โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สุลต่านบรูไนเตรียมใช้กฎหมายชารีอะห์เป็นกฎหมายอาญา

Posted: 23 Oct 2013 01:16 PM PDT

สุลต่านฮัสซานัล โบเกียห์ประกาศว่าอีก 6 เดือนจะใช้กฎหมายชารีอะห์เป็นกฎหมายอาญาปกครองประเทศ ด้านนักการศาสนาบรูไนระบุอย่ามองแค่การ ปาก้อนหิน-ตัดมือ-เฆี่ยน แต่เพียงด้านเดียว เรื่องนี้จะมีวิธีที่เที่ยงธรรม ส่วนนักท่องเที่ยวก็ไม่ต้องกลัวกฎหมายชารีอะห์ตราบเท่าที่ยังเป็นผู้เคารพกฎหมาย ส่วนฮิวแมนไรท์ ว็อทซ์ห่วงมาตรการถอยหลังเข้าคลองของรัฐสุลต่านแห่งนี้

24 ต.ค. 2556 - บรูไนซึ่งเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยสุลต่าน ประกาศว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะใช้กฎหมายชารีอะห์เป็นกฎหมายอาญาปกครองประเทศ ซึ่งจะมีการนำโทษประหารชีวิตด้วยการขว้างก้อนหิน การลงโทษด้วยการตัดมือ และการเฆี่ยน มาบังคับใช้ในบทลงโทษทางอาญา

สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ แห่งบรูไน (ที่มา: วิกิพีเดีย)

 

สุลต่านเชื่อว่าการบังคับใช้ชารีอะห์ถือเป็นประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่ของชาติ

ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ The Brunei Times สื่อท้องถิ่นของบรูไนรายงานเมื่อ 22 ต.ค. ว่าการประกาศใช้กฎหมายชารีอะห์นี้เกิดขึ้นระหว่างที่สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ วัย 67 พรรษา สุลต่านผู้ปกครองบรูไนมาตั้งแต่ 2510 สมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ และต่อมาได้รับเอกราชในปี 2527 ได้มีพระราชดำรัสเปิดงานนิทรรศการประจำปี "ชุมนุมความรู้" ซึ่งจัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ โดยสุลต่านแห่งบรูไนตรัสว่าจะบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ภายในเวลาไม่นานนี้ และกฎหมายชารีอะห์นั้นเป็น "คู่มือพิเศษ" มาจากพระอัลเลาะห์

"เป็นเพราะว่าพวกเราต้องการพระอัลเลาะห์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นความกรุณาที่พระองค์ได้ประทานกฎหมายมาเพื่อเรา ดังนั้นเราจะใช้กฎหมายนี้เพื่อดำรงความยุติธรรม"

สุลต่านแห่งบรูไนกล่าวด้วยว่าการใช้กฎหมายชารีอะห์ถือเป็น "ส่วนของประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของชาติเรา"

"ขั้นตอนที่เราจะก้าวไปนั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อนโยบายของเรา" สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ย้ำ

ผู้ปกครองบรูไนกล่าวด้วยว่า บนูไนนั้นให้ความสนใจว่าสิ่งใดสามารถจะยังประโยชน์ให้กับรัฐสุลต่านได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และประเด็นอื่นๆ

สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ ยังหวังด้วยว่าโลกภายนอกจะไม่ด่วนตัดสินในเรื่องนี้ "เราพิจารณาทุกสิ่งด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและไม่มีสิ่งขัดขวาง ไม่มีการตัดสินด้วยความลำเอียง ในทางกลับกันเรามีสิทธิที่จะคาดหวังว่าผู้อื่นจะมองบรูไนด้วยวิสัยทัศน์นี้เช่นกัน" สุลต่านแห่งบรูไนกล่าว

ภาพจากข่าวใน The Brunei Times เป็นการสาธิตการลงโทษแบบกฎหมายชารีอะห์

ทั้งนี้ข่าวภาคมัลติมีเดียของ The Brunei Times มีการแพร่ภาพสุลต่านแห่งบรูไน เยี่ยมชมการสาธิตการลงโทษแบบกฎหมายชารีอะห์ ที่จัดแสดงภายในงานแสดงนิทรรศการประจำปีด้วย [ชมคลิป]

 

ฮิวแมนไรท์ ว็อทซ์กังวล 'บรูไน' ถอยหลัง

สำหรับประเทศอย่างบรูไนนั้น ปัจจุบันมีการห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์อยู่แล้ว และห้ามเผยแพร่ศาสนาอื่นนอกจากศาสนาอิสลาม นอกจากนี้เป็นที่รู้กันว่าอิสลามในทางปฏิบัติของที่นี่นั้นมีรูปแบบอนุรักษ์นิยมกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียซึ่งมีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่

บรูไนนั้นปัจจุบันมีประชากรอย่างน้อย 406,000 คน โดย 2 ใน 3 ของประชากรเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม โดยปัจจุบันระบบกฎหมายอาญาของบรูไนสืบทอดมาจากสมัยที่อังกฤษปกครอง ขณะที่การบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์จำกัดเฉพาะเรื่องกฎหมายครอบครัวและการสืบมรดกเท่านั้น ส่วนประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ที่จะใช้กฎหมายชารีอะห์นั้น เดอะการ์เดียนของอังกฤษ รายงานโดยอ้างสื่อในบรูไนที่ระบุว่า กฎหมายชารีอะห์นี้จะนำมาบังคับใช้เฉพาะผู้ที่เป็นมุสลิมเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตามแม้แต่กฎหมายที่บังคับใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ชาวต่างชาติที่มาเยือนบรูไนก็อาจถูกเฆี่ยนได้ หากทำผิดกฎหมายอาญารวมทั้งทำผิดกฎหมายเข้าเมือง โดยการลงโทษด้วยการเฆี่ยนนั้นมีการบังคับใช้อยู่ในมาเลเซีย สิงคโปร์ และบางส่วนของอินโดนีเซีย

เดอะการ์เดี้ยนของอังกฤษ รายงานด้วยว่า บรูไนซึ่งขนานนามตัวเองว่าเป็น "บ้านของสันติภาพ" นั้น ในรอบหลายปีมานี้มีอัตราของการเกิดอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้น ศาลในบรูไนต้องรับมือกับคดีลักเล็กขโมยน้อย การลักลอบขนยาเสพย์ติด การฉ้อโกง และการค้าประเวณี โดยเดอะการ์เดี้ยนยังรายงานบรรยากาศในประเทศว่า ดูเหมือนว่าบางคนจะยินดีกับกฎหมายใหม่นี้ โดยในเว็บไซต์ประเภทโซเชียลมีเดียมีการโพสต์ข้อความทำนอง "สุลต่านทรงพระเจริญ" และ "ขอสรรเสริญต่ออัลเลาะห์" ในขณะที่นักสิทธิมนุษยชนประณามมาตรการของบรูไนว่าเป็น "ศักดินา" หรือ "น่ารังเกียจ" และเชื่อว่าเสียงชื่นชมที่เกิดขึ้นมาจากความกลัวรัฐบาล

ทั้งนี้ฟิล โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการเอเชีย ของฮิวแมนไรท์ ว็อทซ์ให้ความเห็นว่า "ถ้าบรูไนมีรูปแบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย แทนที่จะเป็นแบบอำนาจนิยมหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คุณน่าจะไม่ได้เห็นปฏิกิริยาที่ออกมาในแนวถอยหลังแบบนี้" เขากล่าวด้วยว่า "แต่ประชาชนตระหนักดีว่าถ้าพวกเขาเงยหน้าขึ้น พวกเขาก็จะต้องเผชิญหน้ากับคนของสุลต่าน ... เพราะการขวางเรือหมายความว่าคุณอาจจะไปจบที่กระบวนการในศาลซึ่งห่างไกลจากสิ่งที่เรียกว่าความยุติธรรมนัก"

ในการให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับ เทเลกราฟ ของอังกฤษ โรเบิร์ตสัน ยังกล่าวเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยใดๆ ก็ตามที่เคยมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับสุลต่านแห่งบรูไน ต้องทบทวนเรื่องการมอบปริญญาไม่ว่าพวกเขายังต้องการที่จะสมาคมกับสุลต่านแห่งบรูไนอยู่หรือไม่

ขณะที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดปฏิเสธที่จะทบทวนปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่สุลต่านแห่งบรูไนเคยได้รับ โดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่ง เมืองเอดินเบอระ (Edinburgh's Royal College of Surgeons) กล่าวว่า สิ่งที่จะทำนั้นได้รับการพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่ของสถาบันแล้ว แต่การตัดสินใจใดๆ ก็ตามขึ้นอยู่กับผู้ที่ได้รับมอบหมายจากทางสถาบัน

ส่วนโฆษกของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่า "พวกเรารับรู้ถึงการประกาศใช้กฎหมายอาญาฉบับใหม่ในบรูไนที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการชารีอะห์ พวกเราให้ความสนใจต่อเรื่องนี้ว่าผลในทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไร และจะแสดงความห่วงใยต่อเจ้าหน้าที่บรูไนต่อไป"

 

นักการศาสนาบอกนักเที่ยวไม่ต้องกลัวชารีอะห์ ตราบเท่าที่ยังเป็นผู้เคารพกฎหมาย

ขณะที่นักการศาสนาอิสลามในบรูไน อธิบายกฎหมายชารีอะห์ว่า "เป็นความยุติธรรมที่มีหลักประกันสำหรับทุกคน"

โดยมุฟตี อาวัง อับดุล อาซิซ นักการศาสนาอิสลามของบรูไน กล่าวในการแถลงข่าวด้านกฎหมายเมื่อวันอังคาร (21 ต.ค.) ว่า "พวกเราอย่ามองแค่การตัดมือ การปาก้อนหิน หรือการเฆี่ยน แต่เพียงด้านเดียว นี่ไม่ใช่การตัดมือ ปาก้อนหิน หรือเฆี่ยนอย่างไม่เลือกหน้า เรื่องพวกนี้มีเงื่อนไขและวิธีการที่เที่ยงธรรมและยุติธรรม"

เขากล่าวด้วยว่า นักท่องเที่ยวไม่ต้องกลัวกับกฎหมายฉบับใหม่ตราบเท่าที่พวกเขาเป็นผู้เคารพกฎหมาย

"นักท่องเที่ยวที่มาบรูไนทุกคนวางแผนที่จะลักขโมยหรือ? ถ้าพวกเขาไม่ทำ ทำไมพวกเขาจะต้องกลัว? เชื่อผมสิ เมื่อผมกล่าวว่าด้วยกฎหมายชารีอะห์ของเรา ทุกๆ คนรวมทั้งนักท่องเที่ยวจะได้รับการคุ้มครอง" เขากล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Science Space: อนุภาคฮิกส์กับโนเบลสาขาฟิสิกส์ 2013 และสัมภาษณ์พิเศษ ศ.ไพรัช ธัชยพงษ์

Posted: 23 Oct 2013 12:52 PM PDT

รายการ Science Space เทปนี้เดินทางไปที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อสนทนากับ ศ.ไพรัช ธัชยพงษ์ อดีตผู้อำนวยการ สวทช. ในเรื่องราวเกี่ยวกับ 'อนุภาคฮิกส์' (Higgs boson) หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า 'อนุภาคพระเจ้า' (God Particle) ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบครั้งสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องกำเนิดของโลกและจักรวาลที่อาจส่งผลต่อความเชื่อดั้งเดิมทางศาสนา ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอทฤษฎีซึ่งอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2013 ซึ่งได้แก่ ปีเตอร์ ฮิกส์ (Peter Higgs) และฟรองซัว อองเกลอร์ (François Englert)

สนทนากับ ศ.ไพรัช ถึงอนุภาคฮิกส์ และเรื่องราวของสองนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่ได้รับรางวัลโนเบลในปีนี้ รวมถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เรื่องอนุภาคกับการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ไฮเทคอย่าง เครื่องตรวจหามะเร็ง (Pet scan) เครื่องแสกนสมอง ทีวี สมาร์ทโฟน แทบเลต ฯ และประเด็นความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างไทยกับสภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ 'เซิร์น' (CERN: The European Organization for Nuclear Research)

subscribe วิดีโอของช่องประชาไทเพื่อติดตามข่าวสาร
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Free Write : รวมพลังเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ อภิวัฒน์ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์

Posted: 23 Oct 2013 12:22 PM PDT

บทตั้ง
รัฐประหาร     ล้มรัฐบาล ผิดกฎหมาย ฐานกบฏ
คือวงจรอุบาทว์ คือความอัปยศ    ตามตัวบท ประมวล กฎหมายอาญา 

(1)
การต่อต้าน รัฐประหาร จึงเริ่มต้น   ปัญญาชน สภาหน้าโดม ประกาศท้า
ร่วมประสาน กรรมกร และชาวนา    เป็นกองหน้า เพรียกหา ประชาธิปไตย
ย่างเข้าสู่ ฤดู ดอกไม้บาน     ขบวนการ สามประสาน จึงเคลื่อนไหว
เสรีภาพ หอมหวาน กว่าสิ่งใด    ฟ้าสีทอง ผ่องอำไพ ใกล้เข้ามา
แล้วนายพราน ก็ล้อมยิง นกสีเหลือง   คนรุ่นใหม่ ทิ้งเมือง ไปอยู่ป่า
พิราบขาว พิราบแดง เดือนตุลา    ต่างมุ่งหน้า จับปืนสู้ อยู่กลางไพร
จึงเกิดยุค วิกฤต แห่งศรัทธา     นักศึกษา กลับคืน สู่เมืองใหญ่
บ้างก็ยัง ยืนหยัด สู้ต่อไป     ยังเชื่อมั่น แห่งชัย อุดมการณ์
เมื่อขบวนการ ปฏิวัติ ถูกสลาย     ด้วยนโยบาย การเมืองนำ การทหาร
ระบอบ อำมาตยาธิปไตย  เริ่มเบ่งบาน   กึ่งเผด็จการ กึ่งประชาธิปไตย 

(2)
สี่สิบปี ต่อมา     ขบวนการ นักศึกษา หายไปไหน
กรรมกร ชาวนา ก็เปลี่ยนไป    คนเดือนตุลา สบายไหม ใครตอบที
ขบวนการ สามประสาน ล่มสลาย    คนเสื้อแดง มากมาย เข้าแทนที่
เพื่อต่อสู้ เรียกร้อง สิทธิเสรี    คืนศักดิ์ศรี ความเป็นคน ที่สมบูรณ์
เพราะมีความ อยุติธรรม เป็นมูลเชื้อ   จึงแดงเรื่อ แดงทั้งแผ่นดิน ไม่สิ้นสูญ
แดงที่นั่น แดงที่นี่ ทวีคูณ     แดงสมบูรณ์ ยั่งยืน นิรันดร์ไป
สี่สิบปี ผ่านมา     ไม่ว่าเดือนเมษา  พฤษภา หรือเดือนไหน
ยังมีการ เข่นฆ่า ประชาชนไทย    เพียงเรียกร้อง ประชาธิปไตย อำนาจรัฐ

บทสรุป
ต้องลบล้าง ผลพวง รัฐประหาร   มรดก เผด็จการ ต้องกำจัด
รวมพลัง เปลี่ยนแปลง อำนาจรัฐ    อภิวัฒน์ ประชาธิปไตย ให้สมบูรณ์

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พ่อค้าแม่ค้าเจรจานายด่านช่องจอม สรุปผ่อนผัน 30 วันก่อนขึ้นภาษี

Posted: 23 Oct 2013 10:55 AM PDT

กลุ่มผู้ประกอบค้าตลาดชายแดนช่องจอม เจรจานายด่านศุลกากรได้ข้อสรุป ด่านจะผ่อนผันการจัดเก็บภาษีให้กับกลุ่มผู้ประกอบการค้าอีก 30 วัน รองรับการเปิดประเทศสู่ AEC ขณะที่ผู้ค้าชาวกัมพูชาวอนเจ้าหน้าที่ไทยเห็นใจ ให้นำสินค้า เข้ามาจำหน่ายในตลาดไทย เพราะมีหนี้สิน ในการกู้เงินไปชื้อสินค้ามาขาย

 

23 ต.ค. 2556 เวลา 13.00 น.ที่ด่านศุลกากรช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ กลุ่มผู้ประกอบการค้าชายแดน ที่ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม ได้ส่งตัวแทนเพื่อเจรจาหาข้อสรุปในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี สินค้าผ่านแดนจากประเทศกัมพูชา เข้ามายังประเทศไทยโดยกลุ่มผู้ประกอบการค้าชายแดนตลาดช่องจอม มีความไม่พอใจการจัดเก็บภาษีของด่านศุลกากรช่อจอมที่ไม่เป็นธรรม คนละมาตรฐานในแต่ละช่วงเวลา และไม่มีการออกใบเสร็จให้กับผู้นำสินค้าข้ามแดนเข้ามายังประเทศไทย ผู้ประกอบการค้าชายแดนช่องจอมจึงต้องข้อสงสัยเกี่ยวกับความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี และมีการก่อม็อบประท้วง ด่านศูลกากรช่องจอม ไปแล้เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา

ตัวแทนพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยและชาวกัมพูชา ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม ได้เดินทางเข้าร่วมเจรจากับนายเรวัตร เอี่ยมวสันต์ นายด่านศุลกากรช่องจอม และนายอดิศร สิทธิชอบธรรม ผู้ช่วยนายด่านศุลกากรช่อง โดยมีนายพัฒนา ชื่นยง ผู้จัดการตลาดการค้าชายแดนช่องจอมและตัวแทนผู้ประกอบการค้าชายแดนช่องจอม  เข้าร่วมหารือเพื่อหาข้อสรุปรวมกัน

นายเรวัตร เอี่ยมวสันต์ นายด่านศุลกากรช่องจอม กล่าวว่า กรมศุลกากรดีมีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี จึงได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการค้าในตลาดชายแดนช่องจอม สินค้าที่นำเข้าประเทศไทยตามบริเวณแนวชายแดนหรือด่านถาวรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด่านถาวรชั่วคราวหรือจุดผ่อนปรนทางการค้า ถ้าสินค้ามีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรสามารถออกอากรบัตรระวางได้เลย โดยไม่ต้องทำใบประทวนสินค้า แต่กรณีที่สินค้ามีมูลค่าราคาเกินกว่า 20,000 บาท ต้องทำใบประทวนสินค้าและชำระค่าภาษีอากร อาจเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการอธิบายให้ผู้ประกอบการเข้าใจอยู่ว่า หลักเกณฑ์เป็นเช่นนี้ ปรากฏว่าในช่วงนี้ยังใหม่อยู่ ผู้ประกอบการบางรายอาจจะยังไม่เข้าใจ ด่านศุลกากรช่องจอมจึงขอเวลาในการทำความเข้าใจ ถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ประมาณ 30 วัน ซึ่งทางด่านศุลกากรช่องจอมมีนโยบายในการจัดเก็บภาษีให้ได้มากขึ้น และให้เกิดความเป็นกับผู้ประกอบการ ซึ่งวันนี้ก็ได้มีการทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการทั้งหมดแล้ว ก็เป็นที่เข้าใจกันเป็นอย่างนี้ และก็จะใช้ช่วงเวลานี้ ในการทำความเข้าใจร่วมกัน

นางรส ธา อายุ 30 ปี ชาวจังหวัดอุดรมีชัย ที่เป็นผู้นำเข้ารถจักรยานสองล้อมือสองมาขายในตลาดการค้าชายแดนช่องจอม ระบุว่า ตนเองเดือดร้อนเป็นอย่างมาในขณะนี้ที่ไม่สามารถนำจักรยานสองล้อมาขายในตลาดช่องจอมได้ เนื่องจากจะเก็บภาษีสูงขึ้น ตนเองเช่าที่เก็บรถในฝั่งกัมพูชามีค่าใช้จ่ายมากขึ้น และหากเก็บภาษีสูงขึ้นก็จะทำให้เพิ่มราคาขายสูงขึ้นไปด้วย คนไทยก็ไม่ชื้อเพราะราคาสูง รถมือสองราคาสูงก็ขายไม่ได้ ตนเองมีหนี้สินจากการกู้เงินไปชื้อรถมาขาย มีดอกเบี้ย จึงขอความเห็นใจจาก จากเจ้าหน้าที่ไทยช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้ด้วย

นางเฮง วิเชียรรัตน์ ผู้ประกอบการค้าผ้าห่มมือสอง ที่สั่งผ้าห่มมือสองจากญี่ปุ่นและเกาหนีมาขายให้ข้อมูลเช่นเดียวกันว่าเดือดร้อนมาก เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยสูงขึ้น และยังนำผ้าห่มข้ามแดนมายังไทยไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยไม่อนุญาตให้นำเข้า หากนำเข้าก็ต้องเสียภาษีสูงขึ้น ตนเองก็เดือดร้อน เพราะต้องกู้เงินมาชื้อสินค้ามีภาระหนี้สิน ดอกเบี้ย จึงขอความเห็นใจได้ยึดระเบียบภาษีแบบเดิมที่ไม่สูงมากนัก จะได้นำสินค้ามาขาย พอมีรายได้เลี้ยงครอบครัว หวังว่าจะได้รับความเห็นใจ และขอความเป็นธรรมจากเจ้าที่ศุลกากรไทยต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: 40 ปี 14 ตุลา: ความรุนแรงกับการเมืองไทย

Posted: 23 Oct 2013 10:46 AM PDT

ท่ามกลางหัวข้อการอภิปรายวาระเดือนตุลาคม 2516 ที่หลากหลายในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถ้าไม่นับการสดุดีวีรชนและการเรียกร้องให้คนรุ่นหลังศึกษาประวัติศาสตร์ให้มากขึ้นแล้ว ความรุนแรงคือหนึ่งในหัวข้อที่มีการพูดถึงมากที่สุดจนคล้ายกับว่าภาพเหตุการณ์ตุลาคม 2516 เป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงในสังคมไทยไปเลย

เหตุการณ์เดือนตุลาปี 16 เป็นความรุนแรงหรือเปล่า? คำตอบคือเป็นแน่ๆ แต่ความรุนแรงในภาพเหตุการณ์เดือนตุลา 16 ถูกทำให้หมายถึงและไม่หมายถึงอะไรบ้าง ตรงนี้ต่างหากที่เป็นประเด็น

โดยทั่วไปแล้ว ภาพความรุนแรงในเดือนตุลาคมปี 2516 ชวนให้คิดถึงการใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนผู้ชุมนุมด้วยข้อเรียกร้องทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่ง ภาพการใช้ความรุนแรงในเดือนตุลาคมเมื่อสี่สิบปีก่อนจึงถูกเชื่อมโยงกับความรุนแรงที่เกิดแก่ผู้ชุมนุมในเหตุการณ์อื่นอย่าง 6 ตุลาคม 2519, 17-21 พฤษภาคม 2535 รวมทั้ง 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553 ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระกันก็ตาม

น่าสังเกตว่าขณะที่ภาพความรุนแรงเดือนตุลาคม 2516 ถูกทำให้เชื่อมโยงกับสามเหตุการณ์ที่กล่าวไป กลับแทบไม่ปรากฏว่าเดือนตุลา 2516 ถูกเชื่อมโยงกับการสลายการชุมนุมที่มีรูปแบบคล้ายกันกรณีอื่น เช่นการสลายการประท้วง กรณีนาวิกโยธินฆ่าประชาชน 6 ศพ จนมีผู้เสียชีวิต 11 ราย ที่นราธิวาสในเดือนธันวาคม 2518, ความตายของมลายูมุสลิม 78 ราย กรณีตากใบ พ.ศ.2547 หรือการสลายการชุมนุมค้านเขื่อนปากมูลปี 2536 ที่มีผู้บาดเจ็บ 30 กว่าราย 

ในแง่นี้ ภาพความรุนแรงเดือนตุลาคมวางเพดานการตั้งคำถามเรื่องความรุนแรงไว้ที่การใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมืองในเขตเมืองหลวงเป็นสำคัญ ส่วนการใช้กำลังกับผู้ชุมนุมนอกเขตกรุงเทพออกไปนั้นไม่ได้ถูกทำให้เป็นปัญหามากนัก อย่างน้อยก็ในวาทกรรมความรุนแรงเดือนตุลาอย่างที่พูดกัน

ภายใต้เพดานการคิดเรื่องความรุนแรงแบบนี้ ความรุนแรงทั้งสี่กรณีคือ 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 , 17-21 พฤษภาคม 2535 และ 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553 ถูกเรียกรวมๆ ว่าเป็น "ความรุนแรงโดยรัฐ" หรืออีกอย่างคือ "อาชญากรรมโดยรัฐ" ทั้งที่กรณี 6 ตุลาคม 2519 เกิดขึ้นโดยผู้กระทำที่หลายฝ่ายไม่ใช่รัฐ หรือแม้แต่กรณี 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553 ก็มีผู้เกี่ยวข้องกับการฆ่าในความหมายของ Perpetrators ที่ไม่ใช่รัฐด้วยเหมือนกัน

ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 17-21 พฤษภาคม 2535 ความรุนแรงเกิดจากการกระทำของทหารและตำรวจโดยไม่ต้องสงสัย แต่ในกรณี 6 ตุลาคม 2519 แม้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในและเครือข่ายของกองทัพจะมีบทบาทในการสร้างสถานการณ์หลายอย่าง แต่กระทิงแดงกับลูกเสือชาวบ้านที่บุกธรรมศาสตร์แล้วฆ่าผู้ชุมนุมอย่างโหดเหี้ยมนั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐในความหมายที่เคร่งครัดอย่างแน่นอน

ในการปราบปรามประชาชนปี 2553 ผู้อำนวยการฆ่าหลายรายไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐในความหมายที่เคร่งครัดอีกเหมือนกัน

จริงอยู่ โดยส่วนมากของผู้ปฏิบัติการฆ่าในกรณี 2519 และ 2553 ทำลายชีวิตฝ่ายผู้ถูกฆ่าในนามของการปกป้องสถาบันและอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่คำถามที่ต้องตอบคือใครควรต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการคร่าชีวิตกันแน่ ระหว่างผู้ลงมือฆ่าจริงๆ, คนที่ยั่วยุให้ฆ่าโดยใช้สถาบันและอุดมการณ์เป็นเครื่องมือ หรือสถาบันและอุดมการณ์เอง?

แน่นอนว่าคำว่า "ความรุนแรงโดยรัฐ" หรือ "อาชญากรรมโดยรัฐ" มีจุดเด่นตรงความง่ายที่จะชวนให้คิดต่อไปว่าใครคือศัตรูของประชาชน เพราะศัตรูย่อมได้แก่ผู้สั่งการไปจนถึงผู้วางแผนและผู้ปฏิบัติการฆ่าทั้งหมด แต่จุดอ่อนของมโนภาพนี้คือการลดทอนความซับซ้อนของการฆ่า ผลักความผิดทุกอย่างไปที่รัฐ ซึ่งถึงที่สุดแล้วโน้มเอียงจะถูกทำให้เท่ากับจอมบงการไม่กี่ราย ทำราวกับประชาชนตายเพราะคำสั่งและแผนของคนไม่กี่คน จนแม้ผู้ลั่นไกฆ่าก็คล้ายไม่ผิดไปเลย

ในทันทีที่อธิบายเหตุการณ์ทั้งสี่กรณีว่าเป็น "ความรุนแรงโดยรัฐ" หรือ "อาชญากรรมโดยรัฐ" สิ่งที่ตามมาทันทีก็คือการมองไม่เห็นด้านที่เป็น "ความรุนแรงโดยภาคที่ไม่ใช่รัฐ" หรือ "อาชญากรรมโดยสังคม" โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดจากกระทำของพลเรือนต่อพลเรือน อย่างในปี 2519 และ 2553 ซึ่งผู้กระทำที่ไม่ใช่รัฐมีบทบาทในปฏิบัติการและการอำนวยการฆ่าอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะปี 2519 ที่คนแบบนี้มีบทบาทไม่น้อยหน้ารัฐด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ดี การคิดเรื่องความรุนแรงแบบนี้ทำให้ยากที่จะระบุว่าศัตรูของประชาชนคือใคร เพราะผู้มีส่วนอำนวยให้เกิดการฆ่าในกรณี 2519 และ 2553 เป็นใครก็ได้ตั้งแต่ครู พระ เจ้าของร้านไก่ย่าง หมอ นักจัดรายการวิทยุ ปัญญาชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นักเขียน ฯลฯ การโยนความผิดไปที่จอมบงการเอกบุคคลจึงหมายถึงการกลบเกลื่อนความผิดของคนอื่นไปด้วย ซ้ำยังเสี่ยงต่อการทำให้สังคมไม่ฉุกคิดว่าอะไรทำให้คนธรรมดาลุกขึ้นมาฆ่าคนธรรมดาด้วยกัน

ยิ่งไปกว่านั้น การทำให้ศัตรูของประชาชนมีขอบข่ายกว้างขวางขนาดนี้ย่อมหมายถึงการอยู่ร่วมกันของทุกฝ่ายกลายเป็นเรื่องพะอืดพะอมเหลือเกิน

กล่าวในเชิงเปรียบเทียบแล้ว ความรุนแรงโดยรัฐเป็นความรุนแรงที่สังคมจดจำและรำลึกได้ง่าย เพราะมีศัตรูไม่กี่รายเป็นต้นเหตุของการประทุษร้ายสังคมทั้งหมด จะประณามว่าเป็นทรราชตั้งแต่ในเวลาที่ศัตรูของประชาชนมีอำนาจก็ยังได้ ส่วนความรุนแรงโดยสังคมนั้นทั้งจำยากและรำลึกยาก เพราะผู้กระทำล้วนเป็นคนธรรมดาในทุกอณูของสังคม อาจเป็นเพื่อนหรือพี่น้องของเราเองก็ได้ ขืนไล่ล่ามากไปก็อาจเป็นชนวนของความแตกร้าวจนอยู่ร่วมกันไม่ได้ในสังคม

ในแง่นี้แล้ว แม้แนวคิดเรื่อง "ความรุนแรงโดยรัฐ" จะลดทอนความซับซ้อนของปัญหาความรุนแรงจนไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจการฆ่าระหว่างพลเรือนกับพลเรือนด้วยกัน แต่การทำให้ผู้ฆ่าเท่ากับผู้นำหรือชนชั้นนำไม่กี่คนนั้นสะดวกสำหรับการต่อสู้ทางการเมืองเฉพาะหน้า ซ้ำยังเป็นการผลักความผิดทั้งหมดไปที่จอมบงการ จนไม่กระทบกระเทือนถึงความเป็นสมาชิกสังคมเดียวกันระหว่างผู้ฆ่ากับผู้ถูกฆ่า เมื่อเทียบกับแนวคิด "ความรุนแรงโดยสังคม"

พูดสั้นๆ การประณามถนอมหรือสุจินดาหรืออภิสิทธิ์นั้นเหมือนยาก แต่ที่จริงแล้วง่ายกว่าการประณามเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องของเราเองว่าเป็นฆาตกรในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หรือเอาผิดกับทุกคนที่พัวพันทั้งทางตรงและทางอ้อมกับการปราบประชาชนในปี 2553 

ลองมองนอกสังคมไทยออกไปเพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจประเด็นนี้ดู 

เยอรมันฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนยิว ยิปซี กะเทย สหภาพแรงงาน ฯลฯ เพราะอะไร? คำอธิบายแนวหนึ่งโยนความผิดทั้งหมดไปที่ฮิตเลอร์และนาซี ส่วนคำอธิบายบางแบบพยายามทำความเข้าใจว่าอะไรทำให้คนเยอรมันจำนวนมากไม่ปฏิเสธที่จะมีส่วนในกิจกรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในทางใดทางหนึ่ง คำอธิบายแบบแรกเห็นว่าการฆ่าเกิดจากคำสั่งหรือการโฆษณาชวนเชื่อของฮิตเลอร์และคณะ ส่วนคำอธิบายหลังเห็นว่าการฆ่ามีด้านที่เกิดจากความสมัครใจของคนเยอรมันเอง

Theodor Adorno ในหนังสือเรื่อง Guilt and Defense เขียนถึงข้อค้นพบที่เขาและสมาชิกสถาบันวิจัยสังคมแฟรงค์เฟิร์ตได้จากการรวมรวมข้อมูลเชิงประจักษ์จำนวนมหาศาลว่าคนเยอรมันช่วงหลังสงครามโลกคิดอย่างไรกับลัทธินาซี คำตอบคือนาซีมีด้านที่ดีเพราต่อต้านการคอรัปชั่นและเป็นพรรคที่มีวินัย อีกส่วนเชื่อว่านาซีสะท้อนความเป็นเชื้อชาติที่สูงส่งกว่าเชื้อชาติอื่น ส่วนอีกกลุ่มบอกว่ายิวต่างหากที่ทำผิดจนความไม่พอใจบานปลายกลายเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

คำถามคือคนแบบนี้มีส่วนในการฆ่าเพราะความเชื่อแบบนี้หรือเพราะถูกฮิตเลอร์บังคับให้ฆ่า? เป็นไปได้ไหมว่าการฆ่าในบางสังคมและในบางกรณีอาจเกิดจากความปรีดาของฝ่ายผู้ฆ่าไม่น้อยไปกว่าคำบัญชาของอำนาจที่เหนือผู้ฆ่าขึ้นไป?

ในกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเขมรระหว่าง พ.ศ.2518-2523 คำอธิบายที่ง่ายที่สุดคือเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตและตาม็อกสั่งการและยุยงให้คนเขมรฆ่ากันเองจนมีคนตายไป 850,000- 3,000,000 คน ส่วนคำอธิบายที่ลึกซึ้งขึ้นไปหน่อยก็บอกว่าความตายจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นเพราะทฤษฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์และลัทธิมาร์กซ์ฉบับเขมรแดงเป็นชนวนให้ผู้นำเขมรกวาดต้อนประชาชนไปเป็นชาวนาเพื่อเร่งเปลี่ยนสังคมจารีตเป็นสังคมคอมมูนิสม์ในเวลาอันรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง S-21 ของ ริธ ปราน กลับไปสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติการฆ่าที่คุกโตล สเลง ในปี 2546 และพบว่าฝ่ายผู้ฆ่ายังยืนยันความสมเหตุสมผลของการฆ่าและทรมานคนเขมรด้วยกันในเวลานั้น แม้เขมรแดงจะล่มสลายไปแล้วเป็นเวลาหลายปี และถึงแม้จะไม่มีใครเชื่อในการปฏิวัติสังคมแบบลัทธิมาร์กซ์ฉบับเขมรแดงอีกแล้วก็ตาม

ในการฆ่าที่ผู้ฆ่ามีจำนวนและขอบข่ายกว้างขวางกว่ารัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐในความหมายแคบแบบนี้ การโยนความผิดไปที่ผู้นำระดับจอมบงการคือวิธีที่ง่ายที่สุดเพื่อไม่ต้องตอบคำถามว่าพลเรือนคนไหนที่มีส่วนฆ่าพลเรือนด้วยกัน พลเรือนคนไหนมีส่วนสนับสนุนหรือยั่วยุให้เกิดการฆ่า พลเรือนคนไหนมีส่วนทำให้การฆ่าไม่มีความผิดตามกฎหมาย รวมทั้งคำถามที่ยากที่สุดอย่างสังคมจะทำอย่างไรกับพลเรือนที่เกี่ยวพันกับการฆ่าพลเรือนซึ่งมีจำนวนมหาศาลเหลือเกิน?

ในวาระสี่สิบปีสิบสี่ตุลาคม ภาพความรุนแรงที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อประชาชนในวันที่ 14 ตุลา กลายเป็นเพดานความเข้าใจความรุนแรงทางการเมืองที่กวาดต้อนความสูญเสียกรณีอื่นไปอยู่ภายใต้มโนภาพ "ความรุนแรงโดยรัฐ" การโยนความผิดไปที่จอมบงการใหญ่เป็นความกล้าหาญทางการเมืองเฉพาะหน้าที่ในด้านกลับคือภาพสะท้อนความมักง่ายของสังคมที่ไม่ยอมเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงว่ามีพลเรือนไม่น้อยในสังคมที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่าพลเรือนด้วยกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สำรวจความเห็น ผ่ากระแสนิรโทษกรรมเหมาเข่ง-สุดซอย

Posted: 23 Oct 2013 07:02 AM PDT

หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง มีมติเสียงข้างมากให้แก้ไขข้อความมาตรา 3 ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระสำคัญ โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิด จากคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 พ้นจากความผิด หรือเรียกได้ว่าเป็นการนิรโทษกรรมทุกฝ่าย เสียงคัดค้านในสังคมก็ดังขึ้นทั่วสารทิศ รวมไปถึงฝ่ายที่เคยสนับสนุนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวในเวอร์ชั่นแรก ของ นายวรชัย เหมะ ส.ส.เพื่อไทยด้วย

ก่อนที่จะมีการประชุม กมธ.อีกครั้งในวันที่ 24-25 ต.ค. และคาดว่าจะมีการนำเข้าสู่สภาในวาระ 2 เพื่อเปิดให้อภิปรายก่อนลงมติรับหรือไม่รับร่างดังกล่าว ในโอกาสนี้ขอรวบรวมความคิดเห็นทั้งจากฝ่ายการเมือง นักเคลื่อนไหว นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องสำคัญๆ ไว้พิจารณา

ไม่ว่าจะเป็น วรชัย เหมะ, ธิดา ถาวรเศรษฐ์, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ศุภชัย ใจสมุทร, ชวลิต วิชยสุทธิ์, ภูมิธรรม เวชชยชัย, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, บรรหาร ศิลปอาชา, ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต, คำนูณ สิทธิสมาน, ธาริต เพ็งดิษฐ์

พะเยาว์ อัคฮาด, จักรภาพ เพ็ญแข, ไม้หนึ่ง ก.กุนที, สุดา รังกุพันธุ์, ใบตองแห้ง

โคทม อารียา, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, เกษียร เตชะพีระ
 

==========

วรชัย เหมะ
ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย  กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ (18 ต.ค.)

"ผมยืนยันว่าร่างนิรโทษกรรมของผมที่เสนอเข้ามา ไม่ใช่ร่างหลอกตามที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตมาตั้งแต่แรก ผมเสนอด้วยความบริสุทธิ์ใจจริง ๆ แต่สุดท้ายแล้วเมื่อกรรมาธิการเสียงข้างมากมีมติเช่นนี้ ก็ต้องยอมรับหลักการ ผมไม่รู้ล่วงหน้าด้วยซ้ำว่า จะมีการแก้ไขเนื้อหาออกมาเช่นนี้ ผมเป็นแค่เสียงเดียวต้องเคารพการตัดสินใจเสียงข้างมาก ทำได้แค่นี้จริง ๆ ทำอะไรไม่ได้ คัดค้านไปก็เท่านั้น เรื่องนี้ต้องไปว่ากันในสภาใหญ่ตอนลงมติอีกครั้ง"
http://www.dailynews.co.th/politics/241449

 

ธิดา ถาวรเศรษฐ์
ประธาน นปช.(21 ต.ค.56)

"ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษแบบสุดซอย จากการใคร่ครวญมาดีพอสมควร เป็นมติแกนนำ นปช. และการฟังเสียงประชาชนโดยเฉพาะคนเสื้อแดง แม้เขาจะรักคุณทักษิณแต่เขาไม่เห็นด้วย 
ที่จริงก็มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิม เมื่อครั้งมีการปราบปรามประชาชนใหม่ๆ เราบอกว่าเราไม่ต้องการนิรโทษกรรมเลย เพราะเราเชื่อมั่นในความถูกต้องของเรา และต้องการเอาคนผิดมาลงโทษสถานเดียว
แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลายเป็นว่าความยุติธรรมยังมาช้าเกินไปหรือเปล่า เราจึงจำเป็นต้องบรรเทาทุกข์พี่น้องประชาชน โดยการนิรโทษกรรม ให้ประชาชนเสียก่อน เอาแค่นี้เราเปลี่ยนมาเพียงแค่นี้
ถ้าเปลี่ยนเป็นนิรโทษกรรมทั้งหมดมันไม่ไหว เพราะว่านี่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเกินไป เพราะฉะนั้นพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณต้องเข้าใจ และเห็นใจ นปช. ด้วย เพราะเราเป็นองค์กรของประชาชนในการต่อสู้ ไม่ใช่พรรคการเมือง เพราะฉะนั้น เราไม่สามารถจะทรยศกับประชาชนได้"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382325603&grpid=01&catid=&subcatid=

 

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี (22 ต.ค.)

"ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นร่างของ ส.ส.ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของกรรมาธิการ เชื่อว่าขั้นตอนต่างๆ ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ก็มีอีกหลายขั้นตอน ซึ่งไม่ใช่ร่างของรัฐบาลต้องเรียนอย่างนี้"
http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000132251

 

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์   (20 ต.ค.)

"เป็นเป้าหมายใหญ่ที่พยายามจะนิรโทษกรรมพวกตัวเองและคดีทุจริตของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในส่วนของผมและนายสุเทพ เทือกสุบรรณที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร ไม่ประสงค์ที่จะได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ แต่พร้อมต่อสู้คดีในศาล ...ยืนยันในกรรมาธิการชัดเจนว่าใครทำผิดกฎหมายต้องรับผิด ยกเว้นประชาชนธรรมดาที่ใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานแล้วไปทำผิดกฎหมายในช่วงนั้นแต่ต้องไม่ใช่การทำความผิดต่อร่างกาย ชีวิต  ทรัพย์สิน หรือก่อให้เกิดอันตรายกับประชาชน ไม่ต้องมาอ้างพวกผม ขอให้ยึดในความถูกต้อง

ผมต้องถามนายกฯ ยิ่งลักษณ์ว่าเห็นประเทศร่ำรวยขนาดเอาเงินห้าหมื่นกว่าล้านไปคืน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ทุจริตและกระทำผิด เพียงเพราะ คตส.กล่าวหาเลยต้องยกเงินให้ นางสาวยิ่งลักษณ์คิดว่า 5.7 หมื่นล้านเป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ซึ่งในส่วนของพรรคจะดูร่างสุดท้ายว่าผิด รธน.หรือไม่ เพราะมีหลายประเด็นที่จะโต้แย้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382252166

 

ศุภชัย  ใจสมุทร
ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญ

"พรรคแสดงจุดยืนมาโดยตลอดว่าการนิรโทษกรรมจะต้องเป็นการลดเงื่อนไขความขัดแย้ง ปัญหาคือกฎหมายฉบับนี้ถ้าออกไปแล้ว จะตอบโจทย์ตรงนี้หรือไม่ ทั้งหมดรัฐบาลต้องรับผิดชอบ ถ้านอกสภามีประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้  และกลายมาเป็นตัวเร่งให้เกิดการชุมนุม และเกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองรอบใหม่  จะมาบอกว่าเป็นร่างของ ส.ส.ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลไม่ได้ ที่สำคัญถ้าเกิดอะไรขึ้นมานายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382172079&grpid=&catid=01&subcatid=0100

 

ชวลิต วิชยสุทธิ์
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง (21 ต.ค.)

"คณะ กมธ.ใช้หลักในการทำงานโดยให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ และเห็นว่าร่างของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พท.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ที่ระบุว่า บุคคลต้องได้รับความเสมอภาคทางด้านกฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นความเห็นเช่นเดียวกับทีมกฎหมาย พท. ผู้ใหญ่ของพรรค ปชป. 2 คน และอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น กรรมาธิการจึงเห็นควรแก้ไขไม่ให้ขัดต่อหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ สำหรับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 98 ศพนั้น กมธ.เห็นว่าต้องเริ่มที่ทุกฝ่ายให้อภัยก่อน ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ก็ยังยอมให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่าย และเป็นหลักการเดียวที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศชาติกลับมาสงบ แม้กระทั่ง น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ที่เดิมทีก็ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม แต่ภายหลังก็ยอมเสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ เพราะหากยังมีความทิฐิอยู่ ก็ไม่เกิดการนิรโทษกรรมได้สำเร็จ"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382337570&grpid=03&catid=&subcatid=

 

ภูมิธรรม เวชชยชัย
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (23 ต.ค.)


"พรรคเพื่อไทยยังเดินหน้าเพื่อคืนความยุติธรรมแก่บุคคลที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจากการรัฐประหารหรือผลพวงของการรัฐประหาร การแก้ไขเนื้อหาเนื่องจากแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ และผู้พิพากษาบางส่วนท้วงติงว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอาจขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เรื่องหลักความเสมอภาค พรรคจึงนำมาทบทวนเพราะไม่ต้องการให้กฎหมายนี้ต้องตกไปทั้งฉบับ จนทำให้ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้เลยหากขัดมาตรา 30 จริงๆ ท้ายที่สุดกรรมาธิการจึงแก้ไขเนื้อหาใหม่ โดยยึดหลักเกณฑ์การนิรโทษกรรมจากเหตุการณ์เป็นหลักแทน

พรรคเพื่อไทยไม่ได้ทำเรื่องนี้แบบหลบๆ ซ่อนๆ หรือแอบทำ ทำทุกอย่างเปิดเผยตามกระบวนการ และยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้ถอยอย่างที่เป็นข่าว สิ่งที่เราทำอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องที่ต้องการให้ทุกคนได้รับประโยชน์เหมือนกัน เป็นการแก้ปัญหาให้สังคม ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการของกรรมาธิการจะขัดหลักการที่ผ่านมาวาระแรกหรือไม่ ยืนยันว่า ไม่ขัดหลักการ เพราะในหลักการวาระแรก พูดถึงการไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและผลพวงของการรัฐประหาร ซึ่งในเนื้อหาที่แก้ไขใหม่ก็ยืนยันไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร จึงไม่ใช่การขัดหลักการ โดยเนื้อหาที่แก้ไขจะครอบคลุมแค่ไหน ก็ยังอยู่ในหลักการเดิม"
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189750

 

สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ประธานที่ปรึกษาคณะยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (22 ต.ค.)

"ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งที่กมธ.เสียงข้างมากแก้ไขไม่ใช่เรื่องเลวร้าย เป็นการเซ็ตซีโร่ ตั้งต้นใหม่หมด เราทะเลาะกันมา 7-8 ปีแล้วน่าจะคืนความเป็นธรรม ไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันอีกดีหรือไม่ สำหรับคนเสื้อแดงก็เห็นใจคนที่ต้องสูญเสียเจ็บปวด แต่ต้องมองอนาคตด้วยว่าเราจะเดินกันอย่างไรต่อไป ถ้าลืมกันได้ ก็ไปกันได้ เชื่อว่าคนเสื้อแดงพูดจากันเข้าใจมีเหตุมีผล อย่างไรก็ตามอยากฝากให้ส.ส.มองมิตินี้ด้วย

เท่าที่ดูเนื้อหาของร่าง เป็นการนิรโทษกรรมสถานการณ์ตั้งแต่ช่วงไหนถึงช่วงไหน เป็นเหตุการณ์ใดบ้าง เช่นการรัฐประหาร การชุมนุมห้วงเวลาต่างๆ ไม่ได้เป็นการนิรโทษกรรมให้คนใดคนหนึ่ง วันนี้เรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาแล้ว ก็ต้องเดินต่อไป ไม่มีใครไปสั่งให้ถอยได้ ส่วนเรื่องการคืนเงินให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯนั้น เป็นการบิดเบือนมากเกินไป เพราะร่างพ.ร.บ.นี้ไม่ใช่การเงิน ไม่สามารถคืนเงินให้ใครแม้แต่บาทเดียว ถ้าหากเป็นเรื่องการเงินจริงๆ สภาเขาไม่รับไว้หรอก ฉะนั้นอย่าไปพูดกันเกินเลย"
http://www.tnews.co.th
 

บรรหาร ศิลปอาญา
ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (22 ต.ค.)

"อยากให้มองเรื่องของการนิรโทษกรรมว่าอดีตที่ผ่านมาผู้ที่ทำรัฐประหารยังได้รับการนิรโทษ ดังนั้น การที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเสียงข้างมาก ให้นิรโทษกับบุคคลที่ทำผิดทางการเมืองทุกด้านก็อาจเป็นจุดที่ดีในการสร้างความปรองดองได้ ผมไม่เห็นด้วยกับการคืนเงินและทรัพย์สินต่างๆ ทุกอย่างไม่ราบรื่น อาจต้องใช้เวลา ฉะนั้นฝากถึงทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน และกลุ่มต่างๆ อะไรที่ถอยกันได้ก็ให้ถอย อะไรที่ยอมให้ได้ก็ยอม"
http://www.mcot.net/site/content?id=52663d14150ba0f85f0001a8#.UmZK-Plgfwg

 

ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (21 ต.ค.)


"ผมเห็นใจคนเสื้อแดง และอยากเรียกร้องคนเสื้อแดง ให้ออกมาต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบ หากคนเสื้อแดงออกมาเป็นผู้นำในการต่อต้านกฎหมายนี้ เชื่อว่ารัฐบาลจะต้องหยุดฟังและยอมถอย ดังนั้นช่วงเวลาที่เหลืออีกไม่กี่สัปดาห์ จึงอยู่ที่คนเสื้อแดงว่าจะเอาอย่างไร จะยอมให้พ่อแม่พี่น้องตายฟรี หรือต้องการจะพิสูจน์ความยุติธรรมหาฆาตกรมาลงโทษ วันนี้เป็นละครที่เจ็บปวดสำหรับคนเสื้อแดง แต่ละครกำลังจะจบ โดยคนเสื้อแดงสามารถเลือกได้ว่าจะจบอย่างไร'"
http://www.dailynews.co.th/politics/242095

 

คำนูณ สิทธิสมาน
เฟซบุ๊ก(19 ต.ค.)

"ถ้าคิดจะเดินสุดซอยแบบนี้ก็บอกกันเสียแต่แรก เสนอเป็นร่างพ.ร.บ.แบบที่ต้องการอย่างนี้เข้ามาให้ชัดเจน คนในสภาผู้แทนฯก็จะได้อภิปรายลงมติให้ชัดตอนวาระ 1 รวมทั้งคนนอกสภาก็จะได้ตั้งขบวนต่อต้านคัดค้านให้เหมาะแก่กรณี

นี่ร่างฯแรกของวรชัย เหมะเล่นอ้างมวลชน ไม่รวมแกนนำ ไม่รวมทักษิณ ชินวัตร ไม่รวมคดีคอร์รัปชั่น

มาวันท้าย ๆ ในชั้นกรรมาธิการฯ เล่นกลให้ประยุทธ ศิริพาณิชย์เป็นแนวหน้ากล้าตายเสนอแก้ไขแบบทะลุซอยอย่างที่เห็น อภิปรายกันได้สักพัดแล้วให้สุนัย จุลพงศธรเสนอปิดอภิปราย แล้วใช้เสียงข้างมากรวมทั้งคนรัฐประหารคนตั้งคตส.โหวตให้ชนะ

โดยวรชัย เหมะเล่นบทไม่รู้ไม่เห็น ไม่เห็นด้วย และสงวนความเห็นเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยไว้ เพื่อจะไปแพ้ในสภาผู้แทนฯวาระ 2"


ธาริต เพ็งดิษฐ์
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)(21 ต.ค.)

"การออกกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นสิ่งที่พิจารณาจากการกระทำที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ ไม่ใช่พิจารณาจากตัวบุคคลที่กำลังพูดกันอยู่ในขณะนี้ อย่าลืมว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจนเป็นคดีความ มีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง เชื่อว่ากลุ่มคนทั้ง 2 กลุ่มไม่ได้มีพื้นฐานจากการเป็นอาชญากรโดยสันดาน และเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์ต้องการให้ความเป็นอยู่ร่วมกันของคนในชาติดีขึ้น อยากให้มองเรื่องการให้อภัย อย่ามองแบบชั่งน้ำหนักว่าใครได้ใครเสียมากกว่ากัน อย่างไรก็ตามกฎหมายนิรโทษกรรมจะมีรายละเอียดอย่างไร เป็นหน้าที่สภาพิจารณา ระหว่างนี้ดีเอสไอก็ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องตามขั้นตอนกฎหมายปกติ จนกว่ากฎหมายนิรโทษกรรมมีผลบังคับใช้ 
http://prachatai.com/journal/2013/10/49354

 

โคทม อารียา
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี (21 ต.ค.)

"หากคณะกรรมาธิการแก้ให้การนิรโทษกรรมนั้น รวมถึงแกนนำด้วยเป็นจุดสำคัญ อาจจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส่วนหนึ่ง และแกนนำพันธมิตรกับแกนนำเสื้อแดงอีกส่วนหนึ่ง ตอนแรกในหลักการให้นิรโทษกรรมเฉพาะในส่วนของประชาชนที่ออกไปเคลื่อนไหว แต่ไม่รวมถึงคนที่เป็นผู้นำ น่าแปลกใจว่าการแปรญัตติในคณะกรรมาธิการ เป็นการแก้ไขในเชิงหลักการสำคัญ น่าจะมีการทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นอย่างไรกันแน่ ไม่ใช่ขึ้นต้นว่าอย่างหนึ่ง ไปกลางทางแล้วว่าอีกอย่างหนึ่ง

ส่วนเรื่องของความเหมาะสมนั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจ การยอมรับ ไปจนถึงอารมณ์และความรู้สึกของสังคมโดยรวม พรรคการเมืองที่กำลังดำเนินการแก้ไขต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ว่า สิ่งที่ทำไปไม่เป็นไปตามที่บอกไว้ตอนต้น การแก้ไขในตอนนี้ยิ่งจะทำให้สังคมสับสน ต้องมีการอธิบายให้ชัดเจนให้สังคมเข้าใจและมีเวลาได้ถกแถลง ทำความเข้าใจว่าดีหรือไม่ ควรจะชะลอไว้ก่อน"
 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382347350&grpid=03&catid=&subcatid=

 

จักรภพ เพ็ญแข
เฟซบุ๊ก (20 ต.ค.56)

"อย่าลืมเป็นอันขาดว่า การลดค่าของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยฝ่ายประชาชน คือยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายตรงข้ามเขาใช้เตะตัดขาไม่ให้ระบอบประชาธิปไตยเมืองไทยเสถียรได้มาตลอด คำถามคือแนวคิดนิรโทษกรรมยกเข่งหรือทั้งยวง คือ คลื่นสึนามิที่ไหลบ่าเข้ามาท่วมหลักฐานแห่งความผิดและการทำลายประชาธิปไตยของฝ่ายตรงข้ามไปด้วยหรือไม่ ถ้ามีลักษณะอย่างที่ว่านั้น แทนที่เรื่องนี้จะเป็นตอนอวสาน จะกลับเป็นบทที่หนึ่งของการต่อสู้ครั้งใหม่ ที่มิตรอาจกลายเป็นศัตรูไปได้ง่ายๆ

เราทุกคนอยากให้เรื่องจบ แต่ถ้าจบอย่างไร้ความหมายและทิ้งไว้แต่ความรู้สึกอ้างว้าง ไม่รู้จะเอาอะไรไปสอนลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไปได้ ก็อย่าเพิ่งจบ เพราะจะเท่ากับเราเอาความสุขของปัจจุบัน ไปอยู่เหนือคุณค่าแห่งอดีตและโอกาสแห่งอนาคต เหนื่อยมามากแล้วก็อึดกันต่อไปอีกสักนิดเถอะครับ ฝ่ายเขามาไม้อ่อนก็เพราะเขาอ่อนแอลง ไม่ใช่เพราะเขายอมรับนับถือฝ่ายประชาชนหรือเปลี่ยนใจใดๆ เราควรยืนระยะสุดท้ายก่อนเข้าโค้งประชาธิปไตยไว้ให้จงดี อย่าแวะเข้าข้างทางทั้งๆ ที่เห็นปลายทางอยู่รำไรแล้วเลยครับ"


ไม้หนึ่ง ก กุนที
กลุ่ม 29 มกรา หมื่นปลดปล่อย
เฟซบุ๊ก (21 ต.ค.)

"ผู้ออกมาต่อต้านการรัฐประหาร 19/9/49 เป็นผู้บริสุทธิ์ ยังยืนยันคำขวัญแรกเริ่มของปฏิญญาหน้าศาลที่ว่า ". คนผิดต้องติดคุก ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกปล่อยตัว.

คนเสื้อแดงไม่มีใครไม่ต้องการ 2 สิ่งนี่ แต่ถ้าสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง กำหนดให้ได้เพียงแค่สิ่งเดียว คือ ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกปล่อยตัว

ในส่วนตัวผมเอา ส่วนเรื่องคนฆ่าประชาชน การสะสางตามกระบวนทรรศน์แดงบ้านๆ อย่างผม มีวิธีการที่หลากหลายมากกว่าที่กฏหมายกำหนด

และหากใครยังยึดติดเรื่องการเอา พ.ต.ท.กลับบ้าน ก็ต้องเรียนว่า หากทักษิณกลับบ้านได้ ก็เท่ากับ ผลพวงของการรัฐประหารปี 49 หายไปส่วนหนึ่งใช่หรือไม่

และอุดมคติหนึ่งของฝ่ายประชาธิปไตย ก็คือ การลบล้างผลพวงรัฐประหารอัปยศครั้งนั้น"

"สำหรับเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่เพิ่งแปรญัตติ อยากสื่อสารกับฝ่ายการเมืองฝั่งประชาธิปไตย ว่า.. ถ้ามันสร้างเงื่อนไขให้คนอยากล้มรัฐบาลจุดมวลชนติด แล้วทำให้ทหารที่มีกำลังพลประมาณ 10,000 นาย สามารถสามัคคีกับกองทัพที่เคยสงวนท่าทีเมื่อ 6 สิงหา ทำการรัฐประหารได้

ควรเลิกดันทุรัง และยืนยันร่างเดิมที่ผ่านมติพรรคเพื่อไทยเข้าสู่สภาแล้วผ่านวาระที่1ตามช่องทางที่ ส.ส.บางท่านสงวนการแปรญัตติไว้"



สุดา รังกุพันธุ์
กลุ่ม 29 มกราหมื่นปลดปล่อย
เฟซบุ๊ก(22 ต.ค.)


"ปมปัญหานิรโทษกรรมอันยุ่งขิงนี้ ฝ่ายการเมืองเป็นผู้ผูก ตอนนี้ ฝ่ายการเมืองก็ต้องเป็นผู้แก้

สำหรับเราประชาชน จะไม่ยอมตีบตันไปกับความเหลวแหลกของผู้มีอำนาจ (ฝ่ายไหนบ้างก็ไม่รู้หละ ใครทำบ้างก็รู้ตัวเองละนะ)

เรา 29 มกรา หมื่นปลดปล่อย เสนอ นิรโทษกรรม ในรูปของ รธน.แก้ไขเพิ่มเติม (ตามแนวนิติราษฎร์) ท่านก็เอาไปฝังดินไว้ใต้ถุนสำนักงานกฤษฎีกา

40 สส ออกมาทันเวลา เสนอ พ.ร.บ. เราปฏิญญาหน้าศาลเห็นว่าเนื้อหาพอรับได้ ก็ให้ความร่วมมือผลักดัน ไม่ดื้อดึงถืออัตตา ท่านก็ควรต้องพาประชาชนออกจากวิกฤตให้ได้

เพราะหากมีอุบัติเหตุอะไร

ป้ายต่อไป จะเป็น พรก นิรโทษกรรม ...อย่าให้ต้องไปถึงจุดนั้นกันเลย!"


พะเยาว์ อัคฮาด
มารดา กมนเกด อัคฮาด หนึ่งในผู้เสียชีวิตในวัดปทุม (21 ต.ค.)


"คดีหลายคดี เช่น คดี 6 ศพ ก็อยู่ในกระบวนการยุติธรรมแล้ว แล้วจะนิรโทษกรรมไปทำไม เมื่อมันเข้าสู่กระบวนการแล้ว ทางที่ดี การนิรโทษกรรม ควรนิรโทษกรรมให้ประชาชนล้วนๆ คนที่ต้องรับผิดชอบในเหตุการณ์ปี 53 ต้องมีทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ไม่เช่นนั้นแล้วจะให้พวกเราญาติปี 53 ต้องมาตามรำลึกเหมือนรุ่น 14 ตุลา 6 ตุลา และในอนาคตเกิดขึ้นมาอีกนานเท่าไร 

ถ้า กมธ. ยังดึงดันที่จะนิรโทษเหมายกเข่ง ดิฉันบอกได้เลยว่า สภาทั้งสภาจะเป็นจำเลยของสังคม"
http://prachatai.com/journal/2013/10/49346

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล
นิติราษฎร์
เฟซบุ๊ก (20 ต.ค.)

"ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ที่กำลังทำกันอยู่ในตอนนี้มีปัญหามากทั้งทางกฎหมายและการเมือง 

ทางกฎหมาย 
1. ขัด รธน ในสองประเด็น 

ประเด็นแรก คณะกรรมาธิการแก้ไขเสียจนขัดกับหลักการของร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านวาระแรกมา
ประเด็นที่สอง การนิรโทษกรรมคดีคุณทักษิณไม่อาจทำได้ หากยังมี รธน มาตรา 309 อยู่ 

2. การถกเถียงกันว่าเรื่องไหนเข้าข่ายนิรโทษ คนไหนเข้าข่ายนิรโทษ ทำให้สุดท้ายการตัดสินใจจะไปอยู่ที่ศาลอีก ซึ่งเขียนกฎหมายนิรโทษแบบนี้ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์การนิรโทษ เพราะ การชี้ขาดยังอยู่ในอำนาจศาล

ในร่าง พ.ร.บ. ก็ไม่กำหนดว่าในกรณีที่มีปัญหาสงสัยใครเป็นคนตีวาม ซึ่งสุดท้ายจะกลับไปอยู่ในมือศาลได้อีก 
ดังนั้น ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์จึงต้องตั้งคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งขึ้นมา

3. การไม่กำหนดเขตพื้นที่เอาไว้ ทำให้อาจถูกตีความไปได้ว่ารวมถึงเหตุการณ์ภาคใต้ 

4. การทำตัวกฎหมายในรูปของรัฐธรรมนูญแบบที่คณะนิติราษฎร์เสนอ มีข้อดีกว่ามาก เพราะ ไม่มีทางขัด รธน ได้ และกระบวนการพิจารณารวดเร็วกว่าการทำ พ.ร.บ. 

น่าเสียดายว่าสังคมไทยส่วนใหญ่คิดว่า รธน เป็นเรื่องวุ่นวายซับซ้อน

ทางการเมือง 
1. การนำกรณีคุณทักษิณมารวม ทำให้กลายเป็นเป้าในการโจมตี และทำให้การนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองถูกต่อต้านจนไม่ผ่านอีก

กรณีคุณทักษิณ ไม่ควรนิรโทษกรรม แต่ให้ใช้การลบล้างผลพวงรัฐประหาร ตามที่คณะนิติราษฎร์เสนอไว้ และหากใครข้องใจ ก็ดำเนินคดีกับคุณทักษิณใหม่ตามกระบวนการปกติ 

2. การไม่รวมนักโทษคดี 112 ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้กระทำความผิดไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองล้วนๆ อันต่อเนื่องมาจากความขัดแย้งหลัง 19 กันยา 49 

3. การนิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ ทหาร ผู้สั่งการทั้งหลาย จะทำให้เกิด "การไม่ต้องรับผิด" ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และทำให้เจ้าหน้าที่ ทหาร และผู้สั่งการกล้ากระทำแบบนี้อีก เพราะคิดว่าอย่างไรเสียก็ได้นิรโทษกรรม"

 

"พึ่งวางสายกับอาจารย์วรเจตน์เมื่อสักครู่ ได้หารือกันเรื่องการแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมในชั้นคณะกรรมาธิการล่าสุด 

จริงๆแล้วคณะนิติราษฎร์ได้มีข้อเสนอในเรื่องเหล่านี้ครบถ้วนไปนานแล้ว ตั้งแต่

1. การลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเสนอไปเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 อธิบายซ้ำอีกครั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2554 และซ้ำอีกรอบในวันที่ 22 มกราคม 2555 

2. กรอบรัฐธรรมนูญแบบนิติราษฏร์ ซึ่งเรื่องหนึ่งคือรับรองสิทธิและหน้าที่ของทหารตำรวจในการปฏิเสธไม่ทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในกรณีที่คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างประจักษ์ชัด เสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2555 

3. การนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองและขจัดความขัดแย้ง เสนอเมื่อต้นเดือนมกราคม 2556 

ข้อเสนอทั้งหมดเหล่านี้ เราได้อธิบายโดยละเอียดทั้งทางวาจาและทางตัวอักษร พร้อมทั้งมีเอกสารประกอบแบบเข้าใจง่าย และยกร่างตัวกฎหมายออกมาเป็นรายมาตรา เรียกได้ว่าอยู่ในสถานะพร้อมใช้งานได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเหล่านี้ก็ค่อยๆหายไป ตามสถานการณ์การเมือง 

ขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมที่กำลังทำล่าสุด มีปัญหาในทางกฎหมายมาก ในทางหลักการก็ไม่ถูกต้อง เราได้ติดตามข่าวตลอด แต่เนื่องจากการวิจารณ์-วินิจฉัยในทางกฎหมาย จำเป็นต้องให้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติเสียก่อน แม้ร่าง พ.ร.บ.ฯ 7 มาตราจะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการหมดแล้ว แต่การประชุมคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมยังมีอีกสองวันสุดท้าย คือ 24 และ 25 ตค เราจึงรอให้คณะกรรมาธิการประชุมให้จบ และผลิตเอกสารที่เป็นตัวร่าง พ.ร.บ. สมบูรณ์ที่ผ่านคณะกรรมาธิการฯ เพื่อนำเข้าสภา และเราจะพิจารณาจากร่าง พ.ร.บ. นี้ 

ระหว่างนี้ หากสงสัยกันว่าเราคิดอย่างไร ท่านสามารถดูย้อนข้อเสนอของเราได้ทั้งหมด 
และ ณ วันนี้ จุดยืนของเราก็ยังคงเป็นแบบเดิม" (21 ต.ค.)

 

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
คณะศิลปศาสตร์ มธ.

เฟซบุ๊ก (18 ต.ค.)


"เรื่องพรรคเพื่อไทย พยายามให้มีการนิรโทษแบบเหมาเข่ง-สุดซอย แต่ไม่รวม 112 นี่ ผมเซ็งๆ จนขี้เกียจเขียน แต่ก็ไม่แปลกใจนะ อันที่จริง ผมเดาและเคยเขียนว่าจะเป็นแบบนี้มาเป็นปีแล้ว ขึ้นอยู่ว่ามีโอกาสหรือไม่มีโอกาสเท่านั้น แต่เป้าหรือ priority ของเพื่อไทย อยู่ตรงนี้มาตลอด คือเพื่อช่วยทักษิณให้หลุด เรื่องช่วยมวลชนถูกถือเรื่องรองหรือเป็นผลพลอยได้มานานแล้ว เรื่องเอาผิด คนฆ่าประชาชน โดยเฉพาะทหาร นี่ก็ไม่อยู่ในสารบบวิธีคิดหรือยุทธศาสตร์ของพรรคเลยแต่ไหนแต่ไร การที่ยังโจมตีเหลือเพียงแค่อภิสิทธิ์-สุเทพ โดยมี ดีเอสไอ ของธาริต ที่เปลี่ยนสี คอยจัดให้ ก็เป็นปาหี่ หาคะแนน เก็บคะแนน เสียเยอะ เพราะในที่สุด ถ้าใช้วิธีช่วยทักษิณด้วยการนิรโทษ ไม่มีทางจะไม่นิรโทษ รวมอภิสิทธิ์-สุเทพไปด้วย อีกวิธี เหมือนที่นิติราษฎร์เสนอ คือเลิก 309 เลิกผลพวง รปห ซึ่งจะทำให้คดีทักษิณหลุดเหมือนกัน (แต่สามารถดำเนินคดีใหม่ตามกฎหมายปกติได้อีก) ทักษิณ-เพื่อไทย ไม่มีทางทำอยู่แล้ว เพราะมันต้องหมายถึงว่า ทหารที่ทำ รปห จะถูกเอาผิดด้วยในฐานกบฎ ไม่นับเรื่องทักษิณถูกดำเนินคดีใหม่เองได้ด้วย

เรื่อง 112 ที่เป็นคดีการเมืองล้านเปอร์เซนต์ ก็อย่างที่เคยเขียนไปว่า เป็นการถอยหลังเข้าคลองมาก เพราะอดีตก็ถือกันแบบนี้และนิรโทษมาแล้ว (เหอๆ ขำที่นายกฯไปเจื้อยแจ้วเวทีรีวิวเรื่องสิทธิมนุษยชน ยูเอ็น เร็วๆนี้ และ รบ กำลังร่วมกับพระองค์ภา เป็นเจ้าภาพสัมมนาเรื่องนี้)

เรื่องกลุ่มเสื้อแดงอย่าง "ปฏิญญาหน้าศาล" ที่อย่าลืมว่ามีกำเนิดจากการอดข้าวประท้วงกรณี สมยศ พฤกษาเกษมสุข และแรกๆเคยเอาเรื่อง อากง สมยศ ไปพูด รวมถึงเอาร่างนิติราษฎร์ ไปเสนอ ตอนนี้กลายเป็น "ลูกที่ดีของพรรค" (เพื่อไทย) ไปแล้ว ก็คงไม่ต้องหวังว่าจะออกมาโวยวายผลักดันอะไร (ถ้ายังใจถึง ทำจริงๆ ก็ดีไปนะ เพียงแต่อย่าไปหวัง)

ก็ต้องรอดูกันต่อไปนะ ว่าในที่สุดจะผลักจน "สุดซอย" ได้ไหม (เรื่องมันยังไม่จบ ยังอีกหลายขั้น หลายสัปดาห์อยู่) และอย่างที่ผมพูดมาเป็นปีเหมือนกันว่า การพ่วงคดีทักษิณกับมวลชนนั้น เสี่ยงที่จะทำให้มวลชนพลอยหลุดช้าไปด้วย เหมือนคราวเพื่อไทยหนุน พ.ร.บ. ฉบับสนธิ บัง ต้นปีที่แล้วนั่นแหละ"

 

"ผมเห็นทั้ง อ. Piyabutr Saengkanokkul และ Phuttipong Ponganekgul เขียนว่า มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่แก้ไขใหม่ จะมีปัญหาทางกฎหมาย 2 เรื่อง คือ (1) ขัดกับมาตรา 309 ใน รธน และ (2) ขัดกับการลงมติของสภาเองที่รับ "หลักการ" ร่างวรชัย ในวาระแรก ซึงร่างวรชัย ระบุไว้ชัดว่า ไม่รวมระดับนำ การแปรญัตติในระดับ กมธ ไม่สามารถแปรเกินกว่าหลักการที่สภารับไปในวาระแรกแล้ว

ผมเห็นด้วยกับข้อ (2) นะว่า น่าจะผิดจริง เป็นการแปรญัตติเกินกว่าหลักการในร่าง วรชัย ที่สภารับไป (คือถ้าจะเขียน เหมาเข่ง-สุดซอย แบบทีแก้ จะต้องเสนอเป็นร่างกฎหมายใหม่ ให้สภารับหลักการ เช่น เสนอร่าง แบบ เฉลิม หรือ สนธิ บัง แทน)

แต่ผมไม่คิดว่า ข้อแรก เรืองขัด 309 จะเป็นการขัดนะ (อันนี้ หมายถึงการตีความแบบปกติ ไม่นับว่า ถ้าเกิดมีการยื่น ศาล รธน. แล้วศาลจะตีความมั่วอะไรแบบนั้นนะ นั่นอีกประเด็นหนึ่ง)

309 รับรองการกระทำของการ รปห คือรับรอง คตส ไปโดยปริยาย ว่า ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ทีนี้ มาตรา 3 ที่แก้ไข นิรโทษกรรม คนที่ถูก คตส กล่าวหา แต่ไม่ได้ยกเลิกตัวการกระทำของ คตส คือ ไม่ได้บอกว่า คตส ผิด รธน. (ไม่เหมือนการเสนอเลิก 309 ของนิติราษฎร์ ที่จะทำให้ คตส ผิด รธน.ไป) แต่แค่นิรโทษ คนที่ถูก คตส กล่าวหา .. ผมมองว่า กรณีเช่นนี้ ก็ทำนองเดียวกับว่า ไม่ได้ยกเลิกตัวกฎหมายอาญามาตราใดทีมีการกล่าวหา (หรือกระบวนการที่กล่าวหาจากกฎหมายนั้น) แต่นิรโทษให้ผู้ถูกกล่าวหาในกรณีที่ระบุเท่านั้น การกระทำต่างๆ ของ คตส ไม่ได้ผิด รธน จากการนิรโทษนี้ เหมือนกับที่ กฎหมายอาญาทีใช้ในการกล่าวหา ไม่ได้ผิด รธน. ยังถือเป็นกฎหมายที่ชอบด้วย รธน. แต่นิรโทษคนถูกกล่าวหาเท่านั้น

สรุปแล้ว ปัญหาทางกฎหมายของการแก้ไขมาตรา 3 ให้เป็นแบบ เหมาเข่ง-สุดซอย จะไมใช่เรือง 309 แต่จะเป็นเรือง การแปรญัตติเกิน คือ ผิด หลักการ ทีสภารับรองไปในวาระแรก" (20 ต.ค.)

 

ใบตองแห้ง
คอลัมนิสต์ (20 ต.ค.)


"ถ้าแก้ไขตามนี้จะมีผลอย่างไร แน่นอน ข้อหนึ่ง นิรโทษทักษิณ ซึ่งถูกกล่าวหาโดย คตส. ข้อสอง นิรโทษแกนนำ ทั้ง นปช.และ พธม. ข้อสาม นิรโทษทหารที่สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 รวมถึงอภิสิทธิ์-สุเทพ ผู้สั่งการ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจสลายการชุมนุมหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพในช่วงเวลา 9 ปี

ทำไมมีผลนิรโทษทหาร รวมอภิสิทธิ์-สุเทพ ก็เพราะร่างแรกระบุว่า นิรโทษบุคคลที่ชุมนุมหรือแสดงออกทางการเมือง "เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ" ซึ่งชัดเจนว่าไม่ได้นิรโทษเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อตัดข้อความเหล่านี้ออก เหลือเพียงถ้อยคำว่า "บุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง" ก็คล้าย พ.ร.ก.นิรโทษกรรมปี 2535 ซึ่งนิรโทษทุกฝ่าย รวมทหารด้วย

ดูวรรคสองของร่างเดิมก็ยิ่งชัด ไม่นิรโทษการกระทำของบรรดาผู้มีอำนาจตัดสินใจหรือสั่งการ "ให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง" ซึ่งหมายถึงแกนนำการชุมนุม แต่ร่างแก้ไขของประยุทธ์เปลี่ยนเป็น "ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้" รวมหมดทุกฝ่าย

ที่ทุเรศไปกว่านั้นคือ ร่างแก้ไขของประยุทธ์ยังเติมว่า นิรโทษหมดทุกคน ยกเว้นนักโทษ 112

สังเกตให้ดีนะครับ ร่างหัวเขียงตัดถ้อยคำว่า "หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง"  ตรงนี้แปลว่าอะไร ก็แปลว่าการเขียนอย่างนี้อาจตีความรวมถึงนักโทษ 112 ซึ่งไม่ใช่วรชัยเขียนหรอก แต่วรชัยก๊อปร่างนิติราษฎร์ เลยมีถ้อยคำติดมา (แต่ก็อย่างที่เคยบอกไว้ การตีความขั้นสุดท้ายอยู่ในอำนาจศาล เพราะฉะนั้นเขียนไปก็ยากจะมีผล)

ตอนถกเถียงกันเรื่องร่างวรชัย-ร่างญาติวีรชน ผมไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องให้เติมนิรโทษ 112 ลงไป เพราะมองว่าจะถูกต้านจนผ่านไม่ได้ ไม่สามารถนิรโทษใครสักคน แต่เมื่อแปรญัตติให้นิรโทษเหมาเข่ง ท้าทายกระแสต้านอย่างรุนแรงขนาดนี้ กลับลอยแพ 112 ซึ่งเป็นผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับความยุติธรรมมากที่สุด ก็ต้องบอกว่าทุเรศแล้วครับ"

 

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (22 ต.ค.)

"อาจจะมีการใช้ช่องทางตาม ม.154 ก่อนที่ร่างนั้น นายกฯ จะนำขึ้นทูกลเกล้าฯ อาจมีสมาชิกรัฐสภารวมชื่อกันส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้อาจมีการตราโดยกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อย่างที่บอกว่ามันมีการแปรยัตติในขั้นกรรมาธิการแล้วไปขัดกับหลักการตามวาระแรกที่ลงมติไป

ถ้ามองแง่การเมือง การที่คุณเร่งรีบแบบนี้ มันเป็นร่างพรบ.ที่เรียกแขกอยู่แล้ว กรณีที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงม.3 ตรงนี้ มัน cover คุณทักษิณด้วย แน่นอน ฝ่ายค้านและไม่เห็นด้วยกับคุณทักษิณต้องออกมาต่อต้านแน่ๆ เป็นประเด็น sensitive ถ้าไม่ระมัดระวังตรงนี้อาจจะสะเทือนเสถียรภาพของรัฐบาลด้วยซ้ำ"
http://news.voicetv.co.th/thailand/85874.html

 

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.
เฟซบุ๊ก (20 ต.ค.)

"ไม่ใช่เขาไม่อยากให้ทักษิณกลับบ้าน คนพวกนี้ก็รักทักษิณ อยากให้ทักษิณกลับบ้านใจจะขาด แต่เขาห่วงพี่น้องของเขาที่ติดคุก ทักษิณอยู่ต่างประเทศไปอีกสักพัก ก็คงไม่ลำบากทรมาณเท่ากับพี่น้องของเราที่ติดคุกมากว่าสามปีแล้ว และยังจะต้องติดคุกต่อไปถ้ากฎหมายนี้ไม่ผ่าน หรือทางพรรคเพื่อไทยและดูไบกำลังจะบังคับจ่อคอหอยพี่น้องเหล่านี้ว่า ถ้าอยากออกจากคุก ก็ต้องกล้ำกลืนจำยอมนิรโทษกรรมให้ผู้สั่งฆ่าประชาชนไปพร้อมกันด้วย ม่ายงั้นก็จงนอนคุกต่อไป?!?

โพสต์นี้เป็นการส่งสัญญาณให้พรรคเพื่อไทยรู้ว่า ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คัดค้านยุทธวิธีห่วย ๆ แบบนี้ การใช้วิธีมา "ยัดไส้" กันในตอนแปรญัตติเข้าวาระสอง มัน "ไม่สง่างาม" และ "ปลิ้นปล้อน" เพราะตอนยื่นกฎหมายจนผ่านวาระหนึ่ง ก็สัญญากันชัดเจนว่า จะไม่เป็นแบบนี้ แล้วคุณมาทำแบบนี้ตอนแปรญัตติ ตรงตามที่พรรคประชาธิปัตย์เขาเตือนไว้ล่วงหน้า แบบนี้ ผมสนับสนุนคุณไม่ลง --- โอเค?"


เกษียร เตชะพีระ
คณะรัฐศาสตร์ มธ.
เฟซบุ๊ค (23 ต.ค.)

"เราเรียกคืนชีวิตเขาไม่ได้
แต่การฆ่าคนตายมันต้องผิด
นิรโทษซ้ำซากพรากชีวิต
ฆาตกรเสพติดการฆ่าฟรี
มีอำนาจมีปืนยืนเหยียบศพ
ญาติพี่น้องน้ำตากลบช้ำเหลือที่
คนไทยใช่ไพร่สถุลฝุ่นธุลี
แผ่นดินนี้ลุกเป็นไฟไร้ยุติธรรม!"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ทักษิณ’จิบกาแฟปฏิรูปชี้ต้องไม่ ‘Winner-take-all’ พร้อมนิยามระบอบทักษิณ

Posted: 23 Oct 2013 06:42 AM PDT

บก.ลายจุดชวนทักษิณจิบกาแฟปฏิรูป คุยปัญหาการเมือง ชี้ต้องไม่เป็นการเมืองแบบ 'Winner-take-all' เพราะจะขาดการรับฟังเสียงข้างน้อย พร้อมร่วมนิยาม 'ระบอบทักษิณ' ระบุตัวเองเป็นสุญญากาศ คุยรู้เรื่องแต่ถ้าแข่งแล้วสะกดคำว่าแพ้ไม่เป็น

23 ต.ค.2556 เมื่อเวลา 18.00 น. สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง โพสต์คลิปการสนทนาในหัวข้อ "กาแฟปฎิรูป กับ ทักษิณ ชินวัตร" ความยาวประมาณ 14 นาที ซึ่งเป็นการสนทนากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงประเด็นทางการเมือง ประชาไทเห็นว่าน่าสนใจจึงถอดบทสนทนาดังกล่าวมาเผยแพร่ดังนี้

00000

"การเมืองต้องไม่ใช่การเมืองแบบ Winner-take-all ถ้าเมื่อไหร่ที่การเมืองเป็นการเมืองแบบ Winner-take-all มันจะขาดเสียงข้างน้อยที่จะรับฟัง.." - ทักษิณ ชินวัตร

บก.ลายจุด  : เวลาพูดถึงการปฏิรูปมันจะมีมุมของพรรคการเมืองซึ่งตอนนี้แข่งกันเหลือ 2 พรรคแล้ว คือประชาธิปัตย์กับเพื่อไทย ประเด็นอยู่ที่ว่ามีคนเชื่อว่าใครปฏิรูปได้ก่อนฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายที่นำชัยชนะในระยะยาว แต่ว่าตอนนี้พรรคประชาธิปัตย์เขาเป็นรอง ทีนี้การริเริ่มของอลงกรณ์ (พลบุตร) เกี่ยวกับการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์นั้น คุณทักษิณมองอย่างไร ?

ทักษิณ : จริงๆ แล้วผมอยากเห็นพรรคการเมืองมีการปฏิรูปให้ก้าวหน้าให้สมกับการรองรับประชาธิปไตยที่เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าหากพรรคการเมืองยังเป็นพรรคการเมืองที่ยังยึดแนวทางที่ยังขาดความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยมันก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย ไม่เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองนั้นๆ และประชาชน

อย่างเช่นพรรคการเมืองฝ่ายค้านก็ไม่ใช่มีหน้าที่ค้านทุกเรื่องหรือฝ่ายรัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องยอมรับว่าตัวเองทำถูกทุกเรื่อง มันถึงจะเป็นลักษณะของการเมืองที่ผมพยายามใช้คำพูดว่า การเมืองต้องไม่ใช่การเมืองแบบ Winner-take-all ถ้าเมื่อไรที่การเมืองเป็นการเมืองแบบ Winner-take-all มันจะขาดเสียงข้างน้อยที่จะรับฟัง แต่ข้างน้อยก็ไม่ใช่ว่าจะเอาใจตัวเอง ว่าขัดใจตัวเองไม่ได้ มันจะต้องทำอย่างไร ที่จะทำให้ระบบพรรคการเมืองยอมรับฟังเสียงข้างน้อย แต่ไม่ใช่เสียงข้างน้อยเอาแต่ใจตัวเอง ในที่สุด การตัดสินแน่นอนว่าเรายึดหลักเสียงข้างมาก แต่เสียงข้างมากจะต้องรับฟังเสียงข้างน้อย การปฏิรูปตรงนี้จะต้องเกิดขึ้นทั้งในพรรคการเมือง จนถึงในระบอบประชาธิปไตยโดยรวม

บก.ลายจุด  : แต่ว่าพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคนี้ ทางฝ่ายประชาธิปัตย์เขาเป็นเสียงข้างน้อยไปแล้ว เขามองว่าการปฏิรูปของเขาจะนำไปสู่ชัยยนะในสนามการเลือกตั้ง คุณทักษิณมองว่าการปฏิรูปของเขาจะนำไปสู่ชัยชนะไหม?

ทักษิณ : มันอยู่ที่ปฏิรูปอย่างไร ปฏิรูปนี้ต้องเป็นการปฏิรูปความคิด ปฏิรูปให้เป็นพรรคการเมืองที่เสนอทางออกให้กับประชาชน เสนอแนวคำตอบให้กับประชาชนว่านี่คือแนวทางที่ประเทศจะเดินหน้า นี่คือประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการที่มีพรรคการเมืองที่มีคุณภาพ แต่ถ้ายังเป็นนักการเมืองที่บอกว่าผมไม่เอาเรื่องแนวคิด ผมจะขอโจมตีอย่างเดียว ผมจะเปิดแผลอย่างเดียว ซึ่งอะไรที่มันมากเกินไปมันก็ไม่ดี น้อยเกินไปมันก็ไม่ดีทั้งนั้น ความพอดีมันอยู่ตรงไหน พรรคการเมืองจะต้องเข้าใจความพอดีว่าการเป็นพรรคการเมืองนั้นจะต้องเสนอสิ่งที่มันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

ความจริงแล้วไทยรักไทยเกิดขึ้นได้ และชนะได้นี่ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มองตลอดเวลาว่าเพราะเงิน มองอย่างเดียวคือเงิน แต่ไม่ได้มองว่าประชาชนชอบอะไร คิดอะไร ใช้ความรู้สึกตอบตลอดเวลา ความรู้สึกอย่างเดียวมันไม่พอหรอกจริงๆ แล้วทุกอย่างต้องอาศัยคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์คือต้องตรวจสอบจากประชาชน มีการสำรวจให้รู้ว่าจริงๆ ประชาชนคิดอะไร แล้วก็ทำตามที่ประชาชนคิดจะดีกว่า

ผมคิดว่าการปฏิรูปมันไม่ใช่แค่ระบบการบริหารจัดการในพรรค แต่มันต้องปฏิรูปความคิดที่ให้มันเป็นที่ยอมรับของประชาชน ตรงนั้นต่างหากที่จะชนะเลือกตั้ง ไม่ใช่ปฏิรูปโดยการเปลี่ยนหัวหน้าพรรค ไม่เกี่ยวเลย

บก.ลายจุด : คุณทักษิณคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะปฏิรูปสำเร็จไหม?

ทักษิณ : คงยาก เพราะอะไร ไม่ได้ดูถูกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ว่าเป็นหลักวิชาวัฒนธรรมองค์กร องค์กรไหนที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง แม้ว่าจะดีไม่ดีไม่รู้ แต่ว่าเข้มแข็งมาก วัฒนธรรมองค์กรนี้อยู่มานานแล้วยึดถือมาโดยตลอด การจะเปลี่ยนแปลงได้ต้องอาศัยผู้นำซึ่งมาจากข้างนอกและเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำสูง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่ เขาเรียก promote from within คือจะต้องเลื่อนจากคนข้างใน ซึ่งคนนอกเข้าไปอยู่ในประชาธิปัตย์สักแป๊บนึงถูกวัฒนธรรมกลืน พอกลืนปุ๊บมันเปลี่ยนไม่ได้แล้ว ตัวเองก็เป็นวัฒนธรรมนั้นแล้ว ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรของพรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนแปลงยาก เพราะฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นอย่างนี้อีกนาน จนกว่าจะได้ผู้นำสดใหม่จากข้างนอกและมี strong leadership

บก. ลายจุด : กลับมาที่พรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคการเมือใหม่ มีคนพูดถึงคุณภาพของพรรคเพื่อไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยไทยรักไทยว่าหากเปรียบเทียบกันแล้วมันไม่เหมือนเดิม?

ทักษิณ : อันนี้ต้องยอมรับนะ ผมพูดเล่นๆ ผมบอกว่าผมมีอุดมศึกษามาให้ ยุบพรรคผมแล้วบอกให้อุมดศึกษาหยุดเล่นการเมือง ก็ได้มัธยม มัธยมเสร็จก็ยุบอีก ก็ต้องได้ประถม เพราะประชาชนจะเอาพรรคนี้ เพราะอะไร? ประชาชนชอบแนวคิด ประชาชนชอบวิธีทำงาน ถึงแม้คุณภาพของ ส.ส. จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะปรับปรุงไม่ได้ และเมื่อกรอบวิธีคิดของพรรคยังอยู่ ดังนั้นคนที่เข้ามาถึงแม้ว่าเด็กจบใหม่จะให้มีประสบการเท่าคนมีประสบการณ์ไม่ได้ แต่ก็เทรนได้ มันก็ต้องเทรนกันขึ้นไป

บก.ลายจุด : เวลาเราพูดถึงการปฏิรูปการเมือง มักพูดว่าหลังการปฏิรูปมันจะเกิดการคลี่คลายใหญ่ การเคลื่อนตัวครั้งใหญ่ในสังคมไทย ตัวพรรคการเมืองอย่างพรรคเพื่อไทย เราแค่ต้องการกลับไปจุดที่ไทยรักไทยเคยทำได้ หรือว่าจริงๆแล้วเราต้องฝันไปให้ไกลกว่าจุดที่ไทยรักไทยเคยทำได้?

ทักษิณ : ไทยรักไทยทำได้มี 2 มิติ มิติหนึ่งคือตอนนั้นเป็นพรรคใหม่มีแนวคิดใหม่ได้คนใหม่ๆ เข้ามา และวันนั้นการเมืองไม่ดุ ไม่รุนแรง คนมีคุณภาพก็อยากเข้า แต่การเมืองเป็นอย่างนี้คนมีคุณภาพก็เริ่มหนีการเมือง กลัวการเมือง อีกมิติหนึ่งคือมีติของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจและอำนาจของประชาชนสูงกว่า แต่วันนี้ประชาชนอยู่ไหนไม่รู้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ก็ต้องยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งใจให้เกิด แต่ถูกบังคับว่ามันต้องเกิด ก็เลยเกิดแบบแค่นๆ ให้กันแบบแค่นๆ เพราะฉะนั้นจะแก้ตรงนั้นก็ต้องแก้ที่รัฐธรรมนูญเพื่อให้กติกามันเป็นการยอมรับอำนาจประชาชนมากขึ้น ตรงนั้นมันจะเป็นอีกมิติหนึ่ง พรรคไทยรักไทยเข้มแข็งเพราะ 2 มิติ

แต่วันนี้พรรคพลังประชาชนก็ดี พรรคเพื่อไทยก็ดี ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเพราะ หนึ่ง คุณภาพคนมันหายไป ไม่กล้าเข้ามาเพราะการเมืองที่ดุ อันที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญอย่างนี้ระบบตรวจสอบชนิดที่เรียกว่า "พวกมึงกูจะตรวจสอบ พวกกูกูยกให้" ถ้าแบบนี้มันก็ไม่มีใครกล้าเข้า

บก. ลายจุด : คุณทักษิณจะบอกว่าเพื่อไทยไม่สามารถแม้แต่จะกลับไปยืนตรงจุดยืนเดิมได้?

ทักษิณ : จะกลับไปยืนจุดเดิมได้มันมี 2 ลักษณะ หนึ่ง บรรยากาศของการเมืองมันต้องให้มั่น ก็คือรัฐธรรมนูญจะต้องเคารพอำนาจประชาชน สองระบบตรวจสอบทั้งหลายก็ต้องมีระบบถ่วงดุล ไม่ใช่เป็นผู้ตรวจสอบคนอื่นแล้วสามารถไม่ถูกตรวจสอบได้ มันไม่มีการถ่วงดุล คนก็เลยลุแก่อำนาจ และให้ตัวเองขยายขอบอำนาจไป เกิดการโอเวอร์ริสระหว่างหน่วยงานแต่ละหน่วยงานของระบบตรวจสอบทั้งหลาย มันก็ทำให้คนมีความรู้สึกว่าอย่าไปยุ่งเลยการเมือง เลยกลายเป็นการเมืองเป็นเรื่องของคนไม่มีอะไรจะเสียเข้ามา ไม่มีอะไรจะเสียเข้ามาบ้านเมืองก็เสียหาย

อยากให้มองให้รอบ ถ้าเรามองเฉพาะพรรคการเมืองหรือรัฐธรรมนูญมันไม่พอ มันต้องมีมองทั้งระบบและมองเรื่องของการแทรกแซงระบบ อย่าลืมว่าประเทศไทยมันระบบบารมี อย่างผมก็มีบารมีในพรรค ถ้าระบบบารมีแทรกแซงระบบปกติโดยไม่มีเหตมีผล โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน โดยไม่คำนึงถึงความผาสุขของบ้านเมืองนี่ อันนี้อันตราย เขาเรียกว่า เมื่อไหร่ informal structure มัน supersedes formal structure มันก็ทำงานลำบาก"

บก.ลายจุด : หลายปีมานี้คนที่เมืองไทยยังไม่เลิกพูดถึงระบบทักษิณ เกิดกลุ่มประชาชนโค่นล้มระบบทักษิณ คุณทักษิณอาจจจะไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นปัญหาสำหรับคนพวกนี้ แต่คนพวกนี้เห็นว่าคุณทักษิณเป็นปัญหา

ทักษิณ : เป็นปัญหาเพราะผมไง เขาถึงแพ้ตลอด เพราะผมคิด ผมนำ และประชาชนเชื่อผม ก็เลยแพ้ตลอด ก็เลยจะโค่นผม แล้วโค่นระบอบผมคืออะไร ระบบอผมไม่มีอะไรเลย ความจริงแล้วก็คือวิธีคิดเพื่อประชาชน มีแนวคำตอบให้กับประชาชนในทุกข์ยากของเขาแล้วเข้ามาซุกตัวเองอยู่กับประชาธิปไตย 100% ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง 100% ไม่ได้มาจากวิธีอื่น ไม่ต้องให้ไปตั้งในค่ายทหาร ไม่มี ไม่ต้องรอให้ทหารปฏิวัติ แล้วเอาตัวเองมาตั้ง ไม่มี คุณเขียนกติกากี่รอบ ผมเป็นผู้ปฏิบัติตามกติกาไม่ใช่คนเขียนกติกา รัฐธรรมนูญปี 40 พรรคไทยรักไทยก็ไม่ได้เกิดก่อน เกิดทีหลังก็เดินตามกติกาที่มีอยู่ ก็ชนะด้วยกติกาที่มีอยู่ ปี 50 พวกคุณล้มแล้วเขียนอีก เราก็ชนะตาม 50 อยู่ๆ คุณเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งกระทันหันขึ้นมา คุณอยากจะเอาชนะด้วยวิธีนี้ เราก็ยังชนะอีก มันต้องถามว่าประชาชนเขาคิดอะไรกับพวกคุณ แล้วคุณจะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนเขาคิดดีกับคุณได้ ไม่ใช่ขว้างเก้าอี้ ไม่ใช่ปิดถนนเผารถตำรวจ อย่างนี้ไม่มีทางที่จะให้ประชาชนเขาคิดดีได้ จะเปลี่ยนหัวหน้าพรรคกี่รอบก็ไม่มีความหมาย

บก.ลายจุด : รัฐบาลตั้งสภาปฏิรูป คุณอลงกรณ์ พูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ต้องปฏิรูป หลายๆ กลุ่มพูดถึงกระแสการปฏิรูป สมติว่าเป็นเรื่องของคุณทักษิณ ถ้าจะต้องปฏิรูปตัวเองคุณทักษิณคิดว่าประเด็นตรงไหนมองว่าจะต้องปฏิรูป แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?

ทักษิณ : ผมคิดว่าใครจะคิดปฏิรูปอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ถ้าเราคิดว่าเราจะทำอะไรให้เกิดความผาสุขแก่บ้านเมือง ทำอะไรให้เกิดความรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ ทำไปเถอะนั่นล่ะเขาเรียกว่าการปฏิรูป ง่ายที่สุด สำหรับผมนี่ปฏิรูปของผมมันไม่อยู่ตรงนั้น มันกลายเป็นว่าเพราะผมเป็นตัวคิดทำให้พวกเขาแพ้เลือกตั้ง ทำให้เขาไม่สามารถเข้าสู่อำนาจได้ ทำให้เขาไม่มีที่ยืน เขาไม่กลับไปคิดตัวเขาเองว่าทำอย่างไรถึงหาที่ยืนในทางการเมืองได้ ทำอย่างไรจะให้ประชาชนศรัทธาได้ ตรงนั้นต่างหาก และบอกว่าไม่ให้ผมเล่นการเมือง ถ้าไม่ให้ผมเล่นการเมืองแล้วจะเอาอย่างไร ให้ผมเลิกการเมือง ให้ผมถอยไปซะ

บก.ลายจุด : วันหนึ่งคุณทักษิณก็ต้องเลิกอยู่ดี

ทักษิณ : เลิกอยู่แล้ว ความจริงนี่ผมตั้งใจอยู่แล้วว่า 2 เทอมผมเลิก แต่ปฏิวัติผมก่อน ผมบอกตลอดเวลา ปฏิวัติเสร็จผมยังโทรหาคุณสนธิและโทรหาคุณสุรยุทธ์ด้วย ว่าผมลูกผู้ชายนะจบเป็นจบนะ แล้วอย่าแกล้งผมทางการเมือง ถ้าแกล้งผมทางการเมืองผมก็สู้ทางการเมือง ของผมนี่เป็นคนที่พูดรู้เรื่อง แต่ถ้าว่าแข่งขัน แพ้ไม่เป็น ถ้าจะต้องสู้กัน แข่งขันกัน แพ้ไม่เป็น ไม่ตายไม่แพ้ เพราะฉะนั้นต้องรู้จักนิสัยผม แต่ระหว่างรบกันนี้บอกหยุดเมื่อไรบอกเลย คุยรู้เรื่อง แต่ถ้าไม่คุยบอกว่าจะรบกัน คำว่าแพ้ไม่มี สะกดไม่เป็น แต่ว่าขออย่างเดียวว่าพูดรู้เรื่องพูดกันได้ เอาเลยบอกให้ผมเลิกการเมืองเลยไหม ไม่ให้ผมยุ่งการเมืองไหม ก็ได้ แล้วอย่างไร แล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นไหม ผลสุดท้ายผมก็กลับมาถามว่าแล้วบ้านเมืองดีขึ้น ประชาชนดีขึ้น ผมเป็นอะไรก็ได้ เลิกก็ได้ ไม่เลิกก็ได้ คำตอบก็คืออยู่ที่ประชาชน คำตอบไม่ได้อยู่ที่ผมเพราะผมไม่มีความหมาย ผมเป็นสุญญากาศ ผมอยู่อย่างไรก็ได้ ผมไม่ได้เดือดร้อนอะไร ผมรักบ้านเมืองผมรักประชาชน เพราะฉะนั้นบ้านเมืองดี ประชาชนดีนี่ผมเป็นอะไรก็ได้ อยู่ตรงไหนก็ได้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นปช.แถลงช่วยทักษิณต้องลบล้างผลพวงรปห.แก้รธน. ค้านสอดไส้ในพ.ร.บ.นิรโทษฯ

Posted: 23 Oct 2013 03:11 AM PDT

นปช.ย้ำจุดยืนนิรโทษฉ.วรชัย ให้เฉพาะปชช.ทุกสี เว้นแกนนำและผู้สั่งปราบ ปปช เพื่อหยุดการฆ่าคนกลางถนน ชี้ความเห็นหลากหลายในฝ่ายประชาธิปไตยเป็นเรื่องสร้างสรรค์แต่ต้องไม่ทำลายกัน

23 ต.ค.2556 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. แถลงจุดยืนหลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับ ส.ส.วรชัย เหมะ มีมติปรับแก้เนื้อหาขยายการนิรโทษกรรมไปยังบุคคลเพิ่มเติมจากร่างเดิม อันหมายรวมถึงผู้สั่งการและผู้ปฏิบัติการปราบปรามประชาชนด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุผลสมควร ประกอบด้วย 4 ข้อ ดังนี้

1. จุดยืนยังอยู่ที่ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับ วรชัย เหมะ ที่นิรโทษเฉพาะประชาชนทุกสีเสื้อยกเว้นแกนนำ ผู้สั่งการให้เคลื่อนไหว และผู้สั่งการ ปราบปรามประชาชนรุนแรงเกินกว่าเหตุอันควร

2. ความคิดเห็นในหมู่ประชาชนฝ่ายพลังประชาธิปไตยที่มีองค์ประกอบหลากหลายย่อมแตกต่างกันทั้งระยะยาวและเฉพาะหน้า แต่ไม่ใช่ความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์หรือเป็นศัตรูทางการเมือง จึงต้องใช้ท่าทีที่เหมาะสมในการอธิบายเหตุผลและทัศนะที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ทำลายกันและกัน ใช้เหตุผล หลักการ และผลประโยชน์ของขบวนการประชาธิปไตยและประชาชนเป็นเป้าหมาย พร้อมกับพิจารณาเทียบกับผลร้ายที่จะเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกใช้วิธีใด

3. การพิจารณาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเริ่มจากแนวคิดที่แตกต่างกัน ส.ส.ส่วนหนึ่งเน้นการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเป็นหลักนับจากจัดตั้งรัฐบาลเสร็จ แต่ด้าน นปช. เน้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญและขจัดผลพวงการทำรัฐประหารเป็นหลัก แต่การนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชนทุกสีเสื้อเป็นความจำเป็นเฉพาะหน้าหลังจากผ่านเหตุการณ์มากว่า 3 ปี ยังช่วยประชาชนทั้งที่อยู่ในเรือนจำและต้องคดีอีกนับพันรายไม่ได้ จึงเป็นที่มาของการขอให้ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมและพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดย นปช.และแกนนำ เราจึงจำเป็นต้องยืนยันจุดยืนเดิมที่ต้องการแก้ปัญหาให้กับประชาชนทุกสีเสื้อโดยเร็วที่สุด มีข้อโต้แย้งน้อยที่สุดตามร่างเดิมของวรชัย เหมะ

4. ปัญหาหลักการสำคัญอีกอย่างคือ กลุ่มบุคคลที่ควรได้รับนิรโทษกรรม สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรมอันเนื่องจากผลพวงการทำรัฐประหาร จึงควรให้ความเป็นธรรมโดยลบล้างผลพวงการทำรัฐประหาร แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 309 โดยเร็ว จึงจะเป็นการช่วยเหลือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อย่างถูกต้อง แต่การสอดไส้ในร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะ ที่ นปช. ได้ช่วยกันต่อสู้หลักการและเหตุผลที่ควรผ่านร่างพระราชบัญญัตินี้ ทั้งในสังคมไทยและสังคมต่างประเทศได้อธิบายชี้แจงองค์กรสิทธิมนุษยชนและโฆษกข้าหลวงใหญ่องค์กรสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะ ว่ามิได้นิรโทษแก่ผู้ปราบปรามประชาชนแต่อย่างใด เราจึงไม่สามารถทำอย่างอื่นได้นอกจากยืนยันในหลักการเดิมคือ สนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะ ที่ผ่านวาระหนึ่งไปแล้ว โดยคำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมและไม่ต้องการให้การฆ่าคนกลางถนนเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในประเทศไทยอีกต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานทูตญี่ปุ่นสยบข่าวลือ - ยกเลิกมาตรการเว้นวีซ่าเข้าประเทศไม่เป็นความจริง

Posted: 23 Oct 2013 03:00 AM PDT

สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยชี้แจงว่าไม่มีการยกเลิกมาตรการยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่น 15 วัน ให้กับคนไทย และแนะนำว่าในขั้นตอนเข้าเมือง ให้เตรียมเอกสารและหลักฐานว่ามีคุณสมบัติในการเข้าประเทศญี่ปุ่น

23 ต.ค. 2556 - เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมา สถานทูตญี่ปุ่น ประจำกรุงเทพมหานคร ได้เผยแพร่ประกาศทางเว็บไซต์ มีใจความว่า

"กรณีที่มีข่าวลือจากสื่อต่างๆ ว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2557 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศยกเลิกมาตรการยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นให้กับคนไทยนั้น ทางรัฐบาลญี่ปุ่นขอยืนยันว่าไม่เคยประกาศยกเลิกมาตรการเหล่านี้แต่อย่างไร เพราะฉะนั้นข่าวลือเหล่านี้ไม่เป็นความจริง"

"นอกจากนี้ได้มีข่าวลือว่าขั้นตอนในการตรวจคนเข้าเมืองนั้นจะเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งตัวอย่างของเอกสารเพื่อเป็นการยืนยันว่ามีคุณสมบัติในการเข้าประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง เอกสารที่อาจจะต้องใช้ในการตรวจคนเข้าเมืองก็ยังคงเดิม เช่น ตั๋วเครื่องบินขาออกจากประเทศญี่ปุ่น (รวมถึงตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ e-ticket) สิ่งที่ยืนยันว่าท่านสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่พำนักในประเทศญี่ปุ่น (เช่น เงินสด บัตรเครดิต เป็นต้น) และชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ระหว่างที่พำนักในประเทศญี่ปุ่น (เช่น คนรู้จัก โรงแรม และอื่นๆ) ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นแนะนำให้เตรียมไปด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศญี่ปุ่นตรวจสอบตอนขาเข้า"

ตอนท้ายของประกาศระบุด้วยว่า

"สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น หัวข้อ "เอกสารที่อาจจะต้องใช้ในการพิจารณาการอนุญาตให้เข้าประเทศ" "

 

ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นให้กับคนไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพำนักระยะสั้นในประเทศญี่ปุ่น โดยสามารถพำนักในประเทศญี่ปุ่นได้ 15 วัน โดยการยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นให้กับคนไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย ส่วนผู้ที่ประสงค์จะพำนักในประเทศญี่ปุ่นเกิน 15 วัน หรือไปทำงาน หรือมีวัตถุประสงค์อื่นๆ จะต้องยื่นขอวีซ่าตามปรกติ

ส่วนผู้ที่จะเข้าประเทศญี่ปุ่นตามมาตรการยกเว้นวีซ่านั้น จะต้องผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองก่อนจึงจะสามารถเข้าประเทศได้ ทางเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะสอบถามถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าประเทศ หรือขอตรวจเอกสารที่จำเป็น เช่น ตั๋วเครื่องบินขากลับ หรืออื่นๆ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บันทึกจากการไป “นาวะ” (เยี่ยมบ้านผู้เสียชีวิต) จากเหตุการณ์วิสามัญ 3 ศพวันรายอฮัจญี

Posted: 23 Oct 2013 02:10 AM PDT

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันฮารีรายอฮัจญีปีนี้คงจะเป็นสิ่งที่ชาวบ้าน ต.น้ำดำ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี รู้สึกฝังใจไปอีกนาน สื่อต่างๆ รายงานว่าบ่ายวันที่ 15 ตุลาคม 2556 เจ้าหน้าที่ที่ประกอบด้วยทหาร ทหารพราน และ ตำรวจจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจชายแดนใต้ (ศชต.) ได้เข้าปิดล้อมตรวจค้นสวนยางพาราท้ายหมู่บ้านบือราแง ม.2 ต.น้ำดำ เพื่อจับกุม กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ระหว่างนั้นได้เกิดเหตุการณ์ยิงปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับฝ่ายตรงข้ามอยู่นานหลายชั่วโมง เมื่อการปะทะสิ้นสุดลงก็พบว่ามีฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 3 ราย ทุกรายมีอาวุธปืนสั้น 9 มม.ในมือ ผู้เสียชีวิตสองรายเป็นคนนอกพื้นที่มาจาก อ. กะพ้อ จ.ปัตตานี ส่วนอีกรายเป็นคนหมู่ 2 ที่ตำบลน้ำดำนี้เอง นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ถูกจับกุมหนึ่งรายซึ่งเป็นคนจากนอกพื้นที่ ต.น้ำดำ ข่าวจากบางสำนักระบุว่าด้วยว่าผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้ต้องการเข้ามาก่อเหตุในพื้นที่ อ.ทุ่งยางแดง เพื่อแก้แค้นให้กับ "เปเล่ดำ" และพวกซึ่งถูกวิสามัญที่ อ.รือเสาะ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา  บางข่าวก็บอกว่ากลุ่มนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุยิงตำรวจชุดสืบของ ศชต. ในคดีสรรพากรเรื่องค้าน้ำมันเถื่อนจนเสียชีวิตทั้งคันรถ 5 ราย โดยเหตุเกิดในตำบลที่อยู่ติดกันใน อ.ทุ่งยางแดง
 

กระสุนเจาะต้นยางหลายต้นในบริเวณที่ "อาซิ" ถูกยิงตาย
 
ตำบลน้ำดำเป็นพื้นที่ที่ฉันคุ้นเคย เพราะได้เคยมาอาศัยอยู่เป็นเวลานานในช่วงเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก  แม้จะไม่ได้เก็บข้อมูลในหมู่บ้านบือราแงหรือหมู่ 2 ที่เกิดเหตุโดยตรง แต่ ต.น้ำดำนั้นมีขนาดเล็กมาก แต่ละหมู่บ้านอยู่ชิดติดกัน สามารถเดินทางถึงกันได้แม้โดยการขี่จักรยาน ผู้คนก็ใช้ชีวิตคาบเกี่ยวถึงกันในทุกหมู่ เช่น ในครัวเรือนหนึ่งมีบ้านอยู่ในเขตหมู่ 1 มีสวนยางอยู่ในเขตหมู่ 3 มีผืนนาอยู่ในเขตหมู่ 2 เป็นต้น ฉันจึงมักผ่านไปผ่านมาแถวๆ หมู่ 2 อยู่เสมอ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา ฉันได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมบ้านคนหมู่  2 ต.น้ำดำ ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ และได้พูดคุยสอบถามข้อมูลต่างๆ จากญาติผู้เสียชีวิตและจากอีกหลายคนที่อยู่ในเหตุการณ์ จึงได้รับทราบถึงความกังวลและความค้างคาใจของชาวบ้านน้ำดำที่มีต่อกรณีที่นายอัลดุลรอเซะ สาและ หรือ "อาชิ" เด็กหนุ่มวัย 26 ปีของจากตำบลของพวกเขาต้องกลายมาเป็นหนึ่งในสามของ "ผู้ร้าย" ที่ถูกยิงเสียชีวิตจากปะทะในวันฮารีรายอฮัจญีคราวนี้
 
ในขณะที่ข่าวในสื่อต่างๆ ระบุเพียงสั้นๆ ว่าคนร้ายยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่และมีคนร้ายเสียชีวิต 3 ราย อย่างไรก็ดี รายละเอียดจากคำบอกเล่าของชาวบ้านกลับแตกต่างไปมากมาย โดยเฉพาะในกรณีการตายของ "อาซิ" จากการประมวลคำบอกเล่าของชาวบ้าน ฉันสรุปภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นได้ดังนี้...
 
ราวบ่ายสองโมงครึ่งเจ้าหน้าที่เริ่มเข้ามาในพื้นที่ มีการแจ้งให้ชาวบ้านที่บ้านอยู่ใกล้จุดปะทะทราบว่ามีผู้ร้ายมาอยู่ในสวนยางบริเวณด้านหลังของกลุ่มบ้านแถบนี้ ก๊ะเยาะ (นามสมมุติ) เล่าว่าขณะที่เจ้าหน้าที่เริ่มเข้ามาคุมพื้นที่  สามีของเธอเดินกลับมาจากการไปดูแลวัวและแบกฟืนกลับมาบนบ่าด้วย เจ้าหน้าที่ได้บอกให้สามีเธอรีบเดินออกไปจากบริเวณนั้นโดยเร็ว ในช่วงเวลาเดียวกัน เจ้าหน้าที่ก็ห้ามคนที่นั่งอยู่ในร้านน้ำชาบริเวณนั้นออกมาจากร้าน พร้อมกับเริ่มกั้นพื้นที่ด้วยเทปกั้นที่เกิดเหตุ ในช่วงเวลานั้นมีเสียงปืนดังขึ้นในสวนยางทางด้านหลังอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเจ้าหน้าที่เริ่มเข้าตรวจค้นบ้านสามหลังที่ตั้งอยู่ด้านหน้าสวนยางบริเวณที่เกิดเหตุ บ้านของก๊ะเยาะก็เป็นหนึ่งในบ้านสามหลังที่ถูกเข้าตรวจค้นด้วย  ในเวลานั้นสามีของเธอที่เพิ่งกลับมาจากดูวัวเพิ่งเสร็จจากการทำละหมาดที่บ้าน ทุกคนถูกเรียกให้ออกจากบ้าน และเจ้าหน้าที่ก็บอกทุกคนว่ามีคนร้ายเข้ามาแอบอยู่ในบ้าน จากนั้นก็พร้อมเข้าตรวจค้น เจ้าหน้าที่ให้ก๊ะเยาะขึ้นไปบนบ้านพร้อมกันด้วย

การตรวจค้นบ้านทั้งสามหลังเป็นไปอย่างก้าวร้าว เล่ากันว่าเจ้าหน้าที่ทหารพรานหญิงไม่ถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน มีการรื้อข้าวของกระจุยกระจาย ถ้วยชามในครัวของบ้านก๊ะเยาะก็ถูกรื้อค้นจนแตกเกือบหมดทุกใบ ลูกชายคนเล็กของเธอที่เพิ่งเข้าพิธีสุนัตและยังนอนพักพื้นอยู่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ผลักจนเป็นลม จากนั้นสามีของเธอก็ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไว้  ในระหว่างที่ควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ได้นำผู้ที่ถูกจับกุมรายหนึ่งมาสอบถามว่ารู้จักกับสามีของก๊ะเยาะหรือไม่ เมื่อชายคนนั้นบอกว่าไม่รู้จัก สามีของเธอก็ถูกทหารพรานถีบหนึ่งครั้ง ต่อมาก็ถูกตีเข้าที่หลังอีกสามครั้ง(ไม่แน่ใจว่าใช้อาวุธอะไรตี) เมื่อถูกถามว่าแล้วมาอยู่ในสวนนี้ได้อย่างไร ชายคนนั้นเขาก็บอกว่าไม่ทราบ เพราะมีคนมาส่งพวกตนไว้ที่นี่
 
ขณะเดียวกันที่บ้านหลังติดกัน เจ้าหน้าที่ได้เรียกให้ทุกคนออกมาจากบ้าน ในขณะนั้น "อาซิ" อยู่บนบ้านกับแม่ เขากำลังนอนหลับพักผ่อนหลังจากกลับมาจากการทำกุรบ่านที่มัสยิด ในเวลานั้นเจ้าหน้าที่พยายามจะเอาตัว "อาซิ" ไป ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณเล่าว่าที่บนถนนหน้าบ้าน แม่ของ "อาซิ" ได้ยื้อยุดฉุดตัวเขาไว้ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่พาตัวไป แม่ดึงแขน "อาซิ" ไว้ข้างหนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็ดึงแขน "อาซิ" ไว้ข้างหนึ่ง  เจ้าหน้าที่บอกว่าไม่ได้เอาจะตัวเขาไปไหนหรือทำร้ายอะไร แต่แค่จะเอามาชี้ทางในสวนด้านหลังเท่านั้น [2]  ในเวลานั้นชาวบ้านในบริเวณนั้นทั้งหมดโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก ถูกเจ้าหน้าที่ไล่เข้ามารวมกันในบ้านหลังหนึ่งที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับบ้านของก๊ะเยาะและบ้านของ "อาซิ" โดยมีเจ้าหน้าที่ถือปืนคุมอยู่หน้าบ้านไม่ให้ออกไปไหนได้ ขณะที่บางส่วนก็ถูกกักตัวอยู่ในร้านน้ำชา ส่วนชาวบ้านที่เหลือทั้งที่อยู่ในหมู่ 2 และหมู่ข้างเคียงต่างไม่สามารถออกจากบ้านได้เนื่องจากมีการประกาศห้าม และมี ฮ.สองสามลำบินต่ำวนอยู่เหนือหัวพร้อมมีปืนจ่อลงมาจาก ฮ. อยู่เป็นเวลานาน เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตัว "อาซิ" ไว้แล้ว แม่ของเขาก็ถูกพาตัวกลับขึ้นไปบนบ้านเพื่อตรวจค้น ซึ่งก็ไม่เจอสิ่งผิดกฎหมายอะไร ทั้งนี้ ชาวบ้านหลายคนเล่าว่า เจ้าหน้าที่จับตัวทั้ง "อาซิ" และสามีของก๊ะเยาะไว้เพื่อเป็น "ตัวประกัน" หรือโล่มนุษย์ให้กับของเจ้าหน้าที่ในระหว่างการเกิดเหตุปะทะ บางคนระบุว่าพวกเขาถูกใช้เป็นตัวประกันนานราว 40 นาที 
 
ก๊ะเยาะเล่าว่าหลังจากที่เธอกลับลงมาจากบนบ้านพร้อมกับเจ้าหน้าที่ที่ขึ้นไปตรวจค้นบนบ้านของเธอ เธอก็ไม่เห็น "อาซิ" ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ก่อนหน้านี้อีกแล้ว เธอจึงถามเจ้าหน้าที่ว่า "อาซิ" ซึ่งเป็นหลานของเธอนั้นอยู่ที่ไหน เจ้าหน้าที่ที่ยืนอยู่ในบริเวณนั้นตอบว่า เขาอยู่กับเจ้าหน้าที่ที่ตรงข้างหน้าโน้น จากนั้นก๊ะเยาะก็ไม่เห็นเหตุการณ์ภายนอกอีกเนื่องจากเธอถูกเอาตัวไปอยู่ในบ้านฝั่งตรงข้าม สภาพเช่นนี้คงอยู่นานราวสามชั่วโมง ไม่มีใครในพื้นที่แม้แต่กำนันหรือปลัดอำเภอที่จะสามารถเข้าไปในที่เกิดเหตุปะทะได้แม้การปะทะจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตามในช่วงเย็น ในระหว่างนั้นชาวบ้านบางส่วนที่ถูกกักตัวอยู่ในบ้านหลังฝั่งตรงข้ามพยายามติดตามข่าวจากโทรศัพท์มือถือ พวกเธอเริ่มทราบว่าในขณะนั้นมีคนจาก อ.กะพ้อ ถูกยิงตายในเหตุการณ์สองคน และถูกจับเป็นได้หนึ่งคน ราวห้าโมงเย็นเริ่มมีเสียงปืนดังขึ้นอีกชุด ก่อนจะจบลงด้วยเสียงปืนดังปิดท้ายสามนัด บางคนที่ติดอยู่ที่ร้านน้ำชาก็บอกว่าได้ยินเสียงกรีดร้องของคนอยู่สองสามครั้งก่อนหน้านี้  ต่อมาเริ่มมีข่าวที่ระบุรายชื่อผู้เสียชีวิตรายที่สามว่าคือ นาย มะหามะ ซะอิ   ซึ่งเป็นคนหมู่ 1 ต.น้ำดำ และเป็นคนหนุ่มในวัยเดียวกันกับ "อาซิ"  มะหามะ ซาอิ มีหมายจับและค่าหัว ในเวลานั้นยังไม่มีใครเลยที่คาดคิดว่าผู้เสียชีวิตรายที่สามจะเป็น "อาซิ" [3]
 
กระทั่งหกราวหกโมงเย็นหลังจากที่เจ้าหน้าที่เคลียร์พื้นที่เสร็จ กำนันและ อส. รายหนึ่งซึ่งเป็นคนในพื้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูศพในที่เกิดเหตุ ในเวลานั้นศพผู้เสียชีวิตรายที่สามได้ถูกลากเป็นยาวราว 50 เมตรจากจุดที่ถูกยิงมาวางไว้ในอีกบริเวณหนึ่ง ทั้งนี้ ทั้งกำนันและ อส. ต่างไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ตายรายที่สามนี้คือใคร  (ไม่ต้องพูดถึงอีกสองศพแรกที่เป็นคนจากนอกพื้นที่ที่ไม่มีใครใน ต.น้ำดำ รู้จัก) เนื่องจาก "อาซิ" เป็นนักเรียนปอเนาะที่ อ.ยะรัง นานๆ ครั้งเขาจึงจะได้กลับบ้าน ในเวลาเดียวกันทาง (อดีต) นายก อบต.น้ำดำ ได้เดินทางไปที่ค่ายทหารพราน 41 ที่ ต.วังพญาเพื่อช่วยตามหาตัวสามีก๊ะเยาะ ลูกสาวก๊ะเยาะ (เจ้าหน้าที่เอาตัวไปเพื่ออยู่เป็นเพื่อนพ่อ) และ "อาซิ" ที่ถูกควบคุมตัวไป ซึ่ง (อดีต) นายก อบต.น้ำดำ ก็ได้พบเพียงแค่สามีก๊ะเยาะกับลูกสาวเท่านั้น โดยไม่มีวี่แววของ "อาซิ" ที่นั่นเลย ในเย็นวันนั้น (อดีต) นายกฯ ก็ได้รับตัวลูกสาวก๊ะเยาะกลับบ้านมาด้วย จากนั้นเขาก็มาตามหาตัว "อาซิ" ต่อที่โรงพักทุ่งยางแดง ที่โรงพยาบาล และที่ค่ายทหารชุดเฉพาะกิจที่สำนักสงฆ์ทุ่งยางแดง แต่ก็ไม่พบ "อาซิ" เลยสักแห่ง หลายรายเริ่มเอะใจว่า "อาซิ" อาจเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนสามีก๊ะเยาะถูกปล่อยกลับมาในวันรุ่งขึ้น หลังจากที่ถูกส่งตัวมาที่หน่วยทหารเฉพาะกิจที่สำนักสงฆ์ฯ และที่โรงพักทุ่งยางแดง
 
ราวหนึ่งทุ่มศพของผู้ตายทั้งสามคนถูกส่งมาถึงโรงพยาบาลทุ่งยางแดง ชาวบ้านต่างพากันไปดูศพ รวมทั้งญาติของมะหามะ ซาอิ ซึ่งมีชื่อออกในข่าวว่าเป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตทั้งสามราย แม่และป้าของมะหามะ ซาอิ ยืนยันว่าคนตายทั้งหมดไม่ใช่ลูกหรือหลานของตน ขณะที่แม่ของ "อาซิ" ก็สามารถยืนยันได้ว่า หนึ่งในผู้ตายคือ "อาซิ" ลูกชายของเธอ
 
ศพของ "อาซิ" ถูกรับกลับมาทำพิธีกรรมทางศาสนา "อาซิ" ได้รับการอาบน้ำศพเฉกเช่นกับการตายของบุคคลธรรมดาทั่วไป เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่า "อาซิ" เป็น "ออแฆบริสุทธิ์" (คนบริสุทธิ์) ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการฯ เขาไม่มีหมายจับ ไม่เคยโดนคดี ไม่เคยมีอาวุธปืน เป็นเพียงเด็กหนุ่มธรรมดาๆ ที่ขี้อายและพูดน้อย ชาวบ้านที่ตำบลน้ำดำเชื่อว่าในวันนั้นต้องมีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้น พวกเขาเชื่อว่าเจ้าหน้าที่เข้าใจผิดคิดว่า "อาซิ" คือ มะหามะ ซะอิ และจนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่ก็ยังพยายามทำให้ "อาซิ" คือ  มะหามะ ซะอิ บางคนบอกว่าขณะที่ตนถูกกักตัวที่ร้านน้ำชาได้ยินเจ้าหน้าที่พูดกันว่า "จบแล้ว มะหามะ ซะอิ" นอกจากนั้น ที่ผ่านมามีเจ้าหน้าที่มาเก็บดีเอ็นเอของแม่ของ "อาซิ" เพื่อที่จะพิสูจน์ว่า ผู้ตายไม่ใช่ลูกชายของเธอ และจนบัดนี้ครอบครัวของ "อาซิ" ก็ยังไม่ได้รับมรณบัตรยืนยันการตายของเขาจากทางอำเภอ
 
งานทำบุญครบ 7 วันของการเสียชีวิตของ "อาซิ" เพิ่งผ่านไป ความค้างใจ ความงุนงนสงสัย และความรู้สึกคับแค้นยังคงอยู่ในจิตใจของชาวบ้านน้ำดำอย่างเต็มเปี่ยม พวกเขาบอกว่า….
"นี่มันคล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นกับซูเฟียน สาและ ตอนที่มีการปะทะกันกับเปเล่ดำที่บ้านสะแนะ อ.รือเสาะ" [4]
"สภาพศพของอาซิน่าสงสารมาก ฟันไม่มี กะโหลกเปิด ที่แขนก็มีรอยเชือดเป็นบั้งๆ"
"เอาเขาไปเป็นตัวประกันแล้ว ทำไมเขาถึงเสียชีวิต"
"ตอนที่อาซิหายตัวไป เราก็ถามเจ้าหน้าที่ว่าอาซิไปไหน เจ้าหน้าที่บางคนก็บอกเราปล่อยตัวไปแล้ว แล้วทำไมมันถึงเป็นแบบนี้ได้"
"แบบนี้ความยุติธรรมอยู่ที่ไหน แบบนี้แล้วสันติ ความสงบมันจะมีอย่างไร"
คำถามที่ค้างคาใจเหล่านี้มีมากมาย และยังไม่คำตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานในระดับอำเภอหรือจังหวัดก็ยังไม่เคยเข้ามาถามไถ่หรือเยี่ยมครอบครัวของ "อาซิ" มีเพียงเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาเก็บหลักฐานเพิ่มเติมเท่านั้น ชาวบ้านน้ำดำเองยังไม่เคยเจอกับเหตุการณ์ที่ร้ายแรงและทำร้ายจิตใจพวกเขามากในระดับนี้มาก่อน ก๊ะบางคนบอกว่าอยากจะยกขบวนบุกไปถาม ศอบต. เดี๋ยวนี้เลยว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร บาบอผู้เป็นที่นับถือในตำบลน้ำดำเรียกร้องให้มีคณะกรรมการจากทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐและฝ่ายเจ้าหน้าที่ ร่วมกันสืบสวนหาความจริงในกรณีนี้ บาบอยังบอกว่ามีชาวบ้านเป็นร้อยคนที่สามารถเป็นพยานให้กับ "อาซิ" ได้ว่าเขาไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการ [5]

เท่าที่ฉันทราบตอนนี้ได้มีหน่วยงาน/องค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดปัตตานีได้เข้ามาติดตามเรื่องนี้บ้างแล้ว (ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าคือหน่วยงาน/องค์กรใด) แม่ของ "อาซิ" และสามีก๊ะเยาะก็ได้เข้าไปให้ข้อมูลแก่หน่วยงาน/องค์กรนี้แล้ว ทั้งนี้ ถ้าหากบันทึกสั้นๆ นี้ของฉันพอจะเป็นประโยชน์ได้บ้างสักเล็กน้อยแก่หน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือครอบครัวของ "อาซิ" และชาวตำบลน้ำดำ ฉันก็จะรู้สึกยินดียิ่ง
 
 
 
เชิงอรรถ

[1] ตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะหรือเดือนที่ชาวมุสลิมประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครเมกกะ ในวันรายอฮัจญีนอกจากพิธีการละหมาดแล้ว ที่สำคัญในวันนี้จะมีการฆ่าสัตว์ เช่น วัว  ควาย แพะ แกะ เพื่อทำทานเรียกว่า "กุรบ่าน" เนื้อสัตว์กรุบ่านจะถูกนำมาทำอาหารเลี้ยงกันในหมู่เครือญาติและเพื่อนบ้าน และแจกให้คนที่มีชีวิอนาถายากจน

[2] อย่างไรก็ดี จากในคลิป https://www.facebook.com/photo.php?v=454588574659023 ที่มีผู้เผยแพร่ในยูทูป แม่ของอาซิบอกว่าเมื่อเจ้าหน้าที่มาที่บ้าน ได้เอาตัวอาซิเข้าไปในสวนหลังบ้านก่อน จากนั้นเอาตัวเขากลับมาที่บ้านก่อนจะเข้าค้นบ้านของอาซิ โดยมีแม่ของอาซิขึ้นไปบนบ้านพร้อมกับเจ้าหน้าที่ (ผู้เขียนไม่ได้มีโอกาสพบกับแม่ของอาซิ เนื่องจากในวันที่ผู้เขียนไปเยี่ยมบ้านอาซิ แม่ของเขาเดินทางไปตัวเมืองปัตตานีเพื่อให้ข้อมูลเหตุการณ์กับหน่วยงาน/องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน)

[3] ดู  http://hilight.kapook.com/view/92357
และhttp://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=698711 แต่อย่างไรก็ตาม ในวันรุ่งขึ้นหลังจากเกิดเหตุบางสำนักข่าวได้ระบุชื่อผู้ตายชาวน้ำดำว่าคือ นายอับดุลเลาะ สาและ ดูhttp://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000129712

[4] อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://deepsouthwatch.org/node/4845

[5] ดูรายละเอียดคำสัมภาษณ์บาบอ พร้อมด้วยแม่ของ "อาซิ" ได้ในคลิป https://www.facebook.com/photo.php?v=454588574659023
 

จุดที่ "อาซิ" ถูกยิงตาย
 

ศพ "อาซิ"ถูกลากเป็นทางยาว
 

 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: เบื้องหลังการเลิกทาสเลิกไพร่ของรัชกาลที่5

Posted: 23 Oct 2013 01:33 AM PDT

การพัฒนาของระบบทุนนิยมทั่วโลก บวกกับการขยายตัวของระบบการค้าเสรี สร้างทั้งปัญหาและโอกาสให้กับกษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้ประโยชน์จากการพยายามผูกขาดการควบคุมระบบแรงงานบังคับและการค้าขาย ปัญหาคือรายได้ที่เคยได้จากการควบคุมการค้าอย่างผูกขาดลดลงหรือหายไป  แต่ในขณะเดียวกันการเปิดเศรษฐกิจเชื่อมกับตลาดโลกที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีผลในการสร้างโอกาสมหาศาลสำหรับนายทุนที่สามารถลงทุนในการผลิตสินค้า แต่โอกาสนั้นจะใช้ไม่ได้ ถ้าไม่รีบพัฒนาแรงงาน

การผลิตข้าวในไทยเป็นตัวอย่างที่ดี  ระหว่างปี ค.ศ. 1870-1880 การผลิตข้าวเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 93% ในสภาพเช่นนี้ระบบศักดินาที่เคยอาศัยการเกณฑ์แรงงาน เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ถ้าจะมีการลงทุนในการผลิตข้าวเพื่อขายในตลาดโลก จะต้องใช้กำลังแรงงานในการขุดคลองชลประทานและการปลูกข้าวมากขึ้น และแรงงานนั้นจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม แรงงานเกณฑ์ที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจ มักจะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนระบบแรงงานไปเป็นแรงงานรับจ้าง เพื่อขยายกำลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และต้องนำแรงงานรับจ้างเข้ามาจากประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งมีผลทำให้อัตราการค่าจ้างลดลงเมื่อกำลังงานเพิ่มขึ้น ในไทยค่าแรงลดลง 64% ระหว่างปี ค.ศ. 1847 กับ 1907

ในขณะเดียวกันต้องมีการสร้างชนชั้นชาวนาแบบใหม่ขึ้นด้วย ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยอิสระที่มีเวลาและแรงบันดาลใจในการผลิตข้าวมากกว่าไพร่ในอดีต ใครที่คุ้นเคยกับเขตรังสิตจะทราบดีว่าที่นี่มีคลองชลประทานที่ตัดเป็นระบบอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างชัดเจน คลองชลประทานที่ขุดขึ้นที่รังสิต ขุดโดยแรงงานรับจ้าง และการลงทุนในการสร้างที่นาเหล่านี้เป็นการลงทุนโดยบริษัทหุ้นส่วนของระบบทุนนิยมเพื่อการผลิตส่งออก ผู้ที่ลงทุนคือญาติใกล้ชิดของกษัตริย์กรุงเทพฯ และนายทุนต่างชาติ  หลังจากที่มีการขุดคลองก็มีการแจกจ่ายกรรมสิทธ์ที่ดินบริเวณริมฝั่งคลอง และชาวนาที่ปลูกข้าวในพื้นที่นี้เป็นชาวนาอิสระที่มาเช่าที่นา

นอกจากนี้ในการแข่งขันระหว่างรัฐต่างๆ รัฐที่ยกเลิกแรงงานบังคับไปแล้ว เช่นอังกฤษ อาจใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับการปลดปล่อยทาสเพื่อโจมตีรัฐคู่แข่งที่ยังมีระบบนี้อยู่ อันนี้เป็นประเด็นหนึ่งในการยกเลิกระบบแรงงานบังคับในไทย

ในประเด็นการเมือง การที่รัชกาลที่ 5 ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานบังคับ ซึ่งต้องอาศัยเจ้าขุนมูลนาย ถือว่าเป็นการตัดอำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของเจ้าขุนมูลนายเหล่านั้นไป เพื่อสร้างระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรวมศูนย์รัฐแบบทุนนิยมเป็นครั้งแรกในไทย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศปช.อัดร่างนิรโทษกรรม วาระ2 ล้างผิดอภิสิทธิ์/กองทัพ

Posted: 22 Oct 2013 11:58 PM PDT


23 ตุลาคม 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) แถลงจุดยืนคัดค้าน ประณาม การปรับแก้ข้อความในมาตรา 3 ของนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ยืนยันหลักการอาชญากรรมโดยรัฐต่อประชาชนต้องเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สำทับ" "ความจริง" และ "ความยุติธรรม" มีความสำคัญมากกว่า "ความปรองดอง" อันหลอกลวงฉาบฉวย"

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%


แถลงการณ์ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.)
กรณีร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง ของประชาชน ได้ปรับแก้ข้อความในมาตรา 3 ตามข้อเสนอของนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย  ศปช.ในฐานะที่ได้รวบรวมข้อเท็จจริงกรณีการสลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 รวมทั้งการจับกุมดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุม ซึ่ง ศปช.ได้จัดพิมพ์รายงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณะไปแล้วนั้น มีความเห็นดังต่อไปนี้

1) จากข้อเท็จจริงที่ค้นพบ ศปช. ขอย้ำอีกครั้งว่า การใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมระหว่างเม.ย.-พ.ค. 2553  โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น เป็นการปราบปรามการชุมนุมที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งในแง่การใช้กำลังพลและอาวุธ  และความสูญเสียต่อชีวิต  มีพยานหลักฐานมากพอสมควรที่ชี้ว่า ปฎิบัติการดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจและกำลังที่เกินกว่าเหตุ โดยเล็งเห็นผลว่าจะเกิดการละเมิดสิทธิในชีวิตของประชาชนอย่างชัดเจน 

หลังเหตุการณ์ กระบวนการยุติธรรมเพื่อหาผู้รับผิดต่อความรุนแรง โดยเฉพาะความสูญเสียต่อชีวิตของพลเมืองในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  ได้ดำเนินไปอย่างล่าช้า ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล กระบวนการจึงมีความคืบหน้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีข้อน่าสังเกตด้วยว่า

(1) แม้จะมีบางคดีที่ผ่านขั้นตอนไต่สวนการตายและศาลเห็นว่าการตายนั้นเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่แล้ว แต่ผู้ที่ถูกดำเนินคดีเป็นจำเลยในชั้นศาลนั้น กลับจำกัดเฉพาะนักการเมือง คือ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณเท่านั้น ขณะที่จงใจละเว้นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่สำคัญทั้งใน ศอฉ. และกองทัพ 

(2) อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบคดีเหล่านี้โดยตรง เป็นบุคคลที่เคยมีบทบาทสำคัญใน ศอฉ. และอยู่ในข่ายควรต้องมีส่วนรับผิดต่อการสลายการชุมนุมด้วย  ทั้ง 2 ประการนี้ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการสร้างความยุติธรรม และกระบวนรับผิด (Accountability)

แต่สถานการณ์กลับยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อเป็นที่ชัดเจนว่า การปรับแก้ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ กำลังจะทำให้ผู้นำในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ศอฉ. กองทัพ และเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม พ้นจากการรับผิดอย่างสิ้นเชิง โดยไม่ต้องพิสูจน์เลยว่าพวกเขากระทำการด้วยความสุจริตและสมควรแก่เหตุ รวมทั้งละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพลเมืองหรือไม่อย่างไร

2) การปรับแก้ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ยังส่งผลครอบคลุมการนิรโทษกรรมต่ออดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในคดีที่ถูกกล่าวหาโดย คตส. หลังรัฐประหารด้วย  แน่นอนว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการรัฐประหารและกระบวนการหลังจากนั้น แต่การคืนความยุติธรรมให้แก่เขาสมควรที่จะใช้วิธีการอื่น ซึ่งถูกต้องชอบธรรมและเหมาะสมกว่า อาทิเช่น แนวทาง "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร" ที่คณะนิติราษฎร์เคยเสนอไว้แล้ว 


ศปช. เห็นว่าการเปลี่ยนสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯในประเด็นข้างต้นนี้ คือการฉวยโอกาส เพียงเพื่อช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ โดยยอมแลกกับการไม่เอาผิดต่อผู้ที่ก่ออาญชญากรรมต่อประชาชนเมื่อปี 2553 อีกทั้งอิสรภาพของผู้ต้องขังทางการเมืองที่สืบเนื่องมาจากการชุมนุมทั้งหมด ยังถูกนำไปแขวนไว้บนเส้นด้ายอีกครั้ง  เพราะร่าง พ.ร.บ. นี้กำลังเป็นชนวนเหตุช่วยระดมกลุ่มต่อต้านทักษิณให้ออกมาคัดค้าน จนอาจทำให้ร่าง พ.ร.บ. ทั้งฉบับตกไปในที่สุด  และส่งผลให้ผู้ต้องขังทางการเมืองไม่ได้รับอิสรภาพตามเจตนารมณ์ของการนิรโทษกรรม  

การจงใจแก้ไข-บิดเบือน-หมกเม็ดร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นนี้ จึงแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายสายตาสั้นทางการเมือง ขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรม และความเห็นแก่ตัวอย่างถึงที่สุดของพ.ต.ท.ทักษิณและนักการเมืองพรรคเพื่อไทย ที่ไม่คำนึงถึงชีวิตของประชาชน  ที่ได้เสียสละต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและกำลังเผชิญกับความทุกข์ยากอยู่ในขณะนี้เลย

ประการสำคัญ ที่ผ่านมา ความรุนแรงทางการเมืองที่รัฐกระทำต่อประชาชนในประเทศไทย จบลงด้วยการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ปราบปรามประชาชนทุกครั้ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชนให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการเขียนใบอนุญาตล่วงหน้าให้รัฐบาลและ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐสามารถก่อความรุนแรงต่อพลเมืองได้อีกในอนาคต  ดังนั้น ศปช. จึงขอคัดค้านการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ตามข้อเสนอของกรรมาธิการ ส.ส. พรรคเพื่อไทย  เราขอยืนยันอีกครั้งว่า วัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล และการเหยียบย่ำสิทธิในชีวิตและความเป็นคนจะต้องยุติลงในสังคมไทยเสียที  ถึงเวลาที่จะต้องช่วยกันรื้อถอนวัฒนธรรมการเมืองอันน่ารังเกียจที่ครอบงำสังคมไทยนี้  "ความจริง" และ "ความยุติธรรม" มีความสำคัญมากกว่า "ความปรองดอง" อันหลอกลวงฉาบฉวย
 

23 ตุลาคม 2556
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: เหมา (ฮาโหด)

Posted: 22 Oct 2013 11:32 PM PDT

๐ เหมารวมยกเข่งให้.........เห็นเห็น
เทินใส่พานดูเป็น..............สง่าตั้ง
บนซากเลือดกระเด็น.........เกรอะศพ สุมนา
หยวนเถอะหยวนจบทั้ง......หมดถ้วนเหมาแถม

๐ โนพร็อมแพร็มนะจ๊ะ.......เธอจ๋า
ใครเล่าเขาแหกตา.............ตลบปลิ้น
นิรโทษกรรมประชา-..........ชนยื่น เสนอนอ
ขลุกขลิกจึงอาจดิ้น.............พลิกได้เองหวา

๐ ฮาฮา ซีเรียสล้วน.............ทำลายตน
หัวร่อเกาะหัวชน.................ตั่งเสี้ยน
คันคันเจ็บเจ็บทน...............เอาเถอะ หูยเฮย
โลกหงิกงอเพราะเพี้ยน.......หยุดเพ้อฟูมฝัน

๐ เขาดันกระดืบด้น...........ดุนซอย
ทางเปลี่ยวทางตันถอย........เถิดรู้
น้ำมิตรจืดจางพลอย...........หลีกผละ
สายศรัทธาเสื่อมผู้..............ผิดน้ำโดยเหมา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เจรจานัด 2 ไม่คืบ คนงานสันกำแพงระบุนายจ้างส่งแค่ทนายมาเจรจา

Posted: 22 Oct 2013 07:54 PM PDT

คนงานบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ระบุบริษัทฯ พยายามเตะถ่วงการเจรจา ส่งเพียงทนายมาเจรจาเท่านั้น การเจรจายืดเยื้อไป ไม่เป็นผลดีกับคนงาน เพราะระบบใหม่จะบีบให้โดนใบเตือน จนถูกเลิกจ้างหรือไม่ก็ต้องเซ็นสัญญาใหม่



23 ต.ค. 2556 - สำนักข่าวประชาธรรมรายงานว่าเมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมาเวลาประมาณ 15.30 น.  พนักงานในบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ได้รวมตัวประท้วงนายจ้างหน้าโรงงานอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่าบริษัทฯ พยายามเตะถ่วงการเจรจา โดยทางบริษัทส่งเพียงทนายมาเจรจาเท่านั้น ซึ่งทำให้การเจรจายืดเยื้อไป ไม่เป็นผลดีกับพนักงาน เพราะระบบใหม่จะบีบให้โดนใบเตือน จนถูกเลิกจ้างหรือไม่ก็ต้องเซ็นสัญญาใหม่

ตัวแทนคนงานที่ถูกพักงานรายหนึ่ง กล่าวว่า พวกตนได้รวมตัวเรียกร้องให้เปลี่ยนสถานภาพการจ้างของบริษัทมาเป็นเวลา หนึ่งเดือนแล้ว และหลังจากยื่นข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคุณ สตีฟซึ่งเป็นกรรมการบริษัทฯ แต่เขาอ้างว่าไม่มีอำนาจ ล่าสุดสุดวันนี้เขาก็ส่งทนายมาคุยแต่ไม่ยอมเริ่มต้นเจรจาด้วยสักที

"ทนายเข้ามาคุย และเสนอให้พบกันคนละครึ่งทาง อย่างเรื่องปรับ 20 บาท ก็อาจจะยกเลิกได้ แต่เรื่องโบนัสเป็นสวัสดิการของบริษัทคงให้ไม่ได้ ในเรื่องของค่าจ้างต่อเดือนก็อาจให้ได้ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คือ 9,000 บาท ต่อเดือน ทุกอย่างที่เราขอ เขาจะเข้าไปคุยกับบริษัทให้ทุกอย่าง เรื่องมันก็เลยอยู่ระหว่างการเจรจาอยู่ เขานัดอีกทีวันที่ 2 พ.ย."

ตัวแทนคนงาน กล่าวอีกว่า "คนงานมาชุมนุมกันในวันนี้เพื่อเรียกศรัทธาของเพื่อนแรงงานด้วยกัน เพราะขนาดแค่ยื่นข้อเรียกร้อง ยังถูกพักงาน กฎหมายยังคุ้มครองไม่ได้เลย จึงอยากให้เพื่อนแรงงาน รวมถึงบริษัทฯ เห็นว่า ถ้าคนงานรวมกันก็มีโอกาสได้ข้อเสนอตามที่เรียกร้องไป เราต้องทำหนังสือเพื่อเรียกร้องสิทธิ หากยังไม่สำเร็จก็คงจะมีการนัดหยุดงานไปจนถึงฟ้องศาลแรงงาน"

ด้านตัวแทนคนงานหนึ่งในคนงานสิบคนที่ลูกเลิกจ้างจากการเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทพยายามเปลี่ยนสภาพการจ้างงานนั้นมาจากการที่บริษัทเปิดโรงงานที่อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการผลิตไปที่นั้น เนื่องจากค่าแรงถูกกว่า เพราะหลังจากบริษัทประกาศเปิดโรงงานแห่งใหม่ก็เปลี่ยนสภาพการจ้างงานทันที

"การเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มชั่วโมงทำงานต่อวันจากเดิม 7.5 ชั่วโมงทำงาน ไม่รวมเวลาพักกินข้าว มาเป็น 8.5 ชั่วโมงทำงาน การเข้างาน เริ่มงาน 8 โมง เวลา 7 โมง 58 ก็ต้องเข้าไปแล้ว ต้องอยู่ที่จุดทำงานก่อนสองนาที เข้าไปก่อนก็โดนใบเตือน เข้าไปหลังก็โดนใบเตือน แล้วเครื่องสแกนนิ้วมีอยู่สองเครื่อง มันก็เข้างานไม่ทัน"

"การเข้าห้องน้ำ ถ้าไปนานก็จะโดนเตือน ตอนนี้มีกล้องติดทั่วโรงงาน ทำอะไรเล็กน้อยก็จะถูกใบเตือน  ถ้าพนักงานได้ใบเตือน 4-5 ใบ ก็จะเรียกมาที่ออฟฟิศ แล้วบอกว่าใบเตือนคุณมีเยอะแล้ว จะให้ทำอย่างไร ถ้าจะอยู่โรงงานนี้ต่อ คุณต้องเซ็นสัญญาใหม่ ถ้าไม่เซ็นก็ต้องถูกไล่ออกจากงาน"

"เราไม่ยอมเซ็นเพราะถ้าเซ็น ตอนเขาย้ายไปแม่สอดเราจะทำอะไรไม่ได้เลย เพราะในสัญญาจ้างใหม่เอื้อให้โรงงานไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือจ่ายน้อยที่สุด เขาใช้วิธีเหล่านี้เพื่อบีบพนักงานให้ลาออกไป คนไหนทนไม่ได้ก็ต้องลาออก เราไม่เซ็น จึงถูกเลิกจ้าง"

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เวลา 18.00 น. สหภาพแรงงานต่างๆที่จ.ลำพูน เตรียมเดินทางมาให้กำลังใจ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์
 

ที่มา: สำนักข่าวประชาธรรม


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น