โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

‘รังสรรค์’ วิพากษ์ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร มรดกสงครามเย็น-สปิริต ‘ปิด’ มากกว่า ‘เปิด’

Posted: 21 Oct 2012 12:17 PM PDT

 

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ TCIJ  จัดเวทีเกี่ยวกับ 'พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ' ครบ 4 ภาค โดยจัดครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ด้วยเห็นว่า กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือสำคัญของภาคประชาชน  นักข่าว นักวิชาการ หรือประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชน

แต่ที่ผ่านมาตลอด 15 ปี นับแต่มีการยกร่างกฎหมายนี้จะพบว่ามีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย และดูเหมือนมันยังไม่ใช่เครื่องมือที่ดีนัก ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น ?

'รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์' ได้รับเชิญมาเป็นองปาฐก วิเคราะห์กฎหมายนี้อย่างน่าสนใจ เพราะนอกจากเขาจะเป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์คนสำคัญแล้ว อาจมีไม่กี่คนที่รู้ว่าเขาเคยเป็นอนุกรรมการของคณะกรรมการข้อมูลและข่าวสารด้วย

เขาไม่เพียงอธิบายความไร้ประสิทธิภาพของมันในแง่มุมเศรษฐศาสตร์หรือปัญหาเทคนิคในการใช้งาน แต่ยังมองมันในบริบทที่กว้างกว่านั้น ตั้งแต่แรงผลักในบริบทโลก  การก่อเกิดในบริบทสังคมการเมืองไทย และเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยฟันธงว่า กฎหมายนี้ไม่ใช่สัญญะของความโปร่งใส หรือประชาธิปไตย เพราะไม่ได้มาจากพื้นฐานสปิริต Right to Know และเป็นกฎหมายที่มุ่งสร้างความชอบธรรมให้กับการปกปิดข้อมูลเสียมากกว่า

 

00000000


ประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้มี 77 ประเทศทั่วโลก และไทยเป็นประเทศลำดับที่ 24 โดยมีการร่างกฎหมายนี้ขึ้นใช้เมื่อปี 2540  --- พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

อย่างไรก็ตามก กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่สัญญะของประชาธิปไตย และแต่ละประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้ก็มี 'สปิริต' ของกฎหมายที่ต่างกัน เราจะพบว่าประเทศที่ยึด right to know หรือสิทธิในการรับรู้ กฎหมายข้อมูลข่าวสารในประเทศนั้นก็จะช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย สร้างความโปร่งใส ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นของการสร้างกลไกการรับผิดของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ยกตัวอย่าง อังกฤษเพิ่งมีกฎหมายนี้หลังไทยด้วยซ้ำ โดยร่างขึ้นในปี 2543 บังคับใช้ปี 2548 ใช้เวลา 5 ปี ให้หน่วยราชการต่างๆ เตรียมการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร ส่วนประเทศเยอรมนีเพิ่งมีกฎหมายนี้เมื่อปี 2548  จะเห็นว่าแม้ไทยมีมาก่อน และการมีกฎหมายข้อมูลข่าวสารนั้น ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกว่าสังคมการเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยแต่อย่างใด สังคมการเมืองไทยให้ความสำคัญกับการปิดลับมาแต่ไหนแต่ไร  เพราะข้อมูลข่าวสารเป็นอาวุธของชนชั้นปกครอง

ข้อสังเกตต่อ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ มีดังนี้

1.เป็นมรดกของการเมืองยุคสงครามเย็น ซึ่งประเทศตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมการเก็บลับ กฎหมายนี้ไม่ได้ออกมาเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส แต่เป็นการสร้างกลไกให้ราชการมีความชอบธรรมในการปกปิดข้อมูลบางอย่าง

กฎหมายข้อมูลข่าวสารที่จะสร้างความโปร่งใส จะต้องยึดหลัก maximum disclosure principle หรือหลักการเปิดเผยจนถึงที่สุด แต่ในกรณีของไทยไม่เป็นเช่นนั้น จะเห็นได้ว่าเหตุผลเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ เป็นเหตุผลสำคัญ โดยไม่มีคำนิยามและมาตรวัดชัดเจนว่า ข้อมูลอะไร ลักษณะอย่างไร ที่ก่อเกิดความไม่มั่นคงของชาติ และในระบบกฎหมายนี้ก็ให้ราชการเป็นผู้วินิจฉัย

2.การให้ความสำคัญกับการเป็นส่วนบุคคล  เรื่องนี้โดยส่วนตัวแล้วไม่มีข้อติดใจ แต่ก็มีปัญหาหลายอย่างเมื่อพูดถึง right to privacy  ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอยากรู้ว่า ธนาคาร ก.ปล่อยเงินกู้ให้ผู้ถือหุ้น a หรือไม่ โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าควรต้องเปิดเผยข้อมูลนี้ เพราะมันจะส่งผลให้สังคมเศรษฐกิจการเงินมีเสถียรภาพ แต่บางคนอาจเถียงว่านี่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล

ในส่วนสาระสำคัญของกฎหมายข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้

1. ความครอบคลุม
กฎหมายนี้มีความครอบคลุมค่อนข้างกว้างขวาง ไม่ได้รวมเฉพาะหน่วยราชการ แต่รวมถึง อปท. รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ  แต่กลับไม่ได้ครอบคลุมสถาบันที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ  เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน คุกเอกชน อีกทั้งยังมีคำถามว่าควรรวมหน่วยงานของนิติบัญญัติและตุลาการด้วยหรือไม่.ซึ่งกฎหมายนี้ก็ไม่ได้พูดึงส่วนนี้โดยชัดเจน  

ส่วนอะไรคือข้อมูลข่าวสารสาธารณะ  ขอตั้งข้อสังเกตว่า ศัพท์ที่ใช้ในพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ ไม่เหมือนกับที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ 2550  ซึ่งใช้คำว่า 'ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ'  เป็นศัพท์ที่มีสปิริตของความเป็นประชาธิปไตย แต่กฎหมายนี้กลับใช้คำว่า 'ข้อมูลข่าวสารราชการ' ซึ่งอ้างอิงความเป็นเจ้าของของราชการ  ดังนั้นมันจึงไม่ได้พูดเรื่องว่าข้อมูลที่ราชการมีเป็นของประชาชน

 

2.เรื่องข้อยกเว้น
กฎหมายนี้มีข้อยกเว้นเป็นอันมาก มีขีดจำกัดในเรื่องเสรีภาพของข้อมูลข่าวสารซึ่งจะขอดูไม่ได้ เช่น ข้อมูลที่อาจก่อความเสียหายกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ความมั่นคง การคลัง หรือข้อมูลที่หากเปิดเผยแล้วทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ เป็นต้น

กฎหมายนี้ยังมีการพูดเรื่องข้อมูลประวัติศาสตร์ กำหนดไว้ว่าหากพ้นเวลา 20 ปีสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่เกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์ ต้องพ้นเวลา 75 ปีจึงจะเปิดเผยได้ อย่างไรก็ตามการขอข้อมูลประวัติศาสตร์ก็พบว่ายังถูกเซ็นเซอร์ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับอังกฤษ เข้าใจว่า public record office ของอังกฤษไม่มีการเซ็นเซอร์หากพ้นช่วงเวลาที่กำหนดแล้ว  ตรงกันข้ามกับไทย เวลานี้ถ้าไปขอข้อมูลจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ บางเรื่องก็มีการเซ็นเซอร์ ตัวอย่างเช่น กรณีที่ อาจารย์อภิชาต สถิตนิรมัย จากคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ไปขอข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ทศวรรษ 2490 เพราะต้องการดูความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กับสมาคมธนาคารไทย แต่ ธปท.ไม่ยอมให้อ่าน ทั้งที่เป็นข้อมูลประวัติศาสตร์ไปแล้ว จนอภิชาตมาร้องเรียนคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารราชการ จนในที่สุด ธปท.ให้อ่านโดยมีการเซ็นเซอร์ข้อมูลบางส่วน 

นอกจากนี้ยังพบว่า ขีดจำกัดในการได้มาของข้อมูลข่าวสารมีมากเกินไป จนตีตราได้เลยว่า กฎหมายนี้ของไทยไม่ได้ต้องการมุ่งสร้างกลไกของการโปร่งใส แต่สร้างกลไกให้การปิดลับมีความชอบธรรมมากขึ้น

3.การบังคับใช้
กฎหมายนี้มีข้อยกเว้นและกลไกต่างๆ ที่ทำให้การบังคับใช้ไม่ค่อยมีประสิทธิผล ยกตัวอย่างกรณีผู้ปกครองที่ลูกสอบเข้าโรงเรียนสาธิตเกษตร มีข้อกังขาเกี่ยวกับคะแนนสอบ มาร้องเรียนคณะกรรมการข้อมูลข่าวารขอให้เปิดเผยคะแนนสอบ ว่าเด็กสอบได้และไม่ได้มีคะแนนต่างกันอย่างไร คณะกรรมการก็วินิจฉัยว่าให้เปิดเผย แต่จนบัดนี้ เวลาล่วงมา 10 กว่าปี โรงเรียนสาธิตเกษตรก็ดื้อแพ่ง ไม่เปิดเผยข้อมูล แต่ก็ไม่ถูกลงโทษ จะเห็นได้ว่าการบังคับใช้นั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

4.ความยากง่าย ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวาสาร
ประชาชนต้องรู้ว่าหน่วยงานของรัฐแต่ละหน่วยมีข้อมูลอะไรบ้าง ค่าธรรมเนียมและต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต้องต่ำ เพราะการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารหรืออีกนัยหนึ่งคือการได้มาซึ่งความโปร่ง  แต่หลักการของกฎหมายนี้คือ ใครต้องการความโปร่งใส ผู้นั้นต้องรับภาระต้นทุนของความโปร่งใส คุณต้องยื่นคำร้อง เสียเวลาไปให้การ โดยที่กฎหมายไม่ได้ระบุเลยว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารจะต้องวินิจฉัยคำร้องภายในกี่วัน กี่เดือน บางเรื่องเกือบปี ยิ่งล่าช้าเท่าไร transection course หรือค่าโสหุ้ยในการได้มาซึ่งข้อมูลยิ่งมากเพียงนั้น

โดยเจตนารมณ์ที่ต้องการปกปิดมากกว่าทำให้ต้นทุนของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสูงโดยไม่จำเป็น ค่าโสหุ้ยนั้นเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายของรัฐเองที่ยื้อเวลาและพยายามปกปิดความลับ ก็มีต้นทุนซึ่งเป็นภาษีของประชาชน


หลักการกว้างๆ เกี่ยวกับ กม.ข้อมูลข่าวสาร

ถ้ายึด the right to know  หลักการพื้นฐานที่ต้องยึดคือ

1.การเปิดเผยข้อมูลอย่างถึงที่สุด

2.ต้องมีพันธะในการตีพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร

3.ต้องให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยเปิดเผย

4.การจำกัดข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ข้อจำกัดต้องมีน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

5.มีกระบวนการในการเกื้อกูลให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

6.ต้นทุนในการเข้าถึงต้องต่ำ

เคยพูดในปาฐกถา 14 ตุลา เรื่อง การปฏิรูปการเมืองกับการออกแบบรัฐธรรมนูญ ครั้งนั้นเสนอเรื่องเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลว่า ในรัฐธรรมนูญควรมีบทบัญญัติว่าข้อมูลข่าวสารสาธารณะต้องเปิดเผย หน่วยงานที่ไม่เปิดเผยต้องมีความผิดตามกฎหมาย และต้องมีการการปกป้องคนที่เอาข้อมูลสาธารณะที่เป็นประโยชน์มาเปิดเผย


ทำไมเมืองไทยจึงมี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ

ใช้กรอบการวิเคราะห์เรื่องกระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทยช่วงปี 2475-2530 ที่เคยทำการศึกษาวิจัยไว้ แต่มีการปรับแบบจำลองนี้มาตลอด ซึ่งมีกลุ่มปัจจัยในการวิเคราะห์สี่กลุ่มใหญ่ คือ โครงสร้างส่วนบน, ระบบทุนนิยมโลก, ซัพพลายของนโยบายเศรษฐกิจมาจากไหน) , ดีมานด์ที่มีต่อนโยบายเศรษฐกิจ  เพื่ออธิบายการก่อเกิดของนโยบายเศรษฐกิจในสังคมเศรษฐกิจไทย

  • โครงสร้างส่วนบนมีตัวแปร 2 ตัว คือ ระบบการปกครอง , ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในสังคมไทย
  • ระบบทุนนิยมโลก มีตัวแปรหลายตัว คือ ระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ ประเทศมหาอำนาจ บรรษัทระหว่างประเทศ สถาบันจัดอับการน่าเชื่อถือ เอ็นจีโอระหว่างประเทศ
  • ซัพพลายของนโยบายเศรษฐกิจมาจาก ชนชั้นปกครอง ที่ปรึกษาเศรษฐกิจ เทคโนแครต นักการเมือง รัฐสภา
  • ดีมานด์ของนโยบายเศรษฐกิจ มาจาก กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มวลชน นักวิชาการ บริษัทที่มีเครือข่ายทางการเมือง ประชาสังคม เอ็นจีโอ

ขอเน้นอรรถาธิบายเรื่องทุนนิยมโลก เนื่องจากเป็นบทบาทของมหาอำนาจที่กำหนด good governance (ธรรมาภิบาล)  เป็นพื้นฐานของระเบียบเศรษฐกิจโลก , Washington Consensus  ถีบตัวมาเป็น Global Economic Policy Menu เน้นนโยบายเสรีนิยมและกลไกตลาด หลังแนวทางแบบ Keynesian Economics ซึ่งเน้นบทบาทของรัฐเสื่อมลง  แนวคิดใหม่นี้กระจายอิทธิพลไปทั่วโลก และปัจจัยสำคัญมาจาก ประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ส่งออกนโยบายให้ประเทศต่างๆ ดำเนินนโยบายเสรีนิยม ประกอบกับองค์กรโลกบาลก็เอาเมนูนโยบายที่มีปรัชญาเสรีนิยม ผูกเข้ากับเงินให้กู้ที่ให้กับประเทศกำลังพัฒนา ในสังคมไทย

อย่างไรก็ตาม คนมักไม่รู้ว่า Washington Consensus มีการเปลี่ยนแปลงเมนูนโยบาย 2 ครั้ง  

1st คำขวัญคือ ปล่อยให้กลไกราคาทำงาน ถ้ามีมาตรการทางนโยบายอะไรไปขัดขวางการทำงานของกลไกราคาต้องเลิกนโยบายนั้น

2nd คำขวัญคือ ปัจจัยทางสถาบันมีความสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดในต้นทศวรรษ 2530
ทั้งนี้ เนื่องจาก IMF และธนาคารโลก หลังกดดันให้ประเทศที่พึ่งเงินกู้ต้องทำตามกลไกราคาแล้ว ปรากฏสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นก็ไม่ดีขึ้น จึงกลับมาคิดว่าทำไมดำเนินนโยบายเสรีนิยมทางเศรษฐกิจแล้วยังไม่หลุดจากการด้อยพัฒนา จึงสรุปว่า สถาบันมีความสำคัญ  'สถาบัน' ในเศรษฐศาสตร์มีสองความหมาย หมายถึง องค์กร-การจัดองค์กร หรือหมายถึงกติกาการเล่นเกม ซึ่งมีทั้งแบบลายลักษณ์อักษรและไม่มีลายลักษณ์ ซึ่งส่วนที่ไม่มีลากลักษณ์อักษรบางทีส่งผลกระทบรุนแรงกว่า เช่น ความเชื่อว่าสถาบันการเงินล้มไม่ได้)

จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการดำเนินนโยบายที่องค์กรโลกบาลผูกกับเงินให้กู้นั้น เริ่มมีเรื่องเกี่ยวกับสถาบันมาด้วย  แทนที่จะเป็นเรื่องกลไกราคา เช่น เรื่อง democratization  (การทำให้เป็นประชาธิปไตย) เรื่อง good governance (ธรรมาภิบาล) การมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใส การปฏิรูประบบราชการ การบริหารการคลัง ฯลฯ เหล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบันทั้งนั้น นอกจากองค์กรโลกบาลจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการดำเนินนโยบายแล้ว ในข้อตกลงเศรษฐกิจระหว่างประเทศก็เริ่มมีเรื่องเหล่านี้ก็เข้าไปเช่นกัน

เรื่องนี้ ผู้นำไทยคนแรกๆ ที่พูดถึง good governance คือ อานันท์ ปันยารชุน ราวปี 3254

อย่างไรก็ตาม แนวความคิดนี้ก็เป็นปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อการผลักดันกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการไทย

ขณะเดียวกันถ้าอธิบายตัวละครด้านอุปสงค์ของนโยบาย ก็จะพบว่า การเติบใหญ่ของชนชั้นกลาง การเติบใหญ่ของธุรกิจเอกชน ทำให้อุปสงค์ที่มีต่อความโปร่งใสมีพลังมากขึ้น ส่วนด้านอุปทานนั้น ชนชั้นปกครองบางส่วนเริ่มรับหลักการธรรมาภิบาล จากมหาอำนาจและองค์กรโลกบาล

ลองดูตัวเลขของปีต่อจำนวนประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้

2475                 2          ประเทศ

2500                 3

2525                 11

2530                 13

2540                 24

2545                 50

2550                 72

2551                 77

 

การแผ่ขยายของจำนวนประเทศที่มีกฎหมายนี้เกิดหลังปี 2534 และส่วนใหญ่เป็นประเทศที่เป็นสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งเป็นช่วงหลังกำแพงเบอร์ลินทลาย ในปี 2532 และสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 2534

 

รัฐธรรมนูญไทยกับข้อมูลข่าวสารราชการ

ข้อเท็จจริง

1. รัฐธรรมนูญ 40 เป็นฉบับแรกที่ยอมรับเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารของประชาชน

2. รัฐธรรมนูญ 50 ไม่ได้มีบทบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพข้อมูลข่าวสารของประชาชนแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ 40

3. พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการตราขึ้นก่อน รัฐธรรมนูญ 40 แต่บังคับใช้หลังรัฐธรรมนูญ 40

สรุป ทำไมพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ ไม่อาจนำมาซึ่งธรรมาภิบาล

-รับมรดกสงครามเย็นมากเกินไป ทำให้แก่นแกนของกฎหมายมุ่งรักษาความลับมาเกิดไป ไม่มีสปิริตของความโปร่งใส ซึ่งพื้นฐานของธรรมาภิบาล เช่น ศัพท์ที่ใช้คือ 'ข้อมูลข่าวสารของราชการ' ไม่ใช่ 'ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ'เหมือนในรัฐธรรมนูญ 40

-กฎหมายยึดหลักผู้ต้องการความโปร่งใสต้องแบกค่าโสหุ้ยของความโปร่งใส

-กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารเป็นไปเชื่องช้า และตกอยู่ใต้อิทธิพลในการปกป้องความลับราชการ ไม่มีการกำหนดเวลาวินิจฉัย

-กฎหมายไม่ได้กำหนดบทลงโทษหน่วยราชการที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประธานาธิบดีพม่าจัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชนเป็นครั้งแรก

Posted: 21 Oct 2012 12:14 PM PDT

ประธานาธิบดี "เต็ง เส่ง" ของพม่าใช้เวลาในวันอาทิตย์จัดแถลงข่าวที่กรุงเนปิดอว์ นับเป็นการแถลงข่าวของผู้นำประเทศเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้พม่าในอดีตได้ผ่านห้วงเวลาแห่งความลึกลับและมาตรการเซ็นเซอร์สื่อโดยรัฐบาลทหาร

เนปิดอว์ - หนังสือพิมพ์อิระวดี รายงานว่า ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่าจัดแถลงข่าวเป็นครั้งแรกกับสื่อมวลชน นับเป็นหมุดหมายสำคัญหลังจากพม่าผ่านห้วงเวลาแห่งความลับและการเซ็นเซอร์โดยระบอบรัฐบาลทหารในอดีต

โดยเต็ง เส่งได้ตอบคำถามไปกว่า 30 คำถามจากนักข่าวพม่าและนักข่าวต่างประเทศ ทั้งเรื่องกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ทางเหนือ จนถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่มาจากการร่างในสมัยรัฐบาลทหาร

ในรายงานของอิระวดี ให้ทัศนะว่าการแถลงข่าวครั้งนี้ ยังบ่งบอกว่าประเทศของเขาได้เปลี่ยนจากประเทศที่มีความลับและหวาดระแวง มาสู่การมีความสัมพันธ์เปิดกว้าง

และในวันเดียวกับที่มีการแถลงข่าว สำนักข่าวไทย รายงานว่า ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เผยด้วยว่ากฎหมายการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่จะสรุปได้ในอีกไม่กี่วันนี้

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายการลงทุนดังกล่าวซึ่งถูกตีกลับไปมาระหว่างรัฐสภากับประธานาธิบดีมีสองร่าง ร่างแรกอนุญาตให้ต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจได้ทั้งหมด นักธุรกิจพม่าจึงเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาจำกัดสัดส่วนการเป็นเจ้าของธุรกิจของต่างชาติและกำหนดค่าธรรมเนียมการตั้งบริษัทไว้สูงใน 13 ประเภทธุรกิจ อีกร่างกำหนดให้ต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมลงทุนบางประเภทได้สูงสุดไม่เกินครึ่งหนึ่ง และยกเลิกค่าธรรมเนียมการตั้งบริษัท 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 155 ล้านบาท) คาดเนื้อหาที่จะไม่มีการแก้ไขคือ การอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเช่าที่ดินได้สูงสุด 50 ปี การยกเว้นภาษีในช่วง 5 ปีแรก และการรับรองว่าจะไม่โอนกิจการเป็นของรัฐ

สำหรับพม่าก้าวเข้าสู่การปฏิรูปในหลายด้าน นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2553 ตามมาด้วยการปล่อยตัวออง ซาน ซูจีในอีกไม่กี่อาทิตย์ต่อมา โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ขึ้นมาดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2554 และอยู่ระหว่างการเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ทหารพม่ายังคงปฏิบัติการทางทหารอยู่ในพื้นที่รัฐฉาน และรัฐคะฉิ่น และยังเกิดความไม่สงบระหว่างชุมชนชาวโรฮิงยา และชาวยะไข่ ในรัฐยะไข่ทางตะวันตกของพม่าติดกับบังกลาเทศด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

Posted: 21 Oct 2012 10:07 AM PDT

"สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ควรเป็นสัปดาห์ "อ่าน" หนังสือแห่งชาติ มากกว่าสัปดาห์ "ซื้อ" หนังสือแห่งชาติ คือน่าจะมีไฮไลท์การประกวดหนังสือในหลายๆรางวัลหลายๆแบบ หรือมีการอภิปรายกันเรื่องหนังสือที่เด่นๆ มากกว่าเน้นแต่ว่ามีหนังสือลดราคา.."

โพสต์ในสถานะตนเองบนเฟสบุ๊ค

รอมนีย์เย้ยโอบาม่า 'ไร้วาระ' ในการดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง

Posted: 21 Oct 2012 09:24 AM PDT

มิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งล่าสุดของสหรัฐฯ ปราศรัยหาเสียงบอกว่าโอบามาหาเสียงได้ 'ตกต่ำ' อย่างมาก มีแต่การจิกกัดและ 'เล่นคำอย่างเขลาๆ' ซึ่งเป็นการโต้ที่โอบามากล่าวโจมตีว่ารอมนีย์เปลี่ยนจุดยืนช่วงใกล้เลือกและลืมจุดยืนเดิมราวเป็นโรค 'รอมนีเซีย'

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2012 มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคริพับลิกัน กล่าวเยาะเย้ย บารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่ลงสมัครชิงตำแหน่งครั้งต่อไปด้วย โดยบอกว่าโอบามา 'ไม่มีวาระ' ใดๆ ที่สมควรแก่การเป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สอง

ในการรณรงค์หาเสียงที่ฟลอริดา รอมนีย์กล่าวว่า การหาเสียงของโอบามากลายเป็นแค่ "การกล่าวโจมตีจิกๆ กัดๆ และการเล่นคำที่ดูเขลาๆ"

หลายชั่วโมงก่อนหน้านี้ โอบามากล่าวประณามรอมนีย์ว่าเปลี่ยนจุดยืนในขณะที่การเลือกตั้งใกล้เข้ามา และบอกว่าพรรคริพับลิกันกำลังป่วยเป็นโรค "รอมนีเซีย" (Romnesia)

ผู้ชิงตำแหน่งทั้งสองคนมีกำหนดจะดีเบทกันครั้งสุดท้ายที่รัฐฟลอริดา วันจันทร์ (22 ต.ค.) นี้ ในประเด็นนโยบายต่างประเทศ

ฝ่ายรอมนีย์ และพรรคริพับลิกันยังคงเน้นย้ำเรื่องการจัดการของรัฐบาลโอบามาต่อกรณีการโจมตีสถานกงสุลสหรัฐฯ ในเบงกาซี ประเทศลิเบีย ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันรวมถึงเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เสียชีวิต ซึ่งน่าจะถูกนำมาโต้เถียงกันอีกในการดีเบทที่เมืองโบคา ราตัน รัฐฟลอริดา

 

'โรครอมนีเซีย'

ในการหาเสียงเมื่อวันที่ 19 ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้ลงสมัครทั้งสองท่านต่างก็พยายามหาเสียงโดยกล่าวโจมตีอีกฝ่าย

โอบามา ซึ่งหาเสียงในย่านชานเมืองแฟร์แฟ็กซ์ วอชิงตัน ดีซี กล่าวต่อผู้สนับสนุนฝ่ายตนว่า มิตต์ รอมนีย์ เริ่มมีจุดยืนกลางๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการเลือกตั้งใกล้เข้ามา

"เขาลืมไปว่าจุดยืนของเขาคืออะไร แล้วเขาก็เดาว่าพวกคุณจะลืมด้วย" โอบามากล่าว โดยพูดถึงการกระทำของรอมนีย์ว่าเป็นโรค 'รอมนีเซีย' ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของมวลชน (คาดว่าเป็นการล้อคำกับอาการ 'แอมเนสเซีย' ซึ่งหมายถึง อาการหลงลืม - ผู้แปล)

ประธานาธิบดีโอบามา ยังได้กล่าวปราศรัยเอาใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นสตรี โดยบอกว่า "คุณไม่ต้องการคนที่ขอร้องให้ผู้หญิงมาทำงานให้" เป็นการอ้างอิงถึงวิธีการที่รอมนีย์สรรหาผู้หญิงเข้ามาทำงานเป็นคณะรัฐมนตรีสมัยที่เขายังเป็นผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์

"คุณต้องการประธานาธิบดีผู้ที่ก่อนหน้านี้ได้แต่งตั้งผู้หญิงที่มีความสามารถให้ดำรงตำแหน่งในศาลฎีกาของสหรัฐฯ ไปแล้ว" โอบามากล่าว

ด้านรอมนีย์ ขึ้นเวทีในเวลาต่อมาพร้อมคู่หู พอล ไรอัน กล่าวถึงการหาเสียงของโอบามาว่า "เป็นการหาเสียงที่ตกต่ำอย่างมาก"

"คุณได้ดูการหาเสียงของโอบามาช่วงหลังๆ นี่ไหม" รอมนีย์กล่าวปราศรัที่เดย์ตัน บีช "พวกเขาไม่มีวาระใดสำหรับอนาคต ไม่มีวาระใดๆ สำหรับอเมริกาเลย ไม่มีวาระใดๆ ในการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองเลย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีที่พวกเขาจะไม่ได้อยู่ต่อในสมัยที่สอง"

CNN โพลล์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเปิดเผยว่า รอมนีย์มีคะแนนนิยมร้อยละ 1 ในรัฐฟลอริดา ในโพลล์อื่นๆ ก็นำเสนอข้อมูลคล้ายกันในแง่ที่รอมนีย์ได้เปรียบในรัฐไอโอวา และรัฐนิวแฮมป์เชียร์

 

ที่มา Mitt Romney: Obama has 'no agenda' for second term, BBC, 20-10-2012 http://www.bbc.com/news/world-us-canada-20013856

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลาะเลียบริมโขง : เบียร์ลาวกับการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นลาว

Posted: 21 Oct 2012 08:49 AM PDT

เมื่อพูดถึงเมืองลาวแล้ว นอกจากพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ หอพระแก้ว หอคำหลวง น้ำตกคอนพะเพ็ง และเขื่อนน้ำงึม สิ่งที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และถูกกล่าวขวัญถึงคู่กันเสมอคือ "เบียร์ลาว" (ເບຍລາວ) ที่แขกไปใครมาเมืองลาวก็ต้องดื่ม หรือหอบซื้อกลับบ้านเป็นของฝากภาคบังคับสำหรับคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บริษัท เบียร์ลาว จำกัด (Lao Brewery Co., Ltd.) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์ลาว ถือกำเนิดขึ้นในปี 1973 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างนักลงทุนฝรั่งเศสกับนักธุรกิจลาว ในชื่อ Brasseries et Glacières du Laos (BGL) ผลิตเบียร์เพื่อจำหน่ายในประเทศลาว และส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอินโดจีนฝรั่งเศส เนื่องจากเล็งเห็นว่าประเทศลาวเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำดิบสะอาดและมีคุณภาพเหมาะสมที่จะผลิตเบียร์ รวมถึงข้าวที่นำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นก็อุดมสมบูรณ์ โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Bière Larue สำหรับเบียร์ที่จำหน่ายในประเทศ และ "33" export สำหรับเบียร์ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ

ในปี 1975 เมื่อลาวเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลลาวได้ยึดเอาหุ้นในบริษัทของนักลงทุนฝรั่งเศสเป็นของรัฐ และอ้างว่านักธุรกิจฝ่ายลาวสมัครใจจะมอบหุ้นให้แก่ทางการ บริษัทเบียร์ลาวจึงกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ และเริ่มผลิตเบียร์ในชื่อการค้า  Bière Lao ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น Beer Lao ซึ่งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ในปี 1993 กลุ่มบริษัทลอกซเลย์ และอิตาเลียน-ไทย ได้เข้ามาร่วมลงทุนกับรัฐบาลลาวในกิจการเบียร์ลาวเป็นจำนวนหุ้น 51% (ฝ่ายละ 25.5%) ก่อนที่จะถอนตัวออกไป โดยมีกลุ่มบริษัทคาร์ลสเบิร์ก และ TCC International หรือกลุ่มไทยเบฟ (เบียร์ช้าง)ของเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาร่วมลงทุนแทนในอัตราหุ้นส่วน 25% ส่วนที่เหลืออีก 50% ยังเป็นของรัฐบาลลาวอยู่

ปัจจุบัน บริษัทเบียร์ลาว จำกัด มีกำลังการผลิตปีละ 210 ล้านลิตร ในโรงงานสองแห่งคือที่แขวงเวียงจันทร์ และแขวงจำปาสัก โดยวัตถุดิบหลักที่ใช้คือข้าวหอมมะลิปลูกในประเทศ ข้าวบาร์เลย์มอลต์นำเข้าจากฝรั่งเศสและเบลเยียม ส่วนยีสต์ และฮ็อบส์ที่ใช้ นำเข้าจากประเทศเยอรมนี โดยใช้เครื่องจักรนำเข้าจากประเทศเยอรมนีทั้งหมด ซึ่งการใช้ข้าวหอมมะลิในประเทศเป็นวัตถุดิบร่วมกับมอลต์ข้าวบาร์เลย์ ทำให้กลิ่นและรสของเบียร์ลาวเป็นที่กล่าวขวัญถึงว่ามีเอกลักษณ์ของตนเอง และเป็นที่นิยมของสิงห์นักดื่มไม่ว่าชาวลาวหรือชาวต่างชาติ

            ผลิตภัณฑ์เบียร์ลาวที่วางจำหน่ายอยู่ ประกอบด้วย

  • ເບຍລາວ เบียร์ลาว (Beer Lao Lager) แอลกอฮอล์ 5% ทำจากบาร์เลย์มอลต์ผสมกับข้าวหอมมะลิท้องถิ่นถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของบริษัท โดยส่งออกไปยัง 13 ประเทศทั่วโลก
  • ເບຍລາວດາກ (ເບຍດໍາ) เบียร์ลาวดำ (Beer Lao Dark) แอลกอฮอล์ 6.5% ทำจากบาร์เลย์มอลต์อบ
  • ເບຍລາວຄໍາ เบียร์ลาวทอง (Beer Lao Gold) แอลกอฮอล์ 5% ทำจากบาร์เลย์มอลต์และข้าวหอมมะลิท้องถิ่น โดยใช้ฮ็อบส์พันธุ์ที่มีกลิ่นหอมพิเศษ เป็นสินค้าพรีเมียมที่หาซื้อได้ยาก
  • ເບຍລ້ານຊ້າງ เบียร์ล้านช้าง (Lane Xang) แอลกอฮอล์ 5.5% เป็น Fighting Brand ที่ออกมาเพื่อแข่งขันกับเบียร์ต่างประเทศในปี 2008

นอกจากนี้ บริษัทเบียร์ลาวยังผลิตและบรรจุขวดน้ำดื่มและโซดาตราหัวเสือ, เบียร์คาร์ลสเบิร์ก และเครื่องดื่มน้ำอัดลมในตระกูลเป๊ปซี่ มิรินด้า และเซเว่นอัพด้วย

การตลาดของเบียร์ลาว เน้นแสดงความภาคภูมิใจในความเป็นลาว ที่มีน้ำใจและรักษาวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงใช้กลยุทธการนำเอาเหรียญคำ (เหรียญทอง) จากงานประกวดเบียร์นานาชาติ มาใช้โฆษณา คล้ายคลึงกับกลยุทธการโฆษณาเบียร์ช้าง รวมถึงโปรดักชั่นโฆษณาที่มีคุณภาพการถ่ายทำมากกว่าโฆษณาทั่วไปของธุรกิจในประเทศลาว ซึ่งอาจพออนุมานได้ว่า ได้รับความช่วยเหลือด้านการตลาดและโฆษณาจากกลุ่มเบียร์ช้างของไทย

ในทุกวิดีโอโฆษณาของเบียร์ลาวที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ รวมถึงป้ายโฆษณา จึงผูกติดกับสัญลักษณ์ทางวัตถุและวัฒนธรรมความเป็นลาวอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระธาตุหลวง อนุสาวรีย์วีรกษัตริย์ ประตูชัย แม่น้ำโขง น้ำตกคอนพะเพ็ง แก่งหลี่ผี และเขื่อนต่างๆ และเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนในงานประเพณี เช่น งานแข่งเรือยาวประเพณี งานบุญประจำปี รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการให้ทุนสนับสนุนการจัดแข่งกีฬาไม่ว่าจะเป็นบานเตะ (ฟุตบอล) การตีดอกปีกไก่(แบดมินตัน) หรือเทนนิส (โดยไม่ถูกหวงห้ามว่าเป็นบริษัทผลิตสุราแล้วจะห้ามโฆษณาในงานบุญหรืองานกีฬา แบบที่ สสส. ของไทยอ้างแต่อย่างใด)

จากแนวโน้มการเติบโตของจำนวนประชากร และการขยายโรงงานของบริษัท เบียร์ลาว จำกัด ซึ่งกำลังจะเปิดโรงงานแห่งที่สาม ณ เมืองปากเซ รวมถึงอัตราการบริโภคเบียร์ต่อหัวต่อปีของชาวลาวที่ยังค่อนข้างต่ำ จึงทำให้โอกาสทางการตลาดของเบียร์ลาวยังเปิดกว้างอยู่อีกมาก เมื่อรวมกับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากกลุ่มคาร์ลสเบิร์ก และความช่วยเหลือด้านทุนและกลยุทธทางการตลาดของกลุ่มเบียร์ช้าง ทำให้เราอาจคาดได้ว่า เบียร์ลาวจะกลายเป็นสินค้าสำคัญเป็นหน้าเป็นตาที่อยู่คู่ประเทศลาวไปอีกยาวนาน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข่าวดีจากซีเรีย ความพยายามหยุดยิงรอบใหม่

Posted: 21 Oct 2012 08:31 AM PDT

ขณะนี้สหประชาชาติกาลังพยายามพูดคุยกับหลายฝ่ายเพื่อนาสู่การหยุดยิงชั่วคราวในประเทศซีเรีย นายลักคาร์ บราฮิมี ผู้แทนสหประชาชาติพบรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศซีเรีย นายวาลิด อัลเมาเล็ม เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซีเรีย เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดยิง (Reuters)

เบื้องต้นกำหนดให้หยุดยิงในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองอีดิลอัฎฮา ของมุสลิมในสัปดาห์หน้า (ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม) คาดว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อยๆ

หลายประเทศแสดงท่าทีเห็นด้วยกับการหยุดยิงดังกล่าว เช่น ตุรกี อิหร่าน สหรัฐฯ

ส่วนรัฐบาลซีเรียต้องการคำมั่นว่าฝ่ายต่อต้านจะไม่ฉวยโอกาสเคลื่อนไหว

ความพยายามเจรจาเพื่อให้ทุกฝ่ายหยุดยิงครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ในสมัยเมื่อนายโคฟี่ อานันเป็นทูตพิเศษสหประชาชาติได้ความพยายามมาแล้ว แต่ติดเงื่อนไขของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด เรียกร้องการรับประกันว่าฝ่ายต่อต้านทุกกลุ่มจะต้องหยุดยิงด้วย ในระหว่างการเจรจาก็ยังยิงกันไปมา ผลคือไม่เคยไม่มีการหยุดยิงตลอด 19 เดือนนับจากกระสุนนัดแรกลั่นออกมา

จำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดตัวเลขผู้เสียชีวิตเกิน 3 หมื่นคนแล้ว เฉลี่ยตายวันละ 50 คน

โอกาสหยุดยิงดังกล่าวนั้นริบหรี่ ปัญหาอยู่ที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีหลายหลากกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะผู้เป็นพลเรือนชาวซีเรีย แต่ยังมีกลุ่มติดอาวุธต่างชาติหลายชาติหลายกลุ่มร่วมอยู่ด้วย ไม่นับรวมบรรดาประเทศผู้ให้การสนับสนุนทั้งแบบทางตรงทางลับ ดังนั้น หากจะให้ฝ่ายต่อต้านหยุดยิงย่อมหมายความว่าสหประชาชาติต้องสามารถขอความร่วมมือจากทุกกลุ่ม ทุกประเทศ

ที่สำคัญคือรู้ว่าจะต้องคุยกับใครแต่ละกลุ่มที่หลากหลายนั้น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เพียงผู้นำฝ่ายปฏิบัติการที่อยู่ในสนามรบ แต่เป็นประธานกลุ่ม ผู้นำประเทศ ฯลฯ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า มีข่าวว่าในหมู่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีกลุ่มที่ใกล้ชิดกับพวกอัลกออิดะห์รวมอยู่ด้วย นั่นหมายความว่าอาจจะต้องได้รับการเห็นชอบจากหัวหน้ากลุ่มอัลกออิดะห์ที่อยู่เบื้องหลัง เกิดคำถามตัวโตๆ ว่าพวกอัลกออิดะห์จาต้องเชื่อฟังสหประชาชาติ หรือต้องยอมให้กับสหรัฐฯ

ดังนั้น เมื่อพิจารณารายละเอียดจะพบว่าเงื่อนไขการหยุดยิงชั่วคราวที่ ปธน.อัสซาดขอคามั่นว่าฝ่ายต่อต้านทุกกลุ่มต้องหยุดยิงด้วยจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ละกลุ่มแต่ละประเทศต่างมีอุดมการณ์ มีเป้าหมายเฉพาะของตน (นอกเหนือจากโค่นล้มระบอบอัสซาด)

ในมุมกลับกัน ถ้าทำสำเร็จเท่ากับว่าสหประชาชาติสามารถเข้าถึงผู้นำผู้มีสิทธิตัดสินใจของทุกกลุ่มทุกประเทศ และมีอิทธิพลหรือสามารถโน้มน้าวใจอย่างน้อยชั่วขณะหนึ่ง

หากงานนี้สำเร็จจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสหประชาชาติ

หวังว่าจะได้ข่าวดีในวันศุกร์นี้เมื่อเสียงปืนสงบ เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นสู่สันติภาพอันถาวรของประเทศซีเรีย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความรุนแรงที่ปฏิวัติ:โต้พวกเพ้อเจ้อ

Posted: 21 Oct 2012 07:42 AM PDT

จะใช้ความรุนแรงหรือไม่ ผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมต้องเลือกให้เหมาะสมกับ กาละ และ เทศะ  เพราะความรุนแรงเป็นวิธีการ,ไม่ใช่จุดหมาย ในเมื่อจุดหมายคือแค่ให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง,ได้เป็นรัฐบาล การใช้ความรุนแรงไม่เพียงแต่จะไม่คุ้มค่าเท่านั้น แต่อาจจะเสียหายถึงขั้นผู้ใช้ไม่มีแผ่นดินจะอยู่ก็ได้  แต่ถ้าจุดหมายคือการเปลี่ยนแปลงระบอบสังคม,ชนชั้นหนึ่งโค่นล้มอีกชนชั้นหนึ่ง และเมื่อประเมินตามทัศนะของ แม็กซ์ เวเบอร์ ที่ว่ารัฐเป็นผู้ผูกขาดและใช้ความรุนแรงเหนืออาณาดินแดนหนึ่งๆแล้ว " ความรุนแรง " ก็กลายเป็นวิธีการที่ถูกบังคับให้เลือกเพื่อที่จะบรรลุจุดหมายดังกล่าว   นอกเสียจากจะล้มเลิกความมุ่งหมายของตนเสีย

ไม่ว่าใคร,ชนชั้นอะไร หรือ ยากดีมีจนอย่างไร,ก็ไม่มีใครอยากสูญเสียบาดเจ็บล้มตายทั้งสิ้น    แต่จะชี้ให้เห็นว่า การพิจารณาเรื่องความรุนแรงนั้นต้องไม่มองความรุนแรงโดดๆเหมือนกันไปหมด  แต่ต้องจำแนกอย่างวิภาษ เมื่อประชาชนเดินขบวนอย่างสันติ เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง แล้วกลับมีการใช้ความรุนแรงที่"ปฏิกริยา"เข้าปราบปรามด้วยทหารตำรวจติดอาวุธ ก็ชอบธรรมที่อีกฝ่ายจะใช้ความรุนแรงที่"ปฏิวัติ"เข้าต่อต้าน   ในระยะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ผูกขาดการใช้อำนาจรัฐกดขี่ข่มเหงผู้คนทั้วทั้งแผ่นดินไปสู่การมีสิทธิเสรีของประชาชน,การจัดสรรแบ่งปันที่เป็นธรรมและทั่วถึง   นอกจากความรุนแรงแล้ว  จะมีหมอตำแยไหนมาทำคลอดให้สังคมใหม่ ?

โดยธรรมชาติแล้ว ประชาชนไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง เมื่อพวกเขาตัดสินใจใช้ความรุนแรง ย่อมเกิดจากเงื่อนไขที่แน่นอนเงื่อนไขหนึ่ง    พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในระยะแรกนั้น ก็ดำเนินงานอย่างสันติโดยร่วมมือกับพรรคก๊กมิ่นตั่งซึ่งกุมกลไกรัฐทหารตำรวจในขณะนั้นเพื่อปราบขุนศึกภาคเหนือ  เมื่อ เจียง ไค เช็ค หักหลังการปฏิวัติทำรัฐประหาร เปิดฉากเข่นฆ่าบรรดาผู้รักความเป็นธรรม ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ทำรัฐประหาร 12 เมษายน ค.ศ. 1927 จนถึงวันที่ 31 กรกฏาคม ค.ศ. 1927 ทั่วทั้งประเทศจีนมีผู้ถูกฆ่าตายไปแสนกว่าคน  เฉพาะที่มหานครซั่งไห่แค่วันที่ 12-14 เมษายน  มีกรรมกร นักศึกษา และประชาชนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่าห้าพันคน( ประมาณการภายหลังโดย โจว เอิน ไหล ) ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927 พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงรวบรวมกำลังที่เหลือจากความเสียหายอย่างหนักหน่วง ก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธที่นครหนานชาง มณฑลเจียงซี  

วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1930  ชาวนาหลายพันคนเดินขบวนประท้วงอย่างสงบ ที่เมืองหวิ่น  ในเวียดนามภาคกลาง รัฐบาลเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในขณะนั้น ใช้เครื่องบินยิงกราดและทิ้งระเบิดลงใส่ขบวนแถวผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ  มีผู้เสียชีวิตทันที่กว่าสองร้อยคน  บาดเจ็บเรือนพัน เฉพาะปี1930 -1931 สองปีนี้มีผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิด,ยิงใส่,ตัดหัวเสียบประจานจนถึงทรมานจนตาย ไม่ต่ำกว่าหมื่นคน นำไปสู่การจัดตั้งขบวนการ"เวียตมินห์" ซึ่งขยายตัวไประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนสามารถเอาชนะกองทหารฝรั่งเศสในสมรภูมิ " เดียน เบียน ฟู " อันเลื่องลือ และสถาปนาเวียดนามเหนือเป็นเอกราชได้. ในเวียดนามใต้  การเข่นฆ่าผู้ประท้วงชาวพุทธที่ชุมนุมมือเปล่าบริเวณ เจดีย์" ซาโหล่ย " สังหารพระและประชาชนกว่าร้อย โดยรัฐบาล โง ดินห์ เดียม,   การกวาดล้างจับกุมตลอดจนการบังคับกวาดต้อนชาวนาในชนบทสิบล้านคนเข้าสู่" หมู่บ้านยุทธศาสตร์ " เพื่อแยก " น้ำ " ออกจาก " ปลา " อันนำมาซึ่งความทุกขเวทนาบ้านแตกสาแหรกขาด โดยรัฐบาล เหงียน วัน เทียว    จนถึงจุดสูงสุดของการเข่นฆ่าปราบปรามด้วยการทิ้งระเบิด" ปูพรม " โดยฝูงป้อมบินยักษ์  บี 52 ของกองทัพสหรัฐอเมริกา ลงใส่ฮานอยและเมืองท่าไฮฟอง อย่างต่อเนื่อง ผลของมันคือการปลดปล่อยเวียดนามใต้และรวมประเทศด้วยกำลังอาวุธ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975

ในประเทศไทยเราเอง สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่จะแตกต่างไปจากประเทศอื่น การใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามก็เป็นเหตุให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยซึ่งใช้การต่อสู้อย่างสันติมา 23 ปี ตัดสินใจต่อสู้ด้วยอาวุธในปี พ.ศ. 2508 แม้ขบวนการดังกล่าวจะเพลี่ยงพล้ำจนพ่ายแพ้ไปในช่วง 2530 แต่ก็ด้วยสาเหตุที่ประเมินสถานการณ์การเมืองผิดพลาดทั้งในประเทศและทางสากล มิใช่กำหนดใช้วิธีการที่ผิดพลาด ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกเปิดเผยเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปแล้ว จึงไม่ต้องกล่าวรายละเอียดในที่นี้      ที่ควรให้ความสนใจคือหลังจากนั้น ประชาชนเราก็ " สมาทาน สันติ-อหิงสา " เสมอมา  ชนชั้นปกครองที่กุมกลไกรัฐใช้ความรุนแรงแต่ฝ่ายเดียวมาโดยตลอด ไม่ว่าใน ปี 2535 ,2552 และ 2553 ประชาชนเรายืนหยัดต่อสู้ด้วยความไม่รุนแรงอย่างอดทน ต่อสู้แบบยอมเสียเลือดเสียเนื้อบาดเจ็บล้มตายจนกระทั่งลงคะแนนเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภา นำสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่พอจะเป็นเครื่องแสดงความต้องการของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น  เพียงแค่นี้ ชนชั้นนำที่กุมกลไกรัฐอย่างแท้จริงก็ยังใช้กลไกของพวกเขาพยายามเบียดขับรัฐบาลที่คนส่วนใหญ่เลือกมาทั้งๆที่รัฐบาลนี้ก็ประนีประนอมกับชนชั้นนำดังกล่าวเป็นด้านหลักด้วยซ้ำ  ความพยายามอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทุกกลไกที่ตนมีและโดยไม่เลือกวิธีการของชนชั้นนำกลุ่มนี้ที่จะผลักไสประชาชนให้หมดความอดทน เมื่อใดที่ แม้หนทางรัฐสภาซึ่งพวกซ้ายไร้เดียงสา ประณามว่า " ฉวยโอกาสเอียงขวา " ก็ไม่มีให้เดินแล้ว เท่ากับว่าพวกเขาบังคับให้ประชาชนเราใช้"วิธีอื่น " นั่นเอง

สำหรับประชาชนเรานั้น  มิใช่เอะอะอะไรก็จะใช้ความรุนแรงแต่ถ่ายเดียว ประชาชนเรานั้นรักสันติเสียยิ่งกว่าฝ่ายที่เป็นชนชั้นปกครองเสียอีก จะใช้ความรุนแรงก็ต่อเมื่อฝ่ายชนชั้นปกครองบีบบังคับเสียจนไม่เหลือทางต่อสู้ใดๆ ,ใช้โดยความจำเป็น   รุนแรงหรือสันติ เรามองสิ่งเหล่านี้อย่างสัมพัทธ์  เมื่อสังคมก้าวไปข้างหน้าจนถึงระยะที่ไร้ชนชั้น,ไร้การกดขี่ขูดรีด ทั่วทั้งสังคมมีความเป็นธรรมอย่างสมบูรณ์ มนุษย์ต่อสู้เพียงเพื่อพัฒนาพลังการผลิต(เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์)เมื่อนั้นความรุนแรงก็หมดความจำเป็น   วิธีการอันจำเป็นซึ่งกำเนิดจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์นี้ ก็จะดับสลายไปในประวัติศาสตร์เอง  ทัศนะต่อความรุนแรงของประชาชนเรา เรามองมันอย่างคลี่คลายขยายตัว ไม่ใช่โดดเดี่ยวและหยุดนิ่ง เช่นนี้

รุนแรง หรือไม่  กล่าวสำหรับประชาชนแล้ว เป็นไปตาม " กาละ " และ " เทศะ " อันเป็นเงื่อนไขประวัติศาสตร์  สิ่งเหล่านี้ประชาชนเราคิดและไตร่ตรองอย่างดีจนตกผลึก จึงมีความหมายแน่นอน   มิใช่กล่าวลอยๆเพียงแค่ประดับปากให้ดูสวยงามเท่านั้น

-----------------------------------------------------

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความรุนแรงที่ปฏิวัติ:โต้พวกเพ้อเจ้อ

Posted: 21 Oct 2012 07:42 AM PDT

จะใช้ความรุนแรงหรือไม่ ผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมต้องเลือกให้เหมาะสมกับ กาละ และ เทศะ  เพราะความรุนแรงเป็นวิธีการ,ไม่ใช่จุดหมาย ในเมื่อจุดหมายคือแค่ให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง,ได้เป็นรัฐบาล การใช้ความรุนแรงไม่เพียงแต่จะไม่คุ้มค่าเท่านั้น แต่อาจจะเสียหายถึงขั้นผู้ใช้ไม่มีแผ่นดินจะอยู่ก็ได้  แต่ถ้าจุดหมายคือการเปลี่ยนแปลงระบอบสังคม,ชนชั้นหนึ่งโค่นล้มอีกชนชั้นหนึ่ง และเมื่อประเมินตามทัศนะของ แม็กซ์ เวเบอร์ ที่ว่ารัฐเป็นผู้ผูกขาดและใช้ความรุนแรงเหนืออาณาดินแดนหนึ่งๆแล้ว " ความรุนแรง " ก็กลายเป็นวิธีการที่ถูกบังคับให้เลือกเพื่อที่จะบรรลุจุดหมายดังกล่าว   นอกเสียจากจะล้มเลิกความมุ่งหมายของตนเสีย

ไม่ว่าใคร,ชนชั้นอะไร หรือ ยากดีมีจนอย่างไร,ก็ไม่มีใครอยากสูญเสียบาดเจ็บล้มตายทั้งสิ้น    แต่จะชี้ให้เห็นว่า การพิจารณาเรื่องความรุนแรงนั้นต้องไม่มองความรุนแรงโดดๆเหมือนกันไปหมด  แต่ต้องจำแนกอย่างวิภาษ เมื่อประชาชนเดินขบวนอย่างสันติ เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง แล้วกลับมีการใช้ความรุนแรงที่"ปฏิกริยา"เข้าปราบปรามด้วยทหารตำรวจติดอาวุธ ก็ชอบธรรมที่อีกฝ่ายจะใช้ความรุนแรงที่"ปฏิวัติ"เข้าต่อต้าน   ในระยะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ผูกขาดการใช้อำนาจรัฐกดขี่ข่มเหงผู้คนทั้วทั้งแผ่นดินไปสู่การมีสิทธิเสรีของประชาชน,การจัดสรรแบ่งปันที่เป็นธรรมและทั่วถึง   นอกจากความรุนแรงแล้ว  จะมีหมอตำแยไหนมาทำคลอดให้สังคมใหม่ ?

โดยธรรมชาติแล้ว ประชาชนไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง เมื่อพวกเขาตัดสินใจใช้ความรุนแรง ย่อมเกิดจากเงื่อนไขที่แน่นอนเงื่อนไขหนึ่ง    พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในระยะแรกนั้น ก็ดำเนินงานอย่างสันติโดยร่วมมือกับพรรคก๊กมิ่นตั่งซึ่งกุมกลไกรัฐทหารตำรวจในขณะนั้นเพื่อปราบขุนศึกภาคเหนือ  เมื่อ เจียง ไค เช็ค หักหลังการปฏิวัติทำรัฐประหาร เปิดฉากเข่นฆ่าบรรดาผู้รักความเป็นธรรม ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ทำรัฐประหาร 12 เมษายน ค.ศ. 1927 จนถึงวันที่ 31 กรกฏาคม ค.ศ. 1927 ทั่วทั้งประเทศจีนมีผู้ถูกฆ่าตายไปแสนกว่าคน  เฉพาะที่มหานครซั่งไห่แค่วันที่ 12-14 เมษายน  มีกรรมกร นักศึกษา และประชาชนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่าห้าพันคน( ประมาณการภายหลังโดย โจว เอิน ไหล ) ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927 พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงรวบรวมกำลังที่เหลือจากความเสียหายอย่างหนักหน่วง ก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธที่นครหนานชาง มณฑลเจียงซี  

วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1930  ชาวนาหลายพันคนเดินขบวนประท้วงอย่างสงบ ที่เมืองหวิ่น  ในเวียดนามภาคกลาง รัฐบาลเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในขณะนั้น ใช้เครื่องบินยิงกราดและทิ้งระเบิดลงใส่ขบวนแถวผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ  มีผู้เสียชีวิตทันที่กว่าสองร้อยคน  บาดเจ็บเรือนพัน เฉพาะปี1930 -1931 สองปีนี้มีผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิด,ยิงใส่,ตัดหัวเสียบประจานจนถึงทรมานจนตาย ไม่ต่ำกว่าหมื่นคน นำไปสู่การจัดตั้งขบวนการ"เวียตมินห์" ซึ่งขยายตัวไประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนสามารถเอาชนะกองทหารฝรั่งเศสในสมรภูมิ " เดียน เบียน ฟู " อันเลื่องลือ และสถาปนาเวียดนามเหนือเป็นเอกราชได้. ในเวียดนามใต้  การเข่นฆ่าผู้ประท้วงชาวพุทธที่ชุมนุมมือเปล่าบริเวณ เจดีย์" ซาโหล่ย " สังหารพระและประชาชนกว่าร้อย โดยรัฐบาล โง ดินห์ เดียม,   การกวาดล้างจับกุมตลอดจนการบังคับกวาดต้อนชาวนาในชนบทสิบล้านคนเข้าสู่" หมู่บ้านยุทธศาสตร์ " เพื่อแยก " น้ำ " ออกจาก " ปลา " อันนำมาซึ่งความทุกขเวทนาบ้านแตกสาแหรกขาด โดยรัฐบาล เหงียน วัน เทียว    จนถึงจุดสูงสุดของการเข่นฆ่าปราบปรามด้วยการทิ้งระเบิด" ปูพรม " โดยฝูงป้อมบินยักษ์  บี 52 ของกองทัพสหรัฐอเมริกา ลงใส่ฮานอยและเมืองท่าไฮฟอง อย่างต่อเนื่อง ผลของมันคือการปลดปล่อยเวียดนามใต้และรวมประเทศด้วยกำลังอาวุธ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975

ในประเทศไทยเราเอง สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่จะแตกต่างไปจากประเทศอื่น การใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามก็เป็นเหตุให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยซึ่งใช้การต่อสู้อย่างสันติมา 23 ปี ตัดสินใจต่อสู้ด้วยอาวุธในปี พ.ศ. 2508 แม้ขบวนการดังกล่าวจะเพลี่ยงพล้ำจนพ่ายแพ้ไปในช่วง 2530 แต่ก็ด้วยสาเหตุที่ประเมินสถานการณ์การเมืองผิดพลาดทั้งในประเทศและทางสากล มิใช่กำหนดใช้วิธีการที่ผิดพลาด ข้อเท็จจริงเหล่านี้ถูกเปิดเผยเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปแล้ว จึงไม่ต้องกล่าวรายละเอียดในที่นี้      ที่ควรให้ความสนใจคือหลังจากนั้น ประชาชนเราก็ " สมาทาน สันติ-อหิงสา " เสมอมา  ชนชั้นปกครองที่กุมกลไกรัฐใช้ความรุนแรงแต่ฝ่ายเดียวมาโดยตลอด ไม่ว่าใน ปี 2535 ,2552 และ 2553 ประชาชนเรายืนหยัดต่อสู้ด้วยความไม่รุนแรงอย่างอดทน ต่อสู้แบบยอมเสียเลือดเสียเนื้อบาดเจ็บล้มตายจนกระทั่งลงคะแนนเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภา นำสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่พอจะเป็นเครื่องแสดงความต้องการของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น  เพียงแค่นี้ ชนชั้นนำที่กุมกลไกรัฐอย่างแท้จริงก็ยังใช้กลไกของพวกเขาพยายามเบียดขับรัฐบาลที่คนส่วนใหญ่เลือกมาทั้งๆที่รัฐบาลนี้ก็ประนีประนอมกับชนชั้นนำดังกล่าวเป็นด้านหลักด้วยซ้ำ  ความพยายามอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทุกกลไกที่ตนมีและโดยไม่เลือกวิธีการของชนชั้นนำกลุ่มนี้ที่จะผลักไสประชาชนให้หมดความอดทน เมื่อใดที่ แม้หนทางรัฐสภาซึ่งพวกซ้ายไร้เดียงสา ประณามว่า " ฉวยโอกาสเอียงขวา " ก็ไม่มีให้เดินแล้ว เท่ากับว่าพวกเขาบังคับให้ประชาชนเราใช้"วิธีอื่น " นั่นเอง

สำหรับประชาชนเรานั้น  มิใช่เอะอะอะไรก็จะใช้ความรุนแรงแต่ถ่ายเดียว ประชาชนเรานั้นรักสันติเสียยิ่งกว่าฝ่ายที่เป็นชนชั้นปกครองเสียอีก จะใช้ความรุนแรงก็ต่อเมื่อฝ่ายชนชั้นปกครองบีบบังคับเสียจนไม่เหลือทางต่อสู้ใดๆ ,ใช้โดยความจำเป็น   รุนแรงหรือสันติ เรามองสิ่งเหล่านี้อย่างสัมพัทธ์  เมื่อสังคมก้าวไปข้างหน้าจนถึงระยะที่ไร้ชนชั้น,ไร้การกดขี่ขูดรีด ทั่วทั้งสังคมมีความเป็นธรรมอย่างสมบูรณ์ มนุษย์ต่อสู้เพียงเพื่อพัฒนาพลังการผลิต(เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์)เมื่อนั้นความรุนแรงก็หมดความจำเป็น   วิธีการอันจำเป็นซึ่งกำเนิดจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์นี้ ก็จะดับสลายไปในประวัติศาสตร์เอง  ทัศนะต่อความรุนแรงของประชาชนเรา เรามองมันอย่างคลี่คลายขยายตัว ไม่ใช่โดดเดี่ยวและหยุดนิ่ง เช่นนี้

รุนแรง หรือไม่  กล่าวสำหรับประชาชนแล้ว เป็นไปตาม " กาละ " และ " เทศะ " อันเป็นเงื่อนไขประวัติศาสตร์  สิ่งเหล่านี้ประชาชนเราคิดและไตร่ตรองอย่างดีจนตกผลึก จึงมีความหมายแน่นอน   มิใช่กล่าวลอยๆเพียงแค่ประดับปากให้ดูสวยงามเท่านั้น

-----------------------------------------------------

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: เศรษฐศาสตร์ชันสูตรว่าด้วยการประมูล 3G พิสดาร

Posted: 21 Oct 2012 05:47 AM PDT

 
 
 
ปุจฉา: การประมูล 3G ในต่างประเทศกับในประเทศไทยต่างกันอย่างไร?
 
วิสัชนา: ในต่างประเทศ รัฐออกแบบการประมูลให้เอกชนแข่งขันกัน เพราะรู้ว่าเอกชนจะพยายามประมูลต่ำ
            ในประเทศไทย รัฐออกแบบการประมูลไม่ให้เอกชนแข่งขันกัน แต่เอกชนกลับพยายามประมูลสูง!!
 
 
การประมูล 3G ของ กสทช. จบลงไปแล้ว พร้อมกับทิ้งความเสียหาย 1.6 หมื่นล้านบาท ให้ตกกับประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ในขณะที่ผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ "ลาภลอย" เป็นกำไรแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท เพราะราคาคลื่นที่ประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินมากมาย
 
ทันที่ที่จบการประมูล ร่องรอยความผิดปรกติก็เริ่มปรากฏมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากข่าวเสียงข้างน้อยใน กสทช. ตลอดจน ผู้บริหารกระทรวงการคลังต่างออกมาท้วงติงว่าการประมูลนี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ หรือ "กฎหมายฮั้ว" แม้กระทั่งที่ปรึกษาประธาน กทค. เองก็ยังทำหนังสือเสนอล้มประมูล เพื่อไม่ให้ กสทช. ต้องเสี่ยงคุกตะราง
 
อย่างไรก็ตาม กสทช. กลับเร่งเดินหน้าออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการทั้งสามรายอย่างรีบร้อน และแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อผู้ที่ท้วงติงทั้งหลาย ในขณะที่ สื่อมวลชนบางส่วนก็ประสานเสียงไปทางเดียวกับ กสทช. โดยพยายามเบี่ยงเบนประเด็นให้ประชาชนไปสนใจเรื่องอื่น เช่น อัตราค่าบริการ 3G ในอนาคต โดยไม่พยายามสืบเสาะหาความผิดปรกติในการประมูลที่เกิดขึ้นเลย
 
ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอใช้วิชา "เศรษฐศาสตร์ชันสูตร" (forensic economics) มาชวนท่านผู้อ่านช่วยกันวิเคราะห์ว่า มีความผิดปรกติในการเคาะราคาในการประมูลอย่างไร และความผิดปรกติดังกล่าวน่าจะเกิดจากอะไร
คำถามที่ต้องการคำตอบ
 
ดังที่ทราบกัน ในการประมูลครั้งนี้ AIS เสนอราคาสูงสุด 14,625 ล้านบาท ส่วน DTAC และ TRUE เสนอราคาเท่ากันที่ 13,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำในการประมูล ผลก็คือทำให้รัฐได้รายได้รวมทั้งสิ้นเพียง 41,625 ล้านบาท หรือสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.8% เท่านั้น และทำให้มูลค่าการประมูล 3G ในประเทศไทยต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
 
คำถามที่เกิดขึ้นกับการประมูลมี 2 คำถาม คำถามแรกคือ ทำไมการประมูลจึงล้มเหลวจนสร้างความเสียหายต่อประชาชนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท? คำถามนี้ตอบง่ายมากว่า การประมูลล้มเหลวเพราะ กสทช. ออกแบบให้การประมูลแทบไม่เหลือการแข่งขันเลย จึงทำให้ผู้เข้าประมูลทุกรายมั่นใจได้ว่า จะได้คลื่น 3G ไปตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องแข่งขันกันเสนอราคามาก
 
คำถามที่สองซึ่งที่น่าสนใจกว่า ก็คือ ทำไมการประมูลยังมีการแข่งขันเหลืออยู่ ทั้งๆ ที่กฎการประมูลถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดการแข่งขัน? โดยมีคำถามที่เกี่ยวเนื่องกันคือ AIS ทำไมจึงประมูลสูงกว่ารายอื่นมาก?
คำตอบที่เป็นไปได้
 
เหตุที่ AIS เสนอราคาสูงกว่ารายอื่น ก็น่าจะเพราะอยากได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน โดยเลือกที่จะอยู่ติดกับย่านของ TOT ซึ่งทำให้ทั้งสองรายสามารถนำเอาคลื่นของตนมารวมกันเพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ในขณะที่ DTAC และ TRUE ไม่ได้สนใจที่จะเลือกย่านความถี่ไหนเป็นพิเศษ ทั้งสองรายจึงประมูลต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้คือ ที่ราคาตั้งต้น การที่ AIS เสนอราคาสูงกว่ารายอื่นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ราคาที่ AIS ประมูลนั้นสูงกว่ารายอื่นมากเกินความจำเป็น
 
หลักเบื้องต้นในการประมูลก็คือ ในกรณีที่มีของชิ้นเดียว ผู้เสนอราคาสูงสุด จะได้รับของในการประมูลนั้นไป ส่วนในกรณีที่มีของหลายชิ้น เช่นในการประมูล 3G ครั้งนี้ ผู้เสนอราคาสูงสุดจะได้สิทธิในการเลือกของก่อน ในทั้งสองกรณี ราคาที่เสนอสูงสุดไม่จำเป็นต้องสูงมาก แค่ให้มากกว่าผู้ได้อันดับสองเล็กน้อย เช่น เฉือนกันสลึงเดียว บาทเดียว หรือในกรณีนี้เฉือนกันเพียง 225 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าต่ำสุดในการเคาะราคาเพิ่มแต่ละครั้ง ก็เพียงพอแล้ว
 
เราจึงควรถามว่า เหตุใด AIS จึงเสนอราคาประมูลมากกว่า DTAC และ TRUE ถึง 1,125 ล้านบาท ทั้งที่เสนอสูงกว่าเพียง 225 ล้านบาท ก็ทำให้ได้เป็นผู้ชนะประมูลตามที่ต้องการแล้ว ทำไม AIS ต้องจ่ายเพิ่มโดยไม่จำเป็นถึง 900 ล้านบาท?
 
เมื่อวิเคราะห์ดูการเคาะราคาในการประมูล เราจะพบว่า ราคาการประมูลของ AIS ที่สูงขึ้นเกิดใน 2 กรณีคือ หนึ่ง เมื่อมีผู้ประกอบการรายอื่น เลือกสล็อตความถี่เดียวกันกับที่ AIS เลือก ก็พบว่ามีการแข่งราคากัน ทั้งที่แต่ละฝ่ายสามารถหลบไปหาสล็อตอื่นที่ว่างอยู่ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าสำหรับทั้งคู่ เพราะไม่ต้องเพิ่มราคาในการประมูลเลย (เปรียบเสมือนการย้ายไปหาเก้าอี้ที่ว่างอยู่ในการเล่นเก้าอี้ดนตรี แทนที่จะต้องสู้เพื่อแย่งเก้าอี้ตัวเดียวกัน) และ สอง AIS เสนอราคาสูงขึ้นเองในบางสล็อต ทั้งที่ไม่มีคู่แข่งเลย โดยการเสนอราคาสูงขึ้นเพื่อแข่งกับตนเองดังกล่าว เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นของการประมูล ซึ่งไม่สามารถอ้างได้ว่า ทำไปเพื่อให้มั่นใจว่าชนะรายอื่น เพราะหากจำเป็นต้องเสนอราคาสูงขึ้นพื่อให้ตนเป็นผู้ประมูลสูงสุด ก็ยังสามารถทำในรอบท้ายๆ ได้
 
การกระทำของผู้ประกอบการทั้งสามราย โดยเฉพาะ AIS จึงเป็นเรื่องที่แปลกพิสดารมาก เพราะทำให้ต้องเสียเงินประมูลมากเกินความจำเป็น ซึ่งขัดกับผลประโยชน์ของบริษัทเอง
 
เราอาจอธิบายพฤติกรรมที่แปลกพิสดารนี้ได้หลายทาง หนึ่ง ผู้บริหาร AIS ที่เข้าร่วมประมูลมีสติปัญญาที่จำกัดมาก จนทำให้ตัดสินใจผิดพลาด ทำให้ผู้ถือหุ้นเสียหาย ซึ่งสมควรถูกกรรมการบริษัทลงโทษ ปลดออกจากตำแหน่งเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต หรือควรถูกผู้ถือหุ้นฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย สอง การยื่นราคาสูงเกินจำเป็นอาจเกิดขึ้นจากความพยายาม "จัดฉาก" ของบางฝ่าย เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่า การประมูลมีการแข่งขัน ทั้งที่ในความเป็นจริง การประมูลนี้ไม่สามารถมีการแข่งขันจริงได้เลย เพราะถูกออกแบบไม่ให้มีการแข่งขันมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ DTAC และ TRUE ต่างต้องการได้คลื่นความถี่ในราคาต่ำที่สุด โดยไม่สนใจที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อนเลย การแข่งขันใดๆ ที่เกิดขึ้นจึงน่าจะเป็น "การแข่งขันเทียม" เพื่อสร้างภาพเท่านั้น
 
ข้อสันนิษฐานใดจะเป็นจริง หรือจะมีข้อสันนิษฐานอื่นๆ อีก ก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณของท่านผู้อ่าน แต่ผู้เขียนคิดว่า เราน่าจะหาข้อสรุปที่แท้จริงได้ไม่ยากนัก หากมีการตรวจสอบอย่างจริงจังโดยหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะ ปปช.
 
ก่อนการประมูล ผู้เขียนเคยคิดว่า พิสดารมากแล้วที่ กสทช. ใจกล้าออกแบบการประมูลให้แทบไม่มีการแข่งขัน โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายเลย แต่หลังการประมูล ผู้เขียนกลับพบว่า ที่พิสดารยิ่งกว่าก็คือ การที่ผู้ประกอบการเอกชนพยายามหาช่องทางในการแข่งขันกันจนได้ ทั้งที่กติกาไม่เอื้อต่อการแข่งขันเลย!
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความเป็นไปในเกาหลีเหนือ: สัมภาษณ์สุนัย จุลพงศธร

Posted: 21 Oct 2012 01:26 AM PDT

สัมภาษณ์ "สุนัย จุลพงศธร" ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเพิ่งนำคณะกรรมาธิการฯ ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (สปป.เกาหลี) หรือเกาหลีเหนือ ระหว่างวันที่ 28 กันยายน ถึง 1 ตุลาคมที่ผ่านมา (ข่าวก่อนหน้านี้) ทั้งนี้ไม่บ่อยนักที่จะมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างสองประเทศ โดยไทยและเกาหลีเหนือสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันมาตั้งแต่ปี 2518 ทางฝ่ายเกาหลีเหนือได้ยกระดับสำนักงานผู้แทนการค้าในกรุงเทพฯ ที่ตั้งในปี 2522 เป็นสถานเอกอัครราชทูต ขณะที่ไทยใช้สถานเอกอัครราชทูตที่ปักกิ่ง ดูแลความสัมพันธ์กับเปียงยาง

ประตูโปตงมุน ประตูเมืองโบราณตั้งอยู่ด้านทางทิศตะวันตกของเมือง ด้านหลังประตูคือย่านมันซูแด (ที่มา: เฟซบุคของสุนัย จุลพงศธร)

หอคอยจูเช สัญลักษณ์ของลัทธิจูเช ซึ่งเน้นการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ สร้างในโอกาสที่คิม อิล ซุง ผู้ก่อตั้งประเทศอายุครบ 70 ปี ในปี 2525 ที่ฐานของหอคอยมีรูปปั้นกรรมกร ชาวนา และปัญญาชน ซึ่งพรรคแรงงานเกาหลีถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ (ที่มา: เฟซบุคของสุนัย จุลพงศธร)

เยี่ยมชมฟาร์มแทดองกัง (ที่มา: เฟซบุคของสุนัย จุลพงศธร)

เข้าพบคิม ยอง อิล เลขาธิการสมัชชาประชาชน ที่ทำการพรรคแรงงานเกาหลี (ที่มา: เฟซบุคของสุนัย จุลพงศธร)

เมื่อถามเรื่องความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ทำให้เห็นบรรยากาศการเตรียมพร้อมทางทหารระหว่างที่ไปเยือนหรือไม่ สุนัยตอบว่า "เกาหลีเหนือและใต้มีประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งมานาน ใครดูหนังเกาหลีก็รู้ ปัจจุบันเขาก็ยังอยู่ในภาวะการณ์เช่นนั้น หลังสงครามโลกยังดำรงเป็นสองประเทศอยู่ และในอดีตเดี๋ยวก็เป็นเมืองขึ้นจีน เดี๋ยวก็เป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่น นอกจากนี้ลักษณะภูมิประเทศอยู่ในสามมหาอำนาจใหญ่คือจีน รัสเซีย ญี่ปุ่น ทำให้เขามีระบบการป้องกันตัวเองที่เรียกว่า "ลัทธิจูเช" คือพึ่งตนเองทั้งการทหาร เศรษฐกิจ และการเมือง เขาบอกว่าเกาหลีใต้มีทหารอเมริกันอยู่ ทำให้เขาอยู่ภาวะที่ต้องเตรียมพร้อม เห็นภาวะการเตรียมพร้อมไหม เข้าใจว่าเขาเตรียมพร้อมเป็นปกติอยู่แล้ว"

ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ ซึ่งเคยไปเยือนเปียงยางเมื่อ 10 ปีก่อน และเคยเห็นหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนามเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านหลังสิ้นสุดสงครามเย็น กล่าวด้วยว่าในการมาเยือนเปียงยางรอบล่าสุดนี้ "ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในอิริยาบถของสิ่งก่อสร้าง และชีวิตของประชาชนในเปียงยาง แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงถ้าผมพูดในสายตาตะวันตก ยังไม่มากนักในชีวิตธุรกิจ เพราะเท่าที่ดูชีวิตธุรกิจ ภาคเอกชนยังไม่มากนัก ความสับสนของผู้คนในการเดินทาง ท่านจะเห็นว่ามหานครทั่วไปตื่นเช้าขึ้นมามีการเดินทาง แต่ประเทศเขาไม่มี แต่มีความเปลี่ยนแปลงคือเรื่องอาคารสถานที่ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เมืองจำลอง ซึ่งผมให้ความสำคัญ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดของเมืองจำลอง แต่นั่นเป็นสัญลักษณ์ว่าเขาเตรียมเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยว เขารวมสถานที่สำคัญๆ มาอยู่ด้วยกัน เพื่อให้คนมาท่องเที่ยวมาดูได้ในเวลาอันสั้น อย่างที่ทำที่พัทยาบ้านเรา แม้กระทั่งสวนสนุก"

"เห็นความพยายามในการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในเชิงวัตถุ ในเชิงชีวิตยังไม่มากนัก อาจจะเพราะยังเป็นรัฐสวัสดิการร้อยเปอร์เซ็นต์ มีการวางแผนเรื่องที่พักอาศัยให้ใกล้กับที่ทำงาน ซึ่งต่างจากกรุงเทพฯ ลอนดอน เรายากที่จะหาบ้านอยู่ใกล้ที่ทำงาน ที่นั่นเขารวมศูนย์การวางแผนจากส่วนกลางทำให้การจัดการโดยรัฐง่ายขึ้น ทำให้ไม่เห็นความสับสนของการเดินทางของชีวิตคนเปียงยางในยามเช้า"

ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สุนัยกล่าวว่า ที่เกาหลีเหนือเริ่มมีตลาด แต่ตลาดส่วนใหญ่ที่เห็นยังเป็นตลาดโดยรัฐ เขากล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะกระทบกับโครงสร้างทางการเมือง ทั้งนี้รัสเซีย กับจีน เป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์และเป็นประเทศแรกๆ ที่ปฏิรูปทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตในขณะนั้นเกิดความผิดพลาดในการเข้าสู่กลไกตลาด ก็ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย ขณะที่จีนเปลี่ยนแปลงอย่างระมัดระวัง โดยระบบพรรคเดียวยังอยู่ แต่เศรษฐกิจเปลี่ยนแล้ว เริ่มจากทุนโดยรัฐ แล้วค่อยๆ ขยายให้ทุนเอกชน ทั้งนี้จีนมีความใกล้ชิดกับเกาหลีเหนือ และเกาหลีเหนืออาจมองเห็นจีนเป็นต้นแบบหนึ่งในการปรับเปลี่ยน

ขณะที่สภาพปัจจุบันของเกาหลีเหนือเองยังไม่เข้าสู่ระบบกลไกตลาดเต็มที่ "จะเห็นได้ในเกาหลีเหนืออยู่ว่าการซื้อขายสินค้า ราคาข้าว ราคาอาหารไม่ใช่กลไกตลาด ดังนั้นเงินเดือนของพนักงานที่ได้รับกับรัฐ จึงบอกไม่ได้ว่าได้น้อยหรือได้มาก เพราะเงินเดือนสัมพันธ์กับการซื้อขายราคาถูก ราคาข้าว ราคาอาหารไม่แพงสำหรับคนเกาหลี ที่อยู่ในระบบรัฐสวัสดิการ"

"ผมเห็นความระมัดระวังของการปรับเปลี่ยนเพื่อไม่ให้กระทบการเมือง ถ้ามองอย่างหลักรัฐศาสตร์จริงๆ ทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เราก็อยู่ในโครงสร้างการเมืองที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พอจะเป็นทุนเสรี ก็เกิดความขัดแย้ง เกิดรัฐประหาร นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง" สุนัยกล่าว

สุนัยเชื่อว่าเกาหลีเหนือเองก็ต้องการเปลี่ยน แต่การเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเขาจากรูปแบบหนึ่งสู่อีกรูปแบบหนึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะมีตัวอย่างที่พังแล้วอย่างเช่น รัสเซีย ส่วนตัวอย่างที่สำเร็จก็มีคือจีน นอกจากนี้เกาหลีเหนือยังมีสิ่งที่ท้าทาย ที่จีนและรัสเซีย ไม่มีก็คือยังมีเรื่องที่เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ดำรงการเผชิญหน้าทางทหารกันอยู่ จึงต้องมองการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้าใจ จึงจะรู้เนื้อแท้ว่าเขาต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลง

สุนัยกล่าวถึงสิ่งที่ได้จากการไปเยือนเกาหลีเหนือว่า "ได้เรียนรู้ความเป็นจริงว่า งานการต่างประเทศของรัฐบาลยังไม่ดีเท่าไหร่" โดยเขายกตัวอย่างว่าก่อนการไปเยือนกรุงเปียงยาง มีการเชิญผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประเทศมาให้ข้อมูลและมีข้อมูลผิด เช่น เรื่องห้ามนำโทรศัพท์เข้าไป โดยทางการเกาหลีเหนือจะให้เก็บไว้ในล็อกเกอร์สนามบิน ปรากฏว่าเมื่อไปถึงจริงๆ ก็นำเข้าไปได้ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ ทั้งนี้เกาหลีเหนืออยู่ระหว่างการจัดระบบการสื่อสาร  และมีบริษัทสื่อสารบางแห่งก็เข้าไปแล้วคือบริษัทล็อกซ์เลย์ แต่ขณะนี้ยังจัดระบบโรมมิ่งไปต่างประเทศไม่ได้ เรื่องกล้องถ่ายรูปก็สามารถนำเข้าไปได้ เรื่องระบบเงินก็ได้รับข้อมูลว่าควรใช้เงินยูโร ปรากฏว่าสามารถใช้เงินสกุลดอลลาร์ได้ ในขณะที่เราเข้าใจว่า สปป.เกาหลีไม่ถูกกับสหรัฐอเมริกาแต่ปรากฏว่าสามารถใช้เงินดอลลาร์ได้

อีกเรื่องที่เป็นเรื่องโอกาสทางเศรษฐกิจ สุนัยกล่าวว่า "ประเทศไทยต้องดูตลาดของประเทศแบบนี้ ผมไปเอเชียกลาง ไปคาซัคสถานแล้ว ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่ไทยต้องมุ่งเน้นไป แต่น่าเสียดายพอประเทศไหนที่ปัญหา ขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา เราก็รู้สึกเหมือนจะอ่อนแรงไปเอง ซึ่งอยากจะเรียนว่าในประเทศที่ตลาดเปิดแล้ว มีการแข่งขันเยอะมาก ทุนที่แข่งขันได้มีแต่ทุนขนาดใหญ่ แต่อย่าลืมว่าประเทศไทยมีทุนขนาดกลางและทุนขนาดเล็กอีกซึ่งมีความเข้มแข็งไม่น้อย เรามีโรงสีเต็มเมืองไทย เชื่อไหมครับอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่มีกระบวนการผลักดันให้ลงทุนต่างประเทศ อย่างกัมพูชาติดกันแค่นี้ยังขาดแคลนโรงสี ขาดโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเยอะแยะ"

"ผมคิดว่าประเทศ สปป.เกาหลี เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะผลักทุนขนาดกลางและทุนขนาดเล็กของไทยเข้าไปมีบทบาท ไปลงทุนและแลกเปลี่ยนประโยชน์ร่วมกัน อย่างช่วงก่อนหน้านี้ มีบริษัททุนของไทยเข้าไปลงทุนเบียร์ลาวกับเขา วันนี้เบียร์ลาวก็ประสบความสำเร็จแล้ว ที่สำคัญก็คือลาว เวียดนาม กัมพูชาเปิดประเทศใหม่ๆ ช่วงแรกทุนขนาดใหญ่จากตะวันตกจะไม่เข้าเหมือนกัน เขามีปัญหาเรื่องระบบการจัดการ ที่จะต้องเป็นระบบทั้งระบบภาษี ระบบบัญชี ซึ่งทุนขนาดเล็กของไทยน่าจะสู้ได้ น่าจะเป็นกองหน้าบุกไปยึดหัวหาดก่อน แต่เราก็ไม่ได้ทำ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: นิยายเรื่อง “เสรีภาพ”

Posted: 21 Oct 2012 01:15 AM PDT

ในที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ม.112 แห่งหนึ่ง (ขออภัยที่ไม่อาจระบุสถานที่ได้เนื่องจากเป็นการ "จัดประชุมเป็นการภายใน") ผมแสดงความเห็นว่า "หลายคนเข้าใจผิดว่าสังคมการเมืองบ้านเรามีเสรีภาพ แต่จริงๆ แล้วภายใต้การบล็อกเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expressions) ประชาชนไม่เคยมีเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนอยู่จริง"

ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจาก "ระบบยุติธรรมไทย" คนหนึ่งแสดงความเห็นว่า "บางทีนักวิชาการก็พูดอะไรไปตามความรู้สึก ความเชื่อของตัวเอง แล้วหลายๆ ครั้งมันก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมได้เหมือนกัน จริงๆ ถ้าพูดอย่างเป็นวิชาการ เป็นความรู้ มันต้องไปดูข้อเท็จจริงว่ากฎหมายเขาบัญญัติไว้อย่างไร"  จากนั้นก็มีการโต้แย้งกันพอหอมปากหอมคอ

ฟังความเห็นของเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแล้ว ทำให้ผมนึกถึงที่อาจารย์สมภาร พรมทา ตั้งข้อสังเกตไว้ในบทความเรื่อง "นิติปรัชญา" (วารสารปัญญา วารสารออนฺไลน์) ประมาณว่า "ผู้พิพากษาหรือคนที่อยู่ในระบบยุติธรรมบ้านเราส่วนมากอาจเก่งเรื่องตัวบทกฎหมาย เทคนิคการใช้กฎหมาย แต่อาจไม่ได้ศึกษาดีพอ หรือไม่ค่อยได้อ่านงานประเภทนิติปรัชญาที่อภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาเรื่องหลักความยุติธรรม อันเป็นหลักการเบื้องหลังของการบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรม"

แน่นอนว่า หลักการเบื้องหลังของการบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมายที่ถือว่าเป็น "หลักการพื้นฐาน" ที่ขาดไม่ได้ของสังคมประชาธิปไตยคือ "หลักเสรีภาพ" (the principle of freedom) ผมไม่แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่จากระบบความยุติธรรมคนนั้นเข้าใจหลักเสรีภาพว่าอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ในบ้านเราคนในวงการต่างๆ จำนวนไม่น้อยยัง (แสดงออกเสมือน) เข้าใจว่า ตนเองมีเสรีภาพในเรื่องต่างๆ ทว่าจริงๆ แล้วอาจไม่ใช่ ดังคำอธิบายของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ข้างล่างนี้

อ้อ ผมควรกล่าวด้วยว่า (ผมเขียนไว้ที่อื่นอยู่ แต่อันนี้ ไม่ได้เขียนไป) คำว่า "เสรีภาพ" ผมนิยาม แบบ รุสโซ - ค้านท์ คือ autonomy หรือ self-determination ดังนั้น ประเด็นทีพูดถึงคือ การมีอำนาจหรือความสามารถทีจะ "กำหนดได้เอง" ว่าจะทำเรื่องอะไร อย่างไร

.............

เรืองทีกำลังอธิบายนี้ ความจริง มันเป็น "บรรทัดฐาน" ไม่เพียงแต่ วิชาการ หรือ sciences ในความหมายสมัยใหม่ อันทีจริง เป็นบรรทัดฐานของชีวิตการเมือง สังคม ของ ความเป็นสมัยใหม่ด้วย

อย่างทีมีการพูดๆกัน เรื่อง "รักในหลวง" ทีผมอธิบายมานานแล้วว่า นี่ไมใช่ "สิทธิ" คนทีรักในหลวง ทีแสดงออกซึงความรักนั้น แท้จริง ก็ไมใช่ กำลังแสดงสิทธิของตัวเองออกมา

เพราะ สิทธิ หมายถึง "อำนาจทีจะทำอย่างอื่นได้ (แต่เลือกทำอย่างที่ทำ)" หรือ the power to do otherwise เช่น ถ้าเราสามารถ ทำ (ก) หรือ (ข) ก็ได้ เหมือนๆกัน คือ เลือกได้โดยเสรีแต่ต้น โดยไม่มีข้อจำกัดล่วงหน้า

แล้วเราเลือก (ข) อย่างนี้ แสดงว่า เรากำลังใช้สิทธิ แต่ถ้า ไม่มี choices ให้เลือก (ก) หรือ (ข) แต่แรก การทีเรากระทำ (ข) อันนี้ ไมเรียกว่า กำลังแสดงสิทธิ (หรือ "ความเห็น") ของเรา แต่แรก เพราะเรา ถูกกำหนด มาแต่แรก (ไม่มี autonomy หรือ SELF-determination แต่แรก)

เรือง "วิชาการ" ทีอธิบายข้างต้น ก็เหมือนกัน ไอเดีย เดียวกัน คือ ถ้าไม่มีความสามารถทีจะเลือก A ถึง Z ได้เท่าๆ กัน ถ้า A ถูก "บล็อก" ไว้เสียตัวนึง แต่ต้น (IN THE FIRST PLACE) แล้ว การทำ B ถึง Z ไม่ว่าจะอ้างว่า เพราะ "เห็น" ความสำคัญ หรือ เพราะ "มาจากความสนใจ" อะไรแบบนี้ ก็อ้างไม่ได้ และ กิจกรรม ทีทำ (B ถึง Z) ก็อ่างไม่ได้ว่า เป็นกิจกรรม ทีเกิดจากการเลือก หรือ มองเห็นความสำคัญของมันเอง ตามวิจารณญาณของเรา แต่แรก

ผมจึงเขียนไว้ที่ fb ทำนองว่า ใครทีซีเรียส อยากให้งานทีตัวเองทำ ไม่ว่าเรืองอะไร มีความหมายเป็น "วิชาการ" แท้จริง ในแง่เป็นอะไรทีเราเลือกเอง เพราะ มอง "เห็น" ความสำคัญ หรือ เพราะ "เราสนใจ" จริงๆ ก็จะต้องร่วมกันรณรงค์ UN-block เรื่อง A

"เลิก บล้อกเรือ่ง A สิ .... ฉันจะได้ทำ เรื่อง B ถึง Z ได้ อย่างเป็นวิชาการแท้จริง"

(พูดให้เป็นภาษาปรัชญาอีกหน่อย การ un-block เรื่อง A เป็น conditions of possibilities ของการทำ เรื่อง B ถึง Z ให้เป็นกิจกรรมความรู้ที่แท้จริง)

………………………………….

NO FREEDOM, NO SCIENCES ไม่มีเสรีภาพ ก็ไมมี ความรู้ / วิชาการ
กิจกรรมทีเราเห็นอยู่ และอ้างกันวา "วงวิชาการ" จึงเป็นอะไร "ปลอมๆ" คับ

(ที่มา http://prachatai3info/journal/2012/10/43193)

 

"เสรีภาพ" (freedom) ที่ อ.สมศักดิ์พูดถึง หมายถึงเสรีภาพที่เป็น "หลักการสากล" ที่ apply อย่างสากลกับทุกคนได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งหมายถึงเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนนั่นเอง ฉะนั้น เมื่อยึดตามบรรทัดฐานของวิชาการสมัยใหม่ที่ยอมรับกันทั่วไปว่า งานวิชาการต้องเป็นงานที่สร้างขึ้นจากการมีเสรีภาพที่ apply ได้อย่างสากล แต่บ้านเราไม่มีเสรีภาพตามความหมายนี้อยู่จริง งานวิชาการตามบรรทัดฐานของการมีเสรีภาพในความหมายนี้จึงไม่มีอยู่จริง

ผมคิดว่าข้อโต้แย้ง (argument) ของ อ.สมศักดิ์ เป็นข้อโต้แย้งที่มีประโยชน์ต่อวงวิชาการ (ถ้าคิดว่ามี) ในบ้านเรามาก มันไม่ใช่เรื่องที่เราต้องมีปัญหากับ "ท่าทีแบบสมศักดิ์" เลย แต่ปัญหาคือ เรายอมรับความจริงหรือไม่ว่าสิ่งที่เรียกว่างานวิชาการในบานเรานั้นไม่ได้สร้างขึ้นจากการมีเสรีภาพจริง และควรเป็น "ความรับผิดชอบ" หรือเป็น "หน้าที่ที่ต้องทำ" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของ "นักวิชาการ" หรือไม่ที่จะสร้างงาน (ที่ตนถือว่าเป็น) วิชาการที่มีเนื้อหา "ปลดล็อค" ให้สังคมนี้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง (เช่น งานแบบจิตร ภูมิศักดิ์ นิติราษฎร์ เป็นต้น)

การอำพราง หรือสร้าง "นิยาย" ว่า ประชาชนมีเสรีภาพ เป็นเรื่องที่เห็นได้อยู่เสมอ เช่น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่า

"...อีกทั้งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เป็นการทั่วไป ไม่ได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง และไม่ได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคหนึ่งแต่ประการใด เพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และมาตรา 45 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง" (http://www.prachatai.com/journal/2012/1043096)

คำวินิจฉัยนี้สะท้อนให้เห็นความเก่งเรื่องตัวบทกฎหมาย และเทคนิคการใช้กฎหมายอย่างชัดเจน แต่ไม่ได้สะท้อน "ความเข้าใจ" หรือ "การเคารพคุณค่า" ของ "หลักการเบื้องหลัง" ของการบัญญัติกฎหมายในสังคมประชาธิปไตยแต่อย่างใด เช่น ข้อความว่า "...ไม่ได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ…"

ถามว่า "เสรีภาพ" ที่รัฐธรรมนูญรับรองคือเสรีภาพในความหมายใด? คือเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนใช่หรือไม่? ถ้าใช่ เสรีภาพนี้ต้องเป็นหลักการสากลที่ apply กับทุกคนอย่างเท่าเทียมใช่หรือไม่? และถ้าใช่อีก การที่ ม.112 บล็อกไม่ให้สามารถใช้เสรีภาพอย่างสากลกับทุกบุคคลสาธารณะได้ จะบอกว่า ม.112 ไม่กระทบต่อ "สาระสำคัญของเสรีภาพ" ได้อย่างไร ในเมื่อสาระสำคัญของเสรีภาพที่โลกประชาธิปไตยสมัยใหม่เขายอมรับกัน คือความเป็น "หลักการสากล" ที่ใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม

ฉะนั้น ถ้าถือตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็หมายความว่า "ประชาชนมีเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมา" แต่เสรีภาพที่ว่านี้เราต้องเข้าใจว่า "ไม่ใช่เสรีภาพในความหมายที่เป็นหลักการสากลตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน" จึงเท่ากับประชาชนไม่เคยมีเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนอยู่จริง

ที่เราอ้างกันว่า เรากำลังใช้เสรีภาพทางวิชาการ ใช้เสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อมวลชน ใช้เสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบรัฐบาล นักการเมือง ฯลฯ หรือที่สื่อมวลชนประกาศว่า "เสรีภาพของสื่อ คือเสรีภาพของประชาชน" เป็นต้นนั้น ที่จริงแล้วมันไม่ใช่เสรีภาพในความหมายที่เป็นสากลตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนเลย แต่เราทำเสมือนว่าเรามีสิ่งนี้

เราสร้าง "นิยายเสรีภาพ" เรา "หลอกตัวเอง" มาตลอดใช่หรือไม่?

และแล้วปัญหาสำคัญที่สุดคือ "เสรีภาพที่เป็นหลักการสากล คือเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ของการแสวงหาความจริงและความยุติธรรม" แต่ภายใต้ระบบสังคมการเมืองบ้านเราที่ไม่มีเสรีภาพในความหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรายงานวิจัยเรื่อง "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ" ของสถาบันพระปกเกล้า รายงานการสลายการชุมนุมของคณะกกรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รายงานการค้นหาความจริงของ คอป. ฯลฯ รวมถึงรายงานข่าว การถกเถียงในสื่อต่างๆ ย่อมไม่มีทางที่จะให้ภาพ "ความจริง" และ "ความยุติธรรม" อย่างแท้จริงได้เลย

ยิ่งกว่านั้น สังคมเรายัง "ไม่สามารถ" จะมีพื้นที่ทางวิชาการ พื้นที่ของสื่อที่เปิดให้กับการถกเถียง "อย่างอิสระ" ในการค้นหาความจริงและความยุติธรรม ในประเด็นปัญหาใหญ่สุดของประเทศที่กระทบต่อความเป็นประชาธิปไตย กระทบต่อวิถีชีวิตทางสังคมการเมืองสมัยใหม่ แม้กระทั่งกระทบต่อชีวิตเลือดเนื้อ ความสูญเสีย ความตายของประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา

และแน่นอน สังคมเราย่อม "ไม่สามารถตลอดไป" ที่จะมี "พื้นที่" ให้กับการแสวงหา "ความจริง" และ "ความยุติธรรม" ในปัญหาใหญ่สุดดังกล่าวได้จริง ตราบที่เรา (นักวิชาการ สื่อ นักการเมืองฯลฯ) ไม่พยายามช่วยกันหาทาง "ปลดล็อค" ให้ระบบสังคมการเมืองของบ้านเรามี "เสรีภาพ" ตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง!

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชนจัดงานหนึ่งทศวรรษการมีส่วนร่วมระบบหลักประกันสุขภาพ 24-26 ตุลานี้

Posted: 21 Oct 2012 01:05 AM PDT

เครือข่ายประชาชนขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกับสปสช.จัดงาน หนึ่งทศวรรษการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ 24-26 ต.ค.นี้ ที่มสธ. เพื่อจัดทำข้อเสนอพัฒนาการเงินการคลังหลักประกันสุขภาพระบบเดียว ชี้ 10 ปีที่ผ่านมารัฐใช้เงินกับ 3 กองทุนสุขภาพไม่ถึง 4 % ของจีดีพี เป็นการใช้ภาษีรับผิดชอบต่อประชาชน หากจะมีการร่วมจ่ายได้ก็ต่อเมื่อรัฐจัดการเรื่องความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้ และจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและที่ดินให้มีประสิทธิภาพก่อน

น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ในฐานะคณะทำงานเครือข่ายประชาชนขับเคลื่อนระบบสุขภาพ กล่าวว่า ในวันที่ 24-26 ตุลาคม นี้ คณะทำงานเครือข่ายประชาชนขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกับสปสช. จัดงาน หนึ่งทศวรรษการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้น เพื่อสรุปผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพ และจัดทำข้อเสนอเรื่องระบบการเงินการคลังด้านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เป็นระบบเดียว มาตรฐานเดียว เพื่อชี้ทิศให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องการเงินการคลังแบบรวมหมู่ การหลอมรวมระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้มีการใช้เงินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพในการจัดระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐใช้เงินทั้ง 3 กองทุนสุขภาพไม่เกิน ร้อยละ 4 ของจีดีพี ซึ่งถือว่าเป็นการรับผิดชอบของระบบภาษีทางตรงทางอ้อมของประชาชน การร่วมจ่ายควรดำเนินการเมื่อประเทศไทยจัดการเรื่องความเหลื่อมล้ำเรื่องการกระจายรายได้ และการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อน

น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพนั้น เครือข่ายประชาชนต่างๆ ได้ร่วมรณรงค์ให้มีการจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนเกิดเป็น พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยมีเจตนารมณ์สำคัญที่ตั้งอยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชน ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานเดียวกัน อย่างเสมอภาค เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม การมีส่วนร่วมของประชาชน คือร่วมสร้างระบบตั้งแต่การร่วมร่างกฎหมาย ร่วมวางแผนพัฒนาระบบ ร่วมบริหารระบบทั้งรูปแบบการเข้าเป็นคณะกรรมการในระดับต่างๆ ร่วมดำเนินการส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบ และร่วมติดตามประเมินผล ตลอดจนการปกป้องคุ้มครองระบบให้มั่นคง ยั่งยืน ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาประชาชนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของระบบ การมีส่วนร่วมประชาชนทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของระบบ แม้ว่ายังมีความเหลื่อมล้ำ แต่ก็ถือเป็นความท้าทายต่อไปของการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นระบบที่มีมาตรฐานเดียวกัน เป็นธรรม ยั่งยืน และมีระบบการเงินการคลังที่เหมาะสม ไปรอดได้ในสังคมไทย

"การจัดงานครั้งนี้ จะมีการอภิปรายเรื่องการเงินการคลังระบบหลักประกันสุขภาพ การสร้างความเป็นธรรม เท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ กลุ่มคนชายขอบที่ยังเข้าไม่ถึงระบบหลักประกันสุขภาพ พร้อมกันนี้จะมีการวิเคราะห์ข้อเสนอทางนโยบาย และการดำเนินการเพื่อบรรลุข้อเสนอทางนโยบายของประชาชน เพื่อการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพในทศวรรษต่อไป จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สปสช. โทร. 02-1414000 หรือ www.nhso.go.th" น.ส.สุรีรัตน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศอ.บต.เร่งเดินหน้าหาข้อเท็จจริง 3 วัยรุ่นเหยื่อวิสามัญ

Posted: 21 Oct 2012 12:53 AM PDT

คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริงกรณียิง 5 วัยรุ่นกรงปินังในเดือนเมษายน 2555 เดินหน้าสอบปากคำและลงพื้นที่ตามการร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อเลขาฯ ศอ.บต. ด้านแม่ผู้ตายร้องขอความเป็นธรรมยันลูกชายไม่เกี่ยวข้องผู้ต้องสงสัยหมาย พรก.

เมื่อเวลา 09.30  ของวันที่ 18 ตุลาคม 2555 นางมารีแย บือซา และนางรูฮานี หะยีมาลี มารดาสามวัยรุ่นกรงปินังที่เสียชีวิตจากการวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2555 เดินทางมาให้ปากคำเพิ่มต่อคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริง กรณีเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้านเสียชีวิต 5 ราย ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุมสวนอาหารยัสมิซีฟู๊ด สวนขวัญเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา แต่ญาติของนายสะกือรี จะปะกียา และนายตัชกีรี ยะยอ ไม่เข้าร่วมให้ปากคำในวันนี้ เนื่องจากไม่ติดใจเอาความ

ในการสอบปากคำ มีคณะกรรมการฯ ที่ร่วมสอบทั้งหมด 10 ราย จาก 17 ราย และญาติของผู้เสียหายทั้งสองคนคือ นางมารีแย  บือซา มารดาของนายลุกมัน ดือราแม และนายซัมรี ดือราแม และนางรูฮานี หะยีมาลี มารดาของนายอิสมาแอล แปเตาะ ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้งสามคนมีผู้ยืนยันว่าเป็นเด็กหนุ่มในหมู่บ้านที่มักใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเส้นทางเพื่อไปดักนกเป็นประจำ

คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริง ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 โดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 9 (6) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553  หลังจากญาติได้ร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555

หลังจากได้รับการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ได้มีประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง และลงพื้นที่ 1 ครั้ง โดยมีการการสอบปากคำพยานแวดล้อมจากเหตุการณ์ทั้งหมด 6 ราย ซึ่งประกอบด้วย ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านบริเวณใกล้เคียงที่เกิดเหตุ 1 ราย ชาวบ้านที่ไปดูศพในที่เกิดเหตุ 1 ราย ชาวบ้านที่ไปดักนกร่วมกับผู้เสียชีวิต 1 ราย และชาวบ้านที่เป็นเจ้าของบ้านใกล้ที่เกิดเหตุ 3 ราย ซึ่งสอบเสร็จล่วงหน้าไปแล้ว

นางรูฮานี หะยีมาลี มารดาของนายอิสมาแอ แปเตาะ ได้ให้การต่อเจ้าหน้าที่ว่า สาเหตุที่ต้องการมาร้องเรียนต่อ ศอ.บต. เนื่องจากต้องการให้เจ้าหน้าที่มอบความเป็นธรรมแก่ลูกชายของเธอ ส่วนเรื่องค่าเสียหายที่รัฐต้องชดเชยนั้นไม่ได้สนใจตั้งแต่แรก

"แค่ขอความเป็นธรรม ลูกเราไม่ใช่โจร แล้วมาบอกว่า เป็นโจรหมดได้ยังไง พรก.ก็ไม่เคยโดน" นางรูฮานี กล่าว

นางสาวภาวิณี ชุมศรี หนึ่งในคณะกรรมการชุดนี้ ได้ชี้แจงต่อสื่อว่าการสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้เพื่อการสร้างความกระจ่างให้ญาติที่มาร้องเรียน และจะมีการชี้แจงให้สาธารณชนที่ตั้งข้อสงสัยกับกรณีการวิสามัญวัยรุ่นทั้ง 5 คน ดังกล่าว แต่ไม่มีผลในชั้นศาลแต่อย่างใด หากมีการสอบสวนที่เป็นประโยชน์ต่อคดีความแล้วทนายของทั้งสองฝ่ายจะนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมก็สามารถทำได้

ซึ่งกรณีนี้ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว โดยมีหมายศาลเรียกสอบไต่สวนการตายของทั้งวัยรุ่นทั้ง 5 คน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา เดิมนัดสอบพยาน 3 ปากจากฝ่ายชาวบ้านที่เกิดเหตุ แต่มีการเลื่อนนัดเนื่องจากหลักฐานเอกสารไม่พร้อม จึงมีการสอบเพียงพยานแวดล้อมเสร็จไปแล้วเพียง 1 ปากเท่านั้น ส่วนอีกสองปากนัดสอบในวันที่ 14 ธันวาคม ที่ศาลจังหวัดยะลา

 

 

คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริง กรณีเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้านเสียชีวิต 5 ราย ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านสะเอะ อำเภอกรงปินัง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ประกอบด้วยคณะกรรมการ 14 คน จากทุกภาคส่วน โดยมีนายสาโรจน์ มะมิง ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดยะลา เป็น

ประธาน ประกอบด้วย

 

1. พลโทมนตรี อุมารี                       ผู้ทรงคุณวัฒิพิเศษ ทบ./หน.คศน.กอ.รมน.ภาค 4 สน

2. พลตำรวจตรีอนุรุต กฤษณะการะเกต  รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจ จชต.

3. ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา

4. ผู้แทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา

5. นายกิตติ สุระคำแหง           ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต.

6. ฮัจยีอิสมาแอล ฮารี            ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา

7. นายธีรยุทธ เบญจเดชา       ตัวแทนสภาทนายความประจำจังหวัดยะลา

8. นายประสิทธิ เมฆสุวรรณ      ตัวแทนอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน

9. นางสาวภาวิณี ชุมศรี           ตัวแทนมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

10. นายแพทย์อนันตชัย ไทยประทาน   ตัวแทนผู้ประกอบการวิชาชีพอิสระ

11. นายมะแอ หะมิมะดิง                  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ต.สะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา

12. นายอับดุลรอฮิง อีแต        อิหม่ามประจำมัสยิดตะโล๊ะสะโต ม. 6 ต.สะเอะ

                                           อ. กรงปินัง จ.ยะลา

13. นายมะดารี ยะยือรี            สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เขต 1 กรงปินัง

14. นายสาโรจน์ มะมิง            ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจ.ยะลา

อำนาจหน้าที่และแนวทางในการดำเนินงาน

1) รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริง ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เพื่อประมวลผลข้อเท็จจริง ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและกำหนดแนวทางในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เกิดปรองดองและสมานฉันท์ตามแนวทางสันติวิธี

2) เรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง

3) รวบรวมปัญหาข้อขัดข้องและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้ส่วนที่เกี่ยวข้องทราบและพิจารณาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จและการบังคับใช้กฎหมายต่อไป

4) ปฏิบัติหน้าที่/ภารกิจอื่นๆ ตามที่เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้มอบหมาย

5) ให้มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ เป็นผู้รับผิดชอบอำนวยการ กำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่มีคำสั่งและรายงานให้ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ทราบต่อไป

หมายเหตุ มีการขอต่อ ศอ.บต. ให้ขยายระยะเวลาในการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการชุดนี้ เพิ่มอีก 45 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดการสอบข้อเท็จจริงในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555  

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วางบอมบ์ตากใบ 4 จุดคนร้ายปะทะจนท.ดับ 1 เด็กเจ็บ 1

Posted: 21 Oct 2012 12:41 AM PDT

คนร้ายวางระเบิด 4 จุด ที่โรงแรม ร้านคาราโอเกะ ซุปเปอร์มาเก็ตและจุดตรวจตำรวจน้ำที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เด็กเจ็บ 1  คนร้ายดับ 1 หลังปะทะ 
 
เมื่อเวลา 20.15 น. วันที่ 20 ต.ค. 2555 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้รับแจ้งเหตุจากข่ายวิทยุภาคประชาชนว่าเมื่อเวลา 20.00 น. เกิดเหตุคนร้ายก่อเหตุในพื้นที่ ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จำนวน 5 จุด
 
จุดที่ 1 คนร้ายลอบวางระเบิดบริเวณหน้าโรงแรมตาบาพลาซ่า ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
 โดยคนร้ายได้นำวัตถุระเบิดแสวงเครื่องซุกซ่อนไว้ในรถยนต์ ก่อนจุดชนวนระเบิดขึ้น
 
จุดที่ 2 คนร้ายลอบวางระเบิดบริเวณร้านสดใสคาราโอเกะ ม.5 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ส่งผลให้มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ จำนวน 2 ราย คือ ด.ญ.รุ่งทิพย์ การถวิล อายุ 9 ปี มีแผลฉีกขาดบริเวณขาทั้งสองข้าง และนางอาทิตย์ แพงพอ อายุ 39 ปี มีอาการหูอื้อ โดยคนร้ายได้นำวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง ซุกซ่อนไว้ในรถจักรยานยนต์ นำไปจอดไว้บริเวณหน้าร้านก่อนจุดชนวนระเบิดขึ้น
 
จุดที่ 3 คนร้ายลอบวางระเบิดบริเวณร้านวีช็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
 
จุดที่ 4 คนร้ายขว้างระเบิดขว้างแบบมาตรฐาน ใส่จุดตรวจตำรวจน้ำตาบา ม.1 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นระเบิดลูกเกลี้ยงไม่ทราบชนิดจำนวน 2 ลูก แต่ระเบิดไม่ทำงาน จากนั้นคนร้ายได้ใช้อาวุธปืนสงคราม ยิงใส่จุดตรวจดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการปะทะกันขึ้น หลังเสียงปืนสงบพบ ด.ต.ธรนิลทร์ ผ่อนผาสุก อายุ 42 ปี เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ ได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลฉีกขาดบริเวณน่องซ้าย รวมถึงยังพบศพผู้ก่อเหตุรุนแรง จำนวน 1 ราย ยังไม่ทราบชื่อ พร้อมตรวจยึดอาวุธปืน AK -47 จำนวน 1 กระบอก
 
จุดที่ 5 คนร้ายได้โปรยตะปูเรือใบบนถนนสาย 4084 อ.เมืองนราธิวาส -อ.ตากใบ ขาเข้าก่อนถึง อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
 
สำหรับการก่อเหตุดังกล่าว เจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น