โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ASEAN Weekly: ธาราบุรี รัฐอุษาคเนย์โบราณกับระบบจัดการน้ำ

Posted: 03 Oct 2012 09:53 AM PDT

รับชมแบบ HD คลิกที่นี่

ในช่วงวัสสานฤดู ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคต่างเผชิญกับฝนตกหนักจนทำให้อุทกภัยนี้ ASEAN Weekly โดยสุลักษณ์ หลำอุบล และ อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช จะพาไปสำรวจเทคโนโลยีของชุมชนและรัฐโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการบริหารจัดการน้ำ ที่มีการออกแบบเครือข่ายชลประทานสำหรับรับมือกับฝนจากลมมรสุม รวมทั้งจัดการน้ำยามฤดูแล้ง ผสานกับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเทวราชาเกิดเป็นอาณาจักรกสิกรรมขนาดใหญ่อุบัติขึ้นในภูมิภาค โดย อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช จะไปพารู้จักกับอาณาจักรขอม ซึ่งเรืองอำนาจหลายศตวรรษ จากการสั่งสมเทคนิคการจัดการน้ำมาจากอาณาจักรโบราณก่อนหน้าคือ อาณาจักรฟูนันซึ่งชำนาญการค้าทางเรือ และการขุดคลองเพื่อระบายน้ำเค็มชายฝั่งทะเล และอาณาจักรเจนละซึ่งสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งกลายเป็นตระพังและบาราย สำหรับใช้ในพื้นที่ตอนในซึ่งแห้งแล้ง

ในตอนท้าย อ.ดุลยภาค แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติมในเรื่่องรัฐกสิกรรมโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ The Khmers โดย Ian Mabbett and David Chandler พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Blackwell Pub (1996) เล่มต่อมาที่แนะนำคือ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิ - อุษาคเนย์ภาคพิสดาร เล่ม 1 และ 2 (A History of South-East Asia) โดย D. G. E. Hall นักชาวประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งพิมพ์หนังสือดังกล่าวครั้งแรกในปี 1955 ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทยโดยมีชาญวิทย์ เกษตรศิริเป็นบรรณาธิการ และคณะผู้แปลประกอบด้วย วรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เพ็ชรี สุมิตร ชูสิริ จามรมาน เพ็ญศรี ดุ๊ก ม.ล.รสสุคนธ์ อิศรเสนา วิลาสวงศ์ พงศะบุตร แถมสุข นุ่มนนท์ และศรีสุข ทวิชาประสิทธิ์ พิมพ์โดย มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย นอกจากนี้ยังสามารถดาวโหลดแบบอีบุคได้ที่ http://www.openbase.in.th/textbookproject (เล่ม 1) (เล่ม 2)

 
 

ที่มาของภาพปก ดัดแปลงจากhttp://photozou.jp/photo/photo_only/238048/25257950?size=450 (CC)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รบ. ฟินแลนด์เริ่มใช้ "Open Ministry" เปิดให้ปชช. เสนอกฎหมายทางออนไลน์ได้แล้ว

Posted: 03 Oct 2012 09:53 AM PDT

หากผู้เสนอสามารถรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนร่างกฎหมายได้อย่างน้อย 50,000 คนภายในเวลา 6 เดือน  รัฐสภาฟินแลนด์ต้องพิจารณาร่างดังกล่าว โดยปชช. สามารถใช้รหัสออนไลน์แบงค์กิ้ง หรือโทรศัพท์มือถือ ร่วมลงนามสนับสนุนร่างกม. นั้นๆ ได้

3 ต.ค. 55 - เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยี gigaom รายงานว่า รัฐบาลฟินแลนด์ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม "Open Ministry" ที่สามารถรวบรวมรายชื่อประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายทางออนไลน์ได้แล้ว โดยหากผู้เสนอร่างกฎหมายสามารถรวมรวมรายชื่อพลเมืองที่สนับสนุนร่างกฎหมายได้ 50,000 คนภายในเวลา 6 เดือน รัฐสภาของฟินแลนด์จำเป็นต้องพิจารณาและตัดสินใจโหวตร่างกฎหมายดังกล่าว 

โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลฟินแลนด์ได้เริ่มใช้โครงการ "ความริเริ่มของพลเมือง" ("citizens' initiative") ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนริเริ่มการเสนอกฎหมายเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพลเมือง  โดยรัฐสภาต้องพิจารณาร่างกฎหมาย หากผู้เสนอสามารถรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนได้ 50,000 คนภายในเวลา 6 เดือน อย่างไรก็ตาม การรวบรวมรายชื่อ ยังใช้วิธีผ่านทางเอกสารเท่านั้น 
 
แต่โครงการดังกล่าว ได้เริ่มเข้าสู่ระบบออนไลน์แล้ว เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลได้เห็นชอบการใช้แพลตฟอร์ม "Open Ministry" ซึ่งสามารถทำให้ประชาชนเข้าร่วมเสนอกฎหมายผ่านทางออนไลน์ได้ โดยมีกลไกรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้ระบบเดียวกับธนาคารและผู้ให้บริการทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประชาชนสามารถลงชื่อเข้าร่วมเสนอกฎหมายได้ ด้วยการใช้รหัสธนาคารออนไลน์ (online banking) หรือโทรศัพท์มือถือ 
 
 
มีรายงานว่า ทางด้านธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ยังสนับสนุนการใช้ระบบความปลอดภัยดังกล่าวโดยไม่คิดเงิน ในฐานะที่เป็นนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท
 
โจนาส เพกานาน นักพัฒนาซอฟท์แวร์ไม่หวังผลกำไร ผู้คิดค้นระบบ "Open Ministry" กล่าวว่า เขาสนับสนุนให้ประเทศอื่นนำระบบนี้ไปใช้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นระบบโอเพ่นซอร์ส และอยู่บนเว็บไซต์ GitHub ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แบ่งปันซอร์สโค้ดสำหรับการเขียนโปรแกรมอย่างเสรี 
 
นักวิเคราะห์มองว่า สาเหตุที่ฟินแลนด์สามารถนำระบบนี้ไปใช้ได้สำเร็จ เนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองและวัฒนธรรมที่มีความเปิดกว้าง พลเมืองมีความตื่นตัวทางการเมืองและมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลฟินแลนด์ได้ดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกัน เช่น โครงการ Helsinki Region Infoshare ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เปิดให้ประชาชนส่งข้อมูลจากเมืองในด้านต่างๆ เช่น สภาพความเป็นอยู่ การคมนาคมขนส่ง การจ้างงาน เป็นต้น เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลแบบเปิดที่ให้พลเมือง ธุรกิจ หรือมหาวิทยาลัยเข้าไปใช้ได้ 
 
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก 
National Library of Finland Turns to Crowdsourcing, Games to Help Digitize Its Archives
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แนะรัฐต้องปรับตลอด ชี้ยุทธวิธีซ้ำๆ เปิดช่องครูถูกยิง

Posted: 03 Oct 2012 08:55 AM PDT

ประธานสมาพันธ์ครูนราธิวาสวอนเจ้าหน้าที่ปรับปรุงการข่าว-เปลี่ยนยุทธวิธีให้ทันกับกับฝ่ายโจร ย้ำโรงเรียนต้องประสานกับชาวบ้าน ครูต้องเอาชุมชนมาช่วย

นายสงวน อินทร์รักษ์ ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) ว่า ขณะนี้สมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาสยังไม่มีการประชุมหารือกรณีนายคมสันต์ โฉมยงค์ ครูโรงเรียนบ้านบองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 จึงยังไม่มีขอเสนอใดๆ ต่อภาครัฐ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่นักเรียนกำลังสอบและจะเริ่มปิดภาคเรียนในสัปดาห์หน้า

นายสงวน กล่าวว่า สมาพันธ์ครูจังหวัดนราธิวาสคงไม่ไปชี้นำแนวทางอะไรให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เพราะแนวทางที่ดำเนินการอยู่ก็ดีแล้ว เพียงแต่ต้องปรับปรุงด้านการข่าว ทราบมาว่าทางภาครัฐมีงบประมาณด้านการข่าวสูง แต่เหตุการณ์ร้ายยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแสดงว่าการข่าวไม่มีประสิทธิภาพ

"มาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีเจ้าหน้าที่ชุดคุ้มครองครูอย่างที่ทำอยู่ก็ดีอยู่ แต่ต้องเปลี่ยนยุทธวิธีบ้าง ไม่ใช่แบบเดิมตลอดไปเรื่อยๆ ฝ่ายโน้นเขารู้ยุทธวิธีฝ่ายเรา แต่เราไม่รู้ของฝ่ายเขา" นายสงวนกล่าว

สำหรับเหตุร้ายที่เกิดกับครูคมสันต์นั้น ไม่ใช่วเพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ชุดคุ้มครองครูคอบดูแล แต่เนื่องจากครูคมสันต์ไม่ทำตามระเบียบโดยกลับก่อนเวลา เพราะคิดว่าตนเองอยู่ในพื้นที่มากกว่า 3 ปี รู้จักกับชาวบ้านในพื้นที่จึงนำไปสู่เหตูการณ์ที่ไม่คาดคิดได้

เมื่อสอบถามถึงขวัญกำลังใจของข้าราชการครูในพื้นที่ ประธานสมาพันธ์ครูนราธิวาส กล่าวว่า ขณะนี้มีความกลัวมากขึ้นกว่าเดิมอีกและไม่เพียงข้าราชการที่เป็นคนพุทธเท่านั้น แม้แต่คนมุสลิมเองก็กลัว เพราะมีเรื่องของการห้ามค้าขายในวันศุกร์ซึ่งดูเหมือนความกลัวไม่กำกัดเฉพาะคนพุทธเท่านั้นในสถานการณ์วันนี้

"วันนี้ฝ่ายความมั่นคงต้องพิจารณาจุดบอดแล้วว่า อย่าให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก นี่เป็นครูรายที่ 153 แล้ว อีกด้านหนึ่งผู้นำศาสนา ชุมชนต้องร่วมมือกันแล้ว เพราะสถานการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่อย่างเดียวแล้ว แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนที่ต้องช่วยกัน" ประธานสมาพันธ์ครูกล่าว

นายสงวน กล่าวอีกว่า มีความจำเป็นที่โรงเรียนต้องประสานกับชาวบ้าน ต้องเอาชาวบ้านมาช่วยเหลือดูแลโรงเรียน ครูต้องประสานกับผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้านครูต้องทำความรู้จักและมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับชุมชนมากขึ้น

"เรื่องให้โรงเรียนประสานกับชุมชนนั้น ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เคยจัดสรรงบประมาณให้ แต่ก็ยังไม่เห็นรูปธรรมที่ชัดเจน ที่สำคัญครูต้องเข้าถึงชุมชนให้มากกว่านี้ ไม่ใช่แค่สอนหนังสือแล้วกลับบ้าน" นายสงวน กล่าว

ll

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปกาเกอะญอ จัดกิจกรรมมัดมือมัดใจสานวัฒนธรรมชุมชน

Posted: 03 Oct 2012 05:47 AM PDT

โครงการ มัดมือ มัดใจสานวัฒนธรรมชุมชน ตำบลสุเทพ อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.จัดเวทีคืนข้อมูลชุมชน และวางแผนประเพณีท้องถิ่น ในวันที่ 13  ตุลาคม  2555 ที่วัดจันทร์ ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ 

โดยนายสมควร ทะนะ ผู้รับผิดชอบโครงการมัดมือ มัดใจสานวัฒนธรรมชุมชน กล่าวว่า กิจกรรม เวทีคืนข้อมูลชุมชน และวางแผนงานประเพณีท้องถิ่น ที่จัดในครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เน้นสร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าของตนเองและศิลปวัฒนธรรมที่มี เกิดแกนนำเด็กที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติ รับผลประโยชน์และติดตามผลในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ปลูกฝังให้เกิดการหวงแหน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาชนเผ่า นำไปสู่การขยายผลให้เกิดเป็นแหล่งศึกษาภูมิปัญญาชนเผ่าต่อไป  

"โดยที่ผ่านมาได้ทีการจัดกิจกรรมไปแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน เก็บข้อมูลชุมชน แบบมีส่วนร่วม 2.กิจกรรม เวทีการเก็บข้อมูลชุมชน พิธีกรรมมัดมือ ประวัติศาสตร์ชุมชน อดีต ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน และ 3.การศึกษา รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ พิธีกรรม ความเชื่อของชนเผ่า ปกาเกอะญอ และเมื่อกิจกรรมครั้งนี้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้วจะมีการนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ข้างต้นคืนแก่ชุมชน ทั้งยังจะร่วมกันจัดทำและวางแผนการจัดงานประเพณีกี่จี๊ (ปลอดเหล้า) ซึ่งประเพณี กี่จี๊ หรือ ที่เรียกว่า ประเพณีมัดมือ ของคนชนเผ่าปกาเกอญอนี้ จะทำกันในวันปีใหม่ ด้วยการมัดมือเรียกขวัญกำลังใจ ให้ลูกหลาน และคนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งในปีนี้จะเน้นการจัดเป็นประเพณีกี่จี๊ปลอดเหล้าด้วย" นายสมควร ทะนะ กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจร่วมเวทีคืนข้อมูลชุมชน และวางแผนงานประเพณีท้องถิ่น ในโครงการมัดมือ มัดใจ สานวัฒนธรรมชุมชนนี้ สามารถมาร่วมงานกันได้ในวันที่ 13  ตุลาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ที่วัดจันทร์ ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 053-808253 หรือดูกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ที่www.artculture4health.com

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอบโลกแรงงานกันยายน 2555

Posted: 03 Oct 2012 05:11 AM PDT

แอฟริกาใต้ ยอมปล่อยคนงานเหมือง 'มาริกานา' 270 คนแล้ว

3 ก.ย. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ว่า ศาลประเทศแอฟริกาใต้ มีคำตัดสินปล่อยตัวคนงานเหมือง จำนวน 270 คน ซึ่งถูกจับกุมตัวระหว่างการประท้วงขอขึ้นค่าแรง จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทำให้คนงานถูกตำรวจยิงเสียชีวิตถึง 34 คน
แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลได้ยกเลิกข้อหาฆาตกรรมต่อคนงานเหมืองทั้งหมด เนื่องจากถูกสังคมประณามอย่างรุนแรง

เมื่อสัปดาห์ก่อน ศาลแอฟริกาใต้ตั้งข้อหาฆาตกรรม แก่คนงานเหมืองทั้ง 270 คน ซึ่งคำสั่งนี้ถูกประณามอย่างรุนแรงจากพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงสหภาพการค้า, กลุ่มนักเคลื่อนไหวและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายด้วย ขณะที่นายเจฟฟ์ ราเดบ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมออกมาขอรายงานชี้แจง จากสำนักงานอัยการ ถึงเหตุผลที่มีคำตัดสินดังกล่าว

ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ นางนอมจีโคโบ จิบา รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานอัยการแห่งชาติ ออกแถลงข่าวว่า อาจมีการยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมด แต่ต้องผ่านการพิจารณาในชั้นศาล ซึ่งล่าสุดศาลมีคำตัดสินปล่อยตัวคนงานเหมืองจำนวน 100 คนในวันจันทร์นี้ ส่วนอีก 170 คน ต้องรับฟังการพิจารณาคดีในวันพฤหัสบดีเสียก่อน

ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือน ส.ค. คนงานเหมืองแร่แพลทินัม 'โลนมินส์ มาริคานา' ก่อเหตุประท้วงเรียกร้องขอขึ้นค่าแรง แต่เหตุการณ์เริ่มบานปลายกลายเป็นการปะทะกันระหว่าง 2 ฝ่าย ซึ่งตำรวจยิงคนงานเสียชีวิต 34 คน ขณะมีตำรวจเสียชีวิต 10 นาย มีคนงานถูกจับกุม 270 คนและถูกตั้งข้อหาดังที่กล่าวข้างต้น แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกตั้งข้อหาฆ่าคนงานเหมืองเลย เพราะอ้างว่าเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่

ครูในเคนยากว่า 2 แสนคนนัดหยุดงานประท้วงขึ้นเงินเดือน 300%

3 ก.ย.55 - ครูชั้นประถมและมัธยมในเคนยา กว่า 200,000 คนหยุดงานประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง แม้ศาลเคนยาจะประกาศให้การนัดหยุดงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม

David Okuta Osiany เลขาธิการสหภาพครูแห่งชาติเคนยา (KNUT) กล่าวว่า พวกเขาจำเป็นต้องนัดหยุดงาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลปฏิเสธจะเจรจากับพวกเขา แม้ว่าจะมีการร้องขอแล้วหลายครั้ง โดยการหยุดงานครั้งนี้จะมีไปจนกว่ารัฐบาลจะทำตามข้อเรียกร้อง

ข้อเรียกร้องของพวกเขาคือ การเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงตามที่ระบุไว้ในประกาศ 543 เมื่อปี 2540 อาทิ ค่าเช่าบ้าน 50% ค่ารักษาพยาบาล 30% ค่าเดินทาง 10% และค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ทุรกันดาร 30% รวมถึงขอให้เพิ่มเงินเดือนขึ้น 300% ด้วย

เขากล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่มเงินเดือนให้กับแรงงานบางกลุ่ม แต่ไม่ขึ้นเงินเดือนครู โดยในเดือนกุมภาพันธ์ พวกเขาได้ทำหนังสือถึงนายจ้างเพื่อที่จะให้เปิดการเจรจาแต่ไม่มีการตอบรับใดๆ ทั้งนี้ พวกเขาบอกกับรัฐบาลว่า ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการเจรจา พวกเขาก็ไม่มีทางเลือก นอกจากเรียกร้องให้ครูอาจารย์ร่วมกันหยุดงาน พร้อมย้ำว่ารัฐบาลควรจะทำตามข้อตกลงที่เคยให้ไว้กับครู ตามประกาศปี 2540

นอกจากนี้ เขาปฏิเสธข่าวที่ระบุว่าพวกเขาปิดสำนักงานเพื่อหลีกเลี่ยงการแจ้งคำสั่งศาล โดยกล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถหนีไปไหนได้ เพราะมีสำนักงานใหญ่มากๆ อยู่ที่ไนโรบี ทั้งนี้ พวกเขายังไม่ได้รับหมายศาลใดๆ และว่า พวกเขาได้แจ้งล่วงหน้า 17 วันตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์แล้ว ดังนั้น ตามความเข้าใจของเขา คำสั่งศาลดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง
ด้านรัฐมนตรีศึกษาธิการของเคนยา Mutula Kilonzo เรียกร้องให้บรรดาครูที่หยุดงานกลับไปสอน และเตือนว่าพวกเขาจะถูกหักค่าจ้างตามจำนวนวันที่ขาดสอน พร้อมยืนยันว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

รมว.ศึกษาธิการกล่าวด้วยว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้เป็นการละเลยประโยชน์และสิทธิของนักเรียน ซึ่งได้รับการปกป้องตามรัฐธรรมนูญ พร้อมขอให้สหภาพครูฯ ใช้วิธีการตามรัฐธรรมนูญในการจัดการข้อพิพาท แทนการใช้สิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นวิธีการล้าสมัยเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทในภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ เขายังโจมตีด้วยว่า การนัดหยุดงานครั้งนี้เป็นการเมือง เพื่อขู่รัฐบาล เนื่องจากใกล้จะมีการเลือกตั้งระดับชาติ โดยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในปี 2545 และ 2547 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งไม่ว่าจะรัฐบาลใดก็ตาม

เขาบอกว่า แม้จะมีข้อตกลงเมื่อปี 2540 ระหว่างรัฐบาลและครู แต่รัฐธรรมนูญใหม่ที่เพิ่งใช้อาจจะไม่สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว พร้อมระบุว่า มีเพียงทางเดียวคือการเจรจา

ทั้งนี้ มีรายงานว่า ในอีก 2 เดือนครึ่ง นักเรียนประถมและมัธยมจะต้องเข้าสู่การสอบระดับชาติ แต่การไม่มีครูมาสอนดูจะเป็นการขัดขวางการเตรียมสอบของเด็กๆ มีการประมาณการว่า จะมีนักเรียนชั้นประถมศึกษากว่า 8 ล้านคน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษากว่า 1 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการนัดหยุดงานครั้งนี้

ที่โรงเรียนประถม Kawangware นักเรียนยังคงนั่งทบทวนบทเรียนในห้องเรียน แต่ไม่มีครูมาสอน Veronica Mulatia วัย 14 ปีบอกว่า การเตรียมสอบเป็นไปด้วยดี แต่ถ้าไม่มีครู พวกเขาก็อาจจะทำไม่ได้ดีนัก รวมถึงเรียกร้องถึงรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องของครูโดยเร็วเพื่อที่ครูจะได้กลับมาสอนและพวกเขาจะได้ทำข้อสอบได้

เยอรมนี..พนักงานดูแลผู้โดยสาร "ลุฟต์ฮันซา" ผละงานประท้วง

6 ก.ย. 55 - พนักงานดูแลความสะดวกของผู้โดยสารบนเครื่องของสายการบินลุฟต์ฮันซาของเยอรมนี ระบายความไม่พอใจที่ข้อเรียกร้องให้มีการขึ้นเงินเดือนไม่ได้รับการตอบสนอง พร้อมใจกันนัดหยุดงานที่สนามบิน 3 แห่ง รวมทั้ง 2 สนามบินที่ใหญ่ที่สุด คือ สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต และสนามบินมิวนิค ในการเผชิญหน้ากับคณะผู้บริหารของสายการบินที่ต้องการจะลดค่าใช้จ่าย

การนัดหยุดงานทำให้สายการบินลุฟต์ฮันซา ต้องยกเลิกเที่ยวบินประมาณ 300 เที่ยว เมื่อวานนี้ ส่วนใหญ่ของเที่ยวบินที่ถูกยกเลิกเป็นเที่ยวบินระยะสั้น และระยะกลาง และประมาณ 1 ใน 3 ของเที่ยวบินระหว่างทวีปถูกยกเลิก รวมทั้งเที่ยวบินที่จะไปและมาจากนครลอสแองเจลิส เมืองฮุสตัน นครชิคาโก กรุงปักกิ่ง และกรุงเม็กซิโกซิตี

สหภาพแรงงาน UFO ของพนักงานดูแลความสะดวกของผู้โดยสารบนเครื่องบิน เรียกร้องให้สมาชิกที่อยู่ในกรุงเบอร์ลิน นครหลวงของเยอรมนีผละงานเป็นเวลา 8 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 05.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 10.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย และให้สมาชิกที่อยู่ในนครแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งมีสนามบินที่พลุกพล่านที่สุดของเยอรมนี และเป็นศูนย์กลางหลักของสายการบินลุฟต์ฮันซา ผละงานเมื่อเวลา 06.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 11.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย

นอกจากนี้ สหภาพแรงงาน UFO ยังเรียกร้องให้สมาชิกที่ประจำที่สนามบินมิวนิค ทางภาคใต้ ซึ่งเป็นสนามบินที่พลุกพล่านที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี ผละงานนาน 11 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 18.00 น.ตามเวลาในประเทศไทยอีกด้วย

สหภาพแรงงาน UFO เริ่มการรณรงค์นัดหยุดงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาด้วยการผละงานนาน 8 ชั่วโมง ที่สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต และเตือนว่าจะนัดหยุดงานอีกหากสายการบินลุฟต์ฮันซา ไม่ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพวกเขา สหภาพให้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง ในการแจ้งเตือนว่า จะเริ่มการนัดหยุดงานที่ไหนและเมื่อใด

สหภาพแรงงาน UFO กำลังเรียกร้องขอเงินเดือนขึ้น 5% ให้กับพนักงานดูแลความสะดวกของผู้โดยสารบนเครื่องบินกว่า 18,000 คน หลังจากไม่มีการขึ้นเงินเดือนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แคดดี้วินด์เซอร์ รวมตัวปิดสนามไม่พอใจปลดหัวหน้า

6 ก.ย. 55 - เวลา 09.00 น. ได้มีพนักงานแคดดี้จาก สนามวินด์เซอร์ปาร์ค แอนด์ กอล์ฟ คลับ ถนนสุวิทวงศ์ กรุงเทพมหานคร ประมาณสองร้อยกว่าคนได้รวมตัวเดินทางมาประท้วงปิดถนนทางเข้าสนามกอล์ฟฯ ดังกล่าว สาเหตุสืบเนื่องจากทางฝ่ายผู้บริหารของสนามฯ ซึ่งมี นายประพันธ์ ศรีสุริยาพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการสนามฯ และนางกีรติกา วอห์ ผู้จัดการทั่วไปสนามฯ ได้มีคำสั่งปลดหัวหน้าแคดดี้ คือ นางรวงทอง วงศ์สลาม ออก เมื่อเย็นวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา

สำหรับในรายละเอียดการประท้วงของพนักงานแคดดี้สนามวินด์เซอร์ปาร์คฯ นั้นยังมีอีกหลายข้อที่แคดดี้ได้เรียกร้องและไม่พอใจในการบริหารของสนามฯ โดยมี นางธัญจิรา รีเรียบ อายุ 40 ปี เป็นตัวแทนกลุ่มของพนักงานแคดดี้ ทั้งนี้เพื่อจะขอเจรจากับ นายธีระยุทธ ฉายสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าของสนามฯ เพียงคนเดียวเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับวันนี้ (6 ก.ย.) สนามวินด์เซอร์ฯ ได้เปิดรับจองสนามแข่งขันไว้ 2 คอร์ส ที่ คอร์ส เอ-คอร์ส บี (18 หลุม) โดยมี สมาคมวิทยาการจราจรและขนส่ง ได้มาจัดแข่งขันกอล์ฟการกุศลฯ เพื่อปิดสนามครึ่งวันตอนบ่าย แต่ก็ต้องถูกยกเลิกออกไปโดยปริยาย นักกอล์ฟที่ซื้อก๊วนไว้ไม่สามารถเข้าไปในสนามได้ เพราะถูกบรรดาแคดดี้สนามวินด์เซอร์ปาร์คฯ ได้ปิดสนามทางเข้าไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จึงต้องทยอยถอยรถกลับบ้านไม่ได้ลงแข่งขัน และอีก 1 รายการของการแข่งขันกอล์ฟการกุศล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ซึ่งจะทำการแข่งขันในวันที่ 7 ก.ย.นี้ โดยปิดสนาม 4 คอร์ส
ในขณะเดียวกันนี้ ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจของท้องที่ สน.ลำผักชี ประมาณ 10 นาย ได้รุดมาสังเกตการณ์ตรงจุดเกิดเหตุที่มีการประท้วงของแคดดี้เกิดขึ้นครั้งนี้ และไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นแต่อย่างใด

ทางด้าน สนามวินด์เซอร์ปาร์คฯ หลังจากที่ทางฝ่ายแคดดี้ได้ประท้วงปิดทางเข้าสนามฯ โดยทางฝ่ายผู้บริหารฯ ได้มีคำสั่งสวนออกมาทันทีว่า ทางสนามฯ จะทำการปิดสนาม 4 คอร์ส ตั้งแต่วันที่ 6-9 กันยายน นี้ และจะประกาศให้ทราบอีกครั้งหนึ่งในวันต่อไป

รายงานข่าวล่าสุดได้แจ้งเพิ่มเติมอีกว่า การชุมนุมประท้วงของแคดดี้ที่ปากทางเข้าสนามกอล์ฟครั้งนี้จะต้องยืดเยื้ออย่างแน่นอน โดย นางธัญจิรา รีเรียบ หัวหน้ากลุ่มแคดดี้ ได้กล่าวว่า ทางเราจะไม่ขอเจรจากับฝ่ายผู้บริหารทางสนามฯ (ชุดปัจจุบัน) จะขอพบกับเจ้าของ คือ นายธีระ ฉายสว่างวงศ์ เพียงคนเดียวเท่านั้น ตัวแทนแคดดี้สนามฯ ได้กล่าวสั้นๆ

รายละเอียดการก่อตั้งของ สนามวินด์เซอร์ปาร์คฯ มี 18 หลุม สร้างขึ้นมากว่า 20 ปี ยุคแรกเดิมเป็นของกลุ่มสนามกอล์ฟปัญญาอินทราฯ นายปัญญา ควรตระกูล เป็นเจ้าของ ต่อมาได้ขายธุรกิจให้กับกลุ่มเนเชอรัลพาร์คฯ และมาตกทอดในมือกับ กลุ่มบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด ซึ่งได้ทำสนามเพิ่มอีก 2 คอร์ส ด้าน คอร์ส ซี และ คอร์ส ดี (รวม 4 คอร์สในปัจจุบัน) ล่าสุด

ชาวกรีซ และสเปน ต่างประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดอย่างต่อเนื่อง

7 ก.ย. 55  - การประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อรับมือกับวิกฤติหนี้ของยุโรป ยังคงเดินหน้าต่อไปในกรีซและสเปน โดยหลังจากถูกบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัดมานาน 2 ปีครึ่ง แผนการตัดลดค่าใช้จ่ายล่าสุด ก็ถูกนำออกมาใช้โดยรัฐบาลผสมภายใต้การนำของพรรคอนุรักษ์นิยของกรีซ สร้างความไม่พอใจให้ประชาชนอย่างรุนแรง จนเกิดการประท้วงของของคนบางกลุ่ม ที่ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงาน เช่น ตำรวจและผู้พิพากษา

ที่กรุงเอเธนส์ พบว่า ตำรวจ , เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณชายฝั่งหลายพันคน ได้เดินขบวนต่อต้านแผนการตัดลดค่าใช้จ่าย ภายใต้มาตรการรัดเข็มขัดขนานใหญ่และใหม่ล่าสุด เพื่อป้องกันไม่ให้กรีซผิดนัดชำระหนี้
ผู้ประท้วงที่มีราว 4 พันคน ต่างร้องตะโกนคำว่า " หัวขโมย " , " อัปยศส่งท้ายที่ไปลงที่กองกำลังรักษาความมั่นคง " และ " ออมาดูว่าพวกคุณนำความตกต่ำมาให้เราอย่างไร " ในระหว่างที่พวกเขาเดินขบวนไปยังกระทรวงการคลัง พวกเขายังจำลองตะแลงแกงตั้งไว้บนรถเปิดประทุน และมีป้ายติดว่า " ทรอยก้า " ซึ่งหมายถึงผู้ตรวจสอบมาตรการรัดเข็มขัดจากสหภาพยุโรป หรือ อียู , กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางแห่งยุโรป

เจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานบริการสาธารณะต่าง ๆ ได้แก่ ตำรวจ , เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณชายฝั่ง และเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ต่างยืนในสภาพที่มีห่วงคล้องอยู่ที่คอ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากหน่วยรักษาความปลอดภัย กล่าวว่า พวกเขามาประท้วงเพราะรัฐบาลได้รับปากก่อนการเลือกตั้งว่า จะขึ้นเงินเดือนให้ แต่กลับพบว่า เงินเดือนของพวกเขากลับลดลงไปอีก 6 เปอร์เซ็นต์

การประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างสันติ ได้มีขึ้นท่ามกลางความหมดหวังทางสังคม ขณะที่ตัวเลขอย่างเป็นทางการ แสดงให้เห็นว่า อัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้น 24.4 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนมิถุนายน รวมทั้งตัวเลขคนตกงานอีก 1 ล้าน 2 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว

นับเป็นการประท้วงล่าสุด เพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดล่าสุดเพื่อแลกกับแพ็คเกจช่วยเหลือมูลค่า 11,500 ล้านยูโร หรือราว 4 แสน 3 หมื่นล้านบาท สำหรับปี 2556 - 2557 จากบรรดาเจ้าหนี้ในกลุ่มยูโรโซน และไอเอ็มเอฟ

ส่วนที่กรุงมาดริด ของสเปน พบว่า ประชาชนหลายร้อยคนได้ไปรวมตัวกันอยู่ที่ด้านนอกสำนักงานใหญ่ของอียู เพื่อประท้วงต่อสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า เป็นการเข้าไปจุ้นจ้านต่อเศรษฐกิจของสเปนของเยอรมนี  และสร้างความเจ็บปวดให้ชาวสเปนทุกคน

การประท้วงในสเปน ได้มีขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรีแองเจล่า แมร์เคิล อยู่ระหว่างการเยือนสเปน เพื่อหารือเรื่องการรับมือกับวิกฤติการเงินในยุโรปที่ยังดำเนินอยู่ กับนายกรัฐมนตรีมาเรียโน่ ราฮอย ของสเปน โดยหัวข้อหลักคือการหาวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อ 17 ชาติสมาชิกอียู ที่นำไปสู่ปัญหาการว่างงาน และการตัดลดงบประมาณทั่วยูโรโซน ในขณะที่หลายประเทศที่ประสบปัญหาทางการเงินได้พยายามดำเนินตามมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อสะสางปัญหาหนี้สิน

นายราฮอย ไม่ได้ร้องขอเงินช่วยเหลือเพิ่มจากยูโรโซน แต่ทราบดีว่าต้องจัดการควบคุมเอง รัฐบาลของเขาต้องตัดงบประมาณรายจ่ายและปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อพยายามฉุดประเทศให้พ้นจากภาวะถดถอย และทำให้อัตราการว่างงานลดจากตัวเลข 25 เปอร์เซ็นต์ลงให้ได้ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศที่ใช้เเงินสกุลยูโร

ผู้ประท้วงในมาดริด ต่างไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัด โดยระบุว่า จะเป็นการดีกว่าถ้ารัฐบาลจะหันไปพุุ่งความสนใจในมาตรการที่จะสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ

คนงานพม่าประท้วงขอขึ้นเงินเดือนในนครย่างกุ้ง

8 ก.ย. 55 - คนงานโรงงานสิ่งทอราว 1,000 คน เดินขบวนประท้วงในนครย่างกุ้งวานนี้ (7 ก.ย.) เรียกร้องปรับเพิ่มเงินเดือนสูงขึ้น นับเป็นความเคลื่อนไหวของผู้ใช้แรงงานครั้งล่าสุดนับตั้งแต่สิ้นสุดยุคการปกครองระบอบเผด็จการทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ ซึ่งในเวลานี้แรงงานพม่ากล้าที่จะส่งเสียงเรียกร้องค่าแรงและสภาพการทำงานที่ดีขึ้น

ผู้ประท้วงเดินขบวนอยู่นานหลายชั่วโมงจากโรงงานของตัวเองไปยังสำนักงานแรงงานของรัฐบาลในนครย่างกุ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้เข้าขัดขวางแต่อย่างใดแม้การจัดการประท้วงครั้งนี้จะไม่ได้ขออนุญาตจากทางการก็ตาม

"เรามาที่นี่เพื่อขอขึ้นค่าแรง" แรงงานหญิงชาวพม่าคนหนึ่งที่มีรายได้ 90 ดอลลาร์ต่อเดือนรวมกับเงินล่วงเวลา กล่าว
"เมื่อครั้งที่โรงงานอื่นเผชิญกับการประท้วง นายจ้างของพวกเราโน้มน้าวเราไม่ให้ประท้วงและสัญญาว่าจะดูแลเราให้ดีขึ้น แต่พวกเขาให้แค่น้ำมันปรุงอาหารกับเราขวดเดียว ไม่มีอย่างอื่นอีก" แรงงานหญิงคนเดิมกล่าว

ลูกจ้างหลายร้อยคนที่โรงงานแห่งอื่นๆ ได้จัดการประท้วงเมื่อช่วงต้นปีเรียกร้องปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีขึ้นอยู่ด้านนอกโรงงาน

กฎหมายใหม่อนุญาตให้แรงงานผละงานประท้วงได้เมื่อนายจ้างได้รับแจ้งล่วงหน้าและอนุญาตให้จัดตั้งสหภาพแรงงาน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าแรงงานหลายคนรับทราบว่าตนเองมีสิทธิที่จะผละงานประท้วงแต่เข้าใจในข้อกฎหมายใหม่เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น.

สหภาพครูชิคาโกขอขึ้นเงิน สไตรค์ครั้งแรกในรอบ 25 ปี

10 ก.ย. 55 - สหภาพครูนครชิคาโก (ซีทียู) ซึ่งมีครูโรงเรียนรัฐบาลเป็นสมาชิกราว 25,000 คน นัดผละงานประท้วงเมื่อ 10 ก.ย. เพื่อเรียกร้องเงินเดือนสูงขึ้น 30% ระบบประเมินคุณภาพครูท่ีเหมาะสมยิ่งขึ้น และความมั่นคงในหน้าที่การงานมากขึ้น การผละงานประท้วงครั้งนี้ กระทบนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปลายราว 350,000 คน มีขึ้นหลังการเจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่เขตการศึกษาชิคาโก ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐฯ ประสบความล้มเหลว แต่ซีทียูยังเปิดช่องให้มีการเจรจากันต่อ นับเป็นการผละงานประท้วงของสหภาพครูชิคาโกครั้งแรกในรอบ 25

"ฟิลิปส์" ประกาศปลดคนงานเพิ่ม 2,200 ตำแหน่ง ชี้ต้องปรับโครงสร้างเพื่อความอยู่รอด

11 ก.ย. 55 - ฟิลิปส์ ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์จากเนเธอร์แลนด์ ประกาศวันนี้ (11) เตรียมปลดคนงาน 2,200 ตำแหน่งทั่วโลกตามแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ

รายงานข่าวระบุว่า ฟิลิปส์ตั้งเป้าตัดลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กรให้ได้เพิ่มเติมอีก 300 ล้านยูโร (ราว 11,936 ล้านบาท)จากการประกาศก่อนหน้านี้ที่ทางบริษัทเคยตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายเอาไว้ที่ 800 ล้านยูโร (ราว 31,832 ล้านบาท) ขณะเดียวกัน การตัดสินใจปลดคนงานอีก 2,200 ตำแหน่งยังถือเป็นการลดขนาดองค์กรครั้งที่ 2 ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว เพราะเมื่อปีที่ผ่านมา ฟิลิปส์เพิ่งสั่งปลดคนงานไป 4,500 ตำแหน่ง

ฟรานส์ ฟาน ฮูเทน ซีอีโอของฟิลิปส์ ออกมายืนยันว่า มาตรการปลดคนงานเพิ่มเติมถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อความอยู่รอดของบริษัท ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของยุโรป และจะช่วยลดทอนผลกระทบจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง

ขณะเดียวกันแหล่งข่าวภายในบริษัทซึ่งไม่เปิดเผยชื่อออกมายอมรับในวันนี้ (11) ว่า ทางผู้บริหารยังไม่สามารถเปิดเผยเป้าหมายทางธุรกิจสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ได้ แต่ยังคงมั่นใจว่าในปี 2013 ยอดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของฟิลิปส์จะมีการเติบโตระหว่าง 4-6 เปอร์เซ็นต์

HP เล็งลดพนักงานเพิ่มเป็น 29,000 คน หวังปรับโครงสร้างองค์กร

11 ก.ย. 55 - บริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด (HP) กำลังวางแผนเลิกจ้างพนักงานอีก 2,000 คน ซึ่งจะทำให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นเกือบถึง 29,000 คน ซึ่งถือความพยายามเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรของ HP เอกสารทั่วไปที่ทาง HP ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ระบุว่า ทางบริษัทคาดว่าจะปลดพนักงานราว 29,000 ตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปี 2555 จนถึงปีงบประมาณ 2557


ปากีสถาน ยอดผู้เสียชีวิตไฟไหม้โรงงาน 314 คน

13 ก.ย. 55 - เหตุเพลิงไหม้โรงงานสิ่งทอในนครการาจี ทางใต้ของปากีสถานได้เพิ่มเป็นอย่างน้อย 289 คน นับเป็นเหตุเพลิงไหม้ครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 65 ปีของปากีสถาน คาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยยังกู้ศพออกมาไม่หมด ส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ โดยพบคนงานจำนวนมากติดอยู่ในชั้นใต้ดิน หนีไม่ได้ เพราะโรงงานไม่มีทางหนีไฟฉุกเฉิน และมีทางเข้าออกเพียงทางเดียว นอกจากนี้ยังมีสิ่งของตั้งกีดขวางเต็มพื้นที่ทำให้ยากต่อการหนี และขาดอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ขั้นพื้นฐาน ทั้งเป็นสัญญาณเตือนภัย หรือสปริงเกลอร์ฉีดน้ำด้วย ซึ่งเมื่อรวมกับยอดผู้เสียชีวิตในเหตุเพลิงไหม้โรงงานรองเท้าที่เมืองลาฮอร์ ทางตะวันออกของปากีสถาน อีก 25 คน ก็ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตล่าสุดเพิ่มเป็น 314 คน

กรีซวิกฤติ! ว่างงานเพิ่ม แรงงานนัดหยุดงานประท้วง

14 ก.ย. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซ ได้รายงานตัวเลขอัตราว่างงานไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า อยู่ที่ร้อยละ 23.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก ร้อยละ 1 โดยในไตรมาส 2 ชาวกรีซ ลงทะเบียนว่างงาน กว่า 1.16 ล้านคน โดยกลุ่มคนหนุ่มสาว อายุไม่เกิน 24 ปี ว่างงานมากที่สุด ถึงร้อยละ 53.9 อายุ 25 - 29 ปี ว่างงานร้อยละ 36.8 แต่เมื่อแบ่งตามเพศ ปรากฏว่า ผู้หญิงว่างงานมากกว่า แบ่งเป็น เพศชาย ร้อยละ 20.8 และเพศหญิง ร้อยละ 27.3
นอกจากนี้ สื่อต่างประเทศ รายงานว่า กลุ่มสภาพแรงงานต่างๆ ในกรีซ ได้นัดที่จะหยุดงานประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลแบบเต็มรูปแบบ 24 ชั่วโมง ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ โดยเฉพาะโครงการตัดลดค่าใช้จ่ายกว่า 11,500 ล้านยูโร

ร้อง "เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า" ดูแลคนงาน กรณีไฟไหม้ในปากีสถาน

14 ก.ย. 55 - จากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ในโรงงานสิ่งทอทางตะวันตกของการาจีและในโรงงานทำรองเท้าในลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 315 ศพ และได้รับบาดเจ็บสาหัสกว่า 250 คน โดยเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้ นับเป็นเหตุเพลิงไหม้ครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 65 ปีของปากีสถาน

กลุ่มโครงการรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ หรือ Clean Cloth Campaign (CCC) ออกมาเรียกร้องให้บริษัทเจ้าของแบรนด์ต่างๆ แสดงความรับผิดชอบด้วยการปรับปรุงสภาพการทำงาน ใช้มาตรฐานแรงงานสากล รวมถึงทำงานร่วมกับผู้แทนแรงงานในการแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในทุกประเทศที่พวกเขาเข้าไปใช้แรงงานเพื่อหลีกเลี่ยงโศกนาฏกรรมที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งนี้ CCC มีข้อมูลว่า โรงงานอาลีเอ็นเทอร์ไพรซ์ในคาราจี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากเพลิงไหม้กว่า 300 คนนั้น ผลิตสินค้าส่งไปยังตลาดในยุโรป

สหภาพแรงงานในปากีสถานเรียกวันดังกล่าวว่า เป็นวันที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของแรงงานปากีสถาน และเรียกร้องให้มีการจับกุมเจ้าของโรงงานอาลี รวมถึงฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วย

ทั้งนี้ ในวันดังกล่าว ขณะที่เกิดเพลิงไหม้นั้น มีคนงาน 650-1,000 คนกำลังทำงานอยู่ในโรงงานของอาลีเอ็นเทอร์ไพรซ์ ไม่มีอุปกรณ์ดับเพลิงภายในโรงงาน การเสียชีวิตจำนวนมากเกิดจากการที่คนงานติดอยู่ในโรงงาน มีทางหนีไฟทางเดียวที่ใช้ได้ หน้าต่างถูกใส่กลอนและบันไดถูกปิด คนงานจำนวนมากเสียชีวิตเพราะกระโดดลงจากทางหน้าต่าง สหภาพแรงงานระบุว่า การจะระบุตัวแรงงานที่เสียชีวิตทำได้ยากเพราะคนงานเหล่านั้นไม่มีสัญญาจ้าง

สหพันธ์สหภาพแรงงานแห่งชาติในคาราจีระบุว่า แม้การที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจะทำให้มีการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางถึงเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าว แต่พวกเขามองว่า กรณีนี้เกี่ยวข้องกับการที่โรงงานเหล่านี้ไม่มีการควบคุมดูแลและการที่คนงานไม่สามารถรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานได้ด้วย

ฝ่ายค้านอินเดียชวนคนผละงาน

16 ก.ย. 55 - ว่านายแอลเค อัดวานี ผู้นำพรรคภารติยะชนตะ หรือบีเจพี ออกมาระบุว่าพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติที่นำโดยพรรคบีเจพีมีมติชักชวนคนผละงานทั่วประเทศในวันที่ 20 ก.ย. เพื่อประท้วงรัฐบาลที่ขึ้นราคาน้ำมันดีเซลและอนุญาตให้ต่างชาติลงทุนโดยตรงในธุรกิจค้าปลีก โดยเขาเชื่อมั่นว่าประชาชนที่ถูกบีบคั้นมานานจะหลุดพ้นจากภาวะนี้เสียที รัฐบาลควรฉลาดพอที่จะคิดได้ว่าไม่ควรรอจนกว่าจะถูกประชาชนแสดงประชามติในการเลือกตั้งปี 2557 รัฐบาลควรจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดและให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ

สหภาพครูชิคาโกประท้วงต่อ

17 ก.ย. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า สหภาพครูเขตการศึกษาเมืองชิคาโก ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ ประกาศผละงานประท้วงต่ออย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะบรรลุข้อตกลงที่น่าพอใจกับทางการ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเด็กนักเรียนทุกระดับการศึกษา ที่ต้องหยุดเรียนโดยปริยายเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน

ผลการประชุมของสหภาพฯเมื่อวันอาทิตย์ ระบุว่า เสียงส่วนใหญ่ต้องการให้มีการเดินหน้าประท้วงต่อ มากกว่าจะสลายการชุมนุม ส่งผลให้นายราห์ม เอมานูเอล นายกเทศมนตรีเมืองชิคาโก ประกาศเตรียมขอใช้อำนาจศาล ขอให้มีการสลายการชุมนุม เนื่องจากการผละงานประท้วงที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำโดยพละการ ฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐอิลลินอยส์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นเพียงการกระทำตามความต้องการส่วนตัวของครู โดยไม่คำนึงถึงอนาคตทางการศึกษาของเด็กนับหมื่นคน

ด้านนางคาเรน ลูว์อิส ประธานสหภาพฯ แถลงตอบโต้ว่า จะให้เวลาทางการเมืองชิคาโกพิจารณาข้อเสนอในการขึ้นเงินเดือน และการปรับปรุงระบบพิจารณาคุณภาพครู จนถึงวันอังคารที่ 18 ก.ย. นี้ หลังจากนั้นทางสหภาพฯจะหารือกับสมาชิกครูกว่า 26,000 คนต่อไป

การประท้วงใหญ่ของสหภาพฯในรอบ 25 ปี สั่นคลอนคะแนนนิยมของประธานาธิบดีบารัค โอบามาในเมืองชิคาโกได้พอสมควร เนื่องจากเป้าหมายหลักของการประท้วงอยู่ที่นายราห์ม เอมานูเอลนายกเทศมนตรีเมืองชิคาโก ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าคณะทำงานประจำทำเนียบขาวของนายโอบามา

คนงานเมืองแพลตินัมแอฟริกายอมรับค่าแรง

19 ก.ย. 55 - การผละงานประท้วงเพื่อเรียกร้องขึ้นค่าแรงงานเพิ่มของคนงานเหมืองแร่ในแอฟริกาใต้ สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อวานนี้ (19 ก.ย.) หลังจากที่คนงานเหมืองยอมรับข้อเสนอขึ้นค่าแรงให้อีก 22 เปอร์เซ็นต์ หลังจากการผละงานนานถึง 6 สัปดาห์ และเกิดการปะทะกันขึ้น จนเป็นเหตุให้มีคนงานเหมืองเสียชีวิตถึง 45 คน ในที่สุด ความขัดแย้งระหว่างคนงานกับเจ้าของเหมืองเกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างแรงงานก็สิ้นสุดลง เมื่อวานนี้ เมื่อคนงานเหมืองในบริษัทเหมืองแพลตินัม ลอนมินส์ มาริคานา ซึ่งชุมนุมรอฟังข่าวกันอยู่ที่สนามฟุตบอลใกล้เหมืองแร่ ได้รับแจ้งว่า นายจ้างยินยอมจ่ายขึ้นค่าแรงให้กับพวกเขาอีก 22 เปอร์เซ็นต์ โดยทั้งหมดจะกลับเข้าทำงานตามปกติในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.)

พนง.เปอโยต์ ซีตรอง ชุมนุมประท้วงบริษัท "ปิดโรงงานใหญ่" ลอยแพพนักงานกว่า 8 พันคน

21 ก.ย. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 21 ก.ย.ว่า พนักงานของบริษัทรถยนต์เปอโยต์ ซีตรองจัดการชุมนุมประท้วงกลางกรุงปารีส

เพื่อประนามบริษัทที่ปลดพนักงานกว่า 8 พันคน ทั่วประเทศ โดยการประท้วงนี้มีขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลแลงด์ ได้เจรจากับกลุ่มสมาชิกสหภาพ และสัญญาว่าจะเปิดการเจรจาสามฝ่ายระหว่างซีตรอง

รัฐบาล และสหภาพ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ซีตรองต้องเผชิญกับภาวะยอดขาดตกก่า 50 เปอร์เซนต์ และต้องประกาศลดพนักงานเป็นจำนวนดังกล่าว และปิดโรงงานใหญ่ในเมืองอุลเนย์

รายงานระบุว่า ที่ผ่านมา เปอโยต์ ซีตรอง ซึ่งเป็นบริษัทผุ้ผลิตรถยนต์อันดับสองของยุโรป เพิ่งเข้าสู่การร่วมเป็นพันธมิตรกับเจเนอรัล มอเตอร์ส ของสหรัฐ เพื่อหวังปรับโครงสร้างการบริหาร

หลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก โดยก่อนหน้านี้ เปอโยต์ ซีตรอง ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ได้ถอนตัวออกจากตลาดหุ้นฝรั่งเศส และประสบปัญหายอดขายตกเรื่อยมา

ชาวสเปน ประท้วงต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัด

22 ก.ย. 55 - ชาวสเปน หลายร้อยคน รวมทั้ง ชนพื้นเมืองจำนวนมาก พากันเดินขบวนกลางกรุงมาดริด ประท้วงนโยบายประหยัดรัดเข็มขัดของรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างรุนแรง ทั้งนโยบายปรับขึ้นภาษีไม่เฉพาะกับกลุ่มคนรวย ทำให้ กลุ่มคนยากจนได้รับผลกระทบไปด้วยขณะที่ รัฐบาล ยังไม่ตัดสินใจกู้เงินต่างชาติเยียวยาแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สินของประเทศ อีกทั้ง อัตราการว่างงานของประชาชน สูงขึ้นเรื่อย ๆ อยู่ที่เกือบ 1 ใน 4 คน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เคยรุ่งเรือง กลับมาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง  สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ แย่ลงตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา   

แอฟริกาใต้ ประท้วงนัดหยุดงานครั้งใหญ่

26 ก.ย. 55 - การนัดหยุดงานของผู้ใช้แรงงานในแอฟริกาใต้ แพร่กระจายจากกิจการเหมืองแร่ ไปยังภาคขนส่ง และสหภาพแรงงานการขนส่งของแอฟริกาใต้ ประกาศว่า พนักงานการขนส่งทางถนนกว่า 2 หมื่นคน กำลังนัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้องเงินเดือนเพิ่ม

สหภาพแรงงานการขนส่งและพันธมิตรแอฟริกาใต้ หรือ SATAWU เปิดเผยว่า พนักงานการขนส่งทางถนนกำลังเรียกร้องเงินเดือนขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์

นายวินเซ็นต์ มาโซกา โฆษก SATAWU แถลงว่า พนักงานในมณฑลโกเต็ง ปฏิเสธข้อเสนอที่จะขึ้นเงินเดือนให้ 8.5 เปอร์เซ็นต์ ช่วงเช้าวานนี้ โดยพนักงานต้องการให้มีการขึ้นเงินเดือนเท่ากันทั่วประเทศ คือ 12 เปอร์เซ็นต์

ในนครโจฮันเนสเบิร์ก คนขับรถบรรทุกที่นัดหยุดงานมารวมตัวกันสำแดงพลัง และใช้ก้อนหินขว้างปาเข้าใส่รถบรรทุกที่ผ่านไปผ่านมา

สเปนล้อมรัฐสภาท้วงแผนรัดเข็มขัด ปะทะตร.เจ็บหลายสิบ

26 ก.ย. 55 - ชาวสเปนหลายพันคน รวมตัวประท้วงแผนรัดเข็มขัดของรัฐบาล ที่หน้าอาคารรัฐสภาสเปนในกรุงมาดริด และเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ จนมีผู้บาดเจ็บหลายสิบราย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 26 ก.ย. ว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ชาวสเปนหลายพันคน รวมตัวประท้วงที่หน้ารัฐสภาสเปนในกรุงมาดริด เพื่อคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัด และเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล จนมีผู้บาดเจ็บและถูกจับกุมหลายสิบราย ขณะที่รัฐบาลสเปนเตรียมประกาศร่างงบประมาณปี 2013 ในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งคาดว่า จะมีการตัดงบรายจ่ายจำนวนมาก เพื่อลดการใช้งบประมาณให้ได้ตามเป้า
ผู้ประท้วงหลายพันคน รวมตัวกันที่จัตุรัส ปลาซา เดอ เนปตูโน และก่อตัวเป็นสายโซ่มนุษย์ล้อมรอบอาคารรัฐสภา ซึ่งมีแผงกั้น, รถบรรทุก และตำรวจในชุดปราบจลาจลอีก 1,500 คน คอยคุ้มกัน เหตุความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อผู้ประท้วงบางส่วนพยายามฝ่าแผงกั้นของเจ้าหน้าที่ ทำให้ตำรวจต้องยิงสกัดด้วยกระสุนยาง และทุบตีผู้ประท้วงด้วยกระบอง ก่อนจะกลายเป็นการใช้กำลังเพื่อเคลียร์พื้นที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 32 ราย เป็นตำรวจ 4 นาย และมีผู้ประท้วงถูกจับ 22 คน

หลังจากกลุ่มผู้ประท้วงเบาบางลง เหล่าสมาชิกสภาก็เดินทางกลับด้วยรถยนต์ส่วนตัว บ้างเดินเท้าแม้จะยังมีผู้ประท้วงอีกราว 300 คนที่หน้าอาคารรัฐสภา

การประท้วงดังกล่าวถูกปลุกระดมผ่านอินเทอร์เน็ต โดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวหลายกลุ่มที่เบื่อหน่ายและผิดหวัง กับมาตรการตัดลดเงินเดือนสาธารณะ รวมถึงงบประมาณสุขภาพและการศึกษา จนเงินเดือนของประชาชนบางกลุ่มเหลือเพียง 8,000 ยูโร (ราว 3.19 แสนบาท) เท่านั้น

ชาวสเปนรวมตัวประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด

30 ก.ย. 55 - ชาวสเปนหลายพันคน ได้ไปรวมตัวกันตามถนนหลายสายในกรุงมาดริด เมื่อวันเสาร์ เพื่อประท้วงที่พวกเขาต้องทนรับความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจที่บาดลึกลงเรื่อย ๆ จากการตัดลดงบประมาณต่าง ๆ ภายใต้การมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวด

ผู้ประท้วงได้บุกไปที่หน้าอาคารรัฐสภาเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ในสัปดาห์นี้ เพื่อแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงต่อการขึ้นภาษี , การตัดลดงบประมาณของรัฐบาล และตัวเลขคนว่างงานที่พุ่งขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงที่้สุดในกลุ่ม 17 ชาติสมาชิก ที่ใช้เงินสกุลยูโร

ฝูงชนยังได้ส่งเสียงอึกทึกและเป่านกหวีดใกล้กับอาคารรัฐสภา และร้องตะโกนขับไล่รัฐบาลอนุรักษ์นิยมภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมาเรียโน่ ราฮอย ก่อนจะกลายเป็นความรุนแรงในช่วงเย็น เมื่อผู้ประท้วงเริ่มขว้างปาก้อนหินเข้าใส่ตำรวจ และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 1 คน

การประท้วงใกล้อาคารรัฐสภา เมื่อคืนวันอังคารและวันพุธที่ผ่านมา ได้กลายเป็นความรุนแรงเช่นกัน เมื่อผู้ประท้วงปะทะกับตำรวจปราบจลาจล ที่กั้นเครื่องกีดขวางตามถนนสายต่าง ๆ ที่มุ่งสู่อาคารที่ทำการรัฐบาล ทำให้มีผู้ถูกจับกุมและบาดเจ็บหลายสิบคน ซึ่งเมื่อวันศุกร์ ฝ่ายบริหารของนายกรัฐมนตรีราฮอย ได้เสนอร่างงบประมาณประจำปี 2556ที่่มีการตัดลดค่าใช้จ่ายลงอีก 4 หมื่นล้านยูโร หรือราว 1 ล้าน 5 แสนล้านบาท , ระงับการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ และตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ของคนว่างงาน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายสำหรับสมาชิกในพระราชวงศ์สเปนลง 4 เปอร์เซ็นต์ด้วย

นายกรัฐมนตรีราฮอย ได้เดินหน้าผลักดันมาตรการรัดเข็มขัดหลายระลอก ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เพื่อพยายามปกป้องสเปนไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องรับความช่วยเหลือทางการเงินแบบเดียวกับโปรตุเกส , กรีซ และไอร์แลนด์ พวกนักลงทุนที่วิตกต่อความเปราะบางของเศรษฐกิจสเปน ต่างถอนตัวออกจากตลาดสเปน ทำให้ธนาคารพาณิชย์ของสเปนหันมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น

ธนาคารหลายแห่งของสเปน ที่ได้รับผลกระทบจากฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ และกำลังรอความช่วยเหลือทางการเงิน 1 แสนล้านยูโร หรือราว 3 ล้าน 8 แสนล้านบาท จากกลุ่มยูโรโซน และนายกรัฐมนตรีราฮอย ยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่า จะขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางของยุโรป หรือ อีซีบี ให้ช่วยซื้อพันธบัตรของสเปนหรือไม่ ด้านนายคริสโตบัลมอนโตโร่ รัฐมนตรีคลัง ระบุว่า การตัดลดงบประมาณสำหรับปีหน้า เป็นสิ่งจำเป็นต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดในตลาด และการลดอัตราดอกเบี้ยลง ก็จะช่วยให้นักลงทุนหันกลับมาซื้อพันธบัตรของสเปนเพิ่่มมากขึ้น
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ประชาไท, สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดใจ "สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ประธานทีดีอาร์ไอคนใหม่

Posted: 03 Oct 2012 02:09 AM PDT

หมายเหตุ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในตำแหน่งประธานสถาบัน  โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ดำรงตำแหน่งประธานสถาบันทีดีอาร์ไอ  และ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นนักวิชาการกิตติคุณ  มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป.

 



 

สังคมจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ จากทีดีอาร์ไอยุคใหม่
สมเกียรติ: ทีดีอาร์ไอตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2527 ตอนนี้มีอายุ 28 ปีแล้ว เราสะสมทุนทางปัญญาความรู้มาอย่างต่อเนื่อง ช่วงที่ผ่านมาก็มีตั้งแต่ช่วงที่ก่อร่างสร้างตัว ถ้าเปรียบเป็นคนก็เป็นเด็ก ถึงวันนี้ทีดีอาร์ไออายุเกินเบญจเพสแล้ว อยู่ในวัยที่น่าจะมีกำลังวังชามากที่สุด ด้วยชื่อเสียงและความเข้มแข็งขององค์กรที่สะสมมาเกือบสามสิบปีจากผู้บริหารหลายรุ่นก่อนหน้า ทำให้เรามีความพร้อมที่จะก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่ง ก้าวต่อไปที่ว่านี้ก็คือ การทำให้ทีดีอาร์ไอมีส่วนช่วยสังคมมากขึ้นในการวิเคราะห์ ในการผลักดันนโยบายสาธารณะ ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนจริงๆ มากขึ้น

ที่ผ่านมาเราเน้นการทำวิจัยมาก การวิจัยถือว่าเป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว แต่การทำวิจัยในยุคที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเมืองในการกำหนดนโยบายเปลี่ยนไป การทำวิจัยเชิงนโยบายที่จะให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มันก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย เปลี่ยนตั้งแต่วิธีตั้งโจทย์ กระบวนการตั้งโจทย์วิจัยควรดึงผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่มีพลังต้องการปฏิรูปกลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันมากขึ้น

ในการทำวิจัย เรายังต้องคงคุณภาพของการวิจัยไว้ เพราะเป็นหัวใจของความเป็นนักวิชาการ แต่หลังจากทำวิจัยเสร็จแล้ว ต้องมีกระบวนการทำงานร่วมกับสังคมในการสื่อสารความคิด ทำงานกับผู้กำหนดนโยบายและผลักดันให้นโยบายที่ควรจะเป็นเกิดขึ้นได้จริง

ทีดีอาร์ไอยุคต่อไปจะให้น้ำหนักกับการตั้งโจทย์วิจัยที่มีความหมายกับสังคมและดึงผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการตั้งโจทย์วิจัย รวมถึงการจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ โดยทำงานร่วมกับสังคมเพิ่มมากขึ้น

อาจารย์ประเมินบทบาทที่ผ่านมาของทีดีอาร์ไออย่างไร เจตนารมณ์ของทีดีอาร์ไอคือการเป็น think tank ที่มีความเป็นอิสระ 28 ปีผ่านไป เราไปถึงจุดนั้นแล้วหรือยัง
เรื่องความเป็นอิสระน่าจะเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ความเป็นอิสระขององค์กรนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ด้วยการที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานในสังกัดของรัฐ ผู้ก่อตั้งทีดีอาร์ไอมีวิสัยทัศน์อยากให้ทีดีอาร์ไอเป็นหน่วยงานวิจัยด้านนโยบายที่มีความอิสระจากรัฐ โดยตั้งเป็นมูลนิธิ

ในด้านความเป็นอิสระทางการเงิน เราก็ประสบความสำเร็จ แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่จะมาจากการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐในการช่วยแก้ปัญหาทางนโยบายต่างๆ ก็ตาม แต่ว่าแหล่งเงินทุนได้กระจายไปหลายหน่วยงานมาก ไม่ได้พึ่งหน่วยงานใดหน่วยงานเดียว และมีนโยบายที่ไม่ได้เน้นการเพิ่มรายได้ จึงเป็นโมเดลทางการเงินที่สร้างความมีอิสระได้ดี ประกอบกับความเป็นอิสระของนักวิชาการข้างในเอง ที่แต่ละคนรักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ผนวกกับพลังทางวิชาการที่สะสมมาอย่างยาวนาน ทำให้สถาบันมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง

แล้วในแง่ความเป็น think tank
สำหรับด้านความเป็นสถาบันวิจัยด้านนโยบาย ในแง่ของการวิเคราะห์นโยบายน่าจะได้ผลดีพอสมควร นักวิชาการในสถาบันหลายคนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ตั้งแต่อาจารย์อัมมาร สยามวาลา ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความเชื่อถือสูง นักวิจัยหลายคนในสถาบันก็ได้รับความเชื่อถือจากสังคมสูง เพราะฉะนั้น มองในมุมของการเป็นคลังสมองในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบายนั้นถือว่าทำได้ดี

จุดที่ยังทำได้ไม่ค่อยดีก็คือ เมื่อวิเคราะห์และนำเสนอนโยบายแล้ว เอาข้อเสนอเชิงนโยบายนั้นไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง จุดนี้ยังเรียกว่าประสบความสำเร็จไม่มากเท่าไร

แต่ก็มีบางเรื่องที่ถือว่าประสบความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น การยกเลิกพรีเมี่ยมข้าว ซึ่งถือว่ามีผลสำคัญในการช่วยเกษตรกร เรื่องการเปลี่ยนจากนโยบายจำนำสินค้าเกษตรไปสู่นโยบายการประกันราคา หรือที่เรียกกันว่าประกันรายได้ เราก็มีส่วนช่วยร่วมกับนักวิชาการอื่นๆ ทำให้เกิดผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ แต่น่าเสียดายที่เมื่อมีผลเปลี่ยนแปลงไปแล้วมันไม่ยั่งยืน กลับมาเป็นนโยบายการจำนำสินค้าเกษตรและก็มีปัญหามากมายในปัจจุบัน แต่อย่างน้อยก็ทำให้สังคมได้เห็นว่า มีทางเลือกในการช่วยเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพ และมีการกระจายรายได้ที่ตรงเป้ามากกว่า

เรื่องนโยบายด้านการปฏิรูปสื่อ เราก็มีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายร่วมกับภาคีปฏิรูปสื่อ จนเกิดผลรูปธรรมหลายเรื่อง เช่น การทำกฎหมายเกี่ยวกับสื่อ 3–4 ฉบับ เช่น กฎหมาย กสทช. ซึ่งทำให้ การแต่งตั้งกรรมการ กสทช. เกิดขึ้นได้จริง หลังจากล่าช้าตั้งไม่ได้มาหลายปี และกสทช. กลายเป็นองค์กรกำกับดูแลที่น่าจะถูกตรวจสอบได้มากขึ้น แม้จะยังมีปัญหาอยู่มาก กฎหมายการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ ปี 2551 ซึ่งทำให้มีทีวีดาวเทียมเกิดขึ้นมาหลายร้อยช่องตามความต้องการของตลาดที่อยากจะมีอยู่แล้ว กฎหมายก็ออกมาเสริมให้เกิดขึ้นได้ เกิดเคเบิลทีวีที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และกฎหมายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ปี 2551 ซึ่งทำให้เกิดทีวีสาธารณะคือ ไทยพีบีเอส

บางเรื่องคนทำวิจัยเองก็ไม่รู้ว่าการทำวิจัยทำเกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย เช่น เรื่องของตลาดทองคำ ที่เราทำวิจัยแล้วส่งผลในการนำการค้าทองคำเข้ามาอยู่ในระบบ โดยยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ระบบการค้าทองคำล่วงหน้าอย่างที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้เป็นไปได้ เรื่องนี้คนในวงการนำมาเล่าให้ฟังทีหลังว่า เป็นผลมาจากการศึกษาของทีดีอาร์ไอ โดยอาจารย์นิพนธ์ (พัวพงศกร) และอาจารย์เดือนเด่น (นิคมบริรักษ์)

ตัวอย่างทำนองนี้มีอยู่พอสมควร แต่ถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เราก็ยังรู้สึกว่ายังทำงานส่วนนี้ได้ไม่เต็มที่ เมื่อเทียบกับศักยภาพของนักวิจัยที่มีอยู่ เราควรจะทำได้ดีกว่านี้อีก และเมื่อเทียบกับความคาดหวังของสังคมแล้ว เราควรจะทำได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า

การผลิตบทวิเคราะห์ การทำงานวิชาการ และความเป็นอิสระนั้น ทีดีอาร์ไอทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี แต่การสร้างผลกระทบ สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมยังเป็นโจทย์ท้าทายให้ทีดีอาร์ไอต้องทำงานหนักขึ้น อาจารย์จะตอบโจทย์นี้อย่างไร
การสร้างผลกระทบทางนโยบายทำได้ยากขึ้น เพราะว่าสภาพแวดล้อมในการกำหนดนโยบายเปลี่ยนไปมาก แต่เดิม ซึ่งเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วก็ยื่นให้ผู้มีอำนาจ ผู้มีอำนาจเห็นด้วยก็นำไปปฏิบัติ มันตรงไปตรงมา มันง่าย แต่สภาพแวดล้อมในการกำหนดนโยบายในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น การเมืองเป็นประชาธิปไตย มีกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าอดีต ภาคประชาสังคมและประชาชนก็เข้มแข็งขึ้น การกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะในยุคที่มีความขัดแย้งสูงอย่างในปัจจุบัน ทำได้ยากมาก อันนี้เป็นความท้าทายใหม่ เป็นสภาพแวดล้อมใหม่ซึ่งทุกคนประสบ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมก็บ่นว่า จะรวมตัวกันเสนอนโยบายกับรัฐบาลอย่างไรให้เกิดผล ก็ทำกันได้ยาก เพราะรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกันไปเรื่อย

ความท้าทายนี้ทำให้เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานของเรา ต้องมาคิดรูปแบบในการทำงานใหม่ การทำงานประเภทที่ว่า ได้โจทย์วิจัยมาจากหน่วยงานรัฐ หรือมีผู้มีอำนาจสั่งให้มีโจทย์วิจัยอย่างนั้นอย่างนี้ ทำงานวิจัยออกมา วิเคราะห์อย่างดี จัดทำข้อเสนอแนะให้รัฐบาล แล้วหวังว่าจะเกิดผล มันทำได้ยากแล้วในยุคปัจจุบัน ที่สำคัญไม่มีใครจะกำหนดโจทย์วิจัยที่เป็นโจทย์สำคัญจริงๆ ของประเทศ ถ้าให้หน่วยราชการกำหนดโจทย์ก็จะกำหนดแต่โจทย์ที่เกี่ยวข้องเฉพาะหน่วยงานของตนเอง กรมใครกรมมัน สำนักงานใครสำนักงานมัน กระทรวงใครกระทรวงมัน มันไม่มีโจทย์ที่เป็นปัญหาใหญ่ๆ จริงๆ ของประเทศ ปัญหาใหญ่ๆ มันข้ามกระทรวง ทบวง กรม เช่น ปัญหาความยากจนมันกินแดนตั้งหลายเรื่อง ปัญหาการสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไม่ได้อยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้อยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม มันยังไปเกี่ยวกับกระทรวงอื่นๆ อีกเยอะแยะไปหมด แล้วก็ยังมีองค์กรอิสระต่างๆ เพราะฉะนั้น กระบวนการตั้งโจทย์โดยรอหน่วยราชการตั้งโจทย์ ในสภาพที่หน่วยงานรัฐก็ไม่ได้มีความเป็นปึกแผ่น ไม่ได้มีเอกภาพ ก็จะไม่ได้โจทย์ที่ใหญ่สำหรับตอบปัญหาของประเทศได้

เรื่องของการตั้งโจทย์วิจัยจึงต้องเปลี่ยนไป ต้องมีการตั้งโจทย์เอง โดยริเริ่มจากนักวิจัย ร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก ร่วมกับผู้กำหนดนโยบาย ร่วมกับคนที่ต้องการปฏิรูป ทั้งในภาคธุรกิจและประชาสังคม ต้องการเห็นประเทศดีขึ้น ทั้งหมดมากำหนดโจทย์ร่วมกัน มีกระบวนการกำหนดโจทย์ที่คิดอย่างรอบคอบมากขึ้น เป็นโจทย์ที่ต้องมุ่งแก้ปัญหาใหญ่จริงของประเทศ เช่น ปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขัน ปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำ ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาสวัสดิการสังคม เรื่องใหญ่ๆ แบบนี้จะต้องมีการช่วยกันคิดโจทย์ เราในฐานะนักวิชาการก็เป็นผู้ยกร่างข้อเสนอ ยกร่างตัวโจทย์ แล้วก็ฟังความเห็นของคนหลากหลาย ฟังให้รอบด้าน หลังจากนั้นก็ทำเป็นโปรแกรมวิจัย (research program) ที่ต่างไปจากเดิม คือเน้นทำเรื่องใหญ่และทำอย่างต่อเนื่องหลายปี จนได้องค์ความรู้ที่เข้มแข็ง มีข้อเสนอแนะที่ชัดเจนและเป็นไปได้จริง

ณ วันนี้ อะไรคือโจทย์สำคัญๆ ของประเทศไทยที่ชวนหาคำตอบ
จริงๆ ก็มีการระดมความคิดกันหลายๆ วง แต่ละวงก็คงเห็นไม่ต่างกันมาก เช่น คณะกรรมการปฏิรูปก็จะเป็นโจทย์เรื่องความเหลื่อมล้ำ โจทย์เรื่องระบบกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนั้นยังมีโจทย์เรื่องคุณภาพการศึกษา สภาหอการค้าไทยและภาคธุรกิจสนใจโจทย์เรื่องคอร์รัปชั่น ภาคเอกชนก็จะพูดเรื่องการขาดความสามารถในการแข่งขัน แทบทุกวงแทบจะพูดตรงกัน แต่โจทย์เหล่านี้ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพจริงๆ

ทีดีอาร์ไอจะมีส่วนในการตอบโจทย์ยากๆ และท้าทายเหล่านี้อย่างไรบ้าง
อย่างที่บอกตอนแรก ต้องมีการกำหนดโจทย์ที่ใหญ่ วางแผนการทำวิจัยที่มีลักษณะต่อเนื่องหลายปี ทำกันอย่างจริงจัง แทนที่จะวิ่งทำแต่โจทย์เล็กๆ คิดแต่ปัญหาเล็กๆ เพราะปัญหามันใหญ่ก็ต้องคิดโจทย์ใหญ่ จัดทีมขึ้นมาทำวิจัยเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ และเมื่อทำวิจัยเสร็จ ก็ไม่ได้แปลว่าจบที่รายงานการวิจัย มันต้องมีกระบวนการจัดการความรู้ เผยแพร่ ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนกับสังคมในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะผ่านสื่อสารมวลชน ผ่านการจัดเวทีกับกลุ่มต่างๆ เราต้องจัดทีมขึ้นมาทำเป็นการเฉพาะ เพื่อจะให้กระบวนการสื่อสารสาธารณะมีประสิทธิผล

นอกจากทำงานกับกลุ่มต่างๆ แล้ว ที่ขาดไม่ได้คือต้องทำงานกับผู้กำหนดนโยบาย ต้องมีกระบวนการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานวิจัย ถ้าหวังผลในเชิงนโยบายแล้ว นอกจากคิดในเชิงวิชาการที่ต้องมีความถูกต้องแล้ว ข้อเสนอที่เสนอขึ้นต้องมีรายละเอียดเพียงพอ นำไปปฏิบัติได้ แล้วก็มีความเข้าใจมุมของผู้ปฏิบัติด้วย คือ เป็นไปได้ในทางการเมือง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง

โดยสรุปก็คือ เราต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ที่ผ่านมาเราสนใจงานกลางน้ำมาก กลางน้ำคือการทำวิจัย ก้มหน้าก้มตาทำวิจัย ออกภาคสนามทำการสำรวจ เขียนงานกัน อ่านหนังสือกัน วิเคราะห์กัน แต่งานต้นน้ำคือการกำหนดโจทย์วิจัย กับงานปลายน้ำคือการนำผลการวิจัยไปจัดการและสื่อสารกับสาธารณะยังทำไม่เต็มที่

อาจารย์พูดถึงโจทย์สำคัญๆ หลายโจทย์ ทีดีอาร์ไอมีแผนการที่จะตอบโจทย์สำคัญๆ เหล่านี้อย่างไรบ้าง
โดยรูปธรรมเลย ทีดีอาร์ไอจะตั้งโปรแกรมการวิจัยมาทำงานในโจทย์สำคัญๆ เหล่านี้ และทำอย่างต่อเนื่องกัน 3–5 ปีขึ้นไป เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่หนักแน่นพอ และนำไปใช้ได้จริง โปรแกรมการวิจัยเหล่านี้ได้แก่

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศใหม่
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทยในปัจจุบันน่าจะถึงทางตันหรือไปได้ยากขึ้นทุกวันแล้ว การพึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไม่มีทรัพย์สินทางปัญญาและไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง การพึ่งการส่งออกโดยละเลยกำลังซื้อในประเทศ การใช้แรงงานราคาถูก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมราวกับไม่มีต้นทุน โมเดลแบบนี้ไปไม่ได้แล้วในโลกที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจมันช้าลง ความต้องการในตลาดโลกเปลี่ยนไปจากสมัยที่ประเทศไทยเคยโตเร็วๆ มีประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ตลาดโลกจำนวนมาก เพราะฉะนั้นการแข่งขันในตลาดโลกจึงรุนแรงมาก ต้องเปลี่ยนโมเดลการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ในเวลาเดียวกันก็มีแรงกดดันจากค่าแรงในประเทศที่สูงขึ้น ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาโลกร้อน และการใช้พลังงานเป็นโจทย์ใหญ่ในระดับโลก ธุรกิจไทยจะอยู่รอดไม่ได้ถ้าไม่ได้ปรับเรื่องพวกนี้

เราต้องหาโมเดลใหม่ในการพัฒนา ซึ่งจะต้องคิดประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง 1) นโยบายมหภาคและนโยบายการเงินการคลัง ที่จะเอื้อต่อการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ 2) นโยบายระดับจุลภาคเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรมแรงงาน ซึ่งจะทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาศักยภาพของคน การแก้กฎระเบียบของรัฐต่างๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และ 3) สวัสดิการสังคม ที่ต้องปรับขึ้นมาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีความผันแปรและความเสี่ยงมากขึ้นด้วย

2. การปฏิรูปการศึกษา
โปรแกรมการวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ เป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อน ต้องออกแรงทำเป็นพิเศษ และต้องทำงานร่วมกับภาคีมากมาย นี่เป็นการทำงานต่อเนื่องมาจากสมัยอาจารย์นิพนธ์ เป็นประธานสถาบัน นั่นคือ การปฏิรูปการศึกษาไทยให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึงสำหรับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะมีฐานะทางสังคมอย่างไร ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน โดยเพิ่มศักยภาพของคนแต่ละคน เพื่อให้สามารถมีโอกาสก้าวหน้าทางสังคม และมีทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและโลกในศตวรรษที่ 21 หัวใจสำคัญของการยกเครื่องระบบการศึกษาคือการออกแบบระบบการศึกษาให้มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อนักเรียนและผู้ปกครอง

3. การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
ภาคเอกชนโดยเฉพาะสภาหอการค้าไทยและเครือข่ายตื่นตัวเรื่องนี้มาก หน่วยงานวิชาการอย่างเราก็มีหน้าที่เข้าไปสนับสนุน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เพราะคอร์รัปชั่นเป็นคอขวด เป็นจุดตายสำหรับการแก้ปัญหาทางนโยบายหลายเรื่อง เช่น เทคโนโลยีพัฒนาไม่ได้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่า หน่วยงานรัฐยังเน้นการซื้อของ ชอบซื้อเพราะมีใต้โต๊ะง่าย แต่การลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ความคิด มันมีใต้โต๊ะได้น้อยกว่า ก็เลือกไปใช้วิธีซื้อของกันหมด การพัฒนาเทคโนโลยีก็เป็นไปไม่ได้ การปฏิรูปการศึกษาบางเรื่องมันก็ไปติดที่มีคนบางส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชั่นอยู่ มันก็ไปเปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไข

4. การปฏิรูปกฎหมาย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เราสนใจ คือ กฎหมายเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้ได้กฎหมายเศรษฐกิจที่ทำให้เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ

ทีดีอาร์ไอจะดำเนินโครงการวิจัยเพื่อตอบโจทย์สำคัญของประเทศเหล่านี้ โดยจะระดมคนในทีดีอาร์ไอ และทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ นักวิชาการภายนอก ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้กำหนดนโยบาย อย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า นี่เป็นหน้าที่ของเราในฐานะที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นคลังสมองของประเทศ.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อียูยกธงขาว FTA เลิกกดดันอินเดียรับทริปส์พลัส เอ็นจีโอไทยรอพิสูจน์กึ๋นผู้เจรจาไทย

Posted: 03 Oct 2012 02:01 AM PDT

กมธ.อียู เผยแพร่บทความในนิตยสาร Government Gazette ของอังกฤษระบุ อียูต้องใส่ใจความต้องการและความห่วงใยของคนจนในอินเดีย เกษตรกรขนาดเล็ก และประชาชนที่พึ่งพิงยารักษาโรคในราคาที่เหมาะสม

 

(กรุงเทพฯ-ลอนดอน/3 ต.ค.55) นายคาเรล เดอ กุช ประธานคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งกำลังเจรจาการค้าเสรีหรือเอฟทีเอกับอินเดีย แต่เกิดความชะงักงันมากว่าครึ่งปีสาเหตุจากที่ฝ่ายอินเดียไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปที่ต้องการให้อินเดียปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเกินไปกว่าความตกลงทริปส์ในองค์การการค้าโลก ได้เขียนบทความลงนิตยสาร Government Gazette ของอังกฤษฉบับเดือนตุลาคมว่า สหภาพยุโรปควรต้องใส่ใจความต้องการและความห่วงใยของคนจนในอินเดีย เกษตรกรขนาดเล็ก และประชาชนที่พึ่งพิงยารักษาโรคในราคาที่เหมาะสม

"เราจึงเตรียมตัวที่จะยอมรับว่า อินเดียจะไม่สามารถยอมรับข้อตกลงที่ทะเยอทะยานเช่นที่ฝ่ายยุโรปต้องการในหลายประเด็นอ่อนไหวได้ โดยเฉพาะประเด็นยาชื่อสามัญ เราปรารถนาที่จะแสดงการยอมรับอย่างเต็มที่ถึงบทบาทของอินเดียในฐานะผู้ผลิตและส่งออกยาชื่อสามัญที่สำคัญ ดังนั้น ในความเห็นของผม นี่คือผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย จากเหตุผลนี้และเพื่อป้องกันผลกระทบทางลบที่จะเกิดต่อการเข้าถึงยารักษาโรคในราคาที่เหมาะสมทั้งที่อินเดียและที่อื่นๆทั่วโลก เราจะไม่กดดันให้อินเดียต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาในด้านนี้"

ด้านนางสาวสุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์กล่าวว่า ต้องชื่นชมนักเจรจาและรัฐบาลอินเดียที่เข้มแข็งในการปกป้องประชาชนไม่ให้ผลประโยชน์ทางการค้าระยะสั้นๆมากระทบกับชีวิตและสังคมในระยะยาว ซึ่งต้องดูว่า นักเจรจาฝ่ายไทยจะมีความฉลาดและความกล้าหาญทางจริยธรรมเท่านี้หรือไม่

"เมื่อวานจากการได้พูดคุยกับนางพิรมล เผ่าเจริญ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศคนใหม่ ซึ่งตอนพูดต่อผู้ชุมนุมก็มีท่าทีดี เข้าอกเข้าใจ รับจะไปพิจารณาให้รอบคอบ แต่พอไปให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแย่มากๆ เรายอมรับว่าอธิบดีมาใหม่ แต่เมื่อไม่มีความรู้ ไม่ทำการบ้าน ก็ควรไปศึกษาก่อน ไม่ใช่เที่ยวมาหาว่าประชาชนไม่รู้ ไม่เข้าใจ ทั้งที่ประชาชนเขารู้ทุกอย่างเกาะติดมาเป็นสิบปีแล้ว อย่าดูถูกภูมิปัญญาประชาชน เปิดหูเปิดตาเสียบ้าง ประชาชนมีข้อมูลมากกว่ากรมเจรจาฯด้วยซ้ำ อย่าฟังข้อมูลจากข้าราชการบางคนที่รับใช้นายทุนฝ่ายเดียว ประชาชนไม่เคยพูดว่า ไม่ให้เจรจา แต่เราเสนอให้กรอบการเจรจาต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การเข้าถึงยาและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน อย่าเอาประโยชน์ของคนไม่กี่ตระกูล ไม่กี่คนไปแลกกับชีวิตประชาชน นักเจรจาฝ่ายไทยควรแสดงกึ๋นให้ประชาชนเห็น รักษาผลประโยชน์ของประชาชน เพราะกินเงินเดือนจากภาษีประชาชน"

นางสาวสุภัทรากล่าวเพิ่มเติมว่า การที่อธิบดีกรมเจรจาฯคนใหม่อ้างว่า ขยายอายุสิทธิบัตรและการผูกขาดข้อมูลทางยาไม่ได้ทำให้ยาแพงขึ้น แต่แค่ระยะเวลายาวขึ้น แสดงถึงการไม่มีเข้าใจในเรื่องนี้ ขอให้ฟังข้อมูลจาก สำนักงาน อย.และกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพราะทั้งสองหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงระบุว่า มีผลกระทบแน่ๆ อีกทั้งการที่อ้างว่า การผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำซีแอลนั้น ก็ยิ่งทำให้เห็นว่า กรมนี้ไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่ไปเจรจาเลย

"พูดมาได้อย่างไรว่า อ.ย.กับองค์การเภสัชก็คนเดียวกัน โดยอ้างว่าองค์การเภสัชไม่ต้องขึ้นทะเบียนยานั้น หากใช้ช่องทางกฎหมายนี้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะการประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐหรือ government use เท่านั้น แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาการประกาศบังคับใช้สิทธิในรูปแบบอื่นๆที่อยู่ในกฎหมายเรียกโดยรวมว่า Compulsory licensing ได้ นอกจากนี้ ผลได้จากจีเอสพีตามที่ศูนย์ข้อมูลธนาคารไทยพาณิชย์เคยประเมินไว้อยู่ที่ 70,000 กว่าล้านบาท แต่หากเราต้องยอมรับเรื่องการผูกขาดข้อมูลทางยาแค่เรื่องเดียว ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 80,000 ล้านบาท นักเจรจาฝ่ายไทยควรฉลาดและกล้าหาญให้ได้อย่างของอินเดีย "

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โพลล์เผยคนกรุงเทพ 65% เคยพูดคุยกับคนแปลกหน้าผ่านสื่อออนไลน์

Posted: 03 Oct 2012 01:58 AM PDT

บ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจคนกรุงเทพฯ พบใช้งานสังคมออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊กมากที่สุดถึง 90.9% โดยเคยพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์สูงถึง 65.3% และเคยไปพบกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์ 33.3%

นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ เปิดเผยผลสำรวจของศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์เกี่ยวกับการใช้งานสังคมออนไลน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,216 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 1 - 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ใช้งานสังคมออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊กมากที่สุดถึง ร้อยละ 90.9 อันดับสองคือ ทวิตเตอร์ ร้อยละ 50.8 อันดับสามคือ กูเกิลพลัส ร้อยละ 47.6   และใช้เวลากับสังคมออนไลน์ในหนึ่งวันสูงถึง 5 – 6 ชั่วโมงร้อยละ 19.5 อันดับสองคือมากกว่า 8 ชั่วโมงร้อยละ 18.7 และอันดับสามคือ 2 – 3 ชั่วโมงร้อยละ 17.4

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าข้อมูลในสังคมออนไลน์มีความน่าเชื่อถือเพียงร้อยละ 29.6 ไม่มีความน่าเชื่อถือร้อยละ 34.4 และไม่แน่ใจร้อยละ 36

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์สูงถึงร้อยละ 65.3 และเคยไปพบกับคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์ ร้อยละ 33.3 เคยพบเห็นภาพโป๊ เปลือย หรือคำพูดที่ออกไปทางลามก ผ่านทางสังคมออนไลน์ ร้อยละ 57

///////////

รายละเอียดของผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานสังคมออนไลน์ของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร  มีดังต่อไปนี้


1. ในปัจจุบันท่านมีการใช้งานสังคมออนไลน์ประเภทใดบ้าง (สามารถตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
Facebook  ร้อยละ 90.9
Twitter   ร้อยละ 50.8
Googel +  ร้อยละ 47.6
Instagram  ร้อยละ 40.7
Skype    ร้อยละ 27.9
Hi 5    ร้อยละ 23.5
Socialcam  ร้อยละ 21.5
Camfrog  ร้อยละ 15.1
Foursquare  ร้อยละ 11.9
Myspace  ร้อยละ 11
Linkedin  ร้อยละ 8.0
Gowalla   ร้อยละ 6.3

2. ในหนึ่งวันท่านมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉลี่ยต่อวันท่านใช้เวลานานเท่าไร
น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 
1 – 2 ชั่วโมง  ร้อยละ 4.6
2 – 3 ชั่วโมง  ร้อยละ 17.4
3 – 4 ชั่วโมง  ร้อยละ 14.6
4 – 5 ชั่วโมง  ร้อยละ 9.4
5 – 6 ชั่วโมง  ร้อยละ 19.5
6 – 7 ชั่วโมง  ร้อยละ 10.0
7 – 8 ชั่วโมง  ร้อยละ 5.8
มากกว่า 8 ชั่วโมง ร้อยละ 18.7

3. ท่านมีการใช้งานสังคมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ ประเภทใด มากที่สุด
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) ร้อยละ 37.3
คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) ร้อยละ 22.2
แท็บเล็ต (Tablet)  ร้อยละ 8.6
มือถือ (Mobile)   ร้อยละ 31.9

4. ท่านเคยพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ท่านไม่เคยรู้จักมาก่อนในสังคมออนไลน์หรือไม่
เคย   ร้อยละ 65.3
ไม่เคย   ร้อยละ 25.9
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 8.8

5. ท่านเคยให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงกับบุคคลที่ท่านพูดคุยผ่านสังคมออนไลน์ หรือไม่
เคย   ร้อยละ 47.1
ไม่เคย   ร้อยละ 43.8
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 9.1

6. ท่านเคยถูกผู้อื่นๆ ต่อว่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 36.5
ไม่ใช่   ร้อยละ 51.7
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 11.8

7. ท่านคิดว่าข้อมูลต่างๆ ที่ท่านได้รับจากสังคมออนไลน์ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
มีความน่าเชื่อถือ  ร้อยละ 29.6
ไม่มีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 34.4
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 36.0

8. ท่านเคยไปพบกับคนแปลกหน้าที่ท่านไม่เคยรู้จักมาก่อนผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
เคย   ร้อยละ 33.3
ไม่เคย   ร้อยละ 59.3
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 7.4

9. ท่านเคยพบเห็นภาพโป๊ เปลือย หรือคำพูดที่ออกไปทางลามก ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
เคย   ร้อยละ 57.0
ไม่เคย   ร้อยละ 33.5
ไม่แน่ใจ                         ร้อยละ 9.5

10. ท่านเคยถูกคนแปลกหน้าที่ท่านไม่เคยรู้จักพูดคุยด้วยคำพูดที่ออกไปทางลามก หรือไม่
เคย   ร้อยละ 32.5
ไม่เคย   ร้อยละ 54.5
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 13.0


11. ท่านเคยถูกผู้อื่นๆ กลั่นแกล้งท่าน ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 26.0
ไม่ใช่   ร้อยละ 59.4
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 14.6

12. ท่านเคยถูกหลอกลวงทำให้ต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ผ่านทางสังคมออนไลน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 13.6
ไม่ใช่   ร้อยละ 72.2
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 14.2

13. ท่านคิดว่าการใช้งานสังคมออนไลน์มีประโยชน์หรือไม่
ใช่   ร้อยละ 58.7
ไม่ใช่   ร้อยละ 22.3
ไม่แน่ใจ              ร้อยละ 19.0

ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์

14. เพศ
ชาย  ร้อยละ 42.8 หญิง  ร้อยละ 57.2

15. อายุ
18 -  20 ปี ร้อยละ 33.9 21 – 25  ปี ร้อยละ 28.4 26 – 30  ปี ร้อยละ 10.9
31 – 35  ปี ร้อยละ 7.3 36 – 40  ปี ร้อยละ 11.0 41 -  45 ปี ร้อยละ 3.7
46 -  50 ปี ร้อยละ 2.8 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 2.0

16. สถานภาพสมรส
โสด  ร้อยละ 75.2
สมรส  ร้อยละ 19.9
หม้าย/หย่าร้าง ร้อยละ 4.9

17. อาชีพ
นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา ร้อยละ 57.0
ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ ร้อยละ 5.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ร้อยละ 5.7
พนักงานบริษัทเอกชน  ร้อยละ 19.3
นักธุรกิจ    ร้อยละ 4.8
แม่บ้าน    ร้อยละ 2.5
อื่นๆ    ร้อยละ 5.4

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แรงงานอินโด 2 ล้านคนนัดหยุดงานครั้งใหญ่ทั่วกรุงจาการ์ตาร์

Posted: 03 Oct 2012 01:02 AM PDT

โรงงานหลายร้อยแห่งในกรุงจาการ์ตาหยุดดำเนินการในวันนี้ เหตุสภาแรงงานอินโดนีเซียนัดผละงานเพื่อประท้วงการจ้างแบบเหมาช่วง โดยคาดว่าการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดอาจมีคนเข้าร่วม 5 แสนคน 

เว็บไซต์จาการ์ตาร์ โพสต์ ของอินโดนีเซียรายงานว่า คนงานในโรงงานหลายร้อยแห่งในกรุงจาการ์ตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย กว่า 2 ล้านคน เตรียมนัดผละงานครั้งใหญ่วันนี้ เพื่อประท้วงการจ้างงานแบบรับเหมาช่วง หรือ "Outsource" ซึ่งมีผลทำให้คนงานได้รับสวัสดิการและความมั่นคงน้อยกว่า มีการคาดการณ์ว่า การชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดวันนี้อาจมีผู้เข้าร่วมประมาณ 5 แสนคน

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีราห์ ระบุว่า โรงงานในกรุงจาการ์ตาราว 800 แห่ง ได้ปิดดำเนินการแล้ว ในขณะที่คนงานเริ่มรวมตัวกันประท้วงครั้งใหญ่ 
 
ซาอิด อิคบาล ประธานสมาพันธ์สหภาพแรงงานอินโดนีเซีย กล่าวว่าการประท้วงในวันนี้ จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ 9.00 น. ไปจนถึง 18.00 น. โดยคาดการณ์ว่าน่าจะมีคนงานเข้าร่วมในการผละงานครั้งนี้ราว 2.8 ล้านคน จาก 21 เขต และ 80 นิคมอุตสาหกรรม ส่วนการประท้วงที่มีผู้เข้าร่วมราว 5 แสนคน จะเกิดขึ้นบริเวณเขตอุตสาหกรรม 7 แห่งในเขตเบกาสี 
 
โดยข้อเรียกร้องในการผละงานครั้งนี้ อิคบาลระบุว่า ต้องการเรียกร้องให้ยุติการจ้างงานแบบเหมาช่วง (outsourcing) ซึ่งผู้จ้างใช้วิธีจ้างแรงงานต่อจากบริษัทภายนอก ทำให้คนงานได้รับสวัสดิการน้อยกว่าปรกติ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ยุติค่าจ้างที่ต่ำ และคัดค้านข้อเสนอของรัฐบาลที่เสนอให้คนงานหักเงินเดือนร้อยละ 2 เพื่อสมทบในประกันสุขภาพ 
 
ทั้งนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างราว 900,000- 1,400,000 รูปีห์ (หรือราว 2,880 - 4,500 บาท) ต่อเดือน 
 
อิคบาลกล่าวต่อว่า หากรัฐบาลยังไม่สามารถจัดหาประกันสังคมให้กับประชาชนทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกันภายในวันที่ 1 ม.ค. 2556 คนงาน 10 ล้านคน ใน 28 จังหวัด จะร่วมกันนัดหยุดงานในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน 
 
ด้านรัฐมนตรีมหาดไทยของอินโดนีเซีย เอ็ม. เอส. ฮิดายาต ได้ขอให้มีการเจรจากับผู้นำแรงงานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยแสดงความกังวลว่าการนัดหยุดงานจะมีผลทำให้ผลผลิตมวลรวมของชาติหยุดชะงักลง และเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง 
 
เขาระบุว่า ในความเป็นจริง การรับเหมาช่วงงานถูกสั่งห้าม ยกเว้นในธุรกิจห้าประเภท รวมถึงอุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมัน เขากล่าวว่า รัฐบาลจะพยายามทำตามข้อเรียกร้องร้องของสหภาพแรงงาน ในขณะเดียวกันก็จะต้องรักษาบรรยากาศการลงทุนที่เหมาะสม 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ยื่นนายกฯชะลอร่างกฎหมาย 3 ฉบับ รอร่างประชาชนประกบ

Posted: 03 Oct 2012 12:55 AM PDT

3 ตุลาคม 2555 - นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด เรื่อง ขอให้ชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ. 3 ฉบับ เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปยังประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประมง พ.ศ. ...(คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) และร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ไว้ก่อน และรอให้กระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและกระบวนการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆแล้วเสร็จเสียก่อน เพื่อบรรจุเป็นระเบียบวาระให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับหลักการร่างพ.ร.บ.ที่เสนอโดยประชาชนและที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีพร้อมกันไปในคราวเดียว

ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ร่างพ.ร.บ.การประมงฯ และร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ส่วนร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ฯ ได้มีเครือข่ายภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2555 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและรายชื่อของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ฯ คปก.เคยมีหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ชะลอการพิจารณามาแล้วเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มูลค่าคลื่น 3G กับบทบาทของราคาตั้งต้นการประมูล

Posted: 03 Oct 2012 12:16 AM PDT

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz (ประกาศ 3G) และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ด้วยวิธีการประมูลอย่างเป็นทางการ โดยการประมูลจะมีขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคม 2555

ขนาดคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้มีขนาด 45 MHz โดยแบ่งคลื่นออกเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 MHz ด้วยวิธีการประมูลทั้ง 9 ชุด พร้อมกันแบบเพิ่มราคาอย่างเปิดเผย (Simultaneous Ascending Bid Auction) โดยผู้ร่วมประมูลแต่ละรายมีสิทธิ์ยื่นประมูลได้ไม่เกิน 3 ชุด หรือ 15 MHz ทั้งนี้ กสทช. ได้กำหนดราคาตั้งต้นการประมูล (Reserve Price) อยู่ที่ 4,500 ล้านบาทต่อชุดคลื่น 5 MHz

การออกแบบการประมูลซึ่งจำกัดให้ผู้ร่วมประมูลได้ขนาดคลื่นสูงสุด 15 MHz จาก 45 MHz ในตลาดที่มีผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศ 3 ราย รวมทั้งการตั้งราคาตั้งต้นที่ค่อนข้างต่ำ ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และความกังวลว่าการประมูลจะไม่มีการแข่งขันที่เพียงพอ และจะสร้างรายได้ให้กับรัฐต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

กสทช. ชี้แจงว่า การคำนวณหามูลค่าคลื่นและราคาตั้งต้นการประมูลเป็นไปตามหลักการทางวิชาการ ซึ่งเป็นการอ้างอิงจากร่างรายงานการประเมินมูลค่าคลื่นที่จัดทำโดยคณะนักวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้มอบหมายให้ไปศึกษาวิจัยหาราคาตั้งต้นการประมูล โดยผลการวิจัยระบุว่า มูลค่าประมาณการคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz อยู่ที่ 6,440 ล้านบาทต่อ 5 MHz และราคาตั้งต้นการประมูลควรจะมีค่า 70% ของมูลค่าคลื่น ซึ่งเป็นที่มาของราคาตั้งต้น 4,500 ล้านบาทต่อชุดคลื่น

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ตัวเลขมูลค่าคลื่น 6,440 ล้านบาท และหลักเกณฑ์ 70% ซึ่งใช้คำนวณราคาตั้งต้นนั้น เป็นไปตามหลักการทางวิชาการตามที่กล่าวอ้างโดย กสทช. มากน้อยเพียงใด ซึ่งหากพิจารณางานศึกษาชิ้นดังกล่าวจะพบว่า คณะนักวิจัยใช้ข้อมูลราคาชนะจากการประมูลคลื่นของประเทศอื่นๆ มาประมาณค่ามูลค่าคลื่นด้วยวิธีทางสถิติและเศรษฐมิติ โดยประเทศที่นำมาพิจารณามีลักษณะพื้นฐานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการประมูลและความสำเร็จของการประมูล ซึ่งนักวิจัยไม่ได้คำนึงถึงในการคำนวณ

ดังนั้น ตัวเลข 6,440 ล้านบาทต่อชุด ที่ประมาณการได้ดังกล่าว ไม่ควรจะถูกตีความว่าเป็นมูลค่าที่แท้จริงของคลื่น หากแต่ควรจะมองว่าเป็นมูลค่าของคลื่นที่คาดว่าจะได้รับจากการประมูล ซึ่งใช้ประสบการณ์จากต่างประเทศที่มีทั้งสำเร็จและล้มเหลวเป็นเกณฑ์เฉลี่ย ฉะนั้นแล้ว กสทช. ควรคาดหวังที่จะได้รายรับไม่ต่ำกว่า 6,440 ล้านบาทต่อชุด มิใช่คาดหวังว่าจะได้เพียงแค่นี้หรือต่ำกว่านี้ ซึ่งถ้าการจัดการประมูลเป็นไปอย่างรอบคอบรัดกุม และประสบความสำเร็จดีกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉลี่ย ราคาสุดท้ายของการประมูลก็ย่อมที่จะสูงกว่านี้

ในทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยฉบับดังกล่าวกลับเสนอแนะให้ กสทช. ใช้เกณฑ์การตั้งราคาขั้นต่ำ โดยให้ตั้งราคาขั้นต่ำเพียงแค่ 67% ของมูลค่าคลื่นประมาณการ ซึ่งสุดท้าย กสทช. ใช้ตัวเลข 70% โดยให้เหตุผลว่าปรับเพิ่มตามอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากพิจารณาผลการวิจัยฉบับนี้จะพบว่า คณะผู้วิจัยได้ตัวเลข 67% มาจากการคำนวณว่าแต่ละประเทศมีราคาตั้งต้นคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของราคาสุดท้ายที่ชนะการประมูล แล้วนำตัวเลขดังกล่าวของทุกประเทศมาหาค่าเฉลี่ย ซึ่งค่าเฉลี่ยที่ได้ก็คือ 67% คณะผู้วิจัยจึงสรุปโดยไร้หลักฐานทางวิชาการว่า สัดส่วนดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่ "เหมาะสม" กับประเทศไทยในการกำหนดราคาตั้งต้น

ทำไมสัดส่วนระหว่างราคาตั้งต้นและราคาชนะประมูลที่เหมาะสมของไทย ต้องเท่าพอดีกับค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ซึ่งมีพื้นฐานแตกต่างกัน มีการออกแบบการประมูลที่ต่างกัน และมีความสำเร็จของการประมูลที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และเป็นที่น่าแปลกใจว่า เหตุใดคณะผู้วิจัยถึงให้ความสำคัญกับสัดส่วนระหว่างราคาตั้งต้นกับราคาชนะในการกำหนดราคาตั้งต้น จนถึงขั้นยึดกำหนดสัดส่วนดังกล่าวเป็นค่าที่เหมาะสมกับประเทศไทย?

เหตุผลเดียวที่พอจะเข้าใจได้คือ ผู้วิจัยคาดหวังว่าถ้าตั้งราคาเป็น 67% ของมูลค่าประมาณการ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของต่างประเทศ ราคาสุดท้ายของการประมูลจะเท่ากับมูลค่าประมาณการพอดี การคาดหวังดังกล่าวถือว่าขาดหลักการทางวิชาการที่หนักแน่น เพราะไม่ได้คำนึงถึงสภาวะแวดล้อมทางการแข่งขัน และรูปแบบการประมูลที่ประเทศต่างๆ มีความแตกต่างกันและต่างจากประเทศไทย ยังไม่ต้องกล่าวถึงว่าราคาที่ชนะการประมูลนั้นไม่สามารถกำหนดกะเกณฑ์ได้ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่จัดการประมูลย่อมต้องพยายามให้การประมูลมีการแข่งขันมากที่สุดเพื่อให้ได้ราคาสุดท้ายสูงที่สุด

ดังนั้น สัดส่วนระหว่างราคาตั้งต้นและราคาสุดท้ายจึงเป็นผลลัพธ์จากการออกแบบการประมูลและการแข่งขันในการประมูล ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการตั้งราคาขั้นต่ำ กล่าวคือ ผู้จัดประมูลไม่ควรจะไปกำหนดว่าราคาขั้นต่ำควรจะเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของราคาชนะ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ราคาขั้นสุดท้ายก่อนการประมูล และไม่มีใครสามารถบอกได้ด้วยว่าสัดส่วนราคาขั้นต่ำต่อราคาสุดท้ายจะเป็นไปตามที่กำหนด ในกรณีของประเทศไทยไม่มีอะไรการันตีว่าถ้าตั้งราคาขั้นต่ำที่ 4,500 ล้านบาทแล้ว ราคาสุดท้ายที่รัฐได้รับจะเท่ากับ 6,440 ล้านบาท ซึ่งทำให้สัดส่วนเท่ากับ 0.7 ตามที่ กสทช. กำหนดไว้พอดี

การยึดโยงราคาตั้งต้นกับราคาชนะก่อนที่จะมีการประมูลจึงถือเป็นเรื่องตลก เพราะยังไม่มีใครทราบราคาสุดท้ายของการประมูล และการยึดโยงดังกล่าวไม่ได้ให้อะไรที่มีความหมายในทางเศรษฐศาสตร์ ราคาตั้งต้นควรใช้เป็นเครื่องมือประกันความเสี่ยงจากข้อจำกัดหรือความล้มเหลวของการออกแบบวิธีการประมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมูลที่มีการแข่งขันต่ำ หากตั้งราคาตั้งต้นที่ต่ำเกินไป รัฐจะได้รับผลตอบแทนที่ไม่สะท้อนกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในการประมูลคลื่น 3G ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2000 ซึ่งการออกแบบมีปัญหาจนก่อให้เกิดพฤติกรรมสมยอมระหว่างผู้ประมูล โดยมีการประมูลใบอนุญาต 4 ใบ แม้ว่าในตอนต้นจะมีผู้สนใจเข้าประมูลจำนวนมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วผู้เข้าร่วมประมูลจริงมีเพียงรายใหญ่เพียง 4 รายเท่านั้น ในขณะที่รัฐตั้งราคาตั้งต้นไว้ต่ำมาก ทำให้การประมูลจบลงใกล้เคียงกับราคาตั้งต้น ซึ่งรายรับที่ได้ต่ำกว่ามูลค่าประมาณการถึง 30 เท่า ในขณะที่ประเทศเบลเยียมซึ่งจัดการประมูลใบอนุญาตในปี 2001 โดยการประมูลมีการแข่งขันที่ต่ำเช่นเดียวกันและราคาที่รัฐได้รับคือราคาตั้งต้น แต่เบลเยียมตั้งราคาตั้งต้น (ในรูปของราคาต่อคลื่นต่อประชากร) ไว้สูงกว่าสวิตเซอร์แลนด์ถึง 2 เท่า ซึ่งทำให้รายรับที่ได้นั้นอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำจนเกินไปนัก

อย่างไรก็ดี การตั้งราคาตั้งต้นก็มีข้อเสียบางประการเช่นกัน ซึ่งทั้ง กสทช. และคณะผู้วิจัยใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนการตั้งราคาตั้งต้นที่ต่ำกว่ามูลค่าคลื่นประมาณการ ประการแรก หากราคาตั้งต้นสูงเกินไป จะมีความเสี่ยงที่ราคาดังกล่าวจะสูงกว่ามูลค่าที่ผู้ประกอบการต้องการจ่าย ส่งผลให้ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล และไม่เกิดการให้บริการ 3G ขึ้น ซึ่งผู้บริโภคก็จะเสียประโยชน์

แม้ว่าเหตุผลข้อนี้จะมีหลักการทางวิชาการรองรับ แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะสูงก็ต่อเมื่อผู้จัดการประมูลมีข้อมูลไม่ชัดเจนเกี่ยวกับมูลค่าที่ผู้ประกอบการแต่ละรายยินดีจ่ายให้กับคลื่นความถี่ ซึ่งในกรณีของประเทศไทยไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ประกอบการแต่ละราย โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ประกอบกิจการอยู่แล้ว ย่อมมีความยินดีที่จะจ่ายให้กับคลื่นในราคาที่ใกล้เคียงกัน และข้อมูลที่ปรากฏอยู่ก็ทราบโดยไม่ยากว่ามูลค่าที่ผู้ประกอบการให้มีมูลค่าอย่างน้อยเท่าไร เช่น ข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหาร AIS ที่เตรียมเงินสำหรับประมูลไว้ 17,000 ล้านบาท และ DTAC 15,000 ล้านบาท [1] หรือแม้แต่ข้อมูลที่ว่าผู้ประกอบการ 3 รายจ่ายค่าสัมปทานในปี 2554 เพียงปีเดียวรวมกันประมาณ 48,000 ล้านบาท ดังนั้น ความเสี่ยงที่ว่าจะไม่มีผู้เข้าร่วมประมูลเนื่องจากราคาตั้งต้นสูงเกินไปแล้วผู้บริโภคจะเสียประโยชน์จึงไม่มีน้ำหนักมากนัก

ประการที่สอง กสทช. ให้เหตุผลว่า การตั้งราคาตั้งต้นจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างตลาด และโครงสร้างในการแข่งขันหลังจากการประมูลด้วย การตั้งราคาตั้งต้นที่สูงเกินไปจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ให้เข้ามาแข่งขันประมูล ส่งผลให้การแข่งขันของผู้ประกอบการหลังการประมูลมีระดับต่ำ และกระทบกับราคาค่าบริการที่เพิ่มสูงขึ้น

ข้อกังวลนี้เกี่ยวข้องกับบทบาทของราคาตั้งต้นต่อการกำหนดโครงสร้างตลาดและการแข่งขันภายหลังการประมูล ซึ่งแท้ที่จริงแล้วราคาตั้งต้นมีบทบาทไม่มากนัก จริงอยู่ที่ว่าราคาตั้งต้นในระดับที่ต่ำอาจดึงดูดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าร่วมประมูล แต่ไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลให้โครงสร้างตลาดหลังการประมูลแตกต่างจากกรณีที่ราคาตั้งต้นถูกกำหนดให้มีค่าสูง เนื่องจากท้ายที่สุดแล้วความยินดีที่จะจ่ายจะเป็นตัวกำหนดว่าผู้เข้าร่วมประมูลรายใดจะเป็นผู้ชนะ ถ้าหากผู้ประกอบการรายเดิมมีความเต็มใจที่จะจ่ายมากกว่าผู้ประกอบการรายใหม่ อย่างไรเสีย ผู้ประกอบการรายใหม่ก็ไม่สามารถชนะการประมูลได้ไม่ว่าราคาตั้งต้นจะเป็นเท่าไร (ตราบเท่าที่ราคาตั้งต้นไม่สูงเกินกว่ามูลค่าที่ผู้เข้าร่วมประมูลยินดีจ่าย) ซึ่งราคาตั้งต้นจะไม่มีผลต่อโครงสร้างตลาดหลังการประมูล แต่ถ้าราคาตั้งต้นถูกตั้งไว้ต่ำมาก ผู้ให้บริการที่มีความเต็มใจจะจ่ายมากกว่าอาจจะชนะในราคาที่ต่ำมาก

แท้จริงแล้ว กสทช. มีเครื่องมืออื่นที่เหมาะสมในการกำหนดโครงสร้างตลาดภายหลังการประมูลที่เอื้อต่อการแข่งขันนอกเหนือไปจากการใช้ราคาตั้งต้น ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบการประมูลที่เอื้อให้ผู้ให้บริการรายใหม่มีโอกาสที่จะชนะมากขึ้น เช่น การใช้ระบบการประมูลแบบเป็นความลับ (Sealed-bid auction) ที่ใช้ในการประมูลคลื่น 3G ของประเทศเดนมาร์ก ระบบนี้มีข้อดีในการป้องกันพฤติกรรมสมยอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมูลที่มีผู้เข้าร่วมน้อยราย ซึ่งผู้เข้าร่วมประมูลอาจสื่อสารผ่านราคาการประมูลได้ การประมูลแบบปกปิดจะเพิ่มโอกาสการชนะของผู้ประกอบการรายใหม่ เนื่องจากผู้ประมูลจะไม่สามารถเห็นราคาที่ผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่นเสนอได้ [2] อีกวิธีที่สามารถการันตีการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ได้คือ การกำหนดให้มีใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่โดยเฉพาะ ดังเช่นในการประมูล 3G ของประเทศอังกฤษ

ประการสุดท้าย กสทช. อธิบายว่า ถึงแม้ราคาขั้นต่ำจะไม่สูงนัก และกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลได้รับคลื่นไม่เกิน 3 ชุด จาก 9 ชุด ซึ่งมีแนวโน้มอย่างมากที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ 3 รายจะได้รับคลื่นไปรายละ 3 ชุดหรือ 15 MHz การแข่งขันการประมูลก็ยังน่าจะมีอยู่ เนื่องจากผู้ประกอบการจะต้องพยายามแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้สิทธิในการเลือกย่านคลื่นที่มีคุณสมบัติที่ดีก่อน

คำกล่าวอ้างนี้ไม่ใช่ประเด็นใหม่แต่อย่างใด หากพิจารณาดูประสบการณ์การประมูลจากต่างประเทศจะพบว่า ความแตกต่างของช่องคลื่นไม่ได้ให้แรงจูงใจที่เพียงพอในการแข่งขันเสนอราคา และมีผลต่อราคาสุดท้ายน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น การประมูลคลื่น 3G ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างการแข่งขันในประมูลคล้ายกับประเทศไทย คือ มีจำนวนใบอนุญาตเท่ากับจำนวนผู้ประกอบการรายใหญ่ และมีการตั้งราคาตั้งต้นที่ต่ำ ซึ่งในกรณีของสวิตเซอร์แลนด์ การแข่งขันในการเลือกช่องคลื่นส่งผลให้ราคาสุดท้ายสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.5% เท่านั้น

สุดท้ายแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดความสำเร็จของการประมูลคือ ระดับการแข่งขันและการป้องกันพฤติกรรมสมยอม ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบการประมูล การประมูลที่มีการแข่งขันสูงราคาตั้งต้นอาจจะไม่สำคัญนัก แต่ในกรณีที่คาดการณ์ได้ว่าการประมูลจะมีระดับการแข่งขันที่ต่ำเช่นในกรณีของประเทศไทย ราคาตั้งต้นจะเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการการันตีรายรับขั้นต่ำที่เหมาะสม และปกป้องความเสี่ยงจากความผิดพลาดของการออกแบบการประมูลและจากพฤติกรรมสมยอม เพื่อไม่ให้รัฐได้มีรายรับจากการประมูลที่ต่ำเกินไป และไม่ควรหลงประเด็นใช้ราคาตั้งต้นเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการแข่งขันเพราะไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

 

 

///////////////////////////
[1] อ้างอิงจาก
http://www.siamturakij.com/home/news/print_news.php?news_id=413358028 และ http://www.thairath.co.th/content/eco/233466

[2] แม้ว่าการประมูลวิธีนี้จะทำให้ผู้ประกอบการที่ยินดีจ่ายสูงมีแรงจูงใจที่จะเสนอราคาที่สูงขึ้น แต่การประมูลด้วยวิธีนี้มีข้อเสียคือการจัดสรรทรัพยากรคลื่นอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือมีความเป็นไปได้ที่ผู้ที่ชนะการประมูลอาจจะไม่ใช่ผู้ที่มีความเต็มใจที่จะจ่ายสูงสุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ยื่นนายกฯชะลอร่างกฎหมาย 3 ฉบับ รอร่างประชาชนประกบ

Posted: 03 Oct 2012 12:06 AM PDT

3 ตุลาคม 2555 - นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด เรื่อง ขอให้ชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ. 3 ฉบับ เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปยังประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประมง พ.ศ. ...(คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) และร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ไว้ก่อน และรอให้กระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและกระบวนการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆแล้วเสร็จเสียก่อน เพื่อบรรจุเป็นระเบียบวาระให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารับหลักการร่างพ.ร.บ.ที่เสนอโดยประชาชนและที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีพร้อมกันไปในคราวเดียว

ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ร่างพ.ร.บ.การประมงฯ และร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ส่วนร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ฯ ได้มีเครือข่ายภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2555 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและรายชื่อของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ฯ คปก.เคยมีหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ชะลอการพิจารณามาแล้วเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร

Posted: 02 Oct 2012 11:21 PM PDT

ป้ายนี้ทำขึ้นโดยคนที่รักในหลวง ไม่เกียวกับการเมือง เพียงมีข้อสังเกตุว่า
" ถ้าคนที่รักในหลวง ไม่สามารถแสดงออกว่ารักในหลวง วันนั้นคือวันที่ มารครองเมือง "

โพสต์ในเฟซบุ๊กกรณีป้าย "คนกรุงเทพ รักในหลวง ไม่เปลี่ยน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น