โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงานเสวนา “บอกเล่าประวัติศาสตร์เดือนตุลา ผ่านงานวรรณกรรม”

Posted: 26 Sep 2013 01:18 PM PDT

คณะกรรมการ 14 ตุลา เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ จัดกิจกรรมโหมโรงหลายกิจกรรมก่อนครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (รายละเอียดกิจกรรมดังกล่าวคลิกดูที่นี่) โดยกิจกรรมหนึ่งที่จัดไปเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมาคือการเสวนา ในหัวข้อ "บอกเล่าประวัติศาสตร์เดือนตุลา ผ่านงานวรรณกรรม" ที่ห้องประชุมตึกกิจกรรมชั้นสอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีผู้ร่วมเสวนา เช่น จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการ 14 ตุลา เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา วิสา คัญทัพ  1 ใน 9 นักศึกษาที่ถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จนเกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ในวันที่ 21-22 มิ.ย.16 นำไปสู่การเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากจอมพลถนอม กิตติขจร จนถูกจับเป็น 1 ใน 13 กบฏรัฐธรรมนูญ ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 รวมทั้ง ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียน "กบฎวรรณกรรม" หนังสือรวม 10 บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และการเมืองในวรรณกรรม ซึ่งรวมถึงขบวนการนิสิตนักศึกษาไทยในช่วงเหตุการณ์เดือนตุลาฯ ปี 2516-1519

00000

วรรณกรรมกับการเปลี่ยนแปลการเมืองและสังคม

จรัล ดิษฐาอภิชัย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลการเมืองและสังคมส่วนหนึ่งมาจากหนังสือ และหนังสือที่มีบทบาทมากๆ ส่วนใหญ่จะเป็นวรรณกรรม หนังสือประเภทศาตร์ต่าๆ ก็มีบทบาท แต่โดยทั่วไปจะเป็นงานประเภทวรรณกรรมมากกว่าที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของแต่ละประเทศ ก่อน 14 ต.ค.16 มีการเผยแพร่ง่านวรรณกรรมต่างๆ ที่พูดกันมากก่อน 14 ต.ค. นั้นคือหนังสือ "ปีศาจ" ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ นอกจากนั้นก็มีหนังสืออย่าง "ชีวิตและความใฝ่ฝัน" ของ อุดม ศรีสุวรรณ และปี 15 มีคนพิมพ์หนังสือ เช เกวารา จึงเป็นที่สนใจ รวมทั้งมีการเผยแพร่บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ การชุมนุมประท้วงคัดค้านคำสั่งคณะปฏิวัติที่ 299 ที่มีการชุมนุมข้ามคืนหน้าศาลฏีกา ก็มีคนเอาบทกวีของจิตร ไปอ่าน หลังจากนั้นมีการเอาบทกวีเก่าที่ตีพิมพ์ในยุค 2500 ที่เป็นยุคทองของวรรณกรรมไทยมาตีพิมพ์เผยแพร่ หนังสื่อเหล่านั้นก็มีบทบาทในการทำให้คนออกมาต่อสู่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา และหลังจากนั้นก็มีแรงบรรดาลใจมากมายในการเขียนหนังสือ มีวรรณกรรม นิยาย เรื่องสั้น กวี เพลงเพื่อชีวิต ทำให้การเปลี่ยนแปลงใหญ่จาก 14 ตุลา มันมีลักษณะที่สมบูรณ์หลายด้าน

2490-2500 ยุคทองของวรรณกรรมการเมือง

วัฒน์ วรรลยางกูร กล่าวว่า วรรณกรรมนั้นเรื่องมันเยอะ มันไม่ได้มีแค่ตอน 14 ตุลา มันมีตั้งแต่ เทียนวรรณ ในสมัย ร.5 ที่เขียนกลอนเรียกร้องระบบ Parliament หรือ รัฐสภา หรือก่อน 2475 จะมีวรรณกรรมที่สะท้อนความคิดของนักคิด เช่น "ละครแห่งชีวิต" ของ หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ "สงครามชีวิต" ของ ศรีบูรพา เป็นงานที่ปูรากฐานความคิดประชาธิปไตยก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย.2475 และเมื่อมี 2475 ก็ยังมี "ผู้ชนะสิบทิศ" ซึ่งแก่นหลังของผู้ชนะสิบทิศคือ คุณเป็ฯใครก็ได้หากคุณเป็นคนที่มีสติปัญญามีวาสนาคุณก็สามารถสร้างตัวขึ้นมาเป็นใหญ่ได้ จากลูกคนปาดตาลชายแดน(จเด็จ)ก็สามารถสร้างตัวเองขึ้นมาเป็ฯมหาราชได้ นั่นคือหลักแห่งความเสมอภาค ไม่เกี่ยวกับชาติกำเนิด หรือหลัง 2475 ก็มีนิยายอย่าง "แผลเก่า" ของไม้เมืองเดิม ที่ตัวละครที่เคยเป็นหางแถวของวรรณคดีศักดินาก็ขึ้นมาเป็นพระเอกนางเอง พูดจาอ้ายอีมึงกู

ยุคทองอีกยุคคือยุค 2490-2500 ทำให้เกิดวรรณคดี วรรณกรรมการเมืองที่ก้าวหน้า เช่น นิยาย "ปีศาจ" ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ มีผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ "โฉมหน้าศักดินาไทย" ปี 2499 มีเรื่องสั้นของ ลาว คำหอม ปี 2500 ก่อนรัฐประหาร คือเรื่อง "ไพร่ฟ้า" นักเขียนในยุคนั้นสืบทอดความคิดของคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มา คือความคิดเรื่องความเสมอภาค นี่คือเรื่อสั้นที่สร้างแรงบรรดาลใจทางการเมืองในเวลาต่อมา

วรรณกรรมในฐานตัวส่งผ่านความคิด

ก่อนและหลัง 14 ตุลา 16 นั้นก็เกิดเปร่งประกายอีกครั้งหนึ่งของงานในยุค 2490-2500 เป็นการส่งผ่านความคิดขนาดมีการรัฐประหาร 2500 โดย สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่กวาดจับนักคิด นักเขียนเหล่านั้นไปแล้ว ก็ยังสามารถกลับมาส่งผ่านความคิดผ่านงานวรรณกรรมในยุคก่อนหลัง 14 ตุลา 16 ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 บวกกับทฤษฏีโดมิโน ที่คคอมมิวนิสต์เวียดนาม ลาว กัมพูชา ชนะ ดังนั้นชนชั้นสูงในไทยจึงเกิดความกลัว บวกกับนักศึกษาก็รับเอาความคิดในยุค 2490 มาอีก

เขียน "ตำบลช่อมะกอก" ตนในปี 18 ตอนนั้นทำงานอยู่กับหนังสือพิมพ์ "อธิปัตย์" ตนทำข่าวกรณีจับ 9 ชาวนาที่ลำพูล ตอนนั้นเป็นยุคนายกคึกฤทธิ์ ปราโมทย์ แล้วก็มีการมาชุมนุมกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตนก็มาทกสกู๊ปและสัมภาษณ์ชาวนา โดยชาวนาที่ให้สัมภาษณ์ก็ร้องให้ทำให้ตนเองที่เป็นลุกหลานชาวนาเกิดความสะเทือนใจอย่างรุนแรง จึงเขียนนิยาย เพื่อที่จะพูดได้มากๆ บวกกับวัตถุดิบที่ตนมีอยู่ในตัว เนื่องจากบ้านแม่บ้านตาทำนา ที่ปทุมธานี โดยเพื่อนของตาคนหนึ่งชื่อ "ตาแฉ่ง" มาเล่นหนังตะลุงกับตาตน ซึ่งเป็น "นายกองนา" ที่ทำหน้าที่เก็บค่าเช้านา ก็เก็บค่าเช่านาไปส่งให้เจ้านายในกรุงเทพที่เป็นลูกหลาน ร.5 ซึ่งได้ทุ่งรังสิตทั้งทุ่ง จากการที่ไทยต้องผลิตข้าวส่งออกประเทศ ร.5 จึงจ้าง บริษํทคูคลองคันนาสยาม รับสัมปทานขุดคลองเพื่อแปลงทุ่งนาที่เป็นป่ารกร้าง ให้เป็นทุ่งข้าว

ซึ่งตาแฉ่งก็เล่าว่าสมัยก่อน ตอนขุดคลอง ตรงไหนที่ขุดคลองไปแล้วคนที่ทำนาไล่แล้วไม่หนี บางที่ก็มีการเผาบ้าน เป็นการกระทำจากเจ้านายต่อไพร่ที่ไม่มีทางสู้ ดังนั้นฉากเหล่านี้จึงอยู่ในนิยายเรื่องตำบลช่อมะกอก เป็นนิยายที่อยู่ในหนังสือต้องห้าม 1 ใน 96 รายการ หลัง 6 ตุลา 19 ที่พิมพ์ครั้งแรก โดยสำนักพิมพ์อธิปัตย์ แต่ตอนหลังมีการพิมพ์อีกครั้งปี 21 แต่ก็มีตัดบางท่อนออกไป

อีกเล่มที่ต้องห้ามหลังปี 19 นั้น คือรวมเรื่องสั้นและบทกวีกลั่นจากสายเลือดนั้นก็ไม่เข้าใจว่าต้องห้ามตรงไหน สุดท้ายไปเจอกลอนยาวๆตอนท้ายที่พูดเรื่องวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ที่พูดถึงบทบาทของไพร่ที่สร้างวังเวียงมา แต่เวลามีการบันทึกประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้บันทึกว่าไพร่เป็นผู้สร้าง เขียนเป็นภาษาเด็กจากการอ่านหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย จึงกลายเป็นหนังสือต้องห้ามสมัยหลัง 6 ตุลา 19 สมัยนั้นใครมีหนังสือเหล่านี้ไว้ในครอบครองนั้นก็จะถูกหาว่าเป็นภัยต่อสังคมไทย

วัฒน์ยังเปรียบเทียบกวี 14 ตุลา 19 กับ กวี หลังรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ว่ากวีเดือน ก.ย.49 นั้น เป็นงานที่ทะลุทะลวงโครงสร้างสังคมมากกว่า เนื่อจากการตื่นตัวเรื่องเสรีภาพหลัง 14 ตุลา 16 นั้นเป็นการตื่นตัวชั่วคราว 1-3 ปี ก็โดนหยุดเสรีภาพ มายุคหลัง 19 ก.ย.49 นั้นมันทะลุทะลวง เพราะมีการเผยออกมาชัดเจน เปิดเผยให้สังคมไทย เห็นโครงสร้างอำนาจที่แท้จริงของสังคมไทย  

วัฒน์ กล่าวด้วยว่า หลังจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ทำรัฐประหารอย่างเด็ดขาดงานรรณกรรมก็กลายเป็นยุคสายลมแสงแดด นิยายก็เป็นเรื่องบู๋ กับเรื่องพาฝัน ฝ่ายอำนาจเก่าให้ให้ความสำคัญกับเรื่องของแนวรบวรรณกรรมมาก เมื่อป่าใกล้จะแตกนั้น จึงมีรางวัลซีไรต์(S.E.A. Write) ซึ่งเป็นรางวัลที่ถูกควบคุมโดยอาจารย์ด้านอักษรศาสตร์ ที่รูปการจิตสำนึกนั้นไม่มีมาทางประชาธิปไตย

3 กระแสส่งผลให้นักศึกษาต้านทหาร

วิสา คัญทัพ กล่าวว่า ก่อน 14 ตุลา 16 นั้นมีการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มกิจกรรมที่เป็นกลุ่มอิสระ แม้ช่วงนั้นจะมีกลุ่มจัดตั้งโดยมหาลัย เช่น องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา แต่ก็เป็นกลุ่มที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากนัก สำหรับกิจกรรมฝ่ายก้าวหน้านั้นจะเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มอิสระ  เช่น สภาหน้าโดม  โซตัสใหม่ ฯลฯ ตามมหาวัทยาลัยต่างๆ  โดยที่กลุ่มอิสระพวกนี้จะขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยข้องทางการเมือง รวมทั้งการทำหนังสือ หนังสือที่ดุเดือดออกมากระทบเผด็จการสมัยนั้น เช่น "ภัยเขียว" เขียนต้านเผด็จการทหาร ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียใหม่ ส่วนของธรรมศาสตร์ก็มี "ภัยขาว" ต่อต้านสหรัฐอเมริกา รวมทั้งมีวรรณกรรมเพื่อชีวิต ออกมาหลังจากงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ออกมาโดยใช้นามปากปาทีปกร ชื่อ "ศิลปเพื่อชีวิต" จึงนำมาซึ่งงานเขียนกวีงานศิลปะที่พูดถึงสังคมมากมาย และหากมองกระแสความคิดที่เกิดขึ้นส่งผลให้นักศึกษาเคลื่อนไหวเพื่อต้านทหารขณะนั้น ประกอบด้วย 3 กระแสด้วยกันคือ

1.     กระแสทางสากล ซึ่งยุคนั้นมีสงครามอินโดจีน มีกระแสต่อต้านจากกลุ่มนักศึกษาในตะวันตกด้วย ซึ่งเราก็รับอิทธิพลมาจาก บทเพลงต่างๆ ที่ใช้ประท้วงสงคราม

2.     กระแสที่มาพร้อมกับ อ.ปรีดี โดยยุคนั้นเป็นความลับมาก จะพูดเรื่อง อ.ปรีดี ลำบากมากเพราะจะถูกมองว่าพวกนั้นเป็นพวกที่จะรื้อฟื้นความคิด 2475 มาศึกษา

3.     กระแสที่มาพร้อมๆกัน เป็นกระแสการต่อสู้ในเขตป่าเขาของพรรคคอมมิวนิสต์ คือขบวนการต่อสู้ที่ต้องการเอกราชและประชาธิปไตยที่สมบุรณ์ จากจักรวรรดินิยม คนที่เด่น เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ นายผี กุหลาบ ฯลฯ เป็นยุคที่หนังสือเหล่านี้ถูกตีพิม์ซ้ำ

3 กระแสนี้เป็นกระแสที่ทำให้นักศึกษาปัญญาชนเกิดแนวคิดที่เราเรียกว่า "นักศึกษาฝ่ายก้าวหน้า" และก่อนเกิดเหตุ 14 ตุลา 16 นั้นก็มีเหตุเครื่องบินตกที่ทุ่งใหญ่ และกระแสต่ออายุราชการของผู้นำเผด็จการทหาร จึงนำไปสู่กระแสความไม่พอใจต่างๆ

การผลิตซ้ำงานก็ส่วนหนึ่ง การผลิตใหม่ก็อีกส่วนหนึ่ง เช่น กวี รวี โดมพระจันทร์ ยุคนั้นคนที่เขียนกวีการเมืองมีไม่มาก แม้แต่เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ก็ยังไม่ได้เขียน แต่สุจิตต์ วงษ์เทศ นั้นเริ่มเขียนเสียดสีสังคมแล้ว ซึ่งมาพร้อมกับกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว ทำวรรณกรรมเขียนเชิงตั้งคำถามสังคมว่าเมื่อเป็นนักศึกษาแล้วจะเอากระดาษใบเดียวหรือ? เป็นต้น

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ภาพจาก PITV แฟนเพจ 

วรรณกรรมในแง้ผู้อ่าน

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กล่าวว่าตนสนใจวรรณกรรมในแง้ผู้อ่าน ไม่ใช่ผู้สร้าง โดยที่ก่อน 14 ตุลา 16 พวกเราที่เข้ามหาลัย มันเริ่มมีแรงหรือพลังบางอย่างที่กระตุ้นให้เราเห็นว่ามันมีอะไรบางอย่างที่จะเกิดขึ้น เพราะสถานการร์การเมืองมันเปลี่ยนแปลงไป หลายๆกระแส เช่น การผ่านการพัฒนทางเศรษฐกิจจากยุคสฤษดิ์ ที่เกิดช่องว่าความเหลื่อมล้ำจากการที่การเมืองก็ไม่มีเสรีภาพ สื่อมวลชนก็ไม่มีเสรีภาพ ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องให้ประกาศมใช้รัฐธรรมนูญ

คิดว่าแรงบรรดาลใจจากประสบการการณ์เมืองโดยตรงขณะนั้นมันไม่ เข้าใจว่าสิ่งที่เรียกรู้ความหมายทางการเมือง ผ่านงานเขียนและงานเขียนกลุ่มง่ายที่สุดที่จะเข้าใจก็ผ่านวรรรณกรรม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสั้น เช่น หนังสือเล่มละบาท ที่ขณะนั้นมีการพิมพ์หนังสือขายประตูท่าพระจันทร์ ซึ่งที่ได้ทั้งค่าเล่มและค่าโฆษณา เพื่อระดมเงินเอาไปทำกิจกรรม เป็นต้น เล่มที่ทำแล้วมีพลังคือ "ภัยขาว" ซึ่งขายดีมากและเป็นการเริ่มต้น เพราะคนที่สนใจก็เห็นว่ามันมีเวทีแสงออก ผ่านหนังสือ เพราะสังคมไทยถูกปิดสมัยสฤษดิ์ เพราะฉะนั้น การที่คนถามหรือวิจารณ์เพียงแค่ตั้งคำถามกับความเป็นไปของบ้านเมือง แค่นั้นมันก็ทำให้คนรู้สึกว่ามันเป็นแสงสว่างรำไรขึ่นมา และก่อนปี 16 เริ่มมีการพูดคุยการเมืองมากขึ้น แล้วสื่อก็เริ่มมาทำข่าวบริเวณมหาลัย เช่น การประชุมสัมนา ท่ามกลางบรรยากาศก่อน 14 ตุลา ที่มันสลัวๆ ที่บรรยากาศความคิดไม่เปิดเท่าไหร่

พลังของวรรณกรรมคือการไม่พูดทั้งหมด

สิ่งสำคัญคืของวรรณกรรมคือการมาช่วยนำเอาเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ เพราะการนำเสนอวรรณกรรมมันสามารถสื่อทางอ้อมได้ แต่จริงๆ พลังของวรรณกรรมนั้นมันอยู่ที่การไม่พูดทั้งหมด ที่เหลือมันอยู่ที่การให้ผู้รับสารไปคิดเอาว่ามันพูดอะไร ถ้าเราบอกทั้งหมด ฟังก็จบ แต่เมื่อทำให้เนื้อหาต่างๆเป็นการทำให้แต่ละคนสร้างจินตนาการขึ้นมาได้โดยการผู้โยงกับสังคมนั้นทำให้เกิดพลัง เช่น การเอาภาพสังคมอื่นมาเสนอ คนอ่านก็สามารถที่จะเอามาเทียบกับสังคมขณะนั้นได้

การตั้งวรรณกรรมเพื่อชีวิตขึ้นมา มันทำให้มีการจุดหมายนำเสนอที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้สังคมที่ดีขึ้น ผ่านการทำงานทางความคิด หลังจากการเกิด 14 ตุลา เราเข้าสู่อีกยุคสมัย เพราะยุคก่อน 14 ตุลา นั้นเราอยู่ในยุคที่เรียกว่าสายลมแสงแดด อุดมการณ์ทางการเมืองในวรรรกรรมนั้นไม่มี แต่หลัง 14 ตุลา เกิดงานเขียนอีกชุดหนึ่งขึ้นมา เป็นวรรณกรรมการเมือง วรรณกรรมที่มีอุดดมการณ์ทางการเมือง และเมื่อ นักศึกษาเข้าป่า อุดมการณ์ สังคมนิยมก็ยิ่งเอามาใช้ชัดเจนขึ้น วิธีการเขียน เนื้อเรื่อง จุดหมายก็ต่างกัน  

โจทย์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย คือโจทย์ตอนนี้

ปัจจุบันทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ประสบความสำเร็จ ฝ่ายที่ล่าถอยนั้นก็เป็นฝ่ายสังคมนิยม ดังนั้นโจทย์ที่เป็นการต่อสู้ตอนนี้มันเป็นโจทย์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่างนอียิปต์ ที่เปลี่ยนแปลงจนถึงวันนี้อนาคตก็ยังไม่มีข่าวว่ากองทัพจะถอยง่ายๆ โดยสรุป อนาคตประชิปไตยอยู่บนเส้นด้าย เป็นอนาคตที่ต้องไม่ประมาท ไม่มีทางที่จะนอนใจว่าทุกอย่างเรียบร้อย ประวัติศาสตร์ในรอบ 200 ปีที่ผ่านมา การปฏิวัติที่เรียกว่าประชิปไตย ในโลก มี 2 ครั้งที่ประสบความสำเร็จคือที่ สหรัฐอเมริกา และต่อมาที่ฝรั่งศส ในปี 1789 นอกจากนั้นแล้วเมื่อหลุดจากยุโรปไปประเทศโลกที่ 3 ไม่มีที่ไหนที่เมื่อเป็นประชาธิปไตยแล้วไม่ล้ม  ฝ่ายพลเรือนที่ได้ประชาธิปไตยมา แต่ฝ่ายพลเรือนอีกกลุ่มที่ไม่พอใจกับนโยบายที่เป็นอยู่ เนื่องจากทุกคนมีเรื่องที่ไม่พอใจทั้งนั้น คำถามคือพอใจไหมกับประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นฝ่ายการเมืองต้องคิดโจทย์อันใหม่ขึ้นมา โจทย์เก่าที่รัฐบาลขึ้นมาก็รักษาความมั่นคงอย่าเดียวนั้นคงไม่ได้

สื่อสมัยใหม่ทรงพลังมากกว่าวรรณกรรม

เยี่ยมยอด ศรีมันตะ มองว่าปัจจุบันสื่อสมัยใหม่มาแทนที่และทรงพลังมากกว่างานวรรณกรรม  

วิภา ดาวมณี สมาชิกองค์กรเลี้ยวซ้าย กล่าวว่าตอนเข้ามหาวิทยาลัยนั้นวรรณกรรมที่มีอิทธิพลต่อตนมากที่สุดคือ "ฉันจึงมาหาความหมาย" (หรือกลอง "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" ของ วิทยากร เชียงกูล)

สิ่งทิ่ผิดหวังนั้น หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา  19 คนที่แนวสังคมนิยมถูกกวาดต้อนทำร้ายทำลาย แต่เมื่อเข้าป่าพรรคคอมมิวนิสต์แทนที่ให้การศึกษา กลับเป็นเป็นการชี้นำ ไม่ได้รับการยกระดับแนวคิด ดังนั้นแนวต่างๆจึงเจือจางและเมื่อคนไม่คิดว่าพรรคคอมฯ นั้นไม่สามารถปลดแอกได้จริง เพียงแต่ลอกแนวคิดมาจากเหมาเจ๋อตุง

แรงจูงใจมาจากกลุ่มศึกษามากกว่าหนังสือ

จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน เล่าว่า ตอนเข้าทำงานแรกๆนั้น พบเพื่อคนงานหลายคนที่อ่านหนังสือไม่ได้ เพราะคนงานเย็บผ้ายุคแรกๆเรียนเพียงแค่การตัดเย็บก็เข้าโรงงานแล้ว ดังนั้นสิ่งที่คนงานเรียนรู้ตอนนั้นก็มาจากการฟังวิทยุ จึงไม่มีโอกาสที่จะอ่านหนังสือได้ นิยายที่ฟังในวิทยุเหล่านั้นก็ไม่ได้หล่อหลอมให้คนลุกขึ้นสู้

ส่วนยุคปัจจุบันคนงานก็ไม่ได้อ่านวรรณกรรม เพราะต้องมุ่งเน้นการหารายได้ หนังสือพิมพ์ที่อ่านก็เป็นหนังสือพิมพ์หัวสีทั่วไป เช่น ไทยรัฐ คนงานไม่ค่อยได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์ทางเลือก โดยเมื่อวันก่อนไทยรัฐพึงจะโปรยหัวว่า "16 สิ่งศักดิ์สิทธิที่ปกป้องสนามบินสวรรณภูมิ" ทำให้คนงมงายไปด้วย

จิตรา กล่าวด้วยว่าตนตนเองก็ไม่สามารถอ่านกวีบางอย่างให้เข้าใจได้ด้วย ดังนั้นเวลาอ่านวรรณกรรมนั้นเราก็ต้องดูด้วยว่าคนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ งานที่ได้รับรางวัลหลายอย่างก็ไม่สามารถทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ จึงฝากคนที่ทำงานเรื่องสื่อเหล่านี้ก็ต้องนึกถึงสื่อที่คนจะเสพด้วย ต้องสื่อให้เขาได้เข้าใจด้วย หากคิดว่าคนส่วนใหญ่ชนชั้นล่างนั้นเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาแรงจูงใจในการต่อสู้ของตันเองนั้นมาจากกลุ่มศึกษามากกว่าหนังสือ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปัตตานีเตรียมสถานที่รอปืนใหญ่จำลอง ซ่อมเสร็จ 3 ธ.ค.

Posted: 26 Sep 2013 12:20 PM PDT

ปัตตานีได้งบซ่อมปืนใหญ่จำลองแล้ว เตรียมนำกลับเตรียมวางจุดเดิมหน้ามัสยิดกรือเซะ 3 ธ.ค. พร้อมให้ชาวบ้านช่วยดูแล เปิดศูนย์การเรียนรู้อารยธรรมปัตตานีเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่

พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี หน้ามัสยิดกรือเซะ จ.ปัตตานี เมื่อ 23 กันยายน 2556 (ภาพจากหน้าเพจของ Kie Akuya)

 

นางศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปัตตานีเพิ่งได้รับงบประมาณบูรณาการซ่อมแซมปืนใหญ่พญาตานีจำลองที่ถูกคนร้ายลอบวางระเบิดเสียหายเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 หลังจากถูกนำมาวางบนฐานรองปืนใหญ่ ณ ลานอเนกประสงค์หน้ามัสยิดกรือเซะ หมู่ที่ 2 ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี เพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์

นางศิรวี เปิดเผยต่อไปว่า งบประมาณบูรณะซ่อมแซมดังกล่าว ได้นำไปให้ช่างหล่อปืนใหญ่จำลองที่จังหวัดนครปฐมได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมแล้ว โดยมีกำหนดรับมอบปืนใหญ่พญาตานีมาวางไว้ในจุดเดิมอย่างทางการในวันที่ 3 ธันวาคม 2556

ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยนั้น ทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปัตตานีได้หารือกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ว่า จะให้ชาวบ้านบริหารจัดการทั้งหมด ทั้งการจัดเวรยามและการเฝ้าระวัง

นางศิรวี เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556 ที่มีการเปิดศูนย์การเรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานีที่หน้ามัสยิดกรือเซะได้ให้ชาวบ้านในพื้นที่มามีบทบาทมากขึ้นกว่าเมื่อครั้งที่มีการจัดงานต่างๆ ที่มัสยิดกรือเซะ เช่น การเปิดร้านขายอาหาร และสินค้าอื่นๆ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556 สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปัตตานี ร่วมกับเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี ทำพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี บริเวณลานอเนกประสงค์หน้ามัสยิดกรือเซะตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและสร้างแหล่งเรียนรู้อารยธรรมปัตตานี โดยมีนายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิด มีประชาชนทั้งชาวไทยและมาเลเซียร่วมในพิธีกว่า 100 คน

นางศิรวี กล่าวรายงานว่า โครงการนี้ได้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดปี 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยการสร้างศูนย์การเรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี ประกอบด้วย อาคารศูนย์การเรียนรู้อารยธรรมปัตตานี อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว การหล่อจำลองปืนใหญ่พญาตานี และการปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยรอบ

ด้านนายลาเตะ มาหามะ ประธานเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี กล่าวรายงานว่า จังหวัดปัตตานีมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับ 2,000 ปี มีการติดต่อกับนานาอารยประเทศในอดีตมากมาย สืบเนื่องจากความได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ติดกับทะเล มีอ่าวกำบังคลื่น และเป็นที่พักจอดเรือ จึงเป็นจุดนัดพบของพ่อค้าและนักเดินเรือจากโลกตะวันตกและตะวันออก ดังปรากฏร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายในปัจจุบัน

นายลาเตะ กล่าวว่า จากความรุ่งเรืองทางการค้าและการปกครองในอดีตทำให้ปัตตานีเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา มีการรับอารยธรรมจากชนชาติต่างๆ มาผสมผสานจนเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัวโดดเด่นไม่เหมือนใคร ตลอดจนสามารถสร้างบรรยากาศการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ เชื่อใจ และวางใจกัน เพื่อความสงบและสันติสุขอย่างยั่งยืน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียนรู้จาก 20 คำถาม ‘การพูดคุยสันติภาพ’ อ่านคำตอบจากทีมร่วมโต๊ะ

Posted: 26 Sep 2013 11:30 AM PDT

เปิดเวที 20 คำถามเพื่อกระบวนการสันติภาพเดินหน้า สื่อท้องถิ่นถาม ทีมร่วมโต๊ะพูดคุยสันติภาพตอบ นักวิชาการชี้ 3 ข้อท้าทายของ 'ข่าวกับสันติภาพ' โอกาสของสื่อเพื่อสันติภาพ อ่านคำตอบ ทำไมลดความต้องการจากเอกราชสู่ปกครองพิเศษ เอกภาพระหว่างทหารกับรัฐบาลเพื่อไทย 5 ข้อ BRN กับสิทธิความเป็นเจ้าของ ความชอบธรรมของคู่เจรจา ใครเป็นต่อ – ใครเป็นรอง ความหมายของพื้นที่กลางที่ปลอดภัย จนถึงเรื่องสื่อกับเสรีภาพในการแสดงออก

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 ที่ห้องสะบารัง 2 โรงแรมซีเอส.ปัตตานี โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดเสวนา 20 คำถามเพื่อกระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อ ในงานบทบาทสื่อท้องถิ่นและภาษามลายู "ระหว่างทาง" กระบวนการสันติภาพ

ในงานนี้มีสื่อแขนงต่างในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมประมาณ 70 คน โดยเฉพาะสื่อวิทยุท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ

โดยมีผู้ตอบคำถามมี 4 คน ได้แก่ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการ Deep South Watch ดาโต๊ะอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าที่ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และพ.อ.สมเดช โยธา นายทหารปฏิบัติการข่าว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.)

โดยทั้ง 4 คน เป็นผู้ที่ร่วมโต๊ะการพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับตัวแทนขบวนการBRN และผู้ติดตามการพูดคุยดังกล่าวอย่างใกล้ชิ้น

 

3 ข้อท้าทายของ 'ข่าวกับสันติภาพ'

ทั้งนี้ ก่อนการตอบคำถาม ดร.นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส นักวิจัยอาวุโสของ CSCD บรรยายหัวข้อ "แนวคิดบางประการเกี่ยวกับการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพ" โดยบรรยายว่า ความท้าทายพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพประกอบด้วย 3 ประการ คือ

1.กระบวนการสันติภาพเป็นความพยายามทางการเมืองที่มีการแข่งขันกันสูง โดยฝ่ายต่างๆต้องการเอาชนะในความขัดแย้ง และแม้ว่าจุดสนใจจะเปลี่ยนจากความรุนแรงมาเป็นการพูดคุยบนโต๊ะ แต่สำหรับคู่ขัดแย้งยังเป็นเรื่องของแพ้ชนะ หรือแม้ว่าพวกเขาจะยอมถอย แต่ยังคงมีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบกันว่า ใครถอยมากกว่ากัน

2.ด้วยแนวโน้มทางการเมืองที่เป็นเช่นนี้ สื่อจึงมักจะทำข่าวจากมุมมองแบบใครแพ้ใครชนะ สื่อที่เลือกข้าง ก็จะทำข่าวเข้าข้างฝ่ายของตัวเอง แต่สื่อที่ไม่ได้เลือกข้างหรืออยู่กลางๆ ก็มีแนวโน้มจะทำข่าวจากมุมมอง แพ้-ชนะ เพราะทำให้ข่าวดูน่าตื่นเต้น

3.กระบวนการสันติภาพที่มีประสิทธิภาพต้องสร้างสมดุลระหว่างข้อมูลที่สามารถเผยแพร่ได้ในที่สาธารณะ และการสื่อสารในทางลับ เพราะสื่อมักจะนำข้อมูลที่ปิดลับออกมาเปิดเผย ซึ่งทำให้เป็นที่สนใจของสาธารณะ เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบสาธารณะไปในทางที่ผิด แต่การนำเสนอเช่นนี้ ทำให้การสร้างความไว้วางใจระหว่างคู่ขัดแย้งที่กำลังดำเนินไปอย่างระมัดระวังถูกทำลายลง และคู่ขัดแย้งในการพูดคุยสันติภาพมักใช้สื่อเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของฝ่ายตนเอง

 

โอกาสวัดกึ๋นของ 'สื่อเพื่อสันติภาพ'

ดร.นอร์เบิร์ต บรรยายอีกว่า สำหรับข้อสรุปการสื่อสารกระบวนการสันติภาพอย่างรับผิดชอบ

1.ความเป็นมืออาชีพ เช่นเดียวกับการรายงานข่าวอื่นๆ การรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพ ควรทำตามมาตรฐานของการแสวงหาความจริง การตรวจสอบแสวงหาข้อมูลแบบไม่ลำเอียง ตรวจสอบข้อมูลหลายด้าน รายงานอย่างถูกต้องตามบริบทของมัน และอื่นๆ

2.รายงานมุมมองที่แตกต่างหลากหลายอย่างครอบคลุม เพราะความขัดแย้งและสันติภาพเป็นเรื่องราวของฝ่ายต่างๆสองฝ่ายขึ้นไป ที่มีความเห็นและมุมมองเกี่ยวกับการคลี่คลายความขัดแย้งที่แตกต่างกัน บ่อยครั้งสื่อให้มุมมองเพียงด้านเดียว ซึ่งถือว่าขัดกับหลักการพื้นฐานของการรายงานข่าวที่ต้องเป็นธรรมและไม่ลำเอียง

3.ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนความขัดแย้ง สำหรับสังคมใหญ่นอกพื้นที่ความขัดแย้งมักไม่เข้าใจว่า เหตุใดความรุนแรงจึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อขบวนการต่อสู้ไม่มีฝ่ายการเมืองที่กล้าออกมาเปิดเผย ซึ่งนี่เป็นโอกาสของสื่อที่จะพยายามอธิบายตัวขับเคลื่อนความขัดแย้งด้วยวิธีต่างๆ

4.เปิดพื้นที่ให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และความไม่เป็นธรรมได้มีเสียง โดยข่าวและการวิเคราะห์เกี่ยวกับการพูดคุยสันติภาพในระดับบน (Trak1) มีความสำคัญ แต่สื่อควรเปิดให้เห็นหน้าและได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและความไม่เป็นธรรม การถามประชาชนที่มาจากชุมชน ซึ่งแตกต่างหลากหลายในพื้นที่ เกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานและความกลัวเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้การรายงานข่าวมีพลังมากที่สุด

5.เปลี่ยนกรอบการรายงานข่าวจากแพ้-ชนะ ไปเป็น ชนะทั้งคู่ โดยรายงานและเพิ่มเติมความรู้ให้กับประชาชนในเรื่องความคิด และข้อเสนอต่างๆที่มีขึ้น เพื่อเชื่อมประสานคู่ขัดแย้ง ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกัน ค้นหาการยอมถอยจากทั้งสองฝ่าย ให้นักเคลื่อนไหวด้านสันติภาพได้เผยแพร่ความคิดเห็น และช่วยสร้างพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

 

จาก 20 คำถามของ 'สื่อ(ท้องถิ่น)ต่อสันติภาพ'

สำหรับคำถามเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพและคำตอบสำคัญๆ จากทั้ง 20 คำถามมีดังนี้

จากเอกราชสู่ปกครองพิเศษ

1.มีข่าวรายงานว่าขบวนการ BRN (ซึ่งเป็นคู่เจรจากับตัวแทนรัฐบาลไทย) ต้องการให้ใช้หลักการกระจายอำนาจในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวบ้านจึงถาม ถ้า BRN ต้องการกระจายอำนาจจริงทำไมจึงต้องสร้างสถานการณ์มานานเกือบ 10 ปี

ผศ.ดร.ศรีสมภพ - ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากในพื้นที่ เพราะเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นนานถึง 10 ปี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก แม้ BRN ต้องการกระจายอำนาจให้สามารถปกครองตนเองได้ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Autonomy ก็ยังคงอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอยู่ดี แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางกลุ่มของ BRN ยังคงต้องการเอกราช

อย่างไรก็ตาม ต่อไปหากข้อเรียกร้องในการต้อสู้ลดลง ความรุนแรงก็จะลดลงไปด้วย เพราะสภาพแวดล้อมส่งผลให้ความรุนแรงลดลง

ดาโต๊ะอาซิส - วันนี้เมื่อมีการพูดคุยสันติภาพแล้ว พบว่าการแบ่งแยกดินแดนเป็นไปไม่ได้ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทำให้ฝ่ายขบวนการลดระดับข้อเรียกร้องลงมาเหลือเพียงการปกครองพิเศษ

ว่าที่ร..เลิศเกียรติ - ต้องถามประชาชนในพื้นที่ว่าต้องการการปกครองในรูปแบบใด อย่างไรก็ตาม การถามความต้องการของประชาชนไม่สามารถจะทำให้เหตุการณ์ความไม่สงบสิ้นสุดลง ต้องมองถึงปัญหาในด้านอื่นๆด้วย และต้องแก้ปัญหาควบคู่กันไปด้วยจึงจะทำให้เหตุการณ์สงบได้

..สมเดช - ข้อเรียกร้องของ BRN ไม่เกินความคาดหมายจากที่มีการศึกษา คือมี 3 ระดับ คือ ต้องการเอกราช รองลงมาการปกครองพิเศษที่อยู่ภายในประเทศไทย แต่ต้องเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่ และระดับที่สาม คือ ต้องการ Autonomy ภายใต้รัฐธรรมนูญเดิมซึ่งจับต้องได้มากที่สุด แต่ฝ่ายปฏิบัติการระดับล่างสุดของ BRN หรือกลุ่มอาร์เคเคมีความต้องการที่ชัดเจนคือต้องการเอกราช ในขณะที่แกนนำระดับบนมีความยืดหยุ่นพอสมควร ซึ่งเป็นเรื่องภายในขบวนการที่จะต้องต่อรองกันภายใน

 

ทหาร VS รัฐบาลเพื่อไทย

2.นโยบายการแก้ปัญหาของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับฝ่ายทหารระดับผู้บัญชาการทหารบกเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีปัญหาในการทำงานร่วมกันจะแก้ปัญหาอย่างไร

ว่าที่ ร..เลิศเกียรติ - ยืนยันว่าฝ่ายความมั่นคงและพลเรือนระดับนโยบายเห็นตรงกันว่า การพูดคุยเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งผู้บัญชาการทหารบก ผู้บริหารของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และศอ.บต ยืนยันว่าการพูดคุยต้องเดินหน้า เพราะเป็นการหาทางออกทางการเมืองไปสู่สันติ

อีกส่วนที่จะต้องชัดเจน คือ ฝ่าย BRN เป็นตัวแทนของผู้มีความคิดต่างในพื้นที่ทั้งหมดหรือไม่ จะต้องมีภาวะการนำของกลุ่มผู้มีความเห็นต่างให้ได้ และเป็นความต้องการของผู้เห็นต่างอย่างชัดเจน เพราะคนที่อยู่ในกระบวนการพูดคุยไม่มีอำนาจชี้ขาดได้ แต่จะส่งต่อข้อเสนอให้รัฐบาลและรัฐสภาตัดสินใจ

..สมเดช - ดูเหมือนว่าฝ่ายทหารจะขัดแย้งกับฝ่ายรัฐบาล ความจริงพยายามเกื้อหนุนกัน ทหารมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยและปกติสุข ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2555 – 2557) ข้อที่ 1 ส่วน สมช.รับผิดชอบข้อที่ 8 ในเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ซึ่งผู้บัญชาการทหารบกต้องการให้เกิดความชัดเจน ถ้าไม่ชัดเจนก็ต้องกลับไปถามฝ่ายBRNใหม่ให้ชัดจึงมีการชี้แจงเป็นเอกสาร 38 หน้าขึ้นมาทำให้กระบวนการพูดคุยชัดขึ้น เห็นความต้องการมากขึ้น

ส่วนกรณีการออกคลิปวิดีโอที่อ้างว่าเป็นมติของสภาชูรอของBRNที่จะไม่ให้มีการพูดคุยต่อนั้นความจริงต้องการสื่อให้ฝ่ายไทยรับข้อเสนอ 5 ข้อของBRN เพื่อให้การพูดคุยเดินหน้าต่อไม่ใช่การขัดขวางตามที่มีการตีความกัน กระบวนการสันติภาพจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุย

 

5ข้อ BRN - สิทธิความเป็นเจ้าของ

3.ข้อเรียกร้อง 5 ข้อของ BRN มองว่าข้อไหนยากสุด และทำไมยังไม่เห็นข้อเสนอจากฝ่ายรัฐ แล้วจะเดินหน้ากันได้อย่างไร

ว่าที่ ร..เลิศเกียรติ - ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อน่าจะทำได้ทั้งหมด แต่ข้อเสนอทั้งหมดยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะข้อที่ 4 ที่ว่าด้วยสิทธิความเป็นเจ้าของนั้น หมิ่นเหม่ต่อการแบ่งแยกดินแดน จึงจำเป็นต้องทำให้ชัดเจนว่าคืออะไรกันแน่

ส่วนข้อเสนอข้อที่ 5 ที่ให้ปล่อยนักโทษและยกเลิกหมายจับทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของข้อกฎหมาย จำเป็นต้องสร้างกติกาให้ชัดเจน ไม่สามารถทำได้ทีเดียวทั้งหมดต้องค่อยๆ ขยับเป็นขั้นตอน

ดาโต๊ะอาซิส - กระบวนการพูดคุยกำลังแปรเปลี่ยนไปแล้ว จำเป็นต้องคุยกันบนโต๊ะ ไม่ใช่ต่างคนต่างสื่อสารผ่านเว็บไซต์ยูทูปหรือผ่านเอกสาร วันนี้เป็นการเจรจาด้วยเอกสารมากกว่าการพูดคุยบนโต๊ะ หรือสื่อสารผ่านผู้อำนวยความสะดวกโดยไม่คุยกันบนโต๊ะ ทำให้ยืดเยื้อยาวนานและทำให้ประชาชนไม่มีความหวังว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นได้หรือไม่

 

4.ทหารมีการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือไม่หลังเกิดการพูดคุยสันติภาพ

..สมเดช - ในพื้นที่ทหารเตรียมการให้เกิดการเกื้อหนุนให้เกิดสันติภาพหลายด้าน เช่น ในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา ก็พยายามลดการปฏิบัติการในพื้นที่แต่เหตุรุนแรงก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ ก็ยังพยายามหาคำตอบอยู่ว่าเพราะอะไร

 

ความชอบธรรมของคู่เจรจา

5.เอกสาร 38 หน้าของBRN เป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนสงสัย เพราะเป็นเป็นสารที่บอกว่าBRNลดความต้องการลงมา รวมถึงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีการโปรยใบปลิวที่มีข้อความว่าไม่ต้องการ Autonomy แต่ต้องการ Merdeka จึงอยากได้ความกระจ่างชัดว่า คนที่ไปเจรจามีชอบธรรมในการเป็นตัวแทนเจรจาหรือไม่ จะทำอย่างไรให้เกิดความกระจ่างต่อสาธารณะ เพราะคนที่ไปนั่งโต๊ะเจรจาไม่ได้สื่อสารกับคนในพื้นที่ แต่กลับเป็นสื่อท้องถิ่นต่างหากที่สื่อสารกับคนในพื้นที่มากกว่า ซึ่งจะทำอย่างไรที่จะให้เกิดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการเหล่านี้

ว่าที่ร..เลิศเกียรติ - คนที่รับผิดชอบในระดับนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเลขาธิการสมช.ได้ขับเคลื่อนผ่านนโยบายของสมช. ซึ่งผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีและรัฐสภามาแล้ว ส่วนในระดับพื้นที่ ทางศอ.บต.ได้รับมอบหมายให้สร้างเกิดบรรยากาศในพื้นที่ที่เอื้อต่อการพูดคุย ทั้งสมช.และ ศอ.บต.ต้องนำนโยบายไปปฏิบัติ

โดยตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา มีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนรับรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ พยายามจะเปิดเผยข้อเสนอของคู่กรณี ไม่มีการปิดบัง และได้ส่งต่อข้อเรียกร้องทั้งหมดให้ประชาชนดู ถามความเห็นของพี่น้องประชาชน ซึ่งหลายเรื่องมีการสะท้อนกลับมา ซึ่งฝ่ายไทยเริ่มทำงานเชิงรุกมากขึ้น เพื่อต่อรองกับฝ่ายBRN

ฝ่าย BRN ก็พยายามปรับเปลี่ยนคณะพูดคุย มีการเพิ่มกลุ่มพูโล เพิ่มฝ่ายเยาวชนและฝ่ายคุมกำลังเข้าไป ส่วนฝ่ายไทยก็พยายามปรับเปลี่ยนเช่นกัน เรื่องทั้งหมดไม่ใช่ความลับ สามารถเปิดเผยได้

ดาโต๊ะอาซิส - ความชอบธรรมของตัวแทนที่มาจากส่วนราชการมีความชัดเจน แต่ตนกับผศ.ดร.ศรีสมภพ คนในพื้นที่มีความเชื่อมั่นไว้มากน้อยอย่างไร ตนมาจากตัวแทนภาคประชาสังคม เป็นตัวแทนของสภาที่ปรึกษาที่มีสมาชิกจาก 49 คน ขอให้สื่อและประชาชนตัดสินเองว่าชอบธรรมจริงหรือไม่

ผศ.ดร.ศรีสมภพ - ตัวแทนการพูดคุยมีความชอบธรรมหรือไม่ ถูกบังคับมาหรือไม่ เอกสาร 38 เขียนเองได้หรือไม่ ตนเองก็ไม่รู้และไม่สามารถยืนยันทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่มักมีข้อสันนิษฐาน เช่น การสื่อสารผ่านคลิปในเว็บไซต์ยูทูป ขณะนี้น่าจะมีความชัดเจนพอเพียงที่จะบอกว่าเขาถูกบังคับหรือไม่ โดยพิจารณาจากความรุนแรงที่ยังไม่หยุดแต่ไม่สูงขึ้นมากกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังไป 3 ปี

เมื่อความรุนแรงยังอยู่ระดับนี้ ก็ต้องหาทางออกมาพูดคุยกัน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลเสียงบประมาณไปกับการแก้ปัญหาแล้ว 2 - 3แสนล้านบาท ก็ต้องมาสู้ด้วยแนวทางการเมือง ส่วนขบวนการเองก็รู้ว่าไม่สามารถเพิ่มความรุนแรงขึ้นมาได้มากกว่านี้ ก็จำเป็นต้องปรับข้อเรียกร้องลงเพื่อมาต่อสู้กันทางการเมืองและทางความคิด แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่

กระบวนการสันติภาพต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยเจรจากัน ถามว่าชอบธรรมหรือไม่ ที่ผ่านมาไม่มีหรือน้อยมาก ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 หรือเรียกว่า พ.ร.บ.ศอ.บต. มีพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) มีนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2555 – 2557) หรือเรียกว่า นโยบายสมช.ที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพในข้อที่ 8 ซึ่งถูกรับรองทางกฎหมายและรัฐสภา

ที่ผ่านมามีข้อวิจารณ์เรื่องการไม่ประสานกันระหว่างฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายความมั่นคง รัฐบาลก็มี สปก.กปต.(ศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้) เป็นกลไกขับเคลื่อนทางยุทธศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ จนนำมาสู่การริเริ่มการพูดคุยสันติภาพภายใต้กรอบกฎหมาย ซึ่งไม่มีใครพูดว่าผิดกฎหมายและไม่ชอบธรรม

เพียงแต่ระหว่างทางเดินของกระบวนการสันติภาพ ยังมีความไม่สมบูรณ์จึงเกิดข้อกังขาหรือคำถามขึ้นมา ส่วนภาคประชาสังคมเองก็พยายามสร้างพื้นที่สาธารณะที่เป็นพื้นที่กลางหรือพื้นที่ปลอดภัยขึ้นมาในสถานการณ์ขณะนี้ด้วย

 

เสียงผู้หญิงบนโต๊ะสันติภาพ

6.มีโอกาสหรือไม่ที่ผู้หญิงจะร่วมเข้าอยู่ในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพด้วย ในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับผลกระทบ โดยข้อเสนอที่ให้ยกโทษผู้กระทำผิดที่ก่อความรุนแรงนั้น คนในครอบครัวซึ่งมีผู้หญิงอยู่ด้วยน่าจะมีโอกาสได้สะท้อนความเห็นต่อข้อเรียกร้องนี้ได้

ว่าที่ ร..เลิศเกียรติ - ก่อนหน้านี้มีการเสนอให้มีผู้หญิงเข้าร่วมการพูดคุยด้วย แต่ฝ่าย BRN บอกว่ายังไม่พร้อม ซึ่งในกลุ่มเขามีตัวแทนผู้หญิงด้วย เพียงแต่ไม่ได้มานั่งอยู่บนโต๊ะเจรจาและเอ่ยชื่อไม่ได้

ส่วนเรื่องการปล่อยตัวนักโทษ ทางเราห่วงใยว่าตัวแทนไทยพุทธจะมีความรู้สึกมาก หากผู้ต้องขังคดีความมั่นคงถูกปล่อยออกมาโดยไม่มีกติกา เพราะฉะนั้นต้องให้ BRN แสดงความชัดเจนในหลายคดีว่า คดีไหนไม่เกี่ยวข้องกับ BRN บ้าง แล้วใครเป็นคนทำ

ประการสอง ที่เรากำลังดูอยู่ซึ่งสำคัญอย่างยิ่ง คือ การประสานงานกับกระบวนการยุติธรรม คดีความมั่นคงที่มีผู้ต้องหาหลายคนที่อยู่ในชั้นการพิจาณาของอัยการว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ และมีพยานหลักฐานชุดเดียวกัน หากมีคนที่ไม่ถูกสั่งฟ้องก็ไม่ต้องสั่งฟ้องไปทั้งชุด ขณะนี้มีอยู่ 100 กว่าคนที่อยู่ในกรอบการพิจารณา ในเมื่อหลักฐานอ่อนผู้ต้องหาคดีเดียวกันก็ไม่ต้องเสียเวลาต่อสู้คดี อะไรที่ผ่ายบริหารทำได้ก่อนก็จะทำ

 

ใครเป็นต่อ – ใครเป็นรอง

7.ความเป็นต่อของรัฐบาลไทยและความเป็นรองของ BRN เพื่อให้กระบวนการเดินหน้าได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ฝ่ายBRNจะมีเอกสิทธิ์ในการเดินทางเชื่อมโยงกับพื้นที่ได้หรือไม่

..สมเดช - BRN มีความรู้พร้อมกว่าฝ่ายรัฐไทย แสดงว่า BRN มีการเตรียมการ มีการทำโรดแมป (แผนที่นำทาง) แต่ฝ่ายไทยเป็นองคาพยพใหญ่ที่ต้องใช้เวลาชี้แจงทำความเข้าใจ

ส่วนเรื่องเอกสิทธิ์คุ้มครองการเดินทางนั้น BRN เป็นองค์กรลับ จะให้เขากล้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นกันนั้นอาจเป็นเรื่องยาก จำเป็นต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยก่อนเพื่อให้เขาแสดงตัว เมื่อถึงขั้นนั้นถ้าทุกส่วนต้องการอะไรก็ให้เสนอออกมาได้เต็มที่

ทำไมมีการออกใบปลิวเรื่องเอกราช ต้องเข้าใจว่า RKK (ชื่อเรียกกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่) ถูกบ่มเพาะมาเป็นสิบๆ ปีในเรื่องเดียวว่าต้องได้เอกราช ต้องสู้แนวเดียว แต่ขบวนการมีการต่อสู้หลายระดับและโครงสร้างของ BRN ก็มีหลายระดับ จึงเป็นไปได้ที่จะไม่เข้าใจเกี่ยวกับออโตโนมี เราต้องเข้าใจและให้โอกาส RKK

 

ถอนทหารแลกวางอาวุธ

8.เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะถอนทหารออกจากพื้นที่ แล้วให้ BRN วางอาวุธ แล้วทำประชามติถามประชาชนในพื้นที่ว่าต้องการสันติภาพในรูปแบบไหน

ว่าที่ร..เลิศเกียรติ - ต้องถามประชาชนว่า สันติภาพสิ่งที่ประชาชนต้องการคืออะไร ต้องการสันติภาพในรูปแบบไหน กระทั่งในช่วงเดือนรอมฎอนก็พยายามจะลดเหตุ แต่ก็มีการสะดุดอยู่ช่วงหนึ่ง แม้กระทั่งเวลาไปพูดคุย พยามอ้างความต้องการของประชาชนในแนวทางของสันติภาพ ซึ่งข้อเสนอ 5 ข้อ หากปฏิบัติให้เห็นผล จะส่งผลให้เขาจะเลิกก่อเหตุแต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร

ผศ.ดร.ศรีสมภพ - กระบวนการในขั้นแรกเป็นการสร้างความมั่นใจ ซึ่งเมื่อมีความไว้ใจกันแล้ว จากนั้นจึงจะอยู่ในขั้นยุติความรุนแรง การวางอาวุธหรือการถอนกำลัง มีความพยายามเป็นขั้นตอน เช่น รอมฎอนสันติภาพ ทำได้ระยะแรกแล้วก็เกิดสะดุด ดังนั้นต้องสร้างพื้นที่ให้เกิดความเชื่อมั่นไว้วางใจกัน ตอนนี้เรายังอยู่ระหว่างกระบวนการสร้างความมั่นใจ

ส่วนการทำประชามติในทางกฎหมายสามารถทำได้อยู่แล้ว แต่ต้องผ่านกระบวนการที่กล่าวในขั้นต้นไปก่อน ในตอนนี้ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ความรุนแรงลดลง แล้วสร้างความไว้ใจให้เกิดขึ้น ถ้าทำประชามติในตอนนี้ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีผลออกมาอย่างไร คนจะยอมลงมติตามความต้องการหรือยอมเพราะอำนาจปืนและอำนาจเงิน

ความจริงตอนนี้ฮัซซัน ตอยิบ สามารถมานั่งตอบคำถามอยู่ในห้องนี้ได้ แต่ที่ไม่มาเพราะยังไม่เกิดความไว้ใจ เพราะฉะนั้นต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ตัวแทนฝ่ายตรงข้ามกันสามารถมาพูดคุยกันได้

 

พื้นที่กลางในความหมายของรัฐ

9.พื้นที่กลางในความหมายของ กอ.รมน. และฝ่ายการเมืองต่างกันอย่างไร ซึ่งพื้นที่กลางที่กล่าวถึงข้างต้น หมายรวมถึงพื้นที่ของสื่อด้วย เช่น กรณีที่มีสื่อพยายามนำเสนอข้อมูลเพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐมองว่าสื่อดังกล่าว ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายขบวนการ

ว่าที่ ร..เลิศเกียรติ - ตอนนี้พยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัย เช่น การยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน(พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548) ในบางพื้นที่ที่มีเหตุรุนแรงน้อย ซึ่งตอนนี้ศอ.บต.และฝ่ายความมั่นคงกำลังคุยกัน หมายถึงเจ้าหน้าที่ก็ต้องลดการปฏิบัติการลงด้วย

"ยืนยันว่าศอ.บต.เปิดพื้นที่ให้คนเห็นต่างอย่างเต็มที่ เราให้โอกาสได้ทำข่าวได้อย่างเต็มที่ เพราะทำให้เห็นมุมมองของรัฐและทำให้เห็นมุมมองของผู้เห็นต่าง แม้บางครั้งที่มีการประชุม แต่ไม่ได้เชิญ ศอ.บต.ก็จะไป ซึ่งการที่นายฮัสซัน ตอยิบ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อในพื้นที่โดยตรง ศอ.บต.ก็ไม่ได้ขัดข้องเลย"

..สมเดช - พื้นที่กลางในมุมมองของฝ่ายความมั่นคง คือ BRN สามารถเปิดตัวมากขึ้นจากที่ปัจจุบันรู้จักเพียงนายฮัซซัน ตอยิบ กับตัวแทนในการพูดคุย 5-6 คนเท่านั้น โดยให้มาเลเซียเป็นพื้นที่พูดคุยกันได้ เพราะผมมั่นใจในมาเลเซียว่ามีแรงจูงใจให้เกิดความสงบในพื้นที่ ทุกฝ่ายมองมาเลเซียเปลี่ยนไปจากผู้ให้พื้นที่หลบหนีเป็นผู้ต้องการให้ความสงบมากขึ้น

แต่พื้นที่สาธารณะนี้ เรายังละเลยในกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มปฏิบัติหรือกลุ่มระดับล่าง ซึ่งถ้ามีนโยบายที่สามารถพูดคุยกันอย่างชัดเจน หรือใน Track 2 และ Track 3 ถ้าสร้างพื้นที่ในส่วนนี้ได้จะเป็นพื้นที่กลางมากขึ้น

ประเด็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ ได้มีการสั่งการในระดับนโยบายลงมาในทุกระดับ แต่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ยังขัดข้องหรือไม่เป็นรูปธรรม ถ้านักศึกษาไปพูดคุยและเชิญเจ้าหน้าที่หรือฝ่ายอื่นเข้าไปร่วมด้วย บางทีหน่วยข่าวก็รายงานเกินความจริงว่ามีการปลุกระดม ถ้าได้มีการแจ้งกันก่อนก็น่าจะเข้าใจกันมากขึ้น

"สำหรับประเด็นพื้นที่กลางของสื่อ กรณีที่เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปปิดล้อมตรวจค้น หรือไปประชิดตัวนักศึกษาหรือสื่อ ในกรณีที่เล่ามา ให้ผู้นั้นรีบเข้าไปทำความรู้จักกับเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยดังกล่าวทันที เพื่อเป็นการเปิดตัวให้เขารู้จักเรา"

สื่อในฐานะเป็นพื้นที่สาธารณะที่ต้องการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ เมื่อมีการสื่อสารบางเรื่องที่ล่อแหลมก็เพื่อให้เปิดประเด็นคุยกัน เช่น การสัมภาษณ์ฮัสซัน ตอยิบ แต่กลายเป็นว่าสื่อถูกกล่าวหาว่าเป็นกระบอกเสียงให้ BRN ถ้ารัฐยังมองในมิตินี้อยู่ ก็แสดงว่ายังห่างไกลจากการสร้างสันติภาพ

 

ผู้สูญเสียกับการปฏิบัติของรัฐ

10.การเข้าตรวจค้นหรือปิดล้อมบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่เคยถูกคดีหรือเคยมีหมายจับ หรือตกเป็นผู้ต้องสงสัย เจ้าหน้าที่ควรให้เกียรติชาวบ้านหรือคนในพื้นที่มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูญเสีย

..สมเดช - กรณีล่าสุดคือการค้นบ้านของก๊ะแยนะ สะแลแม (ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ตากใบ) ถามว่า ถ้าเรานำมาสร้างความกดดันสุดท้ายก็จะเป็นความขัดแย้ง หรือบางครั้งอาจความบกพร่องของหน่วยงานรัฐนั้นที่ได้รับข้อมูลจากผู้ไม่หวังดี

ต่อกรณีผู้สูญเสีย ไม่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือชาวบ้านหรือฝ่ายปฏิบัติการ ต้องเข้าใจว่าบางส่วนถูกบังคับให้มาปฏิบัติการเช่นกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมาทำความรู้จักกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

 

สื่อเลือกข้างกับเสรีภาพในการแสดงออก

11.สื่อเลือกข้างชาวบ้าน เช่น การเปิดเวที Bicara Patani แล้วถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐ เรียกว่าเป็นพื้นที่กลางได้หรือไม่ ล่าสุดมีนักศึกษาที่ทำกิจกรรมวันสันติภาพสากลถูกชายฉกรรจ์ตรวจค้น 5 คน รวมทั้งมีเพื่อนๆสื่อก็ถูกคุกคาม แสดงว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าใจเรื่องเสรีภาพการแสดงออกหรือไม่

ว่าที่ ร..เลิศเกียรติ - ศอ.บต. ตั้งข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า การหนุนเสริมสันติภาพต้องอาศัยสื่อช่วยในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ ไม่ได้ปิดกั้น สามารถทำข่าวได้เต็มที่ เพื่อให้เห็นกลไกของรัฐและแนวคิดของคนเห็นต่าง ยุคนี้สามารถพูดเรื่องเอกราชได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

อยากให้สื่อมีส่วนร่วมสะท้อนเรื่องราวต่อสาธารณะ นำเสนอเนื้อหาเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย การที่สื่อไปสัมภาษณ์นายฮัสซัน ตอยิบ เราชื่นชมและอยากให้ไปสัมภาษณ์มาอีกหลายคน เพื่อรัฐจะได้เข้าใจความคิดของเขามากขึ้น

เรื่องที่สื่อและนักศึกษาถูกคุกคาม ทางเลขาธิการศอ.บต.ได้รับการร้องเรียนเรื่องนี้มาบ่อย เราก็พยายามขอให้สื่อปลอดภัยและไม่ขัดข้องที่สื่อจะเสนอแนวคิดต่างๆ ส่วนมาตรการดูแลความปลอดภัยสื่อเป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคง

..สมเดช - ทั้งหมดน่าจะเป็นเรื่องการไม่รู้จักกันมากกว่า แสดงว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่รู้จักท่าน ถ้าท่านระแวงเจ้าหน้าที่ก็ขอให้ไปหาเขาเลย เพื่อจะได้รู้จักกัน การสร้างความรู้จักกันจะช่วยลดความหวาดระแวงต่อกัน

 

สิทธิภายใต้กฎหมายพิเศษ

12.ภายใต้กฎหมายพิเศษ ชาวบ้านมีสิทธิเสรีภาพในการพูดได้มากน้อยขนาดไหน อะไรที่นักศึกษา ทำได้ ชาวบ้านทำได้ อะไรที่อาจจะมีผลกระทบ

ว่าที่ ร..เลิศเกียรติ - เท่าที่ตรวจสอบหลังการเปิดพื้นที่พูดคุย น้องนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม ได้สะท้อนแนวคิดต่างๆ รวมทั้งแนวคิดสุดโต่งถึงรัฐเอกราช ฝ่ายความมั่นคงก็ไม่ได้ไปจัดการอย่างไร

เรื่องการเปิดพื้นที่แสดงความเห็นต่างคือการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ อยากให้ทุกฝ่ายมีจิตใจเปิดกว้างจึงจะไปถึงเป้าหมายได้ เพราะพยายามทำความเข้าใจกับหลายฝ่าย หลายคนที่สะท้อนมาว่าความเห็นต่างเป็นเรื่องต้องรับฟัง เพราะหลายเรื่องนำกลับมาใช้ได้

ยังไม่มีการใช้กฎหมายพิเศษมาจัดการเรื่องนี้ มีแต่การเสนอให้ติดตามเฝ้าระวัง เราก็บอกว่าอย่าเลย ให้เปิดพื้นที่ขึ้นมาว่าใครเห็นต่างในประเด็นใด อย่างไร และยังไม่มีให้ถูกจับด้วยกฎหมายพิเศษ

 

การนิรโทษกรรมผู้ถูกคดี

13.ข้อที่ 5 ของ BRN ที่ให้ปล่อยผู้ถูกคดีทั้งหมดต่างกับการนิรโทษกรรมคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์อย่างไร

ว่าที่ ร..เลิศเกียรติ - คนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ในชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ป.วิอาญา) ต้องดำเนินการให้ถึงที่สุดใครก็ก้าวล่วงไม่ได้ ขณะที่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่อยู่ในฝ่ายบริหารจะละเว้นได้ก็ต้องมีกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ต้องพิสูจน์ว่าคนเหล่านั้นไม่ได้ทำผิดจริง ต้องดูเป็นรายกรณี

ข้อเสนอของBRNที่ให้ปล่อยผู้ต้องหาคดีความมั่นคงทุกคดีโดยไม่มีเงื่อนไข เราต้องมาดูกรอบกฎหมายของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการอำนายความยุติธรรมเพื่อเอื้อต่อกระบวนการสันติภาพชัดเจนมาก พยายามทำเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด

 

ส่วนคำถามอื่นๆ เช่น การพูดคุยใช้เวลายาวนาน แต่ชาวบ้านทนไม่ไหวต่อการสูญเสีย ถึงเวลาหรือยังที่จะเจรจาอย่างเป็นทางการ

ดร.โนเบิร์ต กล่าวปิดท้ายว่า คำถามแบบนี้เกิดขึ้นบนโต๊ะเจรจาทั่วโลก และต้องย้อนกลับไปถามว่าประชาชนต้องการอะไร เช่น กรณีความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ มีการตั้งคณะกรรมการจากคู่เจรจาทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อสำรวจความต้องการประชาชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยและต้องใช้เวลาหลายปี แต่ก็เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในอนาคต

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เขื่อนแม่วงก์กับคนเสื้อแดง

Posted: 26 Sep 2013 11:19 AM PDT

ข่าวเรื่องเขื่อนแม่วงก์ ได้กลายเป็นกระแสใหญ่อีกครั้ง เมื่อ คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้เป็นผู้นำในการรณรงค์ โดยใช้วิธีการเดินเท้าจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ นครสวรรค์ โดยมีปลายทางที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มาบุญครอง การเดินรณรงค์นี้ เป็นระยะทาง 338 กิโลเมตร เริ่มเดินทางตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน ใช้เวลา 13 วัน โดยมาถึงกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 22 กันยายน เป้าหมายของการรณรงค์ครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนและคัดค้านขบวนการอีเอชไอเอ.(รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม)ของเขื่อนแม่วงก์ ประเด็นสำคัญของการคัดค้าน คือ การสร้างเขื่อนนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อผืนป่าอย่างมากมาย อีกทั้งไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด เพราะเขื่อนที่สร้างแล้วก็ยังรับนำได้เป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมากของน้ำที่ท่วม การสร้างเขื่อนจึงไม่มีความคุ้มค้าต่อการทำลายสภาพแวดล้อม

ข้อมูลจากคุณนณณ์ ผาณิตวงศ์ อธิบายว่าเขื่อนแม่วงก์เป็นเขื่อนที่มีปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร ค่าก่อสร้างปัจจุบัน อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท จะก่อให้เกิดน้ำท่วม 2 % ของป่าแม่วงก์ แต่บริเวณนี้เป็นป่าที่ราบริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการหากินและ ขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในฤดูแล้ง ในปัจจุบันประเทศไทยเหลือป่าในพื้นที่ราบอยู่น้อยมาก การสร้างเขื่อนทำให้ป่าถูกทำลาย 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ 500,000 ต้น เป็นไม้สัก 50,000 ต้น ป่าแม่วงก์เป็นแหล่งสัตว์อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าราว 549 ชนิด ปลา 64 ชนิด ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน การต่อต้านการสร้างเขื่อน จึงเป็นการรักษาป่าไม้และสภาพธรรมชาติเอาไว้

ปรากฏว่า ในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน เวลาราว 15.00 น. ที่บริเวณด้านหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ เสื้อแดงกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(กวป.) ได้จัดงาน"เปิดโปง สนับสนุน ผลักดัน" ในโอกาส 7 ปี รัฐประหาร เพื่อต่อต้านองค์กรอิสระและสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 และผลักดันจัดตั้งสภาประชาชนแห่งประเทศไทย" ซึ่งไม่ได้มีการเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ แต่สำนักข่าวทีนิวส์ ได้รายงานว่า ขณะที่กลุ่มคัดค้านเขื่อนแม่วงก์เคลื่อนขบวนมานั้น "ได้มีกลุ่มเสื้อแดงชูป้ายสนันสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ หวังความปั่นป่วนขึ้น ที่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์  แต่ในเวลานี้ยังไม่มีเหตุการณ์ปะทะกันเกิดขึ้น" พร้อมกับเสนอภาพกลุ่ม กวป. ที่ชุมนุมหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ทั้งที่เส้นทางเคลื่อนขบวนของกลุ่มต่อต้านเขื่อนก็ไม่ได้ผ่านเซนทรัลเวิร์ด หมายถึงว่า สำนักข่าวทีนิวส์เสนอข่าวโดยไม่ต้องมีข้อเท็จจริง ต่อมา จึงลบข่าวนี้ออกไป แต่ยังลงอีกข่าวว่า "สมศักดิ์ เจียมเฮี้ยนไม่เลิกฉะพวกค้านเขื่อนแม่วงก์อีเดียด ขณะเพจแดง ไล่ไปค้านยึดภูเขา ยึดสปก. พร้อมเย้ยถ้าไม่สร้างเขื่อน จะรักษาป่าได้ไหม" ทั้งที่ในเนื้อข่าว ก็ไม่มีสาระที่จะชี้ได้ว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลจะไปโจมตีพวกต่อต้านเขื่อนแต่อย่างใด เพียงแต่ยกเพจคนเสื้อแดงมาพียงกรณีเดียวมาอ้างว่าคนเสื้อแดงสนับสนุนการสร้างเขื่อน

ต่อมา สำนักข่าวไทยโพสต์ได้นำข่าวคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ไปรายงานต่อโดยพาดหัวว่า  "สุดอุบาทว์ เสื้อแดงนำคนมาต้านพร้อมสนับสนุนให้สร้าง" นอกจากนี้ ยังลงอีกข่าวในพาดหัวว่า "ภาพชัดๆ!! เนติวิทย์ เด็กติ่งแดง ร่วมค้านเขื่อนแม่วงก์" โดยอธิบายในเนื้อข่าวว่า นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล บุคคลที่เคยสนับสนุนให้ปฎิรูปการศึกษา และข้อเสนอให้ยกเลิกความเป็นไทย ล่าสุด ได้สร้างความฮือฮาด้วยการเข้าร่วมกับกลุ่มคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ของนาย ศศิน ซึ่งแนวคิดต่างจากพวกเสื้อแดงและรัฐบาล

สรุปแล้วสื่อมวลชนฝ่ายขวาเหล่านี้ พยายามสร้างภาพให้ได้ว่า คนเสื้อแดงจะต้องหนุนการสร้างเขื่อน ถ้าใครที่มีแนวโน้มทางเสื้อแดงมาต่อต้านเขื่อนหมายถึงแหกคอก และการเสนอข่าวเหล่านี้ก็ไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่รอบด้านอะไร แต่ใช้วิธีการสื่อสารมวลชนที่เรียกว่า"เต้าข่าว"เป็นหลัก

ก่อนอื่นผู้เขียนเองในฐานะคนเสื้อแดงระดับ"กระบือแดง"คนหนึ่ง ต้องขอเรียนให้ทราบว่า กลุ่มคนเสื้อแดงนั้นเป็นคนกลุ่มใหญ่ จึงมีความเห็นที่หลากหลายได้ ไม่มีความจำเป็นเลยที่คนเสื้อแดงทั้งหมดจะต้องเห็นด้วยกับเขื่อนแม่วงก์ ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ไม่เคยเอาเขื่อนเสมอมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล บก.ลายจุด หรือแม้กระทั่งแกนนำ นปช.ก็ยังไม่มีใครสักคนที่ออกมาแถลงสนับสนุนเขื่อนแม่วงก์ แต่แน่นอน มีคนเสื้อแดงและ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลบางส่วน สนับสนุนการสร้างเขื่อน ซึ่งคงไม่อาจสรุปเป็นระเบียบวาระอันชัดเจนได้ว่า คนเสื้อแดงจะต้องเอาเขื่อนแม่วงก์ ความเชื่อที่ว่า คนเสื้อแดงจะต้องสนับสนุนรัฐบาลทุกเรื่องทุกนโยบาย เป็นเรื่องเข้าใจเอาเองของพวกสื่อฝ่ายขวาและกลุ่มสลิ่มหลากสี เพราะพวกนี้ไม่เคยสนใจว่า คนเสื้อแดงจำนวนมากไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐบาลในเรื่องคุมขังนักโทษการเมือง วางเฉยต่อเรื่องมาตรา 112 และปฏิรูปการเมืองล่าช้า และเรื่องคนเสื้อแดงติดคุกจะกลายเป็นประเด็นแตกหักระหว่างรัฐบาลกับคนเสื้อแดงจำนวนมากเสียด้วยซ้ำ ที่เป็นดังนี้เพราะสื่อฝ่ายขวาและกลุ่มสลิ่มหลากสี ก็ไม่เคยจนในประเด็นสิทธิของประชาชนเช่นกัน

สำหรับเรื่องเขื่อนแม่วงก์ ขอให้ลองมาดูข้อมูลอีกด้านหนึ่ง จากรายงานข่าวเมื่อวันที่ 21 กันยายนว่า นายประสาท ตันประเสริฐ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคชาติพัฒนา ได้นำกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อ.ลาดยาว อ.แม่วงก์ อ.ชุมตาบง อ.แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 50 คน ยื่นหนังสือสนับสนุนการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยนายประสาท กล่าวว่า จะมีการจัดการชุมนุมรวมพลคนรักเขื่อน บริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอแม่วงก์ ซึ่งตนคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมในหลักหมื่น และอยากเชิญให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี ไปพบกับประชาชนผู้ชุมนุมด้วย

สำหรับ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ได้อธิบายข้อมูลว่า เขื่อนแม่วงก์เคยเสนอเมื่อ 15 ปีก่อน ในฐานเขื่อนชลประทาน โดยกรมชลประทานประเมินไว้ว่าจะสามารถส่งน้ำไปในพื้นที่เกษตรได้สามแสนไร่ เวลานั้นก็ถูกคัดค้านเพราะทำให้สูญเสียป่าหมื่นกว่าไร่ สัตว์ป่าก็ต้องหนีน้ำท่วมจึงไม่คุ้มกับการสร้างเขื่อน ในขณะนั้น คุณปลอดประสพเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ก็ไม่เชื่อว่าโครงการนี้จะเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ เพราะพื้นที่ในจังหวัดอุทัยธานี นั้น เป็นพื้นที่ชัน ไม่มีพื้นที่ชลประทาน คุณปลอดประสพก็คัดค้านด้วย โครงการก็ล้มไป แต่มาวันนี้โครงการเขื่อนถูกรื้อฟื้น เพราะแม่น้ำแม่วงก์ไหลลงแม่น้ำสะแกกรัง และมาไหลลงเจ้าพระยา ในฤดูน้ำ จะมีน้ำทั้งจากแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน รวมทั้งแม่น้ำสะแกกรังมาลงแม่น้ำเจ้าพระยา จนแม่น้ำเจ้าพระยารับไม่ไหว การสร้างเขื่อนรับน้ำไว้ก่อน จะเป็นการช่วยภาระของเขื่อนชัยนาท เพื่อจะบรรเทาน้ำท่วมในที่ลุ่มแม่น้ำ คือ ปทุมธานี สิงห์บุรี อ่างทอง และ อยุธยา คุณปลอดประสพเห็นว่า การบรรเทาน้ำท่วมเป็นสิ่งที่คุ้มค่า เพราะความเสียหายจากน้ำท่วมเมื่อ พ.ศ.2554 เป็นจำนวน 1.4 ล้านล้าน เป็นเรื่องมโหฬารมาก รัฐบาลจึงต้องวางแผนในการแก้ไข ส่วนที่ผู้คัดค้านเห็นว่า เขื่อนแม่วงก์กักเก็บน้ำได้น้อย คุณปลอดประสพอธิบายว่า "ไปคิดแบบนั้นไม่ได้ เพราะเขื่อนเล็กเขื่อนใหญ่ มารวมกัน ก็จะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ทุกเขื่อนเล็กใหญ่มีความสำคัญเท่ากัน" ในกรณีที่ทำให้ป่าเสียหาย ก็สามารถทำโครงการฟื้นฟูป่าโดยการปลูกทดแทน 3 เท่า ก็จะมีป่าที่สมบูรณ์ขึ้นได้

สรุปแล้ว เรื่องเขื่อนแม่วงก์คงจะเป็นประเด็นที่ถกเถียงและรณรงค์กันต่อไป แต่อยากจะเสนอให้รณรงค์โดยพิจารณาคนที่เห็นต่างกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ การไม่เห็นด้วยกับคุณปลอดประสพคงไม่เป็นปัญหา แต่ไม่ควรใช้วิธีลดคุณค่าความเป็นมนุษย์(dehumanize)ทั้งคุณปลอดประสพและคนเสื้อแดง และต้องช่วยกันปฏิเสธสื่อเต้าข่าว สังคมไทยก็จะอุดมสติปัญญาขึ้นได้

 

 

ที่มา: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 431  28 กันยายน 2556

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหพันธ์สตรีทวายแจง ถูกละเมิดสิทธิจากโครงการทวาย ร้องระงับโครงการ

Posted: 26 Sep 2013 10:55 AM PDT

(26 ก.ย.56) สหพันธ์สตรีทวาย (Tavoyan Women's Union) ออกแถลงการณ์ ระบุถึงการละเมิดสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย พร้อมเรียกร้องให้ระงับโครงการโดยทันที โดยมีรายละเอียดมีดังนี้

(ย่างกุ้ง) การเปิดตัววิดีทัศน์ของสหพันธ์สตรีทวายวันนี้ ได้เผยถึงการละเมิดสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และเรียกร้องให้ระงับโครงการโดยทันที

วิดีทัศน์ความยาว 15 นาที เผยให้เห็นภาพชายฝั่งทะเลทวายที่บริสุทธิ์สวยงามกำลังถูกทำลาย และมรดกทางวัฒนธรรมของชาวทวายกำลังถูกคุกคาม โดยโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศพม่า และบริษัท อิตาเลียนไทยฯ มาตั้งแต่ปี 2551

ชาวบ้านจำนวน 12,000 คน จาก 6 หมู่บ้านต้องถูกโยกย้ายหลังจากฤดูฝนนี้สิ้นสุดลง เพื่อหลีกทางให้กับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1  โดยรวมแล้ว มีชาวบ้านทั้งหมด 30,000 คนจาก 19 หมู่บ้านชาวบ้านได้เล่าเรื่องราวความอัดอั้น ว่าพวกเขาไม่ต้องการที่จะโยกย้าย และไม่ต้องการสูญเสียที่ดินทำกินที่ปลูกยางพารา มะม่วงหิมพานต์ และหมาก มาตลอดระยะเวลาหลายปี  ชาวบ้านปฏิเสธค่าชดเชย และปิดถนนไม่ให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทเข้าไปสำรวจที่ดิน

นอกจากนี้รถก่อสร้างของบริษัทยังได้สร้างความเสียหายให้กับถนนของชุมชน เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรของชาวบ้าน และการเดินทางไปโรงเรียนของเด็ก ๆ  ชาวบ้านได้ร้องต่อบริษัทให้ซ่อมแซมถนนต่าง ๆ หลายต่อหลายครั้ง แต่บริษัทกลับเพิกเฉย ชาวบ้านจึงจำต้องซ่อมแซมถนนกันเอง ในขณะเดียวกัน ถนนที่บริษัทสร้างขึ้นใหม่สำหรับโครงการ ยังได้ขวางทางน้ำที่มีอยู่เดิม จนก่อปัญหาน้ำท่วม และสร้างความเสียหายให้กับนาข้าวของชาวบ้าน

ชาวบ้านที่ไม่พอใจกับการละเมิดสิทธิเหล่านี้กำลังแข็งขืนและหาทางตอสู้คัดค้านด้วยตัวเอง หญิงชาวบ้านจากหมู่บ้านมะยินจี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกเสนอให้เป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม ได้สร้างเครื่องกีดขวางเพื่อปิดถนนที่ตัดผ่านสวนมะม่วงหิมพานต์ของเธอ  เธอเล่าว่า บริษัทสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยที่ได้ทำลายสวนมะม่วงหินพานต์ของเธอ แต่กลับไม่เคยให้อะไรเลย

วิดีทัศน์ที่นำเสนอในวันนี้ได้หยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการขนาดใหญ่  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบจากมลพิษที่จะเกิดจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และโรงไฟฟ้า  พวกเรา - สหพันธ์สตรีทวาย ขอเรียกร้องให้ระงับโครงการอย่างเร่งด่วน  และเพื่อให้ชาวบ้านได้รับสิทธิตามหลักการยินยอมที่ได้รับบอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (Free Prior and Informed Consent) จากโครงการใด ๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

"พวกเราไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา แต่ชาวทวายต้องมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนา และในทรัพยากรธรรมชาติของเรา",  ซูซูเฉว่ย  เลขาธิการสหพันธ์สตรีทวาย กล่าว


หญิงจากหมู่บ้านมะยินจี ประท้วงบริษัท อิตาเลียนไทยฯ
ด้วยการปิดถนนที่ตัดผ่านและทำลายสวนมะม่วงหิมพานต์ของเธอ
 


ถนนของชุมชนถูกรถบรรทุกขนาดใหญ่ของบริษัทใช้สัญจรไปมาอยู่ตลอดเวลาจนสภาพใช้การไม่ได้
ชาวบ้านได้ร้องต่อบริษัทให้ซ่อมแซมถนนต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง แต่บริษัทกลับเพิกเฉย 
 


"เราปลูกยางพารา มะม่วงหิมพานต์ หมาก มะพร้าว น้อยหน่า ฝรั่ง มังคุด เราไม่สามารถย้ายออกจากพื้นที่และทิ้งที่ดินเหล่านี้ไป"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

2 เดือนน้ำมันรั่ว ประมงพื้นบ้าน-ท่องเที่ยวโอด รายได้หด จี้ตั้ง กก.อิสระสอบ

Posted: 26 Sep 2013 10:36 AM PDT

'กลุ่มติดตามน้ำมันปตท.รั่ว' เตรียมลงพื้นที่ระยอง 30 ก.ย. ชวนชาวบ้านร่วมโชว์ผลกระทบวิกฤตน้ำมันรั่ว หลังรัฐไร้คำตอบตั้งกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบ

(26 ก.ย. 56) นางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย ตัวแทนกลุ่มติดตามน้ำมัน ปตท.รั่ว กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ก.ค. ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก แต่รัฐบาลก็ยังไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยก่อนหน้านี้ทางกลุ่มได้ยื่นรายชื่อประชาชนจำนวน 32,000 คนที่ลงชื่อผ่าน Change.org สนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น แต่รัฐบาลยังคงเมินเฉย ซึ่งแสดงถึงความไม่จริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหา ยืนยันว่าทางกลุ่มฯ จะเดินหน้ากดดันให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้จนถึงที่สุด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่มีความชัดเจน และมีมาตรการควบคุมตรวจสอบไม่ให้เหตุนี้เกิดซ้ำอีกในอนาคต

ทั้งนี้ทางกลุ่มฯ จะลงพื้นที่ระยองในวันที่ 30 ก.ย. เพื่อร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อจัดงาน "วิกฤตน้ำมันรั่ว : 2 เดือนผ่านไป การฟื้นฟูเสม็ดสำเร็จแล้วจริงหรือ" โดยชาวบ้านจะจัดกิจกรรมทำความสะอาดทะเล ด้วยการเก็บก้อนน้ำมันทาร์บอล กระดองหมึกและซากสัตว์น้ำๆ เพื่อแสดงถึงผลกระทบของเหตุการณ์น้ำมันรั่วว่ายังคงมีอยู่ รวมถึงมีเวทีสาธารณะโดยประชาชนในพื้นที่และนักวิชาการเพื่อพูดคุยปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย


นายจตุรัส เอี่ยมวรนิรันดร์ นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน จ.ระยอง กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้เพื่อจะบอกความจริงให้กับสังคมรู้ว่า สภาพเหตุการณ์จริงที่ระยองยังไม่ปกติเหมือนในโฆษณา ที่ ปตท.กำลังป่าวประกาศอยู่ตอนนี้ โดยมีเต่าตนุซึ่งเป็นสัตว์อนุรักษ์และหมึกกระดองตาย รวมถึงยังมีก้อนน้ำมันลอยมาที่ชายหาดอยู่เรื่อยๆ

"ดังนั้นอยากให้ ปตท. มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่านี้ ไม่ใช่แค่การโฆษณาชวนเชื่อ เพราะฉะนั้นต้องมีการตรวจสอบผลกระทบ ถ้ายังไม่แน่ใจอย่าเพิ่งให้นักท่องเที่ยวมา เพราะหากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่นี่ แล้วกินอาหารที่มีการปนเปื้อน หรือกลับไปแล้วป่วยเป็นโรคมะเร็ง ใครจะรับผิดชอบ พวกเราเป็นชาวประมงได้รับผลกระทบและเจ็บปวดที่หาปลาไม่ได้ แต่เราก็ไม่สบายใจ ถ้าปลาที่เราหาได้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เราถึงเรียกร้องให้มีการค้นหาความจริง มันแปลว่าพวกเรามีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่า ปตท. หรือเปล่า" นายจตุรัส กล่าวพร้อมเรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ เนื่องจากทุกวันนี้ไม่รู้เลยว่าน้ำมันรั่วไหลเท่าไหร่กันแน่ เพราะ ปตท. ทำลายหลักฐานด้วยการไม่อายัดเรือไว้ตรวจสอบ

นายบุญปลอด สรเกิด ชาวประมงพื้นบ้าน กล่าวว่า ก่อนเหตุน้ำมันรั่วจะมีรายได้เฉลี่ยอย่างน้อย 60,000 บาทต่อเดือน แต่ตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว ไม่มีรายได้เข้ามาเลย เพราะไม่มีปลา เมื่อสัปดาห์ที่แล้วออกเรือได้ 3 วัน ได้ปลาหมึกแค่ 12 กิโลกรัม กับปลาอินทรีย์อีก 1 ตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้อย่างน้อยต้องได้วันละ 20-30 กิโลกรัม สภาพแบบนี้ทำให้รู้สึกท้อแท้มาก เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ทะเลจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

ขณะที่นายสันต์ เข็มจรูญ ชาวประมงพื้นบ้าน กล่าวว่า หลังจากวิกฤตน้ำมันรั่ว ทำให้เสียโอกาสในการทำประมงอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถหาปลาได้เหมือนเดิม และอยากให้ผู้ที่รับผิดชอบมาให้ข้อมูลเรื่องผลกระทบจากสารเคมี เพราะตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าปลาที่จับได้มีการปนเปื้อนหรือไม่ ทำให้รู้สึกลำบากใจ กลัวว่าปลาที่จับมาได้จะมีอันตรายต่อผู้บริโภค และไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร จึงอยากให้มีการแก้ไขโดยเร่งด่วนก่อนที่จะสายไปกว่านี้

ด้านนายวันชัย สุนานันท์ พ่อค้าส้มตำริมหาดแม่รำพึง กล่าวว่า ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วสามารถขายอาหารได้วันละ 1,000 - 2,000 บาท หากเป็นช่วงวันหยุดจะได้มากกว่าวันละ 3,000- 4,000 บาท แต่หลังเหตุการณ์น้ำมันรั่วก็ไม่สามารถขายของได้เหมือนเดิม เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว เหลือรายได้แค่อาทิตย์ละ 500- 1000 บาท มิหนำซ้ำผ่านไปแล้ว 2 เดือน ทางครอบครัวก็ยังไม่ได้รับค่าชดเชยจาก ปตท. ที่จะจ่ายเท่ากับค่าแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ 9,000 บาท ซึ่งไม่เป็นธรรมเพราะความเสียหายจริงมันมากกว่านั้น เรื่องนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ เพราะชาวบ้านกลายเป็นเหยื่อและได้รับความเดือดร้อนโดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิด

ด้านนางจิรภัทร รัตนปัญญา เจ้าของสินสมุทรบริการท่องเที่ยวครบวงจร กล่าวว่า หลังเหตุการณ์น้ำมันรั่วทำให้ระยองกลายเป็นจังหวัดร้าง เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเลย ผลกระทบที่เกิดขึ้น มันเหมือนโดมิโน่ ถ้าธุรกิจท่องเที่ยวล้มไปตัวหนึ่ง อาชีพอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบทั่วกันหมด ไม่ว่าจะเป็นชาวประมง คนขายของริมชายหาด แม่ค้าในตลาด คนขับรถตู้ ที่ืเชื่อมกันหมดเพราะเรามีรายได้จากนักท่องเที่ยว ทุกวันนี้ไม่รู้ว่าจะไปร้องขอความช่วยเหลือจากไหน ไปถึงเขาจะให้พบหรือเปล่า และเขามักง่ายหรือเปล่าที่ทำให้เราเดือดร้อนแบบนี้

อนึ่ง กลุ่มติดตามน้ำมัน ปตท. รั่วไหล ประกอบด้วย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH), มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW), กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Greenpeace Southeast Asia) และสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา: ระบบขนส่งมวลชน คิดใหม่ หรือต้องเก็บค่าธรรมเนียมเข้าพื้นที่?

Posted: 26 Sep 2013 08:54 AM PDT

26 ก.ย.56  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดเสวนาเรื่อง ระบบขนส่งมวลชน คิดใหม่ โดยมี ประภัสร์ จงสวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย, สามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์, พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุเมธ องกิตติกุล
นักวิชาการอาวุโส ทีดีอาร์โอ

สุเมธ จากทีดีอาร์ไอ กล่าวว่าขณะนี้ระบบขนส่งมวลชนของไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครจะมีรถไฟฟ้าและรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย  หรือ ขสมก. และรถร่วมบริการ โดยมีปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้า 286.9 ล้านเที่ยวต่อปี ขณะที่มีผู้ใช้รถเมล์ 445 เส้นทางจำนวน 406 ล้านเที่ยวต่อปี หรือ 2 ล้านเที่ยวต่อวัน

สำหรับปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีในปัจจุบันจำนวน 4.6 ล้านคัน รถจักรยานยนต์ 3 ล้านคัน ใช้น้ำมันเบนซิน 2.6 พันล้านลิตรต่อปี ดีเซล 6.4 พันล้านลิตรต่อปี ซึ่งหากพิจารณาทั้งหมดแล้วจะต้องตั้งคำถามว่าระบบขนส่งมวลชนตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ รัฐควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น โดยสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการให้บริการที่ดีขึ้น

พร้อมกันนั้นสุเมธตั้งคำถามว่า จะเป็นไปได้ไหมที่จะมีการเก็บค่าผ่านทางแบบต่างประเทศเพื่อลดความแออัดของการจราจร

"การพัฒนาระบบรถสาธารณะทั้งหมด ไม่เกี่ยวข้องกับรถติดเลย ถ้าคนใช้รถยนต์ส่วนบุคคลสะดวกสบาย รถก็ยังติดอยู่ หลายประเทศจึงใช้นโยบายเก็บค่าผ่านทางในช่วงเวลาที่รถแออัด เป็นนโยบายที่ไม่ popular แต่อาจต้องพิจารณา เช่น road pricing ในลอนดอนนั้นพบว่าในเขตที่ทำ จำนวนผู้ใช้รถโดยสารเพิ่ม 30% และต้นทุนของรถโดยสารลดลง 20% การจราจรที่ติดขัดทำให้ต้นทุนสูงและผู้โดยสารลด" สุเมธ

สามารถ ส.ส.ประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาการออกแบบระบบขนส่งมวลชนไทยว่ามักออกแบบระบบรถเมล์และรถไฟฟ้าแยกขาดจากกัน และเห็นดวยที่จะต้องอุดหนุนรถเมล์ร้อนสำหรับผู้มีรายได้น้อย แต่กับรถไฟฟ้านั้นรัฐต้องแบกต้นทุนหลักแสนล้านหากจะอุดหนุนด้านราคา นอกจากนี้ในการทำโครงการรถไฟฟ้าก็ควรมีคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ควบคู่ไปด้วยและใช้ทฤษฎี value capture โดยภาครัฐควรเก็บภาษีจากเอกชนที่มีที่ดินตรงนั้นมาช่วยในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันการเก็งกำไรที่ทำกันง่ายดาย ส่วนประเด็นการเก็บค่าผ่านทาง หรือมาตรการรังแกรถยนต์นั้น มีตัวอย่างให้เห็นเช่นในสิงคโปร์ที่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแบบอิเล็คทรอนิกส์สำหรับการเข้าพื้นที่เศรษฐกิจเพื่อลดความแออัดของการจราจร แต่หากจะทำในประเทศไทยตอนนี้คิดว่ายังไม่เหมาะสมเนื่องจากระบบรถไฟฟ้าที่มียังเป็นระยะสั้นมาก ไม่ครอบคลุมเพียงพอ แต่หากมีการรองรับทั้งระยะทาง จุดเชื่อมต่อ จุดจอดรถไว้พร้อมแล้วก็อาจถึงเวลาต้องพิจารณาเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมนี้   

พิชญ์ จากจุฬาฯ กล่าวว่า ปัญหาคมนาคมขนส่งกับผังเมือนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้ การพูดเรื่องระบบขนส่งนั้นต้องเชื่อมกับการจัดรูปที่ดินและเน้นนโยบายที่เอื้อให้กับคนจนโดยคำนึงถึงการเข้าถึงระบบขนส่ง ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้จะต้องจัดการแหล่งงานและแหล่งที่อยู่ของคนรายได้น้อยให้ได้  อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นเชื่อว่า การมี BRT (รถเมล์ด่วน) เป็นทางออกของเมืองที่ไม่รวย โดยสามารถออกกฎให้ชัดเจนเลยว่ารถเมล์ไปก่อน รถยนต์ไปทีหลัง เพราะการเดินทางบนถนนคือการจัดสรรอำนาจในเมืองว่าใครไปก่อน จากนั้นคือการถกเถียงเรื่องการออกแบบสถานี และการทำให้คลอบคลุมทั้งเมือง ส่วนรถไฟฟ้าที่จัดทำกันมานั้น อันที่จริงไม่ใช่แก้ปัญหาจราจร แต่เป็นการทำให้พื้นที่กลางเมืองไม่เสื่อมค่าเพราะผู้คนสามารถเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม land value ที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดนอกจากเกิดการเก็งกำไร

พิชญ์กล่าวด้วยว่า ปัญหาระบบขนส่งมวลชนนั้นหากตอบแบบตีหัวเข้าบ้าน สิ่งสำคัญอยู่ที่การออกแบบบ้านซึ่งเราไม่เคยพูดกันเลยว่ารัฐควรจะออกแบบบ้านอย่างไร ถ้าไม่ออกแบบแหล่งที่อยู่อาศัย effortable housing กับแหล่งงานของคนจนให้สัมพันธ์กันก็ลำบากที่จะแก้ปัญหาได้

สำหรับเรื่องนโยบาย พิชญ์กล่าวว่า มี 3 ชั้น สิ่งซึ่งขาดแคลนในไทยจริงๆ คือ regional planning การออกแบบภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการกำกับที่ดิน บางจุดไม่ให้โตเกินไป ให้ไปโตอีกจุด , การกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สร้างแหล่งงาน ทำอย่างไรให้เมืองแต่ละเมืองมีโอกาสที่คนอยากจะไปอยู่จริงๆ รวมทั้งในเมืองต้องปรับรูปที่ดินรองรับระบบขนส่งมวลชนในเมือง

 

ที่มาบางส่วนจาก สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จดหมายฉบับสุดท้ายของ เฉิน ผิง

Posted: 26 Sep 2013 06:21 AM PDT

"My Last Wish" จม.ฉบับสุดท้ายของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ซึ่งพิมพ์อยู่ในหนังสืองานศพของเขา โดยเป็นการเขียนจดหมายถึงสหายและ "เพื่อนร่วมชาติ" และขอส่งต่อการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้กับคนรุ่นหลัง ขณะที่ตำรวจมาเลเซียจับผู้ไปร่วมงานศพ 2 รายที่สนามบินปีนัง พร้อมยึดหนังสือ-ซีดีที่ระลึกจากงานศพ

ตามที่ เฉิน ผิง (Chin Peng/陳平) หรือ ออง บุน หัว หรือ หวัง เหวิน หัว (Ong Boon Hua/王文華) อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลในกรุงเทพเมื่อวันที่ 16 กันยายน อายุ 89 ปี และมีพิธีคำนับศพ และฌาปนกิจที่วัดธาตุทองระหว่างวันที่ 20 - 23 ก.ย. นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

หนังสือที่ระลึกงานศพของ เฉิน ผิง อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (CPM)  ใช้ชื่อว่า "In Everlasting Memomy" ลงชื่อผู้แต่งว่า เฉิน ผิง ในเล่มตีพิมพ์ 3 ภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ มลายู และจีน และมีการเผยแพร่จดหมายฉบับสุดท้าย "My Last Wish" ของเฉิน ผิงด้วย

 

ทั้งนี้ในพิธีคำนับศพของเฉิน ผิง มีการแจกหนังสือที่ระลึกแก่ผู้มาร่วมงาน ชื่อความทรงจำนิรันดร์ หรือ "In Everlasting Memomy" ลงชื่อผู้แต่งว่า เฉิน ผิง โดยหนังสือซึ่งตีพิมพ์ 3 ภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ มลายู และจีนนั้น ในเล่มประกอบด้วยภาพถ่ายของ เฉิน ผิง และพรรคคอมมิวนิสต์มลายา นับตั้งแต่วัยหนุ่มจนกระทั่งวางอาวุธ ประวัติของเฉิน ผิง

และในเล่มยังมี จดหมายฉบับสุดท้ายที่เขียนโดยเฉิน ผิง จั่วหัวว่า "My Last Wish" หรือความปรารถนาสุดท้าย ตีพิมพ์ 3 ภาษา เขียนถึงสหายและเพื่อนร่วมชาติชาวมาเลเซียทุกคน ทั้งนี้จดหมายดังกล่าวมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสื่อออนไลน์ในมาเลเซียจำนวนมาก โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ใช้ภาษาจีน เนื้อหาในจดหมายได้กล่าวถึงเรื่องชีวิตครอบครัว ความเชื่อมั่น และอุดมการณ์ที่เขาระบุว่าต้องการทำให้โลกนี้มีความยุติธรรมมากขึ้น

อนึ่ง เมื่อคืนวันที่ 23 ก.ย. ที่ผ่านมา มีรายงานด้วยว่า ตำรวจมาเลเซีย ได้จับกุมชายชาวมาเลเซีย 1 คน และชาวฮ่องกง 1 คน ที่สนามบินนานาชาติที่รัฐปีนัง หลังจากพวกเขากลับมาจากงานฌาปนกิจของ เฉิน ผิงที่กรุงเทพฯ และมีการยึดสัมภาระ ซึ่งภายในมีหนังสือที่ระลึกงานศพ ของที่ระลึกจากงานศพ และดีวีดีที่เกี่ยวกับเฉิน ผิง หมวกดาวแดง และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเฉิน ผิง

โดยชาวมาเลเซียที่ถูกจับดังกล่าว ยังมีบรรดาศักดิ์ "ดาโต๊ะ สรี" และยังเป็นญาติกับอดีต ส.ส.พรรครัฐบาล "แนวร่วมแห่งชาติ" โดยผู้ถูกจับกุมต่อมาได้รับการประกันตัว ขณะที่ตำรวจจะใช้ พ.ร.บ.สิ่งพิมพ์ของมาเลเซีย ดำเนินคดีต่อผู้ถูกจับดังกล่าว

สำหรับเนื้อหาในจดหมายฉบับสุดท้าย "My Last Wish" ของเฉิน ผิงมีดังนี้

000

ความปรารถนาสุดท้าย

ถึงสหายและเพื่อนร่วมชาติอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า

เมื่อพวกคุณได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ข้าพเจ้าคงไม่ได้อยู่ในโลกใบนี้แล้ว

เป็นเจตนาของข้าพเจ้าเองที่ต้องการจากไปอย่างเงียบๆ และให้ญาติๆ ของข้าพเจ้าจัดงานศพอย่างเป็นการส่วนตัว อย่างไรก็ตามจากการที่สื่อรายงานเรื่องอาการป่วยของข้าพเจ้าอย่างไม่ถูกต้องในช่วงเดือนตุลาคม 2011 ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่าควรเขียนจดหมายเช่นนี้ไว้

หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์มลายา จนกระทั่งกลายเป็นเลขาธิการพรรค ข้าพเจ้าได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการปฏิบัติงานเพื่อเจตจำนงของพรรคคือการต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีขึ้นและเป็นธรรมตามแนวทางอุดมการณ์สังคมนิยม ในตอนนี้เมื่อข้าพเจ้าสิ้นชีพแล้ว ก็ถึงเวลาที่ร่างกายของข้าพเจ้าจะกลับคืนสู่ครอบครัวของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ารู้สึกสบายใจมากเพื่อรู้ว่าลูกสองคนของข้าพเจ้าพร้อมจะดูแลพ่อผู้นี้ ผู้ที่ไม่สามารถให้ความรัก ความอบอุ่น และการคุ้มครองแบบของครอบครัวแก่พวกเขาได้ตั้งแต่พวกเขาเกิดมา ข้าพเจ้าสามารถมอบความรักให้พวกเขาได้แค่เพียงหลังจากเสร็จกิจการงานด้านการเมืองและการสาธารณะเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเจ็บปวด ที่เวลาที่ว่าก็คือเวลาที่ข้าพเจ้าไม่เหลือชีวิตในฐานะพ่อของพวกเขาแล้วเท่านั้น

มันเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ข้าพเจ้าต้องแนะนำตัวแก่พวกเขาในฐานะคนแปลกหน้าช่วงที่พวกเขาล่วงเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว ข้าพเจ้าไม่มีสิทธิในการเรียกร้องให้พวกเขาเข้าใจ หรือให้อภัย พวกเขาไม่มีทางเลือกใดๆ เลยนอกจากต้องเผชิญกับความจริงกันโหดร้าย เช่นเดียวกับครอบครัวของเหล่าสหายและผู้เสียสละจำนวนมาก พวกเขาเองก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากและความทุกข์ทรมานที่ไม่ได้มาจากการกระทำของตัวเอง แต่มาจากผลลัพธ์การกระทำของพวกเราที่ต้องการต่อสู้กับอำนาจโหดเหี้ยมของสังคมที่พวกเราต้องการเปลี่ยนแปลง

เป็นเรื่องโชคไม่ดีที่ข้าพเจ้าไม่สามารถไปสักการะหลุมฝังศพของพ่อแม่ข้าพเจ้าที่บ้านเกิดเมืองสิเตียวัน (ในรัฐเประ) หรือได้กลับสู่ดินแดนบ้านเกิดที่สหายของข้าพเจ้าได้ต่อสู้กับผู้รุกรานและนักล่าอาณานิคมอย่างหนัก

สหายของข้าพเจ้าและตัวข้าพเจ้าเองได้ถวายชีวิตของพวกเราแก่เจตจำนงทางการเมืองที่พวกเราเชื่อและยอมเสียอะไรก็ได้เพื่อแลกมันมา ไม่ว่าผลลัพธ์ใดๆ จะเกิดแก่พวกเรา แก่ครอบครัว และแก่สังคม พวกเราขอยอมรับมันด้วยความยินดี

ในการวิเคราะห์สุดท้าย ข้าพเจ้าแค่ต้องการได้รับการจดจำในฐานะคนดีๆ คนหนึ่งผู้ได้บอกแก่โลกว่าเขาได้ใช้ชีวิตทั้งชีวิตเพื่อไล่ตามอุดมคติของเขาเองที่ต้องการสร้างโลกที่ดีขึ้นให้กับประชาชนของพวกเขา

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวว่าข้าพเจ้าจะทำสำเร็จหรือไม่ อย่างน้อยข้าพเจ้าก็ได้ทำในสิ่งที่ทำไป ข้าพเจ้าหวังเพียงว่าเส้นทางที่ข้าพเจ้าเดินไปนั้นจะได้รับการต่อยอดและพัฒนาโดยคนหนุ่มสาวต่อจากข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่าเปลวเพลิงแห่งความยุติธรรมในสังคมและความเป็นมนุษย์จะไม่มีวันตาย

ลาก่อน สหายอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า!
ลาก่อน เพื่อนร่วมชาติอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า!
ลาก่อน แผ่นดินแม่อันเป็นที่รักของข้าพเจ้า

(ลายมือชื่อ)

เฉิน ผิง (ออง บุน หัว)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลกัมพูชายกฟ้อง 'แพะรับบาป' คดีสังหารผู้นำสหภาพแรงงาน

Posted: 26 Sep 2013 04:14 AM PDT

ศาลฎีกากัมพูชามีคำสั่งยกฟ้องและให้ปล่อยตัวสองนักโทษที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อปี 2548 ในข้อหาฆ่าผู้นำสหภาพแรงงานคนสำคัญของกัมพูชา หลังศาลฎีกาพบพยานที่น่าเชื่อถือที่ว่าพวกเขาอยู่ที่ใดในขณะที่เกิดเหตุ และหนึ่งในจำเลยยังระบุว่าถูกตำรวจซ้อมและบังคับให้รับสารภาพ

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า การที่ศาลฎีกาของกัมพูชามีคำสั่งยกฟ้องและให้ปล่อยตัวสองนักโทษในวันที่ 26 กันยายนนี้ ถือเป็นก้าวย่างสำคัญของกระบวนการยุติธรรมในกัมพูชา ผลการพิจารณาคดีอย่างไม่เป็นธรรมเมื่อปี 2548 เป็นเหตุให้บอน สำนัง (Born Samnang) 32 ปี และซก สำอุ่น (Sok Sam Oeun) 45 ปี ถูกศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษจำคุก 20 ปี ในข้อหาสังหารเจี่ย วิเชีย (Chea Vichea) ผู้นำสหภาพแรงงานเมื่อปี 2547
               
เจี่ย วิเชีย นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานคนสำคัญของกัมพูชาถูกยิงเสียชีวิตที่แผงหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ โดยก่อนหน้านั้นเขาถูกขู่ฆ่าหลายครั้ง
               
อิสเบล อาร์ราดอน (Isabelle Arradon) รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า ทั้งบอน สำนังและซก สำอุ่นต่างเป็นแพะรับบาปจากการจัดฉากของทางการกัมพูชา ในกรณีการสังหารเจี่ย วิเชีย ผู้นำสหภาพแรงงาน คำถามที่เหลืออยู่ก็คือ เมื่อไรจะมีการลงโทษฆาตกรตัวจริงเสียที?
               
ผู้พิพากษาศาลฎีกามีคำสั่งให้ปล่อยตัวชายทั้งสองคนโดยระบุว่า ไม่มีพยานหลักฐานที่ชัดเจนที่จะเอาผิดกับพวกเขา และจำเลยยังมีพยานที่น่าเชื่อถือว่าพวกเขาอยู่ที่ใดขณะที่เกิดการกระทำผิดขึ้น และหนึ่งในจำเลยทั้งสองคนยังระบุว่าถูกตำรวจบังคับให้รับสารภาพตามข้อกล่าวหา ซึ่งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่มีการยกฟ้อง
               
บอน สำนังเปิดเผยว่า เขาถูกตำรวจซ้อมและบังคับให้รับสารภาพ และคำสารภาพดังกล่าวได้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เขาถูกตัดสินจำคุก 20 ปีในเวลาต่อมา นอกจากนั้นตำรวจยังข่มขู่และควบคุมตัวบุคคลที่เป็นพยานให้กับเขาด้วย ทั้งนี้ศาลฎีกายังมีคำสั่งไม่จ่ายค่าเยียวยาให้กับชายทั้งสองคน
               
"เป็นเรื่องน่าตกใจที่นักสหภาพคนสำคัญถูกสังหาร ถึงตอนนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องทบทวนคดีการเสียชีวิตของเจี่ย วิเชียอีกครั้ง เพราะผู้กระทำผิดตัวจริงยังไม่ได้รับการลงโทษ และเราขอเรียกร้องทางการกัมพูชาให้การประกันว่า ชายทั้งสองคนจะได้รับการเยียวยา จากการที่ต้องถูกจับกุมคุมขังโดยที่ไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งสองคนควรได้รับการชดเชยต่อความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา" อิสเบลกล่าว
               
กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในฐานะรัฐภาคี กล่าวคือการให้การประกันว่าบุคคลใดก็ตามที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามกติกาฉบับนี้ ต้องได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผล 
               
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า บอน สำนังและซก สำอุ่นเป็นเหยื่อของกระบวนการยุติธรรมที่ผิดพลาดและถูกควบคุมตัวโดยพลการ ซึ่งเป็นการละเมิดต่อกติกา ICCPR อย่างชัดเจน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘กระดูกของความลวง’ ของพับลิค สโคปปิ้ง จุดเริ่มต้นของ EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตร

Posted: 26 Sep 2013 04:08 AM PDT

บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ('ทุ่งคำ') ทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ตามหนังสือเลขที่ ทค.ลย(ว) 255/56 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 เพื่อ "แจ้งความประสงค์จะดำเนินการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1) โครงการเหมืองแร่ทองคำ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด คำขอประทานบัตร 76/2539" หรือจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง

ต่อมาทุ่งคำได้ทำหนังสืออีกฉบับหนึ่งถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ตามหนังสือเลขที่ ทค.ลย(ว) 278/56 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2556 เพื่อจัดส่งและขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์เอกสาร "รายละเอียดโครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 และขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)" เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2552 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ  ซึ่งมีข้อระเบียบปฏิบัติที่ระบุว่าให้มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อนวันดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ (พับลิค สโคปปิ้ง) ต่อสาธารณชนให้รับทราบอย่างน้อย 15 วัน ก่อนวันจัดเวทีดังกล่าว  

ซึ่งวัตถุประสงค์ชัดเจนได้แสดงอยู่ในหนังสือที่ทำถึง สช. ทั้งสองฉบับและเอกสารประกอบเวทีว่า จะจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง เฉพาะแปลงที่ 76/2539 เท่านั้น  แต่นั่นกลับเป็นความลวงที่ทุ่งคำสร้างขึ้นมา โดยไม่มีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและพิจารณารายงาน EHIA เฉลียวใจ มองเห็น หรือทักท้วง ตักเตือน เอาผิด แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ได้มีการส่งเอกสารประกอบเวทีมาก่อนหน้าวันจัดเวทีถึง 15 วัน  แต่กลับปล่อยให้ทุ่งคำดำเนินการจัดทำเวทีดังกล่าวต่อไปได้

และสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความลวงซ้อนกันอยู่สองชั้น คือ

 

ความลวงที่หนึ่ง - เอกสารประกอบเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ที่ใช้เผยแพร่ บนหน้าปกระบุชื่อว่า "รายละเอียดโครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 และขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)" และในส่วนล่างสุดของหน้า 1-5 ของเอกสารดังกล่าว ระบุชื่อเอกสารว่า " โครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 หมู่ที่ 13 ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย"  ส่วนที่เหลือทั้งหมด ตั้งแต่หน้า 6-58 ในส่วนล่างสุดของเอกสาร กลับระบุชื่อเอกสารว่า " โครงการเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน คำขอประทานบัตรที่ 76 และ 77/2539 หมู่ที่ 13 ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย"

ในสาระความเป็นมาและรายละเอียดโครงการ ที่ปรากฏอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายของหน้า 1 ระบุว่า "ทั้งนี้เพื่อให้มีแหล่งแร่เพิ่มเติมเพื่อป้อนการดำเนินการผลิตของบริษัทฯ จึงได้ดำเนินการยื่นคำขอประทานบัตรที่ 76/2539 รวมแผนผังโครงการทำเหมืองเดียวกันกับคำขอประทานบัตรที่ 77/2539 เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ทองแดง และเงิน ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตั้งอยู่ในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000 ลำดับชุด  L 7017 ระวาง 5343 IV ของกรมแผนที่ทหาร ระหว่างพิกัดฉากสากล (U.T.M.) แนวตั้งที่ 785000 E ถึง 786000 E และแนวนอนที่ 1927000 N ถึง 1929100 N  โดยประมาณ อยู่ในท้องที่ของ ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย"

 

ความลวงที่สอง – จากเอกสารประกอบเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ดังกล่าว การกำหนดพิกัดแนวตั้งที่ 785000 E ถึง 786000 E และแนวนอนที่ 1927000 N ถึง 1929100 N โดยประมาณ เป็นขอบเขตครอบคลุมพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 76/2539 และ 77/2539 และยังขยายพื้นที่เกินไปทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 77/2539 ซึ่งมีแปลงคำขอประทานบัตรที่ 203/2539 ร่วมเป็น 'พื้นที่กลุ่มคำขอประทานบัตร' ด้วยอีก 1 แปลง

 


(
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่)

ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารแผนที่ธรณีวิทยาและธรณีวิทยาโครงสร้าง แปลงที่ 4 จังหวัดเลย ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด  มิถุนายน 2540  ที่ได้มีการกำหนดพื้นที่ในการทำเหมือง T-3 และ T-9  และซึ่งสอดคล้องกับเอกสารของฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลย อีกทอดหนึ่งด้วย ที่ระบุไว้ในรายละเอียดคำขอประทานบัตร ประจำเดือนสิงหาคม 2553  ว่า โดยในพื้นที่บริเวณคำขอประทานบัตรรวม 3 แปลง พื้นที่ในการทำเหมือง T-3 ประกอบด้วย แปลงคำขอประทานบัตรที่ 76/2539  77/2539 และ 203/2539 รวมพื้นที่ 898-0-50 ไร่ และพื้นที่ในการทำเหมือง T-9  ประกอบด้วย แปลงคำขอประทานบัตรที่ 71/2539  72/2539 และ 73/2539 รวมพื้นที่ 900 ไร่ โดยมีพิกัดแต่ละแปลงดังนี้


(
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่)

 

พื้นที่ในการทำเหมือง T-3

คำขอประทานบัตรที่ 76/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 785450 E แนวนอนที่  1929100 N  พื้นที่  299-0-25 ไร่

คำขอประทานบัตรที่ 77/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 785450 E แนวนอนที่  1928230 N  พื้นที่  299-0-25 ไร่

คำขอประทานบัตรที่ 203/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 786000 E แนวนอนที่  1928000 N  พื้นที่  300 ไร่

พื้นที่ในการทำเหมือง T-9

คำขอประทานบัตรที่ 71/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 783200 E แนวนอนที่  1928470 N  พื้นที่  300 ไร่

คำขอประทานบัตรที่ 72/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 783200 E แนวนอนที่  1927800 N  พื้นที่  300 ไร่

คำขอประทานบัตรที่ 73/2539  มีพิกัดแนวตั้งที่ 783200 E แนวนอนที่  1927290 N  พื้นที่  300 ไร่

 

ดังนั้น ทุ่งคำมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะไม่ขอประทานบัตรเพียงแค่ แปลงที่ 76/2539 แปลงเดียว แต่จะขอเป็นพื้นที่กลุ่มคำขอประทานบัตรอย่างน้อย 3 แปลง คือ แปลงที่ 76/2539  77/2539 และ 203/2539  และอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างความลวงชั้นที่สามด้วยการบิดเบือนเอกสารในภายหลัง (อาจจะเป็นในขั้นเสนอร่างรายงาน EHIA ในเวทีพับลิก รีวิว ซึ่งเป็นขั้นตอน/เวทีต่อจากพับลิค สโคปปิ้ง) ด้วยการขอประทานบัตร แปลงที่ 71/2539  72/2539 และ 73/2539 อีก 900 ไร่ ร่วมด้วย แต่สิ่งที่น่ารังเกียจก็คือ ทำไมถึงไม่พูดความจริง ทำไมถึงต้องสร้างความลวงเพื่อปิดบังและหลีกเลี่ยงอะไร

หรือเกรงว่าถ้าประกาศจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง เพื่อจัดทำรายงาน EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตรทั้ง 3 แปลง เนื้อที่รวมกัน 898-0-50 ไร่ (และอาจจะรวมแปลง 71-73/2539 อีก 900 ไร่ ด้วย) จะเกิดการคัดค้านต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ขึ้นได้ เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ทำเหมืองแปลงใหญ่เกินกว่าชุมชนในเขตตำบลนาโป่งจะแบกรับภาระและปัญหาผลกระทบได้ จึงทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยความหลอกลวงว่าจะขอประทานบัตรแปลงเล็กประมาณ 300 ไร่ แปลงเดียวไปก่อน ต่อเมื่อผ่านเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ไปแล้ว จึงค่อยอธิบายว่าจะทำเหมืองแปลงใหญ่ในภายหลัง

เป็นเรื่องน่าเศร้าของกระบวนการจัดทำและพิจารณารายงาน EHIA ในสังคมไทย ที่พับลิค สโคปปิ้ง สามารถถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความลวงให้กับผู้ประกอบการได้โดยการเมินเฉยของส่วนราชการ-รัฐ และองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้ง ๆ ที่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือพับลิค สโคปปิ้ง หรือ Public Scoping ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำและพิจารณารายงาน EHIA ก็ระบุไว้ชัดอยู่แล้วให้ 'กำหนดขอบเขต' และ 'แนวทาง' การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ในเมื่อสร้างความลวงด้วยการขอประทานบัตรแปลงเดียว คือ แปลงที่ 76/2539 เนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ นั่นก็หมายถึงการจัดทำเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ดังกล่าว จะเป็นการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่เพียง 300 ไร่ เท่านั้น ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากนั้นที่ปรากฏอยู่ในแปลงที่ 77/2539 และ 203/2539 (และอาจจะรวมแปลงที่ 71-73/2539 ด้วย) จะไม่ได้ถูกกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเอาไว้ด้วย

ซึ่งจะส่งผลต่อมา โดยทำให้การวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่สอดคล้องกับพื้นที่ขอประทานบัตรจริง ก็เพราะวิเคราะห์ ประเมินและคาดการณ์ผลกระทบในพื้นที่ทำเหมืองแปลงเดียว 300 ไร่ แต่ผลกระทบเกิดขึ้นกับพื้นที่ทำเหมืองทั้งสามแปลง ประมาณ 900 ไร่

ด้วยความลวงสองชั้นของพับลิค สโคปปิ้ง และอาจจะมีชั้นที่สามเกิดขึ้นได้ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว เป็นการใช้ความลวงซ้ำ ๆ ของนายทุนผู้มีอำนาจเงินที่สามารถใช้ข้าราชการ-รัฐให้ปิดล้อมเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ได้ด้วยกำลังตำรวจ 700 นาย เพื่อปิดกั้นประชาชนผู้เห็นต่างไม่ให้เข้าร่วมเวทีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา แม้จะไม่เหมือนทีเดียว แต่ก็ทำให้นึกถึงวรรณกรรมรวมเรื่องสั้น 'กระดูกของความลวง' ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์เทียบเคียง

ในเรื่องสั้นกระดูกของความลวงเล่าเรื่องจากสายตาของคนที่กำเนิดมาพร้อมกับความผิดปกติ จนถูกสังคมผลักไสให้เป็นคนชายขอบ แสดงให้เห็นอคติของสังคม รวมถึงด้านมืดของมนุษย์ที่ต้องการเห็นผู้อื่นด้อยกว่า เพื่อให้ตนเองรู้สึกสูงส่ง โดยตีแผ่จิตใจด้านมืดที่เต็มไปด้วยการฉกฉวยทำลาย  การเมินเฉยต่อความเลวร้ายเบื้องหน้า  การบิดเบือนความเป็นจริง  และความโง่เขลาต่อสรรพสิ่ง

ด้วยอคติเช่นนี้จนกลายเป็นความเคยชินของเรา เราจึงกลายเป็นผู้ทำให้ความลวงที่เป็นความเหลวไหลและเหลวแหลกของสังคมมีกระดูกขึ้นมา

และพับลิค สโคปปิ้ง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ EHIA และเป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการขอประทานบัตรด้วยเช่นเดียวกัน จนเมื่อถึงปลายทางที่ EHIA ผ่านความเห็นชอบ และได้รับอนุญาตประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่ได้ เมื่อนั้นเรา--ใครก็ตาม ที่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำและให้ความเห็นชอบรายงาน EHIA ทั้งหน่วยงานรัฐ ราชการ องค์กรอิสระ นักวิชาการ และผู้ประกอบการ--เป็นผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์มหึมาที่ประกอบด้วยความลวงของ EHIA และประทานบัตร โครงการเหมืองแร่ทองคำ ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย ขึ้นมา  

เรา--ใครก็ตาม ที่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำและให้ความเห็นชอบรายงาน EHIA ทั้งหน่วยงานรัฐ ราชการ องค์กรอิสระ นักวิชาการ และผู้ประกอบการ—ได้สร้างกระดูกให้ความลวงขึ้นมาแล้ว

 

                            

 




[1] ขอขอบคุณ ดาวัลย์ จันทรหัสดี เจ้าหน้าที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) ผู้มองเห็นความลวงในพับลิค สโคปปิ้ง จุดเริ่มต้นของ EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตร แปลงที่ 76/2539 ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย เป็นคนแรก  และได้ส่งข้อมูลให้ผู้เขียนเพื่อเขียนเป็นบทความชิ้นนี้ขึ้นมา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เอฟทีเอว็อทช์ แฉ กรมเจรจาฯ เร่งจัดรับฟังความคิดเห็นร่างกรอบเจรจา TPP ตัดภาคประชาสังคม

Posted: 26 Sep 2013 03:38 AM PDT

(26 ก.ย.56) กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อชท์) เปิดเผยว่า บ่ายวันนี้ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดรับฟังความคิดเห็นร่างกรอบเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) แต่ปรากฏว่า เชิญเพียงหน่วยราชการและภาคเอกชนเท่านั้น แต่ไม่เชิญภาควิชาการและภาคประชาสังคมเลย ทางเอฟทีเอ ว็อทช์จึงได้ถามกรมเจรจาฯ ผ่านแฟนเพจของกลุ่ม https://www.facebook.com/ftawatch เนื่องจากตามมาตรา 190 วรรค 3 การให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น มิได้ระบุให้เลือกปฏิบัติได้

"ขอถามกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผ่านสาธารณชน

เหตุใดการจัดรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทาง เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) ณ กรมเจรจาฯ บ่ายวันนี้ จึงทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการแต่หน่วยราชการ และภาคเอกชน

เหตุใดจึงไม่เชิญภาคประชาสังคม ทั้ง นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชนต่างๆ ที่ติดตามเรื่องนี้

เหตุใดเมื่อถามไปยังนายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักบูรณาการเศรษฐกิจการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จึงยืนยันว่าเป็นการหารือเฉพาะหน่วยราชการเท่านั้น แต่ในที่ประชุมกลับมีตัวแทนภาคธุรกิจ อาทิ สมาคมยาข้ามชาติ สภาหอการค้า ซึ่งได้รับหนังสือเชิญ

ตามมาตรา 190 วรรค 3 การให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น มิได้ระบุให้เลือกปฏิบัติได้

ขอคำชี้แจงผ่านสาธารณะด้วย"

ทั้งนี้ ในเพจดังกล่าวยังนำเสนอเหตุผล 9 ข้อว่าทำไมต้องตรวจสอบการเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลง TPP ดังนี้

1.TPP เป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีรูปแบบใหม่ของสหรัฐฯ ที่จะทำให้เกิดการผูกขาดตลาดยาเพียงไม่กี่บริษัท และขยายการผูกขาดตลาดให้ยาวนานเกินกว่า 20 ปี ซึ่งจะมีผลทำให้ยามีราคาแพงขึ้นอย่างมหาศาล
2.TPP จะผูกมัดไม่ประเทศคู่ค้าสามารถต่อรองราคายาได้ และไม่ยอมให้มีกลไกควบคุมราคายาและการใช้ยาอย่างเหมาะสมที่จะกระทบผลกำไรของบรรษัทยาข้ามชาติ
3.TPP จะทำให้ประเทศคู่เจรจาไม่สามารถนำมาตรการยืดหยุ่นด้านทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ซีแอล มาใช้เพื่อปกป้องหรือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาจำเป็นในราคาที่เหมาะสมของประเทศได้
4.TPP จะทำให้บรรษัทข้ามชาติสามารถแทรกแซงหรือยับยั้งนโยบายหรือการออกกฎหมายภายในประเทศที่คุ้มครองสุขภาพประชาชนจากสินค้าทำลายสุขภาพ เช่น บุหรี่ และแอลกอฮอล์ และการรักษาสิ่งแวดล้อมและฐานทรัพยากร
5.TPP เป็นการริบรอนอธิปไตยทางศาลของประเทศคู่ค้า เพราะบรรษัทข้ามชาติสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือให้มีการยกเลิกนโยบาย หรือกฎหมายที่ทำให้ผลกำไรของบรรษัทฯ เสียหาย ถึงแม้ว่านโยบายหรือกฎหมายเหล่านั้นจะมีเพื่อคุ้มครองสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็ตาม ซึ่งจะตัดสินโดย "คณะอนุญาโตตุลาการ" ภายนอกประเทศ
6.TPP เป็นข้อตกลงการค้าที่บ่อนทำลายความมั่นคงทางการเงิน เพราะจะจำกัดสิทธิของประเทศในการใช้มาตรการและนโยบายควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการคลังและทางเศรษฐกิจของประเทศ
7.TPP จะทำให้ต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสูงขึ้น เพราะมีการผูกขาดเมล็ดพันธุ์และอนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ได้ ซี่งทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์หรือพันธุ์สัตว์ของบรรษัทยักษ์ใหญ่ และไม่สามารถใช้ขยายพันธุ์ต่อได้
8.TPP จะจำกัดสิทธิ์ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างเสรีอีกต่อไป
9.TPP เป็นการเจรจาที่ไม่โปร่งใส เพราะกำหนดให้การเจรจาจะต้องกระทำอย่างเป็นความลับ ไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาการเจรจาให้ภายนอกได้รับรู้ก่อนการเจรจาจะเสร็จสิ้น หรือมีการตกลงกัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Naming The Dead โครงการระบุตัวผู้เสียชีวิตจากโดรนในปากีสถาน

Posted: 26 Sep 2013 03:13 AM PDT

ผู้เสียชีวิตจากการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้คนขับของสหรัฐฯ หรือโดรน มักไม่มีการระบุชื่อหรือสถานะ ทำให้เป็นอุปสรรค์ต่อการชี้ชัดว่าการโจมตีด้วยโดรนมีความแม่นยำและมีโอกาสโจมตีโดนพลเรือนได้น้อยจริงหรือไม่ ทางสำนักงานข่าวสืบสวนสอบสวนของอังกฤษจึงได้เปิดตัวโครงการที่ชื่อ Naming The Dead

25 ก.ย. 2013 - สำนักงานข่าวสืบสวนสอบสวนของอังกฤษได้เปิดตัวโครงการฐานข้อมูลรายชื่อผู้เสียชีวิตจากการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้คนขับหรือโดรน (Drone) ในประเทศปากีสถาน โดยโครงการดังกล่าวมีชื่อว่า Naming The Dead

ในเว็บไซต์ของโครงการระบุว่าในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่ชนเผ่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานถูกโจมตีด้วยโดรนหลายร้อยครั้งจากปฏิบัติการของหน่วยงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือซีไอเอ ซึ่งพยายามกำจัดนักรบอัลเคดาและกลุ่มติดอาวุธที่ให้ที่พักอาศัยแก่พวกเขา

แม้ว่าเจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ จะบอกว่าโครนเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพในการโจมตีด้วยความแม่นยำสูง และเน้นโจมตีเฉพาะเป้าหมายที่เป็นศัตรูกับทางการสหรัฐฯ โดยที่มีการจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยรอบได้ ซึ่งแม้ว่าโดรนจะสามารถสังหารผู้นำระดับสูงของกลุ่มอัลเคด้าเช่น อาบู บาห์ยา อัล ลิบี ผู้บัญชาการกลุ่มตาลีบันปากีสถานได้ แต่ก็มีผู้ถูกสังหารจำนวนหนึ่งที่เป็นพลเรือน บางคนอาจอาศัยอยู่ใกล้กับเป้าหมาย บางคนเป็นครอบครัวของเป้าหมายที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ขณะที่บางส่วนก็ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ก่อการร้ายโดยผู้ปฏิบัติการโดรนซึ่งอยู่ไกลออกไปหลายพันไมล์

ก่อนหน้านี้ สำนักงานข่าวสืบสวนของอังกฤษได้เก็บข้อมูลการโจมตีด้วยโดรนพบว่า ขีปนาวุธที่ถูกยิงจากเครื่องบินโดรนได้โจมตีถูกเป้าหมายที่เป็นบ้าน รถยนต์ โรงเรียน ร้านค้า และแหล่งชุมชน ในหน้าเว็บไซต์ของโครงการระบุว่ามีชาวปากีสถาน 2,514 ถึง 3,596 คน เสียชีวิตจากการโจมตีด้วยโดรน ซึ่งในเหยื่อเหล่านี้มีอยู่ 568 คน ที่สามารถระบุตัวตนได้

โดยส่วนใหญ่แล้วมีข้อมูลรายละเอียดของผู้ที่ถูกสังหารด้วยโดรนน้อยมาก มีราว 4 ใน 5 ที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มติดอาวุธ แต่การเสียชีวิตมักถูกรายงานออกมาเป็นตัวเลข ขณะที่ชื่อผู้เสียชีวิต พื้นเพความเป็นมา และสภาพชีวิตของพวกเขาไม่มีการเปิดเผย

วัตถุประสงค์ของโครงการ Naming The Dead คือการสร้างความโปร่งใสมากขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งนี้ และเพื่อเป็นการให้ข้อมูลต่อการถกเถียงสาธารณะ โดยเบื้องต้นจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลรายชื่อที่ถูกตีพิมพ์ในแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยต่างๆ เช่น รายงานข่าวที่น่าเชื่อถือ  เอกสารที่ถูกนำเสนอต่อศาล งานศึกษาทางวิชาการ และการลงพื้นที่สำรวจโดยกลุ่มสิทธิมนุษยชน

"มีคนจำนวนมากเสียชีวิตโดยไม่เป็นที่รู้จัก ไม่มีชื่อ ไม่ถูกรับรู้ นี้ถือเป็นโศกนาฏกรรม" สำนักงานข่าวสืบสวนสอบสวนกล่าว "แต่ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือแม้แต่ผู้ออกนโยบายก็ไม่สามารถทดสอบให้แน่ชัดได้ว่าโดรนเป็น 'อาวุธที่มีความแม่นยำสูง' จริงหรือไม่ จากการที่ไม่สามารถรู้ว่าใครเป็นผู้เสียชีวิต"

ในอนาคตทางองค์กรยังมีเป้าหมายต้องการระบุตัวผู้เสียชีวิตเป็นกิจวัตรและสืบหาข้อมูลรายละเอียดของผู้ที่ถูกสังหาร เช่น สถานที่ที่ถูกสังหาร อาชีพ อายุ และชื่อเต็มของเหยื่อ

พื้นที่ในชนบทของปากีสถานซึ่งมักถูกโจมตีด้วยโดรนมีการระบุตัวตนได้ยากเนื่องจากประชาชนไม่ค่อยมีบัตรประจำตัว ทะเบียนเกิด หรือแม้กระทั่งเอกสารมรณกรรมของญาติผู้เสียชีวิต

Naming The Dead ยังมีความต้องการเผยแพร่รายละเอียดในด้านอื่นๆ เช่น รูปถ่ายความเสียหายของแหล่งที่ถูกโดรนจู่โจม บันทึกคำให้การ บันทึกโรงพยาบาล บัตรประจำตัวนักเรียน-นักศึกษา และสำเนาการสัมภาษณ์

โดยในตอนนี้หน้าเว็บของ Naming The Dead มีการเปิดเผยรายชื่อ เพศ อายุ วันที่เสียชีวิต รวมถึงสถานะว่าถูกรายงานการเสียชีวิตในฐานะกลุ่มติดอาวุธหรือฐานะพลเรือน

อนึ่ง ทางการสหรัฐฯ เริ่มดำเนินการโจมตีด้วยโดรนโดยปกปิดข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2002 ในประเทศปากีสถาน เยเมน และโซมาเลีย โดยส่วนใหญ่แล้วปฏิบัติการในพื้นที่ปากีสถาน

 


เรียบเรียงจาก

เว็บไซต์โครงการ Naming the Dead ของ The Bureau of Investigative Journalism (เข้าดูเมื่อวันที่ 25-26 ก.ย.)
http://www.thebureauinvestigates.com/namingthedead

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์

Posted: 25 Sep 2013 10:27 PM PDT

อย่าหยุดแค่เขื่อนแม่วงก์นะ เขื่อนไหนที่มีการริเริ่มด้วยความหวังที่ผลประโยชน์ก็ต้องต้านกันต่อด้วย อย่าหยุดแค่ต้านเขื่อนนะ โครงการไหนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมก็ควรต้องค้านกันให้สุด อย่าหยุดแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมนะ อีกสารพัดการเอารัดเอาเปรียบ ฉกฉวยผลประโยชน์ในสังคมยังมีอีกมากมาย อย่าเลือกปฏิบัติกันนะ เห็นพลังของพวกเรากันแล้วใช่ไหม มันหยุดยั้งหลายสิ่งเลวร้ายได้ ถ้าเราใส่ใจจะทำ

ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวเดอะ เนชั่น, สถานะในเฟซบุ๊ก

เขื่อนกับ “พระราชอำนาจ”

Posted: 25 Sep 2013 10:21 PM PDT

<--break->

เสียดายกรณีค้านเขื่อนแม่วงก์ทำท่าจะจบลงง่ายดายไปหน่อย แต่ที่ยังคาใจผมอยู่เช่นเดิมคือ ทำไมค้านแค่บางเขื่อน? ทำไมเขื่อนบางเขื่อนมีการตรวจสอบจากภาคประชาสังคมน้อยกว่าปรกติ? เป็นเรื่อง "บังเอิญ" หรือที่ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา บรรดาเขื่อนที่มีสร้อยต่อท้ายชื่อว่า "โครงการตามพระราชดำริ" เท่านั้นสามารถก่อสร้างได้ แต่โครงการอื่นที่คล้ายคลึงกันกลับถูกต่อต้าน?   

ผมไม่ได้ท้าทายต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าอยู่หัวในการริเริ่มโครงการเหล่านี้ แต่บางคนเข้ามาเถียงว่าการมีพระราชดำรัสไม่ได้มีผลอะไรต่อโอกาสที่จะสร้างเขื่อนได้ ก็ต้องเถียงว่าไม่จริง ซึ่งผมได้ยกตัวอย่างสามเขื่อนเป็นอย่างน้อย ตั้งแต่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนคลองท่าด่าน และเขื่อนห้วยโสมง ซึ่งล้วนเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ส่งผลกระทบตั้งแต่การโยกย้ายประชาชนหลายหมื่นคน ไปจนถึงผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าป่าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ แต่สามารถก่อสร้างได้

ถามว่าพระราชดำรัสได้ถูกเปลี่ยนเป็นผลในเชิงปฏิบัติหรือไม่? มีแน่นอน นอกจากสร้อยต่อท้ายโครงการแล้ว ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับและปฏิบัติให้พระราชดำรัสดังกล่าวเป็นผล อย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (กปร.) เป็นต้น 

ถามว่าการตั้งหน่วยราชการขึ้นมาโดยอ้างพระราชดำรัสก็ดี พระราชดำริก็ดี การใช้พระราชทินนาม หรือนามพระราชทานเป็นชื่อโครงการเขื่อน สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดหลักการ Constitutional Monarchy หรือไม่ ? สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้ "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" หรือที่เรียกว่าหลักการละเมิดมิได้ (Inviolability) หรือไม่ กรณีที่โครงการเหล่านี้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือเกิดการปฏิบัติมิชอบขึ้นมา หรือมีเรื่องอื้อฉาวขึ้นมา?  

ที่สำคัญกว่านั้นคือ การอ้างพระบรมราชวินิจฉัยเช่นนั้นจะกระทบต่อหลักธรรมภิบาลของหน่วยงานพัฒนาโครงการ กำกับดูแล อนุมัติ และปฏิบัติตามโครงการหรือไม่ จะกระทบต่อหลักการตรวจสอบได้ (accountability) ความโปร่งใส (transparency) และความไม่ลำเอียง (impartiality) ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และจะส่งผลกระทบต่อ "คุณภาพ" ของการสำรวจผลกระทบด้านต่าง ๆ ก่อนการอนุมัติโครงการ รวมทั้งการสำรวจผลกระทบเพิ่มเติมภายหลังการดำเนินโครงการแล้วหรือไม่

ผมไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่อยากเสนอว่าว่าเป็นประเด็นที่สังคมควรถกเถียงกัน

ส่วนกรณี "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนและโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ในไทยและในภูมิภาค เป็นไปตามหลักฐานที่ผมแสดง อย่าง "โครงการจัดทำกรอบและประสานการบริหารจัดการและทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา" ("โครงการ ธ ประสงค์ใด") ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้จัดทำ และเป็นที่มาของโครงการเขื่อนใหญ่อย่างแม่วงก์ โครงการผันน้ำ (เขื่อนแก่งเสือเต้น) ฯลฯ และทำไมครม.ต้องอนุมัติเมื่อ 30 ตุลาคม 2544 ให้สำนักงานทรัพย์สินฯ? เป็นผู้จัดทำโครงการนี้ หน่วยงานนี้เข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร? 

และผมบอกว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ได้สนับสนุนการสร้างเขื่อนเฉพาะเมืองไทย แต่เคยมีหุ้นถึง 10% อยู่ในบริษัท MDX มีคนแย้งว่า "แค่ถือหุ้นไม่ได้หมายถึงว่ามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัท" อันนั้นผมเข้าใจ แต่ข้อความที่ว่า "บริษัท จี เอ็ม เอส เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ ลาว จำกัด ขึ้นในปี 2537 โดยร่วมทุนกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าเอกชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว)" มาจากรายงานประจำปีของบริษัท MDX เอง

MDX มีส่วนในการพัฒนาและก่อสร้างโครงการเขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่งในลาว อย่างโครงการเทิน-หินบูน (210 เมกะวัตต์) โครงการน้ำงึม 3 (400 เมกะวัตต์) และในจีน อย่างโครงการจินหง (3,000 เมกะวัตต์) รวมทั้ง MDX ยังเกี่ยวข้องกับโครงการเขื่อนในไทยหลายโครงการ (ดูรายงานที่อ้างแล้ว หน้า 7-10)

ส่วนรายงานข่าวต่างประเทศก็ระบุเรื่องนี้อย่างมีนัยสำคัญว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน ทั้งในรูปการถือหุ้นในบริษัทที่สร้างเขื่อนและหุ้นในธนาคารที่ปล่อยกู้ให้โครงการเขื่อน (คงไม่ต้องพูดถึงการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทขายปูนด้วยกระมัง)

การที่หน่วยงานใหญ่ อย่างสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการตรวจสอบจากหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชนใด ๆ และยังมีส่วนยึดโยงกับสถาบันกษัตริย์ (การใช้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ และการใช้ประโยชน์จากรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ "ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ") เข้ามาพัวพันกับการตัดสินใจเชิงนโยบายในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อมมากเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ควรตรวจสอบหรือไม่?  

การที่หน่วยงานใหญ่ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน ไม่ว่าจะเป็นภาคการธนาคาร ปูนซีเมนต์ ประกันภัย และอื่น ๆ ทำหน้าที่เสนอและกำหนดนโยบายในกิจการที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการลงทุน อย่างเช่น การสร้างเขื่อนและโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ จะถือว่าเป็น "ผลประโยชน์ทับซ้อน" (Conflict of Interest) หรือไม่?

ผมย้ำว่าไม่มีคำตอบสำเร็จรูปในเรื่องนี้ แต่อยากถามว่าเป็นสิ่งที่สังคมควรถกเถียงหรือไม่ และถ้าจะมีการถกเถียงก็ควรทำอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาจริงหรือไม่?

 

อ้างอิง

*รายงานประจำปี 2549 บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) หน้า 7

โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลพบุรี

โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครนายก

โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี

เปิดเอกสารสำนักงานทรัพย์สินฯ วางแผน3ระยะ สั้น-กลาง-ยาว แก้ปัญหาน้ำ

พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479

มาตรา 4 ตรี   "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง และในจำนวนนี้ จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 1 คน"

มาตรา 6 "...รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ"

กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX สร้างเขื่อนเทินหุนบุนในลาว

กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใน MDX เพื่อสร้างเขื่อนในกัมพูชา

 

 

หมายเหตุ: ภาพจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (กปร.)

 




 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น