โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ผู้ลักลอบข้ามแม่น้ำเข้าเกาหลีเหนือ ถูกทหารเกาหลีใต้ยิงเสียชีวิต

Posted: 16 Sep 2013 12:30 PM PDT

มีผู้พยายามข้ามแดนเข้าเกาหลีเหนือด้วยการข้ามแม่น้ำอิมจิน แถมไม่ฟังการยิงเตือนของทหารเกาหลีใต้ ทำให้ทหารเกาหลีใต้ตัดสินใจยิงชายคนดังกล่าวเสียชีวิต โดยเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่สองเกาหลีเตรียมฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมแกซอง หลังปิดไปเมื่อเมษายนก่อน

สถานีโทรทัศน์อารีรัง ของเกาหลีใต้ รายงานว่า มีชายคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารเกาหลีใต้ ขณะพยายามข้ามแดนไปยังเกาหลีเหนือ ที่จังหวัดกยองกี เมื่อวันจันทร์นี้ (16 ก.ย.) ทั้งนี้มีรายงานว่าเขาถูกยิงขณะข้ามแม่น้ำอิมจิน เข้าสู่เกาหลีเหนือ

เจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้คนหนึ่ง กล่าวว่า มีการยิงเตือนหลายนัด และบอกให้ชายคนดังกล่าวกลับเข้ามาในเขตเกาหลีใต้ แต่ชายผู้มีแซ่นัม อายุ 47 ปี คนดังกล่าว ได้เพิกเฉย โดยเข้าถูกยิงเสียชีวิตขณะกระโดดลงไปในแม่น้ำอิมจิน

ทั้งนี้กำลังมีการสืบสวนว่าชายผู้นี้เป็นใคร และแรงจูงใจที่ทำให้เขาพยายามข้ามแดนเข้าเกาหลีเหนือดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การ์เดียน ซึ่งอ้างการรายงานของสำนักข่าวยอนฮัป ระบุว่าชายคนนี้อาจเคยเป็นทหารเกาหลีเหนือมาก่อน

โดยเหตุยิงผู้ลักลอบข้ามพรมแดนดังกล่าว เกิดขึ้นขณะที่สองเกาหลี พยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ด้วยการเปิดนิคมอุตสาหกรรมแกซองในวันจันทร์นี้ (16 ก.ย.) โดยนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว เกาหลีใต้เข้าไปลงทุนในเมืองชายแดนของเกาหลี และต่อมาทางการเกาหลีเหนือได้ปิดนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวเมื่อเดือนเมษายน เพื่อตอบโต้การที่เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาฝึกอาวุธร่วมกัน และภายหลังความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีเมื่อเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน:เวทีวิชาการ "คน"ในกระแสการเปลี่ยนแปลง(ภาคเช้า)

Posted: 16 Sep 2013 11:39 AM PDT

16 กันยายน 2556  ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มจับตาประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch-TSMW) และ"ประชาไท"ได้จัดงาน"สัมมนาวิชาการประจำปี 2556 เรื่อง "คน"ในกระแสการเปลี่ยนแปลงขึ้น ณ ห้องประชุม ประกอบ หุตะสิงห์ อาคารเอนกประสงค์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

หมายเหตุ:รายงานการสัมมนาที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้เก็บความจากเวทีนำเสนอผลงานการวิจัย จากนักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษาที่ได้นำเสนอผลงานการศึกษาในช่วงเช้า และสำหรับรายงานการนำเสนอในช่วงบ่ายของเวทีนี้ประชาไทจะได้นำเสนอในวันถัดไป

ช่วงแรกของการสัมมนาวิชาการ "คน"ในวิถีการเปลี่ยนแปลง เป็นการนำเสนองานวิจัย 4 ประเด็น ในประเด็น คนกับทรัพยากรธรรมชาติ: จุดบรรจบของการจัดการส่วนรวมและการจัดการส่วนตัว

สุรินทร์ อ้นพรม นำเสนอประเด็นความมั่นคงในที่ดินและการดำรงชีพของเกษตรกรในเขตป่า กรณีสิทธิที่ทำกิน (สกท.) ซึ่งเขาชี้ว่า การให้สิทธิ สกท. นั้นอาจเป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงที่ทำกิน แต่ในอีกทางหนึ่งก็เป็นนโยบายที่แสดงความไม่ไว้วางใจของรัฐที่ต่อประเด็นสิทธิที่ดินทำกินของประชาชน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและสิทธิของคนในเขตป่า ทำให้ชาวบ้านมีทางเลือกในการทำมาหากินไม่มากนัก เพราะรัฐยังมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือที่ดินที่จัดสรรให้กับเกษตรกร ในขณะที่ เกษตรกรผู้ได้รับมอบหนังสือสิทธิทำกินนั้นเป็นเสมือนผู้เช่าที่ดินของรัฐไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินและขาดอำนาจในการควบคุมและจัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ในขณะที่การให้สิทธิทำกินเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอแล้วสำหรับเกษตรกร เพราะเกษตรกรต้องการเข้าถึง "ทุน" ในการทำการเกษตรด้วย การมีเพียงสิทธิที่กินจึงเป็นการจำกัดโอกาสในการพัฒนาของเกษตรกร

วิทยา อาภรณ์ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำเสนอหัวข้อวิจัยหัวข้อโฉนดชุมชน ซึ่งทำให้เกิดผลดีต่อชุมชนที่เข้าไม่ถึงที่ดินทำกิน คือ ทำให้เกิดการปรับการจัดการที่ดินในชุมชน เกิดการปรับตัวของคนในชุมชน มีการขยายตัวของการแก้ปัญหาของชาวบ้าน เป็นเครื่องมือให้คนที่ด้อยโอกาสตั้งหลักได้ท่ามกลางสังคมทีเหลื่อมล้ำ ป้องกันการคุกคามของรัฐ

แต่ในขณะเดียวกัน โฉนดชุมชนก็ยังขาดความชัดเจนที่ต้องพัฒนาให้ชัดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความเข้าใจกับสาธารณะว่าไม่ใช่การทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ โฉนดชุมชนควรเป็นทางเลือกไม่ใช่การวางเป็นเป้าหมายสุดท้าย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการสร้างโจทย์ใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับภาวะสังคมปัจจุบัน ซึ่งสำหรับวิทยาเองมองว่า  ทั้งป่าขุมชนหรือโฉนดชุมชนเหมือนกับสนามเพลาะที่ขุดให้ชาวบ้านที่ไม่มีทางเลือกมาใช้ประโยชน์ แต่นโยบายโฉนดชุมชนควรเป็นทางเลือก ไม่ใช่เพราะไม่มีทางอื่นให้เลือก และเห็นว่าโฉนดชุมชนนั้นโดยตัวของมันเองไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับประเทศได้ เพราะถึงที่สุดแล้วต้องมีการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ

ชลิตา บัณฑุวงศ์ นำเสนอในหัวข้อการปรับโครงสร้างชนบท กรณีชุมชนชายฝังทะเลอันดามัน ซึ่งชลิตาระบุว่า ชนบทของไทยนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมและทิศทางที่สำคัญมากก็คือภาคเกษตรลดความสำคัญลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่ที่ดินทำเกษตรมีจำนวนลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ตามรุ่นคน สำหรับกรณีของชุมชนชายฝั่งที่เป็นภาคเกษตรที่มีการประมงเป็นฐาน ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนรวม ไม่สามารถจับจองเป็นเจ้าของและแบ่งย่อยจนเล็กลงเหมือนที่ดินในภาคเกษตรแบบเพาะปลูก

นอกจากนี้ ในขณะที่ทรัพยากรที่ดินเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ แต่ทรัพยากรชายฝั่งในพื้นที่ศึกษากลับฟื้นตัวขึ้นมากอันเป็นผลจากการทำงานของของกลุ่ม/ชมรมชาวประมงในท้องถิ่นและองค์กรพัฒนาเอกชน ปัจจุบันไม่มีอวนลากอวนรุนในอ่าวพังงานที่เป็นพื้นที่ศึกษาอีกแล้ว จึงน่าสนใจศึกษาว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ กระแสโลกาภิวัตน์ที่ไหลผ่านมาของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกนั้น  ทรัพยากรและการประมงชายฝั่งมีบทบาทอย่างไรในการสร้างคุณภาพที่ดีของผู้คนในชุมชนชายฝั่งทะเล งานศึกษานี้พบรูปแบบที่เปลี่ยนไปของการประมงชายฝั่งขนาดเล็ก ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งการปรับตัวจากการทำประมงมาเป็นลูกจ้างในบ่อกุ้ง หรือไปทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว แต่ก็มีกรณีทีกลับมาทำประมงแต่ใช้เรือลำเล็กลง ทำประมงใกล้ๆ ดัดแปลงเป็นเรือท่องเที่ยวบ้างก็มี ทำยางพารามากขึ้น

ชลิตากล่าวสรุปว่า แม้การทำประมงไม่ใช่รายได้หลักหรือไม่สามารถทำแล้วรวย เพราะไม่สามารถเพิ่มขนาดให้มีความเข้มข้นได้ เนื่องจากระบบนิเวศชายฝั่งมีข้อจำกัด ถ้าทำเชิงเข้มข้นมากเกินไปจะทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมและไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ประมงก็ยังมีความจำเป็นอยู่ เพราะมีสถานะเป็นกลยุทธในการสร้างความหลากหลายในการดำรงชีพ จึงเป็นความท้าทายของชาวบ้านและคนที่ทำงานในพื้นที่จะต้องรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรให้คงอยู่อย่างน้อยก็ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ท่ามกลางเงื่อนไขที่ยุ่งยากขึ้น เช่น ไม่ว่าจะเป็นทุนโลกาภิวัตน์ขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็ว นโยบายรัฐในการพัฒนาชายฝั่งทะเลอันดามันให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลกที่ต้องมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของอ่าวพังงาโดยรวม รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นับวันจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งที่ผ่านมาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษายังไม่เอื้อมากนักต่อการรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง

ศักรินทร์ ณ น่าน นำกรณีสิทธิในเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งการจัดการทรัพยากรเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ อีกต่อไป เนื่องจากการปรับระบบเมล็ดพันธุ์ในฐานะสินค้าในตลาดโลก ทำให้บรรษัทเมล็ดพันธุ์มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตในชนบท อีกทั้งรัฐก็ให้การรับรองระบบดังกล่าว ในอีกด้านหนึ่งก็มีการเคลื่อนไหวต่อต้านเสรีนิยมโลกาภิวัตน์ของการค้าเมล็ดพันธุ์ อาทิ การส่งเสริมการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ระหว่างชาวบ้านกับรัฐ โดยขององค์กรพัฒนาเอกชน เขาชี้ว่าประเด็นหลักของเรื่องเมล็ดพันธุ์ยังอยู่ที่ความคลุมเครือในเชิงกฎหมาย ปัญหาการยึดติดกับสิทธิเชิงเดี่ยว และชี้ว่าเศรษฐกิจเชิงศีลธรรมยังคงมีบทบาทในการต่อรองกับบรรษัทเมล็ดพันธุ์ต่อไป

ข้อวิจารณ์ โดย ดร.นลินี ตันธุวนิตย์ บทความทั้ง 4 มีจุดร่วมกันคือ ประการแรก เลิกพูดในเรื่องที่น่าเบื่อ ดีเบตที่ตกไปแล้ว คือการมุ่งประณามก่นด่าโลกาภิวัตน์และทุนสามานย์ แม้ว่าจะไม่ใช่การเฉลิมฉลองโลกาภิวัตน์ แต่พยายามเข้าใจว่าเมื่อมีปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้น ผู้คนจัดการและผชิญหน้าไปอย่างไร ประการที่สอง บทความก้าวข้ามการแบ่ง การพยายามอธิบายแบบแบ่งขั้วของโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นขั้วส่วนตัว เอกชน-รัฐ และพยายามทำความเข้าใจว่าสองส่วนนี้เข้ามาเกี่ยวโยงกันอย่างไร ประการที่สาม การอธิบายวิถีชีวิตของชาวนาและเกษตรกรว่าเป็นเหยื่อแบบเบ็ดเสร็จของทุนนิยม หวนหาอดีตที่สวยงาม แบบเดิมๆ ไม่ถูกนำมาใช้อธิบาย ประการสุดท้าย การไม่พร่ำบ่นถึงการล่มสลายของชุมชน เพราะที่ผ่านมชุมชนก็ไม่ได้ดีเด่นเป็นแก่นสารมาแต่โบร่ำโบราณ คอนเซ็ปท์ของชุมชนได้มีการทบทวนในงานเหล่านี้ โดยชวนให้ข้ามไปจากการอธิบายเรื่องคนกับการเปลี่ยนแปลงแบบเดิมๆ โดยยกรูปธรรมมาบอกว่าความเปลี่ยนแปลงไปถึงไหนแล้ว

 

 

ช่วงที่ 2 ของงานสัมมนาวิชาการ "คน" ในกระแสความเปลี่ยนแปลง คนกับการเกษตรที่เปลี่ยนแปลง : ศักยภาพ หรือ การยอมจำนน ?

เนตรดาว เถาถวิล คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นำเสนอ ปฏิบัติการต่อรองของชาวนาไทย ภายใต้ระบบการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เพื่อป้อนตลาดโลก

พื้นที่ศึกษาในอุบลราชธานีและบางส่วนของอำนาจเจริญ ก่อนหน้านี้ได้เคยเขียนบทความไปส่วนหนึ่งแล้วเพื่อชี้ว่าระบบทุนเข้ามาเปลี่ยนการผลิตข้าวในชาวนาภาคอีสานเป็นระบบอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานและส่งออกได้ มีความปลอดภัย รักสิ่งแวดล้อม รักแรงงาน ทุกอย่างดูดี แต่กระบวนการการสร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้นทำให้เห็นว่ามันไม่ใช่ระบบดั้งเดิม เรียบง่าย แล้วแต่ความพอใจของเกษตรกร อันที่จริงมันพึ่งพาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ใช้อำนาจการจัดระเบียบภูมิศาสตร์ กายภาพ ระบบการผลิต ตลอดจนชีวิตเกษตรกร เพื่อให้สากลยอมรับ

ในงานนี้จะเน้นภาคต่อว่า เมื่อชาวนาถูกจัดระเบียบแรงงาน ถูกควบคุมการผลิต ควบคุมทางอุดมการณ์ ถูกเอาเปรียบสารพัด ชาวนาทำอะไรบ้าง มีการต่อรอง ต่อสู้หรือไม่ อย่างไร

ในประเทศไทยมีระบบเกษตรอินทรีย์ของไทย แต่หากจะส่งออกต้องผลิตให้ได้มาตรฐานสากล ผ่านระบบของประเทศใดๆ เป็นการเฉพาะ เกษตรอินทรีย์ที่อีสานต้องผลิตให้ผ่านมาตรฐาน 7-8 มาตรฐาน แต่ละมาตรฐานมีกฎระเบียบยิบย่อยมาก  โดยจะมีระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานภายใน โดยเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนที่สนับสนุนเ จากนั้นในรอบปีจะมีผู้ตรวจสอบภายนอกมาตรวจสอบซ้ำ

ระบบอินทรีย์ ใช้เวลา 3 ปี ในการเปลี่ยนแปลงนาไปสู่ระบบอินทรีย์แบบมาตรฐาน สรุปแล้วการควบคุมมี 2 ระบบ ควบคุมในระบบการผลิต และการควบคมในระบบตรวจสอบรับรองมาตรฐาน

เราจะเห็นความพยายามจัดระเบียบชีวิตชาวนา ฝึกให้มีการคิดคำนวณทุกอย่าง จดบันทึกเหมือนนักวิจัย มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเปลี่ยนเกษตรเป็นเกษตรสมัยใหม่ ชาวนาทุกคนต้องผ่านการอบรมจึงจะเป็นชาวนาอินทรีย์ได้ และต้องอบรมทุกปี การสอนก็ไม่ได้สอนให้เป็นชาวนาเฉยๆ แต่ปลูกฝังความคิดในเรื่องตลาด มีความคิดเป็นผู้ประกอบการ

สมมติฐานที่ต้องการผลิตอินทรีย์สากล คือ ต้องการให้ชาวนามีรายได้เพิ่มและฟื้นฟูดิน(รักษาสิ่งแวดล้อม) และภายหลังก็เพิ่มเรื่อง Fair Trade แต่ขณะเดียวกันชาวนาก็จะต้องเหมือนนักเรียนที่ถูกสอนให้เก่งแบบเข้มข้นและต้องสอบให้ผ่านทุกมาตรฐานและต้องสอบใหม่ทุกปี ระบบนี้จึงมีความตึงเครียดในตัวมันเอง

อย่างไรก็ตาม เอ็นจีโอได้ช่วยแปลงระเบียบต่างๆ เป็นกฎที่ชาวนาต้องทำ 20 ข้อ ครอบคลุม 7-8 มาตรฐาน เช่น ต้องทำเกษตรอินทรีย์ในทุกแปลง ต้องไม่มีการเลี้ยงสัตว์ในกรง ต้องขายข้าวให้โครงการเท่านั้น ฯลฯ

งานศึกษานี้ได้ลองใช้แนวคิด practices of politics พบว่าชาวนาเปิดพื้นที่ในการต่อรองได้มากพอสมควร จากการมีโอกาสไปร่วมการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบต่างประเทศ ซึ่งมีการตรวจสอบพื้นที่จริงและการสัมภาษณ์ จะเห็นการตอบโต้กันระหว่างผู้ตรวจสอบต่างประเทศ ในประเทศและชาวนา ชาวนาไม่ได้ตอบคำถามเชื่องๆ มีการโต้เถียง ตั้งข้อสงสัยต่อความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ กระทั่งไม่ปฏิบัติตามกฎแล้วไม่บอก เป็นการสู้ในระบบเพื่อสร้างความยุติธรรมให้มากขึ้นและลดความตึงเครียดในการหายใจบ้าง เพราะถึงที่สุดแล้ว นาอินทรีย์ไม่ใช่การรับรองว่าไมมีสารอินทรีย์ เป็นแต่การยืนยันว่าได้ทำมาตรการบางอย่างเพื่อให้มีสารเคมีน้อยที่สุด และไม่ใช่การทำแบบเรียบง่าย ทำยากมาก

โดยสรุป การสร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทำโดยการสร้างวินัยให้เกษตรกรให้ทันสมัย เป็นเหตุเป็นผล เป็นผู้ประกอบการ และใช้อุดมการณ์ครอบงำด้วย ที่สำคัญต้องเชื่อฟังผู้เชี่ยวชาญ แต่ชาวนาอีสานก็ตั้งคำถามกับผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความปลอดภัย ชี้ให้เห็นว่ามาตรฐานของผู้เชี่ยวชาญไม่ได้มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปได้เสมอไป ความแฟร์ของระบบเกษตรพันธสัญญามีมากน้อยเพียงใด และตั้งคำถามกับความเป็นธรรมชาติ ความสะอาด ตั้งคำถามหมดกับคอนเซ็ปท์เหล่านั้นที่นำเข้าจากต่างประเทศ นำสู่การสร้างพื้นที่การต่อรองในระบบ certificate มากขึ้น อีกวิธีหนึ่งคือ ชาวนาเลือกปลูกข้าวหลายระบบ ไม่พึ่งพิงเกษตรอินทรีย์อย่างเดียว


พุฒิพงศ์ นวกิจบำรุง นักวิจัยอิสระ นำเสนอ เกษตรพันธะ (ไร้) สัญญา : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีประเด็นเกษตรพันธสัญญาในหน้าข่าวเยอะขึ้น เอ็นจีโอจับประเด็นนี้มากขึ้น ผู้คนมักมองเกษตรพันธสัญญาว่าทุนผูกขาดเอาเปรียบเกษตรกรและพยายามให้เกษตรกรหลุดออกจากวงจรนี้ไปสู่เกษตรทางเลือก แต่อาจารย์บางท่านก็เสนอว่าเกษตรพันธสัญญามีหลายรูปแบบไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด แล้วเราจะมองอย่างไรต่อ

งานศึกษานี้มีสมมติฐานอีกแบบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับเกษตรกรนั้นซับซ้อน ทุนไม่ได้ชั่วร้ายเสมอไปและโจทย์คือเราจะรับมือ อยู่กับมันอย่างไร

เป้าหมายนำเสนอมี 2 ประเด็นหลักคือจะทำความเข้าใจเกษตรพันธสัญญาอย่างไร และเกษตรกรจะปฏิสัมพันธ์กับตลาดอย่างไร เพื่อชี้ว่าเกษตรพันธสัญญานั้น แม้เราไม่อยู่ในวงจรก็ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นอิสระ และเกษตรไม่ใช่ฝ่ายถูกกระทำอย่างเดียว

งานศึกษานี้ดูในพื้นที่หมู่บ้านปะกากญอที่แม่แจ่ม ซึ่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กัน 80% ของพื้นที่และยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน ที่เป็นไร่หมุนเวียนมาก่อน ปัจจุบันมีราว 80 ครัวเรือน เฉลี่ยแล้วปลูกข้าวโพดกัน 19 ไร่ต่อครัวเรือน

ข้าวโพดในที่สูง มีทั้งที่เป็นพันธสัญญาและไม่ใช่ ส่วนที่เป็นพันธสัญญาจะเป็นข้าวโพดเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ แต่ถ้าเป็นข้าวโพดอาหารสัตว์นั้น ไม่เป็นพันธสัญญา แต่เอาเข้าจริงแล้วปัจจัยการผลิตและการขายสินค้าแม้ชาวบ้านไม่ทำพันธสัญญา แต่ที่มาเหล่านี้ก็ยังมาจากกลุ่มทุนใหญ่ๆ หรือไปสู่บริษัทใหญ่ๆ ไม่แตกต่างกัน  โดยมีผู้ประกอบการท้องถิ่นคั่นกลาง เหมือนเป็นหน่วยการผลิตหน่วยหนึ่งของบริษัทขนาดใหญ่ จึงเกิดข้อสงสัยว่าเราจะมองว่ามันเป็นพันธสัญญาได้ไหม

พื้นที่ปลูกก็เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งหลายส่วนก็เป็นข้อพิพาทกับรัฐ กรณีนี้อาจมองได้ว่าเป็นกระบวนการที่ชาวบ้านแสดงสิทธิของการใช้พื้นที่จากไร่หมุนเวียนเป็นไร่ถาวร เหมือนเป็นการอ้างการใช้พื้นที่ในกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ จะเห็นว่าการใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดของชาวบ้านนั้นซับซ้อน ซ้อนทับกับการต่อสู้ทางการเมืองเพี่อความมั่นคงทางที่ดินด้วย เป็นการโดดจากแนวคิดแบบจารีตมาเป็นแนวคิดสมัยใหม่ที่ต้องการทรัพย์สินส่วนบุคคล

เกษตรพันธสัญญาแบบเดิม ทำให้มุมมองแคบเห็นแต่บริษัทกับชาวบ้าน แต่เกษตรพันธสัญญาแบบไม่เป็นทางการถูกใช้กันตลอดเวลาแต่คนกลับมองไม่เห็น กลุ่มทุนขนาดใหญ่มีวิธีการจัดการ ควบคุมตลาด ชาวบ้านได้โดยที่เรามองไม่เห็น

 

อิทธิพล โคตะมี นักศึกษาปริญญาโท เสนอเรื่อง"หนึ่งทศวรรษสังคมอีสานผ่านมุมมองบัณฑิตอาสา ม.ธ."

ที่ผ่านมามีงานศึกษาสังคมอีสานหลายชิ้นที่มองว่าชาวบ้านมีอำนาจและเปลี่ยนไปแล้ว งานชิ้นนี้สนับสนุนและเพิ่มเติมแง่มุมบางอย่าง

ขอเริ่มต้นจากสารนุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่มที่ 13 ให้ภาพลักษณ์ชนบทว่า คนชนบทยากจน ทำนาโดยพึ่งน้ำฝน ปลูกข้าวได้พอเหลือขายเพียงเล็กน้อย ขาดแคลนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ คนชนบทโอกาสกินปลาเฉพาะฤดูฝนและฤดูน้ำ เป็นอัตราการกินปลาที่ค่อนข้างต่ำ 10 กก.ต่อปี จาก 40 กก.ต่อปี  สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างแตกต่าง กับ สังคมยุคหลังชาวนา ที่ศึกษาในงานชิ้นนี้

ข้อสรุปจากงานศึกษา พบว่า สิบปีมานี้ของสังคมอีสาน  1. ใกล้ชิดกับเมืองมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพและความคิดสมัยใหม่  มีระบบตลาดเข้มข้นมากขึ้น บริโภคคล้ายและเหมือนกับคนเมือง เป็นปัจเจกชนมากขึ้น 2. มีความพยายามรักษา "ความเป็นชนบท" ด้วย เกิดจากอุตสาหกรรมข้ามชาติที่มาทำให้ชาวนาได้มาตรฐานสากลแล้วบอกว่าเป็นลักษณะของชาวนาดั้งเดิม การรักษาอัตลักษณ์ชนบททำให้ชาวบ้านสามารถต่อรองได้ด้วย

องค์ประกอบของคอนเซ็ปท์สังคมหลังชาวนา แบ่งเป็น

1.วิถีการผลิต ชาวบ้านที่ทำนาเป็นลูกค้าชั้นดีของ ธกส. ต้นทุนหมดไปกับค่าจ้างแรงงาน มีการเคลื่อนย้ายแรงงานวัยทำงานเข้าสู่เมือง ทำให้แรงงานน้อยลงในหมู่บ้าน ในบางงานชาวบ้านทำเศรษฐกิจปลา รายได้สูงมาก ลักษณะชุมชนแบบนี้ ทำให้เห็นว่า เป็นการผลิตในขั้นปฐมภูมิ ส่งขายให้ตลาดเอาไปแปรรูป และเป็นความสัมพันธ์เชิงตลาด ในแรงงานในการผลิต

2.ความคิด ในสังคมยุคหลังชาวนา ไม่ใช่ชาวนาบริสุทธิ์ที่มีความคาดหวังแบบเก่าๆ อยู่อย่างพอเพียง หาอยู่หากิน เขามีความคาดหวังใหม่ๆ เป็นปัจเจกชนที่คำนวณอยู่ตลอดเวลา

3.อัตลักษณ์ มีชาวนารุ่นใหม่บริโภคสูงมาก การบริโภคในที่นี้เพื่อรักษาความสัมพันธ์ของสังคมชาวนา เช่น การซื้อสุรามาเลี้ยงเพื่อรักษาแรงงานไว้ การปลูกบ้านใช้รถที่มีมูลค่าเพื่อปรับความสมดุลทางอำนาจ

4.ลักษณะข้ามชาติ ชาวอีสานปฏิสัมพันธ์กับคนเยอะมาก ข้ามท้องถิ่น ข้ามรัฐ กระทั่งข้ามชาติ เช่นตัวอย่างศึกษาการแต่งงานของคนต่างชาติกับสาวอีสาน

การเปลี่ยนแปลงในสังคมหลังชาวนานี้แตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นที่ฉับพลัน หรือรุนแรง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนาน

 

========================= 

วิจารณ์โดย วิโรจน์ ณ ระนอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย TDRI

วิโรจน์เล่าว่ามีเรื่องเล่าในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ว่า ถ้าทำงานเศรษฐศาสตร์ไม่ดี ชาติหน้าจะถูกสาปเป็นนักสังคมวิทยามานุษยวิทยา ไม่ใช่เพราะดูแคลนแต่เพราะอ่านงานด้านนี้แล้วยากที่จะทำความเข้าใจ

จริงๆ นักเศรษฐศาสตร์ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกมักง่าย เพราะอ้างว่าคนมีเหตุผลในการตัดสินใจด้วยตัวเองเสมอ เวลาดูพฤติกรรมคนจะไม่ดูว่าคนทำอะไร แต่ดูว่าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างไร แต่พอมาอ่านบทความชุดนี้จะเห็น ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ ผู้แสดง ผู้ตอบโต้  มีวาทกรรมต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นทุนนิยมยุคสุดท้าย เกษตรพันธสัญญาที่ไม่ต้องมีสัญญา บางครั้งจึงรู้สึกเหมือนอยู่ใน wonder land เพราะตีความปรากฏการณ์ต่างกับนักเศรษฐศาสตร์  ยกตัวอย่าง ถ้านักเศรษฐศาสตร์มองกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีการซื้อที่ดินเกิดขึ้น อาจตีความว่า ระบบกรรมสิทธิ์ที่เป็นอยู่มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง ถ้าใครจะซื้อที่ดินแล้วพรุ่งนี้ถูกยึดไปง่ายๆ คงไม่ซื้อ คนที่พร้อมซื้อที่ดินในป่าสงวนเพราะเขาคิดว่าเขามั่นคงในระดับหนึ่งที่จะใช้กรรมาสิทธิมากกว่าคนทั่วไป เช่น นักการเมือง ผู้มีอิทธิพล จึงมองว่าเป็นผลมากกว่าที่จะตีความว่า เรามีการไปซื้อที่ดินเพื่อจะใช้มันเป็นเครื่องมือในการต่อรองเพื่อความมั่นคงในที่ดินท่ามกลางแรงกดดันรอบด้าน

เรื่องคอนแทกฟาร์มมิ่งถูกยกมาเป็นระบบความสัมพันธ์ในการผลิต แต่หลายอย่างกลับเห็นว่าเป็นพฤติกรรมปกติในระบบ  อาจจะไม่ใช่เรื่องสูงส่งมากมาย แต่เป็น reaction ธรรมดาของมนุษย์

"เราพยายามตีความพฤติกรรมคนมากไปกว่าที่เขาทำหรือเปล่า" วิโรจน์กล่าว

 

หมายเหตุ: อ่านรายละเอียดของงานพร้อมบทคัดย่อของงานวิจัยแต่ละชิ้นได้ที่ http://socanth.tu.ac.th/news/academic-events-updates/ccscs-seminar-2013/

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกฟ้องยุทธภูมิ กับ สัปดาห์แห่ง “ใครก็ได้” ใช้มาตรา 112

Posted: 16 Sep 2013 09:34 AM PDT

 

ในอดีตเคยมีคดีเมื่อปี 2501 สุวัฒน์ วรดิลก และ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คู่สามีภรรยาศิลปินนักร้องนักแต่งเพลง ถูกฟ้องตามมาตรา 112 โดยผู้ที่เคยอยู่บ้านเช่าอยู่ร่วมกันแต่ภายหลังมีเหตุทะเลาะเบาะแว้งกันนำ ความมากล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองตั้งชื่อสุนัขด้วยพระนามของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว และพระราชินี ซึ่งในปี 2503 ศาลฎีกาตัดสินยกฟ้องในข้อหานี้ เพราะผู้กล่าวหามีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยในเรื่องอื่นมาก่อน (ขณะที่นายสุวัฒน์ ถูกลงโทษตามมาตรา 112 จากข้อกล่าวหากรรมอื่น)

เมื่อประมาณสองปีก่อนหน้านี้ ก็มีเรื่องราวของ นายวิพุธ หรือผู้ใช้นามปากกาในเน็ตว่า IPAD ชาวร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้ที่ไล่แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีตามมาตรา 112 กับชาวเน็ตที่โต้เถียงเรื่องการเมืองกับเขาในเว็บไซต์ประชาไทไม่ต่ำกว่า 18 ราย คนที่ถูกนายวิพุธแจ้งความนั้นรวมทั้งกรณีที่มีชื่อเสียงอย่าง เว็บมาสเตอร์ประชาไท อาจารย์สุรพศ ทวีศักดิ์ และนายประวิตร โรจนพฤกษ์ด้วย ถึงวันนี้คดีส่วนใหญ่ยังอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 ศาลอาญาตัดสินคดี "พี่ฟ้องน้อง" หรือ คดีที่นายยุทธภูมิ ถูกพี่ชายตัวเองกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 112 โดยมีพี่ชายเพียงคนเดียวที่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันในเรื่องส่วนตัว เรื่องธุรกิจ และหมากัดกัน เป็นคนกล่าวอ้างว่าได้ยินน้องชายพูดสบถเชิงสาปแช่ง และเขียนคำหยาบลงบนแผ่นซีดีใต้คำว่า "พระเจ้าอยู่หัว" ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องราวที่พี่ชายอ้างว่าเกิดขึ้นในบ้าน ไม่มีคนอื่นรู้เห็นเหตุการณ์

แม้ศาลจะตัดสินยกฟ้อง เพราะพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอเนื่องจากพี่ชาย เบิกความมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ อาจจะเป็นการกลั่นแกล้งกันได้ แต่ระหว่างการพิจารณาคดี ยุทธภูมิซึ่งยื่นขอประกันตัวไปถึง 7 ครั้งกลับถูกปฏิเสธทั้งหมดด้วยเหตุว่า เป็นความผิดร้ายแรงกระทบต่อจิตใจของประชาชน ทำให้เขาต้องถูกขังอยู่ในเรือนจำนานถึง 349 วันกว่าที่ความเป็นธรรมจะมาถึง 

หลังได้รับการปล่อยตัว ยุทธภูมิยังถามหาถึงสิทธิการประกันตัวของเขาอยู่ "ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ศาลตัดสินยกฟ้อง ถ้าผมได้ประกันตัวก็คงไม่ต้องลำบาก งานก็ยังอยู่ แม่ก็ไม่ต้องลำบาก ครอบครัวก็ไม่ต้องลำบาก"



ยุทธภูมิ หลังได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ

 

บทเรียนที่เกิดกับคนธรรมดาที่ไม่มีตัว ตนในสังคมอย่างยุทธภูมิ คงไม่อาจเป็นบทเรียนที่ "ไม่มีตัวตน" สำหรับกระบวนการยุติธรรม และกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ได้

อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์เดียวกับที่ศาลคืนอิสรภาพให้ยุทธภูมิ มีผู้ต้องหาตามมาตรา 112 รายใหม่เข้าไปแปะมือกับยุทธภูมิในห้องขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสข้อความหมิ่นในเว็บไซต์ Internet to Freedom ด้วยนามแฝงว่า "เคนจิ" ซึ่งผู้ที่ไปบอกกับตำรวจว่าเขาคือ "เคนจิ" คือ อดีตภรรยา หรือ "เมียเก่า" ของเขานั่นเอง 

ผู้ถูกกล่าวหาว่าใช้นามแฝงว่า "เคนจิ" คนนี้ยังอยู่ระหว่างการยื่นขอประกันตัว และไม่แน่ว่าด้วยข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงเช่นนี้ คดีของเขาจะต้องเดินตามรอยคดีของยุทธภูมิหรือไม่

ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556 "แม่ก้อย" อดีตภรรยาของนายวีรวัฒน์ วลัยเสถียร ลูกชายของอดีตรมช.กระทรวงพาณิชย์ ก็ออกมาเปิดเผยว่ามีคลิปวีดีโอที่อดีตสามีเคยหมิ่นเบื้องสูงและเคยนำคลิปนี้ เข้าแจ้งความที่กองปราบปรามไว้แล้วแต่คดียังไม่มีความคืบหน้า 

ทั้งนี้ "แม่ก้อย" คนนี้เคยมีเรื่องมีราวกับอดีตสามีถึงขั้นแจ้งความข้อหาทำร้ายร่างกายไว้ที่ สน.ลุมพินี เมื่อปลายปี 2555 และต่อมา ฝ่ายอดีตสามีก็แจ้งความกลับข้อหาแจ้งความเท็จ อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการแย่งกันเลี้ยงลูกสาว จนเกิดเพจในเฟซบุ๊ค "คืนลูกให้แม่ก้อยเถอะ

และในเช้าวันที่ 16 กันยายน 2556 ก็มีเรื่องฮือฮาเพิ่มขึ้นอีกในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เมื่อ "อั้ม เนโกะ" นักศึกษาธรรมศาสตร์ที่กำลังโด่งดังจากแคมเปญรณรงค์ต่อต้านการบังคับใส่ เครื่องแบบนักศึกษา ถูก "ฟ้า พรทิพา" เจ้าของรายการ "เบสต์ออฟยัวร์ไลฟ์" ออกอากาศทางดาวเทียม ซึ่งเคยไปสัมภาษณ์ "อั้ม เนโกะ" นำหลักฐานการแสดงออกผ่านเฟซบุ๊คพร้อมคลิปการสัมภาษณ์ในรายการเบสต์ออ ฟยัวร์ไลฟ์มาเป็นหลักฐานแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเป็นคดี "หมิ่นเบื้องสูง" อีกหนึ่งคดี

แม้โดยทฤษฎี กระบวนการยุติธรรมทางอาญาย่อมเปิดช่องให้จำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีพิสูจน์ความ บริสุทธิ์ของตนเองได้ แต่ในทางปฏิบัติ กว่าจะพิสูจน์กันเสร็จสิ้นก็ต้องแลกกับการถูกตราหน้าจากสังคมในฐานะที่ บังอาจแตะต้อง "สถาบันอันเป็นที่รัก" ที่หนักหนาคือการไม่ได้สิทธิประกันตัวจนต้องเข้าไปนอนหลังลูกกรงดังที่เกิด ขึ้นกับคดีส่วนใหญ่ ซึ่งย่อมนำพาความเดือดร้อนสู่ตนเองและครอบครัวอย่างมหาศาล

ในระหว่างที่หลายฝ่ายเสนอให้แก้ไขมาตรา 112 เพื่ออุดช่องโหว่ที่เปิดให้ "ใครก็ได้" หยิบเอามาตรา 112 `มากล่าวหาดำเนินคดีเพื่อแก้ปัญหาคดียุ่งเหยิงรกโรงรกศาลเหล่านี้ แต่ข้อเสนอเหล่านี้กลับถูกตีขลุมว่าไม่ปรารถนาดีต่อสถาบันกษัตริย์ฯ ในทางกลับกันก็ควรต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยว่าการที่ "ใครก็ได้" นำมาตรา 112 มาใช้กับความขัดแย้งส่วนตัวเช่นนี้เป็นการปรารถนาดีต่อสถาบันกษัตริย์ฯหรือ ไม่

เรื่องราวที่ปรากฏให้เห็นกันในวันนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับคนที่มีชื่อเสียงในสังคม ทำให้เรื่องราวถูกถ่ายทอดจนรับรู้กันผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่ท่ามกลางธรรมชาติของมนุษย์ที่มักซุบซิบนินทาบุคคลที่โดดเด่นในสังคม และธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันที่ย่อมมีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา คงมีเรื่องราวอีกมากที่ไม่อาจทราบได้หมดว่า เมื่อใดบ้างที่คนไม่ถูกกันแล้วจะนำ "ข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงที่สุดในสังคมไทย" มาใช้เพื่อเล่นงานอีกฝ่ายหนึ่ง

ยุทธภูมิคงไม่อาจลืมการกระทำของพี่ชายแท้ๆ ของตัวเองได้ง่ายๆ จากการขยายความขัดแย้งในครอบครัวมาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง จนนำไปสู่การสูญเสียอิสรภาพเป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งปี เคนจิ, อั้ม เนโกะ, อดีตสามีของแม่ก้อย, คู่ขัดแย้งของวิพุธ และคนอีกนับไม่ถ้วนที่ถูกฝ่ายตรงข้ามยืมมือรัฐผ่านทางระบบกฎหมายมากลั่น แกล้งก็คงเช่นเดียวกัน 

ยังไม่ต้องนับถึงประเด็น "เสรีภาพการแสดงออก" ในระดับสากล เพียงแค่ตระหนักถึงปัญหาในระดับชีวิตประจำวัน ว่าเราจะใช้ชีวิตร่วมกับคนรอบข้างได้อย่างไร เมื่อสมการอันบิดเบี้ยวให้ค่าออกมาว่า ความขัดแย้งทั่วๆ ไป บวกมาตรา 112 มีค่าเท่ากับเหยื่อตัวเล็กๆ ในหลุมดำของระบบกฎหมายไทย

 

ที่มา: http://ilaw.or.th/node/2930

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกี่ยวข้องกับแรงงานอย่างไร

Posted: 16 Sep 2013 09:05 AM PDT

นับจากการทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลเมื่อปี 2549 ผู้เขียนเล็งเห็นกลไกปราบปรามของรัฐ คือ คุก ศาล ทหาร ตำรวจ มีความเข้มแข็ง เผด็จการมากขึ้น ในการจัดการกับนักกิจกรรม ผู้ประท้วงรัฐประหาร  รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ อย่างไม่หยุดหย่อน  เพราะเป็นขบวนการที่ยึดหลักคิดว่า การแทรกแซงของทหารไม่สามารถยอมรับได้ ตามหลักการประชาธิปไตยสากล ในขณะที่อีกฝ่าย สนับสนุนทหารและกฎหมายความมั่นคงต่างๆ  ทำลายประชาชนที่กำลังตื่นตัวเรื่องการเมืองตั้งแต่ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จนถึงวันนี้

ผู้เขียนยังเล็งเห็นช่องว่างแห่งความเข้าใจของผู้นำแรงงาน สหภาพแรงงานที่หลายแห่งไม่ตระหนักเรื่องการเมืองว่าชนชั้นปกครองใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐ ริดรอนเสรีภาพของตัวเอง เพื่อที่จะออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายเหล่านี้

ยกตัวอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เปิดช่องให้มีการแจ้งความกล่าวหาโดยใครก็ได้  อนุญาตให้มีการตีความเกินขอบเขต  เหมารวมการดูหมิ่นว่าเป็นการประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์และองค์รัชทายาทที่ต้องลงโทษอย่างหนัก หลายกระทง ไม่ให้สิทธิประกันตัว สร้างอคติ เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการกลั่นแกล้ง รังแกผู้ที่เห็นต่างจากผู้มีอำนาจ ทั้งก่อให้เกิดการไต่สวนพิจารณาคดีที่เอนเอียง ไร้มาตรฐาน กักขังผู้ต้องหาให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกายและจิตใจ ใส่ห่วง ล่ามโซ่ตรวน ซึ่งทำให้ผู้ต้องหากลายเป็นจำเลย เป็นอมนุษย์ ซ้ำยังก่อให้ผลทางจิตวิทยาต่อสังคม สร้างความหวาดกลัวต่ออำนาจรัฐเพื่อป้องกันการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันการปกครองสำคัญๆ

แต่ยังมีคำถามคาใจที่นักสหภาพแรงงาน นักพัฒนาเอกชน ในขบวนการแรงงานสงสัยว่ากฎหมายหมิ่นฯ นี้มาเกี่ยวข้องกับแรงงานอย่างไร กับสิทธิแรงงานซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้หมายความว่า จะต้องแยกออกจากสิทธิพลเมืองในมิติอื่นๆ  อีกทั้งมันสำคัญอย่างไรต่อผู้ใช้แรงงานที่จะออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายนี้

คำตอบคือ

1.กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจรัฐมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันมักใช้ควบคู่กับกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นผลผลิตของคณะผู้ทำการรัฐประหารและรัฐบาลสมัยสุรยุทธ์ จุลานนท์ บนหลักคิดอุดมการณ์ชาตินิยม กษัตริย์นิยม และใช้วาทกรรมอื่นที่แพร่หลายในขบวนการโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทยยุคนั้นด้วย คือวาทกรรมเผด็จการรัฐสภา เสียงข้างมากทำร้ายเสียงข้างน้อย คนเลือกพรรคไทยรักไทยโง่ ด้อยการศึกษา เห็นแก่ประโยชน์ระยะสั้นจากนโยบายประชานิยม ชาวบ้านซื้อสิทธิขายเสียง นักการเมืองเลว คอรัปชั่น สมควรต้องโยนระบบประชาธิปไตยแบบผู้แทนทิ้งไป แล้วให้ทหารกับคนดีมีศีลธรรมมาปกครองแทน

2.กฎหมายนี้ควบคู่ไปกับการใช้ความรุนแรงจากหน่วยงานของรัฐ  ตัดตอนความสามารถ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่จะจัดการผู้แทนและรัฐบาลที่สร้างปัญหาด้วยสติปัญญาของตัวเอง และทำให้พัฒนาการทางการเมืองสะดุด ถอยหลัง

3.กลไกรัฐ คุก ศาล ทหาร ตำรวจ เข้มแข็ง สามารถก้าวก่ายเสรีภาพ หรือเมินเฉยปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน และละเมิดเสียเอง สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว แม้กระทั่งในเรื่องแรงงาน เช่น การรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน การใช้กฎหมายความมั่นคงภายในละเมิดสิทธิในการชุมนุมของสหภาพแรงงาน กรณีจับกุมแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ที่เรียกร้องรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การที่ศาลอนุญาตให้นายจ้างบริษัทไทรอัมพ์เลิกจ้างประธานสหภาพแรงงาน จิตรา คชเดช ด้วยข้อหาเกี่ยวกับการเมือง การใช้ก.ม.คอมพิวเตอร์ฯจำกัดการวิจารณ์นายจ้าง

4.กลไกรัฐเป็นอุปสรรคในการยกระดับขบวนการแรงงานให้เป็นขบวนการประชาธิปไตย  สิทธิแรงงานถูกรัฐบิดเบือน ถูกทำให้ถอยห่างจากสิทธิพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยด้วยการให้ข้าราชการควบคุมสหภาพแรงงานไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และนักสหภาพแรงงาน ผู้นำแรงงานถูกกล่อมเกลาให้เข้าใจเช่นนี้มาโดยตลอด ทำให้ไม่มีพื้นที่พัฒนาศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ปัญหาการเมือง และเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตย  ถ้ามีนักสหภาพแรงงานไหนที่ก้าวหน้า กล้าหาญ ตอบโต้เผด็จการทหาร ก็กลายเป็นชะตากรรมของเขาและครอบครัว ที่จะแบกรับผลที่ตามมาด้วยตัวเอง เช่น กรณีทนง โพธิ์อ่าน จากสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ผู้ต่อต้านคณะผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ถูกอุ้มหายไปอย่างไร้ร่องรอย  กรณีการใช้ก.ม.112 เป็นเครื่องมือจำคุกสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมประชาธิปไตย กลไกรัฐแบบนี้ก็ไม่สามารถประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้ใช้แรงงานได้เลย

5.เนื่องด้วยประเด็นแรงงานสามารถยกระดับการเคลื่อนไหวเป็นประเด็นการเมืองได้ ไม่ใช่ถูกจำกัดให้รณรงค์ในกรอบของกฎหมาย ระบบแรงงานสัมพันธ์ การเจรจาต่อรองบนโต๊ะเท่านั้น  ที่ผ่านมาในกรณีที่บรรยากาศของประชาธิปไตยเบ่งบาน การเดินขบวน ชุมนุม นัดหยุดงานให้แก้ไขกฎหมายแรงงาน เรียกร้องรัฐธรรมนูญเพิ่มสิทธิเสรีภาพของแรงงานก็ทำได้ดีกว่ายุคเผด็จการ เช่น ช่วง 14 ต.ค. 16 แม้แต่การมีพรรคการเมืองแนวสังคมนิยมในรัฐสภาก็สามารถผลักดันไปได้   นี่คือเสรีภาพทางการเมืองที่แรงงานควรรักษาไว้เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวต่อสู้กับเผด็จการ  และหากมีกลไกรัฐที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพก็ควรออกมาคัดค้าน  ทวงความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่ถูกกลไกรัฐรังแก    

ขบวนการแรงงานถูกจัดตั้งมายาวนานกว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เพิ่งเกิดหลังปี 2549  ไม่ควรลอยตัวเหนือความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่  แยกประเด็นแรงงานออกจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานรัฐหลังรัฐประหาร แยกตัวเองออกจากประชาชนทั่วไป แล้วจะมีเสรีภาพแค่ไหนกัน ภายใต้โครงสร้างรัฐที่กดขี่เช่นนี้  การรณรงค์ของสหภาพแรงงานให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิในการจัดตั้ง รวมกลุ่มและเจรจาต่อรอง ก็คงกระทำภายใต้กรอบกฎหมายหมิ่นฯ และกลไกปราบปรามที่แข็งแกร่ง  ในขณะที่อีกด้าน กรรมกรเสื้อแดงทั้งที่ยังไม่เป็นสมาชิกสหภาพ และเป็นสมาชิกบางแห่ง ออกมาในลักษณะปัจเจกต่อสู้แก้ไข ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ โดยไม่ต้องอ้างอิงถึงกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ แต่อ้างถึงหลักการประชาธิปไตยสากล  กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิรวมกลุ่ม รวมตัวเป็นองค์กรในรูปแบบต่างๆได้อย่างเสรี ฉะนั้น ทำอย่างไรจึงจะลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างแรงงานที่จัดตั้งกับที่ยังไม่จัดตั้งเป็นสหภาพแรงงาน และการเคลื่อนไหวต่อสู้ของแรงงานกลุ่มต่างๆ ที่กระจัดกระจายแต่เป็นคนส่วนมากของสังคม ให้ตระหนักถึงการรื้อฟื้นสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิประกันตัว เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุมที่ถูกทำลายอย่างมากหลังรัฐประหาร 49 ดังที่กล่าวมาข้างต้น

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุณเป็นใคร : ปริศนาในวงสันติภาพ (1)

Posted: 16 Sep 2013 08:15 AM PDT

รายงานเสวนาของกลุ่มคนทำสื่อภาคประชาชนคุยเรื่องสันติภาพ แนวทางและความหวังของประชาชนสามจังหวัดชายแดนใต้

ห้วงกระแสสันติภาพปาตานีที่กำลังดำเนินอยู่ท่ามกลางการตื่นรู้ของพลเมือง 3 จชต. และ 4 อำเภอสงขลา นับเป็นแสงของปลายอุโมงค์ที่เต็มไปด้วยความมืดมิดแห่งความรุนแรงซึ่งยังซ่อนเร้นไปด้วย "ปริศนา" ที่ผู้ขับเคลื่อนสันติภาพจำเป็นจะต้องค่อยๆคลี่คลาย อย่างไรก็ตามแต่ ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนในส่วนภาคพลเมืองปาตานีไม่ค่อยเป็นที่รับรู้มากนักหากมองในมิติชุมชน ชาวบ้าน จึงเป็นที่มาของการจัดวงเสวนาคาเฟ่ จากปาตานี ถึงสันติภาพ ใคร ? ทำอะไร ? ยังไง ? เมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นการร่วมจัดโดย ปาตานี ฟอรั่ม กลุ่มสื่อ FT Media มีเดียสลาตันเครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ และร้านหนังสือบูกู ซึ่งร่วมสนทนาโดยคนขับเคลื่อนสันติภาพที่ได้รับความสนใจจากสาธารณะชน อาทิ แวหามะ แวกือจิ ผอ.สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ตูแวดานียา ตูแวแมแง ผอ.สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) และ มูฮำมัดอายุบ ปาทาน บก.อาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( DSJ ) ดำเนินรายการโดย สะรอนี ดือเระ บก.โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ทั้งนี้มีการถ่ายทอดเสียงผ่านวิทยุมีเดีย ครอบคลุมพื้นที่ 3 จชต.และ 4 อำเภอสงขลา
 
 
เริ่มต้นรู้จัก มีเดียสลาตัน สื่อกลางของคนปาตานี

แวหามะ แวกือจิก ผู้อำนวยการสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน กล่าวว่า หัวข้อในการพูดคุยสนทนาในวันนี้น่าสนใจมาก ผมเลยคิดดูว่าถ้าหากหัวข้อน่าสนใจอย่างนี้ ประเด็นก็คือ ผู้รับฟังและผู้เข้าร่วมเสวนา น่าจะได้ประโยชน์อย่างมาก คำถามที่ว่า เราคือใคร ? ทำไร ? ยังไง ? ซึ่งได้ตั้งคำถามได้โดนใจมาก เพราะว่าคำว่าปริศนา คำๆนี้ เมื่อกล่าวขึ้นมาใครๆที่ได้ยินเขาก็ต้องการที่จะอยากรู้และทุกคนก็อยากจะเข้าใจ ถ้าไม่มีคำว่าปริศนาก็ต้องมีคำอื่นแทน แต่เมื่อมีคำนี้ เราทุกคนก็ชอบที่จะตอบคำถามที่ว่านี้ด้วย
 
แวหามะ เริ่มเล่าความเป็นมาของมีเดียสลาตันโดยสรุปว่า มีเดียสลาตันเป็นองค์กรสื่อเล็กๆที่ขับเคลื่อนเรื่องสันติภาพ ถือว่าเป็นประเด็นหลักที่มีเดียสลาตัน ขับเคลื่อนอยู่ มีเดียสลาตัน เดิมที่ชื่อ ร่วมด้วยช่วยกัน แต่มาปี 2550 มีการปรับปรุงบริบทและโครงสร้างของสถานี เปลี่ยนมาเป็นชื่อที่เรียกว่า ร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน และเมื่อปี 2552 ร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน ก็ได้เปลี่ยนมาจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล โดยใช้ชื่อว่า มีเดียสลาตัน จนถึงปัจจุบัน ส่วนไฮไลท์ของสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน นั้นคือ รายการโลกวันนี้ ( Dunia Hari ini ) ซึ่งถ่ายทอดเสียงให้ท่านผู้ฟังทางบ้านได้รับฟังกัน ในช่วงเวลา 20.30 น. – 22.30 น. ถือว่ามีเสียงตอบรับรายการของเราอย่างดีจากพี่น้องที่รับฟังทางบ้านและองค์กรภาคประชาสังคมเอง
 
"มีเดียสลาตันเริ่มภารกิจ เมื่อปี 46 ตอนนั้นเราเช่าวิทยุ มอ.ปัตตานี วันล่ะ 2-3 ชั่วโมง อยู่มาประมานหนึ่งปีก็มีเหตุการณ์ปล้นปืนที่ปีเล็ง จ.นราธิวาส ทางสำนักข่าวหรือบริษัท INN ที่เราทำงานอยู่ในขณะนั้นมีความเห็นว่าสื่อในพื้นที่จะต้องควบคุ้มงานหรือสื่อสานได้ทุกพื้นที่ เราก็เลยย้ายจาก สถานีวิทยุ มอ.ปัตตานี มาจับสื่อ กวส.7 เป็นแม่ข่ายที่ยะลา และลิงค์สัญญาณไปที่ กวส.6 ที่จังหวัดนราธิวาส พร้อมกับวิทยุของกองทัพภาค 4 จังหวัดปัตตานี ทำให้ควบคุ้มพื้นที่ในการสื่อสารมากขึ้น"
 
"บริบทการทำงานในขณะนั้น มีด้วยกัน 3 อย่างคือ ในด้านการแก้ไขปัญหา ประเด็นความหวาดระแวง ประเด็นความไม่รู้ในข้อเท็จจริงจากข่าวลือ และประเด็นความยากจน 3 ประเด็นที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่เราขับเคลื่อนในเวลานั้น แต่เราก็ยังมีความคิดที่จะทำอีกประเด็นหนึ่งเช่นกัน คือ ประเด็นความยุติธรรม แต่ไม่สามารถทำได้กับการที่ทางเราไม่พร้อมเกี่ยวกับองค์ความรู้และทัพยากรบุคคล"
 
"ช่วงปีแรกที่เราขับเคลื่อนโดยใช้สื่อนั้น ผมคิดว่ามันเป็นการปฏิวัติสื่ออีกด้านหนึ่ง เพราะว่าเราใช้ภาษาทั้งสอง คือ ภาษามลายูกับภาษาไทย ควบคู่ไปด้วนกัน จึงทำให้คลีคลายความสงใสและความไม่ไว้วางใจกันได้ เพราะผมคิดว่าประชาชนในพื้นที่แห่งนี้ส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูในการสื่อสารกว่า 80 % แต่เราก็ไม่ได้ละเลยภาษาไทยเช่นกัน เพื่อที่จะได้ตอบโจทย์ในข้อที่ว่า คลีคลายความหวาดระแวงต่อกัน 3-4 ปีที่ผ่านมาเราไม่ใช่แค่จัดรายการวิทยุเพียงอย่างเดียวแต่เราก็ยังมีกิจกรรมเยี่ยมชุมชน ร่วมด้วยช่วยกันยังมีสมาชิกที่ร่วมขับเคลื่อนในขณะนั้น ราว 4,000 กว่าคน จากประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดและอีกสีอำเภอจังหวัดสงขลา"
 
"ร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนมาจนถึงปี 52 ขณะนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่วนกลาง คือ สำนักข่าว INN บทบาทของ ร่วมด้วยช่วยกันในขณะนั้นต้องยุติลง จากการที่สำนักข่าว INN ส่วนภูมิภาคต้องปิดลง ส่งผลให้ร่วมด้วยช่วยกัน ต้องยุติบทบาทในพื้นที่สามจังหวัด แต่เราโชคดีที่มีสมาชิก ร่วมด้วยช่วยกันจึงเรียกสมาชิกมาร่วมประชุมด้วยกัน เพื่อที่จะแจ้งให้สมาชิกรับรู้ในสิ่งที่เราประสบอยู่ ในเรื่องที่เราต้องยุติบทบาทเกี่ยวกับการถ่ายทอดรายการของร่วมด้วยช่วยกัน ปรากฏว่าสมาชิกทุกคนไม่ยินยอมให้สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันยุติบทบาทลง ประกอบไปด้วยการมีกฎหมาย รองรับ พ.ร.บ. วิทยุชุมชน จึงทำให้สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันยังคงรักษาสถานะอยู่"
 
ก้าวที่ยาก และก้าวที่ยั่งยืนของสื่อสันติภาพในพื้นที่

แวหามะ อธิบายว่า การที่สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันเกิดขึ้นมาได้นั้น ไม่ใช่เพราะเงินบริษัทใดหรือเงินของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเพราะการเรี่ยไรเงินจากมูลสมาชิกที่มีอยู่ ผลสืบเนื่องมาจากการประชุมในครั้งนั้น ที่มีมติให้สถานีร่วมด้วยช่วยกันมีบทบาทต่อในพื้นที่ ทางสถานีเลยมีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุขึ้นแห่งแรกที่จังหวัดยะลา ที่มีคลื่น 96.25 FM วันนั้นผมถือว่าเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของสื่อวิทยุชุมชนเลยที่เดียว ที่มีการระดมทุนได้ 300,000 กว่าบาท ในช่วงกว้าแรก เรานำเงินที่ได้มานั้นเปิดสถานีและส่วนค่าใช้จ่ายที่เราต้องการที่ใช้จ่ายเพื่อการจัดการภายใน เราก็ได้ไปกู้ยืมเงินมาจนกระทั้งก็เกิดสถานีแห่งแรกขึ้นมาได้
 
แวหามะเล่าต่อว่า ภายหลังจากนั้นต่อมาก็ได้เปิดสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันที่จังหวัดปัตตานี มีคลื่น 91.50 FM ส่วนที่จังหวัดนราธิวาสนั้นยังไม่มีทุนที่จะตั้งสถานี เลยจำเป็นต้องเช่าสถานีเครือข่ายที่มีอยู่ในพื้นที่ไปก่อน ทั้งนี้มีเดีย ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนามชื่อใหม่คือ สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน แต่ในความเป็นร่วมด้วยก็ยงคงอยู่บ้างคนก็รู้จักในนามสถานีวิทยุร่วมด้วยและมีบ้างคนรู้จักในนามมีเดียสลาตัน แต่ภารกิจหรือเป้าหมายนั้นคือ อันเดียวกัน หมายถึงยังเป็นสื่อในการเปิดพื้นที่กลางให้พี่น้องในพื้นที่สามารถสื่อสารได้ทุกเรื่อง เพราะสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน(ในช่วงนั้น)ไม่ได้ขับเคลื่อนเฉพาะประเด็นสันติภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนในประเด็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานประเด็นความลำบากของพี่น้องประชาชนเราก็ไม่ละเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ ถ้าพี่น้องประชาชนยังมีความลำบากอยู่ สันติภาพก็ยังหางไกล
 
แวหามะ กล่าวอีกว่า การเปิดพื้นที่เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมานั้นซึ่งเป็นการตกลงทำ MOU ระหว่างรัฐไทย (สมช.)นำโดย พล. ท. ภราดร พัฒนถาบุตร กับขบวนการ BRN นำโดยอุสตะห์ฮาซัน ตอยิบ มาวันที่ 1 มีนาคม 2556 เรามีการนัดประชุมโต๊ะข่าวด่าน จากขณะทำงานของมีเดียสลาตันทั้งหมด ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมีการเปิดพื้นที่ให้แก่พี่น้องประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับการพูดคุยเจรจากันของทั้งสองฝ่าย ผมคิดว่าพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาแก่นแท้ของการเจรจานั้นคืออะไร
 
"เราในฐานะสื่อในพื้นที่ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีบทบาทในการเปิดพื้นที่ให้พี่น้องประชาชนเข้าใจและเข้าถึงข้อมูล เมื่อนั่งพูดคุยกับทีมงานมีเดีย มีน้องทีมงานถามว่ามันเสียงเกินไปไหม ค่อนข้างอันตราย ผมก็ตอบว่าหากพวกเราไม่ทำแล้วจะรอให้ใครมาทำ เมื่อมติตกลงว่าวันที่ 1 มีนาคม 2556 เราได้จัดรายการโลกวันนี้ (Duia Hari Ini) ขึ้นมาเป็นวันแรกเพื่อเป็นพื้นที่ให้แก่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันจนถึงบุคคลทั่วไปเขาสามารถที่จะสื่อสารให้ผู้คนได้รับรู้ในสิ่งที่เขาคิดเพราะนี้คือพื้นที่สำหรับเขา
 
สุดท้ายทางเรา(มีเดียสลาตัน)ก็ได้ประสานพูดคุยไปยังประเทศมาเลเซียบอกแก่มาเลเซียว่า ถ้ามีเดียเป็นพื้นที่กลางจริงๆจะต้องสามารถที่จะทำให้ประชาชนในพื้นที่รู้ถึงข้อมูลข่าวสารภายในและภายนอกประเทศด้วย ก็ถือว่าเป็นการโชคดีของมีเดียที่มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์ อุสตะห์ฮาซัน ตอยิบ(BRN) ที่ประเทศมาเลเซีย ถือว่ามีเดียได้ก้าวกระโดดขึ้นอีกระดับหนึ่ง ที่สามารถไปพูดคุยกับบุคคลที่คิดต่างจากรัฐ แล้วมาเล่าให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับฟังเพื่อให้ได้คิดต่ออีกว่าเห็นด้วยอย่างไรกับการพูดคุยสันติภาพที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันเราก็เปิดพื้นที่ให้กับภาครัฐเข้ามาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่รัฐทำอยู่ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เช่นกัน ถือว่าประชาชนนั้นได้รับข้อมูลทั้งสองด้าน
 
"สำหรับหัวข้อที่สนทนา ว่า คำถามที่ว่ามีเดียคือ ใคร ? นั้น มีเดีย ก็คือสื่อในพื้นที่ทีพยายามเปิดพื้นที่ให้กับคนทุกคนและเราไม่ได้แบ่งแยกว่าเขาคนนั้นจะคิดเหมือนหรือไม่ แต่สิ่งที่สำคัญคือ สันติภาพที่จะต้องเดินไปนั้นทุกฝ่ายจะต้องเข้าใจตรง" ผอ.มีเดียสลาตันกล่าวทิ้งท้าย
 
"LAMPAR" ตัวแทนคนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนสันติภาพ
 
ตูแวดานียา ตูแวแมแง ผอ.สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) เริ่มด้วยการอธิบายว่า LEMPAR มีความเป็นมาอย่างไร LEMPAR เป็นตัวย่อ มาจาก LEMBAGA PATANI RAYA UNTUN KEDAMAIN DAN PEMBANGUNAN หรือ สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา โดยสอดคล้องกับองค์กร Kampar ซึ่งเป็นองค์กรในการเคลื่อนไหวในอดีต เป็นองค์กรที่เน้นงานทางด้านการทูตในการเคลื่อนไหวมากกว่าทางด้านกองกำลัง
"เราเลยสนใจพันธกิจของ Kampar ในช่วงโอกาสที่เรามองเห็นว่างานทางด้านการทูตเป็นตัวแปรสำคัญและสามารถกำหนดทิศทางทางการเมืองได้ ในประเด็นเรื่องสันติภาพ เช่นตัวอย่างที่ชัดเจน การเจรจาสันติภาพที่เกิดขึ้นที่ประเทศมาเลเซียในขณะนี้ นั้นก็คืองานทางด้านการทูต เราเลยจัดตั้งกลุ่มและมีชื่อว่า สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR)  เพื่อที่จะให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หรือที่เรียกว่าปัญญาชนมีบทบาทสำคัญในการกำหนดท่าทีทางการทูตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคประชาชน
 
ถอดอดีต : จากนักศึกษา สู่การเป็นทูตสันติภาพปาตานี
 
ย้อนไปที่จุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็น LAMPAR ตูแวดานียา บอกว่า จุดเริ่มต้นของการดำเนินงานขับเคลื่อนสันติภาพของ LAMPAR มาจากปรากฏการณที่ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มขบวนการนักศึกษาที่ออกมาแสดงตนและเปิดเผยตัวในรูปแบบของการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผลพวงในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษตั้งแต่ปี 2550
 
"ช่วงนั้นจะมีการชุมนุมใหญ่ที่หน้ามัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นักศึกษาและชาวบ้านประชาชนร่วมกันออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ถอนทหารพร้อมกับเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษทุกฉบับ และยังเรียกร้องสื่อมวลชนให้แสดงบทบาทที่เป็นกลาง ซึ่งการชุมนุมในครั้งนั้น ผมกับเพื่อนๆอีกหลายคนได้ถอดบทเรียนร่วมกันว่า นักศึกษาได้มามีบทบาทเคียงข้างประชาชนร่วมกันในการเรียกร้องความเป็นธรรมในรูปแบบการเมืองภาคประชาชนในที่สาธารณะ อาจจะช้าเกินไปที่เราออกมา เพราะว่าความขัดแย้งที่บานปลายมานั้น เป็นการสู้รบด้วยอาวุธระหว่างขบวนการ(BRN) ตอนนี้เรารู้ชัดเจนแล้วว่าเป็น BRN ในช่วงนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มใด บ้างคนก็ว่าเป็นฝ่ายแบ่งแยงดินแดน บ้างก็ว่าเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบ ต่างๆนาๆ พวกเรานักศึกษาน่าจะออกมามีบทบาทตั้งแต่ปี 47 ด้วยซ้ำ เราออกมาในปี 50 สามปีให้หลังเกิดเหตุการณ์มากมาย เกิดตากใบ กรือเซะ การซ้อมทรมาน ต่างๆ นาๆ จากการถูกควบคุ้มตัวด้วยกฎหมายพิเศษ
" เรารู้สึกว่าเราออกมาช้าเกินไป แต่ก็ยังดีที่ออกมา แต่ก็ดีกว่าไม่ได้ออกมาเลย ซึ่งเราก็ได้ตั้งคำถามแก่ตนเองว่า แล้วทำไมเราจึงออกมาในปี 50 "
 
เป็นคำทิ้งทายในตอนที่หนึ่ง และน่าสนใจว่า มุมอื่นๆ จะเป็นอย่างไรจาก ตูแวดานียา และอีกท่านคือ มูฮำมัดอายุบ ปาทาน บก.อาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( DSJ ) ที่ยังไม่ได้นำเสนอในตอนนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป……
 
 
 
ที่มา: PATANI FORUM
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักกิจกรรม-นักศึกษาแอคชั่น กราบทะเลขอโทษที่ปล่อยให้เขามาย่ำยีเสม็ด

Posted: 16 Sep 2013 05:03 AM PDT

นักกิจกรรมนักศึกษากราบทะเล ขอโทษที่ปล่อยให้เขามาย่ำยีเสม็ด ชี้เป็นการเเสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ผ่าน "ภาพเล่าเรื่อง" ต่อกรณีน้ำมันรั่ว ซึ่งปตท.ไม่เคยเข้ามารับผิดชอบในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

กราบขอโทษธรรมชาติ บริเวณหน้าหาดสวนสน จังหวัดระยองภาพโดย กันต์ แสงทอง 

เมื่อวันที่ 14-15 กันยายนที่ผ่านมา ตัวแทนนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยอาทิ เช่น กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา กลุ่มรามอีสาน ม.รามคำแหง ชมรมอาสากลาง ม.เชียงใหม่ สมาพันธ์นักเรียน เยาวชน นักศึกษานราธิวาส นิสิตม.เกษตรฯ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)และกลุ่มคนรุ่นใหม่ในภาคตะวันออก ได้มีการจัดเวทีพูดคุยทบทวนบทบาท "กิจกรรมนักศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน" ขึ้นที่จรรยารีสอร์ท หาดสวนสน จ.ระยอง

นอกจากนั้นยังมีการพูดคุยในหัวข้อ "ชีวิตและความใฝ่ฝัน" ของแต่ละคน และการพูดคุยแนวทางการเคลื่อนไหวกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม สรุปบทเรียนข้อผิดพลาดและจุดมุ่งหมายของแต่ละองค์กร พร้อมทั้งร่วมกันหาทางออกและแนวทางการเคลื่อนไหวกิจกรรมในอนาคตร่วมกัน

นายปณิธาน ผัสสะผล ผู้ประสานงานเวที  กล่าวว่า "ขบวนการนักศึกษาในปัจจุบันยังลงเหลือพลังในการเปลี่ยนแปลง แต่ในบางกลุ่มกลับยึดติดภาพการเคลื่อนไหวทางสังคมของขบวนการนักศึกษาในอดีต จนกระบวนการทำงานกิจกรรมทางสังคมไม่สอดคล้องกับสภาพของนักศึกษาในปัจจุบัน เวทีนี้ทำหน้าที่เพียงทบทวนตนเอง ยอมรับความเป็นจริง และค้นหาแนวทางการทำกิจกรรมจนถึงการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ในยุคสมัยที่เป็นของเรา"

โดยในช่วงท้ายของกิจกรรม ทางกลุ่มนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้มีการ ปฏิบัติการแสดงความรู้สึกต่อท้องทะเลระยอง จากกรณีน้ำมันรั่วที่ผ่านมา โดยการ กราบขอโทษทะเลที่ปล่อยให้เขามาย่ำยี ที่บริเวณชายหาดสวนสน

นายรัชชานนท์ เชนพิมาย สมาชิกกลุ่มลูกชาวบ้าน กล่าวว่า "กิจกรรมในวันนี้เป็นการเเสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ต่อกรณีน้ำมันรั่ว ซึ่งปตท.ไม่เคยเข้ามารับผิดชอบในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเลย มีเพียงการชดเชยเงินให้ชาวบ้าน ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป การแสดงออกของเราก็เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามารับผิดชอบในการฟื้นฟูธรรมชาติ โดยการกราบเป็นการแสดงออกเผื่อสะท้อนสิ่งที่ปตท.ทำไว้กับธรรมชาติ เป็นการแสดงออกเชิงประชดประชันอย่างสุภาพ แต่เราไม่ได้นอบน้อมต่อคนทำลายธรรมชาตินะ เราขอโทษธรรมชาติ ที่ปล่อยให้เขามาย่ำยี ผมอยากชวนให้ติดตามว่า พวกเราจะทำอะไรต่อ หลังจากกิจกรรมในวันนี้ครับ"

ผู้ใช่นามสมติว่า 'ขวัญใจ ไก่เบตง' รายงานถึงแอคชั่น "แสดงความเสียใจและกราบขอโทษธรรมชาติ" ด้วยว่า การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของนักศึกษาที่เน้นให้รูปภาพนั้นเล่าเรื่องราวและส่งสารสาระถึงผู้พบเห็นนับเป็นกระบวนการการสื่อสารที่ดึงความสนใจได้ดีทีเดียวในยุคสมัยแห่งความรวดเร็วทันใจไร้ความอดทน  "ภาพเล่าเรื่อง" ผ่านทางโซเชียลเนตเวิร์กหรือที่รู้จักกันดีก็คือเฟสบุค หลังจากได้ตื่นเต้นกับกระแสของน้องอั้ม เนโกะ สาวสวยจากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มิเพียงสวยแต่เค้าหน้า จิตใจ และความคิดของเธอยังแหลมคมและผ่ากลางใจของคนไทยทั้งประเทศได้อย่างรวดเร็วผ่านทางชุดภาพถ่ายอันเซกซี่และเย้ายวนกิเลสดิบเถื่อนของมนุษยชาติไทย

ขวัญใจ อธิบายถึงความหมายของการกราบว่าเป็นการแสดงออกเพื่อขอบคุณและขอโทษที่มีความหนักแน่นและชัดเจนที่สุดในวัฒนธรรมไทยพุทธ ในภาพมีความร่วมมือกับพี่น้องมุสลิมที่ยืนอยู่ด้านหลัง มือชี้ออกไปบอกตำแหน่งถึงเกาะเสม็ดที่อยู่ตรงหน้า จุดประสงค์คือนักศึกษาต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ ทะเล ที่ถูกทำร้าย  เพื่อชี้ให้เห็นและตระหนักถึงความไม่ชัดเจนของกระบวนการแก้ไขปัญหาน้ำมันดิบรั่วของบริษัทปตท. ซึ่งบริษัทยังไม่ชี้แจงเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและไม่มีทีท่าว่าจะรับผิดชอบต่อต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา

"เกาะเสม็ดอาจเป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวแบบชิคๆ ของบางคนคนที่เป็นคนเมืองซึ่งในวันๆหนึ่งได้เหยียบพื้นดินจริงๆกันสักกี่ครั้ง ทะเลที่จะถูกนึกถึงก็ต่อเมื่อมีช่วงวันหยุดพักผ่อนเพื่อใช้เงินแลกความผ่อนคลายจากการทำงาน ในขณะเดียวกันอีกด้านของสังคม ทะเลซึ่งไม่ว่าจะเป็นทะเลไหนก็เป็นโลกอีกโลกของผู้อาศัย ไม่ว่าจะมนุษย์หรือสรรพสัตว์ที่ต่างก็ต้องพึ่งพาทะเล เพราะทะเลคือสถานที่ทำงาน คือการเดินทางสัญจร คือบ้าน คือชีวิต เพราะพวกเราคือมนุษย์ในฐานะคนไทย คนเอเชีย และประชากรของโลก ผู้ตระหนักรู้และมีจิตสำนึก" ขวัญใจ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาวอเมริกัน-อินเดียน วัย 23 ปี คว้ามงกุฎมิสอเมริกาคนใหม่

Posted: 16 Sep 2013 01:49 AM PDT

นิน่า ดาวุลลูรี หญิงสาววัย 23 ปี เชื้อสายอเมริกัน-อินเดียนจากนิวยอร์ก ชนะเลิศการประกวดมิสอเมริกา ทำให้เธอเป็นผู้ชนะคนแรกที่มีเชื้อสายอินเดียน และผู้ประกวดคนที่สองที่มาจากนิวยอร์ก 
 
16 ก.ย. 56 - เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นิน่า ดาวุลลูรี หญิงสาววัย 23 ปี เชื้อสายอเมริกัน-อินเดียน ซึ่งเป็นมิสนิวยอร์ก ได้ชนะการประกวดมิสอเมริกา ทำให้เธอกลายเป็นผู้เข้าประกวดรายแรกที่มีเชื้อสายอินเดียน และรายที่สองที่มาจากรัฐนิวยอร์กที่ชนะการประกวดนางงามมิสอเมริกา 
 
เธอได้แสดงการเต้นบอลลีวูดในรอบการประกวดแสดงความสามารถ และภายหลังการชนะเลิศการประกวด เธอให้สัมภาษณ์ว่า เธอดีใจที่เด็กๆ จะสามารถรู้สึกร่วมกับมิสอเมริกาคนใหม่ได้
 
การประกวดทั้งหมด มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 53 โดยมีตัวแทนจากรัฐในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 50 รัฐ รวมถึงวอชิงตัน ดีซี เปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จิน 
 
หลังจากผลการประกวดดังกล่าวรายงานสดทางโทรทัศน์ระดับชาติ ก็มีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันไปในโลกของโซเชียลมีเดีย โดยเว็บไซต์ Buzzfeed รายงานปฏิกิริยาในทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊กของชาวอเมริกัน โดยเฉพาะที่มีลักษณะการเหยียดเชื้อชาติ เช่น "คนต่างด้าวแบบนี้จะได้เป็นมิสอเมริกาได้ยังไง ก็เธอน่ะเป็นอาหรับ #โง่รึเปล่า" หรือ "ที่นี่คืออเมริกานะ ไม่ใช่อินเดีย" บางข้อความยังสื่อไปถึงว่าเธอมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ด้วย 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อ้างหมิ่นเบื้องสูง แจ้งกองปราบจับ ‘อั้ม เนโกะ’

Posted: 16 Sep 2013 01:02 AM PDT

"ฟ้า พรทิพา"  โพสต์เฟซบุ๊กเข้าแจ้งกองปราบจับหมิ่นเบื้องสูง-พ.ร.บ.คอมฯ "อั้ม เนโกะ" นักศึกษารณรงค์หยุดบังคับแต่งชุด นศ. ด้าน ตร.แนะร้องทุกข์ต่อ บก.ปอท. ขณะที่วานนี้อดีตลูกสะใภ้อดีตรมช.พาณิชย์เตรียมแฉคลิปหมิ่นเบื้องสูง อดีตสามี

วันนี้ เวลา 12.14 น. ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "ฟ้า พรทิพา" โพสต์ภาพและข้อความระบุว่าเดินทางเข้าพบตำรวจ รับเรื่องราวร้องทุกข์ กองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถ.พหลโยธิน เพื่อแจ้งความจับ "อั้ม เนโกะ (Aum Neko)" นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้รณรงค์ยกเลิกการบังคับแต่งชุดนักศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยฟ้า พรทิพา อ้างว่า อั้ม เนโกะหมิ่นเบื้องสูง

"มาแจ้งความกองปราบ เรื่องหมิ่นเบื้องสูง ไม่ควรปล่อยไว้ และเราคนไทยมีพ่อของแผ่นดิน ที่ดีที่สุดที่มีความเมตตาต่อคนไทยทั้งประเทศ แต่อั้มมันคิดชั่วช้าเกินจะให้อภัยได้ ชีวิตฉันรู้ว่ามันเสี่ยงกับการเล่นกับคนพกนี้ แต่ถ้าฉันไม่ได้ทำ ชีวิตฉันก็ไม่เป็นสุข ฉันทำหน้าที่ที่ปกป้องพ่อ" "ฟ้า พรทิพา" โพสต์ประกอบภาพการเข้าแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 

คลิปวีดีโอการเข้าแจ้งความกับกองปราบ โดย ฟ้า พรทิพา

นอกจากนี้ฟ้า พรทิพา โพสต์วีดีโอคลิปการเข้าแจ้งความดังกล่าว ซึ่งในคลิประบุว่า มาแจ้งความอั้ม เนโกะ กรณีหมิ่นสถาบัน เนื่องจากไม่ได้มีในเฉพาะเฟซบุ๊ก แต่มีคลิปเสียงอีกจำนวนมาก หากไม่หยุดจะนำไปสู่การแพร่กระจาย ถ้าปล่อยละเลยให้คนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวก็จะทำต่อไป โดยฟ้า กล่าวอ้างกับเจ้าหน้าที่รับเรื่องว่า สิ่งที่เห็นในเฟซบุ๊กของอั้มโพสต์ ว่า ไม่ชอบการเข้าโรงหนังต้องมีเพลงเทิดพระเกียรติ 

ภาพที่ฟ้าโพสต์แจ้งว่าจะไปแจ้งจับอั้มที่กองปราบ ที่มา ฟ้า พรทิพา

เมื่อเวลา 7.00 น. ฟ้า โพสต์ภาพปกและสถานะในเฟซบุ๊กของอั้ม ซึ่งเป็นรูปของพระยาพหลพลพยุหาเสนาและข้อความส่วนหนึ่งของประกาศคณะราษฏร ฉบับที่ 1 ซึ่งพระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านในตอนรุ่งสางของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ว่า "..ราษฏรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า..ประเทศนี้เป็นของราษฏร..ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง..." และประเด็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและทางวิชาการต่อประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยฟ้า โพสต์ข้อความประกอบว่า "..เราก็ลูกพ่อเราต้องปกป้องพ่อ ไม่ใช่อยู่เฉย ไปกองปราบก่อนเที่ยงดูซิตำรวจจะทำหน้าที่ไหม"

อั้ม เนโกะ ให้สัมภาษณ์ประชาไท หลังทราบข่าวดังกล่าวว่า ตนรู้สึกตกใจและโกรธมาก เพราะไม่คิดว่าคนอื่นจะใช้วิธีสกปรกเช่นนี้โจมตีกัน เธอกล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ ยังไม่ทราบข้อมูลหรือรายละเอียดอื่นๆ เพียงแต่ทราบว่าหลักฐานที่ น.ส. พรทิพา นำไปฟ้องตำรวจ น่าจะเป็นภาพในเฟซบุ๊กของตนเองที่มีข้อความจากประกาศคณะราษฎร รวมถึงการสัมภาษณ์ที่น.ส. พรทิพาเคยได้สัมภาษณ์ตนเองไว้เมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว โดยอ้างว่าจะนำไปออกรายงานทางช่องดาวเทียม แต่บทสัมภาษณ์ดังกล่าวก็ไม่เคยออกอากาศแต่อย่างไร 
 

ตร.แนะร้องทุกข์ บก.ปอท. ตรวจสอบหลักฐาน

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานด้วยว่า "ฟ้า พรทิพา" นั้นคือ น.ส.พรทิพา สุพัฒนุกุล อายุ 41 ปี เจ้าของรายการ "เบสต์ออฟยัวร์ไลฟ์" ออกอากาศทางช่อง 13 สยามไทย สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงประชาชน เมื่อเวลา 11.00 น. เดินทางเข้าพบ ร.ต.ท.ชลิต มณีพราว พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ "อั้ม เนโกะ" ในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยนำคลิปภาพและเสียงที่มีการสัมภาษณ์กับทางรายการโทรทัศน์ดังกล่าว มามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งข้อความที่โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของ "Aum Neko" ด้วย

น.ส.พรทิพา กล่าวว่า เหตุต้องเข้าแจ้งความดำเนินคดีในครั้งนี้ เนื่องจากสองเดือนที่แล้ว ตนได้สัมภาษณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาสภาพเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อตัวนักศึกษาตามมหาวิทยาลัย โดยสอบถามนักศึกษาประมาณ 20 คน ทุกคนก็ตอบคำถามตรงตามประเด็นที่รายการตั้งไว้ มีเพียง "อั้ม เนโกะ" คนเดียวที่พูดนอกประเด็นไปกล่าวพาดพิงถึงสถาบันเบื้องสูงด้วยถ้อยคำที่รุนแรง
 
น.ส.พรทิพา กล่าวต่อว่า เมื่อได้ฟัง "อั้ม เนโกะ" ตนกับทีมงานถึงกับตกใจ จึงถามไปว่าทำไมไม่ไหว้ ทำไมไม่ให้ความเคารพ แต่เขาตอบกลับมาว่าขนาดแม่ตัวเองเขายังไม่ไหว้เลย ซึ่งเทปที่สัมภาษณ์ดังกล่าวไม่สามารถที่จะนำไปออกอากาศเผยแพร่ทางรายการได้ ตนจึงได้เพียงแต่เก็บคลิปภาพและเสียงดังกล่าวไว้ ต่อมาตนมาพบพฤติการณ์ของ "อั้ม เนโกะ" ที่ยังคงเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เพื่อนนักศึกษากระทำการซึ่งเข้าข่ายความผิดดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกจึงเห็นว่าคงจะนิ่งเฉยต่อไปไม่ได้แล้วจึงเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับ "อั้ม เนโกะ"
 
ด้าน ร.ต.ท.ชลิต กล่าวว่า เนื่องจากกรณีดังกล่าวมีการโพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์ ซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาดำเนินคดีของกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) จึงให้คำแนะนำให้เข้าร้องทุกข์ที่ บก.ปอท.เพื่อตรวจสอบหลักฐานและพิจารณาดำเนินการต่อไป
 
อดีตลูกสะใภ้"สุวรรณ วลัยเสถียร"เตรียมแฉคลิปหมิ่นเบื้องสูง อดีตสามี

 

15ก.ย.56 โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า เวลา 13.00น. นางนิภาภัทร วลัยเสถียร อดีต สะใภ้ นายสุวรรณ วลัยเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะไปเข้ารับทราบข้อกล่าวหาฐานแจ้งความเท็จ ที่ สน.ลุมพินี กรณีที่ถูกนายวีรวัฒน์ วลัยเสถียร อายุ 33 ปี อดีตสามี แจ้งความกลับปฏิเสธว่าไม่เคยทำร้ายร่างกายตามที่ถูกกล่าวหา โดยนางนิภาภัทร จะนำหลักฐานใบรับรองแพทย์ และหลักฐานอื่นๆ มาแสดงต่อสื่อมวลชน เพื่อยืนยันถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และขอให้ตำรวจให้ความเป็นธรรมกับคดีที่เคยแจ้งความไว้ และยังบอกด้วยว่า มีคลิปวีดีโอ ที่สามีเคยหมิ่นเบื้องสูง และเคยนำคลิปนี้ไปให้กองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบแล้ว และได้นำไปแจ้งความไว้ที่กองปราบปราม แต่เรื่องไม่คืบหากสื่อมวลชนสนใจก็พร้อมจะนำมาแถลงด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 10-16 ก.ย. 2556

Posted: 15 Sep 2013 11:13 PM PDT

พนักงาน-ลูกจ้างสวนสัตว์เชียงใหม่ปล่อยโปสเตอร์ค้านโอนย้าย เดินหน้ารับสมาชิกสหภาพ-ชมรม

การรวมตัวของพนักงาน และลูกจ้างของสวนสัตว์เชียงใหม่ที่โบราณสถานวัดกู่ดินขาว ในวันนี้ (10 ก.ย.) ยังคงเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีการแจกจ่ายโปสเตอร์สำหรับนำไปติดตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวการโอนย้ายสวนสัตว์เชียงใหม่ไปอยู่ในสังกัดสำนักงาน พัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ขณะเดียวกัน ยังได้เชิญนักวิชาการจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มาให้ความรู้แก่พนักงาน และลูกจ้างเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การสวนสัตว์อีกด้วย

โดยกลุ่มพนักงาน และลูกจ้างของสวนสัตว์เชียงใหม่ต่างทยอยรับรับโปสเตอร์ที่มีการพิมพ์และนำมา แจกจ่าย เพื่อเตรียมจะนำไปติดเผยแพร่ข่าวสารตามพื้นที่ต่างๆ ต่อไป พร้อมทั้งร่วมกันทำการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคำปฏิญาณ และร่วมกันรับประทานอาหารเช่นเดียวกับการรวมตัวกันในหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้

ส่วนการเปิดรับสมาชิกสมาชิกของสหภาพแรงงานองค์การสวนสัตว์ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่การรวมตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงมีการดำเนินการต่อในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกัน ยังมีการเปิดรับสมัครสมาชิกชมรมพนักงาน และลูกจ้างสวนสัตว์เชียงใหม่เพิ่มขึ้นอีกกลุ่มหนึ่งด้วย โดยกลุ่มดังกล่าวจะรับสมาชิกที่เป็นพนักงาน และลูกจ้างของสวนสัตว์เชียงใหม่ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาการสมัครสมาชิกสหภาพแรงงานที่ตามกฎรับเฉพาะพนักงานตั้งแต่ ระดับ 1-6 เท่านั้น

นายวิมุติ ชมพานนท์ นักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์ 3 ตัวแทนกลุ่มพนักงานและลูกจ้างสวนสัตว์เชียงใหม่ที่เคลื่อนไหวคัดค้านการโอน ย้ายสวนสัตว์เชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดตั้งชมรมนั้นมีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานที่ไม่สามารถเป็นสมาชิก สหภาพได้ รวมถึงลูกจ้างสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่ม พนักงาน และลูกจ้างได้ ขณะที่การเชิญนักวิชาการจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์นั้น เป็นไปเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสหภาพ ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นสมาชิกมากยิ่งขึ้น

ด้านความคืบหน้าของการพิจารณาโอนย้ายสวนสัตว์เชียงใหม่ไปอยู่ในสังกัด สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) นั้น นายวิมุติ กล่าวว่า หลังจากที่นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมสวนสัตว์เชียงใหม่ และประชุมร่วมผู้บริหารเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่าทางรัฐบาลมีท่าทีค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการจะดำเนินการโอนย้ายสวนสัตว์ เชียงใหม่ให้ได้

นายวิมุติ กล่าวต่อไปว่า แม้นายธงทอง จะระบุในที่ประชุมว่าพร้อมที่จะทำการแก้กฎหมายทั้งในส่วนขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อการโอนย้ายสวนสัตว์เชียงใหม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ตนเห็นว่ากระบวนการแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ ต้องมีการตรวจสอบว่าหากแก้ไขแล้วจะมีผลกระทบ หรือคาบเกี่ยวต่อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อหรือไม่ ซึ่งในทางปฏิบัติหากเร่งดำเนินการอาจจะเกิดความผิดพลาด และกลายเป็นปัญหาในภายหลังได้ ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่น่าจะใช้เวลามากพอสมควร อีกทั้งยังไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าจะสามารถดำเนินได้

อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มพนักงาน และลูกจ้างก็ต้องขอขอบคุณที่ทางผู้บริหารที่ได้นำข้อท้วงติงต่างๆ ที่พนักงาน และลูกจ้างได้เคยนำเสนอไปชี้แจงให้แก่ตัวแทนจากรัฐบาลได้รับทราบ ส่วนการจะเคลื่อนไหวใดๆ ในลำดับต่อไปนั้น คงต้องรอให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการโอนย้ายเกิดขึ้นเสียก่อน ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีผู้แนะนำให้ถวายฎีกา แต่เห็นว่าทั้งการถวายฎีกาและฟ้องศาลปกครองนั้นจำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียด เสียก่อน ว่า กรณีของสวนสัตว์เชียงใหม่นั้นเข้าข่าย และมีความเหมาะสมหรือไม่

ส่วนโปสเตอร์ที่มีการแจกจ่ายกันในวันนี้นั้น นายวิมุติ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีแผ่นป้าย และใบปลิวถูกเผยแพร่ตามจุดต่างๆ ในเขตตำบลสุเทพ ตำบลช้างเผือก และตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการสอบถามทราบว่า น่าจะเป็นฝีมือของน้องๆ นักศึกษาที่มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ของสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งทางกลุ่มพนักงาน และลูกจ้างรู้สึกยินดี และขอขอบคุณทุกคนที่มีความห่วงใยต่อสวนสัตว์เชียงใหม่ ขณะที่โปสเตอร์ที่ได้จัดทำขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารเรื่องราวของ สวนสัตว์เชียงใหม่ให้สังคมได้ทราบ ซึ่งหากมีผู้ใดที่มีความสนใจ หรือต้องการนำโปสเตอร์ไปเผยแพร่ก็ยินดีอย่างยิ่ง

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 10-9-2556)

 

ครม.เห็นชอบขยายคุ้มครองประกันสังคมแรงงานนอกระบบ

10 ก.ย.56 ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์แห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ ประกันตน (ฉบับที่...) พ.ศ.... ซึ่งเป็นการขยายความคุ้มครองการประกันสังคมและการออมให้แก่แรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีนายจ้าง รวมทั้งผู้เกษียณอายุ ที่เคยประกอบอาชีพและมีนายจ้างก็สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ได้

(แนวหน้า, 10-9-2556)

 

นักวิชาการ เผย พบเด็กไทย 60% เข้าตลาดแรงงานวุฒิต่ำกว่า ม.6 ชี้ จบม.3 กว่า 50% ไม่เรียนต่อ

เมื่อวันที่ 11  ก.ย. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวว่า สถานการณ์ การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กไทยในภาพรวม พบว่า เด็กและเยาวชนไทยมีความสามารถในการแข่งขันต่ำ จากผลการศึกษาเส้นทางชีวิตเด็กไทย โดยสสค.พบว่า ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนไทยที่เกิดในรุ่นเดียวกันเฉลี่ยปีละ 900,000 คน/ปี  ซึ่งหากเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 90,000 คน จะพบว่าเด็กส่วนใหญ่ 6 ใน 10 คน หรือ 60% จบไม่เกินวุฒิม.6หรือปวช. ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็ก1 คน ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ อีก 2.5 คน จบด้วยวุฒิม.3 แล้วไม่เรียนต่อ และอีก 2.5 คน จบด้วยวุฒิม.6หรือปวช.แล้วไม่เรียนต่อ ขณะที่เด็กอีก 4 คนที่เหลือแม้จะเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา แต่พบว่า มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่จบมาแล้วได้งานทำใน 1 ปีแรก

ดร.อมรวิชช์ กล่าวว่า การผลิตกำลังคนในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งปริมาณ และคุณภาพ โดยตลาดแรงงานต้องการกำลังคนสายอาชีพ แต่มีการผลิตสายสามัญมากกว่า นอกจากนี้สายอาชีพยังมีสมรรถนะไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ขณะที่แนวโน้มสากลในการพัฒนาคน ทักษะชีวิตและการมีงานทำถือเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาการศึกษายุคใหม่ที่หลาย ประเทศให้ความสำคัญ เช่น ทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพบว่าองค์กรภาคเอกชนต่างสะท้อนว่าการผลิตเด็กไทยยังขาดทักษะที่สำคัญ ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม และวินัยในการทำงาน

ที่ปรึกษาด้านวิชาการสสค. กล่าวว่า การสร้างทักษะชีวิตและการเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้อง สร้างตั้งแต่ระดับประถมและมัธยมต้น ก่อนที่เด็กจะเลือกเส้นทางชีวิตไปสู่สายสามัญหรือสายวิชาชีพ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งพบว่ากว่า 50% จบม. 3 แล้วไม่เรียนต่อ สสค.จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ  โครงการละ 50,000-100,000 บาท โดยเปิดโอกาสให้โรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งเปิดสอนในระดับประถมและมัธยมต้น ที่มีอยู่กว่า 7,000 แห่ง เสนอโครงการมายังสสค. ตั้งแต่วันนี้- 31 ตุลาคมนี้  ดูรายละเอียดโครงการที่ www.QLF.or.th

ด้าน นาย สมพงษ์ จิตระดับ ผู้ทรงคุณวุฒิสสค. กล่าวว่า ในกลุ่มของเด็กด้อยโอกาสและโรงเรียนขยายโอกาส ทักษะชีวิตและการมีงานทำเป็นคำตอบและอยู่ในบริบทของโรงเรียนขยายโอกาส เพราะคุณภาพการเรียนรู้ไม่สามารถสู้โรงเรียนมัธยมต้นในตัวเมืองได้ เด็กกลุ่มนี้จึงต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษในเรื่องการศึกษาเพื่ออาชีพ โดยโรงเรียนควรทำงานในรูปแบบทวิภาคีที่เชื่อมโยงกับภาคเอกชน เช่น  7-11 หรือ เอสแอนด์พี เพื่อให้เห็นว่าเด็กเรียนจบแล้วมีงานทำ ดังนั้นหลักสูตรโรงเรียนขยายโอกาสต้องเป็นทวิภาคี โดยเรียนรู้วิชาสามัญ วิชาชีพ และทักษะชีวิต ทั้งในโรงเรียนควบคู่กับตลาดแรงงานจริง

"การส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดทักษะชีวิตและอาชีพตั้งแต่ประถมและมัธยม ต้น โดยเฉพาะในโรงเรียนขยายโอกาสยังช่วยให้สัดส่วนการเรียนสายอาชีวะเพิ่มขึ้น เพราะเป็นการส่งเสริมค่านิยมในการเรียนรู้เรื่องอาชีพ  สิ่งสำคัญคือ การประเมินผลครูและผู้บริหารสถานศึกษาไม่ควรโยงผลคะแนนโอเน็ตเพียงอย่าง เดียว เพราะจะทำให้โรงเรียนหันไปใส่ใจกับคะแนนโอเน็ต ทำให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นลดลง และขวัญกำลังใจของครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่ทำเรื่องเหล่านี้ก็น้อยลง" ผู้ทรงคุณวุฒิ สสค. กล่าว

(เดลินิวส์, 11-9-2556)

 

สปส.ให้ธนชาตซื้อประกันวงเงิน 300 ล้าน

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน(รง.)ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดสปส.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ที่ประชุมบอร์ดสปส.ได้หารือเกี่ยวกับเตรียมทำสัญญาเพื่อว่า จ้างให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ธนชาต จำกัด ซึ่งได้รับคัดเลือกจากบอร์ดสปส.ให้เป็นผู้แทนสำนักงานประกันสังคม(สปส.) นำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนต่างประเทศจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 6,000 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปีเพื่อนำผลกำไรจากการลงทุนมาใส่กองทุนทำให้มีเงินเพิ่มขึ้น โดยได้กำหนดเงื่อนไขการทำสัญญาให้บลจ.ธนชาต จำกัด จะต้องไปซื้อประกันการลงทุนจากบริษัทประกันเพื่อค้ำประกันเงินกองทุนประกัน สังคมที่จะนำไปลงทุน หากเกิดความเสียหายจากการลงทุนขึ้นโดยต้องซื้อประกันการลงทุนในวงเงิน 300 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของเงินกองทุนประกันสังคมที่จะนำไปลงทุนทั้งหมด

นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า เมื่อบลจ.ธนชาต จำกัดได้ซื้อประกันการลงทุนกับบริษัทประกันแล้วก็ให้เขียนระบุในสัญญาการ ซื้อขายประกันการลงทุนโดยกำหนดให้หากมีการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน แล้วเกิดความเสียหายขึ้น ก็ให้บริษัทประกันจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายดังกล่าวก้อนแรกในวงเงิน 50 ล้านบาทให้จ่ายแก่สปส.โดยตรง และบลจ.ธนชาต จำกัดจะต้องนำสัญญาการซื้อขายประกันการลงทุนซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นมา แสดงต่อสปส.ก่อน ทางสปส.จึงจะเซ็นสัญญาว่าจ้างบลจ. ธนชาต จำกัด ให้เป็นผู้แทนสปส.นำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้แทนบลจ. ธนชาต จำกัดได้รับที่จะไปดำเนินการตามความเห็นของบอร์ดสปส. และจะรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมบอร์ดสปส.ซึ่งคาดว่าจะประชุมกันในช่วง ปลายเดือนกันยายนนี้

(เนชั่นทันข่าว, 11-9-2556)

 

ผู้นำแรงงานต้านคนนอกนั่งปลัดแรงงาน

นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวถึง ข่าวที่ประชุมครม.วันอังคารที่ 18 ก.ย.รัฐบาลเตรียมตั้ง นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงาน ว่า เป็นการทำลายขวัญข้าราชการอย่างร้ายแรง และถือว่าเป็นการดูถูกข้าราชการระดับ 10 กระทรวงแรงงาน รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญภาพรวมของเรื่องแรงงานในประเทศเลย จะตั้งใครมาก็ได้

ทั้งนี้ เห็นใจข้าราชการกระทรวงแรงงานที่ตั้งใจทำงาน ข้าราชการซี 10 ของกระทรวงแรงงานหลายคน มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัติเหมาะสม และรู้ซึ้งเข้าใจปัญหานายจ้างและลูกจ้างอย่างดี หากได้รับการแต่งตั้งก็สามารถทำงานได้ทันที ไม่ต้องเรียนรู้อะไร แต่หากนำคนนอกมาเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน ก็เหมือนเด็กฝึกงาน ต้องมาเรียนรู้งานใหม่ กว่าจะเรียนรู้กว่าเข้าใจและทำงานได้อาจใช้เวลาอีกหลายปี เสียเวลา

ด้านนายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หาก ครม.มีมติแต่งตั้งคนนอกมาเป็นปลัดกระทรวงแรงงานจริง ถือว่าเป็นการลุแก่อำนาจ เป็นการทำลายขวัญข้าราชการกระทรวงแรงงานอย่างแรง แสดงให้เห็นว่าการเมืองเลวร้ายมาก ไม่มีความยุติธรรมต่อข้าราชการกระทรวงแรงงาน

ขณะที่ นายสุธรรม นทีทอง อดีตโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า   หากมีการแต่งตั้งข้าราชการระดับ 10 และระดับ 11 ที่เป็นคนในกระทรวงแรงงานเอง ก็จะทำให้ข้าราชการระดับ 6 – 7 – 8 -9 ได้เลื่อนไปตามตำแหน่งโดยลำดับ แต่หากมาจากต่างกระทรวง ก็จะทำให้ขวัญและกำลงใจการทำงานของในกระทรวงแรงงาน หวั่นไหวท้อแท้ หลายครั้งมีการแต่งตั้งคนที่ไม่มีความรู้ ประสบการณ์ ก็จะทำให้เกิดการต้องมาเรียนรู้งาน ทำให้เกิดกระบวนการ คนหน้าห้อง นายลักไก่ทำงานแทน พวกประจบสอพลอ ฉวยโอกาสทำงาน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาคนดีในกระทรวงเกิดความท้อแท้

(โพสต์ทูเดย์, 15-9-2556)

 

แพทยสภาผุดไอเดียดึงหมอต่างด้าวดูแลคนกันเอง จ่อถกแก้เกณฑ์เอ็มอาร์เอแพทย์ปีหน้า

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภาเปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเตรียมหารือที่ประชุมแพทยสภาและรัฐบาลเรื่องการนำเข้าแพทย์จาก ประเทศเพื่อนบ้านมาทำงานในสถานพยาบาลสังกัดของรัฐตามพื้นที่ชายแดน หรือจังหวัดที่มีแพทย์จำนวนมาก เพื่อให้แพทย์เหล่านั้นเข้ามาดูแลรักษาคนชาติเดียวกันเอง

"ทุกวันนี้แพทย์ไทยไม่ค่อยมีเวลาดูแลคนไทยด้วยกันเอง เพราะมีคนต่างด้าวเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยจำนวนมาก แม้จะประมาณการว่าปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวทำงานในไทย 3 ล้านคน แต่จากที่คุยกับคนพม่า เขาบอกว่ามีชาวพม่าอยู่ในบ้านเราถึง 5 ล้านคน" นพ.สมศักดิ์ กล่าว

แนวทางเบื้องต้นจะกำหนดให้แพทย์กลุ่มดังกล่าวทำงานโดยถือใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพเวชกรรมชั่วคราว และต้องต่ออายุทุก 1 ปี เนื่องจากเป็นแนวทางที่กฎหมายอนุญาตอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องรอข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพ (เอ็มอาร์เอ) มีผลบังคับใช้ในช่วงปลายปี 2558

สำหรับการทำงานจะอนุญาตให้ดูแลเฉพาะกลุ่มคนต่างด้าวเท่านั้น เพื่อให้แพทย์ไทยมีเวลารักษาคนไทยด้วยกันเองมากขึ้น นอกจากนี้ ไม่อนุญาตให้เปิดคลินิกหรือรับงานเข้าเวรของโรงพยาบาลเอกชน

ทั้งนี้ เชื่อว่าการนำเข้าดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งโรงพยาบาลรัฐและแพทย์ต่าง ชาติเอง เนื่องจากปัจจุบันประเทศในอาเซียน เช่น พม่าและเวียดนาม ผลิตแพทย์ในแต่ละปีได้มากกว่าไทย ขณะที่รายได้แพทย์ของไทยสูงกว่ามาก การเข้ามาทำงานในไทยจึงเป็นโอกาสที่แพทย์ประเทศเพื่อนบ้านต้องการอยู่แล้ว โรงพยาบาลรัฐก็จะมีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปีหน้าอาเซียนจะเปิดโอกาสให้พิจารณาแก้ไขกฎเกณฑ์ในเอ็มอาร์เอของวิชาชีพ แพทย์อีกครั้ง ทางสภาจะหารือว่าต้องการแก้ไขรายละเอียดใดเพิ่มเติม และต้องการให้ภาพรวมการเคลื่อนย้ายแพทย์ในอาเซียนเป็นอย่างไรเบื้องต้น คาดว่าจะเสนอให้ลดเกณฑ์ประสบการณ์ของแพทย์ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปมา เพราะเกณฑ์เดิมที่ระบุไว้ 5 ปีถือว่านานเกินไป ในความเป็นจริงแต่ละประเทศอาจต้องการคนเก่งที่มีประสบการณ์เพียงปีเดียวก็ ได้

(โพสต์ทูเดย์, 16-9-2556)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประกาศรางวัลบทความ"คน"ในกระแสการเปลี่ยนแปลง

Posted: 15 Sep 2013 08:55 PM PDT

เรื่อง "คนขายตัวบ้า คนบ้าขายตัว กับ หมา สาม สี่ ตัว" โดย บุษบงก์ วิเศษพลชัย นศ.ป.เอก มานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ./ ในระดับปริญญาตรี เรื่อง "ตัวตน "คนพิการ": การต่อสู้ คัดค้านความพิการทางสังคม"  โดย ปริญญา สมบุญยิ่ง บัณฑิตสาขาการวิจัยทางสังคม มธ.

16 กันยายน 2556  ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มจับตาประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch-TSMW) และ"ประชาไท"ได้ประกาศผลการตัดสินจากการประกวดข้อเขียน "คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง"ขึ้นในงาน"สัมนาวิชาการประจำปี 2556 เรื่อง "คน"ในกระแสการเปลี่ยนแปลง

 

คณะกรรมการตัดสินบทความได้ประกาศผลการตัดสินพร้อมรายละเอียดดังต่อไปนี้

คณะกรรมการได้รับข้อเขียนรวมทั้งสิ้น 26 ชิ้น (ปริญญาตรี 21 และบัณฑิตศึกษา 5 ชิ้น) และได้พิจารณาผลการคัดเลือกเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล ดังนี้

 

1) รางวัลบทความระดับปริญญาโท/เอก

             -  รางวัลผลงานดีเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล  (เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร) ได้แก่

             เรื่อง "คนขายตัวบ้า คนบ้าขายตัว กับ หมา สาม สี่ ตัว" โดย บุษบงก์ วิเศษพลชัย นักศึกษาปริญญาเอก สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

             -  รางวัลผลงานดี จำนวน 1 รางวัล (เงินรางวัล   4,000 บาท  พร้อมประกาศนียบัตร) ได้แก่

             เรื่อง "โรฮิงยา ชีวิตภายใต้อำนาจ จากชายแดนด้านตะวันตกของพม่าถึงไทย" โดย ศิววงศ์ สุขทวี นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

             -  รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล (เงินรางวัล 3,000 บาท    พร้อมประกาศนียบัตร) ได้แก่

             เรื่อง "คนในผู้สูญเสียพื้นที่ภายใน" โดย องค์ บรรจุน นักศึกษาปริญญาเอก วิทยาลัยสหวิทยาการ  มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์

             เรื่อง "ชายหาดและชุมชนที่เปลี่ยนไป :  การท่องเที่ยวที่เติบโตและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในฝั่งหนึ่งของเกาะยาวใหญ่" โดย วรรณธิดา สายพิมพ์ นักศึกษาปริญญาโท                              สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

2) รางวัลความเรียงระดับปริญญาตรี

             - รางวัลผลงานดีเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล (เงินรางวัลจำนวน 4,000บาท พร้อมประกาศนียบัตร) ได้แก่

             เรื่อง "ตัวตน "คนพิการ": การต่อสู้ คัดค้านความพิการทางสังคม"  โดย ปริญญา สมบุญยิ่ง สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต สาขาการวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

             - รางวัลผลงานดี จำนวน 1 รางวัล (เงินรางวัลจำนวน 3,000 บาท  พร้อมประกาศนียบัตร) ได้แก่

             เรื่อง "ตึกแถวเลขที่ 42: ร้านแม่ตุ๊ ข้าวขาหมู-ก๊วยจั๊บน้ำข้น ชุมชนท่าช้างวังหลวง" โดย มณสิชา รุ่งชวาลนนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

             -  รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล (เงินรางวัลจำนวน 2,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร) ได้แก่

             เรื่อง "เกิดเป็นลูก "ญี้ผ่า"" โดย หมี่เบอ แลเซอะ นักศึกษาสาขาชาติพันธุ์ศึกษาชั้นปีที่ 4  วิทยาลัยนานาชาติภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย      

             เรื่อง "ผู้สูงอายุท่ามกลางกระแสการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ" โดย สโรชพันธุ์ สุภาวรรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการวิจัยสังคม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (เงินรางวัลจำนวน 2,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)

 

3)รางวัลชื่นชม สำหรับนักเขียนหน้าใหม่

             **นอกจากนี้คณะกรรมการได้มีมติให้เพิ่มรางวัลพิเศษในระดับปริญญาตรีอีก 4 รางวัล เพื่อสนับสนุนนักเขียนหน้าใหม่ คือ รางวัลชื่นชม จำนวน 4 รางวัล (เงินรางวัลจำนวน 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร) ได้แก่

             เรื่อง "อาหารทะเล ชีวิตชาวประมง และการอยู่รอดของคนพื้นบ้าน กรณีศึกษาตำบลบ้านโขด จังหวัดชลบุรี" โดย นันทพร เหมือนเดช สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

             เรื่อง "นักศึกษาโคโยตี้" โดย สรวิชญ์ เลขาวิจิตร นักศึกษา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

             เรื่อง "เมืองกับชนบทในกระแสการเปลี่ยนแปลง: สังคมไทยในภาวะกลับตาลปัตรของสองนคราประชาธิปไตย" โดย กรกฤช สมจิตรานุกิจ นิติชั้นปีที่ 3 ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

             เรื่อง "จาก "แก๊งซามูไร" สู่ "NDR": การสร้างอัตลักษณ์วัยรุ่นเชียงใหม่ภายใต้ภาพลักษณ์ด้านลบ และการใช้ความรุนแรง" โดย อรนิตย์ เรือนคำ นักศึกษา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

Posted: 15 Sep 2013 07:41 PM PDT

ถ้าอีโง่เป็นถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมก็น้อมรับ แต่ต่อไปนี้พจนานุกรมคงจะเล่มเล็กลงๆ เพราะหลายคำพูดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น อีโง่ แรด หรือ กะหรี่

15 ก.ย. 2556 ปราศรัยในเวทีผ่าความจริง ตอบกรณีถูกวิพากษ์วิจารณ์หลังจากพูดคำว่า "อีโง่"

คุยกับ ‘ยุทธภูมิ’ หลังศาลยกฟ้องคดี 112 – ไอลอว์ชี้คดีเผือกร้อนที่ไม่อาจสู้เรื่องเนื้อหา

Posted: 15 Sep 2013 12:42 PM PDT


 

15 ก.ย. ที่หน้าศาลอาญา มีการจัดกิจกรรม 'ปฏิญญาหน้าศาล' อภิปรายประเด็นทางสังคมเป็นประจำทุกสัปดาห์ สำหรับสัปดาห์นี้มีการจัดบายศรีสู่ขวัญ นายยุทธภูมิ มาตรนอก อดีตผู้ต้องขังคดี 112 ที่ศาลยกฟ้องไปเมื่อเร็วๆ นี้ และมีการอภิปรายในหัวข้อ "7 ปีวิกฤตการเมืองไทย...ไหลจากท้องถนนสู่การปะทะในครอบครัว : กรณีศึกษาพี่ชายฟ้อง 112 น้องชาย" โดยอรพิณ ยิ่งยงพัฒนา จากองค์กรอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน

ยุทธภูมิกล่าวว่า ประเด็นสำคัญของคดีนี้คือ การไม่ได้รับการประกันตัวในการต่อสู้คดี โดยเฉพาะกรณีของเขานั้นไปตรงนัดทุกครั้งตั้งแต่ชั้นสอบสวน แต่เมื่อถึงชั้นพิจารณาคดีศาลกลับสั่งขังไม่ให้ประกันตัว แม้จะยื่นขอไปถึง 7 ครั้ง

"สังคมต้องกลับมามอง เรื่องของผมเป็นเรื่องที่ไม่ได้มีมูลอะไรเลย ประการสำคัญคือ โดนคดีนี้แล้วไม่ค่อยได้ประกันตัว ผมก็ไม่ได้รับการประกันตัว ผมเตรียมพร้อมจะสู้คดี หมายเรียกตำรวจมากี่ครั้ง นัดกี่ครั้ง ผมไปหมด ชั้นอัยการก็มาตามนัด ไม่เคยบิดพลิ้ว ไม่เคยมาสายด้วยซ้ำ ตอนอัยการส่งฟ้องผมยังหวังจะได้ประกัน เดินหน้าสู้ความจริง แต่ผิดหวัง ผิดหวังตลอด"

"แม้แต่มาสืบพยานวันแรก ศาลหัวหน้าองค์คณะมีความเห็นว่าจะประกันตัวไปเลยไหม วงเงินหกแสนบาท อันนี้ศาลท่านพูด เราก็มีความหวัง อีกสองวันต่อมายื่นประกันก็ได้รับการปฏิเสธ ตั้งแต่ถูกจับนี่ยื่นไปรวมแล้ว 7 ครั้ง"

"ผู้เกี่ยวข้องต้องหันมาดูบ้างแล้วกับกฎหมายนี้ เบื้องต้นที่สุดน่าจะให้มีการประกันตัวไปต่อสู้คดี ผมเป็นคนทำมาหากินธรรมดา ไม่ได้เป็นนักสู้อะไรเลย แต่ทุกอย่างข้างในมันก็เปลี่ยนผมไปแล้ว ออกมาแล้วก็ยากจะเหมือนเดิม แต่ผมก็ต้องบอกว่าผมไม่ใช่เสื้อแดงนะ หลายคนบอกแดงแล้วทำไม แดงแล้วติดคุก แล้วมันก็ติดคุกจริงๆ  ในศาลก็ยังสืบเยอะมากว่าคุณเป็นเสื้อแดงหรือเปล่า ดูทีวีเสื้อแดงตลอดไหม มีผ้าโพกหัวแดงไหม ผมยังไม่เข้าใจว่ามันเกี่ยวอะไรจะสืบทำไมตรงนี้"

 "เรื่องความคิดทางการเมืองที่ต่างกันมันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเรื่อง แต่จริงๆ มันไม่ขนาดนั้น ถ้าคุณยับยั้งชั่งใจบ้าง ถ้าฝ่ายการเมืองไม่มาเล่น มาจี้เรื่องนี้มันก็ไม่เป็นเรื่อง ผมไม่รู้จักด้วยซ้ำคดีแบบนี้ จริงๆ นะ เกิดมาก็มีพระเจ้าแผ่นดินแล้ว มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ขนาดผมเข้ามาเรือนจำยังไม่รู้เลยว่า อาจารย์สมยศ อาจารย์สุรชัยอยู่ ผมมาเดี่ยวๆ เจอพี่หนุ่มากอดคอไป นึกว่าจะโดนตื้บเสียแล้ว แต่ปรากฏว่าเขาดูแลอย่างดี"

"เรื่องฟ้องกลับ คงไม่ ไม่แน่นอน ขอให้มันจบ แต่เมื่อมันมาถึงขนาดนี้มันคงยากที่กลับมาใช้ชีวิตร่วมกัน ผมไม่แค้น ไม่โกรธเขา (พี่ชาย) แต่มันไม่ไหว ต่างฝ่ายต่างอยู่ดีกว่า" ยุทธภูมิกล่าว

 


อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ และศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ  กล่าวถึงคดีของยุทธภูมิรวมถึงภาพรวมการดำเนินคดีในมาตรา 112 หลังจากทางองค์กรเข้าสังเกตการณ์การพิจารณาหลายคดีว่า คดียุทธภูมิ เป็นตัวแทนที่ทำให้เห็นปัญหามาตรา 112 ได้ทุกข้อ ปัญหาหลักคือ อุดมการณ์มาตรา 112ที่สะท้อนว่าอุดมการณ์นี้ มันกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ตั้งแต่ชั้นตำรวจที่มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดี และยังควรเป็นคดีที่ผ่านคณะกรรมการพิเศษที่กลั่นกรองคดีหมิ่นฯ แต่ก็ปรากฏว่า คดีนี้หลักฐานอ่อนมาก มีเพียงประจักษ์พยานคนเดียวคือพี่ชาย และตอนตำรวจสั่งฟ้องยังไม่มีรายงานการตรวจพิสูจน์หลักฐานใดๆ ด้วยซ้ำ แต่ตำรวจก็ยังสั่งฟ้อง ซึ่งน่าจะเพราะเห็นว่าเป็นคดีหมิ่นเบื้องสูงจึ่งไม่กล้าไม่สั่งฟ้อง

อรพิณกล่าวต่อว่า ปัญหาความเป็นคดี 112  ยังลามไปถึงชั้นอัยการ ที่ก็สั่งฟ้องต่อไป แต่ปัญหาที่หนักที่สุดคือการไม่ให้ประกันตัว และน่าสนใจว่า คดีนี้เมื่อสืบพยานโจทก์จบแล้ว ศาลซึ่งฟังการสืบพยานมา ได้แนะนำให้ทนายยื่นประกัน แต่สุดท้าย ศาลเวรก็ยังทำตามคติเดิมคือไม่ให้ประกัน

"ข้ออ่อนเหล่านี้เลยเป็นช่องโหว่ของกดหมายที่ทำให้คนแกล้งกันด้วยการฟ้องคดีได้"อรพิณกล่าว

"ปัญหาหนึ่งที่เรียนรู้ได้จากคดีที่ผ่านๆ มาคือ คดีที่ชนะ ต้องสู้ว่าไม่ใช่คนทำเท่านั้นแต่คดีที่สู้เรื่องเนื้อหาและสู้เรื่องเจตนา แพ้หมด" อรพิณกล่าว

อรพิณกล่าวด้วยว่า กรณี คดียุทธภูมิ มันจึงเหมือนว่า เราค้นหาความบริสุทธิ์จากสิ่งที่ไม่เป็นประเด็น เพราะความจริงแล้ว แก่นของเรื่องน่าจะอยู่ที่ว่า คำสบถและคำหยาบนั้น มีผลให้กระทบต่อความมั่นคงจริงหรือ หากจริง แสดงว่าความมั่นคงของประเทศนั้นเองที่มีปัญหา นอกจากนี้ยังไม่เคยมีคำพิพากษาคดีไหนในวิกฤตการเมืองช่วงหลัง กล้าพิพากษาที่ตัวเนื้อหาอันเป็นประเด็นของเรื่อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: อินเทอร์เน็ต คลื่นลูกใหม่ที่ถาโถมเข้าใส่พม่า

Posted: 15 Sep 2013 12:10 PM PDT

ที่มุมถนนแห่งหนึ่งในย่านคามายุท ย่างกุ้ง ชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังทำสิ่งที่แปลกประหลาดถ้าเป็นเมื่อไม่กี่ปีก่อน ชายหนุ่มก้มหน้างุด สายตาจดจ่ออยู่กับสมาร์ทโฟนของเขา นิ้วปาดหน้าจอแล้วก็ยิ้มให้โทรศัพท์

ชายหนุ่มรายนี้น่าจะอายุราวยี่สิบเศษ แต่งตัวสบายๆ ด้วยเสื้อลายกับกางเกงยีนส์สีเข้ม ทำให้เขาโดดเด่นท่ามกลางผู้คนส่วนใหญ่ที่นุ่งลองยีหรือโสร่งแบบพม่า ที่จริงเขาก็ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างอะไรไปจากชาวพม่าอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่พบเห็นได้ทุกวันตามย่านใจกลางเมืองย่างกุ้ง

ทุกวันนี้เยาวชนพม่าจำนวนมากขึ้นทุกทีก็เหมือนกับคนรุ่นเดียวกันทั่วโลกที่ต้องมีสมาร์ทโฟนเคียงกายไว้ตลอด เป็นคนรุ่นที่ไม่สามารถจินตนาการชีวิตตนเองที่ไม่มีโทรศัพท์ประเภทที่มีทุกอย่างอยู่ในตัวเครื่องเดียวกันได้

ท่ามกลางบรรยากาศที่ออกไปทางย้อนเวลาหาอดีต ผู้มาเยือนจากต่างแดนอาจจะรู้สึกว่าพม่ากำลังเร่งก้าวให้ทันโลกภายนอกภายหลังจากที่ตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองทหารที่เข้มงวดมากว่าห้าทศวรรษ

การเปิดเสรีบริการโทรคมนาคมได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่นี่มีโอกาสเชื่อมต่อกับโลกใบนี้ ผู้คนที่นี่ต่างมีความคาดหวังว่าการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร กับค่านิยมที่ว่าทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกนั้นจะช่วยพัฒนาประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ

อย่างไรก็ดีหลายกลุ่มเกรงกันว่าแพลตฟอร์มใหม่ที่น่าตื่นเต้นนี้ได้กลับกลายเป็นเครื่องมือในทางที่ไม่ดีของบุคคลบางกลุ่ม ที่ฉวยโอกาสใช้ช่องทางนี้เพื่อเผยแพร่ถ้อยคำและเนื้อหาที่ยุให้เกิดความเกลียดชังฝ่ายที่ไม่ใช่ตน (hate speech)

ความขัดแย้งที่มีมานานแล้วในพม่าระหว่างขาวพุทธซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกับชาวมุสลิมและโรฮิงยาที่เป็นชนกลุ่มน้อย (ชาวพม่าส่วนใหญ่จะเรียกชาวโรฮิงยาว่าชาวเบงกอล) กับอีกเรื่องคือความขัดแย้งระหว่างคนเชื้อสายพม่าซึ่งเป็นชาติพันธุ์หลักกับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มเล็กกว่าอื่นๆ เป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้ใช้ออนไลน์เลือกข้าง ทำให้เกิดการแสดงความเห็นที่โกรธแค้นต่อเหตุปะทะรุนแรงระหว่างคนต่างศาสนาที่ปะทุขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว

บทเรียนจากประวัติศาสตร์ทำให้นักสังเกตการณ์ทางการเมืองสงสัยว่า ความขัดแย้งทางศาสนากำลังซ้ำรอยรูปแบบในอดีต เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ครองอำนาจรู้สึกว่าตนกำลังถูกคุกคามหรือท้าทาย เรื่องแนวนี้มีให้เห็นทั่วไปในยุคที่อังกฤษปกครองพม่าเป็นอาณานิคมจนกระทั่งช่วงระบอบทหารปกครองหลังจากที่พม่าได้รับอิสรภาพ

แนวคิดที่ผู้คนส่วนใหญ่มองก็คือ พวกขั้วอำนาจเก่าอาจตั้งใจสร้างความแตกแยกมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยบาดแผลรอยร้าวที่มีอยู่แล้วมานาน ในขณะเดียวกันกับที่ฟากนิยมประชาธิปไตยกำลังพยายามที่จะประคับประคองทุกอย่างให้เป็นหนึ่งเดียว

เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียไซต์ยอดนิยมที่สุดในเมียนมาร์ได้กลายเป็นสนามประลองกำลังทางการเมืองแห่งใหม่ระหว่างพรรคยูเอสดีพี (Union Solidarity and Development Party) พรรครัฐบาลกับพรรคเอ็นแอลดี (National League for Democracy) ต่างฝ่ายต่างกำลังเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในปี 2015

คนนอกประเทศพม่าอาจประหลาดใจเล็กน้อยเมื่อพบว่าเราจะติดต่อเพื่อนชาวพม่าได้ทางเฟซบุ๊กได้ง่ายกว่าทางอีเมล เพราะชาวพม่าทั้งหลายเข้าไปใช้เฟซบุ๊กได้ทางสมาร์ทโฟน

จากตัวเลขประเมิน ประชากรราวร้อยละ 1 จาก 60 ล้านคนในพม่าใช้เฟซบุ๊ก ตามข้อมูลของเนย์ พง ลัต ผู้อำนวยการบริหารของมิโด (Myanmar ICT for Development Organisation, MIDO) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน

ในมุมมองของเย เนง โม ผู้อำนวยการของ Yangon Journalism School แม้ประชากรไม่ถึงร้อยละ 1 ในพม่าจะมีอินเทอร์เน็ตใช้ก็จริง แต่ว่าคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้นั้นเป็นคนที่มีอิทธิพล กิจกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นในแวดวงชนชั้นปกครอง สื่อสารมวลชน นายทหาร พระที่มีการศึกษา ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้คือคนที่สามารถจะเปลี่ยนรูปโฉมทางการเมืองและสังคมของประเทศ

"คนที่ออนไลน์คือคนที่มีอิทธิพล พวกเขาสามารถกำหนดสังคมได้ ในเมืองเล็กๆ ก็จะมีอยู่ไม่กี่คนที่ออนไลน์ได้ และคนที่ออนไลน์ได้นี่เองก็จะทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับชุมชน" เย กล่าว

ประธานาธิบดีอู เต็ง เส่งสื่อสารกับประชาชน โพสต์ภาพถ่ายกับคำปราศรัยในโอกาสต่างๆ ผ่านทางหน้าเฟซบุ๊กของเขา เขามีผู้ติดตามหน้าเขาอยู่ 11,800 คน

ด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงข่าวสาร เย ธุต ซึ่งเป็นผู้นำพรรค USDP อีกคนหนึ่งก็มีผู้ติดตามเขาทางเฟซบุ๊กอยู่ 47,000 ราย ส่วนหน้าแฟนเพจของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ NLD ของนางอองซานซูจีมีผู้ติดตามอยู่ 221,000 คน

สถิติจากแหล่งต่างๆ เมื่อปีที่แล้วระบุว่า 29.7% ของผู้ใช้เฟซบุ๊กทั่วโลกอายุ 25-34 ปี และ 50% ของกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีอายุ 18-24 ปีบอกว่าต้องเข้าเฟซบุ๊กเป็นกิจวัตรประจำวันหลังตื่นนอน ถึงแม้ว่าจะไม่มีสถิติในส่วนของเมียนมาร์ แต่การใช้อินเทอร์เน็ตกำลังมาแรงในประเทศนี้แน่นอน

ธินซาร์ ชุนเล ยี วัย 21 ปีเป็นหนึ่งในบรรดาผู้เกาะกระแสการเปิดเสรีบริการโทรคมนาคมในพม่าอย่างเหนียวแน่น เธอเซิร์ฟอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนของเธอและคอยเช็คเฟซบุ๊กกับอีเมลทุกเช้า

อย่างไรก็ตาม ชีวิตออนไลน์นั้นเป็นความเป็นจริงที่ห่างไกลตัวมากสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมพม่า

ผู้คนในย่างกุ้งจำนวนมากมีรายได้เฉลี่ยวันละ 1 เหรียญสหรัฐขณะที่คอมพิวเตอร์ที่มีจอแอลซีดีกับระบบปฏิบัติการราคาประมาณ 400,000 จั๊ต (หรือราว 400 เหรียญ) และราคาของเลอโนโวธิงค์แพดอยู่ที่ราว 1,300 เหรียญ

กระทั่งชุนเล บัณฑิตหมาดๆ จากสถาบันด้านการศึกษาจากครอบครัวข้าราชการทหาร โทรศัพท์ตัวแรกของเธอเป็นแอนดรอยด์ 2.1 เอแคลร์ ราคาพอประมาณ คือ 100 เหรียญ ซึ่งลุงของเธอให้เป็นของขวัญเมื่อปีที่แล้ว

"แย่หน่อยที่เป็นรุ่น 2.1 ใช้งานได้ไม่ดีเท่ากับรุ่นที่วัยรุ่นทั่วไปเขาใช้กัน" ชุนเลว่า เธอต้องควักกระเป๋าจ่ายประมาณ 10 เหรียญเพื่อเปิดใช้บริการ 2G

ทุกวันนี้ผู้ใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ส่วนใหญ่ใช้เวอร์ชั่น 4.3 เจลลี่บีน

ถ้าไปเดินเล่นย่านถนนโบจกอองซาน เราก็จะรู้สึกถึงบรรยากาศที่คึกคัก ผู้คนมากมายนั่งยองๆ สำรวจแผงเสื่อแบกะดิน บางคนก็เสาะหาชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ หลายคนก็ทดลองใช้สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุด

ก่อนปี 2010 ซิมการ์ดสำหรับโทรศัพท์หนึ่งใบมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 เหรียญ ปัจจุบันผู้คนสามารถที่จะซื้อซิมรุ่นที่มี 3G ด้วยในราคา 400 เหรียญ แม้ว่าจะเป็นราคาที่แพงสุดโต่งก็ตาม ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมากขึ้นสามารถเป็นเจ้าของซิมการ์ดได้
เมื่อการสื่อสารอินเทอร์เน็ตไร้สายกลายเป็นสิ่งธรรมดาสามัญ ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็ตามมาเป็นพรวนสำหรับประเทศเมียนมาร์ด้วยเช่นกัน

 

อินเทอร์เน็ต ดาบสองคมสำหรับเมียนมาร์ 
แม้เมียนมาร์จะเป็น "น้องใหม่" ในเรื่องการสื่อสารออนไลน์ อินเทอร์เน็ตกำลังเป็นกระแสที่มาเร็วและแรง และก็เช่นเดียวกันกับที่อื่นทั่วโลก อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการสร้างบรรยากาศทางการเมืองด้วยการกระจายข่าวสารและปลุกปั่นอารมณ์

ความเกลียดชังระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมบางส่วนซึ่งได้ก่อตัวจนปะทุเป็นเหตุรุนแรงร้ายแรงในรัฐยะไข่ก่อนที่จะลามไปทั่วภาคกลางของเมียนมาร์ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมปีก่อนได้เยื้องกรายเข้ามาเป็นประเด็นร้อนในพื้นที่ออนไลน์

ถ้อยความยุยงให้เกิดความเกลียดชังอีกฝ่าย (hate speech) ที่วนเวียนอยู่ในเฟซบุ๊กทำให้หลายคนกังวล ชาวพุทธกับมุสลิมกล่าวหาว่าร้ายกันอย่างเปิดเผยในเวทีออนไลน์ บางครั้งก็มีการยุยงปลุกปั่นให้กระทำการรุนแรงต่อคนที่นับถือต่างศาสนา
การที่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการหยุดยั้งความรุนแรงก็เป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยเช่นกัน

ข้อมูลจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ระบุว่ามีการปะทะเกิดขึ้นในแถบสะแกง ห่างจากมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมาร์รองจากย่างกุ้งไปประมาณหนึ่งชั่วโมง มีบ้านชาวมุสลิมหนึ่งหลังถูกเผา

ข้อมูลจากองค์กรเอกชนชื่อ Physicians for Human Rights (หมอเพื่อสิทธิมนุษยชน) อ้างรายงานข่าวในช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนปีนี้ว่า เหตุการณ์รุนแรงต่อต้านมุสลิมและการโต้ตอบเอาคืนทำให้ประชาชนกว่า 250,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย บ้านเรือน 10,000 กว่าหลังถูกทำลาย มัสยิดและวัดอีกหลายสิบแห่งก็ถูกทำลายเสียหายด้วย

"มีคนพูดว่าโซเชียลมีเดียหรือว่าเฟซบุ๊กเหมือนกับข้างฝาห้องส้วม ในพื้นที่ยากจนในประเทศเรา ข้างฝาห้องส้วมนั้นสกปรกมาก ใครนึกอยากเขียนอะไรก็เขียนไว้บนข้างฝานั่นแหละ" นั่นเป็นคำพูดของคิน เลย์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Triangle Women Support Group

การที่อินเทอร์เน็ตกับสมาร์ทโฟนราคาถูกและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นได้กลายเป็น "ใบอนุญาต" ให้คนจากทุกชนชั้นในสังคม ไม่ว่าจะมีพื้นเพหรือการศึกษาอย่างไร ก็สามารถที่จะโพสต์คำพูด "สกปรก" ออนไลน์ได้ คินกล่าว

ผู้ใช้ออนไลน์จำนวนมากที่เกลียดชังคนที่นับถือคนละศาสนากับตนตอนนี้ก็มีช่องทางที่จะระบายความโกรธแค้น ปลุกปั่นอารมณ์ โดยปราศจากเหตุผล

การเผยแพร่ถ้อยคำที่ยุให้เกิดความเกลียดชังทางออนไลน์เป็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง ผู้คนในแวดวงสื่อและนักกิจกรรมสังคมที่ผู้เขียนได้สนทนาด้วยในย่างกุ้งมีความรู้สึกว่าเรื่องนี้มีเบื้องหลัง พวกเขามองว่าอาจมีมือที่มองไม่เห็นคอยวางหมากสกัดความคืบหน้าในการสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศ

เนย์ พง ลัต ผู้อำนวยการบริหาร Myanmar ICT for Development Organisation หรือ MIDO กล่าวว่ามีกลุ่มใหญ่ๆ ที่มีทุนหนากับมีพื้นเพ ที่จงใจสร้างและเผยแพร่วาทกรรมสร้างความเกลียดชังเพื่อปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ

"รัฐธรรมนูญของเราระบุไว้ว่าทหารสามารถที่จะยึดอำนาจได้ในกรณีที่เกิดความรุนแรง" เนย์กล่าว
 

จริงหรือว่าปั่น?
เนย์ ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง "แหล่งที่มา" ของถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังฝ่ายอื่น เนื่องจากทุกครั้งที่มีผู้ใช้สักรายโพสต์ถ้อยคำยุยงแนวนี้ออกมา ข้อความนั้นก็จะถูกแชร์ออกไป 150 ครั้งภายใน 2-3 นาที อันนับเป็นความเร็วที่น่าเหลือเชื่อ

"ต้นตอแห่งแรก (ของถ้อยคำที่ทำให้คนเกลียดกันดังกล่าว) ไม่ได้มาจากคนธรรมดาทั่วไป" เขาขยายความ

ธิฮา หม่อง หม่อง ผู้ประสานงานโครงการของ Yangon Journalism School มีข้อสังเกตถึงรูปแบบความเป็นไปของหน้าเฟซบุ๊กบางหน้า ที่ยืนยันความเชื่อของเขาว่า กระแสการเผยแพร่ถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังหลายกรณีนั้นมีวางแผนล่วงหน้า

เขาอธิบายว่าเฟซบุ๊กบางหน้าตบตาว่าเป็นหน้าแฟนฟุตบอลบ้าง หรือว่าโรยหน้าด้วยเนื้อหาอารมณ์ขำขันเพื่อดึงให้มีคนมาติดตาม จากนั้นหน้าเหล่านั้นก็เริ่มกลาย "บุคลิกภาพ" มีการสอดแทรกเนื้อหาที่ออกแนวรักชาติมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

"หน้าหรือแอคเคาท์เฟซบุ๊กลักษณะที่ว่านี้จะมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกันมาก สเตตัสหรือรูปภาพที่พวกเขาโพสต์ไว้จะเหมือนกัน ดูราวกับว่าเป็นผลงานของบุคคลคนเดียวกันหรือว่าคนกลุ่มเดียวกัน" ธิฮาอธิบาย

ตัวชุนเลเองก็รู้สึกไม่สบายใจเวลาเธอเห็นภาพของดอว์อองซานซูจี (ดอว์ หรือ "คุณป้า" เป็นคำเรียกให้เกียรติ) ที่ถูกตัดต่อให้ใบหน้าของเธอไปแปะกับเรือนร่างโป๊ของผู้หญิงคนอื่น

"มีคนอยู่สองประเภท คือกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลกับกลุ่มที่สนับสนุนอองซานซูจี พวกเขาต่อสู้ห้ำหั่นกัน ประธานาธิบดีกับอองซานซูจีเป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ เวลามีใครสักคนโพสต์อะไรสักอย่างจากฟากของอองซานซูจี กลุ่มผู้ใช้จากฟากรัฐบาลจะออกมาพูดอะไรที่ไม่ดี พวกเขาเกลียดเธอจริงๆ" ชุนเลว่า

ความที่มาจากครอบครัวทหาร ชุนเลจึงมีเพื่อนอยู่สองกลุ่มในหน้าเฟซบุ๊กของเธอ เพื่อนรักจากรั้วมหาวิทยาลัยของเธอมีทั้งชาวพม่าและจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เพื่อนวัยมัธยมของเธอส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นคนในครอบครัวทหารที่เรียนในโรงเรียนมัธยมของทหาร

จากการที่เธอเข้าร่วมกิจกรรมจัดงานวันสันติภาพสากลและเข้าร่วมเดินขบวนสันติภาพเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เพื่อนเก่าของเธอหลายตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของเธอ มีเพื่อนวัยมัธยมของเธอคนหนึ่งเลือกออกจากกลุ่มของเธอไปด้วยเหตุผลว่าอยู่ไกลๆ การเมืองไว้ดีกว่า

"เขาอาจคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเลยดีกว่า ไม่ใช่ว่าเขาหวาดกลัวนะ แต่ว่าด้วยวิธีคิดของเขาว่าห่างการเมืองไว้เป็นดีที่สุด"

"พ่อแม่เขายังรับราชการอยู่ แต่พ่อแม่ฉันก็ยังรับราชการอยู่เหมือนกัน บางครั้งฉันก็รู้สึกผิดถ้าหากว่ากิจกรรมที่ฉันทำจะไปมีผลกับหน้าที่การงานของพ่อ ฉันยังไม่แน่ใจนะ ดังนั้นฉันก็ตัดสินใจว่าจะไม่พาตัวไปออกสื่อ แม้ว่าในฐานะเยาวชน ฉันยังทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมืองบ้างก็ตาม" ชุนเลเล่าความในใจของเธอให้เราฟัง

ปีเตอร์วัย 33 ปีทำงานในภาคประชาสังคม เขาแสดงความกังวลเช่นกันเกี่ยวกับการเผยแพร่ hate speech ทางออนไลน์ที่เติมเชื้อไฟให้อารมณ์ผู้คนคุกรุ่น ตัวเขาเองเคยโดนโจมตี (ในโลกไซเบอร์) เมื่อเขาออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายถกประเด็นกันโดยใช้เหตุผล

แม้กระนั้นปีเตอร์ก็มองว่าโลกออนไลน์ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด เขาเชื่อว่าคนที่นับถือศาสนาต่างกันและมีความคิดทางการเมืองไม่เหมือนกันสามารถที่จะใช้สื่อออนไลน์เป็นเวทีในการพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กัน แทนที่ด่าทอกันด้วยถ้อยคำหยาบคายเวลาจะแสดงความเห็น

"พวกเขาน่าจะใช้สื่อออนไลน์ในการหาจุดร่วมท่ามกลางความแตกต่าง แต่ที่ว่ามานี่ก็ยังไม่เกิด"

"พวกเขาหาจุดร่วมกันไม่เจอเลยทางอินเทอร์เน็ต พวกเขาได้แต่โพสต์วาจาหยาบคาย และถ้าเกิดมีใครที่พยายามพูดจาเรื่องเหตุผล พวกเขาก็จะโต้กลับมาเช่นว่า "อย่าพูดชุ่ยๆ ไม่เชื่อหรอก" เขาเล่า

ปีเตอร์ผู้ได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษชี้ว่า วิกฤตไม่ว่าจะศาสนาหรือการเมือง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองหรือว่ามีคนชักใยให้เกิด เป็นเรื่องธรรมดาสามัญมีมาตั้งแต่ยุคที่พม่าเป็นอาณานิคม

"เมื่อประชาชนต่อต้าน หรือว่าเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลก็จะเริ่มเปิดบทวิกฤตระหว่างพุทธกับมุสลิม ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ ในช่วงทศวรรษ 1930 และหลังจากที่พม่าได้รับอิสรภาพแล้ว จะเห็นว่าเกิดวิกฤตทั้งด้านศาสนาและการเมืองหลายครั้ง"

"ด้วยเหตุนี้เราจึงสงสัยว่าวิกฤตเกี่ยวกับศาสนาเมื่อไม่นานมานี้เกิดขึ้นมาจากน้ำมือของคนบางกลุ่มที่ไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมาร์ และสื่อออนไลน์ก็ได้ตกเป็นเครื่องมือของปฏิบัติการที่ไม่ซื่อสัตย์นั้น" ปีเตอร์กล่าว

คิน เล ที่ทำงานองค์กรด้านผู้หญิงกล่าวว่ารากเหง้าแห่งปัญหาระหว่างชาวพุทธกับมุสลิมที่เกิดมายาวนานนั้นอาจมีต้นตอมาจากการต่อสู้เพื่ออำนาจทางเศรษฐกิจ ที่ชาวมุสลิมที่ร่ำรวยกว่ากดขี่ชาวพุทธที่มักจะยากจนกว่า คินยกตัวอย่างหลายกรณีที่ผู้หญิงพุทธแต่งงานกับชายมุสลิมแล้วเปลี่ยนไปนับถืออิสลามเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นอกจากนี้สูตรผสมระหว่างความเป็นชาตินิยมกับพุทธศาสนาโดยกลุ่ม 969 นำโพยพระอชิน วิราธู ซึ่งอ้างว่าชาวมุสลิมเป็นคนนอก ดังนั้นต้องถูกผลักดันให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมินั้น ประสบความสำเร็จในแง่ที่ปลุกปั่นอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนจำนวนมาก

"ทุกวันนี้ชาวพม่าส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเราไม่ต้องการประชาธิปไตย เราต้องการศาสนาของเรา ในอดีตพรรคเอ็นแอลดีได้รับความนิยมมาก แต่ตอนนี้ความนิยมของพรรคตกต่ำลง เพราะอะไร? เพราะว่า hate speech ที่เผยแพร่ทางออนไลน์เป็นทั้งเครื่องมือและอาวุธของทั้งฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านอย่างเอ็นแอลดี ในการที่จะบั่นทอนศักดิ์ศรีและทำให้ความนิยมถดถอย

"ก่อนวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 2012 พรรค NLD ได้รับชัยชนะท่วมท้น จากนั้นก็บังเอิญเกิดวิกฤตที่รัฐยะไข่" เขาตั้งข้อสังเกต NLD ชนะได้ที่นั่งมากกว่า 90% ในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อปีนั้น

เยยังสังเกตเห็นแนวโน้มลักษณะเดียวกัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ประชาชนวิพากษ์พรรครัฐบาลหนักมาก แต่ตอนนี้การณ์กลับกลายเป็นว่าพระสงฆ์ต่างหันมารวมตัวกันหนุนรัฐบาล

ปีเตอร์กล่าวว่า ดอว์อองซานซูจีถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักยิ่งขึ้น จากการที่ทั้งตัวเธอกับพรรค NLD ไม่ออกมาแสดงจุดยืนใดๆ เกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ และด้วยเหตุนี้ความนิยมในตัวเธอจึงได้รับผลกระทบเนื่องจากผู้คนคาดหวังให้เธอเป็นตัวแทนแห่งสำนึกที่ดี

นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าการที่นางซูจีเลือกที่จะนิ่งเงียบเป็นเพราะว่าในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะมีขึ้นนั้น ผู้มีสิทธิออกเสียงส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ

ประธานาธิบดีอู เต็ง เส่งกลับมีปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว โดยออกมาพูดว่าชาวมุสลิมโรฮิงยาควรถูกเนรเทศออกนอกประเทศ จุดยืนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากพระสงฆ์ 5,000 กว่ารูปในมัณฑะเลย์ ที่รวมตัวกันออกมาเดินสนับสนุนท่าทีดังกล่าวของประธานาธิบดี

อย่างไรก็ดี โฆษกของพรรค NLD อู ญาณ วิน ออกมาปฏิเสธแนวคิดที่ว่าวิกฤตครั้งนี้บั่นทอนความนิยมต่อพรรค



โฆษกพรรค NLD


ความยากเข็ญแห่งการเชื่อมต่อออนไลน์
แม้จะขุ่นเคืองกับปรากฏการณ์ hate speech โญ โอ มินท์ นักสันติวิธีแห่งศูนย์สันติภาพเมียนมาร์ ซึ่งสังกัดอยู่กับสำนักประธานาธิบดี กล่าวปกป้องการแลกเปลี่ยนความเห็นกันทางออนไลน์

ชาวพม่าแค่กำลังใช้เสรีภาพออนไลน์ที่พวกเขาเพิ่งได้มีกันอยู่เต็มที่เท่านั้นภายหลังจากที่ดูกดขี่ทางการเมืองมากว่าห้าทศวรรษ "คนพม่ามักจะอนุรักษ์นิยมในแง่สังคม แต่ในเรื่องการเมืองพวกเขาจะล้ำหน้ามากกว่าในเรื่องเสรีภาพ พวกเขากล้าแสดงออกและอาจไม่ได้นึกถึงผลกระทบที่ตามมา ดังนั้นที่เราเรียกกันว่า hate speech นั้นที่จริงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นก็ได้ เพราะว่าพวกเขาไม่ได้มีวาระอื่นแอบแฝง" โญกล่าว

"หลายคนกำลังใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อแสดงออกซื่งความรู้สึกส่วนตัว"เขาอธิบาย

อย่างไรก็ตามเขากังวลเกี่ยวกับข่าวสารที่ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแพร่กระจายได้อย่างเร็วดังไฟป่าทางโซเชียลมีเดีย

ประชาธิปไตยที่กำลังเติบโตและยังเปราะบางอยู่ของเมียนมาร์ กับธรรมชาติของช่องทางออนไลน์กับโซเชียลมีเดียกำลังเป็น "ความเจ็บปวดที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกที"ของดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้

พัฒนาการนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่ต้องอภิปรายเรื่องสมดุลระหว่างการรักษาความกลมเกลียวทางสังคม ขณะเดียวกันกับที่เปิดโอกาสให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น
 

สมดุลแห่งออนไลน์ในเมียนมาร์
"ตอนนี้เรามีเสรีภาพมากขึ้น แต่ว่าเรายังไม่ปลอดภัย"

นั่นเป็นข้อสังเกตของเนย์ พง ลัต ผู้อำนวยการบริหารของ Myanmar ICT for Development Organisation, MIDO

เขามองว่าร่างกฎหมายโทรคมนาคมที่กำหนดให้มีการตั้งองค์กรกำกับดูแลอุตสาหกรรมไอซีทีขึ้นมานั้นเป็นการสะท้อนวิธีคิดแบบเก่าของรัฐบาล "ใหม่" ที่ต้องการขยายอำนาจในการควบคุมและลงโทษผู้ใช้ปลายทาง

ร่างกฎหมายดังกล่าวลอกเลียนแบบกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปี 2004 มาทั้งดุ้น กฎหมายฉบับนี้มีบทลงโทษหนักสำหรับผู้ใช้ที่โพสต์เนื้อหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงหรือต่อสาธารณประโยชน์ คำนิยามต่างๆ ก็กว้างและคลุมเครือ

เนย์ถูกจับในสมัยรัฐบาลชุดเก่าในข้อหาเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการปราบปราม "ปฏิวัติผ้าเหลือง" โดยกองทัพเมื่อปี 2007 ให้กับโลกภายนอก ภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าวเขาโดนตัดสินลงโทษจำคุก 15 ปี แต่เขาได้รับอภัยโทษจากประธานาธิบดี จึงได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 2012

MIDO ได้ส่งข้อเสนอแนะให้กับรัฐบาลเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับใหม่ โดยหลักๆ แล้วทางองค์กรเสนอให้มีการตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นมา พร้อมทั้งให้ตัดข้อความเรื่องโทษจำคุก 7-15 ปีออกไป

เมื่อเร็วๆ นี้รัฐสภาทั้งสภาผู้แทนและวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบผ่านร่างกฏหมายนี้ไปแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีลงนาม เนย์ยังไม่ได้เห็นตัวร่างฉบับแก้ไขสุดท้ายที่สภาผ่านไป

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงข่าวสารเย ธุต ตอบคำถามผู้เขียนผ่านอีเมลว่า "รัฐบาลสังเกตเห็นว่า เมื่อเรายกเลิกการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต ก็เกิดการเผยแพร่ข้อความที่ยุให้เกิดความเกลียดชังทั้งในเรื่องศาสนาและการเมืองขึ้นมา จนกลายเป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรุนแรงช่วงที่ผ่านมา ปัจจุบันเรากำลังทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมในการรณรงค์สร้างความตระหนักให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเรื่อง hate speech"

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีเย ธุตไม่ได้ให้รายละเอียดว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการควบคุมโซเชียลมีเดียหรือไม่

ต่อคำถามเรื่องชะตากรรมของนักเคลื่อนไหวชาวมุสลิมโรฮิงยาชื่อ ทัน ส่วย ที่ถูกจับไปเมื่อเดือนสิงหาคมในข้อหาโพสต์รูปภาพเจ้าหน้าที่กองกำลังความมั่นคงปะทะกับชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ เขาตอบว่า ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา การเผยแพร่ข้อความที่สร้างความเกลียดชังเกี่ยวกับศาสนาหรือการกระทำดังว่าเป็นโทษทางอาญา ดังนั้นทัน ส่วยจึงต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย

"วิธีที่เราต้องการมากกว่าก็คือแคมเปญการสร้างความตระหนัก ไม่ใช่ออกกฏหมายอีกฉบับออกมาเพื่อควบคุมโซเชียลมีเดีย" เย ธุตกล่าว พร้อมย้ำด้วยว่าทางกระทรวงข่าวสารกับสถานทูตสหรัฐประจำเมียนมาร์ร่วมกันจัดสัมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง hate speech บนโซเชียลมีเดียไปเมื่อเดือนกรกฎาคม

แม้ว่าวุฒิภาวะของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายยังไม่ค่อยได้ระดับที่เขาต้องการเห็น เนย์ พง ลัตมองว่ารัฐบาลไม่ควรที่จะปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นออนไลน์ เพราะว่าประชาชนสามารถกำกับดูแลกันเองได้

"เรากำกับดูแลซึ่งกันและกันเอง เราสามารถที่จะสร้างวัฒนธรรมการใช้สื่อออนไลน์ด้วยตัวเรากันเองได้"

"ผมมีเพื่อนเฟซบุ๊ก 5,000 กว่าราย ถ้าพวกเขาจะเผยแพร่เนื้อความที่ยุให้เกลียดกัน ผมก็จะเตือนพวกเขา ถ้าพวกเขาพยายามทำซ้ำอีก ผมก็จะอันเฟรนด์เขา ตอนนี้ผมพูดได้ว่าเพื่อนผมไม่ได้เป็นผู้แพร่ hate speech "

ขณะเดียวกันเนย์เชื่อว่าการบังคับใช้กฎหมายและระบบยุติธรรมของเมียนมาร์ยังไม่มีขีดความสามารถที่จะจัดการกับคดีอาชญากรรมไซเบอร์

"ถ้าหากคุณตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมไซเบอร์ขึ้นมา แล้วก็ไปแจ้งตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่เข้าใจว่าคุณพูดเรื่องอะไร" เนย์กล่าวว

ด้วยกลุ่มประชากรออนไลน์ที่จำนวนเล็กน้อยมากในเมียนมาร์ บางคนอาจมองว่านัยในเรื่องที่เกี่ยวกับ hate speech นั้นยังไม่ได้มีผลกระทบมาก

อย่างไรก็ดี การที่ไม่มีสถาบันหรือองค์กรที่จะเผชิญกับความท้าทายที่นับวันจะเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นอาจมีผลกระทบต่อพื้นที่ออนไลน์ในอนาคตเมื่อคำนึงถึงว่าบริการสื่อสารโทรคมนาคมกำลังจะเติบโตแบบก้าวกระโดด

เทเลนอร์จากประเทศนอร์เวย์จะเปิดตัวบริการวอยซ์และดาต้าในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2014 ครอบคลุมบริการ 78% ของประชากร ในขณะที่บริษัท Ooredoo จากกาตาร์ก็จะสร้างจุดเชื่อมต่อสาธารณะ 10,000 จุดทั่วประเทศ หมายความว่าประชากร 84% จะมีอินเทอร์เน็ตใช้ภายในปี 2019

อินเทอร์เน็ตอาจเป็นหน้าต่างสู่โลกสำหรับคนจำนวนมาก แต่ว่าเป็นเครื่องมือทางการเมืองสำหรับคนบางกลุ่ม หากว่าประชาชนยังไม่มีความตื่นรู้ตระหนักรู้ พื้นที่ออนไลน์อาจจะตกอยู่ในกุมมือของกลุ่มคนเพียงหยิบมือเดียวเพื่อตอบสนองประโยชน์เฉพาะกลุ่มเขาเท่านั้น

นักวิพากษ์กล่าวว่าการเปิดพื้นที่ในโลกไซเบอร์ไม่ควรเป็นภารกิจที่ไม่ต่อเนื่อง การเปิดเสรีพื้นที่นี้ควรจะเป็นไปอย่างเปิดเผยและโปร่งใสเพื่อติดพลังให้กับประชาชนในทางสร้างสรรค์ ทุกฝ่ายควรมีความรับผิดชอบเท่าเทียมกันในการที่จะตัดสินใจว่าพื้นที่ออนไลน์เป็นเวทีสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์กันในวงกว้าง หรือว่าเป็นพื้นที่ประลองกำลังของชนชั้นปกครองอภิสิทธิ์ชนเพื่อโกยคะแนนทางการเมือง

 

 

เฉิน เชา ฟุยเป็นหนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ได้รับทุนในโครงการ SEAPA Fellowship 2013 ซึ่งในปีนี้ว่าด้วยประเด็นความท้าทายด้านเสรีภาพในการแสดงออกและการกำกับดูแล บทความต้นฉบับภาษาอังกฤษชิ้นนี้เผยแพร่เป็นครั้งแรกทาง www.fz.com ดูฉบับภาษาอังกฤษได้ทางลิงก์ต่อไปนี้
http://www.fz.com/content/internet-–-new-wave-sweeping-myanmar (Main-Part I)
http://www.fz.com/content/internet-–-double-edged-sword-myanmar (Main-Part II)
http://www.fz.com/content/striking-delicate-online-balance-myanmar (Main- Part III)
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จากเหตุสลายชุมนุมในพนมเปญ ส่วนฝ่ายค้าน-รัฐบาลเตรียมเจรจารอบใหม่วันนี้

Posted: 15 Sep 2013 12:07 PM PDT

ตำรวจปราบจลาจลกัมพูชายิงแก๊สน้ำตาสกัดผู้ชุมนุมฝ่ายค้านที่เริ่มชุมนุม 3 วัน 3 คืนประท้วงเลือกตั้งไม่ชอบมาพากล และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย หลังจากเมื่อช่วงเย็นตำรวจปราบผู้ประท้วงที่รวมตัวกันทางตอนใต้ของพนมเปญ ล่าสุดพรรครัฐบาลระบุจะเจรจารอบใหม่กับฝ่ายค้านที่รัฐสภา หลังจากก่อนหน้านี้ทั้งสองพรรคได้ร่วมการเจรจาที่กษัตริย์นโรดม สีหมุนีเป็นผู้เชิญ

ตามที่นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) นัดหมายผู้สนับสนุนชุมนุมเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. ถึง 17 ก.ย. อย่างไรก็ตามทางการอนุญาตให้จัดชุมนุมระหว่างเวลา 06.00 น. - 18.00 น. ของวันที่ 15 ก.ย. นั้น

ล่าสุดวันนี้ (15 ก.ย.) ผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านได้นัดหมายชุมนุมกันที่ลานประชาธิปไตยในกรุงพนมเปญ อย่างไรก็ตามเกิดการสลายการชุมนุมขึ้นในช่วงเช้า เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสกัดไม่ให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปทางพระราชวังเขมรินทร์

ทั้งนี้พนมเปญโพสต์ ทวีตด้วยว่า มีรถบรรทุกของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOHCHR) ประจำกัมพูชา ได้เคลื่อนรถเข้ามาประจำการใกล้กับแนวลวดหนามด้านที่ผู้ชุมนุมรวมตัวกัน และเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ UNOHCHR ได้มีการหารือกันถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย [1], [2]

โดยหลังจากนั้นสม รังสี ได้ปราศรัยกับผู้ชุมนุมให้หยุดการใช้ความรุนแรง และถ้าไม่แยกย้ายกลับบ้าน ก็ให้ไปรวมตัวกันอยู่ที่ลานประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพื้นที่จัดการชุมนุม [3]

ทั้งนี้โธมัส คริสโตโฟเลตติ ช่างภาพอิตาลี ได้บันทึกภาพการชุมนุมและการสลายผู้ชุมนุมในวันนี้ (15 ก.ย.) และเผยแพร่ในเว็บ ruom.net ด้วย (คลิกเพื่อชมภาพ 1 และ 2)

นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีรายงานด้วยว่า ห่างออกไปจากพื้นที่ประท้วงหลักไปทางทิศใต้ 5 กม. บริเวณสะพานข้ามแยกกบาล ธนัล จุดตัดของทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ ทำให้มีผู้ประท้วงเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บหลายราย โดยพนมเปญโพสต์ ได้ทวีตยืนยันการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม 1 ราย ที่จุดดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ การปะทะจนมีผู้เสียชีวิตดังกล่าว เกิดขึ้นหลังตำรวจปราบจลาจลซึ่งมีไม้กระบองเข้าปราบผู้ประท้วงที่ขว้างก้อนหินอยู่ใกล้กับสะพานข้ามแยก ห่างจากพื้นที่ประท้วงหลัก 5 กม. โดยเอเอฟพี รายงานคำให้สัมภาษณ์ของอู วิรัก ประธานศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนกัมพูชา ที่ระบุว่าผู้เสียชีวิตถูกยิงเข้าที่ศีรษะ แต่ไม่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ยิง ส่วนโฆษกสารวัตรทหารกัมพูชาได้ให้สัมภาษณ์ว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีกระสุนจริง โดยยืนยันว่าใช้เพียงโล่และกระบอง

ทั้งนี้ผู้ใช้งาน Instagram ที่ใช้นามว่า "jeriko1kenobi" รายหนึ่ง ได้เผยแพร่ภาพของชายคนหนึ่งที่เชื่อว่าเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม โดยระบุว่าพื้นที่เกิดเหตุอยู่บริเวณตอนใต้ของกรุงพนมเปญด้วย

ส่วนความเคลื่อนไหวของรัฐบาลนั้น สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) รายงานว่า รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษา เยาวชน และกีฬา (MoEYS) ประกาศเลื่อนการจัดการสอบของนักเรียนมัธยมต้นออกไปเป็นเวลา 10 วัน จากเดิม 16 - 17 ก.ย. เลื่อนเป็น 26 - 27 ก.ย.

ทั้งนี้ สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) รายงานด้วยว่า กองอำนวยการด้านความมั่นคงสำหรับการเลือกตั้ง (PSCCE) ได้เผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันที่ 14 ก.ย. เรียกร้องให้พรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) และผู้สนับสนุนเคารพกฎหมายและจัดการชุมนุมอย่างสันติ ในแถลงการณ์ยังแสดงความไม่เห็นด้วยที่พรรคฝ่ายค้านประกาศว่าจะชุมนุม 3 วัน 3 คืน แม้ว่าสมเด็จนโรดม สีหนุ ได้เรียกทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจาเพื่อคลี่คลายปัญหาของชาติ

ส่วนความคืบหน้าล่าสุด สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) รายงานด้วยว่า พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) และพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ตกลงที่จะเจรจากันรอบใหม่ในวันจันทร์นี้ (16 ก.ย.) ทั้งนี้ แถลงการณ์ของพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ระบุว่าจะมีการเจรจากันในเวลา 9.00 น. ที่รัฐสภา และยังอ้างว่าพรรคประชาชนกัมพูชาปฏิบัติตามคำแนะนำของกษัตริย์นโรดม สีหมุนี

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี กษัตริย์กัมพูชาได้เชิญฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ผู้นำพรรคประชาชนกัมพูชา (CCP) และสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) มาหารือที่พระราชวังเขมรินทร์ แต่การหารือดำเนินไปได้ 20 นาทีก็ยุติโดยที่ยังไม่มีข้อสรุป (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) กระทั่งพรรคประชาชนกัมพูชาออกแถลงการณ์มาว่าจะมีการหารือรอบใหม่ในวันที่ 16 ก.ย. ดังกล่าว

ทั้งนี้สมเด็จนโรดม สีหมุนี พยายามที่จะมีบทบาทเช่นเดียวกับพระบิดา คือสมเด็จนโรดม สีหนุ กษัตริย์พระองค์ก่อนที่มีบทบาทยุติสงครามกลางเมืองกัมพูชาได้ใน พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2536

สำหรับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555 และจะร่วมกันแข่งขันในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคมนี้

โดยเมื่อ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา กษัตริย์นโรดม สีหมุนีของกัมพูชาได้พระราชทานอภัยโทษให้กับ สม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศมาร่วม 4 ปี โดยผู้ขอพระราชทานอภัยโทษคือฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และต่อมาสม รังสีได้เดินทางกลับพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 19 ก.ค. และหลังจากกลับมาแล้ว เขาได้เข้ามาช่วยลูกพรรคหาเสียง แม้ว่า กกต.กัมพูชา จะระบุว่าเขาขาดคุณสมบัติที่จะสมัครเป็นผู้แทนก็ตาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น