ประชาไท | Prachatai3.info |
- รัฐบาลเคนยาถูกตั้งคำถาม กรณีเพิกเฉยคำเตือนเหตุโจมตีห้างเวสท์เกท
- กสท. ให้โครงข่ายช่อง 5 แลกคืนอะนาล็อกใน 5 ปี
- กสท. ให้โครงข่ายช่อง 5 แลกคืนอะนาล็อกใน 5 ปี
- มองความเป็นไป ‘วิทยุชุมชน’ บนแพลตฟอร์มดิจิตอล
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์
- ประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ มองมุมไหนในมิติ AEC?
- สปสช.พร้อมเต็มที่ ระบบรองรับกองทุนค่ารักษาอปท.
- ส.ว.สรรหา เตือนทูลเกล้าฯ ร่าง รธน. โดยไม่รอศาล รธน. เท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
- ศาลสั่งการตาย 2 เสื้อแดง 10 เมษา หน้าร.ร.สตรีวิทฯ วิถีกระสุนมาจากฝ่าย จนท.
- กวีประชาไท: จารึกนามนี้ด้วยชีวิน
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 24-30 ก.ย. 2556
- 21ปี ข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล : การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87, 98
รัฐบาลเคนยาถูกตั้งคำถาม กรณีเพิกเฉยคำเตือนเหตุโจมตีห้างเวสท์เกท Posted: 30 Sep 2013 11:50 AM PDT จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญชาวโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีกลุ่มติดอาวุธบุกห้างในประเทศเคนยา มีข้อมูลรั่วไหลจากรัฐบาลเคนยาระบุว่าทางการเคนยาได้รับคำเตือนเรื่องจู่โจมห้างสรรพสินค้าก่อนหน้านี้แล้วหนึ่งปี แต่กลับไม่ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยใดๆ 30 ก.ย. 2013 - หลังจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มติดอาวุธบุกเข้าไปในห้างสรรพสินค้าเวสท์เกท กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และจับประชาชนเป็นตัวประกันจนกระทั่งมีการยิงต่อสู้กันเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ทางการเคนยา เมื่อวันที่ 21-24 ก.ย. ที่ผ่านมา ล่าสุด รัฐบาลของเคนยาก็ถูกตั้งคำถามจากการที่พวกเขาเพิกเฉยต่อการเตือนภัยก่อนหน้าเหตุการณ์ สำนักข่าวอัลจาซีราเปิดเผยว่า พวกเขาได้รับรู้ข้อมูลจากทางรัฐบาลเคนยาซึ่งระบุว่า หน่วยงานความมั่นคงได้รับคำเตือนก่อนหน้าเหตุการณ์จู่โจมห้างตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยรายงานดังกล่าวมีการเตือนว่ากลุ่มอัล-ชาบับ วางแผนจู่โจมแบบพลีชีพมีเป้าหมายเป็นห้างเวสท์เกทและโบสถ์โฮลีแฟมิลี่บาซิลิกาในกรุงไนโรบี เหตุจู่โจมห้างเวสท์เกททำให้มีผู้เสียชีวิต 72 คน เป็นพลเรือน 61 คน เป็นทหาร 6 คน และกลุ่มติดอาวุธ 5 คน โดยกลุ่มอัล-ชาบับ ซึ่งเป็นกลุ่มหัวรุนแรงจากโซมาเลียได้ออกมาประกาศว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อเหตุ เมื่อต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำกรุงไนโรบีก็แสดงความกังวลว่าอาจจะมีการโจมตีชาวยิวในช่วงวันสำคัญทางศาสนาในเดือน ก.ย. และบอกอีกว่ามีกลุ่มติดอาวุธอัล-ชาบับจำนวนหนึ่งเดินทางจากโซมาเลียเข้ามาในเคนยาโดยได้รับบัตรผู้ลี้ภัย ผู้สื่อข่าวอัลจาซีรารายงานจากกรุงไนโรบีว่า ข้อมูลรายงานที่ได้รับสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลเคนยาอย่างมาก เนื่องจากในนั้นระบุว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสภาเป็นผู้ที่ได้รับข้อมูลคำเตือนเรื่องการโจมตีด้วย ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าทำไมจึงไม่มีการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยในห้างเวสท์เกท นอกจากนี้กลุ่มติดอาวุธยังสามารถเช่าพื้นที่ในห้างเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักอาวุธสำหรับการโจมตีได้ ด้านทางการเคนยากำลังทำการสืบสวนและตามจับกุมผู้ก่อเหตุในคดีนี้ซึ่งยังคงมีผู้สูญหายหลายสิบคน โดยเมื่อวันอาทิตย์ (29) ที่ผ่านมาสามารถจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยรายใหม่ได้ ทำให้มีผู้ถูกจับกุมตัวแล้ว 12 ราย แต่มีการปล่อยตัวไป 3 ราย โดยทางการไม่ได้เปิดเผยว่าคนที่ถูกจับกุมตัวอยู่ในห้างช่วงที่มีการจู่โจมด้วยหรือไม่ อัลจาซีรากล่าวอีกว่าประชาชนชาวเคนยารู้สึกไม่พอใจที่รัฐบาลไม่เต็มใจยอมเปิดเผยข้อมูลเรื่องการจู่โจมห้างเวสท์เกท โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ หลังการโจมตีเกิดขึ้นแล้วหลายชั่วโมง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กสท. ให้โครงข่ายช่อง 5 แลกคืนอะนาล็อกใน 5 ปี Posted: 30 Sep 2013 11:38 AM PDT (30 ก.ย.56) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าที่ประชุม กสท. ได้มีการพิจารณาใบอนุญาตการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (MUX) เพื่อให้บริการในระดับชาติเป็นระยะเวลา 15 ปี แก่กองทัพบกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) เพิ่มอีก 1 โครงข่าย รวมแล้ว กสท.ให้ใบอนุญาตโครงข่ายไปแล้ว 5 ใบ ได้แก่ อสมท. 1 ใบ ไทยพีบีเอส 1 ใบ กรมประชาสัมพันธ์ 1 ใบ และ กองทัพบก (ช่อง 5) 2 ใบ สำหรับการให้ใบอนุญาตโครงข่ายเพิ่มให้ช่อง 5 เพื่อแลกกับการยุติบทบาทส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกของคู่สัญญาสัมปทานช่อง 7 เป็นระยะเวลา 5 ปี หรือปีพ.ศ.2561 จากเดิมสัญญาเดิม 10 ปี หรือปีพ.ศ.2566 ทั้งนี้ช่อง 5 ต้องยื่นเสนอแผนการดำเนินงานการคืนคลื่นให้ กสท.ระยะเวลา 2 ปี เพื่อสนับสนุนการปลี่ยนผ่านทีวีระบบดิจิตอลและช่อง 5 ยินดีที่จะยุติสัญญาที่เกี่ยวกับเอกชน ในขณะที่ช่อง 7 ต้องปฏิบัติตามคู่สัญญาจนหมดสัญญาสัมปทาน
อย่างไรก็ตาม กสท.ส่งหนังสือเพื่อยึดหลักตามกฎ กติกา ขณะที่การพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติการถือหุ้นนั้นจะพิจารณาเมื่อเป็นผู้ขอยื่นรับใบอนุญาตในวันที่ 28-29 ต.ค.56 โดยจะยังไม่มีการตรวจสอบผู้ที่มายื่นซื้อซองเอกสาร ส่วนในวันที่ 4 ต.ค. 56 จะมีการชี้แจงผู้ที่ซื้อซองเอกสารและให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาได้เป็นรายบริษัทอย่างเป็นทางการ
ขยายเวลาตรวจสอบกำลังส่งวิทยุอีก 1 ปี ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นชอบคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 49 ราย แบ่งเป็นกิจการบริการธุรกิจ 42 ราย กิจการบริการสาธารณะ 2 ราย และกิจการบริการชุมชน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 2,844 ราย ที่ประชุม กสท. อนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. .... ในหัวข้อการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์บริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงของรัฐและเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กสท. ให้โครงข่ายช่อง 5 แลกคืนอะนาล็อกใน 5 ปี Posted: 30 Sep 2013 11:38 AM PDT (30 ก.ย.56) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าที่ประชุม กสท. ได้มีการพิจารณาใบอนุญาตการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (MUX) เพื่อให้บริการในระดับชาติเป็นระยะเวลา 15 ปี แก่กองทัพบกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) เพิ่มอีก 1 โครงข่าย รวมแล้ว กสท.ให้ใบอนุญาตโครงข่ายไปแล้ว 5 ใบ ได้แก่ อสมท. 1 ใบ ไทยพีบีเอส 1 ใบ กรมประชาสัมพันธ์ 1 ใบ และ กองทัพบก (ช่อง 5) 2 ใบ สำหรับการให้ใบอนุญาตโครงข่ายเพิ่มให้ช่อง 5 เพื่อแลกกับการยุติบทบาทส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกของคู่สัญญาสัมปทานช่อง 7 เป็นระยะเวลา 5 ปี หรือปีพ.ศ.2561 จากเดิมสัญญาเดิม 10 ปี หรือปีพ.ศ.2566 ทั้งนี้ช่อง 5 ต้องยื่นเสนอแผนการดำเนินงานการคืนคลื่นให้ กสท.ระยะเวลา 2 ปี เพื่อสนับสนุนการปลี่ยนผ่านทีวีระบบดิจิตอลและช่อง 5 ยินดีที่จะยุติสัญญาที่เกี่ยวกับเอกชน ในขณะที่ช่อง 7 ต้องปฏิบัติตามคู่สัญญาจนหมดสัญญาสัมปทาน
อย่างไรก็ตาม กสท.ส่งหนังสือเพื่อยึดหลักตามกฎ กติกา ขณะที่การพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติการถือหุ้นนั้นจะพิจารณาเมื่อเป็นผู้ขอยื่นรับใบอนุญาตในวันที่ 28-29 ต.ค.56 โดยจะยังไม่มีการตรวจสอบผู้ที่มายื่นซื้อซองเอกสาร ส่วนในวันที่ 4 ต.ค. 56 จะมีการชี้แจงผู้ที่ซื้อซองเอกสารและให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาได้เป็นรายบริษัทอย่างเป็นทางการ
ขยายเวลาตรวจสอบกำลังส่งวิทยุอีก 1 ปี ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นชอบคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 49 ราย แบ่งเป็นกิจการบริการธุรกิจ 42 ราย กิจการบริการสาธารณะ 2 ราย และกิจการบริการชุมชน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 2,844 ราย ที่ประชุม กสท. อนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. .... ในหัวข้อการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์บริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงของรัฐและเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มองความเป็นไป ‘วิทยุชุมชน’ บนแพลตฟอร์มดิจิตอล Posted: 30 Sep 2013 08:58 AM PDT ผลศึกษา 'การเปลี่ยนผ่านการกระจายเสี วันนี้ (30 ก.ย.56) สาโรจน์ แววมณี นักวิจัยอิสระ จากสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (สวชช.) นำเสนอข้อมูลการศึกษา "การเปลี่ยนผ่านการกระจายเสี ก่อนหน้านี้ แผนแม่บทกิ สาโรจน์ชี้ว่า ผลกระทบในการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ปรับปรุ สาโรจน์ยังตั้งคำถามถึง กสทช.ในฐานะองค์กรกำกับดูแลด้ ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ นอกจากนี้ ในการกำหนดมาตรฐานเครื่องรับวิ ด้านการส่งเสริมทดลองกระจายเสี ส่วนศรีจุฬา หยงสตาร์ จากมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ กล่าวในการเสวนา 'แลไปข้างหน้า วิทยุชุมชนไทย' เล่าถึงบทเรียนเรื่องวิทยุชุ ศรีจุฬา กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ ถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็ 3.ขอให้ควบคุมวิทยุธุรกิจในพื้ ขณะที่ในอินโดนีเซีย แม้จะมีองค์กรอิสระเพื่อกำกับดู บทเรียนสุดท้ายคือ ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ได้รั สำหรับอนาคตของวิทยุชุมชนไทย ศรีจุฬา เสนอว่า มี 4 ประเด็นที่ต้องพูดคุยกัน แต่ยังไม่เห็นในการพูดคุยของ กสทช. ได้แก่ 1.การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิ ด้านสิขเรศ ศิรากานต์ อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรนิ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 30 Sep 2013 08:04 AM PDT "ประเด็นก็คือเขาอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ได้ไหม คำตอบก็คือ อ้างไม่ได้นะครับ เพราะว่าอย่างที่ผมได้เรียนไปว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 154 มันเป็นกรณีของร่างพระราชบัญญัติที่มีการอ้างว่าตราขึ้นโดยขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ว่าประเด็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้มันไม่ใช่เรื่องของร่างพระราชบัญญัติตามที่มาตรา 154 กำหนดไว้ แต่มันเป็นเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มันเป็นกฎหมายคนละชนิดกัน" กล่าวถึงกรณี ส.ส.ฝ่ายค้านยื่นต่อปธ.วุฒิสภาส่งเรื่องไปยังศาล รธน.โดยอ้าง รธน. 154 ว่าการแก้ไข รธน. เรื่องที่มา ส.ว. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ มองมุมไหนในมิติ AEC? Posted: 30 Sep 2013 06:19 AM PDT คณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ ระบุมีแรงงานจำนวนมากที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน เหตุนายจ้างบาง รายไม่ยอมแจ้งนำลูกจ้างเข้าประกันสังคม แต่หักเก็บเงินค่าจ้างลูกจ้าง ชี้กฎหมายประกันสังคมยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติ พร้อมเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทุกสัญชาติ คณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ ระบุมีแรงงานจำนวนมากที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน เหตุนายจ้างบาง รายไม่ยอมแจ้งนำลูกจ้างเข้าประกันสังคม แต่หักเก็บเงินค่าจ้างลูกจ้าง ชี้กฎหมายประกันสังคมยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติ พร้อมเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทุกสัญชาติ ที่ห้องประชุมชั้น 19 สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)วันนี้ (30 ก.ย.) คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม (คปก.) ร่วมกับ คณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ เครือข่ายประชากรข้ามชาติ (MWG)และเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM)ร่วมกันจัดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ มองมุมไหนในมิติ AEC นายบัณฑิต แป้นวิเศษ คณะกรรมการปฏิบัติการเครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติกล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลตัวเลขแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา) ที่ได้รับอนุญาตทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยการบันทึกของสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ประมาณ 977,195 คน ในขณะที่ตัวเลขของกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เดือนกรกฎาคม 2555 และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีตัวเลขแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ ประมาณ 1.3 ล้านคน ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้อง ได้ประมาณการว่ามีจำนวนแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ ที่ทั้งจดทะเบียน และไม่ผ่านการจดทะเบียน มีไม่น้อยกว่า 2-3 ล้านคนทั่วประเทศ คณะกรรมการปฏิบัติการเครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติกล่าวว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการพัฒนารูปแบบกลไก เพื่อการเข้าถึงหลักประกันทางสังคม ที่เหมาะสมสำหรับแรงงานข้ามชาติและองค์กรภาคีเครือข่าย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับแกนนำสหภาพแรงงาน และแกนนำแรงงานข้ามชาติ พบว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงระบบประกันสังคม เนื่องจากนายจ้างบางรายไม่ยอมแจ้งนำลูกจ้างเข้าประกันสังคม แต่มีการหักเก็บเงินค่าจ้างลูกจ้างไป แล้วอ้างว่าจะนำเงินส่งประกันสังคมให้ หรือกรณีการเข้าไม่ถึงข้อมูลในด้านการใช้สิทธิ และช่องทางการไปใช้สิทธิประกันสังคม ทำให้แรงงานข้ามชาติที่เป็นสมาชิกประกันสังคมส่วนใหญ่ จะไปหาซื้อยาตามร้านขายยา หรือไปรักษาที่คลินิกใกล้สถานที่พักของตนเอง นอกจากนี้แล้วจากการเปิดเผยข้อมูลของนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุว่าแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วจะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมในปีแรก คือปี 2553 แต่เมื่อเดือนตุลาคม 2555 สำนักงานประกันสังคมระบุว่ามีแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพียง 217,927 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนสถิติตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนของแรงงานข้ามชาติทั้งหมด นายบัณฑิตกล่าวว่า สาเหตุที่แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมน้อยเนื่องจากระบบประกันสังคมถูกออกแบบมาใช้สำหรับพลเมืองไทย ที่ต้องได้รับการคุ้มครองในระหว่างการทำงานจนถึงวัยชรา หรือหลังเกษียณอายุในการทำงาน แต่กลุ่มแรงงานข้ามชาติอยู่อาศัยทำงานได้เพียง 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศตนเอง ตามเงื่อนไขนโยบายรัฐเรื่องการพิสูจน์สัญชาติ และกฎหมายแรงงานต่างด้าว 2551 ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงการใช้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม ตามมาตรา 33 ของกฎหมายประกันสังคม เช่น สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล,ลาคลอด,เงินสงเคราะห์บุตร,ชดเชยการขาดรายได้,การประกันการว่างงาน,และบำนาญชราภาพ อีกทั้งปัจจุบันมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ... ที่เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมวาระ 1 ไปสู่วาระ 2 และ 3 โดยทั้งนี้มีมาตราที่น่าเป็นห่วง และมีผลต่อการปรับสิทธิประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติในอนาคต รวมถึงการเกี่ยวร้อยต่อนโยบายรัฐบาลที่จะนำแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองทำงานแบบถูกกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมในมิติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังนั้น คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม ในนามคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ร่วมกับคณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ เห็นความจำเป็นที่จะทำงานติดตามต่อเนื่องและเพื่อสร้างทางเลือก โดยอาศัยข้อมูลเชิงปรากฏการด้านสถานการณ์ปัญหาเชิงลึก และการสร้างเสริมรูปแบบกลไกการเข้าถึงสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับนโยบาย และกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องจากพื้นที่สู่นโยบาย ในทางปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน สู่การรณรงค์ปรับเปลี่ยนเชิงนโยบายด้านสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายประกันสังคม ในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) 2558 อีกด้วย นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาอย่างถูกฎหมายทุกคนควรจะได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากตอนเราเรียกเก็บเงินประกันสังคมเราเรียกเก็บแบบไม่มีเงื่อนไข แต่ทำไมเมื่อเราจะจ่ายเงินประกันถึงมีเงื่อนไขและข้อจำกัด นอกจากนี้การเข้ามาเป็นผู้ประกันตนน่าจะมีสิทธิตั้งแต่วันแรกที่จ่ายเงินไป ตนได้มีการเสนอให้มีการปรับระยะเวลาในการใช้สิทธิประโยชน์ให้เริ่มต้นหลังจากเข้าเป็นผู้ประกันตนได้เลยทั้งนี้จะเป็นผลดีต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ. 2558เหมือนบริษัทเอกชนที่ทำประกันชีวิตแล้วได้รับความคุ้มครองตั้งแต่วันแรก แต่เงินประกันสังคมกว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับสิทธิครอบคลุมจะต้องใช้เวลา 1-3 เดือนหลังจากที่ได้จ่ายเงินไปแล้ว ซึ่งแรงงานในประเทศอาเซียนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ซึ่งจะทำให้แรงงานข้ามชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประเทศไทยควรมีมาตรการในการรองรับแรงงานเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบเหมาช่วงหรือเอ้าท์ซอส ประกันสังคมยังไม่ได้เข้าไปดูแลแรงงานในส่วนนี้ เมื่อเรารู้ปัญหาแล้วเราก็ควรจะต้องรีบแก้ไข ทั้งนี้ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพก็ควรเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติโดยรัฐจะต้องพิจารณารับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ที่อนุญาตให้แรงงานมีสิทธิรวมตัวเพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงานได้หากถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ ไม่ใช่ต้องทนยอมรับสภาพเหมือนในปัจจุบัน นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ตัวแทนจากมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า ปัญหาของแรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมยังมีการเลือกปฏิบัติ และไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้เหมือนลูกจ้างไทย เนื่องจากนายจ้างจะรับผิดชอบจ่ายเงินทดแทนโดยตรงแก่แรงงานข้ามชาติเฉพาะรายที่ประสบอันตราย ทั้งนี้ ประกันสังคมได้ระบุเป็นนโยบายว่าจะดูแลแรงงานข้ามชาติเฉพาะในส่วนของแรงงานที่เข้าเมืองที่ถูกกฎหมายและแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่านโยบายดังกล่าวขัดแย้งกับกฎหมายประกันสังคมซึ่งให้การดูแลลูกจ้างทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติและอื่นๆ จึงอยากให้ประกันสังคมทบทวนนโยบายดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งผลกระทบจากนโยบายเห็นได้ชัดคือกรณีการทำงานและส่วนใหญ่มักเป็นกรณีบาดเจ็บสาหัสและต้องมีการร้องเรียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ต้องออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน แต่นายจ้างบางรายนั้นก็ยังเกลี้ยกล่อมต่อรองจ่ายเงินทดแทนให้แรงานข้ามชาติน้อยและล่าช้ากว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ตนเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมเนื่องจากเป็นการออกแบบสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยเท่านั้น ซึ่งในการปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมนั้นการให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติกรณีเจ็บป่วย ควรเป็นความรับผิดชอบตามสิทธิประโยชน์ของสำนักงานประกันสังคมเช่นเดิม รวมถึงกรณีค่าชดเชยในการเจ็บป่วย รวมถึงกรณีของการคลอดบุตร แต่ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคมควรจะเลือกทำสัญญากับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อใช้รูปแบบการบริการแบบประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการดูแลด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมในส่วนนี้ ส่วนสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพทางเครือข่ายเห็นพ้องกับข้อเสนอของรัฐบาลที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 77 ทวิ ซึ่งจะให้แรงงานข้ามชาติสามารถขอรับเงินบำเหน็จในกรณีที่สิ้นสุดสัญญาจ้างและต้องการกลับประเทศต้นทาง ไม่ต้องรอให้อายุครบ 55 ปี ขณะที่นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายประกันสังคมในประเทศไทยที่บังคับใช้ทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติพันกันเหมือนงูกินหาง สิ่งสำคัญคือเราควรพูดคุยกันในเรื่องเงื่อนไขของการปรับแก้กฎหมายที่จะสามารถรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กฎหมายเรานั้นจะต้องทำให้ทุกคนที่เป็นแรงงานในประเทศอาเซียนได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน โดยยึดหลักของมาตรฐานสากลซึ่งขณะนี้ก็เหลือระยะเวลาอีก 3 ปี ทุกประเทศก็จะเปิดประเทศอย่างเสรี เราจึงควรใช้เวลานี้ในการปรับแก้กฎหมายให้รองรับกับทุกสถานการณ์ของแรงงานดีกว่าต้องมานั่งแก้ใหม่หลังจากเปิดเสรีอาเซียนแล้วเพราะจะทำให้เกิดความยุ่งยาก ด้านนายดร.อารักษ์ พรหมมณี รองเลขาธิการประกันสังคมกล่าวว่า ตามหลักการของประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองกับแรงงานในระบบดังนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาคือแรงงานนอกระบบที่เราจะต้องมาพิจารณาว่าแรงงานเหล่านี้จะเข้าถึงสิทธิได้อย่างไรและได้รับการดูแลอย่างไร ทั้งนี้ปัจจุบันแรงงานนอกระบบก็กำลังจะกลายเป็นแรงงานในระบบซึ่งปัจจุบันมีแรงงานขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว 342,236 คน จากแรงงานทั้งหมด 1 ล้าน 5 แสนกว่าคน และในส่วนที่เหลือก็กำลังอยู่ในระหว่างการบริการจัดการ อย่างไรก็ตามประกันสังคมมีแนวคิดที่จะสร้างการปฏิบัติที่มีความเท่าเทียมแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่มีความเหมาะสมและต้องดูเงื่อนไขของการทำงานและระยะเวลาในการพำนักในประเทศไทยรวมถึงจะต้องสร้างข้อตกลงในเรื่องสิทธิประกันสังคมกับกลุ่มอาเซียน ซึ่งถ้าเรามีข้อตกลงได้เรื่องการเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเราก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สปสช.พร้อมเต็มที่ ระบบรองรับกองทุนค่ารักษาอปท. Posted: 30 Sep 2013 05:30 AM PDT ครม.เห็นชอบในหลักการพ.ร.ฏ.กองทุนค่ารักษาอปท.แล้ว ด้านสปสช.เผยความพร้อมรองรับบริการข้าราชการท้องถิ่นใช้สิทธิ์ตามกองทุนค่ารักษาอปท. จัดระบบไอที การเบิกจ่าย คุ้มครองสิทธิ์ รองรับ แจงยอดผู้ลงทะเบียนกว่า 6.6 แสนรายแล้ว เกือบครบจำนวนผู้มีสิทธิ์ 7 แสนคนทั่วประเทศ ครม.เห็นชอบในหลักการพ.ร.ฏ.กองทุนค่ารักษาอปท.แล้ว ด้านสปสช.เผยความพร้อมรองรับบริการข้าราชการท้องถิ่นใช้สิทธิ์ตามกองทุนค่ารักษาอปท. จัดระบบไอที การเบิกจ่าย คุ้มครองสิทธิ์ รองรับ แจงยอดผู้ลงทะเบียนกว่า 6.6 แสนรายแล้ว เกือบครบจำนวนผู้มีสิทธิ์ 7 แสนคนทั่วประเทศ ชี้หลังพ.ร.ฏ.มีผลบังคับใช้ ข้าราชการท้องถิ่นไปใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลไม่ต้องสำรองจ่าย มีสปสช.จัดการระบบให้ แต่หากใครยังไม่ลงทะเบียนต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วจึงเบิกคืนทีหลัง แนะรีบลงทะเบียนใช้บริการ นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่ รัฐบาลได้มีนโยบายจัดตั้งกองทุนกลางค่ารักษาพยาบาลข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัว เพื่อให้เกิดระบบคุ้มครองความมั่นคงด้านสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัวให้ได้รับบริการที่เสมอภาคกับสิทธิอื่นๆ และลดภาระความเสี่ยงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ซึ่งสิทธิประโยชน์นั้น มีความเสมอภาคและทัดเทียมระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ โดยที่ผู้มีสิทธิ์ไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถรักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า ล่าสุด คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกากองทุนค่ารักษาพยาบาลข้าราชการท้องถิ่น กำหนดให้พนักงานและลูกจ้างของ อปท.ใช้สิทธิจ่ายตรงในการรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม หลังจากนี้กระบวนการจะมีการเสนอร่าง พ.ร.ฏ.ที่ครม.ให้ความเห็นชอบ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น จากนั้นส่งกลับมายัง ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้ง และนำร่าง พ.ร.ฏ.ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้า ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป นายแพทย์วินัย กล่าวว่า ในส่วนการเตรียมงานของสปสช.นั้น ขณะนี้มีความพร้อมในทุกด้านแล้ว ทั้งการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ และผู้ใช้สิทธิ์ร่วมของข้าราชการส่วนท้องถิ่นให้ถูกต้อง ครบถ้วน โดยการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาและให้ อปท.แต่ละแห่งคีย์ข้อมูลลงไปในโปรแกรม ปัจจุบันมียอดของผู้ใช้สิทธิ์มากกว่า 660,000 ราย จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 76 แห่ง เทศบาล 1,900 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) 5,693 แห่ง เหลืออปท.ประมาณ 98 แห่งที่ยังให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน สามารถลงทะเบียนได้ที่นายทะเบียนประจำอปท.ที่สังกัดอยู่ ใช้ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส และใบรับรองบุตร โดยสิทธิจะเกิดภายใน 1 วันหลังการบันทึกข้อมูล "ในการใช้บริการนั้น สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว ไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้มีเลข 13 หลัก กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ใช้สูติบัตร สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน หากไปใช้บริการต้องสำรองจ่ายแล้วนำใบเสร็จไปเบิกจ่ายกับต้นสังกัด แล้วจะได้รับเงินคืนหลังจากตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารแล้ว ดังนั้นจึงขอให้ผู้มีสิทธิ์ทุกท่านไปลงทะเบียนโดยเร็วที่สุดจะสามารถใช้บริการได้สะดวกกว่า" เลขาธิการสปสช.กล่าว ทั้งนี้ สปสช.ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับโรงพยาบาลทั่วประเทศว่าเมื่อข้าราชการท้องถิ่นไปใช้บริการที่โรงพยาบาล การให้บริการ การตรวจสอบสิทธิ์ การเก็บเงินจาก สปสช. จะเป็นอย่างไร ในส่วนของการเก็บเงินจากสปสช. นั้น ทาง สปสช. ได้พัฒนาการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการเตรียมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ข้าราชการท้องถิ่น หากมีปัญหาหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทร.สอบถามได้ที่ สายด่วนสปสช. 1330 นายศักดิพงศ์ ธรรมอาชวกุล ประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กองทุนค่ารักษาสำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญของอปท.ด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นเรียกร้องมานาน ซึ่งต้องการให้สิทธิการรักษาพยาบาลเทียบเท่ากับข้าราชการพลเรือน และใช้หลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยจัดตั้งเป็นกองทุนให้มีการบริหารจัดการร่วม ไม่ใช่ให้แต่ละท้องถิ่นไปจัดการและแบกรับความเสี่ยงเองอย่างที่ผ่านมา ซึ่งต้องขอบคุณทางรัฐบาลที่เห็นปัญหาและดำเนินการแก้ไขให้ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ไม่ได้ใช้งบประมาณเพิ่ม ใช้งบประมาณจากที่มีอยู่แต่ใช้หลักการบริหารจัดการแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยมีสปสช.เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนนี้ให้ และในส่วนของการเตรียมความพร้อมนั้น ทางอปท.ทุกแห่งได้จัดการลงทะเบียนให้ผู้มีสิทธิทุกคนเรียบร้อยแล้ว "ขณะนี้ยังมีความไม่ชัดเจนบางประการ เนื่องจากแม้ครม.จะอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 แล้ว แต่ยังไม่มีการโปรดเกล้าและประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งข้าราชการส่วนท้องถิ่นยังกังวลว่าในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้น หากจะต้องไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลจะทำอย่างไร เบิกจ่ายตรงได้เลยหรือไม่ หรือต้องสำรองจ่ายไปก่อน ต้องขอความชัดเจนเพิ่มเติมด้วย แต่หากระบุว่าย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีความสบายใจ และไม่ต้องมีการสำรองจ่ายไปก่อน สามารถเข้าสู่กระบวนการใช้สิทธิและสวัสดิการตรงนี้ตามที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงให้บุคคลผู้มีสิทธิตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน" ประธานสมาพันธ์กล่าวฯ ประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า สำหรับในส่วนของกองทุนค่ารักษาอปท.นั้น ทางอปท.มีความคาดหวังว่า ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ต้องได้รับการเบิกจ่ายตรงกับโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ ไม่ต้องสำรองจ่าย และจะต้องได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพให้มีมาตรฐานเที่ยบเท่าข้าราชการพลเรือน ซึ่งจุดนี้กองทุนค่ารักษาอปท.ตอบโจทย์ให้แล้ว แต่ยังมีที่อปท.ต้องการคือ ในการบริหารงานกองทุนค่ารักษาอปท.นี้ จะต้องเปิดโอกาสให้อปท.เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแล และในอนาคตอยากให้กองทุนค่ารักษาอปท.นี้ดูแลบุคลากรที่ทำงานในส่วนท้องถิ่นด้วย เช่น บุคลากรฝ่ายการเมือง สมาชิกอปท. รองนายกอปท. และลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุไปแล้ว โดยเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่รวมผู้มีสิทธิร่วมอื่นๆ คือ บุตร ภรรยา พ่อและแม่ มารวมด้วย เพราะนี่เป็นกลุ่มบุคลากรที่ทำงานให้ท้องถิ่นและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นเดียวกัน จึงอยากให้รัฐบาลดูแลตรงจุดนี้ด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส.ว.สรรหา เตือนทูลเกล้าฯ ร่าง รธน. โดยไม่รอศาล รธน. เท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ Posted: 30 Sep 2013 04:25 AM PDT ส.ว.สรรหา เตือนว่าหากนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไข รธน. ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่รอศาล รธน.วินิจฉัย ถือเป็นการมิบังควร ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท และผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และอาจมีผู้ยื่นเรื่องต่อศาล รธน. ว่านายกรัฐมนตรีผิด รธน. ม.68 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานวันนี้ (30 ก.ย.) ว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เพื่อขอให้ระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่มา ส.ว. เนื่องจากวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมากลุ่ม ส.ว.ได้ยื่นเรื่องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้ส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยล่าสุดทราบว่าประธานวุฒิสภากำลังให้ฝ่ายธุรการตรวจสอบลายมือชื่อ ส.ว.และจะส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบในสัปดาห์นี้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีควรระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวาย จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการอ้างว่าจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วันนั้นใช้ในกรณีที่ร่างกฎหมายไม่มีการยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ แต่หากยื่นให้ศาลตรวจสอบตามมาตรา 154 แล้ว ต้องระงับการทูลเกล้าฯ ถวายไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย แม้จะพ้นกำหนด 20 วันแล้วก็ตาม ซึ่งล่าสุดกรณีร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ก็เลยกำหนดการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วันแล้วเช่นเดียวกัน นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า หากนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบผิดปกติ ตามคำแนะนำของบุคคลใกล้ชิด ซึ่งเป็นการแสดงเจตนาและจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการตรวจสอบร่างกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เชื่อได้ว่าอาจจะมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่มีปัญหามากมายยังไม่สิ้นข้อสงสัย และอยู่ในระหว่างการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่กลับนำขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบ เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง เพราะทำให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาจถูกกล่าวโทษว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 157 จึงหวังว่านายกรัฐมนตรีจะระงับนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจว่าเหตุใดทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายพรรคเพื่อไทยถึงได้เร่งรีบให้นายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอย่างเร่งรีบ ไม่ทราบว่าเป็นการทำเพื่อรักษาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข หรือต้องการสนองความต้องการบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะขณะนี้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะว่าร่างฉบับนี้มีหลายอย่างที่ไม่เรียบร้อยค่อนข้างมาก เช่น การแปรญัตติ การกดบัตรแทนกัน และที่สำคัญร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญถือว่ามีความสำคัญและมีศักดิ์สูงกว่าร่าง พ.ร.บ.จึงไม่สมควรที่จะผ่านออกไป โดยไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความถูกต้องก่อน นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ที่ผ่านมาถือเป็นประเพณีปฏิบัติว่า หากเรื่องใดยังไม่ได้ข้อยุติหรือยังมีความสงสัย ต้องยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด และขณะนี้มีผู้ยื่นเรื่องแล้ว และยังไม่มีข้อสรุป ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ จะเป็นการระคายเคืองหรือไม่ และอยากเตือนไม่ให้นายกรัฐมนตรีนำเรื่องนี้ขึ้นไป เพื่อให้เป็นพระราชภาระ ซึ่งอาจจะมีผู้ไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่านายกรัฐมนตรี กระทำการเข้าข่ายล้มล้างการปกครองขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 อนึ่งก่อนหน้านี้ "ประชาไท" สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองศาสตราจารย์ด้านกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ได้ เนื่องจาก มาตรา 154 เป็นกรณีของร่างพระราชบัญญัติที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นกฎหมายคนละชนิดกัน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นอำนาจของรัฐสภา (อ่านต่อที่นี่) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลสั่งการตาย 2 เสื้อแดง 10 เมษา หน้าร.ร.สตรีวิทฯ วิถีกระสุนมาจากฝ่าย จนท. Posted: 30 Sep 2013 03:05 AM PDT "จรูญ ฉายแม้น-สยาม วัฒนนุกูล"เหยื่อกระสุน 10 เมษา 53 หน้า ร.ร.สตรีวิทฯ เหตุการณ์เดียวกับ 'ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย' ศาลสั่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงาน โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ "จรูญ ฉายแม้น-สยาม วัฒนนุกูล" 10.00 น. วันที่ 30 ก.ย. ที่ห้องพิจารณา 603 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอ่านคำสั่งชันสูตรการเสียชีวิต คดีที่พนักงานอัยการสำนักอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายจรูญ ฉายแม้น ผู้ตายที่ 1 และนายสยาม วัฒนนุกูล ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงเสียชีวิตหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ ในเหตุกระชับพื้นที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 โดย ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ผู้ร้องมีประจักษ์พยาน 4 ปากอยู่ในที่เกิดเหตุบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ต่างเบิกความยืนยันว่า เห็นประกายไฟจากกระบอกปืนและได้ยินเสียงปืนจากทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปบริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้สี่แยกสะพานวันชาติ ซึ่งขณะนั้นประจักษ์พยานเห็นผู้ตายทั้งสองล้มลงที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จึงเชื่อว่าพยานทั้ง 4 ต่างเบิกความไปตามความจริงที่ได้รู้เห็นมา ประกอบกับแพทย์จากนิติเวชที่ชันสูตรศพผู้ตายทั้งสองยืนยันว่านายจรูญ ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลกลาง โดยสาเหตุการตายเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบพบเศษลูกกระสุนปืน เศษตะกั่ว เศษเหล็กในศพของผู้ตายที่ 1 ส่วนนายสยาม ผู้ตายที่ 2 เสียชีวิตระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืน ตรวจพบเศษตะกั่วในศพผู้ตายที่ 2 ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนยืนยันว่า เศษลูกกระสุนปืนที่พบในศพของผู้ตายที่ 1 เป็นอาวุธปืนที่เจ้าหน้าที่ใช้ในวันเกิดเหตุ และแม้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเศษตะกั่วที่พบในศพผู้ตายที่ 2 มีขนาดเท่าใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ตายทั้งสองอยู่ในบริเวณเดียวกันและล้มลงในช่วงระหว่างที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงมาทางผู้ชุมนุมที่ติดตามเข้าไป จึงเชื่อว่าผู้ตายทั้งสองถูกกระสุนปืนที่ยิงมาจากบริเวณเดียวกัน นอกจากนี้ คำเบิกความของพยานยังสอดคล้องกับผู้ตรวจวิถีกระสุนในบริเวณที่เกิดเหตุ จากข้อเท็จจริงและเหตุผลทั้งหมดที่ได้วินิจฉัยมา เชื่อได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายทั้งสองนั้น มีวิถีกระสุนปืนที่ยิงมาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ แต่พยานของผู้ร้องทั้งหมดที่นำสืบมา ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ ศาลจึงมีคำสั่งว่า นายจรูญ ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 เวลาประมาณ 22.00 น. สาเหตุการตายเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่ทรวงอก ทำลายปอดและตับ ส่วนนายสยาม ผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายขณะนำส่งโรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 10-11 เม.ย.53 สาเหตุการตายเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนที่ด้านหลังทะลุทรวงอก ทำลายหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอก และเสียโลหิตมาก ซึ่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงานที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปที่บริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้แยกสะพานวันชาติ โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ 'ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย' สำหรับเหตุการณ์คืนวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ นั้น นอกจากการตายของนายจรูญ และนายสยาม แล้ว ยังมีเหตุการณ์ เวลาและสถานที่เดียวกันอีก 3 ศพ สำคัญที่อยู่ในกระบวนการไต่สวนการตายอีกคือ นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น นายวสันต์ ภู่ทอง ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ชุมนุมนปช. ซึ่งคดีของทั้ง 3 ศพนี้อยู่ในคดีเดียวกันและจะมีการไต่สวนการตายต่ออีกในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กวีประชาไท: จารึกนามนี้ด้วยชีวิน Posted: 30 Sep 2013 12:47 AM PDT
ลุงพร้อม ยอมพลี แม้ชีวิต
ลุงขอ ลบคำ สบประมาท
เพียงหวัง คนไทย ได้ตื่นรู้
"นวมทอง ไพรวัลย์" นามนั้นชัด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 24-30 ก.ย. 2556 Posted: 30 Sep 2013 12:24 AM PDT บอร์ด สปส.ไฟเขียว สำนักบริหารการลงทุน เป็นองค์กรอิสระ
กระทรวงแรงงาน ยกเลิกใบอนุญาตจัดหางาน 2 บริษัท อมตะดัน "มหกรรมแรงงานผู้พิการ" รถบัสรับส่งคนงานเสียหลักชนเสาไฟฟ้า เจ็บ 20 คน พระนครเปิดโอกาส จดทะเบียนแรงงานต่างด้าว "เฉลิม" สั่งชะลอนำเข้าแรงงานบังกลาเทศ 5 หมื่นคน ก.แรงงาน หารือ 10 ประเทศ สร้างมาตรฐานแรงงานอาเซียน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
21ปี ข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล : การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87, 98 Posted: 30 Sep 2013 12:05 AM PDT ทบทวนที่มาที่ไปของการผลักดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม กว่า 21 ปี ของการเรียกร้องขององค์กรแรงงานในประเทศไทยเพื่อให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม 21 ปีบนเส้นทางอันขรุขระของการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ดูได้จากตัวเลขจำนวนสถานประกอบการที่กระทรวงพาณิชย์ระบุเมื่อธันวาคม 2555 รวม 409,977 แห่ง แต่กลับมีการตั้งสหภาพแรงงานทั่วประเทศเพียง 1,379 แห่ง (กุมภาพันธ์ 2556) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสถานประกอบการเท่านั้น ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนสหภาพแรงงานน้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของผู้ใช้แรงงาน และถือเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อีกทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ซึ่งทั่วโลกจะให้การยอมรับในสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นประเทศที่ยอมรับในสิทธิแรงงาน มีการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยผ่านการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของแรงงาน ในปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 กระทรวงแรงงานได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 190 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเมื่อเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม จำนวน 5 ครั้ง โดยภาคเหนือจัดที่เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่ขอนแก่น ภาคตะวันออกจัดที่ชลบุรี ภาคใต้จัดที่สุราษฎร์ธานี และภาคกลางจัดที่กรุงเทพ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 492 คน กระทรวงแรงงานได้สรุปผลในภาพรวม พบว่า - มีผู้เข้าร่วมที่เห็นด้วยกับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 รวม 85.94 % ไม่เห็นด้วย 9.89 % และไม่แสดงความคิดเห็น 4.17 % - มีผู้เข้าร่วมที่เห็นด้วยกับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 98 รวม 87.44 % ไม่เห็นด้วย 7.29 % และไม่แสดงความคิดเห็น 5.47% ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้มีการเสนอแนะว่าภาครัฐควรรีบดำเนินการในการให้สัตยาบันทั้ง 2 ฉบับ และปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับการรวมตัวและเจรจาต่อรอง อีกทั้งรัฐไม่ควรนำปัญหาแรงงานข้ามชาติมาเป็นอุปสรรคต่อการให้สัตยาบัน เห็นควรให้กำหนดแนวทางการใช้สิทธิในการรวมตัวภายใต้เสรีภาพที่พึงมีพึงได้ เพื่อมิให้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ นอกจากนั้นแล้วเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบความเห็นข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง "การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98" ซึ่งได้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลควรพิจารณาการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับไปพร้อมกัน นี้ไม่นับว่าเป็นครั้งแรกที่ ILO ประเทศไทย ก็ได้บรรจุเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 ไว้ในโครงการระดับประเทศว่าด้วยงานที่มีคุณค่าปี 2555-2558 โดยให้เป็นงานที่ต้องดำเนินการในลำดับต้น และกำหนดกรอบเวลาการให้สัตยาบันของรัฐบาลไทยให้แล้วเสร็จภายในปี 2557 ดังนั้นกล่าวได้ว่าวันนี้ประเทศไทยมีความพร้อมอย่างยิ่งในการที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เนื่องจากอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ มีคาบเกี่ยวกับกับมาตรา 190[1] ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2550 และขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังพิจารณา "ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 190" ไม่แล้วเสร็จ ทำให้ไม่มีความชัดเจนในกรณีการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับนี้ว่าเข้าข่ายมาตรา 190 หรือไม่ อย่างไร จากข้อมูลเดือนมิถุนายน 2556 กระทรวงแรงงานได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 ณ ห้องประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน ว่ากระทรวงแรงงานได้สอบถามความเห็นจากกระทรวงการต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว ได้รับคำตอบว่าอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ น่าจะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2550 สำหรับในส่วนของคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ได้ตอบความเห็นนี้กลับมาที่กระทรวงแรงงาน มีเพียงจดหมายแจ้งว่าให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเป็นผู้สอบถามไปที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแทน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่ากระบวนการให้สัตยาบัน คือ ความร่วมมือระหว่างฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี และฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา อย่างใกล้ชิดในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจของการผลักดันขององค์กรแรงงานกลุ่มต่างๆมากขึ้น จึงขอทบทวนที่มาที่ไปและย้อนกลับไปยังช่วงปี 2534-2535 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการผลักดันเรื่องนี้ (1) การหายตัวไปของทนง โพธิ์อ่าน : จุดเริ่มต้นของการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 23 กุมภาพันธ์ 2534 กลุ่มทหารที่เรียกตนเองว่าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีผู้มาจากการเลือกตั้ง สังคมไทยในขณะนั้นได้ถูกปกคลุมไปด้วยเงาทะมึนแห่งความอยุติธรรม สิทธิ เสรีภาพของประชาชนถูกลิดรอนและถูกกำราบด้วยกฎอัยการศึก 26 กุมภาพันธ์ 2534 พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศเข้าพบเพื่อชี้แจงนโยบายและเหตุผลในการยึดอำนาจ ในการชี้แจงครั้งนั้นพลเอกสุจินดาได้พูดว่า "ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร" แต่สำหรับทนง โพธิอ่าน แล้ว ในฐานะผู้นำแรงงานซึ่งมีตำแหน่งในขณะนั้นเป็นรองประธานภาคพื้นเอเชียแปชิฟิกของสมาพันธ์แรงงานเสรีแรงงานระหว่างประเทศ (ICFTU) เขาเห็นว่า "เป็นเพียงลมปากที่ไม่อาจเชื่อถือได้" เพราะต่อมาไม่นาน รสช. ก็ได้ลิดรอนสิทธิสหภาพแรงงานของคนงานรัฐวิสาหกิจ ทนง โพธิอ่าน ได้เรียกประชุมสภาแรงงานแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณามาตรการตอบโต้ในประเด็นการแยกแรงงานรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงาน ภายหลังการประชุมเขาได้แสดงทัศนะอย่างแข็งกร้าวต่อคณะ รสช.ว่า
1 พฤษภาคม 2534 การจัดงานวันกรรมกรสากลถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬาไทย- ญี่ปุ่นดินแดง เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานออกมาเดินขบวน 14 มิถุนายน 2534 สภาแรงงานแห่งประเทศไทยภายใต้การนำของทนง โพธิอ่าน ได้จัดการประชุมใหญ่กลางท้องสนามหลวง เรียกร้องให้คืนสหภาพแรงงานให้คนงานรัฐวิสาหกิจและยกเลิกประกาศ รสช.ฉบับที่ 54 ผลจากการเรียกร้องดังกล่าวทนง โพธิอ่าน ถูกสั่งห้ามมิให้เดินทางไปร่วมประชุมประจำปีขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพราะเกรงว่าจะนำเรื่องการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและประกาศ รสช. ฉบับที่ 54 ไปประณามกลางที่ประชุมนานาชาติ 19 มิถุนายน 2534 ทนง โพธิอ่าน ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างลึกลับไร้ร่องรอย จากนั้นจนบัดนี้กว่า 22 ปีล่วงแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นหรือได้ข่าวที่แท้จริงเกี่ยวกับทนงอีกเลย กล่าวได้ว่านี้อาจคือจุดเริ่มต้นสำคัญของการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 เพราะกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยไม่สามารถคุ้มครองการลุกขึ้นมาต่อสู้ของแรงงานได้แม้แต่น้อย ภาพโดย ปกป้อง POAKPONG.com (2) 21 ปีข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล : การรับรองอนุสัญญารับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 7 เมษายน 2535 พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย 1 พฤษภาคม 2535 กลุ่มสหภาพแรงงานย่านต่าง ๆ กลุ่มสหพันธ์แรงงาน กลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร่วมกันจัดงานวันกรรมกรสากลหน้ารัฐสภา ซึ่งในขณะนั้น รสช. ประกาศกร้าว ห้ามมิให้กรรมกรจัดงานวันกรรมกรสากลในปีนั้น และหลังจากนั้นหลายคนคงทราบดีได้เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬขึ้นมา มีการเดินขบวนเพื่อขับไล่เผด็จการ รสช. มีการปราบปรามอย่างรุนแรง จนในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่ายเข้าเฝ้า พลเอก 13 กันยายน มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2536 มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติจึงอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานฯมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน อ.ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา เคยแลกเปลี่ยนเสมอมาในเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่า "องค์กรแรงงานได้มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยเนื่องในวันกรรมกรสากลมาตั้งแต่ปี 2535 แล้ว แต่ไม่เคยได้รับการขานรับจากรัฐ" ช่วงฮึกเหิมสุดของการเรียกร้องกล่าวได้ว่า เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2552 เมื่อองค์กรแรงงานระดับชาติส่วนใหญ่ได้ร่วมมือกันก่อตั้ง "คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87และ 98" โดยมีคุณชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเป็นประธานคณะทำงาน และช่วยกันรณรงค์อย่างจริงจังในปี 2552-2553 จนกระทรวงแรงงานได้จัดตั้ง "คณะทำงานประสานการดำเนินงานเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98" ซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลย้อนกลับไปยังปี 2535 ได้ มีเพียงข้อมูลของบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่ได้รวบรวมข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลของคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน คือ ปี 2556 ทั้งนี้ในปี 2547 เป็นปีแรกที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการในปี 2546 ได้มีการแยกการจัดงานวันกรรมกรสากลออกมาจากคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ดังนั้นในตารางด้านล่างนี้ก็จะบรรจุให้เห็นข้อเรียกร้องของทั้ง 2 องค์กรจัดงาน โดย code ข้อเรียกร้องที่แต่ละองค์กรได้ยื่นต่อรัฐบาลโดยตรง ซึ่งจะช่วยทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของการเรียกร้องในเรื่องการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 รวมถึงข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ว่าเกิดขึ้นมากว่า 21 ปีแล้ว แม้ว่าจะไม่ต่อเนื่องทุกปี แต่ก็ถือว่าเป็นข้อเรียกร้องสำคัญ มีรายละเอียดดังนี้
ดังนั้นจากการประมวลข้อเรียกร้องของคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ และในส่วนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จึงเห็นได้ว่าข้อเรียกร้องในเรื่องนี้เป็นข้อเรียกร้องที่องค์กรแรงงานได้มีการเคลื่อนไหวและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมากที่สุดกว่าข้อเรียกร้องอื่นๆ จึงถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรต้องเร่งดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาพื้นฐานทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ซึ่งจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 64 ที่บัญญัติไว้ว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น..." และยังเป็นการส่งเสริมให้คนงานและนายจ้างมีสิทธิและเสรีภาพในการสมาคมตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วยเช่นเดียวกัน
[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้วางรากฐานใหม่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาสังคมในกระบวนการทำ "สนธิสัญญาระหว่างประเทศ" โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 190 และได้กำหนดบทบาทของรัฐสภา เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
ทั้งนี้คำว่า "สนธิสัญญา" อาจจะมีชื่ออย่างใดก็ได้ เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา พิธีสาร บันทึกความเข้าใจ เอกสารเสริมอนุสัญญา ความตกลง หนังสือแลกเปลี่ยน บันทึกการเจรจา ธรรมนูญ ปฏิญญา เป็นต้น นอกจากนั้นการตกลงด้วยวาจาระหว่างรัฐก็มีฐานะเป็นสนธิสัญญา แม้จะไม่ได้อยู่ภายใต้บทนิยามของอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ก็ตามก็ยังคงมีฐานะทางกฎหมายเป็นสนธิสัญญาเช่นเดียวกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น