โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

'ธิดา' ค้านนิรโทษเหมาเข่ง- 'อภิสิทธิ์' ระบุไม่รับประโยชน์ พร้อมสู้คดี

Posted: 21 Oct 2013 11:25 AM PDT

ประธานนปช. ชี้ ต้องคัดค้านเฉพาะผู้ชุมนุมและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดเท่านั้น ไม่เห็นด้วยรวมนิรโทษทักษิณ ในขณะที่อภิสิทธิ์-สุเทพเดินหน้าคัดค้านเต็มที่

 
21 ต.ค. - จากกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... ได้แปรญัตติร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย เหมะ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ให้มีการนิรโทษกรรมแกนนำสั่งการชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึง อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย 
 
ธิดา ถาวรเศรษฐ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์มติชนออนไลน์ว่า ทางมติของกลุ่มนปช. มองว่าไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายรวมทั้งแกนนำ ผู้สั่งการ และเจ้าหน้าที่รัฐ และย้ำว่าต้องนำเอาคนกระทำผิดมาลงโทษ ทั้งนี้ย้ำว่าการผ่านกม.นิรโทษกรรมฉบับนี้จะทำให้เป็นเงื่อนไขที่ฝ่ายตรงข้ามนำมาโจมตีรัฐบาล โดยสิ่งที่รัฐบาลควรทำมากกว่าคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 
 
"ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษแบบสุดซอย จากการใคร่ครวญมาดีพอสมควร เป็นมติแกนนำ นปช. และการฟังเสียงประชาชนโดยเฉพาะคนเสื้อแดง แม้เขาจะรักคุณทักษิณแต่เขาไม่เห็นด้วย 
 
ที่จริงก็มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิม เมื่อครั้งมีการปราบปรามประชาชนใหม่ๆ เราบอกว่าเราไม่ต้องการนิรโทษกรรมเลย เพราะเราเชื่อมั่นในความถูกต้องของเรา และต้องการเอาคนผิดมาลงโทษสถานเดียว
 
แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลายเป็นว่าความยุติธรรมยังมาช้าเกินไปหรือเปล่า เราจึงจำเป็นต้องบรรเทาทุกข์พี่น้องประชาชน โดยการนิรโทษกรรม ให้ประชาชนเสียก่อน เอาแค่นี้เราเปลี่ยนมาเพียงแค่นี้
 
ถ้าเปลี่ยนเป็นนิรโทษกรรมทั้งหมดมันไม่ไหว เพราะว่านี่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเกินไป เพราะฉะนั้นพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณต้องเข้าใจ และเห็นใจ นปช. ด้วย เพราะเราเป็นองค์กรของประชาชนในการต่อสู้ ไม่ใช่พรรคการเมือง เพราะฉะนั้น เราไม่สามารถจะทรยศกับประชาชนได้
 
องค์กรเราเป็นองค์กรประชาชนที่เป็นพลังประชาธิปไตย ประชาชนมีวุฒิภาวะ ไม่ได้หมายความว่า แกนนำจะสั่งซ้ายหันขวาหันได้ เพราะการก่อตัวของพลังประชาธิปไตย ก่อด้วยความรู้และความจริง สิ่งที่เราต้องสะท้อนคือต้องเป็นตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตย คือ ต้องฟังเสียงประชาชน
 
ที่ผ่านมา เราได้ประเมินสถานการณ์ของฝ่ายขัดขวางประชาธิปไตย และฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย เราจึงได้เสนอพระราชกำหนด ซึ่งมีเนื้อหาเหมือน พระราชบัญญัติของคุณวรชัย เหมะ เพราะเราต้องการที่จะให้เสียงคัดค้านเสียงต่อต้านมีน้อยที่สุด
 
ทั้งที่ถ้าคิดแบบเราแน่นอนก็ต้องการนิรโทษ เฉพาะฝั่งเสื้อแดงและเอาผิดเฉพาะแกนนำฝั่งเสื้อเหลือง รวมทั้งคนที่ปราบปรามประชาชน แต่ในความเป็นจริงคุณทำแบบนั้นไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ทางเลือกของเราจึงนิรโทษกรรมประชาชน โดยเสนอทั้งที่เป็นพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติเหมือนกัน โดยยกเว้นแกนนำ 2 สีเสื้อและผู้สั่งปราบปรามประชาชนไม่ให้ได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรม เพื่อให้มีการต่อต้านน้อยที่สุด จากฟืนแห้งให้เป็นฟื้นเปียกจุดไม่ติด และมีความชอบธรรมที่สุด ทั้งที่ความชอบธรรม ควรจะเป็นฝั่งเราในฐานะผู้ถูกกระทำ"
 
เว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์ รายงานคำปราศรัยของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ที่เวทีนปช. สมุทรปราการ ว่าจะไม่ขอรับการนิรโทษกรรมทั้งสิ้น และจะต่อต้านไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งบุคคลทั้ง 2 มีคดีที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตทุกคดีและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล รวมทั้งของดีเอสไอ เพราะเป็นผู้กระทำที่สั่งฆ่าประชาชน อย่างไรก็ตาม เขามองว่าพ.ต.ท. ทักษิณ ควรได้รับการนิรโทษกรรม เนื่องจากเป็นผู้ถูกกระทำและไม่ได้รับความยุติธรรม
 
 
อภิสิทธิ์-สุเทพ ยันไม่รับนิรโทษใดๆ ชี้ขัดหลักการเพราะนิรโทษให้การทุจริตคอร์รัปชั่น
 
ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ต่อเรื่องดังกล่าวว่า ตนเองและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร มีประสงค์จะไม่รับประโยชน์ใดๆ จากกฎหมายนิรโทษกรรมเหมารวมดังกล่าว และเชื่อด้วยว่าจะมีการเสนอคำแปรญัตติ ไม่ให้นิรโทษกรรมแก่ตนเองและนายสุเทพ
 
โดยเว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานคำสัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งมองกรณีนิรโทษกรรมการทุจริตขัดหลักการชัดเจนเพราะเขียนไว้ว่ากฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมือง มองไม่เห็นว่าการทุจริตจะเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมได้อย่างไร เป็นเรื่องขัดหลักการอยู่แล้ว แต่ประธานกรรมาธิการฯและเสียงข้างมากบอกว่า ไม่ขัด ซึ่งในเรื่องนี้สภาก็ต้องพิจารณาที่สำคัญคือกฎหมายนี้จะสร้างภาระผูกพันทางการเมืองชัดเจน 5 หมื่นกว่าล้าน ที่ประชาชนต้องเสียเพราะมีคนทุจริตได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ เพราะมีการเขียนชัดเจนว่าการกระทำผิดตามที่ คตส.กล่าวหาให้ได้รับการนิรโทษกรรม โดยหยิบเงื่อนไข คตส.ขึ้นมาอ้าง และตนเห็นว่าเป็นกฎหมายการเงินเพราะสร้างภาระผูกพันทางงบประมาณ แต่ก็คงจะมีการอ้างว่าตัวกฎหมายขณะนี้ไม่ใช่กฎหมายการเงิน แต่หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดก็จะมีการร้องเรียนเพื่อขอทรัพย์สินคืนเนื่องจากไม่ได้กระทำควาผิดแล้ว ก่อนที่จะออกกฎหมายจัดงบประมาณคืนให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งต้องถามรัฐบาลว่าเมื่อมีข้อผูกพันทางกฎหมายแล้วก็จะไม่มีทางเลือก ขนาดงบประมาณเสนอเข้าสภาข้อผูกมัดตามกฎหมายเขายังห้ามแปรญัตติตัด แปลว่าต้องผูกมัดรัฐบาลอยู่แล้ว
 
"ผมต้องถามนายกฯ ยิ่งลักษณ์ว่าเห็นประเทศร่ำรวยขนาดเอาเงินห้าหมื่นกว่าล้านไปคืน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ทุจริตและกระทำผิด เพียงเพราะ คตส.กล่าวหาเลยต้องยกเงินให้ นางสาวยิ่งลักษณ์คิดว่า 5.7 หมื่นล้านเป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ซึ่งในส่วนของพรรคจะดูร่างสุดท้ายว่าผิด รธน.หรือไม่ เพราะมีหลายประเด็นที่จะโต้แย้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
 
เมื่อถามว่า จากเงื่อนไขเหล่านี้ถึงเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์ จะเป่าหนกหวีดหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราบอกกับประชาชนและได้คุยกับสมาชิกสาขา กทม.ให้เตรียมความพร้อม บอกกล่าวประชาชน ให้ความจริงให้มากที่สุด เพราะสื่อหลักบางสื่อไม่นำเสนอเลย เชื่อว่าหากประชาชนทราบจะไม่พอใจแน่กับความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้น แต่คนที่ไม่รู้ยังมีเยอะมาก ซึ่งเราต้องทำให้เกิดความเป็นเอกภาพด้วยการกำหนดเป้าหมายร่วมกันกับหลายกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ และนำเสนอช่องทางสื่อสารให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยที่จะทำให้พรรคออกมาอยู่แถวหน้านำประชาชนเคลื่อนไหวนั้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ได้ประกาศว่าประมาณไม่เกินวาระสามและมีเงื่อนไขอื่น ๆ ซึ่งก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะการเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ มีมากซึ่งจะต้องหลอมรวมกัน
 
เมื่อถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณ กำลังเดินเกมเข้าสู่การแตกหักเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวน่าจะเป็นหลัก ส่วนการเปลี่ยนแปลงประเทศตนก็ไม่ทราบว่าเป็นเป้าหลักเป้ารอง เพราะเขาคิดถึงแต่เรื่องตัวเองและไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมกับประเทศชาติ ทั้งนี้ตนขอฝากถึงตำรวจและข้าราชการทุกคนให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา คำนึงถึงวิชาชีพของตนเอง ความจริงมีข้าราชการที่ไม่ยอมต่อความไม่ถูกต้องหลายคน ซึ่งตนขอเป็นกำลังใจให้เพราะรู้ว่าโดนกลั่นแกล้ง คุกคาม แต่ก็ยังยืนหยัดต่อสู้
 
"ผมยืนยันว่าพรรคไม่มีโลเล ต่อสู้เต็มที่จุดยืนไม่เคยเปลี่ยน แม้ว่าในสภาจะแพ้เสียงข้างมากก็ยังเป็นหน้าที่ต้องทำอย่างเต็มที่ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลต้องการให้ประเทศเข้าสู่ความขัดแย้ง เรื่องที่ควรทำไม่ทำ เช่น การดูแลหลักเกณฑ์ช่วยเหลือน้ำท่วม แก้ปัญหาปากท้องของแพง รัฐบาลไม่ทำ กลับมุ่งกู้เงิน ช่วยคนโกง ช่วยคนผิด รื้อรัฐธรรมนูญ จนทำให้เกิดความขัดแย้งมากมาย หากคิดถึงประเทศชาติและประชาชนก็ไม่ควรทำ แต่รัฐบาลคงมั่นใจกองกำลังตำรวจที่กลายเป็นกองกำลังส่วนตัวของรัฐบาล ผมจึงอยากเตือนไว้ว่าคนที่มั่นใจในเรื่องแบบนี้คิดผิดมาหลายรอบแล้ว" นายอภิสิทธิ์กล่าว
 
 
สส.เพื่อไทยระบุ ต้องการแก้ไขผลพวงความไม่เป็นธรรมจากการรัฐประหาร
 
ด้านายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญยืนยันว่าการแก้ไขร่างเพื่อให้พ.ต.ท. ทักษิณ พ้นโทษและได้รับเงินคืนนั้นไม่เป็นความจริง เพราะ กมธ.ต้องการแก้ไขผลพวงความไม่เป็นธรรมและความวุ่นวายที่เกิดจากการรัฐประหารตามหลักการและเหตุผลของร่างและยืนยันว่า ไม่ได้มีการเขียนกฎหมายช่วยเหลือผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นและไม่ได้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน ส่วนใครที่คิดว่าตัวเองเสียประโยชน์ หรือได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร ก็สามารถไปใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลในภายหลัง ซึ่งขึ้นอยู่กับศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะได้รับสิทธิดังกล่าวหรือไม่
 
นายชวลิตกล่าวว่า คณะ กมธ.ใช้หลักในการทำงานโดยให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ และเห็นว่าร่างของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พท.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ที่ระบุว่า บุคคลต้องได้รับความเสมอภาคทางด้านกฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นความเห็นเช่นเดียวกับทีมกฎหมาย พท. ผู้ใหญ่ของพรรค ปชป. 2 คน และอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น กรรมาธิการจึงเห็นควรแก้ไขไม่ให้ขัดต่อหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ สำหรับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 98 ศพนั้น กมธ.เห็นว่าต้องเริ่มที่ทุกฝ่ายให้อภัยก่อน ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ก็ยังยอมให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่าย และเป็นหลักการเดียวที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศชาติกลับมาสงบ แม้กระทั่ง น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ที่เดิมทีก็ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม แต่ภายหลังก็ยอมเสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ เพราะหากยังมีความทิฐิอยู่ ก็ไม่เกิดการนิรโทษกรรมได้สำเร็จ
 
เมื่อถามว่าทางกรรมาธิการจะเสนอแก้มาตรา 309 ด้วยหรือไม่ เพราะขัดแย้งกับตัวร่างฯ ฉบับนี้ นายชวลิตกล่าวว่า ทางพรรคยังไม่ได้คิดถึงขั้นนั้น และเชื่อว่ากฎหมายนิรโทษกรรมเป็นกฎหมายพิเศษ น่าจะผ่านการพิจารณาชั้นศาลไปได้ หากมีการยื่นตีความ ส่วนมาตรา 309 นั้น ก็ยอมรับว่ามีหลายฝ่ายต้อวงการแก้ไข มีแต่พวกที่รักษามรดกรัฐประหารที่สังคมจะต้องตั้งข้อสังเกตว่า พวกนี้อิงแอบเผด็จการทำไม
 
"ผมอยากฝากพวกที่ปลุกระดมประชาชนเคลื่อนไหวให้หยุดการกระทำ โดยเฉพาะพรรค ปชป.ที่เคยระบุว่า เรียกร้องการเมืองในระบบรัฐสภา แต่วันนี้กำลังนำการเมืองไปนอกสภา จึงขอเรียกร้องให้ต่อต้านการกระทำดังกล่าว" นายชวลิตกล่าว
 
 
ธาริต เพ็งดิษฐ์เชื่อ กฎหมายนี้ทำให้คนอยู่ร่วมชาติด้วยกันดีขึ้น
 
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่อาจส่งผลให้กลุ่มคนในคดีที่ดีเอสไอดำเนินการอยู่พ้นความผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนมทางการเมืองเมื่อปี  2553 ว่า มีกระแสข่าววิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้อย่างมาก ดังนั้น ในวันพรุ่งนี้ (22 ม.ค.) เวลา 13.00 น. นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ อธิบดีกรมบังคับคดี ในฐานะกรรมมาธิการชุดดังกล่าว และตนในฐานะผู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีกลุ่มบุคคลในเหตุการณ์ปี 2553 ร่วมกันพูดคุยและเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสอบถามเห็นในประเด็นดังกล่าว ว่าจะมีแนวทางและความคิดเห็นอย่างไรกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว
 
นายธาริตกล่าวว่า ในฐานะผู้รับผิดชอบในคดีการชุมนุม ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องและถูกดำเนินคดี ดีเอสไอดำเนินคดีไปแล้วทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนเสื้อแดง แกนนำนปช. จำนวน 65 คน 265 คดี บางคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล บางคดีอยู่ระหว่างยื่นศาลไต่ส่วนการเสียชีวิต กว่า 70 คดี และยังมีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์อีกกว่า 2,000 ราย ที่แจ้งความเอาผิดกับผู้สั่งการ อีกกลุ่ม คือ ผู้สั่งการสลายการชุมนุม ที่อยู่ระหว่างพิจารณาสั่งคดีของอัยการสูงสุด  
 
นายธาริตกล่าวว่า หากถามความเห็น การออกกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นสิ่งที่พิจารณาจากการกระทำที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ ไม่ใช่พิจารณาจากตัวบุคคลที่กำลังพูดกันอยู่ในขณะนี้ อย่าลืมว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจนเป็นคดีความ มีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง เชื่อว่ากลุ่มคนทั้ง 2 กลุ่มไม่ได้มีพื้นฐานจากการเป็นอาชญากรโดยสันดาน และเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์ต้องการให้ความเป็นอยู่ร่วมกันของคนในชาติดีขึ้น อยากให้มองเรื่องการให้อภัย อย่ามองแบบชั่งน้ำหนักว่าใครได้ใครเสียมากกว่ากัน อย่างไรก็ตามกฎหมายนิรโทษกรรมจะมีรายละเอียดอย่างไร เป็นหน้าที่สภาพิจารณา ระหว่างนี้ดีเอสไอก็ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องตามขั้นตอนกฎหมายปกติ จนกว่ากฎหมายนิรโทษกรรมมีผลบังคับใช้  
 
 
 
ที่มา: เว็บไซต์มติชนออนไลน์, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ธิดา' ค้านนิรโทษเหมาเข่ง- 'อภิสิทธิ์' ระบุไม่รับประโยชน์ พร้อมสู้คดี

Posted: 21 Oct 2013 11:25 AM PDT

ประธานนปช. ชี้ ต้องคัดค้านเฉพาะผู้ชุมนุมและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดเท่านั้น ไม่เห็นด้วยรวมนิรโทษทักษิณ ในขณะที่อภิสิทธิ์-สุเทพเดินหน้าคัดค้านเต็มที่

 
21 ต.ค. - จากกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ.... ได้แปรญัตติร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย เหมะ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ให้มีการนิรโทษกรรมแกนนำสั่งการชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึง อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย 
 
ธิดา ถาวรเศรษฐ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์มติชนออนไลน์ว่า ทางมติของกลุ่มนปช. มองว่าไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายรวมทั้งแกนนำ ผู้สั่งการ และเจ้าหน้าที่รัฐ และย้ำว่าต้องนำเอาคนกระทำผิดมาลงโทษ ทั้งนี้ย้ำว่าการผ่านกม.นิรโทษกรรมฉบับนี้จะทำให้เป็นเงื่อนไขที่ฝ่ายตรงข้ามนำมาโจมตีรัฐบาล โดยสิ่งที่รัฐบาลควรทำมากกว่าคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 
 
"ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษแบบสุดซอย จากการใคร่ครวญมาดีพอสมควร เป็นมติแกนนำ นปช. และการฟังเสียงประชาชนโดยเฉพาะคนเสื้อแดง แม้เขาจะรักคุณทักษิณแต่เขาไม่เห็นด้วย 
 
ที่จริงก็มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิม เมื่อครั้งมีการปราบปรามประชาชนใหม่ๆ เราบอกว่าเราไม่ต้องการนิรโทษกรรมเลย เพราะเราเชื่อมั่นในความถูกต้องของเรา และต้องการเอาคนผิดมาลงโทษสถานเดียว
 
แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลายเป็นว่าความยุติธรรมยังมาช้าเกินไปหรือเปล่า เราจึงจำเป็นต้องบรรเทาทุกข์พี่น้องประชาชน โดยการนิรโทษกรรม ให้ประชาชนเสียก่อน เอาแค่นี้เราเปลี่ยนมาเพียงแค่นี้
 
ถ้าเปลี่ยนเป็นนิรโทษกรรมทั้งหมดมันไม่ไหว เพราะว่านี่มันไม่ใช่ตัวเรา มันเกินไป เพราะฉะนั้นพรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณต้องเข้าใจ และเห็นใจ นปช. ด้วย เพราะเราเป็นองค์กรของประชาชนในการต่อสู้ ไม่ใช่พรรคการเมือง เพราะฉะนั้น เราไม่สามารถจะทรยศกับประชาชนได้
 
องค์กรเราเป็นองค์กรประชาชนที่เป็นพลังประชาธิปไตย ประชาชนมีวุฒิภาวะ ไม่ได้หมายความว่า แกนนำจะสั่งซ้ายหันขวาหันได้ เพราะการก่อตัวของพลังประชาธิปไตย ก่อด้วยความรู้และความจริง สิ่งที่เราต้องสะท้อนคือต้องเป็นตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตย คือ ต้องฟังเสียงประชาชน
 
ที่ผ่านมา เราได้ประเมินสถานการณ์ของฝ่ายขัดขวางประชาธิปไตย และฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย เราจึงได้เสนอพระราชกำหนด ซึ่งมีเนื้อหาเหมือน พระราชบัญญัติของคุณวรชัย เหมะ เพราะเราต้องการที่จะให้เสียงคัดค้านเสียงต่อต้านมีน้อยที่สุด
 
ทั้งที่ถ้าคิดแบบเราแน่นอนก็ต้องการนิรโทษ เฉพาะฝั่งเสื้อแดงและเอาผิดเฉพาะแกนนำฝั่งเสื้อเหลือง รวมทั้งคนที่ปราบปรามประชาชน แต่ในความเป็นจริงคุณทำแบบนั้นไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ทางเลือกของเราจึงนิรโทษกรรมประชาชน โดยเสนอทั้งที่เป็นพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติเหมือนกัน โดยยกเว้นแกนนำ 2 สีเสื้อและผู้สั่งปราบปรามประชาชนไม่ให้ได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรม เพื่อให้มีการต่อต้านน้อยที่สุด จากฟืนแห้งให้เป็นฟื้นเปียกจุดไม่ติด และมีความชอบธรรมที่สุด ทั้งที่ความชอบธรรม ควรจะเป็นฝั่งเราในฐานะผู้ถูกกระทำ"
 
เช่นเดียวกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. กล่าวว่า ว่าจะไม่ขอรับการนิรโทษกรรมทั้งสิ้น และจะต่อต้านไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งบุคคลทั้ง 2 มีคดีที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตทุกคดีและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล รวมทั้งของดีเอสไอ เพราะเป็นผู้กระทำที่สั่งฆ่าประชาชน
 
ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ต่อเรื่องดังกล่าวว่า ตนเองและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร มีประสงค์จะไม่รับประโยชน์ใดๆ จากกฎหมายนิรโทษกรรมเหมารวมดังกล่าว และเชื่อด้วยว่าจะมีการเสนอคำแปรญัตติ ไม่ให้นิรโทษกรรมแก่ตนเองและนายสุเทพ
 
โดยเว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานคำสัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งมองกรณีนิรโทษกรรมการทุจริตขัดหลักการชัดเจนเพราะเขียนไว้ว่ากฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมือง มองไม่เห็นว่าการทุจริตจะเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมได้อย่างไร เป็นเรื่องขัดหลักการอยู่แล้ว แต่ประธานกรรมาธิการฯและเสียงข้างมากบอกว่า ไม่ขัด ซึ่งในเรื่องนี้สภาก็ต้องพิจารณาที่สำคัญคือกฎหมายนี้จะสร้างภาระผูกพันทางการเมืองชัดเจน 5 หมื่นกว่าล้าน ที่ประชาชนต้องเสียเพราะมีคนทุจริตได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ เพราะมีการเขียนชัดเจนว่าการกระทำผิดตามที่ คตส.กล่าวหาให้ได้รับการนิรโทษกรรม โดยหยิบเงื่อนไข คตส.ขึ้นมาอ้าง และตนเห็นว่าเป็นกฎหมายการเงินเพราะสร้างภาระผูกพันทางงบประมาณ แต่ก็คงจะมีการอ้างว่าตัวกฎหมายขณะนี้ไม่ใช่กฎหมายการเงิน แต่หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดก็จะมีการร้องเรียนเพื่อขอทรัพย์สินคืนเนื่องจากไม่ได้กระทำควาผิดแล้ว ก่อนที่จะออกกฎหมายจัดงบประมาณคืนให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งต้องถามรัฐบาลว่าเมื่อมีข้อผูกพันทางกฎหมายแล้วก็จะไม่มีทางเลือก ขนาดงบประมาณเสนอเข้าสภาข้อผูกมัดตามกฎหมายเขายังห้ามแปรญัตติตัด แปลว่าต้องผูกมัดรัฐบาลอยู่แล้ว
 
"ผมต้องถามนายกฯ ยิ่งลักษณ์ว่าเห็นประเทศร่ำรวยขนาดเอาเงินห้าหมื่นกว่าล้านไปคืน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ทุจริตและกระทำผิด เพียงเพราะ คตส.กล่าวหาเลยต้องยกเงินให้ นางสาวยิ่งลักษณ์คิดว่า 5.7 หมื่นล้านเป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ซึ่งในส่วนของพรรคจะดูร่างสุดท้ายว่าผิด รธน.หรือไม่ เพราะมีหลายประเด็นที่จะโต้แย้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
 
เมื่อถามว่า จากเงื่อนไขเหล่านี้ถึงเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์ จะเป่าหนกหวีดหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราบอกกับประชาชนและได้คุยกับสมาชิกสาขา กทม.ให้เตรียมความพร้อม บอกกล่าวประชาชน ให้ความจริงให้มากที่สุด เพราะสื่อหลักบางสื่อไม่นำเสนอเลย เชื่อว่าหากประชาชนทราบจะไม่พอใจแน่กับความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้น แต่คนที่ไม่รู้ยังมีเยอะมาก ซึ่งเราต้องทำให้เกิดความเป็นเอกภาพด้วยการกำหนดเป้าหมายร่วมกันกับหลายกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ และนำเสนอช่องทางสื่อสารให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยที่จะทำให้พรรคออกมาอยู่แถวหน้านำประชาชนเคลื่อนไหวนั้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ได้ประกาศว่าประมาณไม่เกินวาระสามและมีเงื่อนไขอื่น ๆ ซึ่งก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะการเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ มีมากซึ่งจะต้องหลอมรวมกัน
 
เมื่อถามว่าพ.ต.ท.ทักษิณ กำลังเดินเกมเข้าสู่การแตกหักเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวน่าจะเป็นหลัก ส่วนการเปลี่ยนแปลงประเทศตนก็ไม่ทราบว่าเป็นเป้าหลักเป้ารอง เพราะเขาคิดถึงแต่เรื่องตัวเองและไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมกับประเทศชาติ ทั้งนี้ตนขอฝากถึงตำรวจและข้าราชการทุกคนให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา คำนึงถึงวิชาชีพของตนเอง ความจริงมีข้าราชการที่ไม่ยอมต่อความไม่ถูกต้องหลายคน ซึ่งตนขอเป็นกำลังใจให้เพราะรู้ว่าโดนกลั่นแกล้ง คุกคาม แต่ก็ยังยืนหยัดต่อสู้
 
"ผมยืนยันว่าพรรคไม่มีโลเล ต่อสู้เต็มที่จุดยืนไม่เคยเปลี่ยน แม้ว่าในสภาจะแพ้เสียงข้างมากก็ยังเป็นหน้าที่ต้องทำอย่างเต็มที่ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลต้องการให้ประเทศเข้าสู่ความขัดแย้ง เรื่องที่ควรทำไม่ทำ เช่น การดูแลหลักเกณฑ์ช่วยเหลือน้ำท่วม แก้ปัญหาปากท้องของแพง รัฐบาลไม่ทำ กลับมุ่งกู้เงิน ช่วยคนโกง ช่วยคนผิด รื้อรัฐธรรมนูญ จนทำให้เกิดความขัดแย้งมากมาย หากคิดถึงประเทศชาติและประชาชนก็ไม่ควรทำ แต่รัฐบาลคงมั่นใจกองกำลังตำรวจที่กลายเป็นกองกำลังส่วนตัวของรัฐบาล ผมจึงอยากเตือนไว้ว่าคนที่มั่นใจในเรื่องแบบนี้คิดผิดมาหลายรอบแล้ว" นายอภิสิทธิ์กล่าว
 
ด้านายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญยืนยันว่าการแก้ไขร่างเพื่อให้พ.ต.ท. ทักษิณ พ้นโทษและได้รับเงินคืนนั้นไม่เป็นความจริง เพราะ กมธ.ต้องการแก้ไขผลพวงความไม่เป็นธรรมและความวุ่นวายที่เกิดจากการรัฐประหารตามหลักการและเหตุผลของร่างและยืนยันว่า ไม่ได้มีการเขียนกฎหมายช่วยเหลือผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นและไม่ได้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน ส่วนใครที่คิดว่าตัวเองเสียประโยชน์ หรือได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร ก็สามารถไปใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลในภายหลัง ซึ่งขึ้นอยู่กับศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะได้รับสิทธิดังกล่าวหรือไม่
 
นายชวลิตกล่าวว่า คณะ กมธ.ใช้หลักในการทำงานโดยให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ และเห็นว่าร่างของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พท.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ที่ระบุว่า บุคคลต้องได้รับความเสมอภาคทางด้านกฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นความเห็นเช่นเดียวกับทีมกฎหมาย พท. ผู้ใหญ่ของพรรค ปชป. 2 คน และอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น กรรมาธิการจึงเห็นควรแก้ไขไม่ให้ขัดต่อหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ สำหรับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 98 ศพนั้น กมธ.เห็นว่าต้องเริ่มที่ทุกฝ่ายให้อภัยก่อน ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ก็ยังยอมให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่าย และเป็นหลักการเดียวที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศชาติกลับมาสงบ แม้กระทั่ง น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ที่เดิมทีก็ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม แต่ภายหลังก็ยอมเสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ เพราะหากยังมีความทิฐิอยู่ ก็ไม่เกิดการนิรโทษกรรมได้สำเร็จ
 
เมื่อถามว่าทางกรรมาธิการจะเสนอแก้มาตรา 309 ด้วยหรือไม่ เพราะขัดแย้งกับตัวร่างฯ ฉบับนี้ นายชวลิตกล่าวว่า ทางพรรคยังไม่ได้คิดถึงขั้นนั้น และเชื่อว่ากฎหมายนิรโทษกรรมเป็นกฎหมายพิเศษ น่าจะผ่านการพิจารณาชั้นศาลไปได้ หากมีการยื่นตีความ ส่วนมาตรา 309 นั้น ก็ยอมรับว่ามีหลายฝ่ายต้อวงการแก้ไข มีแต่พวกที่รักษามรดกรัฐประหารที่สังคมจะต้องตั้งข้อสังเกตว่า พวกนี้อิงแอบเผด็จการทำไม
 
"ผมอยากฝากพวกที่ปลุกระดมประชาชนเคลื่อนไหวให้หยุดการกระทำ โดยเฉพาะพรรค ปชป.ที่เคยระบุว่า เรียกร้องการเมืองในระบบรัฐสภา แต่วันนี้กำลังนำการเมืองไปนอกสภา จึงขอเรียกร้องให้ต่อต้านการกระทำดังกล่าว" นายชวลิตกล่าว
 
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่อาจส่งผลให้กลุ่มคนในคดีที่ดีเอสไอดำเนินการอยู่พ้นความผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนมทางการเมืองเมื่อปี  2553 ว่า มีกระแสข่าววิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้อย่างมาก ดังนั้น ในวันพรุ่งนี้ (22 ม.ค.) เวลา 13.00 น. นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ อธิบดีกรมบังคับคดี ในฐานะกรรมมาธิการชุดดังกล่าว และตนในฐานะผู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีกลุ่มบุคคลในเหตุการณ์ปี 2553 ร่วมกันพูดคุยและเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสอบถามเห็นในประเด็นดังกล่าว ว่าจะมีแนวทางและความคิดเห็นอย่างไรกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว
 
นายธาริตกล่าวว่า ในฐานะผู้รับผิดชอบในคดีการชุมนุม ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องและถูกดำเนินคดี ดีเอสไอดำเนินคดีไปแล้วทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนเสื้อแดง แกนนำนปช. จำนวน 65 คน 265 คดี บางคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล บางคดีอยู่ระหว่างยื่นศาลไต่ส่วนการเสียชีวิต กว่า 70 คดี และยังมีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์อีกกว่า 2,000 ราย ที่แจ้งความเอาผิดกับผู้สั่งการ อีกกลุ่ม คือ ผู้สั่งการสลายการชุมนุม ที่อยู่ระหว่างพิจารณาสั่งคดีของอัยการสูงสุด  
 
นายธาริตกล่าวว่า หากถามความเห็น การออกกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นสิ่งที่พิจารณาจากการกระทำที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ ไม่ใช่พิจารณาจากตัวบุคคลที่กำลังพูดกันอยู่ในขณะนี้ อย่าลืมว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจนเป็นคดีความ มีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง เชื่อว่ากลุ่มคนทั้ง 2 กลุ่มไม่ได้มีพื้นฐานจากการเป็นอาชญากรโดยสันดาน และเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์ต้องการให้ความเป็นอยู่ร่วมกันของคนในชาติดีขึ้น อยากให้มองเรื่องการให้อภัย อย่ามองแบบชั่งน้ำหนักว่าใครได้ใครเสียมากกว่ากัน อย่างไรก็ตามกฎหมายนิรโทษกรรมจะมีรายละเอียดอย่างไร เป็นหน้าที่สภาพิจารณา ระหว่างนี้ดีเอสไอก็ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องตามขั้นตอนกฎหมายปกติ จนกว่ากฎหมายนิรโทษกรรมมีผลบังคับใช้  
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมวลภาพ ตักบาตรมิตรภาพไทย-ลาว

Posted: 21 Oct 2013 09:05 AM PDT

"ตักบาตรมิตรภาพไทย-ลาว" ในวันออกพรรษา วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ร่วมกันเป็นประธานในพิธีตักบาตรมิตรภาพไทย-ลาว เนื่องในเทศกาลออกพรรษา โดยมีพระสงฆ์จาก 2 ประเทศ จำนวน 3,099 รูป นำโดยพระพรหมเมธี กรรมการเถรสมาคม พระอาจารย์ใหญ่ บุนมา สิมมาพม รองประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์กลาง สปป.ลาว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลสืบเนื่องจากกรณี “เมื่อทหารเดินเข้าร้านหนังสือ”

Posted: 21 Oct 2013 08:04 AM PDT


หลังจากข้อเขียน "เมื่อทหารเดินเข้าร้านหนังสือ" ของดาราณี ทองศิริ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวการมาขอข้อมูลร้านหนังสือบูคูของเจ้าหน้าที่ทหารกลุ่มหนึ่ง ได้ถูกเผยแพร่ผ่านบล็อก Buku ในเว็บไซต์ Deepsouth Watch และเว็บไซต์ของสำนักข่าวประชาไทในคืนวันที่ 17 ตุลาคม 2556 [ดูที่มา: http://www.deepsouthwatch.org/node/4856]

ช่วงสายของวันที่ 18 ตุลาคม 2556 ทางร้านหนังสือบูคูได้รับการติดต่อสอบถามและชี้แจงทำความเข้าใจจากนายทหารระดับสูงท่านหนึ่งทางโทรศัพท์ ก่อนที่ในช่วงบ่าย ผู้หมวด (ที่มาขอข้อมูลของร้านฯ) จะได้นำหนังสือ "ชี้แจงกรณีเข้าไปสำรวจข้อมูลร้านหนังสือ" มามอบให้ที่ร้านด้วยตัวเองพร้อมกับแสดงความเสียใจ ข้อความในจดหมายยืนยันว่าเป็นการทำตามหน้าที่ และยอมรับว่ามีความผิดพลาดในขั้นตอนการทำงานซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดและไม่สบายใจ เช่น การถ่ายรูปโดยไม่ขออนุญาตก่อน การพกอาวุธปืนเข้ามาภายในบริเวณร้านหนังสือ เป็นต้น

การตอบสนองเป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นทางการ แสดงถึงความใส่ใจ ไม่นิ่งดูดายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนขอขอบคุณและขอแสดงความชื่นชมการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้


อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากกรณีนี้มีความน่าสนใจหลายประการ เมื่อหนังสือชี้แจงดังกล่าวเดินทางมายังบูคูอย่างรวดเร็ว มีความเห็นของผู้ติดตามเหตุการณ์สะท้อนออกมาดังนี้

(ความเห็นที่ 1) "ดีใจด้วยๆ บูคูโชคดีมากครับที่ไม่เจอชะตากรรมเหมือนชาวบ้านธรรมดาๆอีกมากมายใน 3 จ. ตัวตนและสถานะของบูคูอาจเป็นส่วนหนึ่งของการได้รับหนังสือนี้ ทว่าชาวบ้าน ชาวมลายูธรรมดาๆ ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็นในชนบท เขาไม่โชคดีแบบนี้ ดีใจปนเศร้าครับ"

(ความเห็นที่ 2) "ผมคิดในใจนะครับ ถ้าหากเจ้าของร้านบูคู เป็นคนมลายู ตอนจบจะไม่ Happy Ending เเบบนี้เเน่นอน"

(ความเห็นที่ 3) "ฉันอ่านเรื่องนี้...รู้สึกเหมือนเราจะโดนอะไรที่เหมือนกัน หากแต่จะแตกต่างไปบ้าง...ก็เพียงแค่การที่เจ้าหน้าที่ไม่มีอาวุธเข้ามา เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบภายในโรงเรียน(ตาดีกา) เข้ามาถามชื่อผู้สอนและจำนวนเด็กนักเรียน ใช้คำพูดในเชิงที่ไม่มีช่องว่างให้ได้ปฏิเสธ ฉันไม่เคยมีโอกาสที่จะถามอะไรต่อมิอะไร หากแต่เพื่อนครูที่มักโดนถามและให้ข้อมูลไป เพราะเพื่อนครูไม่ได้แข็งเหมือนฉัน (จึงไม่มีการปฏิเสธ) ไม่รู้ว่าที่เขามาเพื่ออะไร หากแต่ที่ต้องทำใจคือ...ชื่อฉัน เขาได้รับไปแล้ว อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เมื่อบ้านเมืองนี้...ความยุติธรรม ถูกเร่ขายเหมือนลูกกวาดหลากสี ((พระเจ้าของฉัน ปกป้องบ่าวของพระองค์เสมอ))"

จากเสียงสะท้อนข้างต้น เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคนในพื้นที่จำนวนหนึ่งยังรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเลือกปฏิบัติ โดยได้รับผลกระทบในระดับที่แตกต่างกัน บางท่านมองว่าการสื่อสารเป็นเรื่องจำเป็น ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวมลายูจึงควรส่งเสียงสื่อสารออกไปในลักษณะเดียวกับที่ร้านหนังสือบูคูทำ

ดัง (ความเห็นที่ 4) "ขอให้การปฏิบัตินี้ไม่ใช่เป็นการเลือกปฏิบัติหากกระทำต่อชาวมลายู ขอเรียกร้องให้ชาวมลายูที่ถูกกระทำเช่นนี้ ใช้วิธีสื่อสารสาธารณะเช่นนี้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ดีขึ้น"

ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่ง การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาบนฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน ย่อมไม่นำไปสู่ความคับข้องใจที่เป็นตัวการบ่มเพาะความรุนแรง ทว่าเราคงไม่อาจมองข้ามข้อจำกัดบางอย่างของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ไปได้ อาทิ การเข้าไม่ถึงช่องทางการสื่อสาร สถานะทางสังคม อัตลักษณ์ เชื้อชาติ และข้อจำกัดทางการใช้ภาษา ชาวบ้านในหมู่บ้านหลายคนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทั้งยังมีความหวาดระแวงจากฝ่ายเจ้าหน้าที่บางนายซึ่งยังมองอย่างตัดสินว่าผู้ที่ตนกำลังตรวจสอบตรวจค้นเหล่านั้นเป็น "โจร"

เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านเปล่งเสียงออกมาได้ยากยิ่ง ความคับข้องใจของพวกเขาถูกมองข้าม ปัญหาจึงเกิดขึ้นซ้ำซากและไม่ถูกตระหนักถึง เมื่อเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ เราจึงจำเป็นต้องยอมรับว่าไม่ใช่ชาวบ้านทุกคนที่จะสามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่และสังคมวงกว้างในแบบที่ร้านหนังสือบูคูกระทำได้

ในอีกแง่หนึ่ง ผู้เขียนพบว่ามีเสียงสะท้อนที่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำถูกต้องแล้ว เช่น

(ความเห็น ก.) "รอไว้มี ระเบิดแถวร้านคุณ...คุณจะคิดถึง ทหาร"

(ความเห็น ข.) "คุณเปิดร้านอยู่ในพื้นที่แบบนี้ ก็ต้องเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ต้องทำงาน ไม่อย่างนั้นหากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นมา ก็ไม่พ้นโทษเจ้าหน้าที่ทำงานหละหลวมอีก"

(ความเห็น ค.) "ทหารเขาตรวจสอบพฤติกรรมมาก่อนแล้วแสดงว่าร้านนี้มีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือน่าสงสัย เราต้องตั้งคำถามใหม่ว่า ทำไมทหารไม่ไปถ่ายรูปเหมือนที่อื่น เรื่องนี้พอจะบอกได้ว่าที่เล่ามาเป็นความจริงส่วนหนึ่ง"

น่าสังเกตว่าความคิดเห็นเหล่านี้ยังคงยืนยันถึงความถูกต้องชอบธรรมของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยไม่ยอมรับถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และไม่เห็นว่าการปฏิบัติงานเช่นที่เป็นอยู่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร ซึ่งเป็นท่าทีปกป้องที่ไม่เป็นผลดี และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการทำงานเชิงสร้างสรรค์เพื่อ "เข้าถึง" ประชาชนของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐได้

ในโอกาสที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่หลายท่าน ผู้เขียนพบว่าเจ้าหน้าที่ทหารระดับปฏิบัติการต้องเผชิญกับแรงกดดันทั้งจากต้นสังกัด หน้าที่ อุดมการณ์ ตัวตน และความรู้สึกของประชาชน การอยู่ในโครงสร้างเชิงองค์กร เสียง และความรู้สึกของพวกเขาเหล่านั้นก็ยากที่จะถูกสะท้อนออกมาอย่างตรงไปตรงมาเช่นเดียวกัน 

การทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อาวุธสงครามและเครื่องแบบทหารกลายเป็นกำแพงขวางกั้นที่ทรงพลังในตัวของมันเอง ไม่แตกต่างอะไรจากความเป็นมลายูมุสลิม หมวกกะปิเยาะห์ ฮิญาบ และอักษรญาวี   

แต่พวกเขาเลือกได้มากน้อยแค่ไหนที่จะแสดงบทบาทใด จะจับอาวุธ หรือปลดมันไว้?

เป็นธรรมดาอยู่เองที่ความคิดเห็นในมุมต่างย่อมยากแก่การยอมรับ การ "รับฟัง" เสียงจากทุกฝ่ายเป็นเรื่องยากยิ่งในพื้นที่ของความหวาดระแวง แต่เสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายล้วนมีความหมาย ทุกคนล้วนตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและความหวาดระแวงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่ได้สะท้อนออกไปในข้อเขียน "เมื่อทหารเดินเข้าร้านหนังสือ" จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิธีการทำงานในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวสูง และช่วยให้ทุกฝ่ายได้ทบทวนการทำงานเพื่อลดบรรยากาศของความหวาดระแวงในพื้นที่ลงให้มากที่สุดโดยเร็วที่สุดต่อไป.

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เว็บ IsoHunt เตรียมปิดตัวลงสัปดาห์นี้หลังยอมความศาลอุทธรณ์อเมริกา

Posted: 21 Oct 2013 07:50 AM PDT

อวัตถุศึกษากับอธิปสัปดาห์นี้นำเสนอข่าวสารลิขสิทธิ์รอบโลก ว่าด้วยเรื่อง Nintendo ปิดเว็บให้เล่นเกมซูเปอร์มาริโอ้ฟรีฐานละเมิดลิขสิทธิ์, ผู้ก่อตั้งอีเบย์เตรียมดึง Glenn Greenwald มาร่วมทำเว็บข่าวใหม่ ฯลฯ

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก
 
 
9 ต.ค. 56

ศาลสูงสเปนชี้ว่าผู้ซื้อใบอนุญาตการใช้ลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิในการดำเนินคดีแทนเจ้าของลิขสิทธิ์

เรื่องมีอยู่ว่ามีการแข่งฟุตบอลคิงคัพระหว่าง FC Barcelona และ Athletic de Bilbao ในสเปนที่เมืองวาเลนเซีย ธนาคารของสเปนแห่งหนึ่งที่เมืองบิลบาวก็ได้จัดงานถ่ายถอดสอดฟุตบอลให้ชาวเมืองบิวบาวและบรรดานักชมฟุตบอลได้ดูได้เชียร์สดๆ ในสนามฟุตบอลในเมืองบิลบาว (แถมคิดเงินค่าเข้า 3 ยูโรซะด้วย) ซึ่งการถ่ายทอดนี้ก็เป็นการถ่ายทอดตามช่องทีวีสาธารณะแห่งหนึ่งของสเปนที่ถ่ายทอดอยู่แล้ว

ผลคือ Santa Mónica Sports ผู้ได้ถือใบอนุญาติจากสมาคมฟุตบอลสเปนในการจัดการกับสิทธิด้านภาพและเสียงของฟุตบอลคิงคัพก็ได้ฟ้องทางธนาคารผู้จัดงานถ่ายสอดสดฟุตบอล

สุดท้ายศาลสูงของสเปนตัดสินว่าสิทธิในการนำการถ่ายทอดนี้เสนอสู่สาธารณะนั้นเป็นของสถานีโทรทัศน์ผู้บันทึกการแข่งขัน และถ่ายถอด และทางสถานีโทรทัศน์ก็ไม่ได้ร่วมดำเนินคดีด้วย ดังนั้นทาง Santa Mónica Sports จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะดำเนินคดีตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้นศาลจึงยกฟ้องคดีนี้

น่าสนใจว่าการตัดสินแบบนี้ดูจะชี้ว่าในสายตาของสเปน การแข่งขันฟุตบอลหรือการแข่งขันกีฬาใดๆ นั้นไม่น่าจะมีลิขสิทธิ์โดยตัวมันเอง มิเช่นนั้นผู้ถือสิทธิในการจัดการด้านภาพและเสียงของการแข่งขันก็น่าจะมีสิทธิในการฟ้อง

หรือจะกล่าวอีกแบบ ผู้ถือสิทธิในการจัดการด้านภาพและเสียงของการแข่งขันกีฬานั้นน่าจะมีสิทธิเพียงแค่การดูแลการขายใบอนุญาตให้บรรดาสถานีโทรทัศน์มีสิทธิ์เข้ามาบันทึกภาพการแข่งและแพร่ภาพเท่านั้น แต่สิ่งที่สถานีโทรทัศน์บันทึกออกมาแล้วไม่น่าจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของทางสมาคมฟุตบอลสเปนอีกต่อไป ส่งผลทำให้ผู้ดูแลสิทธิการบันทึกภาพและเสียงในการแข่งไม่มีสิทธิในการดำเนินคดีแก่ผู้ที่แพร่ภาพการแข่งขันซ้ำ

News Source: http://www.jdsupra.com/legalnews/spanish-supreme-court-clarifying-the-sc-38717/

 

18 ต.ค. 56

บริษัทโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตเนเธอร์แลนด์ได้เอาข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้อำนาจเก็บตามคำสั่งสหภาพยุโรปมาเพื่อใช้ในการตลาด แทนที่จะเป็นไปเพื่อใช้ในการสืบสวนอาชญากรรมร้ายแรงและการก่อการร้ายตามเจตจำนงของคำสั่ง

ในปี 2549 สหภาพยุโรปได้มีคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตเก็บข้อมูลโทรศัพท์และอีเมลล์ของผู้ใช้บริการเอาไว้ทั้งหมดเป็นเวลา 6 เดือนถึง 2 ปีเพื่อเหตุผลในการตรวจจับและสืบสวนอาชญากรรมร้ายแรงและการก่อการร้าย

นี่เป็นเหตุผลให้บรรดาผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตในยุโรปมีความชอบธรรมในการเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ดีข้อมูลที่ถูกเก็บมาก็ไม่จำเป็นต้องถูกใช้เพื่อในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมร้ายแรงและการก่อการร้ายเสมอไป

ซึ่งนี่ก็เป็นอีกครั้งที่เจตจำนงด้านความมั่นคงของรัฐกับเจตจำนงในการประกอบธุรกิจของเหล่าบรรษัทมาบรรจบกัน

และพันธมิตรใหม่ของรัฐและบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายนี่ก็คงจะเป็นอภิมหาวายร้ายของบรรดานักต่อสู้เพื่อความเป็นส่วนตัวต่อไปในศตวรรษนี้นี่เอง

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20131017/08120824913/dutch-telecoms-companies-used-highly-personal-user-data-retained-to-fight-terrorism-serious-crimes-everyday-marketing-purposes.shtml

 

Nintendo พยายามปิดเว็บที่ให้เล่นเกม Super Mario Bros. ไปจนถึงสร้างด่านขึ้นมาใหม่โดยเสรีฐานละเมิดลิขสิทธิ์

FullScreenMario.com เป็นเว็บที่ให้คนเข้าไปเล่นเกม Super Mario Bros.ไปจนถึงเลือกด่านเล่นและสร้างด่านเล่นเองได้ตามใจชอบ

อย่างไรก็ดีเมื่อ Nintendo เห็นเว็บนี้ก็ประกาศทันทีว่าเว็บนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ Nintendo และเตรียมดำเนินมาตรการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งทางเจ้าของเว็บก็ยอมรับว่าตกใจกับท่าทีของ Nintendo มาก เพราะตอนแรกเขาคิดว่ามันเป็นเพียงโครงการเล็กๆ เท่านั้น

ทั้งนี้ถ้าจะเอาตามมาตรฐานการหมดลิขสิทธิ์แบบสหรัฐอเมริกาตอนก่อตั้งประเทศเกม Super Mario Bros. (ที่ขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์ในอเมริกาปี 2529) ก็น่าจะหมดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในตอนขึ้นปี 2557 นี้ (ระยะเวลาคุ้มครอง 28 ปีหลังขึ้นทะเบียน) แต่ด้วยมาตรฐานการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในตอนนี้เกมนี้ก็น่าจะไปหมดอายุการคุ้มครองเมื่อถึงปี 2624 (ตามการขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์งานของบรรษัทจาก 75 ปีเป็น 95 ปีหลังทำการเผยแพร่ต่อสาธารณะ)

ซึ่งระยะเวลาการคุ้มครองอันยืดยาวนี้ก็เป็นอุปสรรคของการสร้างงานต่อยอดอย่างไม่ต้องสงสัย และนี่ก็เป็นการสะท้อนอุดมการณ์ความสร้างสรรค์ที่ฝังอยู่ในระบอบลิขสิทธิ์ที่สนับสนุนให้คนสร้างงานในแบบที่สร้างขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ระดับรากฐาน มากกว่าที่จะสร้างสรรค์งานที่มีลักษณะแบบต่อยอดหรือดัดแปลง

อย่างไรก็ดีในขณะนี้ทางเว็บก็ยังเข้าถึงได้อยู่สามรถเข้าถึงได้ที่ http://www.fullscreenmario.com/

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20131018/09433624925/nintendo-says-independent-recreation-original-mario-bros-is-illegal.shtml, http://www.washingtonpost.com/blogs/the-switch/wp/2013/10/17/nintendo-says-this-amazing-super-mario-site-is-illegal-heres-why-it-shouldnt-be/

 

21 ต.ค. 56

IsoHunt เว็บทอร์เรนต์ที่เก่าแก่ที่สุดยอมจ่ายค่ายอมความในชั้นศาลอุทธรณ์อเมริกาและเตรียมปิดตัวลงในวันที่ 23 ต.ค. 56 นี้แล้ว

ในบรรดาเว็บทอร์เรนต์เก่าแก่ที่ฉลองครบรอบ 10 ปีในปีนี้ที่เก่าแก่สุดคือเว็บอย่าง IsoHunt (รองลงมาคือเว็บอย่าง The Pirate Bay และ Torrentreactor ตามลำดับ ซึ่งเว็บแรกฉลอง 10 ปีไปแล้ว และเว็บหลังกำลังเตรียมจะฉลองอยู่)

จุดเด็นของ IsoHunt คือมันเป็นเว็บที่จะรวมรวมทอร์เรนตร์ของเว็บต่างๆ ไว้อย่างแทบจะอัตโนมัติ ดังนั้น IsoHunt จึงเป็นเหมือนฐานของมูลทอร์เรนต์ ของเว็บทอร์เรนต์ที่โดยตัวมันเองเป็นฐานข้อมูลอีกที ซึ่งส่งผลให้ IsoHunt เป็นเว็บที่มีทอร์เรนต์อยู่มากมายมหาศาลกว่าเว็บอื่นๆ

ในปี 2549 ทางสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (MPAA) ได้ฟ้องเว็บสัญชาติแคนาดาอย่าง IsoHunt ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และทาง Gary Fung เจ้าของเว็บก็ได้มาสู้คดีที่ศาลชั้นต้นในนิวยอร์ค

ในปี 2552 ศาลชั้นต้นตัดสินว่า IsoHunt ได้มีความผิดฐานเอื้ออำนวยให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์จริง และมีคำสั่งศาลอย่างถาวรให้ IsoHunt เลิกทำดัชนีและลิงค์ไปยังเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์

และเรื่องก็มาถึงศาลอุทธรณ์ในเวลาต่อมาก่อนที่ทาง IsoHunt จะยอมตกลงยุติคดีด้วยการจ่ายค่ายอมความ 110 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,300 ล้านบาท) และปิดตัวเว็บลงในวันที่ 23 ตุลาคม 2556 นี้

ซึ่งการเร่งปิดตัวลงก็ทำให้มีผู้เร่งรีบแบ็คอัฟข้อมูลเว็บ IsoHunt เอาไว้ก่อนจะปิดตัว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลยเพราะขณะนี้ทาง IsoHunt มีไฟล์ทอร์เรนต์กว่า 13 ล้านไฟล์บนเว็บ และทีมที่พยายามจะแบ็คอัฟข้อมูลนี้ก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก The ArchiveTeam ที่สร้างชื่อมาแล้วในปี 2553 โดยการเบ็คอัฟเว็บ Geocities เอาไว้สำเร็จก่อนที่ Yahoo จะปิดมันไปตลอดกาล และปล่อยไฟล์แบ็คอัฟกว่า 600 GB ให้ดาวน์โหลดฟรีๆ (ดาวน์โหลดได้ที่ http://thepiratebay.sx/torrent/5923737/Geocities_-_The_Torrent ) ซึ่งตอนนี้การแบ็คอัพก็ยังไม่จบและไม่รู้จะทันเวลาก่อนเว็บปิดหรือไม่ (ทั้งๆ ที่แบ็คอัพไปกว่า 3 TB แล้ว)

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ทาง IsoHunt ก็ได้ยื่นเรื่องกับทางศาลสูงอเมริกาเรียบร้อยแล้ว และก็มีความเป็นไปได้ที่คดีนี้จะมีการสู้กันอีกยกในศาลสูง

News Source: http://torrentfreak.com/isohunt-shuts-down-after-110-million-settlement-with-the-mpaa-131017/, http://torrentfreak.com/archiveteam-works-hard-to-avert-isohunt-data-massacre-131020/, http://torrentfreak.com/torrentreactor-celebrates-10th-birthday-with-cash-prize-game-of-torrents-131020/

 

Pierre Omidyar ผู้ก่อตั้ง eBay เตรียมเปิดตัวเว็บข่าวใหม่ที่ได้นักข่าว The Guardian ที่เปิดเผยข้อมูล NSA ร่วมกับ Edward Snowden มาร่วมทีม

เป็นข่าวใหญ่เมื่อ Glenn Greenwald นักข่าวผู้มีส่วนสำคัญในการแฉ NSA และการสอดส่องของรัฐบาลสหรัฐจะออกจากทาง The Guardian มาทำงานที่ใหม่ที่เขาไม่บอกว่าที่ไหนแต่บอกว่า "นี่เป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิต" ที่เขาต้องฉวยไว้

ไม่นานนักเรื่องการเปิดเผยว่าทาง Pierre Omidyar ผู้ก่อนตั้ง eBay กำลังให้ทุนสร้างเว็บข่าวออนไลน์ เรื่องก็มาเฉลยว่า Greenwald จะมาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บข่าวที่กำลังจะตั้งใหม่นี่เอง

ข้อมูลของเว็บใหม่นี้ยังลึกลับอยู่พอสมควร แต่เท่าที่มีรายงานมามันจะเป็นสำนักข่าวออนไลน์เท่านั้นจะไม่มีการพิมพ์เป็นเล่ม และก็จะไม่ใช่สำนักข่าวเฉพาะที่จะเน้นเรื่องเฉพาะทางและการแฉเท่านั้น แต่จะมีการรายงานข่าวทั่วไปด้วย

News Source: http://gigaom.com/2013/10/17/what-we-know-and-dont-about-ebay-founder-pierre-omidyars-ambitious-new-media-startup/, http://gigaom.com/2013/10/15/glenn-greenwalds-new-media-venture-funded-by-ebay-founder-pierre-omidyar-report/, http://paidcontent.org/2013/10/17/battle-of-the-new-media-billionaires-one-trying-to-save-something-old-one-trying-to-start-something-new/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จักรภพ เพ็ญแข: อย่าทรยศต่ออดีตและอนาคต

Posted: 21 Oct 2013 07:40 AM PDT

เมื่อทราบว่าเขาจะเสนอให้นิรโทษกรรม (ทำให้ความผิดหมดไป หรือเป็นโมฆะ) กันทั้งยวง ใน "ความผิด" ทางการเมืองตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ.2549 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงการปราบปรามประชาชนรอบบริเวณราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ผมก็เกิดความกังวลใจขึ้นมาอีก ใจผมก็ไม่ได้แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ ที่อยากเห็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานนี้จบสิ้นลง เพื่อให้ทุกฝ่ายมีปกติสุขและบ้านเมืองจะได้ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างเต็มสูบได้ แต่ใจข้างที่ใหญ่กว่ากลับบอกตัวเองว่า วันนี้มวลชนประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเรียกร้องหาความถูกต้องเป็นธรรม และมาตรฐานที่เท่าเทียมกันอย่างประชาธิปไตย ไม่ใช่การเขียนบทจบแบบละครที่เจ้าของสถานีและสปอนเซอร์ละครอยากให้จบ เพื่อให้เลิกแล้วต่อกันไป ราวกับว่าทุกคนคือเด็กเล็กๆ ที่เข้ามาวิ่งกรูเกรียวสร้างความวุ่นวาย เมื่อผู้ใหญ่เข้ามาเทศนาสั่งสอนและสั่งให้เข้าบ้าน ก็จบลงง่ายอย่างดาย ราวกับว่าสิ่งที่ผ่านมาทั้งหมดทั้งมวลเป็นเพียงเกมขู่กรรโชก (blackmailing) ที่คนทำไม่ได้คิดเอาจริง แค่ต้องการสำแดงพลังให้ฝ่ายตรงข้ามรู้เท่านั้นว่าถ้าไม่ยอมแล้วจะเกิดอะไรขึ้น มิได้ยาวไกลไปถึงการสร้างบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่ในการพัฒนาประชาธิปไตยเลย

ช่วงปีหลังๆ มีหนังสือเกี่ยวกับประชาธิปไตยไทยที่ค้นคว้าอย่างเป็นระบบและแต่งดีมาให้เราได้อ่านกันมากขึ้น ผมได้อ่านเกือบทุกเล่ม และบางเล่มก็ยังใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการพูดและเขียนอยู่เสมอ ท่านที่อ่านอย่างผมคงจะคิดคล้ายกันว่า การขัดขวางระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในสังคมไทยมาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ2475 และย้อนกลับไปได้ถึง ร.ศ.130 ที่ถูกเรียกว่าเป็น "กบฏ" เวลาที่ผ่านมาถึง 101 ปี (ร.ศ.130 แปลงเป็นพุทธศักราชคือ พ.ศ.2455) ชนชั้นนำในเมืองไทยไม่เคยเปลี่ยนทัศนะและพฤติกรรมมาในทางสนับสนุนสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันทางกฎหมายในสังคมไทยเลย การยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของรัฐไทยไม่เคยปรากฏ เพียงแค่แปลงความคิดและความเชื่ออันล้าหลังโบร่ำโบราณในลักษณะเอาของเก่าเวียนมาใช้ใหม่ (recycling) เท่านั้่นเอง

ประชาธิปไตยจึงเป็นนวัตกรรมจำเป็นของอารยธรรมมนุษย์ที่ชนชั้นนำไทยมองว่าเป็นของปลอมหรือเป็นส่วนเกิน และทำทุกวิถีทางที่จะลดความหมาย ความผูกพัน ความสำคัญ และบิดเบือนฐานะทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยลงอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง (หนังสือเล่มล่าสุดของ ดร.ณัฐพล ใจจริง ซึ่งมีชื่อว่า "ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อฯ" ได้ลำดับความอย่างละเอียดและเป็นระบบยิ่งเกี่ยวกับขบวนการขัดขวางประชาธิปไตยในห้วง 25 ปีแรกของการเปลี่ยนการปกครอง) ถ้าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่เห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และพร้อมจะช่วยเขาผลักการต่อสู้ครั้งสำคัญๆ ของฝ่ายประชาชนให้เหลือความสำคัญเพียงเรื่องที่เล่าสู่กันฟัง หรือเชิงอรรถในงานวิชาการด้านประชาธิปไตย เช่นเดียวกับวีรกรรม 2 ครั้งในปี พ.ศ.2554 (ทั้งวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม) ซึ่งมีความหมายไม่ต่ำกว่าการลุกฮือของฝ่ายประชาชน ก็เท่ากับเรามีส่วนร่วมในขบวนการของฝ่ายเขาโดยปริยาย

อย่าลืมเป็นอันขาดว่า การลดค่าของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยฝ่ายประชาชน คือยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายตรงข้ามเขาใช้เตะตัดขาไม่ให้ระบอบประชาธิปไตยเมืองไทยเสถียรได้มาตลอด คำถามคือแนวคิดนิรโทษกรรมยกเข่งหรือทั้งยวง ซึ่งเป็นการเขียนบทจบในหนังสือได้รวดเร็วทันใจวัยรุ่น แต่อาจจะไม่จบจริงนั้น คือคลื่นสึนามิที่ไหลบ่าเข้ามาท่วมหลักฐานแห่งความผิดและการทำลายประชาธิปไตยของฝ่ายตรงข้ามไปด้วยหรือไม่ ถ้ามีลักษณะอย่างที่ว่านั้น แทนที่เรื่องนี้จะเป็นตอนอวสาน จะกลับเป็นบทที่หนึ่งของการต่อสู้ครั้งใหม่ ที่มิตรอาจกลายเป็นศัตรูไปได้ง่ายๆ ถึงตอนนั้นเครือข่ายศัตรูเดิมก็จะฝังตัวลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งในการต่อสู้ขัดขวางระบอบประชาชน โดยอาศัยความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่ยอมรับประชาธิปไตยแบบจำกัดและฝ่ายที่เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยแบบสุดทาง มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญของเขา

เราทุกคนอยากให้เรื่องจบ แต่ถ้าจบอย่างไร้ความหมายและทิ้งไว้แต่ความรู้สึกอ้างว้าง ไม่รู้จะเอาอะไรไปสอนลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไปได้ ก็อย่าเพิ่งจบ เพราะจะเท่ากับเราเอาความสุขของปัจจุบัน ไปอยู่เหนือคุณค่าแห่งอดีตและโอกาสแห่งอนาคต เหนื่อยมามากแล้วก็อึดกันต่อไปอีกสักนิดเถอะครับ ฝ่ายเขามาไม้อ่อนก็เพราะเขาอ่อนแอลง ไม่ใช่เพราะเขายอมรับนับถือฝ่ายประชาชนหรือเปลี่ยนใจใดๆ เราควรยืนระยะสุดท้ายก่อนเข้าโค้งประชาธิปไตยไว้ให้จงดี อย่าแวะเข้าข้างทางทั้งๆ ที่เห็นปลายทางอยู่รำไรแล้วเลยครับ.

 

 

 

ที่มา: เฟซบุ๊กจักรภพ เพ็ญแข - Jakrapob Penkair

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มอนเตเนโกรเดินรณรงค์สิทธิเกย์สำเร็จครั้งแรก หลังกลุ่มต้านป่วนขบวน

Posted: 21 Oct 2013 07:26 AM PDT

ผู้สนับสนุนสิทธิเกย์ในประเทศมอนเตเนโกรจัดขบวนพาเหรดเกย์ไพร์ด (Gay Pride) ท่ามกลางการควบคุมสถานการณ์ของตำรวจเพื่อไม่ให้มีการโจมตีจากกลุ่มต่อต้าน โดยทางการมอนเตเนโกรต้องการให้ประเทศเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป จึงให้มีการจัดเกย์ไพร์ดเพื่อพิสูจน์เรื่องความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน

20 ต.ค. 56 ชาวมอนเตเนโกรราว 150 คน เดินขบวนรณรงค์เกย์ไพร์ด (Gay Pride) ได้สำเร็จลุล่วงเป็นครั้งแรกในกรุงพอตกอริซา

การเดินขบวนดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางการควบคุมสถานการณ์โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 2,000 นาย แต่ก็เกิดเหตุการณ์ปะทะกันเกิดขึ้น หลังจากมีฝ่ายที่ต่อต้านการเดินขบวนเกย์ไพร์ดพยายามดันแนวกั้นของตำรวจ

สำนักข่าวอัลจาซีราระบุว่า ประเทศสาธารณรัฐมอนเตเนโกรเป็นประเทศอนุรักษนิยมในคาบสมุทรบอลข่าน มีประชากรอยู่ราว 680,000 คน การจัดขบวนเกย์ไพร์ดในครั้งนี้ถือเป็นการทดสอบความรับผิดชอบต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนของประเทศนี้เพื่อใช้ในการเข้าร่วมสหภาพยุโรป

การจัดขบวนเกย์ไพร์ดในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สองในมอนเตเนโกร โดยครั้งแรกมีการพยายามจัดในเมืองบัดวาเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา แต่ก็ถูกฝ่ายต่อต้านสิทธิเกย์โจมตี

ดานิเอล คาเลซิค ประธานกลุ่มเควียร์มอนเตเนรโกร ผู้จัดการเดินขบวนในครั้งนี้กล่าวว่า เขาให้เจ้าหน้าที่มาดูแลเพื่อให้การเดินขบวนของกลุ่มนักกิจกรรมเกย์เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย  คาเลซิคบอกอีกว่าพวกเขาต้องเผชิญกับการท้าทายแต่ก็ทำได้สำเร็จ และจะมีการจัดเดินขบวนเช่นนี้อีกทุกปี

โดยขบวนเกย์ไพร์ดเดินจากใจกลางเมืองหลวงที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจวางกำลังอยู่ตามท้องถนน บนดาดฟ้าอาคารใกล้เคียง และมีเฮลิคอปเตอร์คอยดูแลความเรียบร้อย ผู้เดินขบวนเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิเกย์ประกอบด้วยกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและกลุ่มนักข่าว พวกเขาพากันถือป้ายต่างๆ เช่น "ท้อนถนนก็เป็นของพวกเราเช่นกัน" , "ทุกคนมีสิทธิของตัวเอง"

ในประเทศโครเอเชีย ประเทศเพื่อนบ้านของมอนเตเนโกร ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาก็มีการเดินขบวนรณรงค์เกย์ไพร์ดอยู่หลายครั้ง แต่ว่าในกลุ่มประเทศคาบสมุทรบอลข่านซึ่งมีความเป็นอนุรักษนิยมและมีสังคมแบบชายเป็นใหญ่ยังไม่ยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกันมากนัก

ส่วนประเทศมอนเตเนโกรต้องการเข้าร่วมสมาชิกอียูต่อจากโครเอเชีย แต่ก่อนจะเข้าเป็นสมาชิกได้ต้องแสดงความพร้อมด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชนเสียก่อน และให้รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายที่ต่อต้านการเหยียดเพศ อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าคนส่วนใหญ่ในมอนเตเนโกรยังคงไม่เห็นด้วยกับเพศสภาพเกย์ โดยมีร้อยละ 71 คิดว่าการรักเพศเดียวกันเป็นความเจ็บป่วย และร้อยละ 80 มองว่าควรจะเป็นเรื่องปิดลับในที่ส่วนตัว

ก่อนหน้านี้ แอมฟิโลเย ราโดวิค บาทหลวงนิกายออโธดอกซ์ผู้มีอำนาจในมอนเตเนโกรยังเคยเรียกร้องให้ผู้จัดงานเดินขบวนยกเลิกการจัดงาน โดยบอกว่าเป็นงานพาเหรดที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับเมืองหลวงพอตกอริซา

 


เรียบเรียงจาก

Montenegro's gay pride march sparks violence, Aljazeera, 20-10-2013
http://www.aljazeera.com/news/europe/2013/10/montenegro-gay-pride-march-sparks-violence-20131020132010789429.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มนักการเมืองใต้ขอเป็นทีปรึกษาทีมพูดคุยสันติภาพ

Posted: 21 Oct 2013 06:46 AM PDT

เวทีสานเสวนากลุ่มนักการเมืองชายแดนใต้ครั้งที่ 15 เสนอถก 3 ประเด็นการพูดคุยสันติภาพ กระบวนการ บรรยากาศและเนื้อหา แนะควรตั้งนักการเมืองในพื้นที่เป็นทีปรึกษาทีมพูดคุยสันติภาพ ให้มีสตรีร่วมโต๊ะ เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รีบตอบ 5 ของบีอาร์เอ็น สนับสนุนภาษามลายู ตั้งเขตปกครองท้องถิ่นเต็มพื้นที่ ส่วนจะบริหารอย่างไรให้จัดเวทีถามประชาชน

 
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556 ที่โรงแรมปาร์ควิว อ.เมือง จ.ยะลา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 15 มีนักการเมืองจากพรรคต่างๆ ในพื้นที่และไม่สังกัดพรรค และนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่เข้าร่วม
 
ต่อมา เวลา 13.00 น. นายนัจมุดดิน อูมา นักการเมืองจากพรรคมาตุภูมินำแถลงผลการสานเสวนาครั้งนี้ว่า สามารถสรุปได้ 3 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ได้แก่ ประเด็นกระบวนการของการพูดคุยสันติภาพ ประเด็นการลดเงื่อนไขความขัดแย้งและการเสริมสร้างบรรยากาศการพูดคุย และประเด็นเรื่องเนื้อหาของการพูดคุย
 
ใน 3 ประเด็นดังกล่าว มีข้อเสนอสำคัญๆ เช่น พิจารณาเชิญตัวแทนฝ่ายการเมืองจากพรรคต่างๆ ในพื้นที่เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาในการพูดคุยเพื่อสันติภาพ
 
นอกจากนี้ ในคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพยังไม่มีตัวแทนฝ่ายสตรีที่ได้รับผลกระทบ ส่วนฝ่ายขบวนการพูโล บีไอพีพี อาจยังกลุ่มที่แยกย่อยออกไปและอาจกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆ อยู่ด้วย ซึ่งควรมีส่วนร่วมในการพูดคุยเพื่อสันติภาพด้วย โดยหวังว่าการมีส่วนร่วมดังกล่าวจะทำให้ไม่มีฝ่ายใดออกมาปฏิเสธในภายหลัง
ฝ่ายรัฐบาลควรมีเอกภาพและแนวทางการพูดคุยที่ชัดเจน และควรปรึกษาหารือกับภาคประชาชนในพื้นที่ทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่มากขึ้นและควรจัดหรือสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพในหลายระดับ ทั้งที่เป็นทางการ กึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและระดับชุมชน
 
ส่วนประเด็นการลดเงื่อนไขความขัดแย้งและการเสริมสร้างบรรยากาศการพูดคุย เช่น รัฐบาลควรเร่งยกเลิกการประกาศใช้พระราชการกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาแทนที่ เช่นพื้นที่อ.กาบัง อ.เบตง จ.ยะลา อ.สุคิริน จ.นราธิวาสที่มีความรุนแรงต่ำ 
 
ส่วนประเด็นเนื้อหาของการพูดคุย เช่น รัฐบาลควรมีคำตอบในเรื่องข้อเรียกร้อง 5 ข้อของขบวนการบีอาร์เอ็นเป็นลายลักษณ์อักษรในระดับใดระดับหนึ่งเพื่อให้การพูดคุยดำเนินต่อไปได้ รัฐบาลสนับสนุนการพัฒนาภาษามลายูในพื้นที่
 
"ให้จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองท้องถิ่นเต็มพื้นที่ ตามมาตรา 78 ของรัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคนในพื้นที่"
 
รัฐบาลควรสนับสนุนให้หลายฝ่าย รวมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายประชาสังคม ฝ่ายผู้นำท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีรับฟัง/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
 
สำหรับผู้ร่วมสานเสวนา ประกอบด้วย นักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคมาตุภูมิ พรรคความหวังใหม่ พรรคดำรงไทย และนักการเมืองไม่สังกัดพรรค สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกเทศมนตรี
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มญาติฯ แถลงคัดค้าน 'นิรโทษเหมาเข่ง' เตรียมเดินขบวนถาม กมธ. พฤหัสนี้

Posted: 21 Oct 2013 01:20 AM PDT

กลุ่มญาติผู้สูญเสียในเหตุการณ์ 53 นำโดยนางพะเยาว์และนายพันศักดิ์ แถลงข่าวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯหลังผ่าน กมธ. แก้ไขนิรโทษกรรมครอบคลุมทุกฝ่าย ยกเว้น 112 จี้นิรโทษประชาชนอย่างเดียว หรือไม่ก็ให้สิทธิประกันตัว อย่าสานต่อวัฒนธรรมผู้สั่งการไม่ต้องรับผิด 

21 ตุลาคม 2556 กลุ่มผู้สูญเสียในเหตุการณ์ปี 2553 จัดการแถลงข่าวเกี่ยวกับเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ในวาระการพิจารณาของ กมธ. และมีมติแก้ไขมาตรา 3 ให้การนิรโทษครอบคลุมถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นมาตรา 112
 
นางพะเยาว์ อัคฮาด ประธานกลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2553 อ่านแถลงการณ์ว่า ตามที่คณะกมธ. มีมติแก้ไขเนื้อหาในมาตรา 3 ของร่างเดิมที่นายวรชัย เหมะ เสนอ ซึ่งจะส่งผลให้นิรโทษกรรมให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้สั่งการ ทหาร รวมถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น หรือเป็นการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งนั้น กลุ่มญาติฯ เห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นกมธ.เสียงข้างมากมีเจตนาเอื้อประโยชน์ให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อแลกกับการไม่เอาผิดในการกระทำของทหาร การแก้ไขมาตรา 3 แสดงให้สังคมเห็นว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยฟังเสียงประชาชน โดยเฉพาะญาติผู้เสียหาย
 
ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีกลับแสดงเจตนารมณ์ว่าต้องการพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งแม้จะเป็นเทคนิคทางการเมือง แต่ก็เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ผูกมัดทางการเมือง
 
แถลงการณ์ของกลุ่มญาติฯ มีข้อเสนอต่อรัฐบาลซึ่งมีรัฐบาลเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมากว่า 1) ต้องการให้รัฐบาลเพื่อไทยต้องฟังเสียงประชาชน ให้ผู้กระทำผิดเข้าสู่การพิจารณาคดี 2) รัฐบาลเพื่อไทยต้องเร่งรัดนโยบายให้นักโทษการเมืองได้รับการประกันตัว 3) รัฐบาลเพื่อไทยต้องเร่งรัดคดีสังหารประชาชนที่ศาลมีคำสั่งกรณีการไต่สวนการตายแล้วว่ามีเหตุจากเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อไม่ให้กระบวนการยุติธรรมล่าช้าจนเป็นเหตุให้ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไป 4) ย้ายนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และให้พ้นจากหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีปี 2553 เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากเหตุการณ์ดังกล่าว 5) จัดตั้งคณะทำงานในการเร่งรัดคดีสังหารหมู่ประชาชนเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้น
 
พะเยาว์กล่าวว่า เราคัดค้านการนิรโทษเหมายกเข่งของ กมธ. เพราะเป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นคนสีเสื้อใด และคงต้องบอกว่า "คุณหยุดโกหกได้แล้ว" อย่างคำถามเรื่องกระบวนการศาลโลกที่ผู้คนตั้งคำถามว่าเหตุใดไอซีซีไม่ลงมาเกี่ยวข้อง การขับเคลื่อนคดีต่างๆ ทำเหมือนขับเคลื่อนอยู่จริงแต่ความจริงก็แค่รอกระบวนการนิรโทษกรรม ซึ่งเมื่อมีการนิรโทษเหมายกเข่ง ก็เป็นการปิดกั้นโอกาสอันน้อยนิดในการดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องในศาลอาญาระหว่างประเทศ ขณะที่นายธาริตเสนอต่อสังคมตลอดว่าคดีมีความเคลื่อนไหวทั้งที่จริงๆ รอกระบวนการนิรโทษกรรมแบบยกเข่ง 
 
"คดีหลายคดี เช่น คดี 6 ศพ ก็อยู่ในกระบวนการยุติธรรมแล้ว แล้วจะนิรโทษกรรมไปทำไม เมื่อมันเข้าสู่กระบวนการแล้ว ทางที่ดี การนิรโทษกรรม ควรนิรโทษกรรมให้ประชาชนล้วนๆ" พะเยาว์กล่าวและว่าคนที่ต้องรับผิดชอบในเหตุการณ์ปี 53 ต้องมีทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ไม่เช่นนั้นแล้วจะให้พวกเราญาติปี 53 ต้องมาตามรำลึกเหมือนรุ่น 14 ตุลา 6 ตุลา และในอนาคตเกิดขึ้นมาอีกนานเท่าไร
 
"ถ้า กมธ. ยังดึงดันที่จะนิรโทษเหมายกเข่ง ดิฉันบอกได้เลยว่า สภาทั้งสภาจะเป็นจำเลยของสังคม ดิฉันขอบอกว่าเรื่องทั้งหมดนี้ นายใหญ่อย่าเพิ่งใจร้อน อย่าเพิ่งรีบกลับบ้านใจเย็นๆ" พะเยาว์กล่าว
 
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ กล่าวว่าน่าเสียใจที่ กมธ.ปฏิเสธว่าคดีมาตรา 112 ไม่เป็นคดีทางการเมือง ทั้งที่มันเป็นคดีทางการเมืองทั้งหมด และยังมีสิ่งที่น่าตกใจเมื่อพบว่า เนื้อหาในการแก้ไขร่างฯนี้นั้น มีการนำร่างนิติราษฎร์มาปรับใหม่ โดยบิดเบือนการใช้ซึ่งร่างนิติราษฎร์ระบุว่าต้องมีกระบวนการพิสูจน์ทราบความจริง
 
ที่ผ่านมาเคยร่วมเดินทางกับ กมธ.เพื่อไปเยี่ยมนักโทษการเมืองที่เรือนจำหลักสี่ พบว่าหลายคดีมีปัญหามาก ดังนั้น เห็นว่าต้องให้สิทธิประกันตัวออกมาก่อนระหว่างรอการนิรโทษกรรม 
 
"เรื่องนี้ต้องใช้เวลาพูดคุยกันก่อนที่จะหักด้ามพร้าด้วยเข่า เพราะมันจะนำไปสู่ปัญหา"พันศักดิ์กล่าว
 
สุนัย ผาสุก จากองค์กร Human Right Watch กล่าวว่า การผ่านวาระสองเป็นการตอกย้ำข้อกังวลที่เราพูดมาตลอดว่า กลัวว่าวัฒนธรรมการทำผิดโดยไม่ต้องรับผิดถูกผลิตซ้ำ จากกระบวนการต่อรองของคู่ขัดแย้งในการเมือง สัญญาณชัดขึ้นเรื่อยๆ การบาดเจ็บล้มตายส่วนใหญ่มาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ผลการไต่สวนการตายก็ชี้ไปในทิศทางนี้ แต่รัฐบาลกลับพูดแต่ต้นก่อนมีกฎหมายนิรโทษกรรมว่า ทหารจะถูกกันไว้เป็นพยาน ในอีกด้านหนึ่งก็มีท่าทีปฏิเสธว่าผู้ชุมนุมไม่มีความรุนแรง ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับกองกำลังติดอาวุธ และคดีที่เรียกกันว่า "ชายชุดดำ" ก็ค่อยๆ เลือนหายไป ไม่ปรากฏชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการนำเอาวิจัยของสถาบันพระปกเกล้ามาเป็นผลการศึกษาของ กมธ.ปรองดอง ที่มีพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน บิดเอาเรื่องนิรโทษกรรมให้มีความหมายเท่าเทียมกับคำว่าความปรองดอง มันจะเกิดปัญหาเหมือนในอดีตที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับผิด 
 
สุนัยกล่าวด้วยว่า ความผิดที่นำสู่การเสียชีวิตต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าฝ่ายใด การนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องมีขั้นตอนต่างๆ โดยต้องระบุให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น, คนกระทำผิดต้องสำนึกผิด ออกมาขอโทษต่อสังคม, การสมานฉันท์ต้องเป็นกระบวนการหารือในวงกว้าง ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ทำเรื่องนี้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง มหาดไทยจัดเวทีแล้วก็จบไป ตัดตอนมาพูดเรื่องนิรโทษกรรมเลย 
 
"การตลบหลังยัดไส้นี้น่าอัปยศ และโหดเหี้ยมอย่างยิ่ง ความพยายามดันร่างนี้หากจะต้องล้มไปเนื่องจากแปรญัตติเกินหลักการที่สภาอนุมัติไว้ในวาระแรก หรือเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายจนสภาเดินหน้าไม่ได้ เท่ากับว่ามวลชนที่ติดคุกถูกใช้เป็นตัวประกันและถูกถีบทิ้งอย่างโหดเหี้ยมที่สุด" สุนัยกล่าวและว่า สิ่งนี้เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่เลวร้ายในการไม่ต้องรับผิดในประเทศไทย 
 
ณัทพัช อัคฮาด จากกลุ่มญาติฯ แจ้งว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ต.ค.นี้จะเดินขบวนไปมอบของขวัญให้ กมธ.ที่จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษฯ โดยจะเริ่มรวมตัวกันที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยเวลา 11.00 น.
 
 

  

 

 

แถลงการณ์กลุ่มญาติผู้สูญเสียฯคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ

 

 

ตามที่ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ประธานกรรมาธิการ เป็นประธานการประชุม ได้มีมติแก้ไข เนื้อหาในมาตรา 3 ของร่างเดิมที่ นายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยและคณะเสนอ เป็น

 

"…ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112…"

 

กลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2553 มีความเห็นว่าการแก้ไขข้อความในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว เป็นที่ชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นกรรมาธิการเสียงข้างมากมีเจตนาที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แลกเปลี่ยนกับการนิรโทษกรรมทหารที่กระทำความผิดในการสังหารหมู่ประชาชน ตลอดจนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและประธานศูนย์อำนวยการเยียวยาสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะนั้น การแก้ไขข้อความดังกล่าว แสดงให้สังคมเห็นว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยฟังเสียงประชาชน โดยเฉพาะญาติผู้เสียหายฯ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ที่ต้องการให้กระบวนการยุติธรรมเดินหน้าเพื่อพิสูจน์ทราบความจริง และนำความจริงนั้นกลับคืนสูงสังคม เพราะมีแต่ความจริงเท่านั้นที่จะนำพาสังคมโดยรวมกลับคืนสู่ความสมานฉันท์ เข้าอกเข้าใจกันได้อย่างแท้จริง

 

การแก้ไขข้อความดังกล่าว เน้นย้ำความสงสัยของสังคมต่อพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง ต่อข้อครหาเรื่องการดำเนินการตามใบสั่ง ความมุ่งหวังที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกลับบ้านโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ เพิกเฉยต่อกระบวนการยุติธรรม เห็นประชาชนเป็นเพียง "เบี้ย" ที่ใช้เดินเพื่อบรรลุผลและสมประโยชน์ทางการเมืองของตนเท่านั้น ขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรรมาธิการเสียงข้างน้อยและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชนกลับแสดงเจตนารมณ์ว่าต้องการพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม แม้จะสามารถมองว่าเป็นเทคนิคทางการเมือง แต่การแสดงเจตนารมณ์นั้นย่อมเป็นการผูกมัดตัวเองกับประชาสังคมในที่สุด

 

การผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้มีผลบังคับใช้ตามเนื้อหาดังกล่าว ยังเป็นการปิดกั้นโอกาสอันน้อยนิดในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องในศาลอาญาระหว่างประเทศ จากการผ่านกฎหมายภายในประเทศอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ กลุ่มญาติผู้เสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง เม.ย. – พ.ค. 2553 จึงขอเสนอต่อรัฐบาลอันมีพรรคเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมาก ดังต่อไปนี้

 

1. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องฟังเสียงประชาชนในการแก้ไขข้อความในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความผิดในการสังหารหมู่ประชาชนต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ดังที่ศาลอาญาได้มีคำสั่งการไต่สวนการตาย กรณีนายพัน คำกอง, นายชาญณรงค์ พลศรีลา, นายชาติชาย ซาเหลา, ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ รวมถึงกรณี 6 ศพ วัดปทุมฯ ว่าเหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือถูกลูกกระสุนปืนซึ่งยิงจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหาร เพราะมีแต่กระบวนการยุติธรรมเท่านั้นที่จะนำความจริงกลับสู่สังคม อย่างไรก็ตาม กลุ่มญาติฯยินดีที่จะสนับสนุนร่างนิรโทษกรรมใดใดนั้น จะมีผลต่อการนิรโทษกรรมประชาชนอันเกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองเท่านั้น

 

2. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องเร่งรัดมาตรการทางนโยบายในการให้นักโทษการเมืองได้รับสิทธิ ในการประกันตัวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องสงสัยตามหลักสิทธิมนุษยชน

 

3. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องมีมาตรการเร่งรัดกระบวนการยุติธรรมกับคดีสังหารหมู่ประชาชนที่ศาลมีคำสั่งกรณีการไต่สวนการตายในแต่ละสำนวนแล้วว่าเหตุและพฤติการณ์ที่ตายมาจากเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อไม่ให้กระบวนการยุติธรรมล่าช้าจนเป็นเหตุให้การสืบค้นความจริงคลาดเคลื่อนไป

 

4. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะต้องย้ายนายธาริต เพ็งดิษฐ์ จากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และให้พ้นจากหน้าที่หัวหน้าคณะผู้สอบสวนกรณีเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชน พ.ศ.2553 เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง

 

5. รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะต้องจัดตั้งคณะทำงานในการเร่งรัดกระบวนการยุติธรรมในคดีสังหารหมู่ประชาชน ประกอบด้วยบุคลากรจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการ แพทย์ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้น

 

ข้อเสนอทั้ง 5 อยู่บนหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ที่มีกระบวนการพิสูจน์ทราบความจริงตามกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีภาระหน้าที่ในการตอบคำถามประชาชน มากกว่าที่จะกระทำการโดยอิงแอบกับผลประโยชน์ของพวกตน หรือการตอบแทนบุญคุณของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และการตอบคำถามประชาชนที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติรัฐกิจให้ถูกต้องตามหลักการของประชาธิปไตยเท่านั้น

 

 

ด้วยความเคารพ

กลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2553

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ต.ค. 2556

Posted: 21 Oct 2013 01:20 AM PDT

แรงงานอีสานร้องดีเอสไอถูกหลอกเก็บลูกเบอร์รีในสวีเดน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่  15 ต.ค. 56 นายภาสกร เจนประวิทย์ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น พร้อมด้วย พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร ผู้บัญชาการสำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง ผู้บัญชาการสำนักปฏิบัติการพิเศษ และคณะ ดีเอสไอ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการร้องทุกข์จาก นายวินัย แก้วเก็บคำ อายุ  38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ 6 ต.นางงาม อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น  นายวิบูลย์ โกสน อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 80 หมู่ 6 อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น  นายวิศรุต สุดาวัน อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่76 หมู่ 8 ต.โพนเพ็ก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น  พร้อมราษฎรในเขตพื้นที่ จ.ขอนแก่น อุดรธานี  และ จ.ชัยภูมิ ประมาณ 120 คน ขอยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อดีเอสไอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น  กรณีถูกบริษัทจัดหางานแห่งหนึ่งใน จ.ชัยภูมิ เรียกเก็บเงินคนละประมาณ 100,000 บาท เพื่อแลกกับการได้ไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน โดยไม่ได้รับผลตอบแทนตามสัญญา หลังเข้าขอความช่วยเหลือที่สถานทูตไทยประจำประเทศสวีเดน เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย

นายวินัย กล่าวว่า เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมามีนายหน้าของบริษัทจัดหางานได้เข้าไปในหมู่บ้านเพื่อชักชวนชาว บ้านให้เดินทางไปทำงานเก็บลูกเบอร์รีที่ประเทศสวีเดน โดยเรียกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประเทศสวีเดน ประมาณรายละ 100,000 บาท เพื่อแลกกับผลตอบแทนเดือนละประมาณ 85,000 บาท โดยนายหน้าคนดังกล่าวอ้างว่าลูกเบอร์รีมีมากหากคนงานไปเก็บจะไม่ขาดทุน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา และอุดรธานี  กว่า 500 คน หลงเชื่อไป กระทั่งไปกู้ยืมเงินมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ร่วมมูลค่าความเสียหายกว่า 100  ล้านบาท  ซึ่งกลุ่มชาวบ้านผู้เสียหายได้เดินทางไปประเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2556 แต่เมื่อไปถึงประเทศสวีเดน บริษัทจัดหางานได้จัดให้กลุ่มชาวบ้านผู้เสียหายไปเก็บลูกเบอร์รีบนภูเขาที่ เมืองอูเมียว ทางตอนเหนือ และเมืองเลตเจอร์ฟอร์ดทางใต้ของประเทศสวีเดน โดยจัดที่พักพร้อมอาหารให้

 นายวินัย กล่าวอีกว่า เมื่อชาวบ้านผู้เสียหายเก็บลูกเบอร์รีนานกว่า 1 เดือน กลับไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญา จึงรวมตัวประท้วงที่ประเทศสวีเดน จนบริษัทเจ้าของไร่ลูกเบอร์รีในประเทศสวีเดนออกมาแถลงข่าวชี้แจงว่า ได้จ่ายค่าแรงงานให้กลุ่มชาวบ้านผู้เสียหายผ่านบริษัทจัดหางานดังกล่าวแล้ว และไม่ทราบว่าทำไมชาวบ้านผู้เสียหายจึงไม่ได้รับค่าจ้าง กระทั่งกลุ่มชาวบ้านผู้เสียหายได้รับความช่วยเหลือจากสถานทูตไทยในประเทศ สวีเดน ในการออกค่าตั๋วเครื่องบินเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2556  พวกตนซึ่งมีประมาณ 120 คน อยู่ในสามจังหวัดภาคอีสานตอนบนจึงรวมกลุ่มมาขอความช่วยเหลือจากดีเอสไอภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น  ให้ตรวจสอบบริษัทจัดหางานดังกล่าว พร้อมติดตามเงินค่าจ้างคืนให้กลุ่มชาวบ้านผู้เสียหาย เพราะตอนนี้เดือดร้อนมาก บางรายเครียดป่วย หรือเสียชีวิต เพราะต้องไปกู้ยืมเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาน ทั้งนี้ ตนอยากขอเตือนประชาชนว่าหากจะเดินทางไปเก็บผลไม้ที่ประเทศสวีเดน ขอให้ตรวจสอบบริษัทจัดหางานกับกระทรวงแรงงานว่าจัดตั้งถูกต้องหรือไม่ โดยมีบริษัทจัดหางานที่ดีอีกจำนวนมาก

นายวิบูลย์  แรงงานไทยจากจังหวัดขอนแก่น ตัวแทนกลุ่มแรงงาน ยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อดีเอสไอ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า  หลังจากแรงงานจากภาคอีสานประมาณ 500 คน  ซึ่งมีตนเป็นหนึ่งในนั้นได้รับการติดต่อว่าจ้างจากบริษัท เอ็ม ฟินิกซ์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด  ให้ไปทำงานรับจ้างเก็บผลไม้ที่ประเทศสวีเดน ทำงานตั้งแต่ตี 3 ถึง ห้าทุ่ม และจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำเป็นเงินจำนวนเกือบ 1 หมื่น 9 พัน โคลนสวีเดนต่อเดือน หรือประมาณกว่า 9 หมื่น 3 พันบาทไทย ระยะเวลาว่าจ้าง 3 เดือน แต่จะต้องจ่ายเงินค่าเดินทางและค่าดำเนินการอื่นๆ ให้กับทางบริษัทก่อน โดยบางคนจ่ายเป็นเงินสด บางคนจ่ายเป็นหลักทรัพย์โฉนดที่ดิน เบ็ดเสร็จรวมมูลค่ากว่า 1 แสน 4 พันบาทต่อคน แต่เมื่อทำงานมาได้เดือนเศษกลับไม่ได้รับค่าจ้างใดๆ ทั้งจากบริษัท เอ็มฟินิกซ์ ประเทศไทย และบริษัทที่สวีเดน จึงประสานสถานฑูตไทยในสวีเดนขอเดินทางกลับประเทศเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ก่อนจะเดินทางมาร้องทุกข์กับดีเอสไอที่ จ.ขอนแก่น  ให้ตรวจสอบบริษัทดังกล่าวด้วย  ว่า มีการจ้างงานถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และให้ดำเนินคดีหากพบการกระทำความผิดจริงเบื้องต้นดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป

พ.ต.ท.กรวัชร์ ปกล่าวว่า  กรณีมีผู้เสียหายเก็บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดนจำนวนมากที่ถูกล่อลวงไปทำงานที่ ประเทศสวีเดน ซึ่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว ซึ่งผมได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในเบื้องต้น พร้อมกับรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้เป็นคดีพิเศษของดีเอสไอ ซึ้งมีผู้เกี่ยวข้องคือ บริษัท เอ็ม ฟินิกซ์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งได้ชักชวนกลุ่มคนงานในภาคอีสาน จ.ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา และ จ.อุดรธานี  ซึ่งถูกชักชวนให้ไปทำงานที่ประเทศสวีเดนไปเก็บผลไม้ป่าในประเทศนั้น

สอบสวนทราบว่าแรงงานชุดนี้ไปอยู่ประเทศสวีเดนแบบอยู่เอง ทำเอง กระทั่งมีนายบัวลา เหล่าพรม อายุ 39 ปี ทนไม่ไหวจึงได้ผูกคอตายอยู่ในประเทศสวีเดน พวกเขาจึงต้องร้องเรียนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ  ซึ่งเป็นหลอกลวงแรงงานในภาคอีสาน   ดังนั้น กรณีนี้ผู้ร้องโดนฉ้อโกงค่าแรงงาน แถมให้เซ็นต์ในเอกสารเปล่าอีกด้วย เรื่องดังกล่าวตนได้ดำเนินการหาข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดหางานซึ่งเป็นบริษัทอยู่ในประเทศ ไทยว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ เพราะถ้าหากเข้าถือว่าเป็นคดีพิเศษ

ทางดีเอสไอก็พร้อมที่จะดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นเห็นว่าคดีนี้น่าจะมีมูล ไม่เช่นนั้นคงไม่มีผู้เสียหายมากถึง 120  คนที่เดือดร้อนมาร้องทุกข์ต่อดีเอสไอ ทั้งนี้ เราก็ต้องฟังความหลายฝ่าย รวมทั้งฝ่ายบริษัทที่จัดหางานด้วยว่าได้ทำถูกต้องหรือไม่อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ก็จะมีการตรวจสอบในเชิงลึกทั้งหมด รวมไปถึงการตรวจสอบบริษัทดังกล่าวว่ามีใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่ในการจัดหางาน ไปต่างประเทศ.

(เดลินิวส์, 15-10-2556)

ก.แรงงานเตรียมลงนามกาตาร์ว่าด้วยระเบียบการจ้างแรงงานไทย

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงานและรักษาการเลขาธิการประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตรียมจะลงนามและแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกับเอกอัครราชทูตกาตาร์ ประจำประเทศไทย เกี่ยวกับระเบียบการจ้างแรงงานไทยภายในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจะครอบคลุมในเรื่องสัญญาจ้าง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเงินเดือน เนื่องจากประเทศกาตาร์มีความต้องการแรงงานไทยถึง 30,000 คน เพื่อไปทำงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ เช่น สถาปนิก วิศวกร ช่างเทคนิค รวมทั้งลูกเรือประจำสายการบินการ์ตา เป็นต้น

(ประชาชาติธุรกิจ, 16-10-2556)

แรงงานไทยถูกหลอกไปเก็บผลไม้ป่าที่ฟินแลนด์ ร้องดีเอสไอตรวจสอบบริษัทหลอกคนไทยไปทำงานต่างแดน เสียหายกว่า 21 ล้านบาท

(16 ต.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงกรณีที่ดีเอสไอได้รับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มผู้เสียหายที่ถูกหลอก ให้ไปทำงานเก็บผลไม้ในประเทศฟินแลนด์ จำนวน 30 ราย โดยเรียกรับค่านายหน้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 21 ล้านบาท แต่เมื่อเดินทางไปทำงานแล้วปรากฏว่าผู้เสียหายต้องดิ้นรนหาแหล่งเก็บผลไม้ เอง และไม่ได้รับค่าแรงตามที่เสนอไว้ตั้งแต่แรก
      
นายธาริตกล่าวว่า วานนี้ (15 ต.ค.) นายวสันต์ หมั่นบ่อแก ตัวแทนผู้เสียหายแรงงานไทยที่ไปทำงานที่ประเทศฟินแลนด์พร้อมแรงงานไทยอีก 30 คน เข้าร้องเรียนต่อศูนย์ปฎิบัติการพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ว่าเมื่อประมาณเดือน เม.ย. 2556 กลุ่มผู้เสียหายได้รับการติดต่อจากนายอภิชัย นาคสุข กรรมการบริษัท TS LAW & BUSINESS ประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท Ber-ex Oy ประเทศฟินแลนด์ ว่าต้องการคนงานไปเก็บผลไม้ที่ประเทศฟินแลนด์ จำนวน 73 คน โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางคนละ 68,000 บาท ค่าตรวจโรค 1,000 บาท และค่าทำบัตรกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศอีก 500 บาท ทั้งนี้กลุ่มผู้เสียหายบางรายไม่มีค่าใช้จ่ายในการไปทำงานตามที่นายหน้า เรียกรับ ก็ได้ไปขอกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีบริษัท Ber-ex Oy ซึ่งนายอภิชัยได้ออกหนังสือรับรองให้ แต่บางคนกู้นายทุนนอกระบบ หรือบางรายก็ขายไร่ขายนาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว
      
อธิบดีดีเอสไอกล่าวอีกว่าว่า ต่อมาบริษัทดังกล่าวได้ให้คนงานไปอบรมที่แรงงานจังหวัดแต่ละจังหวัดที่มี ภูมิลำเนาอยู่ และในวันที่ 29 ก.ค. 2556 กลุ่มผู้เสียหายทั้งหมดออกเดินทางจากประเทศไทยไปยังซัดคูโม ประเทศฟินแลนด์ และได้มีตัวแทนบริษัท Ber-ex Oy ชาวฟินแลนด์ และมีนาย Kari Jansa เจ้าของบริษัทเป็นผู้เดินทางมารับกลุ่มผู้เสียหายถึงสนามบินและจัดหาที่พัก พร้อมทั้งให้การอบรม โดยมีล่ามชาวไทยเป็นผู้แปลภาษาให้ หลังจากนั้นจึงพากลุ่มผู้เสียหายไปยังเมืองจูวา ประเทศฟินแลนด์ เพื่อทำงานเก็บผลไม้ (ลูกเบอร์รี) ซึ่งในช่วง 3 วันแรกไม่มีผลไม้ให้เก็บเนื่องจากได้มีคนงานชาวไทยจากบริษัทอื่นไปเก็บผลไม้ ก่อนหน้านี้แล้ว กลุ่มผู้เสียหายจึงขอออกไปสำรวจหาผลไม้เอง และเมื่อพบผลไม้ซึ่งอยู่อีกเมืองหนึ่งห่างไปประมาณ 700 กม. ก็ได้ขอให้ทางบริษัทย้ายที่พักคนงานไปอยู่ในบริเวณที่พบผลไม้ แต่บริษัทกลับไม่อนุญาตให้ย้าย พร้อมทั้งแจ้งว่าใครที่จะย้ายไปเก็บผลไม้ดังกล่าวจะส่งกลับประเทศไทย
      
ทั้งนี้ นายธวัชชัย สุขรินทร์ เจ้าของบริษัท TS LAW & BUSINESS แจ้งให้แรงงานกลุ่มผู้เสียหายเก็บผลไม้ที่เมืองจูวาต่อไป โดยบริเวณนั้นมีผลไม้น้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ต่อมากลุ่มผู้เสียหายได้เริ่มเก็บผลไม้ (ลูกเบอร์รี่ชนิดสีแดง) ซึ่งเริ่มสุก และเริ่มมีรายได้ แต่ทางบริษัท Ber-ex Oy กลับย้ายกลุ่มผู้เสียหายไปที่อื่นโดยแยกเป็น 3 กลุ่ม ตามเมืองต่างๆ ซึ่งตามเมืองต่างๆ ที่ย้ายไปนั้นไม่มีผลไม้หรือมีผลไม้น้อย ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย บางแห่งก็มีคนงานบริษัทอื่นเก็บอยู่แล้ว กลุ่มผู้เสียหายจึงขอย้ายกลับเมืองจูวา แต่บริษัทไม่ยอมพร้อมทั้งขู่ว่าใครย้ายจะส่งกลับประเทศไทย กลุ่มผู้เสียหายจึงยินยอมที่จะกลับแต่ต้องชำระค่าเก็บผลไม้ แต่บริษัทไม่ยอมจ่าย พร้อมทั้งนำเจ้าหน้าที่ตำรวจมาไล่กลุ่มผู้เสียหายออกจากที่พัก กลุ่มผู้เสียหายจึงขอความช่วยเหลือจากคนไทยในประเทศฟินแลนด์ และชมรมคนว่างงานของฟินแลนด์ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการจัดหาที่พักและอาหาร ให้ รวมทั้งช่วยต่อสู้เรียกร้อง สิทธิต่างๆ และติอต่อสถานทูตไทยประจำประเทศฟินแลนด์เพื่อเข้ามาช่วยเจรจาแต่ก็ไม่สำเร็จ
      
นายธาริตกล่าวว่า ต่อมาบริษัทดังกล่าวได้ยอมจ่ายค่าผลไม้ให้แก่พนักงาน แต่จ่ายให้แค่ 30 คน ตามจำนวนผลไม้ที่เก็บได้จริง ส่วนอีก 20 คนไม่จ่าย โดยให้เหตุผลว่าได้กู้เงินบริษัท TS LAW & BUSINESS ซึ่งโอนเงินให้กับบริษัท TS LAW & BUSINESS ที่ประเทศไทยแล้ว แต่ในความเป็นจริง ผู้เสียหายไม่ได้กู้เงินจากบริษัท TS LAW & BUSINESS แต่อย่างใด จนกระทั่งกลุ่มคนไทยร่วมกับคนฟินแลนด์ในประเทศฟินแลนด์ จัดคอนเสิร์ตระดมทุนหาเงินให้กับกลุ่มผู้เสียหายให้ทยอยเดินทางกลับ ประเทศไทย
      
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อน และได้รับความเสียหาย จากการที่ถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ และค่าเสียหายจากการไม่ได้รับเงินค่าเก็บผลไม้ที่ได้เก็บไปแล้ว รวมทั้งค่าเสียเวลาที่ไม่ได้เก็บผลไม้ คนละประมาณ 3 แสนบาท คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 21 ล้านบาท กลุ่มผู้เสียหายจึงขอให้ดีเอสไอให้ความช่วยเหลือ โดยรับเป็นคดีพิเศษและดำเนินคดีกัต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้กระทำผิด กฎหมาย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 16-10-2556)

ปลัดแรงงานสั่งเร่งช่วยเหลือแรงงานกรณีไฟไหม้ห้าง "ซุปเปอร์ชีป ภูเก็ต"

จากกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้างซุปเปอร์ชีป (Super Cheap) ตั้งอยู่ที่ ถนนเทพกษัตรี ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ได้แก่ สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด เร่งให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งแรงงานไทยและแรงงาน ต่างด้าว โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตได้ตั้งโต๊ะให้บริการรับลงทะเบียนแรงงาน ที่ถูกเลิกจ้าง พร้อมจะจัดหางานให้ใหม่ที่สำนักงานจัดหางานภูเก็ต และบริเวณหน้าห้างซุปเปอร์ชีป รวมทั้งการดูแลผู้ประกันตนที่ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยให้ได้รับความสะดวก ในการเข้ารักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน ตลอดจนการขอรับสิทธิประโยชน์ในการว่างงานตามมาตรา 33 หากผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีปัญหาข้อสงสัยเกี่ยว กับการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม จังหวัดภูเก็ต 076-222-837 หรือสายด่วน 1506

(มติชน, 17-10-2556)

แก้ กม.แรงงานให้ "เฉลิม" กำหนดอาชีพอันตรายต่อสาธารณะ

นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่ กพร.เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 และได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังตรวจสอบเนื้อหาร่างแก้ไข พ.ร.บ.เมื่อตรวจสอบเนื้อหาเสร็จแล้วจะมีการเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวาระ ที่ 1 ต่อไป
      
ทั้งนี้ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดสาขาอาชีพ หรือตำแหน่งงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ หรือต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับหนังสือ รับรองความสามารถเพื่อให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพและ ปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องสินค้าและบริการ ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพการประกอบอาชีพให้มีมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งนำมาใช้คัดกรองแรงงานช่างฝีมือจากต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานในไทย ให้ได้แรงงานที่มีคุณภาพรองรับประชาคมอาเซียน (เอซี)
      
อธิบดี กพร.กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ กพร.จะจัดทำร่างกฎกระทรวงแรงงานรองรับไว้ล่วงหน้า โดยจะกำหนดสาขาอาชีพ หรือตำแหน่งงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ หรือต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะต้องดำเนินการโดยผู้ได้รับหนังสือ รับรองความสามารถ ซึ่งเบื้องต้น กพร.ได้คาดการณ์ว่าจะมีหลายสาขาอาชีพ เช่น ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ จะหารือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ สถานประกอบการต่างๆและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันกำหนดสาขาอาชีพ จะเร่งออกกฎกระทรวงให้แล้วเสร็จก่อนเปิดเออีซีในปี พ.ศ.2558

"แรงงานช่างฝีมือทั้งคนไทยและต่างชาติในสาขาอาชีพที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ จะต้องผ่านการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและได้รับใบรับรอง ความสามารถก่อน จึงจะทำงานได้โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานด้วย จะทำให้สถานประกอบการได้แรงงานช่างฝีมือที่มีคุณภาพ" นายนคร กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-10-2556)

สำนักงบฯ ฟันธง! ปี 56 ไม่จ่ายเงินเดือนพนักงานมหา'ลัย แต่จะตั้งงบเบิกจ่ายให้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 57 เป็นต้นไป

(17 ต.ค.) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินปรับเพิ่มตามคุณวุฒิ ในปีงบประมาณ 2555-2556 ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามที่ ครม.มีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายเงินปรับเพิ่มคุณวุฒิให้กับ พนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 จำนวน 54,801 คน จากมหาวิทยาลัยรัฐ จำนวน 79 แห่ง แต่ในปีงบประมาณ 2556 สำนักงบประมาณขอให้มหาวิทยาลัยใช้งบเหลือจ่ายของมหาวิทยาลัยเบิกจ่ายเอง และจะตั้งงบให้ในงบประมาณปีงบประมาณ 2557 ทำให้มหาวิทยาลัยไม่กล้านำเงินรายได้จ่ายให้กับพนักงาน เพราะเกรงว่าจะกระทบกับโครงการอื่นๆ ว่าที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้หารือกับสำนักงบประมาณ เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า สำนักงบประมาณจะไม่สามารถตั้งงบประมาณชดเชยให้มหาวิทยาลัยที่จ่ายเงินเดือน พนักงานมหาวิทยาลัยไปแล้วในปีงบประมาณ 2556 ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ แต่จะตั้งงบเบิกจ่ายให้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 เป็นต้นไป
      
นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ได้วางแนวทางให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ 4 แนวทาง คือ 1.กรณีมหาวิทยาลัยที่ได้นำเงินรายได้จ่ายไปแล้ว จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายในโครงการอื่นๆ ได้ 2.สำหรับสถาบันอุดมศึกษา 10 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) กาญจนบุรี มรภ.เชียงราย มรภ.นครปฐม มรภ.นครศรีธรรมราช มรภ.บุรีรัมย์ มรภ.พระนคร มรภ.ยะลา มรภ.สงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี และ มทร.รัตนโกสินทร์ ได้ใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยจ่ายเงินเดือนพนักงานในปีงบประมาณ 2556 ไปแล้ว โดยได้ปรับแผนโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยและเสนอของบจัดซื้อครุภัณฑ์และสิ่งก่อ สร้างเพิ่ม ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ 3 กรณีมหาวิทยาลัยที่ไม่มีเงินเหลือจ่ายในปีงบประมาณ 2556 สามารถขอปรับแผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2557 โดยอาจจะเสนอขอเป็นงบจัดซื้อครุภัณฑ์แทน และขอรับการจัดสรรงบประมาณในส่วนที่ขาดในปีงบประมาณ 2558 ได้ และ 4.กรณีอัตราว่างของพนักงานมหาวิทยาลัย ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งสำนักงบประมาณไม่ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับปรับเพิ่มตามคุณวุฒิให้ แต่ภายหลังมหาวิทยาลัยได้บรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยแล้ว สถาบันอุดมศึกษาก็สามารถพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณปี 2557 หากไม่เพียงพอก็สามารถขอรับการจัดสรรในปีงบประมาณ 2558 ได้ตามจำนวนที่ยังขาดอยู่
      
"สกอ.ได้สำรวจข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า มีสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย ในปี 2555 แล้ว จำนวน 17 แห่ง ยังไม่ได้ดำเนินการ 62 แห่ง สำหรับปี 2556 มีสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการเบิกจ่ายเงินแล้ว จำนวน 11 แห่ง และยังไม่ได้ดำเนินการอีก 68 แห่ง ทั้งนี้ หากมหาวิทยาลัยต้องการจะปรับงบการลงทุนสำหรับปีงบประมาณ 2558 เพื่อชดเชยเงินที่สำรองจ่ายไป ตามคำแนะนำของสำนักงบประมาณจะต้องยื่นเรื่องผ่าน สกอ.ไปยังสำนักงบประมาณให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 พ.ย." นายเสริมศักดิ์ กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-10-2556)

ก.แรงงาน เตรียมตำแหน่งงานรองรับพนักงานหากซุปเปอร์ชีปเลิกจ้าง

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากเหตุเพลิงไหม้ห้างสรรพสินค้าซุปเปอร์ชีปสาขาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ไปอำนวยความสะดวกแก่นายจ้างและลูกจ้างผู้ได้รับผลกระทบ ที่กางเต้นท์เปิดกิจการขายสินค้าต่างๆ ตามปกติ  และหน่วยงานกระทรวงแรงงานได้ตั้งเต้นท์ปักหลักอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกจ้าง ด้วย โดยห้างสรรพสินค้าซุปเปอร์ชีปมีพนักงานทั้งหมด จำนวน 3,436 คน เป็นแรงงานไทยจำนวน 2,736 คน และแรงงานต่างด้าวจำนวน 700 คน ซึ่งขณะนี้นายจ้างยังไม่มีการบอกเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด และทีมหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจะพยายามเจรจากับนายจ้างไม่ให้ มีการเลิกจ้าง เพราะห้างสรรพสินค้าซุปเปอร์ชีปแห่งนี้เป็นสาขาใหญ่ ยังมีสาขาย่อยอีก 44 สาขาในจังหวัดภูเก็ต และอีก 1 สาขาที่จังหวัดพังงา อย่างไรก็ตามสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตได้เตรียมตำแหน่งงานว่างไว้รอง รับพนักงานดังกล่าว จำนวน 2,051 ตำแหน่ง หากต้องมีการเลิกจ้างบางส่วน ก็จะหางานที่อื่นให้แรงงานต่างด้าวทำชั่วคราวด้วย 

(มติชน, 18-10-2556)

อ่วม! เผยสถานประกอบการ 8 แห่ง ลูกจ้างกว่า 1,600 คน น้ำท่วม

(18 ต.ค.) นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใน 22 จังหวัด พบว่ามี 9 จังหวัด ที่สถานประกอบการ 874 แห่ง และลูกจ้าง 21,586 คน ได้รับผลกระทบ คือ สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว และชลบุรี ทั้งหยุดกิจการชั่วคราว เนื่องจากเดินทางไปทำงานยากลำบาก บ้านเรือนแรงงานถูกน้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น มีสถานประกอบการกลับเข้าสู่ภาวะปกติเเล้ว จำนวน 866 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 19,955 คน โดยนายจ้างยังคงจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ ยังคงเหลือสถานประกอบการอีก 8 แห่ง มีลูกจ้างได้รับผลกระทบ 1,631 คน แบ่งเป็น จังหวัดนครนายก 1 แห่ง ลูกจ้างกระทบ 300 คน จ.อุบลราชธานี 2 แห่ง ลูกจ้าง 51 คน จ.ชลบุรี 3 แห่ง ลูกจ้าง 719 คน จ.ฉะเชิงเทรา 1 แห่ง ลูกจ้าง 3 คน และ จ.ปราจีนบุรี 1 แห่ง ลูกจ้าง 558 คน นอกจากนี้ยังมีผลการตรวจสอบผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัย พบมีทั้งหมด 72 คน ใน 15 จังหวัด เป็นผู้ประกันตน 8 ราย และที่เหลืออีก 64 ราย ไม่ใช่ผู้ประกันตน
      
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ประกันตนที่เสียชีวิต ญาติจะได้รับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตเพื่อเป็นค่าทำศพ จำนวน 40,000 บาท จากสำนักงานประกันสังคม และทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตจากอัตราค่าจ้างเฉลี่ย 1 เดือนครึ่ง สำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ประกันตนที่ทำงานตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปและเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์ ในอัตราค่าจ้างจำนวน 5 เดือน โดยญาติสามารถนำหลักฐานไปขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนดังกล่าวได้ที่สำนักงาน ประกันสังคมใกล้บ้านภายในระยะเวลา 1 ปี

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 18-10-2556)

แรงงานขาดต้นทุนพุ่งศุภาลัยคาดปี 57 อสังหาฯโตถึง 10%

นายอธิป พีชานนท์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ศุภาลัย เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2557 ว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้น 10% ซึ่งมีปัจจัยจากการลงทุนของทางภาครัฐ รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น แต่จะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และผู้รับเหมา จะเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากแรงงานบางส่วนถูกดึงไปในโครงการของทางภาครัฐ และราคาวัสดุเตรียมปรับราคาขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นตาม คาดว่าโครงการคอนโดมิเนียมจะมีต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 10% สำหรับแนวราบคาดว่าจะปรับขึ้นประมาณ 4-6%

สำหรับช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ บริษัทเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 6-7 โครงการ เป็นแนวสูง 3 โครงการ แนวราบ 3-4 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 8,000-9,000 ล้านบาท ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่เพิ่มอีก 2 โครงการ ใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง คือ "ศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท ระยอง" มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท และจังหวัดชลบุรี คือ "ศุภาลัย วิสต้า ศรีราชา-แยกท่าเรือแหลมฉบัง" มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท นายอธิปยอดขายโครงการปีนี้จะอยู่ที่ 26,000 ล้านบาท หลังยอดขายโครงการรวม 9 เดือนที่ผ่านมาทำได้ราว 14,000 ล้านบาท

นายอธิปกล่าวว่า ด้านแผนการลงทุนในปี 2557 บริษัทเตรียมพัฒนาโครงการในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเพิ่มสัดส่วนจาก 22% เป็น 25% และตั้งเป้าขยับสัดส่วนเป็น 25% ในปี 2558 โดยเน้นการลงทุนในจังหวัดหัวเมืองใหญ่ โดยเปิดตัวโครงการในต่างจังหวัดไม่ต่ำกว่า 12-13 โครงการ จากแผนที่จะเปิดโครงการทั้งหมด 24 โครงการ

นอกจากนี้เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในต่างจังหวัด บริษัทได้วางแผนปรับโครงสร้างองค์กร โดยการกระจายการบริหารงาน จากเดิมต้องรายงานตรงกับส่วนกลาง เพื่อทำให้การบริหารงานกระชับ รวดเร็วทันกับสถานการณ์ตลาด และเพื่อติดตามภาวะตลาดได้อย่างใกล้ชิดทั้งในด้านการขายและการตลาด.

(ไทยโพสต์, 20-10-2556)

แรงงานพม่าในไทย 80% เสียสิทธิแรงงาน

นักเคลื่อนไหวเครือข่ายสิทธิแรงงานอพยพ "นายเส่ง เท" กล่าวในงานสัมมนาที่นครย่างกุ้งว่า ประมาณ 80% ของแรงงานพม่าที่อยู่ในไทยโดยมีเอกสารบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยูยังคงสูญ เสียสิทธิประโยชน์ด้านแรงงาน

นายเส่งระบุว่า แม้ว่าจะมีสนธิสัญญาระหว่างพม่ากับไทย แต่บรรดาแรงงานพม่าไม่ได้ประโยชน์จากสิทธิเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ สภาพสถานที่ทำงาน หรือแม้แต่ประเภทของงาน ที่รวมอยู่ในข้อตกลงดังกล่าว

เขากล่าวอีกว่า แรงงานพม่าเหล่านี้ไปทำงานที่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการและถูกต้องตามกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่พบว่าค่าจ้างและตำแหน่งงานของตนไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อตกลง บางรายถูกส่งทำงานที่ไทยโดยบริษัทจัดหางาน แต่กลับไม่ได้ทำงานตามที่ตกลงไว้ในตอนแรก และข้อเสียเปรียบอีกอย่างหนึ่งก็คือสัญญาที่ทำกับนายจ้างไม่อนุญาตให้พวกเขา เปลี่ยนงานได้

นายเส่งเปิดเผยว่า บรรดาบริษัทจัดหางานจากพม่ามักไม่ทำสัญญากับนายจ้างในประเทศไทย และบริษัทเหล่านี้จะส่งแรงงานผ่านนายหน้าจากไทย และหากแรงงานเผชิญกับปัญหาก็จะไม่สามารถแก้ไขได้

นอกจากนี้ เขายังเสริมว่า หลายฝ่ายต่างรู้ดีว่ามีหลายครั้งที่บริษัทจัดหางานบางแห่งที่เซ็นสัญญาว่าจะ ช่วยเหลือแรงงานที่แจ้งปัญหาเข้ามา แต่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรเลย ขณะที่บริษัทบางแห่งไม่สนใจแม้กระทั่งเรื่องใบอนุญาตของตนถูกเพิกถอน ตราบใดที่ยังสามารถทำเงินได้และลอยนวลจากเรื่องนี้ด้วยกลโกงได้

(ประชาติธุรกิจ, 20-10-2556)

อธิบดีแรงงานเผยหลังญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่ามีคนไทยไปญี่ปุ่นแล้วไม่กลับมา 6 พันคน

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า ตั้งแต่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าให้นักท่องเที่ยวไทยเข้าญี่ปุ่น

ตัวเลขที่อนุญาตในช่วง 15 วันสำหรับท่องเที่ยว มีคนไม่กลับมาประมาณ 6 พันคน เราก็ตั้งประเด็นว่าน่าจะหลบเข้าไปทำงาน เพราะสำหรับนักท่องเที่ยวแล้วไม่น่าเป็นไปได้

นายประวิทย์ กล่าวว่า ปกติญี่่ปุ่นอนุญาตให้คนไทยไปทำงานในลักษณะแรงงานมีฝีมือ เช่น วิศวกร เขาอนุญาตแต่ต้องขออนุญาตให้ถูกกฎหมาย ส่วนที่เข้าไปใช้แรงงานปีหนึ่งเราส่งได้ประมาณ 300 คน หรือส่งโดยองค์กรของญี่ปุ่นเอง ก็ไปได้ 500 กว่าคนต่อไป เพราะฉะนั้นนอกเหนือจากนี้ก็คือผิดกฎหมาย ซึ่งต้องมีคนนำพา ซึ่งท่านร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงานมีนโยบายในเรื่องนี้ เกี่ยวกับการค้ามนุษย์  มีโทษจำคุก 2 ปีถึง 10 ปี หรือปรับ 6 หมื่นถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนที่มีข่าวว่าญี่ปุ่นจะยกเลิกการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวนั้น ยังไม่ได้ข่าว ส่วนที่มีคนไทยเข้าไปแล้วไม่กลับมาก็ต้องหารือกับสถานทูตญี่่ปุ่นประจำ ประเทศไทยต่อไป เพราะเรากังวลว่าเมื่อเขาหลบเข้าไปแล้วไม่ได้รับการคุ้มครอง ก็จะเกิดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบเข้าสู่การค้ามนุษย์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส.ว.สรรหาอัดหนังสือที่ระลึก 40 ปี 14 ตุลา จาบจ้วง-สร้างความแตกแยก

Posted: 21 Oct 2013 01:11 AM PDT

วุฒิสภาอภิปรายผลการดำเนินงานรัฐบาลครบ 1 ปี 'พล.อ.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์' อัดหนังสือที่ระลึก 40 ปี 14 ตุลา ว่าสร้างความแยกในสังคมและจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ โดยจะรอดูผลงานรัฐบาลจัดงานฉลอง 5 ธันวาว่าสมเกียรติหรือไม่ ด้านจาตุรนต์ ฉายแสงแนะ ส.ว.สรรหา กลับไปอ่านหนังสือให้ละเอียด ชี้หนังสือวิชาการต้องประเมินอย่างหนังสือวิชาการ

ปกหนังสือที่ระลึก 40 ปี 14 ตุลา "ย้ำยุค รุกสมัย: เฉลิมฉลอง 40 ปี 14 ตุลา" ซึ่งถูกกล่าวหาจาก "คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา" ว่ามีเนื้อหาจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์

 

21 ต.ค. 2556 - เวลา 10.00 น. วันนี้ วิทยุรัฐสภาถ่ายทอดสดการประชุมวุฒิสภา วาระสำคัญ คือ การแถลงผลการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม 2554 - 23 สิงหาคม 2555 หรือผลการดำเนินงานของรัฐบาลครบรอบ 1 ปี ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยมีวุฒิสมาชิกแจ้งว่าจะอภิปรายจำนวน 65 คน จะอภิปรายจนถึงเวลา 22.00 น.

โดยเมื่อเวลา 13.00 น. เศษ  พล.อ.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา ได้อภิปรายถึงกรณีที่ที่ในงานฉลองครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่คณะกรรมการจัดงาน "คณะกรรมการ 14 ตุลา เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์" ได้พิมพ์หนังสือที่ระลึก 40 ปี 14 ตุลา "ย้ำยุค รุกสมัย" และมีหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ 5 หน่วยงาน รวมทั้งกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกดังกล่าว นอกจากนี้ในหนังสือยังมีการกล่าวขอบคุณบุคคลในรัฐบาล เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน พล.ต.ท.ชัช กุลดิลก อดีต รมว.มหาดไทย นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่า รฟท. เป็นต้น

โดย พล.อ.เลิศฤทธิ์ ได้อภิปรายตอนหนึ่งกล่าวหาว่าหนังสือ "ล้ำยุค รุกสมัย" เล่มดังกล่าวมีเนื้อหาจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ และสร้างความแตกแยกให้คนในสังคม และยังมีแกนนำ นปช. อย่างนายจรัล ดิษฐาอภิชัย เป็นประธานการจัดงานด้วย ซึ่งสร้างความกระทบกระเทือนจิตใจให้กับประชาชนที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

พล.อ.เลิศฤทธิ์  อภิปรายว่า ในวันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา "คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา" ได้เชิญหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ 5 หน่วยงาน รวมทั้งกรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โดยหน่วยงานเหล่านั้นกล่าวว่าเสียใจที่มีการจัดพิมพ์หนังสือเช่นนี้

พล.อ.เลิศฤทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า เกรงว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่สามารถจัดงานฉลอง 5 ธันวาคม ได้อย่างสมเกียรติด้วย

ต่อมา จาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้อภิปรายว่า หนังสือที่ระลึก 40 ปี 14 ตุลาดังกล่าวไม่มีข้อความลักษณะดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ถ้าใครเห็นว่าผิดกฎหมายก็สามารถดำเนินคดีได้ แต่ที่มีผู้อภิปรายบางท่านยกข้อความบางถ้อยคำจากหนังสือแล้วนำมากล่าวแบบหักมุม หาว่าเป็นการเขียนที่ไม่สนับสนุนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น เป็นการกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ขอให้ท่านกลับไปอ่านให้ละเอียด ส่วนการที่หนังสือเล่มดังกล่าวมีการกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีนั้นก็เป็นเรื่องปกติของการจัดงาน ที่ผู้จัดงานก็มักจะกล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนสนับสนุนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม 

ด้าน พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทุกบรรทัด แต่ รมว.ศึกษาธิการ อ่านเพียงคร่าวๆ ดังนั้น จึงขออภิปรายว่า ในเรื่องประชาธิปไตยนั้น สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านไม่ได้คิดถึงใครเลยนอกจากประชาชน แต่หนังสือเล่มนี้มีความพยายามแสดงให้เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และไม่ปรากฏเป็นข้อดีเลย ทั้งๆ ที่เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นการกล่าวอ้างถึงวีรกรรมของวีรชน 14 ตุลาก็พอ แต่กลับใช้เรื่อง 14 ตุลา เป็นเพียงชื่อเรื่อง แต่ในเนื้อหากลับวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่ต่างๆ ที่อ่านมาแล้วไม่ใช่แง่ที่ดีเลย ขอแนะนำให้ รมว.ศึกษาธิการ อ่านให้ละเอียด และควรเอาเทปที่เขาเล่นละครที่ธรรมศาสตร์มาดูด้วย

ต่อมา พล.อ.เลิศฤทธิ์ ขออภิปรายเพิ่ม โดยระบุว่า ถ้าจะฉลองเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็ฉลองในส่วนของเขาไป แต่อย่ามาเกินเลยจนถึงขั้นจะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่คนไทยเคารพสักการะ

และนายจาตุรนต์ ได้อภิปรายเพิ่มเติมว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือทางวิชาการ ถ้าจะเป็นประเมินขอให้ประเมินอย่างเป็นวิชาการ และหากมีข้อห่วงใย ตัวเขายินดีรับไปดูว่าจะแก้ไขอย่างไร

สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา มี พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ทัศนา บุญทอง เป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ทิพย์วัลย์ สมุทรักษ์

ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นายสมชาย แสวงการ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ คนที่สอง นายตวง อันฑะไชย โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นายปรเทพ สุจริตกุล โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

นายคำนูณ สิทธิสมาน เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นพ.สมบูรณ์ ทศบวร รองเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีกรรมการวิสามัญอีก 19 คน โดยสามารถดูรายชื่อคณะกรรมการธิการวิสามัญฯ ที่นี่

ทั้งนี้ หนังสือ "ย้ำยุค รุกสมัย: เฉลิมฉลอง 40 ปี 14 ตุลา" จัดพิมพ์โดยมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย และคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ เป็นหนังสือความยาว 274 หน้า รวมบทสัมภาษณ์นักวิชาการและอดีตญาติผู้สูญเสียสมาชิกครอบครัวในเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งต่างๆ เช่น ธงชัย วินิจจะกูล, ประจักษ์ ก้องกีรติ, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, เกษียร เตชะพีระ, ละเมียด บุญมาก, พะเยาว์ อัคฮาด, อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ฯลฯ ซึ่งนำมาแจกฟรีให้กับประชาชนที่ร่วมงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลา ในวันที่ 6 และ 13 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีบุคคลและหน่วยงานเอกชนจำนวนมากสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือและลงโฆษณา นอกจากนี้ยังมีโฆษณาและคำกล่าวขอบคุณหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 หน่วยงานที่ กมธ.วุฒิสภา เรียกไปให้ข้อมูลดังกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พะเยาว์ อัคฮาด

Posted: 21 Oct 2013 01:02 AM PDT

สภาต้องยืนยันหลักการให้นิรโทษกรรมให้เฉพาะประชาชน มิเช่นนั้นแล้วผู้สูญเสียก็ทำได้เพียงจัดงานรำลึกความสูญเสียแบบเหตุการณ์เดือนตุลา แล้วเราจะต้องรำลึกกันแบบนี้ไปอีกกี่เหตุการณ์

21 ต.ค.56, แม่พยาบาลเกดที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตในเหตุสลายการชุมนุม 19 พ.ค.53

เผยสีไทย 79% ตะกั่วสูง - ฉลาก “ไร้สารตะกั่ว” หลายยี่ห้อเชื่อไม่ได้

Posted: 21 Oct 2013 12:26 AM PDT

ผลวิจัยชี้ สีทาบ้าน 79% มีสารตะกั่วสูงเกิน มอก. และ 40% สูงเกิน มอก. กว่า 100 เท่า - เผยฉลาก "ไร้สารตะกั่ว" หลายยี่ห้อไม่ตรงข้อเท็จจริง วอนผู้ประกอบการใส่ใจ-รัฐเร่งหามาตรการกำกับ เตือนประชาชนหาข้อมูลเชิงลึกก่อนเลือกซื้อ อย่าดูแค่ฉลาก

21 ต.ค. 2556:  วลัยพร มุขสุวรรณ รองผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ และนักวิจัย ได้แถลงผลการทดสอบสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคาร หลังทำการสุ่มตัวอย่างสีน้ำมันทาอาคารที่วางจำหน่ายในท้องตลาดของประเทศไทย จำนวน 120 ตัวอย่าง 68 ยี่ห้อ มาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว

ผลจากการทดสอบพบว่า ร้อยละ 79 ของตัวอย่างทั้งหมด มีปริมาณสารตะกั่วสูงเกินกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ฉบับล่าสุด ซึ่งกำหนดให้สีมีสารตะกั่วได้ไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน หรือพีพีเอ็ม (ppm)  และร้อยละ 40 มีปริมาณสารตะกั่วสูงเกิน มอก. กว่า 100 เท่า หรือมีปริมาณสารตะกั่วมากกว่า 10,000 พีพีเอ็ม  ทั้งนี้ ปริมาณสารตะกั่วสูงสุดที่พบคือ 95,000 พีพีเอ็ม ขณะที่ปริมาณสารตะกั่วต่ำสุดที่พบคือ น้อยกว่า 9 พีพีเอ็ม

"ผลจากตรวจวิเคราะห์พบว่า 8 ใน 29 ตัวอย่างของสีที่ติดฉลากว่า "ไม่ผสมสารตะกั่ว" มีปริมาณตะกั่วสูงเกิน 10,000 พีพีเอ็ม และจากตัวอย่างที่เรานำมาศึกษา ก็พบว่ามีเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ผลิตสี  (15 บริษัท จากทั้งหมด 42 บริษัท) ที่ผลิตตาม มอก. ฉบับปรับปรุงใหม่" วลัยพรกล่าว

โดยในปัจจุบันมาตรฐานปริมาณสารตะกั่วในสีทาอาคารของ มอก. ยังคงเป็นแบบ "สมัครใจ" กล่าวคือ ไม่มีผลบังคับและโทษทางกฎหมาย  ซึ่งเมื่อ พ.ศ. 2553 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ปรับมาตรฐานสมัครใจเรื่องปริมาณสารตะกั่วในสีน้ำมันให้เข้มงวดขึ้น โดยจากเดิมกำหนดไว้ที่ 600 พีพีเอ็ม ลดลงเหลือ 100 พีพีเอ็ม (มอก. 327-2553 สีเคลือบเงา และมอก. 1406-2553 สีเคลือบด้าน)

"อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตอนนี้ มอก. ดังกล่าวยังคงเป็นมาตรฐานทั่วไป ที่ขึ้นกับความสมัครใจของผู้ประกอบการ ดังนั้น หากไม่ได้ติดสัญลักษณ์ มอก. การผลิตสีน้ำมันที่มีตะกั่วเกินกว่าค่าตาม มอก. จึงยังไม่ถือว่าได้ทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด" วลัยพรกล่าวเพิ่มเติม

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ให้ข้อมูลและความเห็นเพิ่มเติมว่า "ตราบใดที่เรายังไม่มีมาตรฐานแบบบังคับ และข้อกำหนดเรื่องฉลาก ผู้บริโภคก็ไม่อาจทราบได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ใดปลอดภัย ที่น่าเป็นห่วงมากคือเด็กเล็ก เพราะร่างกายดูดซึมสารตะกั่วได้มากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า และเป็นช่วงที่สมองและประสาทมีความอ่อนไหว ซึ่งหากได้รับตะกั่วเข้าไปมากในช่วงวัยนี้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ และการทำงานของสมองไปตลอดชีวิต แต่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สารตะกั่วก็เป็นอันตรายทั้งสิ้น องค์กรอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า ไม่มีระดับสารตะกั่วในร่างกายที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยความตะหนักและใส่ใจของผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมาก็เริ่มมีบางบริษัทที่เข้าใจเรื่องนี้และพยายามปรับปรุงการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี"

ในส่วนของภาครัฐ ความคืบหน้าล่าสุดคือ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับรองข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ให้เปลี่ยนมาตรฐานเรื่องปริมาณสารตะกั่วในสีน้ำมันทาอาคารจากแบบสมัครใจเป็นมาตรฐานบังคับ และรับรองข้อเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กำหนดมาตรการบังคับทางฉลาก ให้ระบุข้อความเตือนถึงอันตรายของสารตะกั่วในสีทาอาคาร ภายในสิ้นปี 2556

แต่นอกจากมาตรการกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้นแล้ว ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs  เพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้ผลิตทุกรายจะมีโอกาสแข่งขันทางการค้าเท่าเทียมกันในตลาดสีที่ปลอดสารตะกั่ว" เพ็ญโฉมกล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ "โรคปัญญาอ่อนจากสารตะกั่ว" เป็น 1 ใน 10 โรคร้ายแรงที่สุดอันมีปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเหตุให้เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญาปีละกว่า 600,000 คน โดยเด็กส่วนใหญ่อาศัยในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังระบุด้วยว่า ฝุ่นสีที่ปนเปื้อนสารตะกั่วเป็นแหล่งรับสัมผัสสารตะกั่วหลักสำหรับเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กวัยทารกถึง 6 ปี ร่างกายของเด็กจะดูดซึมสารตะกั่วสูงถึงร้อยละ 50 ที่รับประทานเข้าไปทั้งหมด  การได้รับสารตะกั่วในวัยเยาว์จะขัดขวางพัฒนาการของสมองและก่อให้เกิดผลเสียถาวร ไม่อาจรักษาได้ อีกทั้งเด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมอมมือและหยิบของเข้าปาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามปกติ แต่ก็ทำให้เด็กมีโอกาสจะรับประทานฝุ่นโดยไม่ตั้งใจเฉลี่ยวันละ 100 มิลลิกรัมต่อวัน

การสุ่มทดสอบสารตะกั่วในสีทาบ้านที่มูลนิธิบูรณะนิเวศนำมาเผยแพร่ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือเพื่อเพิกถอนสารตะกั่วจากสีในเอเชีย ดำเนินการโดยองค์กรพัฒนาเอกชนใน 7 ประเทศเอเชีย (ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เนปาล บังคลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย) ร่วมกับเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารมลพิษตกค้างยาวนาน (International POPs Elimination Network หรือ IPEN) ด้วยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสื้อแดงมิใช่พลังประชาธิปไตย แต่เป็นเพียงเครื่องมือของทุนสามานย์

Posted: 21 Oct 2013 12:03 AM PDT

ด้วยเหตุที่การปาฐกถางานรำลึก 14 ตุลาคม 2556 มีการช่วงชิงการเป็นเจ้าของงานระหว่างกลุ่มเดิมที่เคยจัดงานมาตลอดช่วง 30 ปี กับกลุ่มใหม่อันเป็นนักวิชาการเสื้อแดง ทั้งสองกลุ่มเชิญ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นองค์ปาฐก ด้วยความที่ประสงค์จะประนีประนอม เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จึงตอบรับทั้งสองงาน โดยในวันที่ 13 ตุลาคมไปปาฐกถาให้กับกลุ่มเสื้อแดงก่อน ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคมจึงไปปาฐกถาอีกครั้งให้แก่กลุ่มเดิมที่เคยจัดงานมาตลอด
      
ด้วยความที่องค์ประกอบของผู้ฟังต่างกัน โดยวันแรกเต็มไปด้วยผู้ฟังที่เป็นมวลชนเสื้อแดง เนื้อหาการปาฐกถาของเสกสรรค์ จึงมีแนวโน้มและนัยยกย่องขบวนการเสื้อแดงจนถึงขนาดระบุว่าให้เป็นผู้สืบสานเจตนารมณ์ของ 14 ตุลาคม อันได้แก่ การเป็นผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย สร้างเสรีภาพ เสมอภาค และความเป็นธรรม ในขณะเดียวกันก็ผลักดันให้กลุ่มที่ไม่ใช่เสื้อแดงกลายเป็นผู้สมาทานอำนาจนิยมไป ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เนื้อหาการปาฐกถาของเสกสรรค์จึงเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดทางทฤษฎี ขาดความสมเหตุสมผลในเชิงตรรกะ เกิดความขัดแย้งกันเองในการวิเคราะห์ และขาดหรือละเลยหลักฐานเชิงประจักษ์บางประการอย่างจงใจ
      
ส่วนในวันที่สองซึ่งผู้ฟังมิใช่กลุ่มเสื้อแดง เสกสรรค์ได้ลดโทนในการยกย่องขบวนการเสื้อแดงลงไป และหันไปเน้นเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคมแทน โดยมองว่าความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นสาเหตุใหญ่ที่ ทำให้เกิดความแตกแยกและขัดแย้งในสังคม และพยายามที่จะชี้ชวนให้เข้าใจว่าการทุจริตคอรัปชั่นมีพลังเชิงสาเหตุน้อยมากในการสร้างความขัดแย้งทางสังคม การสรุปเช่นนี้ของเสกสรรค์จึงเป็นการสร้างความผิดพลาดซ้ำสอง เพราะแม้ว่าความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะมีส่วนสร้างความขัดแย้งทางสังคมจริง แต่ความเหลื่อมล้ำโดยตัวของมันเองเป็นเพียง "เงื่อนไขที่จำเป็นเชิงโครงสร้าง" ของความขัดแย้ง มิได้เป็นเงื่อนไขเพียงพอต่อการสร้างความขัดแย้ง
      
ตรงกันข้ามเงื่อนไขที่เพียงพออันจะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมต้องประกอบด้วยทั้งสามปัจจัยหลักที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดอันได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความเข้มข้นของการทุจริตคอรัปชั่น และการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม ลำพังความเหลื่อมล้ำเพียงอย่างเดียวไม่มีพลังอย่างเพียงพอในการสร้างความขัดแย้งทางสังคม โดยเฉพาะหากชนชั้นปกครองสามารถสร้างวาทกรรมที่ทำให้ผู้คนในสังคมเกิดมายาคติยอมรับการเหลื่อมล้ำว่าเป็นเรื่องธรรมดา ก็อาจทำให้ผู้ที่เสียเปรียบในสังคมเกิดจิตสำนึกที่ผิดพลาดยอมรับสภาพที่เป็นอยู่โดยไม่ลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงใดๆ
      
การปาฐกถาวันแรก เสกสรรค์ยกย่องเชิดชูขบวนการเสื้อแดง เขาวิเคราะห์การเมืองด้วยแนวคิดชนชั้น โดยได้สร้างชนชั้นประเภทใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า "ชนชั้นกลางใหม่" เสกสรรค์อธิบายว่าชนชั้นกลางใหม่กับนายทุนใหม่เป็น "พันธมิตรทางชนชั้นอันเหลือเชื่อ" และเป็นกลุ่มที่จะสืบสานเจตนารมณ์พิทักษ์ประชาธิปไตย และการเคลื่อนไหวของชนชั้นกลางใหม่ต่างจังหวัดกดดันให้พรรคการเมืองเดินแนวทางมวลชนมากขึ้น
      
ชนชั้นกลางใหม่ที่เสกสรรค์นิยามคือใคร เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในการปาฐกถาทั้งสองครั้งของเขา ซึ่งระบุว่า ชนชั้นกลางใหม่เป็นกลุ่มชาวไร่ชาวนาส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อพยพเข้าเมืองซึ่งได้แปรสภาพเป็นผู้ประกอบการรายย่อยผลิตเพื่อขายและเป็นผู้เล่นในระบบตลาดทุนนิยม เมื่อตีความจากคำเหล่านี้ ชนชั้นกลางใหม่ในชนบทของเสกสรรค์คงหมายถึงผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรนั่นแหละ ซึ่งก็เป็นชาวไร่ชาวนาเหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนคำเรียกเพื่อให้ดูดีขึ้น เพราะว่าคำศัพท์ที่ใช้เรียกชาวไร่ชาวนาแต่เดิมของพวกที่ใช้ทฤษฎีชนชั้นคือ "ชนชั้นล่าง"
      
นัยของชนชั้นกลางใหม่ นอกจากหมายถึง "ชนชั้นล่าง" แล้วยังหมายถึง "ขบวนการเสื้อแดง" อีกด้วย โดยวลี "ชนชั้นกลางใหม่" มาจากนักวิชาการเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งซึ่งผลิตวาทกรรมนี้ขึ้นมาเพื่อทดแทนวลี "ชนชั้นล่าง" ที่สังคมใช้เมื่อพูดถึงกลุ่มคนเสื้อแดง นักวิชาการเสื้อแดงมักมีความกระอักกระอ่วนใจเสมอเมื่อผู้คนในสังคมมองว่ามวลชนที่พวกเขาสนับสนุนและเชิดชูเป็น "ชนชั้นล่าง" เพราะชนชั้นล่างในทางทฤษฎีประชาธิปไตยไม่ใช่กลุ่มหลักที่ขับเคลื่อนประชาธิปไตย
      
โดยทั่วไปทฤษฎีชนชั้นแบบดั้งเดิมจำแนกชนชั้นล่างออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกรรมกร และกลุ่มชาวนา นักทฤษฎีชนชั้นเชื่อว่าสองกลุ่มนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม กลุ่มกรรมกรได้รับเกียรติให้เป็นกองหน้าในการเปลี่ยนแปลงสังคมจาก "สังคมทุนนิยม"ไปสู่ "สังคมนิยม" จากนักทฤษฎีมาร์กซิสดั้งเดิม ส่วนกลุ่มชาวนาได้รับเกียรติให้เป็นพลังหลักในการเปลี่ยนแปลงสังคมจากนักทฤษฎีของ "ลัทธิเหมาอิส" รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยซึ่งรับอิทธิพลทางความคิดจากประเทศจีนด้วย
      
แต่แน่นอนว่าทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากนักทฤษฎีประชาธิปไตยว่า เป็นกลุ่มที่เป็นพลังในการสร้างประชาธิปไตย กลุ่มทางสังคมที่นักทฤษฎีประชาธิปไตยทั้งหลายมองว่าเป็นพลังหลักต่อการขับเคลื่อนประชาธิปไตยคือ "ชนชั้นกลาง"
      
ในช่วงแรกพวกนักวิชาการเสื้อแดงมีปัญหามากเพราะยังคิดไม่ตกว่า จะสร้างวาทกรรมในรูปแบบไหนดีที่จะช่วงชิงการเป็นกลุ่มที่พิทักษ์ประชาธิปไตย เพราะหากอ้างว่า ชนชั้นล่างเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยก็จะไม่สมเหตุสมผลทางทฤษฎี ครั้นจะบอกว่าเป็นชนชั้นกลางก็พูดได้ไม่เต็มปากเต็มคำเพราะว่าเนื้อแท้ของขบวนการเสื้อแดงมิใช่ชนชั้นกลาง ยิ่งกว่านั้นชนชั้นกลางในสังคมไทยดูเหมือนจะเป็นพลังหลักในการผู้โค่นล้มอำนาจทางการเมืองกลุ่มทุนสามานย์ซึ่งบรรดานักวิชาการเสื้อแดงยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย
      
เมื่อมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งผลิตวาทกรรม "ชนชั้นกลางใหม่" ขึ้นมา จึงทำให้ขบวนการเสื้อแดงได้วลีที่ดูเหมือนจะสอดคล้องกับทฤษฎีประชาธิปไตย เรียกได้ว่าเป็นผลิตวลีและวาทกรรมขึ้นมาเพื่อหาที่ยืนทางทฤษฎีโดยมิได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงทางสังคมแต่อย่างใด และเมื่อเสกสรรค์หยิบคำนี้มาใช้เพื่อเอาใจคนเสื้อแดง ก็ทำให้เขาตกอยู่ในกับดักของความผิดพลาดทางทฤษฎีนี้ไปด้วย นอกจากนี้นักวิชาการเสื้อแดงยังได้ผลิตคำว่า "ชนชั้นกลางเก่า" ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มที่ไม่ใช่เสื้อแดงและไม่เอาระบอบทักษิณ
      
เสกสรรค์มองว่าชนชั้นใหม่เป็นพันธมิตรทางชนชั้นอันเหลือเชื่อกับกลุ่มทุนใหม่ ซึ่งที่จริงแล้วไม่ได้เป็นพันธมิตรที่เหลือเชื่อแต่อย่างใด เพราะว่า ชนชั้นกลางใหม่หรือ ที่จริงแล้วคือชนชั้นล่างเดิมนั่นและ พร้อมที่จะแสวงหาผู้อุปถัมภ์ทางการเมืองที่สามารถให้ประโยชน์มากที่สุดและเป็นรูปธรรมต่อตนเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อกลุ่มทุนใหม่เสนอนโยบายประชานิยมอันเป็นการหยิบยื่นผลประโยชน์ให้อย่างเห็นๆ ชนชั้นล่างเหล่านั้นก็รับข้อเสนอนั้นทันที
      
กลุ่มทุนใหม่หรือกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมคือกลุ่มทุนตระกูลชินวัตรกับพรรคพวกได้ใช้การแจกเงินและหยิบยื่นผลประโยชน์เฉพาะหน้าแก่ชนชั้นล่างอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ชนชั้นล่างละเลยไม่สนใจประเด็นการทุจริตและการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของกลุ่มทุนเหล่านี้ มิหนำซ้ำยังสนับสนุนอย่างไม่ลืมหูลืมตา และเมื่อกลุ่มทุนถูกโค่นอำนาจลงไป กลุ่มชนชั้นล่างก็เกิดความเสียดายและรู้สึกสูญเสียผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของตนเองไป
      
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการเสื้อแดงกับนายทุนที่พวกเขาชื่นชมนั้น ผมเห็นว่ามิใช่เป็นความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็น "พันธมิตรทางชนชั้น" หากแต่เป็นความสัมพันธ์ในเชิง "อุปถัมภ์แบบใหม่" มากกว่า เพราะหากสัมพันธ์กันในเชิงพันธมิตรจริงจะต้องเป็นความสัมพันธ์อย่างเท่าเทียมกัน แต่ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เสกสรรค์มองข้ามคือ แท้จริงแล้วความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงกับกลุ่มทุนใหม่ เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียม ในลักษณะเจ้านายกับลูกน้อง หรือ นายกับขี้ข้า มากกว่า
      
ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 เสกสรรค์ ประเสริฐกุลมองว่า "คนชั้นกลางที่เริ่มมีการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจ ไม่ต้องการเป็นสัตว์เลี้ยงในคอกของผู้ปกครองอีกต่อไป หากอยากมีสิทธิเลือกรัฐบาลที่ตัวเองพอใจ และมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของบ้านเมือง" แต่ทว่าในปัจจุบัน ชนชั้นกลางใหม่ (ในนิยามของเสกสรรค์) กลับกระทำตนเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนเชื่องของชนชั้นนายทุนใหม่ พวกเขาหลงลืมจิตสำนึกทางชนชั้นของตนเอง โดยยอมลดตนเป็นบันใดให้นายทุนปีนป่ายขึ้นสู่อำนาจ สนับสนุนการรักษาอำนาจของกลุ่มทุน และใช้ซากศพของเพื่อนร่วมชนชั้นแสวงหาประโยชน์อย่างขาดความละอาย
      
ขบวนการเสื้อแดงและกลุ่มทุนใหม่จึงไม่ใช่พลังของฝ่ายประชาธิปไตย หากแต่เป็นพลังปฏิกิริยาซ่อนเร้นแอบแฝงที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยอย่างถึงรากถึงโค่น ขบวนการเสื้อแดงเป็นเพียงเครื่องมือและเครื่องจักรทางการเมืองที่กลุ่มทุนสามานย์ใช้เพื่อครองอำนาจทางการเมืองไทยเท่านั้น แต่ที่น่าเศร้าใจคือยังมีผู้คนจำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าขบวนการนี้เป็นประชาธิปไตย รวมทั้งเสกสรรค์ ประเสริฐกุลด้วย

 

 

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน http://www.manager.co.th/AstvWeekend

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก. ดึงแรงงานหญิงและแรงงานข้ามชาติร่วมผลักดันกฎหมายแรงงาน

Posted: 20 Oct 2013 11:42 PM PDT

แรงงานหญิงและแรงงานหญิงข้ามชาติ ร่วมสะท้อนทัศนะต่อ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชี้สิทธิประกันสังคมยังมีช่องโหว่ หญิงท้องถูกเลือกปฏิบัติ แรงงานข้ามชาติจ่ายสมทบเท่ากันแต่ได้สิทธิไม่เท่าเทียม

21 ต.ค. คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) จัดเวทีขับเคลื่อนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ ที่โรงแรมเคป ราชา อ. ศรีราชา จ. ชลบุรีเมื่อวันที่ 19-20 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันกฎหมายโดยเปิดรับความคิดเห็นจากแรงงานหญิงทั้งในและนอกระบบ รวมถึงแรงงานข้ามชาติด้วย

นายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า คปก. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ ไม่ใช่แค่หญิงหรือชายแต่มีรายละเอียดที่มากกว่านั้น ในสังคมไทยและพม่ามีการกดขี่เอารัดเอาเปรียบ ะหว่างคนที่มีอำนาจและไม่มีอำนาจ ระหว่างคนที่มั่งมีและยากไร้ นั่นคือการกดขี่ทางชนชั้น ผู้ที่เป็นเพศอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ชายก็จะถูกกดขี่ในวงการของผู้ใช้แรงงาน แรงงานหญิงถูกเอาเปรียบในฐานะแรงงานแล้วยังถูกเอาเปรียบในฐานะผู้หญิงด้วย งานหนัก งานใช้ฝีมือ งานค่าจ้างน้อยจึงให้ผู้หญิงทำ เพราะไม่มีปากไม่มีเสียง ผู้หญิงจึงตกเป็นเบี้ยล่างถูกเอารัดเอาเปรียบเสมอมา

"ถ้าจะปฏิรูปกฎหมายกันจริงๆแล้ว จะต้องไม่ละเลยความเสมอภาคระหว่างเพศ เราต้องดูว่ากฏหมายที่มีอยู่มันมีลักษณะเอารัดเอาเปรียบหรือไม่เสมอภาคหรือไม่ ถ้าพบ เราก็ต้องแก้ไข เราต้องรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม"

นายสมชายกล่าวเสริมว่า การรวมพลังไม่ได้จำกัดอยู่ที่การใช้แรงงานพี่น้องแรงงานไทย แต่ต้องร่วมมือกับแรงงานข้ามชาติด้วย พี่น้องแรงงานทั่วโลกเป็นพี่น้องกัน ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้เสียแล้ว โอกาสที่เราจะลืมตาอ้าปากได้ ก็จะไม่มี

ด้าน ผศ. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กล่าวถึงปัญหาโดยรวมของแรงงานหญิงว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแรงงานสตรีมีหลายประเด็น เช่น ปัญหาแรงงานหญิงตั้งครรภ์แล้วถูกบีบให้ออกจากงานหรือเข้าไม่ถึงสิทธิประกันสังคม ปัญหาความเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าแพทย์ไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นผลมาจากการทำงาน ทำให้แรงงานเข้าไม่ถึงสิทธิประกันสังคม

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการะเมิดสิทธิทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นจากสายตา วาจา หรือการกระทำ ส่วใหญ่แรงงานหญิงจะไม่ได้ออกมาเรียกร้องเอาผิดอะไร เนื่องจากเป็นประเด็นที่น่าอับอาย ต่อด้วยปัญหาการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การได้รับค่าจ้างไม่เท่าเทียมกับชายหรือการถูกเลิกจ้างหากลาคลอดเกินกำหนด ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะเจ้าหน้าที่หรือนายจ้างส่วนใหญ่รู้ข้อกฎหมายแต่ไม่ปฏิบัติตาม

ผศ. นงเยาว์ ยังกล่าวถึงการเข้าถึงสิทธิของแรงงานว่า มีหลายอย่างที่แรงงานเองยังไม่รู้ เช่น การออกมาใช้สิทธิตามกฎหมายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2541 ที่ว่าหากนายจ้างใช้สิทธิปิดงาน หรือลูกจ้างขาดงานเกิน 6 เดือน ก็จะขาดสิทธิประกันสังคม หรือการวินิจฉัยโรคของแพทย์ว่าไม่เป็นโรคที่เกิดจากการทำงาน ทำให้นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบเมื่อมีข้อขัดแย้งหรือฟ้องร้อง

"แม้กระทั่งรู้ว่าสิทธิของเราคืออะไรแต่ก็ยังขาดการสนับสนุนการเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิ เจ้าหน้าที่หน่วยงานราขการไม่ให้ความร่วมมือในการรับเรื่อง เพิกเฉย และจะถูกตั้งคำถามจากเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กระบวนการไกล่เกลี่ยก็ไม่เป็นธรรม"

ธนพร วิจันทร์  กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวถึงหลักการภาพรวมของการปรับปรุงพัฒนากฎหมาย ด้านประกันสังคมและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ต่อมาคือการเกิดสิทธิของแรงงานข้ามชาติก็เป็นไปได้ยาก กรณีของแรงงานหญิงท้องและแท้ง ก็จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม คลอดก่อนครบกำหนด คือคลอดภายใน 7 เดือนก็จะไม่ได้รับสิทธิ เป็นกลไกการเข้าถึงสิทธิที่ยาก

"เราได้ประกันสังคมนี่คุณภาพแย่กว่าทุกอย่าง แย่กว่าบัตรทอง เราได้ต่อเมื่อเราคลอด มันมีความเหลื่อมล้ำแน่นอน อันนี้เราคิดเอง เราคิดว่าตับไตไส้พุงข้าราชการมันดีกว่าเราหรือ เราคิดว่ามาตราฐานมันควรเป็นอันเดียวกัน"

อีกประการหนึ่งคือ ประกันสังคมไม่เน้นการป้องกันโรค หากแรงงานอยากตรวจมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านมก็ต้องจ่ายเงินเอง ต้องไปโรงพยาบาลเอกชนสาม-สี่พันบาท

แรงงานข้ามชาติ-จ่ายเท่าแรงงานไทย ได้สิทธิไม่เท่าเทียม

สุกานตา สุขไผ่ตา นักจัดตั้งแรงงานข้ามชาติในเขต จ. สมุทรสาครและเชียงใหม่ กล่าวว่าแรงงานข้ามชาติในไทยไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้สักเรื่องเดียว มีผู้ไม่ได้รับการคุ้มครองของกฎหมายแรงงานเป็นจำนวนมาก เช่น ไม่ได้รับวันหยุด สิทธิประกันสังคม ในปัจจุบันเขาถือพาสปอร์ต ใบอนุญาตแรงงานถูกต้อง เจ้าของสถานประกอบการต้องนำเข้าระบบให้ถูกต้องด้วย บางแห่งนำเข้าระบบก็จริงแต่นำเข้าไม่หมด นำเข้าแค่บางส่วนเท่านั้น

"แรงงานข้ามชาติในประเทศมีเกือบ 3 ล้านคน แต่เขาเข้ามาในระบบแค่หลักแสน นายจ้างไม่นำลูกจ้างเข้าระบบให้ถูกต้อง อีกประการคือเขาเป็นลูกจ้างต่างชาติไม่รู้ภาษาไทย เขาเลยไม่รู้ว่ามีสิทธิอะไรบ้าง สามคือระบบประชาสัมพันธ์ของประกันสังคมนี้ไม่เคยลงไปตรวจ และปล่อยปละละเลยว่าแรงงานมีการเข้าระบบหรือยัง ทั้งยังไม่เคยลงมาให้การศึกษาแก่แรงงานข้ามชาติ"

สุกานตากล่าวต่อไปว่า จะเห็นว่าแรงงานข้ามชาติส่งเงินเข้าระบบส่งสมทบเท่าแรงงานไทย แต่สิทธิที่ได้ไม่เท่าเทียม เขาไม่มีทางเข้าถึงได้เลยถ้ายังไม่มีการปรับเปลี่ยน เขาไม่สามารถเบิกได้ อีกทั้งถ้าออกจากงานที่เดิมแล้วต้องหางานให้ได้ภายใน 7 หรือ 15 วัน อีกประเด็นที่สำคัญคือแรงงานข้ามชาติทุพพลภาพ แรงงานข้ามชาติไม่มีสิทธิ เพราะต้องมีการออกใบรับรอง แต่หน่วยงานไทยไม่ออกให้เพราะไม่ใช่คนไทย

สามอญ แรงงานจากพม่า จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาพื้นที่มหาชัย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนด้วยว่า "ฉันเป็นแรงงานจากสมุทรสาคร ช่วงตั้งครรภ์ถ้าเราแกะกุ้งไม่ไหวเราก็ต้องล้างห้องน้ำ แล้วก็จะได้กลิ่น ซึ่งเราเมาหรือแพ้กลิ่นน้ำยา หรือไม่ก็จะให้ไปล้างจานก็จะลื่นล้ม ถ้าเป็นแรงงานไทยจะให้ทำงานเบา ฉันรู้สึกถูกแบ่งแยก ไปหาหมอก็ไม่ให้ล่ามไป ให้ไปเอง ต้องจ้างล่ามไปเอง หรือถ้ามีงานวันสตรีสากล เราขอไป เขาก็ไม่ให้ไป เราถูกห้าม"

สามอญกล่าวต่อไปว่า แรงงานกลุ่มที่มีพาสปอร์ต เมื่อคลอดลูกได้ครบ 15 วันก็จะต้องนำลูกกลับประเทศพม่า กลุ่มคนที่ไม่มีพาสปอร์ตก็จะไม่กล้าไปฝากครรภ์หรือหาหมอ เพราะกลัวว่าจะถูกตำรวจจับ อาจมีบางเคสที่คลอดกับหมอตำแยที่เป็นชาวพม่าด้วยกัน เวลาตั้งครรภ์เจ้านายก็จะกล่อมให้ลาออกจากงานไปเลย หรือเมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาแล้วจะถูกส่งไปโรงกุ้งไกลๆ
"ส่วนเรื่องตรวจมะเร็งเราไม่เคยได้รับหรอกค่ะ นอกจากยาโรคเท้าช้าง เราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เราอยู่มาหลายปีแล้วทำไมเราต้องได้รับยาตัวนี้ ยาที่ดีๆ มีประโยชน์ไม่เคยได้รับ" – สามอญเสริม

นอกจากนี้กลุ่มแรงงานข้ามชาติพม่าได้เสนอยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ แรงงานข้ามชาติต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติและได้รับสิทธิเท่าเทียม ตั้งเป้าหมายระยะสั้น คือ ต้องมีอบรมสิทธิพื้นฐานเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทั้งหมด เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าเมือง บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศไทย พม่า และกัมพูชา (MOU) ทั้งยังผลักดันให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำเอกสารที่เป็นภาษาของแรงงาน เช่น ภาษาไทยใหญ่ ภาษากะเหรี่ยง

และได้เสนอแก้ไขกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติให้สอดคล้องกัน เช่น พ.ร.บ.คนทำงานข้ามชาติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายประกันสังคม เป็นต้น พร้อมทั้งต้องสร้างระบบฐานข้อมูลแรงงานระหว่างประเทศไทยและพม่า เพื่อให้สืบค้นได้ง่าย และในการกำหนด MOU แรงงานข้ามชาติและองค์กรที่ทำงานกับแรงงานข้ามชาติต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดด้วย สุดท้ายอยากให้ผลักดันแรงงานข้ามชาติได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น