ประชาไท | Prachatai3.info |
- ร่วมรณรงค์กดดัน ‘กาตาร์’ เคารพสิทธิแรงงานสร้างสนาม ‘ฟุตบอลโลก 2022’
- 'พยาบาลลูกจ้างชั่วคราว' ทวงสัญญา บรรจุเป็น ขรก.ประจำ
- ปธ.ทีดีอาร์ไอ จี้ กสทช.รับผิดชอบ ชี้ประมูล 3G เหลว ทำรัฐสูญร่วม 1.6 หมื่นล้าน
- มติศาล รธน.และการหลอกตัวเองว่า ‘ประชาชนมีเสรีภาพตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมา’
- การประชุม ASEP ครั้งที่ 7 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ตกลงจะขยายความร่วมมือใน 3 ด้าน
- 'ผสานวัฒนธรรม' ขอบคุณไทยรัฐออนไลน์ยอมชี้แจงและขออภัยในความผิดพลาด
- เพราะมีชายชุดดำ จึงชอบธรรม ในการฆ่าประชาชน!!!
- โฮเซ รามอส-โฮร์ตา: ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยืนหยัดต่อต้านความตาย
- ชนะคดีชั้นฎีกา สธ.จ่าย 7 แสนผู้เสียชีวิตจากการขูดมดลูก
- โฮเซ รามอส-โฮร์ตา: ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยืนหยัดต่อต้านความตาย
- 17 ตุลาคม วันสากลแห่งการขจัดความยากไร้ สหประชาชาติ
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: อนุสาวรีย์ปราบกบฏ
- แอมเนสตี้วิพากษ์ร่าง กม.ศาลลับ อังกฤษ ราวนิยายของ 'คาฟคา'
- สิ้นแล้ว "สรรพสิริ วิริยะศิริ": ช่างภาพโทรทัศน์ 6 ตุลา
- ‘ชาวสะเอียบ’ แจ้งจับ ‘กรมเจ้าท่า’ ปักหมุดระดับน้ำ หวั่นเดินหน้าเขื่อนเย้ยมติชุมชน
ร่วมรณรงค์กดดัน ‘กาตาร์’ เคารพสิทธิแรงงานสร้างสนาม ‘ฟุตบอลโลก 2022’ Posted: 16 Oct 2012 10:39 AM PDT แรงงานข้ามชาติอันเป็นกำลังหลักในการก่อสร้างสนามการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ กำลังประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานเพื่อทำการเจรจาต่อรอง รวมถึงความเสี่ยงอันตรายในการทำงาน (ที่มาภาพ: ITUC) 16 ต.ค. 55 – ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาเว็บไซต์ equaltimes.org เปิดการรณรงค์ 'No Workers Rights, No World Cup' ให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถลงชื่อเพื่อร่วมกันกดดันให้รัฐบาลกาตาร์ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ.2022 คำนึงถึงสิทธิคนงานก่อสร้างสนามฟุตบอล equaltimes.org ระบุว่ากาตาร์ทุ่มงบประมาณในการสร้างสนามและสาธรณูปโภคในการรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลกถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่แรงงานกว่า 1.2 ล้านคนในประเทศกลับยังมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานเพื่อทำการเจรจาต่อรอง และแรงงานกว่า 94% ในกาตาร์ ยังเป็นแรงงานข้ามชาติที่มักถูกละเมิดสิทธิในที่ทำงาน รวมถึงต้องเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะแรงงานชาวเนปาลที่มีรายงานข่าวว่าเสียชีวิตเกือบ 200 คนทุกปีที่กาตาร์ นอกจากนี้ยังมีแรงงานข้ามชาติจากย่านเอเชียใต้ อย่าง อินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่มักจะประสบอุบัติเหตุจากการทำงานในกาตาร์อยู่เนืองๆ
เรื่องเล่าจากคนงานเนปาลที่เคยไปทำงานที่กาต้าร์ (ที่มา: ITUC) ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว (2011) สมาพันธ์แรงงานโลก (International Trade Union Confederation - ITUC) ได้ส่งความกังวลใจในเรื่องการเคารพสิทธิแรงงานในการเตรียมความพร้อมฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ถึงสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) โดย ITCU ขู่ว่าเตรียมจะรณรงค์กดดันให้ FIFA เปลี่ยนประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หากกาตาร์ยังคงไม่เคารพสิทธิของคนงานในภาคการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในการเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่หลั่งไหลเข้าไปรับจ้างก่อสร้างสังเวียนลูกหนังทันสมัยกว่า 12 แห่งในกาตาร์ รวมถึงโครงการก่อสร้างสนามบินขนาดใหญ่ และทันสมัยระดับโลก เพื่อให้กรุงโดฮาเป็นศูนย์กลางการบิน และมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและปรับปรุงทัศนียภาพประเทศให้สวยงาม ทั้งนี้การรณรงค์ออนไลน์ครั้งนี้หวังที่จะได้รายชื่อ 21,282 รายชื่อ (เท่ากับความจุเดิมของสนาม Al-Rayyan ในกรุงโดฮาก่อนที่จะขยายความจุเป็น 44,740 ที่นั่ง เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022) คลิ๊กที่ภาพ เพิ่มร่วมลงชื่อรณรงค์ อนึ่ง equaltimes.org เว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวสารประเด็นความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะประเด็นแรงงาน ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากสมาพันธ์แรงงานโลก (International Trade Union Confederation - ITUC) ซึ่งมีสมาชิกทั่วโลกกว่า 175 ล้านคน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
'พยาบาลลูกจ้างชั่วคราว' ทวงสัญญา บรรจุเป็น ขรก.ประจำ Posted: 16 Oct 2012 08:32 AM PDT เครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข ราว 500 คน ชุมนุมหน้าทำเนียบ เรียกร้องให้บรรจุเป็นข้าราชการประจำ เผยตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวไม่มั่นคง ทำพยาบาลหนีไป รพ.เอกชน ปลัด สธ.เผยจะมีคำตอบ พ.ย.นี้ (16 ต.ค.55) เมื่อเวลา 8.30น. เครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข จากทั่วประเทศ นำโดยนายสราวุธ ที่ดี ประธานเครือข่ายฯ ประมาณ 500 คน มาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ถนนพิษณุโลก เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากรัฐบาล ในเรื่องการบรรจุแต่งตั้งพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวในโรงพยาบาลของรัฐบาล ให้เป็นข้าราชการ เนื่องจากตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวมีสวัสดิการและความมั่นคงไม่เท่าข้าราชการ แต่รัฐบาลกลับไม่เปิดกรอบบรรจุเพิ่ม จึงเกิดการขาดแคลนพยาบาลในระบบบริการสุขภาพ โดยจากสถิติแล้ว ในปีแรกจะมีพยาบาลจบใหม่มาทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาล และพบว่าพยาบาลลาออกไป 50% ปีที่ 2 ลาออกไปอีก 25% และปีที่ 3 จะเหลือพยาบาลวิชาชีพในระบบเพียง 25 % เท่านั้น เหมือนกับรัฐบาลจงใจผลิตพยาบาลที่มีประสบการณ์ให้เข้าทำงานในระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า ทั้งนี้ นายสราวุธ กล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ เคยชุมนุมเรียกร้องต่อรัฐบาลมาแล้วเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งรมว.สาธารณสุข (สธ.) ได้รับปากว่า สธ.จะรับบรรจุให้หลังสิ้นปีงบประมาณ แต่เมื่อถึงเวลา เรื่องดังกล่าวก็ยังคงเงียบหาย เมื่อสอบถามที่สธ.เมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็ได้รับคำตอบว่าสธ.ขอเวลาเลื่อนไปอีก 3 เดือน เนื่องจากต้องจัดทำข้อมูลเพื่อใช้พิจารณาบรรจุเป็นข้าราชการต่อไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เป็นช่วงมีการเปลี่ยนตัวบุคลากรที่เป็นผู้บริหารของกระทรวงฯ จึงเกรงว่าการดำเนินการเรื่องนี้จะหายไป และการมาชุมนุมเรียกร้องในวันนี้ก็เพื่อขอความเห็นใจและความเป็นธรรม "เราไม่ได้เอาชีวิตคนไข้เป็นตัวประกัน เพียงแต่อยากให้สังคมรับรู้ถึงสิ่งที่เราเรียกร้องว่าความจริงที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อระบบบริการสุขภาพของคนไทยอย่างไร" จากนั้น เมื่อเวลา 10.20 น. นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายชนะชาติ พลพงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ร่วมหารือกับตัวแทนกลุ่มเครือข่ายฯ ซึ่งบรรดากลุ่มพยาบาลได้ชี้แจงถึงเหตุผลจำเป็นที่ต้องการบรรจุให้เป็นข้าราชการ ทั้งเรื่องของบุคคลากรในโรงพยาบาลของรัฐที่ยังขาดแคลน และกรณีที่พยาบาลทำงานใช้ทุนรัฐบาลหมดแล้วลาออกเพื่อไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนจำนวนมาก รวมถึงเรื่องของสวัสดิการต่างๆ ด้าน นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ทางกระทรวงฯได้รับข้อมูลเรื่องนี้ และนำมาวิเคราะห์ รวมถึงตน นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการ ก.พ. และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้หารือกันถึงเรื่องดังกล่าว ภายหลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้เร่งแก้ปัญหานี้ ซึ่งจะมีการออกมาตรการระยะสั้น คือจะมีการบรรจุให้เป็นข้าราชการในจุดที่วิกฤติในเรื่องของบุคลากรก่อน ซึ่งจะมีคำตอบในเดือน พ.ย.นี้ จากนั้นในเดือน ธ.ค.จะมีการออกแผนปฏิบัติการที่จะพิจารณาเรื่องของอัตรากำลังข้าราชการ สวัสดิการและค่าตอบแทน ซึ่งทาง สธ.กับ ก.พ.มีการหารืออย่างต่อเนื่อง โดยจะพยายามให้เกิดผลภายในปีนี้ ยืนยันว่าเรื่องของสวัสดิการและค่าตอบแทนเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกคนจะได้รับอย่างเป็นธรรมเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ และว่า ในการพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวก็จะเปิดโอกาสให้ตัวแทนของกลุ่มพยาบาลเข้ามาร่วมหารือพิจารณาด้วย
ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
ปธ.ทีดีอาร์ไอ จี้ กสทช.รับผิดชอบ ชี้ประมูล 3G เหลว ทำรัฐสูญร่วม 1.6 หมื่นล้าน Posted: 16 Oct 2012 08:13 AM PDT (16 ต.ค.55) ผลการประมูลใบอนุญาตบริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00น. โดยมีการประมูลทั้งหมด 7 รอบ มีมูลค่าเงินประมูลรวม 41,625 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือเอไอเอส เสนอราคาสูงสุดที่ 14,625 ล้านบาท จึงมีสิทธิเลือกแถบคลื่นความถี่ก่อน โดยเอไอเอสได้เลือกแถบคลื่น 7, 8, 9 ส่วนบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือทรูมูฟ และบริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือดีแทค เสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาท จึงต้องจับสลาก โดยทรูได้เลือกก่อน จึงเลือกแถบคลื่น 4, 5, 6 ส่วนดีแทค ได้ช่วงคลื่น 1, 2, 3 สรุปทั้ง 3 บริษัท ได้แถบคลื่นไปรายละ 15MHz ทั้งนี้ จากช่วงคลื่นทั้งหมด 45MHz แบ่งเป็นสล็อตๆ ละ 5 MHz ได้ทั้งหมด 9 สล็อต มีการแข่งขันเสนอราคาเพื่อแย่งชิงช่วงคลื่นเพียง 3 สล็อตเท่านั้น ที่ราคา 4,725 ล้านบาท 1 สล็อต และ 4,950 บาท จำนวน 2 สล็อต ที่เหลืออีก 6 สล็อตอยู่ที่ราคาตั้งต้นคือ 4,500 ล้านบาท เท่ากับว่ามูลค่าคลื่นทั้ง 45 MHz ที่ กสทช.จะได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้ใบอนุญาตกับเอกชนทั้ง 3 รายเพื่อนำไปให้บริการ 3G เป็นเวลา 15 ปี มีราคารวม 41,625 ล้านบาทเท่านั้น โดยสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 1,125 ล้านบาท หรือประมาณ 2.78%
ประธานทีดีอาร์ไอ ระบุว่า การประมูลครั้งนี้แม้จะทำให้ประชาชนมีบริการ 3G ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในฐานผู้เสียภาษี เมื่อเทียบจากราคาประเมินถึง 16,335 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไปเป็นเสมือน "ลาภลอย" ทั้งนี้ยังไม่รวมประโยชน์ที่ได้จากการลดค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายให้รัฐอีกปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญการที่แต่ละรายได้คลื่น 3G มูลค่าถูกแสนถูกต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาทต่อปี จะไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการ 3G ที่ประชาชนต้องจ่ายแต่อย่างใด นอกจากจะเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ประกอบการ ดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น ผลการประมูลครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลที่ กสทช. พยายามโฆษณาให้ประชาชนเชื่อมาโดยตลอดว่าจะมีการแข่งขันมาก เนื่องจากคลื่นความถี่แต่ละชุดมีความแตกต่างกันมาก เสมือนเป็นที่ดินทำเลดีติดทะเลกับที่ดินแออัดติดถนนใหญ่ไม่เป็นความจริง และตอกย้ำความเชื่อของสาธารณชนในวงกว้างที่ว่า การประมูลครั้งนี้มีลักษณะเอื้อต่อการสมคบกันของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ผลการประมูลยังชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของการออกแบบการประมูล 2 ประการคือ หนึ่ง การจำกัดคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะสามารถถือครองได้ให้เท่ากัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น สอง การกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดความเสียหายมาก เมื่อไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร ทั้งนี้ หาก กสทช. ได้รับฟังข้อทักท้วงของฝ่ายต่างๆ ก็จะไม่เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้น ประธานทีดีอาร์ไอ ระบุด้วยว่า ขอเรียกร้องให้ กสทช. รับผิดชอบต่อความเสียหายต่อรัฐและประชาชนที่เกิดขึ้น โดยให้แถลงต่อประชาชนว่า จะมีการรับผิดชอบอย่างไร และขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ นอกจากนี้ ในการประมูลคลื่นความถี่ 4G และคลื่นความถี่อื่นๆ ที่จะมีขึ้นต่อไป ก็ขอให้ระวังอย่าได้ใช้แนวทางเดียวกันมาดำเนินการอีก
ที่มา: มติชนออนไลน์, ประชาชาติธุรกิจ, เฟซบุ๊กสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
มติศาล รธน.และการหลอกตัวเองว่า ‘ประชาชนมีเสรีภาพตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมา’ Posted: 16 Oct 2012 06:59 AM PDT คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เผยแพร่เมื่อ 10 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ศาลรัฐธรรมนูญ ความตอนหนึ่งว่า "...อีกทั้งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เป็นการทั่วไป ไม่ได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง และไม่ได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคหนึ่งแต่ประการใด เพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และมาตรา 45 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง" (http://www.prachatai.com/journal/2012/1043096) คำวินิจฉัยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า 'ม.112 คืออภิรัฐธรรมนูญ' เพราะความหมายและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ย่อมหมายถึงการรับรองสิทธิเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน แต่คำวินิจฉัยที่ว่า "...เพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้" ทำให้สิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน 'ถูกจำกัด' ด้วย ม.112 ฉะนั้น ม.112 จึงเหนือกว่ารัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า "(ม.112) ไม่ได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคหนึ่งแต่ประการใด เพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้" คำวินิจฉัยนี้สามารถตีความได้ว่า "ประชาชนมีเสรีภาพวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะตั้งแต่ระดับรัฐบาลลงมาได้อย่างเต็มที่ตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน ยกเว้นสถาบันกษัตริย์" แต่เป็นเช่นนั้นจริงหรือ? สมมติว่าประชาชนต้องการตรวจสอบ 'ความจริงว่า' ว่า พลเอกสนธิตัดสินใจทำรัฐประหารด้วยตนเองหรือมีเบื้องหลังหรือไม่ อย่างไร พลเอกเปรมเกี่ยวข้องกับรัฐประหารหรือไม่ อย่างไร ทำไมอภิสิทธิ์ สุเทพ พลเอกประยุทธ์จึงกล้าสั่งใช้กำลังพล อาวุธจริง กระสุนจริงจำนวนมากขนาดนั้น พร้อมๆ กับมีการอ้าง 'ผังล้มเจ้าปลอม' สลายการชุมนุมของประชาชน ความกล้าใช้อำนาจเช่นนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่ อย่างไร หรือแม้กระทั่งประชาชนต้องการสรุปความจริงให้ชัดแจ้งว่า 'ทักษิณคือต้นตอของปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดจริงหรือไม่?' ฯลฯ แน่นอนว่า ในทางหลักวิชาการนั้น การที่เราจะ 'รู้' ความจริงต่างๆ ดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องพูดถึง อภิปราย แสดงพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงทุกด้านให้สมบูรณ์ที่สุด และตรวจสอบความเชื่อมโยงกับ 'บริบทที่เกี่ยวข้อง' ทั้งหมด เช่น ความเคลื่อนไหวของ พธม.คนเสื้อเหลือง นปช.คนเสื้อแดง ฯลฯ และเป็นความจริงว่าในบรรดาบริบทที่เกี่ยวข้องต่างๆ นั้น มีความเกี่ยวข้องกับ 'บริบทสถาบัน' ในแง่ใดแง่หนึ่งอยู่ด้วยในระดับที่แน่นอนหนึ่ง (เพราะต่างฝ่ายต่างอ้างถึง/พาดพิงสถาบัน เช่น เราจะสู้เพื่อในหลวง หรืออ้างว่าต้องทำรัฐประหารเพื่อปกป้องสถาบัน สลายการชุมนุมเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ ฯลฯ) ทว่าเมื่อพูดถึง อภิปราย หรือจะแสวงหาข้อเท็จจริง หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับบริบทสถาบันก็ย่อม 'ถูกบล็อก' โดย ม.112 ให้สามารถสรุปได้เพียงว่า "มีการอ้างสถาบัน พาดพิงสถาบันในการต่อสู้ทางการเมือง ทำรัฐประหารจริง แต่สถาบันไม่เกี่ยวอะไรด้วย" ในทางวิชาการข้อสรุปเช่นนี้จึงมีความหมายเป็นเพียง 'ความเชื่อ' ไม่ใช่ 'ความจริง' หรือข้อเท็จจริงที่ผ่านการพิสูจน์อย่างเป็นสาธารณะ มันจึงกลายเป็นปัญหาตามมาว่า มี 'ฝ่ายที่เชื่อ' กับ 'ฝ่ายที่ไม่เชื่อ' แต่ละฝ่ายต่างก็ไม่สามารถแสดงหลักฐาน ข้อเท็จจริง มายืนยันความเชื่อของตนได้อย่างเป็นสาธารณะ ประเด็นสำคัญคือ การที่ ม.112 บล็อกให้สรุปได้เพียงแค่ว่า "มีการอ้างสถาบัน พาดพิงสถาบันในการต่อสู้ทางการเมือง ทำรัฐประหาร สถาบันไม่เกี่ยวอะไรด้วย" เท่ากับบล็อกเสรีภาพที่จะตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมาด้วย เพราะเท่ากับปิดกั้นไม่ให้ประชาชนสามารถนำหลักฐานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ 'บริบททั้งหมด' ที่เกี่ยวข้องกับปัญหามาอ้างอิง เพื่อสรุป ยืนยันให้เห็น 'ความจริง' อย่างชัดแจ้ง เช่น ความจริงที่ว่า "ทักษิณคือต้นตอของปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดจริงหรือไม่?" และ ฯลฯ ฉะนั้น แม้แต่เสรีภาพที่จะตรวจสอบความจริงว่า "ทักษิณคือต้นตอของปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดจริงหรือไม่?" (หรือ พลเอกสนธิตัดสินใจทำรัฐประหารด้วยตนเองหรือมีเบื้องหลังหรือไม่ อย่างไร พลเอกเปรมเกี่ยวข้องกับรัฐประหารหรือไม่ อย่างไร ทำไมอภิสิทธิ์ สุเทพ พลเอกประยุทธ์จึงกล้าสั่งใช้กำลังพล อาวุธจริง กระสุนจริงจำนวนมากขนาดนั้น พร้อมๆ กับมีการอ้าง 'ผังล้มเจ้าปลอม' สลายการชุมนุมของประชาชน ฯลฯ) ก็ถูกจำกัดไม่ให้นำ 'บริบททั้งหมด' ที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ความจริงนี้มาอภิปรายถกเถียงได้ตามหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน จึงเห็นได้ชัดว่าความเชื่อที่ว่า "ประชาชนมีเสรีภาพวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมาตามหลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน" นั้น เป็นความเชื่อที่ 'หลอกตัวเอง' ฉะนั้น ในบริบทสังคมการเมืองไทยตามที่เป็นอยู่จริงที่มีการแบ่งแยกว่า "ประชาชนไม่มีเสรีภาพวิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์" แต่ "มีเสรีภาพวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะตั้งแต่ระดับรัฐบาลลงมาตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนเต็มที่" นั้น จึงขัดแย้งทั้งในทางตรรกะ และเมื่อขัดแย้งในทางตรรกะจึงเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ขัดแย้งในทางตรรกะ คือการอ้างว่า "ประชาชนชาวไทยมีเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน หลักการที่ว่านี้เป็นหลักการสากล แต่ไม่สามารถ apply หลักการสากลนี้กับบุคคลสาธารณะทุกคน" นี่คือการพูดว่า "หลักการนี้เป็นหลักการสากลและไม่เป็นสากลในเวลาเดียวกัน" ฉะนั้น ผลทางปฏิบัติที่ตามมาคือ "ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมาตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนอยู่จริง" ดังตัวอย่างที่ว่ามา ข้อโต้แย้งว่า "ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมาตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนอยู่จริง" ผมเรียกว่า 'argument แบบ สศจ.' (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไม่ได้เทียบกับ สศษ.เพราะคนหนึ่งจบจากออสเตรเลีย คนหนึ่งจบเนติบัณฑิตอังกฤษรุ่นเดียวกับสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงอยู่คนละ 'ชนชั้น' กัน ฮา) ที่ชี้ให้เห็นว่า "ถึงวิจารณ์ตรวจสอบนักการเมืองไปก็ไม่มีประโยชน์ หากไม่สามารถ apply หลักการสากลกับทุกบุคคลสาธารณะได้" เพราะคุณจะอ้างว่าคุณกำลังวิจารณ์นักการเมือง (เป็นต้น) ด้วยหลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร ในเมื่อหลักการดังกล่าวเป็น 'หลักการสากล' แต่คุณไม่สามารถใช้มัน 'อย่างเป็นสากล' ได้ ที่แย่กว่านั้น เรากลับไม่ยอมรับความจริงว่า เราหลอกตัวเองมาตลอด และกำลังหลอกตัวเองว่าภายใต้ระบบสังคมการเมืองไทยตามที่เป็นมา "ประชาชนมีเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมา ตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนอยู่จริง"
หมายเหตุท้ายเรื่อง ใครที่อ้างว่า ตนเองมีเสรีภาพที่จะเลือกทำงานวิชาการในด้านที่ตนสนใจโดยไม่แตะ 'ประเด็นสถาบัน' อยากให้อ่านข้อถกเถียงนี้ บางคนเรียกว่ามันเป็น 'เกมของสมศักดิ์' 'ปมของสมศักดิ์' 'อคติแบบสมศักดิ์' ฯลฯ ก็ว่ากันไปครับ แต่ผมเรียกมันว่า 'argument แบบ สศจ.' เพราะจริงๆ มันคือ เมื่อคุณอ้างว่าคุณมี 'เสรีภาพ' สศจ.ก็อ้าง 'หลักเสรีภาพ' ที่คุณอ้างนั่นแหละมาโต้แย้งคุณ เช่น คุณอ้างว่า ฉันมีเสรีภาพที่จะแสดงความรักเจ้า มีเสรีภาพพูดถึงประโยชน์ของเจ้า ฯลฯ สศจ.ก็จะแย้งว่า "จะว่ามีเสรีภาพได้ไง ในเมื่อคุณไม่สามารถเลือกที่จะแสดงออก หรือพูดด้านตรงข้ามได้" หรือแม้แต่คุณยืนยันว่ามีเสรีภาพจะทำงานวิชาการด้านอื่นๆ ที่คุณชอบโดยไม่แตะเรื่องสถาบัน สศจ.ก็จะแย้งคุณว่า "มีเสรีภาพได้ไง (วะ) ในเมื่อคุณถูกตีกรอบเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่า จะใช้เสรีภาพทำงานวิชาการใน 'ทุกเรื่อง' ที่อยากจะทำอย่างสากลไม่ได้..." ตกลงคุณต้องเถียงกับ 'เกมของสมศักดิ์' 'ปมของสมศักดิ์' 'อคติของสมศักดิ์' ฯลฯ หรือต้องเถียงกับ 'หลักเสรีภาพ' อันเป็นหลักการสากลซึ่งคุณอ้างเพื่อ defend ตัวเอง และ สศจ.ยกมันมาโต้แย้งคุณล่ะ!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
การประชุม ASEP ครั้งที่ 7 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ตกลงจะขยายความร่วมมือใน 3 ด้าน Posted: 16 Oct 2012 06:55 AM PDT การประชุมร่วมรัฐสภาเอเชีย-ยุโรปตกลงเสริมขยายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในสามด้านสำคัญ พร้อมทั้งรับสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ การประชุมความร่วมมือร่วมรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป (ASEP) ครั้งที่ 7 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ที่ได้เปิดอย่างเป็นทางการในตอนเช้าของวันที่ 3 ตุลาคม และสิ้นสุดลงในตอนบ่ายของวันที่ 4 ตุลาคม โดยมีนางปานี ยาท่อตู้ ประธานสภาแห่งชาติแล้วเป็นประธานในการประชุม ได้มีมติตกลงที่จะส่งเสริมขยายความร่วมมือระหว่างกันในสามด้านที่สำคัญ ก็คือการรับประกันความมั่นคงด้านเสบียงอาหาร ในเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงดินฟ้าอากาศอันสับสน (Climate change) การเพิ่มความร่วมมือในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ และการเพิ่มความร่วมมือในการป้องกันภัยพิบัติ การเสริมขยายความร่วมมือระหว่างรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป ในทั้งสามด้านดังกล่าวนี้ ถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันระหว่างรัฐสภาของสองภูมิภาคที่มีประชากรรวมกันถึง 4,700 ล้านคน เทียบได้กับ 65% ของพลเมืองโลกทั้งหมด เพราะฉะนั้น การเสริมขยายความร่วมมือดังกล่าว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ดังที่ท่านวิเสด สะแหวงสึกสา รองหัวหน้าองค์การว่าการสภาแห่งชาติลาว ได้ให้การยืนยันว่า "การประชุมความร่วมมือรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างอค์การตัวแทนของประชาชน องค์การนิติบัญญัติของสองทวีป เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนะ ซึ่งรวมเอาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มารวมกันเพื่อให้ได้จุดยืนที่เป็นเอกภาพต่อปัญหาสากล" การประชุมครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีผู้นำรัฐสภา 10 ประเทศที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมประชุมได้ เนื่องจากติดภารกิจที่สำคัญอื่นๆ ก็ตาม หากแต่ยังมีตัวแทนผู้นำรัฐสภาจาก 27 ประเทศ รวม 30 คณะ ซึ่งรวมถึงคณะผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และองค์การยุทธศาสตรเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ (UNISDR) แห่งสหประชาชาติด้วยที่ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งล่าสุด ณ นครหลวงเวียงจันทร์ นอกจากนี้ การประชุม ASEP ครั้งที่ 7 ก็ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเสริมสร้างความเข้าใจ และความเป็นปึกแผ่นในปัญหาต่างๆ ระหว่างองค์การนิติบัญญัติของประชาชนทั้งสองทวีปให้มากขึ้น กับทั้งยังได้ตกลงรับเอาสมาชิกเพิ่มอีก 4 ประเทศ คือรัฐรัฐสภารัสเซีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเมียนมาร์ นอกจากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEP ครั้งที่ 7 แล้ว ทางการลาวยังจะได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 9 ในวันที่ 5-6 พฤศจิกายนปีนี้อีกด้วย แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า ผู้นำจากทั้งเอเชียและยุโรป จะเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ครบถ้วนหรือไม่ อิงตามรายงานล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศของลาว ได้ให้การยืนยันว่าจะมีผู้แทนจาก 33 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม ASEM ครั้งที่ 9 โดยมีประมุขรัฐ 10 ท่าน ผู้นำรัฐบาล 21 ท่าน และรัฐมนตรีอีก 4 ท่าน ทั้งนี้ ASEM มีสมาชิกทั้งหมด 49 ประเทศ หมายความว่ามี 14 ประเทศที่จะไม่เข้าร่วม โดยเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากวิกฤตหนี้สินในสหภาพยุโรปนั้นเอง
ภาษาลาวจากข่าว : เสนอคำว่า ກອງປະຊຸມ (กองปะซุม) : การประชุม, Meeting, Conference ກອງປະຊຸມ เป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติงานของลาว การดำเนินกิจการใดๆ ต้องผ่าน ກອງປະຊຸມ เสียก่อน โดย ກອງປະຊຸມ สำคัญคือ การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ นครหลวงเวียงจันทร์ ระหว่างช่วงเดือนมีนาคม แปลจาก : http://lao.voanews.com ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
'ผสานวัฒนธรรม' ขอบคุณไทยรัฐออนไลน์ยอมชี้แจงและขออภัยในความผิดพลาด Posted: 16 Oct 2012 06:47 AM PDT ตามที่องค์กรสิทธิมนุษยชนได้ และเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2555 ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบั ทางหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ซึ ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอขอบคุณ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
เพราะมีชายชุดดำ จึงชอบธรรม ในการฆ่าประชาชน!!! Posted: 16 Oct 2012 04:04 AM PDT คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จบคำพูดในรายการเวที "ผ่าความจริง" ที่พรรคประชาธิปัตย์จัดในห้องสวนลุมพินีวันที่ 13 ตุลาคม 2555 ด้วยใบหน้ายิ้มเยาะพร้อมเอ่ยวาจาเย้ยหยัน ถ้าการชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่มีชายชุดดำ ไม่มีกองกำลังอาวุธ ก็ไม่มีคนตายจากการปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้เขียนฟังด้วยความสมเพชว่าคุณอภิสิทธิ์รู้หรือเปล่าว่าพูดอะไรออกมา นี่คงคิดว่าเป็นข้อแก้ตัวที่มีเหตุผลที่สุดในการใช้กำลังทหารจัดการกับประชาชนจนบาดเจ็บเสียชีวิตมากที่สุดนับแต่มีการลุกขึ้นประท้วงในท้องถนนซึ่งเกิดนับจากปี 2516 เป็นต้นมา นี่คุณอภิสิทธิ์สารภาพออกมาแล้วว่าเหตุผลที่เอามาอ้างในการปราบปรามประชาชนรุนแรงก็ง่าย ๆ แค่นี้เอง คือ ก็พวกเอ็งมีกองกำลังอาวุธนี่ แม้หนึ่งคน ห้าคนก็ตาม ทั้งนี้การใช้กระสุนจริงยิงประชาชนมีตั้งแต่ตอนบ่าย มีคนเสียชีวิต 1 คน ส่งไปที่โรงพยาบาลวชิระ จากนั้นประชาชนก็ตายและทหารก็ตาย บาดเจ็บตั้งแต่ช่วงหัวค่ำเพราะมีทั้งการใช้กระสุนจริง กระสุนยาง และแก๊สน้ำตา การเสียชีวิตสิ้นสุดก่อน 20.20 น. ซึ่งเป็นเวลาที่พบผู้ถืออาวุธไม่ทราบฝ่าย แต่จากปากคำประจักษ์พยานและวัตถุพยานและผลการสืบสวนสอบสวนในวันที่ 10 เมษายน ไม่มีใครพบ "ชายชุดดำ" ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ณ. บริเวณที่มีการตายเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ทหารเสียชีวิต มีกำลังทหารและรถเกราะเต็มไปหมด เป็นไปไม่ได้ที่จะมีชายชุดดำเข้ามาใช้ M67 ขว้างในรัศมีประมาณ 50 เมตรได้อย่างแม่นยำตรงที่มีผู้บังคับบัญชาระดับสูงอยู่ และยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่พรรคประชาธิปัตย์จะอ้างตามคอป.ว่า มีคนไปอยู่บนบ้านไม้โบราณและขว้างระเบิดลงมา เพราะทหารเต็มไปหมดแถวยืนอยู่บนรถเกราะสูงระดับตามองเห็นทั่ว ถ้ามีคนชุดดำ จริงยิงทหารที่ยืนเด่นอยู่ไม่ง่ายกว่าหรือไร? นี่ยังไม่ต้องพูดถึงการประดิษฐ์วาทกรรมเรื่องชายชุดดำยิงสู้กับทหารที่วัดปทุมและตั้งข้อสงสัยเรื่องเสื้อกาชาด วิธีคิดประดิษฐ์เรื่องราวที่มาต่อสู้ประเด็นต่าง ๆ ที่มีการยิงจากรถรางไฟฟ้าที่วัดปทุมนั้นเหนือความคาดหมายอย่างยิ่ง ประหนึ่งว่าถ้าสร้างภาพชายชุดดำออกมาแล้ว พวกเขาก็ชอบธรรมที่จะฆ่าประชาชนมือเปล่าได้ แถมยังมีการบีบน้ำตาจากตนตัวดำ ใจดำ แบบเดียวกับที่เคยทำที่แยกราชประสงค์เพื่อเรียกคะแนนเสียงก่อนเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นพวกหลงอดีตอยู่กับวิธีการประดิษฐ์วาทกรรม ใส่ร้ายป้ายสี พูดเท็จ เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ทั้ง ๆ ที่มีคนรุ่นใหม่เข้ามาอยู่ในพรรคเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นายกรณ์ จาติกวนิช ที่ใช้ตรรกะว่า คนที่สร้างเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นผู้ได้ประโยชน์ การได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งนั้นตรงข้ามกับที่พวกคุณคิด ก็คือประชาชนเขาเชื่อว่าผู้ชุมนุมบริสุทธิ์ ไม่ใช่พวกก่อความรุนแรง การสร้างความรุนแรงกลับกลายเป็นปัญหาและอุปสรรคในการต่อสู้ทางการเมือง ดังนั้นอย่ามาใช้ตรรกะว่า ให้พวกเสื้อแดงใช้ความรุนแรงแล้วพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณได้ประโยชน์ นี่มันตรรกะที่ผิด หรือพวกคุณเชื่ออย่างนี้จึงพยายามใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชน คิดว่าจะทำให้ได้เปรียบทางการเมือง ตรงข้าม ประชาชนกลับเกลียดชัง คนหนุ่ม ๆ แท้ ๆ หลงยุค กลายเป็นพวกจารีตนิยม ป่าเถื่อน การพยายามออกมาสร้างภาพชายชุดดำโดยขยายผลจากหน่วยงานความมั่นคงและคอป. แสดงถึงเครือข่ายโยงใยทั้งความคิดและการกระทำในบทบาทต่าง ๆ กัน ล้วนมีเป้าหมายในการแก้ตัวให้กับข้อหาฆ่าประชาชนโดยหวังจะทำให้สังคมหลงเชื่อ ไม่จำเป็นต้องใช้หลักฐานใด ๆ ใช้การแสดงและวาทกรรมเพื่อครอบงำความคิดคนให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ แต่ไม่ได้คิดว่าหลักฐาน พยาน ทั้งคนไทย คนต่างประเทศ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนับพันล้วนชัดเจนว่าการตาย, บาดเจ็บเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะสายตาพวกเขาเห็นแต่ชายชุดเขียวและชายนอกเครื่องแบบติดอาวุธที่อยู่กับทหาร นายมิเชล มาส ผุ้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์โฟลกส์ครานต์และสถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นโอเอสของเนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บมาให้ปากคำกับดีเอสไอในฐานะพยานเหตุการณ์คดีการเสียชีวิตของนักข่าวชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ โปเลนสกี และฐานะผู้เสียหายเนื่องจากถูกกระสุนปืนยิงเข้าบริเวณหลังด้านขวา มีกระสุนปืน M16 เป็นหลักฐานชัดเจน นี่เป็นเพียงบางตัวอย่างเท่านั้น แต่คอป.และประชาธิปัตย์เลือกจะไม่พูดถึงการตายกว่า 80 ศพที่ชัดเจนว่าผู้ใช้อาวุธยิงคือทหารจากคำสั่งศอฉ.ของสุเทพ เทือกสุบรรณภายใต้การตัดสินใจและนโยบายของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่สั่งการให้ใช้กระสุนจริงยิงปราบปรามประชาชน และใช้กำลังทหารกว่า 60,000 คน อาวุธ-ยานยนต์เต็มรูปแบบของสงคราม ในขณะที่คนนับแสนที่มาชุมนุมมือเปล่าปราศจากอาวุธถูกกระชับพื้นที่และล้อมยิงทั้งที่สูงและแนวราบ "ประดุจนกในกรง" โดยอ้างว่ามีผู้ใช้กำลังอาวุธ 1 ถึง 5 คน (แต่โฆษณาว่ามี 500 คน) รายละเอียดว่าผู้ชุมนุมสันติวิธีมือเปล่านั้น สามารถหาข้อมูลได้ทุกวันทุกเวลา เพราะที่ชุมนุมไม่มี "สถานที่ห้ามเข้า" ไม่มี "เวลาห้ามเข้า" ไม่การการสั่งการและสะสมอาวุธ มีแต่คืนให้หมด ส่วนจะไปหายที่ไหนในสถานการณ์แบบนี้หลังการฆ่าประชาชนนั้นเราไม่อาจทราบได้ เพราะในคลังอาวุธของท่านก็หายกันประจำใช่หรือไม่? และนี่เองที่อยากจะบอกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะว่า
การกระทำ กรรมเป็นเครื่องบ่งชี้เจตนา คำพูดและการกระทำทั้งหลายของแกนนำในพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นบ่วงรัดคอที่บีบเข้ามา ท่านอย่านึกว่าจะไปแอบข้างหลังทหารและอำมาตย์ทั้งหลาย และโวยวายให้คนสงสารจะได้ผลในยุคนี้ พ.ศ.นี้ ที่ประชาชนตื่นตัวรับข้อมูลข่าวสารได้มากเกินกว่าการหลอกลวงจะได้ผลเช่นในอดีตที่ผ่านมาอีกแล้ว!!!!!!
zzzzzzzzzzzzzzzzz
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
โฮเซ รามอส-โฮร์ตา: ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยืนหยัดต่อต้านความตาย Posted: 16 Oct 2012 02:13 AM PDT วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันครบรอบปีที่ 10 ของวันต่อต้านโทษประหารชีวิตโลก ข้าพเจ้าภูมิใจที่จะพูดว่า สิทธิอันละเมิดมิได้ของการมีชีวิตได้ถูกบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศติมอร์-เลสเตของข้าพเจ้า การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพของประเทศเราไม่ใช่ไม่มีการเสียสละ ในการแสวงหาศักดิ์ศรีและการตัดสินใจด้วยตนเอง บุคคลอันเป็นที่รักของเราหลาย ๆ คนต้องเสียชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจตลอดเวลาถึงคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของการมีชีวิต ดังนั้น สิ่งแรก ๆ สิ่งหนึ่งที่เราทำหลังจากได้รับอิสรภาพเมื่อ 10 ปีมาแล้ว คือการรับรองว่าจะไม่มีใครได้รับโทษประหารชีวิต การเคารพชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของมนุษยชาติในโลกปัจจุบัน ในมาตราที่ 3 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งบัญญัติขึ้นหลังสงครามโลกที่ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายสิบล้านคน กล่าวไว้ว่า "ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิต" ในทำนองเดียวกัน ประเทศกัมพูชาผ่านความป่าเถื่อนของทุ่งสังหารและมีรัฐธรรมนูญซึ่งยืนยันคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของการมีชีวิต ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว เมื่อปฏิญญาสากลถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1948 นั้น มีเพียง 8 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ในวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมานี้ นาย บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้รายงานว่าจำนวนประเทศที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมีจำนวน 150 ประเทศ ขณะที่อีก 32 ประเทศยังคงโทษนี้อยู่ แม้ว่าประเทศไทยจะยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ แต่มีการประหารชีวิตเพียง 2 รายตั้งแต่ปี ค.ศ.2009 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้แจ้งต่อสหประชาชาติว่า ไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของการยกเลิกโทษประหารชีวิต การยกเลิกโทษประหารชีวิตได้ถูกรวมไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2552 – 2556 และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ มีการลดโทษนักโทษประหาร 58 คนให้เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต ญัตติเรียกร้องให้หยุดโทษประหารชีวิตทั่วโลกถูกเสนอเข้าสู่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ 3 ครั้งในปี ค.ศ. 2007, 2008 และ 2010 ในสองครั้งแรก ประเทศไทยลงคะแนนเสียงคัดค้าน แต่ในครั้งสุดท้าย ปี ค.ศ.2010 ประเทศไทยงดออกเสียง ในเดือนธันวาคม จะมีการยื่นญัตติหยุดโทษอีกครั้งในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในฐานะมิตรของประเทศไทย ข้าพเจ้าหวังว่าประเทศไทยจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนญัตตินี้ แม้ว่าในการลงคะแนนเสียงทุกครั้ง เสียงสนับสนุนจะมีเพียงพอที่จะผ่านญัตติโดยเสียงสนับสนุนเพิ่มจำนวนขึ้นทุกครั้ง เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยจะลงคะแนนสนับสนุนเพื่อเป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการของจุดยืนทางศีลธรรมของรัฐบาลและประชาชน ในเรื่องที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ข้าพเจ้าหวังอย่างจริงใจว่าประเทศไทยจะดำเนินการสืบเนื่องคำสัญญานี้โดยการหยุดการลงโทษประหารชีวิตและหยุดการประหารชีวิต เราจะสามารถเสนอเหตุจูงใจอะไรให้แก่ประเทศที่ยังลังเลเพื่อให้สนับสนุนการก้าวไปข้างหน้านี้? เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติและนักมนุษยธรรมได้ตระหนักว่าโทษประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรมรุนแรง ซีซาร์ เบคคาเรีย นักอาชญวิทยาชาวอิตาเลียนได้ชี้ให้เห็นในงานที่มีชื่อเสียงของเขาเรื่อง Crime and Punishment (อาชญากรรมและการลงโทษ) ว่าการประหารชีวิตไม่มีผลในทางยับยั้ง ความมั่นใจว่าจะถูกจับและถูกลงโทษเป็นสิ่งขวางกั้นเพียงอย่างเดียวของอาชญากรรม ข้อสนับสนุนการหยุดการประหารชีวิตมีหลายประการ สภายุโรปซึ่งมีสมาชิก 47 ประเทศ ได้ตั้งให้การยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นข้อแม้หนึ่งในการเข้าเป็นสมาชิก โดยประกาศอย่างกล้าหาญว่า "โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ผิด เหมือนกันกับการทรมาน" โทษประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรม แต่ว่าเราจะได้ประโยชน์มากจากการเน้นถึงชีวิตมนุษย์ที่จะละเมิดมิได้ ในประวัติศาสตร์ของเอเชีย ได้มีการเน้นถึงความเมตตา กรุณา และการให้อภัยในทุก ๆ ศาสนาและคุณค่าทางวัฒนธรรม ในฐานะประชาชนคนหนึ่งของประเทศพี่น้องในครอบครัวของประเทศในทวีปเอเชีย ข้าพเจ้าหวังว่าทุกประเทศในเอเชียจะร่วมกับติมอร์-เลสเตในการลงคะแนนเสียงสนับสนุนชีวิตเหนือความตายในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ข้าพเจ้าภูมิใจอย่างยิ่งที่ติมอร์-เลสเตไม่มีโทษประหารชีวิตและโทษจำคุกสูงสุดคือ 25 ปี เราไม่มีโทษจำคุกตลอดชีวิต
หมายเหตุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
ชนะคดีชั้นฎีกา สธ.จ่าย 7 แสนผู้เสียชีวิตจากการขูดมดลูก Posted: 16 Oct 2012 02:12 AM PDT
15 ต.ค.55 – ศาลฎีกาพิพากษาให้คนไข้ชนะคดี โดยให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จ่ายค่าชดเชยให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 700,000 บาท กรณีที่เมื่อปี 2547 นางณิชาภัทร ดาวกระจาย อายุ 34 ปี เสียชีวิตที่ศูนย์อนามัยแม่และเด็กนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ จากการขูดมดลูก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
โฮเซ รามอส-โฮร์ตา: ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยืนหยัดต่อต้านความตาย Posted: 16 Oct 2012 02:07 AM PDT วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันครบรอบปีที่ 10 ของวันต่อต้านโทษประหารชีวิตโลก ข้าพเจ้าภูมิใจที่จะพูดว่า สิทธิอันละเมิดมิได้ของการมีชีวิตได้ถูกบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศติมอร์-เลสเตของข้าพเจ้า การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพของประเทศเราไม่ใช่ไม่มีการเสียสละ ในการแสวงหาศักดิ์ศรีและการตัดสินใจด้วยตนเอง บุคคลอันเป็นที่รักของเราหลาย ๆ คนต้องเสียชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจตลอดเวลาถึงคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของการมีชีวิต ดังนั้น สิ่งแรก ๆ สิ่งหนึ่งที่เราทำหลังจากได้รับอิสรภาพเมื่อ 10 ปีมาแล้ว คือการรับรองว่าจะไม่มีใครได้รับโทษประหารชีวิต การเคารพชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของมนุษยชาติในโลกปัจจุบัน ในมาตราที่ 3 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งบัญญัติขึ้นหลังสงครามโลกที่ได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายสิบล้านคน กล่าวไว้ว่า "ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิต" ในทำนองเดียวกัน ประเทศกัมพูชาผ่านความป่าเถื่อนของทุ่งสังหารและมีรัฐธรรมนูญซึ่งยืนยันคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของการมีชีวิต ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว เมื่อปฏิญญาสากลถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1948 นั้น มีเพียง 8 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ในวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมานี้ นาย บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้รายงานว่าจำนวนประเทศที่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมีจำนวน 150 ประเทศ ขณะที่อีก 32 ประเทศยังคงโทษนี้อยู่ แม้ว่าประเทศไทยจะยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ แต่มีการประหารชีวิตเพียง 2 รายตั้งแต่ปี ค.ศ.2009 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้แจ้งต่อสหประชาชาติว่า ไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของการยกเลิกโทษประหารชีวิต การยกเลิกโทษประหารชีวิตได้ถูกรวมไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2552 – 2556 และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมานี้ มีการลดโทษนักโทษประหาร 58 คนให้เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต ญัตติเรียกร้องให้หยุดโทษประหารชีวิตทั่วโลกถูกเสนอเข้าสู่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ 3 ครั้งในปี ค.ศ. 2007, 2008 และ 2010 ในสองครั้งแรก ประเทศไทยลงคะแนนเสียงคัดค้าน แต่ในครั้งสุดท้าย ปี ค.ศ.2010 ประเทศไทยงดออกเสียง ในเดือนธันวาคม จะมีการยื่นญัตติหยุดโทษอีกครั้งในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในฐานะมิตรของประเทศไทย ข้าพเจ้าหวังว่าประเทศไทยจะลงคะแนนเสียงสนับสนุนญัตตินี้ แม้ว่าในการลงคะแนนเสียงทุกครั้ง เสียงสนับสนุนจะมีเพียงพอที่จะผ่านญัตติโดยเสียงสนับสนุนเพิ่มจำนวนขึ้นทุกครั้ง เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยจะลงคะแนนสนับสนุนเพื่อเป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการของจุดยืนทางศีลธรรมของรัฐบาลและประชาชน ในเรื่องที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ข้าพเจ้าหวังอย่างจริงใจว่าประเทศไทยจะดำเนินการสืบเนื่องคำสัญญานี้โดยการหยุดการลงโทษประหารชีวิตและหยุดการประหารชีวิต เราจะสามารถเสนอเหตุจูงใจอะไรให้แก่ประเทศที่ยังลังเลเพื่อให้สนับสนุนการก้าวไปข้างหน้านี้? เป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติและนักมนุษยธรรมได้ตระหนักว่าโทษประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรมรุนแรง ซีซาร์ เบคคาเรีย นักอาชญวิทยาชาวอิตาเลียนได้ชี้ให้เห็นในงานที่มีชื่อเสียงของเขาเรื่อง Crime and Punishment (อาชญากรรมและการลงโทษ) ว่าการประหารชีวิตไม่มีผลในทางยับยั้ง ความมั่นใจว่าจะถูกจับและถูกลงโทษเป็นสิ่งขวางกั้นเพียงอย่างเดียวของอาชญากรรม ข้อสนับสนุนการหยุดการประหารชีวิตมีหลายประการ สภายุโรปซึ่งมีสมาชิก 47 ประเทศ ได้ตั้งให้การยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นข้อแม้หนึ่งในการเข้าเป็นสมาชิก โดยประกาศอย่างกล้าหาญว่า "โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ผิด เหมือนกันกับการทรมาน" โทษประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรม แต่ว่าเราจะได้ประโยชน์มากจากการเน้นถึงชีวิตมนุษย์ที่จะละเมิดมิได้ ในประวัติศาสตร์ของเอเชีย ได้มีการเน้นถึงความเมตตา กรุณา และการให้อภัยในทุก ๆ ศาสนาและคุณค่าทางวัฒนธรรม ในฐานะประชาชนคนหนึ่งของประเทศพี่น้องในครอบครัวของประเทศในทวีปเอเชีย ข้าพเจ้าหวังว่าทุกประเทศในเอเชียจะร่วมกับติมอร์-เลสเตในการลงคะแนนเสียงสนับสนุนชีวิตเหนือความตายในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ข้าพเจ้าภูมิใจอย่างยิ่งที่ติมอร์-เลสเตไม่มีโทษประหารชีวิตและโทษจำคุกสูงสุดคือ 25 ปี เราไม่มีโทษจำคุกตลอดชีวิต
หมายเหตุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
17 ตุลาคม วันสากลแห่งการขจัดความยากไร้ สหประชาชาติ Posted: 16 Oct 2012 01:58 AM PDT เอ.ที.ดี โลกที่สี่แห่งประเทศไทย และ มูลนิธิเพื่อน เอ.ที.ดี.แห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนบุคคลอิสระ องค์กร และ สถาบัน ร่วมจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เนื่องในโอกาสที่วันที่ 17 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสากลแห่งการขจัดความยากไร้ และร่วมกันเผยแพร่วันที่สำคัญนี้ โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ได้ที่เว็บไซต์ www.overcomingpoverty.org โดยสามารถ เปิดตัวกิจกรรมของผู้ร่วมรณรงค์ พร้อมส่งภาพถ่ายและรายงานสั้นๆ สรุปผลงานมาเข้าร่วม องค์การนานาชาติ เอ.ที.ดี โลกที่สี่เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนา หรือ การเมือง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2500 โดยบาทหลวง โจเซฟ วเรซินสกี้ (2460-2531) ในชุมชนแออัดชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีจุดมุ่งหมายในการ ขจัดความยากจนในประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งในประเทศที่มีฐานะร่ำรวย และ ประเทศยากจน คำว่า เอ.ที.ดี เป็นคำย่อจากภาษาฝรั่งเศส Aide a toute detresse มีความหมายว่า การให้ความช่วยเหลือเพื่อขจัดความทุกข์ยาก ส่วนคำว่า "โลกที่สี่" หมายถึงคนทุกข์ยากที่ไร้สถานะทางสังคมอย่างสิ้นเชิง องค์การฯมีลักษณะเฉพาะ 2 ประการด้วยกันคือ มีบุคลากรที่เป็นเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครเต็มเวลาหลากสัญชาติทำงานอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก และมีผลงานที่องค์การสหประชาชาติ และสภายุโรปให้การยอมรับ จึงทำงานร่วมกับคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและสังคมขององค์การสหประชาชาติ (ECOSOC) ยูนิเซฟ ยูเนสโก และองค์การแรงงานระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด การมีส่วนร่วมในวันที่ 17 ตุลาคมไม่ว่าจะในส่วนเล็กๆเพียงใด นับเป็นการย้ำเตือนว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งจะนำมาสู่ความสงบสุขนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ที่ใด หรือมาจากพื้นเพและวัฒนธรรมใดก็ตาม วันสากลแห่งการขจัดความยากไร้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 25 ปีมาแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาสู่การสื่อสารและความเข้าใจระหว่างชาวบ้านในชุมชนยากไร้และสังคมภายนอก สำหรับแนวคิดในปี 2555 เป็นไปภายใต้คำขวัญว่า ยุติความยากไร้อันทารุณ: มาร่วมเสริมสร้างพลังและสันติภาพ แนวคิดสำหรับวันที่17 ตุลาคมในปีนี้ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อขององค์การสหประชาชาติที่ว่า สันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกชีวิตได้รับความเคารพในศักดิ์ศรี ความรู้ และสิทธิในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ยังมีผู้คนจำนวนมากรวมทั้งเด็ก สตรี ชาวพื้นเมือง ชาวบ้านในชุมชนแออัด และเกษตรกรไร้ดินทำกิน ซึ่งต้องดำรงชีวิตประจำวันภายใต้ความยากไร้ และการถูกกีดกันจากสวัสดิการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พวกเขาต้องแบกรับ ผลเสียจากการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยพวกเขาต้องประกอบอาชีพและใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและอันตราย เต็มไปด้วยมลพิษทางน้ำและอากาศ และมหันตภัยเช่นดินถล่ม อุทกภัย และภัยแล้ง พวกเขาต้องย้ายถิ่นฐานอยู่ร่ำไป โดยปราศจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจ อาชีพ สุขภาพ และการศึกษา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะนิ่งดูดายกับชีวิต พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวหน้าในการจัดการกับวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม จัดสร้างการต้านภัยด้วยทุนทรัพย์ที่น้อยนิด แต่ความรู้และประสบการณ์ที่เต็มเปี่ยม ซึ่งพวกเขาได้สั่งสมมาจากการดำรงอยู่ท่ามกลางความยากลำบากหลายช่วงอายุคน เมื่อประเทศไทยต้องประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ครอบครัวจากชุมชนยากไร้ในกรุงเทพฯต่างเข้าร่วมในโครงการบรรเทาทุกข์อย่างพร้อมเพรียง บ่อยครั้งซึ่งความร่วมมือของพวกเขากลับถูกมองข้ามในการแก้ปัญหาต่างๆของสังคม "การพัฒนาโครงการในชุมชนยากไร้เป็นเรื่องยากมาก โดยเฉพาะเมื่อคุณได้เห็นว่า ชีวิตของพวกเขายากลำบากเพียงไร และพวกเขาถูกกดขี่ข่มเหงอย่างไร พวกเขาจะยังคงไร้ซึ่งสิทธิ์และเสียง ตราบใดที่สังคมซึ่งอยู่เหนือพวกเขาต่างเบือนหน้าหนี แม้ว่าเราจะออกมาเรียกร้องอะไร ก็อาจไม่มีใครฟัง" สมาชิกเครือข่ายชุมชนรายหนึ่งกล่าว เขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผู้นำชุมชนในหลายพื้นที่ในการก่อตั้งกองทุนเงินกู้ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในก้าวแรกของการขจัดความยากไร้ภายในประเทศ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: อนุสาวรีย์ปราบกบฏ Posted: 16 Oct 2012 01:41 AM PDT
การฟื้นตื่นของอนุสาวรีย์ปราบกบฏ อนุสาวรีย์แห่งการต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยครั้งแรก และมีลักษณะเดียวกับการต่อสู้ของคนเสื้อแดงที่ปกป้องประชาธิปไตย ที่วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา มีอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งตั้งอยู่ เป็นอนุสาวรีย์รูปพานรัฐธรรมนูญ ปัจจุบัน อนุสาวรีย์แห่งนี้ เรียกกันว่า อนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งปราศจากความหมายอันชัดเจน แต่อนุสาวรีย์แห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า อนุสาวรีย์ปราบกบฏ สร้างขึ้นในโอกาสที่รัฐบาลคณะราษฎรสามารถเอาชนะ และปราบปรามกบฏบวรเดช ซึ่งเป็นกบฏฝ่ายนิยมเจ้าที่คุกคามประชาธิปไตยของสยาม อนุสาวรีย์นี้เป็นที่บรรจุอัฐิของทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย และรูปแบบของอนุสาวรีย์นี้ ยังกลายเป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนินด้วย อนุสาวรีย์นี้ยังมีชื่อเรียกอื่น เช่น อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ และอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475โดยเริ่มจากกลุ่มนายทหารและข้าราชการฝ่ายนิยมเจ้าที่ต่อต้านคณะราษฎร ได้ไปตั้งกองบัญชาการที่นครราชสีมา แล้วเรียนตนเองว่า "คณะกู้บ้านกู้เมือง" โดยมี นายพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า แล้วตั้งให้ พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม(ดิ่น ท่าราบ)เป็นแม่ทัพ ยกกำลังเข้ามาในพระนคร คณะกู้บ้านกู้เมืองตั้งกำลังที่ดอนเมือง แล้วยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลคณะราษฎรลาออก แต่ฝ่ายคณะราษฎรตัดสินใจต่อสู้เพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตย จึงตั้ง พ.ท.หลวงพิบูลสงครามเป็นผู้บัญชาการในการต่อสู้ ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ปะทะกัน และฝ่ายรัฐบาลสามารถที่จะเอาชนะฝ่ายคณะกู้บ้านกู้เมืองได้ จนฝ่ายคณะกู้บ้านกู้เมืองต้องถอนกำลังในวันที่ 15 ตุลาคม ต่อมา พระยาศรีสิทธิสงครามเสียชีวิตในการรบที่หินลับ ส่วน พระองค์เจ้าบวรเดชหนีไปลี้ภัยที่อินโดจีนฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลได้มีผู้เสียชีวิตจากการปกป้องประชาธิปไตยครั้งนี้ 17 คน ที่สำคัญก็คือ พ.ต.หลวงอำนวยสงคราม(ถม เกษะโกมล) ซึ่งเป็นผู้ก่อการคณะราษฎร และเป็นเพื่อนของหลวงพิบูลสงคราม รัฐบาลคณะราษฎรถือว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คนเป็นวีรบุรุษผู้เสียสละเพื่อประชาธิปไตย จึงได้มีการจัดงานศพอย่างยิ่งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการทำศพสามัญชนที่สนามหลวง แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจะมีพระราชกระแสว่าพระองค์ไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าสนามหลวงเป็นที่ทำศพเฉพาะเจ้านาย คณะราษฎรได้ตั้งชื่อถนนอำนวยสงคราม และสะพานเกษะโกมล เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงอำนวยสงคราม และได้สร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้ขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของทั้ง 17 คน อนุสาวรีย์ปราบกบฏได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเรขการ (เยื้อน บุณยะเสน) อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยยึดหลักทางการเมืองของคณะราษฎร คือ การพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาประชาธิปไตยของบ้านเมือง การก่อสร้างดำเนินไปในปี พ.ศ.2479 และพิธีเปิดในวันที่ 14 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นประธานในพิธี จึงถือได้ว่า อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการพิทักษ์ประชาธิปไตย จากภัยคุกคามของฝ่ายนิยมเจ้า ที่น่าสนใจคือ ผนังของฐานแต่ละด้านของอนุสาวรีย์มีการจารึกและประดับในเรื่องราวที่ต่างกันไป โดยผนังด้านทิศตะวันตกมีการจารึกรายนามของทหารและตำรวจ 17 นายที่เสียชีวิต ด้านทิศใต้เป็นรูปแกะสลักนูนต่ำของครอบครัวชาวนาคือ พ่อ แม่ และลูก โดย ผู้ชายถือเคียวเกี่ยวข้าว ผู้หญิงถือรวงข้าว และเด็กถือเชือก ซึ่งสื่อถึงราษฎร และเป็นอนุสาวรีย์แรกในประเทศไทยที่สร้างรูปชาวนา ด้านทิศเหนือเป็นรูปธรรมจักรซึ่งหมายถึงศาสนา และด้านทิศตะวันออกเป็นแผ่นทองเหลืองจารึกโคลงสยามานุสติ ซึ่งเป็นโคลงในลักษณะชาตินิยม ต่อมา หลังจาก พ.ศ.2490 เมื่อคณะราษฎรสิ้นอำนาจ และฝ่ายนิยมเจ้าได้รับการฟื้นฟู อนุสาวรีย์ถูกทอดทิ้งในเชิงของความหมายเรื่องการปราบกบฏ กลายเป็นวงเวียนหลักสี่ ทำให้ความสนใจลดลงอย่างมาก และเมื่อมีอัตราการใช้รถยนต์ในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก วงเวียนหลักสี่และอนุสาวรีย์ถูกพิจารณาว่ากีดขวางการจราจร จึงมีการพิจารณาปรับภูมิทัศน์หลายครั้ง เช่น ใน พ.ศ.2536 มีการยกเลิกวงเวียนทำเป็นสี่แยก และนำมาซึ่งการขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์ และใน พ.ศ.2553 กรมทางหลวงมีโครงการจะสร้างสะพานลอยข้ามแยกเพื่อเชื่อมต่อถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ซึ่งอาจจะต้องทำให้มีการย้ายบริเวณของอนุสาวรีย์ และในอนาคต ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู ซึ่งก็คงจะส่งผลต่ออนุสาวรีย์อีก ในกรณีนี้ ทางฝ่ายสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เสนอความเห็นว่า อนุสาวรีย์นี้เป็นเพียงสัญลักษณ์จำลองเท่านั้น ซึ่งไม่มีผลอะไร ดังนั้นจึงมองว่า น่าจะก่อสร้างได้โดยไม่มีผลกระทบอะไร แต่กลับกลายเป็นว่า อนุสาวรีย์ปราบกบฎได้กลับมารื้อฟื้นความหมายครั้งล่าสุด เมื่อคนเสื้อแดงเริ่มการชุมนุมครั้งใหญ่ พ.ศ.2553 นายวีระ มุสิกพงษ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ(นปช.)ได้เลือกอนุสาวรีย์หลักสี่เป็นสถานที่รวมพลเป็นครั้งแรกเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ.2553 ก่อนกิจกรรมการชุมนุมใหญ่ที่ยืดเยื้อ โดยนายวีระประกาศในตอนนั้นว่ามาสักการะดวงวิญญาณของคณะราษฎร เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย หลังจากที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปราบปรามประชาชนคนเสื้อแตงจนมีผู้เสียชีวิต 94 คนและบาดเจ็บนับพันคน ประชาชนจำนวนมาก ถือว่า ผู้เสียสละชีวิตในกรณีเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็นวีรชนที่เสียสละในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จึงได้เกิดการแสวงหาวีรบุรุษที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในระยะก่อนหน้านี้ อนุสาวรีย์ปราบกบฏจึงสามารถฟื้นความหมายได้ในลักษณะเช่นนี้ เพราะถือเป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตยครั้งแรก และมีลักษณะเดียวกับการต่อสู้ของคนเสื้อแดงที่ปกป้องประชาธิปไตย ดังนั้น ในปีนี้ ซึ่งจะเป็นปีครบรอบ 79 ปี แห่งการเสียสละของวีรชนประชาชนคราวกบฏบวรเดช กลุ่มประชาชนคนเสื้อแดง ก็ไปจัดพิธีรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่อนุสาวรีย์แห่งนี้ โดยจะมีการวางพวงมาลา มีการอภิปรายและเพลง การจัดงานฉลองอนุสาวรีย์ปราบกบฏในปีนี้ จะเป็นการปูทางไปสู่การรณรงค์จัดงาน 80 ปีในปีหน้า นั่นหมายความว่า สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้ของประชาชนอีกหนึ่งจะถูกรื้อฟื้นความสำคัญ เพื่อสะท้อนถึงสายธารแห่งประชาธิปไตย และเป็นการประกาศต่อฝ่ายอำมาตย์และพวกนิยมเจ้าว่า ประชาชนจะไม่ยอมจำนน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
แอมเนสตี้วิพากษ์ร่าง กม.ศาลลับ อังกฤษ ราวนิยายของ 'คาฟคา' Posted: 15 Oct 2012 10:38 PM PDT แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานวิจารณ์ร่าง กม.ที่อนุญาตให้มีการไต่สวนแบบปิด และใช้หลักฐานลับซึ่งรัฐเห็นว่าอ่อนไหวต่อความมั่นคงในการพิจารณาคดีชั้นศาลได้ บอกว่า "ระบบยุติธรรมแบบลับๆ นี้ราวถอดแบบมาจากนิยายของคาฟคา"
รายงานของแอมเนสตี้อ้างว่าญัตติดังกล่าวที่เสนอให้มีการขยายผลการใช้หลักฐานลับ จะทำให้รัฐบาลสามารถอ้าง 'ความมั่นคงของชาตื' เพื่อทำให้เรื่องต่างๆ กลายเป็นความลับได้ กลุ่มองค์กรสิทธิพลเมืองได้เรียกร้องให้รัฐบาลผสมยกเลิกร่างกฎหมายความยุติธรรมและความมั่นคง ที่เสนอให้สามารถใช้ 'กระบวนการสืบวัตถุพยานลับ' (Closed Material Procedures หรือ CMPs) กับศาลแพ่งในอังกฤษ กระบวนการดังกล่าวคือการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่นำเสนอข้อมูลที่มีความอ่อนไหวต่อศาลได้โดยไม่ต้องให้เหยื่อหรือโจทก์ทราบข้อกล่าวหาที่มีต่อตนทั้งหมด ซึ่งระบบนี้ได้นำมาใช้ในศาลฝ่ายความมั่นคงของอังกฤษแล้ว โดยในตอนนี้ยังไม่มีการระบุวันที่จะให้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังสภาขุนนางซึ่งจะมีการโหวตในประเด็นนี้ ทางพรรคแรงงานซึ่งบอกว่าพวกเขายังไม่รู้สึกว่าควรจะมีการปฏิรูปกฎหมายตอนนี้ ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มเวลาอภิปราย รายงานของแอมเนสตี้ ชื่อ 'Left in the Dark: the use of secret evidence in the UK' ประเมินว่ามีการใช้ CMPs แล้วในบริบททางกฎหมายต่างกัน 21 บริบท โดยอลิซ ไวสส์ จากแอมเนสตี้กล่าวว่ากระบวนการนี้เป็นภัยอย่างแท้จริงต่อหลักความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมที่เปิดเผยในอังกฤษ "มันเป็นเรื่องแย่พออยู่แล้วที่กระบวนการลับได้รับอนุญาตนำมาใช้กับระบอบตุลาการ แต่รัฐบาลในตอนนี้พยายามขยายการใช้กระบวนการลับในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" ไวสส์กล่าว รายงานมีการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยเผชิญกับกระบวนการลับนามสมมุติว่า G อายุ 43 ปี ผู้ที่ถูกกฎหมายสั่งให้เนรเทศไปอยู่แอลจีเรียเป็นเวลา 10 ปี บอกว่า "ผมต้องการความยุติธรรม ต้องการโอกาสในการปกป้องตนเอง ในกระบวนการที่มีความยุติธรรม...ผมไม่มีสิทธิจะรู้ด้วยซ้ำว่าหลักฐานที่รัฐใช้อ้างดำเนินคดีกับผมคืออะไร" ชายอีกคนหนึ่งมีนามสมมุติว่า BB บอกว่า "คดีกล่าวหาผมหรือ? ผมเห็นแค่ชั่วแว๊บเดียวเท่านั้น ผมรู้มาไม่มากพอที่จะอธิบายด้วยซ้ำ มันเป็นการพิจารณาคดีแบบปิด ผมเข้าไปไม่ได้ ทนายของผมเข้าไปไม่ได้" แอมเนสตี้สรุปว่า การใช้หลักฐานลับเสนอต่อศาลที่พิจารณาคดีแบบปิด เป็นการขัดแย้งต่อหลักการความเที่ยงธรรมที่มีมานานในกฎหมายอังกฤษและขัดแย้งต่อหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน "สำหรับคนที่ถูกดำเนินคดีด้วยกระบวนการลับนี้ ส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างใหญ่หลวง ตั้งแต่การถูกลิดรอนเสรีภาพ, ต้องพลัดพรากจากครอบครัว, ถูกส่งกลับไปยังประเทศที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง ... แม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อผลกระทบอย่างมาก กระบวนการสืบวัตถุพยานลับทำให้ยิ่งยากในการที่บุคคลที่โดนซัดทอดโดยหลักฐานลับจะสามารถแก้ต่างในคดีของรัฐบาลได้" "กระบวนการสืบพยานลับเป็นความล้มเหลวต่อการเคารพในหลักการความยุติธรรมที่โปร่งใส ...หากร่างกฎหมายความยุติธรรมและความมั่นคงถูกนำมาบังคับใช้ในรูปแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ ก็เสี่ยงต่อการทำให้กระบวนการลับกลายเป็นบรรทัดฐานที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิในการรับพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และสิทธิในการรับการเยียวยาของเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน" รัฐบาลอังกฤษแย้งว่า การใช้ศาลลับจะไม่ทำให้การพิจารณาคดีใดๆ ที่เป็นการพิจารณาแบบเปิดเปลี่ยนไปเป็นการพิจารณาคดีแบบปิด และให้ข้อพิพาทเรื่องความมั่นคงของชาติมีการโต้แย้งกันในศาลได้ โฆษกคณะรัฐมนตรีกล่าวว่า "จุดที่แอมเนสตี้ไม่เข้าใจคือในตอนนี้ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นโจทก์ หรือทนายของพวกเขา หรือผู้พิพากษา จะสามารถพึ่งพาหลักฐานที่มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคงของชาติได้" "ผลที่เกิดคือ คดียุบไป แล้วพวกเราก็ไม่สามารถดำเนินคดีที่มีการกล่าวหาอย่างร้ายแรงต่อรัฐไปจนสุดได้" "กฎหมายความยุติธรรมและความมั่นคงจะช่วยแก้ปัญหานี้ โดยสามารถให้นำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งถูกห้ามในกฎปัจจุบัน นำมาใช้ในกระบวนการลับได้" "กระบวนการยุติธรรมแบบลับอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีอย่างอุดมคติ แต่ก็ดีกว่าเมื่ออีกทางหนึ่งคือความเงียบ"
Secret courts plan criticised as 'Kafkaesque' by Amnesty, The Guardian, 15-10-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
สิ้นแล้ว "สรรพสิริ วิริยะศิริ": ช่างภาพโทรทัศน์ 6 ตุลา Posted: 15 Oct 2012 10:14 PM PDT สรรพสิริ วิริยศิริ ผู้บุกเบิกวงการข่าวโทรทัศน์เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 92 ปี โดยสรรพสิริเป็นผู้นำกล้องถ่ายภาพยนตร์ไปบันทึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ ม.ธรรมศาสตร์ แล้วนำมาออกอากาศที่ช่อง 9 อสมท. จนเป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งหลัง "พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่" ทำรัฐประหาร เมื่อวานนี้ (15 ต.ค.) นายสรรพสิริ วิรยศิริ ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่บุกเบิกการข่าวโทรทัศน์ และการประกาศข่าว ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยโรคชรา ด้วยวัย 92 ปี ทั้งนี้สรรพสิริ เกิดเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2463 เคยดำรงตำแหน่งอดีตกรรมการผู้จัดการ บ.ไทยโทรทัศน์ จำกัด หรือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยได้เริ่มงานโทรทัศน์ด้วยการเป็นช่างภาพ ดูแลฝ่ายข่าวและเป็นผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์รุ่นบุกเบิกในปี 2533 สรรพสิริ ยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง ชมรมเรารักรถไฟขึ้น ด้วยความหวังที่จะอนุรักษ์รถไฟไทยไว้ให้ลูกหลานได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาต่างๆ ด้วย จากข้อมูลของวิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สรรพสิรินั่งรถข่าวพร้อมนำกล้องภาพยนตร์ ไปบันทึกภาพเหตุการณ์ความรุนแรง บริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นก็นำกลับมาตัดต่อ และบรรยายภาพด้วยตนเอง แล้วนำออกอากาศในช่วงบ่าย ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ส่งผลให้คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ซึ่งกระทำรัฐประหารในเย็นวันนั้น สั่งให้ปลดสรรพสิริออกจากทุกตำแหน่งใน บจก.ไทยโทรทัศน์ โดยทันที โดยหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม สรรพสิริต้องหลบไปอยู่ จ.ระยอง เป็นเวลาหลายปี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||
‘ชาวสะเอียบ’ แจ้งจับ ‘กรมเจ้าท่า’ ปักหมุดระดับน้ำ หวั่นเดินหน้าเขื่อนเย้ยมติชุมชน Posted: 15 Oct 2012 09:35 PM PDT
เขื่อนแก่งเสือเต้นเริ่มแผงฤทธิ์ ชาวบ้านรวมตัวขวางเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าปักหมุดตามแนวลำน้ำยม แจงหวั่นรัฐบาลเร่งสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น สุดท้ายต้องถอนออกทั้งหมด ชาวบ้านจึงยอมไม่เอาความ วันที่ 15 ต.ค.55 เวลา 14.30 น.ชาวบ้านตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้เชิญตัว นายไพศาล ผ่องผิว ตำแหน่ง ช่างเครื่องเรือกลลำน้ำ ช 2 ได้รับมอบหมายจากนายอนันต์ แก้ววิเชียร ตำแหน่ง วิศวกรชำนาญการ รก.ผศบ.7 ศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 7 จ.เชียงใหม่ สังกัดกรมเจ้าท่า ซึงได้มาทำการปักหมุดหมายของกรมเจ้าท่า ตามแนวลำน้ำยมในบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ยม จ.แพร่ ใกล้กับแนวสันเขื่อนแก่งเสือเต้น ออกจากพื้นที่ จากกรณีที่ นายไพศาล นำคนงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัท AP กรุงเทพ จำกัด ขนหลัดหมุดปูนขนาดสูง 1 เมตร จำนวน 27 หลัก เขาทำการปักในบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ยม อ.สอง จ.แพร่ โดยทำการปักหลักไปได้ 22 หลัก ซึ่งคนงานแจ้งว่าทางบริษัทได้รับเหมางานจากกรมเจ้าท่า มาทำการปักหมุด จึงนำคนงานอีก 5 คนจากบ้านวังหงษ์ จ.แพร่ เข้าทำการสำรวจและปักหลักระดับน้ำของแม่น้ำยม ชาวบ้านตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้ร้องขอให้ถอนหลักของกรมเจ้าท่าออกไป ซึ่งชาวบ้านหวั่นว่าเป็นการปักหลักสำรวจเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ที่ชาวบ้านคัดค้านอยู่ เพราะ ร้อยวันพันปีไม่เคยเห็นกรมเจ้าท่ามาดำเนินการอะไรแถวนี้เลย "ช่วงนี้ชาวบ้านหวั่นวิตกว่ารัฐบาลจะเร่งดำเนินการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง จึงขอให้กรมเจ้าท่าถอนหลักหมุดออกไปก่อน เพราะพวกเราชาวสะเอียบได้มีมติชุมชนไปแล้วว่า ห้ามหน่วยงานใดๆ เข้ามาสำรวจหรือหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง มิเช่นนั้นจะไม่รับรองความปลอดภัย หากยังไม่เชื่อกันอยากจะให้เหตุการณ์เกิดขึ้นเหมือน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ลองดู" นายวิชัย รักษาพล แกนนำชาวบ้านเข้าเจรจากับทางกรมเจ้าท่า กล่าว เมื่อเวลา 15.00 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สะเอียบได้เดินทางมาถึง ชาวบ้านสะเอียบจึงได้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินการกับกรมเจ้าท่า ที่มาปักหลักหมุดฝืนมติชุมชนสะเอียบ เจ้าหนาที่ตำรวจ รตท.ประทวน สภ.สะเอียบ ได้เชิญทั้ง 2 ฝ่าย ไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ สภ.สะเอียบ โดยได้นำของกลางหลักหมุดทั้ง 22 หลักไปด้วย นางสุดารัตน์ ชัยมงคล ผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนชัยหมู่ 1 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านสะเอียบมีความเครียดมากเรื่องเขื่อน ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง เขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งส่งผลกระทบกับชาวบ้านสะเอียบทั้งนั้น และชาวบ้านได้มีมติห้ามบุคคล เจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเขื่อนเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะไม่รับรองความปลอดภัย ชาวบ้านที่นี่ดุ แต่มีเหตุผล หากคุยกันรู้เรื่องก็ไม่เอาความ หากไม่รู้เรื่องอาจเกิดความรุนแรงขึ้นมาได้ "เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกเข้ามาในพื้นที่ทั้งที่ชาวบ้านแจ้งเตือนแล้วว่าไม่ต้องเข้ามา วันต่อมาเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกเข้ามาพื้นที่อีกจึงเกิดการตีกัน ในครั้งนั้นชาวบ้านถูกจับเข้าคุก ส่วนเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกก็หัวล้างข้างแตก รถตู้พังยับเยิน เราไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก" นางสุดารัตน์ กล่าว นายเส็ง ขวัญยืน กำนันตำบลสะเอียบ กล่าวว่า ตนเองในฐานะกำนันตำบลสะเอียบจะได้ประสานงานกับหน่วยราชการต่างๆ เพื่อแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งอำเภอ จังหวัด ราชการส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ได้รับรู้มติของชุมชนสะเอียบ ที่มีมติห้ามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเขื่อน ทั้งเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ได้รับรู้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงตามมา "ส่วนตัวเองถึงแม้จะเป็นกำนัน แต่ขอยืนหยัดคัดค้านเขื่อนตามมติของชาวบ้าน จะเกิดอะไรก็ต้องเกิด สะเอียบเราจะสู้จนถึงที่สุด" กำนันเส็งกล่าว จนถึงเวลาประมาณ 18.00 น. การหารือกันทั้งสองฝ่ายที่ สภ.สะเอียบ จึงสามารถตกลงกันได้ โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย โดยชาวบ้านสะเอียบไม่เอาความแต่ขอให้เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าอย่าให้เข้ามาในพื้นที่อีก และขอให้ลบข้อมูลในเครื่อง GPS ออกทั้งหมด เพื่อความสบายใจกันทั้งสองฝ่าย จึงได้ข้อยุติกัน ส่วนของกลางหลักหมุดกรมเจ้าทั้ง 22 หลัก นายไพศาล จะได้ประสานเข้ามารับกลับคืนไปอีกครั้งหนึ่ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น