุการณ์ช่วงระยะเวลาปีกว่าๆเอง เหตุการณ์สลับซ้อนพลิกไปพลิกมา การตัดสินใจบางครั้งของตัวละครอาจเปลี่ยนจีนทั้งประเทศได้ ทำให้เห็นว่าสถานการณ์แปรผันได้ในชั่วพริบตา ใครที่มองว่านักการเมืองต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ซุนยัดเซนต้องเป็นพ่อพระ ปฏิวัติง่ายดาย ใช้ความดีชนะ เป็นการมองที่ผิดหลักความเป็นจริง เพราะเรื่องนี้จะเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่าที่คิด อย่างหนัง “มังกรสร้างชาติ” (The Founding of a Republic) เหมาเจ๋อตุงพยายามจะอ้างตัวเองว่าเป็นทายาทซุนยัดเซน ส่วนเจียงไคเชคก็พยายามอ้างซุนยัดเซนเหมือนกัน ทั้งที่สองฟากนั้นอยู่คนละโลกกัน เจียงไคเชคเป็นชาตินิยมประชาธิปไตย ส่วนเหมาเจ๋อตุงเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ทั้งสองคนนี้ก็พยายามอ้างสิทธิ์ว่าเป็นทายาทซุนยัดเซน
เจียงไคเชค และ เหมาเจ๋อตุงจากหนัง“มังกรสร้างชาติ” (The Founding of a Republic)
หลิ่มหลี: การที่เหมาเจ๋อตุงอ้างถึงซุนยัดเซน คงคล้ายๆกับการรับช่วงงานต่อเนื่อง หลังซุนยัดเซนปฏิวัติราชวงศ์ชิงในปี 1911 ระบอบสาธารณรัฐก็ล้มลุกคลุกคลานเพราะการยึดอำนาจของขุนศึกต่างๆ ประเทศแตกเป็นกลุ่มขุนศึกหลายสาย ขณะที่ขุนศึกกลุ่มต่างๆทำสงครามกัน ซุนยัดเซนตั้งพรรคก๊กมินตั๋งเพื่อพยายามรวมชาติจีนอีกครั้ง เขาได้รับความช่วยเหลือจากโซเวียต รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ก็เสียชีวิตก่อนจะรวมจีนสำเร็จ ทำให้เหมาเจ๋อตุงมีสิทธิจะอ้างว่ารับงานต่อจากซุนยัดเซน เพราะซุนยัดเซนเคยร่วมงานกับพวกมาร์กซิสม์เพื่อรวมจีน ส่วนการที่เจียงไคเชคอ้างซุนยัดเซนนั้นอาจจะดูใช่กว่า เพราะสืบทอดพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นแนวทางประชาธิปไตยมาจากซุนยัดเซนโดยตรง และเป็นเขยในตระกูลซ่งด้วยกัน มีความสนิทสนม
100 ปีปฏิวัติราชวงศ์ ไต้หวันฉลอง จีนแผ่นดินใหญ่เงียบ บดินทร์: การฉลอง 100 ปี ปฏิวัติซินไฮ่เมื่อปีที่แล้ว จะเห็นว่าที่ไต้หวันฉลองกันเยอะมาก ผู้คนเอารูปท่านซุนยัดเซนมาชูหรา แต่ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ดูจะฉลองไม่เต็มที่ เหมือนมีความย้อนแย้งว่าซุนยัดเซนกับเหมาเจ๋อตุง แม้จะเป็นรากฐานของชาติเหมือนกัน แต่ก็เป็นคนละลัทธิ ฉะนั้นการฉลองให้ซุนยัดเซนจะไปขัดกับท่านเหมาเจ๋อตุงหรือเปล่า ไม่เหมือนไต้หวันที่เขาอ้างความเป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน ประโยคหนึ่งที่ซุนยัดเซนพูดในหนัง เอามาคิดแล้วมันเหมือนเสียดล้อจีนแผ่นดินใหญ่ “ในที่สุด ประชาชนจีนก็มีสิทธิเลือกผู้นำของตัวเองได้ซะที มีการเลือกตั้ง” ภาพันธ์: เหตุทำให้จีนแผ่นดินใหญ่พูดถึงเหมาเจ๋อตุง ไต้หวันพูดถึงซุนยัดเซน มันคล้ายๆครูของใครของมัน คนจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้รับอิทธิพลจากเหมาเจ๋อตุงมาก จึงไม่ได้เชิดชูย้อนขึ้นไปถึงซุนยัดเซน หาแค่เหมาเจ๋อตุงก็พอ ขณะที่ไต้หวันซึ่งมาจากสายเจียงไคเชค เขาต้องแสวงหาสัญลักษณ์ที่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกันคือซุนยัดเซน ยกตัวอย่าง เด็กศิลปากรจะไม่ค่อยพูดถึงครูช่างยุคแรกๆ อย่างเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งเป็นครูช่างขนบเก่า แต่จะพูดถึงศิลป์พีระศรี แต่คนยุคเก่ากว่านั้นเขาจะพูดถึงกรมนริศฯ และมีการไหว้ครูของกรมนริศฯซ้อนไปกับการไหว้ครูของศิลป์พีระศรี มันเป็นความผูกพันของคนแต่ละรุ่น
เจียงไคเชคกับเหมาเจ๋อตุงแข่งกันรวมชาติจีน แต่อะไรทำให้เหมาเจ๋อตุงชนะ ภาพันธ์: มองในเชิงสงคราม หลังซุนยัดเซนตาย สายปฏิรูปก็แตกออกมาเป็นสองกลุ่มหลักๆ คือกลุ่มของเจียงไคเชค กับกลุ่มของเหมาเจ๋อตุง ทำไมเจียงไคเชคถึงแพ้ เหมาเจ๋อตุงถึงชนะ มันคล้ายกับยุทธการกวนตู้สมัยสามก๊ก โจโฉที่มีกำลังเพียงเจ็ดหมื่นสามารถเผด็จศึกอ้วนเสี้ยวที่มีกำลังถึงเจ็ดแสนได้ กองทัพใหญ่กว่าไม่จำเป็นต้องชนะเสมอไป ขึ้นอยู่กับความฉลาดและอะไรหลายๆอย่างด้วย ช่วงที่ญี่ปุ่นบุกจีนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คิดว่ากองกำลังหลักที่ไปยันกับญี่ปุ่นเป็นกองกำลังของเจียงไคเชค ไม่ใช่กองกำลังของเหมาเจ๋อตุง ทำให้เสียกำลังพลไปมากและรับมือกับเหมาเจ๋อตุงในภายหลังไม่ไหว ส่วนเหมาเจ๋อตุงไปทำงานเกลี้ยกล่อมมวลชนไว้พอสมควรและมียุทธศาสตร์ที่ไม่ดูเบาสถานการณ์ ขณะที่กองทัพเจียงไคเชคค่อนข้างจะดูเบาสถานการณ์ และถูกหลอกหลายครั้งในหลายสมรภูมิสำคัญ ทำให้สถานการณ์พลิก เจียงไคเชคพ่ายแพ้ในที่สุด เพราะเชื่อในศักยภาพของกองทัพรวมถึงเชื่อมั่นว่ามันมีกองกำลังจากต่างชาติเข้ามาสนับสนุนด้วย เหมาเจ๋อตุงจึงรวมจีนสำเร็จ หลิ่มหลี: มองในแง่ของลัทธิ คนจีนอยู่ด้วยลัทธิขงจื๊อมาตลอด ซึ่งพูดถึงความดีงาม ศีลธรรมที่จะต้องเทิดทูนพ่อ เทิดทูนผู้นำ เทิดทูนผู้ครองอำนาจ ภายหลังประชาชนค้นพบว่าลัทธินี้ไม่ได้ทำให้เค้าพ้นความลำบากได้จริง รวมทั้งเหมาใช้ระบบกว้านส่งคนตระเวนไปปลูกฝังลัทธิมาร์กซิสม์ในหมู่ชาวนาโดยพูดถึงความเท่าเทียมกัน การแบ่งปัน ทุกคนมีสิทธิเท่ากัน กรรมกร ชาวนามีอะไรเท่ากัน พอปลูกฝังลัทธิตรงนี้ก็กลายเป็นเครือข่ายที่มี connection หนาแน่น ขณะที่เจียงไคเชคจะอยู่กับกลุ่มสังคมทุนนิยม กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มคนชั้นกลาง คนชั้นสูง คนมีการศึกษา นักเรียนนอก กลายเป็นการต่อสู้ของคนจนซึ่งเป็นคนหมู่มาก กับคนรวยคนชั้นกลางซึ่งเป็นคนหมู่น้อย เมื่อมีการรบกันจริงๆ คนชั้นกลางก็หนีก่อน แต่ชาวนาเขาสู้ตาย เหมาเจ๋อตุงสร้างลัทธิให้คนสู้เพื่อชาติ ตายเพื่อชาติ หลังจากนั้นคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ จะเห็นว่า propaganda ของเหมาเจ๋อตุงสุดยอดมาก โดยให้ละทุกอย่างเพื่อประเทศ เข้าถึงระบบคอมมูน กลับไปทำนา มีสิ่งหนึ่งที่ผูกใจชาวนาที่สุดคือใน 7 วันจะต้องมีวันหนึ่งที่หัวหน้าหน่วยงานลงมาเป็นลูกน้อง แสดงให้เห็นความเท่าเทียมอย่างแท้จริง และทำให้ชาวบ้านชอบมาก
ซุนยัดเซนเคยมาเดินสายแถวเยาวราช ผู้ฟัง1: ดูหนังแล้วติดใจในเรื่องความเป็นคนจีนโพ้นทะเล แม่เล่าให้ฟังว่าอากงมีรูปซุนยัดเซนแขวนอยู่ในบ้านสมัยก่อนตอนอพยพมา สงสัยว่าคนจีนโพ้นทะเลนึกถึงความเป็นชาติของตนยังไง หรือเชื่อมโยงกับแผ่นดินแม่ยังไง หลิ่มหลี: ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวจีนโพ้นทะเลยังนับถือซุนยัดเซน เพราะว่าการปฏิวัติที่ซุนยัดเซนทำเป็นการสร้างชีวิตใหม่ให้พวกเขา และการปฏิวัติก็สำเร็จส่วนหนึ่งเพราะชาวจีนโพ้นทะเล บดินทร์: ซุนยัดเซนต้องออกไปต่างประเทศบ่อยๆ ก็เพราะระดมทุนมาสนับสนุนการปฏิวัติ ภาพันธ์: ซุนยัดเซนเคยมาพบปะจีนโพ้นทะเลในไทยย่านเยาวราช (ในเยาวราชจะมีซอยหนึ่งชื่อ ซอยซุนยัดเซน) และมาระดมทุนที่ศาลเจ้าชิกเซี้ยม่า ตรงวงเวียน 22 กรกฎาซุนยัดเซนมีความผูกพันกับจีนโพ้นทะเลสูงเพราะเขาออกตระเวนอย่างจริงจัง การตระเวนมันสร้างพลังในหมู่คนจีนโพ้นทะเลให้มีความรู้สึกร่วมกับอุดมการณ์ใหม่ สร้างความภาคภูมิที่ได้ทำอะไรให้บ้านเกิด และเมื่อทำตามอุดมการณ์สำเร็จก็เกิดความผูกพัน
คนรักเจ้า ยังเหลืออยู่ไหม บดินทร์: อุดมการณ์ราชานิยมของชาวจีนไม่มีแล้ว ทุกวันนี้ไปบ้านชาวจีนคงไม่มีใครแขวนรูปปูยี หรือรูปจิ๋นซีฮ่องเต้ ดูได้จากการเขียนประวัติศาสตร์ให้ซูสีไทเฮาเป็นตัวร้าย เขาสามารถสร้างหนังเรื่อง 1911 ได้โดยให้ราชวงศ์เป็นตัวร้าย แต่ประเทศไทยสมมติมีคนอยากสร้างหนังเกี่ยวกับคณะราษฎร หรือรัชกาลที่ 7 ก็คงสร้างไม่ได้ เว้นแต่ปรีดีเป็นตัวโกง อุดมการณ์ชาวจีนเปลี่ยนไปเป็นสมัยใหม่ เขามองว่าราชวงศ์หรือระบบกษัตริย์ทำให้ประเทศชาติเสื่อมโทรม การนำประเทศไปสู่สมัยใหม่คือความความดี เขาจึงเลือกเอาอุดมการณ์ซุนยัดเซนอุดมการณ์หลักในใจของเขา ไม่แปลกที่เขาจะแขวนรูปซุนยัดเซนแทนที่จะเป็นรูปปูยีหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้ฟัง 2: เพื่อนคนจีนเคยบอกว่า อุดมการณ์ราชานิยมในจีนแทบจะหมดไปแล้วเหลือแค่คนแก่บางคน คนรักเจ้ามีอยู่น้อยและทยอยตายไปหมด เมื่อเหมาเจ๋อตุงชนะก็มีการ propaganda โจมตีศักดินาจนอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสม์ต์มาแทนที่ ภาพันธ์: ถ้าหากจีนจะชูเจ้าขึ้นมาหลังการปฏิวัติ เขาคงนึกไม่ออกว่าจะจูงสายเลือดเจ้าองค์ไหนขึ้นมาด้วย ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นแมนจูจบลงด้วยความล้มเหลว ขณะที่จะไปหาสายเลือดเก่า คือราชวงศ์หมิงก็หาไม่ได้ เพราะสิ้นราชวงศ์ไปสองร้อยกว่าปีแล้ว เมื่อ “ล้มชิง กู้หมิง” ไม่สำเร็จ จึงไม่รู้จะไปหาแซ่อย่างไร บดินทร์: เขาว่ากษัตริย์ของทุกประเทศในทุกวันนี้อยู่ด้วยความรู้ตัวว่าตัวเองจะเป็นราชวงศ์สุดท้าย เพราะถ้าจบราชวงศ์ตัวเองแล้วคงไม่มีใครมาลงเลือกตั้งเป็นกษัตริย์แทน จบก็คือจบ ปกครองแบบอื่นไปเลย ภาพันธ์:การเป็นกษัตริย์ในยุคปัจจุบันต้นทุนมันสูง ต้องรวยและทำธุรกิจเป็น ถ้าทำธุรกิจไม่เป็น ต้องไปขูดรีดประชาชนก็อยู่ไม่ได้ แต่ถ้าทำธุรกิจไม่เป็นก็ไม่มีเงินไปทำพระราชพิธีทั้งหลายซึ่งแพงมาก
ประชาธิปไตยสำคัญสำหรับจีนไหม ภาพันธ์: ขณะที่พม่ากำลังพยายามทำตัวเป็นประชาธิปไตย แต่จีนกลับสามารถพัฒนาและมีอิทธิพลบนเวทีโลกโดยไม่มีใครมากดดันเรื่องประชาธิปไตยได้ มองว่าหากรัฐบาลสามารถทำให้คนอยู่ดีกินดีได้ด้วยระบบนี้ ประชาชนก็ชื่นชมรัฐบาลเขาจีนจะปฏิเสธโลกตะวันตกได้ และบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย ไม่เหมือนพม่าหรือไทยที่ต้องแคร์สายตาต่างชาติ อุดมการณ์นี้ถ้าเราต้องพึ่งตะวันตกก็คือเราต้องเป็น แต่จีนหยิ่งผยองพอที่จะบอกตัวเองว่าเราจะไม่เป็นประชาธิปไตย จะเป็นประเทศหลายระบบแบบนี้ ใช้ทุนนิยมขายอะไรก็ได้ และจีนคิดว่าจีนกำลังบอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะกลับมาเป็นศูนย์กลางจักรวาลอีกครั้ง ผู้ฟัง 3: วิธีคิดแบบคนจีนเขาไม่ค่อยสนใจเรื่องการปกครองเท่ากับเรื่องการค้าขาย ไม่จำเป็นที่ว่าจะต้องเป็นประชาธิปไตย สิงคโปร์ก็ไม่ได้พยายามบอกว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตย สิ่งที่ต้องดูคือการกระจายรายได้ ปัจจุบันสิงคโปร์การกระจายรายได้ก็ยังสูง นิสัยอีกอย่างของคนจีนคือพร้อมจะอพยพ เช่น คนจีนที่ไม่พอใจกับสิทธิที่จำกัดและไม่สามารถเรียกร้องได้ เขาอาจไปอยู่ออสเตรเลีย หรืออเมริกาก็ได้ จะว่าไปแล้วระบอบสังคมนิยมแบบที่จีนยังเป็นมันสามารถสร้างความมั่นคงทางการค้าได้ดีกว่าประชาธิปไตยด้วยซ้ำไป นั่นน่าจะตอบสนองจีนได้ง่ายกว่าการเป็นประชาธิปไตยเสรี โดยส่วนตัวคิดว่าจีนจะไม่มีทางจะเป็นประชาธิปไตยจ๋าแน่นอน เทรนด์อย่างหนึ่งของการเมืองในโลกปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ากำลังเริ่มวิพากษ์กับความเป็นประชาธิปไตย ทำให้บางประเทศสามารถอ้างได้ว่าประชาธิปไตยมันเลวร้าย อย่างกรณีของพม่าก็เหมือนกัน มีแต่ประเทศเล็กที่ต้องง้อว่าต้องเป็นประชาธิปไตย แต่จีนมันไม่จำเป็น เทรนด์ของความเป็นประชาธิปไตยมันลด เทรนด์เหล่านี้น่าจะเป็นเทรนด์ที่ซับพอร์ตจีนพม่า ผู้ฟัง 1: มีคนจีนสมัยก่อนพูดว่า จีนใหญ่เกินไป คนเยอะเกินไป มันเป็นประชาธิปไตยทางตรงไม่ได้ จะเกิดความโกลาหล การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกในหนังก็เป็นการเลือกโดยตัวแทนผู้มีอำนาจจากแต่ละมณฑล ไม่ใช่ว่าทุกคนมีสิทธิเลือกผู้นำเท่ากันหมด ถามว่าจำนวนคนหรือรัฐระดับใหญ่แค่ไหนที่ทำให้ประชาธิปไตยทำงานไม่ได้ การคัดสรรผู้นำคนเดียวจากคนกว่าพันล้านจะทำได้ไหม ภาพันธ์: คิดว่ากลไกประชาธิปไตยมันทำงานได้ เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยทำงานไม่ได้ไม่ใช่เรื่องขนาดหรือปริมาณคน แต่เป็นเรื่องของความคิดความเชื่อที่อยู่มานานพอที่จะเป็นธรรมชาติในการใช้ชีวิตของผู้คน เช่น คิดว่าใช้ชีวิตโดยไม่ต้องมีประชาธิปไตยก็มีความสุขได้ ตัวนี้ที่มันทำให้คุณบอกว่าคุณไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตยก็ได้ คนมีหลายแบบ บางส่วนอาจจะมองว่าความสุขในโลกเผด็จการเป็นสิ่งลวงตา ต้องเป็นอีกแบบ เป็นปัจเจก มีความเป็นเสรี แต่คนอีกส่วนก็มองกลับไปว่าความเป็นอยู่แบบอุปถัมภ์มันดีกว่า มันต่างเงื่อนไขกับอเมริกาที่แบกอุดมการณ์ใหม่ๆไปสร้างในพื้นที่ใหม่บนเงื่อนไขใหม่ แต่ถ้าจะสวมอุดมการณ์ใหม่ลงบนพื้นฐานเก่าๆมันต้องต่อรอง เหมือนอย่างอังกฤษ กว่าสภาจะต่อรองกับกษัตริย์ได้ก็ใช้เวลานานเหมือนกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 May 2012 11:54 AM PDT
นายมานะ แสนประเสริฐศรี นายพรสวรรค์ นาคไชย นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง นายวารินทร์ วงศ์สนิท
ด.ช. คุณากร ศรีสุวรรณ นายพัน คำกอง สมาพันธ์ ศรีเทพ(เฌอ) สุภชีพ จุลทรรศน์ อำพล ชื่นสี นายชาญณรงค์ พลศรีลา นายธนากร ปิยะพลดิเรก นายอุทัย อรอินทร์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 May 2012 11:39 AM PDT นายปิยพงษ์ กิตติวงศ์
นายเสน่ห์ นิลเหลือง นายทิพเนตร เจียมพล นายชัยยันต์ วรรณจักร ธันวา วงษ์ศิริ
นายกิติพันธ์ ขันทอง(ช่างกล้อง) น.ส. สัญธะนา สรรพศรี นายมนูญ ท่าลาด นายสรไกร ศรีเมืองปุน นายเหิน อ่อนสา ที่มา: ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 May 2012 11:36 AM PDT
ชาติชาย ชาเหลา นายชาติชาย ซาเหลา อายุ 25 ปี ถูกยิงในเวลาประมาณ 22.50 น. ฝั่งตรงข้ามสวนลุมหน้ากฤษณามาร์เก็ตติ้ง บริเวณปากซอยศาลาแดง 1 เป็นตึกแถวข้างอื้อจือเหลียง โดยหนังสือรับรองการตาย ระบุสาเหตุการตายว่า สมองฉีกขาดอย่างมากร่วมกับกระโหลกแตกเป็นเสี่ยงๆ จากถูกกระสุนปืนเข้าที่ศีรษะ ขณะที่สำนวนDSI ระบุว่ากระสุนเข้าที่หน้าขวาทะลุออกด้านหลังซ้ายเป็นมุมกดลงสอดคล้องกับสถานที่เกิดเหตุที่มีรอยครูดกระสุนปืนเส้นผมและเศษกระสุนที่ผู้ตายถูกยิง ซึ่งน่าจะยิงมาจากสะพานลอยพระรามสี่ ที่มา: ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53
พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น.วันที่ 13 พฤษภาคม โดยมีเสียงปืนและเสียงระเบิดดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังเสียปืนสงบลงพบว่า พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดงถูกกระสุนปืนเจาะเข้าที่ศรีษะบริเวณขมับซ้ายทะลุขวา และอีกนัดที่บริเวณท้ายทอย เลือดเต็มใบหน้า เวลา 19.25 น. พล.ต.ท.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า พล.ต.ขัตติยะถูกยิงที่แยกศาลาแดงโดยถูกยิงเข้าที่ศรีษะด้วยอาวุธปืนไม่ทราบชนิดขณะเดินตรวจพื้นที่และกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้ช่วยกันนำตัวส่งโรงพยาบาลหัวเฉียว พญ.มาลีนี สุขเวชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า กทม.ได้ประสานไปยังแพทย์โรงพยาบาลหัวเฉียว ทราบว่าขณะนี้แพทย์กำลังให้การรักษาพล.ต.ขัตติยะ โดยนำเข้าผ่าตัดที่ห้องไอซียู ทราบว่ามีการใส่ท่อหายใจและไม่รู้สึกตัว โดยหัวใจยังคงเต้นอยู่ แพทย์จึงยังไม่สามารถประกาศได้ว่า พล.ต.ขัตติยะเสียชีวิตแล้วเพราะการจะประกาศเสียชีวิตได้ คนไข้จะต้องหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น และสมองหยุดทำงาน จากการติดตามทราบว่า พล.ต.ขัตติยะถูกยิง 2 นัด ก่อนหน้านี้เวลา 19.00 น.ผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้จุดประทัดขว้างไปบนสะพานลอยศาลาแดง จากนั้นเกิดเสียงคล้ายเสียงปืนดังขึ้นในฝั่งกลุ่มเสื้อแดงประมาณ 10 นัด กระทั่งเวลา 19.20 น.เกิดเสียงดังคล้ายปืนยิงรัวขึ้นอีกกว่า 30 นัด และมีเสียงระเบิดดังขึ้น 4 ครั้ง โดยมีเฮลิคอปเตอร์บินวนสำรวจบริเวณพื้นที่ดังกล่าว มีรายงานว่า ระหว่างเกิดเหตุนั้น พล.ต.ขัตติยะกำลังให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศโดยยืนอยู่นอกกำแพงยางรถยนต์ ใกล้โรงพยาบาลจุฬาฯ จากนั้นเสียงปืนดังขึ้น และมีเสียงคนตะโกนขึ้นว่า "เสธ.แดงถูกยิง" จากนั้นมีเสียงปืนดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์เป็นไปอย่างชุลมุนวุ่นวายนานกว่า 20 นาที เสียงปืนจึงสงบลง หลังเกิดเหตุทีมการ์ดของ พล.ต.ขัตติยะได้โบกรถกระบะโตโยต้า สีขาว ไม่ทราบทะเบียนที่วิ่งผ่านมาพอดี แต่เนื่องจากคนขับรถไม่ชำนาญเส้นทางว่าจะเอาไปโรงพยาบาลไหนซึ่งการ์ดบอกว่าจะไม่นำไปรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ และหันมาส่งโรงพยาบาลตำรวจ แต่พบว่ามีรถขวางอยู่ จึงนำตัวส่งที่โรงพยาบาลหัวเฉียว โดยว่าจ้างรถจักรยานยนต์รับจ้างนำทางมา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวเข้าห้องฉุกเฉินทันที และนำตัวมาที่แผนกเอกซเรย์สมอง ก่อนจะนำตัวเข้าห้องผ่าตัด น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล หรือน้องเดียร์ บุตรสาวของ เสธ.แดง เดินทางมายังโรงพยาบาลหัวเฉียว ให้สัมภาษณ์ด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า "ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าคุณพ่อถูกยิงอาการหนักแค่ไหน แต่ได้บอกกับแพทย์ว่า หากอาการหนักมากก็ต้องไม่ยื้อไว้" ต่อมา พล.ต.ขัตติยะ ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 17 พ.ค. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 May 2012 11:31 AM PDT
จ.ส.ต.วิทยา พรมสำลี
คืนวันที่ 7 พ.ค.53 เหตุลอบยิงระเบิดเข้าไปบริเวณทางเข้าสวนลุมพินี และทางเข้าสีลมหน้าธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย อาคารซิลลิค ใกล้กับโรงแรมดุสิตธานี จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และบาดเจ็บอีกหลายราย ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร(ศูนย์เอราวัณ) รายงานจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิ ตจากเหตุยิงอาวุธปืนที่แยกศาลาแดง และเหตุระเบิดที่จุดตรวจที่ถนน พระรามที่ 4 ตรงข้ามตึกอื้อจือเหลียง ฝั่งสวนลุมพินี คืนวันที่ 7 พฤษาคม ว่า มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นตำรวจทั้ง 2 ราย และผู้บาดเจ็บทั้งหมด 13 ราย โดยเหตุยิงอาวุธปืนที่แยกศาลาแดง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ ส.ต.อ.กานต์นุพัฒน์ เลิศจันทร์เพ็ญ ผู้บาดเจ็บมี 5 ราย เป็นพลเรือน 3 ราย ตำรวจ 2 นาย โดย 3 รายบาดเจ็บเล็กน้อย กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน อีก 2 ราย ยังคงพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยทั่วไป รพ.จุฬาลงกรณ์ 1 ราย และห้องไอซียู รพ.กรุงเทพคริสเตียน 1 ราย ทางด้านเหตุระเบิดที่จุดตรวจบริเวณถนนพระราม 4 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ จ.ส.ต.วิทยา พรมสำลี และบาดเจ็บ 8 ราย เป็นตำรวจ 5 ราย ทหาร 3 ราย โดยล่าสุดมี 3 ราย ยังคงพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยทั่วไปรพ.จุฬาฯ ส่วนอีก 3 ราย ย้ายไปรักษาตัวที่รพ.พระมงกุฎเกล้า ย้ายไปรักษาต่อที่ รพ.รามาธิบดี 1 รายและมี 1 ราย กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านแล้ว ที่มา: เว็บไซต์มติชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 May 2012 11:23 AM PDT พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาระ พลทหารณรงฤทธิ์ อายุ 22 ปี เป็นทหารสังกัด ร.9 พัน 2 จ.กาญจนบุรี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 บนถนนวิภาวดีรังสิต เขตดอนเมืองกทม. จากเหตุปะทะระหว่างทหารและกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เขตดอนเมือง โดยพลทหารณรงค์ฤทธิ์กับพวกขี่รถจักรยานยนต์มาสมทบโดยมาทางกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อมาถึงแถวทหารก็ถูกยิงเสียชีวิตวิถีกระสุนมาจากซ้ายข้างจุดที่มีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ เบื้องต้นพบบาดแผลที่ศีรษะ ถูกยิงที่ขมับซ้าย สื่อบางสำนัก รวมถึงบีบีซี ระบุเขาโดนทหารด้วยกันยิงเพราะความเข้าใจผิด สำหรับการไต่สวนการตายกรณีนี้ ศาลนัดวันที่ 18 มิ.ย.นี้ ที่ศาลอาญา โดยมีพยานรวม 26 ปาก ส่วนใหญ่เป็นตำรวจ ทหาร และพยานที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งระหว่างนั้นตำรวจ-ทหารตั้งแถวป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางผ่านมาทาง ถ.วิภาวดีฯ
เรียบเรียงจากเว็บไซต์ข่าวสด โลกวันนี้ กรุงเทพธุรกิจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คอป.เสนอ เลิก พ.ร.ก.ก่อการร้าย Posted: 15 May 2012 11:11 AM PDT
นายคณิต ณ นคร ประธาน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้ส่งข้อเสนอแนะฉบับล่าสุด ถึงนายกรัฐมนตรี ประธานสาภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เกี่ยวกับกฎหมายการก่อการร้าย โดยเสนอให้ยกเลิกพ.ร.ก.ก่อการร้ายซึ่งจะเป็นหนทางในการนำไปสู่ความปรองดองและ เกิดสันติในชาติ พร้อมระบุเหตุผลดังนี้ 1.บทบัญญัติเกี่ยวกับการก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญา คือ “ลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย” ได้เกิดขึ้นในระบบกฎหมายของประเทศโดยไม่ถูกต้องตามหลักการแห่งประชาธิปไตย เพราะเกิดจากการตราเป็นกฎหมายโดย “พระราชกำหนด” จึงต้องถือว่าการกระทำของรัฐบาลในขณะนั้น (รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) เป็นการกระทำที่ไม่เคารพต่อเสียงข้างน้อยในรัฐสภา ซึ่งผิดหลักการแห่งประชาธิปไตย เพราะการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นการปกครองด้วยเสียงข้างมากก็จริงอยู่ แต่ก็ต้องเคารพต่อเสียงข้างน้อยในรัฐสภาด้วย หากกฎหมายได้เข้าสู่รัฐสภาตามครรลองที่ถูกต้อง โดยเสนอเป็น “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา” แล้ว เชื่อว่าจะมีการอภิปรายเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.อย่างกว้างขวางในรัฐสภาแน่นอน 2. เนื้อหาใน พ.ร.ก.ก่อการร้าย ได้ บัญญัติขึ้นโดยฝ่าฝืนหลักประกันในกฎหมายอาญา และขาดความชัดเจนแน่นอน โดยมาตรา 135/1 ที่ว่า “การกระทำในการเดินกระบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ หรือได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย” นั้น เป็นการยากที่จะแบ่งแยกระหว่างการก่อการร้ายกับการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานก่อการร้ายที่ยังไม่ได้ ถูกฟ้องและที่ผู้ถูกฟ้องเป็นจำเลยไปแล้วที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบในบ้าน เมืองในครั้งนี้นั้น ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้กระทำการไปโดยมีจุดมุ่งหมายทางการเมือง หรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 3.ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดฐานก่อการร้ายขององค์กรในกระบวนการ ยุติธรรมฝ่ายเจ้าพนักงานของประเทศ อันได้แก่พนักงานสอบสวน ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมตลอดถึงพนักงานอัยการเกี่ยวกับความผิดฐานก่อการร้ายยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหาอันเนื่องจากการใช้ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงทำให้การดำเนินการสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการสั่งคดีของพนักงานอัยการ ดูจะขาดความเชื่อถือศรัทธา 4.ความผิดฐานก่อการร้ายนั้น คอป. เห็นว่าเทียบได้กับความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตาม ม. 209 กฎหมายอาญา กล่าวคือ ความผิดฐานเป็นอั้งยี่เป็นความผิดที่เป็นการสกัดกั้นการก่อตั้ง “สมาคมอั้งยี่” หรือ “สมาคมอาชญากรรม” และเพื่อสกัดกั้นการคงอยู่ต่อไปของสมาคมอาชญากรรม และป้องกันการกระทำความผิดทั้งหลายที่ร้ายแรงที่จะเกิดตามมาจากการตระเตรียม ที่จะกระทำความผิด เช่น วางระเบิด วางเพลิง หรือฆ่าผู้อื่น ทั้งนี้โทษหนักสำหรับสมาชิกอั้งยี่ก็คือโทษของความผิดฐานวางระเบิด ความผิดฐานวางเพลิง หรือความผิดฐานฆ่าผู้อื่น 5.อั้งยี่หรือสมาคมอาชญากรรมภายในประเทศ ได้พัฒนาไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และกลายเป็นสมาคมก่อการร้าย ดังนั้นการกระทำที่เป็นความผิดฐานก่อการร้ายก็คือการกระทำที่เป็นการรวมตัว กันจัดตั้ง “สมาคมก่อการร้าย” ซึ่งตามปกติการก่อการร้ายจะสัมพันธ์กับต่างประเทศอีกด้วย และหาก “สมาชิกสมาคมก่อการร้าย” ไปกระทำความผิดฐานอื่นใดขึ้น การกระทำก็จะเป็นการกระทำความผิดทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในความผิดฐาน เป็นอั้งยี่ 6.ในทางหลักคิดทางกฎหมายอาญาแล้ว คอป. เห็นว่าลำพังการรวมตัวกันตั้งเป็น “สมาคมก่อการร้าย” ซึ่งเป็นความผิดฐานก่อการร้ายนั้น ระวางโทษตามกฎหมายต้องเบากว่าระวางโทษของความผิดร้ายแรง เช่น วางระเบิด วางเพลิง หรือฆ่าผู้อื่น เพราะเป็นการลงโทษในชั้นการตระเตรียมกระทำความผิด โดยความผิดฐานก่อการร้าย ในประเทศเยอรมนี มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี แต่ระวางโทษของความผิดฐานก่อการร้ายของไทย กลับมีระวางโทษถึงประหารชีวิต ซึ่งแสดงว่าการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการกระทำที่ขาดความรู้ และขาดความคิดในทางหลักการแห่งกฎหมายอาญาโดยสิ้นเชิง เหตุนี้ คอป. จึงเห็นว่ากรณีเป็นการละเมิด “หลักนิติธรรม”หรือ “หลักนิติรัฐ” โดยแท้ 7.เมื่อกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายของไทยเราไม่ตั้งอยู่บนหลักการแห่งระบอบ ประชาธิปไตย และหลักแห่ง “นิติธรรม” หรือหลักแห่ง “นิติรัฐ” อย่างชัดแจ้ง คอป. จึงเห็นว่ากรณีเป็นปัญหาที่รัฐบาล รัฐสภา และฝ่ายค้าน ตลอดจนกลุ่มการเมืองทุกกลุ่มในรัฐสภาจักต้องร่วมกันคิดทบทวนและร่วมกันในการ หาทางออกเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อยับยั้งความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับคดีในความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายหลายคดีที่ได้ขึ้นสู่ศาลแล้วนั้น คอป. เห็นว่า การดำเนินคดีที่มีลักษณะเป็นการเหวี่ยงแหอันเกิดจากความไม่เข้าใจเนื้อหาที่ แท้ของความผิดฐานก่อการร้าย จนทำให้จำเลยทุกคนและทุกฝ่ายขาดความเชื่อถือต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่มีความแน่ชัดว่าได้มีการก่อตั้งสมาคมก่อการร้าย หรือมีสมาคมก่อการร้ายเกิดขึ้นแล้วในบ้านเมืองเรา เมื่อการดำเนินคดีในความผิดฐานก่อการร้ายทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศ ขาดความเชื่อถือศรัทธา ทางแก้โดยองค์กรในกระบวนการยุติธรรมตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่อาจทำได้ เช่น การสั่งไม่ฟ้องหรือการถอนฟ้องโดยพนักงานอัยการน่าจะเกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะองค์กรอัยการดูจะไม่ค่อยร่วมมือในการสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่รัฐบาลในอดีต (รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ) ได้ออกพ.ร.ก.เพิ่มความผิดฐานก่อการร้ายนั้น คอป.เชื่อว่ารัฐบาลในขณะนั้นคงจะไม่คาดคิดว่า ประเทศไทยเราจะเกิดความแตกแยกดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เมื่อสถานการณ์แห่งความแตกแยกกำลังปรากฏเป็นทางตันอยู่ในขณะนี้ กรณีจึงจำเป็นต้องปรับใช้ “ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน” (Transitional Justice) และ “ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์” (Restorative Justice) เพื่อสร้างความปรองดองและสันติให้เกิดขึ้นในชาติ ดังนั้น คอป.จึงใคร่ขอเสนอให้รัฐบาล รัฐสภา ฝ่ายค้านและกลุ่มการเมืองทุกกลุ่มได้แสดงความกล้าหาญทางการเมืองโดยร่วมกัน เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาให้ยกเลิกประมวลกฎหมาย อาญา ลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายเสีย เพื่อจักได้กลับไปสู่การเริ่มต้นที่ดีใหม่ เมื่อภาคการเมืองทุกฝ่ายได้แสดงความกล้าหาญจนได้มีการยกเลิกความผิด เกี่ยวกับการก่อการร้ายแล้ว เงื่อนไขให้อำนาจดำเนินคดี ก็ย่อมจะตกไปตามป.วิ อาญา มาตรา39 ที่ว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับเมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความ ผิดเช่นนั้น จึงทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมจะได้รับผลตามกฎหมายที่ยกเลิกกฎหมายนั้น โดย คดีความที่ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานก็จะเป็นอันยุติลง และสำหรับคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้น ก็จะยุติลงโดยศาลจะสั่งให้จำหน่ายคดีไป คอป. ระบุด้วยว่า การยกเลิกพ.ร.ก.ก่อการร้าย คือ การใช้ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และจะเป็นหนทางหนึ่งในการสร้างความปรองดองและสันติให้เกิดขึ้นในชาติโดยไม่กระทบต่อความรู้สึกขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าองค์กรใดทั้งสิ้น ส่วนการที่จะบัญญัติความผิดฐานก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญาในอนาคต ซึ่งก็มีความสำคัญ ก็ย่อมจะกระทำได้ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติและทุกฝ่ายต้องมีความรอบคอบมากกว่านี้โดยถือเอาอดีตเป็น บทเรียน การยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายตามข้อเสนอแนะของ คอป. นั้น เท่ากับเป็นการที่รัฐบาลปัจจุบันและทุกฝ่ายได้ร่วมกันส่งเสริมหลักแห่งการ ปรองดองโดยการกระทำที่มีนัยสำคัญของ “การขอโทษต่อประชาชน” ในความผิดพลาดในอดีต (ความผิดพลาดของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ) ซึ่งการขอโทษต่อประชาชนต่อความผิดพลาดในอดีตเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการสร้างสันติและความปรองดองในชาติอันกล่าวได้ ว่าเป็นหลักการอันเป็นสากล ดังเช่น ประธานาธิบดี Mauricio Funes แห่งประเทศเอล ซัลวาดอร์ และนายกรัฐมนตรี Kevin Rudd แห่งประเทศออสเตรเลีย และผู้นำประเทศคนอื่น ๆ ได้กระทำเป็นแบบอย่างมาแล้ว สำหรับประเทศไทยการขอโทษต่อประชาชนในความผิดพลาดได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวคำขอโทษต่อหน้าข้าราชการ ผู้นำทางศาสนา และผู้นำท้องถิ่นจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นการขอโทษต่อประชาชนแทนรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ คอป. ยังเรียกร้องให้กลุ่มการเมืองทุกฝ่ายได้ผนึกกำลังกัน แสดงต่อประชาชนให้เป็นที่ประจักษ์ชัดถึงความจริงจังและจริงใจที่จะแก้ปัญหา ของบ้านเมือง โดยถือเอาประโยชน์ของบ้านเมืองก่อนประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ เพื่อก้าวพ้นความขัดแย้งและเพื่อนำประเทศชาติไปสู่ความสงบและสันติต่อไป
ที่มา: เว็บไซต์คมชัดลึก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปฏิญญาหน้าศาล ย้ำ อากงไม่ผิด เรียกร้อง รบ.แก้112 เรียกร้องสิทธิประกันตัวและระบบประกันสุขภาพในเรือนจำ Posted: 15 May 2012 10:08 AM PDT 13.00 น. เมื่อ13 พ.ค.55 ที่ผ่านมา บริเวณบาทวิถี หน้าศาลอาญา รัชดา ประชาชนประมาณ 100 คนร่วมกิจกรรม เสวนา เรื่อง "อากงไม่ผิด" ซึ่งจัดโดย กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล โดยมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย อานนท์ นำภา ทนายความผู้ติดตามคดี นายอำพล หรือ “อากง SMS”, ก้านธูป นักศึกษาปี 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ถูกหมายเรียกในกระบวนการยุติธรรม และเป็นจำเลยของสังคมในคดี "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ซึ่งถูก "ล่าแม่มด" ตั้งแต่เธอยังไม่บรรลุนิติภาวะ, อาคม ศิริพจนารถ ทนายนักสิทธิมนุษยชน , รศ. สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ทั้งนี้ก่อนการเสวนา ได้มีการอ่าน แถลงการณ์ ของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล (Declaration of Justice) ฉบับที่ 1 ซึ่งอ่านโดยกวีเสื้อแดง ไม้หนึ่ง ก.กุนที ความว่า ณ ทางคนเดิน หน้าศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เรื่อง การเสียชีวิตของนักโทษการเมือง “อากง” จากการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพคุณ หรือที่ประชาชนพร้อมใจเรียกท่านว่า “อากง” ผู้ถูกกล่าวหาด้วย มาตรา 112 แล้วถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวขณะต่อสู้คดี แม้จะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามหลักยุติธรรมสากลที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไทย นายอำพลถูกพิพากษาต้องโทษในอัตราสูงตามดุลยพินิจของตุลาการ นำมาสู่การคุมขังในทัณฑสถานอันแออัดและด้อยมาตรฐาน อาการเจ็บป่วยรุนแรงที่พึงได้รับการพิจารณาให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อเข้ารับการรักษาตามสิทธิพลเมือง กลับถูกเพิกเฉย ในที่สุด “อากง” ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล อันเป็นกลุ่มที่รวมตัวกัน เคลื่อนไหวให้ปลดปล่อยนักโทษทางการเมือง ต้องการให้สถาบันหลักทั้ง 3 ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แสดงความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ 1. สถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นต้นธารของการออกกฎหมายมาตรา 112 อันเป็นเหตุให้ประชาชนเช่นนายอำพลถูกคุมขังโดยมิชอบ ต้องทบทวนถึงการคงอยู่ของกฎหมายมาตรานี้อย่างเร่งด่วนและซื่อตรงต่อประชาชน 2. สถาบันตุลาการ ซึ่งเป็นเครื่องมือของการใช้ตัวบทกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ต้องตรวจสอบตุลาการที่ใช้ดุลยพินิจเฉพาะกิจอยู่เหนือหลักการนิติธรรม จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตของประชาชน เพราะนอกจากไม่สามารถดำรงความยุติธรรมให้เกิดในสังคมไทยได้แล้ว ยังนำมาซึ่งความเสื่อมศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศในขั้นรุนแรงอีกด้วย 3. สถาบันบริหาร ซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการองค์กรของรัฐทุกองค์กร ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาล ต้องตรวจสอบส่วนงานราชการที่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการดูแลรักษาโรคของผู้ถูกคุมขัง และตั้งคณะกรรมการสอบสวนแพทย์พยาบาลผู้ละเลยการให้การรักษาพยาบาลอย่างไร้จรรยาแพทย์โดยทันที กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลจะติดตามการแก้ไขปัญหาของทุกสถาบันอย่างใกล้ชิดและจะเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกว่านักโทษการเมืองจะได้รับการปล่อยตัว และศักดิ์ศรีความเป็นคนของนักโทษการเมืองทั้งที่ได้วายชนม์แล้วและยังถูกคุมขังได้รับกลับคืนมา
ด้วยความคาดหวัง กลุ่มปฎิญญาหน้าศาล
วงเสวนาเริ่มต้นโดย อานนท์ นำภา ทนายความผู้ติดตามคดี นายอำพล หรือ “อากง SMS” อานนท์ได้แย้งข้อกล่าวหาของอธิบดีศาลอาญา....ที่ว่าไม่ให้ประกันตัวเนื่องจากเราถอนอุธร ว่า “ในความเป็นจริงเรายืนขอประกันตัวอากงมาทั้งหมด 8 ครั้ง แล้วก็เรามีใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าอากงเป็นโรคมะเร็งยื่นเข้าไปตั้งแต่ครั้งแรกๆแล้ว และทุกครั้งเราก็อ้าวเรื่องความเจ็บป่วย จริงๆมันมีหลักฐานยืนยันในคำสั่งศาลอุธร คือศาลอุธรทราบว่าอากงป่วย ที่มีคำสั่งว่าอาการป่วยแบบนี้มันไม่ถึงตาย ในเรือนจำมันก็มีสานพยาบาลที่รักษาได้ อันนี้เขาก็ยอมรับในคำสั่งของศาลเองว่า รู้ว่าป่วยแต่ว่ายังไม่ตายหรอก แล้วก็ในเรือนจำก็มีแพทย์ที่จะรักษา ในความเป็นจริงมันไม่มีครับในเรือนจำนี่ "อาจารย์สุรชัย(แซ่ด่าน) เล่าให้ผมฟัง ในเรือนจำจริงๆมันจะมีหมอเวรที่จะเข้ามาอาทิตย์หนึ่งมา 2 ครั้ง 2 วันคือวันอังคารกับวันพฤหัสบดี แล้ววันหนึ่งมาใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงกับนักโทษ 4 พันคน แล้วถ้ารวมกับเสาร์อาทิตย์ ก็ไม่ต้องพูดถึง ห้องก็เป็นห้องขัง ไปนอนก็ปิดประตูล็อค แล้วไปขี้ไปเยี่ยวคนป่วยหนักก็ช่วยกันเอง จริงๆแล้วในสัปดาห์ที่อากงเสียชีวิตมีคนตาย 3 คนในห้องเดียวกัน คือถ้าไม่ใช่อากง ไม่ใช่เคสที่มีคนสนใจเยอะเราก็ไม่สนใจว่าเขาตายอย่างไร จริงๆแล้วนักโทษที่อยู่ในราชทัณฑ์ตายกันเยอะมากในเรือนจำเพราะว่ามันไม่มีหมอที่เข้าไปให้การดูแลรักษา เจ็บแค่ไหนเขาก็แจกแค่พารา อย่างของอากงเจ็บมา 2 สัปดาห์ก่อนหน้าที่แกจะขอเข้าโรงพยาบาล เจ็บท้องมาเรื่อยๆแล้วก็มีคิวที่จะได้เข้าไปรักษานานมาก จนกระทั้งให้ อาจารย์หวาน(อ.สุดา รังกุพันธ์)คุยกับท่านอธิบดี เพื่อที่จะลัดคิวเข้าไปให้ได้รับการรักษาเร็วขึ้น แต่ว่าการทำให้มันเร็วขึ้นก็เร็วไม่พอที่จะช่วยชีวิตอากงได้ครับ" ผมได้มีโอกาสได้เจอแก(อากง)ครั้งสุดท้ายก็ได้มีโอกาสคุยกันหลายๆเรื่อง แล้วก็ มันเหมือนหวยออกแล้วเรามีตีย้อนหลัง คือก็รู้สึกว่าอากงแกกระดี้กระด้าว่าจะได้ออกเร็วๆนี้ แล้วแกก็ฝากเรื่องที่แกปวดท้อง เขาไม่ยอมส่งโรงพยาบาลสักที จนกระทั้งอาจารย์หวานติดต่อไปที่ท่านอธิบดี อธิบดีก็เรียกน้องทนายอีกคนหนึ่งเข้าไปพบ จึงได้เข้าโรงพยาบาล แกเข้าโรงพยาบาลไปโดยมีนักโทษในคดีหมิ่นฯเหมือนกัน 2 คนที่ช่วยพยุงไปในสถานพยาบาล แกก็ไปนอนที่โรงพยาบาลกลางของราชทัณฑ์อีก 3 คืนคือคืนวันจันทร์ ความโชคร้ายของกระบวนการยุติธรรมไทยคือแกไปนอนเฉยๆในโรงพยาบาลถึง 3 คืน เพราะวันจันทร์เป็นวันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล เช้าวันอังคารแกก็เสียชีวิตในตอน 9 โมงเช้าหลังจากที่ป้าอุ๊(ภรรยาอากง)ขอเข้าไปเยี่ยมทราบจากหมอว่าแกเสียชีวิตแล้ว สิ่งที่สะเทือนใจและเป็นที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการพยาบาลก็คือหมอพงษ์ศักดิ์ ที่เข้าไปร่วมชัณสูตรได้ตั้งข้อสังเกตุว่าอากงนอกจากเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งแล้วก็ที่มันรามไปตามช่องท้อง แล้วมันไม่มีร่องรอยการยื้อชีวิตแบบเคสปรกติ คือคนใกล้จะตายหมอจะปั้มหัวใจ คุณหมอพงษ์ศักดิ์ บอกว่ามี่ร่องรอยนี้ คืออากงตายไปเฉยๆ อันนี้อยากเรียนให้ทราบว่าคนที่โกหกนอกจาก อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แล้ว ยังมีอธิบดีกรมอีกที่บอกว่ามีการรักษาอากงเป็นอย่างดี จริงๆแล้วไม่ใช่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ถึงขนาดบอกว่าที่ไม่ให้ประกันอากงเพราะว่าอากงยื่นอุทธรณ์ จริงๆแล้วที่เขาถอนอุทธรณ์ก็เพราะว่าท่านไม่ให้ประกัน โดยให้เหตุผลว่าคดีกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดี คดีมีความร้ายแรงเกรงว่าจะหลบหนี นี่เป็นเหตุผลเบื้องต้นมาแบบนี้ หลังจากที่มีคำพิพากษาคดีอากง 20 ปีทีมทนายก็ได้ปรึกษากันรวมทั้งญาติๆ ว่าจะยื่นอุทธรณ์กันหรือเปล่า ทางอากงแกยืนยันว่าแกไม่ได้ทำและประสงค์จะยื่นอุธร และเราจะโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่ามันมีความพิกล แล้วก็โต้แย้งให้เห็นว่าคดีของอากงมันไม่มีความเป็นธรรมอย่างไร แล้วก็เอาเหตุผลที่เราโต้แย้งนี้ไปยื่นประกันอากงครั้งสุดท้าย คือยื่นไปพร้อมกับการยื่นอุธร อันนี้คือเหตุผลในการยื่นอุทธรณ์ คำพิพากษามีความพิกลอย่างไร ก็คือ ศาลชั้นต้นมีความเชื่อว่าอากงเป็นผู้กระทำความผิดมาตั้งแต่แรกๆของการพิจารณาด้วยซ้ำ เราอ่านเฉพาะคำพิพากษาเราอาจจะคล้อยตามคำพิพากษา ผมยกตัวอย่างศาลให้เหตุผลว่าอากงเป็นคนที่ชอบส่งข้อความ SMS อยู่เป็นเนืองๆ แต่ว่าเอกสารที่บริษัททรูมูฟฯอ้างมามันคือการรับข้อความเข้ามา แต่ศาลไปแปลว่ารับเป็นการออก คือมีพยานแวดล้อมอยู่แค่นี้ ว่าส่งอยู่เป็นประจำ นอกจากเบอร์คนร้าย เบอร์คนร้ายคือเบอร์ของ DTEC เบอร์ทรูมูฟฯของอากงก็ยังส่งอยู่เป็นประจำ ทั้งๆที่ความเป็นจริงเบอร์ทรูมูฟฯมันคือการรับข่าวเข้า จริงๆแล้วคดีอากงศาลเชื่อหลักฐานเพียงแค่ชิ้นเดียวที่พิพากษาว่าอากงผิดคือเอกสารรายงานการใช้โทรศัพท์ของ Dtec ซึ่งเอกสารนั้นมันผิด พยานคนที่มาเบิกความว่ายืนยันว่าอากงว่าเอกสารนั้นเป็นความจริง ในชั้นสอบสวนไม่ได้เอกสารตัวนั้นเลย เอกสารตัวนั้นโผล่หลังจากที่มีการยื่นฟ้องแล้วมีการสืบพยาน ในชั้นสืบพยาน ในทางวิธีพิจารณาความพยานหลักฐานซึ่งพยานไม่ได้เบิกความในชั้นสอบสวนนี่มันคือมั่ว หลังจากที่มีการสืบพยานเสร็จทางทนายก็มาคุยกันว่าคดีนี่จะเป็นอย่างไร เรามีความค่อนข้างเชื่อด้วยซ้ำว่าคดีนี้จะยก ผมอยากให้ป้าอุ๊เตรียมเสื้อมาให้อากงในวันที่ฟังพิพากษาจะได้ออกเลย แต่ปรากฏว่าศาลก็พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไป 20 ปี ในฐานะที่เป็นทนายความประสพการณ์ในการทำคดีอาญาทั้ง 3 ท่านที่ร่วมทำแล้วก็มีทนายอาวุโส คือ ลงความเห็นไปในทางเดียวกันว่าในทางอาชญาวิทยานี่ คนแก่อายุ 61 ปี โดนตำรวจหลายสิบนายอาวุธครบมือไปบุกจับถึงบ้านมีช่างภาพแสงวูบวาบถ้าทำจริงเขารับไปแล้ว แต่อากงไม่รับในชั้นจับกุม ชั้นสอบสวนก็ไม่ได้รับ จนกระทั้งในชั้นศาลก็ไม่ได้รับ จนถึงวันสุดท้ายที่ผมไปคุยกับอากงว่าอากงจะถอนอุทธรณ์อากงจะรับสารภาพหรือปล่าว อากงก็บอกว่าไม่รับ จะขอถอนอุธรให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คือถอนโดนที่ไม่รับว่าตัวเองเป็นคนกระทำความผิด ก็คือจะขออภัยโทษ ทำไมเราถึงตัดสินใจถอนอุทธรณ์ ในเดือน ก.พ.นี้ คือมันมีสัญญาณพิเศษมาจากทางผู้ใหญ่หลายท่านว่าจะมีการอภัยโทษให้กับนักโทษคดีหมิ่นพร้อมกันในโอกาสที่สมเด็จฟ้าชายอายุครบ 60 ปีในเดือนกรกฎาคม ถ้าอากงไม่เสียชีวิตอีก 2 เดือนอากงก็จะได้รับอิสรภาพ ผมเสียดายอีก 2 เดือนอากงจะได้ออกจากเรือนจำแกก็รอไม่ไหว อาจเป็นเพราะสวรรค์ไม่ต้องการให้อากงไปขออภัยโทษทั้งๆที่ตนเองไม่ผิดจึงออกมาในช่องนี้ก็ได้ เลขานุการคุณอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้เอาเครื่องไปแจ้งความ แค่ใช้วิธีการ่ายรูปเอาเครื่องโทรศัพท์ของตัวเองแล้วเอากระดาษที่ถ่ายรูปไปแจ้งความ และเบอร์อื่นที่มีการส่งเป็นสิบๆเบอร์ก็ไม่มีใครไปแจ้งความสักเบอร์ ก็มีเพียงเลขาคุณอภิสิทธิ์(เวชชาชีวะ)ทีไปแจ้งความหลังจากที่มีการสลายการชุมนุมแล้ว ในครั้งสุดท้ายที่มีการยื่น อุทธรณ์ เราก็ประสานอาจารย์ 7 ท่านมาช่วยค้ำประกัน แล้วก็มีเงินจากกรมคุ้มครองสิทธิ์อีก 1 ล้านบาท ศาลก็ให้เหตุผลที่เราอ่านแล้วแน่นหน้าอกว่าคดีมีอัตราโทษร้ายแรงแล้วก็ที่จำเลยอ้างว่าป่วยนี่ยังไม่ถึงแก่ชีวิต และสถานพยาบาลในเรือนจำก็มีเพียงพออยู่แล้ว จนกระทั้งอากงเสียชีวิตแล้วผมได้อ่านข้อความนี้ย้อนหลัง มันเป็นความโหดร้ายของกระบวนการยุติธรรม เคสของอากงมันมีความพยายามบิดเบือนเพื่อที่จะอำพรางความผิดของกระบวนการยุติธรรมและก็อำพรางความผิดของความโหดร้ายของมาตรา 112 โดยฝ่ายนิยมเจ้ามากๆ เข้าพยายามบิดเบือนปัญหาจริงๆของมัน ความโหดร้ายของ ม.112 และกระบวนการยุติธรรม อันนี้เราได้รับพินัยกรรมจากอากงฉบับหนึ่งเลยที่เราจะต้องสู้ต่อไป ทางครอบครัวของอากงอาจจะมีข้อจำกัดระดับหนึ่งในการต่อสู้เป็นเรื่องความปลอดภัยด้วย แต่ว่าเรานี้อากงได้มอบพินัยกรรมไว้ให้เราในการเคลื่อนไหวต่อสู้เรื่องนี้ต่อไป ผมไม่อยากให้มีศพที่ 2 ที่ 3 ตามมา ให้อากงเป็นศพสุดท้ายของมาตรา 112 ------- ก้านธูป นักศึกษาปี 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ถูกหมายเรียกในกระบวนการยุติธรรม และเป็นจำเลยของสังคมในคดี "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ซึ่งถูก "ล่าแม่มด" ตั้งแต่เธอยังไม่บรรลุนิติภาวะกล่าวว่า เรื่องน่าเศร้าสลดใจนี้เกิดจากศาลและกระบวนการยุติธรรมที่มันไม่มีความเป็นธรรม อากงต้องถูกกล่าวหาทั้งๆที่ไม่มีความผิด ศาลและกระบวนการยุติธรรมไม่เพียงละเมิดสิทธิเสรีภาพในการประกันตัว ไม่ใช่แค่ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการพูด การแสดงออก แต่ว่าละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกเราทุกคน ที่สุดแล้วหนูคิดว่าอากงจากไปเร็วเกินกว่าจะได้รับความยุติธรรม อากงอาจตายไปแล้วแต่ชื่ออากงจะจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของพวกเราทุกคน ที่พวกเราจะทวงคืนความยุติธรรมกลับมาสู่สังคมนี้ จะทวงคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเราที่ศาลหลงลืมไป และอยากให้ทุกคนร่วมสู้ต่อไปด้วยกัน ----- อาคม ศิริพจนารถ ทนายนักสิทธิมนุษยชน เริ่มต้นโดยกล่าวถึง รัฐธรรมนูญ 2550 ว่าเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ เราจะเอากฎหมายเผด็จการมาสวนกลับกลุ่มอำนาจอำมหิตซึ่งเขารักการใช้อำนาจเผด็จการ เพราะเขาไม่เคยโต้แย้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กลับส่งเสริมไม่ให้แก้ไขด้วยซ้ำ เริ่มที่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมายใด กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ ในมาตรา 93 ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความผิด ฉะนั้นอากงในชั้นพิจารณาในชั้นศาลถือว่ามีความผิดไหมครับ และสมควรได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไหมครับ และถ้าไม่ได้ถือว่าอำมหิตหรือเปล่า แม้กระทั่งตัวกฎหมายขัดหรือแย้งไม่ได้ แล้วด้วยความเคารพต่อความเห็นของศาล แต่ความเห็นของศาลจะขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้ไหม ไม่ได้นะ เพราะบัญญัติตัวบทกฎหมายสำคัญกว่า ยังไม่ได้แต่ทำไมคำสั่งของศาลใช้บังคับขัดรัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้ มาตรา 6 อาคมย้อนไปพูดถึงกรณีเขายายเที่ยงโดยอ้างถึงคนอยู่เชิงเขามีหลักฐานการซื้อขายโดยสุจริตที่เป็นชาวบ้าน มีความผิดติดคุก 6 ปี แต่คนระดับนายกรัฐมนตรีตัดถนนขึ้นไปถึง 10 กิโลเมตร และไปสร้างบ้านบนยอดเขา และเป็นประธานอนุรักษ์ป่าเขาใหญ่ อัยการท่านลงความเห็นว่าขาดเจตนา ถ้าเมืองไทยมีนายกรัฐมนตรีที่ไม่รู้หรือขาดเจตนาในการกระทำความผิด สมควรไหมครับที่ควรมีนายกรัฐมนตรีชื่อสุรยุทธ์ จุลานนท์ เขาสอยดาวก็เช่นกัน จึงขอเรียกร้องให้พี่น้องทุกคนรวมตัวกันแล้วทำเรื่องถึงอัยการสูงสุดเพื่อรื้อฟื้นคดีใหม่เพื่อหาคนมาเข้าคุกให้ได้ คดีของสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อเทียบกับคดีอากง กลับได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวอย่างมี่เงื่อนไข ทั้งๆที่สนธิ ลิ้มทองกุล น่าจะหลบหนีมากกว่า เพราะเดินทางไปได้ทั่วประเทศทั่วโลก และอากง ยากจนขนาดนี้ ความรู้ก็ไม่มี แล้วเลี้ยงหลานอีกตั้ง 3-4 คน เป็นคนยากจนไม่มีญาติพี่น้องที่ไหนแล้วทำไมกลัวหลบหนีล่ะ ข้อนี้พี่น้องเสื้อแดงเราเจ็บปวดหัวใจมากๆนะ นี่คือความต่างระดับของกระบวนการยุติธรรมที่พี่น้องกำลังได้รับอยู่ ------ รศ. สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า ทั้งหมดเป็นความผิดของราชทัณฑ์หรือปล่าว ตอบว่า ใช่ แต่เป็นปลายเหตุ ต้นเหตุอยู่ที่ไหน อยู่ที่ศาลทำไมไม่ให้ประกันตัว เราไม่เถียงว่าการเป็นมะเร็งนั้นต้องตาย แต่ว่าการเป็นมะเร็งสามารถยื้อชีวิตได้ถ้ามีการดูแลอย่างดี ถ้าได้รับสิทธิการประกันตัว มาอยู่กับครอบครัว อากงก็จะไม่เคลียด คนเป็นมะเร็งเขาเครียดไม่ได้ อากงเป็นกรณีอุทธาหรณ์เป็นตัวอย่างให้เราเห็นแล้วว่าการอยู่ในเรือนจำถ้ามีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นสามารถจะมีอันเป็นไปได้ เราน่าจะเสนอศาลดีไหมเรื่อง house arrest (การถูกกักบริเวณภายในบ้าน)ที่อองซาน ซูจี เขาโดน เขาจำคุกภายในบ้าน เป็นไปได้ไหม แล้วก็ให้ใช้คนในชุมชนช่วยดูแลหรือให้ตำรวจช่วยดูแลไม่ให้ออกจากบ้านมา หรือจะใช้ EM หรือ Electronic Monitoring มาติดข้อมือหรือข้อเท้า ซึ่งอันนี้เราอาจจะต้องไปร้องขอบรรดาสถานทูตต่างๆ ขอบริจาคเงิน เพราะว่าราชทัณฑ์เราเคยมีการพูดถึงเรื่องนี้ แต่ว่างบประมาณไม่มี สิทธิการเป็นคนเมื่ออยู่ในเรือนจำเหมือนว่าเราไม่มีสิทธิการเป็นคน เราเหมือนเป็นสิ่งของสิ่งหนึ่งเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตสิ่งหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าไม่ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคน เพราะในการดูแลงบประมาณมันไม่มี จริงๆไม่อยากจะว่าราชทัณฑ์มาก แต่ว่ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ ราชทัณฑ์เป็นแค่ปลายเหตุ เราไม่อยากพูดเฉพาะว่าเพื่อนนักโทษของเรา เพราะมองภาพของนักโทษทั้งหมดด้วย สิทธิในการประกันตัวต้องมี เราไม่อยากให้เรือนจำกักขังเฉพาะคนไม่มีสตางค์เท่านั้น นักโทษที่มีเส้นไม่ต้องอยู่ใช่ไหมในเรือนจำนี่ กรณีนักโทษที่สิ้นสุดหรือคดีที่เด็ดขาดแล้ว สุดสงวน สุธีสร เสนอว่า เราต้องคิดทางใหม่ เช่น นอกจากhouse arrest แล้วจะไปอยู่บ้านกึ่งวิถีได้ไหม ให้คนเหล่านั้นไปอยู่บ้านนี้ อาจจะออกมาใช้ชีวิตข้างนอกแล้วกลับไปนอนบ้านนี้ บ้านกึ่งวิถีจะมีอยู่หลังหนึ่งในเรือนจำไทยมี 1 หลัง ชื่อว่า “บ้านสวัสดี” กลางวันให้เขาออกไปหาภรรยาเขา อยู่ที่บ้านเขาตอนเย็นกลับมา หรือจะให้เขาอยู่วันเสาร์อาทิตย์ มันน่าจะเป็นเงื่อนไขซึ่งศาลน่าจะสามารใช้ดุลยพินิจพิจารณา วิธีการต่างๆมันอยู่ที่ศาล เราควรเสนอทางเลือกให้ศาลพิจารณา เพราะคนที่อยู่ในเรือนจำจะถูกตราบาปทันทีว่าเป็นไอ้ขี้คุก เราไม่อยากให้ใครถูกตราบาป เพราะรับโทษเสร็จแล้วเขาต้องไปอยู่ในสังคม ถ้าเขารู้สึกว่าเขาเป็นคนขี้คุกปั๊บเขาจะรู้สึกตกต่ำในตัวเขาเอง เขาจะไม่มีความรักในตัวเขาเอง ดังนั้นเขาจะกล้ากระทำผิดซ้ำไง ------ จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ เสนอว่าผู้พิพากษาควรจะไปอบรมเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ก่อนอันดับแรก ไม่ใช่มาบอกว่ามีจริยธรรมคุณธรรม หรือเป็นคนดีแล้ว อยากให้วิเคราะห์ว่า SMS ของอากงส่งถึงเลขาคุณอภิสิทธิ์ เป็นท่านผู้พิพากษาต้องวิเคราะห์ดูว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แพร่หลาย คนทั้งสังคมรับรู้กันหรือปล่าวเบื้องต้น แต่เป็นที่รับรู้ในสังคมว่า SMS นั้นไม่มีใครรู้เลย มีเพียงเลขาคุณอภิสิทธิ์รู้เพียงผู้เดียว และ ต้องวิเคราะห์ต่อว่า SMS อันนั้นสังคมรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็น SMS นั้นแล้ว เห็นแล้วรู้สึกเชื่อ รู้สึกไม่ดีต่อสถาบันหรือไม่ แต่กลายเป็นว่าไม่มีใครรู้เลยว่า SMS นั้นส่งไปอะไร ทุกวันนี้คนในสังคมก็รู้สึกจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์เหมือนเดิม เพราะว่าคนไม่รู้ว่า SMS เขียนไปว่าอะไร หรือไม่ สิทธิการประกันตัวของคนที่ถูกกล่าวหาทั้งหมด เพราะได้เจอกับตัวเอง ตนเป็นคนงานเขาเรียกหลักประกันถึง 2 แสนบาท ถามว่าคนงานอย่างพวกเราทำงานอยู่ 2 ปียังไม่ถึง 2 แสนบาทเลย เมื่อเรียกหลักทรัพย์ถึง 2 แสนบาทมันทำให้เกิดปัญหา เพราะฉะนั้นการเข้าถึงการประกันตัวนี่ มันจะต้องมีหลักที่ง่ายกว่านี้ อย่างเช่น มีสถานที่อยู่อาศัยที่มั่นคง เป็นที่รับรู้กัน ว่าจะอยู่ตรงนี้ไม่หลบหนีไปไหน ศาลก็ใช้ดุลยพินิจให้กลับไปอยู่บ้านได้ หรือใช้ตัวเองประกันตัวเอง หรือใช้คนในครอบครัวประกัน ใช้ความเป็นคนที่มีบัตรประชาชนประกันกันเองก็ได้ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ แต่กลายเป็นว่าต้องใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัว กรณีที่ไม่ใช่ญาติจะยุ่งยากมากขึ้น เพราะบ้านจนอยู่แล้วถามว่าจะเอาเงินที่ไหนไปประกันตัว ก็ต้องพึงพาบริษัทที่ขายประกัน กลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินมากๆ บริษัทขายประกันนี่ เพราะเราต้องไปซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทประกัน ในขณะที่เราไม่สามารถไปยืมหลักทรัพย์ของคนที่ไม่ใช่ญาติมาประกันได้ แต่เราสามารถซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทประกัน ประกันได้ เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในเรือนจำหลายคนประกันตัวแค่หมื่นเดียว ประกันตัวแค่ 2 หมื่น แต่เขาไม่สามารที่จะหาเงินมาประกันตัวได้ เขาก็ต้องติดคุกไป บางคนติดคุกเพราะแทนค่าปรับ กลายเป็นว่าคนที่อยู่ในเรือนจำมันมีแต่คนจน คนรวยก็ใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัว อยากให้คนที่อยู่ในเรือนจำคดีถึงที่สุดจริงๆ มี 3 ศาล ที่สุดแล้วถ้าเราสู้ถึงฎีกาก็ควรจะต้องไปติดคุกในชั้นฎีกา ไม่ใช่มีติดคุกในศาลชั้นต้น หรือติดคุกในระหว่างที่ไม่มีเงินประกันตัวในชั้นตำรวจหรือฝากขังอย่างงี้ ถ้าเราได้สิทธิแบบนี้ คนที่แออัดในเรือนจำก็น้อยลง เมื่อคนที่อยู่ในเรือนจำน้อยลงมันก็นำไปสู่เรื่องของการรักษาพยาบาลหรือการดูแลนักโทษในเรือนจำที่มีประสิทธิภาพก็จะมีสูงขึ้น จิตราได้เชิญชวนวันอังคารที่ 15 พ.ค.นี้ เวลา 10.00 น. จะนัดเจอกันที่ทำเนียบรัฐบาล ประตู 4 ตรงข้าม ก.พ.เราจะยื่นหนังสือต่อนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หัวข้อที่เราจะยื่นหนังสือคือ ให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมถึงนักโทษ ม.112 ข้อ 2 เราจะเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรัฐมนตรีต้องทบทวนการแก้ไขมาตรา 112 ข้อ 3 สิทธิการประกันตัวและการดูแลรักษาพยาบาลนักโทษในเรือนจำทั่วประเทศ รัฐบาลต้องเข้าไปดูแล ต่อไปนี้ไม่ใช่แค่เข้าไปค้นมือถือและยาเสพติดในเรือนจำทั่วประเทศเท่านั้น คุณต้องเข้าไปดูเรื่องสิทธิการประกันตัวและการดูแลรักษาพยาบาลนักโทษในเรือนจำทั่วประเทศให้เขามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และกิจกรรมวันที่ 19 พ.ค.เราจะมีการรวมตัวกันตรงลานพระบรมรูป ร.6 เวลา 16.00 น. เพื่อจะเดินขบวนมาที่ราชประสงค์ ให้เตรียมตัวเตรียมป้าย แต่งผีแต่งตัวเป็นนักโทษมาเอง เราจะเดินขบวนโดยใช้หัวข้อยกเลิกมาตรา 112 เพื่อทำให้คนทั่วไปและมวลชนเสื้อแดงได้เห็นว่า มาตรา 112 เราจำเป็นต้องยกเลิก และเวลา 1 ทุ่ม จะมีการจุดเทียนรำลึกถึงคนตายหน้าวัดปทุม ขอเชิญชวนทุกคนที่เห็นด้วยมาร่วมกิจกรรมนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ฮิวแมนไรท์วอทช์' ร้องรัฐบาลต้องยุติพ.ร.บ. ปรองดอง Posted: 15 May 2012 09:09 AM PDT ชี้เหยื่อจากความรุนแรงมีแต่เสียประโยชน์จากการนิรโทษกรรม ในขณะที่นักวิชาการจากศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับกระทบเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค. 53 แนะ ต้องจับตาดูการทำงาน คอป. ในหน้าที่การค้นหาความจริง หากไม่เพียงพอ ต้องหาใหม่จนกว่าจะได้ 15 พ.ค. 55 - ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แถลงเรียกร้องรัฐบาลไทยต้องยุติการผลักดันพ.ร.บ. ปรองดอง เพราะเทียบเท่ากับการนิรโทษกรรมความผิดให้ผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่นักวิชาการมองว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน แต่ควรดูว่าคอป. สามารถค้นหาความจริงได้เพียงพอหรือไม่ เมื่อเวลา 10.30 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ฝ่ายเอเชียแปซิฟิก ได้แถลงเกี่ยวกับความคืบหน้าในการค้นหาความจริงและการปรองดองจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อเดือนเม.ย.- พ.ค. 53 โดยชี้ว่าที่ผ่านมาสองปี รัฐบาลยังไม่สามารถหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ และมองว่าความพยายามของรัฐบาลในการผลักดันพ.ร.บ.ปรองดอง เป็นความพยายามนิรโทษกรรมผู้ทำความผิด เพื่อกลบเกลื่อนความผิดที่เกิดขึ้น จึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการออกพ.ร.บ. ปรองดองโดยทันที "กองทัพไม่ควรอยู่เหนือกฎหมาย รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินคดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าว ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหน หรือตำแหน่งอะไร เพื่อที่จะบรรลุความยุติธรรมให้แก่เหยื่อและยุติวงจรของการงดเว้นการรับผิด (impunity)" แบรด อดัมส์ระบุ อดัมส์กล่าวว่า เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเม.ย.- พ.ค. 53 ได้นำมาซึ่งการเสียชีวิตจากทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยทั้งสองฝ่ายต่างเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรง และอ้างแหล่งข่าวภายในรัฐบาลที่เชื่อถือได้ว่า ล่าสุด ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้เพิ่มขึ้นเป็น 102 คนแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดเผยรายชื่อที่เพิ่มขึ้นมา ทั้งนี้ จากข้อมูลตัวเลขการเสียชีวิตของศูนย์ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมือเดือนเม.ย.- พ.ค. 2553 (ศปช.) ชี้ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตล่าสุดจากเหตุการณ์ดังกล่าวคือ 93 คน โดยผู้เสียชีวิตรายล่าสุด คือฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ซึ่งเสียชีวิตลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการถูกกระสุนลูกหลงในช่วงการสลายการชุมนุมเดือนพ.ค. 53 ย้ำต้องนำผู้กระทำผิดทุกฝ่ายมาลงโทษ แบรด อดัมส์ยังกล่าวถึงการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)ต่อการทำงานค้นหาความจริงด้วยว่า เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากทั้งสององค์กรไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควร ในแง่ของงบประมาณ อำนาจ และความไว้เนื้อเชื่อใจจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในฝ่ายต่างๆ ฮิวแมนไรท์วอทช์ ย้ำว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จำเป็นต้องค้นหาความจริง และไม่ควรกระทำการใดๆ เพื่อล้มล้างความผิดในอดีตที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ หรือจากฝ่ายคนเสื้อแดง ที่มีการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มคนติดอาวุธ หรือ "ชายชุดดำ" ซึ่งอดัมส์ระบุว่า มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าแกนนำนปช.มีส่วนรู้เห็น และชี้ว่า หลังจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขึ้นสู่อำนาจในการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม ความพยายามดำเนินคดีผู้กระทำความผิด กลับมุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น แต่กลับละเลยการสืบสวนความรุนแรงจากฝ่ายคนเสื้อแดง "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ขึ้นสู่อำนาจด้วยการสัญญาเหยื่อจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองว่าจะนำมาซึ่งความยุติธรรม พวกเขาควรจะยับยั้งแรงกดดันต่างๆ ที่จะนำไปสู่การฟอกความผิด" อดัมส์ระบุ ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว มีนายณัทพัช อัคฮาด น้องชายของพยาบาลกมนเกด อัคฮาด ซึ่งเสียชีวิตในวัดปทุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 53 มาร่วมแถลงข่าวด้วย โดยกล่าวความรู้สึกว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการปรองดอง รัฐบาลต้องหาความจริงและเปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน เป็นเรื่องสำคัญที่สุด นักวิชาการชี้ ต้องจับตาคอป. เผยผลกรกฎานี้ ด้านพวงทอง ภวัครพันธ์ุ นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศปช. ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า การจะนำมาซึ่งความจริงและความยุติธรรมในการปรองดอง จำเป็นต้องรอดูผลการค้นหาความจริงจากคอป. ที่มีกำหนดเผยแพร่รายงานในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ ว่าสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่ ถ้าผลการค้นหาความจริงยังออกมาไม่เป็นที่พอใจ ก็จำเป็นจะต้องทำงานใหม่จนกว่าจะได้ความจริง นอกจากนี้ การที่ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า การค้นหาความจริงโดยคอป. มีอุปสรรคในการทำงาน เป็นเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอ และกรรมการสิทธิฯ ไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น พวงทองมองว่า หากคอป. ไม่ได้รับงบประมาณเพียงพอ ก็ควรจะแจ้งให้รัฐบาลได้ทราบตั้งแต่ตอนเริ่มทำงาน และน่าจะนำเงินที่ใช้เชิญผู้นำต่างประเทศอย่างโคฟี อันนันที่มาเยือนไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไปพูดคุยและเก็บข้อมูลจากผู้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า ต่อการทำงานของคณะกรรมการสิทธิฯ นั้น เธอกล่าวว่า เหตุที่กสม. ไม่สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อประชาชน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการค้นหาความจริง ต้องกลับไปดูก่อนว่า จุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร จึงทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ขึ้น "เบื้องต้น ในส่วนของกสม. และคอป. ถ้าไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนเสื้อแดง มันขึ้นอยู่กับท่าทีของทั้งสองฝ่ายเอง คือ ท่าทีของคอป. และกสม. ที่ไม่เคยแสดงท่าทีที่ชัดเจนปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน ซึ่งเป็นฝ่ายที่สูญเสียชีวิตและต้องบาดเจ็บมากกว่า "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเองไม่ได้มีปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่มีปัญหาเรื่องจุดยืนทางสิทธิมนุษยชนที่ไม่ชัดเจน คือคณะกรรมการสิทธิฯ มัวแต่กังวลว่า จุดยืนของตัวเองในกรณีต่างๆ จะทำให้กลุ่มการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกรรมการสิทธิที่จะต้องคำนึงถึง หน้าที่ของกรรมการสิทธิคือพิจารณาว่า เมื่อมันเกิดเหตุการณ์หนึ่งๆ ขึ้น ใครที่ละเมิดสิทธิของใครบ้าง และใครบ้างที่สูญเสีย" พวงทองกล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายเขาบรรทัดเตรียมบุกทำเนียบ ร้องรัฐยุติไล่คนออกจากป่า Posted: 15 May 2012 09:02 AM PDT เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัดผนึกสมัชชาคนจนเตรียมบุกทำเนียบรัฐบาล ร้องรัฐยุติไล่คนออกจากป่า ชาวบ้านผวากรมอุทยานฯ ดึงไข่หมูกเป็นแนวร่วม เสนอยกเลิกมติ 30 มิ.ย. 41 ปรับแก้กฏหมายป่าไม้ 5 ฉบับ
นายอานนท์ ศรีเพ็ญ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ที่ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัดจัดการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายฯ เหตุมาจากนโยบายการปราบปรามการบุกรุกป่าของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำมาซึ่งการตัดฟันต้นยาง และพืชผลของชาวบ้านที่ถูกอุทยานประกาศทับที่ทำกิน โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 20 คน นายอานนท์ ศรีเพ็ญ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เปิดเผยว่า เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัดมีมติว่าจะร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวร่วมกับสมัชชาคนจน ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยจะระดมชาวบ้านไปประมาณ 50 – 60 คน เพื่อเจรจากับรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการปราบปรามผู้บุกรุกป่าของกรมอุทยานแห่งชาติฯ นำมาซึ่งการตัดฟันต้นยาง พืชผลของชาวบ้านรวมถึงการที่กรมอุทยานฯ ดึงเอา “ไข่หมูก” นายเจิม เส้งเอียด อดีตจอมโจรชื่อดังภาคใต้ มาร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จนสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก โดยเบื้องต้นนั้นอยากให้รัฐบาลหยุดการฟันต้นยางของชาวบ้าน นายอานนท์ เปิดเผยอีกว่า สำหรับแนวทางในการต่อสู้ระยะยาวของเครือข่ายฯ นั้น ต้องการให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ 5 ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งล้วนจำกัดสิทธิทำกินในที่ดินเดิมของชาวบ้านก่อนรัฐประกาศเขตป่าทับที่ดิน “เราห่างเหินจากการเรียกร้องเชิงนโยบายมานาน อีกทั้งสถานการณ์ในพื้นที่รุมเร้าและมีแนวโน้มว่าจะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละครั้งก็ไม่ถูกให้ความสำคัญ เราจึงต้องร่วมกับสมัชชาคนจนเพื่อแก้ปัญหากับรัฐบาล”นายอานนท์ กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศบชต.รุกแก้ปัญหาการศึกษา ยกระดับคุณภาพเด็กชายแดนใต้ Posted: 15 May 2012 08:57 AM PDT เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องประชุม 3 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ค่ายสิรินธร อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ศูนย์บูรณาการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.ชต.) และกอ.รมน.ภาค 4 สน.จัดประชุมเพื่อเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วม โดยมีพล.ท.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษากองทัพบก/ที่ปรึกษาผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมสรุปปัญหาการจัดการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า มีหลายประการ ได้แก่ การขาดแคลนครูและบุคคลากรทางการศึกษา เช่น ครูสอนภาษาไทยไม่ชำนาญในการสอนภาษามาลายูท้องถิ่น ส่วนครูที่ชำนาญในการสอนภาษามาลายูท้องถิ่น ไม่ชำนาญในการสอนภาษาไทย และข้อจำกัดในการใช้ภาษาไทยของชาวมุสลิม โดยเฉพาะในการอ่านออก เขียนได้ เป็นอุปสรรคต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียน อีกทั้งบริบทของชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ชาวมุสลิม ต้องการให้นักเรียน ได้เรียนรู้และมีวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักของการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา ส่งผลให้นักเรียนไทยมุสลิมต้องให้เวลากับการเรียนมากกว่าปกติ การประชุมครั้งนี้ได้มีการหารือถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน พล.ท.สำเร็จ กล่าวว่า มาตรการในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา สถาบันศึกษาปอเนาะ และศูนย์ศึกษาประจำมัสยิดที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางให้ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับศักยภาพการศึกษาของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
หมายเหตุ : พาดหัวเดิม “ศบชต.จัดประชุมเพื่อเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้”
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักข่าวพลเมือง: ตั้งศูนย์ป้องกันปัญหาการค้าแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ Posted: 15 May 2012 08:44 AM PDT โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยตั้งศูนย์ป้องกันและรับเรื่องร้องทุกข์แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศการสร้างกลุ่ม สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันปัญหาการค้าแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ เนื่องด้วยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยได้ดำเนินโครงการ “ป้องกันปัญหาการค้าแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ” ในเขต ต.หนองไผ่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี มาได้ระยะหนึ่ง ณ บัดนี้ ทางโครงการฯ ได้ร่วมกับกลุ่มคนงานในพื้นที่จัดตั้งศูนย์ป้องกันและรับเรื่องร้องทุกข์แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิแรงงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่คนงานไทยที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ รณรงค์แก้ไขปัญหาการค้าแรงงาน และส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงานให้สามารถต่อสู้เพื่อสิทธิและมีอำนาจต่อรองกับรัฐและทุน ดังคำประกาศด้านล่างนี้ “สิทธิแรงงานข้ามชาติต้องได้รับการคุ้มครอง” กว่าห้าสิบปีที่กรรมกรจากภาคเกษตรชนบทถูกดึงเข้าสู่กลไกตลาด และชักนำสู่การส่งออกแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ด้วยแรงจูงใจเรื่องการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ นำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศหลายหมื่นล้านบาท และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานป้อนเข้าสู่ตลาดโลก เช่น ยุโรป เอเชียตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา อเมริกา เป็นต้น ซึ่งได้กลายเป็นทางเลือกให้แก่คนงานไทยเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตในชนบทให้ดีขึ้น เนื่องจากเดิมมีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท ที่คนชนบทมีสถานะความเป็นอยู่ไม่มั่นคงด้วยรายได้และสวัสดิการต่ำ เพราะด้อยการศึกษาจึงไม่สามารถหางานทำที่มีรายได้มากพอจะส่งลูกเรียนถึงระดับสูงได้ ความฝันของคนชนบทจึงถูกทำให้เป็นการค้า เป็นความฝันที่ต้องทนสู้อย่างลำพังเนื่องจากรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐทั้งต้นทางและปลายทางไม่สามารถประกันว่า ความฝันนี้จะเป็นจริง คุ้มค่า และให้ความคุ้มครองสิทธิของแรงงานจากการถูกเอารัดเอาเปรียบได้ แม้จะมีสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สัญญาจ้างเป็นเพียงเศษกระดาษ เป็นเพียงรูปแบบ ที่ไม่ถูกนำไปปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง ทำให้คนงานเสียเปรียบ ถูกหลอก ถูกกระทำ เป็นหนี้กลับมาและผลักให้ไปทำงานแก้ตัวใหม่ จนขาดอำนาจขาดความมั่นใจในการต่อรองเจรจากับนายจ้าง นายทุนจัดหางาน นโยบายการส่งออกแรงงานข้ามชาติ การค้าฝันนี้เติบโตและมั่งคั่งได้ด้วยการปล่อยให้นายทุนภาคเอกชนฉ้อโกงประชาชน ละเมิดกฎหมายและใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย ทั้งนี้แทบไม่มีบริษัทใดเลยที่เรียกเก็บ “ค่าหัวคิว”ตามกฎหมาย ปัจจุบันการไปเมืองนอก คนไทยต้องจ่ายเกิน อาทิเช่น อิสราเอล 350,000 -380,000 บาท โปรตุเกส 330,000-350 000 บาท สเปน 580,000 บาท ลิเบีย 120,000 บาท ฝรั่งเศส 300,000 บาท โปแลนด์ 180,000-280,000 บาท เกาหลี 280,000 บาท ในขณะที่การกำหนดค่าหัวคิวตามกฎหมายของไทยนั้นกำกวม และมีช่องโหว่ในการตีความ ระบุเพียงไม่เกิน 56,000 บาท ที่แย่คือ กระทรวงแรงงานได้ทำการออกกฎระเบียบการเก็บค่าหัวคิวหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพียงเดือนเดียว โดยกำหนดวงเงินให้บริษัทเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากคนงานได้ไม่เกิน 4 เดือนของเงินเดือนที่จะได้รับ ซึ่งนับว่าสูงมาก สูงกว่าประเทศฟิลิปปินส์ที่ระบุว่าเก็บได้ไม่เกินหนึ่งเดือนเท่านั้น นอกจากนี้ การค้าแรงงานไทยนำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ เพราะทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐที่มองคนงานว่า “เมื่อมีปัญญาหาเงินแสนมาให้เขาหลอก ก็ต้องมีปัญญาชดใช้กรรม” ดังนั้นเมื่อคนงานล้มเหลวกลับมาร้องเรียนที่กระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่รัฐทำหน้าที่เพียงเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย เอาข้อมูลที่เป็นหลักฐานเอาผิดบริษัทของคนงานไปให้บริษัทจัดหางาน จนทำให้คนงานถูกบีบ ข่มขู่ และยอมรับเงินน้อยนิดที่บริษัทเสนอ การต่อสู้คดีเอาผิดบริษัทจึงมักไม่เกิดขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้มุ่งที่การเอาผิดบริษัท เรื่องราวของคนงานจึงถูกทำให้เงียบ และทิ้งให้คนงานเผชิญชะตากรรมด้วยตัวเอง เช่น ถูกข่มขู่ ถูกฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทโดยบริษัท ต้องฟ้องศาลแรงงานด้วยตัวเอง และท้ายสุดแทบไม่มีบริษัทใดถูกดำเนินคดี ถูกลงโทษอย่างจริงจัง หรือขึ้นบัญชีดำประกาศให้คนงานในพื้นที่ทราบเพื่อเฝ้าระวัง ด้วยเหตุนี้เจ้าหน้าที่รัฐไทยจึงไม่สามารถแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างจริงจัง และนี่จึงทำให้คนงานในพื้นที่ที่ถูกกระทำส่วนหนึ่งมองว่า ถึงร้องเรียนไป เจ้าหน้าที่รัฐก็คงไม่สามารถเจรจาต่อรองให้แก่คนงานได้ เช่น การขอขึ้นค่าจ้าง สวัสดิการความปลอดภัยกับนายจ้าง บริษัทจัดหางาน เพราะเจ้าหน้าที่รัฐก็อ่อนแอเช่นเดียวกัน และไม่ให้ความสำคัญแก่คนงานตัวเล็กๆ เราเคยเสนอให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งแรงงาน เพื่อป้องกันการหลอกลวง ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว และความล่มสลายของครอบครัว ชุมชนเกษตรกรไทย แต่รัฐบาลทุกยุค ทุกสมัย อ้างเสมอว่า กระทรวงแรงงานไม่มีศักยภาพในการจัดส่งแรงงานเพราะงบและบุคลากรจำกัดและกฎระเบียบหยุมหยิม จึงต้องให้บริษัทจัดหางานจัดส่งเพื่อความคล่องตัว แต่ด้วยความคล่องตัวได้กลายเป็นช่องทางการค้าแรงงานไทยโดยง่าย ทางเครือข่ายภาคประชาชนที่ประกอบด้วยคนงานในชุมชน นักพัฒนาเอกชน นักปกครองส่วนท้องถิ่นจึงร่วมมือกันพัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะพัฒนาเป็นศูนย์ป้องกันและรับเรื่องร้องทุกข์แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ พวกเราจึงขอประกาศจัดตั้งศูนย์ป้องกันและรับเรื่องร้องทุกข์แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ อย่างเป็นทางการ ที่บ้านของคุณสงวน สมพิทักษ์ บทบาทของศูนย์ฯ มี 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อจัดอบรม แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย สถานการณ์ปัญหาและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องแก่แกนนำคนงาน เพื่อสร้างความมั่นใจและศักยภาพในการให้คำปรึกษาแก่คนงานไทยไปทำงานต่างประเทศ 2) เพื่อให้คำปรึกษาแก่คนงานในพื้นที่ก่อนที่จะตัดสินใจทำงานและเตรียมการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงเมื่อมีปัญหาในการทำงาน เพื่อช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดปัญหา คนงานต้องทราบช่องทางกลไกการเข้าถึงสิทธิของตนเอง 3) เพื่อรณรงค์เรื่องสิทธิแรงงาน และต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ได้แก่ สิทธิการรวมกลุ่มของคนงาน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง โดยการสร้างเครือข่ายการทำงานกับคนงานในพื้นที่ต่างๆ เช่น ขอนแก่น หนองคาย อุบลราชธานี เป็นต้น สำหรับแกนนำคนงานประจำศูนย์ฯ มาจากพื้นที่บ้านหนองขาม บ้านหนองไผ่ ต.หนองไผ่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นผู้ที่เคยทำงานต่างประเทศและมีสมาชิกในครอบครัวไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 10 ท่านและจะขยายอีกในอนาคต เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศูนย์ฯ นี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการปกป้องคุ้มครองสิทธิของคนงานของหน่วยงานรัฐที่ยังขาดการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง และผลักดันปัญหาให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนรับผิดชอบดูแลประชาชนในพื้นที่มากขึ้น โดยให้สามารถคิดตามทันนายจ้าง นายทุนจัดหางานที่มีกลวิธีล่อลวงคนงานให้เสียประโยชน์มากมายเกินกว่าที่สังคมจะยอมรับได้ ประกาศ ณ เทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี วันที่ 9 พฤษภาคม 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"เทพไท" เชื่อนปช. รำลึกที่ราชประสงค์ เพื่อหวังผลทางการเมือง Posted: 15 May 2012 08:21 AM PDT ซึ่งขัดแย้งนโยบายปรองดองของ "ทักษิณ" ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายเสียสละและลืมอดีต ชี้หากทักษิณต้องการปรองดองจริงและอยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่ต้องการ ต้องหยุดกิจกรรมเสื้อแดงและให้แกนนำ นปช. ลืม พร้อมวอน "ผู้มีบารมีเหนือแกนนำ นปช." ส่งสัญญาณให้ปฏิบัติไปในทางเดียวกันไม่ใช่ปากว่าอย่างแต่ปฏิบัติไปอีกอย่าง เทพไทชี้เสื้อแดงจัดรำลึกที่ราชประสงค์เพื่อหวังผลทางการเมือง รักษากระแสมวลชน วันนี้ (15 พ.ค.) เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานการแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงกรณีการจัดกิจกรรมของกลุ่ม นปช. เพื่อรำลึกเหตุการณ์การชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค. ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ว่าเชื่อว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมหวังผลทางการเมืองของกลุ่ม นปช. เพื่อรักษากระแสมวลชนเพราะถ้าไม่มีกิจกรรมเช่นนี้ในการเคลื่อนไหวก็จะทำให้มวลชนคนเสื้อแดงสลายตัวไป ก็จะพยายามที่จะจัดกิจกรรม ในรูปแบบเช่นนี้อยู่หลายครั้ง ติงกิจกรรม นปช. สวนทางแนวคิด "ปรองดอง" ของทักษิณ แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นว่าการทำกิจกรรมของกลุ่ม นปช.สวนทางกับแนวความคิดการปรองดองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เพราะกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณออกมาพูดที่ประเทศลาวและประเทศกัมพูชาในช่วงวันสงกรานต์ว่า ให้ทุกฝ่ายเสียสละและให้ลืมอดีต แต่อีกด้าน พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาวีดีโอลิงค์ปลุกระดมในการชุมนุมคนเสื้อแดง ตนไม่ทราบสิ่งเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร เพราะถ้า พ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้มีความปรองดองจริง ก็ควรหยุดกิจกรรมดังกล่าวของคนเสื้อแดงและถ้าอยากจะให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณต้องการ ต้องให้แกนนำ นปช.ลืมที่จะมาสร้างเหตุการณ์ขึ้นมาอีก วอน "ผู้มีบารมีเหนือแกนนำ นปช." ส่งสัญญาณให้ปฏิบัติไปในทางเดียวกัน “ผมคิดว่าถ้ายังมีการชุมนุมลักษณะเช่นนี้อ้างว่าเป็นการรำลึกเหตุการณ์ 19 พ.ค.53 ต้องถามกลับเช่นเดียวกันแล้วเมื่อกลุ่มเสื้อหลากสีจะจัดงาน 2 ปี รำลึกเหตุการณ์บุก รพ.จุฬาฯ สังคมจะว่าอย่างไร รวมถึงผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมของคนเสื้อแดงจะจัดงานรำลึกบ้างจะว่าอย่างไร ผมอยากถามว่าความปรองดองจะเกิดได้อย่างไร เพราะความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นไม่มีที่จบสิ้น”นายเทพไทกล่าว นายเทพไท กล่าวด้วยว่าอยากเรียกร้องไปยังใครก็ตามที่มีอิทธิพลและมีบารมีเหนือแกนนำ นปช. ต้องส่งสัญญาณว่า ต้องการให้ประเทศเข้าสู่การปรองดองจริง ก็ควรปฏิบัติให้ไปทางเดียวกัน ไม่ใช่ปากว่าอีกแต่ปฏิบัติไปอีกอย่างหนึ่ง ขอตำหนิ "ณัฐวุฒิ-เฉลิม" ให้ท้ายเสื้อแดงประท้วงตั๊ก บงกช นายเทพไท ยังกล่าวถึงกรณี นปช.เมืองพัทยา ออกเคลื่อนไหวมาขับไล่ น.ส.บงกช คงมาลัย ดาราและนักแสดง ที่ออกโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คด่านายอำพล หรืออากง SMS ว่า ตนอยากตำหนิท่าทีของผู้บริหารรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีคนเสื้อแดงที่ลุกลามคุณตั๊ก เป็นท่าทีที่ไม่น่าเชื่อว่าเกิดมาจากผู้ที่รักษากฎหมายและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เพราะถ้าเป็นแกนนำ นปช.ก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นผู้นำมวลชนเหล่านั้นจำเป็นต้องรักษาน้ำใจกัน แต่บุคคลเหล่านี้มีตำแหน่งเป็นถึงรัฐมนตรีกลับไม่สำนึกชั่วดีของการกระทำคุกคามของคนเสื้อแดงแต่กลับให้ท้ายยุยงแทนที่จะห้ามปราม “คนแรกนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกมาระบุว่า คนเสื้อแดงไปคุกคามคุณตั๊กเป็นการแสดงออก ผมก็อยากถามว่าการที่ไล่ต้อนเช่นนั้นถือว่าเป็นการคุกคามสิทธิ เสรีภาพจะเป็นการแสดงออกอย่างไร ถ้าถือว่าแบบนี้เป็นการแสดงออกก็แสดงว่าพฤติกรรมของนายณัฐวุฒิที่บอกว่า เผาไปเลยพี่น้องผมรับผิดชอบเอง นั้นก็เป็นการแสดงออกทางการเมืองใช่หรือไม่ คนที่สอง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ดูแลเรื่องความมั่นคงคุมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ น่าจะกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลสวัสดีภาพของประชาชนกลับบอกว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องของสีสัน ก็อยากถามว่ากรณีของลูกตัวเองถูกรุกราน ร.ต.อ.เฉลิม ไม่คิดว่า เป็นสีสันบ้างแต่กลับไปบุกโรงพักทองหล่อ ส่วนคนที่สามนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯและรมว.มหาดไทย ผมไม่แน่ว่า เป็นแค่อารมณ์ขันหรือว่าเป็นความจริง โดยนายยงยุทธระบุว่า แค่ซิ่งจักรยานยนต์เล่น ทำให้คุณตั๊กคิดไปเอง แต่เห็นได้ว่าพฤติกรรมของคนเสื้อแดงเป็นการคุกคามและพฤติกรรมพัทยามีแบบนี้บ่อยๆ เพราะรัฐบาลควรไปกำกับต้องดูแลในสถานะที่รัฐบาล” นายเทพไทกล่าว นอกจากนี้นายเทพไทยังตั้งคำถามไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่า ถ้าหากน.ส.ยิ่งลักษณ์กลับมาจากต่างประเทศก็อยากจะถามว่ากรณีที่คุณตั๊กเป็นสุภาพสตรีคนหนึ่งถูกคุกคาม น.ส. ยิ่งลักษณ์ คิดเรื่องนี้อย่างไรและมีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร ส่วนการท้าทายให้คุณตั๊กดำเนินคดีกับเรื่องดังกล่าว แต่คุณตั๊กระบุว่าจะไม่ดำเนินคดีในเรื่องดังกล่าว ตนขอชื่นชมสปริตของคุณตั๊ก ว่าเป็นแค่ดาราตัวเล็กๆ ยังมีสปริตมากกว่านักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ที่ถูกกล่าวพาดพิงเล็กน้อยก็ไปแจ้งความดำเนินคดี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บทเรียนที่ไม่เคยได้รับจากเหตุวิสามัญ Posted: 15 May 2012 06:10 AM PDT สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๖.๐๐ น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฉก.ยะลา ๑๓ ทหารพรานที่ ๔๗ และกำลังฝ่ายปกครองจำนวนหลายนาย ได้ทำการปิดล้ หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้ยึ ต่อมา เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 นางสาวมารีแย บือซา อายุ 43 ปี มารดาของนายซับรี ดือราแม และนายลุกมัน ดือราแม กับนายอับดุลมาเละ ยูโซ๊ะ อายุ 49 ปี ซึ่งเป็นพ่อเลี้ยงของนายอิ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอี แต่หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้ จากบทเรียนของเหตุการณ์ที่ ต้องยอมรับว่าในพื้นที่สามจั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โมเดล 'สันติธานี' เสนอปรับรัฐสอดคล้องวิถีชายแดนใต้ Posted: 15 May 2012 06:04 AM PDT เวลา 13.00 น. วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 นักศึ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้ากล่ ดร.บวรศักดิ์อธิบายว่าการศึ “สถาบันพระปกเกล้าและนักศึ นักศึกษาที่เป็นตั นายสมปองนำเสนอว่า คนมักจะเข้าใจผิดว่าคนสามจังหวั นายสมปองกล่าวว่าสถานบริการขั้ โรงพยาบาลควรจะมีการให้บริการที แพทย์หญิงเพ็ชรดาวกล่าวว่าปั จากการพบปะพูดคุยกับผู้ใช้บริ นายไพศาลนำเสนอว่าที่ผ่านมาผู้ น.ส.นารีเสนอว่าความเป็ น.ส.นารีนำเสนออีกว่า บรรยากาศของสันติธานีจะต้องไม่ นายสมโภชนำเสนอประเด็นเศรษฐกิ นายพงษ์ศักดิ์ได้นำเสนอประเด็ “เมื่อข้อเสนอจากประชาชนได้รั ส่วนผู้มาวิจารณ์งานศึกษาในครั้ ผู้วิจารณ์ต่างมีความเห็นร่วมกั นายปิยะกล่าวว่าการแก้ปัญหาในพื นายประสิทธิ เมฆสุวรรณ กล่าวว่านอกจากดำเนินการในเรื่ ภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ พยายามจะเปิดพื้นที่กลางที่
หมายเหตุ: สำหรับผู้สนใจอ่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น