โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

จัดอันดับประเทศไอซีทีก้าวหน้า เกาหลีใต้ แชมป์สามสมัย ส่วนไทยอยู่ที่ 95

Posted: 08 Oct 2013 01:05 PM PDT

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) แถลงตัวเลขสถิติและการจัดอันดับด้านการเติบโตของ ICT ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

- ยอดผู้ใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น 250 ล้านคน ในปี  2012
- เกาหลีใต้ครองอันดับหนึ่งในด้าน ICT เป็นปีที่สามติดต่อกัน
- ปลายปี 2013 ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะเท่ากับ 40 % ของจำนวนประชากรโลก ในขณะที่อีกกว่า 1.1 พันล้านครัวเรือน หรือเทียบเท่ากับ 4.4  พันล้านคน ยังไม่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
- บรอดแบนด์เคลื่อนที่ (mobile broadband) ในปัจจุบันราคาถูกกว่าบรอดแบนด์แบบพื้นฐาน
- ปัจจุบันประชากรเกือบทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
- 30% ของคนวัยหนุ่มสาวจากทั่วโลกใช้ชีวิตอยู่กับโลกดิจิตอลตั้งแต่เด็ก (digital natives)
- บรอดแบนด์มีความเร็วมากขึ้น บรอดแบนด์ที่ความเร็ว 2 Mbps เป็นแพคเกจที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- ผู้ประกอบการโทรคมนาคมมีการลงทุน (CAPEX) มากที่สุดในปี 2008 และลดลงหลังจากนั้น จนปัจจุบันการลงทุนด้านกิจการโทรคมนาคมยังไม่มากเท่าในปี 2008

 

(8 ต.ค. 56)  รายงานประจำปีของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เรื่อง ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศปี 2556 แสดงให้เห็นว่า การใช้บริการบรอดแบนด์ผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีอัตราการเติบโตสูงสุดในตลาด ICT โลก

จากตัวเลขล่าสุดได้เผยให้เห็นถึงอุปสงค์ในการใช้บริการรวมถึงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (ICT)
ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ราคาค่าบริการทั้งระบบโทรศัพท์มือถือและบรอด์แบนด์ลดลงอย่างต่อเนื่อง การใช้งานระบบ 3G  มีอัตราการเติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ปลายปี 2556 จะมียอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ถึง 6.8 พันล้านคน ซึ่งเกือบจะเท่ากับประชากรของทั้งโลก

นอกจากนี้ มีการประมาณการณ์ว่าจะมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกถึง 2.7 พันล้านคน ถึงความเร็วและอัตราค่าบริการในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก เมื่อเทียบกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกันและระหว่างภูมิภาค

การเชื่อมต่อเครือข่าย 3G และ 3G+ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 40% ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ใช้งานในระบบบรอดแบนด์เคลื่อนที่ถึง 2.1 พันล้านคน หรือเท่ากับอัตราการเข้าถึงทั่วโลก (global penetration rate) ที่ 30%  ปัจจุบันเครือข่าย 3G ได้ครอบคลุมผู้ใช้บริการจำนวนถึงเกือบ 50% จากประชากรทั่วโลก


อันดับประเทศต่างๆ ด้านการพัฒนา ICT
ข้อมูลล่าสุดจากรายงานฉบับปี  2556 หัวข้อเรื่อง ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศ  เผยให้เห็นว่า เกาหลีใต้เป็นผู้นำอันดับหนึ่งของโลกในด้านการพัฒนาและการเติบโตด้าน ICT โดยรวม เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ตามมาด้วย สวีเดน ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ค ฟินแลนด์ และนอร์เวย์

ประเทศเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ลักเซมเบิร์ก และฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ก็อยู่ในสิบอันดับแรก โดยสหราชอาณาจักรขยับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มสิบอันดับแรก จากอันดับที่ 11 ในปีก่อนหน้านี้ ขณะที่ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 95 จากเดิม 94

ดัชนีการเติบโตด้าน ICT (ICT Development Index หรือ IDI) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้จัดอันดับกลุ่มประเทศทั้งหมดจำนวน 157 ประเทศ โดยวัดระดับความสามารถในสามด้าน คือ ด้านการเข้าถึง (access index) การใช้งาน (use index) และทักษะผู้ใช้ (skills index) และเปรียบเทียบคะแนนระหว่างปี 2554 และปี 2555 ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากภาครัฐ หน่วยงานสหประชาชาติ และภาคอุตสาหกรรม ว่ามีความน่าเชื่อถือและถูกต้องในการวัดความเติบโตด้าน ICT ของประเทศ


ประเทศที่มีการเติบโตสูง และความท้าทายของการเชื่อมต่อ
30 อันดับแรกของ IDI คือประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง (high-income countries) แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างรายได้และการเติบโตด้าน ICT

ค่า IDI เฉลี่ยในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีความแตกต่างอย่างมากกับค่า IDI เฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยต่างกันถึงสองเท่า

กลุ่มประเทศที่มีการไต่อันดับสูงสุด (most dynamic countries) โดยมีอันดับ IDI สูงขึ้นมากที่สุดจากปีที่ผ่านมา ได้แก่
(เรียงตามลำดับจากประเทศที่มีการไต่อันดับสูงสุด) สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์เลบานอน บาร์เบโดส เซเชลล์ เบลารุส
คอสต้า ริก้า  มองโกเลีย แซมเบีย ออสเตรเลีย บังคลาเทศ โอมาน และซิมบับเว  

กลุ่มประเทศที่มีการไต่อันดับต่ำสุด (LCCs), ปลายปี 2555
 


รายงานฉบับนี้ยังแสดงกลุ่มประเทศที่มีอันดับ IDI ต่ำสุดหรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศที่มีการเชื่อมต่อต่ำสุด (Least Connected Countries – LCCs.) กลุ่มประเทศเหล่านี้มีประชากรรวมกันมากถึง 2.4 พันล้านคน หรือประมาณหนึ่งในสามของจำนวนประชากรของโลก อย่างไรก็ตามประเทศในกลุ่มนี้สามารถได้รับประโยชน์อย่างมาก หากมีการพัฒนาให้มีการเข้าถึงและการใช้ ICT ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในด้านของสุขภาพ การศึกษาและการจ้างงาน 

Dr. Hamadoun Touré เลขาธิการของ ITU กล่าวว่า ตัวเลข IDI ในรายงานปีนี้แสดงให้เห็นทิศทางที่ดีขึ้นว่าภาครัฐให้ความสำคัญด้าน ICT ว่าเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตามความท้าทายยังมีอยู่ในหลายๆ ประเทศที่ยังไม่สามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก ICT ได้โดยเฉพาะการจัดให้มีการเข้าถึง ICT 


ราคาค่าบริการบรอดแบนด์และความสามารถในการบริโภค
ผลการวิเคราะห์แนวโน้มในด้านราคาของการให้บริการบรอดแบรนด์ ใน160 กว่าประเทศ เผยให้เห็นว่า ในช่วงระหว่าง 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 – 2555  ราคาค่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐาน (fixed-broadband prices) ได้ลดต่ำลงถึง 82% จากที่มีราคาอยู่ที่ 115.1% ของค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรในประเทศต่อหัวต่อเดือน (average monthly income per capita, GNI p.c.) ในปี 2551 มาอยู่ที่ 22.1% ในปี 2555 (แผนภูมิที่ 2)

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการลดลงของค่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐานมากที่สุด โดยลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 30% ต่อปี ในระหว่างปี 2551 – 2554

ค่าเฉลี่ยราคาต่อหน่วยความเร็ว (Mbps) ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงปี2551 – 2555 โดยในปี 2555 มีราคาค่าเฉลี่ยของทั้งโลกอยู่ที่US$ 19.50 per Mbps ซึ่งเกือบจะเท่ากับ1ใน 4ของราคาค่าบริการในปี2551

รายงานฉบับนี้ยังเสนอผลการเก็บข้อมูลด้านราคา โดยเก็บข้อมูลของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่ใน 4 ประเภทบริการ ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ความสามารถในการบริภาคด้านราคาของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่ มีมากกว่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐาน แต่ยังน้อยว่าความสามารถในการบริภาคด้านราคาในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ประเทศออสเตรียเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถในการบริโภคด้านราคาของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่มากที่สุด ในขณะที่ความสามารถในการบริโภคด้านราคาในประเทศ ประเทศเซาตูเมและปรินซิปี ‎(Sao Tomé and Principe) ประเทศซิมบับเว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีน้อยที่สุด โดยราคาค่าบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรในประเทศต่อหัวต่อเดือน ประเทศอื่นๆ ที่มีความสามารถในการบริโภคด้านราคาในเกณฑ์ค่อนข้างสูงรวมถึง กาตาร์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี คูเวต และฝรั่งเศส

ITU/UNESCO Broadband Commission for Digital Developmentได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2558 ราคาเฉลี่ยทั้งโลกของบริการบรอดแบนด์เริ่มต้นจะต้องน้อยกว่า 5% ของค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรต่อหัวต่อเดือน


'ผู้ที่อยู่ในโลกดิจิตอล'  (Digital natives)
รูปแบบใหม่ในการเก็บสถิติที่ถูกพัฒนาโดย  ITU ที่ปรากฏอยู่ในรายงานของปีนี้ได้ประเมินจำนวน 'ผู้ที่อยู่ในโลกดิจิตอล'หรือ ดิจิตอล เนทีฟ จากทั่วโลกว่ามีถึงประมาณ 363ล้านคนจากยอดประชากรทั่วโลกประมาณ 7 พันล้านคน ซึ่งเท่ากับ 5.2%ของประชากรทั่วโลก (แผนภาพที่ 3) และเท่ากับ 30%ของประชากรวัยหนุ่มสาวจากทั่วโลก (แผนภูมิที่ 4) รูปแบบสถิติใหม่นี้นิยาม 'ดิจิตอล เนทีฟ' ว่าคือกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว ช่วงอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ที่มีประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างต่ำ 5 ปีหรือมากกว่า

จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นคนรุ่นใหม่กว่า 145 ล้านคน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว 86.3 % จัดว่าเป็น 'ผู้ดิจิตอล เนทีฟ' เปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาที่มีจำนวน 'ดิจิตอล เนทีฟ' น้อยว่า 50% ของจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นคนรุ่นใหม่

Mr. Brahima Sanou ผู้อำนวยการใหญ่ของ สำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau) ของ ITU กล่าวว่า คนรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นในการใช้งาน ICTอย่างมากและเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนทิศทางของการพัฒนาด้าน ICT ดังนั้นเราต้องรับฟังเสียงของพวกเขา

 

ช่องว่างทางดิจิตอล
ต้นปี 2556 เกือบ 80% ของครัวเรือนทั่วโลกมีทีวี เทียบกับ 41% ของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ และ 37% ของครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

จำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดียังมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างจำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตครัวเรือนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 80% ในขณะที่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่เพียง 28%

ประมาณว่า 1.1 พันล้านครัวเรือนทั่วโลกยังไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่ง 90% ของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

แต่ถึงอย่างไร อัตราการเติบโตของจำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นจากที่เติบโตปีละ 12% ในปี 2551 มาเป็นเติบโตปีละ 28% ในปี 2556

ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ถือว่ามีการเติบโตเป็นอัตราเลขสองหลักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศที่พัฒนาแล้วอาจมียอดถึง 77% ในปลายปี 2556 ในขณะประเทศที่กำลังพัฒนา มียอดอยู่ที่ 31%
 

การลงทุนด้านโทรคมนาคม
ผลวิจัยของ ITU ชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) ของผู้ประกอบการทางโทรคมนาคมได้พุ่งขึ้นสูงสุดในปี 2551
ด้วยการลงทุนทั่วโลกมีจำนวนรวมถึง 290 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยยอดการลงทุนลดลงอย่างต่อเนื่องในสองปีต่อมา และถึงแม้ว่าการลงทุนในกิจการด้านโทรคมนาคมจะกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2554 แต่ยังไม่มากเท่ากับยอดการลงทุนในปี 2551

การลดลงของยอดการลงทุนในกิจการด้านโทรคมนาคมหลังปี 2551 สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป ซึ่งการเข้าถึงตลาดทุนมีข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น

 

 
การลงทุนรายปี (CAPEX) ของผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม, จากทั่วโลกและจากระดับของอัตรา
การเติบโตปี 2550 – 2554, สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ
 

หมายเหตุ:

บทสรุปผู้บริหารของรายงาน ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศปี  2556 สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.itu.int/go/mis2013

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดรายงานดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศ พบช่องว่างดิจิตอลยังถ่าง คาดกว่าพันล้านครัวเรือนเข้าไม่ถึงเน็ต

Posted: 08 Oct 2013 01:04 PM PDT

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) แถลงตัวเลขสถิติและการจัดอันดับด้านการเติบโตของ ICT ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

- ยอดผู้ใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น 250 ล้านคน ในปี  2012
- สาธารณรัฐเกาหลีครองอันดับหนึ่งในด้าน ICT เป็นปีที่สามติดต่อกัน
- ปลายปี 2013 ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะเท่ากับ 40 % ของจำนวนประชากรโลก ในขณะที่อีกกว่า 1.1 พันล้านครัวเรือน หรือเทียบเท่ากับ 4.4  พันล้านคน ยังไม่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
- บรอดแบนด์เคลื่อนที่ (mobile broadband) ในปัจจุบันราคาถูกกว่าบรอดแบนด์แบบพื้นฐาน
- ปัจจุบันประชากรเกือบทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
- 30% ของคนวัยหนุ่มสาวจากทั่วโลกใช้ชีวิตอยู่กับโลกดิจิตอลตั้งแต่เด็ก (digital natives)
- บรอดแบนด์มีความเร็วมากขึ้น บรอดแบนด์ที่ความเร็ว 2 Mbps เป็นแพคเกจที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- ผู้ประกอบการโทรคมนาคมมีการลงทุน (CAPEX) มากที่สุดในปี 2008 และลดลงหลังจากนั้น จนปัจจุบันการลงทุนด้านกิจการโทรคมนาคมยังไม่มากเท่าในปี 2008

 

(8 ต.ค. 56)  รายงานประจำปีของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เรื่อง ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศปี 2556 แสดงให้เห็นว่า การใช้บริการบรอดแบนด์ผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีอัตราการเติบโตสูงสุดในตลาด ICT โลก

จากตัวเลขล่าสุดได้เผยให้เห็นถึงอุปสงค์ในการใช้บริการรวมถึงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (ICT)
ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ราคาค่าบริการทั้งระบบโทรศัพท์มือถือและบรอด์แบนด์ลดลงอย่างต่อเนื่อง การใช้งานระบบ 3G  มีอัตราการเติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ปลายปี 2556 จะมียอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ถึง 6.8 พันล้านคน ซึ่งเกือบจะเท่ากับประชากรของทั้งโลก

นอกจากนี้ มีการประมาณการณ์ว่าจะมียอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกถึง 2.7 พันล้านคน ถึงความเร็วและอัตราค่าบริการในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก เมื่อเทียบกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกันและระหว่างภูมิภาค

การเชื่อมต่อเครือข่าย 3G และ 3G+ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 40% ซึ่งเท่ากับจำนวนผู้ใช้งานในระบบบรอดแบนด์เคลื่อนที่ถึง 2.1 พันล้านคน หรือเท่ากับอัตราการเข้าถึงทั่วโลก (global penetration rate) ที่ 30%  ปัจจุบันเครือข่าย 3G ได้ครอบคลุมผู้ใช้บริการจำนวนถึงเกือบ 50% จากประชากรทั่วโลก


อันดับประเทศต่างๆ ด้านการพัฒนา ICT
ข้อมูลล่าสุดจากรายงานฉบับปี  2556 หัวข้อเรื่อง ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศ  เผยให้เห็นว่าสาธารณรัฐเกาหลีเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของโลกในด้านการพัฒนาและการเติบโตด้าน ICT โดยรวม เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ตามมาด้วย สวีเดน ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ค ฟินแลนด์ และนอร์เวย์

ประเทศเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ลักเซมเบิร์ก และฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ก็อยู่ในสิบอันดับแรก โดยสหราชอาณาจักรขยับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มสิบอันดับแรก จากอันดับที่ 11 ในปีก่อนหน้านี้ ขณะที่ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 95 จากเดิม 94

ดัชนีการเติบโตด้าน ICT (ICT Development Index หรือ IDI) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้จัดอันดับกลุ่มประเทศทั้งหมดจำนวน 157 ประเทศ โดยวัดระดับความสามารถในสามด้าน คือ ด้านการเข้าถึง (access index) การใช้งาน (use index) และทักษะผู้ใช้ (skills index) และเปรียบเทียบคะแนนระหว่างปี 2554 และปี 2555 ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากภาครัฐ หน่วยงานสหประชาชาติ และภาคอุตสาหกรรม ว่ามีความน่าเชื่อถือและถูกต้องในการวัดความเติบโตด้าน ICT ของประเทศ


ประเทศที่มีการเติบโตสูง และความท้าทายของการเชื่อมต่อ
30 อันดับแรกของ IDI คือประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง (high-income countries) แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างรายได้และการเติบโตด้าน ICT

ค่า IDI เฉลี่ยในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีความแตกต่างอย่างมากกับค่า IDI เฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยต่างกันถึงสองเท่า

กลุ่มประเทศที่มีการไต่อันดับสูงสุด (most dynamic countries) โดยมีอันดับ IDI สูงขึ้นมากที่สุดจากปีที่ผ่านมา ได้แก่
(เรียงตามลำดับจากประเทศที่มีการไต่อันดับสูงสุด) สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์เลบานอน บาร์เบโดส เซเชลล์ เบลารุส
คอสต้า ริก้า  มองโกเลีย แซมเบีย ออสเตรเลีย บังคลาเทศ โอมาน และซิมบับเว  


รายงานฉบับนี้ยังแสดงกลุ่มประเทศที่มีอันดับ IDI ต่ำสุดหรือที่เรียกว่ากลุ่มประเทศที่มีการเชื่อมต่อต่ำสุด (Least Connected Countries – LCCs.) กลุ่มประเทศเหล่านี้มีประชากรรวมกันมากถึง 2.4 พันล้านคน หรือประมาณหนึ่งในสามของจำนวนประชากรของโลก อย่างไรก็ตามประเทศในกลุ่มนี้สามารถได้รับประโยชน์อย่างมาก หากมีการพัฒนาให้มีการเข้าถึงและการใช้ ICT ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในด้านของสุขภาพ การศึกษาและการจ้างงาน 

Dr. Hamadoun Touré เลขาธิการของ ITU กล่าวว่า ตัวเลข IDI ในรายงานปีนี้แสดงให้เห็นทิศทางที่ดีขึ้นว่าภาครัฐให้ความสำคัญด้าน ICT ว่าเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตามความท้าทายยังมีอยู่ในหลายๆ ประเทศที่ยังไม่สามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก ICT ได้โดยเฉพาะการจัดให้มีการเข้าถึง ICT 


ราคาค่าบริการบรอดแบนด์และความสามารถในการบริโภค
ผลการวิเคราะห์แนวโน้มในด้านราคาของการให้บริการบรอดแบรนด์ ใน160 กว่าประเทศ เผยให้เห็นว่า ในช่วงระหว่าง 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 – 2555  ราคาค่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐาน (fixed-broadband prices) ได้ลดต่ำลงถึง 82% จากที่มีราคาอยู่ที่ 115.1% ของค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรในประเทศต่อหัวต่อเดือน (average monthly income per capita, GNI p.c.) ในปี 2551 มาอยู่ที่ 22.1% ในปี 2555 (แผนภูมิที่ 2)

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการลดลงของค่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐานมากที่สุด โดยลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 30% ต่อปี ในระหว่างปี 2551 – 2554

ค่าเฉลี่ยราคาต่อหน่วยความเร็ว (Mbps) ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงปี2551 – 2555 โดยในปี 2555 มีราคาค่าเฉลี่ยของทั้งโลกอยู่ที่US$ 19.50 per Mbps ซึ่งเกือบจะเท่ากับ1ใน 4ของราคาค่าบริการในปี2551

รายงานฉบับนี้ยังเสนอผลการเก็บข้อมูลด้านราคา โดยเก็บข้อมูลของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่ใน 4 ประเภทบริการ ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ความสามารถในการบริภาคด้านราคาของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่ มีมากกว่าบริการบรอดแบรนด์แบบพื้นฐาน แต่ยังน้อยว่าความสามารถในการบริภาคด้านราคาในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ประเทศออสเตรียเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถในการบริโภคด้านราคาของบริการบรอดแบนด์แบบเคลื่อนที่มากที่สุด ในขณะที่ความสามารถในการบริโภคด้านราคาในประเทศ ประเทศเซาตูเมและปรินซิปี ‎(Sao Tomé and Principe) ประเทศซิมบับเว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีน้อยที่สุด โดยราคาค่าบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรในประเทศต่อหัวต่อเดือน ประเทศอื่นๆ ที่มีความสามารถในการบริโภคด้านราคาในเกณฑ์ค่อนข้างสูงรวมถึง กาตาร์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี คูเวต และฝรั่งเศส

ITU/UNESCO Broadband Commission for Digital Developmentได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2558 ราคาเฉลี่ยทั้งโลกของบริการบรอดแบนด์เริ่มต้นจะต้องน้อยกว่า 5% ของค่าเฉลี่ยรายได้ของประชากรต่อหัวต่อเดือน


'ผู้ที่อยู่ในโลกดิจิตอล'  (Digital natives)
รูปแบบใหม่ในการเก็บสถิติที่ถูกพัฒนาโดย  ITU ที่ปรากฏอยู่ในรายงานของปีนี้ได้ประเมินจำนวน 'ผู้ที่อยู่ในโลกดิจิตอล'หรือ ดิจิตอล เนทีฟ จากทั่วโลกว่ามีถึงประมาณ 363ล้านคนจากยอดประชากรทั่วโลกประมาณ 7 พันล้านคน ซึ่งเท่ากับ 5.2%ของประชากรทั่วโลก (แผนภาพที่ 3) และเท่ากับ 30%ของประชากรวัยหนุ่มสาวจากทั่วโลก (แผนภูมิที่ 4) รูปแบบสถิติใหม่นี้นิยาม 'ดิจิตอล เนทีฟ' ว่าคือกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว ช่วงอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ที่มีประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างต่ำ 5 ปีหรือมากกว่า

จากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นคนรุ่นใหม่กว่า 145 ล้านคน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว 86.3 % จัดว่าเป็น 'ผู้ดิจิตอล เนทีฟ' เปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาที่มีจำนวน 'ดิจิตอล เนทีฟ' น้อยว่า 50% ของจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นคนรุ่นใหม่

Mr. Brahima Sanou ผู้อำนวยการใหญ่ของ สำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau) ของ ITU กล่าวว่า คนรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นในการใช้งาน ICTอย่างมากและเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนทิศทางของการพัฒนาด้าน ICT ดังนั้นเราต้องรับฟังเสียงของพวกเขา

 

ช่องว่างทางดิจิตอล
ต้นปี 2556 เกือบ 80% ของครัวเรือนทั่วโลกมีทีวี เทียบกับ 41% ของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ และ 37% ของครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

จำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดียังมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างจำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตครัวเรือนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ 80% ในขณะที่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่เพียง 28%

ประมาณว่า 1.1 พันล้านครัวเรือนทั่วโลกยังไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่ง 90% ของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

แต่ถึงอย่างไร อัตราการเติบโตของจำนวนครัวเรือนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นจากที่เติบโตปีละ 12% ในปี 2551 มาเป็นเติบโตปีละ 28% ในปี 2556

ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ถือว่ามีการเติบโตเป็นอัตราเลขสองหลักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศที่พัฒนาแล้วอาจมียอดถึง 77% ในปลายปี 2556 ในขณะประเทศที่กำลังพัฒนา มียอดอยู่ที่ 31%
 

การลงทุนด้านโทรคมนาคม
ผลวิจัยของ ITU ชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) ของผู้ประกอบการทางโทรคมนาคมได้พุ่งขึ้นสูงสุดในปี 2551
ด้วยการลงทุนทั่วโลกมีจำนวนรวมถึง 290 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยยอดการลงทุนลดลงอย่างต่อเนื่องในสองปีต่อมา และถึงแม้ว่าการลงทุนในกิจการด้านโทรคมนาคมจะกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2554 แต่ยังไม่มากเท่ากับยอดการลงทุนในปี 2551

การลดลงของยอดการลงทุนในกิจการด้านโทรคมนาคมหลังปี 2551 สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโดยทั่วไป ซึ่งการเข้าถึงตลาดทุนมีข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น

 

 

หมายเหตุ:

บทสรุปผู้บริหารของรายงาน ดัชนีชี้วัดสังคมสารสนเทศปี  2556 สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.itu.int/go/mis2013

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุฯคุ้มครองผู้บริโภค เตรียมเพย์ทีวีรับมือคุ้มครองผู้บริโภคพื้นที่น้ำท่วม

Posted: 08 Oct 2013 12:06 PM PDT

วันนี้ (8 ต.ค.56) ณ หอประชุมชั้น 1 สำนักงาน กสทช. ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เชิญผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อเตรียมแนวทางการบรรเทาความเดือดร้อนผู้บริโภคในกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกจากเหตุอุทกภัย หรือภัยพิบัติในขณะนี้ว่า อาจมีผู้ประสบภัยที่ประสบเหตุขัดข้องมีสภาพคล้ายๆ กับผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม อาทิ การได้รับบริการที่ขัดข้อง และการจ่ายค่าบริการในช่วงที่เกิดเหตุ

สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และ ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ กล่าวว่า การเชิญผู้ประกอบกิจการมาหารือครั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบกิจการมีแนวทางการแก้ปัญหาผู้บริโภคล่วงหน้าและเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องร้องเรียนจำนวนมากที่อาจเกิดในอนาคต

สุภิญญา กล่าวต่อว่า ตัวแทนผู้ประกอบกิจการเพย์ทีวีที่เชิญมาได้ให้ความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมรับมือเหตุภัยพิบัติในพื้นที่ ทั้งการยกเว้นค่าบริการแก่ผู้บริโภคที่ประสบเหตุภัยพิบัติ ส่วนผู้บริโภคที่ไม่สามารถจ่ายบิลได้ทันท่วงทีผู้ประกอบการควรจะยืดหยุ่นขยายระยะเวลาการจ่ายบิลด้วย แม้ยังติดปัญหาอุปสรรคที่พบได้แก่ ข้อมูลของผู้บริโภคในพื้นที่ที่เกิดเหตุจริงๆ ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. สามารถช่วยประสานงานต่อกับภาครัฐเพื่อหาข้อมูลที่ชัดเจนตรงนี้ รวมทั้งตนเองได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบกิจการที่มาชี้แจง ส่งแผนเตรียมความพร้อมต่อแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในเหตุอุทกภัย มายังสำนักงาน กสทช. และอนุกรรมการฯด้วย

ภานุวัสส์ ตั้งศักดิ์สถิตย์ นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบเคเบิลทีวี กล่าวถึงบทเรียนเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาว่า สมาคมฯได้พยายามเข้าถึงพื้นที่ที่ประสบเหตุเพื่อรายงานข่าวทุกชั่วโมง พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางประชาสัมพันธ์กับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมบริจาคและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งที่แล้ว ได้งดเก็บค่าบริการเคเบิลในพื้นที่ที่น้ำท่วมเป็นระยะเวลา 2 เดือน และคาดว่าหากเกิดเหตุอีกครั้ง ก็จะงดเก็บค่าบริการเช่นกัน ส่วนการรับส่งสัญญาณเคเบิลทีวียังคงใช้งานได้เป็นปกติในพื้นที่น้ำท่วม เว้นแต่จะเกิดความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าล่มที่จะส่งผลกระทบดูไม่ได้ทั้งระบบ
   
พรีมม์ คูห์ศรีวินิจ ตัวแทนบริษัทซีทีเอช จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้บริษัทจะยังไม่มีประสบการณ์โดยตรงจากการให้บริการในช่วงเกิดเหตุอุทกภัย แต่แนวทางที่บริษัทได้เตรียมแผนรับมือไว้ สำหรับกลุ่มลูกค้าทั้ง 2 แบบ คือรายเดือน และรายปี (12เดือน) หากเกิดเหตุ อาจจะจะงดเก็บค่าบริการอย่างน้อย 1 – 3 เดือน และอาจไม่ต้องจ่ายครบทั้ง 12 เดือนสำหรับลูกค้ารายปี ทั้งนี้ซีทีเอชได้เตรียมหน่วยปฏิบัติการณ์ไว้สำหรับแก้ไขระบบที่อาจล่ม

ณัฏฐ์อัณณ์ ปาวสานต์ ตัวแทนบริษัท เค มาสเตอร์ จำกัด (เครือบริษัทอาร์เอสฯ) ยอมรับว่าธุรกิจเพิ่งเริ่มต้น และยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าพื้นที่ใดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมจริงๆ ซึ่งทางบริษัทเองยินดีช่วยเหลือและประชาสัมพันธ์เต็มที่ ขณะที่ตัวแทนทรูวิชั่นส์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา บริษัทมีนโยบายยกเว้นค่าบริการ ในพื้นที่ที่หน่วยงานรัฐประกาศประสบภัยไว้ 1 เดือน พร้อมทั้งส่งช่างมาแก้ไขอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งยอมรับว่ามีบทเรียนความผิดพลาดในข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง อาจไม่ตรงกับระบบที่ทรูวิชั่นส์บันทึก จึงทำให้การยกเว้นค่าบริการกับสมาชิกอาจไม่ครบถ้วนได้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มอนาธิปไตยก่อจลาจลในบราซิล หลังมีการประท้วงเรียกร้องขึ้นค่าแรงครู

Posted: 08 Oct 2013 09:15 AM PDT

ผู้ชุมนุมนับหมื่นในบราซิลเรียกร้องให้มีการขึ้นค่าจ้างครู การชุมนุมบนท้องถนนเป็นไปอย่างสงบช่วงกลางวัน ก่อนที่จะมีกลุ่มอนาธิปไตยเสื้อดำ (Black Bloc) จำนวนหนึ่งเริ่มก่อเหตุวุ่นวายจนเจ้าหน้าที่ต้องเข้าควบคุมสถานการณ์

8 ต.ค. 2013 - ที่เมืองเซาเปาโล และริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล มีการประท้วงเรียกร้องให้ครูในบราซิลได้รับค่าจ้างมากขึ้น จนกระทั่งเกิดเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหลังเกิดเหตุวุ่นวาย

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ในริโอ เดอ จาเนโร มีผู้ชุมนุมมากกว่า 10,000 คนเดินขบวนอย่างสงบที่ใจกลางเมือง จนกระทั่งถึงช่วงกลางคืน มีผู้ประท้วงส่วนหนึ่งเริ่มขว้างปาระเบิดเพลิงใส่อาคารราชการ บ้างก็มีการยิงประทัดใส่รวมถึงมีการจุดไฟเผาขยะเพื่อสร้างเป็นแผงกัน ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตอบโต้ด้วยแก็สน้ำตา

ขณะที่ในเซาเปาโล มีการประท้วงลักษณะใกล้เคียงกันแต่ก็เกิดเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่หลังจากกลุ่มผู้ประท้วงที่สวมเสื้อคลุมหัวบางคนเข้าไปรื้อค้นและทำลายธนาคารที่อยู่โดยรอบ

สำนักข่าวบีบีซีเปิดเผยว่าตอนกลางวันผู้ประท้วงชุมนุมอย่างสงบอยู่หลายชั่วโมง แต่เริ่มเกิดเหตุรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืนเมื่อมีกลุ่มอนาธิปไตยเสื้อดำ (Black Bloc) อย่างน้อย 20 คนทำลายประตูทางเข้าศาลากลางเมือง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งบุกเข้าไปในตัวอาคารธนาคารและพยายามทุบทำลายตู้เอทีเอ็ม มีธนาคารบางแห่งถูกจุดไฟเผา ฮิวโก ไครโยส นักอนาธิปัตย์อายุ 23 ปีอ้างว่าถ้าหากไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะไม่เกิดความรุนแรง และพวกเขามาที่นี่โดยเตรียมใจไว้แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ใจไม่ได้

นักข่าวอัลจาซีร่าในริโอ เดอ จาเนโร กล่าวว่าการประท้วงขึ้นค่าจ้างครูในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประท้วงต่อต้านรัฐบาลซึ่งเริมก่อตัวขึ้นเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา

"ผู้คนเหล่านี้เป็นกลุ่มย่อยของขบวนการที่เรียกตัวเองว่า 'บราซิลเลียนสปริง' ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งได้วิพากวิจารณ์ประธานาธิบดีดิลมา รุสเซฟฟ์ และนโยบายของเธอ พวกเขาบอกว่าบราซิลไม่ควรนำเงินไปใช้กับเรื่องการกีฬาอย่างมหกรรมฟุตบอลโลกหรือโอลิมปิคมากเกินไป แต่ควรนำมาใช้กับเรื่องการศึกษาและการขนส่งมวลชน พวกเขาบอกอีกว่าจะมีการชุมนุมบนท้องถนนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง" โมนิกา วิลเลียมมิซา นักข่าวอัลจาซีร่ากล่าว

บราซิลมีกำหนดเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2014 และเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิคในปี 2016 การประท้วงในบราซิลเริ่มต้นจากการประท้วงต่อต้านการขึ้นราคาค่าโดยสารรถบัสและรถไฟใต้ดินซึ่งเป็นกลุ่มเล็กในเซาเปาโล จนกระทั่งก่อตัวกลายเป็นการต่อต้านรัฐบาลในระดับประเทศ


เรียบเรียงจาก

Brazil Rio and Sao Paulo teacher protests turn violent, BBC, 08-10-2013

Clashes erupt at Brazil teachers' protest, Aljazeera, 08-10-2013

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ฟ้องหมิ่นประมาท ‘ไทยพับลิก้า’ หลังเจาะปมเงินกู้หมื่นล้าน

Posted: 08 Oct 2013 08:46 AM PDT

ศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น สหกรณ์อันดับหนึ่งของไทย ฟ้อง สำนักข่าวออนไลน์ชื่อดัง 'Thaipublica' หลังเกาะติดซีรีส์ปมความผิดปกติการปล่อยกู้ของสหกรณ์กระทั่งประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง

8 ต.ค.56  เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดยไอลอว์ รายงานคดีที่สื่อโดนฟ้องหมิ่นประมาทรายล่าสุดกรณี สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า รายงานข่าวเกี่ยวกับปมปัญหาสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น

วันที่ 13  ก.ย.ที่ผ่านมาศาลจังหวัดมีนบุรี รับเรื่องที่สหกรณ์เครดิตยูเนียนและนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ได้มอบอำนาจให้นายกฤษฏา มีบุญมาก ยื่นฟ้องนายมณฑล กันล้อม อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียน รวมกับพวกอีก 5 คน ได้แก่  นายอารีย์ แย้มบุญยิ่ง อดีตผู้จัดการสหกรณ์ , นางสาวบุญลาภ ภูสุวรรณ  บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า และทีมข่าวไทยพับลิก้าอีก 3 คนในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากที่เว็บไซต์ไทยพับลิก้านำเสนอข่าวความเคลื่อนไหวของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นซึ่งเป็นสหกรณ์ขนาดมหึมาของไทยมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นไปถอนเงินกันเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถถอนได้เนื่องจากสหกรณ์ฯ ประสบปัญหาสภาพคล่อง และต่อมาสหกรณ์ฯ กำหนดให้ถอนได้ไม่เกินรายละ 20,000 บาท ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวมีปัญหาการเลือกตั้งประธานที่ขัดแย้งกัน 2 ขั้วและต้องเลือกกันหลายครั้งกว่าจะมีการรับรอง  

ทั้งนี้ปมปัญหาหลักของกรณีดังกล่าวมาจากความขัดแย้งภายในสหกรณ์ฯ ของผู้บริหาร 2 ฝ่าย ระหว่างนายมณฑล กันล้อม อดีตประธานฯ กับนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานคนปัจจุบัน โดยนายมณฑลได้เข้ารับตำแหน่งในปีที่ผ่านมาหลังจากที่ก่อนหน้านี้สมาชิกมอบหมายให้นายศุภชัยเป็นประธานมาอย่างยาวนาน และนายมณฑลได้ทำการตรวจสอบฐานะการเงินของสหกรณ์ พร้อมออกมาเปิดเผยรายงานหมายเหตุงบการเงินจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในประเด็นที่สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นให้เงินกู้แก่สมาชิกสมทบจำนวน 27 ราย มียอดหนี้รวม 11,846 ล้านบาท สหกรณ์ฯ ซึ่งขณะนั้นมีนายมณฑลเป็นประธานได้ยื่นฟ้องทั้งทางอาญาและแพ่งต่อนายศุภชัย ในข้อหายักยอกทรัพย์เป็นเงินกว่า 12,000 ล้านบาท แต่ก็มีการถอนฟ้องไปหลังจากนายศุภชัยเข้าดำรงตำแหน่งประธานสหกรณ์ฯ แทนในปัจจุบัน

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าได้นำเสนอกรณีนี้โดยอิงจากรายงานประจำปีของสหกรณ์ฯ ปี 2555 ระบุว่า ยอดเงินให้กู้ที่สหกรณ์ฯ ปล่อยกู้ให้แก่สมาชิกสมทบ 11,846 ล้านบาทนั้นคิดเป็น 80% ของยอดหนี้ที่ปล่อยกู้ให้สมาชิกทั้งหมด โดยปรากฏรายชื่อลูกหนี้ที่เป็นสมาชิกสมทบ 27 ราย พร้อมกันนี้ไทยพับลิก้ายังนำเสนอการตรวจสอบที่ตั้ง สถานะทางธุรกิจ งบการเงินของลูกหนี้ดังกล่าว และโดยเฉพาะสัญญาเงินกู้จำนวน 10 ฉบับพร้อมตั้งข้อสังเกตว่าหลายบริษัทมีนายศุภชัยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ผู้สื่อข่าวประชาไทติดต่อสัมภาษณ์นายศุภชัยเกี่ยวกับกรณีการฟ้องร้องดังกล่าว แต่นายศุภชัยปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล ระบุเพียงว่าถูกโจมตีจากสำนักข่าวไทยพับลิก้าอย่างหนัก

ด้านนางสาวบุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหารไทยพับลิก้า ระบุว่า เบื้องต้น มีนักข่าว 1 คนที่ได้รับหมายศาลแล้ว โดยสหกรณ์ฯ หยิบยกข่าว 2 ชิ้น เรื่อง เจาะสัญญาเงินกู้สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น "ศุภชัย ศรีศุภอักษร" กู้เอง-เซ็นอนุมัติเอง ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 มาดำเนินคดี โดยในรายงานดังกล่าวได้แนบไฟล์ PDF ของสัญญาเงินกู 27 ฉบับของสมาชิกสมทบด้วย ซึ่งตามกฎหมายแล้วสมาชิกสมทบไม่สามารถกู้ได้

บก.บห.ไทยพับลิก้ากล่าวต่อว่า ทางสหกรณ์ฯ ยื่นฟ้องว่า 1.เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารภายในสหกรณ์ฯ การนำมาเปิดเผยทำให้สหกรณ์ฯ เสียหาย ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจจากสมาชิก ทำให้สมาชิกตื่นตระหนกและพากันมาถอนเงิน 2.ไทยพับลิก้านำเสนอเอกสารไม่ครบถ้วน เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับนายมณฑล (อดีตประธาน) ปิดบังข้อมูลสัญญาเงินกู้รายที่ 28 เนื่องจากนายมณฑลเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้น

บก.บห.ไทยพับลิก้าระบุว่า ไม่ทราบข้อมูลมากก่อนว่ามีสมาชิกสมทบที่กู้ทั้งหมด28 บริษัท โดยทีมข่าวได้สืบค้นข้อมูลจากรายงานประจำปีของสหกรณ์ฯ ผู้ตรวจสอบบัญชีหมายเหตุไว้เรื่องลูกหนี้ที่เป็นสมาชิกสมทบ จึงไปค้นหาข้อมูลต่อจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อค้นหางบดุลของแต่ละบริษัท และดูว่าแต่ละที่ยังประกอบกิจการอยู่หรือไม่

"นี่เป็นกรณีแรกที่ไทยพับลิก้าโดนฟ้องร้อง ในการทำงานข่าวก็ระมัดระวังอย่างที่สุดไม่ให้เป็นการกล่าวหา เราเพียงต้องการนำข้อมูลที่สืบค้นได้มานำเสนอให้อย่างน้อยก็ผู้ถือหุ้นได้รับรู้ ในช่วงแรกเราก็มีความกังวลว่าการนำเสนอข่าวอาจกระทบต่อการทำงานของสหกรณ์ซึ่งเป็น micro finance ที่มีความอ่อนไหวและอาจกระทบกับสมาชิกรายย่อยแต่ในที่สุดปัญหาของสหกรณ์ก็ลุกลามจนไม่สามารถให้สมาชิกถอนเงินได้ หรือถอนได้เป็นช่วงๆ จึงเห็นความจำเป็นว่าต้องนำเสนอข้อมูลออกมา"บุญลาภกล่าว

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ราวกลางเดือนกรกฎาคม นายศุภชัยได้แถลงข่าวชี้แจงสมาชิกยืนยันว่าสหกรณ์ยังมีความมั่นคง เพราะเงินส่วนใหญ่ของสหกรณ์ฯ หมุนเวียนอยู่ในมือสมาชิก ตั้งแต่เกิดเหตุสหกรณ์ก็ทยอยให้สมาชิกเริ่มถอนเงิน ทั้งเงินปันผล และเบิกใช้ตามความจำเป็น เพียงแต่ถ้าเป็นเงินก้อนใหญ่จะให้ทยอย เพราะจะทำให้สามารถเฉลี่ยเงินให้กับสมาชิกได้จำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากทุกคนถอนพร้อมกันไม่มีทางที่สถาบันการเงินจะอยู่ได้

"ผมก็ไม่สบายใจสำหรับสหกรณ์คลองจั่นที่มีปัญหา เราก็ชี้แจงมาเป็นระยะ แต่คนที่ไม่ได้ชี้แจง และรู้สึกต้องถอนมีมากขึ้น ที่สะท้อนใจคือ เกิดผลกระทบไปทั่วประเทศ ซึ่งไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นในสถาบันการเงิน ความจริงสถาบันการเงินเป็นของสมาชิก ถ้ามีความผิดจริงก็ว่ากันตามกระบวนการ แต่การประโคมข่าวทำให้คนตื่นตระหนก จะระงับกันลำบาก ฝากสื่อช่วยทำความเข้าใจด้วย" นายศุภชัยกล่าวในการแถลงข่าว

ล่าสุด กลางเดือนกรกฎาคม สื่อมวลชนรายงานข่าว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ (DSI) ได้เข้ายึดและอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหา คือนายศุภชัย ศรีศุภอักษร และพวกรวม 4 คน ภายใต้ความผิดฐานผู้ต้องหาร่วมกันยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนกว่า 12,402 ล้านบาท โดยอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 336 รายการ ไว้ชั่วคราว มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน เพื่อดำเนินการตรวจสอบแหล่งที่มาของทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป ต่อมามีการอายัดทรัพย์นายศุภชัยเพิ่มอีก 37 รายการ มูลค่าประมาณ 227 ล้านบาท

ทั้งนี้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนชุมชนคลองจั่น เกิดขึ้น ในวันที่ 4 ธันวาคม 2526 จากผู้นำ 3 คน คือ นายวิวัฒน์ พัฒนศักดิ์สุธี นายมณฑล กันล้อม ข้อมูลทางการเงินประจำปี 2555 ของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นระบุว่า มีสมาชิกสามัญและสมทบ 52,683 คน สินทรัพย์ 21,790 ล้านบาท เงินรับฝาก 14,484 ล้านบาท เงินให้กู้ยืม 15,073 ล้านบาท รายได้ 2,011 ล้านบาท รายจ่าย 1,576 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 436 ล้านบาท โดยสหกรณ์มีสมาชิกและสินสินทรัพย์เป็นอันดับหนึ่งของสหกรณ์เครดิตยูเนียนทั้งหมดที่มีอยู่ 561 แห่ง

 

ข้อมูลบางส่วนจาก :
http://freedom.ilaw.or.th/case/489#detail
http://thaipublica.org/investigations/creditunion-khong-chan/page/2/
http://www.suthichaiyoon.com/home/details.php?NewsID=3850
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/16693-g52.html
http://www.thairath.co.th/content/eco/371065

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ตุลา...ตุลา

Posted: 08 Oct 2013 08:14 AM PDT

แสงไฟยังสาดฉายสู่ยอดโดม
แต่ไร้สิ่งซึ่งโหมจิตใจข้า
เงียบงันท่าพระจันทร์เจ้าพระยา
สายลมเดือนตุลายะเยียบเย็น

ไม่มีบทกวีไว้อาลัย
ประชาธิปไตยยังไม่เห็น
จิตวิญญาณแตกกระสานซ่านเซ็น
คนยังคงยืนเด่นอย่างเดียวดาย

เพื่อมวลประชา..เพื่อประชาชน
กลายเป็นคำพร่ำบ่นไร้จุดหมาย
วีรชน...เสรีชน..ตกตาย
ลมตุลายังแล้งร้ายยังร้าวราน

สี่สิบปี...สิบสี่ตุลา
ผ่านพ้นวันเวลาไม่เปลี่ยนผ่าน
ไม่มีหรอกสังคมอุดมการณ์
ต่างหมอบราบกราบคลานเป็นธรรมดา

ประวัติศาสตร์ประวัติสัตว์ชัดเจนแล้ว?
ยินเสียงแว่ว "รู้ใช่ไหมใครสั่งฆ่า"
หนาวเหน็บนักสายลมเดือนตุลา
จะเชื่อมั่นศรัทธาท้าทายใคร

ตุลา..ตุลา
ราชดำเนิน..ผ่านฟ้า..สะท้านไหว
บทสุดท้ายปลายทางยังห่างไกล
ประชาธิปไตย...ไม่สมบูรณ์

 

 

 

ร่วมรำลึก สี่สิบปี สิบสี่ตุลา

*ภาพจาก เว็บไซต์มติชน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1292412196&grpid=&catid=

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จรูญ อินทจาร เป็นประธานตุลาการศาล รธน. คนใหม่

Posted: 08 Oct 2013 05:45 AM PDT

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติเลือกนายจรูญ อินทจาร เป็นประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ พร้อมเตรียมทำหนังสือแจ้งวุฒิสภารับทราบ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (8 ต.ค.) ว่า นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นการประชุมเพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 204 โดยการประชุมมีนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ที่ผ่านการลงมติจากที่ประชุมวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมด้วย ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก นายจรูญ อินทจาร เป็นประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่

โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวด้วยว่า นายจรูญ ได้กล่าวต่อที่ประชุมโดยให้คำมั่นใจในการทำหน้าที่ประธาน ว่าจะนำประสบการณ์และความรู้ที่มี มาปฎิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายที่กำหนด เพื่อส่วนรวมและผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ ทั้งนี้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเตรียมทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานวุฒิสภา เพื่อแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต่อไป

สำหรับประวัตินายจรูญ อินทจาร เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2487 อายุ 69 ปี เคยรับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลจังหวัดสมุทรปาการ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ก่อนได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 และจะเป็นประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคนที่ 3 ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อจากนายชัช ชลวร และนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วุฒิสภาลงมติ 86 ต่อ 41 เห็นชอบวาระแรก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน

Posted: 08 Oct 2013 05:29 AM PDT

ที่ประชุมวุฒิสภาผ่านความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วาระแรก ก่อนเข้ากรรมาธิการศึกษาเนื้อหาต่อไป รัฐบาลยืนยันไม่กระทบฐานะการคลังของประเทศ

สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (8 ต.ค.) ว่า ในการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเรื่องด่วน ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ที่สภาผู้แทนราษฏรผ่านความเห็นชอบแล้วในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการของวุฒิสภา

โดยวันนี้สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ ยังคงท้วงติงการดำเนินโครงการต่าง ๆ และแสดงความเป็นห่วงเรื่องของการชำระหนี้คืน และที่สำคัญต้องดำเนินการตามแผนงานโครงการที่ชัดเจน เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันแผนงานและยุทธศาสตร์ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังไม่ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 57 วรรคสอง และการศึกษาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน (อีเอชไอเอ)ตามมาตรา 67 วรรคสอง

ด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะอนุมัติโครงการได้เลย เพราะทุกโครงการต้องดำเนินการตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกประการ เท่ากับว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟรางคู่ จะต้องผ่านการศึกษาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอก่อน และหากโครงการไม่ผ่าน อีเอชไอเอ ก็ไม่สามารถทำต่อไปได้

ส่วนนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มั่นใจว่าจะสามารถบริหารจัดการภาระหนี้ให้อยู่ในกรอบและไม่กระทบฐานะการคลังของประเทศ

ขณะที่ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่ขัดรัฐรรมนูญ มาตรา 169 เพราะได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฏีกาแล้ว และทุกโครงการมีรายละเอียดชัดเจน สามารถตรวจสอบได้

ทั้งนี้ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติ 86 ต่อ 41 ผ่านความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว วาระที่ 1 พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 25 คน ศึกษาเนื้อหา ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภาอีกครั้ง เพื่อลงมติในวาระ 2 และ 3 ต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหกรณ์พลังงานฯ ร้องรัฐจัดสรรพลังงานราคาถูกแก่ระบบสหกรณ์

Posted: 08 Oct 2013 05:07 AM PDT

กลุ่มสหกรณ์พลังงานน้ำมันและปุ๋ยอินทรีย์ จำกัด เรียกร้องหน่วยงานรัฐจัดสรรพลังงานราคาถูกเพื่อเกษตรกรณ์ ขอให้จัดหาน้ำมันภายในประเทศเพื่อจำหน่ายในระบบสหกรณ์โดยตรง โดยได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต และขอใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการสนับสนุนโครงการ เผยขอความช่วยเหลือมาตั้งแต่รัฐบาลสมัครแล้ว วอนออกสื่อทางช่อง NBT 2 ธ.ค. 56 นี้

 
 
8 ต.ค. 56 - ในการประชุมคณะกรรมาธิการพลังงาน วุฒิสภา นายกิตติพันธ์ ปัญญาอภิวงศ์ ประธานสหกรณ์พลังงานน้ำมันและปุ๋ยอินทรีย์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ ต.เสม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ทำจดหมายร้องทุกข์เรื่องขอความอนุเคราะห์จัดการพลังงานราคาถูกเพื่อเกษตรกร ถึงคณะกรรมาธิการพลังงาน วุฒิสภา โดยระบุว่าด้วยทางสหกรณ์พลังงานน้ำมันและปุ๋ยอินทรีย์ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับกาแก้ปัญหาพลังงานราคาแพง ด้วยการจัดการนำเข้าระบบสหกรณ์ แจกจ่ายให้เกษตรกรณ์ ซึ่งเป็นผู้บริโภคพลังงานทั้งน้ำมันเชื้อเพลง (ดีเซล/เบนซิน) รวมทั้งก๊าซในครัวเรือน
 
เมื่อสถานการณ์ราคาพลังงานทุกรูปแบบราคาสูงขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้ราคาสินค้าต่างๆ ขยับขึ้นตามทุกอย่าง ดังนั้นทางสหกรณ์พลังงานน้ำมันและปุ๋ยอินทรีย์ จำกัด ได้ติดต่อร้องเรียนถึงรัฐบาลตั้งแน่สมัยนายกสมัคร สุนทรเวช มาจนถึงรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และทางปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ระบุว่าได้รับเรื่องแล้วส่งต่อไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วนั้น แต่จนเวลาล่วงเลยผ่านมาเนิ่นนานมากแล้ว ซึ่งทางสหกรณ์พลังงานน้ำมันและปุ๋ยอินทรีย์ จำกัด จึงได้ยื่นขอต่อรัฐบาลเพื่อขอชี้แจงผ่านเวทีประชาชนโดยใช้ช่องทางสถานีโทรทัศน์ NBT ในวันที่ 2 ธันวาคม 2556 นี้
 
ทั้งนี้ต่อข้อเรียกร้องที่สหกรณ์พลังงานน้ำมันและปุ๋ยอินทรีย์ จำกัด ได้ร้องขอไปยังหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ 1.การขอให้กระทรวงพลังงานจัดหาน้ำมันภายในประเทศเพื่อจำหน่ายในระบบสหกรณ์โดยตรงโดยได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต และ 2.การขอใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการสนับสนุนโครงการ 
 
โดยทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ระบุเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 56 ที่ผ่านมาว่าตามข้อเรียกร้องข้อที่ 1 และ 2 ของทางสหกรณ์พลังงานน้ำมันและปุ๋ยอินทรีย์ จำกัด นั้น เป็นอำนาจของทางกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณา ซึ่งในส่วนของกรมส่งเสริมสหกรณ์นั้นสามารถช่วยเหลือได้เพียงการให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ ซึ่งสามารถแจ้งความประสงค์ตามระเบียบหลักเกณฑ์ของการกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ได้
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับ ‘ประสาน สุกใส’ ผู้บริหาร นสพ.ภาคใต้โฟกัส กับการเพิ่มพื้นที่สันติภาพในหน้าสื่อ

Posted: 08 Oct 2013 04:56 AM PDT

สัมภาษณ์ "ประสาน สุกใส" เจ้าของหนังสื่อพิมพ์โฟกัสภาคใต้ ประเด็นเปิดหน้าภาษามลายู เพื่อเพิ่มพื้นที่สื่อสารของมุสลิมชายแดนใต้ และเพิ่มช่องทางกระบวนการสันติภาพ

สัมภาษณ์ ประสาน สุกใส กรรมการผู้จัดการบริษัท ภาคใต้โฟกัส จำกัด เจ้าของหนังสื่อพิมพ์ภาคใต้โฟกัสรายสัปดาห์ หรือหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้เดิม หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อดังของภาคใต้ มีฐานที่ตั้งอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในประเด็นการเพิ่มหน้าภาษามลายูและบทบาทการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับความพยายามเป็นพื้นที่ความคิดเพื่อเพิ่มช่องทางหนึ่งในการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและแก้ปัญหาความขัดแย้งทีใช้ความรุนแรง ณ ชายแดนใต้

ประสาน สุกใส กรรมการผู้จัดการบริษัท ภาคใต้โฟกัส จำกัด

เพราะไม่มีสื่อตัวแทนมลายูมุสลิม

"หนังสื่อพิมพ์ภาคใต้โฟกัสรายสัปดาห์ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของภาคใต้ ปัจจุบันได้เพิ่มหน้าภาคภาษามลายูจำนวน 8 หน้า โดยใช้ชื่อภาคนี้ว่า 'Fokus Rumi' แทรกในหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ได้ตีพิมพ์มาแล้ว 16 ฉบับ โดยจะนำมาเป็นปกหน้าของหนังสือพิมพ์เมื่อวางแผงขายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

"แนวความคิดนี้ เริ่มจากทีมงานตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ทำสื่อมุสลิมเพื่อพี่น้องมุสลิมบ้าง สื่อที่เป็นภาษาของเขาเอง สื่อที่มีความเป็นอิสระ สามารถนำเสนอข่าวที่เป็นตัวแทนชาวบ้าน

"เราสังเกตว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แทบไม่มีหนังสือพิมพ์ที่เป็นตัวแทนของคนมุสลิม ขณะที่หนังสือพิมพ์มุสลิมในระดับชาติที่เรารู้จัก ก็เป็นหนังสือพิมพ์ที่ยึดโยงอยู่กับกลุ่มการเมืองอย่างชัดเจนมาก เป็นเหตุทำให้เป็นสื่อที่ไม่มีอิสระทางความคิด

"ก่อนหน้านี้ เคยลองทำสื่อภาษามาลายูอยู่พักหนึ่ง เนื่องจากชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่พูดภาษามลายู แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างเลยต้องหยุดไป

"ด้วยเป้าหมายของเราเอง เราเป็นสื่ออาชีพ เรามีความเป็นสื่อที่เป็นอิสระ พร้อมเคียงข้างประชาชนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราเลยอยากทำหนังสือที่เป็นตัวแทนของคนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแท้จริง จึงได้ปรึกษากับอาจารย์มันโซร์ สาและ จากมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ และ อาจารย์สุโกร ดินอะ จากโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลาว่า เราน่าจะมาจับมือกันอีกสักที
"ประกอบกับในสำนักงานมีพนักงานที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนี้ จึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้กันมาระยะหนึ่ง จนได้ข้อสรุป คือการตัดสินใจทำหนังสือพิมพ์ภาษามลายูอักษรรูมี จากนั้นได้มีการนัดคุยรายละเอียดจนออกมาเป็นหนังสือพิมพ์"

ฉบับปฐมฤกษ์เดือนรอมฎอน

"ฉบับแรกวางตลาดในช่วงเดือนรอมฎอน ที่ผ่านมา โดยมีการลงนามความร่วมมือกัน 3 ฝ่าย คือ 1.หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส 2.อาจารย์สุโกร ดินอะ ในฐานะเจ้าของศูนย์ภาษามลายู ทั้งตัวอักษรรูมีและยาวี และ 3.อาจารย์มันโซร์ สาและ ในฐานะมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้

"ในกระบวนการผลิตทั้งหมดทางหนังสื่อพิมพ์ภาคใต้โฟกัสรับผิดชอบ รวมทั้งต้นทุนการผลิต ส่วนเนื้อหามีการประสานงานทั้ง 3 ฝ่าย โดยต้องเป็นเนื้อหาที่สอดคล้องกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และต้องถูกต้องแม่นยำ ไม่เสี่ยงต่อการจะถูกนำไปสู่การถูกฟ้อง เพราะผมเองในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์อ่านภาษามลายูไม่ได้

"ในการเลือกประเด็นข่าวมานำเสนอนั้น ทางอาจารย์มันโซร์กับอาจาร์สุโกรจะร่วมวางแผนกัน โดยอาจารย์มันโซร์รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการข่าว ส่วนอาจารย์สุโกรเป็นบรรณาธิการบทความ

"อาจารย์สุโกรจะประสานงานกับนักเขียน นักเขียนบทความต่างๆ มีการดึงอาจารย์ชินทาโร่ ฮาร่า จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษามาลายูมาเป็นนักเขียนประจำ ดึงผศ.ดร.วรวิทย์ บารู สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จากจังหวัดปัตตานีมาเป็นนักเขียนประจำ

"ส่วนการทำข่าว เราให้นักข่าวของเราที่รับผิดชอบข่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลงไปทำข่าว โดยให้อาจารย์มันโซร์ สาและ แปลจากข่าวภาษาไทยเป็นภาษามลายูอีกที ข่าวภาษามลายูบางส่วนดึงมาจากเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ นอกจากนั้นยังได้ติดตามข่าวจากประเทศมาเลเซียด้วย

"อีกส่วนหนึ่งอาจารย์สุโกรได้จัดทำคอลัมน์สนทนาภาษามลายูพร้อมคำแปล เพื่อให้คนที่ไม่พื้นฐานหรือความรู้เรื่องนี้ได้อ่านและได้เรียนรู้ไปด้วย"

เปิดพื้นที่เรียนรู้ทางด้านภาษา

"เป้าหมายของหนังสือฉบับนี้คือการนำเสนอข่าวสารที่เป็นตัวแทนของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นการเรียนรู้ภาษาด้วย สำหรับคนที่อ่านภาษามลายูไม่ได้ ส่วนคนที่อ่านได้อยู่แล้วก็จะได้เรียนรู้ไปด้วย

"เพราะฉะนั้น ในหน้าข่าวภาษามลายูจะมีการเขียนคำอธิบายในวงเล็บเป็นภาษาไทยไว้ใต้ข่าวด้วย เพื่อเป็นการสื่อสาร 2 ทางทั้งจากคนที่อ่านออกเขียนได้และคนที่สนใจแต่อ่านภาษามลายูไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่ได้อ่านคำอธิบายภาษาไทย

"หลังจากเปิดพื้นที่สื่อภาษามลายูแล้ว เราคุยกันว่าอาจจะมีเวทีเสวนาเสริมด้วย แต่ยังไม่ได้เริ่ม แต่ได้ตั้งเป้าหมายไว้แล้ว

"เนื้อหาข่าวส่วนหนึ่งมาจากการร่วมเวทีต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งทั้งอาจารย์สุโกร และ อาจารย์มันโซร์ทำงานเชิงประชาสังคมในพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งพยายามทำสื่อในพื้นที่อยู่แล้ว แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องต้นทุนจึงทำให้ยังไม่สามารถทำสื่อได้อย่างต่อเนื่อง
"ในขณะที่หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัสมีต้นทุนสำหรับผลิตหน้าภาษามลายูอยู่ที่สัปดาห์ละ 12,000 บาทหรือต่อฉบับ ซึ่งคิดว่ายังไม่เป็นภาระมากจนเกินไป เราเชื่อว่าในอนาคตมันอาจจะเดินไปในทางธุรกิจโฆษณามารองรับได้"

เป้าหมายคือสื่อของอาเซียน

"เป้าหมายของเราในระยะยาว คือการแยกไปเป็นหนังสือพิมพ์อีกเล่มได้เลย เป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และฝันว่าจะสามารถขายเข้าไปในประเทศมาเลเซียได้หรือไม่ หากเกิดขึ้นได้จริงก็จะเป็นหนังสือพิมพ์ที่รองรับการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้เลย

"นั่นคือเรามองในระยะไกล เราเดินในทิศทางของเรา ไม่ได้เป็นหนังสือขององค์กรใดๆ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือภาคอื่นๆ แต่อย่างใด เพราะเราต้องการความอิสรภาพ พี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อ่านแล้วเชื่อมั่นได้เลยว่า นี่ไม่ใช่กระบอกเสียงของใคร ไม่ใช่เครื่องมือของใคร แต่เป็นสื่อที่เป็นเวทีให้กับทุกฝ่าย

"เรานำเสนอข่าวของรัฐก็ได้ ข่าวประชาสังคมก็ได้ ข่าวชาวบ้านก็ได้ทั้งหมด ที่สำคัญคือเป็นเวทีให้นักคิดนักเขียน นักวิชาการในพื้นที่ เพราะคนเหล่านี้สามารถนำความรู้ของเขามาชี้นำสังคมในทิศทางที่ถูกต้องได้ เราเป็นเวทีกลางให้ทุกกลุ่มได้"

เวทีความคิดสำหรับทุกคน

"หลังจากเพิ่มหน้าภาษามลายูไปแล้ว ผลตอบรับยังไม่ชัดเจนมาก แต่สิ่งที่เราได้อย่างชัดเจน คือเวลาเจอคนที่อ่านภาษามลายูได้หรือคนมุสลิมทั่วไปที่รู้ว่าเราทำข่าวภาษามลายู ทุกคนจะรู้สึกเป็นมิตร ทำให้เราได้ใจเขาว่า เราทำสื่อให้เขา เขามองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่มีหนังสือแบบนี้ด้วยและขอบคุณด้วย

"ประการต่อมา เราเริ่มเห็นว่ามีคนติดตามอ่านด้วย อีกอย่างจากการที่อาจารย์สุโกร และ อาจารย์มันโซร์ได้เข้าร่วมเวทีต่างๆ ได้พูดถึงหนังสือพิมพ์นี้ด้วย ทำให้มีข้อการเสนอจะช่วยเขียนภาษามลายูหรือช่วยดูเรื่องการเขียน ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก

"ตอนนี้ยังไม่มีใครทำหนังสือพิมพ์ภาษามลายู เราเป็นคนเริ่มต้น แต่เปิดกว้าง เป็นเวทีให้กับทุกคน ใครก็ตามสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ซึ่งนี่แหละที่เป็นจุดแข็ง"

บทบาทด้าน "สื่อกับสันติภาพ"

"ส่วนบทบาทในการนำเสนอข่าวประเด็นสันติภาพนั้น มองว่า ถ้าเรามีการเรียนรู้และการสื่อสารระหว่างทุกฝ่ายแล้ว ความเข้าใจพื้นที่ก็จะดีขึ้นและมีส่วนส่งเสริมสันติภาพได้ รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญมากเพราะเป็นการส่งเสริมอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และส่งเสริมการสื่อสารระหว่างกัน

"เราต้องการเปิดเวทีการสื่อสารให้กับคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่าเดิม นี่คือเป้าหมายของภาคใต้โฟกัส เพียงแต่เราไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีคนมาสนับสนุนมากนัก เราทำของเราเอง เพราะเราคิดว่าเราอยากทำ และเราเชื่อบทบาทของสื่อจะหนุนเสริมสันติภาพได้ รวมทั้งหนุนเสริมความสงบสุข ความเข้าใจต่างๆ ได้ด้วย"

ไม่ย่ำอยู่กับการนำเสนอความรุนแรง

"ประเด็นเรื่องสันติภาพ เราไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง แต่เรามีส่วนร่วมให้ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะความคิดเห็นของภาคประชาสังคมและการเคลื่อนไหวของภาครัฐ แต่ให้น้ำหนักความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมเป็นหลัก เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ 

"จะเห็นได้ว่า ที่ผ่านมาเราได้นำเสนอข่าวสารจากผู้นำด้านประชาสังคมอย่างค่อนข้างชัดเจนกว่า โดยต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ถ้ามีเวทีเสวนาหรือมีการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสันติภาพ เราก็จะนำมาเสนออย่างต่อเนื่อง เหมือนเป็นการสะท้อนเสียงของชาวบ้านให้มากขึ้น

"สิ่งที่เราทำต่างจากสื่อกระแสหลักที่ไม่ได้เป็นเวทีให้ชาวบ้านมากนัก ส่วนมากมุ่งนำเสนอเหตุการณ์หรือจำนวนคดี แต่เราไม่ได้มุ่งตรงนั้น เรามุ่งเสนอกระบวนการทางความคิด กิจกรรมความเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม ไม่นำเสนอข่าวอาชญากรรม"

ทุกความคิดคือหนทางสู่สันติภาพ

"เราเปิดเวทีความคิด เพราะต้องการมุมมองความคิดที่จะเดินไปสู่สันติภาพมากกว่า ไม่ได้ย่ำอยู่กับเหตุการณ์รุนแรงเหมือนสื่อกระแสหลัก นี่คือจุดต่างที่ชัดเจน

"เรามองข้ามตรงนั้นไปเลยเพราะเราเชื่อว่า การย่ำอยู่ตรงนั้นไม่ได้ช่วยให้สันติภาพเกิดขึ้นแน่นอน มีแต่ซ้ำเติม เป็นการตอกลิ่มความขัดแย้งให้หนักเข้าไปอีก แต่สื่อของเราให้เนื้อหาและให้แง่คิด

"ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออะไรก็แล้วแต่ เชื่อว่ากระบวนการข่าวเป็นกระบวนการที่ให้คนรากหญ้าหรือตัวแทนชาวบ้านได้พูดคุยแลกเปลี่ยน ให้รัฐต้องนั่งฟัง แล้วก็ไม่ปิดหูปิดตา

"เมื่อใดที่สื่อไปยืนอยู่กับอำนาจ สื่อก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่ถ้าสื่อมีจุดยืนชัดเจนว่าอยู่ข้างประชาชนส่วนใหญ่ เป็นเวทีให้คนส่วนใหญ่แล้วสถานการณ์ก็จะดีขึ้น"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สตช.ระบุว่าไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษกับผู้ชุมนุมกลุ่มโค่นระบอบทักษิณ

Posted: 08 Oct 2013 03:52 AM PDT

สำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงยึดหนังสติ๊ก หัวน็อต และประทัดยักษ์ได้จากผู้ชุมนุมกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ และกำลังเจรจาให้ผู้ชุมนุมเปิดพื้นที่จราจรที่ ถ.พิษณุโลก โดยขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ

ตามที่ผู้ชุมนุมกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ หรือ กปท. และกลุ่มกองทัพธรรม ได้มาปักหลักชุมนุมที่ ถ.พิษณุโลก บริเวณประตู 5 หน้าทำเนียบรัฐบาล มีการใช้คนและรถยนต์กีดขวางเส้นทางจราจรตั้งแต่สะพานชมัยมรุเชฐจนถึงแยกมิสกวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ ถ.พิษณุโลก ตั้งแต่แยกพาณิชยการถึงแยกสวนมิสกวันได้นั้น

ล่าสุด สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (8 ต.ค.) ว่า พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวว่า มีรายงานแจ้งเตือนว่า มีความพยายามระดมคนและสิ่งที่อาจเกิดอันตรายเข้ามาในพื้นที่ชุมนุม จากการตั้งจุดตรวจค้นบริเวณใกล้เคียงพื้นที่การชุมนุม สามารถตรวจค้นและยึดถุงบรรจุหนังสติ๊ก ลูกเหล็กหัวน็อต ลูกแก้ว และประทัดยักษ์ได้จำนวนหนึ่ง เชื่อว่ามีความพยายามสร้างสถานการณ์ เพื่อยกระดับการชุมนุม ส่วนการชุมนุมจะยืดเยื้อมากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจาก พบว่า กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามนำสิ่งกีดขวาง หรือเตรียมสิ่งของลักษณะการปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ ซึ่งตำรวจได้จัดชุดเจรจาต่อรองกับแกนนำผู้ชุมนุม เพื่อขอให้การจราจรบริเวณพื้นที่ชุมนุมโดยเร็วที่สุด

ส่วนสถานการณ์ชุมนุมขณะนี้ ยังไม่จำเป็นต้องเสนอประกาศใช้กฏหมายพิเศษ ขณะเดียวกัน ฝ่ายกฏหมายตรวจสอบ พบว่า ในกลุ่มผู้ชุมนุม มีบุคคลที่เข้าข่ายผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว 5 คน ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล

นอกจากนี้ วอยซ์ทีวี รายงานด้วยว่า ช่วงเย็นวันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายวีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ อายุ 71 ปี พร้อมของกลางอาวุธปืนพกสั้นรีวอลเวอร์ ยี่ห้อนอร์ทอเมริกา บรรจุกระสุนขนาด .22 แม็กนั่ม จำนวน 5 นัด ได้ที่จุดตรวจค้นแยกสวนมิสกวัน  ก่อนนำส่งสน.ดุสิต

นอกจากนี้  จากการตรวจค้นกลุ่มผู้ที่มาร่วมชุมชุม   เจ้าหน้าที่ตำรวจที่รักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณแยกสวนมิกสวัน ได้ตรวจค้นพบ การพกพาอาวุธมีด จำนวน 3 ราย ได้แก่  นายวีรพล  กาญจนสอาด อายุ 24 ปี   นางมาลัย  ปิ่นทองสุข อายุ 49 ปี  และ  นางพรรณี  ภูเขาทอง อายุ 58 ปี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชวนสดับ ‘คำปราชญ์ว่าไว้’ กับแอดมินเพจ ‘ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด’

Posted: 08 Oct 2013 02:12 AM PDT

"คนเก่งมีอยู่มาก แต่ที่หายากคือคนหาย" คือคติที่แอดมินเพจ 'ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด' ชื่นชอบ ชวนอ่านความคิดของเฟซบุ๊กแฟนเพจนี้ที่อุดมไปด้วยคติ ปรัชญาและภาษิต กวนๆ ชวนให้คิดและขำ

ภาพจากเพจ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด (7 ต.ค.56)

หากกล่าวถึงเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันแล้ว ส่วนมากสไตล์การโพสต์ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ คือการใช้ภาพมีมบวกกับการโควทคำ โดยเฉพาะคำคม คำพูดโดนๆ ภาษิต ปรัชญา ทั้งที่คิดค้นเองหรือก๊อบมาก็จะสามารถเรียกไลค์เรียกแชร์จากแฟนเพจได้มาก

ด้วยความนิยมในลักษณะนี้ พร้อมๆ กันจึงมีเพจที่เกิดขึ้นมาเพื่อล้อเลียนการโพสต์คำเท่ๆ เช่น เพจอย่าง "กูKuote" ที่ล้อเลียนการโควทคำในประเด็นที่จริงจัง โดยเพจนี้ยกเอาคำที่ไม่ใช่ประเด็นของการนำเสนอนั้นมาโควท มาไฮไลท์ หรือเพจอย่าง "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ที่ล้อเลียนการโควทคำพูดที่ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาหรือผู้พูด แต่เพจนี้ยกเครดิตทั้งหมดไปกับมิตรสหายท่านหนึ่งหรือบุคคลนิรนามแทน เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดเพจล้อเลียนคำพูดเท่ๆ อย่าง "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" ที่ฮอตฮิตอย่างรวดเร็ว เพียง 1 สัปดาห์มีแฟนเพจกว่า 100,000 แล้ว เพจนี้จับเอา ภาษิต ปรัชญา คำคม ที่ดูลุ่มลึก พร้อมกับภาพมีมหรือแบ็คกราวน์ที่เป็นภาพลายเส้นขึงขังแบบจีนๆ มาใส่มุขบิดคำสร้างความฮาหรืออมยิ้มมุมปากแก่ผู้พบเห็น

ตัวอย่างเช่น "ไม่เห็นโลงศพ มาผิดศาลา" (ยอดไลค์กว่าสองหมื่น)  "ศิษย์ได้ดีก็เพราะครู ศิษย์ได้ครูก็ดี" ที่เป็นข้อความพร้อมภาพมีมเป็น เอี้ยก้วย กับ เซียวเหล่งนึ่ง คู่พระนางในมังกรหยกที่มีสถานะเป็นศิษย์อาจารย์กันด้วย เป็นต้น

ภาพจากเพจ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด (6 ต.ค.56)

ประชาไทลองสนทนากับแอดมินเพจฮอตแห่งนี้เพื่อสำรวจแนวคิดและที่มาของมุขฮาๆ เหล่านี้ 

00000

 

ประชาไท : ทำไมตั้งชื่อเพจว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด"?

แอดมินเพจ "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" : ที่เราตั้งชื่อเพจแบบนี้เพราะ เราแซวกันในออฟฟิศ ว่า "รู้เยอะนะ" เวลาที่มีใครสักคนเอาคำเท่ ของคนนู้นคนนี้มาพูด แล้วเราก็ชอบแซวคำนั้นๆ เป็นรูปแบบอื่น จนเกิดความตลก

 

จริงๆ เพจตั้งใจสื่อปรัชญาหรือคติเตือนใจอะไรหรือไม่ เนื่องจากตั้งคำอธิบายเพจว่า "คำปราชญ์ว่าไว้" หรือเอาฮาอย่างเดียว?

ก็ไม่ได้หวังเตือนสติอะไรครับ เราแค่อยากใช้สิ่งที่ทุกคนไปอ่านไปเจอไปแชร์มา ซึ่งเป็นอะไรที่ทุกคนน่าจะเคยผ่านตาเคยพบเห็นอยู่แล้ว มาต่อยอดให้เกิดความสนุกและผ่อนคลายบ้าง ที่ตั้งคำอธิบายไว้ว่า "คำปราชญ์ว่าไว้" ก็เพื่อให้คนรู้สึกว่า สิ่งที่เราจะพูดต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงจังและดูมีความรู้ และพออ่านๆ ไปก็เป็นเพียงมุขตลกที่เราสอดแทรกเข้าไปเท่านั้น

 

ทำไมใช้รูปโปรไฟล์เป็น "sun tzu"(ซุนวู)?

ที่ใช้รูปเป็นซุนวู เพราะ น่าจะเป็นนักปราชญ์ที่คนไทยรู้จักกันมากที่สุด มากกว่าอาร์คิมิดีสหรืออริสโตเติล

 

ทำไมต้องใช้ภาพแบ็คกราวน์เป็นเหมือนภาพปรัชญาหรือคำคมของนักปรัชญาชาวจีน?

ก็คงเพราะจุดเริ่มต้นที่เราพยายามทำให้ดูเป็นคำปราชญ์จีนอยู่แล้ว เลยอยากให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งรูป Cover(ภาพปกในเฟซบุ๊ก) ก็เพิ่งมาทำหลังจากได้ 1000 ไลค์ แล้วรู้สึกว่าต้องทำเพจให้ดูดีหน่อยครับ (หัวเราะ)

 

คิดว่าเพราะอะไรยอดไลค์และคนพูดถึงเพจถึงทะลุหลักแสนไปแล้ว ทั้งๆ ที่เปิดมาไม่กี่วัน?

จริงๆ เพจนี้เราเปิดขึ้นมาตั้งแต่ 27 สิงหาคม 2556 และเริ่มโพสต์อะไรเล่นๆ ขำๆ กันเองในออฟฟิศ จนกระทั่งพี่คนนึงแนะนำว่า ให้ทำเป็นรูปสิ น่าจะขำกว่า เลยลองทำเป็นรูปภาพขึ้นมา แต่ไลค์ก็ไม่เยอะมากอะไรครับ อยู่ 120 กว่าๆ มานาน จนกระทั่งมีเพื่อนในออฟฟิศ อีกคนบอกว่า "ทำไมแอดมินไม่กดแชร์วะ" แอดมินทุกคนเลยกดแชร์กัน จากนั้น 2-3 วัน ยอดไลค์ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครับ

ก็ขอบคุณครับที่สนับสนุนกัน ทีแรกก็ไม่คิดว่าจะถึงแสนไลค์ได้เลย ยังคุยกันติดตลกอยู่เลยว่า สิ้นปีนี้ เราจะต้องทำให้ได้ จาก 129 เป็น 130

จริงๆ ข้อนี้ เราแซวกันเล่นๆ อยู่เลยว่าครบ 10000  ไลค์เราจะปิดเพจ (หัวเราะ)

 

ไหนๆ เพจก็มีชื่อว่าด้วย  "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" แล้ว มองความรู้กับสังคมไทยอย่างไร?

เราคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการสอนวิชาการที่หนักนะครับ ไหนจะการบ้าน ไหนจะต้องไปเรียนพิเศษ เด็กทุกคนฉลาดเป็นหน้าเป็นตาของประเทศกันหมด ทั้งฟิสิกส์โอลิมปิก คณิตศาสตร์โอลิมปิก ฉะนั้นแล้ว เพจเราเลยอยากให้ท่านมองมุมต่างบ้าง และมีอมยิ้มเล็กๆ บ้างในวันหนักๆ ครับ

 

มันมีคำภาษิตว่า "รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี" แอดมินในฐานะที่ตั้งชื่อเพจว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" มองอย่างไรกับภาษิตนี้?

ผมเองเห็นว่ามันขัดกับคำว่าความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดพอควรนะครับ ผมจึงไม่รู้จะอธิบายเกี่ยวกับคำนี้ยังไง คงบอกได้แค่ว่า

"รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี อิชิตันกรีนที เป็นยอดชา"

ภาพโดยประชาไท

มีคำปรัชญาหรือคติไหนที่แอดมินชอบเป็นการส่วนตัว ที่ลงในเพจไปแล้ว คือเรียกว่าจำและนำไปใช้จนขึ้นใจ?

ความชอบส่วนตัวคงเป็น "คนเก่งมีอยู่มาก แต่ที่หายากคือคนหาย"

ภาพโดยประชาไท

ส่วนการเอาไปใช้ในชีวิตจริงนั้นผมคิดว่าคงไม่ได้ ไม่มีอันไหนเลยที่ใช้ได้นอกจากใช้เรียกเสียงฮา เท่านั้นครับ

 

มีนักคิดหรือนักปรัชญาที่แอดมินชื่นชอบไหม คือใครและทำไมถึงชอบ?

จริงๆ ผมชอบโน้ส อุดม แต้พานิช นะครับ ผมไม่รู้ว่าเรียกว่าเป็นนักคิดมั้ย แต่เขาเป็นคนรู้จักทำตัวเองให้ไม่เครียดดีครับ ติดตามผลงานเขามาตลอด และคิดว่าถ้าผมสามารถมองเรื่องเครียด หรือ เรื่องรอบตัวให้เป็นเรื่องสนุกได้ ผมคงใช้ชีวิตที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องอาศัยคำคมอะไรเลยครับ

 

"ส่วนตัวผมเชื่อว่าความสุขมีอยู่ทุกที่ครับ แค่เราเปลี่ยนมุมมองเราจะเจอความสุขมากมายที่อยู่รอบๆ ตัวเราครับ"

แอดมินเพจ "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้สูงอายุ-เครือข่ายด้านคนพิการเรียกร้อง "รถเมล์ภาษีประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน"

Posted: 08 Oct 2013 01:52 AM PDT

เครือข่ายสูงอายุ ร่วมกับ องค์กรด้านคนพิการ เดินทางไปสำนักงานใหญ่ ขสมก. เรียกร้องให้การจัดซื้อรถโดยสารรอบใหม่ 3,183 คัน มีทางลาดบริเวณประตูรถ มีระบบเสียง และมีอักษรวิ่ง เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก และปลอดภัย พร้อมระบุด้วยว่าจะดำเนินคดีทางกฎหมายหาก ขสมก. ใช้เงินภาษีจัดซื้อรถเมล์แบบเลือกปฏิบัติ

แฟ้มภาพรถเมล์ปรับอากาศ ขสมก. ที่ใช้เดินรถอยู่ในปัจจุบันขณะวิ่งออกจากอู่ ขสมก. ถ.เทียนร่วมมิตร ล่าสุดเครือข่ายผู้สูงอายุ และองค์การด้านคนพิการเรียกร้องให้การจัดซื้อรถโดยสารของ ขสมก. ต้องเอื้อให้ทุกคนสามารถใช้โดยสารได้ (แฟ้มภาพ/Google Maps)

 

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชนสูงอายุ นำโดย สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ เครือข่ายจิตอาสาเพื่อนคนพิการ เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ และประชาชนสูงอายุผู้ใช้รถโดยสาร (รถเมล์) สาธารณะ ได้เดินทางไปที่สำนักงานใหญ่ ขสมก. ถ.เทียนร่วมมิตรฯ กทม. เพื่อเรียกร้องให้ ขสมก. ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดซื้อรถโดยสารแบบ NGV จำนวน 3,183 คัน จัดทำ TOR หรือขอบเขตของงานในการจัดซื้อรถโดยสารให้ทุกๆ คนสามารถเดินทางด้วยรถเมล์ได้

โดยในแถลงการณ์ที่ยื่นต่อ ขสมก. ได้เรียกร้องให้กำหนดขอบเขตของงาน หรือ TOR การจัดซื้อรถโดยสารให้ชัดเจนว่าจะต้องมี 1) ระบบอำนวยความสะดวกให้ทุกคนในสังคม รวมถึงผู้สูงอายุ และคนพิการทุกคนใช้รถเมล์ทุกคันได้อย่างสะดวก และปลอดภัย และ 2) มีระบบเสียงและตัวอักษรวิ่งบนป้ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คนตาบอดและคนหูหนวกได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่พนักงานขับรถหรือพนักงานเก็บเงินพูด/ทำท่าทางบอกผู้โดยสารทั่วไป

ในแถลงการณ์ที่เครือข่ายยื่นต่อ ขสมก. ระบุด้วยว่า หาก  ขสมก. ไม่ดำเนินการแก้ไข TOR ตามข้อเสนอดังกล่าว เครือข่ายผู้สูงอายุ พร้อมจะร่วมกับ "ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน" ดำเนินคดีตามกฎหมาย เนื่องจาก ขสมก.เลือกปฏิบัติ กล่าวคือ  ใช้เงินจากภาษีของประชาชนทุกคนจัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน  แต่ไม่จัดบริการรถเมล์สาธารณะให้ประชาชนทุกคนใช้ได้ทุกคันอย่างเสมอภาคกัน

อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ก.ย. 56 เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ประกอบด้วย สภาคนพิการทุกประเทศแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) มูลนิธิคนพิการไทย มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ มูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย และเครือข่ายศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจากทั่วประเทศ ซึ่งได้เฝ้าระวังและจับตาโครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ร่วม "รถเมล์ภาษีประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน" เพื่อแสดงจุดยืนและความต้องการของเครือข่ายฯ ต่อกรณี ขสมก. เตรียมจัดซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน โดยมีข้อเรียกร้องได้แก่

"ข้อ 1. ขอให้ ขสมก. ดำเนินการแก้ไขร่างขอบเขตของงาน (TOR) โครงการจัดซื้อรถเมล์ใหม่จำนวน 3,183 คัน  ให้มีคุณลักษณะทั่วไปเป็นรถเมล์สาธารณะแบบชานต่ำ หรือกึ่งชานต่ำ ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ และมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า-ออกได้ บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถ ที่ "ประชาชนทุกคนในสังคม" สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน

ข้อ 2. ขอให้ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีคำสั่งไปยังประธานคณะกรรมการจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) ขสมก. ให้ "ยกเลิก" ความคิดที่จะติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการในรถเมล์สาธารณะที่จะจัดซื้อใหม่ ทั้งในปัจจุบันและที่จะจัดซื้อเพิ่มในอนาคต เพราะนอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพงและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุแล้ว ยัง "ไม่ใช่" ความต้องการของคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็น อีกด้วย (การใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ ขึ้น-ลงรถเมล์ประจำทาง จะใช้เวลาประมาณ 4-5 นาทีต่อคันต่อครั้ง ในกรณีชั่วโมงเร่งด่วน เกรงว่าจะไม่มีคนพิการกล้าออกมาใช้บริการ เพราะคนพิการไม่อยากตกเป็น "จำเลยของสังคม"...โดยไม่จำเป็น)

ข้อ 3. ขอให้กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแล ขสมก. และเจ้าของนโยบาย "สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ"  มีหนังสือสั่งการไปยัง ขสมก. ให้แต่งตั้งผู้แทนคนพิการจากทุกประเภทความพิการ ร่วมเป็นคณะทำงานยกร่างขอบเขตของงาน (TOR) และพิจารณาแต่งตั้งผู้แทนคนพิการ ที่มีประสบการณ์ในเรื่องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อและตรวจรับงานในโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ ทุกคนรวมทั้งคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทุกคัน

ข้อ 4. ขอให้ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรี กำชับและกวดขันหน่วยงานที่ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 21 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันสนับสนุนมาตรการผลักดันการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ ในโครงการ "เปลี่ยนภาระ เป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน" (เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2556 ที่ทำเนียบรัฐบาล) ไม่ให้กระทำการในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ดั่งเช่นกรณีของ ขสมก. อีกต่อไป

ข้อ 5. ขอให้ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประสานทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหา กรณี ขสมก. เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ และนำผลความคืบหน้าในการดำเนินงาน มารายงานให้ผู้แทนเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการทราบ ในที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ ในวันที่ 16 ก.ย. ที่จะถึงนี้

เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ ขอเรียนว่าพวกเราจะยืนหยัดต่อสู้ในทุกวิถีทางและทุกรูปแบบ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ไม่ว่าจะต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ หรือชีวิตก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  เข้าถึงสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป  รวมถึงเป็นบุคคลที่มีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม และประเทศชาติต่อไป"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยกฟ้อง ลูกน้องเสธ.แดง คดีครอบครองอาวุธสงคราม

Posted: 07 Oct 2013 11:48 PM PDT

 
วันที่ 8 ต.ค. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควบคุมตัว นายสุรชัย เทวรัตน์ หรือ หรั่ง อดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. คนสนิทของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ซึ่งเป็นจำเลย 1 ในจำเลยคดีก่อการร้าย ร่วมกับแกนนำ และ แนวร่วม นปช.เข้าห้องควบคุม หลังศาลพิพากษายกฟ้อง ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต  จำหน่ายวัตถุระเบิดและอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนอนุญาตให้ไม่ได้ และไม่ได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม
 
โดยศาลฯ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยค้าอาวุธสงครามตามฟ้อง เนื่องจากการล่อซื้อไม่มีการจับกุมทันที ประกอบกับขั้นตอนการสืบสวนสอบสวน มีการปล่อยระยะเวลาทิ้งช่วงนานจนมีข้อพิรุธสงสัย อีกทั้งตัวจำเลยไม่ปรากฏว่ามีการหลบหนี ศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย และพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ควบคุมตัวจำเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์ พร้อมให้ยึดอาวุธสงครามไว้ทั้งหมด
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหตุรุนแรงวันรำลึกครบรอบสงครามของกองทัพอียิปต์

Posted: 07 Oct 2013 10:50 PM PDT

ขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนกองทัพและผู้นำทหารในอียิปต์ทำพิธีเฉลิมฉลองวันครบรอบปฏิบัติการสงครามยมคิปปูร์ ประชาชนผู้ต่อต้านรัฐประหารที่เดินขบวนหวังจะเข้าไปในจัตุรัสทาห์รีร์ก็ถูกสกัดกั้นจนปะทะกับเจ้าหน้าที่ มีประชาชนเสียชีวิตราว 50 ราย และถูกจับอีกกว่า 400 ราย

7 ต.ค. 2013 - เกิดเหตุรุนแรงรอบใหม่ในอียิปต์โดยมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนองค์กรภราดรภาพมุสลิมกับตำรวจทำให้มีประชาชนอย่างน้อย 53 รายเสียชีวิต

เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในการรำลึกครบรอบ 40 ปี สงครามยมคิปปูร์ (Yom Kippur) เมื่อวันที่ 6 ต.ค. โดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ผู้ถูกกองทัพรัฐประหารโค่นล้มไปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา พยายามเดินทางเพื่อเข้าไปในพื้นที่จัตุรัสทาห์รีร์แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดกั้นไว้ ทำให้มีการปะทะกันเกิดขึ้น

โฆษกกระทรวงสาธารณสุขของอียิปต์ประกาศว่ามีประชาชนอย่างน้อย 46 รายเสียชีวิตในกรุงไคโร อย่างน้อย 5 รายเสียชีวิตที่ทางตอนใต้ของเมืองหลวง และมีผู้บาดเจ็บ 268 ราย ทั่วประเทศอียิปต์

มีผู้ชุมนุมเล่าว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินขบวนอย่างสงบมาจากเขตโมฮันเดซีน ในเมืองกีซ่า แต่ก็มีกองกำลังตำรวจดักรออยู่ใต้สะพาน ทางด้านมอสตาฟา รอมฎอน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัล-อัซชาร์ ผู้ประท้วงต่อต้านการรัฐประหารได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม เขาเล่าว่ากลุ่มผู้ชุมนุมพยายามบอกว่าพวกเขามาอย่างสงบแต่ก็ถูกด่าทอก่อนเริ่มยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนปืนจริงใส่

จัตุรัสทาห์รีร์เคยมีประวัติศาสตร์เป็นแหล่งชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ก่อนที่จะลงจากตำแหน่งไปในเดือน ก.พ. 2011 และต่อมาในช่วงปี 2013 ก็มีผู้ชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดีมอร์ซีผู้มาจากการเลือกตั้ง แต่ในวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา จัตุรัสทาห์รีร์กลายเป็นที่เฉลิมฉลองครบรอบการเริ่มต้นสงครามยมคิปปูร์ ที่กองทัพอียิปต์และซีเรียบุกโจมตีอิสราเอล

มีประชาชนหลายพันคนเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยค้นตัวผู้ที่จะเข้าไปในพื้นที่จัตุรัส ผู้เข้าร่วมบางคนถือภาพของ อับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซีซี ผู้บัญชาการกองทัพคนปัจจุบัน พากันโบกธงเมื่อมีขบวนเครื่องบินรบบินผ่านพร้อมกับเปิดเพลงแสดงความรักชาติดังมาจากลำโพง โดยอัล-ซีซี และนายกรัฐมนตรีจอร์แดน อับดุลลาห์ นัาซูร์ ได้เข้าร่วมพิธีจุดพลุและการแสดงเฉลิมฉลองที่สนามกีฬาของกองทัพ

ผู้บัญชาการกองทัพอียิปต์ได้กล่าวต่อฝูงชนที่เข้าร่วมงานว่ากองทัพ ตำรวจ และประชาชนจะร่วมมือกันเพื่อปกป้องชาวอียิปต์และเจตจำนงของชาวอียิปต์

ทางการอียิปต์ยังได้แถลงอีกว่าเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมตัวผู้ชุมนุมได้ 423 ราย ในกรุงไคโร โดยตั้งข้อหาทำลายทรัพย์สินของรัฐ รวมถึงกล่าวหาว่าได้ใช้กระสุนปืนจริงและกระสุนปืนลูกเบอร์ (birdshot)

องค์กรแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในรายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 3 ก.ค. เป็นต้นมา มีประชาชนถูกจับแล้วอย่างน้อย 3,000 ราย และมีราว 2,200 รายยังคงถูกกุมขังอยู่ ผู้ถูกจับจำนวนมากไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ในกลุ่มผู้ที่ถูกจับมีตั้งแต่เหล่าแกนนำขององค์กรภราดรภาพมุสลิม ผู้สนับสนุนองค์กร รวมไปถึงนักข่าวที่ไม่พอใจการยึดอำนาจโดยกองทัพ

กลุ่มต่อต้านรัฐประหารในอียิปต์ยังคงเรียกร้องให้มีการชุมนุมอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ให้ออกมาประท้วงต่อต้านสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า "การสังหารหมู่"

 


เรียบเรียงจาก

Scores killed as Egypt marks war anniversary, Aljazeera, 07-10-2013
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2013/10/egypt-warns-against-anniversary-protests-201310654657557552.html

Blast from the past for Egyptian dissidents, Aljazeera, 07-10-2013
http://www.aljazeera.com/indepth/features/2013/10/blast-from-past-for-egyptian-dissidents-2013107113914374587.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น