ประชาไท | Prachatai3.info |
- สภาที่ปรึกษาฯ ระดมความเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
- สภาที่ปรึกษาฯ ระดมความเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
- "วราเทพ" เผยให้ชาวสวนยางรีบขึ้นทะเบียนรับเงินหนุนปัจจัยผลิต
- ปลอดประสพพบชาวบ้านกลุ่มหนุนเขื่อนแม่วงก์ รับปากผลักเขื่อนแม่วงก์
- 'ปลอดประสพ' พับเก่า ปั้นใหม่เขื่อนแม่วงก์ - ภาคประชาชนจ่อฟ้อง 5 คดีหยุดโครงการ
- สิทธิในการปกครองตนเอง (Self-Determination) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย
- วัฒนธรรมอาหารแบบใหม่ในกรีซ เมื่อชาวก้นครัวเปิดขายอาหารเย็นในบ้านกับคนแปลกหน้าทางเน็ต
- แอดมิน “sexy pancake” เปิดใจในวันที่นางแบบคู่หูแยกทางไป แต่ทำไมเพจยังอยู่
- โพลล์เผยเกษตรกรหนี้ครัวเรือนเฉลี่ย 2.6 แสน ให้คะแนนจำนำข้าว 3.53
- แอมเนสตี้ เผยสหรัฐฯ เตรียมลงนามสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ
- โวยสปส.ไม่ยอมจ่ายเงินคืน อ้าง ‘หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน’ ไม่ฉุกเฉิน
- ศาลปกครอง สั่ง 'อสมท.' จ่าย 'บ.ไร่ส้ม' 55.7ล้าน
- พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
- ศาลรธน.เลื่อนพิจารณาสมาชิกภาพส.ส.'อภิสิทธิ์' รับคำร้องปมแก้รธน.-พ.ร.บ.งบฯ
- คู่มือบันเทิง 14 ตุลา (อย่างน้อย) 3 งานบันเทิงที่ไม่ควรพลาด
สภาที่ปรึกษาฯ ระดมความเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน Posted: 25 Sep 2013 12:26 PM PDT
25 ก.ย.56 คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาโครงการ Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การลงทุนของประชาชนเพื่อประชาชน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การลงทุนของประชาชนเพื่อประชาชน" เพื่อระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมต่อแนวทางการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2556-2563 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เป็นเรื่องที่ดีและทำให้เกิดความยั่งยืน มากกว่าโครงการประชานิยมที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงระยะสั้นแต่อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ยังเป็นปัญหาและควรต้องคำนึงถึงในการบริหารจัดการในครั้งนี้ โดยขอตั้งเป็นข้อสังเกต 7 ประการ คือ - ความคุ้มค่าในการลงทุน ในแง่ความคุ้มค่าจะมองในด้านตัวเลขเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องเน้นความคุ้มค่าทางสังคมด้วย เช่น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า มีการจ้างงานที่มากขึ้น สิ่งที่ต้องการเน้นย้ำคือ โครงการนั้นๆ จะต้องเน้นความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นกับประเทศโดยรวม มิใช่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ และก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด - การจัดการปัญหาคอร์รัปชั่น เพราะการคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศได้รับประโยชน์จากการใช้งบประมาณแผ่นดินไม่คุ้มค่า สิ่งที่รัฐบาลควรทำเพื่อให้เกิดความโปร่งใสคือ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งแต่ราคากลางก่อนการประมูล การเปิดเผยรายชื่อผู้ยื่นซองประมูล ผู้ชนะประมูล จำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้ควรเผยแพร่ให้สามารถสืบค้นที่หน้าเว็บไซต์ด้วย - การจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม - การกำกับดูแลโดยภาคการเมือง ต่อการใช้เงินแผ่นดิน โดยมีการตรวจสอบถ่วงดุลในสภา แต่การเสนอกฎหมายต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ มีเอกสารประกอบโครงการน้อยมาก อาจทำให้การตรวจสอบถ่วงดุลไม่ถี่ถ้วนเท่าที่ควร - ภาระหนี้สาธารณะ จะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ เป็นประจำทุกสามเดือน - ใครควรเป็นผู้ลงทุน เนื่องจากโครงการฯ ที่จะทำเป็นโครงการใหญ่ขั้นตอนต่างๆ ใช้เวลานานมาก อาจทำให้มีความเสี่ยงในหลายๆด้าน รัฐควรให้เอกชนเข้ามาร่วมในการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงของรัฐบาล และจะต้องไม่มีการผูกขาดทางธุรกิจเพราะจะทำให้การแข่งขันของประเทศไม่เกิดการพัฒนา - การพัฒนาด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุ ต้องพัฒนาให้เดินหน้าไปพร้อมๆกันด้วย โดยเฉพาะการพัฒนาคนและการศึกษา ด้าน ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้วทุกประเภท แต่การลงทุนในประเทศยังมิได้มองเรื่องการพัฒนาคุณภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า อีกทั้งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง สามารถรองรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รองรับการเปิดเสรีอาเซียนและเชื่อมต่อกับภูมิภาคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างเมืองในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการลดระยะเวลาและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงภาพรวมแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ประเด็นปัญหาคือ ความพร้อมของโครงการ ซึ่งบางโครงการ ยังไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ การออกแบบรายละเอียด และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ พบว่ายังไม่ได้มีการดำเนินการในแผนดังกล่าวเลย อาจทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน สิ่งที่ยังต้องจับตาดู คือแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการระบบราง ความพร้อมในการลงทุนของโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่ต้องศึกษาความเป็นไปได้ยังไม่แล้วเสร็จ และวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นเวลานานแล้ว เพียงแต่ขาดการบริหารจัดการที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้นโยบายต่างๆ หยุดชะงักลง จึงทำให้เสียเปรียบประเทศอื่นๆ ส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ทุกฝ่ายมีความเห็นด้วย แต่ห่วงเรื่องความโปร่งใส และการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้น รัฐบาลควรสร้างความเชื่อมั่น ในการแก้ไขกระบวนการทุจริต และเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากการลงทุนในโครงการนี้ จะทำให้ประเทศมีการเจริญเติบโตมากขึ้นแล้ว ต้องทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม ใช้วัสดุอุปกรณ์ในประเทศ การวางแผนการลงทุนต่างๆ สร้างงาน สร้างอาชีพ และลดต้นทุนในการทำธุรกิจด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สภาที่ปรึกษาฯ ระดมความเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน Posted: 25 Sep 2013 12:25 PM PDT
25 ก.ย.56 คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาโครงการ Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การลงทุนของประชาชนเพื่อประชาชน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การลงทุนของประชาชนเพื่อประชาชน" เพื่อระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมต่อแนวทางการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2556-2563 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เป็นเรื่องที่ดีและทำให้เกิดความยั่งยืน มากกว่าโครงการประชานิยมที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงระยะสั้นแต่อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ยังเป็นปัญหาและควรต้องคำนึงถึงในการบริหารจัดการในครั้งนี้ โดยขอตั้งเป็นข้อสังเกต 7 ประการ คือ - ความคุ้มค่าในการลงทุน ในแง่ความคุ้มค่าจะมองในด้านตัวเลขเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องเน้นความคุ้มค่าทางสังคมด้วย เช่น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า มีการจ้างงานที่มากขึ้น สิ่งที่ต้องการเน้นย้ำคือ โครงการนั้นๆ จะต้องเน้นความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นกับประเทศโดยรวม มิใช่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ และก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด - การจัดการปัญหาคอร์รัปชั่น เพราะการคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศได้รับประโยชน์จากการใช้งบประมาณแผ่นดินไม่คุ้มค่า สิ่งที่รัฐบาลควรทำเพื่อให้เกิดความโปร่งใสคือ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งแต่ราคากลางก่อนการประมูล การเปิดเผยรายชื่อผู้ยื่นซองประมูล ผู้ชนะประมูล จำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้ควรเผยแพร่ให้สามารถสืบค้นที่หน้าเว็บไซต์ด้วย - การจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม - การกำกับดูแลโดยภาคการเมือง ต่อการใช้เงินแผ่นดิน โดยมีการตรวจสอบถ่วงดุลในสภา แต่การเสนอกฎหมายต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ มีเอกสารประกอบโครงการน้อยมาก อาจทำให้การตรวจสอบถ่วงดุลไม่ถี่ถ้วนเท่าที่ควร - ภาระหนี้สาธารณะ จะต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ เป็นประจำทุกสามเดือน - ใครควรเป็นผู้ลงทุน เนื่องจากโครงการฯ ที่จะทำเป็นโครงการใหญ่ขั้นตอนต่างๆ ใช้เวลานานมาก อาจทำให้มีความเสี่ยงในหลายๆด้าน รัฐควรให้เอกชนเข้ามาร่วมในการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงของรัฐบาล และจะต้องไม่มีการผูกขาดทางธุรกิจเพราะจะทำให้การแข่งขันของประเทศไม่เกิดการพัฒนา - การพัฒนาด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุ ต้องพัฒนาให้เดินหน้าไปพร้อมๆกันด้วย โดยเฉพาะการพัฒนาคนและการศึกษา ด้าน ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้วทุกประเภท แต่การลงทุนในประเทศยังมิได้มองเรื่องการพัฒนาคุณภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า อีกทั้งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง สามารถรองรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รองรับการเปิดเสรีอาเซียนและเชื่อมต่อกับภูมิภาคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างเมืองในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการลดระยะเวลาและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงภาพรวมแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ประเด็นปัญหาคือ ความพร้อมของโครงการ ซึ่งบางโครงการ ยังไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ การออกแบบรายละเอียด และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ พบว่ายังไม่ได้มีการดำเนินการในแผนดังกล่าวเลย อาจทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน สิ่งที่ยังต้องจับตาดู คือแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการระบบราง ความพร้อมในการลงทุนของโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่ต้องศึกษาความเป็นไปได้ยังไม่แล้วเสร็จ และวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นเวลานานแล้ว เพียงแต่ขาดการบริหารจัดการที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้นโยบายต่างๆ หยุดชะงักลง จึงทำให้เสียเปรียบประเทศอื่นๆ ส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ทุกฝ่ายมีความเห็นด้วย แต่ห่วงเรื่องความโปร่งใส และการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้น รัฐบาลควรสร้างความเชื่อมั่น ในการแก้ไขกระบวนการทุจริต และเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากการลงทุนในโครงการนี้ จะทำให้ประเทศมีการเจริญเติบโตมากขึ้นแล้ว ต้องทำให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม ใช้วัสดุอุปกรณ์ในประเทศ การวางแผนการลงทุนต่างๆ สร้างงาน สร้างอาชีพ และลดต้นทุนในการทำธุรกิจด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"วราเทพ" เผยให้ชาวสวนยางรีบขึ้นทะเบียนรับเงินหนุนปัจจัยผลิต Posted: 25 Sep 2013 11:14 AM PDT รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย ให้ชาวสวนยางรีบขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินสนับสนุนปัจจัยการผลิตยางพารา กนย. ขยายได้หากไม่ทัน 30 ก.ย.นี้ พร้อมรับทราบความช่วยเหลือชาวสวนยาง 3 เรื่อง
25 ก.ย.56 สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. รายงาน นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุถึงความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ว่า ล่าสุด มีเกษตรกรมายื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราแล้ว 730,638 ครัวเรือน หรือร้อยละ 62.12 จากการประมาณการทั้งหมด 70 จังหวัด มีจำนวน 1,176,145 ครัวเรือน โดยทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียน ได้ส่งข้อมูลให้แก่ คณะกรรมการเปิดกรีดระดับตำบล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ก่อนออกใบรับรองและส่งข้อมูลให้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส. เพื่อจ่ายเงินแก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราต่อไป และเมื่อวันที่ 24 กันยายน เกษตรกร จ.นครศรีธรรมราช ได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรการแก้ไขปัญหายางพาราไปแล้ว ทั้งนี้ ขอให้เกษตรกรที่เหลือรีบดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ ธ.ก.ส.ใกล้บ้าน ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ นอกจากนี้ ทาง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือรายงานมายังรัฐบาล ว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2556 เกษตรอำเภอ พร้อมคณะกรรมการขึ้นทะเบียนเกษตรได้ลงพื้นที่ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เพื่อมารับการขึ้นทะเบียนของเกษตรกรชาวสวนยาง แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มวัยรุ่นพยายามขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการขึ้นทะเบียนที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยข่มขู่ใช้รถจักรยานยนต์ส่งเสียงดัง ซึ่งเจ้าหน้าที่เกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่บ้านจึงสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่และออกจากหมู่บ้านทันที
กนย.รับทราบความช่วยเหลือชาวสวนยาง3เรื่อง หลังจากนั้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ หรือ กนย. ว่า วันนี้เป็นการประชุมเพื่อรับทราบความคืบหน้า การช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราในระยะกลาง และระยะยาว ใน 3 เรื่อง คือ การสนับสนุนเกษตรกรรวมกลุ่มสหกรณ์เพื่อแปรรูป และสร้างมูลค่าเพิ่มงบประมาณ 5,000 ล้านบาท การสนับสนุนงบประมาณ 15,000 ล้านบาท ต่อภาคอุตสาหกรรมในการผลิตสินคัาสำเร็จรูปและเพิ่มกำลังการผลิต และให้กรมส่งเสริมการเกษตร ดูแลเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชเสริม ในพื้นที่ปลูกยางเพื่อเสริมรายได้ ทั้งนี้ถือว่ามีความคืบหน้าดีในระดับหนึ่ง ซึ่งทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส. ยินดีสนับสนุนดอกเบี้ยแบบผ่อนปรน ลงทะเบียนรับสิทธิ์ค่าปัจจัยการผลิต ขยายได้หากไม่ทัน 30 ก.ย. อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมหารือถึงแนวทางนำยางพาราเข้าสู่กลไกซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าและการซื้อขายสินค้าเกษตรกลางเพื่อให้ราคาโปร่งใสสามารถเทียบเคียงได้ ในด้านการลงทะเบียนรับสิทธิ์ช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิตนั้นหากไม่ทันภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ก็จะขยายเวลาออกไปตามความเหมาะสม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปลอดประสพพบชาวบ้านกลุ่มหนุนเขื่อนแม่วงก์ รับปากผลักเขื่อนแม่วงก์ Posted: 25 Sep 2013 10:49 AM PDT 25 ก.ย. 56 ที่บริเวณลานหน้าที่ว่าการอำเภอลาดยาว จ.นครสวรรค์ มีการจัดเวทีสนับสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ และมีชาวบ้านจากจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร และอุทัยธานี เข้าร่วมชุมนุม โดยชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อำเภอ ลาดยาว แม่วงก์ แม่เปิ่น และชุมตาบง ที่มี นายวชิระ แรงกสิกร นายก อบต.สระแก้ว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ เป็นประธานชมรม ได้จัดคิวให้ นายวีรกร คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายประสาท ตันประเสริฐ ส.ส.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน เขต 6 นครสวรรค์ พร้อมด้วยนายกเทศมนตรีลาดยาว นายก อบต.เกือบทุกตำบล ใน อ.ลาดยาว ผลัดกันขึ้นปราศรัย มีเนื้อหาโจมตีมูลนิธิสืบนาคะเสถียร, เอ็นจีโอเครือข่ายอนุรักษ์ว่า ไม่ใช่คนในพื้นที่ ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริง และนำประเด็นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA เขื่อนแม่วงก์มาเดินสร้างกระแสเพื่อปลุกระดมนักศึกษาให้มาร่วมค้านเขื่อน สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน ต้องประสบกับภัยแล้งและน้ำท่วมทุกปี แกนนำชาวบ้านเห็นว่า การสร้างเขื่อนจะช่วยแก้ไขปัญหาอุทกภัยซ้ำซากได้ สร้างระบบนิเวศที่ดี สร้างความชุ่มชื้น ป้องกันไฟป่า รวมทั้งเป็นการบริหารจัดการน้ำและป้องกันปัญหาน้ำท่วมเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ส่วนข้อเรียกร้องครั้งนี้คือ ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ รับฟังปัญหาชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม ด้านนายวีรกร คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พูดกลางเวทีสนับสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ว่า หนังสือเรียกร้องให้อนุมัติสร้างเขื่อนแม่วงก์ของชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถูกส่งถึงสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งทางรัฐบาลจะส่ง นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เข้ามาพูดคุยกับชาวบ้านที่มาร่วมชุมนุมเรียกร้องให้เกิดการสร้างเขื่อนในวันนี้ ต่อมาในเวลา 18.00 น. นายปลอดประสพ ก็เดินทางมาถึงที่ชุมนุมโดยเฮลิคอปเตอร์ ก่อนจะขึ้นเวทีชี้แจงกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยรับปากว่า เรื่องเขื่อนแม่วงก์นั้นรัฐบาลจะสร้างแน่นอน เมื่อชาวบ้านได้รับคำตอบที่น่าพอใจ จึงสลายตัวกลับไปในที่สุด
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ เว็บไซต์วอยซ์ทีวี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ปลอดประสพ' พับเก่า ปั้นใหม่เขื่อนแม่วงก์ - ภาคประชาชนจ่อฟ้อง 5 คดีหยุดโครงการ Posted: 25 Sep 2013 09:35 AM PDT 25 ก.ย.56 สำนักข่าวไทย รายงาน ว่านายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) มอบนโยบาย ศูนย์เตรียมพร้อมเฉพาะกิจรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2556 - 2557 ที่มีการประชุมนัดแรกหลังนายกรัฐมตรีมีประกาศแต่งตั้ง ด้วยการสั่งการให้เร่งระบายน้ำในช่วง 1-2 วันนี้ เพื่อระบายน้ำออกสู่ทะเลด้วยเปิดประตูน้ำ แต่ก็คาดว่าปทุมธานี กรุงเทพ อาจะได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากเท่าปี 2554 สำหรับโครงการเขื่อนแม่วงก์ ซึ่ง NGO คัดค้านรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) เป็นเขื่อนแม่วงก์ ที่เสนอโดยกรมชลประทาน ซึ่งกบอ.จะไม่นำมาใช้ แต่ได้ให้บริษัทไอทีดี พาวเวอร์ ไชน่า จอยต์เวนเจอร์ เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างโครงการเขื่อนแม่วงก์ใหม่ โดยมูลค่าการก่อสร้างน้อยลงกว่าที่เคยขออนุมัติ ครม. ในโครงการเดิม 13,000 ล้านบาท และเปลี่ยนเป้าหมายจากเดิมเพื่อการชลประทานเป็นการควบคุม และระบายน้ำท่วม ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มทำรายงานอีเอชไอเอฉบับใหม่ได้ทันที ที่การทำประชาพิจารณ์โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทเสร็จสิ้น นาย ปลอดประสพ กล่าวอีกว่าความขัดแย้งจากการสร้างเขื่อแม่วงก์ ตนจะนำผู้มีความเห็นต่าง รวมทั้งผู้เห็นด้วยกับโครงการมาหารือ หลังการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเสร็จสิ้นลง ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี Voice TV รายงานด้วยว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุ รัฐบาลยินดีรับฟังข้อคิดเห็นและข้อห่วงใยของประชาชน และได้มอบหมายให้คุณปลอดประสพ เชิญตัวแทนผู้คัดค้านมารับฟังและพูดคุยกัน เบื้องต้น คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่าเรื่องการเข้าให้ข้อมูล ยังไม่มีการประสานงานมา แต่ประเด็นสำคัญ คือต้องการให้ตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง หากไม่มีผลกระทบก็สามารถสร้างได้ และไม่จำเป็นต้องไปคุยกับตัวแทนรัฐบาล ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยภายหลังการเสวนา "ผ่าแผน กบอ. เวทีการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ" ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ว่า ข้อสรุปที่ได้จากการงานเสวนาในวันนี้ พบว่าการดำเนินงานตามโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ของรัฐบาลและคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ไม่เป็นไปตามแนวทางของกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งทั้งหมดที่รัฐบาลกล่าวอ้างว่าอยู่ระหว่างขั้นตอนการรับฟังความเห็นจากประชาชน โดยจากการเฝ้าจับตาดูของภาคประชาชนและภาคสังคม พบว่า ที่ผ่านมาการดำเนินการของรัฐบาล และ กบอ. หลายประเด็นไม่เป็นไปตามคำสั่งศาล และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักกฎหมายหลายฉบับ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีหลายโครงการที่เป็นโครงการสอดไส้ โดยที่ไม่ได้ระบุไว้ตามแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ หรือแม้แต่แผนงานที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ในเบื้องต้น สมาคมเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องขอพึ่งอำนาจศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนและระงับการดำเนินการในหลายๆ กิจกรรม ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน รวม 5 คดี ซึ่งประกอบด้วย 1.ฟ้องร้องดำเนินคดีอธิการบดี และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ที่รับเป็น stemper ในการไปรับฟังความเห็นประชาชน ซึ่งขัดต่อหลักการและกฎกระทรวง 2.เพิกถอนแม่น้ำสายใหม่ ขาณุวรลักษบุรี กำแพงเพชร-ท่าม่วง กาญจนบุรี เนื่องจากขัดต่อกฎหมาย 3.เพิกถอนโครงการสอดไส้หลายร้อยโครงการ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับแผนแม่บทฯ ซึ่งโครงการเหล่านี้เพราะยังไม่มีการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) 4.ฟ้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้สัญญาการกู้เงินของกระทรวงการคลัง ที่ลงนามไว้กับสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 4 แห่งเป็นโมฆะ ซึ่งที่ผ่านมา อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกมาระบุแล้วว่า การเซ็นสัญญาดังกล่าวไม่เป็นไปตามนิติกรรมสัญญาที่มิได้มีการ ขัดต่อตามเจตนารมณ์ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 5.ฟ้องร้องให้เพิกถอนกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 36 จังหวัด ซึ่งไม่เป็นไปตามคำสั่งของศาลที่ระบุให้ต้องนำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำไปประชาพิจารณ์อย่างทั่วถึง ซึ่งหมายความว่า ต้องครอบคลุมทั้ง 65 จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมเมื่อปี 54 แต่การจัดประชาพิจารณ์ตามแผนงานของ กบอ. ดำเนินการเพียง 36 จังหวัดเท่านั้น นอกจากนี้ การเปิดรับฟังความเห็นโดยให้มีประชาชนเข้าร่วมเพียง 800-1,500 รายต่อจังหวัด ไม่ครอบคลุมกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดที่มีนับล้านคน ซึ่งสมาคมจะเร่งรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลโดยเร็วที่สุด ก่อนครบกำหนดเดินสายจัดประชาพิจารณ์ในวันที่ 7 ต.ค.นี้.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สิทธิในการปกครองตนเอง (Self-Determination) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย Posted: 25 Sep 2013 08:58 AM PDT เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์เรื่องการปกครองท้องถิ่นไทยพบว่า ประเทศไทยเริ่มมีการปกครองท้องถิ่นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีแนวคิดในการปฏิรูปทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม การปกครองและระบบศาล ในส่วนของการปฏิรูปด้านการบริหารราชการแผ่นดินทรงเห็นว่าบ้านเมืองยังไม่เจริญ ราษฎรส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษา กอปรกับห่วงใยในหลาย ๆ เรื่องของราษฎร จึงมีการให้ความรู้กับประชาชนพอที่จะปกครองตนเองได้ก่อน โดยการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ในชื่อที่ว่า พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 (พุทธศักราช 2441) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองท้องถิ่นในสมัยต่อมา นั่นคือ สุขาภิบาลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร ร.ศ. 124 (พุทธศักราช 2448) เป็นระยะเวลา 7 ปีภายหลังเกิดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามการจัดตั้งสุขาภิบาลในช่วงเวลาดังกล่าวมิได้มีลักษณะเป็นการปกครองตนเอง (Self-Determination) หรือการกำหนดเจตจำนงของตนเอง เนื่องจากบุคคลที่ประจำอยู่นั้นล้วนมาจากส่วนกลางทั้งสิ้น ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการนำหลักกฎหมายทั่วไปทางมหาชนมาบัญญัติหรือแทรกซึมไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ หลักกฎหมายทั่วไปที่สำคัญ เช่น หลักประชาธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักความเสมอภาค หลักความเป็นสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เป็นต้น โดยเฉพาะหลักการแบ่งแยกอำนาจ (The Seperation of Power) ซึ่งมีการแบ่งแยกอำนาจทางการเมืองอย่างไม่เด็ดขาดโดยองค์กรหลักสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในแง่การแบ่งแยกอำนาจในทางปกครอง มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น 3 ประเภท[2] ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ณ จุดนี้ ผู้เขียนเกิดใครรู้และครุ่นคิดกับคำว่า Self-Determination จึงได้พยายามสำรวจเอกสารทางวิชาการ ทำให้ทราบว่า Self หมายถึง ตนเอง ส่วน Determination เป็นคำนามของกริยาของDetermine ที่แปลว่า กำหนด เพราะฉะนั้นทำให้เข้าได้ว่า Self-Determination จึงมีความหมายตรงกันข้ามกับ Self-Centered (ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง) โดยสิ้นเชิง ดังนั้น ในมิติของการบริหารราชการแผ่นดินระดับท้องถิ่น Self-Determination จึงหมายถึง การที่ท้องถิ่นกำหนดอนาคตของตนเองในรูปแบบการปกครองตนเอง อย่างไรก็ดี Self-Determination ยังปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ภาค 1 ข้อ 1 ที่กำหนดว่า "ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง"[3] นอกจากนี้ยังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (3) ที่กำหนดว่า "รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น"[4]และมาตรา 281 วรรคสอง ที่กำหนดว่า "ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ"[5] โดยผู้เขียนใคร่ขออธิบายดังนี้ หากพิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา 78 (3) จะพบว่า เป็นเรื่องแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องการกระจายอำนาจและพัฒนาจังหวัดให้เป็นองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่มีความพร้อม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนด้วย โดยอาจพิจารณาหลักเกณฑ์ที่เป็นสาระสำคัญได้ 2 ประการ คือ ประการแรก ศักยภาพของท้องถิ่น ประการที่สอง เจตนารมณ์ของประชาชนท้องถิ่นในจังหวัดนั้นๆ และเมื่อพลิกดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย มาตรา 281 วรรคสอง จะพบว่า ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเด็นที่น่าสนใจมีอยู่ว่า ถ้อยคำที่ปรากฏทั้งสองมาตราข้างต้นนี้จะถือได้หรือไม่ว่าเป็นการกำหนดเจตจำนงของประชาชนที่จะจัดตั้งท้องถิ่นปกครองตนเองได้โดยที่มีสาระสำคัญต่างจากการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน ในทรรศนะของผู้เขียนมีความเห็นว่า มาตรา 78 (3) และมาตรา 281 วรรคสอง มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอาจถึงขนาดเป็นเรื่องเดียวกัน อันเกิดจากความต้องการ (need) ของประชาชนเป็นพื้นฐาน มีเจตจำนงร่วมกันเป็นอำนาจบังคับ (Coercive Power) ในทางสภาพข้อเท็จจริงที่ต้องการมีอิสระในการปกครองตนเอง (Self-Determination) โดยมีฐานของกฎหมายรองรับ การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่หรือจังหวัดจัดการตนเอง จึงมิใช่เรื่องที่กระทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่ท้าทาย (challenging) และชวนให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสังคมได้ติดตาม ทั้งนี้การปกครองตนเองของท้องถิ่นมิใช่เพียงแค่การปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น หากแต่ยังต้องสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมและอุบัติขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของท้องถิ่น สำคัญที่สุดประชาชนในท้องถิ่นต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
[1] เลิศศักดิ์ ต้นโต ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย. [2] พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, มาตรา 7 [3] International Covenant on Civil and Political Rights, PART 1 Article 1 "All peoples have the right of Self-Determination…" [4] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78 (3) [5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 281วรรคสอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วัฒนธรรมอาหารแบบใหม่ในกรีซ เมื่อชาวก้นครัวเปิดขายอาหารเย็นในบ้านกับคนแปลกหน้าทางเน็ต Posted: 25 Sep 2013 08:55 AM PDT เมื่อพิษเศรษฐกิจในกรีซ ทำให้คนพยายามแสวงหาอาหารโฮมเมดราคาประหยัด จนเกิดวัฒนธรรมใหม่ที่คนครัวมือสมัครเล่นแต่มีใจรักการทำอาหาร โพสต์รูปนำเสนอเมนูประจำบ้านผ่านเว็บที่ชื่อ Cookisto และมีผู้สมัครใจไปนั่งร่วมโต๊ะทานอาหารในบ้านพวกเขาแลกกับการจ่ายค่าธรรมเนียมซึ่งถูกกว่าซื้อทานเอง
เช่นชีวิตของมาริเลนา ซาโชว์ แม่บ้านในกรุงเอเธนส์ผู้ที่ตื่นขึ้นมาชงกาแฟ ทำอาหารให้เด็กก่อนไปโรงเรียน จนกระทั่งเมื่อถึงเวลา 10 โมงเช้าอันเงียบสงบเธอก็จะเข้าครัวทำอาหารอย่างจริงจัง เช่นวันหนึ่งเธอทำมูซากา (Moussaka) อาหารจานอบของกรีก ซึ่งใช้วัตถุดิบอย่างมะเขือเทศ เนื้อแกะบด หอมหัวใหญ่ จากนั้นจึงได้อัปโหลดรูปขึ้นอินเทอร์เน็ตแล้วมีคนในพื้นที่มาโพสต์ข้อความขอ 'แบ่งปัน' จากเธอ การทำเช่นนี้ทำให้บ้านของเธอไม่มีอาหารเหลือทิ้งเลยในวันนั้น เพราะจะมีคนในละแวกตำบลมารูซีมาร่วมทานอาหารมื้อค่ำด้วย โดยก่อนหน้านี้ในช่วงตอนกลางวันก็จะมีคนสั่งอาหารของเธอและมีการจดที่อยู่ไว้นำส่ง แต่ไม่เพียงแค่ซาโชว์เท่านั้น คนอื่นๆ ในกรุงเอเธนส์ก็มีวัฒนธรรมแบบ 'ครัวบ้านๆ' เช่นเดียวกับเธอ ซึ่งคนเหล่านี้ชื่นชอบการทำอาหารและมีฝีมืออยู่พอสมควร โดยมีลูกค้าเป็นพนักงานออฟฟิศ นักศึกษา และพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาว่าง จะติดต่อคนทำครัวมือสมัครเล่นเหล่านี้ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีค่าธรรมเนียมร่วมโต๊ะอาหารในราคาราว 3-4 ยูโร (ราว 120 - 160 บาท) ซึ่งในเมื่อวัดจากค่าครองชีพในกรุงเอเธนส์ ถือว่าราคาถูกกว่าการทานอาหารที่อื่นๆ ซาโชว์บอกว่าตัวเธอติดนิสัยทำอาหารเกินความจำเป็นและไม่สามารถคำนวณปริมาณที่ครอบครัวเธอต้องการได้ เธอจึงเข้าสู่เว็บสังคมออนไลน์ที่ชื่อ Cookisto.com เว็บภาษากรีกซึ่งนำพาให้พ่อครัวแม่ครัวมือสมัครเล่นกับชาวเมืองผู้กำลังหิวได้นัดพบปะกัน ซึ่งกำลังจะมีโครงการสร้างเว็บในฉบับของกรุงลอนดอนในเดือนหน้า พ่อครัวแม่ครัวที่ใช้เว็บนี้ถูกเรียกว่าคุกกิสต้า (Cookista) มีโปรไฟล์อยู่ในเว็บไซต์ โดยอาหารของพวกเขาจะได้รับการให้คะแนนและการแสดงความเห็นจากผู้รับประทานอาหาร เช่น มูซากาของซาโซว์มีคนแสดงความคิดเห็นว่า "อาหารของเธอไม่มีน้ำมันส่วนเกินและมักจะใช้แต่วัตถุดิบคุณภาพดี รสชาติก็สมบูรณ์แบบ" เดิมทีแนวคิดคุกกิสโต มาจากวิทยานิพนธ์ที่เขียนในรูปแบบของแผนการธุรกิจโดยนักศึกษาสายบริหารธุรกิจชื่อ มิคาลิส กอนตาส ในช่วงที่กรีซกำลังประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งแผนการของเขากลายมาเป็นความจริงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยมีคนครัวในกรุงเอเธนส์เข้าร่วมราว 12,000 คน กอนตาส เจ้าของแนวคิดและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์บอกว่า มันเป็นเรื่องที่คนทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งคนครัวและผู้ชื่นชอบอาหาร โดยคนครัวจะมีรายได้เพิ่มเล็กๆ น้อยๆ ขณะที่ผู้ทานอาหารจะได้รับประทานอาหารดีๆ ที่ประกอบขึ้นในครัวเรือนซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อกลับไปทานเองที่บ้าน สภาพเศรษฐกิจของกรีซในช่วงที่ผ่านมาถือว่าย่ำแย่ มีอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 27.9 ภาครัฐเองก็มีการปรับลดขนาดขององค์กรลง ซาโชว์ได้รับเงินเพิ่มจากการเข้าร่วมคุกกิสโต้เดือนละประมาณ 200 ยูโร (ราว 8,000 บาท) และใช้เงินส่วนนี้ไปกับการจับจ่ายใช้สอยในซูเปอร์มาร์เก็ต แต่เธอก็บอกว่าสำหรับเธอแล้วมันไม่ใช่เรื่องเงินแต่เพียงอย่างเดียว "ฉันรู้สึกว่าพวกเราต้องร่วมฝ่าฟันวิกฤติไปด้วยกัน มีนักศึกษาจำนวนมากที่ต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้มีเงินใช้ ฉันก็เคยผ่านจุดนั้นมาก่อน เบื่อที่ต้องทานแต่ขนมปังและอาหารซื้อกลับบ้าน มันเป็นเรื่องดีที่ได้ทำอาหารให้เขาราวกับที่พวกเขารู้สึกว่าได้ทานอาหารฝีมือแม่ที่บ้าน แม้สักนิดก็ยังดี" ราเชล บอทส์แมน ผู้ให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรมจากประเทศออสเตรเลียบอกว่าโครงการนี้ถือเป็น "การปฏิวัติ" รูปแบบของ 'การบริโภคร่วมกัน' หรือรูปแบบของเศรษฐศาสตร์การแบ่งปัน บอทส์แมนบอกว่าหลังจากเกิดปัญหาการเงินโลกตกต่ำ ผู้คนก็หันกลับมามีพฤติกรรมในระบบตลาดแบบเก่าที่อาศัยความเชื่อใจ อย่างการแลกเปลี่ยน การแบ่งปัน และการให้เช่า นิตยสาร Times เคยกล่าวถึงวัฒนธรรมการบริโภคร่วมกัน (collaborative consumption) ว่า สิ่งที่เป็นผลดีอย่างแท้จริงของการบริโภคประเภทนี้คือด้านสังคม ในยุคสมัยที่ครอบครัวแยกกันไปคนละทิศละทางและเราอาจจะไม่รู้จักคนบนท้องถนน การได้แบ่งปันสิ่งต่างๆ แม้แต่กับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ก็อาจกลายเป็นความสัมพันธ์ที่มีความหมายได้ คุกกิสโต้มีส่วนคล้ายกับบริการ Airbnb (บริการห้องพักและอาหารเช้า) Lyft (บริการให้ติดรถส่วนตัวไปด้วย) Liquidspace (บริการให้เช่าพื้นที่ประชุมหรือพื้นที่ทำงาน) และ Taskrabbit (แหล่งจ้างวานงานส่งของหรืองานจิปาถะอื่นๆ) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นบริการในพื้นที่โลกออนไลน์ที่ต้องอาศัยความเชื่อใจและความน่าเชื่อถือในการประสบความสำเร็จ จริงอยู่แม้ว่าความน่าเชื่อถือจะสำคัญในธุรกิจทั่วไป แต่บอทส์แมนก็บอกว่าธุรกิจเล็กๆ แนวนี้ได้เปลี่ยนจากการเน้นความเชื่อถือในองค์กรมาเป็นความเชื่อถือในกลุ่มคนที่ใกล้เคียงกัน ลูกค้ารายหนึ่งของคุกกิสโต้เป็นพนักงานออฟฟิศชื่อ ดิมิทรีส์ คูสตาส เขามักจะสั่งซื้ออาหารจากคุกกิสโต้อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ คูสตาสบอกว่าคนทำอาหารจะเป็นคนมาส่งถึงที่ด้วยตนเอง บางครั้งก็มีการแถมของหวานให้เพื่อโน้มน้าวให้สั่งอาหารจากที่เดิมอีก หรือมีแม่บ้านที่ถามว่าอาหารของเธอเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคนอื่น แม้ว่าเว็บคุกกิสโต้จะไม่สามารถตรวจสอบเรื่องความสะอาดของครัวหรือดูว่าใช้ของสดหรือไม่ แต่ก็สนับสนุนให้ผู้ใช้โพสต์คำวิจารณ์ตามความจริง คูสตาสบอกว่าในตอนแรกเขาลังเลเล็กน้อยกับการต้องสั่งอาหารจากคนที่ไม่รู้จัก ทำให้กังวลว่ารสชาติจะเป็นอย่างไรและจะทำให้เราป่วยไหม ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัยความเชื่อใจอย่างมาก ในประเทศกรีซ ชุมชนคุกกิสโต้เริ่มแผ่ขยายออกไปนอกอาณาเขตอินเทอร์เน็ตแล้ว โดยมีการรวมกลุ่มกันของผู้ใช้และมีช่วงรับฟังความคิดเห็น โดยอิวานเกเลีย ทาฟลาโดรากีบอกว่า การที่เธอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนี้ ช่วยให้เธอมีความมั่นใจอีกครั้งหลังจากตกงาน เธอบอกว่ารู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ได้มีส่วนช่วยเหลือคนอื่นทุกวันและรางวัลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับเธอคือตอนที่มีคนบอกว่าชอบอาหารของเธอ ไก่หมักเปรี้ยวหวานของเธอขายได้หมดในเวลาไม่กี่นาที แสดงให้เห็นว่าความต้องการอาหารพื้นเมืองในกรุงเอเธนส์มีอยู่มาก อีกไม่นานเว็บไซต์คุกกิสโต้จะขยายเว็บให้บริการสำหรับชาวอังกฤษ ไม่แน่ว่าคนในพื้นที่อาจจะได้ชิมอาหารของอดีตทนายความที่มีช่องรายการอาหารในยูทูบ อาหารจากแม่บ้านชาวอิตาเลียน หรือนักศึกษาจบใหม่ที่เริ่มเรียนต่อด้านอาหาร แม้กอนตาสจะบอกว่าการริเริ่มตั้งคุกกิสโต้ของเขาจะมาจากความต้องการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเรื่องการเข้าถึงอาหารโฮมเมดอร่อยๆ แต่นิกกิ ฟินเนมอร์ ผู้ดำเนินการให้มีเว็บบริการสำหรับชาวอังกฤษได้พูดเน้นย้ำว่าพื้นที่ตลาดแบบนี้เป็นมากกว่าเรื่องอาหาร มันยังเป็นเรื่องของมิตรภาพ การร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น และการแบ่งปันผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน "มันเป็นประสบการณ์ของการเชื่อมั่นในคนแปลกหน้าที่ทำอาหารให้คุณ และได้แลกเปลี่ยนพบปะกันแบบตัวต่อตัว" ฟืนเนมอร์กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แอดมิน “sexy pancake” เปิดใจในวันที่นางแบบคู่หูแยกทางไป แต่ทำไมเพจยังอยู่ Posted: 25 Sep 2013 07:28 AM PDT
"sexy pancake" เป็นชื่อเพจในเฟซบุคที่ผ่านตาชาวโลกออนไลน์ในฐานะ "ของแปลก" มีจุดเด่นด้วยการฉายภาพ "ฉากชนบท" ผ่านตัวนางแบบกระเทยคนแรกชื่อ "เหน่ง" หรืออีกชื่อคือ "แพนเค้ก" ตามฉายาที่ "สุ" ซึ่งเป็นแอดมินเพจและเป็นกระเทยรุ่นพี่ของเหน่งเป็นผู้ตั้งชื่อให้ ต่อมามีข่าวฮือฮาสำหรับผู้ติดตามเพจนี้ เมื่อ "เหน่ง" ได้แยกทางไปกับเพื่อนใหม่และตั้งเพจชื่อ "sexy pancake2" แต่ดูเหมือนว่าเพจใหม่จะไปไม่ถึงฝัน ขณะที่ "สุ" ยังเดินหน้าสื่อสารความเคลื่อนไหวในเพจต่อไป แม้นางแบบอันเป็น "ภาพจำ" จะไม่ใช่คนเดิม เธอต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้
นางแบบไปแล้ว แต่ทำไมเพจยังอยู่ ยังมีคนมาคลิ๊กไลค์ มาติดตาม ความจริงก็เคยคิดไว้อยู่แล้วว่า สักวันถ้าเหน่งเขาไปได้ดี ไปเป็นดาราไม่สามารถมาถ่ายแบบให้พี่ได้ แล้วพี่จะทำยังไง ซึ่งพี่ไม่คิดว่าจะเกิดเร็วขนาดนี้ พอถึงตอนแยกทางกันไป พี่ก็คิดอยู่เหมือนกันนะ ว่าการที่นางแบบคนแรกไปแล้ว จะยังมีคนติดตามเพจพี่ไหม พอถึงเวลาจริง ก็คิดว่าจะทำยังไงให้คนยังตามเรา ไอเดียแรกที่คิด ก็เลยประกาศหานายแบบ คือ จะไม่ปั้นใครเป็นตัวเป็นตน กลัวมีปัญหาอีก เริ่มจากลุงคนนั้น เป็นคนแถวบ้าน ตอนแรกคิดว่า จะถ่ายเซ็กซ์ซี่ ถึงตัวสุจะไม่ตลกแต่ว่าจะให้ตลกที่นายแบบ คือ ถ้าขี้เหร่ก็ขี้เหร่สุด ถ้าหล่อก็คือหล่อที่สุด หล่อล่ำให้คนสนใจตัวนายแบบ แต่มันก็ไม่ได้ เราไม่สามรถหานายแบบได้ ทั้งที่ได้รับการติดต่อจากหนุ่มกรุงเทพฯ หนุ่มในเมือง สนใจเยอะ หนุ่มแบงก์ก็มี หนุ่มหน้าตาดีๆ ติดต่อมาเยอะ แต่ไม่สะดวกเพราะไกล ไม่มีเวลาที่จะไปถ่ายรูปกับเรา ก็เลยต้องตัดประเด็นหานายแบบออกไป ดังแล้วแยกวง? ใครแยกไปก่อน? หลังจากเพจเป็นที่รู้จักแล้ว พี่ก็ติดต่อเขาได้บ้างไม่ได้บ้าง โดยเฉพาะเวลามีนัดหมายงานก็จะติดต่อไม่ได้ พี่ก็เลยให้เพื่อนที่อยู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง ติดต่อให้ ก็ติดต่อได้ ได้รับคำตอบว่าอยู่ตรงนั้นตรงนี้ แต่ที่จริงกลับพบว่าเขาอยู่อีกที่หนึ่ง พอมีแฟนคลับถามมาเยอะว่า เหน่งหายไปไหน ทำไมมีแต่ภาพพี่สุ ตอนนั้นพี่โพสต์ภาพตัวเองเพื่อให้เพจไม่นิ่ง พี่ก็เลยโพสต์ไปว่าคนที่ถามว่าเหน่งไปไหนมาช่วยสุตามหาดีไหมว่าเหน่งไปไหน พอโพสต์ไปก็ได้เรื่องเพราะคนมาคอมเมนท์บอกว่า เมื่อคืนผมเจอที่โน่นที่นี่ จังหวัดนั้นจังหวัดนี้ ตอนแรกไม่เชื่อ เพราะเขาบอกว่าเขาอยู่อีกที่ แต่พอมีแฟนคลับโทรหาพี่ว่าไม่ได้มากับเหน่งเหรอ เรื่องเลยแดงขึ้นมาว่าเขาไปไหน ไม่ตรงกับที่บอกเรา พี่คิดว่า เหน่งก็เลยไม่พอใจ ที่พี่ไปโพสต์อะไรแบบนั้น ตอนนั้นทำไมต้องโพสต์ตามตัว "เหน่ง" ตอนนั้นมีนัดหมายงานแล้ว เช่น สมมติรับงานถ่ายแบบ แต่ติดตามนางแบบไม่ได้เลย นางแบบอยู่ที่ไหน ต้องมาถ่ายโฆษณาครีม แล้วจะทำยังไง ก็เลยเป็นปัญหาเกิดขึ้น พี่เป็นคนรับงานไว้ ก็ต้องโทรไปยกเลิกประมาณ 6 งาน เพราะตามตัวนางแบบไม่ได้ ทั้งที่ตอนนั้น มีการติดต่อมาอีกตั้งหลายสิบงาน แต่ยังไม่ได้รับปาก ส่วนถ้าใครจะหาว่าพี่โกงค่าตัว ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่า พี่จะโกงได้ยังไง เพราะตั้งแต่แยกมารับงานทำ 2 คน ก็ยังไม่ได้รับงานสักตัวเพราะเขาแยกทางกันไปก่อน ส่วนงานที่เคยรับก่อนหน้านั้น อาจารย์ลิงค์ เป็นคนรับมาให้ ซึ่งเขาได้ชี้แจงในเฟซบุคไปแล้วเรื่องค่าจ้างเป็นอย่างไร เท่าที่ทราบ เหน่งก็ไปเปิดเพจใหม่กับเพื่อนเขา งานตอนนั้น มีอะไรบ้าง ถ่ายโฆษณาครีม ถ่ายมิวสิควีดีโอเพลงนักร้องในสังกัดค่ายของคุณโดม ปกรณ์ ลัมพ์ งานประกวดกระเทยที่เชียงใหม่ และ ก็งาน โชว์ตัว ประมาณนี้ละคะ ก็ต้องยกเลิก แต่บางงานเขาก็ติดต่อมาอีกทีให้พี่ไปถ่ายโฆษณาเอง พลังของแฟนคลับ ที่ไปถล่มฝ่ายตรงข้ามกับคุณสุ มาได้อย่างไร พอเกิดปัญหานี้ขึ้นมา พี่ถึงรู้แล้วว่าต่อไปมันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แล้วไง... คือมีคนที่รักพี่ เห็นใจพี่เยอะมาก โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เขาเป็นปากเป็นเสียงแทนพี่ ตอนแรกถ้าไม่เกิดปัญหา แบบนี้ พี่ก็ไม่รู้ว่าจะมีคนรักพี่ขนาดนี้ แฟนคลับเขาก็มีสิทธิ์ จะแสดงความคิดเห็น ส่วนการด่าก็ต้องเป็นคำที่แรงอยู่แล้ว แต่มันก็มีข้อเท็จจริงที่ทำให้เรารู้สึกแบบนั้น เรื่องผิดหรือถูก ทุกคนก็คิดว่าตัวเองถูกอยู่แล้ว คุณสุจะกลายเป็นคนที่แตะต้องไม่ได้ โดนด่าไม่ได้หรือเปล่า คุณต้องรู้ความจริงก่อนว่าอะไรเป็นอย่างไร การที่มีคนอื่นมาด่าพี่ ก็เพราะเขาไม่ได้รู้ความจริงจากฝ่ายเรา ส่วนกลุ่มแฟนคลับพี่ เขาไปตั้งกลุ่มกันเองในเฟซบุคเป็นกลุ่มเปิด ตอนแรกพี่ก็ไม่รู้ แต่เขาดึงเราเข้าไปในกลุ่ม ก็เลยมีโอกาสชี้แจง ทุกวันนี้ พี่ก็ยังมีทั้งคนรักคนด่า บางคนก็คิดว่า ถ้าพี่ดีจริงๆ นางแบบคงไม่หนีพี่ไปหรอก เขาก็คิดแบบนี้ เมื่อเราโดนด่าก็มีเครียดบ้าง เพราะมีคนอื่น(บุคคลที่3) อัดคลิปด่าเพราะเขาฟังความข้างเดียว พี่คิดว่า เขาน่าจะหาข้อมูลก่อนที่จะออกมาพูด แต่พี่ก็คิดเหมือนเดิมคือ ทุกคนมีสิทธิ์โดนด่า มีสิทธิ์ถูกเกลียด แต่กำลังใจคนที่รักเราก็ทำให้เราผ่านมาได้ตอนมีปัญหา ส่วนใครอยากด่าก็ด่าไป คนด่าก็จะเครียดไปเองด้วย เรื่องราวมันจะไปกันใหญ่ ก็เพราะมีคนที่ไม่รู้จริงออกมาพูด ที่มารายการ "ครัวคุณสุ" เป็นคลิปโพสต์ในเฟซบุค มาได้อย่างไร ตอนนั้น ก็คิดว่า ลองถ่ายภาพตัวเองแบบบ้านๆ เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย กิจกรรมทำไร่ดำนาที่เคยถ่ายไว้ นำมาโพสต์ไปพลางๆ ก่อน ทีนี้แฟนคลับก็ชอบ และแนะนำมา โดยหนึ่งในคำแนะนำนั้น คือ ให้ลองทำ "ครัวคุณสุ" ดูสิคะอาหารอีสานบ้านเรา คนบอกมาเยอะก็เลยลองทำ ก็ไปได้ แล้วก็ทุกคนชอบด้วย สองคลิปแรกได้รับกระแสตอบรับดีมาก แต่คลิป 3-5 ช่วงนั้น มีปัญหาข่าวเยอะเรื่อง "วงแตก" ก็เลยออกอรรถรสไม่เต็มที่ เพราะเครียดด้วย พอมาถ่ายเองมีคนไลค์ แต่พี่มองตัวเองก็ไม่ค่อยขำเท่าไหร่ก็เลยหานางแบบที่มีบุคลิกลักษณะตลกมาเสริมพี่บ้าง คนนี้ผู้หญิงหรือกระเทย เขาเป็นกระเทย อยู่ในหมู่บ้าน เขาชื่อปอน ยังไม่มีผม ก็เอาวิกมาสวมเฉยๆ ให้น้องมาเสริมเรียกเสียงหัวเราะ เช่น แม่เบี้ย สปา ผีกินเครื่องเส้น โดยเฉพาะชิ้นผีกินเครื่องเส้นนี่เป็นงานโฆษณานะคะไม่ใช่ถ่ายเฉยๆ งานตัวนั้นพี่ได้ตังค์นะคะ ได้ตลกและได้ตังค์ด้วย ใครเป็นตากล้องให้ คลิปที่ถ่ายไว้ก่อนหน้านี้ ที่เป็นกิจกรรมทำไร่ทำนา ก็มีเพื่อนที่เป็นกระเทยกลุ่มเดียวกันถ่ายให้ แต่ช่วงหลังมา คนที่เป็นตากล้อง ก็คือ น้องปอน คนที่พี่จับเขามาถ่ายด้วย เขาเรียนจบ ม.6 บ้านนอกเราไม่มีตังค์ ก็รอหางานทำ เขาก็มาเล่นกับพี่ พี่ก็จับเขาถ่ายแล้วก็ให้ตังค์ค่าขนมไปบ้าง ซื้ออะไรให้บ้าง เด็กบ้านนอก ก็คงต้องขายแรงงาน ซึ่งตอนนี้ ปอนก็ยังไม่มีงานทำ ก็อยู่บ้าน เบื้องหลังแต่ละคลิป "ครัวคุณสุ" เป็นอย่างไร เราต้องถ่ายคลิปเดียว ในระยะเวลาสั้นๆ จะได้สะดวกในการอัพโหลดภาพ ถ้าเราจะมาตัดต่อก็ไม่มีความรู้ด้านการตัดต่อ ไม่มีเครื่องมือ ก็เลยเป็นไฟท์บังคับว่าคลิปเดียวจบ คำพูดก็ไม่มีการคิดมาก่อน ต้องพูดสดๆ ตอนนั้นเลย รวมถึงการเล่นมุข ไม่มีสคริปต์ ไม่มีการตัดต่อ ถ่ายแบบดิบๆ (หัวเราะ) เวลาถ่าย จะมีอาหาร 2 หม้อ คือ หม้อที่สุกแล้วกับหม้อที่ทำโชว์ อย่างตอนต้มปลาไหล ระหว่างถ่ายคลิปก็บรรยายว่า 10นาทีผ่านไป รอเวลาอีก 10 นาทีเดี๋ยวอาหารก็สุก ทั้งที่จริงๆ คลิปมันไม่ถึง 10 นาทีหรอก แต่ถ้าฉันยกหม้อมาเปลี่ยนตรงนี้ คนอื่นก็รู้สิ (หัวเราะ) ถ้างั้นตัดภาพไปตรงโน้น ก็ใช้วิธีให้กล้องหมุนไปทางอื่น แพนไปที่คอกวัวคอกควายไปก่อน ... พอสุพูดว่า อ้าว 10 นาทีผ่านไป ก็เป็นสัญญาณให้ตากล้องหันมาถ่ายเรา ก็เอาหม้อที่อาหารสุกแล้วอีกหม้อหนึ่งขึ้นมาโชว์ แล้วสุ ก็บอกว่านี่นะคะ ก็ชิมได้ อย่างตอนเด็ดใบกระเพราะที่ต้นอยู่ข้างๆ โต๊ะที่วางเตา ก็คิดสดๆ ไม่ได้คิดว่าฉันต้องมาตั้งโต๊ะตรงที่มีใบกระเพรา พอดีบังเอิญเหลือบไปเห็นแล้วมันก็ใช้ได้จริง แล้วไม่ได้เตี๊ยมกับตากล้องว่าจะไปเก็บกระเพรา เตี๊ยมแค่วันนี้ฉันจะทำเมนูอะไรต้องหาให้พร้อม แต่เขาก็ตามไปถ่ายตอนเด็ดกระเพรา มีการตกแต่งเอาเครื่องปรุงมีใส่เปลือกปลีกล้วย จริงๆ เริ่มต้นไม่ได้คิดว่าเพื่อความสวยงาม แต่ผลตอบรับดี คนดูรู้สึกว่าเก๋ แต่ที่ไหนได้ เผอิญวันนั้น เห็นปลีกล้วยวางอยู่ แล้วขี้เกียจล้างจาน ก็เลยเอาเปลือกปลีกล้วยมาใส่ ความจริงคือฉัน ขี้เกียจล้างจาน(หัวเราะ) ทุกอย่างมีแต่เรื่องบังเอิญ อุปกรณ์ ตั้งใจจะไม่ใช้หม้อใหม่สวยๆ หรือเตาแก๊สเหรอ หม้อดำๆ ก็ใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเอาหม้อใหม่ในบ้านที่แม่เอาไว้ในตู้ ถ้าเอามาตั้งไฟ ฟม้อก็จะดำ เสียเวลาขัด ก็เลยเอาหม้อดำๆ ที่ใช้อยู่ทุกวัน ก็เลยจบ แต่มันก็มีเสน่ห์ใช่ไหม นี่แหละ(หัวเราะ) วิถีชีวิตจริงไง ทำแล้วกินจริงๆ ได้ใช่ไหม ทุกอย่างกินได้จริงนะคะ ไม่ได้ทำเล่นๆ พอพี่ทำเสร็จแล้วก็มีเด็กเอาไปกิน อย่างป่นกบ ไม่ได้กินนานแล้ว ก็กินเพราะต้องถ่ายคลิป หรือวันนั้นต้มปลาไหล เคยกินตอนเป็นเด็ก แต่ก็เป็นคนกลัวงู ก็ไม่ได้กินปลาไหลนานแล้ว ต้องเลี่ยงโดยการบอกว่าตัวเองเป็นริดสีดวงบ้าง(หัวเราะ) พอทำเสร็จก็ไม่ได้เอาไปทิ้ง ก็มีน้อง เด็กๆ ผู้ชาย เอาไปกินกัน อย่างป่นกบน้องตากล้องก็เอาไปกินหมดเกลี้ยง จากชนบทสู่เมืองพอเราเป็นที่รู้จักขึ้นมา ก็ต้องมีการจ้างงานบ้าง เข้าเมืองมาก็มาทำงาน มีงานให้พี่ทำที่ก็ทำ จากเดิมเย็บผ้าในโรงงานก็ไม่ได้เย็บผ้าแล้ว เพราะกระแสตรงนี้มันมาแรง ก็ต้องออกมาทำตรงนี้ พอรู้ว่ามันมีรายได้จากตรงนี้ พอที่เราจะอยู่ได้ งานหนึ่งมันก็ดีกว่าเราทำงานโรงงานทั้งเดือน เรียกได้ว่า ชีวิตเปลี่ยนไปเลยไหม การดำเนินชีวิตก็ยังเหมือนเดิม ก็ยังอยู่บ้าน กินอะไรก็เหมือนเดิม ไม่ได้มีเงินเยอะ หนี้สินก็ยังมีเหมือนเดิม งานก็มีตั้งแต่ 2,000-3,000บาท หรือมีงานหมื่นบ้าง แต่ค่าใช้จ่ายหนี้สินก็ยังเหมือนเดิม บอกตรงๆ ตั้งแต่รับงานมา มีเงินเก็บแค่ 120,000 บาท หนี้สินมาจากอะไร ส่วนหนี้สินของครอบครัวตามประสาชนบท เช่น หนี้ ธกส. ของพ่อของแม่ "กองทุนเงินล้าน" หนี้หยิบยืมให้ลูกหากินไปวันๆ ของสังคมชนบท หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็เป็นหนี้เป็นสิน มีความแห้งแล้งภาคอีสานยากจน สังคมชนบทถึงเราไม่อยากเป็นหนี้ก็ต้องเป็นหนี้อยู่ดี ชีวิตมันขัดสน สังคมบ้านนอก ต้องเป็นหนี้ ธกส. ต้องใช้ดอก ในหมู่บ้านก็มีหนี้นอกระบบแต่เป็นส่วนน้อย ชีวิตก็ยังมีเหมือนเดิม ใช่ว่าเราจะมีชื่อเสียงแล้วจะต้องมีเงินนะ เพราะบางงาน 1,000 บาท เราก็ไป 2,000 บาท เราก็ไป ใช่ว่างานเป็นหมื่นเป็นแสน เงินที่เรามี 120,000 สำหรับคนอื่นอาจจะแค่เศษเงิน แต่สำหรับพี่ พี่เพิ่งมีเงินขนาดนี้ แต่ถึงมีเงินเก็บหลักแสน ชีวิตก็ยังปกติเหมือนเดิม เพราะยังต้องทยอยใช้หนี้สินเบ็ดเสร็จก็ 200,000-300,000 บาท และยังต้องเลี้ยงครอบครัว สรุปชีวิตก็ยังเหมือนเดิมปกติ ยังไม่หมดหนี้ และยังไม่มีงานเข้ามาตลอดเวลา คือ พออยู่ได้ ถ้าจะมีอะไรเปลี่ยนก็คือ มีคนรู้จักเรามากขึ้น แต่ถามว่า รวยไหมก็ไม่รวย ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง มีคนมาเสนอตัวเป็นนางแบบนายแบบให้พี่สุปั้น เยอะไหม เยอะมาก ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย รวมถึงกระเทยอย่างพี่ มีทุกเพศ แต่ติดปัญหาระยะทางไกลและไม่มีเวลาทำให้เขา เพราะไม่สะดวก ก็อาศัยให้น้องในหมู่บ้านวันที่เขาว่างก็ให้เขามาเป็นนางแบบให้ วันไหนเขาไม่ว่าง ก็ต้องพึ่งตัวเองทุกอย่างตอนนี้ แล้วที่กลัวคือ ทุกคนเวลาเห็นเงินเข้ามาก็มักจะมีปัญหา ตอนแรกก็อาจจะตกลงกันได้ดี แต่พอเห็นเงินเข้ามา ความคิดมันเปลี่ยน มีคนถามว่าทำไมเธอไม่ทำสัญญา เราก็คิดว่าจะทำไปทำไม ในเมื่อเป็นน้องนุ่ง บ้านเดียวกัน ถ้ามีปัญหาเราจะกล้าไปฟ้องเขาเหรอ ก็คนบ้านเดียวกัน จะทำร้ายกันได้ขนาดนั้นเลยเหรอ ในความคิดของพี่นะ ทั้งต่ออดีตและอนาคต ตอนแรกก็อาจจะไม่มีเรื่องผลประโยชน์ เพราะยังไม่มีคนรู้จักมาก แต่พอเงินมา ความคิดคนก็เปลี่ยน ก็เลยไม่อยากจะยุ่งเกี่ยวกับใครมาก เพราะเราเคยเห็นปัญหาแล้วไง บางทีอาจจะไม่ใช่เพราะตัวนางแบบเอง แต่เป็นเพราะคนใกล้ตัวของเขา พอเห็นเงินแล้วคิดว่ามันได้ขนาดนี้เลยเหรอ หาเงินเดือนหนึ่งได้หมื่นหนึ่งก็ดีสำหรับชีวิตบ้านนอก ก็เกิดคำถามได้ว่า ทำไมไม่ไปหาเองเลยล่ะ มาแบ่งเขาทำไม ในเมื่อก็ไปได้ประมาณนี้ พี่ก็เลยเบื่อ จึงคิดว่า ถ้าเพจจะล่ม หรือไปได้ ก็ขอให้เป็นเพราะตัวเราเป็นหลักดีกว่า นี่คือที่พี่คิดตอนนี้ ถ่ายปอนก็ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไร เพราะยังไม่ได้เอาจริงเอาจัง มีเยอะนะ ประเพณีอีสานบ้านๆ โดยไม่ต้องมีนางแบบก็ได้ ขอแค่ไปถ่ายมา หรือ การทำอาหาร ก็มีคนแนะนำมาเยอะมาก โดยเฉพาะ คนอีสานไปอยู่เมืองนอกเยอะ แฟนคลับต่างประเทศเยอะเหมือนกัน เขาอยากเห็นแบบนั้นแบบนี้ เพจ sexy pancake เป็นของใคร เพจนี้ พี่เป็นคนสร้างขึ้นมาเอง พี่เป็นแอดมินดูแลทุกอย่างตั้งแต่แรก แล้วชื่อ แพนเค้ก พี่ก็เป็นคนเรียกเขาคนแรก เป็นคนตั้งชื่อให้เอง ตอนอยู่บ้านนอกก็มี เด็กๆ เรียกแพนเค้กตามพี่ แต่คนเฒ่าคนแก่เขาก็ยังเรียกเหน่ง เขาไม่ได้เรียกว่าแพนเค้ก เพจนี้เป็นของพี่ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เขาเป็นแค่นางแบบ ในความคิดของพี่ตอนนี้คือ sexy pancake อาจจะเหมือนนิตยสารเล่มหนึ่งที่นางแบบจะเป็นใครก็ได้ ถ้านางแบบคนหนึ่งสามารถต่อยอด ให้ตัวเองไปได้ดีไม่มีเวลามาทำตรงนี้ พี่ก็จำเป็นต้องหานางแบบคนใหม่ หรือว่า ถ้านางแบบคนหนึ่งกระแสตก ทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็ต้องตัดออกไป ก็ต้องหานางแบบคนใหม่ เหมือนนิตยสารหรือเหมือนเวทีประกวด เวทีหนึ่งซึ่งมีการเปลี่ยนทุกปี ของเราอาจจะ เปลี่ยนทุก 3 เดือนหรือยังไง ก็แล้วแต่สถานการณ์ Sexy pancake คือ ยี่ห้อหนึ่ง เวทีหนึ่ง นิตยสารเล่มหนึ่ง ที่สุ เป็นเจ้าของ ก่อตั้งขึ้นมาแล้วแต่สุจะให้ใครเป็นนางแบบในวาระเท่าไหร่ๆ เท่านั้นเอง คะ เป็นแอดมินคนเดียวหรือเปล่า ตอนนี้ มีแอดมินอีกคนหนึ่ง ที่เขาเป็นเจ้าของค่ายเพลง essa entertainment ชื่อ พี่เอ็ดดี้ คือช่วงก่อนเกิดเรื่อง เพจพี่มีปัญหาเข้าไม่ได้ พี่เขาเข้ามาช่วยแก้ไขให้ แล้วทีนี้ สุเลยให้พี่เขาเป็นแอดมินอีกคนเผื่อว่าเพจเกิดมีปัญหา พี่เขาจะได้ช่วยแก้ไขให้ พี่เขามีความรู้เรื่องนี้ไง ถ้าไม่ได้พี่เขา เพจพี่ก็คงจะจบไปแล้วตั้งแต่มีเรื่องแยกวงขึ้นมา คิดว่า ทำไมเพจยังอยู่ คิดว่าเพราะคนชอบวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน ชอบความเป็นอีสาน ชอบความเป็นชนบท สำหรับคนอยู่ต่างประเทศก็เยอะไง เขาอาจจะคิดถึงบ้าน ถ้าได้เห็นอะไรเกี่ยวกับวิถีชีวิตบ้านๆ เขาก็คงชอบ ทำให้หายคิดถึงบ้านบ้าง หรือว่า เพิ่มความคิดถึงบ้าน บ้าง แล้วที่สำคัญคือ พี่คิดว่าไอเดีย ไอเดียก็คืออย่างเช่น นางแบบคนใหม่ ที่เอามาเสริม พี่ให้เขาทำตามไอเดียพี่ ยอดไลค์ก็ยังเป็นแสน ก็แสดงว่ามันสำคัญที่ไอเดีย ไม่ได้สำคัญที่ตัวนางแบบ ถ้ายึดติดกับนางแบบ แล้วทำไมพี่เอานางแบบใหม่เข้ามา ภาพก็ยังตลก ทำไมมีคนไลค์เป็นแสนเหมือนเดิม มันก็น่าคิด นางแบบคนเดิม อาจจะมีความตลกด้วยหน้าตาและการโพสต์ท่าด้วยไอเดียที่พี่ใส่ให้เขา พอเขาไม่อยู่ พอพี่เอานางแบบคนใหม่มาก็ยังได้เหมือนเดิม แต่ละภาพที่เอามาโพสต์ ผ่านการคิดคอนเส็ปท์ก่อน ต้องคิดก่อนวิธีคิดคือ 1 หาได้ตามพื้นที่ 2 ทำยังไงให้ภาพออกมาตลก คนหัวเราะ สำหรับกรณีภาพที่ตลก นอกจากตลกแล้วมีภาพแบบอื่นไหม ภาพพี่เองก็ไม่ตลกนะ เป็นภาพธรรมดาของชีวิต เมื่อสมัยพี่เป็นเด็ก ไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ก็ไปถ่ายกับควาย ถือวิทยุทรานซิสเตอร์ ภาพนี้คนคลิ๊กเป็นแสน มันไม่ตลก แต่มันเป็นชีวิตจริงเมื่อก่อน คนก็อาจจะชอบ ภาพนั้นคนดูก็ยิ้มได้ แต่คุณสุไม่คิดว่ามันตลกเหรอ ต้องถามคนนอก เพราะสำหรับพี่มันก็ไม่ตลก แต่สงสัยคนชอบดูภาพวิถีชีวิต เพราะเห็นยอดไลค์ก็เยอะ คอมเมนท์ก็เยอะ เขาชอบวิถีชีวิตหรือเปล่า ภาพโพรไฟลล์ นั่งอาบน้ำมายังไง อันนั้นก็มาจากการไปถ่ายโฆษณาครีมตัวหนึ่ง วิวมันสวย ก็ลองคิดว่าสาวบ้านนาสมัยก่อน 20-30ปีย้อนหลัง อาบน้ำสระอาบน้ำท่าแบบนี้ แล้วจะอาบยังไง ถึงจะไม่ตลกแต่สวยเหมือนชีวิตจริงๆ ทำเพจด้วยเนื้อหาชนบท แต่เผยแพร่ไปทั่วโลก ตอนแรกพี่ก็ไม่รู้ ว่ามันจะทำให้คนรู้จักเรา ตอนแรกคิดว่าจะรู้จักเฉพาะ คนรู้จักที่เล่นเฟซบุค เช่น พี่มีเพื่อนในเฟซบุค 10 คน ตอนแรกก็คิดแค่ว่า 10 คนนี้ ต้องเห็นภาพของฉัน แค่ 10 คน แต่ที่ไหนได้ ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะ ความจริงเขาเอาไปแชร์ได้ ตอนแรกไม่รู้ว่ามีการแชร์ ทุกอย่างที่มีวันนี้ เริ่มแรกก็เกิดจากความไม่รู้ ว่ามันสามารถทำให้คนทั้งโลก เห็นได้ ซึ่งตัวพี่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน เพราะตัวพี่ไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี เรื่องเกี่ยวกับโซเชียลเน็ตเวิร์ค พี่ไม่มีความรู้เลย ทุกวันนี้ พี่ก็ยังไม่มีความรู้เท่าไหร่เกี่ยวกับเรื่องนี้ คิดอย่างไรกับฟีดแบคกลับมามันมีพลังแค่ไหน ฟีดแบคที่กลับมา มีพลังมาก เช่น 1 มีคนรู้จักเราเยอะขึ้น 2 มีงานโฆษณางานจ้างงานโชว์ตัวเข้ามา ตกใจเหมือนกัน แล้วพอเกิดปัญหาก็มีกลุ่มคนที่รักเรา กลุ่มคนที่ไม่ชอบเรา เนี่ย ทุกอย่างมันแปลกมากสำหรับชีวิตกระเทยบ้านนอก กระเทยบ้านนอกคนหนึ่งธรรมด๊าธรรมดา ทำไร่ทำนา มีแฟนคลับเหมือนดารา เป็นไปได้ยังไง เนี่ยมีหลายอย่างแปลกใหม่สำหรับตัวพี่มากเลย ซึ่งไม่เคยคิดมาก่อน ว่ามันจะมีแบบนี้ ตั้งรับอย่างไรกับปัญหาที่เปลี่ยนไป ไม่ทำให้เตลิดเปิดเปิง อาจจะเป็นวิธีคิดของพี่ คือมีคำแนะนำกำลังใจจากแฟนคลับมีความสำคัญ และตัวเองก็สำคัญที่สุด อย่างที่พี่บอก ทุกคนมีสิทธิ์ด่า ทุกคนมีสิทธิ์ชอบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ต้องรู้ตัวเราเอง ต้องอยู่กับตัว ถ้าเราเข้าใจสถานการณ์และความจริง ก็นิ่งดีกว่าไปร้อน อยากใช้ชีวิต"ไฮโซ" บ้างหรือเปล่า น้องขา เราต้องรู้ตัวสิคะ ว่าเราอยู่ยังไง สถานะ และฐานะเราเป็นอะไร เงินแค่นี้สำหรับพี่สำหรับครอบครัวพี่มันเยอะ เพราะไม่เคยมี แต่มันอาจจะเป็นเศษของเศษเงินของคนอื่นๆ แล้วเราจะเอาเงินส่วนนี้ไปถลุงกับปัญหาที่มันเกิดขึ้น เพื่ออะไรคะ ทั้งที่อนาคตข้างหน้าครอบครัวเราก็ยังอยู่ ก็ต้องกินต้องใช้ตลอดไป เงินแค่นี้ ถึงจะเป็นสังคมบ้านนอก ถ้าเอาเข้าจริงๆ ก็อยู่ลำบากสุดๆ เหมือนกัน ทุกวันนี้ ก็ปากกัดตีนถีบเหมือนกัน ถ้าเอาเงินส่วนนี้ไปถลุง แล้วต่อไปข้างหน้าเราจะใช้ที่ไหน เราต้องรู้จักใช้ให้เป็น พ่อแม่ก็ยังมี ลูกหลานก็ยังมี ครอบครัวก็ยังมี ต้องกินต้องใช้ตลอด ซึ่งเงินพี่ก็ไม่ได้เก็เองถึงจะอายุ 35-36 แล้ว แต่เงินที่ได้มา เหลือจากไว้ให้ตัวเองเดินทางกับค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ ก็ให้แม่เก็บ เป็นบัญชีแม่ ตรวจสอบได้ ดังแล้วไม่ คิดว่าเงินจะมาเรื่อยๆ หรือ ชีวิตปกติอยู่บ้านนอก ก็ยังเหมือนเดิม สังคมรอบข้างก็ยังเหมือนเดิม ทุกอย่างเหมือนเดิม จะเปลี่ยนก็ตรงที่มีงานในกรุงเทพฯ เดินทางเข้าเมืองบ้าง งานสองงานพอได้ค่าอยู่ ค่ากิน ค่าอินเตอร์เนต ซึ่งมันก็ไม่ได้อะไรมากๆ เงินเดือนเดิม ตอนทำงานโรงงาน เป็นอย่างไร ช่วงมีข่าววงแตก มีข่าวว่า พี่ยอมออกจากงานเงินเดือนหมื่นห้า มารับงานกับนางแบบ แล้วพี่อยากถามว่า เงินเดือนบ้านนอกที่ไหนจะถึงหมื่นห้า เดือนไหนที่มีโอทีเลิกดึกๆ เดือนหนึ่งก็ยังไม่ถึงหมื่นเลย อย่างมากก็หมื่นซึ่งถ้าจะถึงขนาดนั้น แปลว่า เราต้องมีโอทีถึงห้าทุ่มทุกวัน กว่าจะถึงบ้านก็ตีหนึ่ง แล้วตื่นตีห้า เตรียมตัวอาบน้ำ ทำกับข้าว ไปทำงาน กว่าจะได้เข้าบ้านก็ตี1 เดือนหนึ่งมีวันหยุด 4 วัน วันทำงาน 26 วัน วันละ 300 บาท ถ้าไม่มีโอที มันจะเท่าไหร่เอง ถ้ามีโอทีเพิ่มไปอย่างมากก็ 7,000-8,000 บาทเต็มที่แล้วถ้ามีโอทีเข้ามา ไม่ถึงหมื่นห้าหรอกคะ เคยโพสต์ว่า เป็นเด็กวัดที่วัดยานนาวา ตอนพี่จบ ม.6 ใหม่ๆ มาหางานทำในกรุงเทพฯ ก็ได้งานที่ช่องนนทรี เกือบ 20 ปีที่แล้วค่าแรงวันละ 120-130 บาท เงินไม่ พอใช้ ก็ไปเป็นเด็กวัด ตอนเช้าไปหิ้วบาตร ไปกับหลวงตาเดินบิณฑบาต ถือถุงกับข้าว เพราะความจนไม่มีเงิน พอกลับวัดก็แต่งตัว นั่งรถแดงมาทำงานบริษัทไรท์พิคเจอร์ ออนป้า ที่ช่องนนทรี ทำเกี่ยวกับวีดีโอหนัง เมื่อก่อนยังไม่ใช่ซีดี พี่ก็เอาของลงกล่อง ส่งตามที่ต่างๆ พี่เคยทำก่อสร้าง งานไร่อ้อย งานเข็นผลไม้ขาย ที่วงเวียนใหญ่ ตอนอยู่ ม.2 ปิดเทอมก็จากพ่อจากแม่ มาทำงานก่อสร้างที่กรุงเทพฯ แถวมีนบุรี บางกะปิ หรือที่อยุธยา ปากน้ำก็เคยไป กับคนอื่น สมัยก่อนม.2 ร้องไห้คิดถึงบ้าน เวลาปิดเทอมก็เข้ามาทำงานกรุงเทพฯ แล้วก็เคยอยู่ตัวเมืองขอนแก่น วนเวียนเป็นสาวโรงงาน หรือไม่ก็ก่อสร้าง หลังๆ ก่อนที่พี่จะทำเพจ ก็มีโรงงานขยายไปแถวๆ บ้านบ้าง เป็นโรงงานเย็บผ้า พี่ก็เลยปักหลักที่โรงงานนั้นเลย ถ้าไม่ได้ทำเพจ ชีวิตจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีเพจนี้ ตอนนี้ พี่ก็คงทำงานโรงงาน แม้แต่ตอนกระแสดังแรกๆ ก็ยังทำงานโรงงานอยู่ ////////////
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โพลล์เผยเกษตรกรหนี้ครัวเรือนเฉลี่ย 2.6 แสน ให้คะแนนจำนำข้าว 3.53 Posted: 25 Sep 2013 06:05 AM PDT นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจ "ทัศนะต่อนโยบายของรัฐ:จำนำแนวทางแก้ไขปัญหาภาคเกษตรกรไทย" พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ 97.4% มีหนี้เฉลี่ย 264,825 บาทต่อครัวเรือน แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นหนี้ในระบบ สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรเป็นหนี้นั้น มาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง และรัฐบาลไม่ควรยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเพราะเป็นประโยชน์ต่อรายได้ของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรพอมีเงินออมมากขึ้น และรัฐบาลจะต้องช่วยลดต้นทุนการผลิต พักชำระหนี้ และหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกรด้วย และในอนาคตหนี้ของเกษตรกรจะลดลงได้ ทั้งนี้ ให้คะแนนความพึงพอใจต่อนโยบายการรับจำนำข้าว ที่ 3.53 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แอมเนสตี้ เผยสหรัฐฯ เตรียมลงนามสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ Posted: 25 Sep 2013 04:56 AM PDT เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยความสำเร็จก้าวหนึ่งของการยุติการส่งมอบอาวุธ หลังจากมีข่าวสหรัฐฯ เตรียมลงนามในสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ พร้อมข้อเท็จจริงและตัวเลขที่สำคัญเกี่ยวกับการค้าอาวุธ ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยหลังจากมีข่าวนายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศจะลงนามในสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ (Arms Trade Treaty - ATT) ในนามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในวันที่ 25 กันยายนนี้ โดยระบุว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ค้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลก ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการพยายามรณรงค์ยุติการส่งมอบอาวุธ ที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้บริสุทธิ์อีกมากมาย "นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของความพยายามยุติการส่งมอบอาวุธแบบทั่วไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการทารุณกรรมและการปฏิบัติมิชอบมากขึ้น สหรัฐฯ เป็นผู้ขายอาวุธรายใหญ่สุดของโลก แต่จากข้อมูลจนถึงปัจจุบันไม่ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าสหรัฐฯ ได้เคยพยายามชะลอการส่งมอบอาวุธ โดยอ้างเงื่อนไขด้านสิทธิมนุษยชน" ซาลิล กล่าว เลขาธิการแอมเนสตี้ กล่าวด้วยว่า "เราต้องการเห็นการแสดงจุดยืนเช่นนี้ของสหรัฐฯ พร้อมกับการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่อีก 86 ประเทศทั่วโลกได้ลงนามในสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธไปแล้ว และต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาและยุติการส่งมอบอาวุธ กรณีที่เชื่อว่าจะมีการนำไปใช้เพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการสังหารล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอื่น ๆ" "สภาพการณ์ที่เลวร้ายในซีเรียเน้นย้ำให้เห็นต้นทุนด้านมนุษย์ที่น่าสะพรึงกลัว อันเป็นผลมาจากการค้าอาวุธระดับโลกที่ขาดการควบคุม การมีสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธจึงถือเป็นโอกาสดี ที่นำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ยากของมนุษย์เช่นนี้อีกในอนาคต รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องใช้โอกาสที่มีเพียงหนึ่งครั้งในชีวิตนี้ให้ดี โลกกำลังรอให้จีนและรัสเซียแสดงจุดยืนเช่นเดียวกับสหรัฐฯ" ซาลิลกล่าว
ข้อเท็จจริงและตัวเลขที่สำคัญ · มีผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 500,000 คนต่อปี และอีกหลายล้านคนต้องโยกย้ายจากที่อยู่เดิมและถูกละเมิด โดยเป็นผลมาจากความรุนแรงและความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ · จนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ เป็นผู้ค้าอาวุธรายใหญ่สุดของโลก โดยมีสัดส่วนการซื้อขายอาวุธประมาณ 30% ของมูลค่าโดยรวมทั่วโลก · สหรัฐฯ ส่งอาวุธไปให้กับกว่า 170 ประเทศ และจากข้อมูลจนถึงปัจจุบันไม่ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าสหรัฐฯ ได้เคยพยายามชะลอการส่งมอบอาวุธ โดยอ้างเงื่อนไขด้านสิทธิมนุษยชน · ในฐานะผู้ส่งมอบอาวุธรายใหญ่ให้กับอียิปต์ สหรัฐฯ ยังเห็นชอบต่อการขายอาวุธขนาดเล็กรวมทั้งกระสุนปืนหลายล้านนัดและสารเคมีที่ใช้ควบคุมการก่อจลาจล แม้ทางการอียิปต์จะปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงในปี 2554 · เยเมนก็ได้รับมอบอาวุธขนาดเล็ก สารเคมีและรถหุ้มเกราะ ส่วนบาห์เรนได้รับมอบอาวุธขนาดเล็ก ส่วนในที่อื่น ๆ กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ยังคงส่งมอบอาวุธให้กับหน่วยงานความมั่นคงของโคลอมเบีย ในรูปการให้ความช่วยเหลือและการฝึกอบรมของกองทัพ แม้จะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง · จนถึงปัจจุบัน 86 ประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธในขณะที่ประเทศผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ในสหภาพยุโรปกำลังเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธหลังจากมี 50 ประเทศให้สัตยาบัน สนธิสัญญาฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้
ข้อมูลพื้นฐาน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รณรงค์ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 เพื่อให้เกิดหลักเกณฑ์ระดับโลกที่เข้มแข็งและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายอาวุธระหว่างประเทศ และหยุดยั้งการส่งมอบอาวุธและยุทธภัณฑ์ที่จะถูกนำไปใช้ส่งเสริมการกระทำที่ทารุณและการละเมิด แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่าสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธเป็นก้าวย่างสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งเพื่อพัฒนาระบบกำกับดูแลการส่งมอบอาวุธระหว่างประเทศ สนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธห้ามไม่ให้รัฐส่งมอบอาวุธแบบทั่วไปให้กับประเทศต่าง ๆ กรณีที่ทราบว่าประเทศดังกล่าวอาจนำอาวุธไปใช้เพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการสังหารล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม สนธิสัญญาฉบับนี้ยังกำหนดให้รัฐบาลต้องประเมินความเสี่ยงจากการส่งมอบอาวุธ ยุทธภัณฑ์หรือส่วนควบให้กับอีกประเทศหนึ่ง กรณีที่มีความเป็นไปได้ว่าอาวุธเหล่านั้นจะถูกใช้เพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อกฎหมายมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรณีที่มีความเสี่ยงอย่างชัดเจนและไม่อาจบรรเทาได้ รัฐต้องห้ามไม่ให้มีการส่งมอบอาวุธดังกล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โวยสปส.ไม่ยอมจ่ายเงินคืน อ้าง ‘หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน’ ไม่ฉุกเฉิน Posted: 25 Sep 2013 04:26 AM PDT ผู้ประกันตนโวยประกันสังคมไม่ยอมจ่ายเงินทดแทนค่ารักษา อ้าง ไม่ใช่โรคฉุกเฉิน รพ.ไม่ตรงสิทธิ ระบุ แพทย์ลงความเห็นแล้ว "หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" ถือว่าฉุกเฉิน ต้องรักษาทันที แต่สปส.บ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่าย ทั้งที่จ่ายสมทบทุกเดือน 25 ก.ย. 56 นายชญาน์ทัต วงศ์มณี ผู้ประกันตนระบบประกันสังคม กล่าวว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วตนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนนทเวชอย่างกะทันหันเรื่องจากเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งแพทย์ที่โรงพยาบาลนนทเวชลงความเห็นว่าต้องผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แต่ทำเรื่องขอย้ายไปผ่าตัดและรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไท 2 เนื่องจากเห็นว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษา ประกอบกับโรคที่ตนเป็นอยู่ไม่สามารถรอเวลาได้ จึงต้องรักษาอย่างเร่งด่วน หลังจากนั้นตนได้ทำเรื่องขอเบิกเงินคืนจากสำนักงานประกันสังคม แต่ทางสำนักงานประกันสังคมกลับไม่ยอมจ่ายเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ให้โดยให้เหตุผลว่า ตนไม่ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเลิดสิน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมของตน และโรคที่เป็นอยู่ไม่ใช่โรคฉุกเฉินแต่อย่างใด "แพทย์ที่รักษาผมระบุว่า หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนั้นถือเป็นโรคฉุกเฉิน ไม่สามารถประวิงเวลาโดยการบอกว่าต้องส่งไปที่โรงพยาบาลเลิดสินได้ มันไม่ได้แล้ว แต่สิ่งที่ประกันสังคมตอบกลับมาคือบอกว่ากรณีของเราไม่เข้าข่ายฉุกเฉิน แต่ในคำวินิจฉัยของหมอบอกว่านี่ฉุกเฉินมาก เพราะชีพจรตก ความดันตก หัวใจหยุดเต้นไปห้องหนึ่งแล้ว ต้องได้รับการรักษาทันที นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นความตาย" นายชญาน์ทัต กล่าว นายชญาน์ทัต กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นจึงได้ดำเนินการยื่นเรื่องอุทธรณ์ ในที่สุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4 ได้ส่งหนังสือเลขที่ รง.0627/43376 แจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการอุทธรณ์มีมติยกอุทธรณ์ของตน ที่ทำเรื่องขอใช้สิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์หลังเข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอกร้าวไปถึงข้างหลังเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2554 ซึ่งต่อมาแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยในหนังสือระบุว่า ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยใช้สิทธิประกันสังคมอยู่ และโรคที่ต้องรับการรักษาไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน นายชญาน์ทัต กล่าวว่า จากการต่อสู้มาเป็นเวลา 2 ปี และได้รับคำตอบว่าไม่ใช่กรณีฉุกเฉินเป็นเรื่องตลกมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรึกษากับครอบครัวว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรม และถ้าหากมีอีกหลายคนที่ต้องมาเจอเหตุการณ์เดียวกับตนแล้วต้องรอคำตัดสินของประกันสังคมนานถึง 2 ปีแต่กลับไม่สามารถช่วยเหลืออะไรเราได้ ในขณะที่เราทำตามหน้าที่พลเมืองดีด้วยการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม แต่เงื่อนไขต่างๆ กลับไม่เอื้ออำนวยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา ตรงนี้ไม่เป็นธรรม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลปกครอง สั่ง 'อสมท.' จ่าย 'บ.ไร่ส้ม' 55.7ล้าน Posted: 25 Sep 2013 04:07 AM PDT ศาลปกครองกลาง สั่ง 'อสมท.' จ่าย 'บ.ไร่ส้ม' ที่ 'สรยุทธ' พิธีกรชื่อดังเป็นปธ.กรรมการ 55.7 ล้าน คดีโฆษณาเกินเวลา ทนาย 'ไร่ส้ม' เผยเตรียมคุยบริษัทฯอีกครั้งจะยื่นอุทธรณ์ต่อหรือไม่ จากฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายเต็ม 100 ล้าน 25 ก.ย.56 คมชัดลึกออนไลน์ รายงาน 13.30 น. นายสุชาติ ศรีวรกรตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวนมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ 1141/2551 ที่บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ซึ่งมีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ชื่อดังเป็นประธานกรรมการ ยื่นฟ้องบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นคู่สัญญาผลิตรายการโทรทัศน์ "คุยคุ้ยข่าว" ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท. หรือสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนท์ กรณีเรียกเก็บค่าโฆษณาส่วนเกิน โดยไม่ให้ส่วนลดทางการค้า 30% ตามข้อสัญญา และค่าโฆษณาที่ บมจ.อสมท.ได้โฆษณาเกินส่วนแบ่งตามเวลาที่ตกลงไว้ไทม์แชร์ลิ่่งสัดส่วน 50/50 โดยวันนี้ทั้ง 2 ฝ่าย มีเพียงผู้รับมอบอำนาจ เดินทางมาศาลฟังคำพิพากษา ขณะที่องค์คณะพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบข้อสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า บ.ไร่ส้มได้ทำการโฆษณาเกินเวลาจริงในปี 2548-2549 และ บมจ.อสมท. ได้มีหนังสือวันที่ 20 ต.ค.2549 แจ้งให้ บ.ไร่ส้ม ชำระเงิน 138,790,000 บาทโดยไม่พิจารณาให้หักลด 30 % ตามข้อตกลงในสัญญา เพราะบ.ไร่ส้มไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในการขอโฆษณาส่วนที่เกินเวลา ซึ่งในการเรียกชำระเงินนั้น บ.ไร่ส้ม ได้ยินยอมชำระเงินดังกล่าวไปแล้ว แต่ภายหลังเห็นว่าควรได้รับส่วนลด 30 % เพราะตามวิธีปฏิบัติคือให้มีการโฆษณาไปก่อนแล้ว บมจ.อสมท.จะแจ้งให้ บ.ไร่ส้ม ซื้อเวลาที่เกินในภายหลัง ดังนั้น บ.ไร่ส้ม จึงมีหนังสือวันที่ 1 ก.พ.2551 ขอเงินคืนในส่วนที่หักลด ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่จะแพร่ภาพออกอากาศแต่ละครั้ง บ.ไร่ส้มได้ส่งใบคิวโฆษณาที่ระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์จำนวนเวลาโฆษณาอย่างละเอียดให้ บมจ.อสมท.ทราบล่วงหน้าเพื่อจะตรวจสอบให้ความเห็นชอบการโฆษณา แต่เมื่อพบว่ามีรายการโฆษณาเกินเวลา เจ้าหน้าที่ อสมท.ก็ต้องตรวจสอบว่ามีเวลาว่างพอให้โฆษณาได้หรือไม่ แต่กลับปรากฏว่า บมจ.อสมท.ได้ให้แพร่ภาพส่วนที่เกินเวลาแล้วไม่ได้โต้แย้งทักท้วงว่า บ.ไร่ส้ม ทำไม่ถูกต้องตามข้อตกลง และยังปรากฏอีกว่า บ.ไร่ส้ม เคยมีหนังสือขอซื้อเวลาโฆษณาส่วนเกินในเดือน มี.ค.2548 รวม 8 วันพร้อมขอส่วนลด 30 % โดยการที่ บมจ.อสมท.เคยให้ต้องแจ้งรายละเอียดล่วงหน้า ก็ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าต้องล่วงหน้านานเท่าใด แจ้งกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายใด คนใด อีกทั้งการจัดคิวและควบคุมเวลาโฆษณาก็เป็นเจ้าหน้าที่ของ อสมท.ทั้งหมดที่จะควบคุมไม่ให้มีการโฆษณาเกินเวลา ดังนั้น จึงยากที่ บ.ไร่ส้มจะปกปิดคิวโฆษณาที่เกินโดยไม่ยื่นใบคิวแจ้งล่วงหน้าตามที่ อสมท.กล่าวอ้าง และถือว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดและระบบงานของ บมจ.อสมท.เอง ที่ไม่ควบคุมตรวจสอบและเรียกเก็บเงินจาก บ.ไร่ส้ม ชำระค่าโฆษณาส่วนเกิน ภายในกำหนดเวลาตามระเบียบปฏิบัติของ บมจ.อสมท. ตุลาการเสียงข้างมาก จึงพิพากษาให้ บ.อสมท. คืนเงินค่าโฆษณาส่วนเกิน ที่ได้หักส่วนลด 30 %ตามสัญญา ในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ปี 2548 และ ปี2549 และวันที่ 14 ก.ค.49 ให้ บ.ไร่ส้ม รวมเป็นเงินจำนวน 55,523,763.38 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า อสมท. ก็ได้ทำการโฆษณล้ำไปในเวลาโฆษณาของบ.ไร่ส้มอีก 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 18-21 ธ.ค.2549 รวมเวลา 1.15 วินาที ซึ่งตามสัญญาจะต้องให้ที่โฆษณาล้ำเวลาต้องชดใช้เงิน 253,255.76 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเงินที่ อสมท. จะต้องจ่ายคืนให้บริษัทไร่ส้มทั้งสิ้น 55,777,019.14 บาท โดยให้ชำระเงินทั้งหมดภายใน 90 วัน หลังจากคดีถึงที่สุด ทนาย 'ไร่ส้ม' เผยเตรียมคุยบริษัทฯอีกครั้งจะยื่นอุทธรณ์ต่อหรือไม่ ด้านนายมนต์อนันต์ เรืองจรัส ทนายความบริษัทไร่ส้ม ระบุว่าคำพิพากษาเป็นไปตามคำฟ้องที่ขอให้ อสมท.คืนเงินส่วนลดทางการค้า แต่ในส่วนที่ศาลพิพากษาให้อสมท. คืนเงินค่าโฆษณาส่วนที่ล้ำไปในเวลาของบริษัทไร่ส้มนั้นเห็นว่าศาลพิจารณาเฉพาะส่วนที่ อสมท. ได้โฆษณาเกินแต่ไม่ได้พิจารณาในหลักการแบบไทม์แชร์ลิ่ง ที่มีการแบ่งเวลาโฆษณาเท่ากันแบบ 50 ต่อ 50 เช่นหากมีเวลาโฆษณา 10 นาที จะแบ่งคนละ 5 นาที ซึ่งขณะฟ้องคดีนี้ได้เรียกค่าเสียหายเต็มจำนวนเวลารวมแล้วกว่า 100 ล้านบาท ดังนั้นจะต้องกลับไปพิจารณาร่วมกับบริษัทไร่ส้มในประเด็นนี้อีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 25 Sep 2013 02:32 AM PDT |
ศาลรธน.เลื่อนพิจารณาสมาชิกภาพส.ส.'อภิสิทธิ์' รับคำร้องปมแก้รธน.-พ.ร.บ.งบฯ Posted: 25 Sep 2013 02:15 AM PDT ตลก.ศาล รธน. เสียงข้างมากรับคำร้องปมแก้รธน. ด้านเสียงข้างน้อยแย้งไม่มีสิทธิยื่นตรง ระบุต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อน ขณะที่เลื่อนพิจารณาสมาชิกภาพส.ส.'อภิสิทธิ์' รับคำร้องปม พ.ร.บ.งบประมาณฯ 25 ก.ย.56 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอรรถคดีและมีผลการพิจารณ์ในคดีสำคัญ 4 คดี ประกอบด้วยการเลื่อนพิจารณาคดีสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 จากกรณีที่ ส.ส. 134 คน เข้าชื่อต่อประธานสภาผู้แทนฯ เพื่อขอให้ส่งคำร้องให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยวเนื่องจากมีคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 1163/2555 ลงวันที่ 8 พ.ย.55 ให้ปลด ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากราชการ โดยเหตุผลในการเลื่อนพิจารณาครั้งนี้ศาลฯ ระบุว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเพื่อรอคำชี้ขาดตัดสินของศาลอื่นในประเด็นเกี่ยวกับความชอบด้วยกฏหมายของคำสั่งกระทรวงกลาโหม เสียงข้างมากรับคำร้องปมแก้รธน. เสียงข้างน้อยแย้งไม่มีสิทธิยื่นตรง มีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 2 รับคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กับคณะ และเรื่องที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ กรณีให้ศาล รธน.พิจารณาวินิจฉัยตาม รธน. ม.68 ว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภากับพวกซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภา 310 คน กระทำการเพื่อได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ใน รธน. โดยศาลฯ เห็นว่ากรณีมีมูล แต่ยกคำขอให้คุ้มครองชั่วคราว ส่วนตุลาการเสียงข้างน้อย โดย นายชัช ชลาวร เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากลายลักษณ์อักษรและเจตนารมณ์ของบทบัญญัตแห่ง รธน. ม.68 แล้ว รธน.มุ่งประสงค์ให้เฉพาะอัยการสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฯ เพื่อวินิจฉัย ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฯโดยตรง สำหรับนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เห็นว่า กรณีตามคำร้องยังไม่มีมูลกรณีฝ่าฝืนตาม รธน. ม.68 รับคำร้องพิจารณาปม พ.ร.บ.งบประมาณฯ ศาลฯ รับพิจารณาจากเรื่อที่ประธานรัฐสภา ส่งความเห็ฯของสมาชิกรัฐสภาขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยตาม รธน.ม.154 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ม.27 และ ม.28 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รธน.หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่ง รธน. ม.168 วรรคแปด และวรรคเก้า โดยศาลฯ มีคำสั่งด้วยว่าให้ประธานคณธกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.รงบ.งบประมาณรายจ่ายฯ สำนักงบประมาณ สนง.ศาลปกครอง สนง.ศาลยุติธรรมและ สนง.ป.ป.ช. ทำคำชี้แจงเป็นหนังสือยื่นต่อศาล รธน.ภายในวันที่ 1 ต.ค.56 และให้ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ หรือผู้แทน และผู้แทนของหน่วยงานทั้ง 4 ดังกล่าวข้างต้น ชี้แจงต่อศาลฯ ในวันที่ 2 ต.ค.56 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คู่มือบันเทิง 14 ตุลา (อย่างน้อย) 3 งานบันเทิงที่ไม่ควรพลาด Posted: 25 Sep 2013 02:09 AM PDT
เดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวาระรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญ ทั้ง 14 ตุลา (2516) และ 6 ตุลา ( 2519) ในปีนี้ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 40 ปีเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็เช่นกัน มีกิจกรรมมากมายที่จะถูกจัดขึ้นโดยหลากเจ้าภาพ ทั้งงานของคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ งานเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ของสถาบันปรีดี พนมยงค์ งานของมูลนิธิ 14 ตุลาฯ งานของ สนนท. งานของไทยพีบีเอส (รายละเอียดกำหนดการงานต่างๆ ดูด้างล่าง) ในหลากหลายรูปแบบทั้งเวทีเสวนา ละครเวที ภาพยนตร์สั้น และศิลปะแขนงต่างๆ อีกมากมาย สำหรับมนุษย์พันธุ์บันเทิงอาจไม่ชอบงานประวัติศาสตร์ฮาร์ดทอล์ก วันนี้จึงขอนำเสนองานบันเทิงอย่างน้อย 3 งานที่น่าสนใจในเทศกาลตุลาปีนี้ ... 1ละครเวทีคณะศิลปกรรม 'ไต้ฝุ่น' มองตุลาจากสายตาคนรุ่นใหม่
"นี่เป็นการทดลองการทำงานที่น่าสนใจของบีฟลอร์ ที่เป็นกลุ่มละครอิสระไม่กี่กลุ่มในเมืองไทย ซึ่งทำงานร่วมกับนักศึกษาการละครของธรรมศาสตร์ ... เป็นการใช้รูปแบบศิลปะที่หลากหลายมากขึ้นในการพูดถึง 14 ตุลา งานนี้ถือว่าทำได้ลงตัวระหว่างการเต้นที่เป็นนามธรรม กับสารเรื่อง 14 ตุลาที่เป็นสูตรสำเร็จ ให้ออกมาไม่เป็นสูตรสำเร็จเกินไป และไม่เป็นนามธรรมมากเกินไป"
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ไต้ฝุ่น เป็นละครที่ 'คาเงะ' หรือ ธีระวัฒน์ มุลวิไล ผู้ก่อตั้งกลุ่มละคร B-Floor Theatre ทำงานในฐานะผู้กำกับร่วมกับนักศึกษาสาขาการละคอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลายสิบชีวิต เป็นงานที่เล่าเรื่องราว 14 ตุลา จากมุมมองของคนรุ่นใหม่ และใช้ศิลปะการเคลื่อนไหวแนว Physical Theatre ผสมผสานกับสื่ออื่นๆ "ปกติคนจะใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง แต่เราใช้การเคลื่อนไหว แสง เสียง ฉาก สัญลักษณ์มาขับเคลื่อน แต่ก็มีบทพูดบ้างเมื่อการเคลื่อนไหวร่างกายมันไปสุดเพดานของมัน" คาเงะกล่าว คาเงะเล่าว่า ทีมงานและนักแสดงทั้งหมดใช้เวลาฝึกซ้อมร่วมกันนานถึง 5 เดือนก่อนจะออกมาเป็นการแสดงชุดนี้ ที่สำคัญคือการชวนพูดคุย ตั้งคำถามด้านการเมืองกับคนรุ่นใหม่ที่ร่วมแสดง ซึ่งหลายคนไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์การเมืองมาก่อนหน้านี้ ถึงกับมีการบ้านให้กลับไปสืบค้นประวัติศาสตร์กันตั้งแต่สมัย รศ.130 จอมพล ป. เรื่อยมาจน 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 จนกระทั่ง พฤษภา 53 กระทั่งในที่สุดบทสนทนากับคนุร่นใหม่เหล่านี้ได้กลายมาเป็นแรงบัลดาลใจของผู้กำกับในการสร้างพล็อตเรื่องส่วนหนึ่งของไต้ฝุ่น "น้องๆ ก็ไม่ค่อยรู้จักประวัติศาสตร์ช่วงนี้ รู้จักอีกทีก็สมัยนเรศวรนู่นเลย" "บางคนก็ไปค้นจากวิกิพีเดียได้ข้อมูลแปลกๆ มา (หัวเราะ) บทมันเกิดจากตัวน้องๆ เอง" "เป็นละครที่ถือว่าดูง่ายสำหรับผม เพราะต้องเป็นสาธารณะ พยายามเข้าหาคนรุ่นใหม่และคนที่ไม่เคยดู ทำงานกับน้องๆ ก็สนุก บางคนเริ่มจากศูนย์เพราะรู้แต่ละครพูด แล้วต้องกระโดดมาทาง movement และ abstract เลย แต่น้องๆ ก็พยายามมากแม้มีงานเยอะกันอยู่แล้วก็ขวนขวายและตั้งใจ" "เราพูดถึงความทรงจำค่อนข้างเยอะ เพราะมันคลาดเคลื่อน ผสมปนเปจนคนเลิกสนใจ คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ประวัติศาสตร์หลายอย่างคือรากเหง้าของตัวเราเอง บางอย่างใกล้แค่ 10 ปี แต่มันกระทบต่อเราทั้งหมด การศึกษาประวัติศาสตร์จะสร้างภูมิคุ้มกันให้เราเองด้วย เวลาจะไปร่วมอะไรกับใคร ถ้าเรารู้ระดับโครงสร้างเราจะรู้ที่มาของแต่ละฝ่าย แม้แต่การมาร่วมรำลึก 14 ตุลา มันเป็นประวัติศาสตร์ที่สะอาดแล้วเคลียร์แล้วหรือ หรือเหตุการณ์ 53 เราจดจำมันอย่างไร" คาเงะกล่าว ไต้ฝุ่นเพิ่งเปิดแสดงรอบภายในมหาวิทยาลัยไปเมื่อวันที่ 21-22 ก.ย.ที่ผ่านมา และกำลังจะเปิดการแสดงอีกครั้งในวันที่ 12-14 ตุลาคมนี้ เวลา 20.00 น. ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ บัตรราคา 350 บาท (นักศึกษา) 450 บาท (ทั่วไป)จองบัตร 089 970 1319
2'เจ้าสาวหมาป่า' เมื่อเด็กประถมยันเกษตรกรร่วมแสดง และความฝันคนรุ่นใหม่
ละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า น่าจะเป็นเรื่องแรกๆ ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนประถม มัธยม อดีตนักศึกษา คนทำงาน เกษตรกร มาเจอกัน เป็นฝีมือของกลุ่ม ประกายไฟการละคร ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาว 4-5 คนรวมตัวกันทำละครการเมืองอย่างเป็นเรื่องเป็นราวภายหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 นับเป็นการแตกตัวมาจากกลุ่มประกายไฟซึ่งเป็นกลุ่มศึกษาการเมืองดั้งเดิม ภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือ กอล์ฟ เป็นผู้บุกเบิกโครงการนี้ เธอมีความใฝ่ฝันในการขยายงานด้านวัฒนธรรมไปสู่คนกลุ่มต่างๆ ที่อยากใช้ทักษะนี้ในการผลักดันงานงานของตน กอล์ฟเล่าว่า ผู้แสดงของงานนี้มีตั้งแต่นักเรียนระดับประถมที่จังหวัดมุกดาหาร เด็กๆ ในชุมชนคลองเตย นักเรียนมัธยมในกรุงเทพฯ เด็กๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตนักศึกษาจากจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างประหลาด และทั้งหมดไม่มีพื้นฐานด้านละคร จุดร่วมเดียวคือ สนใจศิลปะด้านนี้ "เราต้องเดินทางไปเวิร์คชอปในแต่ละพื้นที่ ทำทั้งการทำกลุ่มศึกษาย่อยๆ และการเวิร์คชอปละคร บทละครเรื่องนี้เกิดจากกระบวนการในค่าย ซึ่งมีกระบวนการคิดร่วมกัน แล้วหยิบในส่วนที่แต่ละคนสนใจและทำได้มาปรับ เช่น เด็กๆ จำบทยาวๆ ไม่ได้แต่เขาเล่นละครใบ้ได้ ส่วนภาคอีสานร้องเพลงเก่งก็ทำละครเพลง ภาคเหนือขอสวยๆ เน้น movement" งานนี้จึงมีทั้งละครสนทนา ระบำพม่า ระบำแขก ละครใบ้ ละครวิทยุ เต้น ฯ "เรามีกระบวนการที่ครูจากศิลปากรมาช่วยถอดสภาวะภายในของแต่ละคนออกมาด้วย ซึ่งทุกคนมีปมที่โคตรน่าสนใจ เช่น เด็กคลองเตยก็จะเติบโตมากับความรุนแรง ครูให้ทุกคนเอาปมตัวเองมาแทนการสื่อสาร ถ่ายทอดเป็นตัวละครตัวอื่นๆ ที่เขาไม่สามารถทำได้ในโลกจริง" นอกจากนี้ในกระบวนการทำงานยังมีการจัดกลุ่มศึกษา timeline ประวัติศาสตร์ และถามความสนใจของแต่ละกลุ่ม น่าแปลกที่ทุกกลุ่มลงมติว่าสนใจและสงสัยในเหตุการณ์ 6 ตุลามากที่สุด ซึ่งกอล์ฟก็ยอมรับว่าค่อนข้างล้มหลวกับโจทย์งาน 14 ตุลา "เราเองก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนอินกับ 14 ตุลาได้ อาจเป็นเพราะคนทำละครเองก็รู้สึกอคติ การสื่อสารเรื่อง 14 ตุลามักมีด้านเดียว ด้านของความโรแมนติก สวยงาม ในขณะที่เหตุการณ์ 6 ตุลาแม้เราไม่ได้นำภาพความรุนแรงมาให้ดู แต่พวกเด็กๆ มันก็ไปหาข้อมูลกันเอง ไม่เคยเห็นก็ไปหาคลิปมาดู เราก็ลืมไปว่าเด็กเดี๋ยวนี้มีสมาร์ทโฟน" ไม่ว่าจะเป็น 14 หรือ 6 ตุลา เรื่องราวประวัติศาสตร์ก็เป็นสายธารเดียวกัน แต่ที่น่าลุ้นคือ สายธารของนักแสดงเหล่านี้ที่มาจากคนละทิศคนละทาง ต่างคนต่างซ้อม จะออกมาหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวได้แค่ไหน ละคร 'ประชาชน' ที่ไม่ใช่นักแสดงอาชีพนี้จะเป็นอย่างไร ยังคงเป็นปริศนาให้ผู้สนใจไปชม ในวันที่ 6 และ 13 ตุลาคมนี้ ที่หอประชุมใหญ่ เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป (ฟรี) "สำหรับผู้ใหญ่อาจมองว่ามันเป็นแค่การทำละคร แต่สำหรับเรา มันคือการทำขบวนใหม่ สร้างงานวัฒนธรรมเพิ่ม เราอยากกระจายแนวรบด้านนี้ให้ไกลกว่าเดิม อยากไปสอนเขาให้หมดเลย ให้เขาเอาทักษะพวกนี้ไปใช้ในสิ่งที่เขาคิดเขาเชื่อ" กอล์ฟกล่าว
3งิ้วธรรมศาสตร์ 91 เปาบุ้นจิ้น ตอนสะสางคดี 6 ศพ (วัดปทุม)
สุขุมเล่าว่า โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงงิ้วการเมืองแล้วมักจะเป็นการล้อเลียนรัฐบาลที่มีอำนาจอยู่ในขณะนั้นๆ แต่ปีนี้จะแปลกกว่าทุกครั้ง เพราะจะมองให้ลึกมากกว่านั้น ....และจะเจาะไปที่เหตุการณ์ 6 ศพวัดปทุม โดยไม่เน้นเรื่องความสะใจ การด่าทอด้วยถ้อยคำอันรุนแรง แต่จะเน้นความสะเทือนอารมณ์ และพยายามคงขนบอันงดงามของศิลปะการแสดงของงิ้วไว้ให้มากที่สุด "มันน่าสะเทือนใจมากที่คน 6 คนถูกยิงตายในเขตวัด โดยที่คนในสังคมโดยรวมแทบไม่มีปฏิกิริยาในเรื่องเหล่านี้เลย" สุขุมเล่าถึงแรงบันดาลใจที่เลือกนำเรื่องนี้มาแสดง งานนี้มีการเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมเป็นนักแสดงรับเชิญด้วย อาทิ อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากคณะอักษรศาสตร์จุฬา อาจารย์สุดา รังกุพันธุ์ จากรั้วจามจุรีเช่นเดียวกัน รวมถึง ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อดีตผู้ต้องขังในคดีการเมือง "เราไม่อยากจำกัดตัวเองว่าต้องเป็นคนในสถาบันแคบๆ ของเราเท่านั้น" "นี่จะเป็นมิติใหม่ของงิ้วการเมือง เมื่อก่อนงิ้วการเมืองเป็นแค่คนมาแต่งตัวชุดงิ้วแล้วเล่นจำอวดกัน มีกลองแค่ตัวเดียวก็เล่นได้ แต่เราจะพยายามให้มากที่สุดในการรักษาศิลปะดั้งเดิม แม้จะเล่าเรื่องทางการเมืองก็ตาม เราจะทำให้เห็นว่า งิ้วจริงๆ เขาเล่นยังไง" สุขุมกล่าว งิ้วมิติใหม่นี้จัดแสดงที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลา 20.00 น. วันที่ 6 และ 13 ตุลา (ฟรี)
================================================== งานที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 6,13 ตุลาคม |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น