ประชาไท | Prachatai3.info |
- บริษัทในอังกฤษถูกกล่าวหาว่าส่งออกสารเคมีส่วนประกอบแก๊สซารินไปยังซีเรีย
- บอร์ด กทค. ฟ้องหมิ่นประมาท เดือนเด่น TDRI กรณีให้ข่าวเรื่องคลื่น 1800 MHz
- หมอนิรันดร์ลงพื้นที่ไต่สวนเหตุยิง 2 วัยรุ่นในม็อบสวนยาง
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 ส.ค. - 2 ก.ย. 2556
- 'ประวิตร' สัมภาษณ์ 'เนติวิทย์' ว่าด้วยการปฏิรูประบบการศึกษาไทย
- แพทย์อุบลกังวลสารพิษเกษตรฉุดสุขภาพคนไทยทรุด
- รัฐบาลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้คำมั่นยุติการค้าเนื้อสุนัข
- ภาคประชาสังคมร้องรัฐนำคนผิดเหตุยิงผู้ชุมนุมสวนยางมาลงโทษ
- ยูนิเซฟระดมทุนช่วยเด็กในซีเรีย คาดมีเด็กอีก 2 ล้านเร่ร่อนจากความขัดแย้ง
- ปัญหาที่รัฐเวียดนามเผชิญในวันชาติ
- สุรินทร์ พิศสุวรรณ
- เก็บความเวทีปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์”
บริษัทในอังกฤษถูกกล่าวหาว่าส่งออกสารเคมีส่วนประกอบแก๊สซารินไปยังซีเรีย Posted: 02 Sep 2013 12:23 PM PDT บริษัทในอังกฤษได้รับใบอนุญาตส่งออกสารเคมีสองชนิดซึ่งสามารถนำมาผลิตแก๊สซารินได้ตั้งแต่ช่วงปี 2012 ก่อนถูกระงับ ทางด้าน รมต.อังกฤษบอกว่าได้ให้ใบอนุญาตแต่ไม่มีการส่งออกตัวสารเคมีออกไป ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมีการเผยแพร่ภาพคนแต่งชุดทหารเขียนข้อความประท้วงการทำสงครามซีเรีย 2 ก.ย. 2013 - สำนักข่าว The Independent เปิดเผยว่ารัฐบาลอังกฤษถูกกล่าวหาในเรื่องการละเลย โดยอนุญาตให้มีการส่งสารเคมีสองชนิดที่สามารถนำมาใช้ผสมเป็นสารทำลายประสาทอย่างแก๊สซารินได้ ขณะเดียวกันในโซเชียลเน็ตเวิร์กก็มีการแชร์ภาพการประท้วงต่อต้านการทำสงครามกับซีเรียหลายแห่ง มีการกล่าวหาว่าบริษัทในอังกฤษได้รับใบอนุญาตให้ส่งออกสารเคมีสองชนิดซึ่งนำมาใช้ผลิตอาวุธเคมีได้เป็นเวลานาน 6 เดือน ในช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา ในขณะที่ยังคงเกิดสงครามกลางเมืองในซีเรียและมีความกังวลเรื่องการใช้อาวุธเคมีกับประชาชนในซีเรีย สารที่อนุญาตให้มีการส่งออกได้แก่ โพแทสเซียมฟลูออไรด์ และโซเดียมฟลูออไรด์ ทางด้านกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และทักษะฝีมือของอังกฤษยืนยันว่าแม้พวกเขาจะออกใบอนุญาตให้บริษัทเคมีในอังกฤษในเดือน ม.ค. 2012 แต่ก็ไม่มีการส่งสารเคมีไปที่ซีเรียจนกระทั่งมีการยึดใบอนุญาตคืนในเดือน ก.ค. ปีเดียวกันเมื่อสหภาพยุโรปประกาศเข้มงวดมาตรการคว่ำบาตร วินซ์ เคเบิล รมต.กระทรวงธุรกิจฯ กล่าวว่า ทางการได้ออกใบอนุญาตให้สารเคมีทั้งสองชนิดเมื่อวันที่ 17-18 ม.ค. 2012 เพื่อให้นำไปใช้ในการอุตสาหกรรม แต่สาเหตุที่ให้ใบอนุญาตในช่วงดังกล่าวเนื่องจากพวกเขาไม่มีมูลเหตุใดๆ ในการปฏิเสธการให้ใบอนุญาต และเตรียมชี้แจงกับ ส.ส. อังกฤษ ในกรณีนี้ ทางด้านจอห์น เคอร์รี่ รัฐมนตรีการต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่า พวกเขามีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการใช้อาวุธเคมี โดยพบร่องรอยของสารพิษต่อระบบประสาทในเส้นผมและเลือดของเหยื่อที่ถูกโจมตีในกรุงดามาสกัสเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา กำลังพยายามเจรจามติกับรัฐสภาเพื่อให้มีการอนุญาตปฏิบัติการทางทหารเพื่อโจมตีซีเรีย
ในเว็บไซต์ reddit มีการนำเสนอภาพคนแต่งกายในชุดทหารสหรัฐฯ เขียนข้อความต่อต้านแผนการแทรกแซงด้วยกำลังอาวุธในซีเรีย เช่นข้อความว่า "ผมไม่ได้เข้าร่วมกองกำลังนาวิกโยธินเพื่อต่อสู้อยู่ข้างเดียวกับกลุ่มกบฏอัลเคด้าในสงครามกลางเมืองซีเรีย" อย่างไรก็ตาม การที่ผู้อยู่ในภาพปิดบังหน้าตาตนเองทำให้ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าผู้ประท้วงมาจากกองทัพสหรัฐฯ จริงหรือไม่ แต่การนำเสนอข้อความดังกล่าวก็เป็นการสะท้อนข้อถกเถียงเรื่องหนึ่งในสงครามกลางเมืองซีเรียคือเรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างกลุ่มอัลเคด้ากับฝ่ายกบฏในซีเรียซึ่งมีอยู่หลายฝ่าย นอกจากนี้ ยังมีภาพการประท้วงจากหลายแห่งในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เช่นผู้ชุมนุมในออตตาวา ประเทศแคนาดา ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาซีเรียด้วยสันติวิธี ขณะที่ในจอร์แดน มีกลุ่มผู้ประท้วงมารวมตัวหันหน้าสถานทูตสหรัฐฯ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการแทรกแซงซีเรียด้วยกำลัง มีคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นภาพของ เอมิลี่ เยทส์ ทหารผ่านศึกจากสงครามอิรักถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวหลังจากเล่นเครื่องดนตรีแบนโจในสวนของอินดิเพนเดนซ์มอลล์ รัฐฟิลาเดเฟีย เพื่อประท้วงแผนปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ
เรียบเรียงจาก Revealed: Government let British company export nerve gas chemicals to Syria, The Independent, 02-09-2013 Some US Troops Appear To Be Posting Photos In Protest Of Syrian Intervention, Business Insider, 01-09-2013 Woman violently arrested for playing banjo in wrong place at Syria war protest in Philly, Rawstory, 01-09-2013 Attack on Syria? Protests Around the World, CommonDreams, 31-09-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
บอร์ด กทค. ฟ้องหมิ่นประมาท เดือนเด่น TDRI กรณีให้ข่าวเรื่องคลื่น 1800 MHz Posted: 02 Sep 2013 12:10 PM PDT ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า มีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งประกอบด้วยพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, นายสุทธิพล ทวีชัยการ, พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ และสำนักงาน กสทช. โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาท หมายเลขดำที่ 3172/2556 โดยมี นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และนางสาวณัฎฐา โกมลวาทิน เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ในบรรยายฟ้องระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2556 นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ได้ใส่ความอันเป็นเท็จ กล่าวโจมตีการทำหน้าที่ของ กสทช. และกรรมการ กทค. รวมถึงสำนักงาน กสทช. ต่อสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์รายวัน สื่อออนไลน์ และรายการ "ที่นี่ Thai PBS" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีนางสาวณัฏฐา โกมล เป็นผู้ดำเนินรายการ ออกอากาศไปทั่วประเทศ กรณีที่ กทค. ได้ออกร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... (ประกาศห้ามซิมดับ) เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่คงค้างอยู่ในระบบในกรณีสัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
หมอนิรันดร์ลงพื้นที่ไต่สวนเหตุยิง 2 วัยรุ่นในม็อบสวนยาง Posted: 02 Sep 2013 06:40 AM PDT หลังกรณีคนร้ายลอบยิงชายวัยรุ่น 2 ราย ซึ่งทำหน้าที่เป็นการ์ดการชุมนุมของม็อบชาวสวนยาง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยเกิดเหตุบริเวณแยกบ้านตูล วันนี้ (2 ก.ย.56) นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ชุมนุมเพื่อรับฟังข้อมูลจากชาวสวนยาง หลังจากพูดคุยกับผู้ชุมนุมที่บ้านตูล นครศรีฯ แล้ว ก็เดินทางไต่สวนผู้ชุมนุมที่ควนหนองหงษ์ หลังจากนั้นเวลา 14.00 น.ได้เดินทางไปไต่สวน ผวจ. นครศรีฯ และส่วนราชการต่างๆ ที่ศาลากลาง ด้านสำนักข่าวทีนิวส์รายงานสถานการณ์การชุมนุมประจำวันนี้ว่า เกษตรกรชาวมสวนยางที่มาชุมนุมในพื้นที่จังหวัด ชุมพร-ระนอง-ประจวบคีรีขันธ์ ได้ขึ้นไปบนศาลากลางจังหวัดชุมพร กดดันให้รัฐบาบลแก้ปัญหาราคาน่งและปาล์มน้ำมันตกต่ำโดยนายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ นายกฤษณ์ แก้วรักษ์ นายก อบต.ท่าข้าม ในฐานะประธานชมรมผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จังหวัดชุมพร บรรดานายก อปท. สมาชิกสภา อบจ.,ส.ท. และ สมาชิกสภา อบต.ต่างๆ ร่วมกันชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดชุมพรด้วย โดยมีการตั้งเต็นท์กว่า 20 หลัง พร้อมตั้งเวทีปราศรัยบนถนนฝั่งตรงข้ามบันไดทางขึ้นศาลากลาง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจรหน้าศาลากลางไปโดยปริยาย และขอให้ผู้ที่มาติดต่อราชการหลีกเลี่ยงไปใช้ประตูฝั่งทิศใต้และฝั่งทิศเหนือแทนเป็นการชั่วคราว ส่วนตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่า 100 นาย มาสมทบกับอาสาสมัคร (อส.) จากกองร้อย อส.จ.ชุมพรกว่า 100 นาย เพื่อคอยดูแลความสงบเรียบร้อยและป้องกันมิให้ผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสก่อความรุนแรง ขณะเดียวกันนายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้ขอให้ผู้ประกอบการสินค้าโอท็อปของชุมพรนำสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม มาวางจำหน่ายให้ผู้ชุมนุมในราคาถูก พร้อมทั้งยังขอให้ร้านเสริมสวยน้ำหอมนำช่างตัดผมมาให้บริการตัดผมฟรีแก่ผู้ร่วมชุมนุม ท่ามกลางอากาศที่ค่อนข้างร้อนอบอ้าว ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมนำภาพเท่าตัวจริงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมโลงศพมาตั้งบนถนนหน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร ก่อนนำภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปวางในโลงศพ จากนั้นจึงช่วยกันเทน้ำมันลงไปแล้วจุดไฟเผา เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลไม่มีความจริงใจแก้ปัญหายางพาราและปาล์มน้ำมันมีราคาตกต่ำ และแม้นายปฐม สาธิตานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ออกมารับมอบหนังสือร้องเรียนจากผู้ชุมนุมแล้วแต่ผู้ชุมนุมยังคงยืนยันชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับคำตอบที่น่าพอใจจากรัฐบาล ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 ส.ค. - 2 ก.ย. 2556 Posted: 02 Sep 2013 05:18 AM PDT ลุ้นของบกลางเพิ่มเงินให้พนักงานมหา'ลัย
สงครามแย่งพนง.แบงก์เดือด ลาออก 12%
โคราชจัดนัดพบแรงงานไปต่างประเทศ เผยไทยแห่ไปเกาหลี ญี่ปุ่น อิสราเอล
ผู้บริหารองค์การสวนสัตว์ฯ แจงยังไม่สรุปโอนสวนสัตว์เชียงใหม่-ยันไป "พิงคนคร" ก้าวหน้าแน่
ช็อก 5 ล้านคนถูกเบี้ยวค่าแรง 300 อีสานแชมป์-กระทรวงแรงงานจี้เช็กบิล
สมัครงานล้นตำแหน่ง 163% จบปริญญาตกงานอื้อ
กกจ.เผยแรงงานไทยในซีเรีย ทำงานในพื้นที่ปลอดภัย
ก.แรงงานเปิดตัว e-Smart Boxให้บริการประชาชน
แรงงานจี้บอร์ดค่าจ้างทบทวนมติคงค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท คงที่ 3 ปี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'ประวิตร' สัมภาษณ์ 'เนติวิทย์' ว่าด้วยการปฏิรูประบบการศึกษาไทย Posted: 02 Sep 2013 01:57 AM PDT ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวเดอะเนชั่น สัมภาษณ์ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล วัย 16 ปี ผู้วิพากษ์ระบบการศึกษาไทยที่น่าจะอายุน้อยที่สุด เนติวิทย์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย เครือข่ายนักกิจกรรมหนุ่มสาวกว่า 30 คน ซึ่งต้องการปฏิรูประบบการศึกษาและผ่อนคลายกฎระเบียบที่เข้มงวด ประวิตร: ทำไมคุณดูเหมือนมีปัญหากับระบบการศึกษาไทยมาก หลักๆ ปัญหาการศึกษาไทย ถ้าจะพูดลงไปรายละเอียดให้มากกว่านี้มันอยู่ไหน เพราะในด้านหนึ่ง ถ้ามองแบบคอนเซอร์เวทีฟ คนก็จะมองว่า การศึกษาไทยไม่ได้มีคุณภาพระดับโลก แต่ผมเข้าใจว่าคุณไม่ได้มองแบบนั้น คุณมองในแง่ของการเรียนรู้ โอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก หรือแม้กระทั่งความสุขของครู
แต่อย่างไรก็เชื่อว่าคนส่วนใหญ่อาจจะเห็นปัญหานี้ แต่เขาอาจจะไม่ได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ได้ตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง มันอาจจะมีบ้างที่เขาฉุกคิดขึ้นมาบ้าง แต่ก็เงียบกลับลงไป เพราะเห็นว่า ทนๆ ไปดีกว่า มีหลายข้อเรียกร้องของคุณ ซึ่งรวมถึงสิทธิในการไว้ผมยาว เรื่องการยืนเคารพธงชาติ หรือสวดมนต์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้บางคนมองว่าวิธีการนำเสนอหรือการเรียกร้องออกไปในแนวก้าวร้าว ตรงนี้มีความเห็นว่าอย่างไร
ที่สื่อให้ความสนใจคุณ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการถกเถียงเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาจริงๆ แล้วแทบไม่มีนักเรียนสนใจเลยใช่ไหม คุณคิดว่า มันเป็นเรื่องที่นักเรียนควรจะต้องสนใจมากกว่านี้หรือไม่ เพราะอีกด้านหนึ่ง นักเรียนก็อาจจะมองว่าขณะที่เป็นนักเรียนหน้าที่หรือสิ่งที่ตนเองจะต้องทำก็คือ พยายามเข้ามหาวิทยาลัยหรือคณะดีๆ ให้ได้ และคงไม่มีเวลา หรือไม่ควรเสียเวลาต่อสู้กับการเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนระบบการศึกษา
พวกครูบาอาจารย์สั่งสอนตลอดเวลาว่ามีครู มีนักเรียน มีความแตกต่างกัน สั่งสอนอยู่ตลอด ทำให้ความเป็นผู้ใหญ่กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ผมไม่เคยคาดหวังรัฐบาลชุดนี้อยู่แล้ว รวมถึงรัฐบาลชุดอื่น ผมเคยส่งจดหมายในนามส่วนตัวถึงอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ และ พงศ์เทพ คนพวกนี้ก็ตอบมาดี อภิสิทธิ์เขียนตอบมาเองเต็มหน้าเลย ยิ่งลักษณ์และพงศ์เทพให้เลขาฯ ตอบ ก็ตอบมาดี แต่ข้อเสนอของผม ไม่เห็นมีการดำเนินการจริงจัง ก็ตอบเป็นมารยาทเท่านั้น ที่ผมยื่นไปเป็นข่าว เพราะต้องการให้นักเรียนรู้ว่าไม่ได้โดดเดี่ยว มีคนที่ทำอยู่ และอยากให้มารวมกัน นี่คือวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
แพทย์อุบลกังวลสารพิษเกษตรฉุดสุขภาพคนไทยทรุด Posted: 02 Sep 2013 01:38 AM PDT นพ.สสจ.อุบลฯเผยผลตรวจเลือดเกษตรกรพบ 70% เสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารพิษฆ่าแมลง สหภาพยุโรปจับมือม.อุบลฯเร่งหนุนเกษตรอินทรีย์ นายแพทย์ใหญ่อุบล กังวลสารพิษทางเกษตรฉุดสุขภาพคนไทยทรุด รองผู้ว่าฯ รับนโยบายเสนอผุดศูนย์เกษตรอินทรีย์ ขณะที่สหภาพยุโรปจับมือ ม.อุบลฯ โชว์โครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ผุดงานวิจัยรับมือความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ชี้ภายในปี 2560 เกษตรกรผ่านใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อย่างน้อย 100 ครอบครัว เมื่อวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2556 ที่ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร อาคารวิจัยเครือข่ายและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สหภาพยุโรป ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แถลงข่าวเปิดตัวโครงการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมแถลงข่าว ได้แก่ นายสุทธินันท์ บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี คุณอรุณศิริ โพธิ์ทอง ผู้ประสานงานโครงการ คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย นายแพทย์สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขอุบลราชธานี ดร.อินทิรา ซาฮีร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นายสุชัย เจริญมุขยนันท ผู้อำนวยการสื่อสร้างงสุขอุบลราชธานี ดำเนินรายการ โดยมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังและสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าวอย่างคับคั่ง นายสุทธินันท์ บุญมี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีกล่าวว่า ในจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์เพียง 0.389% สาเหตุเพราะ ไม่มีที่ขาย,ไม่มีเครือข่าย,ราคาไม่ต่างกับใช้เคมี,ขาดการประชาสัมพันธ์,มาตรฐานอินทรีย์ยังไม่ชัดเจน,ผู้บริโภคไม่เชื่อมั่น และขาดข้อมูล ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องร่วมกันผลักดันศูนย์อินทรีย์อุบลราชธานี เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของประชาชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา ซาฮีร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ประธานคณะทำงานโครงการกล่าวว่า โครงการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินงานโดยคณะทำงานโครงการฯ ภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบัน เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเกษตรกรยังต้องกดดันตัวเองให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปหักลบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและรายได้ของเกษตรกร จากสภาพปัญหาดังกล่าว โครงการฯ นี้ได้ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ได้แก่การผลักดันให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิถีการทำนาจากเคมีเป็นอินทรีย์จำนวน 200 ครอบครัว และภายในปี 2560 ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 100 ครอบครัว มีการวิจัยพัฒนารูปแบบการทำนาอินทรีย์เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยการผสมผสานความรู้จากภูมิปัญญาในท้องถิ่นและข้อมูลจากงานวิจัย ดำเนินการให้มีสหกรณ์เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร ทั้งการผลิต การแปรรูป การตลาด นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้านการขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกรที่สนใจ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนนโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลดีของการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับบุคคล องค์กร และหน่วยงานหลากหลายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โครงการนี้มีระยะเวลาการดำเนินงาน 4 ปี งบประมาณโครงการ 20 ล้านบาท โดยได้รับเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรปร้อยเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านบาทมีพื้นที่การทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 11 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรบ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล, กลุ่มเกษตรกรบ้านทองหลาง ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม, กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองมัง ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง, กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองไฮ ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร, กลุ่มเกษตรกรบ้านคำสร้างไชย-บ้านบัวเทิง อำเภอสว่างวีระวงศ์, กลุ่มเกษตรกรตำบลม่วงใหญ่-ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร, กลุ่มเกษตรกรบ้านดงบัง-บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง,กลุ่มเกษตรกรบ้านจานตะโนน ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง และกลุ่มเกษตรกรบ้านคูเมือง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ น.พ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีเปิดเผยว่า สถิติประชาชนเจ็บป่วยจากการเป็นมะเร็ง,โรคตับ,โรคไตมากขึ้นซึ่งสาเหตุก็เกิดจากพฤติกรรมการกินของเรา ตับ,ไตต้องทำหน้าที่เก็บและทำลายสารพิษ เมื่อมีสารพิษมากก็ทำงานหนักเจ็บป่วยกันมากขึ้น จากผลการตรวจเลือดเกษตรกรล่าสุดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฯ พบว่าเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง 100 คน พบ 70 คน เสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารพิษฆ่าแมลง เป็นข้อมูลที่น่าตกใจมาก อ.กุดข้าวปุ้น เสี่ยงสูงสุดถึง 79% แม้แต่เห็ดที่เรากินกันเป็นปกติไม่มีพิษ ปัจจุบันที่ขึ้นใกล้สวนยางพารา ก็ซึมซับพิษจากยาฆ่าหญ้ามาด้วย อันตรายมาก ข้าวก็เช่นกัน ข้าวเป็นพืชที่ดูดซึมสารพิษได้ดีมาก ทราบมาว่าบางพื้นที่ชาวนาฉีดยาฆ่าหญ้าสูงสุดถึง 5 ครั้ง พิษนั้นจะถูกดูดซึมไปที่ไหน การที่สหภาพยุโรปและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีพร้อมภาคีเครือข่ายจับมือกันหนุนเกษตรกรให้ปลูกแบบอินทรีย์นั้นน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดอุบลฯยินดีซื้อผลผลิตจากท่าน ในงานครั้งนี้ มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ การแสดงละครสะท้อนวิถีการทำเกษตรที่เต็มไปด้วยการใช้สารเคมีในยุคปัจจุบัน ผ่านบทละครของกลุ่มสื่อใสวัยทีนในเรื่อง "เด็กชายอินทรีย์" อีกด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รัฐบาลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้คำมั่นยุติการค้าเนื้อสุนัข Posted: 02 Sep 2013 01:20 AM PDT การประชุมกลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย (Asia Canine Protection Alliance - ACPA) ที่กรุงฮานอย เจ้าหน้าที่รัฐในไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ให้คำมั่นสัญญาร่วมยุติการค้าเนื้อสุนัข (กรุงเทพฯ) 2 กันยายน 2556 - เจ้าหน้าที่รัฐประจำประเทศของไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ร่วมให้คำมั่นสัญญาในการยุติการทารุณด้านการค้าเนื้อสุนัขเชิงพาณิชย์ ในปีหนึ่งจะพบว่ามีสุนัขกว่า 5 ล้านตัวถูกสังหารอย่างโหดร้ายเพื่อตอบสนองการบริโภคของมนุษย์ ซึ่งมีการลักลอบขนส่งข้ามแดนจากประเทศไทย กัมพูชา และลาวไปยังประเทศเวียดนามเพื่อการบริโภคเนื้อสุนัข การผลิตเนื้อสุนัขเริ่มมาจากการค้าขนาดเล็กในระดับครัวเรือน สู่การเป็นอุตสาหกรรมค้าสุนัขผิดกฎหมายที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งได้นำความเจ็บปวดและความทรมานมาสู่สุนัขทั้งหลาย อีกทั้งยังนำความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์อีกด้วย ทั้งนี้ การค้าในสุนัขเนื้อเกี่ยวข้องกับของโรคที่ไม่สามาถระบุได้ในสุนัขและการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นความพยายามในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในระดับภูมิภาค ประเทศต่างๆ ล้มเหลวในการดำเนินงานตามมาตรการการป้องกันโรคในสัตว์ และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลกและองค์กรสุขภาพสัตว์โลก ในการควบคุมและการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า อีกทั้งการบริโภคเนื้อสุนัขยังมีความเกี่ยวพันถึงการติดต่อแพร่กระจายของโรคพยาธิทริคิโนซิส อหิวาตกโรค รวมถึงโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกเผยถึงการค้าสุนัขเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงอหิวาตกโรคในประเทศเวียดนาม เจ้าหน้าที่รัฐบาลเห็นชอบในการยุติการค้าเนื้อสุนัข ณ การประชุมล่าสุดที่จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย (Asia Canine Protection Alliance - ACPA) เจ้าหน้าที่รัฐ กล่าวถึงประเด็นการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขไว้ว่า จะทำการประกาศพักการออกกฎหมายในการขนส่งสุนัขเชิงพาณิชย์ในอีกห้าปีข้างหน้า ในขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังทบทวนถึงผลกระทบของการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าไปทั่วทั้งภูมิภาค (สำหรับประเทศไทยซึ่งการค้าสุนัขเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่มีความเห็นชอบในการกวดขันกฎหมายปัจจุบันให้มีบทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น) นายสัตวแพทย์พรพิทักษ์ พรหล้า สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขประจำประเทศไทย กล่าวว่า "เราไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมได้ แต่เราควรหยุดการลักลอบค้าสุนัข การประชุมครั้งสำคัญนี้จะเป็นการกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานของภาครัฐ เห็นถึงปัญหาที่มาจากการค้าเนื้อสุนัข และหารือถึงแนวทางยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า" นางสาวเหวียน ทู ถวี รองผู้อำนวยการกรมสุขภาพสัตว์ประจำประเทศเวียดนาม กล่าวว่า "สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้ หนึ่งในเหตุผลหลักคือการลักลอบขนส่งสุนัขเพื่อการค้าข้ามชายแดน" นาย บุญสืบ แช่มช้อย หัวหน้าผู้ตรวจราชการทั่วไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยประจำประเทศไทย กล่าวว่า"เราไม่เคยอนุญาตให้มีการขนส่งสุนัขจากประเทศไทยไปยังเวียดนามเพื่อการบริโภค เรายังคงแสวงหามาตรการแก้ปัญหา แต่เนื่องจากชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ นั้นยาวมาก จึงเป็นการยากในการจัดการการค้าที่ผิดกฎหมายนี้ ซึ่งเราก็กำลังพยายามอย่างเต็มที่" องค์กรพิทักษ์สัตว์ สังกัดกลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย จะร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่ในการช่วยเหลือทางด้านการเงิน ผู้เชี่ยวชาญและสิ่งจำเป็นอื่นๆ ทั้งนี้ กลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่าง มูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ (Change For Animals Foundation - CFAF) สมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ (Humane Society International - HSI) มูลนิธิสัตว์แห่งเอเชีย (Animals Asia) และมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (Soi Dog Foundation) โดยดำเนินการไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก นางสาวโลล่า เว็บเบอร์ ประธานโครงการของมูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ กล่าวว่า "ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขในประเทศเวียดนาม ไทย ลาว และกัมพูชา ทั้งนี้ การยุติการลักลอบค้าเนื้อสุนัขเพื่อการบริโภคนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในระดับชาติและระดับภูมิภาค" นางสาวเคลลี่ โอ เมียร่า ผู้อำนวยการฝ่ายสัตว์เลี้ยงและการถือครองแห่งสมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ กล่าวว่า "การค้าไม่มีความเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะรักษาวัฒนธรรมหรือประเพณีแต่การค้าเป็นนั้นมีแรงขับเคลื่อนทางด้านผลประโยชน์และความสุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาพนอกจากนี้ ยังมีการติดตามสวัสดิภาพสัตว์และการจัดเก็บเอกสารหลักฐานชิ้นสำคัญทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียและระดับโลก ที่แสดงถึงความโหดร้ายที่มีอยู่ในทุกขั้นตอนของการค้าสุนัข ตั้งแต่แหล่งที่มา การขนส่ง การขาย สู่ขั้นตอนการสังหารอย่างโหดร้าย" นายต๋วน เบนดิกเซน ผู้อำนวยการมูลนิธิสัตว์แห่งเอเชียประจำประเทศเวียดนามกล่าวว่า "ขณะที่การค้าเนื้อสุนัขเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายในประเทศประเทศเวียดนามลาว และกัมพูชา แต่ในการค้าในระดับนานาชาติการค้านั้นเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ถ้าเอกสารสุขภาพและการฉีดวัคซีนไม่ถูกต้อง ในขณะที่การค้านั้นเกี่ยวกับข้องกับสุนัขนับร้อยในการขนส่งแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่สุนัขทุกตัวจะมีเอกสารดังกล่าวอย่างถูกต้อง หรือมีการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนการส่งข้ามแดน ดังนั้นการค้าดังกล่าวนี้ควรจะต้องมีการยุติลงไป" มร.จอห์น แดลลีย์ รองประธานมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย กล่าวว่า "โรคพิษสุนัขบ้าและโรคติดต่ออื่น ๆ เช่น อหิวาตกโรคและโรคพยาธิทริคิโนซิสเป็นตัวแทนของการคุกคามทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วเอเชีย และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ สุขภาพของมนุษย์ และสวัสดิภาพของสัตว์ นอกจากนี้ มันจะไม่เสียหายใดๆ เลย หากไม่มีประเทศใดในโลกทำให้การผลิต การค้าขาย และการบริโภคเนื้อสุนัขถูกกฎหมาย" ----- สมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ (Humane Society International - HSI) ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดตั้งหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้วที่ HSIได้ทำงานเพื่อพิทักษ์สัตว์ทุกชนิดด้วยการใช้ศาสตร์ความรู้ การรณรงค์ การศึกษา และการต่อยอดนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง สามารถติดตามความเคลื่อนไหวการคืนชีวิตให้กับสัตว์และการเผชิญหน้ากับความโหดร้ายของโลกภายนอก ได้ที่เว็บไซต์ hsi.org มูลนิธิสัตว์แห่งเอเชีย (Animals Asia) ทุ่มเทให้กับการสิ้นสุดของทารุณกรรมของการทำฟาร์มสกัดดีหมี ปรับปรุงพัฒนาสวัสดิภาพของสัตว์ในประเทศจีนและประเทสเวียดนาม รณรงค์ผู้คนให้หันมามีความเมตตาและเคารพชีวิตสัตว์ทุกชนิด ตลอดจนนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวด้วย 3 โปรแกรมหลัก ประกอบไปด้วย การหยุดการทำฟาร์มสกัดดีหมี สวัสดิภาพของสุนัขและแมว และสวนสัตว์และซาฟารี มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (Soi Dog Foundation) กำลังต่อสู้เพื่อสวัสดิภาพของสุนัขและแมวในประเทศไทย ส่งเสริมให้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งในสัตว์และมนุษย์ ยุติการทารุณกรรมในสัตว์ และรังสรรค์สังคมให้ปราศจากสัตว์ไร้ที่อยู่ให้หมดสิ้นไป ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ www.soidog.org มูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ (Change For Animals Foundation - CFAF) เป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายให้รณรงค์ความเมตตาการุณาต่อสัตว์ทุกชนิดและยุติการทรมานสัตว์ CFAF มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกสำหรับสัตว์ชนิดต่างๆทั่วโลกในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มพิทักษ์สัตว์ท้องถิ่นและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์นานาชาติ ติดตามเพิ่มเติมได้ที่www.changeforanimals.org ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ภาคประชาสังคมร้องรัฐนำคนผิดเหตุยิงผู้ชุมนุมสวนยางมาลงโทษ Posted: 02 Sep 2013 12:57 AM PDT องค์กรภาคประชาสังคม ได้แก่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิ เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง และกป.อพช. ประณามความรุนแรงต่อเหตุการณ์ยิงผู้ชุมนุมที่นครศรีธรรมราช ร้องรัฐต้องแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา 2 ก.ย. 56 - องค์กรภาคประชาสังคม ได้แก่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) และคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ได้ออกแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ทำร้ายผู้รักษาความปลอดภัยผู้ชุมนุมสวนยาง ณ อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อกลางดึกของวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 1 ราย นั้น ทางองค์กรประชาสังคม มีความเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า การชุมนุมไม่ว่าจะโดยฝ่ายใด เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย โดยรัฐบาลจำเป็นต้องรับฟังต่อปัญหาและข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ต้องการให้รัฐบาลเข้าประกันราคายางและปาล์มน้ำมัน และรับมือโดยไม่ให้เกิดเงื่อนไขของการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ชุมนุม นอกจากนี้ ต่อเหตุการณ์การเสียชีวิตของผู้ชุมนุม ทางองค์กรดังกล่าวได้เรียกร้องให้รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษด้วย 0000 แถลงการณ์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เรื่อง ขอให้เร่งสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมชาวสวนยาง จากข่าวที่ปรากฏเหตุการณ์ลอบทำร้ายผู้ดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมชาวสวนยางบริเวณจุดชุมนุมแยกบ้านตูล ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อคืนกลางดึกของวันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 1 รายนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีความเห็นและข้อเรียกร้องดังนี้ 1. สิทธิในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ติดตัวทุกคนมาแต่เกิด และไม่อาจพรากไปจากมนุษย์ได้ ไม่ว่ามนุษย์คนนั้น กลุ่มนั้น จะมีความคิดความเห็น ความเชื่อ หรือฐานะทางสังคมที่แตกต่างไปจากผู้คนในสังคมสิทธิดังกล่าวจึงเป็นเอกสิทธิติดตัวของมนุษย์และย่อมได้รับการคุ้มครองจากรัฐและประชาชนทุกคน 2. สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าผู้กระทำผิดเป็นฝ่ายใดย่อมต้องได้รับการประณามจากสังคม การใช้อาวุธ ต่อผู้ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ย่อมเป็นการแสดงถึงความโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม อันมิใช่วิสัยของการกระทำที่ได้รับการยอมรับในสังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะเป็นการกระทำ ต่อการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งเป็นเสรีภาพของประชาชนที่รัฐต้องให้ความคุ้มครอง เพราะบุคคลย่อมมีสิทธิที่จะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ 3. เจ้าหน้าที่ตำรวจถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดในการคุ้มครองความสงบเรียบร้อยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งดำเนินการค้นหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมโดยเร็วเพื่อเป็นการแสดงว่ารัฐบาลโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะธำรงไว้ซึ่งการเคารพและเคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) หรือนิติรัฐ (Legal State) อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการกระทบกระทั่งกันเองในหมู่ประชาชนที่เดือดร้อนและไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม 4. ขอให้ผู้ชุมนุมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการหาตัวผู้กระทำผิด เพื่อแสดงให้เห็นว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมโดยสงบตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชน ที่คิดเห็นแตกต่างจากรัฐ มิได้มีความเกลียดชังต่อภาครัฐหรือเหมารวมว่าภาครัฐเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงในครั้งนี้ ทั้งนี้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ขอให้ทุกฝ่ายอดทนต่อแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมและระหว่างการค้นหาความจริง เพื่อจะได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาและมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนสืบไป ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 0000 แถลงการณ์ เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) แถลงการณ์ เรื่อง ขอประณามการใช้ความรุนแรง กับเกษตรกรชาวสวนยาง สวนปาล์ม และ เรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อชีวิตและความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งเร่งแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตที่ตกต่า วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕ ตามที่ได้มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ได้ทำการชุมนุมที่ถนนสายเอเชีย บริเวณแยกควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประกันราคายางแผ่น เศษยาง (ขี้ยาง) และประกันราคาปาล์มน้ามัน ที่กำลังตกต่ำอย่างมาก นั้น ความเป็นมาของการชุมนุมของพี่น้องชาวสวนยางและสวนปาล์ม เกิดขึ้นจากเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไปแล้ว ๔ ข้อ โดยในครั้งนั้นนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผวจ.นครศรีธรรมราช ได้เข้าไปเจรจาและรับหนังสือของชาวสวนยาง และขอให้เปิดถนนซึ่งชาวบ้านได้ยินยอมสลายการชุมนุม และระบุว่าจะขอรับคำตอบในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ และเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาชาวสวนยางได้นัดรวมตัวกันที่ อ.จุฬาภรณ์ เพื่อฟังคำตอบแต่ไม่ได้รับคำตอบเป็นที่พึงพอใจจึงได้นำมาสู่การชุมนุมในครั้งนี้ ดังนั้นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม ได้เกิดขึ้นก็เนื่องมาจากความล่าช้า และความไม่จริงใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคายางและปาล์มน้ำมันที่ตกต่ำ และสุดท้ายได้นำมาสู่การเผชิญหน้า การปะทะกัน และในครั้งนี้ถึงขั้นใช้อาวุธยิงใส่ผู้ชุมนุมเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าว ดังนั้น เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ซึ่งเป็นเครือข่ายชุมชนที่รวมตัวกัน ๕๘๐ ชุมชนทั่วประเทศ มาตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ ในการเรียกร้องเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง เรื่องที่ดินทำกิน เรื่องสิทธิชุมชนชาวเล เรื่องสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่น ปกป้องสิทธิชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล และการพัฒนาในเครือข่าย จึงมีข้อเรียกร้องกับรัฐบาลและข้อเสนอต่อสังคมดังนี้ ๑.เครือข่ายฯ ขอสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน โดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ๒.เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้เครือข่ายประชาชนและทุกฝ่ายในสังคม ใช้โอกาสในการเรียนรู้และทำความเข้าใจสังคมไทยและระบอบประชาธิปไตยที่มีความหลากหลายอย่างแท้จริงโดยใช้ปัญหาปากท้องของประชาชนเป็นที่ตั้ง ๓.เครือข่ายฯ ขอคัดค้านการใช้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เป็นบันไดเพื่อเอาชนะทางการเมือง ของทุกฝ่ายโดยเด็ดขาด ๔.เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าแก้ปัญหาของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และปาล์มน้ามัน โดยเน้นการสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างเท่าเทียม ๕.เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรง และเหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตจากการชุมนุม ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน โดยต้องยุติการใช้ความรุนแรงใดๆจากทุกฝ่ายโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง อย่างสันติ และยุติธรรม โดยต้องไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ๑ กันยายน ๒๕๕๖ 0000 แถลงการณ์ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เรื่อง ขอประณามการใช้ความรุนแรงกับพี่น้องชาวสวนยาง ภาคใต้ และขอให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำเมื่อเช้ามืดวันนี้ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายเป็นห่วงและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้มีเสียงของภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ตักเตือนไปยังรัฐบาลเฝ้าดูแล อย่างระมัดระวังกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างเข้มข้น เพื่อมิให้นำไปสู่ความรุนแรงใดๆ ขึ้นอีก และควรที่จะเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อมิให้ความเดือดร้อนแผ่ขยายวงกว้างไปกว่านี้ หากไร้เสียงตอบรับที่ชัดเจน แต่กลับหวาดระแวงกับกลุ่มชาวบ้านที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องถึงความเดือดร้อนของตนเองด้วยความชิงชัง โดยอ้างว่าเป็นม๊อบการเมือง ม๊อบไร้แกนนำ ม๊อบคนนอกพื้นที่ และอีกต่างๆนาๆ เป็นเหตุผลให้รัฐบาลไม่ยอมส่งคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจลงมาดูแลความทุกข์ร้อนของประชาชนอย่างที่ควรจะเป็น ถือเป็นความผิดพลาดในการประเมินสถานการณ์ของฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างมาก คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ทั้งสี่ภาค ได้เฝ้าติดตามเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการออกแถลงการณ์ผ่านสื่อมวลชนของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนส่วนภาคใต้ไปแล้ว เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อเสนอสำคัญที่ให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี และไม่ควรสร้างเงื่อนไขเพื่อนำไปสู่ความรุนแรง หากแต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับไม่ได้รับความสนใจประการใด และกลับนำไปสู่ความรุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตของประชาชนที่ร่วมชุมนุมตามมา และหากยังปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินเช่นนี้อีกต่อไป เชื่อว่าจะไม่เป็นผลดีกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างแน่นอน ในนามของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช) ทั่วประเทศขอประณามการกระทำของผู้ที่เจตนาก่อให้เกิดความรุนแรงดังกล่าว และขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการดังนี้ 1. รัฐบาลจะต้องแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาด้วยการส่งผู้มีอำนาจตัดสินใจอย่างแท้จริง เพื่อไปรับฟังปัญหาและรับข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมในพื้นที่ 2. รัฐบาลจะต้องมีมาตรการ และต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นเพื่อมิให้เกิดเงื่อนไขที่นำไปสู่ความรุนแรงใดๆกับผู้ชุมนุมในพื้นที่ ด้วยความเชื่อมั่นว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน เพื่อเรียกร้องถึงเรื่องทุกข์ร้อนของตนเอง เราจึงขอสนับสนุนการรวมกลุ่มดังกล่าว และจะเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างใกล้ชิด หากรัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ ตามข้อเสนอดังกล่าว เราจะประสานเครือข่ายภาคประชาชนทั่วทุกภาคเพื่อให้มีการสนับสนุนการชุมนุมของพี่น้องในภาคใต้อย่างถึงที่สุด คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ยูนิเซฟระดมทุนช่วยเด็กในซีเรีย คาดมีเด็กอีก 2 ล้านเร่ร่อนจากความขัดแย้ง Posted: 02 Sep 2013 12:12 AM PDT
"เด็กคนที่หนึ่งล้านนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเลข" นายแอนโทนี่ เลค ผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าว "นี่คือเด็กตัวจริงคนหนึ่งซึ่งต้องพลัดพรากจากบ้าน หรือแม้กระทั่งจากครอบครัว และต้องเผชิญกับความน่ากลัวที่พวกเราอาจเพิ่งเริ่มทำความเข้าใจกับมัน" นอกเหนือจากเด็กผู้ลี้ภัยจำนวน 1 ล้านคนแล้ว ข้อมูลจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ยังระบุว่ามีเด็กอีกประมาณ 7,000 คนที่ถูกฆ่าตายจากสงครามในซีเรีย นอกจากนี้ ยูนิเซฟและสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) คาดว่ายังมีเด็กอีก 2 ล้านคนต้องเร่ร่อนอยู่ในซีเรียซึ่งเป็นผลจากความขัดแย้งครั้งนี้ นายพิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย กล่าวว่า "ยูนิเซฟมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในครั้งนี้ ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่ยังอยู่ในพื้นที่สงคราม ที่ต้องอยู่อย่างเร่ร่อนภายในประเทศเพราะบ้านเรือนถูกทำลาย หรือต้องหนีข้ามชายแดนไปอาศัยอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัย โลกไม่สามารถเพิกเฉยต่อสถานการณ์ที่เด็กเหล่านี้ต้องเผชิญได้อีกต่อไป" ข้อมูลจากยูนิเซฟและยูเอ็นเอชซีอาร์ระบุว่า ประชากรเด็กมีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในซีเรีย และเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 11 ปี ถึง 740,000 คน ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเลบานอน จอร์แดน ตุรกี อิรัก และอียิปต์ จนถึงปัจจุบัน ยูนิเซฟและหน่วยงานพันธมิตรได้ระดมความช่วยเหลือครั้งใหญ่สำหรับเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ โดยในปีนี้ ได้มีการจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้แก่เด็กกว่า 1.3 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยและในชุมชนต่างๆ ในประเทศรอบๆ ซีเรีย นอกจากนี้ เด็กผู้อพยพเกือบ 167,000 คนยังได้รับความช่วยเหลือในเรื่องการเยียวยาทางจิตใจ เด็กอีกกว่า 118,000 คนได้รับการสนับสนุนให้ได้เรียนต่อ และประชากรกว่า 222,000 คนได้รับแจกน้ำดื่มสะอาด อย่างไรก็ตาม ยูนิเซฟกำลังระดมทุนอีกจำนวน 470 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ประสบภัยทั้งที่อยู่ในประเทศซีเรียและที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ตามชายแดน โดยเงินทุนที่ได้จากการบริจาคเหล่านี้จะนำไปช่วยเหลือเด็กและครอบครัวในด้านการจัดหาน้ำสะอาดและสุขอนามัย การศึกษา สาธารณสุขและโภชนาการ และบริการด้านการคุ้มครองเด็ก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ปัญหาที่รัฐเวียดนามเผชิญในวันชาติ Posted: 01 Sep 2013 10:12 PM PDT
ทำไมประเทศที่ชาวโลกมองเห็นว่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 01 Sep 2013 09:53 PM PDT | |
เก็บความเวทีปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” Posted: 01 Sep 2013 09:19 PM PDT โทนี แบลร์แนะปรองดองเริ่มจากคนที่คุยกันเป็นส่วนตัวได้ และระวังเรื่องภาษาที่ใช้ ควรแสดงความเห็นใจฝ่ายตรงข้าม ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านระบุ การปรองดองต้องไม่ปิดบังความแตกต่าง โทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ "ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์" ว่าประชาธิปไตยนั้นไม่ได้หมายถึงเพียงรูปแบบคือการเลือกตั้ง แล้วเสียงข้างมากสามารถควบคุมได้ทั้งหมด หากแต่ต้องเปิดพื้นที่ให้กับเสียงส่วนน้อย และต้องมีนิติธรรม โดยสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดนิติธรรมคือความเป็นอิสระของตุลาการ ขณะที่การปรองดองนั้นก็ไม่ได้มีเพียงมิติทางการเมือง หน้าที่หนึ่งของรัฐบาลที่จะทำให้เกิดการปรองดองก็คือ การบริหารให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น ให้ประชาชนรู้สึกได้ว่ารัฐบาลกำลังนำพาประเทศให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี โทนี แบลร์ เสนอเพิ่มเติมสองประเด็นสำหรับแนวทางการปรองดอง คือ ต้องมีคนที่จะเสวนากันได้อย่างตรงไปตรงมา ต้องหาคนหลักๆ ทีจะเจรจากันอย่างเป็นส่วนตัว ในงานเจรจาปรองดองทุกครั้งที่เขาทำงานต้องมีคนหลักๆ ที่มาสร้างความสัมพันธ์ในระดับส่วนตัวกัน สอง ภาษาที่ใช้ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้เห็นว่าคุณละเอียดอ่อนหรือดื้อดึง ต้องใช้ภาษาที่แสดงความเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายหนึ่งด้วย เขากล่าวถึงการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับไอร์แลนด์ว่า เขายอมรับอย่างซื่อสัตย์ว่ารัฐบาลอังกฤษในอดีตล้มเหลว ฉะนั้นรัฐบาลต้องพยายามลองนึกดูว่าถ้าเป็นอีกฝ่ายหนึ่งจะทำอย่างไร ต้องการอะไร และอีกฝ่ายต้องยอมที่จะคิดและยื่นมือเข้าร่วม นอกจากนี้ประชาชนต้องสามารถเข้าร่วม จากประสบการณ์ของเขาต่อความขัดแยงกับที่แก้ปัญหาลงได้ในรัฐบาลของเขา คือ ต้องมีความสำพันธ์ในระดับส่วนตัวกับผู้นำของคู่ขัดแย้งและสร้างสภาวะแวดล้อมที่ความมั่นคง และทำให้คนผ่อนคลายเพียงพอที่จะยอมรับ และทำให้คนรู้สึกว่าไม่ได้มีนอกมีในหรือมีวาระซ่อนเร้น และเริ่มพูดคุยจากประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับความขัดแย้ง แต่ต้องมีข้อตกลงร่วมกันบางอย่างในกรณีที่พอจะพูดกันได้ เช่น การพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาเศรษฐกิจ เรียกว่าเป็นการตั้งหัวสะพานไปสู่การเจรจากันต่อไป ผู้ปาฐกถาคนต่อมาได้แก่ นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี 2551 และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในกระบวนการเจรจาสันติภาพในโคโซโว ผู้ก่อตั้งและประธาน Crisis Management Initiative (CMI) ที่เน้นการแก้ข้อพิพาททางสันติวิธี และเป็นหัวหน้าคณะไกล่เกลี่ยในกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของอาเจะห์ (Free Aceh Movement) อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ กล่าวถึงประสบการณ์การปรองดองในนามิเบียว่า แม้ในแต่ละการปรองดองจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ กัน แต่ความท้าทายนั้นเหมือนกัน โดยยกกรณีนามิเบียว่าในกระบวนการปรองดองไม่ได้มีเพียงเรื่องการเมือง แต่มีเรื่องขิงสิทธิมนุษยชนด้วย ขณะนี้นามิเบียมีความเป็นประชาธิปไตยและประชาชนเคารพในกันและกัน การพัฒนาเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน และทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนด้วย ซึ่งกรณีของนามิเบียทำได้ดี กรณีของอาเจะห์ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญ รวมถึงการใช้เมืองเฮลซิกิ เป็นพื้นที่เจรจาสันติภาพ บทเรียนที่สำคัญมากจากอาเจะห์คือ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามสัญญา การปรองดองจะไม่เกิดขึ้นได้เลย สิ่งที่สำคัญคือ ต้องทำตามสัญญาและต้องยอมบางอย่างเพื่อให้เกิดการปรองดองแม้จะมีบางอย่างที่เป็นไปไม่ได้อย่างที่ต้องการระหว่างการเจรจา ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในสังคมที่เปราะบางแต่ความรับผิดชอบของผู้นำยิ่งสูงขึ้นยิ่งกว่า การปรองดองจะเกิดได้ถ้าแต่ละพรรคมีความมุ่งมันอย่างแท้จริง กรณีโคโซโว ขณะนี้มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว และมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญซึ่งสำคัญมากในการปกป้องรัฐธรรมนูญโคโซโว เช่นเดียวกันกับกรณีนามิเบีย การที่จะเดินทางสู่สันติภาพและความสงบนั้นไม่ราบเรียบ มีการเสียชีวิตมากถึงหมื่นสามพันคน การปรองดองทุกสถานการณ์ ความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ตามที่คอป. ชี้ให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่สำคัญคือกระบวนการ และความไว้วางใจความไว้เนื้อเชื่อใจคือการให้เครื่องมือแก่ประชาชนที่จะสร้างอนาคตตัวเองได้ ผู้นำรัฐบาลต้องให้อำนาจทั้งเสียงส่วนใหญ่และส่วนน้อย เปิดกว้างเพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหา ความปรองดองสมานฉันท์ที่แท้อยู่ที่ประชาชน การปรองดองไม่ใช่การลืม แต่ต้องเคารพการจำที่แตกต่างกัน และยอมรับในความแตกต่าง และไม่ใช่เพียงการยอมรับในอดีต แต่ต้องสร้างอนาคตร่วมกัน การปรองดองอาจจะไม่ได้แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง กรณีฟินแลนด์เองก็ยังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ เขากล่าวว่าผู้นำรัฐบาลจะต้องมุ่งมันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และแม้จะไม่ไว้วางใจกันมาเป็นสิบๆ ปี แต่การปรองดองก็เกิดขึ้นได้ แต่ต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อสร้างอนาคต และพึงระลึกว่า เราสามารถเริ่มใหม่ได้ตลอดเวลา พริสซิลลา เฮเนอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสของ Centre for Humanitarian Dialogue หรือ HDC ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน กล่าวว่าในการปรองดอง มีเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญ กรณีของประเทศไทยนั้นเห็นได้ชัดว่าการสมานฉันท์นั้นได้ดำเนินมาหลายปีตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้า แต่ต้องพยายามมากกว่านี้ แต่ที่ไม่กระจ่างคือ อะไรคือความสมานฉันท์ปรองดอง เราพูดในความหมายเดียวกันหรือไม่ จากประสบการณ์เธอพบว่าคำนี้บางครั้งจะให้ความหมายแตกต่างกัน บางครั้งเราไม่ตระหนักรู้ในการใช่คำๆ เดียวกันแต่ความหมายต่างกัน เธอกล่าวถึงกรณีของอียิปต์ ว่าบางช่วงทหารยึดเมืองโดยและอ้างว่าฝ่ายตรงข้ามมีเวลา 48 ชม. ที่จะเข้ามาร่วมปรองดอง ซึ่งนี่คือการข่มขู่ไม่ใช่การปรองดอง กรณีของรวันดา รัฐบาลใหม่ที่ออกมาแบนเอกสารเกี่ยวกับความขัดแย้งของสองชาติพันธุ์ใหญ่ซึงเธอเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง ฉะนั้น การจะปรองดองได้ต้องไม่เป็นการปิดบังในการเปิดเผยถึงรากเหง้าของความขัดแย้ง การปรองดองไม่ใช่เรื่องการบังคับขู่เข็ญ และไม่ใช่เรื่องการปกปิดความแตกต่าง ตัวอย่างที่ดีที่สุดจากทั่วโลกคือการเน้นเรื่องกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ที่อาจจะเป็นไปได้คือ การปรองดองอาจจะไม่ได้ไปสู่จุดหมาย แต่เป็นทางเดินที่ต้องมุ่งมั่นอุตสาหะ และขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม เป็นเรื่องที่ขึ้นกับบริบทวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ไม่สามารถนำเข้าความคิดจากภายนอกได้ ทั้งนี้การปรองดองที่มีวาระซ่อนเร้น ไม่อาจะบรรลุเป้าหมายได้ การปรองดองไม่ชาการหลอกฝ่ายตรงข้ามเพื่อบรรลุความต้องการทางการเมือง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เห็นได้บ่อยครั้งในหลายๆ กรณี ต้องสร้างจดยืนร่วมกัน การปรองดองรีบเร่งไม่ได้ แต่ต้องมีความเคารพและเอาใจใสต้อการสื่อสาร รับฟังและการก้าวข้ามฝ่ายที่แตกต่างกัน กระบวนการไม่ใช่ไม่สำคัญ แต่กระบวนการเช่น การให้อภัย หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คอป. ได้เสนอหลายข้อและควรจะนำมาพิจารณา สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือกรณีที่สถาบันพระปกเปล้าและรายงานของภาคประชาชนทีเกี่ยวข้องล้วนมีข้อเสนอแนะ ซึ่งควรนำมาพิจารณา เธอกล่าวถึงกรณีการนิรโทษกรรม โดยยกกรณีตัวอย่างอาร์เจนตินา ว่าอาจจะผิดพลาดได้หากตีความแคบเกินไป ไปใช้แนวทางสากลมากเกินไปเพราะอาจจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในบริบทภายในประเทศซึ่งอาจมีลักษณะเฉพาะ การนิรโทษกรรมต้องมีความเคารพผู้ประสบเคราะห์ ไม่ควรมองว่าเป็นไปเพื่อจุดหมายทางการเมือง ควรมีกระบวนการเสวนาเพื่อสร้างแนวทางนิรโทษกรรมและคิดต่อไปว่า การนิรโทษกรรมจะมีกระบวนการต่อไปอย่างไร นิรโทษกรรมอาจจะไม่ลงโทษอาชญากรรมบางอย่างแต่ต้องไม่ละเลยที่จะศึกษาว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง การปรองดองนั้น ควรจะมีหลักการประชาธิปไตยรองรับอยู่ และแม้จะพรรคต่างๆ จะมีแนวทางแก้ปัญหาที่แตกต่างกันต่อการแก้ปัญหาของประเทศ แต่เราควรปล่อยให้มีการสานเสวนากัน เคารพความคิดที่แตกต่างกัน ให้พื้นที่ในการพูดคุย ล็อบบี้ หรือถกเถียงและมีธรรมาภิบาลที่ดี แต่ใจกลางความขัดแย่งทางการเมืองต้องมีความยอมรับว่าจะต้องให้ประชาธิปไตยนำพาไป เพื่อประโยชน์ของประเทศ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น