ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชุมชนร่วมเสนอทางออกป้องถูกไล่รื้อ เส้นทางรถไฟสายสีแดง 'ตลิ่งชัน – ศิริราช'
- "พิทักษ์สยาม" ชุมนุมนับหมื่น - เตรียมนัดเคลื่อนไหวอีกรอบ
- นักข่าวพลเมือง: เยาวชนตาสว่างอุบลฯ ผุดกิจกรรมใช้ทีวีเป็นเครื่องมือ "ฟังข่อยแหน่"
- สุรพศ ทวีศักดิ์ : ปรัชญาตายแล้ว!
- บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 3
- กมธ.สธ.สั่งกรมเจรจาฯ รับข้อห่วงใยผลกระทบเอฟทีกับอียูต่อการเข้าถึงยา
- โปรดเกล้าฯ ครม.ยิ่งลักษณ์ 3
- สองฝ่ายในซีเรียละเมิดข้อตกลงหยุดยิงช่วงวันอีด
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 21 - 27 ต.ค. 2555
ชุมชนร่วมเสนอทางออกป้องถูกไล่รื้อ เส้นทางรถไฟสายสีแดง 'ตลิ่งชัน – ศิริราช' Posted: 28 Oct 2012 10:40 AM PDT สลัม 4 ภาคจัดเสวนาหาทางออกหวั่นชุมชนถูกไล่รื้อ เผยแนวทางเน้น 'ชุมชนอยู่ได้ โครงการก็อยู่ได้' กรรมการสมัชชาปฏิรูปแนะการรถไฟฯ ชูนโยบายยุติไล่รื้อทำ CSR ด้านบอร์ดการรถไฟฯ แจง 'เว้นระยะความปลอดภัย' ไม่เกี่ยวนำพื้นที่ไปทำธุรกิจ วันนี้ (28 ต.ค.55) เครือข่ายชุมชนริมทางรถไฟสายใต้-ตะวันตกและเครือข่ายสลัม 4 ภาค ร่วมจัดเวทีเสวนาสาธารณะ "รถไฟสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช กับทางเลือกเพื่อความเป็นธรรมด้านที่อยู่อาศัย" ที่ชุมชนบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอทางเลือกต่อการทำโครงการรถไฟสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช ในแบบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำโครงการบ้านมั่นคงของชุมชน และนำทางเลือกดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนกับภาคประชาสังคมและสื่อสารต่อสาธารณชน จากรณี การรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินโครงการรถไฟสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช โดยมีพื้นที่ 4 ชุมชน คือบางกอกน้อย 1, บางกอกน้อย 2, บางกอกน้อย ฝั่งวงเวียนกลับหัวรถจักร และบางระมาดรวมอยู่ในโครงการด้วย ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านในชุมชนดังกล่าวต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ ทั้งที่ได้ทำการพัฒนาพื้นที่มาในระดับหนึ่งแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง ทั้งนี้ ชาวชุมชนระบุว่าจากการสอบถามบริษัทที่ออกแบบพบว่า แนวก่อสร้างของโครงการจะอยู่บริเวณรางรถไฟฝั่งขวาซึ่งจะใช้พื้นที่ราว 18 เมตร จากศูนย์กลางรางเดิม ดังนั้นจึงมีการเสนอขอใช้พื้นที่ประมาณ 12 เมตร เพื่อทำโครงการที่อยู่อาศัย โดยพื้นที่ดังกล่าวนั้นชุมชนมีสัญญาเช่าอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการเจรจายังไม่มีข้อยุติ เพราะการศึกษาของบริษัทที่ออกแบบระบุว่าการรถไฟฯ ต้องการใช้พื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดินบริเวณแนวเส้นทางและสถานี จูงใจให้เกิดการลงทุน สถานการณ์ล่าสุดขณะนี้ การเจรจาในกรณีปัญหาดังกล่าวจะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 30 ต.ค.55 เครือข่ายสลัม 4 ภาค ย้ำต้องการให้ชุมชนอยู่ได้ โครงการก็อยู่ได้ ประทิน เวคะวากยานนท์ เครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่าที่ผ่านมาชุมชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราชทั้ง 4 แห่ง ได้ร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชน โดยการเช่าที่ดินกับการรถไฟฯ เพื่อทำโครงการบ้านมั่นคงตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการทำสัญญาเช่าที่ดินแล้ว และกำลังอยู่ในกระบวนการทำโครงการบ้านมั่นคง และหลังจากไดรับข้อมูลว่าจะมีโครงการดังกล่าวเมื่อ 3 เดือนก่อน ก็ได้พยามยามเคลื่อนไหวเพื่อเสนอการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยใช้แนวทาง "แบ่งที่ดินให้ชุมชนอยู่ได้ และโครงการก็อยู่ได้" ประทิน กล่าวว่า ข้อเสนอของชาวบ้านคือการแบ่งใช้ที่ดิน โดยโครงการฯ ใช้พื้นที่จริง 18 เมตร จากศูนย์กลางรางเดิม และเหลือพื้นที่ให้ชุมชนเช่าอยู่ 12 เมตร ซึ่งจะนำมาแบ่งเป็นพื้นที่สร้างบ้าน 10 เมตร และทำถนน 2 เมตร แต่การรถไฟฯ มีท่าทีต้องการให้ชาวชุมชนออกจากพื้นที่ทั้งหมด เพราะหากให้ชาวบ้านอยู่ต่อไปจะเก็บค่าเช่าได้น้อย แต่หากเก็บเอาไว้ให้เอกชนประมูลทำโครงการอื่นๆ เช่นการปรับภูมิทัศน์จะทำรายได้ให้มากกว่า ซึ่งจากประสบการณ์ชาวชุมชนเกรงว่าจะมีการหมกเม็ดดำเนินการดังกล่าว ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของโครงการบ้านมั่นคงอย่างสิ้นเชิง เสนอ 3 ข้อลดผลกระทบต่อชาวชุมชน ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวถึงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ ว่ามี 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.การดำเนินโครงการรถไฟสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช ให้ดำเนินการในรัศมี 18 เมตร และให้ยกระดับแนวรางรถไฟ ส่วนรัศมีอีก 12 เมตรที่เหลือให้จัดเป็นที่อยู่อาศัย 2.กรณีการสร้างสถานีจรัญสนิทวงศ์ ให้ก่อสร้างในแนวพื้นที่ที่ไม่มีผลกระทบต่อศูนย์พักคนไร้บ้าน โดยลดขนาดสถานีลง หรือขยับไปใช้พื้นที่จอดรถขยะของสำนักงานเขตบางกอกน้อยแทน 3.กรณีการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรบริเวณสถานีธนบุรี ให้ลดระยะรางลงเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนที่เช่าที่ดินอยู่อาศัยบริเวณวงเวียนกลับหัวรถจักร เสนอการอยู่ร่วม 'ชุมชน-รถไฟ' ด้วยการปรับภูมิทัศน์โดยชุมชน ดร.ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า การก่อสร้างรางรถไฟเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา แต่การรถไฟฯ อาจหลงลืมว่าในพื้นที่โครงการมีคนอยู่ ซึ่งจะต้องคิดว่าทำอย่างไรให้ทางพัฒนาไปพร้อมๆ กับการพัฒนาคน และสำหรับความเป็นไปได้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมตามข้อเสนอของชาวชุมชนนั้นทำได้ แต่จะให้ดีที่สุดเสนอว่าควรมีพื้นที่สร้างบ้าน 13 เมตร และพื้นที่ถนน 3 เมตร เพื่อให้รถพยาบาลและรถดับเพลิงเข้าไปบริการในชุมชนได้ อย่างไรก็ตาม การออกแบบสถาปัตยกรรมในขณะนี้ยังไม่สำคัญเท่ากับการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนของชาวบ้านที่จะมีข้อตกลงที่แน่ชัดกับการรถไฟฯ ส่วนในฐานะสถาปนิกสามารถมาช่วยเสริมได้ในขั้นตอนหลังจากที่การรถไฟอนุญาตให้ใช้พื้นที่ หรือหากต้องการให้ออกแบบอาคารในชุมชนร่วมกับการรถไฟฯ ดร.ฤทธิรงค์ กล่าวต่อมาในส่วนของการปรับภูมิทัศน์ ว่าเสนอการสร้างบ้านให้กลมกลืนกับภูมิทัศน์ ให้คนอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม หากมีการดูแลบ้านที่ดี ชุมชนสวยงาม ภูมิทัศน์ก็จะดูดีตามไปด้วย อีกทั้งการรถไฟฯ ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนมาดูแล ถือเป็นการปรับภูมิทัศน์โดยชุมชน "เราอยู่ร่วมกันได้ เพียงแต่จะอยู่อย่างไรเท่านั้นเอง" ดร.ฤทธิรงค์กล่าว แนะการรถไฟฯ ชูนโยบายยุติไล่รื้อทำ CSR ปรีดา คงแป้น กรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาสำคัญของไทยและสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีอยู่สูง อย่างไรก็ตามในไทยยังมีการแก้ปัญหาที่ดินในเขตเมืองโดยใช้การแบ่งปันที่ดิน (Land sharing) ดังกรณีของที่ดินการรถไฟฯ ที่มีการเจรจาเช่าที่ดินของชุมชน และในกรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับชาวบ้านซอยเซ่งกิ่งซึ่งเป็นกรณีแรกๆ ที่มีการแบ่งปันที่ดิน หรือกรณีที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ลงทุนก่อสร้างอาคารให้ชาวชุมชนอยู่ โดยแบ่งที่ดินส่วนหนึ่งที่ได้คืนเพื่อสร้างอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกทั้งสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังดำเนินนโยบายไม่ไล่รื้อที่ดินด้วย ปรีดา กล่าวด้วยว่า ช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมาทั้งสำนักงานทรัพย์สินฯ และการรถไฟมีสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ทั้งนี้ ในส่วนของการรถไฟฯ น่าจะนำตรงนี้มาทำ CSR (Corporate Social Responsibility: ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร) โดยทำให้เป็นแนวนโยบายที่ชัดเจนเหมือนกับที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ทำ เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการโฆษณาในตรงนี่เท่าไรนัก นอกจากนี้ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นโอกาสดีในการแก้ปัญหาคนจนเมืองซึ่งไทยถือว่ามีความก้าวหน้ามากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่ยังคงมีการใช้ความรุนแรงและการเผาไล่รื้อที่ดิน เปลี่ยนแนวคิดต่อคนจนเมือง-หนุนประชาธิปไตยกินได้ แนวโน้มที่ดีต่อการแก้ปัญหา ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่าปัจจุบันการแก้ปัญหาของชุมชนมีแนวทางที่ดีขึ้น จากที่สังคมเคยมองชุมชนเหมือนเป็นเนื้อรายของเมืองที่ต้องตัดทิ้ง เปลี่ยนเป็นหันมามองอย่างเข้าใจมากขึ้นว่าคนเหล่านี้เป็นผลพวงหนึ่งของการพัฒนา และคนที่อยู่ในสลัมก็ได้เข้าไปหนุนเกื้อกับเศรษฐกิจของคนที่เป็นลูกจ้าง แรงงานในเมือง ถือเป็นเศรษฐกิจนอกระบบที่เกื้อหนุนคนในระบบซึ่งจะมองแยกกันไม่ได้ การมองด้วยวิธีคิดที่เปลี่ยนไปสู่รูปแบบใหม่ๆ นี้ เป็นทางออกที่ดีสำหรับการแก้ปัญหา ผศ.ดร.ประภาส เสนอด้วยว่า กระบวนการตัดสินใจสำหรับนโยบายสาธารณะขนาดใหญ่ ควรมีการเจรจา มีผู้ได้รับผลกระทบมาร่วมหาทางออก ทางเลือก ตรงนี้ถือเป็นประชาธิปไตยที่กินได้ ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมในการตัดสินใจร่วมกันซึ่งหากเกิดขึ้นได้จะเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนั้นควรมีการปรับทัศนคติเรื่องการใช้ที่ดิน ในกรณีการใช้ที่ดินสาธารณะ ที่ดินของรัฐ เช่นที่ราชพัสดุ ที่ดินทหาร เพื่อการทำธุรกิจควรต้องมีการพูดคุยในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง และควรปรับให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยเห็นกับชีวิตของผู้คนมากขึ้น สำหรับการปรับภูมิสถาปัตย์ควรมองคนจนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมือง แล้วการออกแบบก็จะให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้มากขึ้น รวมทั้งพยายามคิดร่วมกันเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วย 'ทางรถไฟยกระดับ' ทางออกที่เห็นร่วมกัน ดร.มรว.อคิน รพีพัฒน์ ประธานมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่าวันนี้รู้สึกดีใจที่ได้เห็นข้าราชการ นักวิชาการ สถาปนิก ที่มองเห็นคนเป็นคน จากที่เคยพบแต่กลุ่มคนที่มองเห็นคนไม่มีคุณค่า เพราะตกอยู่ในอำนาจของนักเศรษฐศาสตร์ที่มองเห็นแต่ตัวเลขโดยไม่คิดว่าได้สร้างความทุกข์ยากให้กับผู้คน พร้อมทั้งเสนอถึงการสร้างทางรถไฟยกระดับซึ่งจะช่วยรองรับการพัฒนาของเมืองได้ และจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถสร้างบ้านอยู่อาศัยได้อย่างมั่นคงด้วย ขณะที่ สุชิน เอี่ยมอินทร์ ผู้ประสานงานกลุ่มคนไร้บ้าน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว แสดงความเห็นสนับสนุนข้อเสนอเรื่องทางรถไฟยกระดับ โดยกล่าวว่าจะทำให้ชุมชนสามารถขยับพื้นที่ไปได้ราว 14 เมตร พร้อมยกตัวอย่างของกรณีรถไฟฟ้าที่สร้างใกล้กับอาคารสูงได้โดยเว้นระยะไม่กี่เมตร และยังระบุว่าระยะ 12 เมตรตามที่ชาวบ้านขอใช้พื้นที่ก่อนหน้านี้ถือว่าหลังชนกับปากเหวแล้ว แต่ก็ต้องยอมเพราะชาวบ้านต้องการที่จะอยู่ในพื้นที่เดิม และเรื่องต่อมาที่อยากให้คำนึงถึงคือความปลอดภัยของชาวชุมชนในเรื่องถนนที่กว้างเพียงพอสำหรับใช้สัญจร โดยเฉพาะเมื่อเกิดไปไหม้หรือสำหรับรถพยาบาล บอร์ดการรถไฟฯ แจง 'เว้นระยะความปลอดภัย' ไม่เกี่ยวนำพื้นที่ไปใช้ทำธุรกิจ ด้านสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ขณะนี้การรถไฟฯ ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยอยู่ระหว่างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินโครงการรถไฟสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช สำหรับกรณีการเว้นพื้นที่ด้านข้างทางรถไฟนั้นเป็นการเว้นระยะความปลอดภัยจากเสาไฟฟ้าแรงสูง เนื่องจากทางรถไฟสร้างคู่ขนาดไปกับทางรถไฟฟ้าจึงต้องมีการกันพื้นที่และทำรั้วกั้นตลอดแนว ทั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการนำพื้นที่ไปใช้ทำธุรกิจ เพราะถ้าชาวบ้านอยู่ไม่ได้เอกชนก็มาลงทุนอะไรไม่ได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการปรับภูมิทัศน์ตลอดเส้นทาง ส่วนข้อเสนอให้ทำทางรถไฟยกระดับ สร้อยทิพย์กล่าวแสดงความเห็นด้วยโดยระบุว่าการทำทางรถไฟยกระดับนั้นนอกจากจะเป็นข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน โครงการดังกล่าวยังมีมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟและรองรับการจราจรที่ขยายตัวด้วย ทั้งนี้ การทำทางรถไฟยกระดับจะต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้นราว 400-500 ล้านบาท อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช ยังไม่ผ่าน ครม.โดยอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล การนำปัญหาต่างๆ ออกมานำเสนอและร่วมพูดคุยกันถือเป็นสิ่งที่ดีต่อการดำเนินโครงการต่อไป ภายหลังจากการเสวนา ดร.มรว.อคินได้ร่วมกับชาวชุมชนเปิด "ศูนย์บ้านศิลป์...ดินรถไฟ" เพื่อใช้ศูนย์ดังกล่าวเป็นเวทีในการจัดกิจกรรมสาธารณะทั้งในมิติด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ทั้งนี้ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง "ตลิ่งชัน-ศิริราช" ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร ที่มีจุดเริ่มต้นเพื่อเสริมโครงข่ายแก้ปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นนั้น รูปแบบโครงการจะก่อสร้างทางใหม่ขึ้นมาอีก 1 เส้นทางบนเขตทางเดิมที่เหลืออยู่ 30 เมตร ซึ่งจะวิ่งคู่ไปกับเส้นทางรถไฟเดิม สำหรับโครงสร้างงานโยธาเป็นทางระดับดิน มียกข้ามจุดตัด 2 แห่ง คือ บริเวณแยกฉิมพลีและแยกจรัญสนิทวงศ์ ส่วนสถานีที่จะก่อสร้างมีทั้งหมด 3 สถานี คือ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีจรัญสนิทวงศ์ และสถานีธนบุรี-ศิริราช ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงอีก 1 แห่งนั้น จะตั้งอยู่ใกล้กับสถานีปลายทางคือ สถานีธนบุรี-ศิริราช โครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท และใช้ที่ดินเขตทางของการรถไฟฯ แต่มีปัญหาอุปสรรค คือจะต้องโยกย้ายชุมชนริมเขตทางรถไฟที่มีอยู่หนาแน่นทั้งเขตตลิ่งชันและบางกอกน้อยร่วม 67 ชุมชน ซึ่งจากการประเมินคร่าวๆ ตัวเลขอยู่ที่ 1,000 ครัวเรือน โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง "ตลิ่งชัน-ศิริราช" นี้เป็นเส้นทางต่อเชื่อมกับโครงการรถไฟสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" ที่ปัจจุบันการรถไฟฯ ได้ก่อสร้างงานโยธาเสร็จแล้ว รอวันเวลาเปิดบริการเต็มรูปแบบพร้อมสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต" อีก 4 ปีข้างหน้า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"พิทักษ์สยาม" ชุมนุมนับหมื่น - เตรียมนัดเคลื่อนไหวอีกรอบ Posted: 28 Oct 2012 09:15 AM PDT องค์การพิทักษ์สยามและเครือข่ายชุมนุมนับหมื่น "ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ" อัดนโยบายจำนำข้าว ชี้เงิน 3 แสนบาทเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่หรือไม่ และข้าวที่มาจำนำก็สวมสิทธิมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้าน "ประยงค์ ไชยศรี" อัด "ทักษิณ" มีพฤติกรรมจ้องล้มสถาบันฯ ส่วน "นิติราษฎร์" คิดเลิก ม.112 ลั่นจะต้องแก้ ม.112 ให้โทษหนักขึ้น วันนี้ (28 ต.ค. 55) ผู้ชุมนุมกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม นำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ และเครือข่ายได้แก่กองทัพธรรมสันติอโศก มวลชนบางส่วนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ได้รวมตัวกันที่ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง โดยมีผู้เข้าร่วมชุมนุมนับหมื่นคน มีนายสำราญ รอดเพชรเป็นพิธีกรเวทีปราศรัย โดย พล.อ.บุญเลิศขึ้นเวทีแถลงย้ำจุดยืนเหตุผลขับไล่รัฐบาล 3 ข้อ ได้แก่ 1. รัฐบาลปล่อยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบัน โดยไม่มีการปกป้อง 2. รัฐบาลชุดนี้เป็นหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารและขาดธรรมาภิบาล และ 3. รัฐบาลชุดนี้ปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กล่าวว่าชาวนา 20 ล้านคนไม่จ่ายภาษี ส่วนมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคนจ่ายภาษี ด้านนายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราศรัยต่อนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลว่า มีการทุ่มงบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท โดยทั่วประเทศมีประชากรที่ประกอบอาชีพทำนากว่า 20 ล้านคน เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ 65 ล้านคนนั้น ที่มีมนุษย์เงินเดือนเป็นพนักงาน 17 ล้านคนต้องจ่ายภาษี แต่ชาวนาไม่ต้องจ่ายภาษีดังกล่าว อย่างไรก็ตามชาวนาที่ยังยากจนอยู่ก็มี ซึ่งเป็นชาวนาจากภาคอีสาน 5 ล้านคน ที่ต้องปลูกข้าวนาปี และนำไปขายต่อได้คนละไม่เกิน 5 เกวียน ฉะนั้นตนอยากจะถามไปยังรัฐบาลว่า เม็ดเงินจำนวนกว่า 3 แสนล้านบาทเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศหรือไม่ โดยข้าวในโกดังที่รับซื้อไปก็เป็นข้าวสวมสิทธิ์จากประเทศกัมพูชาหรือพม่าทั้งนั้น เมื่อมีผู้ออกมาคัดค้านนโยบายนี้ ทางรัฐบาลก็ได้นำชาวนาบางกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ออกมาสนับสนุน พร้อมต่อต้านด่าทอกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการรับจำนำข้าว
ประยงค์ ไชยศรี อัดนิติราษฎร์ตรรกะหัวแม่ตีนคิดเลิก ม.112 ลั่นต้องแก้ ม.112 เพิ่มโทษหนักขึ้น ด้านนายประยงค์ ไชยศรี อดีตผู้สมัครพรรคมัฌชิมาธิปไตย ปราศรัยโจมตีนายสุรชัย แซ่ด่าน และนายวีระ มุสิกพงศ์ ว่าเคยหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเมื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษแล้วก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพซ้ำอีก คนกลุ่มนี้อย่าว่าแต่พระราชทานอภัยโทษเลยครับ ฆ่าให้ตายก็ไม่รู้สึกสำนึก ต่อมาปี 2545 มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีเจตนาจ้องล้มสถาบันฯ ซึ่งสามารถสืบพฤติกรรม เจตนาและเป้าหมายของคนๆ นี้ได้ชัดเจนก็คือให้ลิ่วล้อจาบจ้วงสถาบันจนมีการฟ้องร้องหลายคดี ที่สำคัญคนที่ถูกฟ้องร้องไม่ว่าจะเป็นดา ตอร์ปิโด อากง หรือใครต่อใคร กลับเป็นฮีโร่ของคนเหล่านี้ ซึ่งคนที่ถูกศาลลงโทษต้องอับอาย ต้องได้รับความเสียหายกลับถูกยกย่องเป็นฮีโร่ นอกจากนี้กลุ่มนิติราษฎร์ บอกว่ากฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาเป็นปัญหาของประเทศ มีคนกระทำผิดมาก ทางแก้คือยกเลิก ม.112 จะได้จาบจ้วงโดยเสรี คุณเอาตรรกะที่ไหนมาคิด ต้องยืมสำนวนคุณสนธิ ลิ้มทองกุลว่าตรรกะแบบนี้คือตรรกะหัวแม่ตีน ต้องถามว่าการยกเลิกกฎหมายที่มีคนกระทำผิดมากๆ นั้น ใช้อะไรคิด ถ้าคิดแบบนี้ประมวลกฎหมาย อาญา ลักวิ่งชิงปล้น คุณต้องยกเลิกกฎหมายลักทรัพย์ กฎหมายยาเสพย์ติด เพราะมีผู้กระทำความผิดหรือครับ ขณะที่ปัจจุบันมีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพย์ติดมากขึ้นจากเดิมที่ต้องขึ้น 3 ศาล คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธร์ ศาลฎีกา ก็เหลือเพียง 2 ศาล คือศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ นอกจากนั้นยังมีโทษปรับหลายล้านเพื่อกำราบปราบปราม นี่คือตรรกะของการใช้กฎหมายปกครองประเทศ ถ้าใช้วิธีคิดอย่างเดียวกันนี้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ต้องแก้ไขให้มีโทษหนักขึ้น และให้ประชาชนผู้จงรักภักดีเมื่อพบการกระทำผิดให้เป็นผู้เสียหายโดยตรง และแท้ที่จริงแล้วคดีที่เกิดขึ้นในศาลยังถือว่าน้อย เพราะถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารได้ปฏิบัติหน้าที่มันต้องฟ้องกันเป็นแสนๆ คนแล้ว การปราศรัยของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ (ที่มา: FMTV) นอกจากนี้ยังมีผู้ปราศรัยประกอบด้วย นายพิเชฐ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ขณะเดียวกัน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ แกนนำพันธมิตร ร่วมสังเกตการณ์หลังเวที พร้อมขึ้นปราศรัยในช่วงค่ำ โดย น.ต.ประสงค์ระบุว่ารัฐบาลนี้ก่อวิกฤต 5 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม ระบบราชการ ความมั่นคงแห่งชาติ การบังคับใช้กฎหมาย และวิกฤตภาวะผู้นำประเทศ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ปราศรัยปิดการชุมนุม (ที่มา: FMTV) และในเวลา 18.10 น. พล.อ.บุญเลิศกล่าวปิดการชุมนุม อ้างว่ามีมวลชนมาร่วมลงชื่อ 20,000 รายชื่อ เดินไปเดินมาอีก 10,000 คนไม่ได้มาลงชื่อ มากกว่าที่รัฐบาลประเมินไว้ ถ้าผู้ชุมนุมฟังการปราศรัยแล้วพอใจ ถูกใจ เห็นด้วย ขอให้เชิญชวนพวกท่านมาร่วมอีกหนึ่งคนต่อ 100 คน เมื่อพร้อมแล้วเราจะนำท่านไปสู่ความสำเร็จนำนักการเมืองชุดนี้พ้นไปจากประเทศไทย อนึ่ง หนังสือพิมพ์ข่าวสด ได้รายงานความเห็นของ นพ.ตุลย์ ที่ว่าแกนนำทุกเครือข่ายจะประชุมแนวทางการเคลื่อนไหวอีกครั้งสัปดาห์หน้า ก่อนนัดชุมนุมใหญ่เดือนหน้าซึ่งจะเป็นครั้งสุดท้ายม้วนเดียวจบ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักข่าวพลเมือง: เยาวชนตาสว่างอุบลฯ ผุดกิจกรรมใช้ทีวีเป็นเครื่องมือ "ฟังข่อยแหน่" Posted: 28 Oct 2012 08:47 AM PDT ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่ผู้ใหญ่ เยาวชนตาสว่างอุบลฯ ผุดกิจกรรมใช้ทีวีเป็นเครื่องมือ "ฟังข่อยแหน่" หวังสร้างสังคมตื่นรู้ ผู้ใหญ่ตื่นตัว "พูด คิด เห็น เสนอ"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุรพศ ทวีศักดิ์ : ปรัชญาตายแล้ว! Posted: 28 Oct 2012 05:28 AM PDT เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้ฟังศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ปาฐกถาในการสัมมนาทางวิชาการของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย พูดตอนหนึ่ง (ประมาณ) ว่า "วิชาปรัชญากำลังจะตายไปจากอุดมศึกษาไทย เพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่รู้ว่าปรัชญาคืออะไร มองว่าวิชาปรัชญาไม่มีประโยชน์ การวิจัยทางปรัชญาที่ใช้วิธีวิจัยทางมนุษยศาสตร์โดยการกำหนดประเด็นปัญหาทางปรัชญา สำรวจข้อโต้แย้งทางปรัชญา ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ ความคิด ทฤษฏีปรัชญาต่างๆนั้น ผู้มีอำนาจในการอนุมัติทุนวิจัยในหน่วยงานระดับชาติมองว่า วิธีแบบนี้ไม่ใช่วิธีวิจัย เพราะไม่ได้ใช้หลักสถิติ อีกทั้งผู้เรียนก็น้อยลง ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องยกเลิกวิชาปรัชญาไปโดยปริยาย" ในช่วงแลกเปลี่ยน อาจารย์บางคนบอกว่านักศึกษามักจะบ่นว่า "เรียนปรัชญาน่าเบื่อ ไม่รู้เรื่อง" อาจารย์สอนปรัชญาก็มักจะตอบทันทีว่า "ปรัชญามันต้องไม่รู้เรื่อง ถ้ารู้เรื่องก็ไม่ใช่ปรัชญา" (ฮา) อีกอย่างนักศึกษาเรียนปรัชญาไปแล้วก็ไม่รู้จะไปทำงานอะไร เพราะไม่มีอาชีพรองรับ ฯลฯ นานมากแล้วที่ผมไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาทางปรัชญา (เคยไปครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม) แต่ก็เห็นได้ชัดว่า คนในวงวิชาการด้านปรัชญายังพูดถึงปัญหาเดิมๆ ของตัวเองมาหลายสิบปี (เช่นเดียวกับคนในแวดวงศาสนา) มันคือปัญหา "ความมั่นคง" ของวิชาปรัชญา และ/หรือสถานภาพของอาจารย์ นักวิชาการด้านปรัชญา แต่ไม่ค่อยได้เห็นการถกเถียงว่า "ปรัชญาทำหน้าที่อะไรในสังคมไทยปัจจุบัน?" (หรือผมอาจอยู่ "ชายขอบ" เกินไปเลยไม่รู้ว่าเขาก็เถียงเรื่องนี้กันอยู่) โดยเฉพาะ 80 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยที่ยังหา "จุดลงตัว" ไม่ได้ ในสภาวะที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ยิ่งนานวันขึ้นมันยิ่งสะท้อนปัญหาพื้นฐานทางปรัชญาเด่นชัดมากขึ้นๆ ตั้งแต่ปัญหาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม ความหมายของ "คน" หรือ "ประชาชน" ในโลกประชาธิปไตยสมัยใหม่ ปัญหาอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ VS.อุดมการณ์ประชาธิปไตย ปัญหาความเป็นไทย VS.ความเป็นสากล ปัญหาว่าศาสนาครอบงำ ลดทอน หรือส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และศีลธรรมทางสังคม รวมทั้ง "ปัญหามโนธรรมทางสังคม" ที่ดูเหมือนจะสรุปความขัดแย้งทางการเมืองกันง่ายๆ แค่ว่า การนองเลือดครั้งต่างๆ ที่ผ่านมานั้น เป็นความผิดของแกนนำที่พาคนไปตาย น่าเห็นใจนักศึกษาประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้กลายเป็น "เหยื่อ" ของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ขาดความเอาใจใส่อย่างลึกซึ้งจริงจังต่อประเด็นมนุษยธรรม และการอ้างอิงหลักการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนเพื่อกดดันให้รัฐบาล และกลุ่มอำนาจนอกระบบที่อยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังรับผิดชอบทางกฎหมายและศีลธรรมทางสังคม ถามว่า ท่ามกลางปัญหายากๆ และซับซ้อนต่างๆ นั้น "ปรัชญา" และ/หรือนักวิชาการด้านปรัชญาในบ้านเราทำหน้าที่อะไร? หากปรัชญาไม่ทำ หรือไม่สามารถจะทำอะไรในเชิงช่วยให้สังคมกระจ่างชัดในประเด็นปัญหาพื้นฐานและข้อโต้แย้งต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องอุดมการณ์ทางสังคมการเมืองที่ส่งเสริมศักดิ์ศรีของมนุษย์ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรมเป็นต้นได้เลย ปรัชญาก็สมควรตายไปจากสังคมนี้มิใช่หรือ? การตีโพยตีพายว่าคนอื่นๆ ไม่รู้จัก และไม่เห็นประโยชน์ของปรัชญาย่อมเป็นเรื่องที่ไร้ความหมาย สำหรับผมแล้ว เราอาจมองปรัชญาเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่เป็น "ความคิดทางปรัชญา" กับส่วนที่เป็น "ทักษะทางปรัชญา" ส่วนแรกคือแนวคิดหรือทฤษฎีของนักปรัชญาหรือสกุลปรัชญาสำนักต่างๆ ส่วนหลังคือวิธีการทางปรัชญาได้แก่ "วิภาษณ์วิธี" (dialectic) บางทีเราเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น "กิจกรรมทางปรัชญา" คือ การที่เราใช้วิธีคิดเชิงวิพากษ์มาทำความกระจ่างในประเด็นปัญหาทางความคิดที่ยุ่งยากซับซ้อน การริเริ่มประเด็นปัญหาพื้นฐานและข้อโต้แย้งต่างๆ การวิเคราะห์หักล้างข้อโต้แย้งต่างๆ ตลอดถึงการเสนอความคิดใหม่ หรือทางเลือกใหม่ สรุปคือส่วนที่เป็นทักษะทางปรัชญาช่วยให้เราคิดอะไรชัดเจน เป็นระบบ สมเหตุสมผล ไม่สับสนหรือขัดแย้งในตัวเอง โดยปกติเมื่อเราผ่านการศึกษาทางปรัชญาแล้ว "ความคิดทางปรัชญา" ที่ประทับใจเราจะไม่มีวันตายไปจากเรา เช่น ความคิดเรื่องธรรมชาติของเหตุผล อารมณ์ คุณค่าของชีวิต เสรีภาพ ความยุติธรรม ฯลฯ ส่วนทักษะทางปรัชญานั้นก็ไม่มีวันตายไปจากเรา เหมือนทักษะอื่นๆ เช่นการปั่นจักรยาน เป็นต้นที่จะตายไปพร้อมกับชีวิตเรา ปัญหาอยู่ที่ว่า วิธีการเรียนการสอนปรัชญาในบ้านเรานำไปสู่การสร้าง "รอยประทับ" ของความคิดทางปรัชญาที่แจ่มชัดลงในห้วงคำนึง การคุ่นคิดอย่างลึกซึ้งของผู้เรียนหรือไม่ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะทางปรัชญาที่สามารถนำไปใช้ "จับปลากินเอง" หรือไปจับประเด็นปัญหาซึ่งพบเห็นได้ในสังคม ในชีวิตประจำวันขึ้นมาวิเคราะห์วิพากษ์เชิงปรัชญาได้เพียงใด รวมทั้งนักวิชาการในแวดวงปรัชญาได้ใช้ทักษะทางปรัชญามาทำความกระจ่างในปัญหาพื้นฐานต่างๆ ในทางสังคมการเมืองเป็นต้นอย่างไร คือถ้าเราทำให้ปรัชญามีชีวิต ปรัชญาก็จะไม่ตาย แต่ถ้าจำกัดพื้นที่ให้ปรัชญาอยู่แค่ในห้องเรียนแคบๆ เอาไว้เรียนกันตามที่พูดๆ กันว่า "ปรัชญามันต้องเรียนไม่รู้เรื่อง ถ้ารู้เรื่องก็ไม่ใช่ปรัชญา" ก็บอกได้เลยครับว่า ปรัชญาตายแน่ๆ (รีบจองศาลา เตรียมฌาปกิจได้เลย) ทำไมปรัชญาทั้งส่วนที่เป็น "ความคิดทางปรัชญา" กับส่วนที่เป็น "ทักษะทางปรัชญา" จึงไม่ตายไปจากสังคมตะวันตก คงไม่ใช่เพียงเพราะว่าเขาเรียนกันทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษาเท่านั้น ที่สำคัญว่านั้นคือถ้าเราสังเกตจะเห็นว่า คนตะวันตกเขามี "character ทางปรัชญา" ที่ปรากฏออกมาในบุคลิกภาพของเขาตั้งแต่การมองความหมาย คุณค่าของชีวิต การเคารพสิทธิ เสรีภาพ ความเป็นตัวของตัวเอง อดทนต่อความเห็นต่าง มีความคิดเชิงวิพากษ์ ต้องการคำตอบปัญหาต่างๆ ที่อ้างอิงความรู้ ความเป็นเหตุเป็นผล ฯลฯ ซึ่งบุคลิกภาพเช่นนี้มันถูกวางรากฐานและมีพัฒนาการคลี่คลายมาเป็นพันๆ ปี อย่างน้อยก็ตั้งแต่ยุคภูมิปัญญากรีกเป็นต้นมาที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ผู้ซึ่งใช้เสรีภาพและเหตุผลของตนเองอย่างเต็มศักยภาพในการแสวงหาการมีชีวิตที่มีคุณค่า การสร้างหลักปรัชญา อุดมการณ์ และระบบสังคมการเมืองที่ยุติธรรม ที่จริงปรัชญาไม่ควรจะตาย เพราะมีปัญหาให้ปรัชญาไปร่วมถกเถียงด้วยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เช่น โพสต์ในเฟซบุ๊กของ "ตี้" นิติพงษ์ ห่อนาค ที่ว่า "แผ่นดินสยามครั้งที่ยังอยู่ในพระหัตถ์ปิยกษัตริย์ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีประปา เลิกทาสได้อย่างนิ่มนวล มีรถไฟพร้อมญี่ปุ่น ฯลฯ ต่อเมื่อแผ่นดินอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คน เปลี่ยนมือกันไปมา ก็ก้าวหน้าตามที่เห็นแล อดคิดไม่ได้ว่า ถ้ายังไม่เปลี่ยนการปกครอง ป่านนี้อาจมี 6G ใช้แล้วก็ได้...กษัตริย์ไทย บารมีพระมากพ้น รำพันโดยแท้" แค่โพสต์นี้ก็ชวนให้ถกเถียงทางปรัชญาได้มากมายเลยครับ ถ้าคนในวงวิชาการปรัชญามองเห็นจริงๆ ว่า ปรัชญายังมีคุณค่าต่อสังคม นำทักษะทางปรัชญามาร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนที่ถูกครอบงำ กดขี่ให้มากขึ้น ปรัชญาก็จะไม่ตาย! ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 3 Posted: 28 Oct 2012 05:08 AM PDT มาคุยกันต่อกับ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า ถึงการเมืองอเมริกัน หลังการดีเบตรอบ 2 หรือรอบ Hall town ของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 บารัค โอบามา กับคู่ท้าชิง มิค รอมนีย์ คะแนนสนับสนุนของทั้งสองฝั่งเริ่มสูสีกันมากขึ้น มาจับตาดูมลรัฐที่มักเป็นตัวชี้ขาดชัยชนะการเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่า swing state ว่ามีมลรัฐไหนบ้าง และมาดูอินโฟกราฟฟิคสนุกๆ ทำนายทางเลือกของว่าที่ประธานาธิบดีทั้ง 2 คนว่าจะออกมาในรูปใดที่ http://elections.nytimes.com/2012/electoral-map?hp#scenario
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กมธ.สธ.สั่งกรมเจรจาฯ รับข้อห่วงใยผลกระทบเอฟทีกับอียูต่อการเข้าถึงยา Posted: 28 Oct 2012 04:19 AM PDT เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยและภาคประชาสังคม 14 องค์กรที่ขอให้พิจารณาตรวจสอบกระบวนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านยา โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า กระบวนการจัดทำความตกลงข้างต้นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขัดกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือไม่ และได้มีการกำหนดกรอบการเจรจาในประเด็นที่จะมีลักษณะทำให้ไทยเสียเปรียบประเทศคู่เจรจา อาทิ การขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่มีเงื่อนไขมากเกินไปกว่าข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวพันกับการค้า (TRIPS) ขององค์การการค้าโลกซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว อาจทำให้เกิดการผูกขาดสินค้าประเภทเภสัชภัณฑ์ ประชาชนจำนวนมากจะไม่สามารถเข้าถึงยาที่มีสิทธิบัตรที่มีราคาสูงกว่ายาชื่อสามัญ (Generic Drugs) เพราะประเทศไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการจัดซื้อยาดังกล่าวหรือไม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 28 Oct 2012 03:59 AM PDT โปรดเกล้าฯ ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 แล้ว "ปลอดประสพ" นั่งรองนายกฯ "พงศ์เทพ" รองนายกฯควบ รมว.ศธ. "จารุพงศ์" คุมมหาดไทย "ณัฐวุฒิ" นั่งรมช.พาณิชย์
ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สองฝ่ายในซีเรียละเมิดข้อตกลงหยุดยิงช่วงวันอีด Posted: 28 Oct 2012 03:23 AM PDT หลังรัฐบาลประกาศยอมรับข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวในช่วงวันอีดซึ่งเสนอโดยสหประชาชาติ แต่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายก็กลับมาปะทะกันโดยต่างอ้างว่าอีกฝ่ายเริ่มต้นใช้ความรุนแรงก่อน ผู้นำศาสนาในพิธีฮัจญ์เทศนาให้ชาวอาหรับและชาวมุสลิมช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่
28 ต.ค. 2012 - สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในซีเรียยังคงดำเนินต่อไปแม้ว่ารัฐบาลจะประกาศสงบศึกชั่วคราวเนื่องในวันอีดอัฎฮาแล้วก็ตาม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 21 - 27 ต.ค. 2555 Posted: 28 Oct 2012 03:03 AM PDT กรอ.เล็งเสนอนายกฯ พิจารณาชะลอค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
ก.แรงงานชี้ 5 เดือนผู้ประกันตนขอรับเงินว่างงานทะลุ 2 แสนคน
ครม.เห็นชอบให้ข้าราชการบวชไม่ถือเป็นวันลา
นำร่องศูนย์ฝึกภาษา 27 แห่ง แห่เข้าอบรมกว่า 2.5 พันคน
ส.อ.ท.เลิกชง กรอ.ชะลอค่าแรง 300 บาท โดน สศช.เบรกแถมแกนนำเห็นต่าง
มทร.พระนคร อุ้มพนักงานมหาวิทยาลัย ปรับเงินเดือน-สวัสดิการ เทียบเท่าข้าราชการ
กพร.ตั้งเป้าผลิตแรงงานกว่า 3 แสนคน
ชลบุรีจัดทำโครงการศูนย์กำลังคนด้านแรงงาน แก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน
จัดหางานยโสธรเตือนระวัง มาเลย์จ้างแรงงานหญิงแต่งงาน
กพร.ตั้งเป้าผลิตแรงงานกว่า 3 แสนคน
ก่อสร้างไทยส่อวิกฤติ ขาดแรงงานกว่า 3 แสนคน
ฝึกทหารเป็นสิงห์รถบรรทุกรับเปิดเสรีอาเซียน
แรงงานไทยในอิสราเอลได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 รายจากการปะทะกัน
แรงงานแนะอย่าพกยาเข้ายูเออี
ห่วงพยาบาลเจอ 2 เด้งเปิดเออีซีส่อตกงานอื้อ
อิสราเอล-บริษัทช่วย 3 แรงงานไทย สถานทูตติดตามอาการบาดเจ็บ
ชาวจุฬาฯเฮ! ฐานเงินเดือนใหม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น