ประชาไท | Prachatai3.info |
- เสวนา: 2 ปี กสทช.กับความไว้วางใจจากสังคม
- จับตา ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ.. ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 10 ประเด็นที่หายไปในการพิจารณา
- ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา กลับไปคุยหลังม่านเป็นไปได้ยาก
- กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าฤดูหนาวปีนี้จะมาเร็ว
- 2 กสทช.ข้างน้อย มึน 5 องค์กรเดินสายร้อง กมธ.วุฒิฯ กรณีโหวตไม่รับประกาศป้องซิมดับ
- พระมหาวุฒิชัยตั้งโรงเรียนชาวนาบนสมมติฐานผิด
- นายกรัฐมนตรีให้รับฟังความเห็นรอบด้านว่าเขื่อนแม่วงก์จำเป็นหรือไม่
- สื่อภาคประชาชนและสิทธิการสื่อสาร: บทเรียนจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
- MCOT ยอมฉาย "คนค้นฅน" เทป "ศศิน เฉลิมลาภ" 12 ต.ค. นี้
- กรุงเทพโพลล์สำรวจความพอใจคนกรุงต่อผลงาน 6 เดือนผู้ว่าฯ กทม.
- นายกรัฐมนตรีลงนาม รธน. ฉบับแก้ไขให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งแล้ว
- คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
- ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ จำคุก ‘สนธิ’ 2 ปี ปราศรัยซ้ำคำดา ตอร์ปิโด
- ควาญช้างพังแตงโม บุกสภาทนายความ แฉอดีตอธิบดีกรมป่าไม้
- นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลกระทบ หากรัฐบาลสหรัฐฯ หยุดทำการ
เสวนา: 2 ปี กสทช.กับความไว้วางใจจากสังคม Posted: 01 Oct 2013 12:52 PM PDT วิทยุชุมชนชี้ 2 ปี กสทช.ไร้ความหมาย ทำลายความหวัง เตรียมปรับบทบาทจากผู้ประกอบการรายเล็กสู่องค์กรตรวจสอบ ผู้บริโภคจวก กสทช.ทำตัวเป็นนายหน้าให้ภาคธุรกิจ ด้านนักวิชาการชี้เงินอู้ฟู่ ร้องแจงเงินบริจาคการกุศล-งบดูงานต่างประเทศ-ประชาสัมพันธ์ วันนี้ (1 ต.ค.56) สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (สวชช.) จัดเวทีสาธารณะ "2 ปี กสทช.กับความไว้วางใจจากสังคม" ที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน ราชเทวี กรุงเทพฯ สรุปภาพรวมการทำงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในด้านต่างๆ ทั้งในส่วนวิทยุชุมชน ผู้บริโภค แรงงาน และข้อเสนอจากฟากฝั่งนักวิชาการ วิทยุชุมชนชี้ 2 ปี กสทช.ไร้ความหมาย ทำลายความหวัง วิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ กล่าวว่า 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาของวิทยุชุมชนยังไม่ถูกแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม แม้มีความเคลื่อนไหวในสื่อมวลชนระบุ กสทช.มีการแบ่งวิทยุชุมชนเป็น 3 ประเภท คือ วิทยุบริการสาธารณะ บริการชุมชน และวิทยุธุรกิจ ซึ่งทำให้มีวิทยุกว่า 7,000 สถานีเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการจัดสรรคลื่น แต่ กสทช.กลับไม่มีมาตรการกำกับวิทยุแต่ละประเภทที่ชัดเจน ทำให้ปัญหาเดิมๆ ยังคงอยู่ เช่น กำลังส่งสูงเกินกำหนด การโฆษณาผิดกฎหมาย หรือวิทยุที่มีแนวโน้มปลุกปั่นความรุนแรง นอกจากนั้น ในแง่การพัฒนาของวิทยุชุมชนก็ยังไปไม่ถึงไหน เนื่องจาก วิทยุชุมชนไม่สามารถเข้าถึงกองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เท่าที่มีการตรวจสอบข้อมูลจากเครือข่าย พบว่าไม่มีวิทยุชุมชนที่เขียนโครงการส่งแล้วได้รับการสนับสนุนจากกองทุนดังกล่าว เนื่องจากกติกาที่มีออกมาในตอนหลังได้กีดกันวิทยุชุมชนออกจากการเข้าถึงแหล่งทุน และกลายมาเป็นปัญหาหลักอีกอันหนึ่งที่กระทบการทำงานของวิทยุชุมชนที่ไม่รับโฆษณาซึ่งต้องการผลิตเนื้อหาที่ดีมีคุณภาพให้ชุมชน โดยคาดหวังให้กองทุนช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายพื้นฐาน "วิทยุชุมชนได้แค่ใบอนุญาตทดลองออกอากาศ ไม่ใช้ใบอนุญาตตัวจริง ไม่เข้าเงื่อนไขในการรับเงินสนับสนุน" วิชาญกล่าวถึงเหตุผลที่วิทยุชุมชนถูกปฏิเสธจากสำนักงานกองทุนฯ วิชาญ กล่าวต่อมาว่า การกำกับที่ไม่เป็นจริงของ กสทช.ยังส่งผลกระทบต่อวิทยุที่เข้าสู่กระบวนการขอใบอนุญาตฯ ด้วย เนื่องจากใบอนุญาตทดลองออกอากาศต้องต่ออายุทุก 1 ปีและมีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าธรรมเนียม แต่คนที่อยู่นอกกรอบนั้น กสทช.ไม่มีการดำเนินการอะไร ไม่มีการกำกับ ทำให้คนกลุ่มนี้ยังสามารถออกอากาศได้และไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม กลายเป็นปัญหา การที่ กสทช.ที่ปฏิบัติงานอยู่ตอนนี้บอกว่า วิทยุกระจายเสียงไม่ใช่วาระหลัก ทำให้ปัญหาไม่ถูกแก้อย่างเป็นระบบ เกิดการหมักหมม ทั้งนี้ หากปีหน้าวาระหลักของ กสทช.เป็นเรื่องวิทยุ ก็ไม่แน่ว่าวิทยุประเภทบริการชุมชนจะถูกพูดถึงและได้รับการอุดหนุนอย่างจริงจัง เพราะจากสถานการณ์ที่ผ่านมาเห็นได้ว่า อาจมีการลอบบี้เกิดขึ้นจากวิทยุกลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่มที่มีความใกล้ชิดนักการเมืองได้ อีกทั้ง อาจมีปัญหาคล้ายในเรื่อง 3G และทีวีดิจิตอลซึ่งดูจะผิดเพี้ยนไปจากหลักการปฏิรูปสื่อที่เคยตั้งไว้ ทั้งยังเกิดคำถามว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์จากการประมูลทรัพยากรของรัฐ "การเกิดขึ้นของ กสทช.เต็มไปด้วยความคาดหวัง แต่วันนี้รู้สึกว่าแม้ไม่มี กสทช.ก็แทบไม่แตกต่างกัน" วิชาญให้ความเห็น วิชาญ วิเคราะห์ด้วยว่า ในอนาคตสถานการณ์อาจดีขึ้นได้ยากและอาจแย่กว่าเดิม เพราะ กสทช.ทั้ง 11 คน ต่างแสดงตัวว่าได้ทำหน้าที่ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ มากขึ้น และเชื่อว่าเสียงของ 2 ตัวแทน กสทช.ภาคประชาชนจะเบาลงเรื่อยๆ เตรียมปรับบทบาทจากผู้ประกอบการรายเล็ก สู่องค์กรตรวจสอบ วิชาญ กล่าวอีกว่า การบอกว่า "ไม่เป็นวาระ" เป็นเพียงคำอ้าง ของ กสทช.ซึ่งจากเดิมเรื่องวิทยุชุมชนก็ถูกปล่อยผ่านจาก กทช.โดยอ้างว่าไม่มีอำนาจ ทั้งนี้ สื่อชุมชนที่เกิดขึ้นจำนวนมากมีความคิดความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้ กสทช.กุมกระแสไม่ได้และถูกตรวจสอบจากรายย่อยๆ เต็มไปหมด ต่างจากสื่อหลักที่ กสทช.คุมได้ จึงทำให้ไม่ส่งเสริม และดองไว้ "ที่ผ่านมา 2 ปี กลุ่มวิทยุชุมชนพยายามทำงานร่วม แต่ กสทช.ไม่มีความจริงใจ เราจึงจะปรับบทบาทจากผู้ประกอบการรายเล็กๆ สู่องค์กรติดตามตรวจสอบการทำงานของ กสทช." วิชาญกล่าว เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ไม่มีความคาดหวังแล้วว่า กสทช.จะแก้ปัญหาได้ วิทยุชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการตนเอง โดย 1.ประสานเครือข่ายวิทยุขนาดเล็ก ทั้งวิทยุชุมชน วิทยุธุรกิจระดับชุมชน และวิทยุสื่อการเมือง เพื่อสร้างมาตรฐานจริยธรรมของสื่อขนาดเล็กในฐานะสื่อที่ดี เพื่อให้สังคมเห็นความแตกต่างจากวิทยุที่มีอยู่ทั่วไป และสร้างพื้นที่ในการต่อรอง 2.กระจายข้อมูลข่าวสารสู่ชุมชนพื้นที่ต่างๆ ในฐานะที่เป็นองค์กรสื่อ เพื่อให้คนทั่วไปรู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว ส่วนกรณี กสทช.เสียงข้างน้อยนั้น วิชาญ แสดงความเห็นว่า กสทช.ลงมติทำงานด้วยเสียงข้างมาก และมีการประเมินว่าภาคประชาชนทำอะไรไม่ได้ ไม่มีพลัง ดังนั้น การหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในจาก กสทช.เสียงข้างน้อยจึงทำได้ยากหากภาคประชาชนไม่ร่วมกันกดดัน ซึ่งที่ผ่านมา กสทช.ที่เป็นตัวแทนของภาคประชาชนค่อนข้างเหนื่อยมาก และทำอะไรได้จำกัด จึงต้องมีการรวมพลังของภาคประชาชนให้มากขึ้นและจัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม "เวลา 2 ปี นำมาสู่ความไม่เชื่อมั่นว่า กสทช.จะนำไปสู่การทำงานปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง และแสดงให้เห็นว่าองค์กรอิสระควรมีสังคมตรวจสอบ อีกทั้งยังสะท้อนว่าเราไว้วางใจองค์กรอิสระมากเกินไป" วิชาญกล่าว ผู้บริโภคระบุ 2 ปี กสทช.ทำตัวเป็นนายหน้าให้ภาคธุรกิจ บุญยืน ศิริธรรม ประธานสมาพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า เจตนารมณ์ของการมี กสทช.คือเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ และกำหนดกติกาให้เกิดความเป็นธรรม แต่การทำงาน 2 ปีที่ผ่านมากลับทำตัวเป็นนายหน้าให้ภาคธุรกิจมากกว่าทำหน้าที่ในการกำกับให้เกิดความเป็นธรรม โดยในด้านโทรคมนาคม กสทช.ทำเรื่องประมูลคลื่น 3G อย่างเร่งรีบ หากใครคัดค้านก็ถูกกล่าวหาว่าขัดขวางความเจริญของประเทศ ต่อมา ในปี 2556 กสทช.ประกาศให้เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค หลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม กสทช.ยังให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิผ่านกฎของตนเองเป็นหลัก โดยละเลยการคุ้มครองสิทธิที่กฎหมายอื่นๆ มี เช่น สิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค 2552 ทำให้เกิดปัญหาซึ่งผู้บริโภคต้องลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวเรียกร้องหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา ยกตัวอย่าง สายด่วนร้องเรียนของ กสทช. หมายเลข 1200 ไม่สามารถใช้การได้จริง เพราะหากจะร้องเรียนก็บังคับให้ต้องพาตัวเองไปเซ็นชื่ออยู่ดี มีประกาศไม่บังคับใช้กรณีการตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ให้มีการทำประชาคมก่อน นอกจากนี้ กสทช.เคยออกประกาศกำหนดอัตราขั้นสูงค่าโทร 3G ไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ แต่ในความเป็นจริงผู้บริโภคถูกบังคับให้ใช้ตามโปรโมชั่น ซึ่งต้องเสียเงินก่อนอีกหลายร้อยบาท ไม่มีการบอกความจริงเรื่องโครงสร้างราคา ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามประกาศกำหนดให้แก้ไขภายใน 30 วัน แต่บางเรื่องร้องมาตั้งแต่ปี 53 ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ การแก้ปัญหา กสทช.ต้องให้ความเป็นธรรม ไม่ทำตัวเป็นนายไปรษณีย์ หรือเป็นตัวแทนบริษัทคอยสกัดเรื่องร้องเรียน บุญยืน กล่าวด้วยว่า เป็นเรื่องวิปโยคแน่ถ้าหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคอย่าง กสทช.ให้ความสำคัญกับการไปดูงานต่างประเทศมากกว่าการแก้ปัญหาและการให้ข้อมูลกับผู้บริโภค อีกทั้ง กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการต่างๆ ตามที่ผู้ประกอบการเสนอ และสนับสนุนกลุ่มองค์กรที่มีเป้าหมายเพียงปกป้อง กสทช. รวมทั้ง ข่มขู่คุกคามกระบวนการตรวจสอบของภาคส่วนต่างๆ ในด้านการแพร่ภาพกระจายเสียง ปัญหาวิทยุ ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีนั้นรอการจัดระเบียบอยู่ แต่ก็ถูกละเลยจึงเกิดกรณี "จอดำ" ขึ้นและมีการฟ้องร้องเป็นคดีความตามมา แต่ กสทช.กลับเร่งปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอล และยังมีการออกประกาศคุกคามความอิสระของสื่อ ทำให้เกิดคำถามว่า องค์กรใดจะมาทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของ กสทช.หากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 70 (ซูเปอร์บอร์ด กสทช.) ไม่ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ บุญยืน กล่าวถึงข้อสงสัยต่อการทำงานของ กสทช.ด้วยว่า พบว่ามีการชะลอกองทุนที่จะส่งเสริมสนับสนุนสื่อที่ดี แต่กลับมีการนำเงินไปบริจาคให้กลุ่มที่สนับสนุน กสทช.ขณะที่ 2 ใน 5 กลุ่มซึ่งยื่นเรื่องฟ้องร้องให้มีการตรวจสอบการทำงานของ กสทช.เสียงข้างน้อยต่อวุฒิสภาคือกลุ่มที่ได้รับเงินบริจาคจาก กสทช.เอง นักวิชาการเผยผลตรวจสอบ 'กลไกความรับผิดรับชอบ' ของ กสทช. วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะทำงานติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) กล่าวถึง การตรวจสอบการจัดทำนโยบายและกลไกความรับผิดรับชอบตามกฎหมายของ กสทช.ในฐานะองค์กรอิสระที่ใช้งบประมาณปีละกว่า 3,000 ล้านบาทว่า ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ กสทช.ทำหน้าที่ได้น่าผิดหวัง เพราะไม่มีการเปิดเผยผลการลงมติและความเห็นของกรรมการในรายงานการประชุม ภายใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยมติล่าสุดที่มีการเปิดเผยคือรายงานการประชุมเดือนมิถุนายน และไม่มีการชี้แจงว่าใครโหวตอย่างไร วรพจน์ กล่าวด้วยว่า นโยบายหลายอย่างของ กสทช.เกิดจากการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาให้ข้อคิดเห็น โดยเมื่อปี 2555 ใช้เบี้ยประชุมอนุกรรมการกว่า 50 ล้านบาท แต่ กสทช.ไม่เปิดเผยกลไกการออกแบบนโยบายของคณะอนุกรรมการต่างๆ ต่อสาธารณะ ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าการออกแบบนโยบายต่างๆ นั้นมีการนำไปใช้หรือไม่อย่างไร อีกทั้ง ยังไม่เปิดเผยงานวิจัยที่ให้องค์กรภายนอกศึกษา ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าชุดนโยบายต่างๆ ตัดสินใจจากฐานองค์ความรู้อะไรหรือไม่ และไม่เคยเผยแพร่ผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของกลุ่มผู้บริโภค นอกจากนั้น ในส่วนคณะกรรมการกองทุน มีการกำหนดให้เปิดเผยการจัดสรรเงินกองทุน โดยชี้แจงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ กสทช. ซึ่งกองทุนนี้เป็นกลไกสำคัญของสื่อชุมชนที่จะนำมาใช้ แต่หากกระบวนการไม่โปร่งใส อาจทำให้ไม่ถูกนำไปใช้สนับสนุนกิจการเพื่อชุมชน ส่วนเรื่องการจัดทำนโยบายซึ่งทำโดยคณะอนุกรรมการ วรพจน์กล่าวถึงปัญหาที่พบคือ อนุกรรมการมาจากโควตาการสรรหาไม่ใช่ระบบคุณสมบัติ จึงพบว่าอนุกรรมการในหลายคณะมาจากบุคคลใกล้ชิดของ กสทช.หรือเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายเดิม มากกว่าจากภาคประชาชน แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการฟังเสียงจากภาคธุรกิจมากกว่าเสียงของภาคประชาชน อีกทั้ง ในขณะที่ประชาชนพยายามไปพบกับ กสทช.แต่ไม่มีใครออกมาคุยด้วย กสทช.กลับเชิญภาคธุรกิจมาพบ หรือเดินสายไปพบ และเคยถึงกับจัดอบรมให้กับภาคเอกชนที่ทำโทรทัศน์ด้วยซ้ำ ทั้งที่จริงๆ ควรเอางบส่วนนี้ไปใช้เพื่อการเข้าถึงคนที่มีทรัพยากรน้อยในการส่งเสียง วรพจน์ กล่าวต่อมาถึงการรับฟังความคิดเห็นว่า ควรต้องมีการรับฟังความเห็นเชิงรุกในการจัดทำนโยบาย ก่อนที่จะประกาศนโยบายที่เป็นทางการมากๆ ซึ่งยากต้องการทำความเข้าใจ โดยมีวิธีการที่เปิดให้สาธารณชนเข้ามาร่วมอย่างแท้จริง มีการอธิบายที่เข้าใจง่าย แต่ที่ผ่านมา กสทช.มักมีการปรับนโยบายตามความคิดเห็นของภาคธุรกิจมากกว่า ตั้งข้อสังเกตงบประมาณปี 2555 กสทช.เงินอู้ฟู่ สำหรับงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้าง วรพจน์ ให้ข้อมูลว่า เมื่อปี 2555 กสทช.ใช้งบประมาณไปว่า 3,400 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 ส่วน โดยนอกจากในส่วนงบประมาณรายจ่ายของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. และเงินจัดสรรเข้ากองทุนแล้ว ส่วนที่ต้องมีการตรวจสอบคือ ค่าภาระต่างๆ ที่จำเป็น 904 ล้านบาท และงบกลางกรณีฉุกเฉินและจำเป็น 80 ล้านบาท อีกทั้ง ยังพบว่ามีเงินบริจาคเพื่อการกุศลกว่า 200 ล้านบาท และงบประมาณไปดูงานต่างประเทศ 207 ล้านบาท เฉลี่ย กสทช. 9 คนใช้งบดูงานต่างประเทศคนละ 20 ล้านบาท ตรงนี้ กสทช.ต้องอธิบายต่อสังคมให้ได้ และองค์กรอย่าง สตง.ต้องลงมาทำการตรวจสอบ นอกจากนั้น ในส่วนค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ของ กสทช.พบว่า ปี 2555 ใช้งบ 114 ล้านบาท วรพจน์ ตั้งคำถามว่าองค์กรกำกับดูแลสื่อที่พูดเรื่องการนำเสนอข้อมูลให้รอบด้าน แต่กลับใช้เงินจำนวนมากในการสนับสนุนสื่อในการทำงานด้านเดียว เอาตัวเองไปขึ้นปกนิตยสาร ไม่เคยยอมออกรายการร่วมกันคนที่เห็นต่างนั้นยังมีความชอบธรรมในการเป็นองค์กรกำกับดูแลสื่ออยู่หรือไม่ วรพจน์ กล่าด้วยว่า กสทช.ที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถสร้างความไว้วางใจให้กับสังคมได้ ต้อมีการปรับปรุงกลไกเหล่านี้ แต่ในส่วนของภาคประชาสังคมคงรอไม่ได้ ต้องมีการต่อสู้เรียกร้อง และส่วนตัวพร้อมร่วมสร้างองค์ความรู้ในอีกด้านหนึ่ง หนุนข้อเสนอรวมตัวสร้างความเข้มแข็งสื่อภาคประชาชน ด้านสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า การทำงาน 2 ปีที่ผ่านมาของ กสทช.ทำให้ประเทศเสียประโยชน์ โดยในส่วน กสทช.เสียงข้างน้อยก็ออกมาพูดเองหลายครั้ง และวุฒิสภาก็มีการตั้งกรรมการตรวจสอบว่าอาจมีการดำเนินงานที่อาจหมิ่นเหม่สร้างความเสียหาย ยกตัวอย่าง การประมูลคลื่น 3G 15 ปี ราว 40,000 ล้านบาท ขณะที่เมื่อเทียบตัวเลขแล้วบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ส่งรายได้เข้ารัฐปีละราว 15,000 ล้านบาทต่อปี คำนวณแล้วเป็นรายได้ที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนความเคลื่อนไหวของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 องค์กร ซึ่งรวมทั้ง สหภาพ บริษัท กสท.โทรคมนาคม สหภาพ ทีโอที และสหภาพแรงงานสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ในการยื่นถอดถอน กสทช.ทั้งคณะ รวม 11 คนต่อวุฒิสภา เนื่องจากเห็นว่ามีการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ และเอื้อเอกชนมากเกินไป หลังมีการออกกฎระเบียบประมูทีวีดิจิตอลและจัดสรรคลื่นโทรคมนาคมซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้น สาวิทย์กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบรายชื่อ 20,000 ชื่อ คาดว่าจะยื่นได้ไม่เกินวันที่ 10 ก.พ.57 ทั้งนี้ เรื่องสื่อที่เป็นห่วงที่สุดคื สาวิทย์ กล่าวถึงข้อเสนอด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือประชาชนต้ นอกจากนี้ รัฐบาลไม่อาจปฏิ ส่วนปฏิวัติ วสิกชาติ กรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
Posted: 01 Oct 2013 12:24 PM PDT แม้ว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ.... สภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเสร็จสิ้นมาตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2556 และจัดส่งรายงานการพิจารณาให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมาแล้วก็ตาม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาในวาระ 3 ในสภาผู้แทนราษฎร และส่งเรื่องต่อให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ตามการประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. 2556 จะเปิดการประชุมอีกครั้งในปลายเดือนธันวาคม 2556 หรือในอีก 3 เดือนข้างหน้าต่อจากนี้ ถึงจะมีการลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการวิสามัญฯชุดนี้ ถ้ายังจำกันได้ย้อนไปเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2556 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติไม่รับหลักการร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่เสนอโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และคณะ (ฉบับ 14,264 รายชื่อ) กับฉบับที่เสนอโดยนายนคร มาฉิม และคณะ และได้รับหลักการเฉพาะร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี กับร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่เสนอโดยนายเรวัติ อารีรอบและคณะ เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ....ขึ้นมาคณะหนึ่ง รวม 31 คน คณะกรรมาธิการฯชุดนี้ได้มีการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมรวม 8 ครั้ง คือ วันที่ 1, 22, 29 เมษายน 7, 20, 27 พฤษภาคม 3, 10 มิถุนายน 2556 จากการแลกเปลี่ยนกับนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) หนึ่งในคณะกรรมาธิการฯเสียงข้างน้อย พบว่า การประชุมทั้ง 8 ครั้งที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญรวม 10 ประเด็น ที่เห็นควรตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ ดังนี้ (1) องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการประกันสังคม ในพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ระบุว่าคณะกรรมการประกันสังคม มาจากภาครัฐ (ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน, ผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข, ผู้แทนสำนักงบประมาณ) นายจ้าง และลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน และสามารถตั้งที่ปรึกษาได้อีก 5 คน มีเลขาธิการเป็นข้าราชการ แต่ในร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ มาจากภาครัฐ (รัฐมนตรีเป็นประธาน, ปลัดกระทรวงแรงงาน, ผู้แทนกระทรวงการคลัง, ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย, ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข, ผู้แทนสำนักงบประมาณ) นายจ้าง และลูกจ้าง (ที่มาจากการเลือกตั้ง) ฝ่ายละ 7 คน และสามารถตั้งที่ปรึกษาได้อีก 7 คน มีเลขาธิการเป็นข้าราชการ โดยมีความแตกต่างจากร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับ 14,264 รายชื่อ ที่ระบุชัดเจนว่าทั้งประธานกรรมการ เลขาธิการ และผู้ทรงวุฒิต้องมาจากการสรรหาจากผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัติ และประสบการณ์เหมาะสมด้านงานประกันสังคมเป็นสำคัญ ดังนั้นจากร่างกฎหมายฉบับที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯจึงเป็นภาพสะท้อนสำคัญว่า (1.1) การให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมาเป็นประธานกองทุน กล่าวได้ว่า เป็นการรื้อโครงสร้างของคณะกรรมการกองทุนประกันสังคม ที่เอื้อให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีอำนาจบริหารจัดการในกองทุนประกันสังคมแบบเบ็ดเสร็จ การบริหารจัดการทุกอย่างที่จะขึ้นตรงกับฝ่ายการเมือง ทำให้ไม่มีการถ่วงดุล ไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีความโปร่งใส และอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนหรือผลประโยชน์ขัดกัน เนื่องจากหลักการบริหารราชการแผ่นดินจะมีการแบ่งแยกฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติออกจากกันอย่างชัดเจน (1.2) เมื่อประธาน เลขาธิการ และคณะกรรมการยังคงเป็นตัวแทนส่วนมากที่มาจากภาครัฐ และฝ่ายการเมือง โอกาสที่จะรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกันตนก็จะมีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะตัวแทนคณะกรรมการกลุ่มนี้จะมีความโน้มเอียงไปกับความคิดของกระทรวงแรงงานมากกว่าการแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมานั่งเป็นประธานกองทุนโดยตรง ยิ่งมีความเกรงใจมากยิ่งขึ้นในเชิงอำนาจการบริหารงาน (1.3) การกำหนดให้หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ยิ่งสะท้อนว่าเป็นการให้อำนาจรัฐมนตรีในการออกระเบียบหลักเกณฑ์ที่อาจมีความไม่โปร่งใส เอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลและพวกพ้องตนเอง และยิ่งอาจจะทำให้ได้ผู้ที่ขาดความรู้ความสามารถดั่งที่ปรากฏในปัจจุบัน ที่กรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างยังเป็นคนเดิมๆ โดยเฉพาะฝ่ายลูกจ้างที่มาจากคนของตัวแทนผู้ประกันตนบางกลุ่มเพียงเท่านั้น ทำให้ผู้ประกันตนในฐานะผู้ออกเงินสมทบและเปรียบเสมือนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในกองทุนประกันสังคม กลับไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย หรือบริหารกองทุนฯ เพื่อมีส่วนในการบริหารเพื่อรักษาผลประโยชน์ที่สมควรจะได้รับ (2) สำนักงานประกันสังคมยังเป็นหน่วยงานราชการ เทียบเท่าระดับกรม สังกัดกระทรวงแรงงาน และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงทำให้สามารถถูกแทรกแซง อีกทั้งยังขาดประสิทธิภาพ ขาดบุคลากรที่มีความสามารถที่เพียงพอ ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากฝ่ายผู้ประกันตนในการดำเนินงานและการตรวจสอบ และยังขาดความโปร่งใสด้านข้อมูล ในขณะที่ต้องดูแลผลประโยชน์ของแรงงานจำนวนมากและต้องบริหารจัดการกองทุนขนาดใหญ่ แม้คณะกรรมการประกันสังคมจะมีมติดำเนินการในเรื่องใดๆ แต่เมื่อระบบราชการมีระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งที่กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่มากมาย ส่งผลให้การปฏิบัติงานนั้นล่าช้า การมีระเบียบข้อบังคับจำนวนมากนี้ได้สร้างความเคยชินกับข้าราชการว่าต้องเน้นความถูกต้องตามระเบียบมากกว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ถ้ามาพิจารณาในร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ 14,264 รายชื่อ จะพบว่าในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้สำนักงานประกันสังคม มีฐานะนิติบุคคล สังกัดกระทรวงแรงงาน โดยเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ อยู่ในกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี รวมทั้งยังมีการแก้ไของค์ประกอบ กระบวนการได้มา คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการประกันสังคม เพื่อเป็นหลักประกันความโปร่งใส ตรวจสอบชัดเจนได้ถึงความรู้ความสามารถ ความสุจริตเชื่อถือได้ทั้งไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และไม่มีส่วนได้เสียกับกิจการที่กระทำกับสำนักงาน อีกทั้งยังให้ผู้ประกันตนได้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของกรรมการประกันสังคมโดยตรง โดยผู้ประกันตนไม่น้อยกว่า 1,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอข้อมูลแก่คณะกรรมการประกันสังคมเพื่อพิจารณาให้กรรมการคนใดคนหนึ่งออกจากตำแหน่งได้ (3) ไม่มีการกำหนดเรื่องคณะกรรมการการลงทุน เพื่อเข้ามาทำหน้าที่แบบมืออาชีพในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน ทั้งๆที่การบริหารกองทุนต้องการมืออาชีพที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อกองทุนประกันสังคมในภาพรวม มีการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและตลาดการทุน รวมทั้งในกรณีของคณะกรรมการตรวจสอบเช่นเดียวกันก็ไม่มีการระบุในเรื่องนี้ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของสำนักงานในเรื่องการจัดทำรายการเงิน-บัญชีอย่างถูกต้องและเปิดเผย เพื่อเป็นหลักประกันว่าการบริหารและการดำเนินงานต่างๆจะเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งแตกต่างจากร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ 14,264 รายชื่อ ที่มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการประกันสังคมแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารใช้จ่ายเงิน จัดหาผลประโยชน์กองทุนประกันสังคมให้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใสได้มาตรฐานและ เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (4) ไม่มีการกำหนดให้กองทุนประกันสังคมเป็นนิติบุคคล ดังนั้นจึงทำให้ทรัพย์สินของกองทุนจึงกลายเป็นทรัพย์สินของรัฐไปโดยปริยาย ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วเงินในกองทุนส่วนใหญ่เป็นของผู้ประกันตนและนายจ้าง เพราะรัฐจ่ายเงินสมทบน้อยเพียงร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างเท่านั้น ที่เหลือมาจากเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างร้อยละ 5 ทั้ง 2 ฝ่ายตามลำดับ รวมสามฝ่ายเท่ากับร้อยละ 12.75 นั้นแปลว่าถ้ามีเงินในกองทุน 100 บาท จะเป็นส่วนที่มาจากนายจ้างและลูกจ้าง 78 บาท และจากรัฐผ่านเงินภาษีประชาชนอีก 22 บาท เท่านั้น แต่รัฐกลับมีอำนาจควบคุมดูแลเบ็ดเสร็จโดยขาดการมีส่วนร่วมของนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นเจ้าของเงินอย่างแท้จริง (5) ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ไม่มีการระบุเรื่องค่าตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งๆที่สุขภาพเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน สุขภาพได้รับการยอมรับให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่รัฐมีหน้าที่ดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพให้แก่ประชาชน 6 ประการ คือ (1) ไม่เจ็บป่วยหากไม่จำเป็นต้องป่วย (2) หากเจ็บป่วยต้องได้รับการรักษาตามความจำเป็น (3) ไม่พิการหากไม่จำเป็นต้องพิการ (4) หากต้องพิการก็ให้พิการน้อยที่สุด (5) เมื่อพิการต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และ (6) ไม่เสียชีวิตหากไม่จำเป็นต้องเสียชีวิต อีกทั้งการตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจสอบสภาพร่างกาย เพื่อให้ทราบว่ามีสุขภาพดีหรือบกพร่อง เป็นวิธีการค้นหาโรคและความผิดปกติ ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในร่างการที่ดูเสมือนแข็งแรง สบายดี เป็นมาตรการในการป้องกันโรคในระยะเริ่มแรกมิให้ลุกลามมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพให้แก่ประชาชน การตรวจสุขภาพเป็นวิธีการที่ถูกต้องกว่าการคอยให้การบำบัดรักษาเมื่อมีอาการของโรคปรากฏขึ้น การตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญมากสำหรับแรงงาน และยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ได้แก่ (1) แรงงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีมลพิษสูง เช่น ทำงานในโรงงานสารเคมี ทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นมาก หรือกับวัตถุอันตราย (2) แรงงานที่อยู่ในสภาพที่เครียดบ่อย ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่กดดัน (3) แรงงานที่อายุเกิน 35 ปี ร่างกายจะอ่อนแอลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้น (6) ผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานหญิงจะใช้สิทธิประโยชน์ทดแทนคลอดบุตรได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดเดือน และสามารถใช้สิทธิได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ทั้งๆที่โดยข้อเท็จจริงแล้วผู้ประกันตนต้องมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรตั้งแต่วันที่เป็นผู้ประกันตน และควรมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรทุกครั้ง เนื่องจาก "เด็ก" จะกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญในอนาคตของประเทศชาติ ดังนั้นคนเป็น "แม่" จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่ตั้งครรภ์ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการสมทบเงิน เป็นการช่วยให้เกิดการดูแลสุขภาพก่อนคลอดอย่างเต็มที่ อีกทั้งเป็นการลดความเสี่ยงในการคลอดที่ไม่ปกติ หรืออาจเกิดผลแทรกซ้อนในระหว่างคลอด อันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกที่มาส่งผลกระทบในระหว่างการทำงาน เช่น ระยะทางระหว่างโรงพยาบาลกับสถานที่ทำงานอยู่ห่างไกลมาก หรือชั่วโมงการทำงานของแรงงานในสถานประกอบการยาวนานจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงการที่เสนอให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรทุกครั้ง เนื่องจากเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของแรงงาน เพราะแรงงานต้องรับภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มขึ้นอยู่แล้วจากการมีบุตรเพิ่มขึ้น อาจมีผู้ท้วงติงว่ายิ่งเป็นการส่งเสริมให้แรงงานมีบุตรมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ด้วยสภาพการจ้างงานและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ได้เปิดโอกาสให้แรงงานหญิงสามารถมีบุตรได้จำนวนมากเหมือนในสมัยก่อนอย่างแน่นอน (7) ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ ในข้อนี้โดยข้อเท็จจริงแล้วควรมีการขยายอายุบุตรไปจนถึงอายุ 20 ปี เนื่องจากเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพแรงงาน โดยเฉพาะการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่จะเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละระดับชั้น โดยเฉพาะในช่วงระดับปริญญาตรี (8) ผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่ปรากฏสัญชาติจากประเทศต้นทางและมีนายจ้างผู้ได้รับอนุญาตให้จ้างงาน ซึ่งเป็นผู้ประกันในมาตรา 33 มาตราเดียวกับกลุ่มแรงงานในระบบ อย่างไรก็ตามพบว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และทำงานระดับล่าง ยังมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว เพราะขาดกลไกในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับการเป็นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ยังไม่ได้ระบุถึงกลไกการเข้าถึงดังกล่าว ซึ่งไม่ควรใช้เพียงช่องทางเดียวกับกลุ่มแรงงานในระบบหรือกลุ่มแรงงานชาวต่างประเทศที่เป็นแรงงานมีฝีมือเพียงเท่านั้น (9) ยังไม่มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยได้ทันที เมื่อเป็นลูกจ้างในทุกสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาในความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม โดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง เพราะในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังกำหนดให้ผู้ประกันตนสำรองเงินจ่ายไปก่อน และค่อยนำมาเบิกในภายหลัง อีกทั้งอัตราเงินทดแทนการขาดรายได้ที่ผู้ประกันตนจะได้รับมากหรือน้อยนั้นควรจักต้องให้ขึ้นกับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเป็นสำคัญมากกว่าการระบุอัตราเดียวกันทุกคน (10) ยังไม่มีการแก้ไขอัตราการจ่ายเงินสมทบตามมาตรา 39 และมาตรา 40 โดยรัฐจักต้องสมทบไม่น้อยกว่าอัตราเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันสมทบ และต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น เพราะรัฐยังคงมองว่าถ้าตนเองจ่ายเงินมากกว่าผู้ประกันตนจะเป็นภาระการคลังให้กับรัฐบาลในระยะยาว ทั้งที่ปัจจุบันโดยข้อเท็จจริงแล้วรัฐบาลจ่ายสมทบให้แก่แรงงานในระบบ 2.75% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าจ่ายให้แรงงานนอกระบบหลายเท่าตัว อีกทั้งในร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯได้มีการระบุชัดเจนว่า รัฐบาลจะจ่ายสมทบไม่เกินเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่าย ดังนั้นจึงทำให้ลูกจ้างที่ไม่มีนายจ้างก็ต้องรับภาระนี้เองทั้งหมด ซึ่งถ้ามองในแง่ความทั่วถึงและความเป็นธรรม ก็พบความไม่เป็นธรรมอย่างชัดเจน เพราะแท้จริงแล้วแรงงานนอกในระบบในแง่สัดส่วนรายได้เป็นกลุ่มที่รายได้น้อยกว่ากลุ่มแรงงานในระบบ และรัฐบาลจะต้องอุดหนุนมากกว่า จากสถานการณ์ดังที่กล่าวมาทั้งหมด จำเป็นที่พี่น้องแรงงานต้องจับตาดูการทำหน้าที่ของวุฒิสภาในขั้นตอนการพิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติต่อไป ว่าจะมีการนำ 10 ประเด็นนี้มากล่าวถึงหรือไม่ เพราะการเกิดขึ้นมาของ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ 14,264 รายชื่อนั้น เป็นภาพสะท้อนสำคัญของเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 163 นั้นเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา กลับไปคุยหลังม่านเป็นไปได้ยาก Posted: 01 Oct 2013 11:27 AM PDT สัมภาษณ์ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ หนึ่งในผู้เขียน PreahVihear: A Guide to the Thai-Cambodian Conflict and Its Solutions เมื่อ 30 ก.ย. 56 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ปกหนังสือ PreahVihear: A Guide to the Thai-Cambodian Conflict and Its Solutions โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และ ภู โสธิรักษ์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ White Lotus เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT มีการเสวนาและการเปิดตัวหนังสือ PreahVihear: A Guide to the Thai-Cambodian Conflict and Its Solutions (พระวิหาร: คู่มือทำความเข้าใจความขัดแย้งไทยกัมพูชา และทางออก) ซึ่งเป็นหนังสือที่เริ่มเขียนมาตั้งแต่ปี 2553 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต (CSEAS) และ ภู โสธิรักษ์ (Pou Sothirak) อดีตเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศญี่ปุ่น และอดีตผู้อำนวยการสถาบันกัมพูชาเพื่อสันติภาพและความร่วมมือ (CICP) ผู้เขียนหนังสือทั้งสามได้มาร่วมเสวนาในการเปิดตัวหนังสือดังกล่าว 000 ภายหลังการเสวนา ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ว่า หนังสือเล่มนี้ถ้าแปลเป็นไทยก็คือเป็น "คู่มือแนะนำในการเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างไทย-กัมพูชา" และเสนอทางแก้ไขปัญหา โดยในส่วนที่เป็นบทการแก้ไขปัญหานั้น ท่านทูตกัมพูชา ภู โสธิรักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียนด้วย โดยได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาในหลายระดับ ตั้งแต่ในระดับของทวิภาคี ซึ่งไทยและกัมพูชายังมีกลไกที่ใช้ได้อยู่ และกลไกนี้สามารถใช้เป็นเวทีให้ทั้งสองฝ่ายคุยกันในหลายๆ ระดับต่างกันไป เช่น Joint Border Committee คณะกรรมการร่วมชายแดน 2 ประเทศ หรือ General Joint Committee ที่เป็นคณะกรรมการกว้างๆ ที่ดูแลหลายๆ เรื่อง รวมถึงเรื่องเขตแดน "นี่เป็นจุดหนึ่งที่ผมเห็นว่าสามารถทำได้ โดยเฉพาะเมื่อเราคำนึงถึงบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในขณะนี้ ซึ่งเปิดกว้างมากขึ้น สองรัฐบาลคุยกันมากขึ้น มันก็อาจมีความเป็นไปได้" "อีกจุดหนึ่ง เป็นการแก้ไขปัญหา โดยผ่านกลไกทางด้านภูมิภาค นั่นก็คือการพึ่งสมาคมอาเซียน ที่ต้องเป็นอาเซียนเพราะทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกอาเซียน และอย่างที่ผมย้ำในวันนี้คืออาเซียนมีกลไกในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก เมื่อเรากลับไปดูเอกสารที่อาเซียนเคยลงนามร่วมกันตั้งแต่ก่อตั้งอาเซียนจนถึงล่าสุดมีการใช้กฎบัตรอาเซียน ในทุกเอกสารมีการพูดถึงการแก้ไขปัญหาทวิภาคี ซึ่งถ้าสองฝ่ายร่วมใจกันและยังเห็นความสำคัญของอาเซียน ตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาได้" "อีกอันหนึ่งที่ท่านทูตกัมพูชา เสนอไว้คือ การพึ่งองค์การระหว่างประเทศ ผมเห็นว่าอาจไม่ได้ผลส่วนหนึ่ง เพราะการหันไปพึ่งองค์การระหว่างประเทศในระดับโลก มันชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของกลไกในภูมิภาคที่เรามีอยู่ คิดว่าไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสม คิดว่าถึงที่สุดแล้วความเป็นไปได้อยู่ที่ทวิภาคีและในกรอบของภูมิภาคคืออาเซียน" อ.ปวินกล่าว ต่อคำถามที่ว่า "ข้อเสนอในเรื่องการจัดการพื้นที่พิพาทร่วมกัน ในความเป็นจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขใด?" นั้น อ.ปวิน กล่าวว่า "ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีเขาพระวิหารที่เลยเถิดบานปลายถึงขั้นที่เรียกว่าสงครามก็ว่าได้นี้ กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า "Set Standards" คือตั้งมาตรฐานในแง่ที่ลบมากๆ หมายความว่า ต่อไปนี้ข้อพิพาทที่มีต่อกัมพูชาโดยเฉพาะในเรื่องชายแดนต้องถูกเอามาวิเคราะห์ ถกเถียงกันในพื้นที่สาธารณะ ทำให้ "Room of Manoeuvre" หมายถึงว่า ช่องทางที่จะมีการแก้ไขปัญหา Behind the scence ลดน้อยลง หมายความว่า ปัจจัยเรื่องเกี่ยวกับความยืดหยุ่นมันลดน้อยลง เพราะว่ามันกลายเป็นประเด็นสาธารณะแล้ว ทุกฝ่ายโดยเฉพาะสาธารณชนจับตามองอย่างยิ่งว่าจะแก้ไขอย่างไร เพราะฉะนั้นผมถือว่าเป็นการเซ็ทมาตรฐานที่แย่มากๆ" "ในความเป็นจริง ถ้าจะจัดการพื้นที่ร่วมกันนั้น อ.ปวิน เห็นว่า "เรื่องนี้ต้องกลับไปคุยกันนอกรอบอีก กลับไปคุยโดยที่ไม่เอามาพูดในสื่อมากนัก เพราะจะเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายมีการโต้เถียงต่อรองกัน ซึ่งถ้าพูดตามความเป็นจริงคงเกิดลำบาก เพราะว่าประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นที่ทุกคนรู้กันหมดแล้ว และผมไม่แน่ใจว่า เราไม่ใช่มีข้อพิพาทกับกัมพูชาเพียงแค่กรณีเขาพระวิหารอย่างเดียว เรายังมีความขัดแย้งในเรื่องเกี่ยวกับวัดต่างๆ ที่อยู่ในแนวพรมแดน ผมกังวลใจว่าถ้าหากว่าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาแบบเงียบๆ ต้องเปิดออกมาในที่สาธารณะ มันยิ่งทำให้ปัญหาต่างๆ เกิดความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น" "ถ้าจะตอบปัญหาข้อนี้ก็คือ ในความเป็นจริงแล้วคงเป็นไปได้ลำบากที่จะกลับไปคุยกันแบบเดิม คือแบบที่มีการเจรจาหลังม่าน ผมคิดว่าคงเป็นไปได้ยาก" 000 สำหรับหนังสือ PreahVihear: A Guide to the Thai-Cambodian Conflict and Its Solutions นอกจากการเปิดตัวที่ FCCT ในกรุงเทพฯ แล้ว เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 56 ที่ผ่านมา ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ก็มีการเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ที่ สถาบันกัมพูชาเพื่อสันติภาพและความร่วมมือ (CICP) ซึ่งสถาบันดังกล่าวมีเจ้านโรดมศิริวุฒิ พระเจ้าอาของสมเด็จนโรดม สีหมุนี กษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน เป็นประธานเช่นกัน นอกจากนี้จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับตัวหนังสือเล่มนี้อีกครั้งในการเสวนาหัวข้อ "นับถอยหลัง วันเปิดคำพิพากษา "คดีเขาพระวิหาร" ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 3 ต.ค. 56 (ดูกำหนดการ) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าฤดูหนาวปีนี้จะมาเร็ว Posted: 01 Oct 2013 09:15 AM PDT กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย 2556-2557 ระบุว่าฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมนี้ ตอนบนของประเทศจะมีอากาศหนาวเย็นกว่าปีที่แล้ว กทม. อากาศเย็นบางวันสลับฝน ภาคใต้เป็นช่วงมรสุม ทั้งนี้อากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศทั่วไปวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่มาของภาพ: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ออกประกาศ "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2556 - 2557" ลงประกาศวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 โดยมีรายละเอียดของประกาศดังนี้ 000 การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ประมาณกลางเดือนตุลาคม 2556 ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ฤดูหนาวปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม 2556 ลักษณะอากาศโดยทั่วไปจะไม่หนาวเย็นมากนัก โดยจะมีอากาศหนาวในบางช่วง และช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดจะอยู่ในช่วงกลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม สำหรับบริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง และตะวันออก) จะมีอากาศหนาวเย็นกว่าปีที่แล้ว แต่จะสูงกว่าค่าปกติ สำหรับภาคใต้จะมีอากาศเย็นส่วนมากทางตอนบนของภาค และในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมกราคมจะมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้บางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ โดยในบางช่วงจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนในทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
ลักษณะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบน ช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ โดยจะมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงในบางช่วงแต่ยังไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองและอาจเกิดลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ในระยะแรกที่บริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุม จากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป และมีอากาศหนาวบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกจะเริ่มมีอากาศเย็นในหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค สำหรับช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยจะมีกำลังแรงและต่อเนื่องมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิลดลงมากส่งผลให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวเย็นทั่วไป และจะมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ในบางวัน ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป และมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบางวัน สำหรับบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้งบริเวณเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับจะมีน้ำาค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบางช่วง จากนั้นในช่วงครึ่งแรกของเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลงและไม่ต่อเนื่อง ทำให้เริ่มมีอากาศอุ่นขึ้น และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่สำหรับบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ฤดูหนาวปีนี้ คาดว่า จะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ภาคใต้ ในช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนมกราคม มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะน าความชื้นจากอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมมรสุมจะมีกำลังแรงเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับจะมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบน ตอนกลาง และภาคใต้ตอนล่าง ตามล าดับ ลักษณะดังกล่าวจะท าให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จากนั้นในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มจะมีกำลังอ่อนลง และเริ่มจะมีลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ซึ่งจะท าให้ปริมาณและการกระจายของฝนในภาคใต้เริ่มลดลง และเป็นการสิ้นสุดฤดูฝนของภาคใต้
รายละเอียดตามภาคต่างๆ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป และมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบางวัน ส่วนมากทางตอนบนของภาคกับมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีฝนบางพื้นที่ถึงเป็นแห่งๆ (20-30% ของพื้นที่) ในบางช่วง จากนั้นในช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม จะมีอากาศหนาวเย็นทั่วไป และมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ในบางวัน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน น่านและตาก กับจะมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในบางช่วง สำหรับบริเวณยอดดอย ยอดภูรวมทั้งบริเวณเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และอาจเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ในบางวัน ส่วนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าโดยเฉพาะตอนบนของภาค กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่และอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นทำให้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ภาคกลางและภาคตะวันออก ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย (30-50% ของพื้นที่) และเริ่มจะมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค กับมีหมอกในตอนเช้าจากนั้นในช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป และมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบางวัน โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาของจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้วและจันทบุรีกับจะมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในบางช่วง ส่วนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทางตอนบนของภาคและบริเวณเทือกเขายังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ และอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นทำให้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม จะมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรง โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจะมีฝนตกเกือบทั่วไป (70-80% ของพื้นที่) กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่ จากนั้นในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง แต่ทางตอนล่างของภาคยังคงจะมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย (30-50% ของพื้นที่) และมีฝนหนักได้เป็นบางวัน ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนตกชุก โดยจะมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป (50-70% ของพื้นที่) รวมทั้งคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรง จากนั้นตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย (30-50% ของพื้นที่) และจะมีอากาศเย็นในบางวัน กับมีหมอกในตอนเช้า จากนั้นในช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคมจะมีอากาศเย็นเป็นระยะๆ ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและจะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
2 กสทช.ข้างน้อย มึน 5 องค์กรเดินสายร้อง กมธ.วุฒิฯ กรณีโหวตไม่รับประกาศป้องซิมดับ Posted: 01 Oct 2013 09:06 AM PDT (1 ต.ค.56) เวลา 10.00น. ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารรัฐสภา 2 ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายคุ้มครองผู้บริโภค เข้าชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริง ต่อคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา จากกรณี 5 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมโทรคมนาคมเพื่อวิชาชีพและสังคม สมาคมบรอดแบรนด์เพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาสประเทศไทย สมาคมดาวเทียมสื่อสารเพื่อพัฒนาประเทศไทย สมาคมธุรกิจอินเตอร์เน็ตไทย และสมาคมโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร้องเรียน กมธ. ให้ดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ทั้งสอง จากการคัดค้านการออกประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... โดยระบุว่า เป็นการละเลยผู้บริโภค ไม่เคารพมติองค์กร และขาดจริยธรรมในการดำรงไว้ซึ่งเกียรติของ กสทช.
ประวิทย์ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ย้อนไปก่อนหน้านี้ ในการร่างแผนแม่บทของ กสทช. ตนเองได้เสนอให้กำหนดแนวทางเตรียมการรองรับการสิ้นสุดการอนุญาตสัญญาสัมปทาน ลงในยุทธศาสตร์ของแผนแม่บท รวมถึงยังเห็นชอบกับข้อเสนอของสำนักงาน กสทช. ที่ให้เตรียมการประมูลก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และเสนอเพิ่มเติมให้อำนวยความสะดวกผู้บริโภคเรื่องการโอนย้ายเลขหมายและได้เงินคืนในระบบเติมเงิน นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับน.ส.สุภิญญา จัดเวทีสาธารณะเมื่อเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว ก่อนสัญญาจะสิ้นสุด 13 เดือน เพื่อเร่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาสนใจ รวมทั้งได้พยายามขอมติในที่ประชุมให้ส่งอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายเพื่อพิจารณาความชอบด้วยกฎหมาย สุดท้าย กทค.ลงมติไม่ส่ง ประวิทย์ ชี้แจงว่า ดังนั้น ตนเองจึงได้ประสานงานเชิญนักกฎหมายจากที่ต่างๆ มาให้ความเห็นเพื่อใช้ประกอบในการลงมติ ซึ่งที่ประชุมนักกฎหมายก็เห็นว่าดำเนินการไม่ได้ จากนั้นหลังนำร่างประกาศดังกล่าวไปรับฟังความเห็น ก็ได้ประสานงานกับโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีขึ้น ซึ่งนักกฎหมายจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เห็นพ้องต้องกันว่าประกาศฉบับนี้น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงในการชี้แจงของ กทค.ต่อคณะกรรมาธิการชุดนี้ กรรมาธิการบางรายก็เคยมีข้อสังเกตเรื่องปัญหาทางกฎหมาย ดังนั้น ที่ตนเองไม่เห็นด้วยจึงไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ แต่เป็นเรื่องฐานอำนาจทางกฎหมาย ว่าจะดำเนินการโดยชอบได้อย่างไร ประวิทย์ ชี้แจงว่า สิ่งที่เสนอคือ ให้ปรึกษากับที่ปรึกษาด้านกฎหมายไปพร้อมๆ กัน เมื่อได้ความเห็นมาอย่างไร จะได้ปรับตัวทัน แต่ที่ประชุมเลือกที่จะไม่ปรึกษาเลย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่อาจเห็นชอบร่างประกาศนี้ได้ เพราะมีลักษณะที่ทำให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิในการประกอบกิจการได้ใช้คลื่นความถี่ต่อในปัจจุบัน ต่อคำถามของกรรมาธิการว่า สุดท้ายแล้วมีการเสนอเรื่องให้สำนักงานกฤษฎีกาชี้ขาดหรือไม่ ประวิทย์ตอบว่า ไม่มี โดยประกาศดังกล่าวใช้เสียงข้างมากของ กทค. วินิจฉัย ทั้งนี้ ประวิทย์ชี้แจงด้วยว่า การจัดเวทีสาธารณะนั้นได้ทำเป็นประจำ ไม่ได้จัดเรื่องคลื่น 1800 เรื่องเดียว โดยจัดในหลากหลายประเด็น ทั้งเอสเอ็มเอสขยะ การพนัน ผลกระทบต่อสุขภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทีวีดิจิตอล ธรรมาภิบาลในการกำกับดูแล เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้ความเห็น ไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ ทั้งสิ้น จากนั้นจึงนำความเห็นให้ กสทช.รับทราบ ต่อคำถามว่าเคยมีการร้องเรียนต่อ กสทช.ให้พิจารณาด้านจริยธรรมหรือไม่ ประวิทย์ กล่าวว่า ยังไม่เคยเห็นหนังสือร้องเรียน เพราะหากมีการร้องเรียน ประธานต้องทำสำเนาหนังสือเรียกตนเองไปชี้แจง โดยที่ผ่านมา เห็นแต่จดหมายเปิดผนึก ก่อนการออกร่างประกาศ
สุภิญญา กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการเลือกปฏิบัติ โดยสำนักงาน กสทช. ล่าช้าในการเปิดเผยมติการประชุม ล่าสุด กรณีคลื่น 1800 ก็เอาแต่ความเห็นของ กสทช. เสียงข้างมากขึ้นเว็บ ตนเองและนายประวิทย์ได้ทำความเห็นขอให้นำความเห็นของพวกตนเองขึ้นเว็บด้วย ก็ยังไม่ได้ขึ้น จึงต้องออกมาพูดข้างนอก อีกทั้งสำนักงาน กสทช. ยังสนับสนุนบอร์ด กทค.เสียงข้างมาก โดยซื้อสื่อประชาสัมพันธ์บ่อยครั้ง และมีไม่น้อยที่โจมตีพวกตน ขณะที่พวกตนไม่เคยใช้งบสำนักงานมาแก้ต่าง และต้องอาศัยพื้นที่โซเชียลเน็ตเวิร์กในการชี้แจง สุภิญญา ชี้แจงต่อว่า เหตุผลที่คัดค้านร่างประกาศ 1800 เพราะมองว่า หนึ่ง เป็นร่างประกาศที่เอาผู้บริโภคเป็นตัวประกัน โดยแม้จะมีเวลา 2 ปี แต่ กทค. ก็ไม่ได้แจ้งผู้บริโภคล่วงหน้า ทั้งที่พวกตนในสายคุ้มครองผู้บริโภคได้จัดเวทีเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาตั้งแต่ ส.ค.ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ จน 2-3 เดือนสุดท้ายก่อนสัญญาจะหมด อีกทั้งเหตุผลที่ชี้แจงว่าเหตุใดจึงดำเนินการล่าช้าก็ฟังไม่ขึ้น สอง ประกาศนี้สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายอย่างมาก เนื่องจากการมี กสทช.เพื่อให้แก้ปัญหาหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ไม่ใช่พยายามต่อสัญญาสัมปทาน ประกาศนี้จึงเป็นเพียงสัมปทานจำแลง ซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อไปในอนาคต สาม กรณีไม่มีทางเลือกจริงๆ ได้เสนอว่าควรมีเงื่อนไขที่วิน-วิน กับผู้บริโภค เช่น ลดราคา คืนเงินให้ผู้บริโภค แต่กลับไม่มีข้อเสนอนั้นออกมา ด้วยเหตุผล 3 ประกาศ จึงลงมติไม่รับประกาศดังกล่าว สุภิญญา ชี้ว่า หากดูบันทึกรายงานการประชุม บอร์ดฝั่งกระจายเสียง แม้จะไม่ได้โหวตไม่รับ แต่ก็ทำความเห็นสงวนทั้ง 4 ราย นับจริงๆ มีผู้ทำบันทึกความเห็นที่แตกต่าง 6 ราย ซึ่ง 6 ต่อ 11 นับว่า มากกว่า เสียงข้างมาก 4 คนด้วยซ้ำไป ร่างประกาศนี้จึงง่อนแง่นมาก มี 2 คนไม่รับ 4 คนทำความเห็นว่ากังวลเรื่องอะไรบ้าง โดยมีเพียง 5 คนที่ยืนยันชัดเจน กรรมาธิการฯ ถามว่า เคยรู้จักกับสมาคมที่มาร้องเรียนหรือไม่ และทราบไหมว่า เหตุใดจึงมีการร้องเรียน กสทช.ทั้งสอง ชี้แจงว่าไม่รู้จักองค์กรที่ร้องเรียนมาก่อน โดยประวิทย์ระบุว่า จากการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่า 10 ปี ไม่เคยพบชื่อสมาคมเหล่านี้ว่าทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคมาก่อน ขณะที่ สุภิญญา กล่าวว่า หลังถูกร้องเรียนจึงได้หาข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมต่างๆ พบว่า หลายสมาคมมีกิจกรรมที่ กทค. เป็นระยะ เช่น มีบางสมาคมเคยมาให้กำลังใจบอร์ด กทค.กรณี 3G รวมถึงสมาคมบรอดแบนด์ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสประเทศไทย ได้รับการจัดสรรงบประมาณจัดจ้างจากสำนักงาน กสทช.ด้วยวิธีพิเศษ 2 รายการ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา รวมเป็นเงินกว่า 21 ล้านบาท (อ้างอิง 1, 2)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
พระมหาวุฒิชัยตั้งโรงเรียนชาวนาบนสมมติฐานผิด Posted: 01 Oct 2013 08:27 AM PDT พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) บอกว่า "ถ้าประเทศไทยไม่ มีชาวนาเศรษฐกิจของประเทศพังทันที" จึงร่วมกันตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้ง เปิด ร.ร.ชาวนา พุทธเศรษฐศาสตร์ สอนชาวบ้านทำเกษตรอินทรีย์ สมมติฐานข้อนี้ผิด ในความเป็นจริง ผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนเพียง 11% ของ GDP ณ ปีล่าสุดคือ พ.ศ.2554 ในขณะที่ภาคการผลิตหลักคือภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนสูงสุดคือ 30% และภาคการค้าส่งและค้าปลีก 15% เกษตรกรรมตกอยู่ในอันดับที่ 3 ยิ่งกว่านั้น หากอุตสาหกรรมรวมไปถึงเหมืองแร่ ไฟฟ้าประปา แก๊ส และการก่อสร้างด้วยแล้ว จะกินส่วนแบ่งใน GDP สูงถึง 38%
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ณ พ.ศ.2554 รายการ ล้านบาท สัดส่วน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 11,120,518 100% เกษตรกรรม 1,271,524 11% เกษตรกรรมเฉพาะปลูกข้าว 764,125 7% อุตสาหกรรม 3,297,910 30% การค้าส่ง-ปลีก 1,630,226 15% ที่มา: ตารางสถิติประชาชาติประเทศไทย 2554
ภาคการเกษตรเคยเป็นหลักของเศรษฐกิจเมื่อช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2494) โดยขณะนั้นเคยมีสัดส่วนใน GDP ถึง 38% ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมีเพียง 13% เท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันกลับตาลปัตร โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าวตามที่พระมหาวุฒิชัย อ้างถึงด้วยแล้ว มีสัดส่วนใน GDP เพียง 7% เท่านั้น อย่างไรก็ตามประชากรในภาคเกษตรกรรมมีถึง 41% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่ประชากรในภาคบริการมี 40% และภาคการผลิตมีเพียง 19% เท่านั้น การนี้ชี้ให้เห็นว่าผลิตภาพในภาคการเกษตรต่ำมาก ส่วนมากอาจผลิตเพียงแค่พอใช้สอย ประชากรในต่างจังหวัดส่วนมากอพยพไปทำงานในภาคการผลิตอื่นในภูมิภาคอื่น เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก หรือในตัวจังหวัดหลักในภูมิภาค 'ความเพ้อฝัน' ที่จะให้คนชนบทกลับไปใช้ชีวิตทำนาอย่างพอเพียงจึงเป็นแค่ความฝันอันเหลือเชื่อและเป็นไปไม่ได้เลย เท่ากับส่งเสริมให้พากันไปตายในบ้านเกิดที่มีทรัพยากรจำกัด ในสมัยปัจจุบันนี้จะให้ชาวบ้านอยู่กันแบบจับกบ กับเขียด เก็บหอยตามท้องนา ยิงกระปอม (กิ้งก่า) สอยไข่มดแดงมากินกันคงไม่ได้แล้ว ประชากรก็เพิ่มขึ้นมากมาย การที่ประชากรส่วนหนึ่งมาทำงานในเมืองหรือในภาคการผลิตอื่น ส่งเงินกลับบ้าน ทำให้ประชากรชนบทมีความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ส่วนที่จะได้รับ 'สารพิษ' จากการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องการบริโภคนิยม การนิยมวัตถุ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องรู้จักมีภูมิคุ้มกัน ไม่ใช่พยายามใฝ่ฝันให้พวกเขากลับไปมีชีวิตแบบบุพกาลเช่นแต่ก่อน ในอีกแง่หนึ่งบ้านในชนบทก็เป็นเสมือนสถานตากอากาศ (Resort) สำหรับการกลับไปพักผ่อน (Retreat) ของชาวชนบทที่มาทำงานในเมืองได้ 'ชาร์ตแบต' ในวันหยุดบ้าง อันที่จริงควรจำกัดการทำนา หรือให้ทำแบบอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อให้มีผลิตภาพมากขึ้นกว่าการผลิตแบบตามมีตามเกิดและได้ผลผลิตต่ำเช่นในทุกวันนี้ แทนที่เราจะส่งเสริมให้คนมีที่นา เราน่าจะส่งเสริมให้เลิกทำนาโดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การแจกที่ดินให้คนไปทำนา จึงเป็นแนวคิดที่ผิด รัฐบาลควรซื้อที่ดินจากชาวนาโดยเฉพาะในพื้นที่บุกรุก เพื่อมาทำเป็นป่า ฟื้นฟูป่าควบคู่กับการปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าอย่างเฉียบขาด จึงเป็นหนทางแห่งความเจริญของไทยมากกว่าการส่งเสริมให้ทำการเกษตรกรรม ส่วนการทำนาปลอดสารพิษเป็นเพียง Market Niche หรือช่องทางการตลาดใหม่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งทำให้สินค้ามีราคาสูงกว่าทั่วไป เพราะผู้ซื้อมีกำลังซื้อสูงกว่า คู่แข่งในตลาด Niche Market มีน้อยกว่า โดยธรรมชาติแล้ว Market Niche เป็นตลาดเล็ก ๆ ที่แม้มีจุดขายที่เหนือกว่า แต่ใช่จะสามารถแทนที่ตลาดทั่วไป (Conventional) ได้ นอกจากนี้การทำ Market Niche ยังเป็นการสร้างแบรนด์ ผู้ทำย่อมได้หน้าได้ตาจากการทำดีเหนือคนอื่น ทำให้ดูดีกว่าในสังคม นักบวช ปัญญาชน คนที่ได้ชื่อว่าคนดีในสังคม มักชมชอบการทำดีแบบนี้ แต่จะถือเป็นวิถีทั่วไปคงไม่ได้ ในตอนท้าย พระมหาวุฒิชัย ยังกล่าวว่า "ตราบใดที่คนเรายังต้องกินต้องอยู่ เราต้องสอนนิพพานแห่งอาชีพควบคู่กันไปด้วย เกษตรกร ชาวนาไทยถึงจะอยู่รอดได้" คำพูดนี้ฟังดูดี แต่แปลว่าอะไร ในกรณีนี้อาจตีความได้ว่าเป็นการ 'เล่นคำ' มากกว่าสาระที่แท้จริง เราต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยน ประชากรมากขึ้น ทรัพยากรมีจำกัด การจะให้ใครต่อใครกลับไปทำนา ทำไร่เช่นบรรพบุรุษ คงเป็นไปไม่ได้ การฝืนความจริงให้คนกลับไปทำนาเท่ากับพากันลงเหว จึงเป็นความฝันที่เชื่อไม่ได้แต่ทำให้คนพูดดูดี
อ้างอิง ข่าว "ร.ร.ชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ วิถีนิพพานอาชีพเกษตร" ไทยรัฐ 27 กันยายน 2556 ทิศทางการทำงานของแรงงานไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ แรงงานเกษตรในประเทศไทย กรุงเทพธุรกิจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
นายกรัฐมนตรีให้รับฟังความเห็นรอบด้านว่าเขื่อนแม่วงก์จำเป็นหรือไม่ Posted: 01 Oct 2013 08:22 AM PDT มติ ครม. เห็นชอบให้แก้ไขราคาข้าวโพดตกต่ำ และยืนยันว่าพร้อมรับจำนำข้าวรอบใหม่ พร้อมทั้งขยายเวลาลดภาระค่าครองชีพด้านการเดินทางเป็นระยะที่ 13 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 31 มีนาคม 2557 มติ ครม. แก้ไขปัญหาข้าวโพดตกต่ำ และย้ำว่ามีความพร้อมในการรับจำนำข้าวครั้งใหม่ วันนี้ (1 ต.ค. 56) สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่สำคัญได้แก่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาราคาข้าวโพดตกต่ำ ผลการหารือมติคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติใน 2 เรื่อง ได้แก่ 1. สิทธิใบรับรองเกษตรผู้ปลูกข้าวโพดจะได้รับสิทธิเหมือนเดิมทุกประการ และ 2. กำหนดให้ราคาข้าวโพดอยู่ที่กิโลกรัมละ 9 บาท ที่ความชื้น 15% ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรพอใจ นอกจากนี้รัฐบาลมีมาตรการเร่งการส่งออกข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเข้าไปแทรกแซงราคาข้าวโพดในบางครั้ง โดยมาตรการดังกล่าวจะเริ่มทันที นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวเน้นย้ำการจำนำข้าวครั้งใหม่ ที่จะเริ่มในวันนี้ (1 ต.ค.56) รัฐบาลมีความพร้อม แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการมีหลายขั้นตอน เช่น การจดทะเบียน การประชาคม หรือเรื่องเกี่ยวกับโรงสี ซึ่งอาจจะมีเกษตรกรที่เข้าใจว่ารัฐบาลไม่พร้อม จึงขอทำความเข้าใจว่าภาครัฐมีความพร้อมเพียงแต่มีขั้นตอนต่างๆ เพื่อความโปร่งใส โดยอาจจะเริ่มจำนำได้ราวปลายเดือนตุลาคมนี้
นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดรับฟังความเห็นทุกฝ่ายเรื่องเขื่อนแม่วงก์จำเป็นหรือไม่ ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงการเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เมื่อวันอาทิตย์และวันจันทร์ที่ผ่านมา และขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่สามารถบูรณาการทำงานส่วนหน้าและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันในส่วนของ Single Command Center ปัจจุบันก็เริ่มเห็นการใช้ข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น และต้องการให้แต่ละหน่วยงานมีส่วนร่วมในการที่จะบันทึกเอาไว้เพื่อป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน รวมทั้งขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการช่วยเหลือประชาชนมารวมไว้ที่ศูนย์ส่วนหน้า เพื่อที่จะได้นำไปช่วยเหลือประชาชนและนำไปใช้ในพื้นที่ที่จำเป็นต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ แต่ในระยะยาวจำเป็นต้องพิจารณาว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของประชาชนโดยรวมหรือไม่ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงได้หมอบหมายให้ กบอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเรื่องดังกล่าวพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาระยะยาว ซึ่งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ย้ำว่าจะดูแลอย่างเต็มที่ ทั้งนี้คาดว่าในวันที่ 6 ตุลาคม 2556 สถานการณ์โดยรวมน่าจะดีขึ้น และหลังจากนี้จะนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง ส่วนพื้นที่ในลุ่มเจ้าพระยาทั้งจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ยังรับสถานการณ์ได้ ยกเว้นที่ตำบลโผงเผง จังหวัดอ่างทอง อำเภอบางบาล และอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ยังมีน้ำท่วม ขณะที่พื้นที่กรุงเทพมหานคร รองนายกรัฐมนตรีย้ำว่าไม่มีปัญหา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้หน่วยงานกระทรวงกลาโหมไปดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งจัดกำลังพลและเครื่องผลักดันน้ำของกระทรวงกลาโหมเข้าไปช่วยเหลือ และติดตั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงกรณีเขื่อนแม่วงก์โดยยอมรับว่าปัจจุบันเขื่อนแม่วงก์ประชาขนยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่ จึงมอบหมายให้ทาง กบอ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมารับฟังความคิดเห็น โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่างๆ จากทุกฝ่ายถึงความจำเป็นว่าการมีหรือไม่มีเขื่อนแม่วงก์แตกต่างกันอย่างไร รวมถึงพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นหรือไม่ในการบริหารจัดการน้ำและแก้ปัญหาอุทกภัย
ขยายเวลาลดค่าครองชีพด้านการเดินทางต่อไปเป็นระยะที่ 13 ส่วนมติ ครม. อื่นๆ นั้น ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ ขอให้มีการดำเนินการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ด้านการเดินทางต่อไปเป็นระยะที่ 13 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 31 มีนาคม 2557 ทั้งนี้ ขสมก.จะจัดรถเมล์ธรรมดา จำนวน 800 คันต่อวันให้บริการ ประชาชน ใน 73 เส้นทาง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ประมาณการค่าใช้จ่ายในวงเงินทั้งสิ้น 1,153 ล้านบาท และการทางรถไฟแห่งประเทศไทยรับภาระจัดรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164 ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3 ระยะทางไกล กระบวนรถเชิงพาณิชย์จำนวน 8 ขบวนต่อวัน ซึ่งเป็น โครงการรถเมล์และรถไฟฟรีที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้ ครม. ยังอนุมัติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอการกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์หรือ ธอส.วงเงิน 1 หมื่น 1 พันล้านบาท ธอส.มีกลุ่มเสี่ยงผู้ฝากเงินกลุ่มใหญ่ถอนเงิน จากรายงานศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์อยู่ในสังกัดของธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานการจัดเก็บอสังหาริมทรัพย์ 7 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม รีสอร์ท นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ และที่ดินเปล่านำมาประมวลข้อมูล ครึ่งปีแรก มีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ การเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 204 โครงการ บ้านจัดสรร 110 โครงการ อาคารชุด 94 โครงการ ซึ่งช่วงหลังการเปิดตัวของคอนโดมิเนียมมีการชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 ส่วนเรื่องข้าวโพดนั้น ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับงบประมาณจัดสรรผ่านคณะรัฐมนตรี 2,390 ล้านบาท มีการออกใบรับรองเกษตรกรอีก 245,000 ราย จะสามารถเข้าร่วมมาตรการให้การช่วยเหลือของรัฐในปี 56/57 และการแทรกแซงการรับซื้อข้าวโพดให้กับเกษตรกรที่มีสิทธิ์เข้าร่วมเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.66 จึงขยายเป้าหมายการแทรกแซงการรับซื้อข้าวโพดโดยกำหนดให้รับซื้อกิโลกรัมละ 7 บาท ในความชื้นที่ 30 เปอร์เซ็นต์ และกิโลกรัมละ 9 บาท ในความชื้นที่ 14.5 เปอร์เซ็นต์ เป้าหมายเดิม คือ 1 ล้านตัน วงเงิน 1,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีก 875,000 บาท โดยจะมีการชดเชยให้กับผู้ขนส่ง สหกรณ์ผู้เข้าร่วมใน 6 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ตาก และแม่ฮ่องสอน โดยมีเป้าหมายการจ่ายวงเงินรวม 70 ล้านบาท ส่วนการผลักดันการส่งออกมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลักดันความสามารถจากเดิมที่ 30,000 ตัน เป็น 50,000 ตัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
สื่อภาคประชาชนและสิทธิการสื่อสาร: บทเรียนจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ Posted: 01 Oct 2013 07:42 AM PDT การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แนวคิด 'สิทธิการสื่อสาร' และ 'สื่อภาคประชาชน' มีบทบาทในการกำหนดทิศทางของประเทศ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ถอดรายงานการเสวนา "สื่อภาคประชาชนและสิทธิการสื่อสาร: บทเรียนจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์" อย่างละเอียด ในห้วงแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งสำคัญในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย สิ่งที่เรียกว่า "สื่อภาคประชาชน" และแนวคิดเกี่ยวกับ "สิทธิในการสื่อสาร" เติบโตขยายตัวขึ้นได้อย่างไร สื่อเหล่านี้มีพลังในการกำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองของพวกเขาอย่างไร ประสบการณ์ของการเคลื่อนไหวของสื่อประชาชนดังกล่าวจะเป็นบทเรียนให้กับผู้คนในพื้นที่ความขัดแย้งในชายแดนใต้ได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้คือที่มาของการจัดบรรยายสาธารณะในวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 ซึ่งจัดโดยโรงเรียนวิชาการเมือง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (College of Deep South Watch) ร่วมกับคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภายใต้หัวข้อ "สื่อภาคประชาชนและสิทธิการสื่อสาร: บทเรียนจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์" โดยมี รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ เป็นผู้บรรยายหลัก เธอเป็นอดีตอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นการปฏิรูปสื่อ อีกทั้งยังเป็นเสาหลักของการเรียกร้องในการพิทักษ์ปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเสมอมา อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (ภาพโดย อนุมัติ รัตนพันธ์ ช่างภาพอิสระ) การบรรยายสาธารณะครั้งนี้เกี่ยวโยงกับหนึ่งในงานวิจัยในหัวข้อ "สื่อและสิทธิการสื่อสารของประชาชนฟิลิปปินส์" ซึ่งเป็นการสังเคราะห์บทบาทของสื่อประชาชนในห้วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ รายละเอียดข้างล่างนี้คือการเก็บประเด็นจากการนำเสนอในวันดังกล่าว .......... จุดเริ่มต้นของการศึกษา หัวข้อที่จะคุยในวันนี้ เป็นเรื่องของสื่อประชาชน แล้วก็อยากจะพาไปดูตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน คืออินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพราะตอนที่ไปทำวิจัยก็รู้สึกว่า เราสังกัดอยู่สาขานิเทศศาสตร์ แต่เรารู้จักประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยเยอะ ไม่ค่อยแลกได้เปลี่ยนระหว่างนักวิชาการสาขานิเทศศาสตร์ระหว่างกัน หรืออาจจะเรียกได้ว่าน้อยมาก โครงการปัญญาชนสาธารณะ (API : Asian Public Intellectuals) ของมูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation Fellowships) เขาให้ทุนไปวิจัยที่สามารถเลือกได้ว่าจะไปทำวิจัยในประเทศกลุ่มอาเซียนคือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ซึ่งเราก็ตัดสินใจว่า 2 ประเทศนี้ คือ อินโดนีเซีย กับฟิลิปปินส์ ซึ่งก็ไม่มีเวลามากพอที่จะพูดเรื่องนี้ ในตอนนั้นมีเวลาเพียงแค่ 11 เดือน ซึ่งก็รู้ข้อจำกัดของตัวเองดีว่าไม่รู้ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซียและ ไม่รู้ภาษาตากาล็อก ดังนั้นก็มีส่วนทำให้การวิจัย จึงเป็นการอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษ หรือคุยกับผู้ที่เราไปทำการศึกษาวิจัยที่รู้ภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษที่เราไปศึกษาเขาก็ต้องอาศัยล่ามไปด้วย ซึ่งเราคิดว่าโอกาสต่อไปถ้าได้วิจัยโดยรู้ภาษาของประเทศเจ้าบ้านก็จะเป็นประโยชน์มากที่สุดเพราะการที่เราขาดการรู้เรื่องภาษาทำให้เราเข้าใจอะไรที่อาจจะยังลึกซึ้งไม่มากขึ้นพอ สื่อภาคประชาชนคืออะไร ประเด็นการบรรยายวันนี้ จะพูดถึง "สื่อของประชาชน" ซึ่งขณะนี้มีชื่อที่เรียกเยอะมาก ในประเทศไทยอาจจะไม่คุ้นเคย เพราะก่อนหน้านั้นประเทศไทยจะเรียกว่า สื่อมวลชนแบบรวมๆ ต่อมาเราได้ค้นคว้าทบทวนวรรณกรรมก็พบว่า สื่อมีหลากหลายประเภท มีหลายกลุ่ม มีหลายบริบท หลายสถานการณ์ แต่ละฝ่ายจะมีเป้าหมายในการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกหลายชื่ออย่างเช่น สื่อประชาชน - สื่อทางเลือก (People's media – Alternative media) ที่พูดถึงการพัฒนาแบบทางเลือกต่างๆ จนกระทั่งมาในตอนหลังนี้จะคิดแบบแนวทางเลือก เริ่มคำที่มีการใช้อย่างกว้างขว้างขึ้น ในสื่อมวลชนก็เช่นเดียวกันก็จะบอกว่า เป็นสื่อที่ไม่ใช่สื่อกระแสหลัก ไม่ใช่สื่อขนาดใหญ่ ก็จะเรียกว่า "สื่อทางเลือก - สื่อพลเมือง" (Alternative – Citizen's media) ตอนนี้ก็เป็นที่คุ้นเคยเหมือนกัน เพราะว่าบางสถานีอย่าง Thai PBS จะมีการรายงานข่าว 'สื่อพลเมือง' สื่อที่มีความคิดเห็น หรือต้องการนำเสนอที่มีความแตกต่างแบบถอนรากถอนโคน (Radical) ไม่เหมือนคนอื่น พูดจา ความคิดแบบเดิมๆ เสนอแนะภาษาและความคิดที่แตกต่างไม่เหมือนสื่อกระแสหลัก มองในอีกแง่หนึ่งอาจจะหมายถึง สื่อที่ใช้ในการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ (Media libres) จากอะไรก็ตามที่พันธนาการอยู่ จะเป็นเจ้าอาณานิคม หรือจะเป็นประเด็นอื่นๆ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของสังคมนั้นๆ อีกคำหนึ่งที่สังคมไทยคุ้นเคยคือ 'สื่อที่ต้องการให้มีส่วนร่วม' (Participatory media) ซึ่งมาจากประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมก็จะต้องประยุกต์และปรับวิธีคิดมาเป็นสื่อแบบที่มีส่วนร่วมเช่นเดียวกัน พอเรามีสื่อขนาดใหญ่เยอะๆ ที่เป็นสื่อในระดับชาติ สื่อของประชาชนจะเป็นสื่ออีกแบบหนึ่ง คือ สื่อชุมชน (Community media) มีขนาดเนื้อเรื่อง มีเนื้อหาที่เกี่ยวโยง เกี่ยวเนื่องกับชุมชน บริหารจัดการเองได้ อาจจะมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็แล้วแต่ที่จะออกแบบ แต่ว่าใกล้ชิดเกี่ยวโยงกับชุมชน ถัดมาจะมีการใช้คำว่า Grassroots Media ก็จะเป็นลักษณะที่เป็นกลุ่มรากหญ้า ถ้าเราดูรายชื่อเหล่านี้จะเห็นว่าประเทศไทยของเรามีอยู่มากหรือมีหลายประเภทที่เดียว จากเดิมมีแค่สื่อกระแสหลัก ซึ่งคำว่า สื่อกระแสหลัก (Mainstream media) ก็มาใช้ในช่วงหลัง เพราะแต่ก่อนเราจะจัดประเภทสื่อของรัฐ สื่อของเอกชน ตอนนี้สื่อของรัฐจะมีคู่แข่งเยอะขึ้น ณ เวลานี้ก็มีคู่แข่งขันกว่าครึ่งโหล ก็จะเจอคู่แข่งเล็กๆ เกิดขึ้นสุ้มเสียงก็จะต่างกันไป ทุกคนก็จะบอกว่าเราอยู่ในจุดที่มีสิทธิแล้ว สิทธิที่จะสื่อสารออกไปโดยมีรูปแบบวิธีการ ภาษา ลักษณะสื่อที่มีความแตกต่างกัน 'สื่อประชาชน' vs. 'สื่อพลเมือง' อาจต้องเริ่มต้นที่จะมองเห็นความหลากหลายของสื่อที่เป็นอยู่ สื่อที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า "สื่อประชาชน" บุคลิกภาพเป็นอย่างไร โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก (small) ที่สำคัญต้องมีอิสระ (independent) และจะต้องไม่ดำเนินงานแบบธุรกิจ (Non - Commercial) และไม่ได้ดำเนินการแสวงหากำไร (non - profit) ซึ่งไม่ได้หมายความว่า สื่อที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีรายได้ แต่หมายความว่าต้องมีรายรับ รายจ่าย ต้องมีเงินทุนที่บริหาร อย่างเช่น ถ้าเป็นงานสิ่งพิมพ์ ก็จะต้องค่ากระดาษ ค่าหมึก ค่าตีพิมพ์ แต่ไม่ใช่การดำเนินการเหมือนธุรกิจ ตั้งองค์กรสื่อ แต่ไม่ทำเพื่อแสวงหากำไร ซึ่งแม้ว่าไม่ได้ทำธุรกิจแต่ก็จะต้องมีวิธีการ หารายได้ วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ไม่ใช่แบบการทำธุรกิจเหมือนสื่อกระแสหลัก กิจกรรมเหล่านี้มีอะไรบ้าง เช่น ลักษณะการทำงานที่ค่อนข้างเกาะติดแล้วก็ใช้สื่อเป็นตัวที่เป็นการสร้างกระแส ทั้งในด้านการตระหนักรู้ หรือการสร้างข้อเรียกร้องต่างๆ ออกไป บางกลุ่มก็จะต้องทำงานเคลื่อนไหวแบบบนดินด้วย เมื่อวิเคราะห์แล้วจะมีเป็นการสื่อสารที่มีความต่างจากสื่อกระแสหลัก สมมุติว่าสื่อของรัฐ เขาเสนอเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เสนอเรื่องสถานการณ์ภาคใต้ อีกแบบเรื่องหนึ่ง สื่อทางเลือกหรือสื่อประชาชน ก็จะเสนอมุมมองที่แตกต่างกันออกไป เช่น การเสนอมุมมองของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เสนอมุมมองของครอบครัวของฝ่ายผู้ก่อการที่ได้รับผลกระทบ เสนอกระแสเสียงของฝ่ายผู้ก่อการซึ่งเราจะพบว่าสื่อของเราทำงานในประเด็นที่สื่อกระแสหลักไม่เสนอ สื่อกระแสเสียงจากฝ่ายผู้ก่อการ เป็นการตั้งข้อสังเกตว่าสื่อกระแสหลักมีการเสนอให้กับผู้ก่อการอย่างตรงไปตรงมามีหรือไม่ สื่อไทยสามารถทำได้หรือไม่ หรือเพราะสื่อไทยยังไม่มีโอกาสที่สามารถเข้าถึงแหล่งบุคคล แหล่งข่าวที่อาจจะมีการพูด แต่เขายังไม่มีโอกาสพูด ซึ่งสื่อเล็กๆ สื่ออิสระเหล่านี้ เมื่อเราลงไปศึกษาจะพบว่า เขามีโอกาสที่จะไปนำ 'ตัวตน' คู่ขัดแย้ง นำเจตนารมณ์ นำการแสดงออก ข้อกังวลของพวกเขาออกมาเผยแพร่ให้คนได้ยิน ถามว่าการนำเสนอลักษณะดังกล่าวจะดีกว่ากัน ย่อมดีกว่าการส่งเสียงเป็นลูกกระสุน เพราะฉะนั้นสื่อเล็กๆ เหล่านี้ จะมีพันธกิจของตัวเองและสามารถทำงานที่มีคุณค่าไม่ว่าสื่อจะเล็กขนาดไหน แง่นี้แล้ว 'People's Media' หรือ "สื่อประชาชน" อาจจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นปากเสียงให้ผู้ถูกกดดันถูกปิดกั้นมากกว่า ขณะคำว่า 'Citizen's Media' หรือ "สื่อพลเมือง" มีฐานะที่แตกต่างออกไป คือเสียงจากสื่อเหล่านี้ เป็นสื่อที่ถือทุกคนว่าเป็นสื่อของพลเมือง หมายความว่า เขาเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้น ว่ามีสิทธิมีฐานะในพลเมืองของประเทศนั้นๆ เพราะฉะนั้นสิทธิที่ได้รับการรับรองชัดเจน ที่ตัวเขารับทราบ สังคมรับทราบ กลุ่มอำนาจรับทราบ สถานภาพอาจจะดีกว่า พวกที่จะเรียกตัวเองว่า "สื่อประชาชน" ที่เขารู้สึกว่าตัวเองถูกปิดกั้น ถูกกดดัน ที่ไม่ควรพูด ไม่ควรสื่อสาร ขณะที่กลุ่ม Citizen's Media จะสื่อสารกับกลุ่มคนและทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงกลุ่มพลเมืองที่ปกติ ที่ค่อนข้างจะ 'ตั้งรับต่อสถานการณ' (passive) ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในทางการเมืองเท่าใด ให้ตื่นตัว ให้ทุกคนมีความสนใจ อยากที่จะมีส่วนร่วมในการกระบวนการทางการเมือง ในรูปแบบใดแบบหนึ่งของสังคมในระดับใดระดับที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเขา ให้กลายเป็น 'พลเมืองที่มีพลัง' (Active Citizen) ขึ้นมา ถ้าเรามองดูแล้วสื่อพลเมืองเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเพิ่มอำนาจ (empower) หรือการสร้างพลังอำนาจให้แก่พลเมือง สร้างความสำนึกรู้แล้วก็ไปทำให้อำนาจแตกย่อยออกมา (fragment) ไม่ได้ไปรวมศูนย์ ไม่ได้เป็นรวมอำนาจที่มีการเบ็ดเสร็จที่รวมอยู่ในตัวเอง ประเด็นนี้เป็นการกล่างอ้างในหนังสือของ "คเลเมนเซีย โรดริเกซ" (C. Rodriquez) นักวิชาการสื่อสารชาวอเมริกัน ซึ่งเขียนเกี่ยวกับเรื่องของสื่อพลเมือง เธอสอนอยู่ในสหรัฐฯ แต่ทำวิจัยอยู่ในลาตินอเมริกาด้วยแล้วก็พูดภาษาสเปนได้ เชื้อสายสเปน สิ่งที่นำมากล่าวในที่นี้ เพราะรู้สึกว่าสนใจมาก สื่อพลเมืองสามารถทำให้ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก สามารถที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของอีกครั้งหนึ่ง (Reclaim) เพราะสื่อเคยหลุดมือไป คนอื่นเอาไปใช้ ไปเป็นเจ้าของมากมาย แต่คนมีสิทธิไม่ได้ใช้ ต้องไปเวนคืนอำนาจสิทธิการสื่อสาร) กลับมา แล้วระหว่างที่เรามีสื่อเล็กๆ อยู่ในมืออยู่แล้วไม่ว่าเป็น สื่อวิทยุชุมชน สื่อออนไลน์ใหม่ๆ โรดริเกซ กล่าวว่า ในระหว่างที่ เราสื่อสารนั้น สามารถจะใช้สื่อพลเมืองนั้นสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ผ่านภาษา สื่อพลเมืองมีความสามารถที่จะสร้างผ่านภาษาของการสื่อสาร แล้วก็เรียกสิ่งต่างๆ รอบตัวในภาษาที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ เหมือนกับเราสร้างโลกขึ้นมาใหม่ได้ ผ่านการใช้ "สื่อพลเมือง" เหล่านี้ กระบวนการอย่างนี้จึงมีความลึกซึ้งมากกว่าที่เราคิด ในแต่ละวันๆ ที่เราสื่อสารผ่านสื่อขนาดเล็ก สื่ออิสระของภาคพลเมือง สิ่งที่เกิดซ้ำๆ เราสามารถอธิบายให้โลกได้ พูดสิ่งรอบๆ ตัวเราได้ ในมิติของเรา ที่เราจะสร้างถ้อยคำ สร้างภาษา จิตนาการโลกใหม่ออกมาได้ อีกประเด็นหนึ่งที่โรดริเกซ ถือว่าเป็นหน้าที่ที่เกิดในระหว่างนี้ สื่อนี้คนมีส่วนร่วมสามารถที่จะไป disrupt power relationship คือ ไปก่อกวน แทรกแซง ไปทำให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีอยู่ ทำให้แลดู สั่นคลอนไม่เหมือนเดิม สมมติว่า การแขวนป้ายผ้าในภาคใต้ เวลามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกคนกลับไปคิดว่าใครทำ สารหรือข้อความในป้ายผ้าจะบอกใคร บอกทำไม ทำให้เราสงสัยความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในสังคม และสงสัยในตัวเราเอง เราจะต้องมองในเรื่องนี้อย่างไร ทำให้คนที่สื่อสารมีโอกาสปฏิบัติการความเป็นมนุษย์ปุถุชนเป็นพลเมือง ที่เป็น Active Citizen ทำให้เขาสามารถแสดงตัวตนและความคิดเห็นของเขาได้ แล้วก็กลับไปสร้าง 'สื่อ' ขึ้นมาใหม่ เพราะตัวเก่าไม่เคยดีกับตัวเขา ทำให้เขามีโลกสัญญาณลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นในตัวเขาได้เรื่อยๆ และก็ได้สร้างขึ้นมาใหม่ สร้างได้ด้วยตนเอง สร้างโดยชีวิต ในปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งวัฒนธรรมด้วย โดยรวมสิ่งที่โรดริเกซ ให้นิยาม ตีความตรงนี้มีความน่าสนใจ มีประโยชน์ มีความลึกซึ้ง มีมิติคุณค่าในการสื่อสารด้วย ในสถานการณ์ดังกล่าว มีคำถามว่า People's Media กับ Citizen's Media ไม่เหมือนกันอย่างไร ทั้งที่เป็นสื่อภาคประชาชนเช่นกัน มีรายละเอียดที่ว่าสื่อประชาชนใช้คำที่มีความหมายกว้าง แต่ Citizen's Media จะเป็นรายบุคคลมันมีความหมายแคบ มีมิติรายบุคคล ได้รับการยอมรับว่า มีสถานะที่กฎหมายยอมรับสำหรับประเทศไทยต้องมีบัตรประชาชน แต่บางประเทศไม่ต้องมีก็ได้ แต่ถ้าประเทศไทยต้องมีถ้าไม่มีกลับเป็นเรื่องแปลก โดยถือว่าต้องมีมิติพลเมืองในทางกฎหมายกำกับด้วย ขณะที่ People's Media คือบุคคลที่อยู่นอกกรอบนอกระบบ ไม่ได้ถูกสังคมรับรองว่าเป็นพลเมืองสังคมนั้นสื่อประชาชนจะเป็นปากเสียงของคนที่อยู่นอกระบบนอกกระแสที่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ อาทิเช่น กบฏ ถึงพวกเขาอยากเป็นพลเมือง แต่คนไม่ยอมรับ ไม่เข้าเกณฑ์ พวกเขาไม่มีสิทธิลงคะแนน เป็นต้นว่าเมื่อถามเด็กอายุต่ำกว่า 18ปี ทำสื่อขึ้นมาสื่อสาร ถามว่าเป็นสื่อพลเมืองหรือไม่ ก็ต้องเอาเกณฑ์ตัวอื่นมาจับว่าสังคมไทยบอกว่าเราเป็นพลเมืองด้วยหลักอะไรบ้าง ความน่าสนใจอย่างสำคัญคือ "สื่อประชาชน" บอกว่าเราต้องต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิที่จะพูด สมมติเราเป็นพลเมือง แล้วรัฐธรรมนูญรับรองว่ามีสิทธิจะพูด แต่กลุ่มคนที่ไม่ใช่พลเมืองจะไม่มีสิทธิพูดเลย และสื่อกระแสหลักก็ไม่สามารถแสดงความคิดคนเหล่านี้ออกมาได้ คำถามคือ สื่อพลเมืองเหล่านี้สามารถสื่อสารความคิดของคนกลุ่มนี้ได้หรือไม่ อาจจะต้องพยายาม อาจจะมีการต่อต้าน อาจจะต้องแสดงออกหรือต่อต้านการใช้ความรุนแรง อยากให้คนอื่นเข้าใจอาจจะมีการข่มขู่ โดยเฉพาะอยากให้รัฐที่ไม่รู้ปัญหาของเขา ซึ่งถ้าพิจารณาดูจะพบความแตกต่างในละเอียดพอสมควร ทั้งนี้ สิทธิการสื่อสารมีการกำหนดแนวให้เป็นเรื่องของสากล เริ่มต้นจากสหรัฐฯ จากนั้นกลายเป็นคำประกาศของประเทศฝรั่งเศส กระทั่งหลังสงครามโลก ครั้งที่สอง ก็ออกเป็นคำประกาศปฎิญญาสากล ประเด็นสิทธิการสื่อสารก็ไปปรากฏในข้อที่ 19 ของปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งไทยก็รับรองสิทธิ์อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ เพื่อยืนยันสิทธินี้ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลัง ทั้งฉบับปี 2550 ก็ยืนยันรับรองเหมือนปี 2540 โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงสิทธิของสื่อสารของพลเมืองไทยแต่อย่างใด นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งก็พยายามเขียนรัฐธรรมนูญของเขาเป็น People Communication Charter ขึ้นมา ซึ่งคล้ายกับการรองรับเสรีภาพ ซึ่งข้อกฎหมายหรือบทบัญญัติสากลอื่นๆ ได้เขียนเอาไว้ ทีนี้เขาเขียนเอาไว้มีข้อแตกต่าง มีกลุ่มนักวิชาการได้เขียนในรัฐธรรมนูญของไทยซึ่งก็รองรับคล้ายกับเรื่องสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายหรือบทบัญญัติสากลอื่นๆ ได้เขียนอย่างไรบ้าง เขามีข้อที่บอกว่าการสื่อสารจะต้องมีการเพิ่มพูนพลังอำนาจของประชาชนแล้วไปเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ ให้ดีขึ้น โดยมองเห็นสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะมีคนที่ไม่มีโอกาสหลักการสื่อสารไม่ไปช่วยเพิ่มพลังอำนาจแต่เราสื่อสารบริโภคอย่างนี้ก็ไม่มีความหมาย ดังนั้นธรรมนูญนี้บอกว่าต้องให้โอกาสคือการเปลี่ยนแปลงความคิดให้การสื่อสารมีสารัตถะของการสื่อสารจริงๆ ที่นี่เราดูกรอบเหล่านี้แล้วก็ลงวิจัยใน 2 ประเทศคือ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ในปี 2014-2015 ว่า โดยไปดูผู้คนและองค์กรเกี่ยวกับการทำงานด้านการสื่อสารที่พยายามทำให้เกิดการสื่อสารแบบประชาธิปไตย และคนเหล่านี้พยายามทำให้เกิดประชาธิปไตย พยายามผลักดันอำนาจที่ผูกขาด ให้เป็นโครงสร้างที่เปิด เป็นโครงสร้างวัฒนธรรมที่เป็นประชาธิปไตย วิธีการที่เราไปพบในสนามวิจัยมีบางองค์กรสื่อที่เรียกว่าเป็นสื่อประชาชน พยายามไปเปลี่ยนเนื้อหาเพิ่มปากเสียงที่ไม่มีโอกาสพูดหรือไปเปลี่ยนวิธีการทำงาน เช่น พอมีเหตุระเบิดก็ไปถามทหารเอง เขาจะไปสร้างธรรมเนียมใหม่ ไม่ใช่หาแหล่งข่าวเก่าเดิมๆ เราก็จะได้คำตอบแนวเดิมๆ ที่ไม่ได้สร้างความเข้าใจใหม่หรือว่าไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ที่กำลังเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ผู้ถูกศึกษาบอกว่า วิธีการสื่อเหล่านี้จะพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธรรมเนียมปฏิบัติแล้วก็จะมีการเรียกร้องรัฐบาลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ลักษณะไม่ต่างกับสถานการณ์ภาคใต้ที่พยายามผลักดันให้มีการพูดคุยสันติภาพ ผลักดันให้มีการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบต่างๆ จากเดิมที่เคยประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือกฎอัยการศึก ก็อาจไม่มีใครใครกล้าพูดเพราะโครงสร้างเดิมกดเอาไว้ นอกจากจะไปตรวจสอบ ติดตามทีละขั้นในกฎระเบียบของกฎหมายก็มาทำสื่อของตัวเองที่เป็นอิสระ มีลักษณะเปิดกว้าง ให้มีส่วนร่วมเปิดพื้นที่ให้คนอยู่ชายขอบได้ส่งเสียง เพราะคนกลุ่มดังกล่าวไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเสียง อีกประการหนึ่ง คือไปเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างคนที่จัดเนื้อหากับคนฟัง คือไม่แยกออกจากกัน คนฟังรับมาเป็นส่วนหนึ่งของคนทำเนื้อหา ได้ให้คนพวกนี้กล้าแสดงความคิดเห็น พูดความจริง กระบวนการแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาง่ายๆ ถ้าทำ อย่างนี้ก็พอมีตัวอย่าง จากที่ไปทำการศึกษาก็พบว่ามีบางคนถูกฟ้อง เรื่องยังอยู่ในกระบวนการมีอยู่รายล่าสุดท้ายที่ได้เจอก็พบว่าจำต้องหลบคดีจากฟิลิปปินส์มาอยู่ในประเทศไทย สมัยหลังจากการปลดปล่อยจากการเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ เข้าสู่ยุคของประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ ซึ่งยึดอำนาจมาจากการทำรัฐประหาร ที่เขาเรียกรัฐบาลใหม่ว่า 'รัฐระเบียบใหม่' (New Order; 1966 - 1998) ของเขาซึ่งอยู่ในอำนาจประมาณ 32 ปี สิ่งที่อยู่ในอำนาจช่วงนั้น สิ่งที่เคยเป็นสื่อที่แยกขั้วมีความเป็นการเมืองสูง มาให้เป็นสื่อกลางโดยไม่มีความเป็นการเมือง (Neutralized and Depoliticized ) มาให้กลายเป็นสื่อของธุรกิจ คือพยายามสร้างวัฒนธรรมให้สื่อสนใจ ประกอบธุรกิจ แสวงหากำไร อย่ามาพูดจาเรื่องการเมือง อย่ามาวิพากษ์ วิจารณ์ รัฐบาล ถ้าทำอย่างนั้นจะถูกลงโทษ นานๆ ก็จะมีการข่มขู่ จับคุม ฟ้องร้อง ซึ่งสถานการณ์ด้านสื่อนั้นตรงข้ามกับประเทศไทยในปัจจุบัน คือของไทยจากที่เคยเป็น "สื่อพาณิชย์" (Commercial media) เปลี่ยนเป็น "สื่อเชิงการเมือง" (Political media) มากขึ้น จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบส่องกระจกตัวเราเองได้เหมือนกัน ในช่วงนั้น ซูฮาร์โต พยายามพัฒนาประเทศ คือ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พยายามวางแผน พัฒนาในสิ่งเหล่านี้ กลายเป็นสถาบันสร้างฐานอำนาจลงสู่เกาะชวา แล้วก็ออกกฎหมายเฉพาะเจาะจงให้กับสื่อ สื่อต้องไปขอใบอนุญาตเพื่อประกอบการด้านสื่อ ในปี 1994 ก่อนซูฮาร์โต้จะถูกโค่นอำนาจ หนังสือพิมพ์ส่วนมากจะเป็นสมาชิกขององค์การที่เรียกว่า Surat Ijin Usaha Penerbitan Pers (SIUPP) ซึ่งเป็นสำนักงานประชาสัมพันธ์ของรัฐ คล้ายกับกรมประชาสัมพันธ์ ต่อมาปี 1994 ก่อนหนังสือพิมพ์ใจเด็ด หัวเห็ดกลุ่มหนึ่งบอกว่าไม่เอาแล้ว ขอตั้งกลุ่มองค์กรขึ้นมาใหม่เป็นเครือข่ายนักหนังสือพิมพ์อิสระ (Alliance of Independent Journalists) แล้วก็ไปเดินขบวนอยู่หน้าสำนักงานประชาสัมพันธ์ของรัฐ เพื่อไปชวนพวกสื่อที่อยู่ในทะเบียนเก่า กระนั้นก็ยังไม่มีใครกล้าออกมาเป็นสมาชิกกลุ่มใหม่ จึงได้เปลี่ยนวิธีการ โดยชวนนักข่าวกันมาได้ทีละน้อยจนเดี๋ยวนี้ก็กลายเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีสมาชิกมากขึ้นแล้ว มีกลุ่มหนึ่งในระหว่างนั้นที่เตรียมตัวทำวิจัย Institute the Studies of Free flow of Information ก็ทำวิจัย เพื่อที่จะวิพากษ์วิจารณ์สื่อกระแสหลัก ทั้งเนื้อหา ทั้งโครงสร้าง จะเห็นว่า 4 ปี ตั้งแต่ปี 1994-1998 เครือข่ายสื่อดังกล่าวค่อยๆ เขย่าบัลลังก์ของซูฮาร์โต้ให้สั่นคลอนลง ระหว่างการวิจัยนี้ได้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ รวมทั้งสื่อใต้ดินจำนวนหนึ่ง เช่น หนังสือพิมพ์ Suara (Independent) แล้วก็มี 'เสียงอิสระ' (XPOS) แล้วก็มี AJI NEWS ทำในอินเตอร์เน็ต แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นอินเตอร์เน็ทยังเป็นขาวดำ เป็นตัวดอส (DOS) อยู่เลย ทั้งชักช้า ยืดยาด ทำงานได้น้อยมาก แต่เขาก็รู้สึกว่าต้องใช้สื่อใหม่ในการขับเคลื่อนสังคม มีข้อน่าสังเกตว่าทั้งอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ จะพบว่าสื่อที่ใหม่ล่าสุดในขณะนั้น ถูกนำมาใช้ทั้งสิ้น แล้วก็มีสื่อวิทยุ แล้วก็มีที่แปลกไป คือ มีกลุ่ม TNI Watch หรือ Army Watch ที่ติดตาม เปิดโปง เสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับการทหาร แล้วก็มี Apakabar อันนี้ก็ค่อนข้างเป็นแม่ข่ายมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ที่สามารถนำข่าวออนไลน์ไปอัพโหลดขึ้นข่าวที่ต่างประเทศ แล้วเผยแพร่ไปทั่วโลก เพราะฉะนั้นข่าวสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ออกไปสู่ชาวอินโดนีเซียที่อยู่ต่างประเทศก่อน แล้วก็ไม่ถูกปิดกั้น เพราะเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ในช่วง 4 ปีดังกล่าว ในที่สุดแล้ว กลุ่มต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของสื่อกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงานให้ข้อมูลข่าวสาร จนในที่สุดเปลี่ยนผ่านสังคมฟิลิปปินส์ได้ ในปี 1998 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติประชาชนของอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม 1998 (May tragedy) จะว่าไปแล้วตอนนี้พฤษภาคม เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์ในประเทศไทย ในประเทศอินโดนีเซีย ในเกาหลีด้วย ก็เป็นเดือนของเหตุการณ์ปฏิวัติประชาชน อยู่ในหลายประเทศ หลังจากนั้นกลุ่มเหล่านี้ก็ไม่ได้ยุติได้ไปเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงกฎหมาย พ.รบ.เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ พ.ร.บ.วิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งต่อสู้ให้ยกเลิกสำนักงานประชาสัมพันธ์ของรัฐที่ทำงานโฆษณาชวนเชื่อก็ยกเลิกไป วิทยุประชาชนกับการสร้างสันติภาพ (Peace Building) ในช่วงที่ไปทำการศึกษาวิจัย พบว่าเครือข่ายวิทยุชุมชนมีพลังตื่นตัวสูงมาก แต่ก็ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นสถานีที่ได้รับการรองรับทางกฎหมายเช่นเดียวกับประเทศไทย ได้ลงไปศึกษาการเคลื่อนไหวสื่อวิทยุชุมชน สื่อประชาชนที่ทิมมูฮาโจ ยอร์คจาร์กาต้า ทำให้พบวิทยุชุมชนชื่อ 'Angkringun' ที่เกิดจากนักกิจกรรมทางสังคมคนหนึ่งที่เพิ่งจบการศึกษา กลับไปบ้านตัวเองเพื่อก่อตั้งวิทยุชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ขึ้นมา จากนั้นก็ทำจดหมายข่าวกระจายจ่ายแจกอย่างกว้างขวาง โดยศูนย์ 'Angkringun' จะมีห้องส่งวิทยุ ที่เครือข่ายสามารถยืมใช้ได้ ตั้งอยู่ในซอกเล็กๆ ของ อบต.จะมีรูปรถเข็น เหมือนรถขายกาแฟบ้านเรา มีขนมแขวนอยู่ แล้วก็จะมีคนมานั่งเป็นลูกค้า และวิธีการสื่อสารของ 'Angkringun'จะมีการปรับตัวตลอดเวลา ช่วงที่ทำการวิจัย 'Angkringun' เขาบอกว่าจะทำรถโมบายยูนิตแบบรถ "โชเล่ห์" แบบปัตตานี (ชื่อเรียกขานรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างในชายแดนใต้) เพื่อทำเป็นสถานีวิทยุเคลื่อนที่เพื่อสามารถให้ข่าวสารสามารถเข้าถึงในจุดอับต่างๆ ได้ โดยจะทำกับมอเตอร์ไซค์เวสป้าเก่าๆ ระหว่างนั้นก็ขายเสื้อยืดรณรงค์ ความจริงใช้เงินแค่หมื่นกว่าบาท แต่เขาต้องหาเงินดุเดือดมาก กล่าวได้ว่า สถานีวิทยุของเขาแทนที่จะอยู่กับที่ก็กลายเป็นสถานีวิทยุเคลื่อนที่ ช่วยถ่ายทอดเสียงเวทีชุมชน ชุมชนใดมีการแสดงสด มีดนตรี เขาจะวิ่งไปถ่ายทอดเสียงให้ ระหว่างทางก็จะแวะพักเพื่อรับฟังบทสนทนาของชุมชนนั้นๆ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นแนวคิดการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนที่เปลี่ยนไป แตกต่างจากสื่อของรัฐที่อยู่กับที่ตั้ง ผู้ควบคุมรายการของ Kusir Angkringan กำลังมอนิเตอร์อินเตอร์เน็ตระหว่างการคุมการออกอากาศสถานวิทยุ (ที่มา: Jakarta Post) งานหลักที่สถานีวิทยุแห่งนี้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่รู้จักคือการตรวจสอบการบริหารงานของ อบต.ของเขา แล้วเริ่มจากการถ่ายทอดการประชุมงบประมาณ ทีนี้ผู้บริหาร อบต.ก็เดือดร้อนเพราะชาวบ้านในพื้นที่นั้นฟังกันหมด ก็ปรากฏว่าผู้ใหญ่บ้านคนเก่าปิดงบประมาณไม่ได้ ไม่ผ่านแล้วเขาก็รู้ว่ามีคนฟังเยอะแยะ ต้องกลับไปทำใหม่ เป็นผลให้ผู้ใหญ่บ้านโกรธมาก เสียหน้า เพราะเสนอญัตติงบประมาณไม่ผ่าน นี่คือวิธีการตรวจสอบทางสาธารณะที่มีประสิทธิผล แต่ 'อังกรีงัน' ก็อธิบายให้ฟังว่า สิ่งที่ทำไม่ใช่เพื่อการไปฉีกหน้าใคร แต่ว่าเป็นงานที่จะทำให้การบริหารงานท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นคือสิ่งที่เขายืนยันในจุดยืนการทำงาน อีกเรื่องหนึ่งที่ 'อังกรีงัน' ทำคือ การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องการให้โฉนดที่ดิน เนื่องจากมีการร้องเรียนมาว่า ทำไมการขอโฉนดที่ดินกับอำเภอทำได้ช้ามาก พบว่าทางผู้บริหารอำเภอจะดองเรื่องนี้ไว้พิจารณาเป็นประเด็นท้ายสุด มีการดึงเรื่อง เตะถ่วงให้นาน ด้วยเหตุที่เขานำประเด็นเรื่องข้อร้องทุกข์เหล่านี้มาเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็ทำให้เกิดความเข้าใจในระบบมากขึ้น ส่งผลให้ทางอำเภอ เขตปกครองนั้นๆ ไม่สามารถที่จะทำตัวเรียกรับผลประโยชน์หรือทำให้เรื่องยืดเยื้อ จนประชาชนไม่สามารถที่จะต่อเติมบ้าน ขอเรื่องโฉนดที่ดินเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ ได้ ผลงงานเหล่านี้ทำให้วิทยุของเขาเป็นที่รู้จัก เป็นที่เชื่อถือในพื้นที่อย่างมาก อีกตัวอย่างหนึ่งที่บันดุง ก็ไปเจออีกลักษณะหนึ่งที่ไม่เหมือนกันเป็นวิทยุชุมชนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในบ้านของผู้นำหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่อยู่ชานเมือง มีเหตุการณ์หนึ่ง เจ้าหน้าที่รัฐร่วมกับนักลงทุนเขาก็จะเอาที่ไปสร้างศูนย์การค้าใหญ่มากติดกับหมู่บ้านห่างไม่ถึง 100 เมตร สุดท้ายก็เลยก่อตั้งวิทยุที่ชื่อว่า 'Radio Cibangkong' ขึ้นมา แล้วก็รวมกลุ่มกันในหมู่บ้านว่าจะทำอย่างไรเพื่อไม่ถูกไล่รื้อไปทั้งหมด ทำอย่างไรจะอยู่ได้ ช่วงแรกที่มีการสื่อสารต่อสู้เพื่อคัดค้านการสร้างศูนย์การค้าดังกล่าว เรียกว่าทั้งสองฝ่ายเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน ทว่าการสื่อสารก็มีส่วนที่ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นต้องเชิญทั้งสองฝ่ายมาคุย แลกเปลี่ยนความเห็นจนสุดท้าย ฝ่ายที่มาลงทุนก็จะต้องรับฟังเสียงก็ต้องจัดการบริหารพื้นที่ของหมู่บ้านโดยมีข้อสรุปว่า 1.ต้องให้อยู่ร่วมกันให้ได้ ไม่ไล่รื้อไปหมด แบบที่สามที่ไปศึกษาคือ "บาลัยพุทธยา" หรือ กลุ่มวัฒนธรรม (Balai Budaya Minomartani) กลุ่มสื่อนี้อยู่ในเมืองของยอร์กจาร์กาตาร์ ขณะที่ 'Angrikan' เขาอยู่นอกเมือง "บาลัยพุทธยา" อันนี้ก็อยู่ในเมืองอยู่ในซอยเล็กๆ ในหมู่บ้าน คือตัวอย่างเหล่านี้อยากนำเสนอที่สามจังหวัดภาคใต้ด้วย มีลักษณะที่บางทีเราเอามาประยุกต์ เอามาคิดใหม่ บางอย่าง โดยลักษณะของในคนยอร์กจาร์กาตาร์มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม แต่เจ้าของเขาเป็นชาวคริสต์เป็นเจ้าของ แต่ว่าเขาก็เปิดเลยเป็นรายการที่ว่าด้วยวัฒนธรรม ก็จะมีแนวเพลงหลากหลาย ผู้ดำเนินรายการทั้งหลายก็มาจากหมู่บ้าน ปรากฏว่าวันที่ไปสังเกตการอยู่ก็ไปสัมภาษณ์เขา ก็เจอว่าเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้าไปทำรายการ ซึ่งมีจำนวนน้อยมากในก่อนหน้านั้นโอกาสของผู้หญิงมุสลิมที่จะไปทำรายการดนตรีก็มีมากขึ้น เหตุหนึ่งที่น่าสนใจว่า ความที่สถานีวิทยุอยู่ในชุมชน ไม่ไกลจากที่พักมากนัก ประมาณทุ่ม-สองทุ่ม ซึ่งมืดค่ำแล้วผู้จัดรายการสามารถเดินจากบ้านถึงสถานีง่ายต่อการเข้าถึง และเป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่เขาก่อตั้ง แล้วหลังบ้านเขาก็จะมีห้องโถงใหญ่ๆ ไว้เก็บเครื่องดนตรี แล้วก็จะมีเล่นดนตรีปี่พาทย์วงของอินโดนีเซียบ่อยๆ อยู่ เพราะฉะนั้นการเข้าออกจะสะดวก แง่นี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นผู้ผลิตรายการได้ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำผังรายการอยู่ในช่วงบ่ายหรือเช้าเท่านั้น ก็สามารถกระจายเสียงในช่วงที่มีคนฟังมากในตอนเย็นๆ ค่ำๆ ได้ซึ่งเป็นการขยายโอกาสอย่างมากด้วย เพราะฉะนั้นก็มาสู่คำนิยามของเราก่อนหน้านี้ว่าจะเป็น Citizen's Media หรือไม่ ก็ดูที่ความสามารถ ในการเสริมพลัง (Empower) ระหว่างประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น คือ สามารถที่จะสร้างพลัง อำนาจผ่านการสื่อสาร ผ่านการที่เขามาดำเนินรายการ แล้วเป้าหมายก็คือ ช่วยให้ประสานผู้คนที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์อยู่ร่วมกัน อันนี้ก็เป็นตัวอย่างวิทยุชุมชนสามตัวอย่างที่ไปศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย ถัดมาจะเป็นลักษณะสื่อทางเลือกขนาดใหญ่ขึ้น ชื่อสถานีจึงเป็นชื่อบ้านเลขที่ "68H Radio" ทีแรกก็ถามเขาทำไมตั้งชื่อนี้ เขาก็บอกว่าไม่รู้จะตั้งชื่ออะไรดีเรียกไม่ถูก เพราะว่าองค์กรสื่อเกิดใหม่เกิดจากการล้มซูฮาร์โตไปแล้วก็กระตือรือร้นอยากทำงานขับเคลื่อนสังคมหลากหลายอย่าง แล้วก็ไปมีสถานที่อยู่ในอาคารที่กลุ่มเราเคลื่อนไหวด้านสื่อแรกๆ ที่เป็นพวกใต้ดินเขาก็เลย เอาชื่อเป็นบ้านเลขที่ก็แล้วกันแล้วก็คิดฝันว่าจะเป็นสำนักข่าว ด้วย เหตุที่ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะอยู่ประมาณ 2,000 กว่าเกาะ "68H" จึงไปตั้งสถานีลูกข่ายจำนวนมากกว่า 400 สถานี ในแต่ละเมือง แต่ละชุมชนเขาอาสาเข้ามาว่าเขาอยากจะอยู่ในเครือข่าย แล้วก็มีปรัชญาว่าจะต้องเป็น "อิสระ" (independent) แล้วก็เป็นที่น่าเชื่อถือ (Trust worthy) เพราะฉะนั้น "68H" ก็ทำขึ้นมา ปีที่ไปทำวิจัยก็ต้น 2,000 กว่าแล้ว การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การตัดต่อเสียงด้วยการใช้คอมพิวเตอร์มีมากขึ้น แล้วก็ปรากฏว่าเขามีนักข่าวกับคนทำงานที่อยู่ในฝ่ายข่าวเป็นผู้หญิงจำนวนมาก ก็เป็นเป้าหมายหนึ่งของเขาเช่นเดียวกัน "68H" คิดว่าความสามารถของผู้หญิงไม่ได้ด้อยไปกว่าผู้ชาย เพราะฉะนั้น เป็นการสร้างวัฒนธรรมที่แตกต่างจากหนังสือพิมพ์กระแสหลักในประเทศอินโดนีเซียอย่างยิ่ง นักจัดรายการวิทยุจาก 68H (ขวา) พูดกับนักวิชาการระหว่างการสนทนาทางวิทยุเมื่อสิงหาคม 2007 (ที่มา: Jakarta Post) ก่อนจบเรื่องของอินโดนีเซีย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ด้านการสื่อสารของประเทศไทย ตัวอย่างที่กล่าวถึงข้างต้นอาจไม่ใช่แปลก น่าตื่นเต้น ขอย้ำว่าที่ได้ไปศึกษาการขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อนั้นเป็นช่วงปี 2003 - 2005 ในช่วงนั้น ไวร์เลส อินเตอร์เน็ต ไว-ไฟ (Wi-Fi) ทั้งหลายยังไม่มี ในสถานการณ์ขณะนั้น อาจารย์คนหนึ่ง ทว่าทำงาน เป็น NGO จบจากสถาบันเทคโนโลยีบันดุง ซึ่งสถาบันเทียบเท่ากับสถาบัน MIT สหรัฐฯ เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์มือหนึ่ง ก็พยายามไปเรียกร้องกระทรวงไอซีทีของอินโดนีเซียว่า จะต้องทำเรื่องอินเตอร์เน็ท ให้บริการชุมชน หมู่บ้านที่อยู่รอบนอก เพื่อการศึกษาเขาเน้นอย่างนี้ ปรากฏว่านโยบายเหล่านี้ไม่เป็นที่ตอบรับ บริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ก็ไม่สนใจ เขาก็เลยร้อนวิชา มีความรู้ เขาบอกว่าไม่ยาก ไปตั้งจานเล็กๆ สามารถส่งในรัศมี หมู่บ้านขนาดเล็กได้เลย ประมาณสัก 5-10 ตารางกิโลเมตร แล้วก็เดินสาย ถ้าสายข้ามถนนไป ก็ต้องวิ่งเอาอะไรไปพัน ไม่ให้รถวิ่งไปแล้วกระแทก ไม่ให้ท่อใยแก้วเขาเสียไป ปรากฏว่าก็ทำได้ผล ไปติดตั้งไวร์เลสอินเตอร์เน็ทได้ คิดค่าสมาชิกสัก 30 เหรียญ ก็ประมาณ 1,000 บาท ซึ่งก็ถือว่าแพง ซึ่งก็ไปได้กับหมู่บ้านชนชั้นกลางหน่อย ก็ทำได้ดีพอสมควร เขาก็อยากทดลอง อยากให้รัฐบาลเห็นว่าทำได้และเป็นบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ แต่พอหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการบริการอินเตอร์เน็ทในประเทศอย่างกว้างขวางโดยธุรกิจคมนาคม เขาก็เลิกเพาระไม่สามารถแข่งขันได้ แต่เขาก็สามารถทำให้คนเห็นเหมือนกับการสำรวจตลาดให้บริษัทขนาดใหญ่ด้วยซ้ำไป แท้ที่จริงแล้วประชาชนท้องถิ่นมีความต้องการ แล้วก็บ้านที่มีลูกๆ เรียนหนังสือ แทบทุกๆ บ้านเลยอยากจะใช้ เพราะรู้ว่ามันเป็นประโยชน์ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของอินโดนีเซียที่ได้ไปลองศึกษามา กรณีศึกษาฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ตกอยู่ในอาณานิคมของสเปน 400 กว่าปีนานมาก จากนั้นก็มาตกอยู่ภายในของสหรัฐฯ อีกหลังสงครามโลก เขามีชื่อเล่นว่า "ไข่มุกแห่งตะวันออก" คือเป็นที่ต้องการแก่นักเดินเรือ พ่อค้า บริษัทการค้า เพราะภูมิศาสตร์เป็นจุดยุทธศาสตร์ แล้วก็มีความอุดมสมบูรณ์ คือทั้งอินโดนีเซีย ทั้งฟิลิปปินส์ ล้วนแล้วแต่เป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ทีเดียว ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มาใกล้ทางชายฝั่ง ในด้านของประเทศฟิลิปปินส์ ถ้าเวลาพูดถึงสื่อของเขาจะภูมิใจมากๆ เพราะสื่อเขามีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปลดปล่อยประเทศออกจากความเป็นอาณานิคม ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเอกราชคือ "โฮเซ่ ริซัล"(Jose Rizal) เป็นคุณหมอมาจากครอบครัวมีฐานะดี มีความร่ำรวย แต่ว่ามีแรงบันดาลใจที่จะต่อสู้ โดยหนังสือสองเล่มของเขาชื่อ Noli Me Tangere หรือ "อันล่วงละเมิดมิได้" ใครสนใจหาอ่าน 400-500 หน้า เล่มหนาแต่ก็สนุกมาก และอีกเล่มคือ El Filibasterismo ปกหนังสือ "อันล่วงละเมิดไม่ได้" ฉบับแปลไทย สื่อหนังสือพิมพ์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศ ปลดปล่อยให้มีอิสระ เขาเรียกว่า 'โพรพากานดามูฟเมนท์' (The Propaganda Movement) คือขายความคิดว่าประเทศต้องมีอิสระแล้ว แล้วต้องมีความสมานฉันท์ ร่วมมือร่วมใจ Solidarity ในการที่จะรื้อถอนอำนาจเก่า ถึงเขาจะอยู่มานานเราก็ทำได้ ก็มีความเชื่อมั่น ตอน "โฮเซ่ ริซัล" เขียนหนังสือขณะเรียนอยู่ต่างประเทศด้วย เขียนไปทิ้งต้นฉบับไปก็มีแต่ว่าสุดท้ายเอากลับมาแอบตีพิมพ์ ที่จริงก็เป็นหนังสือต้องห้ามด้วย เป็นหนังสือต้องห้ามสองเล่มแรกของประเทศเขาเลย ต้องแอบอ่าน ต้องขโมย แล้วก็ถูกจับได้เอาไปเผาทิ้ง ต้องขโมยเข้าประเทศ ไปพิมพ์ในต่างประเทศ คืออ่านแล้วมีความยากลำบากมีสูงมาก แถมยังถูกถากถางว่า เขียนหนังสือเขียนนิยาย มันจะไปปลดปล่อยประเทศให้เป็นเอกราชได้อย่างไร แต่เขาไม่รู้ว่าต่อมามันเป็นระเบิดทางความคิด พูดง่ายๆ ทำให้คนเริ่มกล้าคิดวิจารณ์ศาสนจักร เพราะคนที่ปฏิบัติการในฟิลิปปินส์ คือ บรรดาบาทหลวง ซึ่งร่ำรวยที่ดิน ทรัพย์สินต่างๆ แล้วเขาวิจารณ์ว่า พวกเหล่านี้ คือพวกที่มาครอบงำความคิด กดขี่ประชาชนของเขา ในช่วงแรกเป็นแบบนั้น ทีนี้ตัดมาสู่ช่วงสมัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส หลังจากได้รับเลือกตั้งมา ก็ได้รับความนิยมมาก็จะแก้ธรรมนูญ ถูกคัดค้านก็เลยยึดอำนาจประกาศกฎอัยการศึก ปี 1972 ช่วงนั้นมีการปิดกั้นสื่อสูงมาก แล้วก็ประมาณปี 1986 แต่การคัดค้านเริ่มประมาณ 1983 ในช่วงที่ผู้นำฝ่ายค้านถูกยิงเสียชีวิต ตอนเดินทางกลับประเทศ ในช่วง 10 กว่าปี ของประธานาธิบดีมาร์กอสเป็นช่วงที่ปิดกั้นสื่ออย่างสูง สิ่งหนึ่งที่พวกเราอาจจะเรียนรู้ เป็นยุคที่กอสซิบ (Gossip) การซุ่มนินทาทางการเมือง นิทานตลกทางการเมืองเกิดขึ้นเยอะมาก คือตลอดเวลาไปเรียนหนังสือต่างประเทศจะมีเพื่อนฟิลิปปินส์ ซึ่งจะพกเอาโจ๊ก เรื่องขำขันทางการเมืองมาเล่าเยอะแยะ แล้วทุกวันนี้เราก็เอามาดัดแปลง เช่น ถ้าบอกว่าให้อยู่บนเรือบิน จะโยนนักการเมือง 3 คนไปจากเรือบินลำนี้จะเลือกใครก่อน โจ๊กนี้ก็มาจากฟิลิปปินส์ ส่วนอีกเรื่องที่ตกนรกแล้วทำไม "มาร์กอส" ไม่จมข้างใต้สุด ก็เพราะว่าไปยืนอยู่บนไหล่ของเมีย ประเทศเขาจะร่ำรวยการล้อเลียนมากเลย คือไม่รู้จะแสดงความรู้สึกที่จะประท้วง คัดค้าน การใช้อำนาจแบบเผด็จการ ของประธานาธิบดีมาร์กอสอย่างไร ก็ใช้วิธีการพูดอย่างขำขันการเมือง ภาพวาดการ์ตูนการเมืองพวกนี้เต็มไปหมด แต่สมมติว่าพูดเสียงดังอยู่ อย่างเดินกันสวนกันในที่สาธารณะเดินกันเสียงดัง พูดเรื่องนี้ก็จะเดินเบาๆ เขาจะกลัวมาก ขนาดพูดในต่างประเทศ เพราะฉะนั้นบรรยากาศในช่วงอย่างนี้ ในแต่ละประเทศที่ผ่านมา การเข้มงวด เซนเซอร์ (Censorship) การแสดงความคิดเห็นมีสูง อันนี้ก็หลังจากประธานาธิบดีมาร์กอสขึ้นมาเถลิงอำนาจ เขาบอกว่าสื่อที่เป็นอิสระ มันก็ถูกเปลี่ยนไปเป็น Crony Press คือ ถูกซื้อไป ถูกเข้ามาถือหุ้น ให้เพื่อนๆ ที่เป็นบรรดานายทุนใหญ่ เป็น Crony Press คือเพื่อนๆ ทั้งนั้น หมายความว่า หนึ่ง ได้ธุรกิจ ไม่ต้องฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะไม่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่แล้ว สภาพก็เปลี่ยน เราจะเห็นว่าของซูฮาร์โตนั้น ก็จะเปลี่ยนจาก Political Press เป็น Commercial Press ค้าขายแสวงหากำไรไป พูดการเมืองน้อยๆ หน่อย คล้ายๆ กัน อันนี้ทางวรรณกรรมของเขาจะยกย่องอีกอันก็คือว่า Mosquito Press สื่อเล็กๆ ไปพวกเสียงนกเสียงกา ตัวใหญ่กว่าหน่อย ของไทยบอกพวกเสียงนกเสียงกาอย่าไปฟัง อันนี้เสียงวิ้งๆ ของยุง ก็ทำให้อำนาจถูกกัดกร่อนได้เหมือนกัน ในช่วงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ ในปี 1983 บรรดาสื่อเล็กๆ ที่ถูกปิดกั้น ก็ไม่ไหวแล้ว ก็ใช้วิธีตอดเล็กตอดน้อย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นฉบับเล็ก หรือไม่ก็ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ จะเห็นว่าในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยชื่อ Philippine Coolegian ก็มาจากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ UP (University of Philippine) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ออกมาส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ฉบับที่เป็นไครซิสเดย์ (Crisis day) ก็จะมีภาคธุรกิจเข้ามาร่วมด้วยโดยจะมีศักยภาพสูง ยังมี Radio Veritus สถานีวิทยุที่พูดความจริง ก็เป็นเสียงที่มาจากสังคมณฑล หลายท่านอาจจะได้ยินเสียง "พระคาร์ดินัลโนสิส" เป็นตัวนำ แล้วก็จะเป็นตัวที่ส่งเสียงออกไปบอกประชาชนว่า ทหารกำลังจะมาแล้ว ในวันที่เดินขบวนใหญ่ แล้วก็มีจุดเริ่มต้นของ Weekly Inquirer ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่หลังเปลี่ยนแปลง เขาจะเรียกของเขาว่า EDSA มันเป็นถนนใหญ่ ใจกลางเมืองมะนิลา ก็เป็นที่ที่ถูกใช้เป็นศูนย์กลางการเดินขบวนประชาชน ก็เลยเขาเรียกย่อๆ ว่า EDSA EDSA revolution 1986 เป็นการปฏิวัติประชาชนครั้งที่ 1 EDSA Revolution ตัวอย่างของเขาเราจะเห็น รอบแรกสื่อขนาดเล็กของเขาก็คือ เป็นวิทยุของพระ วิทยุทางศาสนา ก็จะบอกว่าขอให้ทุกคนเข้ามาต่อสู้กับประธานาธิบดีมาร์กอส เพราะเขากำลังจะเอากองทหารออกมา เพราะถ้าไม่มีคนออกมามาก จะใช้อาวุธ แล้วก็จะยิงคนตาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคนออกมาจำนวนมาก แม่ชีคุกเข่าสวดมนต์อยู่หน้ารถถัง ก็ทำให้พลทหารที่ขับรถถัง แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า จะต้องเข้าผ่านซอยต่างๆ เข้าไป ประชาชนก็ล้อม รถถังก็ขยับไม่ได้ ก็เลยชะงักไป แล้วก็ด้วยความที่รัฐบาลมีสื่อของตัวเอง มีช่อง 4 ช่อง 9 บีทีวี แล้วก็มี Crony press ก็ใช้ช่อง 4 กับช่อง 9 สู้กันกับสถานีวิทยุของพระ เพื่อที่จะบอกว่าเขาไม่ได้ทำอะไรประชาชนอย่าออกจากบ้าน แต่ว่าในทางกลับกันสื่อทางเลือกที่เราพูดถึง ก็คือสื่อขนาดเล็ก สื่อที่เป็นอิสระก็เชิญชวนบอกกล่าวข้อมูล บอกว่าให้ประชาชนออกมา อันนี้ก็ถือว่าเป็น people power เขาก็จะมีการตั้งชื่อของเขา ทีนี้เรามาดูครั้งที่ 2 ในปี 2001 EDSA 2 ในช่วงของสมัยประธานาธิบดีเอสตราด้า สื่อใหม่ในช่วงนั้นคืออะไรบ้าง โทรศัพท์เริ่มเป็นที่นิยม แต่ก็ยังแพงอยู่เหมือนกันปรากฏว่าที่ประเทศนี้ SMS เขาราคาถูกมากๆ ไม่ถึงบาทนึง 50 สตางค์ก็มี กลายเป็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ SMS แพงที่สุด ไม่รู้ว่าที่สุดในโลกรึเปล่า แต่ที่สุดในภูมิภาค แล้วยิ่งไปส่งเข้าไปเชียร์ใครต่อใครในรายการต่างๆ ยิ่งแพงใหญ่เลย เขาจะส่งเสริมให้คน text (ส่งข้อความ) 50 เซนต์ แล้วเขาก็ใช้อินเตอร์เน็ท เขาใช้เป็นหลายชั้น ก็คือว่าใช้สื่อกระแสหลัก แล้วก็ใช้ ก็กระจายออกไป เหมือนมีร้านค้าปลีก ร้านค้าย่อย ไปจนถึงตัวเลย SMS ส่งถึงตัวเลยทุกคน เขาก็จะมีส่งว่าวันนี้เราต้องการคนมาอยู่ที่ EDSA กี่คน คนจะมา ซึ่งเราก็เห็นว่าประเทศไทยก็อาจจะเลียนแบบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การระดมคน เราก็เลียนแบบจากประเทศเพื่อนบ้าน ค่อนข้างจะเห็นได้ชัด เขาก็จะมีลักษณะสองอย่างด้วย ก็คือว่ามีการระดมกันให้แสดงเสียงการคัดค้านในอินเตอร์เน็ทด้วย ให้ลงชื่อขอถอดถอนประธานาธิบดีเอสตราด้าออกจากตำแหน่ง โดยขอรายชื่อหนึ่งล้านรายชื่อ คนฟิลิปปินส์ที่อยู่ต่างประเทศมีเยอะ เพราะฉะนั้นเขาขอหนึ่งล้านรายชื่อตอนนั้นค่อนข้างเร็ว แล้วก็จะขอให้มีคนไปเยอะๆ เขาจะหนึ่ง-ห้าล้านคน ผลัดเวียนกันไปที่ EDSA SMS อาวุธโค่นรัฐบาลเอสตราดา ความที่ระบบโทรคมนาคมสามารถเก็บสถิติ เขาก็เลยรู้ว่า text massage ในช่วงนั้นมีจำนวนสูงมาก 1.16 พันล้านข้อความ เยอะมาก มีหนังสือที่ออกมาเกี่ยวกับ texting ที่จะทำให้เรารู้ว่าการใช้ข่าวสารเหล่านี้ มันระดมคนทำให้เกิด active citizen ขึ้นมาได้ อันนี้เปรียบเทียบกระบวนการสื่อสารของ EDSA 1 กับ EDSA 2 เวลาก็ห่างกันซักประมาณ 20 ปี ไม่ถึง 20 ปี ก็คงจะเหมือน 2535 ของเรา กับช่วง 2550 ห่างกัน 10 กว่าปี 20 ปีประมาณ ในรอบการเปลี่ยนแปลง ครั้งแรกลักษณะก็คือประชาชนเขามีความเชื่อ ก็คือพระมาบอกว่าประธานาธิบดีมาร์กอสไม่ควรอยู่ต่อไปแล้ว แต่ว่ารอบที่ 2 มีลักษณะเปิดกว้างขึ้น มีองค์กรที่เป็น NGO องค์กรที่มีเครือข่ายในทางสาธารณะเข้ามาระดมคนมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเรามองในการสื่อสารมันบนลงล่าง (top down) ลงกว่าเดิม มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ว่าเป็นชนชั้นกลาง ถ้ามองย้อนกลับไปเราจะพบว่า กลุ่มที่ดำเนินการเรื่อง EDSA 2 ค่อนข้างเป็นชนชั้นกลาง ในขณะที่กลุ่มที่เลือกประธานาธิบดีเอสตราด้าเข้ามา รักในความเป็นประชาชนของเอตรสาด้า เขาเป็นนักแสดง เป็นพระเอกหนังบู๊ที่มีผลงานเยอะ ประชาชนรัก กลุ่มคนจนจะรู้สึกว่าสูญเสีย เมื่อประธานาธิบดีเอสตราด้าถูกขับไล่ออกจากตำแหน่ง แล้วหลังจากนั้นถูกจับกุม แล้วก็พาขึ้นไปทำประวัติอาชญากรที่สถานีตำรวจ ข่าวมันก็ออก ถ้าเผื่อเราจะจำได้ก็คือว่าพาไปแล้ว เอาไปยืนถ่ายรูปตรงที่ยืนถ่ายรูปมันจะมีมาตรวัดเหมือนว่าส่วนสูง สูงเท่าไหร่ ภาพนั้นออกไป บรรดากลุ่มประชาชนที่ลงคะแนนเสียงให้กับประธานาธิบดีเอสตรารู้สึกว่าทำกับผู้นำที่เขาลงให้คะแนนให้เกินไปไหม ดังนั้น กลุ่มที่เลือกประธานาธิบดีเอสตราด้าไปก็รวมตัวกันเดินขบวนไปที่ทำเนียบ แล้วก็คัดค้านการจับกุม แล้วก็จะคุมขัง แต่สุดท้ายเขาเอาไปที่กักกันเฉพาะไม่ได้เอาเข้าไปในเรือนจำ แต่ตอนนั้นประธานาธิบดีผู้หญิงคนที่สอง คือ อาร์โรโย่ รู้สึกว่าจะใช้กำลังปราบรามที่หน้าทำเนียบ แต่ปรากฏว่าในบันทึก ในวรรณกรรมต่างๆ ไม่พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซักเท่าไหร่นัก ถามใครใครก็ไม่อยากพูด ถามเขาว่าจะเรียกว่า EDSA 3 ได้ไหม เขาตอบว่าไม่ได้ ดังนั้นเราจะเห็นว่าประวัติของเขาก็จะไปถกเถียงกันใหม่ว่า ถ้าอย่างนั้นมันจะเป็นอย่างไร เพราะว่าพอเหตุการณ์ผ่านไปการเกิดรัฐประหารปี 2550 เกิดการขับไล่นายกฯ ที่เกิดจากการเลือกตั้งออกไป ขับไล่คุณทักษิณออกไป แล้วเกิดกลุ่มเสื้อแดง เราก็นึก เอ้า! มันคล้ายๆ นะ มันมีเหตุการณ์วัฏจักรแบบนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันว่า ความไม่ลงรอยของกลุ่มอำนาจชนชั้นกลาง ชนชั้นล่าง การใช้มติจากการเลือกตั้ง มันไม่ได้ทำให้เป็นการชี้ขาดทางการเมือง ในสังคมอุษาอาคเนย์ยังไม่ลงตัว 100 เปอร์เซ็นต์ หลักเกณฑ์นี้จะเป็นหลักเกณฑ์ แม้ว่าเขาจะทำให้ทหารกลับเข้ากรมกองได้แล้ว ในช่วงประธานาธิบดีโคราซอน อาคีโน เขาบอกว่าทหารออกมาจากกรมกองซัก 10 ครั้งได้ ปีเว้นปี ออกมาเรื่อยเลยพยายามมาก จนกระทั่งสุดท้าย ทหารรู้แล้วว่าทำไม่ได้ แต่ชนชั้นกลางก็ยังไม่ได้ผู้นำดังใจ ไปได้นักแสดงหนังบู๊มาเป็นประธานาธิบดีแล้วก็ไม่บริหารประเทศ ชอบเล่นไพ่ มีภรรยาหลายคน ไม่เข้าข่ายคนดี ดังนั้นการต่อสู้ยังไม่สิ้นสุด ดังนั้นก็โอเคเปลี่ยนประธานาธิบดีอาโรโยเธอก็โดนคดีเหมือนกัน การเมืองของฟิลิปปินส์กับไทยก็น่าเปรียบเทียบศึกษาเหมือนกันว่า อำนาจในการตัดสินในทางการเมืองของคนกลุ่มไหนในสังคมที่จะมีพลัง สามารถสืบทอดอำนาจทางการเมืองให้ครบไปถึงวาระแต่ละครั้งได้ จะเห็นว่าสื่อมีส่วนอย่างยิ่ง ดูสื่อนอกเรื่องไปยาวไกล สื่อที่ทำให้ EDSA 2 ประสบความสำเร็จ อันนี้ก็จะบอกว่า การใช้สื่อขนาดเล็ก อย่าง SMS อย่างอินเตอร์เน็ท ก็คือว่าเป็นเครือข่ายการสื่อสารในระดับส่วนบุคคล ทั้งโทรศัพท์เอย SMS เอย ที่เราติดต่อกับเพื่อนเฉพาะเครือข่าย เรื่องส่วนตัว มันถูกใช้เป็นพื้นที่ของการกระตุ้นความเป็นสำนึกพลเมืองความเป็นการเมืองออกมาสูง แล้วเขาก็จะมีกลุ่มลักษณะพันธมิตร KOMPIL กับ BAYAN คนละสี คือ BAYAN ค่อนข้างจะออกไปทางชาตินิยม แล้วก็ฝ่ายซ้ายหน่อย KOMPIL จะชนชั้นกลางหน่อย ก็จะเป็นตัวเครือข่ายกลางที่จะไประดมคนมา ตัวที่จะทำให้เกิดกระแสในการกดดันประธานาธิบดี เปิดโปงว่ามีการคอรัปชั่น มีการให้สินบน แล้วก็มีการรับสินบนสลาก หวยใต้ดิน ทุกเดือนจะมีการจับได้ แล้วก็เอาเงินสดไปให้ที่ทำเนียบเป็นกระเป๋าๆ แล้วก็พอถูกพิจารณาไปให้การในรัฐสภา ไม่ใช่ประธานาธิบดีนะ คนที่ไปให้เงิน ก็ไปรับสารภาพ เพราะฉะนั้นมันก็มีหลักฐาน สื่อที่ทำเรื่องนี้คือ PCIJ (Philippine Center for Investigative Journalism) เขาใช้ลักษณะที่เจาะข่าว วิธีทำของเขาก็คือไปใช้ pubic record ก็คือ ไปตรวจดู เช่น ไปตรวจดูทะเบียนบริษัท ไปตรวจดูผู้ถือหุ้น ดูว่าเครือญาติประธานาธิบดีไปถือหุ้นอยู่ในไหน ไปผูกกันกับผู้รับสัมปทานรายได้ ทำโครงการขนาดใหญ่ที่ไหน แล้วก็ไปถามเจาะลึกกับคนที่จริงใจที่จะให้ข้อมูล ไปถามชาวบ้าน เช่น บอกว่าจะสร้างบ้านใหม่ให้กับภรรยาน้อย ไปเอาทรายมาจากที่สวยที่สุด เพื่อที่จะทำคลื่นเหมือนกับหาดทรายที่มาจากชายทะเล เขาก็จะไปถามชาวบ้านแถวนั้นให้เขาเล่าให้ฟัง บางคนก็กล้าพูด บางคนก็ไม่กล้าพูด เขาก็ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ เก็บ จนข้อมูลครบถ้วน เขาถึงจะเปิดเผยออกมาว่ามีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น ดังนั้น ข้อมูลของ PCIJ ถูกดึงไปใช้ในตอนที่กรรมาธิการรัฐสภาไปตรวจสอบประธานาธิบดี จะต้องคอยส่งแฟกซ์ข้อมูลเกือบจะตลอดเวลาตอนนั้น เพราะว่าข้อมูลเก็บอยู่ที่นี่ ในตอนนั้นเขาจะมีทั้งเว็บไซต์ ทั้งแมกกาซีน แล้วก็มี I-SITE คือมีตัวที่จะคอยตรวจสอบนักการเมืองและประธานาธิบดี แล้วก็ทำเนื้อหาออกไปสู่สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หรือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก ทำเป็น feature story ทำเป็นรายงานเจาะลึก ยาวๆ หน่อย เพราะฉะนั้นก็ทำให้สังคมเริ่มเรียนรู้ แล้วก็เริ่มอ่านรายงานชิ้นยาวๆ อ่านข้อมูลที่เสนอแบยากๆหน่อย เจาะลึกหน่อย สุดท้ายแล้ว คุณชีลา โคโลเนล (Sheila Coronel) ก็ได้รางวัลแม็กไซไซในปี 2003 เขาบอกว่ารายงานของเขาต้องเข้าไปเจาะลึกข้อมูล แล้วก็ทำให้รัฐบาลของเขาต้องมอบกฎหมายเหล่านี้กลับมา คือเหมือน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของเรา ตอนที่เขาทำงานเขาก็เล่าให้ฟังว่า มีนักศึกษาฝึกงาน แล้วก็ส่งไปที่สำนักงานที่เป็นกระทรวงพาณิชย์ ที่เป็นที่จดทะเบียนการค้าก็ส่งไปเข้าแถว ข้อบังคับของทางโน้นเข้มงวดหน่อยก็คือว่าคนหนึ่งขอได้ 3 เอกสาร เขาก็ต้องส่งคนไปยืนเรียงกันหลายคนทีเดียว กว่าจะได้เอกสารมาตามที่เขาอยากได้ เพราะว่าคนหนึ่งขอได้ 3 ชิ้นต่อวัน มันได้น้อยมาก เขาจะไปวิเคราะห์ สังเคราะห์อะไรไม่ค่อยได้ ก็ได้อาศัยว่ามีคนไปฝึกงานที่จะช่วยเขาได้ เขาก็บอกว่าวิธีการอย่างนี้ ก็ทำให้ผู้มีอำนาจต้องมาตอบคำถาม แล้วก็ทำให้เขารู้ว่า การเอาข้อมูลอย่างนี้มาออกอากาศไม่ได้เป็นการหมิ่นประมาท ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่า สิ่งที่เผยแพร่เป็นลักษณะโคมลอย ดังนั้นก็ไปเอาสิ่งที่เป็นข้อมูลหลักฐานมา เจ้าหน้าที่ที่ทำข้อมูลฝ่ายของเขาเก่งมาก มีคนเดียว แต่ว่าก้มหน้าก้มตาทำทั้งวันเลย ออกแบบตารางเก่ง เอาข้อมูลมาสอบทานกัน ในปี 2000 PCIJ เริ่มต้นทำข่าวสืบสวนสอบสวนเพื่อเปิดเผยการคอรัปชั่นขนานใหญ่ของโจเซฟ เอสตราด้า ประธานาธิบดีในขณะนั้น ชุดรายงานข่าวชุดนั้นถูกใช้ในการสอบสวนคดีถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งในปี 2001 ดังนั้นสิ่งที่ PCIJ ตั้งคำถามกับประธานาธิบดี แล้วทำให้สังคมหันมาตั้งคำถามเรื่องนี้ด้วย ก็คือว่า ประธานาธิบดีเอสตราด้าร่ำรวยขึ้นมาได้อย่างไร ดูแล้วคล้ายคุณทักษิณอยู่ไม่น้อย แล้วในวันที่มียื่นถอดถอนในสภา เขาถ่ายทอดสดตลอดเวลาของการไต่สวน เขาบอกว่าเรตติ้งของละครโทรทัศน์ตกหมดเลย ทุกคนกลับบ้านไปดูถ่ายทอดไต่สวนประธานาธิบดี เขาไต่สวนกันในรัฐสภา ไม่ใช่ในศาล ของเขาก็คือว่าสภาใช้อำนาจศาลในการไต่สวน แล้วก็ในการที่มีการประท้วงกดดัน เพราะว่าตอนแรกๆ 1. ไม่ค่อยมีใครกล้าลงชื่อ เพื่อยื่นถอดถอน 2. ในระหว่างที่มีการไต่สวนแล้วก็จริง ยังต้องสร้างแรงกดดันด้วย ทั้งการเสนอข่าว ทั้งมีการชุมนุมประท้วง มิเช่นนั้นแล้ว พวกเขาอาจจะรู้สึกว่ามีการยอมกัน รอมชอม ประนีประนอมกัน ไม่ยอมลงมติถอนถอดประธานาธิบดีเอสตราดร้า มีจุดตายของเขาอีกอันหนึ่งก็คือว่า ไปพบว่ามีการเซ็นต์เช็คปลอมด้วย ก็สามารถเอาเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินไปยืนยัน เพราะฉะนั้นหลายอย่างถือว่าผิดกฎหมาย ถึงสามารถมีหลักฐานที่จะถอดถอนประธานาธิบดีได้ ทีนี้เรายกตัวอย่างเหล่านี้มา เพื่อจะดูว่ากระบวนการทำงานของเขาก็คือว่า พยายามที่จะทำให้เครือข่ายการสื่อสาร ลักษณะการสื่อสารมีการขยายออกไปในระนาบเดียวกัน ทุกคนเข้าถึง มีความเท่าเทียม เป็นกระบวนการสร้างประชาธิปไตย (Democratization) ของลักษณะของโครงสร้างสื่อ การใช้เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ก็เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารที่สามารถที่จะคุยในระนาบเดียวกันได้มากขึ้น อีกวิธีหนึ่งที่จะทำได้ก็คือ ไปปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองภายใน ระบบการสื่อสารหรือระบบโครงสร้างพื้นฐานของการสื่อสาร แล้วก็วัฒนธรรมการสื่อสาร ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมเยอะ แล้วก็เข้ามีไปลักษณะของการสร้างสำนึกตระหนักรู้ แล้วก็สร้างอำนาจให้กับประชาชนที่มีความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว (active citizen) แล้วก็มีสื่ออื่นด้วยนะ ดูมาที่ EDSA เป็นตัวหลัก สื่ออื่นของเขา สื่ออื่นของเขาก็จะเจอว่า หมู่เกาะปาลาวัน (Palawan) ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่ปะการังที่เป็นอันดับสองรองจากออสเตรเลีย ที่เขาอนุรักษ์ไว้ อันนั้นก็จะมีพวกที่ไปทำประโยชน์ผิดกฎหมายหลายอย่าง เขาก็จะมีหนังสื่อพิมพ์ท้องถิ่นที่จะไปเปิดโปงทั้งเรื่องการทำป่าไม้ การไปทำอะไรกับทรัพยากรทางทะเล รายนี้ก็ถูกฟ้อง แล้วก็ถูกฟ้องในลักษณะเดียวกับที่เราเคยได้ยินในประเทศไทยก็คือว่า อยู่ที่ปาลาวันมันไกลมาก ต้องบินเข้ามะนิลา ค่าเครื่องบินเที่ยวหนึ่งก็หลายพันบาท เขาจะไปฟ้องที่มะนิลา แล้วก็เรียกไปให้การที่มะนิลา สุดท้ายให้การไปให้การมา เธอคนนี้ก็เลยย้ายมาอยู่ประเทศไทย เพราะไม่สามารถที่จะไปให้การในศาลได้ตลอดเวลา หมดตัว เขาเรียกค่าเสียหายข้อหาว่าคุณลงหัวข้อหมิ่นประมาท เพราะฉะนั้นจะโดนเล่นงานค่อนข้างรุนแรง แต่ถ้าเป็นทางใต้จะถูกยิง นักวิทยุจะถูกยิงสูงสุดในฟิลิปปินส์ ความขัดแย้งที่มินดาเนา ทีนี้ในฟิลิปปินส์ขอแถมท้ายนิดหนึ่งก็คือว่า ไปที่มินดาเนา แต่ไม่ได้เขียนขึ้นมา เพราะรู้สึกว่าแป๊บเดียว ยังไม่เข้าใจสถานการณ์ของนั้น ก็ได้อ่านวรรณกรรม ก็ได้พบผู้คนบ้าง แต่ว่าหนึ่งสัปดาห์เราไม่สามารถทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่มันสลับซับซ้อน สู้รบกันมานานมาก แล้วก็มันอยู่ในช่วงเคยมีการตกลง มีอำนาจการปกครองตนเอง (Autonomy) มาส่วนหนึ่ง มีการลงมติไปแล้วครั้งหนึ่งที่ว่ามี 6 จังหวัดที่จะขอปกครองตัวเองอีก 2 หรือ 3 จังหวัดไม่ร่วม ใช้วิธีการลงประชามติ (Referendum) แต่ว่าครั้งนั้นก็รู้สึกว่าดำเนินการไปไม่ได้เท่าไหร่ แล้วในช่วงประธานาธิบดีเอสตราดร้าก็มีการยุติกระบวนการสันติภาพ แล้วก็มีการทำสงครามกันใหม่กับอีกกลุ่มหนึ่ง ทีนี้สถานการณ์ตอนนั้นออกจะตึงเครียดอยู่ เพราะว่ารัฐบาลกลางส่งกำลังรบลงไปมาก ก็ไปคุยอยู่ 2 ส่วน ก็คือส่วนที่ทำงานอยู่ในพื้นที่เป็น NGO คือเขาเรียกว่าเป็นพวกที่ไปรับประกันสันติภาพ ก็คือว่าไปเรียกร้อง แล้วก็พยายามทำตัวเป็นคนกลาง คือถ้าเวลามีการรู้ข่าวมาว่าทหารกำลังจะไปปิดล้อมหมู่บ้าน กำลังจะส่งทหารเข้าไป แล้วเป็นหมู่บ้านที่ไม่มีอะไร ไม่ได้อยู่ในโซนที่ MILF หรือ MNLF ก็จะส่งคนที่เป็นคนของ NGO กลุ่มนี้เข้าไป แล้วก็ไปช่วยอพยพคนออกมา หาที่ปลอดภัยให้อยู่ ในช่วงที่ไป คืนนั้นได้ข่าวว่ารัฐบาลกำลังจะส่งกองกำลังเข้าไปปิดล้อม เขาก็กำลังชุนละมุน บอกว่างั้นไปแล้วนะ ปิดออฟฟิศว่าจะไปแล้ว ก็ถามเขาว่าขอไปด้วยได้ไหม เขาก็บอกว่าไม่ได้ รู้สึกว่าเขาเกรงว่าจะรักษาความปลอดภัยให้เราไม่ได้ เราไปเก้ๆ กังๆ เราดูอะไรไม่ออก ไม่รู้เรื่องรู้ราว แต่เขาเล่าให้เราฟังว่าเขาจะไปทำอะไรบ้าง จะต้องไปตอนดึกๆ ก็เข้าไปอย่างเงียบๆ ไปดู ไปเตรียมตัว ไปส่งข่าว แล้วก็ก่อนรุ่งสางก็ค่อยๆ พากันอพยพออกมา เขาบอกว่าปรากฏว่าที่ผ่านมา สำหรับพวกเขาแล้ว เขาเจอว่าชาวบ้านบางหมู่บ้านอพยพซ้ำหลายครั้งมาก กลับไปก็จะถูกปิดล้อมอีก ก็จะออกมาอีก แล้วเขาก็หาที่ปลอดภัยให้อยู่ไม่ค่อยได้ ก็กลายเป็นว่าความยากลำบากของคนที่อยู่ในโซนสงคราม คือไม่มีที่ที่จะอยู่อาศัย สมบัติต้องเตรียมพร้อมที่จะอพยพเดินทางได้ทันที อันนั้นก็คือเป็นการประกาศสงครามกันอย่างชัดเจน อยู่ในซีกทางตะวันตกของเกาะมินดาเนา ถ้าเราจะดู ก็คือทางตะวันออกจะเป็นพื้นที่ที่เป็นกลุ่มประชากรชาวคริสต์ จะค่อนข้างไม่มีเหตุพอฝั่งตะวันตกไป บางเมืองเขาจะรู้กันเลยว่าเขตแดน เข้าไม่ได้ ทหารก็จะเข้าไม่ได้ เพราะว่ากองกำลังอยู่ ป่าลึกๆ กองกำลังก็จะคุมอยู่ มินดานิวส์: สื่อในสถานการความขัดแย้งที่มินดาเนา ทีนี้มีเรื่องของการสื่อสาร ก็คือมินดานิวส์ (Mindanews) ก็คือองค์กรสื่อที่เกิดขึ้นเพราะว่าสื่อส่วนกลางไม่ตอบรับกับกระบวนการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ความเข้าใจคุณแคโรไลน์ (Carolyn O. Arguillas) แกอยู่กับหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ คือ Philippine Inquirer มาก่อน แล้วก็ดูการทำงานข่าวภาคใต้ เป็นหัวหน้าใหญ่ของภาคใต้ เขามาจากมินดาเนา แล้วเขาก็รู้สึกว่า ทำไมเขาจะต้องรายงาน ผู้สูญเสีย บาดเจ็บ แล้วหัวหน้าที่มะนิลาก็จะบอกว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตมากกว่าคราวที่แล้วไหม ขอให้มากกว่าคราวที่แล้วเขาถึงจะรายงาน ไม่อย่างนั้นเขาไม่รายงาน เขาก็รู้สึกคับข้องใจตลอด เขาบอกทะเลาะกันมาก จนกระทั่งเขาลาออก และก็ไม่บอกเขาซักคำว่า ถ้าเขาลาออกช้ากว่านี้หนึ่งสัปดาห์เขาจะมีบำนาญหรือเข้าข่ายสวัสดิการ ไม่มีใครบอกเขาเลย คือทุกคนแอบดีใจว่าเขาไปได้ก็ดี ตัวปัญหา คือไม่ทำงานข่าวตามที่หัวหน้าสั่ง แล้วก็มาตั้งคำถามจุกจิกจู้จี้อะไรกับหัวหน้ากองบรรณาธิการ สุดท้ายเขาก็เลยงั้นลาออก กลับไปอยู่บ้านที่มินดาเนา แล้วก็ตั้งมินดานิวส์ (Mindanews) ของเขาขึ้นมาเอง ในช่วงที่โอเค การรายงานออนไลน์และเว็บก็ดูยังไม่ทันสมัยและทำง่ายเหมือนสมัยนี้ ได้นำพาเอานักข่าวที่เป็นกลุ่มอยู่ในเครือของเขามาด้วยจำนวนหนึ่ง แต่ว่าไม่ได้อยู่ประจำเมืองเดียวกัน อยู่ในเมืองต่างๆ สองสามเมืองในเครือบริเวณเดียวกัน หน้าเว็บของ mindanews.com เขาค่อนข้างที่จะเข้าถึง เขารายงานข่าวจากทุกฝ่าย แล้วเขาทำได้จริง คือเขาจะโทรศัพท์ไปที่ผู้ก่อการได้หมด ฝ่ายการเมืองก็ได้ ฝ่ายแม่ทัพก็ได้ ฝ่ายที่เป็นฝ่ายโฆษณาก็ได้ ฝ่ายที่เป็นฝ่ายทหารก็ได้ เพราะฉะนั้นเขาสามารถที่จะเอาข่าว เอาข้อมูลมาจากทุกฝ่าย มาขึ้นในเว็บของเขาได้ ดังนั้น ทุกคนฝ่ายข่าวกรองของรัฐบาลฟิลิปปินส์เอง ของทหาร ของรัฐบาลต่างประเทศที่ติดตามอยู่ โดยเฉพาะสถานกงสุลสหรัฐสนใจมาก แคโรไลน์เขาก็จะบอกว่า เขาจะเขียนข่าวจนถึงดึกๆ เลย จนถึงตีสามเขาจะเอาข่าวขึ้นพวกอยากรู้ข่าวนี่ก็รอไปเถอะรอไป อยากรู้ใช่ไหมรอไป พอเอาขึ้นปั๊บ ตัวเขาก็เข้านอน แล้วคนที่เอาข่าวไป ไปอ่าน แล้วก็ไปวิเคราะห์ ดูว่ามีวิธีที่จะไปแก้ปัญหา แล้วก็จะต้องรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอะไรต่างๆ อย่างไร อันนี้ก็เป็นวิธีทำงาน เพราะเขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำ ไม่มีสื่ออื่นที่จะทำได้ ไม่มีใครที่จะเข้าไปเจาะ แล้วสร้างความเข้าใจ แล้วเอาข้อมูลออกมาตีแพร่ ให้คนได้คิดเอาไปไตร่ตรอง ไม่ได้ชวนให้ใครต้องมารบกัน ไม่ได้ชวนให้ใครต้องมาเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ โมเดลของมินดานิวส์เริ่มเป็นที่สนใจว่า ในพื้นที่ความขัดแย้งจะทำอย่างไรให้มีสื่อที่เป็นคนกลาง ที่ทุกฝ่ายไว้ใจ สามารถที่จะเปิดเผยข้อมูล พูดในภาษาที่สื่อเห็นว่าจะสามารถสื่อสารกับคนต่างๆได้เข้าใจ ไม่สร้างความเข้าใจผิด หรือไม่มีอคติ เขาก็ทำได้ดีทีเดียว มีการตอบรับที่ดีแล้ว ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าการศึกษาแบบนี้สะท้อนประสบการณ์ของเขามาสู่ประสบการณ์ของเราได้ว่า แล้วเราพอจะมีแบบนั้นได้หรือไม่ แล้วเราทำขึ้นมาได้ไหม อยู่ในบรรยากาศที่พร้อม หรือไม่พร้อมอย่างไรซึ่งจะเป็นบทเรียนที่สำคัญในอนาคต ที่มา : สื่อภาคประชาชนและสิทธิการสื่อสาร: บทเรียนจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
MCOT ยอมฉาย "คนค้นฅน" เทป "ศศิน เฉลิมลาภ" 12 ต.ค. นี้ Posted: 01 Oct 2013 01:36 AM PDT หลังทีมงาน "คนค้นฅน" หารือผู้บริหาร MCOT สรุปเคาะฉายใหม่วันที่ 12 ต.ค. นี้ ขณะที่ยอดวิวออนไลน์อยู่ที่ 4.2 แสน ที่มาของภาพ: เพจฅนค้นฅน ตามที่รายการ "คนค้นฅน" ตอน "ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง" ถูกระงับการออกอากาศทางช่อง MCOT หรือช่อง 9 อสมท. และต่อมทางเพจ "คนค้นฅน" ได้นำเทปรายการซึ่งมีการปรับปรุงใหม่ดังกล่าวมาเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ล่าสุดนั้นเพจ "คนฅ้นคน" ได้ชี้แจงเมื่อคืนวานนี้ (30 ก.ย.) ว่า "สำหรับผู้ชมรายการ คนค้นฅน" ทุกท่าน วันนี้ทีมงานคนค้นฅน ได้เข้าพบท่านกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท.เพื่อหารือถึงกรณีรายการ คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 338 กม. จากป่าสู่เมือง ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ท่าน ผอ. จะให้นำเทปตอนนี้ มาออกอากาศในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2556 เวลาบ่าย 2 โมงตรง (เนื่องจากสัปดาห์หน้า รายการงดออกอากาศเพราะติดถ่ายทอดสดการมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ)" ขณะที่ยอดวิวออนไลน์ในวันที่ 1 ต.ค. อยู่ที่ 4.2 แสนวิวแล้ว อนึ่งก่อนหน้านี้ ธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงด้วยว่า การตัดสินใจงดออกอากาศเป็นเรื่องของ MCOT ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลสั่งการ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ขณะที่นายสุวิทย์ มิ่งมล รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อสมท. ชี้แจงในเฟซบุคว่า กรณีรายการคนค้นฅนนั้น มีการส่งเทปมาล่าช้า ไม่เป็นไปตามตกลงคือ ก่อนออกอากาศ 3 วัน ทำให้การปรับแก้ไม่ทัน โดยขอความเป็นธรรมให้ อสมท.ด้วย อย่าเพิ่งด่วนตัดสินทั้งองค์กร ด้วยเหตุจากรายการเดียว (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) สำหรับรายการ คนค้นฅน เป็นรายการเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของแขกรับเชิญในรายการ ผลิดโดย บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด เป็นรายการแรกของบริษัท เริ่มออกอากาศคืนแรกเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 เวลา 22.00 น. ทาง MCOT ชื่อตอน "เถร…คนดีท่าพระจันทร์" รูปแบบรายการส่วนหนึ่งจะเน้นการนำเสนอเรื่องราวของคนด้อยโอกาสในสังคม โดยออกอากาศติดต่อกันมาแล้วกว่า 11 ปี ปัจจุบันยังคงออกอากาศทางช่อง MCOT ทุกวันเสาร์ เวลา 14.05 - 15.00 น. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
กรุงเทพโพลล์สำรวจความพอใจคนกรุงต่อผลงาน 6 เดือนผู้ว่าฯ กทม. Posted: 01 Oct 2013 01:28 AM PDT กรุงเทพโพลล์ สำรวจความพึงพอใจคนกรุงเทพฯ ต่อผลงานรอบ 6 เดือนของผู้ว่าฯ ให้คะแนน 5.64 ส่วน กทม.ได้ 5.92 วอนช่วยลดค่าครองชีพ ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นรับมือน้ำท่วม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เรื่อง "ประเมินผลงาน 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม." เนื่องในวันครบรอบ 6 เดือนการปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อวันที่ 29 ก.ย.56 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,130 คน ในระหว่างวันที่ 27-30 ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความพึงพอใจผลงาน ของ กทม.ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ในภาพรวมได้ 5.92 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพึงพอใจผลงานด้านมหานครแห่งอาเซียนมากที่สุด (6.14 คะแนน) รองลงมาคือ ด้านมหานครแห่งการเรียนรู้ (ร้อยละ 6.04) และด้านมหานครแห่งความปลอดภัย (ร้อยละ 5.90) ขณะที่ได้คะแนนมหานครแห่งโอกาสของทุกคนน้อยที่สุด (5.72 คะแนน) ส่วนคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม.ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในภาพรวม ได้ 5.64 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยได้คะแนนความพึงพอใจด้านความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด (5.93 คะแนน) รองลงมาคือ ด้านความขยันทุ่มเทในการทำงาน (5.91 คะแนน) และด้านการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ (5.57 คะแนน) ขณะที่ได้คะแนนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่น้อยที่สุด (5.44 คะแนน) สำหรับเรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม.ช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดในตอนนี้คือ ช่วยลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง (ร้อยละ 62.6) รองลงมาคือ ช่วยแก้ปัญหาจราจร (ร้อยละ 60.9) และช่วยขุดลอกคูคลอง เตรียมรับมือน้ำท่วม (ร้อยละ 51.6) เมื่อถามคนกรุงเทพฯ ว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดต่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในการป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.4 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 44.6 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด เมื่อถามความเห็นในภาพรวมที่ผ่านมา 6 เดือน กทม.มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ช่วงก่อนหน้านี้ ร้อยละ 59.5 เห็นว่าเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 31.3 เห็นว่าดีขึ้น และร้อยละ 9.2 เห็นว่าแย่ลง 2.คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม.ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อทำงานครบ 6 เดือน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) 3.เรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม.ช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดในตอนนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ช่วยลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง ร้อยละ 62.6 มากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 5.1 และมากร้อยละ 39.5) ร้อยละ 44.6 น้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 39.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 16.0) ร้อยละ 55.4 5.ความเห็นในภาพรวมที่ผ่านมา 6 เดือน กทม.มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ช่วงก่อนหน้านี้ เห็นว่าดีขึ้น ร้อยละ 31.3 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
นายกรัฐมนตรีลงนาม รธน. ฉบับแก้ไขให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งแล้ว Posted: 01 Oct 2013 12:47 AM PDT ระบุอยู่ระหว่างขั้นตอนขึ้นทูลเกล้าฯ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และยืนยันว่าดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด สำนักข่าวไทย รายงานวันนี้ (1 ต.ค.) ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการปะชุมคณะรัฐมนตรีว่า ได้ลงนามในการนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่มาของ ส.ว. เรียบร้อยแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ยืนยันดำเนินการตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด ที่ให้นายกรัฐมนตรีจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน และกลุ่ม 40 ส.ว. ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจเข้าข่ายขัดมาตรา 154 ว่า ให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องตรวจสอบแล้ว ได้ข้อสรุปว่ากระบวนการต่าง ๆ เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เชื่อว่าไม่มีปัญหา สามารถดำเนินการได้ เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ได้ผ่านกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติมาแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจว่าไม่น่าจะมีปัญหาใด ที่มาของภาพประกอบ: เพจ Y.Shinawatra ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
Posted: 01 Oct 2013 12:38 AM PDT ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยไม่มีความจำเป็นต้องเอาเนื้อหามาถ่ายทอดพูดซ้ำในที่สาธารณะ เพราะประชาชนบางส่วนไม่ทราบว่า ดารณีพูดอย่างไร ก็มาทราบจากการที่จำเลยพูด ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ส่งผลกระทบต่อสถาบัน อันเป็นการกระทำที่ไม่ระวังระวังอย่างเพียงพอ การกระทำเป็นการครบองค์ประกอบความผิดแล้ว จึงเป็นความผิดฐานดูหมิ่นสถาบันฯ ตาม ป.อาญามาตรา112 1 ก.ย.56, ในคดี 'สนธิ ลิ้มทองกุล' ผิด ม.112 จากการเผยแพร่ซ้ำคำปราศรัย 'ดา ตอร์ปิโด' | ||||
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ จำคุก ‘สนธิ’ 2 ปี ปราศรัยซ้ำคำดา ตอร์ปิโด Posted: 30 Sep 2013 11:02 PM PDT
1 ต.ค.56 ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ห้องพิจารณาคดี 814 มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อ.2066/2553 ที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวนแล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีเจตนาดูหมิ่นสถาบันหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยโต้แย้งกันในศาลล่างฟังได้ว่า จำเลยนำคำพูดของดารณี หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่พูดพาดพิงสถาบันเบื้องสูง มาปราศรัยที่เวทีพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นการนำคำพูดมาหมิ่นประมาทซ้ำ ที่จำเลยอ้างว่าไม่เจตนา แต่เอาคำพูดมาปราศรัยเพื่อให้มีการดำเนินคดีกับดารณี ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยไม่มีความจำเป็นต้องเอาเนื้อหามาถ่ายทอดพูดซ้ำในที่สาธารณะ เพราะประชาชนบางส่วนไม่ทราบว่า ดารณีพูดอย่างไร ก็มาทราบจากการที่จำเลยพูด ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ส่งผลกระทบต่อสถาบัน อันเป็นการกระทำที่ไม่ระวังระวังอย่างเพียงพอ การกระทำเป็นการครบองค์ประกอบความผิดแล้ว จึงเป็นความผิดฐานดูหมิ่นสถาบันฯ ตาม ป.อาญามาตรา112 อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น ลงโทษจำคุก 3 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี หลังฟังคำพิพากษา นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความได้นำหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพของบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด(มหาชน) วงเงิน 3 แสนบาท ยื่นขอประกันตัวต่อศาลต่อไป ซึ่งต่อมาทนายความได้เพิ่มหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ เป็นวงเงิน 5 แสนบาทต่อศาล ซึ่งศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันตัว ที่มาบางส่วน : เว็บไซต์ไทยรัฐ ASTV-ผู้จัดการ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ควาญช้างพังแตงโม บุกสภาทนายความ แฉอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ Posted: 30 Sep 2013 08:40 PM PDT ควาญช้างพังแตงโม บุกสภาทนายความ ยื่นหนังสือร้องเรียน แฉ "ดำรง พิเดช" จับช้างพังแตงโมทั้งๆ ที่มีเอกสารครบ และอัยการสั่งไม่ฟ้อง เผยสภาพพังแตงโมเป็นอัมพาตและใกล้ตาย ด้านสภาทนายความเตรียมช่วยเหลือด้านกฎหมายเต็มที่ 30 พ.ย. 56 - ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ นายเนติวินท์ อมรสิน ควาญช้างพังแตงโม เดินทางมาจากจังหวัดสุรินทร์เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ในกรณีที่ช้างพังแตงโมวัย 4 ปี ที่เคยถูกนายดำรง พิเดช อดีตอธิบดีกรมป่าไม้จับไป ป่วยหนักและกำลังจะเสียชีวิต นายเนติวินท์ กล่าวว่า ตนเป็นเจ้าของควาญช้างพังแตงโมวัย 4 ปี ซึ่งเป็นควาญช้างที่เลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก และมีความรักความผูกพันกับช้างพังแตงโมเป็นอย่างมาก แต่เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.พ.ศ.2555 เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นำโดยนายดำรง พิเดช อธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้นได้ยึดช้างพังแตงโมของนายเนติวินท์ โดยแจ้งข้อหาว่า ผู้ครอบครองมีความผิดตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาต และช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อหรือรับไว้ด้วยประการใด ซึ่งสัตว์ป่าอันได้โดยการกระทำผิดและได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.กระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ให้ดำเนินคดีและได้นำช้างของกลางไปเลี้ยงไว้ที่สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ จังหวัดลำปาง ต่อมาอัยการศาลจังหวัด ได้มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ในข้อหาความผิดตามที่เจ้าหน้าที่กล่าวหาและสั่งให้คืนช้างของกลางและวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ เมื่อนายเนติวินท์ไปดูช้างพังแตงโมที่ สถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปาง พบว่า มีอาการบาดเจ็บเป็นอัมพาต ไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้เป็นปกติและมีบาดแผลหลายแห่งตามร่างกายทั้งบริเวณ ลำตัว สะโพก ขาและก้น จนไม่สามารถลุกได้ "ช้างพังแตงโมว่าไปก็เหมือนลูกสาวที่มีความผูกพันกันมา คนเลี้ยงช้างอย่างไรก็ต้องอยู่กับช้าง หากพังแตงโมเสียก็ต้องนำกลับมาทำพิธีที่สุรินทร์ และพังแตงโมเป็นช้างตัวเดียวที่มี"นายเนติวินท์กล่าว ด้านนายสุรพงษ์ กองจันทึก กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความได้รับหนังสือร้องเรียนของนายเนติวินท์ และกล่าวว่าเมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้อง นายเนติวินท์ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ เจ้าหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ของกลางคืนลูกช้าง ในสภาพสมบูรณ์เช่นเดียวกับวันเอาช้างไป ส่วนความเสียหายรัฐต้องชดเชยให้ ถ้ากรมอุทยานฯไม่เร่งดำเนินการชดใช้ชดเชยก็อาจจำเป็นต้องใช้กระบวนการทางศาลยุติธรรมต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลกระทบ หากรัฐบาลสหรัฐฯ หยุดทำการ Posted: 30 Sep 2013 07:17 PM PDT เป็นที่หวั่นเกรงว่าในช่วงต้นปีงบประมาณของสหรัฐฯ หากไม่สามารถตกลงเรื่องงบประมาณได้ในสภา ก็จะเกิดภาวะรัฐบาลกลางหยุดทำการ (Government shutdown) ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มองว่าจะส่งผลสะเทือนต่อพื้นที่วอชิงตันหลายด้าน เช่นในแง่ผลกระทบต่อพนักงานรัฐหรือด้านบริการสาธารณะ 30 ก.ย. 56 - สำนักข่าววอชิงตันโพสต์นำเสนอการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งกล่าวว่า หากเกิดเหตุการณ์รัฐบาลกลางสหรัฐฯ หยุดทำการ (Government shutdown) จะทำให้ในเขตวอชิงตันซึ่งมีพนักงานรัฐอยู่เป็นจำนวนมากต้องสูญเสียรายได้ราว 200 ล้านดอลลาร์ต่อวัน และมีโอกาสที่พนักงานจำนวน 700,000 คนจะได้รับผลกระทบ การหยุดทำการของรัฐบาลสหรัฐฯ จะเกิดขึ้นหากรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องงบประมาณเพื่อหนุนโครงการของรัฐบาลในช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณ โดยหน่วยงานของรัฐบาลจะหยุดให้บริการเว้นแต่หน่วยงานสำคัญ สตีเฟน ฟูลเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ภูมิภาคจากมหาวิทยาลัยจอร์จเมสันกล่าวว่า หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจะส่งผลกระทบต่อด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจากรัฐอย่างพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สวนสัตว์แห่งชาติ พื้นที่ประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับทุนจากรัฐบาลแหล่งอื่นๆ จะปิดทำการ โดยฟูลเลอร์กล่าวเปรียบเปรยว่า การหยุดทำการของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อพื้นที่ราว "คลื่นสึนามิ" นอกจากผลกระทบทางเศรษฐกิจแล้ว ผู้คนในพื้นที่ยังต้องเผชิญกับการถูกตัดงบประมาณด้านสวัสดิการ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการประกันสุขภาพ สวัสดิการสังคม เงินอุดหนุนสถานบริการดูแลเด็ก ขาดเงินกู้ยืมเพื่อการซื้อบ้านหรือทำธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงเงินทุนเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม มีบริการบางส่วน เช่น บริการไปรษณีย์จะยังเปิดทำการเนื่องจากเป็นหน่วยงานอิสระ ส่วนแอมแทร็กซึ่งเป็นบริษัทการรถไฟของสหรัฐฯ ก็บอกว่าจะมีการเดินรถไฟตามปกติ ขณะที่บริการเก็บขยะและห้องสมุดอาจถูกปิดบริการชั่วคราว แต่นายกเทศมนตรีวินเซนต์ เกรย์ ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้โดยการประกาศให้พนักงานทุกคนมีความจำเป็น (essential) มีผู้แทนสภาพยายามผลักดันร่างกฎหมายเพื่อไม่ให้เมืองได้รับผลกระทบจากภาวะหยุดทำการของรัฐบาลเหมือนครั้งที่ผ่านๆ มา การหยุดทำการของรัฐบาล (Government shutdown) เกิดขึ้นมาแล้ว 17 ครั้งนับตั้งแต่ปี 1976 โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 1995 ซึ่งพรรคริพับลิกันกับประธานาธิบดีบิล คลินตัน ไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องงบประมาณ ฟูลเลอร์กล่าวอีกว่าหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจในพื้นที่เกิดความตกต่ำจะยิ่งเป็นการตอกย้ำทั้งกับพนักงานและผู้รับเหมา โดยได้ประเมินว่าจะกระทบพนักงานรัฐ ร้อยละ 60 ทำให้พนักงาน 377,000 คน กลายเป็น "ผู้ไม่มีความจำเป็น" (nonessential) และถูกให้พักงาน นอกจากนี้ผู้รับเหมาร้อยละ 20 ซึ่งปกติแล้วได้รับเงินจากรัฐบาล 75 พันล้านดอลลาร์ต่อปี และเนื่องจากการถูกสั่งพักงานทำให้มีคนใช้เงินจับจ่ายกับร้านค้าหรือธุรกิจในท้องถิ่นลดลงไปด้วย วอชิงตันโพสต์กล่าวอีกว่า การที่มีพนักงานบางส่วนถูกทำให้กลายเป็น "ผู้ไม่มีความจำเป็น" ทำให้การทำงานบางหน่วยงานลดประสิทธิภาพลง เช่น สนามบินมีกำหนดการล่าช้า มีคนงานน้อยลงในการจัดการสวัสดิการของรัฐ และแม้ว่าจะมีกฎหมายให้จ่ายค่าตอบแทนสมาชิกกองทัพ แต่ทุนส่วนสวัสดิการของทหารผ่านศึกก็อาจหมดไปหากมีการหยุดทำการนานหลายสัปดาห์ ส.ส. เจอราด คอนนอลลี ของสหรัฐน เกรงว่าอาจจะเกิดปรากฏการณ์ลูกคลื่น ทำให้การหยุดทำการส่งผลเสียหายมากกว่าปกติ ขณะที่ ส.ส. แฟรงค์ วูลฟ์ เกรงว่าการหยุดทำการจะกระทบกับหน่วยงานเอฟบีไอ หน่วยปราบปรามยาเสพติด ซีไอเอ และหน่วยงานอื่นๆ ในรายงานของสำนักงานวิจัยรัฐสภาสหรัฐฯ เปิดเผยว่าการหยุดทำการของรัฐบาลในปี 1996 ทำให้มีการปิดทำการสวนสาธารณะและอนุสรณ์สถานแห่งชาติ มีการหยุดบริการหนังสือเดินทางและวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ รวมถึงการหยุดการขึ้นทะเบียนคนไข้ในการวิจัยทางการแพทย์ของสถาบันสาธารณสุข
เรียบเรียงจาก Washington area could lose $200 million a day if shutdown occurs, economist says, Washington Post, 30-09-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น