ประชาไท | Prachatai3.info |
- ศาลอาญายกขอคำร้องปล่อยตัว 'สมยศ' คดีหมิ่นเบื้องสูง
- เอเอสทีวีกลับมาออกอากาศอีกครั้ง 2 พ.ย. นี้
- พิษณุโลกเตรียมทำบุญหลังแม่น้ำน่านลดระดับ
- พม่าที่ไม่รู้จัก “นักโทษการเมือง” และการปฏิบัติต่อฝ่ายค้านในฐานะ “ศัตรูของรัฐ”
- กฤษฎีกาตีกลับ พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ชี้ขัด รธน.หมวดสิทธิ เสรีภาพ
- เปิดตัวกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) /เริ่มประชุมนัดแรกหลังน้ำท่วม
- มหาอุทกภัย: ศักยภาพของ อปท.และชุมชนสู่หนทางคลี่คลายวิกฤต
- คลองสามวา คนกรุงเทพฯ กับความเชื่อเรื่อง “ลักษณะพิเศษ” ของสังคมไทย
- ซูจีและรัฐมนตรีพม่าหารือรอบที่สี่
- เยี่ยมบ้านบัวทองยามน้ำท่วม “เราไม่สนใจถุงยังชีพ แต่ขอตลาดสดใกล้บ้าน”
- นักข่าวพลเมือง: ‘พื้นที่โฉนดชุมชนใต้’ ส่ง ‘ผักพื้นบ้าน’ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
- สัมภาษณ์นักโทษการเมืองพม่า: "ในความโดดเดี่ยว ฉันอยากพูดคุยกับผู้คน"
- ‘มะกัน’ กร้าว! ประกาศตัดงบช่วยเหลือ ‘ยูเนสโก้’ หลังรับรอง ‘ปาเลสไตน์’ เป็นสมาชิก
- ประมวลภาพ บางพลัด: อยู่กับน้ำ
- สุรชาติ บำรุงสุข: ปัญหาใหญ่กว่ารออยู่ เตรียมสู้วิกฤตหลังน้ำท่วม
ศาลอาญายกขอคำร้องปล่อยตัว 'สมยศ' คดีหมิ่นเบื้องสูง Posted: 01 Nov 2011 12:12 PM PDT ศาลอาญา ยกขอคำร้องปล่อยตัว "สมยศ" คดีหมิ่นเบื้องสูง แจงยังไม่มีเหตุเปลี่ยนคำสั่งเดิม ลุ้นฟังคำสั่งปล่อยตัวกรณี "สุรชัย แซ่ด่าน" ต่อวันนี้ (2 พ.ย. 54) เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 54 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า นายคารม พลทะกลาง ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินในจังหวัดสุพรรณบุรี ราคาประเมิน 1,690,000 บาท ต่อศาล ขอปล่อยตัวชั่วคราว นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการนิตยสาร 'วอยซ์ ออฟ ทักษิณ' จำเลยคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ นายคารม กล่าวว่า หลังจากยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอประกันตัวนายสมยศ แล้ว ต่อมาศาลอาญาได้พิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายสมยศ โดยให้เหตุผลว่ายังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม "โดยส่วนผมตัวตีความคำสั่งศาลว่าข้อหาหมิ่นสถาบันมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี ซึ่งหลักทรัพย์ที่วางค้ำประกันนั้นน่าจะเพียงพอแล้วจึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องวงเงินประกัน ในฐานะทนายความกลุ่ม นปช. ก็ได้พยายามยื่นขอประกันตัวคดีคนเสื้อแดงมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นคดีอะไร และก็ได้รอให้สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปแล้วจึงได้ยื่นขอประกันตัวนายสมยศอีก" นายคารม กล่าวว่า ขณะนี้เรือนจำมีความแออัดและถูกน้ำท่วม แต่ศาลก็ไม่อนุญาต แม้ศาลจะมีอิสระในการพิจารณา แต่ประชาชนที่ถูกกล่าวหาก็มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ที่จะได้รับการประกันตัว ต้องสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และให้สิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ซึ่งคดีของนายสมยศ จะต้องส่งประเด็นไปนำสืบในศาลหลายจังหวัด อาทิ สระแก้ว นครสวรรค์ สงขลา และกว่าจะสืบพยานเสร็จสิ้นตามกำหนดนัดประมาณเดือน พฤษภาคม 2555 ดังนั้น นายสมยศ ที่ถูกจับกุมเมื่อเดือนเมษายน 2554 อาจถูกคุมขังถึง 1 ปีเศษและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปรึกษาทนายความเพื่อต่อสู้คดีแม้อยู่ในเรือนจำจะปรึกษาได้แต่ก็ไม่สะดวก คดีนี้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว เห็นว่าน่าจะได้รับการประกันตัว แต่ศาลก็ไม่อนุญาต แม้ตามหลักเรามีสิทธิที่ยื่นประกันตัวใหม่หรือยื่นอุทธรณ์ แต่ก็ไม่สามารถเดาใจศาลได้ โดยจะต้องศึกษาคำร้องเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นายคารม กล่าวว่า ในวันที่ 2 พฤศจิกายน นี้ ศาลอาญาได้นัดฟังคำสั่งว่าจะอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายสุรชัย แซ่ด่าน แนวร่วม นปช. จำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งตนยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นพันธบัตรมูลค่า 1 ล้านบาทขอประกันตัวด้วย ทั้งนี้ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2554 ด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจาเป็นบรรณาธิการและจัดพิมพ์นิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ ซึ่งฝ่ายตำรวจอ้างว่ามีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง ที่ผ่านมาเขาได้ขอประกันมาแล้วสามครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธทั้งหมด ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เอเอสทีวีกลับมาออกอากาศอีกครั้ง 2 พ.ย. นี้ Posted: 01 Nov 2011 11:55 AM PDT เอเอสทีวีกลับมาออกอากาศอีกครั้งวันนี้ หลังยุติไปกว่า 2 สัปดาห์ โดยได้เจรจาผ่อนชำระหนี้กับเจ้าของดาวเทียมแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายใหม่ที่เกิดขึ้นรายเดือนจะชำระให้ทุกเดือน เว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานวานนี้ (1 พ.ย.) ว่า หลังจากสถานีได้หยุดแพร่ภาพผ่านสัญญานดาวเทียมโดยถ่ายทอดแค่เพียงในระบบอิน เทอร์เน็ตมาตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.เป็นต้นไป ผู้ชมในระบบดาวเทียมจะสามารถเปิดรับชมรายการต่างๆ ของสถานีได้ตามปกติแล้ว ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 โดยเป็นสถานีข่าวแห่งแรกๆ ที่บุกเบิกการแพร่สัญญานภาพผ่านระบบดาวเทียมและอินเทอร์เน็ต ต่อมาหลังวันที่ 17 ต.ค. มีการหยุดออกอากาศผ่านดาวเทียม โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งเอเอสทีวีได้เปิดเผยในเวลาต่อมาว่า เกิดจากการที่บริษัท นิวสกาย แซทเทลไลต์ (NewSkies Satellite) เจ้าของดาวเทียมชื่อ NSS-6 ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ตัดสัญญานด้วยเหตุผลที่เอเอสทีวีที่เป็นคู่สัญญาได้ค้างชำระหนี้ค่าเช่าช่องสัญญานมานานกว่า 6 เดือนแล้ว โดยหนี้คงค้างมีอยู่ราว 4 แสนเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 12 ล้านบาท ซึ่งตามข้อตกลงเดิมก่อนที่ NSS-6 จะตัดสัญญานได้มีการเจรจากันมาระดับหนึ่งโดยเอเอสทีวีขอผ่อนชำระจนถึงสิ้นปีนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายใหม่ที่จะเกิดขึ้นรายเดือนนั้นก็จะชำระให้ทุกเดือน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พิษณุโลกเตรียมทำบุญหลังแม่น้ำน่านลดระดับ Posted: 01 Nov 2011 11:18 AM PDT ทั้งที่ต้นเดือนตุลาคมระดับน้ำสูงกว่า 11 เมตร ตอนนี้เหลือ 4.86 เมตร โดยทางจังหวัดเตรียมทำบุญสร้างขวัญกำลังใจประชาชนหลังเหตุอุทกภัย โดยเล็งจัดพร้อมกัน 9 อำเภอพร้อมตั้งจุดรับของบริจากช่วยคนกรุงเทพฯ น้ำท่วม เว็บไซต์พิษณุโลกฮ็อทนิวส์ รายงานเมื่อ 31 ต.ค. ว่า หลังจากสถานการณ์น้ำในแม่น้ำน่านที่สูงสุดกว่า 11 เมตร เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพียงระยะเวลาผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ ระดับน้ำแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านตัวเมืองพิษณุโลก ลดลงและแห้งขอดจนน่าใจหาย ระดับน้ำอยู่ที่ 4.86 เมตร ซึ่งถือว่าลดระดับลงถึง 7 เมตรด้วยกัน จากระดับน้ำที่ลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ทางจังหวัดพิษณุโลก ที่เตรียมจัดงานลอยกระทงประจำปี 2554 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-10 พ.ย.นี้ ต้องเสริมเวทีการประกวดนางนพมาศ และการแสดงต่างๆ ที่บริเวณหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร ต้องจัดทำขึ้นถึง 2 ชั้นด้วยกัน เพราะทำให้ผู้ชมที่อยู่ด้านบนเห็นการแสดงไม่ชัดเจน ต่อสองชั้นนอกจากนี้จากวิกฤติน้ำท่วมในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนชาวเมืองพิษณุโลกต่างลุ้นและผวาว่าน้ำจะท่วม เมืองเหมือนจังหวัดอื่น แต่ก็สามารถผ่านวิกฤติดังกล่าวไปได้ ส่งผลให้ นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมหัวหน้าหน่วยงานในจังหวัดพิษณุโลก ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน จะจัดพิธีทำบุญเรียกขวัญเมือง ขวัญเอ๋ย ขวัญมี พิษณุโลกคนดี จงมีขวัญมา ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ที่ บริเวณสี่แยกกรุงไทย กลางเมืองพิษณุโลก โดยจะร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง แก่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวพิษณุโลกหลังเหตุการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา โดยการจัดงานครั้งนี้จัดขึ้นพร้อมกันทั้ง 9 อำเภอ โดยแต่ละอำเภอก็จะเปิดจุดรับบริจาคสิ่งของที่จำเป็น ภายใน 7 วัน จากนั้นจะนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในกรุงเทพ ต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พม่าที่ไม่รู้จัก “นักโทษการเมือง” และการปฏิบัติต่อฝ่ายค้านในฐานะ “ศัตรูของรัฐ” Posted: 01 Nov 2011 11:09 AM PDT วงเสวนาที่ FCCT อดีตนักโทษการเมืองพม่าชี้รัฐบาลพม่ายังไม่ยอมรับการมีอยู่ของ “นักโทษการเมือง” แม้จะปล่อยนักโทษการเมืองรอบล่าสุดกว่า 200 คน แต่ยังถือว่าเป็นนักโทษคดีอาชญากรรม และหากเป็นผู้นำชนกลุ่มน้อยจะถูกปฏิบัติในฐานะ “ศัตรูของรัฐ” ด้าน “ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ” เสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ของพม่ามาดีเบตกับฝ่ายค้านที่กรุงเทพฯ เรื่องการปฏิรูป จากซ้ายไปขวา ขิ่น โอมาร์ ผู้ประสานงาน Burma Partnership, ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตวุฒิสมาชิก และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ โก โบ จี เลขาธิการสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า
เมือวันที่ 26 ต.ค. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีการแถลงข่าวโดยนักกิจกรรมพม่าเพื่อเรียกร้องให้สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนชะลอการตัดสินใจให้พม่าเป็นประธานอาเซียน หลังรัฐบาลชุดใหม่ของพม่าแสดงเจตจำนงต้องการเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 โดยก่อนหน้านี้พม่ามีกำหนดรับตำแหน่งประธานหมุนเวียนของอาเซียนตั้งแต่ปี 2548 แต่ก็ถูกเลื่อนไป หลังจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ขู่คว่ำบาตรการประชุมอาเซียน หากพม่าซึ่งมีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นประธานอาเซียน ปล่อยนักโทษการเมืองล่าสุด 237 คน โดยนายโก โบ จี อดีตนักโทษการเมือง ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า (AAPPB) กล่าวถึงสถานการณ์นักโทษการเมืองในพม่าล่าสุด หลังจากที่พม่าได้ปล่อยตัวนักโทษ 6 พันคน เมื่อ 13 ต.ค. ที่ผ่านมาว่า เท่าที่รวบรวมข้อมูลได้รัฐบาลพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองออกมาล่าสุด 237 คน ขณะที่ยังมีนักโทษการเมืองอีกกว่า 1,700 คนที่ยังถูกจองจำ ขณะที่การอภัยโทษที่เกิดขึ้น รัฐบาลพม่าเรียกว่าเป็นการอภัยโทษให้กับ “นักโทษคดีอาชญากรรม” (Criminal Prisoners) ไม่ใช่ “นักโทษการเมือง” (Political Prisoners) นอกจากนี้แม้แต่ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ก็ไม่ยอมรับการมีอยู่ของนักโทษการเมือง เช่นเดียวกับที่ล่าสุด ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพม่า ให้สัมภาษณ์วิทยุ VOA ก็ไม่ยอมรับว่ามีนักโทษการเมืองในพม่า ทั้งนี้นายโก โบ จี เปิดเผยว่าข้อมูลการปล่อยนักโทษการเมืองรอบล่าสุดของทางการพม่า ค่อนข้างคลุมเครือ ไม่มีการประกาศข้อมูลต่อสาธารณะว่าปล่อยใครบ้าง ทางสมาคม AAPPB ต้องส่งคนไปตามเรือนจำต่างๆ เพื่อสอบถามนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัวว่าใครบ้างที่ต้องคดีทางการเมือง ทั้งนี้ในพม่ามีเรือนจำกว่า 42 แห่ง และมีค่ายใช้แรงงานกว่า 109 แห่ง
เผยนักโทษการเมืองถูกส่งไปเป็นลูกหาบที่แนวหน้า เลขาธิการสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า ยังระบุด้วยว่า สภาพความเป็นอยู่ของนักโทษการเมืองในพม่าอยู่ในสภาพที่เลวร้าย มีกรณีของนักโทษการเมืองรายหนึ่งที่ถูกจับในปี 2551 โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าเขาถูกทางการจับ จนกระทั่งเขาเพิ่งได้รับการปล่อยตัว โดยช่วงที่ถูกจับกุม เขาถูกส่งไปแนวหน้า เพื่อไปเป็นลูกหาบให้ทหารพม่า และเขาเหยียบกับระเบิดจนเสียขาไปหนึ่งข้าง โดยเขาได้รับเงินชดเชยจากการเสียขาประมาณ 6 เหรียญสหรัฐ (180 บาท) นอกจากนี้ยังมีกรณีที่พระสงฆ์ซึ่งถูกทางการจับกุม และถูกส่งไปในค่ายใช้แรงงานและเสียชีวิตด้วย และหากเป็นผู้นำชนกลุ่มน้อย จะไม่ถูกปฏิบัติแบบนักโทษ แต่จะถูกถือว่าเป็นศัตรูของรัฐ (Enemy of the State) โดยมีกรณีที่ผู้นำชาวกะเหรี่ยงถูกทางการพม่าจับ และไม่ถูกนำไปควบคุมตัวในเรือนจำ แต่ถูกส่งไปควบคุมตัวในค่ายทหารที่เมืองเชียงตุง รัฐฉานแทน หรือผู้นำทางการเมืองที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น มิ้นโกหน่าย หรือ ขุนทุนอู ซึ่งเป็นผู้นำชาวไทใหญ่ ก็ถูกส่งไปควบคุมตัวในเมืองชนบทห่างไกล นายโก โบ จี กล่าวว่า ยังคงมีนักโทษการเมืองกว่า 1,700 คนในเรือนจำ โดยในจำนวนนี้ยังมีอดีตนายกรัฐมนตรีขิ่น ยุ้นต์ ซึ่งเป็นผู้นำในรัฐบาลทหารพม่า อดีตผู้นำนักศึกษาที่ประท้วงในปี 2531 รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ผู้นำพระสงฆ์ซึ่งมีบทบาทในการประท้วงรัฐบาลเมื่อปี 2550 อย่างพระ อะชิน กัมบิระ (Ashin Gambira) ก็ยังคงถูกจองจำด้วย โดยทางสมาคม AAPPB พยายามจะหาข้อมูลของนักโทษการเมืองเหล่านี้ แม้ว่าทางการพม่าจะปกปิดข้อมูลก็ตาม
เรียกร้องทางการพม่ายอมรับว่ามีนักโทษการเมือง-ปล่อยตัว ทั้งนี้เลขาธิการสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า เรียกร้องต่อรัฐบาลพม่า 3 ข้อคือ 1. เรียกร้องให้ทางการพม่ายอมรับการมีอยู่ของนักโทษการเมือง 2. ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด 3. ลบล้างข้อมูลอาชญากร (Criminal Record) โดยที่เรียกร้องให้ลบล้างข้อมูลอาชญากรเนื่องจาก หากไม่มีการลบล้างข้อมูลดังกล่าว อดีตนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัวก็จะไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ เช่น นักโทษการเมืองที่ประกอบอาชีพทนาย ถึงได้รับการปล่อยตัว แต่หากไม่มีการลบล้างข้อมูลอาชญากร เขาก็จะไม่สามารถมีใบอนุญาตประกอบอาชีพทนายได้ หมอก็จะไม่สามารถมีใบประกอบโรคศิลป์เพื่อประกอบอาชีพได้ หากเป็นนักศึกษาก็จะกลับไปเรียนให้สำเร็จการศึกษาไม่ได้ ในกรณีที่เป็นนักการเมืองก็ไม่สามารถตั้งพรรคการเมืองได้ หากยังมีข้อมูลอาชญากรติดตัวอยู่
“ไกรศักดิ์” เสนอให้รัฐบาลใหม่พม่ามาดีเบตเรื่องปฏิรูปในไทย ในการเสวนาดังกล่าวยังมี นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนางขิ่น โอมาร์ (Khin Ohmar) นักกิจกรรมชาวพม่า ผู้ประสานงาน Burma Partnership ด้วย โดยนายไกรศักดิ์กล่าวว่า “เราควรท้าทาย ‘รัฐบาลใหม่’ ที่เนปยิดอว์ และเชิญเขามาที่นี่ เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูปของพวกเขา และดูว่าจะมีข้อมูลประเภทไหนที่เราจะใช้สนทนาและตอบโต้ด้วย” เขากล่าวด้วยว่าฝ่ายค้านพม่าซึ่งลี้ภัยในประเทศไทยต้องมีพลวัตมากกว่านี้และ “ยอมรับด้วยท่าทีที่ระมัดระวังว่า มีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นในพม่า” อย่างไรก็ตาม นักกิจกรรมพม่ายังคงตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความพยายามของรัฐบาลพม่า ที่ต้องการล้างภาพของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศด้วยการปล่อยนักโทษการเมือง โดยขิ่น โอมาร์ (Khin Ohmar) ตั้งคำถามว่า ทำไม รัฐบาลพม่าถึงต้องกำหนดเส้นตายภายในปี 2557 เพื่อเป็นประธานอาเซียน โดยกล่าวว่า จะมีตัวชี้วัดอื่นหรือไม่ว่ารัฐบาลพม่ากำลังต้องการ ‘ใบรับรอง’ “ที่จริงแล้ว จะมีการสับเปลี่ยนเป็นประธานอาเซียนในปี 2559 แต่จะมีการเลือกตั้งในพม่าอีกครั้งในปี 2558” ขิ่น โอมาร์กล่าว “ทำไมพวกเขาจึงรีบเร่งตอนนี้? ทำไมไม่รอจนกว่าจะมีการเลือกตั้งที่เสรีและโปร่งใสก่อน” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กฤษฎีกาตีกลับ พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ชี้ขัด รธน.หมวดสิทธิ เสรีภาพ Posted: 01 Nov 2011 10:35 AM PDT กฤษฎีกาตีกลับ พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ หลัง ครม.เห็นชอบ ชี้ขัด มาตรา 45 เรื่องสิทธิเสรีภาพ และแสดงความคิดเห็นของประชาชน นสพ.ไทยรัฐ รายงานว่า นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า จากที่ ครม.เคยมีมติเห็นชอบ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ที่กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอ วันนี้ (1 พ.ย.)ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทำ
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เปิดตัวกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) /เริ่มประชุมนัดแรกหลังน้ำท่วม Posted: 01 Nov 2011 10:07 AM PDT ครม.รับทราบคำสั่งคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ เรื่องตั้งกรรมการ 10 คน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ว่าล่าสุด ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์ที่ผ่านมา ครม.ได้รับทราบคำสั่ง คอ.นธ.ที่ 1/2554 เรื่องการแต่งตั้งกรรมการ คอ.นธ.จำนวน 10 คน ลงนามโดยนายอุกฤษ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย 1.นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม อดีตอัยการสูงสุด 2.นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3.นายจำนงค์ สวมประคำ ส.ว.สรรหา 4.นายกำชัย จงจักรพันธุ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ 5.นายนัทธี จิตสว่าง อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 6.นายกมลินทร์ พินิจภูวดล 7.นายชาติชาย สุทธิกลม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม 8.นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา 9.น.ส.รื่นฤดี สุวรรณมงคล รองผู้อำนวยการสำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม และ 10.นายสุชาติ สิงห์ทอง นอกจากนี้ยังมีการจัดทำเว็บไซต์ www.nrlcthailand.org เพื่อให้สามารถติดตามการทำงานของ คอ.นธ.ได้อย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ได้นัดกรรมการกรรมการ คอ.นธ.ทั้ง 10 คน มารับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อแนะนำตัวและทำความรู้จัก แต่ยังไม่มีการนัดประชุมกันอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้นายอุกฤษ ประธาน คอ.นธ.ได้เคยนัดประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 2 พฤศจิกายน เพื่อหารือเรื่องกรอบการทำงานแต่ท้ายสุดก็แจ้งยกเลิกเพราะเห็นว่าอยู่ระหว่างสถานการณ์น้ำท่วม 000 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมพ.ศ.๒๕๕๔ เพื่อผดุงหลัก นิติธรรมและส่งเสริมให้มีการใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม ความเสมอภาคและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล กับทั้งเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้กฎหมายของประเทศอันจะนำไปสู่ สังคมที่มีความเป็นปกติสุข สมควรให้มีคณะกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความอิสระและเป็นกลาง เป็นผู้ดำเนินการศึกษาและเสนอแนะแนวทาง มาตรการ และกระบวนการต่าง ๆตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดโดยระเบียบนี้ อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมพ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “คอ.นธ.” โดยให้คณะกรรมการดำเนินการตามแนวทาง ดังต่อไปนี้ (๑) ศึกษาประเด็นปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ และการใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม (๒) รับฟังข้อมูลและความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของสาธารณชนและภาคส่วนต่าง ๆ และสร้างความตระหนักให้กับสังคมเกี่ยวกับหลักนิติธรรม (๓) เสนอแนะแนวทาง มาตรการ และกระบวนการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาตาม (๑) ข้อ ๕ คณะกรรมการ ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ (๒) กรรมการจำนวนไม่เกินสิบสองคน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานหรือเคยปฏิบัติงานที่ แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของคณะกรรมการ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการจำนวนไม่เกินสองคน ข้อ ๖ ประธานกรรมการและกรรมการ มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาการใช้บังคับระเบียบนี้ ในกรณีที่ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้กรรมการอื่นพ้นจากตำแหน่งด้วยและให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการใหม่ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ข้อ ๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการและกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ข้อ ๘ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การ วินิจฉัยของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๙ ในการดำเนินการตามข้อ ๔ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ศึกษา วิจัย และเสนอแนะแนวทาง มาตรการ และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อผดุงหลักนิติธรรมและเสริมสร้างการใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม ความเสมอภาค และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลกับทั้งเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการ ใช้กฎหมายของประเทศ (๒) เสนอผลการดำเนินการตาม (๑) และจัดทำรายงานความคืบหน้าของการทำงานทุกรอบหกเดือน รวมทั้งรายงานสรุปผลเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจต่อคณะรัฐมนตรี (๓) จัดให้มีเวทีสาธารณะ การประชุม เพื่อรับฟังข้อมูลและความเห็น และให้การศึกษากับสังคมเป็นระยะ ๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของสาธารณชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการ (๔) เชิญผู้แทนหน่วยงานของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้จัดส่งเอกสารหรือข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา (๕) แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ข้อ ๑๐ การประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ให้นำความในข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ให้มีสำนักงานเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานจากข้าราชการกระทรวงยุติธรรม ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงาน และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของสำนักงานขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงยุติธรรม ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบในงานธุรการ งานวิชาการ งานการประชุม งานประชาสัมพันธ์ และงานเลขานุการของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน (๒) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน (๓) ประสานงานกับบุคคล องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ (๔) ปฏิบัติงานหรือดำ เนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน มอบหมาย ข้อ ๑๓ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงานนายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ข้า ราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ไปช่วยปฏิบัติงานที่สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงาน ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๕ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการตามระเบียบนี้ตามความจำเป็น ข้อ ๑๖ ค่าตอบแทนของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ข้อ ๑๗ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับมีกำหนดระยะเวลาสองปี นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ สั่ง ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ข้อมูลบางส่วนจาก: มติชนรายวัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
มหาอุทกภัย: ศักยภาพของ อปท.และชุมชนสู่หนทางคลี่คลายวิกฤต Posted: 01 Nov 2011 09:39 AM PDT วิกฤตอุทกภัย ภาคกลาง ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร เดินทางมาถึงช่วงกลางของวิกฤต การกู้ภัย การช่วยเหลือตนเอง การพึ่งพาอาศัยกัน และความทุกข์ลำเค็ญของผู้ประสบภัย เป็นที่ประจักษ์ชัด ความพยายามของรัฐ ท้องถิ่น และผู้มีจิตอาสา ต่างทุ่มเทอย่างสุดกำลัง แต่ผลลัพธ์ที่เห็นยังห่างไกลจากการจะพาวิกฤตนี้ให้ผ่านพ้นไปด้วยดี จากประสบการณ์น้ำท่วมหาดใหญ่ ในพื้นที่แคบๆแต่ประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กว่าจะผ่านพ้นวิกฤต มีทั้งทุกข์ สุข ความขัดแย้ง และการวิวาทะต่อกัน แต่ท้ายสุดเราก็ผ่านพ้นวิกฤตทั้งโดยการพึ่งตนเอง พึ่งพาอาศัยกัน และการช่วยเหลือคลี่คลายจากองค์กรรัฐท้องถิ่น รัฐบาลกลาง และที่สำคัญการเข้ามาช่วยของผู้มีจิตอาสา ทั้งจากภาคประชาชนและองค์กรท้องถิ่นอื่นๆ การจัดการความช่วยเหลือที่เข้ามาทั้งในช่วงวิกฤตและภาวะน้ำลด จะเป็นโอกาสสำคัญในการคลี่คลายวิกฤต ทำไมผู้เขียนให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหตุที่เลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพราะองค์กรปกครองส่นท้องถิ่นแต่ละแห่งมีกลไกดำเนินงานต่างๆคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ขนาดอาจจะแตกต่างกัน แม้ว่าเขาอาจจะเล็ก แต่เขาเป็นหนูที่สามารถช่วยราชสีห์ได้ เขามีงานสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม มีบรรเทาสาธารณภัย มีบริการทั้ทางสังคมและการปกครอง การประสานเขาเพื่อช่วยวิกฤตจะไม่เกินกำลัง และในปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งเล็กและใหญ่หลายพันแห่ง ดำเนินการอย่างไร 1. กระทรวงมหาดไทย ในฐานะองค์กรแม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพ 2. กทม.จำแนกเขต/แขวง ออกเป็นพื้นที่ย่อยๆ 3. มหาดไทย – กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกลุ่ม เทศบาล อบต. ในพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มๆ 4. การดำเนินการในข้อ 2 – 3 จะได้พื้นที่/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ 400 – 500 พื้นที่/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. มหาดไทย จับคู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศในสัดส่วน 1 พื้นที่/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบกับ 3 – 4 พื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบ ( มาจาก เหนือ, กลาง, ใต้, อีสาน) 6. นัดหมาย/ประสาน/ประชุม ระหว่างองค์กรสนับสนุนกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และจัดระบบการหมุนเวียนการช่วยเหลือจากองค์กรเหล่านั้น 7. เนื่องจากสัดส่วนองค์กรสนับสนุนเป็น 4:1 เขาจะสามารถหมุนเวียนกันมาช่วยเหลือคลี่คลายได้อย่างต่อเนื่องในช่วงหลังน้ำลดได้สัก 1 – 2 เดือน โดยที่พื้นที่ตนเองไม่ได้รับผลกระทบมากนัก 8. องค์กรประสานระดับประเทศต้องจัดระดับการประสานงานทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น เพื่อรองรับการเข้าร่วมของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนองค์กรท้องถิ่นเจ้าภาพต้องเตรียมผู้ประสานทั้งในระดับเทศบาล อบต. ลงไปถึงระดับชุมชน เพื่อให้ผู้มาเยือนได้รับการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานถึงระดับพื้นที่อย่างทั่วถึง 9. องค์กรผู้เหย้า เตรียมบุคลากร งบประมาณ (สำหรับการช่วยเหลือและการดูแลตนเอง ) เครื่องไม้เครื่องมือ สิ่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อกู้เมืองมาช่วยอย่างเต็มศักยภาพ พร้อมหมุนเวียนมาช่วย โดยดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระกับเจ้าบ้าน ปีนี้ไม่มีดูงาน มีแต่ไปช่วยงาน 10. แล้วเราจะฝ่าข้ามไป ทหาร องค์กรระดับชาติต่างๆ และองค์กรเอกชน ยังคงมีบทบาทสำคัญ เช่นการระดมกำลังพล ทำความสะอาดเมือง การช่วยเรื่องโครงสร้าง ถนนหนทาง สาธารณูปโภค การรักษาพยาบาล การควบคุมป้องกันโรค การจัดหาสิ่งสนับสนุน การสงเคราะห์ต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน เน้นการครอบคลุมพื้นที่หลักที่ได้แบ่งกันดูแลและทำภาระกิจเสมือนการดูแลประชาชนในพื้นที่ของเขา ซึ่งเขามีประสบการณ์สูง องค์กรและผู้มีจิตอาสาต่างๆ ไม่ได้หายไปไหนกระบวนการฟื้นฟูนี้ โดยเขาอาจปฏิบัติงานโดยร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นภายนอกที่เข้ามาตามกรอบแผนงาน หรือดำเนินการตามความสามารถ ความสนใจเฉพาะของเขา โดยได้รับการประสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เคยมีคนถามถึงว่าเมื่อกระจายอำนาจแล้วส่วนภูมิภาคและส่วนกลางอยู่ที่ใด ในมุมมองของผู้เขียน ภารกิจในการประสานและเติมเต็มการแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป คือบทบาทของเขา เขาอยู่ที่นี่ – ผู้ประสานความร่วมมือ หนทางคลี่คลายวิกฤตจึงไม่ได้อยู่ในมือของ ศปภ. ผู้ว่าราชการการจังหวัดหรือกทม. เพียงอย่างเดียว การประสานเอาศักยภาพของท้องถิ่นและชุมชนทั้งมวล มาเลือกใช้อย่างเหมาะสม จะเป็นวิถีของการอยู่ร่วมกันทั้งในเบื้องนี้และเบื้องหน้า และจะพาเราทั้งมวลผ่านวิกฤตครั้งนี้ ไม่ยากจนเกินไป
จากบทความเดิมชื่อ: มหาอุทกภัย: ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนทั้งมวล หนทางคลี่คลายวิกฤต สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
คลองสามวา คนกรุงเทพฯ กับความเชื่อเรื่อง “ลักษณะพิเศษ” ของสังคมไทย Posted: 01 Nov 2011 09:29 AM PDT หลายอาทิตย์กับการเผชิญวิกฤติน้ำท่วมอย่างเห็นแก่ตัวของผู้คนจำนวนไม่น้อย ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า ยังมีใครยึดมั่นกับความเชื่อว่า สังคมไทยนั้นพิเศษ รักเอื้ออาทรและสามัคคีกันกว่าสังคมอื่น หลงเหลืออยู่บ้างไหม หากคุณเป็นคนจนอย่างคนชุ คำตอบนั้นชัดแจ้งอยู่บนหน้าหนึ่ การกระทำเช่นนี้ยุติธรรมหรือไม่ มันก็คงขึ้นอยู่กับว่า คนที่ตอบเป็นใคร แต่ที่แน่ๆ กองทัพบกต้องส่งทหารกว่า 200 นายไปประจำตามแนวคันกั้นน้ำอื่ วิกฤติช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ถือว่าเป็นบทพิสูจน์ธาตุแท้ ความเห็นแก่ตัวสารพัดชนิด ตั้งแต่การกักตุนน้ำดื่ม เสบียงอาหาร อย่างไม่คิดถึงผู้อื่นที่เดื อย่างไรก็ตาม ในทุกตัวอย่างอันเลวร้ายและเห็ คนกรุงผู้มีอันจะกิน สามารถขับรถหนีน้ำไปหัวหินหรื คงไม่มีปัญหาอะไรหากคนยั
ปล. ณ เวลาส่งบทความนี้ (คืนวันที่ 1 พ.ย. 54) มีรายงานข่าวว่า ห้างแฟชั่นไอร์แลนด์บนถนนรามอินทรา ในเขตมีนบุรี ซึ่งไม่ไกลจากคลองสามวาต้องปิ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ซูจีและรัฐมนตรีพม่าหารือรอบที่สี่ Posted: 01 Nov 2011 09:10 AM PDT ออง ซาน ซูจี หารือกับรัฐมนตรีพม่าเรื่องนิรโทษกรรมนักโทษ และการเจรจาสันติภาพกับกองทัพชนกลุ่มน้อย รวมทั้งประเด็นการเงินและเศรษฐกิจในประเทศ พร้อมอ่านแถลงการณ์ร่วมกันและตอบคำถามนักข่าว นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีและนายอ่องจี รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานพม่าได้พบหารือกันอีกครั้งเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (30 ตุลาคม) โดยทั้งสองได้ร่วมหารือกันถึงประเด็นการนิรโทษกรรมนักโทษ การเจรจาสันติภาพกับกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อย รวมไปถึงประเด็นการเงินและเศรษฐกิจในประเทศ โดยหลังเสร็จสิ้นการหารือแล้ว ทั้งสองได้อ่านแถลงการณ์ร่วมกันและตอบคำถามนักข่าว ทั้งนี้ นายอ่องจีได้เปิดเผยกับนักข่าวว่า รัฐบาลและพรรคเอ็นแอลดีจะร่วมมือกันไม่เฉพาะในด้านการพัฒนาประชาธิปไตยใน ประเทศเท่านั้น แต่จะร่วมมือกันทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและในภาคสังคม ขณะที่นายอ่องจีตอบคำถามนักข่าวถึงเรื่องที่จะมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง เพิ่มอีกหรือไม่ นายอ่องจีตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินตามเป็นลำดับขั้นตอน และก็จะดำเนินการต่อไป ขณะที่มีการมองว่า หัวข้อการหารือระหว่างรัฐบาลและซูจีนั้นกว้างขึ้น โดยมีการหยิบยกเอาประเด็นเรื่องการแงินและการค้าเสรีมาหารือด้วย ขณะที่นางซูจีตอบคำถามเรื่องการจดทะเบียนพรรคการเมืองของเอ็นแอลดีว่า ทางพรรคจะตัดสินใจจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองหรือไม่ขึ้นอยู่กับการอนุมัติ แก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนพรรคการเมือง ทั้งนี้ แม้การเสนอแก้กฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนพรรคการเมืองจะผ่านสภาล่างของพม่าแล้ว แต่ก็ยังต้องได้รับการเซ็นอนุมัติจากประธานาธิบดีเต็งเส่งและจากรัฐสภา ด้านผู้สังเกตการณ์เชื่อว่า กฎหมายใหม่นั้นจะอนุญาตให้พรรคเอ็นแอลดีเข้าร่วมทางการเมือง ในอีกด้านหนึ่งมีการคาดการณ์กันว่า แกนนำนักเคลื่อนไหวหลายคนซึ่งขณะนี้ยังถูกกุมขังอยู่ในเรือนจำจะได้รับการ ปล่อยตัวในอนาคตด้วย
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Irrawaddy/Mizzima แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เยี่ยมบ้านบัวทองยามน้ำท่วม “เราไม่สนใจถุงยังชีพ แต่ขอตลาดสดใกล้บ้าน” Posted: 01 Nov 2011 08:32 AM PDT เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ผมได้เดินทางไปเยี่ยมเพื่อนบ้านและกลุ่มช่วยเหลือตัวเองบ้านบัวทอง การเดินทางใช้ระยะยาวนานและยากลำบาก แต่กลุ่มนี้ได้ปิดตัวเองเนื่องจากไม่สามารถซื้ออาหารสดมาทำอาหารได้ บรรยากาศทั่วไปประชาชนย่านบางใหญ่และบางบัวทองมีความพยายามพึ่งตัวเองและไม่สนใจถุงยังชีพ การเดินครั้งเป็นความพยายามครั้งที่สอง ในการเดินไปให้ถึง หลังจากก่อนหน้าสามวันสามารถไปถึงแค่สี่แยกบางพูน เนื่องจากไม่มีรถบรรทุกเข้าไป ประกอบเป็นช่วงบ่าย จึงเกรงว่าเข้าแล้วจะกลับออกมาไม่ได้ วันนี้ไปถึงสี่แยกบางพูนตั้งแต่เวลา 10.00 น. เมื่อลงรถเมล์สาย 18 ที่สี่แยกบางพลู มีความอบอุ่นเหมือนเมื่อวันก่อน ที่มีประชาชนหลายร้อยคนนั่งคอยรถบรรทุกเพื่อเดินทางเข้าไป เมื่อสอบถาม พวกเขาบอก รถทหารมาบ้าง ไม่มาบ้าง ไม่มีความแน่นอน คนหนึ่งที่อยู่แถวถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย บอกว่าเขาเดินทางออกมาเมื่อวันก่อนอาศัยรถการไฟฟ้านครหลวงที่ไปจัดการเรื่องไฟฟ้า ผมรอสักพักจึงตัดสินใจเดินด้วยเท้าเพราะสี่แยกบางพลูห่างจากบ้านบัวทอง 5 - 6 กม. เพราะคะเนว่า ต้องใช้รถบรรทุกทหารประมาณ 4 – 5 คันเป็นอย่างน้อย ระหว่างเดินทางมีขบวนรถทหาร 6 คัน เป็นรถบรรทุกถุงยังชีพ 2 คัน ที่เหลือบรรทุกคนใส่เสื้อทีเชิร์ตสีฟ้า เข้าใจว่าน่าจะรวมขบวนแจกถุงยังชีพ ผมกับผู้ร่วมเดินทางอีก 2 คนจึงไม่โบก เมื่อเดินไปใกล้ทางยกระดับเข้าสู่ถนนกาญจนภิเษกเข้าออก น้ำท่วมสูงประมาณ 30 ซม. และมักจะเปียกถึงเอวจากรถกระบะที่วิ่งผ่าน แต่รถบรรทุกที่วิ่งผ่านกลับไม่ค่อยมีปัญหา เพราะใช้ความเร็วต่ำกว่า เมื่อมาเชิงสะพานเห็นรถการไฟฟ้านครหลวงวิ่ง พวกเราจึงโบก เพราะอีกสองคนมีเป้าหมายการเดินทางไปถึงบ้านกล้วย เมื่อผ่านตลาดบางใหญ่ มีประชาชนหลายสิบคนหิ้วถุงบิ๊กซี บางส่วนกำลังรอรถโดยมีอาสาสมัครคอยเรียกรถให้ บางคนกำลังขึ้นเรือรับจ้าง เมื่อผ่านถึงหน้าบิ๊กคิงส์ ก็พบประชาชนอีกกลุ่มที่ซื้ออาหารแห้งและน้ำประมาณ 8 แพ็คที่บิ๊กซี มาเรียกรถโดยจะไปลงที่วัดลาดปลาดุก ผมลงพร้อมกับชาวบ้านบัวทองที่สะพานข้ามคลองก่อนถึงหน้าหมู่บ้าน เพราะมีคนขอขึ้นรถ เราจึงลงเพื่อให้มีที่ว่าง เนื่องจากพื้นที่เต็มแล้ว หลังจากนั้น เราสนทนาถึงกลุ่มทีมงานคุณบัวทิพย์ สจ. ที่ตั้งกลุ่มช่วยเหลือตัวเองบ้านบัวทอง เพื่อนบ้านเล่าว่าทำโรงอาหารได้อยู่ 4 – 5 วัน แล้วเลิกไป ผมจึงบอกว่า คุณบัวทิพย์ เล่าถึงปัญหาว่า หลังน้ำท่วมบางใหญ่ ทำให้หาซื้ออาหารจำนวนมากไม่ได้ ต้องไปไกลถึงตลาดแค มีวันหนึ่งออกเดินทางตั้งแต่ตีห้ากลับมาถึงบ่ายสอง เพราะต้องโบกรถไปและรถของเธอไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากรถหนีน้ำคันอื่นจอดปิด แล้วเล่าต่อว่า เรื่องการซื้ออาหารสดผมได้แจ้ง ศปภ. แต่ไม่น่าจะเวิร์ก ชาวบ้านบัวทองกลุ่มนั้น เล่าต่อว่า พวกเขาไม่เคยได้รับถุงยังชีพและไม่สนใจ พวกเขาพยายามช่วยตัวเอง อย่างอาหารก็มาซื้อที่ตลาดบางใหญ่ซึ่งมีบ้าง แต่มีน้อยและแพงมาก และเห็นด้วยว่าน่ามีอาหารสดมากขึ้นและถูกลงที่ตลาดบางใหญ่ แล้วพวกเขาถามว่าจะเข้าไปไหม ผมตอบว่าคงไม่จำเป็น เพราะตั้งใจมาหาทีมงานคุณบัวทิพย์ แต่เมื่อไม่พบและไม่สามารถพบโดยสะดวก ค่อยติดต่อทางโทรศัพท์ ขากลับผมได้รถหกล้อเล็กกลับไปทางตลิ่งชัน เมื่อรถเมล์ที่ขนส่งสายใต้ รถวิ่งขึ้นถนนลอยฟ้า เห็นน้ำเต็มตลิ่งบางกอกน้อย น้ำท่วมถนนหน้าเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า จึงคิดว่า บางแค คงกำลังเผชิญปัญหาในใกล้ๆนี้ 1. สวนดุสิตโพลล์ ที่บอกว่า ร้อยละ 84.88 มั่นใจว่า ทหารสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ดีที่สุด น่าจะไม่มีการสำรวจคนที่ยืนหยัดในพื้นที่ประสบภัย เพราะประชาชนหลายสิบคนที่สนทนาด้วยเฉยมากๆกับทหาร และการบริการของทหารก็ไม่ได้มีความแน่นอนจนชาวบ้านแถบนี้อาศัยได้ ผมเชื่อว่า รถบรรทุกของทหารจะให้บริการโดยเก็บค่าบริการก็ได้ เพียงแต่ให้มีความแน่นอน ไม่ใช่ทำตามความต้องการอนุเคราะห์ 2. ประชาชนที่เหลืออยู่ น่าจะประมาณ 12 – 15 % มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะพึ่งตัวเอง เห็นได้จากการกระเสือกกระสนมาซื้ออาหารสด อาหารแห้งและน้ำจากบิ๊กซี บางใหญ่ ทั้งที่ต้องเดินทางไปกลับอย่างลำบากหลายชั่วโมงต่อเที่ยว น่ายืนยันคำพูดของชาวบ้านบัวทองบางส่วนที่บอกว่า พวกเขาไม่สนใจถุงยังชีพมากนัก และคิดว่านี่เป็นทางรอดเดียวของพวกเขา 3. ถ้า ศปภ. เปลี่ยนแปลงความคิดในการแจกถุงยังชีพไปประสานการอำนวยความสะดวกด้านอื่น เช่น การทำให้ตลาดสดใกล้ตัวชาวบ้านมากขึ้น ก็ขอให้มีเพียงรถบรรทุกทหารพาพ่อค้าแม่ค้าไปซื้อผักและอาหารจากราชบุรีวันละเที่ยว เพื่อเสริมให้ตลาดที่มีอยู่ เช่น ตลาดหมู่บ้านพระปิ่น 3 ตลาดปากซอยกันตนา ให้บริการดีขึ้น ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ประชาชนนนทบุรี ได้เลือกพรรคเพื่อไทยยกจังหวัด จนทำให้ ส.ส.อาวุโสคือ อุดมเดช รัตนเสถียร และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ได้เป็นตัวเลือกรัฐมนตรี ถึงแม้จะสรุปได้ว่ามีเพียง อุดมเดช เป็นประธานวิปรัฐบาล แต่ในช่วงน้ำท่วม ส.ส. เพื่อไทยกลับทะเลาะกันแค่เรื่องถุงยังชีพเท่านั้น หากไม่มีความพยายามอื่นในการประสานงานเพื่อทำให้ชีวิตชาวบ้านมีความสะดวกสบายขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่นนทบุรีฝั่งตะวันตก มี ส.ส. 5 คน ยกเว้น เขต 2 ที่มีเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันออกเท่านั้น แต่กลับปล่อยให้ชีวิตประชาชนเป็นตามยถากรรม ทั้งที่ชาวบ้านมีความพร้อมในการพึ่งตัวเองระดับในระดับหนึ่ง เพียงแต่ทำให้ชีวิตพวกเขาง่ายขึ้น อย่าพยายามทำตัวพรรคถุงยังชีพ มิฉะนั้น การเลือกตั้งครั้งหน้าอย่าคิดว่าจะยกจังหวัด เพราะหลายเขตชนะกันไม่มากแค่หลักพัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักข่าวพลเมือง: ‘พื้นที่โฉนดชุมชนใต้’ ส่ง ‘ผักพื้นบ้าน’ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม Posted: 01 Nov 2011 05:15 AM PDT ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด-สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ระดมขนผักพื้นบ้านช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ส่งถึง 4 จุด ที่สหกรณ์ฯ คลองโยง ไทยพีบีเอส ม.มหิดล และ ม.รามคำแหง วานนี้ (31 ต.ค.54) ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดตรัง พัทลุง กระบี่ ประจวบคีรีขันธ์ และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ได้ระดมและขนส่งผักพื้นบ้านล็อตแรก ไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ขบวนผักดังกล่าวจะ เดินทางจาก จ.ตรัง จำนวน 2 คันรถ จ.สุราษฎร์ฯ 1 คันรถ และ จ.ประจวบฯ 2 คันรถ ปลายทางของรถขบวนนี้ คือ ศูนย์ช่วยน้ำท่วม 4 จุด คือ ที่สหกรณ์ฯ คลองโยง ไทยพีบีเอส ม.มหิดล และ ม.รามคำแหง นอกจากนี้ ประชาคมคนตรังยังได้ขนส่งอาหารแห้ง และข้าวของต่างๆ 1 คันรถ เดินทางไปพร้อมกันด้วย นางกัญญา ปันกิติ สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า อยากวิงวอนพี่น้องทั้งหมดทั่วประเทศที่เรายังเดือดร้อนน้อยกว่าเขา หรือที่ความเดือดร้อนยังไม่ถึงเรา อยากให้พี่น้องร่วมกันคนละไม้คนละมือ คนละเล็กคนละน้อย ไม่ใช่ว่าเราต้องเอาเงินไปมากมายอะไร ไม่ใช่ว่าเราต้องเอาสิ่งของไปมากมาย แต่ความช่วยเหลือของทุกคนมีค่า "แม้ว่าจะเป็นกล้วยเครือเดียว มะละกอลูกเดียว หรือข้าวสารกิโลเดียว แต่ทุกอย่างมีค่าสำหรับพี่น้องที่กำลังอดอยาก มีค่าสำหรับพี่น้องที่กำลังทุกยาก" นางกัญญา กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สัมภาษณ์นักโทษการเมืองพม่า: "ในความโดดเดี่ยว ฉันอยากพูดคุยกับผู้คน" Posted: 01 Nov 2011 03:36 AM PDT บทสัมภาษณ์ ซูซู นวย นักกิจกรรมพม่า ซึ่งได้รับการปล่อยตัวหลังต้องโทษจำคุก 12 ปี โดยถูกจองจำด้วยวิธีขังเดี่ยวมาเป็นเวลานาน และถูกย้ายไปเรือนจำต่างๆ ทั่วพม่า และในระหว่างที่เธอถูกขังเดี่ยวนั้นเธอได้เรียกร้องให้ทางการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ภายในเรือนจำด้วย ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก “ในความโดดเดี่ยว ฉันอยากพูดคุยกับผู้คน นั่นเป็นความปรารถนาสูงสุดของฉัน” โดย กะยอ คา ใน หนังสือพิมพ์มิซซิมา, 24 ตุลาคม 2554 หมายเหตุ: งานแปลชิ้นนี้แปลโดยตัดทอนบทสัมภาษณ์บางส่วนออก โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนักโทษการเมืองเป็นพิเศษ บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มอ่านได้ที่ ‘In solitary: I wanted to talk with people: that was the biggest desire’, by Kyaw Kha in Mizzima, 24 October, 2011
บทสัมภาษณ์ ซูซู นวย นักกิจกรรมเพื่อสิทธิเกษตรกร แรงงาน และทหารเด็กในประเทศพม่า เมื่อเร็วๆนี้ หลังจากที่มีการประกาศอภัยโทษโดยประธานาธิบดี เธอถูกปล่อยตัวจากการลงโทษจำคุก 12 ปี เธอต้องถูกจองจำด้วยการขังเดี่ยวเป็นเวลานาน เธอถูกจำคุกทั้งในเรือนจำอินเส่ง กาเล และคามติ ในระหว่างที่เธอถูกขังเดี่ยวนั้นเธอได้เรียกร้องให้ทางการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ภายในเรือนจำ หลังจากที่ถูกปล่อยตัว สำนักข่าวมิซซิมามีโอกาสพูดคุยกับซูซู นวยเพื่อสอบถามประสบการณ์และสถานการณ์ปัจจุบัน ถาม: ช่วยเล่าให้พวกเราฟังว่าคุณถูกปล่อยตัวได้อย่างไร ตอบ: ฉันถูกสั่งให้ลงนามในเอกสารบันทึกคำสัญญา 401 ซึ่งระบุว่าถ้าฉันกระทำความผิดแบบเดิมอีกในอนาคต ฉันจะถูกจำคุกเท่ากับระยะเวลาการลงโทษที่เหลืออยู่ ฉันตอบว่าทำไมฉันถึงต้องลงนามในเอกสารฉบับนี้ ถ้าฉันถูกปล่อยตัวพร้อมกับเอกสารฉบับนี้ ฉันไม่ออกไปเสียดีกว่า ฉันยินดีจะอยู่ในคุกเพื่อรับโทษของฉันจนครบกำหนดเวลามากกว่าที่จะยอมลงนามในเอกสารดังกล่าว หรือหากแม้ฉันรับโทษจำคุกจนครบกำหนดเวลาแล้ว และถูกร้องขอให้ลงนามในเอกสารนี้อีกครั้ง ฉันยืนยันว่าให้ลงโทษจำคุกฉันเพิ่มอีก 10 ปีเสียดีกว่าที่จะให้ฉันลงนามในเอกสารดังกล่าว หัวหน้าเรือนจำจึงกล่าวว่า แล้วแต่คุณแล้วกัน หลังจากนั้น เวลา 9.45 น. พวกเขาแจ้งว่าฉันจะถูกปล่อยตัวแม้ฉันจะไม่ได้ลงนามในเอกสารดังกล่าวก็ตาม และสั่งให้ฉันเก็บของใช้ส่วนตัว ในที่สุดฉันก็ถูกปล่อยตัวโดยไม่ได้ลงนามในเอกสารใดๆ ถาม: มีเจ้าหน้าที่ทางการเจรจาต่อรองกับคุณก่อนที่คุณจะถูกปล่อยตัวหรือไม่? ตอบ: ไม่มีการเจรจา มีเพียงข่าวว่าฉันจะได้รับการปล่อยตัวภายในสิ้นเดือนตุลาคมตั้งแต่เดือนสิงหาคม และเจ้าหน้าที่แจ้งให้ฉันรักษาสุขภาพให้ดี ถาม: คุณถูกจับกุมและลงโทษได้อย่างไร? ตอบ: เหตุที่ฉันถูกจับกุมก็เพราะฉันแขวนป้ายประท้วงด้านล่างป้ายประกาศของรัฐบาล ป้ายนั้นเขียนว่า “ต่อต้านพวกที่ต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกา “ต่อต้านผู้ที่ยังคงมองโลกในแง่ร้าย” น้องชายของฉันเป็นคนเขียนข้อความต่อต้านรัฐบาลบนป้ายผ้า และฉันนำมันไปแขวนไว้ด้านล่างป้ายคำขวัญของรัฐบาล ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุระหว่างที่ฉันกำลังถ่ายรูปผลงานของฉันและจับกุมฉัน ไม่มีตำรวจหญิงอยู่ด้วยในระหว่างที่ฉันถูกจับกุม เมื่อตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ น้องชายของฉันพยายามหลบหนี แต่ โบ โบ วิน เหล่ง ถูกจับตัวได้ เขาล้มลงบนพื้นถนนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเหยียบหลังของเขาไว้ ฉันจึงพูดว่า อย่าแตะต้องน้องชายของฉัน ฉัน คือ ซูซู นวย มาจับตัวฉันดีกว่า น้องชายของฉันหนีไปได้คนหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งถูกจับกุม เมื่อตำรวจจับตัวฉันได้ก็หยุดทุบตีน้องชายของฉัน ตอนที่ฉันร้องว่าฉันพร้อมให้จับกุมตัว ตำรวจไม่ได้บุกเข้าหาฉันในทันที พวกเขาประหลาดใจ ฉันได้ยินพวกเขารายงานต่อผู้บังคับบัญชาว่า เป้าหมาย คือ ซูซู นวย ยอมมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตอนนี้พวกเขาจับตัวเธอไว้แล้ว และพวกเขาควรจะทำอย่างไรกับเธอดี ฉันไม่รู้ว่าอีกฝั่งโต้ตอบว่าอะไร พวกเราอยู่ในรถคนละคันระหว่างที่ถูกนำตัวไปที่สถานีตำรวจบาหัน มีการบิดเบือนสถานการณ์จริงในรายงานที่ตำรวจส่งไปให้ศาล เพราะตำรวจระบุว่าระหว่างที่จับกุมตัวฉันมีตำรวจหญิงอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีตำรวจหญิงอยู่ในที่เกิดเหตุ ฉันถูกจับกุมโดยตำรวจชาย 13 คน ที่นำโดยนายพล อู คะยอ เส่ง ฉันจำไม่ได้ว่าถูกตั้งข้อกล่าวหาอะไรบ้างเพราะตำรวจตั้งข้อกล่าวหาฉันมากมาย และกล่าวหาฉันด้วยกฎหมายใดก็ตามที่พวกเขาต้องการ ฉันไม่ได้พูดโต้ตอบแม้เพียงคำเดียว ฉันถูกตัดสินลงโทษจำคุกจากข้อกล่าวหา 2 ข้อ เป็นเวลา 12 ปีครึ่ง ข้อหาแรก คือ ฉันแขวนป้ายประท้วงต่อต้านรัฐบาลมีโทษจำคุก 8 ปี และข้อหาที่สอง คือ ฉันรณรงค์ให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคนรวมถึง อองซาน ซูจี ฉันถูกลงโทษจำคุก 4 ปี และโทษจำคุก 6 เดือนจากการที่ฉันถ่ายภาพการประท้วง ถาม: ช่วยเล่าให้เราฟังถึงการต่อสู้ของคุณในเรือนจำ ในฐานะที่คุณเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน? ตอบ: ครั้งแรก หลังจากที่ฉันถูกจับกุม ฉันถูกขังเดี่ยวในเรือนจำอินเส่ง นักโทษคนอื่นที่ถูกส่งเข้าเรือนจำพร้อมฉันได้รับอนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยมและได้รับพัสดุสิ่งของ แต่ฉันถูกปฏิเสธไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว ฉันจึงประท้วงโดยการอดอาหาร หลังจากฉันประท้วงเป็นเวลาหนึ่งวัน ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่เรือนจำถามฉันว่าฉันกำลังอดอาหารประท้วงอยู่ใช่หรือไม่ ฉันรับว่าใช่ พวกเขาจึงกล่าวว่า ฉันจะอยู่ที่นี่ไม่ได้และต้องถูกย้ายไปยังที่ตึกอื่น ฉันเรียกร้องให้ได้รับสิทธิเข้าเยี่ยมจากญาติและได้รับพัสดุสิ่งของ พวกเขาตกลง ฉันจึงยอมกินข้าวหลังจากที่อดอาหารประท้วงมา 3 วัน หลังจากนั้น ฉันถูกแยกขังเดี่ยว ฉันได้รับอนุญาตให้ออกมาด้านนอกเมื่อมีญาติมาเยี่ยม และการติดต่อกับทางการ แต่ส่วนใหญ่ฉันจะถูกขังเดี่ยวเป็นเวลานานเกือบหนึ่งปี ฉันถูกย้ายไปที่เรือนจำกาเล และถูกขังเดี่ยว ฉันได้รับอนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยมได้ รองผู้อำนวยการเรือนจำมาพบฉันในระหว่างที่ฉันอยู่ในเรือนจำกาเล เขากล่าวว่า ฉันได้รับอนุญาตให้มีญาติมาเยี่ยมได้ และลูกจะได้พบกับครอบครัวในเร็วๆนี้ เขากล่าวว่าเรือนจำในกาเลนั้นอากาศเย็น ขอให้รักษาสุขภาพด้วย เขากล่าวว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงตัดสินใจส่งฉันไปที่เรือนจำกาเลหลังจากมีการประชุมกัน เขาไม่สามารถช่วยอะไรฉันได้ เขาพยายามให้กำลังใจและให้ฉันรักษาสุขภาพ ถาม: คุณถูกซ้อมทรมานในระหว่างการจับกุมหรือการสอบสวนหรือไม่ ? ตอบ: ก็ไม่เชิง นายพลระดับภาค ไว ลวิน เข้ามาสังเกตการณ์ เขาสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดหาอาหารให้ฉันระหว่างที่ถูกคุมขัง ต่อมานายพล ลา เต วิน เข้ามาตรวจสอบ เขาถามถึงสภาพความเป็นอยู่ เขาถามฉันว่า ฉันจะสามารถช่วยให้ทางการยกเลิกการคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกได้หรือไม่ ฉันตอบว่า ฉันไม่มีอำนาจใดๆในเรื่องดังกล่าว เขาเข้ามาพบฉันและรุ่นพี่ของฉัน มิน โก นาย ที่สถานีตำรวจบาหันเมื่อเวลาประมาณเที่ยงวัน พวกเขาพูดว่านายพลเข้าพบมิน โก นาย ก่อนที่จะมาพบฉัน ถาม: คุณถูกขังเดี่ยวในเรือนจำทั้งสองแห่ง? ตอบ: เมื่อครั้งที่ฉันถูกย้ายไปเรือนจำกาเล ที่นั่นมีหมอและโรงพยาบาลเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ สิ่งที่แย่ที่สุดสำหรับฉัน คือ การถูกแยกขังเดี่ยว ฉันร้องขอเจ้าหน้าที่ให้ขังฉันรวมกับนักโทษการเมืองคนอื่นๆ เจ้าหน้าที่ตอบว่า พวกเขามีภาระอันใหญ่หลวงที่จะต้องแยกนักโทษหญิงออกมาขังเดี่ยว หลังจากถูกจองจำเป็นเวลา 4 เดือน ฉันล้มลงหมดสติในระหว่างที่กำลังเดินอยู่นอกกรงขัง เพราะฉันหายใจไม่ออกจากน้ำมูกและเสมหะ ต้องเข้ารับการรักษา ฉันถูกตรวจร่างกายด้วยเครื่องแสกนไฟฟ้า และถูกถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด ฉันบอกพวกเขาว่าอย่าถ่ายรูปแต่พวกเขาไม่ฟัง ฉันร้องเรียนไปยังเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ฉันบอกว่าฉันเป็นผู้หญิง และขอให้หมอผู้หญิงเป็นคนตรวจร่างกายฉันในครั้งต่อไป วันหนึ่ง คุณหมอโก โก ลวิน มาตรวจร่างกายฉัน ฉันมักจะอ่อนเพลียเป็นประจำ หมอบอกว่าฉันอายุมากแล้วและฉันต้องกิน Oramin-G หมอสั่งยานั้นและยาที่ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่เรือนจำเดินทางไปยังค่ายกักกันแรงงานภายในการควบคุมของเขาภายนอกเรือนจำ เจ้าหน้าที่พยาบาลจ่ายยาให้ฉันผิด เขาให้ยาสำหรับคนไข้หญิงที่มีอาการทางจิตที่อาศัยอยู่ข้างห้องของฉัน ฉันร้องเรียนว่าพวกเขาจ่ายยาให้ฉันผิด และเพื่อเป็นการพิสูจน์ฉันจึงกินยานั้น เพราะยาดังกล่าวเป็นยาสำหรับรักษาคนไข้ที่มีอาการทางจิต ฉันจึงหมดสติไป ฉันแจ้งกับหัวหน้าเรือนจำว่าเจ้าหน้าที่พยาบาลพยายามฆ่าฉัน แม้ว่าฉันจะไม่ได้ก่อปัญหาให้ใครเลยก็ตาม สองวันต่อมา ฉันได้รับยาที่ถูกต้อง ฉันได้ยินว่าเจ้าหน้าที่พยาบาลคนดังกล่าวถูกปลดออกจากตำแหน่ง และต่อมาฉันถูกย้ายไปที่เรือนจำคามติ ถาม: ในระหว่างที่อยู่ในเรือนจำคามติ คุณได้รับการดูแลสุขภาพ ได้รับสิทธิที่จะอ่านหนังสือ และสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมหรือไม่? ตอบ: ฉันไม่ได้รับยารักษาโรคเป็นเวลากว่า 4 เดือน ฉันรู้สึกไม่ดีเลยเมื่อมาถึงเรือนจำคามติ ที่นั่นไม่มีหมอและไม่มีโรงพยาบาลในเรือนจำ มีเพียงเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ดูแลฉัน ฉันถูกขังเดี่ยวและสุขภาพร่างกายย่ำแย่ ฉันต้องเข้มแข็งไว้ ฉันไม่มีใครที่จะพูดคุยสื่อสารด้วย และบางครั้งฉันก็รู้สึกโกรธตนเองมากๆ ฉันใช้เวลาส่วนใหญ่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ฉันสวดภาวนาตลอดเวลา ฉันกำหนดตารางเวลาในแต่ละวันว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น สวดภาวนา เดิน อ่านหนังสือ กินข้าว และอาบน้ำ ฉันพยายามทำตัวให้ยุ่งตลอดเวลา ตารางกิจกรรมประจำวันที่มีมากทำให้ฉันคลายความกังวลที่ต้องอยู่เพียงลำพัง ถาม: คุณปรารถนาสิ่งใดมากที่สุดในระหว่างที่ถูกขังเดี่ยว? ตอบ: แน่นอนว่าสิ่งที่ฉันต้องการมากที่สุดในเวลานั้น คือ เพื่อนร่วมห้อง เพื่อน ฉันอยากพูดคุยกับผู้คน ฉันอยากกินข้าวกับใครสักคน นั่นเป็นความปรารถนาสูงสุดของฉัน ถาม: อะไรคืออุปสรรคสำคัญสำหรับการเป็นนักโทษหญิง ตอบ: ฉันถูกดูถูกจากความทระนงในศักดิ์ศรีและศีลธรรมระหว่างที่อยู่ในคุก ฉันไม่สามารถโต้ตอบข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้ แม้ฉันจะพยายามอธิบายข้อกล่าวหาเหล่านั้น แต่ฉันก็ไม่มีหลักฐานใดๆที่จะพิสูจน์ว่ามันเป็นความจริง ถาม: คุณคิดว่าเพราะเหตุใดรัฐบาลใหม่จึงปล่อยตัวคุณและนักโทษการเมืองคนอื่นๆ? ตอบ: ฉันคิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง พวกเราทุกคนถูกจับกุมเพราะความนึกคิดและความเชื่อ โลกทั้งโลก และทั่วประเทศ รวมถึง อองซาน ซูจี ต่างเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ทางการเลือกปล่อยพวกเราบางคน ยังมีนักโทษอีกจำนวนมากที่ยังตกค้างอยู่ในเรือนจำ รวมทั้งคนป่วย คนแก่ และคนที่ต้องนอนรักษาตัว พวกเขาทุกคนต้องได้รับการปล่อยตัว ทุกคนกำลังทุกข์ทรมานจากปัญหาสุขภาพ นักโทษการเมืองทุกคนสมควรที่จะได้รับอิสระ ถาม: คุณอยากจะพูดอะไรเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานของคุณ รวมถึง มิน โก นาย ซึ่งยังไม่ได้รับการปล่อยตัว ตอบ: นักโทษการเมืองที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยวิธีการของพวกเขา รวมถึง พระสงฆ์และนักโทษการเมืองคนอื่นๆ มิน โก นาย ก็เช่นกัน พวกเขาทุกคนมีจิตใจดี ดังนั้นพวกเขาจึงพร้อมจะเสียสละเรื่องส่วนตัวทั้ง การเงิน สังคม การศึกษา และครอบครัวเพื่อให้ประเทศนี้มีเสรีภาพ พวกเขาอาจจะต้องตายในคุก แม้พวกเขาจะรู้ดีว่ามีความเสี่ยงสูงมากที่จะต้องติดคุก แต่พวกเขาก็ยังคงเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยที่แท้จริงให้ประเทศนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ฉันจึงไม่อาจยินดีกับการปล่อยตัวของฉัน ฉันไม่อาจมีความสุขได้จนกว่านักโทษการเมืองทุกคนจะได้รับการปล่อยตัว ถาม: คุณจะทำอะไรต่อไปในอนาคต? ตอบ: ก่อนหน้านี้ ฉันเคยทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และสิทธิของทหารเด็ก ฉันถูกทางการปลดจากตำแหน่งที่รับผิดชอบเมื่ออายุ 35 ปี เรื่องที่ฉันมีความเชี่ยวชาญ คือ สิทธิของเกษตรกร แรงงาน และทหารเด็ก หลังจากที่ฉันพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกายสักพัก ฉันจะทำงานเดิมต่อไป ในเวลาว่างฉันพยายามติดต่อผู้คนที่ทำงานรณรงค์ในเรื่องเดียวกัน ฉันจะไปพบพวกเขาเพื่อหาทางร่วมมือกันต่อไปในอนาคต ถาม: ตอนนี้มีกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิแรงงาน คนงานสามารถเข้าร่วมการชุมนุมได้? ตอบ: ฉันโทรศัพท์ไปยังสำนักงานของ ILO (องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ) ในกรุงร่างกุ้ง พวกเขาดีใจที่ฉันถูกปล่อยตัว ฉันเพิ่งได้อ่านหนังสือพิมพ์ที่รายงานว่าตอนนี้คนงานสามารถเข้าร่วมชุมนุมได้ ฉันยังไม่สามารถเดินทางไปที่สำนักงานได้ในตอนนี้เพราะปัญหาด้านสุขภาพ ถาม: ยังมีนักโทษการเมืองคนอื่นๆที่ถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำคามติอีกหรือไม่? สุขภาพของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง? ตอบ: ในเรือนจำคามติ มีนักโทษการเมืองหญิง 1 คน นักโทษการเมืองชาย 10 คน มีพระสงฆ์รูปหนึ่งจากมันฑะเลย์ที่ถูกจำคุกเป็นเวลา 84 ปี พวกเขาทุกคนกำลังเจ็บป่วยจากโรคมาลาเรีย พวกเขามีปัญหาด้านสุขภาพ บางคนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะโรคมาลาเรีย ฉันเป็นห่วงพวกเขามากเพราะการให้บริการด้านสุขภาพนั้นแย่มาก แม้แต่เจ้าหน้าที่เรือนจำบางคนก็เจ็บป่วยจากอาการมาลาเรียขึ้นสมอง ฉันภาวนาให้พวกเขาตลอดเวลา เนื่องจากนักโทษการเมืองจำนวนมากต้องทรมานจากโรคมาลาเรีย ฉันได้เห็นว่าผู้คนต้องทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพียงไหนจากอาการมาลาเรียขึ้นสมอง ฉันเป็นห่วงพวกเขาเพราะเรือนจำคามตินั้นแตกต่างจากเรือนจำอื่นๆ ถาม: บางคนพูดว่าหากมีแรงงานมีสิทธิมากเกินไป ก็จะมีการลงทุนจากต่างประเทศน้อยลง คุณคิดว่าอย่างไร ตอบ: นั่นเป็นไปไม่ได้ เพราะสิทธิแรงงานได้รับการรับรองทั้งในทางปฏิบัติและทางกฎหมาย กฎหมายเหล่านี้ไม่ได้ขัดขวางการลงทุนจากต่างประเทศ ถ้าเจ้าหน้าที่ทางการเคารพกฎหมายแรงงาน ถ้าไม่มีการละเมิดกฎหมาย พวกเราก็ไม่ต้องกลัวอะไร นี่เป็นความคิดเห็นของฉันในฐานะนักกิจกรรมแรงงาน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
‘มะกัน’ กร้าว! ประกาศตัดงบช่วยเหลือ ‘ยูเนสโก้’ หลังรับรอง ‘ปาเลสไตน์’ เป็นสมาชิก Posted: 01 Nov 2011 01:40 AM PDT สหรัฐประกาศยุติเงินสนับสนุน 'ยูเนสโก้' มูลค่ากว่า 60 ล้านดอลลาร์ หลังองค์กรด้านวัฒนธรรมของยูเอ็นรับรอง 'ปาเลสไตน์' เป็นประเทศสมาชิกด้วยเสียงเกือบเป็นเอกฉันท์ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศจะยุติการจัดส่งงบประมาณสนับสนุนให้แก่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ “ยูเนสโก้” เป็นจำนวนเงินถึง 60 ล้านดอลลาห์สหรัฐ หรือเท่ากับ 22% ของงบประมาณยูเนสโก้ทั้งหมด หลังผลการลงมติของบรรดาประเทศสมาชิกยูเนสโก้ส่วนใหญ่เป็นเอกฉันท์รับปาเลสไตน์เข้าเป็นสมาชิกในฐานะประเทศ หรือเท่ากับรับรองสถานภาพการเป็นประเทศของปาเลสไตน์โดยปริยายไปด้วย โดยยูเนสโก้รับรองปาเลสไตน์เข้าเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 195 ขององค์การนับตั้งแต่ก่อตั้งมาในปีค.ศ. 1945 สำหรับการตัดสินใจที่จะยุติงบประมาณช่วยเหลือให้แก่ยูเนสโก้นั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้เหตุผลว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของยูเนสโก้ไม่สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ยืนยันมาตลอดว่า ปาเลสไตน์จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศผ่านการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอลโดยตรงเท่านั้น จะใช้ช่องทางอื่นมิได้ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯยังอ้างว่ามติครั้งนี้ของยูเนสโก้ละเมิดกฏหมายของสหรัฐฯที่มีเนื้อหาห้ามรัฐบาลสหรัฐฯสนับสนุนองค์การหรือหน่วยงานใดๆของสหประชาชาติที่รับรองสถานภาพความเป็นประเทศของปาเลสไตน์ ซึ่งกฏหมายดังกล่าวมีผลบังคับมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์ได้เตือนไว้ว่าปาเลสไตน์อาจจะขอยื่นเรื่องเข้าเป็นสมาชิกภาพขององค์การอื่นๆในสหประชาชาติที่สหรัฐฯมีผลประโยชน์ร่วมอยู่ด้วยอย่างมหาศาล และท่าทีแข็งกร้าวของสหรัฐฯต่อกรณียูเนสโก้นี้อาจจะไม่สามารถใช้ได้กับกรณีอื่นๆได้ เช่น ถ้าหากปาเลสไตน์เข้าร่วมองค์การการค้าโลก ในการลงมติรับรองสมาชิกภาพยูเนสโก้ของปาเลสไตน์เมื่อต้นสัปดาห์นี้ มีประเทศสมาชิกถึง 107 ประเทศที่ใช้สิทธิ์สนับสนุนมติดังกล่าว อาทิเช่น จีน บราซิล อินเดีย อัฟริกาใต้ ออสเตรีย และ ฝรั่งเศส และ 54 ประเทศอย่างเช่นอิตาลีและสหราชอาณาจักรใช้สิทธิ์งดออกเสียง ในขณะที่มีประเทศคัดค้านเพียง 14 ประเทศเท่านั้น โดยมีสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลเป็นประเทศแกนนำการคัดค้านครั้งนี้ ตามด้วยประเทศอย่างแคนาดา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี โฆษกทำเนียบขาวแถลงว่า มติรับรองปาเลสไตน์ของยูเนสโก้จะยิ่งส่งผลร้ายต่อความพยายามของนานาชาติที่จะให้สันติภาพบังเกิดในภูมิภาคตะวันออกกลาง ขณะเดียวกัน ทูตอิสราเอลประจำยูเนสโก้กล่าวเสียดสีมติครั้งนี้ว่า ยูเนสโก้เป็นองค์การที่สนับสนุนนิยายวิทยาศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์และการศึกษา เพราะยูเนสโก้รับรองประเทศที่ไม่มีอยู่จริงบนโลก อย่างไรก็ตาม นายมามูด อับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ ชื่นชมการตัดสินใจของยูเนสโก้ พร้อมกล่าวว่าปาเลสไตน์ได้มีที่ทางจริงๆบนแผนที่โลกในที่สุด ซึ่งนายอับบาสยังเป็นหัวหอกสำคัญที่ยื่นเรื่องสถานภาพความเป็นประเทศของปาเลสไตน์เข้าสู่สมัชชาของสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาจนกลายเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก และที่ประชุมของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะชี้ชะตาปาเลสไตน์เร็วๆนี้ด้วย นายริชาร์ด สเปนเซอร์ ผู้สื่อข่าวตะวันออกกลางของหนังสือพิมพ์ “เทเลกราฟ” (Telegraph) เขียนบทวิเคราะห์ว่าปาเลสไตน์ต้องการให้ยูเนสโก้เข้ามารับรองสถานภาพของศาสนสถานและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆในพื้นที่ปาเลสไตน์ เพื่อยืนยันว่าปาเลสไตน์มีประวัติศาสตร์ของตัวเอง โดยนายสเปนเซอร์มองว่า ประวัติศาสตร์ยังคงมีบทบาทต่อการต่อสู้ทางการเมืองโดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลางอยู่นั่นเอง คล้ายกับถ้อยคำที่ปรากฏในนิยาย “หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่” (1984) ว่า ผู้ใดควบคุมอดีต ผู้นั้นควบคุมอนาคต
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 01 Nov 2011 12:39 AM PDT |
สุรชาติ บำรุงสุข: ปัญหาใหญ่กว่ารออยู่ เตรียมสู้วิกฤตหลังน้ำท่วม Posted: 31 Oct 2011 11:17 PM PDT เตือนอย่ามัวแต่วุ่นกับการแก้ไขน้ำท่วม ต้องเริ่มเผื่อใจคิดเรื่องวิกฤตหลังน้ำท่วมที่จะกระทบชีวิตทุกระดับทั้งเอกชนและสังคม ตั้งแต่เรื่องขาดอาหาร ตกงาน ระบุการจัดการของที่เสียหายที่ไม่ใช่แค่เอาน้ำมาล้าง ต้องซ่อมแซมสิ่งอำนวยความสะดวก ฟื้นฟูชีวิตและจิตใจผู้คน ดูดซับบทเรียนด้วยการปรับแผนจัดระบบประเทศใหม่ ที่สำคัญต้องรีบคิดว่าจะเอาเงินมาจากไหน
เช้าวันนี้ (1พ.ย.54) สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซท์ไทยแลนด์ คลื่นเอฟเอ็ม 97 ถึงประเด็นปัญหาที่รออยู่หลังน้ำท่วม โดยระบุว่า สถานการณ์ข้างหน้าเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต วิกฤตเดิมก็ยังไม่จบ แต่ขณะนี้ภาคเหนือหนาวแล้ว กำลังมีการล้างเมืองฟื้นฟูเมือง ส่วนอีสานน้ำยังท่วม กรุงเทพฯ ก็รอน้ำท่วม ภาคใต้มรสุมเริ่มเข้า ประเทศไทยเหมือนมีพื้นที่สี่แบบ เราจะคิดแบบเดียวกันไม่ได้ แต่ละพื้นที่ปัญหาไม่เหมือนกัน คนกรุงเทพฯ กับสื่อยังวุ่นอยู่กับน้ำ แต่ภาคเหนือชุดฟื้นฟูต้องเริ่มเข้า ถ้าเรายังมัวแต่จัดการกับน้ำอย่างเดียวและลืมพื้นที่อื่นก็จะมีปัญหาคนในพื้นที่เหล่านี้รู้สึกถูกทอดทิ้ง สุรชาติ กล่าวว่า จะฟื้นฟูประเทศไทยอย่างไรนั้นเป็นปัญหาใหญ่มากเหมือนการจัดระบบประเทศใหม่ เรื่องแรกอาหารขาดแคลนแน่ แค่นี้เราก็เจอว่าขาดแคลนแล้ว โดยจะเห็นว่าพื้นที่แหล่งเกษตรหายหมด ในโซนสามพรานซึ่งเป็นที่ปลูกผักผลไม้ ผักหมดแน่นอน ส่วนผลไม้ชาวบ้านบอกว่ายืนในน้ำได้สามวัน หมายความว่าโซนปลูกผักผลไม้ของคนกรุงเทพฯ จะมีปัญหา เราอาจจะต้องตั้งคลังอาหาร สอง เรื่องยา จะเอายาจากไหน อาจจะต้องอาศัยเครือข่ายนักศึกษาในมหาวิทยาลัยช่วยทำเรื่องยาและแจกยา ถัดมาเรื่องน้ำ น้ำไม่สะอาดโรคระบาดจะตามมา อาจจะต้องผลักดันผู้ผลิตน้ำเอกชนในหลายจังหวัดให้ขยายกำลัง ต่อมาคือเรื่องการซ่อมแซมบ้าน ตัวบ้าน ระบบไฟฟ้า ประปาในบ้าน วัสดุอุปกรณ์ หลังน้ำลดราคาจะแพง เขามองว่า ปัญหาเหล่านี้สุดท้ายแล้วจะไปกระแทกโดยตรงที่รัฐบาล การซ่อมแซมสิ่งเหล่านี้ต้องการแรงงานมีฝีมือ ช่างซ่อมจะขาดแคลน ต่อมาเรื่องการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคม ถ้าไม่ซ่อม การติดต่อจะเป็นไปไม่ได้ คำถามคือซ่อมของเหล่านี้จะเอาเงินจากที่ไหน เอาบริษัทที่ไหนมาทำ จะต้องใช้บริษัทซ่อมแซมจากต่างประเทศหรือไม่ นอกจากนี้ สุรชาติ ตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรกับรถของชาวบ้านที่จมน้ำหลายจังหวัดซึ่งมีเยอะมาก อาจจะต้องร่วมมือกับบริษัทเอกชนในเรื่องนี้ ระบบทำความสะอาดของเมืองหลังน้ำท่วม ไม่ใช่แค่เรื่องการเอาน้ำไปฉีดไล่แค่นั้น ปัญหาของเสียหลังน้ำท่วมให้ดูตัวอย่างจากภาพข่าวที่เคยเห็นอย่างในญี่ปุ่นหลังเจอสึนามิ ต้องเรียนรู้บทเรียนจากญี่ปุ่นและสหรัฐ ของสหรัฐคือกรณีนิวออร์ลีนส์ อย่าคิดว่าขยะเป็นเรื่องเล่น หากไม่เคลียร์ขยะ ผลที่จะตามมาคือเรื่องโรคติดต่อ ในเรื่องน้ำสะอาดเครือข่ายประชาสังคมและภาครัฐต้องเริ่ม แต่สิ่งที่อาจจะต้องคิดต่อ ในแต่ละชุมชนต้องคิดฟื้นฟู วัด โรงเรียน ตลาด ตลาดนั้นเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชุมชน ผู้คนไปจับจ่าย วัดอาจต้องเป็นที่พักพิงต่อไปสำหรับคนที่บ้านยังอยู่ไม่ได้ ส่วนโรงเรียนจำนวนมากจมน้ำ และตอนนี้ปัญหาเฉพาะหน้า อาจจะต้องเลื่อนเวลาเปิดเทอม มหาวิทยาลัยอย่างจุฬาฯ อาจเปิดได้เพราะอยู่กรุงเทพฯ ชั้นใน แต่ปัญหาคืออาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตที่น้ำท่วมจะทำอย่างไร จะฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรอย่างไร พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์จะต้องหาให้เพราะระบบของเราล่ม อีกด้านคือเรื่องการรักษาความสงบหลังน้ำท่วม การปล้นสะดมภ์เป็นเรื่องใหญ่ บ้านจะถูกงัดแงะ ตำรวจจะต้องทำงานเชิงรุก ผู้คนจะเจอปัญหาแร้นแค้น ตกงาน บ้านน้ำท่วม ครอบครัวจะเอาเงินที่ไหนส่งลูก ค่าเล่าเรียนเทอมหน้าจะทำยังไง ไหนจะค่าเช่าบ้าน ปัญหาเฉพาะหน้ามันใหญ่
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ตั้งคำถามต่อถึงการเยียวยาว่า สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ออกหลักเกณฑ์วิธีการเยียวยาเอาไว้ รัฐบาลปัจจุบันจะใช้ต่อหรือจะปรับ เรื่องนี้จะโยงไปถึงเรื่องการทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับภัยพิบัติ มันต้องทำผ่านลงไประดับ อบต.จะทำอย่างไร คำถามสุดท้ายทั้งหมดนี้จะเอาเงินที่ไหน กระทรวงการคลังจะทำอย่างไร ปัญหาเฉพาะหน้า อีกไม่กี่วันจะเปิดเทอม จะแก้ไขยังไง จะเปิดหรือเลื่อน ค่าเล่าเรียนกำลังจะมาถึง ต้องมีการดูแลเรื่องการจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภค คุมราคาสินค้า จัดการช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ส่วนบุคคล ปัญหาว่างงาน กรมแรงงานต้องเตรียมตั้งศูนย์หางานนำแรงงานสู่ภาคการผลิต กองทุนฟื้นฟูประเทศต้องตั้ง อัดฉีดเงินเพื่อภารกิจทั้งหลาย ทั้งด้านเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการ และให้ครอบคลุมชีวิตคนปกติ สุดท้ายคือการฟื้นฟูจิตใจประชาชน ในระยะกลางต้องทบทวนแผนงานต่างๆ ต้องตั้งระบบบรรเทาสาธารณะภัยเป็นยุทธศาสตร์ชาติ ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตรงไหนต่ำตรงไหนสูงวัดยังไง วัดที่ถนนหรือตรงไหนและให้เป็นข้อมูลที่ชาวบ้านใช้ได้ ผมเสนอเล่นๆ เช่นเสาไฟฟ้าตรงถนนเมน ไปเขียนสีบอกระดับน้ำเอาไว้ สูงจากถนนเท่าไหร่ เช่นหนึ่งเมตรอยู่ตรงไหน ทำข้อมูลภูมิศาสตร์ระดับซอยเล็กๆ คนในซอยจะได้รู้ว่าน้ำสูงหนึ่งเมตรอยู่แค่ไหน จะไม่ต้องมาว่ากันว่าผิดข้อมูลหรืออะไร ต้องสร้างองค์ความรู้ การป้องกันเมืองจากภัยธรรมชาติเป็นเรื่องใหม่และเราไม่เคยคิด ตอนนี้ยอมรับกันแล้วว่า การป้องกันเมืองจากภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่ต้องคิดเผื่อ สังคมไทยยังไม่เคยเจอพายุใหญ่จริงๆ อย่างพม่าเจอนาร์กิส อันหนึ่งที่ต้องคิดต่อคือระบบระบายน้ำของเมือง ระยะยาว เราพูดกันมากเรื่องบริหารจัดการน้ำ ต้องคิดอย่างจริงจังทั้งระบบชลประมาน น้ำเพื่อการเกษตร ระบบจัดการน้ำท่วม ระบบน้ำประปาจะมีระบบเปิดปิดอย่างไร ต้องทำโซนนิ่งพื้นที่ บ้านเรามีพื้นที่ที่อยู่อาศัย พื้นที่เพื่อเกษตร เพื่ออุตสาหกรรม และพื้นที่ป้องกันน้ำท่วม อาจต้องสร้างโซนนิ่งและมามองกันว่าจะเอาอย่างไร ศูนย์เตรียมพร้อมแห่งชาติต้องเกิด ที่จริงเรามีแผนแต่เอาไปเก็บไว้ในสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์นี้ต้องเกิด เป็นการจัดระบบประเทศใหม่เพื่อรองรับปัญหาภัยพิบัติ ปัจจุบันในเวทีโลกยอมรับกันแล้วว่าปัญหานี้ถือเป็นปัญหาความมั่นคง น้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่เป็นอันดับสี่ในบรรดาปัญหาภัยพิบัติ ซึ่งมีทั้งเรื่องสึนามิ แผ่นดินไหว อุณหภูมิร้อนหนาวเกินจนคนตาย "ปัญหาภัยพิบัติเขาเรียกว่าเป็น act of god ถึงที่สุดแล้วเราสู้ไม่ได้ ปัญหาคือจะลดความสูญเสียได้อย่างไร วันนี้ถ้าไม่โทษกันมากไป รอบนี้ถือว่าเป็นบทเรียนใหญ่" สุรชาติกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น