ประชาไท | Prachatai3.info |
- 'นพ.ประวิทย์' แนะ กทค.ทบทวนประมูล 3G ใหม่
- 'อียู' สั่ง 'กูเกิล' แก้นโยบายความเป็นส่วนตัว ใน 4 เดือน
- รัฐเอาจริง 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง' คาดเปิดจอก่อนสิ้นปี
- เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2012
- ราคาค่าคลื่นความถี่ที่สูงขึ้น ไม่ทำให้ค่าบริการสูงขึ้น...จริงหรือ
- ประเทศนี้ต้องเป็นรัฐสวัสดิการ การศึกษาต้องเรียนฟรี!
- นักศึกษาใต้รณรงค์ฮายัต รำลึกตากใบ 25 ตุลา ทุกพื้นที่ชายแดนใต้
- ประวิตร โรจนพฤกษ์
- "ฐปณีย์" เดินทางไปขอพระราชทานอภัยโทษที่สถานทูตกัมพูชาแล้ว
- ชาวกัมพูชาโวยนักข่าวไทยเหยียบกระดาษที่มีรูปสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
- เทศกาลกินเจในฐานะการอุปโลกน์ความดีของมนุษย์
'นพ.ประวิทย์' แนะ กทค.ทบทวนประมูล 3G ใหม่ Posted: 17 Oct 2012 01:29 PM PDT ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งใน กสทช. ขอให้ กทค.ทบทวนการประมูล 3G ใหม่ ส่วน 'ครม.เงา' จี้ กสทช.ชี้แจงเหตุประมูล 3G ต่ำกว่าราคาประเมิน ด้าน 'สุริยะใส' เล็งฟ้องศาลปกครองเพิ่ม สืบเนื่องจากการเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการ หรือ ไลเซ่นส์ 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เสร็จสิ้นไปวานนี้ (16 ต.ค.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (บอร์ด กทค.) จะเริ่มประชุมเพื่อรับรองผล และสรุปการประมูล ในวันพรุ่งนี้ (18 ต.ค.) เวลา 11.00 น. (17 ต.ค.55) น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า การแข่งขันในการประมูลต่ำมาก จากผลการประมูลที่ได้ออกมาจำนวน 6 สลอต จากทั้งหมด 9 สลอต จบลงที่ราคาเริ่มต้น 4,500 ล้านบาท จากที่ราคาที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท เป็นราคาชนะการประมูลทั่วโลกที่เอามาเฉลี่ยใช้กับการประมูลประเทศไทย ซึ่งเป็นราคาคาดการณ์ที่ภาครัฐควรได้ แต่ราคาที่ออกมากลับทำให้รัฐเสียรายได้เกือบ 2,000 ล้านบาท ต่อหนึ่งสลอต กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ในการประมูล 3G ครั้งนี้ ส่วนตัวเคยทำบันทึกเสนอ กสทช. เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีข้อสังเกตหลายเรื่อง อาทิ การออกประกาศการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไม่เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งระเบียบนี้ที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. ซึ่งประกอบด้วยอัยการสูงสุด ผู้พิพากษาศาลปกครอง ให้ความคิดเห็นว่า ระเบียบนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่ จึงอาจจะทำให้ประกาศฉบับดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากประกาศเป็นประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนแนวทางแก้ไขนั้น จะอยู่ศาลปกครองเป็นผู้พิจารณา และเรื่องราคาที่ต่ำเกินไป ต้องการให้ กทค. ทบทวนการประมูลใหม่ หรืออาจยกเลิกการประมูล แล้วจัดการประมูลใหม่ กรรมการ กสทช. กล่าวอีกว่า ขณะนี้ มีกลุ่มภาคประชาชนเตรียมยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีเรื่องความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (พ.ร.บ.ฮั้ว) หากพิจารณาจะมี 2 มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 10 ผู้ใดรู้เห็นแต่ไม่ยับยั้งจะมีความผิด และมาตรา 11 เจ้าหน้าที่ของรัฐออกแบบการประมูลหรือกำหนดราคาทำให้เกิดการไม่แข่งขัน ดังนั้น หากส่วนตัวไม่เสนอความคิดเห็น แต่รู้เห็นอาจมีความผิดได้ จึงต้องมีการพิจารณา นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องการตรวจสอบ คือ พฤติกรรมการเคาะประมูลเป็นที่สังเกตว่ามีการส่งสัญญาณการเคาะราคาเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเป็นยุทธศาสตร์การเคาะราคาปกติ โดยสามารถรู้ได้ด้วยการเรียกแต่ละบริษัทมาศึกษาโดยละเอียด ซึ่งส่วนตัวเข้าใจว่าเป็นเรื่องของ กทค. ว่าจะสามารถเปิดเผยข้อมูลได้หรือไม่ แต่ล่าสุดส่วนตัวได้ประสานขอทราบข้อมูลการเคาะราคาแล้ว
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ กสทช. หาวิธีการที่จะให้ประชาชน หรือผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินที่สูญไป 1.6 หมื่นล้าน จากที่มีประเมินใบอนุญาตใบละ 6,000 ล้านบาท โดยทำอย่างไรจะให้ 3 บริษัทจ่ายคืนให้กับประชาชนในรูปแบบของการบริการ และเรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นเรื่องให้คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เรียก กสทช. มาชี้แจง
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า สำหรับการยื่นคำร้องเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการประมูลและผลการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมาที่พบว่าไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาถึง 6 ใบ เนื่องจากราคาสุดท้ายยังคงเป็นราคาเริ่มต้นที่ใบละ 4,500 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล 3G ของ กสทช. เข้าข่าย พ.ร.บ.ฮั้ว นายสุริยะใส กล่าวว่า นอกจากการยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมแล้ว ตนยังจะใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญทุกช่องทางเพื่อตรวจสอบการประมูลครั้งนี้ ทั้งการเข้ายื่นให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบการกระทำของ กสทช.ในครั้งนี้ด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'อียู' สั่ง 'กูเกิล' แก้นโยบายความเป็นส่วนตัว ใน 4 เดือน Posted: 17 Oct 2012 12:41 PM PDT หน่วยงานกำกับดูแลด้านความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรป สั่งให้ 'กูเกิล' แก้ไขนโยบายความเป็นส่วนตัวที่บังคับใช้เมื่อมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล ให้เวลา 4 เดือน มิเช่นนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย กรณีบริษัทกูเกิลปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวใหม่ ซึ่งจะรวบข้อตกลงการใช้งานบริการต่างๆ ของกูเกิล 60 บริการเข้าด้วยกันภายใต้ข้อตกลงเดียว ตั้งแต่เมื่อ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยข้อตกลงใหม่นี้จะอนุญาตให้กูเกิลแชร์ข้อมูลการใช้บริการของผู้ใช้ระหว่างบริการต่างๆ เช่น ยูทูป จีเมล กูเกิลพลัส ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งกูเกิลระบุว่าข้อมูลเหล่านี้จะทำให้การให้บริการ เช่น แสดงผลค้นหาและโฆษณาที่เกี่ยวข้องดีขึ้น ขณะที่คณะกรรมาธิการแห่งชาติว่าด้วยสารสนเทศและเสรีภาพ หรือ CNIL ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของฝรั่งเศส แสดงความไม่เห็นด้วยโดยระบุว่านโยบายดังกล่าวอาจขัดต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า CNIL แถลงผลการตรวจสอบกรณีดังกล่าวในนามของสมชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ โดยเรียกร้องให้กูเกิลแก้ไขนโยบายความเป็นส่วนตัวใหม่ โดยระบุว่า กูเกิลต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ว่าข้อมูลใดของผู้ใช้ที่จะถูกเก็บและเก็บไปเพื่ออะไร รวมถึงต้องให้ผู้ใช้ควบคุมวิธีการที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมได้มากขึ้น Isabelle Falque-Pierrotin ประธาน CNIL กล่าวว่า กูเกิลมีเวลา 3-4 เดือน เพื่อแก้ไขนโยบายดังกล่าว มิเช่นนั้น ทางการบางประเทศอาจดำเนินการทางกฎหมายกับกูเกิลได้ ทั้งนี้ บีบีซีรายงานว่า แม้จะไม่ได้มีการระบุว่าการกระทำของกูเกิลนั้น "ผิดกฎหมาย" แต่ก็ระบุว่า กูเกิลให้รายละเอียดที่ "ไม่ครบถ้วนและคร่าวๆ" นำมาซึ่ง "ความวิตกกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลและการเคารพกฎหมายยุโรป" ด้าน Peter Fleischer ที่ปรึกษาประเด็นความเป็นส่วนตัวของกูเกิล กล่าวว่า ได้รับรายงานแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านโยบายความเป็นส่วนตัวที่ออกมาใหม่นั้นได้แสดงให้เห็นถึงพันธกิจที่มีมายาวนานของบริษัทในการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้และสร้างสรรผลิตภัณฑ์ที่ดี พร้อมทั้งมั่นใจว่านโยบายดังกล่าวได้ปฏิบัติตามกฎหมายของสหภาพยุโรป Nick Pickles ผู้อำนวยการ Big Brother Watch ซึ่งเป็นกลุ่มรณรงค์ด้านความเป็นส่วนตัวในสหราชอาณาจักร แสดงความยินดีต่อข่าวดังกล่าว โดยระบุว่า เป็นเรื่องถูกต้องอย่างยิ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลของยุโรปจะให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนรู้ว่าข้อมูลอะไรบ้างที่ถูกเก็บและถูกนำไปใช้อย่างไร เขามองว่า ถ้าประชาชนไม่ตระหนักว่าพฤติกรรมของพวกเขาถูกจับตามองและบันทึกมากเพียงใด มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างทางเลือกในการใช้บริการ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รัฐเอาจริง 'ทีวีมลายู 24 ชั่วโมง' คาดเปิดจอก่อนสิ้นปี Posted: 17 Oct 2012 11:48 AM PDT เลขาธิการศอ.บต. เผยความคืบหน้า คาดอีก 3 เดือนสามารถออกอากาศได้ เพื่อคืนเกียรติยศและมรดกทางภาษา ร่วมมือภาคประชาสังคมสรรหาสภาประชาชนกำหนดเนื้อหาและรูปแบบรายการ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยกับโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) ในวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ว่า ขณะนี้ทางศอ.บต. กำลังเตรียมการเปิดช่องโทรทัศน์ภาษามลายูตลอด 24 ชั่วโมงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ภายใน 3 เดือนหลังจากนี้อันเป็นการดำเนินตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของ ศอ.บต. ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน "ในการดำเนินการจะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาและรูปแบบรายการเพื่อให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งจากการพูดคุยกับภาคประชาสังคมเมื่อวันที่ 14 [ตุลาคม] ที่ผ่านมาเห็นว่าต้องมีสภาประชาชนในการเข้ามากำกับดูแล ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ช่องทางเพื่อการแก้ต่างให้รัฐ แต่เป็นเพราะประชาชนที่นี่ต้องรู้ความจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ต้องรู้ข้อมูลข่าวสารและที่สำคัญเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างความเข้มแข็งและมาตรฐานของภาษามลายู" เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว พ.ต.อ.ทวี เปิดเผยอีกว่าจากการปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นักวิชาการ ตัวแทนสถาบันการศึกษา ถึงเนื้อหาและสาระของช่องทีวีภาษามลายูอย่างไม่เป็นทางการ ได้ข้อสรุปว่าจะมีรายการ 8 ด้าน คือ รายการข่าว รายการด้านศาสนาและวัฒนธรรม ด้านอาชีพ การกีฬา การท่องเที่ยว รายการบันเทิงและรายการ reality show ในการดำเนินการต้องสรรหาผู้อำนวยการสถานีที่เป็นที่ยอมรับรวมทั้งต้องดึงสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนภาษามลายูและด้านการสื่อสาร 2 - 3 แห่งเป็นผู้รับผิดชอบวางกรอบการสรรหาสภาประชาชนหรือการทำประชาพิจารณ์ในการดำเนินการในเรื่องนี้ ในส่วนของ ศอ.บต. ได้มอบหมายให้ส่วนงานประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบ ในด้านเทคนิคนั้น พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่าจะเป็นคณะทำงานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่ง ศอ.บต. จะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด โดยในขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการเพื่อที่จะให้สามารถออกอากาศได้ภายในก่อนสิ้นปีนี้ ทั้งนี้อาจจะต้องหาคนภายนอกหรือมืออาชีพสักคนมารับผิดชอบในงานนี้ ซึ่งขณะนี้ก็มีทีมงานที่มาจากวอยซ์ทีวี รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของบริษัทดาวเทียมไทยคมกำลังเร่งดำเนินงานอยู่ ส่วนเรื่องของช่องสัญญาณของทีวีภาษามลายู 24 ชั่วโมงนั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาใช้ช่องดาวเทียมที่ประชาชนใช้จานดาวเทียมรับสัญญาณ หรือจะใช้ช่องสัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดยะลา หรืออาจจะใช้ทั้ง 2 ช่องทางในการออกอากาศ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ เราจำเป็นต้องเตรียมคนให้พร้อม โดยเฉพาะคนทั้งประเทศต้องพึ่งคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะคนที่นี่สามารถใช้ภาษาของคนจำนวนกว่า 300 ล้านคน ซึ่งภาษามลายูจะกลายเป็นภาษาอาเซียน และช่องทีวีภาษามลายู 24 ชั่วโมงแห่งนี้ก็จะไม่ใช่ของรัฐ เพราะรัฐมีอยู่แล้ว ต้องเป็นของประชาชนที่นี่ "สิ่งที่อยากเห็นคือ ทีวีภาษามลายู 24 ชั่วโมงจะสามารถเป็นกระบอกเสียงของคนในพื้นที่ เป็นช่องทางในการสื่อสารของประชาชน อีกทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาษามลายู เป็นการคืนเกียรติยศและรักษามรดกทางภาษา" เลขาธิการ ศอ.บต.กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2012 Posted: 17 Oct 2012 11:38 AM PDT ในช่วงปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ผมได้รับเชิญจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาประจำปี 2012 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ ในฐานะนักวิชาการ (ที่ต้องระบุว่าในฐานะนักวิชาการ ก็เพราะเดี๋ยวจะมีปัญหาเหมือนกรณีคณะของรัฐสภาไทยที่ไปอังกฤษเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาน่ะครับ) โดยตระเวนไปตามเมืองต่างๆ ที่สำคัญๆ ผมจึงถือโอกาสเขียนถึงกระบวนการการเลือกตั้งประธานาธิบดีและข่าวสารในแง่มุมต่างๆ ต่อผู้อ่านจนกว่าจะได้รู้ว่าใครจะเป็นผู้ชนะระหว่างโอบามากับกับมิตต์ รอมนีย์ ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควร แม้แต่ชาวอเมริกันเองบางคนก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกัน เมื่อถูกขอให้อธิบายระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเขา แต่ที่แน่ๆ ก็คือ คนทุกอาชีพที่สุจริต มีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดี ตัวอย่างเช่น นายแบบ-เจอร์รัลด์ ฟอร์ด ,คนเก็บขยะ-ลินดอน จอห์นสัน, นักธรณีวิทยา-เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ,คนงานบนเรือเฟอร์รี-เจมส์ การ์ฟิลด์, นักสำรวจ-จอร์จ วอชิงตัน, นักแสดง-โรนัลด์ เรแกน, ชาวไร่ชาวนา เช่น มิลเลิร์ด ฟิลมอร์ อับราฮัม ลินคอล์น ยูลิซิส เอส แกรนท์ เบนจามิน แฮริสันวอร์เรน ฮาร์ดิง แคลวิน คูลลิดจ์ แฮร์รี ทรูแมน และจิมมี คาร์เตอร์ หรือแม้กระทั่งคนผิวสีลูกครึ่งมุสลิมชาวเคนยาอย่างประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็มีโอกาสเป็นประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน คุณสมบัติของผู้สมัครประธานาธิบดี ขั้นตอนการหยั่งเสียง ปัจจุบันมี 3 วิธี คือ 2) caucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมา เพื่อเสนอความคิดเห็น 3) state-covention ที่หมายถึง การประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค จาก 1 ใน 3 วิธีข้างต้น จะทำให้ได้ผู้แทน หรือที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สหรัฐอเมริกาไม่มี กกต.แบบบ้านเรา ผู้ทำหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งในทุกระดับคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัยกว่า County และไม่มีการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น ประชาชนจะต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะมีสิทธิเลือกตั้ง โดยจะลงทะเบียนในพื้นที่ที่ตนพำนักอยู่ หากย้ายที่อยู่ใหม่ก็ต้องลงทะเบียนใหม่ ในกฎหมายการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ปี 1993(National Voter Registration Act,1993)ช่วยให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนเพื่อออกเสียงเลือกตั้งได้ทุกครั้งที่ต่อใบอนุญาตขับขี่ที่รัฐออกให้อีกด้วย ในสหรัฐอเมริกามีอุปกรณ์ลงคะแนนเลือกตั้งหลายแบบ และลักษณะของเทคโนโลยีการลงคะแนนก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา ปัจจุบันนี้มีเพียงไม่กี่แห่งที่ยังมีการลงคะแนนเสียงด้วยการใช้บัตรกระดาษลงคะแนนที่ต้องทำเครื่องหมายกากบาทข้างชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างที่เคยทำในอดีต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ก็ยังใช้บัตรกระดาษที่มีการระบายทึบ จากนั้นนำไปสแกนเพื่อบันทึกการลงคะแนนเสียง ซึ่งแนวโน้มในปัจจุบันก็คือการใช้เครื่อง Direct Recording Electronic(DRE) ซึ่งเป็นเครื่องที่มีจอสัมผัสที่คล้ายกับเครื่องมือที่ใช้ในธนาคาร ซึ่งเมื่อ 4 ปีก่อนตอนที่ผมไปสังเกตการณ์ก็เริ่มมีการใช้บ้างแล้ว ผลการเลือกตั้ง ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ใช้คณะผู้เลือกตั้งนี้ คือ กติกาที่ว่า ผู้ชนะได้ไปทั้งหมด (winner-take-all) ซึ่งหมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนมากจากประชาชนในมลรัฐ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งหมด ดังนั้น มลรัฐที่มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมากๆ ก็จะเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัคร เช่น แคลิฟอร์เนีย (55) เท็กซัส (34) นิวยอร์ก (31) ฟลอริดา (27) เพนซิลวาเนีย (21) เป็นต้น ซึ่งก็มีหลายครั้งที่คนชนะ popular vote แต่ไปแพ้ electoral vote ก็อดเป็นประธานาธิบดี เช่น แอนดรู แจ็กสัน แพ้ต่อ จอห์น อดัมส์, แซมมวล ทิลเดน แพ้ต่อ รูเธอฟอร์ด เฮย์ กริฟเวอร์ คลีฟแลนด์ แพ้ต่อ เบนจามิน แฮริสัน และล่าสุดก็คือ อัล กอร์ ก็แพ้ต่ออดีตประธานาธิบดี จอร์จ บุช จนมีเรื่องมีราวไปถึงศาลสูง (supreme court) นั่นเอง การรับตำแหน่ง ที่กล่าวมาพอสังเขปนี้คงพอทำความเข้าใจในเบื้องต้นของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้บ้าง อย่างน้อยก็สามารถติดตามข่าวสารการเลือกตั้งได้อย่างมีรสชาตินะครับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ราคาค่าคลื่นความถี่ที่สูงขึ้น ไม่ทำให้ค่าบริการสูงขึ้น...จริงหรือ Posted: 17 Oct 2012 11:31 AM PDT การประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลในประเทศไทยย่าน 2.1 GHz (หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่ามกลางการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก ประเด็นอภิปรายหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่า สมควรที่จะนำมากล่าวถึงเป็นพิเศษก็คือ ประเด็นเรื่องราคาค่าคลื่นความถี่ (ที่จะถูกกำหนดขึ้นโดยการประมูล รวมถึงราคาตั้งต้นหรือราคาขั้นต่ำ) ว่าราคาดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (3G) ในภายหลังหรือไม่ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ราคาคลื่นความถี่ที่ต่ำเกินไปจะทำให้รัฐขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ และเชื่อว่าแม้ราคาค่าคลื่นความถี่จะถูกกำหนดให้สูงขึ้น ก็จะไม่กระทบต่อราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อมีการให้บริการ อันที่จริงแล้ว คำถามเรื่องนี้มีที่มาจากการที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเดิมได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3G ในพ.ศ.2553 (แต่ต่อมาการประมูลได้ถูกระงับไปเสียก่อน) โดยในการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในครั้งนั้น มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนหนึ่งได้เสนอให้ประเทศไทยใช้วิธีการอื่น เช่น การยื่นประกวดซองแทนการจัดการประมูลคลื่นความถี่ โดยให้เหตุผลว่า การประมูลคลื่นความถี่จะทำให้ผู้ประกอบการต้องชำระค่าคลื่นความถี่จำนวนมากให้แก่รัฐ อันจะทำให้ผู้ใช้บริการต้องรับภาระค่าบริการที่สูงขึ้น ซึ่งข้อเสนอนี้สอดคล้องกับความเห็นของนักวิชาการส่วนหนึ่งในขณะนั้น ผู้เขียนไม่เห็นพ้องด้วยกับข้อเสนอดังกล่าวเสียทั้งหมด ผู้เขียนได้เสนอความเห็นในที่ประชุมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างราคาค่าคลื่นความถี่กับราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นยังไม่อาจสรุปได้อย่างรวดเร็วหรือมีคำตอบเดียวเช่นนั้น เพราะราคาตลาดของบริการยังต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายประการ ดังนั้น จึงไม่ควรนำเรื่องราคาค่าคลื่นความถี่มาเป็นเหตุผลที่จะไม่ประมูลคลื่นความถี่เสียเลย อีกทั้งการประมูลยังมีข้อดีหลายประการด้วยกัน ประการแรก นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปยอมรับว่า การประมูลเป็นวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลอย่าง Ronald H. Coase ด้วย การประมูลจะกำหนด "ราคาตลาด" ของคลื่นความถี่ได้ดีกว่าวิธีการอื่น ๆ และทำให้คลื่นความถี่ที่มี "ราคาตลาด" ดังกล่าวตกอยู่ในมือของผู้ประกอบการที่ (น่าจะ) นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้[2] ดังนั้น หากการประมูลนำไปสู่การกำหนด "ราคาตลาด" และผู้ชนะการประมูลเป็นผู้ที่ได้นำคลื่นความถี่ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ก็ถือว่าเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ ประการที่สอง การประมูลเป็นวิธีการจัดสรรที่โปร่งใสมากกว่าวิธีอื่น ประการสุดท้าย ข้อเสนอที่ว่าราคาประมูลคลื่นความถี่จะทำให้ราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้นนั้น ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเป็นข้อสรุปที่จำกัดคำตอบและเร็วเกินไป[3] ทั้งนี้เพราะราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่อมต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ยิ่งมีการแข่งขันในตลาดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงมากเท่าใด การส่งผ่านต้นทุนค่าคลื่นความถี่ไปยังผู้บริโภคก็จะกระทำได้ยากมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งผู้เขียนชี้แจงว่า ความคิดเห็นของนักวิชาการในต่างประเทศฝ่ายหนึ่งถึงขนาดเชื่อกันว่า ค่าคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการชำระให้แก่รัฐนั้นเป็น "ต้นทุนจม" หรือ "Sunk Cost" กล่าวคือ นักวิชาการในต่างประเทศฝ่ายนี้ยืนยันว่า มีต้นทุนในการประกอบการบางชนิดที่ไม่ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ผู้ประกอบการก็จะไม่อาจส่งผ่านไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภคให้ต้องรับภาระได้เลย และมีนักวิชาการในต่างประเทศหลายรายที่ได้นำทฤษฎีต้นทุนจมดังกล่าวนี้มาอธิบายว่า การชำระค่าคลื่นความถี่อันเนื่องมาจากการประมูล เป็นต้นทุนจมชนิดหนึ่งที่ไม่อาจส่งผ่านไปยังผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ กล่าวคือ ค่าคลื่นความถี่ที่สูงขึ้นจะไม่ทำให้ราคาค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนสูงขึ้นตามไปด้วย[4] ผู้เขียนบทความนี้ได้เคยนำเรื่องทฤษฎีต้นทุนจมดังกล่าวมาอธิบายเพื่อชี้ให้เห็นว่า ยังไม่ควรระงับการจัดสรรคลื่นความถี่โดยวิธีการประมูล ทั้งนี้เพราะข้อเสนอที่ว่าค่าคลื่นความถี่จะถูกส่งผ่านไปให้ผู้ใช้บริการรับภาระ "ทั้งหมด"นั้นอาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ที่จริงแล้วในทางวิชาการ ยังมีข้อถกเถียงว่า ผู้ใช้บริการอาจจะไม่ต้องรับภาระทั้งหมด แต่อาจต้องรับภาระเพียงบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะการแข่งขันในตลาดการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และที่สำคัญ เหตุผลเรื่องการส่งผ่านภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคก็ยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนว่า คลื่นความถี่ควรได้รับการจัดสรรโดยวิธีอื่นนอกเหนือจากการประมูล ทั้งนี้เพราะการประมูลยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง อีกทั้งไม่มีหลักประกันว่า หากมีการจัดสรรคลื่นความถี่โดยวิธีอื่นแล้ว (เช่น การประกวดซอง) ราคาตลาดของค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะถูกกว่า อย่างไรก็ดี เรื่องทฤษฏีต้นทุนจมดังกล่าวได้รับการหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในคราวการประมูลที่ผ่านมา แต่ผู้หยิบยกมักจะนำมาเป็นเหตุผลเพื่อสนับสนุนให้รัฐจัดเก็บค่าคลื่นความถี่สูง ๆ จากผู้ประกอบการเพื่อเป็นรายได้แก่รัฐ ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง "เบื้องต้น" เกี่ยวกับทฤษฎีต้นทุนจมไว้ ทั้งนี้เพื่อให้มีการวิเคราะห์และอภิปรายต่อไป ที่จริงแล้ว ข้อสรุปของนักวิชาการในต่างประเทศที่สนับสนุนทฤษฎีต้นทุนจมนั้น ยังเป็นข้อสรุปจากหลักฐานเท่าที่มีอยู่ และนักวิชาการจำนวนมากยังเห็นว่า ข้อสรุปที่ว่าค่าคลื่นความถี่เป็นต้นทุนจมและไม่มีผลในทางใด ๆ ต่อผู้บริโภคนั้นยังไม่อาจถือเป็นทฤษฎีทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไข นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่าค่าคลื่นความถี่ หรือต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ (Entry Fees) ย่อมส่งผลต่อราคาตลาดของค่าบริการในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้แข่งขันน้อยรายได้ (Oligopoly Pricing) (ทั้งนี้เพราะในตลาดประเภทนี้ การตั้งราคาค่าบริการจะแข่งขันกันน้อยกว่าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์) ดังนั้น ค่าคลื่นความถี่สูงๆ ก็อาจทำให้ค่าบริการสูงขึ้นได้ในตลาดที่มีสภาพเช่นนี้[5] นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้อธิบายว่า การนำทฤษฎีต้นทุนจมมาเป็นเหตุผลสนับสนุนว่า ต้นทุนค่าคลื่นความถี่จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อราคาค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น จะเป็นการสรุปที่ถูกต้องก็ต่อเมื่อตลาดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นตลาดการแข่งขันสมบูรณ์ที่ผู้ประกอบการกำหนดราคาค่าบริการเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่มเสมอ (Marginal Cost) ซึ่งหากเป็นตลาดการแข่งขันที่สมบูรณ์ ผู้ประกอบการก็ย่อมไม่อาจนำต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ใด ๆ ไปคิดรวมไว้ในค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการได้ แต่ในโลกของความจริงนั้น ไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้ เพราะในตลาดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น มีต้นทุนในการสร้างและบำรุงรักษาโครงข่ายโทรคมนาคมสูงมาก หากในการคิดค่าบริการ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใดไม่คำนึงถึงต้นทุนเหล่านี้ ผู้ประกอบการรายนั้นย่อมไม่อาจประกอบการต่อไปได้ ในโลกของความเป็นจริง ราคาตลาดของบริการจึงย่อมครอบคลุมทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนอื่นๆ โดยต้นทุนคงที่นั้นประกอบไปด้วยต้นทุนโครงข่ายโทรคมนาคมและต้นทุนค่าใบอนุญาตต่างๆ เพื่อเริ่มธุรกิจด้วย นอกจากนี้ ต้นทุนคงที่เหล่านี้ยังอาจลดจำนวนผู้ประกอบการที่ตลาดสามารถรองรับได้อีกด้วย ยิ่งต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้นมากขึ้นเท่าใด จำนวนผู้ประกอบการที่ตลาดจะรองรับได้ก็จะน้อยลงมากเท่านั้น ดังนั้น ยิ่งราคาค่าใบอนุญาตสูงขึ้นเท่าใด จำนวนผู้ประกอบการก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น และอาจต้องมีการควบรวมกิจการมากขึ้น[6] โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกฎหมายไม่เปิดช่องให้โอนใบอนุญาตให้แก่กันได้ ซึ่งก็จะเป็นการลดการแข่งขันในตลาดลงไป ดังนั้น ในความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนนี้ ค่าคลื่นความถี่อาจส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดได้และค่าบริการยังน่าจะถูกกระทบได้จากต้นทุนคลื่นความถี่และค่าใบอนุญาตต่าง ๆ และยังเห็นว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในตลาดที่ทำการศึกษาจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าค่าคลื่นความถี่ไม่มีความสัมพันธ์กับราคาค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เลย อีกทั้ง ในประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปนั้นพอจะมีข้อบ่งชี้แล้วว่าต้นทุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตน่าจะส่งผลกระทบต่อราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปแล้ว[7] ในเวลาต่อมานักเศรษฐศาสตร์ได้เริ่มตั้งคำถามในเชิงลึกถึงขนาดว่า หากค่าคลื่นความถี่ทำให้ราคาค่าบริการสูงขึ้นจริง เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ จะเป็นเพราะค่าคลื่นความถี่ที่สูงมากเป็นต้นเหตุหรือมูลเหตุจูงใจให้ผู้ประกอบการในตลาดยิ่งแข่งขันกันน้อยลง (คือ ลดแรงจูงใจในการแข่งขันกันด้านราคาค่าบริการ กล่าวคือ มีลักษณะเป็น Oligopoly Pricing) หรือว่าเหตุผลเป็นไปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่เข้าประมูลประสงค์จะแข่งขันกันน้อยลงอยู่แล้วและประสงค์จะกำหนดราคาตลาดของบริการสูง ๆ ดังนั้น จึงยินดีที่จะชำระค่าคลื่นความถี่สูง ๆ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือหรือเหตุผลให้ราคาตลาดของค่าบริการสูงขึ้น (Collusion-Facilitating Role of Entry Fees)[8] ซึ่งการตั้งคำถามดังกล่าวบ่งชี้ว่านักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากยังเห็นว่าทฤษฎีต้นทุนจมเป็นทฤษฎีที่มีข้อจำกัดและยังไม่สามารถนำมายืนยันได้ในทุกกรณีว่าค่าคลื่นความถี่ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนั้น เดิมการนำทฤษฎีต้นทุนจมมาอธิบายค่าคลื่นความถี่ก็ยังไม่ได้วิเคราะห์ผลในด้านอื่น ๆ ที่ขัดขวางประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด เช่น หากเปรียบเทียบระหว่างผู้ประกอบการ (ก) ที่จ่ายค่าคลื่นความถี่ในราคาต่ำ และ ผู้ประกอบการ (ข) ที่จ่ายค่าคลื่นความถี่ในราคาสูงกว่า หากสมมุติฐานอื่นไม่เปลี่ยนแปลง งบดุลของผู้ประกอบการ (ก) น่าจะทำให้ผู้ประกอบการ (ก) สามารถระดมทุนเพื่อประกอบกิจการได้ดีกว่า[9] ซึ่งจะทำให้ระดับประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดสูงขึ้น ในแง่การให้บริการ ยังมีการศึกษาอีกว่าราคาใบอนุญาตที่แพงขึ้นก็อาจมีผลเป็นการลดการแข่งขันในการให้บริการได้และอาจจำกัดการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wholesale Airtime Market)ได้ ทั้งนี้เพราะราคาค่าขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องอ้างอิงจากต้นทุนรวม (ซึ่งรวมถึงต้นทุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตด้วย) อันทำให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการน้อยลง ในบริบทของการประมูลคลื่นความถี่ 3G ในต่างประเทศ นักวิชาการในต่างประเทศบางรายยังเห็นว่าการคิดค่าคลื่นความถี่สูง ๆ น่าจะมีผลกระทบต่อการระดมทุนเพื่อสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมและการพัฒนาบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ยังทำให้ต้องเสียเปรียบผู้ประกอบการรายอื่น เช่น ผู้ให้บริการบรอดแบนด์ (Fixed Line) ที่ไม่ต้องชำระค่าคลื่นความถี่สูง ๆ[10] อันเป็นการบิดเบือนการแข่งขันเพราะเกิดการแทรกแซง (ประหนึ่งการเก็บภาษีเฉพาะราย) จากภาครัฐ โดยสรุปแล้ว ในต่างประเทศนั้น ข้อถกเถียงที่ว่าราคาค่าคลื่นความถี่จะทำให้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้นอย่างแน่นอนหรือไม่นั้น ยังเป็นข้ออภิปรายที่ยังไม่ได้ข้อสรุปทางวิชาการเป็นคำตอบเดียว และมีความเป็นไปได้ว่าราคาค่าคลื่นความถี่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดลักษณะและระดับการแข่งขันในตลาดในภายหลัง รวมถึงประสิทธิภาพของตลาด และอาจก่อให้เกิดการบิดเบือนการลงทุน (distort investment) และกระทบต่อระดับการให้บริการและการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม และอาจทำให้ราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น (หากตลาดการให้บริการดังกล่าวเป็นตลาดที่มีผู้แข่งขันน้อยรายหรือมีอัตราการกระจุกตัวสูง) ดังนั้น การสรุปว่าการจัดสรรคลื่นความถี่จะต้องกำหนดค่าคลื่นความถี่ให้สูงๆ เพื่อเก็บรายได้เข้ารัฐให้มากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า ผู้ใช้บริการจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เลย จึงเป็นข้อสรุปที่อาจจำกัดแคบและรวดเร็วเกินไป การกำหนดราคาค่าคลื่นความถี่จึงเป็นเรื่องที่แต่ละประเทศต้องเลือกนโยบายที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการจำนวนมากมักจะไม่เห็นด้วยหากรัฐจะใช้การประมูลเป็นเครื่องมือจัดเก็บรายได้เข้ารัฐแทนที่จะใช้การประมูลเป็นเครื่องมือจัดสรรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มอบ (โดยคิดราคาตลาด[11]) คลื่นความถี่ให้แก่ผู้ประกอบการที่จะสามารถใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์มากที่สุด อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการโดยตรงอย่างแท้จริง อนึ่ง ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดและแม้จะสมมุติว่าราคาค่าคลื่นความถี่มีส่วนส่งผลกระทบต่อราคาตลาดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการส่วนใหญ่ก็ยังเห็นว่า ยังไม่มีเหตุผลที่จะจัดสรรคลื่นความถี่โดยใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากวิธีการประมูล
[1] ปริญญาเอกกฎหมายมหาชน (Docteur en droit public) - เกียรตินิยมสูงสุดโดยมติเอกฉันท์ของคณาจารย์พร้อมสิทธิในการเผยแพร่งาน (มหาวิทยาลัย Strasbourg III ฝรั่งเศส), ปริญญาโท (DEA) กฎหมายประชาคมยุโรป และ Certificat des études européennes (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัย Strasbourg III, นิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญรางวัล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทความนี้เป็นข้อเขียนทางวิชาการของผู้เขียนโดยมิได้เกี่ยวข้องกับองค์กรใด ๆ และมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อให้มีการอภิปรายในประเด็นของเรื่องต่อไป [2] โปรดดู George Houpis และ James Bellis. "Spectrum pricing policy", Spectrum: Renewal and pricing in Europe, หน้า. 27, เข้าถึงได้จาก : http://www.vodafone.com/content/dam/vodafone/about/public_policy/policy_papers/public_policy_series_14 .pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) ซึ่งผู้เขียนทั้งสองท่านได้ระบุว่า "Regulators' objectives in allocating spectrum. The main objective of most regulators when allocating spectrum is to achieve an efficient use. For example, the first objective mentioned by Ofcom is to "secure an optimal use of spectrum. This is also the case in several countries around the globe: Sweden's telecommunications authority has recently reformed their spectrum pricing to promote efficient use of spectrum, New Zealand's regulator wants to achieve an efficient allocation of spectrum reflecting market value…" [3] เนื่องจากบทความนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงข้อดีและข้อเสียของวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ดังนั้น ข้อดีของการประมูลคลื่นความถี่จึงนำมาสรุปไว้ในที่นี้เพียงสังเขปเท่านั้น [4] เช่น Mc Millan, J. "Why Auction the Spectrum?", Telecommunications Policy 19(3), p.191-199, 1995, เข้าถึงได้จาก : http://faculty-gsb.stanford.edu/mcmillan/personal_page/documents/Why%20Auction%20the%20Spectrum%201.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555), Theo Offerman และ Jan Potters. "Does Auctioning of Entry Licences Induce Collusion? An Experimental Study," Review of Economic Studies, Wiley Blackwell, vol. 73(3), pages 769-79, 2006, เข้าถึงได้จาก : http://www1.feb.uva.nl/creed/pdffiles/ doesauctioningfinal.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) นอกจากนี้ โปรดดู Evan Kwerel, "Spectrum Auctions Do Not Raise the Price of Wireless Services: Theory and Evidence",FCC, Office of Plan. & Policy, 2000, เข้าถึงได้จาก : http://wireless.fcc.gov/auctions/data/papersAndStudies/SpectrumAuctionsDoNotRaisePrices .pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) ซึ่ง Evan Kwerl ได้ศึกษาราคาค่าบริการในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสหรัฐอเมริกาและได้สรุปว่าการชำระค่าคลื่นความถี่ไม่ได้ทำให้ราคาค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น โดยระบุว่า"Our preliminary analysis of the U.S. cellular telephone market supports the conclusion that paying for a spectrum license does not increase the prices of wireless services" [5] โปรดดู Cooper., R., D.V. Dejong, R.Forsythe, and T.W.Ross, "Forward Inudction in the Batter-of-the-Sexes Games", American Economic Review 83 (5), 1303-1316, 1993. เข้าถึงได้จาก http://www.gwern.net/docs/1993-cooper.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) และโปรดดู Theo Offerman, "Does Auctioning of Entry Licenses Induce Collusion". อ้างแล้วใน 4. และโปรดดู Case Associates. "3G Spectrum Auctions, Richer government; Poorer consumers?", Economics of Competition & Regulatory Issues, September 2000, เข้าถึงได้จาก : http://www.casecon.com/data/pdfs/casenote23.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) โดยได้ระบุในหน้า 2 ว่า "Second, high licence fees will, in an oligopolistic market, greatly influence pricing decisions and competitive behaviour." [6] โปรดดู Case Associates. "3G Spectrum Auctions, Richer government; Poorer consumers?", อ้างแล้วใน 5, หน้า 2 ซึ่งได้ระบุว่า "Many have claimed that high licence fees will eventually be paid for by consumers. This has been roundly rejected by those in favour of auctions as scare mongering and back to front economics. The auction price is a fixed sunk cost that will not affect future mobile tariffs, which market forces will force down to longrun (incremental) costs. That is, future mobile prices determine the bids, and not the other way around. This analysis is a simplistic response to a complex issue. The claim that the auction will not affect prices is based on the belief that prices are always set at marginal cost. While this may be the case in a perfectly competitive widget industry, it is not for network industries with high infrastructure costs. Quite simply if prices were set at marginal costs, all mobile operators would go bankrupt overnight." [7] ประเทศในสหภาพยุโรปที่คิดค่าคลื่นความถี่สูงสุด (มากกว่า 200 ล้านยูโรสำหรับใบอนุญาตที่สำคัญที่สุด) นั้น คือประเทศ ออสเตรีย เบลเยียม เนเธอร์แลนด์และไอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่คิดค่าคลื่นความถี่ในราคาต่ำสุด (น้อยกว่า 5 ล้านยูโร) ได้แก่ เดนมาร์ค ฟินแลนด์ ลักเซมเบอร์กและโปรดตุเกตุ ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของค่าบริการโทรศัพท์ในสี่ประเทศแรกเท่ากับ 750 ยูโร ในขณะที่ในสี่ประเทศหลังนั้น ค่าเฉลี่ยของค่าบริการโทรศัพท์เท่ากับ 550 ยูโรเท่านั้น อย่างไรก็ดี การรนำแต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกัน อาจยากได้ข้อสรุปเพราะมีความแตกต่างกันในด้านคุณภาพบริการ ฯลฯ) (โปรดดูหน้า 4 ใน Theo Offerman, "Does Auctioning of Entry Licenses Induce Collusion". อ้างแล้วใน 4.) [8] โปรดดู Theo Offerman, "Does Auctioning of Entry Licenses Induce Collusion". อ้างแล้วใน 4. ซึ่งระบุในหน้า 3 ว่า "Does auctioning of entry licenses lead to an increase of market prices ? And, if so, is this because the entry fee induces the players to behave more collusively, or because the auction tends to select the more collusive players?" [9] โปรดดู Goodman, Ellen P. , "Spectrum Equity". Journal of Telecommunications and High Technology, Vol. 4, No. 101, 2005. เข้าถึงได้จาก http://jthtl.org/content/articles/V4I1/JTHTLv4i1_Goodman.PDF. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) ซึ่งระบุในหน้า 225 ว่า "This theory of sunk costs, which is itself somewhat controversial, helps to explain why differential grants of spectrum access rights might not harm consumers in the short term. It does not deal, however, with the possibility that unearned spectrum access rights might distort investment, resulting in inefficient competitive outcomes in the longer term. If company A pays $10 million dollars for particular spectrum access rights, and company B pays $1 million dollars for the same rights, the theory of sunk costs suggests that company A cannot charge more for its service than does company B. But, all things being equal, company B will have a better balance sheet and be more attractive to capital." [10] โปรดดู Dr. Patrick Xavier, Licensing of Third Generation (3G) Mobile: Briefing Paper 6, Int'l Telecomm. Union, Briefing Paper, 2001, เข้าถึงได้จาก: http://www.itu.int/osg/spu/ni/3G/workshop/Briefing_paper.PDF. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) โดยระบุในหน้า 25-26 ว่า "High up-front license charges would make it more difficult for winning bidders to attract or raise funds necessary for network rollout and for service development….The barriers to entry and to effective competition resulting from high up-front license fees are exacerbated in a situation where 3G operators are required to pay high license fees for the use of spectrum, while other broadband providers, such as existing fixed line or mobile carriers or broadcasting operators, are able to offer similar services without the need to pay high prices for spectrum or for licenses." และ โปรดดู George Houpis และ James Bellis. "Spectrum pricing policy", Spectrum: Renewal and pricing in Europe. อ้างแล้วใน 2. ซึ่งผู้เขียนกล่าวในหน้า 30 ว่า " Secondly, taxing mobile operators for their use of spectrum as a way of raising revenue would also put them at a competitive disadvantage compared to fixed operators offering similar services to final consumers, where such fixed operators did not face such taxation. This would mean that the tax was not "technologically neutral"" [11] โปรดดู George Houpis และ James Bellis. "Spectrum pricing policy", Spectrum: Renewal and pricing in Europe, หน้า. 31 เข้าถึงได้จาก : http://www.vodafone.com/content/dam/vodafone/about/public_policy/policy_papers/public_policy_series_14 .pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 16 ตุลาคม 2555) : "Whilst spectrum pricing can be used by regulators/governments as a way of raising immediate revenue it is not immediately clear why governments would choose to raise revenues through spectrum pricing, rather than through other forms of taxation. In particular, using spectrum pricing as a way or raising government revenue can potentially create three longer-term distortions in the market: · Firstly, where governments aim to raise government revenues from taxing mobile companies, charging for spectrum, to the extent it affects the (marginal) cost of mobile operators for producing their services, would drive a higher difference between the price and cost of providing mobile services, and hence lead to a distortion · Secondly, taxing mobile operators for their use of spectrum as a way of raising revenue wourld also put them at a competitive disadvantage compared to fixed operators offering similar services to final consumers, where such fixed operators did not face such taxation. This would mean that the tax was not "technologically neutral'. · Finally, using spectrum pricing as a form of taxation could also reduce economic efficiency if the price is set above a market level (i.e., at a level which would lead existing users to relinquish spectrum, without other potential users being willing to take up the spectrum). That is, where spectrum pricing is used to raise revenue, prices should not be set above the market price for spectrum." นอกจากนี้ โปรดดู Dr. Patrick Xavier, Licensing of Third Generation (3G) Mobile: Briefing Paper 6, Int'l Telecomm. Union, Briefing Paper, 2001, เข้าถึงได้จาก: http://www.itu.int/osg/spu/ni/3G/workshop/Briefing_paper.PDF. (วันที่ค้นข้อมูล: 16 ตุลาคม 2555) โดยระบุในหน้า 25 ว่า "Governments should not focus primarily on the use of the telecommunications sector to raise general revenues. This is incompatible with policies for creating conditions of competition and creating a telecommunication market that can be treated on the same basis as other industry markets. If the government wants to obtain economic rent from a scarce resource then it should let the market decide, through auctions what the appropriate value for this resource is"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประเทศนี้ต้องเป็นรัฐสวัสดิการ การศึกษาต้องเรียนฟรี! Posted: 17 Oct 2012 11:13 AM PDT แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านมหา พวกเราขอประกาศเรียกร้องเพื่ พวกเราทุกคนกำลังต่อสู้กับช่ พวกเราทุกคนต่างได้รั เพียงแค่ในเดือนมิถุนายน 2554 พวกเรามีการประท้วง 45 ครั้งในกว่า 40 เมืองทั่วโลกจากเครือข่ายการต่ ตลาดการศึกษาและรัฐชาติจำเป็นต้ พวกเราถูกทำให้เป็นเพียงเครื่ ระบบการศึกษาภายในระบบทุนนิยม ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการฝึ ทุกความเป็นธรรมเริ่มด้วยปัญญา ยืนหยัดกับพวกเราในการเคลื่ สู้กับมัน!!! ร่วมกับ GLOBAL EDUCATION STRIKE
0 0 0 วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคมนี้ |
นักศึกษาใต้รณรงค์ฮายัต รำลึกตากใบ 25 ตุลา ทุกพื้นที่ชายแดนใต้ Posted: 17 Oct 2012 10:56 AM PDT
นักศึกษาชายแดนใต้ รณรงค์ให้คนในพื้นที่ละหมาดฮายัตในค่ำคืนวันที่ 25 ตุลาคม เพื่อความเป็นธรรมและเกิดสันติภาพโดยเร็ว
ช่วงเวลานี้จะเห็นได้ว่านักศึกษาในนามสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ได้ร่วมรณรงค์เชิญชวนให้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกภาคส่วน ร่วมถือศิลอดในวันอารอฟะฮฺ (9 ซุลฮิจญะฮฺ) อ่านอัรวาฮฺ และร่วมละหมาดฮายัตในค่ำคืนของวันที่ 25 ตุลาคม 2555 เพื่อขอให้พี่น้องในเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบได้รับความเป็นธรรมและผลักดันให้เกิดสันติภาพในพื้นที่โดยเร็ว นายกริยา มูซา เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของเคมเปญครั้งนี้ว่า "เพื่อต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ระลึกถึงประวัติศาสตร์ในยุคใหม่ ที่คนในพื้นที่ทุกภาคส่วนควรจดจำในความผิดพลาดบนพื้นฐานของความไม่เข้าใจของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งภาครัฐและประชาชน เพราะในสถานการณ์ตุลา ปี 47 แทรคที่ 2 คือ องค์กรภาคประชาสังคม, NGO, CSO, นักศึกษายังไม่เข้มแข็ง ทำให้ขาดตัวกลางที่จะสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชน ทำให้เจตนาของการเรียกร้องประชาธิปไตยของวีรชนตากใบถูกบดขยี้ด้วยความไม่เข้าใจและความหวาดระแวงของรัฐ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นในปี 2547 ระยะเวลาเกือบ 9 ที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่สงบก็ยังขาดตัวกลางที่เข้มแข็งในการสื่อสารความขัดแย้งที่จะสร้างการต่อยอดเพื่อให้เกิดสันติภาพ สนน.จชต. จึงได้จัดโครงการนี้เพื่อต่อยอดให้เกิดสันติภาพที่แท้จริง โดยเลือกที่จะสื่อสารผ่านแทรคที่ 38 ซึ่งก็คือ ประชาชน" นายมะยากี สามะ เลขาธิการ สมาพันธ์นักศึกษาจังหวัดปัตตานี (สนป.) และผู้ประสานงานโครงการฮายัต สันติ-ธรรม รำลึกตากใบ 25 ตุลา กล่าวว่า "รูปแบบกิจกรรมในการรณรงค์ครั้งนี้เราพยายามที่จะประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงกับทุกคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อต้องการให้ทั่วถึงมากที่สุด เราได้ออกหนังสือประชาสัมพันธ์ในนาม สนน.จชต. ทั้งภาษาไทยและภาษามลายู อักษรยาวี (JAWI) เพียงชุดเดียว และกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ เพื่อป้องความเข้าใจผิดของทุกฝ่ายด้วย โดยเราใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ในหลายๆ วิธี เช่น ผ่านคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ผ่านวิทยุกระจายเสียง ผ่านเฟสบุ๊ค และผ่านปากต่อปาก โดยนักศึกษาจะติดต่อกับพี่น้องในหมู่บ้านของตนเอง โดยใช้หนังสือประชาพันธ์ชุดเดียวกันหมด" เป้าหมายของเราคือ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทุกภาคส่วนร่วมถือศีลอด ในวันที่ 25 ตุลาคม 2555 และละหมาดฮายัต รวมทั้งอ่านอัรวาฮฺ ในค่ำคืนของวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ทั้งในมัสยิดและบ้านของตนเองตามแต่ท่านสะดวก เพื่อขอพรให้แก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบให้ได้รับความยุติธรรมและเกิดสันติภาพที่ "ปาตานี" โดยเร็ว ผ่านวาทกรรม "De Day ฮายัต สันติ-ธรรม รำลึกตากใบ 25 ตุลา" และ "De Day ฮายัต 25 ตุลา เพื่อสันติภาพที่ "ปาตานี"" นายมะยากี กล่าว
หมายเหตุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 17 Oct 2012 08:07 AM PDT |
"ฐปณีย์" เดินทางไปขอพระราชทานอภัยโทษที่สถานทูตกัมพูชาแล้ว Posted: 17 Oct 2012 07:03 AM PDT โดยขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนโรดม สีหนุ และร่วมลงนามไว้อาลัย มีเลขานุการทูตเป็นตัวแทนรับขอขมา ขณะที่แถลงการณ์ช่อง 3 ระบุว่า เหตุเกิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่มีเจตนา เนื่องจากต้องต้องยืนรายงาน ทำให้ต้องวางสิ่งของส่วนตัวรวมทั้ง นสพ.ที่ลงรูปสมเด็จสีหนุ โดยวางไว้ที่พื้นแบบไม่ได้ตั้งใจ วันนี้ (17 ต.ค.) ตามที่เครือข่ายสื่อสารออนไลน์ แชร์ภาพ น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีชัย ยืนรายงานข่าวการสวรรคตของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา โดยที่ปลายเท้าวางกระดาษ ตรงกลางกระดาษพิมพ์รูปสมเด็จพระนโรดม โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวกัมพูชาได้โพสต์ข้อความแสดงความไม่พอใจนั้น ล่าสุดเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ออก แถลงการณ์ชี้แจงแล้ว ตอนหนึ่งระบุว่าทางสถานีได้สอบถามข้อเท็จจริงจากนางสาวฐปณีย์ และ น.ส.ฐปนีย์ ได้ชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทางสถานีโดยยืนยันว่า "ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่ หรือแสดงความไม่เคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวกัมพูชา เพราะขณะนั้นอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวประชาชนชาวกัมพูชาร่วมถวายอาลัย แด่สมเด็จพระนโรดม สีหนุ แห่งกัมพูชา ที่บริเวณหน้าพระราชวังจตุรมุขมงคล ด้วยลักษณะที่ต้องยืนรายงาน ทำให้ต้องวางสิ่งของส่วนตัว ประกอบด้วย โทรศัพท์มือถือ สมุดจดบันทึก หนังสือพิมพ์ ซึ่งลงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ แห่งกัมพูชา ตีพิมพ์หลักจาที่เสด็จสวรรคต และได้วางไว้ที่พื้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งได้วางห่างจากตัวพอสมควร แต่เนื่องจากภาพที่ปรากฏในเฟซบุ๊ค ถ่ายจากด้านข้างค่อนไปทางด้านหลัง จึงทำให้เห็นว่าสิ่งของทั้งหมดวางอยู่ใกล้ตัว" ในท้ายแถลงการณ์ระบุว่า "ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อกรณีที่เกิดขึ้น ดังนั้น ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จึงใคร่ขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และขออภัยโทษต่อรัฐบาลและประะชาชนชาวกัมพูชาในครั้งนี้ และหวังว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" เว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 รายงานด้วยว่า หลังจากทราบข่าว น.ส.ฐปณีย์ได้เดินทางไปกราบขอพระราชทานอภัยโทษ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ที่หน้าพระราชวังจตุรมุขมงคล และตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อเช้าวันนี้ (17 ต.ค.) และเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา น.ส.ฐปณีย์ พร้อมด้วยนายสมเกียรติ รี้พลไกร ช่างภาพสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เดินทางไปที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย เพื่อกราบขอขมาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีนายไซอา เลขาธิการที่ 1 ฝ่ายกงสุล เป็นตัวแทนรับการขอขมาของนางสาวฐปณีย์ พร้อมหนังสือแถลงการณ์จากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 หลังจากรับหนังสือชี้แจงแล้ว นายไซอา ระบุว่านางสาวฐปณีย์ได้กล่าวแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งทางกัมพูชาเข้าใจเหตุผลซึ่งมีการชี้แจงมาและจะแจ้งให้กับ พณฯ ท่าน ยู-ออย เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทยรับทราบ ทั้งนี้นางสาวฐปณีย์ได้เปิดกรวยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนโรดม สีหนุ เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษต่อเหตุการณ์ที่กระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่ได้เจตนา และร่วมลงนามไว้อาลัยสมเด็จพระนโรดม สีหนุด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวกัมพูชาโวยนักข่าวไทยเหยียบกระดาษที่มีรูปสมเด็จพระนโรดม สีหนุ Posted: 17 Oct 2012 01:01 AM PDT "ฐปณีย์" เตรียมเดินทางยื่นจดหมายแสดงความเสียใจต่อสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย หลังชาวกัมพูชาแชร์ภาพยืนทับกระดาษที่มีรูปสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์ที่เพิ่งสวรรคตขณะรายงานข่าวจากกรุงพนมเปญ นักวิชาการแนะรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศต้องรีบขอโทษ อย่ามองเป็นเรื่องภาคเอกชน 17 ต.ค. 2555 เฟจบุ๊กเพจ I Love Cambodia ซึ่งมีผู้คลิกไลค์ประมาณ 16,000 ยูเซอร์ แชร์ภาพนักข่าวไทยรายงานข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา โดยที่ปลายเท้าวางกระดาษสคริปต์ที่ทีรูปของอดีตกษัตริย์ที่เพิ่งสวรรคต โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวกัมพูชาได้แสดงความไม่พอใจและวิพากษ์วิจารณ์กรณีดังกล่าวอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็มีชาวกัมพูชาแสดงความเห็นเชิงปรามโดยระบุว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ควรสงบสำรวมเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่ออดีตกษัตริย์ที่เพิ่งสวรรคต โดยผู้เล่นเฟซบุ๊กชาวไทยบางส่วนได้เข้าไปแสดงความเสียใจและขอโทษต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวมีการระบุว่า ผู้สื่อข่าวหญิงที่ยืนเหยียบกระดาษที่มีรูปของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุนั้นเป็นผู้สื่อข่าวของสถานีไทยทีวีช่อง 3 เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ โดยระบุว่ารู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงจะเดินทางไปสถานทูตกัมพูชาประจำไทย เพื่อยื่นเอกสารแสดงความเสียใจ ด้าน ร.ศ.ธำรงศักดิ์ เพ็ชรเลิศอนันต์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ ม.รังสิต แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กว่า "ผู้นำรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศโปรดรีบดำเนินการประสานและขอโทษอีกครั้ง โปรดอย่ามองว่าเป็นเรื่องของนักข่าวช่อง 3 ภาคเอกชนนะครับ ต้องมองว่าเป็นเรื่องสำคัญในวาระเศร้าโศกที่ยิ่งใหญ่ของชาวกัมพูชา" เว็บไซต์ 77.nationchannel.com รายงานว่า นายชัชวาลย์ โสภาพันธ์ รายงานบรรยากาศเช้าวันนี้ที่ 17 ต.ค. 55 ที่บริเวณหน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งอยู่ตรงข้ามกรุงปอยเปต จ.บันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา ซึ่งบรรยากาศยังคงเงียบเหงาธงชาติกัมพูชาบริเวณหน้าซุ้มประตูเมืองปอยเปต ยังคงลดลงครึ่งเสาเพื่อเป็นการไว้อาลัยและไว้ทุกข์ให้กับเจ้านโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ที่ได้สวรรคตเมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 ที่ผ่านมา ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และจะมีการรับพระศพสมเด็จพระนโรดม สีหนุ จากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มาถึงพระราชวัง ณ กรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชาในเวลา 15.00 น.วันนี้ โดยมีชาวกัมพูชาจากกรุงปอยเปต เดินทางไปร่วมพิธีรับพระศพฯอดีตกษัตริย์กัมพูชา ที่กรุงพนมเปญ หลายพันคน และนอกจากความเงียบเหงาและความเศร้าโศกแล้ว เมื่อเช้าวันนี้ที่บริเวณหน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศ ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา ได้มีพ่อค้า แม่ค้าชาวเขมร ซึ่งค้าขายอยู่ในตลาดโรงเกลือ จำนวนหนึ่ง ได้เปิดโทรศัพท์มือถือเข้าสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค และวอทสแอ็ป ของกัมพูชา เพื่อเปิดดูภาพผู้สื่อข่าวสาวไทย ทีวีช่องหนึ่งของไทย ที่เดินทางเข้าไปรายงานข่าวพระราชพิธีรับพระศพสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ที่หน้าพระราชวัง ณ.กรุงพนมเปญ โดยเป็นภาพของผู้สื่อข่าวสาวไทย ซึ่งในโซเชี่ยนเน็ตเวิร์กของกัมพูชา อ้างว่าเป็น น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวทีวีช่อง 3 ของไทย แต่งชุดสีดำยืนรายงานข่าว โดยบริเวณเท้าของผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวยืนเหยียบพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์ของกัมพูชา ที่วางอยู่ที่พื้นใต้เท้าของผู้สื่อข่าวคนดังกล่าว และบรรยายเป็นภาษากัมพูชา ว่าพิธีกรไทยกำลังเอารูปสมเด็จตา (ชาวเขมรเรียกสมเด็จพระนโรดม สีหนุว่าสมเด็จตา) วางไว้ใต้ฝ่าเท้า ท่ามกลางชาวกัมพูชาและสื่อมวลชนจากทั่วประเทศ นายกสมาคมนักข่าวแนะอย่าแชร์ภาพ หวั่นบานปลาย นอกจากนี้ ชวรงค์ระบุด้วยว่า เบื้องต้น ได้ประสานงานกับทางสมาคมนักข่าวกัมพูชาแล้ว ได้รับแจ้งว่า สื่อกัมพูชาไม่มีการเสนอภาพข่าวนี้แต่อย่างใด คงมีแต่ในเฟซบุ๊กเท่านั้น การเสนอภาพข่าวนี้ซ้ำในสื่อไทย อาจสร้างกระแสความไม่พอใจให้กับพี่น้องชาวกัมพูชาได้ จึงขอความร่วมมือทุกท่าน
หมายเหตุ: ประชาไทนำรูปดังกล่าวออก ตามการร้องขอของนายกสมาคมนักข่าวฯ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เทศกาลกินเจในฐานะการอุปโลกน์ความดีของมนุษย์ Posted: 17 Oct 2012 12:44 AM PDT
ผู้เขียนไม่อยากขัดจังหวะขบวนการเทศกาลกินเจ แบบ 10 วันทำได้ แต่อยากถามว่า คุณได้ยินเสียงพืชผักกรีดร้องขอชีวิตดังมากขึ้นในช่วงนี้หรือเปล่า? และก็สงสัยว่าคนจำนวนมากที่ต้องการอิ่มบุญ ชำระใจหรือทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์โดยการกินเจ ตระหนักหรือไม่ว่าเทศกาลกินเจก็คือเทศกาลสังหารหมู่พืชผัก? การกินเจในฐานะการ 'ละบาป' นั้น แท้จริงแล้วเป็นการละบาปจากมุมมองที่มีมนุษย์เป็นที่ตั้งในฐานะศูนย์กลางจักรวาล (homo-centric view) การให้ค่าสัตว์สูงกว่าสิ่งมีชีวิตอย่างพืชผักหรือแม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตแบบเซลล์เดี่ยว เป็นการจัดลำดับให้คุณค่าจากมุมมองมนุษย์ และสะท้อนความรู้สึกเอื้ออาทรห่วงใยต่อสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์ ซึ่งในแง่นี้ สัตว์ย่อมใกล้เคียงและละม้ายคล้ายมนุษย์มากกว่าพืชอย่างปฏิเสธมิได้ และหากพืชผักกรีดร้องอย่างโหยหวนได้ เทศกาลกินเจคงไม่สามารถถือเป็นเทศกาลบุญได้อย่างแน่แท้ หากมองให้กว้างไปกว่าเรื่องการกินเจ ก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์มักห่วงใยผูกพันธ์กับผู้คนที่มีลักษณะทางชนชั้น ความคิดอุดมการณ์ เพศภาพ เชื้อชาติ ภูมิภาค ภาษา ฯลฯ ที่เหมือนตนมากกว่าคนที่แตกต่างจากตน คนหรือสิ่งมีชีวิตยิ่งต่างจากเราเท่าไหร่ เราก็มักยอมรับได้หากจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบหรือแม้กระทั่งฆ่าแกงสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น อย่างที่ทำกับสัตว์และพืชผักเป็นประจำ หรือแม้กระทั่งอย่างที่คนสะใจกับความบาดเจ็บล้มตายของคนต่างอุดมการณ์ต่างสีเสื้อในยุคปัจจุบัน หรือพอใจกับการบาดเจ็บและล้มตายของ 'ศัตรูคู่อริของชาติ' อย่าง 'โจรใต้' หรือเห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต เพราะเชื่อว่าคนที่ถูกประหารนั้นเลว และต่างจากเรา หลายคนที่เป็นชนชั้นกลางและชนชั้นสูงที่มีการศึกษา ก็มักมองมองชนชั้นล่างแบบมีไว้รับใช้ชนชั้นกลางและชั้นสูง ไม่จำเป็นต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจกับชีวิตที่ทุกข์ยากลำบาก การเอารัดเอาเปรียบ หรือรายได้อันน้อยนิดของพวกเขา แถมคนชั้นล่างมักถูกดูถูกว่าขี้เกียจ โง่ และเป็นตัวถ่วงความเจริญของสังคม อนึ่ง คำอธิบายว่าพืชผักไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดเหมือนสัตว์ซึ่งคล้ายมนุษย์ได้นั้น ก็เป็นคำอธิบายจากมุมมองที่เอามนุษย์เป็นที่ตั้ง (และจริงๆ แล้วก็มีกลุ่มคนที่เรียกว่า fruitarian ซึ่งจะกินพืชผลที่หล่นจากต้นไม้และพืชเท่านั้น เพราะมองว่าการตัดหรือถอนพืชผักก็คือความรุนแรงชนิดหนึ่ง –อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็อาจอ้างได้ว่าการเป็น fruitarian ก็อาจทำให้ต้นไม้และพืชผักบางอย่างมิได้มีโอกาสสืบพันธุ์ต่ออย่างที่มันควรมีโอกาสหากมนุษย์ไม่เก็บผลไม้ไปกินและเอาเมล็ดไปทิ้ง) ในเมื่อเทศกาลกินเจเป็นสิ่งที่มนุษย์กลุ่มหนึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาเองโดยใช้มาตรฐานของความเป็นคนและความเชื่อทางศาสนาและค่านิยมของสังคมเป็นตัวตั้ง พวกเขาจึงมักไม่ตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้ว เทศกาลกินเจคือเทศกาลสังหารหมู่พืชผักหรือไม่ และอาจไม่ได้ถามตนเองว่า หนึ่งชีวิตของพืช ควรมีค่าเทียบเท่ากับหนึ่งชีวิตของสัตว์และมนุษย์หรือไม่? (หากนับจำนวนพืชผักที่ต้องตาย เพื่อให้มนุษย์กินเป็นอาหารจนอิ่มต่อหนึ่งคน อาจมีจำนวนชีวิตมากกว่าสัตว์ที่ต้องสูญเสียก็เป็นได้ เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงชาวลาดัคในอินเดียทางตอนเหนือที่เชื่อว่าการกินเนื้อวัวดีกว่ากินปลาตัวเล็กๆ เพราะหนึ่งชีวิตของวัว เลี้ยงปากท้องผู้คนได้มากกว่าหนึ่งชีวิตของปลา ซึ่งปลาจำนวนหลายชีวิตต้องถูกฆ่าเพื่อให้คนอิ่มเท่ากับการเชือดวัวหนึ่งตัว) ทั้งนี้เป็นเพราะพืชผักร้องโหยหวนหรือหลั่งน้ำตาเหมือนสัตว์เหมือนมนุษย์มิได้ แถมคลอโรฟิลล์ก็ไม่สาดกระจายแดงฉ่านน่าสลดเหมือนเลือดสัตว์และมนุษย์ แต่ใครจะรู้สึกถึงความเจ็บปวดและสูญเสียของพืชผักได้? หากพืชผักพูดได้ จัดลำดับความสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้ กำหนดบาปบุญดีชั่วได้ เทศกาลกินเจก็คงมิใช่เทศกาลบุญอย่างที่เป็นอยู่เป็นแน่แท้
ป.ล.1 แต่ทำไมคนธรรมดาจำนวนมากจึงหลงใหลดารา คนรวย หรือกษัตริย์ ซึ่งมีสถานะแตกต่างจากชีวิตพวกเขามาก หรืออาจเป็นห่วงต้นไม้และสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ – แต่ก็อีกนั่นแหละ มันเป็นมุมมองที่เอามนุษย์เป็นที่ตั้ง และเพื่อตอบสนองความพึงพอใจหรือความซาบซึ้งของมนุษย์ธรรมดาเหล่านั้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น