โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สมชัย สุวรรณบรรณ

Posted: 09 Oct 2012 10:40 AM PDT

"Today, there are several groups who don't understand journalism, but have jumped into the media ring with political agendas. These groups claim freedom of speech, but it is not journalism.''

 

9 ต.ค. 2555 ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายข่าวคนใหม่ของสถานีไทยพีบีเอส

พม่าขอความร่วมมือกองกำลังว้า – เมืองลา กำจัดยาเสพติด

Posted: 09 Oct 2012 10:27 AM PDT

ผู้นำกองทัพพม่าเรียกพบผู้นำกองกำลังว้า UWSA – เมืองลา NDAA ขอความร่วมมือปราบยาเสพติด เผย ต่างประเทศมองพม่าเป็นแหล่งยาเสพติด ทำภาพลักษณ์ประเทศเสียหาย ขณะที่รัฐบาลประกาศแผนกำจัดยาเสพติดให้สิ้นซากใน 2563

แหล่งข่าวคนใกล้ชิดผู้นำกองกำลังว้า–เมืองลา รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้นำระดับสูงกองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAAได้เดินทางไปพบผู้นำกองทัพพม่าที่เมืองเชียงตุง รัฐฉานภาคตะวันออก หลังจากได้รับคำเชิญจากกองทัพพม่า โดยฝ่ายกองทัพพม่ามีพล.อ.มินอ่องหล่าย ผบ.สูงสุด, พล.ท.อ่องตานทุต แม่ทัพสามภาค, ผบ.กองทัพสามเหลี่ยม (เชียงตุง) , ผบ.กองทัพภาคตะวันออกกลาง (โขหลำ) และ ผบ.กองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ล่าเสี้ยว) นอกนั้นมีนายทหารระดับสูงอีกรวม 9 คน

ฝ่ายกองกำลังว้า UWSA มีแซวหมิ่นเหลี่ยง, จ้าวก่ออาง, หลี่จูเลี่ย และ จายสาม ส่วนฝ่ายกองกำลังเมืองลา NDAA มีเจ้าจายลืน ผู้นำสูงสุด, เจ้าซางเป่อ รองประธานที่ 1 และ เจ้าขุนส่างหลู่ รองประธานที่ 2 และมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงติดตามเข้าร่วมด้วยจำนวนหนึ่ง โดยการพบปะกันมีขึ้นในกองบัญชากองทัพภาคสามเหลี่ยม เป็นการแยกพบทีละกลุ่ม ผู้นำกองกำลังว้า UWSA เข้าพบก่อนเมื่อเวลา 12.30 น. จากนั้นในเวลา 24.00 น. ผู้นำกองกำลังเมืองลา NDAA เข้าพบ

ในการพบปะกัน ทางพล.อ.มิน อ่อง หล่าย ได้กล่าวกับผู้นำทั้งสองกลุ่มในลักษณะเดียวกันว่า ที่ได้เชิญผู้มาพบกันนี้เพราะไม่ได้พบเจอกันนาน นับตั้งแต่ตนได้มาเป็นแม่ทัพภาคสามเหลี่ยม ประจำอยู่ที่เชียงตุงและย้ายไปรับตำแหน่งที่อื่น พร้อมกับระบุว่า นโยบายกองทัพพม่าที่มีต่อกองกำลังว้าUWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ไม่เปลี่ยนแปลง ยังมีความสัมพันธ์ดีเช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม ระหว่างพูดคุยกันทางพล.อ.มิน อ่อง หล่าย ได้กล่าวขอให้กองกำลังทั้งสองกลุ่มปราบปรามยาเสพติดในเขตพื้นที่ครอบครองอย่างจริงจัง โดยระบุว่า ระหว่างที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เดินทางไปเยือนต่างประเทศ ทั้งจีน ไทย สหรัฐฯ และหลายๆ ประเทศ มีการพูดพาดพิงถึงพม่าว่าเป็นแหล่งยาเสพติด ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย

"เราต้องช่วยกันปราบปรามยาเสพติด หากเราไม่ช่วยกันจะทำให้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงประเทศของเราเสียหาย ซึ่งจะทำให้เราทุกกลุ่มเสียหายไปด้วย ดังนั้นให้ทุกกลุ่มใส่ใจปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ครอบครองอย่างจริงจัง หลังปี 2558 พม่าจะไม่มียาเสพติด" แหล่งข่าวอ้างคำกล่าวของพล.อ.มิน อ่อง หล่าย  

ทั้งนี้ การพบกันระหว่างผู้นำกองทัพพม่ากับผู้นำกองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ซึ่งเน้นพูดคุยเรื่องปราบปรามยาเสพติดนี้ มีขึ้นเพียง 1 วันหลังจาก พล.ท.โก่โก่ รมว.มหาดไทย และผู้อำนวยการสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของพม่า แถลงเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ว่า รัฐบาลพม่าได้เลื่อนแผนกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากประเทศออกไปอีก 5 ปี จากที่เคยกำหนดไว้ตามแผนเดิม 15 ปี เริ่มปี 2542 สิ้นสุดในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่พม่าจะพม่าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยแผนดังกล่าวจะไปสิ้นสุดในปี 2563 แทน 

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พม่าขอความร่วมมือกองกำลังว้า – เมืองลา กำจัดยาเสพติด

Posted: 09 Oct 2012 10:27 AM PDT

ผู้นำกองทัพพม่าเรียกพบผู้นำกองกำลังว้า UWSA – เมืองลา NDAA ขอความร่วมมือปราบยาเสพติด เผย ต่างประเทศมองพม่าเป็นแหล่งยาเสพติด ทำภาพลักษณ์ประเทศเสียหาย ขณะที่รัฐบาลประกาศแผนกำจัดยาเสพติดให้สิ้นซากใน 2563

แหล่งข่าวคนใกล้ชิดผู้นำกองกำลังว้า–เมืองลา รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้นำระดับสูงกองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAAได้เดินทางไปพบผู้นำกองทัพพม่าที่เมืองเชียงตุง รัฐฉานภาคตะวันออก หลังจากได้รับคำเชิญจากกองทัพพม่า โดยฝ่ายกองทัพพม่ามีพล.อ.มินอ่องหล่าย ผบ.สูงสุด, พล.ท.อ่องตานทุต แม่ทัพสามภาค, ผบ.กองทัพสามเหลี่ยม (เชียงตุง) , ผบ.กองทัพภาคตะวันออกกลาง (โขหลำ) และ ผบ.กองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ล่าเสี้ยว) นอกนั้นมีนายทหารระดับสูงอีกรวม 9 คน

ฝ่ายกองกำลังว้า UWSA มีแซวหมิ่นเหลี่ยง, จ้าวก่ออาง, หลี่จูเลี่ย และ จายสาม ส่วนฝ่ายกองกำลังเมืองลา NDAA มีเจ้าจายลืน ผู้นำสูงสุด, เจ้าซางเป่อ รองประธานที่ 1 และ เจ้าขุนส่างหลู่ รองประธานที่ 2 และมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงติดตามเข้าร่วมด้วยจำนวนหนึ่ง โดยการพบปะกันมีขึ้นในกองบัญชากองทัพภาคสามเหลี่ยม เป็นการแยกพบทีละกลุ่ม ผู้นำกองกำลังว้า UWSA เข้าพบก่อนเมื่อเวลา 12.30 น. จากนั้นในเวลา 24.00 น. ผู้นำกองกำลังเมืองลา NDAA เข้าพบ

ในการพบปะกัน ทางพล.อ.มิน อ่อง หล่าย ได้กล่าวกับผู้นำทั้งสองกลุ่มในลักษณะเดียวกันว่า ที่ได้เชิญผู้มาพบกันนี้เพราะไม่ได้พบเจอกันนาน นับตั้งแต่ตนได้มาเป็นแม่ทัพภาคสามเหลี่ยม ประจำอยู่ที่เชียงตุงและย้ายไปรับตำแหน่งที่อื่น พร้อมกับระบุว่า นโยบายกองทัพพม่าที่มีต่อกองกำลังว้าUWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ไม่เปลี่ยนแปลง ยังมีความสัมพันธ์ดีเช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม ระหว่างพูดคุยกันทางพล.อ.มิน อ่อง หล่าย ได้กล่าวขอให้กองกำลังทั้งสองกลุ่มปราบปรามยาเสพติดในเขตพื้นที่ครอบครองอย่างจริงจัง โดยระบุว่า ระหว่างที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เดินทางไปเยือนต่างประเทศ ทั้งจีน ไทย สหรัฐฯ และหลายๆ ประเทศ มีการพูดพาดพิงถึงพม่าว่าเป็นแหล่งยาเสพติด ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย

"เราต้องช่วยกันปราบปรามยาเสพติด หากเราไม่ช่วยกันจะทำให้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงประเทศของเราเสียหาย ซึ่งจะทำให้เราทุกกลุ่มเสียหายไปด้วย ดังนั้นให้ทุกกลุ่มใส่ใจปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ครอบครองอย่างจริงจัง หลังปี 2558 พม่าจะไม่มียาเสพติด" แหล่งข่าวอ้างคำกล่าวของพล.อ.มิน อ่อง หล่าย  

ทั้งนี้ การพบกันระหว่างผู้นำกองทัพพม่ากับผู้นำกองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ซึ่งเน้นพูดคุยเรื่องปราบปรามยาเสพติดนี้ มีขึ้นเพียง 1 วันหลังจาก พล.ท.โก่โก่ รมว.มหาดไทย และผู้อำนวยการสำนักงานปราบปรามยาเสพติดของพม่า แถลงเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ว่า รัฐบาลพม่าได้เลื่อนแผนกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากประเทศออกไปอีก 5 ปี จากที่เคยกำหนดไว้ตามแผนเดิม 15 ปี เริ่มปี 2542 สิ้นสุดในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่พม่าจะพม่าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยแผนดังกล่าวจะไปสิ้นสุดในปี 2563 แทน 

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองทัพพม่าแจ้งให้กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" ถอนกำลังทหารอีก

Posted: 09 Oct 2012 10:19 AM PDT

 

กองทัพพม่าสั่งให้กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSPP/SSA ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ยุทธศาสตร์อีก ด้าน SSPP/SSA ยันไม่ยอม ลั่น พร้อมตอบโต้และจะยกเลิกสัญญาหยุดยิงหากถูกรุกราน

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา พ.อ.อ่องตู่ รมว.กระทรวงความมั่นคงชายแดนของพม่า ได้มีหนังสือแจ้งไปยังพรรครัฐฉานก้าวหน้า (Shan State Progress Party-SSPP) องค์กรการเมืองกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" (Shan State Army - SSA) ให้ถอนกำลังทหารที่ประจำตามบริเวณท่าสามปู (ท่าข้ามแม่น้ำป๋าง) อยู่ในเขตตำบลฮายป๋า อ.เมืองสู้ รัฐฉานภาคเหนือ โดยอ้างว่าทหารกองทัพพม่าจะมีการสับเปลี่ยนกำลังพลเกรงจะเกิดการกระทบกระทั่งกัน

ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ SSPP/SSA นายหนึ่งเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา SSPP/SSA ได้ถอนกำลังทหารตามคำร้องขอของกองทัพพม่าแล้วหลายแห่ง ในส่วนของท่าสามปูนี้ทาง SSPP/SSA ไม่สามารถถอนกำลังทหารออกให้ได้ เนื่องจากเป็นเขตพื้นที่เคลื่อนไหวของ SSPP/SSA มานานแล้ว

ขณะที่ทางด้านพ.ต.จายเล็ก โฆษกของ SSPP/SSA กล่าวว่า หากทหารพม่าเข้ามาในพื้นที่ท่าสามปู ทาง SSPP/SSA ไม่มีทางแก้ไขใดๆ นอกเหนือจากการตอบโต้และการประกาศยกเลิกคำสัญญาหยุดยิงของสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทาง SSPP/SSA มีความเป็นห่วงประชาชนในพื้นที่จะได้รับผลกระทบ เพราะเป็นช่วงฤดูการเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร โดยในส่วนของ SSPP/SSA ต้องการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีมากกว่าการใช้กำลัง ด้วยเหตุนี้ ทาง SSPP/SSA จะส่งหนังสือชี้แจงไปยังคณะกรรมการสันติภาพของพม่าในเร็วๆ นี้

สำหรับท่าสามปู อยู่ห่างจากบ้านไฮ (ที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของ SSPP/SSA) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 16 กม. ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญและเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำอีกแห่งของ SSPP/SSA โดยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" (SSPP/SSA) มาตั้งแต่ปี 1989 และมีรายงานว่า ในพื้นที่นี้พบมีแร่พลวง เป็นจำนวนมากด้วย  

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ปวิน” ชี้วิกฤติอัตลักษณ์ ”ชาติตน” กำลังแผ่ขยายทั่ว ‘อาเซียน’

Posted: 09 Oct 2012 09:28 AM PDT

 

เสวนาหัวข้อ "สามัญชนบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง" ในมุมมองเอเชียอาคเนย์ "ปวิน" ชี้ บรรทัดฐานเดิมๆ เช่น ความคลั่งชาติ กำลังจะถูกท้าทาย ในขณะที่การสร้างอัตลักษณ์ร่วมของอาเซียนที่เป็นตัวแทนประชาชนเป็นเรื่องยาก แต่จำเป็นต้องได้มาด้วยการต่อสู้

 
วันที่ 8 ต.ค. 55 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประชุมมนัส ชัยสวัสดิ์ คณะวิเทศศึกษา (Faculty of International Studies) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้มีการเสวนาหัวข้อ "สามัญชนบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง: มุมมองร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อาจารย์ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้เข้าร่วมการเสวนา และชี้ประเด็นสำคัญว่า บรรทัดฐานเก่าที่ฝังรากของอาเซียนซึ่งกีดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยและอำนาจประชาชนได้ถูกท้าทายอย่างต่อเนื่อง  ความขัดแย้งทางการเมืองไทยปัจจุบันก็เป็นผลส่วนหนึ่งจากที่ "คำอธิบาย" ที่ชนชั้นปกครองสร้าง ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป
 
งานเสวนาโดยคณะวิเทศศึกษา ได้รับความสนใจจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนักศึกษาในวงกว้าง โดยมีเป้าประสงค์ในการชี้ให้เห็นถึงพลังการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นจากประชาชน นอกจาก ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์แล้ว ผู้เสวนาท่านอื่นประกอบด้วย อ.อรพรรณ ลีนะนิธิกุล อาจารย์ประจำคณะวิเทศศึกษา ผู้แปลหนังสือ East Timor: The Price of Freedom และ อ.พงศ์นรา ช่วยชัย อาจารย์ประจำคณะวิเทศศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน โดยมี ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาไทยและอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
 
 
"อาเซียนมี Norm บางอย่างที่ฝังรากอยู่ในชาติของตน ที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนา เช่น ความคลั่งชาติ การยินยอมรับคำสั่งจากผู้มีอำนาจ และวัฒนธรรมการเชื่อฟังผู้ใหญ่เมื่อสังคมเผชิญวิกฤติ ประชาชนมิได้รับการเปิดโอกาสให้จัดการปัญหาเหล่านี้ด้วยตนเอง" ปวิน พิจารณาถึงปัญหาเริ่มแรกของการพัฒนาประชาธิปไตยในอาเซียน
 
"แต่สิ่งที่ต้องเน้นคือ อัตลักษณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ไม่มีประวัติศาสตร์ชาติไหนหรอกที่เขียนให้ประเทศตัวเองห่วย ถ้าจะห่วยก็ให้ห่วยแบบน่าสงสารถูกรังแก แต่ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า ประวัติศาสตร์เหล่านี้เขียนขึ้นมาเพื่อใครแล้วถูกใช้ทำอะไร มันเป็นการให้ความชอบธรรมชนชั้นปกครองที่จะทำอะไรในนามของชาติและประชาชน แต่จริงๆแล้วข้ออ้างเหล่านี้มันเป็นเรื่องประดิษฐ์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนแต่อย่างใด"
 
นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกียวโตยังชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากที่จะสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของอาเซียนที่เป็นตัวแทนของประชาชน เพื่อทดแทนอัตลักษณ์เผด็จการอำนาจนิยมที่ฝังรากลึกมานาน และการต่อสู้เรียกร้องก็เป็นเรื่องจำเป็น อินโดนีเซียเป็นตัวอย่างประเทศที่ปัจจุบันประชาธิปไตยกำลังเติบโตอย่างมาก แต่ทั้งหมดนี้มิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหากแต่มีการต่อสู้เรียกร้องอย่างต่อเนื่อง
 
ทั้งนี้ได้มีนักวิชาการจากคณะเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ถามถึงประเด็นความมั่นคงทางพลังงานระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องจากข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อน ดร.ปวิน ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศนั้นในทางปฏิบัติเหนือพื้นที่ที่มีปัญหาในทะเลห่างไกล นี้ไม่มีชาติใดที่นิยมอ้างสิทธิ์เพียงผู้เดียว มักลงเอยด้วยการลงทุนร่วมกันและแบ่งตามสัดส่วนหรือเลี่ยงที่จะพูดถึงเพื่อไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็เป็นหนึ่งในกลไกการสร้างความชอบธรรมของนักการเมืองอนุรักษ์นิยมที่พยายามเอาประเด็นชาตินิยมเป็นข้ออ้างมากกว่า
 
 
ผู้เสวนาคนถัดมา อ.อรพรรณ ลีนะนิธิกุล ผู้แปลหนังสือ East Timor: The Price of Freedom ได้ชี้ให้เห็นถึงกลไกการเรียกร้องเอกราชของติมอร์ตะวันออก ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน อันเป็นรัฐชาติเกิดใหม่ในยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงสำคัญในระบบโลก 
 
"ติมอร์เป็นเกาะห่างไกล แต่ไม่ไกลเกินไปในแง่การแสวงหาประโยชน์ ชาติต่างๆ พยายามเลี่ยงที่จะพูดถึงความรุนแรงโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับติมอร์ตะวันออก ด้วยเงื่อนไขที่มีผลประโยชน์ร่วมในธุรกิจหลายอย่างที่ผูกขาดโดยรัฐบาลอินโดนีเซีย"
 
อ.อรพรรณได้ชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขการตายและการสูญเสียมิใช่เงื่อนไขที่นำสู่การเปลี่ยนแปลงทันที การต่อสู้ใช้เวลาหลายสิบปี กระทั่งความชอบธรรมของรัฐบาลอินโดนนีเซียเริ่มหมดไป หลังจากการพยายามล้างสมองและโฆษณาถึงชีวิตที่ดีซึ่งเคยไม่เคยเกิดขึ้นจริง ภาพเหล่านี้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปัญหาปากท้อง และการว่างงานขยายตัวอย่างมาก
 
"รัฐบาลภูมิภาคนี้มักอ้างถึงอัตลักษณ์ของตนที่จะละเลยบางอย่าง และอ้างว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการครอบงำจากตะวันตก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มิได้ผิดเสียทีเดียว แต่ขั้นต่ำของการอยู่รวมกันในสังคมอารยะคือเรื่องของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และหลักการสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในประเด็นนี้" ผู้แปลหนังสือ The Price of Freedom ทิ้งท้าย
 
ผู้เสวนาท่านสุดท้าย อ.พงศ์นรา ช่วยชัย ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการขยายตัวของอำนาจตุลาการในสังคมไทย ซึ่งนอกจากผิดแผกในประเด็นด้านความชอบธรรมในการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติที่มีที่มาจากอำนาจประชาชนแล้วในแง่ทางเทคนิค ตุลาการภิวัตน์เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในระบบกฎหมายไทย
 
"นักวิชาการด้านกฎหมายมักจะอ้างว่าเรื่องตุลาการภิวัตน์ เป็นเรื่องทั่วไปที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นการพูดเหมารวมโดยละเลยเงื่อนไขด้านระบบกฎหมายที่แตกต่างกัน เช่นอังกฤษที่มาของกฎหมายคือคำตัดสินศาล และใช้คำสั่งศาลเป็นแนวจารีตประเพณียึดถือปฏิบัติ ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อเท็จจริง แต่ในกรณีไทยมันไม่ใช่ ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ออกกฎหมาย ศาลเป็นผู้ตัดสินตามแนวทางที่นิติบัญญัติวางไว้ ซึ่งนัยยะคือมติของประชาชนที่ไม่สามารถก้าวล่วงได้"
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชนคณะวิเทศศึกษายังทิ้งท้ายว่า ตุลาการภิวัตน์ เป็นการเพิ่มอำนาจฝ่ายตุลาการอย่างมาก ซึ่งอาจนำสู่นำสู่การเสียสมดุลของระบบการเมืองได้ นำสู่เรื่องการตั้งคำถามประเด็นความชอบธรรมจากประชาชนทั่วไปอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
 
อนึ่งการเสวนาครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการเสวนาต่อเนื่องของคณะวิเทศศึกษา (Faculty of International Studies) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
 

ใต้ป่วนไม่เลิก วันเดียวตาย 6 เจ็บ 1

Posted: 09 Oct 2012 09:18 AM PDT

วันเดียว 4 เหตุการณ์ ตาย  6 ราย เจ็บน้อย 1 โคกโพธิ์ 2 เหตุการณ์ ตาย 3 เจ็บเล็กน้อย 1 ราย ส่วนเจาะไอร้องยิงขณะกลับจากกรีดยางดับ 1 ราย ส่วนระแงะยิง จนท.อส.ทพ.ดับ 2 รายขณะไปรักษาความปลอดภัยชุมชนไทยพุทธ

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2555 เวลา 20.30 น.เกิดเหตุยิงกันบนถนนสายนาเกตุ-อ.โคกโพธิ์ ม.7 ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี  บริเวณด้านหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยางอำเภอโคกโพธิ์  พบศพชายสวมเสื้อคอกลมสีดำ  กางเกงขาสั้นลายพราง ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อขาวแขนยาว กางเกงขาสั้น นอนกอดกันตายกลางถนน สภาพศพทั้งสองมีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืน 9 มม.เข้าบริเวณศีรษะ ทราบชื่อ นายศุภชัย ช่วยเสน อายุ 27 ปี เป็นคนตำบลบ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา และมาทำสวนยางที่บ้าน นาเกตุ ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นบ้านของนางสาวศิริขวัญ แสงทองอายุ 23 ปี ที่เสียชีวิตพร้อมกัน ที่เกิดเหตุยังพบปลอกกระสุน 9 มม.จำนวน 2 ปลอก ห่างออกไปประมาณ 10 เมตรพบรถจักรยานยนต์สภาพเก่าล้มอยู่ 1 คัน

 จากการสอบสวนทราบว่า ทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ขับบนถนนดังกล่าวโดยฝ่ายชายเป็นคนขับ พอมาถึงที่เกิดเหตุ ได้มีคนร้าย 2 คน ขับรถจักยานยนต์ตามมาประกบ คนร้ายที่ซ้อนท้ายได้ใช้อาวุธปืน ยิงทั้งสองคนโดนบริเวณศีรษะจนรถเสียหลักล้มลงส่วนสาเหตุคาดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มแนวร่วมในพื้นที่เพื่อสร้างสถานการณ์

วันที่ 9 ตุลาคม 2555 ศูนย์ปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้ารายงานว่า เมื่อ เวลา 8.25 น. คนร้ายไม่ทราบจำนวน ใช้อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. ยิงนางสือนะ เซ็ง อายุ 44 เสียชีวิต ขณะที่ขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากการกรีดยาง เหตุเกิดที่ บ้านกำปงบารู ม.1 ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

วันเดียวกันศูนย์ปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีฯ รายงานอีกว่า เมื่อเวลา 11.20 น. คนร้าย ใช้รถจักรยานยนต์ ใช้อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. ยิงราษฎรเสียและได้รับบาดเจ็บ จำนวน 2 ราย คือ นางสาวประภาพร สุวรรณโณ อายุ 30 ปี และนางสาวลีลาวดี บุญเลิศ อายุ 22 ปี บาดเจ็บเล็กน้อย เหตุเกิดที่ปั้มน้ำมันสหกรณ์โคกโพธิ์ ริมถนนสาย 42 บ.ชะเมา ม.2 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ขณะเกิดเหตุผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกำลังขายน้ำมันอยู่ภายในปั้ม ได้มีคนร้ายจำนวน 2 คน ขับขี่รถจักยานยนต์เข้ามาจอด ทำท่าเติมน้ำมัน แล้วใช้อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. ยิงใส่ ทำให้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว  หลังจากเกิดเหตุคนร้ายได้นำกระเป๋าใส่เงินจากการขายน้ำมันของผู้ที่เสียชีวิตหลบหนีไปด้วย

วันเดียวกันศูนย์ปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีฯ รายงานต่อไปว่า 14.20 น. เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวน ขับรถยนต์กระบะ ไม่ทราบยี่ห้อและหมายเลขทะเบียน  ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาดประกบยิง อาสาสมัครทหารพรานจากหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 45 เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่ อส.ทพ.ธนากร กิมจ๋ง และอส.ทพ.ปิยราช ร่มพฤก โดยทั้ง 2 รายสังกัดร้อยทพ.4511 ฉก.ทพ.45 เหตุเกิดที่ บ้านแบแร ม.6 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ส่วนสาเหตุคาดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

ขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครทหารพราน ทั้ง 2 แต่งกายนอกเครื่องแบบ ขับขี่รถจักรยานยนต์ เพื่อที่จะไปรักษาความปลอดภัยแก่ชุมชนไทยพุทธ เมื่อถึงที่เกิดเหตุได้มีคนร้ายขับรถยนต์กระบะไม่ทราบยี่ห้อและหมายเลขทะเบียนประกบแล้วใช้อาวุธปืนยิง ใส่ เป็นเหตุให้เสียชีวิตดังกล่าว

นอกจากนี้ เมื่อเวลา 15.40 น. ฉก.ทพ.44 รายงานการปฏิบัติจากการซักถามขยายผลผู้ต้องสงสัย และการตรวจสอบหลักฐานจากกล้องวงจรปิดกรณีคนร้ายยิงเจ้าหน้าที่ อส.ยะหริ่ง 3 ศพ เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมาว่า จนท.ตร.สภ.ราตาปันยัง เข้าทำการปิดล้อมตรวจค้นบ้านต้องสงสัยที่คาดว่าคนร้ายมาหลบซ่อนตัว ผลการปฏิบัติสามารถควบคุมตัวนายอับดุลมาน๊ะ  ตาเยะ พร้อมตรวจยึดรถจักรยานยนต์ฮอนด้า รุ่นเวฟ สีน้ำเงิน หมายเลขทะเบียน กธง 366 ปัตตานี

ต่อมานายมะยูโซ๊ะ อาแว  ผู้ต้องสงสัยที่ปรากฏในกล้องวงจรปิดบริเวณสามแยกที่เกิดเหตุได้เดินทางมารายงานตัว ณ สภ.ยะหริ่ง พร้อมรถจักรยานยนต์ฮอนด้าดรีมสีดำ หมายเลขทะเบียน กมก 629 ปัตตานี เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ หน่วยจึงได้เชิญตัวมาทำการซักถามขยายผล                

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมบัติ บุญงามอนงค์

Posted: 09 Oct 2012 08:55 AM PDT

"ทำดีน่ะแข่งกันเข้าไปเถอะ แต่อย่าผูกขาดความดี"

9 ต.ค.55 โพสต์ในเฟสบุ๊ค

ผู้พัฒนาโครงการชี้ ‘เขื่อนไซยะบุรี’ ไม่มีผลกระทบข้ามพรมแดน

Posted: 09 Oct 2012 08:04 AM PDT

ผู้พัฒนาโครงการเขื่อนไซยะบุรี คาดว่า การออกแบบโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทางด้านตอนเหนือของลาวแห่งนี้ จะแล้วเสร็จภายใน 2 – 3 เดือนข้างหน้า โดยจะสามารถบรรเทาผลกระทบด้านลบที่จะมีต่อประเทศเพื่อนบ้าน 

 
 
นายเรวัตร สุวรรณกิตติ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ไซยะบุรี เพาเวอร์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้โครงการไฟฟ้าพลังน้ำดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนทดสอบที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียในกรุงเทพฯ และการออกแบบใหม่ควรจะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
 
ผู้พัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1,285 เมกะวัตน์ ได้ตัดสินใจที่จะทำการออกแบบเขื่อนใหม่ หลังจากกัมพูชาและเวียดนามได้แสดงความกังวลว่า เขื่อนไซยะบุรีจะมีผลกระทบต่อการย้ายถิ่นของปลาและปิดกั้นการไหลผ่านของแนวตะกอนสู่แม่น้ำโขงตอนล่าง ปลาเป็นแหล่งอาหารหลักสำหรับชุมชนชายฝั่งแม่น้ำโขง ขณะที่ตะกอนเป็นทั้งปุ๋ยและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิต นักสิ่งแวดล้อมมีความกังวลว่าการสร้างเขื่อนจะมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของแม่น้ำและผู้คนนับล้านที่อาศัยอยู่ปลายน้ำ
 
นายเรวัตร กล่าวต่อว่า การออกแบบเขื่อนใหม่จะไม่มีผลกระทบข้ามดินแดน ต่อทั้งกัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปถึง 1,500 กิโลเมตรจากลุ่มน้ำ และตามคำแนะนำของที่ปรึกษาอิสระจาก Poyry และ Campagnie Nationale du Rhone ทางโครงการจะติดตั้งทางปลาผ่านรวมถึงบันไดปลาโจนที่เขื่อนไซยะบุรี เพื่อให้แน่ใจว่า ปลาสามารถอพยพขึ้นลงตามลำน้ำโขง โดยผ่านโครงสร้างเขื่อนที่มีความยาวกว่า 40 เมตร ได้โดยไม่ปิดกั้นทางผ่านธรรมชาติ 
 
ทั้งนี้ บันไดปลาโจนจะมีความยาวประมาณ 800 เมตรถึง 3 กิโลเมตร เพื่อให้ปลาสามารถว่ายน้ำผ่านเขื่อนได้ ผู้พัฒนาโครงการยังได้จ้างผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปลาจากองค์กร AF Colenco และ Teraplant เพื่อศึกษาการอพยพของปลาที่บริเวณเขื่อนและสร้างระบบที่ดีที่สุดเพื่อให้ปลาว่ายน้ำผ่านเขื่อนได้ นอกจากนี้ จะมีการติดตั้งระบบฉีดตะกอนที่เขื่อนเพื่อให้แน่ใจว่าตะกอนสามารถไหลผ่านลำน้ำได้ตามธรรมชาติ และระบบนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพจากหลายประเทศที่สร้างเขื่อนในยุโรป และลาวก็ไม่ได้เป็นประเทศแรกที่สร้างเขื่อนที่มีน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-river dam) นายเรวัตร กล่าวเสริมอีกว่า การสร้างเขื่อนนี้ถือเป็นโอกาสที่จะเรียนรู้ถึงด้านบวกและด้านลบของโครงการก่อนหน้านี้
 
ทั้งนี้ ผู้พัฒนาโครงการได้ตกลงที่จะให้เงินทุนในการออกแบบเขื่อนใหม่และการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อให้เขื่อนแห่งนี้เป็นเขื่อนที่มีความทันสมัยมากที่สุดในโลก นายเรวัตร ยังได้เน้นย้ำอีกว่า เขื่อนไซยะบุรีอยู่บนพื้นฐานหลักตามการไหลของน้ำและไม่ได้เก็บน้ำเหมื่อนเขื่อนอื่นๆ แนวคิดในการพัฒนาคือ การสร้างเขื่อนที่มีความโปร่งใส ซึ่งหมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถเข้าไปในเขื่อนได้ก็สามารถที่จะไหลผ่านมันได้เช่นกัน
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาษีนักแสดงสาธารณะและการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการจัดให้ผู้อื่นรับเงินแทน

Posted: 09 Oct 2012 07:02 AM PDT

ตามที่มีข่าวว่า ดารา-นักแสดงชื่อดังบางคนมีพฤติการณ์หลบหนีภาษี ด้วยการจัดให้คนอื่นมารับค่าแสดงของตนเอง โดยการใช้สำเนาบัตรประชาชนของคนอื่นเป็นเอกสารในการรับเงินแทนตนเอง

เนื่องจากดารา-นักแสดงเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูง จึงทำให้คนในสังคมไทยวิพากษ์วิจารณ์การหลบหนีภาษีดังกล่าวกันอย่างกว้างขวาง  ทั้งดารา-นักแสดง ยังเป็นกลุ่มคนซึ่งมหาชนชื่นชอบ เป็นพระเอกนางเอกที่มีอิทธิพลต่อจิตใจ เป็นตัวอย่างในการใช้ชีวิตของแฟนคลับจำนวนมาก เห็นได้จากกรณีที่มีคนเอาอย่างตัวละครไปใช้ในชีวิตจริง

การเสียภาษีที่ไม่ถูกต้องของเหล่าดารานักแสดง อาจเกิดจากความไม่รู้ หรือรู้แล้ว แต่พยายามหลบหนีภาษี แต่หลบได้ไม่ดี ดังนั้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่เหล่าดารานักแสดง  เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555 กรมสรรพากรจึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ "การเสียภาษีอากรของดารานักแสดงสาธารณะ"

โดย ดร.สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากรเปิดการสัมมนา และ นายสมพงษ์ ตัณฑพาทย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นผู้บรรยายให้ความรู้การเสียภาษี โดยมีดารานักแสดง ผู้จัดการและสำนักงานบัญชีที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการสัมมนากว่า 300 คน

เมื่อการเสียภาษีของดารานักแสดงเป็นที่สนใจของผู้คนในสังคม ผู้เขียนจึงขอนำเสนอภาระภาษีอากรของดารานักแสดงสาธารณะและผู้จ่ายเงินแก่ดารานักแสดงโดยสังเขป เฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ภาระภาษีของเงินได้จากการแสดงสาธารณะ
เงินได้จากการแสดงสาธารณะ[1]  หมายถึง "เงินได้จากการแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ"  ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภท เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตาม มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

เงินได้[2]จากการแสดงสาธารณะนี้ รวมถึงค่าตอบแทน เงินรางวัลและประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการแสดงหรือการแข่งขันเพื่อแสดงต่อสาธารณะ เช่น ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะจ่ายตามจำนวนคราวที่แสดงหรือแข่งขัน จ่ายเป็นการเหมา หรือจ่ายในลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน

แต่ทั้งนี้ นักแสดงสาธารณะอาจจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ถ้าเงินที่ได้รับนั้นเป็นเงินได้ที่ยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น นักแสดงเป็นพรีเซ็นเตอร์รถยนต์ เมื่อนักแสดงแต่งงาน บริษัทผู้ผลิตให้รถยนต์เป็นของขวัญในงานแต่งงาน ดังนี้ ถือว่า มูลค่ารถยนต์เป็นเงินได้จากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น แต่บริษัทผู้ให้รถยนต์โดยเสน่หา ก็ไม่อาจนำมูลค่ารถยนต์นั้นไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะเป็นการให้โดยเสน่หาจึงไม่ใช่รายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการ[3]

เงินได้จากการแสดงสาธารณะนี้ สามารถหักรายจ่ายได้สูงกว่าเงินได้ประเภทอื่น ๆ เพราะรัฐเห็นว่า เงินได้ประเภทนี้ มักมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเงินได้จากค่าจ้างแรงงานหรือเงินได้อีกหลายประเภท จึงยอมให้ผู้มีเงินได้สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ วิธีใดวิธีหนึ่ง จาก2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หมายถึง การใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการใช้จ่าย เพื่อพิสูจน์การใช้จ่ายใด ๆ โดยหักเป็นรายจ่ายได้ดังนี้

                (ก) เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักได้ร้อยละ 60          

                (ข) เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หักได้ร้อยละ 40

แต่การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท

เมื่อก่อน กรณีการเสียภาษีของคู่สมรสที่เป็นนักแสดงสาธารณะ หากสามีและภริยาต่างฝ่าย ต่างมีเงินได้จากการแสดงสาธารณะ ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีโดยต่างฝ่าย ต่างหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น

แต่หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ว่า มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ที่ให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามีนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 6 คู่สมรสของดารา รวมถึงคู่สมรสอื่น ก็ไม่ต้องแบกรับภาระภาษีมากกว่าคนโสดอีกต่อไป

วิธีที่ 2.  หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยผู้มีเงินได้ต้องแสดงหลักฐานการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้จากการแสดงสาธารณะนั้น เพื่อพิสูจน์ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานสรรพากร ตามหลักที่ว่า "พิสูจน์ได้เท่าใด ก็หักค่าใช้จ่ายได้เท่านั้น" ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสจน์ ปรากฏว่า มีรายจ่ายน้อยกว่าอัตราเหมา (ตามวิธีที่ 1) ก็ให้ถือว่า ดารา-นักแสดงมีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์[4]

เงินได้จากการแสดงสาธารณะและการหักค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดานั้น ผู้มีเงินได้ต้องรวมเงินได้จากการแสดงสาธารณะที่ได้รับทุกครั้งในรอบปีปฏิทิน แล้วจึงเลือกว่า จะใช้สิทธิขอหักค่าใช้จ่ายเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร อย่างใดอย่างหนึ่ง

ในกรณีผู้มีเงินได้จากการแสดงสาธารณะ มีเงินได้ประเภทอื่นด้วย เช่น เงินเดือน ค่ารับทำงานให้ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเหมาตามประประเภทเงินได้นั้น หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง ถ้าประมวลรัษฎากรยอมให้หักค่าใช้จ่ายด้วยวิธีนี้ได้

จากนั้น จึงเอาเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่ได้รับในรอบปีปฏิทินมารวมกัน แล้วจึงหักค่าลดหย่อน ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ภริยา บุตร ค่าเบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้าน เป็นต้น

เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนประเภทต่าง ๆ แล้วนี้ เรียกว่า เงินได้สุทธิ ซึ่งจะใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าภาษีที่ต้องเสียในแต่ละปี ตามอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ ร้อยละ 10-37 ตามช่วงของเงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 150,001- 4,000,000 บาทขึ้นไป ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร

เมื่อคำนวณได้ค่าภาษีที่ต้องชำระแล้ว ผู้มีเงินได้ก็นำค่าภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว มาหักออกก่อน ถ้าภาษีที่คำนวณไว้มากกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็ต้องชำระค่าภาษีเพิ่ม แต่ถ้าภาษีที่คำนวณไว้น้อยกว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้มีเงินได้ ก็มีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินจากกรมสรรพากรได้ 

2. นักแสดงสาธารณะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ปีละ 2 ครั้ง
นักแสดงสาธารณะ หมายถึง นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น นักแสดงละครเวที นักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละครวิทยุ นักแสดงละครโทรทัศน์ ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ นักแสดงตลก นายแบบ นางแบบ นักพูดรายการทอล์คโชว์ นักมวยอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น

นักแสดงสาธารณะดังกล่าว ไม่รวมถึง ผู้ประกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการในสถานบันเทิงใด ๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง ผู้จัดการทีมกีฬา ผู้ฝึกสอน นักกีฬาหรือบุคคลผู้กระทำการในลักษณะทำนองเดียวกัน[5]

ดังนั้น นักแสดงสาธารณะ จึงหมายถึง บุคคลที่มีอาชีพหรือมีเงินได้จากการแสดงประเภทต่าง ๆ ต่อสาธารณะ หรือผู้ที่ดำรงชีพจากค่าตอบแทนที่ได้รับจากการแสดงประเภทต่าง ๆ ต่อสาธารณะ 

เงินได้ของนักแสดงสาธารณะ หมายถึง เงินได้พึงประเมิน หรือค่าตอบแทนจากการประกอบอาชีพนักแสดงสาธารณะตามวรรคหนึ่ง รวมถึง รางวัลและประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการแสดงหรือการแข่งขัน เช่น ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะจ่ายตามจำนวนคราวที่แสดงหรือแข่งขัน จ่ายเป็นการเหมา หรือจ่ายในลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน

นักแสดงสาธารณะ มีหน้าที่ยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง[6] ดังนี้

ครั้งที่ 1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94

ครั้งที่ 2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้นำเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ไปยื่นรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้ ให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ชำระไว้ตามครั้งที่ 1 มาถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี

สำหรับคนที่มีอาชีพอื่น แต่มีเงินได้จากการแสดงสาธารณะประเภทต่าง ๆ แบบสมัครเล่น เป็นครั้งคราว ไม่ถือว่าเป็นนักแสดงสาธารณะ แต่ยังคงมีหน้าที่ยื่นเสียภาษีตามประเภทเงินได้ ถ้าเป็นเงินได้ 40 (1) เงินเดือนอย่างเดียวก็ยื่นแบบเสียภาษีครั้งเดียว แต่ถ้ามีเงินได้อื่นตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) ก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง

3. การหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินได้จากการแสดงสาธารณะ
บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ค่าแสดงสาธารณะแก่นักแสดงสาธารณะ ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย[7] ดังนี้

(ก) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

(ข) กรณีนักแสดงสาธารณะมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ให้คำนวณหักภาษีไว้ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่ถ้าผู้จ่ายเงินได้ให้นักแสดงสาธารณะเป็นองค์กรของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่หักภาษีในอัตราร้อยละ 1[8]

โดยผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้

4. การหลีกเลี่ยงภาษีโดยการจัดให้ผู้อื่นรับเงินแทน
การหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่สูง มักใช้วิธีจัดให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับเงินแทน เรียกว่า วิธีการใช้ตัวแทนเชิด แตกหน่วยภาษีจากหน่วยเดียวเป็นหลาย ๆ หน่วย ทำให้แต่ละหน่วยภาษี สามารถหักค่าลดหย่อนได้มากขึ้นตามจำนวนหน่วยที่แตกออกไป เมื่อแตกหน่วยภาษีแล้ว แต่ละหน่วยภาษี ก็จะมีรายได้สุทธิน้อยลง เสียภาษีในอัตราที่ลดลง ทำให้ค่าภาษีโดยรวมลดลงเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ผู้รับเงินแทนอาจเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น หรืออาจใช้ผู้รับเงินหลายประเภทดังกล่าวข้างต้น ร่วมกันรับเงินแทน แต่หน่วยภาษีที่นิยมใช้กันมากคือ บุคคลธรรมดาและหรือคณะบุคคล ด้วยเหตุที่ทำง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้บังคับให้บุคคลธรรมดาและคณะบุคคลต้องจัดทำบัญชีและมีการสอบบัญชี เช่นเดียวกับบริษัทหรือนิติบุคคลประเภทอื่น

การหลีกเลี่ยงภาษีด้วยวิธีนี้ เจ้าของเงินได้หรือตัวการ จะขอให้บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินให้แก่ตัวแทน แล้วให้ตัวแทนนำเงินนั้นมามอบให้แก่ตัวการ ถ้าหากจำนวนเงินไม่มาก ก็ให้ตัวแทนลงชื่อรับเงินแทน โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารประกอบการรับเงิน หากจำนวนเงินมาก ก็อาจจัดให้ตัวแทนหนึ่งรายหรือหลายราย เข้าทำนิติกรรมหรือสัญญากับบริษัทหรือนิติบุคคลผู้จ่ายเงิน เพื่อรับเงินแทนตัวการ

ที่ผ่านมา กลุ่มคนที่มีรายได้สูง เช่น ดารา นักแสดง แพทย์ สถาปนิก วิศวกร ผู้บริหาร นักบัญชี รวมถึงนักวิชาชีพอื่นๆ บางส่วน ใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน ทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยลง กรมสรรพากรได้รวบรวมข้อมูลพบว่า มีการจัดตั้งคณะบุคคลทั่วประเทศกว่า 10,000 คณะ

โดยผู้มีรายได้สูงไม่น้อย จัดตั้งและเข้าเป็นหุ้นส่วนในคณะบุคคลจำนวนมากตั้งแต่สิบถึงหลายสิบคณะ น่าเชื่อว่า เป็นการใช้คณะบุคคลเป็นตัวแทนเชิดรับเงินแทน กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเน้นตรวจสอบรายจ่ายของบริษัทหรือนิติบุคคลที่จ่ายให้คณะบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดรับเงินแทนเป็นพิเศษ

กรณีตามข่าวที่ว่าดารานักแสดงคนดังใช้บัตรประชาชนของพ่อคนขับรถมารับเงินค่าตัวแทน ก็เป็นตัวอย่างการหลีกเลี่ยงภาษีด้วยวิธีการใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน ดังกล่าวข้างต้น ส่วนมากเมื่อตรวจสอบเส้นทางของเงิน ก็จะพบว่า ตัวแทนเชิดแทบจะไม่ได้เงินเลย และไม่มีเหตุผลว่า พ่อคนขับรถ จะมาช่วยหรือทำอะไร จนมีเงินได้จากการแสดงสาธารณะได้

การใช้ตัวแทนเชิด จึงเป็นนิติกรรมอำพรางชนิดหนึ่ง คือการทำสัญญาให้ตัวแทนเชิดรับเงิน อำพรางตัวการ ถ้าเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจสอบ ก็จะพบได้ไม่ยาก เนื่องจากตัวแทนเชิด ไม่มีคุณสมบัติและไม่ใช่ผู้ให้บริการหรือผู้ทำงานที่แท้จริงให้แก่ผู้จ่ายเงิน แต่เป็นเพียงผู้รับเงินแทนอย่างเดียว จึงต้องถือว่า ตัวการเป็นผู้รับเงินได้ประเภทที่แท้จริงนั้น

นิติกรรมอำพราง (Concealed Act) หมายถึง นิติกรรมหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอื่นที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 ท่านให้บังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพรางหรือตามนิติกรรมที่แท้จริง

การจ่ายเงินแก่ตัวแทนเชิด นอกจากต้องทำนิติกรรมหรือสัญญาอำพรางแล้ว ยังอาจเป็นการสร้างรายจ่ายเท็จ สร้างหลักฐานเท็จเพื่อลงบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างทำของ ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เป็นต้น ทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐจัดเก็บลดลงด้วย

อาจมีคำถามว่า ทำไมบริษัทหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้แก่นักแสดงสาธารณะ จึงยอมให้ดารานักแสดงสาธารณะใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน?

คำตอบคือ ดารานักแสดงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากมหาชน จะมีอำนาจต่อรองสูงมาก ถ้าบริษัทผู้จ่ายไม่ยอม ดารานักแสดงก็จะอ้างว่า ถ้าต้องเสียภาษีสูงถึงร้อยละ 37 ก็จะไม่ไปแสดงให้ ทำให้ผู้ว่าจ้างที่แม้เป็นบริษัทใหญ่ระดับประเทศหรือระดับโลก ต้องยอมให้ความร่วมมือกับดารานักแสดง เพื่อให้กิจกรรมการตลาดและประชาสัมพันธ์ของบริษัทตนดำเนินการไปได้ตามแผน ตามคติที่ว่า "ให้งานเดินไปได้ก่อน ส่วนปัญหาค่อยหาทางแก้ภายหลัง"

ในกรณีตรวจสอบพบว่า บริษัทหรือนิติบุคคลใด จ่ายเงินแก่ตัวแทนเชิด ซึ่งไม่ใช่การจัดซื้อสินค้า หรือจัดจ้างหรือให้บริการอย่างแท้จริง หรือมีการใช้หลักฐานเท็จ รายจ่ายเท็จ เจ้าหน้าที่สรรพากรจะถือว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามประมวลรัษฎากร ม.65 ตรี บริษัทต้องนำรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าว บวกกลับเป็นเงินได้ แล้วชำระค่าภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้อง รวมทั้งเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย

ทั้งนี้ บริษัทอาจเสียสิทธิในการนำบรรดาภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งบริษัทได้หักไว้และนำส่งอย่างไม่ถูกต้อง ที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าใช้จ่ายต้องห้าม ไปใช้ประโยชน์ทางภาษี และต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่คำนวณตามประเภทหรือรายการจ่ายที่แท้จริง พร้อมทั้งเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรด้วย

ทั้งนี้ บริษัทผู้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายผิดฝาผิดตัว เช่น ดารานักแสดง ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 5  แต่บริษัทผู้ว่าจ้างกลับหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากตัวแทนเชิด ซึ่งเป็นบุคคลอื่นในอัตราร้อยละ 3 ทำให้บริษัทผู้จ่ายเงินต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตามประเภทหรือรายการจ่ายที่แท้จริง ตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร

เรียกง่าย ๆ ว่า ต้องเสียใหม่ทั้งหมด  และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร อีกทั้งมีโทษปรับซึ่งเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากรอีกด้วย ส่วนเงินภาษีที่หักผิดไป บริษัทผุ้จ่ายเงิน ก็จะขอคืนไม่ได้

หากเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบรายการใช้จ่ายต้องห้ามจำนวนมาก ต่อเนื่องกันหลายปี จนน่าเชื่อว่า มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามกฎหมาย โดยเจตนา โดยวางแผน โดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยใช้อุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน บริษัท กรรมการ ผู้เกี่ยวข้องและตัวแทนเชิด อาจต้องรับผิดทางอาญา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 2 แสนบาท ต่อกระทงความผิดด้วย

หากเจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบว่า ผู้จัดการส่วนตัวหรือสำนักงานบัญชีที่ทำบัญชีให้ดารานักแสดงสาธารณะรายใด ร่วมหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน อธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรขยายผลการตรวจสอบไปยังลูกค้ารายอื่น ๆ ของผู้จัดการส่วนตัวหรือของสำนักงานบัญชีนั้นด้วย เพราะเป็นไปได้สูงว่า อาจหลีกเลี่ยงภาษีด้วยวิธีการใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน เช่นเดียวกัน

ดารา-นักแสดงบางคน เข้าใจผิดว่า ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ เป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว จึงไม่ยื่นแบบแสดงรายการและคำนวณภาษี โดยรวมเงินได้จากการแสดงสาธารณะ ปีละ 2 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวข้างต้น ทำให้ถูกประเมินและต้องเสียภาษีย้อนหลัง พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิมจำนวนมาก เช่น

คุณโก๊ะตี๋ ได้รับว่า เคยถุกประเมินและเสียภาษีย้อนหลังเป็นเงินถึง 3 ล้านบาท ดาราบางคนกลายเป็นบุคคลล้มละลาย เช่น คุณเพชรา เชาวราษฎร์ หรือดาราบางคน ต้องต่อสู้คดีกับสรรพากรจนถึงศาลฎีกา เช่น คุณญาสุมินทร์ เลิศอมรวัฒนา (จ๋า) อดีตนักแสดงและพิธีกรชื่อดัง เป็นต้น

คุณนก-จริยา แอนโฟเน่ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไว้อย่างน่าสนใจว่า "ดารา นักแสดงแทบทุกคน เคยถูกเรียกภาษีย้อนหลังกันเกือบทั้งนั้น เนื่องจากไม่มีความรู้ในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการเสียภาษีของนักแสดงสาธารณะ ทั้งนี้ ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีดารานักแสดงบางคน ขอให้ทางผู้จัดละคร ช่วยหลบเลี่ยงภาษีให้ แต่ได้เตือนไปและขอให้ทำให้ถูกต้อง"

การใช้ตัวแทนเชิดรับเงินแทน เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้จ่ายและผู้รับเงินได้ ควรต้องร่วมกันรับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไข การหลีกเลี่ยงภาษีดังกล่าว นอกจากทำให้รัฐเสียรายได้ ทั้งค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ยังไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีที่สุจริตทั่วประเทศ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในสังคมไทย ดารา-นักแสดงสาธารณะ เป็นตัวอย่างของเยาวชนวัยรุ่นจำนวนมาก จึงควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีทุกคน*

 

หมายเหตุ  พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในวารสารธรรมนิติฉบับ "เอกสารภาษีอากร" เดือนตุลาคม 2555 Vol 32 No 373   




[1]    มาตรา 8 (43) ของพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502

[2]    มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

       "เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย

[3]    มาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

[4]    มาตรา 8 วรรคท้าย ของพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502

[5]    ข้อ 1 วรรคสอง ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.102/2544 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มของนักแสดงสาธารณะ ผู้จัดให้มีการแสดงของนักแสดงสาธารณะ และคู่สัญญาที่จัดหานักแสดงสาธารณะมาแสดง

[6]    ข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.102/2544

[7]    ข้อ 9 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528

[8]    ข้อ 7 (1) ของคำสั่งกรมสรรพกรที่ ป.102/2544

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักศึกษาประท้วงผลเลือกตั้งเวเนซุเอลา

Posted: 09 Oct 2012 06:35 AM PDT

9 ต.ค. 55 - euronews รายงานว่ากลุ่มนักศึกษาร่วมหลายร้อยคน ออกมารวมตัวประท้วงและปิดถนนในกรุงคาราคัส (Caracas) เมืองหลวงของเวเนซุเอลา เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ที่ผ่านมาเพื่อประท้วงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ (Hugo Chavez) สามารถป้องกันตำแหน่งไว้ได้เป็นสมัยที่ 3

ผู้ประท้วงยังได้เรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ หลังจากความพ่ายแพ้ของนายเฮนริเฆ่ คาปริเลส (Henrique Capriles) ในการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ (7 ต.ค.) ที่ผ่านมา โดยอเลจันดรา กอนซาเลซ (Alejandra Gonzalez) หนึ่งในนักศึกษาที่สนับสนุนคาพริเลส กล่าวว่าเธอต้องการใช้ชีวิตอยู่ในระบบประชาธิปไตย

ปัจจุบันชาเวซกำลังพักฟื้นจากการรักษาอาการโรคมะเร็ง ทั้งนี้หลังจากที่เขาขึ้นมามีอำนาจตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 ทั้งนี้จำนวนเปอร์เซ็นต์ทิ้งห่างคู่แข่งของเขาลดลงจาก 27% ในปี ค.ศ. 2006 เหลือเพียง 10% ในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงกระแสความไม่พอใจของชาวเวเนซุเอลาต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการบริหารประเทศของเขา
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกษตรกรสวนยางชุมนุมทำเนียบจี้รัฐเร่งจ่ายเงิน-เลิกแทรกแซงราคายาง

Posted: 09 Oct 2012 03:59 AM PDT

เรียกร้อง 5 ข้อ จ่ายเงินที่ค้างอยู่-ยกเลิกการแทรกแซงราคายาง-ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.การยาง-ห้ามรัฐนำยางที่รับซื้อไว้มาจำหน่ายก่อน-เปิดเผยสัญญาและรายชื่อกลุ่มที่ขายยางให้รัฐ ด้าน 'ณัฐวุฒิ' รับเดินหน้าสางปัญหา รับในสัปดาห์หน้าเงินถึงมือ

 
 
วันนี้ (9 ต.ค.55) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่หน้าประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เกษตรกรชาวสวนยางในนามตัวแทนสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศหลายร้อยคน รวมตัวยื่นหนังสื่อต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอให้เร่งรัดชำระค่ายางพาราตามโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
 
จากหนังสือของเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสุราษฎร์ธานีระบุว่า ขณะนี้เครือข่ายฯ ขายยางให้กับโครงการตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม-วันที่ 3 ตุลาคม 2555 ยังไม่ได้รับเงินค่ายางเฉลี่ยประมาณ 804.55 ล้านเศษ ร่วม 44 สถาบันเกษตรกร และทำให้สถาบันขาดทุน เนื่องจากต้องนำยางที่ซื้อไว้แล้วตามโครงการออกไปขายนอกโครงการ เพื่อรักษาสภาพคล่องอีกประมาณ 2.6 ล้านเศษ กรณีดังกล่าวทำให้สถาบันเกษตรกรและสมาชิกเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากไม่มีสภาพคล่อง และละเงินหมุนเวียนที่จะทำธุรกิจต่อไป จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการจ่ายเงินค่ายางพาราและชดเชยส่วนขาดทุนให้แก่สถาบันเกษตรกรโดยด่วน 
 
 
นอกจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุม ระบุข้อเรียกร้อง 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐจ่ายเงินที่ค้างอยู่กับสหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกรให้ครบถ้วนทันที พร้อมชดเชยส่วนต่างเป็นรายวัน 2.ให้รัฐประกาศยกเลิกการแทรกแซงราคายางทันที โดยให้หันไปใช้วิธีการปล่อยเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ สถาบันเกษตรกร และภาคเอกชนไปบริหารจัดการกันเองตามกลไกตลาดเสรี 3.ให้รัฐยกเลิกการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การยาง ที่กำลังพิจารณาอยู่ 4.ห้ามรัฐนำยางที่รับซื้อไว้มาจำหน่าย จนกว่ากระบวนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ และให้เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบโดยมีผู้แทนของสหกรณ์ และสถาบันเกษตรกรเข้าร่วมด้วย และ 5.ให้รัฐเปิดเผยสัญญาและรายชื่อกลุ่มที่ขายยางให้รัฐ ผ่านเว็บไซต์หรือสื่อสาธารณะ
 
 
ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกมารับหนังสือและเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยยืนอยู่ภายในประตูทำเนียบ ส่วนกลุ่มผู้ชุมนุมพยายามเรียกร้องการเจรจากับนายกรัฐมนตรี ขณะที่ผู้ชุมนุมบางคนตะโกนด่านายณัฐวุฒิว่าไม่สามารถแก้ปัญหาราคายางได้ ทั้งนี้การเจรจาใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่ไม่ได้ข้อยุติ
 
นายณัฐวุฒิได้ใช้โทรโข่งพูดชี้แจงกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ตามข้อเรียกร้องที่ต้องการให้จ่ายเงินที่ค้างอยู่นั้น ยืนยันว่าเงินจะมาถึงโครงการในวันที่ 10 ต.ค.นี้ และจากนั้นจะชำระให้กับสถาบันเกษตรกรที่เตรียมเอกสารไว้พร้อมแล้ว คาดว่าจะถึงมือทั้งหมดภายในสัปดาห์หน้า ส่วนข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลประกาศยกเลิกการแทรงแซงยางพารา ยินดีรับฟัง แต่เนื่องจากเป็นประเด็นที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี ตนเองก็จะนำไปหารือในที่ประชุมกรรมการบริหารโครงการ และคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
 
ส่วนที่มีการเรียกร้องให้รัฐยกเลิก พ.ร.บ.การยางทันทีนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนกรรมาธิการสภา ยืนยันว่ารัฐไม่ได้ปิดกั้น พร้อมเสนอให้ตัวแทนเกษตรกรได้รวบรวมประเด็นที่เป็นข้อกังวล สงสัยและข้อสังเกต แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมกรรมาธิการ สำหรับกรณีที่ห้ามรัฐนำยางที่รับซื้อไว้มาจำหน่ายจนกว่ากระบวนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ รัฐบาลยังไม่ได้จำหน่ายเนื่องจากราคายังไม่เป็นที่น่าพอใจ สุดท้ายข้อเรียกร้องให้รัฐเปิดเผยสัญญาและรายชื่อกลุ่มที่ขายยางให้รัฐ ผ่านเว็บไซต์หรือสื่อสาธารณะเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการต่อไป 
 
 
ด้านกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นต้องการการยืนยันที่เป็นลายลักษณ์อักษรและยังมีบางกลุ่มที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีหรือตัวแทนมาร่วมหารือ สุดท้ายจึงการประชุมโดยสรุปให้เกษตรกรตัวแทนสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ 9 คน เข้าร่วมเจรจาในห้องประชุมทำเนียบรัฐบาล โดยเรียกร้องให้กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และนายณัฐวุฒิ เข้าร่วมในการพูดคุยด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกาฟิลิปปินส์ระงับการใช้พ.ร.บ. คอมพ์ รอชี้ขัดต่อเสรีภาพพลเมืองหรือไม่

Posted: 09 Oct 2012 02:43 AM PDT

พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ของฟิลิปปินส์ที่มีผลบังคับใช้สัปดาห์ที่แล้ว ถูกศาลสูงออกคำสั่งระงับการใช้ 4 เดือน หลังมีการคัดค้าน ทั้งนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ทำให้การหมิ่นทางเน็ต ไซเบอร์เซ็กส์ และสแปมมีความผิดสูงสุด 12 ปี 

 

9 ต.ค. 55 - ศาลสูงประเทศฟิลิปปินส์ได้ระงับการใช้กฎหมายพ.ร.บ. การป้องกันความผิดทางไซเบอร์ 2012 แล้วชั่วคราว หลังจากมีการคัดค้านจากผู้วิจารณ์ว่ากฎหมายดังกล่าวจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก 
 
กฎหมายฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไซเบอร์เซ็กส์ สื่อภาพยนตร์อนาจารเด็กออนไลน์ การขโมยอัตลักษณ์ดิจิตอล และการโฆษณาแบบสแปมมิ่ง โดยทำให้ความผิดดังกล่าวมีโทษสูงสุด 12 ปี
 
ศาลสูงสุดได้ออกคำสั่งระงับการใช้กฎหมายดังกล่าวชั่วคราวเป็นเวลา 120 วัน หลังจากมีการยื่นคำร้อง 15 ฉบับ เพื่อท้าทายความชอบด้วยกฎหมายของพ.ร.บ. ดังกล่าว 
 
สหภาพนักข่าวแห่งชาติของฟิลิปปินส์ หนึ่งในผู้ยื่นคำร้อง ระบุว่า กฎหมายดังกล่าว "ทำให้การต่อสู้กับพลังความมืดของเผด็จการรัฐธรรมนูญถดถอยลงไป และแทนที่ด้วยความอำนาจนิยมทางไซเบอร์แทน"  
 
เรนาโต เรเยส เลขาธิการองค์กรฝ่ายซ้าย พันธมิตรเพื่อความรักชาติใหม่ หนึ่งในผู้ยื่นคำร้อง กล่าวว่า คำสั่งระงับชั่วคราวของศาล ถือเป็น "ชัยชนะอันสำคัญสำหรับเสรีภาพพลเมือง" 
 
ทั้งนี้ รัฐบาลระบุว่า กฎหมายดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อใช้จัดการ "ปัญหาที่สำคัญ" เกี่ยวกับอาชญากรรมและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในอินเทอร์เน็ต แต่ผู้ประท้วงชี้ว่า พ.ร.บ. นี้ อาจถูกใช้เพื่อจัดการกับผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และจำกัดเสรีภาพการแสดงออก 
 
ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่นี้ จะทำให้การหมิ่นประมาทในทางออนไลน์ เช่น ข้อความในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือบล็อก ถูกปรับหรือจับกุมสูงสุด 12 ปี และให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการค้นหาและดึงข้อมูลจากบัญชีออนไลน์ส่วนตัวของประชาชน 
 
การบังคับใช้พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฟิลิปปินส์ ได้นำมาซึ่งการประท่วงทั้งจากนักกิจกรรมนิรนามที่แฮ็กเข้าไปในเว็บไซต์ของรัฐบาล และนักข่าวได้รวมตัวกันเดินขบวนคัดค้านเช่นเดียวกัน 
 
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
 
Philippine court suspends cybercrime law
 
Philippine Supreme Court suspends cybercrime law
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การตรวจสอบงบประมาณเพื่อการพัฒนาสันติภาพ เพื่อลดอาวุธปืน ระเบิดและกระสุนปืนชายแดนใต้

Posted: 09 Oct 2012 02:42 AM PDT

ภาพข่าวความสูญเสียชีวิตด้วยระเบิดหลากหลายประเภท อาวุธปืนหลากหลายชนิดที่มีความรุนแรงความถี่เกิดขึ้นมากมาย  ความรุนแรงทางอาวุธที่เกิดขึ้นจำนวนหนึ่ง ทางเจ้าหน้าที่รัฐสามารถติดตามหาผู้กระทำผิดได้และนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  หากแต่สาธารณชนยังไม่เห็นถึงความพยายามในการตรวจสอบแหล่งที่มาของอาวุธและสารตั้งต้นระเบิดประเภทต่างๆ ไปพร้อม ๆ กับการแถลงข่าวจำนวนผู้มอบตัวหรือผู้ประกาศยุติบทบาท ภาพที่เห็นในสถานการณ์หลังความขัดแย้งทางอาวุธในบริบทต่างประเทศ การคืนอาวุธหรือการปลดอาวุธ (Disarmament) มีกฎหมายรองรับให้นิรโทษกรรมไว้ก่อนว่าหากนำอาวุธมาคืนให้กับทางรัฐภายในระยะเวลาหนึ่ง ทางการจะไม่เอาผิดเอาโทษในฐานครอบครองอาวุธโดยผิดกฎหมาย  เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับบุคคลที่ต้องการให้ความร่วมมือกับรัฐหลังภาวะสงคราม สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ดูจะแปลกไป ดูเหมือนขาดการวางแผนมีแต่การนำคนกลุ่มต่างๆ มามอบตัวหรือแถลงการณ์ต่อเนื่องว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการของรัฐ แต่กลับไม่มีการคืนอาวุธหรือปลดอาวุธแต่อย่างใด ซึ่งอาจตั้งขอสันนิษฐานอาวุธและความสามารถในการปฎิบัติการทางอาวุธไม่ได้ลดลงไปด้วยอย่างนั้นหรือ

ความขัดแย้งทางอาวุธทำให้ทุกคนบาดเจ็บล่มตายและได้รับความเจ็บปวดไปตามตามกัน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างถาวร  สิทธิในชีวิต รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินถูกคุกคามได้โดยง่ายในสถานกาณ์ความขัดแย้งทางอาวุ

การใช้อาวุธประหัตประหารต่อกันนอกจากนำไปสู่การทำลายชีวิต วิถีขีวิต ยังนำไปสู่การถดถอยของการพัฒนาประเทศอย่างที่ควรจะเป็น จึงกล่าวได้ว่า Armed Conflict เป็นคู่ตรงข้ามกับการพัฒนา หากแต่ในจังหวัดชายแดนใต้กลับกลายเป็นเหมือนเหรียญสองด้านที่อยู่คู่กันไปเสียแล้ว

ในเวลา 9 ปี ที่ผ่านมา จนถึงเดือนตุลาคมปี 2555 เป็นปีงบประมาณใหม่ บุคลากรและงบประมาณชุดใหม่กำลังลงไปทำงานในนามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยจำนวนแสนล้านบาท และดูเหมือนว่า ภาพรวมทางเศรษฐกิจทางกายภาพดูเหมือนจะเติบโตขึ้นพร้อมๆ กับความรุนแรงทางอาวุธที่มีมากขึ้น ซึ่งเราอาจจะต้องมองในมุมกลับหรือมาลองทบทวนกันว่า งบประมาณที่ทุ่มเทลงไปนั้น ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบสามารถลดภาวะการต่อสู้ขัดแย้งทางอาวุธได้จริงหรือไม่  หรืออาจเป็นไปได้ว่า งบการพัฒนาจากภาคส่วนต่าง ๆ นั้น เป็นการงบที่ไปเติมเชื้อและอาจเป็นเม็ดเงินที่นำไปสู่การซื้อขายอาวุธหลากหลายประเภทเข้าสู่วงจรการใช้อาวุธประหัตประหารกันมากขึ้น

ที่ผ่านมา 9 ปี อาจจะยังไม่เคยมีการวิจัยหรือสำรวจในเชิงการตรวจสอบการจัดสรรและการใช้งบประมาณให้กับโครงการของภาครัฐและเอกชนในการจัดการความขัดแย้งในจังหวัดภาคใต้ หากแต่จะมี ก็อาจจะมีการตรวจสอบภายในที่ไม่มีการเผยแพร่   ถึงกระนั้นก็ตาม กระบวนการตรวจสอบโดยรัฐที่ประชาชนไม่ได้รับรู้ ก็คงไม่ต่างจากการไม่มีการตรวจสอบ  จึงได้พยายามคิดหาหนทางว่า จะมีแนวทางใดบ้างที่จะให้สังคมไทยร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการของภาครัฐและเอกชนเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เม็ดเงินกลับกลายเป็นกระสุนปืนและระเบิดมาทำร้ายผู้คนในจังหวัดชายแดนใต้ไปมากกว่านี้  

จากการศึกษาเบื้องต้นจากเอกสารที่พอจะค้นคว้าได้พบว่า มีชุดเครื่องมืออยู่ชุดหนึ่งที่อาจสามารถนำมาปรับใช้ได้ในจังหวัดชายแดนใต้ นั่นคือ แนวคิดเรื่อง Peace & Conflict Impact Assessment (PCIA) of Development Project in Conflict Zone  หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "การประเมินผลกระทบด้านสันติภาพและความขัดแย้ง" เป็นแนวความคิดใหม่ในการตรวจตราด้านสันติภาพ (Peace Audit) ทั้งนี้หมายถึง แนวทางการวิเคราห์อย่างเป็นระบบเพื่อให้เห็นผลกระทบจากสถานการณ์การสร้างสันติภาพในสถานการณ์ความขัดแย้ง (Peace & Conflict Impact Assessment – PCIA) ว่า การทำงานด้านสันติภาพ โดยเฉพาะการใช้แนวทางการพัฒนานั้นส่งผลกระทบอย่างไรต่อกิจกรรมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมของพื้นที่ขัดแย้งนั้นอย่างไร

แนวทางการพัฒนาหรือแผนพัฒนาทั้งจากภาครัฐและเอกชนมักถูกระบุว่า เป็นเครื่องมือในการป้องกันความรุนแรงและสร้างสังคมสันติภาพ ฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความรุนแรง แนวทางการพัฒนาในสถานการณ์ความขัดแย้งนั้นต้องการการวางแผนที่ดีพอเพื่อการตรวจสอบ การประเมินผล และเรียนรู้เปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างเหมาะสม  ทั้งนี้บนพื้นฐานความเข้าใจร่วมกันว่า โครงการพัฒนาทุกโครงการในสถานการณ์ความขัดแย้ง ส่งผลต่อสถานการณ์ฯ ไม่ว่าจะเป็นทางตรง ทางอ้อม  ทางบวกหรือทางลบ ทางตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่ไม่ใช่  "ทุกโครงการ" ต้องมีการตรวจสอบและประเมิน และก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นการตรวจสอบแต่เฉพาะในโครงการพัฒนาของทางรัฐ แต่หมายถึงองค์กรเอกชนด้วย   ดังนี้เองหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนในการแทรกแซงด้านสันติภาพจึงจะต้องนำแนวคิดวิเคราะห์ที่มีความเข้าใจเรื่องทฤษฎีความขัดแย้งอย่างดีมาใช้วิเคราะห์ความขัดแย้งตลอดเวลา โดยต้องนำบทวิเคราะห์ความขัดแย้งมาใช้ในการกำหนดแผนงานของการทำงานของคุณ ที่สำคัญคือการวางแผน ดำเนินกิจกรรม  ติดตามตรวจสอบและประเมินผล และต้องปรับเปลี่ยนแผนเมื่อมีความจำเป็น

"การประเมินผลกระทบด้านสันติภาพในสถานการณ์ความขัดแย้ง" เป็นเครื่องมือในการประเมินและการติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแผนการพัฒนาหรือโครงการพัฒนาทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยมีหลักการเบื้องต้นคือ (1) โครงการหรือแผนพัฒนาควรมีกิจกรรมหรือกระบวนการนำพาไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ลดความรุนแรง (ในที่นี้อยากเน้นเรื่องการลด จำกัดและห้ามการใช้อาวุธเป็นลำดับต้น ๆ )  ลดผลกระทบที่เกิดต่อวิถีชีวิต (2) โครงการหรือแผนพัฒนาต้องเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่ไม่ใช้ความรุนแรง โดยวิเคราะห์ถึงผลกระทบของกิจกรรมเหล่านั้นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมของพื้นที่ขัดแย้งอย่างถ้วนถี่และสม่ำเสมอ

กลุ่มเป้าหมายของการประเมินผลกระทบด้านสันติภาพ คือหน่วยงานที่ดำเนินโครงการพัฒนาทั้งหมดในสถานการณ์ความขัดแย้ง  โดยเฉพาะองค์กรหรือบุคคลที่มีอำนาจตัดสินใจ ผู้จัดการโครงการ เป็นต้น โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรหรือบุคคลที่ทำงานในชุมชนที่มีความขัดแย้งนั้น ๆ เอง โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินผลกระทบด้านสันติภาพคือ การสร้างความเข้าใจในบริบทงานที่คุณเกี่ยวข้องเป็นอย่างดีกับบุคคลกรของหน่วยงานนั้น และสามารถเข้าใจปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่ทำกับบริบทได้แล้วนั้น การใช้ความเข้าใจเหล่านี้เพื่อวางแผน  ดำเนินกิจกรรม และติดตามตรวจสอบและประเมินผลอย่างถ้วนถี่และสม่ำเสมอจะสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น และทำให้เกิดผลทางบวกต่อกระบวนการสร้างสันติภาพมากที่สุด  โครงการและแผนพัฒนาในพื้นที่ความขัดแย้งเหล่านั้นจึงสามารถที่จะส่งเสริมโครงสร้างหรือกระบวนการที่สร้างสันติภาพการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข หรือลดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนหรือทำให้เกิดใช้ความรุนแรงต่อเนื่อง หรือไม่อย่างไร

.รูปแบบการประเมินผลกระทบต่อสันติภาพ สามารถกระทำได้ก่อนที่โครงการจะอนุมัติ (ผ่านหรือไม่ผ่านโครงการ) ซึ่งไม่แน่ใจว่าระบบการเมืองและระบบราชการ หรือแม้แต่ในภาคองค์กรพัฒนาเอกชนของเราที่ลงมาทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นั้นจะมีการประเมินหรือไม่   หรือหลังโครงการพิจารณาอนุมัติเพื่อติดตามผลกระทบ ข้อควรพิจารณาประกอบด้วย สถานที่ เวลา บริบททางการเมือง และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความรุนแรง สิ่งแวดล้อมและบริบทอื่นๆ ที่ต้องพิจารณา ซึ่งหมายถึงการพิจารณา โครงการมีทรัพยากรที่เหมาะสมไหม มากไปน้อยไป? องค์กรหลักนั้นมีประสบการณ์ในการทำงานมากน้อยเพียงใด?  โครงการฯ มีระดับการอดทนอดกลั้นมากน้อยเพียงใด ต่อชุมชน ต่อรัฐ ต่อผู้หญิง ต่อเด็ก? หรือองค์กรมีบุคคลกรที่เหมาะสมหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญที่บุคคลหรือกลุ่มสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้หรือไม่ เป็นการสร้างให้เกิดผลต่อระบบเศรษฐกิจสังคมในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ โรงเรียนปิด โรงพยาบาลต้องทำงานหนักขึ้น อาหารที่อยู่อาศัยราคาสูงขึ้น ยารักษาโรคขาดแคลน และขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือท้าทายอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือไม่อย่างไร

นับแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ดำเนินกิจกรรมโดยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการแทรกแซงด้านสันติภาพเป็นจำนวนมากตัวเลขล่าสุดเปิดเผยว่า มีเงินงบประมาณของภาครัฐในระยะเวลา 9 ปี จำนวนทั้งสิ้นกว่า 100,000 ล้านบาทจัดสรรให้เป็นงบประมาณของภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ยังมีความเข้าใจไม่ชัดเจนว่างบประมาณเหล่านี้ได้จัดสรรลงไปในกิจกรรมประเภทใดบ้าง และกิจกรรมหรือโครงการเหล่านั้นตลอดระยะเวลา 9 ปีนั้น ส่งผลกระทบด้านสันติภาพอย่างไร  อีกทั้งในระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมานี้มีโครงการพัฒนาโดยองค์กรพัฒนาเอกชนได้เข้ามาดำเนินกิจกรรมและแนวทางการพัฒนาด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันคือการดำเนินกิจกรรมด้านสันติภาพยุติความขัดแย้ง โดยยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีงบประมาณทั้งสิ้นจำนวนเท่าใดทั้งนี้กิจกรรมและแผนการพัฒนาโดยองค์กรพัฒนาเอกชนก็ควรที่จะมีการสำรวจและการตรวจสอบว่าส่งผลกระทบด้านสันติภาพไปในทางตรง ทางอ้อม ทางบวกหรือทางลบ ทางตั้งใจหรือไม่ตั้งใจต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมของพื้นที่ขัดแย้งอย่างไร

การใช้การต่อสู้ทางอาวุธแทนการใช้แนวทางสันติภาพของภาคส่วนสำคัญคือรัฐ และกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีข้อเรียกร้องทางการเมือง ที่ดูเหมือนจะสร้างปรากฎการณ์ความรุนแรงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่า ส่งผลกระทบทั้งทางตรงต่อจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ เด็กกำพร้า คนพิการ ภาวะหวาดกลัว ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ความถดถอยของระบบการศึกษา และอื่นๆ อีกมากมาย แนวทางที่นำเสนอนี้เป็นเพียงแนวทางที่ทุกภาคส่วนควรนำไปปรับใช้ทั้งนี้อาจเสียเวลาคิดเพื่อป้องกันเหตุเพื่อไม่ให้เม็ดเงินในนามการพัฒนาสร้างสันติภาพกลับกลายเป็นประสุนปืนและลูกระเบิดไปที่สร้างความขัดแย้งให้ยืดเยื้อยาวนานไปกว่านี้ จนทำให้เราคิดว่าหลักการ Do No Harm (ไม่สร้างความเดือนร้อนใดใดจากงานพัฒนา) ที่เรายึดมั่นถือมั่นอยู่ แต่กลับทำให้ Everybody hurts หรือเปล่าโดยไม่รู้ตัว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประเดิม 200 เวทีสู่ชายแดนใต้จัดการตนเอง

Posted: 09 Oct 2012 02:09 AM PDT

เปิดนานาทัศนะจากเวทีผู้นำชาวบ้านนราธิวาส ทั้งพุทธ – มุสลิม ชี้ถึงเวลาคนพื้นที่ต้องเลือกผู้นำของตนเอง เห็นด้วยเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด

 

ถกกระจายอำนาจ - นายแวรอมลี แวบูละ วิทยากรจาก"เครือข่ายชุมชนศรัทธา" กำลังอธิบายโครงสร้างรูปแบบทางเลือกการปกครองชายแดนใต้ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เข้าร่วมเวทีนโยบายสาธารณะ"ชายแดนใต้จัดการตนเอง" หนึ่งใน 200 เวที เพื่อค้นหารูปแบบที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออกในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

 

หนุ่มใหญ่อายุราว 40 - 60 ปี ประมาณ 30 คน เดินอย่างมุ่งมั่นเข้ามาในห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ในช่วงบ่ายวันที่ 4 ตุลาคม 2555 เพื่อร่วมเวทีนโยบายสาธารณะ "ชายแดนใต้จัดการตนเอง : พลังการเมืองภาคประชาชน กำหนดอนาคตชายแดนใต้" จัดโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้

ทุกคนได้รับเอกสารปกสีเขียว ปรากฏชื่อชัดชัดเจนว่า "ทางเลือกกลางไฟใต้: เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร?" ทำให้แต่ละคนรีบเปิดอ่านอย่างสนอกสนใจ เสมือนต้องการคำตอบจากคำถามเวียนวนอยู่บนใบหน้า เช่นเดียวกับชื่อเอกสารที่จบประโยคด้วยเครื่องหมายคำถามตัวโต

เวทีนี้อยู่ในความรับผิดชอบของวิทยากรกระบวนการที่มาจาก"เครือข่ายชุมชนศรัทธา" หรือ "กำปงตักว่า" ซึ่งเป็นองค์กรที่รวมกลุ่มหมู่บ้านที่เน้นการใช้หลักศาสนานำการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายแวรอมลี แวบูละ เป็นหัวหน้ากลุ่ม

กลุ่มเป้าหมายของการจัดเวทีครั้งนี้ คือ กำนันและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกของเครือข่ายชุมชนศรัทธาอยู่แล้ว

ในห้องประชุมซึ่งมีแผ่นป้ายแสดงเส้นโยงใยไปมาเป็นฉากหลัง อาจารย์แวรอมลี ยืนถือไมค์อธิบายหน้าห้องว่า เครือข่ายชุมชนศรัทธาเป็นหนึ่งในสมาชิกของ"สภาประชาคมชายแดนใต้" มีสำนักงานปฏิรูป (สปร.) เป็นองค์กรสนับสนุนระดับชาติ ได้ร่วมกันจัดเวทีสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นเมื่อต้นปี 2555 ที่ผ่านมา

"พวกเขาเห็นร่วมกันว่า เรื่องการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเป็นประเด็นสาธารณะสำคัญที่ต้องหยิบยกมาพูดคุยอย่างจริงจัง จึงกำหนดให้สภาประชาคมชายแดนใต้จัดการพูดคุยรวม 200 เวที เพื่อระดมความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ โดยมีสถาบันทางวิชาการช่วยสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษต่างๆ เป็นตัวอย่าง ซึ่งปรากฏในเอกสารที่อยู่ในมือแล้ว"

วิทยากรจากกลุ่มเครือข่ายชุมชนศรัทธา ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดเวทีทั้งหมด 23 เวที แยกเป็นเวทีกลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป 16 เวที ครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส โดยเวทีแรกจัดไปแล้ว ที่ต.ดอนทราย อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ที่เหลือเป็นเวทีกลุ่มเฉพาะ 7 เวที โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้นำชุมชน 3 เวทีและผู้นำศาสนา 4 เวที ครอบคลุมทั้ง 3จังหวัดและ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา

"ผมจับความรู้สึกของทุกคนในห้องนี้ได้ว่า ทุกคนอยากได้การเปลี่ยนแปลงใช่ไหมครับ ไม่อยากตอบ ก็ยกมือได้ครับ" อาจารย์แวรอมลี เริ่มเปิดประเด็นพูดคุย ซึ่งทุกคนต่างยกมือกันอย่างพร้อมเพรียง

เปิด 6 ทางเลือกโมเดลปกครองชายแดนใต้
อาจารย์แวรอมลี พร้อมทีมวิทยากรเริ่มต้นบทสนทนาโดยอธิบายถึงแนวคิดการปกครองตนเองรูปแบบพิเศษตามเนื้อหาในเอกสาร พร้อมกับอธิบายภาพบนแผ่นป้ายพลาสติกขนาดใหญ่ให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจได้อย่างง่ายๆด้วย

ภาพบนแผ่นป้ายเป็นโมเดลหรือรูปแบบตัวอย่างของโครงสร้างการบริหารการปกครองพื้นที่ โดยใช้หลักการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลาง เพื่อเป็นทางเลือกในการปกครองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 6 รูปแบบ ให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความเห็น

ภาพประกอบเป็นรูปปีรามิดสีแดงและสีเขียวเรียงรายเป็นตารางเต็มพื้นที่ ซึ่งวิทยากรช่วยกันอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในแต่ละรูปแบบ ตั้งแต่ระดับชาติลงมาถึงระดับพื้นที่ อันประกอบด้วย ระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับเมืองและระดับประชาชน รวมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ของอำนาจแต่ละระดับของแต่ละรูปแบบในเชิงเปรียบเทียบด้วย

ทั้ง 6 รูปแบบหรือ 6 ทางเลือกมีดังนี้

ทางเลือกที่ 1 "ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต." เป็นรูปแบบการปกครองพื้นที่ในปัจจุบัน คือการบริหารการปกครองรูปแบบพิเศษในระดับภูมิภาค ครอบคุลมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

ทางเลือกที่ 2 "ทบวง" มีสถานะเทียบเท่ากระทรวง มีรัฐมนตรีทำหน้าที่ดูแลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นรองปลัดทบวง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหมือนเดิม

ทางเลือกที่ 3 "สามนครสองชั้น" ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)  คงเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ไว้

ทางเลือกที่ 4 "สามนครหนึ่งชั้น" ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และยกเลิก อบจ. เทศบาล และอบต.

ทางเลือกที่ 5 "มหานครสองชั้น" รวมพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งเดียวและให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ยังคงอบจ.เทศบาลและอบต.ไว้ดังเดิม

ทางเลือกที่ 6 "มหานครหนึ่งชั้น" รวมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหนึ่งเดียว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ยกเลิกองค์กรปกครองท้องถิ่นแบบเดิมที่มีอยู่ทั้งหมด

อันที่จริงยังมีทางเลือกที่ 7 ด้วย คือ กระดาษเปล่า ที่พร้อมจะให้ผู้เข้าร่วมได้เพิ่มหากไม่เห็นด้วยกับทางเลือกที่เสนอมา

อาจารย์แวรอมลี บอกว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือน่ากลัวเลย หากจะมีการกระจายอำนาจโดยใช้การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเข้ามาช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ เพราะที่ผ่านมาผู้มีอำนาจทางการเมืองของประเทศก็ได้พูดถึงเรื่องนี้มาแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

"เรื่องที่เราจะพูดกันวันนี้เป็นเรื่องเก่าที่หะยีสุหลงเคยเสนอ แต่การเสนอของเขาครั้งนั้น กลับทำให้เขากลายเป็นคนผิดและนำไปสู่โศกนาฏกรรม แต่วันนี้ไม่ใช่ เพราะเราจะคุยกันในกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับปีพ.ศ.2540 และปี พ.ศ.2550 เป็นการยืนยันถึงความเป็นประชาธิปไตยของสังคมไทย" หนึ่งในวิทยากรกระบวนการกล่าวในที่ประชุม

'ไม่เอาแบ่งแยกดินแดน แต่อยากมีสิทธิพัฒนาบ้านตัวเอง'
เมื่อการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเริ่มลื่นไหล หลากหลายความคิดก็พรั่งพรูออกมา กำนันคนหนึ่งกล่าวในเวทีว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็เคยเสนอให้ปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษทั้งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการพูดคุยในเวทีนี้

ขณะที่กำนันอีกคนเสนอว่า เขาอยากได้การปกครองในรูปแบบแรก คือ ให้มี ศอ.บต.อยู่เช่นเดิม แต่อยากให้เพิ่มสภาประชาชนในทุกระดับชั้น โดยให้แต่ละชั้นมีประชาชนเป็นสมาชิกประมาณ 100 คน

นายไบฮากี แมทาลง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส บอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า อยากให้อำนาจเป็นของ ประชาชนในพื้นที่ในการเลือกตั้งผู้นำ ซึ่งจะทำให้ผู้นำทำงานอย่างจริงจังมากกว่า เนื่องจากเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่จริง อย่างตนเองที่ต้องทำงานตอบแทนประชาชนที่เลือกตนมาเป็นผู้นำ ซึ่งควรใช้หลักการเดียวกันกับผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

"ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดแบ่งแยกดินแดน เพียงแต่อยากให้ประชาชนในพื้นที่มีสิทธิมีเสียงในการพัฒนาบ้านของตนเองบ้าง ไม่ใช่รอฟังคำสั่งจากหน่วยเหนืออย่างเดียว โดยไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น หรือมีการปากว่าจะทำตามที่ประชาชนเสนอ แต่พอนโยบายลงมาจริงๆ ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ชาวบ้านข้อเสนอ"

"ต้องเข้าใจว่า พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ คือ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่นโยบายที่ลงมาบางอย่างขัดกับหลักความเชื่อหรือหลักศรัทธาของคนในพื้นที่" นายไบฮากี กล่าว

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ต.สากอ เล่าด้วยว่า ตนเป็นผู้ใหญ่บ้าน เวลามีงานพิธีต่างๆ ที่ หน่วยงานรัฐเชิญ ตนไปก็ต้องไป ทั้งๆ ที่บางครั้งรู้สึกอึดอัด เพราะขัดกับหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม เช่น บางพิธีมีการจุดเทียนหรือกล่าวโอวาท หรือบางครั้งต้องไปรอต้อนรับคณะต่างๆ ที่มาจากส่วนกลางร่วมกับชาวบ้านตั้งแต่เช้า แต่เมื่อถึงเวลาละหมาดกลับหาที่ละหมาดไม่ได้เลย ทำให้คนที่ไปรอรู้สึกไม่พอใจ บางคนต้องดิ้นรนไปหาที่ละหมาดเอง แสดงให้เห็นว่าผู้จัดหรือเจ้าภาพไม่เข้าใจคนมุสลิม

"ก่อนหน้านี้ผมเคยเป็นสมาชิก อบต. เห็นว่า เวลา อบต.เสนอบางโครงการไปยังส่วนกลาง เช่น โครงการตาดีกา แล้วไม่รับการอนุมัติ โดยให้เหตุผลว่า โรงเรียนตาดีกาไม่ได้อยู่ในความดูแลของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรู้ว่าเรื่องนี้ผิดระเบียบแล้วทำไมไม่แก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อยังไม่ถูกต้อง มัสยิดหรือโรงเรียนตาดีกาก็พัฒนาไม่ได้" เป็นคำกล่าวที่เจือด้วยความรู้สึกของผู้ใหญ่บ้านคนนี้

บรรยากาศในห้องประชุมเริ่มจริงจังและเข้มข้นขึ้น หลายคนรู้สึกต้องการข้อมูลหรือคำอธิบายเพิ่มเติมตลอดเวลา ในเรื่องอำนาจการบริหารการปกครอง

ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งสะท้อนว่า สภาพปัจจุบันตนเองมีอำนาจด้านการปกครองระดับหนึ่ง แม้เป็นเพียงในระดับหมู่บ้าน หากเกิดการเปลี่ยนแปลงก็รู้สึกเสียดาย

'อย่าให้อำนาจไม่ชอบธรรมมาครอบงำ ทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง'
ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของโต๊ะประชุมเสนอว่า ยังไม่อยากให้มองที่ทั้ง 6 รูปแบบที่เสนอมา แต่อยากให้ดูสภาพที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ว่า ตรงไหนที่ต้องแก้ไขบ้าง ตรงไหนที่สามารถแก้ไขได้ทันที ก็ทำตรงนั้นก่อน

แม้พันธกิจหลักของเวทีวันนี้ คือความพยายามให้ผู้เข้าร่วมมีข้อเสนอของตนเองหลังพิจารณาทั้ง 6 รูปแบบแล้ว แต่ดูเหมือนพันธกิจนี้ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในห้องประชุมคือ ทุกคนต้องการคำอธิบายจากรูปแบบที่มีอยู่มากกว่า ทำให้เนื้อหาของการสนทนาจึงมุ่งไปที่รูปแบบการปอครองที่เห็นอยู่เบื้องหน้า

แม้ไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมหรือข้อสรุปในการเลือกรูปแบบใดแบบหนึ่งอย่างฟันธง แต่นานาทัศนะที่พรั่งพรูออกมาควรค่าแก่การจดบันทึกอย่างยิ่ง

กำนันใหญ่ดี  ดือราแม กำนันตำบลโตะเ ด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส บอกว่า อยากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน เพื่อให้เป็นตัวแทนของประชาชนจริง ไม่เหมือนอย่างตนที่เป็นกำนันแม้ มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน แต่ก็ต้องอยู่ใต้คำสั่งของนายอำเภอ ดังนั้น จึงอยากให้นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนบ้าง

"ผู้ว่าฯหรือนายอำเภอเขาไม่ยอมรับความคิดแบบนี้หรอก เขาบอกว่าให้ทำอย่างที่เป็นอยู่ให้ดีก่อนเถอะ" กำนันใหญ่ดี ตัดพ้อ

"เชื่อว่ารัฐบาลฟังเสียงของ 200 เวที เพราะเป็นพลังเสียงที่มาจากทั้งคนพุทธและมุสลิมในพื้นที่ คล้ายกับที่หะยี สุหลงเคยต่อสู้ คือ การต่อสู้เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ครั้งนี้ต่างกับในอดีต คือ มีคนพุทธเข้ามาร่วมต่อสู้ด้วย มิหนำซ้ำคนพุทธก็อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย โดยเฉพาะคนพุทธที่เป็นสมาชิกสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ซึ่งเป็นคนระดับแนวหน้าที่ร่วมต่อสู้เรื่องนี้" กำนันจาก อ.สุไหงปาดีคนหนึ่งกล่าวอย่างมีความหวัง

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแห่งหนึ่งจาก อ.สุไหงปาดี บอกว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองนั้น จะต้องดูให้ละเอียดรอบคอบว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร และต้องดูผลในระยะยาวด้วยว่าจะส่งผลอย่างไร รวมถึงวิธีการที่จะได้มาของผู้นำด้วย เช่น จะใช้วิธีการเลือกตั้งหรือใช้ระบบชูรอฮ์  คือระบบการปรึกษาหารือในแบบอิสลามในการคัดเลือกผู้นำ ซึ่งอยู่ในกรอบหลักศรัทธาของคนในพื้นที่อยู่แล้ว

เขา เห็นว่า การคัดเลือกแบบซูรอฮ์นั้น ผู้ที่ไม่มีเงินก็สามารถลงแข่งขันและมีโอกาสเท่าเทียมกับผู้ที่มีอำนาจทางการเงิน ในขณะที่การเลือกตั้งแบบสากลนั้น โอกาสของคนไม่มีเงินจะมีน้อยกว่า แต่ท้ายที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับประชาชนว่าต้องการแบบไหน ซึ่งต้องจับตาดูกันต่อไป

นายมนูญ รักมณี กำนันจากต.ผดุงมาตร อ.จะแนะ จ.นราธิวาส กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมเวทีแบบนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีที่รัฐให้โอกาสกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการเปลี่ยนแปลง ซึ้งต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี 

"เวลาเรามองดูจังหวัดใหญ่ๆ ที่เจริญแล้ว เช่น เชียงใหม่ ต่างก็มีความต้องการที่จะปกครองตนเอง ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นการแบ่งแยกดินแดน แต่เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่"

"3 จังหวัดของเราเป็นพื้นที่ที่โชคดี เพราะที่นี่มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินลิกไนต์ที่อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา จะทำอย่างไรที่พวกเราจะบริหารจัดการเองไม่ใช่ให้ส่วนกลาง สิ่งที่เราพูดกันวันนี้ ไม่ใช่เรื่องแบ่งแยกดินแดน แต่เป็นเรื่องจัดการตนเอง" กำนันมนูญกล่าว

หลากหลายเรื่องราวที่แลกเปลี่ยนกันในห้องประชุม อาจไม่มีบทสรุปนั้น นายอาหะมะ อับดุลดานิง กำนันตำบลผดุงมาตร อ.จะแนะ กล่าวปิดในช่วงท้ายว่า "อยากให้ทุกคนรำลึกเสมอว่า การจัดเวทีนโยบายสาธารณะครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อตัวเราเอง เพราะอีกสิบปียี่สิบปีเราก็ไม่อยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราทำวันนี้จะยังคงอยู่ตลอดไป ปัญหาของเราวันนี้ที่คิดว่าทุกคนคงเห็นร่วมกัน คืออำนาจไม่ชอบธรรม อำนาจของคนๆ เดียวที่ครอบงำอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องกลับไปคิดเป็นการบ้าน"

เวทีครั้งนี้ยังอยู่ในช่วงก้าวแรกๆ จากทั้งหมด 200 เวทีในชายแดนภาคใต้ คำตอบจาก คำถามที่ว่า "ทำไมต้องคุยกันเรื่องกระจายอำนาจ" คงจะออกมาในเร็ววัน ซึ่งหวังว่าจะมาพร้อมกับสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

 

 

200 เวที สู่ชายแดนใต้จัดการตนเอง

การจัดเวทีนโยบายสาธารณะ "ชายแดนใต้จัดการตนเอง" พลังการเมืองภาคประชาชน กำหนดอนาคตชายแดนใต้ รวม 200 เวที ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส จัดโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้ เกิดขึ้นหลังจากการจัดเวทีสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 "ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน" ระหว่างวันที่ 4–5 มกราคม 2555 โดยการสนับสนุนของสำนักงานปฏิรูป (สปร.)

งานดังกล่าวมีที่มาจากการที่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ในฐานะประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2554 มีนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการในพื้นที่

ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ นอกจากมีหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายเฉพาะ และกรอบประเด็นหลักในการจัดงานสมัชชาปฏิรูปครั้งดังกล่าวแล้ว ยังมีหน้าที่ออกแบบกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและภูมินิเวศวัฒนธรรมของพื้นที่

จากนั้นคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ได้แต่งตั้งคณะทำงานอีกชุด คือคณะทำงานยุทธศาสตร์สนับสนุนการปฏิรูปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ เป็นประธาน ซึ่งการขับเคลื่อนดังกล่าวนำมาสู่การความคิดในจัดเวทีสาธารณะ 200 เวทีดังกล่าว

ต่อมาในช่วงเดือนมิถุนายน 2555 สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้จัดปฐมนิเทศทีมวิทยากรกระบวนการซึ่งเป็นตัวแทนภาคีเครือข่ายรวม 85 คน ในจำนวนดังกล่าวเป็นวิทยากรอาวุโส 20 คน ที่จะลงไปทำหน้าที่ในเวทีต่างๆ

ในการจัดเวทีสาธารณะทั้ง 200 เวทีดังกล่าว มีการขับเคลื่อนด้วยวิธีการ Public Deliberation หรือเรียกว่า เวทีประชาหารือ รวม 200 เวทีตลอดปี 2555 มีการนำเสนอรูปแบบ (โมเดล) ทางเลือกการปกครองท้องถิ่นพิเศษสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6 ตัวแบบ ในรูปของหนังสือคู่มือ หรือ Issue Book ชื่อว่า "ทางเลือกกลางไฟใต้ : เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร?"

สำหรับคณะทำงานขับเคลื่อนทั้ง 200 เวที เพื่อรับฟังความเห็นเรื่องการกระจายอำนาจดังกล่าวจากประชาชนในพื้นที่หลากหลายกลุ่ม นำโดยพล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ นายมันโซร์ สาและ รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้

นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานผลิตคู่มือ Issue Book นำโดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและคณะบริหารของสภาประชาสังคมชายแดนใต้ นำโดยนายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ประธานของสภาประชาสังคมชายแดนใต้

ส่วนวิทยากรกระบวนการ มาจากการเปิดรับสมัครจากนักศึกษาสถาบันต่างๆ ในพื้นที่และตัวแทนจากภาคีเครือข่าย 11 องค์กร เช่น ศูนย์ฟ้าใส สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยสาขายะลา สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยสาขาปัตตานี เครือข่ายบัณฑิตเสริมสร้างการมีงานทำ ศูนย์อัลกุรอ่านและภาษา (QLCC) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) วิทยาลัยประชาชน เครือข่ายชุมชนศรัทธา กลุ่มยือรีงา สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี และครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคม โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ทีม ได้แก่ ทีมรับฟังความเห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายความมั่นคง อีกทีมจะรับฟังความเห็นจากประชาชนและกลุ่มเฉพาะ เช่น สตรี เยาวชน เป็นต้น

ผลการรับฟังความเห็นทั้ง 200 เวที จะถูกนำไปวิเคราะห์สังเคราะห์อีกครั้ง ก่อนจะนำเสนอผลสรุปในเวทีสมัชชาฏิรูปจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 3 ในวันครบรอบ 9 ปีไฟใต้ วันที่ 4 มกราคม 2556

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทำไมถึงไม่ควรข้าม 3G ไป 4G

Posted: 09 Oct 2012 01:28 AM PDT


ใกล้กันเข้ามาแล้วกับการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมสำหรับคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz สำหรับการให้บริการโทรศัพท์ไร้สายในระบบ IMT โดย กสทช.ครับ ครั้งนี้ถือเป็นการปฏิวัติและพลิกประวัติศาสตร์วงการโทรคมนาคมประเทศไทยเป็นครั้งแรกเลยทีเดียว (แนะนำให้อ่าน "ทำไมต้องประมูลคลื่น 2100" ประกอบ)

 

คลื่น 2100 MHz เอาไปทำอะไรได้บ้าง

คลื่นย่าน 2100 MHz Band1 (Downlink 2110 – 2170 MHz และ Uplink 1920 – 1980 MHz) ที่กำลังจะประมูลกันในประเทศไทยในไม่กี่วันข้างหน้านี้ ตามที่ ITU กำหนดมานั้นมีไว้ให้บริการสำหรับการโทรคมนาคมระบบ WCDMA รวมถึง LTE ด้วยครับ ทั้งนี้มีประเทศที่ใช้คลื่นย่าน 2100 MHz เดียวกันนี้ติดตั้ง 4G LTE คือญี่ปุ่นครับ และที่สำคัญ iPhone 5 รุ่นที่จำหน่ายนอกสหรัฐฯ ก็รองรับคลื่นย่านนี้ในระบบ LTE ด้วยเหมือนกัน

และสำหรับเงื่อนไขใบอนุญาตที่ระบุไว้ในข้อกำหนดการประมูลของ กสทช. ดังนี้

    ข้อ ๑๕ ขอบเขตการอนุญาต

    ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธิให้บริการโทรคมนาคมในลักษณะของการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม เพื่อให้เช่าใช้และเพื่อให้บริการโทรคมนาคม (Network Provider and Service Provider) และการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโทรคมนาคม (Telecommunications Facility) โดยมีขอบเขตในการประกอบกิจการโทรคมนาคมดังกล่าวทั่วราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ กิจการโทรคมนาคมที่ได้รับอนุญาต ให้รวมถึงลักษณะและประเภทของบริการ ดังนี้

    (๑) บริการโครงข่ายโทรคมนาคมไร้สาย

    (๒) บริการโทรคมนาคม ดังนี้

    (๒.๑) บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

    (๒.๒) บริการพหุสื่อความเร็วสูง (Public Broadband Multimedia Service)

    (๒.๓) บริการมูลค่าเพิ่ม (Value-added Service) ของบริการโทรคมนาคมที่ได้รับอนุญาต

    (๒.๔) บริการขายส่งบริการ สำหรับบริการในข้อ (๒.๑) (๒.๒) และ (๒.๓)

    (๓) บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโทรคมนาคม (Telecommunications Facility)

    ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

จะสังเกตว่าในขอบเขตใบอนุญาต ไม่ได้มีการระบุเทคโนโลยีการให้บริการใดๆ ทั้งสิ้น หมายความว่า ถ้าผู้ให้บริการรายใดพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม ก็สามารถแบ่งคลื่น 2100 ที่ประมูลได้บางส่วน (หรือทั้งหมด) ไปทำ LTE ด้วยก็ได้ครับ
 

แล้วทำไมไม่ติดตั้ง 4G ไปเลย?

ใช่ว่าของใหม่ทุกอย่างจะดีกว่าของเก่านะครับ คือระบบ 4G LTE เนี่ย เนื่องจากมันเปลี่ยนระบบจาก 2G/3G ไปเกือบหมดเลย ทำให้มีปัญหาตัวใหญ่สุดคือ

"มันยังโทรออกผ่าน LTE ตรงๆ ได้ไม่สมบูรณ์"

มีใครอยากได้มือถือมาเล่นเน็ตอย่างเดียวไม่โทรออกบ้างมั้ยครับ (มีแหละ แต่คงไม่เยอะขนาดนั้นหรอก) หมายความว่าถ้าผู้ให้บริการติดตั้ง LTE อย่างเดียว การโทรออกทั้งหมดก็ต้องโรมมิ่งกลับไปยังเครือข่าย 2G ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน และต้องโอนคลื่นความถี่พร้อมทรัพย์สินคืนไปให้ผู้ให้สัมปทาน แล้วจะประมูลคลื่นไปทำไม? และพอ 2G หมดสัญญาสัมปทานแล้วอะไรจะเกิดขึ้นบ้างก็ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ด้วย (แต่เดี๋ยวพอทรูมูฟหมดสัญญาสัมปทานปีหน้าแล้วก็รู้กัน)

สาเหตุสำคัญอีกประการคือ นอกจากไอโฟนห้าแล้ว ทุกวันนี้มือถือที่รองรับ LTE ยังมีในตลาดไม่กี่สิบรุ่นเท่านั้น แถมราคาก็ยังคงอยู่ในระดับเดียวกันกับไอโฟนนั่นแหละครับ คนที่มีกำลังทรัพย์พอจะใช้ได้ก็คงเป็นคนในกรุงอย่างเดียว

สรุปแล้วคือ… ไม่มีประโยชน์ที่จะข้ามไปติดตั้ง LTE เพียวๆ โดยไม่ลงทุนติดตั้งระบบ 3G WCDMA ครับ แต่ถ้าติดตั้งปนกันไปเลยบางพื้นที่ก็เป็นไปได้ (เช่นในห้าง) ติดตั้ง 3G 1-2 ช่องสัญญาณ แล้วเอา LTE มาช่วยลดภาระการใช้งานช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตในช่องที่เหลือ แบบนี้ก็จะทำให้ใช้งานช่องสัญญาณได้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมเยอะครับ (อ่านเพิ่ม 1, 2)

 

ทำไม LTE โทรออกไม่ได้?

อันที่จริงจะบอกว่าโทรไม่ได้ก็ไม่เชิงนะครับ แต่เนื่องจาก LTE เนี่ย เป็น IP-Based network คือมันเป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายระยะไกลเต็มรูปแบบเลย คือตั้งแต่มือถือจับสัญญาณได้ ก็ได้ IP แล้ว ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแยก แล้วโยนระบบ circuit switch ที่ใช้เป็นช่องสัญญาณสำหรับการคุยกันด้วยเสียงทิ้งไป ทำให้บริการแบบเดิมๆ ที่อิงกับระบบ circuit switch คือ โทรศัพท์ผ่านระบบมือถือ หรือแม้กระทั่ง SMS ใช้การไม่ได้โดยสิ้นเชิง ต้องเปลี่ยนโครงสร้างระบบใหม่ทั้งหมด เป็นการโทรผ่านอินเทอร์เน็ตแทน (นึกภาพเหมือนเราต่อ WiFi โดยไม่มีสัญญาณมือถือได้ครับ ลักษณะเดียวกัน)

ปัญหาที่สองคือ แล้วเราจะอ้างอิงเบอร์ได้ยังไงในเมื่ออยู่บน internet มันไม่มีเบอร์โทรศัพท์ (มีแต่หมายเลข IP)

ปัญหาที่สาม (ถ้าเกิดโทรได้) ถ้าโทรๆ อยู่สัญญาณ LTE หาย ต้อง switch กลับไปหา 2G/3G จะทำไงให้คุยได้ต่อเนื่อง

ปัญหาที่ว่ามานี้ ทางออกกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาครับ โดยใช้เทคโนโลยีชื่อว่า VoLTE (Voice over LTE) ซึ่งมันใหม่กว่า LTE ปกติอีก และอุปกรณ์ที่รองรับก็มีน้อยมากๆ เข้าไปอีกครับ (เท่าที่ตรวจสอบมาได้มี Samsung Galaxy SIII และ LG Optimus II รุ่นพิเศษที่วางขายในเกาหลีเท่านั้น)

#

 

บทความนี้เรียบเรียงซ้ำจากบล็อกส่วนตัว
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น