โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ฟิลิปปินส์บรรลุข้อตกลงสันติภาพกับกลุ่มกบฏ หลังนองเลือดมา 40 ปี

Posted: 07 Oct 2012 12:19 PM PDT

ปธน.ฟิลิปปินส์แถลงรบ. ตกลงกรอบการทำงานสันติภาพร่วมกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน "ขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร" ได้แล้ว โดยกำหนดให้มีเขตปกครองพิเศษใหม่ที่เกาะมินดาเนา นับเป็นข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์หลังการสู้รบมากว่า 40 ปี 

 
เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 55 มีรายงานว่าประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ เบนิญโน่ อาคีโน่ ได้แถลงประกาศทางโทรทัศน์ว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์สามารถบรรลุกรอบข้อตกลงสันติภาพกับขบวนการปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front) กลุ่มกบฏมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้แล้ว หลังจากการสู้รบระหว่างกองกำลังของกลุ่มกบฎและรัฐบาลได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 40 ปีและทำให้ประชาชนเสียชีวิตแล้วกว่า 120,000 คน 
 
ข้อตกลงดังกล่าว มีการกำหนดให้บริเวณเกาะมินดาเนา ทางตอนใต้ของประเทศเป็นเขตปกครองพิเศษ ชื่อว่าบังซาโมโร (Bangsamoro) ที่ได้รับอำนาจทางการปกครองและเศรษฐกิจที่มากขึ้น อาทิ การได้รับส่วนแบ่งด้านทรัพยากรที่เท่าเที่ยมและเป็นธรรม การใช้กฎหมายชารีอะห์ที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับประชากรมุสลิม ในขณะที่ฝ่ายกบฎต้องปลดอาวุธและสลายกองกำลังของตนเอง 
 
ข้อตกลงดังกล่าว บรรลุหลังจากการเจรจาระหว่างสองฝ่ายมีขึ้นที่ประเทศมาเลเซียในฐานะตัวกลางการเจรจา และคาดว่าจะมีการลงนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
 
หัวหน้าฝ่ายเจรจาของรัฐบาลฟิลิปปินส์ กล่าวกับสำนักข่าวบีบีซีว่า ข้อตกลงสันติภาพนี้มีแรงสนับสนุนทางการเมืองมากกว่าข้อตกลงฉบับก่อนหน้าที่เคยมีเมื่อปี 2551 หลังจากมีการจัดเวทีหารือกว่า 100 ครั้งกับกลุ่มมุสลิม คริสต์ และรัฐบาลท้องถิ่น-ภูมิภาค 
 
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่า "กรอบข้อตกลงนี้ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการอยู่เหนืออคติของเรา...มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเอาความไม่ไว้วางใจและความใจแคบออกไป ซึ่งเป็นอุปสรรคของเราในอดีต"
 
กรอบข้อตกลงสันติภาพ จะกำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อการเปลี่ยนผ่านจำนวน 15 คน ทำหน้าที่ร่างกฎหมายเพื่อทำให้การนำกรอบข้อตกลงสันติภาพไปใช้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ โดยคาดว่าแผนดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเบนิญโน่ อาคีโน่ ภายในปี 2559
 

ที่มา: เรียบเรียงจาก 

Philippines and Muslim rebels agree peace deal
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-19860907

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข่าวสั้นบันเทิง: หอสมุดแห่งชาติฟินแลนด์ ชวนคนช่วยเช็คตัวสะกดจดหมายเหตุผ่าน "เกม"

Posted: 07 Oct 2012 11:59 AM PDT


งานสแกนเอกสารเก่าเพื่อเก็บเข้าระบบดิจิทัลนั้นเป็นงานที่อาศัยแรงงานอย่างมาก แม้จะมีเครื่องมือเครื่องไม้สมัยใหม่ช่วยในหลายขั้นตอน เนื่องจากซอฟต์แวร์แปลงภาพเป็นข้อความ (OCR) นั้นยังไม่สามารถแปลงได้ถูกต้อง 100% ยิ่งเอกสารเก่าที่ใช้ฟอนต์โบราณ หรือใช้คำศัพท์ที่ไม่นิยมในปัจจุบันแล้ว ยิ่งทำให้เกิดความผิดพลาดมาก งานตรวจตัวสะกดจึงยังจำเป็นต้องใช้มนุษย์ทำอยู่ดี เพื่อให้ผลที่ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อความแม่นยำในการค้นหา อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้

แต่งาน "น่าเบื่อ" แบบตรวจตัวสะกด จะชวนอาสาสมัครมาทำก็เป็นเรื่องยาก หอสมุดแห่งชาติฟินแลนด์ จึงร่วมมือกับบริษัท Microtask สร้างเกมที่ทำให้การตรวจตัวสะกดเป็นเรื่องสนุก โดยหวังว่าจะทำให้การสแกนเอกสารเก่าเข้าระบบดิจิทัลรุดหน้ามากขึ้น

 

ตัวอย่างเกม

 

 

ที่มา: National Library of Finland Turns to Crowdsourcing, Games to Help Digitize Its Archives, ReadWriteWeb
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: กระทรวงวิทย์รับโอนรองเลขาฯ คนสนิท ‘ปลอดประสพ’ จ่อขึ้นซี10

Posted: 07 Oct 2012 11:28 AM PDT

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับโอน น.ส.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ แทนรองเลขาธิการที่เกษียณอายุ

การรับโอนข้าราชการระดับ 9 เป็นอำนาจของปลัดกระทรวง ไม่ต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรี เพียงผ่านความเห็นชอบของปลัดกระทรวงทั้งสอง

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งโอน น.ส.อัจฉรา จากผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไปเป็นรองอธิบดีกรมป่าไม้ นับเป็นรองอธิบดีหญิงคนแรกในรอบ 115 ปี แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียงเดือนเศษ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ก็มีคำสั่งย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 ราย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ได้แก่

1. น.ส.เสาวณี มุสิแดง รองปลัดกระทรวง  ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ

2. นายสุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

3. นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

การแต่งตั้งดังกล่าวทำให้มีตำแหน่งรองปลัดกระทรวงว่าง 2 ตำแหน่ง คือตำแหน่งของ นายวีระพงษ์ แพสุวรรณ ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคนใหม่ และตำแหน่งของ น.ส.เสาวณี มุสิแดง

การโอนย้าย น.ส.อัจฉรามาดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จึงทำให้ น.ส.อัจฉราอยู่ในข่ายจะได้เลื่อนเป็นรองปลัดกระทรวงด้วยคนหนึ่ง

น.ส.อัจฉราเคยเป็นเลขานุการของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป่าไม้ และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เมื่อครั้งที่นายปลอดประสพ ถูกย้ายจากอธิบดีกรมป่าไม้ ในปี 2545 เพราะขัดแย้งกับฝ่ายการเมือง จนเป็นข่าวครึกโครม

นอกจากนี้ สำนักข่าวอิศราเคยรายงานว่า น.ส.อัจฉราเป็นผู้ถือหุ้น บริษัท เทสโก้ แคปปิตอล จำกัด, บริษัท รีเทค เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และบริษัท ไทย – เยอรมัน เอนเนอร์ยี่ จำกัด ร่วมกับนางธัญญา สุรัสวดี ภริยานายปลอดประสพ และนายธรรมนูญ มงคล ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทเทสโก้ จำกัด แต่ต่อมานางธัญญาโอนหุ้นให้นายปิ่นสาย สุรัสวดี บุตรชาย

บริษัท เทสโก้ จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ 39 ครั้ง วงเงิน 163.8 ล้านบาท ระหว่างปี 2546-2554 เมื่อปี 2549 ยังได้รับว่าจ้างจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นที่ปรึกษาโครงการออกแบบกระเช้าลอยฟ้า เชิงดอยสุเทพ วงเงิน 44 ล้านบาทเศษ ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้รับจ้างทำแผนแม่บทบูรณาการการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร  วงเงิน 7.6 ล้านบาท ทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วงเงิน 6.65 ล้านบาท

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ: นักโทษการเมืองก็คือคนที่คิดต่าง

Posted: 07 Oct 2012 11:26 AM PDT

น.พ.นิรันด์ พิทักษ์วัชระ ทำงานในภาคประชาสังคม หรือที่เขายอมรับอย่างแข็งขันว่า "ผมเป็นเอ็นจีโอ" แม้จะอยู่ในตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)แล้วก็ตาม เขาถือว่าการทำงานในฐานะกสม. ก็คือเอ็นจีโอระดับชาติที่มีกฎหมายรองรับ และมีเครื่องไม้เครื่องมือทางกฎหมาย

ภายหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือน พฤษภาคม 2535 น.พ.นิรันดร์พร้อมคณะทำงานในอนุกรรมการชุดสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีผู้ได้รับผลกระทบ ถูกจับกุม คุมขัง หลังการสลายการชุมนุม ขณะที่ชื่อเสียงของกสม. คณะนี้ ก็ดิ่งเหวลงเรื่อยๆ ด้วยความล่าช้าและท่าทีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างกรรมต่างวาระ

ชื่อน.พ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เพิ่งถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นโจมตีโดยนายวัชระ เพชรทอง ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ จากการเข้าไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม "ปฏิญญาหน้าศาล" โดยไปเป็นวิทยากรในฐานะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและให้ความเห็นพร้อมตอบคำถามในการทำงานเกี่ยวกับประเด็นนักโทษการเมือง

เขายังถูกโจมตีด้วยว่า การยอมรับว่าเมืองไทยมี "นักโทษการเมือง" นั้นไม่เหมาะสม ขณะที่ตัวเขาเองก็ยังยืนยันว่าเมืองไทยมีนักโทษการเมือง

ประชาไทสัมภาษณ์น.พ.นิรันดร์ ถึงนิยามของคำว่า "นักโทษการเมือง" พร้อมเปิดใจถึงการทำงานในฐานะกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้เป็นประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่กำลังดำเนินการศึกษาผลกระทบจากการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ควบคู่ไปด้วย

 

อนุฯ ของคุณหมอในเรื่องมาตรา 112 และการสลายชุมนุมฯ ยังไม่แสดงบทบาทสักเท่าไหร่ ตอนนี้กำลังดำเนินการอย่างไรบ้าง

ในเรื่องมาตรา 112 ผมคิดว่าผมก็ทำงานอย่างสม่ำเสมอตลอด แต่การทำงานประเด็นมาตรา 112 ภายใต้ความขัดแย้งก็เป็นเรื่องยาก ต้องแยกระหว่าง การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนที่มีความเห็นไม่ตรงกันออก ผมทำงานโดยยึดหลักการ กรณีมาตรา 112 เรื่องที่ร้องเรียนมาก็อยู่ในความรับผิดชอบของผม ผมก็ไปตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นกรณีคุณสมยศ  พฤกษาเกษมสุข กรณี อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล หรือผู้ชุมนุมที่อยูในเรือนจำซึ่งภายหลังถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112  ผมตรวจสอบทุกกรณี บางกรณีไม่ถึงศาลผมก็เชิญพนักงานสอบสวนมาแล้วก็พยายามทำให้เกิดมาตรการทำความเข้าใจกัน อันนี้เป็นสิ่งที่ผมเองไม่ได้ออกมาสื่อต่อสาธารณะแต่เจ้าตัวที่ผมทำงานด้วยเขาก็รับรู้ว่ากระบวนการในการตรวจสอบก็ทำให้หน่วนงานของรัฐเข้าใจ แม้แต่ในส่วนของตำรวจเองเขาก็มีคณะกรรมการกลั่นกรองและตรวจสอบกรณี 112 เราก็ไปคุยกับเขา หรือแม้กระทั่งคนที่ถูกจับเป็นผู้ต้องหา ผมก็เข้าไปเยี่ยม

ล่าสุดผมก็ไปเยี่ยมคุณสมยศ คุณสุรชัย และอีกห้า-หกคนที่เหลืออยู่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือสิ่งที่เราทำงานทั้งตรวจสอบและติดตาม ฉะนั้นคดี 112 เราเลยตั้งคณะทำงานในการศึกษาและวิเคราะห์ว่ามาตรา 112 ที่มีการประกาศใช้มันมีปัญหาที่ทำให้คนมาร้องเรียนอย่างไร และเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิในการแสดงความเห็นพราะไปพ่วงกับพรบ. คอมพิวเตอร์ในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมา

เราก็ต้องดูว่ามาตรา 112 มีปัญหาในการบังคับใช้อย่างไร มีปัญหาในตัวบทอย่างไร เราก็ตั้งคณะกรรมการศึกษา และย้อนหลังไปสิบปียี่สิบปีเพื่อดูว่ามีมูลเหตุอะไรที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่ถูกต้องบ้าง เพื่อให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่รักษาพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ได้ ไม่มีใครดูหมิ่นหมิ่นประมาทอาฆาตมาดร้าย แต่ก็ไม่มีใครเอากฎหมายไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างกันในทางการเมือง

การทำงานขณะนี้ ก้าวหน้าไปพอสมควรและจะทำโฟกัสกรุ๊ป แต่การทำงานภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง แบ่งฝักฝ่ายผมเองก็ถูกลากไป หรือถูกมองว่าเข้าข้างฝ่ายนี้ไม่เข้าข้างฝ่ายนั้น ซึ่งผมก็อยากจะบอกกับสังคมว่า เรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองนั้นเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มันไม่ควรจะเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดแนวทางในการตัดสินว่าใครถูกใครผิดด้วยการใช้กำลัง  แต่มันควรเป็นเสรีภาพที่เรารับฟังกันและดูว่ามันมีทางออกอย่างไรบ้าง

และสิ่งที่ผมจะเสนอออกมาก็ต้องมีเหตุผลที่อยู่บนพื้นฐานหลักวิชาการและข้อเท็จจริงเพราะผมศึกษาไม่ใช่คิดเอาเอง แต่ผมมีกรณีร้องเรียน มีข้อเท็จจริง มีความรู้ทางวิชาการและสรุปประสบการณ์จากต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศเราสามารถเป็นประชาธิปไตยและสถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่ได้ เป็นสิ่งที่อยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจในหลักการนี้ ไม่มองว่าผมเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือมากล่าวหาว่าผมต้องการล้มสถาบันเพราะผมไม่เคยมีประวัติแบบนั้นมาก่อน ก็อยากให้เข้าใจ

ส่วนเรื่องอนุฯ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ต้องยอมรับว่าอนุฯ รับผิดชอบเฉพาะกรณีหลังการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. ส่วนกรณีที่เกิดเกิดวันที่ 19 พ.ค. ก่อนหน้านั้นอยู่ในการดูแลของอนุฯ แต่หลังจากนั้นเป็นมติกสม. ให้เป็นหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งส่วนอนุฯ ชุดของผมก็เข้าไปติดตามตรวจสอบในเรือนจำต่างๆ ที่อิสานและภาคเหนือ หลังจากนั้นด้วยกระบวนการตรวจสอบก็ได้ไปคลี่คลายสานการณ์ที่เชียงรายในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กและเยาวชน

บางอย่างเรายอมรับว่าไม่สามารถไปก้าวล่วงได้เพราะเป็นเรื่องคำวินิจฉัยของศาล แต่เราก็ไปติดตามประเด็นอื่นๆ เช่นสิทธิประกันตัว สิทธิผู้ต้องหา แต่ก็ยอมรับว่าประเด็นเหล่านี้มีเรื่องการเมืองอยู่ด้วย ฉะนั้นการคลี่คลายก็ทำโดยการประสานงานกับหน่วยงานรัฐ เช่นกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมเอาเงินทุนไปประกันแต่บางครั้งกรมคุ้มครองฯ เอาเงินไปประกันแต่ศาลไม่ให้ประกันเราก็ทำอะไรไม่ได้

หรือบางทีเราติดต่อสภาทนายความไปช่วยในการดำเนินคดี แต่เจ้าตัวบอกว่าไม่เอาทนายจากสภาทนายความเพราะไม่เชื่อถือเพราะเป็นรื่องคนละสี คนละฝ่ายกันเราก็ไปก้าวล่วงสิทธิของผู้ต้องหาเหล่านั้นไม่ได้เพราะเขาติดในเรื่องความแตกต่างทางความคิดทางการเมือง แต่เราก็พยายามไปคลี่คลายในกรณีต่างๆ ตามลำดับไปและก็ยังติดตามอยู่


คณะทำงาน 112 ในอนุฯ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองจะมีข้อเสนอและข้อสรุปอะไรหรือไม่

แน่นอน คณะทำงานเราทำงานเพื่อยุทธศาสตร์เชิงนโยบาย เรื่อง 112 คือดูเรื่องยุทธศาสตร์และนโยบายว่าจะมีข้อเสนออะไร เมื่อมีการร้องเรียนเรื่อง 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ (พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550) ที่มีการละเมิดโดยข้าราชการโดยผู้ใช้กฎหมาย เราก็ต้องมาดูว่าจริงหรือไม่ และถ้าจริงมีข้อเสนอในการแก้ไขอย่างไร และเรามีทั้งมาตรการแก้ไขระยะสั้นข้อเสนอเชิงนโยบาย

คนที่ติดคุกอยู่ตอนนี้กสม. ดำเนินการอย่างไร

คนที่เป็นผู้ต้องหาขณะนี้มีเหลืออยู่ประมาณ 6 คน ที่เรือนจำพิเศษ มี 2 คนที่ไม่ขอพระราชทานอภัยโทษ เราก็ยังไปดูแลเรื่องสิทธิการประกันตัว แต่ล่าสุดคุณสมยศศาลก็ไม่อนุมัติ และศาลจะตัดสินอีกไม่นานนี้ อีกสี่คนได้ขอพระราชทานอภัยโทษ เข้าใจว่าคงค่อยๆ ลดหย่อน เราก็ต้องไปติดตามว่าเขามีปัญหาอย่างอื่นไหม เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็ไปพูดคุย และก็เราจะทำเรื่องสิทธิในการได้รับการดูแลด้านสุขภาพ

คดีการเมืองและนักโทษการเมืองในบ้านเราที่มีความเห็นทางการเมืองจริงๆ ควรจะเป็นนักโทษไหม หรือไม่ควรจะถูกฆ่าอย่างกรณีสี่รัฐมนตรี หรือกรณีฮัจยีสุหลง กรณี 112 พูดง่ายๆ คือมองว่าคดี 112 เป็นนักโทษการเมือง

เพราะฉะนั้น เราก็มาขยายต่อมาศึกษานโยบายเรื่องการดูแลสุขภาพของนักโทษที่อยู่ในเรือนจำ และคดีนักโทษการเมือง เราก็ขยายบริบทในการศึกษาต่อ เพื่อที่จะมีข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาล และข้อเสนอของเราไม่ใช่ลอยๆ นะ จะต้องส่งให้รัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลพิจารณาและจะต้องตอบเราด้วย ข้อเสนอเหล่านี้จะต้องเสนอต่อรัฐสภา นอกจากเสนอต่อภาคประชาชน และต้องเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิสุขภาพอย่างกรณีอากงว่ามีปัญหาอย่างไร ก็ต้องเสนอต่อราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย คือเราเป็นหน่วยงานที่สามารถประสานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รัฐบาล และรัฐสภา

ช่วยอธิบายคำว่า "นักโทษการเมือง" ได้ไหม เพราะมีคนบอกว่าบางคนบอกว่าบางคนติดคุกเพราะไปเผาศาลากลาง หรือใช้ความรุนแรงในการชุมนุม หรือคนที่โดน 112 จะให้เป็นนักโทษการเมืองได้ยังไง เพราะไปใช้ถ้อยคำรุนแรงกับพระมหากษัตริย์

ในทัศนะผม นักโทษการเมือง ก็คือนักโทษที่มีความคิดต่างทางการเมือง ซึ่งในระบบประชาธิปไตยต้องยอมรับความเห็นต่างทางการเมืองว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และต้องมี ถ้าเห็นไปทางเดียวกันหมดก็เป็นเผด็จการ

ประชาธิปไตยต้องมีความคิดที่หลากหลาย เพียงแต่ว่าสังคมไทยเรา การจัดการความคิดที่หลากหลายและไม่ตรงกัน จัดการด้วยวิธีการที่ผิดมาตลอด ก็คือใช้อำนาจ อย่างเช่น ประวัติศาสตร์เรา ผมอยู่อีสานมา 30 ปี 4 รัฐมนตรีอีสานถูกกล่าวหาว่าต้องการแบ่งแยกดินแดน แล้วก็ถูกฆ่าตาย จนป่านนี้ยังไม่เปิดเผยด้วยซ้ำไป

ทางภาคใต้ ฮัจยีสุหลงมีความคิดที่ต้องการให้เห็นถึงการปกครองที่นึกถึงเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ก็ถูกฆ่าถ่วงน้ำเหมือนกัน หรือกระทั่งเหตุการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของความที่เกิดความไม่เป็นธรรม

ฉะนั้น การชุมนุมทางการเมือง หรือคดี 112 ก็เป็นเรื่องความเห็นต่างทางการเมืองที่หลากหลายในสังคม เพียงแต่สังคมไทยไม่มีวิธีจัดการ แต่ว่าใช้วิธีจัดการโดยอำนาจรัฐทีผิด เช่น ยัดข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ ยัดข้อหาแบ่งแยกดินแดน สามจังหวัดภาคใต้ก็ใช้กฎหมายความมั่นคง คือใช้วิธีจัดการที่ไม่ถูกต้อง มีจัดการถูกต้องอยู่อันเดียวคือเรื่องคอมมิวนิสต์ที่ใช้นโยบาย 66/23 แต่ว่ากรณีเสื้อสีขณะนี้ก็ใช้นโยบายที่ไม่ถูกต้อง

การชุมนุมที่ผ่านมาก็ยังใช้ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง มันก็เลยทำให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจที่ไปละเมิดสิทธิต่างๆ อย่างที่เราต้องมาดูแลอยู่ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น นั่นหมายความว่าการจัดการกับนักโทษการเมือง เราไม่ใช้วิธีการทางการเมือง เราใช้วิธีการโดยใช้อำนาจจัดการกับคนที่มีความคิดตรงข้าม

เราต้องพยายามทำให้สังคมได้สรุปบทเรียนจากประวัติศาสตร์ว่า ทำอย่างนี้มันแก้ปัญหาไม่ได้ ยิ่งทำให้ปัญหาหมักหมมและบานปลายมากขึ้น เราต้องจัดการด้วยวิธีการทางการเมืองด้วยสันติวิธีด้วยการพูดคุย และหาทางออกร่วมกัน และยอมรับการทำงานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ได้เสียงข้างมากในการเป็นตัวแทนเข้าไปบริหาร แต่ว่าคนเหล่านี้ก็ต้องรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้นด้วย

นี่ต่างหากที่เราต้องสร้างบรรทัดฐานให้เกิดขึ้น นักโทษการเมืองจึงจะไม่ถูกละเมิดหรือถูกจัดการโดยวิธีการใช้อำนาจหรือความรุนแรงถึงกับเสียชีวิต เหมือนที่ผ่านมาในระบบประชาธิปไตย

ในมุมของคนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายจากความเห็นต่างทางการเมืองอาจจะเข้าใจ แต่กับคนที่มองจากขั้วสีที่แตกต่างอาจมองว่า คุณหมอกำลังเสนอว่านักโทษเหล่านี้ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยหรือเปล่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้น

ถ้ามองในแง่คนที่ใช้อำนาจ ใช้กฎหมาย เขาก็จะมองว่าเขาจำเป็นต้องใช้กฎหมายเพื่อเข้าไปจัดการสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่เราต้องรู้ว่านักโทษการเมือง หรือการชุมนุมทางการเมืองของภาคประชาชน ไม่เคยเป็นคนที่ริเริ่มความรุนแรงขึ้นก่อนเลย ไม่ว่าเป็น 14 ตุลา 6 ตุลา หรือพฤษภาก็ตาม

ประชาชนหรือการชุมนุมของชาวไร่ชาวนาหลัง 14 ตุลา สหพันธ์ชาวไร่ชาวนาก็ถูกฆ่าตาย เพราะความกลัวเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์หรือสงครามเย็น อาจารย์ในสมัยนั้นก็ถูกฆ่าตาย เพราะฉะนั้นประเด็นเหล่านี้ก็คือ เราต้องดูประวัติศาสตร์ของการมีความคิดเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะจากนักวิชาการหรือจากประชาชน ไม่เคยใช้ความรุนแรง แต่วิธีการจัดการของรัฐต่างหากที่ไปกระตุ้นความรุนแรงให้เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น เรื่องคอมมิวนิสต์ถือเป็นเรื่องปรกติในประเทศประชาธิปไตยทั่วไป แต่สำหรับประเทศไทยมันมี พรบ.คอมมิวนิสต์ แล้วบอกว่าไอ้นี่ผิดกฎหมายไง

เรื่องสามจังหวัดภาคใต้ จริงๆ คือเรื่องของความไม่เป็นธรรม พอคุณประกาศตรงนั้น ปัง ปั๊บ ก็คือต้องใช้กำลังมาต่อสู้กันเพราะว่าใช้กำลังทหารเข้าไปแก้ไขปัญหา เพราะทหารเอาไว้ใช้ในสงคราม พอคุณใช้ทหารเข้าไป หรือสมัยทักษิณใช้ตำรวจเข้าไป แล้วก็ใช้อำนาจทำให้เกิดมีคดีคุณสมชาย นีละไพจิตร ที่อุ้ม หรือ 4 ผู้ต้องหา จากการปล้นปืนเผาโรงเรียนตั้งแต่ตอนแรกเมื่อมกราปี 47 ตอนนี้คดียังไม่จบเลยนะ เราก็พบว่าเป็นการที่เขาถูกซ้อมทรมาน และถูกยัดเยียดข้อหาทั้งสิ้น

การทำอย่างนี้คือการใช้อำนาจ เราก็ยอมรับว่าสามจังหวัดป่านนี้ปัญหายังไม่จบ ความถี่อาจจะลดลงแต่ความรุนแรงอาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำไป และอาจจะขยายเป็นปัญหาระดับสากลตามความต้องการของผู้ที่ไม่หวังดีก็ได้

ในยุคของพลเอกเปรม ท่านเข้าใจในเรื่องของการแก้ไขปัญหาคอมมิวนิสต์ ท่านก็ใช้นโยบายการเมือง เราก็บอกว่าเราก็มีประสบการณ์ที่ดีมาแล้ว แต่ว่าเราไม่สรุปบทเรียนและแก้ปัญหาด้วยแนวทางการเมืองนำหารทหารอย่างถูกต้องต่างหาก

นี่เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าสังคมต้องสรุปบทเรียนจากประวัติศาสตร์ ไม่อย่างนั้นแล้วเราก็จะใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง แล้วก็เป็นประชาธิปไตยที่ย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่ใช่เป็นประชาธิปไตยที่อยู่บนหลักเกณฑ์ของต้องการให้เกิดความเป็นธรรมและยอมรับมติของประชาชนเป็นใหญ่ และยึดหลักความเป็นธรรมคือยึดหลักสิทธิมนุษยชนด้วยนะ

เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เสียงปวงชนเป็นใหญ่ แต่ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชนด้วย นี่คือสิ่งที่อาจารย์ปรีดีได้ตราไว้เมื่อ 2475 เพียงแต่ว่าไปๆ มาๆ มันหดสั้นลงทุกที สิทธิมนุษยชนก็ตัดทิ้งไป มติปวงชนเป็นใหญ่ก็หดเหลือแค่เสียงข้างมากเป็นใหญ่ มันก็เลยกลายเป็นการทำลายเสียงข้างน้อย เอาเสียงข้างมากเป็นตัวกฎเกณฑ์ ก็เป็นอย่างนี้มาตลอด

กรณีพ.ค. 53 เป็นปัญหาการเมืองระดับประเทศ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และสังคมจับตามอง ซึ่งก็เห็นได้ว่าท่าที ของกสม. แม้แต่การออกแถลงการณ์ ก็ล่าช้า กสม. คุยกันอย่างไร

ช่วงพ.ค. เป็นการทำงานโดยกสม. ทุกคณะ แต่ก็ยอมรับว่ามันมีอุบัติเหตุที่ทำให้กระบวนการติดขัด เช่น คณะทำงานนั้น คนที่รับผิดชอบก็ไม่ใช่กรรมการฯ แต่เป็นเป็นสำนักงานและเลขาธิการ กสม. ซึ่งที่ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ ซึ่งหากเป็นการดำเนินการโดยอนุฯ ผมก็จะตรวจสอบเชิญมาชี้แจง แต่อย่างที่บอก ช่วงเวลาชุมนุม เป็นส่วนที่อยู่ในกรรมการและคณะทำงานที่ผมอยูในตอนแรกแต่ผมถอนตัวออก ก็ยอมรับว่าการทำงานไม่ได้เข้มข้น ก็เป็นปัญหาความน่าเชื่อถือ

สอง คือมีเรื่องรายงานข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ของอนุฯ ด้วยซ้ำที่รั่วออกไปและทำให้เกิดมีการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อถือและเชื่อมั่น และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีการรั่วออกไปอีกทั้งๆ ที่ไม่ได้ตรงกับควาเป็นจริงอย่างที่ออกไปเมือร่วมเดือนที่ผ่านมา และไม่ตรงกับข้อเท็จจริงด้วยว่ามีอนุฯ 9 ชุด เรามีแค่อนุฯ เดียว และรายงานก็ไม่ตรงกับที่กรรมการได้อ่าน ก็ยอมรับว่ามีข้อผิดพลาดในเรื่องการตรวจสอบและมีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุที่รั่ว การล่าช้าที่ไม่ได้ใช้อำนาจตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะผมก็บอกว่าชาวบ้านที่ถูกละเมิดเขาไม่ได้หวังให้เราตรวจสอบ แต่เขาหวังให้เรามีมาตรการคุ้มครองเยียวยาปัญหาที่เกิดจากการละเมิดสิทธิ ส่วนแถลงการณ์ต่างๆ เป็นเรื่องที่เป็นผลออกมาที่หลัง

ก็ต้องยอมรับและมีปัญหาเรื่องการที่ข่าวสื่อออกไปและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ซึ่งผมเข้าใจว่านี่คงเป็นประเด็นการเมืองที่พยายามลากกรรมการสิทธิไปเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ ก็ต้องเร่งทำงานรายงานการชุมนุมให้เร็วที่สุดโดยไม่ได้ขึ้นกับว่ามันจะเข้ากับฝ่ายใดสีไหน

เราจะได้อ่านรายงานสถานการณ์ พ.ค. 53 โดยกสม. ในอนาคตอันใกล้หรือไม่
ก็ต้องทำให้เร็วครับ ท่านอ.อมรา (พงศาพิชญ์) ก็พยายามเร่ง เพราะร่างฯ รายงานสุดท้ายก็ต้องให้กรรมการอีกหกท่านดู และเรามีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการและสื่อมาช่วยดูอีกครั้งและคงจะออกมาได้

 

การทำงานของคุณหมอ 3 ปีที่ผ่านมา ให้คะแนนการทำงานของตัวเองและคณะทำงานอย่างไรบ้าง

ถ้าถามว่าพอใจไหม ผมพอใจ เพราะความพอใจของผม ผมคิดว่าได้ทำงานกับชาวบ้าน ได้ทำอะไรให้กับชาวบ้าน เพียงแต่ว่าทางสังคม หรือจากที่พี่จรัล (ดิษฐาอภิชัย) พูดก็จะมองว่า เราไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิพลเมืองและการเมือง ผมก็อยากทำความเข้าใจว่า สิทธิชุมชนที่ผมทำอยู่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยสิทธิชุมชนอย่างเดียว ต้องทำด้วยสิทธิพลเมืองและการเมืองด้วย

ยกตัวอย่างเรื่องกะเหรี่ยงแก่งกระจาน เราเข้าไปเพราะสิทธิชุมชนเขาถูกละเมิด แต่ขณะเดียวกันเขาต้องลุกขึ้นมาพูดให้รัฐได้เข้าใจด้วย ปรากฏว่ากะเหรี่ยงทางภาคเหนือ พฤ โอ่โดเชา ที่เป็นลูกพ่อหลวงจอนิ ลงไปช่วยพูดคุยให้ชาวบ้านได้รู้ว่าเขาถูกละเมิดยังไงบ้าง และเขาจะต้องพูดคุยกับหัวหน้าอุทยาน ผู้ว่าราชการจังหวัดยังไงบ้าง ขณะนี้เกิดโครงการที่จะพัฒนาดูแลกะเหรี่ยงแก่งกระจาน และยอมรับว่ากะเหรี่ยงแก่งกระจานไม่ได้ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ได้ค้ายาเสพติด

เพราะฉะนั้น คำว่าสิทธิชุมชน ไม่ใช่แค่ว่าเรื่องการดูแลทรัพยากร การมีชีวิตอยู่หรือมีสิทธิในการตัดสินใจ แต่ต้องบวกเรื่องสิทธิการเมืองและพลเมืองเข้าไปด้วย หรือเรื่องสถานะบุคคลต้องบวกสิทธิพลเมืองเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นเขาจะกลายเป็นแค่ถูกละเมิดอย่างเดียว หรือกลายเป็นผู้ด้อยโอกาส

เวลาเรามอง เราไม่ได้มองแยกส่วน ผมถึงมองว่าการทำงานของผมใน 4 อนุกรรมการ เราคุยกันครั้งสุดท้ายเป็นการประชุมของ  4 อนุฯ ในทุกปี เราก็มองว่าทั้ง 4 อนุฯ ต้องทำงานเชื่อมโยงในภาพรวม และต้องทำให้สิทธิพลเมืองการเมืองอยู่ในสิทธิชุมชน และต้องขับเคลื่อนไปถึงการแก้ไขและสร้างความเป็นธรรมได้ อันนี้ผมพอใจ

ผมทำงานอยู่ 3 อย่างในช่วง 3 ปี คือ หนึ่ง) ตรวจสอบและพยายามให้การคุ้มครอง และประสานหน่วยงานของรัฐ สอง) ผมพยายามทำงานในการเสริมสร้างศักยภาพของภาคประชาชน ผมก็พยายามเข้าไปสร้างอาสาสมัครสิทธิมนุษยชนในการให้ภาคประชาชนมีความตื่นตัวในการทำงานต่อสู้และการสร้างสิทธิให้กับตัวเอง ได้มีความเข้าใจ ขณะเดียวกันเขาก็สามารถที่จะทำงาน เช่น สามารถลุกขึ้นมาฟ้องร้องได้ สามารถขึ้นมาตรวจสอบได้ในฐานะพลเมืองและมีสิทธิทางการเมือง

อันที่สาม ผมพยายามเข้าไปทำงานในการเสนอเชิงนโยบายและกฎหมาย เช่น ร่าง พ.ร.บ.แร่ ฉบับประชาชน ร่าง พ.ร.บ.ประมงพื้นบ้าน หรือเข้าไปดูในนโยบายเรื่อง 112 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือในเรื่องของผู้อพยพต่างๆ ก็พยายามผลักดัน

ผมคิดว่าใน 3 ส่วนนี้ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นคงวัดไม่ได้ เพราะผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในฐานะกรรมการสิทธิ ไม่ได้หมายความว่าทุกเรื่องแก้ไขได้หมด แต่ผมได้เปิดพื้นที่ให้กับภาคประชาชนและสังคมได้รับรู้ แต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ มันเป็นเชิงระบบโครงสร้าง นโยบาย บางอย่างมันแก้ง่าย ก็สามารถแก้ไขไปในตัว แต่เรื่องยากๆ ที่เป็นต้นตอปัญหามาตลอด 80 ปีมันก็ต้องใช้เวลา มีพัฒนาการในการแก้ไข

อีก 3 ปีที่เหลือ วางแนวทางในการทำงานไว้ยังไง

ผมต้องขอเรียนว่าไม่เคยทำงานที่คลุกวงในแบบนี้ เพราะการเป็นกรรมการสิทธิ มันต้องทำงานในเชิงการบริหารจัดการ ทำงานหลายส่วน ใน 3 ส่วนอย่างที่ผมบอก ตอนเป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ไม่ได้ทำมากขนาดนี้ ตอนเป็นหมอก็ไม่ได้ทำมากขนาดนี้

ผมคิดว่า 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผมตั้งหลักได้พอสมควร อีก 3 ปีที่เหลือ เราก็คุยกันใน 4 อนุฯ คือ อนุกรรมการที่มาจากภายนอกและเจ้าหน้าที่ เมื่อกี้ก็คุยกับเจ้าหน้าที่ทุกคน ประมาณ 20-30 ชีวิต กับอนุกรรมการอีก 40 คนว่า เราต้องตั้งธงในการทำงานใน 3 เรื่องใหญ่ๆ  หนึ่ง) การตรวจสอบ และมีกระบวนการตรวจสอบที่สามารถให้การคุ้มครอง และมีรายงานที่มีคุณภาพ ต้องทำให้เกิดรายงานที่รวดเร็วและแก้ปัญหา ถ้ารายงานยังไม่เสร็จ ก็ต้องมีมาตรการในการแก้ไขหรือนำเสนอหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เราอาจจะมีจดหมายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการชี้แนะหรือข้อเสนอ เช่น กรณีคนไทยพลัดถิ่น พอมีกฎกระทรวงออกมา ตั้งกรรมการออกมา แต่พอเราเห็นปัญหาในกฎกระทรวง เราก็มีจดหมายแสดงความคิดเห็นไปที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยว่า ต้องมีมาตรการยังไง และต้องประสานกับหน่วยงานของรัฐ ก็คืออธิบดีกรมการปกครอง และนักวิชาการ ขณะนี้ก็มีเรื่องของการลงทะเบียน เราก็ให้มีอนุกรรมการไปลงพื้นที่ เหล่านี้คือสิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นในอีก 3 ปีที่เหลือ

อันที่สองก็คือ อยากทำเรื่องของภาคสังคมให้ความเข้มแข็งเรื่องของสิทธิ ผมคิดว่าสังคมไทยช่วงนี้มีพัฒนาการในทางการเมืองภาคประชาชน และเป็นการต่อสู้เรื่องสิทธิที่แหลมคมมากขึ้น คำว่าแหลมคมมากขึ้น หมายความว่า มันเป็นพัฒนาการที่สื่อให้เห็นถึงการตื่นตัวของภาคประชาชนในเรื่องสิทธิพลเมืองสูงมาก แต่ว่าทางออกจะไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงอย่างมโหฬาร หรือว่าทำให้เกิดความคลี่คลายในทางสร้างสรรค์

ผมคิดว่า ช่วงปีสองปีนี้ เรามีเรื่องความคิดที่ออกมาสู่ภาคสังคมเยอะ ในการหาทางออกโดยสันติภาพหรือสันติวิธี เพียงแต่ว่าอาจต้องใช้เวลาให้สังคมได้เรียนรู้ ถ้ามันผ่านสังคมในระยะเปลี่ยนผ่านได้ มีกระบวนการที่ทุกฝ่ายยึดสิทธิมนุษยชน เอาบทเรียนของความเจ็บปวดมาเป็นพื้นฐาน ผมคิดว่าเราจะฝ่าข้ามไปโดยที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนได้ แล้วก็สามารถที่จะเสนอแก้นโยบายกฎหมายต่างๆ ที่ผมได้ไล่เลียงแล้ว แต่ตรงนี้คงไม่ได้ทำคนเดียว คงต้องเชื่อมกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์กรใหม่ตามรัฐธรรมนูญ หลายเรื่องเราก็ทำงานร่วมกันอยู่ เช่น เรื่อง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ร.บ.ทรัพยากรธรรมชาติ หรือเราจะมีการเสนอเรื่อง พรบ.สิทธิชุมชนออกมา และมีการทำงานร่วมกับภาคประชาชนด้วย 3 ปีที่เหลือ น่าจะทำให้เกิดเป็นรูปธรรมในแต่ละเรื่องได้เท่าที่ได้คุยกันไว้ในเจ้าหน้าที่และอนุกรรมการทั้ง 4 อนุฯ

มีอันหนึ่งที่ขณะนี้มีปัญหา คือปัญหาที่มันบานปลายมากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา คือเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม คดีของภาคประชาชน คดีของคุณจินตนา แก้วขาว (แกนนำชาวบ้านค้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก-บ้านกรูด) คดีที่ดินลำพูน คดี 112 คดีการชุมนุมทางการเมือง เหล่านี้เราทำให้เห็นว่ามันมีการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมด้วย ทำให้เราต้องตระหนักว่าสังคมอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อที่อันตราย

ถ้าหากว่าภาคประชาชนหรือสังคมหมดที่พึ่ง ฝ่ายบริหารหรือรัฐสภาก็เป็นการเมืองที่ล้มเหลว ฝ่ายตุลาการหรือระบบยุติธรรมก็ไม่ได้เป็นที่พึ่ง แล้วประชาชนจะพึ่งใคร เมื่อถึงตอนนั้นจะเกิดปัญหาทันที อย่างที่เราบอกว่าตอนนี้ไม่มีระบบอะไรที่เป็นที่เชื่อถือเลย คนที่ขณะนี้ไม่เชื่อถือ ไม่เป็นไร ผมว่ามันแสดงให้เห็นว่าคนมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ผมคิดว่าผมยอมรับได้ และเป็นสิ่งที่ดี

แต่ถ้าไม่เชื่อในระบบ ตรงนี้จะมีปัญหา เพราะจะทำให้ต้องหาทางออกด้วยความรุนแรงทันที เพราะฉะนั้นนี่เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาที่เราเห็นชัดเจนมากขึ้น ที่เราต้องทำให้เห็นใน 3 ปีนี้ ให้เห็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ให้เห็นปัญหาในกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนนยังเห็นความไม่เป็นธรรม และนำมาสู่ความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ว่าต้องแก้ในทางนโยบายและกฎหมายอย่างไร

นี่คือสิ่งที่คิดว่าเป็นอีกงานหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่ว่าการขับเคลื่อนตรงนี้จะเกี่ยวพันกับหลายองค์กร ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ นิติวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นการทำงานตรงนี้ก็ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่พูดมาทั้งหมด แต่เนื่องจากว่ากรรมการสิทธิ เป็นองค์กรกึ่งตุลาการ เราจะใช้ความเป็นเพื่อนของความเป็นระบบตุลาการ ทำให้เกิดการยอมรับในข้อมูล ข้อเท็จจริง ในองค์ความรู้ที่เราได้ศึกษาได้อย่างไร อันนี้ก็ต้องวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน ก็มีเรื่องตรงนี้จะต้องให้ความสำคัญ

แล้วตัวองค์กรกรรมการสิทธิเอง จากการทำงาน 3 ปีที่ผ่านมา คุณหมอมองว่ามีอะไรที่จะต้องปรับเปลี่ยนไหม ในโครงสร้างหรือกลไกการทำงาน

ผมคิดว่ากรรมการสิทธิชุดนี้จะต่างกับกรรมการสิทธิชุดแรก อันแรกคือที่มาของกรรมการสิทธิ ที่เราได้คุยกันในกรรมการสิทธิแล้วว่า มันก็เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างกฎหมายคือรัฐธรรมนูญ ต้องเรียนว่ารัฐธรรมนูญต้องแก้ไขในเรื่องการสรรหากรรมการสิทธิ เพราะเราก็เห็นความแตกต่างของกรรมการชุดนี้ที่มาจากการสรรหาของกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วย ส่วนใหญ่ 5 ใน 7 ท่านมาจากตุลาการ เพราะฉะนั้นตรงมีก็ทำให้มีผลกระทบต่อลักษณะการทำงานของกรรมการสิทธิที่ต่างจากชุดที่แล้วค่อนข้างชัดเจน

ประการที่สอง คือการลดจำนวนกรรมการสิทธิลงจาก 11 คน เหลือ 7 คน ต้องยอมรับว่าบ้านเรา การละเมิดสิทธิยังเยอะอยู่ จะไปเทียบกับในยุโรป ในออสเตรเลีย ที่กรรมการสิทธิแค่ศึกษาองค์ความรู้อย่างเดียว แค่ทำงานส่งเสริมอย่างเดียวไม่ได้ เพราะบ้านเราการละเมิดยังเยอะมาก มันต้องใช้เวลาในการสั่งสมตรงนี้

เพราะฉะนั้น มันเหมือนหมอที่ยังไงก็ต้องดูแลคนไข้ เพราะคนป่วยในบ้านเรายังเยอะอยู่ ถ้าจะทำงานป้องกัน ส่งเสริมอย่างเดียว คนป่วยมาไม่ดูแลไม่ได้ ดังนั้นผมก็เปรียบกรรมการสิทธิเหมือนหมอ การดูแลเรื่องเรื่องคนป่วย กรรมการสิทธิจาก 11 คนเหลือ 7 คน มันในช่วงขณะนี้มันน้อยไปดูแลไม่ไหว ถ้าหากลดลงแล้วสังคมมีความเข้าใจเรื่องสิทธิดีขึ้น มีพัฒนาการดีขึ้น ผมก็ไม่ว่าอะไร เหลือ 3 คนอย่างออสเตรเลียก็พอแล้ว แต่สังคมไทยยังเป็นอย่างนั้นไม่ได้ เหมือนกับหมอ ถ้าลดลงแล้วใครจะดูแลคนไข้

อันที่สาม ผมคิดว่าในรัฐธรรมนูญ คนที่คิดรัฐธรรมนูญปี 50 มีแนวคิดในเรื่องกรรมการสิทธิที่ไม่เหมือนผม และผมคิดว่ามีปัญหาในเชิงหลักการ เขาอาจจะมองกรรมการสิทธิว่าเหมือนกับบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ (หัวเราะ) คือไม่ต้องลงมาในเรื่องของการตรวจสอบ ไม่ต้องลงมาทำงานกับภาคประชาชน เหมือนกับบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ดูแลเฉพาะนโยบาย แล้วให้สำนักงานเป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่ รัฐธรรมนูญอำนาจต่างๆ ในมาตรา 257 ให้ต่อกรรมการสิทธิ แล้วคณะกรรมการสิทธิให้ต่อกรรมการแต่ละคนในการตั้งอนุกรรมการ ซึ่งอนุกรรมการออกแบบดีแล้ว คือประกอบด้วย กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก คือ ภาคประชาสังคม หรือข้าราชการก็ได้ที่เข้าใจ ผมว่าสัดส่วนนี้ดีแล้ว แต่ว่าผมว่าการทำงานตรงนี้จะทำให้เกิดระบบการตรวจสอบอย่างไร ระบบที่จะทำงานเชื่อมโยงยังไง จะเสนอนโยบายยังไง ซึ่งนี่ตรงนี้คือวิธีการทำงาน

อนุกรรมการชุดนี้ก็แบ่งตามกฎหมาย คือ อนุฯ ชุดสิทธิพลเมืองและการเมือง กระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม แล้วก็มีประเด็นเฉพาะของเราบ้าง เรื่องเด็ก สตรี การศึกษา

ผมเข้าใจว่า คนที่ร่างรัฐธรรมนูญมองว่ากรรมการสิทธิเหมือนบอร์ด จึงลดจำนวนลง และบอกว่าให้ตุลาการเป็นคนมาเลือกละกัน จะได้เลือกคนที่หลากหลาย ซึ่งเจตนารมณ์ของเรา ต้องการกรรมการสิทธิที่เข้าใจจุดยืนและวัฒนธรรมด้านสิทธิมนุษยชน คำว่าสิทธิมนุษยชนสามารถที่จะมีจุดยืนที่รักษาความเป็นธรรมและผลประโยชน์ของประชาชน

บางคนบอกว่า กรรมการสิทธิเข้าข้างประชาชน ก็สิทธิเป็นเรื่องของประชาชน (หัวเราะ) เหมือนหมอดูคนไข้ ก็ต้องเข้าข้างคนไข้ จะไปเข้าข้างเชื้อโรคได้ไง ถ้าเข้าข้างเชื้อโรค คนไข้ก็ตาย ถึงยังไงกรรมการสิทธิก็ต้องเข้าข้างชาวบ้านก่อน แต่เราก็ต้องยอมรับว่าภายใต้สถานการณ์อย่างนี้ มีการทำสิ่งที่เกินเลยไป แต่ว่าสังคมต้องเรียนและทำความเข้าใจได้

เวลาเราตรวจสอบ เราต้องตรวจสอบหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มาละเมิดประชาชน เพราะสิทธิเป็นเรื่องประชาชนนะ สิทธิไม่ใช่เรื่องหน่วยงานของรัฐ รัฐมีหน้าที่ต้องมาปกป้องสิทธิ อันนี้ต้องเข้าใจ และเป็นปัญหาที่รัฐธรรมนูญ 50 ได้ลดจำนวนกรรมการสิทธิลง และทำให้การสรรหามาจากภาคตุลาการเหมือนอย่างองค์กรอิสระอื่นๆ ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นความผิดพลาด รัฐธรรมนูญปี 50 ต้องแก้ไขเรื่องการสรรหา

อันที่สองคือ ตัว พ.ร.บ.กรรมการสิทธิ ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 42 ขณะนี้มีปัญหาว่ากรรมการสิทธิเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ตัวสำนักงานเป็นข้าราชการ กรรมการสิทธิมีแค่ 7 คน แต่จริงๆ สำนักงานมีความสำคัญมาก เพราะเป็นฝ่ายที่ส่งเสริมสนับสนุน ถ้าระบบในสำนักงานยังเป็นราชการอยู่ มีปัญหาทันที เพราะระบบราชการค่อนข้างแข็งตัว การทำงานแบบราชการมันไม่คล่องตัวกับการทำงานกับภาคประชาชน ผมเจอปัญหาอย่างนี้แม้กระทั่งในรัฐสภาด้วยซ้ำไป

เพราะฉะนั้น ขณะนี้กรรมการสิทธิมี พ.ร.บ.กรรมการสิทธิที่สำนักงานยังเป็นราชการอยู่ เลขาธิการต้องเป็นซี 11 มันหมดโอกาสแล้ว เพราะข้าราชการที่ตำแหน่งสูงๆ ต้องยอมรับว่าในระบบการเมืองอย่างนี้ หาคนยากมากที่จะนึกถึงภาคประชาชนสักเท่าไหร่ เพราะจะเป็นระบบเส้นสายไต่เต้าโดยเฉพาะทางการเมืองมากกว่า

ขณะเดียวกัน การทำงานด้านสิทธิต้องมีจุดยืน มีประสบการณ์ด้านนี้พอสมควร ตรงนี้ทำให้ลักษณะกฎหมายกรรมการสิทธิที่ให้สำนักงานเป็นระบบราชการ ทำให้มีปัญหาในการทำงาน การสร้างระบบต่างๆ ที่จะมาเชื่อมโยงกันกับกรรมการมีปัญหามาก เรื่องการเงิน งบประมาณต่างๆ ในการทำงานแต่ละอย่าง ต้องการกฎหมายที่ต่างหากไป ซึ่งผมไม่ได้เรียกร้องว่าเป็นกฎหมายที่พิสดารอะไร เหมือนอย่าง พอช. หรือ สสส.ที่มีกฎหมายของตัวเอง เขาทำงานได้คล่องตัวเยอะกว่ากรรมการสิทธิหรือสำนักงานกรรมการสิทธิอีก

อันที่สาม ในกฎหมายกรรมการสิทธิฉบับใหม่ที่ร่างขณะนี้อยู่ที่สภาในอันดับ 7หรือ 8 มีปัญหาว่าเรามีของแถมที่กรรมการสิทธิชุดที่แล้วไม่ได้เติม แต่สำนักงานกฤษฎีกาเติมให้ เข้าใจว่าเป็นมาตรา 42 การไม่ให้กรรมการสิทธิเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ซึ่งผมคิดว่าอันนี้เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์การทำงานของกรรมการสิทธิ เพราะกรรมการสิทธิเป็นองค์กรที่ต้องบอกสัจจะความจริงต่อสังคม เราจะไม่บอกได้ 2 เรื่องคือ ความลับส่วนบุคคล และเรื่องความมั่นคง อันนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเขียนกฎหมายมาปิดปากเรา

ผมคิดว่ากฤษฎีกา เขาให้เหตุผลมาว่า ข้อมูลการตรวจสอบของกรรมการสิทธิเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเข้าใจผิด ที่เราตรวจสอบเป็นข้อมูลสาธารณะหมด ถ้าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลเป็นใครมาชี้แจง เราจะไม่เปิดเผยออกไปเลย ขนาดเขามาขอรายงานการประชุม ผมจะให้กับเฉพาะตัวผู้ที่มาชี้แจง แต่คนอื่นผมจะไม่ให้ ถ้าของเอกชนเรายิ่งระมัดระวังมากขึ้นที่จะไม่ให้ออกไปด้วยซ้ำไป

เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เราระวังตัวอยู่แล้วเพราะเราต้องถือรัฐธรรมนูญเป็นใหญ่ เวลาที่เราจะพิจารณากรณีร้องเรียน ต้องยึดรัฐธรรมนูญ เราต้องบอกว่าเป็นการละเมิดสิทธิข้อไหน มาตราไหน อย่างไร ปฏิญญาสากลข้อไหน ละเมิดอนุสัญญาข้อไหน ไม่ใช่กล่าวหาลอยๆ เราทำงานภายใต้การยึดหลักกฎหมาย เพราะฉะนั้นมาตราที่ว่าด้วยไม่ให้เผยแพร่ข้อมูลจะเป็นการล้มเจตนารมณ์ และล้มเรื่องการทำงานของกรรมการสิทธิ อันนี้ก็จะเป็นปัญหาหลักๆ ในร่าง พ.ร.บ.กรรมการสิทธิ ซึ่งกำลังจะเสนอในรัฐสภา

 

น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ในฐานะกสม.  รับผิดชอบอนุกรรมการ 4 อนุกรรมการด้วยกัน ก็คือ อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, อนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคล, อนุกรรมการสิทธิชุมชน โดยดูแลด้านทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติ ล่มน้ำ ทะเล ชายฝั่ง และสินแร่ และอนุฯ ชุดสี่คืออนุที่ดินและป่า

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานรณรงค์ "วันงานที่มีคุณค่า" ร้องยุติจ้างเหมาค่าแรง ทำชีวิตไม่มั่นคง

Posted: 07 Oct 2012 11:23 AM PDT

 

(7 ต.ค.55) เวลา 10.00 น. ขบวนผู้ใช้แรงงานหลายร้อยคน นำโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และสหพันธ์แรงงานระดับสากล (GUF) รวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังหน้าอาคารสหประชาชาติ สะพานมัฆวาน เพื่อรณรงค์เนื่องในวันงานที่มีคุณค่า หรือ World Day for Decent Work ซึ่งตรงกับวันที่ 7 ต.ค.ของทุกปี

สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) อ่านแถลงการณ์เรียกร้องต่อรัฐบาล 6 ข้อ ดังนี้
1.รัฐบาลต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองภายในปี 2556 โดยทันที
2.ยกเลิกการจ้างงานระยะสั้น เช่น การจ้างงานแบบสัญญาจ้าง จ้างงานชั่วคราว ลูกจ้างนอกงบประมาณ พนักงานราชการ รวมถึงแก้ปัญหารูปแบบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม โดยให้ลูกจ้างไม่ว่าที่จ้างงานโดยตรงหรือโดยอ้อม ได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ สภาพการจ้างเท่าเทียมกัน
3.พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน โดย 1)รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม ให้ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน โดยกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าที่มีรายได้พอเลี้ยงชีพคนงานเองและครอบครัวอีก 2 คน ต้องมีการปรับโครงสร้างค่าจ้างทุกปี และขอให้รัฐทบทวนมติ ครม. 22 พ.ย.54 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดในปี 2557 และ 2558
  2)ให้รัฐและรัฐสภาสนับสนุนการปฏิรูประบบประกันสังคม ทั้งด้านการบริหาร ความทั่วถึงของการประกันสังคม และการมีส่วนร่วมทางตรงของผู้ประกันตนในการเลือกตั้งคณะกรรมการ รวมถึงให้นำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ วิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชน 14,264 คนเสนอ เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ
4.รัฐต้องสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ ตรวจสอบคอร์รัปชั่นอย่างเข้มงวด และให้สหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบและกำหนดทิสทางรัฐวิสาหกิจ
5.ให้ความสำคัญกับบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ตอบสนองการเข้าถึงและความต้องการของประชาชน ยกเลิกการนำสถาบันการศึกษาออกนอกระบบ และให้บุคลากรที่ให้บริการสาธารณะมีความมั่นคงในการทำงาน
6.รัฐต้องสร้างความปลอดภัยในการทำงานและขจัดสภาพการทำงานที่เลวร้าย ยกเลิกการใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบแร่ใยหิน

ด้านนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ฝ่ายวิชาการของ คสรท. กล่าวว่า นอกจากข้อเรียกร้องทั้งหกข้อแล้ว จะมีการเรียกร้องให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าวด้วย เนื่องจากข้อเรียกร้องเหล่านี้ครอบคลุมหลายกระทรวง ไม่ใช่เพียงกระทรวงแรงงานเท่านั้น และยังเป็นผลบวกต่อคนทุกกลุ่มในสังคมด้วย 

ยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมปัจจุบัน ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีการจ้างเหมาค่าแรงเกิน 50% แล้ว ซึ่งเป็นการจ้างงานที่ไม่มั่นคงและส่งผลให้ลูกจ้างได้สิทธิประโยชน์ไม่เท่ากันทั้งที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน นอกจากนั้น สถานประกอบการบางแห่งยังมีการนำนักศึกษาอาชีวะเข้ามาในลักษณะของการฝึกงาน แต่กลับทำงานเหมือนพนักงานจริงๆ โดยบางครั้งให้ทำงานไม่ตรงกับสายที่เรียนมาและเมื่อเกิดอุบัติเหตุในการทำงานขึ้นก็ไม่มีผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ ขณะนี้ยอดจองรถยนต์เพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่าปีนี้หากไม่เกิดน้ำท่วมจะมียอดผลิตไม่ต่ำกว่า 2.2 ล้านคัน ทั้งยังมีข่าวว่าหลายแห่งจะเพิ่มรอบการทำงานเป็น 3 กะจากปกติ 2 กะด้วย โดยเขาเสนอว่า รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายบังคับให้มีการจ้างงานโดยตรง เพื่อให้ลูกจ้างทุกคนมีงานที่มั่นคง

ฉัตรชัย ไพยเสน เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส กล่าวว่า ปัจจุบันมีการขัดขวางการรวมตัวของคนงานแบบใหม่โดยนายจ้างได้เปลี่ยนรูปแบบกิจการเฉพาะส่วนของคนงานจ้างเหมาค่าแรงเป็นกิจการบริการ เช่น พนักงานขับรถ จากที่อยู่ในกิจการขนส่งทางบก ก็ถูกจัดเป็นงานบริการ ส่งผลให้คนงานไม่ได้ค่าจ้างและสวัสดิการที่เท่าเทียมกับคนงานประจำ และไม่สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ เนื่องจากเป็นกิจการคนละประเภท ซึ่งเขาคาดหวังว่า การรวมตัวของคนงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จะแก้ปัญหานี้ได้ โดยในประเทศไทยเพิ่งมีการก่อตั้ง IndustriALL Thailand ขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการรวมตัวกันของสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TEAM) สหพันธ์แรงงานปิโตเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย (ICEM) สหพันธ์แรงงานสิ่งทอแห่งประเทศไทย (ITGWFT) และสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (ALCT)
 

เสียงร้องจากแรงงานเหมาช่วง

หลายปีที่ผ่านมา การจ้างงานในรูปแบบการ "จ้างเหมาค่าแรง" หรือ "เหมาช่วง" (sub-contract) แพร่หลายเป็นอย่างมากในธุรกิจต่างๆ ลักษณะของการจ้างงานดังกล่าวคือ การที่เจ้าของกิจการหรือโรงงานไม่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อแรงงานที่มาทำงาน เนื่องจากได้นำส่วนงานนั้นๆ ไปจ้างเหมาบริษัทที่ทำธุรกิจจัดหาแรงงานอีกทอดหนึ่ง เพื่อให้นำคนเข้ามาทำงานในโรงงานหรือในธุรกิจของตน โดยแรงงานเหล่านั้นไม่ได้ทำงานในฐานะของพนักงานประจำของบริษัท แต่เป็นเพียงลูกจ้างในระบบเหมาช่วงหรือจ้างเหมาที่มาจากบริษัทที่ได้รับการ ว่าจ้างมาอีกทอดหนึ่ง

แรงงานเหมาช่วงจึงไม่ได้รับการดูแลเรื่องสวัสดิการ ไม่มีความมั่นคงในอาชีพ และไม่มีความก้าวหน้าในการทำงาน เนื่องจากไม่ได้เป็นพนักงานโดยตรงของโรงงานหรือบริษัท มาฟังเสียงสะท้อนและข้อเรียกร้องจากแรงงานเหมาช่วงที่มาร่วมเดินรณรงค์ "วันงานที่มีคุณค่า" หรือ World Day for Decent Work ในปี 2555 ซึ่งตรงกับวันที่ 7 ตุลาคมของทุกปี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวชายแดนใต้ โดนตำรวจเรียกสอบ-ยึดรูปถ่าย

Posted: 07 Oct 2012 11:17 AM PDT

7 ตุลาคม 2555 เว็บไซต์โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (http://freedom.ilaw.or.th/case/436) รายงานว่า มีนักข่าวพลเมืองสองคนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปสอบสวนที่ สถานีตำรวจภูธรนราธิวาส เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนได้รับการปล่อยตัวมาโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา

นักข่าวสองคนนี้ คนหนึ่งเป็น นักข่าวพลเมืองจากกลุ่มอินเซ้าท์ (Insouth) และอีกคนหนึ่งเป็นนักข่าวพลเมืองดีสลาตัน ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 55 เวลาประมาณ 10.00 น. เขาทั้งสองพร้อมด้วยกล้องวีดีโอหนึ่งตัวและกล้องถ่ายภาพนิ่งหนึ่งตัวออกขี่รถจักรยานเพื่อบันทึกภาพบรรยากาศภายในตัวเมืองจังหวัดนราธิวาสที่เงียบเหงา เนื่องจากวันนั้นเป็นวันศุกร์และร้านค้าภายในตัวเมืองไม่เปิดให้บริการ เพราะมีใบปลิวข่มขู่ออกมาจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีก่อนหน้านั้นว่าให้ร้านค้าในพื้นที่ปิดบริการทุกวันศุกร์

ขณะที่ขี่จักรยานผ่านบริเวณหอนาฬิกากลางเมืองนราธิวาส มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบพร้อมชุด อส. ขี่รถจักรยานยนต์มาด้วยกันสองคนมาเรียกให้พวกเขาหยุด เพื่อถามถึงสาเหตุที่ออกมาถ่ายภาพในวันนั้น ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่อีกหลายหน่วยตามมาสมทบ

หลังจากนั้น พวกเขาถูกนำตัวไปสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรนราธิวาสโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบหลายนายเป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง เจ้าหน้าที่พยายามสอบถามถึงชื่อ ที่อยู่ หน่วยงานที่สังกัด และวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ แต่เมื่อแสดงบัตรผู้สื่อข่าวแล้วเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่เชื่อ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่เคยได้ยินชื่อกลุ่มอินเซ้าท์มาก่อน และแม้เจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแล้วพบว่า เป็นนักข่าวมีตัวตนอยู่จริง ก็ยังไม่เชื่อ ยังคงสอบสวนต่ออีกระยะหนึ่ง

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังขอหน่วยความจำในกล้องของพวกเขาไปตรวจสอบ และลบภาพที่ถ่ายในวันนั้นออกทั้งหมด หลังจากการสอบสวนเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงพวกเขาก็ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และไม่มีการลงนามในบันทึกการสอบปากคำแต่อย่างใด แต่ได้ถ่ายรูปของพวกเขาเก็บไว้เป็นทะเบียนประวัติ และข่มขู่ว่าหากหลังจากนี้เกิดอะไรขึ้นในพื้นที่พวกเขาก็จะถูกเรียกมาสอบสวนก่อน

ขณะที่เพื่อนของพวกเขาอีกหนึ่งคนซึ่งพวกเขามาขอพักอาศัยที่บ้านในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งไม่ได้เป็นนักข่าวก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนด้วยในฐานะผู้ให้ที่พักพิง

หลังจากนั้นพวกเขาจึงปรึกษากันและตัดสินใจนำเรื่องดังกล่าวไปร้องเรียนที่ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดนราธิวาส

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวชายแดนใต้ โดนตำรวจเรียกสอบ-ยึดรูปถ่าย

Posted: 07 Oct 2012 11:16 AM PDT

 

คนหนึ่งเป็น นักข่าวพลเมืองจากกลุ่มอินเซ้าท์ (Insouth) และอีกคนหนึ่งเป็นนักข่าวพลเมืองดีสลาตัน ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

7 ตุลาคม 2555 ประชาไท ได้รับการแจ้งข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ว่า มีนักข่าวพลเมืองสองคนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปสอบสวนที่ สถานีตำรวจภูธรนราธิวาส เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนได้รับการปล่อยตัวมาโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา

นักข่าวสองคนนี้ คนหนึ่งเป็น นักข่าวพลเมืองจากกลุ่มอินเซ้าท์ (Insouth) และอีกคนหนึ่งเป็นนักข่าวพลเมืองดีสลาตัน ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 55 เวลาประมาณ 10.00 น. เขาทั้งสองพร้อมด้วยกล้องวีดีโอหนึ่งตัวและกล้องถ่ายภาพนิ่งหนึ่งตัวออกขี่รถจักรยานเพื่อบันทึกภาพบรรยากาศภายในตัวเมืองจังหวัดนราธิวาสที่เงียบเหงา เนื่องจากวันนั้นเป็นวันศุกร์และร้านค้าภายในตัวเมืองไม่เปิดให้บริการ เพราะมีใบปลิวข่มขู่ออกมาจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีก่อนหน้านั้นว่าให้ร้านค้าในพื้นที่ปิดบริการทุกวันศุกร์

ขณะที่ขี่จักรยานผ่านบริเวณหอนาฬิกากลางเมืองนราธิวาส มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบพร้อมชุด อส. ขี่รถจักรยานยนต์มาด้วยกันสองคนมาเรียกให้พวกเขาหยุด เพื่อถามถึงสาเหตุที่ออกมาถ่ายภาพในวันนั้น ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่อีกหลายหน่วยตามมาสมทบ

หลังจากนั้น พวกเขาถูกนำตัวไปสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรนราธิวาสโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบหลายนายเป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง เจ้าหน้าที่พยายามสอบถามถึงชื่อ ที่อยู่ หน่วยงานที่สังกัด และวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ แต่เมื่อแสดงบัตรผู้สื่อข่าวแล้วเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่เชื่อ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่เคยได้ยินชื่อกลุ่มอินเซ้าท์มาก่อน และแม้เจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแล้วพบว่า เป็นนักข่าวมีตัวตนอยู่จริง ก็ยังไม่เชื่อ ยังคงสอบสวนต่ออีกระยะหนึ่ง

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังขอหน่วยความจำในกล้องของพวกเขาไปตรวจสอบ และลบภาพที่ถ่ายในวันนั้นออกทั้งหมด หลังจากการสอบสวนเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงพวกเขาก็ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และไม่มีการลงนามในบันทึกการสอบปากคำแต่อย่างใด แต่ได้ถ่ายรูปของพวกเขาเก็บไว้เป็นทะเบียนประวัติ และข่มขู่ว่าหากหลังจากนี้เกิดอะไรขึ้นในพื้นที่พวกเขาก็จะถูกเรียกมาสอบสวนก่อน

ขณะที่เพื่อนของพวกเขาอีกหนึ่งคนซึ่งพวกเขามาขอพักอาศัยที่บ้านในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งไม่ได้เป็นนักข่าวก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนด้วยในฐานะผู้ให้ที่พักพิง

หลังจากนั้นพวกเขาจึงปรึกษากันและตัดสินใจนำเรื่องดังกล่าวไปร้องเรียนที่ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดนราธิวาส

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวชายแดนใต้ โดนตำรวจเรียกสอบ-ยึดรูปถ่าย

Posted: 07 Oct 2012 11:16 AM PDT

 

คนหนึ่งเป็น นักข่าวพลเมืองจากกลุ่มอินเซ้าท์ (Insouth) และอีกคนหนึ่งเป็นนักข่าวพลเมืองดีสลาตัน ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

7 ตุลาคม 2555 ประชาไท ได้รับการแจ้งข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ว่า มีนักข่าวพลเมืองสองคนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปสอบสวนที่ สถานีตำรวจภูธรนราธิวาส เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนได้รับการปล่อยตัวมาโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา

นักข่าวสองคนนี้ คนหนึ่งเป็น นักข่าวพลเมืองจากกลุ่มอินเซ้าท์ (Insouth) และอีกคนหนึ่งเป็นนักข่าวพลเมืองดีสลาตัน ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 55 เวลาประมาณ 10.00 น. เขาทั้งสองพร้อมด้วยกล้องวีดีโอหนึ่งตัวและกล้องถ่ายภาพนิ่งหนึ่งตัวออกขี่รถจักรยานเพื่อบันทึกภาพบรรยากาศภายในตัวเมืองจังหวัดนราธิวาสที่เงียบเหงา เนื่องจากวันนั้นเป็นวันศุกร์และร้านค้าภายในตัวเมืองไม่เปิดให้บริการ เพราะมีใบปลิวข่มขู่ออกมาจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีก่อนหน้านั้นว่าให้ร้านค้าในพื้นที่ปิดบริการทุกวันศุกร์

ขณะที่ขี่จักรยานผ่านบริเวณหอนาฬิกากลางเมืองนราธิวาส มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบพร้อมชุด อส. ขี่รถจักรยานยนต์มาด้วยกันสองคนมาเรียกให้พวกเขาหยุด เพื่อถามถึงสาเหตุที่ออกมาถ่ายภาพในวันนั้น ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่อีกหลายหน่วยตามมาสมทบ

หลังจากนั้น พวกเขาถูกนำตัวไปสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรนราธิวาสโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบหลายนายเป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง เจ้าหน้าที่พยายามสอบถามถึงชื่อ ที่อยู่ หน่วยงานที่สังกัด และวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ แต่เมื่อแสดงบัตรผู้สื่อข่าวแล้วเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่เชื่อ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่เคยได้ยินชื่อกลุ่มอินเซ้าท์มาก่อน และแม้เจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแล้วพบว่า เป็นนักข่าวมีตัวตนอยู่จริง ก็ยังไม่เชื่อ ยังคงสอบสวนต่ออีกระยะหนึ่ง

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังขอหน่วยความจำในกล้องของพวกเขาไปตรวจสอบ และลบภาพที่ถ่ายในวันนั้นออกทั้งหมด หลังจากการสอบสวนเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงพวกเขาก็ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา และไม่มีการลงนามในบันทึกการสอบปากคำแต่อย่างใด แต่ได้ถ่ายรูปของพวกเขาเก็บไว้เป็นทะเบียนประวัติ และข่มขู่ว่าหากหลังจากนี้เกิดอะไรขึ้นในพื้นที่พวกเขาก็จะถูกเรียกมาสอบสวนก่อน

ขณะที่เพื่อนของพวกเขาอีกหนึ่งคนซึ่งพวกเขามาขอพักอาศัยที่บ้านในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งไม่ได้เป็นนักข่าวก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนด้วยในฐานะผู้ให้ที่พักพิง

หลังจากนั้นพวกเขาจึงปรึกษากันและตัดสินใจนำเรื่องดังกล่าวไปร้องเรียนที่ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดนราธิวาส

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุภิญญา กลางณรงค์: SWOT กสทช.ในโอกาส 1 ปีการทำงาน

Posted: 07 Oct 2012 07:05 AM PDT

 

(7 ต.ค.55) สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทวีตวิจารณ์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยง (SWOT) ของ กสทช. ผ่าน @supinya เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีการสถาปนาสำนักงาน กสทช. มีรายละเอียดดังนี้
 

                                                                                                00000


จุดแข็ง

1. เป็นองค์กรที่พร้อมในเรื่อง คน เงิน ของ ไม่ขัดสนเรื่องงบประมาณ บริหารคล่องตัวกว่าหน่วยงานรัฐอื่นๆ มาก อยากทำอะไร ทำได้
2. พนักงานส่วนใหญ่ตั้งใจ มีศักยภาพ เก่ง ทันสมัย ได้คนระดับหัวกะทิมาไม่น้อย ทำงานในเวทีระดับภูมิภาค/ชาติ/สากลได้ดี
3. โครงสร้างตามกฎหมายที่ออกแบบมาให้มีความเป็นอิสระสูง ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือทุนได้โดยง่าย (เว้นแต่จะยอมให้แทรกแซง)
4.ถือเป็นองค์กรใหม่ สังคมยังฝากความหวัง ให้ความเชื่อมั่น ภาพลักษณ์ทางการเมืองยังมีความเป็นกลาง ประสานความร่วมมือได้หลายฝ่าย
5.บอร์ด กสทช.11 คน เชี่ยวชาญคนละด้าน มีฐานที่มาคนละแบบ ก่อให้เกิดการคานงัด ถ่วงดุลทั้งในมิติเทคโนโลยี-ค.มั่นคง-ธุรกิจ-สังคม

 

จุดอ่อน

1.ธรรมาภิบาลองค์กรยังมีปัญหา ถูกตั้งคำถามจากสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริหารงบประมาณจากภาษีไม่คุ้มค่า ไม่โปร่งใส
2. ประเด็นเรื่องระบบอุปถัมภ์/ความเป็นธรรมภายในองค์กร ที่มีผลต่อความเชื่อมั่น ขวัญกำลังใจ (ปัญหาร่วมของหน่วยราชการ)
3. ความพยายามแทรกแซงโดยตรงและโดยอ้อมจากกลุ่มการเมืองและกลุ่มทุนเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะทุกการตัดสินใจมีเดิมพันสูง ผลประโยชน์มาก
4.การอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ อาจส่งผลต่อการกล้าตัดสินใจตามหลักการหรือต้องยอมประนีประนอมเกินไป
5.จุดแข็งจะกลายเป็นจุดอ่อน ถ้าขาดความเป็นมืออาชีพ แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เชื่อมจุดเหมือนสงวนจุดต่าง เผชิญหน้าดีกว่าลับหลัง

 

โอกาส

1. ถ้าเพิ่มธรรมาภิบาลทั้งในองค์กรและต่อสาธารณะให้มากขึ้น #กสทช. จะเป็นองค์กรอิสระแบบมืออาชีพ สังคมทุกส่วนให้ความเชื่อมั่นมากขึ้น
2.ถ้า #กสทช. ประสานประโยชน์ของทุกกลุ่ม (รัฐ-เอกชน-ประชาชน) บนหลักการที่รับฟังได้ เป็นธรรมระดับหนึ่ง จะส่งผลดีต่อวิกฤตของประเทศโดยรวม
3.การส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อ/โทรคม ให้โอกาสกลุ่มธุรกิจปลดแอกจากภาครัฐ และการถ่วงดุลประโยชน์ให้ผู้บริโภค/สาธารณะ ต้องไปควบคู่กัน
4.ใช้ความเป็นองค์กรใหม่/ภาพลักษณ์ที่เป็นกลางทางการเมือง กำกับสื่อ/โทรคม บนหลักการของเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ
5. สร้าง #กสทช. ให้เป็นองค์กรกำกับสมัยใหม่ โดดเด่นเรื่องการมีจุดคานงัด ถ่วงดุลซึ่งกัน สะท้อนพหุนิยมทางการเมือง (Political pluralism)

 

ความเสี่ยง

1.แม้จะตั้งใจทำงานดี แต่ถ้าองค์กรยังมีปัญหาธรรมภิบาลต่อเนื่อง สังคมจะไม่ให้ความเชื่อถือ ส่งผลต่อการทำงานและภาพลักษณ์มาก
2.ถ้าการจัดสรรผลประโยชน์ไม่เป็นธรรม อาทิ รัฐเสีย-เอกชนได้มาก-ผู้บริโภคยังไม่มีหลักประกัน จะไม่ใช่แนวทางที่ win-win-win
3. ถ้าเอื้อเอกชนมากเกินไป แม้ว่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม แต่ถ้าไม่มีหลักประกันเพื่อผู้บริโภคที่ชัดเจน ระบบจะเสียสมดุล
4.ถ้าประคับประคองจุดยืนที่เป็นกลางไม่ได้ เพราะเลือกปฏิบัติ ลุแก่อำนาจหรือกลัวอำนาจ จะทำให้เสียโอกาสในการช่วยวิกฤตประเทศ
5.ถ้าไม่ยกระดับเป็นองค์กรแบบมืออาชีพ ก็อาจกลายเป็นองค์กรดราม่า จากจุดคานงัดเพื่อถ่วงดุล จะกลายเป็นจุดแตกหัก ดับเครื่องชน

จบการทวิต 20 SWOT (จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-ความเสี่ยง) ในวาระครบ 1 ปี วันนี้วิพากษ์องค์กรก็วิพากษ์ตัวเองด้วย โดยเฉพาะข้อ 5

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พัชณีย์ คำหนัก: 6 ตุลา 19 กับทิศทางการเมืองไทย

Posted: 07 Oct 2012 04:38 AM PDT

ในงานรำลึก 36 ปี 6 ตุลา ช่วงเสวนา 6 ตุลากับทิศทางการเมืองไทย ผู้เขียนได้เสวนาไปแล้ว แต่ต้องการสื่อออกมาอีกครั้งด้วยบทความชิ้นนี้ โดยเรียบเรียงประเด็นใหม่เพื่อสื่อสารกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของคนเสื้อแดง กรรมกรแดง และขบวนการอื่นๆ ให้รัดกุมยิ่งขึ้น
 
ผู้เขียนต้องการจะชวนผู้อ่านผู้ฟัง "ฝันให้ไกลและไปให้ถึง" บนพื้นฐานความเป็นจริง โดยไม่ยำเกรงต่อคำปรามาสว่าเป็นพวกเพ้อฝัน เนื่องจากเรามีประสบการณ์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ว่า เป็นยุคของการดับฝันคนหนุ่มสาว นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมด้วยการใช้กำลังปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดของเจ้าหน้าที่รัฐ  แต่เรา ณ ที่นี้จะช่วยกันรื้อฟื้นความฝันและการต่อสู้ของคนรุ่นก่อนและคนรุ่นหลัง 6 ตุลา 19 เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงจะได้ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคง
 
ผู้เขียนคิดว่าโจทย์ของการเมืองไทยจากอดีตถึงปัจจุบันที่ต้องช่วยกันหาคำตอบ  คือ
  1. ทำไมคนเราจึงต่างกัน ทำไมคนเราเลือกเกิดไม่ได้
  2. ประชาธิปไตยที่แท้จริงมีหน้าตาอย่างไร
ประเด็นที่จะนำเสนอคือ
  1. เศรษฐกิจการเมืองเรื่องชนชั้นในระบบทุนนิยม
  2. ข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
 
จากเวทีเสวนา เบื้องหลัง 6 ตุลาเบื้องหน้าประชาธิปไตยของปี 2554 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์มาจนถึงวันนี้ ปีนี้  ผู้เขียนเห็นว่า การที่รัฐก่ออาชญากรรมซ้ำซากจากอดีตจนถึงปัจจุบันสะท้อนปัญหาสำคัญคือ ชนชั้นปกครองเกรงกลัวอุดมการณ์ประชาธิปไตย และสังคมนิยม ที่กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเช่นอารยะประเทศ จึงต้องการเอาชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
 
บทสรุปจากเหตุการณ์ตุลามหาโหด ถึงการก่ออาชญากรรมโดยรัฐซ้ำซาก
 
ปัญหาชนชั้นปกครองกลัวความเปลี่ยนแปลง มาจากบทสรุปเหตุการณ์ 6 ตุลามหาโหด ดังนี้
  1. บริบททางเศรษฐกิจการเมืองไทยในอดีตตั้งแต่ก่อน 14 ตุลา 16 จนถึงการสังหารนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลา 19  ประชาชนเผชิญปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และปัญหาการเมืองไร้สิทธิไร้เสียง ห้ามการชุมนุมทางการเมือง ห้ามวิจารณ์   เพราะถูกปกครองด้วยเผด็จการทหาร ที่มีพลังฝ่ายทุนอนุรักษ์นิยม ชนชั้นกลางจำนวนหนึ่งสนับสนุน  และจากเหตุการณ์ตุลามหาโหดมีผู้เสียชีวิต 42 คน บาดเจ็บ 150 ถูกดำเนินคดี 3,094 คน พร้อมกับมีคณะทหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง มีผลให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ต้องพ้นจากตำแหน่ง และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่ต่อมาล้มเลิกการเลือกตั้งทุกระดับ ยกเว้นในเขตกรุงเทพฯ  ทั้งลอบสังหารผู้นำกรรมกร ชาวนา นักสังคมนิยมอีกหลายสิบคน
  2. ความคิดที่ก้าวหน้าของประชาชนในยุคอดีตถูกสกัดกั้น ได้แก่ ความคิดทางการเมืองฝ่ายซ้าย สังคมนิยมทั้งจากสายปฏิรูปและปฏิวัติ การต่อสู้ของผู้นำชาวนา กรรมกร นักศึกษาเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและการเมือง  ซึ่งแสดงถึงการต่อสู้ทางอุดมการณ์ ระหว่างเผด็จการฟาสซิสต์ ทุนอนุรักษ์นิยม กับ สังคมนิยมประชาธิปไตยปนกับกลุ่มเสรีนิยมก้าวหน้า  ดังที่อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์อธิบายว่า ผู้สูญเสียอำนาจทางการเมืองปี 2516 ผู้ที่เกรงว่าประชาธิปไตยมากเกินไปจะทำให้เขาสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจมีพวกนายทุน เจ้าที่ดินรายใหญ่ ทหารตำรวจบางกลุ่ม นักการเมืองโดยเฉพาะจากพรรคชาติไทย  ส่วนผู้นำขบวนการฝ่ายขวาก่อความรุนแรง ได้แก่ ฐานชนชั้นกลางมั่งมีและหมู่ชนชั้นนำ ผู้มีฐานะดีกลัวการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในยุคนั้นมีวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงราคาน้ำมันขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ปี 2516  ในประเทศรอบด้านรัฐบาลฝ่ายขวาถูกล้มและคอมมิวนิสต์ขึ้นมามีอำนาจในปี 2518  ฝ่ายกรรมาชีพชาวนานักศึกษาออกมาประท้วงและนัดหยุดงานบ่อย เพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นต้น
 
คำถามคือ "ผู้ที่สั่ง สนับสนุนการฆ่าประชาชนควรมีเกียรติให้ได้รับการเชิดชูต่อไปอีกหรือไม่?"  ถ้าเป็นคำตอบของแนวทางสังคมนิยมมาร์คซิสต์แล้วนั้น พวกเขาขาดความชอบธรรมที่จะปกครองประชาชนแล้ว และสมควรที่จะยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากกว่าการแก้ไข
 
คำตอบนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งเมื่ออดีตรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ได้สั่งสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงด้วยกำลังทหารกว่าหมื่นนาย ก่อให้เกิดการเสียชีวิตด้วยกระสุนปืน 92 ศพ บาดเจ็บ 2,000 ในปี 53  ซึ่งถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรมโดยรัฐอีกครั้งหนึ่ง  รวมเอาการลอบสังหาร ไล่ล่าคนเสื้อแดงหลังปราบ เพราะไม่ยอมรับข้อเสนอยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ และรับไม่ได้กับการถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง
 
แม้จะมีการทำลายขบวนการฝ่ายซ้าย ขบวนการนักศึกษาอย่างราบคาบ แต่เรายังมีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมปรากฎในรูปแบบต่างๆ ในเวลาต่อมา  และหน่ออ่อนของความคิดก้าวหน้ายังหลงเหลือและถูกถ่ายทอดมายังคนรุ่นหลัง ได้แก่ ข้อเสนอการปฏิรูปที่ดิน การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า การยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในบริบทที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำแตกต่างกันระหว่างคนรวยกับคนจนถ่างมากขึ้นทุกทีจากการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นเมืองและมีอุตสาหกรรมมากมาย
 
ณ วันนี้ เราภาคประชาชนไม่ควรตั้งคำถามแค่ว่า "ใครกันแน่ที่เป็นทุนสามานย์ที่สุด" ซึ่งทำให้บางส่วนมองว่าต้องเลือกข้างระหว่างทุนเสรีนิยม/ประชานิยมกับทุนอำมาตย์ ซึ่งเอาเข้าจริงอาจไม่ใช่ทางเลือกของประชาชน และไม่ใช่โจทย์สำคัญ เพราะโจทย์ที่สำคัญกว่านั้นคือ "เราจะสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงได้อย่างไร"
 
โครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองปัจจุบัน : ระบบที่เอื้อประโยชน์ต่อชนชั้นนายทุน
 
ในทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) มากขึ้น เก็บภาษีได้มากขึ้น โดยเฉพาะภาษีทางอ้อมซึ่งผลักภาระให้คนจน มีคนรวยมากขึ้นและมั่งคั่งติดอันดับที่สุดในโลกหลายสิบคน แต่เป็นประเทศที่เหลื่อมล้ำมากที่สุดในทวีปเอเชีย ชนชั้นแรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก วันละ 12-16 ชั่วโมง มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ และการฉ้อฉลคอรัปชั่นติดอันดับโลก ที่สหประชาชาติและองค์กรแรงงานระหว่างประเทศกำลังจับตามอง
 
กำลังแรงงานมีจำนวนมากขึ้น ลูกหลานเกษตรกรในชนบทย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในเมืองมากขึ้นเพราะมีการขยายตัวของโรงงาน สถานประกอบการ ผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น มีการลงทุนจากต่างประเทศสูงขึ้น มีสินค้าส่งออกติดอันดับโลก เช่น ข้าว ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ ฮาร์ดดิสไดร์ฟ เป็นต้น มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง  ตามนโยบายพัฒนาความทันสมัย และอุตสาหกรรมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และระบบรัฐที่เป็นอยู่ตอนนี้คือ ระบบที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุน ทำให้มีนายทุนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มั่งคั่งและมีอำนาจการเมืองนอกระบบบ้าง ในระบบบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ขาดหลักประกันความมั่นคงในชีวิต
 
ในแง่การเมือง การเมือง ณ ขณะนี้กลายเป็นเรื่องของผู้นำทางการเมือง นักการเมืองจากพรรคการเมืองของนายทุนเท่านั้น มีทั้งการช่วงชิง รักษาอำนาจ แก้ไขปัญหาด้วยประชานิยม (ที่กำลังฮิตในหมู่นักการเมืองทุกค่าย) ไม่แตะโครงสร้างการเมืองที่ไม่เป็นธรรม ไม่ริเริ่มการปฏิรูปใดๆ ทั้งละเลยปัญหาความเป็นอยู่ การกระจายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชน ซึ่งแนวโน้มประชาชนอาจถูกทอดทิ้งในที่สุด
 
ระบบทุนนิยม นอกจากจะมองในแง่เศรษฐกิจแล้ว ยังมีอุดมการณ์ชุดหนึ่ง ถ่ายทอด กล่อมเกลาให้แก่คนในสังคมเพื่อให้สนับสนุนนโยบายของทุนต่อไป  อุดมการณ์หรือทัศนะแบบทุน  ได้แก่
  1. ทุนเป็นผู้สร้างงาน (แต่ก็เป็นผู้สร้างปัญหาว่างงานและไม่สามารถแก้ไข)
  2. ความสุขในชีวิตมาจากความสำเร็จของการสะสมความเป็นเจ้าของวัตถุ (แต่ความร่ำรวยก็มาจากความยากจนด้อยโอกาสของผู้อื่น)
  3. การประท้วงของแรงงานจะทำให้เสียบรรยากาศการลงทุน (ที่นักลงทุนไม่คิดจะรับผิดชอบสังคม)
  4. เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แรงงานควรช่วยเหลือนายจ้างไม่ให้ล้มละลาย เพื่อให้มีงานทำต่อไป (แรงงานคือหุ้นส่วนของทุนไปแล้ว)
  5. รัฐต้องส่งเสริมการแข่งขันของทุนอย่างเสรี ไม่ควรเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาด และควรลดภาระในการบริการสังคมลง (การแข่งขันอย่างเสรีไม่มีจริง มีแต่แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย และการผูกขาด)
  6. ความจนมาจากความขี้เกียจ (ข้ออ้างสำหรับผลักภาระค่าใช้จ่ายให้คนจน)
 
นอกจากนี้ ทัศนะแบบทุนยังใช้ประโยชน์จากทัศนะการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมในแต่ละสถานการณ์ด้วย (ซึ่งเป็นคำสอนที่โกหกหลอกลวง) เช่น
  1. ความสามัคคี รักใคร่ปรองดองเพื่อสร้างกำไรมากๆ ให้แก่บริษัท
  2. ชาวนาคือกระดูกสันหลัง (ผุๆ) ของชาติ
  3. ครอบครัว (ที่บ่มเพาะการแข่งขัน-ไต่เต้า) คือสถาบันสำคัญที่สุด
  4. ครู (ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์) คือแม่พิมพ์ของชาติ
  5. เรียกร้องให้คนต้องทำเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (โดยไม่ให้ความสำคัญอย่างแท้จริงกับความเป็นอยู่ของประชาชน)
  6. ระบบอาวุโส เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด (ที่ผู้อาวุโสได้ประโยชน์ แต่ผู้เดินตามเป็น"แพะ")
 
ทั้งนี้  เพื่อเอาคำสั่งสอนของฝ่ายอนุรักษ์มาควบคุมแรงงาน ควบคุมความคิดเห็นต่าง ควบคุมการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงาน ซึ่งนั่นคือ เสรีนิยมมีได้เฉพาะชนชั้นนายทุน เพราะเขาจะไม่ยอมให้คนระดับล่างมีอำนาจทัดเทียมกับตัวเอง   ส่วนผู้ที่สมาทานแนวเสรีนิยมสุดขั้ว มองว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลางที่มีฐานะดีอยู่แล้ว ก็จะไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับนายทุนในสถานที่ทำงานตัวเอง และไม่จำเป็นต้องรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน
 
ประชาธิปไตยที่แท้จริงที่ไม่หวังพึ่งพรรคนายทุน
           
ด้วยบริบททางเศรษฐกิจการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป  แนวคิดชนชั้นในมุมมองของมาร์คซิสต์ (ไม่ใช่สายสตาลิน-เหมา) ก็เปลี่ยนแปลงไปในเชิงปริมาณและคุณภาพ  กล่าวคือ ชนชั้นกรรมาชีพในบริบทอดีตกับปัจจุบันนั้นต่างกัน แม้แต่กรรมกรในโรงงานก็ยังแตกต่างจากอดีต คือ มีฐานะดีขึ้น ไม่แร้นแค้นเท่าแต่ก่อน โรงงานปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการต่อสู้ พวกเขาเป็นแรงงานคอปกน้ำเงินผลิตสินค้า ส่วนแรงงานคอปกขาวอยู่ในภาคบริการก็ถือว่าเป็นกรรมาชีพเพราะแม้จะมีตำแหน่งและรายได้สูงกว่ากรรมกรคอปกน้ำเงิน  แต่ก็มีสัญญาสภาพการจ้างงาน ยังไม่มีอำนาจถือครองปัจจัยการผลิตและไม่ใช่ผู้ตัดสินใจในระบบโครงสร้างการบริหาร  ส่วนนักศึกษาเป็นได้ทั้งเตรียมแรงงาน หรือบางรายเตรียมไปเป็นนายทุนและชนชั้นกลาง เพราะมหาวิทยาลัยปัจจุบันนี้ได้กีดกันคนจนออกไปมากขึ้น ด้วยการขึ้นค่าเทอมและระบบแข่งขัน โดยไม่พัฒนาระบบการศึกษาให้สถานศึกษาทุกแห่งมีมาตรฐานที่ดีเท่าเทียมกัน
 
ส่วนคนชั้นกลางตามความคิดมาร์คซิสต์คือ ผู้จัดการ ผู้บริหารที่เป็นตัวแทนคำสั่งของเจ้าของสถานประกอบการ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการขนาดกลาง ที่มุ่งพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นทุนใหญ่  และสำหรับชนชั้นนายทุนหมายถึง นายทุนบรรษัทขนาดใหญ่ มีอำนาจข้ามรัฐและเหนือรัฐ
        
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างคือเป้าหมายของการต่อสู้ของประชาชนในยุคนี้  ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาแก้ไขปัญหาอย่างผิวเผิน ให้พออยู่รอดได้ในสมัยของตัวเอง เช่น การเสนอนโยบายประชานิยม ที่มีข้อจำกัดเรื่องการแก้ไขประเด็นเดียว ข้อจำกัดในการจัดเก็บรายได้ของรัฐ  สวัสดิการยังไม่ถ้วนหน้า และมีหลายมาตรฐาน เป็นต้น
 
ดังนั้นความสำเร็จของการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยควรคำนึงถึงผลประโยชน์ทางชนชั้นและอำนาจของประชาชนระดับล่าง  ตัวอย่างตัวชี้วัดชัยชนะของประชาชน นักมาร์คซิสต์มองว่า
  1. ต้องยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค
  2. สถาบันการปกครองสำคัญต้องถูกปรับตัว เช่น สถาบันกษัตริย์ กองทัพ ศาล
  3. การให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบ หรือบริหารในโครงสร้างการปกครองที่เป็นทางการและในองค์กรของรัฐ เช่น ศาลในฐานะลูกขุน สภาผู้บริโภค สหภาพแรงงานในมหาวิทยาลัย สื่อสาธารณะ รัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาล เป็นต้น
  4. นายทุน คนรวยต้องถูกเรียกเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า และปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน กระจายไปสู่คนส่วนใหญ่ อาจเป็นในรูปแบบฉโนดชุมชน
  5. ทุกพื้นที่ เต็มไปด้วยการรวมกลุ่มของประชาชน และมีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทัศนะทางการเมืองร่วมกัน
 
สิ่งที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน
  1. การมีสำนึกร่วม มีเอกภาพบนความหลากหลาย มีเป้าหมายการต่อสู้เดียวกันได้ และมีชุดความคิดอุดมการณ์ชัดเจน
  2. การพัฒนาจิตสำนึกของการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม ทั้งในสินค้าสาธารณะและสินค้าของเอกชน ร่วมกันรัฐและทุน
  3. การรวมตัวเป็นองค์กรจัดตั้งที่เข้มแข็ง เช่น สหภาพแรงงาน พรรคการเมืองภาคประชาชน ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ แตกต่างจากแนวกระแสหลักและต่างจากอดีต เช่น พรรคนายทุน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือพรรคที่มีการนำเพียงไม่กี่คน
  4. การสร้างบรรยากาศ พื้นที่ประชาธิปไตยในสถานที่ทำงาน ในสถานศึกษา ชุมชนต่างๆ มากขึ้น
  5. การมีกลไกให้การศึกษาภายในขบวนการ แลกเปลี่ยนความคิดสม่ำเสมอ และเรียนรู้แนวคิดทฤษฎีการเมืองต่างๆ ดังเช่น รูปแบบ"กลุ่มศึกษา" สำหรับฝึกฝนการวิเคราะห์การเมือง ปัญหาในชีวิตประจำวันละฝึกสร้างความมั่นใจในการนำเสนอ ถกเถียงกับผู้อื่น
  6. การร่วมต่อสู้ในชีวิตประจำวัน ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพกับขบวนการประชาชนอื่นๆ
  7. มีวินัย มีความรับผิดชอบ แบ่งเวลาและอุทิศเพื่อส่วนรวม
 
ข้อเสนอระยะสั้นนี้ คือ
  1. ต่อสู้ให้ได้มาซึ่งข้อเรียกร้องเฉพาะหน้า ได้แก่ นำคนสั่งฆ่าประชาชนมาลงโทษ ปล่อยนักโทษการเมือง ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปฏิรูประบบยุติธรรม
  2. ผลักดันให้แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาต (นปช.) ออกมาเสนอแนวทางปฏิรูป/ปฏิวัติสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การถกเถียงในวงกว้าง และไม่ใข่องค์กรแบบ 2 ขา ซึ่งขาหนึ่งไปใกล้ชิดกับนักการเมือง  เพราะประชาชนต้องเป็นอิสระจากกรอบความคิดของพรรคการเมืองนายทุน  (ที่ไม่ใช่พรรคมวลชน) เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง และความเสมอหน้าทัดเทียมกับนายทุน
  3. สร้างแนวร่วมกับขบวนการของชนชั้นล่าง เช่น ระหว่างขบวนการเสื้อแดงกับขบวนการชาวนา แรงงาน นักศึกษา และสมานฉันท์กับองค์กรภาคประชาชนทั่วโลกที่กำลังต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ต่อต้านระบบทุนที่ก่อวิกฤตระลอกแล้วระลอกเล่า นักมาร์คซิสต์มองว่าเป็นแนวร่วมที่ยั่งยืนกว่า
 
ประชาธิปไตยที่แท้จริงในมุมมองมาร์คซิสต์คือ การต่อสู้เพื่อเสรีภาพพร้อมๆ กับต้องมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เพราะเสรีภาพทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี หลักประกันที่มั่นคง ฐานะความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกันนัก   ฉะนั้นเราต้องต่อสู้เรื่องการลดชั่วโมงการทำงาน เพิ่มรายได้และสวัสดิการครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย  เพื่อที่คนจะได้มีเวลาว่างสำหรับสร้างสรรค์งานของตัวเอง มีเวลาศึกษาทฤษฎีการเมือง ศึกษาวิทยาศาสตร์ ศิลปะ รวมกลุ่มแลกเปลี่ยน แสดงออกทางการเมือง มีความเป็นปัญญาชนที่ไม่ต้องเกรงกลัวการถูกเอารัดเอาเปรียบอีก  ข้อกังวลที่ว่า ทำไมคนเราจึงเลือกเกิดไม่ได้ ก็จะค่อยๆ หมดไป.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาสวัต บุญศรี

Posted: 07 Oct 2012 04:33 AM PDT

วันนี้ (7 ต.ค.) เมื่อปี 2551 นางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ (น้องโบว์) เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของพันธมิตร สาเหตุการตายของเธอนั้นยังถกเถียงกันไม่ยุติ การเสียชีวิตของน้องโบว์นั้นถือเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทย เพราะอีกไม่กี่วันต่อมา สมเด็จพระราชินีและสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เสด็จงานศพของเธอ ถือเป็นจุดแบ่งยุคแบ่งสมัยของการเมืองไทย ผลที่ตามจากเหตุการณ์นั้นคือ มีเสื้อเหลืองไม่น้อยที่เลือกย้ายข้างมาเป็นเสื้อแดง (อย่างน้อย ๆ ก็ข้าพเจ้าคนหนึ่ง)

7 ต.ค. 2555 เฟซบุ๊กของศาสวัต บุญศรี

จนท.ตรวจที่เกิดเหตุ เบิกความไต่สวนการตาย “ชาติชาย ชาเหลา” เหยื่อกระสุน พ.ค.53

Posted: 07 Oct 2012 12:55 AM PDT

พ.ต.ท.วัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ เบิกความไต่สวนการตายกรณี "ชาติชาย ชาเหลา" เหยื่อกระสุน พ.ค.53 ระบุพบเส้นผมและรอยกระสุน ทิศทางมาทางฝังศาลาแดง ผู้ตายถูกกระสุน M16



เมื่อวันที่ 5 ต.ค.55 ที่ผ่านมา ที่ห้องพิจารณา 501 ศาลอาญากรุงเทพใต้ พ.ต.ท.วัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์ อายุ 47 ปี เจ้าหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เข้าเบิกความในการไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตของนายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตคืนวันที่ 13 พ.ค.53 ที่บริเวณหน้าบริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ถนนพระราม 4 ตรงข้ามสวนลุมพินี ในช่วงที่มีการกระชับพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พ.ต.ท.วัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์ เบิกความว่า ได้รับแจ้งเรื่องกรณีนี้จากพนักงานสอบสวนเมื่อ ก.ย. 2553 และได้เดินทางไปตรวจสถานที่เกิดเหตุในวันที่ 24 ก.ย.53 ที่หน้า บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ถนนพระราม 4 พบรอยบุบยุบที่ประตูเหล็กม้วนสูงจากพื้น 1.74 เมตร 1 รอย ซึ่งคาดว่าเกิดจากเศษโลหะที่น่าจะเป็นเศษกระสุนปืนมากระแทกอย่างแรงและเร็ว รวมทั้งพบเส้นผมติดที่ขอบปูนด้านข้างประตู 1 เส้น สูงจากพื้น 1.90 เมตร และเหตุที่เส้นผมอยู่สูงกว่ารอยกระสุนนั้น เพราะเมื่อกระสุนกระทบกับศีรษะจะทำให้กระสุนและกระโหลกศีรษะแตกออกและกระเซ็นออกไปได้ ตำแหน่งจึงสูงกว่าได้

เจ้าหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ เบิกความด้วยว่าหลังจากนั้นพนักงานสอบสวนได้นำข้อมูลเป็นภาพและวีดีโอคลิปขณะเกิดเหตุ รวมทั้งข้อมูลผลการชันสูตรศพ จึงได้มีการเข้าไปตรวจสถานที่เกิดเหตุอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ย.53 เพื่อจำลองเหตุการณ์หาทิศทางการยิง ผลการจำลองประกอบภาพและคลิปขณะเกิดเหตุเป็นภาพใกล้เคียงช่วงเวลาที่นายชาติชายหรือผู้ตายถูกยิง ขณะนั้นอยู่ริมถนนด้านหน้าที่รถเข็นและแผงว่าเป็นที่กำบัง หันหน้าไปทางแยกศาลาแดง ซึ่งรอยบาดแผลกระสุนเข้าหน้าผากขวาทะลุศีรษะด้านหลังซ้าย กระสุนจึงมาจากทางฝังแยกศาลาแดง แนวกระสุนเป็นไปได้ทั้งระนาบตามแนวถนนและจากสะพานลอยข้ามถนนพระราม 4

พ.ต.ท.วัชรัศมิ์  เบิกความด้วยว่าจากการดูบาดแผลเกิดจากกระสุนขนาด .223 ซึ่งใช้กับปืนเล็กกล เช่น M16 และ ทราโว สำหรับภาพและคลิปนั้น ไม่ทราบว่าทางพนักงานสอบสวนได้มาจากไหนอีกที

แผนที่จุดเกิดเหตุ แผงลอย หน้า บ.กฤษณาฯ :

 


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

 

วีดีโอคลิปขณะเกิดเหตุ "ชาติชาย" สวมเสื้อลายสีแดงขาว :

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุเทพปราศรัยที่ราชบุรี ยืนยันไม่เคยสั่งสลายการชุมนุม

Posted: 06 Oct 2012 03:40 PM PDT

"สุเทพ เทือกสุบรรณ" ปฏิเสธสั่งสลายการชุมนุม จนท.ทำแต่เพียงตั้งด่านบีบให้ผู้ชุมนุมรู้สึกไม่สบาย ต้องเลิกการชุมนุมไปด้วยตัวเอง ยันจะไม่ไปขึ้นศาลโลก เพราะประเทศมีเอกราชในทางศาล แนะ "ทักษิณ" ไม่เคารพศาลไทยก็ให้ไปขึ้นศาลโลก โดยมีคดีฆ่าตัดตอน และกรือเซะ ตากใบรออยู่

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ปราศรัยที่เวที "เดินหน้า ผ่าความจริง หยุดล้มรัฐธรรมนูญ – ออกฎหมายล้างผิดคนโกง" ที่เวทีวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี อ.เมือง จ.ราชบุรี มีการถ่ายทอดการปราศรัยโดยบลูสกาย ไทยทีวีดี และทีนิวส์ โดยมีรายละเอียดการปราศรัยดังนี้

นายสุเทพ กล่าวว่าที่ต้องเดินสายปราศรัยนั้นเป็นเพราะ "เวลาประมาณ 1 ปีที่ผ่านมานี้ ประชาชนได้ยินแต่เสียงรัฐบาล เห็นหน้าคุณยิ่งลักษณ์ เห็นหน้าคุณเฉลิม เห็นหน้าจตุพร เห็นหน้าณัฐวุฒิ เห็นหน้าหมอเหวง ไม่ค่อยเห็นหน้า ชวน อภิสิทธิ์ สุเทพ ครับ สื่อทั้งหลายกลายเป็นเวทีของรัฐบาล นี่ไม่ต้องพูดสถานีโทรทัศน์แดง วิทยุแดงทั้งหลายนะครับ อันนั้นเจ้าประจำอยู่แล้ว ผมไม่ได้ไปอิจฉาริษยาอะไรเขาครับ แต่ผมเสียดายโอกาสที่พี่น้องประชาชนจะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ในทุก ๆ ด้าน พวกผมจึงได้ตัดสินใจทำเวทีประชาชน ผ่าความจริงขึ้น ในทุกค่ำของวันเสาร์ แล้วก็ได้อาศัยสถานีโทรทัศน์ 3 สถานี คือบลูสกาย ทีวีดี และทีนิวส์ ช่วยถ่ายทอดความจริงเหล่านี้ไปถึงพี่น้องประชาชนทั้งหลาย แล้วก็ทำให้พี่น้องประชาชนหูตาสว่างขึ้นมาเยอะ ทำให้พี่น้องประชาชนที่มีความวิตกกังวลกลุ้มใจว่าความจริงถูกบิดเบือนโดยฝ่ายรัฐบาลค่อยอุ่นใจขึ้น"

 

บอกลูกเมียไว้แล้วว่าพร้อมเป็นจำเลยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์มาตามประชาธิปไตย

ส่วนกรณีที่วุฒิสภาเตรียมพิจารณาว่าจะถอดถอนนายสุเทพ หรือไม่นั้น นายสุเทพกล่าวว่า "เป็นแค่ลมพายุชุดแรก" และว่า "ได้บอกลูก บอกเมีย บอกเพื่อนฝูงไว้ว่า ผมพร้อมที่จะเป็นจำเลยของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ว่าจะตั้งข้อหามาเมื่อไหร่ ไม่หนีไปไหน พร้อมที่จะสู้คดี ทุกคดี แล้วก็ไม่ซัดทอดใครทั้งสิ้นครับ เพราะว่าทั้งหมดนั้น ผมสั่งการด้วยตัวเองทั้งสิ้น เป็นการสั่งการในฐานะรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แก้ไขปัญหาความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการก่อการร้ายทั้งหลาย เพื่อให้บ้านเมืองคืนความสงบ คืนสู่ความสงบ ให้พี่น้องประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปรกติสุข เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ผมจะต้องปฏิบัติ และเมื่อผมปฏิบัติแล้ว ถ้ารัฐบาลชุดนี้ หรือข้าราชการชุดนี้ที่อยากจะเอาอกเอกใจรัฐบาล จะมาตั้งข้อหากับกระผม กระผมก็พร้อมที่จะไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามกระบวนการยุติธรรม"

ในส่วนของเหตุการณ์ทางการเมืองในปี 2552 และปี 2553 นั้น นายสุเทพอธิบายว่า "เดือนธันวาคม ปี 2551 วันที่ 15 ธันวาคมครับ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการลงคะแนนเสียงโดยเปิดเผยจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสภาฝ่ายข้างมาก ลงมติให้คุณอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถามว่า การลงมติวันนั้นเป็นครั้งแรกหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปหรือ ไม่ใช่ครับ การเลือกตั้งทั่วไปมีขึ้นเมื่อปี 2550 เลือกตั้งเสร็จ พรรคพลังประชาชนเขาชนะ สภาประชุมกันเลือกนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี นั่นหนที่ 1 คุณสมัครไปทำรายการชิมไปบ่นไป ออกทีวีผิดกฎหมาย ต้องพ้นตำแหน่งนายกฯ สภาก็ประชุมกันใหม่ คราวนี้เลือกคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยคุณทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นหนที่ 2 กรรมเก่าตามมาทันเพราะพรรคพลังประชาชนโกงการเลือกตั้งทุจริต การเลือกตั้ง เขาสั่งยุบพรรค คุณสมชาย พ้นตำแหน่งนายกฯ ถึงต้องมาประชุมกันใหม่ เลือกนายกรัฐมนตรีเป็นหนที่ 3"

 

ยันช่วงปี 52-53 ต้องใช้กฎหมายพิเศษ เพื่อให้เหตุการณ์ยุติ บ้านเมืองสงบเรียบร้อย

"2 หนแรกพวกเขาชนะการลงมติในสภา ไม่มีเรื่องวุ่นวาย แต่พอหนที่ 3 คุณอภิสิทธิ์ชนะได้เป็นนายกฯ เท่านั้นแหละครับ พวกผมเกือบจะออกจากสภาไม่ได้ เขาเกณฑ์ชุดแดงมาล้อมสภาหมดเลย เอาก้อนหินขว้างรถพวกผม เอาน้ำกรดสาด เอาระเบิดเพลิงขว้างใส่ เราก็แจ้งความดำเนินคดี ถูกศาลพิพากษาจำคุกไปแล้วพวกนั้น แต่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาชีวิตไม่มีความสุขอีกเลย รังควาญทุกวัน จะไปประชุมสภา เขาก็มาล้อมสภา ไม่ให้ประชุม จะไปทำงานที่ทำเนียบเขาก็ล้อมทำเนียบไม่ให้ทำงาน ไปกระทรวงไหนมันก็กันหมด ออกไปเยี่ยมประชาชนตามต่างจังหวัด ยังเอาตีนตบไล่ไปอีก เฉพาะตีนตบไม่เท่าไหร่ ก้อนหินด้วย ท่อนไม้ด้วยหนักครับ นายกฯ อภิสิทธิ์ ไปเป็นประธานการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พัทยา ซึ่งต้องถือว่าเป็นเกียรติภูมิของประเทศไทยที่ได้เป็นประธานจัดการประชุมประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีนานาประเทศ ไอ้พวกนั้นก็ยกขบวนไปถล่ม ล้มการประชุม นายกฯ ประธานาธิบดี ระเนระนาดเลยครับ เสร็จ ประชุมไม่ได้ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลกที่การประชุมระดับนานาชาติต้องล้มเลิกไปเพราะคนเข้าไปบุกสถานที่ประชุม บุกโรงแรม คุกคามประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี จนกระเจิดกระเจิงไปหมด"

"ล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พัทยาแล้ว ฮึกเหิม กลับมายึดกรุงเทพฯ ใช้กำลังคนที่ปลุกระดมมา ยึดสามแยก ยึดสี่แยก เผาแท็กซี่ เผารถเมล์ ประชาชนตรงไหนไม่เห็นด้วย เอารถแก๊สไปจอดหน้าแฟลตดินแดงเลย บอกว่าถ้าไม่ลงมาร่วมมือจะระเบิดรถแก๊สให้กลายเป็นระเบิดนาปาล์มตายกันให้หมด อันนี้พี่น้องทั้งหลายเห็นหมด ยกกระบวนผ่านตลาดนางเลิ้ง พี่น้องประชาชนชาวนางเลิ้งไม่เอาด้วย เอาปืนไปยิงคนนางเลิ้งตาย 2 คน บาดเจ็บ 5-6 คน พวกเขาทั้งนั้นที่ทำอย่างนี้ รัฐบาลทำยังไงครับ รัฐบาลก็ต้องพยายามแก้ไขปัญหาให้เหตุการณ์ยุติลงให้ได้ ให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยให้ได้ โดยอาศัยกฎหมาย"

"กฎหมายธรรมดาเอาไม่อยู่ครับ ก็ต้องใช้กฎหมายพิเศษ ไม่ใช่นายอภิสิทธิ์ เขียนขึ้นมาเดี๋ยวนั้น หรือผมเขียนขึ้นมาเดี๋ยวนั้น แต่เขามีกฎหมายพิเศษเอาไว้แล้วว่า ถ้าเกิดสถานการณ์คับขันฉุกเฉิน เป็นภัยต่อความมั่นคงเรียบร้อยของประเทศชาติ เป็นภัยต่อชีวิตความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน เป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ให้ใช้ พรบ. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือ และรัฐบาลมีอำนาจที่จะระดมกำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร มาแก้ปัญหาได้"

"พี่น้องครับ นายกฯ อภิสิทธิ์ จึงตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อใช้อำนาจตามกฎหมายนี้ ไปประกาศที่ไหนครับ ไปประกาศที่กระทรวงมหาดไทย ทำไมต้องไปประกาศที่กระทรวงมหาดไทยครับ เพราะทำเนียบเข้าไปไม่ได้ เสื้อแดงล้อมไว้หมด ไปประกาศกระทรวงมหาดไทย เขาก็เฮโล แห่ไปล้อมกระทรวงมหาดไทย ล้อมไม่ล้อมเปล่าครับ ประกาศเสร็จ ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ กับผมลงมาขึ้นรถเพื่อที่จะเดินทางกลับ ไอ้พวกนั้นเข้ามาทุบรถ จะลากตัวนายกฯ อภิสิทธิ์ กับผม เอาไปกระทืบเสียให้ได้ โชคดีครับวันนั้นเป็นวันแรกที่นายกฯ อภิสิทธิ์นั่งรถกันกระสุน"

"รถกันกระสุนคันนี้นะ สุดยอดเลยพี่น้องครับ ไม่ต้องคิดจะไปซื้อมานั่งนะ เพราะว่าราคา 35 ล้านบาท อภิสิทธิ์ไม่ได้ซื้อเองหรอกครับ ทักษิณเขาซื้อไว้นั่ง บังเอิญมันหนีศาลไปเสียก่อน อภิสิทธิ์ก็เลยได้นั่ง ที่จริงนั้น ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ไม่ยอมนั่งรถคันนั้น บอกว่า ท่านสุเทพ ผมเป็นนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน วันนี้ผมต้องนั่งรถกันกระสุน พี่น้องประชาชนเขาจะไม่สบายใจ ผมก็อ้อนวอนครับพี่น้องครับว่า พ่อเจ้าประคุณ พ่อทูนหัว นั่งสักวันเถอะพ่อ ผมมันสังหรณ์ใจพิกลวันนี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ท่านบอกว่า งั้นรองนายกฯ สุเทพ นั่งไปกับผมด้วย ผมก็เลยรอดด้วย ไม่อย่างนั้นเรียบร้อยแล้วทั้ง 2 คน ไม่ต้องเป็นจำเลยแล้ว ไปอยู่บนสวรรค์แล้ว มันเหลือเกินจริง ๆ พี่น้องครับ ท่านนายกฯ นั่งอยู่เบาะทางซ้าย ผมนั่งอยู่เบาะทางขวาง ไอ้คนที่เอาท่อนเหล็ก เอาท่อนไม้ เอาก้อนอิฐทุบกระจกรถที่จะลากเราไปทำร้าย ไม่เคยรู้จักกันมาเลยในชีวิต ผมยืนยันได้ว่าไม่เคยเหยียบหัวแม่เท้าท่านเหล่านั้นเลยแม้แต่น้อย ไม่รู้ถูกปลุกปั่นล้างสมองมาอย่างไร จะทำร้ายอภิสิทธิ์ ทำร้ายสุเทพให้ได้ ก็ได้อาศัยรถคันนั้นแหละครับ กว่าจะหลุดออกมาจากกระทรวงมหาดไทย ทุลัก ทุเล จนในที่สุด คนขับต้องตัดสินใจขับชนประตูรั้วกระทรวงมหาดไทยออกมา รอดไปวันนึง"

"แต่ทั้งปี 2552 ไม่ได้ทำงานสะดวกสบายเลยนะครับ เจอพวกเขาทุกวัน ตลอด แล้วกว่าจะแก้ปัญหา คลี่คลายสถานการณ์ เอาท่านทั้งหลายเหล่านั้นส่งกลับบ้านได้หมด ในวันที่ 14 เมษายน 2552 สายตัวแทบขาด แล้วไม่มีคนตายเลยซักคน พี่น้องครับ ไม่มีคนเสื้อแดงเสียชีวิตแม้แต่คนเดียว ในปี 2552"

"แต่ว่าคุณเวร ณัฐวุฒิ คุณเวร จตุพร เอาไปพูดทุกวัน ผมไม่กล้าเรียกว่า ไอ้ณัฐวุฒิ ไอ้จตุพร เพราะว่าภรรยาผมสั่งว่า อย่าพูดถึงเขาหยาบคายขนาดนั้น ผมก็เลยเรียกว่า คุณเวร จตุพร คุณเวร ณัฐวุฒิ 2 คุณ คนนี้แหละครับ โกหกไฟแลบเลย ออกมาตีฆ้องร้องป่าวบอกประชาชนว่า เหตุการณ์ปี 2552 อภิสิทธิ์สั่งทหารฆ่าประชาชน ตายเป็นร้อยแล้วก็ขนศพไปซ่อน ดูสิคุณ 2 คนนี้แกโกหกสิครับ แล้วก็ทำเป็นกระบวนการเลยครับ ไปเอาเทปที่ท่านอภิสิทธิ์ออกรายการนายกฯ พบประชาชนแต่ละวันเสาร์นั้น มาตัดตรงนั้น ตัดตรงนี้ ต่อตรงโน้น จนออกมาเป็นข้อความว่าอภิสิทธิ์สั่งฆ่าประชาชน แทบแย่ครับ กว่าจะพิสูจน์กันได้ด้วยกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ว่าไอ้เทปเสียงนั้น คุณจตุพร คุณณัฐวุฒิ คุณเหวง คุณทั้งหลายเหล่านั้นทำปลอมขึ้นมา"

"โชคดีครับพี่น้องครับ เหตุการณ์มันเกิดขึ้นในวันสงกรานต์ปี 2552 พี่น้องประชาชนอยู่ที่บ้าน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนกรุงเทพฯ ไม่กล้าออกจากบ้านเพราะว่ามันเหมือนกับกรุงเทพฯ เกิดกลียุค จึงได้นั่งดูทีวีอยู่ที่บ้านแล้วเห็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติในการแก้ไขสถานการณ์ เลยไม่มีคนเชื่อคุณจตุพร ไม่มีคนเชื่อคุณณัฐวุฒิ รอดไปปีนึง"

 

ยันในการชุมนุมปี 53 มีชายชุดดำอาวุธครบมือ หวังให้เกิดสงครามกลางเมือง

"ผมนึกว่าเที่ยวนี้แหละรัฐบาลเราก็จะได้ก้มหน้าก้มตาทำงานแก้ไขปัญหาของประชาชน พัฒนาประเทศชาติกันให้เต็มที่ ที่ไหนได้ครับขึ้นปี 2553 มาอีกแล้ว เที่ยวนี้มาเป็นแสน แล้วไม่ได้มาธรรมดานะครับ อาวุธครบมือเลย เที่ยวนี้ ชายชุดดำมาเลย มาแล้วก็ได้ก่อเหตุร้าย เข่นฆ่าเจ้าหน้าที่ เข่นฆ่าประชาชน หวังที่จะให้เกิดสงครามกลางเมือง ให้เป็นไปตามแผนการที่เขาวางเอาไว้ เขาวางเอาไว้อย่างไรครับพี่น้องครับ ผมเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ผมก็ต้องติดตามข่าวทั้งจากสภาความมั่นคง จากสำนักข่าวกรอง จากสันติบาล จากฝ่ายข่าวของทหาร เอาประมวลกัน คนพวกนี้เขามีเป้าหมายชัดเจนครับ เขาทำทุกอย่างเพื่อที่จะบีบบังคับให้ประเทศไทยยอมจำนน ทำทุกอย่างเพื่อให้คนไทยยอมจำนน จำนนเรื่องอะไรครับ จำนนเรื่องคุณทักษิณ

"ต้องยอมให้คุณทักษิณหลุดข้อกล่าวหาทั้งมวล ต้องยอมให้คุณทักษิณรอดจากคดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ต้องยอมให้คุณทักษิณได้เงิน 46,730 ล้าน ที่ศาลสั่งยึดเข้าเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน คืนกลับไปหมดทุกบาททุกสตางค์ วิธีที่เขาทำจึงไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ และประชาชน เขาเห็นแล้วครับ ว่ายังไงคนไทยซึ่งเคารพกฎหมายไม่มียอมให้นายทักษิณ หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลายเป็นอภิสิทธิ์ชน อยู่เหนือกฎหมายบ้านเมือง อยู่เหนืออำนาจศาลไปได้ เพราะฉะนั้นเขากะเลยครับว่า เขาจะต้องสร้างสถานการณ์ให้เกิดการฆ่าฟันกันขึ้นในประเทศ เป็นสงครามกลางเมือง แล้วเขาก็จะใช้กองกำลังประชาชนที่เขาปลุกระดมเอาไว้เต็มที่นี้ ออกมาทำการยึดอำนาจประเทศไทย เรียกว่าปฏิวัติโดยประชาชน นั่นแหละครับ คือสาเหตุที่เขาได้ฝึกกองกำลังชายชุดดำ แล้วเอาอาวุธนานาชนิด มาเข่นฆ่าประชาชน มาเข่นฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร กลางถนนราชดำเนิน ในตอนค่ำของวันที่ 10 เมษายน 2553"

 

ออกคำสั่งเอง เพียงแค่ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมตามกติกาสากล จากเบาไปหาหนัก

"พี่น้องที่เคารพครับ คืนวันที่ 10 เมษายน 2553 เป็นคืนวิปโยคที่สุดสำหรับพวกผม ผมเป็นคนออกคำสั่งทุกคำสั่ง ผมเป็นผู้สั่งการ ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่กระทำรุนแรงกับผู้มาชุมนุม ผมเป็นผู้ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้ที่มาชุมนุม ตามกติกาสากล มีขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก ห้ามไม่ให้ใช้อาวุธต่อประชาชน ให้ใช้เพียงโล่ห ให้ใช้เพียงกระบอง ให้ใช้รถฉีดน้ำ ให้ใช้แก๊สน้ำตา และถ้าสุดวิสัยจริง ๆ ให้ใช้ปืนลูกซอง ยิงด้วยกระสุนยาง เพื่อหยุดยั้งเหตุร้าย เพราะฉะนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งอย่างนี้ แล้วปฏิบัติต่อประชาชนอย่างนี้ คืนวันนั้นคืนเดียวคือคืนวันที่ 10 เมษายน จึงเป็นคืนที่เจ้าหน้าที่สูญเสียมากที่สุด มากกว่าสงครามครั้งไหน ๆ ที่ไปทำเพื่อปกป้องประเทศไทย"

"ตายทันที 5 คน ครับ บาดเจ็บอีกเกือบ 400 คน และบาดเจ็บสาหัสทั้งนั้น หลายคนยังต้องรักษามาอยู่ในโรงพยาบาลมาร่วม 2 ปี เพิ่งออกได้เมื่อเดือน 2 เดือนนี้ และสมองยังใช้ไม่ได้ ไม่สามารถจะกลับเป็นอย่างเดิมได้แล้ว บางท่านโชคดี โดนระเบิด ขาหัก 2 -3 ท่อน วันนี้ลุกขึ้นมาทำงานได้ แต่ว่าสาหัสสากรรจ์ พี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ตกเป็นเหยื่อ เสียชีวิตทันทีคืนนั้น 21 คน วิปโยค ท่านลองสมมติตัวท่านเป็นผมสิครับ ท่านจะรู้สึกอย่างไร ท่านจะทำอย่างไร ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธ ให้ใช้โล่ห์ ให้ใช้กระบอง ไปเจออาก้า ไปเจอเอ็ม 16 ไปเจอเอ็ม 79 ไปเจอระเบิดมือแบบขว้าง เขาต้องบาดเจ็บ เขาต้องล้มตาย เพราะเราสั่งให้เขาปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความละมุนละม่อม"

"พี่น้องประชาชนคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมนั้นไม่ใช่คนร้ายทั้งหมดครับพี่น้องครับ มันมีเฉพาะที่แกนนำ มันมีเฉพาะกองกำลังเสื้อดำที่เขาเอาปะปนมาอยู่ในกลุ่มเสื้อแดงต่างหาก ที่มันเป็นคนก่อเหตุร้าย ตั้งแต่นั้นผมจึงจำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคำสั่งว่าต่อไปนี้ จะต้องไม่มีการเผชิญหน้าเข้ามาถึงตัวระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่อีกต่อไป ต่อไปนี้ผมอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธได้ ถ้าเป็นการใช้เพื่อปกป้องชีวิตของเจ้าหน้าที่และของประชาชนผู้บริสุทธิ์"

 

ยันไม่เคยสลายการชุมนุม ทำแต่เพียงบีบให้ผู้ชุมนุมรู้สึกไม่สบาย ต้องเลิกการชุมนุมไปด้วยตัวเอง

"เหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน มาจนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ไม่มีครั้งไหนวันไหนเลยครับ ที่จะเอาเจ้าหน้าที่บุกเข้าไปสลายผู้ชุมนุม ไม่มีครับ เขาย้ายสถานที่ชุมนุมจากถนนราชดำเนินไปตั้งหลักที่สี่แยกราชประสงค์ ผมไม่เคยสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าไปรื้อเวที สลายการชุมนุม สิ่งที่เราทำ มีอย่างเดียวครับ ค่อย ๆ บีบให้ผู้ชุมนุมรู้สึกไม่สบาย แล้วต้องเลิกการชุมนุมไปด้วยตัวเอง ทำอย่างไรครับ ไปตั้งด่านในถนนต่าง ๆ ที่จะนำเข้าไปสู่เวทีการชุมนุมที่ราชประสงค์ ไม่ให้ขนน้ำ ไม่ให้ขนอาหารเข้าไปสะดวก แต่ว่ามันมีซอยเล็ก ซอยน้อย ตรอกโน้น ตรอกนี้ เขาก็ยังไปได้ เราก็ตัดน้ำ ตัดไฟ ไม่ให้เขาสบาย มันอุตส่าห์ขนเครื่องปั่นไฟ เข้าไปปั่นไฟจนได้ เขาก็ทำเต็มที่ละครับ แล้วกลางคืน เอาคนชุดดำ พร้อมอาวุธสงคราม บุกเข้าไปโจมตีด่านของเจ้าหน้าที่ที่ตั้งไว้ตามถนนต่าง ๆ ห่างจากเวทีชุมนุมประมาณ 2 กม."

"ตายกันที่ด่านนั้นนะครับ ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 18 พฤษภาคม ในเวลากลางคืน มีกลางวันบ้างประปราย ตายไป 45 – 46 คน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่บุกเข้าไปเข่นฆ่าประชาชนอย่างที่คุณจตุพร คุณณัฐวุฒิ หรือคุณเฉลิม ที่แหลมเข้ามาด้วยในภายหลัง มันไม่เป็นอย่างนั้นครับ มีภาพ มีข้อเท็จจริง มีหลักฐานที่เราสามารถเอามาพิสูจน์กันได้ ความจริงที่ปรากฎจากรายงานของ คอป. ชัดเจน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการชุดอื่นเห็นเรื่องเหล่านี้กันมาหมดแล้วชัดเจน แต่วันนี้ฝ่ายรัฐบาลเขาถือว่าเขากุมอำนาจรัฐ เขาสามารถบงการเจ้าพนักงานสอบสวน จะเป็นตำรวจ จะเป็นกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ เขาถือว่าอยู่ภายใต้อุ้งมือเขา สั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ เขาตั้งป้อมเลยครับ ไม่ต้องไปดูที่ไหนครับ รองนายกรัฐมนตรีเฉลิม อยู่บำรุง ประกาศตลอดเวลา ตั้งธงไว้เลยว่า ต้องเอาอภิสิทธิ์ กับสุเทพ เป็นจำเลยให้ได้"

"เฉลิมเนี่ยมันเก่งทุกอย่างครับ ยกเว้นว่ามันหาไม่เจอไอ้ปื้ด ไอ้ปื้ดฆ่าดาบยิ้ม จนเดี๋ยวนี้คุณเฉลิมหาไอ้ปื้ดไม่เจอ และไม่รู้ว่าปื้ดชื่อจริงชื่ออะไร คุณเฉลิมอ้างว่าเป็นดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย จบปริญญาเอกทางกฎหมาย จะเอาคนใช้ คนออกคำสั่งมาเป็นผู้ต้องหา ข้อหาฆ่าคนตาย โดยที่ยังไม่รู้เลยว่า ไอ้คนที่ทำให้ตายน่ะชื่ออะไร ยังไม่รู้ ช่างเขาครับ มีแรงให้เขาทำไป ผมก็จะรอว่าเขาทำอย่างไร วันก่อนผมก็บอกไปว่าอย่าให้ช้าเลย มัวแต่พูดอยู่ยืดยาด ตั้งข้อหามาแล้วกัน ผมจะไปสู้กัน มันก็ออกมาบอกว่าผมท้าทาย เออ เอากะมันสิ กูจะไปท้าอะไรมึง ก็มึงจะล่อกูอยู่ทุกวัน"

"แต่ผมเรียนกับพี่น้องทั้งหลายครับ ไอ้ที่จะให้ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์มานั่นบาปเปล่า ๆ ทุกคำสั่ง ผมเซ็นเองทั้งนั้น เซ็นเองทั้งนั้น ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านเป็นผู้ให้นโยบาย ผมเป็นรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยพระเอกไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ รับนโยบายไปปฏิบัติแล้วนโยบายของท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ไม่มีอะไรผิดกฎหมาย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ มีอำนาจเต็มตามพรก. การบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แล้วให้ผมซึ่งเป็นรองนายกฯ ที่มีหน้าที่ด้านนี้เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ผมก็ใช้อำนาจตามกฎหมายนั้นเซ็นคำสั่ง ทุกคำสั่ง แล้วก็มีสำเนาเก็บไว้ ชัดเจน เปิดเผย พี่น้องทั้งหลายก็สามารถขอดูได้ทุกฉบับ"

"คำสั่งทุกฉบับที่ผมได้สั่งการไปนั้น ไม่มีคำสั่งไหนเลย ที่บอกให้เจ้าหน้าที่ไปปราบปรามประชาชน ไม่มีคำสั่งไหนเลยที่บอกให้เจ้าหน้าที่ไปทำร้ายประชาชน อย่าว่าไปฆ่าเลยครับ แค่ไปทำร้ายก็ไม่มี ทุกคำสั่งชัดเจน แต่ว่าถ้าหากว่าเป็นจริง ซึ่งผมยังไม่ทราบว่ามีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดในขณะที่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผมนั้น แล้วเป็นเหตุให้มีคนเจ็บ มีคนตาย ถ้าคุณเฉลิม อยู่บำรุง คุณธาริต เพ็งดิษฐ์ คุณประเวศ มูลประมุข จะเอาผิดกับผม เชิญ รออยู่แล้ว เตรียมพร้อมจะเป็นจำเลย เป็นผู้ต้องหา ตอนนี้ออกกำลังกายทุกวัน ฟิตตัวเองเป็นผู้ต้องหา ไม่หนีไปไหน ไม่หนีไปต่างประเทศแน่นอน เพราะว่าไม่มีคฤหาสน์อยู่ต่างประเทศเหมือนทักษิณ ไม่มีเครื่องบินส่วนตัวจะเที่ยวบินแรดไปโน่นไปนี่ได้ ไม่มีฐานะร่ำรวยขนาดนั้น เพราะว่าในครม.อภิสิทธิ์ ผมจนกว่าเพื่อน คือหนี้ 300 กว่าล้าน เพราะฉะนั้นไม่ไปไหน อยู่ประเทศไทย"

 

ยันไม่ไปขึ้นศาลโลก เพราะภูมิใจในความเป็นเอกราชของชาติไทย

"แล้วที่มาข่มขู่บอกว่า ถ้าเอาผมให้มีความผิดตามกระบวนการยุติธรรมของศาลไทยไม่ได้ จะเอาผมไปขึ้นศาลโลก ไม่ไปเด็ดขาด ไม่ไป ผมภูมิใจในความเป็นไทย ในความเป็นเอกราชของชาติไทย เรามีเอกราชทางศาล ศาลสถิตยุติธรรมของเรานี่ชั้น 1 มีมาตรฐานเหมือนนานาประเทศทั้งโลก ไม่ต้องมาชวนผมไปขึ้นศาลโลก ผมไม่ไป ภาษาอังกฤษพูดได้ กอก ๆ แกก ๆ เพราะเรียนจบปริญญาโทมาจากอเมริกา แต่ก็ไม่ไป ไม่ไปเด็ดขาด คุณทักษิณไม่เคารพศาลไทย เพราะศาลตัดสินจำคุกแกออกไปด่าศาลไทยอยู่ทั่วโลก หนีความผิด ชอบอยู่เมืองนอก ก็เชิญคุณทักษิณไปขึ้นศาลโลก คดีฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ คดีฆ่าพี่น้องมุสลิมที่กรือเซะ ที่ตากใบ เดี๋ยวกรรมก็ตามทัน ไม่ทันแก่"

"พี่น้องทั้งหลายครับ ที่ผมเอามาเรียนอย่างนี้นั้น ที่จริงนั้นไม่พูดมาเลยนะครับ เหมือนกับท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ ประมาณปีเศษ ๆ หลังจากที่พ้นตำแหน่งจากการเป็นรัฐบาล เราก็ได้ยินฝ่ายพรรคเพื่อไทย ฝ่ายคุณธิดา ถาวรเศรษฐ์ หมอเหวง คุณจตุพร คุณณัฐวุฒิ พ่นทุกวัน โกหกทุกวัน จนพี่น้องประชาชนที่ลืมเรื่องราวไปแล้ว เกิดกังวลใจ นึกว่าความเป็นจริงอย่างที่เขาพูด วันนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเอาความจริงมาเล่าให้ฟัง และต่อไปนี้จะพูดความจริงให้ชัด ให้ละเอียด เป็นแต่ละฉาก แต่ละตอน เหมือนที่ท่านอภิสิทธิ์ ได้บอกกับพี่น้องไว้ว่า วันเสาร์หน้าที่สวนลุมพินี ตอนเย็น จะพูดเรื่องชายชุดดำกันให้ชัดเจนเลย เอาคลิปวิดีโอ เอาภาพข้อเท็จจริง แสดงกันให้เห็นจะ ๆ ไปเลย ดูซิว่า ทั้งเหลิม ทั้งธาริต ทั้งประเวศ มันจะเอาหน้าไปซุกอยู่ตรงไหน เพราะมันเป็นของจริง"

"พี่น้องครับ ว่าที่จริงแล้วพวกผมนั้นไม่ต้องการฟื้นฝอยหาตะเข็บ ความเป็นจริงเป็นอย่างไร ให้เป็นอย่างนั้น จะผิดจะถูกตรงไหน ดำเนินการไปตามตัวบทกฎหมาย ยินดีอยู่แล้ว ร่วมมืออยู่แล้ว ตำรวจเรียกผมไปสอบ ไม่รู้กี่ครั้งกี่หนครับ ทีละ 7 ชม. 8 ชม. ผมก็ไป กรมสอบสวนคดีพิเศษสอบผม 10 ชม. ข้าวน้ำไม่ได้กิน ผมก็ไป ไม่ได้ว่าอะไร พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ แต่การที่เอามาพูดจาปลุกระดมให้พี่น้องประชาชนในประเทศนี้เข้าใจกันผิด แล้วมีความเกลียดชังต่อกันนั้น ผมคิดว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อบ้านเมือง ผมไม่รู้ว่าคนพวกนี้มันกินอะไรเข้าไป มันถึงใจดำขนาดนั้น มันบังอาจครับ เอาความเท็จมามอมเมาประชาชน แล้วแบ่งแยกประชาชนเป็นฝักเป็นฝ่าย ให้ประชาชนลุกขึ้นมาเป็นศัตรูกัน ผมรับไม่ได้"

"เหตุการณ์ที่คนเสื้อแดง มาตีกับคนที่ไปช่วยครูที่กองปราบฯ วันนั้นเป็นสัญญาณที่ผมอนาถใจอย่างยิ่งครับ นี่ถ้าผมเจอทักษิณ ผมจะถามว่า หัวใจคุณทำด้วยอะไร เห็นแก่เงิน 46,730 ล้าน เห็นกับการที่ตัวเองจะได้เป็นอภิสิทธิชนไม่ต้องขึ้นศาล ไม่ต้องถูกจำคุกตามคำสั่งศาล แล้วให้คนบาดเจ็บ ให้คนล้มตายอย่างนี้กันต่อไป ให้คนไทยต้องลุกขึ้นมาฆ่าฟันกันนั้น คุณไม่รู้สึกว่าเป็นบาปบ้างเหรอ"

"ผมเห็นที่คณะกรรมการ คอป. เขาแนะนำครับพี่น้องครับ บอกว่าเหตุการณ์ในประเทศไทยนี้ จะสงบเรียบร้อยยุติได้ ถ้าคุณทักษิณเสียสละเพียงคนเดียว แต่ผมเชื่อว่า ไม่มีวันเกิดขึ้น เรารู้จักคุณทักษิณกันมามากแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าในพจนานุกรมของแกนี่เปิดเจอคำว่า เสียสละเพื่อชาติ หรือประชาชนหรือไม่"

"สิ่งที่ผมกังวลใจก็คือว่า 1. เขาจะเดินหน้าต่อเพื่อออกกฎหมายลบล้างความผิดให้กับคุณทักษิณ และสมุนบริวารที่ลุกขึ้นมาก่อการร้าย ก่อจลาจล เผาบ้านเผาเมืองทุกคน 2. เขาพยายามที่จะทำต่อเพื่อจะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ให้เอื้อเฟื้อต่อการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะได้มามีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ตรงนี้ครับ ผมต้องกราบเรียนกับพี่น้องว่า แม้ว่าจะเป็นคนที่รักความสงบ ถ้าเขาดึงดันทำอย่างนี้เราคงยอมไม่ได้ เพราะว่ามันจะทำให้ประเทศไทยนี้หมดสภาพความเป็นนิติรัฐ มันจะทำให้กฎหมายของประเทศไทยนี้ไม่สามารถใช้บังคับอย่างศักดิ์สิทธิ์ได้อีกต่อไป มันจะทำให้บ้านเมืองนี้ไม่มีขื่อ ไม่มีแป มีคนบางคนบางกลุ่ม บางพวกเท่านั้นที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างดี นอกนั้นเสร็จหมด"

"พี่น้องทั้งหลาย ลูกหลานเราจะต้องเติบโต มีชีวิตอยู่ เพื่อที่จะมาทำหน้าที่เป็นประชาชนพลเมืองแทนคนรุ่นเรา ถ้าประเทศไทยต้องกลายเป็นประเทศแบบคิวบา แบบเกาหลีเหนือ หรือแม้แต่แบบเขมร พวกเราถึงตายไปแล้วก็นอนตายไม่หลับ เป็นห่วงลูก เป็นห่วงหลาน ผมจึงขอถือโอกาสนี้กราบเรียนเชิญชวนพี่น้องประชาชน คนไทยทั้งประเทศ ขอให้ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองอย่างมีสติ เปิดหู เปิดตาให้กว้าง รับข้อมูลทุกฝ่าย แล้วใช้จิตใจที่บริสุทธิ์ ที่เที่ยงธรรมของตัวเอง กลั่นกรอง วิเคราะห์ให้ถึงแก่น อย่าฟังความข้างเดียว ฟังทุกด้านแล้วชั่งใจ แล้วพิจารณา ถ้าพี่น้องทั้งหลายเห็นว่า ไอ้การที่เขาอ้างว่าเขาจะปรองดอง เนื้อแท้คือเขียนกฎหมายลบล้างความผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ให้ต้องติดคุก ให้คืนเงิน 46,730 ล้าน ให้คุณทักษิณ ลบล้างความผิดให้กับคนที่ยิงวัดพระแก้ว ลบล้างความผิดให้กับคนที่เผาศาลากลาง ลบล้างความผิดให้คนที่ฆ่าทหาร ฆ่าตำรวจ ฆ่าประชาชน ลบล้างความผิดให้พวกที่เผาบ้านเผาเมืองทั้งหลาย เราต้องพร้อมใจกันบอกเขาว่า เราไม่ยอม"

"ผมไม่ได้ชวนพี่น้องลุกขึ้นไปทุบไปตีไปสู้เขาครับ แต่ให้แสดงพลังของเจ้าของประเทศที่แท้จริง ลุกขึ้นชูมือ ชูป้าย บอกให้ชัด เหมือนที่ท่านชูป้ายอย่างนี้แหละครับบอกว่า เราไม่ยอม ไม่ต้องไปตีกับเขาครับ เขียนป้ายติดไว้ที่หน้าบ้านเราก็ได้ ถ้ากลัวเสื้อแดงมันจะรังควาญก็กลางคืนแอบไปเขียนไว้หน้าบ้านมันเลย ไปเขียนป้ายติดไว้ที่ศาลากลางจังหวัดก็ได้ เขียนไว้ที่กำแพงวัด กำแพงโรงเรียนเขียนไว้หน้าบ้านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ทำการอบต. อบจ. เขียนที่ราวสะพาน ขึ้นป้ายให้เห็นว่า เจ้าของประเทศที่แท้จริงคือพวกเรา ไม่ยอมให้คุณลบล้างระบบนิติรัฐ ทำลายหลักกฎหมาย ต้องทำครับ ตอนนี้เขาให้เงินกระทรวงมหาดไทยไปเกือบร้อยล้าน บอกว่าให้ไปตั้งเวที เสวนากันว่าจะปรองดอง แล้วเขาจะเลือกเชิญประชาชนเฉพาะบางกลุ่มไปเข้าเสวนา พี่น้องไม่ต้องรอให้เขาเชิญไปด้วยเลยครับ ไปด้วยเลย แล้วไปนั่งหน้าเวทีอย่างนี้เลยครับ นั่งให้ติดเลย เอาป้ายไปด้วย ยกไว้เลยไม่ต้องเถียงหรอก ไม่ยอม ไม่เอา ไม่ร่วมมือ นี่ไม่ใช่วิธีปรองดอง"

"พี่น้องครับ ผมกราบเรียนด้วยหัวใจ จริงใจ ตรงไปตรงมา ผมไม่เคยโกรธเคืองพี่น้องเสื้อแดง พี่น้องเหล่านั้นเป็นประชาชนคนไทยเหมือนเรา แต่ผมโกรธเคืองคนบงการ แกนนำ คนสั่งการ คนปลุกปั่น คนยุยคนที่มอมเมาประชาชน ไอ้คนเหล่านี้น่ารังเกียจ พี่น้องต้องไม่ลืม ทั้งคุณจตุพร ทั้งคุณณัฐวุฒิ ทั้งคุณเหวง คุณธิดา ทั้งคุณเจ๋ง ดอกจิก ทั้งหลายเหล่านั้น ตัวร้ายทั้งสิ้น วันนี้ณัฐวุฒิ เปลี่ยนจากไพร่เป็นอำมาตย์ไปแล้ว ส่วนจตุพรนั้นรู้สึกสงบเสงี่ยมเจียมตัว ไปตัดเครื่องแบบรอการปรับครม. หวังจะเป็นอำมาตย์ ผมจะอดทนรอดูวันที่คุณคางคกจตุพรได้เป็นอำมาตย์ ให้มันรู้สึกสะใจ ให้มันรู้สึกเจ็บ จะได้จำไว้นาน ๆ ว่า คนที่เป็นผู้นำสั่งคนเผาบ้านเผาเมือง สั่งคนฆ่าประชาชน วันนี้มันได้ดิบได้ดีกันหมดแล้วประเทศนี้"

ในตอนท้ายการปราศรัยนายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เคยแตะต้อง ไม่เคยตำหนิ ให้ร้ายนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เพราะผมเห็นว่าแต่งตัวสวย หรือเอ็นดูว่านายกรัฐมนตรีพูดผิด ๆ ถูก ๆ แต่คิดว่าเราต้องเคารพกฎเกณฑ์กติกา เมื่อเขาชนะเลือกตั้ง เขารวบรวมเสียงข้างมากได้ เขาก็เป็นรัฐบาล เป็นนายกรัฐมนตรี เชิญเขาบริหารบ้านเมืองไป เรามีหน้าที่ติดตามตรวจสอบ กำกับการทำงานของรัฐบาล ก็ทำหน้าที่ฝ่ายค้านไป และยืนยันว่าจะอยู่เคียงข้างประชาชนเพื่อทำให้บ้านเมืองมีความสุข มีความสงบเหมือนในอดีต

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น