โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

'วีระ สมบูรณ์' ชี้ กทค.ฟ้องนักวิชาการ-สื่อ ส่งผลคุกคามการมีส่วนร่วมสาธารณะ

Posted: 12 Sep 2013 02:20 PM PDT

(12 ก.ย.56) ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ "คดีฟ้องร้องนักวิชาการกับบทบาทหน้าที่สาธารณะ" ต่อกรณีกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) 4 คน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง เดือนเด่น นิคมบริรักษ์  ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ ณัฎฐา โกมลวาทิน ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในคดีหมิ่นประมาท จากการให้ข่าวและนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz

นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แม้ มาตรา 50 รัฐธรรมนูญ 2550 จะเขียนถึงเสรีภาพทางวิชาการไว้ แต่ก็เขียนไว้กว้างมาก ว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน" ซึ่งการตีความเป็นเรื่องดุลพินิจ ซึ่งยากจะกำหนดกรอบว่าอะไรคือเสรีภาพทางวิชาการ เพราะหากกระทบกับองค์กรหรือบุคคลอื่น อาจถูกเปลี่ยนประเด็นว่าขัดต่อหน้าที่พลเมืองได้

นันทวัฒน์ กล่าวว่า ทั้งนี้ แม้ว่า เสรีภาพทางวิชาการ จะถูกรับรองในรัฐธรรมนูญหลายประเทศ และอยู่ในสังคมนาน จนน่าจะกลายเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่งได้ไม่ยาก แต่กลับยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน ซึ่งเขามองว่าเป็นเพราะบ้านเราพยายามมีทุกอย่างที่ต่างประเทศมี แต่ไม่ได้สานต่อ เช่น รับรองการมีส่วนร่วมของประชาชน เสรีภาพในการชุมนุม แต่ไม่มีกติกา ไม่มีการขยายความหรือวางกรอบให้ชัดว่าคืออะไร ดังนั้น เสรีภาพทางวิชาการจึงเคว้งคว้าง แม้แต่นักวิชาการก็บอกไม่ได้ว่าคือใครบ้าง

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ กล่าวต่อว่า ตามหลัก นักวิชาการมีเสรีภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็ต้องระมัดระวัง ไม่ให้การใช้สิทธิเสรีภาพของตัวเองกระทบกับเรื่องส่วนตัวของผู้ที่ตนเองวิจารณ์มากเกินไป ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ก็ต้องใจกว้างพอสมควร กรณีที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่นักวิชาการพูดนั้น ทำได้หลายทาง แต่การฟ้อง เป็นขั้นสุดท้ายกว่าสุดท้าย

นันทวัฒน์ กล่าวว่า ถามจริงๆ ว่ารัฐควรจะเป็นปฏิปักษ์กับประชาชน ซึ่งใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ส่วนตัวมองว่า ไม่ถูกต้อง โดย กสทช. ควรตระหนักว่า เงินเดือนที่ได้จำนวนมหาศาลมาจากภาษีของประชาชน ดังนั้น จึงควรตั้งโต๊ะเจรจา โต้กันในเวทีสาธารณะ หากบอกว่ามีข้อมูลผิดก็แถลงข่าว ชี้แจงกัน ทุกคนมีโอกาสพลาดได้

อย่างไรก็ตาม เขามองว่า สื่อเอง หากเผยแพร่ข่าวออกไปโดยที่ฐานข้อมูลทางวิชาการยังไม่ชัดเจน สื่อก็ต้องรับผิดชอบด้วย

พิรงรอง รามสูตร ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ผู้ถูกฟ้องทั้งสองคนเป็นกลไกของการตรวจสอบผู้มีอำนาจ โดยการจะกำหนดนโยบายสาธารณะจากภาคประชาสังคม ทำได้โดยนักวิชาการร่วมกับสื่อ เพื่อทำข่าวไม่เป็นข่าวให้เป็นข่าว เนื่องจากการสร้างวาระข่าวสารนั้นทำได้ยาก เพราะเมื่องบโฆษณาจำนวนมากลงไป ก็ทำให้สื่อเกิดความเกรงใจ

พิรงรอง กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เมื่อสำรวจในต่างประเทศ พบว่า องค์กรกำกับดูแล เช่น ออฟคอม ของอังกฤษ หรือ แอคมา ของออสเตรเลีย ไม่มีการฟ้องสื่อ ถ้ามี จะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลแล้วไม่ปฏิบัติตาม 

พิรงรอง กล่าวว่า การทำงานของนักวิชาการ โดยเฉพาะนักวิชาการที่ทำวิจัยประเด็นสาธารณะอย่างเดือนเด่น หรือทีดีอาร์ไอ อาจไม่เป็นประโยชน์ ขัดประโยชน์องค์กรรัฐและเอกชน ซึ่งมีความเสี่ยง หากปล่อยให้เกิดการฟ้องร้องนักวิชาการเหล่านี้ขึ้น อาจทำให้นักวิชาการที่กล้าตรวจสอบหายไป นอกจากนี้ แม้การฟ้องร้องเป็นสิทธิตามกฎหมายของ กทค. แต่ตั้งคำถามด้วยว่ามันถูกต้องตามหลักจริยธรรมหรือไม่

วีระ สมบูรณ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า กรณีนี้ทำให้นึกถึง SLAPP (Strategic Lawsuits Against Public Participation) คือ การใช้คดีความเป็นกลยุทธ์คุกคามการมีส่วนร่วมสาธารณะ  ซึ่งเป็นเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป และเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ

วีระ กล่าวว่า การ SLAPP เป็นการฟ้องร้องโดยไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานรัฐ อาจเป็นเอกชน เจ้าหน้าที่รัฐ หรือส่วนตัว เมื่อมีข้อสงสัยข้อขัดแย้ง ชิงฟ้ิองก่อน หรือเมื่อมีการหยิบยกมาก็ฟ้อง เพื่อปิดไม่ให้ให้ประเด็นที่เกิดขึ้นไปสู่พื้นที่ของสาธารณะ

แม้จะมีการอ้างเรื่องเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาท แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือ การเซ็นเซอร์ คุกคามไม่ให้มีการนำเสนอ โดยผลลัพธ์ไม่อยู่ที่การชนะคดี แต่คือผลต่อบรรยากาศการดีเบต และวัฒนธรรมการเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะที่จะถูกทำให้หายไป รวมถึงทำให้ผู้ที่เสนอข้อมูลความเห็นต้องมีต้นทุนสูงมาก เพราะการถูกฟ้องร้อง นำมาซึ่งการเสียขวัญ ไม่มั่นใจ เรื่องเงิน เวลา ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะหากทำกับคนธรรมดา คนทั่วไปรู้สึกไม่คุ้มที่จะสู้

ในต่างประเทศ มีความพยายามหาทางป้องกันเรื่องนี้ เช่น ในสหรัฐฯ มีกฎหมาย Anti SLAPP law ซึ่งออกมาและเรียกร้องการฟ้องร้องในกรณีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงสาธารณะให้ละเอียดขึ้น ต้องเร่งรัดให้ยุติการรับฟ้องเร็วที่สุด มีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่เข้าสู่กระบวนการนี้ ค่าใช้จ่าย ทนายความ บางรัฐบอกว่า ถ้าทำให้เสียงบประมาณ ทรัพยากรสาธารณะ หน่วยงานที่ฟ้องต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และในอังกฤษ มีพ.ร.บ.ว่าด้วยคดีหมิ่นประมาท ที่กำหนดให้ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ว่า เสียชื่อเสียงต้องเสียหายอย่างหนักโดยพิสูจน์ได้

กรณีนี้ ตั้งคำถามว่าหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลคุ้มครองพื้นที่สาธารณะ กำลังใช้อำนาจหน้าที่้นั้นทำในสิ่งที่ตรงข้ามหรือไม่ โดยตนเองมองว่า  กทค. มีหน้าที่คุ้มครองสามส่วน หนึ่ง ต้องเคารพในสิทธิเสรีภาพ สอง คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ สาม เติมแต่งหรือพยายามยกระดับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ถ้าปล่อยให้ SLAPP เกิดขึ้น โดยที่ กทค. ทำเสียเอง มองว่าน่าเป็นห่วงมาก

กรณีที่มีการอ้างว่าผู้ถูกฟ้องทำให้เสียเกียรติภูมินั้น เขามองว่า ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของหน่วยงานนั้น ไม่ใช่ของ กทค. ไม่มีใครเป็นเจ้าของ จะเอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้องไม่ได้ นอกจากนี้ มองว่า กรณีนี้เป็นเรื่องทางสาธารณะ ซึ่งควรพิสูจน์กันในพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่ศาล และหากมีผลกระทบส่วนบุคคล ก็ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลฟ้อง ค่าใช้จ่ายและการดำเนินการต้องทำในนามส่วนตัว ไม่ใช่ใช้ทรัพยากรสาธารณะมารับผิดชอบความเสียหายส่วนบุคคล

นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่า การฟ้องร้องเป็นกลยุทธ์ทำให้เกิดความกลัว และภาคประชาสังคมถดถอย ทั้งนี้ เป็นไปไม่ได้ที่เมื่อทำประเด็นสาธารณะ แล้วจะไม่แตะต้องใครเลย ไม่เช่นนั้น วิธีที่แก้ปัญหาที่สุดก็คือไม่แตะต้องใครเลย และในประเด็นสาธารณะนั้น มองว่าต้องแสดงให้เห็นการตัดสินใจที่โปร่งใส

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ในอดีต หลายหน่วยงานของรัฐแสดงท่าทีเรื่องนี้ได้ดีกว่าในปัจจุบัน ยกตัวอย่างตนเองเคยทำวิจัยเรื่องความไม่โปร่งใสของกรมแห่งหนึ่ง ปรากฏว่า อธิบดีกรมฯ เรียกไปเพื่อขอให้อธิบาย แต่เมื่อไปถึง ตนเองต้องนั่งฟังผู้บริหาร ระบายว่า ถูกทำลายศักดิ์ศรีเกียรติภูมิองค์กรอย่างไรบ้าง ซึ่งเมื่อฟังจบ ก็ได้อธิบายส่วนของตนเอง เรื่องนี้จบโดยไม่มีการฟ้องร้อง จะเห็นว่าไม่ว่าผู้บริหารจะนำงานไปใช้หรือไม่ แต่ก็ยังรับฟัง หรือกรณีเร็วๆ นี้ ตนเองทำงานวิจัยหนึ่ง ซึ่งแตะต้องสถาบันหลายแห่ง สถาบันหนึ่งในนั้น ได้เชิญไปพูด และเสนอว่าจะต้องปรับแก้อย่างไร ซึ่งการทำเช่นนี้นำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

นวลน้อย ชี้ด้วยว่า กสทช. เป็นผู้ได้รับสิทธิจัดสรรผลประโยชน์สาธารณะมหาศาล เมื่อมายืนอยู่ตรงนี้ ต้องยอมรับว่า เมื่อเป็นสมบัติสาธารณะ สาธารณะมีสิทธิถาม และ กสทช. ต้องตอบ ทำทุกอย่างอย่างตรงไปตรงมาและโปร่งใส

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เทียบร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่นฯ 4 ฉบับ

Posted: 12 Sep 2013 01:10 PM PDT

<--break->

ภาคผนวก

ตารางเปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่) พ.ศ. ....

ประกอบความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

__________

ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

(คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้เสนอ)

ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

(พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นผู้เสนอ)

ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

(นายพีรพันธุ์ พาลุสุข เป็นผู้เสนอ)

ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

(มติคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง)

ร่าง

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)

 พ.ศ. ....

......................................

......................................

......................................

............................................................................................................

     โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

..........................................................................................................

 

ร่าง

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

.....................................

......................................

......................................

.............................................................................................................

     โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

..........................................................................................................

ร่าง

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

.....................................

......................................

......................................

.............................................................................................................

     โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

..........................................................................................................

ร่าง

พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น

หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

.....................................

......................................

......................................

..........................................................................................................

     โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น..........................................................................................................

     มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า"พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)     พ.ศ. ....

 

     มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)     พ.ศ. ....

  

 

    มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ....

เหตุผล

   เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต.

   มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

    มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

   มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

   มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต.

   มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

 

     "มาตรา ๗/๑ ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าเพราะเหตุใด จนเป็นเหตุให้ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นไม่พร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะครบวาระโดยมีระยะเวลาห่างกันไม่เกินเก้าสิบวัน คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมีคำสั่งให้การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะครบวาระก็ได้"

 

 

   มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

 

     "มาตรา ๗/๑ ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าเพราะเหตุใด จนเป็นเหตุให้ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นไม่พร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะครบวาระโดยมีระยะเวลาห่างกันไม่เกินเก้าสิบวัน  คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมีคำสั่งให้การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะครบวาระก็ได้"

    มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

 

     "มาตรา ๗/๑ ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าเพราะเหตุใด จนเป็นเหตุให้ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นไม่พร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะครบวาระโดยมีระยะเวลาห่างกันไม่เกินเก้าสิบวัน  คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมีคำสั่งให้การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะครบวาระก็ได้"

เหตุผล

 เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต.

     มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "มาตรา ๑๔ ในการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องพยายามจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกันมากที่สุดและต้องแบ่งพื้นที่ของแต่ละเขตเลือกตั้งให้ติดต่อกัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามสภาพพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำให้ไม่อาจแบ่งเขตเลือกตั้งให้มีพื้นที่ติดต่อกันได้

     ในเขตเทศบาลหรือเขตชุมชนหนาแน่น อาจกำหนดให้ใช้แนวถนน ตรอกหรือซอย คลองหรือแม่น้ำเป็นแนวเขตเลือกตั้งได้สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มิให้นำพื้นที่เพียงบางส่วนของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่น"

     มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "มาตรา ๑๔ ในการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องพยายามให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกันและต้องแบ่งพื้นที่ของแต่ละเขตเลือกตั้งให้ติดต่อกัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามสภาพพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำให้ไม่อาจแบ่งเขตเลือกตั้งให้มีพื้นที่ติดต่อกันได้

     ในเขตเทศบาลหรือเขตชุมชนหนาแน่น อาจกำหนดให้ใช้แนวถนน ตรอกหรือซอย คลองหรือแม่น้ำเป็นแนวเขตเลือกตั้งได้"

     มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "มาตรา ๑๔ ในการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องพยายามให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกันและต้องแบ่งพื้นที่ของแต่ละเขตเลือกตั้งให้ติดต่อกัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามสภาพพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำให้ไม่อาจแบ่งเขตเลือกตั้งให้มีพื้นที่ติดต่อกันได้

     ในเขตเทศบาลหรือเขตชุมชนหนาแน่น อาจกำหนดให้ใช้แนวถนน ตรอกหรือซอย คลองหรือแม่น้ำเป็นแนวเขตเลือกตั้งได้"

     มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "มาตรา ๑๔ ในการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องพยายามให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกันและต้องแบ่งพื้นที่ ของแต่ละเขตเลือกตั้งให้ติดต่อกัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามสภาพพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำให้ไม่อาจแบ่งเขตเลือกตั้งให้มีพื้นที่ติดต่อกันได้

    ในเขตเทศบาลหรือเขตชุมชนหนาแน่น อาจกำหนดให้ใช้แนวถนน ตรอกหรือซอย คลองหรือแม่น้ำเป็นแนวเขตเลือกตั้งได้

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต.

     มาตรา ๕  ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "(๒) คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจำนวนเจ็ดคนไม่น้อยกว่าเก้าคน ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอีกหกคนไม่น้อยกว่าแปดคน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งและการนับคะแนนเลือกตั้งในที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง"

 

 

     มาตรา ๕  ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "(๒) คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่เกินเก้าคน ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการไม่เกินแปดคน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งและการนับคะแนนเลือกตั้งในที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง"

 

    มาตรา ๕  ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "(๒) คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่เกินเก้าคน ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการไม่เกินแปดคน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งและการนับคะแนนเลือกตั้งในที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง"

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของนายพีรพันธุ์ ที่กำหนดจำนวนคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง "ไม่เกินเก้าคน" เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นบางหน่วยเลือกตั้งอาจมีคณะกรรมการ ๗ - ๙ คนก็ได้

 

     มาตรา ๖  ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "ให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้งอย่างน้อยที่เลือกตั้งละหนึ่งคน"

 

 

     มาตรา ๖  ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "ให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้งอย่างน้อยที่เลือกตั้งละหนึ่งคน"

   มาตรา ๖  ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "ให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำที่เลือกตั้งอย่างน้อยที่เลือกตั้งละหนึ่งคน"

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต.

     มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "มาตรา ๒๔ ในวันเลือกตั้ง ถ้าถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้งแล้วมีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบเจ็ดเก้าคน ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นแต่งตั้งผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดนั้น เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจนครบเจ็ดเก้าคนไปพลางก่อนจนกว่ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้วจะมา ปฏิบัติหน้าที่  เว้นแต่ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสำรองไว้ ให้ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน"

 

     มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "มาตรา ๒๔ ในวันเลือกตั้ง ถ้าถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้งแล้วมีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ ครบตามจำนวนที่แต่งตั้งไว้  ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น  เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจนครบไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้วจะมาปฏิบัติหน้าที่  เว้นแต่ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสำรองไว้ ให้ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน"

   มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "มาตรา ๒๔  ในวันเลือกตั้ง ถ้าถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้งแล้วมีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ ครบตามจำนวนที่แต่งตั้งไว้  แต่หากมีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้  เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจนครบ   ไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้วจะมาปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสำรองไว้ ให้ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน"

 

 

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของนายพีรพันธุ์ เนื่องจากเป็นการรับรองกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่มาปฏิบัติหน้าที่ขณะนั้นเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ได้รับแต่งตั้งไว้จะมาปฏิบัติหน้าที่ แต่กรรมการที่มาปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้นต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงเพิ่มเติมข้อความว่า  "หากมีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง" และตัดคำว่า "จนครบ" ออก

    มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "(๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง และ"

 

   มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "(๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง และ"

     มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "(๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง และ"

     มาตรา ๘  ยกเลิก

เหตุผล

   เห็นควรใช้หลักการเดิมคือ "เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" เนื่องจากระยะเวลาเก้าสิบวัน อาจมีปัญหาเรื่องการโยกย้ายคนเข้ามาในทะเบียนบ้านเพื่อทุจริตในการเลือกตั้ง และคนที่ย้ายเข้าไม่มีการสร้างความผูกพันกับท้องถิ่นเท่าที่ควร การเลือกตั้งท้องถิ่นควรเป็นเรื่องของท้องถิ่นที่อยู่ด้วยกันตามระยะเวลาที่พอสมควร จึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข 

     มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่ง ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน อันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปีเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า  หนึ่งปีเก้าสิบวัน"

    มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่ง ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน อันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน"

     มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

     "ในกรณีที่มีการย้ายทะเบียนบ้านออกจากเขตเลือกตั้งหนึ่งไปยังอีกเขตเลือกตั้งหนึ่ง ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน อันทำให้บุคคลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง ให้บุคคลนั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน"

 

    มาตรา ๙ ยกเลิก

เหตุผล

    เนื่องจากการแก้ไขร่างมาตรา ๘  ให้ใช้หลักการเดิมคือ "เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" เพื่อให้สอดคล้องกันร่างมาตรา ๙  ควรใช้หลักการเดิมเช่นกัน

     มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศผลการ หลังจากวันเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งซึ่งรับรองความถูกต้อง พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด"

    มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งซึ่งรับรองความถูกต้อง พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด"

     มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันเลือกตั้ง  ผู้สมัครแต่ละคนต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งซึ่งรับรองความถูกต้อง พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด"

   มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ภายในกำหนดเก้าสิบหนึ่งร้อยยี่สิบวันหลังจากวันเลือกตั้ง  ผู้สมัครแต่ละคนต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งซึ่งรับรองความถูกต้อง พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด"

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต. แต่เนื่องจากในการทำบัญชีรายรับและรายจ่าย ในการเลือกตั้งบางรายการไม่สามารถทำได้โดยง่าย อาจต้องขอหลักฐานและเอกสารต่างๆ  ซึ่งหลักการเดิมกำหนดให้ "ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศผล" และ กกต. จะประกาศผลภายในสามสิบวัน  และแก้ไขเพิ่มเติมข้อความจาก "ภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันเลือกตั้ง" เป็น "ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันหลังจากวันเลือกตั้ง" ตามข้อเสนอของตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๙๘ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่ และปรากฏผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับเลือกตั้ง หรือในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการ ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเดิมพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเดิมพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันประกาศผลการนับคะแนนเลือก ตั้งใหม่หรือวันที่มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่ก่อนวันประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่หรือวันที่มีคำสั่งให้มีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่"

    มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๙๘ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่ และปรากฏผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเดิมพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่ก่อนวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่"

     มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๙๘ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่และปรากฏผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเดิมพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่ก่อนวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่"

    มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๙๘ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

    "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้นับคะแนนเลือกตั้งใหม่และปรากฏผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเดิมพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบ กระเทือนกิจการที่ ผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่ก่อนวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติรับรองการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่"

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต.

 

     มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

    "มาตรา ๙๙/๑ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะเหตุที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นลาออกจากตำแหน่งเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการสรรหาสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กำนัน ผู้ใหญ่บ้านภายในหนึ่งปีนับแต่วันลาออก ให้ผู้นั้นรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้น ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๙๙ มาใช้บังคับกับการเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามมาตรานี้"

 

     มาตรา ๘  ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

    "มาตรา ๙๙/๑ ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ใดลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่หรือแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี ถ้าผู้ซึ่งลาออกนั้นมาสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งที่ตนลาออก ให้ผู้ซึ่งลาออกนั้นรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการจัดเลือกตั้งครั้งนั้น เว้นแต่การลาออกมีเหตุผลอันสมควรตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด"

     มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

    "มาตรา ๙๙/๑ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะเหตุที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นลาออกจากตำแหน่งเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการสรรหาสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กำนัน ผู้ใหญ่บ้านภายในหนึ่งปีนับแต่วันลาออก ให้ผู้นั้นรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้น ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๙๙ มาใช้บังคับกับการเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามมาตรานี้"

   มาตรา ๘ ๑๒  ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

    "มาตรา ๙๙/๑ ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ใดลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่หรือแทนตำแหน่งที่ว่าง แล้วแต่กรณี ถ้าผู้ซึ่งลาออกนั้นมาสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งที่ตนลาออก ให้ผู้ซึ่งลาออกนั้นรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการจัดเลือกตั้งครั้งใหม่หรือแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๙๙ มาใช้บังคับกับการเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามมาตรานี้"

เหตุผล

   เห็นชอบตามร่างฯ ของพลตำรวจโทวิโรจน์ฯ และแก้ไขเพิ่มเติมข้อความจาก "... ในค่าใช้จ่ายในการจัดเลือกตั้งครั้งนั้น" เป็น "... ในค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่หรือแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๙๙ มาใช้บังคับกับการเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามมาตรานี้" เนื่องจากการกำหนดให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หากลาออกจากตำแหน่งต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ ควรเป็นกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งลาออกนั้น มาสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งที่ตนลาออก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

     "มาตรา ๑๑๓/๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้ว่าตนเองไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้สมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกตั้งโดยฝ่าฝืนมาตรา ๔๔ หรือมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี"

   มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๑๑๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕

     "มาตรา ๑๑๓/๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้ว่าตนเองไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้สมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกตั้งโดยฝ่าฝืนมาตรา ๔๔ หรือมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี"

เหตุผล

  เห็นชอบตามร่างฯ ของนายพีรพันธุ์  เนื่องจากพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ ไม่ได้บัญญัติบทลงโทษผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ฝ่าฝืนมาตรา ๔๔ หรือมาตรา ๔๕ ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๙ ได้กำหนดไว้เช่นกัน

บทเฉพาะกาล

------------

     มาตรา ๑๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไป  โดยยังไม่นำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

 

 

     มาตรา ๙ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

บทเฉพาะกาล

------------

     มาตรา ๑๔ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการต่อไป  โดยยังไม่นำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

บทเฉพาะกาล

------------

     มาตรา ๑๓ ๑๔ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการต่อไป  โดยยังไม่นำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ

มติที่ประชุม  เห็นชอบตามร่างฯ ของ กกต.

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ชงแก้ปัญหาเลือกตั้งท้องถิ่น ลาออกลงสมัครใหม่ ต้องรับผิดชอบเงินจัดเลือกตั้ง

Posted: 12 Sep 2013 12:21 PM PDT

ข้อเสนอแนะ คปก. ต่อร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฯ หากผู้บริหารลาออกก่อนครบวาระ หวังลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเดิม ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเงินจัดการเลือกตั้ง ชี้ก่อภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
 
12 ก.ย.56 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดยนายคณิต ณ นคร ประธาน กรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ คปก.เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา
 
จากผลการพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ โดยเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ที่พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ที่นายพีรพันธุ์ พาลุสุ เป็นผู้เสนอ
 
คปก.มีความเห็นว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น โดยปกติจะจัดให้มีการเลือกตั้งพร้อมกันเนื่องจากสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ต่างมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดอายุของสภาท้องถิ่นใดแล้ว ผู้บริหารท้องถิ่นนั้นก็จะพ้นจากตำแหน่งตามวาระไปพร้อมกัน และจะต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในคราวเดียวกัน
 
แต่มีข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติว่า มีการลาออกของผู้บริหารท้องถิ่นก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนด ในขณะที่สภาท้องถิ่นยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเป็นปัญหาในทางปฏิบัติและทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย ที่สำคัญคือ การที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาท้องถิ่นมีวาระการดำรงตำแหน่งเหลื่อมกันเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหาในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
ดังนั้น คปก.เห็นว่า หากกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นลาออกจากตำแหน่ง เป็นเหตุให้ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลง และวันที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งดังกล่าว ห่างจากวันที่จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะสิ้นสุดลงตามวาระไม่เกิน 90 วัน เห็นควรให้รอการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นไปจนกว่าสภาท้องถิ่นจะสิ้นสุดเสียก่อนเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งไปในคราวเดียวกัน
 
อย่างไรก็ตาม ในการเข้าสู่ตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผ่านระบบการเลือกตั้งนั้น เมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว การพ้นจากตำแหน่งย่อมเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น การตาย การพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือการลาออก เป็นต้น
 
คปก.เห็นว่า การพ้นจากตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นโดยการลาออกเป็นสิทธิที่พึงกระทำได้ แต่ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ลาออกจากตำแหน่งไปแล้ว แต่กลับลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในตำแหน่งที่ตนลาออก เป็นการก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีการเลือกตั้งโดยไม่จำเป็น
 
ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในเรื่องนี้ คปก. เห็นว่า กรณีลาออกก่อนครบวาระแต่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งเดิมอีก เป็นสิทธิของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นรายนั้นสามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่เป็นกรณีลาออกก่อนครบวาระ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งเดิมที่ลาออก บุคคลนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ในครั้งนั้น ซึ่งเป็นมาตรการเดียวกันกับในกรณีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามมาตรา 56 จนถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายโดยไม่เกินค่าใช้จ่ายในการที่ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปิดขายซองประมูลทีวีดิจิตอล 33 บริษัท 49 ชุด ชิง 24 ช่อง

Posted: 12 Sep 2013 09:07 AM PDT

กสทช. สรุปรายชื่อผู้ซื้อเอกสารการประมูลขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ  รวมทั้งสามวันจำหน่าย 33 ราย 49 ชุด

(12 ก.ย.56) ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) ภารกิจยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ปิดการจำหน่ายเอกสารการประมูลขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติแล้ว โดยมีผู้ประสงค์จะเข้าร่วมการประมูล มาซื้อเอกสารการประมูลในวันนี้ จำนวน 10 ราย 15  ชุด รวม 3 วันที่ทำการเปิดจำหน่ายเอกสารฯ มีผู้ซื้อซองทั้งสิ้น 33 ราย  จำนวน 49 ชุด 

สรุปรายชื่อผู้ซื้อเอกสารการประมูลทั้งสามวัน แบ่งตามหมวดหมู่ให้บริการ ดังนี้

1.หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว มีผู้สนใจซื้อเอกสารการประมูลจำนวน 8  ราย ได้แก่ บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ,บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด, บริษัท ทัช ทีวี จำกัด, บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด และบริษัท แอคทีฟโพสต์ จำกัด

2.หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ มีผู้ซื้อเอกสารการประมูลจำนวน 12 ราย ได้แก่ บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด, บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท โมโน เจนเนอเรชั่น จำกัด, บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด, บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด ,บริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด, บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด และและบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด

3.หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (ทั่วไป SD) มีผู้ซื้อเอกสารการประมูลจำนวน 17 ราย ได้แก่ บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด, บริษัท ทัช ทีวี จำกัด, บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัลทีวี จำกัด, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด, บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด, บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด, บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด, บริษัท  อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด, บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด และบริษัท เนชั่นแนล เทเลวิชั่น แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด

4. หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (ทั่วไป HD) มีผู้ซื้อเอกสารการประมูลจำนวน 12 ราย ได้แก่ กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัลทีวี จำกัด, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด, บริษัท โมโน ทีวี จำกัด, บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด, บริษัท จันทร์ 25 จำกัด, บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด, บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด และบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด

ทั้งนี้ การประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง แบ่งเป็น หมวดเด็ก เยาวชน และครอบครัว  3 ช่อง หมวดข่าว 7 ช่อง หมวดช่องทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (ทั่วไป SD) 7 ช่อง และช่องทั่วไปแบบความคมชัดสูง (ทั่วไป HD) 7 ช่อง

สำหรับประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 กำหนดให้ ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมการประมูลมีสิทธิยื่นขอรับใบอนุญาตไม่เกินรายละ 1 ใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่ และผู้ประสงค์จะเข้าร่วมการประมูลไม่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตในหมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (ทั่วไป HD) พร้อมกับหมวดหมู่ข่าวสารและสาระได้ โดยผู้ที่สนใจซื้อเอกสารการประมูลฯ นี้จะต้องเลือก ที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งเท่านั้น โดย กสท. จะตรวจสอบความสัมพันธ์ภายในหมวดหมู่เดียวกัน และกรณีข้ามหมวดหมู่จะตรวจสอบความสัมพันธ์เฉพาะหมวดหมู่ทั่วไป HD และหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ

สำหรับขั้นตอนต่อไป สำนักงานจะจัดให้มีการชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตหลังการจำหน่ายเอกสารการประมูลในวันที่ 15 ตุลาคม 2556 จากนั้นจะเปิดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2556 และจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลภายใน 45 วัน หลังวันสิ้นสุดเวลายื่นแบบคำขอรับใบอนุญาต ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ในเดือนธันวาคมนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

40 ปี ประวัติศาสตร์รัฐประหาร 9/11 ในชิลี

Posted: 12 Sep 2013 08:34 AM PDT

เหตุการณ์รัฐประหารโดยนายพล ออกุสโต ปิโนเชต์ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว กลายเป็นหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์ของประเทศละตินอเมริกา มีการเดินขบวนเพื่อรำลึกถึงเหยื่อจากการปกครองเผด็จการทหาร และจาก 40 ปี ที่ผ่านมา ขบวนการทางสังคมในชิลีได้เรียนรู้อะไรบ้าง

11 ก.ย. 2013 - วันนี้เมื่อ 40 ปีที่แล้วในชิลี นายพล ออกุสโต ปิโนเชต์ ผู้นำเผด็จการทหารได้ทำการรัฐประหารโค่นล้มซัลวาดอร์ อัลเลนเด ประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ตามมาด้วยการปกครองในระบอบเผด็จการที่ได้ชื่อว่าโหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา

ช่วงระหว่างที่ปิโนเชต์ปกครองประเทศมีผู้คนมากกว่า 3,000 คนถูกสังหารหรือหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย มีหลายพันคนถูกทรมานและอีกราวหนึ่งล้านคนถูกเนรเทศ แต่ต่อมาก็มีกลุ่มขบวนการทางสังคมต่อสู้เพื่อโค่นล้มเผด็จการลงได้ โดยในปี 1998 มีขบวนการเคลื่อนไหว "โหวตไม่เอาปิโนเชต์" โดยการทำประชามติ ซึ่งประสบความสำเร็จโดยมีผู้โหวต "ไม่เอา" จำนวนร้อยละ 55.99 ทำให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งและปีโนเชต์ก็ยอมลงจากตำแหน่งในปี 1990

แม้ว่าการจัดพิธีรำลึกครบรอบ 40 ปีเหตุการณ์รัฐประหารในชิลีอาจไม่ได้รับความสนใจมากเท่าความขัดแย้งในประเทศตะวันออกกลางโดยเฉพาะในซีเรีย แต่จาเวียร์ ซูนีกา นักสิทธิมนุษยชนชาวเม็กซิกันและที่ปรึกษาพิเศษขององค์กรแอมเนสตี้สากลกล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในชิลีเมื่อ 40 ปีที่แล้วส่งผลสะเทือนต่อโลก ทำให้เกิดความเข้าใจ่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทั้งในและนอกชิลี

คาร์ลอส เรเยส-มานโซ เป็นผู้ที่เคยถูกจับกุมและทรมานในช่วงที่ปิโนเชต์ปกครองประเทศ ซึ่งก่อนหน้าการรัฐประหารเขาเคยทำงานให้กับรัฐบาลพรรคสังคมนิยมของอัลเลนเด เขาเล่าเหตุการณ์ช่วงรัฐประหารว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก มีทหารบุกเข้าไปยังอพาร์ทเมนต์ของเขาแต่เขาออกไปประชุมอยู่ ทำให้เรเยส-มานโซ พยายามหลบหนีไปยังที่ทำการพรรคใกล้กับทำเนียบประธานาธิบดี เขาบอกว่าระหว่างทางมีศพอยู่ตามท้องถนนจากการที่ทหารยิงสังหารประชาชน และไม่นานนักก็จุดไฟเผาที่ทำการพรรค

เหตุการณ์รัฐประหารในวันนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากรัฐบาลริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐฯ ซึ่งจบลงด้วยการที่อัลเลนเดตัดสินใจปลิดชีวิตตนเองขณะที่ทหารกำลังบุกเข้าไปในทำเนียบประธานาธิบดี หลังจากนั้นเรเยส-มานโซ ก็ถูกจับและถูกทรมานเป็นประจำ

ซูนีกา นักสิทธิมนุษยชนบอกว่าผู้ทรมานนักโทษในยุคนั้นทำไปเพราะเชื่อว่าพวกเขากำลังปกป้องประเทศ ขณะที่เรเยส-มานโซ ในปัจจุบันยังไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ทรมานถึงเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

ทางด้านสำนักข่าวอัลจาซีรากล่าวถึงการครบรอบ 40 ปี รัฐประหารชิลีในมุมมองการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการต่อสู้ทางการเมืองและขยับขยายมาเป็นการเรียกร้องการศึกษาฟรีและปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมที่ถูกจัดตั้งโดยเผด็จการ

เยอโก ลูเบริก ประธานสหพันธ์นักศึกษาของชิลีในปี 1984 เปิดเผยว่า ขบวนการทางสังคมในชิลีนำกลับมาปรับใช้ได้ยาก แต่ประชาชนก็เริ่มหาพื้นที่ต่างๆ ในการต่อต้านซึ่งมาจากคนในโรงงาน สลัม และมหาวิทยาลัย

ลูเบริกกล่าวอีกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในขบวนการต่อสู้ในชิลีช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คือการที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้สามารถเคลื่อนขบวนการได้ง่ายขึ้นและพวกเขาไม่จำเป็นต้องมีผู้นำขบวน

ขณะที่กาเบรียล บอริก ผู้นำนักศึกษาของชิลีในยุคปัจจุบันบอกว่าสิ่งที่พวกเขาต้องระวังในยุคปัจจุบันคือการสร้างลัทธิบูชาตัวบุคคลของฝ่ายซ้าย

"สิ่งหนึ่งที่สร้างความเสียหายต่อการเมืองของฝ่ายซ้ายทั่วโลกคือลัทธิบูชาตัวบุคคล" บอริกกล่าว "พวกเราควรจะเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ด้วยความมีวิจารณญาณ หาด้านดีของมันมาใช้ แต่ก็มองเห็นด้านไม่ดีและทิ้งสิ่งที่ใช้ไม่ได้ในปัจจุบันไป พูดง่ายๆ คือเราไม่ควรมัวแต่โหยหาอดีต"

 


เรียบเรียงจาก

Chile's 9/11: Survivors recall horrors of Pinochet coup, 40 years on, CNN, 11-09-2013
http://edition.cnn.com/2013/09/11/world/americas/chile-coup-anniversary-40

40 years after Chile's 9/11, Aljazeera, 11-09-2013
http://www.aljazeera.com/indepth/features/2013/09/2013911112837142649.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ อรอนงค์ ทิพย์พิมล : สภาปฎิรูปอินโดฯ ตัวแบบการนำทหารกลับเข้ากรมกอง

Posted: 12 Sep 2013 05:43 AM PDT

ในเดือน ก.ย. นี้ จะครบรอบ 7 ปี ของการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ในไทย ที่เป็นการเปิดฉากการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของทหารอย่างเป็นทางการ หลังจากเหตุการณ์ พฤษภา 35 ที่ด็ราวกับว่าทหารถูกทำให้กลับเข้ากรม กองไปแล้ว ปัจจุบันแม้จะมีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน กลับไม่มีการจัดระเบียบบทบาทของกองทัพ ทาทางตรงกันข้ามคือมีการเพิ่มงบประมาณทหารอย่าต่อเนื่อง อีกทั้งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีการตั้งสภาปฏิรูปขึ้นมา แต่ไม่มีข้อเสนอการปฏิรูปกองทัพอย่างชัดเจน ด้วยเหตุที่เดือนนี้จะครบรอบ 7 ปีการรัฐประหาร และเป็นช่วงที่มีกระแสการปฏิรูปการเมือง ประชาไทจึงชวนมาคุยกับ อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชียวชาญการเมืองอินโดนีเซีย ในฐานะที่เป็นประเทศในภูมิภาคเดียวกับไทย มีประวัติศาสตร์ที่กองทัพมีบทบาททางการเมืองอย่างมาก เพื่อศึกษาตัวแบบที่ประเทศนี้ใช้ในการปฏิรูปกองทัพ โดยเฉพาะคณะกรรมการปฏิรูปกองทัพของอินโดฯ

 

ประชาไท : แล้วมันนำมาสู่การลดบทบาทกองทัพได้อย่างไรในอินโดนีเซีย

อรอนงค์ : ปัจจุบันแม้กองทัพจะมีอำนาจอยู่ แต่ก็ไม่เท่าเดิม ตอนซูฮาร์โตขึ้นมานั้นกองทัพมีอำนาจสูงมาก และมีบบาทในทุกเรื่อง รวมถึงการเข้าไปปราบกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ เช่น ที่อาเจะห์ ที่อิเรียนจายา หลายที่ที่ทีความรุนแรงกองทัพจะเข้าไปปราบปราม จนทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงมาก อย่างที่ติมอร์กองทัพก็เข้าไปปราบปรามชาวติมอร์ที่ต้องการเรียกร้องเอกราช

จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997 ทำให้ซูฮาร์โตหมดอำนาจ กลุ่มต่างๆจึงเข้ามาร่วมกันปฏิรูป และหนึ่งในประเด็นที่คนเรียกร้องคือการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องแรกๆของการปฏิรูปเลย เพราะมองว่ากองทัพนั้นมีปัญหา การดำรงอยู่ในแบบเดิมของกองทัพนั้นเป็นสิ่งที่รับไม่ได้อีกแล้ว จึงต้องมีการปฏิรูป เมื่อซูฮาร์โตลาออกจึงเกิดการปฎิรูป

ทำไมคนอินโดฯ ถึงคิดว่าต้องปฏิรูปกองทัพ ทั้งที่ก่อนหน้าคนก็มองว่ากองทัพเป็นความจำเป็นของชาติ เป็นผู้มีพระคุณต่อชาติ โดยเฉพาะเป็นผู้มีบทบาทในการสถาปนาความเป็นเอกราชของชาติ รวมไปถึงรวมชาติอินโดฯ

เพราะ 32 ปี ที่ซูฮาร์โตอยู่ในอำนาจนั้น กองทัพทำเกินไป มันไม่ใช่แค่หน้าที่ปกป้องประเทศ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนเท่านั้น มันไม่ใช่แล้ว เพราะเข้าไปมีบทบาทในด้านต่างๆ ทุกด้าน มีการทุจริต มีการเข้าไปมีบทบาทในสภาโดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง คนก็รับไม่ได้โดยเฉพาะนักศึกษาที่เป็นหัวหอกของการต่อต้าน แต่ก็มีการปราบปรามนักศึกษาและผู้ต่อต้าน แต่ช่วงนั้นในช่วงทศวรรษ 1990 กองทัพก็เริ่มมีการแตกแยกทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่มี ซึ่งคิดว่านี่น่าจะเป็นด้วยเรื่องวัยด้วย จากการที่ซูฮาร์โตที่เป็นคนแต่งตั้งผู้นำทหารเอง

ซูฮาร์โต ประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอินโดนีเซีย

เมื่อเข้าสู่ยุค 1990 เป็นต้นมาซูฮาร์โตเริ่มแก่แล้ว แม้ว่าซูฮาร์โตจะยังคงแต่งตั้งผู้นำทหารด้วยตนเอง แต่ทหารรุ่นเดียวกับซูฮาร์โตนั้นเริ่มเกษียณ เริ่มตายแล้วด้วย เพราะซูฮาร์โตอยู่นาน ทหารรุ่นใหม่ที่ขึ้นมานั้นไม่ได้ร่วมสมัยกับซูฮาร์โตแล้ว ความใกล้ชิด ความภักดีซื่อสัตย์ต่อซูฮาร์โตก็จะไม่เท่ากับทหารรุ่นเก่า เริ่มมีทหารที่รู้สึกว่าการที่กองทัพมีบทบาทแบบที่เป็นอยู่นั้นมันไม่โอเค มีทหารแบบซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เริ่มมีอุดมการณ์ที่ไม่เหมือนซูฮาร์โตแล้ว เริ่มคิดว่าต้องมีการปฏิรูปกองทัพ และด้วยกระแสสังคมที่ต้องการปฏิรูป ซึ่งกองทัพเป็นหนึ่งในประเด็นที่สังคมต้อการปฏิรูป มีการแก้กฏหมายและรัฐธรรมนูญด้วยทำให้การปฏิรูปกองทัพเกิดขึ้น

การสิ้นสุดสงครามเย็น การลดบทบาทของคอมมิวนิสต์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้คนมองว่าบทบาทกองทัพที่เป็นอยู่ไม่มีความจำเป็นด้วยหรือไม่

คอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซียนั้นไม่ได้เป็นประเด็นเลย เพราะตอนที่ซูฮาร์โตขึ้นสู่อำนาจนั้น คอมมิวนิสต์ถูกปราบจนสิ้นซากไปแล้ว และมีการโฆษณาชวนเชื่อตลอดยุคสมัยของซูฮาร์โตว่าคอมมืวนิสต์เลวร้าย และคอมมิวนิสต์ก็ไม่เคยได้กลับมาเป็นภัยต่อระบอบของซูฮาร์โตได้อีกเนื่องจากถูกปราบไปหมดแล้ว แต่ก็มีการสร้างความทรงจำว่ามันเลวร้าย ห้ามมีการพูดถึงคอมมิวนิสต์หรือสอนทฤษฎีคอมมิวนิสต์ในมหาวิทยาลัย

รวมทั้งตอนที่ซูฮาร์โตจะลาออกนั้น อเมริกาก็ทิ้งซูฮาร์โตแล้ว ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเป็นมิตรกันมาก จะฆ่าคอมมิวนิสต์ก็ไม่ผิดไม่มีการออกมาประณาม กลับสนับสนุนด้วยซ้ำ จะฆ่าคนที่ติมอร์ตะวันออกก็ไม่ว่าอะไร ขอให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นมิตรในการต่อต้านการขยายตัวของภัยคอมมิวนิสต์ร่วมกัน

ตอนที่ซูฮาร์โตลงจากอำนาจปี 1998 ตอนนั้นเกิดวิกฤติวุ่นวายหมดแล้ว มีนักศึกษา 4 คนถูกทหารยิงเสียชีวิต เลยกลายเป็นประเด็นใหญ่โต เพราะนักศึกษาประท้วง โดยก่อนหน้านั้นซูฮาร์โตออกกฏหมายหลายอย่างที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพ หนึ่งในนั้นคือนักศึกษาจะชุมนุมนั้นสามารถทำได้ แต่ห้ามออกไปชุมนุมนอกมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตรีศักติรู้สึกว่าการชุมนุมภายในมหาวิทยาลัยมันไม่เกิดผลเท่าไหร่จึงตัดสินใจเดินออกนอกมหาวิทยาลัยไปรัฐสภาเพราะอยู่ไม่ไกลกัน ขณะที่เดินออกจากมหาวิทยาลัยนั้นก็ถูกทหารสกัด พวกเขาจึงเดินกลับเข้ามหาวิทยาลัย แต่ขณะที่กำลังเดินกลับจะเข้ามหาวิทยาลัยนั้นก็มีกลุ่มกองกำลังยิงเข้าไปในฝูงนักศึกษา ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าคนที่สั่งการกลุ่มที่ยิงเข้าไปนั้นอยู่ภายใต้การบัญชาการของพันเอกปราโบโว ซูเบียนโต (ยศในขณะนั้น) ลูกเขยของซูฮาร์โต แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการสอบสวนว่าใครเป็นคนทำ แต่เหตุการณ์นี้กลายเป็นสิ่งที่ทำให้สถานการณ์มันระเบิดและเกิดการจลาจลทั่วประเทศ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1997 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศอินโดนีเซีย เริ่มมีการโจมตีคนจีน เริ่มมีการทำร้าย ปล้นข้าวของในร้านค้า และซูฮาร์โตก็พยายามดิ้นโดยการที่จะพยายามปฏิรูปโดยการเอาคนที่ดีๆเก่งๆเข้ามาทำงาน มีการเรียกคนเข้าไปคุยเยอะมาก แต่ทุกคนไม่เอาด้วย แม้แต่กองทัพที่เป็นเหมือนคู่ใจมาตลอดก็ไม่เอา

เป็นเพราะผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจแล้วเกิดชนชั้นกลาง มีคนกลุ่มใหม่ๆที่เกิดขึ้นมามากขึ้น จึงทำให้ไม่ยอมรับและออกมาเคลื่อนไหวต้านอำนาจนิยมมากขึ้นหรือไม่

แม้ชนชั้นกลางจะเกิดมากขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่กลับเข้าใจว่าชนชั้นกลางในอินโดนีเซียก็บ่มีไก๊เหมือนชนชั้นกลางในไทย เพราะพวกเขาได้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย เขาไม่ได้กระทบมาก แต่ปี 1997 – 1998 นั้นกระทบมากหน่อย แต่ก่อนหน้านั้นก็สามารถอยู่ได้ดีกับยุคระเบียบใหม่ได้ เพราะได้ผลประโยชน์ไปด้วย แต่เมื่อปี 1997 มันกระทบหนักจนเกิดคลื่นความไม่พอใจขึ้นมา

แม้จะมีความไม่พอในในการผูกขาดธุรกิจของกลุ่มทุนกองทัพ แต่ก็ไม่ถือว่ามีอิทธิพลเยอะ แต่นักศึกษามีอิทธิพลเยอะมาก เพราะไม่ใช่เพียงแค่กองทัพที่เป็นผู้ที่ถูกยกว่าเป็นผู้ให้กำเนิดประเทศ นักศึกษาก็มองว่าพวกตนเองก็มีส่วนให้กำเนิดประเทศด้วย นักศึกษาอินโดนีเซีย มีวัฒนธรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคอาณานิคมแล้ว มีการถูกส่งเข้าไปเรียนที่ฮอลันดา เข้าไปตั้งคำถาม เข้าไปคิดเรื่องประเทศอินโดนีเซีย แล้วกลุ่มเหล่านี้ก็กลับมาจัดตั้งขบวนการหลายอย่างขึ้นมา เขาก็ถือว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การให้กำเนิดประเทศเช่นกัน เพระฉะนั้นนักศึกษาจะออกมาเป็นกลุ่มแรกๆที่ตั้งคำถามและประท้วงรัฐบาล ถ้าเทียบแล้วขบวนการนักศึกษาในอินโดนีเซีย นั้น ถือว่ากระตือรือร้นมากเมื่อเทียบกับนักศึกษาทั่วโลก

เมื่อถูกบีบจากทุกกลุ่ม แม้แต่ทหารก็ไม่เอา มันมีเหตุการณที่ทำให้เชื่อได้เช่นนั้นเพราะว่าเมื่อนักศึกษาถูกยิงเสียชีวิตไป 4 คนแล้วก็เกิดการลุกฮือขึ้นมา นักศึกษาทั้งจาการ์ตาก็เคลื่อนออกมาหมดเลยจะไปยึดอาคารรัฐสภา หากทหารจะไม่ให้เคลื่อนมานั้นก็สามารถทำได้ แต่ทหารปล่อยจนทำให้ยึดสภาได้ เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าทหารทิ้งซูฮาร์โตแล้ว สุดท้ายซูฮาร์โตจึงจำใจที่ต้องแถลงลาออก แต่ก็ลาออกแบบมีเงื่อนไข เพราะให้ฮาบิบีซึ่งเป็นรองประธานาธิบดีขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทน ซึ่งก็สำเร็จอย่างน้อยทำให้กลุ่มที่ต่อต้านงงว่าจะเอาอย่างไรดี แม้จะมีกลุ่มที่มองว่าเอาฮาบิบีขึ้นมาก็ไม่ได้ต่างอะไรก็ยังเป็นเศษซากของยุคระเบียบใหม่อยู่ดี กลับบางกลุ่มที่คิดว่าภารกิจสำเร็จแล้วเพราะจุดมุ่งหมายคือโค่นล้มซูฮาร์โต เมื่อซูฮาร์โตลาออกแล้วนั่นหมายความว่าสำเร็จแล้ว

กระบวนการในการลดอำนาจของกองทัพอินโดฯ นั้นมีกระบวนการอย่างไร

มีกระบวนการที่เริ่มจากภายในกองทัพก่อน มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลังจากที่ซูฮาร์โตลงจากอำนาจไปแล้ว เนื่องจากกระแสสังคมที่บีบบวกกับคนข้างในกองทัพที่มีใจปฏิรูป เนื่องจากภาพลักษณ์เสียหาย คนไม่ชอบทหาร โดยคณะกรรมการปฏิรูปนี้รัฐบาลหลังจากซูฮาร์โตเป็นคนที่ดำเนินการจัดตั้งขึ้นมา แต่เวลานาน ต้องมีการผ่านมติที่ประชุม ส.ส. ก่อนจนนำมาสู่จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมา

คณะกรรมการลดบทบาททหาร

ประการแรก สิ่งทีก่อให้เกิดการปฏิรูปบทบาทกองทัพอย่างเป็นรูปธรรมคือ การออกกฎหมายโดยสภา ฉบับที่ VI ปี 2000 ว่าด้วยการแยกกองทัพกับตำรวจออกจากกัน, และกฎหมายสภาฉบับที่ VII ปี 2000 ว่าด้วยการจัดระเบียบบทบาทกองทัพกับตำรวจ และกฎหมายฉบับที่ 3 ปี 2002 เกี่ยวกับการป้องกันประเทศและกฎหมายฉบับที่ 34 เกี่ยวกับกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย

คือการปฏิรูปทางการเมืองมันเป็นประเด็นใหญ่ แล้วเรื่องปฏิรูปกองทัพก็เป็นหนึ่งในนั้น หลักๆ มีสองอย่าง คือคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปรัฐธรรมนูญและปฏิรูปกองทัพ ที่นำไปสู่การแยกออกจากกันระหว่างทหารกับตำรวจ  และในส่วนของกองทัพเองก็มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปภายในหน่วยงานของตัวเอง

ประการที่สอง ระเบียบประธานาธิบดี เกี่ยวกับการครอบครองธุรกิจของทหาร เลขที่ 43/2009 ลงนามโดยประธานาธิบดีซูซีโลบัมบังยูโดโยโนเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2009 โดยผู้รับผิดชอบคือรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ที่จะไปจัดตั้งคณะกรรมการในการจัดการเรื่องดังกล่าว ชื่อว่า Tim Pengendali Pengambilalihan Bisnis (PAB) TNI  หรือ ทีมจัดการการครอบครองธุรกิจของทหาร โดยมี Silmy Karim เป็นประธาน Silmy Karim เป็นสมาชิกทีมผู้เชี่ยวชาญการจัดการของกระทรวงกลาโหมและเป็นประธานสมาคมผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ของอินโดนีเซีย

ซึ่งแผนการตอนแรกจะทำให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2010 แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จเรียบร้อย มีหน่วยงานเอ็นจีโอออกมากระตุ้นรัฐบาลในประเด็นนี้เสมอๆ

อย่างกรณีไทย รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูป หลังมีการสลายการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง เมษา-พ.ค.53 แม้มีคนไม่พอใจกองทัพ ไม่พอในทหารจำนวนมาก ก็แค่ด่า แต่ก็ไม่มีใครไปเรียกร้องให้กองทัพมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง หรือเพียงแค่รอวันเวลาว่าเมื่อเปลี่ยนขั้วอำนาจหรือรัฐบาลแล้ว กองทัพก็จะอยู่ข้างฝ่ายตนในการจัดการกับฝ่ายตรงข้าม จึงไม่มีการจัดตั้งอะไรขึ้นมาเพื่อดำเนินการปฏิรูปกองทัพเลย แม้กระทั้งคณะกรรมการปฏิรูปในสมัยอภิสิทธิ์ก็ไม่มีการยกประเด็นเรื่องกองทัพขึ้นมา ในอินโดนีเซีย มีกลุ่มอะไรที่ไปผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกองทัพอย่างแข็งขันไหม

ในอินโดนีเซีย กลุ่มที่ผลักดันจริงๆ น่าจะเป็นประชาชนกับนักศึกษาในก่อนหน้านั้น โดยต้องเข้าใจว่ามันเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากไม่ใช่กลุ่มเล็กที่ออกมาเดินนิดหน่อย แต่เป็นกลุ่มที่ทั้งประเทศกดดันแล้วก็ออกมาเป็นแพคเกจ ไม่เฉพาะปฏิรูปกองทัพอย่างเดียว มีเรื่องการปฏิรูปกฎหมาย การกระจายอำนาจ พูดรวมๆ มันคือกระแสการทำให้เป็นประชาธิปไตย แล้วทหารนั้นเป็นเป้าที่แย่ที่สุดในการขัดขวางประชาธิปไตยและเป็นเศษซากของยุคระเบียบใหม่ในตอนนั้น เมื่อซูฮาร์โตไปแล้วก็เหลือแต่กองทัพจึงต้องมีการปฏิรูป

กระบวนการปฏิรูปเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากมีการตั้งคณะกรรมการ

ยังไม่ถึงกับมีการไปยึดทรัพย์ทหาร แต่ที่เป็นอย่างเป็นทางการคือ "ทหารจะไม่มีที่นั่งในสภาอีก" ซีงอันนี้สำคัญมาก เพราะว่าการตัดสินใจอะไรในสภาจะไม่มีทหารเข้ามาร่วมตัดสินแล้ว ที่ผ่านมาทหารเข้าไปมีที่นั่งในสภาโดยไม่ผ่านการเลือกตั้งเป็นร้อยคน แต่ถ้าทหารจะเล่นการเมืองก็ต้องลาออกจากราชการแล้วไปลงสมัครรับเลือกตั้ง อีกอันหนึ่งที่ชัดเจนคือการแยกกองกำลังทหารออกจากตำรวจ เพราะก่อนหน้านี้ทหารคุมตำรวจด้วย

ซูซีโล บัมบัง ยุดโยโน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน

ถ้าในทางทฤษฏีนั้นมันเขียนเยอะ เช่น ต่อไปนี้กองทัพจะไม่เข้าไปยุ่งกับเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งความเป็นจริงมันต้องค่อยๆทำ แต่ที่เห็นคือในทางการเมืองนั้นกองทัพถูกลดบทบาทลงไปมาก ในบทบาททางเศรษฐกิจแม้จะยังมีบทบาทอยู่ แต่ก็มีความพยายามทำอย่างรัฐบาลซูซีโล บัมบัง ยุดโยโน ในสมัยที่ 2 ที่ไม่นานมานี้ในปี 2009 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่แปลเป็นไทยคลายๆกับลดธุรกิจของทหาร คือพยายามจะทำให้ธุรกิจที่เคยเป็นของทหารนั้นหมดไป เช่น เอาไปขายทอดตลาด การไม่ให้ทหารเข้าไปบอร์ดหรือคณะกรรมการ หรือธุรกิจที่ผิดกฏหมายต่างๆ ที่ทหารเข้าไปมีส่วนร่วมมากก็จะลดลงโดยมีการกวดขันมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องงานเพราะไม่ได้บอกว่ามีการปฏิรูปลดอำนาจแล้วทหารจะยอมถอนตัวง่ายๆ ตัวอย่างที่เห็นก็คือสมัยอับดุลเราะห์มาน วาฮิด ที่ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีที่มีการเลือกตั้งปี 1999 จริงๆ คนที่ได้รับเสียงข้างมากคือเมกาวาตี ซูการ์โนปุตรี แต่มันมีการเล่นการเมืองอยู่สูงมากสุดท้ายวาฮิดได้เป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นพลเรือน เป็นผู้นำกลุ่มทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของอินโดฯ คือกลุ่ม นาห์ลาตุล อูลามา ที่มีฐานเสียงอยู่ในชวา และเป็นคนที่คอนข้างลิเบอรอลจึงมีการปฎิรูปหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องทหาร สุดท้ายก็ถูกพวกทหารบีบ และถอดถอนเขากลางสภาแล้วเอา เมกาวาตี ซูการ์โนปุตรี ขึ้นมาแทน

เมกาวาตี ซูการ์โนปุตรี ประธานาธิบดีคนที่ 5 ของอินโดนีเซีย

สิ่งหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าทหารยังมีอำนาจอยู่มาก คือ เมกาวาตี ต้องยอมทหารอยู่มาก เพราะยุคของเมกาวาตี เป็นยุคที่ทหารกลับเข้าไปมีอำนาจในการปราบอาเจะห์อีกครั้งหนึ่งในยุคนี้ มีการประกาศกฏอัยการศึกอีกครั้งหนึ่ง

เพราะว่ามีสถานการณ์ในอาเจะห์หรือไม่ ทำให้ทหารจึงมีความชอบธรรมในการมีบทบาทขึ้นมา

คิดว่าน่าจะเป็นผลมากกว่า คือเป็นเพราะว่าเมื่อเมกาวาตีขึ้นมาต้องประณีประนอมกับทหารมาก จึงต้องตามใจทหาร เพราะเมื่อเข้าไปอาเจะห์นั้นก็จะมีเรื่องของผลประโยชน์มาก เช่น น้ำมัน หรือธุรกิจอื่นๆ งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าไปปฏิบัติการที่นั่น

เวลาเราพูดถึงผลประโยชน์ของทหารหรือกองทัพนั้นมันเป็นก้อนเดียว หรือเหมือนก่อนหน้าที่ที่เป็นก๊กเป็นกลุ่มต่างๆ

แบ่งไปตามภูมิภาค

แล้วมีการแบ่งกลุ่มตามแนวคิดหรือไม่ อย่างที่มีกลุ่มที่มีแนวคิดปฏิรูปหรือแนวคิดระเบียบใหม่

ก็มีเหมือนกัน แต่ทหารที่นิยมความรุนแรงหรือใช้การปราบปรามก็ยังคงมีอำนาจอยู่ในตอนนั้น

แม้เมกาวาตี มีการยอมทหาร ทำให้ทหารมีอำนาจมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้กลับไปเป็นเหมือนเดิม ไม่มีที่นั่งในสภาเหมือนเดิม ตัดสินใจนโยบายไม่ได้ หรือมามีส่วนร่วมในธุรกิจตรงๆ นั้นไม่ได้ หลังจากเมกาวาตีก็มีกระบวนการปฏิรูปกองทัพมาเรื่อยๆ ที่ประสบความสำเร็จมากกว่าเพราะซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน เป็นทหารมาก่อน แต่เป็นทหารสายพิราบ จริงๆ กองทัพอินโดนีเซีย ไม่เคยที่จะยึดอำนาจอีกเลย เพราะตัวเองมีอำนาจอยู่ในสังคมการเมืองเต็มที่อยู่แล้ว และยิ่งเป็นสมัยซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ก็ไม่มีกระแสความไม่พอใจถึงต้องล้มรัฐบาล

บทบาทในการแต่งตั้งผู้นำกองทัพอยู่ในมือของใคร

ในอดีตประธานาธิบดีมีบทบาทหลักในการแต่งตั้ง ส่วนปัจจุบันจะมีหน่วยงานภายในกองทัพที่เรียกว่า Dewan Jabatan dan Kepangkatan Tertinggi (Wanjakti) แปลเป็นไทยประมาณ "สภาตำแหน่งและยศสูงสุด" เป็นผู้แต่งตั้งตำแหน่งในกองทัพ แล้วเสนอให้ประธานาธิบดีลงนามรับรอง

และที่น่าสนใจคือปัจจุบันนี้คนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น ไม่ใช่ทหารแต่เป็นพลเรือนซี่งคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระแสปฏิรูปที่ต้องทำให้ทหารถูกควบคุมโดยพลเรือน

กระบวนการลดอำนาจในภาคธุรกิจของกองทัพนั้นเป็นอย่างไรในปัจจุบัน

พึ่งจะออกมาเป็นมติของสภาเมื่อปี 2009

การที่ธุรกิจของกองทัพใช้ความได้เปรียบจากการผูกขาดมาอย่างยาวนานนั้น ความสามารถในด้านการแข่งขันกับองค์กรอื่นๆมีปัญหาเรื่องศักยภาพหรือไม่

ไม่แน่ใจ แต่ไม่เห็นนักธุรกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของซูฮาร์โตมีปัญหาหลังจากที่ซูฮาร์โตลงจากอำนาจเลย รวมถึงธุรกิจของพวกซูฮาร์โตเองด้วย เพราะว่ามันวางความเข้มแข็งไว้ดีมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจอื่นๆไม่สามารถขึ้นมาได้ เพราะตอนนี้เศรษฐกิจของอินโดนีเซียเติบโตสูงมาก แต่มีการพยายามสร้างธุรกิจเครือขายใหม่ๆ ขึ้นมากด้วย อีกด้านเพราะส่วนมากเป็นธุรกิจที่ผู้ขาดอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมัน ป่าไม้

แล้วไม่มีคู่แข่งใหม่ๆที่เข้ามาบ้างหรือ

ก็มีการเข้ามาแต่ก็เข้ามาในฐานะพาร์ทเนอร์ ไม่ใช่มาเป็นคู่แข่ง สัญญาณโทรทัศน์นั้นแม้กองทัพจะเป็นเจ้าของช่อง แต่ก็ไม่ได้เป็นทั้งหมด มือถือแทบจะไม่มีของอินโดฯเลย เพราะเป็นการลงทุนของออสเตรเลียเป็นของนักลงทุนข้างนอก ทำให้ค่าโทรสูงด้วย

การลดบทบาทกองทัพเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับว่ามันจำเป็นและเป็นสิ่งที่ดี แม้กระทั้งวิรันโต ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสมัยซูฮาร์โตคนสุดท้าย ตอนนี้ก็ยังออกมาอ้างว่าตนเองเป็นคนผลักดันให้เกิดการปฏิรูป ซึ่งในความเป็นจริงนั้นมันไม่จริง เพราะไม่มีทางที่จะปฏิรูปตัวเอง แต่ทุกคนก็พยายามบอกว่าตัวเองมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูป ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าภาพของการปฏิรูปเป็นสิ่งที่ดีและทุกคนยอมรับ

บทบาทของทหารในฐานะที่ด้านหนึ่งเป็นเรื่องของการจัดการความมั่นคงอีกด้านหนึ่งในการเข้ามาควบคุมสังคมนั้น เป็นการไปใช้คำอื่นแทนไม่ใช้คำว่า "ดวีฟุงซี" (Dwifungsi) อีก เช่นว่าเมื่อไหร่สังคมต้องการเราก็พร้อม แต่ถอนตัวออกและไม่เข้าไปยุ่งมากที่สุด มีการถอยออกไปแล้วก็บอกตัวเองเป็นทหารอาชีพ

ความต่างกับของไทยที่เข้ามายึดอำนาจแล้วมีอำนาจในการจัดการ แต่ของอินโดนีเซียนั้นแม้ถูกแต่งตั้งเข้าไปในสภาแต่ถูกดำเนินการโดยผู้อื่น

ทำไมเมกาวาตี ขึ้นมากลับกลายเป็นคนที่ต้องประนีประนอมกับทหาร ทั้งที่สมัยพ่อตัวเองถูกล้มโดยทหาร

ทหารเองก็ต้องเลือกเมกาวาตี เพราะฝ่ายวาหิดนั้นดำเนินการปฏิรูปเต็มที่ และประเด็นที่ทหารไม่พอใจวาหิตมากเนื่องจากเขาพยายามรื้อฟื้นเรื่องการสังหารคอมมิวนิสต์ มีการไต่สวนหาคนผิดมาลงโทษ รวมทั้งกลุ่มศาสนาก็ไม่เอาด้วย ทหารจึงหนุนเมกาวาตี รวมไปถึงเมกาวาตีต่อรองง่ายกว่า ไม่มีนโยบายชัดเจน เพราะมุ่งไปทางเศรษฐกิจมากกว่า แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่สั้นจนยากจะประเมินว่าตั้งแต่ปี 2001 – 2004 นั้น เมกาวาตีทำอะไรบ้าง เหมือนคอยประนีประนอมกับกลุ่มทหารและกลุ่มอิสลาม แต่ด้านที่เด่นที่สุดหนึ่งของเธอคือการพัฒนาเศรษฐกิจ

เราสามารถพูดได้ไหมว่าในขณะนั้นแทนที่จะเป็นเมกาวาตี แต่ถ้าเป็นวาหิตเป็นประธานาธิบดีอยู่ต่อ ความรุนแรงอาจจะเกิดขึ้นได้จากการที่เข้าอยากเข้าไปจัดการและชำระการสังหารคอมมิวนิสต์ของกองทัพและผู้เกี่ยวข้อง ในขณะที่ทหารเองก็รู้สึกว่าตนเองถูกรุกมากอาจมีการโต้กลับได้หรือไม่

จริงๆการที่มีการถอดถอนวาหิดกลางสภานั้นก็เป็นการโต้กลับของทหารด้วย แต่ถ้าจะทำแบบไทยโดยการเอารถถังออกมายึดอำนาจนั้นไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในอินโดฯ

หลังจากถอดถอนวาหิด เมกาวาตีในฐานะรองประธานาธิบดีในขณะนั้นก็ขึ้นมาแทน แม้มีคนออกมาให้กำลังวาหิตโดยเดินทางมาจากชวาตะวันออก เนื่องจากฐานผู้สนับสนุนอยู่ที่นั่น แต่ถูกทหารบล็อกเอาไว้ และคนก็เบื่อวาหิดมาก เพราะเกิดความขัดแย้งสูง เนื่องจากวาหิดลิเบอรอลเกินไป ทำหลายอย่างที่นำไปสู่ความไม่พอใจและต่อต้านมาก แต่เรื่องที่หนักที่สุดคือเรื่องการรื้อฟื้นคดีฆ่าสังหารคอมมิวนิสต์ เพราะกลุ่มอิสลามก็กลัวว่าหากรื้อคดีแล้วก็จะโดนเช็คบิลไปด้วย

งบประมาณทางการทหารขณะนี้มีการลดลงหรือไม่อย่างไร

ตั้งแต่ปี 2007 งบประมาณทหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 81.8 ล้านล้านรูเปีย ถือเป็น 0.05 ของงบประมาณ มีกองกำลังประมาณ 467,000 คน ขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับยุคซูฮาร์โต ในปี 1998-1999 นั้นลดลงมาก แต่ก็เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา แต่ก็ไม่ได้เพิ่มมาก คิดว่าเป็นการเพิ่มไปตามงบประมาณ

มีการวิเคราะห์ว่าในประเทศอาเซียนอินโดนีเซีย ถูกมองว่าเป็นประเทศที่การจัดซื้ออาวุธยุทโธปรกรณ์ต่ำกว่าประเทศอื่น อาจเป็นเพราะไม่มีปัญหาในหมู่เกาะสแปรตลีย์เหมือนประเทศอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกับเขาด้วย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งซื้ออาวุธเยอะ แต่ช่วงหลังเริ่มมีการสะสมมากขึ้น พร้อมกับที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ปัญหาข้อพิพาทชายแดนของอินโดนีเซีย ถือว่ามีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ บริเวณนี้

มีประชาชนอินโดฯ ที่เรียกร้องทหารให้เข้ามาแทรกแซงการเมืองหรือไม่ เมื่อเผชิญกับปัญหาของนักการเมืองหรือรัฐบาล ความฝันถึงอดีตอย่างยุคระเบียบใหม่ยังคงมีหรือไม่

มีคนนึกถึงยุคระเบียบใหม่ แต่ไม่ใช่ในแง่ของทหาร คิดเพียงว่าอยากมีเศรษฐกิจที่ดี เพราะมีโพลล์สำรวจหลายสำนักมากเรื่องจะเอาใครเป็นประธานาธิบดีในสมัยหน้า ปรากฏว่าคนบอกว่าจะเลือกคนที่ไม่ใช่ทหารเป็นอันดับ 1 ตลอด คนไม่เอาทหาร แม้กระทั่งลาออกมาจากทหารแล้วคนก็ยังไม่เลือก แต่กรณีซูซีโล บัมบัง ยุดโยโน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่คนเลือกนั้นเนื่องจากเขามีแนวคิดที่ลิเบอรัลมีแนวคิดเรื่องปฏิรูป มีความจริงใจและมีภาพเรื่องการไม่คอรัปชั่น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในอินโดนีเซีย

พรรคการเมืองในอินโดฯนีเซีย นั้น พรรคใหญ่ๆ ประกอบด้วย พรรค Golkar (Party of the Functional Groups) ที่เป็นฐานเสียงของซูฮาร์โตมาก่อน และพรรคของเมกาวาตี PDI-P หรือ The Indonesian Democratic Party – Struggle และพรรค ซูซีโล บัมบัง ยุดโยโน คือ พรรคประชาธิปัตย์ หรือ Democratic Party และมีพรรคน้องใหม่ อย่างพรรคของลูกเขยซูฮาร์โตที่อยู่เบื้องหลังการสังหารนักศึกษา ซึ่งเขาก็จะลงรับการเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งปีหน้านี้จะเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญที่จะชี้ว่าคนจะเอาอะไร ว่าจะเอาทหารหรือไม่ แต่จากโพล์สำรวจก็ชี้ว่าคนไม่เอาทหาร

ป้ายรณรงค์หาเสียงของพรรค PDI-P

ในอินโดนีเซีย การเลือกตั้งมีเทคนิคใหม่ๆ เพราะทหารรวยๆ ที่เล่นการเมืองนั้นเอาเงินไปตั้งมูลนิธิและมูลนิธิก็ดำเนินกิจกรรมต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เหมือนต่อต้านสิ่งที่ทหารเคยทำ แต่ก็เป็นฐานเสียงของทหาร

โดยสรุปแล้วการปฏิรูปกองทัพมี 2 ประเด็นที่ชัดเจนคือการไม่มีที่นั่งในสภาของทหาร และการแยกทหารออกจากการเมือง การเอาทหารออกจากสภานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะในอดีตทหารมีอำนาจมาก โดยการเข้าไปโหวต เข้าไปนั่งเป็นรัฐมนตรี ขณะนี้ก็ทำไม่ได้แล้ว ไม่มีทหารเข้าไปมีตำแหน่งในรัฐบาลแล้ว

"อย่างไรก็ตามการเข้าไปมีบทบาทของกองทัพในสภาก่อนหน้านี้นั้นเป็นการเข้าไปอย่างชัดเจน ไม่ได้มีลักษณะที่กระทำหรือสั่งการอยู่เบื้องหลัง แต่หลังจากยุคซูฮาร์โตนั้นทหารก็ไม่มีสิทธิที่จะออกมาพูดเรื่องการเมือง คำว่ายึดอำนาจนั้นเข้าใจว่าไม่ได้อยู่ในความคิดของทหารอินโดนีเซีย"

และที่สำคัญคือไม่เคยมีการรัฐประหารในอินโดนีเซียที่สำเร็จ ถ้าเราจะเรียกว่าเหตุการณ์ปี 1965 คือการพยายามทำรัฐประหารนั้นก็ไม่สำเร็จ

เหตุผลอะไรที่คนอินโดฯ มีความจำยาวกว่าคนไทยเกี่ยวกับทหาร

การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารของอินโดนีเซียนั้นรุนแรงมาก มีการเข้าไปปราบคนในหลายพื้นที่ คนก็ทั้งเกลียดและกลัว มีความรู้สึกกับคนที่เคยเป็นทหารว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว

อย่างไรก็ตามในอินโดฯ ก็มีฝ่ายขวาที่หนุนทหาร จนสามารถมีการตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมืองใหญ่ๆ ได้ แต่วัฒนธรรมการเมืองมันต่างจากไทย ที่มีการเรียกร้องให้ทหารมายึดอำนาจ หรือให้ทหารเข้าไปมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น อินโดนีเซียไม่มีแนวคิดแบบนั้น แต่จะเป็นในลักษณะให้ลงเลือกตั้งแล้วให้คนเลือก

หากเกิดปัญหาทางการเมือง เช่น การคอร์รัปชัน รัฐบาลด้อยประสิทธิภาพ มีคนต่อต้านรัฐบาล ทางออกของคนอินโดฯที่เสนอคืออะไร

คือการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ โดยคนอินโดนีเซีย ค่อนข้างเชื่อมั่นในคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (Komisi Pemberantasan Korupsi – KPK) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่เป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปการเมืองอินโดฯ และทำงานดีสามารถเอาคนใหญ่ๆในพรรครัฐบาลติดคุกได้ คนก็พอใจ และคิดว่ามันสามารถใช้กลไกเหล่านี้ได้ ไม่ได้เอียงเข้าข้างรัฐบาลอะไร

สำหรับที่มาของคณะกรรมการตรวจสอบการคอรัปชั่นนั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2003 เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น โดยสภาผู้แทนประชาชนเลือกตามที่เสนอชื่อโดยประธานาธิบดี

สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ที่จาการ์ต้า ภาพจาก wikipedia

คนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย จะเลือกพรรคเดิมที่เคยเลือก และไม่ได้มีลักษณะที่จะชนะแบบถล่มทลาย แต่จะเป็นรัฐบาลผสมทั้งนั้น

กลุ่มศาสนาไม่ค่อยเข้ามามีบทบาททางการเมืองแต่จะเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวรอบนอก ตัวอย่างที่ชัดคือหลังยุคระเบียบใหม่ คนเริ่มมีอิสระในการตั้งพรรคการเมือง มีพรรคอิสลามลงสมัครรับเลือกตั้งเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้เสียงสนับสนุนมากเลย คนอินโดนีเซียโดยส่วนใหญ่ไม่ได้เคร่งศาสนา

ปี 49 ของไทยทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองสูง และเมื่อมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ถูกคาดหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะจัดการกับทหารได้ เช่นการหาความจริงลารเอาผิดทหารที่ผ่านมาได้ แต่ที่เกิดขึ้นเป็นการเจรจาประนีประนอมกัน ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะเรียกรู้จากการปฏิรูปกองทัพที่ผ่านมาของอินโดนีเซียมีอะไรบ้างหรือไม่

คิดว่าไม่น่าจะมีเลย เพราะเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ต่างกัน หลังจากยุคซูฮาร์โต ทหารอินโดนีเซียไม่เคยเข้ามายึดอำนาจและปกครองด้วยตัวเอง ไม่เคยหนุนใครขึ้นมาเป็นรัฐบาลหุ่นเชิด และไม่มีอะไรที่เป็นสถาบันที่เหนือกว่าเพื่อที่จะอ้างถึง ทหารอินโดนีเซีย ไม่สามารถยกเหตุผลมาอ้างเพื่อทำการยึดอำนาจแล้วจะไม่มีการประท้วง คนส่วนใหญ่คงรับไม่ได้ คุณค่าที่สูงคือเรื่องความเป็นชาติ ทุกคนสามารถอ้างความเป็นชาติได้ไม่เฉพาะทหาร เพราะจะยกเรื่องการคอรัปชั่นมาเพื่อเป็นเหตุให้ทหารเข้ามาแทรกแซงนั้นไม่ได้ เนื่องจากคนอินโดนีเซียก็มองว่าทหารก็คอรัปชั่นเล่นกัน ของไทยอาจมองว่านักการเมืองเลวที่สุด แต่ของอินโดนีเซีย นั้นเขาก็มองว่าเลวพอๆกัน ทหารก็เลว นักการเมืองก็เลว

"คำว่าปฏิรูปของเรากับของเขามันต่างกันเยอะ ของเขาปฏิรูปก็มีการเปลี่ยนทั้งกะบิ ของไทยกลายเป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อลดแรงกดดันทางสังคมมากกว่าที่จะเปลี่ยนแปลง"

การเมืองอินโดนั้น ฝ่ายบริหารที่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงในยุคแรกๆไม่กี่ปี หลังจากนั้นก็ไม่มีแล้ว มีเพียงประธานาธิบดี มีการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน และเป็นการเลือกโดยตรงตั้งแต่ 2004 

ประวัติกองทัพสมัยใหม่ของอินโดนีเชียก่อนปฏิรูป*

การเกิดกองทัพสมัยใหม่อินโดฯ

เกิดตอนอินโดนีเซียประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1945 โดยก่อนหน้านั้นอินโดนีเซียถูกฮอลันดา(เนเธอร์แลนด์)ยึดครองอยู่นานโดยที่ไม่เคยก่อตั้งกองกำลังที่มีคนพื้นเมืองเป็นทหาร แต่เอาทหารรับจ้างมาจากประเทศต่างประเทศ เนื่องจากว่ากลัวว่ากลุ่มคนพื้นเมืองถ้าเป็นทหารจะลุกขึ้นมาต่อต้านประเทศอาณานิคม

ก่อนมีกองทัพอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ กองกำลังจะคล้ายกับซุ้มเจ้าพ่อ ย้อนกลับไปหน้านั้นที่ญี่ปุ่นยึดอินโดนีเซียช่วง 1942-1945 ญี่ปุ่นก็เข้าไปจัดตั้งกองกำลังไว้มาก เพราะต้องการให้กองกำลังมาช่วยญี่ปุ่นรบ โดยที่ใครสามารจัดตั้งกองกำลังได้ญี่ปุ่นจะช่วย รวมถึงกลุ่มอิสลาม กลุ่มคนธรรมดาด้วย พอญี่ปุ่นออกไป กองกำลังที่ญี่ปุ่นตั้งไว้จึงกลายมาเป็นกองกำลังแห่งชาติอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี 1945

ทหารอินโดฯ หน้าบุโรพุทโธ มี.ค.1947 ภาพจาก wikipedia

กองทัพในฐานะผู้ให้กำเนิดชาติ

กองทัพของอินโดนีเซียมีบทบาททางสังคมและการเมืองของอินโดนีเซียอย่างสูง เพราะเมื่อประกาศเอกราช  ฮอลันดาไม่ยอมรับคำประกาศนั้นและพยายามกลับเข้ามายึดใหม่อีก ช่วงตั้งแต่ 1945-1949 จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า สงครามต่อสู้เพื่อเอกราช ซึ่งกลุ่มที่มีบทบาทที่สุดก็คือกองทัพอินโดนีเซีย จนกระทั่งได้เอกราชเต็มที่ในปี 1949 ฉะนั้นมันเหมือนกับเป็นความภูมิใจ ถือเป็นกลุ่มหลักของการให้กำเนิดชาติอินโดนีเซีย สถานะของกองทัพจึงสูงมากและทำให้คนรู้สึกว่าไม่มีกองทัพก็ไม่สามารถเป็นชาติได้แบบนี้ ซึ่งตรงนี้อาจจะต่างจากไทยในเรื่องจุดกำเนิด ของไทยกำเนิดมาจากการรักษาสถาบันพระมหาษัตริย์

บทบาทกองทัพในฐานะปราบพวกที่จะแยกเป็นประเทศใหม่

หลังจากปลดแอกประเทศได้แล้ว ก็ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีกลุ่มที่ต้องการจะแยกตัวออกไปเป็นประเทศใหม่ หรือกลุ่มที่ต้องการให้อินโดนีเซียเป็นรัฐอิสลาม กองทัพจะเข้ามามีบทบาทในการปราบพวกที่จะแยกตัวเหล่านี้ ตั้งแต่สมัยซูการ์โน

ประชาธิปไตยแบบชี้นำยุคซูการ์โน

ยุคของซูการ์โนมันเป็นยุคที่มีทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี โดยซูการ์โนเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ประกาศเอกราชเป็นต้นมา ในฐานะผู้นำในการประกาศเอกราช ยุคซูการ์โนถือเป็นเผด็จการเช่นกันเพราะประกาศใช้ประชาธิปไตยแบบชี้นำ และไม่มีการเลือกตั้งอยู่ช่วงหนึ่ง โดยฐานของซูการ์โนตอนแรกเป็นทหาร รวมทั้งคอมมิวนิสต์ด้วย แต่ตอนหลัง 2 กลุ่มนี้ขัดแย้งกันเอง ซูการ์โนก็ไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจได้ จึงนำมาสู่ความขัดแย้งขึ้นอย่างรุนแรง

ไม่เพียงทหารจะเข้ามามีบทบาทมากเฉพาะในยุคซูฮาร์โต แต่ในสมัยซูการ์โนเองทหารก็มีบทบาทมากแล้ว เช่น มีบทบาทในรัฐวิสาหกิจต่างๆ เป็นยุคที่ชาตินิยมรุนแรงมากเพราะว่าตกเป็นอาณานิคมมานาน ดังนั้นเมื่อได้รับเอกราชจึงมีความเป็นชาตินิยมสูง เช่นการเอาธุรกิจที่เป็นของดัตช์(ฮอลันดา)ทำให้เป็นของอินโดนีเซียเสีย เช่น ธุรกิจด้านน้ำมัน สายการบิน แล้วทหารก็เข้าไปนั่งบริหาร นำมาสู่ปัญหาการคอรัปชั่น การไร้ประสิทธิภาพ ฯลฯ

ปัญจศีลา(pancasila)ในฐานะอุดมการณ์หลักของชาติ

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรเป็นมุสลิมมากที่สุดในโลก แต่มุสลิมของอินโดนีเซียค่อนข้างเป็นทางสายกลาง หรือ ลิเบอรัลก็พูดได้ ความเป็นอิสลามของอินโดนีเซียถูกกันออกไปจากการเมืองตั้งแต่ประกาศเอกราช  เพราะมันมีการพยายามแย่งชิงพื้นที่มาก กลุ่มอิสลามก็ต้องการให้เป็นอิสลาม แต่กลุ่มอื่นไม่เอา โดยเฉพาะซูการ์โนซึ่งคิดว่าถ้าเป็นอิสลาม แล้วกลุ่มคริสต์ กลุ่มอื่นๆ ก็จะอยู่กันลำบาก จึงเสนอ "ปัญจศีลา(pancasila)" มาเป็นอุดมการณ์หลักของชาติ เป็นหลักที่ยึดถือร่วมกัน โดยมีหลักการ 5 ข้อ ข้อแรกคือ เปิดกว้างว่าเชื่อในพระเจ้าของเดียวตามศาสนาของคุณ ข้อสอง ให้เชื่อในมนุษย์ที่มีความอารยะ อินโดนีเซียมีหลักมนุษย์นิยมมาก คิดว่ามนุษย์ที่ต่อสู้เพื่อเอกราชนั้นเป็นมนุษย์ที่แข็งแกร่ง เป็นมนุษย์ที่น่าชื่นชม ข้อสาม เอกภาพของอินโดนีเซีย จะแย่งแยกไม่ได้ เพราะกว่าจะเป็นเอกราชได้ต้องรวมอาณาจักรเล็กอาณาจักร 200-300 กลุ่มเข้าด้วยกัน โดยกระบวนการรวมนั้นเริ่มตั้งแต่อาณานิคมของดัตช์ ค่อยๆ ยึดไปเรื่อยๆ จนมาเป็นอินโดนีเซียในปี 1945

ข้อสี่ ประชาธิปไตยผ่านผู้นำที่ฉลาด เป็นประชาธิปไตยที่มีการตกลงกันแล้วผ่านผู้นำที่ฉลาด ข้อห้า สังคมที่มีความยุติธรรมสำหรับคนอินโดนีเซียทั้งหมด เพราะมันเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่หลากหลาย ฉะนั้นก็ต้องมีหลักประกันว่าจะมีความยุติธรรมสำหรับทุกคน

ตราปัญจศีลาหรือปัญจศีลที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 ประการ

ครุฑปัญจศีล สัญลักษณ์ในตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย

กระบวนการสร้างชาติอินโดฯ

อาณาเขตที่ประกาศเป็นประเทศอินโดนีเซียคืออาณาเขตที่ฮอลันดาเคยครอบครอง ตอนที่ฮอลันดาเข้ามาโดยเอาภาษาตัวเองมาให้บังคับให้ทุกคนใช้นั้นเป็นเรื่องยาก หรือใช้ภาษาชวาซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดก็ไม่ได้เช่นกันเพราะคนกลุ่มอื่นพูดไม่ได้ ขณะที่ภาษามลายูก่อนหน้านั้นในยุคจารีตภาษามลายูเป็นภาษากลางในการติดต่อค้าขายบริเวณคาบสมุทรอยู่แล้ว จึงใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางและได้พัฒนากลายเป็นภาษาอินโดนีเซียในที่สุด 

การเกิดของสาธารณูปโภคสมัยใหม่ที่ฮอลันดาสร้างขึ้น เช่น โรงเรียน หนังสือพิมพ์ หรือการขนส่ง รถไฟ ฯลฯ ทำให้คนรู้สึกมีสำนึกความเป็นชาติด้วย ขณะที่แบบเรียนนั้นเริ่มใช้เมื่อมีเอกราชแล้ว เป็นการปลูกฝังความรักชาติ รวมถึงปัญจศีลา(pancasila) ก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติ แม้กระทั่งตอนนี้มันก็ยังมีบทบาทสำคัญในอินโดนีเซีย ทุกคนต้องรู้จัก ต้องท่อง ต้องเรียนเป็นเรื่องเป็นราว โดยสรุปการรวมชาติของอินโดฯ ใช้ทั้งแนวแข็งและแนวอ่อน แนวอ่อนคือ อัตลักษณ์ เพลงชาติ การศึกษา แบบแข็งคือการใช้กำลังปราบ

บทบาทกองทัพกับการปราบพรรคคอมมิวนิสต์

ปี 1965 มีการจับนายพลไปสังหารเกิดเหตุการณ์พยายามทำรัฐประหาร แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังถกเถียงกันว่าใครเป็นคนทำแน่เพราะมีนายพลในกองทัพร่วมอยู่ด้วย แต่กลุ่มที่ตกเป็นจำเลยจริงๆ ก็คือ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย รวมถึงแบบเรียนก็ระบุว่าคอมมิวนิสต์เป็นคนทำรัฐประหาร  และหลังจากในเหตุการณ์นั้นกองทัพอินโดฯ จึงดำเนินการปราบพรรคคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ ถูกกวาดล้าง ถูกฆ่าตาย ถูกยุบพรรค กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายนับแต่นั้น ก็เลยยิ่งทำให้สถานะของกองทัพเด่นขึ้นมา

ซูการ์โนในการเลือกตั้ง 1955

ในสมัยซูการ์โนแม้กองทัพจะมีอำนาจมาก แต่ขณะเดียวกันคอมมิวนิสต์ก็ได้รับการยอมรับจากคนมาก ไม่ถือว่าผิดกฏหมายและลงเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงสูงมากในปี 1955 ซูการ์โนประกาศว่าชาติจะอยู่รอด ต้องมี "นา ซา คอม" คือ ชาติ ศาสนา และคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นเหมือนการให้สถานะคอมมิวนิสต์อย่างสูง กองทัพซึ่งก็มีสถานะสูงเช่นกันจึงไม่พอใจ เลยกลายเป็นความขัดแย้งอย่างรุนแรง แล้วมันก็ไปปะทุในปี 1965

ซูการ์โนกับฟิเดล คาสโตร ที่ ฮาวานา ประเทศคิวบา

เหตุการณ์ปี 1965 หลากทฤษฎีว่าด้วยผู้ลงมือ

อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และการประชุมที่บันดุง ในปี 1955 ในทางปฏิบัตินั้นดูราวกับว่าซูการ์โนเอียงไปทางค่ายคอมมิวนิสต์ เช่น ซูการ์โนจะไม่เปิดรับเงินลงทุน เงินช่วยเหลือจากโลกเสรีประชาธิปไตยเลย แต่จะไปสนิทกับอีกพวกหนึ่งแทน อาจเป็นไปได้ที่อเมริกาไม่พอใจ รวมทั้งซูการ์โนเองก็มีปฏิกิริยาต่อต้านรุนแรงต่ออเมริกา เช่นการพูดว่า "ไปลงนรกเลยกับเงินช่วยเหลือของคุณ" อย่างไรก็ตามมันก็มีหลายทฤษฎีมากว่า ทหารทำเอง ซูฮาร์โตเป็นคนทำ หรือซูการ์โนอาจจะยึดอำนจตัวเอง คอมมิวนิสต์เป็นคนทำ หรือเกิดขึ้นไปเอง ฯลฯ

เหตุการณ์ปี 1965 นั้น เกิดจากกองกำลังที่นำโดยนายพลอุนตุ้ง ซึ่งเป็นทหารอากาศ เขาไปจับตัวนายทหารระดับสูง 4 คนมา บางคนหนีรอด ลูกถูกยิง ทหารสนิทถูกยิง คนที่จับได้ก็เอาไปฆ่าทิ้งลงบ่อน้ำเก่าๆ หลังจากนั้นไม่นาน ซูฮาร์โตก็สามารถนำกองกำลังอีกส่วนหนึ่งมาปราบกองกำลังนี้ได้ โดยใช้เวลา ประมาณ 2 คืน

ตอนนั้นกองกำลังทหารในอินโดนีเซียเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยอยุ่ เนื่องจากตอนญี่ปุ่นเข้ามาช่วยตั้งกองกำลังตามที่ต่างๆจำนวนมาก ทำให้เมื่อประกาศเอกราชกองทัพของอินโดนีเซียจึงมีกองกำลังเล็กๆ เต็มไปหมด รัฐบาลไม่มีเงินไปสนับสนุนทั่วถึง เพราะฉะนั้นแต่ละกลุ่มก็ต้องหาเงินมาบริหารกองกำลังของตัวเอง โดยที่ขณะนั้นกลุ่มของซูฮาโตโดดเด่นในแง่การหาเงิน จึงเป็นกองกำลังที่ค่อนข้างเข้มแข็งและมีบทบาทมาก แต่ก็ยังไม่โดดเด่นมาก จนกระทั้งเหตุการณ์ปี 1965 ที่เขาสามารถนำกองกำลังของเขามาปราบได้ จึงกลายเป็นฮีโร่ ที่ทำให้สถานการณ์ที่เลวร้ายกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ

ภาคประชาสังคมปราบคอมมิวนิสต์

กลุ่มที่อยากโค่นคอมมิวนิสต์ไม่ใช่มีแค่ทหาร อิสลามก็ไม่ชอบ เพราะรู้สึกว่ากลุ่มนี้ไม่เอาศาสนา และเป็นกลุ่มที่มีอำนาจเยอะมาก ฉะนั้น คนที่เอาคอมมิวนิสต์ไปสังหารไม่ได้มีเฉพาะทหาร แต่เป็นการกระทำของพลเรือนด้วยของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง มีหนังเรื่อง The Act of Killing เอาคนที่เคยฆ่าคอมมิวนิสต์มานั่งเล่าเลยว่าฆ่าอย่างไร เอาลวดรัดคออย่างไร พร้อมพาไปดูสถานที่จริง พวกเขาเป็นคนธรรมดา และรู้สึกภูมิใจมากกับสิ่งที่พวกเขาทำ แต่ตอนท้ายๆ ของเรื่องดูเหมือนสำนึกผิดเหมือนกัน มีคนที่ฆ่าหลายคนพูดกันเองว่าจริงๆ คนที่เราฆ่าไม่ได้เลวมากใช่ไหม เราหาข้ออ้างในการฆ่าเขาเท่านั้นใช่ไหม แล้วก็ถกเถียงกัน

สำหรับการปราบปรามในยุคนั้นเขารู้ว่าใครเป็นใคร เพราะตอนนั้นมันยังถูกกฎหมาย รวมทั้งทหาร เจ้าหน้าที่รัฐ นักหนังสือพิมพ์ก็เข้ามาช่วยลิสต์รายชื่อว่าใครเป็นใคร แม้กระทั้งสถานที่ที่ใช้ฆ่าในหนังเรื่องนี้ก็คือ ที่ทำการของหนังสือพิมพ์ เอาคนไปฆ่าบนดาดฟ้า ไม่มีการสอบสวน ช่วงนั้นมีคนตายจำวนวนมากเกิดขึ้นทั่วทุกเมือง จนกลายเป็นสิ่งที่เหมือนถูกกฎหมายไปโดยปริยาย

อีกประเด็นที่คอมมิวนิสต์ถูกฆ่ามากนั้นเพราะว่าคอมมิวนิสต์มีนโยบายปฏิรูปที่ดิน ทำให้คนไม่พอใจและมองว่าคนเหล่านี้จะมาแย่งชิงที่ดิน โดยขณะนั้นเป็นการชูนโยบายผ่านรัฐบาลซูการ์โน่ เป็นนโยบายที่ได้รับการเลือกมากด้วย ในการเลือกตั้งก่อนหน้าที่จะถูกล้มไป

กองทัพอินโดฯ ในฐานกลุ่มทุน

กองทัพทำธุรกิจทั้งบนดิน ใต้ดิน มรดกที่ได้มาจนทุกวันนี้ก็ทำให้เส้นสายของทหารเหล่านี้อยู่ในธุรกิจใหญ่ๆ หลายอย่าง เช่น สื่อ น้ำมัน ฯลฯ และกลายเป็นธรรมเนียมว่า กองกำลังต่างๆ จัดตั้งสหกรณ์เป็นของตัวเอง สหกรณ์ดูเหมือนเล็ก แต่จริงๆ เงินเยอะมาก แล้วเอาบรรดาภรรยานายทหารมาบริหาร และเงินจากสหกรณ์ก็นำไปลงทุนธุรกิจใหญ่ๆ ทั้งนั้น ปัจจุบันเขากำลังปฏิรูปเรื่องนี้อยู่ แต่ยังไม่เสร็จ มันใช้เวลานานมาก ทำให้ทุกวันนี้ก็ยังมีธุรกิจใหญ่ของทหารมากมาย นอกจากนี้ยังมีการเก็บเงินค่าคุ้มครองด้วย แบ่งตาโซน ตั้งแต่ระดับอำเภอ  ตำบล เป็นต้น

อย่างไรก็ตามแม้จะมีกองกำลังหลายกลุ่มและแต่ละกลุ่มแสวงหาเงินกันนั้น แต่มีความเคารพกันมากตกลงกันได้ บวกกับการที่ทหารถูกฝึกมาให้เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาทำให้มีคนคุมอยู่จริงๆ ไม่มาก แต่เข้าใจว่าหลังจากซูฮาโตอาจจะคุมได้ไม่หมด ถึงมีกลุ่มที่คิดว่าอย่างนี้ไม่เวิร์คแล้ว จึงพยายามปฏิรูป

กองทัพยุคซูฮาร์โต

จากที่กองทัพดูเหมือนมีอิทธิพลมากอยู่แล้วเพราะไม่ใช่แค่มีหน้าที่ปกป้องประเทศอย่างเดียว แต่เมื่อซูฮาร์โตขึ้นมาก็ทำให้เป็นระบบมากขึ้น เริ่มมีการบัญญัติคำว่า ทวิหน้าที่ กองทัพนอกจากจะมีหน้าที่ปกป้องประเทศแล้ว ควรจะมีหน้าที่เข้าไปจัดการกับเรื่องทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจด้วย เหมือนทำให้คำนี้กลายเป็นลักษณะของทหารขึ้นมา

มีการนำกองทัพเข้าไปนั่งในสภาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวโดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง มีโควตาของกองทัพ 200 กว่าคน ตอนนั้นพรรคการเมืองแทบจะไม่มีบทบาท เพราะก่นหน้านั้นสมัยซูการ์โนก็ถูกคุมอยู่แล้ว เมื่อซูฮาร์โตขึ้นมาใช้ประชาธิปไตยแบบชี้นำทำให้พรรคการเมืองก็แทบจะหมดบทบาท รวมทั้งใช้วิธีการบีบด้วยกฎหมายทำให้พรรคการเมืองยุบรวมกันเหลือเพียง 3 พรรค

ส่วนกลุ่มมุสลิม มีบทบาทข้างนอก เช่น ฆ่าคอมมิวนิสต์ แต่กลุ่มเหล่านี้ไม่มีบทบาทในทางการเมือง รวมทั้งไม่เข้มแข็งพอที่จะนำเสนอแนวคิดทางอิสลาม ทำให้เรื่องรัฐอิสลามจึงตกไป

บทบาทในทางเศรษฐกิจของกองทัพก็ยิ่งเข้มแข็งมากขึ้น ธุรกิจของทหารยิ่งเข้มแข็ง ซูฮาโตยังเข้าไปจัดการแต่งตั้งโยกย้ายทหารด้วยตัวเอง

กระบวนการเหล่านี้ใช่เวลาตั้งแต่ซูฮาร์โตขึ้นมาอย่างเป็นทางการ 1966 จนถึงปี 1970-80 ยุคนั้นเรียกว่ากองทัพเป็นฐานค้ำจุนอำนาจของซูฮาร์โตที่มั่นคงที่สุด กองทัพแทรกซึมไปในกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน เหมือนตำรวจสันติบาล แต่ให้บทบาทกับทหาร แม้กระทั่งในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ห่างไกล แล้วก็ยุคนี้ก็เอากองทัพกับตำรวจมารวมกัน

การเมืองในสมัยซูฮาร์โต

มีการเลือกตั้งทุก 5 ปี แต่เลือกเมื่อไหร่พรรคการเมืองที่ซูฮาร์โตก็จะชนะเพราะว่าใช้วิธีการควบคุมทุกอย่าง โดยซูฮาร์โตตั้งกลุ่มอาชีพกลุ่มปฏิบัติการ เอาพวกอาชีพต่างๆให้มาเป็นสมาชิก และเมื่อเลือกตั้งก็เลือกตามแบบนี้ และเอาทหารไปคุมตามหน่วยเลือกตั้ง ดังนั้นจะทราบว่าใครไม่เลือก และซูฮาร์โตมีนโยบายชูอุดมการณ์ปัญจศีลาและการพัฒนา

รวมถึงต้องยอมมรับว่าในยุคของซูการ์โน่นั้น เศรษฐกิจตกต่ำมาก เนื่องจากประเทศพึ่งเป็นเอกราช ปิดรับการช่วยเหลือจากตะวันตก และการพัฒนาเศรษฐกิจยังไม่ดี ซูการ์โน่ลงจากอำนาจไปนั้นด้านหนึ่งเพราะเศรษฐกิจไม่ดีด้วย และเมื่อซูฮาร์โตขึ้นมาก็ชูเรื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเปิดรับตความช่วยเหลือจากตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกา  และตอนหลังก็รับจากญี่ปุนด้วย ทั้งนี้อเมริกาเข้ามาช่วยหลายด้าน เช่น เรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับของประเทศไทยในยุคนั้น รวมทั้งเอาพวคนเก่งๆหัวกะทิไปเรียนที่อเมริกา แล้วเป็นเทคโนแครตและเอานโยบายกลับมาพัฒนาประเทศ

ยุค "ระเบียบใหม่"

"ระเบียบใหม่" เป็นคำที่ซูฮาร์โตใช้เรียกยุคสมัยของตัวเอง เหมือนเป็นคำที่หยิบยืมมาจากอเมริกาที่ประธานาธิบดีอเมริกาใช้คำยุคระเบียบโลกใหม่ แล้วเมื่อซูฮาร์โตขึ้นมานั้นก็ประกาศว่าเป็นการเข้าสู่ยุคระเบียบใหม่ ยุคเก่าที่ซูการ์โนเป็นผู้นำนั้นเป็นยุคระเบียบเก่าซึ่งมันแย่มาก เศรษฐกิจไม่ได้ ดังนั้นภายใต้ยุคระเบียบใหม่เราจะมุ่งสู้การพัฒนา

 

*หมายเหตุ : เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์อรอนงค์ ทิพย์พิมล ในคราวเดียวกัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถกลิขสิทธิ์ กรณีแปลงานโดยไม่ขออนุญาต และแปลงภาพในมานีมีแชร์

Posted: 12 Sep 2013 03:12 AM PDT

สืบเนื่องจากข้อถกเถียงบนหน้าเฟซบุ๊กเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนเกี่ยวกับการขอลิขสิทธิ์การแปลหนังสือ รวมถึงข้อเขียนเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาทำการดัดแปลง ตามที่ปรากฏในบทความฉบับนี้  http://prachatai.com/journal/2013/07/47801 เนื่องจากงานทั้งสองประเภทจัดเป็นงานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง (derivative works) ตามนิยามของกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้เขียนจึงขอเสนอความเห็นบางประการเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง ดังนี้

 

ประการแรก อะไรคืองานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง (derivative works)

ตาม Berne Convention บัญญัติให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง (derivative works) [1] โดยแยกออกจากงานรวบรวม (compilation works) [2] โดยงานสร้างสรรค์ต่อเนื่องตามนิยามของ Berne Convention นั้น หมายความรวมถึง การแปล การดัดแปลง การเรียบเรียงดนตรี และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานวรรณกรรมหรืองานศิลปะแขนงอื่นๆ

ทั้งนี้ เช่นเดียวกับบทบัญญัติในกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาที่แยกงานทั้งสองประเภทนี้ออกจากกัน  โดยในข้อเขียนของ Prof. Nimmer ได้แยกความแตกต่างระหว่างงานทั้งสองประเภทไว้ว่า งานรวบรวม (compilations) ได้แก่ การคัดเลือกและจัดเรียงส่วนประกอบของงานก่อนหน้าขึ้นใหม่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในงานนั้น แต่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง (derivative works) ต้องมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปแบบภายในตัวงานเดิมด้วย [3]

ด้วยเหตุนี้ การนำงานของผู้อื่นมาแปล และภาพการ์ตูนล้อเลียนในเพจมานีมีแชร์ จึงจัดอยู่ในกลุ่มงานแปลและงานดัดแปลงศิลปะแขนงอื่นๆ  ซึ่งจัดเป็นงานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง (derivative works) ที่เข้าข่ายอาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และซึ่งอยู่ในขอบเขตการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของบทความฉบับนี้ 

 

ประการที่สอง หลักการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างหลักการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องตามมาตรฐานกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่ามีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ดังนี้

เบื้องหลังแนวคิด

การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์งานใหม่ที่อาจจะต่อยอดมาจากงานสร้างสรรค์อันได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์อยู่เดิม (copyrighted works)  หรือต่อยอดมาจากงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์และถือเป็นสมบัติสาธารณะ (public domain) ทั้งนี้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่เดิมของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด [4]

หลักการมีอยู่ว่า ผู้สร้างสรรค์งานต่อยอดจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในความคิดสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำหรือใส่เพิ่มเข้าไปใหม่ แม้ว่าการในสร้างงานต่อยอดนั้น อาจมีการหยิบยืมการแสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ (expression) บางส่วนมาจากงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์อยู่แต่เดิม และในการหยิบยืมนี้หากกระทำโดยพลการและไม่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์คนก่อนหน้าแล้ว ย่อมถือเป็นละเมิด (copyright infringement) ก็ตาม

แนวทางการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา

Section 103(a) และ (b) ของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกา [5] บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องโดยสามารถแยกเงื่อนไขการคุ้มครองออกเป็นสองประเด็นหลัก ดังนี้

งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องที่หยิบยืมงานก่อนหน้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

การคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องจะเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม และผู้สร้างสรรค์งานใหม่ [6]

งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องที่หยิบยืมงานก่อนหน้ามาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

  1. การคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องจะไม่ครอบคลุมไปถึงส่วนของงานอันมีลิขสิทธิ์อยู่ก่อน ที่ถูกผู้สร้างสรรค์งานภายหลังหยิบยืมมาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
  2. อย่างไรก็ดี แม้ว่าการหยิบยืมงานนั้นมาจะไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ก็อาจถือเป็นการหยิบยืมมาโดยถูกต้องตามกฎหมายได้ หากการหยิบยืมนั้นเข้าข่ายข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (fair use) ซึ่งในกรณีหลังนี้ งานที่ถูกหยิบยืมมาดังกล่าวก็เข้าข่ายสามารถได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้ด้วยเช่นกัน [7]
  3. ในส่วนของงานสร้างสรรค์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งสามารถแยกส่วนออกจากงานเดิม จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามเงื่อนไขปกติ (originality, idea/expression dichotomy, fixation) ทั้งนี้ โดยไม่กระทบกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่มีอยู่เหนืองานเดิม

จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สามารถนำมาวิเคราะห์กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

1) การแปลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง

การนำงานของผู้อื่นมาแปลโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หากถือตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา การกระทำเช่นนั้นย่อมเป็นละเมิด และโดยหลักแล้วงานแปลที่เกิดขึ้นภายหลังทั้งหมดก็ย่อมไม่เข้าข่ายได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ [8]

อย่างไรก็ดี กฎหมายยังมีข้อยกเว้นหากการแปลงานนั้นเข้าข่ายข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (fair use) [9] ซึ่งหากเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 4 ประการดังกล่าว [10] งานแปลที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ก็สามารถได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้ [11]

2) ภาพการ์ตูนล้อเลียนในเพจมานีมีแชร์

เบื้องต้นในที่นี้ผู้เขียนขอสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ภาพการ์ตูนล้อเลียนในเพจมานีมีแชร์เป็นการนำภาพจากต้นฉบับมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเงื่อนไขการคุ้มครองก็จะเป็นเช่นเดียวกับการแปลงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง

อย่างไรก็ดี ในความเห็นผู้เขียน โอกาสที่การหยิบยืมภาพของผู้อื่นมาใช้ในเพจมานีมีแชร์จะเข้าองค์ประกอบข้อยกเว้นตามหลัก fair use นั้นมีสูงกว่าการนำงานของผู้อื่นทั้งฉบับมาทำการแปลเพื่อจัดจำหน่ายอย่างค่อนข้างเห็นได้ชัด ดังนั้นแนวโน้มที่ภาพการ์ตูนล้อเลียนในเพจมานีมีแชร์จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงมีสูงกว่าการแปลงานของผู้อื่นทั้งฉบับโดยไม่ได้รับอนุญาตมาก

 


เพจมานีมีแชร์

 

ประการที่สาม หลักการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องตามกฎหมายไทย

ตามกฎหมายไทย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11 บัญญัติไว้ว่า 'งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง'

เนื้อหาของมาตราดังกล่าวระบุชัดเจนว่า งานดัดแปลงที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ดัดแปลงจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

อย่างไรก็ดี ในส่วนของในงานดัดแปลงที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้

กรณีนี้ หากเปรียบเทียบกับกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่ได้มีบทบัญญัติโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับการคุ้มครองงานดัดแปลงที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์เช่นกัน แม้กระนั้นก็ดี อังกฤษเองยังมีหลัก skill, labour and judgment ซึ่งพอจะอนุโลมมาใช้กับกรณีดังกล่าวได้อยู่บ้าง กล่าวคือ อังกฤษจะให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ใหม่ที่ได้มีการลงแรงและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมเป็นหลัก แม้ว่างานนั้นจะได้หยิบยืมงานก่อนหน้ามาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการละเมิดก็ตาม [12]

หากเปรียบเทียบการแปลหนังสือทั้งฉบับโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา งานที่แปลเสร็จแล้วทั้งฉบับจะไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพราะเป็นละเมิดและน่าจะไม่เข้าหลัก fair use

ขณะที่อังกฤษจะให้ความคุ้มครองแก่ตัวงานที่แปลเสร็จแล้วทั้งฉบับเพราะถือว่ามีการลงแรงและความคิดสร้างสรรค์ (skill, labour and judgment) ของผู้สร้างสรรค์ในภายหลัง แม้ว่าผู้สร้างสรรค์งานแปลนั้นจะสามารถถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยในเวลาเดียวกันก็ตาม

ในส่วนของประเทศไทย จนถึงขณะนี้ผู้เขียนยังไม่มั่นใจว่าได้มีการวางมาตรฐานเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างไร แต่ขอเสนอความคิดเห็นคร่าวๆ ดังนี้

1) การแปลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง

สามารถเลือกใช้มาตรฐานอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ดี การแปลงานทั้งฉบับหรือทั้งเล่มเพื่อจัดจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมถือเป็นละเมิด แต่ทั้งนี้กฎหมายอาจให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้นหรือไม่เพียงไรก็ได้

2) ภาพการ์ตูนล้อเลียนในเพจมานีมีแชร์

ผู้เขียนมีความเห็นสอดคล้องกับบทความฉบับก่อนหน้า [13] ที่กล่าวว่าภาพการ์ตูนในเพจมานีมีแชร์น่าจะเข้าข่าย fair use ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะเข้าข่ายข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย [14]

แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนยังมีความเห็นต่างไปจากบทความดังกล่าวอยู่ประการหนึ่งว่า ในเมื่อภาพการ์ตูนในเพจดังกล่าวอาจเข้าข่ายข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ และผู้วาดได้มีการลงแรงและความคิดสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ภาพการ์ตูนล้อเลียนในเพจมานีมีแชร์ จึงน่าจะได้รับการตีความให้เข้าข่ายได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยด้วย

 

บทสรุป

เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ดังนั้น การตีความเพื่อบังคับใช้กฎหมายควรเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวคิดเบื้องหลังดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของงานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง แม้ว่างานนั้นจะหยิบยืมงานอื่นมาได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม โดยผู้เขียนขอปิดท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจของ Prof. Goldstein ดังนี้

'[E]very infringer of a derivative right is, by definition, itself the potential copyright owner of a derivative work.' [15]

'โดยนิยามแล้ว ผู้ละเมิดสิทธิในการสร้างงานสร้างสรรค์ต่อเนื่องทุกคน มีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วยตัวเอง'

 

 

อ้างอิง:

  1. Article 2 (3)
  2. Article 2 (5)
  3. Melville B. Nimmer and David Nimmer, Nimmer on copyright : a treatise on the law of literary, musical and artistic property, and the protection of ideas ([Revised edn, M. Bender 1978) § 3.01, 3.02
  4. Paul Goldstein, 'Derivative Rights and Derivative Works in Copyright' 30 Journal of the Copyright Society
  5. 17 USC § 103(a)(b)
  6. Nimmer and Nimmer § 3.06
  7. อ้างแล้ว
  8. อ้างแล้ว
  9. 17 USC § 107
  10. โปรดดู เชิงอรรถที่ 7
  11. Nimmer and Nimmer § 3.06
  12. H. I. L. Laddie, Peter Prescott and Mary Vitoria, The modern law of copyright and designs (4th edn, LexisNexis 2011) p87
  13. การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานดัดแปลง และปัญหาเรื่องการใช้โดยชอบธรรมในสื่อออนไลน์ http://prachatai.com/journal/2013/07/47801
  14. โปรดดู พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 33
  15. Goldstein
     

 

หมายเหตุ:

ชื่อบทความเดิม: ปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง (Derivative Works): กรณีการแปลงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และภาพการ์ตูนในเพจมานีมีแชร์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มติเอกฉันท์สภาองค์กรชุมชนจี้รัฐไม่รับทริปส์พลัสในเอฟทีเอไทย-ยุโรป

Posted: 12 Sep 2013 03:09 AM PDT

สภาองค์กรชุมชนมีมติเอกฉันทำหนังสือถึงรัฐบาล ไม่รับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาแบบเข้มข้น โดยเฉพาะในเรื่องยาและทรัพยากรธรรมชาติ ในเอฟทีเอที่ไทยกำลังเจรจากับยุโรป

(12 ก.ย.56) เมื่อเวลา 13.45  น.ที่ประชุมใหญ่ระดับชาติ ของสภาองค์กรชุมชนระดับตำบล มีมติเป็นเอกฉันท์ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขอให้การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรป มีเนื้อหาดังนี้

1.ต้องไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ WTO (ไม่ยอมรับทริปส์พลัส) โดยเฉพาะในประเด็น การขยายเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร, การผูกขาดข้อมูลทางยา, มาตรการ ณ จุดผ่านแดน และไม่ยอมรับการแก้ไขกฎหมายระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ประเทศไทยใช้บังคับอยู่ ซึ่งเป็นไปตามความตกลงทริปส์และสอดคล้องกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ

2.การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนในบทว่าด้วยการลงทุน ต้องไม่มีผลให้มีการนำข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ, การออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ, การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม, ด้านสาธารณสุข, สาธารณูปโภคพื้นฐาน และความมั่นคง เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ

3.ไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การทำนา ทำสวน ทำไร่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกป่า การเพาะและขยายพันธุ์พืช ตลอดจนการลงทุนที่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร

4.ถอนสินค้าเหล้า บุหรี่ ออกจากการเจรจาสินค้า

5.ให้มีการจัดหารือผู้มีส่วนได้เสียครบทุกภาคส่วนทั้งก่อนและหลังการเจรจาในแต่ละรอบ โดยให้มีการชี้แจงท่าทีของคณะเจรจา รายงานความคืบหน้า พร้อมรับฟังและดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล

ทั้งนี้ เป็นไปตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 มาตรา 32 ที่ระบุให้ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนดำเนินการเรื่องต่างๆ โดยใน (2) ระบุว่า ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งการจัดทำนโยบายสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลต่อพื้นที่มากกว่าหนึ่งจังหวัด ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

นายจินดา บุญจันทร์ ประธานสภาองค์กรชุมชน ได้กล่าวในที่ประชุมว่า จะเร่งทำหนังสือข้อคิดเห็นของสภาองค์กรชุมชนถึงรัฐบาล และจะกระจายข้อมูลและ สร้างความรู้ความเข้าใจในผลกระทบจากการเจรจาเอฟทีเอให้องค์กรชุมชนระดับตำบลอย่างเร่งด่วน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส.ส.ประชาธิปัตย์ชี้แจงในสภาว่า "อีโง่" ไม่ใช่คำหยาบ

Posted: 12 Sep 2013 02:10 AM PDT

รมช.มหาดไทยชี้แจงในสภาว่าโครงการสมาร์ทเลดี้เป็นการพัฒนาศักยภาพสตรี ด้านรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ส.ส.ประชาธิปัตย์ ชี้แจงว่าคำว่าอีโง่ ไม่ใช่คำหยาบคาย ต้องดูบริบท ภาคอีสานยังใช้คำว่าอีพ่อ อีแม่ ส่วนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขอบคุณที่มีผู้ตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้ในสภา ยืนยันถ้าฟังคำปราศรัยทั้งหมด คำวิจารณ์จะไม่เกิดขึ้น ยืนยันว่าไม่ได้ดูหมิ่น ไม่ได้หาเรื่องใคร

รมช.มหาดไทยชี้แจงในสภาว่าโครงการสมาร์ทเลดี้เป็นการพัฒนาศักยภาพสตรี

กรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปราศรัยที่โรงเรียนวัดดอกไม้ เมื่อวันที่ 7 ก.ย. (อ่านคำปราศรัย) โดยพูดคำว่า "อีโง่" นั้น ล่าสุดในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ (12 ก.ย.) ซึ่งมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เป็นประธานการประชุมนั้น ข่าวสด รายงานว่า นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย ได้ชี้แจงหลัง นางมุกดา พงษ์สมบัติ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามถึงความคืบหน้าโครงการสมาร์ทเลดี้ ไทยแลนด์ โดยนายประชา ตอบว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีและโครงการสมาร์ทเลดี้ไทยแลนด์ ขณะนี้ในส่วนกองทุนฯ มีการจัดงบประมาณในส่วนของเงินทุนหมุนเวียน 4.4 หมื่นโครงการ วงเงิน 3,628 ล้านบาท เปิดให้กู้ไปประกอบอาชีพ ดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ และส่วนที่สองเงินอุดหนุนให้เปล่าไม่ต้องคืน 7,784 โครงการ วงเงิน 382 ล้านบาท จนถึงวันที่ 12 ก.ย. มีสมาชิกบุคคลทั่วไปจำนวน 9.3 ล้านคน เป็นมูลนิธิองค์กร 124 องค์กร อย่างไรก็ตามในส่วนของกองทุนพัฒนาสตรีฯ ให้ความสำคัญกับมุมมองของสตรี บูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสตรี ทุกกระทรวง ทุกองค์กรให้มาทำงานเชื่อมโยงกัน และประสานองค์กรมูลนิธิ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันโดยเปิดให้ขึ้นทะเบียนเสร็จแล้ว ส่วนการประชาสัมพันธ์นั้นได้ดำเนินการผ่านทาง เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาชุมชนตำบลในพื้นที่ ขณะที่โครงการสมาร์ทเลดี้ นั้นแปลว่าผู้หญิงสวยด้วยความคิด  มีหลัก คือ พัฒนาศักยภาพผู้นำ  ส่งเสริมพัฒนา และจัดประชุมสัมมนาต่างๆ  สร้างโอกาส และสิทธิสตรี

จากนั้นนางมุกดา ได้เปิดคลิปการปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา ในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ ปราศรัยถึงการประกวดโครงการสมาร์ทเลดี้ และมีคำพูดว่า โครงการสมาร์ทเลดี้ เขาประกวดหาผู้หญิงฉลาด หากไปประกวดหาอีโง่ ไม่มีใครไปแข่งได้ โดยนางมุกดา ถามว่า รัฐมนตรีคิดอย่างไร กับการใช้คำว่า "อีโง่" ซึ่งหยาบคาย ไม่ให้เกียรติ มีลักษณะ จิก ดูถูกว่าสตรี ไร้ค่า มีการข่มขี่

 

ส.ส.ประชาธิปัตย์ยกมือประท้วง เอาคลิปอภิสิทธิ์มาเปิดได้อย่างไร และยืนยันว่าอีโง่ไม่หยาบคาย

ต่อมา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคน โดยเฉพาะ ส.ส.หญิง อาทิ นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ นางนาตยา เบญจศิริวรรณ น.ส.รังสิมา รอดรัศมี และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประท้วงว่าการตั้งกระทู้ถามดังกล่าวเป็นการขัดระเบียบข้อบังคับข้อ 8 ซึ่งไม่สามารถสอบถามในเชิงเสียดสี  หรือสอบถามความคิดเห็นได้ และประธานอนุญาตให้นำคลิปที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระทู้มาเปิดได้อย่างไร ซึ่งนางรัชฎาภรณ์ อภิปรายว่า ตนก็เป็นคนอีสาน อีโง่ ไม่ใช่คำหยาบคาย ต้องดูบริบทด้วย เพราะอีสานยังใช้คำว่า อีพ่อ อีแม่

ข่าวสด รายงานด้วยว่า นางเจิมมาศ ประท้วงว่า การตั้งกระทู้เรื่องนี้เป็นการผิดข้อบังคับ แต่หากไม่รู้ว่า "อีโง่" คือใครก็ให้ไปเปิดในกูเกิลดู ขณะที่นางมุกดา สวนกลับว่าการตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้เป็นเรื่องของพี่น้องสตรีนับล้านคน

จากนั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ใช้สิทธิ์ถูกพาดพิง โดยอภิปรายว่า ขอขอบคุณผู้ถามกระทู้ ที่ได้นำเอาคลิปการปราศรัยมาเปิด เพราะการนำเอาการปราศรัยของตนไปวิจารณ์  ถ้าดูคำคำปราศรัยทั้งหมด คำวิจารณ์จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งคำดังกล่าว ไม่ได้ใช้ดูหมิ่นอะไรใคร ไม่ได้หาเรื่องใคร ตน บอกว่าถ้าประกวดเช่นนั้น ก็ไม่มีใครมาประกวดได้ ซึ่งไม่ได้ว่าโครงการ หรือหมายถึงกลุ่มใด คนใด แต่เป็นการเข้าใจไปเองว่าเป็นการดูถูกบุคคลหรือสตรี  จากนั้น นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงว่าเป็นการอภิปรายไม่ตรงความจริง และนายเจริญ รองประธานสภาได้ตัดบทเพื่อพิจารณากระทู้อื่นต่อไป

อนึ่ง การถกเถียงดังกล่าวระหว่าง ส.ส. ฝ่ายค้าน และ ส.ส. รัฐบาล เริ่มต้นจากการปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ ที่ ร.ร.วัดดอกไม้ ถ.พระราม 3 กทม. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2556 ซึ่งมีการถอดเทปการปราศรัยเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยตอนหนึ่งนายอภิสิทธิ์ปราศรัยว่า

"รัฐบาลไปอยู่ที่ไหนไม่ดูแลปัญหาของพี่น้องประชาชน ไข่แพง ข้าวแกงตอนนี้ 50 บาทแล้วพี่น้อง รัฐมนตรีพาณิชย์มาก็บอกว่า ของไม่แพง เพราะดูแล้ว CPI รู้จักมั้ย CPI นี่ ดัชนีราคาผู้บริโภค แกบอก CPI ขึ้นไปแค่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ แปลว่าของแพงขึ้นไม่มาก ผมนี่ไม่ได้เป็นคนถามกระทู้ ไม่งั้นผมถามแล้ว ขอโทษครับท่านรัฐมนตรี เวลามารดาคุณไปตลาด ไปหาซื้อ CPI เหรอครับ หรือไปซื้อไข่ ซื้อหมู ซึ่งแพงขึ้นมาก ไม่ยอมรับความจริง และก็ยังวนเวียนท่องคาถาเหมือนเดิม นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นชัดเจน

นายกรัฐมนตรีก็หลบเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ผมก็ดูไม่ออกครับว่าที่อยู่ในประเทศมา 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ไปทำอะไรบ้าง เมื่อเช้าเห็นแว้บๆ มีข่าวไปทำอะไร โครงการอะไร Smart Lady แปลว่าอะไร ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจทั้งหมดหรอกครับ เหมือนกับว่าจะประกวดใช่มั้ย หา Smart Lady แปลว่าอะไร Smart lady นี่ผมถามอภิมงคลแล้ว แปลว่าผู้หญิงฉลาด แต่นี่ผมก็ถามว่า อ้าว แล้วถ้าทำโครงการนี้เนี่ย ทำไมต้องทำ ทำไมต้องหาผู้หญิงฉลาด ทำไมต้องประกวดแข่งขันผู้หญิงฉลาด เพราะว่าเขาบอกว่า ถ้าแข่งขันหาอีโง่ ไม่มีใครไปแข่งได้"

ก่อนหน้านี้ เมื่อ 9 ก.ย. วอยซ์ทีวี รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ชี้แจงถึงกรณีใช้คำปราศรัยว่า "อีโง่" นั้น ไม่มีอะไร เป็นการพูดตามที่เห็นในกูเกิ้ล ไม่ได้พูดถึงใคร และไม่ทราบว่ามีใครร้อนตัวหรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายผู้บริโภค แนะ กสทช.รุกคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนฟ้องคนเห็นต่าง

Posted: 12 Sep 2013 01:58 AM PDT

องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศเรียกร้องให้ 4 กสทช. และสำนักงาน กสทช.ถอนฟ้องนักวิชาการ และสื่อ เตือน หากไม่ถอนฟ้อง ขอให้ระวัง ทำหน้าที่บกพร่องเมื่อไหร่ พร้อมฟ้องทั่วประเทศแน่ 


กรณีที่ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และ ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส รายการ "ที่นี่ Thai PBS" ถูก กทค. เสียงข้างมากจำนวน 4 คน และ สำนักงาน กสทช. ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ในการแสดงความเห็นทางวิชาการ และนำเสนอต่อสื่อสาธารณะ กรณีการหมดสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 MHz จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2556

(11 ก.ย.56) คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภคจากทุกภูมิภาค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ผู้ป่วยมะเร็ง ร่วมแถลงข่าวในเวที  "สิทธิสื่อ-สิทธินักวิชาการยังทำลาย ผู้บริโภคจะพึ่ง กทค. ได้อย่างไร" ที่โรงแรมไมด้า ซิตี้ รีสอร์ท กรุงเทพฯ

จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน กล่าวว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นทำลายระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทย ในการแสดงความเห็นวิพากษ์ วิจารณ์ และตรวจสอบองค์การอิสระของนักวิชาการและการทำหน้าที่ของสื่อ ที่นำเสนอข้อมูลเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ ถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น แต่การกระทำของ กทค. ทั้ง 4 ท่านในครั้งนี้น่าจะเข้าข่ายการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อ เสรีภาพนักวิชาการ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมขององค์กรอิสระฯ เพราะ กสทช. และสำนักงาน กสทช. มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งที่ควรจะต้องตรวจสอบได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบการกระทำ หรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และกรณีสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน

บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน กล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็น กทค. ทำมากกว่าการฟ้องคดีต่อผู้มีความเห็นต่าง คือการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้มากกว่าปัจจุบัน เช่น จนบัดนี้ยังไม่มีการออกประกาศตามมาตรา 31 ที่ว่าด้วยการเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการส่ง SMS รบกวนและถูกคิดค่าบริการเสริมโดยที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ ถือเป็นปัญหาสำคัญของการใช้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากบริการเสริม SMS เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและชัดเจน ทำให้ให้ผู้บริโภคต้องแบกรับค่าใช้บริการที่เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้ใช้บริการ

บุญยืน กล่าวว่า กทค.ทั้ง 4 ท่าน ควรเอาเวลามาคิดถึงมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าการฟ้องคดี หรือประเด็นอัตราขั้นสูงของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงไม่เกิน 99 สตางค์ ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังไม่มีการปฏิบัติตาม ยังมีผู้ให้บริการคิดค่าบริการแบบส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย เช่น แพ็คเกจ 299 บาท โทรฟรี 299 นาที หรือ แพ็คเกจ 400 บาท โทรฟรี 400 นาที ซึ่งแพ็คเกจแบบนี้ถือได้ว่าเป็นการคิดค่าบริการที่มีส่วนเกินมา 1.50 บาท

ชลดา บุญเกษม คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ 3G เป็นจำนวนมาก แต่ยังพบปัญหาผู้บริโภคยังไม่ได้ส่วนลดราคา 15 % ตามที่ กสทช. ได้กำหนดไว้ตามเงื่อนไขกับผู้รับใบอนุญาต และ ผู้ให้บริการยังไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ตามสิทธิของผู้บริโภค ถึงการแจ้งรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับส่วนลดในราคา 15% รวมถึง ปัญหาคุณภาพสัญญาณ การถูกล็อคความแรงของสัญญาณคลื่น เช่นการลดความเร็วอินเทอร์เน็ตเหลือ 64 Kbps ซึ่ง ต่ำกว่าความเร็วมาตรฐาน 3G ซึ่งกำหนดไว้จะต้องไม่ต่ำกว่า 345 Kbps นี้เป็นสิ่งที่ กทค.ควรเร่งดำเนินการและสั่งปรับทางปกครองกับผู้ให้บริการหรืออยากเห็นการฟ้องคดีต่อผู้ที่ละเมิดและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช. มากกว่าการฟ้องผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ

มณี จิรโชติมงคลกุล อนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนด้านสื่อและโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาการ SMS รบกวนและถูกคิดค่าบริการเสริมโดยที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ ถือเป็นปัญหาคลาสสิก (ยืดเยื้อเรื้อรัง) ของการใช้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากบริการเสริมข้อความสั้น SMS เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและชัดเจน ทำให้ให้ผู้บริโภคต้องแบกรับค่าใช้บริการที่เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการใช้บริการ กทค.ทั้ง 4 ท่าน ควรเอาเวลามาคิดถึงมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคมากว่าการฟ้องคดีกับผู้ที่ให้การสนับสนุนความเป็นธรรมของผู้บริโภค

นิมิตร์ เทียนอุดม ในฐานะผู้ใช้บริการ กล่าวว่า ขอให้ กสทช. ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง การแก้ปัญหาไม่ใช่แก้ปัญหาทีละราย ควรดำเนินการเป็นการทั่วไปจากกรณีของตนเองที่ร้องเรียนเรื่อง 99 สตางค์ต่อนาที รวมทั้งคุณไกรวัลย์ คทวณิช ผู้ใช้บริการขอให้ กสทช.ในฐานะองค์กรกำกับดูแลทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ และต่อไปนี้ผู้บริโภคต้องร้องเรียนองค์กรกำกับดูแลให้มากเพื่อให้รับโทษตามกฎหมาย จะได้ดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และตัวแทนองค์กรผู้บริโภค มีข้อเสนอต่อ กทค. ดังนี้
1. ขอให้เร่งรัดและออกหลักเกณฑ์ เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมโดยด่วน เพื่อยุติการกระทำที่ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 31 ของ พ.ร.บ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่

2. กทค. ควรเร่งปรับปรุงให้หน่วยรับเรื่องร้องเรียนเป็นอิสระ มีระบบที่ดี มีประสิทธิภาพในการพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ทั้งการแก้ปัญหาผู้บริโภค การป้องกันปัญหา และบังคับใช้กฎหมายและประกาศของตนเองอย่างเข้มงวด และเห็นว่าการที่ยังมีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนประกาศ กฎหมายระเบียบ คำสั่งของ กสทช . เป็นการดูถูก ดูแคลนและละเมิดศักดิ์ศรีในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล มากกว่า การฟ้องคดีกับบุคคลที่สนับสนุนการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความเห็นที่แตกต่างจาก กทค.

3. ขอให้สนับสนุนการทำหน้าที่การให้ความเห็นและการติดตามตรวจสอบของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เพื่อให้ได้ทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

4. ขอให้ กสทช. มีการบังคับทางปกครองอย่างเคร่งครัดและจริงจัง ในกรณีที่ผู้ให้บริการ มีการฝ่าฝืนกฎหมาย ประกาศ คำสั่งของ กสทช. เพื่อไม่ให้ต้องเป็นภาระกับผู้บริโภคที่ต้องร้องเรียนเป็นกรณีไป เช่น กรณีการฝ่าฝืน ประกาศ  กสทช.เรื่องอัตราขั้นสูงฯ ค่าบริการเสียงต้องไม่เกิน 99 สตางค์ การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายการให้บริการ 3G เรื่องการลดค่าบริการร้อยละ 15 โดยเฉพาะกับผู้ใช้บริการรายเดิม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีดีอาร์ไอเผยไทยใช้ประโยชน์เอฟทีเอครึ่งเดียว ทำให้สูญเงินกว่าแสนล้านบาทต่อปี

Posted: 12 Sep 2013 01:00 AM PDT

ทีดีอาร์ไอ ระบุ ไทยสูญเงินปีละกว่าแสนล้านบาท จากการใช้สิทธิประโยชน์เอฟทีเอเพียงครึ่งเดียว พร้อมนิยามมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรหรือ NTMs ประกอบด้วย 5 ย. คือ  เยอะ ยุ่ง ยาก แย่ และเยี่ยม แนะรัฐบาลเจรจาแก้ปัญหาในระดับทวิภาคีมากขึ้น ส่วนเอกชนควรปรับมาตรฐานสินค้าและตรวจสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย

นายสุนทร ตันมันทอง นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ "การเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย" (ระยะที่ 4)  เพื่อศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรการทางภาษีศุลกากรและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมไทย และหาแนวทางในการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวตามความท้าทายดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษีใกล้ศูนย์แล้ว แต่อุปสรรคการค้ายังอยู่?" โดยระบุว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทยประสบกับอุปสรรคทางการค้าที่มีมากขึ้นโดยเฉพาะการที่ประเทศคู่ค้านำมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Measures : NTM) มาบังคับใช้มากขึ้นเพื่อกีดกันสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเพิ่มต้นทุนทางการค้าและการเข้าถึงตลาดมีข้อจำกัดมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ภาษีศุลกากรระหว่างประเทศภาคีกลับลดลงจนเหลือศูนย์หรือใกล้ศูนย์

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีข้อตกลงทางการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTAs) ที่มีผลบังคับใช้แล้ว จนถึง ณ ปี 2555 ทั้งหมด 11 ฉบับ ซึ่งเอฟทีเอเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างภายในกลุ่มลงให้น้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ โดยเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาใช้เอฟทีเอเป็นเครื่องมือในการเปิดเสรี เนื่องจากเอฟทีเอเป็นการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศที่เข้าร่วมโดยไม่ขัดกับ WTO ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่ร่วมทำเอฟทีเอ รวมทั้งเป็นการสร้างพันธมิตรด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างและขยายฐานการค้าในภูมิภาคอื่นต่อไป โดยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ไทยมีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเออยู่ในระดับ 40-50 % หรือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น และพบว่าส่วนใหญ่มาจากการส่งออกประเภทรถยนต์บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 5 ตันกับเครื่องยนต์นั่งขนาด 1,000-1,500 ซีซี จากเอฟทีเอเต็ม 100% ลดลงเหลือ 43% และ35 % ตามลำดับ

ประเด็นที่น่าตกใจคือ ไทยมีเอฟทีเอและได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแต่กลับใช้เพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะในปี 2555 ผู้ส่งออกในไทยประหยัดภาษีศุลกากร 1.18 แสนล้านบาท แต่หากใช้ประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากรอย่างเต็มที่จะอยู่ที่ 2.48 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ขณะที่ในส่วนของการนำเข้าผู้นำเข้าไทยได้ประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากรทั้งหมด 0.9 แสนล้านบาท แต่ในทางกลับกันหากใช้ประโยชน์จาการลดภาษีศุลกากรเต็มที่จะประหยัดภาษีไปได้มูลค่า 1.39 แสนล้านบาท จากข้อมูลเหล่านี้เห็นได้ว่าในแต่ละปีไทยมีเงินตกหล่นอยู่จำนวนหลายแสนล้านบาท
 
ขณะที่กระบวนการขอใช้สิทธิและการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรใหม่จาก HS 2007เป็น HS 2012 เป็นอุปสรรคสำคัญในมุมมองผู้ประกอบการ เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีดุลยพินิจต่างกัน กระบวนการขอใช้สิทธิ์ใช้เวลานานเกินไปอาจไม่ทันต่อความต้องการของผู้ประกอบการ และการตีความพิกัดศุลกากรของผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่อาจมีความซับซ้อนคลาดเคลื่อนจากพิกัดศุลกากรในระบบเดิม จนเป็นอุปสรรคในการใช้สิทธิ์ โดยพบว่าสินค้าที่มีการเปลี่ยนพิกัดใหม่มีทั้งหมด 331 รายการ โดยสินค้ากลุ่มดังกล่าวในปี 2554 มีการใช้สิทธิประโยชน์เอฟทีเอเพียง 15.4% แต่ในปี 2555 เมื่อมีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรมีการใช้สิทธิลดลงเหลือ 11.1% ซึ่งจะพบมากในสินค้าประเภทผ้าทอมีขนไพล์ที่เกิดจากด้ายยืน ขณะเดียวกันอุปสรรคที่สำคัญอีกอย่างคือ ความไม่พร้อมของประเทศเพื่อนบ้านอย่างกลุ่ม  CLM ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้อัตราการใช้สิทธิ์เอฟทีเอลดลง ถึงแม้ว่าสัดส่วนมูลค่าการค้าไปยังกลุ่มประเทศ CLM มีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม

ขณะที่นายณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ ได้ให้คำจำกัดความของมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Measures: NTMs) 5 คำ คือ เยอะ ยุ่ง ยาก แย่ และเยี่ยม โดยระบุว่า อุปสรรคจากมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการที่มีผลกีดกันการค้า (non-tariff barrier) เป็นสิ่งที่เยอะ ซึ่งพบว่าแนวโน้มการใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากลับลดลง ส่วนคำว่ายุ่ง นั่นคือ NTMs เกิดขึ้นจากแรงกดดันของผู้ผลิตและผู้บริโภคจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงผู้ผลิตในเครือข่ายต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้จะคอยกำหนดมาตรฐานต่างๆ เพื่อการันตีถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค การรักษาสภาพแวดล้อม และเพื่อให้ผู้ผลิตปรับตัวแข่งขันได้

สำหรับนิยามคำว่ายาก นั่นคือ แรงกดดันจากหลายๆด้าน ทำให้ NTMs บางประเภทมีผลกีดกันการค้า อาทิ มาตรการควบคุมราคา มาตรการทางการเงิน มาตรการควบคุมปริมาณ มาตรการผูกขาด เพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ ส่วนมาตรการจดทะเบียนเพื่อรวบรวมสถิติ และมาตรการทางเทคนิค จะเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในประเทศและรักษาสภาพแวดล้อม รวมถึงแต่ละประเทศมีการบังคับใช้ NTMs ในระดับที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่มีการใช้ NTMs มากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนคำว่า แย่ นั่นคือ NTMs จำกัดโควต้าการนำเข้า เช่น มาเลเซียจำกัดปริมาณการนำเข้าน้ำตาลดิบ เวียดนามจำกัดการนำเข้าน้ำตาลดิบและน้ำมันปิโตรเลียม ขณะที่สิงคโปร์ห้ามนำเข้าหมากฝรั่ง ไทยห้ามนำเข้าข้าวกล้อง เนื้อ มะพร้าวแห้งจากฟิลิปปินส์ ซึ่งผลกระทบที่ได้รับนั่นคือ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำของไปขายยังประเทศคู่ค้าได้ โดยการจำกัดการเข้าถึงของตลาดมีผลทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น และสุดท้ายคำว่า เยี่ยม คือการที่ NTMs น่าจะเป็นประโยชน์ในแง่ความเชื่อมั่นทางสินค้าที่มีมาตรฐานสูง มีมาตรการทางสุขอนามัยค่อนข้างเข้มงวด ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจเชื่อถือสินค้าว่าไม่สร้างมลภาวะภายในประเทศ

ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวปิดท้ายว่า ทีดีอาร์ไอมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 5 ข้อหลัก ในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เอฟทีเอและลดผลกระทบที่ไม่ใช่ภาษี ได้แก่
1.การเพิ่มประสิทธิภาพและความชัดเจนในกระบวนการพิจารณาการใช้สิทธิประโยชน์ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศและกรมศุลกากร ควรกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการดำเนินงานตามระยะเวลาที่พิจารณา รวมถึงรัฐบาลไทยควรให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้สิทธิประโยชน์ในประเทศอาเซียนใหม่

2.การกระตุ้นให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์มากขึ้น โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์การใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอ แก่ผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยเน้นสาขาอุตสาหกรรมที่ยังใช้ประโยชน์ค่อนข้างต่ำ เช่น ผู้ส่งออกยาและผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมไปยังออสเตรเลีย ผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปอาเซียน เป็นต้น

3.การให้ข้อมูลและคำปรึกษาแบบจุดเดียว (One stop service) แก่ผู้ประกอบการ

4.การเจรจาต่อรองด้านภาษีศุลกากร กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าและระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศควรผลักดันให้มีการขยายโควต้าการส่งออกสินค้า และควรผลักดันให้ประเทศอาเซียนใหม่ลดภาษีศุลกากรภายใต้ ATIGA ให้ได้ตามกำหนดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการไทย

และ 5. การลดผลกระทบจากมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดมาตรฐานกลางร่วมกันของอาเซียน โดยอนุญาตให้สินค้าหรือสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจรับรอง (conformity assessment) ตามมาตรฐานระหว่างประเทศที่สำคัญได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจซ้ำอีก ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยควรให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะธุรกิจ SMEsที่ต้องปรับมาตรฐานสินค้าและตรวจสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย ที่สำคัญรัฐบาลต้องมีการเจรจาแก้ไขปัญหาในระดับทวิภาคีมากขึ้น

ทั้งนี้ ประธานทีดีอาร์ไอยังกล่าวอีกว่า ในปี 2558 ที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีอาเซียนใหม่และอาเซียนเดิมรวมถึงไทยด้วย จะมีการลดภาษีเหลือศูนย์เปอร์เซนต์ในเกือบทุกรายการ จึงเชื่อว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ทีดีอาร์ไอเสนอไปทั้ง 5 ข้อ จะเป็นประโยชน์ในส่วนของการเคลื่อนย้ายจากการเจรจาลดภาษี ไปสู่การทำอย่างไรจะใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอที่มีอยู่ให้ใช้กันมากยิ่งขึ้น
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จุมพฏ สายหยุด

Posted: 12 Sep 2013 12:52 AM PDT

"ตอนเรียนที่ มธ. ผมก็ไม่แต่งชุดนศ. ตอนนั้น สมคิด เลิศไพฑูรย์ อยู่ปี 4 แต่งตัวเรียบร้อย แต่ไม่ใช่ชุดนศ. แน่นอน แกก็ยังได้เป็นอธิการบดี"

อดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์

กานดา นาคน้อย: ปลดเปลื้องเครื่องแบบนักศึกษา

Posted: 11 Sep 2013 10:55 PM PDT

 

มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยกำเนิดภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฐานะโรงเรียนผลิตข้าราชการ  ด้วยเหตุนี้เครื่องแบบนักศึกษาจึงเป็นสัญลักษณ์ของเกียรติยศเช่นเดียวกับเครื่องแบบข้าราชการแม้ในภายหลังรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยได้จัดตั้งสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาอีกมากมายเพื่อให้การศึกษาแก่มวลชน เครื่องแบบในสถาบันอุดมศึกษาไทยยังดำรงอยู่ด้วยเหตุผลต่างๆนานา  อาทิ  เพื่อให้นักศึกษามีวินัย เพื่อความสุภาพเรียบร้อย  เพื่อลดช่องว่างทางฐานะการเงินในหมู่นักศึกษา  เพื่อแสดงเกียรติภูมิของสถาบัน

เครื่องแบบทำให้มีวินัยจริงหรือ?
ถ้าเครื่องแบบสร้างวินัยได้  ตำรวจไทยก็จะไม่รีดไถประชาชน  ทหารไทยก็จะไม่ทำรัฐประหาร  และพระไทยก็จะไม่มีเรื่องอื้อฉาว  ที่จริงแล้วชนชาติที่มีวินัยไม่ได้สร้างวินัยด้วยเครื่องแบบ  ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น  เด็กอนุบาลและเด็กประถมในโรงเรียนรัฐบาลที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องแบบ   แต่เด็กญี่ปุ่นมีวินัยเพราะผู้ใหญ่มีวินัยและสอนเด็กด้วยการทำเป็นตัวอย่างให้ดูโรงเรียนมัธยมญี่ปุ่นมีเครื่องแบบซึ่งเลียนแบบชุดทหารเรือในชาติตะวันตกเพื่อสร้างบรรยากาศ"สากล"ให้ทัดเทียมประเทศตะวันตก  ส่วนในระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นไม่มีเครื่องแบบ   คนญี่ปุ่นสอนวินัยอย่างไรโดยไม่ต้องใช้เครื่องแบบก็ต้องว่ากันยาวย้อนหลังไปถึงประวัติศาสตร์การสร้างชาติ  ไปถึงวินัยในกองทัพและวินัยในรั้วในวัง      

เครื่องแบบทำให้สุภาพเรียบร้อยจริงหรือ?

ถ้าเครื่องแบบทำให้สุภาพเรียบร้อยจริง   นักศึกษาจากสถาบันต่างๆจะไม่ยกพวกตีกัน ในเครื่องแบบ  ที่สหรัฐฯไม่เคยมีข่าวว่านักศึกษาวิทยาลัยไหนมหาวิทยาลัยไหนยกพวกตีกัน   ที่เป็นข่าวคือแฟนกีฬาตีกันตะลุมบอนกันข้างสนามกีฬา  เช่น แฟนบาสเกตบอล  แฟนฮ็อกกี้  ฯลฯ  ไม่ก็เป็นสมาชิกแก็งค์ค้ายาเสพติดต่างแก็งค์แทงกันยิงกัน  ไม่ใช่นักศึกษาต่างสถาบัน นักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอเมริกันจำนวนมากต้องทำงานไปเรียนไป  ไม่มีเวลาไปยกพวกตีกัน  คนอเมริกันถือว่าเมื่อลูกอายุ 18 จบมัธยมแล้วเป็นผู้ใหญ่รับผิดชอบตัวเองได้แล้ว (จึงมีสิทธิเลือกตั้งได้)  ไม่ออกค่าเรียนมหาวิทยาลัยและค่ากินอยู่ให้หมดทุกอย่าง  ลูกต้องทำงานช่วยตัวเองด้วย (บ้างก็กู้เงินเรียนเองด้วย)  ในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน 

ส่วนเรื่องความเรียบร้อยด้านความยาวสั้นของกระโปรง  ปัจจุบันนักศึกษาหญิงจำนวนมากก็ใส่กระโปรงสั้นมากและเสื้อสีขาวแนบเนื้อซึ่งเปิดเผยรูปร่างเหมือนชุดรัดรูป ไม่ว่าจะกำหนดให้มีเครื่องแบบหรือไม่นักศึกษาที่อยากใส่ชุดรัดรูปก็จะใส่อยู่ดี  ที่สำคัญเราควรยอมรับว่าการใส่ชุดรัดรูปไม่ผิดกฎหมายใดๆนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยเมื่ออายุ 18 แล้วมีสิทธิ์เลือกตั้งได้  แล้วทำไมเลือกเสื้อผ้าเองไม่ได้? การเลือกเสื้อผ้ายากกว่าการเลือกตั้งงั้นหรือ?

การเปิดเผยรูปร่างไม่ได้ทำให้ความก้าวหน้าทางวิชาการด้อยลง   ในสหรัฐฯเวลาอากาศร้อนนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างสถาบันเอ็มไอที ฮาร์วาร์ด สแตนฟอร์ด ยูซีเบิร์กเลย์ ฯลฯ ใส่ชุดบิกินีนอนอาบแดดกันที่สนามหญ้าเป็นเรื่องสามัญ  นักศึกษาชายก็ใส่กางเกงว่ายน้ำอาบแดดด้วย  บ้างก็กระโดดลงสระน้ำลงน้ำพุในมหาวิทยาลัย  วันรับปริญญาก็ใส่บิกินีใส่ชุดว่ายน้ำกันในชุดครุยให้ครึกครื้นให้เป็นความทรงจำในวัยเรียนมหาวิทยาลัยคือโลกจำลอง  การปล่อยให้นักศึกษาแสดงอัตลักษณ์โดยไม่ตีกรอบให้อยู่ในเครื่องแบบเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาคิดนอกกรอบและมีความคิดสร้างสรรค์   การอาบแดดในมหาวิทยาลัยอเมริกันมีมานานเกือบ 70 ปีแล้ว  ซึ่งเห็นได้จากการโต้เถียงกันเรื่องข้อเสนอแนะด้านการอาบแดดที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อปีพศ. 2488

มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นก็ไม่มีเครื่องแบบแต่สาวญี่ปุ่นไม่นิยมอาบแดดเพราะกลัวผิวเสีย การโชว์รูปร่างของนักศึกษาญี่ปุ่นอยู่ในรูปการใส่กระโปรงสั้น  ชุดรัดรูปเสื้อแขนกุด  เสื้อคอลึก ฯลฯ อย่างไรก็ดี  การโชว์รูปร่างของนักศึกษาญี่ปุ่นก็ไม่ได้ทำให้ความก้าวหน้าทางวิชาการของสถาบันศึกษาญี่ปุ่นล่มสลาย

ในทางกลับกัน   นักศึกษาไทยแต่งตัวมิดชิดไม่ใส่ชุดบิกินีไม่ใส่กางเกงว่ายน้ำอาบแดดที่สนามหญ้าในมหาลัย  แต่มหาวิทยาลัยไทยก็ไม่เคยก้าวหน้าทางวิชาการแบบมหาวิทยาลัยอเมริกัน  มหาวิทยาลัยในทวีปเอเชียที่ติดอันดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยโตเกียว  มหาวิทยาลัยเกียวโต  และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ก็ไม่มีเครื่องแบบ  แล้วมหาวิทยาลัยไทยจะอนุรักษ์เครื่องแบบไว้เพื่ออะไร?  เพื่อสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการแบบไทยๆหรือ? 

เครื่องแบบลดช่องว่างทางฐานะการเงินในหมู่นักศึกษาจริงหรือ?

เพื่อนคนญี่ปุ่นคนหนึ่งไปทำวิจัยที่เมืองไทยแล้วเล่าให้ฟังว่าประหลาดใจกับวัฒนธรรมของนักศึกษาไทย   นักศึกษาไทยใส่เครื่องแบบคล้ายเด็กมัธยมญี่ปุ่นน่ารักน่าเอ็นดู  แต่สะพายกระเป๋ามียี่ห้อเหมือนสาวออฟฟิศญี่ปุ่นใส่รองเท้าตามแฟชั่น  ใส่ทองหยอง และนาฬิกาหรูหรา  ฯลฯ  เพื่อนบอกว่าบรรยากาศมหาวิทยาลัยไทยทุนนิยมยิ่งกว่ามหาวิทยาลัยอเมริกันเสียอีก  เมื่อดิฉันมีโอกาสไปเมืองไทยจึงไปเดินสำรวจมหาวิทยาลัยชั้นนำในกรุงเทพฯ  พบว่าเป็นจริงตามที่เพื่อนเล่ามา

ที่สหรัฐฯนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยรีดผ้าดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงไม่มีบรรยากาศหรูหราศักดิ์สิทธิ์  นักศึกษานิยมใส่เสื้อยืดเสื้อยับ  อยากใส่อะไรมาเรียนก็ได้แม้แต่ชุดนอน กางเกงขาสั้น  เสื้อกล้าม ฯลฯ  ดิฉันยังไม่เคยพบนักศึกษาใส่บิกินีมาห้องเรียน   อย่างมากเคยเห็นใส่เสื้อสายเดี่ยวและกางเกงขาสั้น   แต่ถ้าใครจะใส่บิกินีมานั่งเรียนก็ไม่ผิดกฎหมาย  อาจารย์ไม่มีสิทธิไล่นักศึกษาออกจากห้องด้วยเหตุผลที่ว่าเขาใส่บิกินี   ถ้าเขาไม่ได้ทำเสียงดังหรือทานอาหารที่ส่งกลิ่นรบกวนนักศึกษาคนอื่นอาจารย์จะบอกให้เขาออกจากห้องเรียนได้ก็ต่อเมื่อเขาผิดกฎหมายอนาจารคือเปลือยท่อนล่าง  ส่วนเปลือยท่อนบนนั้นแล้วแต่มลรัฐ  บางมลรัฐห้ามหญิงเปลือยท่อนบนบางมลรัฐไม่ห้ามนักศึกษาบางคนเพิ่งคลอดลูกก็สามารถพาทารกที่นอนกลางวันอยู่ในรถเข็นเข้ามาในห้องเรียนด้วยเงื่อนไขที่ว่าทารกร้องไห้งอแงเมื่อไรต้องเข็นออกจากห้องเรียน 

ประเด็นสำคัญคือว่าในสถานศึกษาในประเทศประชาธิปไตยการศึกษาคือสิทธิ  ตราบใดที่นักศึกษาไม่ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นตามกฎหมายและจ่ายค่าเทอมลงทะเบียนเรียนตามกฎเกณฑ์   อาจารย์ก็ไม่มีสิทธิห้ามไม่ให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนและห้องสอบ   ถ้าอาจารย์ละเมิดสิทธินักศึกษาก็สามารถร้องเรียนไปที่คณบดีหรือไปปรึกษาทนายในมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินคดีได้

ไม่มีเครื่องแบบแล้วจะแสดงเกียรติภูมิของสถาบันอย่างไร?  

มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯมีสินค้าติดโลโก้มหาลัยไว้ขายนักศึกษาและญาติมิตรทีต้องการบริโภคเกียรติยศผ่านสถาบันการศึกษา อาทิ เสื้อยืด  เสื้อเชิ้ต  เสื้อนอกหมวก รองเท้า กระเป๋า ชุดนอน ชุดชั้นใน สร้อยคอหมาแมว กรอบครอบทะเบียนรถ กระติกน้ำ  เคสไอโฟนฯลฯ  นักศึกษาและญาติมิตรรวมทั้งนักท่องเที่ยวสามารถซื้อหาได้ตามใจชอบ ถ้าไม่สะดวกบินไปซื้อที่ร้านค้าของมหาวิทยาลัยก็สามารถสั่งซื้อได้ตามเว็บไซต์คลั่งมหาวิทยาลัยต่างๆ  อาทิ เว็บไซต์คลั่งสถาบันเอ็มไอที   (http://mit.fanatics.com/)เว็บไซต์คลั่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  (http://crimson.fanatics.com/)  เว็บไซต์คลั่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (http://stanford.fanatics.com/)  ฯลฯ 

สินค้าเหล่านี้ขายทุกคนที่อยากซื้อ  ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเป็นนักศึกษา หรือผู้ปกครอง  เพราะยิ่งมีคนบริโภคมากมหาวิทยาลัยก็ยิ่งมีรายได้มากจากการขายลิขสิทธิ์โลโก้ให้กับผู้ผลิตสินค้าต่างๆ  และเพราะสินค้าเหล่านี้ไม่ใช่ตัววัดเกียรติภูมิที่แท้จริง  เกียรติภูมิของสถาบันการศึกษาไม่ได้อยู่ที่สินค้าติดโลโก้หรืออยู่ที่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันแต่ขึ้นอยู่กับอดีตนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จและผลงานวิจัยของคณาจารย์ 

บทสรุป

ก่อนปฎิรูปสถาบันอุดมศึกษาไทยด้วยนโยบายอันสวยหรูและใช้งบประมาณพันล้านหมื่นล้าน  รัฐบาลไทยควรประกาศยกเลิกเครื่องแบบในระดับอุดมศึกษาการยกเลิกเครื่องแบบไม่ต้องใช้งบประมาณแม้แต่สลึงเดียว  แต่จะมีผลกระทบต่อกรอบความคิดของนักศึกษาในเชิงบวกอย่างลึกซึ้ง   ถ้าการสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษายังโดนจำกัดอยู่ในกรอบเครื่องแบบ  เราจะหวังให้นักศึกษาคิดนอกกรอบได้อย่างไร?

การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการส่งออกสินค้าวัฒนธรรมต้องอาศัยการสร้างนวัตกรรม  ประเทศที่ส่งออกสินค้าวัฒนธรรมเป็นกอบเป็นกำจนสินค้าวัฒนธรรมเป็นฐานสร้างงานที่สำคัญคือประเทศที่ขายสินค้าเทคโนโลยีมาก่อน  ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้  ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ฯลฯ ถ้าฝรั่งเศสไม่ส่งออกเครื่องบินแอร์บัสแข่งกับเครื่องบินโบว์อิ้งจากสหรัฐฯ  สินค้าวัฒนธรรมฝรั่งเศสก็จะไม่ดูดีมีระดับราคาแพงถ้าเกาหลีใต้ไม่ขายมือถือซัมซุงแข่งกะแอปเปิ้ลกะโนเกียขายทีวีซัมซุงแข่งกะโซนี่ขายรถยนต์ฮุนไดแข่งกับรถยนต์โตโยต้าละครเกาหลีใต้ก็จะไม่ตีตลาดไปทั่วโลก  สินค้าวัฒนธรรมอเมริกันอย่างภาพยนตร์และดนตรีก็ยังมีส่วนแบ่งตลาดโลกสูงอยู่ถ้าไทยไม่ส่งออกเทคโนโลยีของตนเลย   สินค้าวัฒนธรรมก็จะตีตลาดได้ในฐานะสินค้าแปลก (exotic) เท่านั้นและจะไม่สามารถสร้างงานได้มากมายเท่าไรนัก   การส่งออกบริการรักษาพยาบาลมีโอกาสสร้างงานได้เป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้มากกว่าสินค้าวัฒนธรรม  แต่อย่าลืมว่าไทยผลิตอุปกรณ์การแพทย์เองไม่ได้  ยารักษาโรคที่ผลิตในประเทศก็ไม่ใช่ยาที่ตีตลาดโลกเป็นเพียงยาที่บริโภคภายในประเทศเท่านั้น

ตราบใดที่สถาบันอุดมศึกษาไทยไม่ปล่อยให้นักศึกษาคิดนอกกรอบ   ควบคุมนักศึกษาด้วยกฎเกณฑ์ที่แปลกแยกจากกฎหมายของประเทศ   ก็ยากที่จะสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์  ความคิดสร้างสรรค์ซื้อไม่ได้ด้วยเงินงบประมาณ  แต่สร้างได้ด้วยการเลิกตีกรอบความคิด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จินตนาการแบบสลิ่มชนของสังคมไทยในอเมริกา

Posted: 11 Sep 2013 06:14 PM PDT

 
มีคนถามผมถึงความเป็นไปในเชิง "ลักษณะด้านความคิด" เช่น ความคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของคนไทยผู้อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถนิยาม หรืออธิบายเพื่อให้เห็นภาพได้อยู่บ่อยครั้งครับ ความจริงก็คือ คงไม่สามารถอธิบาย หรือนิยาม "ความเป็นคนไทยในอเมริกา" ให้ครอบคลุม ได้ทั้งหมดแน่นอน เพียงแต่หากต้องการการนิยามให้เห็นภาพบางส่วน เพื่อความเข้าใจของคนไทย ในเมืองไทย หรือคนไทยที่เดินทางมาสหรัฐฯ ช่วงสั้นๆ ที่มองภาพไม่ค่อยเคลียร์ก็น่าที่จะสามารถทำได้ ในลักษณะของการตั้งข้อสังเกต ซึ่งผู้รับฟังต้องใช้วิจารณญาณประกอบการรับฟังเรื่องราวดังกล่าว
 
ประการหนึ่ง คือ ไม่เคยมีการตั้งข้อสังเกตจากฝ่ายรัฐและเอกชนไทย ประการสอง ไม่เคยมีการ ทำงานด้านวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเกี่ยวกับลักษณะของคนไทยในสหรัฐฯมาก่อน
 
ความเห็นต่อไปนี้จึงเป็นข้อสังเกตถึงลักษณะ(สาระนิยาม) ของคนไทยในสหรัฐฯ โดยรวมว่ามี ลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นการสังเกตเชิงประจักษ์ ตามแนวทางประจักษ์นิยม
 
1.จำนวนคนไทยในสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถระบุจำนวนอย่างแน่นอนได้ มีผลสำรวจอย่าง เป็นทางการของฝ่ายสหรัฐฯ ที่เรียกว่า Census ซึ่งแจ้งผลการสำรวจทุกๆ 10 ปี  เช่น  ผลจากการสำรวจคนไทยในอเมริกาปี 2010  ปรากฎว่ามีจำนวนรวมทั้งสิ้น 237,629 คน เพิ่มขึ้น 58.0831 เปอร์เซ็นต์จากผลสำรวจประชากรเมื่อปี 2000 ซึ่งเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านั้น มีตัวเลขคนไทยในสหรัฐฯเพียง 150,319 คน  รัฐที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากที่สุด 10 อันดับได้แก่  1.แคลิฟอร์เนีย 67,707 คน, 2. เท็กซัส 16,472 คน, 3. ฟลอริดา 15,333 คน, 4. นิวยอร์ค 11,763 คน, 5. อิลลินอยส์ 9,800 คน, 6. วอชิงตัน 9,699 คน, 7. เวอร์จิเนีย 9,170 คน, 8. เนวาด้า 7,783 คน, 9. แมรีแลนด์ 5,513 คน และ 10. จอร์เจีย 5,168 คน  ซึ่งก็เป็นไปตามความเห็นของนาย นายกสนิกันติ์ คุณกำจร นายกสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้ ว่า แม้อัตราการเพิ่มขึ้นของคนไทยในอเมริกาจะสูงขึ้นมาก แต่ถ้าดูตัวเลขรวมแล้ว ก็ยังเชื่อว่าน้อยกว่าตัวเลขที่เป็นจริงอยู่ดี อาจจะมีคนไทยในสหรัฐฯราว 400,000 คน ในรัฐแคลิฟอร์เนียที่ผลสำรวจประชากรบอกว่ามีคนไทย 60,000 กว่าคน จึงน่าจะน้อยกว่าตัวเลขจริงอยู่มาก จึงมีความเป็นไปได้มากว่าจำนวนตัวเลข คนไทยจริงๆแล้วต้องเป็นแสนคนขึ้นไป  
 
สาเหตุที่ตัวเลขอย่างเป็นทางการน้อยกว่าตัวเลขจริง น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ คือ หนึ่ง คนไทย กระจายกันอยู่ในภูมิภาคต่างๆของสหรัฐฯทำให้ยากต่อการสำรวจและรวบรวมข้อมูล กับ สอง คือ คนไทย ที่ทำที่มาประกอบอาชีพต่างๆนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อมูลได้ เพราะเป็นผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย จึงมีความกลัวต่อการให้ข้อมูลกับองค์กร Census (ว่าที่จริงแล้วองค์กรสำรวจประชากรองค์กรนี้ ไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นคนละส่วนกับหน่วยงานอเมริกันที่ดูแลด้านต่างด้าวหรือ Department of Homeland Security หน่วยงานนี้จะไม่มีหน้าที่ให้ข้อมูลการสำรวจประชากรต่อ DHS แต่กระนั้นก็มีคนไทย เข้าใจผิด อยู่มาก จึงไม่ให้ความร่วมมือในการสำรวจจำนวนประชากรของ Census 
 
ศูนย์กลางของคนไทยในสหรัฐฯ เป็นที่รู้กันว่า คือ เมืองลอสแองเจลิส(แอล.เอ.) แคลิฟอร์เนีย ด้วย เหตุที่เป็นเขตที่มีคนไทยอาศัยอยู่หนาแน่นและจำนวนมากที่สุดมากกว่าพื้นใดๆ แม้กระทั่งในอื่นของ รัฐแคลิฟอร์เนียด้วยกัน  ดังนั้น ถ้าจะมองกันถึง "เชิงลักษณะความคิด" ของคนไทยในสหรัฐฯ คนไทยใน พื้นที่แอล.เอ. จึงน่าจะพอหยิบยกเป็นตัวอย่างได้แม้ลักษณะความคิดดังกล่าวจะไม่เหมือนกันไปเสีย ทั้งหมดทุกพื้นที่ก็ตาม แต่เชื่อว่า "ฐานความคิด"ของคนไทยทั้งหมดในสหรัฐฯไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ซึ่งก็มีข้อแม้หรือข้อยกเว้นอยู่ว่า คำว่าคนไทยในอเมริกานั้นย่อมต้องจำกัดความไว้เพียงคนไทยที่มาจาก เมืองไทยไม่ใช่ลูกหลานคนไทยที่เกิดในสหรัฐฯและกลายเป็นพลเมืองอเมริกันไปแล้ว โดยผลในประการหลัง ทำให้ลูกหลานหรือเยาวชนไทยในสหรัฐฯสนใจความเป็นไปของเมืองไทยน้อยลงไปด้วย ถ้าหากพวกเขา สนใจเมืองไทย เช่น สนใจการเมืองไทย สนใจวัฒนธรรมไทย มักเป็นไปโดยการกล่อมเกลา และการบังคับ จากพ่อแม่ผู้ปกครองคนไทยที่ย้ายตัวเองไปจากเมืองไทย  
 
การกล่อมเกลา หมายถึงการพยายามฝังหัววัฒนธรรมไทยต่อเด็กและเยาวชนลูกหลานไทย เช่น การส่งไปเรียนภาษาไทย การพาเข้าไปวัดไทย   ส่วนการบังคับ หมายถึง การบังคับให้เด็กและเยาวชน ลูกหลานไทยเรียนรู้วัฒนธรรมไทย เช่น บังคับให้พูดไทยในบ้าน บังคับให้ไปวัดไทย บังคับให้ต้องแสดงความ เคารพผู้ใหญ่ตามแบบอย่างมารยาท(วัฒนธรรม)ไทย ซึ่งผมเชื่อว่าหากมีการประเมินผลในขั้นปลายสุดแล้ว การกล่อมเกลาและการบังคับไม่น่าจะได้ผลในส่วนที่เป็นคุณูปการต่อสังคมไทยทั้งในสหรัฐฯและในเมือง ไทย  อาจได้ผลบ้างในส่วนของปัจเจกหรือของครอบครัว แต่กระนั้นผลของวิธีการทั้ง 2 แบบก็ไม่ได้ก่อให้เกิด การขยายตัวของวัฒนธรรมไทยในสหรัฐฯแต่อย่างใด ภาพที่เห็นจึงเป็นการสนองความต้องการ(ตัณหา) ของผู้ใหญ่(ผู้ปกครองเด็กและเยาวชน)คนไทยที่ย้ายตัวเองมาอยู่สหรัฐฯมากกว่าอย่างอื่น เพราะผู้ใหญ่ เหล่านี้มีแรงเก็บกดทางด้านศีลธรรม (เช่น ศีลธรรมเชิงพุทธ)และวัฒนธรรม(เช่น มารยาทไทย) อย่าง ล้นหลามมาจากเมืองไทย และต้องการระบายถ่ายทอดสู่ความคิดของเด็กเยาวชนที่เป็นลูกหลานของ ตนเอง    
 
2.จากข้อ 1. นำไปสู่การปฏิบัติในประเด็นด้าน "ธุรกิจวัฒนธรรมไทย" เพื่อสนองเจตนารมณ์ "กล่อมเกลาและบังคับ" ของผู้ปกครองเด็กและเยาวชน คนที่ประกอบอาชีพธุรกิจวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีตั้งแต่ ฝ่ายเอกชนไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐไทย (เช่น สถานกงสุล สถานทูต สายการบินของไทย) ในสหรัฐฯเข้า ใจดีถึงเจตนารมณ์ทำนองนี้จึงดำเนินกิจกรรมแคมป์เยาวชนสัญจรเมืองไทย ท่องเที่ยวไทยขึ้น ที่จริงแล้ว มันเป็นการสนองความอยากของผู้ปกครองคนไทยในสหรัฐฯมากกว่าความอยากรู้เรื่องเมืองไทย ของเด็ก และเยาวชนเชิงปัจเจก หรือมาจากฐานความต้องการอยากรู้อยากเห็นเมืองไทยของเด็ก และเยาวชนจากตัวของพวกเขาเอง ส่วนผลที่คาดหวังกันตามที่โฆษณาไปนั้น ในความเป็นจริงคือ แทบไม่ได้อะไรเลย จากกิจกรรมสัญจรเมืองไทยที่ว่านี้ นอกเสียจากการได้หน้าของผู้จัดเพียงแค่ไม่กี่คน รวมถึงผู้ให้การสนับสนุนซึ่งเป็นแบรนด์สินค้า
 
3.คนไทยในวัยผู้ใหญ่ ที่ย้ายตัวเองมาจากเมืองไทยส่วนมาก สนใจกิจกรรมรำลึกความหลัง มากกว่านวัตกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งนวัตกรรมของคนกลุ่มนี้ คือ ประวัติศาสตร์ของเมืองไทยเมื่อ 30-40 ปีที่แล้วที่พวกเขาได้รับการกล่อมเกลาไปจากเมืองไทยเมื่อสมัยเรียนหนังสือตามแบบเรียนในชั้นประถม ชั้นมัธยม หรือแม้กระทั่งการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ในช่วงรัฐบาลเผด็จการ กึ่งเผด็จการหรือ ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ  ถูกฝังหัวไปด้วยระเบียบและความคิดแบบหน้าที่พลเมือง ศีลธรรมเชิงพุทธที่รัฐ ไทยพยายามยัดเยียดให้(เช่น ระบบศีลธรรมในแบบเรียน ) การอยู่ในประเทศสหรัฐฯ พวกเขามีหน้าที่สำคัญ คือ ทำมาหากิน แบกภาระชีวิตรายวัน  (ไปเช้า-เย็นกลับ) ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาได้เรียนรู้และซึมซับ กระบวนการ ความคิดและวิถีประชาธิปไตยในรูปแบบวัฒนธรรมอเมริกันด้วยเสมอไป ดังนั้นความคิดต่อ วิธีการและรูปแบบทางการเมืองของพวกเขาจึงหยุดอยู่ในช่วงประวัติศาสตร์ไทย 30-40 ปีก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับความคิดและกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม  นั่นคือ ทัศนคติการเมืองแบบคนดีปกครองประเทศ หาใช่รูปแบบประชาธิปไตย  ส่งผลต่อกิจกรรมทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับเมืองไทยของพวกเขา เช่น การบริจาคเงินให้กับกลุ่มการเมืองบางเสื้อสีโดยข้ออ้างเพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้ทางการเมือง ที่มาเปิดรับบริจาคถึงสหรัฐฯและการรับบริจาคดังกล่าวเป็นไปในรูปแบบที่ผิดกฎหมายอเมริกัน (ตอนนี้กลุ่มเสื้อสีที่ว่าได้ปิดตัวเองไปแล้ว)
 
4.  ขณะเดียวกันคนไทยในวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ยังมีความเป็นชนชั้นวรรณะสูง พิทักษ์ระบบ อุปถัมภ์และอมาตยาธิปไตยมากกว่าคนไทยในเมืองไทยด้วยซ้ำ ดูได้จากกิจกรรมที่พวกเขาจัด เช่น การจัดงานการกุศลเพื่อหาเงินสนับสนุนองค์กรของรัฐหรือองค์กรกระแสหลักในเมืองไทย(ที่มีฐานการสนับสนุนที่มั่นคงอยู่แล้ว) โดยหวังถึงผลได้ เช่น เหรียญตรา ประกาศ เครื่องเชิดชูเกียรติจากเมืองไทย มีการแข่งขัน กันอย่างออกหน้าออกตาระหว่างสมาคมคนไทยต่างๆ มีการใช้ตัวกลางคือ คนของรัฐไทย เช่น กงสุลใหญ่ หรือทูตไทยเป็นตัวชูโรง ที่สำคัญคือ เวลามีการจัดกิจกรรมทำนองนี้ส่วนใหญ่ฝ่ายอเมริกันหรือ ตัวแทนฝ่ายอเมริกันไม่ค่อยมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากนัก กิจกรรมจึงเป็นไปในลักษณะ "คนไทยกับคนไทย" มากกว่า "คนไทยร่วมกับอเมริกัน"ทำให้การจัดตั้งองค์กรไม่หวังผลกำไร(Nonprofit organization) เพื่อ คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีประสิทธิภาพจริง แต่จัดตั้งเพื่อหน้าตาของผู้นำองค์กรบางคนมากกว่า หรือตั้งองค์กร ไว้เพื่อดักจับแมลงเม่า(คนที่มีเงินทุน) จากเมืองไทยที่พลัดหลงเข้าไปสหรัฐฯ ทั้งที่จัดการให้ฝ่ายอเมริกัน ซึ่งเป็นสังคมที่ใหญ่กว่าได้ร่วมกิจกรรมด้วยนั้นจะมีคุณูปการต่อชุมชนไทยในสหรัฐฯมากกว่า
 
5. การยังคงยอมรับรัฐไทยเป็นเจ้านายสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งคือ การอวยรัฐไทยของคนไทยวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ จากลักษณะของผลประโยชน์ร่วมหรือผลประโยชน์สมยอมระหว่างฝ่ายรัฐไทยกับ ฝ่ายคน ไทยในสหรัฐซึ่งมี 2 ประเด็นใหญ่คือ  

ประเด็นที่หนึ่ง โครงการของรัฐไทยที่เอื้อประโยชน์ต่อคนไทย บางคนบางกลุ่มในสหรัฐฯ  เช่น โครงการเงินกู้ของแบงก์ไทยสำหรับประกอบกิจการร้านอาหารไทย (ซึ่งสุดท้ายก็ ประสบความล้มเหลว) โครงการ Cooking school (ไม่มีการประเมินผล  ซึ่งก็ล้มเหลว เช่นเดียวกัน)  โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก (ท้ายที่สุดก็เงียบ ไม่ต่อเนื่องและไม่มีการประเมินผลเช่นกัน) โครงการเหล่านี้ ให้ผลประโยชน์กับคนไทยเพียงบางกลุ่มที่ถือตนว่ามีรัฐไทยเป็นเจ้านาย แต่ไม่กระจายผลประโยชน์ให้ถึงคนไทยในสหรัฐฯอย่างยุติธรรม  
 
ประเด็นที่สอง คือ  บ่วงล่อรางวัลเชิดชูเกียรติจากฝ่ายรัฐไทยที่โยงถึง 2 ส่วน คือ  ส่วนของการเป็น เอเย่นซี(Agency)ขายศิลปวัฒนธรรมไทยในเชิงการผูกขาดศิลปวัฒนธรรมไทยของคนไทยบางคนบางกลุ่ม  เพราะว่ากันตามจริงแล้ววัฒนธรรมไทยในสหรัฐฯไม่ต่างจากโชว์ประเภทหนึ่ง  เพียงแต่เอเยนซีเหล่านี้ เป็นตัวแทนขายของรัฐไทย แม้แต่ในหัวของเด็กเยาวชนไทย ภาพของศิลปวัฒนธรรมไทยก็คือโชว์ประเภท หนึ่ง  ไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึง "ความรักชาติ(ไทย-ของเยาวชนไทย)ในอเมริกา" ที่พยายามส่งเสริม กันอย่างไรได้เลย  ซึ่งส่งผลต่ออีกส่วนหนึ่ง ก็คือ  การวุ่นอยู่กับตัวเอง แบ่งแยกแข่งขันกันเองในชุมชนไทยของกลุ่มผู้ใหญ่คนไทยวัยผู้ใหญ่เหล่านี้ โดยไม่สนใจว่ากระบวนทัศน์ของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอยู่ในขั้นไหนแล้ว 
 
จะพูดไปไยถึงการยกระดับกระบวนทัศน์(Paradigm shift)ที่เป็นประเด็นต่อเนื่องด้วยเล่า.   
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น