โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

พล.อ.เปรม อยากให้คนในชาติกลับมารักกันเหมือนเดิม

Posted: 18 Oct 2012 02:44 PM PDT

ประธานองคมนตรีวอนผู้ที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายเป็นเสื้อสีต่างๆ นั้น ขอให้ทุกคนเอาชาติเป็นที่ตั้ง 

หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานว่า ในระหว่างที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นประธานเปิดโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 18 ที่สโมสรทหารบก เทเวศร์ พล.อ.เปรม ได้ให้โอวาทต่อเยาวชนภาคใต้ จากนั้นได้ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งกล่าววว่า อยากให้คนในชาติมารักกันเหมือนเดิม ส่วนที่มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นเสื้อสีต่างๆ นั้นก็ให้ทุกคนเอาชาติเป็นที่ตั้ง โดยการจัดโครงการเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีนั้น ตนมองว่ามีการดำเนินการกันทั่วประเทศ เพียงแต่เราอาจจะรู้บ้างไม่รู้บ้างซึ่งเรื่องความรักชาติเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนตั้งใจทำอยู่

ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่าในพิธีดังกล่าว มีพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผบ.สส. พร้อมนายทหารระดับสูง และภาคเอกชนเข้าร่วมด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ทวิตเตอร์' ใช้มาตรการบล็อคเฉพาะประเทศ เซ็นเซอร์ทวีต 'นีโอนาซี' ในเยอรมนี

Posted: 18 Oct 2012 01:15 PM PDT

(18 ต.ค.55) ทวิตเตอร์ เว็บโซเชียลมีเดียชื่อดัง บล็อคข้อความของกลุ่มนีโอนาซี ไม่ให้ประชาชนในเยอรมนีเข้าถึง ตามการร้องขอของรัฐบาลเยอรมัน โดยนับเป็นครั้งแรกที่ทวิตเตอร์เซ็นเซอร์เนื้อหาเฉพาะในประเทศ ตามนโยบายที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา


โฆษกของทวิตเตอร์ระบุว่า บัญชี @hannoverticker ของกลุ่ม Besseres Hannover (ฮันโนเวอร์ที่ดีกว่า) ซึ่งเป็นกลุ่มขวาจัด ถูกปิดกั้นการเข้าถึงในเยอรมนี เนื่องจากถูกตัดสินว่ามีเนื้อหาผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ในประเทศอื่นๆ ยังสามารถเข้าไปอ่านข้อความในบัญชีนั้นได้

ขณะที่เป็นที่รับรู้กันว่าทวิตเตอร์นั้นลังเลที่จะเซ็นเซอร์เนื้อหาเพราะเกรงว่าจะไล่ลูกค้า การดำเนินการดังกล่าวจึงทำให้เกิดการวิจารณ์กฎหมายเยอรมันซึ่งแบนกลุ่มดังกล่าว มากกว่าที่จะวิจารณ์ทวิตเตอร์

"ทวิตเตอร์เป็นบริษัทเอกชน และแม้ว่าจะมีประวัติที่น่านับถือในเรื่องเสรีภาพในการพูด แต่ก็คงไม่สามารถหวังว่าจะผ่านไปได้ทุกปัญหา ยิ่งกว่านั้น เยอรมนียังเป็นตลาดที่ใหญ่และมั่งคั่ง" Pádraig Reidy จาก Index on Censorship องค์กรรณรงค์ด้านเสรีภาพในการแสดงออก กล่าว

เขากล่าวด้วยว่า ทวิตเตอร์ปฏิบัติตามกฎหมายและเปิดเผยต่อสาธารณะ  แต่ปัญหาอยู่ที่กฎหมายเยอรมันเอง การแบนความเห็นขวาจัดและลัทธิแก้ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากนาซี เป็นเรื่องผิดสมัยสำหรับประชาธิปไตยเสรีนิยมใหม่ และกฎหมายเหล่านี้จะชี้และเยาะเย้ยความพยายามของสหภาพยุโรปในการพร่ำสอนชาวโลกเรื่องเสรีภาพในการพูด

กลุ่ม Besseres Hannover ถูกแบนโดยรัฐบาลแห่งรัฐโลว์เออร์แซกโซนี (Lower Saxony) เมื่อเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวสนับสนุนอุดมการณ์นาซี ซึ่งถือเป็นการบ่อนทำลายประชาธิปไตยเยอรมัน

ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ประกาศเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (พฤ.) ว่า ในเยอรมนี จะมองไม่เห็นบัญชีผู้ใช้ดังกล่าว ขณะที่ที่อื่นๆ ในโลกนั้นเห็น

Alex Macgillivray ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัททวิตเตอร์ ทวีตว่า "ไม่เคยต้องการจะระงับเนื้อหา ยังดีที่มีเครื่องมือในการทำในลักษะที่แคบลงและโปร่งใส"

จากนั้น เขาทวีตต่อด้วยว่า ทวิตเตอร์ได้ประกาศมาตรการระงับการเข้าถึงเนื้อหาเมื่อเดือนมกราคม และกำลังใช้มันตอนนี้เป็นครั้งแรกกับกลุ่มซึ่งเข้าข่ายผิดกฎหมายในเยอรมนี

ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ระบุผ่านเว็บด้วยว่า หากมีการร้องขอที่ถูกต้องและอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่มีอำนาจ ทวิตเตอร์ก็อาจจำเป็นต้องระงับการเข้าถึงเนื้อหาในบางประเทศเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อมั่นว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบเปิดและเสรี จะส่งผลกระทบระดับโลกในเชิงบวก และย้ำว่าข้อความในทวิตเตอร์จะต้องไม่ถูกปิดกั้น  (..."the Tweets must continue to flow.")

 


แปลและเรียบเรียงจาก
Twitter uses new 'country-withheld content' rule to block neo-Nazi group tweets in Germany

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กระทรวงการคลังทำหนังสือ 'ด่วนที่สุด!' ถึง กสทช. ชี้ประมูล 3G ส่อฮั้ว

Posted: 18 Oct 2012 11:42 AM PDT


หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติ 4 ต่อ 1 รับรองผลการประมูลใบอนุญาตประกอบการ หรือไลเซ่นส์ คลื่นความถี่ 3G 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ไปเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (18 ต.ค.)

เว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า วันเดียวกัน คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ส่งหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ต.ค.2555 ถึงประธาน กสทช. โดยระบุว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G เมื่อวันที่ 16  ต.ค.ที่ผ่านมา ไม่มีการแข่งขันราคากันอย่างแท้จริง รวมถึงอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว ซึ่งจะส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้มหาศาล และ กสทช.อาจต้องรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว

โดยเนื้อหาหนังสือดังกล่าวระบุว่า การดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G มีผู้ประมูล 3 ราย โดยมีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นน้อยครั้งเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่กำหนดให้มีการประมูล และคลื่นความถี่ที่ประมูลมีจำนวนพอดีกับผู้เสนอราคาที่สามารถจัดสรรได้รายละ 3 สลอต กรณีจึงถือได้ว่าการประมูลดังกล่าวไม่มีการแข่งขันราคาอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

ประกอบกับผู้ชนะการประมูลจะได้รับประโยชน์จากการให้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น หากการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่กรณีนี้เป็นไปอย่างไม่เหมาะสม หรืออาจมีลักษณะการสมยอมราคาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) จะส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล และ กสทช.อาจอยู่ในข่ายต้องรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว

ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว ลงนามโดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติหน้าที่แทนปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 ต.ค.2555

 


ที่มา: สำนักข่าวอิศรา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มติบอร์ด กทค.รับรองประมูล 3G ด้วยเสียง 4-1

Posted: 18 Oct 2012 11:14 AM PDT

มติที่ประชุม กทค. รับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 4-1 นพ.ประวิทย์ ไม่รับรอง เรียงหน้าตรวจสอบ "สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค"-ประชาชนห้าหมื่นกว่า ยื่นถอด กสทช.ส่อผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว ด้านสุริยะใสชะลอยื่นศาลปกครองไต่สวนเรื่อง 3G - รอฟังคำสั่งคดีก่อน ขณะที่ศาลปกครองไม่รับฟ้อง "สถาบันคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค-พล.ร.อ.ชัย"


(18 ต.ค.55) นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ บอร์ด กทค. กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กทค. ว่า ในวันพรุ่งนี้ (19 ต.ค.) จะส่งหนังสือรับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ให้กับผู้ชนะประมูล 3G ทั้ง 3 ราย โดยมีบริษัท เอกชนเข้าร่วมประมูล 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ประมูลคลื่นความถี่ได้ในราคา 14,625 ล้านบาท บริษัท ดีแทค เนควอร์ค และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ประมูลคลื่นความถี่ไปในราคา 13,500 ล้านบาทเท่ากัน รวมทั้งสามรายประมูลคลื่นความถี่ไปในมูลค่า 41,625 ล้านบาท โดยผู้ชนะทั้ง 3 รายต้องจ่ายเงิน 3 งวด แบ่งเป็นปีแรก 50% และปีที่ 2 อยู่ที่ 25% และปีที่ 3 อยู่ที่ 25% ของเงินที่ประมูลได้ ภายใน 90 วัน และจะได้ใบอนุญาตครอบครองคลื่น 15 ปีทันทีใน 7 วัน

กรรมการ กทค. กล่าวต่อว่า การลงมติของบอร์ด กทค.เพื่อรับรองผลการประมูล 3G ครั้งนี้ ถือเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ส่วนเงินที่ได้จากการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G จะนำส่งเข้ารัฐให้เร็วที่สุด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไร เพราะต้องรอให้เอกชน 3 ราย ส่งเงินเข้ามาทั้งหมดก่อน โดยคาดการณ์ว่าจากนั้นประมาณ 3 เดือน จะสามารถนำส่งเข้ารัฐได้ อย่างไรก็ตาม หากหักค่าใช้จ่ายในการจัดประมูลประมาณ 20 ล้านกว่าบาท

ต่อข้อถามถึงการกำกับดูแลเอกชนนั้น กรรมการ กทค.กล่าวว่า ระยะแรกในการกำกับดูแล ต้องดูว่าผู้ประกอบการมีการแข่งขันกันมากหรือไม่ และต้องดูต้นทุนของผู้ประกอบการด้วย ซึ่งขณะนี้ มีต้นทุนการประกอบกิจการอยู่แล้ว ซึ่ง กสทช. ต้องเอามาดูว่าเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ โดยคาดว่าหลังจากนี้ 6 เดือน จะสามารถบอกความชัดเจนได้ พร้อมยืนยันว่า การกำกับดูแลต้องถูกลงกว่าเดิม

สำหรับการประชุม กทค.ครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 ราย ได้แก่ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธาน กทค. พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร กสทช.ด้านการศึกษา วัฒนธรรม และพัฒนาสังคม นายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฎหมาย นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ ด้านเศรษฐศาสตร์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

โดยการประชุมเริ่มตั้งแต่เวลา 11.00-15.00 น. ใช้เวลารวม 4 ชั่วโมง โดยสำนักงาน กสทช. ได้ถ่ายทอดเสียงให้สื่อมวลชนรับฟัง ที่ชั้น 2 อาคารหอประชุม ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ มีการแจ้งว่าจะถ่ายทอดภาพด้วยแต่เกิดขัดข้องทางเทคนิค จึงได้แค่เสียงอย่างเดียว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่กำลังถ่ายทอดสดเสียงการประชุมนั้น มีเนื้อหาที่ถกเถียงกันซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้บอร์ด กทค. 2 คน ประกอบด้วย นายประเสริฐ และ พล.อ.สุกิจ วอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุม ทำให้ พ.อ.เศรษฐพงค์ ต้องตัดบทบอกให้ที่ประชุม กทค.ลงมติรับรองผลการประมูล 3G ของ กสทช. ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2555

ผลปรากฏว่า การลงมติรับรองผลการประมูลใบอนุญาต 3G ของ กทค. มีมติบอร์ด 4-1 โดย นพ.ประวิทย์ ไม่รับรองผล และขอดูเอกสารการเคาะราคาการประมูลทั้ง 7 ครั้งก่อน ส่งผลให้ที่ประชุมบอร์ดขอปิดเสียงถ่ายทอดสดเพื่อนำเอกสารมาอธิบายให้ นพ.ประวิทย์ ฟังประมาณ 5 นาที จึงได้เปิดเสียงถ่ายทอดสด และได้สรุปผลการลงมติรับรองการประมูล 3G ของบอร์ด กทค.

สำหรับประเด็นที่ นพ.ประวิทย์ ตั้งข้อสังเกตนั้นมีหลายเรื่อง อาทิ เรื่องราคาตั้งต้ที่ต่ำเกินไป และการออกหลักเกณฑ์ประมูลที่ไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน รวมถึงการออกประกาศเพื่อทำประชาพิจารณ์ไม่สอดคล้องตามเวลาที่กำหนด


"สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค" ยื่นถอด กสทช. ส่อผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว
ด้าน บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการตรวจสอบทุจริตและธรรมาภิบาลฯ วุฒิสภา โดยมี รสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน หลังพบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. เข้าข่ายกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (พ.ร.บ.ฮั้ว)

บุญยืน กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังมาก เพราะเคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา กสทช. ในรอบ 44 คน เพื่อส่งต่อให้วุฒิสภาคัดเลือกเหลือ 11 คน ขณะที่เลือกเข้ามาแต่ละคน นับว่ามีประวัติหน้าที่การงานดี และแสดงวิสัยทัศน์ที่ดีมาก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่เมื่อเข้ามากลับเปลี่ยนไป พร้อมยืนยันว่า สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคจะไม่หยุดตรวจสอบ กสทช.แน่นอน

นอกจากนี้ บุญยืนระบุว่า สิ่งที่รับไม่ได้คือ การทำหลักเกณฑ์ก่อนการประมูลจนสามารถเอื้อให้บริษัทที่มีอยู่ในตลาดเพียงแค่ 3 ราย ได้เข้ามาประมูล โดยมองว่า นี่ไม่ได้เรียกว่า การประมูล แต่คือการประเคน มากกว่า กสทช.กำลังเล่นลิเก หรือเล่นจำอวดหน้างานศพให้สังคมดู

ด้านรสนา ประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบการทุจริตและธรรมาภิบาลฯ วุฒิสภา กล่าวว่า กรรมาธิการได้รับเรื่องจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคไว้ตรวจสอบ เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่ในความรับผิดชอบ ส่วนประเด็นที่ยื่นให้ตรวจสอบนั้น เป็นประเด็นเดียวกันกับที่สังคมเกิดข้อสงสัย โดยเฉพาะทำผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว หรือไม่ ซึ่งหากผลสอบออกมาพบว่าผิดปกติ จะต้องดูว่าจะส่งผลสอบไปให้หน่วยงานใดเอาผิดตามความรับผิดชอบ เหมือนเช่นที่เคยส่งให้ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มาแล้ว


ประชาชนห้าหมื่นกว่า ลงชื่อถอดถอน กสทช.
ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน นำโดยกลุ่มลูกศิษย์หลวงตามหาบัว กว่า 50 คน นำรายชื่อประชาชนใส่ลังมาประมาณ 30 ลัง รวมทั้งหมด 57,904 รายชื่อ ยื่นต่อนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อให้ถอดถอนกรรมการ กสทช.

นิคม กล่าวว่า ขณะนี้รับเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว โดยหลังจากนี้จะนำไปตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อที่ยื่นมา จากนั้นจะส่งต่อให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามกระบวนการถอดถอน โดยอาจใช้เวลานานกว่า 2 เดือน นอกจากนี้ ยอมรับว่ารู้สึกผิดหวังมากในฐานะที่เป็นหนึ่งในกรรมการเลือก กสทช.ชุดนี้ โดยเฉพาะผลการจัดประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ราคาไม่เกิดการแข่งขันมากถึง 6 ใบ ขณะที่โดยรวมที่ได้เข้ารัฐนับว่าเป็นราคาที่ต่ำมาก


สุริยะใสชะลอยื่นศาลปกครองไต่สวนเรื่อง 3G - รอฟังคำสั่งคดีก่อน
สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว (กลุ่มกรีน) กล่าวว่า วันนี้ (18 ต.ค.) ตัดสินใจจะไม่ไปศาลปกครองกลางเพื่อยื่นคำฟ้องเพิ่มเติม กรณีที่บอร์ด กทค. จะนัดประชุมเพื่อลงมติรับรองผลการประมูลใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยจะขอรอฟังคำสั่งในคดีที่ได้ยื่นฟ้องไปก่อนหน้านี้ก่อน
      

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องคดีประมูล 3G 2 คดี
ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในคดีที่ฟ้องเกี่ยวกับการประมูลคลื่น 3G รวม 2 คดี คือ กรณีที่สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค ยื่นฟ้อง กสทช. ขอให้เพิกถอนประกาศสำนักงาน กสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สากลย่าน 2100 กิกะเฮิรตซ์ เนื่องจากบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล มี นายจอน ทราวิส เอ็ดดี้ อัลดุลลาห์ สัญชาติอเมริกัน เป็นผู้มีอำนาจลงนาม จึงเข้าลักษณะขัดต่อประกาศ กสทช.เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว

โดยเหตุที่ศาลไม่รับคำฟ้อง เพราะสมาคมฯ ไม่ใช่ผู้มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประมูล ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งโดยตรง จึงไม่มีผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ที่จะโต้แย้งขอให้ศาลเพิกถอนประกาศ กสทช.ดังกล่าว
      
ส่วนที่อ้างว่า การที่ กสทช.ประกาศให้บริษัท ดีเทค เนทเวอร์ค จำกัด เป็นผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล จะส่งผลทำให้การจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตกอยู่ในความควบคุมอิทธิพลของคนต่างด้าว เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ เห็นว่า หากบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาต ย่อมต้องไม่ดำเนินการใดๆ อันเป็นการขัดต่อข้อห้ามตามประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว มิเช่นนั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องถูกดำเนินการตามข้อ 8-12 ตามประกาศดังกล่าว จึงเห็นได้ว่าเหตุการณ์ดังที่สมาคมฯ กล่าวอ้างอาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ในอนาคต ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล หรือความเสียหายแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือสาธารณะยังไม่มีความแน่นอน และ กสทช.ก็ได้มีมาตรการควบคุมดูแลมิให้บริษัทดังกล่าวกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติต่างๆ อยู่แล้ว นอกจากนั้น หากอนาคตเหตุการณ์เป็นไปตามที่สมาคมฯกังวลใจ คือ บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตถูกครอบงำโดยคนต่างด้าว สมาคมฯก็ย่อมเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ และมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ แต่ในขณะนี้สมาคมฯยังไม่ใช่เป็นผู้เดือดร้อนเสียหาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
    
ส่วนคดีที่ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ และพวกรวม 3 คนฟ้อง กสทช.ว่า ออกหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 เพราะการเรียกเก็บเงินประมูลขั้นต่ำ 4,500 ล้านบาท จากเอกชนผู้เข้าประมูล อาจทำให้ กสทช.ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ตามกฎหมาย

ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องโดยให้เหตุผลว่า เงินที่ได้จากการประมูลหลังหักค่าใช้จ่ายย่อมตกเป็นของแผ่นดิน กสทช.จึงหาได้เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมดังกล่าวแต่อย่างใด และหากมีกรณีที่ กสทช.จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินประมูลคลื่นความถี่ หรือหนี้อื่นใด ก็เป็นเพียงการดำเนินการแทนรัฐเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีกรณีที่ กสทช.จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับใบอนุญาตอันเป็นผลเนื่องมาจากการออกประกาศของ กสทช.ตามที่ พล.ร.อ.ชัย กับพวก กล่าวอ้าง ดังนั้น ในกรณีนี้จึงหาได้มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นแก่ประโยชน์สาธารณะตามที่ พล.ร.อ.ชัย กับพวก เข้าใจแต่อย่างใด พล.ร.อ.ชัย กับพวกจึงไม่อาจอาศัยเหตุดังกล่าวนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
      


ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ 1, 2 ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1, 2 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Avaaz เผยชาวซีเรียอย่างน้อย 28,000 คนถูกรัฐบาลลักพาตัว

Posted: 18 Oct 2012 07:46 AM PDT

 

กลุ่มนักกิจกรรม Avaaz ในซีเรียเผยมีข้อมูลรายชื่อ ปชช. 18,000 คนที่สูญหายและทราบกรณีคนหายอื่นๆ อีก 10,000 กรณี นับตั้งแต่มีการประท้วงรัฐบาลเมื่อปีที่แล้ว ทนายสิทธิมนุษยชนมองว่า รัฐบาลต้องการข่มขวัญประชาชน

18 ต.ค. 2012 - กลุ่มนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน Avaaz ที่ทำงานในซีเรียเปิดเผยว่ามีประชาชนอย่างน้อย 28,000 คน หายสาบสูญโดยถูกทหารหรือกลุ่มติดอาวุธลักพาตัวไป
 
กลุ่ม Avaaz กล่าวอีกว่าพวกเขามีรายชื่อของบุคคลที่สูญหาย 18,000 คน ตั้งแต่มีการประท้วงเกิดขึ้นเมื่อ 18 เดือนที่ผ่านมา และทราบถึงกรณีคนหายอื่นๆ อีก 10,000 กรณี โดยกลุ่ม Avaaz ต้องการเสนอเอกสารข้อมูลดังกล่าวให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
 
รัฐบาลซีเรียยังไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ต่อข้อกล่าวหาครั้งนี้ แต่ก่อนหน้านี้พวกเขาปฏิเสธรายงานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสมอมา
 
Avaaz กล่าวว่าพวกเขารวบรวมข้อมูลจากคำให้การของชาวซีเรีย ที่บอกว่าครอบครัวญาติพี่น้องของพวกเขาถูกกลุ่มกองกำลังฝ่ายรัฐบาลจับตัวไป
 
ตัวอย่างกรณีคนหาย
กรณีตัวอย่างคือ เฟย์เซห์ อัล-มาสรี จากย่านชานเมืองฮอม บอกว่าลูกชายของเธอ อาหมัด กัสซัน อิบราฮิม อายุ 26 ปี หายตัวไปเมือ่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา โดยเล่าว่าขณะที่ลูกชายเธอกำลังขับรถไปเมืองทอลกาลักห์ พวกเขาก็ขาดการติดต่อกับเขา เขาติดต่อป้าด้วยเบอร์โทรที่ไม่ใช่ของเขาเองบอกว่ากำลังจะไปเมืองฮอม แต่พอพยายามติดต่อกลับไปก็ไม่สามารถติดต่อได้ พวกเขาทราบในเวลาต่อมาว่าเบอร์โทรที่ติดต่อครอบครัวเขาครั้งล่าสุดเป็นเบอร์ของหน่วยความมั่นคงของกองทัพในสาขาเมืองฮอม
 
ครอบครัวของเฟย์เซห์กล่าวอีกว่า เมื่อพวกเขาพยายามติดต่อกลับไปเบอร์มือถือของอาหมัดในช่วงเดือนครึ่งที่ผ่านมา มีคนรับโทรศัพท์เขาและบอกว่าเขาเสียชีวิตจากการถูกสไนเปอร์ของฝ่ายรัฐบาลยิงจนเสียชีวิต แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถยืนยันในเรื่องนี้ได้
 
"พวกเราเชื่อว่าเขาจะไม่ทิ้งพวกเราหรือภรรยาของเขาที่กำลังจะมีลูกแฝด พวกเราแค่ต้องการทราบว่าเขาเป็นอย่างไรแล้วบ้าง" นางมาสรีกล่าวต่อ Avzaz
 
อีกกรณีหนึ่งคือ ฮุสเซน อีสโซ นักกิจกรรมชาวเคิร์ด-ซีเรีย อายุ 62 ปี ถูกลักพาตัวจากบ้านของเขาในช่วงเวลาบ่าย 2 โมงของวันที่ 3 ก.ย. 2011 โดยหน่วยข่าวกรองของกองทัพอากาศที่มีผู้นำคือ จามีล อัสซัน
 
น้องชายของ ฮุสเซน บอกว่าพี่ของเขาถูกจับตัวนอกบ้านในเมืองฮาซากาหลังไปนั่งประท้วงที่หน้าศาลเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมที่ถูกจับกุมตัวไป เขาบอกอีกว่าพี่ชายเขาถูกย้ายไปตามหน่วยข่าวกรองต่างๆ หลายสาขา และยังไม่ถูกปล่อยตัวเพราะไม่ยอมลงนามในเอกสารสำนึกผิด ฮุสเซน มีปัญหาด้านสุขภาพ เป็นโรคหัวใจ และต้องการการรักษาพยาบาล แต่กองกำลังรัฐบาลไม่อนุญาตให้เขาไปรับการตรวจใดๆ
 
แผนสร้างความหวาดกลัวโดยรัฐบาล
อลิซ เจย์ ผู้อำนวยการด้านการรณรงค์ของ Avaaz กล่าวว่า ชาวซีเรียถูกลักพาตัวตามท้องถนนโดยกองทัพรัฐบาลและกองกำลังเสริม และถูกนำไปทรมาน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่กำลังจ่ายตลาด หรือชาวนาที่มาซื้อหาน้ำมัน ไม่มีใครเลยที่ปลอดภัย
 
อลิส กล่าวอีกว่านี่เป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลซีเรียในการสร้างความกลัวให้กับครอบครัวและชุมชน และกรณีต่างๆ ต้องได้รับการสืบสวน
 
"ความตื่นตระหนกจากการไม่รู้ว่าสามีหรือลูกของคุณยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ทำให้เกิดความกลัว ภายใต้ความขัดแย้งที่เงียบงัน" อลิสกล่าว
 
กลุ่มสิทธิมนุษยชนกลุ่มอื่นกล่าวแสดงความเห็นด้วยเรื่องรัฐบาลลักพาตัวประชาชน ฟาเดล อับดุลกานี จากเครือข่ายสิทธิมนุษยชนซีเรีย ประเมินว่ามีประชาชนราว 28,000 คน หายตัวไปนับตั้งแต่เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาด เมื่อปีที่ผ่านมา
 
มูฮันนาด อัล-ฮาซานี จากองค์กรสิทธิมนุษยชนสวัสยากล่าวว่าจำนวนผู้สูญหายอาจมีมากถึง 80,000 ราย
 
มูฮัมหมัด คาลิล ทนายด้านสิทธิมนุษยชนจากเมืองฮาซากาของซีเรียกล่าวว่า รัฐบาลซีเรียมีสองเหตุผลในการจับกุมตัวประชาชน อย่างแรกคือการพยายามกำจัดกลุ่มกบฏและนักกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลโดยตรง และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพื่อข่มขวัญคนในสังคมไม่ให้ต่อต้านรัฐบาล
 
Avaaz รวบรวมข้อมูลสถิติคนหายจากทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและกลุ่มนักกิจกรรมในท้องถิ่นของซีเรีย และในกรณีส่วนใหญ่ได้พูดคุยกับญาติหรือเพื่อน ที่พบเห็นคนสนิทของพวกเขาถูกพาตัวไปจากบ้านหรือตามท้องถนน
 
แม้ว่าระดับการทำงานและสภาพความไม่มั่นคงในปัจจุบันของซีเรียทำให้องค์กรไม่สามารถตรวจสอบหายสูญหายอย่างอิสระได้ทุกราย แต่ทางกลุ่มก็กล่าวต่อสำนักข่าว BBC ว่าผู้ถูกจับตัวทั้งหมดไม่มีใครถูกจับโดยหมายเรียกเป็นทางการเลย
 
 
ที่มา เรียบเรียงจาก
Syria crisis: 28,000 disappeared, say rights groups, BBC, 18-10-2012
 
Syrian activists & lawyers fear at least 28,000 forced disappearances in Syria, AVAAZ.ORG, 18-10-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สป. เสนอ ครม. เร่ง '2 เป้าหมาย 7 ยุทธศาสตร์' พัฒนาขนส่งทางอากาศสุวรรณภูมิ

Posted: 18 Oct 2012 07:32 AM PDT

 

 
18 ต.ค.55 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานเศรษฐกิจภาคบริการและการท่องเที่ยว จัดแถลงข่าวการเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง "ยุทธศาสตร์การขนส่งสินค้าทางอากาศ : กรณีศึกษาสนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ" ที่ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา
 
นางสุภาพรรณ์ ธนียวัน ที่ปรึกษาคณะทำงานเศรษฐกิจภาคบริการฯ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการศึกษาเรื่องดังกล่าวพบข้อเท็จจริงว่า การดำเนินการด้านการขนส่งต่างๆ ของสนามบินสุวรรณภูมิยังประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเมื่อเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ความถี่ของเที่ยวบินของสนามบินสุวรรณภูมิลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการขนส่ง คือ (1) ปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าค่อนข้างสูง (2) ปัญหาด้านกฎหมาย ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายศุลกากรให้สอดคล้องกับอนุสัญญาเกียวโตฉบับแก้ไข รวมถึงการจัดเก็บภาษี กรณีมีการโอนสิทธิของสินค้าในเขตปลอดอากรยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายการจัดตั้งเขตปลอดอากรของกรมศุลกากร (3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน (4) ปัญหาข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่คลังสินค้าสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้เพียง 1.7 ล้านตันต่อปี (5) ความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย เนื่องจากบริษัทท่าอากาศยานไทย ได้เปลี่ยนผู้บริหารเขตปลอดอากรหลายครั้ง ประกอบกับผู้บริหารเขตปลอดอากรไม่มีความเข้าใจการดำเนินงานภายในเขตปลอดอากร ทำให้การบริหารงานขาดความต่อเนื่อง
 
นางสุภาพรรณ์ฯ กล่าวต่อว่า นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค คณะทำงานเศรษฐกิจภาคบริการฯ จึงได้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว ทั้งการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน การจัดประชุมสัมมนาโดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องจากภาคหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม จนได้ข้อสรุปเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง "ยุทธศาสตร์การขนส่งสินค้าทางอากาศ : กรณีศึกษาสนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ" โดยมีสาระสำคัญ 2 เป้าหมาย 7 ยุทธศาสตร์ คือ
 
เป้าหมายที่ 1 สามารถกำหนดแผนยุทธศาสตร์การขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศไทยอย่างบูรณาการภายในปีงบประมาณ 2556
 
เป้าหมายที่ 2 เพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศให้ได้ 2 ล้านตัน ภายในปี 2558 ด้วยการเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆอย่างก้าวกระโดดจาก 26,000 ตัน เป็น 500,000 ตัน อันจะทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น 5,000-10,000 ล้านบาทต่อปี
 
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความทันสมัยและความคล่องตัวของการจัดการธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลและอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก เช่น การนำระบบ IT ใช้บริหารจัดการเขตปลอดอากร อาทิ ระบบการติดตามสินค้า เป็นต้น รวมถึงการจัดตั้งสินคลังสินค้าทัณฑ์บน
 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการการสื่อสารและการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เพิ่มบทบาทกรมศุลกากรในการเป็นศูนย์กลางการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกสินค้า
 
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มกำลังการรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศอย่างมีกลยุทธ์ เช่น จัดทำประมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศล่วงหน้า 10 ปี ขยายพื้นที่เขตปลอดอากร พิจารณาใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองควบคู่กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น
 
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ โดยจัดทำการสำรวจความพึงพอใจปีละ 2 ครั้ง เป็นประจำทุกปี
 
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การประชาสัมพันธ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ การชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าทางอากาศ ทั้งเรื่องความประหยัดและคุ้มค่
 
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการใช้พื้นที่เขตปลอดอากร ให้มีการใช้พื้นที่ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จ และกำหนดการบริหารความเสี่ยง โดยจัดให้มีคณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาตรวจสอบปฏิบัติงาน รวมถึงเพื่อการพัฒนาการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย และกำหนดนโยบายในการพัฒนาคลังสินค้าและอาคารเก็บสินค้าในเขตปลอดอากร นโยบายและแนวทางการส่งเสริมการเพิ่มปริมาณสินค้าจากกิจกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้า และปริมาณสินค้าขนถ่ายผ่านลำให้มีความชัดเจน
 
นางสุภาพรรณ์ฯ เสริมว่า ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีนั้น สามารถนำไปกำหนดแผนเชิงกลยุทธ์ได้เลย เพราะมีแผนปฏิบัติงานอย่างละเอียดอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำงานให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับประเทศเพิ่มขึ้น หากมีการดำเนินงานอย่างจริงจัง
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำนำผู้เขียน: โลกใหม่ ทุนนิยมใหม่?

Posted: 18 Oct 2012 07:26 AM PDT



ผู้เขียนกลับมานั่งอ่านบทความของตนเองที่เขียนเอาไว้ในคอลัมน์ "มุมมองบ้านสามย่าน" อีกครั้ง เมื่อบทความเหล่านี้ถูกรวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือออนไลน์ โดยสำนักพิมพ์ประชาไท ผู้เขียนเองเพิ่งได้สังเกตว่าบทความชิ้นที่เก่าที่สุดถูกเขียนเอาไว้ตั้งแต่ปลายปี 2551 หรือเกือบ 4 ปีที่แล้ว

นอกจากความผิดพลาดด้านภาษาที่ปรากฏให้เห็นอยู่เนืองๆ ในการพิมพ์ครั้งแรกและความตื้นเขินของการวิเคราะห์ที่เกิดจากความเร่งด่วนในการรีบส่งต้นฉบับบางตอนแล้ว ผู้เขียนคิดว่าการกลับไปอ่านบทความเหล่านี้ช่วยให้ตนเองได้พบข้อสังเกต 2-3 ประการ
 
ในฐานะที่บทความเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น การอ่านบทความเหล่านี้อาจมีคุณค่าอยู่บ้างในแง่ของการสังเกตการณ์แนวโน้มเชิงประวัติศาสตร์ของวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตเชิงคุณค่าของระบบทุนนิยมที่เกิดขึ้นในกึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่มีแกนกลางคือ ระบบทุนนิยมเสรีแบบอเมริกัน ข้อสังเกตประการแรกก็คือ คำกล่าวที่ว่า "เป็นเรื่องง่ายที่จะจินตนาการถึงจุดจบของโลกมากกว่าการจินตนาการถึงจุดจบหรือทางออกจากระบบทุนนิยม" มีความจริงอยู่ไม่น้อย

ไม่ว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นจากวิกฤตซับไพรม์ในปี 2550-2551 นั้นจะส่งผลกระทบรุนแรงเพียงใด และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและความพยายามในการทบทวนข้อผิดพลาดและปัญหาของกระบวนทัศน์เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาในระดับไหน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ก็ทำให้เห็นว่าระบบทุนนิยมได้ฝังรากลึกในสังคมจนถึงขนาดทำให้จินตนาการที่จะนึกถึงทางเลือกอื่นนั้นเป็นไปได้ยากมาก

หากผู้อ่านจะถามหาสาเหตุหรือรากเหง้าของจินตนาการที่จำกัดนี้ บทความหลายชิ้นคงได้สะท้อนคำตอบในตัวเองว่า ตามความเห็นของผู้เขียน มาจากวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแบบที่เรียนและสอนกันอยู่ในปัจจุบันเป็นสำคัญ นอกจากนี้ การสร้างความเป็นนักวิชาชีพให้กับนักเศรษฐศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญทำให้พวกเขาได้ผูกขาดการเสนอ "ความจริง" เรื่องเศรษฐกิจและปัญหาเศรษฐกิจตลอดมา

ในแง่หนึ่ง บทความชุดนี้จึงมีลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งคือ พยายามตั้งคำถามกับการครอบงำของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นวาทกรรมหลักของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism)

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าการครอบงำเชิงอุดมการณ์ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะเกิดขึ้นอย่างหมดจดหรือปราศจากการต่อต้านโดยสิ้นเชิง การติดตามประวัติศาสตร์ของวิกฤตทุนนิยม โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ช่วยให้ผู้เขียนค้นพบว่า คนกลุ่มที่มองเห็นถึงปัญหาของระบบทุนนิยม รวมทั้งกลุ่มคนที่มีจินตนาการเกี่ยวกับทางเลือกของระบบทุนนิยมมีปรากฏอยู่ไม่น้อย หากแต่พวกเขามักไม่มีเสียงดังเพียงพอในระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ฝ่ายทุนและรัฐทำหน้าที่เป็นสถาบันหลักในการผลิตซ้ำวาทกรรมเสรีนิยมใหม่อย่างเข้มข้น

นั่นจึงนำมาสู่ข้อสังเกตประการต่อมาว่า ข้อบกพร่องของประชาธิปไตยระบบตัวแทน (representative democracy) และวัฒนธรรมการเมืองที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงอุดมการณ์เศรษฐกิจที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ ยังซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น
 
กล่าวคือ ถึงแม้วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงและมีความถี่มากขึ้นในสเกลของโลกจะทำให้คนจำนวนมากขึ้นมองเห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบทุนนิยมและพยายามเรียกร้องระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรมมากขึ้น แต่การเมืองแบบเก่าที่มีส่วนสร้างระบบเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางสังคมแบบที่เป็นอยู่ก็เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับ "การเปลี่ยนแปลง (Change)" ที่ผู้คนคาดหวัง ในกรณีของสหรัฐฯ ระบบการเมืองดังกล่าวทำให้ประธานาธิบดีโอบามาไม่สามารถผลักดันนโยบายที่มีลักษณะคล้ายกับนโยบายแบบรัฐสวัสดิการอย่างที่หาเสียงเอาไว้ ในทางกลับกัน ความกลัวอันเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจกลับหยิบยื่นโอกาสให้พรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์ที่ไม่ใช่เพียงแต่ในสหรัฐฯ แต่ทั่วโลก กลับเข้ามาเสนอวาระเสรีนิยมใหม่อีกครั้งในนามของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ ดังจะเห็นได้จากการเกิดขึ้นของขบวนการทีปาร์ตี้ และชัยชนะของพรรคการเมืองฝ่ายขวาในสเปนและกรีซ เป็นต้น

หันกลับมามองที่สังคมไทย ภาพแทนของระบบทุนนิยมแบบอเมริกันกลับทำงานได้อย่างสมบูรณ์เสียยิ่งกว่าต้นฉบับ ความงมงายในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและการครอบงำของลัทธิเสรีนิยมใหม่ไปไกลถึงขนาดทำให้กลไกตลาดและการแข่งขันเสรีมีความหมายเดียวกับ "ความเป็นธรรม" นักเศรษฐศาสตร์เองผูกขาดความเป็นเจ้าของความจริงเรื่องเศรษฐกิจอย่างเบ็ดเสร็จ โดยไม่ตระหนักว่าตนเองตกเป็นเครื่องมือแห่งการผลิตซ้ำความรุนแรงดังกล่าวอย่างไร้เดียงสา ฝ่ายนายทุนก็กลับสามารถใช้ประโยชน์จากระบบการเมืองที่เป็นมิตรกับทุนอย่างถึงที่สุดถ่ายโอนความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจไปให้กับภาคแรงงานอย่างอิสระไร้ขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นคนงานไทยหรือคนงานข้ามชาติ ขณะที่ความตระหนักรู้เท่าทันเกี่ยวกับระบบทุนนิยมและกลไกการทำงานของมันผ่านระบบการเมืองแบบตัวแทนในสังคมไทยนั้นแทบจะยังไม่ปรากฏให้เห็น

ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าเราไม่อาจมองข้ามความพยายามของคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะอุปสรรคอันเกิดจากโลกทุนนิยมใบเก่าตามที่ต่างๆ ทั่วโลก การเกิดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวอย่าง Occupy Wall Street และ Indignados จากใจกลางของวิกฤตทุนนิยมนั้นที่พยายามผลักดันการปฏิรูประบบการเมืองเพื่อเป็นก้าวแรกไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้น เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าแรงบันดาลใจและจินตนาการต่อโลกใบใหม่ยังไม่สูญสิ้นไปโดยสิ้นเชิง คนจำนวนมากขึ้นและมากขึ้นเริ่มเชื่อว่าโลกอื่นที่เราไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้นั้นมีอยู่จริง ไม่ว่าโลกใหม่ใบนั้นจะเป็นเพียงทุนนิยมใหม่หรือระบบเศรษฐกิจแบบใดก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าย่อมเป็นเรื่องดีทีเดียวหากเราจะร่วมกันใฝ่ฝันถึงโลกใหม่ใบนั้นร่วมกันตั้งแต่ตอนนี้.

>> ดาวน์โหลดฟรีสำหรับไอแพดและแท็บเล็ตแอนดรอย <<
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาษามลายูชายแดนใต้สู่ประชาคมอาเซียน

Posted: 18 Oct 2012 07:25 AM PDT

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2555 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมสัมมนานานาชาติในหัวข้อ การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน  โดยภาษามลายูจะใช้คำว่า "Seminar Antarabangsa Mematabakan Bahasa Melayu di Asean" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 ตุลาคม 2555 ณ โรงแรมปาร์ควิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีกิจกรรมที่สำคัญคือ การเสวนาทางวิชาการ การนำเสนอบทความทางวิชาการภาษามลายู การจัดนิทรรศการด้านภาษามลายู มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และสถาบันด้านภาษาประเทศสิงคโปร์เข้าร่วมโดยมีนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมการสัมมนาและได้รับเกียรติจาก ดร.นลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด

 

 

นายอดินันท์ ปากบารา
รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ฝ่ายการศึกษา

นายอดินันท์ ปากบารา กล่าวว่าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต. ) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ University Pendidikan Sultan Idris, Malaysia ได้จัดโครงการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับภาษามลายูในมิติต่าง ๆ เช่น ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม ศึกษาศาสตร์ และมลายูศึกษา และยังจะเป็นเวทีเพื่อทำความรู้จักกันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ของนักวิชาการในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่นทางภาษามลายู ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในประชาคมอาเซียน อีกทั้งเป็นการสร้างความตระหนักรู้ของวงวิชาการไทยเกี่ยวกับโอกาสของสังคมไทยที่จะได้ประโยชน์จากการที่มีประชากรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สามารถสื่อสารภาษามลายูในชีวิตประจำวันเพื่อจะนำซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติบ้านเมืองในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน   ดูเพิ่มเติมใน  https://www.facebook.com/#!/page.sbpac?fref=ts

ความสำคัญภาษามลายูในประชาคมอาเซี่ยน

ดร. สุรินทร์  พิศสุวรรณ
เลขาธิการอาเซี่ยน

ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซี่ยนให้ทัศนะว่า  ประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประชาคมที่มีความหลากหลายทางภาษาและชาติพันธุ์ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประชาคมอื่นในองค์การระหว่างประเทศด้วยกันที่มีอยู่ขณะนี้ แม้ว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการของประชาคมอาเซียนในการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการก็ตาม ประชากรส่วนใหญ่ของประชาคมก็เป็นกลุ่มประชากรที่มีภาษามลายูเป็นภาษาที่หนึ่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไนดารุสสลาม   ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและพูดภาษามลายูเป็นภาษาที่หนึ่ง และบางส่วนในสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ พม่า   กัมปงจามในเขมร และจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยซึ่งมีการใช้ภาษามลายูในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ภาษามลายูมีความสำคัญในประชาคมอาเซียนอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในมิติของประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ากลุ่มประชากรที่ใช้ภาษามลายูในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเหล่านี้มีรากเหง้าเดียวกันทางภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตอันจะส่งผลต่อการเสริมสร้าง หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคมของอาเซียน ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

ในขณะนักวิชาการจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไนดารุสสลาม   สิงคโปร์รวมทั้งไทยมีความคิดเห็นสอดคล้องกับเลขาธิการอาเซี่ยนแต่การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาษามลายูแต่ละประเทศถึงแม้สำเนียงจะแตกต่างกันจะต้องมีหน่วยงานกลางจากรัฐหรือภาคประชาชนด้านภาษามลายูโดยเฉพาะในการเสริมสร้างความเข้มแข็งดังกล่าวพร้อมทั้งสามารถประสานระหว่างกันโดยเฉพาะในประเด็นวิชาการและการวิจัย

การศึกษามลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ความเป็นจริงการศึกษาภาษามลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นผ่านหนังสือศาสนาอักษรยาวีในสถาบันปอเนาะซึ่งหนังสือดังกล่าวนิพนธ์โดยนักปราชญ์มุสลิมปาตานีหรือชายแดนใต้ เช่นชัยค์ดาวุด และชัยค์อะหมัด อัลฟาฏอนีย์นับร้อยปี  แต่การศึกษาที่เป็นวิชาภาษามลายูทั้งอักษรยาวีและรูมีจะอยู่ในหลักสูตรอิสลามศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  สถาบันตาดีกาประจำชุมชน  ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมประจำมัสยิดตลอดห้าสิบปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันภาษามลายูอยู่ในหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 สำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  ภาษามลายูอยู่ในหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2548 สำหรับสถาบันตาดีกา  ศูนย์อบรมประจำมัสยิด  ภาษามลายูอยู่ในหลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2551 สำหรับโรงเรียนของรัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม หรือโรงเรียนของรัฐภาษามลายูอยูในสาระเพิ่มเติมหรือ  หลักสูตรท้องถิ่น ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550  

นายนิสิต ชายภักตร์ ผอ.สพป.สตูล

นายนิสิต ชายภักตร์ ผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสตูล(ผอ.สพป.สตูล) ได้เปิด เผยว่า จังหวัดสตูล จัดทำหลักสูตรการสอนภาษามลายูกลางหรือรูมี นำร่องใช้ในโรงเรียน 7 แห่งรับประชาคมอาเซียน ชี้ผลงานน่าพอใจ นักเรียนสามารถสื่อสารกับชาวมาเลเซียได้... ประชาชนใน จังหวัดสตูล หลายอำเภอ มีจุดแข็งตรงที่สามารถพูดภาษามลายูท้องถิ่นได้ การเตรียมความพร้อมด้านภาษาให้แก่นักเรียนที่จะรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ภาษามลายูก็มีความสำคัญเช่นกัน จึงมอบหมายให้ศึกษานิเทศก์ครู ร่วมกันจัดทำหลักสูตรการสอนภาษามลายูกลาง (รูมี) ลงในหลักสูตรท้องถิ่น ปีการศึกษา 2550 และให้ใช้นำร่องใน 7 โรง คือ โรงเรียนบ้านควน โรงเรียนบ้านเจ๊ะบิลัง โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง โรงเรียนบ้านแป-ระเหนือ โรงเรียนบ้านสนกลาง โรงเรียนบ้านปากบารา และโรงเรียนปากละงู

ทั้งนี้ โดยเฉพาะ ร.ร.บ้านควน นับว่าเป็นโรงเรียนที่มีผลการจัดการเรียนการสอนภาษามลายูกลาง (รูมี) ที่มีความก้าวหน้าอยู่ในระดับที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนสามารถใช้ภาษามลายูกลาง (รูมี) ในการทำกิจกรรมการเรียนแลกเปลี่ยนกับนักเรียนโรงเรียนคู่แฝด และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ ประเทศมาเลเซียได้อย่างมีคุณภาพ ขณะนี้ สพป.สตูล กำลังอยู่ระหว่างการประเมินผลการจัดกิจกรรมการสอนภาษามลายูกลาง (รูมี) ใน 7 โรงเรียนดังกล่าว โดยจะนำผลการประเมินสู่การพัฒนาและขยายผลต่อไปในโรงเรียนอื่นๆ (โปรดดู http://app.eduzones.com/portal/alledunews/article.php?contentid=1480)

ในขณะที่ระดับอุดมศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยของรัฐไม่ว่าจะเป็นหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ   และมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวอย่างมหาวิทยาลัยยะลา ก็เป็นสอนภาษามลายูเช่นกัน

ศอ.บต. ควรเป็นหน่วยงานหนุนเสริมพัฒนาศักยภาพภาษามลายูในปัจจุบัน
ด้วยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นพื้นที่พิเศษอยู่และยังไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพในการการเสริมสร้างความเข้มแข็งภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน ได้  ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต. ) ก็ควรเป็นหน่วยงานหลักในการหนุนเสริมพัฒนาศักยภาพภาษามลายูในปัจจุบันโดยนำทุกภาคส่วนโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนทั้งระดับปฐมวัย  ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา หรือองค์กรภาคประชาสังคมอย่างสภาประชาสังคมที่มีองค์กรต่างๆมากมายทำงานใกล้ชิดประชาชนฐานรากและพัฒนาภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซี่ยนของคนที่อยู่นอกระบบการศึกษาและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ  ในขณะเดียวกันองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นไม่ว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ตำบล  เทศบาลน่าจะเป็นอีกทางออกหนึ่งในการทำงานร่วมกันกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต. ) ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะพล.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)

พล.ต.อ.ทวี สอดส่อง ได้ให้ทัศนะว่า การประชาสัมพันธ์เป็นภาษามลายู เพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ เน้นใช้จุดเด่นด้านความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ให้เกิดประโยชน์ โดยได้เห็นชอบยุทธศาสตร์ที่จะให้โรงเรียนของรัฐมีการเรียนการสอนเป็นภาษามลายู ควบคู่ไปกับการสอนภาษาไทย จากเดิมที่มีการเรียนการสอนภาษามลายูเฉพาะในโรงเรียนสอนภาษา และโรงเรียนปอเนาะ ในขณะเดียวกันมีการประชาสัมพันธ์เป็นภาษามลายูผ่านรายการวิทยุผ่านคลื่นเอฟเอ็ม พร้อมทั้งได้เตรียมการจัดทำรายการโทรทัศน์เป็นภาษามลายู เพื่อให้เป็นรายการโทรทัศน์ท้องถิ่นในพื้นที่ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดยะลา ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่ง ศอ.บต. พยายามที่จะทำให้เป็นรายการโทรทัศน์ของประชาชนในพื้นที่ ด้วยการเชิญประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการกำหนดรูปแบบรายการอย่างชัดเจน  นอกจากนี้ ศอ.บต. เตรียมความพร้อมเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งเรื่องบุคลากร ความรู้เรื่องภาษาและประชาคมอาเซียน รวมทั้งเรื่องสถานที่ โดยการทำป้ายชื่อและสัญลักษณ์ถนนและสถานที่สำคัญในพื้นที่เป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษามลายู

    

ชมประมวลภาพการประชุมได้ที่
https://www.facebook.com/#!/media/set/?set=a.416946328372727.87408.100001720892385&type=3

 


[i] กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้, ฝ่ายวิชาการโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะจังหวัดชายแดนใต้, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ,  ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา         

Shukur2003@yahoo.co.uk
http://www.oknation.net/blog/shukur

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้สภาสร้างรัฐสวัสดิการ เรียนฟรี หยุด ม.นอกระบบ เก็บภาษีก้าวหน้า

Posted: 18 Oct 2012 04:27 AM PDT

แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบและแนวร่วมจัดกิจกรรม "การศึกษาต้องฟรี! ทั่วโลก" หน้ารัฐสภา ด้านโฆษก ปธ.สภา ยินดีที่ นศ.ตื่นตัวสนใจตรวจสอบนโยบายของรัฐ เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย

วันนี้(18 ต.ค.55)เวลาประมาณ 11.00 น. นักกิจกรรมและนักศึกษาประมาณ 50 คน นำโดย แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแนวร่วม ได้รวมตัวที่บริเวณหน้ารัฐสภา ถนนอู่ทองใน เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐไทยเป็นรัฐสวัสดิการ เรียนหนังสือฟรีถึงปริญญาตรี คัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ พร้อมเก็บภาษีทางตรงในอัตราก้าวหน้า เนื่องใน "วัน International Student Strike Day การศึกษาต้องฟรี! ทั่วโลก"  โดยมีนายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ประธานกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา และนายประกอบ รัตนพันธ์  รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ออกมารับหนังสือ

นายอนุชา ตาดี กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ประสานงานกิจกรรม กล่าวว่า วัตถุประสงค์ที่จัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่าระบบการศึกษาปัจจุบันมีปัญหาและแสดงให้เห็นว่ายังมีนักศึกษาที่เห็นปัญหาที่ต้องการเรียกร้องการศึกษาที่เป็นธรรม รวมทั้งประเด็นเรื่องการศึกษาไม่ใช่เฉพาะเรื่องของนักศึกษา แต่ประชาชนทั่วไปก็มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย

ผู้ประสานงานกิจกรรมขยายความถึงปัญหาของระบบการศึกษาว่ามีการจ่ายค่าเทอมที่แพงขึ้นเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่ดี แต่คนที่ไม่มีเงินจ่ายนั้น คนที่มีโอกาสน้อยนั้น จะได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่ระดับต่ำกว่า ซึ่งถือว่าเป็นการปิดกันทั้งการศึกษา อยากเสนอให้รัฐบาลจัดรัฐสวัสดิการทางการศึกษา เรียนฟรีถึงปริญญาตรี เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าถึงการศึกษามากที่สุด เพราะการศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศ

นายอนุชา ตาดี กล่าวด้วยว่าว่าหลังจากนี้ทางกลุ่มจะมีการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องในวันที่ 14 – 22 พ.ย.55 ต่อเป็นเพื่อสื่อให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รู้ว่ามีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการด้านการศึกษา เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้และร่วมผลักดันให้ประเทศไทยมีรัฐสวัสดิการด้านการศึกษา ส่วนกลุ่มที่มารวมตัวกันในวันนี้เป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนประเด็นคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบมาก่อน และมีการมองประเด็นที่ขยายออกไปเพราะเรื่องการค้านมหาวิทยาลัยนอกระบบเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นควรขับเคลื่อนที่ต้นเหตุคือจัดรัฐสวัสดิการด้านการศึกษา ให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา

ขณะที่นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวขอบคุณผู้ชุมนุมขณะที่ออกมารับหนังสือว่า ยินดีที่ทุกคนที่มีความตื่นตัวและรวมตัวกันเพื่อสะท้อนความต้องการ โดยตนเองจะรับหนังสือไปและจะสะท้อนไปถึงประธานสภาเพื่อให้เห็นว่าระบบการศึกษาในขณะนี้จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูป รวมทั้งเรียกร้องให้ทุกคนเฝ้าติดตามและหากมีความผิดปกติอะไรก็มาที่สภา เรายินดีและอยากเห็นบรรยากาศการเรียกร้องแบบนี้มากขึ้นด้วย เพราะการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยความเห็นต่างต้องมากและหลากหลาย มีการถกเถียงกัน โดยปราศจากความรุนแรง อยากให้นักศึกษาตื่นตัวมากๆและสนใจตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลมากๆ เพราะเป็นกลไกตามระบอบประชาธิปไตย และอยากให้นักศึกษาเชื่อมั่นในระบบนี้

วีดีโอคลิปขณะยื่นหนังสือต่อ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ

ภาพบรรยากาศ :

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :  ประเทศนี้ต้องเป็นรัฐสวัสดิการ การศึกษาต้องเรียนฟรี!

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

10 ปีศึกสิทธิบัตรยา ชำแหละปัญหาสิทธิบัตรไม่มีวันตาย-การต่อสู้ไม่มีวันจบ

Posted: 18 Oct 2012 03:47 AM PDT

 

1 ตุลาคม 2555 ถือเป็นวันครบรอบ 10 ปี ของการสถาปนาสิทธิในการเข้าถึงยา

มันเป็นก้าวสำคัญเพราะการต่อสู้ระหว่างภาคประชาชน โดยเฉพาะเครือข่ายผู้ติดเชื้อ กับ บรรษัทข้ามชาติผู้เข้ามาขอจดสิทธิบัตรยาต้านไวรัสที่เรียกว่า ดีดีไอ ในประเทศไทย -- บริษัทบริสเตอร์ ไมเยอร์ สควิปป์ (MBS)

ปัญหาหลักที่ภาคประชาชนนำเสนอคือ หากการขอสิทธิบัตรยาตัวนี้สำเร็จลุล่วง บริษัทจะผูกขาดตลาดตั้งราคาสูงได้นาน 20 ปี ทั้งที่ยาตัวนี้ไม่ได้มีความใหม่ หรือมีขั้นการผลิตที่สูงขึ้นแต่อย่างใด และไม่ควรที่จะมากีดกันองค์กรเภสัชกรรม ซึ่งสามารถผลิตยาต้านไวรัสนี้ออกมาได้เช่นกัน ด้วยสูตรผสม และปริมาณมิลลิกรัมต่อเม็ดที่แตกต่าง
(อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบด้านล่าง)

ท่ามกลางการต่อสู้กันพักใหญ่ ในหลายๆ รูปแบบ ประท้วง ประชุมสัมมนา รวมถึงการฟ้องคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญา ท้ายที่สุด นี่เป็นคดีแรกที่ฝ่ายประชาชนเป็นผู้ชนะ ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรยาดังกล่าว

ขณะเดียวกันประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะกับ 'สินค้า' อย่างยา กำลังเป็นประเด็นใหญ่ในการตกลงทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเอฟทีเอกับมหาอำนาจทั้งอเมริกา อียู เรื่องนี้จึงยังเป็นเรื่องสำคัญที่ยังมีการผลักดันกันต่อ แม้จะทำกันมานานนับทศวรรษแล้ว

ในวงประชุมวิชาการหัวข้อ 'ครบรอบ 10 ปี คำพิพากษาคดีสิทธิบัตรยาดีดีไอ' เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมก็ยังพูดกันถึงข้อห่วงกังวลนี้

"กระบวนการสกัดกั้นการเข้าถึงยา ไม่ใช่แค่เรื่องสิทธิบัตรโดยตรง แต่รวมถึงเอฟทีเอด้วย ภาคประชาชนได้เข้าไปจับตาดูเรื่องสิทธิบัตรแล้วก็พบว่า โครงสร้างของการพิจารณาให้สิทธิบัตรในบ้านเรามีปัญหา วันนี้ยังไม่แก้ เรายังพบการให้สิทธิบัตรในส่วนที่ไม่ควรจะได้รับ เขาได้รับการคุ้มครองยี่สิบปี เขาสามารถกำหนดราคา" สุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กล่าว

10 ปีผ่านมา ปัญหาพื้นฐานที่ยังเถียงกันไม่จบคือการพิจารณาสิทธิบัตร ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

"กระบวนการพิจารณาสิทธิบัตรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ไม่อย่างนั้นเราก็ต้องตามไปคัดค้านแบบนี้ไม่รู้เท่าไร ยาตัวไหนใกล้หมดสิทธิบัตร บริษัทก็ใช้วิธีขอ Evergreening Patent ไม่มีอะไรใหม่แต่ผสมสูตรใหม่นิดหน่อยก็มาจดอีก ทำให้ผูกขาดได้ตลอด ถ้ารู้ทันก็ไปขอถอนทัน แต่ถ้าไม่มีใครรู้ก็ได้การคุ้มครองไปอีกยี่สิบปี" สุภัทราย้ำ

เรื่องสิทธิบัตรไม่มีวันตาย หรือ Evergreening Patent ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะในประเทศไทย อุษาวดี มาลีวงศ์  นักวิชาการอิสระ  ระบุว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาร่วมของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย สถานการณ์ของกรณีบราซิล  อาเจนตินา แอฟริกาใต้ ก็ดูจะไม่แตกต่างกัน

อุษาวดียังนำเสนองานวิจัยที่ทำร่วมกับนักวิจัยของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อศึกษาสิทธิบัตรยาที่จัดว่าเป็น evergreening patent ซึ่งศึกษาคำขอรับสิทธิบัตรระหว่างปี 2542-2553  พบว่า ใน 11 ปีนี้มีคำขอรับสิทธิบัตรยา ประมาณ  2,000 กว่าฉบับ ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ของไทยเองมีเพียง 10 ฉบับ และพบว่าคำขอรับสิทธิบัตรเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น กว่า 84% เป็นเพียงการนำสารเคมีเดิมๆ มาผสมกันเท่านั้น และในจำนวนของ Evergreening Patent ทั้งหลาย ก็มียาต้านไวรัส สูตรผสมจากต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่ภาคประชาชนทำการคัดค้านคำขอสิทธินั้นๆ ไม่ทันภายใน 90 วันในช่วงประกาศโฆษณา (pre-grant  opposition) เล็ดรอดออกไป

อย่างไรก็ตาม ในคำขอจำนวนนี้ก็พบว่ามีการละทิ้งคำขอไปเองประมาณ 800 ฉบับ ยังอยู่ในกระบวนการขอรับสิทธิบัตร 1,500 กว่าฉบับ ส่วนที่ได้รับสิทธิบัตรไปจริงๆ มี 31 ฉบับ ซึ่งอาจเพราะเจ้าหน้าที่ในกรมฯ มีไม่เพียงพอที่จะพิจารณาอย่างรวดเร็ว

"เรามองว่าหากกรมทรัพย์สินทางปัญญามีคู่มือการพิจารณาความเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องสิทธิบัตรยา ก็จะผ่อนปรนปัญหาที่เกิดขึ้นได้" อุษาวดีกล่าว

ทางออกที่มีการนำเสนอเบื้องต้นของทีมวิจัยนี้ คือ การพัฒนาคู่มือที่จะใช้ในการพิจารณาความเหมาะสมในการออกสิทธิบัตร โดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ใช้เวลาดำเนินการในการจัดทำ 2 ปี จนกระทั่งร่างมาสำเร็จและส่งมอบให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 54 ผ่านมา 1 ปี แต่ยังไม่มีการตอบรับจากกรมฯ ว่าจะนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่

(ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรายละเอียดคู่มือดังกล่าวได้ที่ http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/123456789/3501 )

สำหรับเครือข่ายภาคประชาชนอย่างสุภัทรา นาคะผิว มองว่าใน การปฏิรูประบบการพิจารณาสิทธิบัตรยานั้นจะต้องมีสัดส่วนของเภสัชกรมากขึ้น เพราะปัจจุบัน คณะกรมการพิจารณาเรื่องนี้ไม่มีเภสัชอยู่เลย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ายาตัวไหนใหม่หรือไม่ใหม่ นอกจากนี้ในการเจรจาเอฟทีเอไม่ว่ากับสหรัฐ หรืออียู ต้องระมัดระวังอย่างสูง รัฐต้องยึดหลักชัดเจนว่าการเจรจาต่อรองกันจะต้องไม่กระทบกระเทือนกับการเข้าถึงยาของประชาชน เพราะสองมหาอำนาจนี้มีบริษัทยายักษ์ใหญ่จำนวนมาก และประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญหาโดยเฉพาะสิทธิบัตรยาก็เป็นประเด็นใหญ่ในข้อตกลง

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น แต่ท่ามกลางระบบที่เป็นอยู่  ก็ยังไม่มีทางออกที่น่าพอใจ

อัจฉรา เอกแสงศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตยาชื่อสามัญที่มีราคาถูก และร่วมมือกับภาคประชาชนในการต่อสู้กับบรรษัทยาในคดีดีดีไอ ระบุว่า ที่ผ่านมา 'เรา' ทำกันได้เพียงเล็กน้อยในการตรวจสอบและต่อสู้กับการจดสิทธิบัตรที่ไม่สมควร  ส่วนใหญ่ก็เป็นยาต้านไวรัส ซึ่งแล้วแต่ว่าเรารับรู้ข่าวสารหรือไม่ เมื่อไร แต่ไม่มี 'ระบบ' จับตา ตรวจสอบอย่างจริงจัง ทำให้ที่ผ่านมา มียาในลักษณะเดียวกันอีกหลายตัวที่เล็ดรอดได้สิทธิบัตรไปอย่างไม่ควรจะได้

นอกจากนี้เธอยังเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการต่อสู้เมื่อ 10 ปีที่แล้วในกรณีดีดีไอว่าประสบปัญหาและความยากลำบากในกระบวนการทางกฎหมายเพียงไร โดยเน้นว่าปัจจัยที่สำคัญในการต่อสู้คดีคือ ผู้พิพากษา หากโชคดีจะได้คนที่เข้าใจประเด็นอันสลับซับซ้อนทางยาได้ แต่ในบางกรณีก็จะพบว่าผู้พิพากษาไม่เข้าใจมากนัก

ที่น่าสนใจสำหรับงานอภิปรายคราวนี้ คือ เสียงจากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลทรัพย์สินทางปัญญา  คมน์ทะนงชัย ฉายไพโรจน์ ซึ่งแม้จะออกตัวว่าพูดได้ในเชิงวิชาการ ไม่สามารถพูดอะไรได้มากเพราะสถานะที่เป็นอยู่ แต่ก็ทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ หลายประเด็น

คมน์ทะนงชัย กล่าวว่า  สำหรับผู้พิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญานั้นคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะอยู่แล้ว แต่ต้องมีช่องให้ศาลสามารถพิพากษาได้ด้วย เขาเห็นว่า ตัวแปรสำคัญในการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ก็คือ 'ทนายความ'

"ทนายที่เก่งเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีน้อยมาก โดยเฉพาะสิทธิบัตรยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่ เพราะมันยากมากกว่าตัวอื่นๆ ท่านจะเอาเงินที่ไหนแพงๆ ไปจ่ายทนายเก่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่ไปอยู่บริษัทยา ไปอยู่ inter law firm หมด นี่คือปัญหาของท่าน ท่านต้องหาวิธีจะหาทนายเก่งมาฟ้องคดีเหล่านี้"

"เวลาเราพิจารณาพวกนี้ จากประสบการณ์ทำคดีทรัพย์สินทางปัญญามา 7-8 ปี จะเห็นว่าครึ่งหนึ่งที่แพ้คดีเพราะทนายไม่เก่งทรัพย์สินทางปัญญา เรานั่งฟังแล้วก็รู้สึกว่าทำไมไม่ถามประเด็นนี้ แต่เราพูดไม่ได้"

"คดีสิทธิบัตรที่มีการฟ้องเพิกถอน แล้วสั่งเพิกถอนมีประมาณ 80% ลองค้นสถิติดู  เพียงแต่ท่านอย่านิ่งเฉย อย่าช้า การยื่นคำคัดค้านต่อกรมทรัพย์สินเป็นเรื่องจำเป็น"

คมน์ทะนงชัย กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ไม่ว่าจะอย่างไร ผู้พิพากษาก็ต้องทำหน้าที่ภายใต้กฎหมายที่บังคับใช้ และขณะนี้กำลังมีแก้ไขกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ ท่ามกลางการกดดันของพี่เบิ้มอย่างอเมริกา ที่ขณะนี้ก็กำลังบีบบังคับญี่ปุ่นแก้กฎหมายเหล่านี้อยู่  ประเทศไทยเองก็กำลังแก้อยู่  ขอให้ภาคประชาชนช่วยกันจับตาและตรวจสอบในเรื่องนี้ด้วย

หัวหน้าองค์คณะผู้พิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญายังกล่าวอีกว่า การทำงานของศาลทรัพย์สินทางปัญญานั้น ผู้พิพากษาต้องทำการบ้านอย่างหนัก และศึกษาปฏิญญา กฎหมายระหว่างประเทศจำนวนมาก หากมีข้ออ้างอิงกับสิ่งเหล่านี้ ภาคประชาชนต้องรวบรวมมาให้ครบถ้วนและยื่นต่อศาลด้วย เพื่อความสะดวกของผู้พิพากษา  โดยยกตัวอย่างกรณีของดีดีไอที่ภาคประชาชนชนะคดี ก็จะเห็นว่า ศาลมีการหยิบยกปฏิญญามาใช้พิจารณาด้วย ทำให้ประเด็น "ผู้เสียหาย" ที่มีสิทธิฟ้องคดี ซึ่งโดยปกติตามวิแพ่ง วิอาญา ผู้ป่วยและเอ็นจีโอ ไม่อาจนับเป็นผู้เสียหายโดยตรงด้วยนั้นก็ถูกนับรวมในกรณีนี้ อีกทั้งยังมีการบรรยายในคำพิพากษาที่เป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญ คือ "ยาเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ แตกต่างจากทรัพย์สินอื่นที่ผู้บริโภคจะเลือกใช้หรือไม่ก็ได้"

"ถ้ามองในแง่คนใช้กฎหมายอยู่ทุกวัน  กรณีดีดีไอสังคมไทยได้อะไร ผมยังมองว่าอาจจะได้บ้าง แต่ยังได้ไม่มากพอ เพราะเหตุว่าปัจจุบัน ยาบางตัว มันราคาแพงแล้วโอกาสเข้าถึงยามันยาก สังคมไทยได้เฉพาะเรื่องนี้หรือยาบางตัว แต่ยาอีกหลายๆ ตัวที่ได้รับสิทธิบัตรผูกขาดกัน แล้วภาคองค์กรพัฒนาเอกชน ท่านยังไม่ได้เทคแอคชั่นสักเท่าไร ดังนั้นเรื่องนี้น่าจะเป็นงานหลักมากๆ ของท่าน"

นอกจากข้อเรียกร้องโดยตรงไปยังภาคประชาชนแล้ว คมน์ทะนงชัย ยังแสดงความเห็นในทางส่วนตัวว่า หากเปรียบเทียบกฎหมายสิทธิบัตรของไทย กับอินเดีย อินโดนีเซีย กระทั่งอเมริกา จะเห็นได้ว่ากฎหมายเรานั้นสมบูรณ์แบบ เข้มงวดในการคุ้มครองผู้ประดิษฐ์อย่างมากมาก ในขณะนี้ที่ระดับคุณภาพชีวิตของเรายังต่ำกว่าญี่ปุ่นและอเมริกาหลายช่วงตัว

 

การต่อสู้เรื่องสิทธิบัตร กรณียาดีดีไอ

ที่มา: เว็บไซต์เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แห่งประเทศไทย

 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดเชื้อฯ ไม่สามารถเข้าถึงยาได้ คือ ยามีราคาแพง เนื่องจากมีการผูกขาดจากบริษัทยาต่างประเทศ ที่มีสิทธิบัตรยา

การเคลื่อนไหวที่สำคัญเมื่อปี 2542 มีการรวมตัวของเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ที่หน้ากระทรวงสาธารณสุข โดยเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาเอาใจใส่ราคายาต้านไวรัส โดยยกกรณีของยาเม็ดดีดีไอมาเป็นกรณีตัวอย่าง โดยที่บริษัทบริสตอล ไมเยอร์ สควิปป์ หรือ BMS ไม่มีความชอบธรรมในการจดสิทธิบัตรยาตัวนี้ เนื่องจากในคำขอฉบับแรก มีการกำหนดขนาดของยา ไว้ที่ 5 - 100 มิลลิกรัมต่อหน่วยการใช้ยา แต่ในสิทธิบัตร ไม่ปรากฏขนาดของการใช้ยา ทำให้ขอบเขตครอบคลุมสิทธิบัตรยาเป็นไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถผลิตยาได้

ต่อมา เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ดำเนินการฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอ ในท้ายที่สุดบริษัท BMS ขอเจรจา โดยจะถอนสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา นั่นหมายถึง ยาเม็ดดีดีไอ ไม่มีสิทธิบัตรในประเทศไทยต่อไป

นี่จึงนับได้ว่าเป็นความสำเร็จหนึ่งในการต่อสู้ด้วยหลักการสำคัญ คือ ลดการผูกขาดการผลิตยาจากบริษัทยาข้ามชาติ สนับสนุนให้มีการผลิตยาราคาถูกในประเทศ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อฯ สามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมียาต้านไวรัสที่จำเป็นอีกหลายตัว ที่ยังมีราคาแพงอยู่ และจะเป็นปัญหา หากผู้ที่ดื้อยาแล้วต้องเปลี่ยนสูตรยา โดยจะทำให้โอกาสและทางเลือกในการใช้ยาของผู้ติดเชื้อฯ น้อยลง ซึ่งหนทางการต่อสู้เรื่องยาแพง จะยังไม่จบง่ายๆ เราจะต้องเดินหน้าต่อสู้เรื่อง "สิทธิบัตรยา" ต่อไป

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวยาดีดีไอ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวประเด็นการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (ซีแอล) เนื่องจากเราพยายามผลักดันให้รัฐบาลสมัยนั้น ผลิตยาดีดีไอชนิดเม็ด โดยใช้ช่องทางของมาตรการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสมัยนั้นยังไม่มีแนวคิดที่จะผลิต ทำให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาดีดีไอชนิดผง ซึ่งไม่ติดเงื่อนไขสิทธิบัตรออกจำหน่ายแทน

สรุปการฟ้องเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอ

เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยการช่วยเหลือของสภาทนายความ ดำเนินการฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอ โดยในเบื้องต้นได้ดำเนินการฟ้องบริษัท BMS ต่อ 'ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง' เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2544 ให้กำหนดขนาดการใช้ยาที่ระบุในสิทธิบัตรให้ชัดเจน ซึ่งจากเดิมในคำขอฉบับแรก กำหนดขนาดไว้ที่ 5 - 100 มิลลิกรัมต่อหน่วยการใช้ยา แต่ในสิทธิบัตรฉบับปัจจุบัน ไม่มีปรากฏขนาดของการใช้ยาในสิทธิบัตร ทำให้ขอบเขตครอบคลุมสิทธิบัตรยาเป็นไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถผลิตได้ หากผลิตก็อาจจะส่งผลให้เกิดการฟ้องร้อง เรื่องละเมิดสิทธิบัตรได้ ศาลจึงได้เชิญกรมทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นจำเลยร่วม ซึ่งศาลตัดสินพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยให้บริษัท BMS และกรมทรัพย์สินทางปัญญาแพ้คดี ต้องแก้ไขในข้อถือสิทธิ์ ให้ระบุขนาด "จาก 5 - 100 มิลลิกรัมต่อหน่วยขนาดใช้ยา" ในสิทธิบัตรเลขที่ 7600 แต่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และบริษัท BMS อุทธรณ์คำสั่ง และขอทุเลาคดี

ตุลาคม 2545 มีการฟ้องคดีที่ 2 โดยฟ้องบริษัท BMS และกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนสิทธิบัตรเลขที่ 7600 หรือสิทธิบัตรยาดีดีไอ ในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ได้มีการร้องขอต่อศาล ให้คุ้มครองชั่วคราว เพื่อให้องค์กรอื่นๆ สามารถผลิตยาได้ ในขณะที่คดีความกำลังดำเนินอยู่ โดยไม่เป็นการละเมิดสิทธิ

ในช่วงนี้ เครือข่ายฯ และองค์กรพันธมิตร ได้รณรงค์กับเพื่อนผู้ติดเชื้อฯ และเอ็นจีโอ ทั้งในประเทศและทั่วโลก ให้ร่วมกันส่งจดหมายถึงองค์การเภสัชกรรม ,กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรียกร้องให้องค์การเภสัชกรรม ฟ้องบริษัท BMS จนกระทั่ง สธ. มีคำสั่งให้องค์การเภสัชกรรม เป็นโจทย์ฟ้อง

มกราคม 2547 บริษัท BMS ขอเจรจา โดยจะขอถอนสิทธิบัตรหมายเลข 7600 จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีข้อสรุปว่า บริษัท BMS จะต้องดำเนินการถอนอุทธรณ์คดีที่ 1 เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะถอนการฟ้องคดีที่ 2 และบริษัท BMS จะต้องยื่นถอนสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา นั่นหมายถึง ยาเม็ดดีดีไอ ไม่มีสิทธิบัตรในประเทศไทยอีกต่อไป

 

* เรียบเรียงจากการประชุมเชิงวิชาการ 'ครบรอบ 10 ปี คดีเพิกถอนสิทธิบัตรยาดีดีไอ วันที่ 17 ตุลาคม 2555 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะรัฐศาสตร์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น